ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กันยายน-ตุลาคม 2553

Page 1




www.pd.co.th/sukjaimagazine

editor

September-October 2010 • Volume 01 issue 01

นิ

ตยสาร สุขใจ ฉบับนี้ถือเป็นฉบับปฐมฤกษ์ โดยวัตถุประสงค์ที่ทีมงานจัดทำขึ้นก็เพื่อจะให้เป็น แหล่งข้อมูลสำหรับคนรักบ้าน หรือผู้ที่สนใจจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างบ้านและวัสดุ ก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการสร้างบ้านและวัสดุสร้างบ้านที่ช่วยประหยัดพลังงานและ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วันนี้เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องภาวะโลกร้อน กำลังมีผลกระทบกับชีวิตและใกล้ ตัวเข้ามาทุกขณะ หากเรายังไม่เห็นความสำคัญหรือไม่ใส่ใจเรื่องโลกร้อน เราอาจจะกลายเป็นคนหลง ยุคและน่ารังเกียจสำหรับโลกใบนี้นะครับ นับจากนี้ไปทั่วโลกจะตื่นตัวกับภาวะโลกร้อนมากขึ้นตามลำดับ ทั้งด้านลดการใช้พลังงานและ หยุดทำลายธรรมชาติ เพื่อมิให้โลกของเราบอบช้ำหรือถูกทำร้ายมากไปกว่านี้ สำหรับที่อยู่อาศัยหรือ บ้านซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนเรามากที่สุด รัฐบาลหลายๆ ประเทศมีการส่งเสริมให้ประชาชนสร้าง บ้านหลังใหม่ โดยคำนึงถึงการใช้พลังงานภายในบ้านอย่างประหยัด ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบบ้าน การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง และกระบวนการก่อสร้างที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างบ้าน เพื่อให้บ้าน ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกเหตุผลหนึ่งที่นิตยสารสุขใจ ฉบับนี้ถือกำเนิดขึ้น เหตุผลก็เพราะมองเห็นว่าสื่อสิ่งพิมพ์ที่ให้ ความรู้เรื่องการสร้างบ้านอย่างผู้รู้จริงยังมีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแนวตกแต่งบ้าน ตกแต่งสวน และแบบบ้านสวยเท่านั้น ในขณะที่ผู้อ่านและผู้บริโภคต้องการเสพเนื้อหาที่มากกว่าและลึกกว่า มิใช่ แค่เนื้อหาเบาหวิวหรือภาพสวยๆ เท่านั้น สำคัญที่สุดนิตยสารสุขใจ ฉบับนี้มิได้วางจำหน่าย แต่เป็น นิตยสารประเภท Free copy เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าถึงมากที่สุด แม้ว่าจะไม่ใช่มืออาชีพด้านการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ก็ขอบอกว่าทีมงานทุกคนตั้งใจและทุ่มเทเกิน ร้อย สำหรับนิตยสารสุขใจ ฉบับปฐมฤกษ์ โดยระดมมืออาชีพในแวดวงสื่อมาร่วมด้วยช่วยกันหลาย ท่าน อย่างไรก็ดีหากมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องประการใด ก็ขออภัยล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วย และ หวังว่าจะได้รับคำแนะนำหรือติชมจากท่านผู้อ่านสะท้อนกลับมายังกอง บก. บ้างนะครับ สุดท้าย จะลืมไม่ได้ก็คือคู่ค้าและผู้สนับสนุนทุกท่าน และขอให้ช่วยสนับสนุนกันต่อไปนานๆ กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ

| September-October 2010


AD PD House

Sukjai Magazine |


CONTENTS

นิ ต ยสารเพื่ อ คนรั ก บ้ า นและครอบครั ว รั ก ษ์ โ ลก www.pd.co.th/sukjaimagazine

S e p t e m b e r - October 2010 • Volume 01 issue 01

08 12 22 20 50

Special Report

52 56 62 63

ครอบครัวสุขใจด้วยศาสตร์ ‘ฮวงจุ้ย’ Cover Story กรมฯ อนุรักษ์พลังงานกับภารกิจปั้น Eco House สู่ Green Country สัมภาษณ์ สุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ รองอธิบดี กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงานสังกัดกระทรวงพลังงาน

เงินทุนสร้างบ้านหลังใหม่มาจาก “เงินออม” หรือ “เงินกู้ยืมธนาคาร”

Happy Celebrity

สัมภาษณ์ เปิดบ้านในฝัน คุณอรรถพร-ปฐมา ระวังภัย อัมพวา

Happy Celebrity

สุขกายสุขใจไม่ไกลเกินฝัน กับบ้านหลังใหญ่ “เจอร์รี่-พัชรี บรินดูส”

Happy Home

แบบบ้านสวยๆ จาก PD HOUSE

Happy Feng Shui

Cover Story

เปิดแนวคิด CEO PD HOUSE กับ 4 รางวัล “บ้านอนุรํกษ์พลังงาน”

66 68 70 72 74

Happy Innovation

SCG เปิดนวัตกรรมวัสดุฯ Happy Guess “ลดโลกร้อน”กับ “Easy truss” โครงหลังคากึ่งสำเร็จรูปไร้สนิม

Happy Motering

Eco-Car… Save Money Save Earth

Happy Eating Out

12 22

Shibuya รสชาติคนไทยสไตล์ญี่ปุ่น

Happy Trip

...ทุ่งหญ้า หมอกฝน สายลม แห่งเขาช้างเผือก...

78 Happy Society 80 Happy Healthy บำบัดโรคด้วย มวยจีน “ ซี่กง ” 81 Happy Index 82 Happy

52

72

74

Happy Trick

ลดการใช้พลังงานในห้องครัว

Happy Insurance

ประกันภัยบ้านยุคใหม่ คุ้มครองสรรพภัย!

เจ้าของ : บริษัท พีดี เฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 471 ถนนรังสิต-นครนากยก ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 02-9960940-7 แฟ็กซ์ 02-9960948-9 ที่ปรึกษา : ร.ศ.มานพ พงศทัต, พัลลภ กฤตยนวัช, ดร.จารุต วิภูปฐพร, แหลมทอง ร่มสนธิ์ บรรณาธิการบริหาร : สิทธิพร สุวรรณสุต • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : สัญญา อรุณนภา • กองบรรณาธิการ : มาลี สุวรรณสุต, อรวณี มุขพรหม, นันทิดา เอี่ยมเศรษฐกุล • ผ่ายการตลาด : นิรัญ โพธิ์ศรี, ฐิติชญา งามสม • ฝ่ายศิลป์ : พิศาล ธรรมวิเศษ, เอมอร เครือคล้าย • ช่างภาพ : นพดล กันบัว • แยกสี - พิมพ์ : ส.พิจิตรการพิมพ์ | September-October 2010



Special_report

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลลอป จำกัด

เงินทุนสร้างบ้านหลังใหม่ มาจาก “เงินออม” หรือ

“เงินกู้ยืมธนาคาร”

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลลอป จำกัด หรือพีดี เฮ้าส์ เปิดเผยผลสำรวจ ความเห็นผู้บริโภคและประชาชนในช่วง 6 เดือนที่ ผ่านมา (มกราคม-มิถนุ ายน 2553) จากกลุม่ ตัวอย่าง จำนวน 2,548 รายทั่วประเทศ ที่มีแนวโน้มต้องการ สร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยหลังใหม่บนที่ดินของตัว เองทั่วประเทศ ทั้งนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นก ลุ่มเป้าหมายจำนวน 364 ราย ในหัวข้อ “ที่มาของ เงิ น ลงทุ น สร้ า งบ้ า นหลั ง ใหม่ ” มาจากแหล่ ง ใด ระหว่าง “เงินออม” กับ “เงินกู้ยืมธนาคาร” เหตุ ผ ลที่ เ ลื อ กสำรวจความเห็ น ในเรื่ อ งดั ง กล่าว เพราะต้องการเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ บริ โ ภคและประชาชนทั่ ว ไป โดยเฉพาะกลุ่ ม เป้ า หมายที่ มี แ นวโน้ ม จะปลู ก สร้ า งบ้ า นหลั ง ใหม่ ที่ ต้ อ งการเลื อ กว่ า จ้ า งบริ ษั ท รั บ สร้ า งบ้ า น ซึ่ ง จาก ข้อมูลสำรวจเดิมเมื่อ 6-7 ปีก่อนพบว่า สัดส่วนผู้ บริ โ ภคที่ เ ลื อ กใช้ บ ริ ก ารบริ ษั ท รั บ สร้ า งบ้ า น 60-

70% นิ ย มใช้ “เงิ น ออม” สร้ า งบ้ า นหลั ง ใหม่ สั ด ส่ ว นที่ เ หลื อ ประมาณ 30% เท่ า นั้ น ที่ เ ลื อ กใช้ “เงินกู้ยืมธนาคาร” จากผลการสำรวจความเห็นครั้งนี้ (ระหว่าง เดื อ นมกราคม-มิ ถุ น ายน 2553) พบว่ า กลุ่ ม เป้ า หมายหรือผู้บริโภคที่ต้องการจะสร้างบ้านหลังใหม่ บนที่ดินของตัวเองในปีนี้และอีก 1-2 ปีข้างหน้า พบ ว่า มีความต้องการ “กู้ยืมเงินธนาคาร” มีสัดส่วนสูง ถึง 79% และมีสัดส่วนเพียง 20% เท่านั้นที่จะใช้ “เงินออมหรือเงินสด” ทั้ ง นี้ ส ถิ ติ ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น สะท้ อ นให้ เ ห็ น พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ ชัดเจนและนับว่ามีนัยสำคัญ ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่า สนใจของผู้ ป ระกอบการที่ แข่ ง ขั น อยู่ ใ นตลาดรั บ สร้างบ้าน

สัดสวนกลุมตัวอยางผูตองการสรางบาน ในประเทศไทย : ชาย-หญิงจำนวน 364 ราย 46%

54%

กราฟแสดงสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างเพศชาย-หญิง | September-October 2010

ชาย หญิง

เหตุผลที่เลือกสำรวจความเห็น ในเรื่องดังกล่าว เพราะต้องการ เปรียบเทียบพฤติกรรมของ ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มี แนวโน้มจะปลูกสร้างบ้านหลังใหม่ ที่ต้องการเลือกว่าจ้างบริษัท รับสร้างบ้าน

กลุมตัวอยางเปาหมาย : รายไดตอเดือน จำนวน 364 ราย 43%

57%

มากกวา 30,000 บาท ต่ำกวา 30,000 บาท

กราฟแสดงสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างรายได้ต่อเดือน


คำถาม : จังหวัดที่ตองการปลูกสรางบานอยูในภูมิภาคใด ? 31% 25%

14%

8% 19% 3%

ภาคเหนือ ภาคใต ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล

กราฟแสดงพื้นที่ที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน (กรุ ง เทพฯและปริ ม ณฑล, ภาคเหนื อ , ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ , ภาคกลาง, ภาคตะวันออก, ภาคใต้)

กราฟแสดงสั ด ส่ ว นเงิ นงบประมาณ ที่จะใช้สร้างบ้าน

คำถาม : ตองการกูยืมเงินธนาคารฯ เพื่อสรางบานหลังใหม ใชหรือไม ? 1% 20% 79%

ใช ไมใช ทั้งสองอยาง

คำถาม : งบประมาณที่ตั้งไว สำหรับการสรางบานหลังใหม ? 1% 14% 30%

14% 48%

ไมเกิน 1.5 ลานบาท 1.5 ลานบาท - 3 ลานบาท 3 ลานบาท - 5 ลานบาท 5 ลานบาทขึ้นไป อื่นๆ

กราฟแสดงสั ด ส่ ว นความ ต้ อ งการกู ้ ย ื ม เงิ นธนาคาร เพื่อสร้างบ้านหลังใหม่

รวมทั้งสถาบันการเงินหรือธนาคารฯ ที่ปล่อย สินเชื่อปลูกสร้างบ้าน ควรนำไปใช้วางแผนกลยุทธ์ ทางการตลาด เพื่ อ จะสามารถตอบสนองความ ต้ อ งการกลุ่ ม ลู ก ค้ า เป้ า หมายเหล่ า นี้ นอกจากนี้ บริ ษั ท รั บ สร้ า งบ้ า นควรร่ ว มมื อ กั บ ธนาคารหรื อ สถาบันการเงิน พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือ รูปแบบสินเชื่อปลูกสร้างบ้านหลังใหม่ ให้สามารถ ตอบโจทย์และอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อ จะใช้เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งต่อการพัฒนา ตลาดรวมรับสร้างบ้าน ให้ขยายตัวและเติบโตในวง กว้างอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจฯ เผยผลสำรวจให้ เห็ น ว่ า ในสายตาผู้ บ ริ โ ภคมองว่ า การกู้ ยื ม เงิ น ธนาคารฯ เพื่ อ ปลู ก สร้ า งบ้ า นยั ง เป็ น เรื่ อ งยุ่ ง ยาก และส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ท ราบมาก่ อ นว่ า สามารถกู้ ยื ม ได้ อาจเป็นเพราะขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีพอ จาก ฝ่ายผู้ประกอบการและสถาบันการเงิน รวมถึงที่ ผ่านมาขาดการอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคที่ ต้องการใช้บริการ นอกจากนี้ผลสำรวจระบุ กลุ่ม เป้ า หมายจำนวน 55% เห็ น ว่ า เหตุ ผ ลสำคั ญ ที่ ต้ อ งการใช้ เ งิ น กู้ ยื ม ธนาคารเพื่ อ ปลู ก สร้ า งบ้ า น เพราะเห็นว่า “ทำให้มีบ้านเร็วขึ้น และคุ้มค่าเมื่อ

เปรียบเทียบกับดอกเบี้ยที่จ่าย” เหตุผลรองลงมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 37% เห็นว่า “การออมเงิน อาจไม่ทันกับราคาบ้านที่แพงขึ้นทุกปี” หากพิจารณาจากสถิติดังกล่าวแล้ว อาจมอง ได้ว่า แนวโน้มสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยประเภทปลูก สร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง ยังมีโอกาสเติบโตได้ อีกมาก ถ้าสามารถทำให้ผู้บริโภคและประชาชนรับ รู้และมีความเข้าใจมากขึ้น รวมถึงตลาดรับสร้าง บ้านก็จะสามารถขยายตัวเพิ่มได้เช่นกัน จากในอดีต ที่ผู้บริโภคเคยคิดและเข้าใจว่าจะต้อง “ออมเงินให้ ครบก่อนจึงจะสร้างบ้านได้” ซึ่งนับเป็นข้อด้อยและ Sukjai Magazine |


กราฟแสดงเหตุผลที่ต้องการขอกู้ยืม ธนาคารเพื่อปลูกสร้างบ้าน

คำถาม : เหตุผลที่เลือกการกูยืมเงินธนาคารฯ เพื่อปลูกสรางบานหลังใหม ? 8%

ทำใหมีบานไดเร็วขึ้น และคุมคา เมื่อเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยที่จาย

37%

34%

ทราบเปนอยางดี พอทราบบาง ไมทราบมากอน

กราฟแสดงการรับรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและความสะดวก การขอสินเชื่อปลูกสร้างบ้าน

คำถาม : เคยไดยินชื่อเสียงและรูจักบริษัท รับสรางบาน มากอนหรือไม ? (ซีคอนโฮม, ศูนยรับสรางบานพีดี เฮาส, รอแยลเฮาส, แลนดี้โฮม, บิวทูบิ้วส) 3%

97%

10 | September-October 2010

การออมเงิน อาจไมทันกับราคา คากอสรางบานที่แพงขึ้นทุกป อื่นๆ

คำถาม : ทราบหรือไมวา หากใชบริการบริษัทรับสรางบานมืออาชีพ สามารถกูยืมเงินจากธนาคารฯ ไดโดยไมยุงยาก 13% 53%

55%

รูจัก ไมรูจัก

เสียเปรียบธุรกิจที่อยู่อาศัยประเภทอื่น เช่น บ้าน จัดสรร บ้านมือสอง เพราะผู้บริโภคมีความเข้าใจ เป็นอย่างดีว่าสามารถกู้ยืมหรือขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่ อาศัยได้จากธนาคารโดยไม่ยุ่งยาก ฝ่ า ยวิ จั ย และพั ฒ นาธุ ร กิ จ ฯ ชี้ แ นะว่ า การ พัฒนาตลาดรับสร้างบ้านควบคู่ไปกับตลาดสินเชื่อ เพื่อปลูกสร้างบ้านให้เติบโตนั้น จำเป็นที่ผู้ประกอบ การในธุรกิจรับสร้างบ้าน ควรหันมาให้ความสำคัญ อย่างจริงจัง โดยเฉพาะบริษัทรับสร้างบ้านต้องเร่ง ปรับตัวให้มีการบริหารจัดการที่ชัดเจน เพื่อสถาบัน การเงินจะได้ไว้วางใจและสนับสนุนสินเชือ่ ปลูกสร้าง บ้านแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ รวมถึงผู้ประกอบการ เกิดใหม่หรือที่เข้ามาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านได้ไม่นาน ก็ตาม การมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีความ เป็นมืออาชีพจริงคือสิ่งสำคัญ โดยอาจใช้วิธีเข้าร่วม เป็นเครือข่ายกับมืออาชีพตัวจริงทีม่ ปี ระสบการณ์มา นาน อย่างเช่น โมเดลธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ รับสร้างบ้าน ซึ่งในปัจจุบันสถาบันการเงินก็อำนวย ความสะดวกและสนั บ สนุ น การปล่ อ ยสิ น เชื่ อ ให้ เช่นกัน สำหรับธนาคารฯ ที่โดดเด่นในการสนับสนุน และสิ น เชื่ อ ปลู ก สร้ า งบ้ า น ได้ แ ก่ ธนาคารไทย พาณิชย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กราฟแสดงการรับแบรนด์บริษัท รับสร้างบ้านชั้นนำ



Happy_Celebrity เรื่อง /ภาพ

สัมภาษณ์

เปิดบ้านในฝัน คุณอรรถพร-คุณปฐมา ระวังภัย อัมพวา

12 | September-October 2010


เพราะ “บ้าน” คือ ศูนย์รวมของความรัก เป็นสถานที่ก่อเกิดกิจกรรมแก่เหล่ามวลสมาชิกใน ครอบครัว หลายคนใช้เวลาเกือบค่อนชีวิตกว่าจะ รวบรวมเงินทองสร้าง “บ้านในฝัน” ได้อย่างตรงใจ สักหลัง และคงไม่ง่ายนักที่จะได้บ้านตามที่เราวาด ฝั น ไว้ ทุ ก ตารางนิ้ ว การที่ จ ะเลื อ กบริ ษั ท รั บ สร้ า ง บ้านมา “เนรมิต” บ้านให้ได้ดั่งใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับครอบครัว “ระวังภัย อัมพวา” ได้ มี ก ารวางแผน ใช้ เวลาศึ ก ษาหาข้ อ มู ล ก่ อ นจะ

ตัดสินใจเลือกบริษัท ปทุมดีไซน์ จำกัด หรือศูนย์รับ สร้างบ้านพีดี เฮ้าส์ คุณอรรถพรและคุณปฐมา ระวังภัย อัมพวา เจ้าของบ้าน เล่าให้ทีมงานนิตยสาร “สุขใจ” ฟังว่า “จริงๆ เราอยากสร้างบ้านมานานแล้ว จึงซื้อหา หนังสือที่เกี่ยวกับบ้านและดู อ่านมาตลอด รวมทั้ง เข้าไปดูข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตด้วยความที่อยากจะ มีบ้านของตัวเอง หลังจากที่คุณพ่อยกที่ดินตรงนี้ให้ ก็ เ ลยลองศึ ก ษาข้ อ มู ล บริ ษั ท รั บ สร้ า งบ้ า นจาก หลายๆ บริษัทและลองติดต่อเข้าไป” พีดี เฮ้าส์ เป็นบริษัทแรกๆ ที่ติดต่อเข้ามา เบื้องต้นเป็นเพียงแค่โทรศัพท์เข้ามาสอบถาม หลัง จากนั้นก็มีทีมงาน พีดี เฮ้าส์ติดต่อกลับมาให้ข้อมูล และให้คำปรึกษาดูแลเราอย่างใกล้ชิด มีการติดตาม งานและให้ ค วามสำคั ญ กั บ ความต้ อ งการของเรา เรียกได้ว่า “แทบทุกจุด” “เรามีความประทับใจตั้ง

แต่ครั้งแรกที่มีการติดต่อเจรจาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการบริการ กระทั่งระหว่างการก่อสร้างที่ต้องมี คนงานจำนวนมาก จนเกรงว่าจะเกิดความวุ่นวาย ในพื้นที่บ้านเรา เนื่องจากเราเป็นครอบครัวใหญ่ มี ทั้งคุณพ่อคุณแม่ มีญาติพี่น้องตั้งแต่ต้นซอยถึงท้าย ซอย ประมาณ 500 เมตร เป็นพื้นที่ของเราทั้งหมด แต่ ที ม งานของ พี ดี เฮ้ า ส์ สามารถควบคุ ม และ บริหารจัดการได้ดี” นอกจากความประทับใจในเรื่องบริการและ บริหารจัดการแล้ว คุณปฐมาบอกว่า รายละเอียด การก่อสร้าง พีดี เฮ้าส์ ก็ให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่ากัน งานโครงสร้างเป็นไปตามสัญญาข้อที่ ตกลงกันไว้ โดยเฉพาะการใส่ใจในรายละเอียดการ ก่ อ สร้ า ง ซึ่ ง เขามี โ ฟร์ แ มนมาควบคุ ม ดู แ ลอย่ า ง ใกล้ชิด ทำให้ภาพรวมโครงสร้างของตัวบ้านก็เลย ออกมาดี Sukjai Magazine | 13


“งานสร้างบ้านมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ อย่างวัสดุอุปกรณ์บางอย่างเราก็มีการเปลี่ยนแปลง บางบริษัทอาจมองว่าการสร้างบ้านก็สร้างไปตาม แบบที่มอบหมายให้ ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่น ซึ่งหาก เกิดปัญหาอาจจะต้องทุบทิ้งหรือสร้างใหม่ ทำให้ เสียเวลาและงบบานปลาย ซึ่งทาง พีดี เฮ้าส์ เองก็ ให้คำแนะนำการเลือกใช้วัสดุฯ แต่ละประเภทว่า มี จุดดีจุดด้อยอย่างไร เมื่อมีการใช้งานจริง รวมถึง เรื่อง การเดินสายไฟ ระบบท่อน้ำประปา ฯลฯ ซึ่ง เรามองเห็นความตั้งใจจริงของเขา” คุ ณ ปฐมา บอกว่ า บ้ า นหลั ง นี้ ต นเองเป็ น พี่ สาวคนโต มีพี่น้องด้วยกัน 5 คน และคุณพ่อคุณแม่ ก็อยู่ด้วยกันมาตลอด เรียกได้ว่าเป็นครอบครัวใหญ่ วันพิเศษ หรือวันสำคัญต่างๆ อย่างเช่น วันเกิดของ สมาชิกในครอบครัวก็จะมารวมกลุ่มกัน เมื่อเราเป็น พี่สาวคนโต ตรงนี้ก็ถือเป็นภาระหนึ่งของเรา ที่จะ 14 | September-October 2010

คุณอรรถพร-คุณปฐมา ระวังภัย อัมพวา

ทำให้บ้านหลังนี้เป็นศูนย์รวมในครอบครัวด้วย บ้ า นหลั ง นี้ เ ป็ น แบบบ้ า นสไตล์ Modern tropical ขนาด 3 ห้ อ งนอน 3 ห้ อ งน้ ำ มี พื้ น ที่ ใช้สอยทั้งหมด 248 ตร.ม. ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 89 ตร.ว. ลักษณะของตัวบ้านโปร่งสามารถมองเห็นการทำ กิจกรรมต่างๆ รอบตัวบ้านได้ “บ้านพี่ก็มีสามี มีลูก 2 คน ผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 1 คน เราก็จะมีห้องส่วน ตัวให้กับเขา ซึ่งตอนสร้างบ้านคนโตอายุ 13 ปี คน เล็ก 8 ขวบ ตอนนี้คนโตก็อายุ 15 เขาก็ต้องมีโลก ส่วนตัวของเขา แม้แต่ตัวพี่แม้มีครอบครัวแล้วก็ตาม แต่ก็อยากมีมุมส่วนตัวเหมือนกัน มันจึงเหมือนกับ เราสร้างเผื่อเอาไว้ว่าในมุมบ้านแต่ละมุมจะมีจุดที่ สามารถใช้เวลาเป็นส่วนตัวได้ โดยที่ไม่มีคนอื่นมา วุ่นวาย ซึ่งตัวพี่เป็นคนที่ชอบนั่งชิงช้ากลางบ้านมาก ที่สุด เพราะเป็นคนที่ชอบติดตามข่าวสาร จึงเปิดทีวี ไว้ตลอด เมื่อดูข่าวเสร็จก็จะอ่านหนังสือ แล้วก็นั่ง ตอบเมล์กับทางบริษัทบ้าง ส่วนของสามีมุมส่วนตัว จะเป็นรอบสวน เพราะเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ ทำ สวน ซึ่ ง ตรงนี้ พี ดี เฮ้ า ส์ เขาสามารถตอบโจทย์


Sukjai Magazine | 15


16 | September-October 2010


จริงๆ แล้วผมก็รู้จักกับ ผู้รับเหมาและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ที่เป็นเพื่อนกันหลายร้าน ถ้าผมจะใช้ บริการก็จะได้ส่วนลดพอสมควร แต่เรา ก็ตัดสินใจเลือกพีดี เฮ้าส์สร้างให้ นั่นเพราะเรามองว่าการที่จะให้งาน แต่ละอย่างออกมาดี ต้องใช้ มืออาชีพเข้ามาจัดการ ความต้องการของเราได้” วันแรกที่ครอบครัว “ระวังภัย อัมพวา” ก้าวเข้า มาอยู่บ้านหลังนี้ คุณปฐมาบอกว่า มีความรู้สึกตื่นเต้น มาก เพราะคอยนับวันที่จะเข้ามาอยู่บ้านหลังนี้มาตลอด โดยเราถือฤกษ์เข้าอยู่อาศัยวันที่ 9 เดือน 9 ปี 09 และ นิมนต์พระประธานเข้ามาไว้ในบ้าน แต่เข้ามาอยู่จริงเมื่อ เดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา เพราะต้องรอให้ตกแต่ง เรียบร้อยก่อน อีกพืน้ ทีใ่ ช้สอยหนึง่ ทีค่ รอบครัว ระวังภัย อัมพวา ให้ความสำคัญก็คือ ห้องครัว เพราะครอบครัวใหญ่นี้มี กิจกรรมรวมตัวกันอยูบ่ อ่ ยครัง้ “เราสร้ า งครั ว ไทยไว้ ด้ า นนอก เพราะคุ ณ แม่ น้องสาว จะมาทำอาหารให้ทานบ้าง ด้านนอกมีต่อเติม ห้องน้ำอีก 2 ห้อง เผื่อเราจัดงานปาร์ตี้ในบ้าน แขกจะ ได้ใช้ห้องน้ำด้านนอกได้อย่างสะดวก การจัดกิจกรรม ทำให้ครอบครัวเราอบอุ่น และมีความสุขมากขึ้น ทุกๆ วันเกิดเราจะทานข้าวร่วมกัน ซึ่งถ้ารวมจำนวนสมาชิกพี่ Sukjai Magazine | 17


น้องทั้งครอบครัวรวม 15 คน แทบจะปาร์ตี้วันเกิด ทุกเดือนเลยก็ว่าได้” คุ ณ อรรถพร บอกว่ า ผมและภรรยาเป็ น ครอบครัวนักกฎหมาย ดังนั้น เราจะรู้เรื่องร้องเรียน ต่างๆ ว่ามีใครไปร้องเรียนอะไรที่ไหน ซึ่งก่อนที่จะ ตัดสินใจให้พีดี เฮ้าส์ สร้าง เราได้ตรวจสอบหลายๆ ทางก็ไม่พบว่า พีดี เฮ้าส์ มีปัญหาเรื่องร้องเรียน “จริงๆ แล้วผมก็รู้จักกับผู้รับเหมาและร้าน ค้าวัสดุก่อสร้างที่เป็นเพื่อนกันหลายแห่ง ซึ่งถ้าผม จะใช้ บ ริ ก ารก็ จ ะได้ ส่ ว นลดพอสมควร แต่ เราก็ 18 | September-October 2010


ตัดสินใจเลือก พีดี เฮ้าส์ สร้างให้ นั่นเพราะเรามอง ว่าการที่จะให้งานแต่ละอย่างออกมาดี ต้องใช้มือ อาชีพเข้ามาจัดการ อย่างเราเป็นทนายที่มีความ เป็นมืออาชีพของเรา แต่แน่นอนเราคงไม่ไปเสี่ยงใน เรื่องการสร้างบ้าน และตลอดระยะเวลาปีเศษก็ประทับใจการ บริการที่มีความเสมอต้นเสมอปลาย ทำตามสัญญา และยังมีข้อแนะนำอื่นๆ ที่เราไม่รู้ มีผู้ควบคุมงาน มาดูแลอย่างใกล้ชิด หน้างานสะอาดสะอ้าน แม้ กระทั่ ง อิ น ที เรี ย ที่ เข้ า มาดู แ ล ผมถื อ ว่ า โชคดี น ะ

เพราะ 1. ได้เจอทีมงานที่ดี 2. เจอบริษัทที่ดี” สุดท้าย คุณอรรถพรและคุณปฐมา ได้ฝาก ข้อคิดดีๆ ให้กับผู้ที่กำลังจะปลูกสร้างบ้านว่า อยาก ให้ เ อาแนวคิ ด ของตั ว คุ ณ ถ่ า ยทอดออกมา แล้ ว อธิบายถึงความต้องการให้กับบริษัทรับสร้างบ้าน นั้ น ๆ ได้ รั บ รู้ ว่ า คุ ณ ต้ อ งการบ้ า นเป็ น แบบไหน อย่างไร เพราะถ้าเราได้พูด ได้ทำ ได้แสดงออกในสิ่ง ที่ต้องการแล้ว เท่ากับว่าเขาได้รับรู้และพร้อมจะ สานต่ อ ให้ ฝั น เราเป็ น จริ ง ส่ ว นเขาจะทำได้ ดี ม าก น้อยแค่ไหนนั้นเป็นอีกเรื่อง

ทั้งหมดนี้คือ หลักและแนวคิดการสร้างบ้าน ของครอบครัว “ระวังภัย อัมพวา” ที่ยึดเอาความ สำคั ญ ของการอยู่ อ าศั ย มาเป็ น หลั ก ในการคิ ด ออกแบบตั ว บ้ า น ให้ อ อกมากลายเป็ น ครอบครั ว ใหญ่ที่มีความอบอุ่น และทำให้ “บ้าน” หลังนี้เป็น ศูนย์รวมของความรัก ที่อบอวลไปด้วยความสุขที่ สมบูรณ์แบบนั่นเอง

Sukjai Magazine | 19




Happy_Celebrity เรื่อง /ภาพ

สัมภาษณ์

สุขกายสุขใจไม่ไกลเกินฝัน

กับบ้านหลังใหญ่

“เจอร์รี่-พัชรี บรินดูส” ทุกคนล้วนอยากมีบ้านในอุดมคติทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะมีกำลังเพียงพอเนรมิตให้ เป็นไปดังใจได้มากน้อยแค่ไหน ความสุขที่เปี่ยมล้นเมื่อได้ยืนอยู่หน้าบ้านของตัวเอง มอง อย่างชื่นชมด้วยความภาคภูมิใจว่าทั้งหมดนี้ เป็นฝีมือที่มิได้พึ่งพิงใคร แต่ทุกสัดส่วนทุกการ ตกแต่ง พร้อมทั้งทำเลที่ตั้งล้วนมาจากสมองและสองมือของตัวเอง ที่สรรสร้างให้เกิดเป็น สถานที่พักพิงขึ้นมา สามารถอวดโฉมสายตาใครต่อใครได้อย่างไม่ต้องเขินอาย แต่ใช่ว่าความสุขเหล่านี้จะบังเกิดกับทุกผู้คน เพราะบางคนกลับต้องเผชิญกับฝัน ร้ายเมื่อบ้านของตนเอง มิได้เป็นดั่งในอุดมคติ ทั้งที่มีความพร้อมในทุกด้าน ต้นเหตุก็มา จากการก่อสร้างที่ไร้ซึ่งความรับผิดชอบ ขาดความเอาใจใส่ดูแลของผู้รับเหมาบางราย จน บ้านในฝันแปรเปลี่ยนเป็นสถานที่ก่อร่างสร้างความทุกข์ใจอย่างสาหัสสากรรจ์

22 | September-October 2010


นับเป็นโชคดียิ่งสำหรับคุณพัชรีและคุณเจอรี่ ที่ มิ ต้ อ งประสบพบเจอกั บ ปั ญ หากวนใจเช่ น นั้ น เพราะได้ มื อ าชี พ อย่ า ง “พี ดี เฮ้ า ส์ ” มาปั้ น แต่ ง สถานที่พักพิงให้ ถึงแม้ว่าเวลาของทั้งคู่ส่วนใหญ่ หมดไปกับงานที่ต่างประเทศ จนทำให้มีโอกาสอยู่ ในประเทศไทยไม่มากนัก แต่เมื่อเหยียบเท้าสู่ผืน แผ่นดินไทย ก็อยากได้พักผ่อนในบ้านที่ตัวเองได้คัด สรรกั บ มื อ ทั้ ง รู ป แบบบ้ า นและวั ส ดุ รวมถึ ง ของ ตกแต่งที่เผยให้ความเป็นตัวตนมากที่สุด

Sukjai Magazine | 23


เมื่อเจอที่ดินแปลงงามพร้อมสรรพไปด้วย บรรยากาศรอบข้างที่อุดมไปด้วยความเขียวชอุ่ม ของธรรมชาติโดยรอบ ทำให้ทั้งสองตกลงใจซื้อที่ผืน งามนี้ไว้สำหรับบ้านหลังใหม่ทันที หลังเวลาแห่งการ รอคอยผ่านไป ในที่สุดบ้านสองชั้นหลังใหญ่ที่ราย ล้อมด้วยสนามหญ้าสีเขียวดูสบายตาก็ตั้งตระหง่าน ให้เห็นเด่นชัด หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนีย สีอิฐที่ ดู ส ะดุ ด ตา แต่ ก ลมกลื น เข้ า กั น ได้ ดี กั บ สี ผ นั ง บ้ า น ด้านนอก ผนวกกับสีเขียวอ่อนสดใสจากสนามหญ้า หากเปรี ย บเป็ น ภาพวาด ก็ เ หมื อ นดั ง สี พื้ น หลั ง ที่ ช่ ว ยขั บ ความสวยงามของบ้ า นหลั ง นี้ ใ ห้ โ ดดเด่ น สวยงามยิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นทางเดินหน้าบ้านซึ่งปู ด้วยหินเทียมสีดูสอดรับเข้ากันได้ดีเสมือนจิตกรได้ กำหนดสีและสัดส่วนไว้เป็นอย่างดีก่อนลงพู่กัน 24 | September-October 2010


ส่วนบริเวณโดยรอบบ้านหลังนี้ ด้วยเป็นบ้าน ไม่กลัวความร้อนแรงจากแสงอาทิตย์ จึงเน้นต้นไม้ ขนาดเล็กเพราะไม่ต้องการร่มเงามากนัก ดังนั้นไม่ ว่าจะเยื้องกรายไปจุดใด ก็เต็มไปด้วยต้นเข็มแคระ ดอกหลิว ลีลาวดี ส่วนหลังบ้านมีสระน้ำขนาดกำลัง พอดี และยั ง มี พื้ น ที่ เ ป็ น สนามโล่ ง ไว้ ใ ห้ ค นใน ครอบครั ว ได้ อ อกกำลั ง กายกั น เพี ย งแค่ ตั ว บ้ า น ภายนอกที่ผสมผสานเข้ากับบรรยากาศโดยรอบก็ สร้างความสุขให้เกิดขึ้นในใจได้แล้ว แต่นี่ดูเป็นความ สุขเพียงแค่เริ่มต้นในการเข้ามาสัมผัสสถานที่แห่งนี้ เมื่อได้เดินเข้ามาใกล้ตัวบ้าน เห็นประตูบาน ไม้ผสมกระจกสลักลวดลายวิจิตรสวยงามบานใหญ่ที่ ดูหรูหราอย่างที่เจ้าของบ้านใฝ่ฝัน ดูโดดเด่นเสริม บารมียิ่งนัก พอผ่านประตูเข้าไปภายในบ้านสองชั้น Sukjai Magazine | 25


หลังนี้ พื้นชั้นล่างปูด้วยแกรนิตพร้อมตีบัวแกรนิต ผนั ง บ้ า นส่ ว นใหญ่ ต กแต่ ง ด้ ว ยภาพวาดของ Thomas Kinkade ที่ได้มาจากเมืองนอก ชั้นล่างนี้ โดยรอบแล้วเห็นได้ชัดว่าแบ่งพื้นที่การใช้งานออก เป็นสามส่วน เริ่มจากโถงด้านหน้า ขวามือให้พื้นที่ กับเปียโนหลังสีขาวนวลที่คุณพัชรีลงทุนขนมาจาก ประเทศซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นของเธอเองที่ซื้อไว้ ก่อนหน้านี้ จากนั้นลึกเข้าไปด้านในแบ่งเป็นห้องนอนไว้ สำหรับแขกเหรื่อที่มาเยี่ยมเยียน รวมถึงยังมีส่วน ห้องพักผ่อนนันทนาการของครอบครัว ไว้ดูหนังฟัง เพลง ร้องคาราโอเกะ ส่วนที่สามด้านซ้ายมือเป็น บันไดขึ้นชั้นสอง ให้พื้นที่ว่างด้านหน้า เอาไว้อวด โฉมโต๊ ะ มุ ก ชุ ด ใหญ่ ใช้ ส ำหรั บ รั บ ประทานอาหาร โต๊ะนี้ติดกับห้องครัว มีการเชื่อมต่อด้วยหน้าต่างจึง ไม่จำเป็นต้องเดินอ้อมให้เหนื่อยแรง สามารถให้คน มารอรับส่งผ่านทางหน้าต่างได้เลย นอกจากสวย เด่นและยังสะดวกดีนัก 26 | September-October 2010


สำหรับบันไดขึ้นชั้นสอง สวยงามยิ่งด้วยเป็น ไม้สักสีน้ำตาลแดงโชว์ลวดลายไม้ เข้ากันได้ดีกับราว บันไดกลมกลึง ทั้งยังเพิ่มความนุ่มนวลให้กับตัวบ้าน ชานพักบันไดตกแต่งด้วยอานอูฐหนังแท้ที่นำเข้ามา จากซาอุดิอาระเบียอีกเช่นกัน เมื่อก้าวขึ้นมาชั้นสองซึ่งปูด้วยพื้นไม้ลามิเนต แบ่ ง พื้ น ที่ ใช้ ส อยเป็ น สามห้ อ งนอน หนึ่ ง ห้ อ งพระ หนึ่งห้องพักผ่อน โดยให้ด้านซ้ายมือเป็นห้องนอน ของลูกสาวคนเล็กของบ้าน ภายในห้องไม่ว่าจะเป็น เตียงนอน ตู้ ของตกแต่งภายในห้องล้วนขนย้ายมา จากบ้านหลังเก่า แต่บรรยากาศโดยรวมดูเข้ากันลง ตั ว หวานหอมเหมาะสมยิ่ ง นั ก กั บ การเป็ น ห้ อ ง สำหรับเด็กสาว ชวนให้นึกถึงภาพได้เอนกายลงบน เตี ย งนุ่ ม คงจะหลั บ ฝั น ดี เ ป็ น แน่ แ ท้ ถั ด จากห้ อ ง

ลูกสาวคนเล็ก ก็เป็นห้องของลูกชายคนโต ส่วนด้าน หน้ า บั น ไดเป็ น ห้ อ งพระ และปล่ อ ยพื้ น ที่ ด้ า นขวา บ้ า นเป็ น มุ ม พั ก ผ่ อ นที่ ใช้ ข องสะสมคุ ณ เจอรี่ ม า ตกแต่ง ห้องสุดท้ายเป็นห้องนอนขนาดใหญ่ไว้สำหรับ ให้คุณพัชรีและคุณเจอรี่ได้พักผ่อน ภายในจัดวางทุก สิ่ ง อย่ า งไว้ เ ป็ น ระเบี ย บเรี ย บร้ อ ย มี เ ฟอร์ นิ เจอร์ ตกแต่ ง ไม่ ม ากนั ก เพื่ อ ให้ ห้ อ งดู โ อ่ โ ถงกว้ า งขวาง สบายตา เหมาะกับการพักผ่อนอย่างแท้จริง การที่บ้านหลังนี้ก่อกำเนิดขึ้นตามความตั้งใจ ของครอบครัวนี้ จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าทุกคราที่เดิน ทางกลับมายังประเทศบ้านเกิด และได้กลับมายัง บ้านหลังนี้ ย่อมต้องสร้างความสุขกายสุขใจให้กับ พวกเขาไม่แพ้ที่ใดในโลกนี้อย่างแน่นอน Sukjai Magazine | 27


Happy_home

E-511 EA-511

บ้าน 2 ชั้น สไตล์คอนเทมโพรารี่ ผสมกลิ่นอายบาหลี เหมาะสำหรับที่ดินขนาด 50 ตารางวา หน้ากว้างประมาณ 13.70 เมตร ลึกประมาณ 14.60 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 152 ตารางเมตร ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 1 คัน

28 | September-October 2010


Plan

แนวคิดในการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

ออกแบบโดยคำนึ ง ถึ ง ความสมดุ ล ของตั ว อาคาร และแบ่งพื้นที่การใช้สอยโดยแยกเป็นสัดส่วนอย่าง เหมาะสมในสไตล์ ค นรุ่ น ใหม่ เพื่ อ ตอบรั บ ความ ต้ อ งการของครอบครั ว ขนาดกลางได้ อ ย่ า งลงตั ว พื้นที่ส่วนพักผ่อนแบ่งแยกการใช้สอยอย่างอิสระ

Sukjai Magazine | 29


Happy_home

EA-516 EA-516

บ้าน 2 ชั้น สไตล์ BALI เหมาะสำหรับที่ดินขนาด 77 หน้ากว้างประมาณ 18.50 ลึกประมาณ 16.60 พื้นที่ใช้สอย 273.50 ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 2 คัน

30 | September-October 2010

ตารางวา เมตร เมตร ตารางเมตร


Plan

แนวคิดการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

หลังคา 2 ชั้น เน้นบรรยากาศบ้านแบบบาหลี เปิด รับผู้มาเยือนด้วยเฉลียงกว้าง ซึ่งรับบรรยากาศภาย นอกใหม่ๆ เสมอ พื้นที่ภายในออกแบบเน้นความ สัมพันธ์ของการใช้สอยพื้นที่กว้างขวางและจัดวาง การใช้งานอย่างเป็นสัดส่วน ชั้นบนจัดวางพื้นที่พัก ผ่อนออกเป็นอิสระพร้อมออกแบบระเบียงโล่งกว้าง เพื่อพักผ่อนแบบเป็นส่วนตัว

Sukjai Magazine | 31


Happy_home

F-746 F-746

บ้าน 2 ชัน้ สไตล์ Modern เหมาะสำหรับทีด่ นิ ขนาด 76 ตารางวา หน้ากว้างประมาณ 16.00 เมตร ลึกประมาณ 19.00 เมตร พืน้ ทีใ่ ช้สอย 189 ตารางเมตร ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ 1 ห้องพระ 1 ห้องทำงาน

32 | September-October 2010


Plan

แนวคิดในการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

แนวความคิ ด ด้ า นพื้ น ที่ ใช้ ส อย ออกแบบพื้ น ที่ ใช้ ส อยที่ เ หมาะสมและกะทั ด รั ด ในแบบชี วิ ต คน เมืองปัจจุบัน พื้นที่แบ่งการใช้งานออกเป็นสัดส่วน เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับชีวิต ประกอบด้วยห้อง รับแขกเชื่อมต่อกับส่วนรับประทานอาหาร ซึ่งสร้าง บรรยากาศโปร่งสบาย โดยเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ ภายในและภายนอกด้ ว ยช่ อ งเปิ ด ขนาดใหญ่ ออกแบบให้เรียบง่าย สไตล์ Modern โดยเน้นรูป ทรงเรขาคณิ ต เรี ย บง่ า ยและทั น สมั ย ลั ก ษณะ อาคารออกแบบโดยคำนึงถึงการป้องกันความร้อน และเลือกใช้วัสดุที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งสะท้อนภาพ ลักษณ์ของคนทันสมัยอย่างแท้จริง

Sukjai Magazine | 33


Happy_home

F-747 F-747

บ้าน 2 ชัน้ สไตล์ Modern เหมาะสำหรับทีด่ นิ ขนาด 92 ตารางวา หน้ากว้างประมาณ 16.00 เมตร ลึกประมาณ 23.00 เมตร พืน้ ทีใ่ ช้สอย 276 ตารางเมตร ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ 1 ห้องพระ 1 ห้องทำงาน ทีจ่ อดรถ 2 คัน

34 | September-October 2010


Plan

แนวคิดการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

มีพนื้ ทีใ่ ช้สอยทีเ่ หมาะสมกับความต้องการของครอบครัว ในปัจจุบนั เป็นสัดส่วนและยังสามารถปรับเปลีย่ นการใช้ งานได้หลากหลายประกอบด้วยห้องรับแขกทีม่ ขี นาดใหญ่ และเชือ่ มต่อกับบรรยากาศภายนอกด้วยกระจกบานใหญ่ และมีสระน้ำทีส่ ามารถปรับให้เป็นส่วนพักผ่อนได้ ในส่วน ทานอาหารทีม่ คี วามโปร่งโดยทีม่ ฝี า้ เพดานสูง และมีเฉลียง ทีเ่ ชือ่ มต่อสำหรับกิจกรรมภายนอก ห้องทำงานและครัวที่ แยกเป็นสัดส่วน ห้องนอน 3 ห้อง ทีเ่ หมาะสำหรับความ ต้องการในครอบครัวปัจจุบัน ด้วยการออกแบบที่เป็น สไตล์ Modern ลักษณะของตัวอาคารที่มีการระบาย อากาศได้ดี ช่วยในการประหยัดพลังงาน และการ ออกแบบทีค่ ำนึงถึงความสัมพันธ์ในบ้านกับนอกบ้าน ตัว บ้านมีความโดดเด่นและมีลกู เล่น ซึง่ มี 2 บุคลิกทีแ่ ตกต่าง จากมุมมองภายนอก มุมมองด้านหน้าเน้นเรียบง่ายและ ทันสมัย มุมมองด้านบนเน้นมิติและเส้นสายแต่ยังคงมี ความเป็นโมเดิรน์ ทัง้ นี้ มุง่ หวังตอบสนองเจ้าของบ้านและ สมาชิกทีต่ า่ งวัย สามารถเลือกมุมโปรดและอยูอ่ าศัยร่วม กันอย่างพึงพอใจ

Sukjai Magazine | 35


Happy_home

F-824 F-824

บ้าน 3 ชั้น สไตล์ Modern เหมาะกับที่ดินขนาด 92.00 ตารางวา หน้ากว้างประมาณ 15.90 เมตร ลึกประมาณ 23.10 เมตร พื้นที่ใช้สอย 294 ตารางเมตร ประกอบด้วย 4 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ห้องรับแขก ห้องทำงาน ดาดฟ้า ที่จอดรถ 2 คัน

36 | September-October 2010


Plan

แนวคิดการออกแบบ และจุดเด่น

ภายนอกเน้นความโดดเด่นของอาคารด้วยสีสันที่ จัดจ้าน ในแบบ Modern ด้วยรูปทรงทีเ่ รียบง่ายแต่ แฝงด้วยมิติทางสถาปัตยกรรม ภายในพื้นที่ใช้สอย ออกแบบให้มีจำนวนมากและหลากหลายต่อการ ใช้สอยในแบบคนเมือง รูปแบบบ้านสไตล์โมเดิร์น เรียบง่าย ทีม่ คี วามเหมาะสมกับพืน้ ทีเ่ ขตเมือง พร้อม ทั้งการออกแบบฟังก์ชั่นใช้สอยภายในบ้านที่เชื่อมต่อ กันถึงกันง่าย ทำให้ง่ายต่อการใช้ชีวิต อีกทั้งการเพิ่ม สีสันที่โดดเด่นสะดุดตา สร้างบรรายากาศบ้านให้ดู สดใสน่าอยู่ เน้นพืน้ ทีเ่ สริมพิเศษคือชัน้ ดาดฟ้าซึง่ เป็น พื้นที่โล่ง โปร่ง สามารถใช้เป็นจุดชมวิวยามค่ำคืนใน เมืองได้

Sukjai Magazine | 37


Happy_home

W-717 W-717

บ้าน 2 ชั้น สไตล์คันทรี่ เหมาะสำหรับที่ดินขนาด 83 หน้ากว้างประมาณ 19.40 ลึกประมาณ 17.00 พื้นที่ใช้สอย 275 ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 2 คัน

38 | September-October 2010

ตารางวา เมตร เมตร ตารางเมตร


Plan

แนวคิดในการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

ผ่อนคลายอารมณ์กับชีวิตในบ้านสไตล์คันทรี่ ด้วย รูปทรงเรียบง่ายและสูงโปร่งด้วยทรงหลังคา พื้นที่ ภายในออกแบบการใช้สอยที่สัมพันธ์กัน ต้อนรับ ด้วยห้องรับแขกโล่งกว้าง ชั้นบนจัดการใช้งานห้อง นอนออกเป็นสัดส่วนและสร้างบรรยากาศความเป็น ส่วนตัว

Sukjai Magazine | 39


Happy_home

WA-723 WA-723

บ้าน 2 ชั้น สไตล์ Tropical เหมาะสำหรับที่ดินขนาด 53 หน้ากว้างประมาณ 14.00 ลึกประมาณ 15.00 พื้นที่ใช้สอย 147 ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 1 คัน

40 | September-October 2010

ตารางวา เมตร เมตร ตารางเมตร


Plan

แนวคิดการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

พื้ น ที่ ข นาดกะทั ด รั ด แต่ ม ากด้ ว ยการใช้ ง านที่ ออกแบบไว้เพื่อครอบครัวขนาดเล็ก ซึ่งจัดวางการใช้ งานภายในออกเป็นสัดส่วน เน้นความเหมาะสมและ ความสะดวกเป็ น หลั ก พื้ น ที่ ชั้ น บนออกแบบห้ อ ง นอนเพี ย งพอต่ อ การใช้ ง าน ห้ อ งนอนใหญ่ เ น้ น ห้องน้ำโล่งกว้าง เพิ่มสวนในอาคารสร้างบรรยากาศ ผ่อนคลายอย่างธรรมชาติ บ้านแบบเรียบง่าย เน้น การตกแต่งด้วยไม้ระแนงสร้างบรรยากาศสบายๆ สำหรับครอบครัวเล็กๆ พิเศษด้วยห้องน้ำใหญ่ พื้นที่ กว้ า งสำหรั บ ชี วิ ต ซึ่ ง ต้ อ งการการผ่ อ นคลายด้ ว ย สายน้ำท่ามกลางธรรมชาติ

Sukjai Magazine | 41


Happy_home

EA-949 EA-949

บ้าน 2 ชั้น สไตล์ Contemporary เหมาะสำหรับที่ดินขนาด 162 หน้ากว้างประมาณ 23.60 ลึกประมาณ 27.50 พื้นที่ใช้สอย 407 ประกอบด้วย 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 3 คัน และส่วนบริการครบครัน

42 | September-October 2010

ตารางเมตร เมตร เมตร ตารางเมตร


Plan

แนวคิดในการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

เน้นความโปร่งโล่งของอาคาร โดยเสริมด้วยช่อง แสงขนาดใหญ่บริเวณเฉลียง ซึ่งเชื่อมต่อกับพื้นที่ ภายในที่เปิดช่องโล่งบริเวณโถงทางเพื่อความโอ่อ่า เสริมความภูมิฐานให้ผู้เป็นเจ้าของบ้าน พื้นที่ใช้สอย ภายในเชื่อมต่อกันด้วยโถงใหญ่ และจัดวางฟังก์ชั่น แบ่งเป็นสัดส่วนเพื่อให้สมาชิกในบ้านมีความอิสระ มากขึ้ น ในการอยู่ อ าศั ย เหมาะสำหรั บ บ้ า นแบบ ครอบครัวใหญ่เป็นอย่างยิ่ง Sukjai Magazine | 43


Happy_home

F-230 F-230

บ้าน 2 ชั้น สไตล์ Modern เหมาะสำหรับที่ดินขนาด 155 หน้ากว้างประมาณ 31.00 ลึกประมาณ 20.00 พื้นที่ใช้สอย 421 ประกอบด้วย 5 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 2 คัน

44 | September-October 2010

ตารางวา เมตร เมตร ตารางเมตร


Plan

แนวคิดในการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

บ้าน 2 ชั้น สไตล์ Modern ที่ทอดตัวอาคารเป็น แนวยาว เปิดรับบรรยากาศภายนอกได้อย่างกว้าง แบบสุดสายตา เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่ชอบรูปแบบ อาคารที่ทันสมัย และความอิสระของพื้นที่ภายใน อาคารที่ ก ว้ า งขวาง โล่ ง และโปร่ ง สบายด้ ว ยการ ออกแบบช่องเปิดที่กว้าง ซึ่งเหมาะสำหรับพักผ่อน ความคิดไปกับการชมบรรยากาศภายนอกที่สุดแสน สบายในแบบรี ส อร์ ท ชายทะเลเหมาะสำหรั บ ครอบครัวใหญ่เป็นอย่างยิ่ง Sukjai Magazine | 45


Happy_home

F-771 F-771

บ้าน 2 ชั้น สไตล์ Modern เหมาะสำหรับที่ดินขนาด 67 ตารางวา หน้ากว้างประมาณ 19.00 เมตร ลึกประมาณ 14.00 เมตร พื้นที่ใช้สอย 233 ตารางเมตร ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ 1 ห้องพระ ที่จอดรถ 2 คัน

46 | September-October 2010


Plan

แนวคิดในการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

บ้าน 2 ชั้น ในรูปแบบเขตร้อนชื้นสไตล์ Modern เน้ น รู ป ทรงโปร่ ง เรี ย บง่ า ย พื้ น ที่ ใช้ ส อยจั ด วางให้ กะทัดรัดสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทุกการใช้สอย ลักษณะภายในบ้านมีความโล่งโปร่งเพื่อช่วยในการ ระบายอากาศ ส่วนประกอบของตัวบ้านภายนอก สามารถบั ง แดดเพื่ อ ลดความร้ อ นที่ เข้ า สู่ ตั ว บ้ า น และได้ มี ก ารนำน้ ำ เข้ า มาช่ ว ยลดความร้ อ นใน บริเวณบ้าน โดยไอน้ำจะระเหยตามลมที่พัดเข้าสู่ ตัวบ้านทำให้สามารถลดอุณหภูมิและเพิ่มสภาวะ ความน่าสบายให้กับบ้านได้เป็นอย่างดี

Sukjai Magazine | 47


Happy_home

F-828 F-828

บ้านชั้นเดียว สไตล์ Modern เหมาะสำหรับที่ดินขนาด 217 หน้ากว้างประมาณ 30.80 ลึกประมาณ 28.20 พื้นที่ใช้สอย 415 สระว่ายน้ำ 21 ประกอบด้วย 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 2 คัน และส่วนบริการครบครัน

48 | September-October 2010

ตารางวา เมตร เมตร ตารางเมตร ตารางเมตร


Plan

แนวคิดในการออกแบบ และจุดเด่นของบ้าน

ออกแบบพื้นที่ภายในเพื่อจัดสวนและสระว่ายน้ำ เพื่อสร้างบรรยากาศของการพักอาศัยแบบใหม่ที่ หลีกหนีความจำเจในเมืองเข้ามาสู่ธรรมชาติในบ้าน ของคุณ

Sukjai Magazine | 49


Happy_Feng shui เรื่อง : อาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ ยังปิ่น

ครอบครัวสุขใจด้วยศาสตร์

‘ฮวงจุ้ย’ “

“ศาสตร์ฮวงจุ้ย” เป็นหลักการอีกวิธีการหนึ่งที่ ทำให้ความเป็นอยู่เย็นเป็นสุขและส่งผลให้ชีวิตเจริญ รุ่งเรือง หลักที่ต้องดูและเข้าใจพื้นฐานเบื้องต้น อันดับ แรก บ้านต้องมีเสียงที่ไพเราะ เช่น เสียงเพลง เสียง ระฆัง เสียงน้ำตก เสียงน้ำไหลฯ 2. บ้านต้องมีอากาศ ถ่ายเทได้ดี ลมจึงทำให้ธาตุในตัวเราเย็นไม่ร้อนลุ่ม กลุม่ ใจ 3. บ้านต้องมีดนิ มีนำ้ ปลูกต้นไม้มงคล ไม้รม่ เงาไม่ ปิ ด บั ง บ้ า นที่ พั ก อาศั ย 4. บ้ า นต้ อ งมี ข องดี สิง่ สวยงาม เช่น พระเทวรูป รูปภาพ กระจกเงา แสงสี 5. บ้านต้องมีคนอยู่ สัตว์ที่รักเลี้ยง และคุยกันแต่ เรื่ อ งมงคลไม่ พู ด เลว 6. บ้ า นต้ อ งหาที่ เ ก็ บ ทรั พ ย์ เรียกทรัพย์ นับเงินทอง และของมีค่าโชว์ได้ 7. บ้าน 50 | September-October 2010

ความสำเร็จในชีวิต “ครอบครัว” เจริญเติบโต จนมีบ้าน มีรถ มีบุตร บริวาร มีเงินทองมากมาย เราต้องมีหลักชัยในการดำเนินชีวิต สิ่งแรกต้องรู้จักศรัทธาตัวเรา บ้าน รถ คนรับใช้ หรือสิ่งรอบข้างเสียก่อน เมื่อมีความเชื่อมั่นชีวิตก็จะได้ ไม่ล้มลุก ล้มละลาย หมดตัว หมดใจ ไม่สู้ ท้อถอย

( ตอนที่ ๑ )

ต้องมีศาล หิ้งพระ ห้องพระ หรือมุมสบายในบ้าน พักนั้น 8. บ้านต้องไม่สกปรก รกรุงรัง มีของเน่า ของเหม็นทำความสะอาดเร็ว ๆ 9. บ้านต้องดูของมี คม อาวุธให้เป็นที่ ตะเกียง ไฟ ต้องตรวจทุกเดือน ทุกวัน 10. บ้านต้องเตรียมเก็บอาหาร ของใช้ให้เป็น ที่ และต้องนอนสบายๆ เป็นสุข ในวันที่เราว่างควรจะจัดเก็บและเตรียมหลัก สำคัญเหล่านี้ไปก่อนจนเราเห็นว่าจะต้องแก้ไขอะไร ในบ้านเราอีก อาจารย์จะแนะนำทีละจุดที่เรายังมี และไม่มีหามาเติมความรู้ ตั้งแต่หน้าบ้าน กลางบ้าน ในห้อง ทีน่ อน เตาไฟ ฯลฯ ไปเป็นตอนๆ ไปจนครบ 20 ตอนของฮวงจุ้ย ท่านผู้อ่านจะได้นำไปปฏิบัติให้ สมค่ากับทีไ่ ด้บา้ นมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรา


Sukjai Magazine | 59


Happy_Cover Story text : sukjai

กรมฯ อนุรักษ์พลังงาน กับภารกิจปั้น Eco House สู่ Green Country สัมภาษณ์

สุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ รองอธิบดี กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน สังกัดกระทรวงพลังงาน

“สยามเมืองยิ้ม” เป็นประโยคที่คุ้นหูคนไทยมา ช้านาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้อง พานพบ เมือ่ เหยียบย่างลงบนผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้ กอปรกับ ทรัพยากรธรรมชาติอันครบครันทั้งทะเล ภูเขา แม่น้ำที่ สวยงามไม่แพ้ทใี่ ดในโลก จึงดึงดูดให้นกั ท่องเทีย่ วหลัง่ ไหล เข้ า มาซึ ม ซั บ ความสวยงามเหล่ า นี้ ม ากมาย กลายเป็ น อุตสาหกรรมหลักทีส่ ร้างเม็ดเงินให้กบั อาณาจักรขวานทอง แห่งนีอ้ ย่างมหาศาล

52 | September-October 2010


“ตอนนี้ผู้ประกอบการส่วน ใหญ่ยังใช้พลังงานพื้นฐานอยู่ จึงอยากฝากให้ช่วยดูในเรื่องนี้ อีกสักนิด เพื่อให้เป็นความ ภูมิใจของผู้อยู่อาศัยต่อไป เพราะในระยะ 5 ปี ถึง 10 ปี ข้างหน้ากระแสโลกจะตระหนัก ในเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อมมากขึ้น คนที่เป็นภัย ต่อสิ่งแวดล้อมอาจถูกมองไม่ดี จากสังคมได้”

นอกเหนื อ จากทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ล้ ว สภาพอากาศของไทยยั ง เอื้ อ อำนวยในการทำ เกษตรกรรมยิง่ นัก จนกลายเป็นความภาคภูมใิ จทีไ่ ด้ เป็นเบอร์ 1 ในการส่งออกข้าวไปยังทั่วโลก และ สร้างรายได้ให้เข้าประเทศอย่างท่วมท้นเช่นกัน ทว่า กลับเป็นเรื่องน่าเศร้าเหลือคณา เมื่อ รายได้ทั้งหมดนั้นต้องสูญมลายไปกับการไขว่คว้าหา “พลังงาน” ทัง้ ไฟฟ้าและน้ำมัน เพื่อเข้ามาเกือ้ หนุน ให้ประเทศชาติเดินหน้าไปได้ เมื่อสถานการณ์ที่นับ วันประชากรไทยยังใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่เคยสนใจว่าพลังงานเหล่านี้นั้น ส่วนใหญ่ต้อง นำเงินจำนวนมหาศาลไปแลกมา ด้วยแดนสยามเอง สามารถสรรสร้างพลังงานมาใช้ได้เพียงน้อยนิด เช่ น นี้ เ องจึ ง กลายเป็ น หน้ า ที่ ข องภาครั ฐ ที่ จำเป็นต้องหา “พลังงานทดแทน” เข้ามาช่วยแบ่ง เบาภาระอันหนักอึ้งนี้ โดยมอบหมายให้กรมพัฒนา พลั ง งานทดแทนและอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งาน สั ง กั ด กระทรวงพลังงาน เป็นแนวหน้าในการแก้ไขปัญหานี ้ “คุณสุเทพ เหลีย่ มศิรเิ จริญ” รองอธิบดีกรม พัฒนาพลังงานทดแทนฯ ได้เริม่ ต้นเล่าถึงเส้นทางใน การสร้างพลังงานทดแทนว่า ประเทศไทยนั้นไม่มี “น้ำมัน” ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานเหลือเฟือเหมือน ตะวันออกกลาง แต่กลับใช้พลังงานมากกว่าที่มีอยู่ จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากประเทศอื่น และนั่นถือเป็น ความไม่มนั่ คงในด้านพลังงานของไทยอย่างยิง่ ฉะนั้นกระทรวงพลังงานจึงได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี 2545 เพื่อแก้ไขปัญหานี้ และได้หยิบเอาข้อ เด่นของไทยด้านภูมิศาสตร์มาเป็นตัวหลักในการ สร้างพลังงานทดแทน ด้วยไทยเป็นประเทศร้อนชื้น

เหมาะแก่ ก ารทำเกษตรกรรม และยั ง มี แ สงแดด เกือบตลอดทั้งปี นี่เองจึงสรุปพลังงานทดแทนออก มาได้ 7 อย่างด้วยกัน เริ่มต้นที่พลังงานแสงอาทิตย์เป็นอย่างแรก ต่อมาเป็นพลังงานลม อย่างที่สามเป็นพลังงานน้ำ ส่วนถัดมาเรียกว่า “ชีวมวล” เป็นการนำผลผลิตของ เหลือจากเกษตรกรรมมาแปรเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน อย่างที่ห้านั้นเป็นการนำมูลสัตว์มาทำให้เกิดเป็น แก๊ส ส่วนขยะที่มาจากทุกที่ทุกชนิดเป็นอย่างที่หก ในการนำมาใช้ให้เกิดพลังงานทดแทน สำหรับอย่าง สุดท้ายคือการนำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาใช้ เมื่ อ กำหนดสิ่ ง ที่ จ ะนำมาเป็ น พลั ง ทดแทน แล้ว จึงเกิดเป็น “แผนพลังงานทดแทน” ขึน้ ภายใต้ โครงสร้าง “เพียงพอ มั่นคง ราคาเป็นธรรม และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยเริ่มสตาร์ทมาแล้วตั้ง แต่ปี 2551 และไปสิ้นสุดในปี 2565 ด้วยการวาง เป้าหมายจากที่วันนี้ มีการใช้พลังงานทดแทนเพียง 1.2% แต่เมื่อหลังปี 2565 ไปแล้วจะทำให้เพิ่มขึ้น เป็น 20% ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นจะสามารถช่วยประหยัด พลังงานคิดเป็นเงินได้ถึงประมาณ 4.6 แสนล้าน บาทต่อปี แผนพลังทดแทนที่เกิดขึ้นมา เวลานี้ย่างเข้า ปีที่ 3 แล้ว ซึ่ง รองฯ สุเทพบอกว่าได้ให้น้ำหนักใน เรื่องของการ “ผลิตกระแสไฟฟ้า” กับ “ผลิตความ ร้อน” ก่อน โดยในเรื่องการผลิตกระแสไฟฟ้านั้น เรียกว่า “Adder” หรือเข้าใจง่ายๆ ว่าให้ผปู้ ระกอบ การผลิตกระแสไฟฟ้ามาจำหน่ายให้กับภาครัฐ โดย ใช้พลังงานอื่นๆ ที่มีอยู่ในประเทศนั่นเอง และรัฐจะ รับซื้อในราคาหน่วยละ 8 บาท ตั้งเป้ารับซื้อไว้ที่ Sukjai Magazine | 53


500 เมกะวัตต์ ซึง่ ก็ได้รบั ความสนใจมีคนเข้ามาสมัคร กว่า 3,000 ราย แม้ว่าจะมีคนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก แต่ตอนนี้กำลังอยู่ในระหว่างคัดสรร จึงมีผู้ประกอบ การผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายให้เวลานีร้ าว 5-6 ราย รับซื้อมาแล้วประมาณ 10 เมกะวัตต์ เป็นพลังงาน จากแสงอาทิตย์ทงั้ หมด ดูจากการตอบรับทีเ่ กิดขึน้ ชี้ ให้เห็นแล้วว่า “Adder” กำลังเดินหน้าไปได้ด้วยดี และเห็นความสำเร็จอยูไ่ ม่ไกลแล้ว ฉะนัน้ กรมพัฒนา พลังงานทดแทนฯ จึงได้หันมาเริ่มโครงการในเรื่อง ของการ “ผลิ ต ความร้ อ น” ต่ อ เพราะทั้ ง ใน อุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ต่างก็ใช้น้ำร้อนด้วย กันทั้งนั้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการใช้กระแสไฟฟ้า หรือน้ำมันเตา ดังนั้น จึงได้มีแนวคิดเครื่องทำน้ำ ร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้น โดยเริ่มต้นกระตุ้น ในภาคอุตสาหกรรมกับอาคารที่ใช้น้ำร้อนจำนวน มากก่ อ น เพื่ อ ลดค่ า ใช้ จ่ า ยในด้ า นพลั ง งานให้ กั บ ตนเอง ทัง้ ยังเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมอีกด้วย เกี่ ย วกั บ ภาคอุ ต สาหกรรมนั้ น รองอธิ บ ดี ฯ สุเทพเล่าว่าทุกอย่างเดินหน้าไปได้ดว้ ยดี เพราะภาค อุตสาหกรรมต่างทราบแล้วว่า แม้ต้นทุนเริ่มต้นจะมี ราคาสู ง แต่ เ มื่ อ คำนวณแล้ ว สามารถคุ้ ม ทุ น ได้ ใ น ระยะเวลาเพียง 5 ปีเท่านัน้ จึงได้เริม่ มองในขนาดที่ เล็กลงมาที่กลุ่มบ้านจัดสรรแต่นั่นยังคงเป็นโจทย์ ยากอยู่ ด้วยในอดีตเคยมีภาพลักษณ์ไม่ดสี กั เท่าไรนัก 54 | September-October 2010

เพราะราคาแพงมากเหยี ย บหลั ก แสนที เ ดี ย ว แต่ นั่นเป็นหน้าที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ ต้องหา ทางผ่านไปให้ได้ ซึ่งเวลานี้ได้เร่งวิจัยพัฒนา เชิญ ผูป้ ระกอบการในประเทศมาร่วมศึกษา เดินทางไปดู งานต่างประเทศ เอามาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมให้มี ผู้ผลิต ตอนนี้ก็เลยเริ่มเห็นเครื่องทำความร้อนขนาด เล็กบ้างแล้ว และต้นทุนการผลิตลดลงมาเหลือราว ตารางเมตรละ 30,000 – 40,000 บาท แต่หากมอง ไปถึงเรื่องแข่งขันในเชิงการค้า จำเป็นต้องลดราคา ลงมาอีกให้เหลือไม่เกินตารางเมตรละ 15,000 บาท ทว่า การกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันเช่นนั้น คุณสุเทพมองว่าคงต้องทำการบ้านกันหนักสักหน่อย ซึง่ ตอนนีก้ ก็ ำลังเร่งวิจยั กันอยู่ อาจเอามาตราการรัฐ ในเรื่องภาษีเข้าไป หรือดูว่ามี “Adder” ไหม โดย หากผลิตให้กับกลุ่ม เฮ้าส์ โฮม ยูส หรือ บ้างสร้าง ใหม่ ก็จะมีการลดภาษีให้ ส่วน “Adder” นัน้ ก็ดวู า่ 1 เครือ่ งจะให้คา่ ลดหย่อนกีบ่ าท ตรงนีห้ ากสามารถ ทำให้ราคาเครือ่ งทำน้ำร้อนลดลงมาที่ 15,000 บาท ได้ ภาคธุรกิจคงเริ่มเข้ามามากขึ้น ฉะนั้นจึงติดอยู่ที่ ว่าคุม้ หรือไม่คมุ้ เมื่อมองในเชิงธุรกิจที่ว่ายังเป็นโจทย์ยากที่ ต้ อ งเร่ ง แก้ ไข แต่ ห ากเปลี่ ย นกลั บ ไปในมุ ม ของ ผูบ้ ริโภคแล้ว รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ เชื่อว่าเมื่อหยิบความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ต่อชีวิตขึ้นมาพูดแล้ว ตารางเมตรละ 15,000 บาท

ดูมิใช่เรื่องใหญ่เลย มิหนำซ้ำอาจดันราคาให้เพิ่มขึ้น ไปถึง 20,000 – 25,000 บาท ได้อกี ด้วย เพราะว่า ถ้ า เป็ น เครื่ อ งทำน้ ำ ร้ อ นทั่ ว ไป ไม่ ติ ด ตั้ ง สายดิ น มี อันตรายถึงชีวิตทันที จุดนี้ทำให้มีหลายคนกล้าๆ กลัวๆ ไม่อยากให้บตุ รหลานเข้าไปเสีย่ ง “ถ้าถามผม บอกได้เลยว่าผมยอมลงทุน เพือ่ ความปลอดภัยของ ครอบครัวผม” รองอธิบดีฯ ได้แสดงความรูส้ กึ ตรงนี้ ออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยมาตราการและแผน พลังงานทดแทนทีล่ ว่ งเข้าปีที่ 3 จากแผนทีว่ างไว้ 15 ปี ซึง่ ประสงค์ให้มกี ารใช้พลังงานทดแทนเพิม่ ขึน้ เป็น 20% นัน้ เวลานีไ้ ด้เพิม่ ขึน้ จาก 1.2% เป็น 7% แล้ว และสิง่ ทีไ่ ด้ทำควบคูก่ นั ไปด้วยกับแผนวาระแห่งชาติ ครั้งนี้นั้น ก็คือการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตรงนี้ รองฯสุเทพอธิบายว่ามาตราการลดพลังงานพื้นฐาน อย่างน้ำมันหรือกระแสไฟฟ้านัน้ ถือเป็นการช่วยลด โลกร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะต้นกำเนิดของพลังงาน ตรงนี้ล้วนก่อให้เกิดก๊าซพิษที่ทำลายธรรมชาติ เมื่อ เอ่ยถึงอนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว รองอธิบดีกรมพัฒนา พลังงานฯ ยังได้กล่าวถึง บริษทั พีดี เฮ้าส์ คอร์ปอเรชัน่ จำกัด ด้วยว่าเป็นบริษัทที่มีจุดยืนในเรื่องการรักษา สิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องขยะและการสร้าง บ้านอนุรักษ์พลังงาน จนได้รับรางวัลถึง 4 รางวัล จึ ง มั่ น ใจได้ ใ นเรื่ อ งของวั ส ดุ ป ระหยั ด พลั ง งาน แต่ตอนนี้ยังใช้พลังงานพื้นฐานอยู่ จึงอยากฝากให้ ช่วยดูในเรื่องนี้อีกสักนิด เพื่อให้เป็นความภูมิใจของ ผู้อยู่อาศัยต่อไป เพราะในระยะ 5 ปี ถึง 10 ปีข้าง หน้ากระแสโลกจะตระหนักในเรือ่ งความเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น คนที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมอาจ ถู ก มองไม่ ดี จ ากสั ง คมได้ จากที่ เ ห็ น ได้ ใ นหลาย ประเทศว่าเริ่มสร้างหมู่บ้านสีเขียวกันเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนือ่ ง โดยอย่างประเทศสวีเดนนัน้ ตัง้ เป้าจะทำให้ ได้ทงั้ ประเทศ อย่างไรก็ตาม รูส้ กึ ดีทเี่ ห็น พีดี เฮ้าส์ ใส่ใจ ในเรื่องพลังงาน มีแนวคิดสร้างบ้านที่ประหยัด พลั ง งานจนได้ รั บ หลายรางวั ล เวลานี้ มี อ ยู่ 17 สาขา ก็คาดว่าจะกลายเป็นต้นแบบที่ดี จึงอยาก ให้นำแนวคิดนี้ไปพัฒนาในภาคที่อยู่อาศัยให้เป็น แบบอย่าง ให้ผคู้ นได้เห็นแบบอย่างทีด่ ี และอาจมี คนนำไปเลียนแบบ นำไปสู่การช่วยเหลือสังคม ช่วยประเทศชาติตอ่ ไป



Happy_Cover story

เปิดแนวคิด

CEO PDHOUSE กั บ 4 รางวั ล

“บ้านอนุรักษ์พลังงาน”

56 | September-October 2010


ผลกระทบจากโลกร้อนทำให้ทั่วโลกตระหนัก ถึงความอยู่รอดของมนุษยชาติในอนาคตว่า หากไม่ ลดละการใช้ พ ลั ง งานที่ ส่ ง ผลกระทบกั บ สิ่ ง แวดล้อม หรือธรรมชาติที่คอยปกป้องเราแล้ว เราคงอยู่ในโลกใบนี้ได้อีกไม่นาน ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกต่างพยายาม รณรงค์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ เหลืออยู่ เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคน เรายืนยาวต่อไป เช่นเดียวกับ ศูนย์รบั สร้างบ้านพีดเี ฮ้าส์ ทีเ่ ข้าใจถึงผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต จึง ได้ลดการใช้วสั ดุฯ ธรรมชาติ และเลือกใช้วสั ดุ ก่อสร้างทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม จนได้รบั รางวัล “บ้ า นอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งาน” ระดั บ “ดี ม าก” ถึ ง 4 รางวัลจาก กระทรวงพลังงาน สิ ท ธิ พ ร สุ ว รรณสุ ต ประธานกรรมการ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด หรือที่รู้จักกันใน นาม “ศู น ย์ รั บ สร้ า งบ้ า นพี ดี เ ฮ้ า ส์ ” เล่ า ให้ ฟั ง ถึ ง ความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งช่วยให้โลกใบนี้น่า อยู่ขึ้นว่า จากการที่กระทรวงพลังงานมีโครงการ สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านใช้ วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือช่วยลด

โลกร้อน ในฐานะผู้ประกอบการ มองว่าเราน่าจะมี ส่วนเล็กๆ น้อยๆ ที่รับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งการใช้ พลั ง งานภายในบ้ า นก็ เ ป็ น เรื่ อ งที่ ใ กล้ ตั ว มาก ถ้าเทียบกับเรื่องการใช้พลังงานอื่นๆ ประจำวัน เลย มองว่าจุดนี้เราน่ามีการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจ ของตัวเอง วันนั้นวัสดุช่วยประหยัดพลังงานและเป็นมิตร กับสิง่ แวดล้อมทีม่ ผี ผู้ ลิตออกมาใหม่ ยังเป็นนวัตกรรม ทีม่ คี า่ ไอเดียความคิด ค่าโนวฮาวน์ ค่อนข้างสูงกว่า วัสดุในตลาดแบบเดิมๆ ประการที่สอง ด้วยความที่ ต้ อ งแข่ ง ขั น กั บ วั ส ดุ ธ รรมชาติ เช่ น วงกบ บาน หน้าต่างไม้ธรรมชาติ เมื่อเปรียบเทียบกับการที่เอา เม็ ด พลาสติ ก มาขึ้ น รู ป แล้ ว นำมาผลิ ต เป็ น วั ส ดุ ทดแทน ต้ น ทุ น การผลิ ต จึ ง สู ง กว่ า วั ส ดุ ธ รรมชาติ ขณะที่โวลุ่มหรือปริมาณการใช้ยังมีน้อย ประเด็ น ปั ญ หาที่ ต ามมาคื อ ต้ น ทุ น ของการ สร้ า งบ้ า นจะสู ง กว่ า การสร้ า งบ้ า นที่ ใช้ วั ส ดุ แ บบ เดิ ม ๆ หากสร้ า งบ้ า นที่ ไ ม่ ค ำนึ ง ถึ ง การประหยั ด พลังงานในอนาคต ต้นทุนจะต่ำกว่า เรายอมรับว่า ช่ ว งต้ น ๆ การแข่ ง ขั น ลำบาก หนึ่ ง แข่ ง ขั น ลำบาก เพราะต้นทุนสูงกว่าคูแ่ ข่ง สองยังเป็นเรือ่ งทีผ่ บู้ ริโภค เองมองข้ามและยังไม่ให้ความสำคัญ ณ จุดเริ่มต้น ขณะนั้น ก็ยอมรับว่าเหนื่อย แต่เวลาผ่านมา 10 ปีมันเริ่มสวนทาง วัสดุที่ เป็นธรรมชาติเริ่มหายากขึ้น ช่างก็ทำงานลำบาก เพราะมีขั้นตอนยุ่งยาก แถมช่างฝีมือก็หายากด้วย ฉะนั้นราคาก็เลยแพง ขณะที่กระแสตื่นตัวคนหันมา ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มตลอดในช่วง 5-6 ปีมานี้ พอมีโวลุ่มมันก็ทำให้ราคาค่อยๆ ถอย กลั บ มาบาลานซ์ ห รื อ สมดุ ล ย์ กั น จากเดิ ม วั ส ดุ ทดแทนแพงกว่ามาก วัสดุธรรมชาติถูกไล่ราคาเข้า มาใกล้เคียงกัน ปัจจุบันวัสดุอนุรักษ์พลังงานราคา จะไม่สูงกว่าวัสดุที่มาจากธรรมชาติ ทำให้ความเสีย เปรียบเมื่อก่อน เปลี่ยนมาเป็นความได้เปรียบแทน เมื่อกระแสตื่นตัวมาแรง ณ วันนี้บ้านที่ทำจากวัสดุทดแทน กับบ้านทำ จากวัสดุธรรมชาติต้นทุนไม่ต่างกัน อีกส่วนเป็นเรื่องของธุรกิจ เริ่มมองเห็นว่า ณ วันนั้นผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ยังไม่มีใครให้ความ สำคัญ เราเองในฐานะเป็นบริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำ ที่มีความเชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำการสร้าง Sukjai Magazine | 57


บ้ า นแก่ ผู้ บ ริ โ ภค เราน่ า จะมี จุ ด ขายมาสื่ อ สารกั บ ลูกค้า ในขณะนั้นฝ่ายบริหารของบริษัทฯ เองก็มอง ว่ า เรื่ อ งนี้ เ ป็ น เรื่ อ งที่ น่ า สนใจ และมี แ นวโน้ ม ใน อนาคตว่ า จะเกิ ด กระแสตื่ น ตั ว กั น มากในทุ ก วงการ จากนั้นมาเราเริ่มปรับเปลี่ยนทิศทางการ ออกแบบบ้ า น การสร้ า งบ้ า น การเลื อ กวั ส ดุ ต่ า งๆ มาใช้ ส ร้ า งบ้ า น เราค่ อ ยๆ เริ่ ม ปรั บ เปลี่ ย นมาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง กระทั่ ง ปั จ จุ บั น เรา สร้ า งบ้ า นทั้ ง หลั ง โดยใช้ วั ส ดุ ท ดแทนไม้ ธรรมชาติเกือบ 100% รวมทั้งเลือกใช้วัสดุและ อุปกรณ์ที่ช่วยลดการใช้พลังงานอีกด้วย จนถึงกระบวนการที่รัฐหันมาส่งเสริมและ สนับสนุน มีการมอบรางวัล มอบเกียรติบัตร มอบ โล่ ห์ ให้ บ ริ ษั ท ที่ ด ำเนิ น ธุ ร กิ จ แนวทางนี้ เพื่ อ จะ สนับสนุนให้ดำเนินการต่อ เราก็เป็นรายหนึ่งที่ได้รับ การยื น ยั น จากภาครั ฐ คื อ “กรมพั ฒ นาพลั ง งาน ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน” ว่า บ้านที่เราสร้างอนุรักษ์พลังงาน โดยการส่งแบบบ้าน ส่ ง ผลงานก่ อ สร้ า งบ้ า น เข้ า ร่ ว มโครงการ มี ค ณะ กรรมการเข้ามาตรวจสอบว่าออกแบบเลือกใช้วัสดุ และก่อสร้างเพื่อเป็นบ้านประหยัดพลังงานจริง 58 | September-October 2010

เริ่มส่งผลงานเข้าประกวดเมื่อตอนต้นปี 2551 การที่จะให้รางวัลหรือประกาศว่าเป็นบ้านอนุรักษ์ พลังงาน มันเริ่มตั้งแต่งานออกแบบและก่อสร้างจน แล้วเสร็จ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี และประกาศผลให้ ทราบในปี 2552 ปรากฏว่าเราสามารถออกแบบและ สร้างให้แล้วเสร็จ 4 หลัง และทัง้ 4 หลังนีผ้ า่ นเกณฑ์ มาตรฐาน และได้รับรางวัลในประเภท “ดีมาก” 4 รางวัล คือ ได้ทกุ รางวัล ทุกหลังทีส่ ง่ เข้าไป โดยหลักเกณฑ์มี 1. แบบบ้าน สอดคล้องกับ ทิ ศ ทางลม หรื อ โลเคชั่ น การรั บ แสงอยู่ ใ นชุ ม ชน หรือว่าระยะห่างในการเดินทาง ที่ใช้พลังงานจาก บ้ า นไปติ ด ต่ อ ที่ อื่ น นั้ น เป็ น กายภาพภายนอก 2. วัสุดที่ถูกนำมาใช้ในการก่อสร้าง จะดูตรงนี้ว่าเป็น วัสดุที่เป็นฉนวนหรือเปล่า เป็นวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่ง แวดล้อม ซึ่งตรงนี้เช็กทั้งหมด 3. นอกจากวัสดุที่ เป็นเปลือกแล้วยังมีวัสดุที่เป็นฉนวนอยู่ข้างในด้วย รวมถึงวัสดุตกแต่ง เช่น พื้น ผนัง แล้วสุดท้ายดูเรื่อง ของสุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้า แม้แต่กระจกที่แสงจะ ผ่ า นเข้ า ไปภายใน เพราะว่ า ถ้ า แสงลอดเข้ า ได้ ทั้ ง หมด มี เ ปอร์ เซ็ น ต์ ก ารกรองแสงน้ อ ยจะทำให้ ภายในมีอุณภูมิสูง ซึ่งมีเครื่องมือตรวจสอบอุณหภูมิ


ภายนอก-ภายใน แสงภายนอก-ภายใน การจั ด ฟังก์ชั่นบ้าน การใช้แสงสว่างห้องไหนไม่ควรใช้แสง ไฟวัตต์มาก ห้องไหนอนุญาตให้แสงไฟสว่างได้ คือ ให้โจทย์มาหมดเลยว่าคุณต้องไปทำแบบนี้ แม้ ก ระทั่ ง “สี ” ก็ ต้ อ งมี ฉ ลากเขี ย ว คื อ ไม่ ทำลายสิ่ ง แวดล้ อ ม ไม่ มี ส ารตะกั่ ว สุ ด ท้ า ยตั ว อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างแอร์ น้ำมีบำบัดน้ำเสีย บ่อดักไข มั น ต้ อ งเปิ ด ฝาดู กั น ว่ า อยู่ ต รงไหน เช็ ค ว่ า ทำจริ ง หรือเปล่าหรือเอามาวางไว้เฉยๆ คือคณะกรรมการ ที่มาตรวจต้องเช็คลิสต์เป็นข้อๆ จากนั้นต้องมาสรุป ให้ บ อร์ ด คณะกรรมการใหญ่ ใ ห้ เราเข้ า ไปชี้ แ จง ประเมินผล จาก 600 กว่ารายที่เข้าร่วม ผ่านแค่ 16-17 ราย โดย 17 รายที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล มี ทั้ ง “ดี มาก” และก็ “ดี” ที่จริงมีหลายบริษัทส่งผลงานเข้า ประกวดก่อนหน้าเรา แต่ว่าได้รางวัลแค่ประเภท

“ดี” ก็คือทองแดง และก็ได้เพียง 1 รางวัล เราส่ง โปรแกรมมาเป็นปีที่ 2 แล้ว และปี 2553 นี้ทราบ ว่าเปิดรับสมัครให้ส่งเข้าประกวดอีกเป็นปีที่ 3 ซึ่ง พี ดี เฮ้ า ส์ จะส่ ง ผลงานเข้ า ประกวดให้ ม ากที่ สุ ด เพราะต้องการเช็คให้ชัวร์ๆ เลยว่าของเราประหยัด พลังงานจริงทุกหลัง มันก็จะเหนื่อยหน่อยเพราะ เค้าตรวจเป็นหลังต่อหลัง ไม่ใช่หลังนี้ได้แล้วได้หมด ทุกหลัง จริ ง ๆ รางวั ล ที่ ไ ด้ รั บ มี ทั้ ง “ชมเชย” “ดี ” “ดีมาก” แต่ว่าท็อปสุดคือ “ดีเด่น” ซึ่งต้องมีเรื่อง ของเครื่องทำน้ำร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ เข้ามา เป็นองค์ประกอบในการตัดสินอีกเยอะ ซึ่งตอนนั้น บ้านของเรายังขาดตรงนี้ แล้วคะแนนที่ขาดไปตอน นั้ น เป็ น เรื่ อ งของสุ ข ภั ณ ฑ์ ที่ ลู ก ค้ า เลื อ กไม่ ไ ด้ ป ระ หยัดน้ำตามเกณฑ์กำหนดไว้ คือเลือกสุขภัณฑ์หรู อย่างอ่างจากุซซี่ ตรงนี้คะแนนเลยตก ไม่สามารถ คอนโทรลลู ก ค้ า ได้ โดยประเภท “ดี เ ด่ น ” เป็ น ประเภทสูงสุด อาคารประเภทบ้านพักอาศัยไม่มี ใครได้ แต่ที่เป็นอาคารสาธารณะ “ซิเมนต์ไทยค้า สากล” เค้าได้ ด้วยความตั้งใจเลยว่าเป็นอาคาร ประหยัดพลังงาน และเค้าใช้เงินของเค้าเอง ช่วงได้รับรางวัลมาเรายังไม่ได้ชูเป็นจุดขาย เพิ่งมาเริ่มเอาช่วงปีนี้เอง แต่ว่าความเข้าใจของผู้ บริโภคกลุ่มหนึ่งยังไม่ค่อยเข้าใจ เพราะว่า “บ้าน ประหยั ด พลั ง งาน” ไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง “บ้ า นราคา ประหยัด” คือเข้าใจว่าสร้างบ้านประหยัดพลังงาน Sukjai Magazine | 59


จะประหยัดเงินด้วย จริงๆ ไม่ใช่ เพราะการก่อสร้าง จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่น ฉนวน อุปกรณ์ ฯลฯ เพื่อทำให้บ้านลดการใช้พลังงานลง แต่กลุ่มลูกค้าที่ เข้าใจก็ถือว่าฟีตแบคดีมาก การแนะนำลูกค้าด้วยการเปรียบเทียบราคา ให้เห็นว่าแน่นอนเมื่อสร้างบ้านราคาจะสูงกว่าแต่ ต้ อ งกลั บ ไปเที ย บว่ า การใช้ ไ ฟฟ้ า น้ ำ ประปา ใน บ้านจะลดลงเฉลี่ย 24% ขึ้นไป และทำให้บ้านอยู่ สบาย นั่นแสดงว่าในระยะยาวคุณจะประหยัดเงิน ตรงนี้ อย่าลืมว่าค่าพลังงานจะคืนทุน ส่วนต่างที่ ลงทุนไปกับบ้านจะได้เร็วขึ้น ตอนนี้เลยใช้กุศโลบาย โดยเปลี่ยนให้ “ลูกค้าใช้เครื่องทำน้ำร้อนพลังงาน แสงอาทิตย์แทนเครื่องทำน้ำอุ่นที่เปลืองไฟมาก” ซึ่งเราวางกลยุทธ์แถมให้ทุกหลัง ใครสร้างบ้านแถม ให้ฟรี แต่ลกู ค้าอาจบอกไม่เอาได้ไหม เราก็วางว่าของ แถมไม่เอา ไม่คืนเงิน เป็นการบังคับและติดตั้งให้ ทำให้เค้าไม่ต้องใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ไม่ต้องไปเสียเงิน ซือ้ เครือ่ ง ไม่ตอ้ งเปลืองไฟ เป็นการช่วยลดโลกร้อน 60 | September-October 2010

“เท่าที่สังเกตลูกค้าที่สร้างบ้านกับพีดี เฮ้าส์ ผมมองว่าเกิดจากการยอมรับ ส่วนใหญ่ลูกค้าไม่ มองเรื่องค่าใช้จ่ายที่ลดลง แต่มองว่าจะช่วยให้โลกนี้ น่าอยู่ขึ้น ไม่ได้มองว่าจะลดไปกี่บาทๆ เป็นเรื่อง ของจิตสำนึกของลูกค้ามากกว่าการมองเรื่องค่าใช้ จ่าย” นายสิทธิพรกล่าว ผมเคยจุดประเด็นเรื่องนี้ให้ผู้ประกอบการเมื่อ 6-7 ปีก่อน ให้หันมามอง ซึ่งขณะนั้นยังไม่เป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน หลายบริษัทยึดความต้องการของ ลูกค้าเป็นหลัก หากกลุ่มลูกค้าที่ไม่มองเรื่องนี้ แต่ เน้ น เรื่ อ งความภู มิ ฐ านของเค้ า ก็ ยิ น ดี ต อบสนอง หรื อ ถ้ า เป็ น กลุ่ ม ลู ก ค้ า ที่ ต้ อ งการบ้ า นประหยั ด พลังงาน ก็พร้อมตอบสนองได้เหมือนกัน เพราะเสียดายลูกค้าที่ต้องการบ้านแบบเดิมๆ คือผู้ประกอบการไม่วาง Position ของตนเอง และ บ่อยครั้งให้ข้อมูลที่สวนทางการกัน เช่น บางรายว่า ใช้อิฐมวลเบาไม่ดีใช้อิฐมอญดีกว่า บางรายว่าใช้อิฐ มวลเบาดี หลายครัง้ เป็นการโจมตีกนั ซึง่ จริงๆ ควร

ให้ขอ้ มูลทีเ่ ป็นจริงและอยากให้ไปในทิศทางเดียวกัน คื อ ธุ ร กิ จ รั บ สร้ า งบ้ า นเรามี นั ก วิ ช าชี พ สถาปนิ ก วิศวกร ถ้ากล้าให้ขอ้ มูลกับลูกค้าในฐานะผูเ้ ชีย่ วชาญ ว่ า บ้ า นที่ เ ค้ า สร้ า งควรส่ ง ผลต่ อ สั ง คม ไม่ ท ำร้ า ย ทำลายธรรมชาติและโลก และกล้านำพาลูกค้าเข้ามา สูโ่ มเดลหรือแนวคิดนี้ หลังจากนัน้ ค่อยตอบสนองว่า สิ่งที่เค้าอยากได้จะชดเชย ทดแทนด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่มุมมองของแต่ละกิจการในฐานะผู้รู้และกล้า นำทาง แต่ถ้าในฐานะผู้รู้แล้วค่อยปรับเปลี่ยนตาม หลัง มันกลายเป็นผูต้ าม...ไม่ใช่ผนู้ ำและผูเ้ ชีย่ วชาญ



Happy_trick

การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและคุณภาพ ของสิ่งแวดล้อมที่ลดลงทำให้ปัจจุบัน เราจะทำอะไรก็ต้องคำนึงถึงการ อนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีหลายคนที่ ปรับปรุงการใช้พลังงานในบ้านอย่างมี ประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน ภายในบ้านมักพุ่งเป้าไปที่บริเวณห้อง ที่อาศัยอยู่ประจำ เช่น ห้องทำงาน หรือรับแขก ซึ่งมักจะมองข้ามบริเวณ ห้องประกอบอาหาร หรือห้องครัว

ลดการใช้พลังงาน ใน ห้องครัว การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและคุณภาพของสิ่ง แวดล้อมที่ลดลงทำให้ ปัจจุบันเราจะทำอะไรก็ต้อง คำนึ ง ถึ ง การอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งาน ซึ่ ง มี ห ลายคนที่ ปรับปรุงการใช้พลังงานในบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ การประหยั ด พลั ง งานภายในบ้ า นมั ก พุ่ ง เป้ า ไปที่ บริเวณห้องที่อาศัยอยู่ประจำ เช่น ห้องทำงานหรือ รั บ แขก ซึ่ ง มั ก จะมองข้ า มบริ เวณห้ อ งประกอบ อาหารหรือห้องครัวไป

อุปกรณ์เขมือบพลังงานในห้องครัว

ห้ อ งครั ว โดยเฉพาะห้ อ งครั ว เก่ า นั้ น เต็ ม ไป ด้วยอุปกรณ์ที่กินพลังงาน เช่น ตู้เย็น อุปกรณ์ไฟฟ้า จำนวนมาก และเตาแก๊สเชื้อเพลิง สิ่งเหล่านี้จะต้อง ใช้ พ ลั ง งานจำนวนมหาศาลในการทำงาน โดย เฉพาะตู้เย็นที่ติดตั้งในห้องครัวจะต้องใช้พลังงาน ไฟฟ้าปริมาณมาก เพราะต้องรักษาอุณหภูมิภายใน ตู้เย็นให้ต่ำขณะที่ห้องครัวมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณ อื่นในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการประกอบ อาหาร นอกจากนี้ แ ล้ ว การที่ ห้ อ งครั ว มี อุ ป กรณ์ ไฟฟ้าหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ เตาอบ เครื่องปั่น เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้มักจะละเลยการถอดปลั๊กหลัง การใช้งาน และเป็นสาเหตุของการสูญเสียพลังงาน โดยเปล่าประโยชน์ เพราะอุปกรณ์ที่ยังเสียบปลั๊กก็ กินพลังงานแม้จะไม่ได้ใช้ก็ตาม 62 | September-October 2010

การประหยัดพลังงานในห้องครัว

แม้ว่าในห้องครัวมีหลายอย่างที่เราไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานของมันได้ แต่ก็มีหลาย แนวทางที่จะช่วยให้เราลดการสูญเสียพลังงานโดย เปล่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นในห้องครัวได้ ดังนี้ - เปลี่ยนอุปกรณ์เก่าด้วยอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่ใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพกว่า หากไม่สะดวกที่ จะเปลี่ยนตัวอุปกรณ์ใหม่ทั้งตัว ก็สามารถเลือกที่จะ เปลี่ยนบางชิ้นส่วนได้ เช่น การเปลี่ยนสายไฟ สาร ทำความเย็น ระบบระบายความร้อน หรือเปลี่ยน ผนึกกันรั่วของประตูเย็น เป็นต้น • ตรวจสอบและบำรุ ง รั ก ษาตู้ เ ย็ น อยู่ เ สมอ คอยล์ร้อนที่อยู่หลังของตู้เย็นจะต้องสะอาดซึ่งเรา สามารถทำความสะอาดคอยล์ด้วยการใช้เครื่องดูด ฝุ่ น ดู ด เอาสิ่ ง สกปรกออกมา และผนึ ก กั น รั่ ว ของ ประตูต้องแน่นหนา หากเกิดการชำรุดควรซื้อมา เปลี่ ย น นอกจากนี้ ค วรบรรจุ สิ่ ง ของไว้ ใ นตู้ เ ย็ น ไว้ ตลอด เพราะจะทำให้การทำงานของตู้เย็นคงที่และ ควรบรรจุน้ำในขวดพลาสติกสำหรับแช่เย็น แทนที่ จะเป็นโลหะหรือแก้ว • หากสามารถเปลี่ยนตู้เย็นในห้องครัว ควร พิจารณาเลือกขนาดให้เล็กลงเพื่อประหยัดพลังงาน และเพิ่มพื้นที่ใช้งานในห้องครัว • ถอดปลั๊กอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งาน หรือไม่ได้ใช้

งานบ่อยๆ เช่น ไมโครเวฟ เครื่องปั่น เป็นต้น - วางตำแหน่งของตู้เย็นในบริเวณที่เย็นที่สุด ในห้ อ งครั ว หากตู้ เ ย็ น จำเป็ น ต้ อ งวางในห้ อ งที่ มี เตาเผาหรือเตาอบ ควรวางตูเ้ ย็นให้หา่ งเตามากทีส่ ดุ • ปิดหม้อหรือกระทะในการประกอบอาหาร เพราะจะช่วยลดเวลาเดือดของน้ำลง อีกทั้ง เป็นการไม่ปล่อยให้เกิดความร้อนทิ้งออกสู่บริเวณ ในห้องครัว • บำรุงรักษาเตาแก๊สและเตาอบให้สะอาด การใช้เตาแก๊ส หม้อ หรือกระทะที่จะวางบน เตาต้องสะอาด ไม่มีเขม่าดำเกาะ เพราะจะทำให้ การถ่ า ยเทความร้ อ นไม่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ สำหรั บ เตาอบนั้น ฝาปิดผนึกกันรั่วต้องอยู่ในสภาพที่ดี • ตากแห้งอุปกรณ์ในครัวหลังล้างเสร็จด้วย แสงแดด และลมจากธรรมชาติแทนการใช้เครือ่ งอบ แห้ง • ไม่ ค วรเปิ ด เตาอบหรื อ หม้ อ บ่ อ ยๆ ขณะ ประกอบอาหารยั งไม่ เสร็ จ เพราะการทำเช่น นั้น อุ ณ หภู มิ ใ นหม้ อ หรื อ เตาอบจะลดลงและต้ อ งใช้ พลังงานเพิ่มอีก เพื่อเพิ่มอุณหภูมิอีกครั้ง • วางแผนการทำอาหารในห้องครัว พลังงาน จะสูญเสียอย่างมากจากการใช้เตาอบไฟฟ้า เพื่อลด การใช้ พ ลั ง งานในแต่ ล ะสั ป ดาห์ ควรทำอาหาร ประเภทอบ 1 หรือ 2 วัน ต่อสัปดาห์ จากทีก่ ล่าวมา จะเห็นว่า ห้องครัวใช้พลังงานไม่น้อยไปกว่าบริเวณ อื่นๆ ในบ้านหรือมากกว่าบริเวณอื่นด้วยซ้ำ แต่เราก็ มักจะละเลยที่จะดูแลใส่ใจ เพื่อการใช้พลังงานอย่าง คุ้มค่าข้อมูลที่กล่าวไปทั้งหมดจะช่วยให้เราสามารถ ปฏิบัติและลงมือทำได้เองในบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิด การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและส่งผลต่อค่าใช้จ่ายใน บ้านลดลงด้วย


ประกันภัย

เรื่อง : สุวัฒน์ สุขสัมฤทธิ์

ประกันภัยบ้านยุคใหม่ คุม้ ครองสรรพภัย!

โลกทุกวันนีม้ ภ ี ยั ใหม่ๆ เกิดขึน ้ มามากมายไม่วา่ จะเป็นภัยจากธรรมชาติ หรือภัยจากมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์เราจำต้องมีความรู้ในด้านการบริหาร การจัดความเสี่ยงภัยมากขึ้น มิใช่รอใช้แต่บริการของบริษัทประกันภัย อย่างเช่นกรณีการประท้วงครัง้ ใหญ่จนถึงขัน้ เผา บ้านเผาเมืองทีเ่ กิดขึน้ ไม่นานมานี้ มันมิใช่เพียงแค่ปม การเมืองว่าด้วยความขัดแย้งของคนในชาติทที่ ำให้คน ไทยต้องเรียนรู้ แต่เรื่องการประกันภัยทำให้คนไทย ต้องเรียนรูด้ ว้ ยความเจ็บปวดเช่นกัน โดยได้รู้ลึกถึงความคุ้มครองด้านประกันภัยว่า กรมธรรม์ประกันภัยที่ซื้อความคุ้มครองเอาไว้โดย เฉพาะการประกันอัคคีภัยนั้นมันไม่ได้คลอบคลุมถึง ภัยการก่อการร้าย ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือความไม่รู้ของเจ้าของ บ้านว่ากรมธรรม์ประกันอัคคีภยั ทีถ่ กู สถานบันการเงิน บังคับซือ้ นัน้ มีระดับความคุม้ ครองมากน้อยขนาดไหน และส่วนใหญ่เชื่อว่ากรมธรรม์ประกันภัยที่มีอยู่นั้น สามารถชดใช้คา่ เสียหายทีเ่ กิดขึน้ จากการไฟไหม้ได้ ยิง่ ไปกว่านัน้ เจ้าของบ้านอาจลืมเลือนไปการซือ้ ประกันภัยเมื่อครั้งกู้เงินนั้น ทางผู้กู้มักจะเลือกซื้อ ความคุม้ ครองต่ำสุด เพือ่ ต้องการจ่ายค่าเบีย้ ประกัน ภัยน้อยลง อาทิทำประกันภัยในทุนคุ้มครองเท่ากับ วงเงินที่กู้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับมูลค่าที่แท้จริงของตัว

บ้านหรือตัวอาคาร กล่าวง่ายๆ ว่าซื้อความคุ้มครองแค่ตัวบ้านที่ เป็นโครงสร้างเท่านัน้ ไม่ได้ซอื้ รวมไปถึงทรัพย์สนิ อัน เป็ น เฟอร์ นิ เจอร์ ที่ อ ยู่ ใ นบ้ า นด้ ว ย และทรั พ ย์ สิ น ประเภทนี้มีแต่เพิ่มพูนเพราะมีการซื้อเพิ่มอยู่ตลอด เวลา จนกล่าวทีเล่นทีจริงได้ว่า ที่อยู่อาศัยบางหลัง ทรัพย์สินเฟอร์นิเจอร์ในตัวบ้านมีมูลค่ามากกว่าบ้าน ซะอีก เพียงเท่านี้ยังไม่พอเมื่อการผ่อนบ้านใกล้หมด หรือหมดแล้ว เจ้าของบ้านมักลืมเลือนในเรือ่ งประกัน ภัยอัคคีภัยหรือแม้อาจจะจำได้ แต่ไม่เคยทบทวน วงเงินประกันภัยว่ามันสอดคล้องกับความมูลค่าทีเ่ ป็น จริงในปัจจุบนั หรือไม่ ดังนัน้ จึงถึงเวลาแล้วทีเ่ จ้าของบ้านจำต้องเรียนรู้ การบริหารความเสีย่ งภัยด้วยตนเอง โดยเริม่ จากการ ทบทวนความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยบ้าน ที่มีอยู่ว่ามันครอบคลุมให้ความคุ้มครองมากน้อย แค่ไหน อีกทั้งทุกวันนี้กรมธรรม์ประกันภัยได้พัฒนาไป

มากจนถึงขนาดให้ความคุ้มครองแบบเบ็ดเสร็จครบ ครันทุกภัย โดยเฉพาะกรมธรรม์ประกันสรรพภัยบ้าน (Homeowners Insurance) สามารถตอบโจทย์ครบ ครันทุกความต้องการในกรมธรรม์ฉบับเดียว ซึ่ ง เป็ น กรมธรรม์ ป ระกั น ภั ย แบบครอบคลุ ม (Package) และ ให้ความคุ้มครองถึงภัยต่างๆ เช่น ความคุ้มครองบ้านยันทรัพย์สินที่เกิดความเสียหาย จาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ลมพายุ ควัน แผ่นดินไหว และภัยเพิม่ อืน่ ๆ นอกจากความคุม้ ครองต่อทรัพย์สนิ แล้วยังมีความคุม้ ครองอุบตั เิ หตุ ความรับผิดต่อบุคคล ภายนอก การโจรกรรม เป็นต้น หรือแม้กระทัง้ มีบา้ นหลังที่ 2 ซึง่ ปลูกใหม่ขนึ้ มาเพิ่มเติมในที่ดินแปลงเดิมและมีมูลค่าไม่มากนัก ประเมินแล้วทั้งตัวบ้านและทรัพย์สินไม่เกิน 2 แสน บาท ยังสามารถหาความคุม้ ครองได้ในอัตราราคาเบีย้ ประกั น ที่ ไ ม่ แ พง เพราะทุ ก วั น นี้ มี ก รมธรรม์ ใ หม่ ล่ า สุ ด ออกมาให้ ค วามคุ้ ม ครองนั้ น คื อ กรมธรรม์ ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสำหรับราย ย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) เบีย้ ประกันภัยเคาะแค่ 500 บาทขาดตัวเท่านัน้ เอง ประกันภัยบ้านในยุคนี้จึงมีทางเลือกที่หลาก หลายมากมายจริงๆ Sukjai Magazine | 63


Happy_Guess text : sukjai

” ์ ส า ้ ฮ เ ี ด ี พ “ สานฝัน

” ะ ว ิ ศ ว “หนมุ่ ส์รายล่า แฟรนไช ี่ 17 สาขาท

เมื่อคิดได้ดังนั้นภูวดลจึงรู้สึกอยากผันตัวเอง มาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้าน ช่วงนั้นจึงได้ศึกษาค้นคว้า เก็ บ ข้ อ มู ล อยู่ ต ลอด กระทั่ ง เห็ น ปั ญ หาว่ า แม้ ด้ ว ย ศักยภาพตนเองนั้นสามารถเปิดบริษัทรับสร้างบ้าน ได้ก็จริง แต่คงยากที่ลูกค้าจะเดินเข้ามาหา เพราะ ไม่ใช่โด่งดังเป็นทีร่ จู้ กั อะไร ทำให้ลกู ค้าไม่มนั่ ใจว่าจะ มีประสบการณ์และความน่าเชือ่ ถือ “งาน” เป็นสิ่งที่ใครต่างขวนขวายหา เพื่อ ความเป็นอยู่ และอนาคตทีม่ นั่ คงของครอบครัว แต่ความฝันสุดท้ายของการทำงานก็คือการได้เป็น เถ้าแก่หรือเจ้าของกิจการเอง เช่นเดียวกับ “ภูวดล แดนสวรรค์” หนุ่ม วิศวะโยธา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมพกดีกรี ปริ ญ ญาโทด้ า นการจั ด การสารสนเทศ สถาบั น เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง อี ก 1 ใบ จนได้ เข้ า ทำงานเป็ น วิ ศ วกรใน SCG คอนกรีตซีแพค ซึง่ นับว่าเป็นบริษทั ทีม่ นั่ คงทีเดียว ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จาก SCG มากว่า 11 ปี ได้ ถึ ง จุ ด อิ่ ม ตั ว และมี แ นวคิ ด ที่ อ ยากเป็ น เจ้าของกิจการเองจุดประกายขึ้นเมื่อมีญาติต้องการ สร้างบ้าน และเห็นว่าภูวดลเป็นวิศวกร จึงไหว้วาน ให้มาช่วยควบคุมดูแลการสร้างบ้าน นี่เองจึงเป็นจุด เริม่ ต้นของการได้มาพบกับ “พีดี เฮ้าส์” ในช่วงที่วิศวกรหนุ่มใหญ่ได้รับอาสาควบคุม การสร้างบ้านให้นั้น ได้พบปัญหาในเรื่องทีมงานที่ ขาดๆ หายๆ อยูเ่ ป็นประจำ จึงทำให้เกิดความคิดขึน้ มา ขนาดตนเองเป็นถึงวิศวกรยังควบคุมการทำงาน ได้ ย าก แล้ ว ถ้ า เป็ น ผู้ ที่ ไ ม่ มี ค วามรู้ เรื่ อ งด้ า นการ ก่อสร้างเลย คงต้องเจอะเจอปัญหามากมายยิง่ กว่านี้ แน่นอน 64 | September-October 2010


“การเริ่มต้นกับ พีดี เฮ้าส์ ไม่ยาก ผมมองว่าเป็นธุรกิจที่ สามารถขยายตัวได้ค่อนข้างเร็ว เพราะทุกอย่างเสริมกันอยู่แล้ว สาขาก็ม่ต้องลงทุนเรื่อง คนมาก โดยเฉพาะฝ่ายออกแบบ บ้าน เพราะมีดีไซน์เซ็นเตอร์ สนับสนุนอยู่แล้ว ฉะนั้นผมจึง เน้นลุยในเรื่องการตลาด

กระทั่งได้หาข้อมูลจนมาเจอกับแฟรนไชส์ “พี ดี เฮ้ า ส์ ” เมื่ อ ศึ ก ษาดู แ ล้ ว จึ ง มองเห็ น ในเรื่ อ ง ความน่าเชือ่ ถือ ประสบการณ์ ทำให้รสู้ กึ ว่าสามารถ เดินไปในเส้นทางเดียวกัน ภูวดลจึงได้ตัดสินใจลา ออกจาก SCG และเข้าไปติดต่อกับ “พีดี เฮ้าส์” ทันที จากตำแหน่ ง สุ ด ท้ า ยที่ เ ป็ น ผู้ จั ด การระบบ แฟรนไชส์ที่ SCG เมือ่ มีโอกาสได้พดู คุยในรายละเอียด จึงทำให้ภวู ดลเข้าใจระบบการทำงานของ “พีดี เฮ้าส์” ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว และมองเห็ น อนาคตที่ จ ะต่ อ ยอด ธุรกิจด้วยประสบการณ์และสิง่ ทีต่ นเองได้เรียนรูม้ า ภูวดลมองว่า ระบบของ “พีดี เฮ้าส์” สามารถ ช่วยผูท้ ำแฟรนไชส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เหมือน กับบางแห่งที่เน้นแต่ขายอย่างเดียว นี่เองจึงทำให้ เขาตัดสินใจเลือก “พีดี เฮ้าส์” ให้เข้ามาช่วยในการ เริ่ ม เส้ น ทางของชี วิ ต ครั้ ง ใหม่ พร้ อ มกั บ เปิ ด เป็ น แฟรนไชส์ สาขาที่ 17 ขึ้นที่ย่านรามอินทรา กม.8 ด้วยเห็นว่าทำเลดังกล่าวเป็นจุดเชื่อมต่อ รองรับผู้ที่ ต้องการปลูกสร้างบ้านทั้งในเมืองและชานเมืองได้ เป็นอย่างดี

บรรยากาศเปิ ด ตั ว สาขาที่ 17 (รามอินทรา)

สิ ท ธิ พ ร สุ ว รรณสุ ต ประธานกรรมการ บริ ษั ท ปทุ ม ดี ไซน์ ดี เวลลอป จำกั ด ที่ รู้ จั ก กั น ในนาม “ศูนย์รบั สร้างบ้านพีดี เฮ้าส์” และตัวแทนจากทีม ผู้บริหารระดับสูง ร่วมแสดงความยินดีในพิธีเปิด ศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์ สาขารามอินทรา กับ ภู ว ดล แดนสวรรค์ กรรมการผู้ จั ด การ บริ ษั ท ฟิ ว เจอร์ โ ฮม รั บ สร้ า งบ้ า น จำกั ด เจ้ า ของสิ ท ธิ แฟรนไชส์ศนู ย์รบั สร้างบ้านพีดเี ฮ้าส์ สาขารามอินทรา นับเป็นการเปิดพีดี เฮ้าส์ สาขาที่ 17 เพื่อรองรับ การเติ บ โตของตลาดรั บ สร้ า งบ้ า นในเขตพื้ น ที่ ปริมณฑล ซึง่ ธุรกิจรับสร้างบ้านกำลังเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง โดยทางบริษัทตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายสาขา ให้ครบ 20 สาขา ภายในสิน้ ปี 2553 นี้ พร้อมทัง้ ขยายให้ครบ 50 สาขา ภายในระยะเวลา 5 ปี ภายใต้สโลแกน “มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ” งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์ สาขารามอินทรา เมือ่ เร็วๆ นี ้

“การเริม่ ต้นกับ พีดี เฮ้าส์ ไม่ยาก ผมมองว่า เป็นธุรกิจที่สามารถขยายตัวได้ค่อนข้างเร็ว เพราะ ทุกอย่างเสริมกันอยู่แล้ว สาขาก็ไม่ต้องลงทุนเรื่อง คนมาก โดยเฉพาะฝ่ายออกแบบบ้าน เพราะมีดไี ซน์ เซ็นเตอร์สนับสนุนอยู่แล้ว ฉะนั้นผมจึงเน้นลุยใน เรื่องการตลาด ทั้งยังมองในเรื่องการขยายสาขาต่อ ไป เนื่องจากลงทุนไม่สูงมาก เวลาคืนทุนไม่นาน” ภูวดลกล่าว “สำหรับทีส่ าขารามอินทรา กม.8 นี้ เมือ่ ก่อน เป็นอาคารพาณิชย์ ก็เช่า 2 ห้อง แล้วทุบทะลุถงึ กัน ค่าเช่า 27,000 บาท/เดือน นอกจากราคาไม่แพง แล้วยังได้พนื้ ทีด่ า้ นหน้าด้วย มีทงั้ หมด 4 ชัน้ ซึง่ ชัน้ บนยังไม่ได้ใช้ทำอะไร ต่อไปอาจทำเป็นห้องประชุม” จุดแข็งของ “พีดี เฮ้าส์” อีกประการทีท่ ำให้ หนุ่ ม ปริ ญ ญาโทตั ด สิ น ใจลงหลั ก ปั ก ฐานกั บ “พี ดี เฮ้าส์” นั้นคือเรื่องคอนเซ็ปต์การออกแบบ วัสดุที่ใช้ โดยเฉพาะรูปแบบเป็นบ้านเพื่อประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยังได้รับรางวัล “ระดับดี มาก” จากกระทรงพลังงาน ซึ่งเป็นบริษัทรับสร้าง บ้านบริษทั เดียวทีไ่ ด้รบั รางวัลนี ้ สำหรั บ ในปี แรกของการเริ่ ม ต้ น กั บ “พี ดี เฮ้าส์” นัน้ ภูวดลคาดหวังยอดขาย 12 เดือนไว้ที่ 30 ล้านบาท ส่วนเป้าหมายในอนาคตนั้นหนุ่มวิศวะขอ เปิดเพิ่มอีก 1 สาขาภายใน 2-3 ปี และเปิดสาขาที่ 3 ในปีที่ 5 เพราะมองว่าแฟรนไชส์ “พีดี เฮ้าส์” นัน้ เดินไปได้คอ่ นข้างเร็วไม่ตอ้ งลงทุนเอง “จากนี้ไปหากประสบความสำเร็จจะขยาย ไป จ.ฉะเชิ ง เทรา ส่ ว นใหญ่ ม องในเรื่ อ งให้ ค วาม สะดวกสบายกับลูกค้า โดยสามารถติดต่อกันได้กับ ทุกสาขา หากลูกค้าอยูใ่ นกรุงเทพฯ ต้องการไปสร้าง บ้านทีเ่ ชียงใหม่กต็ ดิ ต่อสาขาทีก่ รุงเทพฯ ได้ทนั ที ไม่ ต้องยุง่ ยากเดินทางไปถึงเชียงใหม่” สุดท้ายภูวดลได้ทงิ้ ท้ายเส้นทางในการเริม่ ต้น กั บ “พี ดี เฮ้ า ส์ ” โดยการฝากถึ ง ลู ก ค้ า หรื อ กลุ่ ม ผูบ้ ริโภคว่า ขนาดตนเองมีประสบการณ์เกีย่ วกับการ ควบคุมบ้าน งานทีอ่ อกมายังค่อนข้างยาก ไม่ได้ตาม ทีค่ าดหวังเท่าไรนัก และผูท้ สี่ ร้างบ้านเองจำเป็นต้อง ศึกษาข้อมูลมากมาย ทั้งเรื่องวัสดุที่ใช้ ทีมงานที่ทำ ต้องมืออาชีพ เพราะทั้งชีวิตของคนๆ หนึ่งนั้นอาจ สร้ า งบ้ า นได้ แ ค่ ห ลั ง เดี ย ว ไม่ เ หมื อ นกั บ การซื้ อ รถยนต์ที่ยังมีโอกาสซื้อได้หลายคัน ฉะนั้นจึงอยาก ให้ตรึกตรองใคร่ครวญให้ดีก่อน เพราะไม่อยากให้ ต้องมาเสียใจภายหลัง Sukjai Magazine | 65


Happy_Eco Materials เรื่อง : ปริม จืออรุณ

SCG เปิดโฉม นวัตกรรมวัสดุฯ วั ส ดุ ก่ อ สร้ า งได้ พั ฒ นาไปอย่ า งไม่ ห ยุ ด ยั้ ง คอลัมน์ Happy New Product ขอแนะนำนวัตกรรม ใหม่ล่าสุดจาก เครือซิเมนต์ไทยที่เปิดตัวเมื่อเร็วๆ ตัวแรกเป็น บล็อกปูพื้นรุ่น “คูลพลัส” ของ เอสซีจี แลนด์สเคป ภายใต้แบรนด์ แลนด์สเคป ตราช้าง มีคุณสมบัติพิเศษในการกักเก็บน้ำได้ดีกว่า บล็อกทั่วไป และจะระเหยเป็นไอน้ำ เมื่อมีแสงแดด มากระทบที่ ตั ว ก้ อ น ส่ ง ผลให้ พื้ น ที่ บ ริ เ วณนั้ น มี อุณหภูมิลดลง ช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบาย

Cylence รุ่น Zound Block วัสดุป้องกัน เสี ย งแบบแผ่ น แข็ ง สี เ ทา ที่ ห่ อ หุ้ ม ด้ ว ยวั ส ดุ กั น ชื้ น ของค่ายสยามไฟเบอร์กลาส มีความโดดเด่นตรงที่ สามารถป้ อ งกั น และแก้ ปั ญ หาเสี ย งรบกวนได้ ทั้ ง ภายนอก และภายในอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ ติดตั้งเสร็จภายใน 1-2 วัน ร่วมกับระบบผนังได้ทุก ประเภท ไม่ว่าจะเป็นผนังสมาร์ทบอร์ด ,ผนังยิปซั่ม หรือผนังก่ออิฐ สามารถติดตั้งเป็นโฮมเธียเตอร์ ,ห้องนอน ,ห้องประชุม หรือสถานที่ต่างๆที่ต้องการ ความเป็นส่วนตัว

66 | September-October 2010

“แผ่นโปร่งแสง ตราช้าง” เป็นอีกผลิตภัณฑ์ ใหม่ล่าสุดจาก สยามไฟเบอร์กลาส มีสีสัน สดใส สะอาดตา อาทิ สีส้ม สีชา สีขาวขุ่น สีน้ำเงิน หรือสี ฟ้าน้ำทะเล ตอบรับกับแฟชั่นการตกแต่งบ้าน หรือ ร้ า นค้ า สมั ย ใหม่ โดยเฉพาะในส่ ว นงานกั น สาด กันแดด หรือในส่วนของหลังคา ที่ต้องการความ โปร่ ง แสง และช่ ว ยกั น แดดประสิ ท ธิ ภ าพสู ง ด้ ว ย เทคโนโลยี ก ารผลิ ต สมั ย ใหม่ พร้ อ มการปิ ด ฟิ ล์ ม เคลื อ บวั ส ดุ ปิ ด ผิ ว ไว้ ทั้ ง 2 ด้ า น ช่ ว ยให้ ส ามารถ กระจายแสงธรรมชาติได้ดี และป้องกันรังสีอัลตร้า ไวโอเลต อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดการสะสมของคราบ สกปรก จึงทำความสะอาดง่าย ใช้งานทนทาน

อีกผลิตภัณฑ์เป็นหลังคาจากค่ายซีแพค ได้ เปิดตัว คอนกรีตเพื่อสิ่งแวดล้อม “ตราช้าง ซีแพค โมเนีย” ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว เป็นรายแรก และรายเดียวของประเทศ จาก สมอ. มีคุณสมบัติ ช่วยประหยัดพลังงาน และทำให้บ้านเย็นขึ้น ตอบ โจทย์บ้านรักษ์พลังงาน ของการพักอาศัยสมัยใหม่ เนื่องจากมีค่าสะท้อนรังสี ความร้อนสูงกว่าหลังคา คอนกรีตทั่วไป พร้อมมีให้เลือกถึง 9 เฉดสี ได้แก่ สีขาวนวล, เหลืองราชพฤกษ์, เงินวิเศษสุข , มุก “ฝ้าฉาบเรียบ ตราช้าง สมาร์ทบอร์ด” ของ ชมพู ,หยกพิมาน , ส้มแสงตะวัน ,เขียวทุ่งหญ้า ,ส้ม ค่ายกระเบื้องกระดาษไทย ตอกย้ำผู้นำผลิตภัณฑ์ แสงทอง และ แดงทับทิม หลั ง คา บอร์ ด และไม้ สั ง เคราะห์ จากไฟเบอร์ ซี เ มนต์ ร ายแรกและรายเดี ย วที่ ไ ม่ ใ ช้ ใ ยหิ น (Asbestos) ครบทุกผลิตภัณฑ์ เป็นนวัตกรรมใหที่ ช่วยให้หมดปัญหากวนใจเรื่องปลวกกัดแทะ และ การเปื่อยยุ่ย หรือคราบสกปรกจากน้ำและความชื้น ทั้งยังสวยเนียนไร้รอยต่อ และเหนียวทนทาน ด้วย โครงสร้างพิเศษของเทคโนโลยี Firm & Flex โดย ไม่มีส่วนผสมของใยหิน พร้อมช่วยลดการนำความ ร้อน ทำให้บ้านเย็น เพราะเนื้อสมาร์ทบอร์ด มีค่า การนำความร้อนต่ำกว่าวัสดุฝ้าอื่นๆ



Happy_Guess

“ลดโลกร้อน”กับ

“Easy Truss” โครงหลังคา กึ่งสำเร็จรูปไร้สนิม สัมภาษณ์

สรพล คงรอด

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฮาส์ เฟรนด์ลี่ โปรดักส์ จำกัด ปัจจุบันจะเห็นว่า มีการนำเอาเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในวงการก่อสร้างใน ประเทศไทยมากขึน้ โดยเฉพาะวงการรับสร้างบ้านที่ มีการพัฒนาระบบและรูปแบบการก่อสร้างที่มีความ ทันสมัยมากขึ้น ทำให้ช่วยลดต้นทุน และเสริมสร้าง ประสิทธิภาพในการทำงาน ที่เห็นได้ชัดที่สุดในขณะนี้ ก็คือ โครงหลังคา เหล็ ก กึ่ ง สำเร็ จ รู ป ที่ เริ่ ม ได้ รั บ ความนิ ย ม และมี แนวโน้ ม การนำมาใช้ ง านขยายตั ว เพิ่ ม มากขึ้ น เนือ่ งจากติดตัง้ ง่าย สะดวก รวดเร็ว และช่วยลดต้น ต้นทุนค่าใช้จา่ ย โครงหลั ง คา “อี ซี่ ท รั ส ต์ ” เป็ น นวั ต กรรม พัฒนาโครงหลังคาเหล็กกึ่งสำเร็จรูปที่มีความทัน สมัย ด้วยการนำเอา Know How การผลิตมาจาก ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก ามาใช้ จ นเป็ น ที่ ย อมรั บ ใน วงการธุรกิจรับสร้างบ้าน 68 | September-October August 2010 2010


“ โครงหลังคาเหล็กกึ่งสำเร็จรูป “อีซี่ทรัส” ยัง เป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้จาก การใช้เหล็กอย่างคุ้มค่า ไม่เหลือเศษเหล็กที่ต้องนำ กลับไป recycle ใหม่ ลดควันจากการเชื่อมที่เป็น มลพิษและสารระเหยจากการทาสีกันสนิมหน้างาน ” สรพล คงรอด กรรมการผู้ จั ด การ บริ ษั ท เฮาส์ เฟรนด์ลี่ โปรดักส์ จำกัด กล่าวว่า ตลอดระยะ เวลา 5 ปีที่เปิดดำเนินการมา มีกระแสตอบรับเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการใช้โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ แบบเดิมๆ มักเกิดปัญหาหลายประการด้วยกัน เช่น เหล็กไม่ได้น้ำหนัก และขนาดตามมาตรฐาน เกิด สนิมง่ายจากการทาสี และไม่สามารถป้องกันสนิมได้ ยิ่งถ้าหาช่างขาดประสบการณ์ในการเชื่อมแล้ว อาจ ทำให้องศาการติดตัง้ กระเบือ้ งหลังคาผิดเพีย้ น ทำให้ เกิดปัญหาน้ำรัว่ ซึมและปัญหาอืน่ ๆ ตามมาไม่รจู้ บ “นวัตกรรมโครงหลังคาเหล็กกึ่งสำเร็จรูป “อีซี่ทรัส” สามารถตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาเหล่า นีไ้ ด้ โดยเข้าทดแทนโครงหลังคาเหล็กแบบเดิม และ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากผู้ประกอบการรับ สร้ า งบ้ า น ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น เราเป็ น ผู้ น ำโครงหลั ง คา เหล็กฯ อันดับหนึ่งของกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการรับ

สร้างบ้าน” สรพลกล่าว ด้วยคุณสมบัติเด่นของโครงหลังคาเหล็กกึ่ง สำเร็ จ รู ป “อี ซี่ ท รั ส ” ผลิ ต จากเหล็ ก คุ ณ ภาพสู ง และผ่ า นการเคลื อ บกั น สนิ ม ที่ ไ ด้ ต ามมาตรฐาน อุตสาหกรรม (มอก.) จึงไว้วางใจได้วา่ เหล็กแข็งแรงมี คุณภาพและสามารถกันสนิมได้เป็นอย่างดี มีทีมงาน วิศวกรสำหรับออกแบบให้ถูกต้องตามหลัก วิศวกรรมโดยใช้โปรแกรมออกแบบทีส่ งั่ ซื้ อ มาจากอเมริ ก า ซึ่ ง สามารถ ออกแบบให้เข้ากับรูปทรงบ้านได้ หลากหลาย คำนวณขนาดและ ความหนาเหล็ ก ได้ ถู ก ต้ อ ง รวดเร็ว สามารถผลิตและตัด ความยาวตามแบบโครงหลังคา เหล็กฯ ที่ต้องการจากโรงงาน จึ ง ไม่ เ หลื อ เศษเหล็ ก ที่ เ กิ ด จาก การตัดเหลือทิง้ ทีห่ น้างาน สำหรับการติดตัง้ จะใช้ทมี งาน ช่ า งติ ด ตั้ ง มื อ อาชี พ ที่ ไ ด้ ผ่ า นการอบรม หลักสูตรติดตัง้ จากโรงงาน เพือ่ สร้างความมัน่ ใจให้ กับเจ้าของบ้านว่า โครงหลังคาเหล็กฯ ได้ติดตั้งถูก ต้องตามมาตรฐานจากโรงงานทุกหลัง บริษัทฯ ได้ จัดทีมงานเข้าไปตรวจสอบบ้านทีจ่ ะติดตัง้ หรือสถาน ทีโ่ ดยรอบเพือ่ วางแผนการติดตัง้ ให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด และมีทีมงานเข้าไปตรวจสอบระหว่างการ ติดตัง้ จนถึงการติดตัง้ เสร็จ เพือ่ ควบคุมคุณภาพของ การติดตั้ง จึงเป็นการบริการที่สร้างความประทับใจ ให้ กั บ เจ้ า ของบ้ า น และได้ รั บ ความไว้ ว างใจจาก ผูป้ ระกอบการรับสร้างบ้านอย่างรวดเร็ว โครงหลังคาเหล็กกึง่ สำเร็จรูป “อีซที่ รัส” ยัง เป็นส่วนหนึ่งที่จะ สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ จากการใช้ เ หล็ ก อย่ า งคุ้ ม ค่ า ไม่ เ หลื อ เศษเหล็ ก ที่ ต้องนำกลับไป recycle ใหม่ ลดควันจากการเชือ่ มที่ เป็นมลพิษและสารระเหยจากการทาสีกันสนิมหน้า งาน เพราะโครงหลังคาเหล็กกึง่ สำเร็จรูป “อีซที่ รัส” จะปราศจากการเชื่อม จะใช้การยึดจากสกรูและพุก แทน และเคลื อ บกั น สนิ ม ภายใต้ ร ะบบที่ ค วบคุ ม มลพิษจากโรงงาน สรพลกล่าวว่า เจ้าของบ้านหลายรายที่ใช้ โครงหลั ง คาเหล็ ก กึ่ ง สำเร็ จ รู ป “อี ซี่ ท รั ส ” ไปนั้ น ยอมรับว่าสามารถลดโครงสร้างบ้านบางส่วนลงได้ จำนวนมาก ทำให้ ช่ ว ยประหยั ด ค่ า ใช้ จ่ า ยในการ ก่อสร้างบางส่วนลงได้ ผู้สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.easytruss.net Sukjai Magazine | 69


Happy_Motoring เรื่อง :บายไลน์ สุชีพ มีโพนทอง

Eco-Car… Save Money Save Earth

“อีโคคาร์” (Eco-Car) หรือรถยนต์ขนาดเล็ก ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เป็นโครงการ ที่รัฐบาลไทยผลักดันให้เกิดขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์ ต้องการให้มีความนิยมในรถยนต์ประหยัด เชื้อเพลิง ช่วยลดมลพิษสิ่งแวดล้อม บ่อเกิดปัญหา สภาวะโลกร้อน มีความปลอดภัยสูง หากวัดจากยอดจอง 16,000 คัน ในเวลาเพียง กว่ า 3 เดื อ น ต้ อ งบอกว่ า … “นิ ส สั น มาร์ ช ” รถยนต์รุ่นแรกในโครงการอีโคคาร์ (Eco-Car) เปิด ตัวได้สวยงามและประสบความสำเร็จมากทีเดียว! สิ่ ง นี้ ยิ่ ง ตอกย้ ำ กระแสนิ ย มของผู้ บ ริ โ ภคชาว ไทย ที่ เริ่ ม หั น มาให้ ค วามสำคั ญ กั บ เรื่ อ งของรถ ประหยัดพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นการทลาย กรอบความคิ ด เดิ ม ๆ ที่ ว่ า … คนไทยไม่ นิ ย มรถ เครื่องยนต์ขนาดเล็กลงไปมากทีเดียว! แต่ที่มากกว่า นั้น “อีโคคาร์” (Eco-Car) หรือรถยนต์ขนาดเล็ก ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เป็นโครงการที่ รั ฐ บาลไทยผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด ขึ้ น ภายใต้ วั ต ถุ ป ระสงค์ ต้องการให้มีความนิยมในรถยนต์ประหยัดเชื้อเพลิง ช่วยลดมลพิษสิ่งแวดล้อม บ่อเกิดปัญหาสภาวะโลก ร้อน มีความปลอดภัยสูง และช่วยสร้างรายได้เข้า ประเทศจำนวนมาก เพื่อแลกการจูงให้บริษัทลงทุน ผลิตอีโคคาร์ จึงให้สิทธิประโยชน์ลดภาษีต่างๆ และ ทำให้ ร าคารถประหยั ด ลง เกิ ด ความนิ ย มรถแพร่ หลาย เรียกว่า… “Eco-Car… Save Money Save Earth” และ “นิสสัน มาร์ช” ที่มีอัตราสิ้นเปลืองไม่ ต่ำกว่า 20 กิโลเมตรต่อลิตร มีมาตรฐานการปล่อย ไอเสี ย และความปลอดภั ย ระดั บ สู ง เช่ น เดี ย วกั บ ยุโรป ในราคาเริ่มต้น 3.75-5.37 แสนบาท เบื้องต้น ได้พิสูจน์แนวคิดของรัฐบาลที่น่าจะมาถูกทางแล้ว? ฉะนั้นอีโคคาร์ยี่ห้ออื่นๆ จึงย่อมต้องเดินไปใน ทิ ศ ทางเดี ย วกั น หรื อ แตกต่ า งกั น ไม่ ม ากนั ก ! โดย 58 | September-October 2010

เฉพาะอีโคคาร์ของ “ฮอนด้า” ที่วางโปรแกรมส่งลง ตลาดไทยช่ ว งต้ น ปี ห น้ า 2554 นี้ และฮอนด้ า ได้ ชิ ม ลางรั บ กระแสตอบรั บ จากผู้ บ ริ โ ภคชาวไทยไป แล้ว ในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2010 เมื่อเดือน เมษายนที่ผ่านมา ด้วยการเปิดตัว “Honda New Small Concept” รถต้นแบบอีโคคาร์ที่จะผลิตและ ทำตลาดในไทย ซึ่ ง รู ป โฉมตั ว ขายจริ ง ก็ ค งจะใกล้ เคียงกับคันต้นแบบดังกล่าวประมาณ 90% โดยจะ วางเครื่องยนต์ขนาด 1.3 ลิตร จากนัน้ ถัดไปอีกปีจะเป็น “ซูซกู ”ิ ทีจ่ ะส่งอีโคคาร์ บุกตลาดประมาณช่วงต้นปี 2555 (อาจจะเผยโฉม ช่วงปลายปี 2554) เพราะซูซูกิได้เริ่มสร้างโรงงานใน ไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา มูลค่าลงทุนกว่า 7.5 พัน ล้านบาท ส่วนรถยนต์รุ่นที่จะทำตลาดยังไม่มีการ เปิดเผยรายละเอียด นอกจากบางกระแสว่าจะเป็น “ซูซูกิ สวีฟท์” ที่ปัจจุบันมีการนำเข้ามาขายในไทย แล้ ว แต่ ห ากเป็ น อี โ คคาร์ ใ นไทยจะเป็ น โฉมใหม่ และลดขนาดเครื่องยนต์ให้เป็นไปตามเงื่อนไข ขณะที่ บ างกระแสก็ ว่ า จะเป็ น รุ่ น ใหม่ ที่ ท ำ ตลาดในต่างประเทศ อย่าง Suzuki Alto หรือไม่ก็ Suzuki Splash แต่บางคนก็บอกว่าเป็นรถต้นแบบ รุ่นใหม่ R3C เรื่องนี้คงต้องติดตามกันต่อไป แต่จาก ข่าวล่าสุดได้รับการยืนยันว่าไม่ใช่ “ซูซูกิ สวีฟท์” แน่นอน “มิตซูบิชิ” เป็นอีกค่ายที่เพิ่งประกาศผลิต อี โ คคาร์ ใ นไทยชั ด เจน ด้ ว ยมู ล ค่ า ลงทุ น กว่ า 1.5 หมื่นล้านบาท โดยจะขึ้นไลน์ผลิตประมาณปี 2555

ส่วนรายละเอียดโมเดลที่จะผลิตยังไม่เปิดเผยออกมา เช่นกัน แต่จะเป็นรถรุ่นใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาเฉพาะ ซึ่ง เป็นความร่วมมือกันพัฒนาระหว่างมิตซูบิชิ มอเตอร์ และ PSA Peugeot Citroen แห่งฝรั่งเศส เพราะ ได้แลกเปลี่ยนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันมาหลาย ครั้งแล้ว แน่นอนที่พลาดไม่ได้ค่าย “โตโยต้า” ซึ่ง อาจจะไม่มีโครงการอีโคคาร์ในสมองเมื่อแรกเริ่ม แต่ ในฐานะยักษ์ใหญ่ย่อมไม่ยอมตกรถไฟขบวนสุดท้าย ดังนั้นแผนผลิตอีโคคาร์ของโตโยต้าจึงออกมาในช่วง ปี 2556-2557 โน้นนน… สำหรับรถอีโคคาร์ของโตโยต้า ทุกสายตาต่าง เพ็ ง มองไปที่ “ETIOS” รถยนต์ ร าคาประหยั ด ต้นแบบ ที่เปิดตัวในงานนิวเดลี มอเตอร์โชว์ 2010 ประเทศอินเดีย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา และฟันธงว่า… นี่แหละจะถูกนำมาพัฒนาให้เป็นอีโคคาร์ในไทย! แต่ ล่าสุดเริม่ มีบางกระแสบอกว่า “เอธิออส” จะไม่ใช่รถ ทีโ่ ตโยต้านำมาเป็นอีโคคาร์ เพียงแต่จะใช้พนื้ ตัวถังมา พัฒนาเป็นอีก 1 รุ่นใหม่เท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้คงต้อง ติดตามกันต่อไป เพราะมีโอกาสเปลีย่ นแปลงได้ตลอด เวลา ซึ่งต้องไม่ลืมว่ากว่าโตโยต้าจะผลิตก็ตั้งอีก 3-4 ปีทเี ดียว อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไป… รถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงานในไทย ย่อมต้อง คึกคักอย่างยิ่ง!





Happy_Trip

เรื่อง /ภาพ คนนอกกรอบ • เอื้อเฟื้อการเดินทางโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานกาญจนบุรี โทร 0 3451 1200

...ทุ่งหญ้า หมอกฝน สายลม แห่งเขาช้างเผือก... เสียงลมพัดแรงผ่านหมู่แมกไม้ใน ไพรสนมาแต่ไกล สายหมอกหนา หนักยังคงกลั่นตัวลอยจากดิน ระเหยถึงฟากฟ้า ฟ้ายามนี้เป็น สีเทาปกคลุมยอดเขาด้วยสาย หมอก น้ำจากหมอกที่ หล่นล่วง จากฟ้ามาติดใบไม้ ตอนนี้ เริ่มหยดลงสู่ผืนดินอีกครั้ง...ครา

74 | September-October 2010

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยเขย่งและป่า เขาช้างเผือก เราเดินทางมาถึง ในเวลาจวนจะใกล้ ค่ำ เพราะด้วยเส้นทางถนนลาดยางแคบๆ รถจึงวิ่ง ไต่ ไ หลเขาที่ สู ง ชั น คดเคี้ ย วมาเรื่ อ ยๆ รถวิ่ ง อย่ า ง ระมัดระวัง เราไม่เร่งร้อน เพราะจะได้ชมวิวสองข้าง ทางถนนที่สวยงาม ด้วยสภาพป่าเขาที่เป็นทิวแถว สลับทับซ้อนเรียงรายอย่างมากมาย ถึงแม้ยามนี้จะ เป็ น วสั น ต์ ฤ ดู ( ฝน)ที่ ห นาหนั ก แต่ อ ากาศก็ เ ย็ น ยะเยือกดุจดังฤดูกาลเหมันต์(หนาว) รถมาหยุดจอด ตรงจุดชมวิว หรือตรงจุดลานกางเต็นท์ ซึ่งตรงนี้มัก เรียกกันจนติดปากว่า เนินกูดดอย เนินนี้ลมยังคงพัดความหนาวเย็นมาสัมผัสกับ ผิ ว กาย สายหมอกของทิ ว เขาเบื้ อ งหน้ า ยั ง คงไหล เอื่อย รถสามารนำขึ้นมาจอดได้ถึงตรงจุดนี้ พื้นที่ ตรงนี้เป็น ลานจอดรถ ที่กางเต็นท์ บ้านพัก รวมถึง เป็นจุดชมวิว ทิวเขาซับซ้อนสุดสายตา และมองไกล ไปจนเห็นทะเลสาบ เขื่อนวชิราลงกรณและเขาช้าง เผือก ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯมีเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติหลากหลายเส้นทาง ซึ่งเป็นเส้นทาง ที่คณะเราจะไปเดินในพรุ่งนี้

อีต่อง( เป็นภาษา พม่า แปลว่า ภูเขาเทวดา ) แสงของเช้าวันใหม่มาพร้อมกับดวงอาทิตย์ที่ ฉายมาที่เส้นขอบฟ้าเพียงนิดเดียว พอเดินแบกขาตั้ง กล้องออกจากบ้านพักไม่นาน น้ำค้างของหมอกหนา หนักก็ตกลงมาแรงประดุจดังสายฝน จนมีคนถามขึ้น ว่าฝนเหรอ...ไม่ใช่...หมอก น้ำค้าง...นะ...ครับ วันนี้ เราจะไปเดิน ผจญภัย ชม ทุง่ หญ้า หมอกฝน สายลม แห่งเขาช้างเผือก เรานัดพบกับลูกหาบที่เจ้าหน้าที่ อุทยานฯ ผู้นำทางเตรียมไว้ เรานัดพบกันตรงบริเวณ โรงเรียน หมูบ่ า้ น อีตอ่ ง ซึง่ เป็นหมูบ่ า้ นเล็กๆ ทีเ่ งียบสงบ อยูต่ ดิ กับแนวชายแดนของประเทศพม่า เป็นหมูบ่ า้ น ที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ในยุคที่การทำเหมือง แร่เฟื่องฟู มีอากาศหนาวเย็นและมีฝนตกตลอดทั้งปี เขาช้างเผือก เมื่อรอยเท้าของคนนอกกรอบ ซึ่งเป็นนักเดิน ทางแห่ ง ยุ ค เยี ย บย่ า งไปบนเส้ น ทาง ทางที่ เ ดิ น ตลอดเส้นทาง ยังคงพัดอบอวลไปด้วยละอองหมอก ฝนเม็ดเล็กๆ ทางที่เดินแม้จะอยู่ไม่ไกล คนที่แข็งแรง หรื อ ลู ก หาบในพื้ น ที่ จะใช้ เวลาเดิ น ประมาณ 4 ชั่วโมง ส่วนผมต่อให้คนอื่นๆ เดินถึงจุดพักค้างคืน ก่อนครับ พิกัดจุดหมายเดียวกัน แต่เวลาจะต่างกัน เพราะด้วยภาระหน้าที่ ที่แบกของยังชีพเอง ไหนจะ ขาตั้ ง กล้ อ งพร้ อ มอุ ป กรณ์ ท ำงานที่ ห นั ก หลาย กิโลกรัม ยังไงๆ ขอเป็นแบบว่า เดินไป พักไป กินไป


F-746

ดื่มไป บันทึกภาพไปก็แล้วกัน และคงต้องใช้เวลา เป็นวัน สำหรับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,249 เมตร ตลอดเส้นทางเดินป่าหญ้าคาที่ผ่านมา วันนี้ไม่ร้อน เท่าใดนัก เพราะฝนตกตลอดทาง เรียกง่ายๆ ว่าเรา อาบน้ำฝนตลอดทางที่เดิน ทางที่เปียกน้ำฝนนั้นลื่น ชะมัด ถึงแม้จะเดินแบบกลิ้งไป-ไถลไป ขอเพียงมี จุดหมายปลายทางกับความฝันทีม่ งุ่ หมายไว้ การเดิน ล้มแล้วลุกในแต่ละครั้งก็จะเปิดประสบการณ์การ เรี ย นรู้ ความทรงจำ ความสุ ข ความทุ ก ข์ ให้ กั บ ชี วิ ต ได้ ต ลอดเส้ น ทาง ในความโชคร้ า ย ในความ หนาวเหน็บ จากลมกรรโชกตรงยอดเขา ที่พัดจน เต็ น ท์ ที่ พั ก พั ง แต่ ด้ ว ยลมที่ แรง ฝนที่ ต กหนั ก ในความโชคร้ายที่ผ่านพ้น ก็มักจะพบกับความโชคดี เสมอ คือ ลมแรงยุงจะไม่ค่อยมี ฝนตกหนัก น้ำไหล แรงพัดตัวทากไหลไปกับสายน้ำ และเมื่อลมฝนสงบ สิ่ ง ที่ ไ ด้ เ ต็ ม ๆ คื อ เราจะพบกั บ ความเข้ ม แข็ ง ของ จิตใจ เราจะพบธรรมชาติอันพิสุทธิ์...สำหรับวันนี้ ก่อนใกล้ค่ำตรงจุดพักกางเต็นท์หลับนอน...ตอนนี้ ต้องขอตัวไปบันทึกภาพความสวยงามของธรรมชาติ ในมุม 360 องศา บนสันเขาช้างเผือกก่อนครับ... ข้อมูลจำเพราะ

Sukjai Magazine | 75


ข้อมูลจำเพาะ การเดินทาง ห่างจาก อ.ทองผาภูมิ ประมาณ 59 กม. เมื่อผ่านตัวอำเภอแล้วใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3272 ไปอีก ประมาณ 30 กม. (กม.31) พบสามแยกตั ว ที (บ้ า นไร่ ) เลี้ ย วซ้ า ยไปอี ก 26 กม. บนถนนเส้ น ทางลาดยางแคบๆ มี ความสู ง ชั น ตามไหล่ เขาที่ ค ดเคี้ ย ว ก็ จ ะถึ ง อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ทองผาภูมิ โทร. 08 1382 0359 หรือ www.dnp.go.th 76 | September-October 2010


Happy_Eating Out เรื่อง : ปริม พราวแพรว

Shibuya

รสชาติคนไทยสไตล์ญปี่ นุ่ ปัจจุบันร้านอาหารญี่ปุ่นเกิดขึ้นเป็นจำนวน มาก ไม่เฉพาะตามห้างสรรพสินค้าชัน้ นำแต่ได้ขยายไป ทัว่ ตรอกซอกซอย จนกลายเป็นเมนูแฟชัน่ ทีส่ ามารถ หารับประทานทีไ่ หนก็ได้ในราคาไม่แพง แต่จะมีสกั กี่ ร้านทีม่ รี สชาติถกู ปากและราคาโดนใจคนไทย คอลั ม น์ Happy Eating Out พาไปชิ ม อาหารญี่ ปุ่ น รสชาติ และราคาแบบไทยๆ ใน บรรยากาศสไตล์โมเดิร์นใต้ห้าง The Esplanade ถนนรัชดาภิเษก ร้าน Shibuya เป็นหนึง่ ในพืน้ ทีช่ นั้ G ทีล่ อ้ ม รอบด้วยแฟรนไชส์อาหารแบรนด์ดงั ทีแ่ ข่งขันกันชูจดุ ขายทีแ่ ตกต่างกัน Shibuya มี เ มนู ห ลาก หลายไม่ต่างจากร้านอาหาร ญีป่ นุ่ ทัว่ ไป แต่ทเี ด็ดอยูต่ รง ที่ “อุดง้ เส้นสด” ทีม่ คี วาม เหนียวนุม่ หอมกรุน่ เพราะ ทางร้านบีบโชว์ให้เห็นกัน สดๆ หน้าร้านเลยทีเดียว เมื่ อ ลิ้ ม ลองทุ ก เมนู แล้วต้องยกนิ้วให้ว่าถึงเครื่อง 66 | September-October 2010

จริงๆ โดยเฉพาะเมนูพระเอก “อุด้งเส้นสด” นำมา ปรุงเป็นเมนูไหนก็ถกู ปากอย่าง “สลัดอุดงั ทูนา่ , ขีเ้ มา อุดง้ ” ให้รสชาติจดั จ้านแบบไทยในสไตล์ญปี่ นุ่ ทีค่ ลุก เคล้าเข้ากันได้อย่างลงตัว หรือถ้าต้องการลิ้มรสอุด้ง แบบเต็มๆ ต้องลองเมนู หมี่เย็น (ซารุ) โดยเฉพาะ ซารุอินานิวะ หรือ ซารุอุด้ง ทานคู่กับ น้ำซารุรส กลมกล่อม ขอบอกว่าถ้าไม่สงั่ เมนูนไี้ ม่ถงึ ญีป่ นุ่ แน่ เหตุที่ Shibuya มีเอกลักษณ์ความโดดเด่นใน เรื่องของเส้น ทางผู้บริหารบอกว่าเพราะทางร้านได้ คัดวัตถุดบิ คุณภาพเยีย่ ม คลุกเคล้าเข้ากับสูตรการทำ อาหารที่ไม่เหมือนใคร มาทำเป็นเมนูอาหารที่ดีต่อ สุขภาพแปลกใหม่ และถูกปากทุกคำเมื่อได้ลิ้มลอง เน้นการทำเส้นสดและโชว์การทำเส้นหน้าร้านเพือ่ ให้ แน่ใจว่าลูกค้าที่เขามารับประทานอาหารญี่ปุ่นที่สด ใหม่ทกุ คำ นอกจากนี้บรรยากาศภายในร้านยังเน้นที่ การตกแต่งแบบโมเดิร์นทันสมัยเน้นความสะดวก สบายของลูกค้า เพื่อให้รู้สึกเหมือนกับว่ากำลังรับ ประทานอาหารอยู่ในย่าน Shibuya อันเป็นจุดนัด พบของวัยรุน่ ชาวญีป่ นุ่

“อุด้ง” เป็นเส้นที่ทำจากแป้งสาลี ลักษณะเส้น ขนาดใหญ่ ห นานุ่ ม คนญี่ ปุ่ น มั ก ทานเส้ น อุ ด้ ง พร้อมน้ำซุปร้อนๆ กลมกล่อมหอมกรุ่น ในช่วง ฤดู ร้ อ นการทานแบบเย็ น ก็ เ ป็ น ที่ นิ ย ม ที่ ร้ า น Shibuya มี เ ส้ น อุ ด้ ง ให้ เ ลื อ กรั บ ประทานได้ ตลอดทั้งปี ในประเทศญี่ปุ่นมีเส้นอุด้งตามท้อง ถิ่นต่างๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบท้องถิ่นและความ นิ ย มการรั บ ประทาน เส้ น อุ ด้ ง ที่ ไ ด้ รั บ การ ยอมรับจากชาวญี่ปุ่นทั้งประเทศ มาจากเมือง “อะคิ ต ะ” จะเป็ น เส้ น อุ ด้ ง ลั ก ษณะเส้ น เล็ ก เหนียวนุ่ม เรียกว่า “อินานิวะ อุด้ง”


Happy_Society

ความรู้ที่คุณสัมผัสได้ที่ BTicino Training Center

ซุปเปอร์ชิลด์ ไททาเนียม และ ที โอเอ เอ็กซ์ตร้าชิลด์ จัดแรลลี่

บิ ทิ ชี โ น (ประเทศไทย) พร้ อ มมอบอี ก หนึ่ ง บริ ก ารด้ า นความรู้ แ ก่ ผู้สนใจให้เข้ามาค้นพบโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ พื้นฐานของไฟฟ้า การติดตั้ง และมาตรฐานต่างๆ ระดับสากล ผู้เข้าอบรม จะได้รับความรู้ที่ทันสมัยกับเทคโนโลยีจากยุโรป ถ่ายทอดโดยทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญของบิทิชีโน บรรยากาศภายในเพียบพร้อมด้วยระบบแสงสว่าง ระบบการสื่อสาร และระบบความปลอดภัย ของ My Home ระบบบ้าน อัจฉริยะ ทำให้คุณทดลอง ทดสอบได้จริง และจุดประกายไอเดียแห่งการ ตกแต่ง ด้วยตัวอย่างสินค้าที่ให้คุณได้เห็นความหลากหลายในวัสดุและ ดี ไซน์ ที่ ห ลากหลาย เป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องบิ ทิ ชี โ นและสิ น ค้ า ในเครื อ BTicino Training Center อยู่บนชั้น 12 ของอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์

คุณพวงเพ็ญ แสงเพชร ผูช้ ว่ ยผูอ้ ำนวยการสายงานการตลาด และ คุณแสงชัย ศิรประภาพงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ เขตขายนครหลวงฯ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ปล่อยขบวน รถแรลลี่ ออกทำกิจกรรมร่วมกับลูกค้าและร้านค้า รอบกรุง ฯ โดยการตอกย้ำการเป็นสิน ค้ า นวั ต กรรมสู ง สุ ด จาก ที โ อเอ เมื่ อ วั น อั ง คารที่ 27 กรกฎาคม 2553 ชู น วั ต กรรมสี Supershield Titanium ปกป้องได้ยาวนานถึง 15 ปีจริง ด้วยบทพิสูจน์จากการใช้งานจริง จากอาคารชั้นนำกว่า 80 % ในประเทศไทย และแนะนำสี TOA Extrashield สีระบาย ความชื้นสูง ผสมเทฟล่อน รับประกันการปกป้อง 10 ปี งานนี้ได้ทั้งสนุกไปกับเหล่าบรรดา Pretty ที่ไปสร้างสีสัน และเล่นเกมส์กับลูกค้าในร้าน

พีดี เฮ้าส์ ขยายแฟรนไชส์สาขารามอินทรา

คุณสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด ที่รู้จักกันในนาม “ศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์” และตัวแทนจากทีมผู้บริหารระดับสูง ร่วมแสดงความยินดีในพิธีเปิด ศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์ สาขารามอินทรา กับคุณภูวดล แดนสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิวเจอร์โฮม รับสร้างบ้าน จำกัด เจ้าของสิทธิแฟรนไชส์ศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์ สาขารามอินทรา นั บ เป็ น การเปิ ด พี ดี เ ฮ้ า ส์ ส าขาที่ 17 เพื่ อ รองรั บ การเติ บ โตของตลาดรั บ สร้ า งบ้ า นในเขตพื้ น ที่ ปริมณฑล ซึ่งธุรกิจรับสร้างบ้านกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยทางบริษัทตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายสาขาให้ ครบ 20 สาขาภายในสิ้นปี 2553 นี้ พร้อมทั้งขยายให้ครบ 50 สาขาภายในระยะเวลา 5 ปี ภายใต้ สโลแกน “มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ” งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์สาขา รามอินทรา เมื่อเร็วๆ นี้

พีดี เฮ้าส์ อบรมหลักสูตรพร้อมมอบวุฒิบัตร คุณสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด หรือที่ รู้จักกันในนามศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์ ให้เกียรติร่วมแสดงความยินดีและมอบวุฒิบัตรให้แก่พนัก งานที่ผ่านการอบรม “ผู้จัดการศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์” ที่เข้าร่วมฝึกอบรมในหลักสูตร แฟรน ไชส์ตามนโยบายการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐาน อาชี พ ให้ ก้ า วหน้ า ทั้ ง นี้ เ พื่ อ เป็ น การยื น ยั น ถึ ง คุ ณ ภาพการสร้ า งบ้ า นและการให้ บ ริ ก ารลู ก ค้ า ใน มาตรฐานเดียวกันทุกสาขาภายใต้ สโลแกน “มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ” เพื่อตอกย้ำความเป็น ผู้นำในธุรกิจรับสร้างบ้านในรูปแบบแฟรนไชส์รายแรกของประเทศไทย ที่มีการบริหารงานอย่างเป็น ระบบและก้าวไปสู่ความสำเร็จพร้อมๆ กับผู้ลงทุน งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์ สำนักงานใหญ่ ถ.รังสิต-นครนายก เมื่อเร็วๆ นี้

78 | September-October 2010


“Galliant Outdoor” นวัตกรรมแห่ งพื้นไม้

“Galliant Outdoor” คำตอบที่ยากจะ ปฏิ เ สธของพื้ น ไม้ ภ ายนอกที่ จ ะช่ ว ยเติ ม เต็ ม ความมี ชี วิ ต ชี ว าให้ ผู้ อ ยู่ อ าศั ย สั ม ผั ส ได้ ถึ ง ธรรมชาติ เข้ า ถึ ง ความสุ น ทรี ย์ กั บ ทุ ก ย่ า งก้ า ว สั ม ผั ส เพื่ อ เป็ น การต้ อ นรั บ ปี 2010 เคเอ เพาเวอร์ จึงเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์ Galliant ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายพื้นไม้นวัตกร รมใหม่ ม าตอบสนองไลฟ์ ส ไตล์ ที่ อิ ง ธรรมชาติ ด้ ว ยพื้ น ไม้ สั ง เคราะห์ (Wood Plastic Composite) แบรนด์ “Galliant Outdoor” ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติบวกกับนำ คุณสมบัติเด่น ของ High Density Polyethylene ที่ถูก ผลิตมาเพื่อบ้านแห่งอนาคตมาร่วมผสมผสานผ่านเทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัยใส่ใจภาวะโลกร้อน ตามแบบฉบับ American Technology จนเป็นผลิตภัณฑ์พื้นไม้ภายนอก “Galliant Outdoor” ที่มีคุณสมบัติเด่นนุ่มสบายเท้า เฉดสีเดียวกันทุกอณูของเนื้อไม้ สวยงามถึง 3 เฉดสี 6 ดีไซน์ พร้อม ริ้วสัมผัสเล็ก-ใหญ่ปราณีตบรรจงทุกตารางนิ้ว เลือกใช้ได้ทั้ง 2 ด้านตามชอบ ซึ่ง เคเอ เพาเวอร์ กล้า รับประกันคุณภาพมากถึง 15 ปี

พีดี เฮ้าส์ จับมือเอไอเอส มอบโชค นายสิทธิพร สุวรรณสุต (ขวา) ประธานกรรมการ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด หรือ ที่รู้จักกันในนามศูนย์รับสร้าง บ้ า นพี ดี เ ฮ้ า ส์ ร่ ว มกั บ นายพี ร เวท กิ จ บู ร ณะ (ซ้ า ย) ผู้ ช่ ว ย กรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานการตลาดSMEs เอไอเอส จัด แคมเปญ “Smart Home Smart BlackBerry” ให้ลูกค้าที่ ตัดสินใจสร้างบ้านกับศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์ โดยรับทันที โทรศัพท์มือถือ BlackBerry จากเอไอเอส พร้อมฟรีแพคเกจ Unlimited 1 ปี มูลค่ากว่า 32,000 บาท ทั้งนี้แคมเปญดังกล่าว เป็น 1 ในแคมเปญ “สร้างบ้านประหยัดพลังงานกับ พีดี เฮ้าส์ รับโชคดี 4 ต่อ” ซึ่งเป็นแคมเปญสำหรับลูกค้าที่สร้างบ้านกับพีดี เฮ้าส์ 50 หลังแรกจะได้ลุ้นรับเงินฝากกว่า 1 ล้าน และของรางวัล อื่นๆ อีกกว่า 7 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่วันนี้ถึง 31 สิงหาคม 2553 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 0-2996-0940-7 หรือ www.pd.co.th

“ตราช้าง” ซีแพคโมเนีย ร่วมเสวนา คุ ณ ดาราวรรณ เพชรประสิ ท ธิ์ ( ที่ 2 จากซ้ า ย) ผู้ จั ด การส่ ว นการตลาด และ คุ ณ ประกาญจน์ อัยยะภาคย์ (ซ้ายสุด) ผู้จัดการธุรกิจระบบหลังคา บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด หนึ่งในธุรกิจ เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ( SCG Building Materials) นำผลิตภัณฑ์หลังคา คอนกรีต ตราช้าง ซีแพคโมเนีย และนวัตกรรมใหม่ ล่ า สุ ด ของโครงหลั ง คาสำเร็ จ รู ป ตราช้าง เข้าร่วมงาน เสวนา “ตราช้าง” ชื่อเดียวสร้างบ้านได้ทั้งหลัง โดยมี คุณวิรัช ปัณฑพรรธน์กุล (ที่ 4 จากขวา) สถาปนิกจาก กองบรรณาธิการ นิตยสารบ้านและสวน และนักแสดงสาวสวย โดนัส มนัสนันท์ (ที่ 3 จากซ้าย) เป็นผู้ ดำเนินรายการและเป็นตัวแทนเจ้าของบ้านรุ่นใหม่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่โฮมโซลูชั่น บางนา

‘คอนวูด’ ผนึกพันธมิตร โครงหลังคา ‘EASY TRUSS

เมื่อเร็วๆ นี้ คอนวูด จับมือพันธมิตรธุรกิจ “เฮาส์ เฟรนด์ลี่ โปรดักส์” ผู้ผลิตและจำหน่าย โครงหลังคากึ่งสำเร็จรูปภายใต้แบรนด์ “EASY TRUSS” เจาะตลาดลูกค้าโครงการในกลุ่มธุรกิจ รับสร้างบ้าน เพือ่ ช่วยเสริมศักยภาพเพิม่ ขีดความ สามารถในการแข่งขันในการรุกตลาดกลุ่มลูกค้า โครงการมากขึน้

ฉนวนตราช้างผนึกกำลังพีดี เฮ้าส์ คุณสลิล กันตนฤมิตรกุล ผู้จัดการส่วนการตลาด (คนขวามือ) บริ ษั ท สยามไฟเบอร์ ก ลาส จำกั ด ในธุ ร กิ จ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก่ อ สร้ า ง เครือซิเมนต์ไทย (SCG Building Materials) ผู้ผลิตฉนวนกันความ ร้ อ น ตราช้ า ง และ คุ ณ สิ ท ธิ พ ร สุ ว รรณสุ ต ประธานกรรมการ บริษัทปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด หรือ ศูนย์รับสร้างบ้านพีดี เฮ้าส์ ผนึกกำลังร่วมสอดรับกระแสรักษ์โลก ในการสร้างบ้านอนุรักษ์ พลังงาน ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อน ตราช้าง ที่ได้รับการรับรองฉลากประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5 ซึ่งมีส่วนช่วยใน การประหยัดพลังงานและลดทอนค่าใช้จ่ายสูงถึง 47 %

Sukjai Magazine | 79


Happy_Health เรื่อง : ปริม พราวแพรว

บำบัดโรคด้วย มวยจีน “ซี่กง” ยามเย็นของทุกวันที่สวนลุมพินี เราจะเห็น คุณลุงคุณป้ารวมกลุ่มกันออกท่ารายรำเคลื่อนไหว กายอย่างเชื่องช้า ดูท่านเหล่านั้นสงบนิ่ง ร่างกายดู แข็งแรงมีกำลังวังชา แม้ว่าจะมีอายุมากแล้วก็ตาม จริ ง ๆ แล้ ว การรำมวยซี่ ก งไม่ ไ ด้ ส งวนไว้ สำหรับคนสูงอายุเท่านั้น คนหนุ่มคนสาวที่อยากมี ร่างการแข็งแรง และมีจิตใจมั่งคง ก็สามารถบริหาร กายและใจด้วยมวยซี่กงได้เช่นกัน การรำมวยซี่กง ได้รับความนิยมอย่างแพร่ หลายมานาน แต่จะอยูใ่ นกลุม่ ผูส้ งู อายุสว่ นใหญ่ จาก ผลการวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การรำมวย จีนช่วยลดความดันโลหิตได้พอๆ กับการเต้นแอโรบิค และมีประโยชน์ตอ่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ท่วงท่าของมวยซี่กง ถือเป็นท่าที่สามารถฝึก กายให้สมดุลได้ ถ้าปฎิบัติอย่างถูกต้อง โดยท่ายืน เท้าต้องก้าวออกให้กว้างเท่ากับช่วงไหล่ วางฝ่าเท้า

ให้มั่นคงพร้อมที่จะย่อตัวและเคลื่อนไหวได้โดยไม่เซ มือทั้งสองข้างยกเคลื่อนไหวช้าๆ ไปมาเป็นจังหวะ หัวแม่มือต้องกางออกตลอดเวลา นิ้วมือที่เหลือทั้งสี่ ไม่เหยียดตรงปล่อยให้โค้งเป็นธรรมชาติของอุ้งมือที่ เป็นแอ่ง มวยซี่กงยังเป็นการบริหารที่ฝึกการหายใจ ไปในตัว โดยหายใจอย่างไม่รีบเร่ง หายใจเข้าให้ลึก และยาว หรือจะใช้วิธีหายใจจากท้องก็ได้ ถ้าฝึกฝน จนชำนาญแล้ว การหายใจอย่างมีสมาธิและจดจ่อ อยู่กับลมหายใจ ถือเป็นการฝึกจิตในทางหนึ่ง และ เป็นการบำบัดโรคด้วยจิตของเราเองได้อีกด้วย มุ่งความคิดไปยังส่วนของร่างกายที่เกิดโรค แล้วผ่อนคลายบริเวณนั้น หรือถ้าไม่ได้เจ็บปวดตรง ส่วนใดเป็นพิเศษ ก็ให้ฝึกการผ่อนคลายร่างกายตั้ง แต่ศรีษะจรดปลายเท้าด้วยวิธีเดียวกัน

สังเกตได้ไงไส้ติ่งอักเสบ

อย่างไม่ถ้ทาราบสาเหตุ เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ให้สังเกตตัวเองว่ามี

อาการทีไ่ ส้ตงิ่ สร้างปัญหาให้หรือไม่ ปวดท้อง เป็นพักๆ รอบสะดือคล้ายโรคกระเพาะถ่าย ไม่ออก หรือบางคนอาจมีอาการท้องเดินร่วม ด้วย กินยาแก้ปวดก็ไม่หาย หลังจากนัน้ 3-4 ชั่วโมง จะย้ายมาปวดเสียดที่ท้องน้อยข้าง ขวา กดเจ็บตรงจุดของไส้ตงิ่ มีอาการคลืน่ ไส้ อาเจียน ไข้ตำ่ ไม่สามารถเคลือ่ นไหวร่างกาย ได้ ถ้านอนตะแคงหรือนอนขดตัวจะรู้สึกว่า อาการปวดลดน้อยลง จะมีอาการเช่นนีห้ ลาย ชั่ ว โมง หรื อ อาจจะเป็ น วั น บางคนอาจมี อาการปวดท้องน้อยข้างขวา โดยไม่มีอาการ อืน่ นำมาก่อนเลยก็ได้

80 | September-October 2010


Happy_Index

ทำเนียบศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์

ภาคใต้

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคเหนือ

ภาคกลาง

กรุงเทพฯและปริมณฑล

ชื่อสาขา

1. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขากาญจนาภิเษก 2. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (สาขาย่อย) 3. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขารามอินทรา (กม.8) 4. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาปทุมธานี 5. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขานนทบุรี 6. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาสมุทรปราการ (สาขาย่อย) 7. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขานครปฐม 8. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาสระบุรี 9. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) 10. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาพิษณุโลก 11. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาเชียงใหม่ 12. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขานครราชสีมา 13. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาขอนแก่น 14. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาอุดรธานี 15. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาชลบุรี 16. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาระยอง 17. ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ สาขาภูเก็ต

ที่อยู่

บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด 82/3 ถ.วงแหวน แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด B201 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 60 ถนนนรัชดาภิเษกใหม่ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 บริษัท ฟิวเจอร์โฮม รับสร้างบ้าน จำกัด 12/2-12/3 ม.10 ถ.นวมินทร์ (สุขาภิบาล1) แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230 บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด 473 ถ.รังสิต-นครนายก ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12130 บริษัท กรุงเทพนนท์ รับสร้างบ้าน จำกัด 38/5-6 ม.3 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110 บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด 99/28 หมู่ที่ 13 ถนน บางนา - ตราด ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด 1062 ถนนเพชรเกษม ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมือง นครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด 85/123 ถนนพหลโยธิน ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000 บริษัท หัวหิน โฮมบิลเดอร์ จำกัด 10/378 ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 บริษัท พิษณุโลก รับสร้างบ้าน จำกัด 107/7-8 ถ.สิงหวัฒน์ ต.ในเมือง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000 บริษัท เชียงใหม่รับสร้างบ้าน จำกัด 164/6-7 ถ.เชียงใหม่-ลำปาง ต.ป่าตัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป (นครราชสีมา) จำกัด 164/6-7 ถ.เชียงใหม่-ลำปาง ต.ป่าตัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 บริษัท ขอนแก่น โฮมบิลเดอร์ จำกัด 177/41-42 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40000 บริษัท อุดร โฮมบิลเดอร์ จำกัด 555 /5 ม.7 ถ.หนองคาย-ขอนแก่น ต.หนองบัว อ.เมือง อุดรธานี จ.อุดรธานี 41000 บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด 64/27 หมู่ที่ 4 ต.ห้วยกะปิ อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20130 บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด 366 ถนนสุขุมวิท ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง 21000 บริษัท ภูเก็ต โฮมบิลเดอร์ จำกัด 12/40 ม.1 ถ.เจ้าฟ้าตะวันออก ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83100

โทรศัพท์

0-2447-9026-30 085-489-4252 0-2229-4021-3 087-904-4477 0-2988-9216-7 080-402-45154 0-2996-0940-7 085-489-4233 0-2922-0079-80 085-489-4283 0-2316-7723-5 087-904-4477 0-3427-1745-7 085-489-4229 0-3621-3160-3 085-489-4299 0-3251-3485 085-489-4239 0-5525-9944 0-5525-9833-34 084-758-9933 0-5341-2459 080-7917901 0-4424-7333 085-489-4245 0-4346-8494 085-489-4275 0-4221-1567 081-878-6841 0-3876-5560-4 087-065-2552 0-3862-4249-50 085-489-4253 0-7638-3225 081-7975197

โทรสาร 0-2996-0949 0-2229-4024 0-2988-9218 0-2996-0948-9 0-2922-0079-80 0-2316-4825 0-3427-1748 0-3621-31603 0-3251-3485 0-5525-9822 0-5341-2460 0-4424-7272 0-4346-8491 0-4221-1571 0-3876-5565 0-3862-4251 0-7638-3925

หมายเหตุ : เวลาเปิดทำการ วันจันทร์ - ศุกร์ 08.30 - 17.30 วันเสาร์ 08.30 - 15.30 วันอาทิตย์หยุด สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม หรือมีข้อเสนอแนะ ติดต่อได้ที่ เว็ปไซท์ : http://www.pd.co.th อีเมล์ : sales@pd.co.th Sukjai Magazine | 81


Happy_Ending เรื่อง : บรรณาธิการ

s u k jmaaig a z i n e ก่อนจากกันฉบับนี้ ขอเกริ่นให้ท่านผู้อ่านทราบถึงเรื่องเด่นในฉบับหน้า ทั้งนี้ทีมงาน จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแบบเจาะลึกเอามาฝาก กัน โดยเฉพาะวัสดุประเภทที่ใช้ก่อสร้างงานภายนอกอาคาร หรือใช้สำหรับงานก่อสร้าง เปลือกอาคารหรือเปลือกบ้าน เช่น วัสดุก่อผนัง ประตู-หน้าต่าง วัสดุมุงหลังคา สี วัสดุกรุ ผิวผนัง ฯลฯ ซึ่งประเภทของวัสดุที่กล่าวมาข้างต้น นับว่ามีความสำคัญและมีผลต่อการ สร้างบ้านประหยัดพลังงานเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นด่านแรกหรือสัมผัสแรกที่จะนำพา ความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านหรืออาคาร หากว่าวัสดุมีความเป็นฉนวนหรือสะท้อน ความร้อนได้ดี อาคารหรือบ้านก็จะอยู่สบายและไม่สิ้นเปลืองการใช้พลังงาน สำหรับผู้ที่มีโครงการจะปลูกสร้างบ้านหลังใหม่ และอยู่ระหว่างศึกษาหาข้อมูลก่อน จะตัดสินใจสร้างบ้านไม่ควรพลาด โดยเฉพาะหากมีแนวคิดจะสร้างบ้านอนุรักษ์พลังงานยิ่ง พลาดไม่ได้เด็ดขาด นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีเจ้าของบ้านหลังสวยมาเล่าประสบการณ์ดีๆ กับความฝันและความจริงของการสร้างและตกแต่งบ้านสวยของตัวเอง รวมถึงคำแนะนำ การพิจารณาและเลือกบริษัทรับสร้างบ้านอย่างไร...ให้ถูกใจที่สุด ย้ำ...อย่าพลาดนะครับ พบกันฉบับหน้า กองบรรณาธิการ

82 | September-October 2010


Sukjai Magazine | 83



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.