สถาปัตยกรรม กับ ผู้คน

Page 1

architecture and people สถาปัตยกรรม กับ ผู้คน

eugene raskin ; translated by ochakorn pharksuwan


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

คำนำ ความเข้าใจในเรื่องราวของสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อการใช้ ชีวิตของผู้คน ตลอดจนผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสถาปนิกและผู้ศึกษางานทางด้าน สถาปัตยกรรม การเขียนหนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสร้างความเข้าใจ พื้นฐานในบางประการของงานสถาปัตยกรรมที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน โดยแปล หนังสือ Architecture and People ของ ศาสตราจารย์ Eugene Raskin, A.I.A. ที่สอนในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ท่านได้เขียนไว้เมื่อปี ค.ศ. 1974 อธิบาย ถึงความเกี่ยวข้องของงานสถาปัตยกรรมกับผู้คนได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะผ่านกาลเวลา มากว่า 40 ปี แต่เป็นเรื่องของรากฐานและพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ประเด็นของข้อมูลบางประการของท่านนั้นน่าสนใจเพราะท่านได้คาดเดาเหตุการณ์ใน อนาคตได้อย่างถูกต้อง ในการแปลนี้ ผู้เขียนจะพยายามแทรกตัวอย่างในบริบทของไทย โดยการอธิบายเพิ่มเติมอยู่ใน(วงเล็บ)รวมถึงแนบคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากต้นฉบับไว้ใน บางกรณีเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น ภาพประกอบได้จัดทำขึ้นใหม่ตามรูป แบบของต้นฉบับเดิม และหนังสือเล่มนี้ได้รับลิขสิทธ์ในการแปลจากสำนักพิมพ์เพียรสัน (Pearson Publication) หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมาได้อ่านในปี พ.ศ.2554 และเริ่มเขียนร่างบทแรก ๆ ขึ้น หลังจากนั้นได้ทิ้งไว้ในไฟล์หลายปี จนมาในปี พ.ศ.2558 ก็ได้นำกลับมาปัดฝุ่นและเรียบ เรียงจนแล้วเสร็จ ผู้เขียนใช้หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในวิชาแนว ความคิดทางสถาปัตยกรรม 2 รวมถึงวิชาออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตร สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะเปิดมุมมองต่องานสถาปัตยกรรมที่มีผลต่อผู้คน และ สร้างความเข้าใจในเรื่องของสภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรมกับผู้คนทั่วไปได้บ้างไม่ มากก็น้อยถ้ามีข้อคิดเห็นประการใดสามารถเสนอแนะได้ทาง ochakorn.ph@kmitl.ac.th ผศ.โอชกร ภาคสุวรรณ มกราคม 2559

1_ of 165 _


Authorized translation from the English language edition, entitled ARCHITECTURE AND PEOPLE., 1st Edition, 9780130445940 by RASKIN, published by Pearson Education, Inc, publishing as Prentice Hall, Copyright C 1974 PRENTICE-HALL, INC.Englewood Cliffs, New Jersey All rights reserved. No part of this book may be reproduced or transmitted in any form or by any means, electronic or mechanical, including photocopying, recording or by any information storage retrieval system, without permission from Pearson Education, Inc. THAI language edition published by Faculty of Architecture , KING MONGKUT’S INSTITUTE OF TECHNOLOGY LADKRABANG, Copyright c 2016

ISBN 978-616-338-074-6 พิมพ์ที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 500 เล่ม

ผู้เขียน

Eugene Raskin, A.I.A. Adjunct Professor of architecture Columbia University

ผู้แปล

ผศ. โอชกร ภาคสุวรรณ Ochakorn Pharksuwan Assistant Professor Faculty of Architecture KMITL


คำนิยม ผศ.โอชกร ภาคสุวรรณ กับผมรู้จักกันตั้งแต่ผมได้มาสอนหนังสือด้วยกันที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และได้ร่วมสอนวิชาและทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนควบคู่กันไป หลายครั้งที่ ถกเถียงและตั้งคำถามเพื่อตระหนักคิดและทบทวนในแง่มุมต่างต่าง นำไปปฏิรูปการ เรียนการสอน เพิ่มพูนประสบการณ์ บูรณาการกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่กับ นักศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง ยิ่งตระหนักถึงวิสัยทัศน์การเรียนการสอนของท่านมากขึ้นตาม ลำดับ หลังจากที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ Architecture and People; สถาปัตยกรรมกับคน ก่อนอื่นผมขอชื่นชมความอุตสาหะไม่ต่ำกว่า 5 ปี ได้ถ่ายทอด เนื้อหาหนังสือทางสถาปัตยกรรมจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย ที่อ่านเข้าใจง่าย และยังคงอรรถรสและความหมายทางต้นฉบับ นอกจากวัตถุประสงค์ของท่านในการ แปลเพื่อเป็นคู่มือประกอบการเรียนของนักศึกษาสถาปัตยกรรมแล้ว ยังถือเป็นเครื่อง มือสำคัญสำหรับสถาปนิก นักออกแบบในสาขาวิชาชีพฯจนถึงผู้สนใจ ตระหนักในการ ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงบริบทกระบวนการออกแบบของรากฐานสถาปัตยกรรม กับคนได้อย่างลึกซึ้งในแง่มุมหลากหลาย เพราะการออกแบบนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อ “คน” ทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่มากก็น้อย สุดท้ายนี้ผมหวังว่าคงจะได้มีโอกาสอ่านผลงานที่มีคุณค่าแบบนี้ของ ผศ.โอชกร ภาคสุวรรณ ในครั้งต่อต่อไป ดร.รวิช ควรประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


สารบัญ คำนิยม สารบัญ คำนำ Chapter One : Architecture as Human Environment สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ Chapter Two : The Architect and the City สถาปนิกกับเมือง Chapter Three :The Architect and the home สถาปนิก กับบ้านที่อยู่อาศัย Chapter Four : Architect and Religion สถาปนิก กับศาสนสถาน Chapter Five : Bank, Business and Buildings รูปแบบอาคารธนาคารและธุรกิจ Chapter Six : The architect of Fun สถาปัตย์บันเทิง Chapter Seven : The Architect and Public Buildings สถาปนิกกับอาคารสาธารณะ Chapter Eight : The Language of Architecture ภาษาของงานสถาปัตยกรรม Chapter Nine : The Education of the Architect การศึกษาของสถาปนิก Chapter Ten: The Architect Temperament อารมณ์ของสถาปนิก Chapter Eleven: Ethics and Moral Choices จริยธรรมและศีลธรรม (จรรยาบรรณของสถาปนิก) Chapter Twelve : The Financial Setup การเงิน

หน้า i ii 1 3 11 23 37 45 53 63 77 85 91 95 103


Chapter Thirteen : The Team การทำงานเป็นทีม Chapter Fourteen : The Technology of Structure เทคโนโลยีโครงสร้าง Chapter Fifteen : The Cityscape ภาพของเมือง Chapter Sixteen : Acoustics and Lighting เรื่องเสียงและแสง Chapter Seventeen: Ornament ส่วนประกอบงานสถาปัตยกรรม Chapter Eighteen : The Practice of Architecture การปฎิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม

109 115 129 135 145 153

ประวัติผู้เขียน Eugene Raskin

163

ประวัติผู้แปล ผศ.โอชกร ภาคสุวรรณ

165



สถาปัตยกรรมกับผู้คน

2_ of 165 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter One : Architecture as Human Environment สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ “ Like the Ant, the Bee, the Beaver, Man is not content with God’s earth and feels obliged to build a better one, more suitable to his exalted majesty. The Ant builds hills, the Bee makes hives, the Beaver construct dams; Man creates Architecture. ” คนเราทุก ๆ คนบนโลกใบนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายในอาคาร อยู่ภายใต้ สภาพแวดล้อมที่ตนเองสร้างขึ้น จะออกไปสัมผัสแสงแดดและสายลมภายนอกอาคารใน บางครั้งคราว เพื่อปลูกพืชผักในสวนครัวหรือตัดแต่งต้นไม้ รวมถึงอาจจะขอบ่นต่อ เทพยดาทั้งหลายในเรื่องของสภาพอากาศภายนอกว่า ทำไมมันจึงร้อนเกินไปเช่นนี้ หรือ บางที่ก็มีฝนตกมากไป ผู้คนส่วนใหญ่กำเนิดเกิดมาภายใต้ชายคาของอาคาร (building) ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มเงาของอาคารต่าง ๆ เลี้ยงลูกสร้างครอบครัวภายในสภาพแวดล้อม (อยู่ในอาคารสิ่งก่อสร้างหรือจะอยู่ในงานสถาปัตยกรรม) ตลอดจนทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ ว่าจะเป็นกิจกรรมทางศาสนา การทำงาน การเจริญเติบโต การป่วยไข้ และจนวาระ สุดท้ายที่จบชีวิตภายในอาคาร (บางกรณีอาจจะตายในสถานที่อื่น ๆ เช่นถูกรถชนตาย บนถนนหรือจมน้ำเสียชีวิตในท้องทะเล) แต่ตลอดจนวาระสุดท้ายเราก็จะทิ้งร่างอยู่ใน สุสาน (mausoleums) ณ วาระสุดท้ายของชีวิต มนุษย์สร้างสรรค์สภาพแวดล้อม เช่นโรงพยาบาล โรงเรียน บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน ตลอดจน โบสถ์ วัดวาอารามต่าง ๆ สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ เราเรียกรวม กันว่างาน “สถาปัตยกรรม-Architecture” ด้วยธรรมชาติแล้วรูปแบบของงาน สถาปัตยกรรมที่ปรากฎจะขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรมที่เราต้องการใช้งานภายใน อาคารเหล่านั้น เราออกแบบบ้านในทำนองที่เราคิดว่าเราน่าจะใช้ชีวิตในรูปแบบที่ เหมาะกับเรา เราออกแบบโบสถ์-วิหารให้สอดคล้องกับกิจกรรมทางศาสนาที่เรานับถือ ภายในบริบทของสังคมที่เราถือปฎิบัติกันมา การใช้พื้นที่ว่างเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้น

3_ of 165 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

“งานสถาปัตยกรรม” จะสะท้อนถึงความต้องการใช้งานของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ในทาง กลับกัน นักโบราณคดีและนักมนุษยวิทยาก็จะสามารถอธิบายลักษณะของอารยธรรมที่ สาบสูญว่ามีความเป็นมาอย่างไรได้จากหลักฐานของสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม รวม ถึงเศษอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ถูกค้นพบ เช่น จากซากปรักหักพังของโบสถ์จะ สามารถบ่งบอกถึงพิธีกรรมที่เคยเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบูชายัญ ความเชื่อเรื่องพระเจ้า ที่มีหลากหลายองค์หรือพระเจ้าที่มีอยู่องค์เดียว รวมถึงพิธีกรรมที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้น จากหลักฐานทางโบราณคดีที่สามารถบ่งบอกลักษณะของการปกครอง ความเป็นอยู่ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจของชุมชนนั้น ๆ ว่าเป็น สังคมเกษตรกรรม สังคมแบบเร่ร่อน สังคมการค้าขาย หรือ กำลังวุ่นวายอยู่กับการทำสงคราม จึงเป็นที่หมายรวมได้ถึง ศิลปวิทยาการ ระบบของชนชั้น รวมถึงความเชื่อทางไสยศาสตร์ และคตินิยมจากงาน สถาปัตยกรรมที่ปรากฎหลงเหลืออยู่ งานสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งบ่งบอกความเป็นไปทาง วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ตลอดจนงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นต่าง ๆ (vernacular architecture) ที่แสดงถึงความเหมาะสมในการออกแบบและเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ที่เหมาะสม สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอาจดูเหมือนเป็นการโอ้อวดเกินความจริง แต่ถ้าเราคำนึง ถึงเรื่องที่ว่ามนุษย์ก่อสร้างสถานที่ต่าง ๆ เช่นโบสถ์ วิหารตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรม ตามความต้องการของพื้นที่ใช้สอยและกิจกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้เชื่อได้ว่า “งาน สถาปัตยกรรม” เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของสังคมได้เป็นอย่างดี ในศาสตร์แขนงอื่น ๆ ที่ทำการศึกษาเรื่องราวในอดีต จากงานเขียนวรรณกรรมหรือภาพวาดจิตรกรรมงาน ประติมากรรม ต่าง ๆ นั้น อาจมีความคลาดเคลื่อนจากความจริงไปได้บ้าง เนื่องจาก มุมมอง และแนวความคิดที่สื่อออกมาในงานชิ้นนั้น ได้ผ่านการกลั่นกรองและปรุงแต่ง จากจิตรกร แต่งานสถาปัตยกรรมจะไม่เป็นเช่นนั้นเพราะงานสถาปัตยกรรมบ่งบอกถึง ความเป็นจริงที่เป็นอยู่จากอาคารที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงหน้า สถาปัตยกรรมไม่สามารถซ่อนหรือเปลี่ยนแนวคิดเบื้องหลังของการออกแบบ ได้ สำหรับอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับความต้องการในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ ดีหรือไม่ดีก็ตาม งานสถาปัตยกรรมไม่เคยโกหกใคร ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาช่วงปี ค.ศ. 1920 มีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมากและเพื่อเป็นการโชว์โอ้อวดกันถึงความร่ำรวย จึงทำได้ โดยการสร้าง “บ้านเลียนแบบ ธิวดอ” (pseudo-Tudor) หรือ “บ้านเลียนแบบอลิซา 4_ of 165 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เบธ” (pseudo-Elizabethan) ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านั้นไม่ได้มีรากเหง้ามาจากสังคมชั้นสูง ของอังกฤษ เป็นเพียงเศรษฐีใหม่ของอเมริกัน

Pseudo-Tudor จากสิ่งที่เกิดขึ้น เราอาจมีความเห็นว่าเป็นการก่อสร้างที่หลอกลวง แต่อันที่ จริงแล้วสถาปัตยกรรมไม่ได้หลอกลวงใคร เพราะคฤหาสน์เหล่านั้นเกิดในช่วงเศรษกิจ เฟื่องฟู เมื่อฟองสบู่แตกช่วงยุค 1930 (Great Depression) การสร้างบ้านที่โอ่อ่าเหล่า นั้นก็หมดไป และถูกแทนที่ด้วย บ้านที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยมากกว่าที่จะเอาไว้อวด ความร่ำรวย ดังนั้นสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัยจะสามารถบ่งบอกถึง ประวัติศาสตร์และความจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ ของสังคม

5_ of 165 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

(Roman Order in Bangkok) (เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่บ้านเศรษฐีในยุคหนึ่งจะต้องมีเสาโรมันไว้ ประดับตัวบ้าน หรือประตูรั้วที่ต้องเป็นเหล็กหล่อรูปแบบจากฝรั่งเศสที่ไว้ประดับบารมี ประตูรั้วเหล็กดัดที่ได้ลอกรูปแบบลายมาจากพระราชวังแวร์ซาย อย่างที่เขาเคยไปเที่ยว บ่งบอกว่า “ฉันได้ไปเที่ยวต่างประเทศมานะ ฉันเป็นผู้มีรสนิยม” และความรู้สึกนี้ยังคง อยู่และถ่ายทอดมากับรูปแบบของตึกแถวในยุคที่มีเสาโรมันเรียงรายอยู่โดยไม่รู้ความ หมายที่แท้จริงของมัน .............)

6_ of 165 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

อาคารของรัฐบาล (Government Building) ออกแบบสำหรับการปกครอง ในยุค 1920 มีความเป็น “นีโอคลาสสิค” (Neo-Classic) ทั้งที่กาลเวลาได้ล่วงเลยยุค โรมันและกรีกมานานกว่าสองพันปีแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นความรู้สึกที่ยังให้ความหมายถึง “ความถูกต้อง” หรือ “ความเหมาะสม” ในการใช้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมโรมันใน อาคารของรัฐ เนื่องจากรูปลักษณ์ของอาคารเป็นที่น่าเกรงขามและแสดงถึงอำนาจที่มา ควบคุมบางอย่าง สถาปนิกควรมองการณ์ไกล ไม่เพียงแค่การออกแบบอาคารที่มีเสนห์ การที่ คำนึงถึงความอ่อนหวาน ความสง่างาม ความมีรสนิยม และ มีประสิทธิภาพในการ ก่อสร้าง แต่สิ่งที่เหนือกว่าอื่นใดนั้นคือ สถาปนิกเป็นผู้เขียนประวัตศาสตร์ เป็นผู้กำหนด เคร้าโครง จารึกลักษณะการใช้ชีวิตในช่วงเวลาของเขา ดูเหมือนว่าจะเป็นความรับผิด ชอบที่ใหญ่หลวง เช่นเดียวกับการเขียนงานของนักเขียนหรือนักประวัติศาสตร์ เพียงแต่ ว่า งานเขียนหรือหนังสือต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกนั้นจะปรากฎต่อผู้ที่ได้หามาอ่านเท่านั้น แต่ งานสถาปัตยกรรมจะยืนตระหง่านอยู่ท่ามกลางสังคมรอบตัวของเรา ทุกทุกวันและทุก ทุกเวลา เราไม่สามารถหลีกหนีไปไหนได้ ดูเหมือนว่าเราจะต้องพึ่งพา “งาน สถาปัตยกรรม” ในห้วงเวลาของเราในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ เมื่อสถาปนิกจรดปากกา ลงบนกระดาษ เขาทำมากกว่าการออกแบบอาคาร เขาได้อธิบายเกี่ยวกับวิถีชีวิตของ สังคมและกำหนดอนาคตของสภาพแวดล้อมของการใช้ชีวิต ดูเหมือนว่าจะเป็นอาชีพที่ดูดีมีเสนห์เป็นอย่างมาก ที่สามารถทำได้ดังที่กล่าว มาข้างต้น สถาปนิกเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นนักคิด เขาค้นหาความเป็นตัวตนและ แสดงออกมาทางงานสถาปัตยกรรม เหรียญมีสองด้านเสมอ การที่สถาปนิกออกแบบ สภาพแวดล้อมของคนเพื่อการอยู่อาศัยและใช้งานตามความต้องการของคนนั้น แต่ใน การทำงานออกแบบยังมีปัจจัยอื่น ๆ ในการอยู่อาศัยเช่นในเรื่องของการ ประหยัดพลังงาน ตลอดไปจนถึงความปลอดภัยในชีวิตทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม จึงเป็นสิ่งที่ส่งอิทธิพลต่อสังคมที่เขาอยู่

7_ of 165 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เรือนจำในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นถ้าสถาปนิกท่านหนึ่งได้รับงานออกแบบเรือนจำ ก่อนที่จะเริ่ม จรดปากกาลงบนกระดาษเขียนแบบ เขาจะต้องตัดสินใจว่า “คุก” หรือเรือนจำนั้นควร มีลักษณะเช่นใด จะเป็นที่คุมขังนักโทษและสถานที่ลงโทษคนที่มีจิตใจชั่วร้าย หรือเป็นที่ กักกันคนไม่ดีออกจากสังคม หรือจะเป็นสถานที่บำบัดเพื่อให้คนที่หลงผิดได้รับการ รักษาและกลับเข้าสู่สังคมได้ ในแต่ละมุมของการคิดจะทำให้เกิดงานสถาปัตยกรรมที่ แตกต่าง แนวคิดแรกอาจจะสร้างอาคารที่เสมือนป้อมปราการหรือปราสาท หรืออาจจะ เป็นโรงเก็บของขนาดใหญ่ หรืออาจจะเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นสถานพักฟื้น บำบัด จิตใจก็เป็นได้ การตัดสินใจของสถาปนิกจะกระทบกับชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นมุมบวก หรือลบก็ตาม เช่นกับผู้ที่จะมาอยู่ในเรือนจำนี้ตั้งแต่นักโทษหลายพันคนจนถึงผู้คุมที่จะ ต้องใช้ชีวิตทุก ๆ วัน วันแล้ววันเล่าในสถานที่แห่งนี้ การที่เราได้ยินถึงปัญหาของการ จราจลต่าง ๆ ในคุก เนื่องจากสภาพที่อยู่อาศัยอันโหดร้าย จนกล่าวได้ว่าสถาปนิกก็มี ส่วนรับผิดชอบในกระบวนการที่โหดร้ายที่เกิดขึ้นเช่นกัน

8_ of 165 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

โดยสรุปแล้ว สถาปนิกจะเป็นผู้ขีดเขียนประวัติศาสตร์ให้กับสังคมที่เขาอยู่ และเป็นผู้ก่อร่างสร้างเมืองให้เป็นรูปร่าง ที่มีคุณภาพคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการอยู่ อาศัย มันเป็นภาระที่ยิ่งใหญ่สำหรับสถาปนิกและบางท่านยังไม่เข้าใจหรือได้ตระหนักรู้ ถึงความสำคัญด้วยประโยคที่ว่า “pencil are mightier than sward” ปลายปากกา นั้นทรงพลังมากกว่าดาบ เนื่องจากดาบนั้นมีไว้ทำลาย แต่การสร้างเมืองทั้งเมือง เริ่มได้ จากปลายปากกา นอกเหนือจากนี้สถาปนิกยังเป็นศิลปิน สิ่งที่เขาคำนึงถึงในอันดับแรก จะเป็น เรื่องของความงาม สัดส่วน รูปทรง สีสัน รวมถึงส่วนประดับอาคารต่าง ๆ ตลอดจนต้อง รวมเอาวิชาการความรู้ ของงานทางสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มาอยู่รวมกันกับ ศิลปะ ทำให้สถาปัตยกรรมคือ ต้นกำเนิดของงานศิลปะ “Mother of the Arts” ไม่ว่า จะมีภาระที่ต้องรับผิดชอบต่อการก่อสร้างแต่ยังอุทิศตนให้กับความงาม ทำให้สถาปนิก แตกต่างจากผู้ก่อสร้างอาคารและผลงานสร้างสรรค์ที่มีความน่าสนใจ น่าตื่นเต้น รวมถึง ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเมื่อผ่านกาลเวลา แต่กว่าจะได้สร้างงานสถาปัตยกรรม “สถาปนิก” จะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เจ็บปวดอีกมาก กว่าจะเป็นที่ยอมรับ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้เป็นสถาปนิกหรือนักออกแบบ นับตั้งแต่สมัยยุคของมนุษย์ถ้ำก็จะไม่ยอมเปลี่ยนใจ ไปทำอาชีพอย่างอื่นอีกเลย

9_ of 165 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

_ of 165 10 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Two : The Architect and the City สถาปนิกกับเมือง “ As long as Man was a nomad, riding on his beasts and following the herds, there was no need for architecture. But the moment he found a fair spot and said “Here will I stay.” lo, he became an architect. ” ในการที่จะทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสถาปนิกกับสังคมนั้น เราจะ ย้อนเวลากลับไปที่จุดเริ่มต้นของการเกิดสังคมมนุษย์เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่าในสมัย โบราณกาลนั้น “สถาปนิก” นั้นเป็นเช่นใด การก่อสร้างอาคารเพื่อทำกิจการใด ๆ โดย เฉพาะ จำต้องศึกษาถึงการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมนั้น ๆ คืองานออกแบบพื้น ฐานที่สถาปนิกพึงกระทำ ลองจินตนาการย้อนไปเมื่อสักห้าพันปีก่อนในบริเวณตอนเหนือของทวีปยุโรป ตะวันออก มีชายคนหนึ่งชื่อ เดิค Drk* (อยู่ในเผ่า Irksk*)เป็นเจ้าของฝูงลา เขาขนของ บนหลังของลาได้เป็นขบวนคาราวาน ได้เดินทางจากเมือง Urals* ทางตะวันออกไปสู่ อีกเมือง ที่เรียกว่า Glk* ทางตะวันตกเพื่อที่จะขนสินค้า “หนังของหมาป่า” ไปแลกกับ “เป็ดแห้ง” (ที่ถือว่าเป็นสุดยอดอาหารในยุคนั้น) ตามเส้นทางดังภาพ;

การเดินทาง, 1 * = ชื่อสมมุติ

_ of 165 11 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ในขณะเดียวกันพื้นที่ ๆ ในปัจจุบันคือประเทศ อิหร่าน ชายอีกคนหนึ่งชื่อ ฟี Fsl* เดิน ทางด้วยฝูงอูฐ ขนส่งน้ำมันมะกอกในขวดดินเผาขนาดใหญ่ขึ้นไปทางเหนือของ Ulg* เพื่อนำไปแลกกับหนังแมวน้ำซึ่งผู้หญิงของ Hnf* (อยู่ในเผ่าของ Fsl* ) พบว่าหนัง แมวน้ำ มีประโยชน์กับสภาพอากาศที่ร้อนของพวกเขา เส้นทางของ Fsl* เป็นดังภาพ;

ภาพ เส้นทาง ในบางจังหวะเวลาอาจจะเป็นพื้นที่บริเวณใกล้ทะเลดำ เส้นทางทั้งสองได้มา ตัดกัน และในการเดินทางไปมาตามเส้นทางตลอดทั้งปีนั้นขบวนสินค้าทั้งสองฝ่ายก็อาจ จะบังเอิญมาเจอะกันพอดี ในการพบกันครั้งแรกคงจะเป็นสิ่งไม่น่าดูนัก การรบพุ่งเกิด ขึ้นทันทีเนื่องจากผู้นำขบวนทั้งสองถือคติที่ว่า “ฆ่าก่อนถามที่หลัง” (Kill first , Talk later) แต่หลังจากที่ผ่านมาหลายยุคสมัย คนที่สืบเชื้อสายของชนเผ่ามาเริ่มมีสรีระ ร่างกายที่บางขึ้นและมีเลือดที่อุ่นขึ้น (Pacific Blood - Warm Blood) เมื่อมาพบกันที่ จุดตัดของถนนจึงใช้วิธีการเจรจาแทนการฆ่าฟัน การสื่อสารอาจจะเริ่มด้วยภาษามือ ก่อน ทั้งสองฝ่ายแสดงความสนใจในสิ่งที่อีกขบวนขนมา กลุ่มของ Irksk* ได้ทดลอง น้ำมันมะกอกเป็นครั้งแรก ตื่นเต้นและเห็นโอกาสที่จะนำไปขายที่ชนเผ่าของตนเอง ส่วนพวก Hnf* ก็สนใจหนังของหมาป่าหรือเป็ดแห้ง (แล้วแต่ว่าขนสินค้าอะไรมา) ดัง นั้นแทนที่จะรบพุ่งกันก็เกิดเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันแทน (อาจจะเป็นต้นแบบของ การค้าขายในปัจจุบัน) และยิ่งไปกว่านั้นคือการที่ทั้งสองขบวนคาราวานสินค้าได้นัด หมายกันว่าจะมาพบกันอีกครั้งในเจ็ดปี เมื่อดวงดาวเฉพาะโคจรเหนือภูเขาและแต่ละ ขบวนจะขนสินค้าเพิ่มจำนวนจากเดิม ไม่ใช่สำหรับการค้าสำหรับที่หมายปลายทาง _ of 165 12 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เท่านั้น แต่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ณ จุดตัดของถนนนี้ นับเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่ง ใหญ่ของมนุษยชาติที่เป็นผลสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันที่ทำให้เกิดมีตลาดหุ้นและตลาดทุน (Stock Exchanges) ตลอดจนนักวิชาการปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์นับพันคนใน ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการนัดกันของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถพบกันได้ตามกำหนด เนื่องจากระบบของปฏิทินหรือความสะดวกของถนนหนทางทำให้ฝ่ายหนึ่งต้องรอ อาจ จะเป็นการรอคอยที่นานนับเดือน เป็นการลงทุนที่ต้องเสี่ยงกับการเดินทางที่อันตราย ทำให้ Drk* (หรืออาจจะเป็นรุ่นหลานของเขา) เกิดความคิดอันชาญฉลาดขึ้นว่า ทำไม เราไม่สร้างที่พักและที่เก็บของสำหรับการแลกเปลี่ยนที่จุดตัดถนนนี้และฝากให้ลูกเขยผู้ วุ่นวายเป็นผู้อยู่ดูแล รอขบวนคาราวานของอีกฝ่าย ข้อแนะนำนี้ทุก ๆ คนในกอง คาราวานเห็นดีด้วย รวมถึงเจ้าลูกเขยซึ่งเห็นโอกาสที่จะเป็นเจ้านายของตนเอง คนที่ไม่ เห็นด้วยคนเดียวคือภรรยาของเขาที่จะต้องถูกทิ้งให้อยู่ที่จุดตัดถนนนี้ ห่างไกลจากความ เจริญและบ้านเมืองที่คุ้นเคย แต่เมื่อไม่สามารถปฎิเสธได้ ครอบครัวเล็ก ๆ จึงถือกำเนิด ขึ้น ณ จุดที่ถนนดินฝุ่นตลบสองเส้นตัดผ่าน และการรอคอยการมาถึงของขบวน คาราวาน จาก Hnf* และ Irksk* ซึ่งทุกๆปีก็จะมีขบวนคาราวานขนส่งสินค้าผ่านมาแวะ เวียนรวมถึงพ่อค้าจรผู้ต้องการขายของจากเมืองอันไกลโพ้น จากแยกถนนดินฝุ่นตลบก็ กลายมาเป็นเมืองการค้าอย่างเต็มรูปแบบ

ลูกเขยถูกทิ้งไว้

_ of 165 13 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ทุกวันนี้ลูกเขยผู้วุ่นวายได้กลายเป็นเศรษฐีใหญ่ ร่ำรวยกว่าพ่อตาที่เคยทิ้งเขา ไว้ ณ จุดตัดของถนนนี้ เนื่องจากเขาเก็บภาษีจากทุก ๆ คนที่ผ่านทาง ทั้งคนขาย คนซื้อ ช่างฝีมือและ คนขับเกวียน ทุกคนที่ผ่านมาต้องการที่พักอาศัย อาหารและการ สันทนาการ เขามีบริการให้ทั้งหมด เขาเป็นเจ้าของโกดังสำหรับเก็บสินค้าเพื่อการ ค้าขาย โรงแรมสำหรับการพักผ่อน ธนาคารสำหรับเก็บรักษาแลกเปลี่ยนเงินตรา คุก สำหรับผู้ที่ออกนอกกฎเกณฑ์ และโครงสร้างอาคารอื่น ๆ อีกที่จะสามารถสนับสนุนการ ใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการ จากนั้นไม่นาน อาคารเฉพาะสำหรับกิจกรรมได้ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไร้สาระ (cobblers) ช่างตีดาบ (sword-smiths) นักบวช (clergymen) นักพยากรณ์ (soothsayers) หรือ พ่อค้าหมู (the butcher) ช่างทำ ขนมปัง (the baker) ศิลปินทำเทียนไข (the candlestick maker) ที่มีชื่อเสียง เป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ง่ายว่าอาคารลักษณะต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบ ต่อความต้องการของการใช้สอยที่แตกต่างกัน การจัดโครงสร้างและขนาดพื้นที่ใช้สอย จะถูกสร้างข้ึนโดยผู้ใช้งานด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กและสามารถใช้ เทคนิคในงานก่อสร้างที่เป็นพื้นฐาน แต่สำหรับเมืองที่กำลังเจริญเติบโตเช่นเมืองของ ลูกเขยนี้ ปัญหาทางด้านแรงงาน ปัญหาด้านวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนการจัดการที่มีมาก ขึ้นทำให้เกิดอาชีพเฉพาะอีกอย่างขึ้นคือ “ช่างก่อสร้าง” ผู้ที่จะมารับฟังความต้องการ ของผู้ใช้อาคาร (ผู้ว่าจ้าง) แต่ส่วนใหญ่จะรู้เรื่องของการใช้อาคารมากกว่าผู้ว่าจ้างทำให้ การก่อสร้างนั้น เป็นไปในแนวทางหรือเป็นไปตามประสบการณ์ของช่างเป็นหลัก เพื่อ ให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงวัสดุก่อสร้างที่หาได้ในท้องถิ่น ทำให้เกิดรูปแบบ เฉพาะของอาคารขึ้น เราเรียกว่ารูปแบบท้องถิ่น Regional Style หรือ Local style (Ethnic) การก่อสร้างที่เกิดขึ้นนั้น บางหลังดูจะมีแปลนสำหรับการใช้งานที่ดีกว่า มี ลักษณะของการก่อสร้างที่ดี ดูสง่างาม แข็งแรงทนทาน ผู้ที่ทำได้ดีมีพรสวรรค์ก็ผันตัว เองจากการเป็นผู้ก่อสร้างมาเป็นผู้ออกแบบให้คนอื่นก่อสร้างแทน กระบวนการนี้ก่อให้เกิดงานของสถาปัตยกรรมขึ้น อย่างน้อยใน ประวัติศาสตร์ของ “สถาปนิก” ซึ่งในปัจจุบัน สถาปนิกไม่ได้ถือกำเนิดในลักษณะ เดียวกันแต่เป็นการร่ำเรียนในหลักสูตรที่เป็นระบบสากล รวมถึงมีการฝึกงานเพื่อให้เกิด _ of 165 14 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ทักษะในการออกแบบและก่อสร้าง เป็นวิชาชีพเฉพาะ มีหลักการสำคัญที่ว่า “การ ออกแบบเพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของมนุษย์” (Multiple human needs) และในการแก้ไขปัญหา การออกแบบอาคารที่มีความสลับซับซ้อนจึงต้องใช้ผู้ ชำนาญเฉพาะทางนั้นก็คือ “สถาปนิก - Architect” ความต้องการที่หลากหลายของมนุษย์นั้นได้นำไปสู่การเจริญเติบโตของเมือง ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน ที่ใช้ชีวิต ในบริบทนี้เราจะได้เห็นถึงบทบาทของสถาปนิกในการ ทำให้เกิดรูปลักษณ์ของเมืองและอาคารต่าง ๆ

ก่อเกิดเมือง ให้เราย้อนมองจากเมือง ครอส กอรอท (Cross-Gorod) เป็นเมืองที่ถูกตั้งชื่อ โดยลูกเขยของ Drk* ณ จุดที่ถนนตัดกัน จะเห็นที่โล่งกว้าง เป็นพื้นที่สำหรับการต้อนรับ ขบวนคาราวานเมื่อมาถึง และจากนั้นกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ตลาด งานออกร้าน หรือ กิจกรรมสาธารณะอื่น ๆ ก็สามารถใช้พื้นที่โล่งแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี การเกิดจุดตัดในบาง สถานที่จะมีบ่อน้ำหรือตาน้ำ ที่เป็นสิ่งดึงดูดนักเดินทางให้มาพบเจอกัน และบริเวณโดย รอบน้ีจะเกิด “ลาน” plaza, square, zocalo ฯลฯ ที่ซึ่งเป็นที่โล่ง เป็นลานกว้างเพื่อ สามารถรองรับกิจกรรมที่เกิดขึ้น รูปแบบของอาคารหลังแรกที่สร้างขึ้นบริเวณนี้คือโกดัง เก็บสินค้าที่เป็นเป้าหมายหลักของการก่อกำเนิดเมือง จากนั้นเมื่อเมืองมีความสลับซับ ซ้อนขึ้นก็ได้มีการสร้างสรรค์อาคารรูปแบบอื่นๆ ตามมา เช่นร้านค้าจากร้านขายของชำ _ of 165 15 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

จนถึงห้างสรรพสินค้าในปัจจุบัน ธนาคารเพื่อการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ จนมา ถึงคฤหาสน์สำหรับเศรษฐีใหญ่ซึ่งผันตัวเองไปเป็นขุนนางผู้ปกครอง จากคฤหาสน์ก็ กลายมาเป็นปราสาทราชวัง จากเมืองการค้าก็กลายมาเป็นเมืองหลวง และสิ่งจำเป็น สำหรับชนชั้นการปกครองคืออำนาจในการควบคุม จึงเกิดอาคารเช่น กรมทหาร ป้อม ปราการ สถานีตำรวจ ฯลฯ ตามมา และอยู่ในบริเวณที่สามารถเดินสวนสนามลงมาที่ ลานกลางเมืองได้อย่างสะดวก เพื่อทำพิธีเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา พิธีกรรมต่าง ๆ หรือรักษา ความสงบของเมือง จากนั้นความรู้สึกที่ต้องสื่อสารกับสวรรค์ การยอมรับจากพระผู้เป็น เจ้า จึงก่อให้เกิดอาคารทางศาสนาขึ้น (Church or Cathedral) ในปัจจุบันเวลาผ่านมาหลายศตวรรษ ถ้าเรายืนอยู่ที่กลางเมือง ครอส กอรอท (Cross-Gorod) หรือเมืองอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันจะเห็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เป็น รากฐาน แม้จะมีการทำให้มีความทันสมัยด้วยเทคนิคการก่อสร้างหรือการตั้งชื่อแต่ กิจกรรมการใช้งานหลักของกลุ่มอาคารนี้ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง การเป็นจุดศูนย์กลางของ เมืองที่ประกอบด้วยพื้นที่ ที่สนองความต้องการของการใช้งาน (ตัวอย่างที่ผู้เขียนนึกถึง ณ เวลานี้คือเมืองหลวงของประเทศไทย “กรุงเทพ มหานครฯ” ที่มีสนามหลวงเป็นลานกว้างสำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ พระบรม มหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ กระทรวงกลาโหม เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนใน บริบทแบบไทยในปัจจุบัน)

สนามหลวง

_ of 165 16 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

กลับมาที่การเจริญเติบโตของเมือง ครอส กอรอท (Cross-Gorod*) มีผู้คน ย้ายเข้ามาสู่ตัวเมืองด้วยความมุ่งมั่น มีความต้องการเฉพาะตัว มีบางสิ่งบางอย่างที่เชื่อม ต่อกับกิจการของเมืองที่เจริญเติบโตขึ้นตัวอย่างเช่น ช่างตัดเสื้อ (tailor) ที่ตั้งร้านของ เขาใกล้กับคฤหาสน์ เนื่องจากลูกค้าชั้นนำจะต้องการชุดสำหรับออกงานต่าง ๆ และเขา สามารถคุยอวดว่าเขาตัดเสื้อให้ ท่านดยุค Duke สวมใส่ เจ้าของโรงแรมก็เช่นกัน ต้องการสร้างที่พักใกล้ศูนย์กลางของเมืองนี้ เนื่องด้วยผู้ที่ต้องการมาพักอาศัย เช่น พ่อค้า นักเดินทาง หรือนักการเมือง ต่างก็ต้องการที่อาศัยที่ใกล้ลานกลางเมืองนี้ Town Square เวลาที่ผ่านไปไม่นานทำให้พื้นที่รอบ ๆ ศูนย์กลางนี้เต็มล้นไปด้วยร้านค้า ที่พัก อาศัย ฯลฯ ในพื้นที่ ๆ ทุกคนต้องการอยู่ใกล้ให้มากที่สุดใกล้กับแหล่งเงิน ทำให้ที่ดิน เริ่มมีราคาและมูลค่าสูงขึ้นตามลำดับ เมื่อมีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุดถึงจุดหนึ่ง ของการเจริญเติบโต จนไม่มีพื้นที่เล็ก ๆ สำหรับร้านขายน้ำมะนาว ราคาที่ดินสูงเกิน กว่าจะทำการค้าใด ๆ ได้ เมืองปัจจุบันก็จะกลายสภาพเป็นเมืองเก่า (old town) ที่มี ทุกสิ่งทุกอย่างครบถ้วน รวมถึงความโกลาหล ความคับแคบ กลิ่นเหม็นอับของสภาพ อากาศ จนกระทั้งผู้ที่มีความสามารถต้องการจะย้ายถิ่นฐานไปที่อื่น แต่จะไปทางไหน?

แนวการขยายตัว

_ of 165 17 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

การโยกย้ายที่อยู่ควรจะขยายตัวไปในทิศทางไหนดี? โดยส่วนใหญ่การขยับ ขยายจะเป็นไปตามแนวถนนที่วางเหนือ-ใต้ หรือถนนออก-ตก เจ้าของร้านขายของชำ คนใหม่พบว่า มีแม่บ้าน(ที่จะเป็นลูกค้า)ในระยะของแนวถนนจำนวนมากเพียงพอที่เขา จะเปิดร้านใหม่ โดยไม่ต้องแทรกไหล่เข้าไปสู่ศูนย์กลาง (square) ที่ซึ่งเขาไม่สามารถ จ่ายราคาที่ดินได้อยู่ดี ดังนั้นร้านขายของชำที่เปิดใหม่จะมีลูกค้าตามมา รวมถึงกลุ่ม ธุรกิจอื่น ที่ขยายตัวออกมา a cobbler, a smith, a wine dealer ฯลฯ ทำให้เกิด ชุมชนหมู่บ้าน (Neighborhood) ขึ้น ชุมชนหมู่บ้าน (Neighborhood) นี้ สามารถอธิบายในหลักการคร่าว ๆ คือ พื้นที่ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่เกินระยะการเดินของแม่บ้านที่ต้องการเดินเพื่อไปจับจ่ายซื้อของ ในสหรัฐอเมริกาเมืองส่วนใหญ่ที่อเมริกันชนในศตวรรษที่ยี่สิบจะใช้การเดินเป็นหลัก ระยะเดินเท้าจะไม่เกินสี่ช่วงถนน ดังนั้นเราจะเห็นร้านขายของต่าง ๆ ที่ขายของชนิด เดียวกันปรากฏอยู่ทุก สี่หรือห้าช่วงถนน ร้านขายผลไม้ ร้านขายเนื้อสัตว์ ร้านทำผม โรงหนัง ธนาคาร ฯลฯ ส่วนผู้ที่อยู่ชานเมืองหรือชนบท จะใช้รถยนต์ ดังนั้นการซื้อข้าว ของเครื่องใช้จะไปที่ศูนย์การค้า (Shopping Center) ในระยะทางประมาณ 10 ไมล์ 16 กิโลเมตร ทางรถยนต์) ที่เป็นระยะของชุมชนตามลักษณะของการเดินทาง

ลักษณะของการเจริญเติบโต

_ of 165 18 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ในเมืองครอสโกรอท (Cross-Gorod) เมืองต้นแบบที่อยู่ใกล้ทะเลดำ ก็เช่นกัน ผู้หญิงจะเดินเท้าหรือใช้ลาในการเดินทาง ดังนั้นระยะของหมู่บ้านจะค่อนข้างเล็ก และ แต่ละหมู่บ้านมีพื้นที่จะคาบเกี่ยวกัน ภาพที่เกิดขึ้นจะเป็นรูปร่างของเมืองเก่า (Old Town) ที่รายล้อมด้วยหมู่บ้าน (Neighborhood) เป็นแผนผังที่เป็นแนวราบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในพื้นที่อาจจะมี แม่น้ำไหลผ่าน หรือบางที่เป็นภูเขาตามสภาพทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ทำให้แผนผังของ เมืองไม่ได้ราบเรียบเสมอไป แต่แบบแผนในการจัดวางก็ยังคงเดิม กระบวนการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นถัดไปเกิดขึ้นจากครอบครัวของผู้ปกครองต้องการย้ายถิ่นฐานออก ไปนอกเมือง ไปสร้างบ้านขนาดที่ใหญ่ขึ้น (Mansion) บนทำเลที่มีระดับสูงกว่าระดับดิน ทั่วไปเช่นบนเนินเขา และเรียกคฤหาสน์เหล่านี้ว่า “ฮิลเครส - Hillcrest”หรือคำเฉพาะ อื่น ๆ ที่มีความหมายคล้ายกัน (ในปัจจุบัน Mansion เหล่านี้ได้กลายมาเป็นโรงเรียน เอกชน (private school) และพื้นที่โดยรอบถูกพัฒนาขึ้นเป็นสวนสาธารณะ (Hillcrest Garden) มีบ้านแบบชนบท (ranch style) และ บ้านเล่นระดับ รวมถึงสนามกอลฟ์ และศูนย์การค้า) เราจะสังเกตุได้ว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้สอยอาคาร รูป แบบของการใช้ชีวิต สถาปนิกในแต่ละช่วงเวลาจะต้องปรับปรุงรูปแบบแปลนให้เหมาะ สมกับการใช้ชีวิต วัฒนธรรมของการใช้งานใหม่ ๆ บางที่การออกแบบสถาปัตยกรรม อาจจะย้อนกลับไปอิงผลงานทางประวัตศาสตร์เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น Hillcrest ในยุคแรกของอังกฤษ จะใช้รูปแบบของนีโอคลาสสิค (neo-Classic style) ที่ อิงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมมาจากกรีก (Greek) และ โรมัน (Roman) รูปแบบของการพัฒนาการของเมืองในฝั่งของสหรัฐอเมริการจะมีความเฉพาะ ตัว เนื่องจากสหรัฐอเมริกาในยุคบุกเบิกจะเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ความเจริญจะเริ่มจากฝั่ง ตะวันออกไปสู่ตะวันตก (Go west) การข้ามฝั่งทวีปอเมริกาด้วยม้าเหล็ก มีเส้นทาง รถไฟที่ไกลสุดลูกหูลูกตา การเกิดขึ้นของเมืองใจกลางทวีปจะเกิดขึ้นจากจุดตัดของถนน ดินกับทางรถไฟ ที่มีระยะห่างกันของถนนมากกว่า 50 ถึง 100 ไมล์ โดยถนนดินเหล่านี้ เป็นเส้นทางไปสู่ฟาร์มปศุสัตว์ และการปลูกพืชไร่ต่าง ๆ การขนส่งสินค้าในยุคนั้นจะใช้ ทางรถไฟเป็นหลัก ณ จุดที่ถนนมาเจอกับทางรถไฟ จะเกิดสถานีรถไฟสำหรับการขน ถ่ายสินค้ารวมถึงคอกสัตว์สำหรับฝูงวัวที่ถูกต้อนมาพักรอลำเลียง ยุ้งฉางขนาดใหญ่หรือ ไซโลสำหรับข้าวโพดกองโต ทุก ๆ อย่างต้องมีสถานที่เก็บเพื่อรอการขนถ่ายขึ้นรถไฟ _ of 165 19 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

พื้นที่รอบสถานีรถไฟ โดยหลักการแล้ว ชาวไร่ ชาวนา รวมถึงคาวบอย ต่างก็ต้องการรับเงินสดจาก การขายผลผลิต ดังนั้นธนาคารก็จะเป็นตัวแทนผู้ซื้อ ทำให้ชาวไร่ ชาวนา และคาวบอย มีเงินในการจับจ่ายสินค้าอื่น ๆ เพื่อกลับไปที่ไร่ของตน แต่ก่อนกลับก็จะแวะหาเครื่อง ดื่มที่ดับกระหายลำคอที่แห้งก่อน ที่บาร์เหล้า (Saloon) พร้อมชมความบันเทิงต่าง ๆ เช่นในหนังคาวบอยตะวันตกที่เราคุ้นชิน ถ้าเราพิ่มโรงแรม (Inn) เข้าไป ก็จะครบองค์ ประกอบของผังเมือง (Wild West Town) และที่จะขาดไม่ได้คือ นายอำเภอ (Sheriff )และ คุก (Jail) เป็นที่สังเกตุได้ว่า กลุ่มของอาคารเหล่านี้จะรวมกันอยู่ด้านใด ด้านหนึ่งของทางรถไฟ (ไม่ใช่อยู่ทั้งสองด้าน) ช่วงเวลานี้ รูปแบบของอาคารจะเป็นอาคารที่เรียบง่าย มีโครงสร้างที่ไม่หลาก หลาย อาคารทุกหลังก่อสร้างโดยช่างไม้นักเดินทางตามสถานีต่าง ๆ ยังไม่มีการจ้าง สถาปนิกเพื่อออกแบบอาคารใด ๆ ดังนั้น รูปแบบของอาคาร สถานีรถไฟ ธนาคาร โรงแรม ร้านเหล้า ก็จะดูเหมือน ๆ กัน ในทุกแห่ง ไม่มีรูปแบบเฉพาะของถิ่นที่ก่อสร้าง (Ethnic construction)

_ of 165 20 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Wild West - Cowboy Town จากสถานีรถไฟกับกลุ่มอาคารไม่กี่หลังก็ได้กลายมาเป็นเมืองที่แออัดด้วยผู้คน ที่หลากหลาย นักบวช ครู หมอ ช่างตัดเสื้อ ฯลฯ เช่นเดียวกับครอส โกรอท (CrossGorod*) ที่มีเป็นศูนย์กลางเมือง หมู่บ้าน ชุมชนต่าง ๆ ตลอดจนความหรูหราของ ฮิลเครส (Hillcrest) ที่ทำให้กลายเป็นเมืองขนาดใหญ่โดยสมบูรณ์ มีปรากฎการณ์หนึ่งที่เปลี่ยนแปลงภาพของการเกิดขึ้นของเมืองเหล่านี้ เนื่องจากการเจริญเติบโตของระบบอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ลงทุนเสาะหาพื้นที่โล่งราคาถูก สำหรับการทำงาน การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมอีกฟากหนึ่งของรางรถไฟ ที่ห่างไกล จุดศุนย์กลางของเมือง (on the far side) เป็นการดึงแรงงานราคาถูก มีการนำเข้าคน งานจากทางยุโรปตะวันออกเช่น โปแลนด์หรือ ฮังการี โดยการจ่ายค่าเดินทางให้และมา ทำงานใช้แรงงานแลกกับความเป็นอยู่ในดินแดนใหม่ สหรัฐอเมริกา การทำงานภายใต้ สัญญาที่กดขี่ สร้างบ้านเล็ก ๆ หลังโรงงานให้อยู่ (company house) มีร้านค้าที่ โรงงานเป็นเจ้าของให้จับจ่ายใช้สอย ไม่นานคนงานเหล่านี้ก็เต็มไปด้วยหนี้สิน และไม่ สามารถไปไหนได้อีก จำทนทำงานในโรงงานตลอดชีวิต เป็นที่เข้าใจได้ว่า คนที่ถูกอพยพมาใหม่ที่เรียกว่า “Hunkies” หรือ “Polacks” นั้นจะถูกกีดกันและดูถูกจากกลุ่มที่มาอยู่ก่อน พวกมาใหม่ดูเป็นต่างชาติ พูดภาษาไม่เหมือนกัน ทำงานด้วยค่าแรงที่ถูกกด ทำให้ไม่มีใครอยากสุงสิงด้วย กลาย เป็นกลุ่มที่ไม่มีใครแตะต้อง (Untouchable) และมีคำพูดที่ติดมาจนถึงปัจจุบันที่เปรียบ

_ of 165 21 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เทียบพื้นที่ ที่ไม่ควรเข้าไปว่าเป็นอีกฟากของรางรถไฟ “The wrong side of the track” เป็นผู้ที่สังคมไม่ยอมรับ เมื่อกาลเวลาเปลี่ยน ถึงประมาณกลางศตวรรษ ลูกหลานของพวกนี้ (Hunkies & Polacks) ได้เลื่อนระดับจากคนงานจ้างราคาถูก มาเป็นช่างเทคนิคและ ระดับบริหาร จนสามารถมีรายได้ที่จะสร้าง Hillcrest ของตนเอง ถึงแม้ว่าจะมีรสนิยม ที่แปลก ๆ แต่ต้องยอมรับว่าสถาปนิกที่ออกแบบให้ มีความสามารถในการแปลงความ ต้องการของเขาได้เป็นอย่างดี สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องราวที่เล่ามานี้คือ : สถาปนิกจำต้องทำความเข้าใจและรู้ ชัดถึงความต้องการของเจ้าของ แนวคิดของการออกแบบที่เกิดขึ้น อาจจะมาจาก จินตนาการของสถาปนิก (ที่เป็นศิลปิน) ล้วนๆ ฝันเอาจากที่ทำงานใน studio ของเขา แต่ถ้าต้องการให้อาคารสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง มีมิติ สถาปนิกจำต้องคำนึงถึง บริบทของเวลาและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เขาอยู่ จะเป็นการออกแบบอาคารสูง สำนักงาน อพาร์ทเม้นท์ โรงงาน บ้านพักอาศัย โบสถ์ โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ ถ้ามี ความเข้าใจและนำเสนอในทัศนคติที่ถูกต้อง สถาปนิกก็จะมีงานให้ทำอย่างต่อเนื่อง มี ความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน แต่ถ้าสถาปนิกต้องการจะเป็นกบฎต่อการออกแบบ เขาจะได้รับคำนิยามอยู่สองลักษณะคือผู้มีความสามารถ (genius) หรือคนบ้า (nut case) มันเป็นส่วนหนึ่งของความท้าทายเป็นความเสี่ยง (เช่นเดียวกับการตื่นนอนใน ตอนเช้า) แต่กบฎบางคนก็สามารถสร้างชื่อเสียงได้ เช่น แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright), เลอ คอบูซิเออ (Le Corbusier) ทำไมถึงจะเป็นคุณไม่ได้ Why not you?

_ of 165 22 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Three :The Architect and the Home สถาปนิก กับบ้านที่อยู่อาศัย Home is a place where one dwells with one’s lares and penates, loved ones, and cherished memories; also, it is the face one presents to the world. To advertise a new, unoccupied building as a “home” is to deny the value of the human soul. 1 ความรู้สึกที่มีต่อคำว่า “บ้าน Home” จะมีคำที่มีความหมายคล้ายคลึงใน แนวคิด หรือจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น คำว่า “แม่ Mother” รวมถึง “ธงชาติ Flag ” “เด็ก Children” “พระผู้เป็นเจ้า God” แน่นอนละ คำว่า “บ้าน” จะเป็นสิ่งที่ผูกพัน กับการเติบโตและชีวิตในวัยเยาว์อย่างมาก ในยุคปัจจุบัน ในที่ ๆ สังคมมีความสะดวกในการเดินทางมากกว่าสมัยก่อน และการเปลี่ยนที่อยู่การเปลี่ยนงานสามารถทำได้ง่ายดาย จากสังคมชนบท เข้าสู่การ ทำงานในเมือง จึงมีคำพูดที่โหยหาความอบอุ่นจากบ้าน เช่น “Home, Sweet Home” “Home is where the heart is” “Show me the way to go home” เป็นต้น และเป็นยุคที่บ้านกลายเป็นสินค้าที่ สร้าง ขาย และ เข้าอยู่ สลับสับเปลี่ยนกันตลอด เวลา ขึ้นอยู่กับรายได้ของครอบครัวที่สูงขึ้น จากบ้านสองห้องนอน ก็กลายเป็นบ้านห้า ห้องนอนที่มีสระว่ายน้ำ อาจจะมีความคิดถึงบ้านเก่าอยู่บ้าง แต่ก็เช่นเดียวกับการ เปลี่ยนรถใหม่ที่ความคิดถึงรถเก่าก็จะเหลือเพียงเล็กน้อยตามกาลเวลาที่ผ่านไป สิ่งที่สำคัญที่สุดของความเป็น “บ้าน” ในนิยามของคนร่วมสมัยคือ เป็นสิ่งที่ แสดงตัวตนและรูปแบบการใช้ชีวิตของเขา มีความเป็นครอบครัวที่อบอุ่น แสดงถึง ระดับของรายได้ที่เขามี ความทะเยอทะยาน ความรู้สึกที่เขามีต่อสังคม ทุกอย่างจะ แสดงออกมาจากลักษณะของบ้านที่เขาอาศัยหรือเป็นเจ้าของ ดูออกจะเป็นแนวคิดที่สุด โต่งที่อาคารเล็ก ๆ เช่นบ้านนี้จะสามารถแสดงความสลับซับซ้อนของชีวิตมนุษย์ได้ถึง

_ of 165 23 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เพียงนี้ แต่ด้วยมุมมองทางความคิดเพียงเล็กน้อยกับตัวอย่างที่จะยกมาต่อไปนี้อาจ ทำให้คุณเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ทางแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ความเป็นอยู่ เมื่อกว่าพันปีที่แล้วจวบจนปัจจุบันก็ยังมีความรู้สึกเฉกเช่นเดิมอยู่ คือความรู้สึกที่ว่า นอกบ้านเป็นพื้นที่สกปรกเต็มไปด้วยเชื้อโรคและอันตราย ผู้คนจะไม่ค่อยออกจากบ้าน โดยไม่จำเป็น และเมื่อจำต้องออกจากบ้านก็จะมีฉากม่านบัง เดินทางพร้อมกับคนที่ ดูแลความปลอดภัย (armed guards) ถ้าเขาสามารถจ่ายค่าจ้างได้ ในทางตรงข้ามสิ่งที่ สำคัญในชีวิตจะถูกเก็บรักษาอยู่ภายในบ้านเช่น คุณค่า ความสงบสุข ความงาม และ ความรัก ที่จะหาได้จากภายในบ้านที่ถือเป็นหัวใจ สิ่งที่เป็นการพิสูจน์ของแนวคิดของการอยู่อาศัย สะท้อนได้จากงาน สถาปัตยกรรมที่เขาสร้างขึ้น รูปแบบของบ้านพักอาศัยที่เห็นอยู่ทั่วไป ตัวอย่างเช่น ลักษณะของบ้านท่ีมีกำแพงล้อมที่เรียกว่า คาซบา casbah (บ้านพื้นเมืองในแอฟริกา) จะมีกำแพงหนาทึบล้อมรอบตัวบ้าน ที่เราจะเห็นจากถนนได้ก็เพียงกำแพง แน่ละมันจะ ต้องมีทางเข้าออกแต่ก็จะเป็นเพียงช่องประตูเล็ก ๆ ที่ทำด้วยเหล็กอย่างแข็งแรง มีช่องรู เล็ก ๆ ที่ประตู (peephole) ไว้สำหรับให้คนใช้สำรวจผู้ที่ต้องการจะเข้ามาในบ้านว่า เหมาะสมและปลอดภัยหรือไม่ ในกรณีที่มีหน้าต่างก็จะอยู่ในตำแหน่งที่สูงมาก ไม่ สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะ ขโมย โจรผู้ร้าย คนไม่ดีต่าง ๆ ตัวบ้านทั้งหมดจะหันหน้า เข้าสู่ภายใน ที่สวนกลางบ้าน ดังนั้นห้องทุกห้องก็จะมองเห็นซึ่งกันและกันผ่านสวนเพื่อ ให้ทุกกิจกรรมสามารถรวมกันที่ศูนย์กลาง แนวคิดหลักคือ “ภายในและ ภายใน” (Inward & inward) ไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่แนวคิดในการดำเนินชีวิต จะ สื่อสารในแนวทางเดียวกันที่เน้นในเรื่องของจิตวิญญาณ การทำสมาธิ เข้าสู่จิตใจของ ตนเอง (ไม่ได้ส่งออกสู่ภายนอก) รวมถึงงานศิลปะ (Art) ดนตรี (Music) โครงกลอน (Poetry) เต้นรำ (Dance) ส่วนประดับประดาอาคาร (Ornament) ที่มีขนาดเล็ก สลับ ซับซ้อน มีความประทับใจ (intimate) แทนที่จะมีขนาดใหญ่โต (grandiose) เช่นเดียว กับที่อยู่อาศัยทางฝั่งตะวันตก หรือทางยุโรปตอนเหนือ

_ of 165 24 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

รูปแปลนบ้าน casbah เด็กชายเด็กหญิงที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมแบบนี้ไม่เพียงจะซึมซับความ งามของยุคสมัย แต่รวมถึงหลักปฎิบัติหรือศีลธรรมที่ดีงามของวัฒนธรรม มุมมองของ ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องของสังคม การวางตัวในครอบครัว เป็น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ที่ผู้คนในฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะถูกปลูกฝังมาในภาพที่ผู้หญิง จะถูกกดขี่จากวัฒนธรรมของสังคม ตลอดจนสภาพแวดล้อมของบ้านพักอาศัยที่ส่งผล สอดคล้องต่อวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม ลองดูบ้านแบบชาโตว์ Chateaux ปราสาท Palace หรือ แมนชั้น Mansion ในฝรั่งเศส อังกฤษ หรือประเทศทางยุโรปตะวันตก ไม่ใช่ทุกคนจะได้ อยู่บ้านแบบนี้ ยกเว้นคนระดับขุนนางหรือเศรษฐี แต่ก็สามารถยกเป็นตัวอย่างบ้านที่คน ทั่วไปใผ่ฝันอยากจะมีที่อยู่ในลักษณะเดียวกัน เป็นต้นแบบแนวคิดเรื่องที่อยู่อาศัยของ สังคมโดยรวม อาคารเหล่านี้แตกต่างจากอาคารบ้านเรือนในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เนื่องจากการจัดวางผังบ้านเหล่านี้ไม่ได้หันหน้าเข้าสู่กลางตัวบ้าน แต่หันออกสู่สวน ภายนอกโดยมีถนนเป็นแนวยาวนำสายตาเข้าสู่หน้าบ้าน ถนนเส้นนี้จะผ่านสวนที่ สวยงาม เตรียมให้ผู้มาเยี่ยมเยียนได้ประทับใจกับงานสถาปัตยกรรมที่อยู่ตรงหน้าต่าง _ of 165 25 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

จากระเบียงเล็ก ๆ ของเมดิเตอร์เรเนียน ที่จะบอกผู้ผ่านไปมาว่า "อย่ามายุ่งกับบ้านฉัน นะ อย่ามาแอบดูด้วย" แต่แมนชั้นจะพูดว่า "แวะมาหาฉันซิ ดูความงามที่จะทำให้เธอ ประทับใจ" เป็นบรรยากาศที่จะทำให้ผู้มาเยือน ถอดหมวกออกด้วยความชื่นชม

Mansion งานตกแต่งภายในก็จะสื่อข้อความในลักษณะเดียวกันคือต้องการจะโชว์ความ งามมากกว่าการใช้งาน มีโถงต้อนรับ (Reception Hall) ห้องรับรอง (Banquet room) ห้องแสดงงานศิลป (Galleries) โดยเฉพาะห้องนอน ที่ตบแต่งอย่างอลังการ เสมือนฉากในหนัง มากกว่าห้องสำหรับนอนพักผ่อน ในยุคแรกเริ่มของอเมริกันชน ที่อพยพมาจากทางยุโรป รูปแบบก็จะแตกต่าง จากเมดิเตอร์เรเนียน แต่ก็ไม่อลังการเหมือนกับปราสาท ราชวังของทางยุโรป อเมริกัน จะสร้างอาคารสี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมทึบตัน แข็งแรงเหมาะกับการใช้ชีวิตที่ตรงไปตรง มา ใช้งานได้เช่นเดียวกับโรงนาของพวกเขา และรูปลักษณะภายนอกก็ไม่แตกต่างกันนัก เมื่อกาลเวลาผ่าน แปลนก็เปลี่ยนเป็นกล่อง มีสองชั้นและทางเดินกับบันไดอยู่ตรงกลาง ห้องแต่ละห้องมีขนาดเล็กและฝ้าเพดานที่ต่ำเพื่อประหยัดพลังงานในการทำความร้อน ชั้นหนึ่งจะถูกแบ่งเป็นกล่องย่อย ๆ ใช้งานเป็นห้องครัว ห้องทานข้าว ห้องนั่งเล่น และ ห้องรับแขก ส่วนชั้นสองจะเป็นห้องนอน

_ of 165 26 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

American floor plan การอาบน้ำสมัยก่อนจะอาบกันในห้องครัว และสุขาจะอยู่ด้านนอก จากนั้นมี การพัฒนาระบบสุขาภิบาลต่าง ๆ ทำให้ห้องน้ำย้ายเข้ามาอยู่ภายในตัวอาคาร เป็นที่ สังเกตว่า ชาวอเมริกันจะเป็นชนที่มีศีลธรรมสูง เราจะมักได้ยินคำกล่าวถึงชนชาตินี้ว่า เจ้าระเบียบ (puritanical) การทำบาปทุก ๆ อย่างไม่สามารถกระทำได้ ความสัมพันธ์ อย่างชู้สาวของคนในครอบครัวเดียวกันถือเป็นการผิดศีลธรรมอย่างรุนแรง ทุก ๆ คน จะนอนแยกห้องกันชัดเจน ในกล่องเล็ก ๆ ส่วนตัว ผู้ที่สามารถนอนร่วมห้องเดียวกันได้ คือคู่แต่งงานหรือญาติที่เป็นเพศเดียวกัน แต่ทั้งนี้การใช้ห้องร่วมกันต้องใส่เสื้อคลุมเพื่อ ป้องกันจากสายตาจากกายที่เปลือยเปล่า บ้านที่เป็น “กล่องซ้อนกล่อง” ได้กลายเป็นตัวอย่างของอาคารที่ยังคงแนวคิด ที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากว่าสองร้อยปีและยังคงรูปแบบเช่นนี้จนถึงในปัจจุบัน แต่จะมี เปลือกรูปแบบต่าง ๆ เช่น โคโลเนียล (Colonial) จอเจียน (Georgian) กรีกรีไวเวิล (Greek Revival) วิคตอเรียน (Victorian) ควีนแอน (Queen Anne) บาวเฮาส์ (Bauhaus) รวมถึง ร่วมสมัย (contemporary) รูปแบบบ้านที่ภายนอกดูจะแตกต่าง กันแต่การใช้งานพื้นฐานภายใน เช่น การแต่งตัว ตลอดจน การทานอาหาร จะทำอยู่ใน “กล่อง” (box) เฉพาะอย่าง มันยังเป็นบ้านกล่องพื้นฐาน(box house)ไม่เปลี่ยนแปลง _ of 165 27 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านเหล่านั้นก็ยังคงมีทัศนคติเช่นเดิม สืบทอดมาจนถึงครอบครัว อเมริกันในปัจจุบัน ที่พ่อบ้านจะไม่เห็นใส่กางเกงนอนอยู่นอกห้องนอน การทำอาหาร จะจำกัดอยู่แต่ในครัวและลูกชายจะไม่เอารถสามล้อมาวิ่งอยู่ในห้องนั่งเล่น หลักของ การใช้ชีวิตแบบนี้ทำให้เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมหรือการสัมผัสรับรู้ประสบการณ์ใน สถาปัตยกรรมนั้น ๆ การใช้ชีวิตอยู่ในกรอบบ้านแบบกล่อง (box house) ทำให้เกิดรูป แบบวิถีชีวิตดังที่เป็นอยู่ ทั้งนี้สถาปัตยกรรมจะเป็นจุดที่บริบททั้งสองมาบรรจบกัน อย่างลงตัวที่ปลายดินสอของสถาปนิก 2 ยุคสมัยเปลี่ยน จนมาถึงสมัยใหม่ (Modern Age) ที่มีภาพยนตร์เช่น Marry Doctors Three-Freud, Gesell, Spock และการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ได้เกิดขึ้น แนวคิดเปลี่ยน ล้มเลิกกับความพอประมาณจอมปลอม “ธรรมชาติเป็นความจริงที่ยิ่ง ใหญ่ ร่างกายคือความสวยงาม และความต้องการของมนุษย์คือความผูกพัน” จากแนวคิดของสังคมที่เปลี่ยนไปนี้ทำให้งานสถาปัตยกรรม ปรับแนวคิดใหม่ ในทันที อาคารกล่องเล็กกล่องน้อยหายไป กล่องที่แยกการใช้ชีวิตของแต่ละคนให้ห่าง กัน แทนที่จะเป็นห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องครัวและห้องกินข้าวแยกกัน กลายเป็น ห้องเอนกประสงค์ใหญ่ห้องเดียว บริเวณที่ทุกคนสามารถกินข้าว อ่านหนังสือ พูดคุย ฟังเพลงและดูทีวี ออกกำลังกาย เล่นเกมส์ ฯลฯ จะทำตามลำดับใดก็ได้ หรือกิจกรรม ต่าง ๆ พร้อมกันก็ได้ “กล่อง” ที่กำหนดกิจกรรมได้อันตรธานหายไปแล้ว เป็นพื้นที่ว่าง ที่ ๆ ทุกคนสามารถใช้พื้นที่ได้อย่างอิสระ เช่นเดียวกับกระต่ายในทุ่งกว้างใหญ่ หากแต่ จะเกิดความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัย

_ of 165 28 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

open plan house การแสดงออกทางสถาปัตยกรรมจะเปลี่ยนไปพร้อมกับค่านิยมใหม่ ๆ ที่เกิด ขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เราจะไม่ทราบว่าสิ่งใดเกิดขึ้นก่อนหรือสิ่งใดเป็นต้นเหตุที่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่คาดได้ว่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น บ้านแบบกล่อง (Box type Residence) ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว (Privacy) เป็นเรื่องหลัก และทำนองเดียวกันบางกิจกรรมก็ไม่สามารถกระทำได้ ถ้า ปราศจากความเป็นส่วนตัวเช่นช่วงเวลาที่หนุ่มสาวเริ่มทำความรู้จักกัน จะมีโอกาสใน การพูดคุยอยู่ที่ห้องรับแขกที่มีอีกคนคอยอยู่เป็นเพื่อน (Chaperone) หรือคุยกันที่ ระเบียงหน้าบ้านที่เปิดโล่ง ทำให้การแตะต้องตัวที่สามารถทำได้คือการจับมือเท่านั้น ไม่มีสิ่งใดเกินเลยได้ ค่านิยมของการอยู่ก่อนแต่งในสมัยนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม แต่การ ปรากฏของรถยนต์ได้เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง รถยนต์เป็นตัวแทนของการปลดปล่อย อิสระเสรี ความเป็นส่วนตัว และคนที่เติบโตมาในยุคนี้จะรวมเรื่องของความรักกับ รถยนต์เข้าด้วยกันอย่างกับต้องมนต์ โฆษณารถยนต์ จากยุคสมัยแรกจวบถึงปัจจุบันได้

_ of 165 29 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ผูกภาพลักษณ์ไว้กับเพศหญิงและเครื่องยนต์กำลังแรงม้าที่สูง ทำให้รถเปิดประทุนที่ถูก สั่งตรงมาจากโรงงานถูกทำให้รู้สึกว่าขายมาพร้อมกับสาวผมบลอนด์ ในยุคของความผูกพันธ์ (Togetherness) ดูจะเป็นช่วงเวลาที่ไร้สาระ และ การหลอกลวงของพฤติกรรมทางเพศอย่างสุดโต่ง เช่นเดียวกับการปฏิเสธประเพณีอันดี งามเฉกเช่นสมัยก่อน อาจจะเกี่ยวเนื่องไปถึงวัยรุ่นที่ร่วมรักกันในที่สาธารณะ หรือในที่ แสดงดนตรีคอนเสิร์ต ดนตรีร๊อค เราไม่ได้เจาะจงที่จะบอกว่าความผิดทั้งมวลอยู่ที่สถาปนิกเป็นต้นเหตุและ สถาปนิกต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนเขียนแบบเพื่อก่อสร้างที่ ว่างสำหรับการใช้งานเหล่านั้นในสังคมที่เขามีส่วนร่วม การออกแบบเป็นแรงกดดันที่ ทำให้เกิดแบบแผนทางสังคมใหม่ ๆ สถาปนิกเป็นผู้สร้างพื้นที่ในการใช้ชีวิตใหม่ ๆ เหล่า นั้น เช่นการที่เราได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบจาก “บ้านกล่อง” (box house) มาเป็นแบบ “แปลนเปิด” (open plan) ทำให้วิถีของการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป การมีส่วนร่วม อย่างชัดเจนของสถาปนิก ต่อสังคมที่เขาใช้ชีวิตอยู่ ใครก็ตามที่คิดว่าสถาปนิกทำแค่ ตกแต่งรูปด้านอาคารให้มีความสวยงาม ไม่ได้มีผลลัพท์ต่อสังคม เขากำลังเข้าใจผิดถึง ความสำคัญของวิชาชีพสถาปัตยกรรม และในความเป็นจริง “สถาปนิก” ก็ไม่สามารถ ปฏิเสธความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นนี้ได้ 3 นอกจากเรื่องของวัฒนธรรมรถยนต์ (automobile society) ที่เป็นผลที่ ทำให้ความสำคัญของบ้านกล่องเปลี่ยนไป ยังมีตัวแปรที่สำคัญอีกประเภทคือ การ ประดิษฐ์ของวิทยุ และโทรทัศน์ (ในปัจจุบันน่าจะเป็นมือถือและระบบเทคโนโลยี สารสนเทศที่ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป) ในช่วงนั้น อเมริกันชนจะโตขึ้นมากับ โลเวล โทมัส (Lowell Thomas) ผู้ประกาศข่าวตอนเย็นเวลาหนึ่งทุ่มสิบห้า ที่พ่อบ้าน จะให้คนในครอบครัวทุก ๆ คนที่โต๊ะอาหารเงียบเสียงลงเพื่อฟังข่าวภาคค่ำ และเวลา สามทุ่มเมื่อรายการที่ เอ็ด เวน (Ed Wynn) นักแสดงนำในรายการ นักผจญเพลิง the Fire Chief ทุกคนก็จะกรูกันเข้าไปนั้งหน้าทีวีโดยพร้อมเพรียง ในกิจกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้ช่องว่างระหว่างความเป็นห้องหมดไป ทำให้เกิดแปลนแบบเปิด (open plan) และพื้นที่ใช้งานร่วมกันโดยไม่แบ่งแยกเป็นห้อง ๆ _ of 165 30 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

(เช่นเดียวกับในประเทศไทยในสมัยที่ผู้เขียนยังเด็ก ที่บ้านจะมีทีวีเครื่องเดียว ที่ห้องโถงกลางและทุก ๆ คนในครอบครัวก็จะมานั่งดูทีวีพร้อมกัน คุณพ่อจะฟังข่าวช่อง สามจนถึงข่าวในพระราชสำนักและชมละครหลังข่าว เพื่อที่จะมีเรื่องไปคุยกับเพื่อนที่ ทำงานในวันรุ่งขึ้น ยุคสมัยเปลี่ยนแปลง ณ เวลาปัจจุบัน (2016) ทุกคนจะดูรายการ โปรดใน Ipad ส่วนตัวแต่ก็อาจจะนั่งอยู่ในห้องนั่งเล่นห้องเดียวกัน) บ้านสำหรับชนชั้นกลางในอเมริกานั้น มักเป็นส่วนผสมระหว่างบ้านกล่อง (box house) แบบดั้งเดิม ร่วมกับแปลนที่เปิด (open plan) สมัยใหม่ที่ท้าทาย บ้านที่โดยคุณลักษณะร่วม จะมีการนำเสนอรูปด้านหน้า (facade) ที่มีประตู โรงรถ ที่เปิดออกและจอดรถครอบครัวที่ถนนทางเข้าเพื่อให้เพื่อนบ้านได้ชื่นชม มีทาง เดินเข้าบ้านทำด้วยหิน เส้นทางเดินที่โค้งเข้าบ้าน ไม่มีใครทราบว่าทำไมถึงต้องทำทาง เดินโค้ง แต่คงเป็นเพราะมันให้ความรู้สึกถึงความเป็นบ้าน มีหน้าต่างที่มองออกนอก บ้านและเห็นเพื่อนบ้านได้อย่างดี มีม่านที่งดงามอาจจะประดับประดาด้วยหลอดไฟเล็ก ๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาเทศกาลคริสต์มาส ที่มีแสงไฟประดับต้นสนที่ส่องแสงวิบวับออก มาสู่ภายนอกหรือบางบ้านจะประดับประดาด้วยตุ๊กตาแซนตาครอส มาพร้อมบนรถ เลื่อนกับฝูงกวางเรนเดียร์ ส่องแสงสว่างไสวที่สนามหญ้าหน้าบ้าน มองผ่านตัวบ้านเข้าไปทางด้านข้าง อาจจะเห็นพื้นที่สวนหลังบ้าน(backyard) ที่มีสระว่ายน้ำรูปไต (kidney shape pool) และไม้พุ่มที่ตัดแต่งเพื่อบังเตาบาบีคิว เป็น บ้านตัวอย่างที่เหมาะกับการครอบครอง คล้ายกับพวกแมนชั่น (mansion) ที่เรากล่าว ถึงในตอนต้น นับเป็นความใฝ่ฝันของอเมริกันชนที่จะได้อยู่บ้านในลักษณะนี้ เพื่อให้ได้ รับการยอมรับจากคนอื่น ๆ และเป็นการประกาศว่า ผู้ที่อยู่ในบ้านหลังนี้เป็นคนดี มี ความรักชาติ ทำงานหนัก นับถือพระเจ้า เป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ และไม่เคยทำความผิด อาจ จะไม่ใช้คนที่เรียกว่าเศรษฐี แต่มีเครดิตดีมากในระดับ A-1 ภายในบ้านจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในยุคแรกของบ้านในอเมริกาจะเขียน ภาษิต ติดข้างผนัง อาจเขียนว่า "We live a rich, full life here in the cradle of our hearth" "เรามีชีวิตที่เต็มเปี่ยม ในอ้อมกอดของหัวใจ" ในพื้นที่ห้องนั้งเล่น จะมีชุดทีวี _ of 165 31 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ขนาดใหญ่ พร้อมกับเครื่องเสียงครบชุด พร้อมกับเคาน์เตอร์บาร์ ห้องใต้ดินของพ่อจะมี ทีวีอีกชุดเพื่อดูกีฬากับเพื่อนฝูง ห้องลูกชายก็จะมีทีวีอีกชุด เครื่องเล่นแผ่นเสียงพร้อม เครื่องขยายเสียงที่ใหญ่คับห้อง ส่วนห้องลูกสาวจะไม่ค่อยมีคนเข้าไปใช้ เนื่องจากเธอ อายุ 23 ย้ายออกไปอยู่กับเพื่อนที่ หมู่บ้าน กรีนวิช (Greenwich Village) ห้องเธอจะมี โปสเตอร์เจ้าหญิงจากดีสนีย์ และตุกตาหมีตัวใหญ่อยู่บนเตียง ห้องนอนใหญ่ จะมีห้องแต่งตัว (walk-in closet) แยกชายหญิงและห้องน้ำที่ มีอ่างล้างหน้าสองชุด (โดยไม่ทราบเหตุผลว่ามีไว้เพื่ออะไร) ทุกห้องนอนจะมีห้องน้ำใน ตัว เพื่อทดแทนความไม่ส่วนตัวในสมัยก่อน สมัยที่อาบน้ำกันชั้นล่างที่ห้องครัว มีห้อง ครอบครัวที่สามารถใช้ร่วมกัน ส่วนเพิ่มเติมที่อาจจะมีได้คือ ส่วนโต๊ะเครื่องมือของคุณพ่อที่อยู่ในโรงรถ ที่ ทำความเสียหายได้ด้วยอุปกรณ์ราคาแพง (power tools) ด้วยแนวคิดที่ว่า ถ้าคุณพ่อมี งานอดิเรกจะช่วยให้มีอายุยืนยาวไปอีกอย่างน้อยห้าปี ในภาวะที่สับสนของวิถีชีวิตรูปแบบนี้ (Middle American House) จะเกิด หมู่บ้านในลักษณะเดียวกันนี้ในทุกมลรัฐ ในทุกที่ดินพัฒนาใหม่ มันเปรียบเสมือนคำ ประกาศของช่วงเวลา และของวัฒนธรรมให้ปรากฏออกมา คำกล่าวปิดท้ายสำหรับบ้านชนชั้นกลางอเมริกันเหล่านี้คือ สถาปนิกผู้ ออกแบบก็จะเป็นคนอเมริกันชั้นกลางเช่นเดียวกัน มิฉะนั้นเขาจะไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงความแตกต่างและอารมณ์อันอ่อนไหวที่จะเห็นมุมมองของชีวิต ความฝันและความ ทะเยอทะยานที่มีของลูกค้าที่เขาออกแบบบ้านให้ แต่สถาปนิกบางคนที่เป็นคนชั้นกลาง เช่นเดียวกันก็ไม่อาจทำใจให้ตนเองออกแบบบ้านในลักษณะเช่นนี้ได้ เพราะเขารู้ตัวว่า เขาไม่เหมาะสม เนื่องจากเขาได้รับประสบการณ์ที่นอกกรอบ จากการศึกษา จากการ เดินทางให้เห็นโลก และพัฒนาการของรสนิยมที่สลับซับซ้อนขึ้น แต่ในมุมของคนส่วน ใหญ่ ก็สามารถวางใจได้ เพราะมีสถาปนิกอีกมากที่เรียนมาตามระบบ ไม่นอกแถว และ สามารถออกแบบตามยุคสมัยเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

_ of 165 32 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

4 การเติบโตของงานสถาปัตยกรรมที่พักอาศัย (Residential Architecture) ได้เปลี่ยนรูปแบบอีกคราว ในยุคที่เป็น “อพาร์ตเม้นต์ apartment” และ “อาคารสูง high rise” อย่างไรก็ตาม บ้านเดี่ยว ไม่ว่าจะเป็นกล่องหรือแปลนแบบเปิดก็ยังคงมีมนต์ ขลังผู้คนต้องการจะมีที่อยู่ของตนเอง “a man's castle” การโยกย้ายถิ่นที่อยู่ที่ ง่ายดายในปัจจุบันทำให้ตลาดที่อยูอาศัยเจริญเติบโต ทุกแปลงที่ดินที่ได้รับการพัฒนา จะแปลงรูปแบบของการอยู่อาศัยเป็นอพาร์ตเม้นต์คอมเพล็กซ์ เพื่อมาแทนที่ “บ้าน เดี่ยว” เราสามารถคาดเดาได้ว่าแปลนของอพาร์ตเม้นต์จะเป็นสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน modular มีระบบทำความอุ่นส่วนกลาง มีระบบบำบัดที่ใช่รวมกันทั้งอาคาร มีระบบ การบำรุงรักษาอาคารที่ดีและที่สำคัญ สามารถย้ายออกได้โดยไม่กระทบอะไรมากนัก เป็นแนวคิดของการวางผังเมืองของคนในยุคที่มีการเปลี่ยนที่อยู่ และจากการขยายตัว ของเมือง ราคาของที่ดินในเมืองสูงขึ้นและการเดินทางของผู้คนสะดวกขึ้น ทำให้ธุรกิจ และโรงงานต่าง ๆ ได้ขยายออกสู่ชนบท รวมถึงที่อยู่อาศัยแบบอพาร์ตเม้นต์เช่นเดียวกัน เป็นหลักทั่วไปของของการก่อสร้างหรือการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จะต้องทำมี จำนวนห้องให้มากที่สุดต่อพื้นที่ดินที่มีอยู่ แต่ก็ยังมีอีกวิธีที่ทำกำไรได้คือการสร้างให้ น้อยลงแต่มีขนาดและบรรยากาศที่ดีกว่าสามารถเก็บค่าเช่าได้มากขึ้น เป็นการทำกำไร จากผืนแผ่นดินและด้วยเทคโนโลยีในการก่อสร้างในปัจจุบันที่พัฒนาระบบลิฟต์ (elevator) จึงทำให้การก่อสร้างอพาร์ตเม้นต์ทำได้สูงขึ้นเป็นสามสิบ ถึง สี่สิบชั้นอย่าง ง่ายดาย ทุกห้องจะมีระเบียง (terraces) ยื่นออกจากตัวอาคาร ทั้งที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน เนื่องจากมีขนาดที่เล็ก มีลมแรง และสกปรกเกินไป รวมถึงเปิดเผยวิวสู่ระเบียงอื่น ๆ อีกนับพัน ของอาคารโดยรอบ เพื่อที่จะกำไร ดังนั้น ฝ้าเพดานจะมีขนาดต่ำรวมถึงห้อง ที่มีขนาดเล็ก รวมถึงผนังกั้นแต่ละห้องที่บางพอที่จะให้เสียงเล็ดลอดออกมาได้ มันไม่ ต่างอะไรกับสลัมที่หรูหรา เจ้าของโครงการบางทีจะได้สถาปนิกที่เก่งกาจในการออกแบบอพาร์ตเม้นต์ที่ สะดวกสบายและสามารถทำให้ราคาเช่าสูงกว่าที่อื่น ๆ ได้ สถาปนิกที่ออกแบบจัดการ ความสลับซับซ้อนของการจัดเรียงที่อยู่อาศัยร่วมนี้ รวมถึงความรู้ทางกฎหมายเฉพาะ _ of 165 33 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ทางจะเป็นที่ต้องการของธุรกิจเป็นอย่างมาก เขาจะมีงานมากจนไม่มีเวลาศึกษางาน ออกแบบประเภทอื่น ๆ ยกเว้นเวลาเศรษฐกิจตกต่ำแต่เมื่อถึงยุคของทองการก่อสร้าง พวกเขาถือว่าอยู่บนสวรรค์ อพาร์ตเม้นต์เหล่านี้จะขาดการออกแบบที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัวตนของแต่ละ ครอบครัว ความรู้สึกของการอยู่อาศัยแบบเดียวกัน เรียงตามช่อง ตามแถวที่เกิดขึ้น ขาดความแตกต่าง และรับรู้ตัวตนได้ด้วยเบอร์ของห้องพักเท่านั้น แต่ก็อาจจะเป็นความ ต้องการของผู้อาศัยที่ต้องการที่จะไม่เปิดเผยตัวตนให้เป็นที่รู้จัก เป็นการแสดงออกให้ เห็นในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเม้นต์อาจจะไม่รู้ จักเพื่อนบ้านของเขาเลยก็เป็นได้และเป็นเรื่องปกติที่อาจจะขึ้นลิฟต์พร้อมกันเป็นปี ๆ กว่าที่จะพยักหน้าทักทายกัน มันเป็นเรื่องของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แบบแปลนของอาคารที่ ทำให้คนมีความรู้สึกต่อกันในแบบนั้นและสถาปนิกเองก็พยายามที่จะสร้างพื้นที่ ที่จะ ทำให้คนเข้ามามีปฎิสัมพันธ์กัน (humanize) ด้วยเทคนิคทางงานออกแบบ แต่ก็ไม่ ประสพผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากไม่ได้เข้าถึงรากของปัญหา คือเรื่องของสังคมวิทยา (sociology) ตัวอย่างของงานออกแบบของสถาปนิกผู้มีชื่อเสียง โมสชี ซาฟดี (Moshe Safdie) ที่มีแนวคิดของงานออกแบบ อพาร์ตเม้นต์ ที่ใช้ชื่อว่า แฮบิแทต ( Habitat : ที่อยู่อาศัย) โดยการทำแต่ละห้องที่ไม่ได้ต่อกันเป็นแนวตรง การจัดวางอยู่ในรูปแบบ ของกลุ่มก้อน (Cluster) ที่ทำให้ดูเหมือนหมู่บ้านเล็ก ๆ ตามเนินเขา รูปแบบนี้เป็นน่า สนใจจริงหรือ ? หรือจะเป็นสถานที่สำหรับถ่ายภาพ ? ก็สุดแล้วแต่มุมมองของแต่ละคน แต่จากการศึกษาลงในรายละเอียดของผู้เข้าอาศัยพบว่า เป็นการยากลำบากที่จะเข้าสู่ แต่ละห้องเนื่องจากโครงสร้างไม่ได้ต่อกันตรงแนวทำให้ไม่สามารถวางลิฟต์ได้มากกว่า สามชั้น การรักษาความปลอดภัยไม่สามารถทำได้ดีเนื่องจากมีทางเข้าออกที่หลากหลาย ไม่มีโถงทางเข้าเดียวเช่นอาคารทั้วไปที่สามารถวางจุดรักษาความปลอดภัยได้ ปัญหาอีก อย่างคือการส่งของและการทิ้งขยะ ค่าก่อสร้างในเบื้องต้นที่สูงมากกว่ารูปแบบการ ก่อสร้างอื่น ๆ แต่กระนั้นถ้าได้สร้างจำนวนมาก ราคาค่าก่อสร้างก็อาจจะลดลง (แต่ไม่ ได้สร้างจำนวนมากขนาดนั้น) ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารแฮบิเทตแห่งนี้ได้รับความรู้สึกภาค _ of 165 34 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ภูมิใจที่ได้เป็นผู้เข้าพักในอาคารที่ล่ำยุคและไม่เหมือนใคร (แต่ยังมีเพื่อนบ้านที่มีแบบ แปลนเดียวกัน) เป็นการทดลองในการอยู่อาศัยที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมที่ได้อยู่ใน สถานที่แห่งนี้ ถึงแม้ว่าอาจเป็นมายาคติ แต่ความรู้สึกมีส่วนร่วมก็มีความจำเป็นในสังคม ปัจจุบัน ในทางปฎิบัติ การออกแบบอพาร์ตเม้นต์หรือคอนโดมิเนียมที่ใช้รูปแบบห้องที่ เหมือน ๆ กัน วางซ้อนต่อกันเป็นชั้น ๆ นั้นจะได้เปรียบกว่ารูปแบบอื่น ๆ เนื่องจากรูป แบบโครงสร้างรูปแบบตารางสามารถทำได้ง่าย การจัดตำแหน่งลิฟต์สำหรับขึ้นลงใน แนวตั้ง รวมถึงงานระบบท่อต่าง ๆในแนวดิ่งที่สามารถจัดการได้อย่างประหยัด การ รักษาความปลอดภัยสามารถทำได้ที่โถงกลาง อุปกรณ์เครื่องมือก่อสร้าง สำหรับการ บริการและซ่อมแซม สามารถทำได้ถูกกว่า เนื่องจากอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถ ทดแทนกันระหว่างชั้นได้ ในระหว่างการก่อสร้าง สามารถควบคุมงบประมาณได้อย่างดี เนื่องจากแบบหล่อหรือโครงรับงานก่อสร้างต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ซ้ำในทุก ๆ ชั้นที่ เหมือนกัน แต่รูปลักษณ์ของอาคารต้องเป็นที่ยอมรับ ว่าเหมือนกับตู้ใส่ของที่แต่งหน้า ทาปาก ดูเหมือนทั้งสองแนวคิดจะเข้ากันไม่ค่อยได้แต่บางทีมันจะนำไปสู่แนวคิดใหม่ ๆ ดังนั้นเรายังไม่ควรจะคิดว่าบางแนวทางนั้นไม่มีค่า ดังตัวอย่างสถาปนิก คาลาทัน แอน โตนิโอ เกาดี (The Calatan, Antonio Gaudi )ที่ออกแบบอพาร์ตเม้นต์ในเมือง บาเซโลนา (Barcelona) ในปี 1905 ที่เรียกว่า ลา แพดรา (Le Pedrera) เป็นการซ้อน ชั้นของอาคารให้เรียบง่ายทางโครงสร้าง แต่ปรับเปลี่ยนแปลนพื้นของแต่ละห้องและรูป ด้าน (facade) ให้ดูมีชีวิตชีวา เป็นการผสมผสานของทั้งสองแนวทาง แต่ละห้องจะมี ความแตกต่างกันเล็กน้อย เช่นเดียวกับผู้ที่เช่าอยู่ ที่ทุกชีวิตมีความแตกต่าง ผลลัพท์ของ อาคารที่ออกแบบได้อย่างลุ่มลึกเช่นนี้ จะได้รูปแบบที่เข้าใกล้ธรรมชาติ คล้ายกับต้นไม้ สำหรับผู้อาศัย ให้รู้สึกได้กลับบ้าน คนที่อาศัยต่างก็เป็นคนเหมือนกัน แต่ แต่ละคนก็ จะมีความแตกต่างเฉพาะตัว

_ of 165 35 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ถึงแม้ว่า แอนโตนิโอ เกาดี จะลงทุนทำงานออกแบบอย่างหนักเช่นเดียวกับ สถาปนิกอื่น ๆ ที่ทุ่มเท ค้นหารูปแบบของบ้านพักอาศัยแต่ก็ไม่มีหลักฐานแสดงว่า แบบ ที่ล้ำยุคต่าง ๆ จะเป็นที่สนใจของผู้เช่า แต่ความสนใจจะอยู่ที่จำนวนห้องพัก ราคาค่า เช่า อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ มากกว่า เราสรุปได้ว่า รูปแบบงาน สถาปัตยกรรมที่ล้ำยุคเหล่านั้น ควรอยู่ภายในจินตนาการและรูปวาดของสถาปนิก เท่านั้น ในโลกของความเป็นจริง แนวโน้มของบ้านพักอาศัยแบบนี้จะอยู่ในกลุ่มบ้าน บ้านพักตากอากาศ รวมถึงบ้านรถพ่วง (trailer) หรือ บ้านเรือ (boathouse) ในขณะ เดียวกัน ถ้าเราแวะห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ที่มีร้านขายอุปกรณ์เครื่องเดินป่า ผู้คนจะ มองหาซื้อเตนท์ และเครื่องนอน มากกว่าสมัยก่อน อาจจะเป็นได้ว่า กว่าห้าพันปีของ การอยู่อาศัยในเมือง จะทำให้เราโหยหากลับคืนสู่ธรรมชาติ เช่นในสมัยของ เดิค (Drk?) ก็เป็นไปได้

Apartment

_ of 165 36 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Four : Architect and Religion สถาปนิก กับศาสนสถาน And it come to pass that the tribes of Israel reached a fair valley and there they settled with their flocks, And they built themselves a temple unto the Lord, which was pleasing to His eyes, and He did bless them with crops and children. ไม่มีงานสถาปัตยกรรมประเภทใดที่จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับงานก่อสร้างของเขาได้ดีเท่างานประเภทโบสถ์ วิหาร หรือที่สักการะตามความ เชื่อของเขา นับแต่โบราณกาลจวบจนถึงวิหารสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในทุก ๆ ศาสนสถาน จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของพระเจ้าที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัยและยัง สะท้อนแนวคิดของผู้คนที่มีต่อเทพเจ้าเหล่านั้น ในยุคโรมันโบราณ วิหารของเขานั้นสร้างบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าในโลกใบนี้ มีเทพเจ้าอยู่หลายองค์และต่างองค์ก็จะมีหน้าที่ดูแลมนุษย์ในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ แตกต่างกันไป เช่น เทพของสงคราม เทพของความฉลาด เทพของความรักหรือเทพ ของความอุดมสมบูรณ์ ฯลฯ ในการบวงสรวงก็จะมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันไปตามความ ต้องการของเทพเจ้า เมื่อชาวโรมันต้องการบรรลุในเรื่องใดเขาก็จะตรงไปที่วิหารของ เทพเจ้าองค์นั้น นั้นหมายความว่าเทพเจ้าแต่ละองค์ก็มีสถานที่ประทับอยู่โดยเฉพาะ และแต่ละแห่งก็จะประดับประดาอย่างงดงาม มีห้อง (chamber) สำหรับเก็บเครื่อง ประดับ เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงทาสรับใช้ (คล้ายกับปราสาทราชวัง ที่ในยุคหนึ่งที่มีพระ ราชาผู้ปกครองที่มีสถานะไม่ต่างจากเทพเจ้า) โดยธรรมชาติของอาคารในลักษณะนี้ ที่จะเต็มไปด้วยของมีค่าและต้องการ ความปลอดภัย ดังนั้นเราจะเห็นกำแพงที่หนา ประตูที่มีขนาดหนักและเต็มไปด้วยการ ป้องกัน ภายนอกถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับฐานะ

_ of 165 37 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ของเทพแต่ละองค์ ต้องขอออกนอกประเด็นนิดหน่อยที่ลักษณะของสถาปัตยกรรม ประเภทนี้จะมาปรากฎในศตวรรษหลังจากแก่นของการสักการะเปลี่ยนแปลงไปจาก สวรรค์ลงมาสร้างบนโลกมนุษย์ รูปแบบของวิหารเหล่านี้กลับมาเป็นที่นิยมในการ ออกแบบธนาคาร (bank architecture) (ดูบทที่5) ระหว่างยุคกลาง (middles ages) พระเจ้ากลายเป็นหนึ่งเดียว หรืออย่างมาก เป็นเพียงสาม (trinity) ส่วนความสามารถพิเศษของเหล่าเทพนั้น ยกให้เป็นหน้าที่ของ นักบุญ หรือบาทหลวง พระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นเพียงหนึ่งเดียว มีความลึกลับและสามารถ อยู่กระจัดกระจายไปในทุกถิ่นที่ เป็นคล้ายจิต หรือวิญญาณ ที่มีการรับรู้ ไม่ได้สถิตอยู่ที่ ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ ให้ปรากฏเป็นที่ไม่เข้าใจ เพื่อให้มีการบูชา ให้เราลองนึกถึงโบสถ์ กอธิค (Gothic Cathedral) ที่เป็นสุดยอดงานสถาปัตยกรรม ในช่วงเวลาของยุคกลาง จากมุมมองนี้จะมีความแตกต่างจากโบสถ์สมัยโรมัน สภาพการตกแต่งภายในที่มีแสง น้อยนิด ในความลึกลับและส่วนที่มีแสงผ่านก็จะถูกกรองด้วยกระจกสี (Stainglass) มี แสงที่ปรากฏจากแสงเทียนที่ริบหรี่ในบริเวณแท่นสักการะ หลังคาสูงและฝ้าเพดานที่สูง มาก ดูเหมือนจะหายไปบนท้องฟ้า เสียงจะมีการสะท้อนไปมาในอากาศ สะท้อนกลับไป กลับมาโดยเฉพาะเสียงสวดที่เป็นภาษาละตินจากนักบวช เรื่องกลิ่นก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่ แพ้กับเรื่องใด ๆ ส่วนผสมของไขมันสัตว์เก่า กลิ่นหนังสือสวดมนต์และความชื้นของดิน ทำให้ปลุกความรู้สึกตื่นตัวของผู้มาเยี่ยมเยือน เชื่อหรือไม่ว่าพวกเขาจะถูกข่มด้วยมิติ ของการรับรู้ เป็นผลให้มีการเดินอย่างเบาและพูดคุยกันด้วยเสียงกระซิบ ด้วยจิตเคารพ จุดที่น่าสนใจคือสถาปัตยกรรมไม่เพียงสื่อถึงความรู้สึกของคนต่อศาสนาได้ อย่างตรงไปตรงมา ณ ช่วงเวลานั้นและรูปแบบที่สื่อออกมาอย่างแข็งแรง ก็ยิ่งตอกย่ำ ความสำคัญของศาสนา ได้จวบจนถึงปัจจุบัน ย้ายเวลามาดูในยุคของเรเนอซอง Renaissance บ้าง เราลองใช้จินตนาการ ในการมองให้เห็นโบสถ์เซ็นต์ปีเตอร์ St.Peter's หรือโบสถ์เซ็นต์ปอล St.Paul's แล้วแต่ ที่คุณจะชอบ ภาพความลึกลับได้มลายหายไป แสงที่ริบหรี่ อากาศที่ชื้น ๆ ฝุ่น รวมถึง เสียงสะท้อนที่ก้องไปมาก็ไม่ปรากฏ พระเจ้าไม่ใช้สิ่งที่คนไม่สามารถเข้าใจได้อีกต่อไป ท่านกลายเป็นเจ้าชายแห่งการค้า นักรบและจอมทัพที่กลับสู่สภาพของมนุษย์ (human) มากกว่า เทพเจ้า _ of 165 38 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Roman Temple - Gothic Cathedral ในที่นี้ เราได้สถาปัตยกรรมเป็นรูปโดมขนาดใหญ่ มีพรมที่งดงาม มีเครื่อง ประดับ และหินอ่อนที่ทรงคุณค่า รวมถึงภาพวาดอันวิจิตบรรจง ดังนั้นความปลอดภัย ของสมบัติเหล่านี้ จึงต้องมีคนเฝ้า (Swiss Guards) พร้อมหอกปลายแหลม ไม่เพียงแต่ งานสถาปัตยกรรมที่สื่อให้เห็นถึงความเชื่อของคนต่อศาสนาเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่สะสม มาตลอดหลายทศวรรษ จนทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรม กิจกรรมที่พบเห็น เช่นผู้คน มากมายมารวมกันหน้าโบสถ์ เซ็นต์ปีเตอร์ กลางสนามด้านหน้า ในพิธีรับศีล(mass) เพื่อมารับพรจากพระเจ้าหรือคล้ายกับการชุมนุมของงานทางการเมือง

_ of 165 39 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Renaissance Cathedral มันไม่มีเหตุผลที่จะมาปฎิเสธได้ว่า ในขบวนแห่ต่าง ๆ ที่แสดงถึงพลังของ พระเจ้า งานสถาปัตยกรรมจะไม่มามีส่วนร่วมในปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นเป็นกระ บวนการที่ปรากฎในสองรูปแบบคือ แสดงให้เห็น (express) และ มีอิทธิพล (influence) ต่อวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น กลับมาพิจารณาอีกครั้งในรูปแบบของโบสถ์ในหมู่บ้าน (village church) ใน รัฐนิวอิงแลนด์ (New England) เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่พระเจ้าของเขาไม่ใช่เทพเจ้าผู้ ยิ่งใหญ่ที่มีพลังเฉพาะทางอย่างในโรมัน หรือเป็นพระราชานักรบ อย่างในเรเนซองส์ หรือจะเป็นเทพที่ลึกลับเช่นในยุค กอธิค ด้วยรากฐานที่ว่าเขาเป็นนักเดินทาง (Pilgrim) ที่เสาะแสวงหาที่อยู่ใหม่ชีวิตรูปแบบใหม่ในดินแดนของอเมริกาในที่ ที่เขาสามารถเป็น เจ้านายของตนเองและกำหนดชะตาขีวิตของพวกเขา ในโลกเล็ก ๆ พระเจ้าคือผู้ที่แก่ กว่าในกลุ่มของผู้คนในเมืองผู้ที่อพยพมาถึงก่อนและในการประชุมต่าง ๆ สามารถยืน ขึ้นพูด สื่อสารความคิดของตนเองได้เป็นอย่างดี ด้วยภาษาอังกฤษที่เรียบง่าย (ไม่ใช้การ สวดภาษาละตินที่ไม่มีใครเข้าใจ) ไม่มีสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่อลังการ ไม่มีโถงที่มืดและ สูง ไม่มียามคอยยืนหน้าประตู ไม่มีพรม คุณจะสามารถเดินเข้าไปในโบสถ์ ผ่านประตูไม้

_ of 165 40 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ที่เรียบง่าย และเข้าร่วมพิธีกรรมกับเพื่อนบ้าน ไม่ต่างกับการประชุมของเมือง (Town Council)

New England Church เป็นความเชื่อมโยงที่น่าสนใจ ว่าคนที่ไปโบสถ์ของนิวอิงแลนด์จะเป็นผู้ที่ได้รับ การจัดให้อยู่ในกลุ่มของประชากรที่ดี (good citizen) และเป็นคนที่น่านับถือไม่แน่ว่า ความเป็นคนดีนี้จะสื่อออกมาในงานสถาปัตยกรรมหรืองานสถาปัตยกรรมที่ดีทำให้คน เป็นคนดี มันเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกันอย่างน่าสนใจ การให้ความสำคัญกับความเป็นพลเมืองที่ดีนั้น อาจเป็นอิทธิพลที่มาจากงาน สถาปัตยกรรมประเภทโบสถ์ (church architecture) ในช่วงหลังของศตวรรษที่ยี่สิบ ช่วงนี้รูปร่างของพระเจ้าจะเริ่มดูไม่ชัดเจน ภายใต้การวิวัฒนาการของสังคม ความเชื่อ ใหม่ ๆ ได้บังเกิดขึ้น ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ด้อยโอกาสเป็นสิ่งที่ควรกระทำ การ ช่วยในเรื่องทางกฎหมายให้ผู้ที่เป็นประชาชนชั้นรอง (minorities) การดูแลผู้ป่วย ดูแล คนแก่ เด็กกำพร้า การกระทำต่าง ๆ นี้ ต่อยอดไปสู่การช่วยเหลือสังคมโดยรวม การจัด งานเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ การสรรหาเงินทุนสำหรับบ้านของผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดย กิจกรรมเหล่านี้มีความต้องการพื้นที่ใช้สอยมากกว่าพื้นที่สำหรับสวดมนต์ ดังนั้น ในการ

_ of 165 41 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ออกแบบศาสนสถานในยุคนี้จะประกอบด้วยห้องประชุม ห้องบรรยาย ห้องสำหรับ กิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ส่วนที่ใช้ในการสวดมนต์ที่เล็กลงจนกลายเป็นองค์ ประกอบย่อยของที่ทำงานแทน (ยกเว้นที่มีเสาระฆังและไม้กางเขนแล้ว ก็ยากที่จะ แยกแยะว่ากลุ่มอาคารนี้เป็นศูนย์เยาวชน หรือ โบสถ์) ในรูปแบบของศาสนสถานนี้ พระเจ้าได้กลายมาเป็นผู้จัดการของกลุ่มคนใน สังคม หรือในช่วงเวลาบ่าย ๆ ในหน้าร้อน ก็จะกลายเป็นผู้ตัดสินเบสบอลรุ่นจิ๋ว Little League Umpire ดังนั้นชีวิตในวิหารสำหรับการรับใช้พระเจ้าก็กลายรูปแบบมาอยู่กับ สังคมและทำกิจกรรมเช่นผู้คนอื่น ๆ ในสังคม ความขัดแย้งของผู้คนที่ไปโบสถ์และผู้ไป เล่นบิงโก ดูเบสบอล หรือกิจกรรมล้างรถ ส่วนคนที่ใฝ่แต่กิจกรรมทางสวดมนต์ บาทหลวงอาจจะรู้สึกเสียใจแต่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นไม่สามารถปฎิเสธได้อยู่สอง ประเด็นคือ 1) มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว และ 2) มันเป็นวิธีการที่เหมาะกับการใช้ชีวิต ของคนส่วนใหญ่ ในที่นี้เราไม่ได้ทำการสำรวจศาสนาทุก ๆ ศาสนาที่มีอยู่ในโลกใบนี้ หรือมี ความตั้งใจที่จะศึกษาโครงสร้างของศาสนา จากโบสถ์ของอิสลาม (mosques) ถึงเจดีย์ พุทธศาสนาของทางโลกตะวันออก แต่เราจะไม่กล่าวถึงอีกศาสนสถานหนึ่งก็ดูจะ เป็นการไม่เหมาะสม นั้นคือ ซินิกอร์ของชาวยิว (Jewish synagogue) ในทางศาสนา ยิวแล้ว โดยพื้นฐานในเรื่องของสถานที่ ที่จะทำพิธีกรรมนั้นจะแตกต่างกันไปเพราะเขา ถือว่าสิ่งศักดิสิทธ์ไม่ได้สถิตอยู่ในโบสถ์หรือวิหาร แต่จะอยู่ที่หนังสือพร้อมกับชาวยิว ผู้ชายรวมตัวกันครบสิบคนก็จะเกิดพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมแล้ว เมื่อรวมกับความ รู้สึกที่คนทั่วไปไม่ชอบชาวยิวหรือลัทธิ Judaism ที่มีมากว่าสองพันกว่าปีทำให้การ พัฒนาของตัวสถาปัตยกรรม ซินิกอร์ไม่เคยปรากฏ ยกเว้นงานสถาปัตยกรรมที่เมือง สวรรค์ (Holy Land) ที่เมืองซาเฟด และเยรูซาเลม ศาสนายิว (Judaism) ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการยอมรับที่มากขึ้น ทำให้มีการพัฒนารูปแบบของงานสถาปัตยกรรมซินิกอร์ขึ้น (synagogue architecture) แต่การหารูปแบบที่เหมาะสมนั้นไม่สามารถทำได้โดยง่าย โดยส่วนใหญ่ จะใช้กลิ่นอายของยุคโรมันเนสใหม่ (neo-Romanesque) และในยุคหลังก็จะกลายเป็น

_ of 165 42 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

รูปแบบที่ทันสมัย (modern architecture) แต่ก็จะไม่ได้ความรู้สึก อ่อนโยนและอบอุ่น ผู้ที่เป็นมรรคนายกก็จะพยายามแสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่ทันสมัยของ ซินิกอร์นั้น จะเป็นสิ่งที่เหมาะกับกาลเวลาในปัจจุบัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือชาวยิวในสหรัฐอเมริกา จะไม่สามารถหา “รากเหง้า” ของศาสนาตนเองได้ง่ายนัก

Synagogue

_ of 165 43 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

_ of 165 44 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Five : Bank, Business and Buildings รูปแบบอาคารธนาคารและธุรกิจ No sooner does a man cherish something than he puts it in a box and locks it. ปัจจุบันเป็นโลกของทุนนิยมและวัตถุนิยม สภาพของการสักการะสะสมวัตถุ สิ่งของ ทำให้รูปแบบของงานสถาปัตยกรรมธนาคารมีนัยยะเดียวกันกับ โบสถ์ คือเป็นที่ พำนักของพระเจ้า (พระเจ้าเงินตรา) ในอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการนำเสนอรูปแบบของ งานสถาปัตยกรรมที่ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะการธนาคารในยุคเก่า ตัวอย่างเช่น ธนาคาร โบเวรี (Bowery Saving Bank )ในนิวยอรค์ (NewYork) บนถนนสายที่ 42 ที่ อยู่ในรูปแบบของ นีโอโรมัน (neo-Roman) แทนที่จะเป็นนีโอคลาสสิค (neo-Classic) เป็นที่สักการะสถาน โดยเฉพาะบรรยากาศช่วงคริสต์มาสที่อบอวลด้วยความเป็นโบสถ์ อย่างชัดเจนยิ่ง มีการจัดวงขับร้องประสานเสียงรวมถึงเสียงออแกนที่คลอบรรยากาศ รวมถึงนายธนาคารที่แต่งตัวอย่างดี เช่นเดียวกับบาทหลวงที่รอต้อนรับอยู่ที่ประตูทาง เข้า ซึ่งทำให้พวกเราต้องลดเสียงในการพูดคุยลงเช่นเดียวกับการเข้าโบสถ์ และการเดิน ที่จำต้องเงียบเหมือนการย่องเบา ความรู้สึกที่ทำให้ตัวตนเล็กลงเหมือนไส้ตะเกียง และ หลังจากที่ทำธุรกรรมทางการเงินเสร็จสิ้นก็จะรู้สึกว่าตัวเองจนลงกว่าตอนเดินเข้ามา ไม่ ว่าจะเป็นการถอนเงินหรือฝากเงินคุณจะรู้สึกว่าตัวเองได้ทำความดีงามให้เกิดขึ้น เป็นการ ทำให้เกิดการยอมรับในตนเอง อีกปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบหรือรูปแบบของธนาคารในช่วงยุคแรกนั้น (ประมาณตอนต้นของศตวรรษที่ยี่สิบ) ยังไม่มีการประกันเรื่องของการสูญหายของเงินที่ ฝากอยู่ในธนาคาร (federal deposit insurance) หรือการที่ธนาคารจะล้มละลายก็ยัง ไม่เป็นที่รู้จัก แต่มีบางโอกาสที่นายธนาคารผู้ซื่อสัตย์จะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ประเทศ บราซิลพร้อมกับเลขาคนสวยของเขาและสินทรัพย์ของธนาคาร

_ of 165 45 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ดังนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นในการออกแบบธนาคารเพื่อสื่อให้สาธารณะชนรับรู้ว่า ธนาคารนี้เป็นอาคารที่ปลอดภัยเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ดูน่าเชื่อถือ รวมถึงคนที่ทำงาน อยู่ในนั้นก็มีความตรงไปตรงมา ไม่ว่าเขาจะได้ยินเรื่องร้ายๆมาก่อนแต่ไม่ใช่กับธนาคารที่ มีความปลอดภัยเช่นธนาคารของเรา การออกแบบให้ดูคล้ายกับโบสถ์นั้นจะตอกย้ำ ความจริงที่ว่าเงินของพวกท่านจะอยู่อย่างปลอดภัยในมือของเรา เหมือนกับโบสถ์วิหาร ที่จิตวิญญาณของท่านจะปลอดภัยถ้ามาอยู่กับเรา ถ้าท่านไม่เชื่อก็ลองสังเกตดูด้วยตา ของท่านเอง สิ่งที่สำคัญอีกประการที่มีผลต่อการออกแบบธนาคารคือ แนวคิดของเงินตรา ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เงินสดนับล้าน ๆ จะถูกเก็บกองเป็นแถวดังนั้นสถานที่เก็บ จะต้องมีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายที่จะมาปล้น ดังนั้นรูปแบบของโบสถ์ที่มีกำแพงหิน ขนาดใหญ่ ประตูบรอนส์และหน้าต่างที่มีเหล็กดัด เหมาะกับการเป็นต้นแบบให้กับ ธนาคาร ถึงแม้ว่า ช่องสำหรับการฝากเงินนั้นจะมีกำแพงหนาเพียง สิบเซ็นติเมตร เท่านั้น อันที่จริงมันก็เป็นเพียงภาพที่ปรากฏเท่านั้น สถาปนิกในยุคของการออกแบบ ธนาคารก็จะพยายามสร้างภาพพจน์ที่ดี ในการออกแบบธนาคารเพื่อสื่อว่า เงินของท่าน จะปลอดภัย "Your money is safe" และเป็นสิ่งที่คนอยากจะได้ยิน เป็นการแสดงออก ทางสถาปัตยกรรมที่ประสบความสำเร็จ มาเป็นระยะเวลานาน และยังเป็นต้นแบบให้ กับธนาคารอื่น ๆ ในส่วนต่าง ๆ ของโลก

ธนาคารในยุคแรก _ of 165 46 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

หลังจากสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ Great Depression ในช่วงปี 1930 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในเรื่องการเงินและการธนาคารโดยเฉพาะใน สหรัฐอเมริกา ในภาวะของการขาดดุลอย่างมหาศาลผู้คนใช้เงินมากกว่าที่หาได้ หรือใช้ มากกว่าเงินที่มี (หรืออาจจะไม่ม)ี เงินนั้นเป็นเพียงตัวเลขที่เขียนลงบนกระดาษ ในยุคที่ คนอเมริกันเขียนเช็คในการจับจ่ายใช้สอยแม้กระทั่งไปซื้อของตามร้านขายของชำ ค่า ของมันขึ้นอยู่กับการเขียนว่าจะเป็นตัวเลขที่มากหรือน้อยตามที่ต้องการ ไม่ต้องคิดมาก เป็นการใช้ตัวเลขทดแทนสิ่งของ ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ล รองเท้า หรือแผ่นเสียงที่ ๆ ไม่ เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งใดโดยเฉพาะ (ในสมัยที่คนอเมริกันเขียนเช็คในทุก ๆ เรื่อง เช่นการไปซื้อของในตลาดก็ยังใช้การเขียนเช็คกันเป็นปรกติ) เงินที่เขียนเป็นตัวเลขตามต้องการนี้เป็นสิ่งที่เราใช้กันโดยทั่วไปยกเว้นการจ่าย ด้วยเศษสตางค์เท่านั้นที่เราจะเห็นและสัมผัสตัวเงินจริง ๆ เราไม่เคยเห็นหรือสัมผัสเงิน จริง ๆ ของเราเลย เราได้รับเงินเดือนเป็นเช็คสั่งจ่ายและธนาคารก็เขียนตัวเลขนั้นลงใน สมุดบัญชีของเราเมื่อเราจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เราก็เขียนเช็ค สั่งจ่าย ซึ่งธนาคาร ก็จะไปลดตัวเลขในบัญชีของเราออก ตัวเลขในธนาคารของบัญชีเราลดลงแต่ไปเพิ่ม ตัวเลขในบัญชีของคนอื่น ไม่มีการใช้จ่ายเงินจริง ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวเงิน ทุกอย่างทำ ด้วยตัวเลข (ในปัจจุบันเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์และไม่จำเป็นต้องเขียนเช็คเช่นสมัย ก่อน การจับจ่ายใช้สอยกลายมาเป็นบัตรเครดิตและเป็นยุคที่สามารถโอนเงินผ่าน โทรศัพท์มือถือได้อย่างง่ายดาย) ปัจจุบันการถ่ายเทด้วยตัวเลขสามารถทำได้ด้วยแนวคิดของเครดิตที่ทำให้เงิน สามารถโยกไปมาได้เป็นล้าน ๆ เหรียญไม่เหมือนสมัยก่อนที่ใช้ทองแท่งในการแลก เปลี่ยน ในช่วงของการเก็บทองที่ต้องฝังไว้ใต้ดินและการขนส่งทองคำแต่ละครั้งทำได้ ยากลำบาก การคิดค้นเงินตราสำหรับการแลกเปลี่ยนได้พัฒนามาไกลจากยุคที่ใช้วัตถุที่ จับต้องได้มาอยู่ในรูปแบบของเงินกระดาษและเช็ค จวบจนปัจจุบันที่เป็นระบบ อิเล็กทรอนิกส์ การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดของการเงินมีผลอย่างไรกับงานสถาปัตยกรรม ? การออกแบบธนาคารในรูปแบบของสถาปัตยกรรมของโบสถ์จะไม่มีความจำเป็นอีกต่อ ไปแล้วสำหรับธนาคารยุคใหม่ ที่ไม่ต้องเก็บเงินที่เป็นเงินสดอีกต่อไปเนื่องด้วยเงินสดก็ _ of 165 47 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

สามารถถูกโขมยได้ ดังนั้นตัวเงินจริงถ้าอยู่ในรูปของตัวเลขจะปลอดภัยมากกว่ารวมถึงมี ความน่าเชื่อถือ โดยการธนาคารสมัยใหม่ที่รัฐจะให้การรับประกันเงินฝากให้เขียน ตัวเลขมากเท่าที่ต้องการบนกระดาษเป็นดิจิทัล รูปแบบธนาคารสมัยใหม่จะดูโปร่งเบาและมีลักษณะเดียวกับผลผลิตที่เขาเก็บ อาคารกระจกประดับประดาด้วย สเตนเลสสตีล (stainless steel) ทุกอย่างเปิดโล่ง แม้แต่บริเวณถอนเงิน เก้าอี้ไม้แถวเก่า ๆ ได้อันตรธานหายไป เราทำธุรกรรมทางการ เงินผ่านเคาน์เตอร์เปิดสถาปัตยกรรมจะบอกว่า “ดูเราซิ ธนาคารเรามีแต่คนทำงานที่มี แนวความคิดล้ำสมัยมากที่สุดในเมืองนี้ เราสามารถคิดค้นเงินและสามารถเขียนลงบน กระดาษได้อย่างรวดเร็วกว่าคู่แข่งและที่สำคัญ เราเป็นเพื่อนคุณ” ลองจินตนาการ เปรียบเทียบกับนายธนาคารยุคเก่าที่ไว้พุงใหญ่และแขวนสร้อยทองขนาดใหญ่ ว่ามี ความน่าเป็นเพื่อนด้วยไหม เทียบกับนายธนาคารในปัจจุบัน

new Bank เวลาได้เปลี่ยนไปแล้ว แม้กระทั้งประตูห้องเก็บทรัพสมบัติก็กลายเป็นเพียง ร่องรอยของธนาคารแบบโบราณ _ of 165 48 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ในชนบทของสหรัฐอเมริกาอาจจะมีความแตกต่างของรูปแบบจากธนาคารใน เมืองจากแนวคิดที่ว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นผูหญิงและแม่บ้าน การทำธุรกรรมทางการ เงินที่มีตัวเลขอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ (ในสมัยที่เชื่อว่าผูหญิงไม่สามารถ คำนวณตัวเลขได้) ดังนั้นบรรยากาศของธนาคารจะต้อง ให้ความรู้สึกที่ผ่อนคลายดังนั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้คือรูปแบบ โคโลเนียล (Colonial) หรือ จอเจียน (Georgian) ที่ทำให้รู้สึกเป็นเสมือนบ้านที่อบอุ่น รวมถึงระบบการขับรถผ่านช่อง ธุรกรรม (drive-in bank) ที่สามารถจัดการด้านการเงินโดยไม่ต้องลงจากรถเลย จาก ความรู้สึกของผู้คนที่อาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัยถ้าต้องออกจากรถยนต์ ออกจากบริบทที่ เกิดขึ้น ทำให้การจัดแบบแปลนทางสถาปัตยกรรมของธนาคารเปลี่ยนไปรวมถึงการจัด กลุ่มอาคารให้รวมอยู่ในกลุ่มของร้านขายของชำ ร้านล้างรถ รวมถึง สถานที่จัดงานศพ (funeral home) ในการสื่อภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจนั้น มีการพัฒนาการใกล้เคียงกับรูป แบบธนาคาร ในช่วงแรกของบริษัทชั้นนำที่สร้างอาคารเช่น อาคารวุลเวิรท (Woolworth Building) อาคารซิงเกอร์ (Singer Building) หรือ อาคารไครสเลอร์ (Chrysler Building) ที่ออกแบบโดยมีนัยยะอยู่สองสิ่งคือ หนึ่งการสร้างภาพลักษณ์ ขององค์กรว่ามีความน่าเชื่อถือ มั่นคงแข็งแรง และสองเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ให้กับกิจการ อาณาจักรของตนเองในหลักการแล้ว ลักษณของโบสถ์เก่าดูจะเป็นทางออกที่ดีในการ ออกแบบและเป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้อย่างประสบความสำเร็จตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา นั้น คือการแบ่งส่วนออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนฐาน (Base) ส่วนตัวอาคาร (Body) และส่วน ยอด (Top) คล้ายการแบ่งส่วนของโบสถ์โบราณ

Base Body Top _ of 165 49 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ สัดส่วนที่แบ่งนั้นในอาคารสำนักงานจะมีส่วนตัวอาคาร Body ที่มีมากกว่าส่วนอื่น ๆ ทำให้สัดส่วนของอาคารทั้งหลังดูแปลกปลอมแต่ถึง กระนั้น เราก็ไม่ได้รู้สึกแปลกมากเนื่องจากเราเกิดมาพร้อมกับสิ่งเหล่านี้และไม่ดูว่ามัน เป็นสิ่งที่แปลกปลอม

สัดส่วนเดิม แต่รูปทรงสูง ไม่นานสถาปนิกถึงตระหนักว่าแนวคิดของ ฐาน ตัวอาคารและยอด อาคาร ไม่เหมาะสมกับอาคารสมัยใหม่ที่มีแต่กระจกและ สเตนเลสสตีล สิ่งที่ต้องการคืออาคาร ที่ใช้ระบบโมดูล่าที่จะประหยัดวัสดุถ้าเราใช้วัสดุก่อสร้างในจำนวนมาก สามารถสร้าง อาคารได้อย่างรวดเร็วและสามารถเก็บค่าเช่าได้มากจึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ในปัจจุบันได้ เป็นอย่างดี อาคารสูง ที่เราเรียกว่าตึกระฟ้า (skyscraper) นั้นเป็นผลพวงมาจากการ คิดค้นลิฟต์ (elevator) ในการออกแบบแปลนนั้นจะประกอบด้วยแกนกลางของอาคาร ที่มีลิฟต์อยู่ และล้อมรอบด้วยพื้นที่ขายที่เรียกว่า rentable space

_ of 165 50 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

โดยหลักการแล้วอาคารสูงสี่สิบชั้นจะมีจะนวนลิฟต์มากกว่าอาคารสูงยี่สิบชั้น และจะมาถึงจุดที่ผังอาคารจะมีจำนวนลิฟต์ที่มากเกินพื้นที่เช่าเนื่องจากแกนอาคารจะ ตัดผ่านไปในทุกๆชั้น ไม่เหลือพื้นที่ให้เช่าพอที่จะจ่ายค่าก่อสร้าง เป็นมิติทางการเงินที่ ต้องคำนึงถึง เช่นเดียวกับโครงสร้างของอาคารสูง เกือบจะเป็นความจริงที่ แฟรงค์ ลอย ไรท์ (Frank Lloyd Wright) ได้เคยพูดไว้ว่า “เราสามารถสร้างอาคารที่สูงหนึ่งไมล์ได้ แต่ช่างก่อสร้างจะล้มละลายที่ชั้น 86...” ผลของการออกแบบอาคารสำนักงานที่เป็นอาคารสูง มีประเด็นที่คาดไม่ถึง คือเรื่องของลม แต่ละอาคารที่มีความสูงและผิวของอาคารที่มีปริมาณมาก จะทำให้ลม ถูกรีดลงไปตามแนวถนนแคบ ๆ ที่อยู่ด้านล่าง จากลมที่พัดไปมาอาจกลายเป็นพายุ ที่ พัดคนเดินถนนให้ล้มลงได้โดยง่าย รวมถึงทำลายกระจกออกจากกำแพงในระดับพื้นดิน ในวันที่ลมแรง ผู้คนเดินถนนจะใช้เส้นทางเดินเชื่อมที่อยู่ใต้ดินทางเชื่อมที่ต่อกับอาคาร ต่าง ๆ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน สามารถทานอาหารกลางวันจับจ่ายใช้สอย หรือไปชมภาพยนตร์โดยไม่ต้องออกไปเผชิญโลกบนพื้นดินเลย ที่บนพื้นดินถูกทำให้ไม่ น่าอยู่จากการออกแบบสภาพแวดล้อมของมนุษย์ด้วยกันเอง

อาคารสูง

_ of 165 51 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

_ of 165 52 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Six : The Architect of Fun สถาปัตย์บันเทิง One of the consequences of man’s intelligence is that he finds reality a bit too grim as a constant face. He therefore spends an inordinate amount of time and energy in diverting himself through games, sport, and theatrical entertainments. 1 มนุษย์ ลิงบาบูน และแมวน้ำมีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายกันคือการเอามือ หรือครีบมาประกบกัน (flapping) เมื่อเกิดความพึงพอใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในส่วน ของสายพันธุ์มนุษย์จะมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันค่อนข้างชัดเจนที่เรียกว่าการปรบ มือ ดังนั้นการสร้างงานสถาปัตยกรรมเพื่อให้เกิดการปรบมือจะมีอย่างหลากหลาย เช่น โรงภาพยนตร์ โถงแสดงดนตรี สนามกีฬา คาสิโน รวมไปถึงสถานบันเทิงอื่น ๆ การปรบมือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยพื้นฐานของผู้ชมหรือผู้ฟังที่แสดงออกต่อสิ่งที่ เขารับชมนั้น ถ้าเราสังเกตปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้แสดงและผู้รับชมจะ เห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์ของพื้นที่บางประการเกิดขึ้น เช่นลักษณะของการแสดงแต่ละ ชนิดต่อจำนวนของผู้เข้าชมที่ทำให้เกิดที่ว่างเฉพาะของงานสถาปัตยกรรม การแสดงจัด เป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่มีพื้นฐานจากการเล่นละคร (theater) และเป็นจุดเริ่มต้นให้ เราได้ศึกษา ในยุคแรกของการละครนั้น เราได้รับการบอกเล่าว่าอาจจะเกิดมาจากการนั่ง เล่นรอบกองไฟของชนเผ่าในอารยธรรมเริ่มต้น (ที่ผู้ล่าสัตว์หรือนักรบ) มาบอกเล่าเรื่อง ราวที่ได้เกิดขึ้นจากการล่าสัตว์ให้คนในชนเผ่าฟัง แน่ละคงจะมีการแต่งแต้มจินตนาการ เพื่อให้เกินความสมจริงทำให้เกิดความตื่นเต้น โดยเฉพาะการให้ท่าทางประกอบการเล่า เรื่องและเป็นธรรมชาติการออกท่าทาง (gesture) กับคำพูด (speech) ที่เป็นของคู่กัน โดยเฉพาะในยุคสมัยที่การใช้ “คำ” (vocabulary) ยังมีจำนวนที่ไม่มากเพียงพอในการ

_ of 165 53 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

สื่อสาร เรื่องราวที่เล่าขานกันมาเป็นเรื่องราวที่มีความน่าสนใจโดยเฉพาะเรื่องที่ให้ความ สุขหรือมีผลต่อจิตใจก็จะมีการนำมาเล่าขานต่อ ๆ กันมา แน่ละในการเล่าเรื่องราว แต่ละครั้งมันก็จะถูกปรุงแต่งเพิ่มเติมในกระบวนการและพิธีกรรมที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นการ รวบรวมสมาชิกของคนในเผ่าให้มาสวมบทบาทต่าง ๆ เช่น หมาป่า สิงโต ศัตรู เพื่อน พระเจ้า ฯลฯ การเต้นรำ การสวดมนต์ การแต่งตัว และการตีกลองให้เป็นจังหวะ เป็น สิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของดนตรีของโลก เป็นที่น่าสนใจว่าการละครจะเน้นไปที่เรื่องราวที่นำมาจัดแสดงและความ สำคัญอยู่ที่ความรู้สึกที่เกิดกับผู้รับชม การแสดงที่ประกอบด้วยความรู้อาจจะมี กระบวนการที่เป็นขั้นตอนตามลำดับ แต่สุดท้ายแล้วจะเป็นเรื่องของความรู้สึกประทับ ใจจนต้องปรบมือให้ ณ เวลาที่ม่านได้ถูกปิดลง ข้ามเวลากลับมาพันกว่าปี ในยุคคลาสสิค (Classical time) จะมีเรื่องเล่าที่ เกี่ยวเนื่องกับ พระราชา พระราชินี พระเจ้า หรือเทพยดา เนื้อเรื่องจะเป็นสิ่งทุกคนรับรู้ อยู่แล้ว แต่การเล่าขานอาจมีความแตกต่างไปโดยผู้ประพันธ์ที่มีความสามาถ แต่ความ หมายเฉพาะของเรื่องราวยังเป็นอยู่เช่นเดิม การแสดงส่วนใหญ่จะเป็นในแนวทางของ การประกอบพิธีกรรมมีขบวนนักแสดงที่มากมายทำให้เกิดการละครที่เรียกว่าโรงละคร มหากาพย์ พื้นฐานของการแสดงนี้เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมของผู้ชม มีการยกยอความ เป็นวีรบุรุษผสมกับเรื่องราวโศกนาฏกรรม โดยที่เรื่องต่าง ๆ ที่แสดงออกมานั้นผู้ชมจะมี ความเข้าใจอย่างถ่องแท้มาก่อนการรับชม การจัดฉากเวทีจึงไม่ต้องทำให้เสมือนจริง เสาที่ทาสีเขียวก็จะสามารถแทนที่ป่าผืนใหญ่หรืออีกด้านหนึ่งที่ทาสีทองก็อาจจะเห็น เป็นฉากของปราสาทราชวังสมมุติ หรือเสาที่มีการแบ่งเป็นสามมุมเราอาจจะจัดฉาก สงครามเพิ่มเข้าไปได้ นักแสดงตัวเอกจะยืนอยู่กลางเวทีประกบด้วยกลุ่มนักร้องประสานเสียงรวม ถึงตัวประกอบอื่น ๆ เช่น กองทหาร กลุ่มประชาชน ฯลฯ แล้วแต่เรื่องราวจะมี ดังนั้น พื้นที่ของเวทีจึงต้องมีความกว้าง แต่จะไม่ลึกมากเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นการแสดงที่ชัดเจน ทางเข้าออกตัวแสดงจะอยู่ด้านข้างเวที ทำให้การจัดเก้าอี้ของผู้ชมที่เหมาะสมคือรูปครึ่ง วงกลมรอบเวที ทุกคนสามารถรับชมได้โดยไม่ไกลเกินไป และสามารถได้ยินเสียงของ นักแสดงได้อย่างดี _ of 165 54 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

การจัดเวทีและที่นั่ง รูปแบบของการจัดเวทีและที่นั่งแบบนี้เป็นพื้นฐานของการออกแบบโรงละคร จวบจนยุคปัจจุบัน จนกระทั้งหมดยุคคลาสสิค งานศิลปการละครก็ถึงกาลถดถอยเช่น กัน การละครกลายเป็นกิจกรรมเล็ก ๆ สำหรับผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งเท่านั้น ยังมีคณะ ละครที่ยังเปิดเล่นตามงานวัดหรือตามตลาดสำหรับให้ความบันเทิงกับคนบ้านนอกบ้าง แต่เป็นเรื่องที่ยากต่อการทำความเข้าใจ เนื่องจากละครเป็นมหรสพที่สลับซับซ้อน มาก ไปกว่านั้นคือสถานที่แสดงที่คราคร่ำไปด้วยเสียงต่าง ๆ จากความบันเทิง การพนัน วง เหล้าหรือโจรล้วงกระเป๋าและบางทีก็จะมีการตัดสินประหารชีวิต (เช่นการตัดหัวหรือ การแขวนคอที่ลานประชาคม) ที่มีความน่าสนใจมากกว่าการละคร ทำให้โรงละครต้อง ปิดม่านลง ตัวละครส่วนใหญ่จะมีความเป็นมาตรฐานเหมือน ๆ กันในทุกโรงละคร เช่น นางงามผู้เลอโฉม น้องสาว แม่เลี้ยง คนเลี้ยงแกะ และในอีกมุมก็จะมีเจ้าชายหนุ่มรูป งาม นักดนตรี นักรักโรแมนติค นักประพันธ์ จากนั้นก็จะมีตัวละครในมุมมืด เป็นวาย ร้ายและพวกตัวตลก ตัวละครที่หลากหลายทำให้โรงละครมีความสมบูรณ์และตัวละคร

_ of 165 55 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เหล่านี้ก็ได้ติดตามมาอยู่ในยุคของพวกเรา ตามที่เรียกขานเช่น the Leading Man, the Character Actor, the Top Banana และ the Straight Man ตั้งแต่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนเงินตราจะสามารถทำกำไรได้มากมายจากการ ขายไวน์และเหล้าทำให้ โรงเตี้ยมผู้ชาญฉลาดนำเอาการละครเข้าไปเล่นในสนามกลาง ลานและผู้ชมสามารถดื่มกินได้อย่างเต็มที่พร้อมกับรับชมการแสดง มีที่นั่งทั้งในลานและ บนระเบียง การจัดพื้นที่ระเบียงด้านบนโดยรอบทำให้สามารถรับชมการแสดงได้อย่าง เต็มตาโดยเฉพาะที่นั่งที่ดีที่สุดที่เรียกว่า box seat เฉพาะในละครโอเปร่า ในบางโอกาส ท่านลอร์ดท้องถิ่นก็จะเชิญนักแสดงไปเล่นที่คฤหาสน์ของเขา โดยเฉพาะนักแสดงหญิงและบางที่อาจจะขอให้อยู่ด้วยนานพอที่เขาจะเขียนบทละคร ด้วยตัวเองขึ้นมาใหม่เพื่อนำเสนอในกลุ่มชนชั้นสูงของพวกเขา เป็นจุดเริ่มต้นของละคร ใน Royal Court Theater จากลักษณะของวิธีการแสดงละครในสวนนี้ Courtyard Theater จะเป็นจุด เริ่มของวิวัฒนาการของการแสดงอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีเวทีที่ลึกกว่าแบบคลาสสิคแต่ไม่ กว้างเท่า เป็นเรื่องของการลงทุนพร้อมกับงานศิลปะการแสดงล้วน ๆ ไม่มีวงประสาน เสียงเข้ามาบดบัง ทำให้ผู้ชมสามารถเห็นนักแสดงที่อยู่แถวหน้าจนถึงแถวหลังได้ ระดับ ของเวทีด้านหลังจะสูงกว่าด้านหน้าทำให้เกิดคำเรียกขานพื้นที่ว่า upstage และ downstage ที่นั่งของผู้ชมจะทำให้อยู่ใกล้กับเวที มีการลดจำนวนแถวเก้าอี้ลงให้เหมาะ สมและเพิ่มที่นั่งด้านบนซ้อนชั้นขึ้นไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือโรงละครเช็คเสปียร์ Shakespeare's Globe Theater และโรงละครนิวยอร์ค บีลาสโก (New York's Belasco) ที่มีอายุแตกต่างกันกว่าสามร้อยปี มีการการดื่มไวน์หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มี กันมาเป็นประเพณี เช่นในอังกฤษการดื่มในช่วงพักการแสดงถือเป็นธรรมเนียมที่ถือ ปฏิบัติสืบมา รวมถึงในบรอดเวย์(สหรัฐอเมริกา)ก็มีธรรมเนียมปฏิบัติเฉพาะเช่นเดียวกัน ในยุคของควีนอลิซาเบท (Elizabethan Time) การละครจะดูมีมิติที่ซับซ้อน มากขึ้น เรื่องราวพื้น ๆ ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นเรื่องที่ใกล้ความจริงสื่อถึงเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นตัวละครตามมาตรฐานตายตัวได้เปลี่ยนไป ตัวละครใหม่ดูมีชีวิตใกล้เคียงกับความ เป็นจริงในสังคม วิธีการแสดงก็เปลี่ยนรูปแบบเช่นกัน มีความสมจริงของฉาก ต้องมีการ _ of 165 56 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ประดับประดาให้เห็นภาพ ไม่สามารถใช้เสาต้นเดียวเพื่อสื่อถึงสถานที่ต่างๆ ได้อีกต่อไป การจัดฉากที่ต้องสามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกคล้อยตามทำให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากผนังที่สี่ (fourth wall)ที่ทำหน้าที่เหมือนฉากกั้นระหว่างการจัดเปลี่ยนฉากใหม่ทางด้านหลัง เป็นเสมือนกรอบสำหรับการรับชมละครในแต่ละช่วงตอน สำหรับ ชอว (Shaw) อิบเซน (Ibsen) เชคคอฟ (Chekhov) และ มิลลเลอร์ (Miller) เป็นผู้นำในการทดลอง รูปแบบ ของละครสมัยใหม่ในยุคนั้น รวมถึงผู้ที่มีพรสวรรค์ที่ทำทุกอย่างให้เกิดความเสมือนจริง เช่น สตานิสวสกี (Stanislavsky ) สตราสเบิรค (Strasberg) และ คาซัน (Kazan) ที่มี จุดมุ่งหมายให้การแสดงคล้ายความจริง ดังนั้นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมต้องถูกออกแบบให้สามารถรองรับ กิจกรรมที่เกิดขึ้น นั้นคือเวทีจะต้องกว้างและลึกเพียงพอที่จะสามารถจัดฉากให้ดู เสมือนจริงไม่ใช่ฉากที่มีเสาเพียงอันเดียว พื้นที่บนเวทีต้องกว้างพอที่นักแสดงจะ สามารถเคลื่อนไหวได้โดยสะดวก รวมถึงท่าทางและเสียงของนักแสดงที่ต้องการสื่อสาร ออกมาให้สมจริงรวมถึงผู้ชมที่ยังต้องอยู่ใกล้กับเวที มีอีกตัวแปรที่มีผลต่อการออกแบบ โรงละครคือธรรมชาติของการชมละคอน ที่ในช่วงก่อนเริ่มหรือช่วงพักเบรค จะมี กิจกรรมที่โถง ดังนั้นขนาดของโถงดูจะเป็นพื้นที่ ๆ สำคัญไม่แพ้ที่อื่น ๆ และเป็นที่ สำหรับนักวิจารณ์ในการตัดสินคุณภาพของการแสดงละครโดยรวมอีกด้วย จากนั้นก็จะ มีพื้นที่สำคัญอื่น ๆ เช่นพื้นที่หลังฉาก ห้องแต่งตัวนักแสดง โดยเฉพาะดารานำที่ห้อง แต่งตัวจะมีความหรูหรา ประดับประดาอย่างงดงามต่างจากนักแสดงประกอบอื่น ๆ ที่ ไม่มีใครสนใจ พื้นที่เตรียมการแสดงก็มีความแตกต่างในขนาด ขึ้นอยู่กับว่าโรงละครนั้น แสดงเรื่องหลักเพียงเรื่องเดียวต่อเนื่องหรือมีการแสดงหลาย ๆ เรื่องพร้อม ๆ กันดังนั้น พื้นที่สำหรับการจัดฉากและโดยเฉพาะห้องแต่งตัว รวมถึงห้องเก็บชุด ต้องมีเพียงพอ สำหรับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ความเข้าใจในความแตกต่างของโรงละคร มหากาพย์ (epic theater) กับ ผนังที่สี่ (fourth wall theater) หรือระหว่างโรงละครเชิงพาณิชย์ (commercial theater) กับโรงละครที่แสดงงานเก่าสะสม (repertory) ก็จะไม่สามารถออกแบบได้ อย่างดี และอาจเป็นผลทำให้เกิดความยุ่งเหยิงขึ้นได้ เป็นที่กล่าวถึงโดยนักแสดง _ of 165 57 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

นักประพันธ์ ผู้กำกับละครและผู้ชม ที่จะกล่าวโทษ “สถาปนิก” ผู้ไร้ความใส่ใจในการ ออกแบบโรงละครของพวกเขา ในการแสดงละครบางเรื่องที่ผู้ชมเฝ้ารอแต่ผลลัพท์อาจ กลับเป็นสิ่งที่ไม่น่าชมเนื่องจากโรงละครไม่ได้ตอบสนองในเรื่องต่าง ๆ อยางเหมาะสม เป็นความละเลยของสถาปนิกผู้ออกแบบโดยไม่มีใครทราบถึงสาเหตุต้นตอของการ ออกแบบที่ควรจะเป็น แต่ในทางกลับกันโรงละครท่ีออกแบบได้ดีจะสามารถส่งผลให้ ละครเรื่องนั้นโดดเด่นขึ้น ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องราวธรรมดา ๆ เรื่องหนึ่งการส่งเสริมงาน ละครด้วยงานสถาปัตยกรรมนั้นเป็นที่น่าภาคภูมิใจและสถาปนิกผู้ออกแบบโรงละครนั้น ควรมีชื่ออยู่ในใบโปรแกรมของละครนั้นเช่นเดียวกับ ผู้ประพันธ์ ผู้กำกับ ผู้ออกบบฉาก และนักแสดงด้วย เขามีความรับผิดชอบต่อแบบของงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะรับ “ผิด” หรือรับ “ชอบ” ก็ตาม บางที โรงละครที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดน่าจะเป็นการคิดค้นจอภาพ ยนตร์ขนาดใหญ่ในโรงภาพยนตร์ยุค 1920 หรือ 1930 ผลผลิตของการบันเทิงรูปแบบ ใหม่จะเข้าถึงผู้คนได้มากกว่าการเล่นละครสดแบบเดิม เนื่องจากภาพของพระเอก นางเอกได้ถูกขยายให้ใหญ่และไปปรากฏบนจอภาพยนตร์ รวมถึงระบบเสียงที่สามารถ ขยายให้ผู้ชมได้รับฟังอย่างทั่วถึง แนวคิดของฉากที่สี่ (fourth wall) ได้หายไปจาก สาระบบ เราไม่จำเป็นต้องเพ่งสายตาตามไปกับการแสดงแต่เราได้กระโดดเข้าไปร่วมอยู่ ในจอด้วยตัวเอง เราร่วมต่อสู้กับผู้ร้ายในฉากได้มองเห็นเข้าไปลึกในดวงตาของนางเอก จนถึงหลอมละลายไปกับจุมพิตของพระเอกนางเอก การแสดงไม่เป็นเพียงแต่การ จินตนาการในรูปแบบเดิม ๆ เช่นละครแต่เป็นการเข้าร่วมอยู่ในประสบการณ์ของเรื่อง ราวที่เกิดขึ้น มีความตื่นเต้นมากกว่าการใช้เวลาที่ลอบบี้ (Lobby) ในช่วงพักครึ่งของ การแสดงเสียอีก ผู้คนไปชมภาพยนตร์เพื่อหนีไปสู่อีกโลกหนึ่งหนีจากความเป็นจริงที่ วุ่นวาย ในบางคนที่ต้องการหนีจากความเป็นจริงทำให้การไปชมภาพยนตร์กลายเป็น ความจริงที่เกิดขึ้น บรรดาแม่บ้านตลอดจนวัยรุ่นทั้งหลายได้ตามดูนิตยสารเกี่ยวกับ ภาพยนตร์ ติดตามพระเอกนางเอกจากฮอลลีวูด (Hollywood) ดังกับติดตามพระเจ้า และเมื่อมีหนังใหม่เข้าฉายก็จะจัดเตรียมอาหารหรือขนมขบเคี้ยวเพื่อไปชมภาพยนตร์ ตลอดสาม สี่เรื่อง และทิ้งให้ที่บ้านทำกับข้าวกินกันเอง (ปัจจุบัน ภาพยนตร์บางเรื่องจะ ฉายในระบบเสียงดอลบี้ (Dolby Sound System) และ 4D ที่นอกจากตัวละครจะทุลุ มิติออกมาจากจอแล้ว ยังมีเรื่องของสัมผัสอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น น้ำ ลม กลิ่น)

_ of 165 58 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ตัวอย่างของผลงานที่น่าศึกษาคือ ลอว-พาราไดซ์ (Loew’s Paradise) ในแถบบรองซ์ (Bronx) ในนครนิวยอร์ค ที่เป็นสถานที่ ที่น่าสนใจเพราะทุกมิติในการ ออกแบบนั้นนำเสนอความเป็น สวรรค์ (paradise) ตั่งแต่ทางเข้าที่มีผ้าเพดานที่สูง สีน้ำเงินเข้ม มีก้อนเมฆลอยไปมา การประดับประดาด้วยแสงดาว มีอุปกรณ์ที่ทำให้เกิด การเคลื่อนไหว และมีเทพยดาจากสมัยกรีก รูปปั้นเทพเจ้าต่าง ๆ ทำด้วยทอง มีเสา โรมันทำจากหินอ่อน สร้างบรรยากาศของโถงที่เต็มไปด้วยภาพจากเทพนิยาย ตลอด จนถึงในห้องน้ำ ที่ประดับประดาอย่างวิจิตรบรรจง ในสถานที่แห่งนี้ ชาลส์ ฟาเรล (Charles Farrell) และ เจเนท เกเนอ (Janet Gaynor) ได้มาแสดงเรื่องรักที่ไม่สมหวัง ทุก ๆ สามชั่วโมง ทำให้ผู้ชมที่เป็นแม่บ้านนับ พันคนร้องไห้ไปพร้อมกับชอคโกแล็ตแท่งในมือ เราอาจจะนึกไม่ถึงว่า สถาปนิกผู้ ออกแบบ ลอว-พาราไดซ์แห่งนี้ จะมีผลทำให้ผู้คนมีความสุขหรือความสะเทือนใจได้นับ ล้านคน 2 ว่าด้วยเรื่องสถาปัตยกรรมถ้าเราเอาการสื่อสารความหมายออกไปก่อน จะ เหลือความชัดเจนของ โรงภาพยนตร์ กับ โรงละคร มีความแตกต่างอยู่ที่ โรงภาพยนตร์ จะฉายภาพไปบนจอรับภาพ ที่องศาของการรับชมจะทำให้ภาพดูบิดเบี่ยวไป ดังนั้น การวางตำแหน่งท่ีนั่งจะจำกัดอยู่ที่ความกว้างจอและมีความลึกแทน และแตกต่างจาก การจัดที่นั่งของโรงละคร ที่การแสดงละครสดสามารถนั่งมุมไหนก็ได้ ไม่มีข้อกำหนดใน ตำแหน่งของการรับชม นับจากเวลานั้นการคิดค้นระบบ“โทรทัศน์”ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง สถานที่หลบลี้ (escape palace) หรือ dream pit กลายเป็น ประวัติศาสตร์ ยกเว้นโรงละครบางแห่งเช่น New York’s Radio City Music Hall และ Hollywood’s Grauman’s Chinese Theater และที่หายไปจากสารบบ คือ Paramount, the Capital, the Roxy การที่เห็นวงออเคสตรา ยกตัวขึ้นจากหลุม Orchestra pit มีวาทยากรนำด้วยคทาและถุงมือสีขาว หรือพรมแดงที่หน้าทางเข้า หรือน้ำหอมราคาถูกที่ห้องแต่งตัว เราไม่เห็นบรรยากาศแบบนี้อีกแล้ว โรงภาพยนตร์ใน ปัจจุบันได้มาแทนที่ เป็นงานศิลปรูปแบบใหม่ที่ผสมประสพการณ์ทางวัฒนธรรม อาจ _ of 165 59 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ร่วมกับกาแฟและภาพเขียนที่โถงลอบบี้ แต่สถานที่ที่เราจะหลีกลี้หนีไปได้สามารถหา ได้ที่บ้านนั้นเอง คนที่เบื่อชีวิตของตนเองสามารถเข้าไปเปิดที่กล่องสี่เหลี่ยม idiot box และตามดูรายการ Late Late Late Show ได้จนฟ้าสาง (ปัจจุบันสถานที่หลบลี้สภาพ แวดล้อมจะกลับมาอยู่ที่ฝ่ามือของทุกคนคืออุปกรณ์มือถือและคอมพิวเตอร์พกพา เช่น tablet ทั้งหลายนั้นเอง) 3 มีโรงละครที่พิเศษอีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องการความใส่ใจในการออกแบบนั้นคือ โรงละครโอเปร่า Opera House ในที่นี้ควรจะแยกมาเป็นการเฉพาะ (แต่อาจจะรวมบัล เลย์ด้วยเพราะมีการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน) โอเปร่าจะจัดเป็น repertory theater ที่ ต้องการพื้นที่ในการจัดการสิ่งต่าง ๆ อย่างมาก รวมถึงที่เก็บของและที่เก็บชุดของนัก แสดงที่มีขนาดใหญ่กว่าการแสดงรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงการเตรียมพื้นที่สำหรับเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ห้องซ้อมรูปแบบต่าง ๆ ห้องพักนักแสดง green room ห้องแต่งตัวโดยเฉพาะห้องของนักร้องโอเปร่าที่มีจำนวน มากและจำนวนห้องแต่งตัวที่จะต้องมีมากตาม การจัดการของงานแสดงบัลเลต์ก็จะจัด ในรูปแบบเดียวกัน การแสดงทั้งสองรูปแบบนี้ดูจะใช้พื้นที่ในการตระเตรียมมากกว่าพื้น เวทีที่ใช้แสดงเสียอีก อย่างไรก็ตามยังมีอีกเรื่องที่มากำหนดรูปแบบของการออกแบบโรงโอเปร่า นั้นคือผู้ชมที่เราสามารถจัดว่า การมารับชมโอเปร่านับเป็นเรื่องของวัฒนธรรมรูปแบบ หนึ่ง (Social event as much as an artistic one) เป็นศิลปของการเข้าสังคม “สถาปนิก” ผู้ละเลยหรือไม่เข้าใจในประเด็นนี้ ก็ควรจะไปยิงตัวตายเสีย เพื่อที่จะไม่ก่อ ให้เกิดปัญหากับผู้ว่าจ้างออกแบบโรงละคร สำหรับผู้มารับชมผู้หญิงจะแต่งตัวอย่าง หรูหรามาเพื่อโชว์ความมีรสนิยมรวมถึงอวดเครื่องประดับต่าง ๆ ผู้ชายก็จะมาอวดผู้ หญิงของเขา รวมถึงพนันกันอย่างลับ ๆ ว่านักร้องโซปราโนจะเปล่งเสียงได้ยาวนาน เท่าใด ทุก ๆ พื้นที่จะมีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเวที ที่นั่ง ลอบบี้ (Lobby) ทางเข้า (Foyer) โถงบันได หรือแกลลอรี่ ศิลปินชื่อดังถูกเชิญให้มาวาดภาพบนฉากหลังของบาร์ รวมถึงช่างปั้นผู้มีชื่อเสียงให้มาสร้างสรรค์รูปปั้นเพื่อแขวนไว้ที่หน้าโถง ตัวอย่างของกรณี นี้คือ ภาพวาดของ ชากัล Chagall ที่โรงนิวยอร์คโอเปร่า New York’s Metropolitan _ of 165 60 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Opera ภาพนั้นไม่อาจเห็นได้จากภายในโถงแต่จะเห็นจากภายนอกอาคารเท่านั้น แต่ก็ ไม่สำคัญนักหรอกเพราะที่สำคัญคือความรู้สึกว่ามีภาพที่มีมูลค่ามหาศาลแขวนอยู่ ที่ สำคัญจริง ๆ ก็อยู่ที่การแสดงโอเปร่าภายใน แต่ก็ไม่สามารถลืมความสำคัญของสภาพ แวดล้อมโดยรอบของสถานที่ได้ 4 โรงละครของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันนับว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับการ ออกแบบสถาปัตยกรรมการละคร เป็นสถานที่ ที่ใช้สอนและจัดแสดงโดยนอกจากองค์ ประกอบโดยทั่วไปของโรงละครแล้ว จะมีเรื่องของห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ ต่าง ๆ รวมถึงห้องพักอาจารย์และคาเฟทีเรียของนักเรียน ในยุคหลังนี้โรงเรียนการ ละครได้รวมเอาศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น โอเปร่า บัลเลต์ ละครและดนตรีไว้ด้วยกัน เนื่องจากเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องและสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี (ตัวอย่าง Juilliard School at New York’s Lincoln Center) งานแสดงดนตรี Concert Hall นั้นเป็นการจัดการพื้นที่ที่ง่ายกว่าโรงละคร เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่หลากหลายในการเปลี่ยนชุด เปลี่ยนฉาก นักแสดงต่าง ๆ และผู้ชมก็จะมาสนใจกับนักดนตรีมากกว่ามาชมผู้ชมด้วยกัน ยกเว้นบางกรณีที่เป็น กิจกรรมสังคมสิ่งที่ผู้เข้าชมต้องการนั้นเป็นเรื่องพื้นฐาน ตามลำดับดังนี้คือ 1) ระบบ เสียงที่ดี 2) เก้าอี้ที่นั่งสบายแต่ไม่สามารถนอนหลับได้ 3) ระบบแสงและมุมมองที่ดี แต่ ลำดับสุดท้ายน่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุดคือถ้าคุณมาดูงานแสดงดนตรีสดแล้วไม่สามารถ เห็นนักร้องหรือวงดนตรีก็น่าจะนั่งฟังเพลงอยู่ที่บ้านมากกว่า เพื่อที่จะรวบรวมการสำรวจเรื่องโรงละครให้ครบถ้วนจะมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ โรงละครแบบทดลอง (experimental theater) เป็นที่ซึ่งยังอยู่ในความฝันหรือเป็น เพียงแนวคิด บางที่อาจจะจับต้องได้ยากหรือบางกรณีจะมีความเป็นสื่อผสม เช่นการ แสดงสดร่วมกับภาพยนตร์ ภาพถ่ายและดนตรี พร้อม ๆ กัน มีตัวอย่างที่สุดโต่งอยู่ ตัวอย่างหนึ่งของผู้กำกับชาวโปแลนด์ ที่ไม่ยอมให้มีผู้ชมมาชมการแสดงของเขา เป็นการยากที่จะออกแบบสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับรูปแบบที่เป็นการทดลอง แต่มี คำหนึ่งที่อาจจะเหมาะแก่การใช้งาน คือ กล่องสีดำใบใหญ่ (the Big Black Box) ที่ซึ่ง

_ of 165 61 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

สามารถปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับการละครในรูปแบบทดลองได้ขึ้นอยู่กับความฝัน ของผู้ประพันธ์ 5 ทุกรูปแบบของโรงละครต้องการห้องฝากเสื้อโคท (coat room) และเป็นสิ่งที่ จำเป็น เป็นของมาตรฐานในยุโรป แต่ในสหรัฐเอมริกาดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยใส่ใจในเรื่อง นี้นัก ไม่มีใครอยากที่จะถือเสื้อที่เปียกของตนเองไว้บนหน้าตักตลอดการแสดงหรือใน บางที่ ท่ีมีห้องฝากเสื้อแต่ก็มีขนาดเล็กจนต้องต่อคิวยาวเพื่อจะรับเสื้อกลับ ในตอนเลิก และพลาดแทกซี่คันสุดท้ายหรือรถไฟเที่ยวสุดท้ายเพื่อที่จะเดินทางกลับบ้าน ปัญหาของงานออกแบบสถาปัตยกรรมการละครนั้นดูจะเป็นที่สนใจของผู้ เขียนโดยตรงเนื่องจากการออกแบบโรงละครดูจะมีผลต่อผู้คนในสังคมที่ชัดเจนกว่าการ ออกแบบงานสถาปัตยกรรมรูปแบบอื่น ไม่มีโรงเรียนสอนสถาปัตยกรรมการละครโดย เฉพาะ เพื่อให้นักศึกษาสถาปัตยกรรมมีความคุ้นเคยกับศาสตร์ของการชมละครนี้ ดัง เช่นถ้าจะจ้างสถาปนิกมาออกแบบโรงละครที่ไม่สันทัด ก็จะเหมือนการขอให้คนขาย ลูกโป่งมาสร้างยานอวกาศ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นสิ่งที่บินได้เหมือนกัน แต่ลูกโป่งจะไม่ สามารถพาคุณไปถึงดวงจันทร์ได้แน่

_ of 165 62 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Seven : The Architect and Public Buildings สถาปนิกกับอาคารสาธารณะ A public building is one which is supposed to be for “us” but really belongs to “them” ; therefore, to regard it with a tinge of hostility is almost in the nature of a civic obligation. ธรรมเนียบรัฐบาล อาคารรัฐสภา อาคารราชการ อาคารไปรษ์ณีย์โทรเลข พิพิธภัณฑ์ อาคารที่เป็นทางการเป็นอาคารสาธารณประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว อยู่สองสิ่งและเราสามารถมั่นใจว่าส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนั้น ประเด็นแรกตัวอาคารจะดูมีความเป็นทางการ แข็งแรง ใหญ่โต เพื่อสื่อ ถึง ความมั่นคงแข็งแรงขององค์กรและประเด็นที่สองรูปแบบอาคารดูจะตกยุคสมัย ไม่มี สไตล์เนื่องจากผู้จัดจ้างที่อยู่ในกรมกองต่าง ๆ ดูออกจะเป็นผู้สูงอายุ มีความมั่นใจในยศ ตำแหน่ง สถานะของตนเอง ไม่ค่อยตามทันในจินตนาการของสถาปนิกผู้ออกแบบแต่ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะมีปัญหาขัดแย้งเพราะสถาปนิกที่ถูกเลือกมาออกแบบก็ดูจะเป็น คนในยุคเดียวกัน รูปแบบอาคารก็จะมีความเป็นทางการเฉพาะตัว เช่น อาคารโรงพยาบาลหรือ โรงเรียนจะอยู่ในรูปแบบกอทิค (campus Gothic) หรือ นีโอ-กอทิค (neo-Gothic) สำหรับอาคารราชการ ศาล จะเป็นแบบคลาสสิค รีไวเวิล (Classic Revivalป หรือ นีโอ-พสูโด คลาสสิค (neo-pseudo Classic) ในยุคคริสตศักราชที่สามสิบ อาคาร ไปรษณีย์และห้องสมุด ของรัฐบาล (ในสหรัฐอเมริกา) จะถูกออกแบบและก่อสร้างโดย สำนักโยธาของรัฐ (Public Works administration) ที่มีลักษณะของโมเดิรน์ที่มีรูป แบบผิดเพี้ยนกล่าวคือ มีความเป็นอาคารแบบโบราณที่ถูกขูดเอาสิ่งประดับประดาที่ ควรจะมีออกหมด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาข้ามศตวรรษ ตัวอย่างเช่น ที่นิวยอร์ค ลินด์คอน

_ of 165 63 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เซ็นเตอร์ (New York’s Lincoln Center) และ โรงมโหรสพ จอน เอฟ เคเนดี (John F. Kennedy Performing Arts Center)

pseudo neo-classic & pseudo modern เหตุผลที่รูปแบบงานสถาปัตยกรรมออกมาเป็นลักษณะเช่นนั้นไม่ใช้เพราะ สถาปนิกผู้ออกแบบไม่มีความสามารถในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมแต่เป็น เพราะความต้องการของรัฐที่จะสร้างรูปแบบที่ดูน่าเคารพ น่าเชื่อถือ จึงใช้รูปแบบงาน สถาปัตยกรรมคลาสสิค (Classicism) เป็นรูปแบบที่ถูกใช้กันมาเป็นเวลานาน รวมถึง ประชาชนก็ต้องการเห็นสิ่งที่มีรากฐาน มีความชัดเจนและมีที่มา เมื่อระบบของรัฐขยาย มากขึ้นและทุก ๆ ส่วนขยายตัวจนเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนกับรัฐบาลกลายเป็นพวกเขากับพวกเราและทุกคนแทนค่าตัวตนด้วย รหัส ตัวเลข (ID Number) ไม่ใช้ชื่อดังที่ผ่านมาขาดจากความเป็นมนุษย์ และข้อมูลส่วนตัว

_ of 165 64 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ทั้งหลายก็กลายเป็นข้อมูลในไฟล์คอมพิวเตอร์ ในยุคที่ยังเป็น “การ์ดเจาะรู” (punch card) สำหรับการคำนวณในคอมพิวเตอร์ยุคแรกร่วมกับโปรแกรมที่ยังไร้ชื่อ งานสถาปัตยกรรมก็เช่นเดียวกัน ให้ความรู้สึกไร้ความเป็นมนุษย์ (dehumanize) สิ่งที่ยังทำให้เห็นว่าเป็นอาคารของรัฐคือธงชาติที่ประดับประดาอยู่ หน้าอาคาร เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ไม่มีใครต้องนับถือหรือเชื่อฟังเช่นอาคารสมัยก่อน เป็นสถาปัตยกรรมที่ไร้ซึ่งตัวตน แต่อาคารที่มีความเป็นอนุสาวรีย์นั้น (monumental) มีอยู่ตัวอย่างหนึ่งที่ ประสพความสำเร็จในการสื่อความหมายของความเป็นรัฐ นั้นคืออาคารสหประชาชาติ ในนิวยอร์ค (the United Nations complex in New York) ที่ใช้รูปฟอร์มและวัสดุได้ อย่างเหมาะสม มีความใส่ใจในรายละเอียดและดึงงานสถาปัตยกรรมให้เข้าใกล้ชิดคน มากขึ้น เช่นเดียวกับอาคารสถานทูตสหรัฐในนครลอนดอน (U.S. Embassy in London) ที่มีขนาดใหญ่โตในรูปฟอร์มของกล่องแต่มีการออกแบบผนังที่มีรายละเอียด ส่งผลต่อความใกล้ชิดกับคนได้อย่างดี เรายังไม่เข้าใจกับการออกแบบโรงพยาบาลว่าควรมลักษณะใด ในยุคที่ความ รู้สึกของโรงพยาบาลนั้นดูจะคล้ายกับ “คุก” สำหรับส่งคนป่วยเข้าไปโดยมีการดูแลที่ รัดกุมอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยจะอยู่ในสายตาของผู้คุม (หมอกับพยาบาล) เช่นเดียวกับ นักโทษแต่ก็เติมด้วยการใส่ใจและความรัก ในโรงพยาบาลเอกชนอาจจะดูมีความเป็น มิตรมากขึ้นและให้ความรู้สึกเช่นเดียวกันกับโรงแรมห้าดาว สถาปัตยกรรมในการออกแบบโรงพยาบาลจะมีความน่าชมก็ในเรื่องของความ ใส่ใจในการจัดวางพื้นที่ภายในให้ต่อเนื่องและจัดการในเรื่องของงานทางเทคนิคของการ รักษาได้อย่างดี มากกว่าที่คนจะใส่ใจในรูปลักษณ์ภายนอก เป็นเรื่องที่กล่าวได้ไม่เกิน ความจริงเลยสำหรับอาคารโรงพยาบาลในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งสภาพแวดล้อมจะเป็นไปใน รูปแบบเดียวกัน ส่วนในโรงพยาบาลขนาดเล็กในชนบทก็อาจจะมีเสน่ห์ มากกว่า รวม ถึงมีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร แต่ไม่ว่าการออกแบบโรงพยาบาลจะงดงามอย่างไรก็เป็น สถานที่ ๆ ไม่น่าเข้าไปอยู่อาศัย

_ of 165 65 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ผู้อ่านบางท่านอาจจะมีอายุพอที่จะจำความได้ว่า ในสมัยที่การเดินทางด้วย รถไฟเป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์ เป็นการเดินทางที่เต็มไปด้วยการผจญภัย เสียงล้อเหล็ก กระทบราง ฉึกฉัก ฉึกฉัก เสียงหวูดจากหัวรถจักรและนกหวีดของนายสถานีเป็นส่วน ประกอบที่ทำให้อยากวางแผนการเดินทางท่องเที่ยว บรรยากาศของสถานีรถไฟที่มี หลังคาโค้ง สูงโปร่ง พื้นและผนังหินอ่อนไกลสุดลูกหูลูกตา ประตูเหล็กดัดเรียงรายและ นำทางไปสู่ชานชาลา กลิ่นจาง ๆ ของถ่านหิน กลิ่นเบาะหนังในตู้โดยสาร รวมกับกลิ่น เหงื่อของคนเดินตั๋ว ทำให้หัวใจเต้นแรงและเบิกบานด้วยความหวัง และมีเสียงเด็กเล็ก ๆ ที่กำลังร้องไห้ เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ทำให้มนุษย์ได้แสดงออกถึงความเป็นตัวตน

การเดินทางโดยรถไฟ แต่สิ่งต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปแล้ว (พูดถึงเฉพาะในสหรัฐอเมริกา - ผู้เขียน) การ เดินทางด้วยรถไฟยังเป็นการผจญภัยแต่เป็นในมุมที่รถไฟไม่มาตรงเวลา อุปกรณ์ต่าง ชำรุดเสียหาย ตารางการเดินทางไม่ปรากฎรวมถึงการล้มสลายของระบบการเงินที่จะ มาบริหารงาน ที่หลงเหลืออยู่คือสถานีเก่าแก่มีฝุ่นเกาะอยู่เติมชานชาลา มีคนจรจัดมา นอนพักพร้อมกับขวดเหล้าในมือ คนขายตั๋วก็นั่งหลับอยู่ภายในช่องขายตั๋วรอคอยเวลา ที่จะปลดเกษียณแต่ไม่สามารถทำได้เพราะทางสำนักงานได้ทำหลักฐานเอกสารส่วน ใหญ่ของบุคคลต่าง ๆ หายไป และตัวสถาปัตยกรรมเล่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ? อันที่จริงไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลงมากนัก นอกจากการใช้งาน คนใช้งาน และความหมายทางสถาปัตยกรรม ตัวอย่างของสถานีที่มีชื่อเสียงเช่นสถานีใหญ่ในนิวยอร์ค (Grand Station in New _ of 165 66 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

York) ที่มีผู้คนมาใช้งานอย่างล้นหลาม มากกว่าในยุคก่อนแต่โค้งหลังคาขนาดใหญ่ก็ถูก ลดความสำคัญลงเนื่องจากทุกคนรู้ดีว่าการเดินทางคราวนี้ไปแค่ เวเชสเตอร์ (West Chester) หรือ คอนเนคติกัท (Connecticut) เท่านั้น โค้งหลังคาที่มีอยู่ดูจะอลังการ เกินกว่าการเดินทางที่เกิดขึ้น (ทั้งสองเมืองมีเขตติดกันนิวยอร์ค)

Grand Station in New York สิ่งที่เป็นความจริงแท้คือ สถานีรถบัสโดยสารไม่มีใครตื่นเต้นที่จะได้เดินทาง ไปที่สถานี เช่น สถานีแฮคคินเช็คในรัฐนิวเจอร์ซี่ (Hackensack, New Jersey) ที่มีฝ้า เพดานที่ต่ำ ผู้คนเดินแข็งทื่อตรง ๆ ไม่มีพื้นหินอ่อน ไม่มีมุมมองใด ๆ เลย ไม่มีความสง่า งามแถมด้วยเสียงเด็กร้องไห้แต่การร้องไห้ก็เป็นสิ่งที่เด็กถนัดมิใช่หรือ งาน สถาปัตยกรรมดูจะสื่อว่าการเดินทางด้วยรถบัสเป็นสิ่งน่าเบื่อ รวมถึงตัวงาน สถาปัตยกรรมก็เช่นเดียวกัน อาคารที่มีเสน่ห์อย่างแท้จริงในปัจจุบันน่าจะเป็นสนามบิน เมื่อมาถึงสนามบิน จะได้ยินเสียงประกาศสำหรับการเดินทาง ลอนดอน (London) ฮูสตั้น (Houston) ฮาวาย (Hawaii) สิงคโปร์ (Singapore) ลอสแอนเจลลีส (Los Angeles) เม็กซิโกซิตี (Mexico City) บัวโนสไอเลส (Buenos Aires) แมดริด (Madrid) เทเลวีพ (Tel Aviv) เสียงกระหึ่มของเครื่องบินไอพ่นที่กำลังจะทะยานขึ้นนี้ละคือการเดินทางที่แท้จริง ดู ผู้คนโดยรอบมีแต่นักเดินทาง เสียงของหัวใจที่เต้นแรงแสงไฟของการเดินทางที่ส่อง สว่าง ไม่เหมือนกับสถานีรถบัสในนิวเจอร์ซี เป็นอีกโลกหนึ่งที่น่าค้นหา การเดินทางไป

_ of 165 67 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

บนท้องฟ้าที่กว้างใหญ่และเด็กเล็ก ๆ ก็ยังส่งเสียงร้องไห้เช่นเดิมแต่ก็ไม่มีใครจะสนใจ เราจะเข้าประตูที่ 12 (Gate12) และในสิบห้านาทีเราก็จะอยู่ที่ความสูง 30,000ฟุต มอง ลงมาที่ก้อนเมฆเบื้องล่าง

LAX - Los Angelis International Airport เมื่อมีมิติของการเดินทางเข้ามาเกี่ยวข้องก็น่าจะเห็นงานสถาปัตยกรรม สำหรับสนามบินที่น่าจะดูสง่างาม สถาปนิกเมื่อพูดถึงการบินก็สามารถใช้จินตนาการถึง เรื่อง ความเร็ว การไหลของอากาศ รวมถึง สถานที่ในดินแดนที่แปลกใหม่ แต่เป็นที่น่า เสียดายที่สถาปนิกบางคนไม่ได้คำนึงถึงสิ่งนี้ ด้วยที่ว่ามีความคุ้นเคยหรือขาดความใส่ใจ ในจินตนาการก็แล้วแต่ ในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบมีการออกแบบสนามบินที่ดูน่าเบื่อ คล้าย ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ในเขตชนบทห่างไกล (suburban shopping center) อาคารอิฐและ กระจกที่เป็นแนวเป็นแถวยาววางต่อด้วยลานจอดรถที่ไกลสุดลูกหูลูกตา บางที ในอนาคตอันใกล้การเดินทางด้วยเครื่องบินอาจจะเริ่มน่าเบื่อเช่นเดียว กับการเดินทางด้วยรถบัสและกลายเป็นการเดินทางเช่นเดียวกับการไปจับจ่ายซื้อของ ในตลาดถึงเวลานั้นการสื่อภาพลักษณ์ของสนามบินก็น่าจะถูกต้องอย่างที่ควรเป็น (ในปีปัจจุบัน พ.ศ. 2559ก็เป็นดังที่เขียนคาดไว้ผู้คนเดินทางโดยเครื่องบินเช่น เดียวกับรถโดยสารประจำทางจากการมีสายการบินราคาประหยัด Low cost Airline) _ of 165 68 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

จากการเจริญเติบโตของสังคมมีการขยายตัวของประชากรอย่างมากรวมถึง การขยายตัวทางการศึกษาด้วย ไม่เพียงแต่เด็กเล็กเท่านั้นการศึกษาของผู้ใหญ่ก็ขยาย ปริมาณเช่นเดียวกัน เกิดการเพิ่มปริมาณทั่งสองฝั่งคือเด็กเล็กจะลงไปถึงระดับอนุบาล และระดับโตถึงปริญญาโทและเอกที่มีจำนวนนักเรียนนักศึกษาในประเทศพัฒนานับ ล้านคนทำให้รูปแบบอาคารสาธารณะประเภทสถาบันการศึกษา มีการขยายตัวตามไป อาคารสำหรับ อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และการศึกษา เฉพาะทาง เช่น โรงเรียนสอนพิมพ์ดีด โรงเรียนธุรการ โรงเรียนสอนบัลเลต์ และเต้นรำ ต่าง ๆ ก็ขยายตัวตามเช่นกัน สถาปัตยกรรมสำหรับการศึกษาก็มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับระบบการ ศึกษาของแต่ละโรงเรียนหรือนโยบายและทฤษฎีทางการศึกษาที่ใช้ เราออกแบบ โรงเรียนในรูปแบบที่เราต้องการเห็นว่านักเรียนว่าควรถูกสอนอย่างไร

ผังห้องเรียนและอาคารเรียน ในตัวอย่างรูปแบบของการอนุรักษ์นิยมทางการศึกษา เราจะมีแนวทางในการ จัดห้องเรียนเพื่อนักเรียนประมาณสามสิบถึงสี่สิบคนต่อห้องแต่ละคนมีโต๊ะเก้าอี้หันไป ทางหน้ากระดานดำเหมือน ๆ กัน ผู้อ่านส่วนใหญ่ที่อ่านอยู่นี้ก็คงเคยมีประสบการณ์เช่น

_ of 165 69 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เดียวกัน ในช่วงปฐมวัยที่อยู่ในห้องเรียนแบบนี้เมื่อเราได้ขนาดของห้องเรียนที่เหมาะสม เป็นชุด unit type ถ้าจะขยายจำนวนห้องก็นำมาเรียงต่อกันด้วยทางเดินตรงกลางและ เรียงห้องเรียนอยู่สองข้างทางเมื่อได้แปลนแต่ละชั้นแล้วจึงมาเพิ่มความสูงของชั้น เป็น ธรรมชาติของการต่อเติมและขยายตัว บันไดที่หัวและท้ายอาคารสามารถเชื่อมต่อ ระหว่างชั้นและอาคารเรียนเช่นนี้ก็สามารถขยายขึ้นไปทางสูง จนการรับนักศึกษาถึง จุดอิ่มตัว สนามกีฬาในร่มและอาคารหอประชุมอยู่คนละด้านของอาคารเรียน ส่วน ธุรการและห้องพักอาจารย์ก็รวมกลุ่มกันอยู่บริเวณทางเข้า ห้องสุขาก็จัดอยู่บริเวณ บันไดใกล้ทางขึ้นลงอาคารนับเป็นแบบแผนที่พบกันทั่วไป รูปแบบของงานสถาปัตยกรรมที่สื่อความเป็นสถาบันการศึกษาในยุคก่อนโม เดิร์น จะยึดตามหลักการอยู่สองรูปแบบ คือ นีโอ-คลาสสิค (neo-Classic) ที่มีการปรับ รูปแบบของ จอเจีย โคโลเนียล (Georgian-Colonial) และรูปแบบแคมปัส โกทิค (campus Gothic) ที่มีกลิ่นอายของโรงเรียนแบบอังกฤษเก่า (Old English church school) ที่ให้ความรู้สึกย้อนความหลัง แต่ไม่มีใครสร้างรูปแบบของโรงเรียนโบสถ์สีแดง (little red school house) มานานหลายยุคสมัยแล้ว

รูปแบบโรงเรียน เมื่อยุคโมเดิร์นเข้ามาถึง สถาปนิกก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบของอาคารแต่สิ่งที่ไม่ เปลี่ยนคือหลักการและวิธีคิดของพวกเขา

_ of 165 70 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

โรงเรียนสมัยใหม่ Modern ในการศึกษาระดับสูงเช่นมหาวิทยาลัย (College and University) มีปัจจัย อีกอย่างที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของวิทยาเขต นั้นคือก่อนการเข้ามาถึงของโมเดิร์นนิซิม (modernism) มีกระแสหลักอยู่สองรูปแบบคือ นีโอ-คลาสสิค (neo-Classic) ที่ได้ ต้นแบบจาก โทมัสเจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson’s) ผู้ออกแบบมหาวิทยาลัยเวอร์ จีเนีย (the University of Virginia) และรูปแบบ ของนีโอ กอธิค (neo-Gothic) จาก แรงบันดาลใจของ ไอวี่ (ivy-clad) ของการศึกษาในอังกฤษ อันที่จริงสัญลักษณ์ของ “ไอวี่”เป็นสิ่งที่แทนความหมายของ Dignity, Antiquity และ Scholarship และใน ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยชั้นนำจะใช้คำว่า “ไอวี่ลิค - (Ivy League)” งานสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสร้าง บรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ ตั้งแต่เด็กเล็ก (ปฐมวัย) มีอยู่สามแนวทาง หลักที่วางรากฐานมาจากทฤษฏีทางการศึกษา แนวทางแรกที่ปรับนวัตกรรมน้อยสุดคือแนวคิดที่ว่านักเรียนไม่ควรจะมีความ รู้สึกถูกกักขัง ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่ผสมผสานระหว่างภายในและภายนอกให้ดู กลมกลืนกัน มีการจัดอยู่หลายรูปแบบแต่หลักการพื้นฐานคือการมีพื้นที่เล่นที่อยู่ใกล้ พื้นที่เรียน สามารถเปิดถึงกันโดยง่าย การเรียนการสอนรวมกับกิจกรรมการเล่นเกมส์ เพื่อให้ลดแรงขับสามารถทำสลับกันได้ตามแต่ที่ครูจะดำเนินการ _ of 165 71 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ผังห้องเรียน ติดกับสวน แนวทางที่สองถัดไปคือการที่ห้องเรียนต่าง ๆ ถูกจัดให้กระจัดกระจายกันไป เป็นกลุ่มก้อน (cluster) เพื่อให้ความรู้สึกของการไปอยู่ในค่ายพักแรม (camp) มากกว่าสถานศึกษา (institutional) แต่ละกลุ่มก็จะถูกวางตำแหน่งไปตามธรรมชาติ ของการใช้งาน และมีเอกลักษณ์ของตนเอง

กลุ่มก้อนห้องกิจกรรม (cluster)

_ of 165 72 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

สถาปนิกจะชอบจัดแปลนในรูปแบบกลุ่ม (cluster) เช่นนี้ เพราะเขาสามารถ เล่นสนุกได้ตามรูปทรง ที่เขาต้องการ แต่บางคนก็ไม่ชอบเนื่องจากความไม่เป็นระเบียบ รวมถึงผู้บริหารโรงเรียนก็ไม่ค่อยจะเข้าใจในการจัดการแบบนี้นัก

ห้องเรียนรูปแบบใหม่ แนวทางที่สาม (ณ เวลาปัจจุบัน ทฤษฏีในการเรียนรู้อาจจะมีลำดับที่ สี่ ห้า หก ตามมาอีกมากมาย) ของการทดลองรูปแบบของโรงเรียนคือการรวมกันของพื้นที่ เรียนและมีพื้นที่กิจกรรมให้อยู่ในห้องใหญ่ ๆ เพียงห้องเดียว การจัดกลุ่มของเด็กเป็น กลุ่มย่อยสามารถสร้างสรรค์พื้นที่ได้ตามกิจกรรมที่วางไว้ในแต่ละวัน ในเบื้องหลังของ หลักการที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ในระหว่างการดำเนินกิจกรรมของตนเองก็จะรับรู้ถึง กิจกรรมในสังคมรอบตัวเขาไปพร้อม ๆ กันเป็นการเรียนรู้เช่นเดียวกันในสังคมโลก รูปแบบนี้จะมีปัญหาในเรื่องของเสียงที่จะแข่งกันดังในพื้นที่ห้อง ๆ เดียว แต่ก็ สามารถจัดการได้ด้วยการวางตำแหน่งกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมรวมถึงการใช้วัสดุที่ ป้องกันการสะท้อนและช่วยในการดูดซับเสียง

_ of 165 73 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

รูปแบบของการเรียนในระยะต้นก็น่าจะไปปรับใช้กับการศึกษาในระดับสูงได้ เช่นกัน ในระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยอาจจะลองใช้วิธีการของการทดลองทั้งสาม รูปแบบ สำหรับผู้บริหารการศึกษาในวิทยาลัยนั้นได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มที่ไม่ส่งผลต่อการ เรียนรู้อยู่สองประเด็นที่ต้องอาศัยวิธีการคิดและการแก้ไขปัญหาทางสถาปัตยกรรม ประเด็นแรกคือ เป็นเรื่องของสัดส่วนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนที่เริ่มที่จะแตก ต่างกันมาก การที่นักศึกษามีปริมาณมากขึ้น และอาจารย์ก็ถูกบังคับให้ทำงานวิจัย ดัง นั้นรูปแบบโครงสร้างของการเรียนจะอยู่ที่ผู้สอนไม่กี่ท่านมาบรรยายให้นักเรียนจำนวน มากในหอประชุม ด้วยผู้สอนที่บรรยายได้ดีที่สุดเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้มากที่สุด (ด้วยการสอนสดหรืออัดเทปก็แล้วแต่กรณี) จากนั้นก็จะแบ่งกลุ่มย่อยในการถกเถียงให้ เกิดความรู้ที่แตกฉาน วิธีการนี้อาจจะไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุดแต่ก็สามารถจัดให้นักศึกษา ได้เรียนรู้กับอาจารย์ที่เก่งที่สุดในการบรรยายและได้พูดคุยนำเสนอแนวคิดของตนเอง กับกลุ่มย่อย ในทางสถาปัตยกรรมนั้นห้องเรียนเล็ก ๆ (time-honored classroom) จะถูกแทนที่ด้วยห้องบรรยายขนาดใหญ่ (lecture hall) ที่รายล้อมไปด้วยห้องสัมมนา และห้องประชุม ประเด็นที่สองเป็นเสมือนอาการของโรคชนิดหนึ่งที่เกิดกับนักศึกษาชั้นปีที่ สามที่ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยจะทราบดีและเรียกอาการนี้ว่า junior year slump เนื่องจากเมื่อถึงเวลาในชั้นปีที่สามแล้วอาจารย์ไม่ได้รบกับวัยรุ่นที่เพิ่งจะเข้า มหาวิทยาลัยเมื่อสองปีที่แล้ว แต่เราพบกับนักศึกษาอายุสิบเก้าถึงยี่สิบที่เริ่มจะเป็น ผู้ใหญ่ มีประสบการณ์ของคนที่โตขึ้นและเริ่มเบื่อกับการเรียนในระบบที่ผ่านมา อย่าง น้อย 14 ปีของชีวิต นักศึกษาชั้นปีสามเริ่มที่จะมีความเข้าใจที่ผิดบางประการเกี่ยวกับ การศึกษาในระบบเริ่มประสบปัญหาเรื่องเกรดตกและมีการเลิกเรียนกลางคัน ทำให้ผู้ที่ จัดการศึกษาปรับระบบให้มีการพักการเรียนในระบบเพื่อไปทำงานหรือเรียนรู้หา ประสบการณ์จริงสักหนึ่งปี ด้วยการลงทะเบียน (with credit) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ในทางสถาปัตยกรรมเราสามารถจัดการเรื่องนี้ได้อย่างไร ? โดยพื้นฐานทั่วไป จะเป็นการใช้อาคารสถานที่ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์หรือทำข้อตกลงกับสถาบันการ ศึกษาอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ปรับโรงเรียนขนาดเล็กต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้เข้าไป ฝึกสอน ประสานงานกับนักธรณีวิทยา หรือ ภัณฑารักษ์ ให้นักศึกษาไปช่วยขุดค้นซาก _ of 165 74 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ไดโนเสาร์หรือช่วยงานในพิพิธภัณฑ์ หรือไปช่วยสอนหนังสือในประเทศที่ยากจนห่าง ไกล แต่รูปแบบที่เป็นผลให้เกิดงานสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจก็ยังมีให้เห็น มันเป็น ลักษณะของการปรับสภาพแวดล้อมตามกิจกรรมที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การใช้ชีวิต เป็นกลุ่ม (commune) คล้ายกับชนเผ่าในสมัยก่อน ที่น่าสนใจคือหลายมหาวิทยาลัยจัด วิชาคล้าย ๆ กันนี้เรียกว่า การทดลองการใช้ชีวิต (Experiment in Group Living) แต่ละชั้นเรียนจะประกอบด้วยนักศึกษาประมาณ 15-30 คน ไม่แบ่งแยกชายหญิง ให้ อยู่ในบ้านเดียวกัน ภายใต้การดูแลของอาจารย์ จัดการระบบการเรียนรู้ของตนเอง มี การแบ่งภาระหน้าที่กันทำภายในบ้าน และเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคม หรืออีกตัวอย่างคือ การทดลองในการเดินทาง (traveling college) ไม่ว่าจะไปด้วยรถลาก เรือ รถไฟ หรือ เครื่องบิน เพื่อเรียนรู้โลกใบนี้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ระหว่างเดินทาง เช่นเดียวกับการ ใช้ชีวิตในรถบ้าน (mobile home) ที่ย้ายที่อยู่และเดินทางตลอดเวลา ในที่สุดการออกแบบสถาปัตยกรรมของสถานศึกษา อาจจะปรับเปลี่ยนไป ตามทฤษฎีหรือนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้น อาจเป็นข้อเสนอแนะเพียงน้อยนิด ใน เวลาเดียวกันนี้ สถาปนิกที่เห็นต่าง ก็จะสร้างตามแนวของการศึกษาที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วย การสร้างอาคารที่สูงขึ้นบนพื้นฐานเดิม ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง

ตึกเรียนในมหาวิทยาลัย _ of 165 75 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

_ of 165 76 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Eight : The Language of Architecture ภาษาของงานสถาปัตยกรรม Any system of communication, whether it be by word, gesture, sign, or symbol can be considered a language - the only requirement being that it is understood by both parties to the exchange. Strangely enough, this occurs most rarely among humans, who, it would seem, have most advanced languages of any of their fellow species. It almost appears as though they don’t want to understand one another. 1 เมื่อเรากล่าวถึงอาคารที่สามารถสื่อความหมายทางสถาปัตยกรรมได้นั้น เรา จะถือว่าตัวงานสถาปัตยกรรมนั้นเป็นภาษาหนึ่งสำหรับการสื่อสารเป็นการสื่อความ หมายเช่นเดียวกับการใช้คำและตัวอักษรต่าง ๆ ที่พิมพ์ลงบนกระดาษ แน่นอนว่าคนที่ จะสามารถอ่านและเข้าใจความหมายของคำเหล่านั้นได้จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางภาษา เช่นเดียวกันกับผู้เขียน สำหรับคนที่เกิดและเติบโตมาในสังคมเดียวกันก็คงเป็นการง่ายที่ จะทำความเข้าใจภาษาทางสถาปัตยกรรมเพราะเป็นสภาพแวดล้อมพื้นฐานที่เขาเจริญ เติบโตขึ้นมาเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้พูดกันเป็นปรกติ แต่ถ้ามาจากคนละวัฒนธรรมแล้ว นั้นก็จะเป็นการยากที่จะเข้าใจ ตัวอย่างเช่น ชนเผ่าอโบริจินี่ในหมู่เกาะทะเลแปซิฟิกใต้ น่าจะไม่เข้าใจในภาษาของงานสถาปัตยกรรมในแบบของเราในสหรัฐอเมริกา ที่มี ธรรมเนียมและมาตรฐานการอยู่อาศัย เขาอาจจะไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่าง โบสถ์กับไปรษณีย์หรือไม่เข้าใจว่าอะไรคือโบสถ์ด้วยซ้ำ ในความเป็นจริงสภาพแวดล้อม ในวัฒนธรรมที่เราเติบโตมาก็จะบอกเราเองว่า อาคารนี้คือโบสถ์ อาคารนี้คือปั๊มน้ำมัน ไม่เพียงแค่นั้น เรายังสามารถบอกถึงลักษณพิเศษของอาคารต่าง ๆ เหล่านั้นได้ เช่น “ฉันเป็นบ้านผู้ดีเชิญเข้ามาได้แต่ต้องทำความสะอาดเท้าเธอก่อนนะ” หรือ “ฉันเป็น พระราชวัง ถอดหมวกเธอออกแล้วคลานเข้ามา”

_ of 165 77 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ดังนั้นสถาปนิกทั้งหลายที่ใช้งานสถาปัตยกรรมเป็นสื่อพูดแทนจำเป็นต้อง 1) เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองต้องการจะพูดและ 2) มีความสามารถในการใช้ภาษาทาง สถาปัตยกรรม เพื่อให้ผู้ฟังไม่เข้าใจผิดและคิดว่าสถาปนิกไม่รู้เรื่องในสิ่งที่แสดงออกมา สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับ “ภาษา” คือเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ คำ ประโยค กริยา และรูปทรงต่างๆ มาประกอบกัน เพื่อสื่อความหมายในงานสถาปัตยกรรม สิ่งที่ใช้ ในการสื่อความหมายคือ ผนัง กำแพง หลังคา ประตู หน้าต่าง บันได ยอดแหลมบน หลังคา และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ถูกก่อสร้างขึ้น ในแต่ละสิ่งสามารถนำมาผสมผสาน กันได้หลากหลายรูปแบบโดยไม่จำกัดแต่ความหมายท้ายสุดที่ประกอบเป็นงาน สถาปัตยกรรมนั้นควรจะจับต้องได้เช่นเดียวกับดนตรี หรือบทกวี และสื่อให้เห็นถึง ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ รวมถึงการรับรู้จากผู้รับชมอย่าง ถูกต้อง ในการสื่อสารนั้นจะเป็นไปในสองทิศทางและขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความ ลำเอียง ความเชื่อมั่น และความละเอียดในการรับรู้ ในตัวงานสถาปัตยรรมชิ้นเดียวกัน อาจจะสื่อความไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล สามารถเกิดการถกเถียงกันได้โดยง่าย ให้เราลองนึกถึงคำทางสถาปัตยกรรมที่ง่าย ๆ ก่อน เช่นคำว่า “ประตู” ประตูคืออะไร? ประตูคือสิ่งจำเป็นในการแทรกแซงกำแพงเพิ่อเปิดไปสู่อีกด้านหนึ่ง ดัง นั้นก่อนที่เราจะมีประตูได้ เราต้องมีกำแพงก่อนและกำแพงถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ใน การแบ่งพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ออกจากกัน เช่น เอาคนไว้ข้างใน เอาลม ฝน ความหนาวเย็นและหมาป่าไว้ด้านนอก ในบางโอกาสเราก็จำเป็นต้องผ่านกำแพงนี้เพื่อ ออกไปข้างนอก ดังนั้นกำแพงจึงถูกเจาะออก และมีสิ่งที่มาปิดไว้ในกรณีที่ไม่ใช้งาน นั้น คือ ประตู ขนาดของประตูขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องผ่านเข้าออก

ขนาดของประตูตามการใช้งาน _ of 165 78 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เมื่อมองจากขนาดของประตูเราสามารถอ่านงานสถาปัตยกรรมได้จากขนาด ว่ามีจุดประสงค์เช่นไร ประตูสำหรับคนทั่วไปก็จะสูง 2 เมตร (โดยส่วนใหญจะไม่มีใคร สูงกว่านั้น) มันอาจจะเป็นประตูสำหรับห้องน้ำ ประตูห้องเก็บของ ประตูเข้าบ้านหรือที่ ใด ๆ ก็ตาม แต่ถ้ามีช่องเล็กๆ ด้านล่างที่เจาะอยูที่ประตูก็อาจจะใช้สำหรับการเข้าออก ของแมวหรือสุนัขที่เลี้ยงไว้ หรืออาจจะมีช่องเล็ก ๆ ที่มีฝาปิดด้านบนสำหรับจดหมาย เมื่อนำทุกอย่างมารวมกันเป็นประตูบานเดียวและทาสีสวยงาม ก็จะอ่านเป็นความ หมายว่า เป็นบ้านของผู้มีอันจะกิน มีสัตว์เลี้ยงในบ้านที่อยู่ชานเมืองหรือชนบท มีสัดส่วนประตูกว้างมากกว่าความสูงก็จะเป็นไปเพื่อรถยนต์ ถ้ามีขนาดเล็กก็คงจะเป็น ทางเข้าสำหรับรถยนต์ส่วนตัว แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกมาก ก็อาจจะใช้สำหรับ รถบัส หรือเครื่องบิน

ประตูสำหรับม้า ในยุคเจ้านายกลับจากการรบและเข้ามาที่ลานกว้าง (court yard) ของ แมนชั่น เขาอาจจะกลับมาบนหลังม้าอย่างสง่าผ่าเผย ประตูจึงควรจะสูงและกว้างกว่า ทางเข้าบ้านทั่วไป

_ of 165 79 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ประตูสำหรับกองทหาร หรือเป็นการกลับมาของเหล่าทหารจากการรบที่ได้รับชัยชนะ ประตูก็ยิ่งจะ ต้องกว้างและสูงพอที่ธงชัย ขี่นำขบวนม้าศึกที่จะเข้ามาได้อย่างสง่างาม จากการพัฒนา ของประตูที่ใช้ในโอกาสพิเศษนี้ กลายเป็นประตูชัยที่สร้างกลางลานกว้างที่ตัดขาดจาก กำแพง เพื่อใช้ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ดังที่เราจะเห็นประตูชัย triumphal arch ที่จะอยู่ ใจกลางเมือง ในตำแหน่งที่สำคัญ สำหรับประกอบพิธีกรรมโดยเฉพาะ ประตูโค้งขนาดใหญ่ที่หน้าวิหาร แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ และความยิ่งใหญ่ ของพระผู้เป็นเจ้า รวมถึงพิธีกรรมที่อยู่ด้านใน ด้วยขนาดของประตูที่ใหญ่มากทำให้ไม่ สามารถเปิดได้โดยง่าย ยกเว้นจะใช้กองทหารในการเปิดปิด แต่ก็จะมีประตูเล็กที่เจาะ ช่องอยู่ในประตูใหญ่คล้ายกับช่องประตูสำหรับแมวที่เจาะไว้ที่ประตูบ้านของเจ้านาย เปรียบเราตัวเล็กเหมือนแมวและพระเจ้าเป็นนายผู้ยิ่งใหญ่ และยังบอกถึงความสำคัญ ภายในวิหาร ที่คนตัวเล็ก ๆ อย่างเราต้องอ่อนน้อมถ่อมตน ในทำนองเดียวกัน ประตูเข้าสำนักงานที่มีขนาดมาตรฐาน ก็จะบอกถึงความ หมายบางประการ เช่นที่อาคารสำนักงานแห่งหนึ่งที่มีประตูเรียงรายกันหก ถึงสิบสอง ประตู เพื่อให้คนไหล เข้า-ออก ไปทำงานในช่องโต๊ะทำงานของแต่ละคน วันแล้ววันเล่า เป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของธุรกิจที่ไม่ให้ความสำคัญกับความ

_ of 165 80 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เป็นมนุษย์และในอาคารประเภทนี้เราก็รับรู้ถึงอาการเย็นชาของงานสถาปัตยกรรม และ ไม่พูดหรือสื่อถึงสิ่งใดมากแต่ถ้าพูดก็จะลดทอนความรู้สึกนึกคิดของคน

ประตูชัย ประตูหน้าวิหาร สถาปนิกจะใช้ประตูในการนำสายตาของผู้คน เนื่องจากประตูจะแนะให้เกิด การเคลื่อนที่ ประตูจะพูดว่า “ผ่านเข้ามาทางนี้นะ” ถึงแม้ว่าเราจะไม่ต้องการผ่าน เข้าไป เราก็สามารถรับรู้ถึงความหมายของช่องที่เปิดอยู่ เป็นความหมายเฉพาะ เช่น เดียวกับการเข้าหรือออกจากท้องแม่ “ประตู” เป็นทิศทางที่บ่งบอกของการเข้าหรือ ออกจากห้องใดห้องหนึ่งหรือเป็นการสื่อความหมายของการเปลี่ยนแปลงสภาวะจาก ข้างนอกมาข้างใน ทางกลับกันจากข้างในออกไปข้างนอก หรือในทำนองเดียวกันของ ความรู้สึกที่ถูกปิดกั้นเมื่อไม่เห็นประตูถ้าจำความได้เราอาจจะเคยฝันร้ายในตอนที่ไม่ สามารถหาทางออกได้จากความฝัน ในเรื่องของภาษา เราก็จะใช้คำว่า ประตูในหลายกรณีและหลากหลายความ หมาย เช่น “Never darken my door” “The wolf is at the door” หรือ “My door is always open” “Here's your hat, there's the door” หรือในพิธีแต่งงาน ที่เจ้าสาวถูกอุ้มผ่านเข้าประตูวิวาห์ หรือในนิยายเก่าแก่ที่พระเอกมาถึงภูเขาและเปล่ง วาจาว่า Open Sesame! ประตูของถ้ำจึงเปิดออกเป็นต้น มีความหมายนับพันที่เกี่ยว _ of 165 81 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

กับประตูและทางเข้าออก ขึ้นอยู่กับยุคสมัย คนที่อยู่ร่วมยุคเดียวกัน ก็จะได้รับฟังเรื่อง ราวเดียวกัน ดูหนังเรื่องเดียวกัน และมีความเข้าใจในเรื่องราวเช่นเดียวกัน แต่เด็กวัยรุ่น ก็จะมีความเข้าใจที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากพื้นฐานของยุคสมัยที่แตกต่างกัน และ ความเข้าใจในต่างยุคสมัย (generation gap) ก็มีในงานสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกัน 2 “หน้าต่าง” ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้เป็นคำศัพท์ทางสถาปัตยกรรม สิ่งที่กล่าวถึง ในเรื่องของประตูจะเป็นเช่นเดียวกันกับหน้าต่าง ทั้งสองสิ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทางสถาปัตยกรรมและมีผลอย่างมากในการออกแบบเพราะเป็นสิ่งที่สื่อถึงกิจกรรมการ ใช้งานของมนุษย์ เมื่อเรามองประตูจะทำให้รู้สึกถึงทางผ่านเข้าออกแต่เมื่อมองหน้าต่าง เราจะไม่คิดถึงทางเข้าออก (ยกเว้นเราจะเป็นโขมย) แต่จะสื่อถึงสิ่งที่ต้องการเห็น เป็นการมองที่ไม่ใช้การเดิน ใช้สายตามากกว่าเท้าและเป็นสิ่งที่สะท้อนในภาษาพูดเช่น “The eyes are the windows of the soul” หรือ “Her eyes met mine” ที่ดูจะ กระอักกระอ่วนพอควร หรือประโยคอื่น ๆ เช่น “The windows looked out over a broad valley” “My bedroom windows faced a courtyard” หน้าต่างห้อง นอนฉันหันหน้าไปทางสวน ในคำว่าหน้า (face) นั้นจะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ หน้าต่าง ได้ทำหน้าที่เสมือนดวงตา และคำว่าหน้า (face) ก็จะใช้ในลักษณอาคารว่า ฟาสาท (Facade) ที่ใช้เป็นความหมายของคำในงานสถาปัตยกรรม

Facade _ of 165 82 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เป็นสิ่งที่สมมติขึ้นที่ใช้ Face หรือ Facade แทนด้านหน้าหรือคำตรงข้ามที่ เป็นด้านหลัง หรือด้านข้างต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่สมมติขึ้น ทั้งนี้อาคารที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติจะไม่มีด้านหน้า-ด้านหลัง ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการสมมติของสถาปนิก สุนัข จะหามุมที่เข้าใช้งานก็จะไม่มีด้านและเป็นมุมมองของสุนัขที่เราไม่อาจเข้าใจได้ แต่ใน การออกแบบสำหรับการใช้งานของคน เราสามารถจิตนาการได้ในสิ่งที่เป็นสภาพ แวดล้อมเดียวกัน ของความเป็นมนุษย์ ในการที่จะจัดวาง ประตู หน้าต่าง บนด้านหน้า (facade) ที่จะทำให้ผู้คนรับรู้ถึงการเชื่อเชิญ หรือการขับไล่ที่เกิดขึ้น ทำให้คนรับรู้ความ สำคัญของการใช้งานอาคาร

หน้าต่างบานใหญ่ ในการใช้หน้าต่างที่ใหญ่โตก็มีความสำคัญในการสื่อความหมายไม่แพ้กันกับ การใช้ประตูที่ใหญ่โตเป็นการสื่อถึงความยิ่งใหญ่ของเจ้าของ ที่มีห้องที่มีขนาดใหญ่โตที่ มีวิวงดงาม (grand view) ผู้อาศัยต้องเป็นบุคคลที่มีความมั่นใจ ต่างจากลักษณะของ เจ้าของห้องที่มีหน้าต่างเล็ก ๆ และมีช่องสำหรับแอบมอง เพื่อที่จะยกตัวอย่างให้ชัดเจน ขึ้นเราอาจจะคิดถึงประธานาธิบดีเจ้าผู้ครองเมือง นายพล หรือนักร้องเพลงร๊อค ที่ยื่น

_ of 165 83 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

อยู่บนระเบียงที่มีกรอบหน้าต่างขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง มีประชาชนหรือผู้มาชม เชียร์ และร้องตะโกนอยู่ด้านล่าง สถาปนิกผู้ออกแบบก็จะต้องใส่ใจในการออกแบบ ผู้ว่าจ้างก็ จะเข้าใจในความต้องการหน้าต่างขนาดใหญ่แบบนี้ และหน้าต่างที่มีขนาดเท่า ๆ กันที่เรียงรายอยู่เป็นแนวกว้างสี่สิบเมตรและสูง ขึ้นไป 110 ชั้น คล้ายกับทางเข้าออกของอาคารสำนักงานไม่มีมุมมองหรือใครที่เด่นกว่า กันเป็นการลดทอนความเป็นมนุษย์กับงานสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น สื่อความไม่ใส่ใจใน ความเป็นมนุษย์ ในบางกรณีการใช้ขนาดหน้าต่างที่เล็กก็จะสื่อความสำคัญได้ไม่แพ้ขนาดใหญ่ เช่น การโชว์งานเครื่องเพชรพลอยที่ใช้ช่องเล็ก ๆ เพื่อแสดงถึงคุณค่าและความหมาย เฉพาะตัว ในหน้าต่างรูปเพชรขนาดเล็กที่ใช้ในโรงเตี้ยมที่สื่อถึงความอบอุ่นและ ปลอดภัยแทนที่จะใช้หน้าต่างขนาดใหญ่ที่จะลดความเป็นส่วนตัวลง ในการสื่อความหมายทางสถาปัตยกรรม องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น เสา หลังคา บันได ราวระเบียง ฯลฯ เป็นการยากที่จะอธิบายความหมายของทุกคำ ดูจะเป็นการซ้ำ ซ้อนแต่อย่างไรก็ตามสถาปนิกผู้ที่มีความช่ำชองก็จะสามารถใช้คำที่มีอยู่มาประกอบ ความหมายได้ด้วยองค์ประกอบโดยรวมของสิ่งที่ต้องการสื่อ ถ้าสิ่งที่สถาปนิกต้องการ พูดผ่านงานสถาปัตยกรรมนั้นมีค่าและมีความหมาย ภาษาทางสถาปัตยกรรมก็จะมีให้ ใช้อย่างเพียงพอ

_ of 165 84 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Nine : The Education of the Architect การศึกษาของสถาปนิก Education has been described as the process of learning to defend oneself against unnecessary information. Since there is no such thing in architecture is unnecessary information, all architects automatically consider themselves as educated to the highest degree. This is a comforting delusion, but has been known to lead to impressive fiascos. สถาปนิกคนแรกดูเหมือนจะได้รับการศึกษาจากช่างก่อสร้างตำแหน่งสูงที่ เรียก master builder เป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษ สามารถสร้างสรรค์แบบแปลน และออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่ดูน่ารื่นรมย์ แถมสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างงาม จากการทำงานที่สามารถนั่งอยู่ที่บ้าน วาดรูปที่สวยงามพร้อมกับจิบไวน์หรือเดินเล่นไป มาในสถานที่ก่อสร้างเพื่อสั่งงานต่าง ๆ ทั้งที่จริงแล้วเป็นผลงานที่เกิดจากคนงาน ก่อสร้างทำด้วยหยาดเหงื่อแรงงานตากแดดทั้งวัน เมื่อเขาอายุมากขึ้นและอ้วนขึ้น สถาปนิกเหล่านี้ก็จะหาผู้มาช่วยทำงานและฝึกฝนพวกเขาให้ทำในส่วนของงานที่น่าเบื่อ และลำบาก (เช่นการเขียนแบบก่อสร้าง การทำสัญญา หรือการทำราคา) จึงเกิดระบบ ของการเรียนจากการทำงานจริง (apprenticeship) เป็นรูปแบบของกระบวนการที่มี มาอย่างยาวนานของการฝึกสถาปนิก จวบจนปัจจุบันก็ยังมีลักษณของรูปแบบนี้อย่าง ชัดเจน นักศึกษาที่จบใหม่จากมหาวิทยาลัยในหลักสูตรสถาปัตยกรรม จะยังไม่ได้รับ ใบประกอบวิชาชีพ Architect - License ในทันทีหรือจะสามารถเรียกตัวเองว่า “สถาปนิก” จนกว่าจะได้ไปทำงานกับสถาปนิกวิชาชีพหรือวิศวกรวิชาชีพอย่างน้อย สามปี(ในระบบของอเมริกัน)และยังต้องสอบผ่านเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอีก ด้วยจึงจะเรียกตัวเองได้ว่าเป็น“สถาปนิก” เป็นสิ่งที่จะทำให้เชื่อมั่นว่า ความรู้ความ สามารถที่เขาได้เรียนรู้จากในโรงเรียนนั้นจะมาผนวกรวมกับประสบการณ์จากการ

_ of 165 85 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ทำงานจริง เพื่อให้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพ สถาปัตยกรรม จะว่าไปแล้วก็มี วิธีการประกอบวิชาชีพคล้ายกับแพทย์ ที่จำเป็นต้องมีการฝึกงานจริง (internship) แต่ แพทย์จะได้ใบประกอบวิชาชีพทันทีที่เรียนจบ ผู้เป็นพ่อแม่ก็จะดีใจแต่เราก็ไม่มั่นใจว่า คนไข้คนแรกของเขาจะดีใจด้วยหรือไม่ ความสำเร็จของระบบนี้จะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสำนักงานที่ นักศึกษาเข้าไปทำงานด้วย ขึ้นอยู่กับเจ้านายว่าจะใส่ใจและให้เวลาในการอบรมสั่งสอน มันมีความเสี่ยงเกิดขึ้นในระบบนี้คือ สถาปนิกที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่จะถือว่าตนเองเป็น บุคคลพิเศษและพวกลูกศิษย์เป็นผู้เดินตาม ให้เรียนรู้และทำเช่นเดียวกับตนเอง สิ่งที่ เกิดขึ้นคือเราจะได้กลุ่มคนที่คิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษเช่นเดียวกับเขา (ตัวอย่างเช่น แฟร้งค์ ลอยด์ ไรท์ หรือ มีส วาน เดอร์ โรห์) มีความเสียงอีกปลายหนึ่ง คือการที่ สถาปนิกฝึกหัดเข้าทำงานกับบริษัทสถาปนิกใหญ่ ๆ สร้างและออกแบบเฉพาะทางเช่น ออกแบบสำนักงานต่าง ๆ เขาก็จะหมดความคิดสร้างสรรค์ ในการทำงานที่หลากหลาย แต่อาจจะได้ทักษะของการทำงานเป็นทีม การฝึกงานในระบบที่ดีที่สุดนั้นคือการได้ ทำงานในสำนักงานสถาปนิกขนาดเล็ก ได้รับประสบการณ์ในการทำงานกับงานหลาก หลายรูปแบบและสามารถสร้างความเชื่อมั่นในตนเองได้ดี กับเจ้านายใจดีที่ไม่ครอบงำ ความคิด แต่สำนักงานขนาดนี้ก็ไม่สามารถหาได้ง่ายนัก ในช่วงยุคปีแปดสิบถึงเก้าสิบระบบของการเรียนรู้แบบนี้ ที่สุภาพบุรุษ สถาปนิก (gentleman architect) เป็นประเพณีมาตรฐานที่ดำเนินการมาหลายช่วง อายุคน สำหรับของลูกชายของคนชั้นสูงโดยเฉพาะในอังกฤษที่เขาจะเดินทางท่องเที่ยว ไปในทวีปต่าง ๆ ใช้เวลาเป็นปีกว่าที่จะกลับมาตั้งตัวในวิชาชีพที่เขาเลือก อาจจะเป็นใน กองทัพบก กองทัพเรือหรือในระบบราชการ หรือถ้าเข้าอยู่ในสังคมชั้นที่สูงพออาจจะไม่ ต้องทำการทำงานเลยก็ได้ เป็นเจ้าของที่ดินมหาศาลแล้วแต่โชคชะตาจะนำพาเขาไป ไม่น่าแปลกใจที่หนุ่ม ๆ เหล่านี้จะมีความสามารถและพรสวรรค์ หลายคน กลายมาเป็นศิลปินและกวี กลับมาบ้านพร้อมกับภาพเสก็ตของหมู่บ้านในอิตาลี วิหาร กรีก และปราสาทของเรเนอซอง เมื่อมาโชว์ให้หมู่ญาติของพวกเขาก็จะได้รับคำชมและ เป็นที่ประทับใจของสาว ๆ

_ of 165 86 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เป็นผลจากภาพต่าง ๆ เมื่อญาติหรือเพื่อน ๆ ของพวกเขาต้องการที่จะปลูก เรือนหอสำหรับการแต่งงานก็จะนึกถึงภาพเสก็ตเหล่านี้จึงมาขอให้ศิลปินหนุ่มมาช่วยใน การออกแบบบ้านเวเนเชียน Venetian สิ่งที่จะแตกต่างก็คือแทนที่จะมีคลองโดยรอบ ในรูปแบบของเวเนเชียน ก็จะแทนที่ด้วยถนนและคอกม้า รวมถึงสนามโครเคต (Croquet Field) แทน การออกแบบดูจะมีผลตอบแทนที่น่าสนใจ เขาจึงแปลงฐานะ จากศิลปินมาเป็นสถาปนิก (ในสมัยนั้นยังไม่มีคำเรียก “สถาปนิก”) ออกแบบโดยไม่มี พื้นฐานทางช่างก่อสร้างมากนักเหตุเพราะในสมัยนั้นมีช่างฝีมือ (Craftsman) อยู่มากมายที่คอยช่วยสร้างงานให้ออกมาได้เหมือนกับแบบที่วาดไว้ คุณสมบัติของ gentleman architect นี้ได้ถูกส่งต่อมาในพันธุกรรมของ ความเป็นสถาปนิกจวบจนถึงปัจจุบัน ดูได้จากเรื่องราวในนวนิยายโรแมนติกที่ปรากฏ อยู่ในนิตยสารสำหรับผู้หญิงที่ในหลาย ๆ เรื่องพระเอกจะมีอาชีพเป็นสถาปนิก เนื่องจากผู้เขียนจะสามารถสื่อให้เห็นว่าตัวละครนี้จะอยู่ในชนชั้นสูง เป็นคนที่มีศิลปะใน หัวใจ มีความอ่อนไหว หล่อเหลาและมีรอยยิ้มที่มุมปาก เป็นคนที่มีเหตุผล รวมถึงมี ระดับทางสังคมเนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นเศรษฐี แต่ก็เป็นเรื่องที่ไร้สาระของความหมาย gentleman architect เพราะในยุค ปัจจุบัน (twentieth century) สถาปนิกเป็นอาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบสูง เป็น อาชีพที่ต้องการ การฝึกฝนหลายปี มีการเรียนรู้ที่หนักมากและเรียนรู้ต่อเนื่อง มีหลาย ครั้งที่นักเรียนสถาปัตยกรรมขอย้ายหลักสูตรเพื่อที่จะไปเรียนในสาขาวิชาอื่นที่ง่ายกว่า ในการเรียนการสอนก็เช่นกัน ช่วงหลังจากศตวรรษที่สิบเก้าจนถึงต้นศตวรรษ ที่ยี่สิบมันชัดเจนว่าสถาปนิกต้องมีความรู้หลากหลายมากกว่าเรื่องของความงามและ สัดส่วน หรือส่วนประดับประดาของนีโอคลาสสิคที่ได้เรียนมาตั้งแต่สมัยติดตามอาจารย์ ช่วงเวลาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง ยุคของคริสโตเฟอร์ เรน (Christopher Wren) หรือ ริชาตสัน สแตนฟอร์ดไวท์ (Richardson and StanFort White) ได้สิ้นสุดลง สถาปนิกต้องเรียนรู้และฉลาดเฉลียวเกี่ยวกับโครงสร้าง เหล็กและคอนกรีต ระบบประกอบอาคารต่าง ๆ รวมถึงการประมาณราคาก่อสร้างและ ความคุ้มทุน ความเป็น สถาปนิกสุภาพบุรุษ (gentle men architect) ได้สิ้นสุดลง ใน ยุคที่ลูกค้ามีความต้องการที่ไม่สิ้นสุดและมีงบประมาณที่ไม่จำกัด โรงเรียนที่สอน _ of 165 87 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

สถาปัตยกรรมเวลานั้นมีไม่มากนัก ต้นแบบของการเรียนแบบ “โบซา Beaux Arts tradition” ที่สอนให้วาดแบบที่สวยงามรวมถึงการลงสีอาคารที่งดงามยังจำเป็นต้อง ปรับตัวเพื่อสอนให้นักศึกษารู้จักวิธีการก่อสร้าง การเดินท่อประปา การทำระบบความ ร้อนและความเย็นตลอดจนการเขียนสัญญาก่อสร้างและรายการประกอบแบบ ในช่วงสุดท้ายของศตวรรษที่ยี่สิบ แน่นอนว่าโรงเรียนที่สอนสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยการเรียนการสอน 4 ปี (ในประเทศไทยส่วนใหญ่หลักสูตร สถาปัตยกรรมจะมีการเรียนการสอนในระบบรวม 5 ปี) ในระดับมหาวิทยาลัยมีการ เรียนประวัติศาสตร์และทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมรวมถึง เทคนิคในการก่อสร้างต่าง ๆ และวิชาออกแบบเป็นหลัก (Studio Project) เพื่อที่จะเตรียมตัวเพื่อให้ได้รับปริญญา สำหรับการประกอบวิชาชีพ (Professional Degree) หลังจากจบการเรียนการสอนใน มหาวิทยาลัย ยังจะต้องฝึกฝนกับสถาปนิกหรือวิศวกรที่มีใบประกอบวิชาชีพอีกอย่าง น้อยอีก 3 ปี เพื่อที่จะมีสิทธิ์สอบในการขอรับใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม การ สอบที่มีหลายวิชา ดังนั้นผู้สอบอาจจะไม่ผ่านทั้งหมดในคราวเดียวก็สามารถกลับมาทำ สอบใหม่ในส่วนที่ไม่ผ่านได้อีกหลายครั้ง สถาปนิกผู้มีชื่อเสียงบางคนยังต้องผ่านการ สอบหลายรอบ บางคนอาจจะไม่มีเวลาด้วยเหตุผลใดใดก็ตามในการเรียนเช่น การ แต่งงาน หรือมีภาระทางการเงิน ไม่สามารถที่จะเรียนเต็มเวลาได้ก็จะลงเรียนในช่วง บ่ายหรือเย็น 2 - 3 วิชาพร้อมกับทำงานเป็นช่างเขียนแบบในช่วงกลางวันอาจจะใช้เวลา มากถึง 12 ปีในการที่จะเป็นสถาปนิกจนถึงการสอบเพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพ (สำหรับในประเทศไทย มีโรงเรียนที่สอนสถาปัตยกรรมอยู่กว่า 30 แห่งที่เป็น หลักสูตร สถ.บ. 5 ปี รวมถึงแนวทางอื่น ๆ หลังจากเรียนจบแล้วถ้าจะประกอบวิชาชีพ จะต้องผ่านการสอบกับสภาสถาปนิก สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสมาคม สถาปนิกสยาม หรือ สภาสถาปนิก) โรงเรียนสถาปัตยกรรมเองก็ตามมีความแตกต่างในวิธีการเรียนการสอนซึ่ง อาจจะจำแนกได้อยู่ 3 รูปแบบหลัก แบบแรกคือ รูปแบบทั่วไปที่โรงเรียนส่วนใหญ่ใช้กัน มีการสอนที่เน้นวิชา ออกแบบเป็นหลักและมีวิชาเสริมด้านเทคนิคและทฤษฎี แต่วิชาเสริมเหล่านั้นกลับ _ of 165 88 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

กลายเป็นวิชาที่ไม่มีความสำคัญนักศึกษาจึงไม่ได้ใส่ใจ นักศึกษาจะสนใจแต่ในวิชา ออกแบบสถาปัตยกรรมและทางโรงเรียนก็ค้นหาครูที่ดีที่สุดมาให้ความรู้ มุ่งเน้นไปใน งานออกแบบสถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียว งานส่วนใหญ่ที่ออกมาแม้จะดูสวยงามบน กระดาษแต่จะเป็นการยากที่จะสามารถสร้างได้จริง แต่นั้นก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปรกติ สำหรับวิชาออกแบบในโรงเรียนสถาปัตยกรรม แบบที่สอง คือรูปแบบบาวเฮาส์ (Bauhaus) เป็นรูปแบบที่ไม่มีโรงเรียนสอน ในลักษณะนี้มากนัก แนวทางของ Bauhaus โรงเรียนจากเยอรมันที่ในช่วงศตวรรษแรก ที่ได้มีการปฏิวัติรูปแบบการเรียนการสอนการฝึกฝนสถาปนิกให้ได้แนวคิดใหม่ ๆ ของ การใช้งานและการสื่อความหมายที่แท้จริงทางโครงสร้าง การเรียนในรูปแบบนี้นักศึกษา จะไม่ได้ออกแบบจนกระทั่งเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุที่เขาจะนำมาก่อสร้างก่อน นักศึกษาจะเรียนการผสมคอนกรีต การก่อผนังอิฐ การแกะสลักก้อนหิน จนช่ำชองก่อน ที่จะนำวัสดุเหล่านี้มาออกแบบงานสถาปัตยกรรม วิธีการเรียนแบบนี้ดูจะเหมือนเป็นรูป แบบทางศาสนาที่อาจารย์เป็นศาสดาน้อย ๆ หรือเป็นพระเจ้าของพวกเขา สิ่งที่ปรากฏ ในยุคแรกของโบซา (Beaux Art) ที่นักเรียนมาโรงเรียนเพื่อฟังเล็กเชอร์ แต่ไม่ได้ทำการ ออกแบบที่โรงเรียน งานออกแบบจริงๆจะไปทำกับอาจารย์ (master & atelier) ของ พวกเขาและแต่ละคนก็ดูจะแข่งขันกันพอสมควร รูปแบบสุดท้ายเป็นลักษณะของชุมชน ยังไม่ค่อยมีโรงเรียนสถาปัตยกรรม สอนในรูปแบบนี้นักเป็นรูปแบบที่ถือว่าสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโต และวัฒนธรรมของมนุษย์ เติบโตพร้อมกับเศรษฐกิจสภาพแวดล้อมและผังเมือง การ ออกแบบอาคารควรจะมีความสอดคล้องกับสังคมในภาพรวมเพราะเป็นการสอด ประสานพื้นที่ใช้งานให้เหมาะสม โรงเรียนรูปแบบนี้จะเน้นหนักในการออกแบบชุมชน รวมถึงการเก็บข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการออกแบบ เช่น เชื้อชาติ รายได้ การทำงาน การ เดินทางและอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการออกแบบ ข้อเสียก็คือนักเรียนจะสามารถ นำสถิติต่างๆมาประกอบกันและนำเสนอได้อย่างดีแต่การแปลงข้อมูลไปเป็นแบบ สถาปัตยกรรมจะไม่สามารถทำได้ดีนัก บางโรงเรียนก็พยายามที่จะดึงทั้ง 3 รูปแบบเข้ามาอยู่ด้วยกันเพื่อให้การเรียน การสอนมีความสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามเป็นการเร็วที่จะบอกว่ารูปแบบใดเหมาะสม _ of 165 89 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

กับการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองที่จะเลือกและเขาอาจ จะโชคดีพอที่จะได้รับประสพประการณ์ในการออกแบบจากที่ทำงานและเรียนรู้สิ่งที่เขา ไม่ได้เรียนรู้มาจากโรงเรียน ยังมีโรงเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในระบบการศึกษาที่ผสมผสาน ระหว่างสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (Architectural Engineering) ในสหรัฐอเมริกา ก็ยังเป็นที่ถกเถียงว่ามีความเหมาะสมเพียงใดแต่ในญี่ปุ่นโรงเรียนสถาปัตยกรรมส่วน ใหญ่จะอยู่ภายใต้คณะวิศวกรรม

_ of 165 90 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Ten: The Architect Temperament อารมณ์ของสถาปนิก To be an architect is, in a way, to be like a priest; the rewards, if any, are likely to be largely spiritual. สถาปนิกต้องจำมีคุณภาพหลายอย่างในตัวเอง เมื่อดูที่แรกแรกอาจจะ เป็นการขัดกันแต่เมื่อมองดูที่จริงแล้วก็น่าจะขัดกันจริงๆ ประเด็นแรกคือสถาปนิกต้อง เป็นคนที่ สงสัยในการทำงานของสรรพสิ่ง และทำอย่างไรจะให้สิ่งนั้นทำงานได้ตาม อย่างที่คิด ไม่ใช้ในรูปแบบของเครื่องจักรกล ที่สร้างและซ่อมด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่เป็น เรื่องของการประกอบกันของพื้นที่และเวลา เพื่อให้เกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง และพร้อมกันนั้น เขายังต้องมีความสามารถเหนือผู้คนอื่น ๆ ในการรับรู้ถึงความงาม และความสามารถในการวาดภาพ ระบายสี หรือจัดองค์ประกอบทางศิลป มิเช่นนั้นเขา จะถูกแนะนำให้ไปเรียนเป็นเภสัชกรและยกการออกแบบหน้าต่างของร้านขายยาเขาให้ คนอื่นทำ สถาปนิกยังจำเป็นต้องเข้าใจในสิ่งที่สร้างได้และสร้างไม่ได้ในมุมของการ ลงทุนและความสามารถทางโครงสร้าง ซึ่งเป็นประเด็นที่มักจะถูกละเลยจากอารมณ์ ศิลปินในตัวเอง มากไปกว่านั้น เขายังต้องมีความเข้าใจในมนุษย์ เพราะสิ่งที่เขา สร้างสรรค์นั้นคือสภาพแวดล้อมสำหรับเพื่อนมนุษย์ เพื่อการพำนักพักอาศัย มีความรัก เบ่งบาน หดหู่ จวบจนสิ้นชีวิต เขายังต้องมีความรู้เกี่ยวกับสังคม และมีความกล้าที่เพียง พอในการสร้างสภาพแว้ดล้อม ทดลองสร้างสรรค์ออกแบบสิ่งใหม่ๆที่อาจจะทำให้จบ อาชีพสถาปนิกของเขาได้ เขาต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เขาทำ “ช่างเป็นคนที่เพรียบพร้อม” “Quite a man” เรากำลังพูดถึงสถาปนิกในอุดมคติ ที่แต่ละคนมีความเชื่อและมุมมองส่วนตัว ที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนคนทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว สถาปนิก ก็เป็นคน ธรรมดา ๆ ที่มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ใช่ว่าสถาปนิกทุกๆคนจะเหมือนกันหมด พวก

_ of 165 91 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เขามีความเหมือนกันในบ้างเรื่อง แต่ใช่ว่าทุกคนจะเก่งในทางศิลป การทำงาน หรือการ เข้ากับผู้คนได้ดี อาจกล่าวได้ว่าสถาปนิกในศตวรรษที่ยี่สิบนี้แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ อยู่สี่กลุ่มดังต่อไปนี้ 1) ศิลปินสถาปนิก ท่านเหล่านี้จะเป็นผู้ใส่ใจในศิลปะในการสร้างสิ่งที่สวยงาม หรือต้องการแสดงถึงความสวยงามที่มาจากจิตใจของเขา และรูปแบบงานจะอิงรูปแบบ สถาปัตยกรรมที่มีรากเหง้า สิ่งอื่น ๆ ดูจะไม่มีความสำคัญ เขาได้ชื่อว่าเป็นสถาปนิก ต้นแบบ “มาสเตอร์” เป็นผู้นำที่มีรสนิยมและประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในสิ่งที่เขา ทำ งานที่เขาสร้างสรรค์ส่วนใหญจะงดงามตามการเวลาและเป็นที่ต้องการเก็บรักษาใน วัฒนธรรมที่เปราะบางเช่นในปัจจุบัน ความมีรสนิยมและความละเอียดละออในงานของ เขานั้นมาทดแทนสิ่งที่เขาขาดนั้นคือ ความมีเหตุผลและความเห็นอกเห็นใจ สถาปนิกใน กลุ่มนี้ได้สืบทอดมาจาก gentleman architect ในยุคก่อน 2 ) สถาปนิกนักธุรกิจ เป็นผู้ที่ดูเรียบร้อย ดูดีน่านับถือในหมู่คนในสังคมเขา อาจจะไม่ได้เป็นผู้ที่ฉลาดที่สุดในชั้นเรียนหรือมีความพรสวรรค์สูงส่ง แต่เขาจะเป็นคน ตรงไปตรงมาและรับผิดชอบต่องานของเขา ที่สำคัญคือเขามีความสามารถพิเศษที่ สามารถนำเอาผู้คนที่หลากหลายมาทำงานร่วมกันได้ นำคนเก่งในด้านต่าง ๆ ที่สามารถ รับผิดชอบงานที่ทำโดยไม่ต้องคอยจี้ เช่นงานด้านการทำรายละเอียดของแบบก่อสร้าง งานด้านเอกสารสัญญา ฯลฯ โดยที่แต่ละคนจะเก่งกว่าเขาในเฉพาะด้านที่รับผิดชอบ แต่สิ่งที่สำคัญคือเขามีหน้าที่ประสานองค์กรนี้ เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จ เขารับผิด ชอบดูแลเรื่องค่าแบบ ค่าใช้จ่ายในสำนักงาน ที่สำนักงานในรูปแบบนี้จะสามารถรับงาน ขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนได้ดีเช่นการออกแบบอาคารสำนักงาน โรงพยาบาล โรงแรม งานเหล่านี้ใช้งบประมาณจำนวนมากและจำเป็นต้องใช้ผู้จัดการด้านงาน สถาปัตยกรรมเช่นเขาผู้นี้ ด้วยความที่เขาดูเหมือนนักธุรกิจมากกว่าสถาปนิก ด้วยที่ว่า เขาต้องติดต่อสัมพันธ์กันกับนักธุรกิจทั้งหลาย ไม่เพียงแต่รูปลักษณ์เท่านั้นความคิดของ เขาก็เป็นนักธุรกิจเช่นกัน สำนักงานของเขาก็ดูจะเข้ากับการทำธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ รุ่นล่าสุด สถาปนิกนักธุรกิจจะเป็นผู้หาเงินได้มากที่สุดในบรรดาสถาปนิกทั้งหลาย และ เป็นตัวอย่างที่ทำให้นักศึกษาสถาปัตยกรรมอยากเดินตาม “รายได้” _ of 165 92 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

3) สถาปนิกทั่วไป GP หรือ general practice เป็นคำศัพท์เดียวกันกับที่ใช้ ในทางการแพทย์หมายถึงผู้ที่ไม่ได้ทำงานเฉพาะทาง สามารถทำงานได้ทุก ๆ อย่างเมื่อ มีงานออกแบบเข้ามาเช่นเดียวกับหมอตามคลีนิคใกล้บ้าน (general doctor) ที่รักษา ได้ทุกอาการ แต่ในโลกยุคปัจจุบันในวงการแพทย์นั้นความเป็นหมอที่รักษาได้ทุกโรคเริ่ม ที่จะถูกแทนที่ด้วย หมอเฉพาะทาง (specialize) มากขึ้น และเป็นเช่นเดียวกันกับ วงการสถาปัตยกรรม สถาปนิกท้องถิ่นเช่นคนที่อยู่ที่ถนนเมเปิล Maple Streer หรือ ถนนสายหลัก Main Street ที่สามารถออกแบบให้คุณได้ทุกอย่างตั้งแต่บ้านพักตาก อากาศจนถึงสุสานของตระกูลก็เป็นผู้ที่หาตัวได้ยากในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่ที่จะเจอ สถาปนิกที่ทำทุกอย่างก็จะเป็นเด็กที่จบใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มการทำงาน เขาจะรับทุกงานที่ ผ่านมาโดยไม่มีข้อต่อรองหรือจะเจอสถาปนิกรุ่นใหญ่ที่ไม่มีพรสวรรค์และหมดไฟในการ ออกแบบคนที่พยายามเลี่ยงงานใหญ่ที่มีการแข่งขันสูง เป็นเรื่องเศร้าที่เกิดขึ้นในชีวิต จริง ในบางทีที่หมดไฟเขาก็ขุดแบบเก่า ๆ มาใช้ในโครงการปรับปรุงหน้าร้านขายของชำ โครงการต่อเติมโรงงานเสื้อผ้าหรืองานอื่น ๆ ที่ขาดแรงบันดาลใจ เราจะผ่านเรื่องนี้ไป ก่อนด้วยความเมตตา (mercy)ต่อเขาผู้นั้นและตัวเราด้วยเช่นกัน ยังมีมุมที่สามารถสร้าง แรงบันดาลใจได้ด้วยสถาปนิกที่ออกแบบแต่ละโครงการด้วยความสุขและความ ทะเยอทะยาน เขากลัวว่าความคิดสร้างสรรค์ของเขาจะถูกกลบไปถ้าเขาเป็นสถาปนิก เฉพาะทาง รวมถึงองค์กรที่มีขนาดใหญ่ก็จะไม่เหมาะกับตัวเขา เมื่อมีลูกค้าที่ค้นเจอ สถาปนิกประเภทหลังนี้จะนับว่าโชคดีอย่างยิ่ง เขาอาจจะไม่ได้มีชื่อเสียงมากแต่รับรอง ว่าอาคารที่เขาออกแบบนั้นเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามเม็ดหนึ่ง 4) สถาปนิกกบฎ (The Rebel) ไม่มีใครรู้ว่ามันเร่ิมมาได้อย่างไรหรือเมื่อใดที่ สถาปนิกถึงได้มีความล้นทางความคิด โดยไม่สามารถจะจัดอยู่ในสามกลุ่มแรกได้ เขา อาจจะถูกเรียกว่าผู้มีจินตนาการโดยที่แนวคิดของเขามากจากจินตนาการมากกว่า เหตุผลทางสถาปัตยกรรมใดใดและเขาก็ไม่สามารถขัดขืนต่อจินตนาการที่เกิดขึ้นได้ คล้าย ๆ กับสารที่ส่งมาจากเบื้องบน เป็นคำสั่งจากที่ใดที่หนึ่งให้มาสร้างสรรค์งานนี้โดย ปราศจากความสงสัยเช่นเดียวกับการค้นหาตัวตน การที่ไม่สามารถนอนหลับได้ในตอน กลางคืน ความทุกข์ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับนักประพันธ์บทกวี ผู้เผยพระวจนะ หรือ นักบุญ

_ of 165 93 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ถ้าเขาประสบความสำเร็จนั้นหมายถึงจินตนาการของเขาเป็นที่ยอมรับจากผู้ วิจารณ์งานสถาปัตยกรรม ก็จะได้รับการสรรเสริญจากผู้คนว่าเป็นผู้ที่มีความฉลาดล้ำ ลึกและเป็นผู้นำในการออกแบบสถาปัตยกรรมของยุคสมัย ในช่วงเวลามีสถาปนิกเช่นนี้ อยู่ เช่น แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright) บัคมินเสตอร์ ฟูลเลอร์ (Buckminster Fuller) มีส แวนเดอโรห์ (Mies Vander Rohe) และ เลอ คอบูซิเออ (Le Corbusier) ก็จัดอยู่ในประเภทสถาปนิกกบฎ แต่อีกหลายคนก็ไม่สามารถข้ามเส้น ออกมาได้ และถูกตราหน้าว่าเป็นพวกแปลกแยกจากสังคม เป็นพวกคนบ้าบอ ไร้สติ หรือไม่ก็เป็นพวกติดยา (ในปัจจุบัน มีสถาปนิกที่พยายามค้นหาตัวตนและมีจินตนาการจำนวนมาก สามารถดูได้จาก star architect ทั้งหลาย สามารถดูได้จาก website ต่าง ๆ ซึ่งจะ แตกต่างจากยุคก่อนที่มีจำนวนสถาปนิกไม่มากนักดังชื่อที่ปรากฏอยู่ข้างต้น และชื่อ เหล่านั้นก็ได้กลายมาอยู่ในหนังสือประวัตศาสตร์สถาปัตยกรรมเรียบร้อยแล้ว)

_ of 165 94 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Eleven: Ethics and Moral Choices จริยธรรมและศีลธรรม (จรรยาบรรณของสถาปนิก) When a man wishes to impose a code of behaviour which cannot be supported by law nor justified by morality he dignifies it by calling it “ethics”. 1 สำหรับอาชีพสถาปนิกที่จะสามารถทำงานให้ชุมชนของเขาได้อย่างถูกต้อง การทำหน้าที่ของสถาปนิกต่อลูกค้า ผู้รับเหมา หรือสถาปนิกด้วยกันเอง ทุกฝ่ายควรจะ มีความเข้าใจร่วมกันว่าแต่ละคนมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันและกันอย่างไร การที่ทุกฝ่ายมี ความเข้าใจร่วมกันจะทำให้การทำงานราบรื่นและเข้าใจถึงสิ่งใดที่ควรจะได้รับจาก สถาปนิกเพื่อทำให้ผลงานออกมาได้ดีที่สุด แน่นอนว่ามีเรื่องของกฎหมายที่ต้องเข้าใจร่วมกันการที่จะเรียกตัวเองว่า สถาปนิกหรือรับงานออกแบบโดยแสดงตนว่าเป็นสถาปนิกนั้น เขาจะต้องได้รับใบ อนุญาตประกอบวิชาชีพเสียก่อน (เหมือนกันในทุก ๆ แห่งในการประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรม) มิเช่นนั้นจะมีโทษตามกฎหมาย เขาจะต้องไม่ใช้งบประมาณของเจ้าของ ในทางที่ผิดหรือกระทำการที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้อาคารด้วยการให้สินบนผู้ตรวจ สอบอาคารหรือเลี่ยงกฎหมายก่อสร้างบางประการ ในเรื่องของกฎหมายต่าง ๆ ที่ สถาปนิกอาจจะมีปัญหาได้ถ้าเพียงแค่อ่านแล้วไม่ปฏิบัติตาม การปฎิบัติวิชาชีพของสถาปนิกนั้นจะไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ถ้าเราตั้งคำถาม ว่า อะไรเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่จะทำหรืออะไรเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น สถาปนิกไม่สามารถที่จะโฆษณาใด ๆ ได้ ถ้าในหนังสือพิมพ์ ฉบับวันอาทิตย์จะมีคำประกอบรูปภาพที่ว่า “สถาปนิก เจ วิลเบอร์ โจนส์ แนะนำ สำหรับการใช้งานตู้ซักผ้าที่ดีที่สุดต้องใช้ .....ยี่ห้อ...” และจะไม่แปลกใจเลยกับอาชีพ

_ of 165 95 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

อื่นเช่นหมอฟันที่มาแนะนำแปรงสีฟันยี่ห้อต่าง ๆ แต่สิ่งนี้ถือเป็นการผิดจรรยาบรรณ ของสถาปนิกแนวจริยธรรมปฎิบัตินี้น่าจะเป็นการสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ งาน สถาปัตยกรรมไม่ใช่งานการค้าหรือการธุรกิจและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถโฆษณาได้ ในความ เป็นจริงของการปฎิบัติวิชาชีพ มีหลายเหตุการณ์ที่เราเข้าใกล้ที่จะละเมิดกฎต่าง ๆ เช่น บริษัทที่ทำกระเบื้องหลังคาได้ลงภาพเพื่อโฆษณาสินค้าหลังคาตัวใหม่ล่าสุด ด้วยภาพ อาคารที่คุณออกแบบที่ใช้หลังคาชนิดนี้พร้อมกับใส่ชื่อสถาปนิกลงไปด้วย อันนี้จะนับว่า สถาปนิกโฆษณาตัวเองหรือไม่แต่เขาก็ได้รับการโฆษณา สำหรับผู้อ่านอาจจะไม่เห็น ความแตกต่างแต่ในสาระที่สื่อออกไปหมายถึงสถาปนิกได้มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น หรืออีกกรณี หนึ่งที่สถาปนิกออกแบบห้างสรรพสินค้าเล็ก ๆ ในเมืองของเขาและได้มีชื่อและรูปถ่าย ในหนังสือพิมพ์สิ่งนี้จะเรียกว่าโฆษณาหรือไม่หรือเป็นเพียงข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ เท่านั้น? มีอีกประเด็นหนึ่งที่สถาปนิกไม่ควรจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวนั่นคือเรื่องของผล ประโยชน์ทางการค้าของวัสดุก่อสร้างหรือโครงการก่อสร้างใดใดรวมถึงการลงทุน ใน บริษัทวัสดุก่อสร้างและอื่น ๆ เพราะอาจจะทำให้คิดได้ว่า สถาปนิกผู้นั้นมีความโอน เอียงในการแนะนำการใช้วัสดุต่อลูกค้าหรือสั่งให้ผู้รับเหมาให้ใช้จากบริษัทที่เขาเป็นหุ้น ส่วน เป็นการล็อคเสป็คหรือผลประโยชน์ต่างตอบแทน ดังนั้นสถาปนิกไม่ควรมีส่วนได้ เสียกับการเงินของการก่อสร้างอาคารใด ๆ ยกเว้นค่าจ้างออกแบบเท่านั้น (architect fee) แน่นอนว่าข้อห้ามนี้อาจจะไม่สามารถทำได้ในบางกรณี เช่นถ้าสถาปนิก แต่งงานกับลูกสาวของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (developer) หรือคุณป้าของสถาปนิก มอบหุ้นส่วนในโรงปูนซีเมนต์ให้เขาหรือเขาถือพันธบัตรของรัฐบาลที่มีหุ้นลงไปในการ ทำเหล็กถ้าต้องคอยมาคลายปมประเด็นเหล่านี้จนเสร็จเขาคงไม่มีเวลาในการนั่ง ออกแบบได้เลย ในความเป็นจริงสถาปนิกยังต้องมีอุดมการณ์หรือหลักการในการที่จะ ไม่หาประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองจากการออกแบบให้ลูกค้า อีกกรณีที่เกิดขึ้นและนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่งคือการแย่งงานจาก สถาปนิกคนอื่นเป็นการกระทำที่ต่ำช้าเช่นเดียวกันกับพวกนักล้วงกระเป๋า (pickpocket) ถ้าลูกค้าไม่พอใจกับสถาปนิกที่ทำงานอยู่ด้วย เขาควรจะจ่ายค่า _ of 165 96 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ออกแบบในส่วนที่เหมาะสำหรับงานที่ดำเนินการไปแล้วและยกเลิกสัญญาอย่างเป็น ทางการ ก่อนที่จะหาสถาปนิกคนอื่นมาดูแลงานออกแบบแทนรวมถึงสถาปนิกด้วย กันเองก็จะไม่ติเตียนงานของสถาปนิกท่านอื่น เช่นการบอกว่าถ้าเอางานมาให้ผมทำผม จะออกแบบได้ดีกว่านี้อีกร้อยเท่านั้นอาจเป็นการดูถูกสถาปนิกทั้งวงการ ในภาพรวม ของลูกค้าอาจจะมีความรู้สึกว่า ไม่มีใครออกแบบได้ดีสักคนเดียว ดังนั้นถ้ามีคนขอให้ คุณ (ที่เป็นสถาปนิก) มาติชมงานของสถาปนิกท่านอื่นที่ออกแบบแปลนบ้านหลังใหม่ก็ อาจจะเลี้ยงโดยการบอกว่าฉันลืมเอาแว่นมา หรือดูแบบแล้วก็ทำท่าทีรับทราบเท่านั้น สุดท้ายจะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายในการออกแบบเรื่องนี้เป็นจริยธรรมที่จำเป็น ต้องเข้าใจร่วมกัน คุณสามารถคิดค่าสถาปนิกสูงเท่าใดก็ได้ตราบที่เจ้าของมีความพึง พอใจกับงานที่คุณให้บริการแต่คุณไม่สามารถคิดค่าสถาปนิกต่ำกว่ามาตรฐานของ สมาคมสถาปนิกหรืออัตราของสภาสถาปนิกได้เพราะจะเป็นการลดระดับในภาพรวม และเป็นการตัดราคาสถาปนิกท่านอื่น ๆ ในการคิดค่าบริการวิชาชีพนั้นจะมีความแตก ต่างกันไปตามชนิดและความยากง่ายของงาน อัตราค่าบริการทางวิชาชีพสามารถ สามารถสืบค้นได้จากสภาสถาปนิก (ในสหรัฐจะอยูใน Handbook of Architectural Practice ของ AIA american institute of architects - ในประเทศไทยสามารถขอ ข้อมูลได้จาก สภาสถาปนิกหรือสมาคมสถาปนิกสยาม) ดังนั้นลูกค้าสามารถเลือกที่จะ ให้ใครออกแบบก็ได้ จากอัตราค่าบริการที่เป็นมาตรฐานเพื่อที่จะได้งานที่เป็นมาตรา ฐานเช่นกัน และเป็นที่มาของจริยธรรม (จรรยาบรรณ) ในการประกอบวิชาชีพ (architectural ethics) 2 อีกคำหนึ่งที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพคือเรื่องศีลธรรม (morals) เป็นคำที่ แตกต่างจากการประกอบธุรกิจด้านการออกแบบและบริการ แต่เป็นเรื่องของศีลธรรมที่ จะกระทำต่อคนอื่น ๆ ในรูปแบบใดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบวิชาชีพที่ต้องมี ศีลธรรมต่อสังคมโดยส่วนรวมแต่ยิ่งไปกว่านั้นคือการกระทำที่จะสามารถนับถือตนเอง ได้ (self-respect) ในที่นี้บางคนอาจจะไม่ใส่ใจในจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ แต่ ในการใช้ชีวิตสถาปนิกนั้นจำเป็นต้องมีในเรื่องของ ความซื่อสัตย์ (honesty) ความ ใส่ใจ (care) ความเชื่อ (faith) และความเป็นมนุษย์ (humanity )

_ of 165 97 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

สำหรับสถาปนิกแล้วคนทั่วไปจะมอบความไว้วางใจเช่นเดียวกับ หมอ หรือ นักบวชเลยทีเดียว เนื่องจากการกระทำหรือการตัดสินใจของอาชีพเหล่านี้มีผลกระทบ ต่อความเป็นอยู่ของผู้คนเป็นสิ่งที่กระทบต่อสังคมและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ สภาพ แวดล้อมที่ดีจะทำให้สังคมเติบโต เบ่งบาน หรือสภาพแวดล้อมที่ทำให้สังคมป่วยไข้ได้ เป็นความสำคัญยิ่งของสถาปนิกที่จำต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เราลองมาสมมุติสถานะการณ์บางอย่างดูว่าในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้ สถาปนิก ควรจะตัดสินใจอย่างไร? ในการรับหรือไม่รับงานออกแบบที่ผ่านเข้ามาในอาชีพ เขารับ งานออกแบบที่เขารู้ว่าจะเป็นการทำร้ายเพื่อนมนุษย์หรือทำลายสิ่งแวดล้อม หรือจะไม่ รับงานนี้แต่ก็จะกระทบรายได้ที่ต้องจุนเจือครอบครัว เขาจะเลือกที่จะทำตามสิ่งที่เกิด ขึ้นหรือยกให้สถาปนิกคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีความใส่ใจทำงานนี้ ไม่ว่าจะตัดสินใจในทิศทาง ใดคงต้องคิดถึงตัวตนที่เขาจะเห็นในกระจกในเช้าวันรุ่งขึ้น และสิ่งที่จะเรียกว่าศีลธรรมในทางสถาปัตยกรรมนั้น ในการมองทีแรกอาจจะ เป็นสิ่งที่จับต้องได้ยาก เป็นนามธรรมที่ยากที่จะเข้าใจแต่ถ้าได้ลองพิจารณาถึงการกระ ทำในกรณีต่าง ๆ ที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้ก็จะเข้าใจได้ในศีลธรรมของการออกแบบ รวม ถึงระดับที่ตัวตนของแต่ละคนเป็นซึ่งสถาปนิกแต่ละคนต้องไตร่ตรองด้วยตนเองถึงความ มีศีลธรรม (morality) ในทุก ๆ การตัดสินใจที่เกิดขึ้น สิ่งที่ก่อเกิดเป็นงาน สถาปัตยกรรมจะเป็นผลมาจากมุมมองของศีลธรรมของสถาปนิกผู้ออกแบบนั้นและถ้า สถาปนิกไม่สามารถเข้าถึงมุมมองต่อศีลธรรมของตนเองได้งานออกแบบนั้นก็จะสื่อถึง จิตใจของผู้ออกแบบเอง เราจะทราบได้อย่างไรถึงเรื่องของศีลธรรมในใจของแต่ละบุคคลมันอาจจะ เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตที่มีบทสรุปเขียนไว้บนแผ่นสลักที่ หลุมศพแต่มันคงเป็นกระบวนการที่สายเกินไป ที่จะเรียนรู้ถึงคุณธรรมของแต่ละคนใน วิชาชีพสถาปัตยกรรม บางทีเราอาจจะเรียนรู้ได้จากแบบทดสอบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ สถานะการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นสิ่งสมมุติเพื่อไม่ให้สถาปนิกบางท่าน อับอาย ว่าเรื่องดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นแต่มันก็คล้ายจะเป็นเรื่องจริงที่เกิดในการรับงาน ออกแบบและก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมทั่วไป มีตัวอย่างอยู่สี่สถานะการณ์ที่ทำการ ทดลองกับนักเรียนทดลองเรียนสถาปัตยกรรม (pre-architecture student) นักศึกษา _ of 165 98 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

สถาปัตยกรรม และ สถาปนิกอาชีพ ผลลัพท์ของแต่ละสถานะการณ์มีความแตกต่างกัน ในระดับของศีลธรรม บางคำตอบก็ชัดเจนมาก แต่บางคำตอบก็ไม่ชัด การจำลอง สถานะการณ์เหล่านี้เป็นเรื่องน่าสนใจ ลองพิจารณาตามดูและเปรียบเทียบคำตอบที่คุณ จะตอบกับผลลัพท์ที่เกิดขึ้น สถานะการณ์ที่ 1. Case one : คุณเป็นสถาปนิกในประเทศที่ปกครอง ระบอบ นาซี (Nazi) และได้รับมอบหมายให้ออกแบบอาคารที่จะทำลายล้างเผ่าพันธุ์ที่ ด้อยกว่าให้หมดไปจากผืนโลก (สถานะการนี้จริง ๆ แล้วไม่ใช้นิยายที่อุปโลกขึ้น แต่เป็น สิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริง) แต่ในความเป็นโจทย์เพื่อออกแบบงานสถาปัตยกรรม ก็เป็น โครงการที่น่าสนใจ เช่นพื้นที่สำหรับต้อนรับ ห้องคัดแยก ส่วนรมแก๊สต่าง ๆ รวมถึง พื้นที่จัดการศพ การออกแบบเพื่อความงามนั้นอาจเป็นประเด็นรองลงมา คุณอาจจะ ต้องหาข้อแก้ตัวในการที่จะเลี่ยงงานนี้ เช่นความป่วยไข้ หรือข้ออ้างอื่น ๆ ที่จะไม่เป็น อันตรายต่อตัวเองในภายหลัง ตกลงคุณจะรับออกแบบหรือไม่? ถ้าคุณไม่ทำเราก็จะให้ สถาปนิกคนอื่นทำ เราจะไม่สมมุติว่าคุณเป็นสถาปนิกนาซีคนหนึ่งแต่เราพูดถึงตัวคุณ ตกลงคุณจะรับงานหรือไม่? เพื่อที่จะมาเปรียบเทียบ มีสถิติที่ได้สอบถามและรวบรวมได้ผลลัพท์ดังนี้ สำหรับสถาปนิก 60% จะไม่รับทำ 30% รับงานนี้และ10% ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร สำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรม 80%ไม่รับออกแบบ 15%รับงานนี้ และ 5% ไม่ตัดสิน ใจและสำหรับนักเรียนที่จะมาเรียนสถาปัตย์ 94%จะไม่ออกแบบอาคารประเภทนี้ 2%รับทำ และ 4% ไม่แน่ใจ จากสถิติมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่า ศีลธรรมในการออกแบบจะ มีสูงสุดอยู่ที่เด็กนักเรียนที่ยังไม่รับรู้เรื่องของการออกแบบแต่ในสถาปนิกที่มีประสพ การณ์ผ่านโลกมาพอสมควรอาจมีเหตุผลอื่น ๆ มาประกอบ รวมถึงด้านชากับการ ประกอบอาชีพเพื่อความอยู่รอด สถานการณ์ที่ 2. Case two : เป็นเหตุการณ์ที่ดูจะเบากว่าอันแรกคุณเป็น สถาปนิกที่อยู่ในรัฐที่มีการแบ่งแยก (ยุคหนึ่งในสหรัฐอเมริการมีการเหยียดผิวและแยก ผิวดำกับผิวขาวอย่างชัดเจนหรือแม้แต่ในเมืองอย่าง south Africa? Rhodesia? Mississippi? ที่มีการแยกชนชั้นตามสีผิว) คุณได้รับการว่าจ้างให้ออกแบบอาคาร สาธารณะแห่งหนึ่ง อาจจะเป็นห้างสรรพสินค้าแต่ต้องทำการแบ่งแยกพื้นที่การใช้งาน _ of 165 99 _


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เช่นแยกห้องน้ำ แยกส่วนขายรองเท้า ฯลฯ คุณจะรับออกแบบหรือไม่? เราไม่ได้พูดถึง สถาปนิกที่มีความเอนเอียง (racist) แต่เรากำลังพูดถึงคุณ ตกลงคุณจะรับงานนี้หรือไม่? และนี้คือสถิติที่เราเก็บได้ สำหรับสถาปนิก 40%ไม่รับงาน 39% จะรับ ออกแบบ (%เกือบเท่ากัน) 21%ไม่แน่ใจ สำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรม 60%จะไม่รับ 30% รับออกแบบ และ 10% ไม่แน่ใจ สำหรับนักเรียนเตรียมสถาปัตย์ 81%เลือกที่จะ ไม่ทำ 21% รับออกแบบและ 7% ไม่ตัดสินใจ จะมีหนึ่งถึงสองคนในแต่ละกลุ่มที่เชื่อใน การแบ่งแยกและยินดีที่จะออกแบบตามหลักการ และเป็นที่น่าแปลกใจว่าในกลุ่มคนที่ ตอบแบบสอบถามว่าจะออกแบบให้มีการแบ่งแยกการใช้งานแต่จะออกแบบห้องน้ำ สำหรับคนผิวดำให้ดูดีกว่าห้องน้ำสำหรับคนผิวขาว เพื่อให้คนขาวอยากที่จะข้ามเขตมา ทางที่ผิวดำบ้าง สถานการณ์ที่ 3. Case three : เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นมีบริษัทประกันภัย รายหนึ่งจะมาจ้างให้คุณออกแบบโครงการบ้านพักอาศัย เป็นสิ่งที่คุณเก่งกาจในการ ออกแบบเป็นอย่างมากและด้วยความรู้และประสบการณ์ที่คุณมีทำให้เห็นได้ชัดว่าความ หนาแน่นของคนที่มาอาศัยอยู่ร่วมกันนั้นจะก่อให้เกิดปัญหา และมีผลการศึกษาทาง วิทยาศาสตร์ที่บ่งบอกว่าการอยู่อาศัยที่หนาแน่นเกินไปนั้นจะก่อให้เกิดภาวะต่าง ๆ เช่น ความตึงเครียดอย่างรุนแรง และความผิดวิสัยทางเพศ (angina hypertension ulcers and sexual difficulty) ที่เป็นผลทำให้เกิดความผิดปรกติทางสังคม เช่น อาชญากรรม ความรุนแรงและความแปลกแยก (crime aggressiveness hostility alienation and underachievement) ความหนาแน่นของคนอยู่ร่วมกัน ไม่มีผลแตกต่างสำหรับกลุ่ม รายได้ มันให้ผลทางความรู้สึกเช่นเดียวกันทั้งในระดับสังคมหรูหราหรือในสลัม ดังนั้น คุณที่เป็นสถาปนิกก่อนที่จะจรดปากกาและออกแบบบ้านพักอาศัยที่มีคนอยู่เกินจำนวน ที่จะรับได้ คุณต้องยอมรับการถูกประณามจากคนที่คุณทำให้เขาป่วย ไม่ว่าด้านร่างกาย หรือจิตใจ แต่ผู้ว่าจ้างที่เป็นบริษัทก็ยังยืนยันที่จะใช้ตัวเลขความหนาแน่นเช่นเดิมและให้ เหตุผลทางธุรกิจในเรื่องของความคุ้มทุน อีกประการหนึ่งเขาต้องขายการประกันให้ ลูกค้าพวกนี้ด้วย แล้วคุณจะรับออกแบบหรือไม่ ?

_ of _165 100


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

จากการคาดการณ์ ตัวเลขมีการตีกลับในบางประเด็น สถาปนิกจะรับทำงานนี้ ด้วยจำนวนถึง 85% อีก 10% จะไม่ทำและ 5% ไม่แน่ใจ ส่วนนักศึกษาสถาปัตยกรรม ก็มีจำนวนใกล้เคียงกัน 82%รับออกแบบให้ 12%จะไม่รับ และ 6% ไม่แน่ใจ นักเรียน เตรียมสถาปัตยจะชัดเจนมากถึง 93%จะรับออกแบบ 6% ไม่ทำ และ1%ที่ไม่แน่ใจ คำ อธิบายจากผู้ที่รับงานออกแบบคือ ถึงแม้ว่าจำนวนคนจะมากเกินกว่าพื้นที่ ที่จะรองรับ ได้แต่การออกแบบที่ดีก็น่าจะทำความเป็นอยู่ให้ดีกว่า “สลัม” ที่อยู่ในปัจจุบันส่วนผู้ที่ ไม่ยอมรับ ก็ให้เหตุผลว่าเราควรจะปรับระบบในการประกอบธุรกิจการก่อสร้างเพื่อให้ ตัวเลขเงินลงทุนเหมาะสมกับสิ่งที่จะก่อสร้าง ไม่ใช้ยอมให้ระบบเดิม ๆ มาบังคับให้เกิด ที่อยู่อาศัยที่หนาแน่นเช่นนี้ สถานะการณ์ที่ 4. Case four : หลาย ๆ คนที่อ่านคำถามนี้แล้วคิดว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องตลกและไม่น่าจะเป็นเรื่องจริงได้ แต่เรื่องนี้ก็มีโอกาสเกิดขึ้น พ่อค้าสิ่งผิด กฎหมายข้ามชาติรายใหญ่ (อาจจะขายยาเสพติด ค้าผู้หญิง ค้าอาวุธ ฟอกเงิน ฯลฯ) มี เงินมหาศาลและต้องการที่จะเกษียณตัวเอง พักผ่อนในเกาะส่วนตัวและต้องการให้คุณ ออกแบบปราสาทให้เขา ด้วยรสนิยมที่ไม่เหมือนใครและต้องการสิ่งที่แปลกใหม่ อาจจะ เริ่มจากปราสาท อัสฮัมบรา Alhambra และให้ออกแบบในสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดฝันมา ก่อน แน่นอนละการได้รับทำงานนี้จะเป็นงานที่สนุกและเป็นที่อิฉฉาของบรรดา สถาปนิกทั้งหลาย แต่คุณจะใช้ความสามารถในการออกแบบเพื่ออาชญากรเหล่านี้ หรือ ? คุณจะรับเงินค่าออกแบบทั้งๆที่รู้ว่าเป็นเงินสกปรก ทำให้คุณมีส่วนใน อาชญากรรมที่เกิดขึ้น? ใช้ ? คุณบอกว่าจะรับงานออกแบบนี้ เห็นได้ชัดว่ามีข้อจำกัดของความมีศีลธรรมทางการออกแบบของแต่ละบุคคล แต่คุณไม่ใช่คนเดียวหรอกที่จะรับงานออกแบบจากอาชญากรข้ามชาตินี้ ทั้งสามกลุ่ม สำรวจ สถาปนิก นักศึกษาสถาปัตยกรรม และนักเรียนเตรียมสถาปัตย์ ต่างก็เลือกที่จะ ออกแบบปราสาทแห่งนี้ นักเรียนเตรียมสถาปัตยคนหนึ่งให้เหตุผลที่น่าสนใจว่า เจ้าของ รายนี้น่าจะแก่และตายในอีกไม่นานและปราสาทที่ออกแบบก็จะตกเป็นสวนสาธารณะ เพื่อให้คนทั่วไปได้มาใช้งาน หรืออาจจะเป็นรีสอร์ทอันสวยงามที่สามารถใช้เงินมหาศาล ในการก่อสร้างและรายได้จากค่าออกแบบที่สูง _ of _165 101


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ในการที่จะสรุปความเรื่องของจริยธรรมและศีลธรรมของการเป็นสถาปนิก เป็นสิ่งที่ชัดเจนที่สองคำนี้จะคำนึงถึงในระดับที่ต่างกันในการประกอบวิชาชีพ จริยธรรม ethics จะเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ที่กำกับพฤติกรรมในการประกอบวิชาชีพ กฎเกณฑ์ที่ สร้างขึ้นเพื่อปกป้องวิชาชีพและสังคมในภาพรวม ส่วนศีลธรรม (morality) นั้นจะเกี่ยว กับการกระทำของมนุษย์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และความรู้สึกผิดชอบชั่วดีต่อตนเอง มีสิ่งล่อใจอยู่มากในการปฎิบัติวิชาชีพแต่ก็เป็นเช่นเดียวกันกับทุก ๆ อาชีพ หรือทุก ๆ สิ่ง ที่จะมีผลกระทบต่อกันและกัน และพยายามเลี่ยงคำถามด้านจริยธรรม งานออกแบบก็เป็นงานที่ยากอยู่ในตัวมันเอง การแก้ปัญหาในการออกแบบตลอดคืน ทำให้ไม่มีเวลาที่จะมาใส่ใจในเรื่องที่คุณจะต้องมานั่งฟังบทสวดจากการเทศนาของ บาทหลวงในวันอาทิตย์ (แต่คุณก็จะมานั่งหลับในโบสถ์และผงกหัวไปเรื่อย ๆ ราวกับว่า คุณเข้าใจ) เรื่องจริยธรรมและศีลธรรมก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระเถอะนะ สถาปนิกผู้ที่มีความกล้าที่จะตรวจสอบจิตใจและจิตวิญญาณของตนเองเพื่อ ค้นหาถึงรากเหง้าของตัวตนจะมีความสามารถในการออกแบบงานที่ตรงไปตรงมา (honesty) ไม่กลัวเกรง (unashamed) และมีจิตใจที่ไร้กังวล (unworried) ในผลงาน นั้น ๆ และยังมีผลต่อจิตใจและจิตวิญญาณของผู้อื่นด้วย ในการตรวจสอบตัวเองใน ประเด็นนี้ ทำให้มีการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการออกแบบของตนเองได้เป็นอย่างดี สถาปนิกผู้ที่มีความจริงใจ มีกฎเกณฑ์ที่เข้มแข็งจะเป็นสถาปนิกที่ดี มีความสมบูรณ์ พร้อมไม่สามารถแบ่งแยกได้

_ of _165 102


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Twelve : The Financial Setup การเงิน According to police statistics most crimes are committed for gain. Without drawing any undeserved comparisons, much the same thing can be said about architecture: most buildings are built for gain. อาคารบางประเภทไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการทำกำไรกันที่นับเป็นตัวเงินได้ เช่น อาคารพิพิธภัณฑ์ อาคารห้องสมุด โรงเรียน โบสถ์ แต่อาคารประเภทอื่นเช่น โรงแรม สำนักงาน อพาร์ตเม้นต์ โรงภาพยนตร์ ฯลฯ จะถูกสร้างมาเพื่อการทำกำไร ให้ เจ้าของโครงการเหล่านั้น และก่อนที่จะเริ่มทำการออกแบบ สถาปนิก มีหน้าที่เตรียม การในเรื่องของการวิเคราะห์โครงการ รูปแบบของการลงทุน ราคาที่ดินและค่าก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าจำนอง ดอกเบี้ย ค่าบำรุงสถานที่ รายได้และกำไร โดยรวมเรียก ว่า financial setup สำหรับลูกค้า นอกจากจะต้องการสร้างอนุเสาวรีย์ให้กับตนเอง แล้วยังต้องการตัวดำในสมุดบัญชีของเขาในตอนปลายปีอีกด้วยและเป็นหน้าที่ของ สถาปนิกที่จะนำองค์กรให้ได้ประโยชน์สูงสุด สถาปนิกผู้ที่สามารถ วิเคราะห์และประมาณการตัวเลข (financial setup) ได้แม่นยำ ก็จะเป็นที่รู้จักและบอกต่อกันในหมู่ลูกค้า และสถาปนิกที่ หลุดเรื่องตัวเลข อยู่บ่อย ๆ จะค่อย ๆ ตกอยู่ในระดับท้ายและตกงานในที่สุด สิ่งที่สถาปนิกต้องรับผิด ชอบนั้นคือภาระหน้าที่ในการแสดงถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม และช่วยในการเจริญ เติบโตของสภาพแวดล้อม เพื่อให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างทรนง นอกจาก เรื่องนี้แล้วสถาปนิกควรจะเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการเงินให้อยู่ในระดับต้น ๆ ของ ความใส่ใจในการออกแบบ ทำให้สถาปนิกกลายตัวเข้าสู่ระบบทุนนิยม (capitalism) แทนที่จะนึกถึงแต่ สังคมนิยม (socialism) ที่ความต้องการของมนุษย์จะต้องถูกตอบ สนองก่อน

_ of _165 103


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ในทางทฤษฎี การดำเนินงานในระบบอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปัจจุบัน คำ ว่าทุนนิยมหรือสังคมนิยม ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก โดยงานออกแบบในระบบ สังคมนิยมจะมีทุนมาจากรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ อาจจะโดนตีกรอบทางความคิดในการ ออกแบบบ้างที่ไม่สามารถทำแนวคิดได้มากมายเหมือนระบบทุนนิยม ดังนั้นในรูปแบบ ของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง จะไม่มีความแตกต่างในการจัดการเรื่องการเงิน และ สามารถอธิบายได้ในลักษณะเดียวกัน แต่การอธิบายเรื่องของระบบการเงินนี้จะไม่ได้เอาตัวแปรทางการเมืองเข้ามา เกี่ยวข้อง เนื่องจากจะอธิบายถึงหลักการพื้นฐานของระบบการเงินของการก่อสร้างซึ่ง สามารถนำไปปรับใช้ได้ต่อไป ระบบการเงินจะประกอบด้วยสามส่วนหลักและตามด้วยบทสรุป (ภาษา อังกฤษมีคำเรียกว่า Button or Clincher, เปรียบเป็นโน้ตตัวสุดท้ายของเพลง หรือ ตอนจบ) ที่เป็นตัวกำหนดว่าโครงการนี้จะได้ดำเนินการต่อหรือไม่ ส่วนแรก ประกอบด้วยการประมาณตัวเลขของงบประมาณที่มีราคาของที่ดิน ราคาค่าก่อสร้าง ค่าออกแบบของสถาปนิกและวิศวกร ค่าใช่จ่ายอื่น ๆ ในการขอ อนุญาตก่อสร้าง ฯลฯ ตัวเลขทั้งหมดที่รวมได้จะถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนแรกจะเป็น เงินสดที่ลูกค้าใช้ลงทุนและส่วนที่สองเป็นเงินที่สามารถกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ส่วนที่สอง จะเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบการหลังจากอาคารก่อสร้างแล้ว เสร็จจะมีค่าบำรุงรักษาอาคาร ค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดน่าจะเป็นเงินที่ต้องจ่ายคืนธนาคาร พร้อมดอกเบี้ยในแต่ละเดือน รวมถึงค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ภาษี ค่าซ่อมแซม สถานที่ ค่าประกัน ฯลฯ โดยการจ่ายธนาคารในระยะยาวก็จะไปลดจำนวนดอกเบี้ยให้ น้อยลงจากแต่ละปีที่ดอกเบี้ยอาจจะไม่เท่ากันตามแต่เศรษฐกิจ ในส่วนที่สองนี้ มี ตัวแปรที่ทำให้การคำนวนไม่คงที่ดังนั้นจะต้องดูตัวแปรเปรียบเทียบกับช่วงเวลา ส่วนที่สาม ในส่วนนี้บางที่จะถูกเรียกว่า ค่าเช่าต่อเนื่อง (rent roll) เป็นการ ประมาณการรายได้ทั้งหมด ที่ตัวอย่างอาคารที่พักอาศัยร่วม ที่ก่อสร้างนี้สามารถทำได้ (ผลิตได้) หลักการนี้จะเป็นการสำรวจอาคารที่มีการเช่าครบ100% และลบด้วย 10% _ of _165 104


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ของห้องว่าง (vacancies) ด้วยที่ว่าเป็นตัวเลขที่สมมุติขึ้นเพื่อให้สามารถคำนวณ ประมาณการรายรับได้ แต่ในบางช่วงเวลาที่เกิดการขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเช่าอยู่ อาศัยในอพาทเมนต์ก็จะเต็ม 100 % หรือในบางช่วงที่มีห้องมากกว่าคนเช่า ก็จะไม่ สามารถทำรายได้เต็มที่และอีกกรณีที่เป็นช่วงรอยต่อของการย้าย เข้าออก ผลสรุปในเรื่องความคุ้มทุนจะอยู่ที่เรา เอาส่วนที่สาม(รายได้) ตั้งลบด้วยส่วน ที่สอง(ค่าใช้จ่าย)ทำให้เห็นรายได้สุทธิ (net income) ตัวเลขนี้เอามาเปรียบเทียบกับ เงินสดที่ลงทุนจากส่วนที่หนึ่ง เป็นเปอร์เซ็นต์เพื่อที่จะตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการต่อ หรือไม่ นักลงทุนทั่วไปจะต้องการตัวเลขอย่างน้อย 15% กำไรที่กลับมาจากเงินลงทุนมิ ฉะนั้นเขาก็นำเงินสดไปทำอย่างอื่นหรือไม่ก็ให้สถาปนิกปรับรูปแบบของการก่อสร้าง เพื่อให้ได้กำไรอย่างที่ต้องการ อันที่จริงเรื่องของการเงินไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เริ่มอ่านในตอนแรก การยก ตัวอย่างประกอบต่อไปนี้ น่าจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนขึ้นโดยเราจะยกตัวอย่าง ทางการเงินของงานออกแบบและก่อสร้างอาคารจากจินตนาการหลังหนึ่ง ตัวเลขสมมุติสำหรับการก่อสร้าง โครงการอพาร์ตเม้นต์หลังหนึ่งในราคา 2 ล้านบาท (ในปัจจุบันคงสร้างได้ไม่กี่ห้องนัก) แต่เรายังต้องจ่ายค่าที่ดิน ส่วนใหญ่จะตก อยู่ที่หนึ่งในห้าของโครงการ ประมาณ 400,000 บาท ดังนั้นเงินส่วนที่เหลืออีก 1.6 ล้านจะใช้สำหรับการก่อสร้าง ค่าใบอนุญาต ค่า ใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อที่จะทำตัวเลขให้เข้าใจง่ายขึ้น ในการกู้เงินจากทางธนาคารจะให้เพียง 90%ของ 2 ล้านเท่านั้น คืออยู่ที่ 1.8 ล้านบาทและเป็นส่วนที่จะต้องจ่ายคืนพร้อม ดอกเบี้ยประมาณ 2% ต่อปี ดังนั้นเจ้าของก็จะต้องหาเงินสดสำหรับการลงทุนที่ 200,000บาท อาจจะเป็นเงินเก็บของเขาเอง เงินจากพ่อตา หรือจากการพนันที่บ่อนแต่ ขอให้เป็นเงินสดเราก็ไม่จำเป็นต้องรู้ที่มาเป็นสมการส่วนที่หนึ่งของการเงิน ในส่วนที่สอง ที่เป็นเรื่องพื้นฐานแต่อาจจะประกอบด้วยหลายส่วน ค่าใช้จ่าย หลักจะเป็นดอกเบี้ยจากวงเงินกู้ที่ 10% ของ 1.8 ล้านอยู่ที่ 180,000 บาท ยอดถัดไป คือ amortization ค่าจัดจำนองที่ 2% เป็นเงินที่จะจ่ายสำหรับยอดกู้ ที่ 36,000 บาท _ of _165 105


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ค่าภาษี ประกันภัย ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จะประมาณการอยู่ที่ 3% ของค่าใช้จ่ายรวมของ โครงการ ที่ 60,000 บาท ค่าเงินเดือนพนักงาน ค่าซ่อมบำรุง ค่าไฟฟ้าสาธารณูปโภค ต่าง ๆ อีก ประมาณ 3% ที่ 60,000 บาท และมีค่าที่อาจจะหายไปในอากาศ จากค่า ของเงินที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา อาจจะถึง 6% ที่หายไปในระบบการเงินถ้าเก็บ 2 ล้าน ไว้เฉย ๆ เป็นตัวเงินที่ 12,000 บาท ในช่วงแรก ส่วนของการเงินจะเป็นดังนี้ ส่วนที่หนึ่ง cost 1 ค่าที่ดิน

400,000฿

2 ค่าก่อสร้าง รวมค่าใช้จ่ายอื่น. ๆ

1,600,000฿

รวม

2,000,000฿

เป็นเงินกู้ 1.8ล้าน เงินสดลงทุน 200,000฿

ส่วนที่สอง running expenses (annual) 1 ดอกเบี้ยจากการกู้ interest on mortgage

180,000฿

2 ค่าจัดจำนอง amortization

36,000฿

3 ค่าภาษี ฯลฯ

60,000฿

4 ค่าซ่อมแซม ฯลฯ

60,000฿

5 ค่าเสียเวลาในดอกเบี้ย

12,000฿

รวม

348,000฿

_ of _165 106


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

จากการจ่ายคืนทุกเดือนทำให้ จำนวนเงินต้นลดลงและดอกเบี้ยลดลงด้วย แต่ ในทางกลับกัน ค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ เช่น ภาษี ค่าซ่อมบำรุงอาจจะแพงขึ้นและเป็นปรกติ ที่จะแพงเป็นธรรมชาติ ในการคำนวณค่าใช้จ่ายโดยมากจะเป็นค่าคงที่ในช่วงสองปีแรก สำหรับส่วนที่สอง ในส่วนของรายได้การคำนวนเรื่องการเงินส่วนที่สามซึ่งเราได้อธิบายในเบื้อง ต้นไปแล้ว ถึงรายได้สุทธิ และรายได้ (gross and net income) ในการประมาณการ พื้นที่ สถาปนิกสามารถหาพื้นที่เช่าได้จากราคางบประมาณค่าก่อสร้าง 1.6 ล้าน และ สามารถประมาณการรายรับจากพื้นที่เช่านั้น ในที่นี้เราคำนวณรายรับที่หัก vacancies 10% ได้รายรับที่ 384,000 บาท แต่ถ้ามาเช่าเต็ม full rent จะได้ 427,000 บาท ลำดับถัดไป เราจะเอาส่วนที่สามตั้ง ลบด้วยส่วนที่สอง เพื่อให้ได้เห็นรายได้สุทธิ ค่าเช่า

384,000฿

รายจ่าย

348,000฿

รายได้สุทธิ

36,000฿

ตอนนี้เราได้ผลสรุปจากการวิเคราะห์ทางการเงินในเบื้องต้นนี้แล้ว จาก ตัวอย่างนี้เราจะได้รายได้ 36,000 บาท แต่ดูเหมือนจะไม่คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไป 2 ล้าน บาท อย่าลืมว่าเราไม่ได้ลงทุนเองทั้ง 2 ล้าน เราใช้เงินสดลงทุนเพียง 200,000 บาท โดยที่เรามีกำไร รายได้สุทธิ 36,000 บาท นั้นคือ 16% ของรายได้นับว่าไม่น้อยเลยที เดียวเพียงพอที่จะทำให้ผู้ลงทุนยิ้มได้ และในตอนที่เขาฉลองด้วยมาตินีเขาบอกกับเพื่อน ของเขาว่าสถาปนิกที่ออกแบบโครงการนี้มีความสามารถนักและค่าตัวเขาก็แพงพอดูเลย แต่การออกแบบของเขาก็คุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์และแนะนำสถาปนิกต่อเพื่อนเขา เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็จะได้เงินต้นของเขาคืน (ในตัวอย่างนี้ คือ 200,000 บาท) เขาอาจจะไม่สามารถได้เงินถึง 36,000 บาท ต่อปีเนื่องจากอาคารก็เก่า ทรุด โทรมลงแต่ไม่ว่าเขาจะได้รับรายได้เท่าไร สิ่งที่มีอยู่คือการลงทุนเป็นสินทรัพย์และความ

_ of _165 107


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ยังดีอยู่ถ้าเขามีอายุยืนยาวพอที่จะจ่ายเงินต้น ทั้งหมดรายรับที่ได้ก็จะกลายเป็นกำไรเพียงอย่างเดียว นี้คือเหตุผลที่ทำให้สถาบันต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย ธนาคาร โบสถ์ หรือ ทายาทตระกูลต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดธุรกิจมาหลายช่วงอายุคนมองพื้นที่ชุมชน เช่น สลัม หรืออาคารเก่าว่าป็นพื้นที่ที่น่าจะสร้างผลกำไรได้ในอนาคต เนื่องจากราคาของที่ดินจะ เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปนานพอและราคาค่าลงทุนตอนแรกนั้นเกินความคุ้มทุนไปแล้ว แต่ถ้าใครต้องการจะซื้อที่ดินควรจะคำนวณ กำไรขาดทุนและเวลาให้ชัดเจน บทสรุป อาคารเก่าหรือพื้นที่สลัมเป็นสิ่งที่น่าเป็นเจ้าของถ้าคุณสามารถถือครองมันได้นานเพียง พอแต่จะเป็นการขาดทุนอย่างมากถ้าเป็นการซื้อมาขายไป ลองกลับมาดูที่การจัดการทางการเงินถ้าผลสรุปจากการวิเคราะห์ที่ได้ต่ำกว่า 15% นั้นหมายถึงไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน การตัดสินใจที่เหมาะสมคือยกเลิกโครงการและ จ่ายสถาปนิกสำหรับงานที่เขาทำและจบกันแค่นั้น อีกวิธีการที่สามารถทำได้คือการตัดค่าใช้จ่ายลงบางส่วนและสามารถทำได้ หลายวิธี สิ่งที่ทำกันเป็นปรกติคือการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเช่นลดคุณภาพของ วัสดุหรือปรับแบบที่เราเห็นกันบ่อย ๆ เช่น ระดับฝ้าที่ต่ำ รอยฉาบแตกร้าวและผนังบาง จนได้ยินเสียงเพื่อนบ้านและรู้ว่าเขาดูทีวีช่องอะไรหรือทะเลาะกันด้วยเรื่องอะไร

_ of _165 108


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Thirteen : The Team การทำงานเป็นทีม The old saying, “ Two heads are better than one,” holds true as long as the two heads are not on the same body. 1 ในปัจจุบันด้วยความสลับซับซ้อนของการออกแบบก่อสร้างอาคารที่มีเทคนิค ในการก่อสร้างที่หลากหลายทำให้สถาปนิกไม่สามารถทำงานได้ด้วยตนเองคนเดียว เช่น ถ้าเขาต้องออกแบบโครงสร้างเหล็กหรือคอนกรีตสำหรับโครงการสำนักงานเป็นอาคาร สูง เขาก็จะไม่มีเวลาเพียงพอในการออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรม รวมถึงถ้าต้องมา ทำรายละเอียดในเรื่องของงานระบบอื่น ๆ เช่น สุขาภิบาล ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และการเดินท่อ เขาก็จะไม่สามารถทำแบบให้แล้วเสร็จในช่วงอายุไขของเขา การ ก่อสร้างอาจจะต้องเลื่อนไปจนถึงช่วงลูกหลานเลยทีเดียว ดังนั้นในการก่อสร้างเราจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมด้วยความจำเป็น และควรมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ทำงานร่วมกันแต่แบ่งงานเป็นส่วน ๆ แต่ก็ยังมีคำถาม ในเรื่องของลำดับความสำคัญและเน้นหนักในเรื่องใดเป็นหลัก “สถาปนิก” จะทำหน้าที่ เป็นกับตันที่จะพาโครงการไปสู่ความสำเร็จ แต่ก็ยังต้องรับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางต่าง ๆ สถาปนิกจำต้องรู้ถึงศาสตร์ทุก ๆ เรื่องพอที่จะเชื่อและรับฟังในสิ่งที่ผู้ เชี่ยวชาญทั้งหลายแนะนำ แต่ก็มีความมั่นใจที่จะตัดสินตรงข้ามเมื่อเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ลองดูทีมแรกที่จะต้องทำงานกับเราก่อน ทีมแรกคือวิศวกรโยธา (structure engineer) หน้าที่ของเขาคือการออกแบบโครงสร้าง (เสา คาน พื้น ฯลฯ) หาแนวทาง ของโครงสร้างที่เหมาะสมและช่วยสนับสนุนโครงสร้างของงานสถาปัตยกรรมจากความ ขายหน้าที่อาจจะไม่สามารถตั่งอยู่ได้ ในโครงการขนาดเล็ก ๆ เช่นบ้านพักอาศัย อาจจะ ไม่ต้องพึงวิศวกร (สำหรับบางประเทศเท่านั้น ในประเทศไทยยังจำเป็นที่ต้องมีวิศวกรใน การคำนวณโครงสร้างและควบคุมงาน) สถาปนิกสามารถทำเองได้คนเดียว ยกเว้น

_ of _165 109


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

โครงการขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนเช่นอาคารสำนักงาน สนามบิน สนามกีฬา และโครงการที่สลับซับซ้อนจำเป็นต้องมีวิศวกรโยธามาทำงานออกแบบเคียงข้างด้วย เสมอ ถ้าเป็นวิศวกรที่ดีจะมีความใส่ใจในการออกแบบโครงสร้างตลอดเวลามีความ ฝันที่จะออกแบบโครงสร้างที่ใช้เหล็กน้อยลงหรือสามารถยื่นโครงสร้างได้ยาวกว่าวิศวกร คนอื่น ๆ และเมื่อสถาปนิกจะบอกว่า อยากได้เสา คาน โครงสร้างใหญ่ ๆ สำหรับการ ออกแบบอาคาร 20 ชั้นเพราะอยากได้ความงามที่ต้องการ วิศวกร อาจจะตอบว่า “ต้องขอโทษนะครับ การใช้คานใหญ่แบบนี้จะทำให้ค่าก่อสร้างสูงเกินไป” การก่อสร้าง ที่ยังต้องคำนึงถึงเรื่องอื่น ๆ นอกจากความงามแต่สถาปนิกก็ยังสามารถตัดสินใจที่จะใช้ โครงสร้างที่ใหญ่โตนั้นแต่วิธีการออกคำสั่งนั้นจะไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ในอนาคต การปรึกษาหารือและตัดสินใจร่วมกัน จะเป็นผลดีต่อโครงการมากกว่าการสั่งการ ในบางกรณีวิศวกรอาจจะนำเสนอแนวคิดทางโครงสร้างในมุมที่สถาปนิกไม่ สามารถมองเห็นได้ ทำให้โครงการเริ่มต้นด้วยความสวยงาม ดังนั้นการทำงานเป็นทีมนี้ จะเป็นการทำงานด้วยกัน (cooperation) หรือจะดียิ่งขึ้นถ้าเป็นการทำงานร่วมกัน (collaboration) ในการประกอบวิชาชีพบริษัทที่ประสพความสำเร็จมักมีทั่งสถาปนิก และวิศวกรเป็นหุ้นส่วนกัน เช่น "Smith and Jones, Architect and Engineers" 2 เป็นที่น่าเสียดายที่การทำงานเคียงคู่กันนั้นไม่เป็นที่ตระหนักถึง มันจะมีความ รู้สึกเล็ก ๆ เรื่องของการอิจฉากันระหว่างวิศวกรและสถาปนิกแต่ก็หวังว่าจะไม่ส่งผล กระทบต่อการทำงาน ความเข้าใจผิดนี้น่าจะมีรากฐานมาจากพื้นฐานของการคิดของผู้ รักความงาม "aesthete" แบบสุภาพบุรุษสถาปนิก (gentleman architect) ในสมัย โบราณที่มีความสำอาง ส่วนวิศวกรก็จะมีความดิบลุยงานอยู่ในสถานที่ก่อสร้างด้วย รองเท้าบูทและดูแลการทำงานของรถขุดเจาะและเครนสูง ภาพที่เห็นอาจจะไม่ได้เป็น เช่นนั้นทั้งหมดแต่ก็เป็นรากฐานที่จะทำให้เกิดความคลางใจของทั้งสองฝ่าย ถึงแม้ว่าทั้ง สถาปนิกและวิศวกร ก็ดูจะเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเมื่อมองจากภายนอก

_ of _165 110


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

บางที่ความแตกต่างระหว่างสองอาชีพจะเป็นด้วยจรรยาบรรณในการ ประกอบวิชาชีพ วิศวกรจะไม่ได้ถูกกฎเกณฑ์ทางสังคมเช่นเดียวกับสถาปนิก ทั้งสองเป็น วิชาชีพที่ไม่ได้มีปัญหาในการทำงานต่อกัน ตัวอย่างเช่น วิศวกรสามารถรับงานก่อสร้าง ได้ในตัวเองแต่สถาปนิกไม่สามารถกระทำได้ ดังนั้นในการทำงานก่อสร้างให้กับลูกค้า วิศวกรสามารถจัดการตั้งแต่งานออกแบบไปจนถึงการก่อสร้างอาคารจนส่งมอบกุญแจ ให้กับลูกค้า รวมถึงควบคุมราคาให้อยู่ในที่เดียว (lump sum) ที่ลูกค้าสามารถเห็นงบ ประมาณก่อนการก่อสร้างและเป็นสิ่งที่ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการในโครงการก่อสร้าง ทำให้สถาปนิกรู้สึกว่าตัวเองถูกแย่งงานทำและทำให้เกิดความเข้าใจผิดของทั้งสองฝ่าย รวมถึงวิศวกรเองที่อาจจะมีข้อกังขาต่อตัวสถาปนิกในงานออกแบบด้วย ดังนั้นใน สถานะการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานออกแบบก่อสร้างคือ การทำงานร่วมกัน 3 ยังมีวิศวกรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอีกหลายคนที่จำเป็นต้องมาช่วยใน งานออกแบบก่อสร้าง เช่นวิศวกรงานระบบ วิศวกรสุขาภิบาล วิศวกรไฟฟ้า วิศวกร เครื่องปรับอากาศ วิศวกรประเมินโครงการ แต่ละคนก็มีความสำคัญไม่แพ้กันและไม่ ค่อยสร้างปัญหาในกระบวนการและแนวคิดต่าง ๆ ถ้าเราเผื่อพื้นที่ในการเดินท่องาน ระบบต่าง ๆ ให้เพียงพอ เขาก็จะทำงานของเขาไปอย่างราบเรียบ แต่ในบางที วิศวกร สุขาภิบาลก็อาจจะต้องการวางท่อเข้าลงมากลางห้องโถงโดยไม่เดินท่อเลียบไปทางอื่น และมามีปัญหากับวิศวกรโยธา แต่ด้วยการจัดการของสถาปนิกก็จะมีทางในการแก้ ปัญหาให้ลุล่วง ด้วยที่ว่าวิศวกรสุขาภิบาลไม่ได้เข้ามาแย่งงานสถาปนิกเหมือนกับวิศวกร โยธา ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของกันและกัน 4 ภูมิสถาปนิก (landscape architect) เป็นอีกความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ สำหรับสถาปนิกภูมิสถาปัตย์คือคนที่จะมาแต่งต้นไม้ ดอกไม้รอบ ๆ บ้านเขาให้สวยงาม แต่ในมุมของภูมิสถาปัตย์ สถาปนิกจะเป็นผู้วางก้อนอะไรสักอย่างมาตรงกลางสวนที่ สวยงามของเขาและเป็นคนที่ไม่รู้จักความแตกต่างระหว่างต้นซิกกามอ (sycamore tree) หรือ ต้นเอิลม์ (elm tree)

_ of _165 111


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

อย่างไรก็ตามจากมุมที่แตกต่างระหว่างสองอาชีพ ถ้ามีมุมมองสอดคล้องกัน ในโครงการออกแบบก็จะทำให้เกิดงานที่ยอดเยี่ยมได้ ดังนั้นความเข้าใจในกระบวนการ คิดของทั้งสองจำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดและในปัจจุบัน โรงเรียนสถาปัตยกรรมก็จะ มีวิชาภูมิสถาปัตยกรรมของอีกฝ่ายก็เช่นกัน มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ง่ายนักในการที่จะทำให้ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีแต่ก็มีความเป็นไปได้อยู่ มีข้อดีในความแตกต่างอยู่เหมือนกัน และตัวอย่างต่อไปนี้ก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ข้ามแต่ก็เป็นแนวคิดที่แพร่หลายเช่น แนวคิดของ สถาปัตยกรรมออร์กานิค (organic architecture) ของสถาปนิก แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ ที่มีแนวคิดว่างานสถาปัตยกรรมจะ ต้องโตมาจากพื้นดินที่ตัวอาคารตั้งอยู่ ต้องเกิดมาจากดินเช่นเดียวกับต้นไม้และก้อนหิน แต่ในอีกแนวคิดหนึ่งที่ตรงกันข้าม สถาปนิก เมอเซอ บัวเวอร์ (Marcel Breuer) มี แนวคิดว่า งานสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งแปลกปลอมที่มนุษย์สร้างขึ้นและถูกวางลงบน ธรรมชาติ

Frank Lloyd Wright - Marcel Breuer

สถาปัตยกรรมออร์กานิคจะออกแบบให้ตัวอาคารของเขากอดแผ่นดินเลื่อน ไหลไปตามแนวระดับของภูเขา แต่ของบัวเวอร์จะตั้งใจแยกตัวอาคารออกจากที่ดิน วาง อาคารบนเสาที่เรียกว่า พีโลทิส (pilotis) แนวคิดของทั้งสองนี้อยู่คนละขั้วอย่างสิ้นเชิง

_ of _165 112


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

และทำให้เกิดมุมมองใหม่ในการออกแบบสถาปัตยกรรม ตลอดไปจนถึง ภูมิสถาปัตยกรรม ที่น่าสนใจ 5 คนที่อิงอาศัยเพื่อนมนุษย์ในแนวคิดที่แปลก ๆ นั้นอาจจะหาตัวอย่างในการ อธิบายที่ยาก แต่มีกรณีหนึ่งที่อาจจะเห็นได้ชัดคือ สถาปนิกกับศิลปินวาดภาพหรือช่าง ปั้น โดยที่สถาปนิกจะกำหนดตำแหน่งที่วางของภาพหรือรูปปั้นให้ ในที่ว่างจากแปลน ของเขา ในมุมของศิลปิน สถาปนิกก็คือวิศวกรผู้ใจดีเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ จัดหาสถานที่ (ออกแบบ) และด้วยความเห็นแก่ตัวของศิลปิน เช่นเจ้าของหอศิลป์ ที่ ต้องการพื้นที่ในการจัดแสดงงานศิลปะของเขา คุณต้องแสดงท่าทีเป็นมิตรต่อเขาและอาจจะต้องให้เขาพาไปเลี้ยงอาหารค่ำ ในการสนทนา คุณต้องทำเป็นผู้รับฟังที่ดีแต่อย่าดื่มมากนักมิเช่นนั้นคุณอาจจะไม่ได้รับ เลือกให้เป็นสถาปนิกสำหรับการออกแบบ นอกเหนือจากที่กล่าวมาคุณยังรู้อยู่ในใจว่า เขา(ศิลปินผู้นั้น) ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างภาพเสมือนจริง กับภาพแอปแสตรค์ ถึง แม้ว่าเขาจะบอกตัวเองว่าเป็นคนเขียนภาพอิสระ เป็นสิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ ในบางสถานะการณ์เป็นการยากที่สถาปนิกจะบอกศิลปินเหล่านี้ให้มองในมุม ที่เขามองบ้าง แต่นั้นก็เป็นการเสียเวลาและพลังงานเป็นอย่างมาก เขาน่าจะเข้าใจถึง ตอนเด็ก ๆ ที่เขาต้องการจะเป็นศิลปิน มีความคิดเป็นของตัวเอง ด้วยเส้นทางที่ดูน่าจะ ล้มเหลว แม่ของเขา คุณครูของเขา เพื่อน หรือแม้แต่แฟนเขาต่างก็คอยบอกให้ หางาน ทำ ตัดผม แต่งงาน วาดภาพอย่างอื่นๆที่คนเขาต้องการซื้อบ้าง แต่ศิลปินเหล่านี้ถูกฝึก มาอย่างดีให้ ไม่เชื่อฟังและไม่เคยฟังใคร ในการเลือกศิลปินมาทำงานให้ลูกค้า คุณควรแนะนำแนวทางเบื้องต้น และ ปล่อยให้เขาทำงานอย่างอิสระ ถ้าบังเอิญเจ้าของงานมาเห็นแล้วไม่ชอบงานศิลปะชิ้น นั้นให้เอาออกไป คุณก็ควรจะขัดกับเจ้าของและหาเหตุผลสนับสนุนว่าเป็นงานที่ดี คุณ

_ of _165 113


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ต้องอยู่เคียงข้างศิลปินถ้าคุณเลือกเขามาร่วมงาน ถ้าไม่ต้องการอยู่ข้างเขาก็ไม่ควรเลือก เข้ามาทำงานนี้ตั้งแต่แรก สิ่งที่อธิบายมาในที่นี้จะเป็นปรากฎการณที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ยี่สิบ แต่สิ่งที่ เกิดก่อนหน้านี้มานับหลายร้อยปีจะไม่มีการแบ่งแยกในวิชาชีพของการก่อสร้าง ไม่มี ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกและศิลปิน สถาปนิกจะเป็นทั้งผู้วาดภาพและช่างปั้น แกะสลัก เป็นช่างปั้นในขนาดที่คนสามารถเข้าไปใช้งานได้ รวมถึงผิวของอาคารที่เป็น งานวาดภาพ จนมาถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ระบบการก่อสร้างเปลี่ยนแปลงไปมาก มี การแบ่งแยกงานต่างๆ ทำให้ศิลปินต้องถอยกลับไปอยู่แต่ใน studio ของเขา ออกมาดู โลกภายนอกเป็นครั้งคราวเหมือนกระรอกที่ออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์และวงการ ก่อสร้างก็ดูว่าเขาเป็นสิ่งแปลกปลอม ในความรู้สึกนั้นมีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นที่ทำให้มีความสุขนั้นคือการเปลี่ยนแปลงใน ทางที่ดี ในการที่ภาพวาดและรูปปั้นได้เข้ามามีส่วนในงานสถาปัตยกรรมมากขึ้น เป็น สัญญาณที่น่าสนใจ ที่โรงเรียนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จะผสานกับงานศิลปะ วิจิตรศิลป์ ทำงานใกล้ชิดกันและมีปฎิสัมพันธ์กันในโครงการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น การที่ผนังกั้นระหว่าง ศาสตร์ได้มลายหายไปเหมือนการเริ่มใหม่ของยุคหรืออันที่จริงเป็นเรื่องของยุคเก่าที่ ย้อนกลับมา

_ of _165 114


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Fourteen : The Technology of Structure เทคโนโลยีโครงสร้าง “If you’ll show me how to take a thing apart I’ll know how to put it together,” said the wise man. But he had to admit he was wrong, when he tried to put the spring back into a dismantled clock. สิ่งที่พูดคุยกันในวงการสถาปัตยกรรมถึงเรื่องของสัจจะวัสดุและการ แสดงออกทางโครงสร้าง (honesty of expression) ประโยคที่ดูจะมีความหมายแตก ต่างกันตามความเข้าใจของแต่ละคน บางคนอาจจะหมายถึงลักษณะ รูปฟอร์มทาง โครงสร้างที่สื่อออกมาอย่างชัดเจนไม่มีการปกปิด บางคนอาจหมายถึงการจัดวางการใช้ งานที่เหมาะสม เช่น ห้อง ทางเดิน บันไดหรือลิฟต์ เป็นการจัดการที่มีหลักการและ เหตุผล หรือบางคนจะเป็นเรื่องของความชัดเจนต่อแนวทางความคิดของตนเอง ไม่ เปลี่ยนแปลงโดยคนอื่น ๆ ความแตกต่างทั้งหลายอาจเป็นเรื่องที่ดูน่ากลัว แต่ทั้งหมดก็จะแสดงถึงความ เหมือนกันบางประการ นั้นคือความจริงของงานสถาปัตยกรรมที่ทุกคนต้องการและการ แสดงออกด้วยความไม่จริงใจนั้นเป็นการไม่รับผิดชอบต่อสังคม แต่สถาปนิก นัก ประพันธ์บทกวี หรือคนอื่น ๆ จะแสดงถึงความจริงใจได้อย่างไรถ้าเขาผู้นั้นไม่สามารถรู้ ถึงความจริง ก่อนที่อาคารจะแสดงถึงความเป็นไปของตัวมันนั้น มันจะต้องถูกสร้างขึ้น มาก่อน ถึงแม้ว่าสถาปนิกจะไม่เชี่ยวชาญในการออกแบบโครงสร้างหรือจำเป็นต้องมี ความรู้ในระดับสูงของโครงสร้างแต่เขาจำเป็นต้องมีความรู้เพียงพอที่จะเข้าใจเรื่องพื้น ฐานของแนวคิดทางโครงสร้าง เพื่อให้อาคารที่เขากำลังออกแบบนั้น มีความเหมาะสม (feasible) มีเหตุผล (rational) และ สอดคล้อง (harmony) ในเทคนิคและวิธีการที่จะ สร้างมัน เราจะลองแสดงให้เห็นถึงเรื่องพื้นฐานของโครงสร้างดังต่อไปนี้

_ of _165 115


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Rubble Ashlar การสร้างแบบก่อมวล (mass construction) การก่อสร้างแบบนี้น่าจะเป็น เทคนิคพื้นฐานมาตั่งแต่สมัยโบราณ เป็นระบบที่วางก้อนอิฐ ก้อนหิน หรือมวลก้อนเพื่อ ให้เกิดมวลชนิดเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ในกรณีของหิน (masonry) ถ้าเป็นก้อนที่เป็น รูปร่างตามธรรมชาติเมื่อมาก่อเป็นกำแพงเราจะเรียกว่า รับเบิล (rubble) หรือถ้าเราตัด ให้เป็นรูปเหลี่ยมและสามารถก่อชิดกันจะเรียกว่า แอชล่า (ashlar) ทั้งสองรูปแบบดูจะ เหมือนกัน บนพื้นฐานของการเรียงมวลก้อนซ้อนกันขึ้นไป รับเบิล (rubble) จะให้ความรู้สึกของยุคเก่าแก่ (primitive) ไม่มีความสลับ ซับซ้อนทางโครงสร้างในขณะที่ แอชล่า (ashlar) จะแสดงถึงเทคนิคในการก่อสร้างใน ยุคที่ก้าวหน้ากว่า แสดงถึงความเป็นช่างฝีมือ รับเบิลจะดูหยาบและแข็งกระด้าง ส่วน แอชล่าแสดงความประณีต สถาปนิกจะใช้ลักษณของการแสดงออกของวัสดุมาใช้ในงาน ออกแบบของเขา ตัวอย่างของสถาปนิกใน ศตวรรรษที่ยี่สิบ จะใช้ผนัง “รับเบิล”ในการ ออกแบบสกีรีสอร์ท หรือ โรงแรมในชนบทเพื่อความรู้สึกที่เข้ากับธรรมชาติ มีความดิบ (rustic) ในการแสดงออกหรือจะใช้ประดับผนังในร้าน ที่หรูหราแต่ขายเครื่องกีฬาและ เดินป่า ข้อจำกัดของการก่อมวลคือเมื่อกำแพงก่อตัวสูงขึ้น น้ำหนักด้านบนจะกดทับ ลงมา การถ่ายแรงจะทำให้มวลด้านล่างแตกและไม่สามารถรับน้ำหนักตัวมันเองได้ ดัง

_ of _165 116


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

นั้น มวลด้านล่างจะต้องมีขนาดมวลที่มากขึ้น ดังนั้น การก่อกำแพงที่สูงขึ้นจะมีความ หนาของกำแพงมากขึ้นตามการถ่ายแรง ขนาดความหนาของกำแพงจึงเข้าไปแทนที่ว่าง ของการใช้งานภายในอาคาร จนไม่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างเช่นนี้ ด้วยเหตุผล พื้นฐานดังกล่าว โครงสร้างแบบก่อมวลจะไม่สามารถขึ้นสูงมากได้ จนเมื่อมีความ สามารถในการคำนวณพฤติกรรมของโครงสร้าง ที่ทำการวิเคราะห์แรงให้ลงมาทาง เสา (pier) หรือเสาค้ำ (buttress) จึงสามารถก่อให้สูงขึ้นได้ แต่โครงสร้างรูปแบบนี้จะไม่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานอีกต่อไป จะกลายเป็นรูปแบบของโครง (frame)

Posts and Lintel การก่อสร้างแบบโครงกรอบ (Frame Construction) เมื่อเสา (posts) คู่หนึ่ง ถูกวางให้ห่างกันและนำวัสดุอีกชิ้นมาวางพาด (lintel) จะเกิดโครงพื้นฐาน (frame construction) เมื่อจัดวางเรียงต่อ ๆ กันเราจะได้ระบบเสาและคานเกิดขึ้น (post and lintel) และสร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรงเช่น ไม้ เหล็ก หรือคอนกรีต วางในลักษณะของ ลูกกรง (cage) เป็นการเรียงขององค์ประกอบของเสาและคานที่มีที่ว่างและสามารถปิด ผิวที่ว่างด้วยวัสดุที่เราต้องการ เช่น กระจก อิฐ หรือแผ่นไม้ แนวคิดหลักก็คือ วัสดุที่ปิด ช่องว่างไม่จำเป็นต้องถ่ายแรงโดยการก่อตัวกันแต่จะถูกรับด้วยโครงที่เกิดขึ้น ทำให้ สามารถต่อโครงได้สูงเท่าที่ลิฟต์จะสามารถส่งคุณขึ้นไปด้านบนได้ _ of _165 117


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ปัญหาทางด้านความงาม (aesthetic) เกิดขึ้นเมื่อเราสร้างโครงอาคารเหล็ก ขึ้นไปได้สูงหลายสิบชั้นและใช้อิฐสำหรับผิว (อิฐเป็นเปลือกอาคาร) เราจะโชว์ความจริง โดยให้เห็นโครงเหล็กในลักษณะของ filler หรือเราก่อปิดบังโครงเหล็ก (cover) เพื่อให้ อาคารดูเป็นวัสดุเดียว

filler or cover คนที่ต้องการสื่อถึงสัจจะวัสดุ จะบอกว่าเป็นการโกหกถ้าจะเอาโครงเหล็ก ทั้งหมดซ้อนไว้หลังกำแพงอิฐ แต่อีกด้านหนึ่งก็จะเถียงว่า “การซ้อน” ถ้าอย่างนั้นเวลา เราซ้อนท่องานระบบต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเช่นกันหรือเราควรแสดงทุกท่อ โชว์ ออกมาให้เห็นนอกอาคารด้วย? แต่ทั้งสองเทคนิคที่กล่าวมาจะคล้ายกันในรูปแบบคือมี การถ่ายแรงต่อกันลงมา การก่อสร้างแบบแผงหรือการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป (panel and prefabrication system) ในวงการก่อสร้าง เทคโนโลยีในโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง

_ of _165 118


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

อย่างรวดเร็วแต่ก็ดูจะเชื่องช้าในวงการก่อสร้างที่จะใช้ระบบการผลิตแบบโรงงาน อุตสาหกรรม การทำซ้ำในระบบที่เห็นได้ชัดเจนคือในวงการยานยนต์หรือเครื่องมือ เครื่องใช้ในบ้านต่าง ๆ แต่ในการก่อสร้างอาคาร ยังเป็นการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ใน สถานที่ก่อสร้างเป็นเรื่องที่ใช้เวลาเช่นเดียวกับที่รุ่นพ่อทำกันเป็นแบบแผน แต่แนวโน้ม ของวงการก่อสร้างก็จะเริ่มเปลี่ยนไปสู่ระบบของการเตรียมส่วนประกอบสำเร็จรูป นอก สถานที่ก่อสร้าง สามารถเตรียมพื้น ผนัง หน้าต่าง ให้เป็นแผงประกอบในโรงงานและ ขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้าง การประกอบด้วยใช้น๊อตเกลียวหรือเชื่อมให้ติดกัน ในบาง กรณีก็จะประกอบเป็นส่วนของห้องทั้งหมด เช่น ห้องครัว หรือ ห้องน้ำ โดยปรกติแล้ว ขนาดของระบบสำเร็จรูปจะถูกจำกัดด้วยความกว้างของถนน ทางรถไฟ หรือ เส้นทางการขนส่งต่าง ๆ จากโรงงานไปยังสถานที่ก่อสร้าง แต่ข้อจำกัดอีกประการหนึ่ง คือการยอมรับในระบบของการก่อสร้างนี้ ในการก่อสร้างระบบสำเร็จรูป เพื่อจะ เป็นการลดงานประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ในสถานที่ก่อสร้าง แต่บางครั้งความรู้สึกที่จะ ต้องทำการก่อสร้าง จะทำให้คนงานที่เคยชินจะถอดชิ้นส่วนที่ส่งมาและมาประกอบกัน ใหม่ ในมุมของความงาม (aesthetic) ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปอาจจะไม่สามารถหนี จากความจำเจของแผงที่วางซ้ำ ๆกันได้ เนื่องจากพื้นฐานของระบบนี้คือการทำให้เป็น ชุด (Unit) ที่มีขนาดเท่า ๆ กัน สะดวกในการประกอบเป็นข้อจำกัดในการจัดวางแต่ใน ภาพอนาคตของระบบก่อสร้างการใช้ระบบสำเร็จรูปก็เป็นทิศทางที่ควรจะเป็น การก่อสร้างระบบโดมโค้งและเปลือก (Dome Vaults and Shells) ในการ ก่อสร้างที่เป็นแบบมวลหรือแบบโครง ก็จะเป็นการถ่ายแรงลงที่พื้นโดยตรงแต่ในช่วงยุค แรกของการก่อสร้าง มนุษย์ก็ได้ค้นพบวิธีการถ่ายแรงตามแนวโค้ง (Arch) เพื่อให้ สามารถเปิดช่องบนกำแพงให้เป็นประตูและหน้าต่าง ช่างสมัยก่อนใช้วิธีตัดหินให้เป็นรูป ร่างเหลี่ยมที่มีด้านที่สอบเข้ามา (wedge-shape) และสามารถวางเป็นแนวโค้งเพื่อให้ หินแต่ละก้อนสามารถถ่ายแรงลงด้านข้าง (lateral thrust) แนวคิดเดียวกันได้พัฒนาใน มิติที่สามคือความลึก ทำให้สามารถสร้างหลังคาโค้ง (Vault) คล้ายกับท่อแบ่งครึ่งที่วาง ขนานไปบนพื้นดินและการที่แนวโค้งหมุนรอบแกนเป็นวงกลม แทนที่จะตรงไปเหมือน หลังคาโค้งจะทำให้เราได้ โดม (Dome) และในการออกแบบถ้านำองค์ประกอบของ

_ of _165 119


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

หลังคาโค้ง โดม และ ซุ้มประตูโค้งมารวมกัน จะทำให้เราได้ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ของยุค ไบเซ็นไท (Byzantine)

Load carried by Arch ส่วนของการก่อสร้างระบบเปลือก (shell) นั้นมีการพัฒนาในยุคหลังถึงแม้ว่า พวกแม่ไก่ทั้งหลายจะอ้างว่าเธอรู้วิธีการนี้มานับพันปีแล้ว แนวคิดของการก่อสร้างนี้ที่มี หลักการไม่สลับซับซ้อน เราลองทำดูได้โดยนำกระดาษ A4 มาจับไว้ท่ีปลายด้านหนึ่ง เราจะเห็นว่ากระดาษอีกปลายหนึ่งจะตกปลายลงแต่ถ้าเราทำให้กระดาษมีความโค้งขึ้น เล็กน้อยจะเห็นได้ว่าการดาษแผ่นบาง ๆ เกิดความแข็งแรง (Rigid) ขึ้น ปลายอีกด้านไม่ ตกลงเช่นคราวแรก

_ of _165 120


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

หลักกการนี้ได้ถูกพัฒนาไปในทางคณิตศาสตร์ รวมถึงสถาปัตยกรรมศาสตร์ทำให้ สามารถสร้างรูปร่างในทางสถาปัตยกรรมได้นับไม่ถ้วน การก่อสร้างด้วยเปลือกคอนกรีต หรือใช้โครงเหล็กถักร่วมกับกระจกหรือพลาสติก

Vault and Dome ด้วยความที่ไม่สามารถจินตนาการในการออกแบบระบบเปลือกได้ง่าย ทำให้ การออกแบบรายละเอียดทางโครงสร้างจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง วิศวกรทั่วไปไม่ สามารถรองรับจินตนาการของสถาปนิกได้ ดังนั้นสถาปนิกผู้ที่คิดจะใช้ระบบเปลือกแต่ ไม่ได้รับคำแนะนำที่ดีจากวิศวกรเฉพาะทางอาจจะต้องปวดหัวและเข้าไปอยู่ในโรง พยาบาลเป็นเวลายาวนาน

_ of _165 121


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

shell construction การก่อสร้างแบบแขวน (Suspension System) การถ่ายแรงของระบบนี้มา จากสองวิธีการพื้นฐาน ถ้าเราสังเกตุให้ดีจะพบว่ามีความเหมือนของการก่อสร้างเต็นท์ และสะพานแขวน ทั้งสองรูปแบบจะมีการถ่ายแรงที่สายเคเบิ้ลและเสากระโดง สำหรับ สะพานแขวนจะรับแรงที่ปลายเคเบิ้ลแต่สำหรับเต็นท์จะมีผ้าใบวางอยู่บนเคเบิล แต่พื้น ฐานของทั้งสองก็เหมือนกัน

cable bridge

_ of _165 122


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ในการนำมาใช้กับงานสถาปัตยกรรมระบบของการดึงเคเบิลสามารถสรา้ง สรรค์งานสถาปัตยกรรมได้หลายรูปแบบ อันที่จะกล่าวถึงน่าจะเป็นการนำมาใช้ที่ ประสบความสำเร็จมากที่สุดโครงการหนึ่งนั้นคือการทำหลังคาคลุมสนามกีฬา (eq. NY Madison Square Garden) การใช้เคเบิลแทนที่จะดึงไปยังฝั่งตรงข้าม ก็จะมาจบที่วง เหล็กตรงกลาง (central ring)

tension and compression ring เมื่อเคเบิลถูกดึงให้ตึงขึ้นแรงจะถูกดึงออกจากวงเหล็กตรงกลาง จึงถูกเรียกว่า วงของแรงดึง (tension ring) ส่วนอีกปลายของเคเบิลจะถูกยึดไว้กับเหล็กวงนอกที่ถูก แรงกด (compression ring) เมื่อเหล็กทั้งสองวงและเคเบิลทำงานเป็นระบบจะทำให้ เกิดความแข็งขึ้น (rigid) และสามารถใช้วัสดุปิดผิวหลังคาได้เช่นใช้ กระจก พลาสติค หรือ คอนกรีตมวลเบา

_ of _165 123


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

การก่อสร้างโครงถักสามมิติ (Space Frame) ในระบบโครงสร้างกรอบ (frame) พื้นฐานนั้นจะถูกใช้เมื่อการข้ามช่วงกว้าง เกินกว่าความยาวปกติของไม้หรือ เหล็ก การประกอบเป็นทรัส (truss) หรือ โครงกรอบ จะเป็นสิ่งที่นำวัสดุเบามา ประกอบรวมกัน(เช่นท่อนไม้ชิ้นเล็ก ๆ มาประกอบเป็นโครง)แทนที่จะใช้ท่อนซุงขนาด ใหญ่

truss ในการประกอบโครงถัก (truss) ที่ดูน่าจะสลับซับซ้อนแต่ก็เป็นการถ่ายแรงใน ระนาบสองมิติที่มีจุดรับน้ำหนักอยู่สองด้านและรับแรงที่มากระทำจากด้านบน หรือน้ำ หนักอะไรก็แล้วแต่ที่เกิดขึ้นอย่างไรก็ตามถ้าเราวางแนวทรัสหลาย ๆ อัน ให้มาตั้งฉาก กัน คล้ายรูปแบบของรังไข่ (eggcrate) จะเกิดระบบโครงสร้างในสามมิติที่แข็งแรงขึ้น คล้ายกับแผ่นพื้นตัน และถูกเรียนกว่า (space frame) เป็นระบบโครงสร้างที่ยอดเยี่ยม ในการพาดช่วงกล้างมาก ๆ ได้อย่างดี และคำถามในเรื่องของสัจจะทางโครงสร้างก็ย้อนกลับมาอีกครั้ง : ว่าเราควร จะปิดบังโครงสร้าง (space frame) ด้วยหรือไม่? เพราะถ้าเราเปิดเผยให้เห็นโครงสร้าง จะให้ความรู้สึกโปร่งเบา แต่ถ้าปิดบังก็จะเป็นมวลขนาดใหญ่ที่มีนำหนักมากและ เป็นการโป้ปดต่อสัจจะโครงสร้าง แต่ในการออกแบบก็อาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะของ

_ of _165 124


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

โครงการ เช่น ศาลาว่าการของรัฐอาจจะต้องทำให้ดูมีมวลมากคล้ายอนุสาวรีย์ ในการ โชว์โครงสร้าง (space frame) นั้นอาจจะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นห้างสรรพสินค้าได้

space frame คำตอบ: อาจจะต้องย้อนกลับมาดูแนวคิดหลักของการออกแบบว่าเราจะ ออกแบบให้อาคารศาลาว่าการให้ดูจริงจังแค่ไหน ? ต้องการความเป็นอนุสาวรีย์หรือ ไม่ ? เราเข้าไปใช้งานในห้างสรรพสินค้าบ่อยแค่ไหน หรือเราไปในอาคารศาลาว่าการ มากกว่ากันและเรารู้สึกกับอาคารแต่ละชนิดอย่างไร ? อีกประเด็นที่มีความชัดเจนใน การแบ่งแนวทางในการสร้างงานสถาปัตยกรรมคือเทคนิคในการก่อสร้างที่มีประเด็น และมุมมองที่แตกต่างจากความงามที่ในแต่ละสิ่งก็ผูกพันกับลักษณะทางสังคมและ วัฒนธรรม โครงสร้างระบบอัดอากาศ (Air Pressure System) โดยธรรมชาติ ความดัน อากาศปกติที่ระดับน้ำทะเลจะอยู่ที่ประมาณ 14 ปอนด์ต่อตารางนิ้วถ้ามีแรงดันอากาศ มากขึ้นหรือน้อยลงเล็กน้อย คนเราก็จะไม่สามารถรับรู้ได้และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด เวลาเช่นตอนเราขึ้นเครื่องบินหรือขึ้นลิฟต์ ตัวอย่างถ้าเราเพิ่มอีก 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เราก็จะได้แรงดันที่ 144 ปอนด์ต่อตารางฟุตมากพอที่จะรับน้ำหนักของโครงสร้างบาง _ of _165 125


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ชนิดได้ สำหรับอาคารในงานแฟร์ (งานวัดในต่างประเทศ) สนามกีฬา อาคารชั่วคราว ทางทหาร หรืออะไรที่ใกล้เคียงสามารถสร้างหลังคาที่สูบลม (inflated roof) ได้ด้วย พลาสติกและเครื่องปั๊มลมยึดอยู่บนพื้นดินด้วยเคเบิล air inflated อาคารอัดอากาศในแนวคิดนี้สามารถสร้างโครงประกอบเช่นคานที่ทำจาก บอลลูนแนวคิดเช่นเดียวกับที่ใช้บอลลูนเส้นในงานเลี้ยงของเด็ก ๆ ที่เกิดความแข็งแรง เมื่อสูบลมนำมาเรียงต่อเป็นโค้งและใช้วัสดุที่เป็นผืน (canvas sheet) ปิดเป็นหลังคาได้ สามารถสร้างหอประชุมชั่วคราวขนาดใหญ่ กลับมาสู่ความหมายของความจริงหรือสัจจะทางโครงสร้าง (architectural honesty) จากข้อมูลของการออกแบบโครงสร้างที่เราได้นำเสนอมา เราหวังว่าความคิด ของคนทั่วไปที่จำเป็นต้องเกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรมจะไม่เป็นเพียงการรับรู้ใน แนวคิด แต่ควรจะรับความรู้สึกถึงแรงที่กระทำในโครงสร้างนั้น ๆ สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ จำเป็นต้องรู้ลึกถึงระบบของโครงสร้างและสามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบของมันออก มาได้ แต่ควรจะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งเพียงพอว่ามันจะมีความคงอยู่ได้อย่างไร เพราะ เราเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถเข้าใจว่า อาคารตั้งอยู่ได้อย่างไร เราก็จะรู้สึกหลง ไม่สบายใจ หรือล่องลอยไปเช่นเดียวกับการ

_ of _165 126


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

หลับไหลไปกับฝันร้าย คนที่ไม่เคยเห็นงานศิลปะแบบไม่จริง (surrealist art) อาจจะมี ความรู้สึกเช่นเดียวกัน ถ้าเขาไปในงานสถาปัตยกรรมที่ระบบของอาคาร เช่น โครงสร้าง ผนัง ผิวสัมผัส ที่เขาไม่เคยรับรู้มาก่อน ความจริงในท่ีสุดแล้วจะเป็นความหมายลงมาที่การสื่อสาร ตัวงาน สถาปัตยกรรมที่คุณออกแบบจะต้องสามารถบอกเล่าเรื่องราวให้ผู้คนที่ผ่านไปมารับ ฟังได้ว่าเขา (ตัวงานสถาปัตยกรรม) คืออะไร และเขาเป็นอะไรที่สามารถจับต้องได้อยู่ใน รูปสามมิติ ในที่ซึ่งแนวคิดถูกทำให้เป็นจริง และแนวคิดได้ถูกสื่อสารออกมาได้พบกับ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

_ of _165 127


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

_ of _165 128


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Fifteen : The Cityscape ภาพของเมือง Piercing the pool of smog, the city more and more resembles a patchwork of stalagmites, reaching up towards the ever more resentful cavern of the sky. โลกมีคนอยู่มากขึ้นและเมื่อเมืองเจริญเติบโตขึ้นตามจำนวนผู้พักอาศัยที่เข้า มาอยู่รวมกัน เกิดความแน่นหนาของประชากร (congested) และมีความชัดเจนที่ว่า การออกแบบงานสถาปัตยกรรมของสถาปนิกจะไม่สามารถออกแบบอาคารที่โดดเดี่ยว ได้อีกต่อไป แต่ละอาคารที่เกิดขึ้นในเมืองจะยืนแบบไหล่ชนกัน บังแสงซึ่งกันและกัน ตลอดจนบังมุมมองที่ดี ประชาการนับพันที่อยู่ในอาคารสำนักงานต่าง ๆ ในเมืองหลวง จะฝันร้ายสำหรับการเดินทาง รวมถึงการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในช่วงพักทานอาหาร กลางวัน เป็นหน้าที่รับผิดชอบของสถาปนิกที่จะต้องเป็นนักวางผังเมืองในคราว เดียวกันอย่างน้อยในทัศนคติที่ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้ ถ้าเขาละเลยใน ประเด็นนี้ผลของมันที่ปรากฎก็จะเกินที่จะเยียวยาได้ ดังนั้นจะเป็นความรับผิดชอบทาง สังคม จริยธรรม และศีลธรรม สถาปนิกต้องเรียนรู้ที่จะคิดงานให้เป็นระบบของเมือง มากกว่าอาคารเดี่ยว ๆ ด้วยความสลับซับซ้อนของคนที่มาอยู่รวมกันและปัญหาทาง เทคนิคอีกมากมายที่ต้องคิด สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ เราจะทำให้เมืองเป็นอยู่ได้อย่างไร ? เราต้องรู้ว่า เมืองนี้มีหน้าที่อะไรและให้ประโยชน์อย่างไรต่อผู้พักอาศัย รวมถึงค่าครองชีพที่ต้องจ่าย ในการพักอาศัยในเมืองนี้ เราอาจจะหาเหตุผลเพื่อมาสนับสนุน ได้สามประการพื้นฐาน 1) การค้าขาย (Commerce)จากบทแรก ๆ ที่เราเห็นลูกเขยของเดิค (Drk’s son-in-law) ที่สร้างเมืองเพื่อการค้าขาย เป็นโอกาสเชิงธุรกิจในการแลกเปลี่ยนเงินตรา

_ of _165 129


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เป็นศูนย์กลางของความร่ำรวย เราไม่สามารถจะรวยได้ใน ป่าในเขา หรือทะเลทรายยกเว้นว่าจะขุดเจอน้ำมัน ซึ่งจะทำให้คุณร่ำรวยและก็จะย้าย ไปอยู่ที่สำนักงานในเมืองอยู่ดี 2) การป้องกันภัย (Defense) ในยุคของชนเผ่าต่าง ๆ คนจะรู้สึกปลอดภัย มากกว่าถ้าได้อยู่ภายในกำแพงเมือง กำแพงที่มีกองทหารที่ถูกฝึกมาอย่างดี คนที่ ปลอดภัยที่สุดน่าจะเป็นท่านดุค (duke) เพราะไม่เพียงแต่กำแพงเมืองที่รักษาเขา เท่านั้น เขายังมีกองทัพที่คอยปกป้องให้ความปลอดภัยด้วยเช่นกัน แต่ปัญหาไม่ได้มา จากภายนอกเมืองส่วนใหญ่จะเป็นคนใกล้ตัวที่วางแผนโค่นอำนาจนั้นเอง 3) การบริการ (Services) เป็นคำที่กว้างมากและในที่นี้จะหมายถึงองค์ ประกอบเช่น สถานศึกษา มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด หรือโรงละคร แต่รวมไป ถึงความสะดวกสบายและความหรูหราของสถานที่ต่าง ๆ พร้อมกับผู้คนใหม่ ๆ ที่จะได้ พบเจออย่างไม่มีที่สิ้นสุด จากเหตุผลพื้นฐานสามประการเบื้องต้นสองข้อแรกนับว่าพ้นสมัยไปแล้ว ใน ศตวรรษที่ยี่สิบการทำการค้าและอุตสาหกรรมได้ย้ายตัวออกจากเมืองไปสู่ชนบทที่มี สภาพแวดล้อมที่ดีและมีพื้นที่สามารถขยายตัวได้มากกว่า กลายเป็นสวนอุตสาหกรรม (Industrial park) ห้างสรรพสินค้านอกเมือง (Shopping Center) ดึงลูกค้าโดยรอบ ทำให้ร้านในเมือง (downtown department store) ไม่สามารถทำการค้าได้ดีเท่า และสำหรับการป้องกันภัย ที่ ที่เคยมีความรู้สึกปลอดภัยหลังกำแพงเมืองนั้น ไม่เป็นความจริงอีกต่อไปในยุคที่อาวุธปัจจุบันเป็นจรวดมิสไซล์ที่สามารถกำหนดเป้า หมายและยิงข้ามทวีปมาได้อย่างง่ายดาย การทิ้งระเบิดทำให้เมืองเป็นเป้าหมายหลัก และไม่ปลอดภัย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เมืองต่าง ๆ โดนถล่ม อย่างราบคาบ สิ่งที่ยังคงอยู่น่าจะเป็นข้อสามในเรื่องของวัฒนธรรม (culture) และความ หรูหรา (luxuries) รวมถึงความสะดวกสบายที่มาพร้อมกัน ในการที่จะทำให้เมืองดำรง อยู่ได้เป็นที่สำหรับรองรับวัฒนธรรม เมืองจะต้องมีความสวยงาม มีสวนสาธารณะ มี _ of _165 130


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ถนนขนาดใหญ่ มีห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ โรงภาพยนตร์ และภัตตาคารหรูหรา ทั้งหมดที่ กล่าวมาต้องการ การวางแผน เป็นจุดที่สถาปนิกเข้ามาทำการออกแบบวางผังเมือง มีเมืองไม่กี่แห่งที่ได้รับการออกแบบตั่งแต่เริ่มต้น (from scratch) เมืองที่มีชื่อ เข้ามาในหัวตอนนี้คือบราซิลเลีย โดย ออสกานิมเมเยอร์ และ จันดิการ์ โดย เลอ คอบูซิ เออ แต่ทั้งสองเมืองก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จที่ดีนักตัวอย่างเมืองเก่า ๆ เช่น ปารีส หรือวอชิงตัน ดีซี ไม่ได้ถูกออกแบบมาตั้งแต่ต้น แต่เป็นการวางผังปรับปรุงใหม่ลงบน เมืองที่มีอยู่เดิม การที่สถาปนิกจะสวมหมวกของนักผังเมืองเป็นสิ่งที่สนองความอยากในการ ออกแบบของเขาเป็นอย่างมาก เขามองเมืองที่ยุ่งเหยิงถนนตัดไปมาทุกทาง ตำแหน่ง อาคารต่าง ๆอยู่ไม่ถูกที่ถูกทาง ระบบการจราจรสับสนและไม่มีจุดมอง (vista) สำหรับ เมือง เขาจะมองเห็นภาพเมืองอย่างที่ควรจะเป็น เขาเห็นถนนขนาดใหญ่นำสายตาขึ้น ไปสู่อาคารศาลาว่าการ ที่มีอนุเสาวรีย์ขนาบข้าง มีอาคารที่วางเรียงรายเป็นระเบียบ ศาลที่ออกแบบอย่างสวยงาม น่าเกรงขามและถัดจากพลาซ่าจะเป็นสวนสาธารณะ ขนาดใหญ่ที่แม้กระทั้งแนวคิดของโอมเสตทยังมาอยู่ในเงา ในความเป็นจริงแล้วผังเมืองที่เขาออกแบบจะต้องถูกตัดผ่านอาคารที่มีอยู่เดิม บ้านพักอาศัย หมู่บ้านชุมชนต่าง ๆ และเงินงบประมาณที่จะมาใช้ในการดำเนินการก็ไม่ ปรากฏ แต่มันก็ไม่ได้ทำให้เขารับรู้ว่า งานบนกระดาษนั้นถูกกว่าด้วยงบประมาณที่เล็ก น้อยที่จัดหาโดยคณะกรรมการของเมืองเพื่อวาดผังขนาดใหญ่ มีการนำเสนอรูป ทัศนียภาพ ที่วาดอย่างสวยงาม ด้วยตัวหนังสือที่ถูกต้อง ทำให้เมืองมีแผนผัง (City Plan) หรือถ้าลงรายละเอียดมากก็จะได้ มาสเตอร์แพลน (Masterplan) หลังจากงาน เปิดตัวงานผังของเมืองและทานอาหารกลางวันร่วมกันกับนายกเทศมนตรีและผู้ เกี่ยวข้อง สถาปนิก - นักผังเมืองได้รับคำชมอย่างดีแล้ว แปลนนั้นก็จะถูกฝังที่ห้องเก็บ ของที่ศาลาว่าการเมืองนั้น อาจจะขึ้นราและไม่มีใครพบเจอจนกระทั้งมีนักโบราณคดีมา ขุดพบ ด้วยความจริงแล้วเมืองจะคล้ายกับเด็ก เราอาจจะพาไปในทิศทางใด ๆ ได้ หรือให้คำแนะนำได้ หรือในจุดที่ต้องตัดสินใจอาจจะช่วยตัดสินว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” _ of _165 131


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

แต่ทั้งหมดจะเจริญเติบโตไปตามธรรมชาติของเขาและเป็นไปตามความต้องการของเขา เองไม่ว่าเข้าต้องการเมืองที่จะเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรม มันก็จะเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว ใน ระหว่างน้ีจะมีสิ่งที่เราสถาปนิกสามารถดำเนินการได้ถ้าไม่หัวแข็งไปเสียก่อน ประการแรก เราจะต้องกำจัดความคิดที่ว่าการวางผังเมืองเน้นหนักไปใน แนวทางของสังคมศาสตร์ ไม่ใช้สถาปัตยกรรมศาสตร์ เนื่องจากการวางผังจะต้องทำใน เรื่องของสถิติและตัวเลขต่าง ๆ มากมาย เป็นเรื่องที่สถาปนิกต้องเรียนรู้และยอมรับใน ทักษะทางตัวเลข เพราะเขาต้องรู้เรื่องของจำนวนประชากรที่เขาจะต้องออกแบบ ลักษณะของความเป็นอยู่ ความต้องการของแต่ละคนในแต่ละเรื่องที่เป็นสถิติรวมถึงตัว ของสถาปนิกเอง เพราะเขาไม่สามารถสร้างฝันหรือจินตนาการได้ด้วยตนเอง ประการที่สอง สถาปนิกต้องเข้าใจว่า การวางผังเมืองไม่ได้จบอยู่ที่โต๊ะเขียน แบบแต่เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี การพัฒนาอาจจะ ปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของคนในชุมชน รวมถึงกรรมการชุดต่าง ๆ ที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่น กรรมการโซนนิ่ง กรรมการที่อยู่อาศัยชุมชน กรรมการ อนุรักษ์ ฯลฯ อีกมาก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับค่าใช้จ่ายในการออกแบบ เขาก็จำเป็นต้องทำ เนื่องจากความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวังในกระบวนการของการวางผัง ความต้องการโรงเรียนใหม่ สถานีดับเพลิง ถนน หรือ สวนสาธารณะ เขาจะต้องใช้เวลา และความใส่ใจในการที่จะกำหนด จำนวน ชนิดของอาคาร และ ตำแหน่งที่เหมาะสม ประการที่สาม สถาปนิกต้องมีปัญญาและความกล้าหาญ มีปัญญาในการที่จะ มองเห็นทิศทางที่เมืองจะเจริญเติบโตไป ในเรื่องของสภาพความเป็นอยู่โอกาสทาง วัฒนธรรมและสาธารณูปโภคที่จะมารองรับ มีความกล้าหาญที่จะไม่รับโครงการที่ดูจะ ได้ค่าออกแบบให้กับตัวเองมหาศาลแต่ขัดกับประโยชน์ที่สังคมควรจะได้รับในภาพรวม ของการเจริญเติบโตของเมือง จะเห็นได้ชัดว่าถ้าไม่มีประเด็นของเงินค่าจ้างเข้ามา เกี่ยวข้อง การตัดสินใจบนพื้นฐานของปัญญาและความกล้าหาญเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ฉะนั้นบางทีผู้ที่มีประสบการณ์และอายุมากกว่า ดูจะไม่มีแนวคิด (idealist) เช่นเดียว กับผู้ที่ยังเยาว์วัยและไม่มีเงินในกระเป๋ามากนัก แต่มันก็จะไม่เป็นจริงในทุกกรณี ถ้าเรา ได้ผู้นำที่ไม่เห็นแก่ตัวที่มาจากผู้ที่ปฏิบัติวิชาชีพในระดับสูงมาแล้ว

_ of _165 132


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ประการที่สี่ สุดท้ายเมื่อสถาปนิกมองออกไปนอกหน้าต่างจากสำนักงานที่อยู่ บนตึกสูงของเขา เขาก็จะเห็นตึกสูงที่เป็นเพื่อนบ้านพุ่งทะลุกลุ่มควันไอเสียของเมือง เบื้องล่าง เขาต้องรำลึกได้ว่าสถาปนิกเป็นผู้ขีดเขียนอาคารเหล่านั้นด้วยปลายดินสอ เขียนแบบ ออกแบบสำนักงานที่คนนับพันเดินทางเข้าออกทุก ๆ วัน เดินทางจากบ้าน ชานเมืองบนถนนไฮเวย์ ขับรถคันใหญ่ที่ปล่อยควันเต็มบ้านเมืองบางที่ในระหว่างการ ฝึกฝน ให้เวลากับการออกแบบและลงแรงในการช่วยสร้างสรรค์แต่เมื่อเขาเห็นอาคาร เก่าที่สวยงามได้ถูกรื้อถอนลงเพื่อสร้างอาคารสำนักงานใหม่ทำให้เขาถามตัวเองว่าทำไม เขาไม่หาเวลาในการช่วยคณะกรรมาธิการด้านอนุรักษ์ สรุป ในเรื่องของเมืองนั้นไม่ใช่มีปัญหาในด้านการวางแผนและการออกแบบ เท่านั้นแต่ปัญหาแรกคือเรื่องคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เป้าหมายในชีวิตและความรับ ผิดชอบส่วนบุคคล เมื่อเมืองไม่มีความสวยงาม ไม่จำเป็นต้องดูที่ถนนหรืออาคาร ดูที่คน ที่อาศัยในเมืองนี้ก่อน ดูที่จิตใจ จิตวิญญานและความคิด ของคน เมื่อสิ่งที่อยู่ในคน สวยงามเมืองก็จะสวยงามตามในไม่ช้า

_ of _165 133


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

_ of _165 134


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Sixteen : Acoustics and Lighting เรื่องเสียงและแสง The acoustics of a railway station or air terminal are so much like those of a cathedral that when one sets out on a journey one automatically feels that one is in the hands of God. 1 คุณเคยไปทานอาหารที่ร้านปูพื้นด้วยกระเบื้องเงา ผนังและฝ้าที่ฉาบเรียบไหม คุณรู้ไหมว่าสถาปนิกไม่เพียงแต่ออกแบบพื้นที่สำหรับห้องอาหารให้คุณได้นั่งรับ ประทานเท่านั้นแต่เขายังมีผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารของคุณ ระดับความดันเลือด ของคุณ รวมถึงความสัมพันธ์ของคุณกับเพื่อน ๆ ที่มาทานอาหารด้วยกัน เสียงของจาน และช้อนส้อมที่กระทบกันและสะท้อนไปมาบนพื้นผิวเรียบ ๆ เป็นผลทำให้คุณต้องใช้ เสียงที่ดังขึ้น ในการที่จะสนทนากับเพื่อน ๆ เสียงดังจนบางทีไม่สามารถทนได้เช่นเดียว กับการไม่ใส่ใจในรายละเอียดหรือละเลยในเรื่องของเสียง (acoustic) อาจจะทำให้เป็น ปัญหาต่อนักดนตรีออเคสตราตลอดจนถึงผู้รับฟัง สิ่งที่นักดนตรีจะถ่ายทอดด้วยเสียง เพลง เช่นในหอแสดงดนตรีที่จัดได้ว่าดีที่สุดในเรื่องเสียงคือโรงอุปรากรฟิลฮาโมนิค (Philharmonic Hall) ในนิวยอร์ค เนื่องด้วยงานสถาปัตยกรรมจะมีผลต่อผู้คนที่ใช้งานอาคารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ ในเรื่องของเสียงในอาคารที่เกิดขึ้นไม่ว่าเขาจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มันเป็นสิ่งที่เขา จำเป็นต้องเรียนรู้และรับผิดชอบที่จะต้องหาความรู้เรื่องเสียงสำหรับการออกแบบ สถาปัตยกรรม เป็นงานที่ใช้การมองเป็นหลักในการรับรู้ เป็น visual art ที่จำเป็นต้อง ใช้การได้ยินมาเป็นองค์ประกอบเพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ ในการแก้ปัญหาของเสียงที่มีความสลับซับซ้อนจะเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับ สถาปนิกทั่วไป จึงจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการแก้ปัญหาแต่ด้วยหลักการ

_ of _165 135


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

พื้นฐานของเสียงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยากเกินกว่าจะเข้าใจ ถ้าสถาปนิกเข้าใจเรื่องพื้นฐาน เหล่านี้ก็น่าที่จะไม่สร้างปัญหาในเรื่องของเสียงที่เกิดภายในอาคารได้ มีปัจจัยที่ เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ ความดังของเสียง (Volume) เป็นความเข้มข้นหรือความดังที่เกี่ยวเนื่องกับ ระดับของเสียงที่เกิดขึ้น ระดับของเสียงวัดได้เป็นเดซิเบล (decibels) เสียงกระซิบหรือ ใบไม้ไหวจะอยู่ประมาณ 10 เดซิเบล บ้านที่เงียบ ๆ จะประมาณ 40Db (เดซิเบล = Db) ในสำนักงานที่ใช้เครื่องพิมพ์ดีด (เหมือนสมัยก่อนที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้) ประมาณ 80Db รถไฟฟ้า 100Db สว่านเจาะ 110Db เครื่องบินไอพ่นตอนทะยานขึ้น ฟ้า 120Db และ 125 เดซิเบลจะเป็นความดังที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหู ยังไม่มีตัวเลข สำหรับวงดนตรีร็อค แต่เท่าที่ทราบนักดนตรีจะมีความสามารถในการรับฟังลดลง ประมาณ 15% Hearing Loss ในเรื่องระดับของความดังเสียงเป็นสิ่งแรกที่สถาปนิกต้องคำนึงถึง คือ ออกแบบให้คนที่อยู่ภายในอาคารของเขาได้รับความปลอดภัยจากเสียงดังต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้น การลดเสียงโดยการใช้ผนังสองชั้นหรือผนังที่มีฉนวนที่หนาเพียงพอ ลดการนำเสียง ที่ผ่านกำแพง เขาต้องมีความละเอียดในการเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบอาคารที่เป็นต้น กำเนิดเสียงให้เหมาะสม ต้นกำเนิดเสียงอีกอย่างหนึ่งคือระบบสุขาภิบาลในปัจจุบัน เป็นต้นกำเนิดเสียงผ่านการใช้งานได้ตลอดเวลา (เสียงน้ำไหลลงท่อ เสียงปั๊มน้ำ ฯลฯ) ไม่มีใครจะจัดการเรื่องเสียงในท่อนี้ได้ง่ายนักรวมถึงเสียงที่มาจากเครื่องเสียงของเพื่อน บ้านที่รบกวนผ่านผนังและกำแพงเข้ามา เสียงสะท้อน reverberation เกิดจากคลื่นเสียงสะท้อนไปมาระหว่างกำแพง ฝ้าเพดานและพื้น เสียงมากระทบหูมากกว่าหนึ่งครั้งและแต่ละครั้งของเสียงที่มา กระทบหูจะมีความเข้มข้นของเสียงที่ลดลงจนกระทั้งหายไป ระยะเวลาจากต้นกำเนิด เสียงจนถึงเวลาที่เสียงหายไปนั้นเราจะเรียกว่า ที (t ) ระยะเวลาที่เกิดขึ้นจะมีความ เหมาะสมกับห้องที่ใช้งานแตกต่างกัน ด้วยความดังของเสียงแตกต่างกันเช่นในโรง ภาพยนตร์ ที่เราต้องการได้ยันนักแสดงพูดในระดับเสียงปรกติ การสะท้อนของเสียงยัง ช่วยให้คุณภาพของเสียงมีความคมชัด รวมถึงความก้องของเสียง (echo) ช่วยในการ บันทึกเสียงที่ดีขึ้น ในห้องที่เสียงตาย “Dead” เป็นห้องที่มีค่า t น้อยมาก ทำให้คนไม่ _ of _165 136


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

สามารถได้ยินเสียงที่พูดกัน รวมถึงเสียงดนตรีที่เสียงไม่เพราะ ในอีกมุมหนึ่งที่ห้องเสียง มีชีวิต “Life” ที่อาจจะมีค่า t ที่ทำให้คำพูดหรือโน๊ตเสียงเพลง สะท้อนมาซ้อนกัน ทำให้การได้ยินที่ไม่ชัดเจนและไม่สามารถจับใจความใด ๆ ได้ เป็นกรณีที่พบเจอได้บ่อย ๆ ในพิธีประจำโบสถ์ หรือพิธีกรรมอื่น ๆ สำหรับคนหมู่มาก

echo โดยหลักการแล้วห้องโถงที่จะใช้สำหรับการพูดควรจะมีค่า t ที่เล็กกว่างาน แสดงคอนเสิร์ต เนื่องจากคำพูดของคนจะเกิดความซ้อนทับและไม่ชัดเจนง่ายกว่าเสียง ดนตรี ในปัจจุบันค่าตัวเลขที่มีความสุงของตัว t สามารถคำนวณได้ใกล้เคียงความจริง ของการใช้งานของหอประชุมรูปแบบต่าง ๆ ในสมการพื้นฐานของการคำนวณเรื่องเสียง จะประกอบด้วยความดังของต้นกำเนิดเสียงกับอัตราการดูดซับเสียงของห้องที่จะ คำนวณ (ผนัง พื้น ฝ้าเพดาน) จะได้ผลลัพท์ในค่า t เป็นวินาที ถ้าห้องประชุมของคุณ ต้องการค่า t ที่ 1.5 วินาทีแต่การคำนวณได้ผลที่ 3 วินาที คุณต้องลดค่า t ลงโดยการ เพิ่มวัสดุในการดูดซับเสียงเช่นผนังผ้าม่าน พื้นพรมหรือผนังที่มีรูพรุน แต่ในทางกลับกัน ถ้าต้องการเพิ่มค่า t คุณต้องทำตรงกันข้ามคือลดในเรื่องของการดูดซับเสียงของผนัง โดยใช้กระจก พื้นกระเบื้องหรือวัสดุที่จะสามารถสะท้อนเสียงได้ดี (ผู้ชมในคอนเสิร์ตจะ

_ of _165 137


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ถือเป็นสิ่งที่ดูดซับเสียงเช่นกัน ดังนั้นในกรณีที่นั่งว่างมาก ๆ การออกแบบเก้าอี้จึงต้องมี ค่าในการดูซับเสียงเช่นเดียวกับผู้นั่งชม) เสียงก้องสะท้อน (Echo) ถ้าเสียงปรากฏซ้ำน้อยกว่า 1/16 ครั้งต่อวินาที หู ของคนทั่วไปไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นเสียงที่มากระทบคนละที แต่จะเป็นการได้ยิน อย่างต่อเนื่องที่เราเรียกว่าเสียงสะท้อน (reverberation) แต่ถ้าเสียงมีระยะห่าง มากกว่า 1/16 ครั้งต่อวินาที เราจะได้ยินเสียงที่แตกต่างกันคนละครั้ง เรียกว่าเสียง เอคโค่ (Echoป ในบางแห่งเช่นภายในถ้ำหรือระหว่างช่องเขา การเกิดเสียงเอคโค่ เป็น เรื่องที่น่าสนุก แต่จะเป็นฆาตกรรมเมื่อเกิดเอคโค่ภายในโรงละครหรือการแสดง คอนเสิร์ต เราจะทราบได้อย่างไรว่าภายในห้องจะเกิดเสียง เอคโค่ ความลับอยู่ที่ระยะ เวลาของเสียงที่เดินทาง ในระยะเวลา 1/16 ของวินาทีเสียงจะเดินทางได้ 90 ฟุต ดังนั้น ถ้าเสียงมีเส้นทางในการเดินเป็นแนวตรงไปสะท้อนผนังมากกว่า 90 ฟุต คนนั้นจะได้ยิน เสียงเดียวกันสองครั้ง ในแนวการแก้ปัญหาของเสียงที่จะสะท้อนกลับมาที่ผู้ฟังอยู่ที่รูปร่างการจัด วางผนังของภายในห้องที่ทำให้เสียงมีการกระจายไปแทนที่จะสะท้อนไปยังจุดเดียว เช่น การทำผนังซิกแซกหรือแยกผนังเป็นส่วน ๆ รวมถึงผนังที่มีรูพรุนจนทำให้เสียงไม่ สามารถสะท้อนไปได้

sound focus _ of _165 138


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

การทำจุดรวมเสียง (Focusing) เมื่อพื้นที่ภายในมีความโค้ง ไม่ว่าจะเป็นผนัง ที่โค้งเข้ามาหรือฝ้าเพดานที่กลมครึ่งวงกลมในลักษณะโดมจะทำให้เกิดจุดของการรวม เสียงไม่ได้กระจายอย่างทั่วถึงไปทั้งบริเวณของห้อง ในบางกรณีที่ผนังมีการเอียงทำมุมก็ จะเกิดการสะท้อนเข้าสู่จุดกลางของห้องเช่นเดียวกัน ในกรณีนี้จะทำให้บางส่วนของห้องมีความดังของเสียงมากกว่าจุดอื่น ๆและ บางมุมจะไม่มีเสียงเลย (dead sound) ดังนั้นจุดต้นกำเนิดเสียงเพียงจุดเดียวอาจจะไม่ เพียงพอในห้องที่ใหญ่ ด้วยระบบเครื่องเสียงในปัจจุบันที่มีไมค์โครโฟนและลำโพงต่าง ๆ ปัญหาทาง ด้านเสียงก็สามารถแก้ไขได้ด้วยระบบอิเล็กโทรนิค แอมปลิฟิเคชั่น (electrical amplification) แต่ก็มีอีกมุมหนึ่งของความรู้สึกที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น คำถามที่ว่า คุณภาพของเสียงจะอยู่ที่ตรงไหน ? เพราะด้วยเครื่องดนตรีที่มีความสลับซับซ้อนและผู้ เล่นที่เก่งกาจจะสามารถสร้างเสียงที่ดีอย่างวิเศษได้ และเป็นที่ยอมรับและพึงพอใจของ นักดนตรีทั้งหลายแต่วิธีการนี้ก็ไม่ค่อยจะได้รับรู้ในคนฟังทั่วไป เนื่องจากเสียงในปัจจุบัน สามารถสร้างได้โดยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ และการแสดงสดก็ไม่ได้อรรถรสเท่าท่ี ควรจะเป็น นักดนตรีบางคนถึงกับรู้สึกไม่ชอบที่จะใช้เครื่องมือมาเสริมในการแสดง เพราะเสียงบางอย่างเช่น เสียงเป่าปาก เสียงที่แปลกปลอมอื่น ๆ จะมาเป็นตัวทำลาย การเล่นดนตรีสดของเขาและบางที่ยังนึกหวังว่า ระบบต่าง ๆ ไม่น่าถูกค้นพบเลย บรรยากาศของเสียง (Ambiance) เป็นประเด็นสุดท้ายที่เราจะพูดกันถึงเรื่อง ของเสียง (acoustics) คนทั่วไปจะใช้เสียงกระซิบเมื่อเวลาพูดคุยกันในโบสถ์ รวมถึงจะ ไม่ใช้เสียงดังในภัตตาคารหรูหรานอกเสียจากเวลาไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควรจะเป็น ก็ อาจจะใช้เสียงบ้างแต่ก็คงไม่มาใช้บริการที่เดิมอีก ในทางกลับกันสถานที่เต้นรำเช่น ดิส โก้เทค ในช่วงที่ปิดบริการแล้วหรือในช่วงเวลาตอนกลางวันที่ไม่มีผู้คนจะมีความรู้สึกถึง สภาพบรรยากาศแปลก ๆ เราจะรับรู้ถึงสภาพอากาศที่ตาย (dead air) แต่ก็ไม่ใช่มา จากกลิ่นชื้น ๆ ของเฟอร์นิเจอร์หรือกลิ่นบุหรี่ที่ตกค้าง แต่เป็นเพราะที่ว่างนี้ต้องการแรง ขับที่มาจากลำโพงมหาศาลที่ทำให้การตกแต่งภายในดูแปลกปลอมในขณะที่ไม่มีเสียง ดนตรี

_ of _165 139


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

บทสรุป เสียงที่มีความเหมาะสม เกิดจากคุณภาพเสียง ที่เป็นองค์ประกอบที่ สำคัญสำหรับงานสถาปัตยกรรม เป็นที่น่าเชื่อถือว่า คนที่ไม่สามารถฟังเสียงได้ดี มี สุนทรียทางดนตรี จะสามารถเป็นสถาปนิกที่ดีได้ และไม่น่าแปลกใจที่ สถาปนิกส่วน ใหญ่จะรักในเสียงดนตรี music lover อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง Goethe ได้กล่าว ไว้ว่า สถาปัตยกรรมคือดนตรีที่ถูกแช่แข็ง "frozen music" 2 แสงและเสียงเรานำมาอธิบายรวมกันในบทนี้เนื่องจากมีหลายประเด็นพื้นฐาน ที่เหมือนกันและสามารถอธิบายในแนวทางเดียวกันได้ แต่ทั้งนี้เรื่องของแสงดูจะมีความ ใกล้ชิดกับงานสถาปัตยกรรมมากกว่าเรื่องเสียง เนื่องจากแสงทำให้เราเห็นรูปร่างของ งานสถาปัตยกรรม มันทำให้เรารับรู้ถึงขนาดมวล (mass) ความสูง (height) มิติของ ขนาด (volume) ผิวสัมผัส (texture) สี (color) และการประดับตบแต่ง (ornament) เป็นหลักของวิธีการสื่อสารทางสถาปัตยกรรม เราจะนำไปดูกระบวนการ ของแสงก่อน

lighting

_ of _165 140


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ความสว่าง (illumination) ถ้ามีความสว่างมากเกินไปมากระทบสายตา เรา ต้องใช้แว่นกันแดดแต่ถ้ามีแสงน้อยเกินไปอาจทำให้ปวดหัวได้เนื่องจากต้องเพ่งสายตา มอง โดยธรรมชาติระดับของความสว่างที่เหมาะสม (degree of illumination) จะขึ้น อยู่กับงานที่กำลังทำอยู่ ถ้าเป็นการมองหายี่ห้อของปลาแอนโชวี่ในชั้นขายของใน ซุปเปอร์มาเกต คุณอาจจะต้องมีแสงที่มากเพียงพอที่จะอ่านฉลากสินค้าแต่ถ้าเป็นการ ทานอาหารเย็นที่โรแมนติคหรืออยู่ในจังหวะของการขอแต่งงาน แสงควรจะมีความสลัว และสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมอาจจะเป็นใต้แสงเทียนที่ดูอบอุ่น หรือในโรงละครที่จะ ต้องมีระดับแสงที่หลากหลายเช่นภายในทางเดินที่เพียงพอต่อการหาที่นั่ง หรือแสงบน เวทีที่สาดส่องเพื่อให้เห็นการแสดงที่อลังการ หรือบางฉากที่ต้องการให้อารมณ์ก็อาจจะ ใช้แสงส่องไปยังตัวละครตัวใดตัวหนึ่งเพื่อจะแสดงในรายละเอียดเพียงจุดเดียวบนเวที ความสว่างของแสงเรามีระดับการวัดเรียกว่าแรงเทียน (foot-candles) เป็น ระดับของแสงจากเทียนหนึ่งเล่มที่วางห่างจากจุดรับแสง หนึ่งฟุต (ในการความหมายที่ เรียกขานกันส่วนใหญ่จะเป็นปริมาณแสง(วัตต์)ที่ต้องการในบริเวณของสิ่งต่าง ๆที่แสง ตกกระทบ เช่น 600 วัตต์ ที่เคานเตอร์ขายเนื้อ 200 วัตต์ที่แสดงผักผลไม้ และ 40 วัตต์ ที่เครื่องสำอาง เป็นตัวเลขที่ยกตัวอย่างมาเท่านั้น) ปริมาณหรือคุณภาพของแสงที่มา ตกกระทบเราวัดกันที่หน่วยลูเมน (lumens) เป็นปริมาณแสงจากเทียนเล่มหนึ่งบน พื้นที่หนึ่งตารางฟุตที่ระยะห่างหนึ่งฟุต การกระจายของแสง (distribution) ในระดับของแสงที่กระจายไปทั่วห้อง โถง ทางเดิน หรือบริเวณทั่วไปในอาคารนั้นเราเรียกรวมกันว่าแสงทั่วไป (general lighting) ที่จำเป็นต้องมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งานโดยปรกติและสะดวกสบาย เช่น การมองหาโต๊ะในร้านอาหาร การดูเอกสารที่เคานเตอร์ธนาคาร การต่อแถวซื้อตั๋วใน สถานีรถไฟ ฯลฯ ส่วนการใช้งานเฉพาะที่เช่น การอ่านเมนูอาหาร การกรอกเอกสาร ธนาคาร หรือการแต่งหน้า คุณจะต้องการปริมาณแสงที่มากขึ้นและฉายตรงจุดที่ใช้งาน เราเรียกว่าแสงเฉพาะที่ (local lighting) เป็นปรากฏการณ์เช่นเดียวกับเรื่องเสียงที่ผิวของผนังที่แสงตกกระทบเป็น ตัวแปรที่สำคัญเช่นบนฝ้าเพดานสีขาว เรียบและสะท้อนแสงได้ดีจะทำให้ระดับแสง ทั่วไปมีระดับที่สูงกว่าฝ้าเพดานสีเทาหม่น ผิวหยาบที่จะทำให้เกิดเงาดำไปทั้วพื้นผิว _ of _165 141


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

รวมถึงควบคุมไม่ให้แสงเฉพาะที่กระจายตัวได้ไกลถึงแม้ว่ามีจุดกำเนิดแสงที่สว่างมาก ก็ตาม แสงจ้า (glare) โดยธรรมชาติ “แสงจ้า” คือแสงที่มีปริมาณมากเกินกว่าที่ตา เราจะรับได้ เช่นแสงอาทิตย์เที่ยงวันหรือแสงที่สะท้อนออกมาจากหิมะที่ขาวโพลน ใน ร่างกายของเรา ระบบของการมองเห็นมาจากจอประสาทตา (retina) ที่ประกอบด้วย ระบบการรับรู้สองชุด (light sensitive nerve) ชุดแรกสำหรับแสงสว่างและสี ชุดที่ สองสำหรับในที่มืด และที่สำคัญระบบการรับแสงจะทำงานได้ทีละชุดไม่พร้อมกัน เมื่อ ชุดแรกทำงานชุดที่สองจะถูกปิดลง ตัวอย่างเช่นถ้าเราเข้าไปในโรงภาพยนตร์จากด้าน นอกที่มีแสงจ้าเราจะไม่สามารถมองเห็นทางเดิน ที่นั่ง หรือผู้คนข้างในเลย ในช่วงระยะ เวลาแรกนั้นเป็นเพราะภายในโรงไม่มีแสงที่สว่างเพียงพอที่จะทำให้ระบบการรับรู้ชุด แรกได้รับรู้และทำงานได้ รวมถึงระบบการรับรู้ชุดที่สองกำลังเริ่มที่จะรับรู้แสงสลัวและ เริ่มทำงานและเช่นเดียวกันเมื่อคุณออกมาจากโรงภาพยนตร์ที่ด้านอกจะสว่างจ้าจนไม่ สามารถมองเห็นได้ ระบบของการรับแสงจะต้องปรับการใช้งานให้สอดคล้องกับปริมาณ แสงในสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น จุดที่อาจเป็นปัญหาได้และจำต้องเน้นอีกครั้งคือระบบของการรับแสงจะ สามารถทำงานได้ชนิดเดียวในช่วงเวลาใด ๆ ก็ตาม ดังนั้นถ้าเกิดการทำงานพร้อม ๆกัน จะมีความสับสนในการรับแสงประสบการณ์ที่เกิดนี้จะทำให้มีสภาวะไม่น่าสบาย (discomfort) เป็นสิ่งที่เราเรียกว่า แสงจ้า (glare) เช่น ดวงไฟเปล่า ๆ ที่อยู่ในห้องที่มี แสงน้อยก็เป็น (glare) แสงเทียนในกล่องดำก็เป็น (glare) หรือแสงไฟหน้ารถที่ขับสวน ทางมาในตอนกลางคืนก็รวมเรียกว่า (glare) สรุปคือที่ใดก็ตามที่มีแสงที่แตกต่างและ กระตุ้นให้ระบบการรับแสงในจอตา ทั้งสองทำงานพร้อมกันทำให้เกิด (glare) บรรยากาศ (Ambiance) เช่นเดียวกับเสียงที่สามารถสร้างบรรยากาศในงาน สถาปัตยกรรมได้ในบางโอกาส การใช้แสงประดิษฐ์อาจจะต้องการ การใช้งานที่เหมาะ สมกับสถานที่ เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีลองจินตนาการถึงภายในวิหารที่โดนแสงจ้าสาด ส่องเช่นเดียวกับการฉายภาพยนตร์หรือภายในพิพิธภัณฑ์ที่สาดแสง ที่ผู้คนที่มาชม แทนที่จะส่องไปที่รูปภาพต่าง ๆ ถ้าคุณเป็นคนแคลิฟอเนียหรือเคยผ่านไปแถวนั้น ก็ อาจจะเห็นแสงสีต่าง ๆ ที่สาดส่องไปที่พุ่มไม้ มันมีหลากสีมาก ฟ้าเขียว เหลืองอำพัน _ of _165 142


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ถ้ามองในมุมบวกก็อาจจะชื่นชมในความคิดที่ไม่เหมือนใครในการจัดการแสง สำหรับงานสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะแสงที่ออกแบบให้สาดเข้าไปที่ตัวอาคารในเวลา กลางคืน ประเด็นสุดท้ายของบทนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่เริ่มใช้กันแพร่หลายและเป็นการ เปลี่ยนแปลงภาพของเมืองในยามค่ำคืนโดยเฉพาะในปัจจุบันที่อาคารสูงส่วนใหญ่จะมี ผิวที่เป็นกระจก ทำให้ระบบแสงภายในมีการออกแบบวางแผนให้ส่องสว่างออกมา ภายนอกด้วย ตัวอย่างของเกาะเมืองแมนฮัตตัน นิวยอร์ค (Midtown Manhattan NY) ในบรรยากาศตอนพลบค่ำในฤดูหนาวเมื่อแสงภายในสำนักงานต่าง ๆ ติดขึ้นมาจะดู เหมือนเครื่องประดับที่งดงามของเมืองเลยทีเดียว สถาปนิกผู้ไม่สันทัดในการใช้เครื่อง มือเหล่านี้ในการออกแบบก็จะจำกัดตัวเองอยู่ในวงแคบ ต่างจากสถาปนิกผู้มีความ ละเอียดอ่อนในศาสตร์ของแสงและเสียงจะสามารถเพิ่มความสุขและคุณค่าให้กับงาน สถาปัตยกรรม

_ of _165 143


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

_ of _165 144


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Seventeen: Ornament ส่วนประกอบงานสถาปัตยกรรม Calling it the “Mother of the Arts” indicates an assumption that architecture is female; it is therefore not surprising that, like all females, she is reluctant to be seen in public unadorned. โดยทั่วไปเราจะคิดว่า ออนาเมนต์ (ornament) หรือองค์ประกอบส่วน ประดับทางสถาปัตยกรรมประเภทนี้เป็นส่วนประดับประดาให้กับงานสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่ถูกแปะลงบนผิววัสดุหรือแม้กระทั้งสามารถรื้อออกได้เมื่อไม่ใช้งาน แต่ในยุค สมัยแรกของงานก่อสร้าง ออนาเมนต์ (ornament) จะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ออกแบบ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเช่น ปลายหอก ผ้าทอ หรืออาคาร ในตัวอย่างของลูกธนูที่ปลาย แหลมอยู่ด้านหนึ่งและมีขนนกอยู่ที่ปลายอีกด้านหนึ่งไม่ใช่แค่ทำให้มันพุ่งได้ตรงแต่ยัง เป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ด้วย รวมถึงลำตัวธนูที่อาจจะทำสีอย่าง สวยงาม หรือการแกะสลัก อาจมีคำที่เขียนให้ความหมายว่าเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้ ศัตรูถึงฆาต “Keen sight makes dead enemy” แต่ในผ้าที่ทอจะให้ความหมายอีก อย่าง เช่น หมายถึงคุณแม่ที่มีความสุข "Happy Motherhood" หรือในสิ่งของต่าง ๆ ล้วนถูกมนุษย์ให้ความหมายต่อตัวมันทั้งสิ้น ในขณะที่อาคารไม่ว่าจะเรียบง่ายหรือมี ความสลับซับซ้อนต่างก็ถือสัญลักษณ์บางอย่าง รูปร่าง หรือ คำแกะสลักที่ทำให้ผู้คนรับ รู้ถึงความคงอยู่และโครงสร้างที่อิงอาศัย (ตัวอย่างเช่น อาคารทางศาสนาที่ให้ความรู้สึก ถึงพลังบางอย่าง) มีบางกรณีที่องค์ประกอบของอาคารนี้มีความหมายในพิธีกรรมอะไรบางอย่าง จะปรากฎอยู่บนอาคารนานจนเลยข้ามเวลาของมันและกลายเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ใน อาคาร โดยความหมายที่แท้จริงของมันได้ถูกลืมไปตามยุคสมัยแล้ว ตัวอย่างเช่น ใบอะ ชันตัส (acanthus leaves) ที่ถูกผูกไว้ยอดเสาในวิหารโบราณในบางช่วงของวันสำคัญ กลายมาเป็นหินที่แกะสลักติดอยู่ที่ยอดเสาตลอดเวลา และติดกับอาคารโดยไม่ได้เกี่ยว

_ of _165 145


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เนื่องกับวันสำคัญต่าง ๆ นั้นอีก ในยุคของอียิปต์ จะผูกรวงข้าว (wheat) ไว้ที่ปลายเสา ไม่นานกลายเป็นภาพสลักส่วนหนึ่งของยอดเสาโดยไม่มีความผูกพันธ์กับฤดูกาลเก็บ เกี่ยวเหมือนสมัยโบราณแต่อย่างใด

column ถึงแม้ว่าความหมายทางพิธีกรรมหรือทางศาสนพิธีได้ถูกลืมเลือนไปจากการ ประดับประดาส่วนต่างต่างของอาคารแต่ความหมายทางสถาปัตยกรรมยังคงมีความ จำเป็นในการสื่อความหมายบางอย่าง ของตัวอาคาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความร่ำรวย (wealth) ความสำคัญของอาคาร (importance) หรือความงาม (elegance) หรือ เพียงแค่แสดงถึงความมีรสนิยมของเจ้าของอาคาร ในความหมายคือส่วนประดับประดา น่าจะเป็นสิ่งที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับตัวอาคาร (Integral) ไม่ใช้แค่สิ่งสวยงามที่มา แปะไว้ ให้ผู้คนชมเพียงแค่ว่า “สวยดีนะ สวยดี” แน่นอนละมันจะเป็นแนวคิดที่ดูดีถ้าจะทำได้เช่นนั้นแต่ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับคนหมู่มากทั่วไปรวมถึงสถาปนิกที่เป็นผู้มีความรู้ก็ยังมีทัศนคติที่ว่า (ornament) ก็เป็นเพียงสิ่งมาประดับเปลือกอาคารเท่านั้น ไม่ได้เข้าถึงหรือร่วมอยู่เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันกับตัวงานสถาปัตยกรรมได้ มีประโยชน์เพียงเพื่อโชว์เท่านั้นบางทีแนวคิดนี้อาจ จะถูกปลูกฝังมาจากการที่มีสถาปนิกที่เน้นด้านประโยชน์ใช้สอยของอาคาร

_ of _165 146


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

(functionalist) พร่ำสอนและมีประโยคที่ติดหู สถาปนิก เช่น “less is more” น้อยคือ มาก หรือ“ornamental is a crime” ส่วนประดับเป็นอาชญากรรม etc. ทำให้ในช่วง เวลานั้นส่วนประดับทั้งหลาย (ornamental) ดูจะจัดอยู่ในกลุ่มพวก อารมณ์สุนทรีย์ (sentimental) หัวเก่าโบราณ (traditionalistic) และที่ร้ายที่สุดคือพวกไม่ทำอะไร (reactionary) แต่ก็ยังดีที่มีปรากฎการณ์ย้อนกลับในช่วงหลังของศตวรรษที่ยี่สิบที่พวก เรายอมรับและเปิดกว้างให้กับรูปแบบความหรูหราของลาย (pattern) สีสัน (colors) การแกะสลัก (carvings) เช่นเดียวกับสมัยคุณปู่แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ คุณภาพของงานที่ประดิษฐ์ด้วยมือ (craftsmanship) ได้ถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรหรือ ระบบอุตสาหกรรมทั้งสิ้นทำให้คุณภาพของงานประดับประดาลดลง ความรู้สึกของวัสดุ ที่แท้จริงได้ถูกกลืนหายไปกลายเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่สามารถปั๊มออกมาเหมือน ๆกัน นับล้านชิ้น ในการคำนึงถึงประเด็นของงานประดับประดาอาคารสถาปนิกที่ดีควรมีความ เข้าใจในการใช้งานของส่วนประดับเหล่านี้ ไม่เพียงตามไสตล์หรือรูปแบบที่ใช้ให้ถูกต้อง แต่รวมถึงที่มาของลวดลาย (social origin) และความหมายในการใช้งาน (function) ส่วนประดับเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรม (Ornament is language) ที่ทำหน้าที่ มากกว่าความสวยงามแต่จำเป็นต้องมีความหมาย สำหรับผู้ที่เข้าใจในงาน สถาปัตยกรรมส่วนประดับเพียงน้อยนิดก็มีความจำเป็นในการอ่านความหมายของงาน สถาปัตยกรรม เรื่องราวที่ควรเป็น orientation การทำความคุ้นเคยถ้าเราเชื่อว่าส่วนประดับ ประดา (ornamental) เป็นส่วนหนึ่งของตัวงานสถาปัตยกรรมแล้วทั้งสองสิ่งจะ เป็นการสื่อความหมายให้กับตัวอาคารร่วมกันและบ่งบอกตัวตนให้กับผู้ที่มาใช้งาน อาคาร (impression) ให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็น ตัวอย่างเช่นถ้าเห็นรูปด้านหน้าอาคาร ที่มีเสาเรียงรายอยู่เป็นจังหวะ มีหน้าจั่วด้านบนที่แกะสลักสวยงามด้านหน้าอาคารมี บันไดขึ้นหลายขั้นและขนาบบันไดทั้งสองข้างด้วยสิงโตหินแกะสลัก จากที่เห็นเราไม่ ต้องใช้เวลาในการคาดเดาว่าอาคารนี้ควรเป็นอาคารอะไรแต่รับรู้ในทันที่ว่าต้องเป็น อาคารของรัฐ พิพิธภัณฑ์ ศาลปกครอง ที่มีความเก่าโบราณ (traditionalistic institutional)

_ of _165 147


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

front of building - caricature ต้องระลึกว่าการใช้รูปแบบงานประดับประดาจากของดั้งเดิมในประวัติศาสตร์ นั้นแต่ละอย่างก็จะมีที่มาไม่ว่าจะเป็นรูปแกะสลักหรืองานประดับต้องใช้ให้สอดคล้อง กันมิเช่นกันจะกลายเป็นตัวการ์ตูน ตัวตลกไป (caricature) ถ้าในมุมตรงกันข้ามเราเห็นอาคารที่มีลักษณะร่วมสมัย (contemporary) ที่มี ส่วนประดับรวมถึงประติมากรรมเช่นในปัจจุบัน (modern) เราก็อาจจะอ่านอาคารนี้ว่า เป็นวิทยาลัยสมัยใหม่ อาคารทางศิลปะ หรือสำนักงานขององค์กรสหประชาชาติ (UN) หรืออาคารประเภทเดียวกัน ดังนั้นรูปทรงของอาคารและส่วนประดับประดานั้น จะ เป็นการสื่อถึงตัวงานสถาปัตยกรรมที่ดีและชัดเจนที่สุด ถ้าเราจะจินตนาการในจุดที่ขีดสุดลองนึกถึงสถานที่กลางคืนเช่นดิสโก้เทคใน ฮอลลีวูด ถนนซันเซ็ท (sunset strip) รูปทรงของอาคารที่ตั่งใจจะทำให้เป็นที่แปลก ประหลาด (bizarre) ในขณะที่ส่วนประดับ (ornament) ก็วิ่งข้ามกันไปมาตามอำเภอ ใจ และสื่อให้เห็นว่าภายในมีการใช้งานศิลปะสื่อผสมเช่นดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ภาพยนตร์ และแสงสี (psychedelic light) เป็นประเด็นที่อาจทำให้เกิดความซ้ำซ้อน

_ of _165 148


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ที่ส่วนประดับประดาเป็นสื่อของตัวงานสถาปัตยกรรมและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออก จากกันได้ ทิศทาง (direction) เวลาเรามองสิ่งต่าง ๆ ลูกตาเราจะกลอกไปมาอย่างเป็น ธรรมชาติโดยเฉพาะเมื่อมองในพื้นผนังเรียบ ๆ ขนาดใหญ่แต่อาจจะหยุดมองจุดใดจุด หนึ่ง ที่มีความน่าสนใจ เช่นตำแหน่งของภาพวาดที่ผนัง หรือ ประติมากรรม และเมื่อ สายตาจับไปที่ต่ำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเท้าก็จะก้าวเดินไปในทิศทางนั้น ถึงแม้ว่าเป็น ตำแหน่งที่ไม่สามารถเดินไปถึงได้เช่นภาพวาดบนฝ้าเพดาน แต่ใจของเราก็ได้เข้าไปถึง จุดนั้นแล้ว ดังนั้นสถาปนิกสามารถใช้ส่วนประดับ (ornament) เพื่อเป็นการกำหนด ทิศทางของการมองและจุดสนใจให้กับผู้ที่มาใช้งานในอาคาร เช่นในการสื่อถึงทางเข้าตัว อาคารจากภายนอก สามารถใช้ส่วนประดับในการสื่อถึงทิศทางของประตูทางเข้าหลัก จากภายนอกเพื่อลดความกังวลใจในการค้นหาทิศทางเมื่อมาถึงอาคารนี้ในครั้งแรก ทำให้ผู้ใช้อาคารได้ประสบการณ์ที่ดี ในการออกแบบภายในส่วนประดับก็จะมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ลองดูตัวอย่างของการประดับประดาอย่างสุด ๆของหิ้งบนผนังที่ดึงความสนใจของ สายตาไปหรือในบริเวณรอบเตาผิงที่ไม่ได้ประดับอะไร ทำให้เราไม่ทันสังเกตเห็นว่ามีอยู่ โดยเฉพาะอาคารสาธารณะที่การใช้ส่วนประดับต่าง ๆ มีความสำคัญที่จะทำให้การ ออกแบบห้องโถงหรือทางเข้าประสบความสำเร็จ บางครั้งการจัดวางส่วนประดับหรือประติมากรรมก็ไม่สามารถเข้าใจและใช้ งานได้ดีเช่นการวางรูปปั้นไว้ใกล้ประตูทางออก ผลคือผู้คนที่อยู่ด้านในจะรู้ทิศทางใน การเดินออกอยู่แล้วทำให้ไม่มีความจำเป็นในการบอกทิศทางนั้น ส่วนผู้คนที่เข้ามาใหม่ ก็อาจจะหยุดสนใจในรูปปั้นนี้ ทำให้ขวางประตูและขวางเส้นทางการเดินเข้าของคนอื่น อีกประการหนึ่งคือระดับความเข้มของแสงจากภายนอกที่สว่างกว่าภายใน ทำให้เกิด glare การปรับความรับรู้ของแสงทำให้รูปปั้นที่วางไว้นี้ไม่สามารถมองเห็นได้ดีนัก จึง เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบไม่เข้าใจ ในพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นอาคารสาธารณะ (public building) ห้างสรรพสินค้า (mall) หรือลานกว้าง (plaza) ส่วนประดับนี้จะทำให้เกิดทิศทางในการให้จุดสนใจ _ of _165 149


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

กลาง (center of interest) เพื่อที่จะช่วยให้การมองจากผู้ใช้งานสามารถกำหนด ทิศทางได้ ไม่ให้หลงทางเช่นประติมากรรมกลางสวน น้ำพุที่ตรงกลางลานหรือภาพ เขียนฝาผนังในศาล สิ่งที่กล่าวมานี้ทำให้งานสถาปัตยกรรมถูกใช้งานได้อย่างราบรื่น ทุก ๆวัน ถ้าคิดเพียงแต่ความสวยงามหรือความประทับใจที่ไร้ค่า ก็จะเป็นข้อด้อยที่เกิดขึ้น ในการใช้งานของสิ่งประดับประดาและขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของ ornament แน่ละ ในการที่จะทำให้ศิลปินผู้วาดภาพหรือประติมากรผู้แกะสลักให้เข้าใจถึงความ ต้องการของสถาปนิกว่าต้องมีภาพวาดตรงนี้ไม่ใช่ตรงนั้นหรือขนาดรูปปั้นที่ต้องใหญ่ ไม่ใช่เล็ก ๆ อาจจะเกิดการถกเถียงและมี ego ของแต่ละฝ่าย สถาปนิกหลายคนได้เจอะ เจอประสบการณ์แบบนี้จึงตัดสินใจว่าจะไม่ใช้ ภาพวาด หรือรูปปั้นมาประดับประดา ยกเว้นส่วนที่ประดับที่อยู่ในวัสดุเท่านั้น ส่วนประดับในวัสดุ (Built-in ornament) วัสดุหล่ออย่างที่สามารถนำมา ประดับประดาผนังของอาคารได้เป็นอย่างดีเพราะมีลวดลายในตัวเนื้อวัสดุโดยไม่ต้องพึ่ง ศิลปินต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น หินอ่อน เราพบว่าจะมีความหลากหลายในสีสันและเส้นตาม ธรรมชาติที่อยู่ภายในก้อนหิน หินอ่อนที่มีความละเอียดจะให้ความงามในตัวมันปรากฏ ออกมา คนที่พยายามจะวาดรูปทับไปบนหินอ่อนดูจะเป็นคนเสียสติอาจจะต้องเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลโรคจิต รวมไปถึงไม้ที่มีความหลายหลายในสีสันและเส้นใย (ปัจจุบันที่มีไม้เทียมเลียนแบบ ทำให้เกิดการถกเถียงในความเหมาะสมและความหมาย) วัสดุในรูปแบบนี้เรารวมเรียกว่าวัสดุจากธรรมชาติ (natural ornament) แต่ก็จะมีวัสดุ อีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้งานได้ดีเช่นกันแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่นคอนกรีต บล๊อค (precast concrete block) หรือ อิฐมอญก้อน (terra cotta block) ในที่รูป แบบของวัสดุจะถูกกำหนดโดยสถาปนิก ในหมู่ผู้ที่ใช้วัสดุรูปแบบนี้เช่น Edward Durrell Stone และ แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright) แต่ความรับผิดชอบ ในการออกแบบและจัดวางให้เกิดรูปแบบเฉพาะ ก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถของ สถาปนิก รสนิยม (taste) เป็นสิ่งที่อาจจะโทษกันไปมาได้ระหว่างสถาปนิกกับเจ้าของ งานว่าใครเป็นผู้กำหนดให้เกิดภาพลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น ใครจะไปรับรู้ ได้ถึงรสนิยมที่เกิดขึ้น เขาอาจจะหลงไหลในรูปนางฟ้าที่มีแสงวิบวับในขณะที่รูปภาพที่ ประดับมีแต่ความเกลียดชังหรือลูกค้าที่ต้องการเอาวงล้อเกวียนของคุณปู่ที่เก็บสะสมไว้ _ of _165 150


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

มาทำลวดลายในผนังที่ห้องโถงใหญ่ บางทีสถาปนิกอาจจะต้องทานยาแก้คลื่นไส้สักเม็ด ก่อนที่จะเริ่มงานออกแบบก็เป็นได้ สถาปนิกในสมัยแรก (gentleman-architect) จะมี ความสามารถในการโน้มน้าวใจของลูกค้าได้ดี สามารจูงใจในจังหวะที่ถูกต้องเพื่อให้ได้ งานที่ถูกรสนิยม โดยสรุปแล้วถ้าสถาปนิกและลูกค้ามีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันใน เรื่องของส่วนประดับ (ornament) นี้ก็จะไม่มีปัญหาแต่ถ้าบังเอิญมีความขัดแย้ง ความ เห็นไม่ตรงกันและฝ่ายที่ชนะไม่มีรสนิยมที่ดีจะทำให้งานในภาพรวมดูเลวร้าย งานประดับทั้งหมด (Total Ornament) ถ้าเรายอมรับว่า ส่วนประดับประดา เป็นส่วนหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมแล้วนั้นเราอาจกล่าวถึงบางงานที่ใช้ส่วนประดับเป็น ตัวหลักของงานสถาปัตยกรรมได้เลยทีเดียว (entire building as an ornament) เมื่อ พูดถึงเรื่องนี้แล้วจะทำให้นึกถึงช่วงยุคหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมที่ใช้ส่วนประดับเป็น หลักนั้นคือยุค บาโรค (Baroque) เมื่อสถาปัตยกรรมถูกแทนค่าด้วยความเป็นพลาสติค (plastic medium) รูปทรงที่ถูกหล่อหลอมรวมขึ้นเป็นตัวอาคารทำให้ไม่สามารถรู้ว่า ส่วนใดเป็นโครงสร้างหรือส่วนใดเป็นงานประดับ (เช่นเดียวกันกับที่ไม่สามารถบอกได้ว่า สิ่งไหนดีหรือไม่ดี) ในมุมมองแบบมหภาพสถาปัตยกรรมก็จะเป็นส่วนประดับให้สภาพแวดล้อม ของมนุษย์ ในภาพของเมือง (urban scene) หรือในภาพชนบท (village) ที่เต็มไปด้วย อาคารนั้นหมายถึงผู้ที่อยู่ในเมืองนั้น ๆ แม้จะไม่ได้ออกแบบอาคาร ออกแบบแนวคิด ประดับประดาหรือออกแบบงานสถาปัตยกรรมเหล่านั้นด้วยตัวเองโดยตรงแต่ก็จะมี ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เช่นผู้คนในนิวยอร์ค จะมีความผูกพันกับ เลวรเฮาส์ (Lever House) หรือเมื่อเขากวาดสายตาไปเห็น เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (the World Trade Center) เขาก็มีความต้องการที่จะให้เมืองเขาเช่นเดียวกับผู้หญิงของเขาคือดูดีที่สุด ส่วนประดับอาคารในท้ายที่สุดคือเรื่องของความภูมิใจ (pride) เป็นสิ่งที่น่า สนใจถ้าเราจะหันมามองในสลัม ที่ผู้คนวาดรูปที่สดใสในผนังผุ ๆของที่อยู่ของเขาเพื่อบ่ง บอกความอะไรบางอย่าง ความภูมิใจเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของคนทุกคน (Pride is a universal emotion)

_ of _165 151


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

_ of _165 152


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

Chapter Eighteen : The Practice of Architecture การปฎิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม When a professional - doctor, lawyer, architect - speaks of his work as “practice” he is confessing that there is a lot he doesn’t know. Happily, he is also expressing a commendable willingness to learn. ในยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เป็นการ เปลี่ยนแปลงในทุกมิติของสังคมนุษย์ กิจกรรมที่ทำ สภาพเศรษฐกิจ ระบบอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ การปฏิบัติวิชาชีพ รสนิยมในเรื่องเพศ และงานศิลปะต่าง ๆ ที่ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาจะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะถ้าจะยึดคำจำกัดความเกี่ยวกับเรื่องใด ว่าเป็นเรื่องจริงมาอธิบาย นอกจากความเป็นจริง ณ ช่วงเวลานั้น เราจะมาทำความ เข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฎิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมในสองส่วน ส่วนแรกคือสิ่งที่เคย ปรากกฎมาจนถึงในปัจจุบันและส่วนที่สองคือการเปลี่ยนแปลงที่น่าจะนำไปสู่อนาคต ด้วยความรู้สึกระมัดระวัง เราควรต้องย้ำว่าสถาปัตยกรรมเป็นงานที่ให้บริการ (service profession) ที่สถาปนิกไม่ได้เป็นผู้ซื้อขายที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างอาคารเหมือน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือเขาจะได้รับเงินจากผลกำไรของการก่อสร้างนั้นเช่นเดียว กับผู้รับเหมา เขาขายความสามารถในการออกแบบและเป็นที่ปรึกษาสำหรับงาน ก่อสร้าง ในการนี้เขาจะได้รับเงินจากการประกอบวิชาชีพ (architect fee) ที่อาจจะ คำนวณจากตัวเลขงบประมาณในการก่อสร้างนั้น ตัวอย่างเช่น การออกแบบอาคารพัก อาศัยส่วนบุคคล (private residential) อาจจะได้รับค่าแบบประมาณ 10% ถ้าบ้านมี ราคา $50,000 เหรียญ ดอลล่าร์ จะได้ค่าแบบที่ $5,000 เป็นค่าแบบที่สามารถเรียก เก็บได้มากกว่า ถ้าเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่มีลูกค้าต้องการให้เขาออกแบบให้ การ ออกแบบใหม่หรือการออกแบบซ่อมแซมอาคารอาจจะมีค่าแบบถึง 15% ได้ แต่สำหรับ อาคารขนาดใหญ่ อพาทเมนต์ สำนักงานและอื่น ๆ ที่งบประมาณการก่อสร้างมีมูลค่า สูงกว่าสร้างบ้านเดี่ยวเป็นอย่างมาก หลายล้านเหรียญ ดังนั้นค่าออกแบบที่คิดเป็น

_ of _165 153


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เปอร์เซ็นต์จะลดลงอย่างมาก เนื่องจากการออกแบบอพาร์ตเม้นต์นั้นมีความยุ่งยากพอ ๆ กับการออกแบบบ้านเดี่ยว เพียงแต่การจัดการอีกยี่สิบหรือสามสิบชั้นที่เป็นอาคารสูง นั้น แบบแปลนส่วนใหญ่ก็จะมีความคล้าย ๆ กัน ถ้าสถาปนิกได้รับค่าแบบสัก 5-6% ของโครงการ $100 ล้านนั้น ค่าแบบจะมีจำนวนที่สูงมาก ถ้าได้รับงานในระดับนี้ทุก ๆ ปีเขาคงจะมีปัญหากับการเสียภาษีรายได้แน่นอน การปฎิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมโดยส่วนใหญ่จะมีอยู่สามช่วงดังนี้ การออกแบบร่างแนวคิด (Schematic Design) หลังจากสถาปนิกได้ปรึกษา พูดคุยกับเจ้าของดูสถานที่ก่อสร้าง ศึกษาเรื่องงบประมาณต่าง ๆ รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่ สำคัญสถาปนิกก็จะตระเตรียมแบบสเก็ต (sketch) แบบแปลนบางทีก็จะมีโมเดลหุ่น จำลองของงานออกแบบและรูปด้านที่สวยงาม เพื่อให้เจ้าของบ้านได้ชื่นชมและเข้าใจ แบบ ต้องทำความเข้าใจว่าในช่วงนี้จะเป็นแบบร่าง (sketch) ไม่ใช่แบบที่นำไปก่อสร้าง (blue print construction drawing) ด้วยส่วนใหญ่จะมีรูปทัศนียภาพ แสดง บรรยากาศ ต้นไม้ ท้องฟ้า ผู้คน รถยนต์ เป็นภาพที่ทำให้เจ้าของเป็นภาพอาคารที่สร้าง แล้วเสร็จ (ในยุคนั้นจะเป็นรูปทัศนียภาพที่จะสื่อให้เห็นอาคารที่ออกแบบ แต่ในปัจจุบัน จะเป็น 3D image หรือแสดงเป็นภาพยนตร์สั้น video แทน ยิ่งไปกว่านั้น ด้วย เทคโนโลยี vertual reality สามารถเดินเข้าไปสัมผัสอาคารได้แสมือนจริงใน คอมพิวเตอร์) หลังจากเจ้าของให้ไฟเขียวที่จะทำงานต่อแล้วค่าใช้จ่ายก้อนแรกที่ 10-15% ของค่าออกแบบจะถูกจ่ายให้สถาปนิก โดยประมาณจากตัวอย่าง $5,000 จะ ได้รับ $500-$750 แต่ถ้าลูกค้ายังไม่พอใจกับแบบร่างแนวคิดนี้ ก็อาจจะให้สถาปนิกนำ กลับไปทำรูปแบบใหม่ ๆ มาให้เลือกอีกแต่ถ้าถึงจุดที่ไม่พึงพอใจ อาจจะเปลี่ยนสถาปนิก ก็ได้โดยที่จะต้องแจ้งให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร สถาปนิกก็จะได้รับค่าจ้างเพียงส่วน ที่เขาทำงานไป การออกแบบร่าง (Preliminary Design) เป็นการทำงานพัฒนาต่อจากแบบ ร่างแนวคิด (schematic design) ที่ครอบคลุมถึงเรื่องแนวทางและแนวคิดหลักของ อาคารที่ออกแบบแล้ว จะเป็นการทำงานลงในรายละเอียดของแบบ โดยพื้นที่ใช้งาน ต่าง ๆ จะถูกร้อยเรียงให้อยู่ในต่ำแหน่งที่เหมาะสม เช่น ทางเดิน บันได ห้องโถง ห้อง ต่าง ๆ ตรงตามความต้องการของเจ้าของ การใช้งานและความสวยงามจะต้อง _ of _165 154


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

สอดคล้องกันรวมถึงอยู่ในงบประมาณของการก่อสร้างอีกด้วย ทั้งนี้แบบร่างแนวคิดอาจ จะถูกปรับเปลี่ยนไปบ้างแต่ยังคงแนวคิดหลักเพื่อให้รูปแบบทั้งสองสามารถนำไปสู่งาน ออกแบบขั้นต่อไปได้ เมื่อทุกอย่างลงตัวและทุก ๆ ฝ่ายเห็นพ้องต้องกันสถาปนิกก็จะได้ รับค่าแบบอีก 20-25% เป็นจำนวนเงินราว $1,000-$1,250 เหรียญ จากตัวอย่างค่า ออกแบบที่เราจินตนาการขึ้นข้างต้น การทำแบบก่อสร้าง (Working Drawing) เป็นส่วนที่ยากและต้องมีความ ละเอียดละออที่สุดในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมเนื่องจากส่วนประกอบ ทั้งหมดที่จะมาเป็นอาคารจะต้องถูกเขียนขึ้น วาดขึ้นในแปลนของทุกชั้นรายละเอียดทุก อย่างจะต้องอยู่ในมาตราส่วนที่วัดได้อย่างแม่นยำ เพื่อที่จะใช้แบบเหล่านี้สื่อสารกับช่าง ก่อสร้างอาคารให้เข้าใจได้ตรงกัน นอกจากนี้จะต้องมีรายละเอียดทางการก่อสร้างที่ เขียนขึ้น (specification) เพื่อบ่งบอกถึงคุณสมบัติของวัสดุและคุณภาพของแรงงานที่ ต้องการในการก่อสร้างอาคารนี้ ทั้งสองส่วนนำมารวมกันเรียกว่า แบบสัญญาสำหรับ ก่อสร้าง (Contract Documents) โดยที่ผู้รับเหมาจะสามารถนำเอกสารเหล่านี้ไป ศึกษาเพื่อทำราคาสำหรับงานก่อสร้างให้ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เมื่อเอกสาร สำหรับก่อสร้างได้จัดทำขึ้นเรียบร้อย สถาปนิกมีหน้าที่ในการให้คำแนะนำ (consultant) ต่อเจ้าของเพื่อคัดเลือกผู้รับเหมา โดยอาจจะเลือกจากผู้รับเหมาสามถึงสี่ รายที่มีความสามารถ มีชื่อเสียงและมีผลงานก่อสร้างเสร็จเป็นที่ยอมรับ เอกสาร ก่อสร้างจะถูกส่งให้ผู้รับเหมาได้ตรวจตราและคำนวณค่าก่อสร้าง เพื่อมาประมูลราคา สุดท้ายที่สามารถสร้างได้ตามรูปแบบในเอกสารสัญญา ทางเจ้าของจะนัดวันในการเปิด ซองประมูลพร้อมกันโดยมีสถาปนิกเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำ การคัดเลือกอาจจะไม่ได้ เลือกจากผู้ที่ประมูลในราคาต่ำสุดเพียงอย่างเดียวเพราะผู้ให้ราคาถัดไปอาจจะดูดีกว่า แต่ผลที่ออกมาอาจจะล้มการประมูลทั้งหมดได้ ทั้งนี้แบบที่ทำมาอาจจะถูกส่งกลับไปที่ โต๊ะเขียนแบบใหม่ (back to the drawing board) สำหรับการปรับปรุง (revision) หรือ ล้มเลิกโครงการไป ในการประมูลแบบนี้เราจะเรียกว่า การประมูลราคารวม (lump sum bid) โดยราคาที่ผู้รับเหมาเสนอจะรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นใน โครงการ ในบางกรณี ตัวอย่างเช่นการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ที่ตัวเงินนั้นไม่สำคัญเท่า คุณภาพของงานเป็นเรื่องหลัก หรือในบางกรณีเรื่องของความรวดเร็วเป็นเรื่องหลัก ทำให้มีการเสนอราคาอีกรูปแบบคือ การบวกราคาตามงาน (cost-plus bid) ซึ่งเจ้าของจะจ่ายค่าใช้จ่ายตามจริงที่ผู้รับเหมาดำเนินการก่อสร้างและบวกเพิ่ม _ of _165 155


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เปอร์เซ็นต์ตามที่ตกลงกันไว้สำหรับกำไรของผู้รับเหมา และในวิธีการนี้จะเป็นที่ใฝ่ฝัน ของผู้รับเหมาทุกราย ในการดำเนินงานถึงช่วงนี้ เมื่อเอกสารสำหรับการก่อสร้างได้ทำอย่าง เรียบร้อย สถาปนิกควรจะได้รับค่าออกแบบอีก 40-50% ของยอดตัวเลขค่าออกแบบ ในที่นี้เป็นเงินประมาณ $2,000- $2,500 เหรียญ การดูแลหน้างานก่อสร้าง (supervision) เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่สำคัญในการ ก่อสร้างอาคาร ด้วยสถาปนิกจะต้องเข้ามามีส่วนที่จะติดตามงานก่อสร้างให้เป็นไปตาม แบบแปลน เขาควรจะแวะเวียนไปยังสถานที่ก่อสร้าง ในระยะเวลาที่แตกต่างกันเพื่อ ติดตามผลงานว่าเป็นไปตามรูปแบบที่ได้ออกแบบไว้ อย่างถูกต้อง รวมถึงได้มีเวลาให้ ทางผู้รับเหมา สอบถามในประเด็นของการออกแบบ การใช้วัสดุ ฯลฯ ที่อาจจะไม่เข้าใจ ชัดเจน ของรูปแบบในการก่อสร้าง และอาจจะเขียนแบบเพิ่มเติมในรายละเอียด ใน ส่วนนี้ สถาปนิกจะไ้ด้รับอีก 10% ของค่าแบบ ในระหว่างงานก่อสร้างจะมีช่วงเวลาที่กำหนดเฉพาะเจาะจงเพื่อให้สถาปนิก ได้ตรวจสอบการก่อสร้างและนำรายงานเสนอเจ้าของงานเพื่อการเบิกจ่าย (certificate of payment) ช่วงเวลาต่าง ๆ แล้วเสร็จ ดังต่อไปนี้ 1) การก่อสร้างฐานรากแล้วเสร็จ (Foundation) 2) การทำโครงสร้างหลัก (Structure Framing) 3) การมุงหลังคา (Roofing) เป็นต้น เป็นความรับผิดชอบของสถาปนิกที่จะต้องดูให้การก่อสร้างเป็นไป ตามรูปแบบและเสร็จตามส่วนที่ควรจะเป็น สำหรับการเบิกจ่ายโดยที่ในบางกรณีที่ เป็นการกู้เงินจากธนาคารนั้นเจ้าของอาจจะไม่สามารถเบิกจ่ายผู้รับเหมาได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องผ่านการยินยอมจากสถาปนิกเสียก่อนรวมถึงต้องรู้ว่าผู้รับเหมาหลักได้จ่าย ผู้รับเหมารายย่อย (subcontractors) ด้วย มิเช่นนั้นหลังจากอาคารสร้างเสร็จ ไม่กี่ เดือน อาจจะมีช่างประปาหรือช่างไฟฟ้าจะมาทวงค่าจ้างเอาจากเจ้าของงานเนื่องจาก ผู้รับเหมาหลักไม่ได้จ่ายเงินเขา นอกเหนือจากคุณภาพของงานก่อสร้างที่จำเป็นต้องมีมาตรฐานที่ดีแล้ว การ ก่อสร้างให้ทันกำหนดเวลาในสัญญาด้วย ถ้าเปิดอาคารไม่ได้ตามกำหนดอาจมีผลทำให้ผู้ ว่าจ้างไม่สามารถคืนอาคารที่เขาเช่าอยู่และถูกปรับเป็นจำนวนเงินซึ่ง ไม่ควรเป็นค่าใช้ _ of _165 156


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

จ่ายที่ต้องเสียเพิ่มหรือในกรณีของการก่อสร้างโรงงานสำหรับการเช่า เจ้าของอาจจะ เสียรายได้จากค่าเช่าในเดือนแรก ๆ ถ้าโครงการไม่แล้วเสร็จตามแผน ดังนั้นในสัญญา ก่อสร้างจะระบุค่าเสียหายถ้าอาคารไม่เสร็จตามกำหนด ปรับตามวันที่ล้าช้าไป ถ้าเหตุ นั้นเกิดจากความบกพร่องของผู้รับเหมา ยกเว้นในกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัย (act of God) เช่น น้ำท่วม ไฟป่า หรือ การเดินขบวนประท้วง และสัญญาสามารถเขียนเพิ่มไปในแนว บวกได้ โดยการให้โบนัสในการก่อสร้างถ้าสามารถเสร็จก่อนเวลา เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จทุก ๆ คนจะได้รับส่วนแบ่งของค่าใช้จ่ายสถาปนิกก็ จะได้รับส่วนที่เหลือ 10-20% จากงวดสุดท้ายและสามารถบอกลาเจ้าของได้ แต่ อย่างไรก็ตามสถาปนิกก็ยังคงผูกพัน (ตามกฎหมาย) กับอาคารที่เขาได้ออกแบบไปจน ตลอดชั่วอายุของอาคารและอาจจะต้องเข้ามาแก้ปัญหาทางด้านสถาปัตยกรรมใน อนาคตสำหรับอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการปลอดภัยสถาปนิกควรซื้อ ประกันภัยสำหรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ณ เวลานี้เป็นที่ชัดเจนว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างรายได้ของสถาปนิกกับ เวลาและความทุ่มเทที่ให้ในงานออกแบบแต่ละชิ้น แต่แรงขับดันภายในที่จะออกแบบ สิ่งใหม่ ๆ สร้างสรรค์งานที่น่าสนใจและสามารถแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมได้ดี ก็อาจ จะไปดึงวิธีการแก้ปัญหาแบบเก่า ๆ ที่เคยทำผ่านมาในโครงการก่อนหน้า เนื่องจากไม่ ต้องการที่จะทุ่มเทสมองในการคิดอะไรใหม่ รวมถึงไม่มีเวลาให้กับโครงการนี้มากนัก เป็นสิ่งที่สถาปนิกส่วนใหญ่จะทำคือ รูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำกับของเดิมไปเรื่อย ๆ จนกระ ทั้งวันหนึ่งมีคนเห็นในวินาทีแรกก็จะจำได้ว่าใครเป็นผู้ออกแบบ นั้นหมายถึงงานที่ สถาปนิกทำมีความเฉพาะตัวและเป็นสิ่งที่ลูกค้าเลือกที่จะให้งานเป็นประเด็นแรก แต่ใน ขณะเดียวกันที่การสร้างสรรค์งานออกแบบที่น่าจะเป็นสิ่งใหม่สำหรับการแก้ปัญหาได้ อย่างพิเศษ ก็อาจจะตกไป เนื่องจากสถาปนิกไม่มีเวลาให้กับมันจนสุด หรือไม่คิดจน ครบทุกประเด็น และเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่า สถาปนิกก็ต้องรับผิดชอบต่อสังคมสภาพแวดล้อมที่ เขาดำรงอยู่ในสิ่งที่เขาออกแบบด้วยความสามารถ แต่ก็อาจจะถูกจำกัดด้วยสภาพสังคม หรือเศรษฐกิจที่เป็นแรงกดดัน ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบจะมีตัวแปรอีกชนิด

_ of _165 157


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

คือความเป็นอยู่ของตัวสถาปนิกเอง ที่ต้องกินต้องใช้ มันไม่ง่ายนักถ้าเขายังต้องจ่ายค่า เช่าบ้าน หรือคอยพะวงว่าเมื่อไหร่โทรศัพท์จะถูกตัด 2 เราอาศัยอยู่ในห่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก เร็วจนกระทั่งอนาคต กลายมาเป็นอดีตโดยที่ปัจจุบันผ่านเลยโดยเราไม่ได้รับรู้ได้ การเปลี่ยนแปลงในการ ปฎิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมก็เช่นเดียวกัน ในอนาคตข้างหน้ามีบางอย่างได้แปรเปลี่ยน ไปและบางกรณีก็เปลี่ยนไปจนเราไม่ทันสังเกตุเห็นและพลาดโอกาสที่จะกำหนดจุด เปลี่ยนได้ทันเวลา มีรายละเอียดบางประการที่จะกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลง และมั่นใจได้ในระดับหนึ่งที่มันจะเกิดขึ้นจริง ประการแรก สิ่งที่จะหายไปคือการปฎิบัติวิชาชีพที่ทำด้วยตัวคนเดียว (individual practice) สถาปนิกในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีการทำงานร่วมกันในพวกพ้อง ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นักออกแบบ วิศวกร คนเขียนเอกสารข้อกำหนดทาง สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปนิก นักผังเมือง และอื่น ๆ แนวโน้มในลักษณะนี้เป็นที่ปรากฎ ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถในการพยากรณ์อนาคต ก็จะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน ระบบการก่อสร้างอาคารที่มีเทคโนโลยีสลับซับซ้อนทำให้ไม่ สามารถทำงานออกแบบได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว การทำงานหลายคนในโครงการจะเป็นผลบวกและผลลบต่อตัวตนสถาปนิกใน หน้าที่หลักที่เขารับผิดชอบ ที่มีต่อสังคมโดยรวม เข้าจะไม่สามารถใช้ความคิดของเข้า เป็นหลักได้อย่างเต็มที่ (Lost of Individuality) เพราะยังต้องคำนึงถึงเรื่องอื่น ๆ ที่มี ผลต่อความคิดเห็นของผู้ร่วมงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ในทางที่ดี คือเขาสามารถใช้ความ เชี่ยวชาญของทีมงานเพื่อให้ผลลัพท์ของงานออกแบบไปได้ไกลกว่าที่เขาสามารถจินตา การได้ด้วยตนเองคนเดียว ประการที่สอง ในเรื่องของค่าออกแบบของสถาปนิกจะต้องมีการคิดใหม่ เนื่องจากการออกแบบโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่จะไม่สามารถเริ่มด้วยรูปวาด (sketch) ของสถาปนิกได้อีกต่อไปเหมือนในสมัยก่อนแต่จะต้องเริ่มจากการวางผังเมือง การจัดการเรื่องเงิน รวมถึงประสานงานกับรัฐในประเด็นต่าง ๆ ในทุก ๆ เรื่องที่กล่าวมา _ of _165 158


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแทบทั้งสิ้น ในแต่ละประเด็นยังต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ รวมถึงกลุ่มพวก นักกฎหมาย นายธนาคาร การโฆษณา ฯลฯ ที่ทำให้ค่าออกแบบสูงถึง 15% ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอในการเฉลี่ยจ่ายไปยังส่วนต่าง ๆ แม้กระทั้งงานพื้นฐานเช่น การเขียนแบบก่อสร้าง การเขียนรายละเอียดวัสดุ ได้กระจายไปสู่บริษัทที่เชี่ยวชาญ เฉพาะทางต่าง ๆ ดังนั้นโครงสร้างในการคิดค่าใช้จ่ายของงานออกแบบ ในรูปแบบเดิม จะล้าสมัยไป สถาปนิกจะไม่ได้รับค่าออกแบบเช่นเดิมแม้จากบริษัทของตนเอง แต่จะได้ รับเป็นเงินเดือนแทนและอาจจะได้รับเงินปันผลปลายปีถ้ามีกำไรจากการออกแบบ การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบนี้ทำให้มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับ สถาปนิก เนื่องจากเขากลายเป็นลูกจ้างให้กับบริษัทและผู้ว่าจ้างก็คือเจ้านายของเขา และกรณีนี้ มีผลต่อระบบสังคมในสองประการ เรื่องแรกคือสถาปนิกจะมีความใส่ใจต่อ ความต้องการของลูกค้าหรือรายละเอียดทางรสนิยมของลูกค้าลดลง เป็นผลเสียที่อาจ จะได้รูปแบบของงานสถาปัตยกรรมที่ไร้ชีวิต เป็นสิ่งที่กระทบต่อภาพรวมของงาน สถาปัตยกรรม แต่เนื่องจากงานส่วนใหญ่จะไม่มีลูกค้าเฉพาะรายต่จะอยู่ในรูปแบบของ บริษัท หรือกรรมการบริษัท ความเสียหายจะอยู่ที่คำพูดกัน มากกว่าค่าเสียหายจริง ถ้า จะมองในทางบวกของการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม สถาปนิกจะถูกปลดจากแอก จากแรงกดดันของเจ้าของที่มีต่อตัวงาน ทำให้สามารถมองงานออกแบบได้กว้างขวาง ขึ้นและให้มีโอกาสของความเป็นสาธารณะมากขึ้น การออกแบบจะคำนึงถึงสังคมโดย รวมไม่ใช่คนใดคนหนึ่งเช่นแต่ก่อน ซึ่งจะนำเราเข้าสู่แนวทางสุดท้ายของการ เปลี่ยนแปลงที่เราคาดหวังไว้ ประการที่สาม การปฎิรูปในความเป็นไปได้ที่จะใช้สถาปนิกในการออกแบบ ไม่มีตัวเลขในการศึกษาที่ชัดเจนแต่เป็นการคาดเดาบนพื้นฐานของการศึกษา ประมาณ การว่ากว่า 80%ของงานก่อสร้างในสหรัฐอเมริกา ไม่ได้ใช้สถาปนิกเข้ามามีส่วนได้ ประโยชน์ในงานออกแบบ งานส่วนใหญ่ที่กล่าวมาจะไม่จำเป็นต้องใช้สถาปนิก หรือ สถาปนิกไม่ต้องการทำ เช่น ออกแบบโรงรถ งานต่อเติมโรงงาน งานปรับปรุงร้านค้า รวมถึงงานอีกประเภทที่ไม่ได้ใช้สถาปนิกเนื่องจากเป็นงานขนาดเล็กที่สถาปนิกไม่ สามารถคิดราคาค่าออกแบบให้คุ้มกับการทำงานได้หรือเป็นงานที่เจ้าของมีแนวคิดที่ว่า ถ้าใช้สถาปนิกจะเป็นเรื่องสิ้นเปลือง เขามีค่าใช้จ่ายที่สูงและสิ่งที่สถาปนิกทำคือการเติม พื้นที่ต่าง ๆให้เต็มนั้นก็เป็นค่าใช้จ่ายเช่นกัน เจ้าของจะคิดว่า เขาน่าจะให้ โจ เพื่อน _ of _165 159


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ช่างไม้ ช่างก่อสร้างของเขาทำการก่อสร้างให้แทน โดยไม่จำเป็นต้องมีอะไรหรูหราเกิน ตัว แต่ในความเป็นจริงสถาปนิกสามารถประหยัดเงินของลูกค้าได้มากกว่า ตัวอย่างของ บ้านราคา $50,000 เหรียญ รวมกับค่าออกแบบอีก $5,000 นั้นสามารถออกแบบบ้าน ที่ใหญ่กว่าและใช้งานได้ดีกว่า บ้านราคา $60,000 เหรียญที่ไม่ใช้บริการสถาปนิก งานของสถาปนิกจะทำให้สูญหายไปในส่วนแรก ที่เริ่มจะเห็นได้ชัดแต่ใน อนาคตก็มีแนวโน้มในการหางานสถาปัตยกรรมทำ เช่นการก่อสร้างในระบบสำเร็จรูป (prefabrication) ถ้าคุณดูหนังสือพิมพ์วันอาทิตย์ในส่วนของข่าวอสังหาริมทรัพย์ก็จะ เห็นว่ามีการโฆษณาอยู่สองสามบริษัท ที่ทำการก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปมาพร้อมกับ เฟอร์นิเจอร์ มีรูปแบบให้เลือกหลายแบบพร้อมเข้าอยู่ภายในสองอาทิตย์ สร้างบนที่ดิน ของคุณส่วนใหญ่จะเป็นบ้านพักตากอากาศ แต่ในปัจจุบันมีบ้านที่ใช้อยู่แบบตลอดปี มากขึ้น ในมุมของเจ้าของที่ไม่ต้องการปัญหาในการออกแบบบ้าน การหารือกับ สถาปนิก พบกับปัญหาร้อยแปดที่ยังไม่เห็นผลลัพท์ของรูปแบบ ในเมื่อบ้านสำเร็จรูป สามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัย รวมถึงทราบราคาของบ้านที่เป็นสินค้า (price tag) ได้ ชัดเจน เป็นคำถามที่ตอบได้ยากในประเด็นของการใช้สถาปนิกยกเว้นลูกค้าที่มีความ ฝันส่วนตัวที่จะมีบ้านที่ไม่เหมือนใคร ดังนั้นบ้านสำเร็จรูปก็จะตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ และมีใครสักกี่คนที่จะมีความฝันถึงบ้านในรูปแบบเฉพาะที่ตนต้องการ คนส่วนใหญ่ ต้องการบ้านพักอาศัยเช่นเดียวกับรถยนตร์ ต้อง “รุ่นใหม่ล่าสุด” รุ่นที่เหมาะกับภาพ ลักษณ์ของตนเองและในราคาที่สามารถเอื่อมถึง แต่กระนั้นในการสร้าง อพาร์ตเม้นต์ สำนักงาน โบสถ์ เขายังต้องการสถาปนิกมาเพื่อมาออกแบบงานเหล่านี้เพื่อนช่างไม้ของ เขาไม่สามารถทำได้เช่นเดียวกับร้านขายยาข้างตลาดที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยน หัวใจได้ ในสถานะการณ์ปัจจุบันที่ยังมีความต้องการที่จะเปลียนแปลง ปรับปรุง แนวทางของการปฎิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมแต่สถาปัตยกรรมไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือ ใหญ่จะมีผลต่อผู้คนโดยส่วนรวม (ไม่ใช่มีผลต่อเจ้าของงานเท่านั้น) และมีผลกระทบใน หลาย ๆ ด้าน มีความต่อเนื่องจนยากที่จะสามารถให้เกิดจากความอยากของผู้มีเงินใน กระเป๋าเท่านั้น เพื่อการเปรียบเทียบในประเด็นนี้ ในสังคมของเราคงไม่ต้องการคนที่ _ of _165 160


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

เป็นไข้อีสุกอีใสเที่ยวเดินไปเดินมาในหมู่คนโดยไม่ได้รับการรักษา เขาจะทำให้คนส่วน ใหญ่ติดโรคเช่นเดียวกัน ดังนั้นเราจะจับเขาไปส่งโรงพยาบาลและไม่ปล่อยเขาออกมา จนกว่าเขาจะหายดี ถึงแม้ว่าเขาจะมีเงินในกระเป๋ามากมาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น เทียบเคียงกับงานสถาปัตยกรรมที่เป็นโรค ประเด็นปัญหามีอยู่ที่ว่า สถาปนิกออกแบบ โครงการภายใต้แรงกดดันของเจ้าของงาน ดังนั้นการที่จะได้งานออกแบบที่ดีจาก สถาปนิกเขาจะต้องเข้าใจในความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะเมื่อเขาออกแบบบ้าน พักอาศัยร่วมที่มีผลกระทบต่อคนหมู่มาก ในอนาคตวิชาชีพสถาปนิกน่าจะเป็นงาน ออกแบบเพื่อรับใช้สังคม (social service) ในปัจจุบันการศึกษาก็เป็นการบริการทางสังคม เช่นเดียวกับการดับเพลิง ตำรวจ และการส่งไปรษณีย์ รวมถึงการบริการทางสุขภาพส่วนใหญ่โดยเฉพาะใน สหรัฐอเมริกาจะเป็นการรับใช้สังคม ในอังกฤษหรือประเทศอื่น ๆ จะเป็นงานทาง สาธารณทั้งระบบแต่ก็ยังมีจุดบอดในระบบเช่นกัน (ในการบริการสังคมที่เก่าแก่ที่สุด เห็นจะเป็นในกองทัพบกและกองทัพเรือ) การที่สามารถคาดเดาสิ่งที่จะเกิดในอนาคตนั้นอาจเป็นไปในแนวทางของ วิชาชีพสถาปัตยกรรม อย่างน้อยส่วนหนึ่งควรจะเป็นงานบริการทางสังคมแต่จะเกิดขึ้น ในรูปแบบใดนั้นก็ยากที่จะคาดเดาในรายละเอียด แต่การปฎิบัติวิชาชีพน่าจะมีส่วน คล้ายของแพทย์ หรือ ทนายความที่สามารถใช้บริการได้ฟรีหรือจ่ายในราคาที่ประหยัด ค่าบริการวิชาชีพเต็มราคาจะถูกจ่ายมาจากเงินสังคมสงเคราะห์ (public funds) เช่น เดียวกับค่าบริการของหมอจากระบบประกันสุขภาพ medicare) แน่นอนละ เราจะมี สถาปนิกชื่อเสียงอย่าง แฟรงลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright) ที่คุณสามารถจ้างได้ใน ราคาเต็มที่ออกแบบเฉพาะงานสถาปัตยกรรมที่แตกต่างดังนั้น ณ ปัจจุบันระบบเก่ากับ ระบบใหม่สามารถดำเนินการไปพร้อม ๆ กันได้ เช่นเดียวกับวิชาชีพแพทย์ และวิชาชีพ ทนายความ ในสิ่งที่เราได้เรียนรู้และสัมผัสมาว่าสถาปัตยกรรมเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับ สังคม เป็นศิลปทางสังคม (social art) เป็นการสื่อสารของสังคม (social expression) รวมถึงเป็นสิ่งที่มีผลต่อสังคมโดยรวม (social factor) อย่างชัดเจน จวบจนถึงปัจจุบัน

_ of _165 161


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

การดำเนินการขั้นถัดไปก็ควรจะสร้างความตระหนักในการปฎิบัติวิชาชีพในปัจจุบันให้ ไม่ยึดติดกับ ระบบที่เคยดำเนินมาในอดีต ภายในปีสองพัน (Year 2000) ณ เวลาที่นักเรียนสถาปัตยกรรมจบไปเป็น สถาปนิกและอยู่ในจุดที่สูงสุดของ การปฎิบัติวิชาชีพ สิ่งที่เขาเรียนรู้จนถึงปัจจุบันจะ เป็นเพียงความรู้อันน้อยนิดส่วนเดียวที่เขาจะได้เรียนรู้ต่อ ๆ ไปในอนาคต นับว่าเป็น เวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้ที่เลือก วิชาชีพสถาปัตยกรรม

_ of _165 162


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ภาพโดย : Herman Leonard

ประวัติผู้เขียน Eugene Raskin

ประวัติ : ยูจีน รัสกิน เป็นผู้ที่มีแนวคิดและมุมมองของสถาปัตยกรรมที่มีความทันสมัย - ท่านรวม เอาสถาปัตยกรรมและสังคมเป็นบริบทเดียวกัน - ด้วยประสบการ์ที่มากล้น และมาจากหลายแง่มุม ของชีวิต ท่านเป็นอาจารย์สอนสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกามีงาน เขียนอีกหลายเล่ม เช่น Architecturally Speaking และ Sequal To Cities รวมถึงมีบทประพันธ์ใน ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัล เรื่อง How To Look At A City รวมถึงเป็นผู้ประพันธ์ บทละครเวทีสี่เรื่อง และนวนิยายอีกหนึ่งเรื่อง รวมถึงแต่งเพลง “Those Were The Days” ด้วยความหลากหลายของพื้นเพประสบการณ์ จึงเป็นการง่ายที่จะทำความเข้าใจกับตัว ท่านเองว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารได้อย่างเรียบง่าย มีความสนุก และเต็มไปด้วยประสพการณ์ตรง หนังสือเล่มนี้ผู้อ่านไม่จะเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านสถาปัตยกรรมเพื่อที่จะทำความเข้าใจ รวมไป จนถึงผู้ที่เป็นสถาปนิกที่ได้อ่านแล้ว อาจจะมีความฉงนกับมุมมองและสะท้อนในงานของตนเอง ใน ประเด็นต่าง ๆ เช่นด้านศีลธรรม ด้านสังคม หรือด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากงานสถาปัตยกรรม เกิด : September 5, 1909 - The Bronx, NY, United States ตาย : June 7, 2004 - Manhattan, NY, United States การศึกษา : Columbia University

_ of _165 163


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

_ of _165 164


สถาปัตยกรรมกับผู้คน

ประวัติผู้แปล โอชกร ภาคสุวรรณ Ochakorn Pharksuwan

ปัจจุบัน :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

งานบริหาร : ที่ผ่านมา

รองคณะบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รองผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ช่วยอธิการบดี / รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี

หนังสือ :

1 กราฟฟิกในการแก้ปัญหาสำหรับสถาปนิกและนักออกแบบ 2 โรงเรียนประถม - โครงการออกแบบสถาปัตยกรรม studio project 2/2552 3 วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม 2552 กระบวนการและผลงานออกแบบ

วิชาชีพ :

ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมหลัก (สามัญสถาปนิก)

การศึกษา:

ปริญญาตรี B.S. Architectural Engineering Tennessee State University, Nashville, TN., USA. ปริญญาโท M.Arch. (Building Technology) The University of Oklahoma, Norman, OK., USA.

_ of _165 165


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.