opnmnd magazine issue 01

Page 1

I


คณะกรรมการสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมนี ปี 2555

นายกสมาคมฯ : วรวุฒิ สินโคกสูง อุปนายกฝ่ายแผนงาน : เอกลักษณ์ รอบคอบ อุปนายกฝ่ายวิชาการ : มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร อุปนายกฝ่ายกิจการภายใน : น.ต. ณวรุณ ดีมา อุปนายกฝ่ายกิจการภายนอก : นิธิ รุ่งธนาภิรมย์ เลขานุการ : เมลดา ผาติกุลดิลก ชัยธวัช วานิชกร (ฝ่ายกิจการภายใน) อัญชนา จันทร์แก้ว (ฝ่ายกิจการภายนอก) ฝ่ายวิชาการ : พัดชา รัญตะเสวี ปรีชา เกียรติกิระขจร สุนิสา อิทธิชัยโย นภามาศ เทพจินดาธร ฝ่ายแผนงาน : พงศ์พิสิฐ ไล้ทอง เวธิต สกุลพอง อมรศรี อมรวัชรพงศ์ ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ : ศรัณย์ ปุษยไพบูลย์ ณภัทร วัชระคุปต์ ภาณุวัฒน์ ใจธรรม ฝ่ายทะเบียน เอกสารและข้อมูล : ธีรภัทร อุดมบัวสุวรรณ ฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม : ศุภชัย ศุภลักษ์ สมฤทัย เมฆวิเชียรเจริญ ฝ่ายกีฬาและสวัสดิการ : เอกชัย จงเสรีเจริญ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ : สุทธิพงษ์ วรรณไพบูลย์ กชวรรณ ชัยบุตร ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ : กฤษฎา ขันทะชา อุกฤษณ์ วนโกสุม สุทธิพงษ์ วรรณไพบูลย์ อานนท์ เวสบอมเค ศุภักษ์ พันธ์เพ็ง สาราณียกร : กานต์อธิป เพ็ชรเจริญ เหรัญญิก : สุภกิจ ลักษณะศิริ ที่ปรึกษา : กิตติ คำ�แก้ว วรพงษ์ พลกองแก้ว ณภัทร วัชระคุปต์ พรรณพร อัชวรานนท์ ผู้ตรวจสอบบัญชี : วิญญ์รวี ช่อวิเชียร ระวิทัต สุคนธสิงห์

ทีมงาน opnmnd

บรรณาธิการบริหาร : กานต์อธิป เพ็ชรเจริญ รองบรรณาธิการ : พชร แก่นเมือง กองบรรณาธิการ : พรรณพร อัชวรานนท์, พรศรี เจริญพานิช, นัฏฏ์ เนติวร, พัดชา รัญตะเสวี, วิญญ์รวี ช่อวิเชียร, ธนมาด คุณศรีรักษ์สกุล, ธารารัตน์ ทวีกุล,พรพิมพ์ อำ�ไพกิจพาณิชย์ กราฟิก : วรุตม์ รินธนาเลิศ, อกนิษฐ์ ศรีสุทธิวงศ์ (infographics) ปก : สุวพร พจนานุวัตร พิสูจน์อักษร : พัดชา รัญตะเสวี, วิญญ์รวี ช่อวิเชียร, ธนมาด คุณศรีรักษ์สกุล, ธารารัตน์ ทวีกุล ประชาสัมพันธ์ : พรพิมพ์ อำ�ไพกิจพาณิชย์

opnmnd's Team

Editor-in-chief : Karnatip Petcharoen Sub-editor : Patchara Kanmuang Editorial boards : Punnaporn Archawaranon, Pornsri Charoenpanich, Natta Netivara, Padcha Runtasevee, Vinravee Chovichien, Thanamard Khunsriraksakul, Thararat Taweekun, Pornpim Ampaikitpanich Graphic : Varut Rintanalert, Akanit Srisuttiwong (Infographic) Cover : Suvaporn Photjananuwat Proofreading : Padcha Runtasevee, Vinravee Chovichien, Thanamard Khunsriraksakul, Thararat Taweekun Public Relations : Pornpim Ampaikitpanich

II


บก. TALK

CONTENTS

Terminal DE : ตกหลุม(คู)รักที่ Freiburg 2 สารจากส.น.ท.ย. 6 Fix-it: ลืมกุญแจ ทำ�ไงดี? 10 Terminal EU : โรงแรมนํ้าแข็ง แสงเหนือ และไซบีเรียน ฮัสกี 12 Infograhics : พลังงาน 26 เยอรมันไปวันๆ 28 Techtalk : Top 5 E-learning 29 Fashion : Vintage Funk 30 Special : คนไทยในกองทัพนาซี 39 Life Score : ไทยบาวู VS สิงห์เฮสเซ่น VS ไทยแฟรงก์เฟิร์ต 50 ถามพ(ร่)อง : German Driving License 52 รูปนอกกรอบ : The beginning is always today. 54 Happy Hour 62 Hi Gesund! : ดื่มนํ้าก๊อก? 63 ชรชวนชิม(เบียร)์ 66 German Thinking 68 ทำ�มะ? 80 ก้าวที่แตกต่าง : ใหม่&ใหญ่ เด็กแนวแห่งชตุทท์การ์ท 82 Love Eat All Around 91 opnmnd Kino 92 พี่เก่าเล่าใหม่ : ดร.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ 94

สวัสดีครับทุกท่าน นิตยสาร opnmnd ฉบับนี้เป็นฉบับ ปฐมฤกษ์ ที่เกิดจากความฝัน จินตนาการ ประสบการณ์ ความรู้ และความรักของนักเรียนไทยในเยอรมัน ที่อยากสื่อสารความ คิด ความรู้สึก ในช่วงเวลาที่เราได้พำ�นักอยู่ในประเทศที่ได้ชื่อ ว่าเป็นที่สุดในหลายๆด้าน และความเป็นพลเมืองที่มีวินัย ใฝ่รู้ มีวิธีดำ�เนินชีวิตที่น่าสนใจ ผมขอขอบคุณพี่น้องกองบรรณาธิการ ที่ไว้วางใจผมในการ ทำ�งานร่วมกัน และร่วมอุดมการณ์ถ่ายทอดความคิดจนออกมา เป็นนิตยสารฉบับแรกของเราได้ opnmnd ฉบับนี้มีเจตนารมณ์ ให้ทุกท่านที่สนใจได้มีโอกาสร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ที่คิดว่า จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อช่วย กันสร้างหนังสือบันทึกความทรงจำ�ฉบับนี้ การเสนอแนะที่ดี ของท่านจะเป็นการร่วมให้กำ�ลังใจคณะทำ�งานทุกคน ผมตั้งใจที่จะให้หลายบทความมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและ แนวความคิดที่ดีของประเทศเยอรมนี ผ่านมุมมองทัศนคติของ พวกเรากองบรรณาธิการทั้งได้รับการสนับสนุนข้อมูลจาก พี่น้องนักเรียนไทยที่เรียนหรือเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ นิตยสาร opnmnd นี้จะนำ�เสนอทุกๆ 3 เดือน คอลัมน์ต่างๆ ก็จะปรับ เปลี่ยนไปตามหัวข้อหลักของแต่ละฉบับ ภาษาที่ใช้อ่านเข้าใจ ง่ายและไม่เป็นทางการจนเกินไป เป็นการถ่ายทอดความรู้ ที่ไม่ใช่การนำ�เสนอทางวิชาการ เจ้าของคอลัมน์ต่างวัยต่าง ประสบการณ์ต่างทุ่มเทกับการเขียนอย่างเต็มที่ จึงขอกำ�ลังใจ จากทุกท่าน ได้โปรดสนับสนุนคนไทยรุ่นใหม่ที่อยากประกาศ ฝีมือในต่างแดน ผมหวังว่าท่านคงได้ประโยชน์และเพลิดเพลิน จากนิตยสารฉบับนี้นะครับ ขอกราบขอบพระคุณผู้ใหญ่ทุกท่านที่ได้กรุณาให้สัมภาษณ์ลง ในนิตยสารฉบับนี้ บางท่านก็กรุณาให้ข้อมูลข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ รวมถึงเพื่อนๆ นักเรียนไทยที่อยู่ต่างเมือง ผู้มี จิตอาสาแบ่งเวลามาช่วยกันดำ�เนินการ จนนิตยสารฉบับนี้ สำ�เร็จออกมาจนได้ ขอบพระคุณครับ กานต์อธิป เพ็ชรเจริญ (Karnatip Petcharoen) บรรณาธิการบริหาร (Editor in Chief) 1


โดย พรศรี เจริญพานิช, ปรีชา เกียรติกิระขจร

TERMINAL DE

ตกหลุม (คู) รักที่

*FR

* TRAVEL * หากจะเอ่ยถึงเมืองท่องเที่ยวในแถบเยอรมันตอนใต้ (Süddeutschland) แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโพลสำ�นักไหน ๆ คงต้องมีชื่อเมืองไฟรบวร์ก (Freiburg) ติดอยู่อันดับต้น ๆ อย่างไม่ต้องคาดเดา ไฟรบวร์กอยู่ที่ไหน มีความ สวยงามและมีเสน่ห์แค่ไหน วันนี้ผมขออาสาพาท่านเยี่ยมชมเมืองเองครับ ไฟรบวร์ก อิม ไบรสเกา (Freiburg im Breisgau) หรือที่ใคร ๆ เรียก กันว่าไฟรบวร์ก ตั้งอยู่ใต้สุดของแคว้นบาเดน เวือร์ทเทมแบร์ก (BadenWürttemberg) ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี เมืองตั้งอยู่ติดกับป่า ดำ� (EN - Black forest, DE - Schwarzwald) ไฟรบวร์กนั้นเป็นเมือง มหาวิทยาลัยและมีชื่อเสียงในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่สวยงามอีกเมืองหนึ่ง หากเราคิดที่จะมาเที่ยวในเมืองไฟรบวร์กแล้ว แทบจะไม่ต้องใช้ระบบ ขนส่ง Tram ในเมืองเลยครับ เพราะว่าสถานีรถไฟอยู่ห่างจากตัวเมือง เพียงแค่ถนนคั่นเท่านั้นเอง เรียกได้ว่าสะดวกมากทีเดียวครับ สิ่งแรกที่จะ เห็นเมื่อมาถึงไฟรบวร์กคือ คูนํ้าเล็ก ๆ ไหลผ่านทั่วทั้งเมือง คูนํ้าเล็ก ๆ นี้ ชาวไฟรบวร์กเรียกว่า Bächle (อ่านว่า เบ็ช-เล่ Bäch แปลว่า คูเมือง, -le เป็นภาษาถิ่นแปลว่า เล็ก ๆ เหมือนคำ�ว่า -chen ใน Hochdeutsch) คูนํ้านี้ในสมัยก่อนเคยใช้เป็นคูลำ�เลียงนํ้าสำ�หรับนํ้าใช้(ไม่ใช่สำ�หรับดื่มกิน

2


REIBURG นะครับ) ใช้ในงานบ้าน, โรงงานต่าง ๆ และยังใช้ดับไฟเมื่อเกิดเหตุเพลิง ไหม้อีกด้วย เวลาเดินรอบ ๆ เมืองอย่าเผลอเดินตกคูน้อยนี้เชียวนะครับ เพราะมีเรื่องเล่าอยู่ว่า ถ้าหากใครเผลอเดินพลัดตกลงไปในคูล่ะก็ จะมีเหตุ ให้ได้แต่งงานกับคนเมืองไฟรบวร์ก กลายเป็นเขยและสะใภ้เมืองไฟรบวร์ก ไปเลย หากเราเดินต่ออีกหน่อยมาจนถึงใจกลางเมืองเราจะพบกับสาว งามประจำ�เมืองที่ชาวไฟรบวร์กรักนักรักหนา นั่นก็คือ Münster หรือมหา วิหารของเมืองนั่นเอง มหาวิหารหลังนี้สร้างในปีค.ศ.1200 เสร็จสิ้นในปี ค.ศ.1513 (โอ้โหนานจัง) สิ่งที่โดดเด่นเป็นสง่าและชวนให้แปลกใจของมหา วิหารหลังนี้ก็คือนาฬิกาเรือนโตบนหอคอยที่มีเพียงเข็มบอกชั่วโมงเพียง เข็มเดียว ซึ่งในสมัยก่อนนั้นผู้คนมีจังหวะชีวิตที่ไม่ได้เร่งรีบถึงขั้นต้อง ทราบเวลาเป็นนาที เพียงแค่ให้รู้ว่าเวลากี่โมงยามก็เพียงพอแล้ว ถัดจาก มหาวิหาร จะพบกับอาคารสีแดงอิฐสวยงาม Historisches Kaufhaus ที่ ตกแต่งประดับประดาด้วยรูปปั้นและกระเบื้องหลากสีสวยงาม ในอดีตเป็น ร้านค้าเก่าแก่ตั้งแต่ ค.ศ.1500 โน้นเลยครับ เมืองไฟรบวร์กจะมีซุ้มประตู เมืองอยู่ด้วยกันสองซุ้ม นั่นคือซุ้มประตูเมืองมาร์ตินส์ทอร์ (Martinstor) และชวาเบนทอร์ (Schwabentor) เป็นสองประตูที่หลงเหลือให้เห็นจากใน อดีตที่มีถึง 12 ประตู เมื่อครั้งเริ่มสร้างเมืองไฟรบวร์ก

และหากเราไม่เดินชมตึกรามบ้านช่องที่สวยงามอย่างเพลิดเพลินจนลืม สังเกตบนพื้นทางเท้าหน้าร้านค้าต่าง ๆ ของเมือง เราจะพบความน่ารัก ของเหล่าภาพโมเสกจากหินก้อนเล็ก ๆ ที่ถูกจัดเรียงอย่างบรรจงประณีต เป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์ของร้านค้านั้น ๆ อย่างเช่นร้านดอกไม้ก็จะมี โมเสกบนพื้นหน้าร้านเป็นรูปดอกไม้ นับว่าเป็นความโรแมนติกของชาว เมือง Freiburg ที่น่ารักมากเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวที่สามารถ มองเห็นเมืองไฟรบวร์กได้ทั้งเมืองเลยนั้นก็คือ เขา Schlossberg ซึ่งเดิมที นั้นเป็นที่ตั้งของป้อมปราการใช้ป้องกันศัตรู แต่ด้วยกาลเวลาและผ่านศึก สงครามมาหลายครั้ง ก็ทำ�ให้เหลือเพียงแค่ซากรากฐานของตัวป้อมให้ได้ ศึกษากันเท่านั้น บนเขานั้นจะมีหอคอยที่สามารถจะมองลงมาชมเมือง ไฟรบวร์กและมหาวิหารได้ชัดเจน นับเป็นจุดชมวิวที่พลาดไม่ได้เลย สำ�หรับการมาเยือนไฟรบวร์ก มนต์เสน่ห์แห่งป่าดำ�นั้น ถ้าคุณอยากจะสัมผัสต้องลองไปเยี่ยม ไฟรบวร์กสักครั้ง แล้วคุณจะรักไฟรบวร์กแบบถอนตัวไม่ขึ้นเหมือนใคร หลาย ๆ คน ;)

3


*

ถ้าหากใครเผลอเดินพลัดตกลงไปในคูล่ะก็ จะ มีเหตุให้ได้แต่งงานกับคนเมืองไฟรบวร์ก กลาย เป็นเขยและสะใภ้เมืองไฟรบวร์กไปเลย

* EAT*

หลังจากชื่นชมทัศนียภาพโดยรอบของเมืองและสัมผัสกับสถาปัตยกรรม อันเก่าแก่กันอย่างเต็มอิ่มแล้ว จะปล่อยให้ท้องหิวก็คงกระไรอยู่ เพราะ ขนาดนโปเลียนยังบอกเลยว่า “กองทัพต้องเดินด้วยท้อง” จึงอยากจะขอ แนะนำ�เกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินสักหน่อย ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่ง ของประเทศที่มีชื่อเสียงในการผลิตเบียร์ มาเที่ยวไฟรบวร์กทั้งที ถ้าไม่ ได้ลองลิ้มชิมรสเบียร์ท้องถิ่นของไฟรบวร์ก ก็คงไม่อาจพูดได้เต็มปากว่า มาถึงไฟรบวร์กแล้วจริงๆ โรงเบียร์สดในเมืองไฟรบวร์กที่มีชื่อเสียงและ 4

เป็นที่นิยมของนักดื่มนั้นมีอยู่หลายแห่ง แต่สำ�หรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ค่อย ชำ�นาญถนนหนทางในเมืองแล้ว ทางเลือกที่ดีที่สุดก็คงเป็น 2 แห่งนี้ คือ มาร์ตินส์บรอย (Martins Bräu) และไฟเออร์ลิง (Feierling) มาร์ตินส์บรอยตั้งอยู่ใจกลางเมืองติดกับซุ้มประตูมาร์ตินส์ทอร์ มีเบียร์ สดให้เลือกชิมหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นพิลส์ (Pils), เบียร์ดำ� (dunkles Bier) หรือไวส์เบียร์ (Hefeweizen) ซึ่งจะมีลักษณะขุ่น เนื่องจากไม่ได้ กรองยีสต์ออก นอกจากนี้ยังมีอาหารท้องถิ่นหลากหลายเมนูไว้บริการ ลูกค้า อาทิเช่น ขาหมูรมควัน ไส้กรอกย่างขนาดยาว 1 เมตรและชนิทเซล (Schnitzel) หรือหมูทอดสไตล์เยอรมันที่จะเลือกให้เสิร์ฟกับเครื่องเคียง ได้หลายอย่าง จะเป็นสลัดผักสดกับนํ้าสลัดใสหรือสลัดมันฝรั่งในแบบ ฉบับของเยอรมันตอนใต้ คือจะปรุงรสด้วยนํ้ามันมะกอก นํ้าส้มสายชู


หมักธรรมชาติและเครื่องเทศสูตรเฉพาะเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกับสลัดมัน ฝรั่งทางเยอรมันตอนเหนือที่มักจะปรุงด้วยครีมข้นและมายองเนส แต่ หากไม่ชอบรับประทานสลัด จะสั่งเป็นชเปทซเล่ (Spätzle) หรือคเนอฟเล่ (Knöpfle) ก็ได้ ลักษณะจะคล้ายพาสต้าสดทำ�จากแป้งสาลีและไข่นวดให้ เข้ากันแล้วผ่านเครื่องกดลงในนํ้าเดือดเพื่อให้แป้งสุก กรรมวิธีคล้ายคลึง กับการทำ�ลอดช่องนํ้ากะทิบ้านเรา ซึ่งทั้งชเปทซเล่และคเนอฟเล่จัดได้ว่า เป็นอาหารท้องถิ่นของแถบบาเดน (Baden) (สังเกตได้จากการลงท้ายคำ� แบบภาษาถิ่นด้วย –le เช่นเดียวกับคูนํ้า Bächleนั่นเอง) สำ�หรับคอเบียร์ที่ ถูกใจในรสชาติจะซื้อเบียร์สดกลับบ้าน ทางร้านก็มีเบียร์พร้อมถังจำ�หน่าย มีทั้งขนาด 2 ลิตรและ 5 ลิตร ให้เลือกหิ้วกลับบ้านกลับไป ดื่มหมดแล้ว เกิดติดใจ จะหิ้วถังกลับมาเติมเบียร์ ก็มีส่วนลดค่าถังให้อีกต่างหาก ส่วนโรงเบียร์ไฟเออร์ลิงนั้นอยู่ถัดจากมาร์ตินส์บรอยมาทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ในบริเวณเอากุสทิเนอร์พลัทซ์ (Augustinerplatz) ซึ่งเป็นที่นิยม มากในช่วงฤดูร้อน เพราะทางร้านจะเปิดลานเบียร์กลางแจ้งให้ลูกค้าได้ดื่ม เบียร์ไปพร้อมกับอาบแสงแดดสดใสในยามบ่าย เพลิดเพลินไปกับเสียง สายนํ้าไหล ด้วยร้านนี้ตั้งอยู่ติดกับลำ�คลองขนาดเล็กที่มีชื่อแสนน่ารักว่า ลำ�นํ้าสวรรค์หรือฮิมเมลส์บัค (Himmelsbach) ที่ไหลผ่านบริเวณตอนใต้ ของไฟรบวร์ก แม้ไฟเออร์ลิงจะมีอาหารให้เลือกไม่มากชนิดเท่ากับที่มาร์ ตินส์บรอย คือจะเน้นไปทางสลัดและไส้กรอกเบาๆ ไว้ทานเล่นแกล้มกับ เบียร์ แต่ด้วยรสชาติของเบียร์ที่นุ่มลิ้นดื่มง่ายและบรรยากาศที่งดงาม ก็ ทำ�ให้ไฟเออร์ลิงมีลูกค้าทั้งขาประจำ�และขาจรจำ�นวนไม่น้อยเลยทีเดียว

อิ่มจากอาหารคาวแล้วก็ต้องตบท้ายด้วยขนมหวานถึงจะครบเครื่อง ถ้าจะให้พูดถึงขนมที่ขึ้นชื่อและมีถิ่นกำ�เนิดมาจากดินแดนแถบป่าดำ� แล้วนั้น คงจะไม่พ้นเค้กเชอรี่ที่เรียกว่า ชวาร์ซเวลเดอร์ เคียร์ชทอร์เทอ (Schwarzwälder Kirschtorte) หรือเค้กป่าดำ� ซึ่งคนไทยจะรู้จักในชื่อ เค้กแบล็คฟอเรสต์ (black forest cake) มีขายตามร้านเบเกอรี่ชื่อดังทั่ว ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น S & P, in & out หรือแม้แต่ในรูปแบบของเค้ก ไอศกรีมที่ร้านSwensen’s (อันนี้ผู้เขียนไม่ได้ค่าโฆษณาจากร้านมีชื่อดัง กล่าวแต่ประการใด เพียงแต่ยกตัวอย่างให้ผู้อ่านได้ทราบ เผื่อว่าถ้าไม่เคย เห็นจะได้ไปแอบดู) ทั้งนี้ ที่ได้ชื่อว่าเค้กป่าดำ�ไม่ใช่แค่เพราะว่าเป็นเค้กที่มี ถิ่นกำ�เนิดมาจากป่าดำ�เท่านั้น หากแต่ส่วนผสมต่างๆ ก็ยังเรียกได้ว่าเป็น เอกลักษณ์ของป่าดำ�อย่างแท้จริง ด้วยมีลักษณะเป็นเค้กช็อคโกแลตเนื้อ นุ่มซ้อนกันอย่างน้อย 3 ชั้นมาตรฐาน สอดไส้ด้วยแยมเชอร์รี่ ซึ่ง เชอร์รี่พันธุ์ผลใหญ่สีม่วงเกือบดำ� รสชาติหวานหอมเต็มปากเต็มคำ�หรือที่ เรียกว่า เชอร์รี่จักรพรรดิ (Kaiserkirsch) นั้น มีปลูกมากในเขตป่าดำ�และ เป็นผลไม้เศรษฐกิจ ตัวเค้กปาดทับด้วยวิปครีมขาวฟูที่ผสมบรั่นดี เชอร์รี่ (Kirschwasser) ตกแต่งอย่างหรูหราด้วยเกล็ดช็อคโกแลตที่เข้า กันได้อย่างดีกับความนุ่มของตัวเค้ก ความหวานของครีมและไส้เชอร์รี่รส หวานอมเปรี้ยว ซึ่งความแตกต่างของเค้กป่าดำ�ที่มีขายอยู่ในเมืองไทยกับ เค้กป่าดำ�สูตรต้นตำ�รับนั้น ก็อยู่ตรงที่บ้านเราไม่นิยมใส่เหล้าลงในเค้ก ไม่ว่าจะเป็นด้วยไม่คุ้นเคยกับรสเหล้าในขนมหวานหรือจะด้วยความที่เป็น เมืองพุทธและการเสพสุรานั้นผิดศีล 5 ก็ตามที แต่ในยุโรปมีฤดูหนาวอัน ทรมาน การกินของหวานที่ให้พลังงานสูงผสมกับเหล้าจะช่วยทำ�ให้ร่างกาย อบอุ่น การผสมเหล้าลงในขนมหวานก็ดี หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างเบียร์ไปพร้อมกับอาหารก็ดี จึงเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง อันมี รากเหง้ามาจากการที่มนุษย์ต้องต่อสู้กับลักษณะภูมิอากาศอันรุนแรง ทั้งนี้ และทั้งนั้น ใครที่เคยได้รับประทานเค้กป่าดำ�สไตล์ไทยแล้วก็อยากให้ลอง มาสัมผัสกับเค้กป่าดำ�สไตล์ป่าดำ�แท้ๆ ดูบ้าง หรือใครที่ไม่เคยรู้จักเค้กป่า ดำ�มาก่อน เมื่อได้มาเยี่ยมไฟรบวร์กแล้ว ก็ขอแนะนำ�ให้ลองชิมเค้กป่าดำ�ดู สักที เผื่อว่ากลับเมืองไทยแล้วไปเห็นเค้กป่าดำ�ที่ไหนจะได้บอกคนอื่นได้ ว่า “ผมไปกินเค้กป่าดำ�ที่ป่าดำ�มาแล้วนะ”

5


สนทย

สารจาก

ขอต้อนรับคุณผู้อ่านสู่นิตยสารของเราในฤดูร้อน ปี 2555 ด้วยนิตยสารชื่อใหม่ไฉไล “opnmnd“ (Open Mind) โดยนิตยสารเล่มนี้ถือกำ�เนิดต่อจากวารสาร TSVD Magazine ที่สมาคมนักเรียน ไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.น.ท.ย.) จัดทำ�ให้ผู้อ่านติดตามข่าวคราว ของเรามาตลอดปี 2554 ที่ผ่านมา คอลัมน์ “สารจากส.น.ท.ย.” นี้ เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมต่างๆตลอดปีการทำ�งานของคณะกรรมการดำ�เนินงานของ ส.น.ท.ย. ทั้งยังเปิดโอกาสให้ สมาชิกส.น.ท.ย. นักเรียนไทยและคนไทยในประเทศเยอรมนี ตลอด ทั้งบุคคลทั่วไป ได้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็นและแจ้งข่าวสารกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้เราต้องขอขอบคุณ การสนับสนุนจากคณะกรรมการส.น.ท.ย. ทั้งรุ่นที่ผ่านมาและรุ่นปัจจุบันสดๆ ร้อนๆ รวมทั้งคณะผู้ จัดทำ�นิตยสาร opnmnd ที่ทำ�งานกันอย่างขยันขันแข็ง เพื่อให้นิตยสารฉบับนี้ออกสู่สายตาสมาชิก อย่างเต็มรูปแบบ เราขอเริ่มต้นด้วยกิจกรรมหลักของส.น.ท.ย. ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 6-8 เมษายน 2555 ณ เมืองบาด 6


ในที่สุดเราก็ได้คณะกรรมการชุด ใหม่มาดำ�เนินงาน นำ�โดยนายก คนใหม่ นายวรวุฒิ สินโคกสูง � ฮอนเนฟ (Bad Honnef) ด้วยงานประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี 2555 พร้อมกับการเลือกตั้งนายกคน ใหม่ ภายใต้ชื่องาน "ส.น.ท.ย.เลือกตั้ง สานสัมพันธ์น้องพี่ แรลลี่ บาด ฮอนเนฟ" บรรยากาศของงาน ดำ�เนินไปด้วยความสนุกสนานจากกิจกรรมแรลลี่ ถึงแม้จะต้องต่อสู้กับฝนบางๆ และลมเย็นๆ ของ ฤดูใบไม้ผลิก็ตาม แต่ในที่สุดเราก็ได้คณะกรรมการชุดใหม่มาดำ�เนินงาน นำ�โดยนายกคนใหม่ นาย วรวุฒิ สินโคกสูง (วุฒิ) หลังจากได้นายกคนใหม่ เราจึงต้อนรับหน้าร้อนของปี ด้วยกิจกรรมหลากหลายในทุกๆ แขนง เริ่ม จากกิจกรรมดนตรีเพื่อความบันเทิง สำ�หรับบุคคลที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศเยอรมนี หลายๆ คนคงจำ�งานคอนเสิร์ต “หมู หมา กา ไก่ Live in Bremen“ จากกลุ่มวงดนตรี 17A (ซีบเซนอา) ของนักเรียนไทยในเบรเมนได้เป็นอย่างดี งานนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555 ณ เมืองเบรเมน ภายในงานคลาคลํ่าไปด้วยคนที่ชื่นชอบในเสียงเพลงทั้งไทยและสากลกว่า 80 คน มาทั้งเป็นกลุ่มและ ฉายเดี่ยว บรรยากาศครึกครื้นเฮฮาเป็นกันเองตลอดทั้งคืน 7


ไม่เพียงแต่ความบันเทิงเท่านั้น เรายังเน้นยํ้าให้นักเรียนไทยในประเทศเยอรมนีมีสุขภาพพลานามัยที่ ดีด้วย ซึ่งกิจกรรมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมนีฯ ครั้งที่ 1 สามารถตอบ โจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี งานนี้เป็นงานกีฬาที่ส.น.ท.ย. เข้ามาสนับสนุนเต็มที่เป็นงานแรก โดยจัดขึ้นที่ สนามกีฬา เมืองกีเซ่น (Gießen) เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 โดยมีรูปแบบการแข่งขันเป็นการ เตะฟุตบอล 8 คน แบบพบกันหมด โดยทีมที่ได้แต้มสูงสุด จะเป็นผู้คว้าชัยกลับบ้านไป ในที่สุดทีม ไทยแฟรงก์เฟิร์ตก็สามารถคว้าชัยไปอย่างนิ่มๆ ขยับมาทางงานวิชาการ เมื่อวันที่ 1-3 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ทางส.น.ท.ย. และนักเรียนไทยใน ประเทศเยอรมนีได้มีโอกาสเข้าร่วมงานและเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนักเรียนไทยในทวีป ยุโรป ประจำ�ปี 2555 (TSAC 2012: Thai Students Academic Conference) ณ เมืองโวเลนดัม (Volendam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ภายใต้หัวข้อการประชุมที่น่าสนใจ “Contribution to Thailand” งานนี้ถือเป็นกิจกรรมทางวิชาการที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจมากอีกงานหนึ่ง โดยภายในงาน เรายังได้พบปะกับนักเรียนไทยจากทั่วภูมิภาคยุโรปที่มาเสนอผลงาน เป็นการสร้างเครือข่ายความ สัมพันธ์ระหว่างนักเรียนไทยทั้งภูมิภาคยุโรปอีกทางหนึ่ง เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2555 มีการจัดงานกีฬาอีกประเภทหนึ่ง คืองานแข่งขันชิงถ้วยแบดมินตัน ครั้ง ที่ 1 ณ เมืองเคิล์น โดยจัดขึ้นที่ Sport Park Cologne มีรูปแบบการแข่งขันคือ แบบทีม พบกันหมด ผู้ชนะได้แก่ทีมชาวคณะ โดยบรรยากาศการแข่งขันค่อนข้างจริงจังกันทุกทีม แต่ก็สนุกสนานกัน ถ้วนหน้า มีการส่งเสียงดังบ้างอะไรบ้าง ตามประสานักเรียนไทยในเยอรมนีที่ไม่ได้พบปะกันมานาน หลังจากนั้นในวันที่ 21 กรกฎาคม นักเรียนไทยในรัฐบาเดน-เวือร์ทเทมแบร์ก ก็ไม่ยอมน้อยหน้า จัดแข่งขันแบดมินตันชิงถ้วย Ba-Wü Cup บ้าง ที่เมืองคาร์ลสรูห์ (Karlsruhe) มีนักเรียนไทยจาก ละแวกใกล้เคียงและรัฐเพื่อนบ้านหลายคนเข้าร่วมแข่งขัน ผู้ชนะครั้งนี้ได้แก่ทีม Viva Alemania หากเพื่อนๆ ยังไม่จุใจกับกิจกรรมกีฬาทั้งสามงานที่ผ่านมา ส.น.ท.ย. ยังมีโครงการจะจัดงานกีฬาครั้ง ใหญ่ในเดือนตุลาคมนี้ ที่เมืองฮัมบวร์ก โดยงานนี้จะรวมกีฬาหลากหลายประเภทให้ได้สนุกสนานกัน และที่ขาดไม่ได้หลังจากเหนื่อยกับกีฬามาทั้งวันคือ เวทีแสดงดนตรีสด ฝีมือนักเรียนไทยในเยอรมนี เหมือนที่เคยมีมาทุกปี เพื่อนๆ ที่สนใจร่วมงาน อย่าลืมติดตามกำ�หนดการที่แน่นอนในเว็บไซต์ www.tsvd.org แล้วพบกันใหม่กับกิจกรรมดีๆ มีประโยชน์ ที่ทางส.น.ท.ย.จะจัดสรรมาให้พวกเราได้สนุกสนานกัน ตลอดปีการทำ�งานของพวกเรานะคะ สวัสดีค่ะ

8


ส.น.ท.ย. ยังมีโครงการจะจัดงานกีฬาครั้ง ใหญ่ในเดือนตุลาคมนี้ ที่เมืองฮัมบวร์ก โดยงานนี้จะรวมกีฬาหลากหลายประเภท ให้ได้สนุกสนานกัน และ เวทีแสดงดนตรี สด ฝีมือนักเรียนไทยในเยอรมนี

9


ลืมกุญแจ ทำ�ไงดี? Fix-it ช่วยได้

โดย วิญญ์รวี ช่อวิเชียร

โดยปกติเวลาเราออกจากบ้าน เรามักจะเช็คของกันเสมอว่าเราลืมอะไรไหม

ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์มือถือ กุญแจห้อง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่จำ�เป็นต้องพกติดตัว ถ้าหากลืมอะไรไว้ เราก็ยังสามารถกลับมาเอาที่บ้านได้ แต่... ถ้าเป็นกุญแจล่ะ นั่นไง คนที่เคยลืมกุญแจในประเทศเยอรมนีก็คงจะรู้ว่า ความซวยมาเยือนแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่เป็นระบบล็อกอัตโนมัติ หลายคนอาจยังไม่เคยมีประสบการณ์ตรงนี้ ไม่เคยนึกด้วยซํ้าว่ามันจะเป็นปัญหาอะไรมากมาย จริงอยู่มันไม่ใช่ ปัญหาใหญ่โตอะไร แต่มันก็เป็นปัญหา เพราะเราจะต้องเสียเวลาและเงินโดยที่ไม่ควรจะมาเสียอะไรในเรื่องแบบ นี้ บางคนอาจถึงกับเซ็งตนเองด้วยซํ้า ยิ่งถ้าวันที่เราลืมกุญแจห้องเป็นช่วงวันธรรมดาเวลาคํ่าๆ วันเสาร์คํ่าๆ หรือวัน อาทิตย์ เราก็คงหนีไม่พ้นคำ�ถามที่ว่า ทำ�อย่างไรดี? เพราะเป็นที่รู้ๆ กันว่า นั่นไม่ใช่เวลาทำ�งาน โดยเฉพาะคนดูแล หอพักหรือเรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า เฮาส์ไมส์เตอร์ (Hausmeister)

เฮ้อ

หอพักนักเรียน-นักศึกษาหรือบ้านเช่า ในกรณีที่เราลืมกุญแจไว้ในห้องเฉยๆ โดยกุญแจไม่ได้เสียบคา ประตู ไม่ว่าเวลาใดก็ตาม เราสามารถโทรแจ้งผู้ดูแลหอพักได้ หรือหากเราอยู่บ้านเช่าก็ให้ใช้วิธีเดียวกันคือแจ้งเจ้าของบ้าน โดย เราอาจต้องรอประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง ผู้ดูแลหอพักจะมาไข ประตูให้โดยใช้กุญแจสำ�รองและเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 50 ยูโร

10

ไม่สามารถติดต่อผูด้ แู ลหอพัก หรือผู้ให้บริการกุญแจได้ ก็คงทำ�อะไรไม่ได้และหนีไม่พ้นที่จะต้องรอ รอ รอ และ รอ… บางทีอาจต้องรอถึงเช้าวันถัดไปหรือเช้า วันทำ�งานกันเลยก็เป็นได้


หากเป็นไปได้ไม่ควรเสียบกุญแจคาประตู เพราะการ เสียบกุญแจคาประตูก็ไม่ใช่วิธีการป้องกันการลืม กุญแจที่ถูกต้องมากนัก การมีสติก่อนออกจากห้อง จะช่วยป้องกันการลืมกุญแจได้มากกว่า

ลืมกุญแจไว้ในห้องโดยที่กุญแจเสียบคาประตู เราสามารถเรียกผู้ให้บริการกุญแจเองได้โดยตรง หรือที่เรียกเป็นภาษา เยอรมันว่า ชลึสเซลดีนสท์ (Schlüsseldienst) ไม่ว่าเวลาใดก็ตาม เพราะ ทางผู้ดูแลหอพักจะไม่สามารถไขห้องเราได้หากมีกุญแจเสียบคาประตูอยู่ โดยเราต้องหาเบอร์ผู้ให้บริการกุญแจเอง หรือในกรณีที่หาเบอร์ผู้บริการ กุญแจไม่ได้จริงๆ เราสามารถสอบถามได้ที่ผู้ดูแลหอพัก ซึ่งในการเรียกผู้ ให้บริการกุญแจเราอาจต้องรอถึง 2 ชั่วโมง โดยทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่ มาตามที่อยู่ที่เราแจ้งพร้อมด้วยอุปกรณ์ของเขาที่สามารถไขประตูที่มี กุญแจเสียบคาอยู่ได้ในเวลาไม่ถึง 5 นาที น่าทึ่งมากๆ และค่าใช้จ่ายอาจสูง ถึง 150-250 ยูโรเลยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นนักเรียน-นักศึกษาสามารถต่อรอง ราคาได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัว 11


TERMINAL EU

โดย พรรณพร อัชวรานนท์

3 12


3 โรงแรมนํ้าแข็ง แสงเหนือ และไซบีเรียน ฮัสกี

ท่ามกลางความร้อนระอุของยุโรปในช่วงนี้ หลายๆ คนคงจะนึกถึงเครื่องปรับอากาศใน เมืองไทย ตามด้วยนํ้าแข็งหรืออะไรเย็นๆ ดับความร้อนอยู่ไม่น้อย...

opnmnd เล่มนี้ จึงขออาสาพาพวกเราไปสัมผัสความเย็นติดลบของขั้วโลกเหนือ เผื่อจะคลายความร้อนรุ่มได้บ้าง แถมด้วย การชมปรากฏการณ์ที่ปกติจะมีแต่ชาวขั้วโลกเหนือเท่านั้นที่ได้ชม นั่นคือ ปรากฏการณ์แสงเหนือ (Northern Light) หรือที่รู้จัก กันในนามว่า ปรากฏการณ์แสงออโรรา (Aurora Borealis) นั่นเอง...

13


ปรากฏการณ์แสงเหนือในยุโรปจะสามารถเห็นได้ในประเทศแถบสแกนดิเนเวียตอนบน (ทางเหนือ ของนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์) รัสเซีย กรีนแลนด์และไอซ์แลนด์ แต่เมื่อคำ�นึงถึงความสะดวกใน การเดินทางประกอบกับค่าใช้จ่ายแล้ว เราจึงเลือกจุดหมายปลายทางการดูแสงเหนือที่เมืองคิรูนา (Kiruna) และหมู่บ้านอบิสโก (Abisko) ในเขตลัปป์ลันด์ (Lappland) ประเทศสวีเดน เนื่องจากมี เครื่องบินจากเยอรมนีไปลงกรุงสตอกโฮล์มอยู่มากมาย เราตัดสินใจเดินทางไปตามล่าแสงเหนือในช่วงวันหยุดปีใหม่ เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งในช่วงดัง กล่าวของปีจะเกิดปรากฏการณ์ Polar Night (มีกลางคืนมากกว่า 24 ชั่วโมง) ควบคู่ไปด้วย ปกติ แล้วเราสามารถเดินทางจากสตอกโฮล์มไปเมืองคิรูนาได้สองวิธี นั่นคือ การนั่งรถไฟ 17 ชั่วโมง ซึ่งมี ทั้งเที่ยวกลางวันและกลางคืน และแบบที่สองคือนั่งเครื่องบิน 1 ชั่วโมงครึ่งไปลงที่สนามบิน คิรูนา เนื่องจากเราอยากทดลองประสบการณ์ทั้งสองแบบ จึงเริ่มต้นทริปด้วยการบินไปลง สตอกโฮล์ม แล้วนั่งรถไฟข้ามคืน ซึ่งจะไปถึงตอนเช้าที่เมืองคิรูนาพอดี โดยรถไฟจะมีที่นั่งหลาย ประเภทให้เลือก ได้แก่ แบบ Seat คือเก้าอี้นั่ง (ตลอดทาง) แบบ Couchette คือมีเตียงพับหก เตียง มีห้องนํ้าอยู่ตรงโถง ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบเป็นหญิงล้วนหรือแบบคละเพศ หากมากันสี่คนขึ้น ไป สามารถจองเป็นห้องส่วนตัวได้ แต่หากต้องการห้องแบบไม่ถึงสี่คนและสะดวกสบายมากขึ้น ก็ สามารถเลือกห้อง Sleeping car (ราคาจะสูงกว่าแบบ Seat และ Couchette มาก) ซึ่งมีสองแบบ ได้แก่ Sleeping car with WC/shower คือมีห้องนํ้าและห้องอาบนํ้าส่วนตัวในห้อง นอนได้สอง คน และ Sleeping car compartment นอนได้สามคน มีอ่างล้างหน้าอยู่ในห้อง และใช้ห้องนํ้า และที่อาบนํ้ารวมที่อยู่ตรงโถง ครั้งนี้คณะของเราเลือกห้องแบบ Couchette สำ�หรับหกคน ช่วง ที่ยังไม่นอนก็สามารถนั่งปกติเหมือนห้องในรถไฟธรรมดาได้ ซึ่งจากประสบการณ์ เราขอแนะนำ� ให้หาสมาชิกไปให้ครบหกเพื่อความเฮฮาแบบเป็นส่วนตัว แถมประหยัดเงินได้เเยะกว่าห้องชนิด อื่นๆ หากต้องการความประหยัดดังกล่าว ควรจองตั๋วรถไฟล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน (ถูกจริงจัง) ที่ www.sj.se ส่วนขากลับ เรานั่งเครื่องบินกลับจากคิรูนาไปลงที่สนามบินอาร์ลันดา (Arlanda) ของ สตอกโฮล์ม 14

Travel Tips หลายๆ คนคงสนใจว่าเรากินอยู่กัน อย่างไรในทริปหนาวๆ ทริปนี้ อันนี้ มีที่มาที่ไป… อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย มีค่าครอง ชีพค่อนข้างสูง (นอร์เวย์ เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์ ตามลำ�ดับ) เราจึง ตัดสินใจที่จะดำ�เนินตามวิถีของคน ท้องถิ่นด้วยการประกอบอาหารกันเอง ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แถมได้ ปริมาณที่มากกว่าในภัตตาคารอย่าง มากมาย เรียกว่าอิ่มกันถ้วนหน้า แม้ มาเที่ยว แถมยังสามารถอิ่มอร่อยแบบ รสชาติไทยๆ ได้ไกลถึงเกือบจะสุด ขั้วโลกเหนือด้วย... เนื่องจากชาวเรา แบกกล่องมาม่าตั้งแต่ออกเดินทางจาก สตอกโฮล์มเพื่อเป็นหัวใจของการกิน อยู่ในทริปนี้


"เมื่อรถไฟเข้าเทียบท่าชานชาลา Kiruna C เราก็รู้สึกได้ถึงความ หนาวที่สุดของชีวิตที่น้อยครั้ง จะมีโอกาสได้มาสัมผัสที่กว่า � -30 ถึง -40 องศาเซลเซียส" 15


โรงแรมนํ้าแข็งแห่งนี้เป็นแห่งที่ ใหญ่ที่สุดและเป็นแห่งแรกของโลก ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับ� ประเทศหนาวๆ อื่นๆ ยิ่งขึ้นไปทางเหนือ อุณหภูมิภายนอกรถไฟก็ยิ่งติดลบลงเรื่อยๆ เราสามารถรับรู้ถึงความหนาวที่ กำ�ลังเข้ามาเยือนได้ทันที สังเกตได้จากเวลาที่เดินออกไปเข้าห้องนํ้าจะเห็นก้อนนํ้าแข็งเกาะอยู่ตาม ประตูรถไฟ (เหมือนที่เราเห็นในหนังสิ้นโลกของต่างประเทศหลายๆ เรื่อง) และในที่สุดเมื่อรถไฟ เข้าเทียบท่าชานชาลา Kiruna C เราก็รู้สึกได้ถึงความหนาวที่สุดของชีวิตที่น้อยครั้งจะมีโอกาสได้ มาสัมผัสที่กว่า -30 ถึง -40 องศาเซลเซียส (นึกแล้วยังหนาวจนทุกวันนี้...) มาเมืองนี้แล้วสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการไปชมโรงแรมนํ้าแข็งในหมู่บ้านยุคคัสเยร์วี (Jukkasjärvi) ที่เลื่องชื่อ (อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร) ซึ่งสามารถเดินทางไปด้วยรถบัสหรือรถ แท็กซี่ (หากมากันเป็นหมู่คณะ) ว่ากันว่าโรงแรมนํ้าแข็งแห่งนี้เป็นแห่งที่ใหญ่ที่สุดและเป็นแห่ง แรกของโลก ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศหนาวๆ อื่นๆ ในโลก ให้สร้างโรงแรมนํ้าแข็ง ตามอีกมากมาย เมื่อเข้ากลางเดือนพฤศจิกายนในแต่ละปี สถาปนิกและนักออกแบบจากทั่วโลก จะมารวมตัวกันที่นี่เพื่อตัดก้อนนํ้าแข็งจากแม่นํ้าทอร์เนอ (Torne) ที่อยู่ใกล้เคียง มาเนรมิตเป็น ห้องพักในรูปแบบต่างๆ โรงแรมแข็งแห่งนี้จะเปิดสองลักษณะคือ ช่วงกลางวันจะเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมภายใน (ราคานักเรียน 200 SEK หรือ 23 EUR) เมื่อตกเย็นก็จะเปิดให้แขกของโรงแรมเข้าพัก สนนราคา ต่อคืนต่อคนประมาณ 1250 - 3500 SEK (141 - 395 EUR) ขึ้นอยู่กับการตกแต่งภายในห้อง โดยภายในห้องจะถูกปรับอุณหภูมิไว้ให้อยู่ระหว่าง -5 ถึง -8 องศาเซลเซียส ซึ่งทีเด็ดไม่ว่าจะเข้า ชมหรือเข้าพักโรงแรมนํ้าแข็งอีกอย่างหนึ่ง คือการลองนอนบนหนังกวางเรนเดียร์ (ที่มีกลิ่นเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่ไม่น้อย...) ซึ่งวางคลุมบนเตียงนํ้าแข็งอีกทีหนึ่ง

16

กวางเรนเดียร์เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำ�คัญต่อชาวซอมิ (Sami) ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองในแคว้น ลัปป์ลันด์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะสามารถนำ�ทุกส่วนในร่างกายมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งเมื่อยังมี ชีวิตและไม่มีชีวิต โดยตอนยังมีชีวิต ชาวซอมิจะใช้กวางเรนเดียร์เพื่อลากขนย้ายสิ่งของบนพื้น หิมะ ปัจจุบันนี้ยังสามารถเห็นกวางเรนเดียร์ตามธรรมชาติได้ทั่วไป และเมื่อมาถึงดินแดนแห่งนี้ เนื้อกวางเรนเดียร์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ต้องลิ้มลอง ซึ่งเมนูยอดฮิตคือ Sautéed reindeer หรือ เรนเดียร์ผัดนั่นเอง


Kiruna

เมืองคิรูนา (Kiruna) เป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ ที่อยู่เหนือที่สุดในประเทศสวีเดน มีความสำ�คัญเพราะเป็นเมืองที่ผลิต แร่เหล็กที่มีชื่อของประเทศ (เขาว่ากันว่า . . เหล็กดีต้องที่สวีเดน) บริษัทเหมืองเหล็กชื่อดังของสวีเดน LKAB (LuossavaaraKiirunavaara Aktiebolag) ได้เปิดพิพิธภัณฑ์เหมืองเหล็กใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้เยี่ยมชม ส่วนที่ให้เข้าชมจะอยู่ลึกลงไป ประมาณ 540 เมตร โดยจะต้องไปกับทัวร์ที่มีไกด์นำ�ไปจากศูนย์นักท่องเที่ยวเท่านั้น ค่าเข้าชมราคานักเรียนจะอยู่ที่ 195 SEK หรือประมาณ 22 EUR (มิถุนายน 2555) ซึ่งภายในเหมืองอันใหญ่โตมโหฬารแห่งนี้ มีการจัดแสดงสภาพการทำ�งานของ ชาวเหมืองที่แท้จริงให้เห็นตั้งแต่สมัยอดีตจนกระทั่งทุกวันนี้ 17


เราต้องออกไปตามล่าหาแสง เหนือตามพื้นที่ที่ห่างออกมาจาก ในเมือง โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธี ออกเดินไปตามทางที่เป็นทุ่งกว้างๆ หรือตามถนนที่ไม่มีไฟ และแล้ว...

ภาพแสงเหนือนี้ไม่ได้ผ่านการปรับแต่งโดยใช้โปรแกรมใดๆทั้งสิ้น 18


Light & Night คนส่วนใหญ่มักจะสับสนการเรียก แสงเหนือระหว่าง Northern Light และ Polar Night ซึ่งจริงๆ แล้วทั้ง สองชื่อเป็นปรากฏการณ์ที่แตกต่างกัน แต่มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน โดย Northern Light คือชื่อเรียก ปรากฏการณ์แสงเหนือ (ปลายก.ย. ถึงกลางเม.ย.) หากแต่ Polar Night (กลางพ.ย. ถึงราวๆ กลางม.ค.) จะ ใช้เรียกช่วงเวลาที่มีกลางคืนมากกว่า 24 ชั่วโมง โดยปรากฏการณ์นี้จะ เกิดขึ้นในเขตขั้วโลกเท่านั้น (ถ้าอยู่ ขั้วโลกเหนือจะเรียกว่า Arctic Circle และขั้วโลกใต้คือ Antarctic Circle) ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นตรงกัน ข้ามกับ Polar Day (กลางพ.ค. ถึง ราวๆ กลางส.ค.) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อ พระอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้าเป็นเวลา มากกว่า 24 ชั่วโมง หรือที่รู้จักกัน ทั่วไปว่าพระอาทิตย์เที่ยงคืน (Midnight Sun) นั่นเอง

จะว่าไปโรงแรมนํ้าแข็งแห่งนี้ไม่ได้มีแค่ที่พักเท่านั้น หากแต่ยังมีบาร์นํ้าแข็ง Absolut Ice Bar Jukkasjärvi ไว้ให้ผู้เข้าชมได้ตระการตาไปกับต้นกำ�เนิดบาร์นํ้าแข็งทั่วโลก ซึ่งบาร์ที่อื่นๆมักจะจำ�กัด เวลาการเข้าไว้ประมาณ 40 นาที หากแต่ที่นี่ เราสามารถใช้เวลาอยู่ภายในบาร์นํ้าแข็งได้นานตาม ต้องการ แถมยังมีวอดก้ายี่ห้อดังของสวีเดน คือ Absolut Vodka จำ�หน่ายให้คอทองแดงได้ดื่มดํ่า ควบคู่ไปกับการนั่งอยู่บนเก้าอี้นํ้าแข็งที่มีเบาะหนังเรนเดียร์รองไว้อีกด้วย และแล้วก็ได้เวลาหกโมงเย็นพอดี ถึงเวลาที่เราจะออกตามล่าหาพระเอกของทริป คือแสงเหนือ นั่นเอง โดยปกติแล้วแสงเหนือจะปรากฏให้เห็นได้ช่วงฤดูหนาว (ปลายก.ย. ถึงกลางเม.ย.) เวลาที่ดี คือตอนฟ้ามืด ช่วงหกโมงเย็นจนถึงประมาณตีหนึ่งตีสอง แต่ช่วงที่จะเห็นได้ชัดที่สุดคือสี่ทุ่มถึงห้า ทุ่มเนื่องจากแสงเหนือจะปรากฏให้เห็นไม่แน่นอน ถึงแม้จะอยู่ในฤดูที่มักจะปรากฏให้เห็นแล้วก็ตาม (ต้องเรียกว่าแล้วแต่โชคชะตาฟ้าลิขิตจริงๆ) นอกจากนั้นยังต้องอาศัยคืนที่ฟ้ามืด และบริเวณที่ไม่มี แสงจากหลอดไฟถนนหรือแสงจากในเมืองมารบกวน เราจึงต้องออกไปตามล่าหาแสงเหนือตามพื้นที่ ที่ห่างออกมาจากในเมือง โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีออกเดินไปตามทางที่เป็นทุ่งกว้างๆ หรือตามถนน ที่ไม่มีไฟ และแล้ว ไม่ทันคาดคิด... เราก็โชคดีเหลือบไปเห็นแสงเหนือน้อยๆ ที่พาดผ่านอยู่เหนือ เหมืองเหล็ก LKAB อยู่ไกลๆ พอหอมปากหอมคอ พวกเราก็รีบคว้ากล้องกันมาชักภาพทันทีทันใด (เพราะกลัวไม่ทัน) ก่อนที่แสงเหนือจะรํ่าลาจากเราไปจริงๆ รอบนี้แสงเหนือปรากฏให้เห็นรำ�ไรแบบ เรียกนํ้าย่อยอยู่ไม่ถึงสี่นาที เนื่องจากยังตามล่าหาแสงเหนือได้ไม่จุใจ ในวันถัดมาเราจึงตัดสินใจเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านเล็กๆ ที่ อยู่สูงกว่าคิรูนา คือหมู่บ้านอบิสโก ซึ่งห่างไปจากเมืองคิรูนา เกือบ 100 กิโลเมตร นั่งรถไฟประมาณ หนึ่งชั่วโมงครึ่งก็ถึงที่หมาย หลายๆ คนมักจะสับสนกับป้ายรถไฟที่นี่ เนื่องจากที่นี่มี 2 ป้าย 2 สถานี นั่นคือ Abisko östra และ Abisko Turiststation (ห้ามงง) เนื่องจากจุดหมายปลายทางของเราคือ การเข้าหมู่บ้าน (เล็กๆ) เพื่อไปหากิจกรรมแบบหนาวๆ ทำ� เราจึงลงที่ป้าย Abisko östra ในขณะที่ อีกป้าย Abisko Turiststation จะเป็นจุดหมายของคนที่ซื้อทัวร์ (แพงนะ) ขึ้นหอคอยไปดูแสงเหนือ โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามต้องบอกไว้ ณ ที่นี้เลยว่า แสงเหนือเห็นได้ไม่ยาก ไม่จำ�เป็นต้องเสียเงินซื้อ ทัวร์ราคาแพง ตราบใดที่เราสามารถเดินหาพื้นที่ที่มืดได้เองและเป็นช่วงเวลาที่แสงเหนือโผล่ขึ้นมา พอดี เพราะฉะนั้นคิดให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อทัวร์ชมแสงเหนือต่างๆ ที่แพงเกินไป ซึ่งโฆษณาอยู่ทั่วไป ตามแหล่งท่องเที่ยวแถบนี้ เมื่อมาถึงอบิสโก ก็จัดแจงเข้าที่พัก ซึ่งเราติดต่อไว้ล่วงหน้าเป็นแพ็คเกจราคานักเรียน รวมที่พัก รองเท้าและชุดกันหนาว (ลักษณะเหมือนชุดมนุษย์อวกาศหรือชุดหมี) อุปกรณ์เล่นสกีครอสคันทรี (Cross-Country Skiing) และที่สำ�คัญที่สุดคือกิจกรรมหมาลากเลื่อน (Dog Sledding) ที่ใครมาถึง ดินแดนลัปป์ลันด์แล้ว ต้องลองสักครั้งหนึ่ง... 19


เมื่อพักเหนื่อยหายแล้ว... ถึงเวลาดี (ประมาณสี่ห้าทุ่มเป็นต้นไป) พวกเราจึงเริ่มได้ทีออกตามล่า หาแสงเหนือกันอีกครั้ง โดยคราวนี้เราเลือกไปตรงบริเวณที่มีทะเลสาบ (ซึ่งนํ้าในทะเลสาบก็แข็ง เนื่องจากอุณหภูมิติดลบ...) เพราะจะปราศจากแสงรบกวน แล้วก็รอ... ร้อ... รอ... จนในที่สุด เขาก็มา… เป็นประสบการณ์ที่อึ้ง... ทึ่ง... เสียว... อยู่ไม่น้อย เพราะเราจะเห็นเหมือนมีม่านสีเขียวไหล พริ้วอยู่ตรงหน้า ขยับไปมาใกล้บ้าง ไกลบ้าง เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต แต่ก็ไม่ใช่... มาปรากฏอยู่แล้วก็ หายไป แล้วก็มาใหม่ เมื่อหายไป พวกเราก็ตามเพ่งหากันทั่วฟ้า เมื่อไหร่ที่ใครเห็นอะไรแปลกๆ ใช่ หรือไม่ใช่แสงเหนือ ก็เรียกกันดูจ้าละหวั่น พอโผล่มาสักครั้งก็ต้องรีบชักภาพเก็บไว้แทบจะไม่ทันกัน เลยทีเดียว... เช้าวันถัดมาเราตระเตรียมแต่งตัวกันเต็มที่ (กันหนาว) เพื่อมาลองกิจกรรมฤดูหนาวแถบลัปป์ลันด์ อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ การบังคับหมาลากเลื่อน โดยหมาพันธุ์ที่ชาวซอมิใช้กันอย่างแพร่หลายก็ คือพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี (Siberian Husky) เพราะอดทนต่อความหนาวเย็นได้สูง แถมยังถูกฝึกมา โดยเฉพาะในการลากเลื่อนบรรทุกของบนพื้นนํ้าแข็งและพื้นหิมะ โดยขั้นแรกเจ้าของคอกแนะนำ�เรา ว่า ให้ทำ�ความรู้จักกับเจ้าไซบีเรียน ฮัสกีที่จะใช้ลากเลื่อนของเรา ด้วยการเข้าไปลูบหัว แล้วนำ�แต่ละ ตัวมาผูกกับเชือกที่ต่อลากเลื่อนด้วยตนเอง ซึ่งจะใช้หมาทั้งหมด 4 ตัว ต่อการลากเลื่อนหนึ่งคนที่เรา ต้องบังคับเอง โดยตัวแรกจะต้องมีทักษะที่จะนำ�ตัวอื่นๆ (มีแรงเยอะ) และมีความกล้าที่จะนำ�ฝูงไป ข้างหน้าในที่ที่ไม่มีใครนำ�อยู่ได้ การลากเลื่อนนี้เราจะต้องบังคับตนเองให้เป็นส่วนหนึ่งกับเลื่อนและ เจ้าหมา โดยบังคับให้วิ่งไปในทิศทางเดียวกัน และคอยบังคับการเบรกเมื่อใกล้จะถึงเลื่อนของคน ข้างหน้า (เป็นที่เหยียบแบบเหล็กฟันปลาอยู่ที่เท้าขวา ไว้ครูดกับพื้นนํ้าแข็งเมื่อต้องการให้หยุด) ซึ่ง ในหลายชั่วโมงนี้ ก็ได้เห็นชาวเราล้มลุกคลุกคลานเพราะบังคับเลื่อนไม่ทัน หรือเสียหลักล้มไปมาจาก การตีวงเลี้ยวมากอยู่ แถมบางครั้งก็เกิดเรื่องตลกคือหมาบางตัวเกิดถ่ายมูลขณะที่กำ�ลังวิ่งอยู่ (ปวด พอดี... ห้ามได้ยาก) ทั้งบางตัวก็ผายลมออกมาให้สับสนกันเองว่าเป็นฝีมือของคนหรือเจ้าหมากัน แน่... ประสบการณ์อีกอย่างหนึ่งที่น่าลิ้มลองก่อนที่สังขารจะไม่ไหว คือการลองมีชีวิตอยู่ภายใต้อุณหภูมิ ติดลบกว่าสามสิบถึงสี่สิบองศาภายนอกอาคาร ซึ่งบอกได้เลยว่าหนาวแบบไม่มีคำ�บรรยายใดๆ จริงๆ โดยเราสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกอาคารได้ด้วยชุดกันหนาวที่ดูเหมือนชุดของมนุษย์อวกาศ หรือชุดหมีที่ทางที่พักจัดไว้ให้ นอกจากนั้นก็ต้องหาหมวกไหมพรมหรือผ้าพันคอมาพันหน้าพันตา กันเอง เพราะหากอยู่ข้างนอกนานๆ จะเกิดอาการนํ้าแข็งกัด (Frostbite) และเกาะได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่ง จะเกิดอาการแสบคันตามบริเวณที่เย็นมาก หากอาการหนัก ผิวหนังอาจจะลอกออกมาได้ อย่างที่เรา เดินไปมาอยู่ข้างนอกประมาณ 5 นาที ก็มีนํ้าแข็งมาเกาะที่ผมและขนตา หนักจนเกือบกะพริบตาไม่ ขึ้น แถมยังเป็นสีขาว แลดูเหมือนคนมีอายุอีกต่างหาก

20

การลากเลื่อ ส่วนหนึ่งกับ ไปในทิศทาง เมื่อใกล้จะถ


อนนี้เราจะต้องบังคับตนเองให้เป็น บเลื่อนและเจ้าหมา โดยบังคับให้วิ่ง งเดียวกัน และคอยบังคับการเบรก ถึงเลื่อนของคนข้างหน้า

21


นอกเหนือจากกิจกรรมหลักๆ ดังกล่าว คนส่วนใหญ่ที่มาเยือนดินแดนนี้ในฤดูหนาวมักจะซื้อทัวร์ หรือเช่ารถสโนว์โมบิล (Snowmobile) ขับลุยพื้นหิมะท่องไปในดินแดนลัปป์ลันด์ โดยคนขับจะ ต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถ (สำ�หรับคนไทยสามารถนำ�ใบขับขี่สากลมาใช้ได้) หนึ่งคันจะสามารถนั่งได้ สองคน (รวมคนขับ) นอกจากนั้นการตกปลาจากทะเลสาบนํ้าแข็งก็น่าสนใจไม่น้อย โดยเจาะพื้น ทะเลสาบลงไปเป็นรูไม่เล็กไม่ใหญ่ หย่อนเบ็ดลงไป แล้วก็ "รอ" ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าได้ปลาเมื่อไหร่ คนตกก็จะตื่นเต้นระคนภาคภูมิใจมากกว่าการตกปลาในช่วงเวลาปกติเป็น ไหนๆ การเล่นสกีครอสคันทรีก็เป็นอีกหนึ่งกีฬาเบาๆ ที่สามารถหาเล่นได้ในแถบนี้ โดยส่วนใหญ่จะเล่น บนทางราบและเนินหิมะเล็กๆ ให้พอกระชุ่มกระชวย ซึ่งสามารถหาเช่าอุปกรณ์ได้ทั่วไปในเมือง หรือ บางทีอาจมาพร้อมกับแพ็คเกจที่พักและกิจกรรมอื่นๆ นอกจากนั้นใครที่อยากผ่อนคลายจาก กิจกรรมหนักๆ ระหว่างวัน ชาวซอมิมีการเซาว์น่าแบบพื้นเมืองของตนเองที่เรียกว่า Swedish Mountain Sauna ซึ่งคนที่อยากลอง ต้องแก้ผ้าผ่อนให้หมดและมีความกล้าเป็นอย่างสูงเพราะเป็น เซาว์น่าแบบไม่แยกเพศ ชาวเราจึงตัดสินใจส่งหนุ่มๆ ในคณะลงไปประลอง ซึ่งหนุ่มๆ ผู้กล้าทั้งหลาย ก็ดูจะพึงพอใจและผ่อนคลายกับกิจกรรมนี้อยู่มากโข... นี่ก็เข้าใกล้ฤดูแสงเหนือมาเยือนโลกแล้ว หวังว่าหลายๆ คนคงจะหาโอกาสดีๆ ไปยลแสงเหนือกัน ถ้วนหน้านะคะ... จริงอยู่ว่า หลายๆ คนคิดว่าการเดินทางไปดูแสงเหนือในแถบประเทศสแกนดิเนเวียนั้นยาก อาจเพราะการเดินทางที่ลำ�บากเนื่องจากค่อนข้างไกล และที่สำ�คัญคือคิดว่ามีราคาแพง มาก จึงตัดสินใจล้มเลิกโอกาสดีๆ ดังกล่าวในที่สุด แต่ที่จริงแล้ว การเดินทางไปดูแสงเหนือทุกวันนี้ ค่อนข้างสะดวก เป็นระบบ ยิ่งถ้าหากเราตระเตรียมการเดินทาง ทั้งจองที่พัก กิจกรรมฤดูหนาวต่างๆ และตั๋วเดินทางไว้ล่วงหน้า 2-3 เดือน ก็จะลดค่าใช้จ่ายจริงไปได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับการซื้อใน เวลาปกติ นอกจากนั้นการจองล่วงหน้ายังเกิดผลดีแก่ผู้เดินทาง เพราะที่พักดีๆ ราคาถูกมักจะหายาก และถูกจองไปล่วงหน้าแล้ว โดยยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายจริงที่ชาวเราไปผจญภัยนั้น 6 วัน ประมาณ 550 ยูโร (22,000 บาท) ต่อคน ซึ่งถือว่าคุ้มมากมายกับการได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติครั้งหนึ่งในชีวิต ทั้งยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมการดำ�เนินชีวิตของชาวขั้วโลกเหนืออีกด้วย แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งสำ�คัญ ที่สุดในการเดินทางไปดูแสงเหนือคือ "ใจ" ที่ตั้งมั่นในการชมแสงเหนือ เพราะบางครั้งการเฝ้ารอ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะปรากฏขึ้นไม่แน่นอนในแต่ละวัน ประกอบกับความหนาวเย็นสุดขั้ว อาจ ทำ�ให้เราเกิดความ "ท้อ" ในการรอคอยได้ แต่หากว่าวันดังกล่าวเป็นเวลาฟ้าเปิด ไร้เมฆ มืดมิดพอที่ จะเห็นแสงเหนือได้ ประกอบกับเรามีจิตตั้งมั่นพอว่าจะได้เห็นปรากฏการณ์นี้ แสงเหนือที่ว่าพบเห็น ได้ยาก ก็มักจะไม่ทำ�ให้คนที่เฝ้ารอต้องผิดหวังและกลับบ้านมือเปล่าอย่างแน่นอน...

22


สิ่งสำ�คัญที่สุดในการเดินทางไปดู แสงเหนือคือ “ใจ” ที่ตั้งมั่น 23


เคล็ดลับเด็ดๆ

น ิ ห ด ุ ส อ ื น ห เ ง การถ่ายภาพแส ISO:400+ Blub

การแต่งกาย ควรเตรียมเครื่องแต่ง กายให้เหมาะสมและอบอุ่นเพียงพอ ซึ่งไม่ควรมองข้ามระยะเวลาที่ต้อง รอแสงเหนือในอากาศที่หนาวเย็น จัดเป็นเวลานาน

ควรมองหาสถานที่ที่เหมาะสมใน เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น ขาตั้ง ช่วงเวลากลางวันหรือก่อนท้องฟ้า กล้องและการตั้งค่าของตัวกล้อง จะมืดสนิทไว้ล่วงหน้า เพื่อกลับมา ดูแสงเหนือตอนฟ้ามืดแล้ว ควร เป็นบริเวณที่ห่างไกลจากเมือง เพื่อ หลีกเลี่ยงแสงไฟและหมอกควันจาก อุตสาหกรรมต่างๆ

ในขณะที่รอดูแสงเหนือนั้น ควรเก็บ กล้องถ่ายรูปไว้ในกระเป๋ากล้อง เพื่อ ป้องกันตัวกล้องจากความเย็นของ สภาวะแวดล้อม หากตัวกล้องไม่ ได้อยู่ในกระเป๋า ควรหันหน้าเลนส์ ลงพื้นเพื่อป้องกันนํ้าแข็งเกาะบริเวณ หน้าเลนส์

อุปกรณ์ที่จำ�เป็นในการถ่ายภาพแสงเหนือ

F 2.8 กล้องถ่ายภาพที่สามารถตั้ง ความเร็วของชัตเตอร์ได้

เลนส์มุมกว้างและมีค่า F ตํ่า

ขาตั้งกล้อง

Special Thanks! : ธนะ คำ�รณฤทธิศร 24

รีโมทแบบมีสายลั่นชัตเตอร์ ไฟฉาย ใช้ในการนำ�ทางและเตรียม อุปกรณ์ (ดูไม่สำ�คัญ... แต่สำ�คัญ มาก)


การตั้งค่าของตัวกล้อง 1. ตั้งค่าความไวแสง (ISO) ประมาณ 400 - 800 ไม่ควรตั้งค่า ISO ให้สูงมากนักเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสัญญาณ รบกวน (Noise) ในจุดที่เป็นที่มืดในภาพ 2. ความเร็วของชัตเตอร์ควรตั้งเป็นโหมด Bulb และหากมีสายลั่นชัตเตอร์ จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการถ่าย ภาพมากขึ้นในการล็อกชัตเตอร์ 3. เลือกระบบโฟกัสแบบ Manual และตั้งระยะโฟกัสที่ Infinity หรือเปิดระบบ Auto Focus แล้วทำ�การโฟกัสไป ที่ดวงจันทร์ แล้วจึงค่อยเปิดเป็นระบบ Manual Focus เวลาที่จะถ่ายภาพแสงเหนือ 4. ควรมีแบตเตอรี่สำ�รองอย่างน้อย 1 ก้อน โดยเก็บแบตเตอรี่สำ�รองไว้ในกระเป๋าหรือบริเวณที่อุ่น เนื่องจากที่ อุณหภูมิตํ่า อายุการใช้งานของแบตเตอรี่จะสั้นกว่าอุณหภูมิปกติ และการเปิดชัตเตอร์เป็นเวลานานในขณะถ่าย ภาพ ตัวกล้องจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่มากกว่าปกติ 5. ในกล้องบางรุ่นอาจมีฟังก์ชัน Long Exposure Noise Reduction ควรเปิดฟังก์ชันนี้เพื่อลดสัญญาณรบกวน ในกรณีที่ถ่ายภาพโดยเปิดชัตเตอร์เป็นเวลานาน 6. ตั้งค่าความสว่างของหน้าจอ LCD บนกล้องในระดับตํ่า เพราะในสภาวะแวดล้อมที่มืดมิด จอ LCD ที่สว่างเกิน ไป อาจทำ�ให้ภาพที่เห็นบนจอผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง หากเป็นไปได้ ให้ดู Histogram ของภาพเป็นหลัก 7. ขาตั้งกล้องที่ใช้ควรสูงเพียงพอและมีความมั่นคง เหมาะสมกับนํ้าหนักของตัวกล้องและเลนส์ และควรจะมีหัว ที่ทำ�การปรับมุมเงยได้ 8. ควรถอดฟิลเตอร์ทุกชนิดออกจากหน้าเลนส์ขณะทำ�การถ่ายภาพ

ขณะถ่ายภาพ

- หลังจากเห็นปรากฎการณ์แสงเหนือแล้ว ควรรีบถ่ายภาพการเกิดปรากฎการณ์แสงเหนือ "เผื่อไว้" ในทุกครั้ง เพราะแต่ละครั้งจะเกิดในระยะเวลาที่ไม่แน่นอน อาจเกิดเพียงแค่ไม่กี่นาที และควรคำ�นึงถึงระยะเวลาที่เริ่มถ่าย และระยะเวลาที่กล้องทำ�การเปิดชัตเตอร์เพื่อเก็บภาพด้วย - ระยะเวลาในการเปิดชัตเตอร์นั้น ขึ้นอยู่กับความสว่างของตัวเลนส์ (F-Stop) และความสว่างของแสงเหนือเอง ด้วย ที่ความสว่างของแสงเหนือปกติ ความเร็วของชัตเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น ความสว่างของเลนส์ F 2.8 ความเร็วชัตเตอร์ ประมาณ 30 วินาที ที่ ISO 400 ความสว่างของเลนส์ F 3.5 ความเร็วชัตเตอร์ ประมาณ 45 วินาที ที่ ISO 400 - ควรระมัดระวังการหายใจในบริเวณที่ใกล้กับตัวกล้อง เนื่องด้วยในสภาวะอากาศหนาวเย็น ลมหายใจจะมีไอนํ้า ปะปนอยู่ในปริมาณสูง - หากต้องการถ่ายรูปบุคคลกับแสงเหนือ สามารถทำ�ได้โดยการเปิดแฟลช โดยให้โฟกัสที่ตัวบุคคล - หลังจากกลับเข้าที่พัก ไม่ควรนำ�กล้องออกจากกระเป๋าทันที ควรเก็บไว้ในกระเป๋า เพื่อให้ความเย็นของตัวกล้อง ค่อยๆ กลับเข้าสู่อุณหภูมิห้องอย่างช้าๆ เสียก่อน

25


26


27


Hallo zusammen! สวัสดีครับพี่น้อง! ในที่สุดบทความสอนภาษาเยอรมันสั้นๆ ป่วงๆ ในเฟซบุ๊กก็มีโอกาสได้ “ออกสื่อ” แบบชาวบ้านเขาบ้าง แน่นอนว่าศัพท์ สำ�นวนที่สอนคราวนี้คงไม่พ้นเรื่องการเผยแพร่ออกสื่อครับ คำ�กริยาที่นิยมใช้และเห็นบ่อยๆ คือ veröffentlichen และ erscheinen ครับ กริยาสองตัวนี้มีความหมายไปในทางเดียวกันก็จริง แต่ใช้ไม่เหมือนกันนะครับ

ver ffentlichen + Akkusativ ö

erscheinen

“เผยแพร่”

Niuklang veröffentlicht dieses Jahr sein neues Buch. (ปีนี้นิ้วกลางจะออกหนังสือใหม่)

เน้นประธาน

“ถูกตีพิมพ์”

Das neue Buch von Niuklang erscheint dieses Jahr. (หนังสือเล่มใหม่ของนิ้วกลางพิมพ์เป็นเล่มปีนี้)

เน้นผลงาน (กรรม)

ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าประธานของกริยา veröffentlichen คือ ผู้ที่เผยแพร่งาน ในขณะที่กริยา erscheinen จะเน้นไปที่ตัวผลงานอย่างเดียวครับ นอกจากนี้ ถ้าอยากจะบอกว่าออกสื่อในรูปแบบใหม่ไม่ซํ้าเดิม อย่างเช่นการเอานิยายมาทำ�ใหม่เป็นละครทีวี ก็สามารถใช้ “erscheinen als + รูปแบบ” ขยายได้ครับ เช่น

,,Dao Pra Suk” erscheint 2015 als Hollywood-Film! (ดาวพระศุกร์จะออกเป็นหนังฮอลลีวูดในปี 2558)

28


โดย วรุตม์ รินธนาเลิศ

Tech tAlk.

5

+++++

+++++

+++++

+++++

เวลาว่างๆ ที่เรามีเหลือ จะเอาไปทำ�อะไรดีละครับ นั่ง เดิน กิน นอน หรือ ดูหนัง? สำ�หรับหลายๆ คนคงจะเป็นสิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าเราต้องการจะเรียนรู้อะไรใหม่เพิ่มเติมโดยที่ไม่ต้องเดิน ทางให้เสียเวลา เสียอารมณ์ เราจัดให้

mitx.mit.edu อยากไปเรียน MIT หรือ Harvard ไหม? MITx เริ่มต้นโดยมหาวิทยาลัย MIT ตอนนี้ Harvard กำ�ลังเข้ามาร่วม แม้ คอร์สสอนมีน้อย แต่ เนื้อหาเข้ม แถมยังมี หนังสือให้อ่านฟรีบน เน็ตอีก แต่ส่วนใหญ่จะ เป็นคอร์สสายวิทย์เสีย มากกว่า

coursera.org แหล่งรวมคอร์สผ่าน เน็ตที่ฮอตที่สุดในตอนนี้ เรียนฟรี สอนเป็นคอร์ส ไม่ต้องมี Requirement ระยะเวลา 6–10 สัปดาห์ คนเรียนเยอะ ระบบ Q & A มีประสิทธิภาพสูง เพราะมีสังคมออนไลน์ ที่แอคทีฟ Deadline มีการเลื่อนให้ได้ แต่ ต้องลงทะเบียนเป็น เวลา และไม่มีใบ ประกาศนียบัตร

youtube.com แน่นอน youtube เป็น แหล่งรวมวีดีโอมากมาย มีอะไรให้เรียนเยอะแยะ เสียอย่างเดียว หายาก และระบบถามตอบ (Q & A) ยากไปหน่อย

udacity.com คู่แข่งตัวยงของ Coursera มีคอร์สให้ เรียนมากมาย และ มี สังคมนักเรียนออนไลน์ ที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ นักเรียนที่เรียนดีอาจจะ ได้รับการเสนอชื่อให้เข้า ทำ�งานกับบริษัทใหญ่ๆ ด้วย แถมค่าเรียนก็ฟรี อีกต่างหาก! แต่มีคอร์ส ให้เลือกน้อยไปนิด

open.co.uk มหาวิทยาลัยออนไลน์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็น มหาวิทยาลัยที่เรียนผ่าน เน็ตได้ ไม่มีข้อจำ�กัดว่า อยู่ที่ไหน แต่ก็ เหมือนทุกมหาวิทยาลัย คือคุณจะต้องรู้เรื่อง ต่างๆ หรือมีความรู้บาง อย่างมาก่อนแล้ว เรียน เต็มเวลา มีระยะเวลาที่ กำ�หนดแน่นอน และมี ค่าใช้จ่าย แต่จบมาได้รับ ปริญญาชัวร์


30


VINTAGE

FUNK 31


32


33


34


35


36


37


ขอขอบคุณ นางแบบ : สุชานันท์​์ นันทหาร (zahnmedizinische Fachangestellte) นายแบบ : เฉลิมเดช โกไศยกานนท์ (INFOTECH/ Universität Stuttgart)

38


Special

โดย พชร แก่นเมือง

นรก สวรรค์ หรือ ภาพลวงตา

คนไทยในกองทัพนาซี

39


40


หลังจากอาศัยในบรัสเซลส์ได้เดือนเศษ สงครามระหว่างเยอรมนีและโปแลนด์ก็เริ่ม ต้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 และต่อ ด้วยสงครามเยอรมนีบุกนอร์เวย์ พันเอกวิชาเป็นนักเรียนเทคนิคทหารบกที่สอบชิงทุนกระทรวง กลาโหมได้ไปศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรป โดยออกเดินทางจาก

ในขณะนั้น มีนักเรียนและข้าราชการไทยอาศัยอยู่ในกรุงบรัสเซลส์พอ สมควร ทุกคนสามารถสื่อสารภาษาฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี พันเอกวิชาได้ ประเทศไทยพร้อมคณะนักเรียนไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วยทหารและ เข้าศึกษาในสถาบันมิโชต์ มงเฌนาสต์ (Institute Michot Mongenast) แพทย์ที่ไปศึกษาต่อในประเทศต่างกันไปตามสาขาของแต่ละคน กล่าวคือ ในฤดูหนาวปี ค.ศ. 1939 ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนนายร้อยจากเมือง ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม โดยตัวพันเอกวิชาได้ ไทยมาศึกษาอยู่ตลอด จึงคุ้นเคยกับคนไทย หลังจากอาศัยในบรัสเซลส์ ทุนไปศึกษา ณ โรงเรียนนายร้อยทหารบก ประเทศเบลเยี่ยม ทั้งหมดออก ได้เดือนเศษ สงครามระหว่างเยอรมนีและโปแลนด์ก็เริ่มต้นขึ้นในเดือน เดินทางในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) (ก่อนเยอรมนียึด กันยายน ค.ศ. 1939 และต่อด้วยสงครามเยอรมนีบุกนอร์เวย์ ในขณะ โปแลนด์ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นสงครามโลก นั้นเบลเยี่ยมยังวางตัวเป็นกลางจึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จนกระทั่ง เช้าของวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 เยอรมนีส่งเครื่องบินรบติด ครั้งที่สองอย่างเป็นทางการเพียงสองเดือน - ผู้เขียน) การเดินทางในยุค สมัยนั้นเริ่มจากรถไฟที่หัวลำ�โพง มุ่งหน้าออกทิศตะวันตกทางนครปฐม- เครื่องหมายสวัสติกะเข้าโจมตีกรุงบรัสเซลส์ จึงทำ�ให้เบลเยี่ยมประกาศกฎ อัยการศึกในวันเดียวกัน ทางฝ่ายนักเรียนไทย ในวันรุ่งขึ้นก็ได้รับโทรเลข เพชรบุรี แล้ววกลงใต้ผ่านภาคใต้ของประเทศไทย เข้ามาเลเซียโดยผ่าน จากรัฐบาลให้รายงานตัวที่ปารีส ทำ�ให้ทุกคนต้องหยุดการเรียนและเดิน ปีนัง แล้วสิ้นสุดที่สิงคโปร์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นเรือเดินสมุทรเพื่อเดินทาง ต่อ จากสิงคโปร์เรือจะเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย วกขึ้นทิศเหนือทางทะเลแดง ทางตามคำ�สั่ง ผ่านคลองสุเอซ ประเทศอียิปต์ ก่อนเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านน่าน ในขณะที่นักเรียนไทยเดินทางถึงปารีสกลางเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส นํ้าของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน และเข้าเทียบท่าที่มาร์เซยล์ (Marseille) ยังไม่ได้ทำ�การรบ เพียงตรึงกำ�ลังกันอยู่ เนื่องจากเยอรมนีแบ่งกำ�ลัง ประเทศฝรั่งเศส แล้วแยกย้ายเดินทางต่อไปยังประเทศจุดหมายของแต่ละ ไปใช้ส่วนอื่นและกองทหารฝรั่งเศสไม่พร้อมกับการรบ แต่หลังจากเริ่ม คน กลุ่มนักเรียนไทยที่จะไปเบลเยี่ยม หลังจากผ่านการตรวจคนเข้าเมือง โจมตีเบลเยี่ยมแล้ว เยอรมนีก็ใช้กองทัพรถถัง Panzer division เข้า โจมตีฝรั่งเศสทางป่าอาร์เดน ผลคือ ยึดได้โดยสะดวก แล้วเริ่มขยาย ที่มาร์เซยล์ ก็เดินทางต่อโดยรถไฟสู่ปารีส และจากปารีสสู่บรัสเซลส์

บทความนี้เขียนขึ้นโดยสรุปจากหนังสือ “คนไทยในกองทัพนาซี” เขียนโดยพันเอกวิชา ฐิตวัฒน์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นบันทึกส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตนายทหารในกองทัพนาซีในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง รวมถึงหาข้อมูลเพิ่มเติมในบางส่วนเพื่อขยายความ เชื่อมโยง และเปรียบเทียบยุคสมัยของสงครามและชีวิตของกลุ่มนักเรียนไทยในเยอรมนี 41


ผลเข้ายึดเมืองต่างๆของฝรั่งเศสต่อไป ด้วยเหตุผลของความ ปลอดภัย สถานทูตไทยในปารีสจึงส่งนักเรียนไทยจากที่ต่างๆ ในยุโรปที่มารวมตัวอยู่ที่ปารีสในขณะนั้นไปหัวเมืองทางใต้ ของฝรั่งเศสเช่น ปัวติเยร์ส (Poitiers) โกญัค (cognac) บอร์โดซ์ (Bordeaux) เป็นต้น ตัวพันเอกวิชาโดนส่งตัวไปที่ ปัวติ- เยร์ส แต่แล้วเมื่อเบลเย่ียมประกาศขอสงบศึก ปารีสโดนล้อม ปัวติเยร์สก็เริ่มถูกโจมตีทางอากาศ จนในที่สุด จอมพลเปแตงของ ฝรั่งเศสก็เจรจาขอสงบศึกเพราะเห็นว่าไม่อาจสู้ได้ เยอรมนีก็เข้า ครอบครองส่วนสำ�คัญของฝรั่งเศสรวมถึงปัวติเยร์ส เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง กองทัพนาซี รุกคืบจนครองครองพื้นที่

มหาศาล สถานการณ์ ในยุโรปเริ่มทรงตัว รัฐบาลไทยก็มีคำ�สั่ง ให้นักเรียนทั้งหลายกลับเข้าเรียนต่อโดย เปลี่ยนสถานที่ โดยขึ้นอยู่กับข้อตกลงของ รัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศนั้นๆ นักเรียน บางคนต้องกลับไทย ที่เหลือก็แยกย้ายกันไป ประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และเยอรมนี นี่จึงเป็น จุดสำ�คัญให้นักเรียนไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไป เบอร์ลิน และแน่นอนที่สุดพันเอกวิชา ฐิตวัฒน์ คือหนึ่งในนักเรียนไทยกลุ่มนั้น วันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1940 คณะนักเรียนไทย ออกเดินทางจากปารีสเข้าสู่เบอร์ลิน ในขณะนั้น อังกฤษเริ่มโจมตีเบอร์ลินทางอากาศแล้ว ในเมือง อยู่ในสภาพสงคราม มีการพรางไฟเวลากลางคืน 42

เริ่มการใช้บัตรอาหารและสินค้า เพื่อจำ�กัดปริมาณอาหารและการใช้จ่าย ของชาวเมืองทุกคน ซึ่งคำ�นวณกันอย่างละเอียด เช่น บุคคลที่อายุเกิน 18 ปีและไม่เจ็บป่วยจะได้รับอาหารวันละ 2,400 แคลอรี เด็กอายุ 3-14 ปี และ 14-18 ปี ก็ได้รับในปริมาณต่างกันไป และด้วยเทคโนโลยี รัฐบาลพยายาม ผลิตอาหารสังเคราะห์ต่างๆ เช่น เนย กาแฟ แยม และนม เป็นต้น เสื้อผ้า ก็มีบัตรเสื้อผ้า โดยบัตรนี้จะมี 50 จุดสำ�หรับหนึ่งปี เสื้อเชิ้ตมีค่า 25 จุด เสื้อกางเกงหนึ่งชุด 100 จุด เสื้อคลุม 120 จุด กล่าวคือ ถ้าชาวเยอรมัน จะซื้อเสื้อคลุมใหม่ต้องรอถึงปีที่สามโดยไม่ซื้อเสื้อผ้าเลย จากบันทึกของ พันเอกวิชา พลเมืองเบอร์ลินมีระเบียบวินัยมาก สถานที่ต่างๆ สะอาด เป็นระเบียบ มีระบบซับซ้อนต่างๆ และมีเทคโนโลยีที่นำ�สมัยกว่าประเทศ อื่นในยุโรป เช่น บันไดเลื่อนที่หยุดเองได้เมื่อไม่มีการใช้งานและทำ�งาน เองเมื่อมีคนเดินผ่านตัวตรวจจับ รถไฟ S-Bahn และ U-Bahn ก็เดินรถ ตรงตามตารางเวลา คนไทยที่อาศัยในเบอร์ลินขณะนั้น นอกจากคณะ ทูต ซึ่งเอกอัครราชทูตไทยประจำ�เบอร์ลินก็คือ พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) (หนึ่งในสี่หัวหน้าคณะราษฎร - ผู้เขียน) ก็ยังมีนักเรียนทหาร นักเรียนพลเรือน นายแพทย์และคนไทยที่ไปตั้งรกรากในเยอรมนี ทั้งหมด ประมาณ 20-30 คน วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1940 พันเอกวิชาก็ย้ายไปลิคเตอร์เฟลเดอ (Lichterfelde) ชานเมืองเบอร์ลิน (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเบอร์ลิน ผู้เขียน) แต่ต้องเข้ามาศึกษาภาษาเยอรมันในตัวเมือง ความเป็นอยู่ค่อน ข้างลำ�บากเพราะทุกอย่างถูกจำ�กัด เงินจากรัฐบาลก็ถูกส่งมาไม่สมํ่าเสมอ การโจมตีทางอากาศจากกองทัพอังกฤษก็มีแทบทุกคืน ต้องคอยลงหลุม หลบภัยจนแทบไม่ได้นอน เครื่องบินจะผ่านช่วงตีหนึ่งเสมอเพื่อจะเข้าไป ทิ้งระเบิดในใจกลางกรุงเบอร์ลิน การลงหลุมหลบภัยก็ต้องนำ�เอกสารและ เสื้อผ้าไปด้วยเสมอเผื่อบ้านที่อาศัยถูกไฟไหม้ การเข้าศึกษาต่อวิชาทหารในเยอรมันโดยผ่านการเจรจาของรัฐบาลเป็นไป ได้ยาก เพราะประเทศไทยยังวางตัวเป็นกลาง ไม่ใช่พันธมิตรกับเยอรมนี และฝ่ายอักษะ ในเบื้องต้นนักเรียนทหารไทยจึงได้รับคำ�สั่งจากกระทรวง กลาโหมให้สมทบในกองบังคับการทูตทหารไทย แล้วหาโอกาสดูงานตาม สมควร ซึ่งก็ไม่สามารถรู้ถึงรายละเอียดได้ นักเรียนทหารไทย เมื่อไม่มีทาง


การโจมตีทางอากาศจากกองทัพ อังกฤษก็มีแทบทุกคืน ต้องคอย ลงหลุมหลบภัยจนแทบไม่ได้นอน เครื่องบินจะผ่านช่วงตีหนึ่งเสมอ เพื่อจะเข้าไปทิ้งระเบิดใน ใจกลางกรุงเบอร์ลิน

43


ในปีนั้นจึงมีนักเรียนนายร้อยไทยในกองทัพเยอรมัน สี่คน ประกอบด้วย คุณบุญช่วย ทองปรีชา เป็น ทหารรถถัง คุณชายน้อย โกมารกุล ณ นคร เป็น ทหารรถถัง คุณบุญเรือนเป็นทหารราบ และพันเอกวิชาเป็นทหารสื่อสาร

เลือกอื่น ไม่สามารถกลับประเทศไทยได้ จึงตัดสินใจช่วยตัวเองโดยยื่นใบ อาสาสมัครเป็นทหารเยอรมัน โดยไม่มีการเจรจาทางการทูต ข้อบังคับผู้เข้า รับการคัดเลือกเป็นนักเรียนนายทหารมีสามข้อคือ ไม่มีเลือดยิว สำ�เร็จชั้น มัธยมบริบูรณ์ และผ่านการตรวจสอบจิตวิทยา การสอบคัดเลือกใช้เวลา สามวัน วันแรกเป็นการตรวจสมรรถภาพทางร่างกาย เพื่อดูความคล่อง ตัวและการควบคุมร่างกาย วันที่สองทดสอบการรับรู้เช่น ตรวจปฏิกิริยา สำ�หรับการขับขี่ ประสาทสัมผัส รวมถึงมีการเล่นหมากรุก วันสุดท้าย ทดสอบจินตนาการและภาษา โดยต้องแต่งเรียงความ เขียนภาพ โต้วาที เพื่อดูว่ามีความสามารถตรงตามเหล่าที่ต้องการศึกษาหรือไม่ โรงเรียนนาย ร้อยเยอรมันในยุคนั้นต่างจากโรงเรียนนายร้อยในประเทศอื่น คือ ต่าง เหล่าต่างผลิตทหารของตนเอง เท่ากับต้องเรียนโรงเรียนเหล่าใหม่ตั้งแต่ ต้น แม้จะผ่านการอบรมมาเป็นสิบปีก็ตาม ถ้ายังไม่ผ่านโรงเรียนเหล่าของ

44

ตน ก็ยังไม่สามารถเป็นนายทหารได้ ผลจากการสอบครั้งนั้น คนไทยที่ เข้ารับการคัดเลือกสอบผ่านทุกคน ในปีนั้นจึงมีนักเรียนนายร้อยไทยใน กองทัพเยอรมันสี่คน ประกอบด้วย คุณบุญช่วย ทองปรีชา เป็นทหารรถ ถัง คุณชายน้อย โกมารกุล ณ นคร เป็นทหารรถถัง คุณบุญเรือนเป็นทหาร ราบ (ไม่สามารถหาข้อมูลชั้นยศของแต่ละท่านได้ จึงขอใช้คำ�นำ�หน้าว่าคุณ - ผู้เขียน) และพันเอกวิชาเป็นทหารสื่อสาร พันเอกวิชาถูกส่งเข้าโรงเรียนที่ฮันโนเวอร์ แหล่งผลิตทหารสื่อสาร ก่อน จะเข้าโรงเรียนเหล่าในเยอรมนี ในขณะนั้นมีหลายแห่ง แต่ที่ฮันโนเวอร์ มีชื่อเสียงที่สุด อีกทั้งเหมาะกับชาวต่างประเทศเพราะเป็นเมืองที่พูดภาษา เยอรมันถูกสำ�เนียงมาตรฐานที่สุด กองพันที่พันเอกวิชาเข้าสังกัดมีชื่อ ทางทหารว่า NAA 13 (Nachrichten Ausbildungsabteilung) ตั้งอยู่ ในกรมซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่เรียกว่า โรงทหารฮินเดนบวร์ก พันเอกวิชา


ระบุว่า มีขนาดประมาณหกเท่าของกระทรวงกลาโหม นักเรียน แยกพักห้องละหนึ่งหมู่ คือ 10-12 คน มีเตียงนอนสองชั้นหกเตียง และ เตียงชั้นเดียวหนึ่งเตียงสำ�หรับสำ�หรับผู้บังคับหมู่ที่เป็นนายสิบ มีโต๊ะกลาง ขนาดใหญ่ ทหารหนึ่งคนมีตู้ประจำ�ตัวสำ�หรับทุกอย่าง ซึ่งทุกคนต้องจัดใน ลักษณะเดียวกัน เครื่องแบบทหารมีหลายชุดประกอบด้วย ชุดออกสนาม ชุดหัด ชุดเข้าห้องเรียน ชุดทำ�งานโยธา ชุดเล่นกีฬา ชุดอาบนํ้า ชุดนอน และเครื่องแบบออกเที่ยว นักเรียนทหารสื่อสารที่ NAA 13 นอกจากพันเอกวิชาที่ไม่ใช่ชาวเยอรมัน แล้ว มีอีกสามคนที่เป็นคนโรมาเนีย ระเบียบวินัยทหารเยอรมันขึ้นชื่อว่า เคร่งครัดมาก นอกจากความรวดเร็วเมื่อเรียกตื่น เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย จัดของ ความสะอาดเครื่องแต่งกาย ห้องนอน และปืนประจำ�ตัวแล้ว ก็ ยังมีการตรวจหลายอย่างที่เคร่งครัด เช่น ตะปูรองเท้าต้องมีครบ 25 ตัว เสมอ ถอดหมวกตรวจว่าหวีผมเรียบร้อยหรือไม่ ทหารเยอรมันบังคับให้ ไว้ผมพอหวีได้ ไม่ใช่สั้นเกรียนเหมือนทหารส่วนใหญ่ในหลายๆ ประเทศ ในกระเป๋ามีผ้าเช็ดหน้าตามระเบียบหรือไม่ สะอาดเพียงใด โกนหนวด เรียบร้อยหรือไม่ ถ้าไม่เรียบร้อยอาจโดนสั่งให้โกนใหม่ทั้งหมู่ซํ้าแล้วซํ้าอีก จนแสบคาง ที่สำ�คัญทุกเช้าเมื่อรวมแล้ว ครูฝึกจะขึ้นไปตรวจห้องพัก ดู ความเรียบร้อยของเตียงและตู้ ถ้ามีเตียงไม่เรียบร้อยจะโดนรื้อให้จัดใหม่

ทั้งห้อง ถ้าใครลืม ออกมาทั้งหมดแล้ว เวลาร่วมครึ่งชั่วโมง ทุกคนต้องทำ�ผลัดกัน ทำ�หน้าที่ขนอาหาร ในมื้อกลางวัน เป็น ได้หนึ่งมื้อ 2. เวร นอกชาน และ 4. เวร

ล็อกตู้ประจำ�ตัวจะโดนรื้อของ ต้องจัดให้เหมือนเดิม ซึ่งต้องใช้ การแบ่งหน้าที่ในหมู่มีสี่เวร ซึ่ง ไป กล่าวคือ 1. เวรเลี้ยงอาหาร มาให้เพื่อนและแจกบัตรอาหาร กฎให้ใช้บัตรหนึ่งใบแลกอาหาร ทำ�ความสะอาดห้อง 3. เวรกวาด ห้องนํ้าและส้วม

ทุกมื้อกลางวัน ไปรับประทานอาหาร เพื่อจะได้คุ้นเคยกับ บังคับบัญชา สำ�รวม ในเรื่องการกิน คือ ทหารจนถึงนายพล ต่างตรงที่ในสโมสร เท่านั้น อัตราการปัน ทหารในสนามรบได้

นักเรียนนายร้อยต้องผลัดกัน ที่สโมสรนายทหารวันละ 12 คน ธรรมเนียมเข้าสังคม ชินกับผู้ แต่ไม่ลนลาน สิ่งที่น่าสนใจมาก ในกองทัพเยอรมันตั้งแต่พล ล้วนได้รับอาหารเหมือนกันหมด นายทหารจะใส่ภาชนะที่ดีกว่า ส่วนอาหารแบ่งตามหน้าที่ พวก มากที่สุด รองมาคือทหารที่ได้ 45


รับบาดเจ็บในช่วงพักฟื้น รองมาคือทหารที่รับการฝึก และสุดท้ายทหาร ที่ทำ�งานตามกระทรวงจะได้รับส่วนแบ่งเท่าพลเรือนทั่วไป อาหารหลักคือ ขนมปังดำ� มีส่วนผสมของข้าวเปลือกและฝุ่นที่บดจากฟางข้าวหรือขี้เลื่อย เพื่อให้หนักท้อง ทหารใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้สูบบุหรี่ ต้องผ่านสาม เดือนแรกจึงสามารถสูบได้ แต่เฉพาะหลัง 18 นาฬิกา การสาบานธงก็ เป็นธรรมเนียมศักดิ์สิทธิ์ของทหาร กล่าวคือ ทุกคนจะต้องกล่าวคำ� สาบานเมื่อเข้ากรมมาได้ประมาณหนึ่งเดือน คำ�สาบานจะจบด้วย ประโยคที่ว่า “ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังไม่หมดลมหายใจ ชีวิตและ เลือดเนื้อของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอเตรียมพร้อมที่จะสละให้ปิตุภูมิ และท่านผู้นำ�” (ผู้นำ�ในที่นี้มาจากคำ�ว่า Führer ซึ่งหมายถึง ฮิตเลอร์นั่นเอง - ผู้เขียน) แต่สำ�หรับทหารที่ไม่ใช่เยอรมัน จะเปลี่ยน เป็น “ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังรับราชการอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน...” แทน เรื่องความหนักของการฝึกและเรียนนั้น พันเอกวิชาถึงกับ บันทึกไว้ว่า แค่ช่วงเดือนแรกก็รู้สึกว่ามากกว่าโรงเรียนนายทหารใน ประเทศไทยที่ฝึกมาทั้งปีเสียอีก นอกจากวิชาสื่อสารซึ่งเป็นวิชาหลัก แล้ว ยังต้องเรียนขี่ม้า ขับยานยนต์ต่างๆ ตั้งแต่จักรยานจนถึงรถ บรรทุก เรียนเข้าตี เรียนการใช้อาวุธ ฯลฯ เรื่องการลงโทษก็ไม่ยิ่ง หย่อน มีการสั่งหมอบบางวันอาจถึงร้อยครั้ง วิธีลงโทษที่นิยมมาก ที่สุดคือ pumpen หรือ pump ในภาษาอังกฤษ (คล้ายแทงปลาไหล ของไทย แต่แขนเหยียดตรงไปข้างหน้า บางครั้งก็ต้องถือของใน มือ เช่นปืนประจำ�ตัว - ผู้เขียน) และสารพัดวิธีสร้างสรรค์ การลงโทษซึ่งไม่สามารถบรรยายได้ครบ เมื่อจบการฝึก นักเรียนต้องเข้าสนามรบจริง เบื้องต้นพันเอกวิชาจะถูกส่งไปรัสเซีย (ใน ขณะนั้นรัสเซียกับเยอรมนีประกาศเป็นศัตรู

46


“เรื่องความหนักของการฝึกและเรียนนั้น พันเอกวิชาถึงกับบันทึกไว้ว่า แค่ช่วงเดือน แรกก็รู้สึกว่ามากกว่าโรงเรียนนายทหารใน ประเทศไทยที่ฝึกมาทั้งปีเสียอีก” กันแล้ว ฮิตเลอร์ประกาศโจมตีรัสเซียในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 - ผู้ เขียน) แต่ถูกเปลี่ยนเป็นไปกองพลทหารราบที่ 326 ที่ยึดครองฝรั่งเศสอยู่ แทน เพราะสามารถพูดฝรั่งเศสได้ดี และเสนาธิการเกรงว่าจะไม่ชินกับ สภาพอากาศหนาวของรัสเซีย ที่เมืองนาร์บอนน์ (Narbonne) และ แปร์ปิญง (Perpignon) พันเอกวิชารับตำ�แหน่งผู้บังคับหมู่โทรศัพท์สนาม มีผู้ใต้บังคับบัญชา 20 คน พันเอกวิชาได้รับแต่งตั้งเป็นจ่านายสิบ ก่อนจะ กลับเข้าโรงเรียนทหารสื่อสารในปี ค.ศ. 1942 (เป็นช่วงที่สงครามปะทุหนัก แล้ว เพราะสหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรหลัง เหตุการณ์เพิร์ลฮาร์เบอร์วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 - ผู้เขียน) โรงเรียนเหล่าสื่อสารของเยอรมนีมีแห่งเดียว ตั้งอยู่ที่ไลพ์ซิก เพื่อนร่วม รุ่นจาก NAA 13 กลับมาไม่ถึง 20 คน เสียชีวิตไปหลายคน ส่วนอีกหลาย คนยังอยู่ในสมรภูมิที่รัสเซีย การศึกษาที่นี่เป็นไปอย่างเข้มข้น มีวิทยุและ อุปกรณ์ทันสมัยด้านการสื่อสารแทบทุกอย่าง เรียนและปฏิบัติอย่างแทบ ไม่มีเวลาว่าง สอนกันอย่างละเอียด ผู้สอนซักถามและต้อนกันอย่างไม่ไว้

หน้า ในเวลานั้นไลพ์ซิกถูกโจมตีทางอากาศแล้ว เป็นผลให้เวลากลางคืนก็ ต้องลงหลุมหลบภัยเป็นประจำ� ทำ�ให้เวลาพักผ่อนน้อยลงไปอีก ในปี ค.ศ. 1943 ก็จบหลักสูตร หลังจากบรรจุเป็นนายร้อยได้หนึ่งวัน ก็มีคำ�สั่งลับให้ กลับมาที่โรงเรียนห้ามติดต่อกับภายนอก จัดของสำ�หรับค้างหนึ่งคืน และ เตรียมตัวสำ�หรับการเดินทางทางรถไฟ แล้วบ่ายวันนั้นเอง ทหารใหม่ทุก คนก็เดินทางด้วยรถด่วนไปทางตะวันออก ไปหยุดที่ชานเมืองเบรสเลา (Breslau - ปัจจุบันคือเมืองวโรสลัฟ (Wroclaw) ในประเทศโปแลนด์ - ผู้ เขียน) เดินเท้าอีกระยะหนึ่ง แล้วเข้าพักในโรงทหาร วันรุ่งขึ้นก็เดินเท้าต่อ มาสิ้นสุดที่หออนุสรณ์ศตพรรษ (Centennial Hall) ในเมืองเบรสเลา มี ทหารจากทุกเหล่าทัพซึ่งมาจากคนละที่เข้าร่วมประมาณ 20,000 นาย เวลา 9:00 นาฬิกา ฮิตเลอร์ก็ปรากฏตัวให้โอวาทเป็นเวลาสองชั่วโมง พันเอกวิชา บรรยายว่า ฮิตเลอร์มีความสามารถในการพูดสูงมาก มีการปลุกใจให้เชื่อ มั่นในลัทธินาซี หลังจากนั้นก็มีการเลี้ยงอาหาร และแยกย้ายกันกลับใน ตอนบ่ายอย่างรวดเร็ว

47


แม้จะบรรจุเป็นนายทหารแล้ว แต่การฝึกยังคงมีอยู่ นอกจากทหารใหม่ แล้วการฝึกจะทำ�ในภูมิประเทศจริงทั้งสิ้น มีการฝึกทนความหนาวสองถึง สามคืนติดต่อกัน โดยไม่ให้ใส่ถุงมือ ไม่ปิดหูปิดคอ และนอนกลางแจ้ง (อากาศในสมรภูมิที่รัสเซียในฤดูหนาวปกติจะตํ่ากว่า -30 องศา แต่ใน บางครั้งลงไปตํ่าถึงเกือบ -50 องศา เช่น ที่สตาลินกราด ที่เยอรมนีแพ้ – ผู้ เขียน) พันเอกวิชาอยู่ในฐานะผู้บังคับบัญชาแล้ว จากบันทึกไม่ปรากฏว่ามี การกระด้างกระเดื่องของผู้ใต้บังคับบัญชา พันเอกวิชาสามารถออกคำ�สั่ง ลงโทษได้เหมือนนายทหารเยอรมันทุกประการ ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับการ ฝึกมาอย่างเดียวกับทหารเยอรมัน อีกทั้งแม้จะเป็นชาวต่างชาติ แต่ไม่เคย ได้หรือเสียสิทธิต่างจากทหารเยอรมันจึงเสมือนว่าเป็นพวกเดียวกันอย่าง สิ้นเชิง พันเอกวิชาเคยได้รับการผ่าตัดจมูก ก็ได้รับสิทธิ การปฏิบัติ และ สิทธิการพักฟื้นไม่ต่างจากทหารในกองทัพเยอรมัน ชาวไทยอีกสามคนก็สำ�เร็จการศึกษาในเวลาไล่เลี่ยกัน ทหารไทยใน กองทัพนาซีทั้งสี่คนปฏิบัติหน้าที่เหมือนทหารเยอรมัน แต่หลังจาก นั้นมีเรื่องน่าเศร้าประการหนึ่งคือ คุณบุญช่วย ทองปรีชา ทำ�การ อัตวินิบาตกรรม โดยสาเหตุไม่แน่ชัด ในเวลานั้น แสนยานุภาพของกอง ทหารเยอรมันอ่อนด้อยลงแล้ว ทหารโดยเฉลี่ยตัวเล็กลง เพราะพวก “ดี ประเภทหนึ่ง” ต่างพลีชีพในสนามรบหมดแล้ว กองทัพนาซีแพ้แก่รัสเซีย ที่สตาลินกราดโดยเสียกองทัพที่ 6 ไปทั้งกองทัพ รัฐก็เกณฑ์ทหารเพิ่มไม่ หยุดยั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าผู้ชายทุกคนที่ไม่ชราหรือทุพพลภาพกลาย เป็นทหารทั้งหมด (ในช่วงนี้จะมีกองอาสาจากต่างประเทศเข้ามา เช่น กอง อาสาจากอินเดีย ซึ่งเป็นกองทหารสังกัดสุภาษ จันทร โพส หรือเนตาจี หนึ่งในหัวหน้าผู้ร่วมกับคานธีเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ – ผู้เขียน) แต่ สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้นดังที่ทราบกัน เริ่มมีการต่อต้านฮิตเลอร์ทางการเมือง ทหารบางหน่วยที่มั่นใจว่าไม่มีโอกาสชนะสงครามก็หวังให้ฝ่ายอังกฤษกับ อเมริกายึดที่มั่นตนเองได้ก่อนรัสเซีย เพราะตระหนักดีว่าการเป็นเชลย ของรัสเซียจะมีสภาพที่แย่กว่ามาก (อังกฤษกับอเมริกาโจมตีเข้าทางตะวัน

48

ตก ส่วนรัสเซียมาทางตะวันออก จากสภาพภูมิประเทศที่ตั้ง – ผู้เขียน) ช่วงสุดท้ายก่อนเยอรมนีแพ้สงคราม พันเอกวิชากลับเข้ามาศึกษาเพิ่มที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเบอร์ลิน เงินมาร์คอ่อนค่ามาก แต่สิ่งที่มีค่า มากในเวลานั้น คือ กาแฟ เพราะชาวเบอร์ลินไม่มีโอกาสได้ดื่มกาแฟจริง ได้รับแต่กาแฟสังเคราะห์เท่านั้น สำ�หรับนักเรียนไทยได้รับเงินจากรัฐบาล ไทยเป็นฟรังค์สวิส ที่ถึงแม้จะได้เพียงหนึ่งในสี่จากที่ควรจะได้ แต่ด้วย สกุลเงิน ทำ�ให้สามารถซื้อของจากสวิตเซอร์แลนด์ได้ รวมถึงกาแฟจาก สวิสที่มีค่ามากกว่าเงินในเบอร์ลิน ด้วยเหตุนี้ พันเอกวิชาและเพื่อนจึงใช้ กาแฟต่างเงินดำ�รงชีวิตในช่วงปลายสงคราม ครั้งหนึ่งถึงกับใช้กาแฟแลก วิทยุมาฟังข่าวสงคราม ก่อนเบอร์ลินแตกสองสัปดาห์ คณะทูตไทยและคนไทยที่ตกค้างอยู่ก็เดิน ทางหนีออกทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านสาธารณรัฐเชค สู่เมืองซังต์กิลเกน (St. Gilgen) ประเทศออสเตรีย แต่ลี้ภัยอยู่ได้ไม่นาน พันเอกวิชาก็ถูก ลวงจับไปเข้าค่ายกักกันเชลยศึก เปลี่ยนค่ายกักกันหลายครั้ง จนผ่านการ ประกาศยอมแพ้ของญี่ปุ่นไปประมาณสามเดือนถึงได้รับการปล่อยตัวกลับ ซังต์กิลเกน (ญี่ปุ่นยอมแพ้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 แต่ลงนาม อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายนปีเดียวกัน – ผู้เขียน) หลังจากถูก ปล่อยตัว คนไทยที่เหลือส่วนใหญ่ก็เดินทางเข้าสวิตเซอร์แลนด์ และใน ที่สุดการเจรจาและระเบียบการทางการทูตก็บรรลุผล พันเอกวิชาสามารถ กลับประเทศไทยได้พร้อมกับคนไทยอีกหลายคน โดยลงเรือชื่อ ฟิโอเนีย จากท่าที่มาร์เซยล์ ประเทศฝรั่งเศส ย้อนกลับทางเก่าที่เดินทางมายุโรป และถึงพระนครในปีพ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) หลังจากจากบ้านไปเจ็ดปี


แสนยานุภาพของกองทหารเยอรมันอ่อนด้อย ลงแล้ว ทหารเสียชีวิตในแนวหน้ามากมาย รัฐก็ เกณฑ์ทหารเพิ่มไม่หยุดยั้งจนเรียกได้ว่าผู้ชายที่ไม่ ชราหรือทุพพลภาพกลายเป็นทหารทั้งหมด

49


Life Score โดย จอมทัพ(ถม)

ไทยบาวู VS สิงห์เฮสเซ่น VS ไทยแฟรงก์เฟิร์ต ชิงถ้วยสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมนีฯ ครั้งที่ 1 หลังจากที่นักเรียนไทยกลุ่มหนึ่งจัดการแข่งขันฟุตบอลมาได้ 2 ครั้งที่แถบเฮสเซ่น อย่าง ประสบความสำ�เร็จ มาปีนี้ สมาคมนักเรียนไทยในเยอรมนีฯ เข้ามาสนับสนุนการแข่งขัน ทางคณะผู้จัดการแข่งขันจึงใช้ชื่อการแข่งขันดังข้างต้น และให้นับเป็นครั้งที่ 1 การแข่งขัน เป็นบอล 8 คน แบบพบกันหมด ทีมที่ได้แต้มสูงสุดจะได้ถ้วยแชมป์กลับบ้าน

ทีมไทย – แฟรงก์เฟิร์ต คว้าแชมป์

LIFE SCORE


ไทยแฟรงก์เฟิร์ต 5 – 1 สิงห์เฮสเซ่น

Finish

นัดนี้ถือเป็นนัดตัดสินแชมป์ เพราะต่างฝ่ายต่างชนะมา 4-0 เหมือนกัน ช่วงต้นเกมทั้งสองทีมเล่นกันอย่าง ระมัดระวัง แต่แล้วประตูแรกของเกมก็เกิดขึ้น เป็นทางสิงห์เฮสเซ่นได้ประตูนำ�ไปก่อน 1-0 จากจังหวะสวน กลับ โดยการยิงของศูนย์หน้าคลาสสิกกิตติมศักดิ์ เกมยังคงสูสี จนไทยแฟรงก์เฟิร์ตได้ประตูตีเสมออันงดงาม จากแบงค์ อีกไม่นานไทยแฟรงก์เฟิร์ต ขึ้นนำ� 2-1 จากลูกโหม่งของกอล์ฟ จบครึ่งแรกด้วยสกอร์ 2-1 ครึ่งหลัง สิงห์เฮสเซ่นพับสนามบุก มีโอกาสทำ�ประตูหลายครั้งแต่ยิงไม่คม แถมโชคไม่เข้าข้าง ลูกชนเสา ชนคานอย่างละ ครั้ง แม้ว่าทีมไทยแฟรงก์เฟิร์ตดูจะหมดแรง แต่เกมรับยังเหนียวแน่นมีระเบียบวินัย และได้ประตูจากจังหวะ โต้กลับ อีก 3 ลูกรวด ทางสิงห์เฮสเซ่น พยายามแก้เกมด้วยการเปลี่ยนตัวแต่ก็ไม่ได้ผล ผลเกมนี้ ไทย แฟรงก์เฟิร์ตชนะท่วมท้น 5-1 สรุปผลการแข่งขัน ทีมไทยแฟรงก์เฟิร์ต แข่ง 2 นัด ชนะรวดสองนัดได้ 6 คะแนนเต็ม คว้าแชมป์ไปครอง รับ ถ้วยจาก กงสุลจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ รองกงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

ไทยบาวู 0 – 4 ไทยแฟรงก์เฟิร์ต

ทีมไทยแฟรงก์เฟิร์ตที่มากัน 7 คนเน้นๆ แต่เล่นกันเข้าขามาก เนื่องจากรวมทีมกันมานาน นัดนี้ ไทย บาวูต้องการกู้หน้า โดยรวมรูปเกมดีขึ้น แต่ความไม่แน่นอนทำ�ให้หลายๆ จังหวะพลาดไปอย่างน่า เสียดาย ไทยแฟรงก์เฟิร์ตอาศัยทีมเวิร์คและความสามารถเฉพาะตัวของศูนย์หน้าตัวความหวัง แบงค์ สอยประตูขึ้นนำ� 1-0 แล้วรูปเกมก็เหมือนจะเข้าร่องเดิมสำ�หรับไทยบาวู เมื่อต้องตกเป็นฝ่ายตามหลัง 2-0 จากการที่ผู้รักษาประตู การีม รับลูกง่ายๆ พลาด เนื่องจากเล่นสองเกมติดทำ�ให้นักเตะบางคนของ ไทยบาวูดูเปลี้ยๆ ไป เล่นอีกไม่นานก็มาโดนอีกสองลูกจากลูกโต้กลับ 4-0 สบายๆ สำ�หรับไทย แฟรงก์เฟิร์ต สิ้นเสียงนกหวีดไทยบาวูโดนถลุงเละ

สิงห์เฮสเซ่น 4 – 0 ไทยบาวู

Start

รูปเกมถือว่าสูสีในช่วงต้นเกม ไทยบาวู มีโอกาสป้วนเปี้ยนหน้ากรอบเขตโทษหลายครั้ง แต่แล้ว ท่าน รองกงสุลปั๊ด กองหน้ายุคคลาสสิกกิตติมศักดิ์ของทีมสิงห์เฮสเซ่นซัดสุดสวยให้ทีมขึ้นนำ�ไปก่อน 1-0 เมื่อโดนขึ้นนำ� ทีมไทยบาวูเหมือนจะตื้อๆ ไป นักเตะตัวความหวังไม่ว่าจะเป็น วิทย์ ปีกจอมพลิ้ว, บอล บัวขาว, จั่ง ศูนย์หน้าเชิงสูง หรือแม้กระทั่ง มาร์ค ห้านาที ต่างเล่นไม่ออก และจากความผิดพลาด ของกองหลังของไทยบาวู สิงห์เฮสเซ่นได้ประตู 2 ลูกจากศูนย์หน้าเท้าหนัก (ตัวก็หนัก...หยอกเล่นนะ พี่) คือ พี่หนุ่ม สกอร์เป็น 3-0 แล้ว หลังแต้มนำ�ห่าง สิงห์เฮสเซ่นเล่นสบาย แล้วมาได้ประตูสุดสวยจาก กองกลาง นามว่า โอ จบเกมสิงห์เฮสเซ่นถล่มไทยบาวู 4-0


บทความนี้ถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลสำ�หรับผู้ที่กำ�ลังสนใจทำ�ใบขับขี่เยอรมัน โดยในบทความนี้ ผู้เขียนได้สรุป คำ�ถามที่มักจะถูกถามบ่อยๆ ในหมู่คนไทย ที่อาจหาคำ�ตอบได้ไม่ง่ายนักตามอินเตอร์เน็ต ส่วนข้อมูลและราย ละเอียดปลีกย่อยนั้น เช่น ค่าเรียนในส่วนต่างๆ สามารถสอบถามได้จากโรงเรียนสอนขับรถทั่วไป ทำ�ไมต้องทำ�ใบขับขี่เยอรมันถ้ามีใบขับขี่สากลแล้ว?

ใครบ้างควรทำ�ใบขับขี่?

คำ�ถามแรกๆ ที่หลายคนอาจสงสัย คือเหตุผลว่าจะเสียเงินเสียเวลาทำ� ใบขับขี่ไปเพื่ออะไร ในเมื่อใบขับขี่สากลจากเมืองไทยก็สามารถนำ�ไปใช้ อยู่แล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ใบขับขี่สากลที่เมืองไทยนั้นสามารถใช้ใน เยอรมนีได้ไม่เกินหกเดือนแรกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากหกเดือน ผ่านไปบริษัทเช่ารถส่วนใหญ่ยังจะอนุญาตให้ใช้ใบขับขี่สากลจากเมือง ไทยเช่ารถในเยอรมนีได้อยู่ แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุบริษัทประกันจะไม่รับ ผิดชอบ เพราะถือว่าคนขับขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต ส่วนการขับละเมิด กฎหมายบนท้องถนน เช่นขับเร็วหรือเลี้ยวผิดที่ จะถูกขึ้นเป็นประวัติไว้ ทันทีและอาจไม่สามารถทำ�เรื่องขอทำ�ใบขับขี่ในเยอรมนีได้อีก

การทำ�ใบขับขี่ในเยอรมันนั้นอาจต้องใช้ค่าใช้จ่ายใดยเฉลี่ยประมาณ ตั้งแต่ 1000 – 2000 ยูโร ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขับรถพื้นฐาน ของแต่ละบุคคล การมีใบขับขี่นั้น หลายคนอาจคิดว่าสามารถนำ�ไป ใช้เพื่อการเช่ารถขับท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใบขับขี่ สำ�หรับรถยนต์ส่วนบุคคล (Klasse B) สามารถใช้ได้กับรถที่มีนํ้าหนักไม่ เกิน 3.5 ตัน ซื่งก็รวมไปถึงรถบรรทุกขนาดเล็กที่เช่าได้ตามศูนย์ทั่วไป ในราคาตั้งแต่ 30-300 ยูโร เวลามีความจำ�เป็นต้องขนของย้ายที่อยู่ด้วย นอกจากนี้สำ�หรับนักเรียน โดยเฉพาะในสาขาด้านวิศวกรรมศาสตร์ การมีใบขับขี่นั้นยังอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการหาที่ฝึกงานมากขึ้น เพราะ ในหลายบริษัทด้านยานยนต์มักจะเปิดตำ�แหน่งที่ต้องทดสอบเกี่ยวกับ สมรรถนะของรถยนต์ โดยมีข้อแม้ว่าผู้สมัครต้องมีใบขับขี่มาก่อน

52


Q GERMAN DRIVER'S LICENSE ถามพ(ร่)อง โดย พิชญ์ อำ�ไพกิจพาณิชย์

การเตรียมตัว

ขั้นตอนในการทำ�ใบขับขี่

ใบขับขี่ไทยสามารถนำ�ไปแปลเพื่อทำ�เรื่องขอยกเว้นการเรียนภาคทฤษฎี การทำ�ใบขับขี่ที่เยอรมนีนั้นจะเริ่มจากการเรียนภาคทฤษฎีก่อน โดย ได้ แต่ผู้เขียนจะแนะนำ�ให้ทุกคนเข้าเรียน (14 บท) เพราะกฎหมาย ในช่วงเวลานี้ผู้เรียนสามารถเก็บชั่วโมงเรียนภาคปฎิบัติไปด้วยได้ หลัง จราจรในเยอรมันค่อนข้างละเอียดซับซ้อน ถ้าไม่ศึกษาให้ดี เวลาไปขับ จากเรียนภาคทฤษฎีจบ ผู้เรียนสามารถเข้าสอบภาคทฤษฎีได้ แต่ละ อาจโดนตัดแต้มและปรับเงิน จะไม่คุ้มค่ากับเวลาที่ประหยัดไปในตอน โรงเรียนจะจัดสอบประมาณเดือนละครั้ง การเตรียมตัวสอบควรมีเวลา ต้น สำ�หรับคนที่ยังพูดเยอรมันยังไม่คล่อง สามารถเลือกสอบข้อสอบ อย่างน้อยสองวัน โดยศึกษาข้อสอบตัวอย่างของปีนั้นๆ ซึ่งหาซื้อได้ตาม ทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติเป็นภาษาอังกฤษได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เว็บไซต์​์ทั่วไป ข้อสอบตัวอย่างจะมีประมาณ 1200 ข้อ ข้อสอบจริงจะ ใบขับขี่สำ�หรับรถยนต์ส่วนบุคคลนั้นมีสองประเภท คือประเภทเกียร์ เลือกสามสิบข้อจากในข้อสอบตัวอย่าง (คำ�ถามเหมือนกันแต่อาจสลับ ธรรมดาและออโต คนที่เลือกเรียนแบบเกียร์ออโตจะไม่ได้รับอนุญาตให้ ตัวเลือก) ถ้าสอบตกจะต้องสอบใหม่ในครั้งต่อไป โดยจะต้องเสียค่า ขับรถเกียร์ธรรมดาในเยอรมนีได้ ส่วนคนที่มีใบขับขี่แบบเกียร์ธรรมดา ธรรมเนียมในการสอบใหม่ประมาณ 85 ยูโร หลังจากสอบภาคทฤษฏี นั้นสามารถขับได้ทั้งสองประเภท คนเยอรมันส่วนใหญ่ไม่นิยมขับรถ และเก็บชั่วโมงภาคปฎิบัติครบแล้วก็จะสามารถสอบภาคปฎิบัติได้ โดย เกียร์ออโตเหมือนในเมืองไทย ใครที่มีใบขับขี่ประเภทเกียร์ออโตอาจ จะใช้เวลาทั้งหมดประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ผู้เรียนจะได้ใบขับขี่ทันที ประสบปัญหาเวลาเช่ารถได้ เพราะบริษัทส่วนใหญ่จะมีรถเกียร์ออโต หลังจากสอบภาคปฎิบัติผ่าน สำ�หรับขั้นตอนโดยละเอียด สามารถอ่าน ค่อนข้างจำ�กัด สำ�หรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใบขับขี่จากเกียร์ออโตเป็นเกียร์ ได้จากเว็บไซต์​์ด้านล่าง ธรรมดา ต้องเข้าเรียนและสอบภาคปฎิบัติใหม่ http://www.fahrschule-123.de/fuehrerschein-mit-17 http://www.jan-punnaporn.com/index.php/tricksandtipsmenu/52-drivinglicensede

53


รูTheปbeginning นอ 54


อกกรอบ g is always today

เพราะการเริ่มต้น เกิดขึ้นได้ทุกๆ วัน ในทุกๆ ที่ที่เราไปและทุกๆ สิ่งรอบตัว เพียงแค่เราเปิดใจมอง โลกให้มันกว้างขึ้น นิตยสาร opnmnd อยากเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้คุณผู้อ่านทุกคน กล้าที่จะเริ่มสิ่งใหม่อีกครั้ง ผ่านมุมมองโลกที่ไม่ธรรมดาจากผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายทั้ง 6 คนกับ “รูปนอกกรอบ” ฉบับนี้ ...... เชิญเปิดหน้าต่อไป และพบกับการเริ่มต้นในมุมใหม่ๆ พร้อมกันเลยนะคะ

55


ท่ามกลางสิ่งที่ร่วงโรย มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นเสมอ (ปรีชา เกียรติกิระขจร )

56


One fine day in a little park with our new lovely member (ชลิดา พันธุมสุต)

57


การเริ่มต้นด้วยการกิน (สุวพร พจนานุวัตร)

58


จุดเริ่มต้นแม้เป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่สามารถนำ�ไปสู่การเดินทางที่น่าค้นหาต่อไป (ชนัตถา จิตพัฒนไพบูลย์ )

59


การย้ายออกเพื่อจะไปเริ่มใหม่ แต่ของที่ทิ้งก็ยังสามารถให้คนอื่นนำ�ไปใช้เริ่มต้นใหม่ได้เช่นกัน (Sohn Mendels)

60


"ทุกการเริ่มต้น สิ่งต่างๆ จะประกอบกันขึ้นมาในความเป็นตัวเรา เหมือนกับปุ่มบนแป้นพิมพ์ ที่มีมากกว่าการเปิด หากแต่ต้องทำ�งานร่วมกัน จึงจะเป็น สิ่งสิ่งนั้น... ที่สมบูรณ์" (สารนาถ เทียมแก้ว)

61


Green Apple Vodka โดย วรวุฒิ สินโคกสูง

งานปาร์ตี้ไหนๆไม่ว่าจะเป็นคริสต์มาส ปีใหม่ วาเลนไทน์ วันครบ รอบ หรือวันเกิด(อยากจะกิน) ก็คงจะขาดสีสันความสนุกไป หากไม่มี เครื่องดื่มค็อกเทลสุดฮิตเป็นส่วนหนึ่งของงาน ยิ่งเป็นค็อกเทลที่ผสม เองด้วยแล้วก็ยิ่งเพิ่มความตื่นเต้นให้กับปาร์ตี้นั้นๆ หน้าร้อนแบบนี้ opnmnd ขอเสนอสูตรที่ทำ�ได้เองที่บ้านด้วยส่วนผสมง่ายๆ จากนํ้า ผลไม้ที่อยู่ในตู้เย็นอย่างนํ้าแอปเปิ้ล Green Apple Vodka ค็อกเทล เย็นเจี๊ยบ รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นอายของสะระแหน่ เพื่อเติมความ สดใสซู่ซ่าให้กับวันหยุดหน้าร้อนของคุณ

ส่วนผสม 4 cl vodka * 6 cl นํ้าแอปเปิ้ล 100% 1 cl Peppermint Syrup 1 cl นํ้ามะนาว นํ้าแข็งบด * สำ�หรับคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ สามารถเติมนํ้าแอปเปิ้ลแทนได้

TIPS - หากไม่มี Shaker สามารถใช้ขวดพลาสติกที่มีฝากว้าง หรือกล่อง พลาสติกแบบล็อกแทนได้ - นํ้าผลไม้แท้ 100% ในท้องตลาดมักจะเขียนว่า 100% aus Fruchtsaftkonzentrat

วิธีทำ� 1.ใช้แก้ว Long drink ที่จะใส่ค็อกเทล ตวงนํ้าแข็งบดใส่ลงไปใน Shaker 2. เติมส่วนผสมต่างๆ เข้าไป แล้วเขย่าจนไอนํ้าที่อยู่รอบ Shaker กลาย เป็นนํ้าแข็ง (ประมาณ 15 วินาที) 3. รินค็อกเทลที่เสร็จแล้ว ใส่แก้ว Long drink ที่เตรียมไว้

62


ดื่ม นํ้ า

HI, GESUND!

ก ? อ ก๊

โดย กิตติ คำ�แก้ว

ผมเป็นคนหนึ่งที่ดื่มนํ้าจากก๊อกโดยไม่ได้กรอง

เหมือนกับคุณผู้อ่านที่ทราบและมั่นใจว่านํ้าประปาที่ประเทศเยอรมนีดื่มได้ แต่คุณผู้อ่านเคยสงสัยไหมว่า นํ้าจากก๊อกนั้นสะอาดจริงหรือ? ถ้าสะอาด จริงทำ�ไมบางคนยังใช้เครื่องกรองนํ้าจากก๊อกก่อนดื่ม? ถ้านํ้าไม่สะอาด เครื่องกรองนํ้าที่ใช้กันอยู่ช่วยทำ�ให้นํ้าสะอาดได้จริงหรือ? ผมเองเคยได้ยิน ว่ามีคนป่วยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเนื่องมาจากดื่มนํ้าที่กรอง จากนํ้าก๊อก และมีบางคนบอกผมว่าผมร่วงเพราะนํ้าประปาที่นี่ แต่ก็มีคน เยอรมันหลายคนที่นำ�ขวดนํ้าไปกรอกนํ้าในห้องนํ้ามาดื่มเป็นประจำ� และก็ มีหลายคนที่ซื้อนํ้าบรรจุขวดมาดื่ม 63


กฎหมายคุณภาพนํ้าดื่มที่ออกโดยรัฐบาลกลางประเทศเยอรมนี “Verordnung "über die Qualität von Wasser für den menschlichen Gebrauch” (Trinkwasserverordnung -TrinkwV 2001) กำ�หนดให้นํ้า ประปาที่ออกมาจากก๊อกในอาคารบ้านเรือน บนเครื่องบิน ในอุตสาหกรรม ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งในท่อส่งนํ้า รถส่งนํ้า และนํ้าบรรจุขวด มีคุณภาพที่สามารถบริโภคได้ โดยผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะต้องผลิต และควบคุมให้นํ้ามีองค์ประกอบทางด้านเคมีและจุลชีววิทยาเป็นไปตาม เกณฑ์มาตรฐานที่กำ�หนดในกฎหมายฉบับนี้ ในกรณีที่กรมสาธารณสุข ตรวจพบว่าคุณภาพนํ้าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน กรมสาธารณสุขจะต้อง ประเมินความเสี่ยงที่มีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ประกาศให้ผู้บริโภคทราบ และดำ�เนินการบังคับให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการปรับปรุงคุณภาพนํ้าให้ดี ขึ้น และสามารถสั่งให้หยุดการผลิตได้จนกว่าจะดำ�เนินการปรับปรุงแก้ไข คุณภาพนํ้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังให้สิทธิ ผู้บริโภคที่สงสัยว่าคุณภาพนํ้าจะไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สามารถแจ้ง ให้กรมสาธารณสุขดำ�เนินการตรวจสอบคุณภาพนํ้าและบังคับให้มีการ ปรับปรุงแก้ไขจนเป็นที่น่าพอใจได้ จากกฎหมายฉบับนี้ เราสามารถกล่าว ได้ว่านํ้าประปาในทุกรัฐของประเทศเยอรมนี ได้รับการควบคุมอย่าง เข้มงวดให้มีคุณภาพดีสามารถดื่มได้ โดยเฉพาะเชื้อโรคได้ถูกกำ�จัดออก ไปหมด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อนในนํ้า ซึ่งทำ�ให้ คุณภาพนํ้าลดลงจนอาจจะทำ�ให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามนํ้าประปาในแต่ละเมืองในเยอรมนีจะมีค่าความกระด้าง ของนํ้าต่างกัน เนื่องจากคุณภาพนํ้าดิบที่นำ�มาผลิตมีค่าความกระด้างตาม ธรรมชาติต่างกัน 64

จากข้อมูลค่าความกระด้างในแต่ละเมืองที่แสดงในรูป ทำ�ให้สันนิษฐานได้ ว่าในเมืองที่นํ้ามีค่าความกระด้างสูง อาจพบปัญหาตะกรันในท่อนํ้าร้อน เช่น นํ้าอุ่นหรือนํ้าร้อนที่ออกจากก๊อกมีสีขุ่นมัวหรือมีตะกอนมาก เนื่องจาก ตะกรันที่สะสมอยู่ในท่อหลุดออกมา หรือมีกลิ่นเหม็น ดังนั้นสำ�หรับการ ดื่มนํ้าจากก๊อกผู้เขียนแนะนำ�ให้ดื่มนํ้าเย็นเท่านั้น ถ้าคุณผู้อ่านไม่มั่นใจที่ จะดื่มนํ้าจากก๊อก การใช้เครื่องกรองนํ้าเป็นอีกวิธีที่จะทำ�ให้นํ้าสะอาดขึ้น สามารถดื่มได้ เครื่องกรองบางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถกรองเอา อินทรียสารที่ปนเปื้อนมากับนํ้า ขจัดสีและกลิ่นออกได้ อย่างไรก็ตาม การ เลือกซื้อเครื่องกรองนํ้าขึ้นอยู่กับว่าในพื้นที่ที่คุณผู้อ่านอาศัยอยู่มีปัญหา เรื่องคุณภาพนํ้ามากน้อยเพียงใด ถ้าพบว่านํ้าที่ออกมาจากก๊อกมีสีขุ่นมัว มีตะกอนมาก คุณผู้อ่านสามารถเก็บตัวอย่างนํ้าและส่งไปให้ทางเทศบาล เมืองวิเคราะห์หรือแจ้งกับกรมสาธารณสุขเพื่อให้มาตรวจสอบได้ และคุณ ผู้อ่านต้องลองศึกษาเปรียบเทียบความสามารถและคุณสมบัติของเครื่อง กรองนํ้าก่อนซื้อมาใช้ เพื่อให้มั่นใจว่านํ้าที่ผ่านจากการกรองในพื้นที่นั้นๆ สะอาดดื่มได้จริง ผู้เขียนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและไม่สามารถกล่าวได้ว่านํ้า ประปาในทุกเมืองของประเทศนี้สะอาด ดื่มได้หรือดื่มแล้วจะไม่เป็น อันตรายต่อสุขภาพ ข้อมูลในบทความนี้อ้างอิงจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ คุณผู้อ่านลองพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้ และตัดสินใจว่าจะดื่มนํ้าจากก๊อก ต่อไปหรือไม่ ถ้าไม่มั่นใจว่านํ้าสะอาดจริง ก็ยังมีทางเลือกอื่นๆ เช่น การ ใช้เครื่องกรองนํ้า ต้มนํ้าก่อนดื่ม หรือดื่มนํ้าบรรจุขวด และถ้าสงสัยว่ามี อาการป่วยจากนํ้าที่ดื่มหรือใช้ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อสุขภาพของตัวคุณ เองครับ


นํ้ากระด้าง คือนํ้าที่มีเกลือและแร่ธาตุละลายอยู่มากและทำ�ปฏิกิริยากับสบู่จนเกิดตะกอนขึ้น แบ่ง ออกเป็น 2 อย่าง คือ นํ้ากระด้างชั่วคราวและนํ้ากระด้างถาวร นํ้ากระด้างชั่วคราวมีเกลือแคลเซียม ไบคาร์บอเนตละลายอยู่ นํ้ากระด้างถาวร มีเกลือแคลเซียมซัลเฟตหรือเกลือแมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) ปะปนอยู่ในนํ้า นํ้าที่มีความกระด้างสูงไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะแคลเซียมและ แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการอยู่แล้ว แต่นํ้ากระด้างจะทำ�ให้เกิดความเสียหายต่อท่อนํ้า และอุปกรณ์ครัวเรือน เช่น เครื่องซักผ้า การต้มนํ้า หรือทำ�ให้เกิดคราบบนภาชนะและอ่างล้างหน้า ได้ในกรณีที่ล้างไม่สะอาด นํ้าที่มีเกลือแคลเซียมซัลเฟตละลายอยู่ เมื่อนำ�มาต้ม แคลเซียมไบ คาร์บอเนตจะสลายตัวเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมคาร์บอเนตจะแยกตัวออกมา กลายเป็น ตะกรันจับอยู่ในกาต้มนํ้าหรือท่อนํ้าร้อน และนํ้าที่มีความกระด้างสูงจะทำ�ให้ประสิทธิภาพในการ ทำ�ความสะอาดของสบู่หรือนํ้ายาซักผ้าลดลง นอกจากนี้ เมื่อแร่ธาตุในนํ้าทำ�ปฏิกิริยากับสบู่ที่เราใช้ จะทำ�ให้ไม่เกิดฟองหรือมีฟองน้อย และเกิดสิ่งที่เรียกว่า "ไคลสบู่" ขึ้น ซึ่งตัวไคลสบู่นี้เองที่กลาย เป็นคราบเกาะอยู่ที่ผิว ทำ�ให้รู้สึกสาก ไม่สบายตัว และสามารถเข้าไปอุดตันรูขุมขน ซึ่งอาจทำ�ให้ เกิดปัญหาผิวหนัง เช่น ผิวเกิดอาการแพ้ แดง คัน ผิวแห้งและลอก หรือเกิดอาการผมร่วงในบาง คนที่แพ้นํ้าที่มีค่าความกระด้างสูงได้ 65


น ว ช ชร

) ์ ร ย ี บ เ ิ ( ม

โดย พชร แก่นเมือง

6.6

7.4

8.0 ขึ้นชื่อว่าเยอรมนี ใครๆ ก็รู้จักว่าเป็นเมืองเบียร์ ความหลากหลายของเบียร์ในเยอรมนีมีมากมายนับไม่ถ้วน ทำ�ไมใครๆ มองว่าการชิมไวน์เป็น ศิลปะการรับรสอันละเอียดอ่อน กลับกันเบียร์ถูกมองเป็นเครื่องดื่มทั่วๆ ไป ทั้งที่เบียร์ก็มีรสสัมผัสอันหลากหลายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ครั้งแรก นี้เราจึงเลือกเบียร์เยอรมันสามชนิดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงมาพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นเบียร์เฉพาะถิ่น เบียร์เฉพาะเทศกาล และเบียร์ที่หาได้โดยทั่วไป 66


8.0 Hofbräu Maibock Look : สีส้มสวยใส กับฟองนุ่มสีส้มอ่อนๆ Smell : กลิ่นมอลต์หอมหวานและมีส่วนผสมของคาราเมลเล็กน้อย ไม่ค่อยได้กลิ่นฮอปส์มากนัก Taste : รสชาติของฮอปส์นิดหน่อย บวกกับความขมเบาบางของยีสต์ คาราเมลออกรสให้สัมผัสได้ชัดเจน Mouthfeel : เข้มข้นปานกลาง ดื่มง่าย ลื่นคอ Overall : อร่อยดี อยากแนะนำ�ให้ลองดื่ม อาจจะออกหวานเล็กน้อย แต่สำ�หรับใครที่ชอบเบียร์มอลต์หวานๆ ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ Available : โรงเบียร์โฮฟบรอยเฮาส์ (Hofbräuhaus) ที่มึนเช่น (München) และซูเปอร์มาร์เก็ตในแถบบาเยิร์นตอนใต้ (Oberbayern) แต่จะมีเฉพาะช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากเป็นเบียร์ผลิตพิเศษสำ�หรับเทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิในเดือนพฤษภาคม

7.4

Gaffel Kölsch

Look : สีเหลืองฟางใส กับฟองสีขาวที่คงสภาพนาน Smell : กลิ่นอายสมุนไพรเด่นชัด กับความเขียวขจีของผลฮอปส์ในแบบฉบับ Biscuity malt Taste : อร่อยหวาน Biscuit รสชาติเบา แต่ก็ไม่ทิ้งความขมของฮอปส์ มีคาแรกเตอร์ของ Lager ที่ดี เสิร์ฟเย็นๆ หอมสดชื่น Mouthfeel : บอดี้เบา ดื่มง่าย ก๊าขซู่ซ่าระดับพอดี Overall : Gaffel Kölsch เป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างดีสำ�หรับ light beer โดยเฉพาะในหน้าร้อน กินง่าย เข้ากับอาหารได้หลายประเภท เช่น เคบับ (Kebab) หรือเฟรนช์ฟรายด์ Available : โรงเบียร์กาฟเฟล (Gaffel) ที่เมืองฮัมบวร์ก เบอร์ลิน ดึสเซลดอร์ฟ (Düsseldorf) และซึลท์ (Sylt) และซูเปอร์มาร์เก็ตในแถบ นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลน (Nordrhein-Westfalen)

6.6 Binding Pils Look : สีทอง ฟองสีขาวสวยงาม Smell : กลิ่นมอลต์และผลฮอปส์ชัดเจนในแบบฉบับ Classic Pils Taste : รสดี คลาสสิก ขมแบบเบียร์ๆ ออกรสผลฮอปส์ชัดเจน Mouthfeel : บอดี้เข้มข้นปานกลาง แต่ความซ่าของก๊าชระดับ Hard แบบนํ้าอัดลมทั่วไป Overall : รสชาติกลางๆ ไม่เด่นเท่าไหร่ แต่ดื่มง่าย ดื่มได้เรื่อยๆ เพราะแอลกอฮอล์ไม่มาก (แนะนำ�ว่า แบบกระป๋องอร่อยกว่านิดหนึ่ง) ข้อดี คือ ดื่มได้เยอะโดยไม่อิ่มมาก เหมาะกับคนที่อยากเสพบรรยากาศวงเบียร์ Available : ร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตในแถบไรน์ – ไมน์ (Rhein - Main) โดยทั่วไป

67


German Thinking โดย กานต์อธิป เพ็ชรเจริญ, กิตติยา เอี่ยมทัศนะ, สุเมธ ขันแก้วผาบ, พรศรี เจริญพานิช

หลายๆ คนเมื่อได้มาเยือนเยอรมนีในครั้ง แรกนั้น คงจะสะดุดตากับจำ�นวนถังขยะในที่ สาธารณะ ลองนึกดูว่าแค่เราเดินเล่นในย่านการ ค้าสักครึ่งชั่วโมง ก็เห็นถังขยะผ่านตามาไม่น้อย กว่า 7-8 ถัง เฉลี่ยแล้วในระยะเดินไม่เกิน 5 นาที จะต้องเจอถังขยะอย่างน้อย 1 ถัง นับว่าเยอะ เมื่อเทียบกับบ้านเรา ซึ่งคงจะต้องเดินไปมาจน เหงื่อตกถึงจะเจอถังขยะสักใบ ถนนหนทางใน 68

เยอรมนีนั้นสะอาดสะอ้าน ส่วนหนึ่งก็คงมาจาก การที่มีถังขยะมากมายกระจายอยู่ทั่วทุกหัวมุม ถนน เพื่อให้คนที่สัญจรผ่านไปมาได้มีที่ทิ้งขยะ ให้เป็นที่เป็นทาง ไม่ใช่ทิ้งเรี่ยราดตามพื้นถนน เมื่อเดินมาถึงย่านที่พักอาศัย ก็ให้สะดุดตา กับถังขยะหลากสีที่ตั้งเรียงรายอยู่ริมทางเท้า ราวกับจงใจตั้งถังขยะของตัวเองให้เด่นเป็นสง่า อยู่หน้าบ้านแข่งกัน นี่ยังไม่นับถุงขยะใบใหญ่ที่

วางเรียงสลอนคู่กับถังขยะ เมื่อพิจารณาดูก็พบ ว่าทุกบ้านจะมีถังขยะสามใบสามสี คือ ถังสีเขียว ถังสีนํ้าตาล และถังสีดำ� รวมทั้งถุงขยะสีเหลือง เหมือนกันทุกหลัง แปลกใจไหมว่า ทำ�ไมคน เยอรมันต้องเอาขยะมากองรวมกันไว้หน้าบ้าน แทนที่จะเก็บงำ�ไว้หลังบ้านไม่ให้รกหู รกตา ที่จริงแล้ว คนเยอรมันจะต้องทิ้งขยะ ตามวันและเวลาที่เทศบาลกำ�หนด ขยะจะต้อง


จำ�แนกตามประเภทให้ถูกต้อง ทิ้งให้ถูกถังว่า ขยะอะไรใส่ถังสีอะไร แล้วจะต้องเอามาวางหน้า บ้านวันไหน เทศบาลถึงจะมาจัดเก็บ นี่เป็นเรื่อง ที่คนเยอรมันทุกคนต้องรู้และปฏิบัติ แต่คนไทย อย่างเรา เกิดมาไม่เคยต้องแยกขยะ อยู่ที่บ้าน นั้นไม่ว่าจะเป็นเศษกระดาษ ขวดนม เปลือกส้ม หรือถ่านไฟฉาย ก็ทิ้งรวมกันได้หมด เรียกว่าถัง เดียวเอาอยู่ มาเจอธรรมเนียมแยกขยะแบบนี้ เข้าก็ให้ลำ�บากอยู่เหมือนกัน หนึง่ ในทีมงานของเราเล่าประสบการณ์สว่ นตัวว่า

คนไทยอย่างเรา เกิดมาไม่เคยต้อง แยกขยะ ในครั้งแรกเขาก็แอบคิดเช่นกันว่า เป็นนักศึกษา เช่าหอพักอยู่คนเดียว ทำ�ไมคนคนหนึ่งจะต้องมี ถังขยะตั้ง 3-4 ใบ มันไม่มากไปหน่อยหรือ แต่ ในเมื่อเจ้าของประเทศบอกว่าให้แยกขยะ เขา ก็แยกให้ไม่เกี่ยงงอน อย่างไรก็ดี ว่ากันว่าทำ� อะไรตามใจคือไทยแท้ สุดท้ายเขาก็แยกขยะ แบบตามใจ ตามอารมณ์ แยกถูกบ้างผิดบ้างไป ตามประสา ปรากฎว่าทำ�แบบนี้ไม่นาน ก็เริ่มมี จดหมายจากเทศบาลมาเตือนให้แยกขยะให้ถูก ต้อง ไม่เช่นนั้นจะแจ้งปรับ แถมถุงสีเหลืองที่เอา ไว้ใส่ขยะรีไซเคิลนั้น วันดีคืนร้ายเกิดมีพนักงาน เทศบาลช่างสังเกต เห็นถุงขยะรีไซเคิลสีเหลือง มีสิ่งแปลกปลอมก็ไม่ยอมจัดเก็บ ปล่อยทิ้งไว้ หน้าบ้านอย่างนั้น แถมยังแปะป้ายคำ�ว่า STOP สีแดงโร่โดดเด่น คล้ายกับจงใจประณามให้ ได้อาย จากวันนั้นถึงวันนี้ เขาแยกขยะทิ้งตาม ประเภทอย่างระมัดระวัง และพยายามกล่าว เตือนคนไทยที่มาใหม่ว่าควรให้ความสำ�คัญกับ

เรื่องการแยกขยะเช่นกัน ที่จริงการทิ้งขยะและการแยกขยะนั้นไม่ใช่เรื่อง ใหม่สำ�หรับคนไทย เมื่อสิบกว่าปีก่อนบ้านเรา ก็เคยมีการรณรงค์ต่อต้านการทิ้งขยะไม่ที่เป็น ทาง อย่างโครงการตาวิเศษ มีโครงการแยกขยะ รีไซเคิลจำ�พวกกระดาษ ขวดนํ้า ถุงพลาสติก และกระป๋องเครื่องดื่ม ตามโรงเรียน หน่วยงาน ราชการ และในแหล่งชุมชน ซึ่งคนไทยก็ตื่นตัว กันอยู่พักหนึ่ง แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป โครงการ เหล่านี้ก็เลือนหายกลายเป็นแค่ความทรงจำ� เลือนลางในวัยเด็ก โครงการดีๆ อย่างนี้ทำ�ไม ถึงไม่ประสบความสำ�เร็จในระยะยาวในบ้านเรา แต่ทำ�ไมคนเยอรมันเขาแยกขยะกันมาเป็นสิบ ปีแล้ว และเขาก็ยังทำ�กันอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึง ทุกวันนี้ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นด้วย อะไร เป็นปัจจัยที่ทำ�ให้มาตรการการทิ้งขยะและการ แยกขยะของเยอรมนีประสบความสำ�เร็จอย่าง งดงาม คนเยอรมันเขามีแนวคิดและแนวทาง ปฏิบัติในเรื่องนี้อย่างไร ? ทางทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ครอบครัว เยอรมันครอบครัวหนึ่ง ที่นับว่าเป็นตัวอย่างที่ ดีในการใช้ชีวิตแบบรักษาสิ่งแวดล้อม เราได้ ข้อมูลจากเขามาว่า ในประเทศเยอรมนี เริ่มต้น สอนการแยกขยะตั้งแต่เด็กเรียนเตรียมอนุบาล โรงเรียนจะสอนเด็กทุกคนให้รับผิดชอบสิ่งของ ของตัวเอง รับผิดชอบขยะที่เกิดจากตัวเอง เด็กที่นี่สามารถแยกแยะชนิดของขยะและรู้จัก สัญลักษณ์บนถังขยะก่อนจะอ่านหนังสือได้เสีย อีก นอกจากโรงเรียนแล้ว การมีส่วนร่วมจาก ครอบครัวและรัฐบาลก็สำ�คัญ ที่บ้านต้องจัดการ แยกขยะอย่างเป็นระบบ และในอาคารที่พัก อาศัยก็มีสถานที่สำ�หรับทิ้งขยะและจัดเก็บแยก ตามประเภท ไม่ใช่แบบเมืองไทย ที่เทขยะจาก ถังทุกสีรวมลงรถขยะคันเดียวกัน การสัมภาษณ์เกิดขึ้นที่บ้านอย่างสนุกสนาน เรา ได้รับเชิญให้ร่วมโต๊ะอาหารเย็นกับครอบครัว นี้ สมาชิกครอบครัวคือคุณพ่ออเล็กซ์

(Alex) คุณแม่โมนิก้า (Monika) 43 ปี นิเค่อะ(Nike) 9 ขวบ และชาร์ลี(Charlie) 2 ขวบ บ้านนี้มีระเบียบและจัดเวรในการแยกขยะเป็น ระบบอย่างไม่น่าเชื่อ ทุกคนต้องรับผิดชอบใน ส่วนของตัวเอง ถ้าเกิดความผิดพลาดก็จะตัก เตือนกันอย่างจริงจัง แม้แต่น้องเล็กคนสุดท้องก็ มีเวรกับเขาด้วย ซึ่งพวกเขาดีใจและรู้สึกตื่นเต้น มากที่ได้เป็นครอบครัวตัวอย่างถูกสัมภาษณ์ลง นิตยสารของไทย ทางทีมงานก็ได้เริ่มสัมภาษณ์ น้องนิเค่อะเป็นคนแรกเพราะเป็นคนออกกฏการ

คนเยอรมันเขา แยกขยะกันมาเป็น สิบปีแล้ว แยกขยะในบ้าน และพวกเราเองก็สนใจอยากรู้ ความคิดของเด็กที่นี่มาก opnmnd - ทำ�ไมเราถึงต้องแยกขยะ มันมี ประโยชน์ยังไงบ้าง ถ้าไม่แยกแล้วจะเกิดอะไร ขึ้น นิเค่อะ – แยกขยะพวกเราต้องช่วยกันทำ� เพราะ คนเก็บขยะจะได้ไม่เหนื่อยมาแยกขยะเราอีก รอบ ขยะที่ถูกแยกแล้วจะได้นำ�มาใช้ต่อได้ โดย เฉพาะพวกแก้ว ยิ่งต้องแยกสีให้ถูก เพราะตอน นำ�ไปทำ�แก้วใหม่จะได้ไม่เป็นหลายๆ สีไง (ยิ้ม) opnmnd – แล้วรู้สึกมั้ยว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลา แทนที่เราจะมีเวลาเล่นกับเพื่อนๆ ได้มากกว่า เดิม นิเค่อะ – ก็เสียเวลานิดนึง แต่ถ้าเราไม่ทำ� ก็ต้อง มีคนอื่นมาเสียเวลาแทนเรา เช่น คนเก็บขยะ เค้า ก็อยากไปเล่นกับเพื่อนๆ เค้าเหมือนกัน ฉะนั้น ทุกคนควรจะรับผิดชอบในส่วนของตัวเอง 69


opnmnd - แล้วที่โรงเรียนเพื่อนๆ แยกขยะ กันทุกคนมั้ย นิเค่อะ – ก็แยกกันทุกคนนะ ถ้าใครไม่แยก ทุกคนก็จะถามหาจนเจอและต้องรื้อขยะขึ้นมา แยกใหม่ (ทำ�หน้าเหม็น) จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และน่าอายมาก opnmnd – ถ้างั้นเวลาไปเจอคนทิ้งขยะไม่ถูกที่ ในที่สาธารณะ จะทำ�ยังไง ไปเตือนเค้ามั้ย นิเค่อะ – คงไม่ทำ�อะไรแบบนั้นหรอก เพราะเค้า โตกว่าก็ไม่กล้าไปบอกเค้าหรอก แต่ถ้ามีขยะบน พื้นแล้วอยู่ไม่ไกลตัวมากก็จะหยิบไปทิ้ง opnmnd – แล้วถ้าไกล? นิเค่อะ – ถ้าไกลก็จะไม่หยิบไปทิ้ง (หัวเราะ) การสนทนากับน้องนิเค่อะเป็นไปอย่าง สนุกสนาน พวกเรายิ้มตลอดเวลาในขณะ สัมภาษณ์ เพราะคำ�ตอบและการเล่าเรื่องได้ อย่างน่ารัก มีความคิดความอ่านที่เต็มไปด้วย จิตสำ�นึกของน้อง เราจึงสนใจที่จะคุยกับผู้ที่อยู่ เบื้องหลัง คือ คุณแม่โมนิก้า จากการได้สนทนา กัน สิ่งที่พวกเราเชื่อว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่ควรเอา เยี่ยงอย่างนอกเหนือจากการแยกขยะแล้ว ก็คือ การพยายามสร้างขยะให้น้อยที่สุด ครอบครัวนี้ คำ�นึงถึงจำ�นวนขยะและสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการ กระทำ�ของตนเอง แม้กระทั่งเรื่องง่ายๆ ทั่วไป อย่างเสื้อผ้า หรือผลิตภัณฑ์อำ�นวยความสะดวก ในชีวิตประจำ�วัน opnmnd - ที่เราคุยกันเมื่อครู่นี้ เรื่องการลด จำ�นวนขยะ คุณพอจะเล่ารายละเอียดได้ไหม ว่าเป็นอย่างไร โมนิก้า – ยกตัวอย่างเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย พวกเราให้ความสำ�คัญในการเลือกวัตถุดิบว่า ทำ�มาจากอะไร เราใช้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ทำ� จากผ้าฝ้าย เพราะกำ�จัดง่าย และลดการทำ�ลาย สิ่งแวดล้อม เราเลี่ยงที่จะใช้ผลิตภัณฑ์จาก พลาสติก หรือสารสังเคราะห์ ใช้กระเป๋าที่ทำ�จาก ผ้าหรือหนังสัตว์ และที่สำ�คัญเราเลือกซื้อของ คุณภาพดีและไม่จำ�เป็นต้องมียี่ห้อ เพราะว่าเรา 70

ใช้ของสิ่งนั้นได้นานไม่ต้องซื้อใหม่บ่อยๆ เอา จริงๆ แล้วถ้าเราซื้อของที่ไม่มีคุณภาพ มันจะพัง เร็ว ใช้ได้ไม่นานก็ต้องทิ้ง เป็นการเพิ่มขยะเสีย เปล่าๆ และการซื้อใหม่บ่อยๆ ไปๆ มาๆ แล้วก็ ต้องจ่ายเงินเท่ากันอยู่ดี Opnmnd – (สมแล้วที่เป็นเยอรมันช่างอธิบาย) สิ่งที่คุณพูดมาน่าสนใจมาก แต่ฟังดูแล้วชีวิต ไม่เครียดไปหน่อยเหรอ (หัวเราะ..)

ถ้าใครไม่แยก ทุกคนก็จะถามหา จนเจอและต้องรื้อ ขยะขึน้ มาแยกใหม่

ทุกคนควรจะทำ�หน้าที่ชาวโลกที่ดี (หัวเราะ) เริ่ม ที่ตัวเรา ที่ครอบครัว เพื่อนฝูง สังคม และออก ไปเป็นระดับชาติ เราควรจะมองว่ามันคือปัญหา ของโลก ไม่ใช่แค่ของตัวบุคคลหรือประเทศ เท่านั้น จบการสนทนาอย่างน่าทึ่ง บุคคลธรรมดาคน หน่​่ึงคิดอย่างจริงจังที่จะช่วยสังคมและรักษา โลกได้ขนาดนี้ และสิ่งเหล่านี้ก็จะซึมซับไปสู่คน รุ่นต่อๆ ไป ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเขาให้ความสำ�คัญ ในการปลูกฝังเด็กๆ ให้มีจิตสำ�นึกและความ รับผิดชอบต่อส่วนรวม รักสิ่งแวดล้อม รู้จักทิ้ง ขยะลงถังและแยกประเภทของขยะกันตั้งแต่ ชั้นอนุบาล ทั้งผู้ปกครองและครูที่โรงเรียนต่าง มีบทบาทสำ�คัญในการปลูกฝังจิตสำ�นึก และ ฝึกฝนให้เด็กมีวินัยในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ที่มีต่อครอบครัวและสังคม โดยที่บ้านนั้นพ่อแม่ จะทำ�ให้เห็นเป็นตัวอย่าง บอกและวางกฎกติกา ให้ลูกๆ ปฏิบัติตาม เมื่อทุกคนในครอบครัว ปฏิบัติ ทุกครอบครัวในสังคมปฏิบัติ จึงนำ�ไปสู่ ความสำ�เร็จระดับชาติ คำ�ถามที่ตามมาคือ เมื่อ ทำ�ให้คนในสังคมมีความรับผิดชอบที่จะแยกทิ้ง

โมนิก้า – (หัวเราะ) ก็ไม่เครียดขนาดนั้นหรอก แต่ถ้าเราลองมานึกดู สิ่งแย่ๆ ที่จะเกิดขึ้นตาม มาหรือกระทบกับโลก น่าเครียดกว่านะ เราควร คำ�นึงถึงต้นทุนของมันจริงๆ ของถูกก็ไม่ใช่ว่า จะเป็นทางออกที่ดีเสมอไป มันมีมูลค่าที่เรามอง ไม่เห็นอยู่ในนั้นด้วย เช่น ถ้าซื้อของยี่ห้อที่ผลิต ในประเทศ อาจจะแพงกว่าของนำ�เข้า แต่ก็จะ ลดการเดินทาง และการขนส่งที่จะสร้างมลภาวะ ให้กับโลก หรือการใช้แรงงานเด็ก (บลา บลา บลา...) มันก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่ละประเทศก็ ไม่เหมือนกัน อาจจะดีในแง่เศรษฐกิจ แต่พวก เราก็ควรจะตระหนักถึงเรื่องนี้และช่วยกันคิดหา หนทางด้วย opnmnd – อืมมม จริงยิ่งกว่าจริง แล้วคิดยัง ไงกับประเทศที่ยังไม่มีการแยกขยะอย่างจริงจัง อยากจะบอกอะไรกับพวกเขาไหม ขยะตามประเภทได้แล้ว ขยะเหล่านั้นไปไหน รัฐ โมนิก้า – จริงๆ แล้วเราก็ไม่สามารถทำ�อะไรได้ จัดการอย่างไรกับขยะแต่ละประเภท ข้อเท็จจริง มาก เพราะมันมีอยู่หลายปัจจัยในแต่ละประเทศ ตรงส่วนนี้คิดว่าหลายคนคงอยากรู้เช่นกัน

เราควรจะมอง ว่ามันคือปัญหา ของโลก ไม่ใช่แค่ ของตัวบุคคลหรือ ประเทศเท่านั้น


71


ขยะเป็นแหล่งรวมทรัพยากรธรรมชาติที่เรา นำ�มาใช้ในการผลิตสิ่งของต่างๆ เช่น กระป๋อง เครื่องดื่ม ที่ต้องใช้แร่อะลูมิเนียมเป็นวัตถุดิบใน การผลิต ลองคิดเล่นๆ ว่าถ้าแร่นี้หมดลง อะไร เล่าที่เราจะนำ�มันมาใช้ผลิตกระป๋องได้อีก หาก ไม่ใช่กระป๋องที่เพิ่งถูกโยนลงถังขยะไป แนวคิด เช่นนี้ถูกต่อยอดจนกลายเป็นระบบการจัดการ ขยะ โดยเฉพาะในบางประเทศที่มีความเจริญ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างเยอรมนี ไม่ใช่แต่ ด้านยนตกรรมเท่านั้นที่ประเทศนี้พัฒนาไปอย่าง รุดหน้า ในด้านการจัดการและกำ�จัดขยะนั้น เยอรมนีมีศักยภาพเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ย้อนกลับไปในยุคที่ยังไม่มีการจัดการขยะ อย่างเป็นรูปแบบ ขยะในเยอรมนีถูกนำ�ไปกอง รวมๆ กันในสถานที่หนึ่ง ทับถมจนเน่าเหม็น เป็นที่เพาะเชื้อโรคชั้นดี จากกองขยะสู่สัตว์ที่ เป็นพาหะนำ�โรค สู่คน และคร่าชีวิตคนเหล่านั้น ในที่สุด เช่นในช่วงปีค.ศ. 1831 – 1873 ในดิน 72

ลองคิดเล่นๆ ว่า ถ้าแร่นี้หมดลง อะไรเล่าที่เราจะ นำ�มันมาใช้ผลิต กระป๋องได้อีก? หากไม่ใช่กระป๋อง ที่เพิ่งถูกโยนลงถัง

แดนปรัสเซีย (Prussia - ปัจจุบันคือตอนเหนือ ของเยอรมนี) เกิดอหิวาตกโรคระบาด มีผู้เสีย ชีวิตกว่า 380,000 คน จึงเป็นผลให้มีการสร้าง เตาเผาขยะแห่งแรกขึ้นโดยนำ�เทคโนโลยีมาจาก ประเทศอังกฤษ แต่เนื่องด้วยส่วนประกอบของ ขยะต่างกัน ประสิทธิภาพการเผาขยะจึงยังไม่ ดีเพียงพอ ต่อมาที่ฮัมบวร์ก ในปีค.ศ. 1892 นํ้า ที่ปนเปื้อนขยะถูกสูบเข้าไปในระบบประปาของ เมือง ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อุปโภคและ บริโภคนํ้า เรื่องเหล่านี้เป็นต้นเหตุสำ�คัญให้เกิด ระบบการจัดการและกำ�จัดขยะ เยอรมนีเริ่ม การจัดการขยะอย่างมีแบบแผนในช่วงปีค.ศ. 1960 โดยเริ่มจากการตรากฏหมายการทิ้งขยะ และกำ�จัดอย่างถูกวิธี และตั้งสำ�นักงานกลาง ดูแลการกำ�จัดขยะ จนกระทั่งในราวปลายค.ศ. 1960 ยุคที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ปริมาณขยะเพิ่ม ขึ้นตามความมั่งคั่งของประเทศ ถึงแม้ในเวลา นั้นเยอรมนีจะมีสถานที่ทิ้งขยะรวม 50,000 ที่


ลานฝังกลบขยะ 130 แห่ง โรงงานผลิตปุ๋ยหมัก จากขยะ 16 แห่ง และเตาเผาขยะอีก 30 แห่ง ก็ ยังไม่สามารถรองรับปริมาณขยะที่ถูกสร้างขึ้น ได้ทั้งหมด รัฐบาลจึงออกกฎหมายใหม่สำ�หรับ การหลีกเลี่ยงการสร้างขยะและการกำ�จัดขยะ มี ผลบังคับใช้ในปีค.ศ.1972 ซึ่งเป็นกฎหมายตัว สำ�คัญที่ทำ�ให้การจัดการและการกำ�จัดขยะมี ประสิทธิภาพ ทั้งเรื่องของการลดปริมาณขยะ การนำ�ขยะกลับเข้าสู่กระบวนการต่างๆ เพื่อนำ� วัตถุดิบหรือพลังงานจากขยะกลับมาใช้ และการ กำ�จัดขยะที่ไม่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่ กระบวนการนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นกัน ขยะในเยอรมนีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ขยะที่สามารถนำ�กลับมาใช้ประโยชน์ได้ อีก (recyclable waste) และขยะที่ไม่สามารถ นำ�กลับมาใช้ได้ (Nonrecyclable waste) ทั้ง สองประเภทนี้จะมีวิธีจัดการต่างกันไป ขยะที่นำ�

ด้วยเทคโนโลยีใน ปัจจุบัน กระดาษ รีไซเคิลมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับ และผู้บริโภคก็ หันมาใช้กระดาษ เหล่านี้มากขึ้น

กลับมาใช้ใหม่ได้ แบ่งออกเป็น กระดาษ โลหะ พลาสติก แก้ว และขยะชีวภาพ (เศษอาหารและ ขยะจากสวน) กระดาษต่างๆ จะถูกรวบรวมเข้าสู่กระบวนการ ผลิตกระดาษอีกครั้ง โดยนำ�กระดาษไปปั่นรวม กันในถัง จากนั้นแยกนํ้าหมึกออกด้วยการใส่ สารซักฟอกและแรงดันอากาศ หมึกจะลอยตัว ขึ้นมาแยกตัวออกจากเส้นใยกระดาษ หลังจาก นั้นเส้นใยจะถูกนำ�ไปขึ้นรูปอีกเหมือนกับการ ผลิตกระดาษทั่วไป ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน กระดาษรีไซเคิลมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ และ ผู้บริโภคก็หันมาใช้กระดาษเหล่านี้มากขึ้น ถึง แม้ทุกครั้งที่กระดาษผ่านกระบวนการรีไซเคิล เส้นใยของกระดาษจะสั้นลงเนื่องจากกรรมวิธี การปั่น แต่กระบวนการผลิตก็ใช้สารเคมีน้อย ลงกว่ากระดาษที่ผลิตใหม่ และแน่นอนว่าลด ปริมาณการตัดไม้ลงได้ไม่มากก็น้อย อีกทั้งยังมี ของเสียนํ้าเสียจากกระบวนการผลิตน้อยกว่า 73


กระดาษใหม

กระดาษ recycle

BOD

มากกวา 120 kg/ตัน

0-7 kg/ตัน

COD

มากกวา to 300 kg/ตัน

0-15 kg/ตัน

SO2

25-130 kg/ตัน

0 kg/ตัน

ปริมาณนํ้าในการผลิต

100-300 m³/ตัน

1-2 m³/ตัน

โลหะและพลาสติกจะต้องทิ้งแยกออกไป เป็นที่ รู้กันว่าต้องแยกใส่ลงไปในถุงสีเหลืองและมีเวลา จัดเก็บตามกำ�หนด หลักง่ายๆ ในการทิ้งสิ่งของ ลงถุงสีเหลืองคือสัญลักษณ์ Green Dot ซึ่งมี อยู่ตามบรรจุภัณฑ์ต่างๆ หลังจากกระบวนการคัดแยก อะลูมิเนียมจะถูก บด และแม่เหล็กจะดูดเอาโลหะออกจากระบบ จากนั้นอะลูมิเนียมก็จะถูกฆ่าเชื้อ ทำ�ความ สะอาดด้วยความร้อน แล้วนำ�ไปหลอมเพื่อขึ้น รูปใหม่อีกครั้ง แต่เนื่องจากขยะบางชนิดเช่น กระป๋อง จะถูกเคลือบด้วยสีหรือพลาสติก ทำ�ให้ ต้องมีกระบวนการเพิ่มเติมเพื่อนำ�สิ่งปนเปื้อน ออก หากนำ�ออกไม่หมดก็จะทำ�ให้คุณภาพของ อะลูมิเนียมลดลง การรีไซเคิลโลหะจะสามารถนำ�ทั้งตัวโลหะชนิด นั้นๆ และสารที่ถูกเคลือบหรือใส่เพิ่มมาในตัว โลหะกลับมาใช้ได้ ในเยอรมนีมีโรงงานผลิต เหล็กเส้นที่รับซื้อเศษเหล็กจากพื้นที่ต่างๆ นำ�ไป หลอมออกมาเป็นเหล็กเส้นแบบต่างๆ ตามความ ต้องการของลูกค้า แต่ปัญหาคือโลหะอื่นๆ ที่ปน มากับเนื้อเหล็กนั้นจะทำ�ให้เหล็กเปราะง่าย 74

พลาสติกชนิดต่างๆในท้องตลาด PE PP PS PUR PVC PET

โพลีเอธีลีน Polyethylene โพลีโพรพีลีน Polypropylene โพลีสไตรีน Polystyrene โพลียูเรเธน Polyurethane โพลีไวนิลคลอไรด์ Polyvinylchloride โพลีเอธีลีน เทเรฟธาเลต Polyethylene terephthalate

เนื่องจากคุณภาพของพลาสติกที่ดีขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของ พลาสติกที่นำ�กลับเข้าไปหลอมในกระบวนการผลิต เราจึงจำ�เป็นต้อง แยกประเภทของพลาสติกตามรายการข้างต้นก่อนเข้าสู่กระบวนการ พลาสติกคุณภาพตํ่าหากนำ�ไปหลอมใหม่ เราก็ยังสามารถใช้ผลิต สิ่งของบางอย่างได้เช่น ม้านั่งในสวน


อีกระบบที่คุ้นเคยกันดีสำ�หรับการซื้อเครื่อง ดื่มในเยอรมนี คือระบบการคืนขวดหรือ กระป๋อง ระบบนี้เราจะได้รับเงินคืนเมื่อนำ�ขวด หรือกระป๋องเปล่าไปคืนที่ร้านค้าหรือตู้คืนขวด อัตโนมัติ ซึ่งบนขวดต้องมีสัญลักษณ์ ราคาของขวดหรือกระป๋องเปล่านั้นต่างกันไป ตามชนิดของวัตถุดิบที่นำ�มาผลิต ขวดและ กระป๋องจะถูกส่งไปที่ศูนย์รีไซเคิลในแต่ละพื้นที่ ก่อนผ่านกระบวนการเพื่อนำ�กลับมาใช้ใหม่ ที่ จริงแล้วระบบนี้ไม่ได้จัดอยู่ในการจัดการขยะ โดยตรง แต่มีผลเกี่ยวเนื่องในการลดปริมาณ ขยะ โดยเฉพาะขยะในถุงเหลืองและขยะแก้ว บางครั้งเราก็จะเห็นตู้ทิ้งขยะใหญ่สามตู้อยู่ตาม มุมถนน แต่ละตู้ระบุไว้ว่า แก้วสีเขียว แก้วสีชา และแก้วใส ทำ�ไมต้อง 3 สี? ก็เพราะว่าสารที่ใส่ ลงไปในการผลิตแก้วแต่ละสีนั้นแตกต่างกัน ขึ้น อยู่กับการใช้งานของแก้ว และส่งผลถึงราคาของ แก้วที่ถูกซื้อกลับไปโดยโรงงาน แก้วใสราคา 45 ยูโรต่อตัน และแก้วที่มีสีราคาประมาณ 10-20 ยูโรต่อตัน ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อกระบวนการ รีไซเคิล จึงควรแยกประเภทของแก้วก่อนทิ้ง การแยกนั้นก็เพียงแค่ทิ้งแก้วลงในตู้ที่ระบุสี

ระบบการคืน ขวดหรือกระป๋อง ระบบนี้เราจะได้รับ เงินคืนเมื่อนำ�ขวด หรือกระป๋องเปล่า ไปคืนที่ร้านค้าหรือ ตู้คืนขวดอัตโนมัติ

นั้นๆ ไว้ หากมีแก้วสีอื่นๆ นอกจากที่ระบุก็ให้ทิ้ง ลงไปในตู้แก้วสีเขียว แก้วแต่ละสีจะถูกนำ�กลับ เข้าสู่การผลิตอีกครั้ง เริ่มต้นด้วยการบด จาก นั้นก็แยกสิ่งปนเปื้อนที่เป็นโลหะออกไปและนำ� ไปคัดแยก หากชิ้นไหนใหญ่เกินไปก็จะถูกนำ�ไป บดอีกครั้ง แก้วที่ผ่านการคัดขนาดจะถูกนำ�ไป หลอมและขึ้นรูปใหม่ ขยะชีวภาพ คงมีคนสงสัยว่าทำ�ไมมันถึงเป็น ขยะรีไซเคิลได้ คำ�ตอบก็คือมันสามารถนำ�มา ทำ�ปุ๋ยหมัก แต่ขยะชีวภาพที่เรากำ�ลังพูดถึงจะ เน้นเฉพาะไปที่เศษอาหารและเศษต้นไม้ใบหญ้า เวลาทิ้งขยะเหล่านี้จะต้องทิ้งลงถังขยะสีนํ้าตาล โดยที่ทิ้งลงไปแต่ขยะ ส่วนถุงบรรจุขยะจะต้อง แยกทิ้งต่างหาก ทางรัฐจะนำ�ขยะไปรวมกันที่ โรงงานหมักปุ๋ย ผ่านกระบวนการหมักจนได้ ออกมาเป็นปุ๋ยที่เราซื้อมาใส่ดินเวลาที่เราปลูก ต้นไม้ อีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจในการจัดการกับขยะ ชีวภาพก็คือการหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ (ส่วน ใหญ่เป็นก๊าซมีเทน) ที่สามารถนำ�ไปใช้หุงต้มใน ครัวเรือนได้ 75


วัฏจักรของรถและกระบวนการรีไซเคิลจาก “Car Recycling-Europe,” Toyota Motor Marketing Europe (2002) สำ�หรับขยะที่ไม่สามารถนำ�กลับมาใช้ได้ ในที่นี้ ขอพูดถึงขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน โดยทั่วไป แล้วขยะจะถูกทิ้งในถังสีเทาดำ�ที่มีวางอยู่ทั่วไป เจ้าหน้าที่จะเก็บส่งไปยังโรงงานเผาขยะตาม เมืองต่างๆ ขยะมูลฝอยจะถูกเผาที่ความร้อน 800°C ความร้อนที่ได้นำ�ไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งมายังอาคารบ้านเรือน ส่วนก๊าซพิษจากการ เผาจะถูกกำ�จัด และถูกปล่อยออกมาในระดับที่ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ผลพลอยได้จาก การกำ�จัดสารพิษก็คือยิปซั่ม ซึ่งสามารถนำ�ไปใช้ ในการก่อสร้างได้ หากขยะมีส่วนประกอบค่อน ข้างหลากหลาย เช่นมีเศษอาหารปนอยู่กับขยะ ทั่วไป จะใช้กระบวนการ Biological mechanical treatment process เพื่อแปรรูปเป็นเชื้อ เพลิง (refuse derived fuel) ส่วนการกำ�จัดขยะ แบบฝังกลบในเยอรมนีได้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ ปีค.ศ. 2005 เนื่องจากการเสื่อมสลายของพื้นที่ และเกิดสารพิษจากการฝังกลบ ซึ่งถือเป็นการ จัดการขยะที่ไม่ยั่งยืน เพราะการฝังกลบขยะ 76

ขยะมูลฝอยจะถูก เผาที่ความร้อน 800°C ความร้อน ที่ได้นำ�ไปใช้ผลิต กระแสไฟฟ้า ส่งมายังอาคาร บ้านเรือน

ลงไปในพื้นดินที่อากาศน้อย จะทำ�ให้จุลินทรีย์ บางชนิดเจริญเติบโตและเกิดก๊าซชีวภาพ ซึ่งถ้า ปล่อยไว้จะเป็นอันตราย ดังนั้นลานฝังที่ยังเกิด ก๊าซอยู่จะมีบ่อสูบก๊าซกระจายอยู่ในลานฝังกลบ เพื่อสูบก๊าซมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ขยะชิ้นใหญ่เช่นเฟอร์นิเจอร์ เราสามารถนำ�ไป ทิ้งในสถานที่ที่ทางรัฐจัดเตรียมไว้ให้หรือเรียก เจ้าหน้าที่มาเก็บไป ขยะจะถูกแยกชิ้นส่วนตาม ประเภทของวัสดุที่ใช้ เพื่อนำ�สิ่งเหล่านั้นมา แปรรูปหรือนำ�กลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ ต่อไป ในเยอรมนี รถยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน หรือ มีค่าซ่อมบำ�รุงสูงจนไม่คุ้มกับมูลค่าของตัว รถแล้ว จะต้องนำ�ไปทำ�ลายอย่างถูกวิธี โดย ผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อให้วัสดุที่เป็นส่วน ประกอบของตัวรถสามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดได้


การรีไซเคิลรถยนต์นั้นมีขั้นตอนที่ซับซ้อน เนื่องจากตัวรถยนต์เองประกอบขึ้นจากวัสดุ หลายอย่างได้แก่ โลหะ พลาสติก ยาง กระจก รวมไปถึงอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งมีวิธี การรีไซเคิลต่างกันไป ขั้นตอนหลักๆ ในการ รีไซเคิลรถยนต์เริ่มต้นจากการแยกชิ้นส่วน โดย ชิ้นส่วนที่ไม่ใช่โลหะจะถูกถอดออกจากตัวรถ เพื่อนำ�ไปขายเป็นอะไหล่ หรือนำ�ไปใช้ประโยชน์ ต่อไป ส่วนชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น ยาง และพลาสติก ก็จะถูกแยกออกมาเพื่อนำ�ไปรีไซเคิลในขั้นตอน นี้เช่นกัน ต่อมาคือการแยกของเหลวต่างๆออก จากตัวรถ เช่น นํ้ามันหล่อลื่น นํ้ามันเชื้อเพลิง และนํ้ายาต่างๆ เพื่อนำ�ไปกำ�จัดอย่างถูกวิธีต่อ ไป จากนั้นจะนำ�ตัวรถไปเข้าเครื่องบีบอัดให้ออก มาเป็นซากรถที่มีขนาดเล็กลง เพื่อความสะดวก ในการขนส่งต่อไป ซากรถเหล่านี้จะถูกส่งไปยัง ประเทศจีนหรือประเทศในทวีปแอฟริกา จากนั้น ซากรถจะถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อหลอมโลหะ บางส่วนกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดย

โลหะส่วนที่เหลือก็จะถูกฝังกลบต่อไป สาเหตุหลักที่เยอรมนีหรือหลายๆ ประเทศ ในยุโรปไม่รีไซเคิลโลหะจากรถยนต์เองนั้น เนื่องจากพลังงานมหาศาลที่ต้องใช้ในการหลอม โลหะนั้นราคาแพงกว่าในหลายประเทศ อีกทั้ง ค่าจ้างแรงงานก็สูง นอกจากนั้น การทำ�ลายขยะ ที่ไม่สามารถนำ�กลับมารีไซเคิลได้ ก็ยังมีค่าใช้ จ่ายสูงกว่าอีกด้วย ในปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิต รถยนต์ส่วนใหญ่ มีบริการนำ�รถยนต์เก่าของ ลูกค้าไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และยังมีบริษัทเอกชนอีกมากที่ให้บริการรีไซเคิล รถยนต์เก่า เมื่อต้นปีค.ศ. 2009 รัฐบาลเยอรมนีประกาศเริ่ม ใช้แผนการจัดการรถเก่า โดยจ่ายเงิน 2,500 ยูโร หรือประมาณ 100,000 บาท ให้กับเจ้าของรถที่ นำ�รถที่ใช้แล้วมากกว่า 9 ปีเข้าร่วม เพื่อซื้อรถ ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเจ้าของรถก็ จะได้รับการยกเว้นค่าภาษีการใช้ถนนเป็นเวลา

บริษัทผู้ผลิต รถยนต์ส่วนใหญ่ มีบริการนำ�รถยนต์ เก่าของลูกค้าไป รีไซเคิลอย่างถูกวิธี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 77


อย่างน้อย 1 ปี แผนการนี้ยังเป็นที่สนใจจาก ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน ทางด้านผู้ผลิตรถในเยอรมนีทั้ง BMW และ VW ก็มีโครงการออกแบบและผลิตรถรุ่น ใหม่ๆ โดยใช้วัสดุที่สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ ได้ รวมไปถึงการระบุเครื่องหมายหรือรหัส สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของวัสดุนั้นๆ ตาม มาตรฐาน เพื่อง่ายต่อการแยกประเภทและส่ง เข้ากระบวนการรีไซเคิลต่อไป ขยะอันตรายตามบ้านเรือน เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟนีออน และอื่นๆ สามารถนำ�ไปทิ้งใน สถานที่ที่จัดเตรียมไว้ เช่นในร้านขายของจะมี กล่องเก็บรวบรวมสิ่งของเหล่านี้ การกำ�จัดขยะ อันตรายในเยอรมนีมีอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ การ เผาในอุณหภูมิสูง (ประมาณ 1200°C) การทำ� ปฎิกิริยาเคมี และการเก็บไว้ใต้ดินในเหมือง เกลือ ลึกลงไปใต้ชั้นหิน ซึ่งเป็นชั้นของแข็งที่ไม่ สามารถทำ�ปฏิกิริยาได้อีก 78

จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่าการจัดการขยะ ในเยอรมนีนั้นรัดกุมและมีประสิทธิภาพ ทั้งใน แง่ของวัสดุที่สามารถนำ�ขยะกลับมาแปรรูปหรือ ใช้ใหม่ และในแง่ของพลังงานที่เปลี่ยนขยะให้ นำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ โดยที่วิธีการจัดการต่างๆ นั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก การ คัดแยกประเภทขยะของที่นี่ ส่งผลให้วัสดุที่ได้ จากการรีไซเคิลมีคุณภาพดี และลดขั้นตอนบาง อย่างซึ่งช่วยลดต้นทุนในการรีไซเคิล เพราะยิ่ง แยกประเภทของขยะได้มากเท่าไหร่ คุณภาพ วัสดุที่เรานำ�กลับมาใช้ก็จะดีขึ้นไปด้วย แต่สิ่ง หนึ่งที่ควรตระหนักด้วยก็คือการลดคุณภาพลง (Down-cycling) ในแต่ละครั้งที่เรานำ�วัสดุกลับ มาสู่กระบวนการผลิตและใช้ใหม่ จนกระทั่งของ เหล่านั้นไม่คุ้มค่ากับการนำ�กลับมาใช้อีก แต่ เยอรมนีก็มีอีกหลายวิธีที่จะส่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ กลับคืนสู่ธรรมชาติด้วยผลกระทบที่น้อยมาก หากเทียบกับอีกหลายๆ ประเทศ นอกเหนือ จากระบบการจัดการที่ดีแล้ว ภาคประชาชน

ยิ่งแยกประเภท ของขยะได้มาก เท่าไหร่ คุณภาพ วัสดุที่เรานำ�กลับ มาใช้ก็จะดีขึ้นไป ด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่ ควรตระหนักก็คือ การลดคุณภาพลง


ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเพราะ สมัครใจหรือกฏหมายบังคับก็ตามแต่ ซึ่งเห็นได้ จากปริมาณขยะที่ต้องกำ�จัดลดลงตั้งแต่ปีค.ศ. 1990 และมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อยๆ จะบอก ว่าระบบการรีไซเคิล และการหมุนเวียนขยะไป ใช้ประโยชน์ในประเทศนี้ประสบความสำ�เร็จ ก็ คงจะไม่ผิด ข้อเท็จจริงเรื่องปริมาณขยะจากครัวเรือน ร้านค้า และโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงกระบวนการ กำ�จัดขยะประเภทต่างๆ และการแปรรูปขยะเพื่อ นำ�กลับมาใช้ใหม่นั้น ถูกถ่ายทอดเป็นสารคดี โทรทัศน์บ่อยๆ โดยเน้นยํ้าให้เห็นปริมาณ มหาศาลของขยะทุกประเภทที่เข้าสู่โรงงานกำ�จัด ขยะต่อวัน นำ�เสนอเรื่องกระบวนการกำ�จัดขยะ โดยการเผา และผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเตือนใจให้ผู้บริโภครู้จักใช้สิ่งต่างๆ อย่างคุ้ม ค่าที่สุดก่อนโยนทิ้ง รวมไปถึงภาพการนำ�ขยะ ชีวภาพมาผลิตเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม และกระบวนการแปรรูปขยะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

เพื่อนำ�กลับมาใช้ใหม่นั้น ก็ยังแสดงถึงความ เอาจริงเอาจังของภาครัฐ ซึ่งจะส่งเสริมให้ ประชาชนช่วยกันแยกประเภทขยะให้ถูกต้องอีก ด้วย เยอรมนีประสบความสำ�เร็จสูงสุดในการ จัดการสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องการแยกขยะ ด้วยปัจจัยหลักสองประการ ประการแรกเป็น ปัจจัยภายในตั้งแต่ระดับบุคคล คือ ประชาชน ทุกคนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม มีการปลูกจิตสำ�นึกรักสิ่งแวดล้อม และสอนเรื่องการแยกขยะตั้งแต่วัยเด็ก โดยเริ่ม ต้นจากในครอบครัว เป็นการสอนจาก รุ่นสู่รุ่น จากพ่อแม่สู่ลูก ซึ่งเป็นกระบวนการที่ ยั่งยืน เพราะครอบครัวนั้นแม้จะเป็นหน่วยที่ เล็กที่สุดแต่ก็เป็นรากฐานที่สำ�คัญของสังคม อีก ทั้งภาคอุตสาหกรรมก็ตระหนักถึงความจำ�เป็น ในการกำ�จัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลด ต้นทุนการผลิต และเพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมน้อยที่สุด อันเป็นกระจกสะท้อนภาพ ลักษณ์ขององค์กร ประการที่สองคือบทบาท

ของภาครัฐในการออกกฎหมายควมคุมการคัด แยก จัดเก็บ และกำ�จัดขยะ รวมถึงการบังคับใช้ กฎหมายอันทรงประสิทธิภาพ การให้ความรู้แก่ ประชาชน เพื่อให้เห็นความสำ�คัญของการแยก ขยะ ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิด จากการเผากำ�จัดขยะมูลรวม และผลประโยชน์ ที่จะได้รับจากการนำ�ขยะกลับมาใช้ใหม่ เรื่องราวต่างๆ จากเยอรมนีเหล่านี้ คงทำ�ให้ ท่านผู้อ่านเห็นภาพวงจรการดูแลจัดการขยะที่ สมบูรณ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แม้ว่าหลายๆ เรื่อง อาจ จะดูเกินกำ�ลังของเราที่จะทำ�ได้โดยลำ�พังคน เดียว แต่หากทุกคนร่วมมือกันทั้งครอบครัว ทั้ง สังคม ระบบในฝันเช่นนี้ก็จะสำ�เร็จได้โดยง่าย นอกจากการจัดการขยะที่เกิดขึ้นไม่ให้ล้นโลก จนเกินรับแล้ว การสร้างขยะให้น้อยลงก็เป็นอีก ทางออกที่เราทุกคนทำ�ได้ง่ายๆ เช่นเดียวกัน ขอ เพียงหยุดคิดสักนิดก่อนซื้อ หยุดดูสักหน่อย ก่อนทิ้ง และพยายามใช้ทุกสิ่งให้คุ้มค่าที่สุด ก็ ช่วยโลกใบนี้ของเราให้อยู่ต่อไปได้อีกนาน 79


ทำ�มะ?

โดย เอกชัย ทวินันท์ และ พรรณพร อัชวรานนท์

“ทำ�บุญ” คำ�กริยาง่ายๆ ที่เราประสบพบเจอ เกือบจะทุกบริบทในสังคมไทย อีกทั้งยังเป็น คำ�ที่ชาวพุทธหลายๆ คนคุ้นเคยมาแต่ไหนแต่ ไร เพราะคำ�สั้นๆ นี้สามารถก่อให้เกิดความสุข และความอิ่มเอิบใจได้อย่างง่ายดาย ทั้งผู้ให้และ ผู้รับ อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ในปัจจุบัน โลกได้ ก้าวไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์ แน่นอนว่าความหมาย และโอกาสในการทำ�บุญจึงผันแปรไปตามยุค สมัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากแต่ก่อนอาจจะ จำ�กัดอยู่แค่การทำ�บุญให้พระสงฆ์องค์เจ้าใน วัดต่างๆ เป็นต้น หากแต่ในปัจจุบัน การทำ�บุญ สามารถกระทำ�ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับความสะดวกและความตั้งใจของแต่ละ บุคคล คอลัมน์ “ทำ�มะ?” นี้ จึงอยากเปิดโอกาส 80

ให้หลายๆ คนมีทางเลือกที่ตนเองสนใจในการ ทำ�บุญ นอกเหนือจากการ “คิดดี ทำ�ดี พูดดี” กิจกรรมหนึ่งที่เพื่อนๆ ส่วนหนึ่งในแคว้น บาเดน-เวือร์ทเทมแบร์ก (Baden-Württemberg) ร่วมกันทำ�ขึ้นมา คือกิจกรรมของกลุ่ม บริจาค เป้าหมายของการรวมกลุ่มเมื่อ 12 ปี ก่อน คือการอยากมีส่วนร่วมในการให้โอกาส ทางการศึกษาของเด็กนักเรียนในเมืองไทย จน ได้พัฒนาเป็นสมาคมบริจาคเมื่อสองปีที่ผ่านมา กิจกรรมที่เราทำ�ก็เช่น อาสาสมัครช่วยงานกงสุล สัญจรในเมืองต่างๆ ในแคว้นบาเดนเวือร์ทเทมแบร์ก โดยช่วยดูแลเรื่องการจัด เอกสารและเขียนคำ�ร้องติดต่อทำ�นิติกรรมต่างๆ เนื่องจากเจ้าหน้าที่สถานทูตและสถานกงสุลมี

จำ�นวนน้อย และผู้มาติดต่อหลายคนเขียนภาษา ไทยได้ไม่คล่อง เราจึงเข้าไปช่วยตรงจุดนี้ พร้อม กันนั้นเราก็ประชาสัมพันธ์กลุ่มบริจาคของเราไป ด้วย และก็ได้เงินบริจาคมามากบ้างน้อยบ้าง อีก กิจกรรมหนึ่งคือการขายของที่ตลาดนัดขายของ เก่า (Flohmarkt) ซึ่งของที่นำ�มาขายก็เป็นของ ที่เพื่อนๆ เราทั้งหลายไม่ใช้แล้ว กิจกรรมเหล่านี้ เราพยายามช่วยกันทำ�ในช่วงเวลาว่างเพื่อไม่ให้ กระทบกับการเรียนกันมากนัก ก่อนหน้านี้เราก็ มีกิจกรรมอื่นๆ อีก อย่างงานคอนเสิร์ตที่ไม่ได้ ทำ�มาหลายปีแล้ว งานประมูลของหารายได้เข้า กลุ่ม เพื่อนำ�รายได้ส่งไปให้แก่น้องๆ ผ่านทาง มูลนิธิด้านการศึกษาที่เมืองไทยต่อไป ในปีที่ผ่านมา สมาคมบริจาคได้บริจาคเงินช่วย


"การทำ�ดีจึงป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่เข้าถึงยากเนื่องจากมุมมองที่ แตกต่างกันออกไป การทำ�ดีโดยให้เราสบายใจ ดูจะเป็นอะไรที่ทำ�ได้ง่ายที่สุด....."

เหลือโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ที่ ประสบภัยนํ้าท่วมใหญ่ เพื่อให้ทางโรงเรียนนำ�ไป ใช้ประโยชน์ในการฟื้นฟูโรงเรียน และก่อนหน้า นี้สมาคมบริจาคก็เคยสนับสนุนทุนการศึกษา ให้นักเรียนชั้นมัธยมในประเทศไทย ผ่านทาง มูลนิธิ ดร. เทียม โชควัฒนา น่าเสียใจที่ขณะ นี้มูลนิธิ ดร. เทียม ถูกยุบไปเสียแล้ว แต่ทาง สมาคมก็ยังหาช่องทางอื่นๆ ที่จะสนับสนุน ทุนการศึกษาให้นักเรียนอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้พี่ตู่ - กิตติ คำ�แก้ว ที่อยู่เมืองชตุทท์การ์ท (Stuttgart) เป็นนายกสมาคมบริจาคอยู่

เพื่อนๆ ที่สนใจร่วมกิจกรรม หรือร่วมบริจาค เงินช่วยเหลือ สามารถติดต่อกับพี่ตู่หรือ เพื่อนๆ ที่ทำ�งานสมาคมบริจาคกันได้ที่เฟซบุ๊ค กลุ่มบริจาค https://www.facebook.com/ groups/208041629237312/ ครับ

81


ใหม่&ใหญ่ เด็ก

82


หากใครสนใจในสาขาวิชาของน้องใหม่และน้องใหญ่ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.waste.uni-stuttgart.de/index.php?doc=%2Fhome.html

กแนวแห่งชตุทท์การ์ท โดย พรรณพร อัชวรานนท์

ก้าวที่แตกต่าง

“ก่อนจะทิ้งขยะซักชิ้น พี่เคยคิดมั้ยว่า เราทำ�อะไรลงไปอยู่? แล้วคิดต่อบ้างมั้ย? ว่าจะเกิด ผลกระทบอะไรตามมา จากขยะชิ้นเดียวของเรา?” น้องใหม่.. สาวแนวแห่งเมืองชตุทท์การ์ท (Stuttgart) บุคคลที่ใครๆ มักจะขนานนามในความไม่เหมือนใครของเธอ ถามเราให้(อึ้ง...) คิด ก่อนจะเริ่มบทสนทนาในวันนี้.. เราได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะกับหนุ่มสาวชาวแนวแห่งเมืองชตุทท์การ์ท นั่นคือ น้อง

ใหม่ กิตติยา เอี่ยมทัศนะ และ สุเมธ ขันแก้วผาบ หรือ น้องใหญ่ นั่นเอง ปัจจุบันทั้งสองกำ�ลัง ศึกษาปริญญาโทสาขาหายาก WASTE: Air Quality Control, Solid Waste and Waste Water Process Engineering ที่มหาวิทยาลัยชตุทท์การ์ท โดยสาขาหลักที่ทั้งสองมุ่งเน้นคือ "ขยะ" (Solid Waste) สิ่งที่ดูเหมือนไม่มีค่า หากแต่ถ้าฟังทั้งสองเล่าแล้ว เราแทบจะหันกลับไปมองในถังขยะ ไม่ก็ หยิบขยะแต่ละชิ้นออกมาจ้องกันเลยทีเดียว... "ผมอยากได้ตังค์ครับพี่" เราแอบงงกับประโยคเริ่มต้นของน้องใหญ่ ก่อนจะเขาเริ่มอธิบายกระบวน ความคิดสุดแหวกแนวให้เราฟัง "อะไรที่เราทิ้งมักจะเป็นของที่เราคิดว่าไม่มีค่าแล้วใช่มั้ยพี่? แต่การ เอาคุณค่าจากของที่คนคิดว่าไม่มีค่าอะ ต้นทุนตํ่านะพี่" (เออ... แฮะ คิดได้) น้องใหญ่เล่าให้เราฟังว่าตนเองเลือกเรียนทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปริญญาตรี ที่สถาบัน เทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT: Sirindhorn International Institute of Technology, Thammasat University) แล้วสนใจเรียนต่อปริญญาโทสาขาดังกล่าว เลยค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต พบ 83


"ที่เมืองไทย เราเรียนจากภาพ กราฟ ต อินเตอร์เน็ต เหมือนการเรียนทั่วไป แต สิ่งที่เป็นรูปธรรม เห็นของจริงที่ชัดเจน - น้องใหญ่

ว่าสาขานี้สำ�หรับปริญญาโท มีการเรียนการ สอนในประเทศเยอรมนีแค่ในเมือง ชตุทท์การ์ทเท่านั้น (ของหายากจริง) หนุ่ม ของเราเลยดั้นด้นด้วยความตั้งใจเต็มเปี่ยม มาที่นี่ แล้วก็ไม่ผิดหวัง เพราะน้องใหญ่แจง ว่า สมัยที่เรียนสาขานี้ที่เมืองไทย เราเรียน จากภาพ กราฟ ตารางที่อาจารย์สอนหรือ เห็นในอินเตอร์เน็ต เหมือนการเรียนทั่วไป แต่พอได้มีโอกาสมาเรียนที่นี่ ตนได้เห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม เห็นของจริงที่ชัดเจน เห็นที่มาที่ไป เพราะ มาอยู่ในแหล่งซึ่ง มีเทคโนโลยีที่ดีสนับสนุน ทั้งเป็นแหล่งที่ไม่ ทำ�ไมชาวตะวันตกโดยเฉพาะคน คิดอย่างเดียวแต่ลงมือทำ� ด้วย

เยอรมันถึงสามารถมีระบบการ จัดการขยะได้ดี แต่เราคนไทย กลับไม่มีหรือถ้ามีก็แลดูล้าหลัง

ส่วนน้องใหม่ บอกว่าเธอจบทาง วิศวกรรมเคมี จากสถาบันเดียวกัน กับพี่ใหญ่ หาก แต่เมื่อมีโอกาสคุยกับ รุ่นพี่อีกท่านหนึ่งที่เรียนเกี่ยวกับขยะมาก่อน เธอก็รู้สึก "ถูกจริต" (อย่างบอกไม่ถูก) กับสาขานี้ขึ้น มาเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังสามารถนำ�ความรู้ทางเคมีที่เธอรํ่าเรียน มาใช้ประกอบกันได้ด้วย เธอ กล่าวว่าเมื่อมีโอกาสได้มาเรียนสาขานี้ จากแค่ความสนใจตั้งต้น ก็แปรเปลี่ยนมาเป็น "ใส่ใจ" มากขึ้น พร้อมกับแจงคำ�ถามยอดฮิตที่มักสงสัยกันบ่อย นั่นคือ ทำ�ไมชาวตะวันตกโดยเฉพาะคนเยอรมันถึง สามารถมีระบบการจัดการขยะได้ดี แต่เราคนไทยกลับไม่มี หรือถ้ามีก็แลดูล้าหลัง? เธอตอบ (อย่าง ให้กำ�ลังใจ) ว่าไม่ใช่ว่าเราทำ�ไม่ได้ แต่เราเริ่มช้ากว่าเขาเพราะเรามีช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยเท้าความ ไปตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป เมื่อเขามีการพัฒนาและเริ่มสร้างความเจริญมาก่อนเรา ทรัพยากรก็ถูกใช้ไปมาก บ้านเมืองเริ่มเกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม นํ้าเน่าไปหลายสาย อากาศเป็น พิษมาก่อนเรา ขณะที่ในเวลาเดียวกันเรากำ�ลังเริ่มสร้างตัวเท่านั้น (จริงๆ ก็เริ่มส่งผลกระทบทีละนิด แล้ว) ปัญหาคือเมื่อเริ่มมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้วตามมากระทบชีวิตของมนุษย์แล้ว เราถึงเริ่ม จะหันมาใส่ใจกันมากขึ้น น้องใหญ่ยังเสริมว่าองค์ความรู้เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมของชาวตะวันตกก็เกิดจากความผิดพลาดมาก่อน เขาจึงค่อยเรียนรู้และแก้ไข ซึ่งบ้านเรายังไม่เจอเต็มๆ หรือหาก

84


ตารางที่อาจารย์สอนหรือเห็นใน ต่พอได้มีโอกาสมาเรียนที่นี่ ตนได้เห็น น เห็นที่มาที่ไป"

มีก็เกิดแต่ในบางพื้นที่ คนอื่นๆ ภายนอกก็ไม่ทราบ ไม่ เข้าใจ ไม่ตระหนักในองค์รวม เพราะยังไม่ "โดน" เอง โดยอย่างน้อยก็หวังว่าคนไทยจะตระหนักก่อนที่จะสาย

เกินไปจนแก้ไขไม่ได้ "ไม่รู้ว่าคนที่นี่เขาคิดและทำ�กันได้อย่างไรอะพี่" น้องใหญ่กล่าวอย่างตื่นเต้นระคนแปลกใจระหว่างที่ เราสนทนากันอยู่ "ผมยอมรับในเทคโนโลยีอันเก่งกาจของเขานะ แต่เขาสามารถทำ�ให้ทุกคนมีความ สนใจ มีจิตสำ�นึก มีการออกกฎหมายเป็นเรื่องเป็นราว สามารถเอาไปใช้ต่ออย่างจริงจัง ก่อให้เกิด ระบบที่แข็งแกร่งทั้งประเทศนี้ได้อย่างไร?" น้องใหญ่กล่าวเสริมกรณีนี้ว่า ประเทศเยอรมนียกเลิก การใช้ระบบการทิ้งขยะแบบฝังกลบตั้งแต่ปี 2548 เนื่องจากไม่ถูกสุขลักษณะ แถมยังมีความคิดที่ว่า ขยะต้องนำ�ไปใช้ประโยชน์ในทุกๆ ทางก่อนเอาไปทิ้ง ทำ�ให้หนุ่มของเราหวนคิดไม่ได้ว่า หากบ้านเรามี กฎหมายเช่นนี้จะ เป็นอย่างไร? เอาเข้าสภา ได้ไหม? ความคิดที่ว่าขยะต้องนำ�ไปใช้

ประโยชน์ในทุกๆ ทางก่อนเอา ถึงปัญหาเกี่ยวกับการ เมื่อถามต่อ จัดการขยะใน ไปทิ้ง ทำ�ให้หนุ่มของเราหวนคิด บ้านเรา น้องใหญ่เล่าข้อ สังเกตของตน ว่าคนไทยมักมองว่าขยะ ไม่ ไ ด้ ว า ่ หากบ้ า นเรามี ก ฎหมาย ไม่มีค่า อยาก ทิ้งอะไรก็ทิ้ง อีกอย่างคือ เช่นนี้จะเป็นอย่างไร? ประเทศไทยเป็น ประเทศกำ�ลังพัฒนา ให้ ความสำ�คัญมาก กับการผลิต และการนำ� เข้าเทคโนโลยีเพื่อการผลิต ดังจะเห็นในหลายๆ โรงงานที่ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ แต่เราได้คิดกันบ้าง ไหมว่า การผลิต ก็ย่อมเป็นการสร้างขยะ นอกจากนั้น พวก ISO (International Organization for Standardization) ที่ทำ�กันก็มักเป็นระบบหลอกลวง เพียงแค่อยากให้ลูกค้าเห็น แต่ขยะที่เกิดขึ้น (ซึ่งเอามาใช้ประโยชน์ต่อได้) ไม่มีคนติดตามว่าแท้จริงแล้วเอาไปทำ�อะไรต่อ อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การนำ�ขยะมาแปรรูป ซึ่งสามารถนำ�ไปผลิตไฟฟ้าได้ เมื่อนั้นค่าไฟก็จะถูกลง อย่างไรก็ตามต้องมีการ ลงทุน (ที่สูง) ก่อน ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าเริ่มต้นในจุดนี้และมักมองว่าจะได้อะไรทันที โดยไม่ ค่อยนึกถึงผลที่จะได้ในระยะยาว

85


หันกลับมาที่น้องใหม่ เธอเห็นว่าปัญหาของบ้านเราคือการสร้างขยะและการจัดการขยะนั้น ต้องมี ความสมดุลกัน จริงอยู่ว่าระบบดังกล่าวในบ้านเราพัฒนาอยู่ หากแต่ประสิทธิภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร เวลาที่เราทิ้งอะไร อยากให้คิดว่าเราทิ้งไปมากแค่ไหนแล้ว ต้องสร้างจิตสำ�นึกในเรื่องขยะให้คนไทย มากกว่านี้ รัฐต้องมีความจริงจังในการแก้ปัญหาระยะยาว ต้องแก้ควบคู่ทั้งคนทั้งขยะ ยกตัวอย่าง โครงการหนึ่งที่น่าสนใจคือ คนไทยชอบตามแฟชั่น ตามกระแส เชื่อว่าถ้าแยกขยะเป็นแฟชั่นก็ทำ�ตาม ได้ไม่ยาก น้องใหม่ยังเล่าว่าเทคโนโลยีในทางการจัดการขยะที่ประเทศเยอรมนีเป็นอะไรที่ทำ�แล้วเห็น จริง คิดแล้วทำ� ในขณะที่บ้านเรายังมีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ยกตัวอย่างเช่น ระบบการทิ้งขยะ แบบฝังกลบ ในประเทศไทยควรจะมีการยกเลิกได้แล้ว ทั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจก็ได้กล่าวไว้ หาก แต่ในความเป็นจริง คงจะจัดการได้ยาก เนื่องจากยังมีระบบนี้อยู่มากและยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่าง เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร "ต้องใส่คุณค่าในขยะนะพี่" น้องใหญ่ว่าต่อ พร้อมอธิบายว่า อาจกำ�หนดด้วยตัวเงิน ลองคิดว่าขยะ คือเงิน เมื่อนั้น ใครๆ ก็ไม่กล้าทิ้ง ยก ตัวอย่างเช่นระบบ คืนขวดนํ้าดื่มต่างๆ คนไทยชอบตามแฟชั่น ในประเทศเยอรมนี ซึ่งสามารถกระตุก ตามกระแส เชื อ ่ ว่ า ถ้ า แยกขยะ จิตสำ�นึกของคนได้ พอจะทิ้ง ก็เก็บไว้ก่อน เป็นแฟชั่นก็ทำ�ตามได้ไม่ยาก เงินได้ หรือถ้ามีใคร เพราะแลกกลับเป็น ทิ้งไป ก็ยังมีคนอื่น มาเก็บเอาไปแลกเงิน ต่ออยู่ดี ส่วนมาตรการกับขยะอื่นๆ เป็นแนวที่ว่าคนที่ทิ้งขยะต้องจ่ายเงิน (ค่อนข้างแพง) เพื่อให้คน มาเก็บ หรือถ้าไม่แยกขยะอย่างที่กำ�หนดไว้จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูง แนวคิดหลักๆ ของน้อง ใหญ่ สำ�หรับเอาไปประยุกต์ใช้ในเมืองไทยคือ ต้องเริ่มต้นจากการใส่คุณค่าและจัดการกับคุณค่า (ขยะ) นั้นๆ ก่อน หลังจากนั้น ให้ลองใช้วิธีการจำ�กัดขยะในพื้นที่ตัวอย่าง อาจสร้างเป็นเมือง ชุมชน หรือหมู่บ้านจำ�ลอง โดยลองทำ�อย่างจริงจัง ให้เห็นว่าใช้ได้จริง แล้วดูประโยชน์กับผลที่ได้รับจากการ ทดลองกับการจัดการขยะ น้องใหญ่กล่าวว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่ตนได้รํ่าเรียนมาสามารถเอามาปรับใช้ กับระบบการกำ�จัดขยะในบ้านเราได้แน่นอน หากสิ่งสำ�คัญคือต้องอาศัยคนร่วมมืออย่างน้อย 50% ขึ้นไป ซึ่งสถานการณ์ขยะในประเทศไทยสามารถทำ�ได้เป็นอย่างดี เพราะมีทรัพยากร (ขยะ) เยอะ มาก เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองกินและท่องเที่ยว ขยะที่ถูกทิ้ง สามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ต่อได้มาก (ในการแปรรูปต่อไป) แต่เราไม่ได้เอามาใช้เลย… ย้อนกลับมาเรื่องการเรียน "การจัดการขยะ" ที่ชตุทท์การ์ท น้องใหม่ให้ข้อสังเกตว่า ในช่วงหลังๆ สาขาวิชานี้มักได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติมากขึ้นเรื่อยๆ (มากสุดเรียงลำ�ดับ จีน ลาตินอเมริกา ตามมาด้วยตะวันออกกลางและเอเชียใต้) โดยในแต่ละปี จะมีนักศึกษาประมาณ 30-40 คน แต่ยังไม่ ค่อยพบเห็นคนไทยมาเรียนมากเท่าไหร่ (น่าเสียดายจัง...) ทั้งสองเล่าว่าคนเยอรมันเองก็ให้ความสนใจในการเรียนสาขาวิชาด้านการจัดการขยะเป็นจำ�นวน 86


มาก ทั้งปริญญาตรี โทและเอก ซึ่งที่เมืองชตุทท์การ์ท การเรียนการสอนชั้นปริญญาตรีจะเรียกว่า Umweltschutztechnik เฉกเช่นในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ซึ่งการเรียนสาขานี้หากสนใจจริงและมีความ ตั้งใจจริงจังจะเริ่มตอนไหนก็ได้ สำ�หรับการเรียนปริญญาโทสาขาดังกล่าวที่นี่ จะเรียนเป็นภาษา อังกฤษ ใช้เวลาเรียน 2 ปี (4 เทอม) โดยเทอมแรกจะเรียนเป็นวิชาปูพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรม ทั่วไป (ประมาณว่า Thermodynamics, Mechatronics เป็นต้น) ซึ่งน้องใหญ่เปรียบเทียบให้เรา ฟังว่า ช่วงนี้เสมือนเราไปเรียนปริญญาตรีใหม่ อยู่ประมาณหนึ่งเทอมครึ่ง (ให้พื้นฐานแน่น) จากนั้น ในเทอมสอง จะให้นักศึกษาเลือกเรียนสองจากสามหัวข้อ ซึ่งได้แก่ นํ้าเสีย (Waste Water) อากาศ (Air Quality Control) และ ขยะ (Solid Waste) โดยน้องใหม่ให้ข้อสังเกตเราว่า ส่วนใหญ่นักเรียน (ไทย) จะเลือกเรียนอากาศและขยะมากกว่านํ้าเสีย อาจเพราะทรัพยากรบุคคลทางนํ้าเสียในบ้านเรา มีค่อนข้างมากอยู่แล้ว โดยในเทอมนี้ก็จะมีการเขียนงานส่งเล็กๆ น้อยๆ "เขียนงานโหดมากกกก... นะพี่" น้องใหม่กล่าว "มันงงๆ เหมือนกับ คนเยอรมั น เองก็ ใ ห้ ค วามสนใจ เราเริ่มต้นจากไม่รู้ อะไรเลย จากสมอง ที่ว่างเปล่า" เธอกล่าว ในการเรียนสาขาวิชาด้านการ ว่าอาจเป็นเพราะ การเรียนสาขานี้ที่นี่ เวลาเขียนงานจะไม่ จั ด การขยะเป็ น จำ � นวนมาก ทั ง ้ กำ�หนดกรอบ ค่อน ข้างจะให้อิสระ ส่ง ปริญญาตรี โทและเอก ซึ่งที่ ออกความคิดเห็น เสริมให้นักศึกษาได้ ใหม่ๆ ได้เต็มที่ ใน เมืองชตุทท์การ์ท การเรียนการ เทอมสามจะมีวิชา เรียนน้อยลง แต่จะ เน้นลงลึกในแต่ละ สอนชั น ้ ปริ ญ ญาตรี จ ะเรี ย กว่ า สาขามากขึ้น โดย ระหว่างนี้จะต้องทำ� Independent Studies คือการหาหัวข้อ Umweltschutztechnik ที่น่าสนใจ 2-3 หัวข้อ มาทำ�วิจัยชิ้นเล็กๆ ใช้เวลา 6 เดือน (หนุ่มของเราแอบกระซิบว่าทำ�จริงราวๆ เกือบจะหนึ่งปีทีเดียว) และสุดท้ายคือการ เขียนวิทยานิพนธ์ในเทอมที่สี่ น้องใหญ่ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจสำ�หรับน้องๆ ที่ต้องการมา เรียนสาขานี้ว่า หากอยากจริงจังในการแก้ไขปัญหาบ้านเรา ควร

อยากให้คิดว่าเราทิ้งไปมากแค่ไหนแล้ว ต้อง สร้างจิตสำ�นึกในเรื่องขยะให้คนไทยมากกว่า นี้ รัฐต้องมีความจริงจังในการแก้ปัญหา ระยะยาว ต้องแก้ควบคู่ทั้งคนทั้งขยะ - น้องใหม่

87


เรียนที่เมืองไทยมาก่อนแล้วมาเรียนเพิ่มเติมที่ต่างประเทศ จะได้เห็นปัญหาที่แท้จริงและแก้ไขได้ถูก จุด เพราะข้อเสียของการมาเรียนการจัดการขยะตั้งแต่ปริญญาตรีที่เมืองนอก คือ จะไม่มีข้อมูลเบื้อง ต้น ว่าบ้านเมืองเราเป็นอย่างไร แล้วอาจคิดว่าระบบทุกอย่างที่บ้านเราอยู่ตัวแล้ว ดีแล้ว น้องใหม่ยังให้ข้อสังเกตในเรื่องความเหมือนและความแตกต่างของการเรียนการจัดการขยะที่เมือง ไทยและที่นี่ว่า หากเป็นเรื่องของบุคลากรอาจารย์นั้นไม่แตกต่างกัน เพราะอาจารย์ที่เมืองไทยก็มี ความรู้ ความสามารถ อยู่ในขั้นดีมาก หากแต่อาจารย์ที่เยอรมนีจะสอนในสิ่งที่ตนคิดขึ้นมาเอง ซึ่ง เกิดจากความเข้าใจอันถ่องแท้ เพราะส่วนใหญ่มักเป็นอาจารย์ที่ทำ�งานประจำ�อยู่ในบริษัทที่เห็น ปัญหา นอกจากนั้นนักศึกษาที่นี่ก็ยังใส่ใจมาเรียน ถึงแม้บางคนแต่งตัวเซอร์ๆ ไม่ได้พิถีพิถันมาก เฉกเช่นบ้านเรา หาก เวลาเขียนงาน หรือสอบก็ตั้งใจอย่าง เต็มที่ ในขณะที่ เรื อ ่ งของบุ ค ลากรอาจารย์ น น ้ ั นักศึกษาบ้านเราจะ ไม่มีความสนใจ ไม่แตกต่างกันเพราะอาจารย์ กล่าวเท่าที่ควร แม้ ในการเรียนสาขาดัง อาจารย์จะเก่งและมี ที่เมืองไทยก็มีความรู้ ความ ความรู้มากมายแค่ ไหนก็ตาม (น่าเสียดาย จริง...) เธอยังเล่า สามารถ อยู่ในขั้นดีมาก หาก ใจที่มีต่ออาจารย์ ให้ฟังถึงความประทับ ที่นี่ว่า ได้มีโอกาสไป แต่อาจารย์ที่เยอรมนีจะสอนใน ทัศนศึกษาโรงงาน แห่งหนึ่ง เมื่อหลัง จากดูงานเสร็จ สิ ง ่ ที ต ่ นคิ ด ขึ น ้ มาเอง ซึ ง ่ เกิ ด จาก อาจารย์ก็พาเข้าไปใน ป่าดำ� (Schwarzwald) ที่อยู่ ใกล้เคียง นักศึกษา ความเข้าใจอันถ่องแท้ ก็พากันงงเพราะไม่ได้ อยู่ในแผน หากแต่ อาจารย์ตอบกลับว่า "การที่เราเรียนเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ไม่รู้จักสิ่งแวดล้อม มันเป็นการเรียนที่ผิด เราต้องออกมาดูบ้างว่าสิ่งแวดล้อมยังอยู่ดีไหม ถูกทำ�ลายไปแค่ไหนแล้ว..." เมื่อมาเรียนเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ประเทศเยอรมนี สิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือ การมีโอกาส เข้าไปสัมผัสกับของจริง นั่นคือ โรงงานต่างๆ ในการจัดการขยะ ซึ่งน้องๆ ทั้งสองเล่าว่า โดยปกติ จะมีโอกาสไปดูงานเฉลี่ยเดือนละหนึ่งครั้ง หากแต่ไม่บังคับ ใครต้องการไป ก็สามารถลงชื่อได้ ซึ่ง นักศึกษาส่วนใหญ่ก็ดูกระตือรือร้นกับโอกาสดังกล่าวอยู่เสมอ "หนูชอบโรงเผาขยะ (Restmüllheizkraftwerk) ของ EnBW (Energie Baden-Württemberg)

88


ที่ชตุทท์การ์ทมากที่สุดนะ" น้องใหม่กล่าว (ทำ�ให้เราต้องตามล่าหาเหตุผลของเธอต่อไป...) "ไปดู แล้วมันได้อารมณ์ว่า... อ๋อออออ... เลยพี่" เธอตอบความสงสัยของเราต่อว่า ก่อนไปทัศนศึกษาที่ นี่ ทางบริษัทจะให้รายละเอียดกระบวนการทำ�งานภายใน แล้วพอเข้าไปเห็นจริง ทางบริษัทก็เปิดให้ ดูกระบวนการเผาขยะอย่างเต็มที่ ทะลุทะลวง ไม่มีเม้ม หันมาทางน้องใหญ่บ้าง "ผมชอบ BASF (Badische Anilin-und Soda-Fabrik หรือ Baden Aniline and Soda Factory ซึ่งเป็นโรงงาน เคมีภัณฑ์ชื่อดังที่ใหญ่ที่สุดในโลก) สำ�นักงานใหญ่ ที่ลุดวิกส์ฮาเฟน (Ludwigshafen) นะพี่" น้อง ใหญ่เล่าให้เราเห็นภาพว่า ณ โรงงานแห่งนี้เมื่อเข้าไปแล้วจะเสมือนอยู่อีกโลกหนึ่ง เพราะค่อนข้างมี ขนาดใหญ่ มีระบบการจัดการที่ครบครันและเชื่อมโยงกันหมด ทั้งการผลิต การใช้ประโยชน์และการ กำ�จัดไปอย่างยั่งยืน สภาพภายในจะมีท่อ มีปล่องควันเต็มไป ตอนเรียนปริญญาตรีที่เมืองไทย หมด สักพักน้องใหม่ ก็กล่าวเสริม "พี่เคยดู หนังเรื่อง The Fifth ทางมหาวิ ท ยาลั ย ก็ ม ก ี ารพาไป Element ป่าว? (ถาม ชื่อหนังซะ... เห็น ภาพอายุของทั้งคน ดูงานทัศนศึกษาตามที่ต่างๆ อยู่ ถามและถูกถามเลย แฮะ...) เหมือนหมด บ่อยๆ หากยังเห็นภาพไม่ชัด แต่ เลยอะ ขาดแค่ยาน อวกาศเท่านั้นเอง" ซึ่งทั้งสองกล่าวเป็น พอมีโอกาสมาเรียนที่นี่ มาดูงาน คำ�เดียวกันว่า ตอน เรียนปริญญาตรี ที่นี่ ก็ได้รู้ว่าเป็นอย่างไร ขยะมีกี่ ที่เมืองไทย ทาง มหาวิทยาลัย ก็พา ไปดูงานทัศนศึกษา ประเภท มี ก ารจั ด การอย่ า งไรที ่ ตามที่ต่างๆ อยู่บ่อยๆ หากยังเห็นภาพไม่ ชัด แต่พอมีโอกาสมา ครบวงจร สามารถตอบคำ�ถามที่ เรียนที่นี่ มาดูงานที่ นี่ ก็ได้รู้ว่าเป็นอย่างไร ขยะมีกี่ประเภท มี เคยสงสั ย ได้ เ กื อ บหมด การจัดการอย่างไรที่ ครบวงจร สามารถ ตอบคำ�ถามที่เคยสงสัยได้เกือบหมด วกเข้ามาเรื่องเมืองที่มารํ่าเรียนกัน นั่นคือ เมืองชตุทท์การ์ท เมืองหลวงของแคว้นบาเดนเวือร์ทเทมแบร์ก (Baden-Württemberg) สาวเจ้าของเราเริ่มเกริ่นก่อนว่า ชอบที่ได้มีโอกาสมาเรียน ที่นี่ เพราะชตุทท์การ์ทเป็นเมืองที่ค่อนข้างมีระบบที่ดี ไม่ต้องกังวลเวลาเดินไปไหน ผู้คนรู้ขอบเขต ของกันและกัน ไม่ละเมิดสิทธิ อาจทั้งเป็นเรื่องปกติของนักศึกษาไทยที่มีโอกาสมาศึกษาต่างประเทศ ที่จะมีโอกาสได้มีอิสระ ได้อยู่กับตัวเอง ซึ่งเป็นผลดี อาจค้นพบว่าตนเองต้องการอะไร อย่างไรก็ตาม เธอเน้นยํ้าว่า ที่นี่ไม่ใช่บ้านของเราและอยากนำ�ความรู้ที่ได้ กลับไปพัฒนาบ้านเราเสียมากกว่า ส่วน

89


หนุ่มของเรากล่าวว่า แม้จะเป็นเมืองหลวง แต่ที่นี่มีบรรยากาศที่ดี คนไม่พลุกพล่าน อย่างไรก็ตาม รู้สึกว่าตนเองเมื่ออยู่เมืองนี้ ประเทศนี้แล้ว ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ เนื่องจากไม่มีอะไรให้ทำ� (ให้ แก้) ด้วยเหตุที่ว่าระบบของประเทศเยอรมนีดีและลงตัวอยู่แล้วและในทางกลับกัน คิดว่าตัวเองน่า จะมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองมากกว่าหากอยู่ที่เมืองไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเรา เพราะประเทศไทยยังมีหลายเรื่องที่ต้องการการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ก่อนลาจาก น้องใหม่ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า อยากให้คนทั่วไปคิดก่อนทิ้ง อยากให้มี "สติ" ในการทิ้งของ ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า ก่อนเราจะขยำ�กระดาษที่ใช้เรียนลงถังขยะ เราสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้อีก ไหม? หรือว่าเราเอามาใช้ทั้งสองหน้าแล้วหรือยัง? น้องใหญ่กล่าวเสริมต่อว่า ตนเองก็มักจะคิดก่อน เสมอ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือพยายามที่จะไม่พรินท์กระดาษออกมาใช้ เมื่อพยายามไม่ค่อยใช้ ขยะก็จะ ไม่เกิด อีกประเด็น ทางอุตสาหกรรมคือ หากไม่มีผู้ใช้ ก็จะ อยากให้คนทั่วไป “คิดก่อนทิ้ง“ ไม่มีคนผลิตออกมา มากมายให้เกิด ภาวะขยะ "ล้นโลก" อยากให้ ม ี “สติ “ ในการทิ ง ้ ของ น้องใหญ่ยังเล่า ประสบการณ์ส่วนตัว ที่จะจำ�ไปไม่มีวัน ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า ก่อนเราจะ ลืมว่า เคยได้มีโอกาส พูดคุยกับคนรู้จัก และถูกถามถึงสาขาที่ ขยำ � กระดาษที ใ ่ ช้ เ รี ย นลงถั ง ขยะ เรียน เมื่ออีกฝ่าย ทราบว่าเป็นอะไร เขา เราสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ ถามกลับว่า เป็นสาขา กลับมึนงงและ ที่ไม่ดี ไม่สะอาด ได้อีกไหม? หรือว่าเราเอามาใช้ เรียนไปทำ�ไม พร้อม กับให้ความเห็นว่า หากมีลูกหลานจะไม่ ทั ง ้ สองหน้ า แล้ ว หรื อ ยั ง ? ให้เรียนโดยเด็ด ขาด ซึ่งแทนที่น้องใหญ่ จะโกรธ เขากลับ รู้สึกดีกับสิ่งที่ตนเอง ทำ�และเรียนอยู่ โดยคิดต่อว่าการที่เรียนและทำ�ในสิ่งที่คนอื่นไม่สนใจนั้น เขาจะสามารถ "ทำ�อะไร" เพื่อสังคมได้มากขึ้นยิ่งกว่า โดยน้องใหญ่ได้กล่าวกับทางเราสั้นๆ ด้วยสีหน้าเปื้อนยิ้มอย่างมีความ นัยว่า "แล้วคุณจะรู้ว่าสิ่งที่ผมทำ�อยู่... คืออะไร"

90


LOVE EAT ALL AROUND.

สเต็กปลาแซลมอนซอสเปรี้ยวหวานเสาวรส

วัตถุดิบ 1. เนื้อปลาแซลมอนสไลด์สำ�หรับทำ�สเต็ก 2. เสาวรสสดใช้ทั้งเนื้อและเมล็ด 3. พริกหวาน 4. สับปะรด 5. หอมหัวใหญ่ 6. แตงกวา/ ซุคคินี่ 7. มะเขือเทศ 8. กระเทียมสับหยาบ 9. น้ำ�มันมะกอก เครื่องปรุงรส 1. ซอสมะเขือเทศ 2. นํ้าตาล 3. เกลือ 4. พริกไทย

ปลาแซลมอน นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนและกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่เรียกกันคุ้นหู 1 ชิ้น ว่า โอเมก้า-3 ชั้นดีแล้ว ยังเป็นเนื้อสัตว์ที่ใช้เวลาในการปรุงน้อย นำ�มาทำ�เป็นเมนูได้ 3 ลูก หากหลาย สำ�หรับ opnmnd ฉบับปฐมฤกษ์ ขอนำ�เสนอเมนูปลาแซลมอนง่ายๆ ที่มี ½ ลูก รสชาติแบบไทยๆ ให้พอหายคิดถึงบ้าน 1 ชิ้นใหญ่ ½ ลูก ½ ลูก วิธีทำ� 1 ลูกใหญ่ 1. นำ�ปลาลงย่างบนกระทะด้วยไฟอ่อน ใส่นํ้ามันมะกอกเล็กน้อย 2 กลีบใหญ่ 2. เมื่อเริ่มสุก ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย ตักขึ้นพักไว้ 2 ช้อนโต๊ะ 3. ใส่กระเทียมสับหยาบ หอมหัวใหญ่ พริกหวานลงในนํ้ามันที่เหลือจากการย่างปลา ผัดพอสุก 4. ใส่สับปะรด แตงกวา และมะเขือเทศ ผัดต่อจนสุกนิ่ม 2 ช้อนโต๊ะ 5. ใส่เสาวรส เพิ่มรสเปรี้ยวหวาน ปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศและนํ้าตาลเล็กน้อย ½ ช้อนโต๊ะ (เสาวรสมีความหวานและเปรี้ยวอยู่แล้ว) 6. เคี่ยวจนนิ่ม ตักซอสราดบนปลาที่ย่างไว้ รับประทานพร้อมสลัดหรือข้าวสวย

91


OPNMND KINO

opnmnd KINO

โดย เธียรธันย์ เพ็ชรเจริญ

92

ถ้าจะหาคำ�จำ�กัดความของภาพยนตร์เรื่องนี้คงจะเป็น "วัยรุ่น ดราม่า สารคดี ซูเปอร์ฮีโร และแฮนด์เฮลด์ (Handheld)” ภาพยนตร์แฮนด์เฮลด์ ที่ดูเหมือนแบบ เมนสตรีม (Mainstream) คล้ายภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ใน แนวเดียวกัน เพียงแต่เรื่องนี้ไม่เหมือนภาพยนตร์เอเลียน หรือภาพยนตร์ สยองขวัญที่เราคุ้นเคยกัน แต่ด้วยวิธีการเล่าเรื่องที่แปลกใหม่และน่า สนใจผ่านกล้องวีดีโอของตัวละครหลักดูเป็นเชิงสารคดี แต่กลับถ่ายทอด อารมณ์ได้ดีและน่าติดตามอย่างคาดไม่ถึง ให้ความรู้สึกดิบสดเหมือนเรา เป็นส่วนหนึ่งในภาพยนตร์ไปตลอดทั้งเรื่อง กับกลุ่มวัยรุ่นสามคนที่ได้ รับพลังพิเศษโดยบังเอิญและไม่รู้ที่มาของพลัง ที่อยู่ในด้านมืดของสังคม อเมริกันกับอารมณ์ที่หม่นหมองของวัยรุ่น จุดที่น่าสนใจคือการได้ครอบ ครองพลังที่ไม่มีขีดจำ�กัดและไม่สามารถรู้ความสามารถแน่ชัดว่าคืออะไร ทำ�ให้พวกเขาสนุกไปกับมัน นิสัยอยากรู้อยากเห็นของวัยรุ่นกลุ่มนี้ทำ�ให้เรา รู้สึกสนุกไปด้วย แต่ของฟรีคงไม่มีในโลก จุดจบที่คาดไม่ถึงของภาพยนตร์ ต้นทุน 12 ล้านยูโร และคุณภาพเต็มเปี่ยม ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่อง หนึ่งที่ควรค่าแก่การดู กำ�กับโดย JoshTrank นำ�แสดงโดย Alex Russel, Dane DeHaan, Michael B. Jordan


หนังแอนิเมชันเรื่องที่สามของผู้กำ�กับชาวฝรั่งเศส Sylvain Chomet (The Old Lady and the Pigeons 1997, The Triplets of Belleville 2003) ที่มีเอกลักษณ์เด่นอยู่ที่ความเหงาของภาพและความน่ารักของตัวละครซึ่ง ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อโดยที่ตัวละครไม่ต้อง พูดอะไรสักคำ� The Illusionist เล่าถึงนักมายากลที่อยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของ ศิลปะ ต้องระเห็จไปแสดงโชว์ในเกาะกันดารไร้ความเจริญ ซึ่งเป็นที่ๆ เขา ได้เจอเด็กผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งในภายหลังได้ติดตามเข้ามาในเมืองใหญ่ด้วย การผจญภัยและการแสดงในเมืองใหญ่ของพวกเขาจึงได้เริ่มต้นขึ้น สำ�หรับคอภาพยนตร์แนวแอนิเมชัน ดราม่า ทุกเพศทุกวัยไม่ควรพลาด เรื่องนี้เช่นกัน ยิ่งถ้าเคยดูภาพยนตร์เรื่อง The Triplets of Belleville มา ก่อนยิ่งไม่ต้องอธิบายถึงสุดยอดคุณภาพของหนังของ Chomet. กำ�กับ Sylvain Chomet พากย์เสียง Jean-Claude Donda, Eilidh Rankin เพลง Sylvain Chomet

อะไรคือมาตรฐานของความสุข ความสวยงามของชีวิตเป็นอย่างไร หาคำ� ตอบได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้ ครอบครัวที่แตกหักอันเนื่องมาจากการ สูญเสียของบุคคลที่เป็นแม่บวกกับปัญหาทางด้านจิตใจของลูกๆ ที่ขาดการ ดูแล และชีวิตที่วุ่นวายในเมือง ทำ�ให้คนเป็นพ่อต้องการที่จะหาทางออก หา ที่อยู่ใหม่ สังคมใหม่ ชีวิตใหม่ อยากรีสตาร์ท เลยตัดสินใจซื้อบ้านในชนบท เพียงแต่มารู้ทีหลังว่า บ้านที่ซื้อเป็นสวนสัตว์! จึงเป็นที่มาของชื่อเรื่อง We Bought a Zoo ภาพยนตร์ Feel Good ที่ได้ดาราดังมาแสดงถึงขั้นยอม ลดค่าตัวเพื่อให้ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นมาได้ บวกกับได้ Jonsi แห่งวง Sigur Ros เจ้าพ่อเพลงแนว epic มาทำ�เพลงให้อีกด้วย จึงเป็นหนังที่น่า แนะนำ�อีกเรื่อง กำ�กับ Cameron Crowe แสดงนำ� Matt Damon, Scalett Johansson, Elle Fanning สกอร์ Jonsi

93


ดร.สุนทรียา

94


เหมือนพะวงศ์ โดย นัฏฏ์ เนติวร

พี่เก่าเล่าใหม่

สำ�หรับคอลัมน์ “สัมภาษณ์พี่เก่า” ฉบับแรก เราจะพาทุกท่านไปนั่งฟังนักกฎหมายอารมณ์ดี “พี่โด่ง” ดร. สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ อดีตนายกส.น.ท.ย.ประจำ�ปี พ.ศ.2542-2543 เล่าเรื่องราวเก่าๆ และประสบการณ์ชีวิต แบบไม่ธรรมดาสมัยเป็นนักศึกษาปริญญาเอกด้านกฎหมายมหาชนที่มหาวิทยาลัยมึนสเตอร์( Münster Universität ) ปัจจุบันพี่โด่ง (หรือท่านโด่งของชาวศาล) ดำ�รงตำ�แหน่งผู้พิพากษาหัวหน้า ศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดนครศรีธรรมราช ทีมงานกอง บก. ลงทุนบินตรงไปสัมภาษณ์ท่านถึงถิ่น และติดใจเสน่ห์ของพี่โด่งคนนี้เข้า อย่างจัง กอง บก. ของเราจะหลงรักเธอเพราะได้รับสินบนเป็นอาหารใต้รส เยี่ยมทุกมื้อตลอดสี่วัน หรือเพราะเธอเป็นพี่เก่ารสแซ่บที่สมควรจะเชิญมา พูดคุยเพื่อ “ให้” ข้อคิดและมุมมองดีๆ แก่น้องๆ ท่านผู้อ่านคงต้องพิสูจน์ ด้วยตนเองกับบทสัมภาษณ์ที่เราภูมิใจนำ�เสนอด้านล่าง opnmnd: ทำ�ไมพี่โด่งจึงเลือกไปเรียนที่เยอรมนีคะ พี่เลือกเรียนทางด้านกฎหมายมหาชน ซึ่งเยอรมนีมีความโดดเด่นทางด้าน นี้ โดยส่วนตัวรู้สึกว่าคนเยอรมันเป็นชนชาติที่มีความลุ่มลึกในเชิงความ คิดและปรัชญา จึงขอทุนไปเรียนที่เยอรมนี opnmnd: จบกฎหมายจากเยอรมนี มีข้อดีอะไรบ้างที่ต่างจากการเรียน กฎหมายที่อื่น การจบปริญญาเอกที่เยอรมนี ข้อดีแน่ๆ คือ “คนกลัว” (หัวเราะ) เป็นข้อดี ในเชิงรูปแบบ คือคนที่ทราบเนี่ยส่วนมากก็จะให้การยอมรับแบบจริงใจ เพราะไม่ค่อยมีคนจบมา โดยเฉพาะผู้หญิงที่จบกฎหมายเยอรมันหาไม่

95


ค่อยเจอ สำ�หรับข้อดีในเชิงเนื้อหาที่ได้คงจะเป็นในส่วนของวิธีคิด เพราะ การเรียนการสอนแบบเยอรมันทำ�ให้เราได้วิธีคิดหรือนิติวิธีแบบเยอรมัน ที่เป็นความคิดเชิงระบบ มองเรื่องต่างๆ อย่างเชื่อมโยงไม่แยกส่วน ไม่ ว่าจะจับกฎหมายเทคนิคใด ต้องกลับไปตั้งต้นที่รัฐธรรมนูญ ย้อนกลับ ไปยังเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีหลักการทาง กฎหมายรองรับ เป็นหลักกว้างๆ ที่กำ�กับแนวทางของกฎหมายและการ ใช้ให้ไปถูกทาง เขาจะไม่ยึดติดกับตัวบทมาตราหรือฎีกาที่ไร้เหตุผล สิ่งนี้ นำ�มาปรับใช้ในงานได้ดีโดยเฉพาะในการทำ�นโยบายทางกฎหมายใหม่ๆ เพราะถ้าหลักการไม่ชัดเจน ก็ไม่ต้องไปทำ�รายละเอียดให้เหนื่อย ต้องเถียง เรื่องหลักการให้ชัดเสียก่อน นอกจากนี้ การเรียนที่เยอรมนีฝึกให้เราวางตัวเป็นกลางทางวิชาการได้มาก ขึ้น เช่น การที่เรากล่าวว่าเรื่องนี้เป็นปัญหามาก เราต้องย้อนกลับมาคิด ก่อนว่า คำ�ว่ามากของเรานี่คือมากระดับไหน วัดจากอะไร และวัดอย่างไร เรื่องนี้เป็นสิ่งสำ�คัญที่ Doktorvater (อาจารย์ที่ปรึกษา) อบรมเรา ทำ�ให้ทุก วันนี้ พอจะวิพากษ์วิจารณ์อะไร จะต้องคิดหนัก ว่าที่เรามองว่าเป็นแบบนั้น แบบนี้มันมาจากอารมณ์หรือความรู้สึกเฉพาะตัวของเราหรือเปล่า มันเลย ทำ�ให้เราไม่หวั่นไหว และใช้เหตุผลใคร่ครวญกับสิ่งต่างๆ มากขึ้น สำ�หรับ การเลือกข้างอย่างโกรธแค้นกันเนี่ย พี่มองว่านั่นไม่ใช่วิถีเยอรมันนะ สุดท้ายคิดว่าศิษย์เก่าเยอรมนีส่วนใหญ่ชอบทำ�การบ้าน ต้องอ่าน ค้นคว้า เยอะ มีการค้นคว้าวิจัยที่เป็นระบบ เรายอมทำ�งานหนักเพื่อให้ได้สิ่งที่ดี กลับมา เด็กเยอรมันรอได้ ซึ่งอันนี้อาจกลายเป็นข้อเสียเหมือนกัน เพราะ สังคมไทยเราไม่ค่อยชอบรออะไรนานๆ ไม่ค่อยอดทน opnmnd: ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ มีอะไรที่พี่คิดว่าจะทำ�ตอนที่อยู่ เยอรมนี เคยมีหนุ่มเยอรมันชวนไปกินข้าวที่บ้าน แล้วนั่งดื่มไวน์กัน สุดท้ายเขาถาม เราว่านอนที่บ้านผมมั้ย ก็เคยคิดเหมือนกัน ว่าถ้าย้อนไปน่าจะตอบตกลง เขา ถ้าทำ�แบบนั้นคงไม่โสดจนถึงตอนนี้ (หัวเราะ) ถ้าให้ตอบเแบบจริงจัง คิดว่านอกจากเรื่องเรียนที่เป็นวิชาการในห้องแล้ว เราน่าจะไปฝึกงานภาค ปฏิบัติให้เยอะกว่านี้ เช่น เข้าไปฝึกงานตามหน่วยงานสำ�คัญ หรือเข้าไป sit in เพื่อดูระบบการพิจารณาคดี อะไรแบบนี้ รวมทั้งการไปมีปฏิสัมพันธ์กับ ฝรั่งที่เป็นนักวิชาชีพแบบเราให้มาก เพื่อจะได้เห็นปัญหาที่เป็นรูปธรรมของ เขามากกว่านี้ opnmnd: เยอะกว่านี้ แสดงว่าที่ผ่านมายังเยอะไม่พอ? ที่ผ่านมาก็พยายามไปดูงานภาคปฏิบัติหรือสัมมนาอยู่พอสมควร เช่น ไป ดูงานการพิจารณาคดียูโกสลาเวียที่กรุงเฮก ไปดูระบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 96

ไปนั่งฟังกระบวนการประชาพิจารณ์เรื่องการสร้างโรงเก็บขยะนิวเคลียร์ แต่ไปแบบสั้นๆ ไม่กี่วัน อยากไปให้นานกว่านั้น ไปนั่งเรียนรู้เป็นเดือนๆ opnmnd: แล้วมีอะไรที่รู้สึกว่าไม่น่าทำ� แต่ทำ�ไปแล้วบ้างไหมคะ ตอนที่อยู่เยอรมนี เราอยู่กับคนไทยหรือเพื่อนเอเชียมากเหมือนกัน เพราะ เราติดความสบาย ขี้เกียจปรับตัว และเนื่องจากการเรียนนิติศาสตร์ไม่ได้ บังคับให้เราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น อย่างเด็กที่เรียนทางวิทยาศาสตร์ ก็จะต้องบังคับให้มีเพื่อนทำ�แล็บ ยิ่งไปกว่านั้นพอเราว่าง เรายังไปทำ� กิจกรรมกับนักเรียนไทย สถานทูตไทย หรือกลุ่มแม่บ้านไทยอีก ก็อาจ เป็นข้อเสียเหมือนกันเพราะเราไม่ได้ใช้โอกาสไปเรียนรู้ประสบการณ์ฝรั่ง ให้มากกว่านี้ ถ้าย้อนไปได้ก็อาจจะลดเวลาส่วนนี้ลงบ้าง เรื่องไปเที่ยวตาม ที่ต่างๆ ในยุโรปก็เหมือนกัน ถ้าให้ดี อาจจะต้องไปเที่ยวกับเพื่อนฝรั่งกิน นอนกับเขาบ้าง จริงๆ ไปกับฝรั่ง กินแซนวิชแบบง่ายๆ เดินชมมิวเซียมมัน ทั้งวัน ก็ประหยัดดีแถมได้ความรู้เพียบ opnmnd: พี่โด่งคิดว่า “ความเป็นเยอรมัน” ที่ดี เป็นอย่างไร สิ่งดีที่ประทับใจ ก็คือ คนเยอรมันเป็นคนช่างคิด รักการเรียนรู้ ชอบ วางแผน ในการทำ�อะไร มักมีการคาดการณ์และเฝ้าระวังล่วงหน้า ชั่งน้ำ� หนักผลดีผลเสีย ไม่ประมาท ช้าได้ รอได้ อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบก็คือ เขาเปิด โอกาสให้มีการคัดค้านโต้แย้งกันแบบเปิดกว้าง ในรายการทอล์คโชว์ การเมืองก็จะเห็นว่ามีการด่ากันแรงๆ แต่เขาไม่ฆ่ากันแบบบ้านเรา ไม่มีใคร โดนเก็บ ผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย ไม่ว่าเสียงส่วนมากหรือเสียงส่วน น้อยจะถูกนำ�มาชั่งนํ้าหนักอย่างเปิดเผย เราจะไม่เห็นการประท้วงที่ไร้สาระ หรือการเกณฑ์คนมาเพื่อประท้วงในเยอรมนี opnmnd: แล้วส่วนที่ไม่ดีล่ะคะ ส่วนที่ไม่ดีที่พี่มองเห็น คือ พี่คิดว่าสังคมแบบปัจเจกของเยอรมันบาง ครั้งมันแห้งแล้ง ทุกคนพร้อมที่จะใช้ชีวิตอยู่ตัวคนเดียว ไม่คบใคร บาง คน ตั้งแต่เกิดจนตายมีเพื่อนอยู่เพียงห้าหรือหกคน เขาอาจจะชอบแบบ นั้น แต่สำ�หรับเรามันไม่ค่อยชิน รู้สึกว่าชีวิตแบบนั้นมันอ้างว้างเกินไป คน ส่วนใหญ่ของเขาจะใช้ชีวิตตรากตรำ�อยู่ในระบบ อยู่ในกรอบของสังคม จนบางครั้งเป็นทาสระบบ เช่น ระบบประกันสังคม ประกันสุขภาพ ต่างๆ มันอาจจะดูมีระเบียบวินัยมาก แต่บางทีอะไรที่มันถูกวางเอาไว้อย่าง เป็นระบบมากๆ มันก็อาจจะลดทอนความเป็นมนุษย์ลงไปได้ สำ�หรับ การเปลี่ยนแปลงสังคมในโลกยุคใหม่นี้ พี่มองว่าเป็นความท้าทายว่าคน เยอรมันจะปรับตัวได้ขนาดไหน โดยเฉพาะกับระบบโลกาภิวัตน์ที่เปิดกว้าง คนที่ไร้ระเบียบเข้าไปอยู่ในประเทศของเขามากขึ้น ในขณะเดียวกันเขาเอง


คนเยอรมันเป็นคนช่างคิด รักการเรียนรู้ ช่าง วางแผน การจะทำ�อะไรมักมีการคาดการณ์และเฝ้า ระวังล่วงหน้า ชั่งนํ้าหนักผลดีผลเสีย ไม่ประมาท ช้าได้ รอได้ มีความคิดเป็นระบบ มองเห็นความ เชื่อมโยงของแต่ละสิ่ง 97


ก็ออกไปทำ�ตัวไร้ระเบียบในสังคมอื่นมากขึ้น เรามีมาเฟียเยอรมันที่น่ากลัว ถูกศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งที่สมุยหรือที่พัทยานะ เรื่องนี้คนเยอรมันจะตอบอย่างไร opnmnd: จากที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน คิดว่ามี อะไรที่น่าสนใจบ้างคะ opnmnd: สาเหตุที่พี่โด่งเลือกเรียนเฉพาะทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม เยอรมนีมี “หลักการเฝ้าระวัง” ที่เด่นมาก ซึ่งหมายถึงหลักการระมัดระวัง คืออะไรคะ ก่อนภัยเกิดที่ต้องมีการประเมินผลกระทบและรับฟังอย่างรอบคอบ ก็ไม่เชิงว่าเรียนเฉพาะกฎหมายสิ่งแวดล้อมค่ะ จริงๆ ต้องถือว่าไปเรียน สำ�หรับ “หลักการหลีกเลี่ยง” ก็ต้องเลี่ยงการทำ�ลายสิ่งแวดล้อม หลักนิติ กฎหมายมหาชนมากกว่า เป็นเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รัฐทางสิ่งแวดล้อมทำ�ให้เขาต้องเคารพสิทธิของประชาชน ห้ามเลือกปฏิบัติ ปกครอง ในส่วนที่ทำ�วิทยานิพนธ์เลือกทำ�กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทาง เขาเคารพกระทั่งสิทธิสัตว์เลย กฎหมายสิ่งแวดล้อมของเยอรมันมีความ ปกครอง ในประเด็นที่ว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมในโครงการที่มีผลกระทบ ก้าวหน้ามาก หลักคิดของเยอรมันเลยไปอยู่ในตัวบทกฎหมายยุโรปหลาย ต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรงได้อย่างไรบ้าง ที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ ประการ ช่วงหลังๆ นี้ เน้นหลักคิดที่ให้ธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง เพราะเห็นว่าปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีมา ในประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางสังคม จะเห็นได้ว่าการบริหารพลังงาน แต่อดีต แต่การจัดการเรื่องทรัพยากรไม่มีอะไรลงตัวเลย ปัญหามลพิษ ของเยอรมัน เช่น การผลิตไฟฟ้า เขาจะเน้นการผลิตแบบรายย่อย กระจาย ไม่มีใครคิดแก้อย่างเป็นระบบ คิดกันแต่เรื่องเทคนิคเป็นส่วนๆ องค์ความ อำ�นาจให้โรงไฟฟ้าเล็กๆ ในท้องถิ่นผลิตไฟฟ้าใช้กันเองในชุมชน ในขณะ รู้และหลักกฎหมายพื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมยังเป็นสิ่งที่ถูกละเลยและไม่ได้ ที่ไทยใช้ระบบการบริหารแบบรวมศูนย์ ไทยเราชอบระบบทุนผูกขาดทุก 98


เรื่องรวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย opnmnd: อย่างนี้แสดงว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมในเยอรมนีถือว่าดี เยี่ยม? อืม... ถ้าจะถามว่า คนเยอรมันมีการจัดการที่ดีในเรื่องสิ่งแวดล้อมทั้งหมด หรือไม่ก็ไม่แน่ใจที่จะตอบนะ อย่างเช่นเรื่องขยะของเขา ใครๆ ก็ต้องชม เขาเรื่องแยกขยะ เรื่องระบบรีไซเคิล แน่นอนเขามีกฎหมายขยะที่ดีและซับ ซ้อนซึ่งบังคับใช้ได้จริง เช่น เขามีการจัดประเภทและคุณสมบัติของขยะที่ หลากหลาย ในการจัดการเขานำ�ระบบธุรกิจมาใช้ เช่น ทำ�สัมปทานระหว่าง รัฐร่วมกับเอกชนอย่างลงตัว หรืออย่างกรณีขยะพิษ เขาจะมีกฎหมาย ควบคุมที่เข้มแข็งโดยมองไปถึงต้นตอในการผลิต อะไรที่มีปัญหาก็จะไม่ อนุญาตให้ทำ�แต่แรก แต่หากจะถามว่าเขาสร้างขยะมากไหม ก็จะเห็นว่า มาก ประชาชนแต่ละคนในแต่ละวัน ใช้บรรจุภัณฑ์กันขนาดไหน ของต่างๆ ต้องแบ่งเป็นกล่องเล็กกล่องน้อย ตามวิถีชีวิตแบบสังคมปัจเจก หรือการ ที่คนของเขาออกไปใช้ทรัพยากรของประเทศอื่นรวมถึงทิ้งขยะเช่นขยะ นิวเคลียร์ในบ้านของคนอื่นก็มีปัญหาอยู่ หากจะวิจารณ์เขาคงต้องมอง ภาพรวมทั้งหมดเหมือนกัน opnmnd: เมื่อกลับมาประเทศไทย ได้นำ�ความรู้ที่เรียนที่เยอรมนีมาใช้ อย่างไรบ้าง? หลังจากจบกลับมาก็ทำ�งานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการ แปรงานวิชาการไปสู่ทางปฏิบัติและเก็บปัญหาทางปฏิบัติไปค้นต่อในงาน วิชาการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ�วิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบยุติธรรมสิ่ง

แวดล้อม นำ�ไปสู่การผลักดันให้มีการทำ�กฎหมายใหม่ๆ เช่น กฎหมายวิธี พิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม กฎหมายศาลสิ่งแวดล้อม กฎหมายเกี่ยวกับเรื่อง ค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ หลายเรื่องเริ่มมีกฎระเบียบรองรับ แต่ หลายเรื่องก็ยังเป็นแค่ร่าง ก็คงต้องค่อยๆ พัฒนากันไป opnmnd: นอกจากงานวิจัย พี่โด่งได้มีบทบาทเป็นอาจารย์บ้างไหมคะ งานสอนกฎหมายสิ่งแวดล้อมก็ได้ทำ�พอสมควร โดยเคยสอนประจำ� อยู่ที่ธรรมศาสตร์และธุรกิจบัณฑิตย์ ที่เหลือก็ไปสอบวิทยานิพนธ์ตาม มหาวิทยาลัยต่างๆ คิดว่าการสอนถือเป็นการเรียนไปในตัว เพราะได้อะไร ใหม่ๆ ในระหว่างสอนเสมอ การเรียนที่สำ�คัญอีกอันคือการได้มีโอกาส ไปศึกษาดูงานภาคปฏิบัติ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่นอกเหนือจากประสบการณ์ เยอรมัน เช่น ได้ไปนั่งเรียนงานกับท่านประธานศาลสิ่งแวดล้อมที่ซิดนีย์ เขามาช่วยพัฒนางานให้เราด้วย นับถือท่านไม่ต่างกับที่เรานับถืออาจารย์ที่ ปรึกษา(Doktorvater) เลย หรืออดีตประธานศาลฎีกาฟิลิปปินส์ที่แอคทีฟ เรื่องสิ่งแวดล้อมมาก ท่านเรียกเราว่าเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียน(Classmate) ของท่าน เพราะเคยไปอบรมเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วยกัน อันนี้ก็เอาไปโม้เรื่อย ไปอเมริกาได้ไปคุยกับคนที่ US-EPA(US-Environmental Protection Agency) เรื่องการพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ก็ได้ไปศาลปกครองสูงสุดของโปรตุเกส ได้เห็นว่าเขาไปไกลมากเรื่องคดี สิ่งแวดล้อม หรือท่านผู้พิพากษาศาลฎีกาอิตาลี ท่านที่รณรงค์ให้มีศาลสิ่ง แวดล้อมโลก เราก็ได้เคยพบ ความรู้ที่เก็บเกี่ยวมาก็เอามาใช้กับงานต่างๆ ได้ดี รู้สึกตัวเองมีบุญ

กฎหมายเกี่ยวกับขยะของเยอรมัน เขามองเห็น ความซับซ้อนทางมิติของขยะ และมีแนวคิดที่ว่า ก่อนจะทำ�ให้เกิดขยะ ต้องหลีกเลี่ยงการกระทำ�ที่จะ ก่อให้เกิดขยะ พอเป็นขยะแล้วก็จะมีการจัดประเภท และคุณสมบัติของขยะอย่างเหมาะสม 99


ยุคนี้เป็นยุคที่ประเทศไทยเกิดความขัดแย้งเชิง การเมืองอย่างรุนแรง ไม่ใช่แค่เห็นต่าง แต่มันเลยไป ถึงจุดที่เกิดความเกลียดชังและหวาดระแวง แบ่งค่าย แบ่งสี คุณควรจะสนใจเหตุบ้านการเมือง มีส่วนร่วม และใช้ความรู้ความสามารถกำ�หนดทิศทางใหม่ให้กับ ประเทศโดยไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก

100


แต่สิ่งที่ตัวเองยังทำ�น้อยไปคงจะเป็นเรื่องการสรุปบทเรียนออกมาเป็น บทความหรือหนังสือ เพื่อให้คนอื่นเขาได้ช่วยคิดต่อ เพราะคนทำ�งานเรื่อง ความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยยังมีน้อย หากเรามีแนวร่วม มากขึ้นคงจะเป็นพลังที่สำ�คัญ จริงๆ สิ่งที่อยากทำ�อีกอย่างคืออยากจะฉีก รัฐธรรมนูญในหมวดเรื่องสิ่งแวดล้อมเพราะมันยังไม่ลงตัวเลย อันนี้พูด แม้เคยเป็นอนุกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อยู่ด้วย เพราะคิดว่าองค์ ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของประเทศเรายังมีไม่พอจริงๆ opnmnd: ขนาดนั้นเลยหรือคะ แล้วพี่โด่งมองอนาคตด้านสิ่งแวดล้อม ของไทยว่าจะเป็นอย่างไร? มองไม่เห็นอนาคตค่ะ ไม่เห็นความหวัง คิดว่าฝ่ายทุนรุกรานธรรมชาติจน ย่อยยับ คนมองทรัพยากรก็สักแต่ว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ อย่างไร คนไม่เห็นข้อจำ�กัดเลยว่าบางทีเราต้องหยุดแล้วเพราะโลกเขาป่วย หนัก ในเชิงปัญหาสังคม มันมีความเหลื่อมลํ้าหนักขึ้นเรื่อยๆ คนที่ขาด อำ�นาจต่อรองขาดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรและขาดสิทธิที่จะมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีที่ปลอดมลพิษ ตอนนี้ตัวเองย้ายมาทำ�งานทางภาคใต้ ได้เห็นเลย ว่าที่ภูเก็ต ปัญหาไม่ใช่แค่คนจนกับคนรวยของไทย แต่เป็นคนต่างชาติเข้า มายึดครอง อยากได้ที่ดินตรงไหนก็ไปชี้ ไม่เว้นแม้บนภูเขาหรือในนํ้า ที่ นครศรีธรรมราชหรือที่สงขลายังทะเลาะกันไม่จบว่าจะขยายอุตสาหกรรม ไปอีกแค่ไหน อนาคตน่าจะประมาณทะเลเศร้า-ภูเขาร้องไห้-โลมาแดดิ้น พูดอย่างนี้ บางคนอาจจะว่าเรามองโลกในแง่ร้ายเกินไป

จัดประชุมหรือแข่งกีฬากันอยู่ก่อนแล้ว ก็เรียกว่าทุกคนกำ�ลังตื่นตัวที่อยาก จะเจอกัน opnmnd: พี่เป็นนายกฯ คนแรกที่เป็นผู้หญิงด้วยใช่ไหมคะ พี่ไม่ใช่นายกฯ หญิงคนแรกนะคะ ก่อนนี้ทราบว่ามีหนึ่งคนชื่อพี่ศิริพร ถ้า จำ�ไม่ผิด เราเคยรวบรวมข้อมูลเรื่องอดีตนายกฯ กันอยู่เหมือนกัน เสียดาย ว่าถึงวันนี้ยังไม่ได้มีโอกาสเจอตัวพี่เขาเลย opnmnd: ในระหว่างรับตำ�แหน่งนายกสมาคมฯ ในช่วงนั้นทำ�อะไรบ้าง ก่อนนั้นมีโอกาสไปพบท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ที่ปารีส ไปกับพี่ศิริ ลักษณ์ ชมิดท์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชาวไทย ได้ทราบว่าท่านอาจารย์ ปรีดี พนมยงค์ ในสมัยที่ท่านมาลี้ภัยอยู่ที่ฝรั่งเศส นักเรียนไทยในฝรั่งเศส และเยอรมนีจะมีความสนิทสนมและใกล้ชิดกับท่านมาก ท่านมาเยอรมนี บ่อยๆ บางทีมากับอาจารย์ป๋วย แล้วเด็กนักเรียนสองประเทศนี้ก็มีการจัด กิจกรรมเสวนา พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือแข่งกีฬากันตลอดที ละเป็นสิบวันเลย เลยมีความรู้สึกว่าน่าจะฟื้นกิจกรรมนี้ขึ้นมา ปีแรกทาง นักเรียนไทยในเยอรมันก็รวมตัวกันไปที่ปารีส สองประเทศมากันร้อยกว่า คน แข่งกีฬาเชื่อมสัมพันธ์กัน ปีที่สองพี่เอกขึ้นเป็นนายกฯ จัดที่เบอร์ลิน คราวนี้มากันประมาณเจ็ดประเทศ ปีที่สามจัดที่ลียง แต่ช่วงหลังๆ ซบเซา ไปบ้าง ขึ้นอยู่กับความกระตือรือร้นของคณะกรรมการสมาคมฯ แต่ละ สมัย

opnmnd: นอกจากกิจกรรมกีฬามีอะไรอีกบ้างคะ opnmnd: ขอกลับมาถามเรื่องกิจกรรม ทราบมาว่าพี่โด่งเคยเป็น นอกจากนั้นพวกเราก็ริเริ่มทำ�ฐานข้อมูลนักเรียนไทยในยุโรป โดยพี่เม้ง นายกส.น.ท.ย. ด้วย ทำ�อย่างไรถึงได้รับเลือกเป็นนายกในตอนนั้นคะ ไฮเดลแบร์ก พยายามจัดเก็บข้อมูลนักเรียนไทยในยุโรป ให้รู้ว่าใครเรียน ไปเรียนต่อในฐานะข้าราชการลาศึกษาต่อ ตอนแรกก็เข้าไปช่วยงานสมาคม อะไร จะได้เป็นเครือข่ายกัน พี่จ๋า ชลนภา พยายามรวบรวมประวัติสมา เฉยๆ ไม่ได้รับตำ�แหน่งอะไรในสมาคม ก็คิดว่าไปเอาประสบการณ์ ช่วย คมฯ งานวิชาการของนักเรียนไทย รายชื่อนักเรียนไทย รายนามนายก พี่ๆ น้องๆ ช่วงใกล้เลือกนายกสมาคมฯ คนใหม่ ด้วยความที่พี่อาวุโส สมาคมฯ ตั้งแต่รุ่นแรกใส่เว็บไซต์สมาคมฯ มีการจัดพิมพ์คู่มือนักเรียน สูง(หัวเราะ) คุ้นเคยกับน้องๆ หลายคน ก็เลยถูกขอให้มาเป็นนายกสมา ไทยในเยอรมนี การจัดงาน 100 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ในยุโรป ทางเรา คมฯ ตอนนั้นสำ�นักงานผู้ดูแลนักเรียนของกพ.ปิดลงพอดี สงสัยน้องๆ ปวารณาตัวช่วยจัดในเยอรมนี พี่เอก(บรรเจิด สิงคะเนติ) มาช่วยทำ�ค่าย อยากได้นายกฯ แก่ๆ มาดูแลแทน ช่วงปี 2540 ที่พี่ไปเยอรมนีเป็นช่วงที่ การเมือง เพราะเราเห็นกันว่าเด็กไทยควรจะรู้เรื่องการบ้านการเมือง ระบบ บ้านเรามีวิกฤติต้มยำ�กุ้งพอดี นักเรียนทุนส่วนตัวหลายคนก็ต้องกลับบ้าน รัฐสภา การจัดตั้งพรรคการเมือง ก็จัดเป็นกลุ่มคุยกัน ประมาณ 30-40 คน แต่ส่วนมากที่เยอรมนีจะเป็นนักเรียนทุนก็เลยไม่ค่อยได้รับผลกระทบ แต่ มีอาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาเป็นองค์ปาฐกหลัก บ้าน กพ. ที่เคยเป็นศูนย์ดูแลนักเรียนไทยที่เยอรมนีต้องปิดตัวลง ผู้ดูแล ต้องเดินทางกลับ นักเรียนทั้งหมดก็เคว้ง และจากวิกฤตินั้นก็ทำ�ให้เด็ก ยุคถัดๆ มามีการจัดงานแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ศ.ดร. ประเวศ วะสี มา ไทยเริ่มหันมาคุยกันเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมมากขึ้น ก่อนพี่เป็น ร่วมงานด้วย ก็เป็นผลงานที่เป็นประสบการณ์ที่ดีที่พวกเราทุกคนได้ช่วย นายกฯ พี่เปี๊ยก(อาจารย์บรรเจิด สิงคะเนติ) และพี่เอก(อาจารย์ปริญญา กันทำ� เพื่อนๆ ที่ร่วมกิจกรรมกันวันนั้นก็ยังเจอกันอยู่ตลอด เทวานฤมิตรกุล) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็เป็นแกนนำ�กลุ่มนักเรียน opnmnd: ทราบมาว่าพี่เคยเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิคนไทยใน 101


รัฐธรรมนูญด้วย ทำ�ได้อย่างไรทั้งที่อยู่ต่างประเทศ พอดีในประเทศไทยช่วงนั้นมีโครงการร่างรัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งคนบาง กลุ่มจะไม่ให้รัฐธรรมนูญผ่าน รวมทั้ง สสร.(สภาร่างรัฐธรรมนูญ) บาง คนจะตัดเรื่องสิทธิคนไทยในต่างแดนออกจากร่างรัฐธรรมนูญ นักเรียน ไทยในเยอรมันก็มาประชุมกันแล้วร่างหนังสือสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ 40 รวมทั้งเรียกร้องบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิคนไทยในต่างแดน ตอนนั้น ทางคนไทยในสหรัฐอเมริกาก็เคลื่อนไหวเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน สุดท้าย ส.น.ท.ย.เราก็ไปรวมกันเป็น 14 องค์กรคนไทยในยุโรป เช่น สมาคม นักเรียนไทยในฝรั่งเศส กลุ่มสตรีในเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มคน ไทยในสวีเดน ฯลฯ แล้วก็ส่งตัวแทนกลับประเทศไทยเพื่อไปยื่นหนังสือ สุดท้ายรัฐธรรมนูญผ่านและสสร. ก็ไม่ได้ตัดสิทธิเลือกตั้ง แต่ตอนนั้นพี่ โดนด่าเหมือนกันว่าเอาเด็กไปเล่นการเมือง ทำ�ตัวเป็นเอ็นจีโอ(หัวเราะ)

ได้ฝึกทำ�หน้าที่ไปอีกแบบ ทำ�งานบริหารคน บริหารคดี เผอิญช่วงที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะทำ�งานพัฒนากฎหมายเยาวชนและครอบครัว ได้ไปเป็นกรรมาธิการในสภาด้วย เลยอยากออกมาทำ�งานด้านเยาวชน มีคนบอกว่าศาลเยาวชนคือศาลอนาคตของชาติ ซึ่งเราเห็นด้วย ปัญหา เยาวชนวันนี้อาจจะหนักกว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมอีก ตัดต้นไม้เลือดไม่ออก แต่เด็กยิงกันตายเลือดมันไหลนองเต็มเมือง

opnmnd: ฟังดูเนื้องานจะต่างกันคนละขั้วเลยทีเดียว? ก็ไม่นะคะ ในที่สุดแล้ว พี่คิดว่าเรื่องต่างๆ มันสามารถนำ�มาปรับใช้กัน ได้ทั้งนั้น หากเราอยากจะเรียนรู้และทดลอง พี่เอาประสบการณ์เรื่องสิ่ง แวดล้อมที่บอกว่าสิ่งแวดล้อมต้องเป็นศูนย์กลาง (Eco-Centric) มา เปรียบเทียบกับเรื่องเด็กต้องเป็นศูนย์กลาง (The Best Interest of the Child) ว่าไปแล้วหลักมันเหมือนกันเลย ศาลเด็กทำ�งานสหวิชาชีพ ต้องการ opnmnd: หนทางสู่การเป็น “ท่าน” ไม่ง่าย กว่าจะมาถึงจุดนี้ ต้องผ่าน นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ที่รู้เรื่องเด็กอย่างแท้จริง ก็เช่นเดียว อะไรมาบ้าง กับศาลที่ทำ�คดีสิ่งแวดล้อม ที่ควรจะต้องทำ�งานอย่างหนักกับนักพิษวิทยา ตอนแรกไม่ได้อยากเรียนนิติศาสตร์เลย(หัวเราะ) จริงๆ แล้วอยากเรียน นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือนักอาชีวอนามัย ทุกเรื่องต้องการระบบ อักษร อยากอ่านวรรณกรรม อยากเล่นละคร แต่สุดท้ายโชคชะตาก็ทำ�ให้ ที่ดี แต่ความไม่สมบูรณ์มีอยู่ในทุกวงการ ก็ฝึกทำ�งานไปเรื่อยๆ เสร็จจาก ต้องมาเรียนนิติ พอจบมาแล้วไปฝึกทนาย ก็ไม่ชอบ ออกไปอยู่ค่ายอพยพ ศาลนี้ พี่อาจจะย้ายไปอยู่ศาลที่ทำ�คดีการเมืองก็ได้ ซึ่งเชื่อว่าปัญหามันไม่ ชาวอินโดจีนที่พนัสนิคม จ. ชลบุรี สอนภาษาอังกฤษให้กับคนลาว คน ได้ต่างกัน เรื่องระบบยุติธรรมต้องปฏิวัติด้วยซํ้า ไม่ใช่แค่ปฏิรูป เวียดนาม หลังจากนั้นไปเป็นนิติกรที่กรมเจ้าท่า ซึ่งเป็นที่แรกที่ต้องทำ� เรื่องสิ่งแวดล้อมทางนํ้าและทางทะเล ทำ�ให้เกิดความสนใจในเรื่องนี้อย่าง opnmnd: สิ่งที่ภูมิใจที่สุดในชีวิตของพี่ คืออะไรคะ จริงจังในเวลาต่อมา เรียนจบธรรมศาสตร์ 2529 อายุ 20 ปี เป็นผู้พิพากษา สำ�หรับพี่คงไม่มีความภูมิใจสูงสุดเพราะไม่ถึงกับทำ�อะไรเก่งๆ ดีๆ เป็น ตอนอายุ 26 ปี ไปเยอรมนีตอนอายุเกือบ 30 จบปริญญาเอกก็ 36 เลิศ แต่ก็รู้สึกดีใจที่มักจะได้ได้สิ่งที่ไม่เคยคาดหวังอย่างทุนเยอรมัน เห็นน้องๆ ที่เยอรมนีจบปริญญาเอกตอนอายุยี่สิบกว่าหลายคน อยากจะ เกิดมาก็ไม่เคยคิดว่าจะได้ ชอบที่สุดคือการได้อยู่ในวงการที่มีคนดีๆ มี กราบจริงๆ ความจริงใจกัน มีความห่วงใยต่อบ้านเมือง สังคม และโลก ได้ทำ�งาน ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษรที่เยอรมันและไทยมี สอนให้เรารู้ สำ�คัญๆ ร่วมกัน ได้เจอแม่แบบที่ดี ได้ไปรู้จัก ร่วมงาน พูดคุยแลกเปลี่ยน ว่าการเป็น “ท่าน” ไม่ได้สำ�คัญที่สุด เพราะผู้พิพากษาเป็นแค่ผู้ตีความ ประสบการณ์กับคนเหล่านั้น ไม่ใช่แค่เฉพาะคนไทย จะว่าเป็นความบ้า กฎหมายเท่านั้น เรายังต้องเคารพฝ่ายที่ทำ�รัฐธรรมนูญ ฝ่ายที่ออก คนดีหรือคนดังก็ได้(หัวเราะ) พี่เคยไปฟังประธานาธิบดีเดอ กฎหมาย รวมทั้งฝ่ายวิชาการที่จะคอยกำ�กับทิศทางในเรื่องของความเป็น เคลิร์ค (De Klerk) แห่งแอฟริกาใต้ ที่ได้รางวัลโนเบลร่วมกับแมนเดล่าที่ ธรรมในภาพรวม พี่ว่าความท้าทายในวันนี้คือแต่ละฝ่ายมันยังทำ�หน้าที่ไม่ เคปทาวน์ เคยฟังธรรมะจากท่านทะไล ลามะ และท่านติช นัท ฮันห์ เคย สมบูรณ์ แต่ก็เที่ยวไปด่าว่าฝ่ายคนอื่น แล้วก็ไม่คิดจะคุยกันแบบมีไมตรี ถ่ายรูปคู่กับแมรี่ โรบินสัน นักสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนคนสำ�คัญ และกับอดีต ช่วยกันแก้ปัญหาที่แต่ละฝ่ายพบ ช่วยกันสำ�รวจความบกพร่องกันอย่าง ประธานาธิบดีเคอห์เลอร์ของเยอรมนี เคยได้รับการ์ดทักทายจากคุณ สร้างสรรค์ อังเกลา แมร์เคิล นายกฯเยอรมนี นี่ก็นับเป็นความสุขของเด็กผู้หญิงตัว น้อยคนนี้ ตัวน้อยที่พูดนี้หมายถึงสิ่งที่เราทำ�มามันเล็กมากเมื่อเปรียบ opnmnd: พี่โด่งเรียนกฎหมายสิ่งแวดล้อม แล้วทำ�ไมตอนนี้ถึงเลือกไป เทียบกับสิ่งที่ท่านทั้งหลายได้ทำ�ไว้ค่ะ ทำ�งานที่ศาลเยาวชนล่ะคะ ในระบบศาล เมื่อเป็นผู้พิพากษานานๆ เขาก็ให้ออกไปเป็นหัวหน้าศาล จะ opnmnd: อยากฝากอะไรถึงนักเรียนไทยในเยอรมนีตอนนี้บ้าง 102


อยากฝากให้น้องๆ รักประเทศไทยให้มากๆ ตั้งใจเรียนเพื่อนำ�ความรู้กลับ มาพัฒนาสังคมไทย อยากฝากให้น้องๆ นำ�ความรู้ที่ได้ศึกษามาเป็นกำ�ลัง ขับเคลื่อนสังคมไทยให้ก้าวไปสู่ความมั่นคงและสันติสุข ตั้งใจเรียน หมั่น พัฒนาตนเอง เก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้เต็มที่ ใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด ยุคนี้ เป็นยุคที่ประเทศไทยเกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง เราไม่ใช่ แค่เห็นต่าง แต่มันเลยไปถึงจุดที่เกิดความเกลียดชังและหวาดระแวง แบ่ง ค่ายแบ่งสี พร้อมจะฆ่ากันได้ตลอด อยากให้พวกเราสนใจเหตุการณ์บ้าน เมือง มีส่วนร่วม และใช้ความรู้ความสามารถกำ�หนดทิศทางใหม่ให้กับ ประเทศ โดยไม่ร่วมก่อให้เกิดปัญหา กิจกรรมที่น่าจะทำ�กัน คือเปิดเวที ปรึกษาหารือเรื่องของสังคมไทย การเมืองจะเดินหน้าอย่างไร ปรองดองกัน อย่างไร ทำ�อย่างไรถึงจะผ่านวิกฤติปัจจุบันไปได้โดยไม่เกิดการเข่นฆ่า เรา ทำ�กิจกรรมกันเองในหมู่นักเรียนไทยก็ได้ ทำ�กับพี่ๆ คนไทยหลายสีที่อยู่ ในยุโรปก็ได้ ทำ�กับฝรั่งก็ได้ เขาผ่านปัญหามาไม่น้อยกว่าเรา การเรียนการ สอนแบบเยอรมันจะสอนเราว่าต้องคิดจนตกผลึก มองให้เห็นข้อดีข้อเสีย ของสิ่งต่างๆ ให้รอบ ถ้าคุณตกผลึกแล้ว มองภาพรวมให้ชัดเจนและคิด อย่างเป็นระบบแล้ว คุณจะเลือกข้างไม่ได้ คุณจะไม่มีทางเห็นว่าฝ่ายใดถูก ทั้งหมด หรือผิดทั้งหมด เพราะแต่ละฝ่ายเขามีข้อดีและข้อเสียต่างกัน เด็ก เยอรมันน่าจะช่วยกันตั้งกลุ่มทางเลือกใหม่ ที่จะเป็นพลังนำ�ไทยไปสู่สังคม แห่งอุดมคติที่ควรเป็น สุดท้าย อยากฝากให้รักโลกและรักมนุษย์ให้มากๆ ด้วย พวกเราอาจจะไม่

กลับไปอยู่เมืองไทยอีกเลยก็ได้ เชื่อว่าบางคนอาจตัดสินใจเช่นนั้น ซึ่งเป็น สิทธิที่จะเลือกชีวิตที่ดีของเราตามแต่จะเห็นเหมาะสม แต่การรักโลกและ รักมนุษยชาติที่อยู่ร่วมโลก จะทำ�ให้ชีวิตของเรานั้นมีคุณค่า คนเราเกิดมา ไม่นานก็จากไป พี่คิดว่าการต่อยอดความดีที่คนอื่นได้ทำ�ไว้มันไม่มีพรม แดนจริงๆ ช่วงที่ผ่านมาพี่ได้เจอคนรุ่นใหม่หลายคนที่ชอบแนวคิดโพสต์โมเดิร์น พวกเขาบอกว่าความดีความเลวไม่มีอยู่จริง พี่ว่าน่ากลัวมาก หาก เราไปเรียนแทบตายแต่แยกแยะความดีความชั่วไม่ได้ ตายไปพญายมยัง ไม่อยากได้เลย อันนี้ไม่รู้ว่าแรงไปหรือเปล่า แต่ที่พูดตรงนี้เพราะอยากให้ พวกเราเชื่อมั่นในความดีและความถูกต้อง และให้สิ่งเหล่านี้เป็นประทีป นำ�ทางของชีวิตไปข้างหน้า พลังของความดีที่น้องๆ ทำ�ด้วยสติปัญญา อย่างมุ่งมั่น ไม่ว่าจะในฐานะปัจเจกหรือกลุ่ม ย่อมจะเป็นพลังนำ�ไปสู่ ความสำ�เร็จในการดำ�เนินกิจการต่างๆ ทั้งปวง เชื่อว่าพี่ๆ ที่จบมาแล้วทุก คนคงจะเป็นกำ�ลังใจให้น้องทุกคนตลอดไปค่ะ

อยากให้พวกเราสนใจเหตุการณ์บ้านเมือง มีส่วน ร่วม และใช้ความรู้ความสามารถกำ�หนดทิศทาง ใหม่ให้กับประเทศ โดยไม่ร่วมก่อให้เกิดปัญหา 103


รายนามนักเขียนและขอบคุณพิเศษ

นักเขียน : เอกชัย จงเสรีเจริญ, เธียรธันย์ เพ็ชรเจริญ, เอกชัย ทวินันท์, พชร แก่นเมือง, นัฏฏ์ เนติวร, พรรณพร อัชวรานนท์, ปรีชา เกียรติกิระขจร, พรศรี เจริญพานิช, วรวุฒิ สินโคกสูง, กิตติ คำ�แก้ว, กิตติยา เอี่ยมทัศนะ, พิชญ์ อำ�ไพกิจพาณิชย์, วิญญ์รวี ช่อวิเชียร, ธนะ คำ�รณฤทธิศร ขอขอบคุณ : ดร.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์, เฉลิมเดช โกไศยกานนท์, สุชานันท์ นันทหาร, อธิษว์ ศรสงคราม, แพร พู่พิทยาสถาพร, ธนินทร์ วงศกรวุฒิ, เศรษฐพงศ์ โพวาทอง, สุเมธ ขันแก้วผาบ, Moni Friebe, Nike& Charlie Oppermann, อัคร เช้าฉ้อง, กฤษฎิ์ ชัยรัตน์, กิตติยา เอี่ยมทัศนะ

นิตยสารเล่มนี้จัดทำ�ขึ้นเพื่อใช้อ่านในคอมพิวเตอร์ สงวนลิขสิทธิ์ตามสัญญาครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 (CC BY-NC-ND 3.0) ห้ามนำ�ไปพิมพ์จำ�หน่ายจ่ายแจก ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบรรณาธิการ 104


105


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.