ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก

Page 1



ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก

เพลโต


อารัมภบท (ในการพิมพ์ครั้งที่สอง) ข้าพเจ้ารูส้ กึ ยินดีเมือ่ symposium หรือ ‘ปรัชญาวิวาทะ ว่าด้วยความรัก’ ของเพลโตเล่มนี้เป็นที่ต้อนรับของสังคม กระทัง่ ต้องตีพมิ พ์ซำ�้ เป็นครัง้ ทีส่ องในเวลาอันสัน้ ยินดีทงี่ าน แปลของข้าพเจ้าได้รบั การยอมรับ ทีส่ ำ� คัญ, ยินดีทผี่ อู้ า่ นรุน่ ใหม่มองเห็นคุณค่าของหนังสือทีม่ สี ารัตถะเกีย่ วกับความรัก ข้าพเจ้าเชื่ออย่างมั่นคงว่า ไม่มีสิ่งใดจะสร้างสังคมและ โลกให้งดงามได้เท่าความรัก ไมตรีจิตและความหวังดีที่ มนุษย์มอบให้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งที่ขยายไปสู่สรรพสิ่ง รอบกาย เป็นทางเดียวที่ช่วยจรรโลงโลกนี้ให้น่าอยู่ ความ รักเป็นองค์ประกอบส�ำคัญอยู่ในภราดรภาพสากล และใน หลักการทางศาสนา สังคมมีหน้าที่บ่มเพาะและขัดเกลาหัวใจของเยาวชน รุ่นใหม่ที่จะเติบโตขึ้นในวันข้างหน้า เพื่อสร้างจิตส�ำนึกและ คุณภาพในการแบกรับภาระแทนคนรุ่นเก่า การบ่มเพาะ ประการหนึ่งได้แก่การท�ำให้พวกเขามองเห็นและเข้าถึง คุณค่าของความรักและความงาม ทีอ่ าจเปลีย่ นความหยาบ กระด้างและความรุนแรงให้เป็นความเอื้ออาทรและความ ละเมียดละไม Symposium ก�ำลังท�ำหน้าที่ดังกล่าวของเธอ ในนี้ บอกเราว่าความงามที่แท้คือความงามสูงสุด คือสัจธรรม ที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยความรัก ทั้งจะน�ำพาผู้เข้าถึงไปสู่ 4


ความเป็นมนุษย์ที่สูงส่ง มากหรือน้อยตามแต่คุณภาพแห่ง การยกระดับทางจิตวิญญาณของตน ความรักทีถ่ กู ต้องเป็นเหมือนดวงตาทีส่ าม ทีเ่ ปิดเผยให้ ผู้คนได้เห็นความจริงอันลึกซึ้ง เทพแห่งความรักจะชักน�ำ เขาไปสู่ความดี และความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดังนี้, ไฉนข้าพเจ้าจะไม่ดีใจ หากหนังสือเล่มนี้จะ สามารถสร้างโอกาสที่ว่านั้น โลกที่น่าอยู่ในวันหน้าจะเป็น จริงได้อย่างไร ถ้าเราไม่พยายามสร้างมันเสียวันนี้. อัคนี มูลเมฆ บ้านม่อนมายา อ�ำเภอหางดง เชียงใหม่ 23 มกราคม 2556

5


ตัวละครในบทสนทนา

อกาธอน (Agathon: Ἀγάθων) (448 – 400 ก่ อ น ค.ศ.) เป็ น นั ก เขี ย นบทละครชาวเอเธนส์ ผู้ ไ ด้ รั บ รางวั ล ชนะการประกวดบทละครโศกนาฏกรรมในปี 416 ก่ อ นคริ ส ตกาล บทละครทั้ ง หมดของอกาธอนในปั จ จุ บั น ต้ น ฉบั บ สาบสู ญ นอกจากบทสนทนา Symposium ของเพล โต อกาธอนยังเป็นตัวละครสำ�คัญในบทละครสุขนาฏกรรมของ อริสโตฟาเนสเรื่อง Thesmophoriazusae ในบทสนทนา Symposium อกาธอนเป็นหนุ่มรูปงาม แต่งกายดี และมีจรรยามารยาท เป็นบุคคลที่มีฐานะและชื่อเสียงกว้างขวาง อัลซิไบอาดีส (Alcibiades : Ἀλκιβιάδης) (450 – 404 ก่อน ค.ศ.) นักพูด นักการเมือง และแม่ทัพชาวเอเธนส์ ผูม้ อี ทิ ธิพลกว้างขวางและมีบทบาทอย่างมากในประวัตศิ าสตร์กรีก โบราณ ในสงครามโพทิเดียในปี 432 ก่อนคริสตกาล โซเครตีสได้ ช่วยชีวติ อัลซิไบอาดีสเอาไว้ เขาสนิทสนมใกล้ชดิ กับโซเครตีสเรือ่ ย มาจนกระทั่งวันหนึ่งโซเครตีสได้ตัดความสัมพันธ์กับอัลซิไบอาดีส และปฏิเสธที่จะเป็นอาจารย์ อพอลโลโดรัส (Apollodorus : Ἀπολλόδωρος) เป็นหนึ่งในลูกศิษย์คนสำ�คัญของโซเครตีส ซึ่งบรรดานักวิชาการ สมั ย ใหม่ ม องว่ า อพอลโลโดรั ส นั้ น เป็ น เสมื อ นขั้ ว ตรงข้ า มกั บ อัลซิไบอาดีส คือเขาพยายามเจริญรอยตามโซเครตีสและปฏิเสธ ความสำ�เร็จในชีวิต หรือความมีชื่อเสียง 6


อริสโตเดมัส (Aristodemus : Ἀριστόδημος) ผู้ ถ่ า ยทอดเรื่ อ งราวในการประชุ ม ดื่ ม (หรื อ Symposium) ที่บ้านของอกาธอนให้แก่อพอลโลโดรัสฟัง เป็นอริสโตเดมัสคนละ คนกับอริสโตเดมัสแห่งคูเม (Aristodemus of Cumae) ทรราชผู้มี ฉายาว่า Malakos อริสโตฟาเนส (Aristophanes : Ἀριστοφάνης) (446 – 386 ก่อน ค.ศ.) นักเขียนบทละครสุขนาฏกรรม ซึง่ หลงเหลือ ผลงานมาจนถึงปัจจุบันเพียง 11 เรื่อง (จากทั้งหมด 40 เรื่อง) อริสโตฟาเนสถือเป็นบิดา/เจ้าชายแห่งละครสุขนาฏกรรม ผลงาน ทีส่ ร้างชือ่ เสียงให้แก่อริสโตฟาเนสเรือ่ งหนึง่ คือ The Clouds บทละคร ทีจ่ ดั แสดงในช่วงหลังโซเครตีสเสียชีวติ ไม่นาน เป็นบทละครซึง่ ได้ชอื่ ว่าอุทิศให้โซเครตีสและล้อเลียนเขาในเวลาเดียวกัน อีริไซมาคัส (Eryximachus : ρυξίμαχον) แพทย์ชาวกรีก ซึง่ เข้าใจว่าเป็นเพียงตัวละครตัวหนึง่ ทีเ่ พลโตสร้าง ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนความคิด โกลคอน (Glaucon : Γλαύκων) (445 -? ก่อนคริสตกาล) บุตรของอริสตัน เป็นพี่ชายของเพลโต เป็นตัวละครทีส่ นทนากับโซเครตีสใน Republic และเป็นผูท้ ไี่ ต่ถาม โซเครตีสในบทเปรียบเปรยเรื่องถ�้ำ (the Allegory of the Cave) พอซาเนียส (Pausanias : Παυσανίας) (มีชวี ติ อยูใ่ นช่วง 420 ปีกอ่ น ค.ศ.) เป็นนักกฎหมายชาวเอเธนส์และ ชายคนรักของอกาธอน เขาปรากฏอยู่ในบทสนทนาอีกเรื่องหนึ่ง ของเพลโตคือ Protagorus 7


เฟดรัส (Phaedrus : Φαῖδρος) ตัวละครในบทสนทนาของเพลโตซึง่ ไม่พบหลักฐานแน่ชดั ว่ามีตวั ตน อยู่จริง อย่างไรก็ตาม เฟดรัส เป็นตัวละครสำ�คัญในงานของเพลโต ซึ่งมีชื่อว่า Phaedrus อันเป็นวรรณกรรมเล่มสำ�คัญอีกเล่มของเขา โซเครตีส (Socrates : Σωκράτης) (469–399 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐาน ให้กับปรัชญาตะวันตก โซเครตีสเป็นชาวเอเธนส์โดยกำ�เนิด หลัง จากการเป็นทหารแล้ว เขาก็แทบไม่เคยออกไปนอกกำ�แพงเมือง เอเธนส์อีกเลย (หรือมียกเว้นก็แค่ในบทสนทนา Phaedrus ที่เขา ออกไปชานเมืองพร้อมกับเฟดรัส) โซเครตีสไม่เคยจัดสอน หรือ ตั้งสำ�นักทางปรัชญา แม้กระนั้นตัวเขาก็มักจะมีผู้ติดตาม หรือ แวดล้อมด้วยคนหนุ่มที่สนอกสนใจในปรัชญาความรู้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเพลโต โซเครตีสต้องคดีหมิ่นเทพเจ้าและมอมเมาเยาวชน จนสุดท้ายเขาต้องโทษประหารชีวิตด้วยการดื่มยาพิษ (Hemlock) ตลอดทัง้ ชีวติ โซเครตีสไม่เคยเขียนหนังสือหรือตำ�รับตำ�ราใดๆ บท เรียนทางปรัชญา-จริยศาสตร์ทงั้ หลายมาจากการพูดคุยแลกเปลีย่ น กันในชีวิตประจำ�วัน ไดโอติมา (Diotima: Διοτίμα) ปราชญ์หญิงผู้มีบทบาทสำ�คัญในงาน Symposium ของเพลโต ไดโอติมาแห่งดิมาทิเนีย (Diotima of Mantinea) เป็นเสมือนอาจารย์ ของโซเครติสในวัยหนุ่มที่นำ�เสนอความคิดเรื่อง Platonic Love เนือ่ งจากไม่พบหลักฐานอืน่ ใดทีร่ ะบุการมีตวั ตนของเธอ นักปราชญ์ และผู้ศึกษาปรัชญากรีกในปัจจุบันจึงเห็นพ้องกันว่า ไดโอติมานั้น น่าจะเป็นภาพตัวแทนของเพลโตในการนำ�เสนอหลักคิดสำ�คัญอัน เป็นแก่นของงานประพันธ์ชิ้นนี้ 8




ซิมโพเซียม บุคคลในบทสนทนา อพอลโลโดรัส : เป็นผูเ้ ล่าให้กบั สหายของเขาฟัง เป็นบทสนทนา ที่เขาได้ฟังมาจากอริสโตเดมัส ทั้ ง เคยเล่ า ให้ โ กลคอลฟั ง มา แล้วครัง้ หนึง่ ส่วนบุคคลทีอ่ ยูใ่ น วงสนทนาได้แก่ เฟดรัส,

พอซาเนียส, อีรีซีมาคัส, อริสโตฟาเนส, อกาธอน, โซเครตีส, อัลซิไบอาดีส และกลุ่มผู้ติดตาม

สถานที่ :- บ้านของอกาธอน Steph.* 172

ส�ำหรับเรือ่ งทีท่ า่ นขอให้เล่านัน้ ข้าพเจ้าคิดว่าได้เตรียม ค�ำตอบไว้แล้วอย่างดี เพราะว่าเมื่อวานซืนตอนที่ ข้าพเจ้าเดินกลับจากบ้านเดิมที่ฟาเลรุมเข้าเมือง สหายที่คุ้นเคยคนหนึ่งร้องสัพยอกมาจากข้างหลัง ว่า ‘อพอลโลโดรัส เจ้าคนฟาเลเรี่ยน1 จงหยุดก่อน!’ เมื่อข้าพเจ้าหยุด เขาก็กล่าวขึ้นว่า ‘เราก�ำลัง มองหาท่านอยูท่ เี ดียว อพอลโลโดรัส เพราะว่าเพียง ตอนนีเ้ ท่านัน้ ทีเ่ ราจะมีโอกาสถามท่าน ถึงสุนทรพจน์ สรรเสริญความรักทีโ่ ซเครตีสและอัลซิไบอาดีส รวมทัง้ คนอืน่ ๆ กล่าวในงานเลีย้ งทีบ่ า้ นของอกาธอน ฟีนกิ ซ์ ลูกชายของฟิลิป เที่ยวเล่าให้คนอื่นฟัง และสหาย 1

เป็นไปได้ว่าเกิดจากการเล่นคำ� ‘คนหัวใส’ หรือ φαλαρὸς

ซิมโพเซียม อพอลโลโดรัส, โกลคอล

บทสนทนาที่ เกิดขึ้นที่บ้าน ของอกาธอน


12

ซิมโพเซียม อพอลโลโดรัส, โกลคอล

กล่าวถึงงาน ฉลองที่จัด ขึ้นเมื่อตอน ที่อกาธอน ได้รับรางวัล ชนะเลิศการ ประกวดละคร โศกนาฏกรรม

คนนั้นมาเล่าให้เราฟังอีกต่อหนึ่ง ค�ำเล่าของเขาไม่ ค่อยชัดแจ้งสักเท่าไร แต่เขาว่าท่านรูเ้ รือ่ งนีด้ ี เราจึง หวังว่าท่านจะเล่าเรือ่ งทัง้ หมดให้ฟงั อีกสักครัง้ หาก มิใช่ท่านแล้ว ใครจะน�ำถ้อยค�ำของสหายท่านมา ถ่ายทอดได้ดีไปกว่าอีกเล่า? แต่ก่อนอื่น บอกซิว่า ท่านอยู่ในงานเลี้ยงนั้นด้วยหรือเปล่า?’ ข้าพเจ้าตอบไปว่า ‘โกลคอน คนทีเ่ ล่าให้ทา่ นฟัง คงสับสนไม่น้อยถ้าคิดว่างานเลี้ยงเพิ่งเกิดขึ้น หรือ คิดว่าเราอยู่ในงานนั้นด้วย’ ‘ท�ำไมล่ะ’ เขากล่าว ‘เรื่องไม่ได้เป็นอย่างนั้น หรอกหรือ?’ ‘จะเป็นไปได้อย่างไร’ ข้าพเจ้ากล่าว ‘ท่านไม่รู้ หรอกรึว่าอกาธอนไม่ได้อยู่ในเอเธนส์มาตั้งหลายปี แล้ว และใช่เพียงแค่สามปีเท่านัน้ ทีเ่ ราสนิทสนมกับ โซเครตีส ทั้งถือเป็นกิจวัตรส�ำคัญที่ต้องรู้ทุกอย่าง ไม่ว่าเขาจะพูดหรือท�ำอะไร ‘ก่อนนี้ เมือ่ เราเกิดมา เราลวงตัวเองว่าจะท�ำงาน ทีด่ ี แต่แท้แล้วเราเป็นคนน่าเวทนาไม่ตา่ งไปจากท่าน ตอนนี้เลย บัดนี้ เราคิดว่าไม่มีอะไรดีกว่าการเป็น นักปรัชญา’ ‘งัน้ ก็ดแี ล้ว’ เขากล่าวพลางหัวเราะ ‘บอกเราเถิด ว่างานเลี้ยงนั้นเกิดขึ้นเมื่อไร’ ‘ตั้งแต่เรายังหนุ่มอยู่โน่นแน่ะ’ ข้าพเจ้าตอบ ‘ตอนนัน้ อกาธอนได้รบั รางวัลจากละครโศกนาฏกรรม เรื่องแรก พอวันถัดมาเขาและเพื่อนร่วมงานก็เลี้ยง

173


13

ฉลองกัน’ ‘ถ้างั้นมันคงนานพอดู’ เขากล่าว ‘ว่าแต่ใครเล่า เรื่องนี้ให้ท่านฟังล่ะ-ใช่โซเครตีสหรือเปล่า?’ ‘ไม่ใช่หรอก’ ข้าพเจ้าตอบ ‘แต่เป็นคนคนเดียว กับทีเ่ ล่าให้ฟนี กิ ซ์ฟงั เขาเป็นคนร่างเล็กไม่เคยสวม รองเท้า อริสโตเดมัสแห่งไซดาเธเนอุม ตอนนั้นเขา อยูใ่ นงานเลีย้ งทีบ่ า้ นอกาธอน และเราคิดว่าตอนนัน้ ไม่มีใครชื่นชมโซเครตีสยิ่งไปกว่าเขาอีกแล้ว ‘ในภายหลัง เราสอบถามโซเครตีสถึงข้อเท็จจริง บางตอนที่เขาเล่า โซเครตีสยืนยันว่าถูกต้องแล้ว’ ‘งั้นก็ดีล่ะ’ โกลคอนกล่าว ‘เล่าเรื่องนี้ให้เราฟัง อีกสักครั้งเถอะ ถนนของกรุงเอเธนส์มิได้สร้างขึ้น เพื่อให้เราเดินสนทนากันดอกหรือ?’ ในที่สุด เราเดินคุยกันถึงเรื่องราวของความรัก และอย่างที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในตอนแรก ข้าพเจ้าได้ เตรียมตัวไว้อย่างดีเพือ่ ตอบค�ำถามของท่าน และจะ เล่าให้ฟังอีกครั้งถ้าท่านชอบ บ่อยครัง้ ข้าพเจ้ารูส้ กึ พึงใจอย่างยิง่ ทีไ่ ด้พดู หรือ ได้ฟงั ใครกล่าวถึงปรัชญา ไม่ตอ้ งพูดเลยว่าเราจะได้ ประโยชน์จากสิง่ นีม้ ากเพียงใด แต่ถา้ ได้ฟงั เรือ่ งอืน่ โดยเฉพาะเมื่อคนร�่ำรวยหรือพวกพ่อค้าอย่างท่าน คุยกัน ข้าพเจ้าไม่รู้สึกชอบเลย ข้าพเจ้าเวทนาท่านซึ่งเป็นสหายของข้าพเจ้า เนื่องจากท่านคิดว่าท่านก�ำลังท�ำอะไรบางอย่างอยู่ แต่แท้แล้วท่านไม่ได้ท�ำอะไรเลย และข้าพเจ้าก็กล้า

ซิมโพเซียม อพอลโลโดรัส, โกลคอล


14

ซิมโพเซียม สหาย, อพอลโลโดรัส

อริสโตเดมัส ผู้เล่าเรื่องนี้เดิน ทางไปงาน เลี้ยงตามคำ� เชิญชวนของ โซเครตีส

พูดว่าในทางกลับกันท่านก็เวทนาข้าพเจ้าอยู่ เพราะ ท่านคงมองว่าข้าพเจ้าเป็นคนจ�ำพวกที่หาความสุข ไม่ได้ ซึ่งบางทีท่านอาจคิดถูกก็ได้ แต่ข้อแตกต่างก็ คือข้าพเจ้ารู้ว่าท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับตัวข้าพเจ้า สหายของอพอลโลโดรัส : ข้าพเจ้าเข้าใจดี อพอลโลโดรัส ว่าท่านชอบพูดให้รา้ ยตัวเองและผูอ้ นื่ อยูเ่ สมอ ทั้งเชื่อว่าท่านเวทนามนุษย์ทุกคน ยกเว้นโซเครตีส ก็สมแล้วที่ท่านได้สมญาแต่เดิมว่าอพอลโลโดรัสเจ้าคนบ้า ค่าทีท่ า่ นชอบด่าว่าตัวเองและคนทัง้ หลาย ยกเว้นโซเครตีส อพอลโลโดรัส : ใช่แล้ว สหาย เหตุที่มีคนว่า ข้าพเจ้าเป็นคนบ้าและไร้สตินนั้ เพียงเพราะข้าพเจ้า คิดถึงท่านและตัวเองเยีย่ งนี้ ไม่มอี ะไรมากไปกว่านัน้ สหาย : อย่าพูดถึงเรื่องนี้อีกเลย อพอลโลโดรัส ข้าพเจ้าขอร้องอีกครั้งว่าช่วยเล่าบทสนทนานั้นให้ ข้าพเจ้าฟังเสียทีเถิด อพอลโลโดรัส : เอาล่ะ เรื่องราวของความรักมี ดังนี้ แต่บางทีขา้ พเจ้าคิดว่าจะเริม่ เล่าตัง้ แต่ตอนแรก จะดีกว่า และจะพยายามถ่ายทอดตามถ้อยค�ำทีอ่ อก มาจากปากของอริสโตเดมัสเอง เขาเล่าว่า เขาพบโซเครตีสซึ่งเพิ่งเสร็จจากการ อาบน�ำ้ และก�ำลังสวมรองเท้าแตะอยู่ และเมือ่ สังเกต เห็นว่ารองเท้านั้นไม่เหมือนคู่ที่เคยสวม เขาจึงถาม โซเครตีสว่าแต่งตัวงามเช่นนีท้ า่ นเตรียมตัวจะไปไหน

174


15

หรือ? ‘ก็ไปงานบ้านอกาธอนน่ะสิ’ โซเครตีสตอบ ‘เขา ออกปากเชิญข้าพเจ้าไว้วา่ ให้ไปร่วมเลีย้ งฉลองตัง้ แต่ เมื่อวาน แต่ข้าพเจ้าปฏิเสธเพราะกลัวว่าจะมีคนไป กันมาก ถึงอย่างนั้นก็สัญญาว่าเราจะไปวันนี้แทน ดังนี้ ข้าพเจ้าจึงต้องสวมเสื้อผ้าดีหน่อย เพราะว่า อกาธอนชอบแต่งตัวงาม ท่านจะว่าอย่างไรถ้าจะไป กับข้าพเจ้าโดยไม่ได้รับเชิญ?’ ข้าพเจ้าจะไปตามค�ำชวนของท่าน ข้าพเจ้าตอบ ‘งัน้ ก็ตามมาสิ’ โซเครตีสกล่าว ‘และขอให้เราอย่า ไปยึดถือค�ำพังเพยที่ว่า :“สาธุชนย่อมไม่ไปร่วมงานเลี้ยงของผู้ที่ต�่ำต้อยกว่า โดยไม่ได้รับเชิญ”

‘ที่จริงค�ำพังเพยนี้น่าจะเปลี่ยนเสียใหม่ว่า :“สาธุชนควรไปงานเลี้ยงของสาธุชนด้วยกัน แม้จะไม่ได้รับเชิญ”

การเปลีย่ นถ้อยค�ำเสียใหม่อาจได้รบั ฉันทานุมตั จิ าก โฮเมอร์ ก็ ไ ด้ ด้ ว ยว่ า ปราชญ์ ผู ้ นี้ ไ ม่ เ พี ย งเปลี่ ย น ค�ำพังเพยเท่านัน้ แต่ยงั เขียนแสดงความก้าวร้าวต่อ ค�ำกล่าวเช่นนี้ไว้ด้วย ‘ตัวอย่างเช่น หลังจากเขียนยกย่องว่า อกาเม็มนอน เป็นวีรบุรษุ ผูก้ ล้าแล้ว เขายังท�ำให้เมเนลาอุสนักรบขีข้ ลาด มาร่วมงานเลีย้ งฉลองทีบ่ า้ นของเมน-

ซิมโพเซียม อริสโตเดมัส, โซเครตีส


16

ซิมโพเซียม อริสโตเดมัส, โซเครตีส

เนลาอุสโดยมิได้รบั เชิญ1 ซึง่ มิได้เป็นไปตามค�ำพังเพย ที่ว่า ผู้สูงส่งไปงานเลี้ยงของผู้ต�่ำต้อย แต่ผู้ต�่ำต้อย กลับไปงานเลีย้ งของผูส้ งู ส่ง’ ‘โซเครตีส’ อริสโตเดมัสกล่าว ‘สิง่ ทีข่ า้ พเจ้ากลัวก็ คือนี่อาจเหมือนกรณีของข้าพเจ้าก็ได้ ข้าพเจ้าก็ เหมือนกับเมเนลาอุสในนิยายของโฮเมอร์* ซึ่ง “เป็นผู้ต�่ำต้อยแต่ไปงานเลี้ยงของผู้สูงส่ง โดยมิได้รับเชิญ”

‘ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะบอกว่าข้าพเจ้ามาตาม ค�ำเชิญของท่าน ดังนั้น ท่านต้องเป็นฝ่ายขอโทษ แทนข้าพเจ้าก็แล้วกัน’ “เมื่อคนสองคนไปด้วยกัน” โซเครตีสตอบว่า ‘ถ้าพูดแบบโฮเมอร์แล้ว จะต้องมีใคร คนหนึง่ คิดหาข้อแก้ตวั ให้ได้’2 นีค่ อื ครรลองของการสนทนาระหว่างทีค่ นทัง้ สอง เดินไปด้วยกัน แต่ถดั มาโซเครตีสเดินรัง้ อยูข่ า้ งหลัง เหมือนก�ำลังจมอยู่ในห้วงคิด และบอกอริสโตเดมัส ซึง่ คอยอยูว่ า่ ให้เดินล่วงหน้าไปก่อน ครัน้ มาถึงบ้าน อกาธอน อริสโตเดมัสพบว่าประตูเปิดรออยู่ ณ บัดนัน้ เรื่องชวนหัวก็เกิดขึ้น 1

จาก Iliad ii, 408. และ xvii 388. 2 จาก Iliad x, 224.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.