๕๙
จุลสารลายไทยฉบับพิเศษ
“ทวยราษฎร์ร ักบาทแม้ ยิ่งด้วยบิตุร งค์” ฝ่ายการนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑
จุลสารลายไทยฉบับพิเศษ “ทวยราษฎร์รักบาทแม้ ยิ่งด้วยบิตุรงค์” © ลิขสิทธิ์ของสาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ พิมพ์ครั้งแรก: กันยายน ๒๕๖๐ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์โดย
ที่ปรึกษา
ฝ่ายการนักศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์สังวาลย์ คงจันทร์ (หัวหน้าสาขาวิชาภาษาไทย) รองศาสตราจารย์ ดร.สุปาณี พัดทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หม่อมหลวงคายวง วราสิทธิชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรวนีย์ สรรคบุรานุรัก ษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวณิต จุลวงศ์ อาจารย์วชิราภรณ์ รุ่งโรจน์ชนาทิพย์
กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ อธิชนัน สิงหตระกูล ศิลปกรรม พิสูจน์อักษร เจตวัฒน์ รังกาแกม ฉัฑริกา ปรานช่วย เทคโนโลยี ปุณวัชร์ บ่องเขาย้อย ภาพปก ธิติวุฒิ วิเชียรนุกูล ออกแบบปก
สิริรัตน์ จับใจเหมาะ กัญญารัตน์ พนิตวงศ์ ศุภธัช คุ้มครอง สุทธธิดา ช้างพลายแก้ว ศุภธัช คุ้มครอง
งานเขียนในจุลสารฉบับนี้ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียน ห้ามจาหน่าย ๒
บรรณาธิการแถลง วั น พฤหั ส บดี ที่ ๑๓ ตุ ล าคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๙ รั ช สมั ย แห่ ง พระบาทสมเด็จ พระปรมิ นทรมหาภู มิพ ลอดุ ล ยเดชสิ้ นสุ ดลงท่า มกลางความ โทมนั สของพสกนิ กรไทย พระมหากรุณ าธิ คุณ อเนกประการโดยเฉพาะที่ได้ พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ เสมอมา ยังเป็ น ความภาคภูมิใจและซาบซึ้งแก่เราทั้งหลายอย่างประมาณมิได้ ยิ่งหัวใจท่วมท้ น ด้วยความอาดูรเพียงใด ยิ่งมีความปรารถนาที่จะสนองพระมหากรุณาธิคณ ุ เพียงนั้น จุลสารลายไทยฉบับพิ เศษ “ทวยราษฎร์รักบาทแม้ ยิ่งด้ว ยบิ ตุ ร งค์ ” จึงเกิดขึ้นด้วยความจงรักภักดีของคณาจารย์ ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน สาขาวิชา ภาษาไทยทีพ่ ร้อมใจกันรังสรรค์งานเขียนแสดงความอาลัยเพื่อน้อมราลึกพระมหา กรุณาธิคุณพ้นประมาณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผลงานที ่ ร วมพิ ม พ์ ใ นครั ้ ง นี ้ ศ ิ ษ ย์ เ ก่ า และศิ ษ ย์ป ั จ จุ บั น สาขาวิ ชา ภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้พร้อมใจกันประพันธ์ ถวายจานวน ๒๙ เรื่อง รวมทั้งได้รับเกียรติจากศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ มี ชื่อเสี ย งอี กสามท่ า น คื อ เนาวรั ต น์ พงษ์ ไ พบู ลย์ ศิ ษ ย์ เก่ า คณะนิ ติศาสตร์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นิภา ทองถาวร ศิษย์เก่าคณะสังคมสงเคราะห์ ศาสตร์ เจ้ า ของฉายา บุ ษ บา ท่าพระจันทร์ ซึ่ ง ทั้ ง สองท่า นเป็ นกวี มือทองแห่ ง ๓
ชุ ม นุ ม วรรณศิลป์ธรรมศาสตร์ และ ดร.ถนอมวงศ์ ล้ ายอดมรรคผล นายก สมาคมนักแปลและล่ามแห่ งประเทศไทย ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์และอดีต อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย จุ ลสารลายไทยฉบั บ พิ เศษนี้ ออกแบบให้ มี ค วามพิ เศษด้ ว ยการนา เทคโนโลยี สื่อเสมือนจริง หรื อ Augmented Reality (AR) มาผสมผสานใน การบันทึกเสียงอ่านงานเขียนทั้งบทกวีและความเรี ยงเพื่ อเพิ่มช่ องทางในการ เผยแพร่ผลงานในจุลสารฉบับนี้ให้เข้าถึงผู้ที่สนใจได้มากขึ้น ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ร่วมกันบันทึกความทรงจาแสดงความอาลั ย เพื่อน้อมราลึกพระมหากรุณาธิคณ ุ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์ในครั้งนี้ จุลสารลายไทยฉบับพิเศษ “ทวยราษฎร์รักบาทแม้ ยิ่งด้วยบิตุรงค์” นี้ จักเป็นเครื่องหมายแห่งความจงรักภักดี ซึ่งคณะผู้จัดทาปรารถนาเป็นอย่างยิง่ ว่ า พระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณในรัชกาลที่ ๙ จั กเป็ นแรงดลใจให้เรา ทั้งหลาย เดินตามรอยพระยุคลบาทสืบไป บรรณาธิการ
๔
ขั้น ตอนการใช้ AR Code
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สามารถดาวน์ โหลดแอปพลิเ คชั น Aurasma เพื่ อ รั บ ชมภาพและ เสียงในรูปแบบมัลติมีเดีย และเพื่อรับฟังเสียงอ่านบทประพันธ์ด้วยเทคโนโลยี AR หรื อ Augmented reality ซึ่ งเป็ นเทคโนโลยี ที่ ผ สมผสานโลกแห่ ง ความจริง (Real) และโลกเสมือนจริ ง (Virtual) ไว้ด้วยกัน การดาวน์โหลด แอปพลิเคชันดั งกล่า วไม่เสี ยค่าใช้ จ่า ยใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้คุณภาพของการใช้ งานขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ไอโฟนและไอแพด ที่ใช้ปฏิบัติการ iOS iosให้เข้าไปที่ App Store ios สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ให้เข้าไปที่ Play Store ios จากนั้นเลือกที่ช่องค้นหา พิมพ์คาว่า Aurasma แล้วกดรับ หรือ / และ ติดตั้ง
ios
๕
วิธีใช้งานแอปพลิเคชัน
สาหรับระบบปฏิบัติการ Android
๑. เปิดแอปพลิเคชัน Aurasma ๒. ปัดหน้าจอทางไปซ้าย ๕ ครั้ง และกดปุ่ม (เฉพาะครั้งแรก) ๓. กดที่รูป
SKIP
ด้านล่าง
๔. กดที่รูป ที่เมนูด้านล่าง แล้วกดที่ช่อง Search Aurasma ด้านบน ๕. พิมพ์คาว่า Thaituaurasma และกดปุ่ม หรือ เรียบร้อย ที่แป้นพิมพ์ด้านล่าง ๖. กดที่เมนู CHANNELS ด้านบนขวา แล้วเลือก Thaituaurasma by Arforthaitu ๗. กดปุ่ม Following ๘. กดที่เครื่องหมาย ตรงกลางด้านล่าง ๙. นาสมาร์ทโฟนไปส่องที่สัญลักษณ์ลายไทย* * บนหน้าปก ให้นาสมาร์ทโฟนส่องที่ภาพลายเส้นบนปก ๖
วิธีใช้งานแอปพลิเคชัน สาหรับระบบปฏิบัตกิ าร iOS
๑. เปิดแอปพลิเคชัน Aurasma ๒. กดที่ปุ่ม Create an account เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้งาน ๓. ใส่ชื่อบัญชีอีเมล แล้วกด Next ๔. ตั้ง Username แล้วกด Next ตั้ง Password ใหม่ แล้วกด Create Thaituaurasma ๕. พิมพ์ ในช่องค้นหาด้านบน และกดปุ่ม Search ที่แป้นพิมพ์ด้านล่าง ๖. เลื่อนหน้าจอลงไปเรื่อย ๆ แล้วเลือก Thaituaurasma by ARforthaitu ๗. กดปุ่ม Follow แล้วกด Back และ Cancel ตามลาดับ ๘. กดที่เครื่องหมาย ตรงกลางด้านล่าง แล้วกดปุ่มตกลงเพื่อเข้าถึงกล้อง (เฉพาะครั้งแรก) ๙. นาสมาร์ทโฟนไปส่องที่สัญลักษณ์ลายไทย* * บนหน้าปก ให้นาสมาร์ทโฟนส่องที่ภาพลายเส้นบนปก ๗
สารบัญ บทกวี ๑. เสวยสวรรยา เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
๑๕
๒. ราลึกโศกอยู่ล้นทรวง นิภา ทองถาวร
๑๖
๓. ขับขานพระราชนิพนธ์ ถนอมวงศ์ ล้ายอดมรรคผล
๑๗
๔. โทมนัสยาตรา ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ กรณัฏฐ์ ขวัญคง
๑๙
๕. พระการุญสถิตเกล้า กฤษฎา ปานเทวัญ
๒๑
๖. ราษฎร์จึ่งรักบาทแม้ ยิ่งด้วยบิตุรงค์ เฉลิมพงษ์ หลักคา
๒๓
๗. ราษฎร์รัฐ มั่นภักดิ์พร้อม กว่าสิ้นกัลป์สมัย ชื่นกมล ศรีสมโภชน์
๒๕
๘. ทางเดินรอบสนามหลวง ณรงศักดิ์ สอนใจ
๒๗
๙. ฉันท์อาลัยทั้งไตรภพ ดวงกมล ธงชมเชย
๒๙
๑๐. อัญชลิตบาทยุคล ธงชัย แซ่เจี่ย
๓๑
๑๑. น้าตาสยาม ธนานพ จันทร์แจ่ม
๓๓
๑๒. พระปิตุคุรุราชา ธวัชชัย ดุลยสุจริต
๓๕
๑๓. พระสถิตในหทัย ไทยราษฎร์นิรันดร์ ธีรพงค์ บุญยานันท์
๓๗
๑๔. ลิลิตพระหน่อพุทธวงศ์เสด็จสวรรค์ พรชนก ชาติชานิ
๓๙
๑๕. โศกสยาม รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล
๔๑
๑๖. น้อมอาลัยพระมิ่งขวัญแห่งปวงราษฎร์ วรุณญา อัจฉริยบดี
๔๒
๑๗. ส่งเสด็จฯ สู่สวรรคาลัย วาสนา บุญสม
๔๔
๑๘. ฉันเห็น สนธยา สุขอิ่ม
๔๖
๑๙. พระเสด็จเสวยสวรรคาลัย...ลูกไทยจงรักภักดีนริ ันดร์ สิรภพ สิงหะ ๔๘ ๒๐. ฉันเกิดรัชกาล บพิตรผู้ “ภูมิพล” สิรินทร จิระกูล
๕๐
๒๑. น้อมราลึกพระการุญอุน่ ใจกาย ไม่เคลื่อนคลายจงรักมั่นกตัญญุตา สุปาณี พัดทอง ๕๑ ๒๒. ธ คืนสรวง อัญชลี ไมตรี
๕๓
๒๓. ยิ่งด้วยบิตุรงค์ อัญญาพร จตุรวิธวงศ์
๕๔
๒๔. นวมินทราษฎร์สดุดี อธิชนัน สิงหตระกูล
๕๖
ความเรียง ๒๕. ธ ทรงเป็นพระราชาที่ยิ่งกว่าพระราชา เก๋ แดงสกุล
๕๙
๒๖. ประชาชนของพระเจ้าอยู่หัว ธนณัฏฐ์ อารยสมโพธิ์
๖๔
๒๗. บันทึกจากเชียงราก : วันที่แสนเศร้าที่สุดในชีวิต ศุภธัช คุ้มครอง
๖๘
๒๘. เขียนคาแม่ถึงพระองค์ สนธยา สุขอิ่ม
๗๒
๒๙. เมื่อข้าพเจ้าได้เฝ้าฯ รับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ อธิชนัน สิงหตระกูล ๗๔
บทกวี
เสวยสวรรยา เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ หมายเลข ๑ องค์เอกอัครศิลปิน
เสด็จสู่พิมานศิลปพิสุทธิ์
ปี่ประจงเจรียงธรรมพระสัมพุทธ
เจิดกระจังสะพรั่งผุดผกายผกา
ประคากรองกรองร้อยสร้อยอักษร วิจิตรทิพยาภรณ์พิทกั ษา สถิตยังฉัตรชั้นสวรรยา
เสวยวิมุติวิสุทธาสถาพร
มยุราเริงธรรมพระธรรมศาสตร์ น้อมถวายอภิวาทสัจจานุสรณ์ สืบสานพระปณิธานนิรันดร
ยุคลบาทบวรภิวัฒน์ทวี
มุ่งรับใช้มวลประชาคือภารกิจ
พิทักษ์สิทธิ์อิสราคือหน้าที่
โดมดารงธงธรรมสร้างความดี
อุทิศพลีแด่พระองค์ผู้ทรงธรรม
๑๕
ร าลึกโศกอยูล่ น้ ทรวง นิภา ทองถาวร
หมายเลข ๒
สิบสามตุลามาส วันคืนสะอื้นงา
ใจจะขาดในรอยจา ราลึกโศกอยู่ล้นทรวง
ธุมเกตุบอกเหตุร้าย คลื่นดาคร่าชนปวง ยูงทองยังร้องร่า ทรงโปรดกรุณา สิ้นสุขยามยุคเข็ญ กฎหมู่เข้าจู่โจม
พระฤๅสายนิพพานสรวง ส่งเสด็จเช็ดน้าตา ครั้งทรงธรรม ธ ยาตรมา ปลูกยูงทองไว้เคียงโดม เลือดกระเซ็นไฟลุกโหม เคยว่ายน้าข้ามซบวัง
วันรับปริญญา ปฏิญาณผ่านพลัง กษัตริย์พระองค์ใด กอปรเกื้อเอื้อเอาภาร ขอทรงเสวยสวรรค์ กี่ชาติอาจเกิด – ตาย
เอ่ยวาจาด้วยเสียงดัง เป็นคนดีมีงานการ น้าพระทัยสุดประมาณ มิผ่อนพักพระวรกาย ผ่องเพ็ญจันทร์และดาวพราย ขอรองบาททุกชาติเทอญ ๑๖
ขับขานพระราชนิพนธ์ ถนอมวงศ์ ล้ายอดมรรคผล หมายเลข ๓ กราบพระบาทพระเจ้าแผ่นดินสยาม ภูมิพลคือพระนามเทิดเหนือเศียร เจ็ดสิบปีทรงสอนไทยให้พากเพียร อ่าน คิด เขียน แล้วทาด้วยปัญญา พระราชทานพระบรมราโชวาท ในโอกาสต่าง ๆ ล้วนทรงค่า กว่าสี่พันโครงการพระราชา ศาสตร์ส่งเสริมการศึกษาประชาชน นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ทาความดีเสียสละทุกแห่งหน เรื่อง ติโต ช่วยเตือนใจให้ทุกคน สลายตัวสลายตนเพื่อบ้านเมือง
๑๗
พระมหาชนก ที่ทรงแปล ประดุจทองคาแท้ทงั้ ภาพ-เรื่อง เมื่อเราน้อมดวงมานอ่านเนือง ๆ ย่อมประเทืองสารแสดงแจ้งปัญญา ทรงสอนว่าความเพียรที่บริสุทธิ์ จะช่วยพ้นห้วงสมุทรแห่งปัญหา ปวงนักปราชญ์ถ่ายทอดศาสตร์พระราชา นาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มีอยู่ทั่วถิ่นไทยเห็นดาษดื่น แหล่งวิชชาแก้ทุกข์ สุขกลับคืน ทางานหนักแต่สดชื่นด้วยพอเพียง อภิวาทสมเด็จพระภูมิพล ข้าพระบาททัว่ สกลประสานเสียง ขับขาน อ่าน ท่อง ซ้องสาเนียง โดยพร้อมเพรียงด้วยดวงใจทัว่ ไทยเทอญ ๑๘
โทมนัสยาตรา ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ กรณัฏฐ์ ขวัญคง
หมายเลข ๔ รินรินระเรื่อรื้น
และสะอื้นระร่าไห้
สรรพางค์ระริกไหว
มนร้าวระรัวราน
ดั่งอาสุนีบาต
พละฟาดกมลมาน
แปลบแปลบมโนนาน
ทุรสารสะทกใจ
ปวงข้าฯ มลานลน
มละมนและอื่นใด
หวังส่งเสด็จไท้
ธ เสด็จสวรรยา
เบียดเสียด ณ ทั่วหน
มหชนระงมหา
เคยเฝ้า ธ ยาตรา
ปรมินทราเจ้า
๑๙
บัดนี้มิมีแล้ว
รชแก้วพระผ่านเผ้า
องค์ทูลกระหม่อมเกล้า
ภทราชะของไทย
คลื่นชนกระแสแสน
คณะแน่นระงมไห้
เฝ้ารอขบวนไคล้
ศิริราชะอึงอวล
ยามปัญจะทศไซร้
ชลนัยก็หลั่งรวน
ยินราชยานครวญ
พละเคลื่อนทะยานยนต์
เมฆาทมิฬมา
นครานภาหม่น
ครืนครางสิเสียงจล
ดุจะไห้ มลายทรวง
๒๐
พระการุญสถิตเกล้า กฤษฎา ปานเทวัญ หมายเลข ๕ โอ้สิบสามตุลาคมปีหา้ เก้า กษัตราธิราชเจ้าเสด็จสวรรค์ พสกนิกรร่าร้องพร้องราพัน สุดโศกศัลย์สูญสิ้นปิ่นปวงชน ดั่งสิ้นแสงสุริยาจันทราทิตย์ โลกมืดมิดไทยทั่วแดนแสนสับสน อาลัยหาพระเมตตาองค์ภูมิพล น้าตาล้นไหลหลั่งทั้งธานี เจ็ดสิบปีที่พระองค์ทรงครองราชย์ สยามชาติร่มเย็นเป็นสุขศรี ธ ขจัดพาลภัยในปฐพี พระบารมีคุ้มครองปกป้องไว้ ๒๑
กว่าสี่พันโครงการพระราชดาริ ทรงตรองตริก่อเกิดผลมงคลสมัย เศรษฐกิจพอเพียงหล่อเลี้ยงไทย พระภูวนัยเลิศวิริยะพระปรีชา หากท้องถิ่นดินแดนใดไทยลาบาก ราษฎร์ทุกข์ยากทรงแก้ไขคลายปัญหา ทรงขจัดความยากจนดลพัฒนา พระเมตตามากล้นพ้นประมาณ พระจริยาเสมอพระโพธิสัตว์ ลุวาระนิวัตสู่ดุสิตสถาน พระการุญสถิตเกล้านิจกาล ตามรอยบาทพระภูบาลมั่นภักดี
๒๒
ราษฎร์จงึ่ รักบาทแม้ ยิ่ง ด้วยบิตรุ งค์ เฉลิมพงษ์ หลักคา
หมายเลข ๖
ครองราชย์พิพัฒน์แพร้ว เพริศสมัย ครองราษฎร์ครองฤทัยไทย
ทั่วถ้วน
ครองธรรมอ่าอาไพ
พิศิษฏ์ เลิศแล
ครองรัฐศานติสุขล้วน
โลกซ้องสาธุการ
พระทรงงานมากพ้น
ราพัน
ด้วยราชปณิธานอัน
เที่ยงแท้
ยังประโยชน์สุขสรรพ์
สยามรุ่ง เรืองเอย
ราษฎร์จึ่งรักบาทแม้
ยิ่งด้วยบิตุรงค์
ทรงพระประชวรอกข้า ทั้งหลาย ตรอมวิตกมิวาย
ห่วงเศร้า
สรวมดวงจิตเทิดถวาย
พรพิษ- ฐานเฮย
หวังเพื่อพระผ่านเผ้า
จักได้คลายประชวร ๒๓
ปางบดินทร์ศวรปิน่ ไท้
สวรรคต
อกแผ่นดินร้าวระทด
เทวษไห้
โพยมพยับพิลาปกาสรด
โศกร่วม
ทุกเขตคามประหนึ่งไร้
ชีพโอ้อาดูร
นเรนทร์สูรนิราศแคล้ว ครรไล ศาสตร์พระราชาเทิดไว้
สืบสร้าง
รอยพระบาทยาตราไกล
สถิตมั่น ทรวงนา
ราโชวาทส่องสล้าง
ประทีปแก้วกมลชน
๒๔
ราษฎร์รฐั มัน่ ภักดิพ์ ร้อม กว่าสิน้ กัลป์สมัย ชื่นกมล ศรีสมโภชน์ หมายเลข ๗ อยู่เย็นล้วนพ่อสร้าง
เกษมสมัย
พลังแห่งแผ่นดินไทย
พสกน้อม
“ภูมิพล” พระเกียรติไกร
โลกประจักษ์
ราษฎร์รัฐมั่นภักดิ์พร้อม
ทั่วหล้าแหล่งสยาม
งดงามราชกิจเรื้อง
ชนสราญ
เสริมส่งสรรพโครงการ
เลิศล้วน
ศิลป์ศาสตร์พากเพียรผสาน
เกิดก่อ ผลเฮย
เกินกล่าวพจนารถถ้วน
เพียบพ้นพระกรุณา
ปรีชญา ธ หลากล้วน
กรณีย์
เย็นฉ่าน้าพระทัยทวี
หลั่งล้น
นวมินทร์ราชจักรี
ขวัญชาติ
แม้ทุรแดนทุกข์ท้น
ไป่ทิ้งปวงประชา ๒๕
น้าตานองท่วมทั้ง
ไผทไทย
เสด็จสู่สวรรคาลัย
ลับแล้ว
ตรมเทวษยิ่งทบใน
วิปโยค
ทุกทิศร้างร่มแก้ว
ราษฎร์ไห้ฤๅหาย
เรียงรายล้วนพ่อสร้าง
เรืองสยาม
พลังแผ่นดินทั่วคาม
พสกน้อม
“ภูมิพล” เทิดพระนาม
โลกประจักษ์
ราษฎร์รัฐมั่นภักดิ์พร้อม
กว่าสิ้นกัลป์สมัย
๒๖
ทางเดินรอบสนามหลวง ณรงศักดิ์ สอนใจ หมายเลข ๘ แถวทางที่ทอดยาว
แต่ละก้าวคอยก้าวตาม
ทุกข์ย่างอยู่ทุกยาม
ยังย่ารอบสนามหลวง
ผ่านปีที่ปรากฏ
โศกกาสรดกาซาบทรวง
น้าตายังเอ่อร่วง
ลงรดพื้นพรมพฤกษ์พรรณ
แถวชนไว้ทุกข์ดา
กาลังเคลื่อนไปพร้อมกัน
จนคาจะจานรรจ์
เมื่อแหงนมองยอดพระเมรุ
ราลึกเบื้องพระบาท
ยุรยาตรเยี่ยมตระเวน
บุกบั่นไม่เบี่ยงเบน
บาบัดทุกข์ประชาไทย
รอยทางที่ทรงนา
ยังเตือนย้าอยู่ในใจ
หนทางแม้ห่างไกล
ไม่ระย่อหรือท้อถอน
๒๗
หมายมุ่งประโยชน์สุข ร่มเย็นทั้งนาคร
ขจัดทุกข์ราษฎร ด้วยแถวทางทรงถางไว้
ปลายทางแถวประชา ใจเจียนจะขาดใจ
คือเบื้องหน้าพระโกศใหญ่ กราบพระผู้มิอยู่แล้ว
สุดทางกาแพงวัง
ในอกยังวังเวงแว่ว
เหม่อมองตลิ่งแนว
เจ้าพระยาที่บ่าไหล
หัวใจอันข้องคับ
กับคาถามยากเกินไข
นับต่อแต่นี้ไป
จะเดินไปทางไหนหนอ
๒๘
ฉัน ท์อาลัยทัง้ ไตรภพ ดวงกมล ธงชมเชย หมายเลข ๙ ๑๑ เสด็จประทับดิน
นวมินทราชา
จากชั้นดุสิตมา
มละทุกขนรชน
เบื้องโลก ณ ธรณี
สดุดีพระทศพล
สยามพิพัฒน์ผล
บริบูรณ์ ธ ทรงทา
๑๔ องค์ภูมิพลวรกษัตริย์
ปิยรัฐหนุนนา
ครองราชย์ประกาศปถมคา
อธิราชก็ครองดิน
เจ็ดสิบ ณ ปีศุภดิเรก
คณะเมฆปทักขิณ
เสียงร้องระงม ณ ปถพิน
ธุมเกตุกาจร
นานากินร ณ หิมวาส นาคาก็เปล่งพจนวอน
ยุรยาตรถวายพร พระเสด็จ ณ แดนสรวง
๒๙
พญาครุฑ บ ฉุดภุชคนาค มละจากอธรรมปวง ราหู บ กลืนศศินดวง
ละถวายพระภูมี
คนธรรพ์ บ ขับมหรสพ เหมราชสกุณกินรี
นมะนบ ณ ธาตรี ก็ บ เล่นอโนดาต
พันเนตรเสด็จพลแสดง ทรงไอยราสุคชราช
รณแจ้งนภากาศ นฤมิตวิมานมา
เชิญองค์พระเจ้านฤบดี องค์ท่านสถิตดุสิตปรา-
วรศรี ณ โลกา กฎแสง ณ โลกันต์
ปวงข้าถวายจิตวิวรณ์ น้อมสาธุการนิจนิรันดร์
พจน์สอนพระทรงธรรม์ พระประมุขประชาไทย
๓๐
อัญชลิตบาทยุคล ธงชัย แซ่เจี่ย หมายเลข ๑๐
บังคมคัลอัญชลิตบาท องค์มหาราช
ยุคลชคตนาถ ไผทไทย
ราษฎร์ล้อมพร้อมพรักเพราะอาลัย ชลนยนอุภัย โทมนัสใน
ฤดีดล
โศกศัลย์ไพศาล ณ มณฑล ทุกข์เทวษท้น
สกลนิกรชน ผิราพัน
ทรงเกื้อกอปรกิจพิสิฐสรรค์ ปูนประโยชน์ปัน
สิริวิมลอนันต์ ประชาชาติ
๓๑
เอื้ออวยอารุงผดุงราษฎร์
พิทยศิลปศาสตร์
ล้วน ธ เปรื่องปราด
ฉนานาน
ดั่งสิ้นแสงศรีสุรีย์ฉาน
หทยกลจะราน
ร้าวมลายมาน
และพังภินท์
จดจารจาหลักประจักษ์จินต์
อครนฤบดินทร์
เกียรติยศยิน
ณ แดนไตร
แน่วน้อมราลึกพระทรงชัย
สถิต ณ หฤทัย
เทิดพระองค์ไว้
นิรันดร
๓๒
น้าตาสยาม ธนานพ จันทร์แจ่ม
หมายเลข ๑๑ เทวษถวิลสิ้นองค์ทรงศรี
สมเด็จภูบดี
จักรีนฤบดินทร ทวยไทยทั่วด้าวร้าวรอน
ดังฟ้าฟาดสมร
อาวรณ์อาลัยในทรวง ไร้แล้วพระแก้วเด่นดวง
พ่อเสด็จแดนสรวง
สู่สวรรคาลัยไคลคลา เจ็ดสิบปีที่ผ่านมา
เหนื่อยหนักนักหนา
โครงการ ธ กราบาเพ็ญ แม้นถิ่นทุรคมยากเย็น เสด็จด้วยห่วงใยไทยชน
๓๓
สุดแค้นแสนเข็ญ
ทั้งเป็นเทวดาเดินหน
เสกสร้างฟ้าฝน
ป่างามน้ารินดินดี น้าตาสยามยามนี้
รวมทั้งปฐพี
มิเท่าเสโทที่หลั่งมา คือบุญพสกไทยทั่วหล้า นามว่าพ่อหลวงภูมิพล
๓๔
มีองค์ราชา
พระปิตคุ รุ รุ าชา ธวัชชัย ดุลยสุจริต หมายเลข ๑๒ สรัควินีฉันท์ ขอถวายบทกวีแด่ภูบดีบนสวรรค์
ทรงนิราศจากประเทศชลเนตรนองอนันต์ ผองพสกแสนระทมกราบบังคมดุษณี โอ้ ธ เป็นยอดกษัตริย์ทรงกาจัดทุกขะราษฎร์ ท้าวประพาสเหล่านิกรทุกนครทั่วปฐพี ทุกทิศาทรงกาจัดสารพัดทุกขะหนี ทรงบาเพ็ญเพื่อประชาวัฒนาสุขสราญ โอ้ ธ คือครูนิกรสอนส่าศาสตร์ราษฎร์สุขา ทรงแนะอาชีพเกษตร ทรงนิเทศร่วมผสาน ทฤษฎีใหม่ประเสริฐแสนล้าเลิศคือวิมาน จึ่งประเทศเราภิรมย์ดินอุดมทั่วธรณิน
๓๕
ทรงประดุจดัง่ ตะวัน ส่องสว่างแสงไสว ทรงประดุจจันทร์อาไพชี้นาให้ศาสตร์และศิลป์ ดวงพระเนตรคือประกายก้องกาจายทั่วบุรินทร์ ชนภิวาทภูบดินทร์พาลุพ้นอนธการ องค์นรินทร์ดุจฝน หล่นพระพร่างกลางไผท ด้วยพิรุณหยาดเหยาะให้ ปวงชนาสุขศานติ์ โอ้ อเนกภารกิจ ทรงประดิษฐ์แล้วประทาน สารพัดสุดประมาณเกินจะสรรพรรณนา ชนสยามย่อมราลึกในพระคุณภูธเรศ ทรงประเวศสรวงสวรรค์ ราษฎร์ราพันทัว่ ทิศา ขอนาราชภารกิจทรงอุทิศแนบอุรา จดจาไว้เพียรประพฤติยึดตระหนัก รักพระองค์
๓๖
พระสถิตในหทัย ไทยราษฎร์นริ นั ดร์ ธีรพงค์ บุญยานันท์ หมายเลข ๑๓ ชนสยามต่างหน้า
แลใจ
จักอยู่ถิ่นฐานใด
แหล่งหล้า
กลับยังสิ่งรวมไทย
เป็นหนึ่ง
คือพระผู้ปกฟ้า
เลิศผู้ภูมิพล
แผ่นพื้นทุรยศ
เลวทราม
ชนทุรโยชน์ตาม
เร่าร้อน
องค์บดินทร์ปิ่นสยาม
ทรงอยู่ เคียงเอย
ทวยราษฎร์หากมองย้อน
จักแจ้งราชา
ข้ายากพระทรงยาก
พันเท่า ทบทวี
ข้าทุกข์พระบรรเทา
เหตุร้าย
ข้าสุขพระหายเศร้า
ห่อนโศก
พระโอษฐ์หากแย้มได้
เหตุยิ้มผองชน
๓๗
ข้าเกิดบนแผ่นหล้า
ผืนไทย
พระบารมีเกริกไกร
ปกสิ้น
หากข้าจักมลาย
ขอพระ ทรงชีพ
ขอเกิดขอดับดิ้น
แห่งพื้นจอมไผท
คา “ในหลวง” ว่าสั้น
เพียงใด
แต่กลับพองคับใน
อกข้า
พระสถิตในหทัย
ไทยถ้วน ล้วนแล
เย็นศิระเพราะว่า
ผ่านฟ้าบริบาล
ธ เสด็จสู่สวรร-
คาลัย
เหล่าพสกผองไทย
โศกแท้
พระสถิตในหทัย
ไทยราษฎร์ นิรันดร์
ทวยราษฎร์รักบาทแม้
ยิ่งด้วยบิตุรงค์
๓๘
ลิลิตพระหน่อพุทธวงศ์เสด็จสวรรค์ พรชนก ชาติชานิ
หมายเลข ๑๔
พระหน่อพุทธวงศ์ องค์ภูมิพลปิ่นราษฎร์ ประชานาถนวมินทร์ เมื้อเมืองอินทร์ลาลบ จบพิภพท่าวพรหม จดมณฑลตรมเทวษ ฟากฟ้า เภทแผ่นหาย พ่างพื้นมลายส่ายสิ้น แสงรพินทร์เดือนดับ ล่วงลับด้าวแดน ไทย หัวใจชนทั่วหล้า น้าเนตรอาบนองหน้า โศกเศร้าอาดูร พระพูนบุญสฤษฏ์สร้าง สละทรัพย์ทั่วธาตรี รักษ์ศีลดุจธรรมบดี กามกิเลสสิ้นเพี้ยงช้อน
บารมี ปลิดร้อน บริสุทธิ์ ธุลีเถ้าสูญสลาย
ภูวไนยวิเศษล้า ประสิทธิ์โครงการนานา อดทนดับทุกข์หล้า
ปรีชา ชุบเกล้า เบิกชาติ เพียรเฮย
ถือสัตย์ ธ ปกด้าว
ประเสริฐท้นธรรมา
๓๙
ราชาทรงตั้งมัน่ มุ่งพัฒน์ธานีไกล เมตตาราษฎร์กันภัย พอเพียงไทยเรืองรุ้ง
หฤทัย เฟื่องฟุ้ง กูลประโยชน์ ผ่านฟ้าสั่งสอน
นิกรสยามชุลีท้าว
ราลึกคุณพระเจ้า
เปี่ยมล้นการุณย์ บุญกุศลบารมี
หนุนบดีสู่หล้า
เสวยสรวงครองฟ้า
เลิศแล้สุขศานต์
เจ็ดสิบปีผ่านฟ้าช่วย
ผดุงสยาม
ชูชาติประเทืองงาม บ้านเมืองรัฐเรืองราม
เกียรติก้อง สงบสุข สราญแฮ
เพราะ ธ ทรงปัดป้อง
ปกด้วยความดี
๔๐
โศกสยาม รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล
หมายเลข ๑๕ สยามยามโศกศัลย์
เมื่อสวรรค์ชั้นดุสิต
รับองค์พระทรงฤทธิ์
กลับสุวรรณบัลลังก์ชัย
ภาคเหนือก็ร้าวราน
ภาคอีสานก็ร่าไห้
ภาคกลางต่างตรอมใจ
พาภาคใต้มิคลายตรม
รอยยาตรพระบาทฟ้า โครงการสานสังคม
เคยฟื้นหล้าสุขารมณ์ ยังประโยชน์ชาติโรจน์เรือง
ตรากตราพระวรกาย
มุ่งหมายไทยให้บรรเทือง
เมืองแมนสักแสนเมือง
ถึงเทียบถิ่นแผ่นดินทอง
ขวัญชาติลีลาศฟ้า
ไทยทั่วหน้าน้าตานอง
โอ้ชาติขาดขวัญครอง
มองแต่ฟ้าร่าอาลัย
๔๑
น้อมอาลัยพระมิง่ ขวัญแห่งปวงราษฎร์ วรุณญา อัจฉริยบดี
หมายเลข ๑๖
ภาคพื้นดิน เห็นผ้าแพรขาวดาสลับทั่ว ฟ้าหม่นมัวเหมือนใจราษฎร์ทเี่ ศร้าหมอง ผ่านหน้าวังใจยิ่งช้าน้าตานอง สะอื้นร้องเจ็บแสนเจ็บระกาใจ สุดจะหักอาลัยโหยไห้ทกุ ข์ มิอาจซุกซ่อนกลั้นน้าตาได้ โศกแสนโศกเศร้าแสนเศร้าสุดอาลัย พระพ่อเจ้าจากชาวไทยชั่วนิรันดร์ ผองพสกนิกรต่างสานึก น้อมราลึกพระกรณีย์พลีสร้างสรรค์ พระเมตตาเลิศล้าพ้นราพัน ทรงมุ่งมั่นบารุงสุขทุกเขตคาม
๔๒
ธ ทรงเป็นพระภัทรมหาราช พระขวัญชาติชนทั่วแคว้นแดนสยาม ขอเป็นข้ารองพระบาทดาเนินตาม พระปณิธานความดีงามจอมราชา ภาคสวรรค์ ธ เสด็จกลับสู่ทิพย์วิมาน สถิตสถานสรวงสวรรค์บนชั้นฟ้า คือแบบอย่างจักรพรรดิแห่งโลกา ทั่วไตรภพนบบูชาสาธุการ
๔๓
ส่ง เสด็จฯ สู่สวรรคาลัย วาสนา บุญสม สามโลกสะอื้นร่า
อาลัย
หมายเลข ๑๗
ศิลปศาสตร์ภาษาไทย
โศกท้น
ยูงทองแทบขาดใจ
เจียนดับ นาพ่อ
โอ้! พระภูมิพล พ้น
ภพหล้าคืนสวรรค์
อภิวันท์ส่งเสด็จฯ ด้วย
ดวงจิต
ไท้โอบเอื้ออุทิศ
ผ่องแผ้ว
พระปกชาติชีวิต
สิ้นหวั่น ไหวเทอญ
พระดับทุกข์เทวษแล้ว
ร่มพื้นไผทสถาน
ทรงคุณูปการยิ่งแก้ว
โกมุท
เหนือเทพ ธ พิสุทธิ์
สว่างล้า
ตามรอยพระสัมพุทธ
เพื่อชีพ ชนเฮย
ความห่วงใยอยู่ค้า
เขตบ้านเบิกไสว
๔๔
อักขระไทยทิพย์สร้าง
ศักดิ์ศรี
พระสืบสรรค์สุนทรีย์
รุ่งแท้
“พระมหาชนก” เฉกมณี
น้าหนึ่ง
พระราชนิพนธ์แล้
ร่มพื้นภูมิสยาม
งามพระราชจริยวัตรถ้วน
ธิบดินทร์
พระราชกรณียกิจยิน
ยอบเกล้า
พระเปรียบเพชรปฐพินทร์
ดุลยภาพ พิพัฒน์เอย
เทิดพระอัจฉริยเจ้า
แจ่มฟ้ามไหศวรรย์
รังสรรค์รังสฤษฏ์พร้อม
ไพบูลย์
เปรียบประทีปแสงสูรย์
สวัสดิ์ด้าว
ส่งเสด็จฯ...จึ่งอาดูร
แดนถิ่น สถานแล
ทวยราษฎร์ร่าโศกร้าว
โศกแล้วฤทัยสลาย
๔๕
ฉัน เห็น สนธยา สุขอิ่ม
หมายเลข ๑๘ ฉันเห็นภาพ “ร้อยวันสวรรคต” น้อมประณตถวายบังคมก้มเกศา หมอบกราบยังคงอยู่ครู่ าชา แม้เวลาผันผ่านไปนานปี ฉันเห็นสิบสามตุลาเมื่อครานั้น ยังคงเศร้าโศกศัลย์ถึงวันนี้ วันวานผ่านไม่เคยแผ่วความภักดี น้อมราลึกองค์ภูมีภูมิพล ฉันเห็นในน้าตามีปีติ พระราชดาริของพระองค์ยังส่งผล แม้โลกล้ารุ่งเรืองด้วยเครื่องกล ประชาชนยังพอเพียงหล่อเลี้ยงใจ ฉันเห็นประเทศสยามยามน้าแล้ง มีอ่างแอ่งแก้มลิงพึ่งพิงได้ น้าท่วมที่เคยท่วมก็หมดไป เขื่อนพระองค์ป้องไว้ไม่เดือดร้อน
๔๖
ฉันเห็นปูทะเลย์วิชชาลัย เหมือนในพระมหาชนกยกสั่งสอน ตั้งเป็นแหล่งศึกษาสถาวร ราษฎรมีภูมิธรรมนาปัญญา ฉันเห็นลูกหลานอ่านหนังสือ ปรากฏชื่อ “ภูมิพล” ในเนื้อหา ได้รู้จักรักกษัตริย์ด้วยศรัทธา มีราชาเป็นแบบอย่างสร้างความดี ฉันเห็นประชาธิปไตยในสยาม ขนานนามว่าเต็มใบได้เต็มที่ แม้แตกต่างแต่ยังมั่นสามัคคี ด้วยพระบารมีคุ้มครองไทย ฉันเห็นรูปที่ยังอยู่คู่ทุกบ้าน ภาพพระราชทานปริญญายังตราไว้ ดอกดาวเรืองจัดถวายด้วยหัวใจ ราลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
๔๗
พระเสด็จเสวยสวรรคาลัย ลูก ไทยจงรักภักดีนริ นั ดร์
หมายเลข ๑๙
สิรภพ สิงหะ พระเสด็จ...จากฟากฟ้า ฟื้นราษฎร์ เสวย...ฉัตรสยามชาติ สุขล้น สวรรค์...ไยมาด่วนคลาด สุขจาก ไทยนา ครรไล...พระไกลพ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์ ๕ ธันวา ประชาชาติได้ราชกษัตริย์ สยามรัฐ พิพัฒน์เถกิง เถลิงฉลอง ทุก ๕ ธันวา ประชาเฝ้ารอ วาระรังรอง แต่ ๕ ธันวา ปีนี้เศร้าหมอง...ไม่มีพ่อไทย ๗๐ ปี ที่พ่อสร้างทางให้ลูก ๗๐ ปี ที่พ่อปลูกต้นรักให้ ๗๐ ปี ที่พ่อทานาโชคชัย ๗๐ ปี มีสุขใจทั่วธานินทร์ พระเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว ดั่งดวงแก้วแพร้วพิสุทธิ์ลับแสงสิ้น ราษฎร์เศร้าโศกวิโยคแสนทั้งแผ่นดิน พระภูมินทร์สู่สวรรค์ชั้นเมืองแมน ๔๘
โศกเอย...โศกใดโศกไหนเล่า จะโศกเท่าชาวไทยอาลัยแสน เศร้าเอย...เศร้าใดในดินแดน จะเทียบแทนเศร้าโศกวิโยคทรวง แม้นปากกาพระสุเมรุมาจารึก แม้นน้าหมึกหมดมหาสมุทรหลวง แม้นกระดาษเวหาสกว้างกว่าทั้งปวง มิพอจารทุกกาลช่วงความทรงจา ธรณีหม่น เมฆเศร้าหมอง ฟ้าร้องไห้ คล้ายคนไทยทวีเทวษทุกเช้าค่า สะอื้นเอื้อนสะเทือนไทยไหวระกา สะอื้นย้าด้วยจงรักและภักดี สักการะพระบรมศพสวรรค์ ณ สรวงชั้นดุสิตไพจิตรศรี เหล่าคณะศิลปศาสตร์พฤติราชพลี ขอเป็นข้าพระภูมีนิจนิรันดร์
๔๙
ฉัน เกิดรัชกาล บพิตรผู้ “ภูมิพล” สิรินทร จิระกูล
หมายเลข ๒๐ ทวยราษฎร์ล้วนร่าไห้
ราษฎร์รักสดุดี
ด้วยอาลัยพระภูมี ด้วยซาบซึ้งพระเมตตา
รักบาททรงยาตรยาม บาทแม้สู่ชั้นฟ้า
ยังเขตคามทุกอาณา ยังเหลือทาง ธ สร้างไว้
แม้ยิ่งเศร้าโศกศานต์
ปณิธานใช่คลายไป
ยิ่งด้วยหลายล้านใจ
ตามรอยทางพระราชา
บิตุรงค์ทรงคืนสรวง
โลกหลั่งร่วงรินน้าตา
นองดินท่วมถึงฟ้า
ราลึกพระบริบาล
สถิตนิจนิรันดร์
ตราบสิ้นกัลป์อวสาน
ว่า “ฉันเกิดรัชกาล
บพิตรผู้ ‘ภูมิพล’ ”
๕๐
น้อมราลึกพระการุญอุน่ ใจกาย หมายเลข ๒๑
ไม่เคลือ่ นคลายจงรักมัน่ กตัญญุตา สุปาณี พัดทอง
แผ่นดินสะท้านฟ้าสะเทือนดาวเดือนดับ โพยมพยับ “สิบสาม ตุลาคม” ตรมโศกศัลย์ พระภูมิพลมหาชนกจอมราชัน พระเสด็จสู่สวรรค์ดุสิตา ความสูญเสียสุดอาลัยไทยทั้งชาติ พสกนิกรทวยราษฎร์คร่าครวญหา จะหาไหนดังราชะพระเมตตา พระบารมีคุ้มประชานิรันตราย พระทรงเป็นยิ่งกว่ามหากษัตริย์ พระทรงขจัดทุกข์ภัยให้สลาย น้อมราลึกพระการุญอุ่นใจกาย ไม่เคลื่อนคลายจงรักมั่นกตัญญุตา กว่าสี่พันโครงการทรงก่อเกื้อ พระกรณียกิจเพื่อผดุงหล้า พระพ่อเจ้าครองทศธรรมล้าบุญญา เจ็ดสิบปีงามสง่าเลิศบารมี ๕๑
“เศรษฐกิจพอเพียง” “ดิน น้า ป่า” ทรงพัฒนาบารุงสุขทุกถิ่นที่ “กษัตริย์เกษตร” “นักอนุรักษ์” หลักชีวี ภูบดีทรงเห็นค่า “ภาษาไทย” “การศึกษา” “ศิลปะ” “นวัตกรรม” “การกีฬา” “วัฒนธรรม” ล้วนยิ่งใหญ่ “อัครศาสนูปถัมภก” ยกจิตใจ “พระราชดาริ” คือหลักชัยให้ปวงชน พระมิ่งแก้วกมลไทยรวมใจภักดิ์ พระเกียรติคุณแจ้งประจักษ์สว่างหน ภาพพระองค์ทรงตรากตราล้าอดทน ฝ่าดงดอยแดดฝนประทับทรวง ข่มน้าตาอาลัยไว้ในอก ข่มวิตกมุ่งตามรอยพ่อฟ้าหลวง ข่มทุกข์ท้อสร้างสามัคคีพลีทั้งปวง ข่มความเศร้าคืนโชติช่วงเต็มแรงใจ “พ่อ” สถิตทิพย์สถานพิมานฟ้า “คาพ่อสอน” คือดาริกาสว่างไสว เทิดพระคุณแม้นมิ่งขวัญนิรนั ดร์ไป ทาความดีถวายไท้นบสักการ
๕๒
ธ คืน สรวง อัญชลี ไมตรี
หมายเลข ๒๒ คือโพธิสัตว์โปรด องค์ภูมิราชา
นภโลดสถิตหล้า อธิราชเกื้อกูล
ดินร้อนก็ผ่อนเย็น สิ้นทุกขอาดูร
ทุรเข็ญมลายสูญ สุขพูนสกลไกร
รอยบาท ธ ยาตรา ทั่วพื้นไผทไทย
วิริยาประทับไป บริบูรณ์จรูญเรือง
ถึงคราว ธ คืน ฟ้า โอ้องค์พระขวัญเมือง
นยนาชลาเนือง มละลับและกลับสรวง
ฝากฟ้าถนอมไท้ ใจไทยทุกดวง
ดุจใจประชาปวง จะสลักเพราะภักดี
ทาดีมิมีหยุด ตามรอยพระภูมี
บริสุทธิ์บ่หน่ายหนี จิตมั่นนิรันดร
๕๓
ยิ่ง ด้วยบิตรุ งค์ อัญญาพร จตุรวิธวงศ์ หมายเลข ๒๓ ถวายบังคมพ่อหลวงของปวงราษฎร์ ข้าพระบาทยังแว่วพระสุรเสียง ภาพ “พระราชกรณียกิจ” หลากหลายยังรายเรียง น้อมนา “เศรษฐกิจพอเพียง” เลี้ยงชีวิน พระบาทย่างสร้างสุขทุกหย่อมหญ้า พระเมตตาดับเข็ญเย็นทั่วถิ่น กี่กัลป์หนอน้าตาจะหยุดริน ทุกข์ใดหนักกว่าแผ่นดินสิ้นราชา พับเสื้อเหลืองน้าตารื้นช้อนขึ้นกอด คือสุดยอดสัญลักษณ์อนรรฆค่า เคยถ่ายทอดความภักดีสุดชีวา วันเสด็จออกมหาสมาคม ค่อยค่อยเก็บเสื้อชมพูอยู่ตรงหน้า อนิจจาเสียงสะอื้นเกินฝืนข่ม วันเสด็จออก “ศิริราช” ปราศทุกข์ตรม เสื้องามสมชมพูใส่ถวายพระพร ๕๔
ก้มมองเสื้อสีดาน้าตาร่วง มืดทั้งห้วงจักรวาลสุดผันผ่อน “สิบสามตุลาปีหา้ เก้า” คืนร้าวรอน เหมือนภาพหลอนทุกหย่อมหญ้าประชาไทย เสด็จแล้วในหลวงรัชกาลที่เก้า เสด็จเนาสรวงสวรรค์วิมานไสว เสด็จมาโปรดโลกเสร็จเสด็จไป... แต่ยังครองทุกดวงใจไทยนิรนั ดร์ โอ้วิจิตรแห่งพระเมรุมาศ เตรียมส่งเสด็จมหาราชคืนสวรรค์ เผลอชื่นชมน้อมก้มกราบอาบจาบัลย์ น้าตาต้องดอกไม้จันทน์มือสั่นเทา ทุกศาสตร์ศิลป์ทพี่ ่อหลวงฝากปวงราษฎร์ ไทยทั้งชาติสัญญา...ไม่ให้สูญเปล่า เสื้อภักดีสีเดียวกันใส่นานเนา เตือนใจเราทดแทนคุณแผ่นดิน
๕๕
นวมินทราษฎร์สดุดี อธิชนัน สิงหตระกูล หมายเลข ๒๔ ๑๑ เสียงราษฎร์ระงมไห้ พิศใดก็ปลดปลง มองฟ้าก็หมอกลง ธรณีก็หม่นมัว ไทยโศกและโลกเศร้า อุระเร้าสรีร์รัว เจียนใจจะจากตัว จิตจรนิราศตน ๑๒ สิบสามตุลาสิ้น นวมินทภูวดล น้าตาประชาชน ทุมนัสก็หลั่งก็ไหล สูญองค์พระเจ้าชีพ กลทีปบ่ส่องไสว ฉัตรทองประคองไทย สละปกพสกนิกร ๑๔ สรวมชีพถวายผคมบาท อธิราชภูธร ยอดเกศประชานรนิกร พระเสด็จสวรรค์เวียง โศกทรวงประชานิจบ่เป็น ฤสุเมรุเอนเอียง ฟ้าฟาด ณ กลางกมลเพียง ดุจพรากจากวิญญา ๑๙ กราบกรานองค์พระบรมนาถนวมราชาธิบดินทราธิคุณ ทูนเทิดไท้พระอเนกประดาบวรบุญญาราชการุณย์ นิรันดร์
๕๖
ความเรียง
ธ ทรงเป็นพระราชาทีย่ งิ่ กว่าพระราชา เก๋ แดงสกุล
หมายเลข ๒๕
เมื่อยามเป็นเด็กเรามักจะได้ยินเรื่องเล่า เกี่ยวกับพระราชาในนิทานหรื อ นิยายว่า พระราชาจะอาศัยอยู่ในปราสาทสูงหลังใหญ่ มีข้าราชบริพารห้อมล้อม มีแก้วแหวนเงินทองมากมาย ใช้ชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย พระราชาของฉันแตกต่างจากพระราชาในนิทานหรือนิยายเรื่ องใด พระราชา ของฉันไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสุ ขสบาย เพราะภาพที่ฉันเห็นอย่า งคุ้นตามาตลอด ๒๙ ปี ผ่ า นสื่ อต่ า ง ๆ และผ่ า นค าบอกเล่ า ของผู้ เป็ นแม่ และยายทวด คื อ ภาพที่ พระบาทสมเด็ จพระปรมิ นทรมหาภู มิ พลอดุ ลยเดชทรงงานหนั ก มิ ทรงหยุ ดพั ก พระองค์จะทรงถือแผนที่ด้วยพระหัตถ์ข้างซ้าย ทรงจับปากกาและสมุดบันทึกด้วย พระหัตถ์ข้างขวา ทรงคล้องพระศอด้วยกล้องถ่ายรูป พระองค์จะเสด็จ ฯ เยี่ยมเยียน พสกนิกรในพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล การเดินทางจะลาบากเพียงใด พระองค์ มิ ทรงย่ อท้ อ บางครั้ งต้ องทรงพระด าเนิ นขึ้ นไปบนภู เขา บางครั้ งต้ องประทั บ เฮลิ คอปเตอร์ ขึ้นไปหาประชาชนของพระองค์ ห้ องทรงงานของพระองค์ มิ ใช่ ห้องแอร์ที่เย็นสบาย มีเก้าอี้หนานุ่ม แต่กลับอยู่ท่ามกลางป่าเขาลาเนาไพรท้องถิน่ ทุ ร กั นดาร เก้ า อี้ ท รงงานก็ คื อพื้ นดิน บางคราพระองค์ต้ องทรงงานท่ามกลาง แสงแดด และลมฝน บางคราสถานที่ที่พระองค์เสด็จฯ ไปก็อาจมีอันตรายที่มิได้ คาดคิ ด แต่ พ ระองค์ ก็มิ ท รงหวาดต่ ออุ ป สรรคภยั นตรายใด ๆ สิ่ ง ที่ พ ระองค์ ๕๙
ทรงมุ่ ง หวัง ตลอดมา คื อ ประชาชนของพระองค์ จะต้องมีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ธ ทรงเป็ น ยิ่ งกว่ าพระราชา พระบาทสมเด็ จพระปรมินทรมหาภู มิพลอดุลยเดช ไม่ได้เป็นพระราชาด้วยพระฐานันดรศักดิ์ของพระองค์ แต่พระองค์ทรง เป็นยิ่งกว่าพระราชา เพราะพระองค์มิเคยทิ้งประชาชนสักวินาที ถึงแม้บางครั้ ง พระองค์ทรงพระประชวรก็มิทรงหยุดพัก พระองค์จะเห็นความสุขของประชาชน ก่ อนความสุ ขส่ ว นพระองค์เสมอ ตลอดเวลา ๗๐ ปี ที่ พ ระองค์ ทรงครองราชย์ ได้นาความรุ่งเรืองผาสุกมาสู่ผืนแผ่นดินไทย พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยทีม่ ุ่ง มัน่ ในการแก้ ปั ญ หาความเดื อดร้ อนของประชาชน ทรงมี พระราชดาริที่ จะพัฒนา ความเป็นอยู่ ของประชาชนให้ เกิ ด “ความพออยู่ พอกิน พอใช้ บนวิถีทางแห่ งความ พอเพียง” พระองค์ได้ใช้พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในด้านต่าง ๆ ของ พระองค์มาพัฒนาเป็นโครงการพระราชดาริเป็นจานวนมาก และกระจายอยู่ ทั่ ว ผืนแผ่นดินไทย ซึ่งโครงการพระราชดาริของพระองค์ได้ช่วยพั ฒนาความเป็ นอยู่ ของ ราษฎรได้เป็นอย่างดี และยังเป็นที่ยกย่องในนานาอารยประเทศอี กด้วย ธ ทรงเป็นแบบอย่างแห่งความดีและเป็นขวัญของประชาชน พระองค์ ทรงเป็ นพระราชาที่เปี่ ยมล้ นด้ว ยความเมตตากรุณ า ความเสี ย สละ ทุ กครั้ งที่ พระองค์เสด็จฯ เยี่ยมเยียนประชาชน พระราชจริยวัตรที่เห็นได้อย่างเด่นชัดก็คือ ภาพที่ พ ระองค์โบกพระหัตถ์ แย้ ม พระสรวล และประทับลงกั บ พื้นเพื่อทักทาย ประชาชนที่มารับเสด็จ ฯ พระองค์จะตรัสกับประชาชนเพื่อสอบถามความเป็นอยู่ ๖๐
และรับฟังปัญหาของประชาชนด้วยความใกล้ชิดเป็นกันเอง ทรงไม่ถือพระองค์เป็น บุญยิ่งแล้วที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ได้เกิดอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ ธ ทรงเป็นพ่อของแผ่นดินไทย คาสอนของพ่อทุกถ้อยความ คือ หลักใน การดาเนินชีวิตที่ช่วยพัฒนาตน ครอบครัว สั ง คม และประเทศชาติได้อย่างดียงิ่ วิธีการสอนของพ่อจะไม่ใช่วิธีการสั่ง หรือบังคับให้ลูก ๆ ทาตามในสิ่งที่พ่อต้องการ แต่พ่อจะทรงทาให้เห็นเป็ นแบบอย่างก่ อนเสมอ เพื่อให้ลูก ๆ ได้เห็น ได้คิด และเกิ ด การน้อมนาไปประพฤติปฏิบัติตามด้วยตัวเอง ยกตั ว อย่ า งเรื่ อง “การประหยั ดอดออม”“การใช้ ชีวิ ตอย่ างพอเพียง” พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของการใช้ของอย่างคุ้มค่า ดังจะเห็นได้จากทรงใช้ดินสอ จนเหลือสั้ นกุ ด หลอดยาสีพระทนต์ที่ทรงใช้จนหมดหลอดรีดจนแบนราบ แม้แต่ ฉลองพระองค์สูทก็ มีไม่กี่ชุด หลายครั้งพระองค์จะทรงสูทเดิมจนสี เริ่มซี ด ฉลองพระบาทของพระองค์เมื่อพังแล้วพระองค์ไม่ได้ทรงซือ้ ใหม่แต่กลับนาไปซ่อมทีร่ า้ น เล็ ก ๆ ใกล้ พ ระราชวั ง พ่ อไม่ต้องบอกว่ าลู กต้องประหยั ด แต่ สิ่ง ที่พ่อทานั้นเป็น ตั ว อย่ างที่ชัดเจนยิ่ ง หากเราเดิ นตามรอยพ่ อ ไม่ ฟุ้ งเฟ้อ เราจะเห็นว่าการใช้ชีวิต อย่างพอเพียง ประหยัดอดออม จะทาให้เราดารงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีกิน มีใช้ มีเก็บ และไม่ต้องลาบากในภายหลัง ค าสอนเกี่ ยวกับ “หลักการพึ่งพาตนเอง” พ่ อมั กจะสอนเสมอว่า การจะ กระทาสิ่งใด ต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ ดังพระราชดารัส เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๑ ๖๑
ที่ว่า “เราไม่ควรให้ปลาแก่เขา แต่ควรจะให้เบ็ดตกปลาและสอนให้รู้จักวิธีตกปลา จะดีกว่า” เพราะถ้าหากเราให้ปลาเขาจะไม่รู้วิธีการหาปลาได้เอง วันหนึ่งเมื่อเขา ไม่ ไ ด้ปลาจากเรา เขาก็ จ ะอดตาย แต่ ถ้าหากเขาได้เบ็ดตกปลาและรู้วิธีหาปลา เขาจะสามารถหาปลาได้ตลอดชีวิต จะเห็นว่า คาสอนของพ่อเป็นคาสอนที่ทาให้เรา เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง สามารถเลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน ที่สาคัญในทุกการกระทา ต้องอาศัยความเพียรพยายาม อดทน เพราะไม่มีสิ่งใดได้มาโดยง่าย และบางอย่าง อาจต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ หลายครั้งที่เราคอยพร่าบ่ นต่อโชคชะตาของตนเองที่ ไม่เป็ นอย่างหวัง หลายครั้ ง ที่ เรามั กจะย่ อท้ อเมื่ อเห็ นอุ ป สรรคเพี ย งน้ อยนิ ด ไม่ ย อมฟั นฝ่ า ไป จนสาเร็จ และคิดว่าตนเองทาไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ลงมือทา หลายครั้งทีเ่ ราบ่นว่า เหนื่ อ ย ไม่ อ ยากท าอะไรแล้ ว เพราะก าลั ง ใจหดหาย ขอเพี ย งหยุ ด คิ ด แล้ ว ลงมื อท า ก้ า วเดิ นตามรอยพระยุ คลบาท นึ กถึ ง การทรงงานของพระองค์ ที่มิเคยหยุดพัก รอยพระบาทที่ ย าตราไปทั่ว ผื นแผ่ นดิ นและหยาดพระเสโทที่ หลั่งริน ล้วนสร้างความเจริญให้กับประเทศ พระองค์ไม่เคยตรัสโทษสิ่งใด พระองค์ ทรงทาด้ว ยพระราชหฤทัย ที่มุ่งมั่ น ฟั นฝ่ า ทุกความยากเข็ ญ นึ กถึ ง ความสุ ขของ ผู้อื่นก่อนเสมอ วันนี้เราลองถามใจตนเองว่า เราได้ทาหน้าที่ของเราอย่างดี แล้ วหรื อ ไม่ เราได้ ท าอะไรเพื่ อสั งคมและประเทศชาติของเราแล้ ว บ้าง และเราได้ทาตาม คาสอนของพ่อแล้วหรือยัง ๖๒
สิ่งหนึ่งที่เราจะทาให้พ่อภาคภูมิใจที่สุด คือ การที่ลูก ๆ มุ่งมั่นทาความดี รั กใคร่ปรองดองกั น รู้ จั กเป็นผู้ให้ ใช้ ชีวิ ตอย่างพอเพีย ง ไม่ ห ลงไปในอบายและ ทาหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ถึ ง แม้ ว่ า วั นนี้ พ่ อของเราจะไม่ไ ด้อยู่ กับ เราแล้ ว แต่ ทุ กค าสอนของพ่อ จะยังคงประทับอยู่ในใจ และติดตรึงอยู่ในความทรงจามิลืมเลือน รักพ่อสุดหัวใจ
๖๓
ประชาชนของพระเจ้าอยูห่ วั ธนณัฏฐ์ อารยสมโพธิ์
หมายเลข ๒๖
๑๙ นาฬิกา วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ผู้ประกาศในชุดสูทสีดา ท่ า ทางสงบเรี ย บร้ อยทว่ าดวงตาฉายแววโศกเศร้ า บางประการ ได้ ป ระกาศ ผ่านทางโทรทัศน์ว่า “ประกาศสานั กพระราชวั ง พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุ ลยเดช มหิ ต ลาธิ เบศรรามาธิ บดีจั กรีนฤบดินทรสยามิ นทราธิ ราช บรมนาถ บพิตร สวรรคต พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ นทรมหาภู มิ พ ลอดุ ลยเดช มหิ ต ลาธิ เบศร รามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดาเนิ น ไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้ ง แต่ วั นศุกร์ ที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ตามที่สานักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็ นระยะ แล้วนั้น แม้ ค ณะแพทย์ ไ ด้ ถวายการรั กษาอย่ า งใกล้ ชิด จนสุ ด ความสามารถ แต่ พ ระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ ท รุ ดหนั กลงตามลาดับ ถึ ง วั นพฤหั สบดี ที่ ๑๓ ตุ ลาคม พุ ท ธศักราช ๒๕๕๙ เวลา ๑๕ นาฬิ กา ๕๒ นาที เสด็ จ สวรรคต ณ โรงพยาบาลศิ ริ ร าช ด้ ว ยพระอาการสงบ สิ ริ พ ระชนมพรรษาปี ที่ ๘๙ ทรงครองราชสมบัติได้ ๗๐ ปี สานักพระราชวัง ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙”
๖๔
บรรยากาศภายนอกสงบงั นเหมือนวั นธรรมดา ๆ ทุ ก ๆ วั นที่ ผ่า นมา ออกจะเงียบเหงากว่าวันอื่น ๆ ด้วยซ้า แต่ข้างในจิตใจนั้นสั่นสะท้านด้วยแรงปะทะ อันรุนแรง ด้วยความจริงที่ว่า พระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว เสียงร่าไห้ดังระงม อยู่ทั่วทุกบ้านเรือน ประชาชนที่ได้เกิดมาอยู่ใต้รม่ พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ ซึ่ ง ต่ า งก็ ทราบกั นดี และตระหนั กอยู่ทุกลมหายใจ ในฐานะที่ เป็นประชาชนของ พระองค์ว่า พระองค์ได้ทรงงานหนักมาตลอดการครองราชย์ ๗๐ ปี ทรงทุ่มเทและ ทรงทาเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง ชุ ด สี สันสดใสต่า ง ๆ ถู กเก็ บ ลงกล่ องแทนที่ ด้วยชุ ดสี ดา ประชาชนจาก ทั่ ว ทั้ ง ประเทศไม่ ว่ า จะเป็ นเหนื อ อี สาน กลาง ใต้ ต่ า งก็ ห ลั่ ง ไหลกั นเข้ า มา ณ ท้องสนามหลวง วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ แดดแรงกล้าแผดลงมาคลุมครอบ ทั่วท้องสนามหลวง แต่ถึงกระนั้นเสียงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีก็ยังดังกึ กก้ อง ไปทั่ วทั้ง บริ เวณ หลั ง จากเสร็จกิ จ กรรมร้ องเพลงสรรเสริ ญพระบารมี ประชาชน นั บ ล้ า นคนทยอยเดิ นทางกลับบ้าน ทุ กตารางเซนติเมตรของพื้ นที่ถนนล้วนแล้ ว แต่เต็มไปด้วยผู้คน ตลอดระยะเวลา ๖ เดือนที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสทางาน จิตอาสาสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ตารวจ ทีมแพทย์พยาบาล หน่วยกู้ภัย ไปจนถึงพนักงานทาความสะอาด เวลาที่ ข้า พเจ้ า มั กจะไปสั ง เกตการณ์ และสั ม ภาษณ์ มักจะเป็ นเวลา หลั ง ๒๑ นาฬิ กา เนื่ องจากเป็นเวลาปิด สนามหลวงเพื่ อทาความสะอาด และ เตรียมพื้นที่สาหรับรองรับประชาชนในวันต่อไป เจ้าหน้าที่จะมีเวลาให้สัมภาษณ์ ๖๕
และพูดคุยมากกว่าในเวลาปกติ ภายใต้บรรยากาศสงบเย็นยามค่าคืน เจ้าหน้าที่ ตารวจมักจะนั่งด้วยท่าสบาย ๆ พร้อมพูดคุยอย่างเป็นกันเอง เล่าประวัติส่วนตั ว โดยย่อต่อด้วยประวัติการทางานปกติ การทางานในงานพิธี ความรู้สึก อุปสรรค ปั ญ หารวมไปถึ ง ความในใจที่ อยากบอกกั บ ประชาชน เจ้ า หน้ า ที่ ส่ว นใหญ่ มักบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า มาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ อยากทางานตาม คาสอนของพ่อฟ้าหลวง ทาเพื่อประชาชน เจ้ า หน้าที่ตารวจกลุ่มหนึ่ งได้เล่ าให้ข้าพเจ้าฟัง ว่า ตอนที่ข่าวการสวรรคต ออกอากาศ พวกเขานั่ ง อยู่ ใ นรถกระบะกาลั งปฏิ บัติหน้ าที่ต รวจตราตามปกติ พู ด คุ ย กั นเรื่องต่าง ๆ อย่ า งออกรสออกชาติ แต่ เมื่ อได้ยิ นข่าวนี้ ทุ ก ค นเงี ย บ ราวกับว่าตกอยู่ในภวังค์ที่ไม่สามารถหลุดพ้ นออกมาได้ ภวังค์นั้นเป็นภวั ง ค์ แห่ ง ความอึ้ ง ท าอะไรไม่ ถูก เช่ นเดี ย วกั นกั บ พยาบาลที่ ข้า พเจ้ า ได้ ไ ปสั ม ภาษณ์ ในตอนเย็นของอีกวั นหนึ่ง ซึ่งได้บอกถึงความรู้สึกว่า เธอพอจะทราบข่าวอยู่บ้ า ง แต่เมื่อได้ฟังข่าวประกาศอย่างเป็นทางการ ก็ทาให้อึ้ง เหมือนขาดหลักของชี วิ ต ชี วิ ต ได้ สูญ เสี ย บุ ค คลที่ เธอรั กยิ่ ง ไปแล้ ว แต่ เมื่ อตั้ ง สติ ไ ด้ ก็พ ยายามปรั บ ใจ ปรั บ ความรู้ สึก ท าตนให้มี ประโยชน์ ท าตามค าสั่ ง สอนของพระองค์ด้ ว ยการ ตั้ ง ใจทางานอย่ างเต็มกาลั ง ไม่ ย่ อท้ อต่ ออุ ปสรรคปัญ หาที่เข้ ามา ส่ ว นพนั กงาน ท าความสะอาดที่ ข้าพเจ้า ได้สัมภาษณ์ไ ด้ บอกว่าเธอภู มิใจที่ได้เป็นส่ วนหนึ่ งใน ประวัติศาสตร์ที่ได้มาช่วยงานพิธีในครั้งนี้ แม้จะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ แต่เธอก็จะ
๖๖
ตั้งใจทางานให้เต็มที่ ทางานตอบแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เป็นครั้งสุดท้าย จากการสัมภาษณ์ทั้งหมด ทาให้ข้าพเจ้าได้เห็นความสามัคคี ความเป็น น้าหนึ่งใจเดียวของชาวไทยที่ มีเป้าหมายร่วมกั น เป็นความรักของประชาชนที่ อยากทาสิ่งดี ๆ ตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หวั ในพระบรมโกศที่ ท รงมี ต่ อประชาชนของพระองค์ ม าตลอด ๗๐ ปี แห่ ง การ ครองราชย์
๖๗
บัน ทึกจากเชียงราก : วัน ทีแ่ สนเศร้าทีส่ ดุ ในชีวติ ศุภธัช คุ้มครอง
หมายเลข ๒๗
เมื่ อปี พุ ท ธศักราช ๒๕๕๐ ผมได้ มี โอกาสเขี ย นเรี ย งความเข้ าประกวด เรื่ อง “พระเจ้ าอยู่ หัวของฉั น ” ตอนนั้ นผมเขี ย นด้วยความชื่ นชม ภาคภู มิใจใน พระราชกรณีย กิ จของพระองค์เป็นอย่ างมาก และไม่เคยคิดว่าอี ก ๑๐ ปี ต่ อมา ผมจะได้เขียนบทความเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อีกครั้ง ด้วยความรู้สึกที่โศกเศร้า อาลัยอาวรณ์ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต ยามค่าของวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ขณะนั้นผมอยู่ที่หอสมุ ด ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และได้รับชมแถลงการณ์ ของสานั กพระราชวั ง เรื่ องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ าอยู่ หั วเสด็ จ ฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับ สุดท้าย จากสานักข่าวต่าง ๆ ที่เผยแพร่ทางออนไลน์ “…แม้ ค ณะแพทย์ ได้ถวายการรักษาอย่ างใกล้ชิดจนสุ ดความสามารถ แต่ พ ระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ ท รุ ดหนั กลงตามลาดับ ถึ ง วั นพฤหั สบดี ที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เวลา ๑๕ นาฬิกา ๕๒ นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิร ิ ร าช ด้ ว ยพระอาการสงบ สิ ร ิ พ ระชนมพรรษาปี ที่ ๘๙ ทรงครองราชสมบัติได้ ๗๐ ปี”
๖๘
สิ้นเสียงประกาศเพียงไม่กี่นาที มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ซึ่งเป็นสายจาก คุ ณ แม่ ของผม คุ ณ แม่ ได้โทรศัพ ท์มาแจ้งข่ าวกั บผมเรื่องการเสด็จสวรรคตของ พ่ อหลวง ปลายสายได้ยิ นแต่เสี ยงสะอื้ น เปี่ ย มล้ นไปด้ว ยความโศกเศร้า อาลัย อาดู ร ซึ่ ง เป็ น ความรู้ สึก เดี ย วกั บ ผมและคนไทยทั้ ง ประเทศที่ ต้ องพบกั บ การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ “พ่อหลวงอันเป็นที่รักยิ่งได้เสด็จสวรรคตแล้ว” รุ่ ง เช้ า วั นศุ กร์ที่ ๑๔ ตุ ลาคม ๒๕๕๙ ผมตื ่ น มาพร้ อ มกั บ ความรู้ สึก ที่เปลี่ยนไป บรรยากาศความวุ่นวาย ความสับสนอลหม่านของผู้ค นที่ เชีย งราก สถานที่ซึ่งไม่เคยหลับใหลกลับหายไปชั่วข้ามคื น เสียงเพลงที่พี่วิ นมอเตอร์ ไ ซค์ เคยเปิ ด ดั ง สนั่ นกลั บ เงี ย บสนิ ท รอยยิ้ ม และเสี ย งหั ว เราะของผู้ ค นที่ เคยมี ปรับเปลี่ยนเป็นความเศร้าหมองอย่างเห็นได้ชัด แม้กระนั้นชีวิตนักศึกษาของผม ก็ ยั ง คงต้ องด าเนิ นต่อไป ผมได้ เข้ า เรี ย นวิ ชาโครงสร้ างภาษาอั ง กฤษเฉกเช่น ทุ กวั นศุ กร์ แต่ ท ว่ า บรรยากาศในห้องเรีย นนั้ นเต็ม ไปด้ว ยความโศกเศร้า และ หม่นหมอง ทุกคนพร้อมใจกันใส่เสื้ อผ้า สีดา อาจารย์สอนพวกเราทั้งน้าตาสลั บ กับเสียงสะอื้นเป็นระยะ ๆ น้าตาของอาจารย์ทไี่ หลรินเปี่ยมล้นไปด้วยความอาลัย ความเศร้ า โศกเสี ย ใจจากการสู ญ เสี ย พ่ อ หลวงอั น เป็ น ที่ รั ก และเทิ ด ทู น เช่นเดียวกับความรู้สึกของผมและเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนขณะนั้น หากจะถามว่ า เพราะเหตุ ใ ดคนไทยจึ ง รักและเทิ ด ทู นพระองค์มาก ถึ ง เพี ย งนี้ ก็ เพราะพระองค์ ท รงรั กและห่ ว งใยประชาชน เมื่ อใดประชาชน เดื อดร้ อนพระองค์ จะมี พ ระราชดาริ เพื่อเป็ นแนวทางในการแก้ ไขปัญ หาและ ๖๙
แนวพระราชดาริหลาย ๆ โครงการนั้น พระองค์จะใช้ ธรรมชาติมาแก้ไขปัญหา ให้ กับ ประชาชนแทบทั้งสิ้ น เช่ น โครงการแก้ ม ลิง โครงการปลู กหญ้ าแฝกเพื่อ การอนุ รั กษ์ดินและน้ า เป็ นต้ น ผมคิ ดว่ าพระอั จ ฉริ ยภาพของพระองค์นั้น ไม่มี ผู้ใดเสมอได้ นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น “กษัตริย์แห่งปราชญ์ ทั้ ง ปวง” เพราะพระองค์ มี พ ระปรี ชาสามารถหลาย ๆ ด้ า น เช่ น ด้ า นกี ฬา ด้ า นดนตรี ด้ า นการศึ กษา ด้ า นการเกษตร เป็ นต้ น โดยเฉพาะด้านการเกษตร พระองค์ ทรงเล็ง เห็นถึ งความเดื อนร้ อนของเกษตรกร ซึ่ ง เป็ นคนส่ว นใหญ่ของ ประเทศ จึ ง ได้ เกิ ด การคิ ด ค้น ทดลองท าการเกษตรในบ้ านของพระองค์เอง คื อ วั ง สวนจิ ตรลดา ซึ่ ง พระองค์ต้องการให้เป็นแหล่ งการเรี ยนรู้สาหรับทุกคน เพื่อนาไปเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพด้ วยตนเอง ผมเป็นผู้หนึ่ง ที่ โชคดี ที่ มี โอกาสได้เข้ าไปในสถานที่นั้น เนื่ องจากสมั ยที่ ผมเรีย นอยู่ ชั้นประถมศึกษา โรงเรี ย นของผมได้ พ านั ก เรี ย นเข้ า ไปทั ศ นศึ กษาในแหล่ ง การเรี ย นรู้ แห่ ง นี้ ผมตื่นเต้นมากและไม่อยากจะเชื่อเลยว่านี่หรือคือพระราชวังของพระมหากษัตริย์ มี การท านา มี พื้ นที่ ปลู กหญ้า มี ที่ เลี้ ย งวั ว มี โรงงานผลิ ตนมที่ ผมและเพื่ อน ๆ เคยดื่มทุกวันสมัยเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ต้องการให้ทุ กคนพึ่งตนเองได้แบบยั่ งยื น นั่นคื อ นาหลั กปรัชญาเศรษฐกิ จพอเพี ยงที่ตั้งอยู่ บนพื้นฐานของทางสายกลางไปใช้ใน การด าเนิ น ชี วิ ต เพราะเศรษฐกิ จ พอเพี ย งเป็ น สิ่ ง ที่ ท าให้ ค นไทยเห็ นถึ ง ความสาคั ญของการพึ่ง ตนเองโดยไม่ทิ้ งพื้ นฐานเดิม และเติ บโตอย่ า งค่ อยเป็ น ๗๐
ค่อยไป โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น พระองค์ทรงคิด และทาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประชาชน ของพระองค์ทุกลมหายใจ ทุ กครั้ง ที่คนไทยประสบวิกฤตการณ์บ้านเมืองหรือ มี เรื่ องทุ กข์ ร้ อนใด ๆ ก็ ต าม พระองค์ คื อผู้ ที่ อยู่ ใ นหัว ใจและเป็ นมิ่ง ขวั ญของ คนไทยทั้งชาติตลอดมา ถึ ง แม้ วั น นี้ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ได้ เสด็ จ สวรรคตไปแล้ ว แต่ เชื่ อว่ า คนไทยทุ กคนยั ง รู้ สึ กว่ า พระองค์ ไ ม่ ไ ด้ เสด็จจากพวกเราไปไหน พระองค์ยังคงอยู่บนผืนแผ่นดิน แผ่นฟ้า ป่าไม้ สายน้า ลาธาร ด้วยโครงการในพระราชดาริและกระแสพระราชดารัสต่าง ๆ ที่พระองค์ พระราชทานให้กับคนไทย จึงทาให้พระองค์ยังคงสถิตอยู่ใ นดวงใจของคนไทย ทุกคนชั่วนิรันดร์
๗๑
เขีย นคาแม่ถงึ พระองค์ สนธยา สุขอิ่ม
หมายเลข ๒๘
ผมกับแม่เกิดในแผ่นดินรัชกาลที่ ๙ แม่เรียนน้อย แต่ส่งให้ลูกได้เรียนสู ง การศึกษาของลูกสูงกว่า แต่การเรียนรู้ชีวิตของแม่มีมากกว่า ส่วนความรู้สึกที่มีต่อ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เราสองคนมีไม่ต่างกัน รักศรัทธาเหมือนกัน แม่ไม่ได้เล่า ไม่ได้สอนว่า รักในหลวงอย่างไร แต่ทาให้เห็นว่าแม่เชื่อและ ศรัทธา สมัยเด็ก ๆ เวลาแม่เผาขยะตามวิถีของคนต่างจังหวัด ผมก็จะนั่งดู นั่งช่วย อยู่ ข้า ง ๆ ของเก่ า ที่ แม่ ไ ม่ เผาไปพร้ อมกั บ ขยะชิ้ นอื่ น คื อ ปฏิ ทิ น ในหลวงที่ หมดปีแล้ว แม่ไม่เผา แต่แม่แขวนซ้อน ๆ กันไว้ที่ข้างฝาบ้าน สิ่งที่แม่กระทาคื อ คาพูดของแม่ แม่ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงสดุดีมหาราชา ไม่ถูกทั้ง หมด เวลาไปทาบุญวั นพ่อแห่ง ชาติที่วั ดจะมีพิ ธีถวายราชสดุดี มี ร้ องเพลง แม่ กั บ ผม ก็ยืนร้องพร้อมคนอื่น ๆ พอหัวค่าวันเดียวกัน เปิดดูถ่ายทอดสดที่ท้องสนามหลวง แม่กับผมจะจุดเทียน ยืนขึ้น แล้วร้องเพลงตามไปด้วย แม่ร้องไม่ถูกทุกคา แต่แม่ ร้องเสียงดัง วันเวลาผ่านไป แม่ไม่แข็งแรง ทุกอย่างช้าลง แต่ผมคิดว่า ความรู้สึกที่แม่ มีต่อในหลวงไม่ได้ลดลง แม้ในชีวิตนี้แม่จะไม่เคยได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ พบเห็นพระองค์ แต่เมื่อถึงวันที่พระองค์เสด็จสวรรคต ผมบอกข่าว แม่ก็ใจหาย ๗๒
และเสี ย ใจไม่ ต่ า งจากผมและคนอื่ น ๆ ผมพยายามให้ แม่ ไ ด้ มี โอกาสแสด ง ความอาลัยในแบบที่ เราสองคนพอทาได้ จุดเทียน ธูป ไหว้ภาพของพระองค์ ที่ เราเคยกราบไหว้ แม้ ไ ม่ ไ ด้ยิ่ ง ใหญ่ แต่ ผมเห็ นแม่ตั้ง ใจ การกระท าที่ตั้ง ใจ คื อ คาพูดของแม่ แม่เคลื่อนไหวได้ช้า ลง แต่เรายังพูดคุยกั นได้ อย่างแข็ ง แรง ทุ กครั้ ง ที่ ชวนคุย ตั้งคาถาม แม่จะตอบในแบบของแม่ ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ถ้าถามถึ ง เรื่ อง ในหลวง แม่ก็ตอบในสิ่งที่แม่คิด ตามคาที่แม่ใช้ แม่เคยบอกว่า “ในหลวงเขาใหญ่ ไม่มีเขาเราก็ไม่มีเงินใช้” แม่ตอบได้แบบนี้ แบบที่แม่เข้าใจ ค าแม่ ถึ ง พระองค์ ที่ ผ มจ าได้ ดี ไม่ คิ ด ว่ า แม่ จ ะพู ด ออกมา วั น นั้ น ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เป็นวันที่ฝนตกและมีลูกเห็บตกมาด้วย แม่นอนอยู่ในห้อง แม่ไม่เห็น ผมเล่าให้ฟัง เป็นครั้งแรกที่ผมเพิ่งเคยเห็นลูกเห็บตกแถวบ้าน แม่อยู่ มาหกสิบกว่าปีก็ไม่เคยเห็น เราคุยกันถึงเรื่องนี้ อยู่ดี ๆ แม่ก็พูดขึ้นมา “แม่บอกโชคดีของคนไทย ลูกชายถามโชคดีเพราะอะไรกัน
ได้กินน้าแข็งจากบนสวรรค์ ตอบมาสั้นสั้น ‘เรามีในหลวง’”
ผมบั นทึ กค าแม่ ไ ว้ เป็ นบทประพั นธ์ ลงในเฟซบุ๊ กที่ ผมตั้ ง ชื่ อ อั ล บั้ ม “บั นทึ กถึ ง พระองค์ ” ค าของแม่ แม้ จ ะสั้ น แต่ ท าให้ ก ลอนเพี ย งบทเดี ย ว มี ค วามหมายที่ยิ่ งใหญ่ มาก ผมดี ใจที่ได้ฟั งกั บหู ได้ รู้ด้ว ยใจ มี ค าตอบให้ตัวเอง แล้วว่า ความรัก ความศรัทธา ความภักดี ที่ผมมีต่อพระองค์ มีจุดเริ่มต้นสาคัญ มาจากคาและการกระทาของแม่ที่จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน ๗๓
เมื่อข้าพเจ้าได้เฝ้าฯรับเสด็จ พระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๙ หมายเลข ๒๙
อธิชนัน สิงหตระกูล
ตลอดช่วงเวลาร่วมสิบปีนับแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมาช่างเป็นช่วงเวลาแห่ง ความสาราญใจของพสกนิกรตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งยิ่งนัก ที่มีโอกาสได้เฝ้าทูลละออง ธุ ลีพ ระบาทรั บเสด็ จ พระบาทสมเด็จ พระเจ้ าอยู่ หัว รั ชกาลที่ ๙ ตลอดมาเป็น ประจ าทุ กปี ข้ า พเจ้ า ยั ง จ าความรู้สึกที่ ต ราตรึ ง ในครั้ งแรกที่ ได้ ชมพระบารมี พระองค์ท่านว่ า วั นนั้ นเป็ นวันที่ ๕ ธั นวาคม ๒๕๕๐ อั นเป็ นปี มหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ข้าพเจ้ารบเร้าให้แม่พาไปเฝ้าฯ รับเสด็จอย่างไม่ มี จุ ด หมายและไม่มีข้อมูลว่าจะต้องไปตรงที่ใด เดิ นกั นไปเรื่อย ๆ หมายจะไปรอ หน้าประตูวังสวนจิตรแต่ก็เปลี่ยนใจเดินไปตามแนวถนนราชดาเนินใน ก็พอดีกับ เวลาที่ขบวนเสด็จพระราชดาเนินมุ่งหน้าไปยังพระบรมมหาราชวัง ข้าพเจ้าจึงได้ เฝ้าฯ รับเสด็จอยู่ริมบาทวิถี แม้จะเห็นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ไม่ถนัดนัก แต่ก็ ได้ เห็ นรอยแย้ ม พระสรวลสดใสของสมเด็ จ พระบรมราชิ นีนาถในรัชกาลที่ ๙ อย่างชัดเจน จากนั้นมาหากมีโอกาสเมื่อใดก็จะรีบกุลีกุจอไปเฝ้าฯ รับเสด็จเสียทุก ครั้งอย่างไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ทุกวาระของพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาข้าพเจ้าไม่เคยขาดการไป เฝ้าฯ รับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวสักครั้ง แม้ ช่ว งเวลาที่ ไ ด้เห็ นพระองค์ ท่ า นจะน้ อย ๗๔
นิดเพียงเสี้ยววินาที แต่เป็นช่วงเวลาพิ เศษสุดในชีวิต ของเด็กเล็ ก ๆ ที่เคารพรั ก และเทิ ด ทูนพระเจ้าแผ่ นดินของตนอย่ างสุ ดหัวใจ จนกระทั่ง พระเจ้าอยู่หัวทรง พระประชวรและเสด็จฯ มาประทับยั งโรงพยาบาลศิริ ราช ข้ า พเจ้ าจึ งมี โอกาส เฝ้ า ฯ รั บ เสด็ จ บ่ อยครั้ง ขึ้ น เพราะบ้า นอยู่ไ ม่ไกลจากโรงพยาบาลนั ก รั้ ว เหล็ก สีเขียวที่เป็นแนวทางเท้าตลอดถนนวังหลังเป็นที่ประจาที่ข้าพเจ้ามักจะไปรอเฝ้าฯ รับเสด็จอยู่บริเวณนั้น ในปี ๒๕๕๕ เป็นปีมงคลยิ่งที่ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เฝ้าฯ และเฝ้าฯ รับเสด็จ พระเจ้ า อยู่ หั ว รั ชกาลที่ ๙ ถึ ง สามครั้ ง นั บ แต่ เดื อนเมษายน ในพระราชพิ ธี พระราชทานเพลิ งพระศพสมเด็จ พระเจ้าภคิ นีเธอ เจ้ า ฟ้ า เพชรรั ต นราชสุ ด า สิ ริ โสภาพั ณณวดี ณ พระเมรุท้ องสนามหลวง ข้ า พเจ้ าได้เฝ้ าฯ ในพระราชพิธี อยู่ที่ศาลาลูกขุนนอกราชวัตรทั้งในช่วงเย็นและถวายพระเพลิงจริง ถัดมาในเดือน ตุ ลาคม พระองค์ ท่ า นเสด็ จ ลงถวายราชสั กการะพระเจ้ า อยู่ หั ว รั ชกาลที่ ๕ เนื่องในวันปิยมหาราชที่ตึกสยามินทร์ ข้าพเจ้าไปรอเฝ้าฯ รับเสด็จอยู่ที่สนามหญ้า หน้ า ตึ ก ครั้ ง นั้ นเป็ นครั้ง เดี ยวในชี วิต ที่ได้ เฝ้ าฯ รั บ เสด็ จ อยู่ เป็ นเวลานานที่สุด ใกล้ ชิด ที่ สุด โดยไม่ มีกระจกรถพระที่นั่ง กั้ นเหมือนโอกาสก่ อน ๆ ข้ า พเจ้าปีติใจ เป็ นทวี คู ณ เมื่อได้เห็นรอยแย้ มพระสรวลที่ พระราชทานแก่ พสกนิ กรผู้มาเฝ้ าฯ รับเสด็จ เป็นเสมือนยาบารุงใจของประชาชนให้ได้ชุ่มชื่นมีกาลังใจขึ้ นมาอย่ า งน่ า อัศจรรย์
๗๕
คราวเสด็ จ ออกมหาสมาคม ณ สี ห บั ญ ชรพระที่ นั่ ง อนั นตสมาคม พระราชวังดุสิต ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ นั้น เป็นโอกาสมงคลและภาพทรงจา ครั้งสาคัญที่ได้รับการจารึกและเล่าขานไปอี กนาน ด้วยประชาชนจากทั่วทุ กทิ ศ เดิ นทางมาถวายพระพรชั ยมงคล ถวายกาลั งพระราชหฤทัยให้พ ระองค์ท่านใน ช่วงเวลาที่มีเรื่องระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทคณานับ ประชาชนเรือนแสนสวม เสื้ อสี เหลื องอร่ า มตาหนาแน่ นไปทั่ ว ลานพระบรมรู ปทรงม้ า เรื่ อยมาถึ ง ถนน ราชด าเนิ นใน ราชด าเนิ นกลาง และตลอดเส้ นทางเสด็ จพระราชดาเนิ นจาก โรงพยาบาลศิริราช วันนั้นประชาชนทั้งประเทศต่างพร้ อมใจสวมเสื้ อเหลื องกั น อย่ า งไม่ ต้ องมี ใ ครบั ง คั บ ในครั้ ง นั้ นข้ า พเจ้ า ได้ ปั กหลั กอยู่ ที่ ถนนนครสวรรค์ แถวหน้าพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว รถพระที่นั่งในวั นนั้ น เคลื่ อนผ่ า นอย่ า งช้ ามากแลเห็นพระเจ้ าอยู่ หัว รั ชกาลที่ ๙ อย่ า งใกล้ ชิดชั ดเจน ยั ง ความปี ติ ใ ห้บั ง เกิ ด มีขึ้นในใจอย่ า งไม่ ต้องเอ่ ย นั บ จากครั้ ง นั้ นแล้ ว ปี ต่ อมา พระเจ้ าอยู่ หัวรั ชกาลที่ ๙ ก็ เสด็ จ แปรพระราชฐานไปยั งวั งไกลกั งวลเป็นระยะ แม้ใจหนึ่งจะดีใจที่ทรงแข็งแรงแล้ ว แต่อีกใจก็ว้า เหว่เพราะเคยรู้ สึกว่าพระองค์ ท่านประทับอยู่ไม่ไกลตลอดมา ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นการไปรอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับ เสด็ จ ที่ ค วามรู้ สึ ก ได้ เ ปลี่ ย นไปเสี ย แล้ ว ไม่ มี ค วามสุ ข ใดหลงเหลื อ อยู่ อี ก มี แต่ ความอ้ า งว้ า งว้ า เหว่ เต็ ม ทุ กอณู หั ว ใจ รถโฟล์ กสวาเกนสี ฟ้ า ในวั นนั้ นเป็ น รถ ที่ ป ระทั บที่ไม่ เหมื อนเคย แม้ พ ยายามมองไปก็ สุด ความสามารถที่ จ ะได้ เห็ น
๗๖
พระวรกายพระเจ้าอยู่หัวได้ ไม่มีพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ประทับพระราชทาน กาลั ง ใจให้ แก่ ผู้ที่ มารอเฝ้ า ฯ รั บ เสด็ จ อี กแล้ ว เสี ย งไชโยโห่ ร้ องกั บ รอยยิม้ แห่ ง ความสุขที่เคยถวายในขณะที่ขบวนเสด็จฯ ผ่านไปจะไม่มีปรากฏแก่สายตาได้อีก หัวใจที่ตีบตันบีบคั้นน้าใส ๆ ให้ไหลออกมาทั้งสองตาอย่างไม่รู้สิ้นสุด ความเงียบ ของแผ่ นดิ นในคราวเฝ้ าฯ ส่ ง เสด็ จพระเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ ๙ ในวั นนั้ น คงมิเท่า ความเงียบงันในหัวใจของพสกนิ กรที่ อ่อนกาลั ง กายใจในวั นที่ไม่มีพระเจ้า อยู่ หั ว รัชกาลที่ ๙ สถิตเป็นฉัตรคุ้มเกล้าอีกแล้ว การเฝ้ า ฯ รั บ เสด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ในแผ่ นดิ นรั ช กาลที่ ๙ สิ้ นสุ ด ลง แต่ เพี ย งนั้ น นั บ แต่ นี้คือช่ ว งเวลาแห่งการพระราชพิธี พระบรมศพที่จะได้กราบ ถวายบั งคมพระบาทสมเด็จ พระเจ้ าอยู่หัว ในพระบรมโกศบนพระมหาปราสาท เป็ นช่ ว งเวลาสุ ด ท้ า ย ก่ อนที่ จ ะทรงจากไปอย่ า งสมบู ร ณ์ ชาวประชาผู้ เคย สวมเสื้อเหลืองรอเฝ้าฯ รับเสด็จในคราวต่าง ๆ เมื่อวันวาน ได้สวมชุดดาขึ้นหมอบ กราบถวายบังคมบนพระมหาปราสาทเบื้องหน้าพระบรมศพกันอย่างพร้ อมหน้ า ด้วยความจงรักภักดีและอาดูรอยู่เต็มหัวใจ กราบบั ง คมทู ลลาพระเจ้ า อยู่ หั ว รัชกาลที่ ๙ นั บ แต่ นี้ ไ ปจนวั นหน้ า จะด าเนิ นตามพระราชปณิธ าน สื บ สานพระราชดาริ น านาอย่ า งเต็ ม กาลั ง อย่ า งน้ อ ยก็ เ พื ่ อ เป็ น เครื ่ อ งเตื อ นใจให้ ไ ด้ ย ้ อ นทวนหว นร าลึ ก ถึ ง ค ร า ว เมื่ อข้ า พเจ้ า ได้เฝ้ าฯ รั บ เสด็ จพระเจ้ าอยู่ หัวรั ชกาลที่ ๙ ไปจนกว่ าจะวายชนม์
๗๗
รายนามผู้อ่านบทประพัน ธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรวนีย์ สรรคบุรานุรักษ์ อาจารย์วชิราภรณ์ รุ่งโรจน์ชนาทิพย์ นายกฤติน พันธ์ทรัพย์ นายจิรวัฒน์ อินทรปัด นางสาวฉัฑริกา ปรานช่วย นายชวิน พนังนุวงศ์ นายณัฐพงศ์ มาลี นางสาวธนัชพร นวลอินทร์ นางสาวนัทธิญา ชูสิน นายศรัญยู คงขาว นางสาวศศิพิมพ์ ภู่ระหงษ์ นายศุภธัช คุ้มครอง นางสาวอโณทัย สารประดิษฐ์ นายอธิชนัน สิงหตระกูล
๗๘
ร าลึก พระภูมิบาลผ่านอัก ษร ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ...................................................................................................................... ......................................................................................................................
๗๙
รับชมสื่อมัลติมีเดีย จุลสารลายไทยฉบับพิ เศษฯ ได้ที่ https://thaitupamphlet.wordpress.com ๘๐ สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๕๙