ชากแง้ว ชากแง้ว 1 ฝังรากที่
ตลาดชุมชน จีนโบราณ บ้านชากแง้ว ขอขอบคุณ นายไพรัตน์ ไตรศุภโชค นายกเทศมนตรีต�าบลห้วยใหญ่ นายนิยม เหมทานนท์ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านชากแง้ว นายสมหวัง สวัสดีมงคล สมาชิกเทศบาลต�าบลห้วยใหญ่
หนังสือฝงรากที่ชากแง้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ : ส�านักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี กระทรวงวัฒนธรรม ถนนมนตเสวี ต�าบลบางปลาสร้อย อ�าเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ๒๐๐๐๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๖๓ พิมพ์จ�านวน ๑,๐๐๐ เล่ม ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรม (พัฒนาและยกระดับชุมชนท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรมในวิถบี รู พาสูค่ วามยัง่ ยืน) จังหวัดชลบุรี ประจ�าปีงบประมาณ พุทธศักราช ๒๕๖๓ ภาพ : อภินันท์ บัวหภักดี / อดุล ตัณฑโกศัย / ชนาธิป อินทรวิชะ / ประยนต์ ช่างเเกวียน ธนดิษ ศรียานงค์ / กานต์ บุญเยาวลักษณ์ เรื่อง : ฐากูร โกมารกุล ณ นคร / กัลยาณมิตร ฉันทรางกูร ออกแบบและจัดพิมพ์ : บริษัท ครีเอท มายด์ จ�ากัด อ�านวยการผลิต : บริษัท สยามล้านช้าง จ�ากัด ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๕๔๓-๖๙๒-๒
งรากที่ 2 ฝัชากแง้ ว
ค�าน�า บ้านชากแง้ว หมู่บ้านเล็ก ๆ ในต�าบลห้วยใหญ่ อ�าเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่า เรื่องราว และภาพสะท้อนทาง ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อย่างมีเสน่ห์ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในปัจจุบัน หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้เป็น ภาพสะท้อนส่วนหนึง่ ทีถ่ า่ ยทอดพัฒนาการเชิงกายภาพ มิตทิ างเศรษฐกิจ สงั คม รวมถึง ศิลปวัฒนธรรมของผู้คนจังหวัดชลบุรีและในภาคตะวันออก ถิ่นฐานที่บรรพบุรุษอพยพมาจากแดนไกลเข้ามาท�ามาหากิน บุกเบิกพลิกฟื้น ผืนดิน เปลี่ยนที่ดินให้อุดมไปด้วยพืชไร่อย่างมันส�าปะหลัง พัฒนาจนชุมชนเล็ก ๆ ที่ตั้ง อยู่ระหว่างป่าและผืนทะเลตะวันออก กลายเป็นชุมทางการค้าขายผลิตผลทางการ เกษตร เป็นย่านตลาดเก่าที่มั่งคั่ง เป็นหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจของการ ค้าขาย ประเพณี วิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน และแนวคิดของ การร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเทีย่ วทางวัฒนธรรม และถนนสาย วัฒนธรรมภายใต้ชื่อ “ตลาดชุมชนจีนโบราณชากแง้ว” “ฝงรากที่ชากแง้ว” รวบรวมภาพถ่ายและเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน บ้านชากแง้ว ในวันที่การท่องเที่ยวเป็นทิศทางหนึ่งที่จะสื่อสารถึงคุณค่าของแผ่นดิน ถิ่นเกิด ให้ผู้คนต่างถิ่นได้เข้ามาท�าความรู้จัก มากไปกว่านั้นคือท�าให้อดีตที่เคยรุ่งเรือง และมีคุณค่าในชีวิตของคนที่นี่ได้ถูกถ่ายทอดและส่งต่อสู่คนรุ่นหลัง ส�านักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี กระทรวงวัฒนธรรม และชุมชนชากแง้ว มีความยินดียิ่งที่อดีตอันมีคุณค่าได้ถูกถ่ายทอดออกไปสู่วงกว้าง และเป็นจุดเริ่มต้น เชือ่ มโยงให้ผคู้ นในท้องถิน่ อืน่ ๆ ได้ทอ่ งเทีย่ วไปกับคุณค่าของอดีต ร่วมกันรักษา สืบสาน รวมถึงน�ามาถอดเป็นบทเรียน เพือ่ การพัฒนาถิน่ ฐานบ้านเกิดของแต่ละแห่งให้เต็มเปีย่ ม ไปด้วยความมั่นคงยั่งยืนด้วยมิติทางวัฒนธรรม ส�านักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี
ชากแง้ว 3 ฝังรากที่
บทที่ 1
ประวัติความเปนมา
ต้นธารจีนสยามภาคตะวันออก ริมฝัง่ ทะเลตะวันออกของอ่าวไทย เป็นทีต่ งั้ ของจังหวัดชลบุร ี หนึง่ ในจังหวัดทีม่ คี วามส�าคัญ ทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ไม่ เ พี ย งเท่ า นั้ น จั ง หวั ด ชลบุ รี ยั ง มี ช ายทะเล อันงดงามทอดยาวไปไกลถึง ๑๖๐ กิโลเมตร ภูมปิ ระเทศเป็นทัง้ ภูเขา ทีร่ าบ และลอนลูกคลืน่ สลับกันไป ท�าให้จงั หวัดชลบุรมี อี ากาศเย็นสบาย ตลอดทั้งปี ที่นี่จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ยอดนิยมที่มีชื่อเสียงมาช้านานในฐานะเมื อ ง ตากอากาศชายทะเลใกล้กรุงเทพฯ จนได้สมญานาม ว่า “เพชรนํ้าเอกแห่งบูรพาทิศ”
ชากแง้ว 5 ฝังรากที่
สืบย้อนไปถึงยุคสมัยทวารวดี เมืองชลบุรี ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานมาแต่โบราณ โดยเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรือง ถึง ๓ เมือง ได้แก่ เมืองพระรถ เมืองศรีพโล และ เมื อ งพญาเร่ จึ ง เป็ น แหล่ ง สั่ ง สมอารยธรรม มาเนิน่ นาน ผูค้ นชลบุรพี นื้ ถิน่ แท้จริงแล้วมีความ ผูกพันกับท้องทะเลอยู่มาก และยังคงรักษาวิถี การท�าประมงพื้นบ้านจนถึงปัจจุบัน จังหวัดชลบุรียังเป็นเมืองท่าส�าคัญมาแต่ ครัง้ โบราณกาล จึงมีชาวจีนล่องเรือส�าเภาขนาด ใหญ่เข้ามาค้าขายเป็นจ�านวนมาก จีนกับไทยจึง มีความใกล้ชดิ ติดต่อค้าขายกันมานานไม่ตา�่ กว่า พันปี ดังปรากฏซากเรือส�าเภาทีต่ อ่ ในไทยขุดพบ ได้ในแคว้นของจีน รวมถึงเรื่องราวที่ปรากฏใน พงศาวดารจีนอีกด้วย งรากที่ 6 ฝัชากแง้ ว
จากค�าร�า่ ลือถึงความอุดมสมบูรณ์ของแผ่น ดิ น เซี ย มล้ อ อั น หมายถึ ง ประเทศไทยแห่ ง นี้ ลูกหลานพันธุ์มังกรจึงต่างพากันอพยพล่องเรือ มาจากเมืองจีน เข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานในประเทศไทย เป็นจ�านวนมาก กลายเป็นชุมชนชาวจีนขนาด ใหญ่ จนกระทัง่ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมือ่ ราว ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวจีนในชลบุรีก็ได้ให้ความ ร่วมมือเป็นอย่างดีกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชในการกอบกู้เอกราชจนสามารถกอบกู้ เอกราชได้สา� เร็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เองก็ ท รงมี เชื้ อ สายจี น แต้ จ๋ิ ว พระบิ ด าของ พระองค์เป็นชาวแต้จิ๋ว เกิดในตระกูลแต้ อพยพ มาจากอ�าเภอ เถ่งไฮ่ (อ�าเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ ตั้งอยู่ริมทะเลในเมืองแต้จิ๋ว ซึ่งเขตปกครอง แต้จิ๋วเป็นศูนย์กลางภาคตะวันออกของมณฑล
กวางตุ้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๕) ได้เข้ามา ค้ า ขายในเมื อ งไทยตั้ ง แต่ ส มั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ต่ อ มาได้ ส มรสกั บ พระมารดาซึ่ ง เป็ น คนไทย พระเจ้าตากจึงพูดจีนได้หลายส�าเนียงไม่ว่าจะ เป็นแต้จวิ๋ กวางตุง้ หรือฮกเกีย้ น หลังจากพระองค์ เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว มีชาวแต้จิ๋วอพยพเข้า มาตั้งรกรากในเมืองไทยอีกนับแสนคน ท�าให้ ชาวจีนแต้จวิ๋ เป็นกลุม่ คนจีนทีม่ จี า� นวนมากทีส่ ดุ ในประเทศไทย ความสัมพันธ์ไทย-จีนในช่วงนั้น นับว่าแน่นแฟ้นมาก คนเถ่งไฮ่ในเมืองแต้จิ๋ว (เฉาโจว ในภาษา จีนกลาง) รู้จักเมืองไทยดีเพราะเป็นเวลาหลาย ร้อยปีแล้วที่คนเถ่งไฮ่เดินทางมาค้าขายที่เมือง ไทย ถึงกับมีค�าไทยที่กลายเป็นภาษาแต้จิ๋ว คือ ค�าว่า “ตลาด” แต้จิ๋วเอาไปใช้โดยออกเสียงว่า “ตั๊กลัก”
ชากแง้ว 7 ฝังรากที่
ชลบุรจี งึ ถือเป็นย่านทีม่ ชี มุ ชนชาวจีนทีใ่ หญ่ ที่สุดในภาคตะวันออก คนจีนในจังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่มเี ชือ้ สายแต้จวิ๋ ซึง่ ขึน้ ชือ่ ว่าร�ำ่ รวยมาก ทีส่ ดุ ในบรรดาชาวจีนทัง้ หลาย เพราะมีความฉลาด ขยันขันแข็ง เชีย่ วชาญการค้าและมีบทบาทส�ำคัญ ในเรื่องเศรษฐกิจ การประมง การเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ชาวจีนที่อยู่แถบชายทะเลท�ำการค้าและ การประมงอย่างกว้างขวาง มีเหลือจนสามารถ ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ส่วนคนจีนที่อยู ่ ถั ด เข้ า มาในเมื อ งมั ก ประกอบอาชี พ ปลู ก ผั ก ท�ำสวนผลไม้ ท�ำไร่อ้อย ไร่มันส�ำปะหลัง เลี้ยงหมู
งรากที่ 8 ฝัชากแง้ ว
เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ และค้าขายในตลาด เมื่อชาว จีนเข้ามาอาศัยอยูม่ ากจึงได้เกิดการผสมกลมกลืน กับชนดัง้ เดิม บ้างก็แต่งงานกับชาวไทย รับราชการ สืบลูกหลานเป็นชาวไทยมาหลายชั่วอายุคนจน พู ด ภาษาจี น ไม่ ไ ด้ แ ล้ ว ก็ มี แต่ ท ว่ า คนจี น ใน จังหวัดชลบุรีก็ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและ ประเพณีอนั ดีงามของตนเอาไว้อย่างเหนียวแน่น สะท้อนออกมาในรูปแบบงานเทศกาลประจ�ำปี ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเทศกาลตรุษจีน กินเจ เช็งเม้ง ไหว้พระจันทร์ เป็นต้น เหล่านีล้ ว้ นแสดง ให้ประจักษ์ถึงเอกลักษณ์ความโดดเด่นของคน ไทยเชื้อสายจีนในชลบุรีได้อย่างชัดเจน
วิถีจีนโบราณ
“ชากแง้ว”
ชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้ว หรือชื่อเดิม คื อ “ชุ ม ชนบ้ า นหนองชากแง้ ว ” ปั จ จุ บั น มักเรียกกันว่า เหล่าตั๊กลักชากแง้ว หรือ ชุมชน ตลาดจีนชากแง้ว ตามแต่จะเรียก ชากแง้ว เป็นหมูบ่ า้ นขนาดกลางทีต่ งั้ อยูใ่ น ต�ำบลห้วยใหญ่ อ�ำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ห่างจากทะเลราว ๘ - ๙ กิโลเมตร ห่างจากเมือง พัทยาประมาณ ๑๕ กิโลเมตรและอยู่ห่างจาก อ�ำเภอเมืองชลบุรี ๖๓ กิโลเมตร เป็นชุมชน เก่าแก่ทกี่ อ่ ตัง้ ขึน้ เมือ่ ประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยชาวจีนโพ้นทะเล ที่คนจีนเรียกว่า หัวเฉียว หรือ ฮัว้ เฉียว เริม่ จากตระกูลใหญ่ ๆ อาทิ ตระกูล แซ่ตั้ง แซ่น๊า แซ่เชียว แซ่จัง เป็นต้น ชาวจี น ที่ นี่ ส ่ ว นใหญ่ เ ป็ น ชาวจี น แต้ จิ๋ ว ที่ อ พยพมาจากมณฑลกวางตุ ้ ง ที่ ทั่ ว โลกรู ้ จั ก กันว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก เขตปกครอง แต้ จิ๋ ว ได้ ก ่ อ ก� ำ เนิ ด วั ฒ นธรรมที่ มี ชื่ อ เสี ย ง เลือ่ งลือในด้านภาษา อุปรากร อาหาร การชงชา ดนตรี งานแกะสลัก และการเย็บปักถักร้อย วัฒนธรรมแต้จิ๋วยังได้รับการพิจารณาว่าเป็น หนึ่ ง ในภาษาถิ่ น ที่ เ ก่ า แก่ ที่ สุ ด ที่ ส ามารถเก็ บ รักษาลักษณะอันสละสลวยงดงามของภาษาจีน โบราณเอาไว้ ชาวจี น แต้ จิ๋ ว นั้ น มี ภู มิ ป ั ญ ญาในการท� ำ เส้นก๋วยเตีย๋ ว ก๋วยจับ๊ เกีย้ มอี๋ การปลูกอ้อย และ ท�ำน�้ำตาลทรายมาแต่โบราณ เมื่อแรกเริ่มที่ ชาวจีนแต้จิ๋วเมื่ออพยพย้ายเข้ามาอยู่ในบริเวณ บ้านชากแง้วมีอาชีพหลัก คือ การท�ำการเกษตร ปลูกสับปะรด ปลูกมะพร้าว ปลูกอ้อย ท�ำไร่มัน ส� ำ ปะหลั ง โดยมี ก ารปลู ก มากถึ ง ขนาดที่ มี โรงงานโม่แป้งมากกว่า ๒๐ โรงงานด้วยกัน เช่ น โรงโม่ เจ๊ ก กั๋ ง โรงโม่ ๗ ๗๗ โรงโม่ ๕ ๕๕
ชากแง้ว 9 ฝังรากที่
(ปัจจุบันเหลือเพียงโรงโม่ชอไชยวัฒน์ที่ยังเปิด กิจการอยู่) ส่วนอาชีพรองคือ การเผาถ่านและ ท�ำเตาเผาถ่าน ด้วยสมัยนั้นยังใช้เตาฟืนกันอยู่ โดยน� ำ เศษไม้ จ ากโรงเลื่ อ ยมาเผาเป็ น ถ่ า น หมู่บ้านชากแง้วได้เจริญขึ้นเรื่อย ๆ มีทั้ง โรงโม่แป้ง โรงเลื่อย ฯลฯ ซึ่งต้องใช้แรงงาน มากมาย จึ ง มี ผู ้ ค นจากหลากหลายที่ เข้ า มา อยู่อาศัยที่บ้านชากแง้วแห่งนี้ จนกลายเป็น ย่านการค้าที่เจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟู ราวปี พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๕๑๕ ในยุคนัน้ ชากแง้วมีสถานบันเทิง ครบครั น ทั้ ง โรงหนั ง โรงฝิ ่ น โรงงิ้ ว และ สถานโคมเขียว ฯลฯ จนเมื่อมีการสร้างถนน สุขุมวิท ความเจริญจึงย้ายไปอยู่ทางฝั่งพัทยา บ้ า นชากแง้ ว จึ ง เริ่ ม ซบเซาลงตามล� ำ ดั บ กลายเป็นเมืองที่สงบเงียบเช่นในปัจจุบัน ชาวบ้านที่นี่ยังคงใช้ชีวิตเรียบง่ายสมถะ แต่คงไว้ซงึ่ อัตลักษณ์แห่งวัฒนธรรมจีน ร่องรอย ของสถาปัตยกรรมแห่งวันวานท�ำให้เราสามารถ สัมผัสได้ถึงกลิ่นอายของความเป็นย่านชุมชน ชาวจี น โบราณ ที่ ถ ่ า ยทอดผ่ า นวิ ถี ชุ ม ชน สถาปัตยกรรม ร้านค้า ศาลเจ้า ตลอดจนห้อง แถวไม้เก่าที่เรียงรายยาวตลอดสองฟากฝั่งถนน บางบ้านยังเป็นประตูไม้บานเฟี้ยมแบบโบราณ บางบ้านระเบียงไม้ยังคงแบบดั้งเดิมที่เชื่อมต่อ ถึงกัน สะท้อนความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่ สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ด้ ว ยความโดดเด่ น ของวิ ถี ชี วิ ต ชุ ม ชนจี น โบราณแห่งนี้นี่เอง เมื่อมีกระแสแนวคิดส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โดยชุมชนเกิดขึ้น จึงท�ำให้หน่วยงานภาครัฐ เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาชากแง้วให้เป็นหนึ่ง ในชุมชนต้นแบบ ด้านแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการ เรียนรู้วิถีชุมชนชาวจีนที่ยังคงรักษาวัฒนธรรม งรากที่ 10 ฝัชากแง้ ว
และประเพณีโบราณที่สืบทอดต่อกันมานาน นับร้อยปีเอาไว้ เมื่อมีการสานพลังความร่วมมือระหว่าง ภาครั ฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทุกภาคส่วน เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันสนับสนุน ให้ชากแง้วเป็นชุมชนต้นแบบ อันจะน�ำมาซึ่ง รายได้ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้ เจริญเติบโต น�ำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ของชุมชนอย่างยั่งยืน ชาวบ้านชากแง้วที่แต่ เดิ ม เป็ น ชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง และมี อั ต ลั ก ษณ์ ข อง ชาวจีนที่เด่นชัดอยู่แล้ว จึงได้ฟื้นฟูวิถีชุมชน โดยร่วมกันจัดตั้งตลาดจีนโบราณขึ้นอย่างเป็น ทางการในวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ก�ำหนดเขตพื้นที่เป็นถนนสายวัฒนธรรมยาว ประมาณ ๖๐๐ เมตร เปิดให้บริการทุกวันเสาร์ ซึ่งคนในชุมชนต่างเสียสละความสงบที่เคยมี เปิ ด บ้ า นท� ำ อาหารรั บ รองนั ก ท่ อ งเที่ ย วจาก ทั่วทุกสารทิศ บ้านใครมีอะไรก็เอามาน�ำเสนอ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว โดยเฉพาะของเก่ า โบราณที่ สะสมเอาไว้นานซึ่งบางอย่างอาจไม่มีคุณค่าใน สายตาลู ก หลาน แต่ เ มื่ อ น� ำ มารวมกั น เข้ า ก็ ท�ำให้บรรยากาศเก่า ๆ หวนกลับมา กลายเป็น ชุ ม ชนย้ อ นยุ ค ในบรรยากาศสุ ด คลาสสิ ก ใครมาเที่ยวที่นี่เสมือนได้กลับไปเดินตลาดใน ยุคที่ถนนเส้นนี้เฟื่องฟูไปด้วยชาวจีนอีกครั้ง จากปีแรก ๆ ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว พั น คนต่ อ วั น สื บ เนื่ อ งถึ ง ปั จ จุ บั น นั บ ได้ ก ว่ า ๖,๐๐๐ คนต่อวัน สามารถสร้างรายได้เป็น กอบเป็นก�ำให้กับคนในพื้นที่ ท�ำให้ลูกหลานที่ ไปท� ำ มาหากิ น อยู ่ ต ่ า งเมื อ ง ต่ า งก็ ก ลั บ มา ช่วยกันสานต่อการค้าหน้าบ้าน อันเกิดจาก ต้ น ทุ น ทางวั ฒ นธรรมของบรรพบุ รุ ษ และมี กระแสตอบรับจากนักท่องเที่ยวไปในทิศทาง ที่ดีขึ้นเป็นล�ำดับ
ชากแง้ว 11 ฝังรากที่
งรากที่ 12 ฝัชากแง้ ว
“ชากแง้ว” ชื่อนี้มีที่มา อย่างไร ค� า ว่ า “ชาก” เป็ น ภาษาพื้ น บ้ า นทาง ภาคตะวั น ออก อั น หมายถึ ง ป่ า ใหญ่ ที่ อุ ด ม สมบูรณ์ดังปรากฏชื่อคลองชากหมาก ห้วยชาก นอก ต�าบลชากโดน เพราะมีตน้ กระโดนอยูม่ าก เป็นต้น (เฉกเช่นเดียวกับค�าว่ามาบ ที่หมายถึง พื้ น ที่ ลุ ่ ม ชุ ่ ม น�้ า ที่ มี แ อ่ ง น�้ า ขั ง ตลอดทั้ ง ปี เช่ น มาบตาพุด มาบประชัน มาบชะลูด ฯลฯ) ด้วยลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มป่ารกชัฏ จึงมีไม้เด่น เช่น ต้นงิ้ว ต้นพะยอม ตะแบก มีหนองและล�าคลองขนาดเล็กอยู่ภายในชุมชน จึงเรียกกันว่า “หนองชะแง้ว”
ค�าว่า “แง้ว” อาจมาจากต้นงิ้ว ที่คนจีนจะ ออกเสียงว่า ชั่งงิ้ว หรือ ชะแง้ว เพี้ยนไปจนเป็น ค�าว่า “ซากแง้ว” หรือ “ชากแง้ว” ในปัจจุบัน หรือค�าว่า “แง้ว” อาจมาจากต้นมะแงว หมักแงว (คอแลน) ซึ่งหมายถึง ลิ้นจี่ป่า เป็นไม้ ยืนต้นที่พบมากในภาคตะวันออก ผลมีสีแดง หรือน�้าตาลแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีสรรพคุณ มากมายและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ในนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู ่ ทีป่ ระพันธ์ ไว้ เ มื่ อ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๕๐ ขณะเดิ น ทาง จากกรุ ง เทพฯ เพื่ อ ไปเยี่ ย มบิ ด าที่ บ ้ า นกล�่ า เมืองแกลง จังหวัดระยอง เมื่อเข้าเขตจังหวัด ชลบุรีได้บรรยายไว้จากเหนือไปใต้ตามล�าดับ คือ บางปลาสร้อย หนองมน บ้านไร่ บางพระ บางละมุ ง นาเกลื อ พั ท ยา นาจอมเที ย น ห้วยขวาง และหนองชะแง้ว โดยมีความว่า ๏ ถึงปากช่องหนองชะแง้วเข้าแผ้วถาง แม้นค�่าค้างอรัญคาได้อาไศรย เปนที่ลุ่มขุมขังคงคาไลย วังเวงใจรีบเดินไม่เมินเลย หนทางรื่นพื้นทรายลเอียดอ่อน ในดงดอนดอกพยอมหอมระเหย หายระหวยด้วยพระพายมาชายเชย ชแง้เงยแหงนทัศนามา
ตลาดชุมชนจีนโบราณชากแง้ว
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านหนองชากแง้ว ตําบลห้วยใหญ่ อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๕๐ เปดเฉพาะวันเสาร์ เวลา ๑๕.๐๐-๒๑.๐๐ น. สอบถามข้อมูลได้ที่ ประชาสัมพันธ์ตลาดจีนโบราณชากแง้ว โทร. ๐๘ ๑๘๗๐ ๔๖๓๖ www.facebook.com/Chakngeaw
ชากแง้ว 13 ฝังรากที่
งรากที่ 14 ฝัชากแง้ ว
บทที่ 2
อาคารเก่าเล่าชีวิต
สถาปัตยกรรมสะท้อนวิถีชีวิตชุมชน ชาวจีนมีวิถีชีวิตที่เชื่อมั่นในความกตัญญู จึ ง นิ ย มตั้ ง ศาลเจ้ า ไว้ ใ นศู น ย์ ก ลางของชุ ม ชน เพื่อสักการะบูชาเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตน นับถือ ชาวจีนที่อพยพเข้ามาได้น�ำภูมิปัญญา ความเชือ่ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีตดิ ตัวมาด้วย โดยถ่ายทอดผ่านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏเด่น เป็นเอกลักษณ์ อาคารที่ยังคงหลงเหลืออยู่คู่ ชุมชนได้แก่
ศาลเจ้าแม่ทับทิม
ศาลเจ้าแม่ทับทิม หรือ ศาลอาม๊าชากแง้ว “เจ้าแม่ทบั ทิม” ซึง่ คนทีน่ เี่ รียกอาม๊า ชาวแต้จวิ๋
ทั่วไปมักเรียก “เทียงโหวเซี๊ยบ้อ” ประดิษฐาน อยู่ในศาลเจ้าจีนหลังโรงงิ้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจ� ำ หมู ่ บ ้ า นมาเป็ น เวลาช้ า นาน ชาวจี น มี ค วามเชื่ อ ว่ า เจ้ า แม่ ทั บ ทิ ม คื อ เทพธิ ด า แห่งท้องทะเลผู้คุ้มครองผู้เดินทางทางเรือให้ ปลอดภัยในยามออกทะเล และบันดาลให้ฝนฟ้า ตกต้องตามฤดูกาล ชาวจีนในชุมชนแห่งนีน้ บั ถือ เจ้าแม่ทับทิมกันเป็นอย่างมาก ใครมีทุกข์มีร้อน อยากได้ลูกได้หลาน หรือต้องการความเจริญ ก้าวหน้าก็จะไปขอพรกับอาม๊าแล้วมักประสบผล ส�ำเร็จทุกรายไป ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ศาลนีแ้ ต่เดิม ปรากฏจอมปลวกที่ เ กิ ด จากรั ง ต่ อ หั ว เสื อ สูง ๒ เมตร กลางท้องทุ่งห่างชุมชนเล็กน้อย
ชากแง้ว 15 ฝังรากที่
แต่ไม่มีใครกล้าทุบทิ้งเพราะกลัวอาเพศ จึงได้ ช่วยกันสร้างศาลามุงจากครอบจอมปลวกไว้เพือ่ บูชา ส่วนองค์เจ้าแม่ทับทิมนั้นแกะสลักจาก ขอนไม้โบราณอายุกว่า ๘๐ ปี ที่ชาวบ้านไปพบ จากท้ อ งทะเล จึ ง อั ญ เชิ ญ มาประทั บ ยั ง ศาล หลังใหม่แทนหลังเก่าที่รื้อไปในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลังคาศาลหลังใหม่เป็นแบบ “ซานเหมินติ่ง” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบจีน ตอนใต้ มีประติมากรรมมังกรคู่ชูพระอาทิตย์ หรือไข่มุกไฟบนแถบสันหลังคา ตามความเชื่อ
งรากที่ 16 ฝัชากแง้ ว
ของคนจีนที่ว่าจะท�ำให้เกิดความสมบูรณ์ของ พลังหยิน-หยาง ประดับตกแต่งศาลเจ้าด้วยสัตว์ มงคลหรือพันธุ์พฤกษาที่สื่อถึงความเป็นมงคล มี มั ง กรพั น เสา และหงส์ คู ่ ชู ด อกโบตั๋ น หงส์ เป็ น สั ต ว์ ม งคลที่ เชื่ อ ว่ า สามารถขจั ด ภู ติ ผี ไ ด้ ด้านหน้าประตูทางเข้าหลักของศาลเจ้ามีสิงโต หรือ “ไซ” หนึง่ คู่ ไว้เพือ่ ขจัดสิง่ ชัว่ ร้าย ในบริเวณ เดี ย วกั น ยั ง มี อ าคารด้ า นข้ า งที่ ป ระดิ ษ ฐาน พระแม่กวนอิมมหาโพธิสตั ว์องค์ใหญ่ บนชัน้ สอง ของอาคาร
ชากแง้ว 17 ฝังรากที่
ชากแง้วราม่า
เป็นโรงหนังขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีพนื้ ที่ กว้างยาวประมาณ ๕๐ x ๒๐๐ เมตร ภายในบรรจุ คนได้ประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ คน ต่อรอบ เปิดให้ บริการราวปี พ.ศ. ๒๔๙๗ สร้างโดย ร.ต.อ. ประเมิน (ยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็นคนนอกพื้นที่ ต่อมาได้ขายกิจการต่อให้กับเจ๊กกั๋ง เจ้าของ โรงแป้งมันส�ำปะหลัง สมัยที่บ้านชากแง้วเจริญ รุ ่ ง เรื อ งมาก ๆ โรงหนั ง เป็ น สถานที่ ใ ห้ ค วาม บั นเทิ ง เริ ง ใจแก่ ผู ้ ค นตั๋ ว หนังในยุคนั้น มีราคา เพียง ๓.๕๐ บาท เทียบกับก๋วยเตี๋ยวในขณะนั้น ชามละ ๑ บาท ในยุคนั้นเป็นหนังพากษ์สด เรือ่ งเด่นทีฉ่ ายเป็นระยะเวลายาวนานและมีผชู้ ม เป็นจ�ำนวนมากอย่างเช่น เล็บครุฑ (พ.ศ. ๒๕๐๐) เกียรติศกั ดิท์ หารเสือ (พ.ศ. ๒๕๐๘)
งรากที่ 18 ฝัชากแง้ ว
เพชรตัดเพชร (พ.ศ. ๒๕๐๙) อิ น ทรี ย ์ ท อง (พ.ศ. ๒๕๑๓) ช้างเพื่อนแก้ว (พ.ศ. ๒๕๑๗) ชากแง้วราม่า ยังเคยใช้เป็นที่จัดแสดงวงดนตรี ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ อาทิ สุรพล สมบัติเจริญ ทูล ทองใจ ชาย เมืองสิงห์ ฯลฯ ราวปี พ.ศ. ๒๕๒๐ โรงหนังชากแง้วได้ปดิ ตัวลงเนือ่ งจากการ ขยายตัวของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ และมีเครือ่ ง เล่นวีดิโอเข้ามาแทนที่ แต่ชุมชนยังคงอนุรักษ์ อาคารไว้ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชุมชน
ชากแง้ว 19 ฝังรากที่
โรงงิ้วโบราณ
โรงงิว้ (โรงเจ) เป็นอาคารไม้เก่าทีอ่ ยูภ่ ายใน ซุม้ ประตูจนี อันยิง่ ใหญ่งดงาม เป็นสถาปัตยกรรม ที่ท�ำให้สะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น ในอดีตชุมชน มีประชากรน้อยจึงจัดโรงเจกับโรงงิ้วรวมเป็น พื้นที่เดียวกัน ชาวบ้านนิยมเรียกโรงงิ้วมากกว่า โรงเจ เนือ่ งจากเมือ่ สร้างโรงเจเสร็จเป็นช่วงเวลา เดียวกับงานประเพณีประจ�ำปีเจ้าแม่ทบั ทิม และ มีการจัดแสดงงิ้วเพื่อแก้บน ชาวบ้านจึงเรียก สถานที่แห่งนี้ว่า “โรงงิ้ว” “งิว้ ” เรียกอย่างเป็นทางการว่าอุปรากรจีน (เตี่ยเกี๊ย) เป็นการผสมผสานการขับร้องและ การเจรจา ประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดง ให้ออกเป็นเรือ่ งราว โดยน�ำเอาเหตุการณ์ตา่ ง ๆ ในพงศาวดารและประวัตศิ าสตร์มาดัดแปลงเป็น
งรากที่ 20 ฝัชากแง้ ว
บทแสดง รวมทั้งยังมีการน�ำเอาความเชื่อทาง ประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการ แสดงงิว้ ด้วย งิว้ มีรากฐานจากการเต้นร�ำเพลงช้า พืน้ บ้านซึง่ มีประวัตมิ ากกว่า ๕๐๐ ปี ท่วงท�ำนอง อันอ่อนช้อยและเต็มไปด้วยสีสันเป็นที่ชื่นชอบ ของคนแต้ จิ๋ ว ปั จ จุ บั น โรงงิ้ ว แห่ ง นี้ ยั ง คงมี การแสดงอยู่บ้างเป็นครั้งคราว ตามช่วงเวลา
บ่อน�้ำโบราณ
บ่อน�ำ้ กลางบ้าน เป็นภูมปิ ญ ั ญาของชาวจีน โบราณ เป็นแหล่งน�ำ้ บาดาลทีค่ นจีนขุดไว้เพือ่ ใช้ ในการอุปโภค บริโภค ในอดีตคนจีนจะนิยมขุด บ่อนํ้าไว้ใช้เองเกือบทุกบ้าน โดยขุดไว้ที่ลาน กลางบ้ า น ซึ่ ง ยั ง คงเหลื อ ร่ อ งรอยให้ เ ห็ น อยู ่ หลายบ้าน ในยุคบุกเบิกที่ผู้คนเข้ามาตั้งรกราก แม้ว่าจะไม่มีการใช้น�้ำบ่อแล้ว แต่บ่อน�้ำก็คงยัง ที่ชากแง้ว น�้ำกินน�้ำใช้ยังไม่สมบูรณ์มากนัก ประโยชน์ให้แก่ชุมชน โดยกลายเป็นหนึ่งใน บ่อน�้ำจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคนั้น ปัจจุบัน สัญลักษณ์ของชุมชนชากแง้ว
ชากแง้ว 21 ฝังรากที่
งรากที่ 22 ฝัชากแง้ ว
ชุ ม ชน จั ด แสดงข้ า วของเครื่ อ งใช้ ของเล่ น รูปภาพโบราณ เมื่อเข้าเยี่ยมชมจะท�าให้เห็น และเข้าใจถึงวิถีชีวิตของชาวชากแง้วในแบบ ดั้ ง เดิ ม ที่ ยั ง คงอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง ของต่ า ง ๆ ไว้ เ ป็ น อย่างดี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้ทุกคนได้เข้ามา ศึกษาถึง “ราก” ของชาวชากแง้วทุกวันเสาร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากท่านใดต้องการทราบ เกร็ดความรู้ใด ๆ เพิ่มเติม ที่นี่ก็มักมีคนเก่า คนแก่มาตัง้ วงสนทนาและบอกเล่าความหลังให้ เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
วัดตะเคียนทอง ในอดีตช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๙๐ ชุมชน บ้านชากแง้วมีการย้ายเข้ามาของคนไทยจาก พิพิธภัณฑวิถีชุมชนชากแง้ว หลายจังหวัด เช่น สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง (ร้านโกป) อยุธยา ฯลฯ พอถึงวันส�าคัญทางพุทธศาสนา ต้ น ไม้ จ ะเติ บ ใหญ่ ไ ด้ ต ้ อ งอาศั ย “ราก” ชาวบ้านจะไปท�าบุญทีว่ ดั ซึง่ อยูห่ า่ งออกไปราว ฉั น ใด ชุ ม ชนชากแง้ ว ที่ ด� า รงตนอยู ่ ไ ด้ จ นถึ ง ๘ - ๑๐ กม. เวลาต่อมาหลวงพ่อหอม เกจิอาจารย์ ทุกวันนี้ก็ต้องอาศัยการสืบสานวัฒนธรรมมา ชื่อดังแห่งวัดชากหมาก อ�าเภอบ้านฉาง จังหวัด ชลบุ รี ได้ เ กิ ด นิ มิ ต และได้ ส ร้ า งวั ด ขึ้ น ในดง จากบรรพบุรุษของพวกเขาเช่นเดียวกัน ร้านโกปี ๊ ตัง้ เซ่งฮง ของคนแซ่ตงั้ เป็นร้านค้า ตะเคียน หลังโรงเรียนบ้านหนองชากแง้วเรียกว่า ที่ ตั้ ง อยู ่ ใ นตลาดชากแง้ ว เป็ น ร้ า นขายของ “วัดชากแง้ว” ต่อมาหลวงพ่อพลได้ขออนุญาต แห่งแรก ๆ ของคนในชุมชนตัง้ แต่ป ี พ.ศ. ๒๔๘๙ จัดตั้งเป็น “วัดตะเคียนทอง” ขึ้น หลวงพ่อพล ขายทุกอย่างตั้งแต่ข้าวสาร อาหารแห้ง สบู่ ได้ม รณภาพเมื่ อ วั น ที่ ๑๐ กุ มภาพั น ธ์ พ.ศ. ยาสีฟัน น�้ามัน แก๊สก้อนที่ใช้จุดตะเกียง รวมถึง ๒๕๔๐ ปัจจุบนั จึงมีการจัดงานปิดทองหลวงพ่อ ของใช้ทจี่ �าเป็น เรียกได้ว่าเป็นร้านโช่หว่ ยที่ใหญ่ พล (อดีตเจ้าอาวาส) ขึ้นทุกปีในช่วงนี้เพื่อระลึก ที่สุดในยุคนั้น ปัจจุบันที่นี่ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ถึงคุณงามความดีของท่าน
ชากแง้ว 23 ฝังรากที่
งรากที่ 24 ฝัชากแง้ ว
บทที่ 3
สีสันวัฒนธรรม
เมื่อก้าวเข้าสู่ตลาดชุมชนจีนโบราณบ้าน ชากแง้ว สิง่ แรกทีส่ ะดุดตาทุกคน คือ โคมตรุษจีน หรือ “โคมเต็งลัง้ ” โคมไฟสีแดงสีสนั สดใส แขวน อยู่ที่บริเวณตลาด คนจีนมักประดับประดาโคม สีแดงสดไว้ที่หน้าบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่ อ ให้ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ช ่ ว ยน� ำพาสิ่ ง ดี ๆ เข้ า มา ให้ ค นในบ้ า นได้ อ ยู ่ อ ย่ า งร่ ม เย็ น เป็ น สุ ข และ ร�่ำรวย ซึ่งมักจะเปลี่ยนใหม่ทุกปี บรรยากาศใน ตลาดโดยรอบยั ง สะท้ อ นวัฒนธรรมจีน เช่น อาคารบ้านเรือน ร้านค้า รถลาก การวาดภาพ ตามพื้นผนังตึก กิจกรรมการวาดหน้ากากจีน ยิ่ ง ในช่ ว งเทศกาลก็ จ ะมี ก ารตั้ ง โต๊ ะ เซ่ น ไหว้ บรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีขบวนแห่ผลไม้ มงคล มีการเชิดสิงโต บ้างมีการจัดฉายหนัง
กลางแปลงและการแสดงงิ้ว เป็นต้น ครอบครัวคนจีนในชุมชนบ้านชากแง้วได้ สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีตามเทศกาลต่าง ๆ ตามปฏิทินจันทรคติของชาวจีน อาทิ ประเพณี ตรุษจีน (จัดขึ้นวันที่ ๑ เดือน ๑) ประเพณี ง่วนเซียวโจ่ย (ไหว้เทศกาลชาวนา) ประเพณี เช็งเม้ง (จัดขึน้ เดือน ๓) ประเพณีกนิ ขนมบ๊ะจ่าง (จัดขึ้นวันที่ ๕ เดือน ๕) ประเพณีสารทจีน (จั ด ขึ้ น วั น ที่ ๑๕ เดื อ น ๗) ประเพณี ไ หว้ พระจันทร์ (จัดขึ้นวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๘) ประเพณี กิ น เจ (จั ด ขึ้ น วั น ที่ ๑-๙ เดื อ น ๙) ประเพณีไหว้ขนมอี๋ หรือ ขนมบัวลอย (จัดขึ้น วันที่ ๒๒ ธันวาคมของทุกปี)
ชากแง้ว 25 ฝังรากที่
งรากที่ 26 ฝัชากแง้ ว
สีสนั ทางวัฒนธรรมภายในตลาดจีนโบราณ บ้านชากแง้วที่ชุมชนจัดขึ้นในแต่ละปี เพื่อสืบสาน ประเพณีไทย-จีนมีถึง ๗ ประเพณีด้วยกัน ได้แก่ ๑. ประเพณีเฉลิมฉลอง หรืองานไหว้เจ้า ตามประเพณีวันตรุษจีนของคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งจะจัดก่อนถึงวันตรุษจีนประมาณ ๓๐ วัน ๒. งานฉลองวันเกิดเจ้าแม่ทับทิม จัดขึ้น หลังวันตรุษจีน ๑๒ - ๑๕ วัน โดยมีการจัดงาน เฉลิมฉลองนานถึง ๓ วัน ๓ คืน มีกิจกรรม การแสดงเชิดสิงโต การแห่และอัญเชิญเจ้าแม่ ทับทิมไปยังโรงเจ โดยในช่วงเย็นอาจมีฉายหนัง เพื่อเป็นการแก้บน ๓. งานประเพณีไหว้พระจันทร์ จัดขึน้ ในวัน เพ็ ญ เดื อ น ๘ ตามปฏิ ทิ น จั น ทรคติ ชาวจี น จะตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์หน้าบ้าน พร้อมด้วย เครื่ อ งเซ่ น ไหว้ แ ละขนมต่ า ง ๆ โดยเฉพาะ “ขนมไหว้พระจันทร์” ซึ่งเป็นงานใหญ่ที่สุด ของชาวชากแง้ว
๔. เทศกาลงานออกผนวชของเจ้ า แม่ กวนอิม หรืองานประเพณีไหว้เจ้าแม่กวนอิม จัดขึ้นช่วงกลางเดือนตุลาคม มีกิจกรรมการ แห่เจ้าแม่กวนอิม การเชิดสิงโต และฉายหนัง กลางแปลง ๕. งานประทั บ ทรงเจ้ า แม่ ทั บ ทิ ม และ เทศกาลเทกระจาด จัดขึน้ กลางเดือน ๕ ของจีน ส�ำหรับงานนี้ในอดีตจะมีการประทับทรงเจ้าแม่ ทั บ ทิ ม ต่ อ มาร่ า งทรงได้ เ สี ย ชี วิ ต ไปจึ ง ไม่ ม ี ผู้สืบทอดแต่ชุมชนก็ยังคงจัดงานต่อเนื่องทุกปี เพียงแต่ไม่มีพิธีประทับทรง ๖. ประเพณีออกพรรษาจัดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม) มีกิจกรรมท�ำบุญตักบาตร ๗. งานปิดทองหลวงพ่อพล วัดตะเคียนทอง จัดขึน้ ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ กุมภาพันธ์ของทุกปี
ชากแง้ว 27 ฝังรากที่
งรากที่ 28 ฝัชากแง้ ว
ชากแง้ว 29 ฝังรากที่
งรากที่ 30 ฝัชากแง้ ว
บทที่ 4
เล่าขานต�านานชากแง้ว
ถนนสายเก่ า ที่ โ อบล้ อ มสถาปั ต ยกรรม บ้านไม้และห้องแถวไม้ของบ้านชากแง้วนั้น คือ ภาพการเติ บ โตที่ เ คยรุ ่ ง เรื อ งอย่ า งถึ ง ขี ด สุ ด มานั บ ร้ อ ยปี ว่ า กั น ว่ า ที่ นี่ คื อ ศู น ย์ ก ลางของ การค้าขายในอุตสาหกรรมมันส�าปะหลังที่ใหญ่ แห่งหนึ่งของภาคตะวันออก ใครต่อใครก็มา เยือนที่นี่ ตั้งแต่คนงานจากอีสานและต่างถิ่นที่ เข้ามาท�างานรับจ้างท�าไร่ พ่อค้าเร่ วงลูกทุ่ง สายหนั ง รวมไปถึ ง พี่ น้องชาวบ้านทั้งคนจีน คนไทยที่อาศัยอยู่รายรอบ
อาจารย์นิยม เหมทานนท์ ประธานชมรม ส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนบ้ า นหนอง ชากแง้ว หนึ่งในผู้มีส่วนผลักดันและร่วมกับ เหล่าชาวบ้านชากแง้วในการจัดตั้งตลาดจีน ชากแง้วขึ้นมา อาจารย์ได้ฉายภาพชากแง้ว ในความทรงจ�าว่า “ชื่อชากแง้วนี่มีมาก่อนแล้ว แสดงถึงการ เป็นพืน้ ทีท่ มี่ คี นอยูม่ าก่อน คนจีนทีเ่ ข้ามาอยูร่ าว ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ รุ่นก่อนผมนี่เดินไปตามทาง ตามป่าเขา ป่าเขายังคงสมบูรณ์ เดินไปไหน
ชากแง้ว 31 ฝังรากที่
อาจารย์นิยม เหมทานนท์ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านหนองชากแง้ว
เขาว่ายังเจอช้าง เจอหมี คนจีนที่เข้ามาอยู่ที่นี่ แรก ๆ เล่ากันว่าเข้ามาเจาะยางไม้ท�ำขี้ไต้ขาย หรือเอาน�ำ้ มันยางไปท�ำชันเรือ พอเขาเห็นว่าทีน่ ี่ อุดมสมบูรณ์ มีป่าไม้ มีแหล่งน�้ำ เหมาะแก่การ ท�ำเกษตร จึงชักชวนพีน่ อ้ งเข้ามาอยูม่ าท�ำกินจน เกิดเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น คนชากแง้วท�ำมันส�ำปะหลังจนสามารถตั้ง โรงงานแป้งมันส�ำปะหลัง มีโรงโม่ คนงานจาก อีสาน จากอยุธยา จากปทุมธานี เข้ามารับจ้าง ท� ำ งาน เกิ ด เป็ น ชุ ม ชนขยายขึ้ น มา ที่ นี่ ยั ง มี โรงเลื่อยสมัยที่ยังมีสัมปทานตัดไม้ ป่ารายรอบ ยังสมบูรณ์อยู่มากมาย ชากแง้วเฟื่องฟูที่สุดนั้นเห็นได้จากความ เจริ ญ ที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยมี โรงหนั ง ชากแง้ ว ราม่ า ฉายวันละ ๒ รอบ มีคอนเสิรต์ ลูกทุง่ เวียนมาเล่น กันไม่หวาดไม่ไหว มีโรงเรียนระดับประถมที่มี นักเรียนมากที่สุดในอ�ำเภอบางละมุง มีรถบัสวิ่ง จากชากแง้วไปกรุงเทพฯ ไปเอกมัย คนงาน งรากที่ 32 ฝัชากแง้ ว
ต่าง ๆ จึงเดินทางมาทีน่ สี่ ะดวก มีโรงฝิน่ ในตลาด ทีค่ นจีนใช้เป็นทีผ่ อ่ นคลาย ในตลาดก็เริม่ เติบโต ขึ้ น เป็ น ตลาดใหญ่ ห้ อ งแถวไม้ เ หยี ย ดยาว มีศาลเจ้า มีโรงงิ้ว โรงแป้งมันส�ำปะหลังในชากแง้วนีใ่ หญ่มาก มีถงึ ๒๐ โรง แสดงถึงเศรษฐกิจทีด่ ี อุตสาหกรรม แป้งมันส�ำปะหลังเจริญถึงขีดสุด ตามตลาดช่วง เช้าๆ เย็นๆ เสียงดังโกร๊งเกร๊ง ๆ คนงานลากจอบ ลากเสียมกันมาในตลาด มีรถรับออกไปตามไร่ ตามโรงงาน แต่ ก ่ อ นทางมาชากแง้ ว เป็ น ทางลู ก รั ง ทางเกวียน แต่ที่นี่กลายเป็นศูนย์กลางความ เจริญของแถบถิ่นนี้ ใครต่อใครอยากซื้อหาสินค้า อยากมาเที่ยวหาของกิน ฟังเพลงดูหนัง ก็ต้อง มาชากแง้ว มีร้านทอง ร้านเสื้อผ้า มีแม้กระทั่ง โรงน�้ำชา บ่งบอกว่าเจริญถึงขีดสุด เป็นที่รวม ของคนหลากหลาย ต่อมาบ้านหนองชากแง้ว ใหญ่ โ ตจนต้ อ งยกระดั บ ขึ้ น เป็ น สุ ข าภิ บ าล ห้วยใหญ่ และมีโรงเรียนมากถึง ๗ - ๘ โรงเรียน”
ชากแง้ว 33 ฝังรากที่
อาจารย์นยิ มเล่าต่อว่า “ชุมชนเราท�ำตลาด ท่ อ งเที่ ย วขึ้ น มาด้ ว ยความอยากให้ ค นที่ นี่ มี รายได้เสริม เนื่องจากยุคหลังการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิ จ และสั ง คม จากมั น ส�ำ ปะหลั ง เปลีย่ นเป็นปาล์ม เป็นยางพารา ด้านนอกพัทยา ก็เริ่มเกิด คนที่นี่ได้โยกย้ายไปท�ำงานด้านนอก ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่กอ็ ยูก่ นั ตามบ้านเก่าในตลาด การริเริม่ จัดตลาดวัฒนธรรมขึ้นไม่เพียงแต่อยากให้เกิด รายได้ แต่อยากให้เกิดภาพของความผูกพัน ของผู้คน มันท�ำให้ตลาดเก่าไม่ตาย มีคนเข้ามา ลูกหลานก็กลับมาช่วยขาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การพัฒนาพื้นที่ พิเศษเพือ่ ความยัง่ ยืน (อพท.) ได้เลือกชุมชนของ เราเป็นพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน งรากที่ 34 ฝัชากแง้ ว
ด้ ว ยชากแง้ ว มี ค วามชั ด เจนด้ า นอั ต ลั ก ษณ์ มีความเป็นชุมชนคนจีน มีตลาดเก่า มีห้องแถว ไม้ โ บราณ มี ป ระเพณี วั ฒ นธรรมของคนจี น เราจึ ง เริ่ ม จากการชั ก ชวนให้ ค นตามตลาด กลับมาค้าขายสินค้า เน้นไปที่อาหารที่สะท้อน วั ฒ นธรรมจี น และผู ้ ข ายต้ อ งเป็ น คนชุ ม ชน คนแถบนี้ทั้งหมด ในด้านความงดงามของอาคารเก่า ผู้รู้ที่มี ความเชี่ยวชาญในด้านสถาปัตยกรรมบอกว่า องค์ประกอบของชุมชนที่นี่มีครบ ที่นี่มันยัง ไม่ตาย ผังของตลาดยังเป็นแบบเดิม บ้านเรือน ห้ อ งแถวที่ ท รุ ด โทรมลงไปพอจะปรั บ ปรุ ง ได้ ก็มีเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ค�ำปรึกษาในการปรับปรุง พอจะบู ร ณะก็ ท� ำ ให้ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ของเก่ า
เราจะท�ำอะไรก็นึกถึงภาพรวมของชุมชน แปลนห้องแถวโบราณในบ้านจะมีโถงกลาง เป็นทีค่ า้ ขาย ด้านหลังเป็นทีซ่ กั ล้างและเป็นส่วน อยู่อาศัย ด้านบนเป็นเหล่าเต๊ง และส่วนใหญ่จะ มีบอ่ น�ำ้ บาดาลกลางบ้าน อันนีเ้ ป็นสถาปัตยกรรม จีนแท้ ๆ ที่คนชากแง้วสร้างขึ้นมาแต่อดีต ไม้ที่ ใช้ปลูกบ้านที่นี่เป็นเนื้อแข็ง เพราะรอบหมู่บ้าน แต่เดิมเป็นป่าทั้งนั้น คนแต่ก่อนจะหาไม้ดี ๆ ก็ไม่ยาก หากเดินเข้าไปในถนนสองสามสายทีข่ ดี แบ่ง เขตตลาดให้เป็นสัดส่วน ท่ามกลางการตกแต่ง
ด้วยโคมสีแดง ป้ายกระดาษเขียนอักษรโบราณ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสถึงอดีตที่ยังคงมีชีวิต ผ่านการเปิดขายอาหารที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรม การกินอยู่แบบจีน ๆ ของคนชากแง้ว ตั้งแต่ร้าน หมวยเล็กข้าวต้มโบราณ กุยช่ายร้านปึงอู่ฮวด ขนมเปี๊ยะร้านตั้งโอวม้อ ฮ่อยจ๊อปูของเฮียชุ้น หรือร้านโกปี๊เตี๊ยม ที่เปลี่ยนแปลงห้องแถวไม้ ให้เป็นร้านกาแฟย้อนยุค รวบรวมของเก่าไว้ มากมาย รวมถึงเปิดให้ท�ำกิจกรรมวาด หรือ ระบายสีหน้ากากแบบจีน”
ชากแง้ว 35 ฝังรากที่
คุณนิภา ชูชัยวัฒนศักดิ์ เจ้าของร้านโกปี๊ หรือ พิพิธภัณฑ์ วิถีชุมชนซากแง้ว
คุณนิภา ชูชัยวัฒนศักดิ์ เล่าถึงที่มาของ ตลาดไว้อย่างน่าสนใจ “ชากแง้วนีค่ นจีนโบราณ เขายกที่ให้สร้างนะ ตระกูลใหญ่ ๆ ๔ แซ่ คือ แซ่นา้ นานาประเสริฐ โดยนายแป๊ะกัง๋ มอบทีด่ นิ ให้สร้างโรงหนังและโรงงิ้ว แซ่จัง จันทร์โชติ เสถียร โดยก๋งย่งฮั้ว มอบที่ดินสร้างศาลเจ้า อาม๊าบางส่วน แซ่ตั๊ง ตั้งวงศ์วิโรจน์ โดยก๋งแป มอบที่ดินสร้างอนามัยและโรงเรียนบางส่วน ทางด้านทิศใต้ที่เป็นตลาดจ่ายนั้นของแซ่เซียว โดยแป๊ะกะลิม้ มอบทีด่ นิ สร้างโรงเรียน ตลาดจีน โบราณชากแง้วเติบโตขึน้ มาก มีนกั ท่องเทีย่ วเข้า มาเยี่ ย มเยื อ นกั น ทุ ก สุ ด สั ป ดาห์ ยิ่ ง เวลาเรา จัดงานเทศกาลใหญ่ อย่างงานไหว้พระจันทร์ มันสวยงามและยิ่งใหญ่มาก ใครต่อใครก็อยาก มาดูโต๊ะไหว้ เครื่องไหว้ ที่ตั้งกันกลางบ้าน” งรากที่ 36 ฝัชากแง้ ว
ไม่ เ พี ย งภาพการค้ า ที่ ดึ ง สี สั น ในวั น วาน ออกมาสู่ความร่วมสมัยในทุกวันเสาร์ แต่ทุกวัน หากใครได้มาเยือนชากแง้ว ได้มานัง่ คุยกับเหล่า พ่อเฒ่าแม่เฒ่า อากง อาเตี่ย อาม่า จะได้เข้าใจ ถึงเรื่องราวอดีตที่ยังคงไหลเวียนอยู่ในความ ทรงจ� ำ ของคนชากแง้ ว รุ ่ น เก่ า แก่ ล้ ว นเป็ น เรื่ อ งราวที่ น ่ า ท� ำ ความรู ้ จั ก และซึ ม ซั บ ภาพที่ ผ่านพ้นนั้น คุณแม่กรี อัครภิญโญกุล เล่าถึงวิถีชุมชน ในอดีตผ่านน�้ำเสียงเนิบนุ่ม “ฉันอพยพมาจาก เกาะสีชัง มาอยู่ที่นี่ ๕๐ กว่าปีแล้ว ย้ายมาที่นี่ก็ เพราะได้ข่าวความเจริญ คนจีนมาท�ำไร่เยอะ พี่ชายฉันอยู่ที่นี่ เราก็เลยมาลงทุน มาหาซื้อ ทีท่ างท�ำไร่มนั ส�ำปะหลัง ถนนหนทางแต่เดิมเป็น ทางเกวียน เรานั่งรถมาที่นี่แรก ๆ ยังคิดอยู่ว่า แปลก ทางล� ำ บาก ขนข้ า วขนของต้ อ งใช้ ควายเทียมเกวียนเข้ามา แต่มันกลับเจริญมาก
คุณแม่กรี อัครภิญโญกุล
ชากแง้ว 37 ฝังรากที่
เราเริม่ จากท�ำไร่มนั ส�ำปะหลัง ปลูกมะพร้าว ปลูกอ้อยส่งโรงงาน ที่ดินร้อยสองร้อยไร่ของฉัน นี่ถือว่าเล็ก ๆ นะ คนที่รวยเขามีกันเป็นพัน ๆ ไร่ แรก ๆ เรามีทองมาสิบกว่าบาท เอาไปลงทุน ท� ำ งานจนสร้ า งบ้ า นซื้ อ ห้ อ งแถวขึ้ น มาได้ ใ น ตลาดนี่ล่ะ ตลาดชากแง้วแต่ก่อนเป็นห้องแถวไม้ล้วน หลังคามุงจาก ไม่ใช่กระเบื้องแบบนี้ แต่คนใน ตลาดพอฐานะดี ขึ้ น ก็ ป รั บ ปรุ ง กั น จนมั่ น คง อย่างว่าใครต่อใครก็มาหากินทางนี้ ถนนกลางตลาด นี่คึกคักที่สุด มีร้านทอง ร้านอาหารเยอะแยะ แต่แปลกทีช่ ากแง้วไม่มโี รงแรมให้คนค้าง ใครมา ท�ำธุระเสร็จก็ออกไปค้างแถวพัทยา บ้านอ�ำเภอ บ้ า นเราเงี ย บลงเมื่ อ ราว ๆ ยี่ สิ บ กว่ า ปี ก ่ อ น ลูกหลานไปเรียนไปอาศัยอยู่กรุงเทพฯ บ้าง ที่อื่นบ้าง พอเขาเปิดตลาดนี่มันก็คึกคัก ได้เจอ ลูกหลานที่กลับมาช่วยงาน ก็อบอุ่นใจดี” ชากแง้วในปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยภาพอดีต ที่ ยั ง คงมี ชี วิ ต หลั่ ง ไหลถ่ า ยเทอยู ่ ตั้ ง แต่ ใ น ห้องแถวที่เคยรุ่งเรืองจากการค้าขายจนเติบโต มั่นคง หรือในแววตาและความทรงจ�ำของผู้คน ที่ แ ม้ ใ นวั น นี้ เรื่ อ งราวเหล่ า นั้ น จะผ่ า นพ้ น มา เนิ่นนาน เหลือเพียงความจริงแท้ของชีวิตให้ อิ่มเอมเมื่อย้อนไปร�ำลึกถึง ในวันที่บ้านไม้เก่ากลางตลาดได้รับการ ปลุกฟื้นและดูแลใส่ใจ ปรับเปลี่ยนให้เป็นแหล่ง ท่ อ งเที่ ย วที่ ใ ครต่ อ ใครต่ า งเวี ย นแวะเข้ า มา พบหา เรียนรู้ และท�ำความรู้จัก ชุมชนเก่าแก่ แห่ ง นี้ จึ ง ยั ง คงมี ชี วิ ต และท� ำ ให้ อ ดี ต ที่ ผ ่ า น พ้นไปเปี่ยมคุณค่ายิ่งขึ้น
งรากที่ 38 ฝัชากแง้ ว
ชากแง้ว 39 ฝังรากที่
งรากที่ 40 ฝัชากแง้ ว
บทที่ 5
ของกินถิ่นซากแง้ว
เสน่ห์ของชุมชนโบราณแห่งนี้คือ เมื่อเดิน เข้าไปจะพบกับร้านอาหารอร่อย ๆ มากมาย พ่ อ ค้ า แม่ ค ้ า ล้ ว นแต่ เ ป็ น คนในชุ ม ชนทั้ ง สิ้ น ซึ่งต่างก็แต่งกายแบบชาวจีน ของกินในชุมชน บ้านชากแง้วมีหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารจีน ซึ่งชนชาติจีนชื่อว่ามีภูมิปัญญาด้านอาหารที่ ยิง่ ใหญ่เป็นทีย่ อมรับกันทัว่ โลก คนแต้จวิ๋ มีศลิ ปะ ในการปรุ ง รสอาหารได้ อ ร่ อ ยอย่ า งแยบยล กลมกล่ อ มแต่ ไ ม่ จื ด ชื ด โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง อาหารทะเล นอกจากนั้ น แต้ จิ๋ ว มี ข องว่ า ง
มีอาหารคาวหวานและของกินเล่นทีเ่ รียกรวมกัน ว่า “เสียวเจี๊ยะ” ของว่างที่ท�ำจากข้าวและผัก จะเรียกว่า “ก้วย” ของว่างนี้มีมากมายหลาย ชนิด เช่น ขนมกุยช่าย ขนมผักกาด จดหมายเหตุ เมืองแต้จิ๋วบันทึกไว้ว่า เมืองแต้จิ๋วมีขนมชั้นดี ชนิดหนึง่ ชือ่ ว่า “ห่าวก้วย” เป็นขนมโบราณอายุ กว่าพันปีชนิดหนึ่ง ท�ำจากแป้งข้าวเจ้า ท�ำไว้ ส�ำหรับเลี้ยงรับแขก ในบทกวีของหานวี่ กล่าวว่า เปลือกใช้แป้งข้าวจ้าวผสมแป้งมันส�ำปะหลัง นวดด้วยน�้ำต้มแมงดาทะเล ห่อด้วยไส้ที่ท�ำจาก
ชากแง้ว 41 ฝังรากที่
งรากที่ 42 ฝัชากแง้ ว
กุ้งสดและหมูสับ นึ่งสุก แล้วทอดด้วยน�้ำมันหมู อีกครั้ง ขนมท�ำจากข้าวเหนียวก็มี อย่างเช่น ขนมเข่ ง ขนมอี๊ หรื อ อี่ เ กี้ ย คื อ ขนมบั ว ลอย (น�ำ้ ขิง) แม้กระทัง่ ขนมไหว้พระจันทร์แบบแต้จวิ๋ ที่เรียกกันว่า “หล่าเปิ้ย” หรือคนไทยเรียกว่า “ขนมเปี๊ยะ” เป็นขนมมงคล แสนอร่อยที่ชาว จีนน�ำมาเป็นของไหว้ในทุกเทศกาล อาหารจีนสูตรต�ำรับโบราณที่สืบทอดจาก รุน่ สูร่ นุ่ เป็นเสน่หป์ ลายจวักทีท่ ำ� ให้ชมุ ชนเก่าแก่ แห่งนี้ ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาเที่ยวตลาดนี้ซ�้ำแล้ว ซ�้ ำ เล่ า อาหารเลิ ศ รสเหล่านี้คือวัฒนธรรมที ่ บ่ ม เพาะจากอดี ต สื บ เนื่ อ งมาจนถึ ง ปั จ จุ บั น สะท้อนวิถีการด�ำรงชีวิตอันงดงามของผู้คนที่นี่ เมนูเด่น ได้แก่ บ๊ะจ่าง ฮ่อยจ๊อ ปอเปี๊ยะ ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา ก๋วยเตี๋ยวเป็ด ก๋วยเตี๋ยวปลา ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ก๋วยเตี๋ยวหลอด ข้าวต้ม ทรงเครื่ อ ง ข้ า วหมู แ ดง หมู ก รอบ ไก่ ท อด เป็ดย่าง เป็ดพะโล้ ผัดไทย บะหมี่เกี๊ยว กุยช่าย ขนมจีบ ซาลาเปา หมั่นโถว ฯลฯ นอกจากนี้ยัง มี ข นมไส้ ถั่ ว เค็ ม ขนมไส้ ถั่ ว หวาน เต้ า ส่ ว น หมี่กรอบ น�้ำเต้าหู้ ขนมโป๊งเหน่ง เต้าหู้ทอด กุนเชียง หมูหยอง และอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน “บ๊ะจ่าง” เป็นอาหารที่ท�ำในเทศกาลไหว้ บ๊ะจ่าง (ตวนอู่เจี๋ย) หรือเทศกาลตวงโหงว ชาวจีนจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึง ชวีหยวน ขุนนางผู้รักชาติแห่งแคว้นฉู่ ตรงกับวันที่ ๕ เดือน ๕ ตามปฏิทินจีน (จันทรคติ) ของทุกปี สู ต รโบราณที่ ต ลาดชากแง้ ว นี้ ร สชาติ เข้ ม ข้ น ถึงเครื่อง ข้าวเหนียวอร่อยก�ำลังดี ด้วยคัดสรร คุณภาพใช้ของดีมาเป็นวัตถุดิบ
ชากแง้ว 43 ฝังรากที่
“ฮ่อยจ๊อ” มาจากภาษาจีนแต้จวิ๋ ว่าโหยจ๊อ ค�ำว่า หอยหรือโหย แปลว่าปู ส่วนค�ำว่าจ๊อ แปลว่าพุทรา จึงหมายถึงพุทราเนือ้ ปู ซึง่ มีรสชาติ กรอบนอกนุ่มใน ส่วนแห่กึ้ง ที่แปลว่ากุ้งม้วน แต่ปจั จุบนั เรียกเพีย้ นกันทัว่ ไปว่า “แฮ่กนึ๊ ” เป็น อาหารที่ท�ำคล้ายฮ่อยจ๊อแต่ใช้กุ้งแทนปู “ซาลาเปา” แป้งนุ่ม มีให้เลือกหลายไส้ แต่ที่ขายดีคือ ไส้หมูสับไข่เค็ม “ปอเปี๊ยะ” แป้งบางกรอบไส้แน่นขนาด พอดีค�ำ มีทั้งปอเปี๊ยะหมูสับ ปอเปี๊ยะกุ้ง “กะลอจี๊” ท�ำมาจากแป้งข้าวเหนียวคลุก ด้วยงา น�้ำตาล และถั่วลิสงป่น เป็นขนมที่ใช้ใน พิธีไหว้ในเทศกาลต่าง ๆ ของชาวจีน ร่วมกับ ขนมเข่งและขนมเทียน
งรากที่ 44 ฝัชากแง้ ว
“กวยจั๊บ” เป็นอาหารดั้งเดิมของแต้จิ๋ว มีทั้งกวยจั๊บน�้ำข้นและน�้ำใส นอกจากนั้นยังมี กวยจั๊บเซี่ยงไฮ้ ที่เส้นท�ำมาจากถั่วเหลือง “กุยช่าย” ขนมประเภทก้วยของชาวจีน แต้ จิ๋ ว ชนิ ด หนึ่ ง ตั ว แป้ ง ท� ำ จากแป้ ง ข้ า วเจ้ า ผสมแป้งมันท�ำจากแป้งสดมีหลายไส้ ทั้งไส้ผัก ไส้ถั่วเขียว ไส้มะละกอใส่กุ้งแห้ง เป็นต้น นอกจากอาหารจีนแล้ว ตลาดชากแง้วยังมี อาหารไทยพื้นถิ่นภาคตะวันออก เช่น ปิ้งงบ (ห่ อ หมกทะเลย่ า ง) หอยบิ ด ย่ า ง ปลาหมึ ก แมงกระพรุนย่าง ปลาผัดพริกแกง ขนมบ้าบิ่น ขนมหม้อแกง ขนมสังขยา ขนมช่อผกา เป็นต้น หากใครมาเยือนจังหวัดชลบุรี ตลาดชุมชน จีนโบราณบ้านชากแง้วแห่งนี้ เป็นอีกหมุดหมาย หนึ่งที่ไม่ควรพลาดแวะมาชิมอาหารหลากรส เมื่ อ ได้ ม าชิ ม แล้ ว รั บ รองว่ า ต้ อ งมาอี ก อย่ า ง แน่นอน
ชากแง้ว 45 ฝังรากที่
งรากที่ 46 ฝัชากแง้ ว
ชากแง้ว 47 ฝังรากที่
งรากที่ 48 ฝัชากแง้ ว
๑. รถไฟ ใช้ขบวนที่ ๙๙๗ จากสถานีหัวล�าโพง ลงที่สถานีรถไฟตลาดน�้า ๔ ภาค หรือลงที่สถานีสวนนงนุช ใช้เวลา เดินทางประมาณ ๒.๔๐ ชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร ๑๗๐ บาท แล้วต่อรถสองแถวเข้าตลาดจีนชากแง้ว ๒. รถตู้ นั่งมาลงที่แยกสว่างฟ้าพฤฒาราม แล้วต่อรถสองแถวสีฟ้าสายนาเกลือ – ชากแง้ว ไปยังตลาดจีนชากแง้ว ๓. รถยนต์ ใช้เส้นทางสุขุมวิท (บางนา- ตราด) วิ่งตรงไปทางสัตหีบ ผ่านตลาดน�้า ๔ ภาค โรงแรมแอมบาสเดอร์ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยนาจอมเทียน ๑๓ (ทางเดียวกับสนามกอล์ฟฟินิกซ์) เข้าไปประมาณ ๗ กิโลเมตร (ระยะทาง ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมงเศษ)
ชากแง้ว 49 ฝังรากที่
งรากที่ 50 ฝัชากแง้ ว
บทที่ 6
แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
วัดญาณสังวรารามวรมหา วิหาร ในพระบรราชูปถัมภ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ บนพื้นที่กว่า ๓๖๖ ไร่ โดย นายแพทย์ขจรและคุณหญิงนิธิวดี อันตระการ พร้อมด้วยบุตรธิดา มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดิน ๑๐๐ ไร่ ๑ งาน ๙๒ ตารางวา แด่สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก เมื่อครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบวร นิเวศวิหาร ต่อมาคุณหญิงนิธิวดีและครอบครัว ได้บริจาคที่ดินถวายเพิ่มอีก ๑๐๐ ไร่เศษ และ คณะผูส้ ร้าง ศิษยานุศษิ ย์ ผูศ้ รัทธาในเจ้าพระคุณ สมเด็จฯ ร่วมกันจัดซื้อที่ดินโดยรอบถวายเพิ่ม
จนมี พื้ น ที่ เ ท่ า ในปั จ จุ บั น ซึ่ ง ยั ง ไม่ ร วมพื้ น ที่ โครงการในพระราชด�าริของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิ ต ร (รั ช กาลที่ ๙) ซึ่งรายล้อมอยู่อีกประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่ วัดนี้ ถือเป็นวัดประจ�ารัชกาลที่ ๙ เนื่องจากคณะ ผู้สร้างวัดได้พร้อมใจกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้า น้อมกระหม่อมถวายเนือ่ งในวโรกาสพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ภายในวัด มีศาสนสถานต่าง ๆ ได้แก่ พระอุโบสถ ภายใน ประดิษฐานพระประธาน “สมเด็จพระพุทธ ญาณนเรศวร์” เศียรบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระ นเรศวรมหาราช
ชากแง้ว 51 ฝังรากที่
ภายในบริเวณวัดยังมีพระบรมธาตุเจดีย์ มหาจั ก รี พิ พั ฒ น์ (สร้ า งขึ้ น เพื่ อ น้ อ มเกล้ า ฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี) พระมหามณฑปพุทธบาท ภปร. สก. อริยาคาร พิพิธภัณฑ์อริยสงฆ์ (จัดแสดงรูปเหมือนของ พระอริ ย สงฆ์ ชื่ อ ดั ง จ� ำ นวนมาก) พระเจดี ย ์ พุทธคยาจ�ำลอง วิหารพระศรีอริยเมตไตรย เป็นต้น รวมถึ ง พระพุ ท ธมหาวชิ ร อุ ต ตโมภาสศาสดา งรากที่ 52 ฝัชากแง้ ว
ที่ เขาชี จ รรย์ ซึ่ ง อยู ่ ใ นเขตพุ ท ธาวาสของวั ด นี ้ และในเขตโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ ยั ง ประกอบด้ ว ย ศู น ย์ ฝ ึ ก และพั ฒ นาอาชี พ เกษตรกรรมฯ โรงเรียนผู้รู้ ญสส. ๘๐ ศูนย์ เพาะเลีย้ งขยายพันธุส์ ตั ว์ปา่ บางละมุง ฯลฯ รวม ถึงเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๘ ตามพระราชด�ำริ เพื่อฟื้นฟูป่าที่ถูก ท�ำลายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม มีเนื้อที่กว่า ๒ พั น ไร่ ประกอบไปด้ ว ยป่ า ไม้ ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ หน้าผาสูงชัน และถ�้ำที่มีขนาดเล็กใหญ่กระจาย ทัว่ พืน้ ที่ ซึง่ นักท่องเทีย่ วสามารถศึกษาธรรมชาติ และพฤติกรรมของสัตว์ป่า นอกจากนี้ ยั ง มี เขาชีจรรย์ กิจกรรมส่องสัตว์ป่าศึกษาเส้นทางธรรมชาติ เขาชีจรรย์ เป็นเขาหินปูนทีแ่ กะสลักหน้าผา และสามารถกางเต็นท์ค้างคืนได้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ตามพุทธลักษณะ วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร แบบพระพุทธนวราชบพิตร แต่เดิมเขาแห่งนี้ เกิดจากการระเบิดหินน�ำไปใช้ในการก่อสร้าง ในพระบรราชูปถัมภ์ ต่อมาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙๙ ต�ำบลห้วยใหญ่ สกลมหาสังฆปริณายก มีพระด�ำริทจี่ ะอนุรกั ษ์ไว้ อ�ำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (เปิดทุกวัน) และได้ ด� ำ เนิ น การสร้ า งพระพุ ท ธฉายที่ ใ หญ่ เขาชีจรรย์ ตั้งอยู่ที่บ้านเขาชีจรรย์ ต�ำบลนาจอมเทียน ทีส่ ดุ ในโลก สูง ๑๓๐ เมตร เพือ่ เฉลิมพระเกียรติ อ�ำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (เปิดทุกวัน) พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) โทร. ๐ ๓๘๓๑ ๑๒๓๔, ๐ ๓๘๗๗ ๐๑๑๖ เนื่ อ งในวโรกาสมหามงคลทรงครองสิ ริ ร าช สมบั ติ ค รบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โดย ได้ รั บ พระราชทานนามจากรั ช กาลที่ ๙ ว่ า “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” แปลว่า พระพุ ท ธเจ้ า ทรงเป็ น ศาสดาที่ รุ ่ ง เรื อ งสว่ า ง ประเสริฐดุจดังมหาวชิระ การสร้างท�ำโดยเจาะ เนื้อหินให้เป็นลายเส้นด้วยแสงเลเซอร์ แล้วใช้ โมเสกทองประดับเข้าไปตามรอยเส้น เมื่อแสง อาทิตย์ต้องหน้าผาจึงเกิดประกายสีทองราวกับ องค์พระก�ำลังเปล่งประกาย
ชากแง้ว 53 ฝังรากที่
วิหารเซียน อเนกกุศลศาลา
“วิหารเซียน” มีชอื่ ทางการว่า “อเนกกุศล ศาลา” ตั้งอยู่ที่เมืองพัทยา ใกล้กับเขาชีจรรย์ และไร่องุน่ ซิลเวอร์เลค เป็นสถานทีร่ วบรวมวัตถุ โบราณงานศิลปะของไทยและจีน บนพืน้ ที ่ ๗ ไร่ ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานจาก พระบาทสมเด็ จ พระบรมชนกาธิ เ บศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) และทรง เสด็ จ พระราชด� า เนิ น มาเปิ ด อเนกกุ ศ ลศาลา เมื่ อ วั น ที่ ๙ สิ ง หาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ และ พระราชทานชื่ อ นี้ ไว้ วิ ห ารเซี ย นก่ อ ตั้ ง โดย อาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ ผู้มีสัญชาติไทย แต่ ไ ปเติ บ โตในประเทศจี น เป็ น ผู ้ มี ค วาม เชี่ยวชาญวัฒนธรรมไทยและจีนอย่างมาก และ มีความสัมพันธ์กับประเทศจีนอย่างแน่นแฟ้น ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ฮวงจุ้ย ซึ่งได้ใช้วิชา ความรู้ในการช่วยเหลือผู้คนทั่วไปและท�างาน ถวายสมเด็จพระสังฆราชฯ ในการวางฮวงจุ้ย งรากที่ 54 ฝัชากแง้ ว
ท่านมีความตั้งใจที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมไทย และจีนที่ทรงคุณค่าไปในวงกว้าง จึงได้สร้าง วิหารเซียนแห่งนี้ เพื่อจัดแสดงศิลปกรรมของ ไทยและจีน ด้วยคุณงามความดีของท่านจึงได้มี การสร้างรูปปั้นของท่านไว้ที่ด้านหน้าของวิหาร เซียนด้วย อาคารวิหารเซียน มีจ�านวน ๓ ชั้น จัดแสดงโบราณวัตถุของจีนและไทยเป็นจ�านวน มากราวกับจ�าลองเมืองจีนมาไว้ทนี่ ี่ อาทิ รูปหล่อ ส�าริดเทพเจ้าจีน รูปหล่อโลหะแปดเซียนข้าม ทะเล รูปหล่อพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ รูปหล่อท่ามวย ๑๘ อรหันต์ของวัดเส้าหลิน รูปปั้นกองทหารของจิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นต้น
วิหารเซียน
ต�ำบลนำจอมเทียน อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท เปิดทุกวัน ตั้งแต่ ๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. โทร. ๐ ๓๘๒๓ ๘๓๖๗
สวนนงนุช พัทยา
เป็นสถานทีพ่ กั ผ่อนหย่อนใจ “สวนนงนุช” เป็ ในรู ป แบบสวนพฤกษศาสตร์ ที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ใน ภาคตะวั น ออก บนเนื้ อ ที่ ก ว่ า ๑,๗๐๐ ไร่ เป็นศูนย์กลางของสวนพฤกษศาสตร์ระดับโลก ที่ เ ก็ บ รวบรวมพั น ธุ ์ ไ ม้ ใ นเขตร้ อ นมากกว่ า ๑๘,๐๐๐ ชนิด ได้รบั การยกย่องให้ตดิ ๑ ใน ๑๐ ของสวนทีส่ วยทีส่ ดุ ในโลก เปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๓ ภายในมีสวนนานาพรรณ อาทิ สวนไม้ลอยน�้า สวนไม้ตัดแต่ง สวนข่อยดัด สวนบอนไซ สวนอากาเว่ สวนลายปีกผีเสื้อ สวนปาล์ม สวนกระถาง สวนกล้วยไม้ สวนปรง สวนตะบองเพชร สวนสับปะรดสี สวนไม้ด่าง สวนช้างแมมมอธ สวนรูปหัวใจ หุบเขาปรง เป็ น ต้ น มี ก ารจ� า ลองการจั ด สวนแบบยุ โรป ทั้ ง ฝรั่ ง เศสและอิ ต าลี รวมถึ ง สโตนเฮ้ น จ์
มี ส กายวอล์ ค ยาวกว่ า ๓ กิ โ ลเมตร ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วจะเพลิ ด เพลิ น กั บ การจั ด ภู มิ ทั ศ น์ มี ส วนรถที่ ร วบรวมรถแปลก ๆ ที่ ห าดู ย าก มี บ ริ ก ารที่ พั ก และรถน� า เที่ ย วชมสวนนงนุ ช มีบริการจักรยานให้เช่า เรือชนิดต่าง ๆ ให้เช่า พาย มีสวนสัตว์ และสวนประติมากรรมสัตว์ให้ เด็ก ๆ ได้เพลิดเพลินกับบรรดาสัตว์น่ารัก แสนรู้ ได้ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด และปลอดภั ย มี ศู น ย์ แ สดง ศิลปวัฒนธรรมไทย จัดแสดงการฟ้อนร�าพื้น เมือง ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว กีฬาพื้นเมือง และการแสดงของช้างอีกด้วย
สวนนงนุช พัทยา
ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔ ต�ำบลนำจอมเทียน อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (เปิดทุกวัน) โทร. ๐๘ ๑๙๑๙ ๒๑๕๓, ๐๘ ๗๔๘๘ ๐๐๒๘, ๐๖ ๑๖๔๗ ๗๐๘๘ (จองห้องพัก)
ชากแง้ว 55 ฝังรากที่
ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
นักท่องเที่ยวมาจากทุกสารทิศทั่วโลก และยัง เป็นสถานที่ถ่ายท�ำละครและภาพยนตร์ต่าง ๆ ไร่องุน่ ซิลเวอร์เลค (Silverlake) ตัง้ อยูใ่ กล้ อีกด้วย ทางไร่มีร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว วั ด ญาณสั ง วรารามฯ เป็ น สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว มีบริการนัง่ รถราง นัง่ รถม้าชมไร่ หรือขีจ่ กั รยาน อี ก แห่ ง หนึ่ ง ของเมื อ งชลบุ รี เริ่ ม ก่ อ ตั้ ง เสือภูเขาลัดเลาะไปในไร่องุน่ ชมพระอาทิตย์ตก เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยคุณสุรชัย ตัง้ ใจตรง และ กลางทะเลสาบ ที่ นี่ มี ที่ พั ก สไตล์ ทั ส คานี่ ภรรยา นางเอกชื่อดัง คุณสุพรรษา เนื่องภิรมย์ The Villaggio และร้านอาหารสไตล์อิตาเลี่ยน ซึ่ ง มี แรงบั น ดาลใจมาจากการเข้ า ชมไร่ อ งุ ่ น แบบดั้งเดิม คือ SILVERLAKE WINE & GRILL ต่าง ๆ ในอเมริกาและเกิดความสนใจ จึงออกแบบ ส�ำหรับต้อนรับแขกผู้มาเยือน พื้ น ที่ ก ว่ า ๑,๒๐๐ ไร่ ให้ เ ป็ น ไร่ อ งุ ่ น ในฝั น เป็ น อาณาจั ก รทั้ ง ผลิ ต และจ� ำ หน่ า ยองุ ่ น สด ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากองุน่ มากมาย อาทิ น�ำ้ องุน่ ตั ง ้ อยู ่เลขที่ ๓๑/๖๒ หมู่ที่ ๗ ต�ำบลนาจอมเทียน แยมองุ่น ลูกเกด เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถ อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เยี่ยมชมการท�ำไร่องุ่นตามธรรมชาติ สัมผัสกับ ๐ ๓๘๙๓ ๘๑๒๓, ๐๘ ๙๘๙๕ ๙๘๘๖, บรรยากาศอั น สวยงามของไร่ อ งุ ่ น ที่ ดึ ง ดู ด ๐ ๒๒๖๑ ๖๕๖๕ งรากที่ 56 ฝัชากแง้ ว
หาดทรายแก้ว
เดิ ม ชื่ อ “หาดน้ อ ย” เป็ น ชายหาด ทรายขาว น�ำ้ ทะเลสีฟา้ ใสสะอาด จนมองเห็นฝูง ปลา ระดั บ น�้ ำ ไม่ ลึ ก มากเหมาะแก่ ก ารท� ำ กิจกรรมทางน�้ำ เช่น เล่นน�้ำ พายเรือคายัค บริเวณรอบหาดมีต้นไม้ร่มรื่น เงียบสงบ มีความ สวยงามอันดับต้น ๆ ของจังหวัดชลบุรี เป็น สถานที่พักผ่อนของก�ำลังพลกองทัพเรือและ บุคคลภายนอก โดยมีบ้านพักหรือที่พักแบบ บังกะโล มีอุปกรณ์บริการเพื่อการค้างคืน เช่น เต็นท์ เตียงผ้าใบ รวมถึงมีอุปกรณ์กีฬาทางน�้ำ เช่น เรือคายัค อุปกรณ์ด�ำนํ้า ให้บริการ ฯลฯ ช่วงเดือน ธันวาคม - เมษายน ทะเลจะสวยทีส่ ดุ ลมไม่แรงและคลื่นลมสงบ
หาดทรายแก้ว
ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ต�ำบลบางเสร่ อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ๐ ๓๘๔๓ ๗๑๑๒, ๐ ๓๘๔๓ ๖๑๘๗
หาดเตยงาม เป็นหาดทีม่ คี วามสวยงามอีกแห่งในอ�ำเภอ สัตหีบ ตั้งอยู่ในเขตฐานทัพเรืออยู่ในความดูแล ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หาดแห่งนี้เมื่อ ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิ เ บศร มหาภู มิพ ลอดุ ล ยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ได้ทรง เรือใบด้วยพระองค์เอง จากพระราชวังไกลกังวล อ�ำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาเทียบ ท่าที่บริเวณหาดเตยงามแห่งนี้ ที่นี่มีสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกส�ำหรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ ร้าน อาหาร ห้องน�้ำ และยังมีศูนย์บริการนักท่อง เที่ยว เรือคายัค อุปกรณ์ดำ� นาํ้ ฯลฯ และมีเรือ บริการนักท่องเทีย่ วเพื่อชมเกาะต่าง ๆ
หาดเตยงาม
ส�ำนักงานกิจการการท่องเที่ยว หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หาดเตยงาม อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ๐ ๓๘๓๐ ๘๑๒๖, ๐๘ ๔๓๗๗ ๖๗๙๑
ชากแง้ว 57 ฝังรากที่