เกษตรอินทรีย์สำหรับผู้บริโภค

Page 1

เกษตร อินทรีย์ สำ�หรับ

ผู้บริโภค



คำ�นำ�

คำ�นำ� หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการออกแบบสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่อง เกษตรอินทรีย์สำ�หรับผู้บริโภค แก่กลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัย บูรพา วิทยาเขตชลบุรี ในรายวิชา 602105 การวิจัยศิลปกรรมและการออกแบบ ซึ่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ “สิ่งที่ผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ควรรู้” เพื่อ เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคทุกคน โดยเนื้อหาภายในประกอบด้วย คำ�จำ�กัดความ หลักการ พื้นฐานในการผลิตเกษตรอินทรีย์ เครื่องหมายตรารับรอง และการตอบปัญหาข้อสงสัย ต่างๆให้แก่ผู้บริโภค โดยทางผู้จัดทำ�ขอขอบคุณข้อมูลมากมายที่ได้รวบรวมมาจากหนังสือ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ไม่ว่าจะเป็น ความรู้เบื้องต้นเกษตรอินทรีย์ โดย วิฑูรย์ ปัญญากุล, เกษตรอินทรีย์ โดย พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง และ เกษตรอินทรีย์ ชุด อาหารปลอดภัย โดย อภิชาต ศรีสะอาด เป็นต้น และขอความกรุณาผู้ที่สนใจหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ทุกท่าน กรอกแบบสอบถาม 2 ชุด ซึ่งผู้จัดทำ�แนบลิ้งค์เพื่อทำ�แบบสอบถามไว้แล้ว มา ณ ทีนี้ด้วย

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ปัญจพร นักธรรม ผู้จัดทำ�


แบบสอบถามชุดที่ 1


สารบัญ

เรื่อง

หน้า

คำ�จำ�กัดความเกษตรอินทรีย์ หลักการเกษตรอินทรีย์ ประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์ หลักการพื้นฐานในการผลิตเกษตรอินทรีย์ ช่องทางการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย องค์กรและหน่วยงานตรวจสอบรับรองในประเทศไทย ตอบปัญหา คลายข้อสงสัย ๐ ทำ�ไมห้ามใช้ยาฆ่าแมลงในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ๐ ทำ�ไมห้ามใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ๐ พืชไฮโดรโปนิกส์ เป็นพืชเกษตรอินทรีย์หรือไม่ ๐ ทำ�ไมห้ามใช้พืชหรือสัตว์ที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรม

02 04 07 10 14 18

(GMOs) ในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ๐ เกษตรทฤษฎีใหม่ คือระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ แบบหนึ่งใช่หรือไม่ ๐ สัญลักษณ์ Q หมายถึงอะไร บรรณานุกรม

21 22 24 26

28

29 30



คำ�จำ�กัดความเกษตรอินทรีย์

คำ�จำ�กัดความเกษตรอินทรีย์ ในประเทศไทย สำ�นักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำ�จำ�กัดความของเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า เกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture) หมายถึง ระบบจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อ หนุนต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุ ธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ได้มา จากเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetic modification) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้น การแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำ�คัญ ของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน (มกอทช., 2557) ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า เกษตรอินทรีย์เป็นเรื่อง ของกระบวนการผลิต (Production) และการแปรรูป (Processing) ผลผลิตทางการเกษตรที่ คำ�นึงถึงความยั่งยืน (Sustainability) ของสิ่งแวดล้อม

02



หลักการเกษตรอินทรีย์

หลักการเกษตรอินทรีย์

สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ได้ระดมนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่มี

ประสบการณ์ด้านเกษตรอินทรีย์โดยตรงจากทั่วโลก มานิยามหลักการเกษตรอินทรีย์ และ นำ�เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของ IFOAM เมื่อปลายปี 2548 ซึ่งที่ประชุมใหญ่ได้ลงมติรับรองหลัก การเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว โดยหลักการดังกล่าวประกอบด้วย 4 ข้อสำ�คัญ คือ สุขภาพ (Health) นิเวศวิทยา (Ecology) ความเป็นธรรม (Fairness) และการดูแลเอาใจใส่ (Care) วิฑูรย์, 2549 (อ้างใน พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง, 2559) ซึ่งอธิบายได้ดังนี้ 1) มิติด้านสุขภาพ (Health) สุขภาวะเป็นองค์รวมและปัจจัยที่สำ�คัญของสิ่งมีชีวิต การมีสุขภาพวะที่ดีไม่ใช่แค่การ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัว เองจากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญของสุขภาวะที่ดี บทบาทหน้าที่ของ เกษตรอินทรีย์ ต่างก็มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทั้ง ปวง เกษตรอินทรีย์จึ่งมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อ สนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น 2) มิติด้านนิเวศวิทยา (Ecology) เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฎจักรแห่งธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ ดังนั้นการผลิตการเกษตรจึงต้อง พึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้าง ระบบนิเวศสำ�หรับให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด

04


จึงต้องจัดการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรมและเหมาะสมกับขนาด ของฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเน้นการใช้ซ้ำ� การหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน 3) มิติด้านความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งมีชีวิตโดยรวม ความเป็นธรรมนี้รวมถึงความเท่าเทียม การเคารพ ความยุติธรรม และการมีส่วนในการปก ปักพิทักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่ ในหลักการด้านนี้ ความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในทุกระดับควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรม ทั้ง เกษตรกร คนงานผู้แปรรูป ผู้จัดจำ�หน่าย ผู้ค้าและบริโภค ทุกคนควรได้รับโอกาสในการมี คุณภาพชีวิตที่ดี ข้อนี้หมายรวมถึงการปฏิบัติต่อสัตว์ที่เลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการจัดสภาพการเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์ 4) มิติด้านการเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำ�เนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบเพื่อ ปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบัน อนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพ แวดล้อมโดยรวม

05



ประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์ เนื่องด้วยการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์นั้นมีความเคร่งครัดในทุกๆกระบวนการการ ผลิตโดยที่ต้องไม่มีการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์อื่นๆ ทำ�ให้ผลผลิตที่ได้จากเกษตร อินทรีย์นั้นมีความปลอดภัยจากสารเคมีสังเคราะห์มากกว่าวิธีการผลิตในแบบอื่นๆ แต่นอก เหนือจากนั้นแล้วประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับโดยตรงจากการบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์ ก็คือ คุณค่าทางโภชนาการของผลผลิตที่ได้จากเกษตรอินทรีย์นั้นสูงกว่าผลผลิตทั่วไป จาก งานศึกษาของ Worthington (2001) อ้างใน วิฑูรย์ ปัญญากุล (2555) ซึ่งมีการคาดการว่าน่า จะเกิดจาก 2 ปัจจัยสำ�คัญ คือ (1) การปรับปรุงบำ�รุงดินในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทำ�ให้พืชเกษตรอินทรีย์มีระบบเม ตาโบลิซึ่มที่ดีกว่า ส่งผลให้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์มีวิตามินซี ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และ ฟอสฟอรัสที่สูงกว่าผลผลิตที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งมีไนเตรทและโลหะหนักตกค้างน้อย กว่า (ไนเตรทเป็นสารพิษที่อันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค) และในขณะเดียวกัน ปริมาณโปรตีน ในผลผลิตเกษตรอินทรีย์ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำ�คัญกับผลผลิตทั่วไป (2) ผลผลิตเกษตรอินทรีย์มีปริมาณน้ำ�ในผลผลิตต่ำ�กว่า (เฉลี่ย 20%) ซึ่งทำ�ให้มวลแห้ง (dry matter) สูงกว่าผลผลิตทั่วไป ส่งผลให้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารต่างๆ ในสัดส่วนที่มากกว่าผลผลิตทั่วไป

07


ประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์ อีกประโยชน์ที่สำ�คัญของผลผลิตเกษตรอินทรีย์คือ การช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ทั้งสารฟีโนลิค (phenolic) และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant compounds) ที่พบได้ใน อาหารเกษตรอินทรีย์มากกว่าอาหารทั่วไป *จากการศึกษาของ Asami, Hong, Barrett, and Mitchell 2003 และของ Cummins 2003 อ้างใน วิฑูรย์ ปัญญากุล (2555) - - - -

ลดก๊าซเรือนกระจก ประหยัดพลังงาน เพิ่มการจ้างงานในชุมชน ฟื้นฟูระบบนิเวศ

08



หลักการพื้นฐานในการผลิตเกษตรอินทรีย์

หลักการพื้นฐานในการผลิตเกษตรอินทรีย์ หลักการพื้นฐานในการผลิตพืชอินทรีย์ มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของ ประเทศไทย มีประเด็นหลักสำ�คัญดังนี้ ๐ ที่ดินต้องไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำ�กว่ามาตรฐานกำ�หนด ๐ พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารสังเคราะห์ตกค้าง ๐ ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต ๐ ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์ ๐ ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม (GMOs) ๐ ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน ๐ ปัจจัยการผลิตภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ๐ กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์ ๐ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีภาพและรักษาสภาพแวดล้อม ๐ ต้องได้รับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการ การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ หมายถึงระบบการจัดการปศุสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ กลมกลืนระหว่างผืนดิน พืช สัตว์ที่เหมาะสม เป็นไปตามความต้องการทางสรีรวิทยาและ พฤติกรรมสัตว์ ที่ทำ�ให้เกิดความเครียดต่อสัตว์น้อยที่สุด ส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดี เน้น การป้องกันโรค โดยการจัดการฟาร์มที่ดี หลีกเลี่ยงกรใช้ยาและสารเคมี ซึ่งจินตนาและคณะ (2549) ได้อธิบายถึงหลักการพื้นฐานปศุสัตว์อินทรีย์ไว้ดังนี้

10


1.พื้นที่การเลี้ยงสัตว์ ผู้ผลิตจะต้องพัฒนาไปสู่ระบบเกษตรผสมผสานที่มีความ หลากหลายของชนิดพืชและชนิดสัตว์ เพื่อหมุนเวียนใช้อินทรียวัตถุให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่เหลือทิ้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม พึ่งพาตนเองภายในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง เช่น การ ปลูกพืชเป็นอาหารคน และอาหารสัตว์ หรือนำ�ผลพลอยได้จากการปลูกพืชมาเลี้ยงสัตว์ฟื้นฟู และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและคุณภาพน้ำ�ด้วยอินทรียฟวัตถุและรักษาความสมดุล ของระบบนิเวศในฟาร์มและความสมดุลของระบบนิเวศโดยรวม ด้วยการมมีแหล่งที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า เช่น แนวพุ่มไม้ รั้วกันชน สระน้ำ� หญ้าธรรมชาติหลากหลายชนิด เพื่อให้ ธรรมชาติบำ�บัดกันเองเป็นห่วงโซ่อาหาร หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่ทำ�ให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม 2.ปศุสัตว์อินทรีย์ ต้องมีส่วนช่วยปรับปรุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น การเลี้ยงโค-กระบือจะช่วยกำ�จัดวัชพืชด้วยการแทะเล็ม เพิ่มและเกื้อหนุนความหลากหลาย ทางชีวภาพและระบบนิเวศ และเพิ่มความหลากหลายของระบบการเกษตร 3.การผลิตปศุสัตว์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศเกษตรทั้งทางกายภาพและชีวภาพ สัตว์กินพืชต้องมีแปลงหญ้าสำ�หรับแทะเล็ม และสัตว์ต้องมีพื้นที่กลางแจ้งสำ�หรับออกกำ�ลัง ตามความเหมาะสมต่อสุขภาพ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศ หรือเป็นไปตามระบบการจัดการ ฟาร์มตามประเพณีหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีการจัดการสวัสดิภาพสัตว์อย่างเหมาะสม 4.ความหนาแน่นของการเลี้ยงที่เหมาะสม ตามชนิดของสัตว์ แหล่งอาหาร สุขภาพ สัตว์ที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาหารสัตว์อินทรีย์ต้องมีปริมาณและคุณภาพของโภชนา เพียงพอต่อสัตว์และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

11


หลักการพื้นฐานในการผลิตเกษตรอินทรีย์ 5.การขยายพันธุ์ โดยวิธีธรรมชาติ ลดความเครียดต่อสัตว์น้อยที่สุด เพื่อป้องกัน โรค หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเคมี และผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ยกเว้นนมเป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ และจัดการที่จะต้องคำ�นึงถึงสุขอนามัย

12



ช่องทางการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย

ช่องทางการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย โครงสร้างของตลาดเกษตรอินทรีย์ไทยมีช่องทางการกระจายสินค้าหลายรูปแบบ ช่องทางตลาดที่สำ�คัญ คือ วิฑูรย์ (2549) (ก) การตลาดระบบสมาชิก เป็นรูปแบบตลาดที่เก่าแก่ที่สุดในขบวนการเกษตรอินทรีย์ ที่เชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค เช่น ระบบ TEIKEI ในประเทศญี่ปุ่น หรือระบบ Community Support Agriculture (CSA) และระบบ BOX ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ระบบตลาดนี้มีหลัก การพื้นฐานว่า ผู้บริโภคจะชำ�ระเงินล่วงหน้าให้กับเกษตรกร หลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตจะ ถูกจัดส่งไป ณ จุดกระจายขนาดย่อยตามที่ตกลง แล้วสมาชิกผู้บริโภคที่อยู่ในละแวกใกล้ เคียงจะเป็นผู้มารับผลผลิตด้วยตัวเอง การตลาดระบบนี้ เกษตรกรจะมีหลักประกันทาง เศรษฐกิจ และมีโอกาสในการสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค ส่วนผู้บริโภคเองก็สามารถไปเยี่ยม เยือนฟาร์มเกษตรกร เพื่อดูการผลิตหรือช่วยเกษตรกรทำ�งานในฟาร์มได้ การตลาดระบบนี้มีผลดีในแง่ของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างเกษตรผู้ผลิตและ ผู้บริโภค แต่ข้อจำ�กัดก็คือ เกษตรกรต้องมีฟาร์มที่อยู่ไม่ห่างจากเมืองใหญ่มากนัก และ จำ�เป็นต้องมีรถยนต์สำ�หรับใช้ในการขนส่งเอง นอกจากนี้ การตลาดระบบสมาชิกใช้ได้กับ ฟาร์มที่ปลูกผักเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก (แต่อาจมีผลผลิตอื่นๆร่วมด้วย เช่น ข้าว ไม้ผล ไข่ ไก่) ในขณะที่เกษตรกรอินทรีย์ที่ผลิตข้าว ธัญพืช หรืออาหารแปรรูป จะไม่สามารถใช้การ ตลาดระบบนี้ได้ ในประเทศไทย มีกลุ่มผู้ผลิตไม่กี่กลุ่มที่จัดการตลาดในระบบนี้ เช่น ชมรม ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ (สุพรรณบุรี) กลุ่มเกษตรอินทรีย์อำ�เภอสนามชัยเขต (ฉะเชิงเทรา) กลุ่มเยาวชนเกษตรอินทรีย์แม่ทา (เชียงใหม่)

14


(ข) ตลาดนัด ตลาดนัดส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องถิ่นหรือหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด โดยส่วนมากมักจัดใน สถานที่ที่มีผู้บริโภคอยู่หนาแน่น เช่น โรงพยาบาล ในเขตสถานที่ราชการ หรืออาจเป็นที่ว่าง ที่ผู้บริโภคสะดวกในการมาหาซื้อผลผลิต ตลาดนี้มักจะเปิดเฉพาะวันที่แน่นอน แต่ไม่เปิดทุก วัน เช่น ทุกวันศุกร์ หรือวันเสาร์ โดยมากจะเปิดขายเพียงครึ่งวัน หรืออาจนานทั้งวันเลย ก็ได้ โดยผู้ผลิตต้องมีมาจากหลากหลายกลุ่ม เพื่อจะได้มีผลผลิตที่หลากหลายมาจำ�หน่าย ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยที่น่าสนใจ คือ ที่ กาดนัดเกษตรอินทรีย์ ที่ ตลาดเจเจ เชียงใหม่, ตลาดเขียว สุรินทร์, ตลาดเขียว ยโสธร เป็นต้น (ค) การตลาดเฉพาะช่องทาง เป็นการตลาดที่ดำ�เนินการโดยผู้ประกอบการที่มีนโยบายในด้านการเกษตรอินทรีย์ อาหาร สุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน สามารถดำ�เนินการได้หลายรูปแบบ เช่น ร้าน ขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรือซูเปอร์มาเก็ตเกษตรอินทรีย์ การตลาดใน ลักษณะนี้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่าการตลาดระบบสมาชิก และมีผลผลิตที่หลาก หลายจากเกษตรกรที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเฉพาะทาง รวมทั้งอาจมีการแปรรูป ผลิตภัณฑ์แบบง่ายๆมากกว่าด้วย ตัวอย่างของการตลาดเฉพาะทางในประเทศไทย คือ ร้านนาวิลิต ร้านเลม่อนฟาร์ม ร้านไทสบาย เป็นต้น

15


ช่องทางการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย (ง) การตลาดทั่วไป ในหลายประเทศที่ตลาดเกษตรอินทรีย์ได้พัฒนาไประดับหนึ่ง จะพบว่าช่องทางการจำ�หน่าย ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จะขยายไปสู่ระบบตลาดทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโมเดิร์นเทรด ที่เป็นซูเปอร์มาเก็ตและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่อความต้องการ ผลิตภัณฑ์เริ่มขยายตัวอย่างชัดเจน ผู้ประกอบการค้าปลีกในตลาดทั่วไปย่อมเห็นโอกาสใน ทางการค้า และปรับตัวเพื่อดึงส่วนแบ่งทางการตลาด และสร้างภาพพจน์ให้กับหน่วยงาน ของตน การเขามาของตลาดประเภทนี้จะทำ�ให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดมากขึ้น โดย เฉพาะการเริ่มกาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งจากภายในประเทศหรือต่างประเทศ รวมไปถึงการ แข่งขันทางราคาด้วย ในประเทศไทย Tops Supermarket, Emporium, Villa Market, และ Siam Paragon เป็นต้น

16



องค์กรและหน่วยงานตรวจสอบรับรองในประเทศไทย

องค์กรและหน่วยงานตรวจสอบรับรองในประเทศไทย องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบรับรองในประเทศไทย ซึ่งวิฑูรย์ (2549) ได้สรุปมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไว้ ดังนี้ 1) สำ�นักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นหน่วยงานระดับกรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยมีภารกิจหลักในการผลักดัน มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรแปรรูป และอาหาร นอกจากนี้หน้าที่ของ มกอช. ยังครอบคลุมไปถึงการกำ�หนดมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค รวมทั้งรับผิดชอบในการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการค้า เชิงเทคนิค และยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทยให้สามารถแข่งขัน ในเวทีระดับโลก โดยผู้ที่ได้รับมาตรฐาน มกอช. ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น มาตรฐาน มกษ.9000 เล่ม 1 (G)-2557 สำ�หรับพืชจะได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ “Organic Thailand” อย่างไรก็ตาม มกอช. ไม่ได้มีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการให้บริการตรวจสอบ รับรองเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งมาตรฐานที่ มกอช. ได้กำ�หนดขึ้นก็ยังไม่ได้รับการยอมรับจาก ประเทศที่สำ�คัญที่เป็นผู้นำ�เข้าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์แต่อย่างใด 2) สำ�นักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) สำ�นักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ก่อตั้งขึ้นโดยองค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการหน่วย งานรัฐ องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายร้านค้าสีเขียว เพื่อทำ�หน้าที่เป็นองค์กรอิสระ ได้ดำ�เนิน งานเป็นองค์กรรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งแรกในประเทศไทย

18


การตรวจสอบรับรองของ มกท. ได้รับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM จาก IOAS ตั้งแต่ ปลายปี พ.ศ.2544 ทำ�ให้การตรวจสอบรับรองของ มกท. ได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน จำ�นวนมากทั่วโลก ตั้งแต่หน่วยงานกว่า 30 แห่งทั่วโลกที่เป็นสมาชิกของ ACBs และหน่วย งานรับรองเกษตรอินทรีย์อื่น นอกจากนี้ มกท.ยังได้รับการยอมรับจากสหภาพยุโรป ในฐานะ หน่วยตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์ตามระเบียบของสหภาพยุโรป 2092/91 และทำ�ให้ผู้ ผลิตผู้ประกอบการที่ได้รับการตรวจรับรองโดย มกท. สามารถส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ไป จำ�หน่ายในยุโรปได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ตราสัญลักษณ์

หน่วยงานรับรอง

ชื่อ และคำ�อธิบาย

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“Organic Thailand”

“Organic standard” ได้รับ สำ�นักงานมาตรฐานเกษตร การรับรองระบบงานเกษตร อินทรีย์ (มกท.) อินทรีย์ IFOAM

19



ทำ�ไมห้ามใช้ยาฆ่าแมลงในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ในประเทศไทย ปัญหาสารเคมีกำ�จัดศัตรูพืชที่ตกค้างในห่วงโซ่อาหารเริ่มได้รับ ความสนใจมาตั้งแต่ประมาณเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้สารเคมี การเกษตรเฉลี่ยประมาณ 1.28 กิโลกรัม/คน/ปี (วิฑูรย์ ปัญญากุล 2549) ในการใช้สารเคมี เหล่านี้เกษตรกรมักจะไม่ได้มีการป้องกันตัวเองอย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำ�ไมเกษตรกรที่ใช้สารเคมีอยู่เป็นประจำ�จึงมักมีปัญหาสุขภาพเรื้องรังตลอดเวลา สำ�หรับ ผู้บริโภค แม้ว่าทางหน่วยงานราชการจะได้กำ�หนดค่ามาตรฐานความปลอดภัยของสารเคมี การเกษตรที่ตกค้างในอาหารไว้ (ที่มักเรียกกันว่า Maximum Residue Limit หรือ MRL ) แต่ก็ ยังมีการวิจารณ์ว่า ค่ามาตรฐานดังกล่าวปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริงหรือ เพราะค่ามาตรฐาน ความปลอดภัยนี้กำ�หนดเป็นปริมาณสารเคมีสูงสุดของสารแต่ละชนิดที่ยินยอมให้มีตกค้าง ในอาหาร โดยเชื่อว่าผู้บริโภคสามารถบริโภคสารตกค้างนี้ได้ทุกวันตอดช่วงชีวิตโดยไม่มี อันตราย แต่ข้อวิจารณ์ที่สำ�คัญคือ ค่าความปลอดภัยนี้พิจารณาเฉพาะพิษเฉียบพลันของสาร เคมีแต่ไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบระยะยาวจากการสะสมของสารเคมีในร่างกาย ซึ่งสารเคมี จำ�นวนมากมีผลต่อสุขภาพได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ ระบบประสาท การ เปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutagen), การเปลี่ยนแปลงของเซลล์สืบพันธุ์ (teratogenic) ซึ่งทำ�ให้ ลูกที่คลอดออกมามีร่างกายผิดปกติ หรือสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้บริโภคได้รับ สารเคมีหลายชนิดร่วมกัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่สารเคมีเหล่านี้อาจมีผลการเสริมฤทธิ์กันได้

21


ตอบปัญหา คลายข้อสงสัย

ทำ�ไมห้ามใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี นักวิชาการหลายคนพยายามโต้แย้งว่าปลอดภัยต้องผู้บริโภค แต่ในความ เป็นจริงก็คือ ปุ๋ยเคมีอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภคทั้งทางตรงและทาอ้อมได้เช่นกัน โดยผลกระทบทางตรงก็คือ การตกค้างของธาตุอาหาร โดยเฉพาะธาตุอาหารไนโตรเจน ใน ผลผลิตการเกษตร ในรูปแบบของสารไนเตรท ซึ่งเกิดจากการใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากเกินไป ซึ่งนอกจากจะพบในผลผลิตการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผักสดแล้ว อาจพบสารไนเตรทใน แหล่งน้ำ�ใต้ดินได้ด้วย เพราะเมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมี (ไนโตรเจน) มากเกินไป ปุ๋ยเคมีบางส่วนจะ ถูกชะล้างลงในดินชั้นล่าง ไปสะสมอยู่ในแหล่งน้ำ�ใต้ดิน สารไนเตรทนี้อันตรายต่อเด็กอ่อน เพราะสารไนเตรทจะเข้าจับกับฮีโมโกลบินใน เม็ดเลือดแดง ทำ�ให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถนำ�ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ ส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน จนมีลักษณะของอาการ “ตัวเขียว” ซึ่งอาการเหล่านี้จะพบ ในเด็กทารกเท่านั้น นอกจากนี้สารไนเตรทยังเป็นสารกระตุ้นให้เกิดมะเร็งด้วย ดังนั้น การ บริโภคอาหารที่มีสารไนเตรทตกค้างจึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค

22



ตอบปัญหา คลายข้อสงสัย

พืชไฮโดรโปนิกส์ เป็นพืชเกษตรอินทรีย์หรือไม่ การปลูกพืชไร้ดิน หรือ พืชไฮโดรโปนิกส์ เป็นรูปแบบการปลูกพืชชนิดหนึ่งเท่านั้น โดยเป็นทดลองการเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน แต่ไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก พืชสามารถเจริญ เติบโตได้โดยการดูดซึมธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ� ซึ่งสัมผัสอยู่กับรากโดยตรงตลอดเวลา ในเวลาต่อจึงขยายการผลิตเป็นเชิงพานิชย์ ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร ธรรมศักดิ์ ทอง เกตุ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร วิทยาเขตกำ�แพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อ้าง จาก ธิษณา จรรยาชัยเลิศ, 2559) ได้อธิบายว่า “พืชเจริญเติบโตอยู่ในดินได้เพราะรากพืชได้ รับสิ่งที่จำ�เป็นต่อกรดำ�รงชีวิต 4 ประการ ได้แก่ พื้นที่ให้รากยึดเกาะเพื่อทรงต้นขึ้นเหนือดิน น้ำ� แร่ธาตุอาหาร สุดท้ายคือออกซิเจนหรืออากาศที่รากใช้หายใจ เมื่อรู้ดังนี้หากสามารถ หาสิ่งจำ�เป็น 4 ประการให้รากพืชได้ก็สามารถปลูกพืชด้วยสิ่งรองรับใดๆ ก็ได้โดยไม่ต้องพึ่ง ดิน การปลูกพืชด้วยวิธีนี้ ผู้ปลูกจะเป็นผู้กำ�หนดปริมาณน้ำ�และธาตุอาหารที่พืชได้รับเพื่อ ใช้ในการเจริญเติบ โดยเตรียมแร่ธาตุอาหารที่มีลักษณะเป็นผง ละลายน้ำ�ให้ได้สารละลาย ทีมี่แร่ธาตุอาหารชนิดเดียวกับที่พืชต้องการจากดิน ต่างกันพียงแร่ธาตุอาหารที่ละลายอยู่ใน สารละลายนี้มีลักษณะเป็นรูปแบบประจุ รากพืชสามารถดูดซึมแร่ธาตุอาหารได้ทันทีไม่ต้อง รอให้จุลินทรีย์ในดินย่อยสลาย จึงใช้เวลาในการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่า ได้ปริมาณผลผลิต ที่แน่นอนกว่าการปลูกพืชแบบใช้ดิน” ถึงแม้ผลผลิตในกระบวนการไฮโดรโปนิกส์จะได้การ รับรองว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภค

24


แต่ยังคงมีข้อกังขาว่าแร่ธาตุที่พืชให้ในการเจริญเติบโตตลอดช่วงอายุของพืชนั้นล้วน เป็นแร่ธาตุสังเคราะห์ที่ละลายอยู่ในน้ำ� ซึ่งมีสารสังเคราะห์ที่อันตรายต่อมนุษย์บางชนิด คือ สารไนเตรท ที่เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ในกรณีที่ผู้มีปฏิกิริยาไวต่อสารเคมนี้ อาจ เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ตัวเขียว หากไม่เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำ�ให้เสียชีวิต ได้ อย่างไรก็ตามผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ ได้อธิบายเสริมซึ่งสามารถสรุป ได้ว่า ในช่วงการพัฒนาลำ�ต้นของพืชผัก จะมีการสะสมของสารไนเตรทค่อนข้างสูง ตราบ ใดที่ไม่เก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนกำ�หนดนั้น จึงไม่มีทางที่จะได้รับสารไนเตรทในปริมาตรสูง เนื่องจากระบบการผลิตพืชไฮโดรโปนิกส์ จะมีช่วงงดการให้ธาตุอาหารก่อนเก็บเกี่ยวเป็น เวลา 1-2 วัน เพื่อลดระดับการสะสมของธาตุอาหารที่เป็นพิษต่อผู้บริโภค ดังนั้นพืชไฮโดรโป นิกส์ที่เป็นระบบการผลิตพืชชนิดหนึ่ง หากพิจารณาด้านกระบวนการผลิตจะพบว่าพืชไฮโดร โปนิกส์นั้นไม่ใช่พืชที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบเกษตรอินทรีย์เนื่องด้วยหลักการสำ�คัญของเกษตร อินทรีย์นั้นคือ ตลอดกระบวนการเจริญเติบโตของพืชนั้นต้องไม่มีการใช้สารสังเคราะห์ทุก ชนิด ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีหรือฮอร์โมนเร่งผลผลิต แต่พืชไฮโดรโปรนิกส์นั้นอาศัยธาตุอาหาร สังเคราะห์ในการเจริญเติบโตเป็นหลัก จึงไม่จัดเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์

25


ตอบปัญหา คลายข้อสงสัย

ทำ�ไมห้ามใช้พืชหรือสัตว์ที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) ในการ ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์นอกจากยังเน้นเรื่องทุกกระบวนการผลิตต้องปราศจาก สารเคมีแล้ว การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ยังต้องรักษาสมดุลของระบบนิเวศในแต่ละท้อง ถิ่นด้วย ดังนั้นพืชหรือสัตว์ที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรมซึ่งเป็นพืชที่ไม่ได้มีอยู่ในธรรมชาติ ตั้งแต่เดิม เป็นพืชที่ไม่ได้อยู่ในระบบนิเวศ ซ้ำ�ยังมีความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับด้านความ ปลอดภัยในการบริโภคหรือแม้แต่การนำ�เข้าของพืชตัดต่อพันธุกรรมมาปลูกอย่างจงใจใน ระบบนิเวศอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของพืชท้องถิ่นหรือไม่ ความกังวลในสารพิษบางชนิด ที่ปราบศัตรูพืช เช่นสารพิษจากแบคทีเรีย GMOs บางชนิดอาจจะมีผลกระทบต่อแมลงที่มี ประโยชน์ชนิดอื่นๆ

26



ตอบปัญหา คลายข้อสงสัย

เกษตรทฤษฎีใหม่ คือระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์แบบหนึ่งใช่หรือไม่ เกษตรทฤษฎีใหม่ คือ แนวทางแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่ได้ รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและผลผลิตตกต่ำ� โดยเป็นแนวพระราชดำ�ริของ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานให้กับประชาชนคนไทย เป็นการแบ่งพื้นที่การเกษตรเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนในสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ซึ่งส่วนแรกคือ ขุดสระน้ำ� 30% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่ สองคือ ปลูกข้าว 30% ของพื้นเพราะข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย ส่วนที่สามคือ ปลูก ไม้ยืนต้น เพื่อสร้างรายได้แก่ครัวเรือน ส่วนสุดท้ายในส่วนที่สี่คือ สร้างสิ่งปลูกสร้างที่สำ�คัญ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ จำ�นวน 10% ของพื้นที่ ทั้งนี้พื้นที่ต่างๆสามารถปรับลด ได้ตามความเหมาะสม ในขั้นตอนทั้งหมดนี้คือ เพื่อให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง พึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด จากทรัพยากรที่ตนเองมี ดังนั้นจากคำ�อธิบายข้างต้นเกษตร ทฤษฎีใหม่จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์แต่อย่างใด

28


สัญลักษณ์ Q หมายถึงอะไร สัญลักษณ์ Q (Q mark) เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและระบบการผลิต สินค้าเกษตรกร ซึ่งมีระบบจัดรหัสประกอบเครื่องหมาย เพื่อสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ หากเกิดการปลอมแปลงใบรับรองหรือคุณภาพสินค้าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยการรับรอง มาตรฐานของเครื่องหมาย Q นั้นแบ่งเป็นการับรองคุณภาพสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finished Product) และการรับรองคุณภาพกระบวนการผลิตในระบบต่างๆเช่น การปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดี หรือการปฏิบัติทางประมงที่ดี (Good Agricultural : GAP) เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture : Organic) การปฏิบัติที่ดี หรือ หลักเกณฑ์การปฏิบัติด้านสุขลักษณะ หรือ หลักการปฏิบัติ : หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (Good Manufactural Practice : GMP) ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางในการนำ� ไปใช้ (Hazard Analysis Critical Control Point : HACCP) ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรหัสด้าน ล่างเครื่องหมาย Q โดยในการรับรองระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ใช้รหัสย่อว่า Organic และ รหัสมาตรฐานรับรองคุณภาพของสินค้าอินทรีย์ เช่น มกษ. 9000 เล่ม 1เป็นต้น อย่างไรก็ดี เครื่องหมาย Q นั้นไม่ได้มีหน้าที่รับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยตรง อีกทั้งเครื่องหมายนี้ ยัง ไม่ได้รับการรับรองจากองค์กรเกษตรอินทรีย์ที่เป็นสากลจึงทำ�ให้ความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ ภายในประเทศเท่านั้น

29


บรรณานุกรม

แบบสอบถามชุดที่ 2

30


- วิฑูรย์ ปัญญากุล, และชัยวัฒน์ คงสม. (2558). ข้อมูลสถานการณ์การผลิตและการตลาด สินค้าอินทรีย์ โดยศูนย์พัฒนาเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและมูลนิธิ สายใยแผ่นดิน. ค้นหาเมื่อ 29 มิถุนายน 2559, จาก http://www.greennet.or.th/library/ book/1839 - สรชัย พิศาลบุตร, เสาวรส ใหญ่สว่าง, และปรีชา อัศวเดชานุกร. (2552). การสร้างและ ประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร; วิทยพัฒน์. - บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำ�หรับการ วิจัย (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร; ศรีอนันต์การพิมพ์. - จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). Desktop publishing สู่ e-book เพื่อส่งเสริมการใฝ่รู้ของผู้เรียน ยุคดิจิตอล. กรุงเทพมหานคร; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. - วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2555). ความรู้เบื้องต้นเกษตรอินทรีย์ (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทมหานคร; สุภา. - อภิชาต ศรีสะอาด. (2549). เกษตรอินทรีย์ ชุด อาหารปลอดภัย. สมุทรสาคร; ดอกคูน. - พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง. (2559). เกษตรอินทรีย์ .กรุงเทพมหานคร; โอเดียนสโตร์. - ธิษณา จรรยาชัยเลิศ. (2559). ตอบทุกปัญหาคาใจไฮโดรโปนิกส์ VS ออร์แกนิก. ชีวจิต, 18, 32-34.

31


บรรณานุกรม - ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553). การออกแบบหนังสือ. ใน ปิยะบุตร สุทธิดารา(บรรณาธิการ). หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์: Graphic design principle (หน้า297298). นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์. - ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2553). สีทางการพิมพ์. ใน จุไรรัตน์ แสนใจรักษ์(บรรณาธิการ). @design : หลักการออกแบบศิลปะ Principles of Design (หน้า181-193). กรุงเทพมหานคร: ไว้ลาย. - ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2553). หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์. ใน จุไรรัตน์ แสนใจ รักษ์(บรรณาธิการ). @design : หลักการออกแบบศิลปะ Principles of Design (หน้า92-165). กรุงเทพมหานคร: ไว้ลาย.

32


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.