Pocketbook แมลงกินได้

Page 1

เลี ย ้ งแมลงกิ น ได้ อาชีพง่าย ๆ สร้างรายได้หลักล้าน ล้วงธุรกิจแมลงแปรรูป

“สร้างรายได้ 100 ล้านบาท” บุก 3 แหล่งค้าแมลงระดับชาติ “จ�ำหน่ายมากมาย รับซื้อไม่อั้น”

เปิดเทคนิค 9 แมลงกินได้

เลี้ยงง่าย ผลผลิตดี มีแต่ก�ำไร พร้อมบทสัมภาษณ์ ผู้เลี้ยงที่ประสบผลส�ำเร็จ

99.-


หนังสือในเครือ บริษัท สำ�นักพิมพ์แม่บ้าน จำ�กัด เลี้ยง แมลงกินได้ อาชีพง่าย ๆ สร้่างรายได้หลักล้าน

ผู้ผลิตและเจ้าของลิขสิทธิ์ : ISBN. 116 หน้า. จัดพิมพ์และจัดจำ�หน่ายโดย บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บรรณาธิการเกษตร กองบรรณาธิการ อาร์ตไดเร็กเตอร์ ฝ่ายภาพ พิสูจน์อักษร แยกสี พิมพ์ที่ จัดจำ�หน่ายโดย

บริษัท สำ�นักพิมพ์แม่บ้าน จำ�กัด พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2558 ราคา 99 บาท บริษัท สำ�นักพิมพ์แม่บ้าน จำ�กัด ปรีดา เหตระกูล ดุจเดือน เหตระกูล กรณ์แก้ว ช้างศิริ, อธิชาติ ดาแหยม กนกวรรณ จำ�นงจิตรเจริญ พาสน์พร ตันเวหาศิริกุล วนาลี คุ้มตะสิน, ศิริพร บุตรจันทร์ NR Film โรงพิมพ์ บริษัทแม่บ้าน จำ�กัด โทร. 0-2432-6181-2 บริษัท สำ�นักพิมพ์แม่บ้าน จำ�กัด 1595 หมู่บ้านทาวน์อินทาวน์ ถนนลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 0-2530-7345-9 แฟกซ์ 0-2559-3283 E-mail : pr@maeban.co.th www.maeban.co.th

“หากท่านพบเจอปัญหาเกีย่ วกับสินค้าติดต่อกลับมาได้ท”่ี บริษทั สำ�นักพิมพ์แม่บา้ น จำ�กัด 1595 หมูบ่ า้ นทาวน์อนิ ทาวน์ ซอย 5 ถนนลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร 0-2530-7345-9 ต่อ 14 2 เลี้ยงแมลงกินได้


คำ�นำ� “แมลง”

ถือเป็นอาหารโปรตีนอีกประเภทหนึง่ ทีค่ นไทยรูจ้ กั บริโภคมาตัง้ แต่อดีตและได้ รับความนิยมในปัจจุบันรวมถึงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งแมลงที่กินได้มีหลากหลายชนิด เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงดานา ไข่มดแดง ฯลฯ และด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สูง ทั้งยังเป็นสัตว์ที่เพาะ เลี้ยงง่าย ให้ผลผลิตเร็ว และใช้ทรัพยากรในการผลิตน้อยมาก ทำ�ให้องค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ หรือ FAO สนใจและผลักดันให้แมลงเป็นอีกแหล่งโปรตีนที่สำ�คัญของโลก ส่งผลให้การ กินแมลงได้รับความสนใจในระดับนานาชาติ แมลงนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจอย่างยิ่ง “เลี้ยงแมลงกินได้ อาชีพง่าย ๆ สร้างรายได้หลักล้าน” จึงเป็นหนังสือที่ รวบรวมวิธกี ารเลีย้ งแมลงกินได้ ที่ได้รบั ความนิยมในปัจจุบนั จำ�นวน 9 ชนิด ได้แก่ มดแดง, แมลงดานา, แมงป่อง, ด้วงสาคู, จิ้งหรีด, แมงสะดิ้ง, แมลงเบ้ากุดจี่ยักษ์, ตั๊กแตน และหนอนกินเยื่อไผ่ ซึ่งทั้งหมด เป็นแมลงที่ ไทยสามารถพัฒนาการเลี้ยงได้สำ�เร็จ หนังสือเล่มนี้เจาะลึกตั้งแต่ธรรมชาติ สายพันธุ์ ต่อเนื่องจนถึงการเลี้ยงและขั้นตอนการจัดการแต่ละระยะการเติบโต ลักษณะโรงเรือนที่ใช้เลี้ยง วัสดุ อุปกรณ์ที่จำ�เป็น อาหาร ตลอดจนเรื่องของตลาด พร้อมกับบทสัมภาษณ์ผู้ที่ประสบความสำ�เร็จ ซึ่งจะ เป็นประสบการณ์สำ�เร็จรูป ให้ผู้อ่านได้เรียนรู้และพัฒนาเป็นอาชีพได้ทันที

อธิชาติ ดาแหยม

เลี้ยงแมลงกินได้ 3


สารบัญ

เลี้ยงแมลงกินได้ อาชีพง่าย ๆ สร้างรายได้หลักล้าน

101

32 5 12 17 20 25 32 36 41 48 53 59 64

บทนำ� “มดแดง” แฝงรายได้งาม “คอนโดไข่มดแดง” อสังหาแมลงสร้างเงิน “แมลงดานา” นำ�พาความร่ำ�รวย เลี้ยง “แมลงดานา” แบบ “อ.ชาตรีต่วนศรีแก้ว” ได้ผลผลิตดี มีจำ�หน่ายตลอดปี “ด้วงสาคู” รู้เเล้วรวย เลี้ยง “ด้วงสาคู” เน้นจำ�หน่ายสายพันธุ์ ตลาดรับไม่อั้นทั่วประเทศ “แมงป่องช้าง” ช่องทางสร้างเงิน “แมงป่องช้าง” เลี้ยงดีมีกำ�ไร เลี้ยงได้รวย “จิ้งหรีด” แมลงอุตสาหกรรมทำ�เงินเร็ว “ฟาร์มจิ้งหรีดเงินล้าน” เน้นตลาดพื้นที่ จับทีละครึ่งตัน ฟันรายได้เดือนละครึ่งแสน “แมงสะดิ้ง” ไม่นิ่งสร้างเงิน

4 เลี้ยงแมลงกินได้

87 69 76 82 87 92 97 101 105 109

“สมใจนึกฟาร์ม” เลี้ยง “แมงสะดิ้ง” อิงมาตรฐาน ตลาดต้องการ ผลิตเป็นตันไม่พอ “เบ้ากุดจี่ยักษ์” ขุมทรัพย์แมลงแห่งอนาคต “ตั๊กแตน” สร้างเงินแสนง่าย “รถด่วน” หนอนกินเยื่อไผ่ สร้างรายได้ดี ต่อยอดเลี้ยง “หนอนกินเยื่อไผ่” แมลงอนาคตไกล ราคาดี “โรงเกลือ” ตลาดแมลงไทย-กัมพูชา ศูนย์รวมพ่อค้า-แม่ค้าแมลงทั่วประเทศ “ตลาดไท” ตลาดแมลงแหล่งใหญ่ เปิดจำ�หน่าย 24 ชั่วโมง “ตลาดคลองเตย” แหล่งค้าแมลงกลางกรุง ซื้อไปบริโภคมากมาย ซื้อไปขายเพียบ ล้วงธุรกิจ “ไฮโซ” แมลงทอดมีมาตรฐาน ตลาดนอกสดใส ตลาดไทยต้องการสูง


“แมลงกินได้” วัฒนธรรมของไทย น่าสนใจระดับโลก

“แมลงกินได้” ไม่ ใช่เรื่องแปลกใหม่ของสังคมไทย โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่ผู้คนมีวัฒนธรรมการกินแมลง กันมาตั้งแต่อดีต มีการเรียนรู้และพัฒนาวิธีการกินแมลง อย่างต่อเนื่อง จนทำ�ให้รู้ว่าแมลงชนิดไหนกินได้หรือกิน ไม่ได้ แมลงชนิดไหนต้องกินระยะไข่ กินระยะดักแด้ หรือ กินตัวเต็มวัย รูแ้ ม้กระทัง่ ว่าแมลงแต่ละชนิดต้องทำ�อาหาร ประเภทต้ม ยำ� ตำ�หรือขั่ว จึงจะมีรสชาติอร่อยที่สุด ต่อ เนื่องมาถึงปัจจุบัน จุดจำ�หน่ายแมลงกินได้ที่สำ�คัญก็คือ ตามรถเข็นหรือร้านแมลงทอด อีกทั้งตามร้านอาหารก็มี ไข่หรือตัวอ่อนของแมลงบางชนิดเป็นวัตถุดบิ ในเมนู ตลอด จนมีการแปรรูปบรรจุซองอย่างดี พร้อมการันตีคุณภาพ วางจำ�หน่ายตามร้านค้าทั่วไป ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งให้ ผู้บริโภคเข้าถึงแมลงได้สะดวกขึ้น ที่ผ่านมาหลายคนอาจยังติดภาพของการกินแมลงว่า เป็นกลุ่มผู้ที่มีฐานะยากจนหรืออยู่ในชนบทที่ห่างไกลไม่มี อาหารจึงต้องกินแมลง แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะแมลงก็คอื อาหารโปรตีนอีกชนิดหนึง่ ซึง่ การกินแมลง ก็เพื่อการสนองความต้องการด้านรสชาติและเนื้อสัมผัสที่

เป็นเอกลักษณ์ของผูบ้ ริโภค ไม่ได้กนิ เพือ่ ต้องการทดแทน อาหารประเภทอื่นแต่อย่างใด ซึ่งดูได้จากปริมาณความ ต้องการบริโภคแมลงแต่ละปีที่มีจำ�นวนมาก อีกทั้งแหล่ง จำ�หน่ายมีตั้งแต่ตลาดนัดไปจนถึงห้างสรรพสินค้า ซึ่ง ในอนาคตความต้องการแมลงกินได้จะมีปริมาณมากขึ้น เรื่อย ๆ “FAO” หนุ่นกินแมลง ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่ให้ความสำ�คัญกับแมลงกิน ได้ ปัจจุบันกลุ่มประเทศในยุโรปที่เคยมองการกินแมลง เล็ก ๆ เหล่านีว้ า่ เป็นเรือ่ งทีร่ บั ไม่ได้หรือถึงขัน้ น่ารังเกลียด ก็กลับมาให้ความสนใจในข้อดีของการกินแมลงเช่นกันเมือ่ องค์การอาหารและการเกษตรของสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization) หรือ FAO ได้ออก มาแนะนำ�ให้แมลงเป็นแหล่งอาหารโปรตีนชนิดใหม่ของ ประชากรโลก เพื่อแก้ปัญหาความอดอยาก โดยเฉพาะ ประเทศโลกที่ 3 เนื่องจากแมลงหลายชนิดมีคุณค่าทาง โภชนาการสูง ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุทสี่ �ำ คัญหลายชนิด สามารถเป็นอาหารทดแทน ให้มนุษย์ได้เป็นอย่างดี จึงได้วางแผนส่งเสริมแมลงให้เป็น อาหารสำ�หรับคนทั่วโลก เลี้ยงแมลงกินได้ 5


ทั้งนี้ FAO ระบุว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ประชากรโลก ต้องประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างแน่นอน โดย เฉพาะอย่างยิง่ การขาดแคลนแหล่งโปรตีน ตลอดจนแหล่ง วัตถุดบิ อาหารสัตว์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบนั คือ ถัว่ เหลือง ปลาป่น และธัญพืช มีการนำ�ไปใช้ประโยชน์อย่างอืน่ มากขึน้ จึงส่ง ผลให้เกิดการขาดแคลนอาหารสัตว์ตามมา และกระทบต่อ ปริมาณอาหารที่จะมาหล่อเลี้ยงประชากรโลกในที่สุด พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าในปี 2050 จำ�นวนประชากร โลกจะมีมากกว่า 9 พันล้านคนที่ต้องการอาหารบริโภค รวมทั้งสัตว์อีกกว่าพันล้านตัว ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น มลพิษ ทางดิน มลพิษ ทางน้ำ� ที่เกิดจากของเสียในระบบการทำ�ฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบ อุตสาหกรรม การขาดแคลน ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ นำ�ไป สู่การตัดไม้ทำ�ลายป่าเพิ่มมากขึ้น ขยายไปสู่ปัญหาการ เปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลกในที่สุด จึงจำ�เป็นต้อง แสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ หนึ่งในนั้นคือการบริโภคแมลง FAO ไม่เพียงแต่ให้ความสำ�คัญต่อการนำ�แมลงจาก ธรรมชาติมาบริโภคและเป็นอาหารสัตว์เท่านั้น แต่รวมไป ถึงการสนับสนุนให้มีการเพาะเลี้ยงแมลงเพื่อใช้บริโภคไป พร้อมกัน ด้วยเห็นว่าแมลงมีช่วงชีวิตที่สั้นเพาะเลี้ยงง่าย ให้ผลผลิตได้ถงึ ปีละ 5-6 รอบ สามารถเพิม่ จำ�นวนได้คราว 6 เลี้ยงแมลงกินได้

ละมาก ๆ ทำ�ให้แมลงปรับตัวและเพิ่มจำ�นวนได้รวดเร็วใน ระยะเวลาอันสั้น รวมถึงใช้ทรัพยากรในการเจริญเติบโต น้อยมาก มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงปล่อยก๊าซ เรือนกระจกน้อยมากเมื่อเทียบกับการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น กล่าวได้ว่า การเลี้ยงแมลงเพื่อนำ�มาเป็นอาหารจึง เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอาหาร ของมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วในภาวะวิกฤต หรือประสบกับ ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ และหลายปีมานี้ FAO ได้จดั การฝึก อบรม เพือ่ ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลีย้ งอย่างถูกวิธี รวม ทั้งการหาช่องทางการตลาดในหลายประเทศทวีปเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งในประเทศไทยด้วย นอกจากนีย้ งั มีรายงานว่า สหภาพยุโรปกำ�ลังพิจารณา สนับสนุนการใช้แมลงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมนูอาหารที่ รับประทานประจำ�วัน เช่น เบอร์เกอร์ หรือฟาสต์ฟู้ดเพื่อ ให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น และ จะมีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมารับประทานแมลงกัน มากขึ้นในฐานะที่เป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันชั้นดีที่ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ จากแนวโน้มในการใช้ประโยชน์ จากแมลงในหลากหลายรูปแบบ การเพาะเลีย้ งแมลงทีร่ บั ประทานได้ เป็นประเด็นทีค่ วรเร่งการวิจยั และพัฒนา โดย เฉพาะในแมลงที่มีศักยภาพ รวมทั้งแมลงที่นำ�มาใช้เป็น อาหารสัตว์ ซึ่งจะต้องเร่งรัดการพัฒนาเพื่อสามารถขยาย ผลในเชิงพาณิชย์ มีข้อมูลระบุว่าเมื่อปี 2011 สหภาพยุโรปเสนอเงิน 120 ล้านบาท ให้แก่หน่วยงานใด ๆ ก็ตามที่มีโครงการ สนับสนุนการบริโภคแมลงในฐานะอาหารทางเลือกที่มี คุณค่าทางโภชนาการสูงและราคาถูก จนผู้เชี่ยวชาญของ ยุโรปเชือ่ ว่า ก่อนปี 2020 ชาวยุโรปจะสามารถหาซือ้ แมลง บริโภคในซูเปอร์มาร์เกตได้ โดยอยู่ในรูปของแมลงทอด สำ�เร็จรูปจิ้มซอสหรือเป็นไส้แฮมเบอร์เกอร์ ปัจจุบนั แม้ยงั ไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงทีช่ ดั เจนจากข้อมูล ข้างต้น แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ชาวต่างชาติรับรู้ถึง การกินแมลง แน่นอนว่ามีผลต่อปริมาณความต้องการใน อนาคตโดยตรง ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศแรก ๆ ที่ มีการเพาะเลีย้ งแมลงเพือ่ บริโภคได้ส�ำ เร็จ และมีเกษตรกร ทำ�ฟาร์มเลี้ยงกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว หากในอนาคต แมลงกินได้เป็นที่นิยมมากขึ้น ก็เป็นผลดีกับไทยโดยตรง


“แมลง” แหล่งโปรตีนคุณภาพ

นอกจากการทอดแล้ว แมลงสามารถที่จะประกอบ เป็นอาหารได้หลากหลายชนิดไม่ต่างจากเนื้อสัตว์ทั่วไป แต่ทว่าแมลงแต่ละชนิดมักมีเมนูเฉพาะเป็นของตัวเอง เช่น ยำ�ไข่มดแดง น้ำ�พริงแมลงดา แมงกินูนคั่วเกลือ ซึ่งแต่ละ เมนูก็ล้วนดึงรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของแมลงแต่ละชนิด ออกมาให้ผบู้ ริโภคได้ลมิ้ ลองอย่างเต็มที่ นับเป็นสิง่ สำ�คัญที่ ทำ�ให้แมลงยังคงเป็นทีต่ อ้ งการของผูบ้ ริโภคอย่างต่อเนือ่ ง แต่เมื่อมองทะลุรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ แมลงเข้าไป ก็จะเห็นถึงคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก โดยเฉพาะสัดส่วนของโปรตีนซึ่งมีมากกว่าเนื้อสัตว์บาง ชนิด ทั้งยังมีสารอาหารกลุ่มพลังงาน ไขมัน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ตลอดจนวิตามินที่จำ�เป็นต่อร่างกายอีกด้วย แมลงในกลุ่ ม ดั ก แด้ ไ หม หนอนกิ น เยื่ อไผ่ แ ละ ไข่มดแดง จะให้สารอาหารประเภทพลังงานค่อนข้างสูง ซึง่ ในปริมาณดิบ 100 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 140-230 กิโลแคลอรี ส่วนแมลงทีม่ เี ปลือกอย่างเช่น จิง้ หรีด ตัก๊ แตน และแมงตับเต่า เด็ดปีกและขาออก นำ�เฉพาะส่วนที่กินได้ ปริมาณดิบ 100 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 90-150 กิ โ ลแคลอรี และแม้ ผ่ า นการต้ ม ให้ สุ ก พลั ง งานอาจ เปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ก็ไม่มากนัก

สำ�หรับการนำ�แมลงไปทอดเพื่อบริโภค ทำ�ให้ได้รับ พลังงานจากการรับประทานแมลงเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าตัว เช่น หนอนกินเยื่อไผ่ ปริมาณ 100 กรัม ปกติให้พลังงาน ประมาณ 230 กิโลแคลอรี แต่เมื่อนำ�ไปทอด จะทำ�ให้มี พลังงานสูงถึง 644 กิโลแคลอรี ส่วนจิ้งหรีด จำ�นวน 100 กรัม ปกติให้พลังงานประมาณ 133 กิโลแคลอรี แต่เมื่อ นำ�ไปทอดพลังงานเพิม่ ขึน้ ถึง 465 กิโลแคลอรี และถ้าหาก กินในรูปแบบของการชุบแป้งทอดก็ยงิ่ ทำ�ให้ได้พลังงานใน ระดับที่สูงขึ้นไปอีก ส่ ว นระดั บ ของไขมั น ในแมลงก็ จ ะสอดคล้ อ งกั บ ปริมาณของพลังงาน ดังนัน้ แมลงทีม่ ีไขมันสูง ได้แก่หนอน กินเยื่อไผ่ น้ำ�หนักดิบ 100 กรัมมีไขมันถึง 20 กรัม หรือ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำ�หนัก ส่วนตั๊กแตน จิ้งหรีด และหนอนดักแด้ไหม มีไขมันอยู่ที่ประมาณ 4-12 กรัม ประเภทของไขมั น ในอาหารแมลง โดยเฉพาะ คอเลสเตอรอลและกรดไขมัน ซึง่ จะเป็นตัวบ่งชีถ้ งึ คุณภาพ ของไขมันในแมลง โดยข้อมูลวิชาการระบุว่า จิ้งหรีดเป็น แมลงที่มีคอเลสเตอรอลสูงที่สุด คือ 105 มิลลิกรัม ต่อน้ำ� หนักแมลง 100 กรัม ตามด้วยตั๊กแตนอยู่ที่ 66 มิลลิกรัม แมงกินูนอยู่ที่ 56 มิลลิกรัม และ หนอนกินเยื่อไผ่อยู่ที่ 34 มิลลิกรัม

เลี้ยงแมลงกินได้ 7


ส่วนกรดไขมัน ที่ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดอิ่มตัว และกรดไขมันชนิดไม่อมิ่ ตัว และกรดไขมันชนิดไม่อมิ่ ตัวนี้ ยังประกอบด้วยกรดไขมันไม่อมิ่ ตัวเชิงเดียวและกรดไขมัน ไม่อมิ่ ตัวเชิงซ้อน ซึ่งตามหลักการทางโภชนาการ ร่างกาย ควรได้รับกรดไขมันทั้งกรดไขมันชนิดอิ่มตัว กรดไขมันไม่ อิม่ ตัวเชิงเดียว และกรดไขมันไม่อมิ่ ตัวเชิงซ้อน ในสัดส่วน 1:1:1 ซึ่งจิ้งหรีด จิโปม ตั๊กแตนและกินูน เป็นแมลงที่มี สัดส่วนของกรดไขมันเป็นไปตามที่แนะนำ�ข้างต้น สำ�หรับสัดส่วนของโปรตีน ซึ่งแมลงถือเป็นแหล่ง โปรตีนประเภทเนือ้ สัตว์ทดี่ อี กี แหล่งหนึง่ โดยแมลงดิบ 100 กรัม จะให้โปรตีนประมาณ 9-65 กรัม ขณะที่โปรตีนใน ไข่ไก่ 1 ฟองมีอยู่ 13 กรัม ในหมูบด (100 กรัม) มีโปรตีน 18 กรัม และในเนื้อไก่ (100 กรัม) มีโปรตีน 28 กรัม ส่วนหนอนกินเยือ่ ไผ่มโี ปรตีน 9 กรัม น้อยกว่าจิง้ หรีด ซึ่งมีโปรตีนถึง 17 กรัม สำ�หรับแมลงที่มีปริมาณโปรตีน มากที่สุด คือ ตั๊กแตนและแมงมัน ในน้ำ�หนักดิบ 100 กรัม จะมีโปรตีนถึง 27 กรัม และ 65 กรัมตามลำ�ดับ และแม้จะ นำ�ไปทำ�ให้สกุ ด้วยการต้มหรือทอด อาจมีผลทำ�ให้ปริมาณ ของโปรตีนเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ไม่มากนัก 8 เลี้ยงแมลงกินได้

นอกจากปริ ม าณโปรตี น แล้ ว ความสำ � คั ญ ทาง โภชนาการจะพิจารณาคุณภาพของโปรตีนควบคู่ไปด้วย โดยคุณ ภาพของโปรตีนจะบ่งชี้ ได้จากคะแนนของกรด อะมิโน ซึ่งค่าดังกล่าวหมายถึงสัดส่วนปริมาณกรดอะมิ โนแต่ละชนิด ที่มีในแมลงเมื่อเทียบกับปริมาณที่ร่างกาย ควรจะได้รับ ในกรณีเช่นนี้พบว่าหนอนไหมมีโปรตีนที่มี คุณภาพดีที่สุด รองลงมาคือหนอนกินเยื่อไผ่ จิ้งหรีด และ ตั๊กแตน ส่วนโปรตีนในแมงกินูนเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ค่อนข้างต่ำ� นอกจากสารอาหารต่าง ๆ แล้ว แมลงยังมี ไคติน เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างร่างกาย เช่นเดียวกับ สัตว์จำ�พวกกุ้งและปู ซึ่งสารไคตินจากเปลือกของแมลงมี ประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยตรง เพราะเมื่อไคตินลงสู่ลำ�ไส้ ไคตินจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ไคตินเนส ส่วนหนึง่ ได้ผลเป็น สารไคโทซาน จากนัน้ ทัง้ ไคตินและไคโทซานสามารถจับตัว กับไขมัน ส่งผลต่อการลดลงของระดับคอเลสเตอรอลและ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ นอกจากนี้ ไคตินและไคโทซาน ยังช่วยต่อต้านการติดเชือ้ จากยีสต์ในระบบทางเดินอาหาร อีกด้วย


“เลี้ยงแมลงกินได้” อาชีพง่าย ๆ สร้างเงินล้าน

ส่วนที่ทำ�ให้แมลงทอดมีกลิ่นหอมและรสชาติอร่อย มาจากส่วนของไขมันทีม่ ีในตัวแมลงและส่วนทีเ่ ป็นเปลือก ก็คือ สารไคตินเช่นกัน เพราะมื่อไคตินถูกความร้อน อาจ จะโดยการเผา ปิง้ ย่างหรือทอด จะทำ�ให้แมลงมีเนือ้ สัมผัส กรอบ มีกลิน่ หอม ชวนให้การขบเคีย้ วเกิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง อย่างไรก็ตาม แม้แมลงมีรสชาติที่ดีและมีคุณค่า ทางโภชนาการสูง ก็ต้องมีวิธีการกินที่ถูกต้องด้วย ซึ่งการ บริโภคแมลงจะมีทงั้ การบริโภคสดและการบริโภคสุก การ บริโภคสดเป็นการบริโภคแมลงดิบ ๆ โดยไม่ผ่านความ ร้อนให้สกุ เสียก่อน ซึง่ อาจส่งผลให้พยาธิในแมลงเหล่านัน้ เข้าสู่ร่างกายได้ และแมลงบางชนิดอาจมีสารพิษปนเปื้อน เป็นอันตรายเช่นกัน สำ�หรับนักบริโภคแมลงหน้าใหม่ ควร คำ�นึงถึงการเลือกรับประทานแมลงตามหลักสุขลักษณะ ของอาหาร โดยต้องเป็นแมลงที่รู้จักและมีคนนำ�มารับ ประทาน และควรเป็นแมลงทีอ่ าศัยอยู่ในธรรมชาติ ที่ไม่มี การใช้สารเคมีปอ้ งกันกำ�จัดศัตรูพชื เป็นแมลงทีจ่ บั มาขณะ มีชีวิตและนำ�มาปรุงสุกเป็นอาหารในทันที ควรหลีกเลี่ยง การบริโภคปีก ขน ขา หรือหนามแข็งของแมลง เพราะ อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้ สำ�หรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรหลีก เลี่ยงการบริโภคแมลง

ในช่วงหลายปีมานี้ความนิยมบริโภคแมลงของไทย ค่อนข้างแพร่หลาย และกระจายในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทำ�ให้แต่ละปีมีความต้องการแมลงเพื่อมาบริโภคจำ�นวน มาก ทว่าแมลงทีจ่ บั ได้จากธรรมชาติของไทยในเวลานี้ไม่มี แล้ว เต็มทีก่ ห็ าจับได้เพียงบริโภคในครัวเรือน หรือจำ�หน่าย ภายในท้องถิน่ เท่านัน้ ไม่เพียงพอทีส่ ง่ จำ�หน่ายสร้างรายได้ ให้เป็นอาชีพได้ แมลงทีจ่ �ำ หน่ายตามท้องตลาดทัว่ ไปเกือบ ทั้งหมดเป็นแมลงที่นำ�เข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดย เฉพาะจากกัมพูชาซึ่งนำ�เข้ามาจำ�หน่ายที่ตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว ในแต่ละปีมีมูลค่าหลายร้อยล้านบาท อย่างไรก็ตามแมลงที่นำ�เข้ามาส่วนใหญ่เป็นแมลง ที่จับมาจากธรรมชาติ ซึ่งบางช่วงของปีมีปริมาณที่ ไ ม่ แน่นอน และแมลงหลายชนิดมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ที่ สำ�คัญปริมาณที่จับได้เริ่มลดลงไปเรื่อย ๆ ตามสภาพ แวดล้อมและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในอนาคตเชื่อ ว่าแมลงจากธรรมชาติจะหมดไปในที่สุด เช่นเดียวกับ ประเทศไทย เนื่องจากที่อยู่อาศัยของแมลงถูกทำ�ลาย จากการขยายตัวของสังคมเมือง การเกษตรที่มุ้งเน้นให้มี ผลผลิตสูงโดยการใช้ปยุ๋ และสารเคมีจ�ำ นวนมาก ตลอดจน การจับมาเพื่อบริโภคจำ�นวนมากด้วย

เลี้ยงแมลงกินได้ 9


จึงเป็นโอกาสดีสำ�หรับแมลงที่มาจากการเพาะเลี้ยง ซึง่ ประเทศไทยหนึง่ ในไม่กปี่ ระเทศ ทีม่ กี ารพัฒนาศักยภาพ การเพาะเลี้ยงแมลงที่ ได้ผล ทั้งยังพัฒนาธุรกิจการเลี้ยง แมลงให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เลี้ยง แมลงกระจายอยู่ทั่วประเทศไม่ต่ำ�กว่า 20,000 ราย และ เกษตรกรอีกจำ�นวนไม่น้อยที่ยกระดับการเลี้ยงแมลงให้ เป็นในเชิงอุตสาหกรรม คือมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ผลิตครั้งละจำ�นวนมาก และต่อเนื่องตลอดทั้งปี ระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่มีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่ง ถือเป็นแมลงกินได้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ได้ ขับเคลือ่ นให้ธรุ กิจแมลงของไทยมีความเข้มแข็ง พร้อมทัง้ การสนับสนุนจากหน่วยงานและสถานศึกษาต่าง ๆ ในการ พัฒนารูปแบบการเลี้ยง วิธีการจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ ดี มีต้นทุนต่ำ� รวมทั้งภาคเอกชนก็ให้ความสำ�คัญกับการ เลี้ยงแมลง โดยมีการพัฒนาสูตรอาหารสำ�หรับแมลงโดย เฉพาะ ซึง่ เป็นการยกระดับการเลีย้ งเพือ่ ให้เข้าสูม่ าตรฐาน อาหารที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วไป ปัจจุบันมีเกษตรกรให้ความสนใจมาเลี้ยงแมลงเป็น อาชีพกันมากขึ้น แต่ทว่าก็ยังจำ�กัดอยู่ที่แมลงเพียงไม่กี่ 10 เลี้ยงแมลงกินได้

ชนิด ส่วนใหญ่เป็นจิ้งหรีดและแมงสะดิ้ง ส่วนดักแด้ไหมก็ เป็นผลพลอยได้จากการอุตสาหกรรมสิง่ ทอ ไม่ได้เป็นการ เพาะเลี้ยงเพื่อบริโภคโดยตรง ขณะที่ความนิยมบริโภค แมลงของไทย มีทั้งตั๊กแตน แมลงดา ไข่มดแดง หนอน กินเยื่อไผ่ แมลงกุดจี่ แมลงกินูน แมลงกระชอน แมลง ตับเต่า ฯลฯ เมื่อพิจารณาก็เห็นว่ายังมีช่องว่างอีกมากที่ ให้ผู้สนใจเลี้ยงได้เข้ามายึดการเลี้ยงแมลงเป็นอาชีพ ทั้งนี้ การเพาะเลี้ยงแมลงให้ประสบความสำ�เร็จได้ ต้องอาศัยปัจจัยการผลิตที่ดี ทั้งสถานที่ สายพันธุ์ อาหาร ตลอดจนการจัดการ ซึ่งแมลงแต่ละชนิดก็ต้องการปัจจัย ที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะเพาะเลี้ยงแมลงชนิดใด สิ่ง สำ�คัญคือต้องศึกษาถึงธรรมชาติของแมลงชนิดนั้น วงจร ชีวิตและความต้องการในแต่ละระยะ รวมถึงอาหารและ พฤติกรรมเบือ่ งต้นของแมลงชนิดนัน้ ให้ดเี สียก่อนทีจ่ ะเริม่ เลี้ยง แต่วา่ ไปแล้วแมลงถือเป็นสัตว์ทเี่ ลีย้ งไม่ยาก เนือ่ งจาก มีวงจรชีวติ สัน้ ทำ�ให้สามารถศึกษาและทำ�ความเข้าใจได้ไม่ ยาก ที่สำ�คัญการทดลองเลี้ยงแมลงใช้ต้นทุนไม่สูงมาก สามารถทดลองเลี้ยงเพื่อดูว่าเหมาะสมกับตนเองหรือไม่


จะเพาะเลีย้ งได้ไหมหรือมีขอ้ จำ�กัดอะไรบ้าง ก็ท�ำ ให้ทราบ ทันทีหลังจากที่ทดลอง ถ้าหากทำ�ได้ มีผลผลิตที่ดีก็ขยาย พัฒนาเป็นอาชีพต่อไป และเนื่องจากแมลงมีขนาดเล็ก ดังนั้นจึงใช้พื้น ที่ เลี้ยงไม่มาก อาจใช้ใต้ถุนหรือชายคาบ้านเป็นพื้นที่เลี้ยง ก็สามารถทำ�ได้ หรืออาจสร้างเป็นโรงเรือนง่าย ๆ ตาม ต้นทุนที่มี รวมถึงอุปกรณ์การเลี้ยงต่าง ๆ ก็ประยุกต์ใช้ วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่จำ�เป็นต้องใช้วัสดุที่มีราคาแพง การลงทุนเลี้ยงแมลงในครั้งแรกจึงไม่สูงมาก หลังจากนั้น ค่อนนำ�รายได้จากการจำ�หน่ายผลผลิตมาลงทุนเพิม่ เติมใน ส่วนของอุปกรณ์และสถานที่เลี้ยงภายหลังได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำ�คัญประการหนึง่ ของผูท้ ต่ี ดั สิน ใจเริม่ เลีย้ งแมลง คือเรื่องของตลาด ซึ่งเป็นเรื่องยากโดย เฉพาะในช่วงแรกของการเลี้ยง เนื่องจากเกษตรกรยังไม่ เข้าใจถึงกลไกของตลาดแมลง แหล่งรับซื้อและจำ�หน่ายที่ สำ�คัญ รวมทั้งยังไม่มีเครื่อข่ายของผู้ที่เลี้ยงแมลงด้วยกัน ที่สามารถช่วยเหลือกันได้ แต่มองอีกด้านหนึ่ง ในช่วงแรก ของการเลี้ยงถือเป็นโอกาสให้ผู้เลี้ยงได้รู้จักการทำ�ตลาด ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลดีในระยะยาว ตรงนี้ไม่มีกฏเกณฑ์ ตายตัวว่าแมลงที่เลี้ยงต้องนำ�จำ�หน่ายให้พ่อค้าแมลงทอด

หรือพ่อค้าคนกลางเท่านั้น หากแต่เกษตรกรสามารถทำ� ตลาดได้ตามความคิดของตนเอง เช่นมีเกษตรกรที่เลี้ยง จิง้ หรีดหลายรายจำ�หน่ายแมลงให้กบั ฟาร์มเลีย้ งปลาสวาย ซึ่งก็เป็นที่ต้องการจำ�นวนมาก หรือผู้เลี้ยงบางรายเลือกที่ แปรรูปและเปิดร้านจำ�หน่ายเองในพื้นที่ ซึ่งรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับจิตนาการและความสามารถของผู้เลี้ยง โดยตรง หลังจากผ่านพ้นช่วงแรกนี้ ไปได้ เชื่อว่าตลาดไม่ใช่ เรือ่ งของการเลีย้ งแมลง เพราะอย่างน้อยผูเ้ ลีย้ งก็เริม่ เป็น ทีร่ จู้ กั ของพ่อค้าและผูจ้ �ำ หน่ายแมลง ซึง่ ปกติเป็นทีต่ อ้ งการ ของตลาดอยูแ่ ล้ว และถ้าหากเป็นแมลงชนิดทีเ่ กษตรกรยัง เลี้ยงกันไม่มาก อย่างเช่นแมลงดานา แมลงเบ้ากุดจี่ยักษ์ หรือ แมงป่อง เชื่อว่าแมลงเหล่านี้ผลิตเท่าไรก็ไม่เพียงพอ จำ�หน่ายอย่างแน่นอน แต่สง่ิ หนึง่ ทีอ่ ยากให้ผเู้ ลีย้ งแมลงคำ�นึงถึงเสมอนอกจาก การเลี้ยงและการทำ�ตลาดแล้ว ก็คือการเพิ่มมูลค่าให้กับ ผลผลิต เช่น พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะของฟาร์ม หรือ สร้างความแปลกให้สินค้าเพื่อสนองความต้องการของ ผูบ้ ริโภค ซึง่ เป็นสิง่ สำ�คัญทีท่ �ำ ให้การเลีย้ งแมลงเป็นอาชีพ ที่สร้างรายได้อย่างงดงามทั้งยังมีความยั่งยืนด้วย

เลี้ยงแมลงกินได้ 11


“มดแดง” แฝงรายได้

มดแดง Red Ant

12 เลี้ยงแมลงกินได้


“มดแดง” แฝงรายได้

“มดแดง” เป็นมดทีค่ นไทยรูจ้ กั และนำ�มาใช้ประโยชน์ มาช้านาน ทัง้ ควบคุมศัตรูพชื บางชนิด ใช้ประกอบในตำ�รับ ยาแผนโบราณ รวมถึงใช้เป็นอาหาร โดยเฉพาะไข่มดแดง ซึ่งมีรสชาติดีและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในภาคอีสาน ไข่มดแดงถูกนำ�มาประกอบเป็นอาหารหลากชนิด ทั้งก้อย ไข่มดแดง ลาบไข่มดแดง ยำ�ไข่มดแดง แกงขี้เหล็กใส่ ไข่มดแดง ฯลฯ นอกจากนี้ ไข่มดแดงยังมีอยู่ในเมนูของ โรงแรมห้าดาวและร้านอาหารชื่อดังต่าง ๆ เช่น ไข่เจียว ไข่มดแดง แกงเขียวหวานไข่มดแดง ฯลฯ ตลอดจนมีการ แปรรูปไข่มดแดงบรรจุกระป๋องส่งจำ�หน่ายต่างประเทศอีก ด้วย “ไข่มดแดง” ที่นำ�มาบริโภคในปัจจุบันเกือบทั้งหมด รวบรวมมาจากธรรมชาติ ซึ่งนับวันยิ่งมีจำ�นวนลดน้อยลง ทว่าความต้องการกลับเพิ่มขึ้นสวนทางกัน ส่งผลให้ราคา ของไข่มดแดงสูงถึงกิโลกรัมละ 200-400 บาท (ขึ้นอยู่กับ ปริมาณไข่มดแดงที่ออกสู่ตลาดในช่วงนั้น) หรือจำ�หน่าย ปลีก 2-3 หยิบมือ ราคา 20-30 บาทเลยทีเดียว มดแดง จึงเป็นแมลงเศรษฐกิจที่น่าสนใจ และ “การเลี้ยงมดแดง” ก็เป็นช่องทางสร้างรายได้ที่ ไม่ยาก เหมาะสมอย่างยิ่ง สำ�หรับเกษตรกรทั่วไป หรือผู้ที่ปลูกสวนป่า สวนผลไม้ ตลอดจนบ้านที่มีต้นไม้และมดแดงมาอาศัยอยู่ ธรรมชาติของมดแดง ในธรรมชาติ มดแดงจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัว หรืออาณาจักร ซึ่งประกอบด้วยมดแดงตั้งแต่ 2 รัง ไป จนถึง 100 กว่ารัง โดยมีรังราชินีอยู่ส่วนบนยอดพุ่มของ

ต้นไม้ และมีรังที่แยกตัวไปยังต้นไม้อื่นอีก 1-30 ต้น หรือ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1 ไร่ ต้นไม้ที่มีราชินีอาศัยอยู่เป็นต้น ทีจ่ �ำ นวนรังและมดแดงมากกว่าต้นอืน่ สังคมมดแดงอยูก่ นั อย่างเป็นระเบียบ โดยประกอบด้วยกัน 2 วรรณะ ได้แก่ วรรณะสืบพันธุ์และวรรณะมดงาน วรรณะสืบพันธุ์ มีมดราชินีหรือแม่เป้ง ซึ่งมีลักษณะ ลำ�ตัวสีเขียว ปนน้�ำ ตาล มีปกี ทำ�หน้าทีว่ างไข่ และมดตัวผู้ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและมีปีกนวลใส การผสมพันธุ์ ราชินี และมดตัวผูจ้ ะบินออกจากรังเพือ่ จับคูผ่ สมพันธุ์ จากนัน้ ทัง้ คู่ก็ตกลงพื้นดิน มดตัวผู้จะตาย ส่วนราชินีจะกลับขึ้นไปรัง เพื่อวางไข่ ส่วน วรรณะมดงาน เป็นตัวเมียที่เป็นหมัน มี สีส้มปนแดง (เป็นที่มาของชื่อมดแดง) ไม่มีปีก ซึ่งมีด้วย กัน 2 ขนาด ได้แก่ มดงานขนาดใหญ่ มีหน้าที่สร้างรัง หา อาหารและป้องกันศัตรู และ มดงานตัวเล็ก มีหน้าทีเ่ ป็นพี่ เลี้ยงคอยดูแลตัวอ่อนในรัง สำ�หรับวงจรชีวิตของมดแดง แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะไข่ มีลักษณะสีขาวขุ่น วางเป็นกลุ่มภายในรัง ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะเจริญเป็นมดงานหรือราชินี ส่วน ไข่ที่ ไม่ได้รับการปฏิสนธิจะเจริญเป็นมดตัวผู้ ระยะตัว หนอน มีลักษณะสีขาวขุ่น หัวแหลมท้ายป้าน ที่เรียกว่า “ไข่มดแดง” ตัวหนอนของมดงานและมดตัวผู้จะมีขนาด เล็กกว่าตัวหนอนของราชินี แต่มดแดงจะให้ไข่ราชินแี ค่ใน ช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนเท่านั้น ระยะ ดักแด้ สีขาวขุ่น มีขาและปีกยื่นออกมาจากลำ�ตัว ก่อนที่ จะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยต่อไป สภาพพื้นที่และต้นไม้ สำ�หรับเลี้ยงมดแดง ไม่ว่าเป็นพื้นที่การเกษตร สวนผลไม้ สวนป่า หรือ ตามขอบป่า ก็สามารถเลี้ยงมดแดงได้ แต่ทั้งนี้ ควรเป็น เลี้ยงแมลงกินได้ 13


“มดแดง” แฝงรายได้ ทีส่ �ำ คัญ ตามลำ�ต้นไม่ควรมีศตั รูของมดแดงอาศัยอยู่ เช่น ปลวกและมดทุกชนิด ควรตัดกิ่งแห้งออก (ซึ่งเป็นที่ อาศัยของมดดำ�และปลวก) ทำ�ลายทางเดินของปลวกที่มี รอบลำ�ตนหรือใต้เปลือกไม้ อาจใช้สารเคมีฉีดพ่นบริเวณ โคนต้นก่อนเลี้ยงมดแดงประมาณ 1 เดือน รวมถึงต้นไม้ อื่น ๆ ที่อยู่รอบบริเวณ เพื่อให้มดแดงขยายอาณาจักรได้ อย่างเต็มที่ บริเวณที่เปิดโล่ง ไม่ร่มและไม่ทึบเกินไป มีแสงส่องถึง ตลอดเวลา ซึง่ ปกติแล้วมดแดงสามารถสร้างรังหรืออาศัย อยู่บนต้นไม้ได้ทุกชนิด แต่ลักษณะของต้นไม้ที่เหมาะสม คือ ขนาดของใบไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ใบไม่หยาบ แข็ง ไม่ผลัดใบในฤดูแล้ง และใบไม่เบียดเสียดหรือร่ม ทึบจนแสงส่องไม่ถึงลำ�ต้น ต้นไม้ที่เหมาะสม เช่น มะม่วง ชมพู่ หว้า ลิ้นจี่ ลำ�ไย เงาะ ส้ม ขี้เหล็ก ลองกอง สะเดา และหากเป็นไปได้ความสูงของต้นไม้ที่ ใช้เลี้ยงมดแดงไม่ ควรเกิน 6 เมตร เพื่อง่ายแก่การจัดการ นอกจากนี้ ต้นไม้ตอ้ งมีความสมบูรณ์อยูต่ ลอด เพราะ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการให้ไข่ของมดแดงโดยตรง โดย เฉพาะเดือนตุลาคม-ธันวาคม ต้องให้ต้นไม้แตกใบใหม่ ออกมา เพราะช่วงนี้มดแดงจะเร่งสร้างรังขนาดใหญ่เพื่อ ไว้เก็บไข่มดแดง ยิ่งรังมีขนาดใหญ่มากเท่าไร ก็สามารถ เก็บไข่ได้มากเท่านั้น ขณะที่หากเป็นใบไม้แก่แล้วจะแข็ง มดแดงนำ�มาสร้างรังขนาดใหญ่ไม่ได้ ส่งผลให้ได้ไข่มดแดง น้อยตามไปด้วย พร้อมกับใบควรเรียงต่อเนื่องกัน ไม่อยู่ ห่างกันมาก เพราะทำ�ให้งา่ ยต่อการสร้างรังขนาดใหญ่ของ มดแดง ส่วนเรือนยอดของต้นไม้ ไม่ควรให้ใบขึ้นหนาแน่น จนร่มทึบ แสงส่องผ่านไม่ได้ ควรจัดการให้เรือนยอดได้ รับแสงทุกด้าน เนื่องจากมดแดงชอบสร้างรังรอบนอก เรือนยอดที่ถูกแสง ส่วนการครอบครองต้นไม้เพื่อให้ มดแดงสร้างรังขนาดใหญ่ อาณาจักรหนึ่งควรอยู่ระหว่าง 5-8 ต้น ถ้าหากมดแดงครอบครองต้นไม้มากเกินไป ทำ�ให้ มีประชากรมดแดงแต่ละต้นไม่มากพอทีส่ ร้างรังขนาดใหญ่ ได้ อีกทั้งยังสิ้นเปลืองต้นไม้ เพราะมดแดงไม่ได้ใช้ต้นไม้ ทุกต้นที่ครอบครองในการสร้างรัง 14 เลี้ยงแมลงกินได้

แหล่งพันธุ์มดแดง ตามสวนมะม่วง สวนผลไม้ต่าง ๆ หรือแหล่งที่มี มดแดงอาศัยอยู่จำ�นวนมากอยู่แล้ว สามารถเริ่มเลี้ยงได้ ทันที โดยการนำ�อาหารและน้�ำ มาเสริมให้ ซึง่ ทำ�ให้มดแดง ไม่ต้องไปหาอาหารไกลและได้รับอาหารเต็มที่ มีความ สมบูรณ์ สามารถขยายอาณาจักรได้อย่างรวดเร็วและให้ ผลผลิตไข่มดแดงจำ�นวนมาก สำ�หรับพื้นที่ที่มีจำ�นวนมดแดงไม่มากหรือแทบไม่มี เลย ให้เริ่มจากตัดแต่งทรงพุ่มของต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงให้แสง ส่องได้ทั่วถึงรอบต้นซึ่งมดแดงชอบ ส่วนมดแดงที่นำ�มา ปล่อยเลีย้ งหาได้จากต้นไม้ทอี่ ยู่ใกล้ ๆ บริเวณนัน้ ตามสวน ป่า หรือตามแหล่งธรรมชาติทั่วไปที่มดแดงอาศัยอยู่ โดย หากเป็นมดแดงรังขนาดเล็ก ใช้กรรไกรตัดกิง่ ตัดรังมดแดง ลงมาใส่ถงุ หรือกระสอบปุย๋ มัดปากให้แน่นไม่ให้มดแดงไต่ ออกมา แต่ถา้ เป็นรังมดแดงขนาดใหญ่ทมี่ กั อยูบ่ นต้นไม้สงู การนำ�ลงมาทัง้ รังทำ�ได้ล�ำ บาก อาจใช้วธิ แี หย่เฉพาะตัวมด ลงมาใส่ถุงหรือกระสอบปุ๋ยมัดปากให้แน่นเช่นเดียวกัน แต่ไม่ว่าจะนำ�มดแดงมาเลี้ยงด้วยวิธี ใด จากรังเล็ก หรือใหญ่ ต้องแน่ใจว่ามีราชินีติดมาด้วย เพราะมีผลต่อ การออกไข่และขยายพันธุ์โดยตรง จากนั้นนำ�มดแดงที่หา ได้มาเปิดปากถุงที่โคนต้นไม้ที่เตรียมไว้ เพื่อให้มดแดงไต่ ขึ้นต้นไม้และเตรียมสร้างรังต่อไป


การสำ�รวจอาณาจักร ก่อนทีน่ �ำ มดแดงมาเลีย้ ง ต้องมีการสำ�รวจอาณาจักร ของมดแดงที่มีอยู่ในพื้นที่ หรือมดแดงที่หามาได้ ว่าอยู่ ในอาณาจักรเดียวกันหรือไม่ เนื่องจากมดแดงที่อยู่ต่าง อาณาจักรกันจะกัดและทำ�ร้ายกัน นำ�มาเลี้ยงรวมกันไม่ ได้ ดังนั้นการเลี้ยงมดแดง ต้องแยกแต่ละอาณาจักรออก จากกันให้ชัดเจน ในธรรมชาติ มดแดง 1 อาณาจักรจะครอบครอง ต้นไม้เพื่อทำ�รังตั้งแต่ 1-30 ต้น การจะดูว่ามดแดงแต่ละ รังอยู่ในอาณาจักรเดียวกันหรือไม่ ทำ�ได้โดยนำ�มดแดงจาก รังอื่น เริ่มจากที่อยู่ต้นเดียวกัน ประมาณ 10-20 ตัว มา ปล่อยในรังใดรังหนึ่ง แล้วดูว่ามดแดงกัดกันหรือไม่ จาก นั้นนำ�มดแดงจากรังที่อยู่ต้นอื่น ๆ มาปล่อยไว้ แล้วดูอีก ว่ากัดกันหรือไม่ ทำ�เช่นนี้จนครบทุกรังทั่วทั้งบริเวณ หาก มดแดงกัดกันแสดงว่าอยู่กันคนละอาณาจักร หากนำ�มา เลีย้ งควรแยกให้อยูห่ า่ งกัน แต่ถา้ มดแดงไม่กดั กันแสดงว่า อยูอ่ าณาจักรเดียวกัน สามารถปล่อยเลีย้ งต้นไม้เดียวกันได้ การสำ�รวจอาณาจักรของมดแดง จะทำ�ให้ทราบว่า ในพื้นที่มีมดแดงกี่อาณาจักร แต่ละอาณาจักรประกอบ ด้วยมดแดงกี่รัง ครอบครองต้นไม้กี่ต้น ใช้พื้นที่มากน้อย แค่ไหนและเป็นอาณาจักรเล็กหรืออาณาจักรใหญ่ ซึ่ง ทำ�ให้ง่ายแก่การจัดการหรือการนำ�มดแดงมาปล่อยเลี้ยง ซึ่งมดแดงที่นำ�มาเลี้ยงแต่ละอาณาจักรควรมีจำ�นวน 5 รัง ขึ้นไป การเลี้ยงและการจัดการ หลังจากนำ�มดแดงมาปล่อยเลีย้ ง มดแดงก็จะสร้างรัง และหาอาหารเช่นเดียวกับที่อยู่ตามธรรมชาติ ทว่าอาหาร

ทีห่ าได้เองบางครัง้ อาจไม่เพียงพอต่อการขยายอาณาจักร ให้มีขนาดใหญ่ หรือให้มีผลผลิตไข่จำ�นวนมากพอ โดย เฉพาะช่วงฤดูฝน มดแดงมักไม่ลงจากต้นไม้เนื่องจากพื้น ดินทีเ่ ปียกแฉะ ส่งผลให้หาอาหารได้ไม่เพียงพอในช่วงนี้ ดัง นั้นจึงต้องจัดหาอาหารไว้ให้มดแดงด้วย ซึ่งถือเป็นเทคนิค ที่สำ�คัญของการเลี้ยงมดแดง ที่ให้อาหารมดแดง ทำ�ได้โดยใช้แผ่นไม้อัดหรือไม้ กระดาน ขนาดประมาณ 16x21 นิ้ว ตอกเป็นแป้น วาง ติดกับต้นไม้สูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตร เพื่อป้องกัน สัตว์อนื่ มากินเศษอาหาร ส่วนอาหารที่ใช้เลีย้ งมดแดง เช่น ปลาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ กุ้งฝอย หอย สัตว์ขนาดเล็กหรือ แมลงชนิดต่าง ๆ ซึง่ มดจะคาบสะสมไว้เป็นอาหารและป้อน ตัวอ่อนภายในรัง ปริมาณอาหารที่ให้ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลถึงจำ�นวน ไข่โดยตรง อาหารจะต้องให้ถูกช่วง ช่วงที่ต้องให้มาก คือ ช่วงก่อนถึงฤดูวางไข่ ตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม ช่วง ฤดูวางไข่ ตัง้ แต่เดือนมกราคม-เมษายน และช่วงหลังเก็บ ไข่มดแดง คือเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ต้องให้อาหาร ในปริมาณที่มากและบ่อยในช่วงนี้ เพราะมดแดงต้องการ อาหารปริมาณมากสำ�หรับสร้างประชากรมดเพื่อรองรับ การสร้างรังขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันก็จะทำ�ให้แม่เป้งมี ความสมบูรณ์และสามารถผลิตไข่ได้มากตามไปด้วย การให้น้ำ�มดแดง ทำ�ได้โดยใช้ขวดพลาสติกตัดครึ่ง ให้ได้ความจุประมาณ 1 ลิตร ตอกไว้กับต้นไม้หรือวาง ไว้บนแป้นอาหาร ใส่กิ่งไม้เพื่อให้มดแดงไต่ลงไปกินน้ำ�ได้ นอกจากนี้ควรให้น้ำ�ตาลหรือน้ำ�หวานเข้มข้น โดยการใส่ ภาชนะเล็ก ๆ วางไว้ข้างกัน โดยเฉพาะหน้าแล้ง เพราะ เป็นแหล่งพลังงานของมดแดงที่ต้องทำ�งานหนักในช่วงนี้ ประชากรมดแดง มดแดงจะสร้างรังขนาดใหญ่เพื่อให้ผลิตไข่จำ�นวน มากได้ ดังนั้นต้องมีจำ�นวนมดงานต่อต้น มากพอ ซึ่ง พิจารณาจากจำ�นวนมดแดงที่เดินตามต้นไม้ ถ้ามีการ เดินน้อยไม่ต่อเนื่อง แสดงว่ายังมีปริมาณไม่มาก จำ�เป็น ที่ต้องเพิ่มประชากรมดแดง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอายุของ อาณาจักรและความพร้อมของราชินีด้วย โดยให้ได้รับ อาหารอย่างเพียงพอ เพื่อให้มีความสมบูรณ์และผลิต เลี้ยงแมลงกินได้ 15


“มดแดง” แฝงรายได้ ไข่ออกมาได้จำ�นวนมาก โดยเฉพาะก่อนจะถึงฤดูวางไข่ เพราะต้องมีมดแดงจำ�นวนมากเพือ่ สร้างรัง สำ�หรับรองรับ ไข่มดแดงที่ผลิตออกมา ซึ่งอาหารมีความสำ�คัญต่อการ เพิ่มจำ�นวนประชากรมดแดงโดยตรง นอกจากนี้ต้องคอย ดูแลอย่าให้ศตั รูธรรมชาติเข้ามารบกวนหรือไล่มดแดงออก จากต้นไม้ไป โดยเฉพาะมดต่าง ๆ ที่อาศัยตามกิ่งไม้แห้ง ต้องกำ�จัดให้หมด ส่วนปัจจัยการผลิตไข่ของมดแดงวรรณะสืบพันธุ์ คือ ความชื้น ถ้าปีไหนฝนหยุดเร็ว อากาศแห้งแล้งมาเร็ว มดแดงก็จะผลิตไข่เร็วขึน้ เช่น ถ้าฝนหยุดตกเดือนกันยายน ประมาณเดือนมกราคมก็จะได้ไข่มดแดง แต่หากฝนหยุด ตกในเดือนพฤศจิกายน ก็จะได้ไข่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่ง รวมเวลาในการเลี้ยงมดแดง เพื่อให้ได้ผลผลิตไข่มดแดง ประมาณ 4-5 เดือน การจัดการอื่น ๆ โดยปกติแล้วมดแดงจะเดินไปรอบ ๆ ที่อยู่ของมัน เพื่อหาอาหารไปป้อนตัวอ่อน รวมถึงการขนย้ายไข่ การ สำ�รวจพืน้ ทีส่ �ำ หรับสร้างรังใหม่ ตลอดจนการไปมาหาสูก นั ซึ่งในช่วงฤดูฝน มดแดงเดินทางได้ยากลำ�บาก เนื่องจาก พื้นดินชื้นแฉะและมีหญ้าขึ้นรกรุงรัง ดังนั้นเพื่อช่วยให้ มดแดงเดินทางได้สะดวกขึ้น ควรทำ�สะพานให้มดแดง เดิน โดยใช้เชือกมัดโยงจากกิ่งหนึ่งไปยังกิ่งหนึ่ง หรือมัด โยงระหว่างต้นและรังมดแดงที่อยู่ ในอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งช่วยให้มดแดงเดินทางได้สะดวกขึ้น ข้อห้าม ในการเลีย้ งมดแดง คือ อย่าจุดไฟไต้ตน้ ไม้ที่ ใช้เลี้ยงมดแดง หรือใช้ขี้เถ้าหว่านบนต้นไม้ ตลอดจนหลีก เลีย่ งการใช้สารเคมีฉดี พ่นบริเวณใกล้เคียงทีม่ ดแดงอาศัย อยู่ การเก็บไข่มดแดง (แหย่ไข่มดแดง) มดแดงเริ่มวางไข่ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม และกลายเป็นตัวหนอนและดักแด้ ที่เรียกรวม ๆ ว่า “ไข่ มดแดง” ประมาณเดือนมกราคม-พฤษภาคมของทุกปี ดัง นัน้ การเก็บไข่มดแดง ก็เริม่ ตัง้ แต่เดือนมกราคม-เมษายน รังที่ควรเก็บไข่เป็นรังขนาดกลางไปจนถึงรังขนาดใหญ่ โดยสังเกตได้ว่า รังที่มี ไข่มดแดงจะห้อยหรือโน้มลงมา และใบที่ใช้ทำ�รังเริ่มแห้ง แต่ถ้าเป็นรังที่ใบแห้งทั้งหมดจะ 16 เลี้ยงแมลงกินได้

ไม่มีไข่ ซึ่งมดแดงจะย้ายไปสร้างรังใหม่ การเก็บไข่มดแดงจะต้องคำ�นึงถึงราชินีต้องไม่ถูก รบกวนหรือถูกเก็บมาด้วย และไม่ควรฆ่ามดแดงเพราะจะ ทำ�ให้อาณาจักรอ่อนแอและล่มสลายลงได้ ไม่ควรทำ�ลาย ให้รังแตกทั้งหมด เพราะมดแดงจะซ่อมแซมรังขึ้นมาใหม่ และสามารถเก็บไข่ได้อีก การเก็บไข่มดแดงส่วนใหญ่ใช้ เวลา 10-15 วันต่อครั้ง ถึงจะกลับมาเก็บไดอีก วิธีการเก็บไข่มดแดง (แหย่ไข่มดแดง) ทำ�ได้โดยใช้ ตะกร้าผักมัดติดกับปลายไม้ไผ่ แหย่เข้าไปในรังแล้วเขย่า มดแดงและไข่จะร่วงเข้ามาในตะกร้า จากนัน้ นำ�ตะกร้ามา เทใส่กระด้ง โรยด้วยแป้งมันสำ�ปะหลัง เกลี่ยให้กระจาย ทั่วกัน มดแดงก็จะทิ้งไข่ไต่ออกมา ทำ�ให้เหลือเฉพาะไข่ มดแดง ควรนำ�กระด้งวางชิดกับโคนต้นไม้ที่แหย่ลงมา มดแดงจะกลับขึน้ ไปอาศัยอยูบ่ นต้นไม้และเตรียมสร้างรัง ใหม่ต่อไป ไม่ควรนำ�แม่เป้งมาบริโภค ควรปล่อยกลับเพื่อ ให้ขยายพันธุ์ต่อไป การดูแลหลังเก็บไข่มดแดง หลังจากเก็บไข่มดแดงแล้ว สภาพอาณาจักรของ มดแดงจะอ่อนแอลง เนื่องจากมดบางส่วนอาจถูกทำ�ลาย ทำ�ให้ง่ายแก่การเข้าโจมตีของมดชนิดอื่น หรือมดแดง อาณาจักรอื่นที่แข็งแรงกว่า และหลังการเก็บไข่มดแดง ก็ เป็นช่วงฤดูแล้งพอดี ซึ่งต้นไม้ที่มดอาศัยอยู่มักไม่สมบูรณ์ ใบแห้ง ทำ�ให้มดสร้างรังใหม่ได้ลำ�บาก ดังนั้นควรมีการ รดน้ำ� ตัดแต่งกิ่งเพื่อให้แตกใบใหม่ รวมถึงตัดกิ่งที่แห้งซึ่ง อาจเป็นทีอ่ าศัยของมดชนิดอืน่ ออก พร้อมทัง้ ให้มดแดงได้ รับอาหารและน้ำ�อย่างเพียงพอด้วย


“คอนโดไข่มดแดง” อสังหาแมลงสร้างเงิน

“ไข่มดแดง” นับเป็นของกินประเภทแมลงที่มีราคา แพงทีส่ ดุ ช่วงต้นฤดูทมี่ ีไข่มดแดงออกสูต่ ลาดใหม่ ๆ ราคา จำ�หน่ายสูงถึงกิโลกรัมละ 500-600 บาท ทั้งนี้เป็นเพราะ ความนิยมบริโภคไข่มดแดงไม่ได้จ�ำ กัดเฉพาะในเมนูอาหาร อีสานเหมือนในอดีต หลากหลายเมนูของอาหารไทยภาค กลางก็เริ่มมี ไข่มดแดงเป็นวัตถุดิบด้วยเช่นกัน ซึ่งความ ต้องการที่มากขึ้น ขณะที่ปริมาณไข่มดแดงที่หาได้ใน ธรรมชาติกลับน้อยลง การเลี้ยงมดแดงเพื่อเก็บไข่จึงเป็น ที่สนใจของคนทั่วไปในปัจจุบัน และการเลี้ยงในรูปแบบ “คอนโดไข่มดแดง” ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งของการเลี้ยง มดแดงที่ง่ายและได้ผลดี

คุ ณ สุ ท ธิ นั น ท์ ปรั ช ญพฤทธิ์ เจ้ า ของแนวคิ ด “คอนโดไข่มดแดง” ให้ข้อมูลว่าการเลี้ยงมดแดงในรูป แบบดังกล่าว เกิดจากการสังเกตและได้เห็นถึงความ เปลี่ยนแปลงของมดแดงในปัจจุบัน ที่มักดิ้นรนแสวงหาที่ อยู่อาศัยให้ง่าย และปลอดภัยมากขึ้น เท่าที่สังเกตพบว่า มดแดงในบางพื้นที่ไม่ทำ�รังเอง หากแต่จะใช้วัสดุต่าง ๆ เป็นรังอาศัย เช่น เข้าไปอยู่ในขวดพลาสติก เข้าไปอยู่ใน ท่อพีวีซี พร้อมทั้งพากันออกไข่ขยายพันธุ์อีกด้วย “ในปัจจุบันหากสังเกตดี ๆ จะเห็นถึงพฤติกรรมของ มดแดงที่แปลกไปหลายอย่าง เช่น บางพื้นที่มดแดงไม่ทำ� รังอยู่บนยอดไม้สูง แต่จะพากันมาทำ�รังอยู่ในที่ เลี้ยงแมลงกินได้ 17


“คอนโดไข่มดแดง” อสังหาแมลงสร้างเงิน ขวดน้ำ�อัดลมพลาสติกขนาด 1 ลิตรขึ้นไป มาตัดตามแนว ขวางให้ถัดจากส่วนบนของปากขวดลงมาประมาณ 1/4 ของขวด จากนั้นก็นำ�ส่วนที่ตัดแล้วหงายใส่กลับเข้าไป มัดยึดกันไว้ให้แน่น ก็จะได้ลักษณะเหมือนกรวยทิ่มลงไป ในขวด แล้วนำ�ขวดที่ ได้ไปผูกติดหรือแขวนกับต้นไม้ที่มี มดแดงอาศัยอยู่ โดยให้ก้นขวดอยู่ด้านบน “สำ�หรับการล่อให้มดแดงเข้ามาอาศัยและออกไข่ อยู่ในคอนโด ทำ�ได้โดยใช้เยื่อจำ�พวกแมลงตากแห้ง ซึ่ง เป็นอาหารที่มดแดงชอบ ไม่ว่าจะเป็นจิ้งหรีด แมงเม่า แมงจินูน หรือแมลงชนิดอื่น ๆ ที่หาได้ใส่เข้าไปในคอนโด ที่ทำ�ขึ้น หากเป็นแมลงขนาดใหญ่อาจใส่ไว้ประมาณ 5-6 ตัว แต่ถา้ เป็นแมลงขนาดเล็กจะต้องใส่ไว้จ�ำ นวนมากหน่อย ประมาณ 15-20 ตัว จากนัน้ มดแดงก็เข้ามากินอาหารและ มาอาศัยอยู่” เท่าที่สังเกตคอนโดไข่มดแดงที่นำ�ไปติดไว้กับต้นไม้ ใกล้แหล่งที่มดแดงสร้างรัง พบว่ามดแดงจะขนไข่และตัว อ่อนลงมาจากรังบนต้นไม้เข้ามาวางไว้ในคอนโดแล้วใช้ เป็นทีฟ่ กั และดูแลไข่ พอมดงานคาบไข่มาวางไว้แล้วก็จะมี

ต่�ำ เรีย่ ดิน รวมถึงมองหาแหล่งอาศัยทีป่ ลอดภัยอืน่ ๆ มาก ขึ้น สถานการณ์เช่นนี้เป็นไปได้ว่ามดแดงกำ�ลังบอกอะไร เกี่ยวกับธรรมชาติ อาจจะมีพายุหรือภัยพิบัติที่รุนแรง ซึ่ง ก็เป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป” คุณสุทธินนั ท์ บอกว่าวิธกี ารทำ�คอนโดไข่มดแดงหรือ รังเทียม สามารถทำ�ได้หลายวิธีแต่ที่ง่ายที่สุดคือการนำ� 18 เลี้ยงแมลงกินได้


มดงานอยูก่ ลุม่ หนึง่ คอยคาบไข่พลิกกลับไปกลับมาเหมือน แม่ไก่ฟักไข่ที่ต้องพลิกไข่ไม่ได้เอามาวางไว้เฉย ๆ และพบ ว่าจำ�นวนไข่ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน แต่การทำ�คอนโดให้มดแดงอยูน่ ี้ ไม่ได้หมายความว่า มดแดงจากต้นไม้ทุกต้นจะคาบไข่เข้ามาอยู่ในคอนโดทุก อัน เท่าที่สังเกตพบว่าหากต้นไม้ต้นไหนมีรังเล็กมดแดง จะเข้ามาคาบเหยือ่ จากรังเทียมกลับไปทีร่ งั ตนเองบนต้นไม้ จะไม่คาบไข่เข้ามาในคอนโด แต่เราจะเห็นขนาดของรัง ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ มดที่คาบไข่ลงมาอยู่ในคอนโด ส่วนใหญ่ จะเป็นมดแดงทีม่ รี งั ขนาดใหญ่ ๆ มีประชากรเยอะ ๆ และ ระยะเวลาการคาบไข่มาวางไว้ในคอนโดก็จะแตกต่างกัน บางต้นใช้เวลาเพียง 2 วัน มดก็พากันเอาไข่เข้ามาวางไว้ ในรังเทียมแล้ว แต่บางต้นอาจจะใช้เวลา 10-15 วัน ไป จนถึง 1 เดือน และเมือ่ มดแดงเข้ามาอยูแ่ ล้วจะไม่ตอ้ งการ เหยือ่ เพิม่ ดังนัน้ จึงไม่จ�ำ เป็นต้องใส่เหยือ่ เข้าไปในคอนโดที่ มีมดแดงเข้ามาอาศัยอยูแ่ ล้ว แต่จะต้องคอยเติมอาหารใน คอนโดที่มดยังไม่เข้ามาอยู่เพื่อเลี้ยงเขาให้เจริญเติบโต “อีกอย่างที่ต้องพึงระวังหลังจากที่มดแดงเข้ามาอยู่ ในคอนโดแล้วคือ ต้องคอยดูแลอย่าให้ใครมาทำ�ลายรังมด

บนต้นไม้เด็ดขาด มิฉะนัน้ มดแดงจะขนไข่จากคอนโดกลับ ไปจนหมด แต่ส่วนตัวแล้วก็ยังไม่เคยทดลองว่า ถ้าเราเอา ไข่ออกมาจนหมดคอนโดแล้ว มดแดงยังจะอยู่ในคอนโด อีกหรือเปล่า หรือถ้าไข่ฟักเป็นตัวหมดแล้ว และหมดฤดู วางไข่ไปแล้ว มดแดงจะยังอยู่ในคอนโดต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้จะต้องศึกษากันต่อไป” การทำ�คอนโดไข่มดแดงให้ประสบความสำ�เร็จนัน้ ต้อง ทำ�ควบคู่กับการเลี้ยงมดแดง ซึ่งจะต้องให้อาหารจำ�พวก แมลงอบแห้งและน้ำ�ผสมน้ำ�หวาน โดยข้อดีของการทำ� คอนโดมดแดง คือ การลดการทำ�ลายรังและประชากรของ มดแดง อีกทัง้ หากเลีย้ งในเชิงพาณิชย์จะช่วยให้ผเู้ ลีย้ งเก็บ ไข่มดแดงได้ และทำ�ให้ทราบถึงปริมาณไข่มดแดงทีจ่ ะขาย ได้อย่างแน่นอน “อย่างไรก็ตามงานดังกล่าวยังอยู่ในช่วงของการวิจัย และเก็บข้อมูล อีกทั้งยังอยู่ในกระบวนการทดลองว่าทำ� อย่างไรมดแดงจึงจะคาบไข่เข้ามาอยู่ในคอนโดมากที่สุด ซึง่ ผูท้ สี่ นใจอยากเรียนรูเ้ รือ่ งดังกล่าวสามารถรวมกลุม่ กัน ประมาณ 15-20 คน แล้วติดต่อขอเข้าไปศึกษา โดยทาง สวนป่ามหาชีวาลัยมีโปรแกรมให้เข้ามาศึกษาเรือ่ งดังกล่าว เป็นเวลา 2 วัน 1 คืน” เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สวนป่ามหาชีวาลัยอีสาน เลขที่ 33 บ้านปากช่อง ตำ�บลสนามชัย อำ�เภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ หรือพูดคุยกับ “คุณสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์” ได้ที่ โทร. 08-1760-1337 เลี้ยงแมลงกินได้ 19



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.