1
2
หอธรรมในจังหวัดน่านตอนล่างล่าง ค�ำว่า “หอ” หมายถึงอาคารหรือเรือน ส่วนค�ำว่า “ไตร” หรือ “ธรรม” มา จากค�ำว่า “ไตรปิฎก” หรือ “พระธรรม” อันหมายถึงหมวดพระธรรมค�ำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ๓ หมวดคือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม นิยมสร้าง หอธรรม เนื่องจากมีความเชื่อว่า การสร้างหรือจารพระคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาถือ กันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็นอย่างมาก เทียบได้กับอานิสงส์ในการสร้างวิหาร จาก เหตุผลดังกล่าว จึงเป็นมูลเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกคัมภีร์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พระไตรปิฎก กฎหมาย จริยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ต�ำรายา โหราศาสตร์ ฯลฯ แล้วน�ำ ไปถวายไว้ตามวัดต่างๆ จนกระทัง่ มีประเพณี ตัง้ ธรรมหลวง ทีเ่ ป็นประเพณีการคัดลอก ใบลานเพื่ออุทิศให้กับชุมชนบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป แล้ว เมื่อมีค�ำภีร์ย่อมต้องมีสถานที่ เก็บ ดังนั้นจึงมีคติใน การสร้างหอธรรมขึ้นเพื่อใช้เก็บพระคัมภีร์ต่างๆเหล่านี้ อีกทั้งยัง เป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกด้วย ชาวล้านนาให้ความเคารพและบูชาแก่หอธรรมเป็นอันมากเพราะมีความเชือ่ ที่ ว่า พระไตรปิฏกเป็นสิง่ ทีส่ งู ค่าถือเป็นพระวัจนะของพระพุทธเจ้า หอธรรมนัน้ เป็นสถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์อันบริสุทธิ์ไม่ปรารถนาให้บุคคลภายนอกเข้าไปเกี่ยวข้อง ในความเชื่อด้าน การสร้างหอธรรมนั้นมีค�ำกล่าวว่า การสร้างหอธรรมถือว่าได้อานิสงส์และความอิ่มใจ มากเท่ากับการสร้างวิหาร จากค�ำกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความส�ำคัญของการสร้างหอ ธรรมและอีกค�ำกล่าวหนึ่งเป็นภาษาบาลีซึ่งแปลได้ใจความว่า ถ้าใครสร้างหอธรรม จะปรารถนาอะไรก็ได้หรือจะปรารถนาร่วมกับพระศรีอริยะเมตรไตรก็ได้ ทั้งเป็นการ แสดงถึงความหวังจากผลบุญของตนเองทีไ่ ด้สร้างหอธรรมถวายแด่พระศาสนาและหวัง ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในภพหน้า เหตุที่ชาวล้านนามีศรัทธาที่แรงกล้าการสร้างหอธรรม จึงมีพิธีกรรมในการถวายเครื่องหมู่บูชาอันเป็นวัตถุที่มีค่ากล่าวคืออาจจะเป็นเงินทอง เพชรพลอยหรือแม้แต่การถวายข้าทาสบริวารในแก่หอธรรมการอุทิศผลบุญที่ได้สร้าง หอธรรมได้แก่บรรพบุรุษญาติมิตรทวยเทพต่างๆและอนุโมทนาให้ช่วยดูแลรักษาหอ ธรรมจะเป็นบุญกุศลยิ่ง
3
หอธรรมวัดเมืองราม เมื่อประมาณเกือบ ๒๐๐ ปีที่แล้ว ชาวบ้านเมืองรามอพยพมาจากเมือง เชียงแสน โดยการนำ�ของเจ้าชีวิตเมืองน่าน และเรียกที่อยู่ใหม่ว่า บ้านเมืองฮาม มี ครูบาฮาม เป็นผู้นำ�ชาวบ้านอพยพ บ้านเมืองรามเดิมทีนั้นมีชื่อว่า บ้านเก๊า ตั้งอยู่ บริเวณโรงเรียนบ้านนาเหลืองไชยรามในปัจจุบัน ต่อมา เจ้าเมืองน่านได้มาเห็นไชย ภูมิที่เหมาะ จึงคิดจะตั้งเมืองแห่งใหม่ไว้ที่นี่ แต่หลังจากที่สั่งให้ทหารไปลาดตระเวนดู พื้นที่ ก็พบว่าพื้นที่บางส่วนเป็นภูเขา อาจจะไม่สามารถรองรับการขยายตัวของเมือง ได้ จึงให้เป็นเพียงแค่ด่านหน้าก่อนที่จะถึงเขตเวียง แล้วย้ายผู้คนมาตั้งอยู่บริเวณที่ตั้ง อยู่ ณ ปัจจุบัน องค์ประกอบส่วนต่างๆ ของหอธรรมที่พบการประดับตกแต่งของหอธรรมวัดเมืองราม
อาคารที่พบเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นโครงสร้างไม้ มี แปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บันใดไม้อยู่ด้านใน ของหอธรรม ชั้นล่างมีหน้าต่างทำ�จากไม้ ๔ บาน ประตู ๑ บาน ชั้นบนมีหน้าต่าง ๗ บาน โครงสร้างด้านล่างใช้ผนังรับน�ำ้ หนัก ส่วนด้านบนใช้เสาและคานรับน�ำ้ หนัก หลังคาแบบ คฤห์ลดชั้นหลังคา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอ หน้าบันเป็นลวดลายไทย ก้านขดเขียนสีบนพื้นไม้ ช่อฟ้า , ใบระกา, หางหงส์ ทำ�จากเทคนิคหล่อปูน ป้านลม เป็นรูปนาคลำ�ยอง
4
หอธรรมวัดดอนไชยพระบาท เดิมชื่อวัดป่าแอ็บ หรือ วัดหนองแหย่ง สันนิษฐานว่าคงเรียกตามสถานที่ใน สมัยต่างๆกัน วัดดอนไชยพระบาทนั้น เดิมน่าจะสร้างขึ้นในช่วงตอนกลางถึงปลาย สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประมาณพุทธศักราช ๑๘๙๗ สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ยุคนั้นน่านปกครองโดยพระยาการเมือง โอรสของพระยาผานอง พุทธศักราช ๑๘๙๖ พุทธศักราช ๒๔๕๕ พ่อสม ธรรมเรือน ผู้ใหญ่บ้าน บ้านท่า พ่อคันธะ ก้อนสมบัติ พ่อปัญญา คำ�มาตร ได้ร่วมกันสร้างหอธรรมขึ้น ขนานติดกันกับ วิหารสังกัจจายน์ เสาก่อด้วยอิฐถือปูน ๒ ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งชั้นบนกั้นห้องสำ�หรับ เก็บพระคัมภีร์ใบลาน ซึ่งมีจำ�นวนมาก ทำ�ด้วยไม้สักวาลวดลายไม้เลื้อยและลาย รูปข้าวหลามตัด ส่วนที่เหลือเป็นระเบียง หลังคามุงด้วยสังกะสี ติดช่อฟ้า ใบระกา ประมาณ พุทธศักราช ๒๕๓๔ พระสมเจตน์ ได้ก่ออิฐโบกปูนทำ�ห้องชั้นล่าง ทาด้วยสีขาว องค์ประกอบส่วนต่างๆ ของหอธรรมวัดดอนไชยพระบาท ห้ อ งเก็ บ คั ม ภี ร์ มี ลั ก ษณะเป็ น ห้ อ ง สี่เหลี่ยมจัตุรัสสูงจรดเพดานเป็นฝาไม้ตีตามแนว ตั้งตกแต่งด้วยลายคำ�แต่เลือนไปมาก บานประตู มีการเขียนสีรูปเทวดาโดยใช้เทคนิคเขียนสี อาคาร มีลักษณะเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังคาเป็นทรงโรง มุงด้วยสังกะสี ชั้นล่างเป็นเสาก่ออิฐถือปูน ๖ ต้น ชั้นบนเป็นเสาไม้ ๑๒ ต้น ผนังชั้นบน ปรากฏ ลวดลายพรรณพฤกษาลายดอกพุ ด ตานลงรั ก ปิดทอง ชั้นบนมีประตูทางเข้า ๑ บาน ชั้นล่างมี ประตูทางเข้าด้านข้างทางทิศใต้ ๑ บาน ชั้นบนมี ระเบียง ๔ ด้าน
5 หน้ า บั น ของหอธรรมด้ า นหน้ า และด้ า น หลังแกะสลักด้วยลวดลายพรรณพฤกษาลายดอก สัปรดประดับกระจก หัมยนต์เป็นลวดลายเครือ ดอกสัปะรดแกะสลักไม้ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ทำ�จากไม้แกะสลัก แป้นน้ำ�ย้อยเป็นโลหะฉลุ แผงคอสองเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ฉลุโลหะ ประดับ โดยรอบ บานประตูชั้นบนของห้องเก็บพระคัมภีร์ เขียนสีด้วยรูปเทวดาถืออาวุธ
หอธรรมวัดตาลชุม บ้านตาลชุมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต ด้วยบรรพบุรุษยุคแรกเป็น ลูกหลานเจ้าหลวงเชียงของ ซึ่งเป็นญาติกับเจ้าหลวงเมืองน่านเชื้อสายเจ้าอริยวงค์ที่ อพยพมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่นี้ เมื่อครั้งสมัยรัตนโกสินตอนต้น ซึ่งเป็นพื้นที่ราบ ริมแม่นํ้าน่านฝั่งตะวันออก บนฝั่งสูง นํ้าท่วมไม่ถึง เป็นบริเวณที่ต้นตาลขึ้นอย่าง หนาแน่น ชาวบ้านได้สร้างฝายห้วยนํ้าฮ้า เพื่อใช้ทำ�นาปลูกข้าว จึงเรียกหมู่บ้านที่ อาศัยอยู่นั้นว่า “บ้านตาลชุม” ตามทำ�เลที่ตั้ง ในช่วงนี้เป็นระยะที่เจ้าเมืองน่าน กอบบ้านแปงเมือง จึงมีผู้คนจากเชียงแสน เชียงของ และเมืองเชียงฮ่อน เชียงลม เขตล้านช้างอพยพมาสมทบ ทำ�ให้ชุมชนใหญ่ขึ้น จึงได้ก่อสร้างวัดแรก คือ วัดม่อน (ปรากฏหลักฐานบริเวณโรงเรียนตาลชุมศึกษาลัย) แต่ ยังสร้างไม่เสร็จก็ได้พบทำ�เลใหม่ จึงสร้างวัดใหม่ ณ ที่อยู่ ปัจจุบัน คือวัดตาลชุม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔ โดยการนำ�ของ พระอธิการอาทิตย์
6 ซึ่งขณะนั้น หมู่บ้านมีประชาการประมาณ ๗๐ หลังคาเรือน ต่อมาเกิดอุทกภัย ฝายนํ้าฮ้าพัง ชาวบ้านซ่อมไม่เสร็จเป็นเวลา ๗ ปี ทำ�ให้มีปัญหาเรื่องน้ำ�ไม่พอแก่การ เพาะปลูก ผู้คนอพยพหนีไปอยู่ที่อื่น ได้แก่ บ้านม่วง บ้านยาย อำ�เภอเชียงของ และ อยู่เมืองเชียงคำ� เมืองเทิง จังหวัดเชียงราย อีกส่วนหนึ่งซึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ บ้านผาขวาง อำ�เภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ยังคงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านตาลชุม เช่นเดิม หลังจากนั้น ราวปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ความทราบถึงเจ้าผู้ครองนคาน่านในขณะนั้น พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช จึงให้เจ้าราชวงค์ (เจ้าสุทธิสาร ณ น่าน) เป็นผู้ลงมาดูแลการ ซ่อมฝายนํ้าฮ้าจนแล้วเสร็จ องค์ประกอบส่วนต่างๆ ของหอธรรมวัดตาลชุม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ซึงเป็นอาคารสองชั้น กว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร เป็น อาคารก่ออิฐถือปูน ๒ชั้น ชั้นล่างมีเสา ๘ ต้น ชั้นบน๘ต้น ก่ออิฐถือปูน ชั้นบนทางเข้า อยู่ทางด้านข้างทางทิศเหนือ หลังคามุงด้วยสังกะสี หน้าบันหอธรรมทั้งสองด้านเป็น ลวดลายพรรณพฤกษาเครือดอกสัปปะรดลงรักปิดทอง เสาอาคารก่ออิฐถือปูน หัวเสา ประดับด้วยลายบัวหัวเสา
หอธรรมวัดหนองเตา
7
ครูบาเจ้านาราบ เป็นเก๊าและลูกศิษย์เจ้าทุกตน จุลศักราชได้ ๑๑๔๕ ตัวปีก้า เล้า เดืแนหกเป็ง พฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์ ยามบ่าย ได้ฤกษ์ ๘ ตัว พุทธมูลศรัทธา ภายในศาสนาหมายมี อาราธิปติ เจ้าตนลงนามพิเศษ ชื่อว่า อุปนันธา เป็นประธาน ลัอันเตราสิกจุตน โหรภายนอกหมายมี แสนตักคินะ และ ภรรยาบุตรติกรรมการและ กรรมมารีกุลวงค์ปงปัน ผู้เฒ่า ปู้หนุ่ม ผู้สาวในบ้านหนองเตา ที่นี้ทั้งมวลเหล่าและ ศรัทธาบ้านนาบูดและบ้านนางั่ว ทั้งมวลภายในและภายนอกก็มีกุสสะมะนะศรัทธา เสมอกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว จึงได้มาปฏิสังขรณ์สร้างแปงพระวิหารหลังนี้ ครูบาเจ้านาราบ เป็นเก๊าและลูกศิษย์เจ้าทุกตน จุลศักราช ได้ ๑๑๔๕ ตัว ปีก้าเล้า เดืแนหกเป็ง พฤหัสบดี วันศุกร์ วัน เสาร์ ยามบ่าย ได้ฤกษ์ ๘ ตัว พุทธมูลศรัทธาภายในศาสนา หมายมี อาราธิปติ เจ้าตนลงนามพิเศษชื่อว่า อุปนันธา เป็น ประธานลัอันเตราสิกจุตน โหรภายนอกหมายมี แ สนตั ก คิ น ะและภรรยาบุ ต รติ กรรมการและกรรมมารีกุลวงค์ปงปัน ผู้เฒ่า ปู้หนุ่ม ผู้สาวในบ้านหนองเตา ที่นี้ทั้งมวลเหล่าและศรัทธาบ้านนาบูดและบ้านนางั่ว ทั้งมวลภายในและภายนอกก็ มีกุสสะมะนะศรัทธาเสมอกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว จึงได้มาปฏิสังขรณ์สร้าง แปงพระวิหารหลังนี้ มีอารามาธิปฎิ เจ้าวัดนาบูด ตนมีนามะวิเศษตนมีชื่อว่า ปันโย เป็นสมณะวสะถือจ่างริจาร ตัดด้วยหัสยะกำ�บละมวลแล้วปุกขึ้นเป้นหลังใส่ชุดกาย ประมวลแล้วถึง จุลศักราช ๑๑๖๗ ตัวปีก้าบเสร็จเดือน ๓ ออก๕ ค่ำ�ว่าได้วันศุกร์ ไตรก่าไก้ยามกองงายได้ฤกษ์บด๒๘ ตัว ชื่อว่า อุตะลาษาพระกั๋งได้พร้อมกันก่อยัง พุทธปิมารูปองค์หลวงนี้ไว้เรามีครูบาเจ้าต๋นมีชื่อว่า ปะละมะวังสะ เป็นประธานละธรรมสิธิภิกขุ และธาสิธทธิภิกขุ ขนานยายะปิขะกังเป็นผู้พิจจารราลิด จาเอาขเบ็ดขบวนบลมวลแล้วใส่ลักหางยางแดง
8 พระจืตรติดสุวรรณเรืองเลื่อเพื่อเป็นที่ไหว้และบูชาแก่นาตะละปะตังหลายห้าพัน พระวะษา ดีหลี ภึงเมื่อปีดับไก้ ศักราชได้ ๑๑๗๗ ตัวเดือนหกเป็งเป็นวันพุธ ได้ดับเป้าฤกษ์กดได้ ๑๐ ตัว ชื่อมะขะเตวะตา ก็จึงสรุปฉลองอุษาภิเษกซ้อมย้อมยัง วะละพุทธะพิมาเจ้าและที่ดังอั้นเป็นที่สถิตสำ�ราญแห่งพระพุทธเจ้าด้วยเจตนาด้วยนิล เป็กตกเหือนแผ่นพสุธาวันนั้นแล ต่างปลูกไว้เป็นตัวหื้อแล้วยังกำ�ลังอันมากชักลากทั้ง มวล และ ดอนกี่เสี้ยง เก้าหมื่นป๋ายสองร้อย ปูนสามล้านเหล็กเสี้ยงสี่หมื่น ปันเงินเศษ คำ�เสี้ยงหมื่นห้าปันเจ็ดแล แป้นเกดหมื่นป๋ายสี่ร้อยห้าสิบ องค์ประกอบส่วนต่างๆ ของหอธรรมวัดหนองเตา หอธรรมกว้าง ๕ เมตร ยาว ๕ เมตร ก่ออิฐถือปูน มีรูปแปลนเป็นสี่เหลี่ยม จัตุรัส เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ฐานของหอธรรมเป็นฐานเขียงรองรับด้วย บัวคว่ำ� เส้น ลวด ท้องไม้ อกไก่ ท้องไม้ เส้นลวด อกไก่ บัวหงาย และ ลายหน้ากระดาน ฐานเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส ประตูทางเข้าหอธรรมเป็นประตูที่มีลักษณะแคบ เป็นลวดลายประแจ จีน ด้านบนมีเสา ๔ต้น เป็นลักษณะเสาขอม ซุ้มหน้าต่างเป็นซุ้มโขง ๓ ด้าน ประกอบด้วย ช่อฟ้า ปั้นลมเป็นรูปพญานาค ใบระกา ตัวลำ�ยอง เสาขอม ช่องหน้าต่างเป็น ไม้ขัดสาน เป็นลายราชวัตร คันทวยเป็นการ แกะสลักไม้ เป็นรูปพญานาคทาด้วยสีเขียว รองรับด้วยปูนปั้นรูปนก คันทวยมีด้านละ ๔ ตัว ประจำ�มุมด้านละ๑ตัว รวมเป็น๒๐ตัว ลักษณะของหลังคาหอธรรมเป็นแบบซ้อนชั้น ทรงมณฑป หางวันเป็น รูปพญานาค สันหลังคา ประดับใบระกา ๔ ด้าน เดิมเป็นหลังคาที่มุงด้วย หินชนวน
9 แต่ปัจจุบันบูรณะเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินขอ ตรง ชั้นระหว่างหลังคาเป็นลายประดับกระจกลาย พฤกษา ส่วนยอดเป็นบัลลัง รองรับยอดบัวตูม และฉัตร๕ชั้น ฉลุลาย เสาของกำ�แพงที่ล้อมรอบ หอธรรม มี ๖เสา เป็นทรงหัวมัน ๔ เหลี่ยมด้าน บนประดับปูนปั้นรูปเทพนม ตัวเสาก่ออิฐถือปูน ทางเข้าของกำ�แพงมีรูปปั้นพญานาคก่ออิฐถือปูน เป็นนาคหางขด
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ลักษณะการวางทิศทางของหอธรรม ในการสร้างหอธรรมในเขตจังหวัดน่าน ตอนล่างนั้นมีความนิยม หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ ทาง ทิศเหนือ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า หอธรรมในเขตอำ�เภอเมืองน่าน จะหันหน้าไปในแต่ละ ทิศทางไม่เหมือนกัน เช่น หอธรรมวัดหัวข่วง หอธรรมวัดพระเกิดและหอธรรมวัดนา ปังหันไปทางทิศตะวันออก หอธรรมวัดภูมินทร์ หอธรรมวัดช้างเผือก หอธรรมวัดดอน แก้วหันไปทางทิศเหนือ หอธรรมวัดช้างค้ำ� หันไปทางทิศใต้ หอธรรมวัดศรีบุญเรือง หอธรรมวัดเจดีย์หันไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของตัวอาคารของหอธรรม หอธรรมในเขตจังหวัดน่านตอนล่าง มีลักษณะของตัวอาคาร ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น และก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ๒ ชั้น มีจำ�นวน เท่ากัน หอธรรมในเขตอำ�เภอเมืองน่าน จะนิยมสร้างหอธรรมแบบครึ่งตึกครึ่งไม้มาก ที่สุด เช่น หอธรรมวัดหัวข่วง หอธรรมวัดช้างค้ำ�วรวิหาร หอธรรมวัดศรีบุญเรือง หอธรรมวัดช้างเผือก หอธรรมวัดพระเกิด หอธรรมวัดนาปัง หอธรรมวัดเจดีย์ ชั้นล่าง จะก่ออิฐถือปูนส่วนชั้นบนเป็นโครสร้างไม้ ส่วนหอธรรมที่ก่ออิฐถือปูนทั้งสองชั้นคือ หอธรรมวัดภูมินทร์ซึ่งเป็นหอธรรมหลังเดียวในเขตอำ�เภอเมืองน่านที่ ก่ออิฐถือปูนทั้ง สองชั้น ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่า หอธรรมนี้ มีลักษณะโครงสร้าง
10 ที่ไม่ตรึงแน่น มีความยืดหยุ่นในตัวค่อนข้างสูงและมีความแข็งแรงอยู่ในตัวโครงสร้าง เอง และอีกอย่างหนึ่งคือ อาจจะได้รับอิทธิพลจากภาคกลางเข้ามา โดยที่หอธรรมของ ภาคกลางนิยมสร้างหอธรรมไว้กลางนํ้า เพื่อกันมด ปลวก หนู และแมลงต่างๆ เข้ามา กัดแทะพระคัมภีร์ แต่ทางล้านนาเอามาประยุกต์ใช้เพราะทางล้านนาอยู่ในพื้นที่สูง ไม่ใช่ราบลุ่มแม่น้ำ� หากจะขุดบ่ออาจจะทำ�ได้ยากกว่า
11 ในอดีตหอธรรมส่วนใหญ่จะไม่มีการสร้างบันใดทางขึ้น เพื่อแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของ พระคัมภีร์ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งที่ใครจะเข้าไปหยิบไปเอาได้ตามใจชอบ แต่ถือว่ามีความ สำ�คัญมากเป็นสิ่งที่คนธรรมดาทั่วไปแตะต้องไม่ได้เป็นของสูงเฉพาะพระสงฆ์ และ เณรเท่านั้น และการนำ�ออกมาแต่ละครั้งต้องหาบันใดไปพาด เมื่อถึงประตูก็จะแคบ มาก ต้องหมอบคานเข้าไปทีละคน แต่ในปัจจุบันนี้หอธรรมส่วนใหญ่จะมีการทำ�บัน ใดไว้เพื่อความสะดวกสบายในการนำ�ออกมาใช้อีกทั้งประตูยังกว้างไม่ต้องหมอบคาน เข้าไปเช่นในอดีต แต่ยังคงมีให้เห็นอยู่ที่วัด เตา อำ�เภอนาน้อย จังหวัดน่าน ซึ่งไม่มีบัน ใดพาดขึ้น และทางเข้าก็แคบมากเหมือนเช่นเดิมในอดีต
12 หอธรรมได้เปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ไปจากเดิมกลายเป็นเพียงสัญลักษณ์ หนึ่งของอาคารภายในวัด ที่ต้องมีไว้เพื่อครบองค์ประกอบของวัด เนื่องจากปัจจุบัน หอธรรมไม่ได้เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานอีกต่อไปแล้ว ถูกเปลี่ยนการใช้งานไปเป็นที่พัก สงฆ์ห้องเก็บของ เพราะความคับแคบของวัด ทางวัดไม่เล็งเห็นถึงคุณค่าของหอธรรม และมองเห็นความทรุดโทรมของอาคารและต้องการใช้ประโยชน์ของพื้นที่วัดมากกว่า โดยใช้เป็นที่ตั้งของอาคารอื่นซึ่งใช้ประโยชน์ได้มากกว่า ดังนั้นหอธรรมจำ�นวนหนึ่งจึง ถูกรื้อถอนโดยความเห็นของทางวัด อีกประการหนึ่งคือการที่หอธรรมได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานนั้น ทางวัดไม่สามารถจะทำ�การบูรณะซ่อมแซเองได้ทำ�ให้เกิดความล่าช้า ในขั้นตอนของ กานอนุมัติซ่อมแซมจากกรมศิลปากรทางวัดจึงมิได้ยินยอมให้มีการขึ้นทะเบียน และ เหตุนี้ทำ�ให้ทางกรมศิลปากรไม่สามารถเข้าไปดำ�เนินการต่างๆได้ หอธรรมจึงมีสภาพ และหน้าที่เปลี่ยนไปจากเดิม
13
หอธรรม ในจังหวัดน่านตอนล่าง ภาพและเนื้อเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย มงคงชัย ไชยวงค์ 540310131 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย มงคลชัย ไชยวงค์ โดยใช้ฟอนท์ TH sarabun New 16 pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา
ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่