หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจผศ.วรกิต วัดเข้าหลาม

Page 1


สารบัญ ประวัติ 7 บทความ 9 ระลึกถึง 27 รายนามเจ้าภาพ 45 รายนามผู้นำ�พวงหรีดมาเคารพศพ 46





“บุญ คือ ความสบายใจ ก่อนทำ�ก็สบายใจ ขณะทำ�ก็สบายใจ ทำ�แล้วก็สบายใจ คิดถึงทีไร สบายใจทุกที” - หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ -


ประวัติโดยย่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม เกิดเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ที่อ�ำเภอเขาวง จ.กาฬสินธุ์ เป็นบุตรของนายสาริบุตร และนาง หอมเพ็ง วัดเข้าหลาม มีพี่น้องทั้งหมด ๑๑ คน เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก ๓ คน เหลือพี่น้อง ๘ คน ๑.นายค�ำฝาน วัดเข้าหลาม เสียชีวิตแล้ว ๒.นายค�ำปัน วัดเข้าหลาม เสียชีวิตแล้ว ๓.นางสีสุทัศน์ ศรีสงเปลือย เสียชีวิตแล้ว ๔.นายคัตพา วัดเข้าหลาม เสียชีวิตแล้ว ๕.นางอินทวา วรรณโคตร ยังมีชีวิตอยู่ ๖.นางฉันนับ ศรีวรขันธ์ุ เสียชีวิตแล้ว ๗.นายอัปสงค์ วัดเข้าหลาม เสียชีวิตแล้ว ๘.นายวรกิต วัดเข้าหลาม ผู้วายชนม์ ส�ำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนกุดกว้างสวัสดิ์วิทยา จ.กาฬสินธุ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกาฬสินธ์พิทยาสรรค์ จ.กาฬสินธุ์ ระดับ ป.กศ.ต้นที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ระดับ ป.กศ. สูง และปริญญาตรีที่วิทยาลัยครูพระนคร กรุงเทพฯ ระดับปริญญาโทที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ รับราชการที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๒๗ รับราชการที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างปี ๒๕๒๘ - ๒๕๕๑ 7


สมรสกับนางยุพิน (สกุลเดิม ศตะเมฆ) และมีบุตรสาวสองคน 1. ดร. พิมพ์ยุพา ประพันธ์ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สมรสกับนายกิตติพงษ์ ประพันธ์ อาจารย์ประจ�ำภาควิชา เดียวกัน 2. นางสาววรสิริ วัดเข้าหลาม อาจารย์ประจ�ำคณะศิลปกรรมการผลิตสื่อ สถาบันกันตนา ผศ.วรกิต วัดเข้าหลาม ได้รับการผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ เมื่อปี พศ. ๒๕๔๙ และได้ดูแลรักษา อาการโรคทางหัวใจโดยพบแพทย์อย่างสม�่ำเสมอ จนเมื่อเดือนมีนาคม ปี พศ. ๒๕๕๗ ได้ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหารระยะลุกลามและเข้ารับ การรักษาโดยเคมีบ�ำบัดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น จ�ำนวน ๓ ครั้ง แต่ไม่ได้ผล ท�ำให้อาการทรุด หนักต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกครั้งเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ จนเมื่อวันอังคารที่ ๒๔ มิถุนายน พศ.๒๕๕๗ เวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น.จึงได้จากไปอย่างสงบ

8


การนำ�นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่นมาใช้ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ�โขง: การเสริมด้วยการประชุมผ่านเครือข่าย (NetMeeting)1 Implementing Japanese Teacher Professional Development Innovation in Mekong Sub-Region: Supplementation with NetMeeting วรกิต วัดเข้าหลามและคณะ2 บทคัดย่อ งานวิ จั ย ครั้ ง นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ นำ � นวั ต กรรมการพั ฒ นาวิ ช าชี พ ครู แ บบญี่ ปุ่ น มาใช้ ใ นการพั ฒ นาวิ ช าชี พ ครู คณิตศาสตร์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงโดยนำ�การประชุมผ่านเครือข่ายมาเสริมการศึกษาชั้นเรียนการดำ�เนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะได้แก่ระยะที่ 1ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมการพัฒนา วิชาชีพครูแบบญี่ปุ่น และทักษะการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ รวมทั้งสร้างความคุ้นเคยระหว่างนักวิจัยและครูกลุ่ม เป้าหมายและประเมินผลการฝึกอบรมโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู 2 กลุ่ม ได้แก่ ครูจากประเทศไทย 38 คนและครูจากประเทศ สปป.ลาว 5 คน ระยะที่ 2 นำ�วิธีการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่และนวัตกรรมการพัฒนา วิชาชีพครูแบบญี่ปุ่นไปใช้ในโรงเรียน โดยเสริมด้วยการประชุมเครือข่ายแบบข้ามประเทศ ดำ�เนินการในประเทศไทย ณ โรงเรียนคูคำ�พิทยาสรรพ์และโรงเรียนชุมชนบ้านชนบทและใน สปป.ลาว ณ โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ปากแจ้ง และ โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เวียงจันทน์ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม รวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกวีดิทัศน์ การสะท้อนผลชั้น เรียนและการใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์โพรโทคอล ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถสร้างความเข้าใจแก่ครูที่เข้ารับการฝึกอบรม ใน ระดับดี เนื่องจากครูได้ผ่านการปฏิบัติ 3 วงจร และได้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมการทำ�งานของกันและกันมากขึ้น บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ (Teacher Networking) ระหว่างประเทศในเขตอนุ ภูมิภาคลุ่มน�้ำโขงโดยใช้การประชุมผ่านเครือข่าย (NetMeeting) ซึ่งได้รับทุนโครงการวิจัยอุดหนุนทั่วไป ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 วรกิต วัดเข้าหลาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น , ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น , กิตติศักดิ์ ใจอ่อน นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,กวิสรา สันเสนาะ นักศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1

9


ระยะที่ 2 การนำ�นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่นไปใช้ในโรงเรียนโดยเสริมด้วยการประชุมผ่านเครือข่าย พบว่า การประชุมผ่านเครือข่ายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถดำ�เนินการได้แม้จะอยู่ห่างไกลกัน และนำ�ไปสู่ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ในอนุ ภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นว่าการประชุมนี้ มีประสิทธิภาพสูงมาก หลักการและเหตุผล จากรายงานโครงการบทบาทใหม่ของญี่ปุ่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง พบ ว่า ก่อนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 บทบาทของญี่ปุ่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง โดยเฉพาะ ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา เน้นการให้ความช่วยเหลือ และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีลักษณะของความช่วยเหลือและความร่วมมือเป็นแบบผู้ให้ (Donor) และผู้รับ (Recipient) โดยผู้ให้เป็นผู้กำ�หนดรูปแบบและสถานภาพของการให้ความช่วยเหลือ (ไมตรี อินทร์ ประสิทธิ์, 2548) การให้ความสำ�คัญกับความต้องการในด้านบทบาทใหม่ของญี่ปุ่นที่พบจากโครงการต่างๆที่เลือกศึกษา พบว่ามีการให้ความสำ�คัญกับโครงการทางด้านการศึกษาในระยะยาวโครงการบูรณาการทางด้านการศึกษากับด้าน อื่นๆการให้ความสำ�คัญกับความต้องการของผู้รับความช่วยเหลือในขณะที่วัฒนธรรมในการทำ�งานยังไม่เท่าเทียม กันก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเชิงวัฒนธรรมการทำ�งานซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำ�เนินการในโครงการ ต่างๆข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือถ้าประเทศไทยสามารถทำ�หน้าที่เป็นผู้ประสานงานด้านวัฒนธรรม (Cultural Mediator) ในโครงการต่างๆในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขงได้จะทำ�ให้ประเทศไทย สามารถเป็นผู้กำ�หนดสิ่งที่ต้องปฏิบัติ (Agenda) ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขงได้อย่างชัดเจน (มูลนิธิพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ระหว่างประเทศ, 2548) ในการนี้คณะศึกษาศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ร่วมมือกันจัดโครงการฝึก อบรมครูประจำ�การทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Hoshino Project) จากสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวโดยรูปแบบการดำ�เนินการดังกล่าวเป็นการจัดการฝึกอบรมที่เน้นให้ผู้รับความช่วยเหลือสามารถ พัฒนาวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง จากการรับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานได้ชี้ให้เห็นถึงการให้ความสำ�คัญกับ การพัฒนาวิชาชีพครูในระยะยาว การศึกษาชั้นเรียนเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาวิชาชีพครูที่ให้โอกาสครูได้มอง 10


เห็นการสอนและการเรียนที่เกิดขึ้นในห้องเรียนให้โอกาสนักเรียนเป็นหัวใจสำ�คัญของกิจกรรมในการพัฒนาวิชาชีพ ครูและสุดท้ายเป็นการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยตัวของครูเอง (นฤมลอินทร์ประสิทธิ์, 2552) การศึกษาชั้นเรียนเป็นกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูของชาวญี่ปุ่นที่ถูกพัฒนาและใช้ในประเทศญี่ปุ่นมา มากกว่า 130 ปีสำ�หรับประเทศไทยได้นำ�แนวทางดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 โดยนำ�ไปใช้กับ (1) โปรแกรม การฝึกหัดครู (2) โปรแกรมการผลิตบัณฑิตศึกษา (3) การฝึกอบรมครูประจำ�การและ (4) การพัฒนาวิชาชีพครู ระยะยาวโดยกระบวนการที่สำ�คัญได้แก่การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกันการสังเกตการสอนร่วมกันและการ สะท้อนผลบทเรียนร่วมกัน (Inprasitha, 2010) ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่าหลังจากเข้ารับการอบรมและนำ�นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนไปใช้แล้วครูบางคนยัง ไม่มีความมั่นใจในการเริ่มต้นพัฒนาชั้นเรียนตามแนวคิดใหม่ที่ได้รับซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยการทำ�งานใน เชิงพัฒนาในระยะยาวด้วยเหตุนี้จึงต้องการจะสร้างเครือข่ายการพัฒนาครูเพื่อจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการพัฒนา ชั้นเรียนโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในรูปแบบที่เรียกว่า “การประชุมผ่านเครือข่าย” (NetMeeting)เพื่อแก้ปัญหาเรื่องระยะทางในการสื่อสารจึงจำ�เป็นต้องมีการวิจัยที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อส่ง เสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบใหม่ที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (วรกิตวัดเข้าหลามและไมตรีอินทร์ประสิทธิ์, 2548) ทั้งนี้ การประชุมผ่านเครือข่ายเป็นการจัดประชุมทางไกลที่ ต้องอาศัยสัญญาณอินเตอร์เน็ตในการส่งผ่านข้อความเสียงและรูปภาพซึ่งมีองค์ประกอบที่สำ�คัญได้แก่การสื่อสาร ด้วยเสียงและการสื่อสารด้วยภาพเคลื่อนไหวผ่านคอมพิวเตอร์ระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนสองกลุ่มหรือจากสถาน ที่ประชุมสองแหล่งขึ้นไป (Parker, 1983)และการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ�โขง ควร ดำ�เนินงาน 2 ขั้นตอน ขั้นแรก จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการสอนคณิตศาสตร์ แนวใหม่ และนวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) รวมทั้งสร้าง ความคุ้นเคยระหว่างครูและนักวิจัย ซึ่งจะทำ�ให้การประชุมผ่านเครือข่าย ในขั้นที่ 2 บรรลุผลตามเป้าหมาย จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า ในการแก้ปัญหาเรื่องระยะทางและเวลาในการที่จะนิเทศติดตามการทำ�งานของ ครูเพื่อการพัฒนาศักยภาพของครูและการจัดการเรียนการสอนของครู ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการพัฒนาเครือ ข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงโดยใช้การประชุมผ่านเครือข่าย (NetMeeting) 11


วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง ที่ผ่านการฝึกอบรมการจัดการเรียนการสอน คณิตศาสตร์แนวใหม่ตามแนวทางการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่น 2) เพื่อศึกษารูปแบบการประชุมผ่านเครือข่าย ซึ่งช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถของครูคณิตศาสตร์ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงหลังจากผ่านการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่น 3) เพื่อศึกษาผลสำ�เร็จ ปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาการเสริมสร้างความสามารถของครูโดยการ ประชุมผ่านเครือข่าย นิยามศัพท์เฉพาะ 1) เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์หมายถึงระบบการพัฒนาการเชื่อมโยงการทำ�งานร่วมกัน ระหว่างครูนักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษาในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง 2) การพัฒนาวิชาชีพครูหมายถึงกระบวนการหรือกิจกรรมที่จัดทำ�ขึ้นเพื่อพัฒนาครูในด้านความรู้ความ เข้าใจทักษะและเจตคติที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของครู 3) การประชุมผ่านเครือข่ายหมายถึงระบบประชุมทางไกลออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดย สามารถทำ�การประชุมแบบเห็นภาพ ฟังเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมตลอดจนนำ�เสนอข้อมูล ส่ง-รับข้อมูลในรูปแบบ ต่างๆ ในเวลาเดียวกันโดยใช้การประชุมเป็นกลุ่ม 4) รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายหมายถึงวิธีการในการพัฒนาความร่วมมือของครูคณิตศาสตร์ในเขตอนุ ภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงนักวิจัยและบุคลากรทางการศึกษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ในด้านการ จัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระเบียบวิธีและขั้นตอนการวิจัย ในการดำ�เนินการวิจัยครั้งนี้มีรายละเอียดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความคิดเห็นของครูในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงที่ผ่านการฝึกอบรมตามกระบวนการ พัฒนาครูแบบญี่ปุ่นเพื่อการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ 12


1. ขอบเขตเชิงเนื้อหา เป็นการศึกษาความคิดเห็นของครูที่ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แนว ใหม่ด้วยนวัตกรรมการพัฒนาครูแบบญี่ปุ่น 2. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 1) ครูจากประเทศไทย จาก 2 โรงเรียนในโครงการ โรงเรียนในฝันเพาะปัญญา คือ โรงเรียนคูคำ�พิทยาสรรพ์และโรงเรียนชุมชนบ้านชนบท จังหวัดขอนแก่น จำ�นวน 38 คน 2) ครูจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำ�นวน 5 คน จาก 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนมัธยม สมบูรณ์ปากแจ้ง และโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เวียงจันทน์ 3. ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามแบบปลายเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อถามความคิดเห็นของครูที่ เป็นกลุ่มเป้าหมาย 4. ตัวแปรที่ศึกษา (1) ความคาดหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้ารับการอบรม (2) ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรม (3) ความเหมือนและความต่างของแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด กับแผนการจัดการเรียนรู้แบบเดิมที่ ปรากฏในคู่มือครูคณิตศาสตร์ (4) จุดเด่นและจุดด้อยของแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (5) ปัญหาและอุปสรรคในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (6) ความเป็นไปได้ในการนำ�แผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิดไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ในโรงเรียน 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลหลังสิ้นสุดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จากผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคน ส่วนการ วิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเบื้องต้น ได้แก่ ความถี่และค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 2การพัฒนารูปแบบการประชุมผ่านเครือข่าย ซึ่งช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถของครู 13


คณิตศาสตร์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงหลังจากผ่านการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่น 1. ขอบเขตเชิงเนื้อหา เป็นการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างความรู้ความสามารถของครูในการนำ�ความรู้จากการฝึกอบรมมาใช้ ในโรงเรียน โดยใช้การประชุมผ่านเครือข่ายร่วมกันระหว่างนักวิจัยและครู 2. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 1) ครูจากประเทศไทย จาก 2 โรงเรียนในโครงการ โรงเรียนในฝันเพาะปัญญา คือ โรงเรียนคูคำ�พิทยาสรรพ์และโรงเรียนชุมชนบ้านชนบท จังหวัดขอนแก่น จำ�นวน 5 คน 2) ครูจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำ�นวน 5 คน จาก 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนมัธยม สมบูรณ์ปากแจ้ง และโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์เวียงจันทน์ 3. ระเบียบวิธีวิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสังเกตแบบมีส่วนร่วมด้วยการประชุมแบบเครือข่าย มีการบันทึกวีดิ ทัศน์ ภาพนิ่งและเสียงขณะที่ครูทำ�กิจกรรม อภิปรายร่วมกัน ตลอดจนการเข้าร่วมสังเกตการณ์สอนของครูไทย โดยครูจาก สปป.ลาว ผ่านระบบเครือข่าย จากนั้นมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกได้ออกมาในรูปข้อความ โดยเน้น วิเคราะห์ความรู้ความสามารถของครูคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกภาพและเสียงระหว่างการประชุมผ่านระบบเครือข่าย และวิเคราะห์ เนื้อหาและสรุปเนื้อหาเป็นแผนภูมิแสดงขั้นตอน/กระบวนการ และวงจรการเสริมสร้างความเข้าใจโดยการประชุม ผ่านเครือข่าย ซึ่งตรวจสอบความเหมาะสมโดยใช้มติเอกฉันท์ของครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลสำ�เร็จ ปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาการเสริมสร้างความสามารถของครู โดยการประชุมผ่านเครือข่าย 1.ขอบเขตของเนื้อหา เป็นการศึกษาผลสำ�เร็จ ปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาการเสริมสร้างความสามารถของครูโดยการ ประชุมผ่านเครือข่ายจากความคิดเห็นของครูกลุ่มเป้าหมาย 2.กลุ่มเป้าหมาย 14


กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเดียวกับในขั้นตอนที่ 2 3. ตัวแปรที่ศึกษา (1) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอน (2) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียน (3) ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (4) ประโยชน์และข้อจำ�กัดของการใช้การประชุมผ่านเครือข่าย 4. ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 5. การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากภาพและเสียงของครูที่บันทึกระหว่างการประชุมผ่านเครือข่าย และจากการให้ สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล และใช้การสรุปความ และวิเคราะห์เนื้อหา โดยผู้วิจัยเป็นเครื่องมือ ผลการวิจัยและการอภิปรายผล ผลการวิจัยในระยะที่ 1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมการพัฒนา วิชาชีพครูแบบญี่ปุ่น และทักษะการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ รวมทั้งสร้างความคุ้นเคยระหว่างนักวิจัยและครูกลุ่ม เป้าหมายและประเมินผลการฝึกอบรมโดยใช้แบบสอบถามได้ข้อสรุปดังนี้ เป้าหมายที่สำ�คัญประการหนึ่งของการดำ�เนินการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมบริบท ในการสร้างความคุ้นเคยระหว่างนักวิจัยและครูคณิตศาสตร์กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในประเด็นที่เกี่ยวกับ การแลกเปลี่ยน แนวคิดเกี่ยวกับ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และการ จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ในการดำ�เนินกิจกรรมดังกล่าว นอกจากครูคณิตศาสตร์ที่ เข้าร่วมในโครงการจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) แล้วครูคณิตศาสตร์ยังได้เรียนรู้ แนวคิดและวัฒนธรรมในการทำ�งานร่วมกันกับนักวิจัย รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้น เรียนและแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งสามารถสรุปได้จากข้อมูลการตอบแบบสอบถามของครูที่เข้าร่วมการ อบรม ดังนี้ 15


1) ความคาดหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้ารับการอบรม จากการตอบแบบสอบถามของครู ท่ี เข้ า ร่ ว มในการอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารพบว่ า ครู มี ค วามคาดหวั ง ใน เรื่องของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบปลายเปิดการออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพรูปแบบการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำ�ไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนได้จริงการใช้พื้น ฐานความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อประเมินการเรียนรู้ทำ�ให้ในช่วงของการอบรมครูมีความกระตือรือร้นสนใจ ตั้งใจฟังและเข้าร่วมกิจกรรมทุกช่วงของการอบรม ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ครูมีความคาดหวังที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับนักวิจัยและครูผู้เข้า ร่วมคนอื่นเพื่อที่จะสามารถนำ�นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดไปใช้ในชั้นเรียนของตนเองได้อย่าง เหมาะสมสรุปได้ดังนี้

2) ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรม ในการอบรมเชิงปฏิบัติการและร่วมกันทำ�แผนการจัดการเรียนรู้ หลังจากที่ครูเข้าร่วมในการอบรมเชิง ปฏิบัติการและได้ทำ�กิจกรรมต่างๆ แล้วพบว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรมในด้านการพัฒนาแผนการ จัดการเรียนรู้ ครูมองว่าครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด โดยอาศัยการสร้างปัญหา ปลายเปิด การตั้งคำ�ถามต้องตั้งคำ�ถามแบบปลายเปิด ซึ่งเดิมครูสร้างแผนการจัดการเรียนรู้คนเดียวแต่หลังจากผ่าน การอบรมแล้วในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ครูจะต้องสร้างแผนร่วมกันมีการนำ�แนวคิดของนักเรียนมาใช้ใน การวางแผนด้วยแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งเดิมการเรียนการสอนจะเป็นการบรรยาย และแสดง 16


ตัวอย่างให้นักเรียนดูหลังจากผ่านการอบรมแล้วในการจัดกิจกรรมจะเน้นให้นักเรียนแก้ปัญหาแล้วครูมีหน้าที่ใน การสังเกตแนวคิดของนักเรียน และประเด็นเกี่ยวกับการทำ�กิจกรรมกลุ่ม จะเริ่มจากให้นักเรียนแก้ปัญหาเป็นราย คนจากนั้นค่อยให้รวมกลุ่มกันโดยให้มาแสดงแนวคิดร่วมกันและแลกเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันโดยที่ไม่ได้เน้น คำ�ตอบผิดหรือถูกสรุปได้ดังนี้

3) ความเหมือนและความต่างของแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด กับแผนการจัดการเรียนรู้แบบเดิมที่ปรากฏใน คู่มือครูคณิตศาสตร์ ครูที่เข้าร่วมในการอบรม ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิดว่ามีความเหมือนและ ความแตกต่างกับแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด ซึ่งจากตารางแสดงให้เห็นว่าครูที่เข้าอบรมเห็นความแตกต่างของ แผนทั้งในเรื่องกระบวนการเขียนแผนและการเน้นกระบวนการคิดของนักเรียน

17


4) จุดเด่นและจุดด้อยของแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด ครูที่เข้าร่วมในการอบรม ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับจุดเด่นและจุดด้อยของแผนการสอนแบบเปิด สรุปได้ดังนี้

จากตารางแสดงให้เห็นว่าหลังจากที่ครูได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการและได้ออกแบบกิจกรรมแล้ว ครูมองว่าแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิดนี้เป็นแผนที่ทำ�ให้นักเรียนยอมรับว่าสถานการณ์ปัญหานั้นเป็นปัญหาของ ตนเองและเป็นโอกาสที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติในการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านกระบวนการการทำ�งานเป็นกลุ่มการ แลกเปลี่ยนแนวคิดการค้นหาการสำ�รวจการสืบเสาะเพื่อจะได้แนวทางในการแก้ปัญหานั้น ซึ่งผลที่ได้ก็คือ นักเรียน มีการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ 5) ปัญหาและอุปสรรคในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด ครูที่เข้าร่วมในการอบรม ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการเขียนแผนการสอนแบบเปิด สรุปได้ดังนี้ 18


จากตารางแสดงให้เห็นว่า หลังจากที่ครูได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการและได้ออกแบบกิจกรรมแล้ว ครูมองว่าความยุ่งยากในเรื่องของคำ�สั่งและกิจกรรมคือการออกแบบคำ�สั่งหรือการคิดคำ�สั่งในสถานการณ์ปัญหา เพื่อที่จะดึงดูดกระตุ้นท้าทายให้นักเรียนได้คิดแก้ปัญหาซึ่งปัญหาคือครูยังยึดติดกับกรอบแนวคิดแบบเดิมคือการ บอกบรรยายอธิบายและยกตัวอย่าง 6) ความเป็นไปได้ในการนำ�แผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิดไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ใน โรงเรียน ครูที่เข้าร่วมในการอบรม ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำ�แผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิดไปใช้ สรุป ได้ดังนี้ จากตารางแสดงให้เห็นว่า หลังจากที่ครูได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการและได้ออกแบบกิจกรรมแล้ว

ครูส่วนใหญ่มองว่ามีความเป็นไปได้มากในการนำ�แผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิดไปใช้ในโรงเรียนได้ขึ้นอยู่กับครู เชื่อว่าวิธีการนี้เป็นวิธีที่สามารถส่งเสริมแนวคิดของนักเรียนได้แต่ก็มีส่วนน้อยที่พูดถึงว่ามีความเป็นไปได้น้อยใน การนำ�ไปใช้ถ้าครูยังมีความยึดติดกับวิธีการสอนแบบเดิมเป็นต้นซึ่งสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าคนที่บอกว่าเป็นไปได้ 19


มากโดยที่ไม่มีความกังวลใจใดๆก็ให้เหตุผลในด้านของผู้เรียนว่าวิธีการแบบเปิดเป็นวิธีการที่ทำ�ให้นักเรียนสามารถ เรียนรู้อย่างสนุกสนานคิดได้อย่างอิสระมีความคิดหลากหลายส่งเสริมกระบวนการคิดของนักเรียนส่วนเหตุผลของ ครูผู้สอนเองคือครูได้แนวทางในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบนี้และแนวทางการนำ�ไปใช้และมองว่าเป็น นวัตกรรมใหม่ที่สอนให้นักเรียนได้คิดและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ผลการวิจัยในระยะที่ 2 นำ�วิธีการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่และนวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูแบบ ญี่ปุ่นไปใช้ในโรงเรียน โดยเสริมด้วยการประชุมเครือข่ายแบบข้ามประเทศ 2.1 การศึกษารูปแบบการประชุมผ่านเครือข่าย ที่ช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถของครูคณิตศาสตร์ในอนุ ภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง สามารถแสดงได้ดังแผนภาพที่ 1

ภาพที่ 1 แสดงรูปแบบการใช้นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่นที่เสริมด้วยการประชุมผ่านเครือข่าย จากการใช้นวัตกรรมของครูทั้งสองประเทศนี้ การประชุมผ่านเครือข่ายเพื่อและเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันใน ช่วงการสะท้อนผลมีรูปแบบดังต่อไปนี้ 1) ติดตั้งโปรแกรม Net meeting กล้อง webcam และไมโครโฟน กับคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งเชื่อมต่อ สัญญาณอินเตอร์เน็ต 20


2) นัดหมายเวลาในการประชุมผ่านเครือข่ายของครูทั้งสองประเทศ 3) ผู้ดำ�เนินการประชุมเริ่มดำ�เนินการประชุมซึ่งในที่นี้คือ ผู้เชี่ยวชาญประจำ�โครงการ 4) ครูจากสองประเทศดำ�เนินการสะท้อนผลโดยเริ่มต้นที่ครูจาก สปป.ลาว จากนั้นเป็นครูจากประเทศไทย มีประเด็นคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอนคณิตศาสตร์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ปัญหา และ อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและ และประโยชน์ของการใช้การประชุมผ่านเครือข่ายซึ่งใน การสะท้อนผลครูจะใช้ผลงานนักเรียนประกอบการสะท้อนผลโดยใช้กล้อง webcam จับที่ผลงานนักเรียนเพื่อให้ครู อีกทางหนึ่งสามารถเห็นและเข้าใจประเด็นในการสะท้อนผลรวมกัน 5) ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการดำ�เนินงานต่อไป จากรูปแบบการประชุมผ่านเครือข่ายดังกล่าวประเด็นสำ�คัญของการประชุมคือเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้การใช้นวัตกรรมของครูจากสองประเทศโดยมีการประชุมผ่านเครือข่ายเป็นเครื่องมือที่สำ�คัญในการอำ�นวย ความสะดวกให้ครูสามารถทำ�งานร่วมกันได้ซึ่งการทำ�งานร่วมกันนี้เป็นหัวใจสำ�คัญการการใช้นวัตกรรมการพัฒนา วิชาชีพครูแบบญี่ปุ่น 2.2ผลสำ�เร็จ ปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาการเสริมสร้างความสามารถของครูโดยการประชุมผ่านเครือข่าย พบว่า การนำ�เสนอผลการนำ�นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่นไปใช้ในโรงเรียนผ่านการประชุมเครือข่าย เป็นการเปิดโอกาสให้ครูในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงได้สังเกตชั้นเรียนของกันและกันทำ�ให้มองเห็นประเด็นที่เกิดขึ้นใน ชั้นเรียนดังต่อไปนี้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอนและนักเรียน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการ สอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นดังกล่าวเป็นแนวทางที่สำ�คัญในการร่วมกันในการแก้ปัญหาการจัดการเรียน การสอนคณิตศาสตร์ และนำ�ไปสู่การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการ พัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ - มุมมองจากครูคณิตศาสตร์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครูคณิตศาสตร์จากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เข้าร่วมในการอบรมเชิงปฏิบัติการ 21


โดยผ่านการใช้เทคโนโลยีการประชุมผ่านเครือข่ายได้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง อันเนื่อง มาจากการนำ�แผนการสอนแบบเปิดไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ว่า “ครูได้ทำ�มากขึ้น ได้คิดเตรียม การสอนมากขึ้น รวมทั้งครูได้ใช้ความสามารถในการเตรียมการสอน เข้าใจการเรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้น และครูได้ ทำ�กิจกรรมช่วยกัน สังเกตการสอนของกันและกัน” - มุมมองจากครูคณิตศาสตร์ประเทศไทย ครูคณิตศาสตร์จากประเทศไทยที่เข้าร่วมในการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยผ่านการใช้เทคโนโลยีการประชุม ผ่านเครือข่ายได้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง อันเนื่องมาจากการนำ�แผนการสอนแบบเปิด ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ว่า “ครูไม่ต้องบอกคำ�ตอบนักเรียน พัฒนาตนเองทุกวันในด้านความคิด เพื่อให้ทันความคิดของเด็กและเข้าใจปัญหาของเด็กในแต่ละวัน รวมทั้งได้โอกาสในการสะท้อนผลการจัดการเรียน การสอนของตนเอง” (2) ประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียน - มุมมองจากครูคณิตศาสตร์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครูคณิตศาสตร์จากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้สะท้อนถึงผลที่เกิดจากการนำ� แผนการสอนแบบเปิดไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำ�ให้นักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์เกิดการ เปลี่ยนแปลง คือ “นักเรียนได้คิดมากขึ้นกว่าเดิม มีเหตุมีผลมากขึ้น และให้ความสนใจในการเรียนมากขึ้น รวมทั้ง นักเรียนใช้เวลาในการแก้ปัญหามากขึ้นกว่าเดิมด้วย นอกจากนี้นักเรียนยังได้ทำ�กิจกรรมร่วมกับเพื่อน ก่อนหน้านี้ นักเรียนไม่ได้ถามครู แต่ตอนนี้นักเรียนกล้าถามครูมากขึ้น” - มุมมองจากครูคณิตศาสตร์ประเทศไทย ครูคณิตศาสตร์จากประเทศไทยได้สะท้อนถึงผลที่เกิดจากการนำ�แผนการสอนแบบเปิดไปใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ทำ�ให้นักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ “นักเรียนได้มีความเป็น อิสระทางความคิด มีความคิดที่เปิดกว้าง กล้าคิด กล้าทำ� กล้าแสดงความคิดของตนเองอย่างหลากหลาย ยอมรับ ความคิดของกันและกัน นักเรียนได้ดึงเอาความรู้ความสามารถของตนเองออกมาอย่างหลากหลาย” (3) ประเด็นที่เกี่ยวกับปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 22


- มุมมองจากครูคณิตศาสตร์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครูคณิตศาสตร์จากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้สะท้อนถึงปัญหาและอุปสรรคที่ เกิดจากการนำ�แผนการสอนแบบเปิดไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ “แผนการสอนนี้เป็นแผนการ สอนแบบใหม่ ที่ครูไม่คุ้นเคย ทำ�ให้ครูยุ่งยากในการนำ�ไปใช้ และไม่แน่ใจว่าแผนการสอนที่สร้างขึ้นนั้นเป็นแบบ เปิดจริงหรือไม่ รวมทั้งเวลาในการทำ�กิจกรรมการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างจะใช้เวลามาก ทำ�ให้ครูยุ่งยากในการเตรียม กิจกรรมการเรียนการสอน นอกจากนี้กิจกรรมการแก้ปัญหาที่นำ�มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นเป็น กิจกรรมที่นักเรียนไม่คุ้นเคยมาก่อน ทำ�ให้นักเรียนหลายคนเกิดความยุ่งยากในการทำ�กิจกรรม แต่อย่างไรก็ตาม นักเรียนก็ทนและคิดได้มากขึ้น” - มุมมองจากครูคณิตศาสตร์ประเทศไทย ครูคณิตศาสตร์จากประเทศไทย ได้สะท้อนถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการนำ�แผนการสอนแบบเปิด ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ “ในบางครั้งครูไม่มั่นใจในการประเมินกระบวนการคิดของนักเรียนที่ เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบเปิด การที่มีคนเข้าไปสังเกตชั้นเรียน ครูค่อนข้างตื่นเต้น เพราะ ยังคุ้นเคยกับวัฒนธรรมแบบเดิม ที่ไม่กล้าสอนให้คนอื่นดูเท่าไร การทำ�กิจกรรมค่อนข้างใช้เวลานาน ครูไม่ค่อยมั่นใจ ว่าจะสอนจบตามเนื้อหาหรือไม่ในตอนที่เริ่มใช้แผนการสอนในช่วงแรกๆ” (4) ประโยชน์และข้อจำ�กัดของการใช้การประชุมผ่านเครือข่าย - มุมมองจากครูคณิตศาสตร์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครูคณิตศาสตร์จากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้สะท้อนถึงประโยชน์ในการใช้การ ประชุมผ่านเครือข่าย สรุปได้ดังนี้ “นวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำ�มาใช้ในการประชุมในลักษณะที่เป็นเครือข่ายขนาด ใหญ่ ซึ่งมีประโยชน์อยู่สามด้านประกอบด้วย ประหยัดเวลา คือ ในวันเดียวผู้เชี่ยวชาญสามารถที่จะให้ข้อเสนอแนะ ได้กับทุกโรงเรียน ใช้วิทยากรจำ�นวนน้อย คือ ในการประชุมแต่ละครั้งในเวลาเดียวกันสามารถสื่อสารได้กับทุกคน ทุกโรงเรียนที่ต่างสถานที่กันโดยวิทยากรคนเดียว ประหยัดค่าใช้จ่าย คือ ครูแต่ละโรงเรียนไม่จำ�เป็นที่จะต้องเดิน ทางมาพบผู้เชี่ยวชาญที่เมืองไทยแต่ใช้การประชุมผ่านเครือข่ายได้เลย”และข้อจำ�กัดคือ “เวลาในการประชุมผ่าน เครือข่ายมีจำ�กัดทำ�ให้การให้ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญกับครูแต่ละโรงเรียนน้อย ครูก็ไม่สามารถถามรายละเอียด 23


อะไรได้มากนัก” - มุมมองจากครูคณิตศาสตร์ประเทศไทย ครูคณิตศาสตร์จากประเทศไทย ได้สะท้อนถึงประโยชน์ในการใช้การประชุมผ่านเครือข่าย สรุปได้ดังนี้ “ไม่ต้องเดินทางไกลก็สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูจากประเทศลาวได้ รวมทั้งได้รับข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับปรุงชั้นเรียน ได้รู้จักการใช้นวัตกรรมนี้ของครูลาวซึ่งมีปัญหาในชั้นเรียนที่ใกล้เคียงกัน ทำ�ให้เข้าใจกันและ กัน คิดว่าการประชุมผ่านเน็ตรวดเร็วดีจริงๆ” จุดเด่นของการนำ�นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูของประเทศญี่ปุ่นไปใช้จริงในชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพ นั้นครูที่อยู่ในทีมการศึกษาชั้นเรียนจะต้องทำ�งานรวมกันเริ่มตั้งแต่การวางแผนการจัดการเรียนรู้รวมกัน การนำ� แผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จริงและครูในทีมการศึกษาชั้นเรียนคนอื่นเข้าสังเกตชั้นเรียนและรวมกันสะท้อนผลหลัง จากที่นำ�แผนไปใช้จริงเพื่อจะนำ�ข้อมูลและแนวคิดของนักเรียนมาวางแผนการจัดการเรียนรู้ต่อไปซึ่งข้อจำ�กัดในเชิง กายภาพที่ครูท้ังสองประเทศอยู่คนละสถานที่ดังนั้นการใช้การประชุมผ่านเครือข่ายจึงได้เข้ามามีบทบาทในการลด ช่องว่างเรื่องระยะทางของครูทั้งสองประเทศและสามารถให้ครูสามารถทำ�งานร่วมกันได้ตลอด และประหยัดเวลา เพราะว่าการที่ครูจากทั้งสองประเทศเดินทางมาพบกันเพื่อจะวางแผนการจัดการเรียนรู้ เข้าสังเกตชั้นเรียนและ สะท้อนผลนั้นจะต้องเสียเวลาอย่างมากกับการเดินทาง ประหยัดงบประมาณ และยังช่วยในการสร้างเครือข่าย พัฒนาวิชาชีพครูในระยะยาวคือครูสามารถความร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถพูดคุยแลก เปลี่ยนแนวคิด ปัญหา แนวทางในการแก้ปัญหาผ่านการประชุมเครือข่ายได้ตลอดเวลา จากการที่ครูคณิตศาสตร์ที่เข้าร่วมในการวิจัย ทั้งจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ ประเทศไทยได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาเครือ ข่ายความร่วมกันของครูคณิตศาสตร์ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ�โขง โดยผ่านการใช้เทคโนโลยีการประชุมผ่านเครือข่าย ที่ช่วยลดปัญหาความต่างทางด้านระยะทางในการเรียนรู้ระหว่างครูทั้ง 2 ประเทศ ทำ�ให้ครูคณิตศาสตร์จากทั้งสอง ประเทศได้เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการนำ�แผนการสอนแบบเปิดไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การที่ ครูคณิตศาสตร์จากทั้งสองประเทศเกิดความคุ้นเคยกับผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย ทำ�ให้ครูสามารถถ่ายทอดและบอก เล่าถึงประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ในชั้นเรียนจริง นำ�ไปสู่การสร้างความ เข้าใจร่วมกัน อันเป็นพื้นฐานที่สำ�คัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอย่าง 24


แท้จริง ข้อเสนอแนะ การใช้โปรแกรมการประชุมผ่านเครือข่ายจะมีประสิทธิภาพและประสบผลสำ�เร็จก็ต่อเมื่อผู้ใช้เกิดความ ต้องการที่จะใช้ ซึ่งสาเหตุในการใช้คือ การแลกเปลี่ยนแนวคิด ข้อกังวล และเมื่อพบปัญหาที่เกิดจากการนำ� นวัตกรรมไปใช้แล้วต้องการแนวทางการแก้ปัญหากับครูคนอื่นที่ใช้นวัตกรรมเดียวกัน และมีความคุ้นเคยต่อกันทั้ง สองฝ่ายความคุ้นเคยกันระหว่างทั้งสองฝ่ายจะทำ�ให้สามารถที่จะแลกเปลี่ยนแนวคิดร่วมกันได้ในการสร้างความคุ้น เคยกันนั้นจำ�เป็นจะต้องอาศัยบริบทที่ทำ�ให้ทั้งผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมในการทำ�วิจัยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิดและ ประสบการณ์ร่วมกันดังนั้น เพื่อให้นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่นสามารถนำ�ไปใช้กับกลุ่มครูในแต่ละ โรงเรียนที่อยู่ห่างกันและทำ�ให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ การขยาย ผลการใช้นวัตกรรมดังกล่าวจึงจำ�เป็นต้องมีระบบนิเทศติดตามเพื่อให้กลุ่มครูได้สะท้อนแง่มุมในการพัฒนางานของ ตนเองกับผู้เชี่ยวชาญและโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมร่วมกัน ดังนั้นการศึกษารูปแบบในการนิเทศติดตามโดยใช้การ ประชุมผ่านเครือข่ายจึงเป็นแง่มุมที่น่าสนใจในการทำ�การศึกษาต่อไป บรรณานุกรม คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2547). รายงานสรุปโครงการแลกเปลี่ยน บุคลากรกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง 2547. เอกสารรายงาน _______ (2548). สรุปผลโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสำ�หรับครูคณิตศาสตร์สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวระยะที่ 3 (Hoshino Project Phase III). เอกสารรายงาน นฤมลอินทร์ประสิทธิ์ (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study): นวัตกรรมเพื่อพัฒนา ครูและนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วรกิตวัดเข้าหลามและไมตรีอินทร์ประสิทธิ์. (2548).การพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครู คณิ ต ศาสตร์ 25


(Teacher Networking) ระหว่างประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงโดยใช้ การประชุมผ่านเครือข่าย (NetMeeting). เอกสารรายงาน มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ (2548). โครงการวิจัย “Impact Study” ของ ประเทศ GMS.เอกสารรายงาน ไมตรีอินทร์ประสิทธิ์ (2548). รายงานเบื้องต้นของโครงการบทบาทใหม่ของญี่ปุ่นในการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง. เอกสารรายงาน _______ (2004).KKU Journal of Mathematics Education. Volum1, Number1 Inprasitha, M. (2010). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand –Designing Learning Unit-. In CheongSoo Cho et al.(Eds.). Proceedings of the 45th National Meeting of Math.Ed., pp.193-206. Starkey, P. (1992). Networking for Sustainable Agriculture: Lessons from Animal Traction Development. Retrieved July 7, 2010, from http://www.animaltraction. com/StarkeyPapers/Starkey-IIED-Gatekeeper-96.pdf

26


ระลึกถึง

ระลึกถึง นับตั้งแต่วันแรกที่เราพบกัน ผูกพันกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน สร้างครอบครัวที่อบอุ่น มีลูกที่ดีประสบความส�ำเร็จใน ชีวิตระดับหนึ่งที่เราพอใจ เราใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข ท่องเที่ยว พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง พี่ๆ น้องๆ อย่างสนุกสนาน และคิดว่าจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปจนกว่าเราจะจากกันในเวลาอันสมควร แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 หลังจากที่พ่อกลับจากสังสรรค์กับเพื่อนร่วมรุ่น IA ของพ่อ พ่อมีอาการอ่อนเพลีย ออกก�ำลังกายไม่ได้ ต้องไปพบแพทย์ที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ผลตรวจเลือด เกล็ดเลือดพ่อต�่ำมาก ต้องส่งไปส่องกล้องที่โรง พยาบาลศรีนครินทร์ ผลปรากฏว่าพ่อเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ต้องให้เคมีบ�ำบัดถึง 3 ครั้ง แต่ไม่ได้ผล พ่อปวดท้อง มาก กินอาหารไม่ได้ อาเจียน ต้องส่งโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 3 อาทิตย์ที่พ่อต้องอยู่โรงพยาบาล พ่อได้รับ การดูแลอย่างดีจากทีมแพทย์ พยาบาล และหน่วยการุณรักษ์ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยเฉพาะได้รับความช่วย เหลือ ค�ำแนะน�ำและก�ำลังใจจากเพื่อนๆ ของลูก หมอเวียน หมอกบ หมอปุ้ย หมอวิเวียน โดยเฉพาะหมอมิ่ง (พญ. อิญชญา แสนศักดิ์) ที่ครอบครัวของเราถือว่าเป็นหมอประจ�ำครอบครัว ก�ำลังใจจากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทั้งจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลันราชภัฏ ตลอด จนลูกศิษย์ของเราทั้ง 2 คน ท�ำให้พ่อมีก�ำลังใจที่จะต่อสู้ต่อไป ยอมเข้ารับการผ่าตัด ให้อาหารทางล�ำไส้เล็ก แต่ก็ไม่ สามารถหยุดยั้งโรคร้ายที่คุกคามพ่ออยู่ได้ จนบางครั้งพ่อบอกกับลูกว่า “พ่อเหนื่อยแล้ว ปล่อยพ่อไปเถอะ” พร้อมทั้ง สั่งไว้ว่า ให้พาพ่อไปวัดศรีสวัสดิ์ ไม่ต้องพระราชทานเพลิงศพ ในหลวงอยู่ในใจพ่อเสมอ ให้จัดการอย่างเรียบง่ายที่สุด อย่าให้เป็นภาระคนอื่น แม่นิมนต์พระมารับสังฆทานจากพ่อที่โรงพยาบาล แม่ลูกดีใจที่พ่อรับศีล 5 และถวายสังฆทาน ได้ จากนั้นพ่อก็ทรุดลงเรื่อยๆ เราสามคนแม่ลูกสวดมนต์ข้องหูพ่อตลอดเวลา บอกให้พ่อเดินทางไปอยู่ที่บ้านใหม่ ไป คอยเราอยู่ที่นั่น ในที่สุดเมื่อเวลาประมาณ 4 ทุ่ม วันที่ 24 มิถุนายน 2557 พ่อก็จากเราไปอย่างสงบ เหลือแต่ความ ทรงจ�ำที่ดี ความเสมอต้นเสมอปลายของพ่อที่เคยปฏิบัติต่อแม่และลูกโดยเฉพาะกับแม่ พ่อไม่เคยเปลี่ยนแปลง เคย ปฏิบัติอย่างไร เมื่อแรกคบกันจนถึงปัจจุบัน พ่อก็ยังคงปฏิบัติเช่นนั้น แม่จึงพูดได้อย่างเต็มปากว่า พ่อเป็นสามีที่ดีที่สุด คนหนึ่ง เป็นพ่อของลูกที่ดีเยี่ยม เคยแม้กระทั่งเมื่อลูกจะไปอยู่หอที่กรุงเทพฯ พ่อไปเดินหอพักให้ลูก พ่อยังต้องไป ตอน 3 ทุ่ม เพื่อจะดูว่าถ้าลูกกลับจากโรงเรียนตอนนี้ลูกจะปลอดภัยไหมนี่คือตัวอย่างของพ่อที่จะอยู่ในความทรงจ�ำ ของเราตลอดไปชั่วนิจนิรันดร์

จากแม่ที่รักพ่อเสมอ ยุพิน วัดเข้าหลาม 27


พ่อขาส้มถามกวาว่า “เธอว่ามันจะมีปาฏิหาริย์ไหม“ พอหมอบอกว่าให้คีโมไป 3 ครั้งแล้วพ่อไม่ดีขึ้น กวาจ�ำ ไม่ได้ว่าตอบน้องไปว่าอย่างไร แต่กวารู้สึกว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราทุกคนได้ท�ำดีที่สุดแล้ว และปาฏิหาริย์มันก็ได้ เกิดแล้วเมื่อ 40 กว่าปีก่อนที่พ่อได้มาเจอแม่ที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม แล้วได้สร้างครอบครัวที่อบอุ่นของเราขึ้นมา พ่อคงรับรู้ได้ ตอนที่เราจับมือพ่อ พูดกับพ่อทั้งวันทั้งคืนก่อนพ่อจะจากเราไปอย่างสงบ กวาบอกพ่อว่าให้นึกถึงเรื่อง บุญ คุณความดีที่พ่อได้ท�ำ นึกถึงเรื่องดีๆที่เรามีด้วยกันมากมาย พ่อท�ำให้ลูกมีความสุขมากตั้งแต่เด็กจนโต กวาจ�ำได้ ตั้งแต่ชิงช้าที่พ่อผูกให้ใต้ต้นไม้ใหญ่ ข้างบ้านหลังแรกของเรา เวลาแกว่งไปมันจะสูงขึ้นไปเกือบถึงชั้นสอง รู้สึกเหมือนเราลอยไปบนฟ้าได้ และยังมีอีกมากมายที่พ่อหาให้และท�ำให้ กวาชอบของเล่นที่พ่อประดิษฐ์ให้ที่สุด และลูกของเพื่อนๆ หลายคนที่มาบ้านเราก็สนุกมากเวลามาเล่นกับพ่อ เพื่อนกวาที่เจอที่อเมริกา ซึ่งไม่ได้รู้จักกันแต่เด็ก ยังเคยพูดเมื่อรู้จักกันใหม่ๆ ว่า “เราดูหน้าเธอเนี่ย รู้เลยว่า เป็นคนที่มีวัยเด็กที่มีความสุขมาก” กวาเลยถามว่ารู้ได้ไง เค้าก็บอกว่าดูจากหน้าผาก :) (ซึ่งเป็นสิ่งที่กวาภูมิใจว่า เหมือนพ่อ) ความทรงจ�ำที่กวามีมันเต็มไปด้วยความน่ารัก อารมณ์ดี มีอารมณ์ขันของพ่อ พ่อเป็นนักตั้งชื่อและฉายา ของกวาได้มาตอนมีกระแส Korean Fever ใหม่ๆ พ่อตั้งชื่อให้ว่า “กวา จอมซุก” เพราะชอบซุกข้าวของไว้ตามที่ ต่างๆ ให้พ่อแม่เก็บเป็นประจ�ำ ความที่พ่อชอบจัดบ้าน พ่อจะต้องล�ำบากกับสมบัติของกวาบ่อยๆ ส่วนแม่ มีสโลแกน ว่า “เล็กๆ ยุพินไม่ ใหญ่ๆ ยุพินท�ำ” เลียนแบบโฆษณาสมัยเก่า เนื่องจากแม่ชอบท�ำกับข้าวแบบตู้มๆ เริ่ดๆ แล้วก็มี เหลือเยอะ ไปแจกจ่ายได้ต่อ พ่อมีอารมณ์ขันแม้ตอนที่พ่อป่วย ระหว่างรอให้คีโมพ่อบอกว่า ก่อนท�ำเคมีบ�ำบัด ขอท�ำ “Korean บ�ำบัด” ด้วยการดูซีรีย์เกาหลีแบบมาราธอน ตอนที่หมอต้องใส่สายยางเข้าที่จมูกพ่อเพื่อระบายน�้ำย่อยออกตลอด 2 อาทิตย์ที่ พ่ออยู่โรงพยาบาล พ่อบอกหลานๆที่มาเยี่ยมว่าตอนนี้พ่อมีงวงเหมือนช้าง มีครั้งหนึ่งที่แม่เฝ้าอยู่แล้วมีพยาบาลมา เปลี่ยนถุงน�้ำย่อย เค้าลืมเปิดจุกสายยางให้น�้ำย่อยระบายออก ตอนพ่อตื่นขึ้นมา เพราะรู้สึกอึดอัด พ่อเลยเปิดจุกนั้น เอง แล้วเขียนลงกระดาษ (ตอนนั้นไม่มีแรงพูดแล้ว) ว่าแม่ยุพินใช่ไหมที่แกล้งพ่อแบบนี้ เพราะตอนที่เปลี่ยนถุงน�้ำ ย่อยเองครั้งก่อน ยังลืมยางไว้ในถุงเลย ตอนวันท้ายๆ พ่อยังมีบอกพยาบาลที่พยายามจะใส่สายออกซิเจนว่า “จะใส่ ท�ำไมจะตายอยู่แล้วล่ะ” กวาว่าพยาบาลและหมอที่ ward 4ก คงไม่ลืมพ่อเหมือนกัน กวาได้รับแต่สิ่งดีๆ จากพ่อ ตลอดชีวิต หลายสิ่งที่ พ่อท�ำให้ครอบครัว กวาไม่สามารถบรรยายในเวลาสั้นๆที่มีอยู่ได้ และสิ่งที่พ่อได้ท�ำให้คนอื่น กวารู้สึกได้ชัดเจนมาก เมื่อพ่อป่วย พ่อรู้ไหม มีคนมาเยี่ยมพ่อเยอะมากแม้ตอนที่พ่อแทบไม่รู้สึกตัวแล้ว ทุกคนมาด้วยใจ และก็พูดกับเรา ถึง 28


ความทรงจ�ำที่ดีเกี่ยวกับพ่อ มันช่วยเยียวยาเราได้ดีมากทีเดียว และไหนจะของเยี่ยม ของกินบ�ำรุงเต็มห้องรพ. เต็ม บ้าน จนต้องเอาไปให้หมอและพยาบาลแทบทุกวัน ลูกศิษย์ตั้งแต่รุ่นแรก รุ่นไหนก็มาเยี่ยมไม่ขาดสาย ทุกคนบอกเป็น เสียงเดียวกันว่า อาจารย์ใจดีมาก ดูแลเอาใจใส่ลูกศิษย์เสมอ และใครโดนอ.วรกิตด่าเนี่ย ซวยสุดๆ ตอนงานกษียณ พ่อ มีเสื้อยืดน่ารักๆ สกรีนว่า “เรารัก อ.วรกิต” ด้วย เพื่อนพ่อแม่ เพื่อนกวาและส้มก็มากันทั้งใกล้ ไกล น้าตุ๊และน้า มลมาแตะมือกันอยู่เป็นเพื่อนแม่อาหนก and the gang ช่วยเหลือทุกอย่าง ท�ำให้เราอุ่นใจตลอดเวลา ป้าจิ๋ว ป้านันท์ ป้าเซี้ยม น้าสมพร และอีกหลายท่านต่างมีสูตรการรักษามาแนะน�ำเรา ท�ำให้เราซาบซึ้งมากหมอวิเวียน หมอแมน หมอหนาว หมอกบ เพื่อนส้มที่รพ. ศรีนครินทร์ เป็นธุระให้เราตลอด 3 เดือน หมอมิ่ง and the gang เพื่อนกวาก็ ติดตามสถานการณ์การรักษาใกล้ชิด ขับรถมาเยี่ยมจากอุดรก็หลายรอบ น้องแฟง เหลนของพ่อที่เรียนหมอปีสุดท้าย ก็มาเยี่ยมและคอยส่งข่าวญาติๆ ทางบ้านมิวก็เป็นก�ำลังใจที่ส�ำคัญมาก โดยเฉพาะ อาต่อซึ่งเคยเป็นมะเร็งแล้วหาย มาเยี่ยมพ่อจากโคราช และแนะน�ำเคล็ดลับทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อนบ้านเราที่ขอนแก่นก็เปรียบเสมือนญาติ และเป็นแขกชุดสุดท้ายที่มาเยี่ยมส่งพ่อในวันสุดท้าย กุ๋งกิ๋ง (เพื่อนสาธิตของกวา) และน้องมั่น (ลูกชาย อ.เชษฐา) บวชให้พ่อด้วยนะ พี่หงอก (คนดูแลบ้านและสวนที่สารคาม) นอนเฝ้าพ่อที่วัดทั้งคืนเลยนะ พี่แหวน (แฟนพี่หงอก) ก็ ดูแลบ้านเราอย่างดี ตอนพวกเราไปดูแลพ่อที่โรงพยาบาล และพี่กบ (คนดูแลบ้านที่ขอนแก่น) ก็มาเยี่ยมพ่อบ่อย จนถึงวันที่พ่อไม่รู้สึกตัว ทุกคนรักพ่อมากจริงๆ เราได้จัดงานที่วัดศรีสวัสดิ์แบบเรียบง่าย ตามค�ำขอของพ่อแล้วนะ อา ไมตรี+น้ามล น้าลัดดา+อาองอาจ ช่วยดูแลการจัดงานที่ขอนแก่นเป็นอย่างดี เราดีใจกันมากที่พ่อได้ถวายสังฆทานที่ รพ. กับพระที่คุ้นเคยกัน ตอนนั้นพ่อมีสติทุกอย่าง ได้ว่าตามหลวงพี่แม้จะมีหน้ากากออกซิเจนใส่อยู่ก็ตาม หลังจาก นั้นในวันสุดท้ายที่พ่อบอกว่าเหนื่อย ไม่ไหวแล้ว เราเลยยอมให้พ่อไป ขอบพระคุณนะคะพ่อ ส�ำหรับทุกอย่าง พ่อไม่ ต้องห่วงพวกเรานะ เราจะดูแลกัน เราจะอยู่ได้ด้วยความทรงจ�ำของพ่อจนกว่าเราจะพบกันอีก

รักพ่อ จากลูกสาวใหญ่

29


พ่อคะใครๆที่เห็นส้มมักบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ส้มคือ ส�ำเนาถูกต้องของพ่อ ทั้งรูปร่างหน้าตา ทักษะทางช่างของพ่อ อะไรๆที่มันเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์เทคนิค ที่แม่กับพี่แตงกวาจะไม่ยุ่ง พ่อจะ จัดการโดยมีส้มเป็นลูกมือ แม่ยังเคยแซวพ่อว่า พ่อจบเอกจัดบ้านโทซ่อมเครื่องสูบน�้ำ เวลาอยู่บ้าน พ่อไม่ ชอบอยู่เฉยๆ จัดบ้านย้ายของนู่นนี่จนแม่บ่น แต่พ่อก็ยังสนุกที่จะท�ำ สวนเล็กๆที่บ้าน พ่อก็เฝ้าขุดดินย้าย กระถาง ตัดแต่งต้นไม้ โดยมีแม่คอยควบคุมสั่งการ ภาพคุ้นตาที่ส้มเห็นจึงเป็นภาพพ่อใส่เสื้อขาวห่านคู่ กางเกงขาสั้นเดินท่อมๆ รอบบ้านหาอะไรท�ำไปเรื่อย พอเหนื่อยก็นอนชีวิตพ่อเรียบง่ายอย่างนี้มาเสมอ กระทั่งเมื่อวันที่จากไป พ่อก็ไปอย่างเงียบสงบโดยมีเราแม่ พี่แตงกวา ส้ม คอยจับมืออยู่ใกล้ๆส่งพ่อเดินทาง ไกลไปรอเราที่บ้านใหม่ ส้มคิดถึงพ่อนะคะ และคิดว่าพ่อรู้ดีอยู่แล้วว่า เราแม่ พี่แตงกวา ส้มรักพ่อมากมายแค่ ไหน อยากบอกพ่อว่าส้มภูมิใจที่เกิดมาเป็นลูกพ่อค่ะ รักพ่อเสมอ ลูกสาวเล็กของพ่อ วรสิริ วัดเข้าหลาม (ส้ม) พ่อวรกิตครับ..... พ่อคือแบบอย่างของสามีที่ดี พ่อคือแบบอย่างของพ่อที่ดี พ่อคือแบบอย่างของผู้น�ำครอบครัว พ่อครับ ผมสุขใจและปลาบปลื้มที่พ่อได้ให้โอกาสผมเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวของพ่อครับ กิตติพงษ์ ประพันธ์ อาลัยยิ่ง คุณอาน้อย เปรียบ เหมือนคุณพ่อของปูคุณอาให้ค�ำปรึกษา ที่ดีค�ำแนะน�ำที่ดีดี คุณอาไม่เคยเหนื่อยในการ สั่งสอนให้เราเป็นคนดี ท่านให้ความอบอุ่นแก่ผู้มาพึ่งพิงทุกคนเสมอ ปูภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นหลานท่าน บุญคุณนี้ปูขอ จดจ�ำตลอดไป ขอคุณอานอนหลับพักผ่อนให้สบาย ขอบุญกุศลจงน�ำส่งคุณอาสู่สรวงสวรรค์ชั้นอันประเสริฐ

หลานปูผู้เคยพึ่งพิง อ. เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ลูกคุณพ่อ 30


อาลัยพ่อวรกิต...ปู้กิต... คุณพ่อวรกิต วัดเข้าหลาม เป็นบุคคลที่มีความส�ำคัญและมีความหมายต่อครอบครัวของ ข้าพเจ้ามาก ครอบครัวของเราทั้งสองมีความผูกพันกันมานาน พ่อกิตเป็นพ่อและเป็นปู่ที่ใจดีที่สุด พ่อมีเมตตาและมี น�้ำใจต่อครอบครัวเราและเอ็นดูหลานๆตลอดเวลา ทุกครั้งที่เรามีโอกาสไปเยี่ยมพ่อ เรามีความสุขมาก พ่อจะเล่นกับ หลานๆและท�ำของเล่นให้หลานๆจากวัสดุที่มีอยู่ในบ้าน อย่างง่ายๆโดยไม่ต้องหาซื้อจากที่ใด เป็นไอเดียที่ใครเห็น แล้วต้องชื่นชม ต่อมา เราได้ทราบว่าพ่อป่วยด้วยโรคร้าย เราตกใจมาก ทั้งๆที่พ่อป่วย พ่อก็ยังพยายามเล่นกับหลานๆและท�ำ ของเล่นให้ด้วย เป็นภาพที่ยังติดตา ตรึงใจเรามิลบเลือน และแล้วโรคร้ายก็พรากพ่อกิต ปู่กิตจากเราไปอย่างมิมีวัน กลับ นับจากนี้ไป ไม่มีพ่อกิต ไม่มีปู่กิตแล้ว แต่เรา จะจดจ�ำคุณงามความดีที่พ่อได้ท�ำไว้ จะจดจ�ำความรัก ความ เมตตา ความมีน�้ำใจ ความเป็นห่วงเป็นใยที่พ่อมีให้กับครอบครัวของเราตลอดไป ขอให้พ่อกิต ปู่กิต หลับให้สบาย ขอ ให้ดวงวิญญาณของพ่อ ไปสู่สุขคติด้วยเทอญ ด้วยความเคารพรักและอาลัยอย่างสุดซึ้ง

ซูโตมุ โคบายาชิ, รัชนี โคบายาชิ, วาตารุ โคบายาชิ (วัตตัง), ซาโตรุ โคบายาชิ (ซัตตง) Even this very moment I cannot believe he is gone. It feels like a dream. I met him several times only but for the past 17 years that I have known Tangkwa, he was always there, caring about me. He was like another dad for me. To me he was the gentlest man and dad I have ever seen. I have never seen him angry, raise his voice or get noijai about anything. Whenever I talked to him, I knew that he had the warmest heart and genuinely cared for people around him. He was a dad who knew the true meaning of love for his family and also knew that we should express it everyday before it is too late. His sweet birthday cards that he sent to his loving daughter, kwa, when she was in the US, I always used to envy her for it. I will always miss him like I am one of his daughters. May he rest in peace now without all the pain he had to go through. We will always talk about his virtues and he will be missed forever.

Guiboke Seong. 31


คุณพ่อวรกิต วัดเข้าหลาม ชื่อของคุณพ่อที่น่ารักท่านนี้ได้เข้ามาเป็นมิ่งขวัญ และก�ำลังใจที่ส�ำคัญมากในชีวิต ของกระผมและครอบครัว ผู้ชายที่ยิ่งใหญ่ที่มีแต่ให้สิ่งดีๆ ด้วยความรัก ความจริงใจมากที่สุดเท่าที่ชีวิต ลูกชายของคุณพ่อคนนี้และครอบครัวได้รับตลอดเวลาที่ได้รู้จักพ่อ ต่อแต่นี้ไปลูกจะไม่มีวันลืมค�ำสั่งสอนของ พ่อ ขอให้พ่อไปอย่างมีความสุข ไม่ต้องห่วงคนข้างหลังอีกต่อไป คุณพ่อวรกิต วัดเข้าหลาม จะอยู่ในใจลูกชาย คนนี้และครอบครัวตลอดไป ด้วยรักและสุดอาลัย สิบเอก ชัชวาล ศรีหาบัติ นิดหน่อยกับคุณวรกิต...รุ่นพี่และเพื่อนเขย คุณวรกิตเป็นเพื่อนเขยตั้งแต่ปี 2517 แต่ได้รู้จักและพูด คุยกันครั้งแรกในปี 2521 ในฐานะที่คุณวรกิตเป็นรุ่นพี่ที่ภาควิชาโสตทัศนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณวรกิตเป็นรุ่นพี่ที่จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้รุ่นของตัวเอง ในฐานะรุ่นน้องที่มีเวลาเหลือเฟือก็จะขอ ติดตามไปร่วมกิจกรรมหลายครั้ง อาทิ การจัดอบรมปฏิบัติการสื่อการสอนให้กับคณะครูโรงเรียนต�ำรวจ ตระเวนชายแดน ที่จังหวัดอุดรธานี การศึกษาดูงานด้านการถ่ายภาพตามบริษัทต่างๆ ในกรุงเทพ จึงท�ำให้ พอรู้ว่าคุณวรกิตเป็นคนอารมณ์ดี มีอัธยาศัย คุยสนุก ท�ำกิจกรรม เป็นที่รักของเพื่อนฝูงและคณาจารย์ มารู้จักคุณวรกิต มากขึ้น เมื่อมีเวลาเยี่ยมเยียนกันบ่อยครั้งหลังเกษียณฯ ได้เห็นการปฏิบัติตัวในชีวิต ประจ�ำวันต่อคนใกล้ตัวและคบรอบข้างในแง่มุมต่าง พอสรุปได้ว่าคุณวรกิตเป็นคนมีศิลปะและใช้ศิลปะใน การสร้างสุขให้กับชีวิต เป็นชีวิตที่มีความสุขตลอดเวลา สามารถสร้างสุขให้คนรอบตัวด้วยการมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น และเต็มที่กับงาน สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมให้สวยงาม น่ามองอย่างมีศิลปะเป็นการเพิ่ม สุขให้กับผู้พบเห็น และผู้ที่อยู่ใกล้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลในครอบครัว หลักฐานในข้อนี้มีให้เห็นเด่นชัดที่ บ้าน 3 หลัง ในมหาสารคาม ขอนแก่น และกรุงเทพฯ ทุกหลังร่มรื่น เรียบร้อย ชวนมอง และน่าอยู่ ศิลปะ เหล่านี้ท�ำให้คุณวรกิตมีครอบครัวที่อบอุ่น มีชีวิตการท�ำงานที่มีความสุขตลอดมา และจากไปอย่างมีความสุข นฤมล บุญ 32


ได้ข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ ผศ.วรกิต วัดเข้าหลาม เมื่อเช้าวันที่ 25 มิถุนายน 2557 รู้สึกหดหู่เป็น อย่างยิ่ง เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมและเพื่อนๆ จากมหาสารคามไปเยี่ยมที่ รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยความ เป็นห่วง เพื่อนก็ยังพูดคุยได้ตามปกติแม้จะพูดน้อยแต่ก็สื่อสารกันรู้เรื่อง ไม่คิดว่าเพื่อนจะจากไปเร็วขนาดนี้ แม้จะเข้าใจ สัจธรรมว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาที่สัตว์โลกจะหลีกไม่พ้น แต่ก็ยังท�ำใจล�ำบากที่ต้องสูญเสียเพื่อนที่ดีที่สุด คนหนึ่งไป ผมกับ ผศ.วรกิต วัดเข้าหลาม เป็นนักศึกษา ป.กศ. รุ่น 11 วิทยาลัยครูมหาสารคามด้วยกัน เรียนห้องเดียวกัน เล่น เรียน เที่ยว ใช้ชีวิตนักศึกษาท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เป็นเวลา 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2508-2509 หลังจากนั้น ผศ.วรกิต ได้ ไปเรียนต่อ ป.กศ.ชั้นสูง(อุตสาหกรรมศิลป์) ที่วิทยาลัยครูพระนคร กทม.ผมเรียนต่อที่วิทยาลัยครูมหาสารคามตามเดิม แต่ เราก็ยังได้ติดต่อสื่อสารถึงกันตลอดเวลา ผมเคยน�ำคณะชมรมจักรยานสมัครเล่นของวิทยาลัยครูมหาสารคามไปเยี่ยมท่าน ที่วิทยาลัยครูพระนครครั้งหนึ่ง ได้รับการต้อนรับด้วยดีฉันเพื่อนสนิท หลังเรียนจบต่างคนต่างแยกย้ายกันไปท�ำงาน ผศ.ว รกิต ท�ำงานที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม ก่อนจะย้ายไปที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นจนเกษียณอายุราชการ ผศ.วรกิต เป็นเพื่อนที่ประเสริฐ มีน�้ำใจและเอื้อเฟื้อกับเพื่อนๆ ทุกคนเป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย เข้าร่วมกิจกรรม ต่าง ๆ กับเพื่อนๆตลอดมา แม้จะเป็นคนพูดน้อยแต่ไม่เคยแล้งน�้ำใจ ดังนั้นเพื่อนๆ จึงให้ความรักเสมอมา การจากไปของ ผศ.วรกิต ในครั้งนี้เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ กล่าวคือสูญเสี่ยเพื่อนที่ดี สูญเสียสามีและพ่อที่ประเสริฐ สูญเสียทรัพยากร บุคคลที่มีคุณค่าของชาติ ขอให้คุณงามความดีที่เพื่อนได้ท�ำมาตลอดชีวิต จงเป็นพลวัตรปัจจัยส่งให้ดวงวิญญานของเพื่อน จงไปสู่สุคติในสัมปรายภพเทอญ

สุนทร กองศรี เพื่อน ป.กศ.รุ่น 11 วิทยาลัยครูมหาสารคาม สายฝนรินหยาดหยดรดโลมหล้า เมื่ออาจารย์วรกิตมาจากไกล สอนเทคโนโลยีที่ล�้ำยุค อุ่นไอรักล้นปรี่มีเมตตา ขอวิญญาณอาจารย์สู่สัมปรายภพ อิ่มรสทิพย์ธรรมเลิศเทิดทั้งปวง

ศิษย์เก่า วคม.4 ปี รุ่น 1 33

อาลัยรัก

ดั่งน�้ำตารินรดหยดหยาดใส หวนอาลัยไห้สะอื้นฝืนกายา เคยปลอบปลุกยามท้อก่อหรรษา จึงศรัทธาก้มกราบซาบซึ้งทรวง สุขสงบยังเมืองแมน ณ แดนสรวง ใจทุกด้วงคิดถึงท่านนิรันดร


“...And Miles to Go before I Sleep “

ดร.นิตยากลางชนีย์ ............ The woods are lovely, dark and deep, But I have promises to keep, And miles to go before I sleep, And miles to go before I sleep. หลายท่านคงเคยอ่านโคลงStopping by Woods on a Snowy EveningของRobert Frost กวีชาวอเมริกัน ที่ประพันธ์โดยใช้ภาษาง่ายๆแต่ฝากความหมายที่ลึกซึ้งในท่อนสุดท้ายที่ท่านบรรยายว่าป่าที่ปกคลุมด้วยหิมะช่าง สวยงามล�้ำลึกแต่ท่านมีพันธสัญญามากมายที่ต้องรักษาและอีกหลายหมื่นไมล์ที่ต้องเดินทางกว่าจะได้หลับชั่วนิรันดร์ ท่านวรกิตเพื่อนที่รักยิ่งของดิฉันตั้งแต่เรียนปก.ศ.ต้นห้อง 1/1 มาด้วยกันและยังเป็นเพื่อนร่วมงานระยะหนึ่ง ท่านได้ผ่านชีวิตหลายหมื่นไมล์และทุกช่วงเป็นระยะไมล์ชีวิตที่มีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนการท�ำงานการ สร้างและครองชีวิตครอบครัวการครองใจญาติมิตรเพื่อนฝูงและครูอาจารย์เพื่อนของดิฉันท่านนี้ได้ปฏิบัติพันธกิจได้ อย่างดีเลิศและประเสริฐตามสัญญาชีวิตในทุกด้านของคนชื่อ”วรกิต(วรกิจ)” โดยท�ำได้อย่างเรียบง่ายแต่ใจเย็นสุขุม และลุ่มลึกโดยเฉพาะอย่างยิ่งความส�ำเร็จที่ได้ร่วมกับ”ป้าต้อย”ฟูมฟักลูกสาวทั้งสองคน”แตงกวาและส้ม”จนประสบ ความส�ำเร็จในการเรียนและหน้าที่การงานอย่างดียิ่งจนคุณพ่อหมดห่วงและสามารถปลดเปลื้องจากพันธสัญญาของ ชีวิตตลอดระยะเวลาหลายหมื่นไมล์ข้อส�ำคัญคือตลอดเส้นทางของการเดินทางท่านได้หยิบยื่นน�ำ้ใจความรักและ ความเอื้ออาทรต่อทุกชีวิตที่ได้สัมผัสดิฉันและสมาชิกในครอบครัวทุกคนรู้สึกซาบซึ้งในความเป็นมิตรและน�ำ้ใจที่คุณ ลุงวรกิตและครอบครัวมีให้เสมอมา ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกและคุณงามความดีของ”คุณลุงวรกิต”ได้โปรด ประทานพรแด่ดวงวิญญาณที่ประเสริฐของท่านให้ได้หลับอย่างเป็นสุขจนสู่สัมปรายภพเทอญๆ

ดร.นิตยากลางชนีย์ และครอบครัว 34


วันอังคารที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้ไปเยี่ยมอาที่โรงพยาบาล บ่ายๆ พี่ต้อยก็ขอติดรถกลับบ้านเพื่อ มาอาบน�้ำ เดินมาด้วยกันพี่ต้อยก็พูดว่าเขียนอะไรให้อาหน่อยนะ เราก็อึ้งไปช่วงหนึ่งขณะที่เดินมาขึ้นรถ ความคิดต่างๆเกี่ยวกับอาก็เริ่มปรากฏในสมอง และก็ได้ข้อสรุปว่าเขียนยากกว่าระลึกถึงอีกนะ การระลึกถึงนี่ ออกมาเป็นฉากๆเลยแค่เราล�ำดับญาติกับครอบครัวนี้ก็สับสนพอแรง เราเรียกอาจารย์ยุพินว่าพี่ต้อยบ้าง เจ๊ บ้างแล้วแต่อารมณ์น�ำพา เรียกอาจารย์วรกิตว่าอา มาโดยตลอดลูกๆของอาจารย์ทั้งสองเรียกเราว่าอาหนก เริ่มงงไหมเนี่ย ถ้าเขียนเป็นแผนผังเครือญาติก็จะล�ำบากเป็นอย่างยิ่ง (ไม่ใช่ยิ่งธรรมดาน่ะ ต้องยิ่งยวดเชียว) มาท�ำงานอยู่ที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม อาอยู่ที่ภาคเทคโนฯ แล้วย้ายไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นช่วงนั้นก็ จะเห็นอาเดินผ่านไปท�ำงาน และกลับบ้านโดยการขึ้นรถเมล์สายขอนแก่น มหาสารคาม อาจะหนีบกระเป๋า ถือที่รักแร้เป็นภาพที่พบเห็นได้บ่อยมาก ช่วงอาเกษียณแล้ว เวลามีมากขึ้น พวกเราก็จะรวมตัวไปเที่ยวทั้งใน ประเทศและต่างประเทศบ่อยมาก โดยมีทีมต่างวัยกับอาร่วมเฮฮาโดยไม่มีขอบเขตอายุขวางกั้น น้องๆก็จะ เรียกอาว่าคุณลุง จ�ำได้ว่าไปอ่างทองต้องซื้อขนมปังสังขยาของขึ้นชื่อจังหวัด อาชอบมากๆพวกเราเดินๆกัน ถามหาอาไปไหน ลุงไปไหน หากันใหญ่ที่แท้นั่งรอบนรถโซ้ยขนมปังสังขยาอย่างอร่อยเลยนะคุณอา อามาหา ลูกสาวมี่สารคามทีไร พี่ต้อยก็โทรศัพท์มาบอกกินข้าวเย็นด้วยน่ะ สองคนก็จะหิ้วตะกร้าใส่กับข้าวมา นั่งกิน ไปก็คุยกันไปบอกข้าวที่บ้านไม่อร่อย ข้าวบ้านนี้อร่อยหัวเราะกันร่วน ที่แท้มันอร่อยตรงมีเพื่อนเม้าท์ถูกคอ อาก็เล่าประวัติตัวเองว่าเด็กๆอยากเรียนหนังสือก็ต้องไปอยู่กับคนอื่น ขัดรองเท้าให้เขา ช่วยเขาท�ำงานเพราะ อยากเรียนหนังสือยอมล�ำบาก เรามาคิดว่าอาโชคดีที่ในชีวิตของอามีดีหลายๆอย่างเรียนหนังสือดี มีงานดี มี ภรรยาดี มีลูกดี มีคนรอบข้างดี เราเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตอามีแต่สิ่งดีๆแน่นอนสัมปรายภพของอาก็จะ พบสิ่งดีๆเช่นกัน ณ จุดจุดนี้ พวกเราทุกๆคน อ.หน่อง อ.ต้อย อ.นุช และหนูอยากบอกอาว่า รักและเคารพอาค่ะ ผศ.ดร.กนกพร ทองสอดแสง

35


ผมรู้จักกับผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม เมื่อปี พ.ศ. 2508 เนื่องจากเราเข้ามาเรียน ป.กศ. ชั้นต้นที่วิทยาลัยครูมหาสารคามด้วยกันและยังได้อยู่ร่วมกัน หมู่เรียนเดียวกันด้วย จ�ำได้ว่าวรกิตเป็นเด็ก หนุ่มที่มีผิวพรรณขาว รูปร่างท้วมเล็กน้อย เป็นคนพูดน้อยมีน�้ำเสียงแหบ แต่เรียนหนังสือเก่ง นิสัยดีใจเย็น ไม่เคยท�ำให้ใครโกรธหรือเสียใจเลย ต่อมาเมื่อขึ้นปีที่ 2 มีการสอบคัดเลือกนักศึกษาไปเรียนต่อ ป.กศ. ชั้นสูงที่วิทยาลัยครูพระนครเพื่อ เป็นครูช่าง พวกเราจ�ำนวนมากได้สมัครสอบกัน ผลปรากฏว่า วรกิตได้รับการคัดเลือกให้ไปเรียนต่อที่นั่นและ ได้ศึกษาต่อจนจบปริญญาตรี ด้านอุตสาหกรรมศิลป์ เมื่อเรียนจบปริญญาตรีแล้ว วรกิตก็สอบบรรจุรับราชการที่กรมการฝึกหัดครูโดยมาอยู่ที่วิทยาลัยครู มหาสารคาม และผมได้ร่วมงานกับวรกิตที่นี่อีก โดยวรกิตได้ช่วยงานต่าง ๆ ในวิทยาลัยครูมหาสารคามหลาย ด้าน เช่น ช่วยงานคุมร้านแคนทีนร่วมกับอาจารย์อื่น ๆ อีกหลายคน และที่นี่ที่ท�ำให้วรกิตได้รู้จักคบหากับ อาจารย์สาวสวยท่านหนึ่งจนในที่สุดได้แต่งงานกันจนมีธิดาด้วยกัน 2 คน คือ แตงกวา กับส้ม และหลานทั้ง สองก็ได้รับการบ่มเพาะจนมีความก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองในอาชีพการงานยิ่ง ครอบครัวของวรกิตเท่าที่ผมสังเกตเห็นนั้น เป็นครอบครัวที่อบอุ่นและเป็นที่พึ่งพิงของญาติตลอดไม่ ขาด เพราะมีเด็กนักศึกษามาพักอาศัยอยู่ด้วย เมื่อวรกิตไปรับราชการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผมก็ยังได้ติดต่อกันอยู่เสมอ ด้านสุขภาพร่างกายของ วรกิตนั้นโดยทั่วไปจะแข็งแรงไม่ค่อยเจ็บไข้บ่อยนัก ที่เป็นหนักคือเป็นโรคหัวใจจนได้รับการรักษาให้กลับมา เป็นปกติแล้ว แต่ก็ไม่คาดคิดว่าการเจ็บป่วยครั้งหลังสุดนี้จะหนักหนาจนท�ำให้วรกิตต้องเสียชีวิตลงได้ วรกิตได้ท�ำงานอย่างมุ่งมั่น พากเพียร จริงจัง จนกล่าวได้ว่าเป็นข้าราชการที่ดีคนหนึ่งของประเทศเลย ก็ว่าได้ ด้วยคุณงามความดีที่ ผศ.วรกิต วัดเข้าหลาม สร้างสมไว้ จงเป็นพลวัตรปัจจัยหนุนน�ำดวงวิญญาณให้ ไปสู่สรวงสวรรค์เสวยสุขตลอดไปเทอญ รัก-อาลัยยิ่ง รณสิทธิ์ แสงสุวอ เพื่อน ป.กศ. รุ่นที่ 11 วิทยาลัยครูมหาสารคาม 36


การจากไปของอาจารย์วรกิต เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557 นำ�ความทุกข์โศกเศร้าใจให้กับครอบครัวและญาติมิตร เป็นอย่างยิ่ง เมื่อเร็วๆนี้ยังได้พบปะพูดคุยกัน อาจารย์มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์ดีเป็นปกตินิสัย แม้ต้องเข้าโรง พยาบาลก็ยังมีสีหน้าแววตาสดชื่น พูดคุยถามไถ่กันอย่างปกติโดยเฉพาะเวลาที่มีลูกส้ม (วรสิริ วัดเข้าหลาม) ยืนอยู่ข้าง เตียงก็อดที่จะบอกให้ส้มเอียงหน้าไปหาพ่อหน่อย ดูซิไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นลูกพ่อ ถอดแบบเหมือนกัน เป๊ะเลย ส่วน แตงกวา (ดร.พิมพ์ยุพา ประพันธ์) จัดให้ไปยืนอีกฝั่งข้างแม่ สมดุลพอดี นับเป็นครอบครัวที่อบอุ่นด้วยความรักความ เข้าใจและความเอื้ออาทรต่อกัน ในส่วนตัวรู้จักกับอาจารย์วรกิต ตั้งแต่อาจารย์เป็นนักศึกษา จวบจนมาเป็นอาจารย์เพื่อนร่วมงาน และมา ผูกพันสนิทกันยิ่งขึ้นเมื่ออาจารย์แต่งงานกับอาจารย์ยุพิน ซึ่งเป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรีจริงใจเสมอต้นเสมอปลาย ครอบครัว นี้จึงเป็นที่รักของผู้คบหาสมาคมด้วยมาโดยตลอด อาจารย์ยุพินมีความสามารถพิเศษในด้านการทำ�อาหารอร่อยจึงมีการ สังสรรค์กลุ่มย่อยเป็นพิเศษอยู่บ่อยๆ รู้สึกเห็นใจอาจารย์ยุพินที่ต้องสูญเสีย ผู้เป็นที่รัก (ที่สุด)ในชีวิต แต่อย่างไรก็ดีพวก เราเพื่อนพ้องน้องพี่ยังคงอยู่เคียงข้างและเป็นกำ�ลังใจให้อาจารย์ยุพินที่รักของเราตลอดไป อาจารย์วรกิตเป็นผู้โชคดีมีภริยาดี มีลูกสาว(และลูกเขย) ดีสมใจทั้งในด้านความกตัญญู การศึกษาและมีอาชีพที่ มั่นคง (ลูกทั้งสองได้เกียรตินิยมจากจุฬาฯ) วันหนึ่งนานมาแล้วได้ไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านอาจารย์วรกิต เกิดความอย่างรู้ความเป็นมาของ เด็กชายวรกิต บ้านเกิดอยู่เขาวง เขาวงสมัยนั้น ถ้าพูดเป็นภาษาอีสานคือ “ผีบ่ท่องคนบ่เทียว” หมายความว่าเป็น สถานที่ที่ไม่มีความสะดวกแก่การสัญจร โรงเรียนก็มีแต่ระดับประถมศึกษา แล้วเด็กในหมู่บ้านมีโอกาสได้เล่าเรียนถึง ระดับปริญญาได้อย่างไร จึงทราบว่าเด็กชายวรกิตเป็นผู้ขยันขันแข็งมาตั้งแต่เด็ก มีความอดทนหนักเอาเบาสู้ เชื่อฟังคำ� สั่งสอนของพ่อแม่และครูอย่างเคร่งครัด เล่าว่าถ้าถูกครูตีกลับถึงบ้านถ้าพ่อแม่รู้เข้าก็จะถูกตีซ้ำ�อีก ดังนั้น เรื่องการเรียน จึงเอาใจใส่เป็นพิเศษ และเป็นเด็กเรียนดีเรียนเก่งมาโดยตลอด เมือจบชั้นประถมศึกษาแล้วพร้อมกับเพื่อนรัก (ผศ.ดร. พชรนนท์ สายัณห์เกณะ ) จึงพากันเดินทางไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเช่าห้องพักอยู่ด้วยกัน อาจารย์วรกิตเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนขยันอดทน ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต เป็นผู้มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ เสมอ จริงใจต่อผู้คบหา จึงเป็นที่รักนับถือของผู้ได้ใกล้ชิดมาโดยตลอด ขออำ�นาจบุญกุศล และความดีงามของ ผศ. วรกิต วัดเข้าหลามพร้อมด้วยอานิสงส์ที่ภรรยา ลูกๆ และญาติมิตร ทั้งหลายที่ได้บำ�เพ็ญกุศลอุทิศให้ ขอจงเป็นปัจจัยหนุนนำ�ให้วิญาณของอาจารย์ วรกิต จงสู่สุคติในสัมปรายภพด้วยเทอญ

รศ. สถาพร พันธุ์มณี 37


คุณวรกิต วัดเข้าหลาม กับผมได้รู้จักคุ้นเคยกันตั้งแต่สมัยเรียน ป.กศ. ปีที่ 1 ที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม ตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ด้วยกันภาพของคุณวรกิตได้ประทับอยู่ในความทรงจ�ำของผมอย่างลึกซึ้ง คือภาพ ของเด็กดี เรียบร้อย สะอาดหมดจด ขยันและเรียนเก่งในระดับดีเด่นของมหาวิทยาลัย หลังจากเรียนจบแล้วก็แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพ เราพบกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มาก แล้ว คุณวรกิต เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยความสามารถและความมุ่งมั่นในการท�ำงาน ท�ำให้ อาจารย์ในคณะให้ความเชื่อถือ และไว้วางใจในผลงานที่ปรากฏออกมาสู่แวดวงทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย ถึงแม้เรามาพบกันในรอบที่เป็นผู้ใหญ่มากแล้ว แต่ภาพในอดีตที่เป็นเด็กดี เรียบร้อย สะอาดหมดจดก็ยังคง คุณค่าอยู่เหมือนเดิม แม้คุณวรกิต จะมีภาระหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ แทบจะไม่มีเวลาว่างเป็นของตนเอง แต่ไม่ เคยเลยที่จะห่างเหินจากเพื่อนพ้อง เรามีการเลี้ยงรุ่น ป.กศ. รุ่น 11 วิทยาลัยครูมหาสารคาม ปีละ 1 ครั้ง คุณ วรกิตจะไปร่วมทุกครั้งมิได้ขาด วันนี้ เพื่อนชาว ป.กศ. รุ่น 11 วิทยาลัยครูมหาสารคาม จะไม่มีโอกาสได้พบปะสังสรรค์กับคุณ วรกิตอีกแล้ว แต่ความรักและความผูกพันระหว่างพวกเราจะไม่มีวันเสื่อมคลาย คุณวรกิตจะอยู่ในความทรง จ�ำของพวกเราเสมอ และด้วยคุณงามความดีของคุณวรกิต รวมทั้งแรงใจอันเกิดจาก ความปรารถนาดีของ เพื่อนฝูง ผมเชื่อว่าคุณวรกิต จะได้ประสบแต่สันติสุขในสัมปรายภพสืบไป นายทวี อันปัญญา อดีตผู้อ�ำนวยการส�ำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น แด่ ผศ. วรกิต ปิยมิตรผู้จากไป ได้ทราบข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม ด้วยความอาลัย อย่างยิ่งที่ต้องสิ้นคนผู้มีอัธยาศัยไมตรี มีความจริงใจที่ได้รู้จักกันมานาน เป็นทั้งเพื่อนร่วมงานและปิยมิตรที่ ประทับใจ ถึงแม้ว่าการเกิดขึ้น คงอยู่ และดับไปของสรรพชีวิตทั้งหลายเป็นสัจธรรมที่จะต้องเกิดขึ้นกับ ทุกคนในโลกนี้ จะช้าหรือเร็วก็แล้วแต่กรรมของแต่ละคน แต่ด้วยเหตุที่ได้สนิทสนมคบหาคุ้นเคยกับ 38


ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต และครอบครัวมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ตั้งแต่ปี 2513 ก่อนที่ท่านจะจากไป ไม่กี่เดือนก็ยังมีการพบปะสังสรรค์ร่วมรับประทานอาหารกันกับชมรมบานไม่รู้โรย ไม่คาดคิดว่าท่านจะจาก ไปเร็วขนาดนี้ ตลอดเวลาอันยาวนานช่วงที่ท่านท�ำงานเป็นอาจารย์ประจ�ำที่ภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์และ ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา วิทยาลัยครูมหาสารคาม ท่านเป็นเพื่อนร่วมงานที่มีจิตอาสาบริการด้าน โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอนสมัยนั้นอย่างดีเยี่ยม ที่ประทับใจมากคือโทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้ ในการเรียนการสอน โดยท่านท�ำหน้าที่เป็นนายสถานีท�ำให้อาจารย์ผู้สอนสามารถสอนได้หลายห้องเรียนใน เวลาเดียวกัน ต่อมาแม้ว่าท่านจะโอนย้ายไปประจ�ำที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ยังมีการพบปะสังสรรค์กันเป็น ประจ�ำ เพราะท่านและอาจารย์ยุพิน (ภรรยา) เป็นสมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยที่เหนียวแน่นตลอดมา แม้ว่า ท่านจะท�ำงานประจ�ำที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมีบ้านพักอยู่ที่ขอนแก่นด้วย แต่ท่านและอาจารย์ยุพินก็มา ร่วมกิจกรรมกับชมรมอย่างสม�่ำเสมอ โดยมาพักที่บ้านของลูกสาวที่สอนอยู่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีช่วง หลังไม่กี่เดือนเพราะป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลขอนแก่น ขอให้ดวงวิญญาณของผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรกิต วัดเข้าหลาม ไปสู่สุคติในสัมปรายภพเทอญ ด้วยความอาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิทย์ โมนะตระกูล และครอบครัว ข้าราชการบ�ำนาญมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คิดถึง ผศ. วรกิต ผศ. วรกิต วัดเข้าหลาม พร้อมครอบครัว รู้จักคุ้นเคยกับครอบครัวของดิฉันมานานมาก ตั้งแต่ท่านเป็น นักศึกษา เมื่อท่านเรียนจบ ป.กศ. ชั้นสูง ได้รับคัดเลือกให้ไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี เมื่อท่านเรียนจบกลับ มาบรรจุเป็นอาจารย์ในวิทยาลัยครูมหาสารคามมาเป็นเพื่อนร่วมงาน ท่าน ผศ. วรกิต เป็นคนขยัน แสวงหา ความรู้มาสอนลูกศิษย์ตลอดเวลา ช่วยท�ำงานอื่น ๆ ในวิทยาลัยและชุมชน เมื่อท่านเกษียณอายุราชการยังมา 39


ร่วมเป็นสมาชิกในชมรมบานไม่รู้โรยอีก ดิฉันบอกได้ว่ารู้จักท่านและครอบครัวของท่านเป็นอย่างดี นอก เหนือจากที่พบกันในชมรมแล้ว ยังมีการพบปะพุดคุยกันในฐานะสมาชิกขนมจีนซาวน�้ำ ฝีมือท่านอาจารย์ยุพิ นเป็นประจ�ำอีกด้วย โดยหมุนเวียนพบกันทั้งที่บ้านของท่านและบ้านของดิฉัน แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งดิฉันสงสัย เพราะดิฉันทราบว่าในอดีตไม่มีถนนจากเขาวงมาอย่างสะดวกเหมือนใน ปัจจุบัน ดิฉันไปนิเทศนักศึกษาที่อ�ำเภอเขาวง เจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังว่าถนนเพิ่งสร้างเสร็จไม่นานมานี้เอง จึงอด ถามไม่ได้ในวันหนึ่งก�ำลังรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันว่า “วรกิตให้ถามจริง ๆ เถอะว่าตอนเป็น นักศึกษามาจากอ�ำเภอเขาวงได้อย่างไร” ผศ.วรกิต ตอบว่า “ผมก็ข้ามเขาวงมาทางสกลนคร แล้วจึงย้อนลง มายังจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงโดยสารรถยนต์มายังมหาสารคาม ก่อนจะถึงสกลนครโดยการเดินบ้าง ขึ้นรถบ้าง ตามแต่โอกาส” จากค�ำตอบของท่านท�ำให้ดิฉันรู้สึกว่า ท่านเป็นนักสู้ที่ทรหดจริง ๆ ฝ่าฟันความล�ำบากมา เรียน จากเด็กนักเรียนบ้านนอกมาสอบเรียนต่อระดับมัธยมในเมืองกาฬสินธุ์ ท่าน ผศ. วรกิต สอบเข้าเรียน ได้ที่ 1 นับว่าเก่งมากจริง ๆ ดิฉันรู้สึกชื่นชมท่านมาก เมื่อท่านเจ็บป่วย ท่านต้องต่อสู้กับโรคร้ายด้วยความอดทนและทรมาน เมื่อท่านจากไปดิฉันรักและ อาลัย และอยากเรียกท่านว่า “วรกิตนักสู้ผู้ทรหด” ขอให้ท่านมีความสุขอยู่ในสรวงสวรรค์ด้วยเถิด เพลินพิศ สอนสุภาพ

28 มิถุนายน 2557 คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่คนที่ไม่ได้มีสายเลือดเดียวกัน แต่มีโอกาสได้มาสัมพันธ์เกื้อกูลต่อกัน รักเคารพกัน เหมือนเป็นญาติสนิท ... ครอบครัวพ่อใหญ่มาก คนรักพ่อเยอะมากจริงๆ ถ้าพ่ออยู่ตรงนี้ก็คงจะเห็นพ่อยิ้ม ตาหยีให้ทุกคนอย่างมีความสุข เหมือนอย่างที่พ่อได้เป็นมาเสมอ ... คิดถึงพ่อ และจะจ�ำภาพรอยยิ้มที่สดใส ของพ่อไว้ในหัวใจตลอดไป มน (เพื่อนแตงกวา) 40


ด้วยความเคารพ และอาลัยยิ่ง ท่านอาจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม เป็นผู้ใหญ่ใจดี เป็นมิตรกับทุกคน สนับสนุน ส่งเสริมเกื้อกูล เอื้ออารีกับลูก ศิษย์และเพื่อนร่วมงานทุกคน และเป็นคนดี เป็นแบบอย่างที่ดีในการด�ำเนินชีวิต ด้านครอบครัวและการท�ำงาน ด้วย ความดีงามที่เราไม่สามารถเขียนพรรณนาได้หมด ท�ำให้ผู้ที่ได้รู้จักและร่วมงานทุกคน รักและเคารพท่าน ข้าพเจ้าซึ่งได้ รู้จักและท�ำงานร่วมกันมาสามสิบกว่าปี ผูกพันกับท่านและครอบครัวของท่าน เหมือนเป็นญาติ ได้รับการช่วยเหลือ ความรัก ความเมตตาจากท่านมาโดยตลอด และเมื่อทราบข่าวการจากไปของท่านอย่างกะทันหัน ท�ำให้ทุกคนอาลัยถึง ด้วยคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างสมมา ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของ ท่านไปสู่สัมปรายภพ

รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ ประธานสาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เราทั้งสองได้เป็นเพื่อนร่วมเรียนราวปี 2511 เข้าเรียนระดับ ป.กศ. สูง วิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ ซึ่ง เป็นโครงการของกรมฝึกหัดครูผลิตครูช่างเพื่อจะแก้ปัญหาการขาดก�ำลังคนระดับกลางช่างกึ่งฝีมือ โดยคัด เลือกจากนักเรียนจากโรงเรียนฝึกหัดครูและวิทยาลัยครูทั่วประเทศแห่งละ 2 คน และวรกิตก็ได้รับคัดเลือกได้ ทุน ตัวแทนวิทยาลัยครูมหาสารคาม เพื่อนร่วมรุ่นประมาณ 60 คน เมื่อจบ ป.กศ. สูง แล้ววรกิตก็ได้รับคัด เลือกต่อปริญญาตรี หนึ่งใน 30 คน ที่เหลือเข้าเป็นครู โรงเรียนมัธยมประจ�ำจังหวัดต่าง ๆ หลังจบปริญญาตรี แล้ววรกิตได้เข้ารับราชการที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม ในระหว่างที่เรียนก็เพื่อนเรียนวิชาเอกไฟฟ้าวิทยุ เอก เดียวกันเท่านั้น เวลาส่วนตัวและงานอดิเรกไม่เหมือนกัน จึงไม่ได้สนิทกันมากนัก ต่อมาเราทั้งสองได้มาอยู่ที่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงนี้ที่มีอะไรหลายอย่างท�ำให้ครอบครัวเราทั้งสองสนิทกันเหมือน 41


ญาติ ทั้งพ่อแม่และลูก ๆ ก็สนิทกันมากด้วย ด้วยมีหลักปฏิบัติเหมือนกัน เช่น มุ่งมั่นในการสอนนักศึกษา โดยเสมอหน้ากันและทุ่มเทให้ผู้เรียนได้รับความรู้ประสบการณ์โดยเต็มที่ ทุก ๆ ด้านทั้งด้านความรู้และการ ปฏิบัติตน ทั้ง รศ. ลัดดา ศิลาน้อย อาจารย์ยุพิน วัดเข้าหลาม ก็มีหลักการท�ำงานทุ่มเทเพื่อลูกศิษย์เช่น เดียวกัน และช่วยเหลือผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเต็มใจ มีความสุขที่เห็นคนรอบข้างมีความสุข ด้วยคุณความดีที่ได้ปฏิบัติมา แม้ในวาระสุดท้ายหน้าตาผิวพรรณยังงดงามและได้จากไปอย่างสงบ ท้ายนี้ขอคุณความดี และบุญกุศลที่ปฏิบัติมาตลอดชีพ จงบันดาลให้เพื่อนวรกิตจงไปสู่สุคติ และแรง บุญและทานที่ญาติพี่น้อง เพื่อน ๆ น้อง ๆ และท่านผู้มีเกียรติที่ได้ร่วมท�ำบุญอุทิศส่วนกุศล จงน�ำดวงวิญญาณ ของวรกิตไปสู่ที่มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปชั่วกาลนาน รศ. องอาจ ศิลาน้อย การพลัดพรากเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธ แต่เมื่อประสบพบเข้ากับใครก็ต้องเศร้าสลดอาลัยอาวรณ์ เป็นธรรมดา ท่าน ผศ.วรกิต วัดเข้าหลาม ในอดีตที่เคยร่วมศึกษาเล่าเรียน ป.กศ. รุ่น 11 วิทยาลัยครู มหาสารคามมาด้วยกัน ท่านเป็นคนสุภาพเรียบร้อย สุขุม เป็นสุภาพบุรุษเต็มร้อย มีน�้ำจิตน�้ำใจกับเพื่อนฝูง ส�ำคัญคือเป็นคนเรียนเก่ง จนสอบคัดเลือกเป็นหนึ่งเดียวของรุ่นไปเรียนหลักสูตร ปม.อ และท่านก็รับราชการ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย มีลูกศิษย์มากมายกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ เราชาว ป.กศ. รุ่น 11 วคม. พบ กันครั้งสุดท้ายเมื่อชาวเพื่อนมหาสารคามเป็นเจ้าภาพ ท่าน ผศ. วรกิต ก็เข้าร่วมด้วยยังจ�ำภาพนั้นได้ดี สัปดาห์ก่อนนี้ได้ข่าวท่านเข้ารักษาอาการป่วยที่ รพ. ศรีนครินทร์ขอนแก่น แต่แล้วก็มาทราบข่าวเศร้า การจากไปของท่าน เพื่อน ๆ ชาวร้อยเอ็ดต่างเสียดายและเสียใจกับครอบครัวของท่าน ด้วยกุศลผลบุญบารมี ความดีงามที่ท่าน ผศ. วรกิต วัดเข้าหลาม ที่ได้กระท�ำทั้งเป็นการส่วนตัว ส่วนรวม และประเทศชาติ ท่านจะ ไปสู่สุคติแน่นอน จากเพื่อน ป.กศ. รุ่น 11 วคม.จังหวัดร้อยเอ็ด 42


อาลัย ผศ.วรกิต วัดเข้าหลาม “เดินร่วมกัน 7 ก้าว ก็นับว่าเป็นมิตร เดินร่วมทางกัน 12 ก้าว ก็นับว่าเป็นสหาย อยู่ร่วมกันสักเดือนหรือกึ่งเดือนก็นับว่าเป็นญาติ ถ้านานเกินกว่านั้นไป ก็แม้นเหมือนเป็นตัวเราเอง” ผศ.วรกิต วัดเข้าหลามกับตัวกระผมเองเป็นมิตรสนิทที่มีความเข้าใจรักใคร่ เคารพนับถือกันมาเป็น เวลานานกว่า 40 ปี เราเคยเรียนที่วิทยาลัยครูมหาสารคามในห้วงเวลาใกล้เคียงกัน (ประมาณ พ.ศ.25082509) กระผมเองเข้ามาเรียนก่อนเล็กน้อย เราเคยท�ำงานร่วมกันหลายปีที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม ในความ เป็นมิตรสนิทของกระผมกับ ผศ.วรกิต ที่เป็นความทรงจ�ำตลอดชีวิตของครบครัวก็คือ ผศ.วรกิต เป็นเพื่อน เจ้าบ่าว ในวันที่ 18 มีนาคม 2517 ซึ่งตัวเจ้าบ่าวคือ กระผมเอง (รศ.ดร.สุวกิจ ศรีปัดถา) ด้วยความสัมพันธ์ อันดี เรามีความรักเอื้ออาทรต่อกันและกันมาอย่างต่อเนื่อง ผศ.วรกิต จึงเป็นเสมือนน้องชายแท้ๆ คนหนึ่ง ของกระผม แม้ว่าเราจะท�ำงานอยู่คนละที่ ในเวลาต่อมา ตามวิถีทางของราชการก็ตามความเป็นมิตร ความ เอื้ออาทรของเรายังคงมั่นตลอดมา การสูญเสีย ผศ.วรกิต น้องชายสุดที่รักของกระผมจึงนับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในชีวิตของ กระผมและครอบครัว กระผมทราบดีว่า เหตุการณ์การจากไปเช่นนี้ย่อมจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ การสูญเสียครั้งนี้มันยิ่งใหญ่จนไม่อาจท�ำใจได้ จึงน�ำความอาลัย เสียดายมาสู่จิตส�ำนึกของกระผมอย่างมาก เกินจะบรรยายได้ ขออ�ำนาจบุญบารมี คุณงามความดีและจิตมุ่งมั่นในความดีอันบริสุทธิ์ของ ผศ.วรกิต ผนวกกับความ ปรารถนาดีของกระผมและญาติมิตรทุกท่าน จงเป็นพลังผลักดันให้ดวงวิญญาณอันบริสุทธิ์ของ ผศ.วรกิต วัด เข้าหลาม ประสบความสุขในสรวงสวรรค์ในสัมปรายภพด้วยเทอญ

ด้วยความรัก คิดถึง อาลัยยิ่ง รศ.ดร สุวกิจ ศรีปัดถา 43


การจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม ยังความเศร้าสลดอาลัยสู่ครอบครัว ญาติ ศิษย์ และเพื่อนผู้ใกล้ชิดทุกคน เราต้องยอมรับความจริงตามธรรมชาติว่า ไม่มีใครอยู่ได้นาน ถึงแม้จะอยากอยู่ ไม่มีใครอยากเจ็บป่วย แต่ก็ ต้องเจ็บปวด ไม่มีใครอยากแก่ แต่ก็ต้องแก่ ทุกอย่างเป็นไปตามกฎธรรมชาติ กฎแห่งกรรม ระหว่างที่มีชีวิต อยู่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม ได้ท�ำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วทั้งต่อหน้าที่การงาน ราชการ ต่อ สังคม ต่อครอบครัว และต่อตนเอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม เป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรีอันดี มีวาจาไพเราะ มีอารมณ์ดีและ อารมณ์ขัน เวลาเล่าเรื่องให้คนใกล้ชิดฟัง เรามักจะได้ยินเสียงหัวเราะ เฮฮา พร้อมกันไปด้วย นอกจากนี้ ท่าน ยังเป็นผู้มีความสุภาพ อ่อนโยน มีน�้ำใจ ยินดีให้ค�ำปรึกษาและแนะน�ำช่วยเหลือทุกคนอย่างเสมอต้นเสมอ ปลาย ด้วยกรรมดีที่ท่านได้สั่งสมไว้ จะเป็นพลังหนุนน�ำให้ดวงวิญญาณของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้า หลาม ประสบความสุข สงบ ในสุคติ และด้วยคุณงามความดีที่ได้กระท�ำมาโดยตลอด ท่านจะอยู่ในความทรง จ�ำของทุกคนชั่วกาลนาน รองศาสตราจารย์ ดร. ระจิต ตรีพุทธรัตน์ ประธานชมรมผู้เกษียณคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผมเขียนค�ำไว้อาลัยแก่ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม ในครั้งนี้ ในฐานะของผู้มีความ สัมพันธ์หลายแบบ ทั้งในฐานนะที่ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพ เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดสนิทสนม ผู้อยู่เบื้องหลังของ ความส�ำเร็จของศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และเพื่อนร่วมงานในฐานะรองคณบดีของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในสมัยที่ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.สุลัดดา ช่อฟ้า เป็นคณบดี โดยท่านเป็นรองคณบดี ฝ่ายบริหาร และผมเป็นรองคณบดีฝ่ายวางแผน เมื่อปีพ.ศ. 2530 เมื่อผมโอนย้ายจากโรงเรียนมัธยมในกรุงเทพมหานครมาเป็นอาจารย์ใหม่ที่คณะ ศึกษาศาสตร์ ยังไม่รู้จักสนิทสนมกับใคร ท่านได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือดูแลในฐานะที่ท่านก็มีประสบการณ์ 44


การโอนย้ายมาเหมือนกัน ทั้งให้ค�ำแนะน�ำเรื่องความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต และเมื่อผมเอ่ยปากว่า อยากให้ ภรรยาซึ่งท�ำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครย้ายมาอยู่ด้วยใกล้ ๆ ขอนแก่น ท่านและภรรยาก็ได้ช่วยเหลืออย่าง เต็มที่ จนภรรยาของผมสามารถย้ายมาท�ำงานที่เดียวกับภรรยาของท่าน ซึ่งท�ำให้ครอบครัวของผมมีความ สุขอย่างมาก และเมื่อถึงเวลาที่ผมต้องการสร้างบ้านสักหลังหนึ่ง ก็ยังเป็นท่านและภรรยาที่แนะน�ำให้ผมซื้อ ที่ดินสวย ราคาไม่แพง ใกล้ ๆ กับบ้านของท่าน และเมื่อผมตัดสินใจปลูกบ้านบนที่ดินผืนนั้นในขณะที่ยัง ศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศ ก็เป็นท่านกับภรรยาอีกที่ช่วยดูแลเรื่องควบคุมการสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ และจวบ จนถึงปัจจุบัน ท่านก็ยังช่วยเหลือเอาใจใส่ผมและครอบครัวอย่างสม�่ำเสมอ น�้ำใจที่ท่านมีให้ผมและครอบครัว เสมอมา พิสูจน์ความเชื่อของผมที่มีมาตลอดว่า “การมีมิตรดีสักคน เป็นมงคลแก่ชีวิตอย่างยิ่ง” เมื่อผมกลับจากการศึกษาต่อต่างประเทศ และเริ่มก่อตั้งศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาซึ่งเป็นหนึ่งใน ศูนย์วิจัยเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านในฐานะรองคณบดีฝ่ายบริหารก็ได้สนับสนุนทั้งแนวคิด และงบประมาณในการปรับปรุงต่อเติมห้องว่าง ๆ ห้องหนึ่งบริเวณชั้นหนึ่งฝั่งขวาของคณะฯ ให้เป็นที่ท�ำงาน ของศูนย์ฯ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ส�ำคัญมากที่น�ำมาถึงวันที่ศูนย์ฯ ได้เจริญเติบโตรับใช้สังคมมาจนถึงปัจจุบัน และหลังจากนั้นท่านก็ได้สนับสนุนงานของศูนย์ฯ ทั้งในแง่ของการร่วมทีมวิจัย การเดินทางร่วมกับทีมนัก วิจัยไปต่างจังหวัดและต่างประเทศ เป็นหัวหน้านักวิจัยของศูนย์ฯ ด้านการสร้างเครือข่าย (Networking) ด้านวิชาชีพครู รวมทั้งให้ค�ำปรึกษาแก่นักวิจัยด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู จนแม้เมื่อท่าน เกษียณอายุราชการ ท่านก็ยังช่วยเหลืองานของศูนย์มาโดยตลอด ความเมตตาปรานีที่ผมได้รับจากท่านทั้งเรื่องงานวิชาการ งานบริหาร และเรื่องส่วนตัว ก่อให้เกิด คุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตผมและครอบครัว และแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงนิสัยใจคอและบุคลิกภาพ ของท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม ว่า ท่านเป็นผู้ที่มีจิตใจงดงาม มีน�้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความ เป็นนักวิชาการและนักบริหาร และมีจิตใจกว้างขวางเสียสละ ทั้งเรื่องส่วนตัวและในเชิงวิชาการเป็นอย่างยิ่ง ขออ�ำนาจบุญกุศลที่ท่านได้ท�ำจงช่วยดลบันดาลให้ท่านไปสู่ที่สุขสงบ และถ้าชาติหน้ามีจริง ขอให้ท่าน ได้มีโอกาสอยู่ร่วมกับครอบครัวของท่านให้ยาวนานกว่านี้ด้วยเทอญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ และผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 45


ผมเขียนค�ำไว้อาลัยแก่ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์วรกิต วัดเข้าหลาม ในครั้งนี้ ในฐานะของผู้มีความ สัมพันธ์หลายแบบ ทั้งในฐานนะที่ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพ เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดสนิทสนม ผู้อยู่เบื้องหลังของ ความส�ำเร็จของศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และเพื่อนร่วมงานในฐานะรองคณบดีของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในสมัยที่ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.สุลัดดา ช่อฟ้า เป็นคณบดี โดยท่านเป็นรองคณบดี ฝ่ายบริหาร และผมเป็นรองคณบดีฝ่ายวางแผน เมื่อปีพ.ศ. 2530 เมื่อผมโอนย้ายจากโรงเรียนมัธยมในกรุงเทพมหานครมาเป็นอาจารย์ใหม่ที่คณะ ศึกษาศาสตร์ ยังไม่รู้จักสนิทสนมกับใคร ท่านได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือดูแลในฐานะที่ท่านก็มีประสบการณ์ ตั้งแต่วันแรกที่ย่างก้าวเข้ามาในรั้วสีอิฐ ตั้งแต่ปี 2547 รุ่นเราได้ชื่อว่าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขา เทคโนโลยีการศึกษา ภาคพิเศษรุ่นที่ 15 ที่มีนักศึกษามากที่สุดในคณะนั้น เมื่อหัวหน้าห้องบอกท�ำความ เคารพอาจารย์ในห้องเรียน รอยยิ้มต้อนรับอาจารย์ ท�ำให้นักศึกษารู้สึกอบอุ่นและคลายความกังวลไปมาก กับการเป็นนักศึกษาใหม่ น�้ำเสียงที่แหบลึกๆ ในล�ำคอระคนกับรอยยิ้มที่เปิดเผย ท�ำให้รู้สึกว่าการเรียนใน ระดับนี้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดเอาไว้ ท่านแนะน�ำตัวเองว่า “ครู...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรกิต วัดเข้าหลาม” ค�ำ ว่า ครู ของท่านดูยิ่งใหญ่นัก ความศรัทธาในตัวท่านเกิดขึ้นทันที ชั่วโมงแรกที่พบท่าน นักศึกษา 41 คนนั่งกัน เงียบด้วยความที่ยังไม่รู้จักกันและตื่นเต้น จนท่านบอกว่า “ใหม่ๆก็ยังงี้แหละ.....” และทิ้งท้ายด้วยเสียง หัวเราะในล�ำคอ เข้ามาเรียนได้ไม่ถึงเดือนก็มีงาน โสตเทคโนสัมพันธ์ ที่มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ยังจ�ำได้ไม่ลืม รุ่นเราท�ำ เสื้อสีแสด ท่านอาจารย์วรกิตก็ใส่กับพวกเราไปดูงาน ก่อนที่จะเข้าร่วมงาน ที่มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง สถาน ที่แรกที่ท่านพาไปดูงาน คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ท�ำให้นักศึกษาจ�ำได้ไม่ลืมเพราะท่านบอกว่า “เชื่อครู เดี๋ยวจะพาไป” แล้วท่านก็พาพวกเราวกไปวนมา แล้วสุดท้ายท่านก็บอกว่า “ครูพาพวกเราหลง ทาง” พร้อมกับเสียงหัวเราะอย่างอารมณ์ดีของท่าน ออกจากสถานีโทรทัศน์ ไปที่ KT Park แต่รถคณะไม่ สามารถเข้าไปจอดที่นั่นได้ ท่านก็พาพวกเราเดินอีกครั้ง “ตามมา เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด” ประโยคนี้ท�ำให้ เราอุ่นใจว่าไม่หลงแน่ๆ.....เสื้อสีแสดเป็นทีมเดินตามกันไป พากันพูดเบาๆว่า “ท�ำไมเดินไกลจัง ท�ำไมไม่ถึงสัก ที.....” สุดท้ายก็หลงอีกจนได้ ท�ำเอาเหงื่อแตกไปตามๆกัน พวกเราประทับใจท่านมากที่ท่าน ไม่เคยทิ้ง นักศึกษา พอเข้าที่พักที่หอคุรุสภาคืนนั้นตอนทานข้าวเย็น ท่านก็เลยร้องเพลงกล่อมนักศึกษาเพื่อเสริมแรง 46


และก�ำลังใจ เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น..... สวัสดีค่ะอาจารย์....เสียงตอบกลับมาว่า เบญจมาศ หรือ เบญจมาภรณ์ เราก็ ตอบไปว่า เบญจมาศ ค่ะอาจารย์.... อ๋อ พอดีว่าครูมาหาหมอคงกลับไม่ทันสอน ยังไงก็บอกเพื่อนด้วยนะว่า ท�ำงานที่ให้ไว้ส่งไว้ที่บล็อกนะ.... เป็นงาน “แผนผังบริหารเทคโนของหน่วยงานหรือโรงเรียน” พวกเรารู้สึก กังวลใจลึกๆ เพราะอาจารย์ไม่เคยขาดสอน จนกระทั่งหมดชั่วโมงก่อนไปทานข้าว อาจารย์องอาจมาคุยด้วย และบอกว่า อาจารย์วรกิตจะท�ำบายพาสหัวใจ ในสัปดาห์ต่อมาก็ไม่ได้เรียนเพราะอาจารย์ผาตัดแล้วไปพัก ฟื้นที่บ้าน พวกเราจึงรวมกันไปเยี่ยมอาจารย์ที่บ้าน แม้ท่านจะอยู่ในช่วงพักฟื้น แต่รอยยิ้มของท่านในวันนั้น ยังติดตาตรึงใจตลอดมา พวกเราเคยมีโอกาสติดตามท่านอาจารย์วรกิตและอาจารย์องอาจไปจัดสัมมนาที่ มหาวิทยาลัยวง ชวลิตกุล นครราชสีมา หลังจากเลิกสัมมนา เบญจมาศ กับ มธุรส ก็เข้าห้องพัก สักพักท่านก็มาเคาะประตู ห้องและบอกกล่าวว่า “ครูสองคนจะนั่งรถตุ๊กๆ ไปหาทานข้าวเองนะบอกอาจารย์ณัฐ ว่าไม่ต้องรอ” สิ่งเหล่า นี้ท�ำให้ศิษย์คนนี้ประทับใจไม่รู้ลืม วันนี้ไม่มีท่านอาจารย์คนนี้ให้ได้กราบไหว้อีกแล้ว แต่ศิษย์ทุกคนจะจารึกคุณงามความดี ความรักที่มี ต่อลูกศิษย์ ความเป็นกันเอง ความรู้ที่ประสิทธิ์ประสาท ความเอื้ออาทรความห่วงใยของครูผู้มีพระคุณ ไว้ใน ใจตลอดกาล ขอให้คุณงามความดีที่ท่านได้กระท�ำมาจงส่งดวงวิญญาณของอาจารย์ที่เคารพรักไปสู่สุคติด้วยเทอญ เบญจมาศ ชนะน้อย ตัวแทนลูกศิษย์ปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

47


ค�ำไว้อาลัย...แด่..พี่วรกิต หากพี่สามารถรับรู้ได้ ผมอยากจะบอกพี่ว่า ผมนับถือและยึดพี่เป็นแบบอย่างเรื่อยมาตั้งแต่เรายังอยู่ ในวัยเด็ก สมัยที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมพี่พาน้องๆฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ อีกทั้งยังให้ก�ำลังใจและเป็นต้นแบบ ในการศึกษาเล่าเรียนด้วยความพากเพียรพร้อมด้วยระเบียบวินัยที่ดีซึ่งน�ำพาให้เด็กจากท้องถิ่นชนบทอย่าง พวกเราประสบความส�ำเร็จมาได้ด้วยดี เมื่อเรากลับมาเจอกันอีกครั้งในวัยท�ำงานและเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผมยัง คงชื่นชมและเคารพนับถือพี่ในฐานะข้าราชการที่ทุ่มเทและอุทิศตนให้กับหน้าที่การงาน หมั่นอบรมสั่งสอน ลูกศิษย์ด้วยเมตตาจิตอย่างสม�่ำเสมอ ....เหนือสิ่งอื่นใด ผมชื่นชมพี่ในฐานะหัวหน้าครอบครัวและคุณพ่อ ตัวอย่างที่ให้ความอบอุ่นและอบรมลูกๆให้เป็นคนที่เปี่ยมด้วยจิตส�ำนึกและคุณสมบัติที่ดีได้อย่างสมบูรณ์ แบบ และในวันนี้...วันที่พี่จากไปแล้ว...ผมอยากขอบคุณพี่ส�ำหรับน�้ำใจและทุกสิ่งทุกอย่างที่พี่มอบให้...โดย เฉพาะเพชรเม็ดงามจากฝีมือการเจียระไนของพี่ ...ดร.พิมพ์ยุพา (วัดเข้าหลาม) ประพันธ์ ..ผู้ซึ่งพี่ได้ให้เกียรติ ฝากไว้ประดับวงการในวิชาชีพทางการสอนภาษาของพวกผมซึ่งจะเปล่งประกายอันรุ่งโรจน์เรื่อยไป ขอให้ ดวงวิญญาณของพี่จงไปสู่สุคติภพ ผมจะระลึกถึงพี่ด้วยความรักและเคารพตลอดไป ผศ.ดร.พชรนนท์ สายัณห์เกณะ (อาเลิศดาว) ถ้าเปรียบความบริสุทธิ์ดุจสีขาว ถ้าเปรียบความอาทรดุจธารา ถ้าเปรียบพ่อคือร่มไทรให้พิงพัก ถ้าเปรียบพ่อคือมิตรแท้ที่จริงใจ ถ้าเปรียบพ่อดังครูดุจผู้ให้ ถ้าเปรียบพ่อดังพรหมของลูกทุกคน ไม้เอยไม้ใหญ่นี้ หนุนภรรยา อาทรศิษย์ จิตเพริศแพร้ว

พ่อเฉกดาวพราวพร่างกลางเวหา พ่อเย็นฉ�่ำยิ่งกว่าคงคาใด พ่อคือหลักหินผาปราสาทใหญ่ พ่อคือเพื่อนที่ยิ่งใหญ่ในใจทุกคน พ่อคือขวัญใจศิษย์ทุกหน พ่อคือมหากุศลคุ้มลูกแล้ว แผ่บารมีค�้ำจุนหนุนลูกแก้ว จงเป็นแนวส่องสว่างทางนิพพาน

อาจารย์ เชษฐา จักรไชย 48


49


รายนามเจ้าภาพ

3. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม 4. เพื่อนป.กศ. รุ่น 11 วิทยาลัยครูมหาสารคาม 5. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 7. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 8. ส�ำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 9. ดร.เอกลักษณ์ บุญท้าวและครอบครัว 10. นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรี เมืองมหาสารคาม พร้อมคณะผู้บริหารสมาชิก สภาเทศบาล ทีมรวมใจพัฒนาสารคาม 11. คุณพัชรัมพร-พรสิทธิ์ ทวยนันท์ 12. เพื่อนลูกส้มศิษย์เก่า รร.สาธิต ม.ราชภัฏ มหาสารคาม - อาจารย์วิรุณ โมนะตระกูล - อาจารย์ภัทรชัย สุขมาก - อาจารย์ประภากร ศรีสว่างวงศ์ 13. ครอบครัววรรณปะเถาว์ วันที่ 27 มิถุนายน 2557 1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. ชมรมผู้เกษียณอายุราชการ คณะศึกษา

วันที่ 25 มิถุนายน 2557 1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. ศิษย์เก่า วิทยาลัยครูมหาสารคาม คบ. 4 ปี รุ่น 1 3. ครอบครัว “หาญสินธุ์” 4. ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 5. รศ.ดร.วยุพา ทศศะ 6. ผศ.ดร.พชรนนท์ สายัณห์เกณะ 7. ผศ.ดร. สุรศักดิ์ ค�ำคง 8. ดร.พิลานุช ภูษาวิโศชน์ 9. ผศ. เกษม-อ.ระเวงจิต ภัทรกุล 10. ครอบครัววัดเข้าหลาม ภรรยา-บุตร 11. ศิษย์เก่า วิทยาลัยครูมหาสารคาม คบ. ภาษาไทย ปี 2533 12. ดร.นิตยา-อ.ปัญญา กลางชนีย์ 13. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 26 มิถุนายน 2557 1. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. ผศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อม ครอบครัว 50


6. สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม 7. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 8. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9. ดร.คมคาย-ดร.ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ นายก อบจ.มหาสารคาม 10. ศรัณยู-พรทิพย์ วรกุล 11. รศ.ดร. กิตติชัยไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 12. เทคโนโลยีการศึกษา ม.13 13. ผศ.ดร.ประวิทย์-มานิดา สิมมาทัน 14. ผศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธ์ คณบดีคณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15. ศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 16. ส�ำนักงานวิเทศสัมพันธ์และการจัดการศึกษา นานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 17. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม 18. สถาบันกันตนา 19. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 20. รศ.ดร.สุมาลี-ผอ.วีระพล ชัยเจริญ

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3. ชมรมบานไม่รู้โรย 4. สถาบันกันตนา 5. อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ภาควิชา อุตสาหกรรมศิลป์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม 6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขามหาสารคาม โดย นายสมศักดิ์ ประพันธ์ ผู้จัดการสาขา 7. คุณพ่อจรัส-คุณแม่ค�ำพันธ์ ประพันธ์ 8. ศิษย์เก่าเทคโนโลยีการศึกษา 9. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รายนามผู้น�ำพวงหรีดมาเคารพศพ ผศ. วรกิต วัดเข้าหลาม ณ วัดศรีสวัสดิ์ วันที่ 25 มิถุนายน 2557 1. ครอบครัว “จักรไชย” 2. นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรี เมืองมหาสารคาม พร้อมคณะ 3. ครอบครัว “กลางชนีย์” 4. รศ.ดร. นิรุต ถึงนาค ประธานสภา คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 5. รศ.ดร. สมชาย วงศ์เกษม อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 51


37. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 38. ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 39. รศ.ดร. ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 40. ผศ.ดร. พชรนนท์ สายัณห์เกณะ 41. สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 42. เพื่อนไอ.เอ 2 ว.ค.พระนคร 43. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอ ดินแดง) 44. กลุ่มบริหารและพัฒนาการศึกษา 45. หัวหน้ากลุ่มวิชาด้านวิทยาศาสตร์ คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 46. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษา ศาสตร์) 47. เพื่อนป.กศ. รุ่น 11 วิทยาลัยครู มหาสารคาม(จ.กาฬสินธุ์) 48. รศ. ศักดิ์เดช สิงคะพัฒน์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏกาฬสินธุ์ 49. ธกส. สาขามหาสารคาม 50. นายจัส-นางค�ำพันธ์ ประพันธ์ 51. สาธิต 12

21. ศิษย์เก่า เทคโนโลยีการศึกษา รุ่นพิเศษ 14 22. ศิษย์เก่า เทคโนโลยีการศึกษา รุ่นพิเศษ 18 23. เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม โรงเรียนราชวินิต กทม. 24. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม 25. ชมรมบานไม่รู้โรย มหาสารคาม 26. ญาติ-หลาน อ.เขาวง 27. ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 28. บริษัท จิม ทอมป์สัน 29. ศิษย์เก่าเทคโนโลยีการศึกษา รุ่นปกติ 19 30. ศิษย์เก่าเทคโนโลยีการศึกษา รุ่นปกติ 15 31. ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ - ผศ.ดร.ยุพาศรีไพ วรรณ 32. ผศ.สมพงศ์-ผศ.เพลินพิศ สอนสุภาพ พร้อม ครอบครัว 33. นิสิตป.โท ELT พ. 24 มหาวิทยาลัย มหาสารคาม 34. นิสิตป.ตรี EG’ 50 มหาวิทยาลัย มหาสารคาม 35. ครอบครัว “โคบายาชิ” 36. ศิษย์ภาษาไทย วิทยาลัยครูสารคาม 34 52


52. พลอ.ต.ดร.อนันต์-รศ.ดร.พิศมัย ศรีอ�ำไพ และลูกหลาน 53. คณะพยายาลศาสตร์ มมส. 54. รศ.ดร. บุญชม-สุริทอง ศรีสะอาด 55. รศ.ดร.สมเจตน์-รศ.สุรีย์พร ภูศรี 56. ผศ.ดร.มนัชญา สังข์ศรีอินทร์ 57. นิเทศศาสตร์จุฬาฯรุ่น 31 58. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาพิเศษ 6 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 59. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่าย มัธยม(ศึกษาศาสตร์) 60. ชมรมผู้เกษียณอายุราชการ คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 61. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ปริญญาเอก (มข.) 62. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา พิเศษ2 (มข.) 63. รศ.ดร.นันทกานต์ วงศ์เกษม มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 64. คณะศึกษาสาสตร์ มมส. 65. ส�ำนักนวัฒกรรมการเรียนการสอน มข. 66. เสาวลักษณ์ จิตรักษ์ พร้อมครอบครัว 67. ปริญญาโท เทคโนโลยีการศึกษาพิเศษ รุ่น 11 มข. 68. อาจารย์ทิวารัตน์ ประเสริฐสังข์ ศิษย์ เทคโนฯปกติ 23

69. รศ.ดร. สุวกิจ-นิตยา ศรีปัดถา รร.อนุบาล กิติยา 70. ส�ำนักวัฒนธรรมมข. 71. คณะเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น 72. รศ.ดร.กุลธิดาท้วมสุข คณบดีคณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. ขอนแก่น 73. ป.โท เทคโนโลยีการศึกษา (พิเศษ ) 74. เทคโนโลยีการศึกษา ภาคปกติ รุ่น 2 75. รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์ค�ำ รองอธิการบดีฝ่าย ชุมชนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ม.ขอนแก่น 76. ผอ.สนอง-คุณครูเตือนใจ พรวิเศษศิริกุล 77. ส�ำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัย มหาสารคาม 78. ศิษย์เก่าวศ. สวนสุนันทา’09 79. ดร.โณทัย-สมบัติอุดมบุญญานุภาพ 80. คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มมส.81. เทคโนโลยีฯ รุ่น 2 วคม. 82. Public Affairs, U.S. Embassy Bangkok เจ้าภาพขอกราบขอบพระคุณญาติ มิตร ผู้ร่วมงาน ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ เป็นกำ�ลัง ใจ และสละเวลาอันมีค่าเพื่อมาแสดงความอาลัยต่อคุณพ่อวรกิต โดยร่วมเป็นเจ้าภาพ และรับฟังการสวดอภิธรรม รวมทั้งเข้าร่วมในพิธีฌาปณกิจจนเสร็จสิ้น ในนามเจ้าภาพ ญาติ พี่น้องทุกๆ คน ขอกราบขอบพระคุณทุกๆ ท่าน ที่ให้ความกรุณาต่อครอบครัววัด เข้าหลาม เรารู้สึกซาบซึ้งในน้ำ�ใจและสำ�นึกในพระคุณของท่านตลอดไป ขออัญเชิญบุญกุศลที่ได้ร่วมบำ�เพ็ญมาจงปกป้องคุ้มครองให้ท่านทั้งหลายประสบ แต่ความสุขความเจริญ ปราศจากทุกข์โศก โรคภัยทั้งมวล หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ให้การรับรองไม่ทั่วถึง หรือรายชื่อ ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ไม่ครบถ้วน เจ้าภาพกราบ ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

53




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.