1 minute read
สถาน ณ กาล
Advertisement
สถาน ณ กาล
ความสัมพันธ์ของเวลากับสถาปัตยกรรม
อาจารย์ที่ปรึกษาผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมลศิริ ประจงสาร
จัดทาโดยนายภีมพล ลีฬหาวงศ์ 02580049
262 214 การศึกษารายบุคคลในงานสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
- Leonard Koren, Wabi-Sabi: For Artists, Designers, Poets & Philosophers
- ลีโอนาร์ด โคเรน
พุทธศาสนากล่าวว่าทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่
อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ ถูกบีบคั้นด้วยอานาจ ของธรรมชาติทาให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป
อนัตตลักษณะ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตาม ต้องการได้
กล่าวคือ สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา โดยที่เราไม่สามารถ บังคับควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นดิน ฟ้า อากาศ ต้นไม้ ก้อนหิน หรือแม้แต่ตัวเรา เอง
รวมไปถึงสถาปัตยกรรมด้วย
ทาไมจึงเรียกว่า “เก่า(aged)” หรือ “มีอายุ(aging/ageing)”
ริ้วรอยบนอาคาร หรือการผุกร่อนของอาคาร อาจเป็นคาศัพท์ที่ใช้ เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นกับอาคารเมื่อผ่านการใช้งานไปได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นล้วน เกิดขึ้นจริงบนพื้นผิวของสถาปัตยกรรม แต่คาศัพท์สองคานี้ก็เป็นเพียงการบ่ง บอกสภาพของสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไป เทียบกับสภาพของสิ่งเดิมในอดีตเท่านั้น
ผมจึงเลือกใช้คาว่า เก่า เพราะเป็นคาเรียบง่ายที่สื่อความหมายได้ ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย สิ่งต่าง ๆ ล้วนต้องเก่าล้วนต้องแก่เป็นธรรมดา นอกจากนี้คาว่า เก่า ยังสามารถแสดงออกถึงการเดินทางผ่านกาลเวลา ที่ ศัพท์คาว่าริ้วรอย หรือการผุกร่อนไม่อาจสื่อได้
เมื่อพิจารณาคาว่าเก่า ในภาษาอังกฤษที่ผมจงใจเลือกคาว่า aged และ aging นั้น ก็ยังมีความต้องการที่จะสื่อความหมายแฝงเอาไว้ในคาเหล่านี้ อีกด้วย
คาว่า aged สามารถใช้คู่กับคาศัพท์ได้อีกหลายคาเช่น aged wine, aged cheese, aged meat สื่อถึงการบ่มของเวลาเพื่อเปลี่ยนสิ่งด้อย ค่า ให้เป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูงขึ้น นับเป็นการให้ความสาคัญกับเวลาที่มีผลกับ คุณสมบัติของสิ่งหนึ่งอย่างชัดเจน
คาว่า aging มักใช้กับการเติบโต การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิตไปจนจุดจบ คาคานี้ไม่ได้มองการเติบโตเป็นเพียงการเสื่อมถอยของสังขารเท่านั้น แต่ยังสื่อถึงการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของ สังขารนั้นด้วย
เมื่อรวมความหมายของสองอย่างเข้าด้วยกันจึงได้สิ่งที่ผมให้ ความสาคัญกับการศึกษาครั้งนี้ นั่นคือการเปลี่ยนแปลงของงาน สถาปัตยกรรม และเวลา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ผมเลือกใช้คาว่า เก่า ในการสื่อ ความหมาย
เก่าแบบไหนได้บ้าง
บ้านร้างก็เรียกบ้านเก่า โบราณสถานก็เรียกได้ว่าเก่า แล้วความเก่า แบบไหนที่เป็นความเก่าที่ผมสนใจ
ความเก่าที่ผมสนใจ กับความเก่า ความรกร้าง ความโบราณนั้น แยกจากกันด้วยตัวแปรง่าย ๆ เพียงอย่างเดียว นั่นคือ มนุษย์
มนุษย์นี้เองเป็นตัวแปรที่จะบ่งบอกว่าสถาปัตยกรรมนั้นกาลังเก่า หรือกาลังตาย เพราะเมื่อมีมนุษย์ย่อมต้องมีการดูแลรักษาสภาพของสิ่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคารเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ และเมื่อผ่าน การใช้งานก็จะเกิดริ้วรอย เกิดการผุกร่อนในแบบที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ นั่นทาให้สถาปัตยกรรมนั้นเก่าลง
แต่เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีมนุษย์ วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ย่อมไม่ สามารถทาริ้วรอยให้เกิดขึ้นบนตัวเองได้ ดังนั้นสิ่งที่จะประทับริ้วรอยลงบน วัตถุเหล่านั้นคือธรรมชาติ การกัดกร่อนของลม ฝน ฝุ่นละออง ย่อมทาให้เกิด คราบที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจงใจ การเติบโตของต้นหญ้า มอส รา ไม่ได้ถูก ควบคุมดูแลโดยมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการตอบสนองการใช้งาน นั่นคือสถาปัตยกรรมนั้นกาลังตาย
"วาบิ-ซาบิ" ( 侘寂 wabi-sabi)
วาบิ-ซาบิ เป็นคาที่ใช้ในการอธิบายวิธีการมองศิลปะในแบบญี่ปุ่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความงาม และชีวิตที่พิถีพิถัน ตามหลักปรัชญาของพุทธ ศาสนานิกายเซน ซึ่งแพร่หลาย และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการออกแบบสิ่ง ต่าง ๆ ที่มีความเป็นญี่ปุ่น เนื่องจากสอดคล้องกับวิถีชิวิต และสภาพแวดล้อม ของคนญี่ปุ่น
หากจะอธิบายความหมายของคาว่า วาบิ-ซาบิ ก็คงทาได้ยาก เหมือนการพยายามอธิบายสี หรือความรู้สึก ดังนั้นการยกตัวอย่างให้เห็น ภาพจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ลองจินตนาการถึงบ้านที่ทุกอย่างเป็นประกายระยิบระยับ สะอาด ไร้ที่ติตลอดเวลาจนน่าอึดอัด เหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์เสียมากกว่าบ้านสาหรับ อยู่อาศัยในชีวิตประจาวัน บ้านควรเป็นเสมือนสถานที่สาหรับหลบเร้นจาก โลกภายนอก สถานที่ที่เราจะสามารถปลดปล่อยความเป็นตัวเอง โดยไม่ คานึงถึงกฎเกณฑ์ของโลกภายนอก
เทียบกับบ้านอีกหลังหนึ่งที่เก่าและเรียบง่ายกว่า ภาพของบ้านแถบ ชนบทที่ทาจากไม้ผุ ๆ มีกลิ่นอายความดิบของวัสดุ อุปกรณ์การเกษตรวาง ระเกะระกะบนสนามหญ้าหน้าบ้านที่มีหญ้าขึ้นรกเป็นบางจุด มีรอยแตกร้าว บนผนัง และลูกบิดประตูที่เริ่มใช้งานได้ไม่ดีแล้ว สิ่งเหล่านี้อาจเป็น ส่วนเล็ก ๆ ที่จะสามารถเติมเต็มความหมายของคาว่า วาบิ-ซาบิให้ชัดเจนขึ้น ได้
คาว่า วาบิ แสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์, ความเรียบง่ายและคาว่า ซาบิ แสดงให้เห็นถึงผลของกาลเวลาที่มีต่อวัตถุ
เมื่อรวมกันแล้วจึงเกิดภาพอันแจ่มชัดของชีวิตที่สมถะ โดยไม่ จาเป็นต้องบริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่ก็ไม่มีวัตถุที่ไม่จาเป็นเข้ามาเจือปน
ในบางครั้ง เรารู้สึกตะขิดตะขวงใจที่จะจับต้องสิ่งของที่ดูใหม่ และ สะอาด แต่เรากลับรู้สึกว่าสิ่งของเก่า ๆ สามารถหยิบจับได้สะดวกกว่า นั่น เพราะร่องรอยของกาลเวลา และความไม่สมบูรณ์ของเนื้อวัตถุนั้น สะท้อนให้ เห็นถึงชีวิตของตัวเราเอง
ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ ไม่มีสิ่งใดที่บริบูรณ์
สิ่งต่าง ๆ ล้วนเป็นไปตามวัฏจักรของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แนวคิดนี้เป็นกุญแจสาคัญของรากฐานของคติ ความงามแบบญี่ปุ่น ดังที่จะเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น คือไม่มี สถาปัตยกรรมใดที่สร้างขึ้นเพื่อให้คงทนถาวร สถาปัตยกรรมเหล่านั้นมักถูก สร้างขึ้นจากไม้ ซึ่งมีข้อจากัดในเรื่องของอายุการใช้งานตามธรรมชาติ ต่าง จากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งสร้างจากหินและเหล็ก สะท้อนภาพลวง ของความคงทนเหนือกาลเวลา
แท้จริงแล้ว วัสดุต่าง ๆ นั้น ไม่ว่าจะมาจากธรรมชาติ หรือเป็น ผลผลิตจากนวัตกรรมของมนุษย์ พวกมันล้วนมีเวลาเป็นของตัวเอง สุดท้าย แล้วรอยแตกร้าว คราบสกปรก และการดับสลายก็จะเป็นประจักษ์เข้าสักวัน
ความขลังของความเก่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะกาลเวลาเท่านั้น หากแต่สิ่งที่สาคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความรัก ความเอาใจใส่ ความรู้สึก และความผูกพันของผู้คนกับสิ่งรอบตัวต่างหาก ที่ทาให้ความเก่านั้นเป็นสิ่งที่ น่าหลงใหลอย่างแท้จริง
การเฝ้ามองสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง ก็เหมือนกับการดูละครเรื่องหนึ่ง
การศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมสอนให้นักศึกษาฝึกออกแบบพื้นที่ ที่ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ได้ดี มีคุณภาพของพื้นที่ที่ดี มีรูปทรงของ สถาปัตยกรรมที่สวยงามดึงดูด
ผมจึงเกิดคาถามขึ้นมาว่าสถาปัตยกรรมที่เราร่าเรียนกันมานั้น สิ้นสุดเพียงเท่านี้จริงหรือ
ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเปลือกของสถาปัตยกรรมเท่านั้น เพราะเมื่อสถาปัตยกรรมนั้นถูกสร้างขึ้นมาแล้ว ก็จะดารงอยู่ไปอีกหลายปี ไม่ มีใครสอนเราว่าเมื่อผ่านกาลเวลาไปนั้น สถาปัตยกรรมจะเปลี่ยนไปเช่นไร จะต้องบารุงรักษาอย่างไรเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไป ได้ยาวนาน
การเรียนวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมจึงเหมือนกับว่าเรากาลังทา ภาพยนตร์ขึ้นมาเรื่องหนึ่ง เราเรียนรู้ที่จะสร้างตัวละคร และพื้นหลังของเรื่อง ได้อย่างสมบูรณ์ แต่กลับไม่มีความสามารถในการเขียนบทละครที่จะบอกเล่า ได้ว่าเนื้อเรื่องจะดาเนินไปในทิศทางใด จะมีพัฒนาการไปในทิศทางใด และ จะจบลงอย่างไร...