Shade of Thai Food

Page 1

SHADE OF THAI FOOD


THAI ข้าวแช่ คือ อาหารชาววัง อาหารไทยโบราณ นิยมทานในฤดูร้อน โดย นําข้าวหุงสุก แช่น้ําเย็นหอมน้ําลอยดอกไม้ ทานกับเครื่องเคียง ประกอบด้วย ลูกกะปิ พริกหยวกสอดไส้ หมูฝอย หัวหอมสอดไส้ หัวไชโป้หวาน และ ผักต่างๆ

RICE

Shades of Thai Food

นําเสนอความหลากหลายของอาหารไทย ทั้งเรื่องรสชาติที่อร่อยหลายหลาก หน้าตาอาหารที่ตกแต่งอย่างสวยงามชวนลิ้มลองโดยเราแย กเฉดความหลากหลายของอาหารไทยนี้ไว้ 4 เฉด


วิถีชีวิตของคนไทยนั้นผูกพันธ์กันมานานนับแต่โบราณ จนถึงปัจจุบันคนไทยปริโภคข้าวอย่างมีระเบียบวิธี และมีลักษณะเฉพาะ เช่น กระบวนการแปลรูปข้าวเพื่อการปริโภค โดยการให้ข้าวสุกด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการหุงต้ม การนึ่ง การหลาม เป็นเหตุให้การใช้ภาชนะที่แตกต่างกัน รวมถึงการประกอบอาหารที่ใช้รับประทานคู่กับข้าว ก็ได้รับการเอาใจใส่ คิดค้น จึงเกิดเป็นวัฒนธรรมที่ควบคู่กัน อาหารไทยที่ใช้ข้าวเป็นหลักจึงมีอยู่มากมาย


RICE

THAI

1


ข้าวพระรามลงสรง เรียกสั้น ๆ ว่า ซาแต๊เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารจีนตอนใต้ ประกอบด้วยข้าวสวย ผักบุ้งลวก และเนื้อหมู ราดด้วยน้ําราดข้นคล้ายน้ําสะเต๊ะ เป็นอาหารที่นิยมในหมู่ชาวแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน ปัจจุบันหารับประทานได้ยากในไทย ปลาแห้งแตงโม เมนูดับร้อนแบบโบราณ ทําจากเนื้อปลาช่อนแห้งโขลกละเอียด แล้วนําไปคั่วจนเหลืองหอม ผสมกับหอมแดงเจียว น้ําตาล เกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนํามาโรยบนเนื้อแตงโมเย็นๆ หวานฉ่ํา ช่วยดับร้อน ลดอุณหภูมิร่างกาย เป็นของว่างเรียกน้ําย่อย ข้าวแต๋น นิยมทํากันในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ งานปอยลูกแก้ว และงานปอยหลวง ปัจจุบัน นิยมผสมน้ําแตงโมลงในข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว ก่อนนํามากดลงพิมพ์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและความหวานอร่อย


2 THAI

NOODLES

" ม้าฮ่อ " ของว่างชาววังอีกหนึ่งอย่างที่ หาทานยาก เป็นเมนูที่นิยมทานกันในช่วงห น้าร้อนทําให้สดชื่นคลายร้อน ส่วนประกอบหลักคือผลไม้รสเ ปรี้ยวจัด เช่น สับปะรด ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ส้มเช้ง ปอกเปลือกแบ่งเป็นชิ้นพอดีค ํ า และมีส่วนของไส้ที่ทําจากหมู สับนําไปผัดให้แห้งและเหนียว แล้วปั้นเป็นก้อนกลม วางลงบนชิ้นผลไม้ตกแต่งด้วย ใบผักชีพริกชี้ฟ้าแดง หอมอร่อยลงตัว


CURRIE

HAI

3


THAI

CURRIES


4 THAI SWEET

" ขนมไทยในสมัยโบราณ ใช้เวลาทํานาน ต้องใช้ความพิถีพิถันมาก ความสวยงามเป็นจุดเด่นของขนมหวานไทย ขนมไทยแบบดั้งเดิม จะมีส่วนผสมของ แป้งจากข้าวจ้าว หรือ ข้าวเหนียว น้ําตาล กะทิ เท่านั้น ต่อมาการถ่ายทอดวัฒนธรรมด้านอาหารจากประเทศต่างๆเข้ามาในประ เทศไทย ขนมก็มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน มีเอกลักษณ์เด่นที่ความหลากหลายของรสชาติ สีสัน และความหลากหลายของวัตถุดิบในการทําขนม ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สามารถหาได้จากธรรมชาติ และอยู่คู่กับความเป็นอยู่ในชีวิตประจําวัน "


" ขนมเสน่ห์จันทร์ " ความหมายของขนมชนิดนี้นั้น จะทําให้เป็นคนมีเสน่ห์ มีแต่คนนิยมรักใคร่ รูปทรงคล้ายผลของลูกจันทน์ ซึ่งก็มีส่วนผสมของผงลูกจันทน์อยู่ในแป้งขนม ด้วยนั่นเอง รสชาติของขนมจะหวานแต่จะไม่มาก หอมละมุนคล้ายกลิ่นผลจันทน์ผสมกับกลิ่นอบ ควันเทียน และมีความนุ่มๆ " บุหลันดั้นเมฆ " เป็นขนมที่มีที่มาจากในวัง รูปลักษณ์ สีสันจะเลียนแบบดวงจันทร์ที่ลองอยู่ท่าม กลาง ส่วนประกอบด้านนอกจะประกอบไปด้วยแป้งข้าวเจ้ า แป้งมัน น้ําตาลทราย และได้สีจากน้ําดอกอัญชัน ในส่วนไส้ตรงกลางจะใช้ไข่ กะทิ น้ําตาลมะพร้าวเป็นส่วนประกอบ สามารถให้เป็นของฝากผู้ใหญ่ หรือคนในครอบครัว นับว่าเป็นเมนูขนมไทยแสนประณีตอีกหนึ่งชนิด

" ขนมกระเช้าสีดา " ชื่อขนมชนิดนี้มีที่มาจากต้นกระเช้าสีดาในวรรณ คดีรามเกียรติ์ มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว โดยตัวขนมจะทํามาจากแป้งสวยงามรูปทรงคล้ ายกับกระเช้า และส่วนที่เป็นไส้ขนม กระเช้าสีดาเป็นขนมที่หารับประทานได้ค่อนข้า งยาก เนื่องจากต้องใช้ความประณีตและละเอียดอ่อนใ นการทําขนม


" ขนมจ่ามงกุฎ " ขนมในราชสํานัก ใช้สําหรับเครื่องเสวยถวายพระเจ้าแผ่นดินในอดีต มีวิธีทําที่ค่อนข้างยาก ประณีตและต้องอาศัยศิลปะในการทําสูงกว่าขนมช นิดอื่น แต่เดิมสูตรไทยโบราณจะไม่มีส่วนผสมของไข่ มีเพียงแป้ง กะทิและน้ําตาล ปัจจุบันหาทานได้ยากมาก จะมีขายเพียงรุ่นที่สืบทอดกันมา (ย่านตลาดน้ําอัมพวา) รูปลักษณ์จะเป็นสีเขียว มีโรยแป้งทอด รูปลักษณ์คล้ายมงกุฏสีทอง

" ขนมสัมปันนี " ได้รับอิทธิพลมาจากโปรตุเกส รูปร่างคล้ายดอกไม้มีสีสันสวยงาม ปัจจุบันมีสัมปันนี ๒ สูตรคือสูตรกรอบอร่อย และสูตรนุ่มละมุนลิ้นแบบไม่ต้องอบ

" ช่อม่วงอัญชัน " ขนมไทยโบราณที่มีความประณีตอ่อนช้อยแ บบฉบับชาววัง ด้านนอกเป็นแป้งมีสีม่วงจากดอกอัญชัญตก แต่งจัดช่อสวยงามเฉกเช่นดอกไม้จึงเรียกว่า ช่อม่วง ด้านในมีทั้งไส้ที่ทําจากหมูและกุ้ง หรือปลา,ไก่ได้ตามใจชอบ ซึ่งหารับประทานได้ค่อนข้างยากแล้ว


" ขนมตูโบ้ หรือ ต้มบวดรวมมิตร " อาหารหวานท้องถิ่นภูเก็ต ทําจากถั่วแดงเม็ดเล็ก มันเทศ เผือก และแป้งมันสําปะหลัง ต้มรวมกันในน้ํากะทิเติมน้ําตาลและเกลือพอให้ มีรสหวานนําและเค็มปะแล่ม จะทานร้อนๆหรือเติมน้ําแข็งก็ได้

" ขนมโพรงแสม " เมื่อตัวขนมได้ถูกบดขยี้กับฟันและลิ้นที่สั มผัสรส จะให้ความรู้สึกกรุบกรอบน่ากัดกิน ผสมกับความหวานของน้ําตาลที่เคลือบข นมอย่างลงตัวไม่ที่ไม่หวานมากนัก ก็ยิ่งทําให้ขนมชนิดนี้เหมาะสําหรับการกิ นเล่น กับน้ําชาตอนบ่าย

" ขนมเกสรชมพู่ " ขนมไทยโบราณ มีลักษณะแข็งกระด้างของข้าวเหนียว ส่วนเกสรชมพู่จะดูนุ่มนวล อ่อนโยน ที่ทําจากมะพร้าวขูดขาว ผัดกับน้ําและน้ําตาลทราย ใส่วุ้นกวนให้เข้ากันใส่สีชมพูแก่ แล้วตักใส่ถ้วย เรื่องรสชาติเกสรชมพู่จะมีความมัน ความหอมของมะพร้าว และมีความหวานเป็นเอกลักษณ์


" ขนมเทียน " เปรียบเสมือนแสงสว่าง ลักษณะที่สวยถูกต้อง ต้องปลายแหลม และฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางได้โดยไม่เสียรูปทรง ทําจากถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก กวนกับกะทิและน้ําตาลทราย อบด้วยควันเทียน ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ นําแป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหริ่ม กวนกับน้ําตาลทราย และน้ําลอยดอกมะลิ ขนมชนิดนี้จะให้กลิ่นหอมสดชื่นน่ากินของควันเทียน และน้ําลอยดอกมะลิที่อบอวลอยู่ในเนื้อขนม

" ขนมตะลุ่ม " มีสองส่วน คือส่วนตัวขนม ทําแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม แป้งมันสําปะหลัง น้ําปูนใส และหางกะทิ นําไปนึ่งจนสุก ส่วนของตัวหน้า ได้แก่ หัวกะทิ ไข่ และน้ําตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทลงบนตัวที่สุกแล้ว นําไปนึ่ง เวลาเสิร์ฟตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดพอดีคําหรือลักษณะ ตามชอบ เวลาจะรับประทานควรรับประทานพร้อมกันเพราะให้ร สชาติที่หวาน มัน และมีกลิ่นหอมของกะทิยามรับประทานในคําเดียวกัน ขนมหม้อตาล เป็นขนมโบราณ ตัวถ้วยขนม ผสมแป้งสาลี น้ําเย็น ไข่แดง กรุแป้งในพิมพ์หม้อตาล อบให้สุก ไส้ ผสมน้ําตาลทรายกับน้ําเคี่ยวให้ข้น ตักใส่ถ้วย หยดสีตามต้องการ หยอดลงในพิมพ์ ให้น้ําตาลแห้ง ดูจากลักษณะภายนอกดูกระจุ๋มกระจิ๋มน่า รัก หลากสีสันชวนน้ําลายสอ เมื่อลองลิ้มชิมรสเนื้อแป้งของขนมที่กรอ บจะเข้ากันดีกับตัวน้ําตาลที่หวานกําลังดี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.