RIVER, ROAD, LIFE OF KIRIWONG

Page 1



คำ�นำ� คีรีวง เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตโดยการพึ่งพาตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รายได้ส่วนใหญ่ ของชาวคีรีวงมาจากการทำ�เกษตรกรรม การทำ�สวนสมรมที่มีทั้งผลไม้และ พืชสมุนไพร ซึ่งเป็น พืชทางเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชาวคีรีวง ชาวคีรีวงยังมีอาชีพเสริมที่มาจากผลผลิตจาก ธรรมชาติอีกมากมาย เช่น สบู่จากสมุนไพร ผ้ามัดย้อมจากธรรมชาติ สร้อยคอ ต่างหูจากลูกไม้ สมุนไพรเป็นต้น การดำ�รงชีวิตของชาวคีรีวงที่เป็นไปอย่างเรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติ และผู้คนที่ อยู่กันอย่างสามัคคี เป็นมนต์เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจให้กับผู้มาเยือนได้สัมผัส ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ผู้อ่านและ ผู้ที่สนใจ หากหนังสือเล่มนี้มีข้อบกพร่องหรือผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย เกษศิรินทร์ สุขธรณ์



Contents แรกเริ่มวิถีคีรีวง วีถีความเป็นอยู่ วิถีสมรม วิถีเปลี่ยน ดำ�รงอยู่อย่างยั่งยืน

01 02 03 04 05


บทนำ�

คีรีวงแบ่งเป็น 4 หมู่บ้าน คือ บ้านคีรีวง บ้านคีรีทอง บ้านขุนคีรี และบ้านคีรีธรรม ปัจจุบันชาวคีรีวงร้อยละ 68 มีงานทำ�ตลอดปีและมี ช่วงว่างจากการผลิตประมาณ 3 เดือน ซึ่งเป็นช่วงฤดูน้ำ�หลากจะอยู่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมโดยชาวบ้านจะรวมกลุ่ม ทำ�อาชีพเสริม เช่น แปรรูปผลผลิต ผลิตสินค้าพื้นบ้าน ได้แก่ ผ้ามัด ย้อมสีธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อม เครื่องจักรสาน การ แปรรูปสมุนไพร การถนอมอาหารจากผลผลิตในสวนสมรม เช่น ดาย หญ้า เก็บผลผลิต ปลูกพืชทดแทน เป็นต้น


อาชีพรับจ้างเป็นทางเลือกหนึ่งของชาวบ้านที่มีที่ดินของตนเองน้อย ไม่เพียงพอต่อการยังชีพนอกจากนี้ยังมีอาชีพเสริมด้านการบริการการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งเป็นผลจากการเปิดตัวหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยว โดยชาวบ้านทำ�หน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ ให้ความรู้เรื่องวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ เป็นเอกลักษณ์ของคนในชุมชนแก่นักท่องเที่ยว รวมถึงเป็นผู้นำ�ทางศึกษา ธรรมชาติและพักแรมบนอุทยานแห่งชาติเขาหลวง นอกจากนี้ยังให้บริการ ที่พักในชุมชน (Home Stay) ซึ่งดำ�เนินการโดยชมรมการท่องเที่ยว




แรกเริ่มวิถี คีรีวง

การดำ � รงชี พ ของชาวบ้ า นคี รี ว ง ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ตั้ ง หมู่ บ้ า นนั้ น อยู่ ใ นสภาพ ที่เรียกว่าเป็นการพึ่งตนเองเป็นหลัก เพราะในสมั ย ก่ อ นประชากรมี น้ อ ย ที่ ดิ น ทำ � กิ น จึ ง มี เ พี ย งพอสำ � หรั บ ทุ ก ครอบครัว


วิ ถี ชี วิ ต ชาวคี รี ว งในสมั ย ก่ อ นมี ค วามผู ก พั น อยู่ กั บ ชุ ม ชนและธรรมชาติ การดำ�เนินชีวิตก็หาได้จากดิน น้ำ� ป่าไม้ เช่น การหาของป่า สมุนไพรรักษา โรค พืชผักต่างๆ การจับปลา การล่าสัตว์ เป็นต้น และใช้เส้นทางน้ำ�ในการ คมนาคมและล่องเรือใช้ในการแลกเปลี่ยนอาหาร ของใช้กับชาวเมือง ซึ่งเป็น ระบบที่พึ่งพาอาศัยกัน สร้างมิตรภาพทั้งในหมู่บ้านและรอบนอก




วิถีความเป็นอยู่ การดำ�รงชีวิตของชาวคีรีวง ที่มีการพึ่งพา อาศั ย กั บ ธรรมชาติ ได้ แ ก่ น้ำ � ชาวคี รี ว งมี ค วาม ผู ก พั น กั บ แม่ น้ำ � เป็ น อย่ า งมากตั้ ง แต่ ใ นอดี ต น้ำ � ที่ ใ ช้ ในการเกษตร อุปโภค บริโภค ล้วนเป็นน้ำ�ที่มาจาก ธรรมชาติ สะอาด ปลอดภัย ชาวคีรีวงยังช่วยดูแล รักษา แม่น้ำ�ที่เป็นเหมือนหัวใจของหมู่บ้านแห่งนี้


ป่าไม้หรือสวนพืชผล เป็นขุมทรัพย์ที่มีค่าของชาวคีรีวง ที่มีทั้ง ไม้ผล ไม้ใบ ออกผลผลิต สร้างรายได้และอาชีพมากมายให้กับคนในหมู่บ้าน และยังเปรียบเสมือนเกราะป้องกันการ พังทลายของหน้าดิน น้ำ�ป่าไหลหลาก หรืออุทกภัยต่างๆ ป่าไม้พื้นนี้จึงเป็นสิ่งที่ชาวคีรีวง หวงแหนและดูแลรักษาตกทอดมารุ่นสู่รุ่น


ความเป็ น อยู่ ข องผู้ ค นเป็ น ไปอย่ า งเรี ย บง่ า ย ไม่วุ่นวาย และบรรยากาศภายในหมู่บ้านเงียบสงบ มีการ แลกเปลี่ยนความคิดกันยามเช้า พูดคุย รับประทานอาหาร ร่วมกันอย่างสนุกสนาน ในร้านน้ำ�ชากาแฟ และตามท้อง ถนนในหมู่บ้าน การซื้อขายแลกเปลี่ยน ในวันตลาดนัดคีรีวงแห่ง นี้สร้างความครึกครื้นเป็นบรรยากาศชาวบ้านที่ดูแล้ว อบอุ่น ให้ผู้คนในหมู่บ้านได้มาพบปะ ทั้งพ่อแม่ ญาติมิตร หรือแม้กระทั่งเด็กๆ ได้เจอพูดคุย ทักทายกัน การจับจ่ายซื้อของในตลาดที่นี่มีเอกลักษณ์ที่น่า สนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ ชาวคีรีวงส่วนใหญ่จะไม่ใช้ถุง พลาสติกในการใส่ของ หรือ ผักผลไม้ แต่จะ “พาย” หรือสะพาย กระเป๋าผ้าดิบที่ชาวสวนหรือชาวคีรีวงใช้ใส่ ของเวลาไปไหนมาไหน หรือมาจ่ายตลาดก็เช่นกัน ทำ�ให้ดู มีเอกลักษณ์เฉพาะ ดูเป็นธรรมชาติสวยงาม และยังช่วย ลดขยะภายในหมู่บ้านได้อีกด้วย





วิถีสมรม “สวนสมรม” (หรือสวนผสมผสานแบบดั้งเดิม) เป็นการสืบทอดรูปแบบและวิธีการเพาะปลูกพืชแซม ป่าดั้งเดิม เมื่อเกิดที่ว่างตรงไหนจะปลูกไม้ผลทดแทน ตรงนั้น ในกรณีที่ไม้ผลต้นใดให้ผลน้อยลง หรือ กำ�ลังจะหมดอายุ ชาวคีรีวงจะนำ�ต้นใหม่ของพันธุ์ไม้ ผลที่ต้องการจะปลูกแทนไปปลูกเคียงไว้ก่อน เมื่อถึงอายุที่จะให้ผลจึงตัดโค่นต้นเดิมลงทำ�ให้ ผลผลิตไม่ขาดตอน


การทำ�สวนในยุคปัจจุบันของชาวคีรีวงนั้น ก็ยังคงอนุรักษ์ความเป็นสวนสมรมไว้ ปัจจุบันชาวสวนได้ปลูกผลไม้หลากหลายชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลองกอง เงาะ ขนุน และ จำ�ปาดะ กระบวนการปลูก ดูแลรักษาก็คง ใช้วิธีพึ่งพาธรรมชาติ ในการปลูก เพื่อให้ ผลผลิตได้คุณภาพมากที่สุด


สวนสมรมของชาวคีรีวง ส่ ว น ใ ห ญ่ ตั้ ง อ ยู่ บริเวณตามไหล่เขาทำ�ให้การเดินทางไปทำ�สวน ของชาวสวนนั้น จะต้องใช้รถวิบากเท่านั้นเพื่อ ใช้ ใ นการขั บ ขึ้ น สวนและขนถ่ า ยผลไม้ เพราะ เส้นทางบนเขามีความลาดชันมาก และชาวสวน ต้องมีความชำ�นาญในเส้นทางบนเขา รวมถึง ทักษะในการควบคุมรถอีกด้วย เส้นทางในการขึ้นสวนนั้นมีความลาดชัน มีทั้ง เส้นทางที่เป็นถนนคอนกรีตและถนนดิน อาวุธ สำ � คั ญ ของการขั บ รถขึ้ น สวนสมรมแห่ ง นี้ คือ แตรรถ ที่เป็นสัญญาณบอกหรือเตือน อันตราย ทั้ง ทางข้างหน้า ทางโค้ง และทาง ข้างหลัง


การดำ�รงชีวิตในสวนสมรมระหว่างวันของชาวสวนแห่งนี้ ยังอยู่ด้วยความเรียบง่าย อาศัย ขนำ� (กระท่อม) กลางสวน ที่ชาวสวนได้ปลูกไว้ เป็นที่พักระหว่างวัน ใช้ ในการประกอบ อาหาร รับประทานอาหารกลางวัน พักผ่อน และการทำ�ผลไม้แปรรูป เป็นวิถีชาวสวนที่อยู่ อย่างเรียบง่าย งดงามในรูปแบบชาวสวนอย่างแท้จริง


ในฤดูผลไม้ ช่วงเดือน สิงหาคม – กันยายน ชาวสวนส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการทำ�สวน ทั้งวัน เริ่มตั้งแต่เช้า ซื้อข้าวห่อ น้ำ� ขนม ที่ตลาด เตรียมพร้อมสำ�หรับการอยู่ทำ�สวนบนเขา บรรยากาศยามเช้าในหมู่บ้านของทุกวันก็จะมีรถวิบากสัญจรไปมา เมื่อเดินทางถึงสวน ภารกิจ ของชาวสวนก็เริ่มต้น ทั้งการเก็บผลไม้ ใส่ปุ๋ย ดูแลพืชผล แล้วเมื่อเสร็จก็จะนำ�ลงมาส่งต่อให้ พ่อค้าแม่ค้าที่มารอรับซื้อนำ�ไปขายในเมือง





วิถีเปลี่ยน

อาชีพที่เกิดจากผลผลิตจากการทำ�สวน เป็นการเปลี่ยน แปรรูปผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เช่น สบู่ผลไม้ น้ำ�สมุนไพร เสื้อผ้าของใช้จาก ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ เครื่องประดับ จากลูกไม้ต่างๆ เป็นต้น กลุ่มอาชีพเสริมที่ สร้างรายได้อีกทางหนึ่งสร้างผลกำ�ไร ให้กับ หมู่บ้านแห่งนี้

ทั้งด้านสินค้าโอท็อปและการท่องเที่ยว อาชีพ เหล่านี้เกิดจากความสนใจความสามารถและ ทั ก ษะของชาวคี รี ว งที่ คิ ด ค้ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ทำ � มาจากธรรมชาติ นำ � มาเพิ่ ม มู ล ค่ า ที่ นำ � เสนอออกมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่เป็น สัญลักษณ์ของหมู่บ้านคีรีวง


การนำ�ธรรมชาติมาเปลี่ยนแปลง แปรรูป ประยุกต์ เป็นแนวคิดของการตั้งกลุ่มอาชีพ ต่างๆในหมู่บ้านคีรีวงแห่งนี้ เพื่อสร้างประโยชน์ทั้งในส่วนของการนำ�ธรรมชาติมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด และการกระจายรายได้ให้กับคนในหมู่บ้าน


การที่นำ�สีจากใบไม้มาเพิ่มมูลค่าในด้านของข้าวของเครื่องใช้ ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า ผ้านุ่งผ้าห่ม ที่ทำ�มาจากผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติสร้างสีสันให้กับข้าวของเครื่องใช้ให้ดูสะดุดตา แปลกใหม่ สะท้อนคุณค่าในรูปแบบของวิถีชาวบ้านอย่างงดงามตามธรรมชาติ


การนำ�เอาลูกไม้จากพืชสมุนไพร หรือหินต่างๆ นำ�มาประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับ ได้แก่ สร้อย คอ สร้อยข้อมือ ต่างหู หรือ ข้าวของเครื่องใช้ในรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผู้ สร้างสรรค์ผลงาน คุณค่าของลูกไม้ คือ สามารถอยู่ได้ตลอดไป ไม่ย่อยสลายและยังสามารถไป ปลูกคืนป่าเป็นต้นไม้ได้อีกครั้ง


การนำ�เทียน และสีธรรมชาติ มาวาด ขีด เขียน เป็นรูปต่างๆ ที่เล่าเรื่องสะท้อนศิลปะออก มา ในรูปแบบของคีรีวง การวาดลายหรือผลงานแต่ละชิ้น ไม่มีการจำ�กัดขอบเขตของ ผู้ชมและผู้สร้างสรรค์ ในส่วนของลายที่ออกมาบนผืนผ้า รวมถึงสีที่ ใช้ยังให้ความรู้สึก ต่างๆออกมาผ่านลายเส้นและสีเป็นเรื่องราว


การนำ�ส่วนต่างๆ ของผลไม้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้ง เปลือกนอก เมล็ด และตัวเนื้อผล ไม้ ทำ�ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สอยในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์จากมังคุด เช่น สบู่มังคุด ยาสระผมมังคุด โลชั่นมังคุด หรือจะเป็นของหวาน เช่น ไอศกรีมมังคุด และ ยังมีอีก มากมายที่เป็นผลผลิตจากผลไม้ สมุนไพรของคีรีวง




ดำ�รงชีวิตอย่างยั่งยืน การดำ�รงชีวิตในแบบฉบับของคีรีวง เป็นไปอย่างเรียบง่าย เรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งรอบ ตัว และเหตุการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น พร้อมรับมือกับสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด เวลา การประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้านก็ยังคงพึ่งพาป่าเขา แม่น้ำ� ธรรมชาติจึงเป็น ส่วนสำ�คัญ เป็นที่ดินทำ�กิน อุปโภค บริโภคของหลายครัวเรือน ครอบครัว และยังเป็น เหมือนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในหมู่บ้าน จึงมีส่วนที่จะต้องช่วยกันดูแล ทดแทน และ รักษา สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ให้สวยงาม คงอยู่คู่กับหมู่บ้านคีรีวงแห่งนี้ตลอดไป


ชีวีคีรีวง “ หนึ่งหยาดน้ำ�หนึ่งมณี คีรีวง มาสวมทรงสอดร้อยเป็นสร้อยสรวง ไม้เท้า ปังยายา ปลาพรวง ขุนน้ำ� ขุนเขาหลวง คีรีวง ให้สุขสมร่มเย็น เป็นเมืองแมน ให้เป็นแดนอุดมสมประสงค์ ให้น้ำ�ใจใสฉ่ำ�รักดำ�รง ให้มั่นคงในชีวิตจนนิ​ิรันดร์ ” เนวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์


อ้างอิง

ประคอง สุคนธจิตต์.(2552).บ้านขุนน้ำ� คีรีวง:ชุมชนพึ่ง ตนเอง:วารสารร่มพฤกษ์.หน้า 92-123.ปีที่ 27 (ฉบับที่1). ตุลาคม 2551 - มกราคม 2552 ผู้จัดทำ� : นางสาวเกษศิรินทร์ สุขธรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.ดร.นุชนาฏ ใจดำ�รงค์ สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.