หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพนายณรงค์ เเก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

Page 1

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

นักร้องชายกรมประชาฯ ฉายา ‘ณรงค์ร้อยเถา’



ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ

นายณรงค์ แก้วอ่อน

ณ วัดบางเกาะเทพศักดิ์ ตำ�บลแควอ้อม อำ�เภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559





สำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ เมื่ อ ความได้ ท ราบถึ ง ฝ่ า ละอองพระบาทว่ า นายณรงค์ แก้ ว อ่ อ น ได้ ถึงแก่กรรมด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ณ บ้านเลขที่ 511/350 ซอยวัดเพลงวิปัสสนา ถนนจรัลสนิทวงศ์ 37 เขตบางขุนศรี กรุงเทพมหานคร เมือ่ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558 แล้วนัน้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พวงมาลาหน้าหีบศพ ณ วัดบางเกาะเทพศักดิ์ จังหวัดสมุทรสงคราม และเสด็จพระราชด�ำเนิน ไปในการพระราชทานเพลิงศพ นายณรงค์ แก้วอ่อน ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ณ ฌาปนสถาน วัดบางเกาะเทพศักดิ์ จังหวัดสมุทรสงคราม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อมและเป็นเกียรติอันสูงสุดแก่ นายณรงค์ แก้วอ่อน และวงศ์ตระกูล อย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งหากนายณรงค์ แก้วอ่อน มีญาณวิถีทราบได้แล้วคงจะมีแต่ความปิติ ชื่นชมโสมนัสและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ข้าพระพุทธเจ้าครอบครัว “แก้วอ่อน” พร้อมทั้งกลุ่มนักดนตรี คณะ “รวมบรรเลง” และบรรดาลูกศิษย์ทงั้ หลายรูส้ กึ ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณุ อย่างหาทีส่ ดุ มิได้ และขอเทิดทูน พระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงนี้ไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม เพื่อเป็นสิริมงคลและ เกียรติยศแก่ครอบครัวสืบไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฉายพระฉายาลักษณ์ ร่วมกับคณะครูดนตรีไทยอาวุโสแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ร่วมบรรเลงในงานวิศิษฏศิลปินปิ่นสยาม เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 56 พรรษา พ.ศ. 2554


พระบารมีปกเกล้าฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงระนาดเอกร่วมกับวงมโหรีครูดนตรีไทย ครูณรงค์ แก้วอ่อน นั่งตีกรับพวงอยู่ด้านซ้ายของภาพ

ครูณรงค์ แก้วอ่อน รับพระราชทานของที่ระลึกจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


ครูณรงค์ แก้วอ่อน เข้าเฝ้าถวายค�ำกราบบังคมทูลฯ เมื่อครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพครูวงษ์ รวมสุข และ จ.ส.อ.ประเวศ แก้วอ่อน ณ วัดบางเกาะเทพศักดิ์ พร้อมด้วยครูสุดจิตต์ ดุรยิ ประณีต และแม่อาบ แก้วอ่อน [วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเจิมหน้าผากให้ครูณรงค์ แก้วอ่อน



หมายเหตุชีวิตและงาน ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] พ.ศ. 2486-2558

2486

2495 2499 2496 2500

เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน ณ ต�ำบลแควอ้อม อ�ำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บิดาชื่อ นายส�ำรวม แก้วอ่อน [2456-2504] มารดาชื่อ นางอาบ [2460-2543] [สกุลเดิม จิตตกรด�ำรงค์] เป็นบุตรคนโตในจ�ำนวนพี่น้อง 5 คน ได้แก่ • นายณรงค์ แก้วอ่อน • นายประสงค์ แก้วอ่อน [2490-ปัจจุบัน] เกษตรกรและนักดนตรีปี่พาทย์ สมรส กับนางบุญเยี่ยม แก้วอ่อน [สกุลเดิม กล้าผจญ] ไม่มีบุตรธิดา • จ่าสิบเอกประเวศ แก้วอ่อน [2493-2539] ทหารบกประจ�ำกองกิจการพลเรือน ทหารช่าง จังหวัดราชบุรี สมรสกับนางกรรณิการ์ แก้วอ่อน [สกุลเดิม ชัยศาสตร์] ข้าราชการบ�ำนาญ อดีตครูโรงเรียนวัดปากน�้ำ มีบุตรชื่อนายกรรธวัช แก้วอ่อน ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน กลุ่มดุริยางค์ไทย สังกัดส�ำนักการสังคีต กรมศิลปากร • นางสาวสุรีย แก้วอ่อน [2497-ปัจจุบัน] อาชีพแม่บ้าน • เรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน [2504-ปัจจุบัน] ข้าราชการทหารเรือฝ่ายช่าง แผนก โรงงานช่างท่อ กองโรงงานเรือเหล็ก อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า สมรสกับนางสุพมาส โพธิ์สวัสดิ์ มีบุตรชื่อนายอรรถกานต์ แก้วอ่อน ครูดนตรีโรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ จังหวัดชลบุรี จับมือเรียนฆ้องวงใหญ่ เพลงสาธุการ กับบิดา กระทั่งต่อเพลงชุดโหมโรงเช้าและโหมโรง เย็นจนจบ เริ่มฝึกหัดขับร้องเพลงไทยจากรายการดนตรีไทยทางวิทยุ กระทั่งบิดาได้ปรับความไพเราะ และความถูกต้องให้เข้ากับเสียงดนตรีและจังหวะหน้าทับ เพลงแรกที่ร้องให้บิดาฟังคือ เพลงแขกต่อยหม้อ เถา เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ณ โรงเรียนวัดบางเกาะเทพศักดิ์อินทรประชาคม จังหวัดสมุทรสงคราม เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ณ โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 11


2505 2506 2512 2513 2514 2515 2517 2518 2523

2524 2525

เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 ณ โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม ศึกษาและต่อทางร้องเพลงไทยจากครูเชื้อ นักร้อง ครูสอนขับร้องที่งานดุริยางค์ กรมต�ำรวจ กรุงเทพฯ ตามค�ำแนะน�ำของครูรวม พรหมบุรี ศึกษาและต่อทางร้องเพลงไทยจากครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต [ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2536] โดยการน�ำฝากของนายวงษ์ รวมสุข ปีเดียวกันได้ขับร้อง เพลงแขกมอญ เถา ออกอากาศสดทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์เป็นครั้งแรก ขับร้องเพลงออกอากาศรายการ ‘คันธรรพศาลา’ ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม ควบคุมรายการโดยจ�ำนง รังสิกุล ขับร้องเพลงประกอบละครเสภา คณะขาบมงคล ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ควบคุมรายการโดยหม่อมหลวงขาบ กุญชร ปีเดียวกันได้ขับร้องในงานประชันปี่พาทย์ พิธีไหว้ครูประจ�ำปี สมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน วัดพระพิเรนทร์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ขับร้องเพลงเพื่อบันทึกเสียงให้กับรายการเพลงไทยจากวิทยุศึกษา ปีเดียวกันได้เข้าท�ำงาน บรรจุเข้ารับราชการที่กรมประชาสัมพันธ์ เป็นนักร้องประจ�ำวงดนตรีไทย ต�ำแหน่งศิลปินจัตวา เมื่อวันที่ 3 เมษายน อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางเกาะเทพศักดิ์ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเวลา 15 วัน พร้อมกับน้องชาย คือ จ่าสิบเอกประเวศ แก้วอ่อน โดยมีหลวงพ่อเนื่อง โกวิโท [พระครูโกวิท สมุทรคุณ] วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งเป็นคีตศิลปิน 1 ปีเดียวกันได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยครูจันทรเกษม [มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม] กรุงเทพฯ เป็นนักศึกษา ป.กศ. ภาคค�่ำรุ่นที่ 7 ส�ำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2520 ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งเป็นคีตศิลปิน 2 และขับร้องเพลงไทยประชันวง รายการ ‘เสือสิงห์ กระทิงแรด’ ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม เป็นการแสดงฝีมือของนักระนาดเอก ที่มีชื่อเสียงร่วมสมัยในรุ่นราวคราวเดียวกัน 4 ท่าน ได้แก่ ครูสุพจน์ โตสง่า ครูเมธา หมู่เย็น ครูสุรเดช กิ่มเปี่ยม และครูพัฒน์ บัวทั่ง โดยครูณรงค์ แก้วอ่อน ได้ขับร้องให้กับวงของ ครูเมธา หมู่เย็น ปีเดียวกันได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จากการประกวดขับร้อง เพลงไทย รายการ ‘ฆ้องทองค�ำ’ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ได้รับโล่รางวัลจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ในงาน ‘การประกวดเสียง เสนาะ จากวรรณกรรมสุนทรภู่’ เนื่องในโอกาสฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่

1 2 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


2526 2530 2531 2532 2534 2536 2537 2539 2540 2541 2543 2546 2551 2558

ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งเป็นคีตศิลปิน 3 และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม สอนขับร้องเพลงไทย ณ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ออกอากาศสดทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 และทางสถานีวิทยุ ททท. ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ขับร้องเพลงไทยประกอบรายการ ‘ดนตรีไทยที่รัก’ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 5 ด�ำเนินรายการโดยเสกสรร ภู่ประดิษฐ์ ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งเป็นคีตศิลปิน 4 ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งเป็นคีตศิลปิน 5 และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งเป็นดุริยางคศิลปิน 5 ได้รับเลือกให้ด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าแผนกดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ และได้รับการเลื่อน ต�ำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานศิลปิน 6 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญจักรพรรดิมาลา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานศิลปิน 7 และได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม เกษียณอายุราชการในต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานศิลปิน 7 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ร่วมขับร้องในงาน ‘วิศิษฏศิลปินปิ่นสยาม’ การแสดงดนตรีไทยโดยครูอาวุโสชาย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมายุครบ 53 พรรษา ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 23 กันยายน ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ณ บ้านเลขที่ 511/350 ซอยวัดเพลงวิปัสสนา ถนนจรัลสนิทวงศ์ 37 เขตบางขุนศรี กรุงเทพมหานคร สิริรวมอายุ 72 ปี

หมายเหตุชวี ิตและงานณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ล�ำดับเฉพาะเหตุการณ์ส�ำคัญจากสารนิพนธ์ เรื่อง ‘ชีวประวัติ อาจารย์ณรงค์ [แก้วอ่อน] รวมบรรเลง’ ของ หทัยชนก คงสว่าง สาขาวิชาดนตรีไทย ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2551

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 13


ถ้อยคำ�อาลัย


ด้วยรักและอาลัย พี่ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] หรือลุงอู๊ดของหลานๆ ได้จากพวกเราน้องๆ และหลานๆ ไป แล้ว เป็นความโศกเศร้าเสียใจ เป็นการสูญเสียครัง้ ยิง่ ใหญ่ของตระกูล “แก้วอ่อน” และเป็นการสูญเสีย ครูนกั ดนตรี ปูชนียบุคคลทีม่ คี วามสามารถในการขับร้องและบรรเลงดนตรีไทยอย่างกะทันหันโดยทีไ่ ม่มี ใครคาดคิดมาก่อน คงเหลือแต่คณ ุ งามความดีทพี่ ณ ี่ รงค์ได้กระท�ำไว้ ส�ำเนียงเสียงทีเ่ ราคุน้ หูอนั ไพเราะ เป็นเอกลักษณ์ในการขับร้องเพลงไทยของพี่ณรงค์ จะไม่มีให้เราได้ยินอีกแล้ว ทั้งอัธยาศัยใจคอของพี่ ณรงค์ที่มีต่อเพื่อนร่วมอาชีพ น้องๆ หลานๆ และศิษย์ที่โอบอ้อมอารีต่อพวกเราตลอดมา พวกเรายัง คงประทับอยู่ในความทรงจ�ำและจะไม่มีวันลืมเลือน โอ้อาลัยใจหายให้โศกเศร้า ได้พบปะร้องเล่นทุกๆ งาน พี่ณรงค์ช�ำนาญการร้องรับ ทั้งสองชั้นกาพย์กลอนไม่เคยกลัว มาบัดนี้คงไม่มีพี่อีกแล้ว ไปไม่กลับหลับไม่ตื่นฟื้นไม่มี

ปีก่อนเก่าได้พบอยู่คู่สถาน รวมราชการวัดวิกพลิกพันพัว ทั้งเพลงเถาเพลงตับขับได้ทั่ว อยู่ในรั้ววงบ้านบางล�ำพู ดังดวงแก้วสิ้นไร้ไฟแสงสี ขอดวงจิตพี่สู่สวรรค์ชั้นพรหมา

เรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน

กองโรงงานเรือเหล็ก อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า

อรรถกานต์ แก้วอ่อน

โรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ จังหวัดชลบุรี

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 15


แด่... พี่ผู้เป็นปูชนียบุคคล พีณ ่ รงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] จากไปโดยทีไ่ ม่มวี นั หวนกลับมา คุณงามความดีของพีท่ ปี่ ฏิบตั ิ ตนในชีวติ ประจ�ำวัน ใครทีไ่ ด้ใกล้ชดิ และได้สมั ผัสจะได้รบั แต่ความสุขความสบายใจและความเป็นกันเอง พี่ณรงค์ใช้ชีวิตแบบสมถะเรียบง่าย มองโลกแง่ดีในทุกๆ เรื่อง เป็นผู้ให้โดยมิหวังสิ่งใดตอบแทน ให้ ด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ โดยเฉพาะความสามารถที่เป็นเลิศในวงการดนตรีไทย ซึ่งไม่มีใครเหมือนพี่ณรงค์ คือการร้อง เพลงโดยไม่ต้องดูเนื้อร้อง เพลงทุกเพลงที่ร้องอยู่ในความทรงจ�ำของพี่ และการร้องเพลงหุ่นกระบอก คณะ “ชูเชิดช�ำนาญศิลป์” ของครูวงษ์ รวมสุข เพลงบางเพลงเป็นเพลงเก่าที่หาฟังไม่ได้อีกแล้ว นัก ร้องรุ่นน้องไม่สามารถจะร้องได้ พี่ณรงค์จะถ่ายทอดท�ำนองและเนื้อร้องของเพลงให้ด้วยความเต็มใจ ต่อแต่นไี้ ปไม่มพี มี่ านัง่ ร้องเพลงให้พวกเราฟัง ไม่มใี ครมานัง่ ร้องเพลงในคณะหุน่ กระบอก “ชูเชิดช�ำนาญ ศิลป์” อีกแล้ว ขออ�ำนาจคุณพระศรีรตั นตรัยและสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ งั้ หลาย อ�ำนาจกุศลผลกรรมความดีงามทัง้ มวล ของพี่ณรงค์ แก้วอ่อน จงเป็นผลปัจจัยเกื้อหนุน บันดาลให้ดวงวิญญาณของพี่ณรงค์ แก้วอ่อน จงสู่ สุคติในสัมปรายภพดังที่ได้ปรารถนาไว้ด้วยเทอญ

จากน้องและหลาน กรรณิกา แก้วอ่อน

ข้าราชการบ�ำนาญ ครูโรงเรียนวัดปากน�้ำ

กรรธวัช แก้วอ่อน

ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน กลุ่มดุริยางค์ไทย สังกัดส�ำนักการสังคีต กรมศิลปากร

1 6 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


อาลัยครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ก่อนอืน่ ต้องขอแสดงความอาลัยยิง่ ต่อการจากไปของครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ข้าพเจ้า รูจ้ กั ท่านในครัง้ แรกเมือ่ ได้มโี อกาสฟังการขับร้องเพลงไทยของท่านจากวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในรายการบรรเลงดนตรีไทยช่วงเวลา 20.30 น. ราวปี พ.ศ. 2520 โดยส่วนลึกแล้วนึกดีใจว่าเราได้ นักร้องชายที่ขับร้องเพลงไทยได้ไพเราะเพิ่มขึ้นอีกท่านหนึ่งแล้ว กระทั่งต่อมาไม่นานนักก็ได้รู้จักและ คุ้นเคยกันในที่สุด เคยได้บรรเลงออกงานด้วยกันสม�่ำเสมอ รวมทั้งงานแสดงดนตรีไทยของครูดนตรี ไทยอาวุโสแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ติดต่อกันหลายปีที่ผ่านมา จากการที่ได้ร่วมบรรเลงด้วยกันมาเป็นเวลาช้านาน ข้าพเจ้าต้องขอยกย่องครูณรงค์ว่าท่านมี จุดเด่นในเรื่องการขับร้องเพลงไทยหลายประการดังต่อไปนี้ • ท่านเป็นนักร้องเพลงไทยที่ได้เพลงจ�ำนวนมาก • ท่านขับร้องได้อย่างแม่นย�ำ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง • ท่านมีพรสวรรค์ที่จะขับร้องเพลงให้ตรงระดับเสียงดนตรีไม่ผิดเพี้ยน • ท่านสามารถจดจ�ำบทขับร้องเพลงส�ำคัญ โดยเฉพาะเพลงเถาทุกเพลง รวมทั้งเพลงตับด้วย • ท่านมีความคุ้นเคยกับการขับร้องร่วมกับวงดนตรีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นวงเครื่องสาย ไทย วงเครื่องสายผสม วงมโหรี วงแตรวง วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ไม้แข็ง รวมทั้ง วงปี่พาทย์มอญ • ท่านมีความรู้ความสามารถในการสอนและถ่ายทอดการขับร้องแก่นักร้องให้กับวงดนตรี ต่างๆ หรือนักร้องของวงดนตรีสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย • ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยดี มีจิตใจเอื้อเฟื้อ ท่านจึงมีมิตรสหายทางด้านดนตรีอย่างกว้างขวาง คงไม่เป็นการกล่าวเกินจริงทีค่ รูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] เป็นนักร้องทีม่ คี วามรู้ ความสามารถ ที่ดีเยี่ยมจนเป็นที่ประจักษ์ชัดท่านหนึ่งในปัจจุบัน

รองศาสตราจารย์บุญเสริม ภู่สาลี ข้าราชการบ�ำนาญ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 17


อาลัยเพื่อนครูนักร้องเพลงไทยอาวุโส เมื่อผมได้ทราบข่าวว่า ครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] จากไปโดยไม่มีวันกลับ ผมตกใจและ รูส้ กึ เศร้าใจอย่างมาก เพราะในหลายช่วงชีวติ ในการแสดงดนตรีของผมจะมีครูณรงค์อยูเ่ คียงข้างเสมอ ขับร้องก่อนที่วงจะบรรเลง หรือให้ความกรุณาขับร้องให้ผมเดี่ยวซอด้วงหรือไวโอลินเพลงไทยเดิม ปี ค.ศ. 1970 [พ.ศ.2513] ผมส�ำเร็จการศึกษาไวโอลินจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ช่วงนัน้ ผมมีโอกาสได้เล่นดนตรีไทยน้อยมาก ส่วนใหญ่เล่นเพลงคลาสสิกด้วยไวโอลิน จ�ำได้วา่ ครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต ได้เคยชักชวนให้ผมไปร่วมบรรเลงดนตรีไทยกับครูหลายท่านในวงดุรยิ ประณีต เพราะสมัยเด็กๆ ผมกับน้องสาว [รศ.อรวรรณ บรรจงศิลป์] จะได้รบั ความรักความเอ็นดูจากผูใ้ หญ่หลายท่าน โดยเฉพาะ ให้เกียรติเราทั้งสองคนเล่นดนตรีไทยในสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม โดยเฉพาะงิ้วไทย เรื่อง “เตียวเสีย้ น หญิงผูพ้ ลิกแผ่นดิน” น�ำโดย ครูอารี นักดนตรี คุณก�ำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และคณะผู้ แสดงละครโทรทัศน์ จากช่อง 4 บางขุนพรหม โดยครูณรงค์ แก้วอ่อน ขับร้องเป็นเสียงตัวละครตัง๋ โต๊ะ โดยเฉพาะได้มีโอกาสพบคุณครูดนตรีไทย เช่น ครูเมธา หมู่เย็น ครูศิริ นักดนตรี ครูทะเบียน มาลัยเล็ก ครูเบญจรงค์ ธนโกเศศ ครูฉลวย จิยจันทร์ ครูสัมพันธ์ พันธ์มณี และอีกหลายท่าน เช่น ขุนวิจิตรมาตรา หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ เป็นต้น โดยมีท่านจ�ำนง รังสิกุล ผู้อ�ำนวยการ โทรทัศน์ช่อง 4 สนับสนุน ซึ่งบ่อยครั้งมากที่ได้ร่วมแสดงกับท่านที่กล่าวนามมา ผมจ�ำได้ว่าครูณรงค์ พยายามเล่าความหลังให้ฟังเมื่อพบกันในระยะหลังๆ เช่น กล่าวว่าได้เห็นผมเล่นดนตรีไทยตั้งแต่เป็น นักเรียนประถมมัธยม นุ่งกางเกงขาสั้น ท�ำให้ผมนึกถึงอดีตได้หลายช่วงเวลาที่เล่นดนตรีไทยสมัยเด็ก กับครูบาอาจารย์ กระทั่งภายหลังได้ท�ำความรู้จักและสนิทสนมกันมากขึ้น ด้วยเพราะรองศาสตราจารย์สุรพล สุวรรณ ได้เชิญผมให้ไปร่วมแสดงดนตรีไทยในงานวิศิษฏ์ศิลปินปิ่นสยาม ในปีที่ 2 ในฐานะครูอาวุโส ชายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งครูณรงค์ก็ได้ร่วมขับร้องในฐานะครูอาวุโสด้วยเช่นกัน และร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงเสด็จพระราชด�ำเนินเป็นองค์ประธานเป็น ประจ�ำทุกปีตั้งแต่ครั้งที่หนึ่งจนกระทั่งครั้งสุดท้ายที่ครูณรงค์เสียชีวิต ทุกครั้งที่ร่วมงานแสดงรวมถึงแสดงดนตรีที่บ้านของรองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี [ศิลปินแห่งชาติ] ในงานวันคล้ายวันเกิดของท่านเกือบทุกปี งานของครูอาจารย์บ้านดุริยประณีต งาน ด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [ประสานมิตร] รวมทั้งการเป็นครูผู้ควบคุมวงดนตรี ไทยในงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ผมสังเกตเห็นว่าครูณรงค์เดินทางมาร่วมงานด้วยตนเองทุกครั้ง ยิ้ม แย้มแจ่มใสและพูดจาทักทายด้วยอารมณ์ที่ดีกับทุกๆ คน ให้ความรักและความเป็นกันเองเสมอ และ

1 8 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


มักกล่าวกับผมว่า “อาจารย์โกวิทย์มีงานอะไรให้ช่วยเหลือขอให้บอกได้ ผมยินดีจะร้องเพลงให้โดย ไม่ต้องมีค่าตอบแทน” ขอให้ได้เล่นดนตรีไทยและขับร้องด้วยกันอย่างมีความสุข ดังนั้น ผมเอง รอง ศาสตราจารย์สุรพล สุวรรณ ครูทะเบียน มาลัยเล็ก และครูณรงค์ จึงมักอยู่ในกลุ่มที่ไปร่วมวงกับครู ดนตรีไทยวงอื่นๆ เป็นประจ�ำเกือบทุกงาน โดยเฉพาะในสมัยที่ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ยังมีชีวิตอยู่ ผมยังเคยนั่งคุยกับครูณรงค์ว่า วันที่ผมเดี่ยวซอด้วง เพลงกราวใน 2 ชั้น ในงานวิศิษฏ์ศิลปิน ปิน่ สยาม ครัง้ หนึง่ ช่วงใกล้จบเพลงผมสีเร็วกระทัง่ แทบจะสีไม่ทนั จึงหันไปตัง้ ใจจะบอกกับครูผตู้ กี ลอง และฉิ่งว่าให้ช้าลง ปรากฏว่าครูทั้งสองท่านพยายามเร่งขึ้นอีกมาก ส่วนตัวในใจตอนนั้นคิดเองว่าคงสี ล่มและพลาดเป็นแน่ นิ้วสะดุดเล็กน้อย ภาวนาในใจว่า ขอเทพเทวดาทางดนตรีทุกพระองค์ช่วยผมให้ ผ่านพ้นไปด้วยดีด้วย เมื่อเข้ามาหลังเวทีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเมื่อบรรเลงจบ จึงทราบว่า เป็นความเข้าใจผิดของครูทั้งสองท่านซึ่งเข้าใจว่าผมให้สัญญาณว่าให้เร่งจังหวะขึ้น เมื่อเล่าเรื่องดัง กล่าวให้ครูณรงค์ฟัง ครูณรงค์หัวเราะและกล่าวกับผมว่า ผมมีพ่อแก่เงินของแท้ [รุ่นนิยม] รุ่นปี พ.ศ. 2513 จากวัดพระพิเรนทร์ อาจารย์น่าจะมีไว้ติดตัวขณะเล่นดนตรี ผมยังฝากให้ครูณรงค์ช่วยเสาะหา เหรียญพ่อแก่ดังกล่าวให้ผมเอาไว้ห้อยบูชาอีกด้วย เหตุการณ์ช่วงซ้อมดนตรีในการแสดงโดยครูอาวุโสแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ งานวิศิษฏ์ศิลปินปิ่น สยาม ของปีที่แล้ว ครูณรงค์แสดงอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด เสียงร้องเพลงหลงและไม่ตรงกับ ระดับเสียงของเครือ่ งดนตรี จนกระทัง่ ครูทกุ ท่านตระหนกและเป็นกังวล เพราะไม่เคยปรากฏว่าครูณรงค์ จะขับร้องเพี้ยนเสียง ทั้งมีความเป็นห่วงว่าจะเกิดปัญหาในการแสดงของค�่ำวันนั้น ภายหลังเมื่อได้ ทราบข่าวว่าครูณรงค์มาจากผมและเพื่อนพี่น้องนักดนตรีไทยไปอย่างไม่มีวันกลับ ท�ำให้ผมนึกถึงลาง สังหรณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในวันนั้นจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และนึกอธิษฐานถึงครูณรงค์ให้รอผมก่อนที่ เราจะได้ไปพบกันอีกครั้งในอนาคต ขอกล่าวค�ำอาลัยสุดท้ายที่ผมจะไม่มีโอกาสได้ร่วมบรรเลงหรือเดี่ยวซอร่วมกับการขับร้องของ ครูณรงค์อีกต่อไป หากชาติหน้ามีจริงขอให้ได้เป็นกัลยาณมิตรทางดนตรีไทยด้วยกันอีกด้วยเทอญ “หลับเถิดหนอเพื่อนคนดีของชีวิต ขออุทิศทานกุศลผลบุญให้ ตราบชีพลับภพสถานพิมานใด พร้อมจะไปเป็นเพื่อนกันเหมือนเคย” รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ ศาสตราจารย์พิเศษ [ศาสตรเมธี]

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 19


อาลัยครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ครูณรงค์ แก้วอ่อน มีความสนิทสนมชิดเชื้อและเข้าออกบ้านดุริยประณีตตั้งแต่ยังหนุ่มๆ อาจ กล่าวได้วา่ ครูณรงค์เป็นนักร้องมีชอื่ เสียงประจ�ำวงดนตรีไทยของกรมประชาสัมพันธ์ได้ ก็เพราะคุณครู สุดจิตต์ ดุริยประณีต เป็นผู้ชักน�ำ และถ่ายทอดวิชาขับร้องของทางบ้านดุริยประณีตให้อย่างไม่ปิดบัง อ�ำพราง แต่โดยส่วนตัวกับข้าพเจ้าเองแล้ว ครูณรงค์กบั ข้าพเจ้านัน้ เราเป็นเพือ่ นรุน่ เดียวกัน ครูณรงค์ เรียกข้าพเจ้าว่า “พีส่ ”ุ ส่วนข้าพเจ้าเรียกครูณรงค์วา่ “น้องรงค์” แต่ภายหลังข้าพเจ้าให้เกียรติครูณรงค์ ด้วยความเป็นผูท้ มี่ คี วามรูท้ างด้านการขับร้องเพลงมาก ข้าพเจ้าจึงเรียกเขาว่า “อาจารย์” หรือ “ครู” ครูณรงค์ แก้วอ่อน มีผลงานขับร้องร่วมกับวงดนตรีไทยบ้านดุริยประณีตมาเป็นระยะเวลา อันยาวนาน จนกระทั่งแทบจะเรียกได้ว่าเกือบทุกงาน เพราะคุณครูสุดจิตต์ไว้เนื้อเชื่อใจว่าครูณรงค์ สามารถร้องเพลงได้มาก มากแล้วยังสามารถจดจ�ำไว้ในสมองได้อีกด้วย มากขนาดที่ว่า เปรียบสมอง เป็นคอมพิวเตอร์ คือคุณจะเรียกเพลงอะไรจากเขาล่ะ ขอให้ร้องเพลงไหนเขาก็สามารถร้องให้ได้เดี๋ยว นั้นทันที เหมือนกดคอมพิวเตอร์ และมีความกตัญญูรู้คุณคน เพราะปรากฏว่า วงดนตรีไทยบ้าน ดุรยิ ประณีตมีงานบรรเลงครัง้ ใด ไม่วา่ ครูณรงค์จะอยูท่ ไี่ หนหรือติดธุระอืน่ ใด เขาต้องมาช่วยเหลือทันที อันนี้ข้าพเจ้าชื่นชมเขามาก ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าต้องต่อทางร้องเพลงเทวาประสิทธิ์ เถา ทางฝั่งธน ให้แก่ลูกศิษย์คณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้าพเจ้ายอมรับว่าจนทางร้องเพลงนี้ จึงได้โทรศัพท์ไปปรึกษากับ ครูณรงค์ว่า อาจารย์ร้องเพลงนี้ได้ไหม เพลงเทวาประสิทธิ์ เถา ทางฝั่งธน ครูณรงค์ตอบว่า ได้ครับ แล้วรีบมาหาข้าพเจ้าที่บ้านเพื่อบันทึกเทปให้ แม้จะหยิบยื่นค่าทางเดินต่างๆ ให้ก็ไม่ยอมรับเอาไว้ด้วย ความมีน�้ำใจ แต่ภายหลังเมื่อครูณรงค์สอบถามเพลงมังกรทอง เถา จากข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้แนะน�ำ เขากลับไป แบ่งปันวิชาความรู้กันมาโดยตลอดที่ได้คบหาเป็นกัลยาณมิตรทางดนตรีไทย ครูณรงค์ แก้วอ่อน เป็นคนตลก ไม่ได้เป็นคนเศร้าหมอง เป็นคนอารมณ์ดี และเป็นคนฉลาด อย่างหนึ่งว่า สมัยที่เขาเดินทางเข้ามาเรียนขับร้องเพลงไทยในกรุงเทพฯ ใหม่ๆ ครูณรงค์ยังหายใจใน ช่วงขับร้องไม่ถกู ต้องต�ำแหน่งทีค่ วรหายใจนัก แต่ได้สังเกตและจดจ�ำวิธกี ารหายใจในการขับร้องเพลง ไทยที่ข้าพเจ้าสอนออกอากาศทางวิทยุ ไม่นานเขาก็สามารถเปลี่ยนวิธีและต�ำแหน่งหายใจได้อย่างถูก ต้องทั้งหมด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพราะนักร้องบางท่านแก้เท่าไหร่ก็แก้ไม่ได้ ส�ำหรับเรื่องการ หายใจให้เป็นที่เป็นทาง แต่ส�ำหรับครูณรงค์สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวของตัวเอง คนเก่งและมีความรูด้ า้ นการขับร้องเพลงไทยมากอย่างเขาควรจะอยูบ่ นโลกนีใ้ ห้ยาวนานกว่า นี้มากๆ การจากไปครั้งนี้ของเขาเป็นการจากไปของคนดีมีฝีมืออย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง สุรางค์ ดุริยพันธุ์

2 0 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

ในนามมูลนิธิดุริยประณีต [บ้านบางล�ำภู]


ครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ในความทรงจำ� บิดาของพี่ณรงค์ [ครูส�ำรวม แก้วอ่อน] และบิดาของผม [ครูแย่ง ทางมีศรี] เป็นเพื่อนสนิทกัน ฉะนั้น เราทั้งคู่จึงเกิดและเติบโตมาพร้อมๆ กัน บ้านพี่ณรงค์มีวงปี่พาทย์ชื่อ “รวมบรรเลง” บ้านผมก็ มีวงปี่พาทย์ชื่อ “เทียบ เทียมศรี” ที่ตั้งต�ำแหน่งบ้านอยู่ไม่ห่างไกลจากกันนัก ย่านบางแคกับย่านบาง เกาะ อัมพวา สมุทรสงคราม พี่ณรงค์เรียนที่โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย โรงเรียนประจ�ำอ�ำเภอ เติบโต มาด้วยกันก็จริง แต่ช่วงนั้นต่างคนก็ต่างอยู่ในโลกของตัวเอง พี่ณรงค์ก็มีโลกส่วนตัวของเขา ผมเอง ก็จะอยู่กับเพื่อนที่ชอบเฮฮาทะลึ่งตึงตัง ผมเป็นเพื่อนสนิทกับจ่าสิบเอกประเวศ แก้วอ่อน และนายประสงค์ แก้วอ่อน น้องชายทั้งสอง คนของพีณ ่ รงค์ พีณ ่ รงค์จงึ เป็นเพือ่ นรุน่ พีท่ มี่ หี น้าทีต่ อ้ งตัง้ อกตัง้ ใจไปศึกษาเล่าเรียน เวลามีงานบรรเลง ดนตรีปี่พาทย์ที่ไหน หน้าที่ประจ�ำของเขาคือตีโหม่งกับตีเครื่องประกอบจังหวะ ส่วนตัวผมช่วงนั้นตี เครื่องได้บ้างแล้ว เวลาที่บ้านพี่ณรงค์รับงานเขาจะเชิญพ่อของผมไปร่วมบรรเลงด้วยอยู่เสมอ ผมก็ พลอยได้ติดตามพ่อไปอยู่ในวงปี่พาทย์ของเขาด้วย พี่ณรงค์อาจซึมซับความเป็นนักร้องเพลงไทยโดยที่ไม่ได้คิดว่า อนาคตต่อมาเขาจะกลายเป็น นักร้องคนส�ำคัญคนหนึ่งในวงการดนตรีไทย พวกเราจะเรียกพ่อของพี่ณรงค์ว่า “ครูรวมร้อง” เพลง ที่ครูรวมชอบร้องมากที่สุดและหลายคนมักกล่าวขวัญถึง คือ “ตับดาวดึงส์” 4-5 ทุ่มไปแล้วต้องร้อง ตับดาวดึงส์ทุกงาน เพราะย่านนั้นมันเงียบ พอเพลงขึ้นมาแล้วไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงไหนมันก็ฟังเพราะ ครูรวมร้องเป็นคนที่มีเสียงไพเราะ เนื้อเสียงดีฟังเย็นๆ ครูวงษ์ รวมสุข มักพูดว่า “ถ้านายรวมตาย เมื่อไหร่ ชั้นจะเลิกเล่นตับดาวดึงส์” พอครูรวมร้องสิ้นไปแล้วจริงๆ ก็ไม่มีใครร้องตับดาวดึงส์อีกเลย นับตั้งแต่บัดนั้นมา ช่วงชีวิตหนึ่งเราต่างเติบโตและต่างใช้ชีวิตไปในเส้นทางของตนเอง ผมขึ้นไปเรียนปี่พาทย์อยู่ ที่ส�ำนักครูรวม พรหมบุรี จังหวัดราชบุรี พี่ณรงค์ใช้ชีวิตอยู่บ้านที่บางเกาะ อยู่ทางนี้ผมไม่ได้ข่าวว่า พี่ณรงค์เป็นอย่างไร อยู่ดีๆ ก็มีคนมาบอกว่า พี่ณรงค์เป็นนักร้องเพลงไทยแล้ว เริ่มเข้ากรุงเทพฯ ฝากตัวเรียนกับครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ได้สักพักหนึ่ง แต่ยังไม่ได้เข้าท�ำงานที่กรมประชาสัมพันธ์ โต ขึ้นมาอีกหน่อย ครูรวม พรหมบุรี ก็เชิญพี่ณรงค์มาร้องให้กับวงที่ราชบุรี พี่ณรงค์เป็นนักร้องไปแล้ว ร้องเพลงไทยได้มาก ในที่สุดเขาก็นำ� เพลงที่พวกเราไม่ได้มาร้องให้พวกเราฟัง ช่วงนั้นผมทึ่งในความ สามารถของพี่เขามาก พี่ณรงค์เป็นนักร้องเพลงไทยที่มีเนื้อเสียงโทนเสียงกลางต�่ำ ธรรมชาติเขาเป็นอย่างนั้น แต่พี่ ณรงค์ได้เพลงมาก กระทั่งพวกเราตั้งฉายากันเล่นๆ ในวงสุราว่า “นักร้องสองร้อยเพลง” ร้องเพลง สองร้อยเพลงโดยไม่ต้องดูเนื้อ ทั้งตับนางลอย ตับนาคบาศ ตับพรหมมาศ อยู่ในหัวสมองของเขา ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 21


ทั้งหมด ยังไม่รวมทยอยนอก ทยอยใน ทยอยเขมร เพลงที่มีอัตราจังหวะยาวๆ อย่างเพลงอะแซ หวุ่นกี้ เถา เพลงนารายณ์แปลงรูป เถา อัจฉริยภาพในเรื่องความทรงจ�ำของเขานี่ผมยกย่องมาก เป็นนักร้องเพลงไทยที่มีความขยันที่ควรน�ำมาเป็นแบบอย่าง ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหนก็ตาม ถ้านั่ง ใกล้ๆ จะได้ยินเสียงพี่ณรงค์ทวนเพลง ครัง้ หนึง่ สมัยทีพ่ ณ ี่ รงค์ยงั เป็นนักดืม่ อยูบ่ า้ ง ครูดนิ้ [ครูประมวล ครุฑสิงห์] ราชบุรี คุยถึงเรือ่ งที่ ว่าใครจ�ำเพลงได้มากกว่ากัน พี่ณรงค์พูดขึ้นมาว่า สองร้อยเพลงนี่ให้ชี้มาได้เลยว่าจะให้ร้องเพลงไหน ร้องได้โดยที่ไม่ต้องดูเนื้อ ครูประมวลเขาว่า ไหนลองร้อง “เก็กเหม็ง เถา” ให้ฟังหน่อย เก็กเหม็งเป็น เพลงเก่าของค่ายอัมพวา ครูอ่วน หนูแก้ว ท่านได้อยู่ท่านเดียว นอกจากนั้นก็ไม่มีใครได้ เพราะเป็น เพลงเฉพาะส�ำนัก พี่ณรงค์ก็อึ้ง ขนาดท้าไปสองร้อยเพลงยังมีรอดเพลงที่สองร้อยเอ็ดมาอีก หันมา ถามผมว่า “เก็กเหม็งมันขึ้นอย่างไร” คือให้บอกท�ำนองขึ้นมาเท่านั้น เดี๋ยวจะร้องให้ดู เขาก็ยังมีจิตสู้ สมมุติไปงานไกลบ้านที่เขาเดินทางกลับเองไม่สะดวก เป็นต้นว่างานเย็นวันนี้ กลางคืนร้อง เสร็จเรียบร้อย แต่กลางวันวันรุ่งขึ้นจะต้องกลับพร้อมกัน ฉันเพลเสร็จแล้วว่าง คนร้องไม่ได้ท�ำหน้าที่ อะไร ถามว่าพี่ณรงค์ท�ำอะไรอยู่ที่ไหน ถ้าวัดนั้นอยู่ในบริเวณที่เป็นทุ่งข้าวนาข้าว โน้น พี่ณรงค์จะไป ยืนอยู่ไกลๆ แล้วท่องเพลง เงยหน้าและตะโกนร้องให้ลมพัดไปมา ถามเขาว่าท�ำอะไร เขาบอก “ให้ สายเสียงมันตื่นตัว ร้องแล้วจะได้ไม่เจ็บคอ” ซึ่งเป็นวิธีไล่เสียงเฉพาะตัวของเขา ดึกดื่นเช้ามืดจะให้ ร้องตอนไหนจึงร้องได้ทันที โดยส่วนตัวมองว่าเป็นวิธที เี่ ขาคิดขึน้ ของเขาเอง ว่าถ้าท�ำอย่างนีแ้ ล้วจะได้อะไรตอบแทนทีม่ นั ดี ที่สุด ลงทุนฝึกเองโดยที่ไม่ต้องมีใครมาบังคับ ทั้งจ�ำเพลงแม่น ทั้งร้องทน เดินทางมาร่วมงานพิธีไหว้ ครูที่ราชบุรีแต่ละปีไม่มีบ่นค�ำว่าเหนื่อยหรือพอ ชั้นง่วงชั้นจะนอน ไม่มี มีแต่พวกเราจะหนีไปนอนก่อน พีณ ่ รงค์จะบอกว่า “อีกหน่อยเถอะๆ” มาเรียกให้พวกเราไปตีอกี สุดท้ายเขาก็ตอ้ งจ�ำใจไปนอน นอนก็ นอนไม่หลับ เพราะรอเวลาที่จะได้เล่นได้ร้องอีก อยากจะร้องให้คนบรรเลง นี่คือพี่ณรงค์ พี่ณรงค์เป็นนักร้องที่ร้องเพลงได้ทุกประเภท ทั้งเสภา เครื่องสาย ปี่พาทย์ไม้นวม แม้กระทั่ง ละคร ถ้ามีบทให้เขา เขาจะร้องได้ทนั ทีดว้ ยความอัจฉริยภาพ ถามว่าช�ำนาญในเรือ่ งการร้องละครร้อง การแสดงไหม ไม่ช�ำนาญเท่าที่ควร แต่เขาสนใจที่จะถามคนที่ช�ำนาญ สนใจที่จะดูครูแจ้ง คล้ายสีทอง สนใจที่จะดูคนที่ช�ำนาญกว่าแล้วน�ำมาปรับใช้เป็นแบบอย่างในทุกๆ ด้าน กระทั่งผมย้ายเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯ ช่วงหลังไม่กี่ปีมานี้ผมย้ายบ้านมาอยู่ติดกับซอยที่พี่ณรงค์ อยู่ คือซอยวัดเพลงวิปัสสนา พี่ณรงค์เช่าห้องอยู่ตรงนั้นตั้งแต่ค่าเช่าเดือนละ 250 บาท กระทั่งขึ้นมา เป็นล�ำดับจนปัจจุบันราคาเดือนละ 5-6 พันบาท ถามว่าคิดถึงกันตอนไหน พี่ณรงค์จะบอกว่า ถ้าไฟ ไหม้ซอยบ้านผมก็จะมาชะเง้อดูสกั ทีวา่ ตรงบ้านชัยยะหรือเปล่า เวลาผมไปตลาดบางขุนศรี ผมก็จะมอง เข้าไปในซอยวัดเพลงวิปัสสนา มองไปสักพักจะเจอพี่ณรงค์ ไม่อยู่ร้านข้าวก็จะอยู่ร้านหนังสือพิมพ์

2 2 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราจะร่วมงานบรรเลงและขับร้องกันอยู่เนืองๆ ที่ราชบุรีเจอกันแทบทุกปี ขอให้ บอกไม่วา่ งานใกล้หรือไกล ไม่มคี ำ� ว่าเกีย่ งงอน พีณ ่ รงค์จะเดินทางไปกลับอย่างไรไม่ตอ้ งห่วง ไม่มรี าคา ค่าตัว ขอให้งานเสร็จสมบูรณ์สบายใจแล้วค่อยว่ากันทีหลัง โดยเฉพาะพีณ ่ รงค์มคี วามรักบ้านเกิดอย่างเต็มเปีย่ ม ยุคหนึง่ ทีศ่ าสตราจารย์ ดร.อุทศิ นาคสวัสดิ์ ท่านท�ำรายการโทรทัศน์อยูร่ ายการหนึง่ คือ “ดร.อุทศิ แนะดนตรีไทย” ท่านเคยชวนพวกเราในฐานะที่ เป็นคนบางเดียวกัน ชวนผมชวนพี่ณรงค์ ซึ่งตอนนั้นครูอุทัย แก้วละเอียด เขาเล่นอยู่แต่เดิมแล้ว ครู เสนาะ หลวงสุนทร ก็ไปร่วมงาน พี่ณรงค์พยายามพูดเสมอว่า “พวกเราอยู่บางช้างกันนะ อะไรที่มัน เป็นกิจกรรมร่วมของอัมพวา สมุทรสงคราม อยากจะให้ไปออกตัวร่วมด้วยช่วยกัน” เป็นคนทีม่ คี วามรัก ท้องถิ่นสูง กิจกรรมร่วมต่างๆ เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่อัมพวา สมุทรสงคราม พี่ณรงค์จะไม่ รังเกียจทีจ่ ะไปช่วย อย่างงานประจ�ำปีของอุทยาน ร.2 ก็จะไปร่วมร้องเพลงหุน่ กระบอกให้กบั คณะของ น้องสะใภ้อยู่เป็นประจ�ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมของครอบครัว พีณ ่ รงค์เป็นคนทีม่ แี ต่ให้ประโยชน์แก่ผอู้ นื่ ไม่เคยคิดเบียดเบียนใคร ไม่เอาเปรียบใคร เรือ่ งความ เป็นอยู่เรียบง่าย กินอยู่ง่าย ทั้งๆ ที่มีเงินทองพอที่จะหาซื้อเสื้อผ้าดีๆ ใส่ คือไม่ค่อยห่วงตัวเองเท่า ไหร่ เป็นห่วงผู้อื่นมากกว่า สุดท้ายนี้ขอให้พี่ณรงค์ไปสบาย ไปอยู่ในที่อันสมควร ไปอยู่กับคุณพ่อของ พี่ณรงค์ซึ่งเป็นนักร้องเพลงไทยเหมือนกัน

ชัยยะ ทางมีศรี

ส�ำนักการสังคีต กรมศิลปากร

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 23


พี่ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ในความทรงจำ� ดิฉนั รูจ้ กั ชือ่ ณรงค์ รวมบรรเลง มาตัง้ แต่ยงั เป็นเด็กมัธยมตอนเรียนอยูโ่ รงเรียนสตรีสมุทรปราการ เพราะความที่เป็นนักดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็กจึงได้ยินเสียงร้องเพลงไทยของพี่ณรงค์ก่อนจะมารู้จักตัว เป็นๆ ตอนทีโ่ ตรุน่ สาวแล้ว ใครทีเ่ ป็นนักดนตรีไทยหรือเป็นคนชอบฟังเพลงไทยต้องเคยได้ยนิ เสียงร้อง เพลงไทยของพี่ณรงค์ทางสถานีวิทยุต่างๆ โดยเฉพาะจากรายการเพลงไทยของสถานีวิทยุกระจาย เสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้มีรายการดนตรีไทยอยู่หลายช่วงเวลาทั้ง กลางวันและกลางคืน แต่ปัจจุบันนี้สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ไม่มีรายการเพลงไทย แท้ๆ ให้คนไทยได้ฟังกันแล้วแม้แต่รายการเดียว ได้ยินแต่เสียงฝรั่งมาจัดรายการเพลงฝรั่งให้คนไทย ฟัง จนถึงปี พ.ศ. 2522 ดิฉนั ได้โอนจากแผนกดนตรีไทย กองดุรยิ างค์ทหารเรือ มาอยูท่ ฝี่ า่ ยดนตรีไทย ส่วนบริหารการดนตรี สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ตามค�ำชักชวน ของครูระตี วิเศษสุรการ จึงได้ร่วมงานกับพี่ณรงค์ รวมบรรเลง ซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ที่วงดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์อยู่ก่อนแล้ว ตลอดช่วงเวลาทีร่ ว่ มวงกันมาในวงดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ ดิฉนั กับพีณ ่ รงค์สนิทสนมกัน มาก ในฐานะนักดนตรีไทยกับนักร้องเพลงไทย ร่วมงาน ร่วมบรรเลง ร่วมวงกันมาหลายปี ดิฉันได้รับ ความรู้ทั้งเรื่องการขับร้องเพลงไทย เรื่องเนื้อหาของการบรรเลงเพลงไทยมากมายหลายอย่างจากพี่ ณรงค์ จนถึงปี พ.ศ. 2545 พีณ ่ รงค์ได้รบั แต่งตัง้ ขึน้ ให้เป็นหัวหน้าฝ่ายดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ รับ ผิดชอบเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ อย่างเต็มตัว ช่วงนัน้ วงของเรามีงานต้องบรรเลง และขับร้องในงานพระราชพิธีส�ำคัญต่างๆ เช่น งานถวายพระพรในวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ และงานถวายพระพรวันพระราชสมภพของ ทุกพระองค์ในราชวงศ์จกั รี เราต้องฝึกซ้อมในเรือ่ งการขับร้องถวายพระพรและฝึกซ้อมวงดนตรีไทยเพือ่ บรรเลงถวายพระพร ดิฉนั กับพีณ ่ รงค์ได้รว่ มงานกันมาโดยตลอด เพราะในขณะทีพ่ ณ ี่ รงค์ดำ� รงต�ำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายดนตรีไทย ดิฉันก็ได้รับแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าฝ่ายดนตรีสากลเป็นเวลาประมาณ 2 ปี หลังจากที่พี่ณรงค์ได้เกษียณอายุราชการแล้วดิฉันจึงได้ด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าฝ่ายดนตรีไทยแทน ช่วงเวลาทีพ่ ณ ี่ รงค์ดำ� รงต�ำแหน่งหัวหน้าฝ่ายดนตรีไทยนัน้ ในปี พ.ศ. 2538 ดิฉนั ได้รบั มอบหมาย จากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ให้เป็นผู้จัดรายการดนตรีไทย ชื่อรายการ “ทิพวาฑิต” ออกอากาศสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี โดยเปิดโอกาส ให้ทุกสถาบันได้มาแสดงในเวทีนี้ รายการทิพวาฑิตเป็นรายการดนตรีไทยเพียงรายการเดียวที่ได้ออก อากาศทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ดิฉันและพี่ณรงค์ได้ร่วมงานกันหลายครั้งในการจัดรายการ

2 4 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


และวงดนตรีบรรเลงถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของทั้งสองพระองค์เป็นประจ�ำทุกปี โดยเป็นการขับร้อง และการบรรเลงถวายพระพรของวงดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งทุกครั้งจะเป็นการขับร้องน�ำวง ถวายพระพรของพี่ณรงค์ร่วมกับนักร้องเพลงไทยของวงคนอื่นๆ อีก 2-3 คน เมือ่ ใดก็ตามทีว่ งดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ มีงานราชการต้องบรรเลงเนือ่ งในวันส�ำคัญต่างๆ พี่ณรงค์จะมาช่วยเป็นก�ำลังส�ำคัญในการขับร้องเกือบทุกครั้ง แม้จะเกษียณอายุราชการไปแล้วก็ตาม จนมาถึงช่วงหลังๆ พีณ ่ รงค์เริม่ สุขภาพไม่ดี ป่วยบ่อยๆ ในทีส่ ดุ พีณ ่ รงค์กจ็ ากพวกเราไปอย่างสงบ ยัง ความเศร้าโศกและเสียดายของบุคคลในครอบครัวของท่านและเพือ่ นร่วมวง ตลอดจนนักดนตรีไทยใน วงต่างๆ ที่เคยร่วมงานกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปี สิ้นเสียงร้องเพลงไทยทุ้มนุ่มนวลของพี่ณรงค์ไปแล้ว ต่อแต่นี้ไปวงการดนตรีไทยจะหานัก ร้องเพลงไทยทีม่ ซี มุ่ เสียงไพเราะแบบนีไ้ ม่ได้อกี แล้ว พวกเราทุกคนในวงการดนตรีไทยคงต้องร�ำลึก นึกถึงพี่ณรงค์ไปอีกนานแสนนาน

ด้วยความรักและอาลัย ชยุดี วสวานนท์

อดีตหัวหน้าฝ่ายดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 25


ด้วยรักและอาลัย ครูณรงค์ แก้วอ่อน ข้าพเจ้ารูจ้ กั ชือ่ เสียงของครูณรงค์ แก้วอ่อน (รวมบรรเลง) มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ตัง้ แต่ เป็นเด็กนักเรียนอยู่ต่างจังหวัด รู้จักจากการได้ฟังรายการดนตรีไทยของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง ประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะมีครูอาวุโสทางดนตรีไทยในสมัยนั้นมาบรรเลงร่วมวงดนตรีกัน อาทิ ครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต ครูระตี วิเศษสุรการ ครูฉลวย จิยะจันท์ ครูจำ� เนียร ศรีไทยพันธุ์ ครูเมธา หมู่เย็น ครูทะเบียน มาลัยเล็ก ครูสืบศักดิ์ ดุริยประณีต ครูนิพันธ์ ธนรักษ์ และครูทัศนัย พิณพาทย์ เป็นต้น ซึ่งทุกท่านที่กล่าวมานี้ล้วนแต่เป็นยอดฝีมือประดับวงการดนตรีไทยของกรมประชาสัมพันธ์ โดยแท้จริง เมือ่ ข้าพเจ้าได้มโี อกาสเข้ามาศึกษาในระดับอุดมศึกษาทีก่ รุงเทพฯ ได้มโี อกาสพบครูณรงค์ แก้ว อ่อน ตามงานบรรเลงต่างๆ หลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งข้าพเจ้าเรียนจบและได้เข้ารับราชการที่ กรมประชาสัมพันธ์ ได้มีโอกาสร่วมงานบรรเลงกับครูณรงค์ตัวจริงเสียงจริง ซึ่งนับได้ว่าเป็นวาสนา ของข้าพเจ้าที่ได้พบและร่วมงานกับครูอาวุโสทางดนตรีไทยหลายๆ ท่าน โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้ามองว่า ครูณรงค์ แก้วอ่อน เป็นคนเก่ง มีนิสัยน่ารักเพราะเป็นคน อ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายสมถะ และเป็นคนขยัน สามารถก�ำหนดจดจ�ำเพลงร้องได้เป็นร้อยๆ เถา และสามารถร้องเพลงได้หลากหลายทางบรรเลง เนื่องด้วยเป็นคนขยันต่อเพลง ทวนเพลง และจะ สอบถามเรียนรู้จากครูโบราณอยู่สม�่ำเสมอ นอกจากนี้ครูณรงค์ยังมีงานสอนพิเศษและเดินทางไปขับ ร้องในงานบรรเลงร่วมกับหลากหลายวงดนตรี ด้วยเพราะครูณรงค์มีกัลยาณมิตรในแวดวงดนตรีไทย เป็นจ�ำนวนมาก เมือ่ ข้าพเจ้าลาออกจากการเป็นนักดนตรีไทยของกรมประชาสัมพันธ์ มาเป็นอาจารย์ประจ�ำคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ครูณรงค์กไ็ ด้สละเวลา มาเป็นอาจารย์พิเศษให้ที่ชมรมดนตรีไทย สจล. ท�ำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสพบครูณรงค์บ่อยครั้งมากขึ้น หลังจากทีไ่ ม่ได้ทำ� งานทีก่ รมประชาสัมพันธ์แล้ว กล่าวได้วา่ ข้าพเจ้ามีความสุขทุกครัง้ ทีไ่ ด้สนทนากับครู ณรงค์ ผู้ซึ่งมีเรื่องเล่าเรื่องราวและประสบการณ์อันยาวนานในแวดวงดนตรีไทย สุดท้ายนีข้ า้ พเจ้าขออานิสงส์แห่งคุณงามความดีทคี่ รูณรงค์ แก้วอ่อน ได้ประพฤติปฏิบตั แิ ละสร้าง สมไว้อย่างดีงามมาโดยตลอด จงดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของครูณรงค์ไปสู่ยังสุคติในสัมปรายภพ ด้วยเทอญ รองศาสตราจารย์ สุรพล สุวรรณ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

2 6 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ตู้เพลงเถาเคลื่อนที่ เมื่อครั้งสมัยที่คุณครูประชิต ข�ำประเสริฐ ยังมีชีวิตอยู่ ท่านมักจะกล่าวถึงนักร้องชายที่ชื่อ คุณครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ให้ผมฟังในเวลาที่เรียนร้องเพลงกับท่านอยู่เสมอ คุณครูประ ชิตกล่าวชื่นชมในท�ำนองที่ว่า คุณครูณรงค์เป็นผู้มีน�้ำเสียงทุ้มนุ่มนวลและมีกลวิธีในการขับร้องเพลง ไทยเป็นของตนเอง ฟังแล้วไพเราะ ที่คุณครูท่านประทับใจอย่างยิ่งก็คือ เมื่อคราวที่คุณครูณรงค์ท่าน ประกวดร้องเพลง ผมจึงหาเพลงที่ท่านร้องอัดเสียงไว้มาฟัง ก็รู้สึกเช่นเดียวกับที่คุณครูประชิตท่าน กล่าวชื่นชมไว้โดยแท้จริง เมื่อค้นไปลึกๆ เข้าแล้วก็จะพบว่า คุณครูณรงค์เป็นผู้ที่มีความเป็นคีตศิลปินที่หาตัวจับได้ยาก ยิง่ ท่านหนึง่ กล่าวคือ นอกจากจะร้องเพลงได้ไพเราะอย่างยิง่ แล้ว คุณครูยงั เป็น “ตูเ้ พลงเถาเคลือ่ นที”่ อีกด้วย เพราะคุณครูรอ้ งเพลงเถาได้มากจนกระทัง่ อาจเรียกได้วา่ แทบจะทุกเถา ทีส่ ำ� คัญคือคุณครูยงั เป็นนักร้องประเภท “เปิดปุบ๊ ติดปับ๊ ” มิตอ้ งหาสมุดเพลงมาเปิดเสียให้ยงุ่ ยาก ทัง้ ไม่ปรากฏว่าคุณครูถอื สมุดเพลงส่วนตัวมาเปิดขณะขับร้องเลย นี่ถือเป็นคุณวิเศษซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นักดนตรีไทยทั้งปวง ผมขอตัง้ จิตอธิษฐานขอให้คณ ุ ครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ไปสูส่ ขุ คติในสัมปรายภพ เป็น คีตศิลปินไทยในดวงใจของประชาชนตราบนานเท่านาน ในบรรดาเพลงเถาเท่าที่รู้ จะกี่เพลงบรรเลงไปก็เหลือเฟือ ครูผู้นี้ชื่อ "ณรงค์" ทรงกิตติศัพท์ ทั้งจีนแขกมอญไทยไม่แชเชือน ขอครูสู่สรวงสวรรค์อันสูงสุด เป็นนักร้องในใจชนจนชั่วกาล

ยังมีครูที่ร้องได้ไพเราะเหลือ ครูร้องได้ไม่มีเบื่อไม่มีเลือน ว่าร้องรับหลายร้อยเถาใครเท่าเหมือน ครูเอ่ยเอื้อนทุกบทเพลงบรรเลงลาน แลรีบรุดประลองเรียงเสียงประสาน ศิระกรานกราบคุณครูผู้การุญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณพล จันทน์หอม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 27


กราบคุณครูด้วยหัวใจแห่งความรักและเทิดทูนบูชา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นช่วงต้นๆ ของการท�ำงานที่การประปานครหลวง ผมได้สมัครเข้า ร่วมกิจกรรมกับชมรมดนตรีไทยของการประปานครหลวง ซึ่งเป็นโอกาสให้ผมได้พบและเป็นศิษย์ของคุณครู ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] เป็นครัง้ แรก และต่อจากนัน้ เป็นต้นมาผมก็ได้มโี อกาสใกล้ชดิ และได้รบั ความ เมตตาในการถ่ายทอดความรูใ้ นการขับร้องเพลงไทยเดิมจากคุณครูณรงค์มาโดยตลอดจวบจนกระทัง่ ถึงวาระ สุดท้ายที่คุณครูได้จากพวกเราไปอย่างคาดไม่ถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558 ตลอดระยะเวลาอันยาวนานเกือบ 25 ปี ที่ผมได้มีโอกาสเป็นศิษย์ของคุณครู ผมได้ตระหนักรู้อย่าง ชัดแจ้งในหัวใจแล้วว่า คุณครูณรงค์เป็นเพชรเม็ดงามอันดับต้นๆ ของวงการนักร้องเพลงไทยเดิมที่มีความ เป็นเอกทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ ตลอดจนกระทั่งคุณธรรมความดีงาม ความเสียสละในอันที่จะมุ่ง มั่นทุ่มแรงกายแรงใจในการกระท�ำกิจกรรมอันหลากหลาย เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมของชาติแขนงนี้ ให้ด�ำรงอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป กล่าวในด้านการขับร้องเพลงไทยเดิม คุณครูได้ชอื่ ว่าเป็นผูท้ มี่ ที กั ษะความจ�ำอันเป็นเลิศ เพราะในการ ขับร้องเพลงไทยไม่วา่ จะเป็นเพลงตับ เพลงเถา หรือเพลงอืน่ ๆ ซึง่ มีจำ� นวนนับร้อยๆ เพลง คุณครูจะสามารถ ขับร้องหรือต่อเพลงให้กับลูกศิษย์ได้อย่างถูกต้องแม่นย�ำโดยไม่ต้องดูเนื้อร้องหรือใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือใดๆ ด้วยคุณสมบัติพิเศษดังกล่าวนี้ คุณครูจึงเสมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ของวงการดนตรีไทย ซึ่งบรรดาศิษย์และ ผู้ร่วมวงการอื่นๆ สามารถมาขอค�ำปรึกษาเกี่ยวกับประวัติและการขับร้องเพลงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี กล่าว กันว่า มีผู้รู้ในวงการดนตรีไทยบางท่านถึงกับให้สมญาคุณครูว่า “ณรงค์ร้อยเถา” นอกเหนือจากความรู้ความสามารถพิเศษดังกล่าวข้างต้นแล้ว คุณครูยังเป็นผู้ที่มีความสมถะ เรียบง่าย ไม่ถือตัว รวมทั้งเป็นครูผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรมอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ผม ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับคุณครู ผมไม่เคยเห็นคุณครูณรงค์โกรธ หงุดหงิด หรือใช้อารมณ์กับลูกศิษย์คนใดแม้แต่ ครั้งเดียว ทุกครั้งที่ศิษย์มีความผิดพลาดในการขับร้องหรือมีพฤติกรรมอื่นๆ คุณครูไม่เคยต�ำหนิให้เสียก�ำลัง ใจ มีแต่คอยให้ค�ำแนะน�ำที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุง รวมทั้งให้ก�ำลังใจแก่ศิษย์ทุกคนด้วยความรัก ความเมตตาปราณีเสมอมา ด้วยเหตุนี้ ศิษย์ทุกคนในชมรมฯ นอกจากจะมีความเคารพรักในตัวคุณครูอย่าง สุดหัวใจแล้ว พวกเรายังมีความรูส้ กึ อุน่ ใจและมัน่ ใจในการแสดงมากขึน้ เสมอเมือ่ มีครูนงั่ เป็นก�ำลังใจอยูใ่ กล้ๆ คุณครูณรงค์นบั เป็นผูท้ เี่ กิดและมีชวี ติ อยูเ่ พือ่ ดนตรีไทยโดยแท้จริง เพราะนอกจากคุณครูจะได้ใช้เวลา เกือบค่อนชีวิตในการศึกษาฝึกฝนศาสตร์แห่งดนตรีไทยมาอย่างหนัก จนประสบความส�ำเร็จอย่างสูงยิ่งแล้ว คุณครูยงั ได้มงุ่ มัน่ ทีจ่ ะใช้เวลาทีเ่ หลืออยูท่ งั้ ชีวติ ทุม่ เทให้กบั การถ่ายทอดองค์ความรูท้ คี่ รูมอี ยู่ ให้กบั ลูกศิษย์ทกุ คนได้ศกึ ษาเรียนรูแ้ ละเห็นคุณค่าความงดงามในศิลปวัฒนธรรมแขนงนี้ เพือ่ จักได้เกิดความรัก ความหวงแหน และช่วยกันจรรโลงรักษาไว้ให้คงอยู่คู่กับชาติไทยได้ตราบนานเท่านาน

2 8 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


คุณครูท่านได้เสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจในการท�ำหน้าที่ครูผู้ถ่ายทอดอย่างสุดชีวิตโดยไม่เห็นแก่ ความเหน็ดเหนื่อยหรืออามิสสินจ้างใดๆ ทั้งสิ้น ดังเราจะเห็นได้ว่า แม้ในวันสุดท้ายก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ทั้งๆ ที่พวกเราก็พอสังเกตเห็นได้ชัดว่า ร่างกายของคุณครูอยู่ในสภาพที่อิดโรยมากแล้ว แต่คุณครูก็ยังขึ้น รถเมล์เพื่อเดินทางมาท�ำการสอนตามปกติ โดยยืนยันว่าไม่ได้เป็นอะไรมาก ในวันนั้นครูได้ต่อเพลงใหม่ให้ กับศิษย์หลายคนที่ได้ขอนัดหมายไว้ล่วงหน้าเป็นกรณีพิเศษจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ก่อนที่จะเดินทางกลับและ ได้เสียชีวิตในวันถัดมา ในส่วนของการท�ำหน้าทีค่ รูผฝู้ กึ สอนการขับร้องเพลงไทยเดิมให้กบั ชมรมดนตรีไทยการประปานครหลวง นั้น สามารถกล่าวได้ว่า คุณครูได้มีคุณูปการต่อชมรมฯ อย่างใหญ่หลวงเกินกว่าที่จะพรรณนาได้ คุณครูได้ สละเวลา แรงกาย แรงใจให้กับทางชมรมฯ อย่างเต็มที่ ทั้งในการถ่ายทอดความรู้และการร่วมกิจกรรมการ แสดงในทุกๆ โอกาสอย่างไม่เคยขาดตกบกพร่อง ทั้งๆ ที่ครูมีภารกิจหน้าที่ในงานประจ�ำและงานอื่นๆ อีก มาก คุณครูไม่เคยปฏิเสธการร้องขอของพวกเราในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเหน็ดเหนื่อยหรือยากล�ำบากเพียงใด คุณครูก็เต็มใจจะปลีกเวลามาช่วยเหลือ และให้ความร่วมมือกับพวกเราอย่างเต็มที่เสมอมา และด้วยความ รักความเมตตาที่คุณครูได้มีต่อพวกเรามาโดยตลอดนี้ คุณครูจึงเป็นที่เคารพบูชาอย่างสูงของสมาชิกชมรมฯ ทุกคนทั้งในอดีตและปัจจุบันมาโดยตลอด ส�ำหรับส่วนตัวของผมเองนั้น ผมอยากจะกล่าวว่า ถึงแม้ผมจะเป็นเพียงนักร้องเพลงไทยเดิมสมัคร เล่นคนหนึ่ง ซึ่งในชีวิตไม่เคยแม้แต่จะบังอาจคิดว่า ตัวเองมีความรู้ความสามารถในศาสตร์แขนงนี้แม้แต่ เพียงน้อยนิด แต่ผมมีสิ่งหนึ่งที่เป็นความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิตของผมและเป็นแรงขับอันยิ่งใหญ่ที่ท�ำให้ผม ยังคงมีความรักความผูกพันอยูก่ บั ดนตรีไทยอย่างเหนียวแน่นไม่เสือ่ มคลายตลอดมา สิง่ นัน้ คือการทีผ่ มมีบญุ ได้เกิดมาเป็นศิษย์ใกล้ชิดสายตรงคนหนึ่งของคุณครูที่ชื่อ “ณรงค์ รวมบรรเลง” นั่นเอง การจากไปของครูณรงค์ รวมบรรเลง นี้ คงมิใช่เป็นความสูญเสียเฉพาะในหมู่ศิษย์และบรรดาญาติ สนิทมิตรสหายและผู้ที่เคารพนับถือโดยส่วนตัวเท่านั้น หากแต่ต้องนับว่า วงการดนตรีไทยของชาติก็ได้สูญ เสียบุคลากรที่ทรงคุณค่า ซึ่งได้ท�ำคุณประโยชน์และสร้างเกียรติประวัติอันดีงามให้กับวงการไว้อย่างมากไป อีกท่านหนึ่งอย่างน่าเสียดายยิ่ง ท้ายทีส่ ดุ นี้ กระผมและสมาชิกชมรมดนตรีไทยการประปานครหลวงทุกคน ขอกราบอาราธนาอ�ำนาจ แห่งคุณพระศรีรตั นตรัยและบรรดาสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ งั้ หลายในสากลโลก รวมทัง้ คุณงามความดีทคี่ ณุ ครูได้สงั่ สม มาตลอดช่วงชีวิตของท่าน จงโปรดดลบันดาลประทานพรให้ดวงวิญญาณของคุณครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวม บรรเลง] จงประสบแต่สันติสุขและสถิตสถาพรอยู่ในทิพยสถานในสัมปรายภพอันประเสริฐตลอดไป ด้วยความเคารพรักและเทิดทูนบูชาคุณครูเป็นอย่างยิ่ง บัณฑูร เขียวละม้าย

อดีตผู้อ�ำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล การประปานครหลวง ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 29


ความทรงจำ�ของศิษย์ แด่... คุณครูณรงค์ร้อยเถา ศศิธรจรแจ่มกระจ่างฟ้า เป็นประทีปส่องหล้ายามราตรี อ้าดวงรัชนีสาดส่องรังสีเสาวภา ชมแสงจันทรางามเอย เหมือนน�้ำใจครู น�้ำใจครูผู้อารี

ฉายนภาแจ่มจรัสรัศมี รื่นฤดีของเราชาวโลกา ชาวโลกส�ำราญบานอุรา ทุกชั้นพันธุเผ่าจันทร์เจ้าส่องไป ทั่วถึงแล้วเอย เมตตาปราณี ต่อศิษย์ บ่มีเทียมเอย

เมือ่ คุณครูทะเบียน มาลัยเล็ก ซึง่ เป็นครูดา้ นดนตรีไทยของชมรมดนตรีไทย การประปานครหลวง แจ้งให้ข้าพเจ้าเขียนค�ำไว้อาลัยแด่คุณครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ในฐานะที่เป็นศิษย์ด้านการ ขับร้องคนหนึ่งของท่าน ข้าพเจ้าจึงน�ำบทเพลงร้องของอาจารย์มนตรี ตราโมท มาบันทึกไว้ ณ หน้า กระดาษแผ่นนี้ ด้วยความชืน่ ชมผูป้ ระพันธ์ทบี่ รรยายบทกลอนเปรียบเทียบน�ำ้ ใจของครูทมี่ คี วามเมตตา ปรานีแก่ศิษย์ เสมือนหนึ่งแสงจันทราที่ส่องสว่างให้ความชื่นเย็นแก่ชาวโลก ซึ่งเปรียบได้กับน�้ำใจของ คุณครูณรงค์ที่มีให้แก่ศิษย์ทุกๆ คนเสมอมา คุณครูณรงค์มกั สอนข้าพเจ้าและลูกศิษย์นกั ร้องท่านอืน่ ๆ เสมอ ซึง่ ข้าพเจ้าจ�ำได้ไม่ลมื ว่า “การ ร้องเพลงไทยต้องร้องให้ถกู จังหวะ ไม่ผดิ เสียง ไม่เพราะไม่เป็นไร ร้องบ่อยๆ ก็จะดีไปเอง” ซึง่ ภายหลัง ข้าพเจ้าได้ฟังค�ำบอกเล่าจากผู้ใกล้ชิดของคุณครูณรงค์ท่านหนึ่ง คือครูผึ้ง [ดร.ภมร ภู่ทอง] เล่าว่า เวลาที่มีการบันทึกเสียง คุณครูณรงค์จะร้องส่งให้ดนตรีรับ แต่ระหว่างที่ดนตรีบรรเลงอยู่นั้น คุณครู ก็จะอ่านหนังสือที่ถือติดมือไปพลางๆ พอดนตรีส่งให้ครูร้องในท่อนต่อไปของบทเพลง คุณครูก็จะขับ ร้องต่อไปอย่างถูกต้องโดยไม่ตอ้ งดูเนือ้ ร้อง และปฏิบตั เิ ช่นนีม้ าโดยตลอดชีวติ การเป็นนักร้องเพลงไทย ของครู ครูผึ้งยังบอกอีกว่านี่เป็นเอกลักษณ์ประจ�ำตัวของครู ความสามารถพิเศษของคุณครูอกี อย่างหนึง่ คือ ไม่วา่ นักดนตรีจะบรรเลงเพลงอะไร คุณครูณรงค์ ไม่เคยปฏิเสธและสามารถขับร้องทุกเพลงทีน่ กั ดนตรีขอให้คณ ุ ครูขบั ร้องให้ได้มาโดยตลอด ดังนัน้ หลาย วงดนตรีจึงขอให้คุณครูเดินทางไปช่วยขับร้องเสมอ คุณครูจึงเป็นที่รักของเพื่อนนักดนตรีและนักร้อง ตลอดมา จนกระทั่งได้รับการขนานนามว่า “ณรงค์ร้อยเถา” ซึ่งข้าพเจ้าจ�ำได้ไม่ลืมเลือนเลยว่า การ แสดงดนตรีไทยโดยครูอาวุโสแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนือ่ งในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 พิธกี รในงาน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ญาดา อารัมภีร์ ได้ประกาศนามของคุณครูณรงค์ท่านว่า “ครูณรงค์ร้อย

3 0 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


เถา” นับเป็นมงคลอย่างยิง่ ส�ำหรับลูกศิษย์นกั ร้องเพลงไทยของชมรมดนตรีไทย การประปานครหลวง ทีม่ โี อกาสได้ใกล้ชดิ และได้รบั ความรูก้ ารขับร้องเพลงไทยจากคุณครูณรงค์ และทีน่ า่ ภูมใิ จทีส่ ดุ คือ คุณครู ณรงค์เป็นคีตศิลปินที่ได้รับการเชิดชูให้เป็นครูดนตรีไทยอาวุโสแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย สุดท้ายนี้ หากคุณครูณรงค์จะรับทราบด้วยญาณวิถีใด ขอให้คุณครูทราบว่า ศิษย์ทุกๆ คนใน ชมรมดนตรีไทย การประปานครหลวง ขอน้อมคารวะส่งวิญญาณคุณครูไปสูส่ คุ ติในสัมปรายภพ พวก เราทุกคนเชื่อว่า บัดนี้คุณครูคงได้ไปขับกล่อมเพลงอันไพเราะให้หมู่เทวดานางฟ้าได้รับฟังกันอย่าง เพลิดเพลินในทุกทิพาราตรีกาล และศิษย์ทกุ ๆ คนก็คดิ ว่า คุณครูคงจะเฝ้ามองความก้าวหน้าของศิษย์ และชมรมดนตรีไทย การประปานครหลวง ด้วยความรักและปรารถนาดีตลอดไป วนิดา สมบัติศิริ

ชมรมดนตรีไทย การประปานครหลวง

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 31


ครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ณ วันนี้ไม่มีคุณครูแล้ว รงค์ รังสรรค์เสียงแจ้วแว่วติดหู แก้ว แห่งไทยดุริยางค์ศิษย์เชิดชู อ่อน ส�ำเนียงแว่วเสียงอยู่สวรรคาลัย ประทุมรัตน์ ศรีนาชู

ชมรมดนตรีไทย การประปานครหลวง

3 2 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


อาลัยครูณรงค์ แก้วอ่อน เสียงซออู้ครูขับขยับขาน ยามศิษย์ร้องครูคลอซออู้อู เพลงเถาเล็กเถาใหญ่ครูได้หมด ชื่อณรงค์ดังเปรี้ยงกว่าเสียงกลอง “รวมบรรเลง” ก็ใช่ใช้แทนสกุล ต่อแต่นี้จักได้ที่ไหนมา แสนอาลัย “ครูณรงค์ แก้วอ่อน” สถิตสถานวิมานแก้วแววมณี

วิเวกหวานแว่วก้องอยู่สองหู เหมือนเสียงครูบอกกลอนสอนท�ำนอง ครูจ�ำจดถ้วนถี่ไม่มีสอง “ร้อยท�ำนองร้อยเถา” เขาสมญา ตรึกพระคุณครูแน่นกว่าแผ่นผา แทนเล่าหนาเทียบได้คงไม่มี ขอเทพพรประทานให้ได้สุขศรี ขอชื่อนี้ตรึงหทัยไปชั่วกาล ลูกศิษย์ชมรมดนตรีไทย การประปานครหลวง

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 33


ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

นักร้องชายกรมประชาฯ ฉายา ‘ณรงค์ร้อยเถา’ สารคดีขนาดสั้น บันทึกชีวิตและงานของนักร้องชายสามัญชน ผู้ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญว่า ขับร้องเพลงไทยได้มากหลากหลายจากความทรงจ�ำ มีผลงานบันทึกเสียงและร้องสดทั้งเวทีบ้าน เวทีวัด เวทีราชการ และสื่อวิทยุโทรทัศน์ มากที่สุดคนหนึ่งในแวดวงดนตรีไทยยุคปัจจุบัน

พิชชาณัฐ ตู้จินดา / เรียบเรียง

วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


ณรงค์ แก้วอ่อน หรือที่รู้จัก ‘ณรงค์ รวมบรรเลง’ นักร้องเพลงไทยที่ยอมรับนับถือกันว่า ขึ้นเวที ขับขานบทเพลงทุกครัง้ ด้วยความทรงจ�ำมากกว่าท่องจากต�ำราเขียน ด้วยภูมคิ วามรูแ้ ละอัธยาศัย เรียบง่ายไม่มากน้อยกับผู้ใด บ่อยครั้งครูณรงค์จึงได้รับเชิญให้ร่วมขับร้องกับหลายวงดนตรีอย่าง กว้างขวางทั้งในเชิงพื้นที่และกับตัวบุคคล ครูณรงค์ขับร้องเพลงไทยได้มากโดยเฉพาะเพลงเถา แม้เวลานี้ยังไม่มีใครระบุจ�ำนวนเพลงได้อย่างแน่ชัด หากแต่ไม่เคยปรากฏว่าครูอับจนทางร้อง เมื่อต้องท�ำหน้าที่ขับร้องหน้าวงดนตรี ไม่ว่าบนเวทีวัด เวทีบ้าน หรือเวทีราชการ กระทั่งหลาย ท่านกล่าวนามอย่างยกย่องให้เป็น ‘ณรงค์ร้อยเถา’ หรือ ‘ณรงค์พันเพลง’ ‘รวมบรรเลง’ เพลงอัมพวา ‘รวมบรรเลง’ ค�ำสร้อยห้อยท้ายแทนนามสกุล ที่มาจากชื่อคณะปี่พาทย์ของบิดาครูณรงค์ ไม่ต่างชื่อ นักมวยหรือนักร้องลูกทุง่ ทีม่ กั ตัง้ ฉายาตามชือ่ ต้นสังกัด เพือ่ สร้างกระแสความนิยมและการตลาด ครูณรงค์ใช้ ฉายานีต้ งั้ แต่เป็นนักร้องรุน่ ๆ อยูจ่ งั หวัดสมุทรสงคราม เมือ่ มีโอกาสขับร้องเพลงไทยออกรายการวิทยุมากขึน้ ชือ่ ‘ณรงค์ รวมบรรเลง’ จึงติดหูตดิ ปากคนฟัง กระทัง่ หลายคนอาจลืมไปแล้วว่า ณรงค์ที่ใช้นามสกุล ‘แก้ว อ่อน’ กับ ‘รวมบรรเลง’ เป็นคนคนเดียวกัน ครูทะเบียน มาลัยเล็ก คนจังหวัดสุพรรณบุรี ข้าราชการบ�ำนาญ อดีตนักดนตรีแผนกดนตรีไทย กรม ประชาสัมพันธ์ เคยร่วมงานดนตรีกับครูณรงค์ที่กรม ประชาสัมพันธ์ตงั้ แต่ พ.ศ. 2521 สนิทสนมกันมากใน ช่วงชีวติ หลังวัยเกษียณ เพราะใช้เวลาสอนดนตรีไทยร่วม กันมากว่า 10 ปี ทีช่ มรมดนตรีไทยการประปานครหลวง

และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ เป็นอีก บุคคลที่ชื่นชมเสียงร้องของครูณรงค์จากรายการวิทยุ ก่อนที่จะได้สนทนาและรู้จักตัวตน เล่าว่า “เจอกันบ้างทีร่ ามค�ำแหง เพราะครูเรียนคณะ นิติ ณรงค์ตามครูศิริ นักดนตรี มาสอนที่ชมรมดนตรี ไทย บางทีมาร้องละครให้พี่สม [ครูเมธา หมู่เย็น] ตีระนาด ครูเข้ากรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2521 ก่อน หน้านัน้ ได้ยนิ เสียงร้องเขามานาน นอนฟังจากสุพรรณ โน้น คนต่างจังหวัดอาศัยฟังเพลงจากวิทยุ รายการ สองทุ่มครึ่งภาคค�่ำ สี่ทุ่มครึ่งภาคบันเทิง ร้องบ่อยคือ สุรินทราหู อาเนียร [ครูจ�ำเนียร ศรีไทยพันธุ์] ยังบ่น ‘ไอ้นี่มันชอบร้องจังเพลงนี้’ หนุ่มๆ เสียงร้องเขาสด ดี แต่ตอนนั้นยังไม่ได้เข้าท�ำงานที่กรมประชาสัมพันธ์ ได้แต่มาช่วยป้าสุดจิตต์ [ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต] ที่ สมัยนีเ้ รียกออดิชนั่ ก่อนขึน้ เพลงต้องประกาศก่อนเลย ว่า ขับร้องโดยณรงค์ รวมบรรเลง” พื้นฐานครอบครัวแก้วอ่อนประกอบอาชีพ

ภาพ : ครูณรงค์ แก้วอ่อน เมื่อครั้งแรกเริ่มร่วมงานกับวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ [จากซ้าย] ครูเขมา ชัยโสตถิ์ ซอด้วง ครูเมธา หมู่เย็น ระนาดเอก ครูณรงค์ แก้วอ่อน ขับร้อง ครูสมาน ทองสุโชติ ฆ้องวง ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ขับร้อง ครูฉลวย จิยะจันทร์ ซออู้ ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 35


1 1. พ่อส�ำรวม แก้วอ่อน

2

3

2. แม่อาบ แก้วอ่อน

3. น้าจรูญ จิตรกรด�ำรงค์

4 4. นายประสงค์ แก้วอ่อน

7 5

8

6

3 6 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

5. จ.ส.อ.ประเวศ แก้วอ่อน 6. ครูณรงค์ แก้วอ่อน หน้าบ้านคลองแควอ้อม อ�ำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 7. ครอบครัวแก้วอ่อน [แถวหน้าจากซ้าย] ด.ช.กรรธวัช นางกรรณิการ์ แม่อาบ ด.ญ.แตงโม ด.ช.อรรถกานต์ [ด้านหลังจากซ้าย] เรือเอกสัมพันธ์ นายประสงค์ จ.ส.อ.ประเวศ และครูณรงค์ [บันทึกภาพในงานสวดพระอภิธรรมศพครูวงษ์ รวมสุข พ.ศ. 2538] 8. หุ่นกระบอกคณะชูเชิดช�ำนาญศิลป์


เกษตรกรรมและศิลปิน โดยเฉพาะนายส�ำรวม แก้วอ่อน 1 บิดาของครูณรงค์ เป็นนักดนตรีปพ่ี าทย์ทรี่ ว่ มขับเคลือ่ น กิจกรรมร้องร�ำท�ำเพลงอย่างส�ำคัญคนหนึง่ ในลุม่ แม่นำ�้ แม่กลอง ภูมลิ ำ� เนาเดิมนายส�ำรวมเป็นคนต�ำบลปากไก่ อ�ำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ก่อนย้ายตนเองมาสร้าง ครอบครัวร่วมกับนางอาบ จิตตกรด�ำรงค์ 2 บริเวณย่าน วัดบางเกาะเทพศักดิ์ ต�ำบลแควอ้อม อ�ำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กระทั่งบั้นปลายชีวิต มีความรู้ ความช�ำนาญทั้งดนตรีปี่พาทย์ ขับร้องเพลงไทย และ เป่าปี่คลาริเน็ตได้ดี สร้างเครื่องดนตรีปี่พาทย์ไทย แตรวง อังกะลุง และมีวงปี่พาทย์มอญเป็นวงที่สี่ใน จังหวัดสมุทรสงคราม รองมาจากปี่พาทย์คณะนาย แถว ดาวดึงส์ศิลป์ คณะนายถึก แก้วละเอียด [คณะ ไทยบรรเลง] และคณะนายพริ้ง นักปี่

ครูอ่วน หนูแก้ว คนจังหวัดสมุทรสงคราม ข้าราชการบ�ำนาญ อดีตครูดนตรีโรงเรียนอัมพวัน วิทยาลัย เป็นศิษย์ต่อเพลงปี่พาทย์จากส�ำนักครูเท สุขนันท์ 3 จังหวัดสมุทรสงคราม และศิษย์กน้ กุฏสิ ำ� นัก ครูรวม พรหมบุรี4 จังหวัดราชบุรี เป็นอีกท่านที่เล่า ประวัติบุคคลและเหตุการณ์ดนตรีท้องถิ่นแถบนี้ได้ ดี เพราะทันสัมผัสรู้เห็นและทรงจ�ำเรื่องเล่าจากคน รุ่นเก่าได้มาก เคารพนับถือนายส�ำรวม และนางอาบ แก้วอ่อน เสมือนพ่อและแม่ของตนอีกคนหนึ่ง เล่าว่า “พ่อรวมเป็นศิษย์เตีย่ เทรุน่ แรก คล่องทัง้ เครือ่ ง ทัง้ ร้อง เสียงร้องเต็ม ณรงค์ไม่ถงึ พ่อเขาหรอก เตีย่ เท เล่าว่าพ่อรวมมาติดแม่อาบทีบ่ า้ นแควอ้อม มาเรียนกับ เตีย่ เทเพราะจะได้ใกล้สาว ‘ไอ้รวมมันติดไอ้อาบ ชวน ข้าไปเป็นเพื่อนทุกวันตอนตีสี่ มันบอกพี่เทๆ ไปบ้าน

นายส�ำรวม แก้วอ่อน [2456-2504] คนจังหวัดราชบุรี บุตรนายบ่าย และนางพริ้ง แก้วอ่อน มีน้องชายแท้ๆ ชื่อนายวงษ์ ศิษย์เรียนรู้ ดนตรีปี่พาทย์จากส�ำนักครูเท สุขนันท์ นอกจากเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์คณะ ‘รวมบรรเลง’ ยังร่วมวงบรรเลงปี่พาทย์กับอีกหลายวงดนตรี ในย่านใกล้เคียง ไม่ว่าเป็นวงปี่พาทย์คณะครูเท สุขนันท์ คณะนายแย่ง ทางมีศรี และคณะนายพริ้ง นักปี่ นายส�ำรวมถือเป็นผู้ที่มีบทบาท อย่างส�ำคัญต่อกิจกรรมร้องร�ำท�ำเพลงในลุม่ แม่นำ�้ แม่กลองอีกท่านหนึง่ มีความสนิทสนมผูกพันเป็นอันดีทงั้ ด้านชีวติ ส่วนตัวและด้านดนตรี กับครูรวม พรหมบุรี นายวงษ์ รวมสุข นายแย่ง ทางมีศรี ครูย้อย เกิดมงคล และนายแก้ว คลองด�ำเนินสะดวก [หรือที่คนย่านนั้นเรียก ติดปากว่า ก๋งแก้ว] 2 นางอาบ แก้วอ่อน [2460-2543] คนจังหวัดสมุทรสงคราม บุตรีนายปาน จันทร์เถือ่ น และนางเขียน จิตตกรด�ำรงค์ [สุวรรณ] มีความ รูค้ วามสามารถด้านการขับร้องเพลงไทย โดยเฉพาะเรียนเชิดหุน่ กระบอกจากนายวงษ์ รวมสุข ต่อมาเป็นผูส้ บื ทอดหุน่ กระบอกคณะ ‘ชูเชิด ช�ำนาญศิลป์’ ต่อจากนายวงษ์ญาติผู้ใหญ่ นางอาบมีพี่ชายและน้องชายแท้ๆ ชื่อนายเอื้อนและนายจรูญ นายเอื้อน [เกิดปีจอ พ.ศ. 2453] มีความรู้ความช�ำนาญด้านงานช่างศิลป์ไทย ได้รับฉายา ‘เอื้อนเกาะศิลป์’ มีผลงานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์หลายแห่งในจังหวัด สมุทรสงคราม ไม่ว่าเป็นที่วัดเจริญสุขาราม หรือวัดบางเกาะเทพศักดิ์ มีความสามารถแกะสลักไม้บานประตูโบสถ์และเครื่องดนตรีปี่พาทย์ ผลงานคือแกะรางระนาดทุม้ รางระนาดเอกเหล็กและรางระนาดทุม้ เหล็ก กระจังโหม่งพร้อมเปิงมางคอก ให้กบั วงปีพ่ าทย์คณะรวมบรรเลง ส่วนนายจรูญ [2462-2536] มีความสามารถในการบรรเลงฆ้องมอญได้เป็นอย่างดี โดยเรียนรู้จากครูใจ และศึกษามือฆ้องและเพลงมอญ โดยตรงจากนายสมพงษ์ ดนตรีเจริญ บุตรชายครูสุ่ม ดนตรีเจริญ 3 ครูเท สุขนันท์ [2429-] คนจังหวัดสมุทรสงคราม บุตรนายจันทร์ [ไม่สามารถสืบค้นชื่อมารดาได้] ศิษย์เรียนรู้ดนตรีปี่พาทย์จากส�ำนัก ครูปาน นิลวงศ์ ครูเทเป็นคนกว้างขวางในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เพราะนอกจากเป็นครูใหญ่เจ้าของส�ำนักปี่พาทย์และแตรวงที่มีชื่อ เสียงย่านวัดปากน�้ำ อ�ำเภออัมพวา ยังด�ำรงต�ำแหน่งด้านสังคมเป็นผู้ใหญ่บ้าน ศิษย์คนส�ำคัญของนายเทที่มีชีวิตร่วมสมัยถึงปัจจุบันได้แก่ ครูอ่วน หนูแก้ว โดยเฉพาะได้รับถ่ายทอดทางเพลงส�ำนักครูปาน นิลวงศ์ จากนายเทเป็นจ�ำนวนมาก ไม่ว่าเป็นเพลงเรื่องมาลีหวน เก๊ก เหม็ง เถา หรือเขมรน้อย เถา 4 ครูรวม พรหมบุรี [2455-2529] คนจังหวัดราชบุรี บุตรนายเลื่อน และนางตี้ พรหมบุรี มีความสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีปี่พาทย์ ได้รอบวงโดยเฉพาะระนาดเอก เป็นครูใหญ่สำ� นักปีพ่ าทย์จงั หวัดราชบุรที มี่ ชี อื่ เสียงมากวงหนึง่ ครูหลวงประดิษฐไพเราะ [ศร ศิลปบรรเลง] ตั้งชื่อวงปี่พาทย์ให้ว่า คณะ ‘รวมศิษย์บรรเลง’ ครูรวมเป็นอีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทส�ำคัญต่อกิจกรรมร้องร�ำท�ำเพลงในลุ่มแม่น�้ำแม่กลอง ร่วมกับนักดนตรีท่านอื่นๆ ในรุ่นราวคราวเดียวกัน ศิษย์หลายคนของท่านได้สืบทอดทางเพลงปี่พาทย์และเป็นก�ำลังหลักให้แก่หลายหน่วย งานในแวดวงดนตรีไทยและของจังหวัดราชบุรีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน [คัดข้อมูลจากหนังสือที่ระลึกงานเสด็จพระราชทานเพลิงศพนายรวม พรหมบุรี ณ เมรุวัดมหาธาตุวรวิหาร อ�ำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529] 1

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 37


อาบ’ เตี่ยแกรักลูกศิษย์ เฝ้าอยู่หลังวัดบางเกาะ ‘ข้า ไปนั่งอยู่ใต้ต้นยางใกล้ป่าช้า เห็นไฟแดงๆ เป็นที่รู้กัน ว่าไอ้อาบมันลุกขึ้นติดเตาหุงข้าว’ นี่ประวัติเก่าก่อน ที่เขาจะแต่งงาน แม่อาบเชิดหุ่นได้ ร้องเพลงเพราะ ไอ้เราตีระนาดจนเพลงถามแม่นี่เพลงอะไร ‘โฉลกๆ เดี๋ยวข้าต่อให้’ ” นายประสงค์ แก้วอ่อน น้องชายคนรองของ ครูณรงค์ นักดนตรีปพ่ี าทย์และนักแตรวงทีส่ บื เชือ้ สาย สกุลโดยตรง ก่อนย้ายตนเองไปมีครอบครัวตั้งหลัก แหล่งพ�ำนักที่บ้านกล้วย อ�ำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ท้องถิ่นที่มีนักดนตรีไทยรุ่นเก่าที่เคยร่วมงานบรรเลง กับคณะปี่พาทย์รวมบรรเลง ไม่ว่าเป็นนายอิน นาย แจ่ม นายสอย คล�ำ้ ประเสริฐ เล่าเรือ่ งราวครัง้ อดีตว่า “สมัยทีพ่ อ่ สร้างเครือ่ งตัง้ วงปีพ่ าทย์ นักดนตรี รุ่นผู้ใหญ่ที่หามางานกันประจ�ำก็มีลุงปุ่นตีระนาดเอก ลุงไวเพชรบุรีตีระนาดเอก ลุงเอื้อมบางขันแตกตีฆ้อง ลุงย้งบางพรหมตีฆ้องเล็ก ลุงอินตีทุ้มเหล็ก ลุงสอยตี กลอง ลุงถวิลตาบอดข้างเดียวเป็นภารโรงอยูอ่ มั พวัน วิทยาลัยตีกลอง คนปี่ก็มีลุงไกรเป่าปี่ชวากับปี่แน ลุง สม [รัตนศศิธร] ลุงตุ๊ [สมบัติ] เป่าปี่มอญ หลังๆ ยัง มีคนอื่น อย่างครูพิมพ์ ครูเผือด นักระนาด ครูสม พงษ์ลูกครูสุ่ม ดนตรีเจริญ ลุงรวม พรหมบุรี กับพวก ลูกศิษย์ท่ีบ้านราชบุรี สมัยที่ลุงรวมยังไม่สร้างเครื่อง เวลารับงานก็จะลงมาเอาเครื่องที่บ้านพ่อกับเครื่องที่ บ้านลุงแย่งไปใช้เป็นประจ�ำ” จ่าสิบเอกประเวศ แก้วอ่อน น้องชายคนกลาง ของครูณรงค์ อดีตข้าราชการทหารบกประจ�ำกองกิจการ พลเรือน กรมทหารช่าง จังหวัดราชบุรี เป็นศิษย์ต่อ เพลงปี่พาทย์จากส�ำนักครูรวม พรหมบุรี เคยควบคุม วงปีพ่ าทย์คณะรวมบรรเลงของครอบครัว เล่าถึงบิดา

3 8 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

ของตนโดยให้สัมภาษณ์คุณเสถียร ดวงจันทร์ทิพย์ บันทึกเสียงไว้ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2536 ว่า “เกิดมาต้องเห็นพ่อตีระนาดทุม้ ถ้าเหนือเครือ่ ง ตีคอื ขับร้อง พ่อมีสว่ นชอบอยูอ่ ย่างหนึง่ คือเป็นนักร้อง เผอิญได้รับความอนุเคราะห์จากครูเชื้อ ฟันทอง เป็น ผู้แนะน�ำ ชอบร้องตับดาวดึงส์ เคยได้ยินหลายคน พูดว่าแกร้องเพราะ พ่อมีสมุดเพลงร้องประจ�ำตัวอยู่ เล่มหนึ่ง วางเพลงว่างานนี้ต้องเล่นเพลงนั้นๆ ออก ตับนั้นๆ เป็นสมุดเล่มเล็กใส่กระเป๋าเสื้อ ก่อนพ่อเสีย [ถึงแก่กรรมวันที่ 29 กันยายน 2504] ไปงานครั้ง สุดท้ายที่วัดคูหาสวรรค์ กลับมาล้มหัวฟาดพรึงที่บ้าน ปฐมพยาบาลคืนกับวัน ลุงวงษ์พาไปโรงพยาบาลทีแ่ ม่ กลอง พีณ่ รงค์อายุ 16 ปี ยังเรียนอยูช่ ั้น ม. 7 วันนั้น ผมจ�ำแม่นเพราะอยูใ่ นเหตุการณ์ พ่อพูดกับลุงวงษ์อยู่ ประโยคหนึ่งว่า ‘พี่วงษ์ ผมฝากณรงค์ด้วย’” ค�ำ ‘รวมบรรเลง’ นอกจากตัง้ ตามชือ่ เจ้าของ คณะปีพ่ าทย์ คือ นายส�ำรวม นัยยะหนึง่ ยังเพือ่ ให้ คล้องจ้องและมีความสัมพันธ์กับชื่อคณะปี่พาทย์ ‘รวมศิษย์บรรเลง’ ของครูรวม พรหมบุรี โดยที่ทั้ง คู่มีอายุห่างกันเพียงปีเดียวและเป็นกัลยาณมิตร ส�ำคัญทางด้านดนตรีปพ่ี าทย์ นักดนตรียา่ นนีเ้ รียก ครูรวมราชบุรี ว่า ‘รวมบน’ เพราะอยูต่ น้ แม่นำ�้ แม่ กลองเมืองราชบุรี เรียกนายรวมสมุทรสงคราม ว่า ‘รวมล่าง’ ทั้งยังพ้องกับนามสกุล ‘รวมสุข’ ของ นายวงษ์ ญาติสนิทเจ้าของคณะหุน่ กระบอก ‘ชูเชิด ช�ำนาญศิลป์’ ที่ต่อมาได้เป็นผู้บริหารวงคนส�ำคัญ ของปีพ่ าทย์คณะรวมบรรเลงหลังนายส�ำรวมเสียชีวติ ปฏิเสธไม่ได้ว่า นายวงษ์ รวมสุข 5 เป็นผู้หนึ่ง ที่อยู่เบื้องหลังและเป็นต้นแบบการใช้ชีวิตด้านดนตรี ในวัยเด็กของครูณรงค์ เพราะนายวงษ์มีชื่อเสียงด้าน


การบริหารวงดนตรี เป็นคนกว้างขวางทั้งในพื้นที่และ มีความสัมพันธ์อันดีกับนักดนตรีมีชื่อเสียงในแวดวง ส่วนกลาง ไม่ว่าเป็นครูพิมพ์ ครูเผือด นักระนาด ครู เทียบ คงลายทอง ครูบุญยงค์ ครูบุญยัง เกตุคง หรือ ครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต ทีน่ ายวงษ์เป็นผูน้ ำ� ฝากให้ครู ณรงค์มอบตัวเป็นศิษย์ต่อทางร้องเพลงไทย นอกจาก มีฝมี อื เชิดหุน่ กระบอกกระทัง่ นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต ฝากตัวเป็นศิษย์แล้ว ยังมีความช�ำนาญเรือ่ งเครือ่ งหนัง ไทยและขับร้องเพลงไทยอีกด้วย เรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน น้องชายคนสุดท้อง ของครูณรงค์ ทุกวันนี้เป็นทหารเรือฝ่ายช่าง แผนก โรงงานช่างท่อ กองโรงงานเรือเหล็ก อู่ทหารเรือพระ จุลจอมเกล้า เล่าถึงนายวงษ์ญาติผู้ใหญ่ให้ฟังว่า “ลุงเป็นคนฉลาด โดยเฉพาะเป็นคนไม่ยอม คน วิธีรับงานของลุงจะโฆษณาเป็นประเภท เช่นว่า เอาอย่างนี้ราคาเท่านี้ เอาดีกว่านี้อีกราคาหนึ่ง หรือ ถ้ามีหุ่นกระบอกแถมด้วยก็บวกราคาเพิ่มเข้าไป แต่ ลุงรับงานแพงเพราะมีอุดมการณ์อย่างหนึ่งว่า บ้าน ผมจะไม่รับงานผ่านแม่ครัวหรือสมภาร เจ้าภาพต้อง ติดต่อเราโดยตรง ใครกินเปอร์เซ็นต์ลุงไม่ยอม ช่วง ท้ายชีวิตลุงยังว่า ‘ท�ำอย่างนี้ก็ไส้แห้ง แต่จะให้ข้ารับ งานอย่างใครๆ ข้าไม่เอา’ “ใจจริงลุงต้องการให้ปี่พาทย์ที่บ้านมีช่ือเสียง นักดนตรีตรงเวลาแล้วต้องไปก่อนงาน เผื่อฝนฟ้า

ตก อีกอย่างคือระเบียบจัด อย่างไปงานจังหวัดตรัง เสื้อขาวแขนยาวทับใน ผูกเนคไทอันใหญ่ ตอนหลัง เปลีย่ นมาทันสมัยหน่อยใช้เส้นเล็ก แล้วมาใช้หกู ระต่าย อย่างหนีบ ลุงวงษ์เป็นคนแก่แล้วไม่แก่เลย เพราะไม่ เคยหยุดท่องเพลง ตืน่ ตีสามตีสมี่ อื สาวกลองปากก็ทอ่ ง เนื้อเพลงไปด้วย ลุงนี่ยิ่งหนักกว่าพี่ณรงค์เพราะร้อง เพลงตับทุกตับไม่เคยเปิดเนือ้ ดู เรือ่ งความจ�ำนีท่ สี่ ดุ ” ลูกไม้ตกใต้ต้น ครูณรงค์คนหนุ่ม แน่นอนว่าครูณรงค์เป็นลูกไม้ตกใต้ต้น ข้อ ส�ำคัญที่หล่อหลอมให้ครูเป็นอย่างที่หลายคนรู้จักได้ เช่นทุกวันนี้ก็เพราะสนามชีวิตในวัยเด็ก ครูต่อทาง ร้องพื้นฐานเพลงไทยและต่อทางเครื่องดนตรีปี่พาทย์ จากบิดา ขณะเดียวกันได้ตอ่ ทางร้องและเรียนเชิดหุน่ กระบอกจากนายวงษ์ เคยซือ้ ซอด้วงและโน้ตเพลงไทย จากร้านดุรยิ บรรณมาฝึกกระทัง่ สีเพลงแป๊ะและโหมโรง ไอยเรศได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะประสบการณ์ตาม บิดาไปบรรเลงปี่พาทย์รับลิเกและบรรเลงร้องรับหุ่น กระบอกทีก่ อ่ รูปเป็นความรูใ้ ห้ครูได้ใช้ประโยชน์ในชีวติ การท�ำงานที่กรมประชาสัมพันธ์ นอกจากซึมซับลีลาขับร้องลิเกต่างคณะ ต่างพื้นที่ ไม่ว่าเป็นในจังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี

นายวงษ์ รวมสุข [2451-2537] คนจังหวัดสมุทรสงคราม เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ‘ชูเชิดช�ำนาญศิลป์’ บุตรนายสว่าง และนาง สมบูรณ์ รวมสุข เรียนรู้วิชาเชิดหุ่นกระบอกจากครูเคลือบ [ไม่สามารถสืบค้นนามสกุลได้] และครูสาหร่าย ช่วยสมบูรณ์ มีความรู้ด้าน เชิดหุ่นกระบอก ขับร้องเพลงไทย และดนตรีปี่พาทย์เป็นอย่างดี ได้รับรางวัลโล่เชิดชูเกียรติยศ ‘ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่น ทางวัฒนธรรม’ เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างส�ำคัญต่อกิจกรรมร้องร�ำท�ำเพลงในลุ่มแม่น�้ำแม่กลองอีกท่านหนึ่ง บั้นปลายชีวิตได้บริหารจัดการ วงปี่พาทย์คณะ ‘รวมบรรเลง’ หลังนายส�ำรวม แก้วอ่อน เสียชีวิต จนกระทั่งมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในแวดวงดนตรีไทย มีศิษย์ได้ รับการสืบทอดต่อมาหลายท่าน อาทิ อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต [ศิลปินแห่งชาติ] อาจารย์กรรณิการ์ แก้วอ่อน เป็นต้น [คัดข้อมูลจาก หนังสือที่ระลึกงานเสด็จพระราชทานเพลิงศพ นายวงษ์ รวมสุข ณ เมรุวัดบางเกาะเทพศักดิ์ อ�ำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วัน เสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540] 5

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 39


แผนผังสาแหรกสายสกุล ครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท ราชบุรี ลพบุรี นครราชสีมา ซึ่งแต่ละแห่งมีส�ำเนียงร้อง และลูท่ างการวางเพลงต่างกัน ครูณรงค์ยงั เพิม่ พูน ความรูด้ ว้ ยตนเองโดยเฝ้าติดตามฟังเพลงไทยจาก หลายรายการวิทยุ ทีป่ ระทับใจมากได้แก่ รายการ ถ่ายทอดสดการประกวดลิเกชิงถ้วยทองค�ำจาก นายกรัฐมนตรี 6 ด้วยพื้นนิสัยส่วนตัวเป็นคนใฝ่รู้ ท�ำความเข้าใจได้เร็ว ช่างสังเกต และจ�ำแม่น ส่ง ผลให้ตอ่ มาสามารถขับร้องเพลงแขกต่อยหม้อ เถา ให้บดิ าฟังเพือ่ ปรับความถูกต้องของระดับเสียงและ จังหวะหน้าทับเป็นเพลงแรกได้ตั้งแต่อายุ 11 ปี

รองศาสตราจารย์สุรพล สุวรรณ คนจังหวัด พิษณุโลก อดีตนักดนตรีแผนกดนตรีไทย กรมประชา สัมพันธ์ ปัจจุบนั เป็นอาจารย์ประจ�ำภาควิชาสถาปัตยกรรม และการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เคย ร่วมงานบรรเลงดนตรีทงั้ ในและต่างประเทศ และเป็น ผู้หนึ่งที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับครูณรงค์ เล่าว่า “เท่าที่รู้จักพี่ณรงค์มาไม่น้อยกว่า 30 ปี เรื่อง อื่นกล้าไม่กล้าไม่รู้ แต่ถ้าเขาอยากได้ความรู้จากครู ท่านใดพี่ณรงค์จะเข้าไปหาทันที เพลงไหนไม่ได้ต้อง ไปหาเชียว หัวไว ต่อแปปเดียวไม่ว่าต่อกับใคร บางที

ประกวดลิเกชิงถ้วยทองค�ำ จัดขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2494 โดยจัดให้มีการประกวด ‘ลิเก ต่อต้านคอมมิวนิสต์ชิงถ้วยทองค�ำ’ ที่สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ คณะลิเกที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คณะนายสุชิน เทวผลิน เรื่อง ‘ปฏิภาณกับความรู้’ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ คณะฉลาด เค้ามูลคดี และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ คณะดุริยพันธุ์ [คัด ข้อมูลจากหนังสือหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล] นอกจากนี้ยังมีคณะลิเกอื่นๆ เข้าร่วมประกวดในครั้งนั้นด้วย ได้แก่คณะศิษย์ครูเหนี่ยว ดุรยิ พันธุ์ คณะตาล กิง่ เพชร คณะผูกมิตร น้อมจิต คณะศิษย์หอมหวล คณะบุญส่ง จารุวจิ ติ ร คณะบุญสม ลูกอยุธยา คณะเชน เมืองทอง และคณะเกตุคงด�ำรงศิลป์ 6

4 0 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 41


ไปสัมภาษณ์เรื่องทางร้องเพลงไทย ฝั่งธนที่สนิทมาก คือ ครูอุทัย พาทยโกศล ไปถามกับครูชลอรัตน์ อ่วม หร่าย ที่กองทัพบก ชอบคุยมากกับหม่อมตู๋ [หม่อม หลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล] จดด้วยดินสอปากกาเก็บเป็น พับๆ หลายครัง้ เปิดเทปฟังแล้วไปถามอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ครูองุ่น บัวเอี่ยม ครูศิริกุล นักดนตรี เกษียณแล้วยังไม่หยุดแสวงหา พี่ณรงค์จะบ่นมากว่า ‘นักดนตรีไทยที่อยู่เฉยๆ แล้วไม่ได้ ไม่ได้เพราะไม่ไป หาความรู้ ก็ออกไปหาความรู้สิ’ ” ครูณรงค์เมื่อแรกหนุ่มจึงรับหน้าที่เป็นนักร้อง ประจ�ำวงปี่พาทย์ของบิดา ท�ำหน้าที่เชิดหุ่นกระบอก เพื่อไม่ให้หุ่นนิ่งเมื่อนักเชิดท่านอื่นติดธุระ สีซอหรือตี เครื่องดนตรีปี่พาทย์เสริมนักดนตรีท่านอื่นในวง ต่อ ทางร้องและขับร้องเพลงไทยคู่กับนางทองห่อ เกิด มงคล7 บุตรบุญธรรมครูย้อย เกิดมงคล นักดนตรี มากฝีมืออีกท่านของจังหวัดราชบุรี ทั้งยังเดินทางไป ร่วมขับร้องกับวงดนตรีส�ำนักครูรวม พรหมบุรี เหตุนี้ จึงมีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ตอ่ ทางร้องเพลงไทยกับครู เชือ้ นักร้อง ครูสอนขับร้องทีง่ านดุรยิ างค์ กรมต�ำรวจ กรุงเทพฯ ตามค�ำแนะน�ำของครูรวม หลังจบมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนศรัทธา สมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม แรงบันดาลใจส�ำคัญที่ ขับเคลื่อนให้ครูณรงค์ตัดสินใจเดินทางเข้ามาใช้ชีวิต ในกรุงเทพฯ มุ่งหน้าแสวงโชคบนเส้นทางสายศิลปิน

ส่วนหนึง่ เพราะมีโอกาสได้ดกู ารแสดงวงเครือ่ งสายผสม เป็นรายการดนตรีออกอากาศสดทางสถานีวิทยุกรม ประชาสัมพันธ์ทุกวันเสาร์อาทิตย์ ได้พบนักร้องเพลง ไทยทีม่ ชี อื่ เสียงหลายท่านทีแ่ ต่เดิมเคยฟังเสียงร้องแต่ ในวิทยุ ที่ชื่นชอบมาก ได้แก่ ครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ์ ครู เจริญใจ สุนทรวาทิน ครูแช่มช้อย ดุรยิ พันธุ์ ครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต ครูองุน่ บัวเอีย่ ม และครูสรุ างค์ ดุรยิ พันธุ์ เรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน เล่าเกร็ดชีวติ ครูณรงค์ ช่วงย้ายตนเองจากบ้านทีจ่ งั หวัดสมุทรสงครามเข้ามา พ�ำนักที่กรุงเทพฯ ว่า “พี่ณรงค์มาอยู่กับญาติที่กรุงเทพฯ ชื่อคุณ ยายเพื่อน เป็นเจ้าของบริษัทห้างพระจันทร์ สมัยนั้น เรียกว่าเป็นระดับเศรษฐี กระทั่งแม่ไม่ตั้งชื่อเล่นให้ ผม เคืองเพราะมีเหตุครั้งหนึ่งว่า แม่มาหาพี่ณรงค์ จากสมุทรสงคราม ถามคนบ้านใกล้เรือนเคียงว่า ‘อูด๊ ’ อยู่บ้านไหนไม่มีใครรู้จัก กว่าจะได้เจอกันใช้เวลานาน มาก เพราะคนที่นั่นเขาเรียก ‘คุณณรงค์’ ไม่เรียกชื่อ เล่น แม่เลยเลิกตั้งชื่อเล่นให้น้องๆ ตอนหลังพี่ณรงค์ ย้ายมาอยู่กับหลวงลุงจ�ำรัส จุลศรีสวัสดิ์ เป็นญาติ กันบวชอยู่ที่วัดประยูรฯ เข้าใจว่าช่วงนี้พี่ณรงค์เริ่มมา ต่อทางร้องกับครูสดุ จิตต์ ดุริยประณีต แล้ว ผมยังนัง่ รถไฟไปเที่ยวหาแกบ่อยๆ”

นางทองห่อ เกิดมงคล คนจังหวัดราชบุรี บุตรีนางละไม โต้โผคณะละครชาตรีอ�ำเภอด�ำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และบุตรบุญธรรม ครูย้อย เกิดมงคล นักดนตรีไทยที่มีฝีมือและความรู้มากอีกท่านหนึ่งของจังหวัดราชบุรี สามารถบรรเลงได้ทั้งเครื่องสายและเครื่องดนตรีปี่ พาทย์ นางทองห่อเป็นนักร้องเพลงไทยและขับร้องหุ่นกระบอกให้กับวงปี่พาทย์คณะ ‘รวมบรรเลง’ ร่วมกับนายส�ำรวม นางอาบ แก้วอ่อน นายวงษ์ รวมสุข นางประชิต รอดภัย และขับร้องเพลงไทยให้กบั วงปีพ่ าทย์คณะ ‘รวมศิษย์บรรเลง’ ส�ำนักครูรวม พรหมบุรี จังหวัดราชบุรี โดยเป็นนักร้องรุ่นหลังรองจากนายละเอียด เผยเผ่าเย็น และนายตวง จันทร์สว่าง ครูอ่วน หนูแก้ว เล่าถึงนางห่อทอง ว่า “ครูย้อย เกิด มงคล แกเป็นคนฉลาด นี่พ่อรวม พรหมบุรี เล่าให้ฟัง แกบอกทองห่อเสียงร้องไม่ดี แต่ครูย้อยแกกลั่นความรู้ออกมาจากสมอง แกหาวิธี เปลี่ยนทางร้อง สอนให้ทองห่อร้องลัดลงต�่ำ ไม่ต้องขึ้นสูง ร้องแล้วฟังดีด้วย ไม่เกะกะ” 7

4 2 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


นักร้องชายกรมประชาฯ รายการเพลงไทยวิทยุ

ครูณรงค์ แก้วอ่อน กับเพื่อน หน้าสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11

ครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต [2471-2555] คนกรุงเทพมหานคร อดีต หัวหน้างานบันเทิงดนตรีไทย ฝ่ายกระจายเสียงในประเทศ สถานีวทิ ยุ กระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และหัวหน้าวงดนตรี คณะดุริยประณีต บุตรีนายศุข และนางแถม ดุริยประณีต เรียนรู้การ ขับร้องเพลงไทยและดนตรีปพ่ี าทย์จากครอบครัว เป็นผูห้ นึง่ ทีม่ คี วาม รูด้ า้ นดนตรีไทยอย่างลึกซึง้ และสามารถถ่ายทอดแบบแผนการขับร้อง ได้เป็นอย่างดี เป็นก�ำลังส�ำคัญในการสร้างชือ่ เสียงให้แก่วงดนตรีไทย ของครอบครัวและกรมประชาสัมพันธ์ โดยจัดรายการเพลงไทยทาง วิทยุ ชื่อ ‘รื่นรสดนตรีไทย’ และกิจกรรมอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ได้รับ การยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง [คีตศิลป์] เมื่อ พ.ศ. 2536 [คัดข้อมูลจากหนังสือที่ระลึกงานเสด็จพระราชทาน เพลิงศพ นางสุดจิตต์ ดุริยประณีต ณ เมรุวัดตรีทศเทพวรวิหาร วัน ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556] 9 ครูณรงค์ต่อเพลงอะแซหวุ่นกี้ เถา จากครูจันทนา พิจิตคุรุการ [2454-2524] ที่ชั้น 2 อาคารหอประชุมครุสภา ซึ่งขณะนั้นเปิดสอน ดนตรีไทยให้แก่ครูดนตรีจากโรงเรียนต่างๆ เป็นประจ�ำทุกเย็นวัน อังคาร วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ นอกจากนี้ ครูณรงค์ยังได้ต่อทาง ขับร้องเพลงต่างๆ ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ [ศร ศิลปบรรเลง] จากครูจันทนาเพิ่มเติมต่อมาอีกหลายเพลงอีกด้วย 8

ไม่ง่ายส�ำหรับการด�ำเนินชีวิตในสังคมที่มีการ แข่งขันสูงอย่างในกรุงเทพฯ ส�ำคัญมากว่าของดีที่ครู ณรงค์พกติดตัวมาจากบ้านเกิดคือความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบร้อย เข้ากับคนง่ายและอัธยาศัยดี เป็นเด็กต่าง จังหวัดทีเ่ ติบโตแวดล้อมและคลุกคลีมากับญาติผใู้ หญ่ ในครอบครัว นอกจากความรูก้ ารขับร้องเพลงไทยและ ไทยสากลทีไ่ ด้รบั จากครูหลายท่าน ทีส่ ำ� คัญได้แก่ คุณ รวงทอง ทองลั่นทม คุณประทุม ประทีปเสน คุณหญิง ไพฑูรย์ กิตติวรรณ ครูนภิ า อภัยวงศ์ ครูจนั ทนา พิจติ ร คุรกุ าร ครูปราณี แก้วละเอียด ครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ ครูณรงค์ยังได้รับความรักความ เมตตาจากผู้ใหญ่ให้มีโอกาสได้ร่วมขับร้องกับหลาย งานส�ำคัญทีว่ นั หนึง่ ปูทางไปสูเ่ ส้นทางสือ่ วิทยุโทรทัศน์ ที่หลายคนใฝ่ฝัน โดยเฉพาะครูณรงค์เป็นลูกศิษย์รักใกล้ชิด ของครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต8 เรียกได้ว่าเป็นทั้ง ศิษย์ในบ้านบางล�ำพูและเป็นศิษย์ราชการที่กรม ประชาสัมพันธ์ ขับร้องเพลงแขกมอญ เถา ออก อากาศสดทางสถานีวิทยุเป็นครั้งแรก เพราะ พรสวรรค์ที่ครูสุดจิตต์สัมผัสได้จากแรกที่ฟังครู ณรงค์ขับร้องเพลงอะแซหวุ่นกี้ เถา9 เบื้องหน้า และเบื้องหลังความส�ำเร็จในชีวิตนักร้องของครู ณรงค์จึงมีครูสุดจิตต์เป็นทั้งครู รุ่นพี่ร่วมวิชาชีพ หัวหน้างาน และเป็นนักร้องคูข่ วัญตลอดช่วงเวลา รับราชการที่กรมประชาสัมพันธ์ เรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน เล่าถึงมิตรรักแฟน เพลงรายการวิทยุจากกรมประชาสัมพันธ์ของทั้งครู สุดจิตต์และครูณรงค์ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ว่า ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 43


“จ�ำแม่นงานหนึง่ ทีว่ ดั บางจะเกร็ง สมุทรสงคราม งานศพคนเรือตังเกมีฐานะ คนอืน่ หาปีพ่ าทย์เท่านี้ แต่ ระดับเขาต้องนักดนตรีระดับประเทศ เกณฑ์วา่ คนตีระนาด ต้องคนนัน้ คนร้องต้องคนนี้ ฟังวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ร้องบ่อย เน้นคนร้องต้องสุดจิตต์ ดุรยิ ประณีต กับณรงค์ รวมบรรเลง เท่านัน้ เงินเท่าไหร่ไม่อนั้ เพราะทีบ่ า้ นใช้ แต่นักดนตรีจากกรุงเทพฯ ลุงวงษ์สนิทมากกับครูบาง หลวงสุนทร ครูเทียบ คงลายทอง เข้ามากรุงเทพฯ เมือ่ ไหร่ ครูเทียบต้องพาลุงไปกินข้าวต้มวัดบวร ถ้วยละสลึง

1. 2. 3. 4.

“ปรากฏงานนั้นเขาหาว่าปลอม เสียงร้องใช่ แต่ตัวไม่ใช่ สุดจิตต์ท�ำไมสูงวัยจริง ณรงค์ท�ำไมเด็ก เมาแล้วหวิดจะมีเรือ่ ง ลุงต้องเชิญนายกเทศมนตรีมา เคลีย ‘นีข่ องจริง พีว่ งษ์ไม่ตม้ ใคร สุดจิตต์จริงๆ ณรงค์ จริงๆ’ เพราะครูสดุ จิตต์เสียงร้องใสอย่างนีย้ นั เสียชีวติ พี่ณรงค์ก็ร้องเสียงอย่างนี้มาตั้งแต่หนุ่มๆ เขาเคยฟัง แต่ในวิทยุก็นึกว่าสุดจิตต์อายุน้อย ณรงค์อายุมาก ได้ยินแต่เสียงไม่เคยพบตัวจริง อีกงานพี่ณรงค์ร้องให้ คณะศรีอมั พวา ตอนนัน้ แถวบ้านยังไม่มโี ทรทัศน์ จ�ำได้

1

2

3

4

ครูณรงค์ แก้วอ่อน บรรเลงฆ้องวงเล็ก ครูณรงค์ แก้วอ่อน ขับร้องในรายการทิพวาทิต สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 ครูณรงค์ แก้วอ่อน ขับร้องในรายการดนตรีไทยที่รัก สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 5 ครูณรงค์ แก้วอ่อน สีซออู้กับวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์

4 4 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ว่าที่บ้านต้องนั่งเรือมาดเต็มล�ำมาดูหลาน ดูโทรทัศน์ ขาวด�ำทีป่ ม๊ั น�ำ้ มัน วัดบางแคใหญ่ ทุกคนปลืม้ ใจมาก” ก่อนเข้ารับราชการทีก่ รมประชาสัมพันธ์ เป็นนัก ร้องประจ�ำวงดนตรีไทย ต�ำแหน่งศิลปินจัตวา ในปี พ.ศ. 2515 ครูณรงค์มีผลงานขับร้องเพลงไทยออกอากาศ สดทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุอย่างต่อเนือ่ ง ทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ ขับร้องเพลงไทยในรายการ ‘คันธรรพศาลา10’ ทางสถานีโทรทัศน์ชอ่ ง 4 บางขุนพรหม ควบคุมรายการ โดยคุณจ�ำนง รังสิกลุ ขับร้องเพลงประกอบละครเสภา คณะ ‘ขาบมงคล’ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ควบคุม รายการโดย พลโท หม่อมหลวงขาบ กุญชร ทีน่ ยิ มและ มีชอื่ เสียงมากได้แก่ เรือ่ ง แก้วฟ้าจอมพญา และยังขับ ร้องบันทึกเสียงในรายการเพลงไทยจากวิทยุศกึ ษา ได้ มีโอกาสร่วมงานกับนักดนตรีทมี่ ชี อื่ เสียงหลายท่านทัง้ จากกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์11 ปฏิเสธไม่ได้ว่า ครูณรงค์เป็นนักร้องที่มีผล งานทางสื่อโทรทัศน์และวิทยุมากที่สุดท่านหนึ่งใน แวดวงดนตรีไทย โดยเฉพาะบนพื้นที่เวทีราชการที่ กรมประชาสัมพันธ์ เพราะงานบันทึกเสียงออกรายการ วิทยุถือเป็นภารกิจหลักส�ำคัญควบคู่งานบรรเลงรับใช้ สังคม เสียงขับร้องกับหลายวงดนตรีไทยต่างคณะจึง เป็นของครูณรงค์เสมอ ไม่วา่ เป็นคณะดุรยิ บรรณ คณะ ส.สุรางคศิลป์ คณะประคองศิลป์ คณะดุรยิ ศิลป์ คณะ

เสริมมิตรบรรเลง หรือขับร้องในรายการ ‘รืน่ รสดนตรี ไทย’ ด�ำเนินรายการโดยครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต ร้อง มากและบ่อยอย่างต่อเนื่องกระทั่งมีผู้ยื่นบัตรสนเท่ห์ ถามหาเหตุผลว่า เหตุใดนายณรงค์ รวมบรรเลง จึง ขับร้องออกวิทยุมากกว่าท่านอื่นๆ12 ครูทะเบียน มาลัยเล็ก เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ร่วมใน หลายเหตุการณ์การท�ำงานที่กรมประชาสัมพันธ์มา พร้อมๆ กับครูณรงค์ เล่าบรรยากาศการท�ำงานทีก่ รม ประชาสัมพันธ์ว่า “ช่วงทีก่ รมประชาสัมพันธ์อยู่ราชด�ำเนินสิ อัด เทปกันอุตลุด โอ้โห ถ้านับก็เป็นร้อยเป็นพันเพลง อย่า ลืมว่าต้องออกรายการวิทยุทุกวัน วันละหลายเวลา คนบันทึกเสียงชื่อคุณพยนต์ แฟงคล้าย ที่นั่นเขาให้ ทุกคนจัดคณะลิเกคณะละคร13 มาเล่น หาบทหาตัวมา ณรงค์ร่วมกับป้าสุดจิตต์เป็นประจ�ำ ทั้งลิเกละคร ทั้ง วงดนตรีไทย ณรงค์ร้องเป็นพระเอก อาเนียรก็มีคณะ ของเขา อัดแต่ละครั้งไม่ซ�้ำเพลงซ�้ำคณะ “ทุกคนได้เพลงเหมือนกันหมด ไม่ตอ้ งซ้อม ถึง เวลาเล่นแจกบทแล้วอัดเลย ฉะนัน้ คนร้องคนปีพ่ าทย์ ต้องเก่ง รายการวิทยุคลื่นสั้น 5 โมงเย็น ส่งไปต่าง ประเทศ ครูประเวศ กุมุท ยังมาสีซอด้วงให้ป้าฉลวย จิยะจันทร์ กับครูระตี วิเศษสุรการ มาถึงเล่นเดี๋ยว นั้นเพราะรู้ทางกัน ณรงค์ร้อง ไม่ได้เล่นแต่ดนตรีไทย

ได้มีโอกาสร่วมงานบรรเลงและขับร้องกับครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล พระยาภูมีเสวิน [จิตร จิตตเสวี] หลวงไพเราะเสียงซอ [อุ่น ดุริยชีวิน] และมีโอกาสท�ำความรู้จักกับนักดนตรีชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน ไม่ว่าเป็นนายจ�ำนงราชกิจ [จรัล บุณยรัตพันธุ์] ครูแสวง อภัยวงศ์ ครูโองการ กลีบชื่น ครูบรรเลง สาคริก คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง 11 ควบคุมการบรรเลงและขับร้องโดยครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต นอกจากนีย้ งั ประกอบด้วยนักดนตรีไทยอีกหลายท่าน ไม่วา่ เป็นครูสรุ างค์ ดุริยพันธุ์ ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ ครูแช่มช้อย ดุริยพันธุ์ ครูสุดา เขียววิจิตร ครูอัมพร โสวัตร ครูอุไร สินแก้ว ครูเกสร เอนอ่อน ครูณรงค์ แสงหาญ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ครูสมบัติ สังเวียนทอง ครูศิริ วิชเวช ครูสมชาย ทับพร และศิลปินนักแสดงตลกจากกรมศิลปากร 12 บัตรสนเท่หฉ์ บับดังกล่าวถูกไฟเผาไปพร้อมๆ กับเหตุไฟไหม้ครัง้ ใหญ่ทกี่ รมประชาสัมพันธ์ ถนนราชด�ำเนิน [ทีต่ งั้ เก่า] เมือ่ ปี พ.ศ. 2516 13 ละครนอก ละครร้อง และนิทานวรรณคดี ไม่วา่ เป็นเรือ่ งพระรถเมรี แก้วหน้าม้า สุวรรณหงส์ ระเด่นลันได สิงหลกะ นางไม้ ปทุมสุรยิ วงศ์ สังข์ทอง พระยากงพระยาพาน ก�ำเนิดพระร่วง ไตรภูมิพระร่วง นางผมหอม ราชาธิราช สามก๊ก มัทนะพาธา เงาะป่า เลือดสุพรรณ สร้อยดอกหมาก ปลาบู่ทอง เจ้าหญิงแสนหวี ตุ๊กตายอดรัก สาวเครือฟ้า พระลอ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน และนิทานอีสป เป็นต้น 10

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 45


1

2

3

4

5

6

1. ครูณรงค์ แก้วอ่อน สีซอด้วงคู่กับครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต 2. ร่วมขับร้องถวายพระพร วันพ่อ 5 ธันวาคม 3. [จากซ้าย] ครูทะเบียน มาลัยเล็ก กลองแขก ครูเทียมเทพ บุญจ�ำเริญ ขลุ่ย ครูชยุดี วสวานนท์ ขิม ครูณรงค์ แก้วอ่อน และครูฉลวย จิยะจันทร์ ซออู้ 4. นักดนตรีไทยวงกรมประชาสัมพันธ์ [แถวหลังจากซ้าย] ครูนิพันธ์ ธนรักษ์ ครูทัศนัย พิณพาทย์ ครูปรีดา อรรถกฤษณ์ ครูทะเบียน มาลัยเล็ก ครูเทียมเทพ บุญจ�ำเริญ ครูสุรพล สุวรรณ [แถวกลางจากซ้าย] ครูชัยพร ทัพวาธินทร์ ครูสืบศักดิ์ ดุริยประณีต ครูเมธา หมู่เย็น ครูณรงค์ แก้วอ่อน [แถวหน้าจากซ้าย] ดลฤดี เต็มแสวงเลิศ ครูวาสนา รุ่งเรือง ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ครูชยุดี วสวานนท์ 5. ครูณรงค์ แก้วอ่อน ซ้อมซออู้ที่ห้องท�ำงานกรมประชาสัมพันธ์ [วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2534] 6. วงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ขับร้องบรรเลงถวายพระพร วันแม่ 12 สิงหาคม

4 6 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


อย่างเดียว วงสังคีตสัมพันธ์ ดนตรีไทยผสมสากล งานเต้นร�ำโรงแรมเเชงกรีล่าไปเป็นประจ�ำ ช่วงครู ระตีเป็นหัวหน้างานมีงานเต็มที่ ถ้านักดนตรีขาดเหลือ ณรงค์จะไปช่วยสีซอ ท�ำอย่างนีอ้ ยูต่ ลอดเป็นสิบๆ ปี” ครูสมชาย ทับพร คนจังหวัดนนทบุรี ข้าราชการ บ�ำนาญ นักวิชาการละครและดนตรีระดับ 9 สังกัด ส�ำนักการสังคีต กรมศิลปากร แม้ทำ� งานกิจกรรมร้อง ร�ำท�ำเพลงอยูต่ า่ งหน่วยงาน หากแต่มผี ลงานบรรเลง และขับร้องเพลงไทยร่วมกับครูณรงค์อย่างบ่อยครั้ง สม�ำ่ เสมอ ไม่วา่ กับทัง้ ทีว่ งดนตรีคณะดุรยิ ประณีต คณะ เสริมมิตรบรรเลง หรือทีค่ ณะรวมศิษย์บรรเลง จังหวัด ราชบุรี มีความสัมพันธ์อันดีในฐานะกัลยาณมิตรร่วม วิชาชีพ เล่าถึงครูณรงค์ ว่า “ผมให้เกียรติพณี่ รงค์มาโดยตลอด ไม่วา่ ไปร้อง ทีไ่ หนผมต้องให้พเี่ ขาร้องก่อน สมัยหนุม่ ๆ เขาเป็นแนว หน้าในวงการเลยล่ะ เพราะคนร้องเพลงไทยในประเทศ รุน่ นัน้ มีไม่กคี่ น พีณ่ รงค์เขาร้องมาตัง้ แต่เด็ก แต่ถา้ ยัง ร้องอยู่กับชาวบ้านก็คงไม่มีใครรู้จักกว้างขวางเท่าทุก วันนี้ พอเข้ากรมประชาสัมพันธ์แล้วได้ร้องมากเหลือ เกิน ผมว่าเขาร้องให้แทบทุกคณะที่ออกรายการทาง วิทยุ แล้วรายการวิทยุมีทุกคืน แต่ละคืนไม่ใช่สถานี เดียวนะที่เล่นเพลงไทย มีหลายสถานี คณะไหนก็ให้ เขาร้องเพราะพี่ณรงค์ได้เพลงมาก โดยเฉพาะเพลง เถา เรียกได้ว่าเป็น ‘นักร้องวิทยุโดยตรง’ พูดง่ายๆ อย่างนี้ดีกว่า”

สิงห์สนามร้อง ขวัญใจนักดนตรีปี่พาทย์ นอกจากขับร้องทีก่ รมประชาสัมพันธ์ ครูณรงค์ ยังรับขับร้องให้หน่วยงานอืน่ ๆ ไม่วา่ เป็นสถานีวทิ ยุการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย [ททท.] สอนขับร้องเพลง ไทยและบรรยายความรู้แก่ผู้สนใจที่ศูนย์เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา ออกอากาศสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 [อสมท.] ร่วมขับร้องในรายการ ‘ดนตรีไทยที่รัก’ ด�ำเนินรายการโดยคุณเสกสรร ภู่ประดิษฐ์ ทางสถานี โทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 [ททบ.5] และขับร้อง ในรายการ ‘ทิพวาทิต’ ด�ำเนินรายการโดย ครูชยุดี วสวานนท์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ธรรมชาติการท�ำงานที่ต้องอาศัยทั้งความ รู้ในการผลิตสื่อเพื่อป้อนรายการวิทยุ อาศัยไหว พริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ทั้ง แวดล้อมด้วยนักดนตรีชนั้ แนวหน้าต่างเครือ่ งดนตรี ในแวดวงดนตรีไทย14 แน่นอนว่าความรู้ความ ฉลาดในการขับร้องเพลงไทยของครูณรงค์สงั่ สมมา จากประสบการณ์การท�ำงานที่กรมประชาสัมพันธ์ เพราะหลายสถานการณ์บังคับให้ชีวิตต้องด�ำเนิน อยูใ่ ห้ได้ตลอดฝัง่ ฝัน นอกจากตัง้ รับขับร้องบนพืน้ ที่ เวทีราชการ ครูณรงค์ยังออกรุกพื้นที่เชื่อมโยงกับ สังคมดนตรีปี่พาทย์ โดยร่วมขับร้องกับหลายวง ดนตรีทั้งเวทีวัดเวทีบ้านตามค�ำเชื้อเชิญ

นักร้องและนักดนตรีแผนกดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าเป็นครูคงศักดิ์ ค�ำศิริ ครูสมาน ทองสุโชติ ครูจ�ำเนียร ศรีไทยพันธุ์ ครูระตี วิเศษสุรการ ครูฉลวย จิยะจันทร์ ครูสดุ จิตต์ ดุรยิ ประณีต ครูราศี พุม่ ทองสุข ครูเมธา หมูเ่ ย็น ครูชอ้ งมาศ สุนทรวาทิน ครูบญ ุ ยงค์ เกตุคง ครูประสงค์ พิณพาทย์ ครูสมพงศ์ นุชพิจารณ์ ครูทัศนีย์ ดุริยประณีต ครูบุบผา ค�ำศิริ ครูศิริ นักดนตรี ครูดวงจันทร์ นักดนตรี ครู นิพันธ์ ธนรักษ์ ครูชยุดี วสวานนท์ ครูดลฤดี เขียววิจิตร ครูพจนีย์ รุ่งเรือง ครูชัยพร ทับพวาธินท์ ครูสืบศักดิ์ ดุริยประณีต ครูทัศนัย พิณ พาทย์ ครูปรีดา อรรถกฤษณ์ ครูทะเบียน มาลัยเล็ก ครูเทียมเทพ บุญจ�ำเริญ รองศาสตราจารย์สุรพล สุวรรณ 14

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 47


1

2

3

4

5

6

1. ร้องส่งวงปี่พาทย์ ครูทรงศักดิ์ เสณีพงษ์ ตีระนาดเอก บรรเลงถวายมือในงานไหว้ครูของสมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน วัดพระพิเรนทร์ วรจักร กรุงเทพฯ [พ.ศ. 2523] 2. ครูณรงค์ แก้วอ่อน ครูบุญยัง เกตุคง และครูชนะ ช�ำนิราชกิจ 3. ครูณรงค์ แก้วอ่อน กับครูชยุดี วสวานนท์ 4. ร้องออกโทรทัศน์ในรายการดนตรีไทยที่รัก สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 5 [พ.ศ. 2532] 5. ร้องส่งวงปี่พาทย์ ครูประสงค์ พิณพาทย์ ตีระนาดเอก เพลงแขกไทร เถา บรรเลงถวายมือในงานไหว้ครูของสมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน วัดพระพิเรนทร์ วรจักร กรุงเทพฯ 6. ร้องส่งวงปี่พาทย์บรรเลงถวายมือในงานพิธีไหว้ครูของธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด

4 8 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ครูณรงค์ แก้วอ่อน กับพระพร ภิรมย์ ที่วัดพระพิเรนทร์ วรจักร กรุงเทพฯ

ครูทะเบียน มาลัยเล็ก เล่าเสริมว่า “ส่วนหนึง่ ทีท่ ำ� ให้ณรงค์เก่งนอกจากอัดเทปออกวิทยุบอ่ ย เขายัง เล่นสักวาอยูต่ ลอด คนร้องสักวาต้องจ�ำเพลงแม่นแล้ว ต้องได้เพลงมาก คนแต่งส่งบทมาคนร้องต้องดูเนื้อ ว่าจะร้องอย่างไร สนุกหรือเศร้าวางเพลงให้เหมาะ ปี่พาทย์ก็มีวิธีรับส่งของเขา บางทีนึกไม่ออกในหัวมัน ต้องนึกเชียว คว้าอะไรได้กง็ ดั ออกมา ฉะนัน้ ความรูก้ บั ปฏิภาณนีส่ ำ� คัญ ถ้าร้องนะ ณรงค์ไม่ยอมคนอืน่ อยูแ่ ล้ว เพราะถือว่าเขาหัดมาทางนี้โดยตรง นั่งประจันหน้า ยิ่งไม่กลัว ไม่มีประหม่า ปล่อยหางตีกันได้ยันสว่าง” ครูณรงค์เป็นผู้หนึ่งที่ไม่เคยห่างหายจากเวที บรรเลงปี่พาทย์ ไม่วา่ เป็นงานประชันปี่พาทย์หรืองาน บรรเลงถวายมือถวายครูในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ส่วน

ส�ำคัญที่ครูณรงค์ได้รับเชิญให้ร่วมขับร้องกับหลายวง ดนตรีทงั้ ในเขตพืน้ ทีจ่ งั หวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี เพชรบุรี นครสวรรค์ อ่างทอง สระบุรี เพราะความอุน่ ใจของนักดนตรีที่นับถือกันว่าครูณรงค์จ�ำเพลงแม่น และได้เพลงมาก เป็นนักร้องเพลงไทยผู้หนึ่งที่ไม่มี ข้อแม้ด้านวิชาชีพและนิสัยส่วนตัว หลายครั้งจึงมี โอกาสขับร้องให้ดาวนักระนาดเอกหลายท่านทั้งเก่า ใหม่ ไม่ว่าเป็นครูสุพจน์ โตสง่า ครูบุญยงค์ เกตุคง ครูประสงค์ พิณพาทย์ ครูเมธา หมูเ่ ย็น ครูทศั นัย พิณ พาทย์ ครูทรงศักดิ์ เสนีพงษ์ ครูชัยยุทธ โตสง่า หรือ ครูทวีศักดิ์ อัครวงศ์ ครูอนันต์ชัย แมรา คนจังหวัดนนทบุรี เป็นอีก ท่านทีส่ บื ทอดทางเพลงสายครูเฉลิม บัวทัง่ อย่างเข้ม ข้นคนหนึง่ เรียนรูด้ นตรีปพ่ี าทย์จากครอบครัวคือวงปี่ พาทย์คณะวัดส้มเกลี้ยง มีโอกาสรู้จักและเชื้อเชิญครู ณรงค์มาร่วมขับร้องกับวงปี่พาทย์คณะวัดส้มเกลี้ยง บ่อยครั้งกระทั่งบั้นปลายชีวิต เล่าความประทับใจถึง ครูณรงค์ว่า “ก่อนจะเชิญพีณ่ รงค์มาร้อง ส่วนตัวรูจ้ กั ตัง้ แต่ ไปบันทึกเสียงทีค่ ณะเสริมมิตรบรรเลง ครูเฉลิม บัวทัง่ เสียแล้ว ครูประสงค์ พิณพาทย์ เข้ามาจัดการวงแทน แกมาร้องบ้างไม่มาบ้าง จากนัน้ เจอกันบ่อยๆ ตามงาน เครือ่ งมอญ พีท่ วีศกั ดิ์ ปัน้ บุญ คนเครือ่ งหนังเป็นคนดึง พี่ณรงค์มาร้องงานศพ งานบรรเลงทั่วไป ครูประสงค์ ตีระนาดเอง ช่วงหลังผมฝึกเด็กออกงานบรรเลงใน นามวงวัดส้มเกลีย้ ง ก่อนหน้าทีร่ อ้ งบ่อยคือ ป้าศรีนวล ปิน่ เย็น แกลุยกับเราไม่สะดวกเพราะเป็นผูห้ ญิง แต่พี่ ณรงค์ถึงไหนถึงกัน นอนวัดก็ได้ไม่เคยบ่น “อย่างบุหลันทางฝัง่ ธน ผมบอก ‘พี่ ไม่ใช่เนือ้ นี้ นะ’ ‘เจีย๊ บไปหาเทปให้พสี่ ’ิ นีแ่ กเป็นคนใฝ่รหู้ รือเปล่า ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 49


รุง่ ขึน้ อีกสองวันร้องได้โดยไม่ตอ้ งดูเนือ้ ผมจะเล่นตะลุม่ โปง เถา ไม่ทราบว่าแกได้หรือเปล่านะ แต่ผลัดหลาย ครั้งกระทั่งจวนตัว ผมบอก ‘พี่ วันนีร้ อ้ งตะลุม่ โปงนะ’ ชัน้ เดียวแกได้อยูแ่ ล้ว ถูกไหม ด้วยความอัจฉริยะ ผม เชือ่ ว่าแกท�ำได้ปจั จุบนั ทันด่วน ขยายร้องจากชัน้ เดียว เดีย๋ วนัน้ เพือ่ ไม่ให้เสียฟอร์ม บางงานนัดไว้ 6 โมงเช้า ที่วัดส้มเกลี้ยง ตีห้าครึ่งมาเดินรอเราแล้ว ด้วยความ เป็นคนตรงต่อเวลา งานสุดท้ายทีร่ อ้ งให้ทนี่ ี่คอื งาน 3 ครูดนตรีไทยที่บางใหญ่15” ไม่เพียงไปร่วมงานในฐานะนักร้องน�ำนัง่ หน้าวง ดนตรี หากแต่ครูณรงค์ยงั เดินทางไปร่วมงานในฐานะผู้ ฟังร่วมสังเกตการณ์ โดยเฉพาะได้ซมึ ซับเรียนรูแ้ นวทาง การขับร้องและลูท่ างการบรรเลงของแต่ละส�ำนักอย่าง เปิดใจ เป็นทีร่ บั รูโ้ ดยทัว่ ไปว่า ครูณรงค์สามารถขับร้อง หลายเพลงส�ำคัญของแต่ละส�ำนักได้เป็นอย่างดี ไม่ ว่าเป็นเพลงของครูหลวงประดิษฐไพเราะ [ศร ศิลป บรรเลง] เพลงทีป่ ระพันธ์โดยครูบญุ ยงค์ เกตุคง หรือ หลายเพลงของครูเฉลิม บัวทั่ง ที่ทุกวันนี้มีผู้ขับร้อง ได้ในจ�ำนวนไม่มากนัก ไม่เว้นแม้แต่เพลงร้องทางฝั่ง ธนบุรีของส�ำนักดนตรีพาทยโกศล ครูสมศักดิ์ ไตรย์วาสน์ คนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตลูกวงท�ำปีพ่ าทย์ลเิ กจังหวัดลพบุรี เคยท�ำงานอยู่ หน่วยปราบโรคมาเลเรียที่บ้านเกิด ก่อนฝากตัวเป็น ศิษย์สำ� นักดนตรีพาทยโกศล เป็นท่านหนึง่ ทีต่ า่ งเคารพ นับถือความรู้ความสามารถด้านดนตรีของกันและกัน เล่าประสบการณ์บรรเลงและขับร้องร่วมกับครูณรงค์ ว่า

“ณรงค์มาร้องให้ทบี่ า้ นกว่า 20 ปี ตัง้ แต่เมรุวดั กัลยาณมิตรหลังเก่า ผมเป็นคนโทรชวน ร้องบ่อยคือ เทวาประสิทธิ์ เถา สมบุกสมบันกันมาทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด นีจ่ ะเล่าให้ฟงั ไปท�ำงานหนึง่ ทีอ่ ยุธยา หา ทัง้ ณรงค์ทงั้ สมบัติ สังเวียนทอง ไปร้อง ณรงค์เรียกตับ นเรศวร์ จบตับนเรศวร์เจ้าบัตคิ ว้าไมค์ขนึ้ เชียว ร้องตับ นางลอย ณรงค์รอ้ งจบ บัติขึ้น พอบัตริ ้องจบณรงค์ขนึ้ เราต้องบอกพอๆ ให้ปี่พาทย์พักบ้าง ณรงค์เหมือนพี่ ชลอรัตน์ อ่วมหร่าย คือได้เพลงมาก ยืมเทปไปแกะ สุดถวิล จิ้งจกทอง สองเพลงนี้เขาอยากได้มาก ร้อง ครั้งหลังสุดให้ที่บ้านคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ งาน วันปิยมหาราช จากนั้นก็ไม่ได้พบกันอีก” ณรงค์ร้อยเถา ณรงค์พันเพลง น่าสนใจว่า หลายท่านตั้งข้อสังเกตถึงวิธี ก�ำหนดจดจ�ำเนือ้ ร้องท�ำนองเพลงต่างๆ โดยเฉพาะ เพลงเถา ทีค่ รูณรงค์สามารถขับร้องได้ทกุ ครัง้ โดย ไม่ต้องพึ่งพาเนื้อร้องจากต�ำราเขียน กระทั่งได้รับ ฉายาให้เกียรติอย่างยกย่องว่า ‘ณรงค์ร้อยเถา’ หรือ ‘ณรงค์พันเพลง’ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าครู ณรงค์มพี นื้ ฐานดนตรีปพ่ี าทย์ ทราบและวัดจังหวะ หน้าทับกลองได้ ที่ส�ำคัญคือรู้ท�ำนองฆ้องวงใหญ่ เหล่านี้ถือเป็นความได้เปรียบอย่างหนึ่งซึ่งเอื้อต่อ หลักในการจดจ�ำท�ำนองร้อง ไม่ว่าเป็นเพลงหน้า

ชื่องาน ‘ของดีบ้านฉัน อ�ำเภอบางใหญ่’ ระหว่างวันที่ 3-7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ณ ลานเทศบาลต�ำบลบางใหญ่ อ�ำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จัดประชันปี่พาทย์ 3 วงดนตรี ได้แก่ วงปี่พาทย์คณะศิษย์ครูกาหลง พึ่งทองค�ำ คณะศิษย์ครูสกล แก้วเพ็ญกาศ และคณะ ศิษย์ครูเฉลิม บัวทั่ง โดยครูณรงค์ขับร้องหลายเพลงให้กับวงคณะศิษย์ครูเฉลิม บัวทั่ง ได้แก่ เพลงแขกลพบุรี เถา [ทางถอด] เพลงแขก เชิญเจ้า เถา และเพลงหงส์ทอง เถา [ทางวอลซ์] 15

5 0 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


1 3

ทับปรบไก่หรือเพลงหน้าทับสองไม้ นอกจากนี้ วิธี การเอือ้ น 3 เสียงของครูณรงค์ ยังถือเป็นแนวทาง ลีลาการขับร้องที่โดดเด่นเฉพาะตน ครูสมชาย ทับพร ให้ทศั นวิจารณ์ถงึ การขับร้อง เพลงไทยของครูณรงค์ ว่า “วิธรี อ้ งของพีณ่ รงค์เป็นของ เขาอีกรูปแบบหนึ่ง ทั้งวิธีการเอื้อน วิธีการหายใจ ทั้ง น�้ำเสียงและลีลาร้องเป็นแบบเพลงเถา น�ำ้ เสียงของ เขาเหมาะที่จะร้องเพลงเถานั่นแหละดีแล้ว อย่าง ที่ผมร้องเลียนแบบนี่คือร้องละคร ลีลามาทางกรม ศิลปากร รูปแบบพิมพ์นิยมที่กรมศิลปากรร้องกัน ไม่ ว่าเป็นครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ์ ครูประเวศ กุมุท หรือครู แจ้ง คล้ายสีทอง ท่านเหล่านีม้ นี ำ�้ เสียงร้องการแสดง ดี เพราะถ้าร้องการแสดงไม่ดกี ไ็ ม่ควรอยูก่ รมศิลปากร ใช่ไหม ต้องดูความสอดคล้องระหว่างการปฏิบัติงาน

2 1. ครูณรงค์ แก้วอ่อน รับมอบรางวัลจากหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ณ อยุธยา [วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2529] 2. ครูณรงค์ แก้วอ่อน ขับร้องบันทึกเสียงร่วมกับครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต และครูสุรางค์ ดุรยิ พันธุ์ [วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2548] 3. งานประกวดเสียงเสนาะจากวรรณกรรมสุนทรภู่ ฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่ ร่วมกับครูญาณี ตราโมท และครูชัยพร ทัพวาธินทร์ [วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529]

กับหน่วยงานที่เขาอยู่ด้วย “วิชาความรูพ้ ณี่ รงค์เขามีแน่ ร้องเพลงได้มาก แล้วจ�ำแม่น ไม่อย่างนัน้ คงไม่มชี อื่ เสียงถึงทุกวันนี้ แต่ วิชาความรูก้ บั ความละเอียดพิถพี ถิ นั ต่างกัน อันนีต้ อ้ ง แยกแยะ ไพเราะไม่ไพเราะแล้วแต่ผฟู้ งั ผูฟ้ งั ชอบแบบ ไหนก็ว่ากันไป ส่วนตัวผมร้องได้มากเหมือนกัน แต่ ยอมรับว่าไม่ละเอียดเท่าที่ควร อาจไม่เหมือนหลายๆ ท่าน อย่างครูเหนีย่ ว ครูแจ้ง ท่านร้องไม่มาก แต่ทา่ น ร้องเพราะเลย นีอ่ กี ลักษณะหนึง่ ร้องเพลงส�ำคัญๆ ไม่ กีเ่ พลง แต่เพลงทีท่ า่ นร้องออกมาดีทกุ เพลง อย่างครู เหนี่ยวเสียงท่านดีเป็นทุนอยู่แล้ว เป็นต้น” ครูทะเบียน มาลัยเล็ก เล่าเพิม่ เติมว่า “คุยกัน ลึกๆ แล้วจะรู้ว่าณรงค์มีเพลงมาก เป็นคนช่างสังเกต ในเรื่องเพลงร้อง ซึ่งนักร้องหลายคนอาจรู้ลึกไม่เท่า ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 51


เขา แต่ณรงค์จะร้องเพลงไม่ตรงจังหวะนะ เหมือน ตีระนาดทุ้มสามขา ค�ำร้องจะตกก่อนหรือหลังจังหวะ ใช้วิธีเอื้อนแสดงความเก๋า ใครก็ท�ำเหมือนเขาได้ยาก เวลาร้องเขาร้องวัดทางเครือ่ งเลย ซ้อมกับผมนีท่ ำ� กัน เป็นประจ�ำ อย่างเพลงสมิงทองต่อให้เด็ก พอเครือ่ งรับ แล้วเขาจะร้องพร้อมไปกับเครื่องอีกเที่ยว ร้องให้เด็ก ฟังว่าเข้ากับทางเครื่องอย่างไร บางวรรคมันปิดบังก็ มี ทางร้องทางเครื่องไปคนละทาง คนเครื่องไม่ฝืนไว้ ก็ผิด แต่เดี๋ยวก็ไปเจอกันข้างหน้า ‘เออ ท�ำอย่างนี้ก็ ดีกูจะได้รู้ไปด้วย’ นี่นึกในใจนะ” แม้ใช้ชีวิตและมีชื่อเสียงจากการเป็นนักร้อง เพลงไทยในกรุงเทพฯ มานานตัง้ แต่แรกหนุม่ หากแต่ ครูณรงค์ยงั คงเดินทางกลับไปช่วยงานขับร้องทีบ่ า้ นเกิด อยู่เสมอ นับเป็นอีกท่านหนึ่งที่สานความสัมพันธ์อันดี ระหว่างนักดนตรีในลุ่มแม่นำ�้ แม่กลองกับนักดนตรีใน พื้นที่ส่วนกลาง โดยเฉพาะความตั้งใจในการไปร่วม งานพิธีไหว้ครูดนตรีไทยของส�ำนักครูรวม พรหมบุรี จังหวัดราชบุรี ที่จัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปีทุกครั้ง เพราะ นอกจากจะได้พบปะสังสรรค์กับเครือญาติพี่น้องนัก ดนตรีไทยแล้ว ครูณรงค์ยังถือโอกาสทบทวนทางร้อง กับนักดนตรีไทยรุ่นเก่าหลายท่านที่นั่นอีกด้วย เรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน เล่าว่า “พี่ณรงค์จะ พูดอยู่เสมอว่า อยู่ที่กรุงเทพฯ เขาร้องเพลงเถาเพลง 3 ชั้นไม่กี่เพลงหรอก ฉะนั้นเวลาได้กลับไปร่วมงานที่ บ้านเกิดหรือที่ราชบุรีเขาจะดีใจมาก เพราะหลังจาก ที่วงวัยรุ่นบรรเลงประกวดประขันฝีมือจบ คราวนี้พี่ ณรงค์จะหันไปหานักดนตรีรุ่นใหญ่บ้างล่ะ ‘พีอ่ ่วน [ครู อ่วน หนูแก้ว] เอาสิ พี่พุ่ม [ครูพุ่ม เผยเผ่าเย็น] เอา สิ’ จะได้ร้องได้เล่นเพลงเก่าๆ ซึ่งบางเพลงพี่ณรงค์ อาจลืมไปแล้ว แต่ถ้าคนปี่พาทย์ท�ำได้ เขาก็เหมือน

5 2 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

ได้ฟื้นทางร้องไปในตัว “ปกติถ้าพี่ณรงค์กลับบ้านแล้วไปนอนพักผ่อน ไม่มีทาง อย่างเดียวกับลุงวงษ์เลย นั่งคนเดียวหลัง พิงฝา มือจับปอยผมแล้วก็ท่องเพลงไปด้วย ผมหลับ ไปหนึ่งตื่นลุกขึ้นมาพี่ณรงค์ยังร้องอยู่ บางทีเขาอาจ ต้องการความเงียบ หรือเปิดทีวไี ว้แต่ไม่ได้ดหู รอก แก จะติ๊กเป็นเพลงๆ ว่าเพลงไหนทวนแล้วหรือยัง เพื่อ เตือนความจ�ำ แกมีเครือ่ งเล่นเทปอยู่ 4-5 เครือ่ งยีห่ อ้ เดียวกันทัง้ หมด ใช้ 2-3 ปีจนพัง เปลีย่ นเครือ่ งใหม่ก็ ซือ้ ยีห่ อ้ เดิมมาใช้ เอาไว้ทวนเพลงเก่าๆ หรือเพลงใหม่ ทีไ่ ม่คนุ้ หรืออย่างไปงานนะ ถ้าคนระนาดเคาะให้เสียง ผิดลูก นี่แกจะโกรธมาก” ร้อยตรีภาณุวฒั น์ [ชือ่ เดิม รังสรรค์] ไม้ทองงาม ศิษย์ปี่พาทย์ส�ำนักครูรวม พรหมบุรี มีประสบการณ์ บรรเลงและขับร้องเพลงไทยร่วมกับครูณรงค์เป็นระยะ เวลายาวนาน แสดงทัศนวิจารณ์ส่วนตัวเรื่องทางขับ ร้องและบทบาทโดดเด่นที่ประจักษ์ในแวดวงดนตรี ไทยของครูณรงค์ ว่า “ผมฟังพีณ่ รงค์รอ้ งเพลงมาตัง้ แต่สมัยอยูบ่ า้ น ครูรวม สังเกตมานานแล้วว่า ลีลาการร้องของแก มีอย่างหนึ่งซึ่งไม่เหมือนนักร้องคนอื่น คือลูกเอื้อนที่ เลื่อนไหลขึ้นลง 3-4 เสียง สนิทสนมแนบเนียนแบบ ไร้ตะเข็บ ประคบเสียงสูงลงทุม้ ต�ำ่ ได้นา่ ฟัง ตรงนีเ้ ป็น ชัน้ เชิงเทคนิคและเป็นธรรมชาติเฉพาะตัวจริงๆ คนอืน่ ท�ำได้ยาก ลองไปฟังเพลงสุดสงวนที่แกร้องสิ “อีกอย่างคือพี่ณรงค์เป็นคนที่มีความมั่นใจใน ตัวเองสูงมาก ไปบรรเลงช่วยงานที่ไหนก็ตาม หลาย วงส่วนมากมักขาดนักร้อง เพราะคิดว่าหาเอาได้ในงาน แต่ถึงหาได้อย่างไรก็ไม่เรียบร้อยเพราะไม่ได้ซ้อมกัน มา อาศัยว่าพอแก้ขัดได้เท่านั้น บางวงเตรียมซ้อมจะ


เล่นเพลงนั้นเพลงนี้ แต่คนร้องที่มีอยู่ร้องไม่ได้ ก็ต้อง ให้วงอืน่ บรรเลงไปก่อน รอจนกว่าจะหาคนร้องได้ เห็น พีณ่ รงค์เดินเข้ามาในงานเท่านัน้ แหละ ปัญหาทุกอย่าง จบเลย โล่งใจกันหมด บอกพี่ณรงค์ช่วยร้องเพลงนี้ให้ หน่อย เข้าไปนัง่ หน้าเครือ่ งร้องได้เดีย๋ วนัน้ ไม่ตอ้ งเปิด หนังสือหาเนื้อร้องให้เสียเวลา ความมั่นใจในความ แม่นย�ำจัดเจนของแก ส่งผลให้นักดนตรีทุกคนพลอย รูส้ กึ อุน่ ใจตามไปด้วย เป็นทีร่ กู้ นั ว่า ถ้างานไหนพีณ่ รงค์ มาร่วม เป็นอันหมดห่วงเรือ่ งคนร้อง จบเพลงแกจะหัน มาถามทันทีว่า ‘เอาเพลงอะไรอีก’ ” สืบสานงานณรงค์ บันทึกเป็นหมายเหตุว่า ในปี พ.ศ. 2523 งานดนตรีไทยสองครั้งใหญ่ส�ำคัญที่เกิดขึ้นช่วงปลาย ปี ครูณรงค์มีโอกาสได้ร่วมขับร้องเพลงไทยประชันวง รายการ ‘เสือสิงห์กระทิงแรด’ ณ โรงละครแห่งชาติ ซึ่งเป็นการแสดงฝีมือของนักระนาดเอกที่มีชื่อเสียง ร่วมสมัยในรุ่นราวคราวเดียวกันถึง 4 ท่าน ได้แก่ ครู สุพจน์ โตสง่า ครูเมธา หมู่เย็น ครูสุรเดช กิ่มเปี่ยม และครูพัฒน์ บัวทั่ง ครูณรงค์ได้ท�ำหน้าที่ขับร้องให้กับ วงของครูเมธา หมูเ่ ย็น ทัง้ ยังได้รบั รางวัลรองชนะเลิศ อับดับหนึ่ง จากการแข่งขันขับร้องเพลงไทย รายการ ‘ฆ้องทองค�ำ’ ครั้งที่ 1 ขับร้องในเพลงแขกมอญ 3 ชั้น อีกด้วย ชีวติ ราชการของครูณรงค์ผา่ นการบังคับบัญชา จากหัวหน้างานแผนกดนตรีไทยทีก่ รมประชาสัมพันธ์มา แล้ว 3 ท่าน ได้แก่ ครูระตี วิเศษสุรการ ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต และครูเมธา หมู่เย็น ด้วยมีผลงานเป็น ทีป่ ระจักษ์ชดั และปฏิบตั งิ านราชการด้วยความสมบูรณ์

พร้อม ในปี พ.ศ. 2539 ครูณรงค์จงึ ได้รบั เลือกให้ดำ� รง ต�ำแหน่งหัวหน้างานแผนกดนตรีไทย ทั้งยังได้รับการ เสนอชือ่ เพือ่ เข้ารับพระราชทานเครือ่ งราชอิสริยาภรณ์ [เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย จัตรุ ถาภรณ์มงกุฎไทย จัตรุ ถา ภรณ์ชา้ งเผือก ตริตาภรณ์มงกุฎไทย เหรียญจักรพรรดิ มาลา ตริตาภรณ์ชา้ งเผือก ทวีตยิ าภรณ์มงกุฎไทย] ก่อน เกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2546 นับเป็นรางวัล เกียรติยศแห่งชีวิตในการท�ำงานที่ครูณรงค์ภาคภูมิใจ มากทุกครั้งที่ได้กล่าวถึง โดยเฉพาะรายได้แต่ละเดือนจากงานราชการ พร้อมทั้งสินน�้ำใจที่ได้รับหลังร่วมขับร้องกับหลาย วงดนตรี แน่นอนว่าส่วนหนึ่งครูณรงค์จัดสรรไว้ เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจ�ำวัน บางโอกาสใช้จุนเจือ ครอบครัวและมิตรสหายยามจ�ำเป็น อีกส่วนหนึง่ ที่ นับว่าไม่นอ้ ยถูกใช้ไปกับงานอดิเรกสะสมภาพถ่าย เก่าที่สร้างความสุขความเพลินใจอย่างมากให้แก่ ชีวติ ไม่เพียงแต่มคี วามทรงจ�ำดีดา้ นเนือ้ ร้องท�ำนอง เพลงไทยเท่านัน้ หากแต่ครูณรงค์ยงั จดจ�ำเรือ่ งเล่า เกี่ยวกับเครือญาติบรรพบุรุษในอดีตทั้งฝ่ายบิดา และมารดาได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถบอกเล่า รายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏในภาพถ่ายเก่าของ ตนได้อย่างแม่นย�ำ รองศาสตราจารย์สุรพล สุวรรณ เล่าถึงของ สะสมของครูณรงค์ว่า “พี่ณรงค์เป็นคนผูกพันกับ เรื่องที่เคยชิน เช่นบ้านพักแกที่เช่าอยู่ในซอยวัดเพลง วิปสั สนา จรัลสนิทวงศ์ อยูเ่ ป็นสิบๆ ปีไม่เคยย้าย อาจ เพราะเป็นคนติดกับพืน้ ที่ เก็บของตรงนี้ นอนตรงนี้ กิน อาหารร้านเดิมร้านนี้ เดินไปไหนมาไหนในซอยมีคน รู้จักทั้งหมด โดยเฉพาะมีความหลงใหลมากในคุณค่า ภาพถ่ายเก่าโบราณ เคยเดินไปเลือกซื้อภาพเก่าด้วย ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 53


กันครัง้ หนึง่ แกยืนจ้องแล้วจ้องอีก เอากล้องส่องพระ มาส่องอย่างละเอียด คิดว่าภาพหนึง่ คงเจอ เป็นภาพ ครูนิภา อภัยวงศ์ ทราบไหมว่าใครเป็นคนเซ็นลายมือ ชื่อด้านหลัง ‘ภาพนี้ให้ครูนิภา อภัยวงศ์’ ลงชื่อ ‘สิริ ธร’ แกชื่นใจกับภาพนี้มากๆ” ภาพถ่ายเก่าต้นฉบับหายากทั้งขาวด�ำและสี จ�ำนวนมากทีค่ รูณรงค์เพียรซือ้ สะสมจากตลาดค้าของ เก่านอกจากเป็นรูปภาพบุคคลส�ำคัญในแวดวงต่างๆ ทัง้ ในและต่างประเทศ ภาพประวัตศิ าสตร์และเหตุการณ์ ส�ำคัญ ภาพดาราและนางสาวไทยในอดีตครบชุดซึง่ ถือ เป็นคอลเลคชัน่ โปรดส่วนตัว ยังปรากฏภาพถ่ายจ�ำนวน หนึ่งที่ทรงคุณค่าด้านประวัติศาสตร์เพลงดนตรีของ เมืองไทย ไม่ว่าเป็นภาพเบื้องหลังการถ่ายท�ำรายการ โทรทัศน์หลายสถานีในอดีต การบรรเลงวงดนตรีไทย และนาฏศิลป์ของทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน และ วงดนตรีชาวบ้านต่างส�ำนัก ภาพถ่ายพอตเทรตบุคคล ในแวดวงนาฏศิลป์ไทย ดนตรีไทยและไทยสากล รวม ถึงหลายท่านที่มีความเกี่ยวข้องกับการท�ำงานที่กรม ประชาสัมพันธ์ เรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน เล่าเสริมว่า “พี่ ณรงค์จะเก็บรูปเก่าเป็นอัลบั้มๆ ใส่กระเป๋าบ้างถุง บ้าง แล้วยังมีอกี หลายลัง เคยถามอยูร่ ปู หนึง่ เป็นรูป ผูว้ า่ ราชการจังหวัดเพชรบุรี ‘พีณ่ รงค์ รูปนีด้ แู ล้วเกีย่ ว อะไรกับเรา’ แกบอก ‘เอ็งไม่รหู้ รอก ลองคิดสิ ถ้าเป็น ข้านะ กับครอบครัวของเขานี่มีความส�ำคัญมาก รูปนี้ เป็นรูปจริง มันบอกเล่าประวัติศาสตร์และความหลัง ใครไม่เคยเห็น นี่ข้าซื้อมาให้ดูแล้ว’ ที่ห้องพี่ณรงค์จะ มีหนังสือทุกชนิด นิตยสารกองเป็นตัง้ ๆ แพรว พลอย แกมเพชร หนังสือพิมพ์ซื้อทุกวัน แล้วต้องเป็นไทยรัฐ อย่างเดียวเท่านั้น แกเดินตามซื้อภาพเก่าตั้งแต่หนุ่ม

5 4 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

ยันเกษียณ คิดว่าอนาคตถ้ามีโอกาสจะน�ำภาพเหล่า นี้มาจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ให้แกที่บ้านเกิด เพราะพี่ ณรงค์แกรักของแก” ลูกศิษย์ทางร้องเพลงไทยของครูณรงค์คอื หลาน สาวแท้ๆ ชือ่ สิบเอกเสาวรส โรหิตานนท์ [ถึงแก่กรรม] อดีตนักร้องเพลงไทยกองดุริยางค์ทหารบก ก่อนและ หลังเกษียณชีวติ ราชการทีก่ รมประชาสัมพันธ์ ครูณรงค์ ยังใช้ชวี ติ ส่วนหนึง่ ผูกพันอยูก่ บั ลูกศิษย์ขบั ร้องทีช่ มรม ดนตรีไทยการประปานครหลวง [สอนทุกวันอังคาร เวลา 12.00 น. ถึง 13.30 น.] วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี กรุงเทพฯ [สอนทุกวันอังคารและวันพุธ ช่วงเย็น] โดยสอนร่วมกับครูทะเบียน มาลัยเล็ก และ ที่ชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สอนร่วมกับ ครูธีรศักดิ์ ชุ่มชูศาสตร์ ส�ำนักบ้านดุริยประณีต และ อาจารย์สหรัฐ จันทร์เฉลิม วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานบรรเลงดนตรีไทยของพนักงานการ ประปานครหลวง นอกจากบรรเลงบันทึกเทปโทรทัศน์ และออกสถานีวิทยุ อ.ส. ในวาระโอกาสส�ำคัญต่างๆ ของชาติ ไม่ว่าเป็น งานถวายพระพรพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั และพระบรมวงศานุวงศ์ ยังเคยบรรเลง ดนตรีไทยแสดงต่อหน้าสาธารณะชน ที่ส�ำคัญได้แก่ รายการแสดงดนตรีไทย ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ จัดโดย ธนาคารกรุงเทพจ�ำกัด [มหาชน] ครั้งที่ 755 และ ครั้งที่ 1002 ในชือ่ ‘วิพธิ ทัศนาการประปานครหลวง’ ครูทะเบียน มาลัยเล็ก เล่าถึงความสุขของครู ณรงค์ทชี่ มรมดนตรีไทยการประปานครหลวง ว่า “ณรงค์ สอนทีป่ ระปาดูมคี วามสุขมาก เพราะทุกคนเหมือนพีน่ อ้ ง กัน อายุไล่เรียงไปจนถึงหกสิบ หลังเกษียณแล้วยังมา


1

2

3

4

5

6

1. ครูณรงค์ แก้วอ่อน รับพระราชทานรางวัลรองชนะเลิศ นักร้องฆ้องทองค�ำ ณ หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2523 2. นักร้องชายรางวัลฆ้องทองค�ำรุ่นใหญ่-รุ่นเล็ก [จากซ้าย] ครูดนัย น้อยชื่น ครูสมบัติ สังเวียนทอง ครูมณเฑียร แสงโชติ ครูณรงค์ แก้วอ่อน ครูฐานันดร์ กัมพลพันธ์ 3. ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต กับศิษย์นักร้องรางวัลฆ้องทองค�ำที่บ้านดุริยประณีต [จากซ้าย] ครูวาสนา รุ่งเรือง ครูฐานันดร์ กัมพลพันธ์ ครูสุดจิตต์ ดุรยิ ประณีต และครูณรงค์ แก้วอ่อน 4. ครูณรงค์ แก้วอ่อน [อายุ 31 ปี] กับครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต และรางวัลฆ้องทองค�ำพระราชทาน 5. ครูณรงค์ แก้วอ่อน และครูทะเบียน มาลัยเล็ก กับลูกศิษย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ ในงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง [พ.ศ. 2547] 6. รายการวิพิธทัศนาการประปานครหลวง ศูนย์สังคีตศิลป์ ครั้งที่ 755 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 55


ครูณรงค์ แก้วอ่อน ที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

เรียน พนักงานประปาไปพักผ่อนที่ไหน เขาก็ชวนเรา ไปด้วย ไปฟรีกนิ อยูฟ่ รี ตกกลางคืนกินเลีย้ งเล่นดนตรี นั่งรถตู้ 3-4 คัน เครื่องดนตรีใส่ท้ายรถ ที่นี่ลูกศิษย์ พอจะรับความรู้จากณรงค์เขาได้ ต่อเพลงเถาไว้มาก ส่วนทีว่ ทิ ยาลัยพยาบาลต่อปีละเถา เล่นงานดนตรีไทย อุดมศึกษา เล่นต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ เพราะเด็กที่ นีเ่ ก่งภาษา ปรึกษากัน 2 คน ครูคมุ เครือ่ ง เขาคุมร้อง “หลังๆ คุยเรื่องโรคภัยไข้เจ็บกันบ่อย อายุ มากเข้าเขาชักเริ่มจะเดินไม่ไหว เดินหน้าก้าว ถอย มาข้างหลังสองก้าว ก่อนเสียหนึ่งวันไปสอนที่ประปา ด้วยกัน ใต้บันไดทางขึ้นมันมีม้านั่งส�ำหรับพัก เขานั่ง พับหลับอยู่ตรงนั้น เราไปตบไหล่ถามณรงค์เป็นอะไร เขาบอกนอนไม่หลับ แน่นหน้าอก ถ่ายไม่ออก กิน ยาน�้ำระดมพลเป็นแก้วอย่างนี้จะให้ถ่าย ถ่ายไม่ออก สังเกตหลายครั้งที่ประปา ณรงค์นอนพักอยู่หน้าโต๊ะ หมู่บูชาพระ นอนแปปเดียวเดี๋ยวผุดลุกผุดนั่ง เข้าใจ ว่าร่างกายคงพักผ่อนไม่พอ”

5 6 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

จุดเกิดเหตุ รองศาสตราจารย์สุรพล สุวรรณ เล่าชีวิต ส่วนตัวบางส่วนของครูณรงค์ให้ฟังว่า “พี่ณรงค์ชอบ เดินทาง แกเคยเล่าให้ฟังว่า ‘บ้านคือรังนอน’ สมมุติ วันไหนไม่มีงานร้องเพลง แกจะขึ้นรถเมล์จากต้นสาย ไปปลายสาย แล้วนั่งย้อนกลับมา ท่องเที่ยวเรียนรู้ ในหนึ่งวัน จบ แล้วเดินเก่งมาก ไปไหนมาไหนไม่ถือ ร่ม ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์บังหัว แกจะเหน็บของแก ไว้ที่กระเป๋าหลังกางเกง ครั้งสุดท้ายเดินทางไปเล่น ดนตรีดว้ ยกันทีแ่ คนาดา อาจารย์ภญิ โญ สุวรรณคีรี ไป ออกแบบสร้างเรือนไทยไว้ที่นั่น พี่ณรงค์คิดเหมือนผม คือจากเมืองทีเ่ ราอยูจ่ ะเดินทางไปเทีย่ วอีกเมืองหนึง่ ขา ไปเรานัง่ เครือ่ งบินไป ขากลับถามจะกลับเครือ่ งบินหรือ รถยนต์ แกรีบตอบ ‘รถยนต์’ เพราะชอบดูบรรยากาศ ดูธรรมชาติ นี่คือเขา” บั้นปลายชีวิตหลังเกษียณอายุราชการที่กรม ประชาสัมพันธ์ แม้อายุล่วงเลยเข้าสู่รวันวัย 71 ปี


เดินทางไปฉลองเรือนไทยที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา กับอาจารย์ภญ ิ โญ สุวรรณคีรี [สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2546]

หากแต่วตั รปฏิบตั ขิ องครูณรงค์ทงั้ ชีวติ ส่วนตัวและชีวติ ศิลปินยังคงเสมอต้นเสมอปลาย ไม่วา่ เป็นการเดินทาง ไปถ่ายทอดความรูก้ ารขับร้องเพลงไทยให้แก่ลกู ศิษย์ตาม หน่วยงานต่างๆ รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินประกวด ประขันวงดนตรีไทยทัง้ ในเขตพืน้ ที่กรุงเทพฯ และต่าง จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิง่ ยังคงตระเวนขับร้องเพลง ไทยให้วงดนตรีไทยต่างส�ำนักในโอกาสต่างๆ อย่างไม่ เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย แม้ตลอดการเดินทางของ ชีวิตจะไม่เคยพบพานกับความป่วยไข้ หากแต่หลาย สัญญาณเตือนจากร่างกายก็บอกให้ทราบว่า ‘ชีวิตไม่ ควรตัง้ อยูบ่ นความประมาท’ กระทัง่ วาระสุดท้ายมาถึง เรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน เล่าเหตุการณ์วนิ าที ที่ครูณรงค์จากไปว่า “ช่วงหลังผมมีความรู้สึกว่าเขา เหนื่อยๆ ประมาณ 5 ปีมานี้จะมาพักกับผมที่ห้องพัก แฟลตทหารเรือเป็นประจ�ำ แน่ๆ คือทุกอังคาร พฤหัส แล้วก็วันอาทิตย์ ไปร้องงานสุดท้ายที่วัดบางเกาะ เทพศักดิ์ งานญาติกันชื่อ ครูสงัด สกุลอินทร์ เป็นครู สอนชั้นประถมของเขา พี่ณรงค์เดินเข้างานมาพร้อม

กับลูกชายผม ลูกชายเล่าให้ฟังว่า ลุงอู๊ดพูดแปลกๆ ‘ปีพ่ าทย์ในงานมันเยอะ หนวกหู ไปตัง้ โน้นเลยนะ ริม เขือ่ น งานข้าต้องใหญ่กว่านี้ เพราะว่าข้าไปช่วยเขามา แล้วทั่วประเทศ’ งานนั้นพฤติกรรมที่ผมเห็น ธรรมดา เวลาแกร้องแกจะไม่นงั่ คุยกับใคร แต่นเี่ ดินไปหาญาติ คนโน้นทีคนนี้ที เหมือนจะสั่งลา “ก่อนวันเสียได้คุยกันหลายเรื่อง เรื่องอาการ ป่วยแกนี่แหละ ผมบอก ‘พี่ณรงค์รู้หรือเปล่า สมัย ก่อนอย่างนี้เขาเรียกเป็นลม แต่มันไม่ใช่ มันเป็นไข มันในเส้นเลือด’ เขายังบอก ‘เอ็งเป็นหมอหรือ’ ผม ขอร้องให้เขาพักเรือ่ งสอนร้องบ้าง เพราะอายุเริม่ มาก ขึ้น เดินทางไปไหนมาไหนไม่สะดวก แล้วยังขอให้ไป หาหมอ ไปตรวจไขมันในเส้นเลือด คุยตอนกลางคืน รุ่งเช้าผมยังถาม ‘พี่ณรงค์ไหวไหม ถ้าไม่ไหวฉันจะอุ้ม ไปเดี๋ยวนี้’ แหย่เขา เขาว่า ‘เออๆ ข้ารู้แหละ เอ็งก็ พูดพร�่ำเพื่อ วันนี้ข้าต้องไปหาหมอใช่ไหม’ สรุปวันนั้น แกก็ไม่ได้ไปหาหมออย่างทีส่ ญั ญา คุยกันคืนวันอาทิตย์ เที่ยงๆ วันพุธก็เสีย ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 57


“วันเกิดเหตุผมจ่ายงานให้ทที่ ำ� งานเสร็จ ต�ำรวจ โทรศัพท์มาถาม ‘ลุงมีพี่ชายชื่อณรงค์ แก้วอ่อน หรือ ไม่ เสียแล้วนะ’ ผมบอก ‘เฮ้ย ณรงค์ไหน เอาให้มั่น’ เขาบอกใช่ ให้รบี ไปเดีย๋ วนี้ เพือ่ นร่วมงานผมบอก ‘คุณ สัมพันธ์ไปกับผมเลย อย่าเพิง่ คิดอะไรมาก ไปถึงจุดเกิด เหตุให้ได้ก่อน’ คนแถวนั้นเขาเรียกพี่ณรงค์ว่าครู แต่ ไม่รู้ว่าครูโรงเรียนไหน เพราะบางครั้งพี่ณรงค์แต่งชุด ราชการออกไปท�ำงาน หรือแต่งตัวดีถอื ถุงสูทเข้าออก ห้องพัก พี่ณรงค์เสียก่อนที่ต�ำรวจจะโทรมาสักพัก แต่ ผมได้ดูคลิปจากกล้องวงจรปิดแล้ว ท�ำให้เห็นวินาทีที่ เขาจากไป ทั้งที่ผมไม่อยากดู “ประมาณ 11 โมงกว่า พีณ่ รงค์ถอื ขันน�ำ้ จะไป อาบน�ำ้ ห้องพักกับห้องน�ำ้ มันแยกกัน เป็นหอพักรุน่ เก่า ไม้สัก ออกจากห้องแล้วก็หน้ามืด เซล้มไปข้างๆ ห้อง วัยรุ่นแถวนั้นเห็นเข้าก็ไปช่วย ผมไม่ได้ยินเสียงพูดนะ แต่เดาว่าคงให้ไปหาหมอ พีณ่ รงค์นา่ จะปฏิเสธ ระหว่าง นั่งพักที่ปากประตู ท่อนบนล�ำตัวอยู่ในห้อง เพราะนั่ง พิงกองหนังสือข้างใน แต่ชว่ งขาพ้นออกมาข้างนอก ดู สักพักแกก็ผงกหัวขึ้นมาใหม่ คิดว่าจะไปอาบน�้ำให้ได้

ใจยังไหว คราวนีส้ งั เกตว่าขาสองข้างเริม่ เกร็ง มือยก คว้าขึน้ แล้วค่อยๆ ตกลง คนเห็นว่าท�ำไมนอนนานผิด สังเกต เข้าไปดูก็รู้ว่าเสีย พากันประคองร่างพี่ณรงค์ มานอนไว้ที่หน้าห้อง นั่นคือเหตุการณ์ส�ำคัญสุดท้าย ในชีวิตพี่ณรงค์” ครูณรงค์ เกิดและเติบโตท่ามกลางบรรยากาศ ท้องสวนท้องไร่ในจังหวัดสมุทรสงคราม ด�ำผุดด�ำ ว่ายในล�ำน�ำ้ แควอ้อมและผูกพันกับวัดบ้านเกิด คือ วัดบางเกาะเทพศักดิ์ โดยมีครอบครัวประกอบอาชีพ ร้องร�ำท�ำเพลงเป็นฉากหลังชีวิต ส�ำคัญมากว่าครู ณรงค์เกิดอย่างสามัญ ด�ำรงตนตลอดชัว่ ชีวติ อย่าง สามัญ และจากไปอย่างคนสามัญธรรมดาคนหนึง่ หากแต่ภายใต้ความสามัญกลับแสดงเสน่ห์ความ เรียบงามอย่างเป็นที่รักยิ่งของทุกคนที่ได้สัมผัส สุดท้ายแล้วของชีวติ ความนึกคิดและจิตวิญญาณ ของครูณรงค์ได้กลับไปหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกับจังหวัดบ้านเกิด จังหวัดที่อุดมด้วยศิลปิน นักดนตรีไทยตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และสืบต่อไปใน อนาคตอันไกล

ผู้เขียนขอขอบคุณ เรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน และคุณเสถียร ดวงจันทร์ทิพย์ ที่ไว้วางใจมอบหมายให้ รับหน้าทีเ่ รียบเรียงประวัตคิ รูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ทัง้ ตรวจทานความถูกต้องของเนือ้ หาอย่าง ละเอียด โดยเฉพาะคุณเสถียร ดวงจันทร์ทิพย์ ที่กรุณามอบข้อมูลเสียงสัมภาษณ์จ่าสิบเอกประเวศ แก้วอ่อน ที่สัมภาษณ์ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เพื่อน�ำข้อมูลมาใช้ประกอบในการเขียนครั้งนี้

5 8 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


เอกสารอ้างอิง

หทัยชนก คงสว่าง. 2551. ชีวประวัติอาจารย์ณรงค์ (แก้วอ่อน) รวมบรรเลง. สารนิพนธ์ สาขาวิชาดนตรีไทย ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุพจน์ โตสง่า. 2537. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสุพจน์ โตสง่า 12 พฤษภาคม 2537. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย. สุดจิตต์ ดุริยประณีต. 2556. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสุดจิตต์ ดุริยประณีต 2 มิถุนายน 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นานาสิ่งพิมพ์. วงษ์ รวมสุข. 2540. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายวงษ์ รวมสุข 8 กุมภาพันธ์ 2540. ราชบุรี: โรงพิมพ์ธรรมรักษ์. รวม พรหมบุรี. 2529. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายรวม พรหมบุรี 9 พฤศจิกายน 2529. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์. พูนพิศ อมาตยกุล และคณะ. 2549. จดหมายเหตุดนตรี ๕ รัชกาล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา. สัมภาษณ์

ส.อ.อ่วน หนูเเก้ว [อายุ 84 ปี]. สัมภาษณ์. 1 มกราคม 2559 พุ่ม เผยเผ่าเย็น [อายุ 78 ปี]. สัมภาษณ์. 2 มกราคม 2559 รศ.สุรพล สุวรรณ [อายุ 48 ปี]. สัมภาษณ์. 6 มกราคม 2559 อนันต์ชัย เเมรา [53 ปี]. สัมภาษณ์. 17 มกราคม 2559 ร.อ.สัมพันธ์ เเก้วอ่อน [อายุ 55 ปี]. สัมภาษณ์. 20 มกราคม 2559 ทะเบียน มาลัยเล็ก [อายุ 69 ปี]. สัมภาษณ์. 21 มกราคม 2559 สมชาย ทับพร [อายุ 68 ปี]. สัมภาษณ์. 26 มกราคม 2559 สมศักดิ์ ไตรย์วาสน์ [อายุ 71 ปี]. สัมภาษณ์. 26 มกราคม 2559 ร.ต.ภาณุวัฒน์ ไม้ทองงาม [อายุ 66 ปี]. สัมภาษณ์. 20 กุมภาพันธ์ 2559 ประสงค์ แก้วอ่อน [อายุ 69 ปี]. สัมภาษณ์. 21 กุมภาพันธ์ 2559

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 59


คุณครูณรงค์ รวมบรรเลง

กับวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ ธนิต อัศวะไพฑูรย์

ดุริยางคศิลปิน ฝ่ายดนตรีไทย ส่วนบริหารการดนตรี สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์

กองบรรณาธิการจัดท�ำหนังสือที่ระลึกงาน พระราชทานเพลิงศพคุณครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวม บรรเลง] ได้โทรศัพท์มาเชิญให้ข้าพเจ้าช่วยเขียน บทความเรื่องของครูณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรี ไทยกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อพิมพ์ในหนังสือที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพของครูณรงค์ ข้าพเจ้ารับ ทราบหัวข้อเรื่องพร้อมรายละเอียดในการเขียนแล้ว พิเคราะห์ว่าไม่เหลือก�ำลังสติปัญญาความสามารถ ของตนเอง จึงตกปากรับค�ำเขียนเรื่องราวของครู

6 0 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

ณรงค์ ผูท้ เี่ ป็นทัง้ พีใ่ หญ่แลอดีตผูบ้ งั คับบัญชาทีเ่ คยให้ ความเมตตากรุณาตลอดจนได้คลุกคลีกนั มาในวงการ คีตศิลป์ไทยกว่า 20 ปี เพื่อสนองคุณานุคุณทั้งปวงที่ ครูณรงค์ได้เมตตามอบให้แลกระท�ำความสัตย์ที่ให้ไว้ กับครูณรงค์ได้ปรากฏชัดแก่ตาโลก “พีร่ งค์” คือค�ำเรียกขานคุณครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ทีน่ กั ดนตรีไทยแทบทุกคนโดยเฉพาะใน วงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์เรียกขานกันติดปาก มาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี “พี่รงค์” คือคนร้องที่


หลายๆ คนมักขนานนามท่านว่า “ณรงค์รอ้ ยเถา” อัน มีความหมายแลนัยยะทีล่ กึ ซึง้ ว่า “เป็นผูท้ ไี่ ด้เพลงมาก และสามารถขับร้องเพลงไทยได้ทกุ เพลงโดยไม่ตอ้ งฝึก ซ้อมหรือนัดหมายกันมาก่อน หากจะเปรียบกับเครื่อง ใช้ไฟฟ้าก็คือยี่ห้อฮิตาชิ [HITACHI] ที่มีสโลแกนว่า “เปิดปุ๊บติดปั๊บ” เพราะพี่รงค์นั้นเป็นคนร้องที่มีความ แม่นย�ำคล่องแคล่วทั้งท�ำนองและจังหวะ แบบที่หาผู้ ใดเทียบเคียงไม่ได้อีกแล้วในยุคปัจจุบัน นอกจากนีก้ ย็ งั มีอกี ฉายาหนึง่ คือ วิตนีย์ ฮิวส ตัน [Whitney Elizabeth Houston] แห่งวงการ ดนตรีไทยอีกด้วย เพราะเป็นผูท้ มี่ ลี กั ษณะท่าทางในการ โก่งคอร้องเพลงแล้วถือไมโครโฟนโยกไปโยกมาด้วย น�้ำเสียงที่สูงลิบลิ่วแลทรงอานุภาพยิ่ง ลักษณะเด่น อีกประการหนึง่ ก็คอื ความเป็นคนทีเ่ รียบง่าย ประหยัด ใช้ชีวิตแบบสันโดษสมถะ ชอบพูดไปหัวเราะไปพร้อม กับนัยน์ตาหยีๆ ชอบใส่เสื้อซาฟารีสีฟ้าๆ เทาๆ ผม เผ้ารองทรงที่เอากรรไกรตัดเอง เวลาเดินไปไหนชอบ เหน็บหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 1 ฉบับ นับว่าเป็นอัตลักษณ์ที่ ทุกคนรูแ้ ก่ใจดีวา่ นีแ่ หละพีณ่ รงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] นักร้องกรมประชาสัมพันธ์ทอี่ ยูใ่ นใจของพวกเราทุกคน ข้าพเจ้ากับพี่รงค์นั้นได้พบกันครั้งแรกในงาน ประกวดขับร้องเพลงไทย “เยาวชนเสียงใสลายคราม” เมือ่ พ.ศ. 2536 และหลังจากนัน้ เมือ่ เข้าศึกษาระดับ อุดมศึกษาที่ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมือ่ พ.ศ. 2540 ก็ได้พบกับ พี่รงค์เรื่อยมาจนกระทั่งเข้าท�ำงานในต�ำแหน่งลูกจ้าง ชัว่ คราวดุรยิ างคศิลปิน วงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์

เมือ่ พ.ศ. 2545 ซึง่ ตรงกับสมัยทีพ่ รี่ งค์เป็นหัวหน้าวง ดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ ความสนิทชิดเชื้อและ ผูกพันกับพี่รงค์น้ันก็เริ่มชัดเจนและแน่นแฟ้นมากยิ่ง ขึ้นตามล�ำดับ พีร่ งค์เป็นทัง้ เจ้านายและเป็นพีใ่ หญ่ของข้าพเจ้า ในเวลาเดียวกัน เพราะพี่รงค์เป็นลูกศิษย์คนโตของ พระคุณแม่ [คุณครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่ง ชาติ] พี่รงค์มักจะเรียกพระคุณแม่ว่า “คุณนาย” อยู่ เสมอ ทีส่ ำ� คัญพีร่ งค์นนั้ รักเคารพและเทิดทูนพระคุณแม่ มาก ใครจะมาว่ากล่าวก้าวล่วงด้วยกิรยิ าใดมิได้เป็นอัน ขาด เพราะจะโดนพี่รงค์เปล่งสีหนาทว่ากล่าวให้ต้อง เจ็บช�้ำน�้ำใจจนส�ำนึกได้กลับไปทุกราย ข้าพเจ้าถือว่า พี่รงค์เป็นแบบอย่างที่ดียิ่ง ในการให้ความเคารพแล การปฏิบตั ติ วั ระหว่างศิษย์กบั ครูทงั้ ต่อหน้าและลับหลัง ส�ำหรับเรือ่ งประวัตคิ วามเป็นมาในการร้องเพลง ของพี่รงค์นั้น ข้าพเจ้ามักจะซักไซ้ไล่เรียงถามประวัติ อย่างนัน้ อย่างนีอ้ ยูเ่ สมอ โดยทีไ่ ม่ตอ้ งคิดเลยว่าพีร่ งค์ จะร�ำคาญ เพราะถ้าหากพีร่ งค์รำ� คาญก็มกั จะใช้กลศึก พูดวกไปวนมาจนข้าพเจ้าอ่อนใจจนเลิกตั้งค�ำถามไป เสียเอง แต่หลายๆ ครั้งก็ได้ความกระจ่างชัดเจนมา หลายบทหลายตอน พี่รงค์มักจะพูดเสมอว่า “ชั้นน่ะ ร้องได้ทุกเพลงแหละ แต่ไม่เพราะเลยซักเพลง” พูด แล้วก็หัวเราะพลางท�ำตาขยิบๆ ปริ๊บๆ เหมือนตุ๊กตา ปาเป้าในงานวัดหรือไม่กต็ กุ๊ ตาลูกเทพทีก่ ำ� ลังโด่งดังอยู่ ขณะนี้ ซึง่ จะท�ำให้ผกู้ ระหายใคร่รอู้ ย่างข้าพเจ้าต้องมา คิดเสมอว่า นี่พี่รงค์พูดจริงหรือพูดเล่น จริงๆ แล้วจะว่าพี่รงค์ร้องเพลงไม่เพราะเลย

ภาพ : คุณครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ร่วมแสดงขับเสภาในรายการทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม [จากซ้าย คุณครูศิริ วิชเวช [ศิลปินแห่งชาติ] คุณครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] คุณครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต [ศิลปินแห่งชาติ] และคุณสายสุดา ขจิตสาร] ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 61


ซักเพลงนั้นมิเห็นสม เพียงแต่พี่รงค์ชอบคิดไปเอง ว่าตนเองร้องไม่เพราะ ด้วยเหตุที่ข้าพเจ้าเคยจัด รายการ “สุนทรียด์ นตรีไทย” ทางสถานีวทิ ยุของกรม ประชาสัมพันธ์มาก่อน ข้าพเจ้ารูด้ วี า่ เพลงทีพ่ รี่ งค์รอ้ ง บันทึกเสียงเอาไว้นนั้ มีเพลงไหนทีเ่ พราะบ้าง อาทิ เพลง ไส้พระจันทร์ เถา เพลงนีเ้ ป็นเพลงทีข่ า้ พเจ้าได้ฟงั เสียง พี่รงค์จากวิทยุมาตั้งแต่เด็กๆ ข้าพเจ้ามักจะสงสัยอยู่ เสมอว่า เหตุใดเพลงนี้พี่รงค์จึงไม่ร้องว่า “เอนเอียง ลงบนเตียงกอดหมอนข้าง” เหมือนกับคนอื่นๆ เขา แต่กลับไปร้องว่า “ดึกก�ำดัดลมพัดมาอ่อนๆ” ซึ่งเป็น บทร้องที่แปลกหูมากส�ำหรับเด็กอย่างข้าพเจ้า บทร้องนี้ท�ำให้ข้าพเจ้าต้องวิ่งไปห้องสมุดของ โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยในขณะที่เรียนอยู่ เพื่อไป ค้นจากหนังสือเสภาเรือ่ งขุนช้างขุนแผน ครัน้ เมือ่ พบว่า มีตน้ ฉบับอยูจ่ ริงจึงได้คดั ลอกแล้วหาโอกาสทีจ่ ะดักอัด เสียงพีร่ งค์ทางวิทยุจนในทีส่ ดุ ก็ได้อดั สมใจอยาก แล้ว ก็กลายมาเป็นผูเ้ ปิดเพลงนีอ้ อกอากาศทางสถานีวทิ ยุ ด้วย เหตุที่ชอบพี่รงค์ร้องบทนี้ก็เพราะมีค�ำว่า “เงียบ สงัดทัง้ วัดป่าเลไลยก์ เจ้าเณรน้อยละห้อยไห้คะนึงนาง” ในขณะที่ฟังเพลงพี่รงค์ร้องเพลงนี้ นอกจากบทร้อง จะท�ำให้เห็นภาพวัดป่าเลไลยก์ที่เมืองสุพรรณอย่าง ชัดเจนแล้ว ยังท�ำให้หวั ใจของเด็กวัยรุน่ อย่างข้าพเจ้า ในขณะนั้นปั่นป่วนรัญจวนใจกับความรักอันหอมหวาน เสียจริงๆ นับว่าพีร่ งค์มพี ระคุณแก่ขา้ พเจ้าไม่นอ้ ยทีไ่ ด้ ถ่ายทอดอารมณ์และความไพเราะของบทเพลงออกมา ได้มากมายก่ายกองถึงเพียงนี้ นอกจากเพลงไส้พระจันทร์แล้วก็ยงั มีเพลงตับ วิวาห์พระสมุทร ซึง่ พีร่ งค์ขบั ร้องไว้ในบทของอังเดร และ พระคุณแม่ [คุณครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต] เป็นอันโดร เมดา โดยมีคณุ ครูสมุ ติ รา สุจริตกุล ดีดเปียโน คุณครู

6 2 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

ฉลวย จิยะจันทน์ สีซออู้ และคุณครูจำ� ลอง อิศรางกูร ณ อยุธยา ตีโทนร�ำมะนา ในวงเครือ่ งสายผสมเปียโน [Piano] เป็นผลงานเพลงทีพ่ รี่ งค์กบั พระคุณแม่ขบั ร้อง ไว้ไพเราะจับใจมาก น�ำ้ เสียงของพีร่ งค์นนั้ นุม่ นวลชวน ฟัง เวลาร้องก็ร้องไว้อย่างละมุนละไมหวานซึ้งราวกับ พีร่ งค์ไปตกหลุมรักใครมา [เรือ่ งนีไ้ ม่ได้ถามและไม่กล้า ล้อด้วยเพราะกลัวโดนมะเหงก แต่กเ็ ก็บเอาไว้ในใจคน เดียวมาโดยตลอด] เมือ่ บรรยายมาถึงเรือ่ งนีท้ ำ� ให้นกึ ถึงอีกเรือ่ งหนึง่ ทีค่ วรบันทึกไว้วา่ พีร่ งค์นนั้ เป็นนักร้องคูข่ วัญกับพระคุณ แม่มาตลอดชีวติ ไม่วา่ จะไปงานไหนก็ตามเป็นต้องเห็น ภาพนักร้องคูน่ นี้ งั่ ร้องเพลงอยูด่ ว้ ยกัน หากพีร่ งค์ไม่รอ้ ง เพลงก็มักจะสีซออู้ [ขอเล่าแทรกนิดหนึ่งว่า ทางซออู้ ที่พี่รงค์สีนั้นถ้าไม่เอากฎเกณฑ์เรื่องคันชักและวิธีจับ ซอมาก�ำหนดแล้ว พีร่ งค์ถอื ว่าเป็นคนหนึง่ ทีส่ ซี อแล้วมี หนทางลีลาและน�ำ้ เสียงกระเดียดมาทางคุณครูฉลวย จิยะจันทน์ เป็นอย่างมาก] กลับมาที่ภาพเหตุการณ์ ประทับใจที่ข้าพเจ้าเห็นระหว่างพี่รงค์กับพระคุณแม่ก็ คือ การบรรเลงและขับร้องเพลงจากบทสักรวา หาก พระคุณแม่รบั งานสักรวาไว้ไม่วา่ จะทีไ่ หนก็ตาม พีร่ งค์ ก็ต้องไปช่วยร้องด้วยเสมอ เวทีสักรวาที่เคยไปกัน อาทิ วังสวนผักกาด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนสันติชัยปราการ [ป้อม พระสุเมรุ] สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และทีส่ มาคมนักข่าวฯ นีเ่ องทีพ่ รี่ งค์สำ� แดงอภินหิ ารใส่ เพลงในบทสักรวาด้วยเพลงค้างคาวกินกล้วย ครัง้ นัน้ ข้าพเจ้ายังเด็กนักแต่มโี อกาสได้เห็นพีร่ งค์รอ้ งจนกระทัง่ คนดูและคนแต่งสักรวารวมไปถึงนักดนตรีในวงต่าง หัวร่องอหายด้วยสร้อยเพลงค้างคาวกินกล้วยทีพ่ รี่ งค์ ร้องว่า “กล้วย ๆ” ทุกค�ำกลอน นอกจากนีใ้ นการเล่น


นักร้องทุกหน่วยงานราชการในกรุงเทพมหานคร บันทึกภาพในงานสืบสานต�ำนานระนาด 50 ปี วงปี่พาทย์กรุงเทพมหานคร

สักรวาที่วังสวนผักกาดปีนั้นที่เล่นเรื่องสามก๊ก ก็ต้อง บรรเลงและขับร้องด้วยเพลงไทยส�ำเนียงจีนตามขนบ พีร่ งค์กร็ อ้ งเพลงจีน “งีห่ งี” จนคนดูหวั เราะครืน้ เครง กันหมดทั้งวัง รวมถึงคนระนาดหัวเราะจนต้องวางไม้ เพราะตัง้ แต่เกิดมาไม่เคยได้ฟงั หรือได้ยนิ ท�ำนองเพลง จีนงีห่ งีทมี่ ชี อื่ แปลกประหลาดสองแง่สามง่ามเช่นนีม้ า ก่อน นับว่าปฏิภาณในการด้นเพลงไทยของพีร่ งค์นนั้ นับ ว่าอยู่ในขั้นสูงสุดระดับปรมัตถ์จริงๆ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลงอะไรก็แล้วแต่ หากพีร่ งค์จำ� เนือ้ ไม่ได้กช็ อบจับเนือ้ เพลงทีล่ อยไปลอย มาในอวกาศมาใส่จนครบท�ำนองเพลงไปจนได้ พอเพลง จบก็มานั่งหัวร่องอหายกันเองทุกครั้งไป โดยเฉพาะ เวลาร้องเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุฯ การร้อง ผิดแล้วแอบเนียนท�ำเป็นไม่รไู้ ม่ชนี้ นั้ มักพบเห็นบ่อยเป็น เรือ่ งปกติ วีรกรรมทีพ่ รี่ งค์สร้างไว้เมือ่ ครัง้ ทีท่ ำ� งานอยู่ วงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์นั้นมีมากมายจนเป็น ต�ำนานเล่าขานภายในวงดนตรี ชนิดทีเ่ ขียนบรรยายไม่

หมดไม่สิ้น และบางเรื่องก็คงต้องสงวนเอาไว้ในแบบ มุขปาฐะ ส่วนบางเรือ่ งบันทึกไว้กค็ งไม่เสียหายเพือ่ ให้ เคลือ่ นคลายจากความทุกข์โศกทีพ่ รี่ งค์มาด่วนจากไป เมื่อราว พ.ศ. 2549 ข้าพเจ้าได้เดินทางไป จังหวัดสระแก้วพร้อมกับวงมโหรีกรมประชาสัมพันธ์ เพือ่ บรรเลงเพลงไทยในงานมงคลสมรส ครัง้ นัน้ พีร่ งค์ เกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่กย็ งั แวะเวียนมาทีห่ อ้ ง ท�ำงานอยูเ่ สมอและพีร่ งค์กไ็ ด้ไปร้องเพลงในงานนีด้ ว้ ย ขณะที่ข้าพเจ้าก�ำลังดีดจะเข้ในเพลงตับนิทราชาคริต อยู่นั้น พี่รงค์ก็ก�ำลังร้องเพลงแขกต่อยหม้อเช่นกัน แต่พอจะถึงค�ำว่า “บานเบิกดุจจะดวง พะเยีย หิมมะ หยาด เย็นเฮย แซงเสียดเบียดสีซ้อน สบน�้ำใจถวิล” พี่รงค์รีบยื่นไมค์มาจ่อปากข้าพเจ้าแล้วท�ำท่าโบ้ยบ้าย ให้ร้อง ข้าพเจ้าตกใจก็เลยรีบร้องเพราะเกรงว่าเพลง จะล่มแล้วจะเสียงานของเจ้าภาพ ในขณะที่ร้องถึงค�ำ ว่า “บานเบิกดุจจะดวงกับ แซงเสียดเบียดสีซ้อน” ข้าพเจ้าร้องชัดเจนมากเพราะคุณแม่ก�ำชับนักหนาว่า ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 63


ต้องร้องให้ชัดถ้อยชัดค�ำ พอร้องเสร็จภาพที่เห็นก็คือพี่รงค์นั่งหัวเราะ ชอบใจพลางบอกว่า “แหมๆ ๆ นายนี่ประสบการณ์ เยอะนะ ร้องซะเห็นภาพเลย” เท่านั้นแหละข้าพเจ้า คิดได้ทายออกทันทีว่า โดนพี่รงค์แกล้งเข้าให้แล้วล่ะ และยังเข้าใจนัยยะกโลบายนั้นเป็นอย่างดี แต่พี่รงค์ ก็แกล้งข้าพเจ้าได้ไม่กี่ครั้งหรอก หากเทียบกันแล้ว ข้าพเจ้าเป็นฝ่ายแกล้งพี่รงค์เสียมากกว่านั่นเอง ซึ่ง การแกล้งของข้าพเจ้าก็คอื การร่วมมือกับพีเ่ ม่น [ครูมน ตรา หมูเ่ ย็น] รุมแหย่ให้พรี่ งค์เขินอายในเรือ่ งต่างๆ ที่ พี่รงค์เคยท�ำเปิ่นๆ เอาไว้ แต่พี่รงค์ก็ไม่เคยโกรธเลย มาโดยตลอดชีวิต พี่รงค์มักจะบอกกับข้าพเจ้าอยู่เสมอว่า “นาย น่ะต่อเพลงกับคุณนายเขาไว้เยอะๆ นะ จะได้เอาไว้ใช้ คุณนายน่ะเขาไม่ค่อยได้ต่อเพลงให้ใครนานๆ มากๆ อย่างนายหรอก” มีอยูค่ รัง้ หนึง่ ข้าพเจ้าเคยเรียกพีร่ งค์ ว่า “ครูณรงค์” แต่กลับโดนแหวกลับมาว่า “แกอย่า มาเรียกชั้นแบบนี้นะให้เรียกชั้นว่าพี่” จากนั้นก็เรียก พี่มาตลอดทั้งๆ ที่พี่รงค์อายุแก่กว่าคุณพ่อคุณแม่ของ ข้าพเจ้าเสียอีก ในขณะทีพ่ รี่ งค์เป็นหัวหน้านัน้ ข้าพเจ้า เห็นพีร่ งค์มาท�ำงานทุกวันแทบจะไม่ขาดงาน บางครัง้ เพลงไหนที่ขา้ พเจ้ารีบใช้และจ�ำเป็นต้องต่อก็ได้ขอต่อ จากพี่รงค์นี่แหละ เมื่อต่อแล้วพี่รงค์ก็จะพูดเสมอว่า “นายไปท�ำให้มันเพราะเองนะ” ทุกครั้งไป ข้าพเจ้าไม่เคยรูต้ วั เลยว่าตนเองร้องเพลงได้ถกู ใจ พีร่ งค์หรือไม่ เพราะพีร่ งค์ไม่เคยบอก จนกระทัง่ เมือ่ งาน สืบสานต�ำนานระนาด 50 ปี วงปีพ่ าทย์กรุงเทพมหานคร เมือ่ วันที่ 28 มิถนุ ายน พ.ศ. 2556 ข้าพเจ้าได้นำ� เพลง เทพชาตรี เถา ทีพ่ รี่ งค์ขบั ร้องบันทึกเสียงไว้กบั วงมโหรี กรมประชาสัมพันธ์มาแกะ เพือ่ น�ำไปขับร้องร่วมกับวง

6 4 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

ปีพ่ าทย์ไม้แข็ง วงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ ในวัน นั้นพี่รงค์มานั่งฟังข้าพเจ้าร้องด้วยสีหน้ายิ้มกริ่มพอใจ แบบทีไ่ ม่เคยเห็นมาก่อน ข้าพเจ้านัง่ ร้องอยูบ่ นเวทีเห็น พี่รงค์มองขึ้นมาแบบนั้นท�ำให้รู้สึกดีใจจนบอกไม่ถูก พลางคิดไปเองว่าพี่รงค์คงพอใจไม่น้อย เพราะถ้าไม่ พอใจคงเดินมาเล่นงานแล้ว หลังจากนั้นก็ได้ถ่ายรูป หมู่ร่วมกับบรรดานักร้องทุกสถาบันในพระนครนี้ นับ เป็นภาพประวัติศาสตร์อีกภาพหนึ่งเลยทีเดียว เพลงเทพชาตรี เถา นี้แต่งโดยคุณครูจ�ำเนียร ศรีไทยพันธุ์ [ศิลปินแห่งชาติ] และคุณครูบญุ ยงค์ เกตุคง [ศิลปินแห่งชาติ] ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าใครเป็นผูข้ บั ร้อง คนแรก แต่ทแี่ น่ๆ เพลงของกรมประชาสัมพันธ์เพลงนี้ พี่รงค์ขับร้องไว้ก่อนใคร ในสมุดบัญชีแถบบันทึกเสียง เพลงไทยของวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ทขี่ า้ พเจ้า เป็นผูเ้ ก็บข้อมูลและรวบรวมไว้นนั้ ส่วนมากจะเป็นผล งานการขับร้องของพระคุณแม่กบั พีร่ งค์แทบทัง้ หมด ซึง่ นับว่ามีมากมายหลายเพลงเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น วงเครื่องสาย มโหรี และวงปี่พาทย์ประเภทต่างๆ พี่ รงค์ได้ร้องบันทึกเสียงไว้ทุกวง โดยเฉพาะเพลงมอญ ขว้างดาบ เถา ผลงานคีตนิพนธ์ของคุณครูสมาน ทองสุโชติ พีร่ งค์คอื ผูข้ บั ร้องบันทึกเสียงไว้กบั วงมโหรี กรมประชาสัมพันธ์เป็นคนแรก และเป็นบทเพลง หนึ่งที่ไพเราะกินใจมาก หาผู้ร้องเสมอเหมือนได้ยาก เพลงมอญขว้างดาบ เถา ที่พี่รงค์ร้องไว้นี้ข้าพเจ้าได้ กรองเสียงแล้วบรรจุไว้ในซีดีที่ระลึกงานบูชาครูผู้เป็น ที่รักและยินดี 90 ปี คุณครูระตี วิเศษสุรการ พร้อม กับได้น�ำทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อทรงได้ฟังแล้วทรงมี พระราชด�ำรัสชื่นชมลงมาว่า “เพลงเพราะดีและไม่ ได้ฟังมานานแล้ว”


เทป Open reel ที่บันทึกเสียงขับร้องคุณครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ร่วมกับวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ ลายมือ หน้าปกเทปเป็นลายมือของคุณครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต [ศิลปินแห่งชาติ]

ปกแผ่นเสียงวงปี่พาทย์มอญ คณะดุรยิ ประณีต บทเพลงชุด สมิงพระรามอาสา บันทึกเสียงที่ห้องบันทึกเสียง บริษัทกมล สุโกศล จ�ำกัด โดยคุณวิสุทธิ์ กิวานนท์ เป็นวิศวกรเสียง [sound engineering]

บรรดาเพลงต่างๆ ทีพ่ รี่ งค์บนั ทึกเสียงแล้วได้นำ� ออกอากาศทางสถานีวิทยุฯ กรมประชาสัมพันธ์ ล้วน เป็นบทเพลงทีใ่ ห้คณุ ค่าและความบันเทิงแก่สงั คมไทย มาตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ทั้งในด้านการศึกษา ค้นคว้าในเรือ่ งทางขับร้องและบทเพลงทีห่ าฟังได้ยาก พีร่ งค์กเ็ ป็นผูห้ นึง่ ทีเ่ ป็นเสมือนครูผถู้ า่ ยทอดวิชาความ รูด้ า้ นการขับร้องเพลงไทยและเป็นผูใ้ ห้ความบันเทิงใน เวลาเดียวกันมาตลอดชีวิตการเป็นศิลปิน บทเพลงที่ พี่รงค์ได้ขับร้องบันทึกเสียงไว้นั้น ข้าพเจ้าได้รวบรวม จากบรรดาเทปรีล [Open Reel Tape] ของห้องสมุด เพลงไทยวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์มาเป็นเวลา หลายปี บางเพลงก็มีแต่ชื่อเพลงแต่เทปช�ำรุดไปตาม กาลเวลา ส่วนบางเพลงก็มีแต่ชื่อส่วนตัวเทปสูญหาย ไปก็ไม่น้อย อาทิ เพลงบุหลันลอยเลื่อน เถา เป็นต้น [ดังรายชื่อบทเพลงที่พี่รงค์ขับร้องบันทึกเสียงไว้ ซึ่ง

แนบท้ายบทความนี้ไว้แล้ว] บทเพลงตามบัญชีดงั กล่าวนัน้ ได้เคยน�ำมาออก อากาศในรายการ “รืน่ รสดนตรีไทย” “ดนตรีศรีสยาม” แล “สุนทรีย์ดนตรีไทย” มานับครั้งไม่ถ้วน ปัจจุบัน เหลือเพียงไม่กเี่ พลงเท่านัน้ ทีย่ งั คงคุณภาพเสียงทีด่ แี ละ ไพเราะน่าฟัง นอกจากนี้เป็นแถบบันทึกเสียงที่ได้เคย บันทึกไว้ในขณะออกรายการจากผูฟ้ งั ทางบ้านและของ ส่วนตัวข้าพเจ้าทีไ่ ด้บนั ทึกเสียงเก็บไว้เอง ส�ำหรับม้วน เทปทีบ่ นั ทึกเสียงของพีร่ งค์ไว้นนั้ ได้มกี ารน�ำไปเก็บรักษา ที่พิพิธภัณฑ์กรมประชาสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบัน ไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรเพราะไม่สามารถ เข้าไปสืบค้นข้อมูลอะไรได้ กลายเป็นของหวงห้ามของ ทางราชการไปแล้วโดยปริยาย คงเหลือแต่สมุดบัญชี แถบบันทึกเสียงของวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ ที่ข้าพเจ้าได้พากเพียรเขียนจดมาเป็นเวลาแรมปีเมื่อ ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 65


ครั้งที่ห้องดนตรีไทยห้องเดิมยังคงอยู่เท่านั้นเอง ข้าพเจ้าเคยนึกอิจฉาพี่รงค์อยู่เรื่องหนึ่งมา นานแล้วนั่นก็คือ เรื่องที่พี่รงค์ได้เคยขับร้องบันทึก แผ่นเสียงไว้กับวงปี่พาทย์มอญคณะดุริยประณีตใน บทเพลงชุดสมิงพระรามอาสา เพราะการที่นักร้อง คนหนึง่ มีเสียงปรากฏไว้ในแผ่นเสียงไม่วา่ จะเป็นแผ่น เสียงชนิดใดก็ตาม ข้าพเจ้าถือว่าผู้นั้นเป็นนักร้องมือ อาชีพตัวจริง แผ่นเสียงเพลงชุดสมิงพระรามอาสานี้ บันทึกเสียงทีห่ อ้ งบันทึกเสียงบริษทั กมลสุโกศล จ�ำกัด ซอยอรรถการประสิทธิ์ ถนนสาธรซอย 1 เขตสาธร กรุงเทพมหานคร โดยมีคณุ วิสทุ ธิ์ กิวานนท์ เป็นวิศวกร เสียง [sound engineering] เพลงชุดนี้พี่รงค์ท�ำหน้าที่ขับร้องในบทของ โจเปียวราชทูตจีนที่น�ำพระราชสาส์นจากพระเจ้า เส่งโจ๊วฮ่องเต้แห่งพระราชวงศ์หมิงมาน้อมฯ ถวายแด่ พระเจ้ามณเฑียรทองแห่งพระนครอังวะ บทเพลงที่พี่ รงค์ขบั ร้องไว้กค็ อื เพลงจีนหน้าเรือ เพลงจีนต้องเชียง และเพลงจีนฮูหยิน สองชัน้ ซึง่ เป็นการขับร้องทีพ่ รี่ งค์ แสดงน�้ำเสียงและลีลาเป็นคนจีนได้อย่างสมบทบาท ถึงแม้ว่าพี่รงค์จะอัดแผ่นเสียงไว้น้อยมาก เพราะเป็น ยุคที่แผ่นเสียงก�ำลังจะหมดความนิยมไปจากสังคม ไทย แต่พี่รงค์ก็บันทึกแถบบันทึกเสียงไว้เป็นจ�ำนวน มาก อาทิ วงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ วงดนตรี ไทยคณะดุริยประณีต วงดนตรีไทยคณะ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ วงเสริมมิตรบรรเลง วงวัชระบรรเลง วง ปิยมิตร ฯลฯ รวมไปถึงวงดนตรีไทยวงอืน่ ๆ ทีห่ มุนเวียน กันเข้ามาบรรเลงและขับร้องกระจายเสียงทางสถานี วิทยุกรมประชาสัมพันธ์ในสมัยก่อนอีกหลายต่อหลาย วง นอกจากนีพ้ รี่ งค์กไ็ ด้บนั ทึกเทปโทรทัศน์กบั ไทยทีวสี ี ช่อง 5 ในรายการ “ดนตรีไทยทีร่ กั ” ร่วมกับวงชลาลัย

6 6 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

และรายการ “สาระสังคีต” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์อีกด้วย พี่รงค์นั้นนับว่าเป็นนักร้องที่ตระเวนร้องเพลง ไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะ เป็นงานปีพ่ าทย์มอญ งานศพ งานประชัน งานไหว้ครู งานบวช งานแต่งงาน ฯลฯ มักจะเห็นพีร่ งค์ไปปรากฏ ตัวในงานนั้นเสมอ บางครั้งก็แอบไปร้องปี่พาทย์มอญ ที่วัดหลังบ้านที่สุพรรณบุรีของข้าพเจ้า แล้วก็มาเล่า ให้ฟงั บ้างก็มี ถือว่าเป็นเรือ่ งทีด่ อี ย่างหนึง่ ของข้าพเจ้า เพราะเวลาไปงานคนที่ไม่รู้จักก็ไม่รู้จะไปคุยอะไรกับ ใครโดยเฉพาะกับพวกปีพ่ าทย์ราดตะโพน แต่พอเวลา ไปงานเหล่านีแ้ ล้วเจอพีร่ งค์กด็ ใี จเสมือนเจอญาติสนิท และเหมือนมีคนคุ้มกะลาหัว สมัยที่ข้าพเจ้าเรียนอยู่ที่จุฬาฯ นั้น พี่รงค์เคย ไปร้องเพลงหุ่นกระบอกที่เรือนไทยจุฬาฯ กับคณะครู วงษ์ รวมสุข ซึ่งเป็นญาติสนิทของพี่รงค์ ข้าพเจ้าเห็น แล้วก็เดินไปแอบดูดา้ นหลังโรงหุน่ กระบอก วันนัน้ เล่น กันเรือ่ งพระอภัยมณี ตอนนางผีเสือ้ สมุทรลักพระอภัย มณี พี่รงค์ก็แสนดีเหลือเกินที่เรียกข้าพเจ้าเข้าไปให้ ช่วยร้องเพลงพัดชา สองชัน้ ในบททีว่ า่ “ในเพลงปีว่ า่ สามพีพ่ ราหมณ์เอ๋ย ยังไม่เคยเชยชิดพิศมัย” ข้าพเจ้า ตกใจแต่กย็ อมร้องให้ดว้ ยดี พอร้องจบคนเชิดหันมาดู ว่าใครร้องเพราะเสียงแปลกและไม่ใช่เสียงพีร่ งค์ ตอน แรกข้าพเจ้าก็คิดว่าพี่รงค์แกล้ง แต่ภายหลังคิดว่าพี่ รงค์น่าจะเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถและเพื่อ ให้ได้มีประสบการณ์มากกว่านั่นเอง เมื่องานพระราชทานเพลิงศพคุณยายชม รุง่ เรือง ทีว่ ดั สังเวศวิศยารามนัน้ ข้าพเจ้าได้เห็นพีร่ งค์ ขับร้องเพลงทยอยเดีย่ วเป็นครัง้ แรกในชีวติ ท่ามกลาง โทรศัพท์มอื ถือและเครือ่ งบันทึกเสียงนับร้อยทีว่ างเรียง


บรรยากาศบรรเลงวงปี่พาทย์งานพระราชทานเพลิงศพคุณยายชม รุ่งเรือง วัดสังเวศวิศยาราม เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

จดจ่อกันเข้ามาหน้าวง แต่ขา้ พเจ้าก็ได้แต่มองเพราะรู้ ดีวา่ เพลงทยอยเดีย่ วทีพ่ รี่ งค์รอ้ งนัน้ มีประวัตคิ วามเป็น มาเป็นอย่างไร พี่รงค์เคยเล่าว่าได้ไปกราบขอเรียน เพลงทยอยเดี่ยวนี้จากคุณครูจันทนา พิจิตรคุรุการ ที่ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ซึ่งเป็นทางร้องที่ได้สืบทอดมา จากคุณครูจ่าเผ่นผยองยิ่ง [จ่าโคม] ผ่านมาทางสาย ของคุณครูไพฑูรย์ ณ มหาชัย และคุณครูนางมหาเทพ กษัตริย์สมุห์ [บรรเลง สาคริก] แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ขอ ต่อเพลงทยอยเดี่ยวจากพี่รงค์ไว้ เพราะคาดไม่ถึงว่า พี่รงค์จะจากโลกนี้ไปเร็วอย่างนี้ นอกจากนี้ก่อนที่จะ จากไปก็ยังเดินมาถามว่า “นายได้ทยอยใน เถา ทาง ถอดหรือไม่” ข้าพเจ้าตอบว่าไม่ได้ แถมท�ำหน้างง อีกด้วยเพราะคิดว่าไม่น่าจะมีเพลงนี้ ครั้นไปถามไถ่ เพื่อนๆ ที่วงดนตรีไทยกรุงเทพมหานครก็ได้ความว่า มีเพลงนี้อยู่จริงๆ แต่นั่นก็ยังไม่คิดจะต่อไว้เหมือนกัน การที่พี่รงค์เดินมาถามแบบนั้นก็อาจหมายใจจะต่อให้ ข้าพเจ้าก็เป็นได้ เกียรติประวัติของพี่รงค์อีกประการหนึ่งที่นอก

เหนือจากเรือ่ งของดนตรีไทยและต้องบันทึกเอาไว้นนั่ คือ พีร่ งค์เป็นนักสะสมภาพเก่าชัน้ แนวหน้าของประเทศไทย แต่เป็นนักสะสมภาพเก่าทีง่ ำ� ประกายเป็นอย่างมาก คือ ไม่ยอมเผยไต๋หรือออกตัวว่าภาพทีส่ ะสมไว้นนั้ มีมากมาย มหาศาลเพียงใด ในช่วงหลังๆ ก่อนทีจ่ ะจากไปนีเ้ องที่ เริ่มมีการพกพาไปในสถานทีต่ า่ งๆ ที่ได้ไปสอนขับร้อง เพลงไทย จึงท�ำให้ได้เห็นภาพทีพ่ รี่ งค์สะสมไว้อย่างน่า ตื่นตาตื่นใจ ภาพเก่าที่พี่รงค์สะสมไว้นั้นก็คือ ภาพครู ดนตรีไทย ครูละคอนฟ้อนร�ำ ดาราภาพยนตร์ นักร้อง บุคคลส�ำคัญ และพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ทุกเช้าวันเสาร์ข้าพเจ้าเดินลงมาจากบ้าน สะพานควายก็ต้องพบกับพี่รงค์ทุกวัน เพราะพี่รงค์ ต้องนัง่ รถเมล์มาจากบ้านซอยวัดเพลงวิปสั สนาเพือ่ มา เดินดูตลาดของเก่า พอเจอกันก็ทกั ทายกันตามสมควร แล้วก็ต่างคนต่างเดิน ข้าพเจ้าเดินดูแผ่นเสียงเก่า และหนังสือเก่า ส่วนพี่รงค์ดูภาพเก่าและพระเครื่อง ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 67


งานบูชาครูผู้เป็นที่รักและยินดี 90 ปี คุณครูระตี วิเศษสุรการ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557 ณ โรงละคอนแห่งชาติ คุณครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ให้เกียรติขับร้องเพลงทยอยญวน เถา ร่วมกับวงมโหรีคณะศิษย์คุณครูระตี วิเศษสุรการ

เลยเป็นอันว่าไม่ต้องตีกันเพราะแย่งของรักของหวง เหมือนคนอืน่ ๆ พอพลบค�ำ่ คืนวันเสาร์กไ็ ปเจอพีร่ งค์อกี ทีที่ตลาดคลองถม [ตลาดมืด] อันเป็นแหล่งศูนย์รวม ของเก่าทีย่ งิ่ ใหญ่ของประเทศและกลายเป็นต�ำนานไป แล้ว บรรดาพ่อค้าแม่คา้ ทีต่ ลาดทุกแห่งมักจะบอกเป็น เสียงเดียวกันว่า “ลุงคนนั้นน่ะ เขามีภาพเก่าๆ เยอะ มาเดินหาแต่ภาพเก่าๆ ทุกวัน” พวกพ่อค้าแม่ค้าเขา คงไม่รหู้ รอกกระมังว่า ตาลุงคนนัน้ แหละคือณรงค์รอ้ ย เถา นักร้องกรมประชาสัมพันธ์ทโี่ ด่งดังทัว่ ฟ้าเมืองไทย งานเพลงครัง้ สุดท้ายทีข่ า้ พเจ้าได้รว่ มเป็นผูจ้ ดั งานและเชิญพีร่ งค์มาร่วมขับร้องนัน้ ก็คอื งานบูชาครูผู้ เป็นทีร่ กั และยินดี 90 ปี คุณครูระตี วิเศษสุรการ เมือ่ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557 ณ โรงละคอนแห่งชาติ โดยในงานนั้นพี่รงค์ได้ให้เกียรติขับร้องเพลงทยอย ญวน เถา ร่วมกับวงมโหรีคณะศิษย์คุณครูระตี วิเศษ สุรการ ในงานนั้นพี่รงค์ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการ ขับร้องเพลงทยอยญวน เถา เป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สม เกียรติยศของคุณครูระตี วิเศษสุรการ ผู้ที่เคยเป็น หัวหน้าทีพ่ รี่ งค์เคารพรักมากคนหนึง่ ของวงดนตรีไทยกรม

6 8 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

ประชาสัมพันธ์ หลังจากนัน้ ก็ไม่คอ่ ยได้พบพีร่ งค์บอ่ ยนัก หากจะพบกันก็เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ไม่ได้ยาวนาน ดังแต่ก่อน เพราะพี่รงค์ก็เกษียณอายุไปแล้วหลายปี อีกทัง้ สภาพแวดล้อมแลบริบทต่างๆ ของวงดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ก็เปลี่ยนไปราวกับไม่มีอดีตให้หลง เหลืออยูใ่ นความทรงจ�ำ แต่ถงึ แม้วา่ สภาพแวดล้อมจะ เปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ชื่อและคุณงามความดีพร้อม น�้ำเสียงของพี่รงค์จักยังคงหอมฟุ้งและก้องกังวานใน หัวใจของคนในวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์และ ทุกๆ คนที่รักพี่ณรงค์ไปตราบชั่วฟ้าดินสลาย ท้ายที่สุดของบทความนี้ ข้าพเจ้าได้มีโอกาส เขียนก็คงเพราะพีร่ งค์อกี นัน่ แหละ เพราะเมือ่ พีร่ งค์จาก ไปไม่กี่วันก็ได้มาเข้าฝันขอให้ข้าพเจ้าช่วยจัดการเรื่อง เพลงทีจ่ ะแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ แต่ขา้ พเจ้า วางเฉยเสียด้วยเหตุทขี่ า้ พเจ้าคงคิดไปเองและไม่ได้มี ความสนิทชิดเชื้อกับญาติพี่น้องของพี่รงค์เลย ส่วนพี่ รงค์นนั้ ก็ไม่ละความพยายามและยังมาเข้าฝันข้าพเจ้า อีกถึง 3 ครั้ง ข้าพเจ้าก็เมินเฉยเสียทั้ง 3 ครั้ง จนใน ทีส่ ดุ ก็คงส่งกองบรรณาธิการจัดท�ำหนังสือมาเพือ่ เชิญให้


ข้าพเจ้าช่วยเขียนบทความเรือ่ งนีใ้ ห้ ข้าพเจ้าประจักษ์ แก่ใจแล้วว่าสิ่งที่มองไม่เห็นนั้นมีอยู่จริง การเขียนเรือ่ งราวของพีร่ งค์ไว้ในครัง้ นีก้ ห็ มายใจ จะประกาศคุณงามความดีของพี่รงค์ในส่วนที่ข้าพเจ้า ได้รับและสัมผัสมา หากมีความผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขอน้อมรับโทษานุโทษนั้นไว้เพียงผู้เดียวและ ขอยอยกเอาอานิสงส์บุญราศีคุณความดีงามทั้งปวง จากบทความนี้ น้อมส่งเป็นหิตานุหิตอุทิศแด่พี่ณรงค์

แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] ให้ได้เสวยกุศลกรรมในทิพย สถานพิมานสวรรค์อนั เกษมส�ำราญ แลได้ขบั ร้องบรรเลง เพลงไทยถวายสักการะบูชาพระจุฬามณีเจติยสถาน ร่วมกับครูบาอาจารย์ทั้งหลายตราบได้บรรลุธรรมอัน ประเสริฐนั้นเทอญ •

รายชื่อเพลงที่ครูณรงค์ แก้วอ่อน ขับร้องร่วมกับวงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ ล�ำดับ

ชื่อเพลง

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

ไส้พระจันทร์ เถา พม่าเห่ เถา ทยอยใน เถา ช้างประสานงา เถา ทยอยนอก เถา จีนขิมใหญ่ เถา พระอาทิตย์ชิงดวง เทพบรรทม สามชั้น ตับพรหมาสตร์ ไส้พระจันทร์ เถา ออกเดี่ยว ออกหางเครื่อง ตับนิทราชาคริต ดาวกระจ่าง มอญกละ บุหลันลอยเลื่อน เถา ม้าร�ำ เถา บุหลัน เถา จีนลั่นถัน เถา แขกโอด แขกมอญบางขุนพรหม เถา หางเครื่องมอญ เทพรัญจวน เถา ยอเร เถา บทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพฯ คลื่นกระทบฝั่ง แสนสุดสวาท สามชั้น ทยอยญวน เถา เขมรพายเรือ แขกลพบุรี เถา

11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27

ประเภทวงดนตรี

ปี่พาทย์ ไม้แข็ง

•(2) • • • • •(2) • • • •

ปี่พาทย์ ไม้นวม

ปี่พาทย์ มอญ

เครื่องสาย ไทย

เครื่องสาย ผสมเปียโน

เครื่องสาย ผสมออร์แกน

เครื่องสาย ผสมขิม

• •(3) • • • • • •(2) • • • •(2) • • • • •

มโหรี

•(3) •(3) •

สะล้อ ซอ ซึง

เดี่ยวซอ สามสาย

•(2) • •

•(3) •

• •

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 69


ล�ำดับ

ชื่อเพลง

28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39

เขมรปี่แก้วทางสักวา ภิรมย์สุรางค์ สามชั้น ตับจูล่ง สี่บท เถา อาเฮีย เถา อาหนู เถา หงส์ทอง เถา เขมรปากท่อ เถา โหมโรงไอยเรศ สร้อยล�ำปาง เถา แขกมอญ เถา จัดรายการประกวด วรรณกรรมสุนทรภู่ ขอมทรงเครื่อง เถา ขว้างดาบ เถา ภิรมย์สุรางค์ เถา อะแซหวุ่นกี้ เถา มอญขว้างดาบ เถา ครวญหา เถา ช้าโหย จีนเก็บบุปผา สองชั้น แขกโอด สามชั้น สร้อยล�ำปาง เถา เขมรพวง เถา เขมรไทรโยค แขกขาว เถา แขกลพบุรี สามชั้น ทยอยเขมร สามชั้น แขกแดง เถา ชมแสงจันทร์ เถา เขมรโพธิสัตว์ สองชั้น ตับวิวาห์พระสมุทร เขมรปี่แก้วน้อย จระเข้หางยาวทางสักวา เขมรเลียบพระนคร เถา เขมรใหญ่ เถา นางครวญ เถา ออกมอญมอบเรือ สุดสงวน เถา จีนขิมเล็ก เถา แป๊ะ เถา เทพชาตรี เถา เดี่ยวหางเครื่อง มอญออดอ้อน เถา แขกสาย เถา ตับชุดแขกไทร ลาวเสี่ยงเทียน เถา

40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71

ประเภทวงดนตรี ปี่พาทย์ ไม้แข็ง

7 0 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

ปี่พาทย์ ไม้นวม

• • • • • • • •

ปี่พาทย์ มอญ

เครื่องสาย ไทย

เครื่องสาย ผสมเปียโน

เครื่องสาย ผสมออร์แกน

เครื่องสาย ผสมขิม

มโหรี

• •

•(2) •(3)

• • • • • • • • • •

• • •(3) • • • • • •

• • • • •(2) • • • • •

• • •(2)

•(3) • •(2) •(2)

• • •

• • • •(5) •(4) •(2) • •(2) •(2) •(2) •(5)

สะล้อ ซอ ซึง

เดี่ยวซอ สามสาย


ล�ำดับ

ชื่อเพลง

72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115

ล่องลม เถา เทพชาตรี เถา เทพบรรทม แขกมอญบางช้าง เถา ตับลาวเจริญศรี เขมรทรงพระด�ำเนิน หกบท เถา สี่บท สามชั้น ตับนเรศ ใบ้คลั่ง เถา อาถรรพ์ เถา ขอมเงิน เถา เขมรปี่แก้วน้อย สามชั้น ตับสมิงพระรามตอนหนีเมีย ถอนสมอ เถา สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ระบ�ำชุมนุมเผ่าไทย เขมรโพธิสัตว์ ตับสมิงพระรามหนี เขมรกล่อมพระบรรทม เขมรเหลือง แขกกุลิต เถา เงี้ยวล�ำลึก เถา ตับภุมริน ฟ้อนลาวดวงดอกไม้ ตับพระลอเสี่ยงน�้ำ สาลิกาชมเดือน การเวก เถา ราตรีประดับดาว เถา พราหมณ์ดีดน�้ำเต้า เถา อกทะเล สามชั้น มอญอ้อยอิ่ง เถา เขมรโพธิสัตว์ เถา สร้อยมยุรา เถา หกบท เถา ออกเดี่ยว เขมรลออองค์ เถา แขกต่อยหม้อ เถา กล่อมนารี เถา ลมพัดชายเขา สามชั้น ตับขอมด�ำดิน ลาวดวงเดือน ลมพัดชายเขา เถา เหราเล่นน�้ำ เถา กัลยาเยี่ยมห้อง

ประเภทวงดนตรี ปี่พาทย์ ไม้แข็ง

ปี่พาทย์ ไม้นวม

ปี่พาทย์ มอญ

เครื่องสาย ไทย

เครื่องสาย ผสมเปียโน

เครื่องสาย ผสมออร์แกน

เครื่องสาย ผสมขิม

มโหรี

• •(2) • • • • •(2) •(2) •(2) •(2) • •(2) • • • • • • • • • • •(2) • • • • •(2) •(3) •(3) • • • • • •(2) • •(2) • •

สะล้อ ซอ ซึง

เดี่ยวซอ สามสาย

• • • •

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 71


ส่วนหนึ่งของภาพต้นฉบับโบราณ งานสะสมส่วนตัวของ ครูณรงค์ แก้วอ่อน

3

1

2 4

5

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

6

ครูนฤพนธ์ ดุริยพันธุ์ ครูเอื้อ สุนทรสนาน [นั่ง] ครูจีระพันธ์ กาญจนโภคิน [ยืน] ครูประชิต ข�ำประเสริฐ [ร้านบันเทิงไทย วัดมกุฎฯ 2495] พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร [พระองค์ชายกลาง] จ�ำรูญ หนวดจิ๋ม รอง เค้ามูลคดี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

7 2 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

7


9

8

11

10

12

13

14

8. วงมโหรีกรมประชาสัมพันธ์ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม 9. ครูประเวช กุมุท 10. รายการขาบมงคล สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ขอนแก่น [จากซ้าย] อ�ำนวย สถิตย์ ดิษฐปัญญา เมธา หมู่เย็น ตีระนาดเอกผสมดนตรีฝรั่ง จุฬา ดิษฐปัญญา ฯลฯ 11. ปี่กลองน�ำขบวนแห่ศพทหารเรือเวียนรอบเมรุที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม 12. วงดิอิมพอสสิเบิ้ล 13. ครูสมชาย ทับพร สมัยเรียนชั้น ปกศ.ต้น วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ พ.ศ. 2507 เข้าประกวดร้องเพลงแขกมอญบางช้าง 2 ชั้น ที่ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ [นงลักษณ์ โรจนพันธ์ ชนะเลิศ] 14. ม.ล.ขาบ กุญชร เป่าขลุ่ย จุฬา ดิษฐปัญญา ร้อง วงสังคีตสัมพันธ์ รายการขาบมงคล ช่อง 5 ขอนแก่น ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 73


ต้นฉบับลายมือบันทึกเนื้อร้อง ของครูณรงค์ แก้วอ่อน

7 4 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 75


7 6 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 77


7 8 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 79


ภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ

ครูณรงค์ แก้วอ่อน

ณ วัดบางเกาะเทพศักดิ์ จังหวัดสมุทรสงคราม

8 0 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 81


รายนามผู้มอบพวงหรีดคารวะแด่

ครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง] 1. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2. โรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ จังหวัดชลบุรี 3. มูลนิธิดุริยประณีต 4. มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ [ศร ศิลปบรรเลง] 5. ชมรมดนตรีไทย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ 6. ชมรมดนตรีไทยการประปานครหลวง 7. วงดนตรีไทยกรมประชาสัมพันธ์ 8. วงปี่พาทย์คณะรวมศิษย์บรรเลง [ครูรวม พรหมบุรี] 9. วงปี่พาทย์คณะวัดส้มเกลี้ยง [อาจารย์อนันต์ชัย เเมรา] 10. วงดนตรีไทยบ้านบัวหลวง [ป๋อม บอยไทย] 11. วงปี่พาทย์คณะกุญชรดุริยะ [อาจารย์เกรียงไกร อ่อนส�ำอางค์] 12. วงดนตรีค�ำหวาน 13. คณะละครอาสาสมัครในพระบรมราชินูปถัมภ์ 14. สมาคมศิษย์เก่าอัมพวันวิทยาลัย 15. ผู้บริหารและสมาชิก อบต.แควอ้อม 16. พระครูสมุทรทิวากรคุณ จอ.อัมพวา จร.วัดปากน�้ำ 17. รองศาสตราจารย์บุญเสริม ภู่สาลี 18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณพล จันทร์หอม 19. อาจารย์ชยุดี วสวานนท์ 20. อาจารย์ทะเบียน มาลัยเล็ก 21. พันจ่าเอกปัญญา จิตรกรด�ำรงค์ และครอบครัว 22. นาวาโทชายชนะ รากกระโทก รน. 23. ผู้ใหญ่ธนา สังข์รัตน์ หมู่ 5 แคอ้อม 24. อาจารย์กรรณิการ์ และนายกรรธวัช แก้วอ่อน 25. ครอบครัว ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ 26. ครอบครัว [ต้อย/ เจ๊ค/ เจี้ยบ/ โน้ต]

8 2 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


27. ครอบครัวทางมีศรี วงปี่พาทย์บางแค 28. นายดนัย ขจรผล นายก อบต.แควอ้อม 29. ครอบครัวป้าประนอม สุวรรณ [ตู้/ หน่อย] 30. นายบุญสม สกุลอินทร์ และครอบครัว 31. อาจารย์สงัด สกุลอินทร์ และครอบครัว 32. ครอบครัวนางออมสิน นิ่มวรรณัง 33. อาจารย์ไชยยะ ทางมีศรี อาจารย์สุเชาว์ หริมพานิช และน้องๆ 34. อาจารย์พารณ ยืนยง และครอบครัว 35. อาจารย์สหรัฐ จันทร์เฉลิม เพื่อนและลูกศิษย์ 36. กิจจา-เกสร สุวรรณ 37. ครอบครัวรัตนศิธร 38. อาจารย์ส�ำราญ เกิดประกอบ 39. แป็ด-ตี๋ และครอบครัว 40. ประชุม เกิดประกอบ และครอบครัว 41. คุณเทพชัย และคุณระนอง หล่อเงิน [ข้าวมันไก่ลูกแก]

ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 83


ครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

8 4 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 85


ถ้อยแถลงท้ายเล่ม หากพิจารณาเพียงผิวเผินหรือประเมินจากคุณวุฒแิ ละวัยวุฒิ ระหว่างครูณรงค์ แก้วอ่อน [รวม บรรเลง] ซึง่ เป็นผูม้ ที งั้ ชือ่ เสียงและผลงานทีไ่ ด้รบั ยกย่องในฐานะศิลปินนักร้องเพลงไทยระดับชัน้ น�ำของ สยามประเทศไทย กับคณะผูจ้ ดั ท�ำหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพของท่านเล่มนี้ แน่นอนว่า มีชอ่ งว่างแตกต่างห่างไกลกันอย่างลิบลับ แต่ไมตรีจติ มิตรภาพอันเกิดขึน้ ท่ามกลางสายธารวัฒนธรรม ดนตรีไทยทีห่ ลากไหลไปพร้อมกระแสกาลเวลา ท�ำให้ยากจะหาข้ออ้างมาลบล้างหรือปฏิเสธความตัง้ ใจ ของเรือเอกสัมพันธ์ แก้วอ่อน น้องคนสุดท้องของครูณรงค์ ซึ่งปรึกษาเชิงปรารภให้ช่วยรับดูแลเรื่อง หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ส�ำหรับพีช่ ายผูว้ ายชนม์ ด้วยเห็นว่าเป็นคนในแวดวงเดียวกัน ที่นับถือชอบพอคุ้นเคยมานานปีและมีประสบการณ์ด้านหนังสืออยู่บ้าง ประการหนึ่งนั้นตามความรู้สึกนึกคิดของพวกเราซึ่งเป็นรุ่นน้องรุ่นศิษย์ที่เคยฟังกิตติศัพท์เรื่อง ขับร้องระดับร้อยเถาของท่านมาก่อน จนกระทั่งมีโอกาสรู้จักพบเห็นได้สัมผัสกับตัวตนเป็นๆ ของครู ณรงค์ยามเมือ่ ยังมีชวี ติ อยูใ่ นวาระต่างๆ ก็ลว้ นสมจริงดังค�ำร�ำ่ ลือ โดยท่านเองมิได้ถอื ตัววางท่าว่าเก่ง หรือคุยประโคมถึงสรรพคุณวิเศษสูงส่งของตนแต่อย่างใด ตรงกันข้ามคืออัธยาศัยอ่อนน้อมนุ่มนวล เจียมเนือ้ เจียมตนจนคนเกรงใจ ออกแนวสมถะในลักษณะศิลปินทีม่ โี ลกส่วนตัวสูงด้วยซ�ำ้ ทีส่ ำ� คัญคือ ซื่อสัตย์มั่นคงในการด�ำรงวิถีชีวิตที่เคี่ยวกร�ำย�่ำไปทั่วทุกแห่งหนบนโลกดนตรีไทย ใฝ่ศึกษาเรียนรู้คู่กับ ปฏิบัติจริงตลอดเวลาจวบจนวาระสุดท้าย ดังที่ครูไชยยะ ทางมีศรี นักดนตรีเชื้อสายบางช้างด้วยกัน สรุปให้ฟังว่าพี่ณรงค์ไม่เคยก่อเรื่องเคืองขุ่นวุ่นวายหรือท�ำร้ายเอาเปรียบใครให้เดือดร้อน เสริมสร้าง ความสุขสนุกสนานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อื่นโดยตลอด อันเป็นเยี่ยงอย่างที่พวกเราต่าง ก็เคารพชื่นชมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เสียดายก็แต่เพียงความอ่อนด้อยของคณะผู้จัดท�ำไม่มีปัญญาสามารถพอจะจดจ�ำน�ำเรื่องราว ทั้งหมดของท่านมาบันทึกรวบรวมให้ครบถ้วนได้มากกว่านี้ ทั้งที่เห็นเด่นชัดว่าบรรดานักร้องนักดนตรี ที่มีสายเลือดอัมพวามาแต่ครั้งอดีตกาลและเป็นบุคคลในต�ำนานสมัยรัตนโกสินทร์ด้วยกันนั้น ถ้าพูด ถึงยุคปัจจุบันก็ย่อมนับได้ว่าครูณรงค์เป็นอีกท่านหนึ่งของความภาคภูมิใจซึ่งสมควรได้รับเกียรติยศ นั้นด้วยเช่นกัน การท�ำหนังสืออนุสรณ์ฯ เล่มนี้ แม้จะมีกำ� ลังแรงแห่งน�ำ้ ใจเป็นฐานทีต่ งั้ ถึงอย่างไรก็จำ� เป็นต้อง อาศัยกระบวนการไหว้วานอีกหลายคนทีไ่ ม่เพียงมีประสบการณ์เรือ่ งงานท�ำหนังสือเท่านัน้ ทีส่ ำ� คัญยัง ต้องมีส�ำนึกศรัทธาและจิตสาธารณะรวมอยู่ด้วย เป็นการแบ่งปันช่วยกันคนละไม้คนละมือตามความ ถนัดจัดเจนในแต่ละส่วน ตั้งแต่ท�ำส�ำเนาภาพเก่าจากแหล่งข้อมูลส่วนตัวของครูณรงค์ ติดต่อขอค�ำ ไว้อาลัย เดินทางไปพบเพื่อสัมภาษณ์ข้อมูลค�ำบอกเล่าเรื่องราวแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับครูณรงค์จาก

8 6 | ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]


ผองเพื่อนสนิทมิตรสหายหลายคน เรียบเรียงเนื้อหาสาระ ตลอดจนเขียนรูปใหม่ส�ำหรับใช้เป็นภาพปก หนังสือ เพื่อให้เหมาะสมสวยงามตามลักษณะรูปเล่มที่ออกแบบกันไว้ ซึ่งก็หวังว่าน่าจะสร้างความพึง พอใจให้กับจิตวิญญาณของครูณรงค์ได้ไม่มากก็น้อย อนึ่งควรกล่าวด้วยว่านอกจากคณะผู้จัดท�ำจะได้รับความเอื้อเฟื้อจากเครือญาติของครูณรงค์ หลายท่านเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยเพิ่มเติมเสริมแต่งให้เนื้อหาหนังสือเล่มนี้มีคุณค่า สาระเชิงประวัติศาสตร์ดนตรีไทยในบริบททางสังคมวัฒนธรรมก็คือถ้อยค�ำร�ำลึกที่ทุกท่านได้บันทึกถึง ครูณรงค์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เรือ่ งเกีย่ วกับงานดนตรีทกี่ รมประชาสัมพันธ์ซงึ่ คุณธนิต อัศวะไพฑูรย์ น�ำ มาบอกเล่าเอาไว้อย่างมีชีวิตชีวา ท้ายทีส่ ดุ ต้องขอบพระคุณส�ำหรับความเมตตาของครูผใู้ หญ่และนักดนตรีไทยทุกท่าน อาทิ ครู สุรางค์ ดุริยพันธุ์ ครูทะเบียน มาลัยเล็ก รองศาสตราจารย์สุรพล สุวรรณ ฯลฯ กรุณาอนุเคราะห์ เกื้อกูล ประสานงานด้านข้อมูลต่างๆ ให้แก่คณะผู้จัดท�ำจนน�ำมาสู่ผลดีอันมีประโยชน์ต่อหนังสือ อนุสรณ์ฯ ของครูณรงค์ แก้วอ่อน ครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง คณะผู้จัดท�ำ

ที่ปรึกษา: เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์ บรรณาธิการ: พิชชาณัฐ ตู้จินดา [วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา] พิสูจน์อักษร: กนกวรรณ เพ็งสว่าง สแกนภาพถ่าย: กันต์ อัศวเสนา [วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล] ภาพปก: เทคนิคสีพาสเทล ผลงานและลิขสิทธิ์ของ ชาติชาย หอมสุวรรณ ศิลปกรรม: จรูญ กะการดี พิมพ์: หจก.หยินหยางการพิมพ์ 104/2 หมู่ที่ 5 ซอยวัดพระเงิน ถนนกาญจนาภิเษก ต.ปลายบาง อ�ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 โทรศัพท์ 02 443 6707, 02 903 8636 ณรงค์ แก้วอ่อน [รวมบรรเลง]

| 87


น้องเป็นหญิง พ่อก็เป็น ถ้าตัวของน้องนี้เป็นผู้ชาย ค�่ำค�่ำวันนี้

ยากจริงจริงจะให้เห็น ชายเลิศประเสริฐศรี ตัวของพ่อพลายถ้าพ่อเป็นสตรี จะไปแนบให้หน�ำใจ

บทร้องเพลงสุรินทราหู 3 ชั้น ของเก่า เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน นางศรีมาลาร�ำพันถึงพลายงาม




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.