ไลต์เฮาส์ พับลิชชิ่ง 1 ถนนรองเมือง 5 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
สู่หนไหน ฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีด On the Road The Original Scroll เรื่อง แปล บรรณาธิการ ที่ปรึกษาสำ�นักพิมพ์ บรรณาธิการอำ�นวยการ พิสูจน์อักษร ศิลปกรรม ออกแบบปก
แจ็ค เครูแอ็ก ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์ จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร สนธยา ทรัพย์เย็น โมรีมาตย์ ระเด่นอาหมัด ‘คนเฝ้าประภาคาร’ บารมี สมาธิปัญญา ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์ อริสรา วรรณพันธุ์
ข้อมูลทางบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ แจ็ค เครูแอ็ก สู่หนไหน - On the Road กรุงเทพฯ : ไลต์เฮาส์, 2562, 456 หน้า 1.นวนิยายอเมริกัน. I. ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์, ผู้แปล II. ชื่อเรื่อง. ISBN 978-616-8053-09-6 สู่หนไหน : ผลงานลำ�ดับที่ 23 พิมพ์ครั้งแรก : พ.ศ. 2562 ไลต์เฮาส์ พับลิชชิ่ง สำ�นักพิมพ์ ในเครือบริษัท ไบรทคิดส์ จำ�กัด 1 ถนนรองเมือง 5 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 พิมพ์ที่ : บริษัท ภาพพิมพ์ จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2879-9154-6 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัท เอ-บุ๊ค ดิสทริบิวชั่น จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2968-9337 โทรสาร 0-2968-9511 ON THE ROAD: THE ORIGINAL SCROLL Copyright @ John Sampas, Literary Representative of the estate of Stella Kerouac Sampas, Nancy Bump, and Anthony M. Sampas, 2007. Copyright arranged with: Sterling Lord Literistic, Inc. 65 Bleecker Street, New York, NY 10012, USA through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd.
อุทิศแด่ความทรงจำ�ของ นีล แคสซาดี และ อัลเลน กินสเบิร์ก
เพื่อนเอ๋ย หากฉันช่วยเหลือนาย มอบความรักที่ล้ำ�ค่ากว่าเงินตรา มอบหัวใจเหนือคำ�เทศนาหรือกฎเกณฑ์ ใด นายจะให้ ใจกับฉันมั้ย จะเดินทางร่วมทุกข์สุขกับฉันมั้ย เราจะอยู่ด้วยกันตราบจนตายจากกันมั้ย -วอล์ต วิทแมน
สู่หนไหน ฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีด
ถึงแจ็ค เครูแอ็ก
ฉันเขียนจดหมายฉบับนี้มาถึงนาย ก่อนวันที่นายจะเขียนจดหมายสาดเสียเทเสีย ถึง อัลเลน กินสเบิร์ก ในวันที่ 8 ตุลาคม 1952 “เราก็คงรู้สึกไม่แตกต่างกันแจ็ค” เมื่อฉันจ้องมองลงไปบนหน้ากระดาษใน ต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดของนาย ซึ่งบรรจุด้วยตัวอักษรมากมาย ไม่มีย่อหน้า ฉัน ได้กลิ่นของความหนักอึ้งจากถ้อยคำ�ที่ร้อยรัดต่อกันไม่หยุดราวกับเส้นทางบนถนน
“ฉันรู้นายจะรัก ออน เดอะ โรด ได้โปรด อ่านมันให้จบ ไม่มีใครเคยได้ อ่านมันมาก่อน นีลไม่มีเวลา บิลล์ก็เหมือนกัน” แจ็ค นายอย่าถือสาฉันเลยนะ ที่ฉัน ถือวิสาสะอ่านจดหมายที่นายส่งให้อัลเลน กินสเบิร์ก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1952 ฉันรู้ว่านายคงเปล่าเปลี่ยวไม่น้อย เบื้องหน้าของนายคือต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีด ซึ่งไม่มีใครคิดที่จะหยิบมันขึ้นมาอ่าน การเขียนนวนิยายสักเล่มไม่ ใช่เรื่องง่าย และ การที่ ใครจะตัดสินใจอ่านมัน ก็ยิ่งยากเย็นแสนเข็ญ วันที่ 12 มิถุนายน 1952 อัลเลน กินสเบิร์ก เขียนจดหมายตอบกลับมา เขา ว่าไม่เห็นทางเลยที่มันจะได้ตีพิมพ์ เพราะ “มันส่วนตัวมากๆ…และก็เต็มไปด้วยถ้อยคำ� ลามกอนาจาร” “แจ็ค...” ฉันกำ�ลังจะพูดกับนายว่า “ไม่ต้องน้อยเนื้อต่ำ�ใจไปหรอก” แม้ว่า นายจะอดน้อยใจไม่ได้ว่าทำ�ไมนวนิยาย Go ของ จอห์น โฮล์มส์ ถึงได้ตีพิมพ์ก่อน ต้นฉบับของนาย ทั้งๆ ที่นายก็คงรู้สึกว่า นายก็มีดีเหมือนกัน “เชื่อฉันเถอะแจ็ค” นายก็แค่รอนะเพื่อน นีลเพื่อนนายก็เคยบอกไม่ ใช่เหรอว่า “เราต่างรู้เวลา” นายกำ�ลัง จะได้กลายเป็นตำ�นาน ไม่มีใครไม่รู้จักนายในยุคสมัยของฉัน
ในปี 2007 (ตอนนั้นนายจากโลกนี้ไปแล้ว 38 ปี) ต้นฉบับม้วนกระดาษ พิมพ์ดีดของนาย ซึ่งนายคิดอยากจะให้มันถูกตีพิมพ์โดยไม่มีการแก้ ไขใดๆ ก็คลอด ออกมาอย่างที่นายต้องการ ในช่วงเวลาที่นายยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีใครอยากที่จะพิมพ์งานให้นาย นายคงจะ อดหัวร่อไปกับความไร้เดียงสาของ โรเบิร์ต จีรู บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ฮาร์คอร์ต ที่ นายเอาต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดของนายไปเสนอเขาแล้วเขาก็ปฏิเสธ เขาให้ เหตุผลกับนายว่า “เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ ได้ยังไง…หนังสือทั่วไปไม่ได้มีหน้าตาแบบนี้ อย่างน้อยมันก็ต้องเป็นสี่เหลี่ยม” นอกจากนี้นายคงจะระเบิดหัวเราะ ถ้านายรู้ว่าในปี 2018 ฉันต้องมานั่งแปล ต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดของนายเป็นภาษาไทย ต้นฉบับนวนิยายที่ไม่มีย่อหน้า “มึนหัวฉิบเป๋ง” ต้นฉบับที่มีความยาวเกือบห้าร้อยหน้า ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ นาย นีล และเส้นทางบนถนน “แต่ฉันก็รักมันนะ” ฉันเห็นด้วยที่เพื่อนนาย เดวิด แอมแรม เคยบอกว่า ถ้อยคำ�ของนายเหมือน โน้ตเพลงแจ๊สที่บรรเลงต่อกันยืดยาวชวนหลงใหล “ราวกับดนตรีแจ๊สของ Franz Schubert, George Gershwin, Hector Berlioz, Haydn, Charlie Parker, Lester Young, Billy Holiday” ทุกๆ รายละเอียดที่นายบรรยายเกี่ยวกับเพลงแจ๊ส มันยอดเยี่ยมงดงามมาก เป็น ส่วนหนึ่งในนวนิยายที่ฉันหลงใหล โดยเฉพาะในช่วงที่นายเขียนถึงพระเจ้า จอร์จ เชียริง นักเปียโนแจ๊สชาวอังกฤษ ซึ่งแม้เขาจะตาบอด แต่หูของเขาก็ดีเลิศ รับรู้ ได้ทุกสรรพเสียง ราวกับหูของช้าง
“…ในค่ำ�คืนของฤดูร้อน เชียริงกระเพื่อมโน้ตตัวแรกที่หวานหยดย้อยก่อนที่จะ บรรเลง...เชียริงก็เริ่มโยกตัวไปตามจังหวะ เผยยิ้มออกมาบนใบหน้าอันปีติยินดี แล้ว
เขาก็เริ่มโยกเก้าอี้เปียโนที่นั่งไปมาช้าๆ ก่อนที่จังหวะจะเร็วขึ้นซึ่งทำ�ให้เขาโยกตัวเร็ว ตามไปด้วย ขาซ้ายของเขาเด้งขึ้นทุกครั้งตามจังหวะจะโคน คอของเขาเริ่มงองุ้มลง มาจนใบหน้าของเขาเคลื่อนลงต่ำ�จนถึงแป้นคีย์เปียโน แล้วเขาก็สะบัดผมไปด้านหลัง ผมที่หวีจนเรียบแปล้บัดนี้สยายออก แล้วเหงื่อก็เริ่มไหล จังหวะของดนตรีที่ปลุกเร้าให้ ดุดันขึ้น...เร็วขึ้น ดูเหมือนว่ามันจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถเร็วกว่านี้ได้อีกแล้ว ครั้นแล้วเชียริงก็พรมคอร์ดลงบนแป้นคีย์เปียโนอย่างไหลลื่นราวกับสายน้ำ�...” “เอาเลย!” นีลเพื่อนนายเหงื่อแตกพลั่ก เขาตะโกนเสียงดัง “นั่นเขาแหละ เขาเลย! โอ้ พระเจ้า! พระเจ้าเชียริง! ใช่! ใช่! ใช่!” แจ็ค เพื่อนรัก ฉันขอยืนยันอีกครั้งว่า มีคนรักนายและงานของนายมากมาย เหลือเกิน นี่ยังไม่รวมเรื่องที่ต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดของนายถูกประมูลขายไปใน ราคา 2.43 ล้านดอลลาร์ ซึ่งก็น่าจะบ่งบอกได้ว่า งานเขียนของนายมีดีขนาดไหน
ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์
คำ�นำ�บรรณาธิการแปล
ในจำ�นวนวรรณกรรมอเมริกันที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย เราอาจคุ้นเคยกับ ชื่อนักเขียนอย่างเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ จอห์น สไตน์เบ็ค วิลเลียม โฟล์คเนอร์ เพิร์ล เอส. บัค หรือนักเขียนรางวัลโนเบลคนอื่น ซึ่งเปรียบเสมือน “ภูผาแห่งวรรณกรรม” ที่ กลายเป็นต้นแบบหรือเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับแพร่หลาย ทว่าชื่อนักเขียนอย่าง “แจ็ค เครูแอ็ก” กลับเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้อ่านไทยในวงแคบ อาจเป็นเพราะข้อจำ�กัด ของภาษาที่แจ็ค แครูแอ็กใช้นั้นมีความเป็นส่วนตัวสูง และมีการทดลองเล่นกับภาษาที่ ผู้อ่านจำ�เป็นต้องอ่านจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้นจึงจะได้รับอรรถรสหรือเข้าใจ สารที่ลึกซึ้งได้ (รวมทั้งนวนิยายภาษาอื่น) จนมีบางคนกล่าวว่าวรรณกรรมของ แจ็ค เครูแอ็กไม่อาจแปลเป็นภาษาไทยได้ นวนิยายเรื่อง สู่หนไหน เล่มนี้ได้รับการแปลจากฉบับที่เรียกว่า “ม้วนกระดาษ พิมพ์ดีด” ซึ่งเป็นต้นฉบับแรกสุดที่ผู้เขียนใช้พิมพ์ต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ โดยนำ� กระดาษมาต่อกันยาวเกือบสี่สิบเมตรแบบไม่มีย่อหน้า ต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดนี้ เองที่ได้กลายเป็นตำ�นานเล่าขานถึงการเขียนในลีลาเฉพาะตัวที่เรียกว่าการเขียนแบบ “กระแสสำ�นึกฉับพลัน” ซึ่งพรั่งพรูออกมาจากความทรงจำ�ของผู้เขียน เป็นเหตุการณ์ ที่เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของผองเพื่อน ที่ยังเป็นเด็กหนุ่มผู้มีตัวตนอยู่จริง เช่น นีล แคสซาดี อัลเลน กินสเบิร์ก วิลเลียม เบอร์โรห์ส และคนอื่นๆ ในขบวนการที่เรียก ในภายหลังว่าเป็นกลุ่มคนรุ่นบีท (Beat Generation) ซึ่งเป็นคนหนุ่มหัวขบถที่ ถูกมองว่าเป็นพวกไม่แยแสต่อสังคม คิดถึงแต่ความสุขเบื้องหน้า เสพยา และติดเซ็กส์ ต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดนี้จึงนับเป็นต้นฉบับร่างแรกที่ยังไม่ได้รับการขัดเกลาให้ถูก ต้องทั้งภาษา ชื่อสถานที่ หรือแม้แต่ตัวละครก็ยังใช้ชื่อของบุคคลที่มีอยู่จริง ก่อนจะ ถูกปรับแก้ ให้กลายเป็นชื่อสมมติในฉบับที่ได้อ่านกันแพร่หลายในภายหลัง
สู่หนไหน ในต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีด จึงทำ�ให้ผู้อ่านได้เข้าไปใกล้สิ่งที่ แจ็ค เครูแอ็กต้องการจะสื่อสารด้วยมากที่สุด มีความจริงใจ และให้ความรู้สึกสดใหม่ มีชีวิตชีวา แม้ต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดจะเป็นร่างแรกที่ “ไม่สมบูรณ์” ในเรื่อง ของความถูกต้อง และความกระชับของการดำ�เนินเรื่อง ทว่าในบางช่วงบางเหตุการณ์ ก็เขียนขึ้นมาอย่างละเอียดลออและประณีตต่อการพรรณนาภาวะจิตใจของตัวละคร มี ความลุ่มลึก และบางครั้งก็ยกระดับไปสู่ภาษาของกวี ชวนให้ผู้อ่านเห็นอกเห็นใจกับ ชะตากรรมของพวกเขา ซึ่ ง เป็ น ชะตากรรมของกลุ่ ม คนที่ ถู ก สั ง คมตราหน้ า ว่ า เหลวแหลกและเหลวไหลในชีวิต เป็นพวก “ชนชั้นใต้ดิน” ที่เปรียบได้กับคนร่อนเร่ที่ ซุกซ่อนตัวอยู่ ใต้ถุนของสังคม โดยที่หารู้ ไม่ว่า กลุ่มคนหนุ่มเหล่านี้เป็นหัวกะทิของ ประเทศ มี ร สนิ ย มในการฟั ง เพลงและอ่ า นวรรณกรรมคลาสสิ ก ของโลกมากมาย นอกจากนั้น ในเวลาต่อมาสังคมอเมริกันก็เป็นหนี้บุญคุณกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งผลิตผลงาน วรรณกรรมและศิลปะจนกลายเป็น “สกุลทางวรรณกรรม” ในวงการวรรณกรรมร่วมสมัย เรื่องเล่าใน สู่หนไหน มีนัยต่อต้านสังคมอเมริกันในช่วงเวลาหลังสงครามโลก ครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้ามาเป็นมหาอำ�นาจของโลกและนำ�พาประเทศไปสู่ ความเจริญก้าวหน้าด้วยการขับเคลื่อนของระบบทุนนิยมอย่างเต็มกำ�ลัง โดยที่นวนินาย เรื่ อ งนี้ ไ ด้ พ ลิ ก กลั บ การเล่ า เรื่ อ งไปในทิ ศ ทางที่ ต รงกั น ข้ า มกั บ กระแสทางสั ง คมและ วัฒนธรรมในช่วงเวลานั้น ทำ�ให้ผู้คนมองเห็นว่านี่เป็นเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีความหมาย ไม่น�ำ ไปสู่อะไร หรือไม่อาจนำ�พาสังคมไปสู่สิ่งที่ดีงาม แจ็ค เครูแอ็ก นำ�เสนอการ เดินทางที่ไร้จุดหมาย การคิดถึงชีวิตข้างหน้าที่ไม่มีปลายทางจะไปถึงได้ สิ่งที่ทำ�คือ การหาความสุขในปัจจุบันผ่านการเสพยา ร่ำ�สุรา สังสรรค์ ร่วมเพศ และเดินทาง เรื่องเล่าพาเราดำ�ดิ่งเข้าไปภายในจิตใจของผู้เล่า ขุดค้น ค้นหา ตั้งคำ�ถาม และ ปล่อยให้มันล่องลอยฟุ้งฝันต่อไปโดยไม่ ให้คำ�ตอบอะไร ด้วยแนวเรื่องเช่นนี้ที่ทำ�ให้นัก วิจารณ์วรรณกรรมมองว่าเป็นเหตุให้กลุ่มวรรณกรรมบีทไร้พลังทางสังคม เนื่องจาก สนใจแต่เพียงเรื่องของความสุขส่วนตน และหันหลังให้กับปัญหา
วรรณกรรมของคนกลุ่มบีทที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1950 ยังมักถูกนำ�ไปเปรียบ เทียบกับวรรณกรรมกลุ่มบุปผาชนหรือฮิปปีในทศวรรษ 1960 ในสองลักษณะคือ หนึ่ง มองว่าวรรณกรรมกลุ่มบีทเป็นต้นธารหรือแรงบันดาลใจให้คนหนุ่มสาวยุคบุปผาชนนำ� มาใช้ เป็ น เครื่ อ งมือผลิต สร้า งวรรณกรรมและดำ�เนินชีวิต ตามแบบอย่ างเพื่ อ ต่ อ ต้ าน สงครามเวียดนาม ขณะที่ลักษณะที่สอง มองว่าวรรณกรรมยุคบุปผาชนก้าวหน้ากว่า กลุ่ ม บี ท โดยเฉพาะในเรื่ อ งการเข้ า ไปมี ส่ ว นร่ ว มกั บ สั ง คม ดั ง เช่ น การเดิ น ขบวน ประท้วงสงคราม การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางสีผิว เพศ และแม้แต่สิ่งแวดล้อม ดังนั้น การมองวรรณกรรมกลุ่มบีทในลักษณะที่สองนี้เองที่ไปตอกย้ำ�สถานะ “วรรณกรรมแห่ง ปัจเจกชน” มากกว่าจะมองว่าวรรณกรรมกลุ่มบีทมีนัยที่มากกว่าการเพิกเฉยต่อปัญหา ในทางกลับกันวรรณกรรมกลุ่มบีทได้นำ�เสนอประเด็นการวิพากษ์สังคมที่แนบเนียนและ ซ้อนทับคู่ขนานไปกับปัญหาของปัจเจกชน บทวิเคราะห์ บทวิจารณ์ วิทยานิพนธ์ ตลอดจนรายวิชาที่เปิดสอนกลุ่มวรรณกรรม บีทศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำ�ในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่อง สู่หนไหน ซึ่งเป็นกลายเป็นหลักบอกเขตเส้นทางวรรณกรรมที่สำ�คัญของวรรณกรรมกลุ่มบีท ได้ถูกนำ�ไปศึกษาเพื่อเป็นหลักฐานของยุคสมัย สังคม และวัฒนธรรม ยังมีการศึกษาที่ หยิบยกประเด็นปัญหาเรื่องเพศสถานะของตัวละคร และลึกลงไปในระดับของจิตวิญญาณ ซึ่งการศึกษาเหล่านี้ล้วนมีการตีความที่แตกต่างหลากหลาย อันเป็นเครื่องยืนยันถึง ความรุ่มรวยทางความหมายและความลุ่มลึกในประเด็นปัญหาที่นำ�เสนอของนวนิยาย เรื่องนี้เป็นอย่างดี ดังที่กล่าวว่า สู่หนไหน ฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดเล่าผ่านสำ�นึกแบบฉับพลันทันที ของผู้เขียน ทำ�ให้เกิดการไหลหลั่งพรั่งพรูในการเล่าเรื่อง การเล่นคำ�สำ�นวน และบาง ครั้งมีการสร้างคำ�ขึ้นใหม่เพื่อสื่อสารกับความรู้สึกของตนเอง ทำ�ให้การอ่านนวนิยาย เรื่องนี้ มีบางจุดที่ยากแก่การทำ�ความเข้าใจ หากจะแปลงานเขียนนี้ไม่ ใช่เรื่องง่าย เลย เมื่อได้รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการยิ่งเห็นว่าวรรณกรรมเล่มนี้แปลไม่ได้ และเป็นเรื่อง
เหนือความสามารถของตนเองในการบรรณาธิการ แต่เมื่อได้รับต้นฉบับแปลภาษาไทย และตั้งใจอ่านอย่างต่อเนื่อง ก็เริ่มเห็นความเป็นไปได้ที่วรรณกรรมเล่มนี้จะเป็นภาษา ไทย กระทั่งเมื่ออ่านฉบับแปลตั้งแต่ต้นจนจบ ยิ่งเชื่อมั่นว่าผู้แปลจะนำ�ไปมันสู่จุดหมาย ปลายทางได้ แม้ว่าการนำ�นวนิยายเรื่อง สู่หนไหน มาแปลเป็นภาษาไทยจะพบข้อจำ�กัด มากมายหลายจุด โดยเฉพาะสำ�นวนการเล่นคำ�ซึ่งยากที่จะส่งต่อความหมายมาถึง ภาษาไทย นอกจากนั้นต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดที่ยาวเหยียดไร้ย่อหน้ายังทำ�ให้ ยากแก่การอ่าน อีกทั้งชื่อเมือง ชื่อบุคคล คำ�หยาบคาย และคำ�สแลงมากมายที่เกิด ขึ้ น ในบริ บ ทเฉพาะอั น ก่ อ ให้ เ กิ ด ภาวะของการแปลไม่ ไ ด้ แต่ ต้ อ งยอมรั บ ในความ พยายามของผู้แปลที่ได้สรรหาคำ�และสำ�นวนเพื่อไปให้ถึงความหมายของผู้เขียนให้ มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ขณะที่การบรรณาธิการซึ่งยากยิ่ง คือการสร้างรูปแบบเชิงอรรถ เนื่องจากเป็นการเขียนต่อเนื่องไร้ย่อหน้า จึงไม่อาจทำ�เชิงอรรถไว้ด้านล่างของหน้า นั้นให้เกิดอาการสะดุดตาได้ จึงทำ�ได้เพียงใส่เลขอ้างอิงไว้ที่คำ� และเพิ่มคำ�อธิบายที่ คิดว่ามีความจำ�เป็นในการทำ�ความเข้าใจเรื่องเอาไว้ท้ายเล่มแทน นี่จึงอาจเรียกได้ ว่าเป็นการทดลองทางด้านรูปแบบการแปลเพื่อรองรับกับงานเขียนที่มีลักษณะเฉพาะ เช่นนี้ การแปลวรรณกรรมจากภาษาอื่นมาสู่ภาษาไทย (ไม่ว่าเล่มใด) อาจต้องสูญ เสียความหมายและอรรถรสไปมากมาย แต่ทั้งนี้ เราก็ยังเชื่อในอีกด้านว่า การแปลไม่ ได้มีแต่ด้านสูญเสียแต่เพียงด้านเดียว แต่ ในอีกด้านหนึ่งเราได้รับอะไรกลับมาจากการ แปลอยู่ด้วย เนื่องจากการแปลเป็นการยืนอยู่ระหว่างวัฒนธรรมต้นทางกับปลายทาง รวมทั้งยุคสมัยที่วรรณกรรมเล่มนั้นถือกำ�เนิดขึ้นมากับยุคสมัยปัจจุบันที่ได้รับการแปล อีกทั้งการแปลยังเป็นการสนทนาระหว่างผู้เขียนกับผู้แปลเอง การแปลจึงเป็นการปะทะ สังสรรค์กันระหว่างสองด้านนี้เสมอ โดยไม่ลืมว่าการแปลมีจุดมุ่งหมายที่จะไปให้ถึงสิ่ง ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ด้วย
กลวิธีการพลิกแพลง รวมถึงการต่อรองกับความหมายมากมายเพื่อให้เกิดการ “เชื่อม ต่อกัน” ของสองวัฒนธรรมและสองกาลเวลา ซึ่งหากงานแปลจะมีข้อดีที่รับมา ก็ด้วย เหตุนี้เอง แม้ว่างานเขียนของแจ็ค เครูแอ็กจะไม่ได้ถูกประทับตราด้วยรางวัลจนกลาย เป็นภูผาแห่งวรรณกรรม (ซึ่งเขาก็คงไม่ต้องการ) แต่นวนิยายเล่มนี้ก็ได้กลายเป็น “หนทาง” ที่นักอ่านทั่วโลกใช้เป็นถนนแห่งแรงบันดาลใจในการมุ่งออกไปท่องโลก หาประสบการณ์ ออกไปทำ�ความรู้จักกับผู้คน พร้อมกับค้นหาตัวตน และที่สำ�คัญกว่านั้นก็คือ เราได้เห็นหนทางของวรรณกรรมเล่มนี้ ในฉบับภาษา ไทยแล้ว จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร บนถนนอากาศ, ธันวาคม 2018