หัวแขาแดง

Page 1

ÇÔ¶ªÕ ØÁªÁÇÔ¶ÕÇѲ¹¸ÃÃÁ Êԧ˹¤Ã

ËÑÇà¢Òá´§

¤ Ç Ò ÁË Å Ò ¡ Ë Å Ò Â ¤ ×Í ¤ ÇÒ Á § ´ § Ò Á



HUA

KHAO

DANG

EDITOR'S

TALK

“สงขลา” เป็นจังหวัดใหญ่หัวเมืองที่มีชื่อเสียงและมีความสำ�คัญทางเศรษฐกิจการค้ามาช้านาน เป็นที่รู้จักกัน ดีในหมู่พ่อค้า และนักเดินเรือชาวอาหรับ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในช่วงพุทธศรรตวรรษที่22 นั้นในชื่อ ซิงกรู์ หรือ ซิงกูร่า ยังเป็นเมืองสำ�คัญของชาวตะวันตกในอดีต ได้มีการสร้างเมือง คูเมือง ประตู ป้อมเมือง เป็นหลัก ฐานสำ�คัญจนมาถึงปัจจุบัน ทำ�ให้ชาวสงขลามีแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อำ�เภอสะทิ้งพระ อำ�เภอ สิงหนคร หรือ อำ�เภอเมืองสงขลา ที่จะนำ�นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ที่สำ�คัญในจังหวัดสงขลา พูดถึงเนื้อหาในเล่มนี้ ได้นำ�เรื่องราวสถานที่ต่างๆ ในอำ�เภอสิงหนครมาแนะนำ�วิถีชีวิตของชุมชนชาวเลมุสลิม ที่ได้ประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และมีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ควรค่าแก่ศึกษาความเป็นมา สถาน ที่แห่งนี้ คือ“หัวเขาแดง” ในการค้นคว้าของผู้เขียนต้องใช้เวลา ความพยายาม อดทน ในการไปยังพื้นที่หารายละเอียดข้อมูล เพื่อที่จะ ได้เป็นประโยชน์ กับท่านผู้อ่านที่จะศึกษาแหล่งวัฒนธรรม อารยธรรมโบราณของชุมชนอันเก่าแก่ เพื่อเป็นข้อมูลใน การท่องเที่ยวในชุมชุนหัวเขาแดงของจังหวัดสงขลา และเพื่อการศึกษาอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีตต่อไป


CONTENT ISSUE01

01 03 15 16 25 27

การเดินทางไปหัวเขาแดง ประวัติหัวเขาแดง ป้อมเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง เจดีย์สองพี่น้อง ปู่ทวดหัวเขาแดง วิถีชุมชนหัวเขาแดง


28 02 18

34

27 20

35


Welcome To Hua Khao Dang การเดินทางไป.....หัวเขาแดง


การเดินทางไปหัวเขาแดง ถ้ามาจากฝั่ง

อ.เมืองสงขลา ให้ขึ้นแพขนานยนต์มา พอถึงฝั่งเขาแดงแล้ว เลี้ยวขวาเดินมาไม่นาน จะพบป้ายและบันไดทางขึ้น ซึ่งค่อน ข้างสูงชัน ขึ้นไปสักระยะ จะมีป้ายชี้ไปทางซ้ายมือ เดินไปสัก นิดจะพบป้อมปากน�้ำสงขลา หมายเลข 8 สภาพป้อมได้รับ การบูรณะไว้ จุดนี้จะท�ำให้มองเห็นฝั่งแหลมสนอ่อน และท่า เทียบเรือสงขลา อย่างชัดเจน จากนั้นก็ต้องเดินป่าเข้าไป โดย จะมีทางเล็กๆ บังคับขึ้นไปจนถึงยอดเขาแดง สองข้างทางจะ เต็มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด ร่มครึ้มอยู่ตลอดเส้นทาง ขอ แนะน�ำว่าใครที่จะผจญภัยไปทางนี้ควรฟิตร่างก ายให้ดี ไม่ เช่นนั้นอาจเป็นลมได้ง่ายๆ หรือถ้าจะไปทางที่สบายกว่านี้ก็ ให้ไปขึ้นอีกทาง ถัดจากนี้ไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีบันได ขึ้นไปถึงยอดเขา ส�ำหรับใครที่อยากขึ้นไปสัมผัสความงามบน ยอดเขาแดงแบบไฮเทค คงต้องรอกันสักนิด แต่ถ้าใครอยาก พิชิตเขาแดงด้วยล�ำแข้งของตัวเอง ก็ไปได้ทุกวัน ชาวหัวเขา

1


หัวเขาแดง

Hua khao Dang

ประวัติหัวเขาแดง ที่ตั้งกลุ่มบ้าน เป็นที่ราบสูงเลียบทะเลสาบ ราษฎรสร้างบ้านเรือนบนเนินเขา สถานที่ชาวบ้านเรียกว่า “หน้าเขา” สมัยก่อนเรียกสถานที่นี้ว่า “เมืองสิงขร” เป็นเมืองเก่า และภูเขาเหล่านี้ เมื่อมองระยะห่างจากที่อื่น จะเห็นดินสีแดง ทุกคนจะเรียกภูเขาบริเวณนีว้ า่ “หัวเขาแดง” และในปัจจุบนั เป็นทีต่ งั้ ของตำ�บล “หัวเขา” อำ�เภอ สิงหนคร จังหวัดสงขลา

2


“เขาแดง”

เป็นภูเขาขนาดใหญ่มีป้อม ปืนอยู่หลายป้อม สร้างขึ้นเพื่อใช้สังเกตการณ์ข้าศึก มี อย่างกระจัดกระจาย ทัง้ บนยอดเขาแดงและพืน้ ทีร่ อบๆ โดยเฉพาะบนยอดเขานั้นเป็นจุดชมวิวที่สวยงามมาก และใกล้ๆกับป้อมปืนบนยอดเขาแดงยังมี เจดีย์องค์ดำ� และเจดีย์องค์ขาว หรือที่เรียกว่า “เจดีย์สองพี่น้อง”

3


สิงขร สิงคะ แปลว่าจอม ที่สูงสุดยอดเขา และภาษาไทยว่า

“สิงขร”

4


สมัยเมืองสงขลา ฝั่งหัวเขาแดง

เป็นยุคที่น่าจะมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงปลายพุทธ ศตวรรษที่ 23 โดยพิจารณาจากเจดีย์บนยอดเขาน้อยที่กำ�หนดอายุ ได้ไม่น้อยกว่า พุทธศตวรรษที่ 17-18 โดยปรากฏชื่อในเอกสาร ต่างๆของพ่อค้าชาวตะวันตกว่า Singora บ้าง Singor บ้าง น่าจะ มีชื่อเมือง สิงขร สิงคะ แปลว่าจอม ที่สูงสุดยอดเขา และภาษาไทย ว่า “สิงขร” เป็นความหมายที่สอดคล้องกับที่ตั้งเมืองสงขลา ช่วงเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงนี้อยู่ภายใต้การปกครองของ เจ้าเมืองและ ปฐมพลเมืองชาวมุสลิม ซึ่งได้อพยพและนำ� พลพรรคชาวแขกชวาหนีภยั จากโจรสลัดทีค่ กุ คามอย่างหนัก ในแถบหมูเ่ กาะชวาล่องเรือมาขึน้ ฝัง่ บริเวณฝัง่ หัวเขาแดง ชาว ต่างชาติที่มาค้าขาย เป็นต้นว่าในสำ�เนาจดหมายของนายแมร์ เทนเฮาท์แมน จากอยุธยา มีไปจนถึงนายเฮนดริก แจนเซน นายพานิชย์คนที่1 ชาวดัตช์ ที่ปัตตานีในปี พ.ศ. 2156 ออกชื่อเจ้าเมืองสงขลาในขณะนั้นว่า “โมกุล” แต่ในบันทึกบริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษ ได้กล่าวถึงเมืองสงขลาในปีพ.ศ. 2165 เรียกชื่อเจ้าเมืองว่า “ดาโต๊ะโกมอลล์” ขอบคุณรูปภาพจาก : http://topicstock.pantip.com/library/topicstock

5


6

ลงเรือสำ�เภามาขึ้นฝั่งที่บริเวณบ้านหัวเขาแดง แขวงเมืองสงขลา เข้าใจว่าตระกูลนี้คงเคยเป็นตระกูลปกครอง บ้านเมืองมาก่อน เมื่อเจอทำ�เลเหมาะสมหัวเขาแดง ท่านดะโต๊ะ โมกอล ก็ได้นำ�บริวารขึ้นบก แล้วช่วยกันสร้างบ้าน แปลงเมือง และ ดัดแปลงบริเวณปากทางเข้าทะเลสาบสงขลาให้เป็นท่าจอดเรือขนาดใหญ่ ทีส่ ามารถรับเรือสำ�เภา หรือ เรือกำ�ปัน่ ทีป่ ระกอบธุรกิจการค้าทางทะเล แวะเข้าจอดเทียบท่าได้ จนเมืองหัวเขาแดงในสมัยนัน้ กลายเป็นเมืองท่าเรือ ระหว่างประเทศไป กิติศัพย์นี้โด่งดังไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148 - 2153) จึง ได้มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้ดะโต๊ะ โมกอล เป็นข้าหลวงใหญ่ของพระเจ้ากรุงสยาม ประจำ�เมืองพัทลุงอยู่ที่หัว เขาแดง แขวงเมืองสงขลา


สุรต่านผู้ครองเมืองสงขลาได้ปกครองเมือง แบบรัฐสุรต่านของ

“ ราชวงศ์ออโตมาน ”

ขอบคุณรูปภาพจาก : http://www.thaivisa.com

สุรต่านผู้ครองเมืองสงขลาได้ปกครองเมืองแบบรัฐสุรต่านของราชวงศ์ออโตมานซึ่งการปกครอง แบบนี้แพร่หลายเข้ามายังเกาะสุมาตรา เกาะชวา และรัฐสุรต่านต่างๆ ทางปลายแหลมมาลายูโดยสุลต่านผู้ ปกครองเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงได้นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุนี่ จึงดำ�รงค์ตำ�แหน่งจุฬาราชมนตรี ส่วน บุตรชาย สามคนคือ มุสตาฟา ฮุสเซน และ ฮัสซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่งสูงทาง กองทัพเรือ ผู้ บัญชาการป้อม และ ตำ�แหน่งการปกครองอื่นๆ ในระบอบการปกครองแบบสุรต่าน

7


ปฐมการค้า กับ ฮอลันดา

8


ในระยะแรก

ของการตัง้ เมืองสงขลา เจ้าเมืองได้ยอมรับในการตกเป็นเมืองทีอ่ ยูภ่ ายใต้การปกครองของ กรุงศรีอยุธยา โดยสุรต่านผูค้ รองเมือง ได้จดั ส่งเครือ่ งราชบรรณาการซึง่ ประกอบด้วยดอกไม้เงิน และ ดอกไม้ทอง แก่กรุง ศรีอยุธยา โดยเจ้าเมืองสงขลาได้ก�ำ หนดทิศทางของการพัฒนาเมืองสงขลาฝัง่ หัวเขาแดงเป็นลักษณะเมืองท่า ทำ�กิจการ ในแลกเปลี่ยนสินค้าในระดับนานาชาติ โดยเมืองท่านี้ได้ทำ�การค้าขายกับฮอลันดา โปรตุเกตุ อังกฤษ จีน อินเดีย และ ฝรั่งเศส ซึ่งประเทศคู่ค้าประเทศแรกๆที่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และสามารถขยายความสัมพันธ์ทางการค้า มายังสงขลาคือ ฮอลันดา สมัยทีฮ่ อลันดา มีความมัง่ คัง่ จากการผูกขาดเครือ่ ง เทศแต่เพียงผูเ้ ดียว โดยฮอลันดาสามารถกำ�จัดคูแ่ ข่งทางการค้าอืน่ ๆเช่น โปรตุเกตุ อังกฤษ และ พ่อค้ามุสลิม ให้หา่ งจาก เส้นทางการค้า มีผลทำ�ให้ให้ฮอลันดามีความมั่งคั่ง และ มีอำ�นาจขึ้นในยุโรป และตะวันออกไกล

ขอบคุณรูปภาพจาก : http://www.thaivisa.com

9


เมืองสงขลาฝัง่ หัวเขาแดงเป็นเมือง คู่ค้าที่สำ�คัญกับฮอลันดา

10 ขอบคุณรูปภาพจาก : http://en.wikipedia.org


เมืองสงขลา ฝั่งหัวเขาแดงเป็นเมืองคู่ค้าที่สำ�คัญ

กับฮอลันดา ทำ�ให้เมืองสงขลาได้รับการคุ้มครอง และการสนับ สุนด้านต่างๆ จากฮอลันดาเป็นอย่างมาก จนกระทั่งทำ�ให้เมือง สงขลา โดย สุลต่านสุไลมาน ฉวยโอกาส แข็งเมืองในช่วงกบฏ กรุงศรีอยุธยาใน รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งผลจากการแข็ง เมืองนี้เองทำ�ให้สุลต่านสุไลมาน ประกาศตัวเป็น พระเจ้าสงขลา ที่ 1 และ ดำ�เนินการค้าโดยตรงกับนานาประเทศโดยเฉพาะ ประเทศฮอลันดาซึ่งแทบจะเรียกได้ว่า ฮอลันดาได้ทำ�การค้าเพื่อ เอาใจ และสัมพันธ์ดา้ นประโยชน์ทางการค้า ทัง้ กรุงศรีอยุธยาและ สงขลา ไปในคราเดียวกัน ดั่งปรากฏหลักฐานว่า พระเจ้าปราสาท ทอง แห่งอยุธยาได้เคยขอให้ฮอลันดาช่วยปราบกบฏเมืองสงขลา แต่ฮอลันดากลับไม่ได้ตั้งใจช่วยอย่างจริงจังตามที่ได้แสดงเจตนา ไว้ ซ้ำ�ยังให้ความช่วยเหลือเมืองสงขลาด้วยในคราเดียวกัน ทำ�ให้ ความสัมพันธ์ระหว่าง เมืองสงขลาฝัง่ หัวเขาแดงกับฮอลันดายิง่ ทวี ความแน่นแฟ้นขึ้นตามลำ�ดับ

11


ความสัมพันธ์ทางการค้ากับอังกฤษ ที่น�ำมาสู่ป้อมเมืองแห่ง 20 ป้อมปืน

ความเป็นคูแ่ ข่งทางการค้าระหว่างฮอลันดา

กับ อังกฤษได้นำ�มาสู่การคานอำ�นาจของหัวเมืองต่างๆ ภายใต้ การปกครองของกรุงศรีอยุธยา เช่น ขณะที่สงขลามีปฏิสัมพันธ์ ทางการค้าและการเมืองที่ดีต่อ ฮอลันดา นั้นอังกฤษก็ได้เริ่มมุ่ง ความสนใจทางการค้ากับ เมืองปัตตานีที่เป็นเมืองท่าอยู่ทางตอน ใต้ของสงขลา และ พยายามทีจ่ ะขยับขยายการค้ามาสู่ สงขลา ดัง บันทึก ฉบับหนึ่งที่เขียนโดยพ่อค้าชาวอังกฤษ กล่าวถึงการค้าที่ เมืองสิงขระว่า “จะไม่เป็นการผิดหวังหากคิดจะสร้างคลังสินค้า ขนาดใหญ่ขึ้นที่สิงขระข้าพเจ้าคิดว่าเราอาจจะใช้สิงขระ เป็นที่ สำ�หรับตระเวณหาสินค้าจากบริเวณใกล้เคียง เพือ่ จัดส่งให้แก่หา้ ง ของเราที่กรุงสยาม โคชินไชน่า บอเนียว และญี่ปุ่นได้อย่างดี”

12

โดยจาการค้าขายกับต่างชาตินเี่ องทำ�ให้เมืองสิงขระ ที่นำ�โดย “ดาโต๊ะโมกอล” ได้พัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการค้าขายระดับนานาชาติ และ เพื่อสร้าง ความปลอดภัย และ รักษาเมืองจากการปล้นสะดมจาก โจรสลัดซึง่ เกิดขึน้ อย่างมากในขณะนัน้ การพัฒาเมืองจึง ได้รวมไปถึงการสร้าง ป้อมปืนใหญ่บริเวณบนเขา และ ที่ราบในชัยภูมิต่างๆถึง 20 ป้อมปืน รวมไปถึงการสร้าง ประตูเมือง และ คูดินรอบเมือง


จากการที่สงขลาแข็งเมือง ทำ�ให้พ่อค้าชาวอังกฤษเห็นช่อง ทางในการลดค่าภาษีที่จะต้องส่งให้แก่กรุงศรีอยุธยา เพียง แต่ให้ของกำ�นัล แก่เจ้าเมือง สิงขระ เพียงเล็กน้อย ก็สามารถ ทำ�การค้าขายในแถบนี้ได้แล้วดังบันทึกอันหนึ่ง ซึ่งเขียนโดย พ่อค้าชาวอังกฤษว่า “การตั้งคลังสินค้าขึ้นที่นี่ยังจะช่วยให้ไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำ�หรับห้างอีกด้วย เพราะที่นี่ไม่เก็บอากร ขนอนเลย เพียงแต่เสียของกำ�นัลให้แก่ดาโต๊ะโมกอลล์ (เจ้า เมืองสงขลา) ก็อาจนำ�เงินสินค้าผ่านไปได้ โดยผลจากการ ประกาศแข็งเมือง และ ตั้งตนเป็นพระเจ้าสงขลาที่ 1 ของ สุลต่านสุไลมัน (บุตรของดาโต๊ะโมกอล)

จึงเสมือนการเปิดโอกาสให้เมืองสงขลาในระยะนี้ เจิญถึงจุดสูงสุด ถึงขั้นมีการผลิตเงินตราขึ้นใช้เอง โดยมี คำ�ว่า “สงขลา. เป็นภาษาไทยบนหรียญ ภาษา ยาวีสองคำ� อ่านว่า นะครี-ซิงเกอร์แปลว่านครสงขลา และมีภาษาจีนอีก ห้าคำ� เนื่องจากไม่ปรากฏหลัก ฐานในช่วงเวลาการผลิต เหรีญแต่สันนิษฐานจาก ภาษาแขก ทีป่ รากฏบนเหรียญ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะ อยูใ่ นช่วงเวลาทีเ่ จ้าเมืองแขกปกครองสงขลาอยูเ่ กือบ 40 ปี ทำ�ให้เรา และ สามารถคาดการณ์ถึงสภาพ เศรษฐกิจที่รุ่งเรืองของเมืองสงขลาในขณะนั้นได้

13


ป้อมเมืองสงขลา

ฝั่งหัวเขาแดง เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงเป็นช่วง

ที่เมืองสงขลารุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางของการค้าขายมี ทั้งชาวจีนและตะวันตกที่เข้ามาค้าขายในเมืองสงขลา ขณะเดียวกันก็สามารถรวบอ�ำนาจของเมืองพัทลุงและ นครศรีธรรมราชเอาไว้ได้ด้วย มีท่านสุลต่าน สุไลมาน หรือพระเจ้าเมืองสงขลาเป็นกษัตริยป์ กครองเมือง ท่าน ได้สร้างก�ำแพง ป้อม คูเมืองและหอรบไว้อย่างแข็งแรง แต่ในภายหลังคือสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช ได้ให้ ทัพของกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเผาก�ำแพงเมืองจนชนะ จาก นัน้ ก็สงั่ ให้ท�ำลายเมืองให้ราบ เพราะเกรงว่าจะก่อกบฏ แข็งเมืองขึ้นอีก ดังนั้นจึงท�ำให้เหลือซากก�ำแพงเมือง และป้อมต่างๆเพียงเล็กน้อย

14


ก�ำแพงเมืองสงขลาที่หัวเขาแดงก่อสร้างด้วยอิฐและหินโบกปูน มี3ด้านคือทิศเหนือ ตะวันออกและ

ตะวันตก ส่วนทิศใต้มเี ขาค่ายม่วงเป็นป้อมตามธรรมชาติอยูแ่ ล้ว ซึง่ ในปัจจุบนั คงเหลือให้เห็นตามล�ำดับป้อมดังนี้ ป้อม หมายเลข 1-14เป็นป้อมและเนินดิน ก่อด้วยหินชัน้ สีแดงสอปูน วางหินโดยใช้ดา้ นกว้างวางทับช่วยให้ปอ้ มมัน่ คงแข็ง แรง ความแข็งแกร่งของเมืองบ่งบอกว่าเมืองมีความส�ำคัญทางด้านต่างๆเช่น เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการค้าขาย เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้จากกรุงศรีอยุธยาดังนั้นจะต้องมีป้อมมั่นคงเพราะขอความช่วยเหลือ จะต้องใช้เวลานาน และทางด้านการทหารนั้นถือว่ามีการฝึกฝนอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ปืนไฟและปืนใหญ่จ�ำนวน มาก

15


ป้อมหมายเลข 1 มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม กว้าง 17เมตร ยาว 22เมตร สูง 4.5เมตร มีช่องไฟวางปืนใหญ่ แต่ปัจจุบันไม่เหลือซากให้เห็น ป้อมนี้ตั้ง อยู่บนพื้นราบด้านตะวันตกห่างจากถนนสายหัวเขาแดง-ระโนดประมาณ 240เมตร

ป้อมหมายเลข 5 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 7.50 เมตร ยาว 12.50 เมตร สูง 3.80 เมตร มีรูปแบบเหมือนกับป้อมหมายเลข 4 อยู่สูงขึ้นไป บนเขาค่ายม่วง ห่างจากป้อมหมายเลข 4 ขึน้ ไปบนเขาค่ายม่วงประมาณ 103 เมตร

ป้อมหมายเลข 2 ทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8.5เมตร ยาว 16.5เมตร สูง 5เมตร ค�้ำยันกับผนังป้อม 11แห่ง อยู่บนพื้นราบ ห่างป้อม 1ประมาณ 190เมตร

ป้อมหมายเลข 6 มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 14.80 เมตร ยาว 23.50 เมตรสูง 2.80 เมตร มีใบบังทั้ง 4 ด้าน ตั้งอยู่ส่วนบน ของเขาค่ายม่วงในแนวป้อมด้านทิศใต้ ห่างจากป้อมหมายเลข 5 ขึ้นไป บนเขาค่ายม่วงประมาณ 120 เมตร

ป้อมหมายเลข 3 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10.6 เมตร ยาว 11.5 เมตร สูง 4 เมตร ตั้งอยู่บนพื้นราบด้านทิศใต้ ห่างจากป้อมหมายเลข 2 ประมาณ 195 เมตร ป้อมหมายเลข 4 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8.20 เมตร ยาว 12.50 เมตร สูง 4.20 เมตร อยูบ่ นเชิงเขาค่ายม่วง ทีล่ าดชัน มองเห็นด้านข้างทัง้ สองด้าน เป็นรูปสามเหลี่ยม มีใบบังทั้งสี่ด้าน แต่บางส่วนช�ำรุดไปบ้างแล้ว ตั้งอยู่ใน แนวป้อมด้านซ้าย ห่างจากป้อมหมายเลข 3 ประมาณ 470 เมตร

16

ป้อมหมายเลข 7 มีลักษณะผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 7 เมตร ยาว 10เมตร สูง 1 เมตรส่วนฐานและส่วนบนช�ำรุดเกือบหมดจากต�ำแหน่ง และรูปแบบที่เหลือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับป้อมหมายเลข 4และ 5 ตั้ง อยู่บนเขาค่ายม่วงทางด้านทิศเหนือ ห่างจากถนนสายระโนด-สงขลา ประมาณ 20 เมตร


ก�ำแพงเมืองสงขลาที่หัวเขาแดง เป็นก�ำแพงก่อ ด้วยอิฐและหินโบกปูนเดิมเข้าใจว่ามีทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออก และด้าน ทิศตะวันตก ส�ำหรับทางด้านใต้มีเขาค่ายม่วง เป็นป้อมปราการธรรมชาติทแี่ ข็งแกร่งอยูแ่ ล้ว ตัว ก�ำแพงที่เหลือในปัจจุบันเริ่มจากป้อมหมายเลข 1 ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงป้อมหมายเลข 13 มีความยาวประมาณ 12.3 เมตร กว้าง 7.5 เมตร สภาพพังทลายทั้งหมดบางช่วงเห็นเพียง เนินดินที่มี วัชพืชปกคลุม

17


ป้อมหมายเลข 8 ลักษณะผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 12 เมตร ยาว 18เมตร สูง 1.80 เมตรมีใบบังทั้ง สี่ด้าน ตั้งอยู่บนปลายสุดของเขาค่ายม่วงทางมุมเมือง ด้านทิศตะวันออกถึงทิศเหนือ

ป้อมหมายเลข 10 ลักษณะผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร สูง 3.50 เมตรปัจจุบนั เหลือเฉพาะส่วน ฐาน มีการก่อสร้างเจดียล์ งบนป้อม 2 องค์ ตัง้ อยูบ่ นเขาค่าย ม่วง เป็นป้อมในแนวเมืองด้านทิศตะวันตกและอยู่ห่างจาก ป้อมหมายเลข 7 ไปทาง

18

ป้อมหมายเลข 9 ลักษณะผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9.60เมตร ยาว 10.20 เมตรสูง 5 เมตร มีใบบัง ทัง้ สีด่ า้ น ระหว่างใบบังจะมีชอ่ งมองซึง่ จะต้องมองเฉียง จึงจะมองเห็นภายนอกได้ มีส่วนค�้ำยันฐานผนังป้อม ทางด้านตะวันออก ตะวันตกและทิศเหนือ ป้อมนี้อยู่ บนพืน้ ราบเชิงเขาน้อยทางทิศตะวันตก 300 เมตร ห่าง จากป้อมหมายเลข 1 ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1,072 เมตร ทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 216 เมตร


ป้อมหมายเลข 11 มีลักษณะเป็นเนินดิน กว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 1.20 เมตร ตัง้ อยูบ่ นเชิงเขาค่ายม่วงทาง ทิศใต้ มุมเมืองด้านทิศตะวันออก-ทิศใต้ ห่างจากป้อม หมายเลข 10 ไปทางทิศใต้ประมาณ 755 เมตร ป้อมหมายเลข 12 ลักษณะเป็นเนินดิน กว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 1.30 เมตร ตั้งอยู่บนพื้นภายในแนว ป้อมเมืองด้านทิศใต้ ห่างจากป้อมหมายเลข 3 ประมาณ 155 เมตร และห่างจากป้อมหมายเลข 4 ประมาณ 215 เมตร ป้อมหมายเลข 13 ลักษณะเป็นเนินดิน กว้าง 7.50 เมตร ยาว 12.30 เมตร สูง 0.80 เมตร ตั้งอยู่ริมอ่าวไทย เป็นป้อมในแนวทิศตะวันตก ห่างจากป้อมหมายเลข 1 ขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 260 เมตร ป้อมหมายเลข 14 ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 18.20 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 0.90 เมตร พบร่องรอย อยูใ่ นทะเล เหนือป้อมหมายเลข 13 ประมาณ 283 เมตร

19


20


เจดีย์สองพี่น้อง

21


เจดีย์องค์ขาว

22


เจดีย์องค์ด�ำ

เจดีย์สองพี่น้อง บนยอดเขาแดงมีเจดีย์ 2 องค์ องค์แรกเป็นเจดีย์องค์พี่ ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ก่อด้วยหินฉาบ

ปูน ยอดปรักหักพัง มีสีด�ำ คนทั่วไปเรียกว่า "เจดีย์องค์ด�ำ" สร้างเมื่อ พ.ศ.2375 โดยเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ส่วนเจดีย์องค์ที่สองเป็นเจดีย์องค์น้อง เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมเช่นกัน องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐฉาบ ปูน มีสีขาว คนทั่วไปเรียก "เจดีย์องค์ขาว" สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.2382-2484 โดยพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัด บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยามหาพิชยั ญาติ ผูเ้ ป็นน้องร่วมมารดากับเจ้าพระยาพระคลังฯ ชาวบ้านเรียกเจดียส์ ององค์ นี้ว่า "เจดีย์สองพี่น้อง" ระหว่างองค์เจดีย์ทั้งสองมีศาลาเก๋งจีน ช�ำรุดเหลือแต่พื้นที่ผนังที่เจาะช่องหน้าต่างเป็นวงกลม ปัจจุบันองค์เจดีย์ทั้งสองได้รับการขุดแต่งบูรณะจากหน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ สถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.2525

23


ทวดหัวเขาแดง สงขลา เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน หลายชั่วอายุคน ที่เรื่องราวเล่าสู่ลูกหลาน อย่างไม่รู้ จบ วันนี้ผมมีโอกาสได้แวะไปสักการะ ทวดเขาหัวแดง ซึ่งตั้งอยู่หลืบถ�้ำปลายเขาหัวแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา การเดินทางไป สักการะมีหลายเส้นทาง แต่วันนั้นผม เลือกที่จะน�ำรถลงแพขนานยนต์ ลงที่ท่าเรือฝั่งเมือง สงขลา แล้วมาขึ้นที่ท่าเรือฝั่งเขาหัวแดง ใช้เวลาช่วงนี้ ประมาณ 10 นาที เมื่อถึงฝั่ง และห่างไปไม่ไกลมากนักก็ เป็นที่ตั้งของศาลทวดหัวเขาแดง ที่มีผู้เคารพนับถือแวะ เวียนมาสักการะ อยู่ไม่ขาดสาย แม้นแต่ผู้ที่ขับรถยนต์ ผ่าน ยังให้ความเคารพโดยการบีบแตร เพื่อแสดงความ เคารพ

24


หัวเขาแดงตั้งอยู่ทางใต้ เกือบสุดปลายแหลมสันทราย สทิงพระ ทางทิศตะวันตกของปากน�้ำเมืองสงขลา ทาง ด้านทิศเหนือบริเวณบ้านบนเมือง เคยเป็นที่ตั้งของเมือง สงขลาเก่าสมัยอยุธยาแต่เดิม จากลักษณะภูมิประเทศ เขาแดงจึงเป็นต�ำแหน่งที่หมายส�ำคัญหลาย ๆ ด้าน อาทิ บริเวณที่ตั้งเมืองสงขลาเก่า ภูเขาที่ตั้งอยู่ปากน�้ำ ทะเลสาบสงขลา-พัทลุง รูปเขาคล้ายจระเข้ เป็นที่หมาย ส�ำหรับการเดินทาง ศาลาทวดหัวเขาแดง มนุษย์ชาติมคี วามเชือ่ มาแต่สมัยโบราณ เชื่อว่าธรรมชาตินั้นจะมีทวยเทพหรือ ทวด สิงสถิตอยู่ ปฏิบัติ หน้าที่ด้านต่าง ๆ คุ้มครองและลงโทษแก่ผู้กระท�ำสิ่งที่ไม่ดีงาม และไม่ถกู ใจด้วยฉะนีท้ วดหัวเขาแดง เป็นเทพทีส่ ถิตอยูท่ หี่ วั เขา แดงปากนำ�้ เมืองสงขลาเป็นทีย่ อมรับนับถือมาแต่สมัยโบราณว่า ทวดคอยอภิบาลคุม้ ครองปัองกันรักษาความปลอดภัย ประสิทธิ์ โชคลาภนานาประการแก่เมืองสงขลา ประชาชนชาวสงขลาและ ผู้ที่เดินทางผ่านไป-มา ทั้งทางบกและทางทะเล

25


26


วิถีชุมชน...

หัวเขาแดง

27


28


ราษฎรของที่นี่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มหนาแน่น ประกอบอาชีพประมง เนื่องจากอาณาเขตทั้ง 3 ด้าน คือทิศใต้ ตะวันออก และตะวันตก ที่โอบล้อม "หัวเขาแดง" ไว้คือทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย ความสมบูรณ์ของ 2 ทะเลจึงเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชาว "หัวเขาแดง" ไว้ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

29


วิถีชีวิต...

อาชีพชาวประมง

30


ชาวประมง เล่าว่า ชาวประมงต้องออกทะเลตั้งแต่ตี 3 วิ่งเรือออกไปไกลนับ 10 กิโลเมตร กว่าจะได้

กลับเข้าฝั่งก็ 4-5 โมงเย็น ต้นทุนค่าน�้ำมันก็สูงขึ้นมาก คงเหลือรายรับจริงน้อยมาก เงินที่ได้มาใช้หมดรายวัน เงิน เก็บไม่มี ท�ำให้แต่ละครอบครัวมีหนี้สินมากขึ้น ชาวประมงขยันทุกวัน แต่รายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัว ท�ำให้ต้อง ท�ำอาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ปีก ปลูกผัก กว่าจะได้นอนพักผ่อนก็ประมาณ 4 ทุ่ม พอตี 3 ก็ต้องตื่นออกทะเล

จากค�ำบอกเล่าของชาวประมงพื้นบ้าน เราจะเห็นได้ว่า สุขภาวะของชาวประมงนั้นมีความเชื่อมโยงกับอาชีพ ที่ท�ำและความสมบูรณ์ของท้องทะเลเป็นอย่างมาก ความเสื่อมโทรมของท้องทะเลท�ำให้ชาวประมงมีชีวิตที่ยาก ล�ำบากขึน้ ฐานะทางเศรษฐกิจทีแ่ ย่ลงย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวติ โดยรวมของครอบครัวและชุมชน การสร้างสุขภาพ ให้ชาวประมงมีสขุ ภาวะทีด่ ขี นึ้ นัน้ หลีกเลีย่ งทีจ่ ะไปเกีย่ วเนือ่ งกับการฟืน้ ฟูทะเลหรือส่งเสริมการเพาะเลีย้ งชายฝัง่ อย่างหนีไม่พ้น นีค่ อื ตัวอย่างทีแ่ สดงให้เห็นถึงปรัชญาสากลทีว่ า่ “สรรพสิง่ ล้วนสัมพันธ์กนั ” ซึง่ บทบาทของการสาธารณสุข ชนบทในมิติที่กว้างเพื่อดูแลสุขภาพให้ครบทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณได้นั้น จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ บุคลากรด้านสุขภาพจะต้องขยายกรอบกระบวนทัศน์ ในการมองและแก้ปัญหาไปสู่ประเด็นด้านปากท้องและ การท�ำมาหากิน รวมทั้งการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรอันมีค่า เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยต้นทุนพื้นฐานส�ำหรับ สุขภาวะที่สมบูรณ์และยั่งยืนไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

31


ปลาตากแห้งช่วยเพิ่มรายได้ ให้แม่บ้านได้น�ำส่งต่อไปขายที่ตลาด

32


อาชีพซ่อมเรือประมง เรือประมงเสีย ช�ำรุด มีจ้างคนงานมา ซ่อมเรือประมง เพื่อให้ใช้งานได้ต่อไป 33


ศาสนา

34


ชุมชนเมืองเก่าฝั่งหัวเขาแดง เป็นชุมชน เมืองสงขลาสมัยกรุงศรีอยุธยา ดาโต๊ะโมกอลล์ เป็นผู้สร้างเมือง ชาวบ้านแถบนี้โดยมากจึง นับถือศาสนาอิสลาม เสาร์ และ อาทิตย์ จะมีการเรียนการสอนวิชา ศาสนาอิสลามเด็กๆต้องมาเรียนที่มัสยิด

35


36


มีกิจกรรมในชุมชนผู้ชายจะมาร้านน�้ำชาใน ตอนเช้า เอานกมาแขวนที่ราวเรียงกัน แล้วก็ซ้อมนก เพื่อจะไปแข่งนกที่สนามในเวลา 10.00 น. เป็นต้นไป กินนำ�้ ชาและสนทนาเรือ่ งนกกันอย่างสนุกสนาน ร้าน น�้ำชาเป็นแหล่งนัดพบส�ำหรับคนในชุมชนหัวเขาแดง พบปะ พูดคุยกัน

37


38


39


สรรพสิ่ง มองด้วยใจ มองเห็นค่า โลกจึงมี

ล้วนงาม ตามวิสัย งดงาม ตามวิถี คนงาม ด้วยความดี สิ่งสดใส ให้สวยงาม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.