Wat Ang Sila

Page 1


วัดอ่างศิลา

จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ พิชญาณัฏฐ์ หมื่นจำ�นงค์


จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดอ่างศิลา จิตรกรรมฝาผนังสร้างขึ้นเพื่อประดับสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ อาทิ พระมหาปราสาท พระราชวัง ศาสนสถาน ก่อให้ความรู้สึกศรัทธา เกิดอาการสำ�รวม และเป็นสถานที่ที่ควรเคารพสักการะ ตั้งอยู่ใน สถานที่สงบ ก่อให้เกิดสมาธิและน้อมจิตไปในทางกุศล นอกจากนั้น ความศรัทธาที่สุดในการสร้างงานจิตรกรรมฝาผนัง คือเพื่อน้อมนำ� ชักจูงให้ผู้ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังเกิดความเลื่อมใสและได้ซาบซึ้งใน เรื่องราววรรณกรรมของพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นการกระทำ� บุญกิริยาอย่างหนึ่ง เหตุนี้ภาพจิตรกรรมฝาผนังจึงถูกสร้างขึ้น ด้วย ความวิจิตรบรรจงเป็นความงามบริสุทธิ์และให้ความหมายตามหลัก พระธรรมชั้นสูง คุณค่าและความสำ�คัญของจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมฝาผนังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยและไม่จำ�กัดเพียงความงดงาม ประณีตเท่านั้น จิตรกรรมฝาผนังยังเป็นหลักฐานของชาติ เกิดจาก การบันทึกเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ในอดีตไว้ในรูปภาพเขียน โดย สามารถศึกษาลักษณะบ้านเมือง สภาพแวดล้อม ชีวิต ความเป็นอยู่ สังคมวัฒนธรรม จารีตประเพณี ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และ โบราณคดี ได้จากภาพเขียนเหล่านี้ นับว่าเป็นหลักฐานเช่นเดียวกับ จารึก และถือว่าเป็นหลักฐานสำ�คัญยิ่งที่เป็นการบันทึกด้วยรูปภาพ แทนการบันทึกด้วยตัวอักษร ศิลปวัตถุเหล่านี้ คือแก่นแท้ของ ประวัติศาสตร์ ไม่มีบันทึกอยู่ในพงศาวดารเล่มใดๆ ถ้าพิจารณาภาพ จิตรกรรมเหล่านี้ละเอียดลออเพียงใด เราก็จะเห็นชีวิต “ไทย” แต่หน หลังมากขึ้นเพียงนั้น 1


วัดอ่างศิลา ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 4 ตำ�บลอ่างศิลา อำ�เภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2377 วัดอ่างศิลามีชื่อเดิมว่า วัดอ่างหิน แบ่งออกเป็น 2 วัด คือ “วัดอ่างหินนอก” และ “วัดอ่างหินใน” มีหลวงพ่อยิ้มเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาพระสังฆราชแนะนำ�ให้รวมทั้ง 2 วัด เข้าด้วยกันและตั้งชื่อใหม่ ว่า “วัดอ่างศิลา” วัดแห่งนี้จึงมีพระอุโบสถ 2 แห่ง ซึ่งทั้งสองแห่งต่างมีจิตรกรรม ฝาผนังภายในอุโบสถเช่นกัน ทั้งนี้ขอกล่าวถึงเนื้อหาเพียงพระอุโบสถ วัดอ่างศิลานอก

2


อุโบสถวัดอ่างศิลานอกเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนเครื่องบนเป็นไม้ มีหลังคา 2 ซ้อน มีขนาดความกว้างด้านสกัดประมาณ 7 เมตร ความยาวด้านแปประมาณ 15.50 เมตร อุโบสถวัดอ่างศิลานอกมี ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ หลังคาไม่ประดับเครื่องลำ�ยอง ได้แก่ ช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ หน้าบันอุดตัน มีการแต่งตัวด้วยลวดลายปูนปั้น ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีน ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเขียนโดย “ช่างเอี่ยม” กับ “ช่างแดง” ซึ่งเป็นช่างเขียนจากวัดสามปลื้มหรือวัดจักรวรรดิราชาวาส จังหวัดกรุงเทพมหานคร และเนื่องด้วยช่างทั้งสองมีเชื้อ สายจีน ทำ�ให้ภาพจิตรกรรมที่วาดขึ้นมานั้น มีกลิ่นไอของศิลปะจีน ผสมอยู่ด้วย แต่ภายหลังตัวพระอุโบสถหลังเก่าที่เป็นไม้ทรุดโทรมเป็น อย่างมาก จึงได้มีการบูรณะโดยการสร้างตัวพระอุโบสถใหม่ครอบทับ ตัวพระอุโบสถเดิม (แต่เดิมเป็นไม้ทั้งหลัง) ถูกสร้างขึ้นโดยหลวงปู่แตง เจ้าอาวาสในขณะนั้น

3


เนื้อเรื่องและการจัดวางภาพ จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดอ่างศิลานอก มีเนื้อเรื่องเกี่ยว กับพุทธประวัติ และประวัติหลวงปู่แตง (ประตูด้านตะวันออกและ หน้าต่างด้านใต้) พระพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์และเทพยดาอันมีท้าวสหัมบดีพรหมเป็นประธาน อัญเชิญจุติสู่พระครรภ์พระนางสิริมหามายา จนกระทั่งเสด็จออกทรง ผนวชถึงปรินิพพาน และแบ่งพระบรมสารีริกธาตุในที่สุด โดยเรื่อง ราวเหล่านี้เขียนตามเนื้อเรื่องในปฐมสมโพธิกถ บริเวณผนังด้านบน ทั้ง 3 ด้าน คือ ผนังด้านแป 2 ด้าน และผนังหุ้มกลองด้านหน้า ส่วนผนังหุ้มกลองด้านหลัง เขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงเสด็จขึ้น ไปเทศน์โปรดเทพยดาบนสวรรค์ ด้านล่างระหว่างช่องหน้าต่างหรือห้องภาพ ด้านข้าง 2 ด้าน และด้านหน้า 1 ด้าน เขียนภาพเหตุการณ์ที่กล่าวไว้ในปฐมสมโพธิกถา ตอนที่สำ�คัญและเด่นชัด โดยสามารถขยายรายละเอียดของเนื้อ เรื่อง และการจัดวางในแต่ละพื้นที่ได้ดังนี้ 4


ผนังด้านทิศตะวันออก การจัดวางเนื้อเรื่องของภาพด้านสกัด แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก ผนังเหนือกรอบประตูด้านหน้าขึ้น ไปจรดเพดานเต็มผนัง เขียนเรื่องราวของพุทธประวัติ ด้านซ้ายล่าง สุดจับความตอนเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสนอกพระราชวัง มอง เห็นสมณะ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ด้านขวาประมาณกึ่งกลาง ผนัง เขียนตอนเจ้าชายสิทธัตถะทรงสละราชโอรสและพระชายา ขวา บนสุดด้านบนเหนือกลุ่มที่ผ่านมา เขียนตอนเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จ ออกบรรพชาพร้อมด้วยนายฉันนะและม้ากัณฐกะ มีพญามารมาขวาง หน้าไม่ให้พระองค์ออกบรรพชา ด้านซ้ายเริ่มตั้งแต่ด้านบนกลางภาพ เขี ย นภาพเจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะกำ � ลั ง ตั ด พระเมาฬี ด้ ว ยพระขรรค์ ล งมา จนถึงเข้าศึกษาที่สำ�นักอุทุกรามบุตรดาบส เป็นลำ�ดับ ส่วนที่สอง เขียนตรงห้องภาพระหว่างประตูด้านหน้า ตั้งแต่ใต้ กรอบประตูลงมาถึงเชิงผนัง เขียนตอนเทศนาปริวัตต์และเทโวโรหนปริวัตต์ ด้านบนขณะเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ พระอินทร์ได้อัญเชิญพุทธมารดาลงมาสดับพระธรรม และ ตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์บนบันไดแก้ว ด้านล่างสุดเป็นกลุ่มนรกภูมิ มีเส้นสินเทา แบ่งคั่นระหว่างตอน 5


ส่วนที่สาม เขียนบนประตูทั้งสองด้านเกี่ยวกับประวัติหลวงปู่แตง และตรงบริเวณบานแผละเขียนเป็นภาพทิวทัศน์ภูเขา ต้นไม้ มีนกและ ผีเสื้อประกอบอยู่ด้วย การจัดวางภาพของผนังด้านหน้าพระประธาน โดยเฉพาะเนื้อ เรื่องเหนือกรอบประตูด้านบน ซึ่งเป็นเรื่องราวมีความต่อเนื่องกับ ผนังด้านข้างทั้งสองฝั่ง ภาพในแต่ละกลุ่ม มีการแบ่งคั่นเหตุการณ์ เรื่องราวในแต่ละตอนด้วยกำ�แพงเมือง โขดหิน (ภูเขา) แม่นํ้า ต้นไม้ (ป่า) กลุ่มสำ�คัญของภาพ เช่น ภาพเจ้าชายสิทธัตถะ เหล่าข้าราชบริพาร หรือปราสาท ราชวัง มีการเขียนอย่างพิถีพิถัน บางส่วนมี การปิดทองแล้วตัดเส้นอย่างละเอียด กรณีภาพเขียนบนประตูสอง ด้าน ด้านหน้าเขียนประวัติหลวงปู่แตง เป็นลักษณะเล่ากิจวัตรของ หลวงปู่แตงเป็นตอนๆ ไป การจัดภาพเน้นรูปท่านในกิริยายืนถือ ตาลปัตร ด้านหลังเขียนต้นไม้มีกิ่งแห้ง และรูปนก หงส์ (ไก่ฟ้า) ผีเสื้อ และดอกไม้

6


ผนังด้านทิศตะวันตก ด้านสกัด หลังพระประธาน การจัดวางภาพมี 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ตั้งแต่กรอบประตู ด้ า นบนไปจรดเพดานเขี ย นเรื่ อ งราว เกี่ ย วกั บ พระพุ ท ธองค์ ท รงแสดงธรรม เทศนาโปรดแต่เหล่าเทวดา ภิกษุ ภิกษุณี ยักษ์ ลิง เป็นต้น และมีกลุ่มย่อย เขียน ถึง พระพุทธเจ้าทรงโปรดสัตว์และจาริก ไปเผยแผ่ธรรมวินัย ส่วนที่สอง บนประตูทั้งสองด้าน เขียนทวารบาลเป็นรูปเปรต 2 ตนยืน ตนหนึ่งยกมือขึ้นอัญชลี 7


ผนังด้านทิศเหนือ จิตรกรรมฝาผนังมีพื้นที่เขียนภาพแบ่งออก เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ด้านบนเหนือกรอบหน้าต่างขึ้นไปจรด เพดานเขียนเต็มทั้งผนัง เริ่มจากผนังด้านซ้ายพระประธาน (ต่อเนื่อง มาจากผนังด้านทิศตะวันออก) ตั้งแต่ศึกษาที่สำ�นักอุทุกรามบุตรดาบ เวียนไปทางซ้ายพระประธาน (อุตรวรรต) ไปจบ ตอนพระพุทธเจ้า แสดงธรรมเทศนา ณ ที่ต่างๆ เป็นตอนสุดท้ายของผนังด้านทิศเหนือ ส่วนที่สอง เขียนระหว่างช่องหน้าต่าง เรื่องจะต่อเนื่องมาจาก ผนังด้านทิศตะวันออก เริ่มตั้งแต่ปัจฉิมบิณฑบาตจนไปจบที่ห้องภาพ ด้านหลังสุดตอน มารพันธปริวัตต์

8


การจัดวางภาพของส่วนแรก เหนือกรอบหน้าต่างขึ้นไป เป็นการ จัดภาพแบบเล่าเรื่องมีการแบ่งเนื้อเรื่องเป็นตอนๆ ไป ได้แก่ กลุ่มแรก ด้านบนขวามือสุด เขียนภาพพระมหาสมณโคดม ศึกษาที่สำ�นักอุทุกรามบุตรดาบส และพระอินทร์ดีดพิณ ขณะที่พระมหาสมณโคดมทรงไสยาสน์อยู่บนแท่นศิลา กลุ่มที่สอง ตอนล่าง ลงมาเขียนภาพนางสุชาดากวนข้าวมธุปายาสอยู่ภายในบริเวณบ้าน ถัดขึ้นไปนางสุชาดาและสาวใช้กำ�ลังถวายข้าวมธุปายาส และด้าน ขวาตรงข้ามพระมหาสมณโคดมทรงลอยถาดทองลงไปยังบาดาล วิมานพญานาค ด้านซ้ายเหนือห้องภาพอัคคทานของนายจุนทะขึ้น มา เป็นกลุ่มใหญ่ เขียนเหตุการณ์ตอนมารวิชัย พญาวสวัตตีมารทรง ช้างสีขาว พร้อมเหล่าพลทัพ ยักษ์ไทย ยักษ์จีน และกลุ่มด้านซ้ายจน สุดผนัง เนื้อเรื่องตอนนี้เขียนโพธิสัพพัฏฏปริวัตต์ เป็นกลุ่มใหญ่ เช่น เดียวกัน และมีหลายเหตุการณ์กระจายไปทั่ว ตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรง เพ่งต้นพระศรีมหาโพธิ ธิดาพระยามารแสดงยั่วยวน จนไปจบที่ผนัง ด้านหลังสุด ซึ่งมีการเขียนรูปพระพุทธองค์ในอิริยาบถต่างๆ กระจาย เป็นกลุ่มเล็กๆ ไปทั่ว 9


การแบ่งเนื้อเรื่องในแต่ละตอน อาศัยโขดหิน ต้นไม้ แม่นํ้า เป็นหลัก ส่วนรูปพระพุทธองค์ในแต่ละเหตุการณ์หรือตอนจัดเป็น ประธานของกลุ่มภาพนั้นๆ โดยมีองค์ประกอบส่วนอื่นๆ ช่วยให้ เนื้อหาสาระของเรื่องมีความสมบูรณ์ สามารถดูและเข้าใจได้ว่าเป็น ตอนอะไร โดยเฉพาะส่วนที่กล่าวถึงเหตุการณ์ภายหลังทรงตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อเสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่ใด แสดง รูปพระพุทธองค์ประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้วเป็นประธานอยู่ทุกตอน กรณีการจัดวางภาพของส่วนที่สอง ใต้กรอบหน้าต่างลงมา ห้อง ภาพเริ่มต้นจากผนังด้านหน้าเวียนมาด้านหลังพระประธาน มีรายละเอียดดังนี้

10


ห้องภาพเรื่องปัจฉิมบิณฑบาต ห้ อ งภาพนี้ มี ข นาดครึ่ ง หนึ่ ง ของห้องภาพปกติเขียนเรื่องราว ตอนเล็กๆ ขณะที่พระพุทธองค์ พาสาวกไปยังเมืองชื่อ ปาวานคร ตั้ ง พระทั ย จะบิ ณ ฑบาตอี ก เป็ น ครั้งสุดท้าย และได้เสด็จเข้าพัก ที่อัมพวัน สวนมะม่วงนายจุนทะ กลุ่มภาพเน้นเพียงกลุ่มเดียว จับ ความตอนนายจุ น ทะกั บ บริ ว าร กำ � ลั ง นำ � อ า ห า ร ขึ้ น ม า ถ ว า ย พระพุทธเจ้าภายในบ้าน

11


ห้องภาพเรื่องอัคคทานของนายจุนทะ การเขียนจับความตอนพญาวสวัตตีมารเข้ามาทูลอาราธนาเพื่อ ให้พระพุทธองค์เสด็จสู่มหาปรินิพพานเป็นกลุ่มแรก ถัดมากลางภาพ เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสวยอาหารที่นายจุนทะถวายให้ภายในเรือน การครองจีวรของพระพุทธเจ้าและพระภิกษุชั้นในนุ่งสบงสีแดง และ ครองผ้าชั้นนอกด้วยสีเหลือง กรณีพระพุทธเจ้าจีวรที่ห่มดองชั้นนอก เขียนเป็นลายดอกไม้ เช่นเดียวกับลวดลายบนเสื้อของนายจุนทะและ คนอื่นๆ 12


ห้องภาพเรื่องมหานิพพานสูตรปริวัตต์ เขียนตอนพระพุทธเจ้าทรงพระประชวรหนักขอนํ้าเสวย ในห้อง ภาพมีการจัดวางภาพแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ด้านซ้าย บนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับไสยาสน์บนแท่นศิลา ด้วยอาการ ป่วยจากพิษของอาหารมีสาวกเฝ้าห้อมล้อมดูพระอาการของพระองค์ กลุ่มที่สอง ด้านหน้าพระอานนท์ขัดพระประสงค์ของพระพุทธองค์ไม่ ได้นำ�บาตรออกไปตักนํ้าในลำ�ธารให้พระองค์เสวย ด้านข้างเห็นพระภิกษุสองรูปกำ�ลังสรงนํ้าอยู่ริมธาร โดยพาดสบงและจีวรไว้บนกิ่งไม้ ข้างๆ กลุ่มที่สาม ด้านบนขวาพระอานนท์ได้ถวายนํ้าในบาตร

13


ห้องภาพเรื่องมหานิพพานสูตรปริวัตต์ จับความตอนพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้สุภัททะเป็นปัจฉิมสาวก และถวายพระเพลิงพระสรีระพระพุทธเจ้า การจัดวางภาพแบ่งออก เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ด้านบนซ้ายเขียนภาพพระพุทธองค์ ปรินิพพานอยู่ภายในฉากกั้นด้านนอกมีเทวดานั่งประคองอัญชลีเฝ้า อยู่ที่เบื้องพระบาท ด้านหน้าออกมามีพระภิกษุยืนอยู่ 1 รูป (เข้าใจ ว่าเป็นสุภัททะ) กำ�ลังยืนพูดคุยกับผู้ชายคนหนึ่งถึงพระธรรมวินัย กลุ่มที่สอง ด้านหน้าขวามือเป็นเหตุการณ์สำ�คัญของห้องนี้ เขียนภาพถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า แต่ไม่สามารถ จุดไฟให้ติดได้ จนเมื่อพระมหากัสสปะได้กราบพระบาท ซึ่งเกิด ปาฏิหาริย์มีพระบาทยื่นออกมานอกพระหีบ จึงจุดไฟถวายพระเพลิง พระบรมศพได้ 14


ห้องภาพเรื่องธาตุวิภัชนปริวัตต์ เขียนภาพกษัตริย์ทั้งหลายที่มาในครั้งนั้นต่างจะทำ�สงครามเพื่อ แย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์แห่งเมืองกุสินาราจึงห้าม ไว้และรับเป็นผู้แบ่งพระธาตุแจกจ่าย หากแต่โทณพราหมณ์ได้ลักลอบ พระทักษิณทาฒะ (พระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาบน) ขึ้นซ่อนที่มวยผมของ ตน พระอินทร์จึงลอบหยิบเอาพระธาตุองค์นั้นใส่ไว้ในสุวรรณโกศ และอัญเชิญขึ้นไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณี เจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลักษณะภาพจับความตอนเหล่ากษัตริย์ทั้งหลาย ต่างกรีธาทัพมาเพื่อ ชิงพระบรมสารีริกธาตุเพียงกลุ่มเดียว ภาพแสดงเหตุการณ์ 2 ช่วง คือ เขียนเหตุการณ์ภายนอกเมือง มีทัพช้าง ทัพม้า พร้อมสรรพอาวุธครบครันเตรียมบุกเข้าไปช่วงหนึ่ง ภายในเมืองที่เหล่าทหารเมืองกุสินารากำ�ลังช่วยกันลากปืนใหญ่ออก มาบนกำ�แพงเมืองเขียนโทณพราหมณ์ยกมือขึ้นห้ามทัพ กับเขียนถึง ช่วงโทณพราหมณ์กำ�ลังจะแบ่งพระธาตุอีกช่วงหนึ่ง 15


ห้องภาพเรื่องมารพันธปริวัตต์ เนื้อเรื่องราวกล่าวถึงพระมหากัสสปะเกรงว่าพระบรมสารีริกธาตุ จะมีอันตราย จึงปรึกษากับพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อขุดดินลึกลงไป 80 ศอก พระบรมธาตุด้วยทองแดง และหุ้มวัตถุอื่นๆ เช่น แก้ว และ เงิน เป็นชั้นๆ อย่างละ 8 ชั้น พร้อมทั้งผนึกไว้อย่างดี แล้วจึงสร้าง สถูปหินครอบไว้ การจัดภาพของห้องนี้ มีบางส่วนชำ�รุดตีความไม่ได้ (ทางด้านขวา) ส่วนที่ยังสมบูรณ์คือด้านตรงกันข้าม ซึ่งเขียนแสดง เจดีย์ย่อมุมอยู่ตรงกลาง มีเหล่าสาวกและกษัตริย์ทั้งหลายอยู่ราย รอบ ตรงมุมกำ�แพงแก้วตั้งฉัตรมีธงติดส่วนยอด และปักเสาดอกไม้ใส่ เป็นระยะๆ ส่วนอื่นรอบกำ�แพงแก้วภายนอกเขียนบรรดาข้าราชการ บริพารที่ตามเสด็จ และประชาชนที่มานมัสการพระอัฐิ มีป่าเขา โขดหินเป็นหย่อมๆ

16


ผนังด้านทิศใต้ จิตรกรรมฝาผนังฝั่งนี้ มีการแบ่งภาพออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ด้านบนเหนือกรอบหน้าต่างขึ้นไปจรดเพดาน เขียนเต็มทั้งผนัง เริ่มต้นจากผนังด้านทิศใต้ฝั่งขวาพระประธาน เวียน ไปทางด้านหน้าโดยมีเรื่องราวตอนวิวาหมงคล และทูลเชิญสันดุสิต เทวราชจุติ เป็นปฐม จนไปถึงเหตุการณ์ตอนพระฉาย (เงา) ของเจ้า ชายสิทธัตถะไม่เอนเอียง เป็นตอนสุดท้ายของผนังด้านทิศใต้ ส่วนที่สอง เขียนใต้กรอบหน้าต่างลงมาระหว่างช่องหน้าต่าง เริ่มต้นเรื่องที่ห้องด้านหลังสุด คือเรื่องยสบรรพชา เป็นตอนแรก จน ไปจบที่ห้องภาพด้านหน้าตอนยมกปาฏิหาริย์ปริวัตต์ ลักษณะการจัดภาพของส่วนแรก เป็นการจัดภาพแบบเล่าเรื่อง มี การแบ่งเนื้อเรื่องบนผนังเป็นตอนๆไป ได้แก่ กลุ่มแรก เริ่มต้นเรื่อง ที่ผนังด้านล่างเป็นตอนการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา เป็นปฐม กลุ่มที่สอง ถัดขึ้นไปด้านบน ขวาสุด เขียนตอนทูลเชิญสันดุสิตเทวราชจุติลงสู่พระครรภ์พระนางสิริมหามายาเพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไป กลุ่มที่สาม ด้าน ล่างตรงกลางผนัง ตอนพระนางสิริมหามายาประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ ณ สวนลุมพินีวัน กลุ่มที่สี่ ถัดขึ้นไปทางขวา เป็นเหตุการณ์ตอนกาฬ เทวิลดาบสได้ทราบข่าวการประสูติจึงเข้าไปเยี่ยมพระราชกุมารทรง กระทำ�ปาฏิหาริย์เสด็จขึ้นไปยืนบนชฎาพระดาบส กลุ่มที่ห้า ด้าน ซ้ายล่างประมาณกึ่งกลางผนัง เขียนตอนโกณฑัญญพราหมณ์ถวาย พยากรณ์เจ้าชายสิทธัตถะ กลุ่มที่หก เริ่มตั้งแต่ด้านล่างซ้ายสุดของ ผนังขึ้นไปเขียนภาพตอนพระราชบิดาเชิญเสด็จไปร่วมพิธีแรกนาขวัญ ขณะนั้นเจ้าชายสิทธัตถะประทับอยู่ใต้ต้นหว้าได้เกิดอัศจรรย์พระฉาย (เงา) ของเจ้าชายสิทธัตถะไม่เอนเอียง ถัดขึ้นไปทางขวาเป็นภาพกลุ่ม เล็ก ตอนแข่งธนูแผลงศร จนถึงกลุ่มสุดท้าย ด้านบนขวาจับความ ตอนเจ้าชายเข้าพิธีอภิเษกสมรส 17


การแบ่งเนื้อเรื่องของผนังด้านทิศใต้ ส่วนแรกอาศัยกำ�แพงเมือง ป้อม ประตู โขดหิน ต้นไม้ เป็นหลัก โดยตอนหรือเหตุการณ์สำ�คัญ การเขียนภาพจะมีกลุ่มใหญ่ หากเขียนเกี่ยวกับปราสาท ราชวัง และ หรือรูปกษัตริย์ เจ้าชาย ข้าราชบริพาร การเขียนมีความประณีตและ บางส่วนของภาพมีการปิดทองตัดเส้นด้วยลวดลาย เนื้อเรื่องในแต่ละ กลุ่มภาพนอกจากมีการเขียนแสดงเรื่องราวทางพุทธประวัติแล้ว ยัง แสดงถึงวิถีชีวิต ประเพณีหลวง การแต่งกาย และองค์ประกอบที่ เกี่ยวข้องในราชสำ�นัก เช่น สิวิกา ราชรถ อัจกลับ เครื่องราชูปโภค ต่างๆ เป็นต้น ประการสำ�คัญการแต่งกายของเสนาบดี ข้าราชการ ต่างๆ มีลักษณะนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตนสีต่างๆ หรือ เสื้อผ่าอกติดกระดุม มีผ้าคาดเอว กรณีการจัดวางภาพส่วนที่สอง ใต้กรอบหน้าต่างลงมา ห้องภาพ เริ่มต้นเรื่องที่ผนังด้านหลังสุด เวียนมาทางด้านหน้าพระประธาน มี รายละเอียดดังนี้ 18


ห้องภาพเรื่องยสบรรพชาปริวัตต์ เนื้อเรื่องจับเหตุการณ์ตอนหลังจากบวชปัญจวัคคีย์แล้ว ยสกุลบุตรและสหายได้พากันออกบวช ฟังธรรมจากพระพุทธองค์จนสำ�เร็จ เป็นพระอรหันต์ ลักษณะภาพมีกลุ่มสำ�คัญ 3 ตอนคือ กลุ่มแรก ด้าน บนขวา ยสกุลบุตรกำ�ลังนั่งประคองอัญชลีฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า กลุ่มที่สอง ด้านล่างลงมาทางขวาเขียนยสกุลบุตรกำ�ลังหลบภรรยา ขณะนอนหลับเพื่อออกไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์ กลุ่มสุดท้าย ด้านบนซ้ายเขียนยสกุลบุตรและสหายกำ�ลังฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ข้อสังเกต การเขียนภาพยสกุลบุตรแต่ละตอนมีทั้งสวมเสื้อและ ไม่สวมเสื้อ กับตัวอาคารเขียนเครื่องบนคล้ายแบบจีน ส่วนระเบียง และชานรอบอาคารเขียนแบบไทยประกอบกัน 19


ห้องภาพเรื่องอุลุเวลคมนปริวัตต์ ห้องภาพเรื่องจับความตอนพระพุทธเจ้าทรงโปรดชฎิลสามพี่น้อง ที่เมืองอุรุเวลา การจัดวางภาพมี 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มแรก ด้าน บนสุดเขียนภาพพระพุทธเจ้าและสาวกเรียงกันเป็นแถวยาวหลายรูป เพื่อเสด็จไปโปรดชฎิลสามพี่น้อง กลุ่มที่สอง ปัจจุบันได้ลบเลือนไป เข้าใจว่าเป็นเรื่องราวเดียวกัน ชฎิลสามพี่น้องมีมิจฉาทิฐิต่อพระพุทธองค์ จนกระทั่งต่อมาได้ยอมแพ้และขออุปสมบทพร้อมเหล่าบริวาร เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงมหาปาฏิหาริย์อันวิเศษ (ยมกปาฏิหาริย์) กลุ่มที่สาม เขียนภาพเหล่าชฎิลกำ�ลังลอยเครื่องสวมศรีษะ (ชฎา) ของพวกตนไปในแพ 20


ห้องภาพเรื่องพิมพาพิลาปปริวัตต์ จับความตอนคราวที่พระพุทธองค์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้แสดง ธรรมเทศนาเรื่องจันทกินรชาดกโปรดนางพิมพา ยังผลให้นางบรรลุ โสดาบัน ห้องภาพนี้มีกลุ่มภาพหลักอยู่ที่พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมราชสำ�นักพระพุทธบิดา และพระนางพิมพากำ�ลังเศร้าโศกอยู่เคียงข้าง พระเจ้าสุทโธทนะ ถัดมาทางซ้ายเป็นภาพ พระพุทธเจ้ากำ�ลังเทศนา อยู่ในศาลา 21


ห้องภาพเรื่องอัครสาวกบรรพชาปริวัตต์ เขียนตอนอุปติสสะกับโกลิตะเลื่อมใสในพุทธศาสนาจึงพากันมา พร้อมด้วยบริวารเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขออุปสมบท เมื่ออุปสมบท แล้วพระองค์ทรงเรียกพระอุปติสสะว่า “พระสารีบุตร” และเรียกพระโกลิตะว่า “พระโมคคัลลานะ” การจัดภาพคล้ายห้องภาพที่ผ่านมา มี การวางภาพเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ด้านบนเขียนภาพพระพุทธเจ้า และเหล่าสาวกออกบิณฑบาต ตรงกลางด้านซ้ายเป็น กลุ่มที่สอง เขียนภาพพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมกับพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ที่มาบรรลุเป็นอรหันต์ภายหลัง 22


ห้องภาพเรื่องพุทธปิตุนิพพานปริวัตน์ เขี ย นตอนเมื่ อ ครั้ ง ที่ พ ระพุ ท ธองค์ ป ระทั บ ที่ เ มื อ งเวสาลี ท รง ทราบว่าพระบิดาประชวรหนักจึงเสด็จไปเยี่ยมและแสดงธรรมถวาย พุทธบิดาได้บรรลุพระอรหันต์ก่อนเสด็จนิพพาน เมื่อพระพุทธองค์ เสด็จกลับได้ทรงอนุญาตให้มีพระภิกษุณี หลังจากที่พระอานนท์ทูล อ้อนวอนขออนุญาต ห้องภาพตอนนี้มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก เขียนภาพพระพุทธเจ้าเสด็จเยี่ยมพุทธบิดาที่ประชวร หนักมีเหล่าสาวกปรนนิบัติอยู่ข้างๆ และที่ชานด้านนอกอาคารมีพระญาติกำ�ลังเศร้าโศกกำ�สรวล กลุ่มที่สอง ถัดขึ้นไปด้านซ้ายเขียนภาพ พระอานนท์กำ�ลังทูลอ้อนวอนขออนุญาตให้มีภิกษุณี 23


ห้องภาพเรื่องยมกปาฏิหาริย์ปริวัตต์ ตอนนี้ ห้ อ งภาพมี ข นาดครึ่ ง หนึ่ ง ของ ห้องภาพอื่น ลักษณะการจัดการภาพในห้อง นี้ แบ่งตามเนื้อเรื่องได้ 3 กลุ่ม คือ ด้านล่างกลางภาพ เขียนตอนพระพุทธองค์ ท รงห้ า มมิ ใ ห้ ภิ ก ษุ ไ ด้ แ สดงปาฏิ ห าริ ย์ ด้านบนสุดทางขวาเขียนภาพพระพุทธองค์ ขณะแสดงปาฏิหาริย์ (ยมกปาฏิหาริย์) ใต้ ต้นมะม่วง และตอนสุดท้ายกลุ่มทางขวา เขียนภาพพระพุทธองค์ประทานเม็ดมะม่วง ให้นายคุณฑะอุทบาล เพื่อนำ�ไปเพาะลง ดิน ข้อสังเกตการจัดภาพเน้นส่วนของพื้น ท้องฟ้ามากขึ้น เช่นเดียวกับห้องอื่นๆ

24


กรรมวิธีทางช่าง สีและวิธีการใช้ จิตรกรรมฝาผนังของวัดอ่างศิลานอก เขียนด้วยสี ฝุ่นผสมกาว ลงบนพื้นกาวมะขาม ซึ่งเป็นเทคนิคสมัยโบราณ ลงสีเข้ม ชัดเจน ภาพของผนังแต่ละด้านจะมีความเกี่ยวเนื่องกัน วิธีการเขียน มี การแบ่งเป็นกลุ่มๆ อีกทั้งมีการเขียนเน้นโขดหินและต้นไม้ด้วยการปาด สี และแตะแต้ม โครงสีส่วนใหญ่จึงออกสีเขียว นํ้าตาลของธรรมชาติ การลงสีพื้นหลังเป็นฉาก ท้องฟ้า มีการไล่สีเลียนแบบธรรมชาติมาก ที่สุด ส่วนสีของสถาปัตยกรรม ของเมือง บ้านเรือนต่างๆ ก็ใช้สีที่เน้น ความสมจริง บางส่วนมีการปิดทอง ทำ�ให้เรื่องราวนั้นๆ มีความวิจิตร มากขึ้น 25


การใช้เส้น ช่างให้ความสำ�คัญกับการตัดเส้น แสดงให้เห็นถึงความชำ�นาญ ของช่างในการเลี้ยงเส้น กล่าวคื​ือ เส้นมีความนุ่มนวลต่อเนื่องกันโดย ตลอด ซึ่งการใช้สีตัดเส้นตัวภาพนั้น ใช้สีต่างกันออกไปตามลักษณะ ของตัวภาพนั้นๆ เช่น การตัดเส้นเจ้านาย ตัวพระ ตัวนาง ภาพกาก สถาปัตยกรรม (บ้าน เมือง กำ�แพง) และมีการแบ่งเน้นส่วนสำ�คัญ ของเส้นที่ตัดลงบนส่วนต่างๆ ของภาพ มีนํ้าหนักของเส้นที่หนาบาง แตกต่างกันออกไป เช่น ส่วนที่เป็นใบหน้า เป็นต้น ส่วนวิธีการเขียน ต้นไม้ ภูเขา โขดหินให้ความประณีต มีรายละเอียดชัดเจนดูสมจริง กรรมวิธีเขียนต้นไม้ อาศัยวัสดุบางอย่างนำ�มากระทุ้ง จิ้ม หรือแตะ ให้เกิดร่องรอยเป็นพุ่ม เป็นใบ ส่วนการเขียนโขดหินหรือภูเขา มีการ ระบายเน้นสีเข้มตามสัดส่วนต่างๆ ให้เกิดปริมาตร เป็นกลุ่มเป็นก้อน

26


จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดอ่างศิลา ภาพและเนื้อเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย พิชญาณัฏฐ์ หมื่นจำ�นงค์, 540310099 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557
 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย พิชญาณัฏฐ์ หมื่นจำ�นงค์ ใช้ฟอนท์ชื่อ TH K2D July8 16 pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อ ส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

27



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.