ปรัชญาประโลมใจ

Page 1

1


2 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่


3

เอนไลต์เทน พับลิชชิ่ง

1 ถนนรองเมือง 5 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330


4 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

ปรัชญาประโลมใจ เรื่ อง แปล บรรณาธิการบทแปล บรรณาธิการอ�ำนวยการ ออกแบบปก ศิลปกรรม

อัลเลน เดอ โบตอง พจมาน บุญไกรศรี อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย ‘คนเฝ้าประภาคาร’ น� ้ำส้ ม สุภานันท์ จีรวรรณ มัน่ คง

ข้ อมูลทางบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ เดอ โบตอง, อัลเลน ปรัชญาประโลมใจ - The Consolations of Philosophy กรุงเทพฯ : เอนไลต์เทน, พ.ศ.2556 360 หน้ า. 1.แนวคิดปรัชญา. I. พจมาน บุญไกรศรี , ผู้แปล II. ชื่อเรื่ อง. ISBN 978-616-90076-7-8 ปรัชญาประโลมใจ : ผลงานล�ำดับที่ 1 พิมพ์ครัง้ แรก : พ.ศ. 2556 จัดพิมพ์ : เอนไลต์เทน พับลิชชิ่ง 1 ถนนรองเมือง 5 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 พิมพ์ที่ : ห้ างหุ้นส่วนจ�ำกัด ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 0-2433-0026-7 จัดจ�ำหน่ายโดย : บริ ษัท เอ-บุ๊ค ดิสทริ บวิ ชัน่ จ�ำกัด โทรศัพท์ 0-2968-9337 โทรสาร 0-2968-9511 Thai Language Translation copyright 2013 by Enlighten Publishing This edition published by arrangement with International Literary Agency acting in conjunction with United Agents through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd.


5


6 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

บทน�ำของบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี ม้ ี จุดประสงค์ ที่จะน� ำความคิดทางปรั ชญาของนัก ปรัชญาที่มีชื่อเสียงมาช่วยปลอบใจผู้มีความทุกข์ใจจากปั ญหาที่ประสบ ในชีวติ ประจ�ำวัน จึงจัดอยูใ่ นหนังสือประเภทที่น�ำความคิดทางปรัชญามา แก้ ปัญหาของมนุษย์ หนังสือเช่นนี ้มีมากมายอยู่ในตลาด แต่เล่มนี ้ได้ รับ ความนิยมมากที่สดุ ในปั จจุบนั ได้ รับการแปลจากภาษาอังกฤษเป็ นภาษา อืน่ แล้ วหลายภาษา จึงเกิดค�ำถามว่าหนังสือเล่มนี ้มีลกั ษณะเด่นอย่างไรจึง ได้ รับความนิยมเช่นนี ้ ปรัชญาเป็ นศาสตร์ ที่เสนอค�ำตอบของปั ญหาเกี่ยวกับโลกทรรศน์ อันเป็ นปั ญหาในระดับทัว่ ไปที่มนุษย์ทกุ คนสนใจตลอดกาลสมัย ปั ญหา เหล่านี ้ที่เป็ นหลักก็อย่างเช่น เราควรด�ำรงชีวิตอย่างไร มนุษย์มีสถานะ อย่างไรในจักรวาล วิญญาณมีหรือไม่ ในจักรวาลนี ้มีสงิ่ ใดทีเ่ ป็ นจริง พระเจ้ า มีหรื อไม่ มนุษย์สามารถรู้ความจริงได้ หรื อไม่ วิธีการที่ปรัชญาใช้ คอื เหตุผล หรื อตรรกวิทยา ปรัชญาต่างจากศาสนาตรงที่มิได้ ใช้ ศรัทธาเป็ นพื ้นฐาน และต่างจากวิทยาศาสตร์ ตรงที่มิได้ เรี ยกร้ องว่าสมมติฐานจะต้ องมีความ เกี่ยวโยงทางใดทางหนึ่งกับประสบการณ์ ปั ญหาที่กล่าวมาข้ างต้ นเป็ น ปั ญหาที่มนุษย์ในฐานะเป็ นสัตว์ที่แสวงหาความรู้ยอ่ มปรารถนาที่จะรู้ ไม่ ว่าจะมีสงิ่ อื่นใดอีกที่อยากรู้ก็ตาม ปั ญหาเหล่านี ้ยาก จนปั จจุบนั ก็หามีค�ำ ตอบที่เป็ นมติเอกฉันท์ไม่ และด้ วยเหตุนี ้คนทัว่ ไปจึงคิดว่าปรัชญาเป็ นวิชา ที่ยากและไกลตัว กระนันก็ ้ ดีจดุ เริ่ มต้ นของการคิดปรัชญาเป็ นสิง่ ที่ใกล้ ตวั มนุษย์ที่สดุ ในสภาวะที่มนุษย์อยูร่ วมกันเป็ นสังคมและสามารถเลือกการ กระท�ำได้ สิง่ ทีม่ นุษย์ทกุ คนถือเป็ นปั ญหาส�ำคัญคือ เราควรด�ำรงชีวติ อย่างไร แต่การตอบปั ญหานี ้ท�ำได้ ก็โดยต้ องตอบปั ญหาว่า ธรรมชาติของมนุษย์


7

เป็ นอย่างไรเสียก่อน และการจะตอบปั ญหาหลังได้ ก็ต้องตอบค�ำถามก่อน ว่า จักรวาลซึง่ มนุษย์เป็ นเพียงส่วนหนึง่ นันมี ้ ลกั ษณะอย่างไร และการที่จะ ตอบปั ญหานี ้ก็ต้องถามต่อไปว่ามนุษย์มีสมรรถนะที่จะรู้ความจริ งได้ หรื อ ไม่ ดังนันการที ้ ่ดเู หมือนว่านักปรัชญาคิดค้ นปั ญหาที่อยูไ่ กลตัวมนุษย์นนั ้ เป็ นเรื่องทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้ ในแง่ของการเชื่อมโยงทางเหตุผล ปั ญหาทีเ่ ราคิด ว่าไกลตัวนันโยงกั ้ บปั ญหาที่อยูใ่ กล้ ตวั มนุษย์ที่สดุ ในเชิงความเป็ นเหตุเป็ น ผล หากเข้ าใจเช่นนี ้แล้ วก็ดเู หมือนว่าปรัชญาน่าจะเป็ นกิจกรรมที่ดงึ ดูดคน ทัว่ ไป และนักปรัชญาไม่ได้ อยูบ่ นหอคอยงาช้ าง เช่นเดียวกับศาสตร์ อื่น ปรัชญามีพฒ ั นาการตลอดมาตังแต่ ้ มีต้น ก�ำเนิด (ปรัชญาตะวันตกเริ่ มมีขึ ้นในยุคกรี กโบราณ) เนื่องจากปรัชญาใช้ การอ้ างเหตุ ผ ลเป็ นเครื่ อ งมื อ จึ ง ได้ มี ก ารพั ฒ นาตรรกวิ ท ยาให้ มี ประสิทธิภาพพอทีจ่ ะเป็ นเกณฑ์ในการอ้ างเหตุผลในทุกรูปแบบ การพัฒนา ปรัชญาจึงอยู่ในรู ปแบบของการวิเคราะห์ การอ้ างเหตุผลสนับสนุนและ คัดค้ านประเด็นต่างๆ เพื่อให้ การอ้ างเหตุผลเหล่านี ้มีความน่าเชื่อถือมาก ยิ่งขึ ้น ความซับซ้ อนที่ตามมาหนีไม่พ้นการก้ าวไปสูค่ วามเป็ นนามธรรม มากขึ ้น และเมื่อการค้ นคว้ าทางปรัชญามีความซับซ้ อนมากขึ ้นเช่นนี ้ผู้ที่จะ เป็ นนักปรัชญาได้ ก็ต้องผ่านการฝึ กฝนเล่าเรี ยนในระดับมหาวิทยาลัย ผู้ที่ จบมาในระดับปริ ญญาเอกก็มกั จะท�ำงานอยูใ่ นมหาวิทยาลัย อาจจะเป็ น อาจารย์หรื อนักวิจยั เส้ นทางอาชีพกดดันให้ ต้องมีงานวิจยั ที่เป็ นองค์ความ รู้ใหม่ นักวิจยั ก็ต้องแสวงหาพื ้นที่ที่ยงั มีผ้ สู ำ� รวจน้ อย น�ำไปสูก่ ารค้ นคว้ าใน เรื่องทีเ่ ป็ นรายละเอียด หรือเป็ นจุดเล็กจุดน้ อย เพิม่ ความซับซ้ อนและความ เป็ นนามธรรมมากขึ ้น ผลทีต่ ามมาดูเหมือนเป็ นความขัดแย้ งในตัวเอง ปรัชญาอาจจะถาม ปั ญหาที่เป็ นนามธรรมเช่น สิง่ สากลมีหรื อไม่ ค่าความจริ งมีมากกว่าสอง


8 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

หรื อไม่ แต่จดุ ที่กระตุ้นให้ มนุษย์คดิ ปรัชญาคือปั ญหาที่เป็ นรูปธรรม ได้ แก่ เราควรด�ำรงชีวิตอย่างไร แต่การพยายามตอบปั ญหาที่ใกล้ ตวั นี ้ได้ กลาย เป็ นกิจกรรมที่ห่างไกลสามัญส�ำนึกจนดูเหมือนไม่เกี่ยวข้ องกับปั ญหาที่ มนุษย์เผชิญในชีวิตประจ�ำวัน ความพิลกึ เช่นนี ้ย่อมเป็ นที่ประจักษ์ แก่บรรดานักปรัชญา ปั จจุบนั จึงมีหนังสือมากมายที่เขียนขึ ้นเพื่อโยงปรัชญาเข้ ากับปั ญหาใกล้ ตวั ของ มนุษย์ ที่มีหนังสือเช่นนี ้จ�ำนวนมากก็เพราะมีหลากหลายวิธีที่จะเชื่อมโยง ขึ ้นอยู่กบั ว่าจะเลือกความคิดของนักปรัชญาคนใด และจะโยงกับปั ญหา เช่นไร สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี ้คือการเลือกประเด็นปั ญหาที่จะน�ำ ปรั ชญาเข้ ามาช่วยคิดแก้ ปั ญหาในชีวิตมนุษย์ อาจมีได้ หลายประเภท หลายระดับ ในระดับที่ทวั่ ไปและกว้ างที่สดุ ก็อย่างเช่น เราควรด�ำรงชีวิต อย่างไร เราควรประพฤติปฏิบตั ิต่อผู้อื่นอย่างไร อะไรคือเกณฑ์ ตดั สิน ความดีและเลวของการกระท�ำ ในระดับที่เฉพาะเจาะจงเป็ นกรณี ไปก็ อย่างเช่น การฆ่าตัวตายผิดหรื อไม่ การท�ำแท้ งผิดศีลธรรมหรื อไม่ สังคม ควรมีโทษประหารหรื อไม่ ปั ญหาทีห่ นังสือเล่มนี ้กล่าวถึงมีลกั ษณะเฉพาะเจาะจง แต่กต็ า่ งจาก ปั ญหาทีก่ ล่าวข้ างต้ น ประเด็นเรื่ องความเป็ นทีน่ ยิ มชมชอบของผู้อนื่ ความ รู้สกึ บกพร่องต่างๆ เช่นทางเพศหรื อทางสติปัญญา ความคับข้ องใจ ความ ผิดหวังเรื่ องความรัก ฯลฯ ไม่ใช่ปัญหาที่คอขาดบาดตายอย่างเรื่ องการ ท�ำแท้ ง การฆ่าตัวตาย หรือโทษประหาร กระนันก็ ้ ดเี ป็ นปั ญหาทีค่ นทัว่ ไป ต้ องประสบในชีวติ ประจ�ำวัน มีแนวโน้ มสูงที่เราต้ องประสบกับปั ญหาเหล่า นี ้ โอกาสที่ตวั เราเองจะต้ องเผชิญกับปั ญหา เช่น การฆ่าตัวตาย หรื อการ ท�ำแท้ ง มีน้อยกว่า หรื อหากต้ องประสบกับปั ญหาเช่นนี ้ ก็ไม่บอ่ ยครัง้ ใน ขณะที่ปัญหาที่หนังสือเล่มนี ้กล่าวถึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับคนแทบทุกคน และเราอาจต้ องประสบปั ญหาเหล่านี ้เป็ นประจ�ำ เนื่องจากหนังสือที่โยง


9

ความคิดปรัชญาเข้ ากับปั ญหาชีวิตประเภทนี ้มีน้อยกว่าประเภทที่โยงเข้ า กับปั ญหาประเภทอื่ น จึงเป็ นเหตุผลให้ หนังสือเล่มนี ด้ ึงดูดใจคนอ่าน มากกว่าหนังสือเล่มอื่นจ�ำนวนมาก อีกประการหนึ่ง หนังสือเล่มนี ้เต็มไปด้ วยรู ปภาพประกอบ ข้ อเท็จ จริ งหลายอย่างที่ไม่เกี่ยวกับปรัชญา ตลอดจนเรื่ องเล่าเกี่ยวกับการเดิน ทางหรื อประสบการณ์ของผู้เขียน ถ้ าไม่มีสิ่งเหล่านี ้ก็คงมิได้ ท�ำให้ ผ้ อู ่าน เข้ าใจเนื ้อหาทางปรัชญาในหนังสือน้ อยลง แต่สงิ่ ประกอบเหล่านี ้มีบทบาท ส�ำคัญในการผ่อนคลายการอ่าน การที่ต้องอ่านเนื ้อหาปรัชญาแต่เพียง อย่างเดียว ถึงแม้ ในระดับที่เป็ นรูปธรรมอย่างเช่นในหนังสือเล่มนี ้ย่อมเป็ น เรื่ องหนักสมอง โดยเฉพาะส�ำหรับคนปั จจุบนั ซึง่ มักจะได้ รับข้ อมูลในรู ป แบบมัลติมีเดีย ผู้ที่ต้องการค�ำปลอบใจย่อมไม่มีความอดทน (และไม่ควร มี) กับค�ำพร�่ ำสอนเชิงวิชาการหรื อค�ำแนะน�ำที่อดั แน่นไปด้ วยเนื ้อหา เรา อาจจะเปรี ยบเทียบกับภาพยนต์ชีวิตที่ผ้ เู ขียนบทมักจะสอดแทรกฉากเบา สมองเข้ าไปเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ของผู้ชม สิ่งประกอบต่างๆ ในหนังสือ เล่มนี ้ก็ท�ำหน้ าที่อย่างเดียวกันในการท�ำให้ ผ้ อู ่านได้ พกั สมองเป็ นระยะๆ นี่เป็ นปั จจัยส�ำคัญที่ท�ำให้ หนังสือเล่มนี ้ได้ รับความนิยมอย่างสูง ข้ อสังเกตในแง่ของเนื ้อหาปรัชญาในหนังสือเล่มนี ้ก็คือ ผู้เขียนมิได้ มีจดุ ประสงค์ที่จะให้ ผ้ อู า่ นมีความรู้ที่ครบถ้ วนในความคิดของนักปรัชญา แต่ละคน ผู้เขียนต้ องการดึงความคิดบางส่วนของนักปรัชญาแต่ละคน ออกมาเฉพาะเนื อ้ หาที่ จ ะช่ ว ยปลอบใจในแต่ ล ะปั ญ หา หากผู้ อ่ า น ต้ องการความรู้วา่ นักคิดแต่ละท่านมีระบบความคิดอย่างไร ก็ต้องหาอ่าน จากที่อื่น อีกประการหนึง่ มีผ้ วู ิจารณ์หนังสือเล่มนี ้ว่าท�ำให้ ผ้ อู ่านหลงคิด ว่าปรัชญาเป็ นเรื่ องง่ายๆ ทังๆ ้ ที่กิจกรรมทางปรัชญามีระบบระเบียบและ ซับซ้ อนกว่านี ้มาก จริ งอยู่ว่าผู้อ่านอาจหลงคิดเช่นนี ้ แต่ผ้ เู ขียนก็มิได้ มี จุดประสงค์ที่จะให้ ภาพที่สมบูรณ์วา่ กิจกรรมทางปรัชญาเป็ นอย่างไร หาก


10 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

ผู้อา่ นใฝ่ รู้วา่ กิจกรรมนี ้มีระเบียบวิธีในการคิดและค้ นคว้ าอย่างไร มีความ ซับซ้ อนเพียงใด ก็ต้องหาอ่านจากที่อื่น ดังได้ กล่าวมาข้ างต้ นว่าหนังสือเล่มนี ้กล่าวถึงปั ญหาเฉพาะเจาะจง ไม่ได้ ตงใจที ั ้ ่จะให้ ค�ำตอบของปั ญหาในระดับทัว่ ไป เช่น เราควรด�ำรงชีวิต อย่างไร แต่หากผู้อ่านน� ำความคิดของนักปรั ชญาในหนังสือเล่มนี ม้ า ประมวลกัน ก็อาจจะได้ พื ้นฐานในการตอบปั ญหานี ้ได้ กระนันก็ ้ ดผี ้ อู า่ นพึง ตระหนัก ว่ า ความคิ ด ของนัก ปรั ช ญาที่ ก ล่ า วไว้ ใ นหนัง สื อ เล่ ม นี ไ้ ม่ ไ ด้ สอดคล้ องกัน นักปรัชญาท่านหนึ่งอาจจะไม่เห็นด้ วยกับอีกท่านหนึ่ง (ผู้ เขียนเองก็ได้ ชี ้ให้ เห็นเช่นนี ้ในหลายแห่งด้ วยกัน) ความคิดของโสคราตีส กับมงแตนญ์คงไปกันไม่ได้ ความคิดของเซเนกากับของนิทซ์เชก็ใช่วา่ จะ เข้ ากันได้ ผู้อ่านจึงต้ องใช้ วิจารณญาณเอาเองว่าจะยึดแนวของใคร และ นี่ก็คือเสน่ห์ของปรัชญา ไม่มีค�ำตอบที่เป็ นเอกฉันท์ในศาสตร์ นี ้หากผู้อา่ น ไม่เห็นด้ วยกับนักปรัชญาบางคนในหนังสือเล่มนี ้และไม่ได้ รับค�ำปลอบใจ สิง่ ทีจ่ ะช่วยปลอบใจผู้อา่ นก็คอื ณ ทีใ่ ดทีห่ นึง่ ในอาณาจักรแห่งความหลาก หลายทางความคิดทางปรัชญา มีค�ำตอบที่จะช่วยปลอบใจผู้อ่านได้ อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย


11

ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่ ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น มีเงินไม่พอ คับข้ องใจ มีความบกพร่ อง ผิดหวังในความรัก เผชิญกับความยากล�ำบาก

11 63 101 149 221 265


12 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น

ปรัชญาประโลมใจแด่ผูท้ ี ่ ไม่เป็ นทีช่ ื น่ ชอบของผูอ้ ืน่

13


14 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น

15

1 ท่ามกลางฤดูหนาวจัดในมหานครนิวยอร์ กเมื่อไม่กี่ปีที่แล้ ว ผมใช้ เวลาช่วง บ่ายก่อนขึ ้นเครื่ องไปกรุ งลอนดอนในห้ องแสดงผลงานศิลปะแห่งหนึ่งที่ ไร้ ผ้ คู น ซึง่ ตังอยู ้ ท่ ี่ชนบนของพิ ั้ พิธภัณฑ์ศลิ ปะแห่งมหานคร แสงไฟในห้ อง สว่างไสว และนอกเหนือไปจากเสียงหึง่ ๆ ของระบบท�าความร้ อนใต้ พื ้นแล้ ว ห้ องทังห้ ้ องก็เงียบสงัด หลังจากชมภาพเขียนจ�านวนมากในห้ องแสดงผล งานศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสต์เสร็จ ผมมองหาป้ายบอกทางไปร้ านอาหาร เพื่อซื ้อนมรสช็อคโกแลตแบบอเมริ กนั ยี่ห้อที่ผมชอบมากเป็ นพิเศษในช่วง นัน้ ตอนนันเองผมก็ ้ เหลือบไปเห็นภาพสีน� ้ามันซึง่ มีค�าอธิบายใต้ ภาพว่า วาดโดย ฌาค-หลุยส์ ดาวิด ในวัย 38 ปี ณ กรุงปารี ส ในฤดูใบไม้ ร่วงปี ค.ศ. 1786


16 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

โสคราตี ส ผู้ถูก ชาวเอเธนส์ ตัด สิ น โทษประหารชี วิ ต ก� า ลัง จะดื่ ม ยาพิ ษ เฮมล็ อ คท่ า มกลางมิ ต รสหายที่ ก� า ลัง เศร้ าโศกเสี ย ใจ มี ช าวเอเธนส์ สามคนฟ้องร้ องนักปรัชญาผู้นีใ้ นฤดูใบไม้ ผลิเมื่อ 399 ปี ก่อนคริ สตกาล คนเหล่านันเรี ้ ยกร้ องให้ ประหารชีวิตโสคราตีสด้ วยข้ อกล่าวหาที่ร้ายแรง ว่ า เขาไม่ สัก การะเทพเจ้ าแห่ ง รั ฐ ชัก ชวนให้ นับ ถื อ เทพเจ้ าองค์ ใ หม่ และเป็ นต้ นเหตุท�าให้ คนหนุ่มชาวเอเธนส์เสียคน

โสคราตีสตอบรับด้ วยท่าทีสงบนิ่ง ซึง่ ต่อมาท่าทีนนเล่ ั ้ าขานจนกลายเป็ น ต�านาน แม้ ศาลจะให้ โอกาสเขาละทิ ้งแนวคิดปรัชญาของตน แต่โสคราตีสก็ เลือกยืนหยัดอยู่กบั สิ่งที่เขาเชื่อว่าจริ ง ไม่ใช่สิ่งที่เขารู้ ว่าจะเป็ นที่ชื่นชอบ ในงานเขียนของเพลโต โสคราตีสกล่าวกับคณะลูกขุนอย่างปราศจากความ เกรงกลัวว่า ตราบเท่าทีข่ า้ พเจ้ายังมี ลมหายใจและยังมี สมรรถภาพ ข้าพเจ้าจะไม่มีทางหยุด ฝึ กฝนการคิ ดปรัชญา ไม่หยุดชักชวนท่าน และไม่หยุดชี ใ้ ห้ทกุ ท่านเห็นถึงความ จริ งทีข่ า้ พเจ้าได้ประจักษ์ … และดังนัน้ ท่านผูม้ ี เกี ยรติ ทงั้ หลาย…ไม่ว่าท่านจะ ตัดสิ นให้ขา้ พเจ้าพ้นโทษหรื อไม่ ท่านจงตระหนักไว้เถิ ดว่าข้าพเจ้าจะไม่มีทาง เปลีย่ นความประพฤติ แม้ว่าข้าพเจ้าจะต้องตายอีกสักกี ร่ ้อยครัง้ ก็ตาม


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น 17

และด้ วยเหตุนี ้เอง โสคราตีสจึงต้ องประสบกับจุดจบในคุกของนครเอเธนส์ การตายของเขาเป็ นช่วงเวลาที่ส�าคัญในประวัตศิ าสตร์ ปรัชญา สิ่งหนึ่งที่อาจแสดงให้ เห็นถึงความส�าคัญของเรื่ องนี ้ได้ ก็คือการที่เรื่ องนี ้ ถูกน�ามาวาดเป็ นภาพอยู่บ่อยครั ง้ ในปี ค.ศ. 1650 จิตรกรชาวฝรั่ งเศส ชื่อชาร์ ลส-อัลโฟนเซ่ ดัฟเฟสนอยสร้ างสรรค์ผลงานที่ช่ือว่าการตายของ โสคราตี ส ซึ่งปั จจุบนั จัดแสดงไว้ ในห้ องแสดงผลงานศิลปะปาลาตินา ในเมืองฟลอเรนซ์ (ซึ่งไม่มีร้านขายอาหาร)

ความสนใจเรื่ องการตายของโสคราตีสบรรลุถงึ จุดสูงสุดในศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ดิเดโรต์แสดงความสนใจกับความหมายที่ ซ่อนเร้ นของภาพ ดังที่ปรากฏในข้ อความตอนหนึง่ ของหนังสือความเรี ยง ว่าด้วยเรื ่องกวีนิพนธ์ บทละครของเขา


18 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

เอเตียน เดอ ลาวัลเล ปูสแซง ค.ศ. 1760

ฌาค ฟิ ลลิปเป โจเซฟ เดอ แซง-กวนแตง ค.ศ. 1762

ปิ แอร์ เปย์รง ค.ศ. 1790

ในฤดูใ บไม้ ผ ลิปี ค.ศ. 1786 ชาร์ ล ส-มิ เชล ทรู เดน เดอ ลา สาบริ เ ร ซึ่ง เป็ นสมาชิกรัฐสภาผู้มงั่ คัง่ และเป็ นผู้เชี่ยวชาญเรื่ องกรี กได้ มอบหมายให้ ฌาค-หลุยส์ ดาวิดวาดภาพการตายของโสคราตี ส โดยจ่ายเงินมัดจ�า จ�านวน 6,000 ลีเวอร์ 1 และจ่ายเพิม่ อีก 3,000 ลีเวอร์ เมือ่ ถึงเวลาส่งมอบภาพ (พระเจ้ าหลุยส์ที่ 14 ทรงจ่ายเพียง 6,000 ลีเวอร์ สา� หรับภาพ ค� าปฏิ ญาณ ของโฮราตี ซึง่ มีขนาดใหญ่กว่า) เมื่อภาพนี ้ถูกน�าไปจัดแสดงในปี ค.ศ. 1787 ก็ได้ รับการยอมรับในทันทีวา่ เป็ นภาพจุดจบของโสคราตีสที่งดงาม ที่สดุ เซอร์ โจชัว เรโนลด์สให้ ความเห็นว่าภาพนี ้นับเป็ น ‘ความพยายาม ทางศิลปะที่งดงามและน่าชื่นชมที่สดุ หลังจากภาพ คัปเปลลา ซิ สติ น และ 1

ลีเวอร์ เป็ นหน่วยเงินตราสมัยเก่าของฝรั่งเศส - ผู้แปล


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น 19

สตานซาของราฟาเอล ภาพนี ้คงจะเป็ นเกี ยรติต่อ นครเอเธนส์ ใ นยุคของ เพริ ค ลิส ’2 ผมซื ้อไปรษณียบัตรรูปภาพของดาวิดมาห้ าใบจากร้ านขายของที่ระลึกใน พิพธิ ภัณฑ์ หลังจากนัน้ ขณะทีบ่ นิ อยูเ่ หนือทุง่ น� ้ำแข็งของเกาะนิวฟาวด์แลนด์ (ซึง่ กลายเป็ นสีเขียวกระจ่างเมื่อต้ องจันทร์ เต็มดวงและท้ องฟ้าที่ปราศจาก เมฆปกคลุม) ผมก็ได้ พจิ ารณาไปรษณียบัตรใบหนึง่ ขณะทีเ่ ขีย่ อาหารเย็นทีด่ ู จืดชืดบนโต๊ ะข้ างหน้ าผม ซึง่ พนักงานบริการบนเครื่องบินน�ำมาเสิร์ฟในช่วง ทีผ่ มเผลองีบหลับไป เพลโตนั่งนิ่งอยู่ที่ปลายเตียง มีปากกาและม้ วนกระดาษวางอยูข่ ้ าง กาย เขาเป็ นพยานผู้เงียบงันให้ กบั ความอยุตธิ รรมของรัฐ เพลโตอายุเพียง ยี่สบิ เก้ าปี ตอนที่โสคราตีสตาย แต่ดาวิดวาดให้ เขากลายเป็ นชายแก่ ผมสี เทาและดูเคร่งขรึม ผู้คมุ นักโทษพาแซนทิปปี ภรรยาของโสคราตีสออกจาก ห้ องคุมขังไปตามทางเดินของอาคาร สหายทังเจ็ ้ ดอยูใ่ นอาการเศร้ าโศก เสียใจในอากัปกิริยาที่แตกต่างกัน ไครโตสหายที่โสคราตีสสนิทสนมมาก ที่สดุ นัง่ อยูข่ ้ างกายเขา และก�ำลังมองผู้เป็ นครูด้วยสายตาแห่งความจงรัก และห่วงใย แต่นกั ปรัชญาผู้มีล�ำตัวและกล้ ามเนื ้อแขนราวกับนักกีฬากลับ นัง่ ตัวตรงและไม่แสดงอาการหวาดกลัวหรื อเสียใจใดๆ การที่ชาวเอเธนส์ จ�ำนวนมากปรักปร� ำโสคราตีสว่าโง่เขลา มิได้ ท�ำให้ ความเชื่อของเขาสัน่ คลอนเลยแม้ แต่น้อย ดาวิดวางแผนไว้ วา่ จะวาดรูปโสคราตีสในท่าก�ำลัง กลืนยาพิษ แต่กวีชื่ออองเดร เครนิเยร์ แนะน�ำว่าหากวาดภาพโสคราตีส ก�ำลังสรุปประเด็นทางปรัชญา ในขณะที่ยื่นมือไปรับยาพิษเฮมล็อคที่จะ พรากชีวิตของเขาไปจะท�ำให้ ภาพสร้ างความสะเทือนอารมณ์มากกว่า ซึง่ ท่วงท่าดังกล่าวนับเป็ นสัญลักษณ์ของการเชื่อฟั งกฎหมายของนครเอเธนส์ และความจงรักภักดีต่อสิ่งที่ตวั โสคราตีสเองเรี ยกร้ อง เราก�ำลังได้ เห็นชัว่ 2

ผู้น�ำคนส�ำคัญและทรงอิทธิพลของนครเอเธนส์ ประมาณ 495-429 ก่อนคริ สตกาล - ผู้แปล


20 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

ขณะสุดท้ ายของบุรุษเหนือมนุษย์ที่ท�ำให้ ทกุ คนเห็นแจ้ ง ถ้ าหากไปรษณียบัตรท�ำให้ ผมหยุดชะงักได้ เหมือนโดนบังคับ ก็คงเป็ นเพราะ ว่าอากัปกิริยาในภาพนันช่ ้ างตรงกันข้ ามกับพฤติกรรมของผมอย่างชัดเจน แจ่มแจ้ ง สิง่ ทีผ่ มค�ำนึงถึงเป็ นอันดับแรกในการสนทนาคือการเป็ นทีช่ นื่ ชอบ ของผู้อนื่ มากกว่าการพูดความจริง ความปรารถนาทีจ่ ะสร้ างความพึงพอใจ ท�ำให้ ผมหัวเราะกับมุกตลกฝื ดๆ เหมือนพวกผู้ปกครองในคืนรอบปฐมทัศน์ งานละครโรงเรี ยน ผมท�ำท่าประจบประแจงกับคนแปลกหน้ าแบบเดียวกับ ที่คอนเซียจช์ทกั ทายลูกค้ ารวยๆ ในโรงแรม ความกระตือรื อร้ นที่แสดงออก มาทางค�ำพูดนันเกิ ้ ดมาจากความอยากเป็ นทีช่ นื่ ชอบโดยขาดการไตร่ตรอง และเป็ นสิง่ ที่นา่ รังเกียจ ผมปิ ดบังความสงสัยที่มีตอ่ แนวคิดที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือ ผมแสวงหาความเห็นชอบจากผู้มีอ�ำนาจและหลังจากที่ได้ พบกับ พวกเขา ผมจะกังวลว่าพวกเขาคิดว่าผมเป็ นคนทีพ่ วกเขายอมรับได้ หรื อไม่ เมือ่ ผ่านด่านศุลกากรหรือขับรถขนาบข้ างกับรถต�ำรวจ ผมมีความปรารถนา อันสับสนที่จะให้ พวกเจ้ าหน้ าที่ในเครื่ องแบบคิดถึงผมในแง่ดี แต่นกั ปรัชญาผู้นีไ้ ม่เคยย่อท้ อต่อการไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่นและการ ถูกประณามจากรัฐ เขาไม่เคยล้ มเลิกความคิดเพียงเพราะผู้อนื่ รู้สกึ ไม่พอใจ นอกจากนี ้ ความเชื่อมัน่ ของเขายังมีที่มาที่ลกึ ซึ ้งกว่าการจะบอกเพียงว่า เพราะเขาอารมณ์ร้อนหรื อกล้ าบ้ าบิน่ ความเชื่อมัน่ ของเขามีรากฐานมา จากปรัชญา ปรัชญาท�ำให้ โสคราตีสปั กใจเชือ่ ว่าเขาสามารถมีความเชือ่ มัน่ อย่างมีเหตุมีผล ซึง่ ตรงข้ ามกับความเชื่อมัน่ อันบ้ าคลัง่ เมื่อเผชิญหน้ ากับ การไม่เห็นด้ วย ขณะที่ผมอยูบ่ นเครื่ องบินเหนือดินแดนน� ้ำแข็งในคืนนัน้ อิสรภาพทางจิต ใจของโสคราตีสเป็ นทังการแสดงให้ ้ เห็นความจริงและแรงผลักดัน เป็ นการ


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น 21

ท�ำให้ แน่ใจได้ ว่าอิสรภาพทางจิตใจเช่นนี ้จะช่วยถ่วงดุลกับแนวโน้ มที่จะ อ่อนข้ อให้ กับแนวทางปฏิบตั ิและแนวคิดอันเป็ นที่ยอมรับกันทางสังคม ชีวิตและความตายของโสคราตีสคือค�ำเชื ้อเชิญให้ เราก้ าวไปสูค่ วามสงสัย อันชาญฉลาด โดยปกติแล้ วสิง่ ทีเ่ ป็ นสัญลักษณ์สำ� คัญของนักปรัชญากรีกผู้นี ้ คือการเชื ้อ เชิญให้ ท�ำสิ่งที่ลึกซึ ้งและน่าหัวเราะในเวลาเดียวกัน ซึง่ ก็คือการเป็ นคน ฉลาดด้ วยปรัชญา แม้ จะมีความแตกต่างมากมายระหว่างนักคิดทังหลาย ้ ที่เรี ยกกันว่านักปรัชญาในช่วงเวลานัน้ (ในโลกแห่งความเป็ นจริ ง บุคคล เหล่านี ้ช่างแตกต่างกันมากถึงขนาดว่าหากพวกเขามารวมตัวกันในงาน เลี ้ยงใหญ่โตสักแห่ง พวกเขาคงจะไม่มีอะไรพูดคุยแลกเปลีย่ นกัน แต่อาจ วางหมัดกันได้ หลังจากที่ดื่มไปเพียงไม่กี่แก้ ว) ดูราวกับว่ามีความเป็ น ไปได้ ที่จะมองเห็นคนกลุม่ เล็กๆ ซึง่ มีชีวติ ห่างกันหลายศตวรรษมามีความ ภักดีร่วมกันอย่างไม่แน่นแฟ้นนักต่อภาพของปรัชญา อันเป็ นภาพที่ได้ รับ การเสนอแนะจากรากศัพท์ของค�ำในภาษากรี ก คือ ฟิ ลอส (philos) หรื อ ความรัก และ โซเฟี ย (Sophia) หรื อความรู้ คนกลุม่ นี ้เกี่ยวพันกันเพราะมี ความสนใจร่วมกันทีจ่ ะเอ่ยถ้ อยค�ำทีส่ ามารถน�ำไปปฏิบตั ไิ ด้และช่วยปลอบ ใจเกี่ยวกับสาเหตุของความเศร้ าโศกที่ยิ่งใหญ่ที่สดุ ของพวกเรา คนเหล่า นี ้เองที่ผมจะกล่าวถึง


22 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

2 ทุกสังคมมีแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราควรเชื่อและควรปฏิบตั ิเพื่อจะไม่เป็ นที่ สงสัยและไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น ธรรมเนียมปฏิบตั ขิ องสังคมบางอย่าง มีการก�าหนดไว้ ชดั เจนในข้ อบัญญัตทิ างกฎหมาย ส่วนอื่นๆ เป็ นสิง่ ที่เรา ยึดถือโดยมัน่ ใจว่าจริ งในการตัดสินทางปฏิบตั ิและจริ ยธรรมที่เรี ยกกันว่า ‘สามัญส�านึก’ ซึง่ บงการว่าเราควรสวมใส่อะไร ควรมีคา่ นิยมเรื่ องการเงิน แบบไหน ควรนับถือใคร มารยาทแบบไหนที่ควรปฏิบตั ติ าม และเราควรจะ มีชีวิตครอบครัวแบบใด การเริ่ มต้ นตังค� ้ าถามกับธรรมเนียมปฏิบตั เิ หล่านี ้ ดูเหมือนเป็ นเรื่ องแปลกประหลาดและก้ าวร้ าวด้ วยซ� ้า หากสามัญส�านึก จะถูกปิ ดกันไม่ ้ ให้ มีใครถาม นัน่ เป็ นเพราะว่าค�าตัดสินของสามัญส�านึกได้ รับการลงความเห็นอย่างชัดเจนว่ามีเหตุผลเกินกว่าที่จะเป็ นเป้าหมายของ การพินิจพิจารณา ตัวอย่างที่จะอธิบายให้ เห็นภาพได้ คือ คงยอมรับได้ ยากหากมีใครถามขึ ้น ในบทสนทนาทัว่ ไปว่าสังคมของเรายึดถืออะไรเป็ นจุดหมายของการท�างาน


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น 23

หรื อการขอให้ ครู่ ักที่เพิง่ แต่งงานใหม่หมาดอธิบายเหตุผลของการตัดสินใจ ใช้ ชีวิตร่วมกันอย่างถี่ถ้วน หรื อการถามรายละเอียดข้ อสมมติฐานต่างๆนานาจากคนที่ก�าลัง จะเดินทางไปพักผ่อนในวันหยุด

ชาวกรีกโบราณมีธรรมเนียมปฏิบตั ใิ นระดับสามัญส�านึกมากมายเหมือนกับ เรา และยังยึดถืออย่างเหนียวแน่นเช่นเดียวกับเรา ในวันหยุดสุดสัปดาห์หนึง่ ขณะทีผ่ มก�าลังเลือกหนังสือในร้ านขายหนังสือมือสองในย่านบลูมสเบอร์ รี ผมบังเอิญเจอหนังสือประวัติศาสตร์ ส�าหรับเยาวชนชุดหนึ่งซึ่งมีรูปถ่าย และภาพประกอบสวยงามมากมาย หนังสือชุดนีป้ ระกอบด้ วยเจาะลึ ก เมื อ งอี ยิ ป ต์ เจาะลึ ก ปราสาทราชวัง และเล่ ม ที่ ผ มได้ ม าพร้ อมกับ สารานุกรมต้ นไม้ มีพิษก็คือเจาะลึกเมื องกรี กโบราณ หนังสือเล่มนี ้มีข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการแต่งกายที่ถือกันว่าเป็ นปกติ ในนครรัฐกรี กช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริ สตกาล


24 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

หนังสืออธิบายว่าชาวกรี กเชื่อเทพเจ้ าหลายองค์ เช่น เทพเจ้ าแห่งความรัก เทพเจ้ าแห่งการล่าสัตว์ และเทพเจ้ าแห่งสงคราม เทพเจ้ าซึง่ มีอ�านาจเหนือ การเก็บเกี่ยว ไฟและทะเล ก่อนชาวกรี กจะออกผจญภัยใดๆ พวกเขาจะ สวดมนต์อ้อนวอนเทพเจ้ าในวิหารหรื อที่แท่นบูชาเล็กๆ ในบ้ านและเซ่น สังเวยสัตว์ตา่ งๆ เพื่อสดุดเี หล่าเทพเจ้ า พิธีเซ่นสังเวยนี ้นับว่ามีราคาค่างวด อักโข เพราะต้ องใช้ ววั บูชาเทพอาธีนา ใช้ แพะบูชาเทพอโฟรไดท์ และใช้ พ่อไก่หรื อแม่ไก่บชู าเทพอัสคลิปิอัส

ชาวกรี กนิยมการมีทาส ในช่วง 500 ปี ก่อนคริ สตกาล นครเอเธนส์มีทาส ประมาณ 80,000 ถึง 100,000 คน กล่าวได้ วา่ มีทาสหนึง่ คนต่อพลเมือง อิสระทุกๆ สามคน


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น 25

ชาวกรี กยังนิยมการต่อสู้เป็ นอย่างมากอีกด้ วย พวกเขาเทิดทูนความกล้ า หาญในสนามรบ ผู้ที่ได้ รับการยอมรับว่าเป็ นชายชาตรี จะต้ องรู้จกั การใช้ ง้ าวตัดคอศัตรู ภาพทหารเอเธนส์ปลิดชีวิตทหารเปอร์ เซีย (วาดบนแผ่น โลหะในช่วงสงครามเปอร์ เซียครัง้ ทีส่ อง) แสดงถึงพฤติกรรมทีช่ าวกรีกถือว่า เหมาะสม

ผู้หญิงอยูภ่ ายใต้ โอวาทของสามีและบิดาอย่างเบ็ดเสร็ จเด็ดขาด พวกเธอ ไม่มสี ว่ นร่วมเรื่องการเมืองหรือชีวติ นอกบ้ าน และไม่อาจสืบทอดมรดกหรือ ถือครองเงินตรา ปกติแล้ วพวกเธอจะแต่งงานตอนอายุสบิ สามปี บิดาของ พวกเธอจะเป็ นผู้เลือกสามีให้ โดยไม่ค�านึงว่าคูบ่ า่ วสาวจะเข้ ากันได้ หรื อไม่


26 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

ผู้ที่ อ ยู่ร่ ว มสมัย กับ โสคราตี ส คงไม่ ถื อ ว่ า เรื่ อ งเหล่า นี แ้ ปลกประหลาด พวกเขาคงจะรู้สกึ สับสนและโกรธเมื่อถูกถามตรงๆ ว่าท�ำไมถึงต้ องใช้ พอ่ ไก่บชู าเทพอัสคลิปิอัส หรื อท�ำไมผู้ชายจะต้ องเข่นฆ่ากันเพื่อค�ำสรรเสริ ญ การถามเช่นนี ้คงดูเป็ นเรื่ องโง่เง่าพอๆ กับการสงสัยว่าท�ำไมฤดูใบไม้ ผลิ เกิดต่อจากฤดูหนาวหรื อท�ำไมน� ้ำแข็งถึงเย็น ทีเ่ ราไม่ตงค� ั ้ ำถามเกีย่ วกับสภาพทีเ่ ป็ นอยู่ ไม่ใช่เพียงเพราะเรากลัวว่าผู้อื่น จะเป็ นศัตรูกบั เรา ความตังใจที ้ ่จะตังข้ ้ อสงสัยของเราอาจค่อยๆ ถูกท�ำลาย ลงอย่างสิ ้นเชิงด้ วยความเชื่อในใจว่าธรรมเนียมปฏิบตั ขิ องสังคมต้ องมีพื ้น ฐานที่ มี เ หตุผ ล แม้ เราจะไม่แน่ใ จว่าเหตุผ ลนัน้ คื อ อะไรก็ ตาม เพราะ ธรรมเนียมปฏิบตั ิเหล่านี ้ได้ รับการยอมรับจากบุคคลที่ยิ่งใหญ่มากมายใน อดีตมาเป็ นเวลายาวนาน ดูราวกับว่าเป็ นไปไม่ได้ เลยที่สงั คมของเราจะมี ความเชื่อที่ผิดพลาดร้ ายแรง และในขณะเดียวกันก็เป็ นไปไม่ได้ เลยที่จะมี เราเพียงผู้เดียวที่สงั เกตเห็นข้ อเท็จจริ งนี ้ เรากลบเกลื่อนความสงสัยต่างๆ ของตนเองและท�ำตามคนหมูม่ าก เพราะเราไม่สามารถนึกภาพตนเองเป็ น ผู้ค้นพบความจริ งที่เข้ าใจยากซึง่ ยังไม่มีใครล่วงรู้จนกระทัง่ บัดนี ้ เราอาจต้ องหันไปหานักปรัชญาผู้นี ้เพื่อเอาชนะความสยบยอมของเรา


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น 27

3 1. ชีวประวัติ โสคราตีสเกิดทีน่ ครเอเธนส์เมือ่ 469 ปี กอ่ นคริสตกาล เชือ่ กันว่าโสโฟรนิสกัส บิดาของเขาเป็ นประติมากรและเฟนาเรตมารดาของเขาเป็ นหมอต�าแย ในวัยหนุ่มโสคราตี สเคยเป็ นลูกศิษย์ ของนักปรั ชญาที่ ชื่ออารเคลาอัส และหลังจากนันเขาก็ ้ คิดปรัชญาขึ ้นโดยไม่เคยบันทึกอะไรทิ ้งไว้ เป็ นลาย ลักษณ์อกั ษร แม้ วา่ โสคราตีสจะกังวลในเรื่ องสมบัตนิ อกกายอยูบ่ ้ าง แต่ เขาก็ไม่เคยคิดค่าสอนและนัน่ ท�าให้ ฐานะเขายากจนลงเรื่ อยๆ เขาใส่เสื ้อ คลุมอยูต่ วั เดียวทังปี ้ และเดินเท้ าเปล่าเกือบจะตลอดเวลา (กล่าวกันว่าเขา เกิดมาเพื่อยัว่ โมโหพวกช่างท�ารองเท้ า) ตอนที่โสคราตีสตาย เขาแต่งงาน แล้ วและมีลกู ชายสามคน เป็ นทีร่ ้ ูกนั ว่าแซนทิปปี ภรรยาของเขาเป็ นคนโมโห ร้ าย (เมื่อมีคนถามว่าท�าไมเขาจึงแต่งงานกับเธอ โสคราตีสตอบว่าผู้ฝึกม้ า จ�าเป็ นต้ องฝึ กกับม้ าที่พยศที่สดุ ) โสคราตีสใช้ เวลาส่วนมากอยูน่ อกบ้ าน เพือ่ สนทนากับเหล่าสหายในบริเวณพื ้นทีส่ าธารณะของนครเอเธนส์ บรรดา สหายต่างชื่นชมสติปัญญาและอารมณ์ขนั ของเขา แต่มี น้ อยคนชื่นชมรูปร่างหน้ าตา โสคราตีสมีรูปร่างเตี ้ย ไว้ หนวดเครา หัวล้ าน มีทา่ เดินเหินที่แปลกตา คนที่ร้ ูจกั เขา บอกว่าใบหน้ าโสคราตีสคล้ ายกับหัวปู แซทเทอร์ 3 หรือไม่ ก็คนประหลาด จมูกของเขาแบนราบ ริ มฝี ปากหนาและ ตาที่บวมพองทังสองข้ ้ างก็อยูใ่ ต้ ขนคิ ้วที่รกรุงรัง 3

ผู้ที่มีร่างกายกึง่ มนุษย์กงึ่ แพะในต�านานกรี ก - ผู้แปล


28 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

แต่ลกั ษณะที่แปลกประหลาดที่สดุ ของโสคราตีสคือนิสยั ในการเดินเข้ าไป หาชาวเอเธนส์ทกุ ชนชัน้ ทุกวัยและทุกอาชีพ โดยไม่กงั วลว่าจะถูกมองว่า บ้ าหรื อก�ำลังยัว่ โมโห และขอร้ องอย่างตรงไปตรงมาให้ คนเหล่านันอธิ ้ บาย อย่างแจ่มแจ้ งว่าท�ำไมจึงยึดถือความเชือ่ ในระดับสามัญส�ำนึก และพวกเขา คิดว่าอะไรคือความหมายของชีวิต ดังที่นายทหารผู้ร้ ูสกึ ประหลาดใจนาย หนึง่ เล่าว่า เมื ่อใดที ใ่ ครก็ตามพบหน้าโสคราตี สและสนทนากับเขา สิ่ งที เ่ กิ ดขึ้นทุกครั้งก็คือ โสคราตี สจะพูดดักให้คู่สนทนาตกหลุมพรางที บ่ งั คับให้ตอ้ งอธิ บายความหมาย ของวิ ถีชีวิตในปั จจุบนั และการใช้ชีวิตในอดีต แม้ว่าโสคราตีสจะเริ่ มสนทนาด้วย เรื ่ องที ่แตกต่างกับเรื ่ องนี ้อย่างสิ้ นเชิ งก็ ตาม และเมื ่อคู่สนทนาตกหลุมพราง โสคราตี สก็ จะไม่ยอมเลิ กราจนกว่าเขาจะได้ส�ำรวจตรวจสอบคู่สนทนาอย่าง แท้จริ งในทุกแง่มมุ

สภาพภูมอิ ากาศและการวางผังเมืองมีสว่ นสนับสนุนอุปนิสยั ของโสคราตีส นครเอเธนส์มีอากาศอบอุน่ ถึงครึ่งปี ซึง่ เพิ่มโอกาสในการสนทนากับผู้คน นอกบ้ านโดยไม่ต้องแนะน�ำตัวอย่างเป็ นทางการ กิจกรรมต่างๆ ซึง่ ด�ำเนิน อยู่เบื ้องหลังก�ำแพงดินของบ้ านเรื อนที่มืดครึม้ และคลุ้งไปด้ วยควันในดิน แดนทางเหนือนัน้ สามารถเกิดขึ ้นได้ ภายใต้ ท้องฟ้าทีส่ ดใสของนครเอเธนส์ เป็ นเรื่ องปกติที่จะเตร็ ดเตร่ อยู่ในแหล่งชุมชนภายใต้ แนวเสาระเบียงของ สโตอา4 ที่มีภาพวาด หรื อสโตอาแห่งซุส เอลยูเธริ ออส และพูดคุยกับคน แปลกหน้ าในยามบ่ายคล้ อย ซึง่ เป็ นช่วงเวลาพิเศษที่อยูร่ ะหว่างกิจกรรม ยามเที่ยงวันกับความวิตกกังวลยามค�่ำคืน ขนาดของนครแห่งนี ้เอื ้อให้ เกิดความน่าอภิรมย์ มี ผ้ ูคนอาศัยอยู่ใน นครเอเธนส์ถงึ บริเวณท่าเรื อประมาณ 240,000 คน ใช้ เวลาในการเดินจาก 4 อาคารเปิ ดคล้ ายระเบียงหรื อทางเชื่อมระหว่างสถานที่แห่งหนึง่ กับอีกแห่งหนึง่ มีเสาตังเรี ้ ยง

รายและมีหลังคาคลุม ชาวเอเธนส์ใช้ เป็ นทีพ่ บปะและพุดคุยกัน – ผู้แปล


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น 29

สุดนครด้ านหนึง่ ไปยังด้ านหนึง่ หรื อจากปิ เรอัสถึงประตูเมืองแอกกิอสั ไม่ เกินหนึง่ ชัว่ โมง

ชาวเมืองจะรู้สกึ เกี่ยวดองกันเหมือนกับนักเรี ยนในโรงเรี ยนหรื อแขกในงาน เลี ้ยงแต่งงาน ไม่ใช่แค่พวกที่คลัง่ ไคล้ สงิ่ ใดสิง่ หนึง่ หรื อพวกขี ้เมาเท่านันที ้ ่ สนทนากับคนแปลกหน้ าในที่สาธารณะ หากเราละเว้ นจากการตังค� ้ าถามกับสภาพทีเ่ ป็ นอยูท่ นี่ อกเหนือไปจากเรื่อง สภาพอากาศและขนาดของเมืองทีเ่ ราอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่แล้ วคงเป็ นเพราะ ว่าเราน�าสิง่ ที่เป็ นที่ชื่นชอบไปโยงกับสิง่ ที่ถกู ต้ อง นักปรัชญาเท้ าเปล่าผู้นี ้ หยิบยกค�าถามมากมายในการตัดสินว่าสิง่ ทีเ่ ป็ นทีช่ นื่ ชอบนันสมเหตุ ้ สมผล หรื อไม่


30 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

2. กฎของสามัญส�ำนึก หลายคนรู้สกึ ว่าค�ำถามต่างๆ เหล่านี ้ช่างกวนโทสะ บางค�ำถามท�ำให้ เขา ถูกล้ อเลียน และมีบางค�ำถามแทบคร่าชีวิตเขาได้ ด้วยซ� ้ำ อริ สโตฟานิสน�ำ เสนอการล้ อเลียนนักปรัชญาชาวเอเธนส์ผ้ ปู ฏิเสธทีจ่ ะยอมรับสามัญส�ำนึก โดยปราศจากตรวจสอบตรรกะของมันอย่างยืดยาวและถือดีในละครเรื่ อง เมฆ ซึง่ แสดงครัง้ แรกที่โรงละครแห่งไดโอนีซสั ในฤดูใบไม้ ผลิ 423 ปี ก่อน คริ สตกาล นักแสดงที่แสดงเป็ นโสคราตีสปรากฏตัวบนเวทีในตะกร้ าที่ แขวนอยูบ่ นปั น้ จัน่ เพราะเขาอ้ างว่าความคิดของเขาจะท�ำงานได้ ดกี ว่าเมือ่ อยูบ่ นที่สงู เขาหมกมุน่ อยูใ่ นความคิดส�ำคัญจนกระทัง่ ไม่มีเวลากระทัง่ จะ ซักผ้ าหรื อท�ำงานบ้ าน ดังนันเสื ้ ้อคลุมของเขาจึงเหม็นสาบและในบ้ านมี แมลงยัวเยี ้ ้ย แต่อย่างน้ อยทีส่ ดุ เขาก็สามารถพิจารณาค�ำถามทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ของชีวิต รวมถึงค�ำถามที่วา่ ตัวหมัดกระโดดได้ สงู เป็ นกี่เท่าของตัวมันเอง และตัวริ น้ ท�ำเสียงหึง่ ๆ ผ่านปากหรื อผ่านทวารของมัน แม้ วา่ อริ สโตฟานิส ละเว้ นการอธิบายขยายความผลลัพธ์ทเี่ กิดขึ ้นจากค�ำถามของโสคราตีส แต่ ผู้ชมคงจะเข้ าใจได้ เองว่าค�ำถามของโสคราตีสนันเหลวไหลเพี ้ ยงใด อริสโตฟานิสก�ำลังสาธยายถึงการทีผ่ ้ คู นวิจารณ์เหล่าปั ญญาชนว่าพวกเขา ล่องลอยไปไกลจากมุมมองที่มีเหตุผลเพราะค�ำถามของพวกเขาเอง มาก ยิ่งกว่าพวกที่ไม่เคยคิดวิเคราะห์เรื่ องต่างๆ อย่างเป็ นระบบ สิง่ ที่แบ่งแยก ความแตกต่างระหว่างผู้เขียนบทละครกับนักปรัชญาผู้นี ้คือ การประเมิน ที่แตกต่างกันเกี่ยวกับว่าค�ำอธิบายแบบสามัญส�ำนึกนันเพี ้ ยงพอแล้ วหรื อ ไม่ ขณะทีค่ นสติดใี นสายตาของอริสโตฟานิสนันสามารถอยู ้ ก่ บั ความรู้ทวี่ า่ ตัวหมัดกระโดดได้ สงู กว่าขนาดตัวของมันเองและตัวริน้ ท�ำเสียงออกมาจาก ทีใ่ ดทีห่ นึง่ แต่โสคราตีสถูกกล่าวหาว่าตังข้ ้ อสงสัยทีบ่ ้ าคลัง่ ต่อสามัญส�ำนึก และปิ ดบังความกระหายอันวิปริ ตในการแสวงหาทางเลือกที่วา่ งเปล่าและ


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น 31

ซับซ้ อน โสคราตีสคงจะตอบว่าในบางกรณี ซึง่ ไม่ใช่กรณีของพวกหมัดเหล่า นัน้ มีเหตุผลที่จะสอบถามสามัญส�านึกให้ ลกึ ซึ ้งลงไปอีก ภายหลังการ สนทนาสันๆ ้ กับชาวเอเธนส์หลายคน โสคราตีสพบว่าความเห็นเกี่ยวกับ วิถีสชู่ ีวิตที่ดีซงึ่ ได้ รับความนิยม และความเห็นที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าปกติ และปราศจากข้ อกังขาได้ เผยให้ เห็นข้ อบกพร่ องอันไม่คาดคิดมาก่อน ซึง่ ลักษณะท่าทางที่มนั่ ใจของผู้สนับสนุนความเห็นเหล่านี ไ้ ม่ได้ บ่งบอก อะไรทังสิ ้ ้น ตรงกันข้ ามกับสิง่ ที่อริ สโตฟานิสคาดหวังไว้ เพราะดูราวกับว่าคนทีโ่ สคราตีสสนทนาด้ วยนันแทบจะ ้ ไม่ร้ ูเลยว่าตัวเองก�าลังพูดถึงอะไรอยู่ 3. บทสนทนาสองบท เพลโตบันทึกไว้ ในเลคิสว่า บ่ายวันหนึง่ ในนครเอเธนส์ นักปรัชญาผู้นี ้บังเอิญ พบกับนายพลที่ผ้ คู นให้ ความความเคารพนับถือสองท่านคือไนซิอสั และ เลคิส นายพลทังสองต่ ้ อสู้กบั กองทัพสปาร์ ตาในสงครามเพโลพอนเนเซียน และได้ รับความเคารพจากเหล่าผู้อาวุโสของนครและได้ รับความชืน่ ชมจาก คนหนุม่ สาว ในบันปลายนายพลทั ้ งสองจบชี ้ วิตลงอย่างทหารกล้ า เลคิส ตายในศึกแห่งแมนทิเนียช่วง 418 ปี ก่อนคริ สตกาล ส่วนไนซิอสั ตายใน ระหว่างยาตราทัพอันแสนโชคร้ ายไปทีเ่ กาะซิซลิ ใี นช่วง 143 ปี กอ่ นคริ สตกาล ไม่มีภาพวาดของนายพลทังสองหลงเหลื ้ ออยู่เลย แม้ จะมีคนจินตนาการ ว่าในสนามรบนันพวกเขาอาจจะมี ้ ลกั ษณะคล้ ายกับชายขี่ม้าในภาพสลัก ใต้ ชายคาวิหารพาเธนอนก็ตาม


32 ปรัชญาประโลมใจแด่ผ้ ทู ี่

นายพลทังสองยึ ้ ดติดอยูก่ บั ความคิดสามัญส�านึกความคิดหนึง่ พวกเขาเชือ่ ว่าการจะเป็ นคนกล้ าหาญได้ นนั ้ เราต้ องอยูใ่ นกองทัพ รุกคืบในสนามรบ และเข่นฆ่าศัตรู แต่ระหว่างการพบกับนายพลทังสองกลางแจ้ ้ งนัน้ โสคราตีส คิดว่าต้ องถามค�าถามเพิ่มเติมอีกเล็กน้ อย

โสคราตีส: ท่านเลคิ ส ไหนท่านบอกข้าหน่อยเถิ ดว่าความกล้าหาญคืออะไร เลคิ ส: ไม่ใช่เรื ่องยากเลย โสคราตีส! หากชายใดเตรี ยมพร้อมไปยืนในแถวทหาร เผชิ ญหน้ากับศัตรู และไม่ล่าถอย ท่านแน่ใจได้เลยว่าเขาคื อผู้ที่กล้าหาญ

แต่โสคราตีสนึกได้ ว่าในศึกแห่งพลาเทียช่วง 479 ปี ก่อนคริ สตกาลนัน้ กองทัพกรี กภายใต้ บงั คับบัญชาของแม่ทพั พอเซนิอสั แห่งสปาร์ ตาล่าถอย ในช่วงแรก หลังจากนันก็ ้ ได้ ชยั ชนะอันเกรี ยงไกรเหนือกองทัพเปอร์ เซีย ภายใต้ การน�าทัพของมาร์ โดนีอสั โสคราตีส: เรื ่องมี อยู่ว่า ในศึกแห่งพลาเทียนัน้ กองทัพสปาร์ ตาเผชิ ญหน้ากับ (กองทัพเปอร์ เซี ย) แต่พวกเขาไม่ได้เต็มใจจะยืนหยัดต่อสูแ้ ละล่าถอย กองทัพ เปอร์ เซี ยแตกแถวในขณะทีไ่ ล่ตาม แต่หลังจากนัน้ กองทัพสปาร์ ตาก็หนั กลับมา รบเยีย่ งทหารม้า และดังนัน้ จึงชนะช่วงนัน้ ของการสูร้ บ

เมือ่ ถูกโสคราตีสบังคับให้ ต้องคิดอีกครัง้ เลคิสจึงเสนอความคิดสามัญส�านึก ความคิดที่สอง นัน่ ก็คือความกล้ าหาญคือรู ปแบบหนึ่งของความทรหด แต่โสคราตีสชี ้ให้ เห็นว่าความทรหดนันสามารถน� ้ าไปสูจ่ ดุ จบอย่างหุนหัน พลันแล่น ดังนันจึ ้ งต้ องใช้ องค์ประกอบอย่างอืน่ เพือ่ แยกแยะความแตกต่าง


ไม่เป็ นที่ชื่นชอบของผู้อื่น 33

ระหว่างความกล้ าหาญที่แท้ จริ งกับความบ้ าคลัง่ และด้ วยการชี ้แนะของ โสคราตีส ไนซิอสั สหายของเลคิสได้ เสนอว่าความกล้ าหาญต้ องรวมถึง ความรู้ การตระหนักถึงความดีและความชัว่ และไม่สามารถจ�ำกัดอยูก่ บั การสู้รบเสมอไป ในระหว่างการสนทนาสันๆ ้ นอกบ้ าน ก็สามารถค้ นพบความบกพร่อง มากมายในนิยามที่เป็ นมาตรฐานของคุณธรรมแบบเอเธนส์ที่ได้ รับการ ชืน่ ชมอย่างมาก ซึง่ แสดงให้ เห็นว่านิยามนี ้ไม่ได้ นำ� ความเป็ นไปได้ ของความ กล้ าหาญนอกสนามรบ หรื อความส�ำคัญของการผนวกความรู้ กบั ความ ทรหดเข้ ามาพิจารณา ประเด็นดังกล่าวอาจดูราวกับว่าไม่สำ� คัญ หากแต่มี นัยมากมาย ถ้ าหากนายพลเคยถูกสอนมาก่อนว่าการสัง่ ให้ ถอยทัพเป็ น เรื่ องขี ้ขลาด แม้ ว่าจะเป็ นเพียงกลยุทธ์ ที่สมเหตุสมผลก็ตาม การให้ ค�ำ นิยามใหม่ก็จะขยายทางเลือกของเขาและให้ ก�ำลังใจเขาในการต่อสู้กบั ค�ำวิพากษ์ วิจารณ์ ในงานเขียนเรื่ องเมโนของเพลโต โสคราตีสสนทนากับผู้ที่เชื่อมัน่ อย่างมาก ในความจริงของความคิดสามัญส�ำนึกอีกครัง้ เมโนเป็ นคนชันสู ้ งผู้หยิง่ ยโส เขาเดินทางจากแคว้ นเธสสาลีบ้านเกิดมายังแอตติกา เมโนมีแนวคิดเกี่ยว กับความสัมพันธ์ของเงินกับคุณธรรม เขาอธิบายให้ โสคราตีสฟั งว่าการจะ เป็ นคนมีคณ ุ ธรรมได้ นนต้ ั ้ องร�่ ำรวย และความยากจนเป็ นความล้ มเหลว อย่างถาวรของปั จเจกบุคคลมากกว่าจะเป็ นเหตุบงั เอิญ เราไม่มภี าพวาดของเมโนเช่นกัน แม้ ตอนทีอ่ า่ นนิตยสารผู้ชายของกรีก ที่อยูใ่ นล็อบบี ้ของโรงแรมสไตล์เอเธนส์ ผมก็พาลจินตนาการไปว่าเมโนคง คล้ ายผู้ชายที่ก�ำลังดื่มแชมเปญในสระน� ้ำที่มีแสงไฟส่องสว่าง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.