า ส เ ย า ล ย เส้นสา
ภานุชนารถ พาณิชกระจ่าง
2
จังหวัดเชียงราย เชี ย งรายเป็ น จั ง หวั ด หนึ่ ง ซึ่ ง อยู่ ท างภาคเหนื อ ของประเทศไทยมี ทั้งหมด18 อำ�เภอ ทิศเหนือติดกับสหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวทิศใต้ติดกับจังหวัดลำ�ปางและจังหวัดพะเยา ทิศตะวันตกติด กับสหภาพพม่าและจังหวัดเชียงใหม่
3
โครงสร้างหลักของวิหารล้านนาประกอบด้วย เสา คาน และหลังคาซึ่ง โครงสร้างทั้งหมดนิยมทำ�จากไม้และไม้ที่มีมากในภาคเหนือตอนบนคือไม้ สักนั้นเองโดยส่วนที่เป็นเสานั้นเป็นส่วนประกอบหลักที่จะรองรับน้ำ�หนักของ หลังคา และลักษณะพิเศษของวิหารล้านนานั้นคือ “โครงสร้างม้าต่างไหม” วิหารล้านนาส่วนมากเสาเป็นทรงกลมเรียงตัวเป็นลักษณะสองแถวคู่กันเว้น ระยะห่างอย่างสวยงามและเสาที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของวิหารล้านนาจะ มีรูปทรงแปดเหลี่ยมคู่หน้า แต่ในปัจจุบันวิหารล้านนาพบได้น้อยลงเนื่องจาก มีการนำ�รูปแบบของอุโบสถมาสร้างแทนและมีหน้าที่ใช้ประกอบศาสนกิจ เช่นเดียวกับวิหาร
4
เสาวิหารล้านนาในเขตอำ�เภอเมือง เชียงราย เสาวิหารของล้านนามีอยู่ 2 รูปแบบ คือเสาหลวงและเสาระเบียงโดย ลักษณะชองเสาหลวงมักเป็นเสาแถวกลางหรือเสาร่วมที่ซึ่งเรียกว่า“เสา หลวง”มักจะประดับด้วยลวดลายรดน้ำ�ปิดทองหรือการขูดลายบริเวณด้าน บนในส่วนที่รับขื่อหลวงโดยจะมีการสร้างบัวหัวเสาประกอบอยู่ด้วย เสาที่อยู่ ภายในวิหารมักจะเป็นเสาลักษณะกลมแต่ถ้าอยู่ในตำ�แหน่งเสาหลวงคู่แรก ด้านหน้าทิศตะวันออกของวิหารเสมอมักมีลักษณะเป็นเสาแปดเหลี่ยม เสาระเบียงมักเป็นเสาแถวนอกหรือเสาร่วมนอกที่สร้างติดกับผนังวิหาร มีหน้าที่รับน้ำ�หนักโครงสร้างปีกนกทั้งสองข้างวิหารรวมถึงแบ่งห้องวิหารใน เอกสารโบราณเรียกว่า “เสาระเบง”คาดว่ามาจากคำ�ว่าระเบียงจะมีลักษณะ เป็นเสาสี่เหลี่ยมเสมอเพื่อความสะดวกในการก่อสร้าง
5
แนวคิดในการออกแบบ ลวดลายเสาวิหาร ลวดลายและการออกแบบลวดลายประดับตกแต่งเสาภายในวิหารจะ ตกแต่งด้วยลวดลายแตกต่างกันตามแนวความคิดในการออกแบบลวดลาย ตกแต่งเสาของช่างซึ่งอาศัยความศรัทธาและคติความเชื่อทางศาสนาในเชิง สัญลักษณ์เพื่อพุทธบูชาและประสบการณ์ในสังคมโดยนำ�มาสังเคราะห์เป็น หลักการสร้างงานลวดลายศิลปะและขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ทางภูมิปัญญา อิทธิพลความชำ�นาญของช่างในแต่ละท้องที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นหลักฐาน สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมวิธีชีวิตและความเชื่อของสังคมสมัยนั้น
6
วัสดุเทคนิคที่ใช้ในการตกแต่ง ลวดลายศิลปะล้านนา เทคนิคลงรักปิดทอง ทองคำ�นั้นคือสิ่งที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสูงส่งงดงาม เมื่อนำ�ทองคำ�มาตกแต่งเป็นลวดลายบนเสาวิหารแล้วจะเป็นการแสดงออก ถึงการแทนสิ่งที่เคารพบูชาและมีคุณค่านอกจากนี้ยังทำ�ให้เสาภายในวิหารดู สวยงามมากขึ้น โดยลวดลายทองนี้จะทำ�บนพื้นสีแดงชาด การทำ�เช่นนี้ชาว ล้านนาเรียกว่า “ลายคำ�” โดยมีการทำ�มานานแล้วและยังคงมีให้เห็นอย่าง ต่อเนื่อง มีทั้งหมด 3 วิธีคือ
1.1การฉลุลาย เป็ น ลวดลายที่ ทำ � ด้ ว ยเทคนิ ค ปิ ด ทองลงบนพื้ น รั ก ตามร่ อ งฉลุ ข อง ลวดลายบนกระดาษหรือแม่พิมพ์ลายฉลุ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับเทคนิคปิดทอง ของงานช่างไทยในภาคกลางที่เรียกว่า “ปิดทองลายฉลุ” วิธีการนี้เป็นเทคนิค ที่ง่ายและรวดเร็วนิยมใช้ทำ�ลวดลายที่ซ้ำ�ๆกัน ในพื้นที่ขนาดใหญ่มากๆ โดย การทำ�ลายทองแบบใช้แม่พิมพ์ลายฉลุ โดยวัดสุที่ใช้ในการทำ�ลายทองแบบ ใช้แม่พิมพ์ลายฉลุนั้นมีดังนี้
7
1.แผ่นแบบพิมพ์ลายฉลุจะทำ�จากกระดาษหรือแผ่นโลหะบางๆโดยจะ ทำ�การวาดลวดลายลงไปแล้วทำ�การฉลุให้ทะลุตามลวดลายนั้นๆเพื่อที่จะนำ� ไปเป็นแม่แบบลาย เพื่อเช็ดรักปิดทองต่อไป 2.รักเช็คเป็นน้ำ�รักที่มีความใสและเหนียว รักเช็ดนี้จะใช้เป็นตัวยึดติดกับ ทองคำ�เปลวโดยตรงโดยทารักเช็คนี้แล้วปิดทองได้เลย 3.ทองคำ�เปลวเป็นการเอาทองมาแผ่เป็นแผ่นให้บางที่สุดโดยการทุบ 4.ผ้าเนื้อละเอียด
8
วิธีการทำ� การเตรียมพื้นเราต้องนำ�ไม้มาขัดเพื่อเอาเสี้ยนไม้ออกก่อนจากนั้นจึง ทารักข้นลงบนพื้นเป็นชั้นแรกเมื่อแห้งแล้วจึงใช้รักที่กรองแล้วทาทับเพื่อ ประสานไม่ให้เห็นเนื้อไม้ เมื่อชั้นรักที่กรองแห้งแล้วจึงใช้รักน้ำ�เกลี้ยงทาฉาบ ให้ทั่วเป็นครั้งสุดท้ายแล้วจึงทิ้งไว้ให้แห้งต่อมาขั้นตอนพิมพ์ลาย นำ�เอาแบบ พิมพ์ลายฉลุ มาทาบบนพื้นที่ที่ต้องการปิดทองจากนั้นก็ใช้ผ้าเนื้อละเอียดชุบ รักเช็ดบางๆเช็ดให้ทั่วตามรอยฉลุนำ�แบบพิมพ์ออก แล้วปิดทองคำ�เปลว
ในขั้นตอนการเตรียมพื้นของการทำ�ลวดลายทองคำ�เปลวการจะทำ�ให้ พื้นเป็นสีดำ�ก็สามารถใช้รักธรรมดาได้เลยเพราะธรรมชาติของรักเป็นสีดำ�อยู่ แล้วแต่ถ้าต้องการให้เป็นสีแดงก็นำ�รักไปผสมกับชาดซึ่งเป็นสีแดงสดเป็นผง และเป็นก้อน เมื่อผสมแล้วรักที่ได้จะเป็นสีแดงชาดนำ�ไปรองพื้นได้
9
1.2การขูดลาย เทคนิคการขูดลาย เป็นการทำ�ลวดลายโดยใช้การขูดขีดเส้นลงบนพื้นที่ ที่ปิดทองไว้แล้ว เทคนิคแบบนี้คล้ายกับการทำ�ลวดลายบนผิวภาชนะเครื่อง รักหรือเครื่องเขินของเชียงใหม่ที่เรียกว่า “ฮายดอก” หรือ “ฮายลาย” โดย เส้นลวดลายที่ขูดเอาผิวทองด้านบนออกจะเกิดเป็นเส้นลวดลายสีเข้มหรือสี แดงของชาดบนพื้นทอง โดยลวดลายจะมีลักษณะเหมือนกับการเขียนภาพ ลายเส้นบนพื้นสีทอง เป็นเส้นที่อิสระและมีรายละเอียดของลวดลายมากกว่า งานปิดทองลายฉลุ
1.3 การขูดผสมการฉลุลาย วิธีนี้จะผสมระหว่างเทคนิคลายขูดกับเทคนิคปิดทองลายฉลุซึ่งจะเป็น ลวดลายปิดทองที่มีการขูดเส้นให้มีรายละเอียดมากขึ้น เทคนิคนี้เป็นลักษณะ เด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของลายคำ�ล้านนา เป็นที่นิยมมากที่สุดและ มีอยู่ในแทบทุกช่วงเวลา ซึ่งวิธีการนี้จะทำ�ให้ลวดลายมีมิติและรายละเอียด สวยงามมากขึ้น
10
เทคนิคปูนปั้น ปู น ปั้ น ล้ า นนามี ส องสู ต รคื อ สู ต รโบราณใช้ ปู น ขาวมาผสมกั บ ทราย ละเอียดจากนั้นนำ�ไปหมักทิ้งไว้โดยระยะเวลานานเกือบปีแล้วจึงนำ�ปูนหมัก นั้นมาตากแดดตำ�เป็นผงแล้วนำ�มาผสมน้ำ�อ้อยเคี่ยวกาวหนังควายเปลือกไม้ ต่างๆ ฟางข้าวรวมถึงกล้วยน้ำ�หว้าสุกและนำ�ส่วนผสมทั้งหมดใส่ครกตำ�จน ละเอียดแล้วนำ�มาปั้นเป็นรูปต่างๆอีกหนึ่งสูตร สูตรจีนใช้ปูนขาวผสมกับอิฐ เก่าที่ทุบและตำ�จนละเอียดแล้วผสมทรายละเอียดแล้วจึงใช้น้ำ�มันงาหรือน้ำ� มันละหุ่งมผสมกันแล้วตำ�จนละเอียดเหนียวเมื่อปั้นแล้วจะผนึกกับหนังโดย ใช้รางรักเป็นตัวประสาน ซึ่งเทคนิคปูนปั้นนี้มีอยู่2วิธี โดยวิธีแรก การปั้นปูน แบบสะตายจิ๋นซึ่งจะเลาะเทอะเพราะตัวเส้นลวดโกลนลายค่อนข้างใหญ่ท ทำ�ให้ตัวดอกและใบที่ปิดลงไปดูเทอะทะและมักฉาบปูนอีกชั้นบนปูน ฉาบผนังเพื่อรองรับการบิดลวดลาย ซึ่งวิธีนี้พบในส่วนลวดลายที่ได้รับรูป แบบมาจากยุคทองของล้านนาและยุคที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ลายบัวคอเสื้อ บัว เชิงล่างอีกวิธีหนึ่งคือวิธีปูนปั้นโดยการปั้นปูนปิดลายลงไปเลยโดยไม่มีโกลน เส้นลวดรองรับลายวิธีนี้ใช้มากในส่วนหน้ากระดานหัวเสาหรือลายก้านขดใบ ใหญ่ชั้นบัวถลา
11
เทคนิคกระจก กระจกตะกั่วเป็นวัสดุที่ใช้สำ�หรับการประดับตกแต่งอาคารศาสนสถาน พระพุทธรูปหรืองานประณีตศิลป์ต่างๆที่พบมากในภาคเหนือ หรือบริเวณดิน แดนล้านนาในอดีตมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากกระจกสีในภูมิภาคอื่น โดยจะมี ความอ่อนตัวมากกว่าสีสันที่หม่นกว่าเทคนิควิธีการในการประดับกระจกมี ทั้งการใช้หมุดตรึงกับวัสดุรองรับและการใช้ตัวประสานระหว่างกระจกกับ วัสดุรองรับมักใช้รักสมุกคล้ายวิธีการลงรักประดับกระจกแต่ไม่นิยมปิดทอง ร่วมด้วย
12
วัดศรีบุญเรือง ลักษณะศิลปกรรมของลวดลายเสา เสาภายในวิหารมีลักษณะเป็นเสากลมทำ�จากปูนซีเมนต์ มี 5 คู่ ทั้งหมด 10 ต้น ซึ่งลวดลายเสาแต่ละคู่ก็มีลวดลายที่แตกแต่งกัน โดยการตกแต่ง บริเวณบนหัวเสาเป็นลวดลายกลีบบัว ส่วนบริเวณท้องเสาลวดลายที่พบเห็น คือลายพันธ์พฤกษา เช่น ลายดอกสี่กลีบหรือลายประจำ�ยาม ซึ่งอยู่ภายใน กรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่เป็นลวดลายของดอกประจำ�ยาม ลายผักกูด ลายเครือเถาว์ และลายเทพพนม ส่วนลายเชิงเสาเป็นลวดลาย ลายหน้า กระดานและลายกรวยเชิง
13
14
วัดกลางเวียง ลักษณะศิลปกรรมของลวดลายเสา เสาในวิหารเป็นลักษณะเสากลมทำ�จากปูนซีเมนต์ 3 คู่ ทั้งหมด 6 ต้น หัวเสามีการตกแต่งเป็นลายดอกบัวประดับกระจกซ้อนกัน 2 ชั้น ลายท้องเสา คู่ที่ 1ประดับตกแต่งด้วยลวดลายโครงสร้างมาจากกรอบลายของจุดไข่ปลา เรียงเป็นเส้นขนาน 2 เส้น ระหว่างเส้นจุดไข่ปลามีลายคอสร้อยอยู่ ภายใน กรอบทรง 4 เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีดอกทรงกลม กลีบมน 8 กลีบ ตรงกลาง และมีกลีบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อีก 4 ด้าน เสาคู่ที่2ประดับตกแต่งลวดลายคล้าย ดอกพุดตาน กลีบซ้อนชั้นที่ 2 คล้ายกลีบดอกจอก ตรงกลางเกสรเป็นทรง กลมล้อมรอบด้วยลายจุดไข่ปลา เสาคู่ที่ 3 มีลายดอก 4 กลีบอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยกลีบใบเทศ 4 ทิศ และลายดอกจอก ลายเชิงเสาคือลวดลาย หน้ากระดานคือลายใบไม้และลายดอก 4 กลีบภายในเส้นลวดเป็นคู่และมี ลายไข่ปลาเป็นเส้นตรงกลางและลายกรวยเชิงคือลายดอก 4กลีบ
15
16
วัดงำ�เมือง ลักษณะของศิลปกรรมของลวดลายเสา ภายในวิหารมีเสากลมจำ�นวน 3 คู่ ทั้งหมด 6 ต้นทำ�จากปูนซีเมนต์ หัว เสาเป็นลักษณะลวดลายของบัวหัวเสาซ้อนกัน 2 ชั้น ท้องเสามีลวดลายที่ ต่างกันในแต่ละคู่ซึ่งเป็นรูปแบบของลวดลายการผสมกันระหว่างภาคกลาง และล้านนา โดยเสาคู่ที่ 1ลวดลายที่ประดับตกแต่งเป็นลักษณะของลายเครือ เถาว์ล้านนาที่มีดอกทรงกลมเป็นจุดเด่นอยู่ตรงกลางและมีลายดอกบัวรอบ กลีบดอกอีกชั้นหนึ่ง เสาคู่ที่2 ลวดลายโครงสร้างอิทธิพลมาจากแบบทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์โดยรายละเอียดการฉลุลายมาจากความเหมาะสมและความคิด สร้างสรรค์ของช่าง เสาคู่ที่ 3 ลวดลายได้รับอิทธิพลมาจากโครงสร้างของ ลายก้านแย่งที่มีดอก 4 กลีบอยู่ตรงกลางช่องสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลายเชิง เสามีลักษณะของลายหน้ากระดานและลายกรวยเชิงตามลำ�กับ
17
18
วัดเจ็ดยอด ลักษณะของศิลปกรรมของลวดลายเสา ภายในวิหารมีเสากลมทำ�จากปูนซีเมนต์ เสาวิหารมีทั้งหมด 5 คู่ ทั้งหมด10 ต้นซึ่งแต่ละคู่ก็จะมีรูปแบบการตกแต่งลวดลายที่แตกต่างกันออก ไปและจะมีลายประดับดับตลอดทั้งต้น โดยสีพื้นเป็นสีดำ� มีลวดลายสีทองตัด กับสีพื้นทุกคู่ โดยลวดลายของเสามีการตกแต่งด้วยลวดลายล้านนาซึ่งเป็น ลวดลายเก่าของวิหาร บริเวณหัวเสามีลักษณะเป็นลายบัวหัวเสา ส่วนลาย ท้องเสาส่วนมากในทุกต้น ลวดลายที่ประดับตกแต่งแต่งคือลายดอกพุดตาน และลายเครือเถาว์ ออกนอกจากนี้ยังมีลวดลายสัตว์ เช่น นก กระรอก ส่วน ของเชิงเสามีลายหน้ากระดานหลักๆจำ�นวน 2 แถวเรียงซ้อนกันโดยแต่ละ แถวจะมีลายจุดลักษณะคล้ายไข่ปลาตลอดแนวทำ�หน้าที่เป็นเส้นคั่น ลาย แถวล่างสุดเป็นลายจุด แถวบนถัดขึ้นมาเป็นลายดอกพุดตานตลอดทั้งแถว
19
20
วัดเชียงยืน ลักษณะศิลปกรรมของลวดลายเสา ภายในวิหารมีเสากลมทำ�จากปูนซีเมนต์ เสาวิหารมีทั้งหมด 5 คู่ ทั้งหมด 10 ต้น หัวเสามีลวดลายบัวหัวเสาซ้อน 2 ชั้น ทำ�จากปูนปั้นทาสีทอง ติดกระจก บริเวณท้องเสาแต่ละคู่รูปแบบการตกแต่งลวดลายก็แตกต่าง กันไปแต่ส่วนมากจะเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา เช่น ลายดอกพุดตาน ดอกสี่ กลีบหรือลายประจำ�ยาม ใบพุดตาน เครือเถาว์ บริเวณเชิงเสาตกแต่งลาย กรวยเชิง
21
22
วัดดอยพระบาท ลักษณะของศิลปกรรมของลวดลายเสา ภายในวิหารมีเสากลมทำ�จากปูนจำ�นวน 3 คู่ ทั้งหมด 6 ต้น หัวเสา ประดับตกแต่งด้วยลายบัวหัวเสา ส่วนของท้องเสามีลักษณะลวดลายที่คล้าย กันคือลวดลายพันธุ์พฤกษา เช่นดอกพุดตาน และดอกไม้ 5 กลีบซ้อนชั้น 6กลีบ ดอกสัปปะรด ใบไม้ เครือเถาว์ และลายสัตว์ เช่น นก กระรอก เชิงเสา มีลวดลายหน้ากระดาน แบ่งแถวด้วยลายไข่ปลา และแถวสุดท้ายเป็นลาย กรวยเชิง
23
24
วัดพระแก้ว ลักษณะศิลปกรรมของลวดลายเสา เสาในวิหารเป็นลักษณะเสากลมทำ�จากปูนซีเมนนต์ มีจำ�นวนทั้งหมด 4 คู่ 8 ต้น หัวเสามีการตกแต่งเป็นลายดอกบัว ซึ่งทุกต้นจะมีลวดลายท้องเสา เหมือนกันคือลวดลายดอกบัวและหม้อบูรณฆฏะ ลายเครือเถาว์ เช่น ลาย ก้านขด ลายใบผักกูด นอกจากนี้ยังมีลายสัตว์เช่น นก ผีเสื้อ กระรอก ลาย ที่อยู่ล่างหม้อบูรณฆตะจะมีลายจุดไข่ปลาเป็นแนวเส้นและลายดอกประจำ� ยามและลายก้ามปูในแถวถัดมา ส่วนแถวสุดท้ายเป็นลายดอกย้อย เชิงเสา ทำ�จากปูนทาสีทองซึ่งลวดลายที่ตกแต่งคือลายกาบบัว
25
26
วัดพระสิงห์ ลักษณะของศิลปกรรมของลวดลายเสา ภายในวิหารมีเสาทำ�จากไม้ 8 เหลี่ยมมาจากคติ มรรค 8 ทางพุทธ ศาสนา จำ�นวน 5คู่ ทั้งหมด 10ต้น หัวเสาตกแต่งด้วยลายบัวหัวเสาประดับ กระจก ลวดลายท้องเสาตกแต่งด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา เช่น ลายดอกบัว ดอกพุดตาน ดอก 4 กลีบ และดอกไม้ที่ช่างคิดขึ้นใหม่ให้มีความสวยงามและ เหมาะสม และลายกนก ส่วนลวดลายเชิงเสา ตกแต่งด้วยลายหน้ากระดาน ประจำ�ยามก้ามปู และลายกรวยเชิง
27
28
วัดมิ่งเมือง ลักษณะของศิลปกรรมของลวดลายเสา ภายในวิหารมีเสาไม้ 4 เหลี่ยม 3 คู่ จำ�นวน 6 ต้น หัวเสามีลวดลายหงส์ แกะสลักปิดทอง และติดกระจกสีเขียวด้านพื้นหลัง ลายท้องเสาเหมือนกัน ทุกต้นมีลวดลายพันธุ์พฤกษา ดอกบัว ใบบัว เครือเถาว์ ช้างชูดอกบัว และ หม้อบูรณฆตะ ลายเชิงเสาเป็นไม้เกะสลัก
29
30
วัดศรีเกิด ลักษณะของศิลปกรรมของลวดลายเสา ภายในวิหารมีเสากลม 5 คู่ ทั้งหมด 10 ต้นแต่ละคู่รูปแบบลวดลายแตก ต่างกัน หัวเสาตกแต่งลายบัวหัวเสาซ้อนกัน 2 ชั้น เสาคู่ที่ 1 ลายท้องเสา ตกแต่งด้วยลายดอกพุดตาน ลายใบไม้ ลายเครือเถาว์และดอก 4 กลีบ เสาคู่ ที่ 2ลวดลายท้องเสา ลายดอกพุดตาน ลายเครือเถาว์ เสาคู่ที่ 3 ลายท้องเสา ลายประดิษฐ์หน้าขบ อยู่ตรงกลางกรอบทรงขนมเปียกปูนซึ่งเป็นลายกนก และลายดอก 4 กลีบ เสาคู่ที่ 4 ลายท้องเสา ลายดอกพุดตาน และลายเครือ เถาว์ภายในกรอบทรงขนมเปียกปูนโดยแต่ละมุมลักษณะของดอก 4 กลีบอยู่ ตามมุม เชิงเสาคู่ที่ 1,3,5 มีลายหน้ากระดานโดยเป็นลวดลายดอกพุดตาน หงายขึ้นและลายก้ามปู และลายกรวยเชิง เป็นลวดลายประดิษฐ์ เชิงเสาคู่ ที่2,4 มีลายดอกพุดตานคว่ำ�ลง และลายก้ามปู และลายกรวยเชิง
31
เส้นสายลายเสา ภานุชนารถ พาณิชกระจ่าง
ภาพและเนื้อเรื่อง © 2016 (พ.ศ.2559) โดย ภานุชนารถ พาณิชกระจ่าง สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ.2559 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย ภานุชนารถ พาณิชกระจ่าง ออกแบบโดยใช้ฟอนต์TH Niramit AS 16pt
หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่