Payant

Page 1

ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์ครอบจักรวาล พุทธิคุณ ก่อกอง

1


2


ผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวงหรือผ้า ยันต์พระพุทธสิหิงค์

พุทธิคุณ ก่อกอง

3


ประวัติความเป็นมา พระพุทธสิหิงค์ เป็นชื่อเรียกขานพระพุทธรูป ศิลปะเชียงแสนที่เรียก กันว่าพระสิงค์ หนึ่งลักษณะ เฉพาะของ พระพุทธรูป สกุลนี้คือ มีพุทธลักษณะอวบอ้วน ดูแข็งแรง โดยมากเป็นพุทธลักษณะในท่วงท่า นั่งขัดสมาธิ มีพระโมลีเป็นรูปดอกบัวตูม ปลายสังฆาฏิสูงเหนือพระถัน เป็นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างมากในดิน แดนแถบล้านนา ในสมัยโบราณการหล่อ ปั้น หรือแกะ พระพุทธสิหิงค์ด้วยไม้มงคล ชนิดต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนาไปถวายทานเป็นพุทธบูชาที่วัด แล้วว่ากันว่าถ้าใครนาเก็บมาใช้ในบ้านถือว่าเป็นการไม่ถูกต้อง อย่างไร ก็ตาม พระพุทธรูปที่ชื่อว่าพระสิหิงค์หรือพระสิงค์นั้นถือได้ว่ามีความ ศักดิ์สิทธิ์มากเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้น บุคคลที่มีความรู้ในด้านวิชาคาถา อาคม มีความรู้ทางด้านการวาด ขีดเขียนหรือแต้มก็จะแต่งแต้มเขียน รูปพระพุทธสิหิงค์บนผืนผ้า พร้อมทั้งเขียนภาพพระสาวกบางองค์ เขียน ท้าวจตุโลกบาล เขียนรูปช้าง รูปม้า รวมถึงเขียนภาพเหล่ายักษ์ อสูร รวมทั้งคนธรรพ์ลงไปด้วย จากนั้นผ้ายันต์พระสิหิงค์เมื่อแต่งแต้มเขียน กระบวนการของภาพเสร็จสิ้นมักจะเขียนบทคาถาหรือพระสูตร อาทิ เช่น คาถานวภา คาถาทุกขันเต เป็นต้น

4


พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 5


คติความเชือในการสร้างผ้ายันต์​์ การทาผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวงหรือผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์แต่ละผืนต้อง ใช้เวลาและความพยายามสูงเพราะมีวิธีการที่สลับซับซ้อนยุ่งยากพอสมควร ดังนั้นผู้ใดมีผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์หรือผ้ายันต์สิงหิงค์หลวงครอบครองหรือ ประดับบารมีแล้วผู้นั้นจะมีความผาสุขและมีประโยชน์ทางด้านอำ�นาจฤทธีใน ทุกๆ ด้าน ความนิยมหรือความอยากได้เพื่อที่จะครอบครองเมื่อมีความนิยม สูงแล้วความเป็นแบบแผนแบบอย่างที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับผืนผ้ายันต์พระสิหิงค์ หลวงหรือยันต์พระพุทธสิหิงค์หลวง นั่นคือ “ขบวนพระสิหิงค์หลวง” จากข้อมูลข้างต้น ทำ�ให้เกิดสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของยันต์พระสิหิงค์ หลวงที่ปรากฏในเขตอำ�เภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ รูปแบบที่มีความวิจิตร งดงาม ละเอียด ประณีตบรรจง ความอ่อนช้อยในกรรมวิธีการทำ� ซึ่งมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวตามแต่ทัศนคติในฝีมือเชิงช่างของแต่ละบุคคลแบบพื้นถิ่นนั้นๆ ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียด ที่มา รวมถึงประโยชน์และวิธีการใช้ ถือได้ว่ามีผู้ที่ศึกษาน้อยลงเพราะเอกสาร หรือทัศนคติของคนปัจจุบันนั้นแปร เปลี่ยนไปจากอดีต ปัจจุบันยันต์พระสิงค์หลวงถือเป็นผลงานศิลปะที่ควรค่าที่ จะอนุรักษ์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจที่จะศึกษาเรื่องราว เกี่ยวกับผ้ายันต์

6


หลักเเต้ม เเละ น้ำ�หมึกที่ทำ�จากดีสัตว์​์ ใช้สำ�หรับการเขียนผ้ายันต์ 7


คติความเชือในการสร้างผ้ายันต์​์ ลวดลายทางศิลปกรรมยันต์พระสิหิงค์หลวง ถือเป็นงานศิลปกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งมักไม่ค่อยพบเห็นกันมากนักเพราะปัจจุบันยันต์พระสิหิงค์หลวงถูกกว้านซื้อ เป็นของสะสมของเก่า ความเชื่อที่เป็นสิริมงคลเกี่ยวกับยันต์พระสิหิงค์หลวง นั้นได้ถูกมองเป็นงานสะสมไปแล้ว ยันต์พระสิหิงค์หลวงถือเป็นองค์ประกอบ ทางด้านความเชื่อพิธีกรรมรวมถึง การดำ�เนินชีวิตของผู้ที่เป็นเจ้าของอีกทั้ง ยังมีความเชื่อด้านต่างๆ ที่ยังหาข้อสรุปแน่นอนไม่ได้ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับ ลวดลายทางศิลปกรรมยันต์พระสิหิงค์หลวง ทางผู้วิจัยเองมีความสนใจในเรื่อง ราวที่เกิดขึ้นบนผืนผ้ายันต์ดังกล่าวงานที่แสดงหลายๆแขนงบนผืนผ้ายันต์อาทิ เช่น ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการออกแบบจังหวะของภาพรวมถึงลวดลาย เทคนิคการผสมสีรวมถึงความตั้งอกตั้งใจในการเขียนหรือแต้อักขระคาถาบนผ้า ยันต์ ในการทำ�หนังสือเล่มนี้ตัวผู้จัดทำ�ได้รับคำ�แนะนำ�ในสิ่งที่เป็นความเชื่อรวม ถึงความเป็นมา จากผู้ที่มีองค์ความรู้แบบดั้งเดิมได้แก่ พระสยาม สิริปัญโญ พระศักดา สีลสุทโท อาจารย์ พีระวุฒิ วงค์ทากาศ พ่อหนานเพิ่ม เวียงนาค พี่หนานสุวิทย์ ใจจุ้ม ข้าพเจ้าจึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

8


ตัวอย่างรูปแบบยันต์พระสิหิงค์หลวงฉบับตำ�ราครูบาสุรินทร์ สุรินโท วัดนาอ่าง จังหวัดอุตรดิตถ์ 9


ลวดลายทางศิลปกรรม ยันต์พระสิหิงค์หลวง ถือ เป็นงานศิลปกรรมชนิด หนึ่งซึ่งมักไม่ค่อยพบเห็น กันมากนักเพราะปัจจุบัน ยันต์พระสิหิงค์หลวงถูก กว้านซื้อเป็นของสะสม ของเก่า ความเชื่อที่เป็น สิริมงคลเกี่ยวกับยันต์ พระสิหิงค์หลวงนั้นได้ ถูกมองเป็นงานสะสมไป แล้ว

10


ตัวอย่างรูปแบบยันต์พระสิหิงค์หลวงฉบับตำ�ราครูบาคันทา คันทาโร วัดทาขุมเงิน จังหวัดลาพูน 11


พิธีกรรมการสร้างยันต์พระสิหิงค์หลวง ยันต์พระสิหิงค์หลวงถือเป็นองค์ประกอบทางคติความเชื่อในอานาจของ สิ่งลี้ลับ พิธีการสร้างผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวงมักนิยมสร้างขึ้นในโอกาศวาระ สาคัญต่างๆ ที่เป็นมงคล อัตราส่วนของผืนผ้ายันต์ของแต่ละผืนมีอัตราส่วนที่ ไม่คงที่ แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของตาราหรือความต้องการของผู้ที่เป็น เจ้าของการกาหนดขึ้นพิธีกรรมการสร้างยันต์พระสิหิงค์หลวง อาจารย์หรือผู้มี วิชาทางด้านไสยศาสตร์ หรือพระเถระผู้เฒ่า จะเป็นคนกำ�หนดพิธีกรรมขึ้นโดย การนำ�ผืนผ้าสีขาวมาเขียนอักขระและสรรค์สร้างลวดลายตามแบบแผนนิยม เมื่อเสร็จพิธีกรรมการสร้างยันต์พระสิหิงค์หลวง ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ที่สร้างขึ้นเพื่อเอาไว้แจกจ่ายให้ผู้มีจิตศรัทธาจะ ขอขมา ก่อนที่จะแจกจ่ายการขอขมา ยันต์พระสิหิงค์ หลวงต้องทาพิธี ยกขันตั้งหลวง)ซึ่งตามพิธีกรรมอาจจะมีรูปแบบการเตรียมข้าวของแตกต่างกัน ไปตามแต่รูปแบบฉบับ (คุ้มวัด) จากรูปแบบที่ปรากฏในเอกสารของผู้วิจัยเองสา มารถกำ�หนดข้าวของขันตั้งหลวงต้องมีดอกไม้ธูปเทียน หมากหัวพลูมัด ผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวเปลือกข้าวสาร เหล้าขาวมวลมูลียาเส้น เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมการ ขอขมา ยันต์พระสิหิงค์หลวงจะถือได้ว่าเป็นยันต์พระสิหิงค์หลวงที่สมบูรณ์

12


ภาพ พระมหาอนันทะ ที่ปรากฎบน ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์ 13


หน้าที่ใช้สอยของยันต์พระสิหิงค์หลวง ยันต์พระสิหิงค์หลวงมีหน้าที่โดยหลักแล้ว มีหน้าที่ถือเป็นสัญลักษณ์หรือเป็น ศูนย์กลางที่แสดงถึงความดี ความเป็นสิริมงคล จากการสัมภาษณ์ พ่อหนาน ประสาร ใจสบาย ในวันที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2556 พ่อหนานได้ให้ความ เห็นว่ายันต์พระสิหิงค์หลวงถือเป็นแม่ยันต์ที่บ่งบอกถึงความสาคัญของเวทมนต์ คาถา เพราะยันต์พระสิหิงค์หลวงนั้นถือเป็นยันต์ผืนใหญ่ที่ให้สรรพคุณแก่ผู้ ครอบครองในด้านต่างๆ เช่น การปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ รวมถึงการส่ง เสริมบารมีให้แก่ผู้ครอบครอง จากการสัมภาษณ์ พ่อหนานเพิ่ม เวียงนาค ในวันที่ 3 มกราคม พุทธศักราช 2557 พ่อหนานได้ให้ความเห็นว่ายันต์พระสิหิงค์หลวง(ผ้าปัสสะหิงค์) เป็นยันต์ ที่สุดยอดแห่งยันต์เพราะอักขระรวมถึงรูปภาพที่ปรากฎบนผืนผ้ายันต์ล้วนมีองค์ ประกอบที่มีความเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง ในเขตอาเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ ชาวบ้านหรือ พระสงฆ์ผู้ที่เป็นเจ้าของได้ทราบว่าหน้าที่ของยันต์พระสิหิงค์หลวงหรือช่องใช้ ของยันต์พระสิหิงค์หลวงมีดังนี้ ใช้พกพาติดตัวเมื่ออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ มีความเชื่อใช้คุ้มครองเจ้าของเมื่อเกิดอาเพศต่างๆ(ขึด) ใช้เป็นศูนย์กลางเชิงสัญลักษณ์ประกอบพิธีกรรม เช่น งานสมโภชน์ปลุกเสกวัตถุมงคล งานสมโภชน์ปลุกเสกพระพุทธรูป(เบิกเนตร) พิธีกรรมทางศาสนา พิธีกรรมความเชื่อทางไสยศาสตร์(ไล่ผี) ศูนย์รวมจิตใจกับผู้ครอบครอง 14


ภาพ พระยานาค ที่ปรากฎบน ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์

15


รูปแบบ และองค์ประกอบของยันต์พระสิหิงค์หลวง จากการวิจัยในครั้งนี้ ได้ศึกษายันต์พระสิหิงค์หลวงในเขตพื้นที่อาเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ พบตัวอย่างที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองได้อนุญาตให้ทาการวิจัย รวมทั้งสิ้น 7 ผืน จากการวิจัยผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวงทั้ง 7 ผืน รูปแบบที่พบสามารถบ่งบอกที่มาหรือรูปแบบที่นิยมทากันในเชิงแบบประเพณี สามารถระบุได้ 2 รูปทรง รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า 5 ผืน รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 ผืน

องค์ประกอบของยันต์พระสิหิงค์หลวง สำ�หรับในพื้นที่ขอบเขตของการศึกษาทาวิจัยพบว่าองค์ประกอบที่ปรากฏ บนพื้นผ้ายันต์ แต่ละผืนมีองค์ประกอบและรูปแบบในเชิงของการวางลวดลาย และการวางอักขระ(คาถา) ล้วนมีแบบแผนที่คล้ายคลึงกันเพียงแต่รูปแบบอาจ จะแตกต่างกันไปในเชิงของคุ้มช่าง ที่สร้างขึ้นในรูปแบบของแต่ละคน รูปแบบที่ปรากฏในพื้นผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวง ทางผู้วิจัยสามารถจาแนกถึงที่ มา(ต้นฉบับ) ของการวางรูปแบบยันต์พระสิหิงค์หลวง โดยอิงจากหลักฐานคือ เอกสารลักษณะการสร้างยันต์พระสิหิงค์หลวงและรูปถ่าย ที่ผู้วิจัยได้สนใจเก็บ รวบรวมไว้สามารถแบ่งรูปแบบยันต์พระสิหิงค์หลวงได้ 2 รูปแบบ รูปแบบยันต์พระสิหิงค์หลวงฉบับตารา ครูบาสุรินทร์ สุรินโท วัดน้าอ่าง จังหวัด อุตรดิตถ์ รูปแบบยันต์พระสิหิงค์หลวงฉบับตารา ครูบาคันทา คันทาโร วัดทา ขุมเงิน จังหวัดลำ�พูน 16


ภาพ พระยาสิงห์ ที่ปรากฎบน ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์

17


รูปแบบและเทคนิคที่ปรากฎบนยันต์พระสิหิงค์หลวง เทคนิคการเขียนหรือแต้มยันต์พระสิหิงค์หลวงแบบโบราณ คนโบราณในสมัย ก่อน เทคนิค การจารกับเทคนิคการแต้มน้าแต้ม(น้าหมึก , สีฝุ่น) ถือเป็นองค์ ประกอบสิ่งแวดล้อมที่สาคัญสาหรับผู้ที่มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะที่กล่าว มาข้างต้น รูปแบบที่ผู้วิจัยจะกล่าวถึงในเทคนิคดังกล่าวคือ น้าแต้ม น้าแต้มคือน้าหมึกที่ได้จากธรรมชาติ(เทคนิคดั้งเดิม) โดยการนาหินหรือแร่ที่มี วรรณและสีต่างๆ หมึกจีน ดา หรดาน เหลือง

ชาด แดงหรือส้ม ตังแช เขียว คราม น้าเงินคราม

นำ�มาฝนกับน้าลาต้นกล้วยเพื่อให้ได้เป็นน้าแต้ม จากนั้นจึงนาไปดองกับวัสดุ ธรรมชาติที่ได้จากแร่หรือสัตว์ เขากวาง น้าฝักส้มป่อย ดีสัตว์ ยางต้นมะขวิด(มะปิน) น้าการบูร วัสดุที่ใช้ร่วมกับน้าแต้ม พู่กัน หลักแต้ม ไม้บรรทัด(ไม้ปะตั๊ด) 18


ภาพ พระยาช้างฉัตทัน ที่ปรากฎบน ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์ 19


รูปแบบและเทคนิคที่ปรากฎบนยันต์พระสิหิงค์หลวง หน้าที่ใช้สอยของยันต์พระสิหิงค์หลวง ยันต์พระสิหิงค์หลวงมีหน้าที่โดย หลักแล้ว มีหน้าที่ถือเป็นสัญลักษณ์หรือเป็นศูนย์กลางที่แสดงถึงความดี ความ เป็นสิริมงคล ยันต์พระสิหิงค์หลวงถือเป็นแม่ยันต์ที่บ่งบอกถึงความสาคัญของ เวทมนต์คาถา เพราะยันต์พระสิหิงค์หลวงนั้นถือเป็นยันต์ผืนใหญ่ที่ให้สรรพคุณ แก่ผู้ครอบครองในด้านต่างๆ เช่น การปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ รวมถึงการ ส่งเสริมบารมีให้แก่ผู้ครอบครอง หลักแต้มแบบเทคนิคโบราณ นิยมใช้ไม้สกุล ต้นไผ่(ไม้เฮี๊ยะ)โดยการนาลาของต้นไผ่ที่มีสภาพแห้งสนิดแล้วมาเหลาให้ได้รูป ทรงคล้ายคลิงกับปากกา จากนั้นใช้มีดตัดบากบริเวณปากหรือหัวของหลักให้มี รูปสามเหลี่ยมทั้งสี่ด้าน รูปแบบขบวนยันต์พระสิหิงค์หลวง ตามความเชื่อของคนล้านนากล่าวเฉพาะ ในพื้นที่ที่ลงสารวจวิจัย พบว่าความเชื่อของผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวงมีองค์ ประกอบ รูปแบบมาจากบทสั้นคาถา ตรีนิสิงเห ตรีนิสิงเห สัตตะนาเค ปัญจะเพชรฉลูกัญเจวะ จะตุเทวา ฉะวัจฉะราชา ปัญจะ อินทรานะเมวะจะ เอกะยักขา นะวะเทวา ปัญจะพรัหมาสะหัมปะติ ทะเวราชา อัฏฐะอะระหันตา ธรณี คงคา ปัญจะพุทธา อะระหังสัมมา นะมามิหังฯ สำ�หรับในพื้นที่ขอบเขตของการศึกษา พบว่าองค์ประกอบที่ปรากฏบนพื้นผ้า ยันต์ แต่ละผืนมีองค์ประกอบและรูปแบบในเชิงของการวางลวดลายและการ วางอักขระ(คาถา) ล้วนมีแบบแผนที่คล้ายคลึงกันเพียงแต่รูปแบบอาจจะแตก ต่างกันไปในเชิงของคุ้มช่าง ที่สร้างขึ้นในรูปแบบของแต่ละคน

20


ภาพ พระยาเทวดา ที่ปรากฎบน ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์ 21


ยันต์พระสิหิงค์หลวง ยันต์พระสิหิงค์หลวงถือเป็นองค์ประกอบทางคติความเชื่อในอานาจ ของสิ่งลี้ลับ พิธีการสร้างผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวงมักนิยมสร้างขึ้นในโอกาศวา ระสาคัญต่างๆที่เป็นมงคล อัตราส่วนของผืนผ้ายันต์ของแต่ละผืนมีอัตราส่วนที่ ไม่คงที่ แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของตาราหรือความต้องการของผู้ที่เป็น เจ้าของการกาหนดขึ้นพิธีกรรมการสร้างยันต์พระสิหิงค์หลวง อาจารย์หรือผู้มี วิชาทางด้านไสยศาสตร์ หรือพระเถระผู้เฒ่า จะเป็นคนกาหนดพิธีกรรมขึ้นโดย การนำ�ผืนผ้าสีขาวมาเขียนอักขระและสรรค์สร้างลวดลายตามแบบแผนนิยม เมื่อเสร็จพิธีกรรมการสร้างยันต์พระสิหิงค์หลวง ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ที่สร้าง ขึ้นเพื่อเอาไว้แจกจ่ายให้ผู้มีจิตศรัทธาจะนามาขอขมาก่อนที่จะแจกจ่ายการขอ ขมายันต์พระสิหิงค์หลวงต้องทาพิธี(ยกขันตั้งหลวง)ซึ่งตามพิธีกรรมอาจจะมีรูป แบบการเตรียมข้าวของแตกต่างกันไปตามแต่รูปแบบฉบับ(คุ้มวัด)จากรูปแบบที่ ปรากฏในเอกสารของผู้วิจัยเองสามารถกาหนดข้าวของขันตั้งหลวงต้องมีดอก ไม้ธูปเทียน หมากหัวพลูมัด ผ้าขาวผ้าแดง ข้าวเปลือกข้าวสาร เหล้าขาวมวล มูลียาเส้น เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมการขอขมา ยันต์พระสิหิงค์หลวงจะถือได้ว่าเป็น ยันต์พระสิหิงค์หลวงที่สมบูรณ์แบบ

22


ในการศึกษาครั้งนี้ตัวผู้วิจัยเองได้รับคาแนะนาในสิ่งที่เป็นความเชื่อรวมถึง ความเป็นมา จากผู้ที่มีองค์ความรู้แบบดั้งเดิมได้แก่ พระสยาม สิริปัญโญ พระศักดา สีลสุทโท พ่อหนานประสาร ใจสบาย อาจารย์ พีระวุฒิ วงค์ทากาศ พ่อหนานเพิ่ม เวียงนาค พี่หนานสุวิทย์ ใจจุ้ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สากล สุทธิมาลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภานุพงษ์ เลาหสม ข้าพเจ้าจึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

พุทธิคุณ ก่อกอง

23


ชื่อเรื่อง ผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์ © 2015 (พ.ศ. 2558) โดย ชื่อ พุทธิคุณ ก่อกอง สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียบเรียงและออกแบบโดย ชื่อนักศึกษา ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Niramit AS หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอด ศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

24


ยันต์พระสิหิงค์หลวงถือเป็นองค์ประกอบทางคติความเชื่อในอานาจของสิ่งลี้ลับ พิธีการสร้างผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวงมักนิยมสร้างขึ้นในโอกาศวาระสาคัญต่างๆที่เป็นมงคล อัตราส่วนของผืนผ้ายันต์ของแต่ละผืนมีอัตราส่วนที่ไม่คงที่ แตกต่างกันออกไป ตามรูปแบบของตาราหรือความต้องการของผู้ที่เป็นเจ้าของ 25


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.