ark fair

Page 1

หีบธรรม พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด อำาเภอเมือง จังหวัดน่าน ปัญญา ปัญญานันท์



หีบธรรม พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด อำ�เภอเมือง จังหวัดน่าน

ปัญญา ปัญญานันท์


4 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


ประวัติวัดพระเกิด วัดพระเกิด เป็น วัดที่ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2381 เป็นวัดที่ 19 จาก จำานวน 387 วัด ของ จังหวัดน่าน (กรมการ ศาสนา สำารวจเมื่อ ปี พ.ศ. 2532) จาก เอกสารประวัติวัดที่ บันทึกเรียบเรียงโดยนาย ประพันธ์ วิบูลศักดิ์ ระบุ ความว่า วัดพระเกิด สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2370 โดยไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้สร้าง บอกเพียงแต่ว่าคนเมืองเทิงเป็นผู้สร้าง ดังมีปรากฏในหนังสือการอ่านศิลา จารึกหลักต่างๆของ อาจารย์กล่ำา ทองคำาวรรณ ที่ได้กล่าวถึงวัดพระเกิดคงคา ราม ในอำาเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พูดถึงผู้สร้างวัดนี้ว่า “สำาหรับวัดพระเกิดที่ จังหวัดน่าน คนเมืองเทิงเป็นผู้สร้าง”

หีบพระธรรมวัดพระเกิด 5


กำ�เนิดพิพิธภัณฑ์ ขณะที่ในหนังสือ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ ของ

กรมศิลปากรเเห่งประเทศไทย(จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2530) มีข้อมูลกล่าวถึงวัดพระ เกิดว่าในศิลาจารึกหลักที่ 72 ที่จารึกเมื่อปี พ.ศ. 2043 เป็นอักษรไทยล้านนา (ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน) มีข้อความกล่าวว่า พระมหาราช เทวีเจ้า(สันนิษฐานว่าคงจะเป็นผู้เดียวกับ”พระมหาเทวีเจ้าอยู่หัว” พระราช มารดาของพระเมืองแก้ว) ได้มีการให้ฝังสีมา (ผูกพัทธสีมา) ที่วัดพระเกิดและ ถวายที่นา ตลอดจนครัวเรือนเพื่อทำ�นาถวายวัด ในหนังสือเล่ม ดังกล่าวยังมี ข้อความเพิ่มเติมว่า ศิลาจารึกหลักนี้ เข้าใจว่าเดิมอาจจะย้ายมาจากวัดพระเกิด คงคาราม ใน อ.เทิง จ.เชียงราย ตั้งแต่ครั้ง เจ้าอัตถวรปัญโญ อพยพครัวเรือน มาจากเมืองเทิง ลงมาตั้งที่เมืองน่านในปี พ.ศ. 2329 เนื่องจากมีร่องรอยโบราณ สถาน โบราณวัตถุ ซึ่งมีอายุใกล้เคียงกับปีที่จารึก ส่วน “วัดพระเกิดคงคาราม” เมืองน่านนั้น สันนิษฐานว่า คงจะสร้างขึ้นโดยชาวเมืองเทิงที่อพยพลงมาอยู่เมือง น่านในยุคหลัง เพราะวัดพระเกิดเมืองน่านมีอายุน้อยกว่าวัดพระเกิดคงคาราม อ.เทิง เชียงราย ที่สร้างขึ้นมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ.2043

6 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


ชุมชนบ้านพระเกิด เดิมทีของดีของเด่นที่น่าสนใจในวัดพระเกิด ได้แก่ พระประธานในวิหารที่มี พุทธสรีระขรึมขลัง เบื้องหลังมีช่องเจาะใส่พระองค์เล็กๆดูมีเอกลักษณ์ หอพระ ไตรปิฎก ที่เป็นเรือนไม้ฉลุลายขนมปังขิงดูละเมียดสวยงาม และมณฑปครูบา อินผ่อง วิสารโท อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเกิดอันเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ชาวชุมชนบ้านพระเกิด(ชุมชนกลุ่มเชื้อสายเจ้าเมืองที่ เกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2360 ได้ไม่กี่ปี) ได้จัดเวทีประชาคม แสดงประชามติให้มีการ ปรับปรุงกุฏิครูบาอินผ่อง เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิดขึ้น พิพิธภัณฑ์ชุมชนแห่งนี้ ครูบาอินผ่องที่มรณภาพไปเมื่อประมาณ 38 ปี ที่แล้ว ท่านได้สะสมอนุรักษ์ โบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไว้เป็นจำ�นวนมาก ชาว บ้านส่วนใหญ่จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรเก็บรักษาศิลปวัตถุล้ำ�ค่าเหล่านี้ไว้เพื่อ เป็นสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ จึงได้จัดเวทีทำ� ประชามติขอปรับปรุงกุฏิครูบาอินผ่องทำ�เป็น“พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด” โดยเริ่มก่อตั้ง ปรับแต่ง จัดแสดงข้าวของ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ปีนี้ ก่อนแล้วเสร็จ เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มิถุนายน 2554

หีบพระธรรมวัดพระเกิด 7


พิพิธพัณฑ์เเห่งนี้ จัดเเสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่จัดแสดง ประกอบด้วย เครื่องจักสาน งานไม้ไผ่ กระด้ง ครกไม้ ไหเก่า เครื่องครัว กุฏิหลังนี้ พระครูวิจิตรนันทสาร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้มอบให้ ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ ตัวโครงสร้างของอาคารใช้ไม้เก่าที่มีอยู่ในวัด เป็นจำานวนมากมาปรับปรุงซ่อมแซม ขณะที่ศิลปวัตถุข้าวของต่างๆที่ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้น ส่วนหนึ่งเป็นของวัดมาจากของสะสมของ ครูบาอินผ่อง อีกส่วนหนึ่งเป็นของทีชาวชุมชนช่วยกันบริจาคมา โดย แบ่งพื้นที่จัดแสดงหลักๆเป็น ส่วนจัดแสดงรวม ส่วนห้องพระพุทธ ศาสนา และส่วนห้องวิถีชีวิตภูมิปัญญาพื้นบ้าน คณะศรัทธาชุมชนบ้านพระเกิด ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน ร่วมกับ วัฒนธรรมจังหวัดน่าน สืบสานและร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วิถี ชุมชนโบราณที่มีในท้องถิ่นครั้งสมัยล้านนา อันเป็นวิถีชีวิตสืบต่อมา นานกว่า 100 ปี ได้ร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด ภายใน วัดพระเกิด เขตเทศบาลเมืองน่าน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชนคน น่าน และนักท่องเที่ยว เป็นการอนุรักษ์โบราณวัตถุทรงคุณค่าของวัด สิ่งของเครื่องใช้ในการดำาเนินชีวิตของบรรพบุรุษที่ตกทอดสู่ลูกหลาน ผ่านสถาบันครอบครัว ล้วนเป็นมรดกเก่าแก่ทรงคุณค่าทางจิตใจมาสู่ คนรุ่นใหม่ ด้วยเกรงว่าจะถูกทำาลายทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความ รู้เท่าไม่ถึงการณ์

8 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


ข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านบริจาคให้มา เครื่องกรอฝ้าย หัวสัตว์ เขาสัตว์ ลูกคิด เครื่องบดยา หมวก กบ(มือ)ไสไม้ ชมสิ่งน่าสนใจในส่วนจัดแสดงร่วม ไปแล้ว ห้องต่อไป เป็นห้องวิถีชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่จัดแสดงข้าว ของเครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ ส่วนใหญ่ เป็นชาวบ้านบริจาคให้มา ประกอบ ด้วย เครื่องจักสาน งานไม้ไผ่ กระด้ง ครกไม้ ไหเก่า เครื่องครัว เครื่องกรอ ฝ้าย หัวสัตว์ เขาสัตว์ ลูกคิด เครื่อง บดยา หมวก กบ(มือ)ไสไม้ชนิดต่างๆ และอีกสารพัดสารพันสิ่งของที่ชาว บ้านจะบริจาคมา

หีบพระธรรมวัดพระเกิด 9


ทั้งนี้ ภายในวัดและบริเวณวัดพระเกิด มีโบราณวัตถุเก่าแก่ มณฑปครูบา อินผ่อง วิสารโท อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเกิด พระพุทธรูปไม้โบราณ จารึกตั๋ว เมือง อายุ 168 ปี พระพุทธรูปไม้ทรงเครื่อง ประมาณอายุไม่ได้ พระพุทธรูปไม้ปางสมาธิและปางอื่นๆ พระพุทธรูปไม้ทรงเครื่อง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ หีบธรรมลงรักปิดทอง จำานวน 11 หีบ หอพระไตรปิฎก และหอกลอง ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้เกิดจากความคิดริเริ่มอันเนื่องมา จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน วิถีชุมชนโบราณ เครื่องมือทำามาหากิน เครื่องใช้ ภายในบ้าน และสิ่งของอื่นๆ นอกจากนี้ ได้จัดแสดงวัตถุ โบราณของทางวัด พระเกิด เกิดจาก มีผู้มีจิตศรัทธานำามาบริจาคสมทบ ไว้ในพิพิธภัณฑ์ฯ คัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) จำานวน 2,323 ผูก แบ่งเป็น 20 หมวด คัมภีร์ พื้นเมืองน่าน พงศาวดารเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด หนังสือพื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด 2 ภาษา อักษรตั๋ว เมืองและอักษรไทย

คัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง)

10 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


มณฑปครูบาอินผ่อง วิสารโท อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเกิด พระพุทธรูปไม้โบราณ จารึกตั๋วเมือง อายุ 168 ปี พระพุทธรูปไม้ทรงเครื่อง ประมาณอายุไม่ได้ หีบพระธรรมวัดพระเกิด 11


หีบพระธรรม มรดกทางวัฒนธรรมล้านนา ความเป็นมาของหีบพระธรรมในล้านนา หีบพระธรรมใน เขตชุมชนวัดพระเกิด อำ�เภอ เมือง จังหวัด น่าน มีลักษณะ ของหีบพระธรรมมีน่าสนใจ ทั้งลักษณะของตัวหีบพระธรรม และลักษณะของ ลวดลายที่ประดับบนพื้นผิวของหีบพระธรรม ที่ ลวดลายที่แตกต่าง และหลาก หลายลักษณะตามช่าง(สล่า) ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากสกุลช่างต่างๆ หีบพระธรรมเป็นภาชนะสำ�หรับ การบรรจุหรือเก็บรักษาพระ ธรรมคัมภีร์ ไม่ให้เกิดความเสีย หาย หรือชำ�รุดได้ ในกรณีต่างๆ เนื่องจากมีแนวความคิดและคติ ที่เชื่อกันว่า การสร้างหีบพระ ธรรมนั้นจะได้บุญหรือจะมีอา นิสงค์มากกว่า การสร้างวัตถุ อื่นๆ ในพุทธศาสนา จึงเป็นที่ นิยมในหมู่ชาวพุทธล้านนาที่มี กำ�ลังศรัทธาและกำ�ลังทรัพย์ ที่เพียงพอ เนื่องจากการสร้าง หีบพระธรรม มีวิธการขั้นตอน ตลอดจนถึง

12 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


รูปหีบธรรมท่ีลงยางรักเเละทาชาด กรรมวิธีในการสร้าง(ผลิต)ที่ยุ่งยาก และสลับซับซ้อนในระดับหนึ่งในการสร้าง หีบพระธรรม และนอกจากจะได้อานิสงค์ในการสร้างหีบพระธรรมแล้ว ยังถือ เป็นการสร้างถวายคลังปัญญา ซึ่งจะทำ�ให้ผลกุศลมีความเจริญรุ่งเรื่องในการ ดำ�เนินชีวิต เพราะพระธรรมเป็นปัญญานอกจากมีประโยชน์ของการใช้สอย หีบพระธรรมยังแสดงถึงคติความเชื่อ และวัฒนธรรมที่สะท้อนออกมาในงาน จิตรกรรมด้วย หีบพระธรรมวัดพระเกิด 13


การสร้างหีบพระธรรมนั้นในยุคหลังมานี้มีจำ�นวนลดลง ตามความสภาพของสังคม ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งนี้การสร้างหีบพระธรรมอาจจะมีเป้าหมายอื่นแทรกซ้อนเข้ามาอีก กล่าว คือ แต่เดิมสร้างเพื่อเก็บ พระธรรมแต่ครั้นเมื่อ กาลเวลาผ่านไป แนวคิดเรื่อง การใช้สอย หรือวัตถุประสงค์รองอย่างอื่นอาจจะเพิ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ลวดลาย ทรวดทรงต่างๆ ของหีบพระธรรมจึงเปลี่ยนไปตามยุคสมัย อย่างไรก็ตามในฐานะที่หีบพระธรรมเป็นมรดกทางปัญญาของวัฒนธรรมล้าน จึง เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่กับพระธรรม แม้คุณค่าทางการ ใช้สอยจะลดน้อยลง แต่คุณค่าทางวัฒนธรรมนั้นกลับเพิ่มขึ้น หีบในแถบทวีป ยุโรปมีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรีก โดยใช้ในการบรรจุสิ่งของสัมภาระในการ เดินทาง หีบทางยุโรปในสมัยแรกนั้นมีหูหิ้ว สมัยหลังมาถึงริเริ่มในการพัฒนาหู หิ้วจึงหายไป และเริ่มมีขา ต่อมาจึงพัฒนาเป็นหีบใส่สิ่งของที่ไม่ใช้เคลื่อนที่ไป ไหน และชาวยุโรป ได้ขยายอิทธิผลมาทางประเทศจีนและเข้าสู่ประเทศไทย ตามลำ�ดับ

14 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


รูปหีบที่ใช้เก็บสิ่งของมีค่าในสมัยก่อน

หีบพระธรรมยังแสดงถึงคติความเชื่อ และ วัฒนธรรมที่สะท้อนออกมาในงานจิตรกรรมด้วย หีบพระธรรมวัดพระเกิด 15


โดยวัฒนธรรมและอิทธิผลเหล่านี้ ผ่านการติดต่อค้า(เส้นทางสายไหม) (ชื่อภาษาอังกฤษ Silk Road )ในประเทศไทยยังหาหลักฐานที่บ่งบอกถึงการใช้ หีบพระธรรมไม่พบ แต่มีผู้ศึกษาเรื่องตู้พระธรรมไว้ จึงสามารถนำามาศึกษา ได้ ตู้ไทยโบราณเป็นตู้ที่มีลักษณะพิเศษเป็นแบบฉบับของไทย โดยเฉพาะใน ปัจจุบัน ยังไม่พบหลักฐานว่าตู้ดังกล่าวมีต้นกำาเนิดเริ่มต้นใช้กันมาตั้งแต่ครั้งใด แม้ในศิลาจารึกจะกล่าวถึงการสร้างวัสดุสิ่งของหลายสิ่งเพื่อเป็นการบูชาอุทิศ แด่พระศาสนาไว้ตามที่ต่างๆ แต่ไม่ปรากฏในศิลาจารึกหลักใดว่ามีการสร้างตู้ พระธรรมหรืออุทิศให้แก่พระพุทธศาสนาแต่จะมีเพียงหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า มีการสร้างอาคารเก็บหนังสือมานานแล้ว อย่างน้อยไม่ต่ำากว่าปี พ..ศ. 1927 ทำาให้เราสันนิษฐานได้ว่าในอาคารน่าจะมีทีเก็บหนังสือเฉพาะและมีลักษณะ ของหีบที่ใช้ในการเก็บรักษาหนังสือ ควรต้องรักษาสภาพของหนังสือไว้ได้อย่าง ดียิ่ง เพราะว่าหนังสือเป็นสิ่งมีค่าเท่ากับเป็นครูบาอาจารย์ มีคุณค่าสูงตามนัย คติ และความเชื่อของคนไทยแต่โบราณ นิยมสร้างและถวายสิ่งของไว้แก่พุทธ ศาสนา เพื่อเป็นพุทธบูชาบ้าง

ภาพเเผนเเสดง เส้นทางการเดินทางสายไหม 16 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


ภาพเเเเสดง คาราวานสินค้าบนเส้นทางสายไหม เพื่อให้ตนเองได้ไปเกิดในสวรรค์ และได้บรรลุถึงความ เสวยสุขไปถึงพรนิพพาน และเนื่องจากธรรมชาติของคนไทยเป็นผู้นิยมสิ่งของ เพื่อเป็นการบูชาและอุทิศ แด่พระศาสนาฉะนั้นสิ่งของที่จะถวายจะต้องมีความสวยงามเป็นพิเศษ ดังนั้น หีบพระธรรมที่พบจะมีความสวยงาม จากแบบแรกที่พบจะเป็นแบบจีนแท้ ถัด มาจึงได้มีวิวัฒนาการเป็นรูปแบบใหม่ๆ มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย หีบพระธรรมวัดพระเกิด 17


ทัศนะคติความเชือ ตัวหีบพระธรรมได้ถูกนำ�เสนอให้ทำ�หน้าที่ ที่ชัดเจนถือเป็นที่เก็บพระคัมภีร์ หรือพระธรรม ตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง เนื่องจากมีแนวความคิดที่เชื่อว่า การสร้างหีบพระธรรมนั้นมีอานิสงค์มาก ชาวพุทธล้านนาจึง นิยมสร้างโดยเฉพาะผู้ที่มีกำ�ลังทุนทรัพย์เพียงพอในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็น กำ�ลังทรัพย์ กำ�ลังศรัทธาที่มีต่อ พระธรรมถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ การสร้างหีบ พระธรรม เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมของวัฒนธรรม เมื่อยุค 200 กว่าปีมานี้ นอกจากจะได้อานิสงค์ในการสร้างถวายแล้ว ยังถือว่าเป็นการถวายคลังปัญญา ซึ่งจะทำ�ให้เป็นกุศลความฉลาดและเจริญรุ่งเรื่องในการดำ�เนินชีวิต เพราะพระ ธรรมเป็นปัญญา นอกจากนี้ยังประดับตกแต่งด้วยลายลดรดน้ำ�ปิดทองประดับ กระจกสีเป็นลายพันธ์พฤกษา อันแสดงให้เห็นถึงการใช้ดอกไม้บูชาพระธรรมที่ อยู่ภายในหีบธรรมนั้น หีบพระธรรมจึงเป็นโบราณวัตถุที่ใช้สำ�หรับบรรจุ หรือเก็บพระธรรม เป็นภาชนะ สำ�หรับเก็บรักษาพระธรรมคัมภีร์ ไม่เกิดความเสียหายเพราะ แมลง หรือสัตว์ชนิดต่างๆมาทำ�ลาย ได้ หีบพระธรรมในล้านนามีความ เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวไม่เหมือนกับ โบราณวัตถุท่ีเก็บคัมภีร ์ของทาง ภาคอื่นๆเนี่องจากชุมชนใน ล้านนามีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองอยู่แล้ว

18 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


ค่านิยมในการสร้างหีบธรรม ความเชื่ออีกอย่าง หนึ่งของชุมชนในสมัยนั้นที่มีต่อหีบ พระธรรม ก็คือว่าหีบพระธรรม เป็นของศักดิ์ศิทธิ์ เป็นของสูง ที่ ต้องเก็บรักษาไว้ในที่ที่เหมาะสม และปลอดภัย หีบพระธรรมล้าน นาถือว่าเป็นผลงานทางศิลปกรรม ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้ง โบราณกาล เป็นผลงานทางพุทธ ศิลป์เก่าแก่ และทรงคุณเป็นอย่าง ยิ่งในวัฒนธรรมสังคมของล้านนา มีความเกี่ยวพันเนื่องตามคติ ความ เชื่อ และวัฒนธรรมทางความเชื่อ ทางพุทธศาสนาที่ว่า เป็นการสร้าง และสะสมบุญบารมี

รูปภาพเเสดงหม้อ บูรณฆฎะ เเสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ตามคติความเชื่อ หีบพระธรรมวัดพระเกิด 19


คติความเชื่อในการสร้างหีบพระธรรม บุญกุศลจะส่งให้แก่ผู้ที่สร้างถวายเพื่อ ที่จะได้ไปเกิดใน ดินแดนที่เต็มไปด้วยความ สุข ไร้ซึ่งความทุกข์ทนเหมือนโลกมนุษย์ ทั้งยังได้แฝงไปด้วยแนวคิด ที่สามารถ บ่งบอกเรื่องราวของคน ในอดีต ให้ชนรุ่น หลังได้รับรู้ ทว่าในปัจจุบัน หีบธรรมที่มีหน้าที่ ใช้สอยนั้น ดูด้อยค่าลงไปถนัดตา และคติ ความเชื่อ ความเข้าใจ ในการนิยมสร้าง หีบธรรมถวายนั้นได้เปลี่ยนแปลง ไปพร้อม กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พัฒนาไปอย่าง รวดเร็ว ตู้เข้ามามีบทบาท มากขึ้น ในด้าน กายภาพต่างๆ ทั้ง ความแข็งแรง ความ คงทน และความทันสมัย ใช้สะดวกสบาย ไม้บัญจะ ที่ใช้กำ�กับชื่อเรื่องของ พระธรรมเเละ กว่าทั้งยังมีบทบาทในด้านการใช้สอย ที่ถูก ผุ็ทีถวายทาน นำ�มาเก็บรักษาพระธรรมคัมภีร์ แทนหีบ แบบดังเดิมไป ทำ�ให้หีบธรรมนั้นมีจำ�นวน ที่ลดลงไปอย่างรวดเร็ว แม้ในปัจจุบันจะมี ผู้ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมในการสร้างหีบ ธรรมถวายอยู่ แต่ก็เป็นแค่ส่วนที่เล็กหรือ น้อยมากๆของสังคมปัจจุบัน

20 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


ในไม่ช้าหีบธรรมที่อันเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมตามคติความ เชื่อนี้อาจสูญหายไป ตามการ เปลี่ยนแปลงของสังคมที่ หมุนไป ตามกระแสธารแห่งเทคโนโลยี ที่ พัฒนาการแบบก้าวกระโดด ให้ มนุษย์วิ่งตาม โดยทิ้งสิ่งที่ทรง คุณค่าไว้ข้างหลัง

รูปภาพ เทวดา ที่ปกป้องรักษาพระธรรม ตามคติความเชือ หีบพระธรรมจึงเป็นโบราณวัตถุที่ใช้สำ�หรับ บรรจุ หรือเก็บพระธรรมเป็นภาชนะสำ�หรับ เก็บรักษาพระธรรมคัมภีร์ไม่เกิดความเสีย หาย

เทคนิค ปิดทองคำ�เปลว บนพื้นชาด หีบพระธรรมวัดพระเกิด 21


หีบธรรมรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า

หีบธรรมรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู 22 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงเล็งเห็นถึงความสำ�คัญ ของหีบธรรมและเห็นว่า สมควรที่รวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวกับหีบธรรม งานพุทธศิลป์ ที่กำ�ลังจะ สูญหายนี้ ข้าพเจ้าจึงหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะมีประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า จากศึกษาพบว่า หีบธรรมล้านนา ใน เขตชุมชนวัดพระเกิด อำ�เภอเมือง จังหวัดน่านที่ได้ ทำ�การสำ�รวจมา สามารถจำ�แนกรูปทรงได้ 2 รูป ทรงคือ 1. รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2. รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู จากการวิเคราะห์รูปทรงของหีบธรรม รูปทรงที่พบมากคือ ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ซึ่งเป็น รูปทรงที่มีมาตั้งแต่โบราณ นอกจากนี้ยังพบหีบ ธรรมทรงส่ีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีเทคนิคตกแต่งที่ สามารถจำ�แนกได้

ลวดลายบนหีบ ธรรม ถูกสร้าง ขึ้นเพื่อ ตอบ สนองความ ต้องการด้าน ความงามของ ศิลปะ และคติ ความเชื่อ บน ลวดลายที่ ต้องการรักษา และปกป้องดูแล พระธรรม คัมภีร์ ที่อยู่ในหีบธรรม

หีบพระธรรมวัดพระเกิด 23


เทคนิคที่ใช้ในการประดับตกเเต่งหีบพระธรรม เทคนิคฉลุกระดาษปิดทอง 1. กลุ่มลวดลายที่ใช้สัญลักษณ์เป็นหลัก เทคนิคผสม ภาพบุคคล เทคนิคการประดับตกแต่งที่ ภาพผสม พบมากที่สุดคือ เทคนิคการฉลุ 2. กลุ่มลวดลายประดับตกแต่งเป็นหลัก กระดาษปิดทอง ซึ่งเป็นเทคนิค กลุ่มพันธุ์พฤกษา ที่มีมานาน ซึ่งเชื่อว่า เป็นเทคนิค กลุ่มลายผสม ที่ได้รับ อิทธิผลมาจากพม่า แต่ลวดลายที่พบมากบนหีบธรรมคือ ลาย เนื่องจากเป็นเทคนิคเดี่ยวกับที่พบ ดอกพุดตาน ลายของดอกไม้ต้นเล็กๆชนิด ในเครื่องเขินของพม่า ลวดลาย ต่างๆ ที่นิยมนำ�มาตกแต่งหีบธรรมนั้น คือลายพันธ์ุพฤกษา เนื่องจาก ชาวล้านนามีความชื่นชอบ และ มีสภาพวัฒนธรรมสังคมที่ใกล้ ชิดกับ ธรรมชาติมาก จึงมักที่จะ สร้างสรรค์ให้หีบธรรมมีลวดลาย พันธุ์พฤกษา ลวดลายตกแต่งที่พบบนหีบธรรม สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ

กลุ่มลวดลายประดับตกแต่ง ลายพันธุ์พฤกษา 24 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


หีบพระธรรมวัดพระเกิด 25


ดังนั้น ลวดลายที่ประดับ ตกแต่งลงบนตัวหีบ ธรรม จึงถูกสร้างขึ้น มาก ทั้งลวดลายพันธ์ พฤกษา ลายดอกไม้ ที่หมายถึงความ เคารพบูชาพระธรรม ภายในหีบพระธรรม ลายบุคคลประเภท ลาย เทวดา หมายถึง การปกป้องคุ้มครอง และป้องกันในสึงที่ ไม่ดีไม่งามทั้งหลาย ที่จะเข้ามาทำ�ลาย พระธรรม ซึ่งตรงกับ ความหมาย ลายบ่าง ลายหรือลายมุมที่ ประดับอยู่ บนตัวหีบ พระธรรมเช่นกัน

26 หีบพระธรรมวัดพระเกิด


หีบพระธรรมวัดพระเกิด 27



ขอขอบคุณ เจ้าอาวาสเเละคณะผู้ดูเเล พิพิธพันฑ์ชุมชน วัดพระเกิดที่ให้ความอนุเคราะห์ ช่วยเหลือใน ด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำ�หนังสือ เล่มนี้ ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ สากล สุทธิ์มาลย์ ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ภานุพงษ์ เลาหสม อาจารย์ สราวุธ รูปิน ภาพ เครื่องจักรสาน (หน้าที่9)จาก พี กิตติพงษ์ เขื่อนเเก้ว ไไภาพ เเสดงขบวนการเดินทางเส้นทาง สายไหม จาก http://bangkrod.blogspot.com



ชื่อเรื่อง หีบพีะธรรมวัดพระเกิด © 2015 (พ.ศ. 2558) โดย ปัญาญา ปัญญานันท์ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียบเรียงและออกแบบโดย ปัญญา ปัญญานันท์ ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Niramit AS หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ภายในหีบพระธรรม ลายบุคคลประเภทลาย เทวดา หมายถึงการปกป้องคุ้มครอง และป้องกันในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามทั้งหลาย ที่จะเข้ามาทำ�ลายพระธรรม ซึ่งตรงกับความหมาย ลายบางลายหรือลายมุมที่ประดับอยู่ บนตัวหีบพระธรรมเช่นกัน

32 หีบพระธรรมวัดพระเกิด

ปัญาญา ปัญญานันท์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.