ระเบียบข้อบังคับคณะกรรมการกองทุน 2557

Page 1

ตรา สัญ ลัก ษณ์ กองทุน

ระเบีย บข้อ บัง คับ กองทุน หมู่บ ้า น.................................................... ว่า ด้ว ย การจัด ตั้ง และบริห ารจัด การกองทุน หมู่บ ้า น พ.ศ. ....................... ................................................

เพื่อให้การดำาเนินการบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้าน....................................................................... หมู่ที่..........ตำาบล.....................................อำาเภอท่ามะกา จังหวัด กาญจนบุรี สอดคล้อง ตามหลักการเหตุผล และสาระสำาคัญ ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่ง ชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551 แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 แก้ไข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 ให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยตามมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกอบกับ ข้อ 21 ข้อ 31 ข้อ 32 ข้อ 36 ข้อ 37 ข้อ 38 ข้อ 39 ข้อ 40 ข้อ 41 ข้อ 42 ข้อ 44 ข้อ 45 และข้อ 48 แห่ง ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการ จัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551 แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 แก้ไข (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกองทุน หมู่บ้าน................................................................................................ .............จึงออกระเบียบไว้ โดยผ่านมติที่ประชุมสมาชิกรับรองสองในสาม เมื่อวันที่.......เดือน........................พ.ศ. ............. ดังนี้ หมวดที่ 1 ข้อ ความทั่ว ไป ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ……………………………………...หมู่ ที่...............ตำาบล.......................................อำาเภอท่ามะกา จังหวัด กาญจนบุรี พ.ศ. 25..................” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ถัดจากวันประกาศเป็นต้น ไป


ข้อ 3 ให้ประธานกรรมการกองทุน หมู่บ้าน.........................................................................................เป็น ผู้รักษาการตามระเบียบ ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองแห่งชาติกล่าวคือ ผู้อำานวยการสำานักงานกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำานาจในจังหวัดกาญจนบุรี “คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด” หมายความว่า คณะ อนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำาเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับ จังหวัดกาญจนบุรี “คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน” หมายความว่า คณะ กรรมการ เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับอำาเภอ หรือระดับ จังหวัด “ครัวเรือน” หมายความว่า ครอบครัวตามทะเบียนบ้าน อัน ประกอบด้วยบิดา มารดา สามีภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง เป็นต้น อยู่รวมกัน “หัวหน้าครัวเรือน” หมายความว่า ผู้มีชื่อเป็นเจ้าบ้านามทะเบียน บ้าน “กองทุนหมู่บ้าน” หมายความว่า กองทุน หมู่บ้าน.............................................................................. “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุน หมู่บ้าน........................................................ “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุน หมู่บ้าน............................................. “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุน หมู่บ้าน............................................. “สำานักงาน” หมายความว่า สำานักงานกองทุน หมู่บ้าน....................................................................... “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกกองทุน หมู่บ้าน............................................................................... “ที่ประชุมสมาชิก” หมายความว่า ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำาปี หรือที่ประชุมใหญ่วิสามัญหรือการประชุมประชาคมเพื่อพิจารณาเงินกู้เกิน อำานาจคณะกรรมการ “หุน ้ ” หมายความว่า การออมทรัพย์ในรูปแบบหนึ่งโดยมูลค่าหุ้น ไม่ตำ่ากว่า....................บาท กองทุนหมู่บ้านจะซื้อหุ้นและจำานำาหุ้นตนเองไม่ ได้ “เงินฝากสัจจะ” หมายความว่า เงินที่สมาชิกตกลงที่จะฝากหรอ ออมไว้กับกองทุนหมู่บ้านเป็นรายเดือน ๆ ละไม่ตำ่า


กว่า..........................บาท โดยให้ถือว่าเงินออมเป็นเงินสะสมและจะถอน หรือเบิกคืนจากบัญชีได้ก็ต่อเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิกและจะต้องชำาระ หนี้ให้กองทุนเสร็จสิ้นแล้ว “เงินรับฝาก” หมายความว่า เงินรับฝากประเภทต่าง ๆ นอกเหนือ จากเงินออมตามที่กองทุนหมู่บ้านกำาหนดในอัตราดอกเบี้ยร้อยละไม่ เกิน...................% ต่อปี “บัญชีกองทุนหมู่บ้าน” หมายความว่า บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน...............................หรือบัญชีที่ 1 ซึ่งกองทุน หมู่บ้านเปิดไว้รองรับเงินจัดสรรจากรัฐบาล “บัญชีเงินสะสม” หมายความว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ ชื่อกองทุนหมู่บ้าน...............................หรือบัญชีที่ 2 ซึ่งกองทุนหมู่บ้าน เปิดสำารองรับเงินฝากประเภทอื่นนอกเหนือจากเงินที่ได้รับการจัดสรรจาก รัฐบาล “บัญชีเงินกู้ยืม” หมายความว่า บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ ชื่อกองทุนหมู่บ้าน...............................หรือบัญชีที่ 3 ซึ่งกองทุนหมู่บ้าน เปิดไว้รองรับการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน “บัญชีเงินอุดหนุน” หมายความว่า บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภาย ใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน...............................หรือบัญชีที่ 4 ซึ่งกองทุนหมู่บ้าน เปิดไว้รองรับเงินอุดหนุนหรือเงินบริจาค “สวัสดิการ” หมายความว่า การดำาเนินกิจกรรมหรือกิจการเกี่ยว กับการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกในยามเกิด แก่ เจ็บป่วย ตาย โดยไม่ได้มุ่ง หวังแสวงหาผลประโยชน์หรือแสวงหากำาไร หมวด 2 คณะกรรมการกองทุน หมู่บ ้า น ข้อ 5 ให้กองทุนหมู่บ้าน................................................มีคณะ กรรมการกองทุนหมู่บ้านจำานวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน ซึ่งมา จากสมาชิกโดยการคัดเลือกกันเองจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมี ความรับผิดชอบที่จะบริการจัดการกองทุนหมู่บ้านเป็นที่ยอมรับของ ประชาชนในหมู่บ้าน และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 การคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านนั้นควรคำานึงถึง จำานวนกรรมการชายและหญิงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ข้อ 6 กรรมการกองทุนหมู่บ้าน ต้องมีคุณสมบัติไม่มีข้อห้าม ดังนี้ (1) เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านติดต่อ กันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปี ก่อนวันที่ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะ กรรมการกองทุนหมู่บ้าน


(2) เป็นผู้บรรลุนิติภาวะโดยมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ หรือบรรลุ นิติภาวะโดยการสมรสตามประมวลกฎหมายทางแพ่งและพาณิชย์ (3) เป็นผู้ไม่มีความบกพร่องในศีลธรรมอันดีมีความรับผิดชอบ เสียสละส่วนรวมในกิจกรรมหมู่บ้านชุมชน ไม่ติดการพนัน ไม่เกี่ยวข้องกับ สิ่งเสพติด และไม่มีประวัติเสียหายทางด้านการเงิน ตลอดจนยึดมั่นในการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (4) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลล้มละลาย (5) ไม่เคยได้รับโทษจำาคุกโดยคำาพิพากษาถึงที่สุดให้จำาคุก เว้น แต่เป็นโทษสำาหรับความผิดที่ได้ทำาโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (6) ไม่เคยต้องคำาพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำาความผิดต่อตำาแหน่ง หน้าที่ หรือความผิดต่อทรัพย์ เว้นแต่ความผิดฐานที่ทำาให้เสียทรัพย์ หรือ ความผิดฐานบุกรุก (7) ไม่เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกทางราชการ องค์กร อิสระตามรัฐธรรมนูญหรือ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพราะกระทำาความผิดวินัย อย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อเจ้าหน้าที่หรือสร้างความเสียหายอย่างแรงแก่ ทางราชการ องค์กร หรือหน่วยงานที่สังกัด (8) ไม่เป็นผู้ที่เคยพ้นจากตำาแหน่งคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ตามข้อ 10 (3) และ (4) ข้อ 7 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีอำานาจหน้าที่ ดังนี้ (1) บริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน รวมทั้งตรวจสอบ กำากับ ดูแล และจัดสรรดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สิน ของกองทุนหมู่บ้าน (2) ออกประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์หรือวิธีการเกี่ยว กับการจัดการกองทุนหมู่บ้าน (3) จัดตั้งสำานักงานกองทุน หมู่บ้าน................................................................................................ .. (4) รับสมาชิก และจัดทำาทะเบียนสมาชิก (5) จัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนตามประกาศที่คณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำาหนด (6) พิจารณาเงินยืมให้แก่สมาชิก หรือกองทุนหมู่บ้านอื่น (7) ทำานิติกรรม สัญญา หรือดำาเนินการเกี่ยวกับภาระผูกพัน ของกองทุนหมู่บ้าน (8) จัดทำาคำาขอกู้และสัญญากู้เงินของสมาชิกตลอดจนทำา ทะเบียนลูกหนี้รายตัว เก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการเงินและเอกสารอื่น ๆ ที่ สำาคัญและสามารถตรวจสอบได้


(9) จัดทำาบัญชีรายรับ รายจ่ายตามหลักเกณฑ์และวิธีการโดย ทั่วไป และปิดบัญชีงบดุล งบกำาไรขาดทุน โดยการแต่งตั้งบุคคลภายนอก เป็นผู้ตรวจสอบ หรือตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบบัญชีกองทุนได้ และ รายงานให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำาเภอ/เขต รับทราบ (10) เรียกประชุมใหญ่สามัญและวิสามัญสมาชิกกองทุนตาม ความจำาเป็นของกองทุนหรือตามที่สมาชิกเข้าชื่อร้องขอให้เปิดประชุมใหญ่ วิสามัญตามที่ระเบียบข้อบังคับกำาหนด (11) ติดตามตรวจสอบผลการดำาเนินงานของสมาชิกที่ขอกู้ยืม เงินไปใช้ว่าถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ตลอดจนให้การช่วยเหลือและ หาทางแก้ไขปัญหาให้แก่สมาชิกที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนร่วมกัน (12) สำารวจ และจัดทำาข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรมครัวเรือนและวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่หมู่บ้าน ตลอดจน ข้อมูลและการดำาเนินการเกี่ยวกับกองทุนอื่น ๆ ที่มอ ี ยู่แล้วในหมู่บ้าน (13) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กองทุนให้ประชาชนได้รับ ทราบโดยทั่วไปและชักชวนให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนให้มากยิ่งขึ้น เท่าที่กองทุนสามารถจะทำาได้ (14) พิจารณาดำาเนินการใด ๆ เพื่อสวัสดิภาพ สวัสดิการ หรือ ประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน (15) รายงานผลการดำาเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค รวมทั้ง ฐานะการเงินของกองทุนหมู่บ้าน ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองแห่งชาติ ทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งตลอดจนรายงานเรื่องดัง กล่าวให้สมาชิกทราบ (16) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ คำาสั่งตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำาหนด หรือมอบหมาย ข้อ 8 กรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีวาระการดำารงตำาแหน่งคราวละ สองปี เมื่อครบกำาหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่กรรมการกองทุน หมู่บ้าน เข้าดำารงตำาแหน่งให้กรรมการกองทุนหมู่บ้านจับสลากออกจำานวน กึ่งหนึ่งของจำานวนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมด กรรมการกองทุน หมู่บ้านที่ถูกจับสลากออกไม่ถือว่าพ้นจากตำาแหน่งตามวาระ กรรมการ กองทุนหมู่บ้าน ที่พ้นจากตำาแหน่งอาจได้รับคัดเลือกอีกได้ ในกรณีที่กรรมการกองทุนหมู่บ้านพ้นจากตำาแหน่งตามวรรค สองและพ้นจากตำาแหน่งตามวาระให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ประกอบ ด้วยกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จัดให้มีการเลือกบุคลเข้า ดำารงตำาแหน่งแทนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งพ้นจากตำาแหน่งภายใน ระยะเวลาสามสิบวัน


กรรมการกองทุนหมู่บ้านซึ่งพ้นตำาแหน่งตามวาระอาจได้รับการ คัดเลือกอีกได้ แต่จะดำารงตำาแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ เว้นแต่กรณี ที่กรรมการกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งพ้นจากตำาแหน่งตามวาระได้รับมติจากที่ ประชุมสมาชิก โดยมีคะแนนเสียงสามในสี่รับรองให้เป็นกรรมการกองทุน หมู่บ้านต่อและมีประสงค์ที่จะปฏิบัติงานต่อไปให้มีสิทธิเป็นกรรมการกองทุน หมู่บ้านต่อไปตามวาระ ข้อ 9 ให้คณะกรรมการกองทุนชุดเดิมจัดทำารายงานการประชุม และหลักฐานการรับ - ส่งมอบงานกับคณะกรรมการชุดใหม่ภายใน 7 วัน นับ ถัดจากวันที่มีการคัดเลือกเป็นลายลักษณ์อักษร ให้คณะกรรมการชุดใหม่จัดทำารายงานและแจ้งรายชื่อคณะ กรรมการกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเสนอให้คณะอนุกรรมการ สนับสนุนระดับอำาเภอทราบ พร้อมทำาคำาร้องขอให้คณะอนุกรรมการ สนับสนุนระดับอำาเภอ ออกหนังสือรับรองการเป็นคณะกรรมการกองทุนใน คราววาระนั้น ๆ ภายในกำาหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการคัดเลือก ข้อ 10 นอกจากพ้นตำาแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการกองทุน หมู่บ้านพ้นจากตำาแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) คณะกรรมการหมู่บ้าน มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่า สองในสามของจำานวนคณะกรรมการกองทุนทั้งหมดที่มีอยู่ (4) ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองใน สามของจำานวนสมาชิกทั้งหมด (5) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 (4) (5) (6) และ (7) (6) คณะกรรมการให้ออก เนื่องจากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านพ้นจากตำาแหน่งก่อน วาระ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจแต่งตั้งบุคคลจากสมาชิกเข้าดำารง ตำาแหน่งกรรมการกองทุนหมู่บ้านแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งแทน อยู่ในตำาแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ข้อ 11 ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเลือกกรรมการด้วยกัน เป็นประธานกรรมการกองทุน รองประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน เหรัญญิกกองทุนหมู่บ้าน เลขานุการกองทุนหมู่บ้านและตำาแหน่งอื่น ๆ ตาม ความเหมาะสม และความสามารถเฉพาะตำาแหน่ง ข้อ 12 การประชุมคณะกรรมการกองทุน ต้องมีกรรมการมา ประชุมเกินกึ่งหนึ่งของจำานวนกรรมการกองทุนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น จึงเป็นองค์ประชุม


ถ้าประธานกองทุนหมู่บ้านไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ ได้ให้รองประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หรือกรรมการที่ประธานมอบ หมายทำาหน้าที่ประธานในที่ประชุม ทำาหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ถ้า ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือรองประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการกองทุนหมู่บ้านที่มา ประชุมเลือกกรรมการกองทุนหมู่บ้านคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยนี้ชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการ กองทุนหมู่บ้านคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเท่ากันให้ ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการกองทุนหมู่บ้านผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นส่วนตัวในเรื่องใด ห้ามไม่ให้เข้าร่วมประชุมเรื่องนั้น หมวด 3 กองทุน หมู่บ ้า นและสมาชิก กองทุน หมู่บ ้า น ข้อ 12 กองทุน หมู่บ้าน.................................................................มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำาหรับการลงทุนเพื่อพัฒนา อาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย หรือสำาหรับส่งเสริม และพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ สวัสดิการหรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใด ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน (2) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จำาเป็นเร่งด่วน สำาหรับประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง (3) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำาเนิน การตามวัตถุประสงค์ (4) ให้กู้ยืมเงินแก่กองทุนหมู่บ้านอื่น เพื่อประโยชน์ในการสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจของหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (5) กระทำาการใด ๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต สวัสดิภาพ และสวัสดิการของสมาชิก หรือประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน เมือง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจของกองทุนหมู่บ้าน ตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำาหนด (6) รับจำานองที่ดิน ขายฝาก รับฝากทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่ สมาชิกนำามาคำ้าประกันในการกู้ยืมเงิน ซือ ้ ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นใด เพื่อสร้างที่ตั้งสำานักงานกองทุนหมู่บ้าน หรือ ถือกรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ได้ ข้อที่ 14 กองทุน หมู่บ้าน....................................................ประกอบด้วยเงิน และทรัพย์สิน ดังนี้


จัดสรรให้

(1) เงินที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

(2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินที่สมาชิกนำามาลงหุ้น หรือฝากไว้กับกองทุนหมู่บ้าน (4) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนได้รับบริจาคโดยปราศจาก เงื่อนไข หรือข้อผูกพันใดๆ (6) ผลดอก รายได้ หรือประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สิน ของกองทุนหมู่บ้าน ข้อ 15 สมาชิกกองทุนหมู่บ้านประกอบด้วยบุคคลธรรมดาที่อาศัย อยู่ในหมู่บ้านติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งและมีบัญชีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ของหมู่บ้านตามทะเบียนราษฏ์ ครัวเรือนหนึ่งที่สามารถเข้าสมัครเป็นสมาชิกสามัญเพื่อกู้ยืมเงิน กองทุนได้หนึ่งคน โดยให้หัวหน้าครัวเรือนหรือคู่สมรสหรือคนในหนึ่งครัว เรือนที่บรรลุนิติภาวะและได้รับการอนุญาตจากหัวหน้าครัวเรือนเป็นสมาชิก กองทุนเท่านั้น ข้อ 16 บุคคลในครัวเรือนที่มีชื่อในทะเบียนบ้านของหมู่บ้านตาม ทะเบียนราษฎร์สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบเพื่อฝากเงินกับกองทุน หมู่บ้านได้ ข้อ 17 บุคคลใดสมัครเป็นสมาชิกของกองทุนบ้านแล้วประสงค์ ลาออก หากประสงค์สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านใหม่จะต้องพ้นจาก การเป็นสมาชิกไปแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับวันที่ได้รับอนุมัติให้ลาออกจาก คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน สถานภาพการเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านปิดประกาศในที่ทำาการกองทุนหมู่บ้านหรือ แจ้งให้สมาชิกทราบในวันประชุม ข้อ 18 สมาชิกทุกคนต้องถือหุ้นกับกองทุนหมู่บ้านอย่างน้อย คนละหนึ่งหุ้น (มูลค่าของหุ้น ๆ ละ....................... บาท) และจะต้องมี การนำาเงินฝากสัจจะเป็นประจำาทุกเดือนอย่างน้อยเดือน ละ.......................บาท สมาชิกรายใดขาดส่งเงินสัจจะติดต่อกันเกินกว่าสามเดือน คณะ กรรมการมีสิทธิ์ให้ออกหรือพ้นจากสมาชิกภาพได้ ข้อ 19 ให้มีการประชุมสามัญประจำาปีสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่ง ครั้ง ภายในกำาหนดระยะเวลาสิบห้าวัน นับจากวันที่กรรมการกองทุน หมู่บ้านพ้นจากตำาแหน่งตามวาระ เพื่อพิจารณาผลดำาเนินงานของคณะ กรรมการกองทุนหมู่บ้าน และรับรองกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับเลือก ใหม่


ข้อ 20 นอกจากการประชุมใหญ่สามัญประจำาปีแล้ว คณะ กรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ เมื่อมีเหตุที่ต้อง ขอมติ หรือขอความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกหรือเมื่อคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้านจะเห็นสมควร ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ ภายในระยะเวลาสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอเป็นหนังสือจาก สมาชิกซึ่งเข้าชื่อจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกจำานวนทั้งหมด ข้อ 21 ในการประชุมสมาชิกต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม สมาชิกจะมอบอำานาจเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นมาประชุมแทนตน ก็ได้ แต่ผู้มอบอำานาจนั้นจะรับมอบอำานาจจากสมาชิกเกินกว่าหนึ่งรายไม่ได้ การประชุมคราวใดมีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้นัด ประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสิบห้า วันนับแต่วันนัดประชุมครั้งแรก ในการ ประชุมครั้งหลังถ้าไม่ใช่การประชุมใหญ่สามัญประจำาปี เมื่อสมาชิกมา ประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำานวนสมาชิกทั้งหมดให้ถือเป็นองค์ ประชุม ข้อ 21 สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้น เป็นหนึ่งเสียงชี้ขาดการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก หมวด 4 การกู้ย ืม เงิน กองทุน หมู่บ ้า น ข้อ 22 สมาชิกที่ประสงค์จะขอกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน ต้องจัด ทำาคำาขอกู้โดยระบุวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินอย่างชัดเจน โดยยื่นคำาขอกู้ ดังกล่าวต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน พิจารณาเงินกู้ โดยสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านความ เห็นชอบ จากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ดังนี้ (1) เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและส่งเงินสัจจะติดต่อกันไม่น้อย กว่าหกเดือนและถือหุ้นกับกองทุนหมู่บ้านตามที่กำาหนดไว้ในระเบียบ (2) จัดทำาคำาขอกู้ตามแบบที่กองทุนหมู่บ้านกำาหนดโดยระบุ วัตถุประสงค์ในการขอกู้ยืมเงินอย่างชัดเจน และยื่นคำาขอกู้ดังกล่าวต่อคณะ กรรมการกองทุนหมู่บ้านตามที่คณะกรรมการกำาหนดเป็นครั้ง ๆ ไป ข้อ 23 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีอำานาจในการอนุมัติเงินกู้ รายหนึ่งไม่เกินจำานวนสามหมื่นบาท ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีมติเห็นควรอนุมัติเงินกู้ รายใดเกินกว่าสามหมื่นบาท ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเรียกประชุม


สมาชิกเพื่อให้สมาชิกพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป ทั้งนี้ การอนุมัติเงินกู้ราย หนึ่งต้องไม่เกินเจ็ดหมื่นห้าพันบาท การอนุมัติเงินกู้ฉุกเฉิน หรือเงินยืมฉุกเฉินให้คณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้านอนุมัติได้รายหนึ่ง ไม่เกินจำานวนหนึ่งหมื่นห้าพันบาทจากเงิน ที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล หรือบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่1) ไปใช้ จ่ายเพื่อฉุกเฉินหรือจำาเป็นเร่งด่วน โดยกองทุนหมู่บ้านสามารถเบิกเงิน ฉุกเฉินจากบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชี1) มาเก็บรักษาไว้เป็นเงินสด ตาม ระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้านโดยวงเงินสดที่เก็บรักษาประจำาวันไม่เกินห้า หมื่นบาท และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม ซึ่งมีสมาชิกมา ประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำานวนสมาชิกทั้งหมด ข้อ 24 ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีมติอนุมัติเงินกู้ ยืมตามคำาขอทั้งหมดหรือบางส่วน ให้บันทึกความเห็นในแบบคำาขอกู้ยืมเงิน พร้อมทั้งส่งสำาเนาแบบคำาขอกู้ยืมเงิน ตลอดจนเงื่อนไขและรายละเอียดใน การอนุมัติเงินกู้ แจ้งให้ผู้กู้ และธนาคารรับทราบโดยเร็ว ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านแต่งตั้งผู้แทนคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้านอย่างน้อยสองคนเป็นผู้แทนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านใน การทำาสัญญากู้ยืมเงินกับผู้ขอกู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ ให้ผู้ขอกู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารและ แจ้งหมายเลขบัญชีออมทรัพย์ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านรับทราบโดย เร็ว การโอนเงินเข้าบัญชีผู้กู้ ธนาคารจะเป็นผู้ทำาหน้าที่โอนเงินเข้า บัญชีผู้กู้ที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ข้อ 25 หลักประกันในการกู้ยืมเงินของสมาชิก เพื่อความมั่นคง ของกองทุนจึงได้กำาหนดให้มีการคำ้าประกันเงินกู้ดังนี้ (1) การกู้เงินจะต้องมีสมาชิกกองทุนด้วยกันเป็นคนคำ้าประกัน อย่างน้อย 2 คน หรือคำ้าประกันด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่มี มูลค่าและสามารถบังคับขายทอดตลาดชำาระหนี้ได้ หากคำ้าประกันด้วย อสังหาริมทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน ต้องไปจดทะเบียนจำานอง ณ สำานักงาน ที่ดินท้องที่ และหากมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดผู้กู้เป็นผู้เสียค่าใช้ จ่ายนั้น (2) การคำ้าประกันเงินกู้ด้วยหลักทรัพย์ โดยการจำานองคำ้าประกัน เงินกู้นั้น หากผู้กู้ผด ิ นัดผิดสัญญาไม่ชำาระหนี้กองทุนและคณะกรรมการได้ ติดตามทวงถามด้วยวาจา และหนังสือไปยังผู้กู้และผู้คำ้าประกัน เกิน 3 ครั้ง ติดต่อกันแล้ว หากยังคงเพิกเฉย กองทุนหมู่บ้านทีสิทธิบังคับกับทรัพย์สินที่ คำ้าประกันนั้นออกขายทอดตลาดชำาระหนี้ทันที


(3) การคำ้าประกันด้วนบุคคลหากผู้คำ้าประกันคนใดคนหนึ่งเสีย ชีวิตให้ผู้กู้หาผู้คำ้าประกันคนใหม่ หรือหลักทรัพย์มาคำ้าประกันตามหลัก เกณฑ์ใน (1) ข้อ 26 การชำาระดอกเบี้ยเงินกู้ ให้สมาชิกที่ได้รับอนุมัติกู้ไป ชำาระดอกเบี้ยให้กับกองทุนหมู่บ้านในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 บาทต่อปี โดย กองทุนจะประกาศอัตราดอกเบี้ยให้สมาชิกทราบด้วยเปิดเผยในครั้งคราวไป ในกรณีที่สมาชิกผู้กู้ผิดสัญญาไม่ชำาระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ให้ผู้กู้เสียค่าปรับให้กับกองทุนหมู่บ้าน ในอัตราร้อยละ 3 บาทต่อปี ของเงิน ต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชำาระนับตั้งแต่วันที่ค้างชำาระไปจนกว่าจะชำาระเสร็จสิ้น คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน อาจปรับลดค่าปรับให้ผู้กู้รายใด รายหนึ่งเมื่อเห็นสมควรก็ได้โดยความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกเกินกึ่ง หนึ่งของสมาชิกทั้งหมด ดอกเบี้ยเงินกู้จากบัญชีที่ 1 ค่าปรับ จะต้องนำาเข้าบัญชีกองทุน หมู่บ้าน(บัญชีที่ 1) ข้อ 17 กำาหนดระยะเวลาการชำาระคืนเงินกู้ หรือเงินยืมให้คณะ กรรมการกองทุนหมู่บ้านพิจารณาตามความเหมาะสมแห่งสัญญาเงินกู้แต่ละ ราย การชำาระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหรือเงินยืมพร้อมเงินตอบแทนจากผล กำาไร ให้ผู้กู้ชำาระให้แล้วเสร็จ ตามวิธีการดังกล่าวดังต่อไปนี้ (1) เงินกู้หรือเงินลงทุนทุกประเภท ซึ่งให้กู้หรือยืมเงินและ ดอกเบี้ย หรือผลอันเกิดจากเงินที่ได้รับจากการจัดสรร หรือสมทบจาก สำานักงาน ให้ผู้กห ู้ รือผู้ยืมชำาระให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับ แต่วันที่ทำาสัญญา ยกเว้นเงินบัญชีอื่น (2) วงเงินกู้หรือเงินลงทุนทุกประเภท ซึ่งให้ผู้กู้หรือผู้ยืมเงิน หรือ ดอก หรือผลอันเกิดจากเงินกู้หรือยืมจากสถาบันการเงิน ให้ผู้กห ู้ รือผู้ยืม ชำาระคืนตามที่กำาหนดไว้ในสัญญา สมาชิกที่จะประสงค์จะชำาระคืนเงินกู้ หรือเงินยืมทุกประเภทต้อง ไปติดต่อขอชำาระคืนเงินกู้ หรือเงินยืมทุกประเภทกับคณะกรรมการกองทุน หมู่บ้าน เพื่อตรวจสอบเงินงวด (เงินต้นพร้อมดอกเบี้ย หรือเงินยืมและเงิน ตอบแทนจากผลกำาไร) ที่จะต้องส่งชำาระคืน ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำาหนังสือแจ้งความประสงค์ ในการชำาระคืนเงินกู้หรือเงินยืมทุกประเภทของสมาชิกให้กับสมาชิกจำานวน สามฉบับ ให้สมาชิกนำาเงิน (เงินต้นพร้อมดอกเบี้ย หรือเงินยืม และเงิน ตอบแทนจากผลกำาไร) ไปฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์สมาชิก พร้อมทั้งทำาหลัก ฐานการถอนเงิน (ใบถอนเงิน) มอบไว้กับธนาคารเพื่อให้กับธนาคารถอน เงินดังกล่าว


ให้ธนาคารถอนเงินตามยอดเงิน ซึ่งระบุในหลักฐานการถอนเงิน (ใบถอนเงิน) แล้วนำาฝากเข้าบัญชีกองทุนหมู่บ้าน (บัญชีที่ 1) เมื่อธนาคารรับเงินและหลักฐานการถอนเงิน (ใบถอนเงิน) จาก สมาชิกกองทุนแล้วให้มอบหนังสือแจ้งความประสงค์ในการชำาระคืนเงินกู้ หรือเงินยืม (ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2) ให้กับสมาชิกเพื่อให้สมาชิกนำาเงินไป เก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ และนำาไปมอบให้คณะกรรมการกองทุน หมู่บ้านหนึ่งฉบับเพื่อเป็นหลักฐานในการจัดทำาบัญชีหรือดำาเนินการในส่วน ที่เกี่ยวข้อง ส่วนอีกฉบับหนึ่ง (ฉบับที่ 3) ให้ธนาคารจัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน ข้อ 28 ในกรณีจำาเป็นและมีเหตุอันสมควร การชำาระคืนเงินกู้ให้ แก่กองทุนหมู่บ้านสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจะต้องติดต่อขอชำาระเงินกับคณะ กรรมการกองทุนหมู่บ้าน หรือจะกำาหนดเวลา สถานที่ เป็นครั้ง ๆ ไปก็ได้ โดยจะต้องชำาระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาที่สมาชิกได้ทำาไว้กับ กองทุนหมู่บ้านและคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจะต้องออกใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการรับเงินให้กับสมาชิกผู้กู้ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าสมาชิก ได้ชำาระเงินกู้แล้ว ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำาสรุปรายละเอียดการรับ ชำาระคืนเงินกู้ตามวรรคแรกเป็น ลายลักษณ์อักษรพร้อมสำาเนาใบเสร็จรับเงินแล้วนำาฝากเข้าบัญชีกองทุน หมู่บ้าน (บัญชีที่ 1)หรือบัญชีกู้ยืมเงิน(บัญชีที่ 3) ตามแต่กรณีภายในสิ้นวัน ทำาการ ข้อ 29 กองทุนหมู่บ้านสามารถกู้ยืมเงินกับกองทุนอื่นได้ เพื่อนำา ไปให้สมาชิกกู้ต่อไปลงทุน ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลด รายจ่าย และบรรเทาเหตุจำาเป็นเร่งด่วนหรือฉุกเฉินได้ ตามวิธีการดังต่อไปนี้ (1) กองทุนหมู่บ้านที่ให้กู้และกองทุนหมู่บ้านที่ขอกู้ต้องเรียก ประชุมสมาชิกเปิดเวทีประชาคม พร้อมทั้งขอความเห็นชอบสมาชิก โดย ชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ วงเงินขอกู้เงื่อนไขของสัญญา ตลอดจน ประเด็นสำาคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยต้องมีผู้มาประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ ของจำานวนสมาชิกทั้งหมด และให้มีผู้แทนคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับ อำาเภอ หรือระดับเขตมาเป็นผู้สังเกตการณ์ด้วย (2) จัดทำาสัญญาเงินกู้ และมีหนังสือถึงธนาคารที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ขอความร่วมมือให้โอนเงินจากบัญชีจากกองทุนหมู่บ้านที่ให้กู้ (บัญชีที่ 1) ไปยังบัญชีกองทุนหมู่บ้านที่ขอกู้ (บัญชีที่ 1) (3) มีหนังสือแจ้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำาเภอ หรือ ระดับเขต อย่างเป็นทางการทั้งนี้ เพื่อคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับ อำาเภอ หรือระดับเขต จะได้แจ้งให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร และคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดหรือ


กรุงเทพมหานครแจ้งให้สำานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้รับทราบเป็นลำาดับ ข้อ 30 ในกรณีผู้กู้ผิดสัญญาไม่ชำาระคืนต้นเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย หรือค่าตอบแทนเงื่อนไขที่กำาหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ให้ผู้กู้เสียเบี้ยปรับ ตามข้อ 26 สำาหรับจำานวนเงินที่ขาดหรือค้างชำาระ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจพิจารณายกเลิกหรือปรับลด เบี้ยปรับให้แก่ผู้กู้รายหนึ่งรายใดก็ได้เมื่อมีเหตุอันสมควร และด้วยความเห็น ชอบจากที่ประชุมสมาชิกด้วยเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ข้อ 31 ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ได้เริ่มดำาเนินการตามวัตถุประสงค์ในการ ขอกู้ยืมเงิน หรือเมือ ่ มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้กู้นำาเงินไปใช้นอกรอบ วัตถุประสงค์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควรให้คณะกรรมการกองทุน หมู่บ้านมีอำานาจยกเลิกสัญญาและเรียกคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยหรือค่า ตอบแทนที่ค้างชำาระคืนเต็มจำานวนได้โดยทันที กรณีตามความในหมวดนี้ขัดหรือแย้งกับหลักศาสนาของสมาชิก กองทุนหมู่บ้านให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถกำาหนดหลักเกณฑ์ และรูปแบบในการใช้ประโยชน์จากเงินกองทุนหมู่บ้าน และการกำาหนดผล ตอบแทน ใช้คืนเงินกองทุนหมู่บ้านให้สอดคล้องกับหลักศาสนาของสมาชิก นั้นได้ หมวด 5 การทำา บัญ ชีแ ละการตรวจสอบ ข้อ 32 ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำาบัญชีของกองทุน หมู่บ้านตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เมืองแห่งชาติกำาหนด และจัดทำารายการรับ – จ่าย เงินกองทุนหมู่บ้านอย่าง น้อยเดือนละหนึ่งครั้งและแจ้งให้สมาชิกทราบ รวมทั้งให้จัดทำาสรุปผลการ ดำาเนินงานประจำาปี รายงานต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เมืองแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายใน เกี่ยวกับการบริหารจัดการการเงิน การบัญชีและการพัสดุ โดยคำานึงถึงการมี ส่วนร่วมในการตรวจสอบของสมาชิกเป็นหลัก ข้อ 33 ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน จัดทำางบการเงินพร้อม ทั้งรายละเอียดตามแบบที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่ง ชาติกำาหนด และส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน กำาหนด ภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่สิ้นปีบัญชีของทุกปี ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสรรหาผู้ตรวจสอบบัญชี ของกองทุนหมู่บ้านเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำาปี เพื่อขอความเห็น ชอบในการทำาหน้าที่ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สิน


ของกองทุนหมู่บ้านโดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่าย ดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัดและได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด และให้ทำาบันทึกรายงานผลการสอบบัญชี ต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อสมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน

ข้อ 34 การจัดสรรกำาไรสุทธิประจำาปี เมื่อสิ้นปีทางบัญชีกองทุนหมู่บ้านจะดำาเนินการปิดบัญชีตาม มาตรฐานทางบัญชีของสำานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ หากมีกำาไรสุทธิ ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน นำากำาไรสุทธิจากบัญชีที่ 1 มาจัดสรร ดังนี้ (1) เงินตอบแทนคณะกรรมการ ในอัตราร้อย ละ........................ (2) เงินสมทบกองทุน ในอัตราร้อย ละ........................ (3) เงินประกันความเสี่ยง ในอัตราร้อย ละ........................ (4) เงินเพื่อการศึกษาดูงานอบรมคณะกรรมการ ในอัตราร้อย ละ........................ (5) เงินเพื่อสาธารณประโยชน์ ในอัตราร้อย ละ........................ (6) เงินเพื่อจัดสวัสดิการให้สมาชิก ในอัตราร้อย ละ........................ (7) ทุนสะสมเพื่อใช้พัฒนากิจการกองทุน ในอัตราร้อย ละ........................ (8) เงินทุนการศึกษาบุตรหลานสมาชิก ในอัตราร้อย ละ........................ (9) เงินทุนเพื่อสมทบประเพณีงานท้องถิ่น ในอัตราร้อย ละ........................ (10) ค่าใช้จ่ายในการดำาเนินงานกองทุน ในอัตราร้อย ละ........................ ทั้งนี้ การจัดสรรกำาไรสุทธิ ในแต่ละปีอาจเปลี่ยนแปลงได้ตาม รายงานการประชุมสามัญประจำาปี และให้เป็นไปตามการพิจารณาเห็นชอบ ในที่ประชุมใหญ่สมาชิกการจัดสรรกำาไรสุทธิของเงินบัญชี 2 และบัญชีอื่น ๆ ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมสามัญประจำาปี


บทเฉพาะกาล ข้อ 35 การแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ให้ ดำาเนินการได้โดยสมาชิกกองทุนจำานวนหนึ่งในห้าของจำานวนสมาชิก กองทุนทั้งหมดเข้าชื่อกันแล้วนำาเสนอต่อคณะกรรมการเป็นลายลักษณ์ อักษรประการหนึ่ง หรือคณะกรรมการจำานวนหนึ่งในสามของจำานวนคณะ กรรมการทั้งหมดนำาเสนอต่อที่ประชุมของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาก่อน และให้นำาร่างที่ขอแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเข้าที่ประชุมสามัญประจำาปี อนึ่ง ระเบียบกองทุนจะมีการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมได้เมื่อมีการ บังคับใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ข้อ 36 ในกรณีที่ข้อความใดในระเบียบนี้ไม่ได้กำาหนดไว้ ให้ใช้ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหาร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551 มาบังคับใช้โดยอนุโลม ประกาศ ณ วัน ที่...................เดือน.........................................พ.ศ. .......................... ลงชื่อ.................................................... (...........................................................) ประธานกรรมการ กองทุนหมู่บ้าน............................................................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.