Better Health magazine

Page 1



Welcome

วั ส ดี ค รั บ พบกั น อี ก ครั้ ง กั บ นิ ต ยสาร สำหรับผูม้ อี ปุ การคุณของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์ เนชั่นแนลนะครับ เรือ่ งของโรคในระบบทางเดินอาหารเป็นเรือ่ งใกล้ตวั เพราะบ่อยครัง้ ที่มีสาเหตุมาจากการกินอยู่ ดังนั้นอาการปวดท้องจึงเป็นสิ่งที่เราคุ้น เคยกันดี และมักคิดว่าไม่เป็นอันตราย ฉบับนี้มี เรื่องราวของอาการปวดท้องที่เกิดจากหลายสาเหตุมาฝากกัน และ แน่นอนว่าการปวดท้องนั้น บางครั้งก็อันตรายกว่าที่คุณคิด เริม่ ตัง้ แต่โรคทีเ่ กีย่ วกับกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติทแี่ ม้หลายคน เป็นกันอยู่แต่กลับไม่รู้จักโรคดีพอ ถัดไปในหน้า 6 เราขยับออกจาก กระเพาะไปที่ลำไส้กับเรื่องโรคลำไส้แปรปรวน เพื่อให้คุณทราบว่า อาการปวดท้องเหมือนกันอาจเกิดจากโรคที่ต่างกันและต้องการการ ดูแลที่ต่างกัน ท่อน้ำดีอดุ ตันเป็นอีกโรคหนึง่ ในระบบทางเดินอาหารทีค่ นส่วนใหญ่ ยังไม่รู้จักมากนัก บทความของเราในหน้า 10 จะอธิบายถึงสาเหตุ และอาการของโรค ซึ่งคุณอาจประหลาดใจที่ได้ทราบว่าการรับ ประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ นั้นอาจกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่อน้ำดี อุดตันและทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นมะเร็งได้สูงถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้แล้ว ในช่วงท้ายเล่มเรายังได้นำเสนอโรคของตับอ่อนที่ ค่อนข้างรุนแรง เพื่อไม่ให้คุณประมาทและต้องพลาดโอกาสในการ รักษา และเช่นเคย หากคุณมีขอ้ แนะนำ หรือคำติชมใด ๆ ส่งมาได้ท ี่ betterhealth@bumrungrad.com เรายินดีนอ้ มรับด้วยความขอบคุณ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีโดยทั่วกันครับ

นพ. นำ ตันธุวนิตย์

C o n t e n t s 4 Abdominal pain and Dyspepsia

อาการปวดท้อง กับโรคกระเพาะอาหาร

6 Understanding IBS

ไม่ร้ายแรงแต่เรื้อรัง รู้จัก เข้าใจ IBS

10 Biliary Obstruction explained เรื่องน่ารู้ของภาวะตัวเหลืองตาเหลือง

จากท่อน้ำดีอุดตัน

14 M.D. Focus รู้จักกับแพทย์บำรุงราษฎร์ 16 Pancreatic Diseases โรคของตับอ่อน อีกหนึ่งภัยร้ายใน

ระบบทางเดินอาหาร

18 Q & A 20 Health Briefs 22 News from Bumrungrad International

ผู้อำนวยการด้านการบริหารและ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ Contributing Editor

4 นิตยสาร เป็นนิตยสารรายสี่เดือนของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อแจกจ่ายเป็นการ ภายใน จัดทำและจัดพิมพ์โดย บริษัท โอกินส์ แอนด์ สโตน จำกัด เลขที่ 10/162 อาคารเดอะเทรนดี้ ชั้น 20 ห้อง 2001C ซ. สุขุมวิท 13 (แสงจันทร์) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร. 0 2168 7624 www.oakinsandstone.com 2014 ข้อเขียนและรูปภาพทุกชิ้นในนิตยสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ห้ามพิมพ์ซ้ำ หรื อ กระทำการใด ๆ ที่ เ ป็ น การละเมิ ด ลิ ข สิ ท ธิ์ เ ว้ น แต่ จ ะได้ รั บ ความยิ น ยอมเป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรจาก บริ ษั ท โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) โทร: 0 2667 1000 ข้อความในเนื้อที่โฆษณาของนิตยสารฉบับนี้ที่มิได้เป็นของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นความเห็นส่วนตัว ของเจ้าของผลิตภัณฑ์และบริการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ฯ ไม่มีเจตนาให้การรับรองคุณภาพสินค้า บริการ หรือข้อความ ที่ปรากฏแต่อย่างใด

6

20

ติดต่อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โทรศัพท์: โทรสาร: นัดแพทย์: เว็บไซต์:

0 2667 1000 0 2667 2525 0 2667 1555 www.bumrungrad.com


DYSPEPSIA

รู้ลึกเรื่องกระเพาะ อาการปวดท้ อ ง กั บ โรคกระเพาะอาหาร

รคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารดูจะเป็นโรคที่คุ้นเคยกันดีสำหรับ คนทั่วไป เมื่อมีอาการปวดท้องหลายคนจึงคิดถึงโรคกระเพาะก่อน เป็ น สาเหตุ แ รก จริงหรือไม่ที่โรคกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติต้องมาพร้อมกับอาการ ปวดท้อง อาการปวดท้องบอกอะไรกับเราบ้าง และปวดท้องแบบไหนที่คุณ ไม่อาจนิ่งนอนใจ คำตอบรอคุณอยู่แล้วใน ฉบับนี ้

ปวดท้องบอกอะไร

เราทุกคนต่างก็ต้องเคยผ่านประสบการณ์ปวดหรือแน่นบริเวณช่องทอง กันมาแล้ว ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในรูปแบบที่แตกต่างกันไป อาจเป็น การปวดแน่น ปวดเกร็ง ปวดบีบ หรือปวดเบา ๆ อาการปวดท้องเหล่านี้ ส่งสัญญาณที่บอกถึงปัญหาสุขภาพได้หลายประการ ซึ่ง นพ. สิริวัฒน์ อนันตพันธุ์พงศ์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ อธิบายว่า โดยทัว่ ไปแล้วอาการปวดท้องสามารถแบ่งตามบริเวณทีป่ วดได้เป็น 2 ส่วน คือ ปวดท้ อ งส่ ว นบน เป็ น การปวดบริ เ วณเหนื อ สะดื อ ซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ กระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน ปวดท้องส่วนล่าง เป็นการปวดบริเวณต่ำกว่าสะดือซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง ไต มดลูกและปีกมดลูก เป็นต้น “เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง เราต้องถามก่อนว่าปวดตรงไหน หรือเริ่มปวด จากตรงไหนก่อนเพื่อจะบอกได้ว่าเกี่ยวข้อง กั บ อวั ย วะส่ ว นใด จากนั้ น แพทย์ จ ะต้ อ ง วินิจฉัยอย่างรวดเร็วว่าเป็ น การปวด จากสาเหตุใดเพื่อให้สามารถรักษา ได้อย่างทันท่วงที”

“ปัจจุบัน การส่องกล้อง

ใช้ เ วลาไม่ เ กิ น 5 นาที แต่ให้ประสิทธิภาพสูงใน การหาสาเหตุของอาการ ปวดท้องเรื้อรัง” นพ. สิริวัฒน์ อนันตพันธุ์พงศ์

ทั้งนี้สาเหตุของการปวดท้องเกิดได้จาก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 1. ปวดท้องจากโรคทางศัลยกรรม เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้รั่ว ลำไส้ อุดตัน เยื่อบุช่องท้องหรือเยื่อบุลำไส้อักเสบเฉียบพลัน มะเร็งลำไส้ หรื อ อาจเกิ ด จากนิ่ ว ซึ่ ง โรคเหล่ า นี้ จ ำเป็ น ต้ อ งได้ รั บ การรั ก ษาโดย ศัลยกรรมผ่าตัดหรือศัลยกรรมส่องกล้องเท่านั้น 2. ปวดท้องจากโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหาร ท้องผูกเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับตับ โรคติดเชื้อ ในระบบลำไส้ เป็นต้น

ปวดแบบไหนที่ ใช่ โรคกระเพาะ

สำหรั บ อาการปวดท้ อ งจากโรคกระเพาะอาหารนั้ น ผู้ ป่ ว ยจะปวด จุก แสบ แน่นบริเวณเหนือสะดือกลางท้องหรือบริเวณลิ้นปี่ โดยอาจเป็นได้ ทั้งการปวดแบบเฉียบพลันและปวดแบบเรื้อรัง ปวดท้องเฉียบพลัน เป็นการปวดรุนแรงที่ไม่เคยเกิดขึ้น มาก่ อ นซึ่ ง แพทย์ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ นอกเหนือ จากกระเพาะก็ได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี หรือตับอ่อนอักเสบ ปวดท้องเรื้อรัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด นั่นคือปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ มาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน เป็นการปวดท้องที่เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร เช่น ปวดขณะหิวหรืออิ่ม แต่เป็นการปวดแบบทนได้ และเมื่อรับประทาน ยาลดกรดหรืออาหารแล้วมีอาการดีขึ้น โรคในกระเพาะอาหารทีเ่ กีย่ วข้องกับการปวดแบบเรือ้ รังนัน้ นพ. สิรวิ ฒั น์ อธิบายเพิ่มเติมว่าสามารถแบ่งออกได้เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ กระเพาะอาหาร เช่น เป็นแผลในกระเพาะ เป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น กระเพาะอาหารอักเสบ หรือมะเร็งในกระเพาะอาหาร ซึ่งอัตราการเกิด โรคเหล่านี้มีประมาณร้อยละ 20 - 25 ของผู้ป่วยโรคกระเพาะเรื้อรัง


นอกจากนี้ โรคกระเพาะอาหารยังเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีความผิดปกติทาง กายภาพภายในกระเพาะเลย แต่เป็นการเกิดเนื่องจากการทำงานผิดปกติ เช่น การบีบตัวของกระเพาะกับลำไส้ไม่ประสานกัน หรือจากสภาพกรด ในกระเพาะที่มากเกินไปแต่ไม่ทำให้เกิดแผล ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วย จำนวนมากถึงร้อยละ 70 - 75 ต้องมาพบแพทย์ อย่ า งไรก็ ต าม ความผิ ด ปกติ ใ นกระเพาะอาหารที่ เ กิ ด จากกรดนั้ น ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้องเสมอไป “ผู้ป่วยหลายรายมาเพราะ อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำ ซึ่งเป็นผลมาจากแผลในกระเพาะ อาหารที่เกิดจากกรดเกิน หรือมีอาการแสบแน่นที่หน้าอกเนื่องจากกรด ไหลย้ อ นทำให้ ห ลอดอาหารอั ก เสบ หรื อ ไอเพราะอั ก เสบขึ้ น มาถึ ง คอ อาการเหล่านี้เป็นเรื่องของกระเพาะอาหารทั้งสิ้น” นพ. สิริวัฒน์ อธิบาย

การวินิจฉัย

อาการปวดท้องเรื้อรังนั้น สามารถวินิจฉัยได้โดยการซักประวัติและ ตรวจร่างกายทั่วไป แต่หากต้องมีการตรวจเพิ่มเติม วิธีที่เห็นผลและ แพร่หลายที่สุดคือ การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (gastroscopy) เพื่อดูพยาธิสภาพในกระเพาะ ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori (H. Pylori) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคในกระเพาะอาหาร รวมถึงเพื่อ เอาชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งทำได้ด้วยการส่องกล้องเพียงครั้งเดียว “ปัจจุบัน เรานิยมใช้การส่องกล้องเพราะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที โดยแพทย์จะให้ยานอนหลับที่ออกฤทธิ์สั้นและ ปลอดภัยแก่ผู้ป่วย ก่อนจะสอดกล้องขนาดเล็กผ่านทางปากลงสู่ระบบ ทางเดินอาหาร วิธีนี้จะทำให้เราทราบสาเหตุของโรคและวางแผนการ รั ก ษาต่ อ ไปได้ ทั น ที ” นอกจากการส่องกล้องแล้ว บางครั้งแพทย์อาจเลือกใช้การเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ หรือการทำอัลตราซาวนด์ร่วมด้วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มี อาการปวดท้องเฉียบพลัน ส่วนการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori นั้น หากไม่ส่องกล้องก็สามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือด หรือทำ Breath test ซึ่งเป็นการเป่าลมหายใจเข้าไปในชุดการตรวจ

พิจารณาให้ยาในกลุ่มที่ใช้ป้องกันเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารร่วมด้วย ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ H. Pylori รักษาให้หายขาดได้ โ ดยการ รับประทานยาประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับโรคกระเพาะอาการที่เกิดจากการทำงานผิดปกติ อาจต้องรักษา โดยยาอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า Prokinetic ซึ่งเป็นยาที่ช่วยให้การเคลื่อนตัว ของกระเพาะกับลำไส้ หรือกระเพาะกับหลอดอาหารทำงานประสานกัน ได้ดีขึ้น ทั้งนี้ โรคกระเพาะอาหารไม่ถือเป็นโรคอันตราย แต่หากปล่อยไว้ จนเกิ ด ภาวะแทรกซ้ อ นอื่ น เช่ น ภาวะเลื อ ดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะทะลุ และกระเพาะอุดตัน ก็อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น นพ. สิริวัฒน์ มีคำแนะนำว่า ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด ในปริมาณไม่มากไม่น้อยเกินไป และให้เป็นเวลาไม่รับประทานอาหาร รสจั ด ควบคุ ม ความเครี ย ด ละเว้ น แอลกอฮอล์ กาแฟ รวมถึ ง ไม่ การรักษา และป้องกัน โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบที่ไม่ได้เกิดจาก รับประทานยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาที่ระคายเคืองต่อกระเพาะ เชื้อ H. Pylori นั้น แพทย์จะรักษาโดยการให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร อาหาร หากทำได้ เ ช่ น นี้ โรคกระเพาะอาหารก็ ไ ม่ ใ ช่ โ รคใกล้ ตั ว คุ ณ เพื่อให้กรดลดลง และกระเพาะอาหารสามารถสมานแผลได้ดีขึ้น รวมถึง อย่างแน่นอน

ปวดแบบไหนที่รอไม่ ได้

ถ้

าคุณมีอาการปวดท้องแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิน 4 สัปดาห์ควรมา พบแพทย์ แต่หากมีอาการปวดท้องร่วมกับสัญญาณเตือนต่อไปนี้ ต้ อ งรี บ พบแพทย์ ทั น ที ปวดท้องโดยมีอาเจียนร่วมด้วย ปวดท้องเปลี่ยนรูปแบบ เช่น จากที่เคยปวดแสบกลายเป็นปวดบีบ ปวดเกร็ ง ปวดรุ น แรงขึ้น

มีภาวะโลหิตจาง อาจเกิดจากการเสียเลือดในกระเพาะอาหาร ตาเหลือง มีไข้เรื้อรัง 37.5 - 38 องศาตลอดเวลา น้ำหนักลดเกินร้อยละ 10 ภายใน 1 - 2 เดือน รับประทานยาลดกรดด้วยตัวเองแล้ว1 - 2 สัปดาห์แต่ไม่ดีขึ้น ยังปวด ท้องอยู่หรือมีอาการอื่นเพิ่มเติม


IRRITABLE BOWEL SYNDROMES

ไม่ ร้ า ยแรงแต่ เ รื้ อ รั ง รู้ จั ก เข้ า ใจ IBS อาการปวดท้องน้อย ท้องผูก ท้องเสียต่อเนื่องเป็นเวลานาน รับประทานยาแล้วก็ยังไม่หายขาด สร้างความกังวลและเป็นอุปสรรค ต่ อ การใช้ชีวิตประจำวัน จะทำ อย่างไรเมื่อเป็น โรคลำไส้แปรปรวน

มื่อพูดถึงโรคในระบบทางเดินอาหาร

โรคลำไส้แปรปรวน หรือ โรค IBS (Irritable Bowel Syndromes) จัดเป็นโรคที่พบได้บ่อย เป็นอันดับต้น ๆ แต่ยังคงมีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีความเข้าใจผิด เกีย่ วกับโรคนี้ เนือ่ งจากอาการของโรคใกล้เคียงกับโรคอืน่ ๆ เช่น ความผิด ปกติในกระเพาะอาหาร โรคท้องผูก และท้องเสีย ฉบับนี้ พูดคุยกับ นพ. สุริยะ จักกะพาก ศัลยแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร และตับ เพื่อให้คุณได้รู้จักกับกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวนมากขึ้น

แบบไหนที่ ใช่ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวนเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของ ลำไส้ โดยไม่มีความผิดปกติทางกายภาพของลำไส้ที่จะสามารถอธิบายว่า เป็นสาเหตุของอาการได้ ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อ มะเร็ง การอักเสบหรือ อื่น ๆ ทั้งนี้ นพ. สุริยะ อธิบายว่า โรค IBS มีอาการบ่งชี้สำคัญ คือ ผู้ป่วย

มีอาการปวดท้องเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ นานเกิน 6 เดือนขึ้นไป ร่วมกับ การขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งแบ่งตามกลุ่มอาการได้ดังนี้ คือ กลุ่มอาการท้องเสีย กลุ่มอาการท้องผูก กลุ่มอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก “ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง แน่นท้อง โดยมัก ปวดบริ เ วณท้ อ งน้ อ ยข้ า งซ้ า ยหรื อ ข้ า งขวา ร่ ว มกั บ อาการท้ อ งผู ก หรื อ ท้องเสีย บางรายถ่ายผิดปกติติดต่อกันหลายวันจนอาการน่าเป็นห่วง ถ้าเป็นท้องผูกก็จะต่างจากท้องผูกทั่วไปคือมีอาการปวดท้องหรือแน่นท้อง ร่วมด้วย เมื่อถ่ายแล้วอาการปวดท้องแน่นท้องจะดี ขึ้ น ” นพ. สุ ริ ย ะ อธิบายเพิ่มเติม นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องไม่มีอาการอันตราย อาทิ เช่น ถ่ายอุจจาระมีมกู หรือเลือดปน น้ำหนักลด ซีด อาเจียน อุจจาระมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ มีอาการ ปวดเบ่งถ่ายอุจจาระไม่สุด

“ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์

ด้วยอาการปวดท้อง แน่นท้อง บริเวณท้องน้อยข้างซ้ายหรือ สาเหตุและการวินิจฉัย แม้จะเป็นโรคทีพ่ บบ่อย แต่สาเหตุของโรคลำไส้ ข้างขวา ร่วมกับการขับถ่าย แปรปรวนยั งไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แพทย์เชื่อว่า ที่ผิดปกติ” กลไกการเกิดโรคนัน้ อาจเป็นได้ทงั้ จากการเคลือ่ นไหว นพ. สุริยะ จักกะพาก

ของทางเดิ น อาหารผิ ด ปกติ หรื อ ประสาทรั บ รู้ ความรู้สึกในทางเดินอาหารไวกว่าปกติ อย่างไร ก็ตาม ปัจจุบันแพทย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมากขึ้น การวินิจฉัยจึงแม่นยำมากขึ้น



“ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคลำไส้แปรปรวน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี สมาชิกในครอบครัวที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งในระบบทางเดิน อาหารควรได้รับการตรวจทางห้องปฎิบัติการเบื้องต้น เช่น ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ และการตรวจพิเศษอื่น ๆ ตามความเหมาะสม” ส่วนการส่องกล้องนั้น นพ. สุริยะ ให้ความเห็นว่า หากไม่มีปัจจัยเสี่ยง ที่ชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องส่องกล้องทุกรายและทุกครั้งไป โดยปัจจัยเสี่ยง ดังกล่าวมีหลายประการ เช่น ผู้ป่วยมีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่ สุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือผู้ป่วยมีประวัติท้องผูกเป็นเวลานาน หรือมีท้องผูกสลับท้องเสียบ่อย ๆ อาจจำเป็นต้องส่องกล้องเพื่อหาความ ผิดปกติทางกายภาพเพิม่ เติม เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจต่าง ๆ แล้วยังไม่ พบความผิดปกติทางกายภาพจึงจะจัดว่าผู้ป่วยเป็นโรคลำไส้แปรปรวน

รักษาตามอาการ

เนื่ อ งจากยั ง ไม่ ส ามารถระบุ ส าเหตุ ที่ ชั ด เจนของโรคได้ การรั ก ษา โรคลำไส้แปรปรวนจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาระบาย ยาลด อาการปวดเกร็ง ยาคลายกังวล และยาแก้ท้องเสีย ซึ่งไม่ใช่การกำจัด สาเหตุของโรคโดยตรง ทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้อีก

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรค IBS

รคลำไส้แปรปรวนส่งผลร้ายต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนราวร้อยละ

10 ของประชากรตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ วัยทำงานและผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง หากไม่อยากเจ็บป่วยเรื้อรัง ด้วยโรค IBS ลองปฏิบัติตามคำแนะนำง่าย ๆ นี้ 1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยสร้าง ภูมิคุ้มกันโรค 2. หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด 3. รั บ ประทานอาหารเช้ า ให้ ไ ด้ ทุ ก วั น เพราะเป็ น ช่ ว งเวลาที่ ลำไส้ ใ หญ่ ท ำงานมากที่ สุ ด เมื่ อ กิ น เสร็ จ แล้ ว การเดิ น ย่ อ ย อาหารประมาณครึง่ ชัว่ โมงจะทำให้รสู้ กึ อยากเข้าห้องน้ำและควร เข้าห้องน้ำทันที วิธีนี้จะช่วยให้วงจรการขับถ่ายกลับเป็นปกติ 4. ไม่กลั้นถ่าย อาการปวดถ่ายจะอยู่กับเราเพียงประมาณ 2 นาที เ ท่ า นั้ น หากไม่ ถ่ า ยในช่ ว งเวลา ที่ ป วด อุ จ จาระที่ อ ยู่ ใ นลำไส้ จ ะลอยขึ้ น น้ ำ ในอุ จ จาระถู ก ดู ด ซึ ม โดยลำไส้ ท ำให้ อุ จ จาระแข็ ง และเกิ ด อาการท้องผูกตามมา 5. รับประทานอาหารให้ ครบ 5 หมู่ในปริมาณ ที่ พ อเหมาะ โดยอาจ เน้นอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ ซึ่งจะช่วยใน เรื่องของการขับถ่าย “ผู้ ป่ ว ยต้ อ งคอยสั ง เกตตั ว เองแล้ ว หลี ก เลี่ ย งสิ่ ง ที่ จ ะไปกระตุ้ น ให้ เกิดอาการ เช่น ถ้ารับประทานของมันแล้วปวดท้องก็ต้องละเว้น รวมถึง ระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารที่เกิดจากอาหารและน้ำดื่ม ไม่สะอาดเพราะจะทำให้อาการกำเริบได้เช่นกัน”

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยได้

เรื่องนี้นพ. สุริยะแนะนำว่า เมื่อยังไม่ทราบสาเหตุของโรค ผู้ป่วยควร หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ ซึ่งพฤติกรรม เสี่ ย งต่ อ โรค ได้ แ ก่ มี พ ฤติ ก รรมการรั บ ประทานอาหารที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง เช่ น รั บ ประทาน อาหารไม่เป็นเวลา ข้ามอาหารมื้อเช้า รับประทานอาหารไขมันสูง อาหารจานด่วน หรืออาหารที่มีกากใยน้อย มีภาวะเครียด กังวล การขาดการออกกำลังกายและการพักผ่อนที่เพียงพอ

โรคลำไส้แปรปรวนไม่ใช่โรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ไม่ใช่สัญญาณ ของโรคมะเร็ง และผู้ป่วยก็สามารถมีอายุยืนยาวได้เช่นเดียวประชากร ทั่วไป แต่อาการเป็น ๆ หาย ๆ ของโรคนั้นส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต ที่ด้อยลง โดยส่วนใหญ่มักเกิดความเครียดเมื่อไม่หายขาด กังวลว่าจะเป็น โรคร้าย หรือในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียเป็นหลัก อาการของโรค มักเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะต้องเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง “วิ ธี ที่ ดี ที่ สุ ด ในการรั บ มื อ กั บ โรค IBS คื อ อย่ า ไปคิ ด ว่ า โรคนี้ เ ป็ น อันตราย เพราะยิ่งเครียดยิ่งกระตุ้นอาการของโรค แพทย์จะรักษาเพื่อ บรรเทาอาการ ขณะเดียวกันผู้ป่วยก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ ชี วิ ต ด้ ว ยเพื่ อ ให้ อ าการดี ขึ้ น และลดความถี่ ข องการกลั บ มาเป็ น อี ก ” นพ. สุริยะกล่าวในตอนท้าย โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคที่ต้องใช้เวลาในการรักษานาน ความรู้ความ เข้าใจในโรคที่เป็นอยู่จะช่วยให้ผู้ป่วย IBS มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้



BILIARY OBSTRUCTION

เรื่ อ งน่ า รู้ของภาวะตั ว เหลื อ ง ตาเหลื องจากท่อน้ำดี อุ ด ตั น หลายคนรู้จักภาวะตัวเหลืองตาเหลืองจากดีซ่าน แต่ท่อน้ำดีอุดตันคืออะไร และเกี่ยวข้องกับภาวะ ตัวเหลืองตาเหลืองอย่างไร?

าวะตัวเหลืองตาเหลืองที่พบได้บ่อยและหลายคนคุ้นเคยกันนั้น แท้จริงแล้วอาจเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ นอกจากโรค ตั บ อั ก เสบและปั ญ หาของตั บ แล้ ว ยั ง อาจเกิ ด ได้ จ ากโรค ท่อน้ำดีอุดตันอีกด้วย โรคท่อน้ำดีอุดตันคืออะไร มีอาการและรักษาได้ อย่างไร ฉบับนี้จะพาคุณไปหาคำตอบจาก ผศ.นพ. ยุทธนา ศตวรรษธำรง อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ ระบบท่อน้ำดี

“ระบบท่ อ น้ ำ ดี ห ากจะเปรี ย บไปก็ ค ล้ า ยกั บ กิ่ ง ก้ า นของต้ น ไม้ ” ผศ.นพ. ยุทธนาเริ่มอธิบาย “ระบบการทำงานของน้ำดีเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบการย่อยอาหาร นั่นคือ ตับจะทำหน้าที่สร้างน้ำดีส่งมาตามท่อน้ำดี เพื่อมาเก็บที่ถุงน้ำดี โดยถุงน้ำดีนี้ นอกจากจะเป็นที่พักของน้ำดีแล้ว ยังทำให้น้ำดีมีความเข้มข้นขึ้น เมื่อเรารับประทานอาหาร อาหารจะผ่าน ลงมาที่กระเพาะและต่อไปยังลำไส้เล็ก ลำไส้เล็กจะมีการสร้างฮอร์โมน ไปกระตุ้นถุงน้ำดีให้บีบตัว น้ำดีจะไหลออกมาตามท่อน้ำดีไปยังลำไส้เล็ก ส่วนต้นเพื่อย่อยไขมันให้แตกกระจายเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ จากนั้นร่างกาย จะดูดซึมเข้ากระแสเลือดต่อไป”

ไหลแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายไปอยู่ที่เยื่อบุตา และ/หรือน้ำปัสสาวะ หรือที่เรา เรียกกันว่าดีซ่าน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะ สีเข้มซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อและเสียชีวิตได้ในที่สุด” นอกจากภาวะตัวเหลืองตาเหลืองแล้ว ผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีอุดตันจาก ก้อนนิ่วหรือเนื้องอกจะมีอาการแตกต่างกันอยู่บ้าง “อาการท่อน้ำดีอุดตัน จากนิ่ว นอกจากภาวะตัวเหลืองตาเหลืองแล้ว ยังพบอาการปวดท้องช่วง ตรงกลางท้ อ งระหว่ า งสะดื อ กั บ ลิ้ น ปี่ ปวดร้ า วไปที่ ห ลั ง ติ ด เชื้ อ มี ไ ข้ หนาวสัน่ ” ผศ.นพ. ยุทธนา อธิบาย “ส่วนท่อน้ำดีอดุ ตันทีเ่ กิดจากเนือ้ งอกนัน้

แผนภาพแสดงตำแหน่งของท่อน้ำดี

สาเหตุและอาการของท่อน้ำดีอุดตัน

การอุดตันของท่อน้ำดีอาจเกิดขึ้นในระบบน้ำดีส่วนใดก็ได้ โดยสาเหตุ ของการอุดตันมีอยู่สองประการ ได้แก่ นิ่วและเนื้องอก “การอุดตันของ ท่ อ น้ ำดี เ นื่ อ งจากนิ่ ว สามารถเกิ ด ได้ ทุ ก ตำแหน่ งในระบบน้ำ ดี โดยนิ่ว เกิดขึ้นจากองค์ประกอบในการสร้างน้ำดีที่ไม่เหมาะสม จึงเกิดการตก ตะกอนขึ้นในถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดี” ผศ.นพ. ยุทธนากล่าว ทั้งนี้ การตกตะกอนของน้ำดีมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย โดยผู้ที่อยู่ ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้หญิงซึ่งมีฮอร์โมนผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตับแข็ง และผู้ที่มี อายุ เ กิ น 40 ปี ขี้ น ไป “เมื่ อ ท่ อ น้ ำ ดี อุ ด ตั น น้ ำ ดี จ ะย้ อ นไปที่ ตั บ เข้ า สู่ ก ระแสเลื อ ดและ

10

กระเพาะอาหาร

ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ลำไส้เล็ก

ตับอ่อนและ ท่อตับอ่อน



ผู้ ป่ ว ยจะไม่ มี อ าการปวดท้ อ งเนื่ อ งจากก้อนเนื้องอกจะ ค่อย ๆ โต ร่างกายจึงมีการปรับตัว ท่อน้ำดีจะค่อย ๆ ตัน พองขึน้ เรื่อย ๆ แต่จะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง และ คันตามตัวเนื่องจากน้ำดีไปสะสมที่ผิวหนัง” ท่อน้ำดีอุดตันที่เกิดจากเนื้องอกมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็ง ถึงร้อยละ 90 ในประเทศไทยเนื้องอกในระบบท่อน้ำดี พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีการรับประทาน ปลาน้ำจืดที่ไม่สุก อาทิ ปลาส้มปลาก้อยดิบ ๆ ซึ่งมีพยาธิ ใบไม้ในตับ เมื่อพยาธิเข้ามาอยู่ที่ท่อน้ำดีจะขับถ่ายของเสีย เอาไว้ กระตุ้นให้เซลล์ท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติและ กลายเป็ น มะเร็ ง ท่ อ น้ ำ ดี

การวินิจฉัยและรักษา

สำหรั บ การวิ นิ จ ฉั ย โรคท่ อ น้ ำ ดี อุ ด ตั น ในเบื้ อ งต้ น แพทย์จะสอบถามประวัติและเจาะเลือดเพื่อยืนยันภาวะ เหลื อ ง จากนั้ น จึ ง จะทำการตรวจอั ล ตราซาวนด์ เ พื่ อ ดู สภาวะการอุดตันในระบบท่อน้ำดี “ในการตรวจ แพทย์จะพิจารณาระบบ ท่อน้ำดีทั้งหมด ตั้งแต่ท่อน้ำดีในตับ ท่อน้ำดีนอกตับ ตรวจดูบริเวณ ส่วนหัวของตับอ่อนว่ามีการอุดตันหรือไม่ บางกรณีการตรวจอัลตราซาวนด์ ก็เพียงพอให้แพทย์วางแผนการรักษาได้แล้ว แต่ในหลาย ๆ กรณี หากผล จากอัลตราซาวนด์ยังไม่ชัดเจนต้องทำการตรวจซีทีสแกนหรือส่องกล้อง ตรวจเพิ่มเติม” โรคท่ อ น้ ำ ดี อุ ด ตั น นั้ น หากปล่ อ ยไว้ไ ม่ รั ก ษาอาจถึ ง ขั้น เสี ย ชี วิต ได้

12

“ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรค

ได้แก่ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนผิดปกติ หญิงตัง้ ครรภ์ ผูท้ มี่ นี ำ้ หนักมาก มีโรคเบาหวาน ตับแข็ง และ ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีขี้นไป” ผศ.นพ. ยุทธนา ศตวรรษธำรง

ซึ่งผศ.นพ. ยุทธนาเล่าถึงการรักษาว่า “ในสมัยก่อน การรักษาท่อน้ำดี อุดตันที่เกิดจากนิ่ว ต้องมีการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเป็นแผลประมาณ 6 นิ้ว เพื่อเอาก้อนนิ่วออก แต่ปัจจุบันเราใช้วิธีส่องกล้องตรวจรักษาท่อน้ำดี และตับอ่อน หรื อ ERCP (Endoscopic Retrograde Cholangio- pancreatography) ซึ่งแพทย์สามารถทำได้ทั้งในขั้นตอนการวินิจฉัย และรั ก ษาโดยไม่ ต้ อ งผ่ า ตั ด วิ ธี ก ารนี้ ท ำให้ ผู้ ป่ ว ยไม่ มี แ ผลที่ ห น้ า ท้ อ ง พักในโรงพยาบาลสองวันก็กลับบ้านได้” ในการส่องกล้องเพื่อวินิจฉัยหรือรักษา แพทย์จะสอดกล้องผ่านปาก ผ่านกระเพาะอาหารไปจนถึงลำไส้เล็กและหารูเปิดของท่อน้ำดีที่เชื่อมกับ ลำไส้เล็ก เมื่อเข้าในรูเปิดและเจอก้อนนิ่ว แพทย์จะใช้เครื่องมือคล้าย ตะกร้อซึ่งติดอยู่ที่ปลาย เกี่ยวก้อนนิ่วแล้วลากไปไว้ในลำไส้เล็กเพื่อให้ ร่างกายขับถ่ายออกไปพร้อมอุจจาระ ส่ ว นการรั ก ษาท่ อ น้ ำ ดี อุ ด ตั น ที่ เ กิ ด จากเนื้ อ งอก ผศ.นพ. ยุ ท ธนา อธิบายว่า “การจะวินิจฉัยให้ทราบแน่ชัดว่าเนื้องอกนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ต้องเอาเซลล์ออกมาตรวจ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีการเดียวกันคือการ ส่องกล้องแล้วเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมา ถ้าตรวจพบว่าเป็นมะเร็งการ รักษาก็จะเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าผู้ป่วย มีภาวะตัวเหลืองตาเหลืองจากท่อน้ำดีอุดตันด้วย ดังนั้น ในเบื้องต้น แพทย์จะรักษาภาวะตัวเหลืองตาเหลืองก่อน โดยการวางท่อคร่อมส่วนที่ อุดตัน หรือ stent เพื่อระบายน้ำดีให้ไหลลงสู่ลำไส้ได้ เมื่อภาวะนี้หายแล้ว จึงรักษาเนื้องอกต่อไป” แม้ ก ารวิ นิ จ ฉั ย โรคท่ อ น้ ำ ดี อุ ด ตั น จะทำได้ ไ ม่ ย าก แต่ ก ารตรวจ ให้พบนิ่วในถุงน้ำดีตั้งแต่ยังไม่มีอาการยังไม่อาจทำได้ การรักษาสุขภาพ โดยการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงยัง คงเป็นวิธีครอบจักรวาลที่ลดความเสี่ยงต่อโรคลงไปได้มาก



รู้จักกับแพทย์บ�ำรุงราษฎร์ เพราะมุ ่ ง มั่ น ที่ จ ะมอบการดู แ ลที่ ดี ที่ สุ ด ให้ แ ก่ ผู ้ ป ่ ว ย โรงพยาบาลบ� ำ รุ ง ราษฎร์ จึ ง ไม่ เ คยหยุ ด พั ฒ นาตั ว เอง โดยมี เ ป้ า หมายเพื่ อ ด� ำ รงและสร้ า งสรรค์ ค วามเป็ น เลิ ศ ในการให้ บ ริ ก าร ด้านการแพทย์ Better Health ขอแนะน� ำให้รู้จักกับแพทย์ที่มากด้วยทักษะและประสบการณ์ ซึ่งมาเสริมทีมแพทย์ให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมดูแลผู้ป่วยได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น

นพ. ณวรา ดุสิตานนท์ ศัลยแพทย์ - ศัลยศาสตร์ทั่วไป, ศัลยศาสตร์ลำ� ไส้ใหญ่และทวารหนัก นพ. ณวราส�ำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินยิ มอันดับสอง) ด้านศัลยศาสตร์ทวั่ ไป และ ได้ศกึ ษาต่อเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ลำ� ไส้ ใหญ่และทวารหนักจากภาควิชาศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยก่อนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบ�ำรุงราษฎร์ คุณหมอเคยได้ร่วมงานทั้งกับกรมแพทย์ ทหารเรือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ความรู้สึกที่ได้ร่วม การท�ำงานที่นี่ค่อนข้างท้าทาย เพราะเรามักเจอเคสยาก ๆ จากผู้ป่วยทั้งใน งานกับบ�ำรุงราษฎร์ และต่างประเทศ บางเคสผมไม่เคยเจอมาก่อนเลยก็มี A: บ�ำรุงราษฎร์มคี วามเป็น มือ อาชีพ สูง ทั้งการจัดการ Q: มีวิธีจัดการกับความเครียดอย่างไร Q:

เทคโนโลยีการรักษา และบุคลากร แต่ละฝ่ายรับผิดชอบในหน้าทีข่ องตนเอง ได้อย่างดี ท�ำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่นและได้มาตรฐาน ถือเป็น โรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ส�ำหรับแพทย์เอง

A: ผมมีงานอดิเรกหลายอย่าง เช่น ถ่ายรูป ท่องเที่ยว และด�ำน�้ำลึก แต่

ที่ชอบที่สุดคงเป็นการด�ำน�้ำลึก เพราะได้ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างเต็มที่ ตลอดเวลา 3 - 4 วันทีอ่ ยูบ่ นเรือกลางทะเล ไม่มสี ญั ญาณโทรศัพท์ ถูกตัดขาด จากโลกภายนอก ส�ำหรับผมแล้ว นี่วิธีการจัดการกับความเครียดที่ดีที่สุด

รศ. พญ. สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง จักษุแพทย์ จักษุวิทยา, จักษุวิทยาเด็ก นอกเหนือจากการเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเด็กและโรคตาเขแล้ว รศ.พญ.สุดารัตน์ เคยด�ำรงต�ำแหน่งประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และหัวหน้าภาควิชาจักษุวทิ ยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงต�ำแหน่งทางบริหารและวิชาการอีกหลาย ต�ำแหน่ง ก่อนเข้ามาร่วมงานกับบ�ำรุงราษฎร์หลังจากเกษียณอายุราชการ Q: ปัญหาทางสายตาของเด็กที่พบบ่อย A: ปัจจุบันคงหนีไม่พ้นเรื่องสายตาสั้นตั้งแต่อายุน้อย ๆ และสั้นเพิ่มขึ้น

อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้สายตาไปกับหน้าจอต่าง ๆ เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ ผู้ปกครองควรต้องเตือนเด็กให้พักสายตาเป็นระยะ มองไปไกล ๆ และควรออกไปท�ำกิจกรรมนอกบ้านบ้าง Q: สิ่งที่ประทับใจในการเป็นแพทย์ A: แม้จะเป็นจักษุแพทย์เด็กแต่หมอก็ได้ดแู ลผูป้ ว่ ยทุกวัย ผูส้ งู อายุบางคน

รักษากันมานานจนแทบจะสนิทเหมือนญาติ บางคนมาหาเราแล้วไม่พบก็จะ มาใหม่จนกว่าจะได้พบ ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้สึกประทับใจ

14

Q: อะไรคื อ ความ

ภาคภูมิใจในชีวิตการ ท�ำงาน

A: ช่วงปีพ.ศ. 2525 เกิดความวุ่นวายในกัมพูชา ประเทศไทยต้องรองรับ

ผูอ้ พยพนับแสนคน ค่ายผูอ้ พยพทีเ่ ขาอีดา่ ง ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ อย่างมาก หมอเป็นหัวหน้าชุด Thai Red Cross Eye Specialist Surgical Team ของสภากาชาดไทยเข้าไปช่วยเหลือผู้อพยพเหล่านี้ เดินทางไป-กลับ ทุกเสาร์ – อาทิตย์เป็นเวลากว่า 10 ปี งานอาสาครั้งนั้นได้รับรางวัลด้าน มนุษยธรรมจาก American Red Cross ซึง่ รูส้ กึ เป็นเกียรติและภาคภูมใิ จมาก


นพ. กุลวี เนตรมณี อายุรแพทย์โรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ กว่า 30 ปีที่นพ.กุลวีดูแลผู้ป่วยจากนานาประเทศทั่วโลกที่มีปัญหาด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจและ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยท�ำการรักษาประจ�ำอยู่ทั้งในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยัง เป็นผู้ริเริ่มการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเรื้อรังและชนิดที่เป็นชั่วคราวโดยการจี้หัวใจด้วย คลื่นวิทยุความถี่สูง นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายในสถาบันและการประชุมวิชาการต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงมีผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการอีกมากมาย Q: สิ่งที่ยากที่สุดในการเป็นแพทย์คืออะไร A: ในฐานะแพทย์เราก็อยากรักษาผูป้ ว่ ยให้ดที สี่ ดุ แต่การจะท�ำให้ทกุ

คนหายเป็นปกติคงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นยิ่งรักษาผู้ป่วยจ�ำนวนมาก ขึน้ โอกาสทีจ่ ะเจอกับผูป้ ว่ ยทีเ่ รารักษาไม่หายก็มมี ากขึน้ แม้จะเป็นส่วน น้อยก็ตาม แต่เราจะจดจ�ำผูป้ ว่ ยเหล่านัน้ ได้และท�ำใจยาก เช่น ถ้ารักษา ไม่หายขาดร้อยละ 2 ก็หมายความว่าถ้าเรารักษาผู้ป่วยแค่ 100 คนก็มี เพียง 2 คนที่ไม่หาย แต่ถ้าเรารักษาผู้ป่วยเพิ่มเป็น 1,000 คน จ�ำนวนก็ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย Q: แนวคิดหลักในการท�ำงานคืออะไร A: เรียนรูอ้ ยูต่ ลอดเวลาและตลอดไป พยายามบอกตัวเองเสมอว่าเรา

ยังไม่รู้เท่าที่ควร จึงต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและเรียนรู้เทคโนโลยี

ใหม่ ๆ แล้วน�ำมาปรับใช้กับงาน วิจยั เพือ่ ให้ได้สงิ่ ทีเ่ ป็นประโยชน์และ ดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วย Q: เทคโนโลยีในการรักษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

ในระยะ 10 ปีหลังมานี้

A: เปลีย่ นแปลงไปมากและเปลีย่ นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เพราะแพทย์

เก่งขึน้ อย่างเดียว แต่เป็นเพราะความก้าวหน้าของศาสตร์หลาย ๆ ด้าน ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรม การพัฒนาซอฟท์แวร์ หรือการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างอัลตราซาวนด์ เอ็มอาร์ไอ และซีทสี แกน เป็นต้น ซึ่งล้วนมีส่วนอย่างมากต่อการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน

นพ. ณัฐวุฒิ วะน�้ำค้าง จักษุแพทย์ - จักษุวิทยา, ศัลยกรรมตกแต่งเกี่ยวกับตา, ต้อกระจก นพ. ณัฐวุฒิจบการศึกษาเฉพาะด้านจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคท่อน�ำ้ ตาอุดตัน โรคของเปลือกตา เบ้าตา และศัลยกรรม ตกแต่งเปลือกตา รวมทั้งให้เวลากับการถ่ายทอดวิทยาการด้านจักษุวิทยาใหม่ ๆ แก่จักษุแพทย์ ทั้งในและต่างประเทศ Q: ท�ำไมจึงสนใจงานทาง

ด้านวิชาการเป็นพิเศษ

A: ผมเชือ่ เรือ่ งการเรียนรูแ้ บบ

ที่เราต้องลงไปคลุกกับมัน ได้ เห็น ได้ทำ � ได้ผา่ นประสบการณ์ จริง ถ้าพบปัญหาก็จดจ�ำแล้วพยายามทบทวนแก้ไข จนถึงจุดหนึง่ ทีม่ นั่ ใจ แล้วก็ต้องรู้จักการให้ ยิ่งให้ก็ยิ่งได้ เพราะเมื่อเราแบ่งปันความรู้กับใคร แล้วเขาน�ำไปใช้หรือแบ่งปันต่อ ๆ กันไป ก็ท�ำให้เราได้ความสุขกลับมา งานวิชาการเป็นเรื่องของการให้ ผมคิดว่าโรงพยาบาลที่มีความ พร้อมทั้งด้านเครื่องมือ บุคลากร และมีจำ� นวนเคสที่มากพอ สามารถ พัฒนาเป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะด้านเพือ่ ถ่ายทอดความรูไ้ ด้ เมือ่ มาร่วม งานกับบ�ำรุงราษฎร์กเ็ ชือ่ ว่าทีน่ ที่ ำ� ได้ ล่าสุดเราจัดสัมมนาเชิงปฎิบตั กิ าร

เรื่อง Master Techniques in Ophthalmic Plastic and Reconstructive Surgery, The 2nd International Training Course โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ระดับโลกเดินทางมาบรรยาย ได้ส่งผ่านความรู้ให้แพทย์กว่า 250 ท่าน นับว่าประสบความส�ำเร็จมาก Q: การร่วมงานกับบ�ำรุงราษฎร์ A: บ�ำรุงราษฎร์มแี พทย์เฉพาะทางทีม่ คี วามเชีย่ วชาญจ�ำนวนมาก ผม

จ�ำได้ว่ามีเคสหนึ่งที่ยากมาก คือผู้ป่วยเป็นมะเร็งที่ส่วนบนของใบหน้า และมะเร็งได้กินเข้าไปในเบ้าตาจนถึงสมอง เราระดมแพทย์ทุกสาขาที่ เกี่ยวข้องมาช่วยกัน ใช้เวลาในการผ่าตัดถึง 11 ชั่วโมงจึงส�ำเร็จด้วยดี เป็นบรรยากาศการท�ำงานทีแ่ ทบไม่ตา่ งจากโรงเรียนแพทย์ซงึ่ หาได้คอ่ น ข้างยากครับ

15


PANCREATIC DISEASE

โรคของตับอ่อน อีกหนึ่งภัยร้ายในระบบทางเดินอาหาร

ตั

บอ่อนอักเสบ มะเร็งตับอ่อน และถุงน้ำในตับอ่อน อาจเป็นโรค

ที่พบได้ไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับโรคในระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ แต่โรคที่เกี่ยวกับตับอ่อนเหล่านี้มีความรุนแรงและในบางกรณี ไม่มีอาการบ่งชี้และไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคและอาการที่ควรเฝ้าระวังช่วยให้ ผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักและรีบมาพบแพทย์ให้เร็ว ที่สุด เพราะยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไรโอกาสหายจากโรคก็ยิ่งมีมากเท่านั้น ฉบับนี้รวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคของตับอ่อน จากการพูดคุยกับ นพ. รุจาพงศ์ สุขบท อายุรแพทย์โรคระบบทางเดิน ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และเซลล์จากต่อมมีท่อที่มีหน้าที่สร้างน้ำย่อย อาหารและโรคตับ มาฝากกัน อาหารโดยเฉพาะไขมัน โดยน้ำย่อยจะผ่านเข้าไปในลำไส้เล็กผ่านทาง ท่อตับอ่อน รู้จักกับตับอ่อน ตับอ่อนเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร มีลักษณะเป็นต่อม ขนาดใหญ่ มีรปู ร่างยาวรีคล้ายใบไม้ ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ตำแหน่ง โรคตับอ่อนอักเสบ ของตับอ่อนนั้นไม่ได้อยู่ในช่องท้อง แต่อยู่ด้านหลังของกระเพาะอาหาร โรคที่ เ กิ ด กั บ ตั บ อ่ อ นที่ พ บได้ บ่ อ ยที่ สุ ด ได้ แ ก่ โรคตั บ อ่ อ นอั ก เสบ ซึ่งนพ.รุจาพงศ์ อธิบายว่า เป็นภาวะที่น้ำย่อยในตับอ่อนไม่สามารถไหล ใกล้ กั บ ลำไส้ เ ล็ ก ส่ ว นต้ น ตับอ่อนประกอบด้วยเซลล์หลัก 2 ชนิด คือ เซลล์จากต่อมไร้ทอ่ มีหน้าที ่ ผ่านท่อของตับอ่อนได้ ทำให้เกิดการย่อยเนื้อเยื่อของตัวตับอ่อนเอง ส่งผล สร้างฮอร์โมนหลายชนิด อาทิ อินซูลินและกลูคากอน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม ให้เกิดการอักเสบขึ้น เมื่อมีการอักเสบหลายครั้งเข้าก็จะกลายเป็นการ อักเสบแบบเรื้อรัง และจะเริ่มมีหินปูนไปเกาะที่ตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนมี ขนาดเล็กลง สมรรถภาพในการทำงานลดลง แผนภาพแสดงตำแหน่งของตับอ่อน “การอักเสบของตับอ่อนแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ การอักเสบแบบ เฉียบพลัน และการอักเสบแบบเรื้อรัง โดยผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบแบบ ตั บ อ่ อ น เฉียบพลันก่อน หากโรคไม่หายขาดหรือกลับมาเป็นอีกเพราะสาเหตุยัง ท่อน้ำดี คงอยู่ ก็จะกลายเป็นการอักเสบแบบเรื้อรัง” ในการอักเสบแบบเฉียบพลันนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างมาก ถุงน้ำดี และปวดตลอดเวลา โดยจะปวดร้าวไปทางด้านหลังเหมือนโดนมีดแทง นอกจากนี้ ยั ง อาจมี อ าการคลื่ น ไส้ อาเจี ย นร่ ว มด้ ว ย แต่ ก็ เ ป็ น ไปได้ ท ี่ ผู้ ป่ ว ยจะมี อ าการปวดท้ อ งเพี ย งเล็ ก น้ อ ยหรื อ ไม่ มี อ าการปวดเลยแต่ พบได้น้อยมาก ส่ ว นการอั ก เสบแบบเรื้ อ รั ง ผู้ ป่ ว ยอาจปวดท้ อ งไม่ ม ากแต่ มั ก มี อาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดท้องเรื้อรัง ไม่สามารถควบคุมระดับ ท่อตับอ่อน น้ ำ ตาลได้ เกิ ด โรคเบาหวาน ท้ อ งเสี ย เรื้ อ รั ง เพราะไม่ ส ามารถย่ อ ย ไขมันได้ ถ่ายอุจจาระมีไขมันลอยอยู่ น้ำหนักลด มี อ าการตาเหลื อ ง ตัวเหลือง เป็นต้น ลำไส้เล็ก

ปัจจัยการเกิดโรค

ลำไส้เล็กส่วนต้น

16

การดื่ ม เครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ อ ย่ า งหนั ก และนิ่ ว ในถุ ง น้ ำ ดี เ ป็ น สาเหตุหลักของโรคที่พบได้มากที่สุด ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะ


ไตรกลีเซอไรด์สูง ผลข้างเคียงของยาบางชนิด โรคภูมิต้าน ตนเอง มีพยาธิหรือไวรัสบางอย่าง “มีประมาณร้อยละ 5 - 10 ที่เราไม่พบสาเหตุของโรค ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีโอกาสกลับมาเป็น โรคได้อกี เพราะเราไม่รวู้ า่ ต้นเหตุคอื อะไร” นพ. รุจาพงศ์ กล่าว

การวินิจฉัยและรักษา

“โรคนี้สามารถรักษาให้หาย

ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบที่มีอาการไม่รุนแรงมักมาพบแพทย์ ด้วยอาการปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งการ ตรวจเลือดเพื่อดูเอนไซม์ของตับอ่อนที่ขึ้นสูง ร่วมกับการทำ อั ล ตราซาวนด์ แ ละเอกซเรย์ ค อมพิ ว เตอร์ จ ะช่ ว ยให้ แ พทย์ วินิจฉัยได้ว่ามีอาการตับอ่อนอักเสบหรือไม่ เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการตับอ่อนอักเสบ แพทย์จะทำการ รักษาโดยให้ งดน้ำ งดอาหาร เพื่อหยุดการทำงานของตับอ่อน ร่วมกับการให้ยาลดอาการปวด และให้น้ำ 24 - 48 ชั่วโมง เพราะผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะขาดน้ำ ในกรณีที่มีการอักเสบมากจน เกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อตับอ่อน จะมีโอกาสติดเชื้อสูง แพทย์จะให้ยา ปฏิชีวนะและอาจต้ อ งทำการผ่าตัด เพื่อเปิ ดเข้า ไปล้างทำความสะอาด “โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจ พบสาเหตุของโรค เช่น พบว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีเราก็ผ่าตัดออกไป ดังนั้น ถ้ า ตรวจพบเร็ ว และไม่ มีโ รคแทรกซ้ อน โรคนี้ถื อเป็ นโรคที่มีอั ตราการ เสียชีวิตต่ำ ส่วนโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังที่ยังหาสาเหตุไม่ได้นั้น ผู้ป่วย จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยง ที่โรคอาจพัฒนาไปเป็นโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวาน หรือมะเร็งในตับอ่อนได้” นพ. รุ จ าพงศ์ ก ล่ า วเสริ ม

ขาดได้ถ้าตรวจพบเร็วและ ผู้ป่วยไม่มีโรคแทรกซ้อน ถื อ เป็ น โรคที่ มี อั ต รา การเสียชีวิตต่ำ” นพ. รุจาพงศ์ สุขบท

ท้องอืด ท้องเสียเบื่ออาหาร ตัวเหลือง หรือไม่มีอาการเลยก็ได้ แต่พบจาก การตรวจสุขภาพทั่วไปที่แพทย์เกิดข้อสงสัยจากผลการตรวจเลือด และ แนะนำให้ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สำหรับสาเหตุของโรคนั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่งาน วิจัยพบว่าการสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสัตว์ในปริมาณสูง รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรม อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคได้ เช่นเดียว กับผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่มีถุงน้ำในตับอ่อน

การรักษา

การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งทำได้ในกรณี ที่ตรวจพบเร็วและมะเร็งยังไม่แพร่กระจาย “หลายครั้งที่กว่าจะพบ ผู้ป่วย มะเร็งตับอ่อน ก็เป็นมากแล้วคืออยู่ในระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดได้และมีอัตราการรอด แม้จะพบไม่บ่อยนักในประเทศไทย แต่จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อน ชีวิตต่ำ ดังนั้น เราจะแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตรวจสุขภาพอย่าง ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ขณะที่องค์การอนามัยโลกรายงานว่า สม่ำเสมอ อาจจะทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี” นพ. รุจาพงศ์ แนะนำในช่วงท้าย มะเร็ ง ตั บ อ่ อ นเป็ น สาเหตุ ข องการเสี ย ชี วิ ต สู ง เป็ น อั น ดั บ เจ็ ด ของการ การเจ็ บ ป่ ว ยนั้ น บางครั้ ง อาจยั ง ไม่ ท ราบสาเหตุ แ ละไม่ มี อ าการ เสียชีวิตจากมะเร็งทั่วโลกและเป็นอันดับสี่ในสหรัฐอเมริกา บ่ ง ชี้ เ ฉพาะ อย่ า นิ่ ง นอนใจหากคุ ณ อยู่ ใ นกลุ่ ม เสี่ ย งเพราะเรื่ อ งของ สุ ข ภาพนั้ น ประมาทไม่ ไ ด้

อาการและสาเหตุ

มะเร็งตับอ่อนจัดเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรงเนื่องจากตรวจพบได้ยากและ อาการในระยะแรกไม่จำเพาะ ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง

ถุงน้ำในตับอ่อน

ถุ

งน้ำ หรือ ซีสต์ (cysts) เป็นความผิดปกติของอวัยวะหรือของ ซึ่งหากนำของเหลวภายในไปตรวจแล้วไม่มีข้อบ่งชี้ใด ๆ แพทย์จะเพียง

เนื้อเยื่อที่เกิดได้แทบทุกส่วนของร่างกายรวมถึงในตับอ่อน โดยถุงน้ำ จะมีลักษณะเป็นถุงปิด ภายในอาจมีน้ำ ของเหลว หรือก้อนเนื้อ นิ่ม ๆ ที่เกิดจากของเหลวปนกับเนื้อเยื่อ โรคถุงน้ำในตับอ่อนเป็นโรคที่ พบได้ค่อนข้างน้อย และโดยทั่วไปถุงน้ำจะมีขนาดเล็กผู้ป่วยจึงมักไม่มี อาการ แต่ตรวจพบได้จากการอัลตราซาวนด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

แค่ ต ามดู อ าการว่ า ถุ ง น้ ำ มี ข นาดใหญ่ ขึ้ น หรื อ ไม่ แต่ ถ้ า พบว่ า มี โ อกาส พัฒนาไปเป็นมะเร็ง แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดออกทันที ถุงน้ำในตับอ่อนเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย นับเป็นหนึ่งในโรคที่ ผู้ป่วยได้ประโยชน์จากการเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

17


ปั

ญหาสุขภาพช่องท้องเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และบางครั้งอาจ เกิดในสถานการณ์ที่ยากจะรับมือ ค�ำแนะน�ำที่ถูกต้องจาก ผูเ้ ชีย่ วชาญจะช่วยให้คณุ จัดการกับปัญหาได้อย่างถูกต้องและลดความ กังวลไปได้มาก

Q: ลูกสาวมีอาการท้องเสีย มีคนแนะน�ำให้รับประทานโยเกิร์ตแทนยา

วิธีนี้สามารถท�ำได้ไหมคะ A: โดยปกติเรามักได้ยินว่าเมื่อมีอาการท้องเสียให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ จ�ำพวกนมหรือที่ท�ำจากนม แต่นมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตต้องถือเป็นข้อยกเว้น เพราะถึงแม้จะท�ำจากนม แต่โยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์โปรไบโอติก (Probiotic) หรือจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เช่น แลคโตบาซิลลัส บิฟิโดแบคทีเรียม บางชนิดบาง สายพันธุ์ กลับเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหากได้รับในปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งในกรณีท้องเสีย โยเกิร์ตประเภทนี้จะเข้าไปสร้างสมดุลในล�ำไส้และช่วย ยับยั้งอาการปวดท้องหรือท้องเสียที่เกิดจากเชื้อโรคได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานโยเกิร์ตเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดคือดูแลไม่ให้ร่างกายขาดน�้ำด้วยการดื่มน�้ำเปล่าหรือเครื่อง ดื่มเกลือแร่เพื่อรักษาสมดุลของน�้ำและแร่ธาตุในร่างกาย โดยไม่จำ� เป็นต้อง

รับประทานยาเสมอไป เพราะการขับถ่ายเป็นการระบายเชือ้ โรคและของเสีย ออกจากร่างกาย การใช้ยาบางชนิดเพื่อหยุดการขับถ่ายในทันที อาจท�ำให้ เชือ้ โรคถูกกักอยูใ่ นร่างกาย และมีผลเสียติดตามมา รวมถึงการท�ำให้อาการ ต่างๆ หายช้าลง

Q: เคยท้องร่วงระหว่างเดินทาง ครั้งนี้เลยกังวลว่าจะเป็นอีก ผมควร

Q: ปีนี้ผมอายุ 50 แล้ว คุณหมอแนะน�ำว่าควรส่องกล้องล�ำไส้ใหญ่เพื่อ

กินยาป้องกันไว้ก่อนเลยดีไหมครับ A: ร้อยละ 20 - 50 ของนักท่องเที่ยวมักพบกับฝันร้ายจากอาการท้อง ร่วงระหว่างเดินทาง ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงสัปดาห์แรกแต่มักไม่รุนแรง และสามารถหายได้เองภายในหนึ่งสัปดาห์ ดังนั้น แพทย์จึงไม่แนะน�ำ ให้รบั ประทานยาป้องกันอาการท้องร่วงล่วงหน้า เพราะอาจท�ำให้เกิดผล ข้างเคียง เช่น ท้องอืดได้ โดยปกติอาการท้องร่วงมีสาเหตุมาจากการรับ ประทานอาหารทีไ่ ม่ถกู สุขลักษณะหรืออาหารทีม่ เี ชือ้ โรคปะปน ดังนัน้ สิง่ ที่ควรท�ำคือ ระวังเรื่องอาหารและน�้ำดื่มเป็นพิเศษ ไม่รับประทานของ สุก ๆ ดิบ ๆ หากไม่แน่ใจเรื่องความสะอาดก็ไม่ควรลอง

ตรวจหามะเร็ง ซึง่ ผมค่อนข้างกังวล ไม่ทราบว่าจะมีวธิ ตี รวจแบบอืน่ อีกไหม ครับที่ให้ผลไม่ต่างกัน A: สถิตลิ า่ สุดจากสถาบัน มะเร็งแห่งชาติ ระบุว่าใน จ�ำนวนผูป้ ว่ ยมะเร็งรายใหม่ นั้น ผู้ป่วยมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ และทวารหนั ก มี ม ากเป็ น อั น ดั บ สองรองจากมะเร็ ง เต้ า นม โดยเป็ น ผู ้ ช าย มากกว่ า ผู ้ ห ญิ ง และส่ ว น ใหญ่ผู้ป่วยอยู่ในวัย 50 ปี ขึ้นไป ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรเข้ารับ การตรวจตามค�ำแนะน�ำ ปัจจุบัน มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งล�ำไส้ใหญ่หลายวิธี นอกเหนือจาก การส่องกล้องตรวจล�ำไส้ใหญ่ หรือ Colonoscopy แล้ว ก็ยังมีการตรวจหา เลือดในอุจจาระ การส่องกล้องบริเวณล�ำไส้สว่ นปลาย และการเอกซเรย์ดว้ ย คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่ละวิธกี ม็ ขี อ้ ดีขอ้ เสียแตกต่างกันซึง่ แพทย์จะพิจารณา ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย แต่โดยทั่วไปแล้ว Colonoscopy ถือเป็นวิธที มี่ คี วามปลอดภัยและให้ความแม่นย�ำสูง นอกจากนี้ ก่อนการตรวจ ผู้ป่วยจะได้รับยานอนหลับอยู่แล้ว จึงไม่มีอะไรน่ากังวล

หากคุณมีข้อสงสัยเรื่องสุขภาพ ส่งค�ำถามของคุณมาที่: บรรณาธิการนิตยสาร โรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 33 สุขุมวิท ซอย 3 กรุงเทพฯ 10110

18

ฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ



HEALTH BRIEFS

บุหรี่-เหล้า ส่วนผสมของ มะเร็งหลอดอาหาร

ม่ ว่ า จะเป็น เหล้ า หรื อบุ หรี่ต่างก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็ง ในหลอดอาหาร แต่ จ ากการศึ ก ษาล่ า สุ ด ซึ่ ง ได้ รั บ การตี พิ ม พ์ ใ น The American Journal of Gastroenterology พบว่ า ผู้ ที่ ทั้ ง ดื่ ม แอลกอฮอล์ แ ละสู บ บุ ห รี่ ค วบคู่ กั น นั้ น มี โ อกาสที่ จ ะเป็ น มะเร็ ง ในหลอดอาหารมากกว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เพียงอย่างใด อย่างหนึ่งถึงเกือบสองเท่าตัว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รวบรวม ข้อมูลจากหลากหลายฐานข้อมูลรวมถึงศึกษาจากงานวิจัยหลายชนิด ที่ทำในผู้ป่วยโรคมะเร็งในหลอดอาหาร โดยเป็นการศึกษาผลกระทบ ของแอลกอฮอล์ แ ละ/หรื อ บุ ห รี่ ที่มีต่อผู้ป่วย ซึ่งผลที่ได้จากการ ประมวลอย่างเป็นระบบยืนยันว่า แอลกอฮอล์ แ ละบุ ห รี่ นั้ น เป็ น ทั้ ง ปัจจัยโดดและปัจจัยที่เชื่อมโยง กันในการเพิ่มความเสี่ยงของโรค มะเร็ ง ในหลอดอาหาร

วิตามินดีเพิม่ อัตราการรอดในผูป้ ว่ ย มะเร็งลำไส้ ใหญ่

านวิจัยล่าสุดของ มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก ประเทศอั ง กฤษ พบว่ า ผู้ ป่ ว ยโรค มะเร็ ง ลำไส้ ใ หญ่ ที่ ไ ด้ รั บ วิ ต ามิ น ดี อย่างเพียงพอมีอัตราการรอดชีวิต สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ ผู้ ป่ ว ยระยะที่ 2 ซึ่ ง ก้ อ นเนื้ อ มี ขนาดใหญ่ พ อสมควรแต่ ยั ง ไม่ ลุกลาม ทั้งนี้ นักวิจัยได้ทำการตรวจ ตั ว อย่ า งเลื อ ดของผู้ ป่ ว ยโรคมะเร็ ง ลำไส้ ใ หญ่ แ ละทวารหนั ก จำนวนกว่ า 1,600 คนภายหลังการผ่าตัดรักษา และพบว่า เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี สามในสี่ของผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีสูงยังคงมี ชีวิตอยู่ ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีต่ำนั้นเหลือจำนวนน้อยกว่า สองในสาม แสดงให้เห็นวิตามินดีมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของ ผู้ป่วย แม้จะยังไม่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดก็ตาม อย่ า งไรก็ ต าม นั ก วิ จั ย ชี้ แ จงว่ า ในกรณี นี้ ผู้ ป่ ว ยได้ รั บ วิ ต ามิ น ดี จ าก ธรรมชาติ เช่น จากแสงแดดและอาหาร ส่วนที่ว่าวิตามินดีในรูปอาหาร เสริมจะได้ผลหรือไม่นั้น ต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

ฝึกเด็กกินผัก ควรเริ่มก่อนสองขวบ

“ลู

กไม่ยอมกินผัก” ดูจะเป็นปัญหาของหลาย ๆ ครอบครัวและเป็น ปัญหาร่วมของคุณพ่อคุณแม่ทั่วโลก เพราะไม่ว่าจะหลอกล่ออย่างไร เจ้าตัวเล็กก็ยังคงยืนยันมั่นคงว่าไม่เอาผัก จนคนป้อนต้องล้มเลิก ความตั้ ง ใจในที่ สุ ด แต่ จ ากการศึ ก ษาร่ ว มกั น ของมหาวิ ท ยาลั ย ในอั ง กฤษ ฝรั่งเศส และเดนมาร์คพบว่า การฝึกเด็กให้รับประทานผักนั้นมีเทคนิคง่าย ๆ คือเริ่มให้เร็ว และต้องไม่ยอมแพ้ งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยให้เด็กวัยก่อนอนุบาลจำนวน 403 คน อายุตั้งแต่ 4 เดือนจนถึง 3 ขวบ รับประทานผักอาร์ติโชคที่บดจนเหลวเป็นจำนวน 5 - 10 ครั้ง ๆ ละ 100 - 200 กรัม โดยป้อนก่อนอาหารมื้อหลักหรือเป็น ของว่างยามบ่าย แล้วบันทึกว่าเด็กแต่ละคนรับประทานได้มากน้อยแค่ไหน ผลก็คือร้อยละ 40 ของเด็กทั้งหมดมีแนวโน้มที่จะรับประทานผักมากขึ้นใน “เด็ ก ยิ่ ง อายุ น้ อ ยจะเลื อ กกิ น น้ อ ยกว่ า เราพบว่ า การฝึ ก ให้ เ ด็ ก แต่ละครั้ง อีกร้อยละ 21 รับประทานผักเกือบหมดทุกครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 16 รับประทานผักควรเริ่มก่อน 2 ขวบและทำให้บ่อยครั้งเข้าไว้ ลองสัก ป้อน 5 ครั้งแล้วก็ยังปฏิเสธ ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มที่วัดผลแน่นอนไม่ได้ 5 - 10 ครั้งแล้วคุณจะเห็นผล” นักวิจัยกล่าว

20



อบรมเชิงปฏิบัติการการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผ่านกล้องเอ็นโดสโคป ครั้งที่ 5

ถาบันกระดูกสันหลังบ�ำรุงราษฎร์ร่วมกับโรงพยาบาล เซนต์ แอนนา ประเทศเยอรมนี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่าน กล้องเอ็นโดสโคป ประจ�ำปี 2557 ซึ่งเป็นการจัดในประเทศไทยต่อเนื่องเป็น ครั้งที่ 5 โดย นพ.วีรพันธ์ ควรทรงธรรม ผู้อ�ำนวยการสถาบันกระดูกสันหลัง และ นพ.สมโภชน์ ไพบูลย์ศิริจิต ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เป็นผู้น�ำการอบรม พร้อมด้วย มร. แมค แบนเนอร์ ที่ปรึกษาด้านบริหาร และ ศัลยแพทย์กระดูก สันหลังจากทั่วโลกที่ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรม ณ โรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา) 1. รศ.นพ. ธเนศ วัฒนะวงษ์ 2. พล.อ.ท.นพ. วิศษิ ฐ์ ดุสติ นานนท์ 3. มร. แมค แบนเนอร์ 4. นพ. วีระพันธ์ ควรทรงธรรม 5. นพ. สมโภชน์ ไพบูลย์ศิริจิต 6. Mr. Dirk Goehel 7. Dr. Semih Oezdemir 8. Ass. Prof. Dr. Chi Heon Kim

ร่ วมเปิ ด งานห้ อ งปฏิ บัติ การสรี ร วิท ยา กระแสไฟฟ้ าหั วใจ

พ. น�ำ ตันธุวนิตย์ ผูอ้ ำ� นวยการด้านบริหารและผูอ้ ำ� นวยการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ แถลงข่าวเปิดห้องปฏิบัติการสรีรวิทยากระแส ไฟฟ้าหัวใจ (EP Lab) หนึง่ ในวิทยาการทางการแพทย์ขนั้ สูงด้านการรักษาภาวะหัวใจ เต้นผิดจังหวะของภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมคณะแพทย์ผเู้ ชีย่ วชาญ ด้านสรีรวิทยากระแสไฟฟ้าหัวใจ ร่วมงาน ณ โรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์

รพ. บ�ำรุงราษฎร์ เปิดศูนย์ฝกึ ทักษะการดูแลผูป้ ว่ ย ด้วยสถานการณ์เสมือนจริง

ร. เดนนิส บราวน์ Corporate CEO พญ. จิตรา อนุราษฎร์ รองผู้อ�ำนวยการ ด้านการแพทย์อาวุโส พร้อมด้วยผู้บริหารโรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ ร่วมเปิด ศูนย์ฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยด้วยสถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Training Center) ส�ำหรับฝึกอบรมพยาบาลเพื่อให้เกิดความช�ำนาญในการดูแลผู้ป่วยและ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยในทุกขั้นตอน และบริการผู้ป่วยได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ ถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ที่น�ำ หุ่นผู้ป่วยจ�ำลองนี้มาใช้ โดยจ�ำลองให้เหมือนผู้ป่วยจริง ๆ สามารถแสดงสถานการณ์ ต่าง ๆ ทั้งปกติและผิดปกติจนถึงขั้นวิกฤติผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้มากกว่า 60 สถานการณ์หลัก อาทิ มีชีพจร เสียงหัวใจ เสียงปอด เหงื่อไหล น�้ำตาไหล สั่น ชัก อาการเขียวที่ปลายเล็บมือเล็บเท้า ซึ่งช่วยให้พยาบาลที่เข้าอบรมได้รับการฝึกทักษะ ในการดูแลผู้ป่วยและการแก้ไขปัญหาเหมือนกับการดูแลผู้ป่วยจริง ๆ

บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา) 1. นพ. วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต 2. ศ.พญ.จิตรา อนุราษฎร์ 3. นพ. น�ำ ตันธุวนิตย์ ผู้อ�ำนวยการด้านบริหารและผู้อ�ำนวยการด้านการแพทย์ 4. นพ.กุลวี เนตรมณี 5. นพ. เกรียงไกร จิรสิริโรจนากร 6. นพ. โชติกร คุณวัฒน์ 7. คุณบ๊อบ – ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์

น้องแตงโมได้กลับบ้านกับคุณพ่อ หลังจากผ่าตัดหัวใจ

น้

องแตงโม อายุเพียง 1.9 ปี จากสุราษฎร์ธานี หนึ่งในผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำ� เนิด จากจ�ำนวน 28 รายที่ได้รับการผ่าตัดไปแล้วในปี 2557 นี้ หลังจากที่ต้องรอคอยมานาน โดยโครงการ “รักษ์ใจไทย” ของมูลนิธโิ รงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์และโรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ โดยการสนับสนุนของมูลนิธเิ ด็กโรค หัวใจฯ ได้ชว่ ยเหลือผ่าตัดให้นอ้ งแตงโมโดยไม่คดิ ค่าใช้จา่ ยจนหายเป็นปกติ และกลับไปใช้ชวี ติ กับครอบครัวและ เพื่อน ๆ ได้ ซึ่งนับตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา โครงการฯ ได้ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการผ่าตัดไปแล้ว 689 ราย (ตัวเลขถึง 31 ก.ค. 2557) ผู้มีจิตเมตตาร่วมบริจาคสมทบทุนโครงการ “รักษ์ใจไทย” ได้โดยสั่งจ่ายเช็คในนาม ”มูลนิธิโรงพยาบาล บ�ำรุงราษฎร์” หรือโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 197-0-111157 ธนาคารกรุงเทพ สาขานานาเหนือ และส่งหลักฐาน การโอนเงินได้ที่ หมายเลขโทรสาร 0 2667 2031 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2667 1398

22




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.