"CHAI-LAI" Sparkle Of Thai Art ไฉไล ประกายแห่งศิลปะไทย

Page 1


CHAI LAI : SPARKLE OF THAI ART FACULTY OF FINE ARTS CHIANG MAI UNIVERSITY


CHAI LAI PROJECT IN THAI ART 2020

01 02 03

SPARKLE MEMBER MESSEGE FROM TEACHER DESIGN WORK


01

SPARKLE - MEMBER


MEMBER

SPAKLE OF THAI ART


02

MESSEGE FROM TEACHER


สร้างสรรค์ผลงานจากองค์ความรู้งานวิจัย กระบวนวิชา Project in Thai Art มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียน ได้ท�ำการสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะโครงการ โดยอาศัยองค์ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยศิลปะในประเทศไทยและเกี่ยว เนื่อง ได้แก่ ด้านสถาปัตยกรรม ลวดลายศิลปกรรม งาน หัตถกรรม ศิลปะพื้นบ้าน เครื่องแต่งกาย สิ่งถักทอ ฯลฯ ทั้ง ศิลปะในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อันสะท้อนถึงภูมิปัญญาและ วัฒนธรรม ในปีนี้สาขาวิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ก้าวย่าง เข้าสู่ปีที่ 36 ในระยะเริ่มที่ก่อตั้งสาขาวิชามุ่งเน้นการศึกษา ค้นคว้าองค์ความรู้ศิลปะไทย ล้านนา และลุ่มน�้ำโขง ผลงาน สร้างสรรค์โครงการศิลปะไทยจึงกลิ่นอายของความเป็นไทย ล้านนา และพื้นที่ใกล้เคียงลุ่มน�้ำโขง

ในระยะต่อมาศิลปะล้านนามีองค์ความรู้ทชี่ ัดเจนมากขึ้น สังคมภายนอกได้ตั้งฉายาให้กับศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ว่า เป็นส�ำนัก “Lanna Renaissance” ซึ่งมีการฟื้นฟูองค์ความรู้ ล้านนามาสร้างสรรค์สู่สังคมหลากหลายมิติ พื้นที่ล้านนาจาก การศึกษาในเชิงศิลปะมันได้ถูกหลอมกลายไปเป็น “ศาสตร์” เป็นศาสตร์ทเี่ กีย่ วข้องกับสังคมมนุษย์ในมิตติ า่ งๆ ซึง่ ในทศวรรษ นี้สังคมได้เรียกร้องให้น�ำเอาศาสตร์เหล่านี้ไปช่วยพัฒนาชุมชน ให้หายทุกข์ยากและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โจทย์ของกระบวน วิชาโครงการในศิลปะไทยจึงไปสู่ศิลปะในชุมชน การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาในเชิงพื้นที่ เครื่อง แต่งกายและของใช้ในชีวิตประจ�ำวันที่ร่วมสมัย


ความแตกต่างของผลงานการสร้างสรรค์ในวิชานี้ คือ 1) มีที่มาของแนวคิดการสร้างสรรค์จากองค์ความรู้การวิจัย 2) เป็นผลงานสะท้อนถึงศิลปะไทยในแขนงต่างๆ และเป็น ทางเลือกให้กับสังคมที่จะน�ำไปใช้กับการแก้ปัญหาของชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งคาดหวังไว้ว่าจะให้บัณฑิต ศิลปะไทยสามารถน�ำแนวทางการเรียนรู้และการท�ำงานไป ประกอบอาชีพร่วมกับองค์กรอื่นๆ หรือแม้จะประกอบอาชีพ ส่วนตัวก็ตาม ผลงานในปีการศึกษา พ.ศ. 2562 นักศึกษาได้สร้างสรรค์ ผลงานไปในเชิงพัฒนาผลิตภัณฑ์อันมีที่มาจากสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างทางเลือกใหม่ด้าน รูปแบบร่วมสมัย ทัง้ ทีเ่ ป็นผลิตภัณฑ์เกีย่ วข้องกับงานพุทธศิลป์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ - บรรจุ ภั ณ ฑ์ และโครงการพั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วชุ ม ชน ผลงงานการออกแบบสร้างสรรค์เหล่านี้คณาจารย์ผู้สอนต่าง มุ่งเน้นกระบวนการคิด การทดลอง และการแก้ปัญหา เพื่อให้ นักศึกษาได้เกิดทักษะในการท�ำงานและประกอบอาชีพด้วย ตนเอง “กระบวนการจึงส�ำคัญพอๆ กับผลงาน”

ทักษะการสร้างสรรค์นั้นนอกเหนือจากการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แล้ว การท�ำงานอย่างมีกระบวนการจ�ำต้องมีความอดทน ทั้ง เรียนรู้ ทดลอง และแก้ปัญหา ซ�้ำแล้วซ�้ำอีก ถามว่าท�ำไม่อาจารย์ ถึงเข้มงวดจนท�ำให้หลายคนเกิดความท้อแท้ ค�ำตอบคือ หลัง จากเรียนวิชานี้แล้วคุณจะออกไปท�ำงานจริงๆ ร่วมกับคนอื่น สถาบันอื่น เขาไม่มีข้อยกเว้นในความผิดพลาดเสียหายในตัวคุณ ในวันนั้นคุณคือ ผู้ท�ำงานไม่ใช่นักศึกษาอีกต่อไป ไม่มีค�ำว่าอภัย ในความเสียหาย มีแต่ต้องรับผิดชอบในผลงาน การเรียนการ สอนวิชานีจ้ งึ ต้องจริงจังไปหมดเสียทุกเรือ่ ง “เพราะคงไม่มหี อ้ งเรียน ศิลปะห้องใดทีเ่ ขา ไม่เข้มงวดกับการฝึกทักษะให้กบั นักเรียน คุณ จงภูมใิ จว่าเป็นผลงานของคุณทีไ่ ด้ทมุ่ เทสร้างสรรค์มันมากับมือ” อาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านต่างเห็นศักยภาพในตัวคุณ จง ปลุกพลังแห่งการสร้างสรรค์นนั้ ขึน้ มาใช้สร้างตัวคุณ สร้างประโยชน์ ต่อสังคมให้ได้มากที่สุด รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ ดร.สราวธ รูปิน อาจารย์ผู้รับผิดชอบกระบวนวิชา


8 หลักการพื้นฐานในการเรียนรู้ “ส�ำรวจตรวจสอบ ขยายพรมแดนความรู้ จริงใจ แก้ไขดัดแปลงตน บ่มความรู้ ประพฤติตามกฎบ้านเมือง ประเทศต้องได้รับการดูแล น�ำความสงบสุขมาสู่โลก” “ขุนเขาต้องพังทลาย ชื่อคานแข็งแรงปานใด เหมือนเช่นบัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย”

สุดท้ายต้องพังลงมา

ขงจื้อ (551 – 479 ก่อน ค.ศ.) ขอแสดงความยินดี ชื่นชมในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา สาขาศิลปะไทย ชั้นปีที่ 4 เป็นที่คาดหวังว่าเมื่อนักศึกษาส�ำเร็จการศึกษา ไปแล้วจะสามารถน�ำความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไปต่อยอด ได้อย่าง มีวธิ คี ดิ และกระบวนการ ทัง้ นีเ้ พือ่ ประโยชน์ในการด�ำรงอยูอ่ ย่างมีอตั ลักษณ์ และความงดงามของศิลปะล้านนา-ไทย รองศาสตราจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ประจ�ำสาขาศิลปะไทย


SPAKLE การท�ำงานต้องพบอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นทั้งในตอนเรียนและชีวิตจริง Project In Thai Art ถือเป็นกระบวนวิชาสุดท้ายอีกที่จะต้องแก้ปัญหา โดยใช้สมอง การปฏิบัติ ให้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี มีข้อบกพร่องน้อยที่สุด เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่บทบาทของคน ที่ต้องท�ำงานเพื่อจรรโลง และตอบสนองต่อสังคมภายนอกรั้วมหาวิทยาลัย ในฐานะ รุ่นพี่ศิษย์เก่าที่เคยผ่านจุดนี้มา มาแนะน�ำช่วยเหลือ ในจุดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สร้าง ประสบการณ์และถ่ายทอดให้รุ่นน้องรุ่นนี้ให้มากที่สุด ภูมิใจที่น้องในสาขาศิลปะไทย ของเรายังเหนียวแน่นทั้งองค์ความรู้ และการพัฒนา ไม่ย่อท้อต่อปัญหา พร้อมที่จะ ต่อยอดต่อไปในอนาคต ขอแสดงความยินดีกับทุกคน และจะเป็นก�ำลังใจให้น้อง ๆ ต่อไป

พรบัญชา ใหม่กันทะ ศิษย์เก่ารุ่นที่ 23 สาขาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

SPAKLE


100 % Project In Thai Art


03

DESIGN WORKS


CHAI LAI Interior Decoration Design Accessories Design Fashion Design Ceramic Design Architecture Model Design Package Design

Project in Thai Art


Interior Decoration Design


SUB PUN YU : Collection Of Buddha Shelf Taleaw-Taleaw


ชื่อ : นายอณุพงศ์ สูนย์พรหม รหัส 590310139 ชื่อผลงาน : SUB PUN YU (สัพพัญญู) Collection of buddha shelf ชื่อแบรนด์ : A NU (อนุ) Email : anupongsoonprom@gmail.com

Tel : 083-1527588 แรงบันดาลใจ : จากการศึกษาเรื่อง “รูปแบบทางศิลปกรรมและคติ ความเชื่อของพระพุทธรูป ในเขตอ�ำเภอสันก�ำแพง จังหวัดเชียงใหม่” ท�ำให้ทราบถึงช่วงเวลาของการสร้างพระพุทธรูปได้เป็น 4 ช่วงเวลา จึงเกิดความสนใจ Period ของกลุ่มพระพุทธรูปในช่วงระยะเวลาที่ 3 - 4 คือ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 และช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 งาน ศิลปกรรมพระพุทธรูปค่อนข้างชัดเจน มีพุทธลักษณะที่งดงามและ น่าสนใจอย่างมาก “ลวดลายดอกไม้บนประแจจีน” คือ ลวดลายที่ ปรากฏบนสังฆาฎิของพระพุทธรูป ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ลวดลายอย่าง หนึ่งที่ปรากฎเฉพาะในหมู่ลวดลายประดับของชาวไทเขินในช่วงเวลา นี้ จึงกลายเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานเป็น ชุดหิ้งบูชาพระพุทธรูปในรูปแบบร่วมสมัย

แนวคิด : แนวคิดคติการบูชาพระพุทธรูปของชาวล้านนา สัมพันธ์ กับรูปแบบเครื่องบูชาในพิธีกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูป คือ “เฮือสะเปาค�ำ” หรือ เรือส�ำเภา พบว่าในงานศิลปกรรม ล้านนามีการสร้างสร้างพระพุทธรูปในลักษณะทีเ่ รียกว่า “พระเจ้า นั่งส�ำเภา” หรือ พระพุทธรูปฐานเรือส�ำเภา ซึ่งนิยมสร้างขึ้นใน ช่วงสมัยหนึ่ง มีหลากหลายพุทธลักษณะ น�ำผนวกกับแนวคิด เครื่องบูชาในพิธีกรรมสะเปาค�ำรวมกับคติการบูชาพระพุทธรูป ไว้ประจ�ำบ้าน จึงเกิดเป็นผลงานการออกแบบหิ้งบูชาพระพุทธ รูปภายในบ้าน



ชื่อ: นางสาวอทิตยา โมกขะสมิต รหัส 580310130 ชื่อผลงาน: Taleaw-Taleaw (ตาเหล๊ว ตาเหลว) ชื่อแบรนด์: ATIT (อทิต) Email : pink.atitaya@gmail.com Tel. : 0818886544

แรงบันดาลใจ : จากการศึกษาเครื่องจักสานไม้ไผ่ในเขต ต�ำบล ป่าบง อ�ำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่นั้น ดิฉันได้ค้นพบทั้งรูปทรง และลวดลายเครือ่ งจักสานทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ในต�ำบลป่าบง คือ เปีย้ ด ข้อง สุ่มไก่ ชั้นวางของ ปิ่นโต ตะกร้า ซึ่งมีลวดลาย ลายสองมีดี สามมีดี ลายหัวสุ่มไก่และลายตาเหลว เป็นต้น อันเป็นเอกลักษณ์ ของการสานลาย จึงกลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการต่อยอดการ ออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นโคมไฟ

แนวคิด: จากแรงบันดาลใจที่ได้นั้น น�ำมาต่อยอดทางความคิด และการออกแบบทั้งหมด 5 แบบด้วยกัน ดิฉันจึงท�ำการเลือก รูปทรงและลวดลายมาท�ำการออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ “โคมไฟ” ทีเ่ ล่นเรือ่ งของแสงและเงาลอดผ่านเครือ่ งจักสานออกมาและการ ออกแบบนีไ้ ด้ตดั ทอนรูปทรงและน�ำมาผสมผสานให้มคี วามเรียบ ง่ายหรือที่เรียกกันว่าแนว “Minimal” ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่ ยังคงกลิ่นอายของความเป็น local อยู่ดังเดิมเพื่อเป็นการผสม ผสานความเป็นล้านนาแบบประยุกต์



Accessories Design


The Glory Wooden Glasses Jewelry Of Luck The Cloud Collection


ชื่อ: นางสาวพัชร์จิรา ตุลาพันธุ์ รหัส 590310123 ชื่อผลงาน: The Glory Wooden Glasses ชื่อแบรนด์: GLORY Email : Grace.memory43@gmail.com Tel.: 085-7163005

แรงบันดาลใจ : ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการศึกษาใน หัวข้อ “รูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่น บ้านต้นธง ต�ำบลแม่ปุ อ�ำเภอแม่พริก จังหวัดล�ำปาง” โดยมีจ�ำนวนทั้งหมด 10 หลัง เป็น เรือนปั้นหยาไม้ชั้นเดียวและสองชั้น ซึ่งความโดดเด่นของเรือนแต่ละ หลังอยู่ที่การประดับตกแต่งที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จีน และคน ต่างถิ่นในยุคสมัยอาณานิคม ได้แก่ ลวดลายฉลุ ห้องทรงหกเหลี่ยม บันไดเวียน ฯลฯ จึงได้น�ำการประดับตกแต่งต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ และประยุกต์เป็นงานชิ้นนี้

แนวคิด : แว่นตากรอบไม้แฟชั่นฤดูร้อน ที่มีการผสมผสาน ระหว่างไทยและตะวันตก เป็นการสะท้อนอิทธิพลของต่าง ชาติในยุคสมัยอาณานิคมที่มีผลต่อ รูปแบบงานไม้ต่างๆใน “บ้านต้นธง” ซึ่ง Glory Glasses น�ำศิลปะเหล่านี้มาประยุกต์ ให้มีรูปแบบที่เรียบง่ายไปจนถึงแปลกใหม่ และมีความเข้ากับ ยุคสมัยปัจจุบันมากยิ่งขึ้น



ชื่อ นางสาว มัลลิกา อยู่สกลภักดิ์ รหัส 590310129 ชื่อผลงาน Jewelry Of Luck (เครื่องประดับมงคลน�ำโชค) ชื่อแบรนด์ YULAN (ยวี่หลาน) Email : mallikayoja@gmail.com Tel : 093-2856057

แรงบันดาลใจ : ได้จากการศึกษาลวดลายศิลปะจีนประดับ ศาลเจ้าในเขตเมืองเชียงใหม่ อันได้แก่ ศาลเจ้าปุงเถ่ากง ศาล เจ้ากวนอู และศาลเจ้าแม่ทับทิม โดยลวดลายที่ปรากฏในศาล เจ้าทั้ง 3 แห่ง ล้วนแต่เป็นลวดลายเชิงมงคลที่มีความหมายดี เพื่อเสริมความเป็นมงคลแก่ชีวิต ขับไล่สิ่งชั่วร้าย หรืออวยพร ให้กับผู้ที่เข้าไปกราบไหว้ในศาลเจ้า ส่วนอีกแรงบันดาลใจได้ จากความเชือ่ เกีย่ วกับเรือ่ งโชคลาง การพกสิง่ ของน�ำโชคติดตัว

แนวคิด : เป็นการน�ำลวดลายมงคลตามแนวคิดคติจีนที่นิยม ประดับภายในศาลเจ้าจีน โดยเล่นกับ“ความหมายของลวดลาย ศิลปะจีน” ประกอบกับความเชื่อเรื่อง “โชค”มาใช้ในการ สร้างสรรค์ผลงานคอลเลคชั่น ในชื่อว่า “Jewelry Of Luck” เพือ่ เสริมความเป็นสิรมิ งคลหรือเป็นเสมือนเครือ่ งรางน�ำโชค ให้แก่ผู้ใช้ มีทั้งหมด 4 ชุด คือ ด้านโชคลาภ ด้านความรัก ด้านหน้าที่การงาน และด้านสุขภาพ



ชื่อ นางสาวพัชราภา วิริยะตานนท์ รหัส590310125 ชื่อผลงาน : เมฆา (The Cloud Collection) ชื่อแบรนด์: PATCH PIAN (พัชเพียร) Email : Mindpatcharapa@gmail.com Tel : 0871770964

แรงบันดาลใจ : จากการศึกษาวิจัยหัวข้อ “สถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมวิหารวัดประตูป่อง จังหวัดล�ำปาง“ ได้มองเห็นว่า ลวดลายโก่งคิ้วของวิหาร อันเป็นงานประดับตกแต่งที่มีความ งดงามแห่งหนึ่งในจังหวัดล�ำปาง ซึ่งคนล้านนาเรียกว่า “ลายไส้ หมู” มีลักษณะที่คล้ายกับลายเมฆไหลในงานศิลปกรรมจีน อัน สะท้อนถึงอิทธิพลทางด้านสังคม วัฒนธรรม และงานศิลปะที่ หลั่งไหลเข้ามาใน ล้านนาช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 จึงเกิด เป็นแรงบันดาลใจอยากดึงเสน่ห์ตรงนี้มาท�ำเป็นเครื่องประดับ เงิน

แนวคิด : ออกแบบเครื่องประดับภายใต้แนวคิด “สุนทรียะแห่ง วิหารวัดประตูป่อง” ซึ่งหมายถึง ความงดงามของงานศิลปกรรม ประดับวิหารวัดประตูป่อง ที่สะท้อนออกมาในงานสร้างสรรค์ เครื่องประดับชุดนี้ เป็นการน�ำลายไส้หมูหรือลายเมฆของโก่งคิ้ว วิหารวัดประตูป่องมาลดทอนและพัฒนารูปทรงและผสมผสาน เชื่อมโยงกับลักษณะหมู่เมฆบนท้องฟ้าในธรรมชาติ 3 แบบ คือ ชุดมวลเมฆ ชุดเมฆฝน และชุดเมฆริ้ว เกิดเป็นงานสร้างสรรค์ ร่วมสมัยที่ยังคงมีกลิ่นอายความเป็นล้านนา



Fashion Design


Elemental of Mien / Graduate Collection 2020 The Change of Colonial In Arlampang.


ชื่อ : นายนันทวัฒน์ ศรีค�ำ รหัส 590310115 ชื่อผลงาน : Elemental of Mien / Graduate Collection 2020 ชื่อแบรนด์: NIPON (นิพนธ์) Email : Nuntawatsrikam25@gmail.com Tel : 0989103193

แรงบันดาลใจ : ศิลปะการรังสรรค์ลวดลายผ้าปักของชาวเมี่ยน ถือเป็นที่ยอมรับในความงดงามและคุณค่าที่สืบต่อกันมาตั้งแต่ อดีต นอกจากนี้ผ้าปักชาวเมี่ยนยังมีเอกษณ์ที่ปรากฏบนผืนผ้า ทุกผืน ทุกลวดลายยังแฝงด้วยต�ำนาน ความเชื่อ ค�ำสอนต่างๆ การปักผ้ายังแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษและการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาล�้ำค่าของชนเผ่า ผ้าบางผืนอาจพบลวดลายมากกว่า 10 ลวดลายในผืนเดียว การปักผ้าใช้เวลาในการรังสรรค์เนินนาน เป็นปีกว่าจะแล้วเสร็จเนือ่ งด้วยผูป้ กั ต้องใช้สมาธิและความประณีต เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงท�ำให้ผ้าปักของชาวเมี่ยนเป็นผ้าทรง คุณควรแก่การอนุรักษ์และสานต่อภูมิปัญญาเป็นอย่างมาก

แนวคิด : ปัจจุบันในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทท�ำให้ผู้คน นิยมแต่งตัวตามสมัยนิยมมากขึ้น เพื่อให้แบรนด์เป็นที่ต้องการ ของตลาดจึงหยิกยกลวดลายอันทรงคุณค่าของชาวเมีย่ นมาพัฒนา ต่อด้วยวัสดุที่มีความงดงามออกมาอย่างจิตบรรจง น�ำมาจัดวาง บนชุดราตรีที่มีทรวดทรงที่คลาสสิค ส่งเสริมให้ผู้ใส่มี บุคลิคและ สรีระที่สง่างาม ไม่ว่าสุภาพสตรีท่านไหนได้สวมใส่ชุดแล้วก็จะ เกิดความมันใจในรูปร่างของตัวเอง และด้วยลวดลายปักทีส่ วยงาม บนตัวชุดก็จะส่งให้ผู้สวมใส่มีความหรูหรางดงามดุจเจ้าหญิงใน เทพนิยาย



ชื่อ : นางสาว ญาสุมินทร์ มุระดา รหัส 590310102 ชื่อผลงาน : The Change of Colonial In Arlampang. ชื่อแบรนด์: YAMIN (ญามิน) Email : ampere.yasumin@gmail.com Tel : 0903200471

แรงบันดาลใจ : ผลงานได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาลงพื้นที่ เก็บข้อมูลวิจัยเรื่อง “สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอาคารโคโลเนีย ลในเมืองล�ำปาง” พบอาคารทีไ่ ด้รบั อิทธิพลมาจากช่วงล่าอาณานิคม และยังคงสภาพเดิม และยังคงสวยงาม ชวนหลงใหล เพราะมี เอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่นทั้งทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม อาคารถูกสร้างโดยใช้รูปแบบตะวันตกผสมผสานกับเทคนิคและรูป แบบของล้านนา จึงน�ำมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ Collection The Change of Colonial In Arlampang.

แนวคิด : คอลเลคชั่นรับ Spning/Summer 2020 จากแบรนด์ Yamin (ญามิน)ออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ The Change of Colonial In Arlampang. เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตะวันตก ที่ ผ สมผสานกั บ วั ฒ นธรรมล้ า นนาพื้ น ถิ่ น ที่ ส ะท้ อ นรู ป แบบ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอาคารโคโลเนียล อีกทั้งยังสะท้อน ตัวตนของผู้สวมใส่ให้ลอ้ รับกับความอบอุน่ ของแสงแดดที่ส่องผ่าน ลวดลายฉลุที่ประดับอาคารโคโลเนียล ซึ่งถ่ายทอดมุมมองจาก การออกแบบจากเครื่องแต่งกายที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองล�ำปาง ช่วงยุคอาณานิคมและจุดเด่นทางสถาปัตยกรรมของอาคารโคโล เนียลหล่อหลอมเข้ากับกลิ่นอายของแฟชั่นยุคปัจจุบัน



Ceramic Design


Ring Ma Bell Have A Nice Time Candlestick Of Intellect


ชื่อ : โอภาสิริ จันทร์สุข รหัส 590310140 ชื่อผลงาน : Ring ma bell เสียงอนุรักษ์ศิลป์ ชื่อแบรนด์: Cara Cera (เซรา เซรา) Email : Kavin_lovely@hotmail.com Tel : 090-4755833

แรงบันดาลใจ : จากการศึกษาลวดลายไม้แกะสลักประดับหลังคา วิหารไทลื้อ ในเขตอ�ำเภอตอนเหนือ จังหวัดน่าน ลวดลายไม้แกะ สลักที่ปรากฎเป็นลวดลายที่สวยงามและมีเอกลักษณ์ในแบบฉบับ ของช่างไทลื้อ ทั้งลวดลายสัตว์และลวดลายพรรณพฤกษา ได้มีการ คิดค้นวิธีการที่จะเผยแพร่และอนุรักษ์ความงามของไม้แกะสลัก ประดับหลังคาวิหารไทลื้อ โดยพัฒนาเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มาใน รูปแบบกระดิ่งประกอบลวดลายสัตว์และพรรณพฤกษา เพื่อให้ตรง กับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ให้ตระหนักถึงคุณค่า และพึ่ง ระลึกถึงเอกลักษณ์ความงามของศิลปกรรมไทลือ้ เพือ่ เป็นอีกแนวทาง ทีช่ ว่ ยอนุรกั ษ์และยกระดับการเผยแพร่ศลิ ปกรรมไทลือ้ ให้เป็นทีร่ จู้ กั ต่อไปในอนาคต

แนวคิด : การน�ำลวดลายไม้แกะสลักประดับหลังคาวิหารไทลื้อ มาออกแบบสร้างสรรค์ผลงานของแบรนด์ Ring ma bell จาก การคิดค้น ผลงานได้ออกมาในรูปแบบเซรามิค (Ceramic) ประกอบเข้ากับลวดลายต่างๆของไม้แกะสลักประดับหลังคา วิหารไทลื้อ โดยการท�ำออกมาในรูปแบบกระดิ่ง ซึ่งมีการใช้เสียง กระดิ่งเป็นสื่อกลางในการอนุรักษ์ศิลป์ที่แสดงออกมาในตัวผล งาน



ชื่อ : นางสาวมัลลิกา ขุนแก้ว รหัส 590310128 ชื่อผลงาน : Have a Nice Time ชื่อแบรนด์: Goodnight Email : niceza7585@gmail.com Tel : 093-2097585

แรงบันดาลใจ : จากการศึกษาหัวข้อวิจยั เรือ่ ง “แนวทางการจัดการ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและมรดกทางศิลปวัฒนธรรมชุมชนเมืองแกน อ�ำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากการศึกษาได้พบแหล่งเตา เผาโบราณ และซากผลิตภัณฑ์เครื่องถ้วยชามที่บ้านสันป่าตอง ปัจจุบันแหล่งเตาโบราณถูกตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเตาอินทขิล จึง น�ำมาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกสปาสมุนไพร ซึ่งมีองค์ ประกอบของแสง เงา กลิ่น โดยสร้างสรรค์ให้มีรูปแบบการใช้งาน สมัยใหม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้และการท่องเที่ยวของชุมชน ภายใต้งานหนาวนี้ที่เมืองแกน ซึ่งเป็นกิจกรรมงานที่ช่วยส่งเสริม รายได้แก่ชุมชน

แนวคิด : เป็นการน�ำเสนอมรดกทางศิลปวัฒนธรรมชุมชนเมือง แกนในรูปแบบของโคมไฟเซรามิกสปาสมุนไพร ภายใต้ผลงาน ชื่อ “Have a nice time” เพื่อให้ความรู้สึกผ่อนคลาย อบอุ่น และมีความสุขไปกับแสง เงา และกลิ่นของสมุนไพร โดยมี ลวดลายของดอกค�ำแผ้แหล้ (Cosmos) ซึ่งเป็นทุ่งดอกไฮไลต์ ในงานหนาวนี้ที่เมืองแกน โดยรูปแบบผลิตภัณฑ์มาจากรูปทรง ของเสาหลักเมืองอินทขิล ซึง่ ผลงานชิน้ นี้ เป็นการถ่ายทอดความ เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน เพือ่ พัฒนาศักยภาพชุมชนและการท่อง เที่ยวของชุมชนมากยิ่งขึ้น



ชื่อ : นายนนทวัฒน์ ไหแก้ว รหัส 590310112 ชื่อผลงาน : ชุดเชิงเทียนปู๋จาส่องปัญญา - Candlestick of Intellect ชื่อแบรนด์: NONTA (นนทา,นนทะ) Email : palm4366palm@gmail.com Tel : 089-9554366

แรงบันดาลใจ : จากการศึกษาเรื่อง “พระพุทธรูปปูนปั้นสกุลช่าง ไทยอง ในจังหวัดล�ำพูน” จึงทราบถึงเอกลักษณ์ของงานศิลปกรรม ของชาวไทยองในช่วงที่มาอพยพตั้งรกรากในแถบจังหวัดล�ำพูน จึงเกิดความสนใจในพุทธลักษณะและศิลปกรรมของกลุม่ พระพุทธ รูป ในช่วงปี พ.ศ.2400 ลงมาโดยประมาณ มีพุทธลักษณะที่ งดงาม คือ พระรัศมี ที่มีลักษณะคล้ายกลีบบัวซ้อนชั้นกันเรียงขึ้น ไป ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ลวดลายอย่างหนึ่งที่ปรากฏเฉพาะในหมู่ ลวดลายประดับของชาวไทยองในช่วงเวลานี้ มีความน่าสนใจอย่าง ยิ่ง จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน เป็นชุดเชิงเทียนปู๋จาส่องปัญญาแบบชาวไทยอง

แนวคิด : คติการบูชาพระพุทธรูปของชาวล้านนา ในงานประเพณี วันส�ำคัญต่างๆ หรืองานพิธีต่างๆ ทั้งภายในวัดและที่จัดขึ้นมัก ใช้เพียงแค่กระถางธูปเชิงเทียนแบบง่ายๆ ซึ่งนิยมกันอย่างแพร่ หลาย รวมถึงในปัจจุบันมีแนวคิดเรื่องบูชาในพิธีกรรมรวมกับคติ การบูชาพระพุทธรูปไว้ประจ�ำบ้าน จึงเกิดเป็นผลงานการออกแบบ เป็นชุดเชิงเทียนเซรามิค ประกอบด้วย เชิงเทียน 2 ชิ้น กระถาง ธูป 1 ชิ้น ที่สามารถใช้ในงานพิธีส�ำคัญต่างๆ ทั้งภายในบ้านและ วัด



Architecture Model Design &Package Design


Arunothai Xiuxi At Chiang Dao 秀麗 (xiuli) Wiang Tha Kan longlife Pa Bong Sesame Oil Tai Lue Style Weave Bamboo Cup Holder The Thai Perfume Collection Music Case Of Lanna Instument


ชื่อ : นางสาวศรินทร์ญา ตามควร รหัส 590310136 ชื่อผลงาน : Arunothai Xiuxi at Chiang Dao • โมเดลสถาปัตยกรรมจุดพักรถกลางหุบเขาเชียงดาว • Email : mai_cheeze@hotmail.com Tel : 098-271-8780.

แรงบันดาลใจ : จากการลงพื้นที่ส�ำรวจภายในหมู่บ้านอรุโณทัย เนื่องด้วยปัจจุบันหมู่บ้านอรุโณทัยเป็นหมู่บ้านที่อยู่ทางตอนบน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูงสลับกับภูเขาท�ำให้สถานที่ตั้งของ หมู่บ้านแห่งนี้เป็นเหมือนแอ่งน�้ำที่มีภูเขาล้อมรอบ และยังติดต่อกับ ชายแดนไทย-พม่า อีกทัง้ ยังเป็นทางผ่านของการเดินทางไปยังสถาน ที่ที่ท่องเที่ยวชื่อดัง เช่นดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเดิน ทางและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ หมู่บ้านอรุโณทัย จึงเป็นทางผ่านและแหล่งจุดพักที่น่าสนใจหากแต่ไม่มีใครเข้ามา ด�ำเนินการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจุดพักรถ เพื่อให้เกิด ผลผลิตทางวัฒนธรรมและสังคมให้มีความสอดคล้องกันทั้งคนใน ชุมชนและคนบุลคลทั่วไป

แนวความคิด : “ Arunothai Xiuxi “ หมายถึงสถานที่พักผ่อน และจุดแวะพัก ส�ำหรับการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดัง เช่น ดอยอ่างขาง ซึ่งได้สรรค์สร้างให้หมู่บ้านอรุโณทัย อ�ำเภอ เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ขนาดเล็ก และ ยังมีจุดพักรถ สถานีบริการห้องน�้ำ ซึ่งภายในตัวอาคาร ได้จัดท�ำ ห้องจัดแสดงประเพณี วัฒนะธรรมของคนในชุมชม อีกทั้งยังสร้าง จุดขายของฝากเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่มาแวะพักอีกด้วย



ชื่อ : นางสาวณัฏฐ์กัลยา ยุตบุตร รหัส 590310104 ชื่อผลงาน : 秀麗 (xiuli) ชื่อแบรนด์: 麗 麗 li) Email : berek.ny@gmail.com Tel : 0918506565

แรงบันดาลใจ : ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาวิจัย เรื่อง “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและมรดกศิลปวัฒนธรรมชุมชนชาวเมี่ย นบ้านปางกิว่ ต�ำบลวาวี อ�ำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย” ซึง่ เป็นการ หยิบยกเรื่องราววิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวเมี่ยน เนื่องจาก ปัจจุบันการประกอบอาชีพของคนในชุมชนมาจากการปลูกชา ซึ่ง เป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของชุมชน อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมการ ดื่มชาหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

แนวคิด : ลี่ มีความหมายว่า สิ่งสวยงาม ความงาม สง่างาม และความนุ่มนวล เป็นการกล่าวถึงภูมิทัศน์ชุมชนชาวเมี่ยนแห่ง นี้ว่ามีคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์และคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถานที่ตั้งของชุมชนอยู่บริเวณยอดดอยท�ำให้เห็นถึงทิวทัศน์ที่ สวยงามและสภาพอากาศเย็นสบาย อีกทั้งยังสามารถมองเห็น ถึงเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ประกอบอาชีพปลูกชา ใน ด้านวัฒนธรรมและการสื่อสารได้รับอิทธิพลมาจากจีน ส่งผลให้ ทุกวันนี้ตามชุมชนมีการใช้ภาษาจีน อาหารจีนและวัฒนธรรม การดื่มชา


xiuli


ชื่อ : นางสาวปทิตตา ปันฟู รหัส 590310117 ชื่อผลงาน : Wiang Tha Kan longlife Email : patitta.p1998@gmail.com Tel : 095-8613911

แรงบันดาลใจ : จากการศึกษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมชุมชนเวียง ท่ากาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ พบไหลายคราม เป็นวัตถุโบราณที่ แสดงถึงวัฒนธรรมของชุมชนเวียงท่ากานที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ไหลายครามนี้อยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์หยวน ตัวไหตกแต่งด้วยลาย ดอกไม้อันเป็นลวดลายมงคลของจีน ได้แก่ ดอกพุดตาน ดอกเบญ มาศ รอบไหล่เขียนลายหงส์ โดยมีลายเหลี่ยมเพชรคั่น ท�ำหูเป็นตัว มังกร รอบคอเขียนลายเครือ่ งหมายมงคลแปดประการของจีน ภายใน ตกแต่งเป็นลายกลีบบัวพันยักษ์ ลวดลายบนไหลายครามมีความ งดงามเป็นอย่างมาก จึงท�ำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ผลงานออกมาในรูปแบบของการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน

แนวคิด : “Longlife” อายุยืน การดูแลสุขภาพ เป็นแนวคิดที่ ท�ำให้เกิดการพัฒนาของ รูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เกิดความน่าสนใจ ส่งเสริมให้คนหันมาดูแลสุขภาพ เพื่อการมีอายุที่ยั่งยืน จึง สอดคล้องกับการน�ำลวดลายของไหลายคราม มาปรับแต่งให้ เข้ากับตัวผลิตภัณฑ์การมีอายุยนื และการดูแลสุขภาพ สืบเนือ่ งจาก เวียงท่ากาน เป็นชุมชนทีม่ ปี ระวัตศิ าสตร์ยาวนานมากกว่า 1,300 ปี แสดงถึงการด�ำรงชีวิตและดูแลสุขภาพที่มีมาอย่างยาวนาน



ชื่อ : นายกิติพงษ์ บัวเงา รหัส 590310095 ชื่อผลงาน : Pa Bong Sesame oil ชื่อแบรนด์: (เอ็น) Email : nok-5976@hotmail.com Tel : 0612415976

แรงบันดาลใจ : จากการลงท�ำวิจัยหัวข้อ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมไท ใหญ่ บ้านผาบ่อง ต�ำบลผาบ่อง อ�ำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เห็นความส�ำคัญในการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และหา รายได้เอามาสู่ในชุมชน โดยการสนับสนุนข้าวที่ปลูกเองผลิต แปรรูปเพิ่มมูลค่าให้แก่ข้าว และน�้ำมันงาที่ส่งออกเป็นสิ้นค้า ชุมชนที่ยังไม่เป็นสินค้าของชุมชนเอง แต่มีการส่งออกให้กับแบ รนด์อื่นๆ จึงน�ำน�้ำมันงานมาเป็นตัวผลิต ออกแบบ ให้เป็นต้น แบบของชุมชนให้มีแบรนด์ของตัวเองและเพิ่มมูลค่า หารายได้ ให้กับครอบครัวมากขึ้น

แนวคิด : น�ำลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจน และเป็นลายที่น�ำเสนอให้แก่นักท่องเที่ยวให้เป็นที่นิยมมาก ที่สุด คือ ลายปานซอยเป็นลายที่เป็นเครือเถ้า ได้น�ำมา ดัดแปลงให้มีความอ้อนช้อย เหมาะเป็นลายขวด ชนิดที่รับ ประทานหรือผสมกับอาหารได้ อีกลายหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ของผู้ชายไทใหญ่ในสมัยก่อนจะต้องสักทุกคน เพื่อแสดงถึง ความกล้าหาญตึความเชื่อในการออกรบฟันแทงไม่เข้า คือ ลายเสือ เป็นความเชื่อที่ว่า เป็นการขู่โรคภัยให้กลัว ให้ผู้ที่ ใช้ได้พึ่งทางใจ หายจากโรคที่เป็นอยู่ จึงเหมาะแก่การน�ำมา เป็นลาย ขวดส�ำหรับนวด ภายนอก



ชื่อ : นางสาวพนิตพิมพ์ ประทุมทรัพย รหัส 590310120 ชื่อผลงาน : Tai Lue style weave bamboo cup holder ชื่อแบรนด์: TAICO (ไตโค่) Email : phanitphim.pp@gmail.com Tel : 0802877728

แรงบันดาลใจ: ได้น�ำรวดลายมาจากผ้าหลบเมืองยอง ไม่ว่าจะเป็นลายดอกแก้ว ลายขอ และลายเลขาคณิต ซึ่งลายเหล่านี้แสดงถึงอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นชาติพันธุ์ไทลื้อได้ อย่างชัดเจน ประกอบกับการน�ำวัสดุในท้องถิ่นมาเป็นแก้วน�้ำไม่ไผ่เพราะเห็นว่าชาวบ้าน วังไผ่ชอบน�ำไม้ไผ่มาเป็นของใช้ได้มากมาย และอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีความสุข แนวคิด: การน�ำลวดลายไทลื้อ มาสร้างสรรค์และผสมผสานเข้ากับงานไม้ไผ่จักสานเป็น ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก



ชื่อ : นางสาวศศิวิมล ปันทะสืบ รหัส 590310137 ชื่อผลงาน : The Thai Perfume collection ชื่อแบรนด์: Serene (ซีรีน) Email : phanitphim.pp@gmail.com Tel : 0802877728

แรงบันดาลใจ : ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการ ศึกษาวิจัยหัวข้องานจิตรกรรมผ้าพระบฏ วัดเจริญเมือง ต�ำบล เจริญเมือง อ�ำเภอพาน จังหวัดเชียงราย แต่ละผืนจะเล่าเรื่อง ราวเกีย่ วกับพระมาลัยต้น พระเวสสันดรชาดก พระมาลัยปลาย ศีล 5 ตามล�ำดับ ซึ่งในตัวงานจิตรกรรมผ้าพระบฏมีความเป็น เอกลักษณ์ที่โดดเด่นและสวยงาม และมีลายเส้นที่บ่งบอกถึง ยุคสมัยนั้น จึงได้น�ำลวดลายของงานจิตรกรรมผ้าพระบฏมาส ร้างสรรค์เป็นผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา

แนวคิด : “กลิ่นหอมในห้วงความทรงจ�ำ” ในอดีตคนไทยใช้ น�้ำอบ น�้ำปรุง ในการชโลมตัวท�ำให้เกิดกลิ่นหอม จึงได้พัฒนา จากภูมิปัญญาของคนไทย ความหอมที่มีเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ ของดอกไม้ไทย และความงดงามของจิตรกรรมผ้าเพระบฏ สูผ่ ลิตภัณฑ์นำ�้ หอม ภายใต้แบรนด์ Serene : The Thai Perfume Collection ทีจ่ ะพาคุณไปยังห้วงเวลาของความทรงจ�ำและความ ประทับใจที่ไม่เคยจางหายตามกาลเวลา



ชื่อ : นายปุณยวีร์ จิตถา รหัส 590310119 ชื่อผลงาน : หีดซาว(ด์) (Music Case of Lanna Instument) ชื่อแบรนด์: Jittha (จิตถา) Email : Tenglannastyle2@gmail.com Tel : 0951409990

แรงบันดาลใจ : ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการศึกษา ในหัวข้อ การศึกษารูปแบบทางศิลปกรรมลายค�ำประดับหีบธรรม ในเขตอ�ำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยมีจ�ำนวนทั้งหมด 16 หลัง เป็นหีบ ธรมมที่เป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างเมืองน่าน ซึ่งความโดดเด่นของ หีบธรรมแต่ละหลังอยู่ที่ลายค�ำการประดับตกแต่งที่ได้รับอิทธิพล จากสกุลช่างในล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ละอิทธิพลศิลปะ จากสยามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ซึ่งได้น�ำการประดับตกแต่ง ลวดลายต่าง ๆ มาสร้างสรรค์และประยุกต์เป็นงานชิ้นนี้

แนวคิด : มาจากในปัจจุบนั วงดนตรีลา้ นนายังไม่มอี ปุ กรณ์สำ� หรับ เครื่องดนตรีอย่างจริงจัง การเคลื่อนย้ายเครื่องดนตรีมักเป็นไป ในลักษณะเฉพาะบุคคล ดังนั้นจึงออกแบบผลิตภัณฑ์ หีดซาว(ด์) ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ส�ำหรับการเคลื่อนย้ายเครื่องดนตรีล้านนา โดยสามารถลดจ�ำนวนคน และขนย้ายเครือ่ งดนตรีได้อย่างสะดวก มากขึ้น



ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุน


ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุน

ร้านจินเฮงฮวดเชียงใหม่ คุณ ศรันย์ มุ่งสุจริตการ หจก.ศรันย์คอนสทัคชั่น คุณ วุฒิพงษ์ สุขถวิล





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.