เพาะครู ๐๑

Page 1



รู้จักกองทุนฯ

รู้ไว้ ใช่ว่า...

ห้องเรียนคุณครู

๑๐

วิชาสังคมศึกษา

ครูทำ�จากธรรมครู

๑๖

๒๔

เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก

๒ กล้าแรก ๖ ครูธรรม...คำ�ครู ๘ จิตจับใจ ๑๒ ครูผู้สร้างโลก ๑๙ รู้จักคุณครู ๒๖ คือความงอกงาม

๓๒

คณะทำ�งานจุลสารเพาะครู

ที่ปรึกษา ครูอ้อน- บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์, ครูใหม่- นัยฤดี สุวรรณาภินันท์, พ่อเอนก ปิ่นวนิชย์กุล, แม่เจี๊ยบ- กังสดาล ทองคำ� บรรณาธิการ ครูนีโม่- อุษณีย์ ปุณโณปกรณ์ กองบรรณาธิการ แม่สาว- วรวสี ก้องสมุทร, แม่แจน- ปนิดา อติพญากุล, แม่วง- สุวรรณา ตั้งเจตนาพร, ครูหยก- วรรณวนัช บูรพาเดชะ, ครูปู- ณัฐนันท์ เทียนทอง ศิลปกรรม บริษัท ดร็อปคิก ดีไซน์ จำ�กัด ภาพปก กัษมา เรืองงาม

จัดทำ�โดย

กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี ๑๐๒๓/๔๖ ซอยปรีดีพนมยงค์ ๔๑ ถนนสุขุมวิท ๗๑ คลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์: ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ โทรสาร: ๐ ๒๓๙๑ ๗๔๓๓ อีเมล : info@thawsischool.com เว็บไซต์ : www.thawsischool.com

ดำ�เนินการพิมพ์โดย

บริษัท คิว พริ้นท์ แมแนจเม้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์: ๐ ๒๘๐๐ ๒๒๙๒


กล้าแรก

ผู้หญิง...ผู้ปลูกต้นไม้


สองมือของผู้หญิงคนหนึ่งค่อยๆ หยิบบัวรดน้ำ� บรรจงรดลงไปบนโคนกล้าไม้ที่เธอเพิ่งปลูก นีย่ อ่ มไม่ใช่ตน้ ไม้ตน้ แรกของเธอ อันทีจ่ ริงเธอเคย ปลูกมาแล้วต้นหนึ่ง แต่ต้นนี้มีความแตกต่างออกไป เป็นต้นที่ตั้งใจปลูกที่หน้าบ้าน ด้วยความเชื่อมั่น ว่า ต้นไม้ต้นนี้จะเป็นต้นไม้ที่ดีงาม หยั่งรากลงดินเป็น ฐานอันมั่นคงแข็งแรง แตกกิ่งก้านใบออกไปให้ร่มเงา แก่ผู้คนในละแวก ครั้นเมื่อเวลาผ่านไป หลายร้อน หลากฝน ผ่าน พ้นหนาว... “พี่ครับ ต้นไม้หน้าบ้านของพี่สวยจังครับ ผม อยากให้ลูกๆ มาช่วยหัดรดน้ำ� พรวนดิน และผมก็จะ ช่วยแต่งกิ่งให้เป็นรูปเป็นทรงด้วย” “น้องจ๊ะ พี่ขอใบกับลูกมันสักหน่อยจะได้ไหม พี่จะเอาไปใส่เครื่องยาไทยพอกดับพิษไข้จ้ะ” “คุณยายครับ วันเสาร์นี้วันเกิดผม คุณแม่จะจัด งานให้ แต่ที่บ้านไม่มีที่เลย ผมขอมาจัดใต้ต้นไม้ของ คุณยายได้ไหมครับ” “คุณน้าครับ ใต้ต้นไม้นี้ร่มรื่นดีจัง ผมจะต่อเก้าอี้ ไม้มาให้คณ ุ น้าไว้นงั่ เล่นตอนเย็นๆ เผือ่ คุณแม่ผมจะมา นั่งคุยด้วย ดีไหมครับ” “คุณป้าคะ หนูกำ�ลังจะทำ�รายงานเรื่องต้นไม้ใน ชุมชนส่งอาจารย์ ขอหนูมาถ่ายรูปต้นไม้หน้าบ้านคุณ ป้าไปประกอบรายงานได้ไหมคะ” “คุ ณ ครั บ ผมจะขอตอนกิ่งต้นไม้หน้าบ้านไป หน่อยจะได้ไหม มันงามดีจัง ผมจะลองไปปลูกที่บ้าน ผมบ้าง”

ทั้งหมดนี้ เกินความคาดคิดของเธอ เพราะเมื่อ แรกเริ่ม ที่เ ธอลงมื อ ปลู ก ต้ น ไม้ ต้น นี้ เธอไม่ได้คาดหวังใดๆ ทั้งสิ้นว่ามันจะเป็นต้นไม้ที่มี อนาคตไกลเช่นนี้ เธอเพียงตัง้ ใจปลูก รดน�ำ้ พรวนดิน เพื่อ ให้มันเป็นต้นไม้ที่ดีต้นหนึ่งเท่าที่มันจะเป็นได้ แม้ว่า บางครั้งตอนยังเป็นต้นเล็กๆ มันก็มีโอนเอนไปบ้าง ยามพายุแรง จนเธอแอบคิดว่ามันอาจจะหักโค่นไป หรือไม่ แต่หลังฝนซาฟ้าสงบ มันก็คงยืนหยัดอยู่ที่เดิม อย่างน่าภาคภูมิใจ และหลายปีต่อมามันแข็งแรงจน เธอสังเกตเห็นว่ามีนกเล็กๆ หลายคู่มาทำ�รังบนกิ่งไม้ และบางกิง่ ทีถ่ กู ชำ�ไปปลูกในทีอ่ นื่ ๆ ก็เริม่ เติบโตงอกงาม เช่นเดียวกัน กล้าแห่งความดี ความงาม และความจริงได้ กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่น่าทึ่ง ดึงดูดผู้คนในละแวก ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง และผู้ชาย ให้มาเชื่อมโยงกัน จนเกิดความผูกพัน และร่วมกันสร้างประโยชน์ให้ขยาย ออกไปในวงกว้าง ทั้งหมดนี้ เธอเรียกมันว่า กัลยาณมิตร บทความนี้เขียนโดย ครูใหม่- นัยฤดี สุวรรณาภินันท์ หัวหน้า ฝ่ายวิชาชีวติ ครู โรงเรียนทอสี ผูซ้ งึ่ เป็นหนึง่ ในผูร้ ว่ มก่อตัง้ กองทุน พัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสีขึ้น ครูอ้อนหวังว่าเมื่อท่านได้ อ่านบทความนี้แล้ว คงจะพอเห็นภาพว่ากองทุนนี้มีที่มาอย่างไร และมีขนึ้ เพือ่ อะไร และหวังว่าทุกท่านคงจะเห็นประโยชน์ คุณค่า และร่วมกันสนับสนุนกองทุนนี้ให้มั่นคง แข็งแรง แตกกิ่งก้านใบ ให้ร่มเงาแก่ผู้มีอาชีพครู... ตราบนานเท่านาน ครูอ้อน– บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ ผู้อำ�นวยการโรงเรียนทอสี


รู้จักกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี

เจตจำ � นงของกองทุ น พั ฒ นาครู วิ ถี พุ ท ธ โรงเรียนทอสี พัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงระยะยาวให้แก่บุคลากรครูใน ระบบการศึกษาวิถีพุทธที่มีคุณภาพและจริยธรรมที่ดีงาม เพื่อถ่ายทอด ให้เด็กนักเรียนอันเป็นกำ�ลังสำ�คัญของประเทศชาติในอนาคต สนับสนุนการค้นคว้าพัฒนาระบบการศึกษาตามปรัชญาการศึกษา วิถีพุทธ เพื่อสามารถยังประโยชน์สูงสุดแก่เด็กนักเรียนและการศึกษา ของชาติ สร้างต้นแบบความร่ วมมื อทางด้ า นการพั ฒ นาระบบการศึ กษาโดย อาศัยการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนและหน่วยงานต่างๆ จากสังคม ภายนอก กระตุ้ น ให้ สั ง คมภายนอกเห็ น ความสำ � คั ญ ของครู แ ละได้ มี ส่ ว นร่ ว ม ในการยกระดับอาชีพครูอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยนำ�บุคลากรที่มี คุณภาพเข้าสู่อาชีพครูมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาระบบการศึกษา ที่มีผลโดยตรงต่อสังคมในอนาคตอย่างมีนัยสำ�คัญ


พันธกิจของกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี แบ่งเป็น ๓ ระยะ

ระยะยาว

ระยะกลาง ระยะสั้น สร้างเสริมสวัสดิการครู

การยกระดับมาตรฐานรายได้ รวมของครู โครงการเงินออมครู โครงการเงินกู้ฉุกเฉินครู โครงการต่างๆ ที่ส่งผลต่อการ ยกระดั บ มาตรฐานคุ ณ ภาพ ชีวิตครูโดยตรง

พัฒนาวิชาชีพครู

การจั ด ซื้ อ สิ่ ง อำ � นวยความ สะดวกเพื่ อ ประโยชน์ ต่ อ การ พัฒนาระบบการศึกษาวิถีพุทธ ทุ น การศึ ก ษาเพื่ อ ยกระดั บ มาตรฐานครู การฝึ ก อบรมและการดู ง าน ของครู การทำ�งานวิจัยด้านการศึกษา วิถีพุทธเพื่อเผยแผ่ต่อสังคม

ต่อยอด ระบบการศึกษาวิถีพุทธ

ก า ร ส นั บ ส นุ น โ ร ง เ รี ย น ที่ ต้ อ ง ก า ร จั ด ก า ร ศึ ก ษ า ใ น แนวทางการศึกษาวิถีพุทธ การจั ด ทำ � สื่ อ และกิ จ กรรม ต่างๆ เพื่อเผยแผ่การศึกษา วิถีพุทธ การให้ทนุ การศึกษาแก่นกั เรียน ผู้ด้อยโอกาส

โรงเรียนทอสีมคี วามเชือ่ ว่าการนำ�เอาหลักพุทธปัญญามาเป็นแนวทาง การกำ�หนดวิธกี ารศึกษาเรียนรูผ้ า่ นภาวนา ๔ ซึง่ ได้แก่ ร่างกาย การปฏิสมั พันธ์ กับผู้อื่น จิตใจ และปัญญา จะนำ�ไปสู่การศึกษาที่สมบูรณ์ การสร้างระบบ การศึกษาในรูปแบบดังกล่าวให้เป็นผลสำ�เร็จนั้น จำ�เป็นต้องสร้างสังคม การศึกษาเรียนรู้ในทิศทางเดียวกันระหว่างโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยมี เด็กนักเรียนเป็นเป้าหมายสำ�คัญ เด็กนักเรียนที่เรียนรู้ในระบบการศึกษาพุทธปัญญา จะได้รับการ พัฒนาเป็นบุคคลที่มีวินัย มีสุขภาพจิตแข็งแรง รู้จักตัวเอง มีศรัทธาในตัวเอง มีสมาธิในการเรียน มีทศั นคติทดี่ ตี อ่ การเรียนรู้ มีทศั นคติทถี่ กู ต้องต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม รวมถึงมีจริยธรรมภายใน บุคลากรครูเป็นหนึง่ ในปัจจัยทีม่ คี วามสำ�คัญทีส่ ดุ ทีจ่ ะหล่อหลอมเด็กๆ ให้เป็นไปในแนวทางที่สังคมพึงปรารถนา ครูที่เข้ามาทำ�งานการศึกษาวิถีพุทธ จำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทุ่มเท เสียสละ มีความมุ่งมั่น ศรัทธา และแน่วแน่ใน แนวทางดังกล่าว กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสีจึงเป็นสิ่งที่มีความ สำ�คัญอย่างยิ่งยวด ๔


ครูธรรม...คำ�ครู พระอาจารย์ชยสาโร

เมื่อ ‘ครูธรรม’ ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนรวมถึงคุณครู โรงเรียนทอสีนับถือ ได้มีเมตตาแสดงพระธรรมเทศนา ในวาระต่างๆ เพาะครู จึ ง ขออนุ ญ าตนำ � ‘คำ�ครู’ ที่ ครูธรรมกล่าวถึงเรื่องการศึกษา เด็ก พ่อแม่ คุณครู ชุมชน สังคม ตลอดไปจนถึงอนาคตของชาติ และของ โลก มาแบ่งปัน เพื่อให้เกิดการตื่นรู้ รับ และนำ�ไปปรับใช้ ในการดำ � เนิ น ชี วิ ต ได้ อ ย่ า งมี ปั ญ ญาประดุ จ ประที ป นำ� ทาง ฉบับ นี้เราได้คัดสรรส่วนหนึ่งจากพระธรรม เทศนาของพระอาจารย์ชยสาโร องค์ประธานที่ปรึกษา ความพิเศษของอาชีพครู ของโรงเรี ย นทอสี มาแบ่ ง ปั น ให้ ต ระหนั ก รู้ ว่ า ทำ � ไม มนุษย์เราต้องมีครู และอาชีพครูนน้ั มีความพิเศษอย่างไร การเป็นครู

คือการทำ�งานเพื่อให้เด็กได้ดี

ความสำ�คัญของครู

มนุ ษ ย์ เ ราจะออกจากความมื ด ไปสู่ความสว่าง จะออกจากอวิชชา ไปสู่วิชา ก็ต้องมีครู ต้องมีอาจารย์ ทำ�ไมต้องมีอาจารย์ หนึ่ง เพื่อที่บอกหนทางที่ถูกต้อง สอง เพื่อเป็นกำ�ลังใจ และการที่ครูอาจารย์เป็นกำ�ลัง ใจได้ เพราะท่านมีคุณสมบัติ ท่านมีคุณธรรมเพียงพอ ที่จะปลูกฝังศรัทธาในลูกศิษย์ว่าท่านเป็นพยาน พิสูจน์ ว่าการเรียนการศึกษาการพัฒนานั้นมีผลจริง ถ้าเรารู้ ถ้าเราเข้าใจ แต่ไม่มพี ยาน ไม่มผี นู้ �ำ ไม่มผี เู้ รียนทีด่ ี แล้ว ศึกษาดีแล้ว มันก็ยังมีช่องให้มารเข้ามาครอบงำ�จิตใจ ทำ�ให้เราลังเลสงสัย พระอาจารย์ชยสาโร จาก หนังสือ ‘ความรู้แน่นหนา การศึกษาน้อยนิด’ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๘

ครูมาทำ�งานตอนเช้าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร จากเด็ก ต้องการจะให้ อาชีพครูจึงเป็นอาชีพที่สูง มี ไม่กี่อาชีพที่คนทำ�งานเพื่อให้ แล้วก็คิดว่าทำ�อย่างไร เราจะให้ ในทางที่ ดี ที่ สุ ด เพื่ อ ที่ เ ขาจะได้ มากที่ สุ ด นั่นคือความคิดของครู หาได้ยาก ไม่ได้คิดที่จะชนะ ใคร ไม่ได้คิดที่จะไปเอาอะไรจากใคร คิดที่จะให้ เป็น ความงาม เป็นสิง่ ทีห่ าได้ยาก ครูเป็นผูท้ ส่ี ะสมบารมีธรรม ในชี วิ ต ประจำ � วั น เป็ น ผู้ ที่ ป ฏิ บั ติ ต ามแนวทางของ พระโพธิสัตว์ เป็นผู้ให้ทาน ครูที่ดี นอกจากมีเจตนาที่จะให้แล้ว ยังจะ ต้องเป็นผู้ที่เป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ ภาษาอังกฤษว่า “you teach what you are” ไม่ใช่ “you teach what you know” เวลาเด็กสัมผัส เด็กก็ไม่ได้สัมผัสสมอง ของครู เด็กไม่ได้สัมผัสความรู้ข้อมูลวิชาการในสมอง เด็กเขาสัมผัสอารมณ์ของเรา เด็กสัมผัสความเมตตา ในจิ ต ใจของครู สั ม ผั ส ความหวั ง ดี ใ นจิ ต ใจของครู สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ทำ�ให้เด็กอยากเรียน ครูรักความเป็นครู นักเรียนยอมรับความเป็นนักเรียน ครูไม่รกั ความเป็นครู นักเรียนก็คงไม่ยอมรับความเป็นนักเรียน มันอยูด่ ว้ ยกัน พระอาจารย์ชยสาโร จาก หนังสือ ‘ความรู้แน่นหนา การศึกษาน้อยนิด’ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๘


รู้ ไว้ ใช่ ว่า ฉบับนี้ขอหยิบงานวิจัยในเรื่อง ชีวิตกับความเป็นไทย หนึ่งในหัวข้อที่น่า สนใจมาแบ่งปันให้เห็นภาพและชวนคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้ใหญ่อย่างเรา ตระหนักรู้ถึงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในความคิดของเด็กและเยาวชนที่อาจ เป็นตัวแทนของเด็กและเยาวชนไทยในระดับประเทศว่าพวกเขามีความคิด เห็นอย่างไรในการใช้ภาษาไทย-ภาษาที่พวกเขารักอย่างไรบ้าง

จากเด็กไทย คน

คน

ชอบชื่อเล่นภาษาต่างชาติมากกว่าภาษาไทย

ชามเขียว คว่ำ�เช้า

ชามขาว คว่ำ�ค่ำ�

ยอมรับว่า

ออกเสียงควบกล้ำ� ไม่ชัด

มี ปั ญ ห า เ ว ล า จ ะ

นึกอะไรยาวๆ เป็นภาษาไทย ร้อยละ 42 .8

เชื่ อ ว่ า ร้ า นเท่ ๆ

ควรมี ชื่ อ เป็ น ภาษาต่ า งชาติ

ร้ อ ย ล ะ

บอกว่าท่อง ก-ฮ ไม่ได้

มีปัญหาในการนึกคำ� หรือภาษาที่เหมาะสมไม่ออก

มันเป็นสิ่งที่ยาก

มันเป็นอะไร ที่แบบว่ายากกัน เลยทีเดียว

ร้ อ ย ล ะ ใน 100 คน เด็ก 32 คน สะกดคำ�ผิด

มี ป ั ญ หา วิ ช าเรี ย งความ

ข้อมูลเพิ่มเติมและที่มาของกลุ่มตัวอย่างของการทำ�วิจัย การสำ�รวจวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของเยาวชนในเรื่อง ชีวิตกับความเป็นไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สำ�รวจทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตตามวิถีไทย ในการสำ�รวจได้สุ่ม กลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนทั้งสิ้น ๓,๓๖๐ คน ครอบคลุมตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ใน ๗ ภาค ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม ๑๔ จังหวัด โดยส่งแบบสำ�รวจให้แก่กลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ซึ่งได้รับการตอบกลับคืนจำ�นวน ๓,๐๖๔ คน คิดเป็น ร้อยละ ๙๑.๑๙ ดำ�เนินการสำ�รวจตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๔๘

ขอขอบคุณข้อมูลของโครงการงานวิจัย จากสถาบันรามจิตติ สนใจศึกษาและค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ramajitti.com/research.php


จิตจับใจ เรื่อง : แม่จิ๊บ- แพทย์หญิงอนัญญา สินรัชตานันท์

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองผู้อำ�นวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์


เด็กดี...เริ่มต้นที่เข้าใจ การเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กคนหนึ่งให้เจริญเติบโต ด้วยความพร้อมที่จะเป็นผู้มีความสุข สามารถ เผชิ ญ หน้ า กั บ ปั ญ หาได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งเหมาะสม เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง รวมไปถึง คุณครู ต่างปรารถนาการพัฒนาเด็กไปถึงยังจุดนั้น ซึ่ ง ต้ อ งเข้ า ใจพั ฒ นาการของเด็ ก อย่ า งรอบด้ า น และส่งเสริมพัฒนาการได้เหมาะสมตามวัย การ พั ฒ นาความสามารถทางสติ ปัญ ญาเพี ย งอย่ า ง เดียวไม่สามารถพาให้เด็กไปถึงจุดนั้นได้ แต่สิ่งที่ จะทำ�ให้เด็กสามารถมีความสุข และเผชิญกับ ปัญหาได้อย่างเหมาะสมคือพัฒนาการทางด้าน อารมณ์และสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพทาง จิตใจของเด็กต่อไป การช่วยให้เด็กมีพัฒนาการ ทางอารมณ์สงั คมและจิตใจ ความต้องการทางด้าน จิตใจที่สำ�คัญของเด็กในวัยเรียนคือการต้องการ การยอมรับในความสามารถ ในตัวตน จากคน

รอบข้าง ทั้งจากครอบครัวและโรงเรียน เข้าใจ และยอมรับตัวตนของเด็กทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง พร้อมที่จะส่งเสริมด้านแข็ง ช่วยให้เขาได้พัฒนา จุดอ่อนให้ดีขึ้นอย่างไม่มีข้อแม้ เปิดโอกาสให้ เด็กได้แสดงความอึดอัดคับข้องใจด้วยวิธีการที่ เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะทำ�ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองได้ รับการยอมรับทั้งหมดที่เป็นตัวเขา และสามารถหา คนให้ความช่วยเหลือที่ไว้วางใจได้เมื่อเกิดปัญหา หรือความอึดอัดคับข้องใจ สิ่งสำ�คัญในการดูแล เด็กวัยเรียนคือการฝึกฝนให้เขาได้มีระเบียบวินัย ในตนเอง ด้วยการวางกรอบกฎเกณฑ์ในชีวิตที่ ไม่เคร่งครัด และไม่หย่อนยานจนเกินไป เพื่อให้ เด็กได้ฝึกการควบคุมตนเองให้อยู่ในระเบียบของ สังคม เพื่อให้เกิดวินัยในตนเองต่อไปในอนาคต


ห้องเรียนคุณครู เรื่อง : ครูต้น - ทัศน์เนตรดาว โสรัต หัวหน้าฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียน โรงเรียนทอสี

ปริยัติ

๓ป.

คู่กระบวนการทำ�งาน ของครูวิถีพุทธปัญญา

ปฏิเวธ

ปฏิบัติ


หลั ง จากได้ ชื่ น ใจกั บ งานปลายภาค ‘อนุบาลแรกแย้มประถมเปล่งบาน’ ของเด็กๆ ทอสี ไปไม่นาน งานใหญ่ของครูก็ตามมาติดๆ งาน ‘ชื่น ใจครู’ หรือกระบวนการสรุปวิเคราะห์ ถือเป็นวิถี ปิดเทอมที่ขาดไม่ได้ของคุณครูทอสี เป็นขั้นตอน ‘ปฏิเวธ’ ซึ่งคือหนึ่งในกระบวนการพัฒนาตน และ พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปริยัติ ปฏิ บั ติ ปฏิ เ วธ ของครู วิ ถี พุ ท ธ ครู ต้ น ขอใช้ พื้ น ที่ ต่อไปนี้ในการแบ่งปันประสบการณ์ที่น่าชื่นใจของ คุณครูทอสีแก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ... สัปดาห์แรกหลังปิดเทอม คุณครูทอสีทุกคน จัดแสดงผลงาน ‘ชื่นใจครู’ เพื่อทบทวนการทำ�งาน ทั้งเทอมของตนเอง เริ่มจากทบทวนกิจกรรมการ เรียนการสอนที่ผ่านมา แล้วเลือกกิจกรรมประทับ ใจ เพื่อนำ�เสนอเป้าหมายการสอน กระบวนการ สอน รวมถึงสิ่งที่เด็กได้รับการพัฒนาทั้งวิชาการ วิ ช าชี วิ ต คุ ณ ธรรมต่ า งๆ โดยจั ด รู ป แบบเป็ น นิทรรศการ เพื่อให้เพื่อนครูชมผลงานชื่นใจของ กั น และกั น บั น ทึ ก สิ่ ง ที่ อ ยากจะบอกเพื่ อ น สิ่ ง ที่ สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในระดับชัน้ ของตน พร้อม กับเลือกกิจกรรมที่สนใจไปนำ�เสนอวงแลกเปลี่ยน วงใหญ่ สะท้อนสิ่งที่ประทับใจรวมถึงมุมมองต่างๆ เพื่อแบ่งปันข้อเสนอแนะให้เจ้าของผลงานได้รับฟัง

สิ่ ง ที่ ไ ด้ จ ากงาน ‘ชื่ น ใจครู ’ นอกจากจะ สะท้ อ นให้ เ ห็ น ภาพการทำ � งานของตนชั ด เจน ขึ้นแล้ว ยังได้เห็นบรรยากาศกัลยาณมิตรทีเ่ กิดจาก การแลกเปลีย่ นเรียนรู้ระหว่างครูด้วยกัน สิ่งสำ�คัญ อีกอย่างก็คือ ครูได้นำ�สิ่งที่ได้จากวงแลกเปลี่ยน ไปต่ อ ยอดความรู้ ด้ ว ยการรั ก ษาสิ่ ง ที่ ดี ๆ เอาไว้ และเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายไป โดยศึกษาเพิ่มเติม จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จากผู้มีประสบการณ์ และ จากการฝึกอบรม ซึ่งเป็นขั้นตอน ‘ปริยัติ’ เพื่อนำ�ไป ปรับเปลี่ยนวิธีการทำ�งาน พัฒนาการเรียนการสอน การจัดการชัน้ เรียน และเพือ่ พัฒนาทัง้ ผูเ้ รียน ผูส้ อน ไปพร้อมๆ กัน และเมื่อถึงเวลาที่คุณครูรอคอย คือช่วง เวลาเปิดเทอม เราก็พร้อมที่จะนำ�สิ่งที่ตกผลึกจาก เทอมที่ แ ล้ ว และจากการที่ ไ ด้ ศึ ก ษาฝึ ก ปรื อ กั น มาตลอดปิดเทอม มาสู่การ ‘ปฏิบัติ’ ด้วยความ มุง่ มัน่ ตัง้ ใจ ระหว่างทางก็จะคอยทบทวนตรวจสอบ ด้ ว ยตนเองและโดยกั ล ยาณมิ ต รอยู่ เ สมอว่ า วิ ธี ที่ ใ ช้ อ ยู่ นั้ น ได้ ผ ลตามที่ ตั้ ง เป้ า หมายไว้ ม ากน้ อ ย เพียงใด และเมื่อช่วงปิดเทอมของนักเรียนเดินทาง มาถึ ง ก็ ไ ด้ เ วลาที่ คุ ณ ครู จ ะเปิ ด เทอมกลั บ มาสู่ กระบวนการเดิม เพือ่ แลกเปลีย่ นเรียนรูก้ นั อีกครัง้ ... ด้วยความชื่นใจ

๑๐ ๑๑


ครูผู้สร้างโลก นิ้วกลม

อาจารย์ ก็คืออาจารย์ เคยนับกันไหมครับว่า ชีวิตนี้เรามีครูบาอาจารย์กี่คน ผมเองก็ ไม่เคยนับ แต่ก็คิดอยู่บ่อยๆ ว่า กว่าเราจะเติบโตเป็นผู้เป็นคนมาได้จนถึงทุกวันนี้ มีคุณครูและอาจารย์ช่วยกันอบรมสั่งสอน ให้อยู่ในร่องในรอยจำ�นวนไม่น้อยเลยทีเดียว ความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับครูคิดดูก็เศร้าๆ เหงาๆ หงอยๆ อยู่เหมือนกัน เราใช้เวลาร่วมกันช่วงสั้นๆ รบรา เรียนรู้ หลบหลีก และบางที-หลงรัก แต่แล้วเราก็ต้องห่างกันไป มีศิษย์สักกี่คน ที่กลับไปเยี่ยมครูบ่อยๆ คงมีไม่น้อยที่คาบเรียนสุดท้าย เป็นวันสุดท้ายที่ได้เห็นหน้าคุณครู ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์ จึงดูคล้ายความสัมพันธ์ชนิดใช้แล้วทิ้ง อย่างที่โบราณเปรียบเปรยไว้ว่าเป็นเรือจ้าง ส่งถึงฝั่งแล้วก็ลาจากกันไป


ถ้ า พ่ อ แม่ ไ ม่ เ คยเห็ น เราเป็ น ผู้ ใ หญ่ ครู ก็ ค งเห็ น เราเป็ น นั ก เรี ย นของเขาอยู่ ต ลอดเวลา แม้ ว่ า พอเราเรี ย นจบแล้ ว เขาจะพู ด กั บ เรา ในฐานะของนั ก เรี ย นที่ เ ป็ น ผู้ ใ หญ่ ขึ้ น แล้ ว ก็ ต าม ในภาควิ ช าการออกแบบอุ ต สาหกรรม คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มีอาจารย์ที่พวกเรารักมากๆ หนึ่ง ท่าน คือ อาจารย์ประเทือง ครองอภิรดี นอกจาก บุ ค ลิ ก ที่ น่ า รั ก ของอาจารย์ พวกเราสั ม ผั ส ได้ ว่ า อาจารย์รักเราและปรารถนาดีกับเรา ไม่ใช่ไม่ดุ อาจารย์เคี่ยวเข็ญให้พวกเรา คิดงานและทำ�งานให้ได้ดี อาจารย์ดุด่าเราบ่อยๆ แต่ ก็ ด่ า ด้ ว ยความรั ก มิ ใ ช่ ด่ า เพื่ อ ความสะใจ หรือเพื่อสนองอำ�นาจของตัวเองเล่นๆ อาจารย์ ป ระเทื อ งเป็ น คนสอนผมว่ า “คุ ณ ต้ อ งให้ เ วลากั บ การคิ ด เยอะๆนะ ส่ ว น การทำ � น่ ะ ไม่ ต้ อ งไปเสี ย เวลากั บ มั น มากหรอก เวลาเอาแบบร่ า งมาคุ ย กั บ ผม คุ ณ สเก็ ต ช์ ม า คร่ า วๆ ก็ ไ ด้ ไม่ ต้ อ งเขี ย นแบบมาเนี้ ย บๆ แต่ ความคิดต้องดีนะ คอนเซปต์ต้องดี” อาจารย์เป็นคนสอนวิชาโฆษณา และทำ� ให้ผมอยากเป็นครีเอทีฟ เพราะมันเป็นคลาสเรียน ที่สนุกมาก อาจารย์เป็นคนที่ส่งผมไปฝึกงานกับ รุ่ น พี่ ที่ บ ริ ษั ท ลี โ อ เบอร์ เ น็ ต ต์ และผมก็ ไ ด้ เ รี ย นรู้ อะไรมากมายที่นั่น กระทั่งได้เป็นครีเอทีฟสมใจ

สมัยเรียน BAD workshop (เวิร์กช็อป โฆษณา) ผมก็ ป รึ ก ษาอาจารย์ อ ยู่ บ่ อ ยๆ พอ ส่ ง งานเข้ า ประกวดแล้ ว ได้ ร างวั ล ผมก็ บ อกกั บ อาจารย์ เ ป็ น คนแรกๆ อาจารย์ ไ ม่ พู ด อะไรมาก ได้แต่ยิ้ม แล้วบอกว่า “ยินดีด้วยนะ” แม้ผมจะไม่ได้กลับไปที่คณะบ่อยนัก แต่ ทุกครั้งที่ได้พบเจออาจารย์ อาจารย์ก็จะถามไถ่ ถึงสารทุกข์สุกดิบหน้าที่การงานว่าเป็นยังไงบ้าง บ่ อ ยครั้ ง ที่ อ าจารย์ ถ ามถึ ง เพื่ อ นๆ ว่ า เป็ น ยั ง ไง ไปยังไงกันแล้ว ได้ดีกันไหม ทำ�งานอะไรกันอยู่ พอทำ � งานสะสมประสบการณ์ ไ ปได้ สั ก พั ก อาจารย์ ก็ ช วนไปตรวจวิ ท ยานิ พ นธ์ ข อง รุ่ น น้ อ ง ผมรู้ สึ ก ดี ทุ ก ครั้ ง ที่ ไ ด้ ไ ปนั่ ง อยู่ ต รงนั้ น เพราะผมเคยยื น อยู่ ห น้ า ห้ อ งนำ � เสนองานให้ อาจารย์ แ ละรุ่ น พี่ ไ ด้ วิ จ ารณ์ แต่ ต อนนี้ ไ ด้ ม านั่ ง ข้างๆ อาจารย์แล้ววิจารณ์งานน้องๆ เหมือนเรา โตขึ้น เหมือนเราได้เป็นฝ่ายส่งต่อความรู้ให้คนอื่น เมื่ออาจารย์ประเทืองชวนให้ไปสอนวิชาโฆษณา ที่คณะ ผมจึงไม่ปฏิเสธ แถมยังดีใจอีกต่างหาก ปีที่อาจารย์มาชวนให้ไปสอนนั้น อาจารย์ บอกว่า “เดี๋ยวผมก็เกษียณแล้ว มาช่วยสอนน้องๆ หน่อย” ใช่ ค รั บ , ตอนนั้ น อาจารย์ ป ระเทื อ งอายุ ๕๙ ปีแล้ว แม้ไม่ค่อยมีเวลาเตรียมสอน แต่ทุกวัน ทีไ่ ปสอนผมก็ตงั้ ใจมาก อยากส่งต่อความรูท้ ไี่ ด้จาก ๑๒ ๑๓


อาจารย์ไปยังน้องๆ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่ ได้ทำ�งานโฆษณามาด้วย เวลาที่ศิษย์น้องสักคน มาบอกว่า อยากทำ�โฆษณา หรือรู้สึกสนุกกับการ คิดงาน ผมจะดีใจมาก เพราะรู้สึกเหมือนได้เห็น ตัวเองในวันนั้น ที่ดีใจกว่านั้นคือ เวลามีน้องมา ปรึ ก ษางานอื่ น ที่ ไ ม่ เ กี่ ย วกั บ วิ ช าเรี ย น บางคนก็ ปรึกษาเรื่องชีวิตและแผนการอนาคต พวกที่สนิท นี่ ถึ ง ขั้ น โทรหาปรึ ก ษางานอยู่ เ นื อ งๆ ผมชอบ ความสัมพันธ์แบบนี้ เหมือนพี่เหมือนน้อง ถ้าเป็น ไปได้ ผ มก็ อ ยากรู้ ว่ า แต่ ล ะคนเป็ น ยั ง ไงกั น บ้ า ง แต่ก็น่ันแหละ ความสัมพันธ์ครูศิษย์อาจดูเหมือน เป็นความสัมพันธ์ประเภทใช้แล้วทิ้ง เมื่อคาบเรียน หมดลง เราก็ห่างๆ กันไปตามธรรมชาติ วั น นี้ ผ มไปสอนที่ ค ณะ ได้ เ จออาจารย์ ประเทื อ ง อาจารย์ ยั ง ถามไถ่ ถึ ง ชี วิ ต เช่ น เคย “ไปอเมริกามาเป็นยังไงบ้าง ไปที่ไหนบ้าง เห็นไป นู่นนี่เยอะแยะไปหมด” ผมเล่าให้ฟังว่าไปดูชีวิต ชาวอามิช อาจารย์คุยเรื่องอามิชอยู่นิดหนึ่ง แล้ว บอกว่า “คุณน่าจะไปทำ�เรื่องชาวเชกเกอร์ คุณรู้จัก ชาวเชกเกอร์ ใ ช่ มั้ ย ” ผมส่ า ยหั ว แล้ ว อาจารย์ ก็ เริ่ ม สวมบทอาจารย์ “อะไรกั น คุ ณ ไม่ เ คยได้ ยิ น เฟอร์นิเจอร์เชกเกอร์เหรอ เรียนดีไซน์คุณต้องรู้จัก สิ” ผมยิ้มแหยๆ “ไม่รู้จักอะครับ อาจารย์ไม่ยอม สอน” อาจารย์ทำ�หน้านิ่ว “คุณเรียนเฟอร์นิเจอร์

กับผมรึเปล่าล่ะ” แล้วเราก็หัวเราะ อาจารย์ ยั ง สอนเรื่ อ งเชกเกอร์ ใ ห้ ผ มฟั ง อยู่ อี ก หลายนาที แล้ ว ก็ บ อกว่ า “ผมมี ห นั ง สื อ เรื่ อ งเชกเกอร์ นี่ น ะ เดี๋ ย วถ้ า ไว้ เ จอจะเก็ บ ไว้ ใ ห้ ” แล้วผมก็ลาอาจารย์ขึ้นไปสอน ขณะกำ � ลั ง สอนอยู่ อาจารย์ ก็ ม าเคาะ ประตู แล้ ว ยื่ น หนั ง สื อ เล่ ม ที่ ว่ า ให้ ผมยกมื อ ไหว้ อาจารย์ “ขอบคุ ณ มากๆ เลยครั บ ให้ ยื ม ใช่ มั้ ย ครับ” อาจารย์ยื่นหนังสือใส่มือแล้วบอกว่า “ให้ไป เลย” แล้วอาจารย์ก็เดินออกจากห้องไปหน้าตาเฉย ผมจำ�ได้วา่ วันที่อาจารย์ประเทืองเกษียณ ที่ ภ าควิ ช ามี จั ด งานให้ อ าจารย์ แ ละอาจารย์ ว่ อ ง (อาจารย์ที่น่ารักอีกหนึ่งท่าน) ลูกศิษย์สารพัดรุ่น เดินทางมาร่วมงาน รุน่ ผมนีม่ ากันเกือบครบ พวกเรา ต่ อ แถวขึ้ น ไปรดน้ำ � ที่ มื อ อาจารย์ อาจารย์ ยิ้ ม พรมน้ำ�ใส่หัวพวกเรา พวกเราพนมมือไหว้อาจารย์ และกล่าวคำ�ขอบคุณ อาจารย์ถามไถ่พวกเราว่า ใครทำ�อะไรอยู่ เป็นยังไงบ้าง แถวของรุ่นพี่รุ่นน้อง ยาวเหยี ย ด วั น นี้ อ าจารย์ มี ลู ก ศิ ษ ย์ เ ยอะมาก แต่ อ าจารย์ ดู ไ ม่ เ หนื่ อ ยเลย แถมยั ง เป็ น วั น ที่ อาจารย์ยิ้มกว้างที่สุดตั้งแต่พวกเราเคยเห็น ตอนที่อาจารย์ขึ้นกล่าวในงาน อาจารย์ บอกว่ า “ดี ใ จที่ เ ห็ น พวกคุ ณ มากั น ในวั น นี้ ดี ใ จที่ เ ห็ น พวกคุ ณ มี ชี วิ ต ที่ ดี ขอให้ ทุ ก คนเจริ ญ


อาจารย์ ไม่ ได้ พู ด สอนอะไร ออกมาผ่านลำ�โพง แต่อาจารย์ พูดผ่านการกระทำ� อาจารย์ สอนผมว่า “อาจารย์ที่แท้นั้นไม่ ได้ต้องการ อะไรจากลูกศิษย์เลยแม้แต่น้อย หากจะต้ อ งการก็ คื อ อยากเห็ น ลูกศิษย์มีอนาคตที่ดี มีชีวิตที่ดี” ก้าวหน้าและมีความสุข” ก ร ะ ทั่ ง ถึ ง วั น สุ ด ท้ า ย ข อ ง ก า ร ส อ น อาจารย์ก็ยังคงสอนและหวังดีต่อพวกเรา ก็ใช่ครับ อาจารย์ไม่ได้พูดสอนอะไรออก มาผ่ า นลำ � โพง แต่ อ าจารย์ พู ด ผ่ า นการกระทำ � อาจารย์สอนผมว่า “อาจารย์ที่แท้นั้นไม่ได้ต้องการ อะไรจากลูกศิษย์เลยแม้แต่น้อย หากจะต้องการ ก็ คื อ อยากเห็ น ลู ก ศิ ษ ย์ มี อ นาคตที่ ดี มี ชี วิ ต ที่ ดี ” ผมอาจจะไม่ ไ ด้ เ จออาจารย์ บ่ อ ยๆ แต่ อ าจารย์ ก็ อ ยู่ ใ กล้ ๆ ในใจเสมอ คำ � สอนของ อาจารย์ ผ สมกลมกลื น เป็ น เนื้ อ เดี ย วกั บ ชี วิ ต ของผมไปแล้ ว เรี ย บร้ อ ย ถ้ า ไม่ มี อ าจารย์ ผม ก็คงไม่ใช่ผมแบบทุกวันนี้ ผมนั่ ง มองหนั ง สื อ ที่ อ าจารย์ ใ ห้ ผ มมา ในวันนี้ แล้วคิดกับตัวเองในใจ- ยังไงๆ อาจารย์ ก็คืออาจารย์ ใช่ครับ, อาจารย์มีวันเกษียณ แต่อาจารย์ ไม่เคยหยุดสอน

สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ นักเขียนหนุ่มที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘นิ้วกลม’ เจ้าของผลงานหนังสือขายดีที่สร้าง แรงบันดาลใจให้กับคนหนุ่มสาวมาแล้ว หลายต่อหลายเล่ม

๑๔ ๑๕


วิชาสังคมศึกษา เรื่อง: แม่รุ่ง- รุ่งนภา ธนะภูมิ

เทคโนโลยีกบั การพัฒนาสมอง ของลูกในวัยที่เหมาะสม

เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วม ฟังเสวนาในหัวข้อเรื่อง ‘แจกแท็บเล็ต เด็ก ป.๑ ลดหรือเพิ่มปัญหาสังคม’ ผูร้ ว่ มเสวนามาจากหลายส่วนทัง้ ภาครัฐ คุณหมอผูเ้ ชีย่ วชาญด้านสมองและ พัฒนาการเด็ก พร้อมกับตัวแทนผู้ปกครองเด็กที่ได้รับแจกแท็บเล็ต งานในครัง้ นี้ ไม่ได้เน้นประเด็นเรือ่ งเพิม่ หรือลดปัญหาสังคมเหมือน ชื่อหัวข้อเสวนาสักเท่าใด เพราะในหลายโรงเรียนได้รับแจกเรียบร้อยแล้ว แพทย์หญิงจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและ พัฒนาการเด็ก นายกสมาคมนักวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว) ได้ ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมองของเรา และพัฒนาการทางสมองของ เด็กเล็กจนถึงเด็กปฐมวัย โดยให้ขอ้ คิดต่างๆ มากมายทีน่ า่ จะเกิดประโยชน์ ในการดูแลลูกของเรา ในยุคที่แท็บเล็ตเข้ามาอยู่ในชีวิต ประจำ�วันของเรา ทุกคน


สมองของมนุษย์นั้นมีชีวิต แต่เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมืออุปกรณ์ เมื่อเราพึ่งพาเทคโนโลยีมากเท่าไร การทำ�งานของสมองก็จะลดลง

ซึ่งหลังจากผู้เขียนได้ร่วมฟังเสวนาแล้ว มีความคิดเห็นว่า เราไม่ปฏิเสธเทคโนโลยีต่างๆ แต่ ควรพิจารณาเลือกสรรให้เหมาะกับวัยของลูกของ เรา และพ่อแม่นเี้ องจะเป็นผูต้ อบได้วา่ ถึงเวลาหรือ ยัง ที่จะให้สิ่งเหล่านี้กับลูก เพื่อที่สมองน้อยๆ จะได้ เรียนรู้ และมีพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสมต่อไป ในการเสวนาคุ ณ หมอยกตั ว อย่ า งถึ ง พั ฒ นาการทางสมองของมนุ ษ ย์ ที่ แ ตกต่ า งจาก สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นสมองเดียวที่ทางพุทธศาสนาได้ กล่าวถึงในเรือ่ งนามธรรม คือ ความดี ทีเ่ ป็นสิง่ จับต้อง ไม่ได้ แต่เราสามารถเข้าใจได้ สามารถฝึกฝนตน รู้จักให้อภัย ทำ�สิ่งที่ดีงาม เรียนรู้ พัฒนาตนเอง ได้ ตามหลักคำ�สอนทางพุทธศาสนา ซึ่งสิ่งมีชีวิต อื่นๆ ทำ�ไม่ได้ ซึ่งในเด็กเล็กนั้น จะเข้าใจเรื่องของ นามธรรมได้ชัดเจน เมื่ออายุ ๖ ขวบขึ้นไป “สมองของมนุษย์นั้นมีชีวิต แต่เทคโนโลยี เป็นเพียงเครือ่ งมืออุปกรณ์ เมือ่ เราพึง่ พาเทคโนโลยี มากเท่าไร การทำ�งานของสมองก็จะลดลง เช่น เมื่อก่อนเราจำ�เบอร์โทรศัพท์ต่างๆ ได้มากมาย แต่ ปัจจุบัน เมื่อใช้โทรศัพท์ทำ�หน้าที่แทนสมองของ เราจึงไม่สามารถจดจำ�เบอร์โทรศัพท์ได้เหมือนก่อน เราพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายมาก เท่าไร เราจะเสียความสามารถของสมองไปด้วย”

นี่คือส่วนหนึ่งจากคำ�พูดของคุณหมอ ที่ ทำ�ให้ผใู้ หญ่อย่างพวกเราหันมามองดูความสัมพันธ์ ของเทคโนโลยีกับตัวเราเองในทุกวันนี้เหมือนกัน นอกจากนี้ คุณหมอยังอธิบายอย่างให้ เห็นภาพคร่าวๆ ว่า การทำ�งานของสมองมี ๓ ส่วน ส่ ว นที่ ๑ : สมองสั ต ว์ เ ลื้ อ ยคลาน (Reptilian Brain) - ทำ � หน้ า ที่ ต าม สัญชาตญาณ หากินเพือ่ อยูร่ อด ปราศจาก เหตุผล เช่น จระเข้ หิวก็ล่า อิ่มก็นอนพัก ส่ ว น ที่ ๒ : ส ม อ ง สั ต ว์ เ ลี้ ย ง ลู ก ด้วยนมสมัยเก่า (Limbic Brain หรือ Old Mammalian Brain) - ทำ � หน้ า ที่ จ ดจำ � เรียนรูพ้ ฤติกรรมอารมณ์พนื้ ฐาน ปรับตัวได้ อยู่ร่วมเป็นสังคม รักพวกพ้อง ส่ ว น ที่ ๓ : ส ม อ ง สั ต ว์ เ ลี้ ย ง ลู ก ด้ ว ยนมสมั ย ใหม่ (สมองมนุ ษ ย์ ) (New Mammalian Brain) - สามารถคิดสิ่งใหม่ คิดแบบมีเหตุผล และคิดเรือ่ งนามธรรมได้ ๑๖ ๑๗


คุณหมอยังถามให้ชวนคิดต่อว่า ที่ผ่านมา เราใช้ สมองส่วนใดเป็นหลัก สัตว์ต่างๆ หากินเพื่ออยู่รอด ส่วนมนุษย์ไปตลาด ไปซูเปอร์มาร์เก็ตเลือกซือ้ ของกิน มนุษย์ล่าอาหารจนเกินความจำ�เป็นหรือไม่ สมอง ส่วนที่ ๑ ทำ�งาน แต่เราได้พัฒนาสมองส่วนที่ ๓ ของเรามากน้อยแค่ไหน การเรียนรู้ของสมองควรมีลำ�ดับขั้นตอน คุณหมอพูดถึงการใช้มดี พ่อแม่ควรสอนลูกให้ใช้มดี เมื่อไหร่ มีดเป็นของมีคม อันตราย เราต้องสอนว่า จับมีดอย่างไร ใช้อย่างไร ทำ�ให้ลูกดู ตอนเล็กมาก ยังไม่ให้ใช้ เมือ่ ถึงเวลาจึงสอนให้ใช้ เช่นเดียวกับการ ขึ้นบันได ต้องขึ้นทีละขั้น ๑ ๒ ๓ ๔ มิฉะนั้นมีโอกาส พลัดตก สิง่ เหล่านีเ้ ป็นการทำ�งานเชือ่ มกันของสมอง เปรียบได้กับการสร้างบ้านก็ต้องมีเสาเข็ม มีคานที่ มั่นคง ให้บ้านมีรากฐานแข็งแรง แล้วจึงใส่หลังคา แท็บเล็ตอาจเปรียบเหมือนหลังคา ทีค่ วรใส่หลังจาก ที่มีพื้นฐานทักษะที่สำ�คัญทางด้านอื่นแข็งแรงดีแล้ว น่าจะดีกว่า เทคโนโลยีทุกชนิดเป็นสิ่งที่ดี เมื่อเราใช้ให้ เป็นด้วยปัญญาจะเกิดประโยชน์มากมาย คุณหมอ ไม่บอกให้ปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ย�้ำ ว่า โดยพัฒนาการ ทางสมองของเด็กแล้วเทคโนโลยีทุกชนิดไม่เหมาะ กับเด็กเล็กและเด็กปฐมวัย เพราะพัฒนาการต่างๆ ของเด็ ก เล็ ก มาจากการเรี ย นรู้ ฝึ ก ฝนจากพ่ อ แม่ ผู้เลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อมต่างๆ เรียนรู้จากของจริง ซึ่งจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๖ (การได้ยิน มองเห็น สัมผัส ได้กลิ่น ลิ้มรส รับรู้ทางจิตใจ) รวมถึงสอนให้ เด็กเรียนรู้วิชาชีวิตให้ช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด พึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด ใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำ�เป็น

ไม่ ใ ช่ ต้ อ งพึ่ ง เทคโนโลยี ทุ ก อย่ า ง หากต้ อ งการ ให้พัฒนาการทางสมองเป็นไปตามกระบวนการ อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ในเด็ ก เล็ ก ช่ ว ง ๒ ขวบปี แ รกนั้ น มี ความหมายมาก หากไม่ ไ ด้ อ ยู่ กั บ พ่ อ หรื อ แม่ อย่างใกล้ชิด ลึกๆ ในใจอาจแสดงการต่อต้าน สังคมเมื่อเติบโตขึ้น ยิ่งในยุคปัจจุบัน หากลูกดู โทรทัศน์ก่อน ๒ ขวบ อาจเป็นเรื่องอันตราย และ ในมุมมองของคุณหมอ เด็กควรดูโทรทัศน์เมื่อ ๖ ขวบขึน้ ไป เพราะในเด็กเล็กสมองยังไม่สามารถ แยกแยะเรื่องจริงกับเสมือนจริงได้ การดูโทรทัศน์ เด็กจะได้ ๒ สัมผัส คือ เสียงกับภาพเท่านัน้ พ่อแม่ให้ ลูกดูรายการสารคดีเกี่ยวกับธรรมชาติดังๆ เพราะ มองว่า ดี มีประโยชน์ เช่น ภาพสัตว์ออกลูกเป็นไข่ ตัดภาพให้เห็นว่าโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเด็กเล็ก ก็ จ ะยั ง ไม่ เ ข้ า ใจและคิ ด ว่ า สามารถเกิ ด ขึ้ น ได้ ในเวลาไม่ น านเหมื อ นสารคดี ใ นโทรทั ศ น์ ทีน่ บั เป็นโลกเสมือนจริง เด็กๆ กำ�ลังเติบโตขึ้นมา พร้ อ มรายการประเภท Virtual Reality (เหตุการณ์เสมือนจริง)ที่มีมากมายซึ่งเด็กๆ ยัง แยกแยะระหว่างโลกแห่งความจริงกับโลกเสมือน จริงไม่ได้เหมือนผู้ใหญ่ สิ่ ง ต่ า งๆ ที่ คุ ณ หมอได้ แ บ่ ง ปั น ทำ � ให้ ผู้ เ ขี ย นต้ อ งมองย้ อ นกลั บ มาถึ ง การให้ ร ะยะ ห่างไกล-ใกล้ชิด กาละ-เทศะที่เหมาะสมระหว่าง เทคโนโลยี กั บ ลู ก น้ อ ยของเรา เพื่ อ ที่ พ่ อ แม่ อย่างเราจะเลือกให้ลูกได้รับในระดับที่พอเหมาะ พอดี เพื่ อ การเติ บ โตและพั ฒ นาการตามวั ย ที่ เหมาะสมต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : งานเสวนา ‘แจกแท็บเล็ต เด็ก ป.๑ เพิ่มหรือลดปัญหา’ โดย แพทย์หญิงจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ


สัมภาษณ์ : แม่แจน- ปนิดา อติพญากุล รู้จักคุณครู แม่ชมพู่- หรรษา พิบูลย์นันท์

ครู... ผู้ส่องแสงนำ�ทาง ให้แสงแห่งปัญญา ของดาวดวงน้อย ครูรุจเป็นครูที่ หากเด็กทุกคนต่างเหมือนดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่าง ในตัวเอง แต่เมื่อดวงยังเล็ก พลังแสงอาจยังไม่ แรงพอที่จะเปล่งแสงแรงชัดให้ ใครทุกคนได้เห็น คงจะดี ไ ม่ น้ อ ยถ้ า มี ใ ครสั ก คนคอยสั ง เกต และช่ ว ยให้ เ ด็ ก กล้ า ฉายแสงแห่ ง ปั ญ ญาที่ มี อยู่ภายใน และถ้า ‘ใครสักคน’ คือ ‘ครูสักคน’ ที่ จะใส่ใจสังเกตเห็นถึงความเป็นปัจเจกในดาวน้อย ดวงนั้น และช่วยให้ดาวได้เจิดจรัสได้ด้วยตนเอง เพาะครู ฉบับนี้ พามาทำ�ความรู้จักกับคุณครูรุจ รุจจลักษณ์ มีแสง หนึง่ ในครูทชี่ ว่ ยส่องแสงนำ�ทาง เพื่ อ ให้ เ ด็ ก ได้ ค้ น หาและฉายพลั ง แสงในตั ว เอง ที่จะร่วมแบ่งปันชีวิตและประสบการณ์ ในอาชีพ ที่เรียกว่า ‘ครู’ ๑๘ ๑๙


มันยากในช่วงแรกค่ะ ยากเพราะเราฝืน เพราะเราไม่ถนัด แต่พอเราเปลี่ยนความคิด เปิดใจกว้างที่จะยอมรับและเราก็พัฒนาตัวเอง มันอยู่ที่ใจในการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามา


ครูรุจเป็นครูที่โรงเรียนทอสีมานานเท่าไรแล้วคะ ย่างเข้าปีที่ ๑๕ แล้วค่ะ ก่อนหน้านั้นทำ�งานฝ่ายบุคคลที่บริษัท เอกชนแห่งหนึ่งมาก่อน เป็นบริษัทของคุณน้าน่ะค่ะ พอดีเพื่อน ของคุณน้าทำ�งานอยู่ที่โรงเรียนทอสีแล้วทราบว่ารุจจบครูมา เลย ชวนให้ลองมาสัมภาษณ์ดู ก็เลยมาสมัคร แล้วในที่สุดก็ได้เป็นครู ตามที่เรียนจบมาค่ะ ปัจจุบันครูรุจสอนวิชาอะไรและชั้นอะไรคะ สอนวิชาภาษาไทยเด็กประถม ๒ ค่ะ เป็นครูประจำ�ชั้น และเป็น หัวหน้าภาควิชาภาษาไทยด้วยค่ะ สอนวิชาภาษาไทยมาตลอดเลยหรือเปล่าคะ ตลอดเลยค่ะ สอนภาษาไทยตั้งแต่เริ่มเข้ามาเป็นครูที่นี่เลย สอน มาตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก อนุบาล ๑ ๒ ๓ ขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่ โรงเรียนเปิดสอนชั้นประถม แล้วผู้บริหารคงเห็นว่าเราสามารถ สอนประถมได้ ก็เลยให้มาสอนประถมค่ะ ได้ยินมาว่าครูรุจมีเทคนิคในการสอนภาษาไทย ที่ทำ�ให้เด็ก เข้าใจง่าย ช่วยแบ่งปันให้ฟังหน่อยค่ะ ทุกๆ ปีจะสอนผ่านกิจกรรม ผ่านเกมการศึกษาซึ่งเด็กเป็นคนคิด กันขึ้นเอง หรือเราเป็นคนคิด แล้วเด็กนำ�มาดัดแปลงต่อ อย่างเช่น การผันเสียงวรรณยุกต์ ใช้นิ้วมือของเรานี่แหละผันเสียงสามัญ เอก โท ตรี จัตวา อักษรกลางก็ใช้ทั้ง ๕ นิ้ว ‘กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า’ พอเป็นอักษรต่ำ� เราก็เก็บนิ้วโป้งกับนิ้วนาง ก็จะเหลือเสียงสามัญ โท ตรี แล้วพอพลิกมือกลับมาก็จะเป็น เอก โท จัตวา ซึ่งคือเสียง สูง จะเห็นว่า ๑ มือ บวก ๕ นิ้วของเราสามารถช่วยผันเสียงได้ ครบทั้งอักษรสูง กลาง ต่ำ�เลย ก็จะใช้วิธีนี้เล่นกับเด็กๆ บางที ก็นั่งเล่นกับเด็กขณะรอแถว นอกจากนี้เราจะให้เด็กตั้งคำ�ที่เป็น เหมือนคีย์เวิร์ดของตัวเขาเอง ซึ่งจะช่วยในการจำ�ของแต่ละคน เอง เช่น ไก่แจ้เดินตดบนปากโอ่ง เด็กแต่ละคนจะต้องแต่งตาม หลักการจำ�ของตัวเอง แต่ละคนไม่เหมือนกัน เขาจะได้สนุกกับ การเรียนรู้ จะแต่งแบบตลกๆ ก็ได้ แล้วแต่เขาเลย แล้วเอาเรื่อง ระบบเรียนเสียงและเชื่อมโยงเสียงเข้ากับรูปของตัวอักษรมาช่วย ในเรื่องการจดจำ�มาตราตัวสะกด เช่น แม่กก ก็จะเป็น ‘เกอะ เคอะ เค่อะ เคอะ’ เป็นต้น แสดงว่าเด็กแต่ละคนแต่งไม่เหมือนกันใช่ไหมคะ ใช่ค่ะ นี่คือการเรียนรู้ภาษาผ่านปัจเจกบุคคล คือแต่ละคนจะมี หลักหรือเทคนิคการจำ�ของตัวเอง เรามีเกมการศึกษาที่ให้เด็ก ๒๐ ๒๑


คิดค้นเอง เช่น การเรียนหลักภาษาผ่านบทกลอน การที่เราเรียนบทกลอนบทกลอนหนึ่ง เช่น กลอน ถวายพระพร บทกลอนนี้เด็กจะเชื่อมโยงผ่านหลัก ภาษาอะไรได้บ้าง เด็กได้ฝึกเรื่องการสังเกตภาษา คือเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาในชีวิตใกล้ตัวพวกเขา แล้วเอาหลักภาษานี้เป็นตัวจับ คือมันง่ายแบบที่เรา ไม่ต้องเอาหนังสือมาเปิด ครูรุจใช้วิธีสอนผ่าน กิจกรรม แล้วเด็กจะเอาสิ่งที่เขาได้จากตรงนี้ไปทำ� แบบฝึกหัด เขาก็จะทำ�ได้ และนั่นคือการทบทวนไป ด้วยในตัว เช่น เอากลอนมาให้เด็ก แล้วให้เด็กทำ� แผนผังความคิด (mind mapping) ตั้งคำ�ถามว่า บทกลอนนี้มีแม่กกอะไรบ้าง ดังนั้นถ้าเด็กมีคำ�พูด อะไรที่แปลกๆ ครูจะต้องไวกับภาษานิดนึงค่ะ เรา ต้องเชื่อมให้เด็กไปต่อได้ เช่น คำ�ว่า สัญญา มี ญ หญิง ๒ ตัว ถ้าเกิดเราเติม ณ เณร ก็จะเป็น สั ญ ญาณ​​​มั น เหมื อ นกั บ เราเล่ น ภาษาต่ อ ไป เรื่อยๆ ​​​​สิ่งสำ�คัญสำ�หรับภาษาไทยคือต้องไว และ ต้องสังเกตภาษา ทำ � ไมครู รุ จ ถึ ง ดึ ง วิ ธี ก ารนี้ ม าใช้ ใ นการสอน ภาษาไทยคะ ตอนแรกๆ ไม่ได้สอนแบบนี้ พอดีได้ครูอ้อนแนะนำ� เวลามีปัญหา​​ ​​​​​เมื่อก่อนครูรุจจะออกแนววิชาการค่ะ ช่วงสอนชั้นประถมใหม่ๆ ครูอ้อนบอกว่าลองแบบนี้ ดูดีไหม ให้เอาภาษาชีวิตเป็นตัวตั้ง แล้วเอาวิชาการ เป็นแค่ตัวจับ ครูรุจบอกครูอ้อนว่า ไม่รู้จะทำ�ได้ไหม

แต่จะพยายามดู พอลองทำ�แล้วก็สนุกค่ะ เรา สามารถลื่นไหลไปได้ตามเนื้อหาที่มีได้เลย วิธีการสอนแบบนี้ยากกว่าเดิมไหมคะ มันยากในช่วงแรกค่ะ ยากเพราะเราฝืน เพราะเรา ไม่ถนัด​​แต่พอเราเปลีย่ นความคิดเปิดใจกว้างทีจ่ ะ ยอมรับและเราก็พัฒนาตัวเอง มันอยู่ที่ใจในการ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามา หลั ง จากเปลี่ ย นการสอนจากแนววิ ช าการ เป็นการสอนผ่านกิจกรรม ครูรุจสังเกตเห็น การเปลี่ยนแปลงของเด็กๆ อย่างไรบ้างคะ หนึ่ง เด็กสนุก สอง คือเด็กรักภาษาไทย สาม คือ ภาษาไทยไม่น่าเบื่ออย่างที่เขาอาจจะคิด พอคาบ ของครูรุจ เด็กจะตั้งหน้าตั้งตาถามว่าวันนี้จะทำ� อะไร ซึ่งเด็กๆ จะชอบทำ�งานกลุ่ม ฝึกให้มีการ สังเกตภาษา มีการแข่งขันแบบกลุ่ม เด็กประถม ต้นชอบการแข่งขัน และเราก็ถือโอกาสใช้ความ ชอบความสนุกในการแข่งขันของเด็ก สอดแทรก เรื่องพุทธปัญญาได้ด้วย เวลามีอะไรใหม่ๆ เด็ก ก็จะตั้งใจ เสียงสะท้อนจากผู้ปกครองก็คือลูกชอบ ภาษาไทย ครูรุจมีการบูรณาการในการสอนอย่างไรบ้าง คะ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยค่ะ เรื่ อ งบู ร ณาการก็ อ ย่ า งเช่ น เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ วั น แม่ สาระภาษาไทย เรามองว่าเอาบทกลอนเอาเพลง ต่ า งๆมาเล่ า​​​​​แ ล้ ว เอามาเชื่ อ มโยงกั บ วั น แม่ ข อง สาระสั ง คม ที่ มี ก ารเล่ า นิ ท าน ‘๑ นาที มี ค่ า ’ ของ​ดร.อาจอง (ชุมสาย ณ อยุธยา) และยังให้เด็ก เชื่ อ มโยงวั น แม่ กั บ กิ จ กรรมวิ ท ยาศาสตร์ เ รื่ อ ง ร่างกายของเรา คือให้เด็กเปรียบเทียบตัวเองว่า ถ้ า เด็ ก เป็ น อวั ย วะในร่ า งกายของแม่ เด็ ก ๆ อยากเป็ น อะไร ให้ เ ด็ ก เขี ย นเป็ น การ์ ด วั น แม่ บางคนบอกว่าอยากเป็นก้นจะได้ขับถ่ายของเสีย ออกจากตัวของแม่ คือเราพยายามจะเชื่อมโยง วิทยาศาสตร์กบั ทุกอย่าง ภาษาไทยต้องจับให้ได้วา่ ตอนนี้ ส าระวิ ท ยาศาสตร์ กำ � ลั ง สอนอะไร สาระสังคมกำ�ลังสอนอะไร แล้วสาระภาษาไทย ของเราจะสอนอะไรที่ มั น เชื่ อ มโยงกั น ครู ที่ นี่


จะทำ � งานกั น เป็ น ที ม เรี ย นรู้ ไ ปด้ ว ยกั น สาระ แต่ ล ะสาระจะเดิ น ไปด้ ว ยกั น แล้ ว เราจะเป็ น ตัวแทรก เอาการ์ดที่เด็กๆ เขียน ส่งให้ผู้ปกครอง และให้ ผู้ ป กครองเขี ย นความรู้ สึ ก กลั บ มาว่ า จากที่ ลู ก เลื อ กเป็ น อวั ย วะส่ ว นนี้ ข องแม่ คุ ณ แม่ มีความรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ลูกได้เขียนให้ ก็จะมี คุณแม่เขียนตอบมาว่า ไม่เคยคิดเลยว่าลูกจะคิด ได้ขนาดนี้ แค่คดิ ว่าเป็นอวัยวะแค่นนั้ ก็นา่ จะจบ แต่ เด็กๆ สามารถอธิบายได้ลกึ ซึง้ และมีเหตุผลทีบ่ างที ผู้ใหญ่ไม่คิดว่าเด็กในวัยประถม ๒ จะคิดได้ แล้วก ็เป็นอันจบขั้นตอนบูรณาการครบ ๓ สาระ ในหัวข้อเดียวใช่มั้ยคะ ยังค่ะ (หัวเราะ) ยังไม่ครบจบกระบวนการซะทีเดียว จากนัน้ เราเอาสิง่ ทีแ่ ม่เขียนความรูส้ กึ ของแม่เมือ่ ได้ รับการ์ดจากลูก ส่งกลับมาให้ลูกๆ ได้อ่าน และครู จะให้เด็กๆ หาคำ�ศัพท์ และสรุปตามแผนผังความ คิด (mind mapping) ในเรือ่ งมาตราตัวสะกด​​​​​จึงเป็น อันจบกระบวนการเรียนรูใ้ นส่วนของสาระภาษาไทย ที่ได้เชื่อมโยงกับสาระอื่นๆ ค่ะ ครู รุ จ คิ ด ว่ า คุ ณ สมบั ติ ข องครู ที่ จ ะมาเป็ น ครู ที่สอนแบบวิถีพุทธคืออะไรคะ อย่างแรกเลยคือการสังเกตค่ะ และการเปิดรับสิ่ง ใหม่ๆ อย่ายึดติดกับสิ่งที่เราเคยเป็นมาก่อน เปิดใจ เหมื อ นเป็ น แก้ ว น้ำ � ที่ ไ ม่ เ ต็ ม อยู่ ต ลอดเวลา​​​​​ใ ฝ่ รู้ อดทน เพราะเราไม่รู้ว่าต้องเจอกับภาวะอะไรบ้าง จาก ครู ผู้ปกครอง เด็ก และสิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือ ครูต้องมองเด็กเป็นปัจเจก​​​​​​​​​​​​เพราะเด็กแต่ละคนมี จุดเด่นจุดด้อยต่างกัน ครูต้องดึงศักยภาพของเด็ก ออกมาให้ได้มากที่สุด

อยากทราบว่าหลักธรรมอะไรที่ครูรุจใช้ในชีวิต ประจำ�วันของครูและนำ�มาปรับใช้กับเด็กๆ คะ ครูรุจมองเรื่องการทำ�เพียร ๔ คือการพัฒนาตนเอง คือเราต้องรู้จุดที่เราดี จุดที่เราต้องสร้างเพิ่ม จุดที่ เราต้องลด และจุดทีเ่ รามองว่าต้องป้องกันไม่ให้เกิด ขึ้น ครูรุจอยู่ทอสีมาหลายปี ก็ทำ�เพียร ๔ มาทุกๆ ปี พอสิ้นปีต้องคุยกับผู้บริหาร​​​​​​​​​​ครูรุจประทับใจที่สุด (เริ่มร้องไห้) เพราะทำ�ให้เรามองเห็นในสิ่งที่เราไม่ เคยมองเห็น ทุกๆ ปีจะมีการประเมินกัน ปีนี้เราคุย กัน ปีหน้าเราก็ต้องพัฒนาในสิ่งที่เราควรต้องสร้าง สร้ า งได้ ห รื อ ไม่ ไ ด​​้ก็ ต้ อ งมี ก ารประเมิ น กั น ทุ ก ๆ​ ปี ทำ�มาโดยตลอด ซึ่งเราเป็นต้นแบบ ครูต้องทำ� ผู้ ป กครองก็ ต้ อ งทำ � เด็ ก ก็ ต้ อ งทำ � เราร่ ว มกั น ทำ � อริยสัจ ๔ และเพียร ๔ ด้วยกัน ครูรุจยังทำ�โครงการ ๓๖๐ องศา ร่วมกันกับผู้ปกครองด้วย และมีการ ประเมิ น ไปด้ ว ยกั น อั น นี้ คื อ สิ่ ง ที่ ค รู รุ จ มองว่ า ดี แล้วจะไม่ทิ้งแน่นอนค่ะ

๒๒ ๒๓


ครูทำ�จากธรรมครู ภาพ : ครูปู- ณัฐนันท์ เทียนทอง

ประหนึ่งธรรมเนียมปฏิบัติกันไปแล้ว สำ�หรับ การปฏิบัติธรรมครูประจำ�ปีของโรงเรียนทอสี ซึ่งนับเป็น หนึ่งในการพัฒนาบุคลากรของฝ่ายวิชาชีวิตครู ซึ่งจัด มากว่า ๑๐ ปีแล้ว นั บ เป็ น ช่ ว งเวลาระหว่ า งปิ ด เทอมที่ คุ ณ ครู โรงเรียนวิถีพุทธปัญญาและโรงเรียนที่สนใจได้มาร่ว ม น้อมรับและปฏิบัติธรรมกันอย่างเต็มที่ภายใต้บรรยากาศ อันร่มรื่นด้วยธรรมชาติ ณ บ้านไร่ทอสี อำ�เภอปากช่อง


จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๕-๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ปีนี้นอกจากมีคณะครู ผู้ปกครอง และบุ ค ลากรจากโรงเรี ย นทอสี แ ละโรงเรี ย น ปัญญาประทีป จังหวัดนครราชสีมา ในฐานะคณะ จัดงานแล้ว ยังมีคุณครูจากโรงเรียนปัญญาเด่น จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนบ้านดอนชัย จังหวัดน่าน และโรงเรียนรักษ์ไทยวิถีพุทธ ประเทศเดนมาร์ก เข้าร่วมด้วย โดยพระอาจารย์ชยสาโรได้เมตตา

นำ�ปฏิบัติธรรม แสดงธรรมเทศนา ให้โอวาท และ ปุจฉา-วิสัชนาข้อธรรม คุณครูหลายท่านได้บันทึก ข้อธรรมประทับใจที่ได้ยินได้ฟังจากพระอาจารย์ ชยสาโร อีกทั้งได้ประมวลข้อธรรมออกมาเป็น ข้อคิดไว้สะกิดใจตนเอง และแบ่งปันไว้บนบอร์ด ข้อธรรมประทับใจ เพาะครู จึงได้เก็บรวบรวมภาพ ออกมาเป็นผลงาน ‘ครูทำ�จากธรรมครู’ นี้

๒๔ ๒๕


คือความงอกงาม เรื่องและภาพ : ครูปู- ณัฐนันท์ เทียนทอง

คือความงอกงาม นอกจากความสำ�คัญในการพัฒนาคุณครู อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ และเท่าทันกับการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ และมีทักษะที่สำ�คัญต่ออาชีพครู เพิ่มมากขึ้นในอนาคตแล้ว คุณภาพชีวิตปัจจุบัน ของคุณครูก็เป็นเรื่องที่สำ�คัญไม่น้อยไปกว่ากัน กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสีจึงได้ริเริ่ม โครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คุณครู ในโรงเรียน ดังบทร้อยกรองที่ครูนาง ร้อยเรียงเพื่อเล่าความไว้ดังนี้


ขอบอกกล่าวข่าวโครงการให้รับรู้ คุณครูอ้อนท่านเมตตามาแบ่งปัน ความร่วมมือร่วมแรงรวมน้ำ�ใจ กรรมการผู้ปกครองมองสิ่งดี เก็บรายได้งานคืนเหย้าเข้าประสาน ทั้งเด็กครูผู้ปกครองต่างพากเพียร พลังธรรมพลังบุญพลังจิต สวัสดิการครูงอกงามตามเพลา ชวนครูออมพร้อมเพรียงดีไม่มีอด คิดวางแผนรอบคอบไว้ ให้ยืนนาน เป้าหมายหลักหวังครูอยู่สุขสบาย วิชาชีวิตวิชาการสานชีวี แบ่งปันส่วนช่วยส่งเสริมเติมความรู้ เป็นผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชา สร้างสังคมสร้างศรัทธากัลยาณมิตร วัฒนธรรมสองขาค่าแท้มี กราบขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทั่วทุกคน ชุมชนชาวทอสีซึ้งฤทัย ขออำ�นาจคุณพระศรีรัตนตรัย ปราศจากโรคภัยไร้โรคี

กองทุนครูผู้ริเริ่มเติมสีสัน ช่วยจัดสรรปันส่วนให้ด้วยไมตรี พ่อแม่ได้รวมพลังสร้างสุขศรี จึงเกิดมีกองทุนใหญ่ในโรงเรียน ค่ายเบิกบานผ่านชีวิตศิษย์อ่านเขียน สร้างโรงเรียนให้อบอุ่นกรุ่นธรรมา ผลสัมฤทธิ์วิจิตรตระการเป็นนักหนา มีภักษาอาหารเช้ารับประทาน อนาคตยามแก่เฒ่าเราสุขศานต์ แผนทำ�งานตามกระบวนครบถ้วนดี ทำ�งานได้ด้วยฉันทะเกษมศรี สร้างทอสีวิถีพุทธปัญญา อบรมครูให้แตกฉานการศึกษา สร้างมรรคานำ�พาศิษย์ ให้คิดดี ให้พิสิฐงดงามตามวิถี ชาวทอสีมีความสุขทุกข์ห่างไกล แรงบันดลบันดาลจิตพิสมัย จะตั้งใจสร้างเพาะพันธุ์แห่งความดี นำ�พาให้พ้นคลายทุกข์จิตสุขี จิตเปรมปรีดิ์มีหลักธรรมนำ�นิพพาน ครูนาง- วารุณี แสนกล้า พฤศจิกายน ๒๕๕๕

๒๖ ๒๗


ที่มาโครงการ โครงการชวนครูออม

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูมีเงินเก็บออมสะสม อันจะ สร้างความมั่นคงให้แก่ครูในระยะยาว โดยโครงการ ดังกล่าวจะหักเงินเดือนของครูเข้าบัญชีสะสมของ โครงการและกองทุนจะสมทบเงินให้กับครูเพิ่มเติม ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับกองทุนสำ�รอง เลี้ยงชีพที่หน่วยงานอื่นๆ มีการจัดทำ�อยู่

ความรู้สึก ของคุณครู ที่มีต่อโครงการ ชวนครูออม ครูวิ

“โครงการชวนครูออมเป็น โครงการที่ดี เพราะเงินออม ที่เราเก็บไว้ทุกเดือน แม้ว่า จะไม่มาก แต่เมื่อเราเก็บ รวบรวมไว้หลายปี เงินออม เหล่านี้ก็จะเป็นทุนให้เราได้ ยามเมื่อเราแก่เฒ่าค่ะ”

ครูโก้

“คิดว่าเป็นโครงการที่ดี ที่ชักชวนให้ครูรู้จัก การออมเงิน เก็บไว้ใช้ ในอนาคตเมื่อยามจำ�เป็น”

ครูจ๊อยซ์

“รู้สึกดีใจที่โรงเรียน มีโครงการดีๆ แบบนี้ค่ะ แต่แอบอยากให้มีการออม ในจำ�นวนที่มากขึ้น ^^ ”

ครูกงุ้

“เป็นโครงการที่ใส่ใจ ความมั่นคงในอาชีพครู ในรั้วทอสี ต้องขอบคุณผู้ริเริ่ม และคณะครู-ผู้ปกครอง ที่ทำ�งานนี้ด้วยค่ะ”

ครูหน่า

“ขอบคุณผู้ริเริ่มและทีมงาน ชวนครูออม ถ้าไม่จัดขึ้นมา แบบนี้ ก็คงไม่ได้ออมค่ะ”


โครงการอาหารเช้า

เป็นโครงการที่จัดทำ�เพื่อให้ครูได้มีเวลาในการ รับประทานอาหารเช้าร่วมกันและใช้เวลาดังกล่าว ในการพูดคุยหารือเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเป็นไป ภายในและภายนอกโรงเรียน รวมทั้งการนำ�เสนอ แนวความคิดต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการเรียน การสอนภายในโรงเรียน โดยผู้บริหารของโรงเรียน จะเข้ามาร่วมรับฟังเพื่อนำ�ข้อเสนอต่างๆ กลับไป พิจารณาและหาทางสานต่อแนวความคิดต่อไป

ความรู้สึก ของคุณครู ที่มีต่อโครงการ อาหารเช้าครู

ครูหนิง

“รู้สึกดีที่โรงเรียนใส่ใจ ดูแลสุขภาพครู”

ครูแอ้

ครู Rei

“โครงการนี้ดีมากสำ�หรับครู ที่ชีวิตเร่งรีบ ไม่มีเวลาเตรียม อาหารเช้าค่ะ แต่ถ้ามีอาหาร มังสวิรัติด้วยจะดีมากๆ ค่ะ”

“I like it over all except when fish shrimp is served and the shell must be removed especially.”

ครู น้องหนึ่ง

“ขอบคุณทางโรงเรียนที่มี โครงการนี้ค่ะ ทำ�ให้ครู มีอาหารเช้ารับประทาน ไม่ต้องเร่งรีบมากค่ะ”

ครู น้องแนน

“ขอบคุณโรงเรียนที่ดูแลครู มีสวัสดิการที่ดี ทำ�ให้ครู ไม่ต้องเสียเวลาในการจัดหา อาหารเช้ามากินเอง ประหยัด เวลาด้วยค่ะ” ๒๘ ๒๙


กิจกรรมอื่นๆ ที่ผ่านมาของ กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี การอบรม ‘สีน้ำ�เบิกบาน’ ครั้งที่ ๑ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๕ ครั้งแรกกับกิจกรรมอบรมสีน้ำ�ที่ได้รับความสนใจมาก ครูและ ผู้ปกครองที่มาร่วมกิจกรรมทุกคนได้เรียนรู้วิธีการและเทคนิค มากมายจาก อาจารย์เต๋า- นพดล เนตรดี เช่น วิธีการจับ พู่กัน การใช้พู่กัน การใช้สีน้ำ� การสร้างสรรค์ภาพศิลปะ แม้ ผู้ร่วมกิจกรรมบางท่านที่มาในวันนั้น ออกตัวว่าวาดรูปไม่เป็น แต่ท้ายสุดก็สามารถวาดได้ จากภาพกิจกรรมจะเห็นว่าศิลปะ ทำ�ให้เราเบิกบานจากภายในได้จริงๆ

การอบรม ‘สีน้ำ�เบิกบาน’ ครั้งที่ ๒ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ สืบเนื่องจากการอบรมสี​ีน้ำ�เบิกบานครั้งแรก ได้รับ เสียงตอบรับเป็นอย่างดี ทำ�ให้มีผู้สนใจอยากเข้า ร่วมกิจกรรมอีก การจัดการอบรมสีน้ำ�เบิกบาน ครั้งที่ ๒ จึงเกิดขึ้น เพื่อส่งต่อความเบิกบานในงาน ศิลปะให้ผลิบานกันต่อๆ ไป


กิจกรรม ‘ผ้าต่อทอฝัน’ กับแม่เปี๊ยก

กิจกรรม ‘ปลูกผักรักษ์โลก’ กับเจ้าชายผัก วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ กลุ่มผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม ‘ปลูกผักรักษ์โลก’ กับเจ้าชายผัก หรือ คุณปริน๊ ซ์ นคร ลิมปคุปตถาวร ที่หลายคนรู้จักกันในนาม ‘เจ้าชายผัก’ แห่งกลุ่ม สวนผักคนเมือง ที่ได้กรุณามาเป็นวิทยากรทั้ง ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ กิจกรรมนี้ทำ�ให้รู้ ว่าการปลูกผักในเมืองไม่ได้ยากอย่างที่คิด งานนี้ นอกจากจะเต็มอิ่มด้วยแรงบันดาลใจในการกลับ ไปเพิ่มพื้นที่สีเขียวน้อยๆ ที่บ้านแล้ว เมื่อสวนผัก เติบโต ยังจะได้เก็บเกี่ยวผักสดสะอาดฝีมือสองมือ ของตัวเองกินให้เต็มอิ่มใจกันอีกด้วย

๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ แม่เปีย๊ ก คุณแม่นอ้ งกันต์ ป.๒ มาสอนเหล่า คุณแม่ในเรื่องของการเย็บปักถักร้อยเศษผ้า เศษวัสดุมาเป็นของใช้น่ารักๆ ในชีวิตประจำ�วัน นอกจากจะได้ฝึกทักษะการเย็บปักถักร้อยแล้ว คุณแม่ยังได้ฝึกความอดทนอีกด้วย เพราะคนที่ จะทำ�งานเย็บปักถักร้อยนี้ต้องมีความปราณีต และอดทนเพื่อความสวยงามของชิ้นงานที่ออก มา บรรยากาศในระหว่างการทำ�กิจกรรมของ กลุ่มคุณแม่ครั้งนี้เต็มไปด้วยความอบอุ่นและ สนุกสนาน ช่างเป็นกิจกรรมที่ทอฝันของ คุณแม่บ้านที่รักงาน DIY (Do It Yourself) ได้ดีจริงๆ

๓๐ ๓๑


เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก


งบแสดงรายรับและรายจ่าย

ปี 2553

ของกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี

ปี 2554

ปี 2555 (พ.ค.- ต.ค.)

2,001,369

2,000,000

รายรับ 972,059 872,000

64,488

83,586 16,473 35,538

28,950

1,369 บาท

รายรับจาก การบริจาค

เงินเริ่มต้นกองทุนฯ จากโรงเรียนทอสี

รายรับจากการ จัดกิจกรรม

รายรับอื่นๆ

รายรับรวม

705,180 678,580

รายจ่าย 376,600 358,380 301,920

346,200

187,200

342,420

154,800 60

โครงการ อาหารเช้าครู

สรุปรายรับ-รายจ่าย

ปี 2553

1,322,789 ปี 2554

266,879

โครงการ ชวนครูออม

เงินคงเหลือสะสม

-277,932

บาท รายจ่ายอื่นๆ

(บาท)

1,322,789

การจัดสรรเงินคงเหลือสะสม ในปัจจุบัน

1,589,668

เงินสำ�รอง เงินคงเหลือ สำ�หรับสวัสดิการ

ปี 2555

(พ.ค.- ต.ค.)

600 420

1,311,736

540,000 บาท

501,736 เงินกู้ฉุกเฉิน บาท 270,000 บาท

รายจ่ายรวม

ขอขอบพระคุ ณ ในทุ ก ความร่ ว มมื อ ที่ ร่ ว มด้ ว ยช่ ว ยกั น สนั บ สนุ น กองทุ น พั ฒ นาครู วิ ถี พุ ท ธโรงเรี ย นทอสี และ ขออนุโมทนากับทุกท่านที่มีจิตศรัทธาให้การสนับสนุน กองทุนฯ นี้ สนใจติ ด ต่ อ สนั บ สนุ น กองทุ น ฯ ได้ ที่ โ รงเรี ย นทอสี ฝ่ายบัญชี (ครูตา , ครูเก๋ ) โทร. 0 2713 0260 - 1 ต่อ 125 ,104 รายละเอียดการโอนเงิน ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุขุมวิท 71 ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี เลขที่บัญชี 971-2-08243-4 **รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาและมีมาตรการภาษีให้สิทธิประโยชน์ พิเศษแก่เอกชนที่ช่วยเหลือสังคมโดยการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา ให้ ใช้สิทธิ์หักลดหย่อนได้เป็นจำ�นวน 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10 % ของเงินได้สุทธิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เห็น ชอบกั บ มาตรการนี้ แ ล้ ว สิ ท ธิ ป ระโยชน์ พิ เ ศษนี้ จ ะมี ผ ลกั บ การบริ จ าค ในช่วงปี 2556-2558 ทัง้ นี้ ขึน้ อยูก่ บั มาตรการทางภาษีทที่ างรัฐบาลจะประกาศ ใช้อย่างเป็นทางการต่อไป



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.