arti3314-201-Sweet corn product

Page 1

ARTI 3314 Graphic Design On Package

โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanburi Sweet Corn Product งานออกแบบรายบุคคลวิชา Arti 3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์


Graphic Design On Package

2

ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน ดำเนินการตามขั้นตอนภายใต้โครงการออกแบบ และพัฒนาข้าวโพดหวานกาญจนบุรี ศึกษาหาความรู้เพื่อดำเนินการด้วยวิธี 3ส สืบค้น - ศึกษาและสำรวจข้อมูลความรู้เกี่ยวกับข้าวโพดหวาน กาญจนบุรี - หาข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด - เก็บรวบรวมข้อมูล จุดด้อย จุดเด่น ของบรรจุภัณฑ์ ต่างๆที่มีเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา - เก็บบันทึกข้อมูล สมมุติฐาน - วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน ที่มีอยู่ในท้องตลาดเพื่อนำมาทำการพัฒนา - ร่างแบบจากแนวความคิดออมาในรูปแบบของแบบร่าง - ทดลองลงมือปฏิบัติผลิตสินค้าที่ได้ออกแบบไว้ - เก็บบันทึกข้อมูล สรุปผล - สุปผลในการดำเนินงานทั้งหมด - หาข้อสรุปองบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดทางความคิด - รวบรวมข้อมูล กระบวนการ วิธีการ เพื่อจัดทำรายงาน สรุปผลในการดำเนินการโครงการ สรุปผลที่ได้รับผลการดำเนินการตามโครงการ สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน สรุปผลทั้งหมดในรูปแบบรายงาน

ข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูล เดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพด หวานมี คุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทาน เป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋อง เฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาด ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศใน แถบยุโรปข้าวโพดหวานสามารถ ปลูกได้ตลอดปี แต่นิยม ปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุก สภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผล ผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด-ด่าง ของดิน ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการ แสงแดด เต็มที่ตลอดวันอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูก ข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพ ดีและมีความหวานสูง พันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ข้าวโพดหวานที่ใช้ปลูกควรเป็น ข้าวโพดหวานลูกผสม ในตลาดมีหลายพันธุ์ผลิตจาก หลายบริษัทให้เลือก แต่พันธุ์ที่แนะนำคือพันธุ์ข้าวโพด หวานลูกผสม ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ทั้งสองพันธุ์ เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่ผลิตโดย บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง มีขนาดฝักใหญ่ เป็นที่ต้องการของตลาด คุณภาพฝักสดดีมาก รสชาติดี กลิ่นหอม นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ในทุกสภาพแวด ล้อมในประเทศไทย เพราะเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นโดยใช้ เชื้อพันธุกรรมที่มีในประเทศ ทำให้สามารถปรับตัวได้ อย่างกว้างขวาง


โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanburi Sweet Corn Product งานออกแบบรายบุคคลวิชา Arti 3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

Graphic Design On Package

3

ขั้นตอนการสืบค้นสินค้าที่มีขายอยู่ในท้องตลาด

จากการศึกษาสินค้าที่เป็นที่มีจำหน่ายในตลาดในปัจจุบันจะเห็นว่ายังขาดการออกแบบที่ดีทำให้ตัวสินค้าดูไม่หน้า สนใจเท่าที่ควรกลายเป็นข้อเสียของสินค้าในการจัดจำหน่ายในความจริงน้ำนมข้าวโพดเป็นสินค้าที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายและเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกในประเทศผลผลิตมีมากราคาไม่แพง ดังนั้นกระผมจึงเกิดแนวคิดใน การออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำนมข้าวโพดเพื่อพัฒนาตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและความหน้าสนใจมากขึ้น


Graphic Design On Package

4

ตัวอย่างสินค้าที่นำมาวิเคราะห์ ตราสินค้า (brand name) มีขนาดเล็กทำให้ดูไม่หน้าสนใจ

ชื่อผลิตภัณฑ์ (product name) ตัวอักษรขนาดเล็กอ่านยาก

การบรรจุยังไม่มีมาตรฐาน ปริมาตรการบรรจุไม่เท่ากัน

โดยรวมสินค้ายังไม่ มีความหน้าสนใจ เป็นข้อเสียของสินค้า

บรรจุภัณฑ์เดิมเป็นขวดพลาสติก มีข้อดีคือ ต้นทุนต่ำ ข้อเสียคือ ทำให้ตัวสินค้าไม่มีความหน้าสนใจ จากการศึกษาสินค้าที่เป็นที่มีจำหน่ายในตลาดในปัจจุบันจะเห็นว่ายังขาดการออกแบบที่ดีทำให้ตัวสินค้าดู ไม่หน้าสนใจเท่าที่ควรกลายเป็นข้อเสียของสินค้าในการจัดจำหน่ายในความจริงน้ำนมข้าวโพดเป็นสินค้าที่ มีประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกในประเทศ ผลผลิตมีมากราคาไม่แพง ดังนั้นกระผมจึงเกิดแนวคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำนมข้าวโพดเพื่อพัฒนาตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้ มีความสวยงามและความหน้าสนใจมากขึ้น


โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanburi Sweet Corn Product งานออกแบบรายบุคคลวิชา Arti 3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

Graphic Design On Package

5

ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการออกแบบ เริ่มจากการออกแบบตราสินค้าเป็นอันดับแรกเพื่อกำหนดภาพลักษน์ของสินค้าว่าให้ออกมาในแนวทางใด ใช้คำว่า Sweet Taste มีความหมายในภาษาไทยว่า หวานอร่อย มาเป็นตราสินค้า

Sweet Taste Corn Milk แบบที่ 1

Sweet Taste corn milk แบบที่ 2

corn milk

แบบที่ 3

Sweet Taste  corn milk แบบที่ 4

corn milk แบบที่ 5

สีที่ใช้ในการออกแบบนำมาจากสีที่อยู่ในตัวข้าวโพด เพราะเป็นตัววัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำนมข้าวโพด และใช้ตัวอักษรภาษาอังกฦษมาเป็นตัวตราสินค้าเพื่อยกระดับสินค้าให้มีมาตรฐาน ที่จะส่งไปขายยังตลาด ต่างประเทศ คำว่า Sweet Taste แปลความหมายในภาษาไทยแปลว่า หวานอร่อย เพื่อเน้นว่าตัวสินค้านั้น มีความอร่อยมีคุณภาพดี เป็นการโน้มน้าวผู้บริโภคไปด้วยอีกทางหนึ่ง


Graphic Design On Package

6

ขั้นตอนต่อมาคือการออกแบบฉลากสินค้าโดยการทดลองนำ LOGO แบบที่ 5 มาใช้ในการออกแบบฉลาก สินค้า เพราะเป็นแบบที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายจึงลองนำมาพัฒนาในขั้นตอนต่อไป คือการออกแบบฉลากสินค้า ตัวอย่างการออกแบบ ฉลากสินค้า

A

D

B

E

F

D

C

G

H

F. ข้อมูลทางโภชนาการ (สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร) A. ชื่อร่วมหรือเครื่องหมายร่วม (collective mark) แสดงรายละเอียดของข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้นๆ B. ตราสินค้า (brand name) บนฉลากในรูปของชนิด และปริมาณของสารอาหารอยู่ - การตั้งชื่อไม่ควรเกิน 3 พยางค์ เป็นคำง่ายๆ จำได้ ภายในรูปแบบเดียวกัน เรียกว่า ข้อมูลโภชนาการ และ แม่น มีเอกลักษณ์ และสื่อถึงตัวสินค้า ยังรวมถึงการใช้ข้อความกล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น - การตรวจสอบ (ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับผู้อื่น) มีวิตามิน เอ และ อี เป็นต้น - การออกแบบตรา สื่อถึงตัวสินค้าง่ายต่อการอ่านจดจำ G. คำเตือน หรือ ข้อควรระวังในการบริโภค ได้ง่าย (ลวดลายไม่ซับซ้อน) ตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มม. และคำเตือนตามที่กำ C. ชื่อผลิตภัณฑ์ (product name) หนดสำหรับผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น เครื่องดื่มที่มี D. จุดขาย ข้อความประชาสัมพันธ์ หรือบรรยายสรรพคุณ คาเฟอีน อาหารที่ว่านหางจระเข้ สุรา เป็นต้น ของสินค้า รายละเอียดสินค้า ข้อบ่งใช้หรือวิธีบริโภค H. สัญลักษณ์รับรองคุณภาพ เช่น FDA รวมถึงรหัสแท่ง E. ขนาดและการบรรจุ (barcode) อย. เป็นต้น เป็นระบบเมตริก ถ้าเป็นอาหารผง แห้ง หรือก้อนให้ - รหัสแท่ง คือ หมายเลขประจำตัวของสินค้าที่แปลงเป็น แสดงน้ำหนักสุทธิ ส่วนของเหลวให้แสดงเป็นปริมาตรสุทธิ และอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ถ้าแยกเนื้ออาหารออก สัญลักษณ์แท่งสีเข้มสลับสีอ่อน ซึ่งมีความกว้างแตกต่าง กัน เพื่อให้การอ่านสัญลักษณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ทำได้ จากน้ำได้ให้แสดงน้ำหนักอาหารด้วย


โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanburi Sweet Corn Product งานออกแบบรายบุคคลวิชา Arti 3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

Graphic Design On Package

7 A

D

B

E

F

D

อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และสามารถทำได้ ณ จุดใดก็ ตามที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นจุดขายจุดรับสินค้าหรือคลังสินค้า - อย. ย่อมาจาก “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา” ผลิตภัณฑ์ใดที่มีสัญลักษณ์ นี้พร้อมเลขสารบบอาหารอยู่ บนฉลาก เป็นการแสดงเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถวางใจได้ว่า กระบวนการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย จากสำนักงานคณะกรรม การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเรียบร้อยแล้ว ทำอย่างไรจึงใช้ อย. ได้ 1. เครื่องหมาย บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ต้อง ผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานสถานที่และการผลิต ตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP : Good Manufacturing Practice) 2. จากนั้นยังต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ และการแสดงฉลาก โดยขอยื่นขึ้นทะเบียน ตำรับอาหารเป็นรายผลิตภัณฑ์ (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม อาหารทั่วไป เช่น น้ำตาล แป้ง ข้าวสาร ไม่ต้องยื่นขอ) และขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร 3. หากผ่านมาตรฐานก็ได้รับ เลขสารบบอาหาร (อย.) ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก ซึ่งจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ สถานประกอบการ (X) และผลิตภัณฑ์ (Y) ดังนี้

C

G

H

1. XX แสดงถึงจังหวัดที่ตั้งของสถานประกอบการ 2. X แสดงสถานะของสถานประกอบการ และหน่วยงานที่ อนุญาตเลข 1-2 หมายถึงผู้ผลิต เลข 3-4 หมายถึงผู้นำ เข้า และเลขคี่อนุญาตโดย อย. เลขคู่อนุญาตโดย จว. 3. XXX แสดงเลขที่ใบอนุญาตหรือเลขประจำสถานที่ผลิต 4. XX ปี พ.ศ. ที่ได้รับอนุญาต 5. Y หน่วยงานที่อนุญาตผลิตภัณฑ์นั้น เลข 1 อนุญาตโดย อย. เลข 2 อนุญาตโดย จว. 6. YYYY เลขลำดับที่ของผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบ การนั้นๆ ที่ได้รับอนุญาต“ระยะ เวลาในการยื่นขอ หากข้อ มูลความปลอดภัยและเอกสารหลักฐานครบถ้วน น่าจะแล้ว เสร็จใน 16 วันทำการ หากต้องแก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่ม เติม อาจต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น 20 วันทำการหรือมากกว่านั้น รายละเอียดขั้นตอนและเอกสารประกอบการขออนุญาติ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ www.fda.moph.go.th” I. ผู้ผลิต/จัดจำหน่าย โดยระบุคำว่า“ผลิตโดย”หรือ“นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย”


Graphic Design On Package

8 ตัวอย่างการออกแบบ ฉลากสินค้า

แนวคิดในการออกแบบฉลากสินค้ามาจากด้วยตัวสินค้าเป็นผลิตผลที่มาจากธรรมชาติ จึงมีแนวคิดว่าควรจะ นำเสนอความเป็นธรรมชาติเข้าไปในตัวสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่กำลังนำเสนอนั้นมาจากธรรมชาติและมี คุณค่าจริง สีที่ใช้โดยรวมนั้นมาจากสีที่เ้ป็นของวัตถุดิบ และเป็นสีที่มาจากธรรมชาติขั้นตอนต่อมาคือเมื่อ ได้ตัวอย่าวฉลากสินค้าแล้วจึงนำมาพัฒนาเป็นแบบจำลองสินค้าหลังจากได้หาข้อมูลของสินค้าที่มีขายใน ท้องตลาดยังมีจุดด้อยของตัวสินค้าคือบรรจุภัณฑ์ยังไม่สร้างจุดเด่นให้กับกลุ่มเป้าหมายเท่าที่ควรเพราะใน ปัจจุบันการการแข่งขันในตลาดมีมากทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นในการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อสินค้า โดยแนวคิดคือการทำให้ตัวสินค้าดูดีและสามารถเพิ่มมูลค่าได้จึงออกแบบให้บรรจุในขวดแก้วนอกจาก จะดูดีแล้วขวดแก้วยังสามารถจะนำไปรีไซเคิลได้อีกด้วย ตัวอย่างการออกแบบร่างตัวบรรจุภัณฑ์ ฝาปิดโลหะสีเหลือง

ตัวบรรจุภัณฑ์ทำจากแก้วใส เพื่อแสดงตัวสินค้า


โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanburi Sweet Corn Product งานออกแบบรายบุคคลวิชา Arti 3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

Graphic Design On Package

9

กรรมวิธีในการผลิต นำวัตถุดิบทั้งหมดผสมเข้าด้วยกัน ปริมาณของวัตถุดิบแต่ ละชนิดมีการแปรผันได้ในอัตราส่วนต่างๆ กัน เพื่อให้ได้ แก้วที่มีคุณสมบัติเด่นตามที่ต้องการ โดยทั่วไปทรายและ โซดาแอชเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก้ว จากนั้น หลอมวัตถุทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกันในเตาหลอม ซึ่งมี อุณหภูมิถึง 1,500 ํc. แล้วนำไปขึ้นรูปเป็นขวดหรือภาชนะ แบบอื่นๆ ตามต้องการ

ขวดแก้ว เป็นภาชนะบรรจุที่เก่าแก่ชนิดหนึ่ง มีการใช้กัน เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยชาวตูนิเซียและอียิปต์ ได้ค้นพบวิธีการ ทำแก้ว จึงเกิดอุตสาหกรรมผลิตแก้วขึ้นในประเทศทั้งสอง และได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ใน ทวีปยุโรป ปัจจุบัน ได้มีการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งเครื่องจักรอัตโนมัติช่วยในการผลิต เพื่อให้ได้แก้วที่ มีคุณภาพสูงสำหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมผลิตแก้วได้ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2498 โดยองค์การแก้ว ซึ่งทำการผลิตภา ชนะบรรจุแก้ว เพื่อทดสอบการนำเข้าสำหรับใช้ในอุตสา หกรรมผลิตเครื่องดื่ม เภสัชภัณฑ์ เครื่องสำอาง และอาหาร

วัตถุดิบที่ใช้ ในการผลิตแก้ว ทราย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “ซิลิกา” จะต้องมีปริมาณ ของ SiO2 อย่างน้อย 99.5% และมีปริมาณของ Fe2O3 น้อยกว่า 0.04%โซดาแอช คือ Na2CO3 ในธรรมชาติอยู่ ในรูปของ Na2CO3 , NaHCO3, 2H2Oหินปูน คือ CaO หินฟันม้า เป็นสารที่ประกอบด้วย SiO2 และยังมีปริมาณ AI2O3 ถึงเกือบ 20%หินโดโลไมต์ เป็นสารที่ประกอบด้วย CaO และ MgOเศษแก้ว เป็นวัตถุดิบที่ช่วยประหยัดพลัง งานในการหลอมนอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบอื่นๆ ซึ่งช่วยในการ หลอมการปรับแต่งสีของขวดแก้วทั้งปรับแต่งคุณสมบัติด้วย

คุณสมบัติของขวดแก้ว ขวดแก้วมีคุณสมบัติที่ดีเด่นหลายประการ คือ 1. มีความเป็นกลางและไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับผลิตภัณฑ์ ที่บรรจุอยู่ภายใน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยสูง 2. มีความใส สามารถมองเห็นของที่บรรจุอยู่ภายในได้ ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภค 3. เมื่อเปิดแล้วสามารถปิดกลับเพื่อใช้ใหม่ได้นอกจากนั้น ขวดแก้วยังสามารถใช้หมุนเวียนได้ มีความคงรูปเมื่อวาง เรียงซ้อน จึงให้ความสะดวกในการขนส่ง มีความคงทน ถาวรไม่เสื่อมสภาพ ตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ ทนความ ร้อนได้สูงมาก และป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำ ได้อย่างไรก็ตามขวดแก้วก็มีข้อเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมี น้ำหนักมากและแตกง่าย ดังนั้นการปรับปรุง คุณภาพของ ขวดแก้วจึงมีความจำเป็น โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้ แก้วที่มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นผิวบางลง และน้ำหนักเบา กว่าเดิมทั้งยังเป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย ขวดแก้วที่นิยมผลิตและใช้กันมีอยู่ 3 สี คือ สีใส นิยมใช้กันอย่างมาก ถึงมากที่สุด สีอำพัน สามารถพบได้มากในขวดยาและขวดเบียร์เพื่อ ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเวลาถูกแสงแดดหรือความร้อน สีเขียว คล้ายกับสีอำพัน แต่นิยมใช้กับพวกเครื่องดื่ม ที่มา http://www.google.co.th/


Graphic Design On Package

10

ขั้นตอนต่อมาคือการนำแบบร่างที่ออกแบบไว้มาทำเป็นชิ้นงานจำลอง

โดยทดลองขึ้นแบบจำลองในโปรแกรมที่แสองผลแบบ3 มิติ

เมื่อได้แบบจำลองต้นแบบตามต้องการแล้วจึงนำไปพัฒนาในขั้นตอนต่อไป


โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanburi Sweet Corn Product งานออกแบบรายบุคคลวิชา Arti 3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

Graphic Design On Package

11

ตัวอย่างงานบรรจุภัณฑ์

40 mm. 8 mm. 9 mm.

25 mm.

110 mm.

80 mm.

170 mm.

43 mm.

70 mm.


Graphic Design On Package

12

ตัวอย่างแสดงบรรจุภัณฑ์โดยรอบ


โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanburi Sweet Corn Product งานออกแบบรายบุคคลวิชา Arti 3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

Graphic Design On Package

13

เมื่อได้ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์แล้วจึงนำมาทำการพัฒนาต่อเพื่อการส่งเสริมการตลาด และบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง

ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งเสริมการตลาดเป็นขนาดบรรจุ 6ขวด จำหน่ายในช่วงเทศการต่างๆเพื่อใช้เป็นของขวัญ


Graphic Design On Package

14

และบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง

ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง เป็นขนาดบรรจุ 12ขวด


โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanburi Sweet Corn Product งานออกแบบรายบุคคลวิชา Arti 3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

Graphic Design On Package

15

ตัวอย่างการออกแบบ Artwork ฉลากปิดสินค้า

Artwork design Sweet Taste


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.