สมัญญาแหงดอกกุหลาบ 605
606 อุมแบรโต เอโก
สมัญญาแหงดอกกุหลาบ 607
เรื่องราวของเหตุการณ์ต่าง ๆ (ซึ่ง ใช่แน่แล้ว) ทั้งพิสดารและน่าพรั่นพรึง ดังนั้น หลังจากที่ข้าพเจ้าค่อย ๆ ทําความรู้จักอาจารย์ของตนวันต่อวัน และใช้เวลา หลายชั่วยามระหว่างการรอนแรมไปกับการสนทนายืดยาว ซึ่งข้าพเจ้าจะถ่ายทอดทีละเล็ก ทีละน้อยเมื่อถึงจังหวะเหมาะ เราก็ลุถึงเชิงเขาอันเป็นสถานที่ตั้งของอาราม และเรื่องราว ของข้าพเจ้าจะเริ่มดําเนินความเมื่อเราเดินทางใกล้ถึงอารามนั้น ขอให้มือของข้าพเจ้าจง คงมั่นมิหวั่นไหวขณะเมื่อเตรียมใจเล่าขานถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วยเถิด
608 อุมแบรโต เอโก
สมัญญาแหงดอกกุหลาบ 609
610 อุมแบรโต เอโก
สมัญญาแหงดอกกุหลาบ 611
Rosa que al prado, encarnada, te ostentas presuntüosa de grana y carmín bañada: campa lozana y gustosa; pero no, que siendo hermosa tambien serás desdichada. — Juana Inés de la Cruz i
ชื่อเรื่องและความหมาย นับตั้งแต่ สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ ได้รับการตีพิมพ์ออกมา ผมก็ได้รับจดหมายจํานวน มากจากผูอ้ า่ น ซึง่ ต้องการทราบความหมายของบทกวีภาษาละตินปิดท้ายเรือ่ งและเหตุผล ทีบ่ ทกวีบาทนีเ้ ป็นแรงบันดาลใจให้ชอ่ื หนังสือ ผมตอบว่า บทกวีนค้ี ดั มาจากหนังสือกวีนพิ นธ์ ชื่อ De contemptu mundi ประพันธ์โดยเบอร์นาร์ดแห่งมอร์เลย์ นักบวชคณะเบเนดิคทีน บทกวีของเขาคือรูปแบบหนึ่งที่แผลงมาจากรูปแบบหลักที่เรียกว่า ubi sunt 1 (ซึ่งต่อมาเป็น ที่รู้จักมากที่สุดจากวรรคทองของวีญันที่ว่า Mais où sont les neiges d’antan 2) แต่นอก เหนือจากสูตรสําเร็จที่ใช้กันตามประเพณีแล้ว (เช่น ความยิ่งใหญ่ของกาลก่อน มหานครที่ เคยลือนาม เจ้าหญิงผูเ้ ฉิดโฉม ทุกสิง่ ทุกอย่างล้วนปลาสนาการสูค่ วามว่างเปล่า) เบอร์นาร์ด ู ลับไปทัง้ หมดล้วนทิง้ นามของมันไว้เบือ้ งหลัง (ถ้าไม่เหลือเพียง เติมต่อด้วยว่า สรรพสิง่ ทีส่ ญ ชื่ออย่างเดียว ก็เหลือชื่อไว้เป็นอย่างน้อยที่สุด) ผมจําได้ว่า อบีลาร์ดใช้ตัวอย่างประโยค Nulla rosa est เพื่อชี้ให้เห็นว่า ภาษาสามารถกล่าวถึงทั้งสิ่งที่ไม่มีอยู่และสิ่งที่ถูกทําลาย i. กวีชาวเม็กซิกนั (ค.ศ. 1651-1695) บทกวีขา งตนแปลวา “กุหลาบแดงแยมบานกลางทุง หญา อวดกลีบ กลาแดงดั่งชาดเฉิดฉัน กําจายกลิ่นหอมหวนมินานวัน เจาก็พลันเสื่อมเศราอับเฉาโรย” (เอโก) หมายเหตุ : เชิงอรรถที่มี (เอโก) ทายประโยค หมายถึงเชิงอรรถที่มีอยูตามตนฉบับเดิมในภาษาอังกฤษ เชิงอรรถนอกเหนือจากนี้เปนเชิงอรรถที่ผูแปลจัดทําขึ้น
612 อุมแบรโต เอโก
ไปแล้วได้อย่างไร และเมื่อได้กล่าวเช่นนี้แล้ว ส่วนที่เหลือนั้น ผมขอให้ท่านผู้อ่านโปรด ครุ่นคิดหาข้อสรุปของตนเอง ผูป้ ระพันธ์ไม่พงึ ตีความผลงานของตนให้ผอู้ า่ นฟัง มิฉะนัน้ เขาก็ไม่ควรแต่งนวนิยาย ด้วยว่านวนิยายคือเครื่องมือที่มุ่งหมายให้เกิดการตีความ แต่อุปสรรคสําคัญประการหนึ่ง ในการธํารงไว้ซึ่งหลักการอันเที่ยงตรงนี้ก็คือความจริงที่ว่า นวนิยายต้องมีชื่อเรื่อง โชคร้ายทีช่ อ่ื เรือ่ งคือกุญแจทีน่ าํ ไปสูก่ ารตีความในตัวมันเอง เมือ่ ได้เห็นชือ่ เรือ่ ง อาทิ The Red and the Black หรือ War and Peace เราย่อมไม่มที างสลัดหลุดจากความหมาย ทีไ่ ด้แรงดลใจจากชือ่ เรือ่ งนัน้ ชือ่ เรือ่ งทีแ่ สดงความเคารพต่อผูอ้ า่ นมากทีส่ ดุ คือ ชือ่ เรือ่ งทีจ่ าํ กัด ไว้แค่ช่อื ของตัวเอก เช่น David Copperfield หรือ Robinson Crusoe เป็นต้น แต่แม้กระทั่ง การใช้ช่อื เรื่องตามตัวเอกเช่นนี้ก็อาจสะท้อนถึงการแทรกแซงอย่างไม่สมควรจากผู้ประพันธ์ นวนิยายเรื่อง Pére Goriot 3 โน้มนําให้ผู้อ่านเพ่งความสนใจไปที่ตัวละครพ่อผู้ชรา ทั้ง ๆ ที่ นวนิยายเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งราวของตัวละครอืน่ ๆ ด้วย เช่น รัสตินยัค หรือโวแตรง ซึง่ ใช้อกี ชือ่ หนึง่ ว่าคอลลิน ไม่แน่ว่าวิธีที่ดีที่สุดก็คือ จงไม่ซื่อสัตย์อย่างซื่อสัตย์ ดังที่อเล็กซองด๎ร์ ดูมาส์ แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง เห็นได้ชัดว่านวนิยายเรื่อง The Three Musketeers นั้น ความจริง เป็นเรื่องราวของทหารเสือสี่คนต่างหาก แต่ความอําเภอใจฟุ่มเฟือยแบบนี้หาได้ยากยิ่ง และเป็นไปได้ที่นักประพันธ์บังเอิญได้ความฟุ่มเฟือยนี้มาเชยชมเพราะความผิดพลาด นวนิยายของผมมีชื่อชั่วคราวขณะกําลังเขียนอีกชื่อหนึ่ง นั่นคือ The Abbey of the Crime ผมโยนชื่อนี้ทิ้งไปเพราะมันโน้มนําให้ผู้อ่านเพ่งความสนใจไปที่เรื่องราวลึกลับซ่อน เงื่อนเสียหมด และอาจดึงดูดผู้ซื้อที่กําลังมองหานิยายบู๊โลดโผน จนอาจทําให้เกิดความ เข้าใจผิดกันได้ ความฝันของผมคืออยากตัง้ ชือ่ หนังสือเล่มนีว้ า่ Adso of Melk ซึง่ เป็นชือ่ เรือ่ ง ทีก่ ลาง ๆ มากทีส่ ดุ เพราะถึงอย่างไร แอดโซก็เป็นผูเ้ ล่าเรือ่ งในนวนิยายเรือ่ งนี้ แต่ในประเทศ ของผม สํานักพิมพ์ไม่ชอบชื่อวิสามานยนาม แม้กระทั่งนวนิยายเรื่อง Fermo and Lucia 4 ในสมัยก่อน ก็ยังถูกนํามาตีพิมพ์ใหม่ในชื่ออื่น กระนั้นก็ตาม งานประพันธ์ภาษาอิตาเลียน มีชื่อเรื่องแบบนี้อยู่บ้าง เช่น Lemmonio Boreo, Rubé, Metello เป็นต้น แต่ก็ยังค่อนข้าง น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับกองทัพตัวละครเอกที่เป็นชื่อนวนิยาย อาทิ ลูกพี่ลูกน้องเบตต์, แบร์รี ลีนดัน, อาร์มองซ์ และทอม โจนส์ 5 ที่มีอยู่อย่างคับคั่งในวรรณคดีของประเทศอื่น ความคิดที่จะตั้งชื่อหนังสือว่า สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ ผุดวาบขึ้นมาในใจผมโดย
สมัญญาแหงดอกกุหลาบ 613
บังเอิญแท้ ๆ และผมชอบชื่อนี้ เพราะดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายมากมาย จนเดี๋ยวนี้แทบไม่มีความหมายอะไรหลงเหลืออยู่เลย ดอกกุหลาบเร้นลับของดังเต 6 Go, lovely rose. 7 สงครามดอกกุหลาบ 8 Rose thou art sick. 9 Too many rings around Rosie. 10 A rose by any other name. 11 A rose is a rose is a rose is a rose. 12 สมาคมโรซิครูเชียน 13 ชื่อเรื่องนี้จึงถูกต้องตามหน้าที่ของมัน นั่นคือ ทําให้ผู้อ่านสับสน ผู้อ่านไม่สามารถเลือกการ ตีความอย่างใดอย่างหนึง่ เพียงอย่างเดียว และถึงแม้วา่ ผูอ้ า่ นอาจตระหนักถึงความเป็นไปได้ ในการตีความตามแนวทางนามนิยมจากบทกวีปิดท้าย 14 แต่กว่าจะได้อ่านบทกวีนี้ เรื่องก็ จบพอดี โดยระหว่างที่อ่าน คงมีแต่พระผู้เป็นเจ้าที่รู้ว่าผู้อ่านเลือกตีความแบบไหนไปแล้ว บ้าง ชื่อเรื่องต้องกวนความคิดของผู้อ่านให้ยุ่งเหยิง ไม่ใช่ควบคุมบังคับความคิดให้อยู่ใน กรอบ ไม่มีอะไรทําให้นักประพันธ์นวนิยายชื่นใจยิ่งไปกว่าการค้นพบวิธีการตีความต่าง ๆ ทีเ่ ขาไม่ได้ตง้ั ใจไว้ แต่ผอู้ า่ นเป็นฝ่ายเสนอแนะให้แทน เวลาทีผ่ มเขียนงานวิชาการ ทัศนคติ ที่ผมมีต่อนักวิจารณ์ค่อนข้างชัดเจนเด็ดขาด พวกเขาเข้าใจหรือไม่เข้าใจสิ่งที่ผมหมายถึง หรือเปล่า? แต่กับนวนิยายนั้นแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ผมอยากจะบอกว่า บางครั้ง ผู้ประพันธ์ก็อาจรู้สึกว่าวิธีการตีความบางแบบออกจะพิลึกพิลั่นไปหน่อย แต่ต่อให้เขาคิด เช่นนัน้ ผูป้ ระพันธ์กท็ าํ ได้แค่นง่ิ เงียบ ปล่อยให้คนอืน่ ทําหน้าทีโ่ ต้แย้งโดยยึดตามตัวบทของ งานประพันธ์นั้น ๆ ด้วยเหตุนี้เอง การตีความส่วนใหญ่จึงทําให้เราเห็นผลกระทบของความ หมายที่ผู้ประพันธ์ไม่ได้นึกถึง แต่การไม่ได้นึกถึงนั้นหมายความว่าอะไร? นักวิชาการชาวฝรัง่ เศส มีแรลลี กาเลอ กรูเบ ค้นพบการเล่นคําพ้องเสียง (paragrams) อันซับซ้อนที่เชื่อมโยงคําว่า simple (สามัญชน ในความหมายของคนจน) กับคําว่า simples (ในความหมายของสมุนไพรที่ใช้ทางการแพทย์) 15 แล้วจากนั้นก็พบว่า ผมเอ่ยถึง “tare” (วัชพืชมีพษิ ) ของลัทธินอกรีต ผมตอบได้วา่ คําว่า “simple” ในทัง้ สองความหมาย มีการใช้ ในวรรณคดีของยุคนั้น เช่นเดียวกับสํานวนว่า “mala pianta” ที่แปลว่า วัชพืชมีพิษหรือ สมุนไพรมีพิษของลัทธินอกรีต นอกจากนี้ ผมตระหนักดีถึงตัวอย่างของเกรอีมาส 16 เกี่ยวกับ ความเป็นไปได้ของการอ่านสองชั้น (นักสัญศาสตร์เรียกว่า “double isotopy” 17) เมื่อผู้ชาญ ว่านสมุนไพรถูกเรียกว่า “friend of the simple” (“มิตรของสามัญชน”) ผมรู้หรือเปล่าว่าตัวเอง กําลังเล่นกับคําพ้องเสียง? การตอบคําถามนี้ไม่ใช่เรื่องสําคัญ ในเมื่อตัวบทก็ดํารงอยู่แล้ว
614 อุมแบรโต เอโก
และสร้างผลกระทบของความหมายด้วยตัวมันเอง เมื่อได้อ่านบทวิจารณ์นวนิยายเรื่องนี้ ผมรู้สึกตื่นเต้นยินดีที่พบว่า นักวิจารณ์ (คนแรกคือจีเนฟรา บอมปีอานีและลาส กุสตาฟสัน) คัดคําพูดของวิลเลียมในช่วงท้ายของ การพิจารณาคดี (หน้า 466) “อะไรในความบริสุทธิ์ที่ทําให้อาจารย์พรั่นพรึงมากที่สุด?” แอดโซถาม และวิลเลียมตอบว่า “ความรีบร้อน” ผมรักและยังคงรักสองประโยคนี้มาก แต่แล้วก็มีผู้อ่านคนหนึ่งชี้ให้ผมเห็นว่า ในหน้าถัดมานั้น เบอร์นาร์ด กุย ที่กําลังข่มขู่พระ คหบาลว่าจะใช้ทัณฑ์ทรมาน ก็เอ่ยขึ้นว่า “ความยุติธรรมมิใช่บันดาลได้ด้วยความรีบร้อน เหมือนดังที่พวกอัครสาวกจอมปลอมมันเชื่อดอก และความยุติธรรมแห่งพระผู้เป็นเจ้ามี เวลาเหลือให้จัดการเป็นศตวรรษ” ผู้อ่านท่านนั้นตั้งคําถามถามผมอย่างตรงจุดเลยว่า ผม ตั้งใจจะแฝงนัยยะถึงความเชื่อมโยงอะไรระหว่างความรีบร้อนที่วิลเลียมพรั่นพรึงกับความ ไม่รบี ร้อนทีเ่ บอร์นาร์ดสรรเสริญ ตอนนัน้ เองทีผ่ มเพิง่ ตระหนักว่า มีเรือ่ งไม่คาดหมายเกิดขึน้ คําสนทนาระหว่างแอดโซกับวิลเลียมนัน้ เดิมทีไม่ได้มอี ยูใ่ นต้นฉบับ ผมเพิม่ คําสนทนาสัน้ ๆ นี้เข้าไปตอนที่สํานักพิมพ์กําลังจัดหน้าเรียงพิมพ์ เหตุผลเพื่อเชื่อมต่อระหว่างการเปลี่ยน จังหวะ ผมต้องแทรกฉันทลักษณ์พินิจ 18 อีกแบบหนึ่งเข้าไปก่อนที่จะให้เบอร์นาร์ดกลับมา มีบทเด่นอีกครั้ง แน่นอน ขณะที่ผมเขียนให้วิลเลียมชิงชังความรีบร้อน (และเขาพูดอย่าง ชัดเจนเด็ดขาด ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทําไมผมจึงชอบคําพูดนี้มาก) ผมลืมสนิทเลยว่า อีกไม่กี่ บรรทัดถัดมา เบอร์นาร์ดก็พูดถึงความรีบร้อน ถ้าคุณอ่านคําพูดของเบอร์นาร์ดซ้ําโดยไม่มี คําพูดของวิลเลียมก่อนหน้านั้น มันก็เหมือนถ้อยคําสําเร็จรูปธรรมดา ๆ แบบที่เรามักได้ยิน จากปากผูพ้ พิ ากษา คําพูดดาด ๆ แบบเดียวกับ “ทุกคนล้วนเท่าเทียมกันเบือ้ งหน้ากฎหมาย” แต่เมือ่ นํามาวางคูก่ บั ความรีบร้อนทีว่ ลิ เลียมเอ่ยถึง ความรีบร้อนของเบอร์นาร์ดจึงก่อให้เกิด ผลกระทบของความหมายทางวรรณกรรมขึ้นมาทันที และผู้อ่านย่อมมีเหตุผลที่จะนึกฉงน ว่า สองคนนี้กําลังพูดเรื่องเดียวกันหรือเปล่า หรือความชิงชังต่อความรีบร้อนในคําพูดของ วิลเลียมมีความแตกต่างจากความชิงชังต่อความรีบร้อนในคําพูดของเบอร์นาร์ดอย่างค่อน ข้างชัดเจน ตัวบทก็ดํารงอยู่แล้วและสร้างผลกระทบของความหมายด้วยตัวมันเอง ไม่ว่า ผมต้องการให้มันเป็นแบบนี้หรือไม่ก็ตาม ถึงอย่างไร เราก็เจอคําถามนี้อยู่ตรงหน้า คําถาม กวนใจทีค่ ลุมเครือ และตัวผมเองรูส้ กึ กระดากทีจ่ ะตีความความขัดแย้งนี้ ถึงแม้ผมตระหนัก ว่ามีความหมายหนึ่งซุกซ่อนอยู่ที่นั่น (อาจมีหลายความหมายก็ได้)
สมัญญาแหงดอกกุหลาบ 615
นักประพันธ์ควรตายไปทันทีที่ประพันธ์เสร็จสิ้น เพื่อจะได้ไม่เป็นเครื่องกีดขวาง หนทางของตัวบท
บอกเล่ากระบวนการ ผูป้ ระพันธ์ตอ้ งไม่ตคี วาม แต่เขาบอกได้วา่ เขียนหนังสือทําไมและอย่างไร สิง่ ทีเ่ รียกว่า “ตํารา ศิลปะการประพันธ์” อาจไม่มีประโยชน์เสมอไปในการทําความเข้าใจผลงานวรรณกรรมที่ เป็นแรงบันดาลใจ แต่มันช่วยให้เราเข้าใจวิธีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค ซึ่งเป็นผลิตผล ของผลงานชิ้นนั้น ในความเรียงชื่อ “Philosophy of Composition” เอดการ์ แอลลัน โพ 19 เล่าว่าเขา เขียนกวีนิพนธ์เรื่อง “The Raven” อย่างไร เขาไม่ได้บอกเราว่าเราควรอ่านผลงานชิ้นนี้ อย่างไร แต่บอกเราว่าเขาตั้งเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อให้ผลงานนั้นบรรลุถึงผลกระทบเชิงกวี นิพนธ์ (poetic effect) ผมขอนิยามคําว่า “ผลกระทบเชิงกวีนิพนธ์” ดังนี้คือ ความสามารถ ทีต่ วั บทหนึง่ ๆ แสดงออกมาด้วยการก่อให้เกิดการตีความทีแ่ ตกต่างออกไปอย่างต่อเนือ่ ง โดย ไม่เคยมีจุดสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์ นักเขียน (หรือจิตรกร ประติมากรหรือคีตกวี) ย่อมรู้ดีว่าเขากําลังทําอะไรและต้องลง ทุนลงแรงมากน้อยแค่ไหน เขารู้ว่าต้องแก้ปัญหา บางครั้งข้อมูลเบื้องต้นอาจคลุมเครือ บีบคัน้ หมกมุน่ อาจไม่ใช่อะไรมากไปกว่าความโหยหาหรือความทรงจํา แต่แล้วปัญหานัน้ ก็ได้รับการคลี่คลายที่โต๊ะของนักเขียน ขณะที่เขาพิเคราะห์วัตถุดิบที่เขากําลังทํางานอยู่ วัตถุดิบก็เผยให้เห็นกฎธรรมชาติของตัวมันเอง แต่ในขณะเดียวกันก็มีภาพสะท้อนของ วัฒนธรรมบรรจุอยู่ในนั้นเต็มเปี่ยม (เสียงสะท้อนของสัมพันธบท 20) เมื่อนักประพันธ์บอกเราว่า เขาทํางานด้วยแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เขา กําลังโกหก อัจฉริยภาพประกอบด้วยแรงบันดาลใจหนึ่งเปอร์เซ็นต์และหยาดเหงื่ออีกเก้า สิบเก้าเปอร์เซ็นต์ เมื่อลามาร์ทีน 21 กล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อเสียงของเขา ผมจําไม่ได้เสียแล้วว่าบทไหน
616 อุมแบรโต เอโก
เขาบอกว่าบทกวีนอ้ี บุ ตั วิ าบขึน้ ในใจเขาในค่าํ คืนทีพ่ ายุพดั จัดในป่า 22 เมือ่ เขาเสียชีวติ ไปแล้ว มีการค้นพบต้นฉบับของกวีนิพนธ์บทนั้น ซึ่งเต็มไปด้วยการแก้ไขและการทดลองเขียนใน รูปแบบต่าง ๆ บทกวีบทนัน้ ได้ชอ่ื ว่าเป็นผลงานที่ “สําเร็จด้วยความอุตสาหะ” ทีส่ ดุ ในวรรณคดี ทั้งหมดของฝรั่งเศส เมือ่ นักเขียน (หรือศิลปินไม่วา่ แขนงใด) กล่าวว่า เขาทํางานโดยไม่เคยคิดถึงกฎเกณฑ์ ของกระบวนการ เขาหมายความเพียงว่า เขาทํางานโดยไม่รู้ตัวว่าตนเองรู้กฎเกณฑ์นั้นดี อยู่แล้วต่างหาก เด็กย่อมพูดภาษาแม่ของตนได้อย่างถูกต้อง ถึงแม้ไม่สามารถเขียนตํารา ไวยากรณ์ได้ก็ตาม แต่นักไวยากรณ์มิใช่ผู้เดียวที่รู้กฎเกณฑ์ของภาษา แม้กระทั่งเด็กก็รู้ กฎเกณฑ์ของภาษา ถึงแม้รโู้ ดยไร้สาํ นึกก็ตาม นักไวยากรณ์เพียงแค่เป็นคนทีร่ วู้ า่ เด็กเรียน รู้ภาษาได้อย่างไรและทําไม การบอกเล่าว่าประพันธ์ผลงานออกมาอย่างไร ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าผลงานนั้นเป็น ผลงานที่ “ดี” โพกล่าวว่า ผลกระทบของผลงานนัน้ เป็นเรือ่ งหนึง่ ส่วนการรูก้ ระบวนการเป็น อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อคันดินสกี 23 และคลี 24 บอกเราว่าเขาวาดรูปอย่างไร เขาไม่ได้บอกว่าเขา เหนือกว่าคนอื่น เมื่อมีเกลันเจโล 25 กล่าวว่า ประติมากรรมคือการปลดปล่อยรูปทรงที่มีอยู่ แล้วในแท่งหินให้เป็นอิสระ เขาไม่ได้หมายความว่า ประติมากรรมรูปปีเอตา 26 ที่นครรัฐ วาติกันโดดเด่นเหนือกว่าประติมากรรมรูปปีเอตารอนดานินี 27 บางครั้ง งานเขียนเกี่ยวกับ กระบวนการทํางานศิลปะที่เขียนออกมาได้ดีที่สุด กลับเขียนโดยศิลปินชั้นรอง ๆ ซึ่งสร้าง สรรค์ผลงานที่มีผลกระทบเพียงปานกลาง แต่รู้จักไตร่ตรองถึงกระบวนการทํางานของตน เช่น จอร์โจ วาซารี 28 ฮอเรชีโอ กรีโน 29 อารอน คอปแลนด์ 30...
แน่นอน นี่คือยุคกลาง ผมเขียนนวนิยายเพราะผมอยากเขียน ผมเชือ่ ว่าเหตุผลนีเ้ พียงพอแล้วทีจ่ ะทําให้คนเราเริม่ ต้น เล่าเรื่อง มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นนักเล่าเรื่องโดยธรรมชาติ ผมเริ่มลงมือเขียนเรื่องนี้ใน เดือนมีนาคม ค.ศ. 1978 โดยมีแรงกระตุ้นจากความคิดแรงกล้าประการหนึ่งคือ ผมรู้สึก
สมัญญาแหงดอกกุหลาบ 617
อยากวางยาพิษนักบวชสักคน ผมเชื่อว่านวนิยายเกิดมาจากความคิดแบบนี้เสมอ ส่วน ที่เหลือคือเนื้อหาที่ค่อย ๆ เพิ่มเติมเสริมแต่งระหว่างทาง ความคิดนี้ของผมน่าจะเกิดขึ้น ก่อนหน้านั้นอีก หลังจากนั้น ผมเจอสมุดบันทึกที่จดไว้ใน ค.ศ. 1975 ซึ่งผมเขียนรายชื่อ นักบวชในอารามที่ไม่ระบุชื่อแห่งหนึ่ง ไม่มีอะไรนอกเหนือจากนั้น ในช่วงเริ่มต้น ผมอ่าน ตําราเรือ่ ง Traité des poisons ของออร์ฟลิ า 31 ผมซือ้ หนังสือเล่มนีไ้ ว้ตง้ั แต่ยส่ี บิ ปีกอ่ นจากร้าน หนังสือแห่งหนึ่งริมแม่น้ําแซน เหตุผลที่ซื้อก็เพียงเพราะความจงรักภักดีต่อ (นวนิยายเรื่อง Lá-bas) ของเอิสมันส์ 32 แท้ ๆ เนื่องจากไม่มียาพิษชนิดไหนที่ผมพอใจ ผมจึงขอให้เพื่อน คนหนึ่งที่เป็นนักชีววิทยาช่วยแนะนํายาพิษที่มีคุณสมบัติบางอย่าง (ยาพิษที่สามารถซึม เข้าไปในผิวหนังเมื่อสัมผัส) เขาเขียนจดหมายตอบกลับมาว่า ไม่รู้จักยาพิษสักชนิดเดียว ที่มีคุณสมบัติตรงตามความประสงค์ของผม ผมฉีกจดหมายทิ้งทันทีที่อ่านจบ เพราะมัน เป็นเอกสารที่หากนําไปอ่านในบริบทอื่น อาจพาตัวผมขึ้นตะแลงแกงได้ แรกเริ่มเดิมทีนั้น นักบวชของผมจะมีชีวิตอยู่ในคอนแวนต์ร่วมสมัยที่ไหนสักแห่ง (ผมวาดภาพไว้ในใจถึงนักบวช-นักสืบที่ชอบอ่าน Il Manifesto ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้าย ในอิตาลีนั้น แม้กระทั่งฝ่ายซ้ายก็มีชนนอกรีตเหมือนกัน) แต่ในคอนแวนต์หรือในอาราม ที่ไหนก็ตาม ย่อมมีร่องรอยของยุคกลางหลงเหลืออยู่นับไม่ถ้วน ดังนั้น ผมจึงเริ่มรื้อค้น แฟ้มเอกสารต่าง ๆ ถึงอย่างไร ผมก็เปรียบเสมือนผูเ้ ชีย่ วชาญยุคกลางทีจ่ าํ ศีลซ่อนตัวมานาน (ผมเคยตีพมิ พ์หนังสือเกีย่ วกับสุนทรียศาสตร์ยคุ กลางเมือ่ ค.ศ. 1956 เขียนเกีย่ วกับยุคกลาง อีกหนึ่งร้อยหน้าใน ค.ศ. 1969 เขียนบทความที่โน่นที่นี่อีก 2-3 ชิ้น จากนั้นก็กลับไปศึกษา จารีตของยุคกลางอีกใน ค.ศ. 1962 เพื่อใช้ในงานเขียนเกี่ยวกับเจมส์ จอยซ์ ใน ค.ศ. 1972 ผมศึกษาวิจัยเป็นเวลานานเกี่ยวกับพระธรรมบทวิวรณ์และภาพประกอบอรรถกถาของ เบอาตุสแห่งเลียบานา 33 ดังนั้น ยุคกลางจึงถูกอุ่นเครื่องอยู่ในตัวผมมาตลอด) ผมค้นเจอ วัตถุดิบกองโต (บัตรข้อมูล สําเนา สมุดบันทึก) ที่สะสมมาตั้งแต่ ค.ศ. 1952 และเดิมทีทํา เก็บไว้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ยังเลือนราง เช่น ประวัติอสุรกาย บทวิเคราะห์สารานุกรม ยุคกลาง หรือทฤษฎีเกี่ยวกับรายชื่อ.... ถึงจุดหนึ่ง ผมบอกกับตัวเองว่า ในเมื่อยุคกลาง เป็นจินตภาพประจําวันของผมอยู่แล้ว ผมก็น่าจะเขียนนวนิยายที่มีฉากหลังอยู่ในยุคนั้น เสียเลย ดังที่ผมเคยกล่าวไว้ในการให้สัมภาษณ์ว่า ผมรู้จักปัจจุบันผ่านจอโทรทัศน์เท่านั้น ในขณะที่ผมมีความรู้โดยตรงเกี่ยวกับยุคกลาง เวลาที่เราจุดไฟเผาหญ้าในชนบท ภรรยา
618 อุมแบรโต เอโก
ของผมมักบ่นว่า ผมไม่เคยสนใจดูประกายไฟที่ปลิวขึ้นไปตามต้นไม้และแลบไล่ระไปตาม สายไฟฟ้าเลย พอเธอได้อา่ นบททีว่ า่ ด้วยไฟไหม้ เธอพูดขึน้ มาว่า “คราวนีค้ ณ ุ รูจ้ กั ดู ประกายไฟ เสียที!” ผมตอบว่า “เปล่าเลย แต่ผมรู้ว่านักบวชยุคกลางมองดูมันอย่างไรต่างหาก” สิบปีทแ่ี ล้ว ในจดหมายจากผูเ้ ขียนถึงสํานักพิมพ์ ซึง่ ส่งไปพร้อมกับอรรถกถาของผม ทีเ่ ขียนอธิบายอรรถกถาของเบอาตุสแห่งเลียบานาทีอ่ ธิบายพระธรรมบทวิวรณ์ ผมสารภาพ (ต่อฟรังโก มารีอา ริกชี 34) ว่า : ไม่วา่ คุณเลือกทีจ่ ะมองแบบไหน แต่ผมมีชอ่ื เสียงในฐานะนักวิชาการ ขึน้ มา ด้วยการบุกฝ่าป่าแห่งสัญลักษณ์อนั เป็นทีอ่ าศัยของยูนคิ อร์น และกริฟอน ด้วยการเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมของโบสถ์รูปทรง ยอดแหลมกับรูปทรงสี่เหลี่ยม ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์การตีความ อย่างประสงค์ร้ายที่แฝงเร้นอยู่ในสูตรสี่มุมของตํารา Summulae 35 ด้วยการเดินเตร็ดเตร่ระหว่างถนน “Vico de le Strami 36 ” กับโถงโบสถ์ ของสํานักซิสเตอร์เชียน สนทนาอย่างมีไมตรีจิตกับนักบวชสํานัก คลูนิแอคผู้ทรงภูมิรู้และสง่าผ่าเผย อยู่ภายใต้สายตาสอดส่องของ ท่านนักบุญอะไควนัสร่างท้วมผู้ยึดมั่นในเหตุผล บันเทิงใจไปกับ ภูมิศาสตร์พิสดารของโฮโนเรียส ออกุสโตดูนีนซิส 37 ซึ่งสามารถ อธิบาย quare in pueritia coitus non contingat พร้อม ๆ กับวิธเี ดินทาง ไปถึง “เกาะสาบสูญ” หรือวิธีการจับงูแบสซิลิสค์โดยมีเครื่องมือแค่ กระจกเงาขนาดพกใส่กระเป๋ากับความเชือ่ มัน่ ศรัทธาอย่างไม่คลอน แคลนในตําราสัตวาภิธานของยุคกลาง รสนิยมและความลุ่มหลงนี้ไม่เคยมลายหายไปจากตัวผม แม้ว่าในภายหลัง ทั้งด้วยเหตุผลเชิงศีลธรรมและเชิงวัตถุ (การเป็น ผู้เชี่ยวชาญยุคกลางมักหมายถึงการมีฐานะมั่งคั่งพอสมควร รวม ไปถึงการมีช่องทางที่จะได้เดินทางไปตามหอสมุดที่อยู่ห่างไกล และถ่ายไมโครฟิล์มต้นฉบับที่ไม่เคยมีใครได้ยินชื่อ) ผมได้หันไป สนใจศึกษาเรื่องอื่น ๆ ก็ตาม ดังนั้น ถึงแม้ยุคกลางไม่ใช่อาชีพหลัก แต่มนั ยังคงเป็นงานอดิเรกของผม และเป็นความเย้ายวนใจมาอย่าง ต่อเนื่องสม่ําเสมอ ผมแลเห็นยุคกลางในทุกหนแห่ง เปรียบเสมือน ฉากโปร่งใสที่เคลือบอยู่บนกิจวัตรในชีวิตประจําวัน ถึงแม้กิจวัตร เหล่านั้นไม่มีอะไรที่ดูเหมือนยุคกลางเลย แต่แท้ที่จริงแล้ว มันคือ
สมัญญาแหงดอกกุหลาบ 619
ยุคกลาง การได้ฉวยโอกาสใช้วันหยุดภายใต้เพดานโค้งในมหาวิหาร แห่งโอเติง ที่ซึ่งเจ้าอาวาสกรีวูท์ 38 เขียนคู่มือเกี่ยวกับปิศาจ ปก หนังสือชุดนี้ฉุนกึกไปด้วยกลิ่นกํามะถัน ความรื่นรมย์แบบชนบท ในเมืองมัวส์ซักและเมืองกองเกอส์ ละลานตาไปกับภาพบรรพชน ในพระธรรมบทวิวรณ์หรือภาพปิศาจผลักวิญญาณบาปหนาลงใน หม้อต้มเดือด และในขณะเดียวกัน การได้ศึกษาผลงานที่ช่วย กระตุ้นความคิดของนักบวชบีดผู้ทรงภูมิรู้ ความมีเหตุมีผลอันน่า ประโลมใจที่หาได้จากออคคัม การเข้าใจความเร้นลับของสัญญะ ทีแ่ ม้แต่โซซูร์ 39 ยังคลุมเครือ ฯลฯ ฯลฯ ระคนไปด้วยความคิดถึงบ้าน อย่างไม่เคยจืดจางที่มีต่อ Peregrinatio Sancti Brandani 40 การ ตรวจสอบวิธีคิดของเราที่มีอยู่ตลอดหนังสือ Book of Kells 41 การ กลับไปเยือนบอร์เฆสเมื่อได้เห็น kenningars 43 ในภาษาเคลติก ความสัมพันธ์ระหว่างอํานาจกับมวลชนทีถ่ กู ชักจูง โดยเปรียบเทียบ กับบันทึกประจําวันของบิชอปซูเชร์ 43
หน้ากาก จริง ๆ แล้วผมตัดสินใจว่า ผมจะไม่เพียงแค่เล่าเรื่อง เกี่ยวกับ ยุคกลางเท่านั้น แต่จะเล่าเรื่อง ใน ยุคกลางเลยทีเดียว และเล่าผ่านปากของผู้จดบันทึกเหตุการณ์ในยุคสมัยนั้น ผมเป็น ผูเ้ ล่าเรือ่ ง (narrator) มือใหม่ เปรียบไปก็เหมือนนวกะ และทีผ่ า่ น ๆ มา ผมเคยมองดูผเู้ ล่าเรือ่ ง จากจุดยืนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามมาโดยตลอด ผมจึงกระดากที่จะเล่าเรื่องเสียเอง รู้สึกเหมือน นักวิจารณ์ละครที่จู่ ๆ ก็มายืนอยู่กลางแสงไฟบนเวที และพบว่าตัวเองถูกจับจ้องมองดูจาก บรรดาผู้ที่เมื่อก่อนนี้เคยเป็นพรรคพวกเดียวกับตนในแถวที่นั่งด้านหน้า เป็นไปได้หรือที่จะกล่าวว่า “เช้าวันอันสดใสปลายเดือนพฤศจิกายน” โดยไม่รู้สึก เหมือนสนูปปี้? แต่ถ้าหากผมให้สนูปปี้เป็นผู้พูดประโยคนี้ล่ะ? ถ้าหากประโยคที่ว่า “เช้า วันอันสดใส....” เป็นคําพูดของคนทีเ่ หมาะจะพูดจาเช่นนัน้ เพราะมันเป็นคําพูดทีเ่ หมาะสม
620 อุมแบรโต เอโก
กับยุคสมัยของเขา เป็นคําพูดที่ยังไม่ได้ถูกใช้จนเฝือ? หน้ากาก : นั่นคือสิ่งที่ผมต้องการ ผมเริ่มรื้อค้นเอาจดหมายเหตุสมัยยุคกลางมาอ่านหรืออ่านซ้ําอีกครั้ง เพื่อให้คุ้นเคย กับจังหวะและความไร้เดียงสาของผูบ้ นั ทึกเหตุการณ์ในยุคสมัยนัน้ พวกเขาจะเป็นผูเ้ ล่าเรือ่ ง แทนผม ผมจะได้เป็นอิสระจากความคลางแคลงใจ แต่ถงึ แม้เป็นอิสระจากความคลางแคลงใจ ก็ไม่ได้เป็นอิสระจากเสียงสะท้อนของสัมพันธบท ดังนั้น ผมจึงค้นพบสิ่งที่นักเขียนทุกคน ทราบดีเสมอมาอีกครั้งหนึ่ง (และพวกเขาพร่ําบอกเราซ้ําแล้วซ้ําเล่า) นั่นคือ หนังสือย่อมพูด ถึงหนังสือเล่มอื่น ๆ เสมอ และเรื่องเล่าทุกเรื่องราวย่อมเล่าเรื่องที่เคยเล่ากันมาก่อนแล้ว โฮเมอร์รู้ และอารีออสโต 44 ก็รู้ ยิง่ ไม่ตอ้ งเอ่ยถึงราเบอเล 45 และเซอร์บนั เตส 46 เรือ่ งราวของ ผมจึงพึงเริ่มต้นด้วยการค้นพบต้นฉบับเล่มหนึ่ง และแม้กระทั่งต้นฉบับนี้ (แน่นอน) ก็เป็น แค่การคัดอ้างจากหนังสืออีกเล่มหนึง่ ดังนัน้ ผมจึงลงมือเขียนบทเกริน่ นําทันที โดยกําหนด ให้เรื่องเล่าของผมอยู่ในกรอบชั้นที่สี่ภายในเรื่องเล่าที่ซ้อนกันอีกสามชั้น ผมกําลังเล่าสิ่งที่ บาทหลวงแวลเลท์เล่าว่ามาบิลลอนเล่าว่าแอดโซเล่าว่า..... คราวนี้ผมเป็นอิสระจากความกริ่งเกรงทุกประการ พอถึงจุดนี้ ผมหยุดเขียนไปเป็น เวลาสิบสองเดือน ผมหยุดเขียนเพราะค้นพบสิ่งอื่นที่รู้อยู่แล้ว (และทุกคนก็รู้) แต่เป็นสิ่งที่ ผมเข้าใจชัดเจนมากขึ้นเมื่อลงมือเขียน สิ่งที่ผมค้นพบก็คือ โดยเบื้องต้นที่สุดนั้น นวนิยายไม่ใช่เรื่องของถ้อยคํา การเขียน นวนิยายเป็นเรื่องของจักรวาลวิทยา เช่นเดียวกับเรื่องราวที่เล่าในพระธรรมบทปฐมกาล (พูดอย่างวู้ดดี้ อัลเลนก็คือ เราทุกคนต้องเลือกบทบาทต้นแบบของตัวเอง)
นวนิยายในฐานะอุบัติการณ์เชิงจักรวาลวิทยา ผมหมายความว่า ในการเล่าเรื่องสักเรื่อง สิ่งแรกที่คุณต้องทําคือสร้างโลกขึ้นมา ใส่ รายละเอียดเข้าไปให้มากที่สุดเท่าที่ทําได้จนถึงองค์ประกอบปลีกย่อยที่สุด ถ้าผมต้องสร้าง แม่น้ําขึ้นมาสักสาย ผมก็ต้องมีตลิ่งสองฝั่ง หากบนตลิ่งฝั่งซ้าย ผมใส่ชาวประมงเข้าไป คนหนึง่ และหากผมกําหนดให้ชาวประมงคนนีม้ บี คุ ลิกกราดเกรีย้ วและมีประวัตอิ าชญากรรม