และการตามหาเสี ย งที ่ ห ายไปของไท
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Part I Background Knowledges
ความรู้แต่ปูมหลัง
มีข้อมูลหลายอย่างที่อยากจะบอกเล่าให้ฟังกันก่อน เป็นการปูพื้นก่อนที่จะไปสู่เรื่องราวของการสำรวจ คุณอาจรู้สึกว่ามันอ่านยาก และเลือกที่จะไม่อ่านในส่วนนี้ก็ได้ แต่คุณจะไม่เข้าใจในความเป็นมาของเรื่องราวหลายอย่างที่จะตามมา ซึ่งอาจทำให้การเดินทางไปกับเรานั้นขาดอรรถรสไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้นขอแนะนำว่า อย่าข้ามไปจะดีกว่า
บันทึกการเดินทาง
โดยนำดนตรีไทยเดิมที่มีอยู่แล้วมาเล่นอีก หรือแค่เอามาเรียบ เรียงใหม่นะครับ ผมไม่อยากเล่นเพลงที่เล่นกันมาเป็นร้อยปี หรือหลายร้อยปีมาแล้ว ผมเป็นคอมโพสเซอร์ โดยธรรมชาติ จะอยากแต่งเพลงขึ้นมาใหม่มากกว่า กฏมีอยู่ว่า ถ้าเราทำสิ่ง เดิมๆ ซ้ำอยู่อย่างนั้นมันก็จะไม่มีการพัฒนา เพราะมันไม่เหลือ ที่สำหรับความรุ่งโรจน์แก่สิ่งใหม่ เด็กรุ่นใหม่จะไม่ค่อยอยาก เข้ามาสืบทอดเพราะไม่มีเป้าหมายให้พิชิต ที่ผมกำลังมองหา คือแนวทางในการสร้างผลงาน แบบที่จะเป็นการต่อลมหายใจ ของดนตรีไทยให้ยืนหยัดอยู่ได้ในท่ามกลางกระแสดนตรีตะวัน ตก ให้มรดกที่เรายังเหลืออยู่นี้ มันมีหนทางอีกเส้นหนึ่งให้เดิน ต่อไปได้อีกยาวไกล เช่นเดียวกับที่พี่ๆ หลายคนได้เคยทำเอา ไว้ และเพื่อนหลายคนกำลังพยายามทำอยู่ ปัญหาก็มีอยู่ว่า แนวทางที่ว่านั้น มันคืออะไรกัน ? ก็เป็นเรื่องที่ต้องขบคิด ต้อง ทดลอง ต้องค้นหากันต่อไป และนั่นก็คือสิ่งที่ค้างคาในหัวผม เป็นเวลาหลายปี. อย่างไรก็ดี ผมมีชื่อเรียกเล่นๆ ให้กับโครงการในฝันนี้ ไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า ไซอํมีสโปรเจ็คท์ (Siamese Project).
ก่อนการเดินทางจะเริ่มต้น สวัสดีครับ ผมชื่อพงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผม เป็นศิลปินและนักแต่งเพลง ผมคลั่งไคล้และลุ่มหลงในดนตรี ทุกชนิดที่มีอยู่ในโลกนี้ ผมมีความสงสัยใคร่รู้และกระตือรือล้น ในการค้นหาคำตอบ ที่จะช่วยทำให้ผมเรียนรู้และเข้าใจดนตรี เหล่านั้นให้มากขึ้นในทุกวิถีทาง ผมกำลังจะออกเดินทางไป กับโครงการสำรวจทางดนตรีที่น่าตื่นเต้น และท้าทายที่สุดใน รอบสิบปี นี่เป็นบันทึกภารกิจหน้าแรกของโครงการหนึ่งที่มีชื่อ ว่า “Genomusic” ส่วนมันจะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น ก็คง ต้องเกริ่นให้ฟังกันก่อนสักเล็กน้อย. ตลอดยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ผมผ่านการทำงานดนตรีมา มากและหลากหลาย ถึงแม้ว่างานส่วนใหญ่ที่เคยทำจะเป็น ดนตรีสมัยใหม่ แต่โดยส่วนตัว ผมกลับมีความสนใจในดนตรี พื้นเมืองต่างๆ มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือว่าของชาติ ไหนในโลกก็ตาม ยิ่งนานวันก็ยิ่งรู้สึกสนใจมากขึ้น ยิ่งค้นหาก็ ยิ่งพบว่า โลกเรานั้น ยังมีดนตรีดีๆ อีกมากมาย ที่เรายังไม่เคย ได้ยินได้ฟังกัน. ผมรักดนตรีไทยครับ เมื่อไรก็ตามที่มีโอกาสได้ทำงาน ดนตรีที่เปิดช่องให้ผสมผสานดนตรีไทยเข้าไปได้ล่ะก็ ผมจะรีบ ทำในทันที แต่อย่างไรก็ตาม งานที่มีเข้ามาให้ผมทำส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้มีโอกาสที่จะทำเช่นนั้นได้บ่อยครั้งนัก ได้แต่ตั้งปณิธาน ไว้ว่า มีโอกาสเมื่อไร จะขอทำแบบเต็มพละกำลังสักชิ้นหนึ่ง แต่ก็ตอบตัวเองยังไม่ได้ ว่าจะเป็นแบบใด.
ในช่วงหน้าร้อนของปี 2545, คณิต พฤกษ์พระกานต์ เป็นทั้งเพื่อนและเจ้านายของผม เอ่ยถึงความคิดเรื่องโครงการ ไซอํมีสนี้ขึ้นมา และกระตุ้นให้ผมลงมือทำโครงการนี้เสียที หลังจากที่มันเป็นแค่หัวข้อในวงสนทนาของพวกเรามานาน เต็มที ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ผมกำลังเบื่อวงการเพลงเมือง ไทยสุดๆ ผมไปพูดคุยหารือกับหลายคน และในที่สุดโครงการ ในฝันที่ว่านี่ ดูเหมือนจะได้เวลาเริ่มซะที. ตามหาเสียงที่หายไปของไท วันหนึ่งผมได้ไปหาพี่เอนก นาวิกมูล วีรบุรุษในอุดมคติ ของผมคนหนึ่ง ไปปรึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านไทย ในความคิดผม พี่เอนกเป็นคนหนึ่ง และอาจเป็นคนเดียวที่มี บทบาทสำคัญที่สุดในการเก็บรักษาเพลงพื้นบ้านไทย พี่เอนก เล่าว่า เพลงพื้นบ้านไทยภาคกลางที่เคยมีเกือบห้าสิบชนิดนั้น ตายไปเกือบหมดแล้ว เหลืออยู่ไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ยังมีคนเล่น กันอยู่ นั่นทำให้ผมเกิดมีแนวคิดหนึ่งขึ้นมา แนวคิดที่จะตาม หาเสียงที่หายไปนี้ของไทย และดูเหมือนว่า นี่เป็นความคิดที่ ไม่เลวเลยในการเริ่มต้นโครงการ. ผมเริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับดนตรีไทยและคนไทย เพื่อจะได้ เรียนรู้ให้มากขึ้น ขยายจากความสนใจในเพลงพื้นบ้านภาค กลางไปสู่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ แล้วก็เริ่มขยายไปหา คนไทเผ่าอื่นๆ ถึงตอนนี้ ตามหาเสียงของไท ตัด ย.ยักษ์ออก ไปแล้ว เพราะความสนใจมันเริ่มบานปลายไปสู่ชนเผ่าตระกูล
ในช่วงแห่งยุคสมัยนี้ มีสิ่งหนึ่งซึ่งน่าเป็นห่วง ดนตรีพื้น บ้านกำลังตายไปอย่างช้าๆ ทั่วโลก ไม่ใช่เพียงแค่ในเมืองไทย การแก้ปัญหาไม่ใช่แค่สร้างพิพิธภัณฑ์ แล้วเอาของไปเก็บไว้ ให้ดูกัน ขณะที่ดนตรีตะวันตกได้ครองโลกไปแล้วในวันนี้ และ เราไม่สามารถเปลี่ยนข้อเท็จจริงนี้ได้ เราควรมองกันยาวๆ ว่า ทำอย่างไร กระจับปี่ถึงจะอยู่บนเวทีเดียวกับกีต้าร์ได้ และต้อง อยู่อย่างยั่งยืน แทนที่จะมีให้ดูแต่ในพิพิธภัณฑ์ว่ามันหน้าตา เป็นอย่างไร. มีอยู่คำหนึ่ง ที่มักปรากฏขึ้นมาเวลาจะทำงานประเภท นี้ คำนั้นก็คือคำว่า “อนุรักษ์” แน่นอนว่าผมเองยินดีจะทำงาน ในด้านอนุรักษ์ไปด้วยอย่างเต็มที่อยู่แล้ว ซึ่งนั่นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่งานดนตรีที่ผมคิดจะทำนี่ ไม่ได้หมายถึงการสร้างผลงาน i-1
เรากำลังอยู่ในยุคสมัยแห่งสหวิทยาการ ความรู้แขนง หนึ่งต้องพึ่งพาการเรียนรู้แขนงอื่นๆ ควบคู่กันไป และแบ่งปัน องค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้นั้นร่วมกัน ซึ่งนั่นทำให้วันนี้มนุษย์เริ่ม ต้นเขียนตำราของพวกเขาใหม่ และมององค์ความรู้ทั้งหลาย ต่างไปจากเดิมอย่างที่เคยเป็น ความรู้เดิมที่พิสูจน์ว่าผิด ถูก ยกเลิกหรือชำระใหม่ ความรู้บางอย่างที่เคยถูกห้ามในอดีต ได้ รับการยอมรับและนำกลับมาเรียนรู้ใหม่ นี่ไม่ใช่สิ่งที่ผมเคยรู้ สมัยที่ยังเรียนหนังสืออยู่ (อย่างเช่นคนไทยมาจากเทือกเขาอัล ไต) มันเปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง ประตูหลายบานถูกเปิดขึ้น ทำให้แนวคิดในการสร้างผลงานของผม ต้องปรับเปลี่ยนไป ตามข้อมูลใหม่เหล่านี้ ซึ่งในที่สุด มันจะเปลี่ยนแนวคิดริเริ่ม ของผมไปสู่อีกเส้นทางอย่างไม่คาดคิด.
ไทกลุ่มอื่นๆ ที่มีอีกเป็นสิบสิบเผ่า เช่น ไทดำ ไทขาว ไทโยน ไท ใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทเหนือ ไทพวน ผู้ไท ไทอาหม จ้วง หลี .. ฯ จากนั้นก็หยุดไม่อยู่ มีข้อมูลมากมายประดังเข้ามา ล่อลวงให้ ลุ่มหลง ผมเริ่มขยายแผนงานให้ใหญ่ขึ้นไปอีก โดยตั้งเป้าว่า จะทำทั้งการสร้างผลงานด้วย และทำในด้านวิชาการควบคู่ไป ด้วยพร้อมๆ กัน รู้ตัวอีกทีก็พบว่า ในหัวสมองเต็มไปด้วยเป้า หมายเยอะแยะที่อยากจะทำ แถมมาด้วยโจทย์อีกเป็นกระบุง ที่ดูเหมือนว่าภูมิความรู้ของผมยังไม่พอที่จะรับมือกับคำถาม เหล่านั้น อย่างเช่น... ชนเผ่าไทเนี่ย เป็นใครมาจากไหนกันแน่... ทำไมดนตรีไทยฟังเหมือนจีนบ้าง... ฟังเหมือนอินโดบ้าง ... บางอย่างก็เหมือนมองโกล... บางอย่างก็เหมือนทางทิเบต เนปาล... เขาว่าดนตรีไทยรับอิทธิพลมาจากอินเดีย แต่ทำไมฟังแล้วไม่เห็นเหมือนเลย... ทำไมซอด้วงเหมือนซอเอ้อหูของจีน... ทำไมซอสามสายเหมือนซอรีบับของอินโด... อันที่จริงซอก็ดูคล้ายกันไปทั่วโลกเลย... ทำไมซอทุกชนิดถึงใช้หางม้าเป็นคันชักเหมือนกัน... ทำไมเพลงขับของชนเผ่าไทเช่นไทลื้อ ไทดำ ฟังดูแล้ว ก็คล้ายๆ กับชนเผ่าอื่นๆ ในเอเชีย... .......ฯลฯ
จากข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย ในชั้นแรก แนวทางส่วน ใหญ่ของโครงการ ยึดแกนหลักอยู่ที่เรื่องราวของคนไทยและ ชนเผ่าไทที่มีอยู่หลายต่อหลายเผ่าเป็นแกนสำคัญ เหตุผลก็ คือองค์ความรู้ด้านดนตรีชาติพันธ์ุวิทยา (Ethnomusicology) ที่เกี่ยวกับชนเผ่าตระกูลไท ยังไม่เคยมีใครทำอย่างละเอียดมา ก่อนเลย ผมกว้านซื้อหนังสือที่ฝรั่งเคยเขียนเคยสำรวจไว้ ก็ไม่ พบว่าได้มีการเจาะลึกลงไปในกลุ่มชนเผ่านี้ แต่ร่องรอยทาง วัฒนธรรมเหล่านี้กำลังเลือนหายไป และต้องรีบทำเสียก่อนที่ จะทำไม่ได้ เราทราบดีว่า ดนตรี การละเล่น และศิลปพื้นบ้าน กำลังถูกคุกคามอยู่ทุกมุมโลก ไม่เฉพาะแต่ของไท(ย)อย่าง เดียวหรอก อย่างที่ได้เกริ่นไปแต่แรก ผมได้กำหนดธีมไว้ว่า “เสียงที่หายไปของไท” ซึ่งอันที่จริงก็น่าสนใจดีอยู่แล้ว แต่เมื่อ เริ่มค้นคว้าลึกลงไปเรื่อยๆ กลับมีปัจจัยบางอย่างแทรกซ้อน เข้ามา นั่นก็คือ ข้อแรก เส้นของไทเริ่มแตกแขนงต่อโยงออกไป อย่างน่าสนใจ มันเริ่มผูกโยงกับชนเผ่าอื่นๆ ใกล้เคียงและเริ่ม กว้างขึ้น พบความสัมพันธ์ทั้งทางวัฒนธรรม รวมทั้งทางดนตรี กับชนเผ่าอื่นปรากฏขึ้น. ข้อสอง เพราะสาเหตุจากข้อแรก ทำ ให้ผมรู้สึกว่าการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ เริ่มสร้างความอึดอัดใจ ให้กับผมมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งค้นคว้าไปก็ยิ่งรู้สึกว่า ภาพสมมุติที่ แบ่งแยกนี้รบกวนจิตใจ ในความเป็นจริงแล้ว พบว่ามีสิ่งต่างๆ มากมายที่เชื่อมโยงคนในภูมิภาคเอเชียนี้เข้าไว้ด้วยกัน.
ผมนึกกับตัวเองว่า นี่น่าจะเป็นเวลาที่ผมต้องกลับไป เรียนหนังสืออีกกระมัง และนั่นก็คือเมื่อซักประมาณช่วงปลาย ปี 2545 ตอนที่ผมตั้งคำถามนี้กับตัวเอง. ผมทำอย่างนั้นจริงๆ เป็นเวลาราวสามปีกว่า คือตั้งแต่ ปี 2546-48 ท่ามกลางความฉงนของผองเพื่อนใกล้ชิดที่สงสัย ว่ากำลังพยายามทำอะไรกับหนังสือกองโตพวกนั้น ผมแอบ เป็นลูกศิษย์ลักเรียนโขมยเรียนของอาจารย์ไปหลายท่าน ผม เรียนหลักสูตรศิลปวัฒนธรรมนอกเวลาโดยไม่เสียค่าหน่วยกิต กับหนังสือของอาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ ไปหลายเล่ม แล้วก็ยัง ไปผลุบๆ โผล่ๆ ยืมหนังสือจากศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธรอีกเป็น ตั้งๆ พูดได้ว่า เหมือนเป็นการกลับไปเรียนหนังสือใหม่จริงๆ ได้ใช้หรือไม่ได้ใช้ก็ไม่รู้ล่ะ แต่บอกได้ว่าเพลิดเพลินเหลือเกิน ซึ่งก็ได้ประโยชน์โขอยู่ สิ่งต่างๆ มากมายที่ผมได้เรียนรู้ในช่วง เวลาที่ผ่านมานั่นมีคุณค่าอย่างยิ่งกับงาน ถึงแม้บางคนจะคิด ว่า มันไม่มีความจำเป็นนักที่จะต้องไปค้นคว้าอะไรมากมาย ขนาดนั้น เพื่อทำภารกิจทางดนตรีสักอย่าง.
ยกตัวอย่าง .. เมื่อเราพูดคำว่า ‘ไทย’ เราก็ถูกแบ่งออก จาก ‘ลาว’ ทันที ทั้งที่ไม่มีความแตกต่างที่แท้จริงอยู่เลยในทาง วิทยาศาสตร์ มีแต่เพียงภาพสมมุติที่เราสร้างขึ้นมาให้ต่างกัน ไปเอง เมื่อเรามอง ‘พม่า’ นั่นยิ่งแย่ใหญ่ นอกจากภาพสมมุติ ชื่อสมมุติที่แตกต่างกันแล้ว ประวัติศาสตร์ที่พูดได้ว่าเป็นฉบับ แค้นฝังแน่น ยิ่งทำให้ไม่มีอะไรที่เราและพม่าจะเกี่ยวข้องกัน นอกจากอดีตศัตรูคู่แค้น คนเมืองเชียงใหม่ที่เรียกตัวเองว่าคน i-2
ผมรู้ในทันทีว่านี่เป็นคำถามสะเทือนโลก ไม่เคยมีใคร นำเสนอแนวคิดนี้มาก่อน
เมือง รับรู้ว่าตัวเองเป็นไตหรือไทและไม่ชอบให้ถูกเรียกว่าลาว ทำไมรึ ? ภาพสมมุติที่ตั้งขึ้นมา ทำให้รู้สึกแบ่งแยกและหมาย เอาเองว่าอันนี้สูงกว่าอันนั้นต่ำต้อยกว่า คนไทยมีนิสัยเสียที่ ชอบพูดชอบเหน็บ เหมือนคำว่า ‘ลาว’ นี่ไม่ดี จนกลายเป็นโรค ระบาดร้ายแรงฝังอยู่ในสันดาน ทำให้พี่น้องลาวเจ็บใจ ทั้งที่คำ ว่าลาวเป็นคำที่มีความหมายดี (คน, นาย) การแบ่งแยกที่เห็น ได้ชัดเจนและรุนแรงกว่า อยู่ทางภาคใต้ของไทยเป็นตัวอย่าง ให้เห็นในปัจจุบัน ผมรู้สึกว่าทัศนะคติเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผมอยาก ให้เกิดขึ้นกับโครงการไซอํมีส แม้จะรักในความเป็นไทยของตัว เองแต่ก็ไม่อยากให้กลายเป็นความรู้สึกคลั่งชาติและแบ่งแยก เราได้ยินคำพูดที่ว่า ไทยลาวใช่อื่นไกลพี่น้องกัน อยู่บ่อยๆ หรือแม้แต่ จีนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน ก็ได้ยินบ่อยเหมือนกัน เมื่อเพ่งมองไกลออกไปยังลุ่มน้ำต่างๆ รอยเท้าของพวกเขา ปรากฏให้เห็นอย่างกลมกลืนกันมาแสนนานแล้วบนอุษาทวีป นี้ ครอบครัวใหญ่ .. ใช่แล้ว นั่นคือสิ่งที่ผมนึก เราจะพูดถึงแต่ ตัวเอง โดยไม่พูดถึงพี่น้องคนอื่นๆ ได้อย่างไร. และแล้ว .. ข้อมูลที่สำคัญที่สุด ซึ่งได้กลายมาเป็นตัว กำหนดทิศทางใหม่ให้กับโครงการนี้ของผมก็มาถึง มันทำให้ ผมเข้าใจในที่สุดว่า ปัจจัยแทรกซ้อนที่พบก่อนหน้านี้ แท้จริง แล้วมีสาเหตุมาจากอะไร. ไม่นานหลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ สามารถสร้างแผนที่ ดีเอ็นเอของมนุษย์ได้สำเร็จ เราก็ได้หนังสือประวัติศาสตร์เล่ม เยี่ยมที่สุดที่ไม่มีการเมืองมาทำให้ด่างพร้อย ความรู้ใหม่ด้าน ชีววิทยาพันธุกรรม ได้เปิดเผยให้เราได้รู้ถึงความเกี่ยวโยงกัน ของคนทั้งโลกผ่านทางสายเลือด ไปสู่บรรพบุรุษเดียวกันที่อยู่ ในแอ๊ฟริกา อย่างน่าอัศจรรย์ มันได้เปิดเผยเส้นทางการอพยพ ของพวกเขาไปยังส่วนต่างๆ ของโลก ด้วยข้อมูลนี้ มันได้เปิด เส้นทางในการตามหาเสียงที่หายไปของไทเส้นทางใหม่ให้แก่ ผม มันได้เชื่อมโยงกลุ่มไทเข้ากับเครือญาติอื่นๆ ในเอเชีย ไปสู่ เกาะแก่งต่างๆ ในทะเลใต้ หรือแม้แต่เชื่อมโยงเราไปสู่พวก อินเดียนแดงเผ่าต่างๆ ในอเมริกา นี่เป็นหนึ่งในปริศนาที่ผม แอบสงสัยมาตลอด ร่องรอยทางวัฒนธรรมดนตรีบางอย่างที่ หายไปจากที่หนึ่ง แต่อาจยังปรากฏอยู่อีกที่หนึ่ง โดยที่เราไม่ เคยคิดหรือเคยคาดเดาว่ามันเกี่ยวพันกันมาก่อน.
และถ้ามันมีพันธุกรรมที่เกี่ยวโยงกันอยู่จริง ก็อาจกล่าวได้ว่า ดนตรีจะต้องมีตระกูล เช่นเดียวกับที่ภาษาถูกจัดว่ามี ยังไม่เคยมีใคร นำเสนอทฤษฎีนี้มาก่อนเช่นกัน ในที่สุด ผมจึงได้พบแนวทางที่ผมอยากจะทำ และนี่ คือที่มาของโครงการที่คุณกำลังอ่านบันทึกหน้าแรกของมันอยู่ ในขณะนี้.. โครงการไซอํมีสลำดับที่ 1 ที่มีชื่อว่า.. “Genomusic” (Genome + Music) ตอนนี้คุณทราบแล้วว่าชื่อนี้มีที่มาอย่างไร ต้นปี 2550 ผมตัดสินใจทดลองออกเดินทางสำรวจ . จากข้อมูล กลุ่มดีเอ็นเอที่พบว่ามีอัตราเฉลี่ยสูงอยู่ในประชากร เอเชีย อย่างเช่นไทยและจีนก็คือ M175 และ M174, เมื่อเรา พิจารณาดูจากชื่อของประเทศ เราไม่อาจคาดหมายเลยว่าจะ มีความเกี่ยวโยงอะไร ระหว่างคนไทยกับคนภูฏานหรือกับคน ทิเบต แต่เมื่อเราพิจารณาจากกลุ่มของดีเอ็นเอ กลับกลาย เป็นว่าเราเป็นญาติกับคนภูฏานและคนทิเบตทันที ครั้งหนึ่ง เราเคยเดินทางผ่านที่นั่น มีบางพวกหยุดลงหลักปักฐาน ขณะ ที่บางพวกเดินทางต่อ มันน่าสงสัยว่า จะมีอะไรที่เชื่อมโยงกัน ทางดนตรีเหลืออยู่ให้เห็นหรือไม่ ผมตัดสินใจไปที่ภูฏานเพื่อ หาข้อมูลเรื่องนี้ หลังจากนั้นผมออกเดินทางสำรวจในเส้นทาง จากลาวไปจนถึงยูนนานตอนล่าง เพื่อเปรียบเทียบดนตรีใน ดินแดนเหล่านั้นกับดนตรีของชนเผ่าไท ถึงจุดนี้ ผมมั่นใจเต็ม เปี่ยมในสมมุติฐานนี้ มีความเชื่อมโยงอยู่มากมายทางดนตรี ปรากฏให้เห็นอย่างไม่มีข้อสงสัย ถึงเวลาเดินเครื่องเต็มที่แล้ว. ผมกลับมาเพื่อวางแผนการสำรวจ ผมตระหนักดีว่า โครงการนี้ใหญ่เกินกว่าที่ผมจะทำคนเดียวได้ และเริ่มมองหา แนวร่วม อานันท์ นาคคง เป็นชื่อที่ใครๆ บอกกับผมเสมอว่าให้ ชวนมาทำงานนี้ด้วยกัน อาจารย์อานันท์ เป็นนักวิชาการสาย ดนตรีชาติพันธุ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเมืองไทย นอกจากนั้นยัง เป็นหัวหน้าวงดนตรีกอไผ่ วงดนตรีไทยร่วมสมัยที่มีชื่อเสียง ผมยังมีนักวิชาการดนตรีสาวหัวก้าวหน้า พีเอชดีคอมโพสิชั่น ดร.อโณทัย นิติพน มาช่วยงานด้านวิเคราะห์ทางโครงสร้าง ดนตรีอีกหนึ่งคน แล้วก็เริ่มมีนักวิชาการหลายคนเริ่มทะยอย ยื่นมือมาช่วยเหลือ คนแรกคือ พี่ธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียน สารคดีที่เป็นที่ยกย่องคนหนึ่งของเมืองไทย.
โจทย์สำคัญปรากฏขึ้นตรงหน้าผมทันที.. ในเมื่อคนทั้งโลก มีพันธุกรรมที่เกี่ยวโยงกันทางสายเลือดแล้ว เป็นไปได้ไหมว่า จะมีพันธุกรรมที่เกี่ยวโยงกันทางดนตรีด้วย ?
i-3
แน่นอนว่านี่เป็นโครงการที่ใหญ่และยาก ผมไม่รู้ว่า ภารกิจแรกนี้จะใช้เวลานานซักเท่าไร ตามที่ได้วางแผนเอาไว้ เราจะทำการสำรวจดนตรี ตามเส้นทางการอพยพของมนุษย์ กลุ่มต่างๆ ที่เคลื่อนเข้าสู่ทวีปเอเชีย ซึ่งทางวิชาการจำแนก ออกเป็นกลุ่มพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า Haplogroup ดังนี้คือ.. M*, B, F, M4, M119, M174, M175, M217, P31... เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นกลุ่มที่มีนัยสำคัญในเอเชีย เป็นสาแหรกหลัก ของกลุ่มเครือญาติแห่งภูมิภาคนี้ ภารกิจคือออกไปทำการเก็บ ข้อมูล สัมภาษณ์ บันทึกเสียง บันทึกวิดีโอเทป และถ่ายภาพ.. หลังจากนั้นก็จะทำการวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปตามสมมุติฐาน ที่ได้ตั้งไว้ จากนั้นจึงนำเสนอผลงาน.
โครงกระดูกขุดพบที่บ้่านเชียง ( ประมาณ 3,000 BC )
ผลงานจะนำออกเสนอต่อสาธารณะชน ทั้งในรูปแบบ ของภาพยนตร์สารคดี ผลงานดนตรีร่วมสมัย หนังสือบันทึก การเดินทาง ที่มีทั้งภาพและเรื่องราวการเดินทาง ประกอบกับ ความรู้ทางด้านดนตรีชาติพันธ์ุวิทยา ทั้งของไท-ไทยและเอเชีย นอกจากนี้ เรายังตั้งใจจะจัดทำศูนย์ข้อมูลของโครงการนี้ เพื่อ จะให้ผู้ที่สนใจจะเดินตามรอยของเรา ได้ใช้ค้นคว้าเพิ่มเติมใน อนาคตได้. คนไทในยูนนาน
แน่นอนว่าที่คุณกำลังอ่านอยู่นี่ คือส่วนหนึ่งของผล งานที่เรากำลังนำเสนอต่อคุณ มันคือบันทึกบทแรกของเรื่อง ราวการเดินทางอันน่าตื่นเต้นของเรา ไม่เพียงแต่จะทำหน้าที่ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของการเดินทางในครั้งนี้เท่านั้น ผมยัง ตั้งใจไว้ว่าจะพยายามสอดแทรกเกร็ดความรู้ต่างๆ สิ่งละอัน พันละน้อยให้ได้มากที่สุด มาเพิ่มเติมให้คุณได้อ่านควบคู่ไป ด้วย คุณจะไม่ได้แค่ความรู้ทางด้านดนตรีเท่านั้น แต่ผมและ เพื่อนๆ จะพยายามสอดแทรกความรู้อื่นๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ศิลป วัฒนธรรม โบราณคดี วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ลึกลับ ศาสตร์ และอะไรก็ตาม ที่จะทำให้การเดินทางไปกับเราสนุก และได้ประโยชน์สูงสุด. ผมกับทีมงานอันประกอบไปด้วยนักดนตรี นักวิชาการ ซาวด์เอนจิเนียร์ ตากล้องทั้งวิดิโอและภาพนิ่ง เรากำลังจะพา คุณออกเดินทางไปกับเรา รัดเข็มขัดและทำตาโตหูผึ่งเข้าไว้ ความท้าทายกำลังรออยู่ข้างหน้า ยินดีต้อนรับสู่การเดินทาง ของเราครับ. พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มกราคม 2551
i-4
ภาพ “Tree of Life” : พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
รหัสชีวิต พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา a-1
ก็ น ่ า จะสามารถตรวจพบเบาะแสเกี ่ ย วกั บ การอพยพของ บรรพบุรุษมนุษย์ได้. เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำพอ จึงต้องการตัวอย่างดีเอ็นเอ เป็นจำนวนมากที่สุด เท่าที่จะหาได้จากทั่วโลก โดยเฉพาะจาก ในกลุ่มชนพื้นเมืองที่อยู่ในพื้นที่ที่ปิดกั้น มีสัมพันธ์กับภายนอก น้อยที่สุด ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสในการปะปนทางพันธุกรรมก็ จะน้อยลงไปด้วย โชคไม่ดีนัก โลกสมัยใหม่รุดหน้าไปอย่าง รวดเร็ว เรื่องราวที่ซุกซ่อนอยู่ในชนพื้นเมืองที่เหลืออยู่ในโลกนี้ กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะหลอมละลายไปใน ‘เบ้าหลอม’ ทาง วัฒนธรรม. ชนพื ้ น เมื อ งดั ้ ง เดิ ม อย่ า งเช่ น พวกเซมั ง ซาไกใน ประเทศไทย หันมาใช้ชีวิตแบบคนเมืองจนเกือบหมดแล้ว พวกมอเกนหรือยิปซีทะเล ก็ถูกบีบให้ขึ้นฝั่งแล้วมาใช้ชีวิตแบบ คนบนฝั่ง ชนพื้นเมืองพากันทิ้งถิ่นฐานออกจากพื้นที่ของตน ด้วยสาเหตุหลักสามประการ คือ หนึ่ง - หมดโอกาสและความ หวังที่บ้านแล้ว สอง- เชื่อว่ามีโอกาสที่ดีกว่ารออยู่ที่อื่น สามถูกบังคับให้ย้ายไป. ส่วนใหญ่ชนพื้นเมืองนั้น จัดว่ายากจน ที่สุดในพวกที่ยากจนและอาศัยอยู่ในถิ่นฐานที่แร้นแค้น วิถี ชีวิตแบบดั้งเดิมถูกคุกคาม เด็กๆ ของพวกเขา ทิ้งถิ่นฐานไป หาความเจริญในเมืองใหญ่กันหมด ซึ่งก็คือ ‘เบ้าหลอม’ ที่ว่านี่ แหละ เมื่อพวกเขาโดดลงไปในเบ้านั้นแล้ว ร่องรอยในดีเอ็นเอ ที่จะบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างชัดเจนนี้ก็จะหายไป.
ก่อนจะเริ่ม ผมอยากจะบอกก่อนว่าเรื่องราวที่คุณจะ อ่านต่อไปนี้นั้นยากและชวนปวดหัว แต่มันก็ไม่มีวิธีเล่าแบบ ไหนที่ง่ายไปกว่านี้แล้ว อดทนอ่านและทำความเข้าใจช้าๆ นะ ท่านนะ ความสนุกจะมาถึงเมื่อคุณเริ่มเข้าใจ มีขนมหวานอยู่ ปลายทางข้างหน้า. จริงๆ นะ สาบานได้ ! 26 มิถุนายน พ.ศ . 2543 ประธานาธิบดี บิล คลินตัน พร้อมกับนักวิทยาศาสตร์สาขาพันธุกรรมอีกสองคน จัดแถลง ข่าวขึ้นที่ทำเนียบขาว มันคือการเฉลิมฉลองให้ชัยชนะอันยิ่ง ใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ของโลก ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นข่าว สำคัญ ถึงขนาดที่ประธานาธิบดีต้องการเป็นผู้แจ้งข่าวสารนี้ ด้วยตัวเอง แผนที่พันธุกรรมมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์อันแรกของ โลก ซึ่งแสดงลำดับหน่วยพันธุกรรมถึง 2.85 พันล้านหน่วยที่ ประกอบกันขึ้นเป็นยีนส์ของคนเราได้ถูกจัดทำสำเร็จ รหัสของ ชีวิตได้ถูกไขออกแล้ว ! นี่คือแผนที่มหัศจรรย์ที่สุดเท่าที่มนุษย์ เคยทำขึ้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราได้ก้าวข้ามมาสู่ยุครุ่งโรจน์ แห่งวิทยาศาสตร์พันธุกรรมแล้ว. ในวันแถลงข่าวนั้น คลินตัน ถึงกับปล่อยมุขว่าเขาจะอยู่จนถึง 150 ปี ซึ่งเป็นไปได้มากเลย ว่า.. ก่อนปลายศตววรษที่ 21 นี้ มนุษย์เราอาจประสบความ สำเร็จที่จะทำเช่นนั้นได้. ในเมื่อเราเข้าใจในยีนส์ของเราดีพอ โอกาสที่จะเอาชนะโรคร้ายต่างๆ ก็มีสูงขึ้น. ในขณะที่วิสัยทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มอง ตรงไปสู่อนาคต มีนักวิทยาศาสตร์อยู่จำนวนหนึ่งที่ทำตรงกัน ข้าม ในความเป็นนักชีววิทยาของพวกเขา กลับมีความเป็นนัก มนุษยวิทยา และนักประวัติศาสตร์อยู่ในตัวด้วย ดังนั้น แทนที่ จะมองไปข้างหน้า พวกเขากลับมองย้อนไปในอดีต. ที่แล็บเล็กๆ ในอ๊อกซ์ฟอร์ด ตัวอย่างดีเอ็นเอจากทั่ว โลกถูกเก็บไว้ในห้องสมุดพันธุกรรมของที่นี่ พวกเขาใช้มันเพื่อ อ่านข่าวสารย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ช่วงห้าหมื่นกว่าปีที่ แล้วของมนุษย์. ดีเอ็นเอ ก็เหมือนกับหนังสือประวัติศาสตร์ประชากร นั่นแหละ มันไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือหาตัวผู้ร้ายให้นักนิติ เวชอย่างคุณหมอพรทิพย์ หรือช่วยพิสูจน์ว่าเด็กคนนี้เป็นลูก ใครเท่านั้น มันยังเชื่อมโยงผู้คนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในแต่ละซีก โลกเข้าด้วยกันได้ หนำซ้ำ มันยังระบุเวลาเอาไว้ในข้อมูลเหล่า นั้นด้วย จากตัวอย่างดีเอ็นเอที่ได้จากทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มนี้ ได้ทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ต่างๆ มาเป็นเวลานานหลายชั่วคน โดยไม่มีการย้ายถิ่น เช่น ชนพื้นเมืองท้องถิ่น .. มีความเป็นไปได้ ที่จะพบข้อมูลบาง อย่างเกี่ยวกับบรรพบุรุษของมนุษย์ซ่อนอยู่ในดีเอ็นเอเหล่านั้น และเมื่อเอาดีเอ็นเอไปเปรียบเทียบกับชนพื้นเมืองที่อยู่ในที่อื่น
หลายคนอาจยังไม่รู้ตัวเลยว่า ทุกวันนี้ โลกกำลังอยู่ใน ภาวะที่วัฒนธรรมมากมายกำลังเสื่อมสูญ ความหลากหลาย ทางชีวภาพก็กำลังถึงขั้นวิกฤติ วิกฤติอันนึงที่เข้าขั้นสาหัสไป แล้วก็คือการสูญพันธ์ุของภาษา นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าในช่วง ปี ค.ศ.1500 มีภาษาพูดอยู่ในโลกมากมายราว 15,000 ภาษา จนกระทั่งทุกวันนี้ เหลือภาษาพูดอยู่ประมาณ 6,000 ภาษา เท่านั้น สำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษ นี่อาจไม่เดือดร้อนอะไร เพราะภาษาอังกฤษ กลายเป็นภาษาสากลไปแล้ว ขอบอกว่า นี่คือหายนะอย่างแท้จริง เป็นไปได้ว่าเมื่อสิ้นศตวรรษนี้ เก้า สิบเปอร์เซ็นต์ของภาษาเหล่านี้จะสูญหายไป เราเสียภาษาไป ทุกสองสัปดาห์ ในการอพยพเข้าสู่ ‘เบ้าหลอม’ นี้ พร้อมๆ กับ การผสมผสานของยีนส์แบบ รวมโลก. มันอาจน่ายินดี ที่เราได้ทะลายพรมแดนที่กีดขวางการ สื่อสารของมนุษย์ไป แต่การเพิกเฉยต่ออดีตนั้น ไม่ให้ผลดีแก่ เราแน่นอน การเก็บรักษาสิ่งต่างๆ ไว้ให้ได้มากที่สุดนั้น มีข้อดี มากกว่าข้อเสีย แม้ว่าบางสิ่งนั้น เราอาจจะไม่ได้ใช้มันมากนัก ก็ตาม ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมีห้องสมุด มีพิพิธภัณฑ์ น่าขำนะ บางคนชอบแดกดัน เวลาพูดถึงบางสิ่งที่เก่าไปในความคิดเขา ว่า ให้เอาไปเก็บพิพิธภัณฑ์ซะ แต่แม้แต่คนประเภทนี้ก็ยังต้อง a-2
ใช้ประโยชน์จากพิพิธภัณฑ์ ถ้าสิ่งต่างๆ เหล่านี้หายไปรวมถึง ร่องรอยที่ว่าในดีเอ็นเอนี้ เราก็หมดโอกาสที่จะอ่านข่าวสาร จากอดีตของเรา ซึ่งบางที อาจเป็นตัวแปรที่ช่วยให้เรารอดจาก หายนะบางอย่างที่จะมาถึงในอนาคตก็เป็นได้ เช่น การกลาย พันธ์ุของไวรัสที่ก่อโรค.. โรคระบาดในอดีตที่กลับมาอีก...ฯ
แผนภูมิสาแหรกพันธุกรรมมนุษย์ของ ศจ. ลูกา
[ภาพข้างบน เป็นภาพแผนภูมิของอาจารย์ลูกาที่แสดง ให้เห็นสาแหรกที่โยงพันธุกรรมของมนุษย์ตระกูลต่างๆ ไปสู่ ต้นสาแหรก ถ้าอยากทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ศจ.ลูกา หาข้อมูล ได้จาก wikipedia.org หรืออาจค้นหาโดยการพิมพ์ชื่อหรือชื่อ หนังสือของเขาได้ในกูเกิ้ลส์ มีเรื่องราวให้อ่านอีกอย่างจุใจ]
ศาสตราจารย์ ลุยจิ ลูกา คาวาลลี่ สฟอร์ซา (Luigi Luca Cavalli Sforza) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยน หนึ่งใน คนที ่ ม ี บ ทบาทสำคั ญ ที ่ ส ุ ด ในการค้ น หาความลั บ ผ่ า นทาง ดีเอ็นเอของมนุษย์ พูดได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดเรื่องนี้เลยก็ ว่าได้ อาจารย์ลูกา เชื่อมั่นตั้งแต่เมื่อสามสิบปีที่แล้วว่า ภายในดีเอ็นเอของมนุษย์นั้น ซ่อนข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับ บรรพบุรุษเอาไว้ เพียงแต่เราจะต้องหาวิธีการที่จะอ่านข้อมูล เหล่านั้นให้ได้เสียก่อน. ศจ. ลูกา เกิดที่เจนัว ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์มหา บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแพฟเวียในปี 1944 เป็นศาสตรา จารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมาตั้งแต่ปี 1970 (ปัจจุบัน เกษียณแล้ว) เขาทุ่มเทเวลาให้กับการศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่างการอพยพย้ายถิ่นของมนุษย์กับกลุ่มเลือด ศจ.ลูกา และเพื่อนๆ นักวิทยาศาสตร์ ค้นคว้าวิจัยในเรื่องดังกล่าวนี้มา ตั้งแต่ปี 50s ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างเลือดจากที่ต่างๆ ในโลก ต่อเนื่องยาวนานนับสิบปี นำเสนอแนวคิดนี้และตีพิมพ์ ผลงานที่ท้าทายน่าตื่นตะลึงหลายชิ้นด้วยกัน เช่น The Genetics of Human Populations, The History and Geography of Human Genes.. นอกเหนือจากเป็นนักพันธุกรรมแล้ว เขา ยังสนใจงานมนุษยวิทยาสายอื่นๆ เช่น ด้านวัฒนธรรม เขานำ เสนอความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งต่อทางวัฒนธรรมที่ สัมพันธ์กับการพัฒนาทางพันธุกรรมในหนังสือชื่อ Cultural Transmission and Evolution.
แต่คนที่มีความโดดเด่นที่สุดในแวดวงนักพันธุกรรมยุค นี้ คงไม่มีใครเกิน ดร. สเปนเซอร์ เวลส์ (Dr. Spencer Wells). สเปนเซอร์จบปริญญาเอกทางชีววิทยาที่ฮาวาร์ด เคย ทำงานวิจัยเป็นผู้ช่วย ศจ.ลูกาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด มีผลงานโดดเด่นด้านพันธุกรรมที่ ทำให้เขาได้รับรางวัลมากมายทั้งที่ยังหนุ่มอยู่ a-3
สเปนเซอร์เริ่มมีชื่อเสียงจากผล งานที่ออกมาในปี 2002 หนังสือ ชื่อ Journey of Man : A Genetic Odyssey ได้นำพาพวกเราย้อนรอย กลับไปสู่บรรพบุรุษเดียวกันที่อพยพ ออกจากแอ๊ฟริกา ถอยไปไกลกว่า ห้าหมื่นปี ก่อนที่จะกระจายกันออก ไปพิชิตโลก ทฤษฎีของ ศจ. ลูกา ได้ รับการยืนยันว่าถูกต้อง นี่คือความรู้ ที่ได้ทะลายกำแพงของการแบ่งแยกทางชาติพันธ์ุและสีผิว ออกไป ความรู้นี้กำลังบอกกับเราว่า เราทั้งหมดในโลกล้วน เป็นพี่น้องกัน
สเปนเซอร์ ยังได้พาเราไปพบความเชื่อมโยงกับชนพื้น เมืองในอินเดีย ไปสู่ชาวเผ่าอะบอริจิ้นในออสเตรเลีย ไปสู่ชาว เผ่าชุกชีในรัสเซียตะวันออกเฉียงเหนืออันหนาวเย็น เชื่อมโยง ไปสู่อินเดียนแดงเผ่านาวาโฮในอเมริกา และเขายังทำให้เรา ประหลาดใจ ด้วยการพาเราเข้าไปยังประเทศทาจิกิสตานใน เอเชียกลาง ที่ซึ่งความคิดของการมีเชื้อสายไอริชของเขาได้ถูก โยนทิ้งไป เมื่อเขาได้ไปพบกับครอบครัวของมิยาซอฟ ชายผู้ สืบเชื้อสายแห่งตระกูลที่ซึ่งบรรพบุรุษบางคนในครอบครัวนี้ได้ อพยพเข้าไปในยุโรป และต่อมาได้กลายเป็นบรรพบุรุษของต้น ตระกูลเวลส์ ทั้งคู่นั่งมองหน้ากัน จับมือและกอดกัน. อย่างไม่ น่าเชื่อ พี่น้องจากปลายทางของสาแหรกสองเส้นได้มาบรรจบ กัน นั่นเป็นภาพที่น่าประทับใจอย่างไม่ต้องสงสัย เราลืมไป สนิทว่าเวลส์นั้นเป็นคริสต์และมิยาซอฟเป็นมุสลิม นั่นไม่ สำคัญเลยซักนิด. นี่เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมจริงๆ ในท่ามกลาง โลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งเช่นนี้ นี่แหละที่ทำให้ผมเปลี่ยน แนวคิดในการทำ ‘โครงการไซอํมีส’ มาสู่แนวทางการสำรวจ ของเวลส์และใช้ข้อมูลของเขานับแต่นั้น แม้ว่างานที่ผมทำจะ เกี่ยวกับดนตรี แต่มันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า มันได้เกี่ยวพันเข้ากับ มนุษยวิทยาและชีววิทยาอย่างแยกไม่ออกเสียแล้ว. หลั ง จากความสำเร็ จ ของ Journey of Man สเปนเซอร์เปิด ตัวโครงการใหม่ของเขาในอันดับ ต่อมา ”Genographic” คราวนี้เขา ได้เปิดเผยให้เห็นรายละเอียดของ เส้นทางการอพยพและข้อมูลของ เผ่าพันธุ์ทุกกลุ่ม นี่เป็นแผนที่ที่ผม ใช้เป็นพิมพ์เขียวในการสำรวจทาง ดนตรีของผมก็ว่าได้ นอกจากนี้ ทางโครงการ Genographic ยังได้เปิดรับการมีส่วนร่วมจากผู้ คนทั่วโลก โดยการสั่งซื้อชุดตรวจสอบดีเอ็นเอ คุณแค่เก็บ ตัวอย่างเนื้อเยื่อจากกระพุ้งแก้มของคุณ ส่งกลับไปที่แล็บแล้ว ก็รอราวเดือนหนึ่ง หลังจากนั้นคุณก็จะได้รับผลแล็บที่จะบอก รายละเอียดเกี่ยวกับบรรพบุรุษของคุณว่ามาจากไหน และได้ เดินทางผ่านที่ใดมาบ้าง ส่วนทางโครงการก็จะได้ตัวอย่าง ดีเอ็นเอเพื่อการวิเคราะห์เพิ่มขึ้นในฐานข้อมูล ตอนที่หนังสือ Deep Ancestry ตีพิมพ์ สเปนเซอร์ก็มีตัวอย่างดีเอ็นเอจาก การมีส่วนร่วมแบบนี้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 160,000 ตัวอย่างเข้าไป แล้ว แน่นอน ผมไม่รอช้าที่จะทำการทดสอบนี้ ด้วยการสั่ง ชุดเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อนี้มา ขูดกระพุ้งแก้มตัวเอง แล้วก็ส่ง กลับไปทันที.
ในสารคดีชื่อเดียวกันนี้ ซึ่งสนับสนุนโดยเนชั่นแนลจีโอ กราฟฟิก สเปนเซอร์พาเราเดินทางไปทั่วโลก เพื่ออธิบายว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเพราะอะไรเราจึงได้ดูต่างกัน สเปน เซอร์ พาเราไปพบกับชนเผ่าที่เก่าแก่ที่สุดเผ่าหนึ่งในกาลาฮารี แอ๊ฟริกา ชื่อเผ่า ซาน บุ๊ชแมน (San Bushman) ดีเอ็นเอของ ชนเผ่านี้ ได้บอกให้พวกเรารู้ว่า พวกเขาเป็นมนุษย์ที่เก่าแก่ ที่สุดในโลก เชื่อมตรงใกล้ชิดที่สุดกับต้นสาแหรกในครอบครัว ของเรา (M168) รูปแบบอย่างหนึ่งของภาษาที่เก่าแก่และได้ สูญหายไปหมดแล้วในเผ่าพันธ์ุอื่น แต่กลับยังคงเหลืออยู่ใน ชนเผ่าซานนี้ นั่นคือภาษาที่มีเสียงคลิ๊ก (คนไทยเรารู้จักเผ่านี้ แล้ว นิเซา ในเทวดาท่าจะบ๊องส์ไง) อย่างอ่อนน้อมและสุภาพ สเปนเซอร์บอกกับพวกซานว่า “ ผมมาจากคุณ.. เป็นเกียรติ มากที่ได้มาพบกับพวกคุณที่เป็นต้นสายของพวกเรา เลือด ของคุณบอกกับเราอย่างนั้น” มันน่าประทับใจที่ฝรั่งคนหนึ่ง พูดกับคนพื้นเมืองแอ๊ฟริกันเช่นนั้น เราต้องไม่ลืมว่า แม้ทุกวัน นี้ การเหยียดผิวก็ยังมีอยู่ คนยุโรปและคนอเมริกันเคยถือว่า คนดำเป็นสัตว์ ไม่เสมอเท่าเทียมกับคนขาวเช่นตน แต่วันนี้ วิทยาศาสตร์กลับบอกว่า พวกเรามาจากพวกเขา นี่จะทำให้ ใครได้คิดบ้างหรือไม่ ยังเป็นที่กังขา. a-4
หลังจากนั้นประมาณเดือนกว่าๆ เห็นจะได้ ผลก็ออก มา ผมถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Haplogroup O (M175) และนี่คือ เส้นทางของบรรพบุรุษของผมถอยไปราว 31,000-79,000 ปี จากแอ๊ฟริกามาสุดตรงบริเวณที่นักวิชาการต่างเห็นพ้องกันว่า เป็นถิ่นฐานเก่าแก่ของชนเผ่าไท แถบกวางสี ในจีนตอนใต้.
...DNA มาจากคำเต็มว่า DeoxyriboNucleic Acid มันเป็นองค์ประกอบที่มีน้ำตาลเป็นแกน เหมือนแผ่นน้ำตาลที่ ถูกเชื่อมเข้าด้วยกันกับฐานที่เป็น Nucleic Acid ที่เรียกอีก อย่างว่า Nucleotides ซึ่งมีส่วนประกอบชุดละสี่ตัวในหนึ่ง โมเลกุลดีเอ็นเอ และพวกมันก็เก็บรหัสที่ถูกเขียนเอาไว้ต่อ เนื่องกันไปตลอดห่วงโซ่ดีเอ็นเอทั้งหมด. Nucleotides สี่อัน ของแต่ละชุดมีชื่อเรียกว่า Adenine, Cytosine, Guanine และ Thymine. อันที่จริงชื่อของมันก็ไม่สลักสำคัญอะไร ดังนั้นเรา ก็เลยเรียกมันสั้นๆ แค่ A,C,G และ T ก็พอแล้วล่ะ แต่ไอ้ที่ สำคัญจริงๆ คือลำดับการจัดเรียงของแต่ละหน่วยอย่างเป็น สัดเป็นส่วนในยีนของเซลคนเรานี่ล่ะ มันช่วยกำหนดสีผิว, กำหนดแนวโน้มที่อาจจะเป็นโรคเบาหวานหรือกลายเป็นคน ติดเหล้า, กำหนดความสูงรวมทั้งลักษณะทางกายภาพทั้ง หลายที่ระบุว่าเป็นตัวคุณ.. ยีนส์เหล่านี้กระจายอยู่ทั่วไปใน กลุ่มยีน (จีโนม) ของคุณ มีแนวโน้มว่าจะมีความยาวอยู่ ระหว่าง 5,000 - 50,000 nucleotides ประกอบเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปจีโนมของคนเรามีอยู่ประมาณ 30,000 ยีนส์.
ถ้าใครสักคน เกิดอยากที่จะสืบค้นต้นสาแหรกของ วงตระกูลขึ้นมา ด้วยวิธีอื่น บางทีเขาอาจจะสืบย้อนไปได้ไกล พอสมควร แต่ในที่สุด เขาก็จะชนกำแพงและสืบสาวต่อไปไม่ ได้อีก แต่เชื่อไม๊ว่า ดีเอ็นเอไม่เป็นเช่นนั้น .. มันทะลายกำแพง นี้และดึงเราไปจนถึงรากลึกที่สุดของสาแหรกได้.
Adenine
Cytosine
เมื่อมันวิเศษขนาดนี้แล้วเนี่ย.. ช่วยบอกหน่อย อะไรคือ ดีเอ็นเอ ? Base Pair
Sugar Phosphate
สเปนเซอร์อธิบายง่ายๆ กับเราว่า.. เจ้าโมเลกุลเหล่านี้นี่แหละที่พาเราย้อนไปได้ไกลใน อดีต มันเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่บรรพบุรุษมอบให้เรา เป็นของขวัญติดตัวไปทุกหนแห่ง เจ้าโมเลกุลเหล่านี้เรียงต่อ เนื่องซ้ำกันเป็นเส้น เหมือนเทปเส้นเล็กๆ มันร้อยเรียงกัน เหมือนรหัสมอร์ส เพียงแต่ไม่ได้เป็นจุดๆ แต่เป็นแท่ง ชุดละสี่ อันต่อกันไปเรื่อยๆ บรรจุอยู่ในเกือบทุกเซลในร่างกายมนุษย์ เรา พูดได้ว่า..มันเปรียบเหมือนแบบแปลนที่ใช้สร้างตัวตน และเลือดเนื้อที่ประกอบเป็นคุณนั่นแหละ มันเป็นแบบแปลน ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันกับแบบแปลนอันอื่นๆ แต่มหัศจรรย์ที่ มันกลับมีความเป็นเอกเทศแตกต่างหลากหลายไม่ซ้ำกันเลย ในแต่ละแบบแปลน มันมีข้อมูลมากมายอัดแน่นอยู่ในนั้น ถ้า คุณดึงเอาดีเอ็นเอออกมาจากเพียงแค่เซลเดียวแล้วคลี่ออก มันจะยาวเกือบหกฟุตทีเดียว และถ้าคุณดึงมันออกมาจากทุก เซลมาคลี่ต่อกัน โดยทฤษฎีแล้ว .. มันจะยาวเท่ากับระยะทาง ไปดวงจันทร์แล้วกลับมาโลกหลายพันเที่ยวเชียวล่ะ !
Thymine Guanine
...แม้ว่าส่วนใหญ่ของจีโนมคือเส้นสายดีเอ็นเออันยาว เฟื้อยที่เราเองก็ไม่รู้ว่ามันทำอะไร แต่ก็เชื่อว่าบางส่วนของมัน ควรจะต้องมีหน้าที่อะไรซักอย่าง เช่น หน้าที่ควบคุมแบบเดียว กับที่ยีนส์สั่งเปิดหรือปิดการทำงานของเนื้อเยื่อที่ต่างๆ กันไป (เหมือนกับที่ทำให้ไตทำงานต่างกับปอดอะไรทำนองนั้น) แต่ รวมๆ แล้วมันก็ดูเหมือนจะไม่ได้ทำประโยชน์อะไร มันเป็น อะไรที่นักพันธุกรรมเรียกว่า “junk DNA” แม้ว่ามันจะเหมือน ขยะสำหรับนักพันธุกรรมทั่วไป แต่สำหรับนักพันธุกรรมกลุ่ม ของสเปนเซอร์ที่ใช้จีโนมเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ นี่เป็น ตัวหนังสือที่เขียนเรื่องราวของบรรพบุรุษของเราเอาไว้. ...ดีเอ็นเอทำงานอย่างไร ? ง่ายมาก ! ถ้าคุณมีลูก คุณก็ได้ทำสำเนาดีเอ็นเอของคุณส่งต่อไปให้พวกเขา ร่องรอย a-5
โลก เขาสร้างระบบที่แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นสองพวก คือ พืช และสัตว์ สายพันธ์ุจำนวนมากกว่า 12,000 ชนิดถูกตั้งชื่อ และ นายลินเนซนี่ก็เลือกชื่อ Homo Sapiens (แปลว่า คนฉลาด) ให้กับสายพันธ์ุมนุษย์เรา เชื่อได้แน่นอนว่างานแบบนี้เขาคง ต้องทำกันอย่างรอบคอบระมัดระวังที่สุด สำหรับวิทยาศาสตร์ แล้ว นี่เป็นงานที่สำคัญมาก แต่กระนั้น นายลินเนซ ก็ทำเลย เถิดไปกว่าที่ควร ความที่แกมองเห็นมนุษย์ในที่ต่างๆ ของโลก มีลักษณะที่ต่างกันไป แกก็เลยจัดแบ่งมนุษย์ย่อยออกไปตาม ลักษณะที่เห็นเป็น 5 จำพวกด้วยกัน afer คือพวกแอ๊ฟริกัน / americanus คือ อเมริกัน (พื้นเมือง) / asiaticus คือ เอเชียน / europaeus คือ ยุโรเปียน / และยังแถมพิเศษให้อีกอันคือ monstrosus เผ่าพันธ์ุแสนน่ารังเกียจ ที่เตรียมเอาไว้สำหรับ มนุษย์ประเภทที่นายลินเนซไม่นิยมชมชอบ รวมไปถึงพวกตัว ประหลาดที่มีอยู่จริงอย่างคนแคระ และที่นายลินเนซมั่วนิ่มขึ้น มาเองอย่างเช่น มนุษย์หัวแบน... นี่คือจุดเริ่มต้นของความ วุ่นวาย สองร้อยกว่าปีต่อมา ในยุค 60s นักมนุษยวิทยา กายภาพชาวอเมริกันชื่อ Carleton Coon แบ่งมนุษย์ออกเป็น ประเภทต่างๆ ด้วยวิธีคล้ายกับลินเนซ และเขียนไว้ในหนังสือ ของเขาชื่อ The Origin of Races ซึ่งได้กลายเป็นหนังสือที่ นักเรียนมนุษยวิทยาทุกคนต้องอ่าน เพียงแต่นายคูน เปลี่ยน ชื่อเรียกซะใหม่ คือ .. Caucasoids แทน europaeus / Negroids แทน afer / Mongoloids แทนทั้ง asiatics และ americanus. แล้วยังแถมให้อีกสองประเภทคือ Capoid ใช้ เรียกพวก Khoisan ในแอ๊ฟริกา ซึ่งก็คือพวกเผ่า San มนุษย์ที่ เก่าแก่ที่สุดนั่นแหละ อีกอันคือ Australoid ใช้เรียกพวกอะบอ ริจินในออสเตรเลียและนิวกินี สิ่งที่ต่างกันระหว่างสองคนนี่ก็ คือ ทฤษฎีของลิน- เนซนั้นอิงอยู่กับไบเบิ้ล เขาเชื่อว่าเผ่าพันธุ์ แต่ละประเภทนี้คือผลงานของพระเจ้า แต่ของนายคูนมาทาง เดียวกับดาร์วินตามทฤษฎีวิวัฒนาการ เขาเชื่อว่าครั้งหนึ่ง มนุษย์มีพันธ์ุเดียว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็พัฒนาเปลี่ยนแปลง จนต่างสายพันธ์ุกันไปอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ แม้ว่าคูนจะไม่ได้ รวมเอาเผ่าพันธุ์พิสดาร monstrosus มาไว้ในทฤษฎีของเขา แต่เขาได้ทิ้งแนวคิดที่จะนำไปสู่การเหยียดผิวและเผ่าพันธ์ุเอา ไว้ ด้วยการแสดงความเห็นว่า พวกแอ๊ฟริกันนี่ติดหล่มทาง วิวัฒนาการมาตั้งแต่ล้านกว่าปีสมัยโฮโมอีเร็คตัสนู่น ขณะที่ เผ่าพันธ์ุอื่นๆ เขาพัฒนากันไปหมดแล้ว จนกระทั่งมาเป็น มนุษย์ในยุคปัจจุบัน นี่เองที่ทำให้การจัดชั้นทางสังคมของคน ผิวดำถูกกดต่ำลงไป. ถามว่า นายคูนเนี่ย เอาอะไรมาใช้กำหน ดกฏเกณฑ์นี้ ? แทบไม่มี ความรู้ในทางมนุษยวิทยาในยุคนั้น จำกัดอย่างมากเมื่อเทียบกับปัจจุบันนี้ ที่เขามีก็เช่นทฤษฎีเก่า อย่าง Morphology ของสมัยกรีกนู่น ซึ่งไม่ใช่ความรู้อะไรที่จะ ยืนยันได้หนักแน่นเลย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เขาจะ
ดีเอ็นเอที่ถูกปล่อยออกไปนี้จะถูกทำสำเนาซ้ำไปทุกรุ่น นี่คือ เหตุ ผ ลว่ า ทำไมลู ก หลานเหลนโหลนคุ ณ ถึ ง ดู ค ล้ า ยคุ ณ มากกว่าจะไปดูคล้ายคนอื่น ในระหว่างการทำสำเนานี้ ซึ่ง เป็นกระบวนการที่นักพันธุกรรมเรียกมันว่า replication, โมเลกุลดีเอ็นเอทั้งหมดก็จะทำหน้าที่เป็นต้นฉบับ เพื่อสร้างตัว มันเอง อีกเวอร์ชั่นหนึ่ง มีเอนไซม์เล็กจิ๋วอยู่เป็นล้านที่ทำงาน นี้. ลองนึกภาพ พระจากยุคกลางหลายๆ ท่าน แต่ละท่าน ได้รับมอบหมาย ให้คัดลอกคัมภีร์ที่ยาวที่สุดในโลกคนละหนึ่ง แผ่นอย่างตั้งอกตั้งใจ เสร็จแล้วทุกแผ่นก็จะถูกเอามาประกอบ รวมเป็นเล่มภายหลัง แม้ว่าพวกพระทั้งหลายจะระมัดระวังใน การคัดเพียงใดก็ตาม บางคนก็อาจจะผิดพลาดได้ ยกตัวอย่าง เช่น เขียนตัว ค เป็น ด เป็นต้น.. โดยส่วนใหญ่แล้ว การสะกดผิดเช่นนี้มักถูกจับได้โดย เจ้าอาวาสประจำวิหารโมเลกุล มีชุดของเอนไซม์ที่คอยตรวจ ทานอ่านเอกสารอย่างระมัดระวังก่อนจะทำสำเนา กระนั้นไม่ ว่าจะเข้มงวดเพียงไหน ก็ยังมีตัวสะกดผิดเล็ดรอดออกไปถึง ตอนรวมเล่มจนได้ ในวงการพิมพ์เราเรียกตัวสะกดผิดว่า Typos แต่ในวิชาพันธุกรรม มันถูกเรียกว่า Mutation (การก ลายพันธ์ุ). อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดนี้ก็ถูกพบในอัตราที่ต่ำ มาก คือผิดพลาดแค่ประมาณห้าสิบต่อพันล้าน Nucleotides ที่ประกอบกันขึ้นเป็นจีโนมของคนเรา และไอ้เจ้าตัวสะกดผิดนี่ แหละ ที่กลับกลายเป็นวิวัฒนาการในโครงสร้างที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย เมื่อเรามองดูผู้คนในโลก มัน ช่างน่าอัศจรรย์ใจในความหลากหลายเหล่านั้น ไม่มีคนสอง คนที่ดูเหมือนกันเป๊ะ ยกเว้นแฝดเหมือน (ที่ซึ่งในกรณีแฝด เหมือน ก็ไม่ได้หมายความว่าเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์ไปหมด เพียงแต่เรามองไม่ออกต่างหาก อย่างเช่น พวกเขาอาจมีใบหู ที่เล็กกว่ากันสองมิล..) มนุษย์เรามีรูปร่าง ขนาด และสีผิวที่ หลากหลายอย่างน่ามหัศจรรย์ คุณว่ามันไม่มหัศจรรย์หรอก หรือ ? เมื่อเราลองไตร่ตรองดูให้ดี จะเห็นว่าที่จริงเราล้วนเป็น สัตว์สายพันธ์ุเดียวกัน ถึงแม้บัดนี้เราจะดูไม่เหมือนกันแล้ว ก็ตาม เกือบทั้งหมดของความแตกต่างทางรูปลักษณ์ที่เห็น เหล่านี้ มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่การกลายพันธ์ุของเราที่จุดใดจุดหนึ่ง ในอดีต และมันได้ส่งต่อๆ มายังผู้คนทั้งหลายที่เราพบเจอใน วันนี้. ความหลากหลายอันเหลือเชื่อของมนุษย์นี่แหละ ที่ ทำให้นักมนุษยวิทยายุคแรกๆ จัดแบ่งมนุษย์ออกเป็นประเภท ต่่างๆ . Cal Von Linnaeus นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ ทำการแยกแยะหมวดหมู่จัดลำดับชั้นให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายใน a-6
คิดว่าความหลากหลายของมนุษย์ที่ต่างกันไปอย่างที่เราเห็นนี้ คงต้องใช้เวลาเป็นล้านปี ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ได้ใช้เวลา นานขนาดนั้นเลย เมื่อเดือนที่แล้ว หนุ่มๆ ในอ๊อฟฟิซผมระริก ระรี้หอนเห่ากันเกรียวกราวทีเดียว เมื่อหลานสาวของผมแวะ มาหา เธอสวยเหมือนหลุดมาจากแม๊กกาซีน ทั้งที่ไม่ได้แต่ง หน้าตาอะไรเลย ผมนึกถึงหน้าพ่อเค้าแล้วก็ สรุปในใจ .. = ค่อนข้างไปทางขี้เหร่..☺ ส่วนแม่ของเขาก็..คือ.. ☺ เอาว่า ไม่ใช่คนสวยล่ะนะ. แต่ทำไมลูกมันถึงสวยได้ขนาดนั้นละ หว่า ! ดูสิ นี่แค่วิวัฒนาการในหนึ่งรุ่นเท่านั้นเองนะเนี่ย.
ได้แบ่งแยกเป็นสายพันธ์ุย่อยเลย ตรงกันข้าม พวกเขามาจาก ครอบครัวเดียวกัน และนั่นเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญมาก โดย เฉพาะสำหรับ ศจ.ลูกา คนที่เราได้กล่าวถึงไปแล้วข้างต้น. ฮ่าๆ เอาล่ะ .. ก่อนที่จะบานปลายกลายเป็นบทความ ทางชีววิทยาพันธุกรรมไป ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการเบี่ยงเบน ทางอาชีพของผมไปได้ ก็ขอตัดบทพอแค่นี้ก่อน ผมสัญญาว่า เหลือเรื่องปวดหัวแค่อีกตอนเดียวเท่านั้น จริงๆ (เอ..หรือว่า สองตอนกันแน่ ?) ในตอนถัดไปผมจะมาเล่าถึงครอบครัวของ เรา ครอบครัวใหญ่ที่โยงใยถึงกันแต่ละครอบครัว. ขอบคุณ Dr. Spencer Wells National Geographic
amazing mutation
ข้อมูลและภาพประกอบ Spencer Wells : Deep Ancestry (ISBN : 978-4262-0118-9) Genographic Official Website : Atlas of Human Journey Wikipedia.org : Luigi Luca Cavalli Sforza Biography
ความสามารถของเราในการจัดลำดับดีเอ็นเอ เพื่อหา การเรียงตัวของ ไอ้เจ้า A-C-G-T เนี่ย มันยังไม่ถูกค้นพบจน กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เอง เพราะว่าความเป็นไปได้ที่จะศึกษา เกี่ยวกับเรื่องดีเอ็นเอโดยตรง เพิ่งจะมีในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมานี่ จุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญนั้น เกิดขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์คน หนึ่งชื่อ Richard Lewontin ซึ่งตอนนั้นเขา กำลังทำงานวิจัยที่ เกี่ยวกับแมลงวันผลไม้ Drosophila. การทดลองของเขาในปี 60s ได้เผยให้เห็นวิธีการใหม่ที่จะใช้ตรวจหาการ เปลี่ยนแปลงของโปรตีน ด้วยวิธีการคำนวณ ทางคณิตศาสตร์ ทำให้เขาสามารถวิเคราะห์การขยายตัวของ ข้อมูลได้อย่างมีระบบ วันนึงเขาก็เกิดความคิดที่จะประยุกต์วิธี การที่เขาใช้ในการศึกษาแมลงวันผลไม้นี้ ลองเอามาใช้ศึกษา วิเคราะห์การขยายตัวของข้อมูลกลุ่มเลือดมนุษย์ เขาต้องการ ใช้ข้อมูลนี้เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีของลินเนซและคูน ว่าจริงหรือ ที่ เผ่าพันธ์ุมนุษย์แบ่งแยกย่อยต่างกันออกไป เพราะถ้าเป็นเช่น นั้นจริง การเปลี่ยนแปลงของโปรตีนส่วนใหญ่ที่พบในมนุษย์ก็ จะต้องเป็นเอกเทศ ต่างกันไปอย่างสิ้นเชิงในแต่ละเผ่าพันธ์ุ. แต่ที่ลีวอนตินพบนั้นตรงกันข้าม มีความแตกต่างเพียงสิบกว่า เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่พบ พวกเขาแชร์รูปแบบการเปลี่ยนแปลง ของโปรตีนที่เหมือนกันกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ พูดได้ว่า.. ต่อให้มี ใครเอาระเบิดปรมาณูมาทิ้งแล้วเหลือแต่พวกอังกฤษ พวกอะ บอริจิน กับพวกเผ่าปิ๊กมี่เท่านั้นที่รอดอยู่ในโลก ในตัวมนุษย์ พวกนี้แต่ละคน ก็จะยังคงมีไอ้เจ้ารูปแบบการเปลี่ยนแปลง ทางพันธุกรรม 85 เปอร์เซ็นต์ที่ว่านี้ อยู่ในตัวทุกคนเหมือนกัน ทั้งหมด. นี่หมายความว่า ลินเนซและคูนผิดมหันต์ มนุษย์ไม่
en.wikipedia.org
a-7
ครอบครัวใหญ*
กระทั่งไม่ถึงร้อยปีมานี้แหละ ด้วยเทคโนโลยี เรากระโจนแบบ ลืมตาย ไปสู่ขอบเขตที่ไม่มีมนุษย์คนไหนในช่วงพันปีที่แล้วจะ เคยคาดฝันถึง ทั้งในแง่ดีและในแง่ร้ายน่ะแหละ. ที่พูดมานี่ก็เพื่อให้คุณลองจินตนาการโลกยุคโบราณดู.
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เมื่อนึกถึงความกล้าหาญของนายพลเรือเจิ้งเหอกับ นายกองทั้งหลายของเขา ไม่ว่าจะเป็นหงเป่าหรือว่าโจวหม่าน พวกเขาช่างอาจหาญ ที่กล้าฝ่าฟันท้องสมุทรออกไปสำรวจดิน แดนต่างๆ ของโลกในช่วงปี ค.ศ. 1420s เราคงพอจะนึกภาพ อุปสรรคและภยันตรายทั้งหลายแหล่ ที่พวกเขาต้องเผชิญได้ แม้เรือที่พวกเขาใช้นั้น จะเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในยุคนั้นแล้ว ก็ตาม แต่นั่นก็ยังห่างไกลกันเหลือเกิน เมื่อเทียบกับวันนี้ อะไร ล่ะ ที่ผลักดันพวกเขาให้ทำอย่างนั้นได้ ? มันไม่ใช่แค่สมองที่ ฉลาดเฉลียวอย่างเดียวเท่านั้นหรอก แต่มันคือสัญชาติญาณ ในการเอาชีวิตรอดของเผ่าพันธ์ุมนุษย์ ความสามารถในการ เอาชนะอุปสรรค และสิ่งสำคัญที่สุดที่ไม่มีในสัตว์สายพันธ์ุใด เลยนอกจากมนุษย์ นั่นก็คือศรัทธา ความหวัง และความรัก.. สิ่งนี้เอง ที่ทำให้มนุษย์อยู่บนสุดของห่วงโซ่วิวัฒนาการ ทั้งๆ ที่มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ที่แข็งแรงที่สุดบนดาวเคราะห์ดวงนี้เลย คุณสมบัตินี้มีอยู่ในมนุษย์ตั้งแต่แรกแล้ว และมันยังขับเคลื่อน อยู่ในตัวเรามาจนทุกวันนี้.
ตำนานเริ่มที่นี่ เอธิโอเปีย และ gate of grief ☯ เจ้าลูกกลมสีน้ำเงินที่เป็นบ้านของเราลูกนี้ ลองนึก
จินตนาการย้อนกลับไปสักแค่หนึ่งพันปีก็พอ ในสายตาของ มนุษย์ยุคนั้น พวกเขาจะต้องรู้สึกว่าโลกช่างแสนกว้างใหญ่ซะ เหลือเกิน ยังมีดินแดนอีกมากมายที่มนุษย์เหยียบย่างไปไม่ถึง ใครจะไปนึกถึงการเดินทางรอบโลกภายในหนึ่งวัน ในเมื่อยัง เชื่อกันอยู่เลยว่าโลกแบน และถ้าใครดันบ้าเดินเรือออกทะเล ไปเรื่อยๆ ก็คงจะตกขอบโลกตาย ! ความรู้สึกของคนในโลกโบราณนั้นแตกต่างกับเราใน ยุคนี้อย่างลิบลับ. ยกตัวอย่าง.. ลองนึกดูว่าสมัยก่อนกลางคืน จะมืดขนาดไหน โดยเฉพาะในคืนข้างแรมนะ ถ้าคุณเคยไปยัง สถานที่ที่ห่างไกลความเจริญมากสักแห่ง ไม่มีความสว่างและ ความวุ่นวายของเมือง คุณก็อาจจะได้สัมผัสว่าความมืดที่แท้ จริงนั้นเป็นอย่างไร ที่เขาว่ามองมือตัวเองยังไม่เห็นเลยน่ะ ถ้า หากโอกาสและความมืดแบบนั้นคุณยังพอหาได้นะ คุณก็อาจ จะเข้าใจความรู้สึกบางอย่างที่บรรพบุรุษของเราเมื่อพันปีก่อน ต้องเผชิญ.. ความเงียบ ความมืด ความกลัว.. เคยเห็นที่ดินสัก แปลงที่เจ้าของซื้อทิ้งไว้แต่ไม่ได้มาดูแลไม๊ ? เผลอแผล็บเดียว หญ้าก็ขึ้นรกท่วมหัวแล้ว โลกในยุคโบราณไม่มีเทศบาลมา คอยตัดหญ้าพวกนี้หรอก เมื่อมองจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีก หมู่บ้านหนึ่งที่ห่างออกไป คุณคิดว่าจะมองเห็นอะไรล่ะ ? คุณ ก็จะเห็นแต่หญ้าคา ต้นไม้ ป่า แล้วก็ป่า แล้วก็ป่า.. ทัศนียภาพ ที่มองจากดอยสุเทพลงมายังบริเวณที่เป็นตัวเมืองเชียงใหม่ใน ทุกวันนี้ ไม่เหมือนกับทัศนียภาพที่เห็นเมื่อพันปีที่แล้วแบบฟ้า กับเหว ต่อให้อีกห้าร้อยปีถัดมาก็อาจดูไม่ต่างกันนักหรอก จน
กาลครั้งหนึ่ง นานแสนนานมาแล้ว .. ขณะเมื่อชีวิตจม ดิ่งสู่ความยากแค้นแสนสาหัส แผ่นดินนำความตายคืบคลาน เข้ามาหาอย่างช้าๆ มีครอบครัวหนึ่ง พวกเขายังมีความหวัง.. ความหวังที่จะปกป้อง และประคับประครองครอบครัวที่เขารัก ให้มีชีวิตรอดต่อไป และนั่นทำให้ครอบครัวเล็กๆ นี้เริ่มต้นการ เดินทางอันแสนยิ่งใหญ่ ออกจากแอ๊ฟริกาไปเพื่อพิชิตโลก. Phil Bluehouse อาศัยอยู่ในแคนยอนเดอแชลลี อริ โซนา เป็นชาวDine, อินเดียนแดงเผ่านาวาโฮ ผมอ่านเจอเรื่อง ของเขาในหนังสือ Deep Ancestry ของ ดร. เสปนเซอร์ เวลส์ ซึ่งผมได้เอ่ยถึงไปแล้วในตอนรหัสชีวิต ฟิลเป็นหนึ่งในชนเผ่า พื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกา เขาถูกเชิญให้เข้าร่วมทดสอบ ดีเอ็นเอตอนที่เสปนเซอร์ทำโครงการ Genographic ซึ่งฟิล ตอบรับทันที ฟิลกระตือรือร้นในเรื่องนี้มากๆ และกล่าวว่า สัญชาติญาณบอกกับเขาว่า เขามีความเกี่ยวพันกับผู้คนใน เอเชีย ผลการทดสอบดีเอ็นเอของฟิลมาถึงในวันแถลงข่าวเปิด ตัวโครงการ ซึ่งฟิลได้ถูกเชิญให้ไปร่วมงานนี้ด้วย ผลทดสอบ นั้นปรากฏออกมาว่าฟิลอยู่ในกลุ่ม Haplogroup Q (M242) โครโมโซมวายหนึ่งในกลุ่มที่สำคัญที่สุดของประชากรพื้นเมือง ในอเมริกา และเป็นโครโมโซมวายเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่เดิน b-1
ทางบุกเบิกไปไกลจนถึงอเมริกาใต้ ขณะที่ไมโตคอนเดรีย AB-C-D-X คือยีนแม่แห่งอเมริกา.. Q (M242) ก็คือยีนพ่อแห่งอเมริกานั่นเอง พวกเขาเป็นลูกหลานของบรรพบุรุษในกลุ่ม P (M45) และบรรพบุรุษในกลุ่ม K (M9) ที่มาจากเอเชียกลาง เป็นกลุ่มที่เป็นบรรพบุรุษสำคัญที่สุดกลุ่มหนึ่งของประชากรใน เอเชีย สัญชาติญาณของฟิลนั้นถูกต้อง เขาเกี่ยวโยงอยู่กับ สายใยอันยาวนานของสายเลือดนี้ เมื่อฟิลได้รับทราบผลการ ทดสอบนี้ในวันนั้น เขาพูดออกมาด้วยอารมณ์ที่เต็มเปี่ยมไป ด้วยความรู้สึกจนทำให้ผู้คนที่มาในวันนั้นตื้นตัน “ผมรู้อยู่ เสมอ ว่าผมมีครอบครัวอยู่ที่นั่น วันนี้ ผลของดีเอ็นเอยืนยันข้อ นี้”. คนยืนขวาสุดก็คือ ฟิล บลูเฮ้าส์
ใครเล่าจะรู้ .. ตอนผมอ่านเรื่องนี้นั้น มันเป็นช่วงเวลา ก่อนที่ผมจะขูดเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มของผมส่งไปที่แล็บของ Genographic Project ในเท็กซัสหลายเดือน หลังส่งไปหนึ่ง เดือน ผมถึงรู้ผลที่ออกมาว่า ที่จุดหนึ่งในเอเชียกลาง ผมและ ฟิลได้ร่วมบรรพบุรุษเดียวกัน นั่นก็คือ พ่อของตระกูล K (M9)
ใครหลายคนคงไม่ทราบ ว่านี่มีความหมายสำหรับผม เพียงใด ผมฟังดนตรีของอินเดียนแดงมามากมาย แล้วก็ยัง สะสมเอาไว้เยอะด้วย สงสัยมาตลอดทุกครั้งที่ฟังว่ามันต้องมี อะไรเกี่ยวกันกับพวกเราแถวๆ นี้แน่ๆ ให้ตายสิ เพราะมันคุ้น เหลือเกิน ถึงตอนนี้ก็คงไม่มีอะไรต้องกังขาอีกต่อไปแล้ว ครอบครัวของเรากลุ่มหนึ่ง ครอบครัวของฟิล .. อาจหาญเดิน ข้ามทุ่งไซบีเรียอันหนาวเหน็บและน่าสะพรึงกลัว ข้ามสะพาน แผ่นดินเบอริงเจียที่เชื่อมแผ่นดินเปิดให้พวกเขาข้ามไปสู่ทวีปอเมริกา ไม่ต้องแปลกใจเลย นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่เขาเสี่ยงภัยเช่น นี้ เพราะครั้งแรกนั้น มันเกิดขึ้นย้อนไปราวหกหมื่นปีที่แล้ว.
อย่ า งที ่ ไ ม่ เ คยคาดฝั น มาก่ อ น.. ผมมี ญ าติ เ ป็ น อินเดียนแดงเผ่านาวาโฮนะครับ ท่านผู้มีเกียรติ ! Hi.. Phil !
ลองจินตนาการว่า คุณกำลังนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไป beeepppppp...........กกรั่มมมม ! [Timeline = 60,000 ปีที่แล้ว] แอ๊ฟริกาเมื่อราว 60,000 ปีก่อนไม่ใช่สถานที่น่าอยู่นัก ยุคน้ำแข็งสั้นๆ กลับมา เปลี่ยนความแห้งแล้งให้ชื้นขึ้นเล็ก น้อย นักวิชาการเชื่อว่าน่าจะมีมนุษย์อยู่ราวๆ หมื่นคนเท่านั้น (Homo Sapiens) และในจำนวนเหล่านี้ มีกลุ่มหนึ่งที่ตัดสินใจ อพยพออกจากแอ๊ฟริกา สันนิษฐานว่า พวกเขาน่าจะอาศัยอยู่ ในพื้นที่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของแอ๊ฟริกา นั่นคือ บริเวณส่วนที่เป็นเอธิโอเปีย เคนยา และแทนซาเนีย.
เส้นทางของฟิล เผ่า Q (M242)
ครอบครัวนี้ก็คือ Haplogroup M168 ลูกหลานตระกูลนี้นี่แหละ ที่เป็นสายเลือดต้นสาแหรก เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ออกเดินทางจากแอ๊ฟริกา พวกเขาน่า จะข้ามทะเลแดงที่เกทออฟกริ๊ฟท์ในเยเมน การข้ามทะเลครั้ง แรกในโลกเกิดขึ้นที่จุดนี้ครับ จากนี้ไป พวกเขาจะมั่นใจมาก
เส้นทางของผม เผ่า 0 (M175)
b-2
ที่ราบอันกว้างใหญ่ซึ่งปกคลุมไปด้วยหญ้าแห้งในเส้น ทางนี้ ได้สร้างถนนซูเปอร์ไฮเวย์แห่งโลกโบราณขึ้น แผ่ขยาย ตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกของบริเวณที่เป็นฝรั่งเศส ไปจนจรด เกาหลี ตระกูล M89 นี้ มุ่งหน้าสู่เอเชียกลาง ผ่านอ่าวเปอร์เซีย และทะเลสาบแคสเปียน จากทุ่งหญ้าไปสู่ป่าเขาและแผ่นดินที่ สูงขึ้น.
พอที่จะเผชิญหน้ากับท้องทะเลที่กว้างไกลขึ้น เพื่อไปพิชิตโลก ส่วนที่เหลือ พวกเขาคือบรรพบุรุษของมนุษย์ทุกๆ คนในโลกนี้ ที่ไม่ใช่ชาวแอ๊ฟริกันในปัจจุบัน. เพราะความแปรปรวนของสภาพอากาศนั่นเอง ที่บีบ ให้พวกเขาตัดสินใจอพยพ ยุคน้ำแข็งในแอ๊ฟริกานั้นแห้งแล้ง มากกว่าจะหนาวเย็น เมื่อราวห้าหมื่นปีที่แล้วแผ่นน้ำแข็งใน ตอนเหนือของยุโรปเริ่มละลาย นั่นทำให้อุณหภูมิในแอ๊ฟริกา อบอุ่นและชื้นขึ้น หลายส่วนในซาฮาร่าที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ ได้ เริ่มเป็นที่ซึ่งอาศัยอยู่ได้ ทะเลทรายเปลี่ยนเป็นทุ่งซาวันน่า สัตว์ป่าที่เคยถูกล่าโดยบรรพบุรุษกลุ่มนี้ เริ่มขยายเขตการย้าย ถิ่น และเริ่มเคลื่อนไปสู่ทุ่งหญ้าสีเขียวของแผ่นดินที่เกิดขึ้น ใหม่ บรรพบุรุษเหล่านี้เริ่มตามรอยสัตว์ที่ล่าเหล่านี้ไป เข้าไปสู่ ที่ซึ่งภูมิอากาศดีกว่า นี่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ ไปสู่มนุษย์ยุคใหม่ที่ฉลาดกว่า นักวิชาการเชื่อว่าการปรากฏ ขึ้นของภาษา คือข้อได้เปรียบอันใหญ่หลวงที่ทำให้พวกเขามี ชัยเหนือสายพันธ์ุมนุษย์ในยุคก่อนหน้านั้นทั้งหมด เครื่องมือที่ ปรับปรุงใหม่และอาวุธที่มีประสิทธิภาพขึ้น ทักษะในการวางแผนล่วงหน้า และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ความสามารถที่ เพิ่มขึ้นในการเสาะแสวงหาทรัพยากรอย่างที่ไม่เคยทำได้มา ก่อน ทำให้ครอบครัวนี้พร้อมที่จะก้าวออกไปสู่ดินแดนใหม่ๆ จากครอบครัวนี้นี่เอง ที่เรื่องราวของฟิลและผม และของพวก คุณได้เริ่มต้นขึ้น ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปในภายหลัง.
[Timeline = 40,000 ปีที่แล้ว] ลูกชายคนหนึ่งของเผ่า M89 ได้ถือกำเนิด และเริ่มต้น สายเลือดตระกูลใหญ่ขึ้น เผ่า M9 (Haplogroup K). พวกเขา คือต้นทางของ Eurasian Clan สามหมื่นปีจากนี้ไป ลูกหลาน ของพวกเขา จะเพิ่มจำนวนประชากรอันมหาศาลให้กับดาว เคราะห์ดวงนี้. พวกเขามุ่งหน้าสู่แดนตะวันออก มาตามเส้นทางหลวง สายโบราณ มาถึงยังทุ่งราบอันไพศาลแห่งยูเรเชีย จนกระทั่ง ถูกหยุดยั้งด้วยแนวเทือกเขามหึมาสูงค้ำฟ้าที่มาบรรจบกัน ซึ่ง ก็คือ ฮินดูกูช เทียนซาน และหิมาลัย ณ จุดบรรจบที่เรียกว่า Pamir Knot. ณ จุดนี้นี่เอง ที่ครอบครัวของผมและฟิล บลูเฮ้าส์แยก จากกัน ลูกชายสองคนจากครอบครัวเผ่า M9 คนหนึ่งแยก ออกไปกับครอบครัวมุ่งขึ้นไปทางเหนือ เขาเป็นต้นสาแหรก แห่งตระกูล M45 (Haplogroup P) ครอบครัวของพวกเขา ผ่านคาซัคสถานมุ่งหน้าสู่ที่ราบไซบีเรีย ที่นั่น เขาให้กำเนิด ลูกชายต้นสาแหรก M242 (Haplogroup Q) ที่เป็นต้นตระกูล โดยตรงของฟิล บลูเฮ้าส์ แห่งเผ่านาวาโฮ ครอบครัวนี้แหละที่ หาญกล้าฝ่าธารน้ำแข็งข้ามไปทวีปอเมริกา.
[Timeline = 45,000 ปีที่แล้ว] อากาศเริ่มเย็นขึ้นและแห้งขึ้น แอ๊ฟริกาที่ถูกทิ้งไว้เบื้อง หลังเริ่มแห้งแล้งอีก และทุ่งหญ้าถูกทำลายให้กลายเป็นทะเล ทราย สองหมื่นปีถัดจากนี้ไป ประตูสู่ซาฮารันจะถูกปิดกั้นด้วย ทะเลทรายที่ไม่อาจข้ามได้ พวกเขาทั้งหมดจะไม่มีทางย้อน กลับไปแอ๊ฟริกาอีกนานแสนนาน พวกเขามีทางให้เลือกเพียง แค่สองทางเท่านั้น คืออยู่ในตะวันออกกลาง หรืออพยพต่อไป. ลูกชายคนหนึ่งของครอบครัวนี้ ได้กำเนิดขึ้นและเริ่ม ต้นเผ่าใหม่ของเขา ตระกูล M89 (Haplogroup F*) แม้ว่า หลายคนในครอบครัวจะหยุดปักหลักตามเส้นทางตัดผ่านดิน แดนอราเบียน แต่พวกเขาหลายกลุ่มก็ยังเดินทางต่อไป สู่ยัง ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ที่ยังคงแผ่ออก คลื่นอพยพใหญ่ระลอกสอง เคลื่อนตัวผ่านตะวันออกกลาง และไกลออกไปกว่านั้น ตาม รอยเท้าของควายป่า กวางแอนทีโลฟ และช้างแมมมอธ มุ่ง หน้าสู่เอเชียกลาง.
Tien
Sha
n
Hindu Kush
Him
ala y
a
Pamir Knot
b-3
[Timeline = 35,000 ปีที่แล้ว] ลูกชายอีกคนหนึ่งของครอบครัวตระกูล M9 พวกเขา และครอบครัวมุ่งหน้าสู่ตะวันออกผ่านที่ราบสูงทิเบต นี่เป็นต้น สาแหรกของเผ่าเอเชียตะวันออก M175 (Haplogroup O) พวกเขามุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณจีนตอนใต้แถบยูนนานจนถึงกวาง สี และครอบครัวนี้ก็ขยายจนแผ่ไปทั่วเอเชีย เมื่อพวกเขามาถึง เอเชียตะวันออกแล้ว ยุคน้ำแข็งที่กลับมาอีกครั้งก็ขยายธารน้ำ แข็งออกไปเต็มที่ แผ่นน้ำแข็งที่ขยายกว้างรุกล้ำเข้ามาและ ภูเขายักษ์ในเอเชียกลาง กลายเป็นคอกมหึมาที่กั้นพวกเขาไว้ ในเอเชียตะวันออก และกักพวกเขาเอาไว้หลายพันปี มีเวลา ให้ออกลูกออกหลานกันยัวะเยี้ยอยู่ในคอกที่ว่านี่แหละ ก็ด้วย เหตุนี้เอง 80-90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่อยู่ในซีกตะวันออก ของเอเชียเป็นส่วนหนึ่งของของครอบครัว M175 นี้ รวมทั้งราว ครึ่งหนึ่งของประชากรชายชาวจีน และยังแผ่ขยายไปจนถึง อินโดนีเซียและตาฮิติ ในอัตราส่วนที่น้อยลงไปตามระยะทาง. ครอบครัวนี้แหละครับ เป็นต้นสาแหรกโดยตรงของผม ดีเอ็นเอของผมบอกอย่างนั้น ซึ่งนั่นแปลว่าผมเนี่ยะ ญาติตรึม เลย (โอ้ ครึ้ม... มีญาติเป็นชาวฮาวายด้วย !)
นี่เผ่าอะไรละเนี่ยะ
ลูกชายคนอื่นๆ ของ M9 และครอบครัวของพวกเขาก็ แยกย้ายกันไป จาก Pamir Knot บางกลุ่มลงใต้สู่อินเดีย บาง กลุ่มจากเอเชียกลางมุ่งขึ้นสู่ทางเหนือ จากนั้นก็วกไปทาง ตะวันตกเข้าสู่ทวีปยุโรป และแตกหน่อเป็นสาแหรกแห่ง ครอบครัวชาวยุโรปขึ้น ผ่านช่วงยุคเข็ญอันหนาวเย็นไปสู่ ความรุ่งเรือง ช่างน่ามหัศจรรย์อะไรเช่นนั้น ! ถ้าคุณอยากรู้เรื่องนี้มากขึ้น และอยากหาคำตอบว่า แท้จริงแล้ว คุณเป็นใคร ก็เชิญที่นี่ได้เลยครับ www3.nationalgeographic.com/genographic/
ข้อมูลและภาพประกอบ Spencer Wells : Deep Ancestry (ISBN : 978-4262-0118-9) Genographic Official Website : Atlas of Human Journey
b-4
บาเบล
Linguistic Taxonomy, Tracing the Evolution of the Mother Tongue..
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ทฤษฎีของนักภาษาศาสตร์กระแสหลักในทุกวันนี้ ยัง ไม่อาจตอบคำถามต่างๆ ได้กระจ่าง ขณะดียวกัน มันก็ไม่ได้ นำเสนออะไรใหม่เลยในช่วงเวลาที่ผ่านมานี่ ทั้งๆ ที่ทุกภาษา นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ทีละน้อย แต่หากใครก็ตาม ที่ มีความพยายามที่จะหาคำตอบอย่างอื่น ซึ่งต่างไปจากทฤษฎี ที่มีอยู่ตอนนี้ กล่าวกันว่าเป็นเรื่อง ‘ต้องห้าม’ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง กับทฤษฎีภาษาอินโดยุโรเปียน นักวิชาการคนใดที่มีความ เห็นต่างออกไปจากกระแสหลักนี้ ประตูจะถูกปิดและถูก กีดกันให้ออกไปเป็นคนนอก หรืออาจถึงขั้นถูกบังคับให้ออก จากอาชีพ ซึ่งเป็นทัศนะที่อุบาทย์เหลือเกิน. นักภาษาศาสตร์นอกคอกที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เรียก ภาษาแรกนี้ว่า ภาษาซาฮารัน ตามชื่อดินแดนซึ่งน่าจะเป็นถิ่น กำเนิดของภาษาแรกนี้ อีโด นีย์แลนด์ผู้เขียนหนังสือ Linguistic Archaeology เป็นคนหนึ่งที่เป็นคนนอกในประเด็นนี้ อันที่ จริงเขาไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ด้วยซ้ำ จึงทำให้เขาไม่ต้องกังวล กับกำแพงขวางกั้นอันคับแคบเหล่านั้น เขาเล่าว่ามันเป็นเรื่อง บังเอิญที่ทำให้เขาหันมาค้นคว้าในด้านภาษา หลังวางมือจาก อาชีพทางการเงิน ด้วยความอยากรู้ส่วนตัวเกี่ยวกับตำนาน โบราณเรื่องหนึ่ง ทำให้ต้องไปเกี่ยวข้องกับภาษาบาสค์และได้ ค้นพบความลับที่ซ่อนอยู่ในภาษานี้ในเวลาต่อมา อีโดได้พบ กับนักมนุษยวิทยาผู้หนึ่งซึ่งได้ท้าทายให้ใครก็ได้ แปลข้อความ ภาษาโอกัมโบราณบนศิลาจารึกในไอร์แลนด์ อีโดทดลองและ พบว่าเขาแปลมันออกมาได้ด้วยภาษาบาสค์ แต่เขากลับได้รับ การปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย พร้อมคำยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่ใคร จะแปลมันออก นี่เองที่ทำให้อีโดเริ่มต้นการค้นคว้าด้านภาษา อย่างจริงจังในเวลาต่อมา เขาได้นำเสนอแนวคิดที่น่าตื่นตลึง ยิ่งกว่า ด้วยการถอดรหัสที่ซุกซ่อนอยู่ในภาษาเก่าแก่ทั้งหลาย ในโลก และโยงมันกลับไปสู่ภาษาซาฮารัน ที่อีโดยืนยันว่าเป็น รากฐานของภาษาที่ถูกจัดอยู่ในตระกูลอินโดยุโรเปียนทั้งหมด และยังว่าลูกกำพร้าของภาษาซาฮารันนี้ยังเหลืออยู่ในโลก มัน คือ ภาษาดราวิเดียนในอินเดีย (มีผู้ใช้ 170 ล้านคน) ภาษาไอ นุในฮอกไกโด ญี่ปุ่น (มีผู้ใช้ 18,000 คน) และภาษาบาสค์ของ ชนกลุ่มน้อยในอุสกาดี เสปน (มีผู้ใช้ 800,000 คน) เขาเสนอ ว่าภาษาบาสค์ คือภาษาหนึ่งที่ใกล้ชิดกับภาษาซาฮารันที่สุด และเทียบให้เห็นการถอดความหมายที่ซ่อนอยู่ในภาษาเก่าแก่ อื่นๆ เช่น โอกัม ลิเนียร์- บี สันสกฤต อียิปต์ ซูเมอร์ กรีก สลา วิค ฮีบรู ยิดดิช .. เป็นเรื่องแปลก เรามักถูกสอนว่าให้คิดนอกกรอบ แต่ ทุกครั้งที่มีใครคิดนอกกรอบ เป็นถูกทุบไปซะทุกที.
Tower of Babel : Pieter Brueghel the Elder (1563)
ในไบเบิ้ลภาคเจเนซิส (11:15) กล่าวถึงการที่มนุษย์ สร้างหอคอยสูงเทียมฟ้าขึ้นที่เมืองบาบิโลน พระเจ้าเสด็จมาดู แล้วก็คงจะโกรธ หรืออารมณ์ไหนก็ไม่รู้ได้ ตรัสว่า “ ดูเถิด คน เหล่านี้คือชนชาติเดียว มีภาษาเดียว นี่เป็นเพียงเบื้องต้นของ สิ่งที่เขาจะทำ และเขาตั้งใจจะทำอะไรก็ทำได้ทั้งนั้น มาเถิด เราจงลงไป ทำให้ภาษาของเขาวุ่นวายต่างกันไป อย่าให้เขา พูดเข้าใจกันได้” เมื่อมนุษย์ทั้งหลายพูดกันไม่รู้เรื่อง พวกเขาจึงได้แยก ย้ายกระจายกันออกไปยังที่ต่างๆ ด้วยเหตุที่พระเจ้าบันดาล ให้เป็นเช่นนั้น เมืองนั้นจึงถูกเรียกว่า บาเบล. ผมเองขบคิดไม่เข้าใจจริงๆ ว่าพระเจ้าจะทำเช่นนั้นไป ทำไมหนอ ก็เพราะความแบ่งแยกทางภาษานี่ไม่ใช่หรือ ที่จะ นำมาซึ่งความขัดแย้งเข่นฆ่ากันไปอีกเป็นพันๆ ปี. ทฤษฎีภาษาโลกยุคก่อน (proto-world) ถูกนำเสนอ นานมาแล้วโดยนักวิชาการหัวก้าวหน้า มันถูกต่อต้านถากถาง จากพวกนักวิชาการไดโนเสาร์ ที่มักยืนยันหัวชนฝาให้เครดิต เกี่ยวกับการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายของมนุษยชาติ เป็นของ ชาวยุโรปเท่านั้น แนวคิดอะไรที่เบี่ยงเบนต่างไปจากนี้มักไม่ เป็นที่ต้อนรับ แนวคิดโปรโตเวิลด์คือ โลกนั้นเคยใช้ภาษาเดียว มาก่อน ย้อนไปราวห้าหมื่นถึงแสนปีที่แล้ว และทุกภาษาต่างก็ แตกแขนงมาจากภาษาแรกนี้ ซึ่งแน่นอนว่ามันมีต้นกำเนิดใน แอ๊ฟริกา คนที่มีบทบาทในการสนับสนุนแนวคิดนี้มากที่สุดก็ คือ Merritt Ruhlen นักภาษาศาสตร์อเมริกัน ซึ่งในเวลานั้น ได้รับการต่อต้านมากกว่าการยอมรับ รูห์เลนเขียนหนังสือ หลายเล่มที่เกี่ยวกับทฤษฎีนี้เช่น A guide to the Languages of the World, On the Origin of Languages : Studies in c-1
ด้วยสาเหตุบางอย่าง จากที่เคยมีเพียงภาษาเดียว ใน ที่สุดเราก็พูดกันไม่รู้เรื่อง อีโด นีย์แลนด์เชื่อว่าที่จุดหนึ่งในอดีต เมื่อชนเผ่าต่างๆ แยกย้ายกันไปตามที่ต่างๆ ผ่านไปช่วงเวลา หนึ่งที่นานมากพอ สายใยที่เชื่อมโยงก็ขาดสะบั้น มีการแบ่ง แยกรุกรานและกดขี่แข่งขัน ทัศนะดั้งเดิมที่เคยมีอยู่ในความ เชื่อและธรรมเนียมนั้นก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป และเริ่มขัดแย้งกัน พวกเขาบางกลุ่มเกิดความต้องการที่จะลบร่องรอยเก่าแก่ที่ยัง คงหลงเหลืออยู่ในตอนนั้นให้หมดสิ้นไป ไม่ว่าจะเป็นศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตำนาน ความเชื่อ รวมทั้งภาษา... ความเกลียดชังและความดูถูกได้ถูกบ่มเพาะขึ้น ชนเผ่าที่วาง ตนว่าสูงกว่า ไม่อยากเหลือหลักฐานอะไรที่แสดงให้เห็นว่า เกี่ยวดองกับพวกที่ตนมองว่าชั้นต่ำกว่า ชนชั้นที่ต่ำกว่าก็ไม่ อยากเหลือหลักฐานอะไรที่แสดงว่า เคยเป็นพวกเดียวกับที่ กำลังกดขี่และเป็นศัตรูกับตน พวกเขาบางชนเผ่าอาจสร้าง ความยิ่งใหญ่ขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่กลับมีความเป็นมาเกี่ยว โยงอยู่กับชนเผ่าอ่อนแอเผ่าหนึ่งที่พวกเขารู้สึกว่าน่าอับอายที่ จะยอมรับว่าเป็นพงศ์เผ่าเดียวกันกับเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเชื่อและศาสนาดั้งเดิมที่มีการนับถือเทพีและความเป็น เพศแม่ ที่อำนาจการปกครองขึ้นอยู่กับฝ่ายหญิงมาก่อน การ เรืองอำนาจของผู้นำที่เป็นชาย และการเปลี่ยนไปนับถือเทพที่ เพศชายเป็นใหญ่ ตามมาด้วยการกวาดล้างคติความเชื่อเดิม ให้สิ้นซาก นี่เองที่ความคิดแบ่งแยกของปีศาจเกิดขึ้น ความ คลั่งเชื้อชาติ ชนชาติก็ถือกำเนิดขึ้น ชนชั้นผู้นำได้สั่งให้นักบวช และปราชญ์ของพวกเขา คัดเลือกประชากรเด็กรุ่นใหม่ บังคับ ให้ไปรวมกันที่สถานที่หนึ่ง ซึ่งเป็นสำนักที่จะสอนให้เด็กพวกนี้ เรียนรู้ภาษาที่ได้สร้างขึ้นใหม่ ศาสนาใหม่ จารีตใหม่ เพื่อสร้าง สังคมใหม่ที่จะเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ ของชนเผ่าตนขึ้นมา และ ตัดขาดความเชื่อมโยงที่มีในอดีตให้หมดไป. นี่ไม่ใช่แนวคิดเหลวไหล เหตุการณ์ในทำนองนี้ ได้เกิดขึ้นตลอดเป็นระยะๆ ใน ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ครั้งแล้วครั้งเล่า.
Book of Ballymote (1390) ที่อธิบายความหมายของอักขระโอกัม
ความรู้ด้านพันธุกรรมของวันนี้ ได้เปลี่ยนมุมมองของ โลกไปในทิศทางใหม่ที่โยงใยถึงอดีตได้ชัดเจนขึ้น และนั่นก็มี ส่วนช่วยอย่างมาก ที่ทำให้เราได้มองเห็นความเชื่อมโยงของ ภาษาต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับภาษาแรกของโลก จึงไม่ใช่สิ่งที่จะมีใครหัวเราะเยาะได้อีกต่อไป ดังนั้นจึงสมควร ที่เราจะมาพิจารณาเรื่องนี้กันสักนิด ในอีกทิศทางหนึ่งซึ่งต่าง จากที่เคยเรียนรู้กันมาก่อน. ในบทนี้ผมจะพูดถึงภาษาตระกูลต่างๆ ที่เรารู้จักกันใน ปัจจุบัน ความเชื่อมโยงของมัน และแนวคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เหตุที่เราต้องพูดถึงภาษาต่างๆ ก็เพราะ นี่เป็นอีกองค์ความรู้ หนึ่งที่มีรากเง่าเก่าแก่ มันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการปะ ติดปะต่อสืบค้นเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มันเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ช่วยในการเรียนรู้ด้าน ประวัติศาสตร์และคติชนวิทยาได้สนุกสนานขึ้น มันเป็นส่วน หนึ่งของบทเพลงต่างๆ ซึ่งจะเกี่ยวพันอยู่กับโครงการจีโน มิวสิคไปตลอดทาง อย่างไรก็ดี ผมเป็นคนนอก และไม่ใช่นัก ภาษาศาสตร์ ดังนั้นก็จะแค่เรียบเรียงมาให้อ่านกันเฉยๆ ประ ดับความรู้ โดยจะพยายามออกความเห็นให้น้อยที่สุด.
โชคไม่เข้าข้างที่ไม่ว่าอย่างไร มนุษย์ก็ไม่อาจหลบพ้น จากกฏของการเรียนรู้ ความรู้ใหม่จะมีรากฐานจากความรู้ที่มี มาก่อนเสมอ มันไม่อาจผลุดโผล่ขึ้นมาเองจากอากาศธาตุได้ ภาษาใหม่ที่พวกเขาได้สร้างขึ้น จึงมีรากฐานจากภาษาที่มีมา ก่อนนั้น ด้วยวิธีการผสมเสียง ด้วยการทำลายคำสองคำหรือ มากกว่านั้นเพื่อรวมกันเป็นคำใหม่ การยืมจากภาษาอื่น มันก็ เหมือนกับการสร้างรหัสในการทหารปัจจุบันนี้นั่นแหละ มันมี ฐานอยู่กับรากความรู้ทางภาษาและคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นความ รู้ที่มีอยู่แล้วของเรา ดังนั้นมันจึงสามารถถูกถอดรหัสย้อนกลับ ไปได้. c-2
กว่า โดยมากลักษณะเช่นนี้ จะเป็นการผสม (pidgin) หรือทับ ศัพท์ (เช่น กงสี เย็นตาโฟ..) แต่ไม่ได้มีผลกับการเปลี่ยนแปลง ในโครงสร้างทางภาษา อาจจะมีการปรับลิ้นให้คุ้นเคยกับจริต ของชนชาตินั้นมากขึ้น ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็อาจฟังดูไม่เหมือน กับคำเดิมของชนชาติที่เป็นต้นตอขอยืมมา จนอาจทำให้คิด ว่าเป็นคนละคำกันไปในที่สุด.
นักวิชาการเชื่อว่าตัวแปรที่ทำให้ความแตกต่างนี้ก้าว ไปไกล ก็เพราะยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายนี่แหละ ที่กักมนุษย์ซึ่ง แยกย้ายกันออกไปยังส่วนต่างๆ ให้อยู่กับที่เป็นเวลานานมาก จนลืมลิ้นแม่ เมื่อน้ำแข็งละลาย และการก่อตัวของอารยธรรม ได้เริ่มเกิดขึ้น ความแตกต่างนี้จึงปรากฏขึ้นใหม่เป็นสาแหรก ของภาษาตระกูลต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน. ตัวแปรต่อมาที่สร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้น ทำให้เกิด แขนงย่อยของภาษาแตกออกไปจากภาษาหลักเหล่านี้มากขึ้น ไปอีกก็คือสงคราม จากการรุกรานของชนเผ่าอื่น การตกเป็น อาณานิคมของชนชาติอื่น อาจทำให้เกิดการสิ้นสูญของภาษา ได้ หรืออย่างโชคดี ก็แค่เกิดการยืมของภาษา เป็นการแทรก หรือปนเปื้อน ซึ่งมากบ้างน้อยบ้างคละเคล้ากันไป. แต่บางครั้งการยืมคำจากภาษาอื่น ก็อาจไม่ได้มาจาก การถูกพิชิต แต่อาจมาจากการค้าขาย ในช่วงระยะเวลาแต่ละ ยุคสมัย ความรุ่งเรืองจะไม่ได้อยู่กับชนชาติใดชนชาติหนึ่ง ชน เผ่าใดที่มีความรุ่งเรืองที่สุดในช่วงเวลานั้น อาจทำให้พบการ เลียนแบบหรือหยิบยืมทางภาษาของชนเผ่านั้นได้ ในกลุ่มชาติ ที่คบค้าสมาคมกันอยู่ คำหลายคำจากภาษาของชนชาติที่กุม บทบาทมากทางการค้า อาจถูกใช้กันกว้างขวางเพราะความ สะดวกกว่าในการสื่อสารทางการค้าขาย จึงอาจพบได้ในกลุ่ม ชนชาติตามเมืองท่าใหญ่ๆ ของคาบสมุทรต่างๆ อย่างในทุก วันนี้ โลกใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อระหว่าง ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายธุรกิจหรืออื่นๆ การยืมภาษา อังกฤษ จึงพบได้ทั่วไปในทุกภาษา.. ก็โอเค มันชัวร์อยู่แล้ว.
นักภาษาศาสตร์กระแสหลัก ส่วนใหญ่ยอมรับกันและ เห็นพ้องกันที่จะแบ่งภาษาในโลกออกเป็นตระกูลต่างๆ ดังนี้
ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดในประเทศไทย เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้ว ว่าเป็นประเทศเอกราช ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของอาณานิคม ใด มีการหยิบยืมทางภาษามากมาย ทั้งเก่าและใหม่ ปะปนอยู่ ในภาษาไทยปัจจุบันนี้ เมื่ออิทธิพลทางด้านความรู้และจารีต ต่างๆ ของทางอินเดีย ถูกนำเข้ามาโดยพราหมณ์ ราชครู และ นักปราชญ์ที่เข้ามารับใช้ราชสำนักไทย ความรู้จากคัมภีร์พระ เวทย์และคติทางฮินดูซึ่งใช้ภาษาสันสกฤต จึงมีบทบาทสำคัญ ในราชพิธีแต่นั้นมา เพราะค่านิยมที่ว่าละเอียดกว่า สูงชั้นกว่า ภาษาสันสกฤตถึงได้ถูกใช้อยู่ในภาษาไทย มากมายหลายต่อ หลายคำ ในขณะที่คำไทยดั้งเดิมเป็นคำโดดและมีเสียงเดี่ยว ซะเป็นส่วนมาก การรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนา ประจำชาติก็เช่นเดียวกัน ภาษาบาลีนั้นเป็นภาษาที่ใช้บันทึก คัมภีร์ทางพุทธศาสนา ดังนั้นจึงพบว่าภาษาบาลีก็ถูกยืมมาใช้ ในภาษาไทยด้วย หรืออย่างเช่นจีน ซึ่งเป็นชาติรุ่งเรืองทางการ ค้าที่สุดในทวีป ทั้งยังมีแสนยานุภาพเกรียงไกรมาแต่โบราณ เมื่อเราค้าขายคบค้ากับจีน มีคนจีนอพยพมาอยู่ร่วมกันเป็น จำนวนมาก การหยิบยืมทางภาษาก็ยิ่งเยอะแยะหยุมหยิมไป
ภาษาตระกูลกอยซาน เป็นภาษาตระกูลที่เล็กที่สุดของแอ๊ฟริกา แต่กลับมีนัย ยะที่สำคัญอย่างมาก เพราะเป็นภาษาที่พูดกันในชนเผ่าที่ใน วันนี้รู้กันแล้วว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก เสียงคลิ๊กที่มีอยู่ในภาษานี้ เป็นส่วนที่แตกต่างจากภาษาอื่นในโลกอย่างสิ้นเชิง นัก วิชาการเชื่อว่ามันเป็นรูปแบบที่เก่าแก่ดั้งเดิมซึ่งต่อมาถูกทิ้งไป ไม่ถูกใช้ในภาษารุ่นต่อมา ภาษานี้ใช้อยู่ในชนเผ่า กอย ซาน (บุชแมน) ซานดาเว ฮัดซา จู ตู ภาษาตระกูลไนเจอร์-คองโก (ซับ-ซาฮารัน) เป็นกลุ่มตระกูลภาษาหลักของแอ๊ฟริกากลุ่มใหญ่ที่สุด กินบริเวณแอ๊ฟริกาตอนกลางไปจนถึงตอนใต้เกือบทั้งหมด ประกอบด้วย กอร์โดฟาเนี่ยน แมนดี (แบมบารา โซนินเก) กลุ่มแอตแลนติคคองโก ได้แก่ โวลอฟ ฟูลา ไอจอยด์ โดกอน กลุ่มโวลตาคองโก ได้แก่ เซเนโฟ เกอร อดามาวา-อุบานจิ บัน ตู โยรูบา.. c-3
ภาษาตระกูลไนโล-ซาฮารัน เป็นกลุ่มภาษาที่พบในตอนเหนือของแอ๊ฟริกา แทรก อยู่ระหว่างกลุ่มแอ๊ฟโร-เอเชียติค ประกอบด้วย เบอร์ตา เฟอร์ โกมุซ กูนามา มาบัน ซาฮารัน ซูดานิค .. ถือเป็นแขนงหนึ่งของ ไนเจอร์-คองโก. Basque Country
ภาษาตระกูลแอ๊ฟโร-เอเชียติค (ฮามิโต-เซมิติค) ประมาณ 375 ภาษาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น ภาษา ฮีบรู อรามาอิค และอราบิค ของตะวันออกกลาง ภาษาตระกูล ใหญ่นี้ยังรวมเอากลุ่มภาษาแอ๊ฟริกาตอนเหนือเข้าไว้ด้วย เช่น ภาษาอียิปต์โบราณ ชาดิค คุชชิติค และเบอร์เบอร์.
มีภาษาที่เก่าแก่กว่า และถูกใช้กันอยู่ในอนุทวีปอินเดีย แต่ไม่อยู่ในกลุ่มของอินโดยุโรเปียน มันคือ ภาษาดราวิเดียน และภาษามุนดาอิค. ภาษาดราวิเดียนนั้นแยกเป็นเอกเทศอยู่ บนตระกูลของมันเอง ส่วนมุนดาอิคนั้นจัดอยู่ในตระกูล ออส โตรเอเชียติค. ภาษาตระกูลอัลตาอิค-อูราลิค ภาษาที่พูดกันอยู่ในยุโรปและไม่ได้อยู่ในกลุ่มอินโดยุโร เปียน ก็คือกลุ่ม ฟินโน- อูกริค มันจัดอยู่ในกลุ่มเอเชียเหนือคือ ตระกูล อูราลิค ชนชาติที่ใช้คือ พวกฟินนิช เอสโตเนียน ซาอ์มิ (แลป) และฮังกาเรียน ในทัศนะของนักวิชาการคิดว่า ภาษา ตระกูลอูราลิค นั้นคล้ายกับภาษาตระกูลออสโตรนีเชียน และ ภาษาซูเมอร์ที่สูญพันธ์ุไปแล้ว. ฟินโนอูกริค นั้น แพร่ย้อนกลับมาในรัสเซีย แล้วเกิด แขนงย่อยขึ้นในเอเชียคือ ซาโมเยดิค พวกซาโมเยดอาศัยอยู่ ในแถบขั้วโลกเหนือ. ในเอเชียกลางไปจนถึงตอนเหนือและยูเรเชียอีสาน เป็นถิ่นของภาษาอีกตระกูลคือ อัลตาอิค เป็นตระกูลภาษา หลักของเอเชียกลาง ซึ่งนักภาษาศาสตร์บางคนไม่ยอมรับว่า มันเป็นอีกตระกูลหนึ่ง ตระกูลนี้มีแขนงแตกออกไปอีกสามกิ่ง หลักคือ เตอร์กิค มองโกเลียน แมนจู / ทังกัส นักวิชาการพวก ที่ไม่เห็นด้วย บางทีก็ว่าภาษาแขนงนี้จัดอยู่ในตระกูล อูราลิค หรือบางทีก็ว่า ตระกูลญี่ปุ่นเกาหลีไปโน่น.
ภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียน เป็นภาษาหลักที่ใช้กันอยู่ เกือบจะทั้งหมดในยุโรป ที่ เป็นกลุ่มใหญ่ ก็อย่างเช่น อิทาลิค เยอรมานิค เซลทิค สลาวิค ที่ย่อยลงมาก็อย่างเช่น เฮเลนิค ที่ใช้อยู่ในชนชาติอาร์มาเนี่ยน และอัลแบเนี่ยน ภาษาเหล่านี้ มีรากมาจากภาษาทางเอเชีย ตอนใต้ ลูกหลานเอเชียใต้กลุ่มนี้ก่อร่างกลุ่มภาษาย่อย อินโด อิเรเนี่ยนขึ้น ซึ่งประกอบด้วยภาษาเปอร์เซียน ภาษาสันสกฤต รวมทั้งลูกหลานภาษาที่เกิดใหม่ตามมาสามอัน คือ ฮินดี เออร์ ดู เบงกาลี . ภาษาโรมานี ของพวกพื้นเมืองที่เดินทางเร่ร่อนใน ยุโรป ก็จัดอยู่ในพวกเดียวกับภาษาทั้งสามอันของกลุ่มอินดิค ดังกล่าวนี้.
ภาษาดราวิเดียน เป็นภาษาตระกูลที่เก่าแก่มาก ใช้กันอยู่บริเวณตอนใต้ ของอินเดีย และภาคอีสานของศรีลังกา บางส่วนของเนปาล ปากีสถาน บังคลาเทศ บางส่วนของอินเดียภาคกลางและ ตะวันออก ภาษาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ทมิฬ-กันนาดา มาลา ยาลัม เทเลกู โกลามิ โอลาริ... เป็นต้น
มีภาษาหนึ่งในยุโรป และอาจเป็นเพียงภาษาเดียวของ ผู้ที่บุกเบิกในยุโรปก่อนใคร ก่อนที่ยุคของกสิกรรมจะเริ่มขึ้นใน ยุโรป นั่นก็คือ ภาษาบาสค์ ถูกพบอยู่ทางตอนเหนือของเสปน และไม่มีใครรู้ว่ามันมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาใด.
ภาษาตระกูลอมาไรด์ กลุ่มภาษาของชนพื้นเมืองเก่าแก่ หนึ่งในสามตระกูล ของอเมริกันอินเดียน แตกแขนงออกไปราวหกสิบกว่าภาษา c-4
แสดงให้เห็นความเก่าแก่ของมัน เช่น ภาษามายาโบราณ อาย มารัน โชโค โฮแกน จิวาโรน คิโอวา... เป็นต้น.
ภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติค ภาษาเก่าแก่อีกกลุ่มที่นักวิชาการในวันนี้ ถกกันว่าไม่ ได้เป็นแขนงของออสโตรนีเชียนอย่างที่เคยถูกจัดไว้ก่อนหน้า แต่อาจมีจุดเริ่มต้นใกล้เคียงกันและแยกออกไปแต่แรก พร้อม กับภาษาตระกูลไท-กะได ภาษากลุ่มนี้ประกอบด้วย มุนดาอิค มอญ เขมร ข่า เวียต แอสเลียน (มาลายา) นิโคบาริส... เป็นต้น. ภาษาตระกูลออสเตรเลียน ดูเหมือนจะไม่พบความเชื่อมโยงกับภาษาอื่น นัก วิชาการว่าเป็นภาษาที่ถูกกัก คือชนเผ่าที่ใช้มันถูกตัดขาดจาก ผู้คนจากที่อื่น (ไม่ได้หมายถึงปัจจุบัน) แต่ก็เชื่อกันว่าอาจมี ความเกี่ยวโยงกันกับกลุ่มภาษาออสโตรนีเชียน ก็เป็นที่ถก เถียงกัน ชนชาติที่ใช้ก็คือชาวอะบอริจินนั่นเอง มีหลายอันเช่น บูนาบัน ดาลี โวโรรัน แอนดิลยวัคกา ติวิ.. เป็นต้น.
ภาษาตระกูลนาดีน เป็นอีกกลุ่มเก่าแก่อันที่สองของอินเดียนแดง นัก วิ ช าการพบว่ า มี ค วามเชื ่ อ มโยงกั บ ภาษาเก็ ต ส์ ใ นไซบี เ รี ย ประกอบด้วยภาษา ทลินจิต อียัค อัทฮาบัสกัน นาวาโฮ.
ภาษาตระกูลไท-กะได ภาษากลุ่มเก่าแก่ในอุษาคเนย์อีกตระกูล ใช้กันอยู่ใน กลุ่มชนเผ่าตระกูลไทที่ไม่เพียงอยู่ในประเทศไทย-ลาวเท่านั้น ยังมีในเวียตนาม จีนตอนใต้ (ยูนนาน กวางสี กุยโจว ..) เกาะ ไห่หนาน ประกอบด้วยภาษา ไทยสยาม ไทยอีสาน ไทลาว ไท โยน ไทเขิน ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเหนือ ไทดำ-ไทขาว ไทอาหม(ยัง ใช้ทางพิธีกรรมแต่ไม่ใช้พูดแล้ว) ไทคำตี่ ไทพ่าเก ผู้ไท จ้วง ต้ง สุ่ย ปูยี ไหล (หลี).. เป็นต้น.
ภาษาตระกูลแอสกิโม (อินุอิต) กลุ่มภาษาของอินเดียนแดงเก่าแก่กลุ่มที่สาม ถิ่นฐาน อยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกา ในอลาสกา คานาดา และ กรีนแลนด์ แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ อินุอิต และ ยัปอิค.
...........
ภาษาตระกูลซิโน-ทิเบตัน ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่สองกลุ่ม คือ เซเนติค (กลุ่มจีน) และทิเบตัน-เบอร์มัน (กลุ่มทิเบต) ซึ่งแตกออกเป็นภาษากว่า 250 ภาษา ประกอบด้วย จีนกลาง (แมนดาริน) กวางตุ้ง มิน (ไต้หวัน) ฮักกา โบดิช กามารูปัน (กูกิ นากา อบอร มิริ มิจมิ) หิมาลายิช ซิงโป โลโล นาสี ไบ๋ กะเหรี่ยง... เป็นต้น. ภาษาตระกูลออสโตรนีเชียน กลุ่มภาษาเก่าแก่ที่สุดของอุษาคเนย์และชาวพื้นเมือง แปซิฟิค (โอเชียนเนีย) ครอบคลุมบริเวณตั้งแต่คาบสมุทรมา เลย์ อินโดนีเชีย บอร์เนียว ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ปาปัวนิวกินี หมู่ เกาะเมลานีเซีย คาเลโดเนีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ ฮาวาย ประกอบ ด้วยภาษา อตายาลิค บาไซ กาวาลัน อมิส สิรายา ปูยูมา ไป วัน รูไก .. กลุ่มมาลาโยโพลินิเชียน เช่น ตากาล๊อก มาลากาซี บูกินิส จาม มาเลย์ อิบัน ซุนดา จาวา บาหลี พาเลา ติมอร์ ฟลอเรส... เป็นต้น. c-5
c-6
ฐานทางพันธุกรรมบอกว่า ชาวโพลินีเชียนเริ่มกระจายตัวกัน ออกไปในแปซิฟิคจากอุษาคเนย์ ไม่ใช่จีน และข้อ 3- หลังจาก วิเคราะห์ตำนานท้องถิ่นทั้งหมด ยืนยันว่ามีความเชื่อมโยงของ โลกตะวันออกกับตะวันตกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และชี้ให้ เห็นอย่างมีเหตุผลว่า ตำนานปรัมปราของตะวันตกมากมาย มีต้นกำเนิดในอุษาคเนย์ เช่น น้ำท่วมโลกกับโนอาห์ และ ตำนานเกี่ยวกับการเดินทางไปหาขนแกะทองคำอันลือลั่น..
อย่างที่เห็น มันเป็นไปตามพระประสงค์ของพระผู้เป็น เจ้าตามที่ผมยกไบเบิ้ลมาเกริ่นไว้ตอนต้นนั่นแหละ คือวุ่นวาย อีรุงตุงนังไปหมด แต่น่าแปลก แม้ว่าเราจะมีภาษากลางอย่าง ภาษาอังกฤษไว้ใช้สื่อสารกันเป็นสากล แต่เราก็ยังรักในภาษา ของเรา แม้ว่ามันจะวุ่นวายอย่างที่เห็น ในอีกแง่มันกลับกลาย เป็นงานศิลปะชั้นยอดโดยบังเอิญ แต่ละภาษาต่างสร้างศิลปะ เฉพาะของตัวเอง ความคมคายของภาษาจีน ความมีมนต์ขลัง ของฮินดี สัมผัสคล้องจองของสันสกฤต พลังในภาษาญี่ปุ่น และมองโกเลีย ท่วงทำนองอันสวยงามในภาษาอาหรับ ในวัน นี้ เรากลับไม่อยากให้ความวุ่นวายนี้สาบสูญไป เพราะนั่นคือ มรดกของอดีตจากบรรพบุรุษ บอกเรื่องราวว่าเราเป็นใคร มา จากไหน ขณะเดียวกันมันยังเหลือสายใยโยงเรากับครอบครัว อื่นๆ ในโลกนี้ แม้ต้องใช้ความพยายามเรียนรู้อย่างมากก็ตาม.
นี่ดีว่าอาจารย์แกเป็นฝรั่งนะ เลยเจอแค่โดนโต้แย้ง ถ้า แกเป็นคนเอเชีย ผมว่ามีหวังถูกโห่ไล่ แต่ผมน่ะชูจั๊กกะแร้เชียร์ เต็มที่เลย ดูอย่างเรื่อง ซินเดอเรลล่าปะไร รู้ไม๊ครับว่ามันมี ต้นตอมาจากนิทานของชาวจ้วง (ชนเผ่าไทตระกูลหนึ่ง) โดย คนรับใช้ชาวเผ่าคนหนึ่งชื่อ “ลิซิหยวน” เล่าให้ขุนนางชาวจีนที่ เป็นนายของเขาฟัง ขุนนางผู้นั้น ชื่อ “ต้วนเอ็งซื่อ” เขาเขียนมัน ลงไปในหนังสือของเขา ซึ่งเก่าราวสองพันปีชื่อ “เหยียวหยาง ซาจู” เนื้อเรื่องเหมือนกันเป๊ะ .. มีแม่เลี้ยงกับพี่สาวใจร้าย ถูก รังเกียจรังแก และให้ทำแต่งานทั้งวัน ต้องนอนในครัว และกิน อย่างอดๆ อยากๆ วันหนึ่งเจอปลาสวยงามมากกำลังจะตาย ก็เลยช่วยชีวิตเอาไว้ แล้วเอามาเลี้ยง ปรากฏว่าเป็นปลาวิเศษ พี่เลี้ยงสองสาวตัวร้ายมาเจอก็เลยฆ่าปลาซะเลย นางเอกของ เราก็เสียใจมาก เหลือแต่กระดูกปลาก็เก็บไว้ แต่นี่เป็นปลาวิ เศษน่ะ ถึงเหลือแต่กระดูกก็ยังมีฤทธิ์อยู่ วันหนึ่งเธออธิษฐาน อยากไปงานเลือกคู่ประจำปี หนุ่มสาวเขาจะไปร้องเพลงจีบ กันแล้วก็มีการละเล่นโล้ชิงช้า แต่เธอไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ สวมใส่ ปลาวิเศษก็เลยเนรมิตรให้ แต่เธอจะต้องกลับมาตอนเที่ยงคืน คืนนั้นเธอได้พบกับเจ้าชายที่ปลอมตัวมา ได้เต้นรำกันแล้วก็ โล้ชิงช้า เธอเพลินไปหน่อย ถึงตอนเที่ยงคืนก็เลยต้องรีบวิ่ง กลับมาบ้าน แต่รองเท้าหลุด เจ้าชายก็เลยเก็บได้ แล้วก็ออก ตามหา ตามมาจนเจอบ้านของเธอ แล้วในที่สุดก็ได้แต่งงาน กัน.. เป็นไง เหมือนกันไม๊..? ที่สนุกกว่านั้นก็คือ สงสัยว่าจะเป็นเรื่องเดียวกับนิทาน ปลาบู่ทองของไทยเรา เนื้อเรื่องนั้นก็เหมือนกัน คือมีแม่เลี้ยง กับพี่สาวใจร้าย มีเจ้าชาย มีปลาวิเศษ แต่ไม่มีรองเท้า หลัง จากนั้นสองพันปีนิทานนี้ไปถึงแดนฝรั่ง ก็ปรากฏว่าปลาวิเศษ หายไป มีรถม้าฟักทองแทน.
ทุกวันนี้ การโต้เถียงในเรื่องของการจัดหมวดหมู่และ ตระกูลของภาษาต่างๆ ก็ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เป็นธรรมดาที่ พอเราฉลาดขึ้น ไอ้ที่เคยเชื่อมาก่อนนั้นก็อาจพบว่ามันผิดซะ แล้วตอนนี้ ก็ต้องเปลี่ยนต้องแก้กันไป แล้วก็เถียงกันอีกว่าเห็น ด้วยไม่เห็นด้วยแค่ไหน ถ้าพวกมากกว่าก็จะได้เป็นฝ่ายถูก ซึ่ง ไม่แน่ว่าจะถูกจริงหรือไม่ ที่ผิดก็ถมไป ก็ต้องให้เวลามันพิสูจน์ หลายภาษาในช่วงที่ผ่านมานี้ ถูกจัดหมวดหมู่ใหม่ เพราะที่ เคยจัดไว้นั้นไม่ถูกต้อง ภาษาไท เป็นหนึ่งในตัวปริศนาอันหนึ่ง ที่สร้างความฉงนให้กับนักภาษาว่า ไม่มีร่องรอยอะไรที่เด่นชัด พอจะเกี่ยวโยงมันกับภาษาอื่นในภูมิภาคเดียวกันได้เลย มันมี ความเป็นมาอย่างไรกันแน่ แม้ภาษาไทยในสยามและลาวจะ รับอิทธิพลของบาลีสันสกฤตแทรกปนเข้ามามาก แต่ก็เป็นใน ช่วงไม่กี่ร้อยปีหลัง มันไม่ได้มีจุดกำเนิดมาจากที่นั่น ภาษาไท ถิ่นอื่นๆ ยังคงลักษณะดั้งเดิมไว้ค่อนข้างดี. ศาสตราจารย์ สตีเฟน ออพเพนไฮเมอร์ คุณหมอและ นักวิทยาศาสตร์ ที่วนเวียนสิงสู่อยู่ในเอเชียอาคเนย์เป็นเวลา นานมาก ทั้งด้วยหน้าที่การงานและด้วยความสนใจส่วนตัว อาจารย์แกค้นคว้าหาข้อมูลได้มากมาย ระหว่างที่อยู่ในเอเชีย ทั้งในด้านคติชน ปรัมปราคติ การแพทย์ ชีววิทยา พันธุกรรม ภาษาศาสตร์ ศิลป วัฒนธรรม ผ่านไปนับสิบปีคุณหมอแกก็ ออกมาฟันธงเปรี้ยงว่า อีเดนอยู่ในอุษาคเนย์ ตำนานและปรำ ปราคติมากมายที่รู้จักกันในโลก เช่น น้ำท่วมโลก มีต้นตอที่มา จากดินแดนอุษาคเนย์นี้
สตีเฟนยังเสนอว่า กลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติคและไท กะไดนั้นเกี่ยวโยงกัน ซึ่งเท่ากับย้อนกลับไปหาแนวคิดเก่าของ โรเบิร์ต บลัสท์ ที่เคยเรียกภาษาสองตระกูลนี้ว่า ออสตริค สิ่ง ยืนยันคือ ตำนานน้ำท่วมโลกฉบับอลังการของชาวไทใหญ่ เหมือนกันกับชาวพื้นเมืองไต้หวัน และของชนเผ่ากลุ่มออสโตร เอเชียติค นี่ทำให้ทั้ง ไท-กะได ออสโตรเอเชียติค และออสโตร-
สตีเฟนเสนอแนวคิดใหม่ชวนให้อ้าปากค้างว่า .. ข้อ 1ต้นตออารยธรรมตะวันตกนั้นรับไปจากอุษาคเนย์ ข้อ 2- หลัก c-7
อะไรหนอคือข้อเท็จจริงที่แท้ของ บาเบล ถ้าเราไม่โทษ ว่าเป็นเพราะพระเจ้าดลบันดาล ภาษาศาสตร์โบราณคดี จะ ให้เบาะแสของการเปลี่ยนแปลง ที่เป็นเหตุของความวุ่นวายนี้ แก่เรา ได้หรือไม่ ?.... ดังนั้น ผมขอแนะนำแนวคิดใหม่ที่ออก ไปนอกกระแสเดิมที่เคยเชื่อกันมาก่อนนั้น.
นีเชียน กลับมาเชื่อมโยงกันอีก แกยังเสนอแนวคิดที่น่าสนใจ อื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น การขยับขึ้นสู่ทางเหนือของกลุ่มสอง กลุ่มนี้ ตามเส้นทางแม่น้ำ เพื่อหนีน้ำทะเลที่ท่วมบริเวณซุนดา ความสัมพันธ์ของภาษากลุ่มไทและแม้วเย้าที่เชื่อมโยงถิ่นฐาน ที่กว้างไพศาล และเมื่อวิเคราะห์ดูความหลากหลายของภาษา ในบริเวณแนวชายฝั่ง และพื้นที่บริเวณกวางสี ไห่หนาน และ เวียตนามเหนือ ก็พบว่าลงตัวกันพอดี แถมด้วยข้อคิดว่าทำไม ชนเผ่าไทถึงต้องสร้างบ้านใต้ถุนสูง ทั้งที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยง จะโดนน้ำท่วมแล้ว.. รึว่าคงเพราะเข็ดคงกลัวมาพอสมควร. ผิดถูกอย่างไรไม่รู้ ก็ตบตีกันไปก่อนแล้วกัน ในฐานะ นักโมเมวิทยาอย่างผม ใจเปิดกว้างพร้อมจะซื้อหนังสือของอา จารย์ทุกๆ ท่านมาอ่านประเทืองปัญญาได้ทุกทฤษฎีแหละ แต่ ผมว่าแนวคิดของอาจารย์สตีเฟนแกสนุก และไม่มั่ว เอาไว้จะ เล่าให้ฟังมากขึ้น แยกเป็นอีกตอนไปเลย. ยังมีเรื่องสนุกสนุกเกี่ยวกับภาษาอีก (สนุกของผม อาจ เครียดสำหรับบางคน) ขอกลับไปที่ อีโด นีย์แลนด์ คนที่เอ่ยถึง ในตอนต้น กับหนังสือ Linguistic Archaeology ของแกอีกที. Linguistic Archaeology เป็นหนังสือน่าตื่นเต้นที่นัก ภาษาศาสตร์ทุกคนควรจะอ่าน แม้กระทั่งตัวผมเองที่ยอมรับ ตามตรงว่าบางส่วนของหนังสือนั้น ยากเกินภูมิความรู้ของผม จะไปถึง แต่ก็ยังรู้สึกเลือดลมวิ่งพล่านอย่างตื่นเต้นตลอดเวลา ที่อ่าน ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยกับแนวคิดของอีโด นีย์แลนด์หรือ ไม่ ก็อยากให้ลองหามาอ่านกันดู. คำว่าภาษาศาสตร์โบราณคดี อธิบายในตัวอยู่แล้วว่า เป็นการเรียนรู้โบราณคดีของภาษา ทฤษฎีของอีโด เสนอว่ามี ภาษาดั้งเดิม ที่มนุษย์ทั้งหลายนั้นเคยใช้ร่วมกันมาก่อนในช่วง หลังยุคหิน (Neolithic) ภาษาดั้งเดิมที่ว่านี้มีกำเนิดในบริเวณ ทุ่งซาฮาร่าที่ปัจจุบันก็คือทะเลทรายซาฮาร่า เขาจึงเรียกมันว่า ภาษาซาฮารัน อีโดพิสูจน์ให้เห็นว่าภาษานี้ยังมีชีวิตรอดอยู่มา ได้จนถึงปัจจุบัน อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นคือภาษาบาสค์ ภาษา ดราวิเดียน และภาษาไอนุ, อีโดกล่าวว่า บาสค์นั้นใกล้กับภาษาซาฮารันที่สุด และ เขาใช้บาสค์เป็นกุญแจในการถอดรหัสภาษาโบราณต่างๆ . ทฤษฎีของ อีโด นีย์แลนด์ นั้น ยืนยันว่าความเชื่อเรื่อง ภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียนนั้นเป็นเรื่องเลื่อนลอย ไม่มีภาษา ตระกูลนี้อยู่จริง แม้กระทั่งโปรโตอินโดยูโรเปียนก็ไม่มี ภาษา ทั้งหมดที่อยู่ในสายอินโดยูโรเปียนและเซมิติค คือภาษาที่ผ่าน การพัฒนาดัดแปลงอย่างเข้มข้นมาจากภาษาซาฮารัน โดยนัก ปราชญ์ชั้นยอด มีเพียงภาษาตระกูลซิโนทิเบตัน อเมอไรด์นาดีน ออสตริค (ออสโตรเอเชียติค+ไท) ออสเตรเลียน ออสโตรนีเชียน และกอยซาน ที่ไม่ได้อยู่ในวังวนนี้.
เทวี Artemis แห่ง Ephesos (มีหน้าอกเป็นพวงเลย) คือ สัญลักษณ์ความเป็นแม่ และความอุดมสมบูรณ์
ความลับของซูเมอเรียน มนุษย์ในยุคแรกๆ แต่ก่อนนั้น ชีวิตขึ้นอยู่กับการเอาตัว รอดเป็นหลัก ผู้ชายไม่ค่อยได้อยู่บ้าน ชุมชนโบราณอย่างเช่น เมโสโปเตเมียยุคแรกๆ ผู้หญิงเป็นผู้นำ ไม่ได้มีราชินี แต่เป็น นักบวชหญิงหรือแม่หมอ ซึ่งนับถือเทพเจ้าหรือเทวีที่เป็นหญิง ส่วนผู้ชายจะจากบ้านไปครั้งละนานๆ ออกไปเลี้ยงสัตว์หรือ ล่าสัตว์ หาปลา และสำรวจดินแดนอันกว้างใหญ่. ความเปลี่ยนแปลงอันปุบปับไม่แน่นอนของสภาพภูมิ อากาศในทะเลทรายซาฮาร่า ได้แผ่ขยายกว้างขึ้นจนเลวร้าย อย่างมาก ผลักให้พวกเขาเคลื่อนตัวอพยพกันหลายระลอก ไปสู่ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์สำหรับการกสิกรรม อย่างเช่นที่ราบ c-8
เรื่องราวเหล่านี้ ซ่อนอยู่อย่างแยบยลในภาษาของพวก เขา โดยนักบวชและนักปราชญ์ทางภาษา ที่ถูกบังคับให้สร้าง ภาษาใหม่. จากที่เคยพูดภาษาเดียวกันมาก่อนคือ ภาษาซาฮารัน ในทุกหนแห่งที่ผู้นำชายเริ่มการปกครอง ตั้งแต่ดินแดนเสี้ยว จันทร์อันอุดม หุบเขาอินดัส อนาโตเลีย ยูเครน .. นักบวชและ นักปราชญ์ที่ถูกจับเอาไว้ ได้รับคำสั่งบังคับให้พัฒนาภาษาขึ้น ใหม่ อย่างเช่น สันสกฤต.. ภาษาใหม่นี้ต้องไม่เหมือนกับภาษา ซาฮารันเดิมอย่างสิ้นเชิง ความพยายามที่จะบิดเบือนรากฐาน ของภาษาเก่านี้ปรากฏใน ภาษาอียิปต์ ซูเมอเรียน อัคคาเดียน บางแบบใช้วิธีการเอาสระของภาษาซาฮารันดั้งเดิมมา interlocking คือมาร้อยเรียงผสมกันใหม่ บางแบบก็เอาคำเก่าพวก นี้หลายคำมาตัดต่อรวมกันใหม่ บางวิธีก็ใช้ทั้งสองแบบ จะยก ตัวอย่างคำที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในยุคโบราณนี้..
น้ำท่วมถึง ในดินแดนเสี้ยวจันทร์อันอุดม (หรือ Fertile Crescent ในตะวันออกกลาง) และไกลออกไปสู่แผ่นดินแห่งหุบเขา อินดัส และเอเชียกลาง มนุษย์เริ่มรู้จักการทำโลหะและการทำ เหมือง สามารถเลี้ยงและฝึกให้อูฐกับม้าเชื่องได้ รู้จักดูดาวใน การเดินทางทางทะเล เริ่มค้นพบดินแดนอื่นๆ .
“ราชา (KING)” อีโด คัดเลือกคำที่มีความหมายเดียวกันจากภาษาของ ชนเผ่าในแถบเมโสโปเตเมีย แล้วถอดความหมายออกมาเป็น ภาษาบาสค์ โดยใช้พจนานุกรมบาสค์ของ กอร์กา อูเลสเตีย (Gorka Aulestia).. ซูเมอเรียน
Lugal [เป็นการผสมของเสียง]
Fertile Crescent
.lu-uga-al. ilu-uga-ali [มาจากคำในภาษาบาสค์คือ] ilundu (ทำให้โกรธ) - ugazaba (เจ้านาย) alienatu (ฆ่าคน) แปลวา - ถาทำใหเจานายโกรธ เขาจะฆาคน
พลเมืองที่มากขึ้นต้องการการกสิกรรมที่ได้ผลดี เพื่อ เลี้ยงปากท้องของประชากร มีการพัฒนาทรัพยากร และมี การกระทบกระทั่งระหว่างดินแดน การตั้งถิ่นฐานทำให้ผู้ชาย ของชนเผ่าซาฮารันพวกนี้เริ่มอยู่กับบ้าน นั่นทำให้พวกนี้เริ่ม ต้องการอำนาจในการควบคุมมากขึ้น ศรัทธาความเชื่อดั้งเดิม ถูกสั่นคลอนและนำมาซึ่งการถูกโค่นล้มอย่างไม่มีทางเลี่ยงได้.
อัคคาเดียน
Sharru
sha-ar.-.ru xa-are-eru (sh ในบาสค์คือ x) xahutu (ทำลาย) - arerio (ศัตรู) errukigabeki (ไม่ปราณี) แปลวา - เขาทำลายศัตรูอยางไรความปราณี
การเปลี่ยนแปลงแรกมาถึงเมื่อผู้นำของเผ่า (ซึ่งเป็นผู้ ชายแล้วในตอนนี้) ได้สั่งให้มีการบูชายัญชีวิตชายหนุ่มผู้สมัคร ใจสังเวยตนแก่ทวยเทพทุกปี เพื่อให้นำความอบอุ่นและอุดม สมบูรณ์ของผลผลิตกลับมา ชายผู้นำคนนี้ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร ก็ตามแต่ เขาได้ลิ้มรสชาติของสถานะกษัตริย์เป็นครั้งแรก นั่น คือสะพานแรกที่เชื่อมระหว่างเทพและมนุษย์ เหตุการณ์เช่นนี้ รวมทั้งพิธีกรรมบูชายัญมนุษย์ คือจุดสิ้นสุดของการปกครอง โดยเพศแม่อันเมตตากรุณา และนับแต่นี้ไปผู้หญิงจะถูกกด เอาไว้ และไม่ให้มีบทบาทสำคัญอีกต่อไป.
ฮิตไทท์
Hasshu
ha-as.-.xu ha-ase-exu handizki (เจ้า) - aserretu (โกรธ) c-9
Mesopotamia
exustez (ไม่คาดคิด) แปลวา - ความโกรธของเจาเหนือหัว ไมอาจคาดเดา
.me-eso-opo-ota-ami-i.a eme-exo-opo-ota-ami-iha emen (ที่นี่) - exorzizatu (ไหลไป) - oporrez (เนือย ขี้เกียจ) otalurmendiak (ภูเขาห่างไกล) - amiltze (ม้วนลงมา) ihardunaldi (ช่วงเวลาของเหตุการณ์) แปลวา - ที่นี่ มันไหลอยางชาๆ หลังจากชวงเวลาที่มันมวนลง มาจากภูเขาโนน
อูราเทเอียน Ereli
ere-eli errege (ราชา) - elizatiar (เคร่งศาสนา) แปลวา - ราชาผูเครงในศาสนา
อีโด อธิบายว่าคำนี้มาจากศัพท์ซาฮารันล้วนๆ ไม่ใช่ ศัพท์กรีกเลย และแนะนำว่าการสะกดที่ถูกคือ Meshopotamia เพราะเสียง eso ไม่มีความหมายในบาสค์ แต่ exo มี (sh=x)
เฮอเรียน Ivri
iv.-.ri ibi-iri ibili (เป็น) - irrikan (ทะเยอทะยาน) แปลวา - เขาเปนคนทะเยอทะยาน
ทีนี้ลองมาดูชื่อแม่น้ำสำคัญสองสายแห่งดินแดนนี้กัน ชื่อในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของแม่น้ำยูเฟรเตสและไทกริส นั้น มีบันทึกว่าชื่อ Buranun และ Idiglat มาก่อน และแน่นอนว่า มันมาจากคำในซาฮารัน / บาสค์..
ทั้งภาษาของซูเมอเรียน และอัคคาเดียน แสดงให้เห็น ว่าปราชญ์ของพวกเขา แปรรูปและผสมคำจากภาษาซาฮารัน ขึ้นใหม่ ดิคชันนารีบาสค์ของกอร์กา อูเลสเตียไม่มีปัญหาแต่ ประการใดในการถอดปริศนาอายุเกือบห้าพันปีเหล่านี้ ซึ่งนี่ หมายความว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาจากอดีตกาล ภาษาบาสค์ นั้นเปลี่ยนแปลงน้อยมากจากแม่ที่ให้กำเนิดมัน. เราลองมาดูคำเหล่านี้...
Buranun (Euphrates)
bu-ura-anu-un. bu-ura-anu-une burrundara (อึกทึกหนวกหู) - uraldi (น้ำท่วม) anu egin (ตกอยู่ในความกลัว) - unean (โดยทันที) แปลวา - เสียงอึกทึกของน้ำที่ไหลบา ทำใหตกอยูในความกลัว ทันที
Sumer
su-ume-er. su-ume-era sustraitu (ตั้งรกราก) - ume (เด็ก) - eraspen (อุทิศตัว) แปลวา - เด็กผูอุทิศตัวไดตั้งถิ่นฐาน
Idiglat (Tigris)
idi-ig.-.la-at. idi-igo-ola-ato idiki (ค้นพบ สังเกตเห็น) - igon (สูงขึ้นไป) olatu (คลื่น) - ator (มา) แปลวา - ขาสังเกตเห็นวาคลื่นกำลังสูงขึ้น.. มา !
Akkadian (เป็นชนชาตินักสร้างตัวยง)
ak.-ka-adi-ia aki-ika-adi-ia akigabe (ไม่รู้จักเหนื่อย) - ikasgo (สอน) adibide (คำแนะนำ) - iaio (ผู้ชำนาญ) แปลวา - สอนกันไมรูจักเหนื่อย ดวยการชี้แนะของผูเชี่ยวชาญ
เมื่อผู้ชายยึดอำนาจแล้ว ภาษาใหม่ก็ถูกประดิษฐ์ขึ้น ชื่อทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ได้ถูกสั่งให้เปลี่ยนทั้งหมด แต่นักบวช เจ้าปัญญา ก็ยังแอบซ่อนความหมายที่ใกล้เคียงของเดิมเอาไว้ ในชื่อใหม่อยู่ดี.
ที่โรงเรียนนั้น สอนกันเรื่อยมาว่า คำว่า Mesopotamia เป็นคำกรีก แปลว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำ (แผ่นดินสองแม่น้ำ) แต่ป๋าอีโดแกบอกว่าผิดทั้งเพ.
Euphrates
eu-uf.-.ra-ate-es. eu-ufa-ara-ate-ezi eurizaparrada (เทลง ไหลลง) - ufatu (ลมพัด) c-10
ผู้ที่ทำหน้าที่คิดค้นคำและชื่อต่างๆ นั้น คือนักบวชหรือ นักปราชญ์ด้านภาษา ถ้าพระราชาหรือเจ้านายในยุคนั้นเป็น ที่รักและพอใจของนักปราชญ์พวกนี้ ชื่อก็จะสะท้อนถึงความ เคารพและชื่นชม แต่ถ้าเป็นตรงข้าม ชื่อก็จะแสดงความรู้สึก ด้านลบออกมา ซึ่งแม้จะฟังดูอลังการหวือหวาแต่หาได้มีความ หมายที่ดีไม่ และก็ไม่มีใครสามารถรู้ความหมายได้ด้วย แม้แต่ กษัตริย์ เพราะความรู้พวกนี้มีแต่นักบวชหรือนักปราชญ์เท่า นั้นที่รู้ อย่างเช่น กษัตริย์ของเปอร์เซียองค์หนึ่งทรงพระนามว่า Cambyses ซึ่งมีความหมายว่า “ ผู้ปกครองอันสมบูรณ์แบบ ของเรา ผู้มีพระนามเลื่องลือและรอบร ู้” เป็นชื่อที่ได้รับเมื่ออยู่ เปอร์เซีย พระองค์ปราถนาจะเป็นอมตะเหมือนดังรูปปั้นศิลา ของเทพกษัตริย์ทั้งหลายในอียิปต์ ต่อมาทรงพิชิตอียิปต์ได้ใน ปี 525 B.C. พระองค์ขอให้นักบวชอียิปต์ชื่อ เวดจาฮอเรซเนท คิดพระนามให้ ในฐานะฟาโรห์องค์ใหม่ แห่งราชบัลลังค์อียิปต์ นักบวชคิดพระนามถวายว่า Mesutira และทูลกษัตริย์ว่า มัน แปลว่า “ผู้พิชิตสองแผ่นดิน” ซึ่งพระองค์ทรงพอพระทัยมาก เวดจาฮอเรซเนท ได้รับพระราชทานรางวัลจากพระองค์เป็นรูป ปั้นอันแสนสวยงามรูปตัวของเขาเอง แต่อันที่จริงแล้ว มันไม่ ได้มีความหมายเช่นนั้นเลย เรามาดูความลับนี้กัน..
arao (คำสาปแช่ง) - aterperatu (ออกมาจากสายฝน) ezinjasanezko (เหลือจะทานทน) แปลวา - น้ำที่ไหลและลมที่พัดลงมานั้นตองคำสาป ไปใหพน จากฝนที่เหลือจะทนนี้ Tigris
.ti-ig.-.ri-is. uti-ige-eri-iso utikan (ไปจากที่นี่) - iges egin (หนี) erioaldi (ความทรมาน) - isola (ที่ไหลเชี่ยว) แปลวา - หนีไปใหพนจากที่นี่ จากความทรมานของฝนที่ไหล เชี่ยว สนุก ! ถ้าไม่ว่าอะไรขอต่ออีกนิด ความลับของชาวอียิปต์ คนอียิปต์มองเห็นเวทย์มนต์ในทุกอย่างที่พวกเขารู้จัก พวกนักบวชทั้งหลาย หลังจากที่ได้รับคำสั่งให้ประดิษฐ์ภาษา ขึ้นมาใหม่ พวกเขาจึงสร้างภาษาที่มหัศจรรย์ขึ้นมา ด้วยการ เลือกคำอย่างพิถีพิถันจากภาษาซาฮารัน โดยการดึงเอาอักษร สามตัวแรกของคำเหล่านั้น นำมาผสมผสานเกาะเกี่ยวกันกัน ลักษณะต่างๆ รูปแบบเหล่านั้นเหมือนภาพสะท้อนจากกระจก เช่น 121 / 797 / 12521 ด้วยวิธีนี้ พวกเขาเอาคำในภาษาเก่า มาจัดเรียงเป็นภาษาอันใหม่ มีหลักพื้นฐานสี่ข้อคือ
Mesutira
.me-esu-uti-ira-at. ame-esu-uti-ira ametsegile (นักฝัน) - ezurruts (ผอมแห้ง) utikan (ไปให้พ้น) - iragan (ทุกข์ทรมาน) แปลวา - ไอกุงแหงชางฝนเอย ไปทุกขทรมานไกลๆ เลยไป นับว่าโชคดีทีเดียว ที่เวดจาฮอเรซเนทรอดมาได้หลาย พันปีแล้ว แถมให้อีกสักสองสามชื่อแล้วกัน..
1- เลือกเฉพาะคำที่เริ่มด้วย สระ-พยัญชนะ-สระ หรือ vowel-consonant-vowel (VCV) นำมาเกี่ยวร้อยกันเป็นประโยค เช่น ama, opa... มีพยัญชนะ 16 ตัว พยัญชนะแต่ละตัวสามารถเอามาประกอบเป็น VCV ได้ 25 แบบ รวมทั้งหมดแล้วคือ 400 แบบ. 2- คำที่เลือกมาใช้ในประโยค ต้องมีสระเหมือนกัน ซึ่งจะทำให้ เกี่ยวร้อยกันได้ ระบบนี้อีโดเรียกว่า vowel interlocking ยก ตัวอย่างเช่น apo<>opi<>iz ผสมกันเป็นคำว่า Apopiz คือ ชื่อของฟาโรห์องค์หนึ่งในราชวงศ์ที่ 17. 3- อย่างจงใจ คำหรือชื่อที่ได้ประกอบขึ้นมาใหม่ ดูเหมือนว่า คงความหมายลักษณะรูปแบบเดิมเอาไว้. 4- คำหรือชื่อใหม่นั้น สามารถสร้างขึ้นได้อย่างง่ายๆ ด้วยการ เอาสระออกไป.
Nile
.ni-ile uni-ile unibertsal (จักรวาล) - ilezkor (ความเป็นอมตะ) แปลวา - จักรวาลและความเปนอมตะ Pyramid
.pi-ira-ami-id. epi-ira-ami-ide epika (มหากาพย์) - iragartzapen (ทำนาย) amildu (การทำลาย) - ideadura (แนวคิด อุดมคติ) แปลวา - มหากาพยที่ทำนายการลมสลายของอุดมคติ c-11
Egypt
ทีนี้ดูตัวอย่างคำบางคำ
egi-ip.-.t. egi-ipu-uto egin (สร้างสรรค์) - ipuin (ตำนาน) utopia (ยูโทเปีย) แปลวา - เขาสรางตำนานแหงยูโทเปย
Taxila (ตักศิลา) มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย
.ta-ak.-.si-ila ata-aka-asi-ila ataurre (แนะนำ) - akatsbako (สมบูรณ์แบบ) asi (การเริ่มต้น) - ilarteko (ช่วงชีวิต) แปลวา - คำแนะนำอันสมบูรณแบบ เพื่อการเริ่มตนชีวิต
ความลับในสันสกฤต ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาที่คนไทยมีความคุ้นเคยมา นานแล้ว เราใช้มาเป็นร้อยปี อันที่จริงภาษาไทยแต่โบราณมัก จะเป็นคำเดี่ยวหรือสองพยางค์ซะมากกว่า เช่น คำ ผา ใจ ไก่ ม้า ตา ย่อง เกย เกือก.. อะไรทำนองนี้ อย่างที่บอกคือ มากับ คติฮินดูกับพราหมณ์ที่เข้ามารับใช้ราชสำนัก ส่วนใหญ่ก็จะมี แต่ชนชั้นสูงที่ใช้กันในตอนแรก อยู่ในพิธีการพิธีกรรม อยู่ใน ราชการงานเมือง ชาวบ้านไม่ค่อยรู้จักคำพวกนี้ กระทั่งเมื่อมี การเรียนการสอนหนังสือกันเป็นระบบนั่นแหละ เจ้านายหรือ ขุนนางก็คือผู้คิดจัดวางแบบเรียนให้ไว้สั่งสอนกัน คำพวกนี้ถึง ใช้กันทั่วไป คุณคงจะเคยได้ยินคำพูดแบบนี้มาบ้าง.. “แหมพ่อ หนุ่มพูดจาไพเราะจริง มาจากบางกอกสิท่า ” ชาวบ้านเขาชิน กันแต่ว่า กูมึง แบบคำไทโบราณมากกว่า บางคนบวชเรียนมา ก็รู้บาลีรู้ธรรมะมาพอสมควร ชาวบ้านเขาฟังก็อาจจะว่า “ เออ ไอ้ทิดนี่ เอ็งช่างพูดจาคำพระ มีวิชาความรู้นะ” อะไรเทือกๆ นี้. ทีนี้เรามาดูว่า ภาษาสันสกฤตนั้น เกี่ยวโยงกับซาฮารัน อย่างไรบ้าง
Bharya (ภรรยา)
.b.-.ha-ari-i.a abi-iha-ari-ia abia (บ้าน) - ihardun (ใช้เวลา) ari izan (ยุ่ง) - iaio (มีความสุข มองโลกแง่ดี) แปลวา - เธอใชเวลาอยูบาน ยุง แตมีความสุข Manus (มนุษย์)
man-us. man-usa manatu (ออกคำสั่ง) - usaiako (เป็นนิสัย) แปลวา - นิสัยชอบออกคำสั่ง Pitar (บิดา)
pi-ita-ar. pi-ita-ara pindartu (รู้สึกโกรธ) - itaun egin (ต้องการ) arau (ระเบียบวินัย) แปลวา - เมื่อรูสึกโกรธ เขาตองการระเบียบวินัย
คัมภีร์พระเวทย์ของอินเดีย ซึ่งแต่งขึ้นด้วยภาษา สันสกฤตนั้น แต่เดิมใช้การท่องจำกระทั่งประมาณ 500 B.C. จึงได้มีการเขียนเอาไว้ อีโดบอกว่า จริงๆ ตามที่บันทึกไว้ มัน ต้องอ่านออกเสียงว่า สัมมะสะกะระตะ ถ้าเขียนเป็นตัวเขียน ภาษาอังกฤษก็เป็น “Samskrta” ซึ่งตามที่เขียนด้วยอักษรไทย ก็อ่านแบบนี้ได้ แค่เปลี่ยน ‘น’ เป็น ‘ม’ เท่านั้น คือ สัมสกฤต ลองดูว่าถอดความแล้ว เป็นอย่างไรในภาษาบาสค์.
Putra (บุตร)
.pu-ut.-.ra ipu-uti-ira ipurterre (ใจร้อน ไม่อดทน) - utikan (จากไป) irabazi (เติบโต) แปลวา - อยากโตเร็วๆ แลวไปใหพน
Samskrta
.sa-am.-.s.-.k.-.r.-.ta esa-ama-asa-ako-ora-ata esaldi (ภาษา) - amaitu (ทำลาย) asaba (บรรพบุรุษ) akordiotu (เห็นพ้อง) oraingoera (ทำขึ้นใหม่) ataurre (นำเสนอ) แปลวา - ทำลายภาษาบรรพบุรุษของเรา โดยเห็นพองกับการ เสนออันใหม
Agnis (อัคนี)
ag.-.ni-is. aga-ani-isa agakatu (ตี) - anitzetan (บ่อยๆ) izar (เกิดประกายไฟ) แปลวา - ตีหลายครั้งจะเกิดประกายไฟ
c-12
Kenya
Giris (คีรี)
.gi-iri-is. egi-iri-isu egilaz (ยอดเขา) - iritsi (ไปถึง) izugaitz (ความกล้าหาญ) แปลวา - ตองกลาหาญเพื่อไปถึงยอด
ke-eni-iha, ike-eni-iha ikertu (จ่ายค่ามาเยี่ยม) eni (ให้ฉัน) ihardun (ใช้เวลาสัก หน่อย) หมายถึง "จ่ายค่ามาเยี่ยมให้ฉัน แล้วก็แกร่วอยู่สักเดี๋ยว".
Nagara (นครา)
sa-aha-ara, iza-aha-ara izadi (ธรรมชาติ) ahalguzti (พระเป็นเจ้า) aratz (บริสุทธิ์) หมายถึง "ธรรมชาติแห่งพระเป็นเจ้าอันบริสุทธิ์".
Sahara
.na-aga-ara ana-aga-ara anaitu (ชุมนุม) - aga (มากมาย) arraginlan (อาชีพก่อสร้าง) แปลวา - ที่รวมของการกอสรางมากมาย
America
ameri-ika ameriketak egin (ลิขิตโชคชะตา) ikaragarri (ยิ่งใหญ่, มโหฬาร) หมายถึง "ลิขิตชะตาอันยิ่งใหญ่".
อันที่จริงตัวอย่างที่อีโดถอดออกมาให้อ่านนั้นมากมาย มีทั้งจากภาษากรีก โอกัม ออไรเซ็ปท์ อังกฤษ ลาติน เสปนนิช ดัช เยอรมัน เบเนดิคทีนส์ ลิเนียร์บี ยิดดิช ฮิบรู ไอนุ เอสกิโม และดราวิเดียน. แถมท้ายก่อนที่จะไป เป็นชื่อของสถานที่ที่เรารู้จักกันดี แต่ไม่เคยรู้ว่ามันมีความหมายซ่อนอยู่ในชื่อเหล่านั้น เอามา เล่าให้ฟังก็เพื่อจะจุดประกายให้เราได้ฉุกคิดว่า บางครั้งเราเอง ไม่ได้ใส่ใจในสิ่งที่มองเห็นอยู่ตรงหน้าเท่าไร ทำให้เราพลาด ข้อมูลที่สำคัญบางอย่างไปอย่างน่าเสียดาย สิ่งที่ซ่อนอยู่ในชื่อ มีความสำคัญกว่าที่หลายคนจะคาดถึง ต้องไม่ลืมว่าคนเราให้ ความสำคัญกับชื่อมาก นึกถึงชื่อคุณเอง ชื่อลูกคุณ ชื่อหนังสือ ที่คุณเขียน ชื่อบริษัทของคุณ .. มันถูกตั้งขึ้นมาอย่างตั้งใจทุก ชื่อ ชื่อ.สามารถบอกอะไรเราได้มากมายเมื่อเราใส่ใจพิจารณา มีเหตุผลน่าสนใจทีเดียวที่คำว่า เอเชีย หมายความว่า ถิ่น กำเนิดแห่งความรู้อันลึกล้ำ. ใครที่สนใจ จะลองเปิดพจนานุกรมภาษาบาสค์เทียบ ดูเอาเองก็ได้ครับ มี URL ใส่ไว้ให้ตอนท้าย.
Canada
ka-ana-ada akabu (ปลายทางไกลโพ้น) anaitu (อยู่ร่วมกัน) ada (เสียง อื้ออึงของคำพูด) หมายถึง "ถึงปลายทางไกลโพ้นเราจะได้สนุกด้วยกัน". Brazil
b.-.ra-azi-il., eba-ara-azi-il ebasle (โขมย) arrapatu (ปล้น) azienda (ความมั่งคั่ง) ilki (จากไป) หมายถึง "โขมยปล้นความมั่งคั่งของเราแล้วก็จากไป". Peru
pe-eru, ape-eru apez (นักบวช) errukigabe (โหดร้าย) หมายถึง "พวกนักบวชนั้นโหดร้าย".
Asia
asi-ia asiera (รากฐาน, ต้นกำเนิด) iaiotasun (ความรู้อันลึกล้ำ) หมายถึง "ถิ่นกำเนิดแห่งความรู้อันลึกล้ำ".
Bagdad
bag.-dad., abaga-dad abagadune (มีโอกาสรุ่งเรือง) dadin (เขาอาจจะ) หมายถึง "เขาอาจประสบความสำเร็จก็ได้".
Africa
af.-.ri-ika, afa-ari-ika afa (ยินดี) arinari eman (หนีไป) ikaragarritasun (โศกนาฏกรรม-เรื่องสลดใจ) หมายถึง "เรายินดีที่จะหนีไปจากความเศร้าสลด".
Bethlehem
be-et. h.-.le-em., abe-ete he-ele-eme abeletxe (คอกม้า) etenune (เวลาเกิด) hementxe (ที่ตรงนี้) ele (ปศุสัตว์) emekiro (สงบสุข) c-13
หมายถึง "เวลาแห่งการสมภพมาถึง ณ ที่นี้ ในคอกม้าและ ปศุสัตว์อันแสนสงบ".
หมายถึง "เตรียมพร้อม ! คลื่นยักษ์กำลังใหญ่ขึ้นๆ รีบไปให้พ้น จากภัยพิบัติ !".
Jerusalem
Baltic
je-eru-usa-ale-em jentil (พวกเพเกน-คนป่าเถื่อน) errukigabe (โหดร้าย) usadio (ประเพณี) alegia (จอมปลอม) emankortasun (อุดม สมบูรณ์) หมายถึง "พวกนอกรีตที่ป่าเถื่อนเฟื่องไปด้วยประเพณีอันเหลว ไหล".
bal-tik bale (ปลาวาฬ) tiko (แดนกำเนิด) หมายถึง "ถิ่นกำเนิดของปลาวาฬ". (น่าจะหมายถึงปลาวาฬ Baluga. ที่อยู่บริเวณอ่าวริกา) Rome
ro-ome, aro-ome arrotasun (ความหยิ่งทะนง) omen (มีเกียรติ) หมายถึง "หยิ่งทะนงและทรงเกียรติ". (อืมมม....โอเค.)
Himalaya
ima-alaya imajina (ภาพ-รูปลักษณ์) alaia (พึงพอใจ) หมายถึง "ภาพอันน่าพึงใจ".
Vatican
fa.-uji-ama fa (ความสุข) uju (ร้องไห้เพราะปลื้มปิติ) ama (เทพธิดา) หมายถึง "ร้องไห้ด้วยความปิติสุขให้แก่เทพธิดา".
ba-ati-ika-an., aba-ati-ika-ana abadeburu (หัวหน้านักบวช) atiki (ศรัทธา) ikasgiro (สภาพ แวดล้อมในการเรียน) anaiarte (เหล่าภราดา) หมายถึง "โรงเรียนสอนเหล่าภราดาของหัวหน้านักบวชผู้ ศรัทธา".
Australia
Siberia
Fujiyama
aus.-.tra-ali-iha, ausa-atra-ali-iha: ausarta (ความกล้าหาญ) atrakatzaile (นักโทษ) alizan (มี ความสามารถ) ihaurri (ไปทุกหนแห่ง) หมายถึง "นักโทษผู้เก่งกล้าสามารถ ผ่านมาแล้วทุกแผ่นดิน".
si-ibe-eri-i.a, esi-ibe-eri-iha esinguratu (ล้อมจับ) ibeni (เท-กอง) erioaldi (ทรมาน) ihaurri (ไล่ให้เตลิดไป) หมายถึง "ล้อมจับมันไว้ ทิ้งมัน ไล่เตลิดมันไปให้อยู่กับความ ทรมาน".
Papua [ตรงตัว ไม่ได้ผสมคำ]
Hawaii
apapua (อยู่อย่างขัดสน) หมายถึง "เขาอยู่อย่างยากแค้นขัดสน".
hau-ahi hau (อันนี้) ahigarri (หมดกำลังแล้ว) หมายถึง "อีนี้หมดแรงแล้ว". (คงหมายถึงว่า ไกลน่ะ.. ไปไม่ถึง คงพายเรือไปนะ..)
Europa
eur.-opa euri (ฝน) opa (ต้องการ) หมายถึง "ปราถนาให้มีฝน".
แค่นี้นิดหน่อยพอหอมปากหอมคอแล้วกัน. ถ้าอยาก สนุกกว่านี้หรือปวดหัวกว่านี้ก็ขอแนะนำให้สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ มาอ่านเลย แต่ถ้ามีอาจารย์ทางภาษาท่านใดอยากจะแปลนะ ครับ มาหาผม ผมจะยกเล่มของผมให้ฟรีเลย. Adio..
Atlantic (มาจาก Atlantis)
at.-.la-an. .ti-iz. atontze (เตรียมพร้อม) olatualdi (คลื่นยักษ์) aniztu (ขยาย ตัวขึ้น) utikan (ไปให้พ้นจาก) izugarrikeria (ภัยร้ายกำลังเกิดขึ้น)
* ภาษาบาสค์ Kaixo = สวัสดี, Adio = ลาก่อน
c-14
หมายเหตุ - ชื่อทุกชื่อของสถานที่ที่มีความเป็นมายาวนานแต่โบราณ มักจะมีความสำคัญแทบทั้งนั้น มันมักจะเชื่อมโยงอยู่กับ ประวัติศาสตร์บอกเล่า ตำนานท้องถิ่น หรือนิทานพื้นบ้านต่างๆ ที่เมื่อก่อนนักวิชาการมากมายเคยเห็นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อเลื่อนลอย ไม่มีมูลความจริง มีส่วนถูกในข้อที่ว่ามันอาจบิดเบือนไปตามกาลเวลาและถูกเสกสรรปั้นแต่งอยู่มาก แต่ถ้าพิจารณาให้ดี จะพบว่า ส่วนใหญ่มันก็คือบันทึกประวัติศาสตร์ชนิดหนึ่งนั่นเอง ซึ่งมักจะทิ้งร่องรอยฝากไว้ในชื่อของ ภูเขา .. แม่น้ำ .. เมือง .. และตำนาน ต่างๆ . ว่างๆ ก็ลองดูชื่อเก่าๆ ประเภทนี้ แล้วลองหาข้อมูลเกี่ยวกับมันดู ... อย่างเช่น .. แม่น้ำ-พรหม-บุตร / ภูเขา-ดง-พญา-เย็น / เมือง- อ-ยุ(ท)ธยา-ศรี-ราม-เทพ-นคร / ต้า-เหมิง..ฯลฯ จะพบว่าสนุกดีทีเดียว แม้จะต่างภาษา ต่างภูมิภาค แต่วิธีการก็มักจะใกล้ เคียงกันเป็นส่วนใหญ่ ลองเทียบคำพวกนี้กับภาษาเก่าอื่นๆ คุณอาจพบเบาะแสบางอย่างที่หายไปก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นแม่น้ำโขง (แม่น้ำของ) หรือแม่น้ำล้านช้าง จีนเรียกมาแต่โบราณว่าแม่น้ำหลันชัง คำนี้ไม่ใช่ภาษาจีน แต่เป็นทับศัพท์โดยคำจีนแทนคำว่า ล้าน ช้าง นี่ก็น่าจะหมายความว่าผู้คนที่ใช้ภาษาเดียวกับคำคำนี้ ก็คือชนเผ่าที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำนี้มาก่อนแต่โบราณนานมากแล้ว ดัง นั้นจึงไม่น่าจะสงสัยว่าชนเผ่าใดอยู่มาก่อนในยูนนาน (เสียงลูกน้องที่นั่งข้างๆ มันถาม.. ชื่อนี้ใช้ได้ไม๊พี่ ? ซอย-หมอ-เหล็ง.. ???.) ข้อมูลอ้างอิง - ภาพประกอบ แปลและเรียบเรียง Edo Nyland Stephen Oppenheimer wikipedia free encyclopedia
Linguistic Archaeology (ISBN 155212668-4) Eden in the East (ISBN 0-75380-679-7) World Language Family
Special thanks to :
en.wikipedia.org
www1.euskadi.net/morris/indice_e.htm http://www.gmi.org/wlms/users/huffman/
พจนานุกรมภาษาบาสค์ออนไลน์ World Language Phyla / Family Mapping แผนที่ภาษารายละเอียดสูง
c-15
ชื่อและชนเผ+า
แต่ในสมัยก่อนโน้นนั่น โดยส่วนมากแล้ว ชื่อจะบอก บางอย่างเกี่ยวกับคนคนนั้น หรือสิ่งสิ่งนั้น เช่น ชื่อ ดำ เพราะ ตัวดำ ชื่อ แสนปม เพราะเป็นโรคผิวหนังมีปุ่มปมน่าเกลียด. ชื่อ แม่น้ำกก เพราะเต็มไปด้วยต้นกก . ชื่อ บางจาก เพราะมี ต้นจากเยอะ. ชื่ออาจบอกเรื่องราวความเป็นมาของสถานที่ เช่น ดงพญาไฟ ทุ่งกุลาร้องไห้ เขาพระวิหาร เขาตาม่องล่าย บางแสน เขาสามมุก ..ฯลฯ โดยมากแล้วชื่อที่ไม่ดีจะมีน้อยกว่า เช่น ชื่อสถานที่บางแห่งที่มีความทรงจำเลวร้ายหรือเชื่อว่ามี อาถรรพ์ ถูกสาปแช่ง ตั้งไว้เพื่อเตือนให้รู้ให้ระวัง โดยส่วนใหญ่ ชื่อที่ไม่ดีถ้าเป็นชื่อเรียก ก็จะเป็นชื่อที่ถูกเรียกโดยผู้อื่น ด้วย ประสงค์จะดูหมิ่นเหยียดหยาม จะจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม เช่น ชาวฮั่น เรียกพวกชนเผ่าทางใต้ว่า หมาน หมายถึงคน เถื่อน ทั้งที่ชนเผ่าพวกนั้นล้วนมีชื่อเรียกตนเองอยู่แล้ว เช่น ไท ลาว..ฯ คนไทยชอบเรียกชาวเขาเผ่า อาข่า ว่า อีก้อ ซึ่งรู้ไม๊ว่า พวกเขาไม่ชอบเลย มันเป็นชื่อที่ไม่ดี เราควรจะเรียกชื่อชนพื้น เมืองเผ่าต่างๆ ด้วยชื่อที่พวกเขาใช้เรียกตัวเองจึงจะถูกต้อง.
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
จุดมุ่งหมายเดิมนั้น..คนเรามีชื่อก็เพื่อแยกแยะตัวตน ของเรา เพื่อแยกแยะคนผู้หนึ่งออกจากคนอื่นๆ เพื่อให้เข้าใจ ตรงกัน เพื่อให้จดจำได้ เพื่อให้เรียกถูก.. ว่านี่ คนนี้คือ นาย ดำ คนนั้นคือ นาย สิงห์. แต่เนื่องเพราะว่าต่อมาผู้คนนับวันก็เพิ่ม จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมหนึ่งๆ จากหมู่บ้านเล็กๆ ที่ครั้ง หนึ่งผู้คนเคยจดจำกันได้หมด เมื่อจำนวนคนมากขึ้นก็เริ่ม แยกแยะกันยากขึ้นไปด้วย เราก็เริ่มเพิ่มข้อมูลมากขึ้นเข้าไป ในชื่อของเรา ธรรมเนียมที่มีมาแต่ดั้งเดิมก็คือมีชื่อพ่อผสมอยู่ เช่น พ่อชื่อ ทองคำ ลูกอาจชื่อ คำสิงห์ เมื่อ คำสิงห์ มีลูกก็อาจ ชื่อ สิงห์หาญ. นอกจากรู้ว่าเป็นลูกใครแล้ว ก็ยังถือว่าเป็นศรี แก่ตัวที่มีชื่อพ่ออยู่กับตน ธรรมเนียมเช่นนี้ยังคงมีอยู่ในชนพื้น เมืองดั้งเดิมหลายกลุ่มจนถึงทุกวันนี้ เช่น ชนเผ่า กำมุ เป็นต้น เมื่อจำนวนประชากรทวีขึ้นอีก การแยกแยะก็ละเอียดขึ้นอีก เช่น สิงห์หาญ บ้านระจัน จากเมืองสิงห์บุรี .. เมื่อเวลาผ่านไป คนเริ่มแบ่งแยกกันมากขึ้นอีก เริ่มจากในกลุ่มเดียวกันเอง มี ชนชั้นผู้นำหรือชนชั้นปกครอง แล้วก็มีชนชั้นข้าหรือผู้ถูก ปกครอง.. คนเริ่มมีชื่อที่กำหนดฐานะตัวเองได้ คนที่มีฐานะสูง กว่า มีชื่อที่เลิศกว่า ใช้ภาษาสูงกว่า ส่วนข้าก็ยังใช้แบบเดิมๆ อยู่ และถูกหวงห้ามไม่ให้ใช้ภาษาสูงที่สงวนไว้ มาตั้งชื่อ. ลองดูชื่อเหล่านี้สิ.. หนานคำ ทิดสุข ไอ้เขียด มหานาค หลวงชำนาญ พระยอดฟ้า ท้าวศรีสุดาจันทร์..ฯลฯ สมัยโบราณ เราแยกแยะฐานะของคนได้ทันทีจากชื่อ สำหรับ ไพร่หรือคนธรรมดาที่ไม่มียศศักดิ์ การระบุว่าเป็นคนบ้านไหน ก็อาจเปรียบเหมือนกับบอกชื่อสกุลอย่างในทุกวันนี้ เช่น นาย
ไทคำตี่ ค.ศ.1869
คุณเป็นใคร ? คำถามนี้เป็นคำถามง่ายๆ ที่คุณอาจ นึกไม่ถึงว่ามันซับซ้อนได้เพียงใด. คุณอาจตอบว่า.. ผมชื่อ ดำ ดูดดื่มดี ลูกแม่เยื้อน อยู่วัดพระญาติ อยุธยา เป็นคนไทย รักชาติไทยยิ่งชีวิต.. เราคงเห็นว่า ข้อมูลแรกของคนผู้หนึ่งที่เราจะได้ ทราบก่อนข้อมูลอื่นๆ ก็คือ.. ชื่อ ย้อนไปตั้งแต่ยุคโบราณดึกดำบรรพ์แล้ว เมื่อคนเรา เริ่มมีภาษาพูดกันพอรู้เรื่อง เราก็เริ่มมีชื่อ ใครสักกี่คนจะฉุกคิด ได้ บ ้ า งว่ า นี ่ เ ป็ น ธรรมเนี ย มที ่ เ ก่ า แก่ เ พี ย งใดของมนุ ษ ย์ ธรรมเนียมเกี่ยวกับการตั้ง 'ชื่อ' เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ มาแต่โบราณจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ชื่อทุกชื่อมักถูกเลือกเฟ้น มาอย่างดี เช่น ชื่อของเผ่า ชื่อหมู่บ้าน ชื่อภูเขา ชื่อแม่น้ำ… ฯลฯ โดยมากมีแนวโน้มที่คนเราจะตั้งแต่ชื่อดีๆ ให้กับ อะไรต่ออะไรที่เกี่ยวข้องกับตนเสมอ แม้บางครั้งจะไม่ตรงกับ ความเป็นจริงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกวันนี้ ผู้ชายรูปร่าง ผอมแห้งอาจมีชื่อว่า องอาจ ก็เป็นได้ ก็เลยทำให้ธรรมเนียม การตั้งชื่อในยุคหลังๆ นี่ ไปสร้างภาพสมมุติบางอย่างขึ้น เป็น ตัวการทำให้ความเป็นจริงบิดเบือนไปได้เหมือนกัน.. d-1
เหี้ยมเกรียมเข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน ไม่เว้นกระทั่งเด็กน้อยอย่างผม ยังกำหมัดแน่น เสียงดังมาจากรอบวง ฆ่ามัน !.. นั่น เอากัน เข้าไป ! น่าเศร้า ที่ทุกยุคทุกสมัยต่อมา ชื่อสมมุติเหล่านี้ได้ สร้างภาพสมมุติที่แบ่งแยกมากขึ้นๆ จนสุดกู่ และเมื่อมัน กลายเป็นเครื่องมืออันหนึ่งทางการเมือง ก็นำมาซึ่งความ วุ่นวายและพาให้เผ่าพันธุ์ทั้งหลายเหล่านี้ ยิ่งห่างเหินขัดแย้ง กันมากขึ้นทุกทีทุกที จนนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หลายต่อ หลายครั้งในประวัติศาสตร์.
จันหนวดเขี้ยว บ้านระจัน เป็นต้น.. ในชนชั้นที่สูงศักดิ์กว่า การ จำแนกวงศ์ตระกูลก็ย่อมเป็นระบบมากกว่าไพร่เป็นธรรมดา เพื่อให้ดูสูงส่งกว่า แสดงฐานะทางการปกครอง เช่น ขุนวรวง ศา วงศ์อู่ทอง เป็นต้น.. เมื่อพี่น้องจากครอบครัวหนึ่ง ขยายเครือญาติเพิ่ม จำนวนขึ้น เป็นธรรมดาว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง ย่อมต้องขยับขยาย โยกย้ายออกไปเพื่อไม่ให้แออัดเบียดเสียดที่ทำกิน เมื่อแยก ออกไปเป็นคนละหมู่บ้านกัน นานไปก็เริ่มห่างเหิน ความรู้สึก แบ่งแยกก็เริ่มเพิ่มมากขึ้น. จากที่เป็นพี่น้องกันแท้ๆ ก็กลาย เป็นว่า นี่คนบ้านเหนือ..ไม่ใช่คนบ้านใต้ .. มีคำพูดว่าคนบ้านนี้ กับคนบ้านนั้น.. มีพวกเรากับพวกมัน .. คนเริ่มเยอะเรื่องก็แยะ มากขึ้นตามมา ปรองดองกันบ้างกระทบกระทั่งกันบ้าง ความ รู้สึกเป็นเครือญาติก็ห่างเหินขึ้นเรื่อยๆ อาจมีธรรมเนียมนิยม ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมา แล้วก็ไปมีผลทำให้ความแตกต่างแบ่งแยก เพิ่มมากขึ้น เช่น หมู่บ้านหนึ่งที่อาจชำนาญในการล่าสัตว์และ การรบมากกว่าหมู่บ้านอื่นๆ ในเมืองนั้น ชาวบ้านนิยมใส่เสื้อที่ มีแขนเพียงข้างเดียวเพราะทำให้ยิงธนูได้ถนัดกว่า เมื่อเวลา ผ่านไป นี่อาจกลายเป็นรูปแบบเครื่องแต่งกายประจำเผ่าหรือ ประจำชาติไปก็ได้ ซึ่งก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยที่ จะสร้างภาพสมมุติซึ่งทำให้พวกเขาดูต่างกันออกไปอีก.
ฮิตเลอร์เทิดทูนเผ่าอารยัน และพยายามฆ่าล้างเผ่า พันธุ์ชาวยิวที่เขาเห็นว่าต่ำต้อยกว่า จะต้องถูกกำจัดให้สิ้น., ค.ศ. 1988 ซัดดัมสั่งสังหารหมู่ชนเผ่าเคิร์ดด้วยอาวุธเคมีในฮา ลาบจา ในอิรัค . คน 5,000 คนตายในทันที .. 75 เปอร์เซ็นต์ที่ ตายเป็นเด็กและผู้หญิง., รวันดา แอ๊ฟริกา ค.ศ. 1994, ทัศนะ ชั่วๆ ของการจำแนกเผ่าพันธ์ุที่คนเบลเยี่ยมได้ปลูกฝังเอาไว้ อย่างไม่รู้ตัวในชนเผ่าฮูตู (Hutu) ได้นำไปสู่การสังหารหมู่ชน เผ่าทุทซี่ (Tutsi) ชนเผ่าหนึ่งที่พวกฮูตูถูกทำให้เชื่อว่าต่ำต้อย กว่า มีทุทซี่มากกว่า 500,000 คนซึ่งรวม เด็ก ผู้หญิง และคน แก่ต้องตายไป ทั้งที่โดยแท้แล้วพวกเขาเป็นพี่น้องกันมากกว่า ที่ใครในโลกนี้จะเป็นได้เสียอีก. ก็นั่นแหละ ประวัติศาสตร์นั้น แสดงให้เราเห็นถึงตัวอย่างที่นับไม่ถ้วนของการเข่นฆ่าห้ำหั่น กันเองแม้ในสายเลือด พ่อกับลูก หรือพี่กับน้องแท้ๆ เพื่อช่วง ชิงอำนาจทางการเมือง ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เมื่อมี ความแบ่งแยกทางชาติพันธุ์เกิดขึ้น ก็ยิ่งไม่มีอะไรเหลือไว้ให้ เรารู้สึกถึงเยื่อใยความผูกพันใดๆ อีกต่อไป .. สงครามก็เกิด ขึ้น.. สงครามที่ความหมายที่แท้จริงนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยเปลี่ยนไปเลยก็คือ “ กูจะเอาของมึง แต่ มึงไม่ให้กูดีๆ นี่ หว่า” ไอ้เจ้าฮิดเด้นอะเจนดาหรือวาระซ่อนเร้นอันนี้ มักจะถูก อ้างบังหน้าเสมอด้วยคำว่า เพื่อชาติ เพื่อเผ่าพันธุ์ เพื่อศาสนา เพื่อภราดรภาพ…ทุกทีแหละ และเมื่อ กูไม่เกี่ยวกับมึง แล้ว ก็ ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมาหยุดกูไม่ให้ฆ่ามึง ไง.. เมื่อเส้นพรมแดนของประเทศต่างๆ ถูกมนุษย์ขีดขึ้น เราก็ลืมความเชื่อมโยงของสายสัมพันธ์อันมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ในเผ่าพันธุ์ของเรา และลืมจุดประสงค์แท้จริงของธรรมเนียม ในการตั้งชื่อไปจนหมดสิ้น อาจบางทีถ้าเราได้รู้ได้เข้าใจความ หมายและความเป็นมาของชื่อต่างๆ ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชื่อของชนเผ่าทั้งหลาย ความเข้าใจและสายสัมพันธ์ระหว่าง เผ่าพันธ์ุต่างๆ ก็น่าจะดีขึ้นมาด้วย.
ในการอยู่ร่วมกัน .. เมื่อพื้นแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ดี ก็ ง่ายต่อการอยู่ร่วมและขยายตัว เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นอีกก็อาจ หมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีแรงงาน มีคนจะซื้อ มีคนจะขาย มากขึ้น ก็ยิ่งดึงดูดให้ผู้คนต่างถิ่นเข้ามาอยู่ร่วมด้วย สังคมก็ เริ่มขยายเป็นเมือง เป็นชาติรัฐขึ้นมา ถึงจุดนี้ก็ไม่ได้มีเพียง เครือญาติสนิทเท่านั้นที่อยู่ร่วมกัน ญาติที่ห่างกันออกไปหรือ แม้แต่ที่ลืมกันไปแล้ว หรือแม้คนต่างถิ่นต่างเผ่า ก็เข้ามาอาศัย คบค้า ความแบ่งแยกก็จะยิ่งมีมากขึ้นอีก จากแค่เรื่องคนบ้าน นี้บ้านนั้น ก็เป็นเผ่านี้เผ่านั้น มีพวกสูงชั้น พวกต่ำชั้น มีความ ขัดแย้งเก่า ความขัดแย้งใหม่ พอถึงยุคเข็ญที่ทำกินฝืดเคือง ฝนแล้ง ทุพพิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ความต้องการมีมาก ขึ้น ก็เริ่มรุกรานกัน ผลประโยชน์ก็อยู่เหนือความสัมพันธ์ที่มี มาแต่เดิมไปเสียหมดสิ้น สมัยเด็ก ผมเองยังจำได้ถึงความเมามันหน้าจอทีวี เมื่อดูการแข่งขันฟุตบอลระหว่างไทยกับพม่า ผมเองตอนนั้นก็ เป็นเหมือนกับคนอื่นๆ น่ะแหละ ประวัติศาสตร์ฉบับแค้นฝัง แน่นมันสอนว่านี่คือศัตรูคู่แค้น และเมื่อพม่ากับไทยไม่ได้รบ กันแล้ว นี่ก็คือสมรภูมิแห่งใหม่ที่เริ่มจากเตะบอลล์แล้วก็มัก ลงเอยด้วยการเตะคนอยู่เสมอ เสียงผู้คนที่อยู่หน้าจอก็จะ
ผมได้แต่หวังเช่นนั้น ... โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ ชนเผ่าที่มีชื่อว่าไทยด้วยกันเอง กำลังแตกแยกกันเช่นทุกวันนี้. d-2
บนแผ่นดินเอเชียนี้ มีชนพื้นเมืองเก่าแก่อาศัยอยู่ มากมายกระจัดกระจายกันทั่วไป ข้อมูลทางพันธุกรรมบอก กับเราว่า ตั้งแต่ราวห้าหมื่นกว่าปีก่อนคริสต์กาลแล้ว ที่มนุษย์ กลุ่มแรกๆ ซึ่งอพยพย้ายถิ่นมาจากแอ๊ฟริกา ได้เข้ามาบุกเบิก ยังดินแดนแถบนี้ (mtDNA M*) ตั้งแต่ยุคที่แผ่นดินซุนดาอัน กว้างใหญ่ยังไม่จมลงไปใต้ทะเล และผืนแผ่นดินก็เชื่อมต่อกัน เป็นผืนเดียวไปจนจรดปาปัว-ออสเตรเลีย มนุษย์กลุ่มแรกๆ ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงพวกโฮโมอีเร็คตัสอย่าง มนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ชวา ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ในทวีปนี้มาก่อนหน้านั้นนะครับ ความรู้ทางด้านพันธุกรรมในปัจจุบันบอกกับเราว่า เผ่าพันธ์ุ มนุษย์โบราณพวกนั้น ไม่หลงเหลือทายาทสืบมาถึงปัจจุบันนี้ เลย ด้วยสาเหตุบางอย่าง พวกเขาพากันจากไป หรือไม่ก็ตาย กันไปหมดแล้ว ก่อนที่พวกอพยพใหม่กลุ่มแรกจะมาถึง. มีการอพยพเข้าสู่เอเชียตามมาอีกหลายระลอก ระ ลอกหลักๆ ก็คือ Haplogroup ดังนี้ .. mtDNA A, B, F และ YDNA D(M174) ในช่วงราว 55,000 BC. จากนั้นก็ตามมา ด้วยกลุ่ม Y-DNA M(M4), Y-DNA C(M130), Y-DNA C3(M217), Y-DNA O(M175), Y-DNA O3(M122), Y-DNA R2(M124), Y-DNA H(M69), Y-DNA L(M20), Y-DNA G(M201), Y-DNA O1a(M119), Y-DNA O2(P31), Y-DNA D2(P37.1) เข้ามาในช่วงเวลาตั้งแต่ราว 35,000 ปี . ยังไม่ทัน ถึง 20,000 BC พวกเขาก็กระจายกันไปทั่วทั้งทวีปเอเชียแล้ว
- โอรังเหนือ เรียกกันว่า เซมัง (Semang) แบ่งออกเป็นเผ่า ย่อยๆ ได้อีก เช่น เคนสิอุ, คินตั๊ก, ลาโนะ, ยาไฮ, มันดริกค์, บา ติก(ปาเต็ก).., ในเมืองไทยก็มี เผ่า มานิ , ในฟิลิปปินส์มีเผ่า เอ ตา, อติ. และอีก 12 เผ่าในหมู่เกาะอันดามัน (อินเดีย) - โอรังกลาง เรียกกันว่า เซนอย (Senoi) แบ่งออกเป็นเผ่า ย่อยๆ คือ เตเมีย, เซไม, เซม็อกบีริ, จาฮัด, เม๊าะมิริ.. - โอรังใต้ เรียกกันว่า มาเลย์เดิม (Proto-Malay,Melayu Asli) แบ่งออกเป็นเผ่าย่อยๆ อีก คือ เตมวน, เซเมไล, จั๊กกุน, จานัก, กัวลา, เซเลตาร์.. ในเมืองไทย เราพบชนพื้นเมืองดั้งเดิมพวกนี้อยู่ไม่ น้อย ส่วนใหญ่อยู่อย่างแร้นแค้นยากจน ถูกบีบให้ละทิ้งวิถี ชีวิตดั้งเดิมและเข้าสู่เบ้าหลอมทางวัฒนธรรมของชาวเมือง ไม่ ว่าเบ้านั้นมันจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม มันก็กลืนพวกเขา จนตัวตนเหลือน้อยลงทุกที พวกเราคงจะรู้จัก ชาวมอเกน หรือ ที่เราเรียกว่า ชาวเล นั่นแหละ พวกเขาเรียกตัวเองว่า ‘โอรังลา โวด’ เวลาเจอพวกเขา ขอให้รู้ไว้เลยว่า จงให้เกียรติพวกเขา พวกคุณบางคนอาจมาจากเขา ณ จุดใดจุดหนึ่งในอดีตกาล บรรพบุรุษของพวกเขาเป็นบรรพบุรุษของเราด้วย เมื่อคุณพบ พวก ก็อย (เซมัง) หรือ โอรังบูเก็ต (ซาไก) ก็อย่าเรียกเขาว่า เงาะ ไม่ว่าเราจะชื่นชอบวรรณคดีเรื่องเงาะป่าสักเพียงใด ก็ตามแต่ จงรู้ไว้ว่ามันไม่สุภาพเลย . ชื่อ ซาไก ก็เหมือนกัน แปลว่า คนแคระ เป็นชื่อไม่ดี ไม่ควรใช้ คุณเรียกพวกเขาว่า ‘โอรังอัสลิ’ นั่นแหละเหมาะสมที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเผ่าไหน ก็ตาม.
เราลองมาทำความรู้จักกับชนเผ่าเครือญาติใกล้ชิด ทั้งหลายเหล่านี้กันพอสังเขปสักหน่อยแล้วกัน
คุณบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ เป็นผู้หนึ่งที่ถือว่ามีบุญคุณ ใหญ่หลวงกับการศึกษามนุษยวิทยาในเมืองไทย หนังสือ “30 ชาติในเชียงราย” และ “ชาวเขาในไทย” เป็นเหมือนหนังสือ เรียนเล่มหนึ่งสำหรับผม ดังนั้นแม้จะไม่ปรากฏให้เห็นในงาน เขียนหรือว่ามีใครเรียกท่านว่าอาจารย์หรือไม่ ผมก็จะขอเรียก ท่านอย่างนี้.
โอรังอัสลิ Orang แปลว่า คน Asli แปลว่า ดั้งเดิม เป็นชื่อภาษามาเลย์ ของ ชนเผ่ า พื ้ น เมื อ งดั ้ ง เดิ ม แห่ ง เอเชี ย ใต้ มี ค วาม หมายชั ด เจนในตั ว ว่ า “คนดั้งเดิม” (aboriginal people) เห็นได้เลยว่า พวกเขารู้อยู่แก่ใจอยู่แล้ว ว่าอยู่มาก่อน ชนพื้นเมือง พวกนี้ถูกจัดออกเป็นสามกลุ่มด้วยกัน คือ..
ในหนังสือ “ชาวเขาในไทย” อ.บุญช่วย เขียนไว้ว่า.. ในตำนานเก่าแก่ของมลายูนั้นเล่าว่า เดิมแผ่นดินมลายูเป็น ป่าทึบและมีชนเผ่าอาศัยอยู่ 4 เผ่าคือ 1. กาฮาซี ที่ว่ากันว่า เป็นพวกยักษ์ ป่าเถื่อนกินเนื้อดิบ ซึ่งรวมถึงเนื้อคนด้วย แต่ สูญพันธ์ุไปหมดแล้ว 2. ซาไก (เรียกตัวเองว่า ‘โอรังบูเก็ต’ บู เก็ต=ภูเขา) อาศัยอยู่ตามป่าเชิงเขา 3. เซียมัง คล้ายซาไก ชอบอาศัยอยู่ในป่าลึก 4. พวกโอรังลาโวด หรือ ชาวน้ำ ร่อน เร่ล่องเรือหาปลาไปตามเกาะแก่งต่างๆ . ต่อมาชาวพื้นเมือง d-3
อินเดียตอนใต้ถูกรุกรานและหนีมาที่สุมาตรา ราว พ.ศ.300 จึงย้ายข้ามมาแหลมมลายู ผสมกับโอรังลาโวด กลายเป็นชาว มลายู ซึ่งต่อมาได้รบพุ่งกับชาวป่า (เซมัง ?) แล้วจับชาวป่า มาเป็นทาสหรือฆ่าตายไปก็มากมาย ทำให้ชาวป่าเหล่านั้น ต้องหลบหนีกระจายกันไปซ่อนตัวตามป่าลึกและย้ายถิ่นอยู่ เสมอ.. นี่เอง ที่ทำให้ชนพื้นเมืองพวกนี้ยังเหลือรอดมาบอกเล่า เรื่องราว การที่พวกเขาพากันหลบซ่อนไปอยู่ในพื้นที่ที่ปิดกั้น ตามธรรมชาติ ทำให้เบาะแสอันเก่าแก่นี่ถูกรักษาเอาไว้ได้ อย่างโชคช่วย.
อันดามันนิส
ชวา
โอรังลาโวด
โอรังบาติก
มาเลย์
เซมัง
ปาปวน
อะบอริจิน
อ. บุญช่วยยังเขียนไว้อีกว่า “ แหลมมลายูตอนเหนือ ซึ่งเป็นเขตประเทศไทยในวันนี้ แต่ก่อนเป็นป่าทึบเต็มไปด้วย สัตว์ป่าต่างๆ นอกจากเผ่าเซมัง ซาไกแล้วแทบไม่มีคนหรือชน เผ่าอื่นเลย ตามฝั่งทะเลมีชนเผ่าโอรังลาโวดอาศัยอยู่บ้าง แม้ เมื่อสุโขทัยขยายอำนาจลงไปถึงนครศรีธรรมราช ในราวปี พ.ศ. 1823 แต่ก็ยังไม่ได้ย้ายผู้คนลงไปอยู่ กระทั่งปี พ.ศ. 1950 พระราเมศวร จึงได้ให้ต้อนผู้คนไทจากทางเหนือ ไปที่ นครศรีธรรมราชและหัวเมืองใกล้เคียง แล้วต่อมาอยุธยาจึง ขยายอำนาจไปจนถึงเมืองมะละกา เพราะคนไททางเหนือถูก ย้ายไป กลายเป็นคนไทถิ่นปักษ์ใต้เช่นทุกวันนี้นี่เอง คือเหตุที่ สำเนียงปักษ์ใต้ถึงได้เหมือนกับทางเหนือ...” อ.บุญช่วยยังให้ ข้อมูลที่สำคัญไว้อีกด้วยว่า เมื่อ 40 ปีก่อน.. (ตอนที่ หนังสือพิมพ์ครั้งแรกคือ พ.ศ .2506 ดังนั้นก็น่าจะราวๆ พ.ศ. 2466 เป็นอย่างน้อย) ในป่าเขาของมลายูมีพวกเซมังซาไกราว 50,000 คน ต่อมาก็ลดน้อยลงเพราะกลายกลืนเป็นชาวมลายู ไป อ.บุญช่วยยังอ้างถึงหนังสือชื่อ Bei Den Urwaldzwergen Von Malaya ของ บาดหลวง Paul Schebasta ที่บันทึกเอาไว้ ว่า พระยาเดชานุชิตซึ่งเคยเป็นผู้ว่าการมณฑลปัตตานี เคย ยืนยันกับท่านว่า ชาวมลายูในมณฑลปัตตานีนั้นผสมกับชน เผ่าเซมัง ส่วนชาวมลายูแห่งเประนั้นผสมกับชนเผ่าซาไก .. มี เกร็ดเล็กน้อยที่น่าสนใจอีกอันเกี่ยวกับชื่อของจังหวัด พัทลุง.. เล่ากันว่ามาจากภาษาเนกริโต ‘พาตาโลน’ เป็นชื่อของชาย คนหนึ่งที่โดดลงมาจากหน้าผาสูง. ผู้มาก่อนได้ฝากรอยจารึก ไว้ก่อนแล้วอยู่ในชื่อของสถานที่ ความรู้อย่างนี้นี่ นับเป็นเรื่อง ที่ควรมีผู้ให้ความสนใจมาขุดลึกค้นคว้าอีกเรื่องหนึ่ง. ชนเผ่าดั้งเดิมพวกนี้อยู่ร่วมสาแหรกเดียวกันกับชน พื้นเมืองดั้งเดิมใน ปาปัวนิวกินี ออสเตรเลีย และเป็นต้นสาย ของชาวอินโดนีเซียน โพลีนีเชียน เมลานีเซียน ไมโครนีเซียน.. ดูใบหน้าทั้งหลายถัดไปนี้ คุณจะเห็นความเกี่ยวโยง นี้ได้อย่างชัดเจน ลองดูภาพสาแหรกพันธุกรรมของ ศ . ลูกา ไปด้วย
สังเกตุดูเซมังสองคนในภาพ เผ่าเดียวกันแต่มีใบหน้าที่ดูต่างกัน
d-4
ชนเผ่าโอรังอัสลิเหล่านี้ มีเพลงร้องเป็นตำนานเล่าเรื่อง สืบกันมา มีเพลงพิธีกรรม มีเพลงรัก มีการทำกลองจากต้นไม้ และสร้างจังหวะต่างๆ ร่วมกับการตีเกราะเคาะไม้ ใช้สิ่งต่างๆ ที่มีในธรรมชาติเป็นเครื่องดนตรี เช่นต้นไม้ใหญ่ๆ พวกเขา เลือกต้นที่มีเสียงดี และแทนที่จะโค่นมันลงมา พวกเขากลับ เล่นมันทั้งที่ยังตั้งอยู่อย่างนั้น พวกเขาจะพูดกับต้นไม้นั้น ขอ อนุญาติ แล้วก็จะตีและทุบมันอย่างน่าฟัง บางครั้งพวกเขาใช้ ผืนดินเป็นกลอง ทั้งด้วยการย่ำลงไปด้วยเท้าของคนคนเดียว หรือหลายคน หรือด้วยการใช้กระบอกไม้ไผ่กระทุ้งพื้น ควบคู่ กันไปกับการเต้นไปด้วย บางครั้งพวกเขาใช้วิธีตีน้ำในลำธาร ให้มีเสียง ในบางเผ่ามีการใช้ฆ้อง ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องดนตรี ศักดิ์สิทธิ์ และทุกบ้านต้องมีไว้ประจำบ้าน.
ภุญชัย (ลำพูน) และได้ทำสงครามกับพวกละว้า ตำนานเก่า แก่มากๆ อย่างพงศาวดารเมืองหิรัญนครเงินยาง และตำนาน พระอุรังคธาตุล้วนกล่าวว่าชนเผ่าละว้านั้นมาก่อนไทและขอม ในหนังสือ “ชาวเขาในไทย” ของ อ. บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ เขียนถึงชาวละว้าว่าเป็นเจ้าของแผ่นดินถึงหกประเทศ คือ จีน ในแถบยูนนาน ลาว เวียตนาม กัมพูชาตอนเหนือ ก่อนพวก ไท ลาว จีนฮ่อ เวียตนาม ขอม เขมร จามและมอญราวๆ 5000 ปีมาแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พันธุกรรม และสัมพันธ์กับการอพยพของมนุษย์โบราณ ถ้าพิจารณาตาม ข้อมูลใหม่นี้แล้ว ละว้าน่าจะเป็นพวกออสโตรนีเชียนอย่างโอ รังอัสลิที่อพยพขึ้นเหนือ หนีน้ำที่ท่วมแผ่นดินซุนดาขึ้นไปผสม กับพวกที่อยู่ตอนบนของอุษาคเนย์ อยู่เมืองเป็นละโว้เป็น มอญ อยู่ป่าเป็นละว้า เป็นลัวะไป . ก็เหมือนกันกับพวกโอรัง อัสลิที่อยู่ทางตอนใต้ อยู่เมืองเป็นซีนอย มาเลยู ชวา บาหลี.. อยู่ป่าเป็นเซมัง ซาไก มอเกน ดายัค... ฯลฯ ฉันใดฉันนั้น นาน วันไปพวกอยู่เมืองก็ปฏิเสธความเชื่อมโยง ด่าว่าเป็นผีเป็นข้า เป็นคนป่าคนเถื่อนไป
ละว้า (ลัวะ/ล้า/ล่า/ว้า/อูด/ ชาวบน/กวงยัต/ปูมาน/ ปะหร่อง/ไตหลอย/ สามต้าว)
ตำนานโบราณอีกอัน ที่บังเอิญสัมพันธ์กับข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ก็คือ กำเนิดเผ่าพันธ์ุมนุษย์ พงศาวดารเชียงตุง เขียนว่า คนทั้งหลายออกมาจากน้ำเต้าใบเดียวกัน ลัวะออก มาก่อนเป็นพวกแรก ยาง(กะเหรี่ยง)ออกมาเป็นพวกที่สอง แล้วจึงเป็นไทและชนเผ่าอื่นๆ ดังนั้นลัวะและยางจึงเป็นพี่ของ ไท ตำนานกล่าวว่าก่อนพระยามังรายจะไปตีได้เมืองเชียงตุง นั้น ดินแดนแถบนั้นเป็นถิ่นของลัวะทั้งสิ้น
ชนเผ่ า ดั ้ ง เดิ ม เก่ า แก่ ที ่ ส ุ ด อี ก ชาติ พ ั น ธุ ์ ห นึ ่ ง ของอุษาคเนย์ พวกไท ใหญ่ในรัฐฉานบอกพวกละว้านั้นอยู่ในดินแดนแถบนี้มาก่อน ไทจะเข้ามา จนมีคำกล่าวว่า “สางส้างผ๊า ล้าส้างลิ๋น” ซึ่งมี ความหมายว่า “เทวดาสร้างฟ้า (สวรรค์) ละว้าสร้างเมือง” ประเพณีของไทใหญ่แห่งรัฐเชียงตุง เวลาที่เจ้าฟ้าจะขึ้นครอง นคร ต้องให้ละว้าขึ้นไปนั่งบนหอคำก่อน แล้วค่อยให้เจ้าฟ้าถือ แซ่ไปขับไล่ออกมา ชนเผ่าละว้าเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระ จายอยู่ทั่วไปในแถบภาคเหนือตั้งแต่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ .. ภาษาพูดคล้ายกับข่า ทาง มนุษยวิทยาจัดเป็นพวกกลุ่มมอญเขมร เป็นตระกูลผสมของ โพลินีเชียนและไมโครนีเชียน ซึ่งเป็นญาติกับกลุ่มออสโตรนี เชียนนั่นเอง ดีเอ็นเอของประชากรส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มหลักคืือ Y-DNA Haplogroup O เช่นเดียวกับชนพื้นเมืองดั้งเดิมในจีน ตอนใต้ทั้งหลายอย่างเช่น ไท ลาว ม้ง ข่า..
มีตำนานเก่าแก่ของพวกลัวะที่แสดงให้เห็นความเชื่อม โยงกับพวกออสโตรนีเชียนก็คือ ตำนานเกี่ยวกับต้นตระกูล ลัวะที่อยู่บนเขาลูกหนึ่งสูงสองพันหนึ่งร้อยเมตร บนเขานี้มี หนองน้ำใหญ่ยาวยี่สิบเส้น กว้างสองร้อยหลา น้ำลึกและเย็น มีสีเขียวจึงเรียกว่าหนองเขียว มีกบยักษ์สองตัวผัวเมียชื่อ ยาถำ กับ ยาไถ่ วันหนึ่งจับมนุษย์ได้ ก็กินเป็นอาหาร เอา กะโหลกแขวนไว้ดูเล่น กินแล้วก็ตั้งท้องคลอดลูกเป็นมนุษย์ ชายเก้าคน หญิงเก้าคน เนื่องเพราะว่าได้ลูกเป็นมนุษย์ กบผัว เมียเลยก็บูชามนุษย์ โดยเอาหัวกะโหลกแขวนไว้กับเสากลาง ลานบ้าน ต่อมาลูกชายหญิงทั้งเก้าคู่ได้แต่งงานกัน แล้วแยก ย้ายไปอยู่ในหุบเขาต่างๆ เก้าแห่ง แต่กบยักษ์สองตัวนี้แม้มีลูก เป็นมนุษย์แล้ว ก็ยังชอบกินเนื้อมนุษย์เพราะรสชาติอร่อย วัน หนึ่งดันไปจับเอาหลานตัวเองมากิน ลูกชายทั้งหลายเลย ตกลงกัน จับกบยักษ์พ่อและแม่ของตนฆ่าเสีย เลยเป็น ขนบธรรมเนียมฆ่าพ่อแม่ตัวเองเมื่ออายุมากสืบต่อตามกันมา
พงศาวดารเก่าแก่เล่าว่า นานมาแล้วมีรัฐโบราณชื่อ ลวรัฐ นักประวัติศาสตร์ว่า คือลพบุรีก่อนขอมเข้ามามีอำนาจ ว่าไปก็คือละโว้โบราณนั่นเอง พระนางจามเทวีผู้โด่งดังใน ตำนานซึ่งเป็นพระธิดาแห่งอาณาจักรลวรัฐ ได้ขึ้นไปครองหริ d-5
เพิ่งเลิกเมื่อสามร้อยปีมานี้ (เลิกไปพร้อมกับประเพณีกินเนื้อ มนุษย์) และเพื่อระลึกถึงว่ามีบรรพบุรุษเป็นกบ จึงหล่อกลอง โลหะขึ้น มีรูปกบเกาะอยู่ ใช้ตีในงานพิธี ซึ่งก็คือกลองกบหรือ ฆ้องกบหรือกลองมโหระทึกนั่นเอง
หนังสือ “ชาวเขาในไทย” ของ อ. บุญช่วย เขียนไว้ว่า ชาวไทหลวงพระบางยืนยันรับรองคำว่า ข่า มาจากคำว่า ข้า. พงศาวดารหลวงพระบางเขียนไว้ว่า ขุนลอยกทัพมาตีแย่ง เมืองหลวงพระบาง (เดิมชื่อเมืองชะวา) จากพวกข่ากันฮาง แล้วขับพวกข่าไปอยู่ในป่าเขตเมืองหลวงภูคา จากนั้นมาพวก ข่าก็ตกเป็นข้าไทลาวมาตลอด ต้องส่งส่วยพืชไร่ ข้าวไร่และ แรงงานแก่ท้าวพญาเมืองหลวงพระบางเป็นประจำ บ้านเมือง มีพิธีการอะไรก็เกณฑ์พวกข่ามาใช้งาน คอยตีกลองประโคม เวลาเจ้าเสด็จ นำมาใช้สอยในคุ้มเจ้านาย ก็เลยถือว่าข่าเป็น ข้ารับใช้มาแต่เดิม แม้ปัจจุบัน คนลาวที่มีเงินก็ยังจ้างข่าไว้ใช้ งานบ้านงานสวนไร่นา
ขนบธรรมเนียมการฆ่าพ่อแม่ตัวเองเมื่ออายุมากของ พวกละว้านั้น เหมือนกับพวกชนเผ่าออสโตรนีเชียนหลายเผ่า เช่นในปาปัวนิวกินี หรือชนเผ่ากลุ่มเมลานีเชียเช่นหมู่เกาะ โซโลมอน เป็นต้น รวมไปถึงธรรมเนียมการล่าหัวมนุษย์และ กินเนื้อมนุษย์ที่เหมือนกันด้วย ลัวะ ก็ใช้กระบอกไม้ไผ่กระทุ้งพื้นเป็นจังหวะพร้อมกับ เต้นรำไปด้วยเหมือนพวกโอรังอัสลิ พวกเขาตีเกราะไม้ที่เรียก กันว่า โกน ละว้ายังมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า เปี๊ยะ รูปร่าง คล้ายซออู้ แต่ทำด้วยทองแดงเป็นรูปหัวช้าง ใช้มือดีด ชาย หนุ่มละว้าใช้เล่นเวลาเข้าหาสาว ละว้ายังมีเพลงร้อง เล่าเรื่อง ความเป็นมาของตน มีเพลงพิธีกรรม และเพลงรัก
นักวิชาการว่าพวกข่านี้ จัดอยู่พวกเดียวกับละว้าคือ ตระกูลมอญเขมร ตำนานเก่าแก่ก็เช่นเดียวกัน กล่าวถึงพวก ข่าว่าอยู่ในดินแดนแถบนี้มาก่อนกว่าห้าพันปีมาแล้ว เช่นเดียว กับพวกละว้า วิทยาศาสตร์ก็สอดคล้องกับตำนานอีก จะว่าไป แล้วก็คือ อยู่ทางซ้ายเป็นมอญ อยู่ตรงกลางเป็นละว้า อยู่ทาง ขวาเป็นข่า (มองจากฟ้า) ล้วนเก่าแก่ใกล้เคียงกันทั้งสิ้น พวก มาก่อนก็ถูกไล่ถูกเบียดออกไปเป็นคนป่าเป็นชนกลุ่มน้อยตาม เคย ก็เหมือนกันอีกกับพวกลัวะและโอรังอัสลิ .. อยู่เมืองก็เป็น จามเป็นขอม อยู่ป่าก็เป็นข่า ถูกปฏิเสธความเกี่ยวโยงจากคน เมือง แล้วก็รบพุ่งกันจนถูกไล่เข้าป่าไป เป็นหนังพล๊อต เดียวกันให้เห็นทุกแผ่นดินนั่นแหละ ไม่ว่าจะปฏิเสธหรือเขียน ประวัติศาสตร์กันไปยังไง ก็ไม่อาจลบล้างความจริงที่ฝังอยู่ใน ดีเอ็นเอได้เลย แน่นอนว่าพวกเขาอยู่ในกลุ่มวายโครโมโซม กรุ๊ป O เช่นเดียวกับกลุ่มไท
ข่า (ม้อย/พนอง/สะเตียง/ขมุ/กำมุ/ละเม่ด/ฮอก/ขัด/กะเวน/จ่อน/ วะ/กะเซ็ง/สะลัง/เพน/แพ/สามภู/ผู้น้อย/ละแว/ถิน/ฮอ/ลาวเทิง)
ชนเผ่าข่านี้ กระจายกันอยู่ในประเทศลาวตอนเหนือ เป็นส่วนใหญ่ สองฟากแม่น้ำทา น้ำแบ่ง น้ำอู น้ำเสือง ใน ประเทศไทยอยู่แถบที่ใกล้ชายแดนลาวเช่นเชียงราย น่าน รวม ทั้ง เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ .. เป็นชนเผ่าที่ขยัน อดทน และซื่อสัตย์เหมือนกับพวกลัวะ ทำงานหนักโดยไม่เกี่ยงไม่บ่น ข่ า มี เ ครื ่ อ งดนตรี ห ลายอย่ า ง พวกเขามี ก ลองกบ เหมือนพวกละว้า เรียก ก้องกบ มี ไม้หลุ้ง หรือกระบอกไม้ไผ่ ไว้กระทุ้งพื้นสร้างจังหวะเหมือนกันกับละว้า แล้วก็ยังมี กลอง ยาว เป่าแคนแบบลาว แต่เต้าแคนยังใช้น้ำเต้าอยู่ ต่างกับเต้า แคนลาวทั่วไป มีเพลงร้องบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ และเพลงใน การประกอบพิธีกรรมต่างๆ .
d-6
คือชนเผ่าที่ฝรั่งเรียกว่า Karen คนไทยเรียก กะเหรี่ยงกะหร่าง ล้านนาเรียก ยาง พม่าเรียก กะยิน นั่นเอง.. ตามจริง แล้ว คำว่ากะเหรี่ยงหรือกะหร่างนั้นไม่ได้มีความหมายใดๆ สำหรับชนเผ่านี้เลย มันไม่อยู่ในภาษาพวกเขาด้วยซ้ำ
มลาบรี (ผีตองเหลือง/ข่าตองเหลือง/ ยูมบรี) คนชอบเรียกว่าผีตอง เหลืองซึ่งไม่ดีเลย และพวก เขาก็ไม่ชอบด้วย เรียกเขาว่า คนป่าพวกเขาจะรู้สึกว่ายังดี กว่าซะอีก เพราะยังไงก็ยังเป็นคนไม่ใช่ผีนะ มลาบรีเป็นชน เผ่าที่จัดว่าเป็นพวกข่า แต่ที่แยกออกมากล่าวถึงต่างหาก เพราะพวกนี้มีปูมหลังที่พิเศษกว่าข่าอื่น ชาวมลาบรีมักปลีก ตัวหลบลี้หนีหน้าออกจากผู้คนชนเผ่าอื่นๆ ไม่ชอบคบค้า สมาคมกับใคร เร่ร่อนไปตามป่าเขาไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง สร้าง เพิงอยู่ชั่วคราวมุงด้วยใบตอง พอใบตองเหลืองก็เคลื่อนย้าย ต่อไป บวกกับเพราะเคลื่อนไหวไปมาว่องไว ก็เลยเรียกกันว่า ผีตองเหลือง มลาบรี พบได้ในประเทศลาวมากกว่าในภาคเหนือ ของประเทศไทย ข่าพวกนี้ผิวพันธ์หน้าตาดีกว่าข่าอื่นๆ จมูก โด่ง มีลักษณะของมองโกเลียนมากกว่า ก็เลยสันนิษฐานกัน ว่า มีเลือดผสมระหว่างมอญเขมรกับมองโกเลียน บ้างว่าเกี่ยว โยงโดยตรงกับพวกโหบิเฮนียน จนเมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลใน ดีเอ็นเอถึงเปิดเผยว่า พวกมลาบรีเกี่ยวโยงกับข่าถิน อีกแขนง หนึ่งของกัมมุ (ขมุ) มีนักวิชาการบางกลุ่มสันนิษฐานว่า อาจ เป็นเด็กชายหญิงข่าถิน ที่ถูกนำไปปล่อยไว้ในป่าเป็นเครื่อง สังเวยเพื่อบูชายัญ แต่รอดชีวิตหนีไปได้ แล้วก็สืบพันธ์ุกันจน เป็นกลุ่มคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง เหตุนี้ละมัง จึงได้ตกทอดสำนึกฝัง ลึกอยู่ในใจชนเผ่านี้ให้หลบหนีผู้คน และก็คงเป็นด้วยเหตุนี้ จึงพบว่าไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอของมลาบรีนั้น (subgroup A) ไม่มีความหลากหลายอยู่เลย เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ผสมกับชนเผ่าอื่น ข้อมูลใหม่นี้ยังบอกอีกว่า การปรากฏ ขึ้นของชนเผ่านี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาแค่ราว 500-800 ปีมานี่เอง นี่เป็นอุทาหรณ์อย่างดีที่แสดงให้เห็นว่า ชื่อของชาติพันธ์ุที่ เรียกกันต่างๆ ไปนั้น แท้จริงเป็นสิ่งสมมุติเพียงใด
เก่าแก่และอยู่มาก่อน พวกเขากระจายกันอยู่เป็น จำนวนมาก อยู่ในทั้งภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี และพบบ้างใน แพร่ ลำพูน ลำปาง ประจวบคีรีขันธ์ ทางวิ ช าการจั ด ให้ ช นเผ่ า นี ้ อ ย่ ู ใ นกลุ ่ ม ทิ เ บต-พม่ า (tibetan-burman) สันนิษฐานว่าเดิมอาศัยอยู่แถบทิเบต ตะวันออก แล้วค่อยๆ เคลื่อนย้ายเข้ามาในดินแดนจีนตอน กลาง ดีเอ็นเอก็แชร์เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม YDNA Haplogroup O เช่นเดียวกับที่พบในกลุ่มทิเบตพม่าและ ออสโตรเอเชียติกทั้งหลาย ต่อมาถูกขับไล่โดยพวกฉินให้ร่นลง มาอยู่แถบลุ่มน้ำแยงซี ปะทะกับชนเผ่าไทจึงได้เคลื่อนย้ายมา อยู่แถบลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำสาละวินในเขตพม่า รักสงบ ชอบ อยู่ลึกเข้าไปในป่าลึกหรือบนภูเขาสูง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากับ ชนเผ่าอื่นๆ เมื่อมีภัยเช่นสงครามจะได้ย้ายหนีได้รวดเร็ว ชน เผ่านี้เคลื่อนย้ายลงใต้มาในแถบแหลมทองก่อนชนเผ่าไท อยู่ ในพม่ามากกว่าอยู่ในประเทศไทย มีรัฐของตนในพม่าสองรัฐ คือ รัฐกะยาของพวกกะเหรี่ยงแดง และรัฐกอทูเลของพวก กะเหรี่ยงขาว นอกนั้นกระจัดกระจายกันไปตามป่าเขาในไทย และพม่า
มลาบรีไม่มีเครื่องดนตรีอะไร นอกจากการเป่าใบไม้ โจว์ (กะเหรี่ยง) (ปกากะญอ/สะกอ/โผล่ว(โปว์,พะโอ)/ส่อง/โจว์/บวอย/ บะเว(คะยา)/ตองตู(ปาโอ)/ตองสู/ยิน(กะยิน)/กะยา/ตะแล/ยิน บ่อ/ปะด่อง/ซาเยียน/กะแล/แกค่อ/แกป่า/เรียง/ตองส่า) d-7
ท้อง เวลานั้นเกิดน้ำท่วมแผ่นดินขึ้นและทำลายทุกสิ่งไป ทั้ง สองจึงเข้าไปอยู่ในน้ำเต้าใบใหญ่ ต่อมานางเงือกคลอด ลูกชายหญิงออกมาร้อยคน เมื่อน้ำแห้ง น้ำเต้าไปค้างอยู่บน เขาหิมาลัย เด็กๆ เหล่านี้ก็คลานออกมาจากน้ำเต้า แยกย้าย กันไปเป็นคู่ๆ เพื่อตั้งถิ่นฐานเป็นต้นตระกูลของมนุษยชาติทุก วันนี้
ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า “ โจว์” ชนเผ่าโจว์แบ่งออกเป็น สองกลุ่มหลักคือ 1.โผล่วหรือพวกโปว์ 2. ส่อง (สะกอ) หรือ พวกปกากะญอ. ซึ่งก็จะเป็นชื่อที่พวกเขาใช้เรียกตัวเอง เวลา เจอพวกเขา ถ้าเราไม่รู้ว่าพวกเขาอยู่ในเผ่าไหน เรียกว่า โจว์ เอาไว้ก่อน ดีที่สุด พวกเขามีดนตรีพื้นเมืองและเพลงร้องที่บอกเล่าเรื่อง ราวต่างๆ มีการแสดงการร่ายรำต่างๆ หลายชนิด มีเครื่อง ดนตรี เช่น นาเด่ย เป็นพิณชนิดหนึ่งรูปร่างเหมือนเรือมีหก สาย เข้าใจว่ารับมาจาก ซ้อง พิณพม่า . เมตารี่ เป็นเครื่องสาย รูปร่างเหมือนแมนโดลินแต่วิธีเล่นเป็นแบบเฉพาะของพวกโจว์ มีการรับเอาเครื่องดนตรีจากพม่าและไทใหญ่เข้ามาใช้ด้วย เหมือนกันเช่น ระนาดเหล็ก (เรียกโปตาล่า) ฆ้องรางแบบไท ใหญ่ (เรียกโหม่งวาย) นอกจากนั้นก็มีกลองและเครื่องเคาะ ต่างๆ เช่น ตะโพ้ว (ตะโพนใหญ่) ตาคู้ว (ตะโพนเล็ก) และ โป้ว เป็นกลองเล็กมีสี่ใบ เวหล่าเคาะ จี เป็นเกราะไม้ติดฉาบใบเล็ก เอาไว้ด้วย เจ่งจี เป็นฉาบใบใหญ่ และ ฆ่วย คือแตรเขาควาย. ชนเผ่าโจว์ยังมีประเพณีการตีกลองกบ หรือกลอง มโหระทึก เช่นเดียวกับละว้าและข่า ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันเก่า แก่ที่มีร่วมกันของชนเผ่าโบราณแถบนี้ ชนเผ่าโจว์เป็นชนเผ่าที่ได้รับการยกย่องในวิถีชีวิตที่ กลมกลืนกับธรรมชาติ วิถีชีวิตดังกล่าวนี้แฝงอยู่ในปรัชญาการ ดำเนินชีวิตของพวกเขาอย่างแนบแน่น
(*ข้อสังเกตุคือ น้ำเต้าก็ดี น้ำท่วมก็ดี นางเงือกก็ดี นาง นาคก็ดี กบก็ดี.. เราจะได้พบเห็นความคล้ายคลึงนี้อยู่ใน ตำนานท้องถิ่นของชนเผ่าในภูมิภาคนี้อยู่เสมอ ต่อไปนี้ก็ให้จำ พล๊อตเรื่องนี้ไว้.. คือ มีน้ำท่วมโลก ไปหลบในน้ำเต้า แล้วก็ ออกมาสืบทอดพันธุ์มนุษย์ในโลกใหม่.. เราจะพบพล๊อตนี้อยู่ ในตำนานทั่วทั้งอุษาคเนย์นี้ และกระจายออกไป)
ลาหู่ (มูเซอ/ล่อเฮ/ยิวล่อ/มูซู/มูสซู)
ชนเผ่าลาหู่แบ่งออกเป็นชนเผ่าย่อยหลายเผ่า คือ ลาหู่ ยี่ (มูเซอแดง) ลาหู่นะ (มูเซอดำ) ลาหู่สี (มูเซอกุ้ย) ลาหู่เซเล ลาหู่ลาบา ลาหู่ซะกะสี
เรียกตัวเองว่า ลาหู่ เป็นชนเผ่าในตระกูลทิเบต- พม่า สาขาโลโล ถือเป็นกลุ่มเดียวกับชนเผ่าลีซอและอาข่า เป็นพวก กรุ๊ป O อีกนั่นแหละ พบกระจายกันอยู่เป็นจำนวนมากในตอน เหนือของยูนนาน ทางใต้ของเสฉวน ตะวันตกเฉียงเหนือของ ไกวเจา ในรัฐฉานพม่า ในภาคเหนือของไทย (แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ..) แบ่งเป็นสองพวกคือ โลโลดำ ที่ถือเป็น ชนเผ่าดั้งเดิมแท้ๆ กับ โลโลขาว ที่ผสมกับชาวจีนแล้ว มี ต ำนานเกี ่ ย วกั บ กำเนิ ด ของพวกลาห่ ู ซ ึ ่ ง มี ค วาม คล้ายคลึงกับชนเผ่าดั้งเดิมในแถบนี้เช่น ละว้า ข่า และตระกูล ไท นั่นก็คือ การกำเนิดจากน้ำเต้า เรื่องมีอยู่ว่า ผีฟ้าสร้างโลก ให้มีแผ่นดิน น้ำ พืช ต้นไม้ สัตว์ และแมลงต่างๆ แล้วจึงสร้าง มนุษย์ผู้ชายคนแรก รูปร่างคล้ายลิงทโมนแต่ไม่มีขนรุงรัง อาศัยบนพื้นดิน สร้างผู้หญิงที่มีท่อนล่างเป็นปลาอาศัยในน้ำ แต่ขึ้นมาบนบกได้ (นางเงือก) ทั้งสองได้เสียกันจนนางเงือก
ชนเผ่าลาหู่มีศิลปการร่ายรำที่งดงาม มีดนตรีและ เพลงร้อง มีเพลงที่เล่าเรื่องราว เพลงที่ใช้ในพิธีกรรม เพลงรักที่ มีความไพเราะสวยงามมากมาย เครื่องดนตรีของพวกเขามี มาลูกู คือฆ้องหนึ่งใบ มี แฉ่ (ฉาบ) กลองโทนทำด้วยไม้ท่อน ยาวสองศอก ขึงด้วยหนังวัว , มีแคนน้ำเต้าเรียกว่า หน่อเนาะ มีเลาไม้ไผ่สี่ห้าเลา เสียบอยู่กับที่เป่าที่เป็นน้ำเต้าเหมือนกับ ของพวกข่า แต่เล็กกว่า , มี เปีย หรือจองหน่อง ทำด้วยไม้ไผ่ ติดแผ่นทองเหลือง เวลาบรรเลงใช้ปากคาบเอานิ้วหัวแม่มือ ดีด ทั้งยังเป่าใบไม้เป็นเพลงได้อย่างเชี่ยวชาญด้วย
d-8
ลีซู (ลีซอ/ลีโซ/แข่ลีซอ/ลิจุ๊)
เครื่องดนตรีของอาข่าก็มี แคนน้ำเต้า แต่ชาวอาข่า เรียกว่า ลาเก้ ขนาดสั้นกว่าของพวกลาหู่ พวกเขามีจองหน่อง เล่นกันเหมือนกัน แต่เรียกว่า จะเอ่ นอกจากนั้นแล้วชาวอาข่า ก็ยังมีการเต้นรำที่หลากหลายและน่าดูน่าชม
ชื่อเรียกตัวเองที่ถูกต้อง ของชนเผ่านี้คือ ลีซู . อยู่ใน ตระกู ล โลโลเช่ น เดี ย วกั บ ลาหู่ แต่เพราะอยู่ใกล้กับจีน และได้ ร ั บ อิ ท ธิ พ ลจากจี น มากกว่า ขนบธรรมเนียม ต่างๆ ก็เลยจะต่างกันกับ ลาหู่ แต่คล้ายกับแม้วเย้า มากกว่า พบได้ในยูนนาน รัฐฉาน พม่า ไทยตอนเหนือ และลาวตอนเหนือ
เย้า (แข่เย้า/ย้าว/ตาปัน/ลันเตี้ยน(ลันแตน)/กวางก๊ก/เกาลาน/กวาง เกา/กวางตรัง)
อาข่า (ก้อ/เปอะเอ๋อจึ/โอนี/อามอ/อาเข่อ/ปุรี/จีจอ/มาเย้อ/ซือมือ/นารี/ อามี/มาเว)
เป็นชนเผ่าที่มีดีเอ็นเออยู่ ในกลุ่มแฮปโพลหลัก YDNA O3 ญาติไทเหมือน กัน ชาวจีนเรียกว่า หมาน หมายถึ ง เป็ น พวกคนป่ า เถื่อนชนเผ่าที่อยู่ทางใต้ ทั้งหลาย ที่เรียกว่าพวก เยว่ร้อยเผ่า นั่นแหละ ไท ก็เป็นส่วนหนึ่งของเยว่ที่ ว่านี่ แต่เดิมพวกเย้านั้น กล่าวกันว่ามีถิ่นฐานอยู่ตอนกลาง ประเทศจีน บริเวณหูหนาน เกียงสี ไกวเจา ภายหลังเคลื่อน ย้ายลงมาตอนใต้ในแถบ กวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ตังเกี๋ย ลาว ตอนเหนือ เวียตนามตอนเหนือ พม่า และภาคเหนือของไทย (แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน)
ชนเผ่ า ในตระกู ล โลโลดำ พวกเขาเรียกตัวเองว่า อาข่า. อีก้อคือชื่อที่คนอื่นเรียก เป็น ชื่อที่ไม่ดี พวกเขาไม่ชอบ
ชาวเย้าไม่ถนัดการเต้นรำ แต่เก่งร้องเพลง มีบทเพลง ไพเราะมากมายทั้งเพลงรักและเพลงเรื่องราว มีเครื่องดนตรี อย่างชาวจีนคือ พิณ ปี่ ฆ้อง ผ่าง พวกเขามีจองหน่องแบบ ของลาหู่เล่นเหมือนกัน สาวเย้านิยมเล่นไว้ส่งสัญญาณให้ชาย หนุ่ม
ชาวลีซอมีเครื่องดนตรีเด่น คือพิณที่มีสามสายเรียกว่า ซือบือ มีลำตัวและคอยาวราวเก้าสิบเซ็นต์ พวกเขามีเพลงร้อง มากมายเช่นเดียวกับลาหู่ มีเพลงรัก เพลงพิธีกรรม และมีการ เต้นรำประกอบกับเสียงแคนหรือประกอบการดีด ซือบือ.
ชนเผ่านี้เดิมทีก็อยู่ใน แผ่ น ดิ น ใหญ่ ข องจี น แต่ ห นี การรุกรานของพวกมองโกล จนถอยร่นลงมาแถบไกวเจา และยูนนาน ปัจจุบันกระจาย กันอยู่ในรัฐฉาน พม่า และ ไทยตอนเหนือ (แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย)
ม้ง (แม้ว) จะว่าไปความสัมพันธ์ของม้งกับจีน ไม่ต่างกันกับ ละว้ากับไทเลย แม้อยู่ในแดนจีน ชาวจีนถือว่าม้งไม่ใช่พวกตน เป็นพวกหมาน (คนป่าเถื่อน) เหมือนกับเย้าและไท หรือพวก เยว่ทั้งหลาย
d-9
ตำนานเล่าว่า เดิมทีเผ่าม้งอยู่ทางใต้ของมองโกเลีย เคลื่อนย้ายมาอยู่ในจีนตอนกลาง ต่อมาภายหลังราวห้าร้อย กว่าปีมานี่ ค่อยเคลื่อนลงมาอยู่ในกวางสี ยูนนาน ไกวเจา . อีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ม้งอพยพเสมอก็คือ พวกเขาไม่รู้จักการใช้ ปุ๋ย จึงต้องย้ายหาที่เพาะปลูกใหม่อยู่เรื่อยๆ
ชนชาติเพื่อนบ้านใกล้ชิดทางฝั่งทะเลตะวันออก ชน พื้นเมืองนั้นเชื่อกันว่า สืบเชื้อสายจากชนเผ่าโบราณในเชื้อ สายมองโกลกับชนเผ่าทะเลใต้ มีความเก่าแก่และเกี่ยวโยง กับอารยธรรมสำริดโบราณที่เรียกว่า ดองซอน อารยธรรมที่ เคยรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนแถบนี้ ภายหลัง ถูกรุกรานโดย ชนเผ่าถุกจากดินแดนจีนตอนใต้ และก็ถูกพิชิตโดยกองทัพจีน แห่งราชวงศ์ฉินในเวลาต่อมา จากนั้น จีนก็เข้ามาทำการปก ครองอยู่เป็นเวลายาวนาน เรื่อยมาจนกระทั่งถึงยุคอาณานิคม จึงได้ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ชาวญวนโบราณนั้นใช้กลองมโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่อง ดนตรีพื้นบ้านที่เป็นมรดกร่วมของพวกแฮปโพล โอ ทั้งหลาย จริงๆ แล้วคำว่า เวียต ก็คือ เยว่ นั่นเอง ก็ญาติกับเราอีกแหละ ส่วนคำว่า นาม แปลว่า ใต้ เวียตนาม ก็หมายถึง พวกเยว่ใต้ นั่นเอง น่าเสียดายว่า ภายหลังพอตกอยู่ในอาณัตจีนก็เลย รับ เอาวัฒนธรรมจีนเข้ามามาก ดนตรีและศิลปวัฒนธรรมก็เลย ค่อนออกไปทางจีนซะมากกว่า (ยกเว้นพวกชนเผ่ากลุ่มน้อยที่ อยู่ในเวียตนามนะ ซึ่งก็ญาติกันอยู่ดีน่ะแหละ) ปัจจุบัน เครื่อง ดนตรีจีนก็เลยมีบทบาทสำคัญที่สุดในดนตรีเวียตนาม
ในเมืองไทยพบชนเผ่าม้งในพื้นที่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย .. ชอบอาศัยอยู่บนภูเขาสูงขึ้นไปกว่าชนเผ่า อื่นๆ ทุกเผ่า ที่พบในเมืองไทยจะมีสามเผ่าหลักๆ คือ ม้งขาว ม้งดำ ม้งลาย
พม่า (มะยะหม่า,ม่าน)
เครื่องดนตรีม้งที่เด่นก็คือแคน เรียกว่า เกง เป็นแคนที่ มีความยาวเป็นพิเศษ มีเครื่องดนตรีจีนใช้บ้างเช่น ม้าฬ่อ ฉิ่ง ผ่าง (นัวนึ้ง) ปี่ (ต่ำป่าย) ขลุ่ย (ต้ำเยีย) มีจ๊องหน่องเล่น เหมือนกันแต่เรียกว่า ฉั่นจ่า เป็นชนเผ่าที่มีดนตรีและเพลงร้อง ที่ไพเราะขึ้นชื่อนัก เวียตนาม (ญวน, แก๋ว)
เป็นชนเผ่าจากดินแดนตอนเหนือแถบทิเบต ที่เคลื่อน ย้ายเข้ามาขยายอิทธิพลสร้างอาณาจักรพุกามขึ้น จนในที่สุด ได้ปกครองและยึดครองดินแดนที่เป็นประเทศพม่าในปัจจุบัน นี้ แต่เดิมที ดินแดนแถบนี้เป็นอาณาจักรสุวรรณภูมิของชาว มอญมาก่อนกว่าสี่พันปี รวมทั้งเป็นถิ่นฐานชาวพยู ชนเผ่ารัก สงบที่อพยพมาจากทางทิเบต เข้ามาอาศัยปะปนอยู่กับชาว มอญในยุคแรกๆ และก็ได้ตั้งนครรัฐขึ้นหลายแห่งเช่นกัน d-10
เขมร
ชนเผ่าพม่ามีวัฒนธรรมที่เก่าแก่ เป็นชนเผ่าที่เลื่อมใส และเคร่งครัดในศาสนาพุทธอย่างยิ่ง มีดนตรีและนาฏศิลป์ที่ หลากหลายและสวยงาม เครื่องดนตรีที่ใช้ จะใกล้เคียงกันกับ ไทยและมอญ เพราะมีอิทธิพลที่ใกล้ชิดเชื่อมโยงกันมาช้านาน แล้ว เครื่องดนตรีที่แตกต่างและโดดเด่น ก็เห็นจะมี พิณ ที่ เรียกว่า ซ้อง นั่นแหละ ที่ต่างออกไป มอญ (ตะเลง)
เป็นที่รู้กันในความเป็นชนชาติโบราณเก่าแก่ที่สุดชน เผ่าหนึ่งในสุวรรณภูมิ และเป็นเจ้าของอารยธรรมอันเกรียงไกร ชนเผ่าขอมหรือเขมรเป็นตระกูลเก่าที่แตกแขนงจาก ออสโตรนี เชียนจากแผ่นดินซุนดาดั้งเดิม และสืบต่อจากชนเผ่าจามผู้ให้ กำเนิดอาณาจักรฟูนันที่ยิ่งใหญ่ในอดีต มหานครมหัศจรรย์อัน เลื่องชื่อ นครวัด นครธม และปราสาทหินจำนวนมากมายที่ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในอุษาคเนย์ซีกตะวันออก เป็นสิ่ง ยืนยันอดีตอันรุ่งเรือง แต่เดิมชนชาติเขมรโบราณนั้นนับถือ ศาสนาฮินดูที่แผ่เข้ามาจากอินเดีย จึงรับอิทธิพลทางศิลปะ วัฒนธรรมจารีตประเพณีมากมาย อย่างการบูชาเทพเจ้าต่างๆ เช่น พระศิวะ พระวิษณุ.. ฯ เข้ามา ต่อมาก็รับศาสนาพุทธเข้า มานับถือด้วย แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งคติความเชื่อในแบบฮินดู ก็เลย ผสมผสานกันไป อิทธิพลเช่นนี้ยังคงมีอยู่อย่างยาวนานใน สุวรรณภูมิมาจนปัจจุบันนี้ แม้ว่าดินแดนในสุวรรณภูมินี้โดย ส่วนใหญ่ จะตกไปอยู่ในอำนาจปกครองของชาวสยามในภาย หลังก็ตาม อันที่จริงเวลาที่ผ่านไปในอดีตอันแสนนานนี้ ก็ได้ หลอมรวมให้ทั้งสยามและเขมรนั้น กลมกลืนกันทางชาติพันธ์ุ ไปเนิ่นนานมากแล้ว แม้ชื่อเรียกของชนชาติ จะทำให้เกิด ความรู้สึกแบ่งแยกจากกันเพียงใดก็ตาม แต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่ ได้สนับสนุนความแบ่งแยกอย่างที่เข้าใจกันไปอย่างนั้น
ชาวมอญนั้นใกล้ชิดเหมือนพี่น้องกับชนเผ่าไทมาแต่ โบราณ ทั้งมีความสัมพันธ์ในทาง วัฒนธรรม การค้าขายและ การเมือง ร่วมกับชนชาติไทยมานานแสนนาน ชนเผ่ามอญจัด อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติค (มอญ-เขมร) ดินแดนในแถบ แหลมทองตอนกลางตอนล่างนี้ มอญสร้างบ้านแปงเมือง ควบ คู่กับพวกล้า (ละว้า) และขอม มาก่อนเนิ่นนาน ก่อนที่ชนเผ่า ไทจะเคลื่อนลงมาอาศัยอยู่ร่วมด้วยในสุวรรณภูมินี้ ชาวมอญ นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นแว่นแคว้นมอญจึงเป็นดินแดนที่พุทธ ศาสนารุ่งเรือง ด้วยความเป็นชนชาติเก่าแก่ ศิลปวัฒนธรรมก็เก่าแก่ เช่นเดียวกัน อิทธิพลทางวัฒนธรรมของมอญนั้นไม่เพียง ครอบคลุมในดินแดนพม่า ยังแผ่มาถึงดินแดนสยามด้วย อย่างเช่นตัวหนังสือไทยก็มีลักษณะของมอญอยู่ด้วย ดนตรีก็ เช่นเดียวกัน มีการถ่ายเทแลกเปลี่ยนกันมาตลอดเวลาอัน ยาวนานแต่โบราณ ดังนั้นดนตรีมอญกับไทยจึงใกล้เคียงกัน อย่างยิ่ง เครื่องดนตรีโดยทั่วไปก็มีปี่พาทย์ระนาดฆ้องกลอง เหมือนกันกับไทยเรา
นาฏศิลป์และดนตรีเขมรก็ใกล้เคียงกันกับไทยสยาม เหมือนกัน ก็คือมีอิทธิพลต่อกันทั้งให้และรับทั้งสองทาง เพียง แต่ดนตรีทางตอนใต้ของเขมรมีลักษณะร่วมกับทางซุนดาตอน ล่างอยู่ด้วย เช่นการใช้ฆ้องต่างๆ และท่วงทำนองแบบทาง อินโด ส่วนตอนเหนือก็มีลักษณะแบบไทอีสานปนบ้าง และก็มี ส่วนที่เป็นลักษณะทางญวนร่วมอยู่ด้วยบ้างเหมือนกัน
d-11
ชนเผ่าบนดินแดนเกาะแก่งแถบนี้นั้น โบราณอย่างยิ่ง สืบเชื้อสายเป็นชนเผ่าสาขาต่างๆ หลากหลาย และแผ่ขยาย ออกไปเหมือนกิ่งของต้นไม้แห่งชีวิต เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกับชน เผ่าเก่าแก่โอรังอัสลิแห่งดินแดนซุนดาโบราณ ที่อพยพย้ายถิ่น เข้ามายังทวีปนี้ก่อนใครราวห้าหมื่นปีมาแล้ว หลังสิ้นสุดยุค น้ำแข็ง น้ำแข็งละลายจนระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนท่วมแผ่นดิน โบราณนี้ ทำให้ดินแดนแถบนี้กลายเป็นเกาะแก่งจำนวน มากมาย เป็นผลให้แบ่งเป็นชนเผ่าแตกแขนงออกเป็นหลาย เผ่าย่อยๆ ไปตามเกาะแก่งใหญ่น้อยต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริง แล้วก็เป็นเชื้อเครือเดียวกันทั้งสิ้น ไม่ควรเลยที่จะเกิดความ แตกแยกอย่างที่กำลังเป็นอยู่เช่นทุกวันนี้ ชนเผ่าอินโดนีเซียนที่สำคัญๆ ก็อย่างเช่น ชาวชวา ชาว บาหลี ชาวซุนดา ชาวติมอร์ ชาววาจยัคและชาวอิเรียนแห่งอิ เรียนบายา ชาวอัมโบแห่งเกาะมาลูกุ ชาวอาเจะชาวบาตั๊คส์ แห่งสุมาตรา ชาวดายัคแห่งกาลิมันตัน..ฯ เป็นต้น ดนตรีและนาฏศิลป์อินโดนีเซียนั้นแสนขลังมลังเมลือง อลังการด้วยฆ้องนับร้อยใบ ดนตรีกาเมลันนั้นท่วงทำนอง พิสดารพันลึกไม่มีใครเทียบ สุ้มเสียงจะฟังดิสโซแน้นท์หน่อย เพราะฮาร์โมนิคของฆ้อง ให้ความรู้สึกแบบแจ๊ซก็ว่าได้ แต่เป็น แจ๊ซแห่งโลกโบราณนะ ชนเผ่าบนดินแดนแถบนี้คือจ้าวแห่ง ฆ้องอย่างแท้จริง ฆ้องทั้งหมดในโลกรับอิทธิพลไปจากดินแดน แถบนี้นี่เอง
มาเลยู ชนเผ่าที่สืบเชื้อ สายมาจากโอรังอัสลิ เซ นอย แห่งคาบสมุทรมา เลย์ เป็นญาติใกล้ชิด เก่าแก่ของพี่น้องมอญ ละว้า เขมร อย่างแนบ แน่น เนื่องด้วยอยู่ใน บริเวณที่เป็นเขตติดต่อ กับแอ่งสุวรรณภูมิที่เป็น เบ้าหลอมทางชาติพันธ์ุ เบ้ า ใหญ่ และอย่ ู บ น ชายฝั่งทะเลที่เป็นเมือง ท่าในการค้าขายแต่โบราณ จึงมีความหลากหลายทางชาติ พันธ์ุและวัฒนธรรมอยู่ไม่น้อย ดนตรีและนาฎศิลป์ทางมาเลเซียใกล้เคียงกับทางชวา บาหลี มีศิลปที่เป็นผลจากอิทธิพลของฮินดูและพุทธมหายาน หลอมรวมกัน จนเมื่อศาสนาอิสลามเผยแพร่มาถึงในภายหลัง ก็มีดนตรีที่เป็นแบบมุสลิมเข้ามาร่วมในวัฒนธรรมด้วย รวมถึง ชาวจีนที่อพยพเข้ามาค้าขายตั้งแต่ยุคโบราณ ย้อนถอยไปตั้ง แต่เจิ้งเหอมาสถาปนามะละกาเป็นเมืองท่าสำคัญ วัฒนธรรม จีนก็เข้ามาปะปนร่วมอยู่ด้วยอีก แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผู้คน ชนเผ่าในมาเลย์ อินโด บอร์เนียว และฟิลิปปินส์ ล้วนยังคง ลักษณะของอารยธรรมเดิมร่วมอันเดียวกันไว้ได้อย่างเหนียว แน่น แม้จะมีอิทธิพลจากชนชาติอื่นผ่านเข้ามาผสมก็ตาม
จีน ชนชาติโบราณที่ มี ป ระวั ต ิ ศ าสตร์ อ ั น ยาวนานที่เรารู้จักกันดี อยู่แล้ว แต่โบราณนั้น จี น ประกอบไปด้ ว ยชน เผ่าต่างๆ หลายชนเผ่า ประกอบกันเป็นชาติรัฐ มหาอำนาจที ่ ท รงพลั ง ที่สุดในทวีป เก่าแก่และ ร่ำรวยศิลปวิทยาการอัน ลึกซึ้งหลายแขนง ชนเผ่า หลักที่ปกครองก็ เช่น ชนเผ่าฮั่น ชนเผ่ามองโกล ชนเผ่า แมนจู.. เมื่อผ่านกาลเวลายาวนาน คำว่าชาวฮั่นในปัจจุบันจึง ไม่ได้หมายถึงชนเผ่าเชื้อสายจีนเพียงเผ่าเดียวแล้ว โดยเฉพาะ ในช่วงหลัง ก่อนสิ้นสุดยุคการปกครองโดยจักรพรรดิ ไปสู่ยุค จีนใหม่นั้น จีนถูกปกครองยาวนานโดยชนเผ่าแมนจู อย่างไรก็
อินโดนีเซียน
d-12
ดี ชาวฮั่นในวันนี้หลอมรวมชนเผ่าเชื้อสายจีนทุกชนเผ่าผนึก เข้าเป็นชนชาติเดียว (แต่ก็ไม่นับชนกลุ่มน้อยต่างๆ อยู่ดี) กลายเป็นชนเผ่าที่มีประชากรมากที่สุดในโลกไป ชาวจีนส่วน ใหญ่ก็อยู่ในกลุ่ม O เหมือนกัน (O3) ก็พี่น้องกันอีก ศิลปวิทยาการจีนนั้นลึกล้ำและฝังรากลงในโลกทุกหัว ระแหง ความรู้ของชาวจีนนั้นแผ่อิทธิพลครอบคลุมอุษาทวีป และขยายออกไปยังชนชาติอื่นๆ ที่ห่างไกล กองเรือมหาสมบัติ ที่นำโดยนายพลเจิ้งเหอนั้น พิชิตไปทั่วทุกท้องสมุทรก่อนนัก เดินเรือยุคบุกเบิกชาติอื่นๆ จึงทำให้สินค้า งานฝีมือและความ รู้ด้านต่างๆ ที่จีนคิดค้น กระจายออกไปยังส่วนต่างๆ ของโลก พร้อมกับอำนาจทางการเมืองและแสนยานุภาพทางทะเล แต่ ภายใต้ความยิ่งใหญ่นี้ ก็ไม่ใช่ว่าอิทธิพลจีนจะเป็นฝ่ายแผ่ออก ไปฝ่ายเดียว ในทางกลับกัน จีนเองก็รับเอาความรู้ศิลปวิทยา การและอิทธิพลต่างๆ จากชนชาติอื่นที่จีนมีความสัมพันธ์ด้วย เช่นกัน ผลจากการออกสำรวจโลกส่วนต่างๆ ก่อนใคร ทำให้ จีนเก็บเกี่ยวความรู้จากดินแดนต่างๆ ที่ได้เดินทางไปถึงไว้ อย่างมากมาย เหมือนกับชนเผ่ายิปซีเร่ร่อน ที่เดินทางไป ค้าขายยังดินแดนต่างๆ ของโลกตามเส้นทางสายไหม ก็เป็น ชนเผ่าที่มีความรอบรู้ในวิทยาการเก่าแก่มากมายเหมือนกัน เนื่องเพราะได้พบได้เห็นสิ่งต่างๆ มาแล้วในทุกดินแดนนั่นเอง ขณะที่ลูกหลานของเจงกิสข่านแตกแขนงออกไปใน ส่วนต่างๆ ของโลกด้วยพลังของกองทัพ แต่ลูกหลานชาวจีน แผ่ออกไปมากมายมหาศาลกว่าด้วยพลังทางการค้าขาย
ชนเผ่าที่เป็นผู้บุกเบิกและเป็นเจ้าของดินแดนที่เป็น เกาะฟอโมซาหรือไต้หวันทุกวันนี้นั้น ไม่ใช่ชาวจีน ชาวจีนเข้า มายึดครองและปกครองในภายหลัง แต่เดิมนั้นชนพื้นเมือง ดั้งเดิม เป็นชนเผ่าเครือญาติชาวโพลีนีเซียนจากแดนซุนดา ทางใต้ อพยพขึ้นมาตั้งรกรากอยู่ก่อน และเป็นเครือญาติกัน กับชนพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ ชนเผ่าเหล่านี้ล้วนแชร์ดีเอ็นเอใน กลุ่ม โอ เช่นเดียวกับพวกเยว่อย่างเผ่าไทเรา ทั้งรูปร่างหน้าตา และอัตลักษณ์ ขนบจารีตก็คล้ายคลึงกันอย่างมาก แต่แปลก มากเลยก็คือ ไม่ค่อยมีคนรู้จักชนพื้นเมืองเหล่านี้สักเท่าไร เมื่อ พูดถึงไต้หวันเราจะเห็นภาพไม่ต่างกับฮ่องกง เป็นเหมือนเมือง จีนทั่วไป แล้วก็ไปช๊อปปิ้งกันอะไรแบบนั้น ผมก็เลยจะขอเอา ภาพมาให้ดูเยอะหน่อย จะได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น
รูไก
พายูมา
การดนตรีและนาฏศิลป์จีนนั้นก็หลากหลายเก่าแก่เฉก เช่นชนชาติ ย้อนถอยไปหลายพันปี เครื่องดนตรีอย่าง กู่ฉิน กู่ เจิ้ง ผีผา.. นั้น อายุกว่าสองพันปีขึ้นไป ดนตรีและนาฏศิลป์จีน จึงทั้งประณีตบรรจง ไพเราะและลุ่มลึก ฟอโมซาน (ไต้หวัน)
ชนเผ่าเหล่านี้ประกอบด้วยชนเผ่าเช่น อามิส อตายาล บูนัน กาวาลัน เกตากาลัน พายูมา รูไก ตาว เถา สิรายา.. เรา ลองดูเรือของชาวพื้นเมืองในภาพข้างบนนี่ จะเห็นเลยว่ามี ลักษณะแบบโพลีนีเซียนอย่างชัดเจน ชนเผ่าฟอโมซานเป็นชนเผ่าที่โดดเด่นในด้านดนตรี และขึ้นชื่อในด้านขับร้องเพลง เพลงร้องของพวกเขาจะมีเสียง ประสานพิสดารน่าฟัง พวกเขามีลักษณะการร้องที่คล้ายคลึง กับพวกจ้วง คือเป็นการด้นสดแต่มีการประสานเสียงกัน ดัง นั้นผู้ร่วมขับร้องจะต้องฟังกันและกันตลอดเวลา เพื่อควบคุม เสียงประสานให้เข้ากัน เป็นลักษณะร่วมโดยทั่วไปของชนเผ่า พวกเขามีเพลงที่ร้องในงานเก็บเกี่ยว ทำงาน และการรักษา..ฯ
อตายาล d-13
เกาหลี
ฟิลิปิโน ชนเผ่าดั้งเดิมฟิลิปิโนนั้นมีหลายเผ่า เป็นแขนงของชน เผ่าออสโตรนีเซียนจากทางใต้ กลุ่มเดียวกับที่เคลื่อนย้ายขึ้น มาตั้งรกรากบนเกาะไต้หวัน ญี่ปุ่นและไกลออกไป เนิ่นนาน ตั้งแต่หลังยุคน้ำแข็งสิ้นสุด น่าเสียดายที่ภายหลังถูกยึดครอง กลายเป็นอาณานิคมของเสปนอย่างยาวนาน ตามมาด้วยชาว อเมริกันที่พิชิตเสปนและครองอาณานิคมต่างๆ แทน ในเวลา ต่อมา วัฒนธรรมของชาวอเมริกันยูโรเปียนจึงเข้ามามีอิทธิพล เหนือดินแดนแห่งนี้ อัตลักษณ์ของชนเผ่าดั้งเดิมก็เลย ถูกกลืน จนเสื่อมลงไปอย่างมากในเวลาที่ผ่านไป
ชนชาติเกาหลีนี้ก็อยู่ใน กลุ่มแฮปโพลหลักคือกลุ่มโอ เหมือนกัน (O2b) เกี่ยวโยง ใกล้ชิดกับมิวเทชั่นที่เก่าแก่ใน แมนจูเรีย เป็นเปอร์เซ็นต์สูงที่ พบในชายเกาหลี เช่นเดียวกับ ที่พบในชาวยามาโตพื้นเมือง ของญี่ปุ่น ดนตรี แ ละนาฏศิ ล ป์ ของเกาหลี ก็มีมากมาย ล้วนสวยงาม เครื่องดนตรีของเกาหลี นั้น เห็นได้ชัดเจนว่ารับอิทธิพลจากจีน มากกว่าทางญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น กายากยุม (gayageum) เครื่องสายที่หน้าตาดู เหมือนกับกู่เจ็งของจีน หรือซอ แฮกยุม ซึ่งก็คล้ายกันกับซอ เอ้อหขู ของจีน ก็มีเหมือนกัน ที่คล้ายกับทางญี่ปุ่น เช่น กลอง ปุก ที่ดูเหมือน กลองใหญ่ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ไตโกะ แต่ที่โดด เด่นเป็นเอกลักษณ์ก็เห็นจะเป็นกลอง จังกู ที่มีเอกลักษณ์เป็น เกาหลีที่ชัดเจนกว่าอันอื่น นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีปี่ที่คล้ายกับ ปี่ชวา มีแตรยาวประมาณเมตรหนึ่งที่เรียก นาบาล แล้วก็มี ฆ้องแบบจีนด้วย
ยังพอมีความหวังอยู่บ้าง ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม ดั้งเดิมที่ยังคงพอรักษาเอาไว้ได้ ก็ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาในระยะหลัง ในท่ามกลางกระแสตื่นตัวทางวัฒนธรรม ผู้คนยุคใหม่ก็เริ่ม มองกลับไปหารากของตน และปลุกสำนึกรักในชนเผ่าขึ้นมา อีกครั้ง ลูกหลานชนเผ่าฟิลิปิโนรุ่นใหม่ เริ่มกลับไปทำกิจกรรม ที่เป็นประเพณีเก่าแก่ของตนมากขึ้น เช่นการแต่งกายแบบพื้น เมือง ดนตรีและนาฏศิลป์ หรือวัฒนธรรมอย่างเช่นการสัก ร่างกายด้วยลวดลายพื้นเมืองแบบโพลีนีเซียน เป็นต้น
ญี่ปุ่น ชนชาติญี่ปุ่นนั้น ประกอบด้วย ชนเผ่ า หลายเผ่ า ชนเผ่ า ดั ้ ง เดิ ม ที ่ บุกเบิกดินแดนเกาะญี่ปุ่นรุ่นแรกนั้น เป็นชนเผ่าไอนุที่เริ่มอารยธรรมโจมอน ดีเอ็นเอของชาวไอนุนั้นส่วนใหญ่อยู่ใน กลุ่ม Y-DNA D(M174) ถอยหลังไปได้ ถึงช่วง 50,000 BC พบรองลงมาก็คือ Y-DNA C3(M217).. ในขณะที ่ ประชากรญี่ปุ่นใหม่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโอ เครือญาติใกล้ชิด ชาวจีน ไท เยว่ ทั้งหลาย ยังมีชนเผ่าพื้นเมืองญี่ปุ่นอีกก็คือ ชาวเผ่าบูรากุมิน ชนเผ่าโบราณเก่าแก่รองจากไอนุ ที่ในอดีต เคยถูกเหยียดและกีดกัน มักยากจนและเกือบจะไร้สถานะทาง สังคม แล้วก็ยังมีชนเผ่ายาโยอิ ที่คาดว่าจะเป็นชาวจีนใต้ที่ อพยพเข้ามา แล้วก็มีชนเผ่าริวกิวอัน แห่งเกาะริวกิว ซึ่งนี่ก็ อพยพเข้ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน
บอนท็อค
ชนเผ่าฟิลิปิโนมีหลายเผ่าด้วยกัน อย่างเช่น อิวาตัน อิโลคาโน อิบานัก เอตา อติ แอมบอล ตากาล็อก บิโคลาโน แมงยัน ลูมัด กลุ่มอิโกรอท ประกอบด้วยเผ่าย่อยๆ เช่น บอ นท็อค อิวาโลอิ อิฟูกาโอ อิสเนก กาลิงกะ กานกานาเอ กลุ่ม พาลาวัน ประกอบด้วยเผ่าย่อยๆ คือ บาตั๊ก พาลาเวโนส และ ตั๊กบานัว เป็นต้น d-14
นาฏศิลป์และดนตรีของชาวมองโกลนั้น โดดเด่นและมี อัตลักษณ์เฉพาะ เครื่องดนตรีประจำชาติคือซอหัวม้า มู่รินขหู นั้น สันนิษฐานว่าคือต้นตระกูลของซอต่างๆ ที่ใช้หางม้าทำ คันชักทั้งหลายในโลก เสียงร้องในลำคอของพวกทูวานั้นก็โด่ง ดังเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลกด้วย
ญี่ปุ่นเป็นอีกชาติในอุษาทวีป ที่มีประวัติศาสตร์อัน รุ่งโรจน์มาแต่โบราณ รองมาจากจีน ดังนั้นศิลปวัฒนธรรม นาฏศิลป์และดนตรี จึงร่ำรวยและลุ่มลึกเช่นเดียวกัน แต่ก็ คงจะปฏิเสธไม่ได้อีกว่า รับเอาอิทธิพลของจีนเข้ามาอยู่พอ สมควร เช่น เครื่องดนตรีอย่าง โกโตะ ที่เหมือนกับ เจ็ง , ขลุ่ย ชากุฮาชิ ที่เหมือนกับ ขลุ่ยเซียวของจีน , แต่ที่เด่นก็เห็นจะ เป็นกลองยักษ์ ไตโกะ นั่นแหละ ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของ เขา อย่างไรก็ตาม ก็มีความแตกต่างที่พิเศษเฉพาะไปจากต้น เค้า เช่น งิ้วญี่ปุ่นหรือที่เรียกคาบูกินั้น แม้จะมีการแต่งหน้า หรือใส่หน้ากากแบบงิ้วจีน (ซึ่งได้อิทธิพลจากอินเดียอีกที) แต่ รูปแบบการแสดงนั้นก็แตกต่างกันลิบลับ
หิมาลายัน ชนเผ่าบริเวณเทือกเขาหิมาลัยนั้นหลากหลาย ยังไม่ นับชนเผ่าทิเบตที่อยู่ทางฝั่งด้านเหนือของหิมาลัย เฉพาะที่อยู่ ด้านฝั่งใต้ ไล่เรียงตั้งแต่ปากทางเข้า ตรงปามีร์นอต ผ่านเข้า มา จนถึงสุดปลายเทือกเขาในพม่าตอนเหนือและแดนล้านนา ของเรา ก็มีมากมายหลายเผ่าเหลือเกิน ก็จะนำมากล่าวรวม ไว้ในหมวดเดียวกันเลยนะ ที่ต้องกล่าวถึงกลุ่มนี้ด้วยก็เพราะ ว่า นี่เป็นเส้นทางเดินที่สำคัญ เพื่อผ่านเข้ามาสู่เอเชียตะวัน ออกครับ ทางเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากจุดปามีร์นอต นี่ จะเลือกได้เป็นสองทางด้วยกันครับ คือเลียบหิมพานต์ทาง เส้นใต้ผ่านทางเส้นล่างนี้ หรือเลือกเดินเส้นเหนือผ่าดินแดน ทิเบตเข้ามา ชนเผ่าพวกนี้ก็เลยเกี่ยวโยงกันไปหมด เป็นเพ ราะอยู่ในเส้นทางอพยพนั่นเอง
มองโกล
เนปาล - สิกขิม
ชนเผ่านักรบแห่งทุ่งไซบีเรียและทะเลทรายโกบี ไม่มี ใครในโลกไม่รู้จักข่านผู้เกรียงไกรแห่งมองโกลอย่าง เจงกิส ข่าน และกุบไบลข่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจงกิสข่านที่พิชิตไป จนถึงแดนยุโรป. ทุกวันนี้เราได้พบกับร่องรอยดีเอ็นเอลูก หลานของเขา กระจายไปเป็นบริเวณกว้างทั่วโลกอย่างน่า อัศจรรย์ พูดง่ายๆ ก็คือแกพิชิตไปถึงไหน ก็มีเมียที่นั่นน่ะสิ ซึ่ง อันนี้นี่พิสูจน์ความเจ้าชู้ที่เกรียงไกรของข่านผู้นี้ได้เป็นอย่างดี
นีวา
เลปชา
ชนเผ่าชาวเนปาลิประกอบไปด้วย .. นีวาห์ ตารุ กุรุง กิ รันติ บรฮมิน มาการ์ ทาแมง ตาการิ ไร บาฮิง บันราจา (กุซุน ดา) เชปัง เลปชา (รองปา) . ส่วนพวกที่อยู่บนเขาสูงขึ้นไปก็ มี.. เชอปา ดอลปา ลาเก ศิอา โลบา. เป็นต้น
ชนเผ่ามองโกเลียนั้น มีความเกี่ยวพันกับเผ่าไทเราพอ สมควร แต่ห่างออกไปหน่อย เปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ของดีเอ็นเอ ที่พบในชาวมองโกล จัดอยู่ในกลุ่ม Y-DNA C อัตราที่พบรอง ลงไปจึงเป็น Y-DNA O ซึ่งเป็นกรุ๊ปเดียวกับเรา d-15
อัสสัม - อรุณาจัลประเทศ ชนเผ่าในอัสสัมและอรุณาจัลประเทศ ประกอบไปด้วย ชาวอัสสัม กัจฉาริ ซิงโพ (จิงโป, กะฉิ่น) มิชมิ อาหม มุนดา ไท พ่าเก ไทคำติ นากา เลปชา กาสิ มอนปา อดิ อปาตานิ นิชิ..
มิชมิ
ดรุ๊กปา (ภูฏาน)
ทิเบต
นากา
มีเหตุผลอย่างเต็มเปี่ยม ที่ชนเผ่านี้ถูกจัดเป็นสาแหรก หลักอันหนึ่งของชาติพันธ์ุเอเชีย ชนเผ่าทิเบตนั้นเก่าแก่อย่าง ยิ่ง ชาวหิมพานต์ที่เปี่ยมมนต์ขลังอันศักดิสิทธิ์แห่งโลกโบราณ แม้กาลเวลาผ่านไปเป็นพันปีแล้ว ทิเบตก็ยังคงมีมนต์ขลังที่ลึก ลับอยู่เช่นเดิม เป็นแผ่นดินพุทธศาสนาวัชรยาน ที่ประชากร ยึดมั่นและศรัทธาในพระธรรมคำสอนแรงกล้า พุทธคุณจากดินแดนนี้ขยายออกไปรอบทิศ ไกลไปถึง มองโกเลียและญี่ปุ่น ดนตรีพิธีกรรมและการสวดของลามะนั้น มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น แร็กดุง แตรโลหะอันมหึมา ปี่ จยา ลิง และระบำหน้ากากของพระทิเบต เป็นเหมือนนาฏศิลป์แห่ง สวรรค์ทีเดียว ชนเผ่าในทิเบตประกอบด้วย ทิเบตัน มอนปา โลบา มองโกล หุย.. ทั้งหมดที่ผ่านไปนั่น ก็คือชาวหิมาลายันล่ะ...
อปาตานิ
ภูฏาน ชนเผ่าในแดนดรุ๊กยุลประกอบไปด้วย ชาวดรุ๊กปา ทิเบตัน บูเดีย (โบดิช) บร็อกปา ลายัป เลปชา.. d-16
อินเดียน [รวม ดราวิเดียน, ทมิฬ, สิงหล, เบงกาลิ ด้วย]
ลานีเซียน อาศัยในปาปัวนิวกินี กลุ่มหมู่เกาะเมลานีเซีย และ เกาะเล็กเกาะน้อยไกลออกไปอีกนิดในกลุ่มไมโครนิเซีย รวม ทั้งพวกออสโตรอะบอริจินที่อพยพข้ามฝั่งไปอาศัยอยู่ในแผ่น ดินใหญ่ออสเตรเลียด้วย ชนเผ่ากลุ่มนี้โดยเฉพาะพวกกลุ่ม ปาปวน ยังคงดูเป็นแอ๊ฟริกันชัดเจน
นี่คือชนเผ่าเก่าแก่ที่สุด อีกเผ่าหนึ่งของโลก แดนชมพู ทวี ป นี ้ ห ลากหลายเผ่ า พั น ธ์ ุ ร่ำรวยด้วยสรรพวิทยาการ และ มีอิทธิพลกับหลายชนเผ่าที่อยู่ ในอุษาทวีปนี้พอๆ กับจีน ไม่ว่า จะเป็นไทยเราเอง พม่า มอญ ลาว เขมร อินโด และไม่เว้นแม้ กระทั ่ ง จี น อย่ า งกั ง ฟู ท ี ่ เ ป็ น สินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของจีนนั่นไง ตำนานก็ว่าเป็นการ คิดค้นโดยพระอินเดีย ก็คือท่านตะโมภิกขุ (ตักม้อ) นั่นแล คือ ท่านสอนทั้งศาสนาด้วย แล้วก็สอนพลศึกษาไปด้วย หรือ อย่างการแสดงที่เรียก กาตากาลิ ก็เช่นกัน ได้ส่งอิทธิพลให้กับ งิ้วจีนในด้านการแต่งหน้า แต่งตัวและใส่หน้ากาก ความรู้ของอินเดียมากมายและลุ่มลึก แผ่อิทธิพลไป ไกลทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ ปรัชญา วรรณกรรม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ภาษา.. ฯ อัตลักษณ์ ของชนชาติจึงแข็งแกร่งชัดเจนพอกับชาวจีน จนเราไม่จำเป็น ต้องอธิบายกับคนในซีกโลกอื่นว่าชาวอินเดียคือใคร หรือ หน้าตาเป็นอย่างไร แหล่งอารยธรรมแห่งแรกๆ ของโลก ส่วน หนึ่งก็เกิดในดินแดนของชนเผ่านี้ คือ สรัสวดี- สินธุ และ อิน ดัส-แกงเจส (คงคา) ชาติพันธ์ุตระกูลนี้จึงหลากหลาย ครอบ ครองบริเวณกว้างจากคาบสมุทรอินเดียใต้สุด ไปจนจรดเชิง เขาหิมาลัย และขอบแดนเอเชียกลาง นาฏศิลป์และดนตรีของอินเดียนั้น ก็ลึกล้ำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะดนตรีนั้น ไม่มีชนชาติใดมีดนตรีที่ซับซ้อนไปกว่า ชนชาติในอนุทวีปอินเดียนี้อีกแล้ว เครื่องดนตรีที่จัดสร้างอย่าง ประณีตสวยงาม มีมากมายหลายชนิด ล้วนมีเสียงที่ไพเราะ และต้องใช้ทักษะการเล่นที่ซับซ้อนกว่าเครื่องดนตรีส่วนใหญ่ ในโลก องค์ความรู้ทางดนตรีอินเดียจึงซับซ้อนลึกซึ้งที่สุด
อันดามันนิส
ปาปวน
อะบอริจิน
โพลินีเซียน
อันดามันนิส-เมลานีเซียน-ไมโครนีเซียน-อะบอริจิน เมาริ
ชนเผ่าออสโตรเนเชี่ยนอีกกลุ่ม ที่พาสาแหรก mtDNA M* เข้าสู่แผ่นดินซุนดาเมื่อราวห้าหมื่นปีมาแล้ว กระจายอยู่ ตามเส้นทางอพยพผ่านอินเดีย ทะเลอันดามัน คาบสมุทรมา เลย์ ไปจนถึงออสเตรเลีย ประกอบด้วย ชนเผ่าอันดามันนิส ที่ อาศัยตามเกาะแก่งที่อยู่กลางทะเลอันดามัน ชนเผ่ากลุ่มเม-
ไกลออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกอันแสนเวิ้งว้าง เชื้อ เครือ ออสโตรนีเซียน ออสโตรเอเชียติก แผ่กระจายออกไป แสนไกลในทะเล สู่เกาะแก่งที่แสนห่างไกล เช่น ชนเผ่าเมาริที่ บุกเบิกแผ่นดินบนเกาะอาวเทียรัว (นิวซีแลนด์) ถัดไปเป็นชาว เกาะฟิจิ ทองกา ซามัว ตาฮิติ ราปานุย..ฯ d-17
ไทย (สยาม, เสียม, ซาม, ชาม)
อันบริเวณตั้งแต่ตะวันออกของเสฉวน ไล่ไปในยูนนาน กวางสี กุยโจว กวางตุ้ง จนถึงใต้บริเวณลุ่มน้ำแยงซี ไปจนสุด ฝั่งทะเลจีนตอนใต้ ตังเกี๋ย เกาะไห่หนาน เวียตนามตอนบน ลาวตอนบน ไทยตอนบน พม่าตอนบน .. เป็นถิ่นฐานดั้งเดิม ของชนเผ่ามากมายหลายหลาก จนนับไม่หวาดไม่ไหว อยู่กัน มาแต่โบราณนานนม เกินกว่าหมื่นๆ ปีแล้ว ก่อนชนชาติจีนจะ รุกเข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบนี้ บันทึกจีนโบราณเรียกว่า พวกหมาน หมายถึง คนป่าเถื่อน หรือบางบันทึกก็เรียกว่าเป็น พวก เยว่ร้อยเผ่า ซึ่งก็คือชนเผ่าตระกูลไท ทั้งหลายแหล่ แล้วก็ พวกชนเผ่าโลโลและสายทิเบตพม่าต่างๆ อย่างแม้วเย้า อย่าง ชนเผ่าข่าสายมอญเขมรต่างๆ เยอะแยะมากมายอย่างที่กล่าว ถึงไปบ้างแล้วข้างต้น แต่ชนกลุ่มใหญ่และมีจำนวนมากที่สุด ในภูมิภาคแถบนี้ก็คือชนเผ่าตระกูลไท พวกชนเผ่าที่พูดภาษา ตระกูลไท-กะไดเหล่านี้มีมากจริงๆ กระจายกันอยู่เป็นบริเวณ กว้างไกล จนถึงทุกวันนี้ แบ่งเป็นสายหลักๆ คือ กลุ่มไท กลุ่ม จ้วง กลุ่มก้ำ- สุ่ย กลุ่มกะได ถึงแม้ว่าจะมีชื่อเรียกต่างกันออก ไป แต่นักวิชาการเชื่อว่า สืบสายมาจากชนเผ่าต้นธารเดียวกัน ที่เรียกว่า ไป่เยว่ ด้วยเหตุนี้ บันทึกจีนโบราณจึงเรียกรวมๆ ว่า เยว่ร้อยเผ่า ซึ่งก็รวมถึงชนเผ่าที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มไทด้วย อย่างเช่น เยว่ใต้ หรือ เวียตนาม, เพียวเยว่ หรือ ชนเผ่าพยูใน พม่า เป็นต้น.. กลุ่มชนเผ่าเหล่านี้ มีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์หลาย ประการร่วมกัน เช่น ประเพณีและความเชื่อต่างๆ อย่างเช่น การใช้กลองกบ หรือกลองมโหระทึกสำริด , การสักตัว.. ฯ ซึ่ง เหมือนกันกับพวกโพลีนีเซียนในซุนดามาเลย์ทางใต้ จึงมีข้อ สันนิษฐานว่า อาจเป็นเพราะชาวทะเลทางตอนล่างได้อพยพ หนีน้ำท่วมขึ้นมาปะทะหลอมรวมกับชนเผ่าที่อยู่ตอนบน เพียง แต่ว่าหลักฐานที่จะแสดงต้นเค้าของอารยธรรมเริ่มต้นที่หลอม รวมกันนี้ อาจจมอยู่ใต้ฝั่งทะเลที่ถูกน้ำทะเลท่วมก็ได้ จึงเหลือ ไว้เพียงบางเบาะแสที่ขาดวิ่นเท่านั้นอย่าง เช่น อารยธรรมดอง ซอน หรือ อารยธรรมที่บ้านเชียง แม้ข้อสันนิษฐานนี้จะยังฟัน ธงไม่ได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะร่องรอยในดีเอ็นเอที่ กระจายออกรอบทิศของชนเผ่าต่างๆ ในแถบนี้ ดูจะสอดคล้อง กับแนวคิดนี้ ประจวบกับไม่นานมานี้ ได้ค้นพบโบราณสถาน โยนากูนิ สิ่งก่อสร้างขนาดมหึมาอายุกว่าหมื่นปีที่ซ่อนอยู่ใต้ ทะเลชายฝั่งโอกินาวากับทะเลไต้หวัน ก็ยิ่งทำให้มีน้ำหนักขึ้น แต่จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่แน่นอน ตอนนี้ก็ให้ข้อมูลคร่าวๆ ไว้ แค่นี้ก่อน
☯
ตั้งแต่สมัยอยุธยาเรื่อยมา ดินแดนในแถบแหลมทอง หรือสุวรรณภูมินี้ ก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าในคาบสมุทร แถบนี้ไปตั้งแต่ยุคนั้นแล้ว ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า คอสโมโพลิตัน นั่น แหละ ด้วยเหตุนี้เองบริเวณดินแดนตรงนี้จึงเป็นเหมือนจุด ปะทะของชาติพันธ์ุโดยรอบ ได้มาหลอมรวมกันอยู่ในเบ้า หลอมอันใหญ่แห่งนี้ เรียกง่ายๆ ก็ได้ว่าเป็นจุดปะทะ อินดัสชิโน-ออสโตร ก็ได้ คำว่า อินดัส ในทีนี้คือ ชาติพันธุ์และสาย ธารทางวัฒนธรรมของเอเชียทางฝั่งตะวันตกคือ อินเดียและ หิมาลายัน, ส่วน ออสโตร ก็คือชาติพันธุ์และสายธารทาง วัฒนธรรมของทางใต้ ซึ่งก็คือดินแดนซุนดามาเลย์อินโด ทั้งหมด และ ซิโน ก็คือ ชาติพันธุ์และสายธารทางวัฒนธรรม ของดินแดนตอนบน ซึ่งก็คือจีน มองโกล ถ้าพูดตามสำนวน ของอาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ ก็คือ ทั้งหมดเหล่านี้ได้มาปะทะ สังสรรค์กัน จนก่อให้เกิดเป็นประชากรอันหลากหลายเชื้อชาติ แห่งสุวรรณภูมิขึ้น เมื่อกาลเวลาอันยาวนานผ่านไป ชนเผ่าที่ ได้ขึ้นมาอยู่ในสถานะผู้ปกครองในดินแดนส่วนใหญ่ในแถบนี้
ทีนี้ เพื่อไม่ให้ยาวเกินไป ผมก็จะขอแนะนำแต่ชนเผ่า ไท เฉพาะที่เป็นกลุ่มหลักใหญ่ๆ เท่านั้น. d-18
ฟังรื่นไม่กระด้างหรือซับซ้อนเลย ขณะที่ทางอินเดียนั้นซับซ้อน สุดๆ ทางซุนดาคือชวา บาหลี นี่ก็ขลัง แต่จะกระด้างหู (dissonant) หน่อย ในที่นี้หมายความว่า มันมีเทนชั่นไง เพราะ เครื่องฆ้องสารพัดสารพันนับร้อยใบของชาวอินโดนี่ มันไม่ได้มี ระดับเสียงที่แน่นอน เวลาเล่นพร้อมกันเยอะๆ ทำให้มีฮาร์โม นิคโอเวอร์โทนที่ซ้อนทับกัน แต่คนโบราณก็ฟังว่าเสียงอย่างนี้ น่ะศักดิ์สิทธ์นะ เป็นเสียงที่เหมาะในการใช้สื่อสารกับสวรรค์
ก็คือ ชนเผ่าที่เรียกกันว่า ชาวสยาม นั่นเอง จนเมื่อเส้นสมมุติ แบ่งเขตทางการเมืองเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ก็ได้เกิดเป็นชาติรัฐ ต่างๆ ขึ้น ซึ่งก็นั่นแหละ ชนชั้นปกครองอาจไม่ใช่ประชากรพื้น ถิ่นดั้งเดิม และประชากรในชาติรัฐก็ไม่ได้หมายความว่าต้อง เป็นชนเผ่าเดียวกันทั้งหมด (กระนั้นในประวัติศาสตร์อัน ยาวนานของมนุษยชาติ มีหลายครั้งหลายหนที่นักปกครองบ้า คลั่งบางคน พยายามจะกำจัดเชื้อชาติอื่นและสถาปนาให้เกิด ชาติรัฐที่มีแต่เชื้อชาติที่บริสุทธ์ของตนเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งใน ความเป็นจริงแล้ว มันไม่มีอยู่ในโลกหรอก ไอ้เชื้อที่ว่าเนี่ย)
ดนตรีไทยมีทุกอย่างที่กล่าวนั้น เพียงแต่สมดุลย์อยู่ ตรงกลางของคุณสมบัติเหล่านั้นทุกด้าน คือไม่ได้เพราะไปเลย อย่างเดียวแบบจีน มีกระด้างแบบอินโดบ้างเหมือนกันพอ ประมาณ จังหวะหน้าทับซับซ้อนพอควรแบบอินเดีย แต่ไม่ถึง กับงุนงง แต่ท่วงทำนองซับซ้อนฟังยากๆ แบบอินเดียนี่ไม่เอา เลย เอาแต่ฉันทะลักษณ์และลักษณะเอื้อนเสียงมาก็พอ อะไร แบบนี้เป็นต้น.
ชาวสยาม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในวันนี้แล้วว่า คือ ชนเผ่าไทที่เลื่อนไหลย้ายถิ่นลงมาจากตอนบน บริเวณที่เป็น ดินแดนดั้งเดิมของชนเผ่าไท ซึ่งก็คือแถบบริเวณใต้แม่น้ำแยง ซีในยุคแรก ต่อมาชนเผ่าฮั่นรุกรานจึงถอยร่นลงมาและกระจัด กระจายอยู่ในวงกว้างตั้งแต่ด้านตะวันตกคือแถบลุ่มน้ำพรหม บุตรในอัสสัมอินเดีย. ลุ่มน้ำคง อิระวดี สาละวินในแดนพม่า. กวางสี กุยโจว ไห่หนาน ยูนนาน. ลุ่มน้ำดำแดง ในเวียตนาม. สองฝั่งลุ่มน้ำโขงในยูนนาน ไล่ลงมาจนถึง ดินแดนลาวและ ไทยปัจจุบัน และลงลึกมาถึงบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาในไทย เรื่อยตลอดลงไปทางใต้จนเกือบสุดคาบสมุทรมาเลย์. พวกไทที่ลงมาลึกสุดทางใต้นี่แหละ คือพวกที่ถูกเรียก ว่า สยาม หรือที่ในบันทึกโบราณของจีนเรียกว่า หลอหู่ (ลวรัฐ หรือละโว้) หรือ เสียน (สุโขทัย) แล้วก็มาเป็น เสียนหลอ (อยุธยา) ในเวลาต่อมา ซึ่งในที่สุดก็คือชาวไทยเราตอนนี้นี่เอง
ไทยวน (ไทโยน, ไทโยนก, ไทล้านนา) ความเป็นรัฐเป็นแว่นแคว้นของชาวไทยวนนั้นเก่าแก่ ยาวนาน เป็นไทกลุ่มที่ใกล้ชิดกับพวกสยามกว่าไทพวกอื่น เนื่องเพราะอยู่ในเขตปกครองเดียวกันในช่วงสองร้อยกว่าปี หลังๆ มานี้ ซึ่งโดยข้อเท็จ จริงแล้ว คนไทยวนมีความ เป็นไทดั้งเดิมมากกว่าชาว ไทยสยามอีก แต่ถึงกระนั้น ในช่วงที่นครเชียงใหม่และ แคว้นล้านนาได้ฟื้นฟูขึ้นมา ใหม่ หลังจากเป็นอิสระไม่ ขึ้นกับการปกครองของพม่า มาขึ้นกับสยามรัฐ ประชากร ก็หลอมรวมเอาชาวไทใหญ่ ไทเขิน และชนเผ่าเครือญาติ ต่างๆ ในแถบใกล้เคียงกันเข้า มา ก็ผสมปนเปกันทางชาติพันธุ์มากขึ้นไปอีก
แทบทุกอย่างของชาวไทยเราในแหลมทองนี้ เกิดการ หลอมรวมปะทะสังสรรค์ทั้งสิ้น (อย่ามาด่าผมว่าไม่รักชาติ ถ้า ความจริงมันระคายหู) นอกเหนือไปจากยีนของเราแล้วก็อย่าง เช่น ศาสนา ศิลป วัฒนธรรม .. อย่างตัวหนังสือเราก็เป็นการ หลอมรวมทั้ง ไทเก่า มอญ เขมร เข้าด้วยกัน ภาษาพูดก็มีการ ผสมเอา บาลี สันสกฤต มาเลย์ มอญ เขมร เข้ามาปนอยู่ใน ภาษาไทที่เป็นคำโดดส่วนใหญ่ ยังไม่นับพวกคำทับศัพท์ ภาษาอื่นที่เข้ามาอีกในยุคสมัยใหม่ ดนตรีไทยเอง ก็มีการผสมผสานและหลอมรวมอยู่ มากมาย ท่วงทำนองไทแท้นั้นมีลักษณะร่วมกันของชนเผ่า ทางเหนือ คือสายทิเบต มองโกล จีน . ซึ่งคือเพนทาโทนิกนะ จะฟังเพราะและกลมกล่อม แต่ก็จะบวกเอามนต์ขลังและ ความรู้สึกลึกลับของฆ้องโลหะแบบซุนดาเข้ามาด้วย แล้วก็ยัง ผสมเอาจารีตที่ลึกซึ้งและจังหวะอันซับซ้อนของอินเดียเข้ามา ผลลัพธ์ก็คือ แบบไทยเรานี่ อันนี้คือคำอธิบายสรุปของผมนะ เมื่อพิจารณาดู คุณจะรู้สึกได้ว่าดนตรีทางจีนทางทิเบตนั้น จะ
เชื้อเครือชาวไทยวน ไม่เพียงตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตดิน แดนล้านนาทางภาคเหนือของประเทศไทยมายาวนานมาก เท่านั้น ยังกระจายอยู่ในดินแดนของประเทศลาว อย่างเช่น เมืองเวียงภูคา เมืองสิงห์ เมืองหลวงน้ำทา เมืองหลวงพระ บาง..ฯ ด้วย. d-19
ไทใหญ่ (ไทหลวง, ฉาน, ตาน, เงี้ยว)
ที่เรียก ขืน เป็นเพราะอาศัยอยู่่ในแถบลุ่มแม่น้ำขืน (ต่อมาออกเสียงเป็น เขิน) แม่น้ำที่มีชื่อเช่นนี้ก็เพราะเป็น แม่น้ำที่ไหลย้อนขึ้น ชื่อนี้ต่อมายังเป็นที่รู้จักกันดีก็เพราะงาน หัตถกรรมอันมีชื่อเสียงของชาวไทกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือ เครื่องเขิน นั่นเอง ชาวไทเขิน อาศัยอยู่ในเขตพม่า ในรัฐฉานร่วมกับชาว ไทใหญ่ ที่จริงก็เป็นไทใหญ่แหละ ทั้งสองเผ่านี้จึงเป็นชนเผ่าไท ที่ใกล้ชิดกันมาก นอกจากนั้นก็ยังมีชาวไทเขินอาศัยอยู่ในเขต ประเทศไทยทางภาคเหนือด้วย. ไทลื้อ
ชาวไทใหญ่นั้น รวมกันเป็นชาติรัฐไทอิสระมาแต่ โบราณ การที่เรียกตนเองว่าไทหลวงก็หมายความว่า พวกเขา ถือว่าตนเป็นไทกลุ่มหลักที่มีความเป็นมายาวนาน กล่าวคือไท สยามกับลาวนั้นถือเป็นไทน้อย เป็นชนชาติน้องของเขานั่นเอง ไทใหญ่เดิมมีศูนย์กลางอยู่ที่นครเชียงตุง ปกครองกันต่อๆ มา โดยเจ้าฟ้าหลายพระองค์ ภายหลังตกอยู่ในอาณัตปกครอง ของพม่ามาจนถึงในปัจจุบัน เป็นรัฐไทเรียกว่า ฉานเสตท อยู่ ภายใต้เขตทางการเมืองประเทศพม่า ชาวไทใหญ่ยังกระจาย อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย.. ไทเขิน (ไทขืน)
เป็นชนเผ่าไทเก่าแก่อีกชนเผ่า คำว่า ลื้อ สันนิษฐานว่า อาจมาจากชื่อเมือง ลื้อหลวง (จีนเรียกลือแจง) อันเป็นถิ่นฐาน เดิมในตำนาน ต่อมาได้เคลื่อนหนีการรุกรานของชาวฮั่น ถอย มายังแถบเมืองหนองแส (คุนหมิง) และร่นลงมายังดินแดนสิบ สองพันนาบนราบลุ่มแม่น้ำล้านช้าง (หลันชางหรือแม่น้ำโขง) สถาปนานครหอคำเชียงรุ่งขึ้น ปกครองโดยเจ้าฟ้าหลาย พระองค์ เป็นรัฐไทอันเข้มแข็งและรุ่งเรืองมาแต่โบราณอีกแว่น แคว้นหนึ่ง กินอาณาบริเวณกว้างไกลในแถบตอนล่างของ แคว้นยูนนาน ในเขตแดนประเทศจีนปัจจุบัน ชาวไทลื้อยังอาศัยอยู่ในประเทศไทย ในหลายจังหวัด ทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย น่าน.. d-20
ไทดำ (ไททรงดำ, ผู้ไทดำ, ไทโซ่ง, ลาวโซ่ง)
เพราะเป็นไทใหญ่ที่อยู่ในแคว้นทางเหนือ ปัจจุบันแม้การแต่ง กายของไทไต้คงจะรับอิทธิพลจากจีนไปบ้างแล้ว เช่น หญิง สาวที่นิยมนุ่งกางเกงแบบจีน แต่โดยรวมก็ยังรักษาลักษณะไท ที่สำคัญส่วนอื่นๆ ไว้ได้ดีพอสมควร เช่น ประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรม และการนับถือศาสนาพุทธ..
เป็ น ชนเผ่ า ไท ดั้งเดิมกลุ่มหลักอีกเผ่าหนึ่ง แต่โบราณนานนม มีศูนย์ กลางอยู่ที่เมืองแถง (เดียน เบียนฟู) ในเวียตนาม และ กระจายกันอยู่ในแถบลุ่ม แม่น้ำดำ แม่น้ำแดง ในเขต ประเทศเวียตนามปัจจุบัน ชาวไทดำยังอพยพย้ายถิ่น หลายระลอก เข้ามาอาศัย อยู่ในประเทศไทยในหลาย จังหวัด อย่างเช่น เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี สระบุรี พิจิตร พิษณุโลก ชุมพร สุราษฎร์ธานี และในดินแดนประเทศลาว ตอนบน เขตหลวงพระบาง เวียงภูคา หลวงน้ำทา..
ไทอาหม
ไทมาว (ไทเหนือ, ไทไต้คง, ไทเต้อหง, ไทหลวง)
ตำนานว่าคือเจ้าไทใหญ่จากเชื้อเครือเมืองมาว ยกทัพ ผ่านช่องเขาปาดไก่ทางทิศเหนือของพม่า ข้ามไปยึดครองดิน แดนอัสสัมในแถบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตรในอินเดียอีสาน ซึ่งเดิม เป็นดินแดนของชนเผ่ากัจฉารี (กัจฉะ) สถาปนาอาณาจักรไท อาหมขึ้น เรืองอำนาจยาวนานกว่า 700 ปีจึงล่มสลาย เพราะ พ่ายแพ้แก่ทัพมุสลิม แต่กระนั้นชาวไทใหญ่ไกลบ้านกลุ่มนี้ ก็ ยังคงเกาะกลุ่มกันอยู่ในดินแดนแถบนี้อย่างเหนียวแน่นผ่าน กาลเวลามาจนถึงปัจจุบัน แม้จะไม่ได้พูดไทและใช้ตัวหนังสือ ไทแล้ว อีกทั้งยังนับถือศาสนาฮินดูไปแล้ว แต่ก็ยังรักษาอัต ลักษณ์ไทไว้ได้พอสมควร ชาวไทอาหมไม่น้อยที่พ่วงท้าย นามสกุลว่าศยามไว้ในชื่อ เพื่อรำลึกว่ามีที่มาจากไหน รวมทั้ง ประเพณีต่างๆ แบบไท เช่น การบูชาผีบ้านผีเมือง ผีบรรพบุรุษ เป็นต้น แม้อาหมจะเป็นชนเผ่าไทที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทแล้ว พวก เขากลับรักษาคัมภีร์ไทเก่าแก่ที่ชื่อ อาหมบุราณจี เอาไว้ได้ อย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยการให้ทุกครัวเรือนคัดลอกคัมภีร์นี้เก็บ
เรียกตัวเองว่าไทหลวงเหมือนกัน ก็คือไทใหญ่ที่อยู่ใน เขตยูนนานนั่นเอง เป็นชนเผ่าไทเก่าแก่ย้อนประวัติศาสตร์ไป ได้นับพันปี ย้อนไปสู่เมืองหมอกขาวมาวหลวงแห่งลุ่มน้ำมาว หรือนครรัฐโกสัมพี (โกจัมปี่,ลุชวน) อันเลื่องชื่อ เคยแผ่ขยาย อำนาจเป็นอาณาเขตที่กว้างไกล จนจีนต้องยกทัพใหญ่มา ปราบถึงสามครั้ง จึงจะเอาชนะได้ ดินแดนที่เรียกว่าไต้คงหรือ เต้อหง (ใต้แม่น้ำคง) ดังกล่าวนี้ก็คือบริเวณยูนนานตะวันตก ที่ติดกับพรมแดนทางเหนือของพม่านั่นเอง ที่เรียกว่าไทเหนือก็ d-21
เอาไว้ แล้วส่งต่อให้ลูกหลานเป็นมรดกตกทอดต่อๆ ไป จึงนับ เป็นโชคดีใหญ่หลวง ทำให้บันทึกเรื่องราวและคติความรู้ของ ชนเผ่าไทในยุคโบราณ ที่ส่วนใหญ่ได้สาบสูญหายไปแล้วใน ชาวไทกลุ่มอื่น ยังเหลือมาให้สืบค้นเทียบเคียง และมองย้อน กลับไปในอดีตได้.
(ไทล้านช้าง ไทลาว ไทอีสาน ไทพวน..ฯ) คือพี่น้องกลุ่มไทที่ใกล้ชิด กับไทยสยามที่สุด มากกว่าไท กลุ่มอื่นๆ แนบแน่นเช่นเดียวกัน กับไทยวนทางล้านนา ไม่สำคัญ ว่าจะอยู่ในเขตแดนไทย หรือใน ประเทศลาวก็ตาม อันนี้เรารู้จัก กันดีอยู่แล้ว เท่ากับที่เรารู้จักตัว เองนั่นแหละ ไทยก็คือลาว ลาวก็ คือไทย ไม่รู้จะแยกไปทำไม.
ไทคำตี่
จ้วง เป็ น ชนเผ่ า ตระกู ล ไท ดั้งเดิม ที่ได้รับอิทธิพลทางจีน ไปค่อนข้างมากกว่าไทตระกูล อื่นๆ แบ่งออกเป็นจ้วงเหนือ และใต้ ซึ่งประกอบด้วยชนเผ่า ย่อยๆ แตกแขนงออกไปอีก หลายแขนง จ้วงเหนือก็เช่น ปู้ ไย่ ปู้ยี ปู้ไต ปู้ชา ไตแสก เกา ลัน ไตเมน .. จ้วงใต้ก็เช่น ไตถู่ ไตโท้ ไตลา ไตโล ไตน้ำ ไตนุง ผู้ไต ผู้มิน หมีไต(มะตะ) หนง..
ก็คือไทใหญ่ที่อยู่ค่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของ แดนพม่า และเลยเข้าไปในแดนอัสสัมของอินเดีย ถิ่นดั้งเดิม อยู่ในคำตี่หลวงแถบลุ่มน้ำอิระวดี ภาษาไทคำตี่นั้นใกล้เคียง กันกับภาษาคำเมืองของไทยวน ผสมกับภาษาถิ่นอีสาน ขนบธรรมเนียมต่างๆ ก็เหมือนชนเผ่าไททั่วไป รวมทั้งการ นับถือศาสนาพุทธ. ต้ง-สุ่ย
ไทขาว
กลุ่มไทสาขาก้ำสุ ่ ย ประกอบด้ ว ยเผ่ า ย่อยๆ คือ ต้ง (ก้ำ) มู่ หล่าว (มู่หล่ำ) สุ่ย เหมา หนาน อ้ายจาม อ้าย หมัก..
เป็ น ชนเผ่ า ไทที ่ อ ย่ ู ใ น อาณาบริเวณเดียวกับไทดำแต่ ค่อนขึ้นไปทางเหนือกว่า กล่าว กันว่าก็คือ เป็นชาวไทดำที่มี การผสมกับชาวจีนนั่นเอง จึง ทำให้ขาวกว่าไทดำทั่วไป แต่ ยังคงอัตลักษณ์ไทเอาไว้อยู่.
ลาว d-22
กะได กลุ่มตระกูลไทสาขากะได ประกอบด้วยเผ่าย่อยๆ คือ เก้อหล่าว เบ(องเบ) ปู้ หยาง เยอรง ละควา ละฮา ลักเกีย ลาจี และเผ่าหลีบนเกาะไห่หนาน ความจริงชนเผ่าตระกูลไทยังมีแขนงแยกย่อยออกไปอีกยุบยิบ เช่น ไทหย่า ไทพ่าเก ไทอ้ายตอน ไทรง ไทต่องซู ไทแดง ไทย้อ ไทกะลุน-กะโซ่...ฯ แต่ตอนนี้ เอาแค่นี้พอสังเขปก่อนเพื่อไว้เป็นแนวทางพื้นฐาน ต่อไปเมื่อถึงตอนที่ลงลึกไปใน แต่ละชาติพันธ์ุ ก็จะนำเสนออย่างละเอียดของแต่ละชนเผ่าอีกที รวมทั้งชาติพันธ์ุ ที่เป็นญาติห่างออกไปไกลหน่อย ก็จะแยกออกไปพูดถึงในบทเฉพาะที่เกี่ยวข้อง ในภายหลังต่างหาก. เมื่อมองดูชนเผ่าทั้งหลายที่ผ่านไปทั้งหมดนั้น คุณมองเห็นอะไรบ้าง คุณ แยกแยะความเหมือนและความไม่เหมือนตรงไหนได้บ้าง เสร็จแล้วก็ลองดูแผนที่ ถัดไปนี่ มันแสดงกลุ่มดีเอ็นเอกลุ่มต่างๆ ที่กระจายอยู่ในโลก ทั้งยีนพ่อและยีนแม่ ถัดไปก็เป็นแผนที่เส้นทางอพยพ นี่คือข้อเท็จจริงที่อยู่เหนือชื่อสมมุติต่างๆ ครับ.
d-23
d-24
ช่วงนี้ก็เป็นช่วงเลือกตั้งอีกแล้วนะ ไปไหนก็เห็นแต่ป้ายหาเสียง ดูแค่ ชื่อ บนป้ายก็คงบอกอะไรไม่ได้มากนักหรอกสมัยนี้ อาจต้องมองลึกลงไปถึง ชื่อของไฟลัมเลยมั๊ง ถึงจะพอแยกแยะได้ โดยเฉพาะในบ้านเราพวกนักการเมืองเลวๆ โกงบ้านโกงเมืองก็ ยังเป็นใหญ่เต็มไปหมด เจ้าพวกนี้ทางวิชากวนเรียกรวมๆ ว่า โฮโมอีเดียทจัด เป็นไฟลัมที่ไม่ยักกะสูญพันธ์ุไปซักที สาเหตุที่ทำให้ พวกนี้ทนทานด้านชามาก อาจเป็นเพราะความสามารถในทางกลายพันธ์ุที่แสนพิสดารชนิดที่หนังเอ๊กซ์เมนต้องอายกระมัง บางคน นี่กลายพันธ์ุข้ามไฟลัมได้อย่างมหัศจรรย์ เช่น มิวเททจาก Limulus Polyphemus ในไฟลัม Arthropoda เป็น โฮโมซ๊กม๊กจัด.. หรือ มิวเททจาก Squamata ในไฟลัม Chordata มาเป็น โฮโมกูแดกแหลก โอ.. ผมว่าอาจารย์ ธนิก เลิศชาญฤทธิ์ คงต้องวิเคราะห์ พวกนี้สักหน่อยแล้วล่ะครับ เป็นความหลากหลายทางมนุษยวิทยานะนี่. เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ลองดูหน้าผู้คนข้างล่างนี้แล้วถามตัวเองอีกครั้งว่าคุณเป็นใคร ? โดยที่ไม่รู้ชื่อ คุณคิดว่าพวกเขา และคุณต่างกันมากไหม.. ตอบให้ก็ได้ว่า ไม่มากเลย ในความต่างเล็กน้อยที่เห็นนี้ เราอาจไม่ได้ต่างกันจริงๆ หรอก ภาพบนสุดซ้าย มือคือ เผ่าซาน แห่งแอ๊ฟริกา มนุษย์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คุณเห็นตาแบบเอเชียนั่นไหม เทียบกับภาพกลางล่างสุดสิ นั่นคือโอรัง อัสลิ ชาวเอเชียที่เก่าแก่ที่สุด . คุณบอกได้ไหมว่าใบหน้าที่เหลือเป็นของชนชาติใดบ้าง ?.. ลองนึกเทียบกับใบหน้าของคนที่คุณรู้จัก ดูซิ หน้าเหมือนเพื่อนคุณคนไหนบ้างไหม ผมเองมีเพื่อนคนไทยที่หน้าคล้ายใบหน้าที่เห็นเหล่านี้แทบทุกแบบเลย ทั้งที่เจ้าของ ใบหน้าต่างๆ เหล่านี้ บางทีอยู่ห่างกันแสนไกล ลองทายดูนะ คุณจะต้องแปลกใจทีเดียว อย่าเพิ่งดูเฉลยล่ะ..
เฉลย จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา แถว 1. ชาวซาน แอ๊ฟริกา / ชาวภูฏาน / ชาวมอนปา / ชาวทิเบต / ชาวจีน / ชาวจีนใต้ / ชาวมองโกล / ชาวชุกชี / ชาวนาวาโฮ แถว 2. ชาวสิกขิม / ชาวไทอาหม / ชาวนากา / ชาวไทใหญ่ / ชาวไทลื้อ / ชาวมลาบรี / ชาวไทจ่อง / ชาวเกาหลี / ชาวไอนุ แถว 3. ชาวอินเดีย / ชาวเบงกอล / ชาวมอญ / ชาวพม่า / ชาวไทสยาม / ชาวไทพวน / ชาวลาว / ชาวเวียตนาม / ชาวญี่ปุ่น แถว 4. ชาวอินเดีย / ชาวทมิฬ / ชาวอันดามันนีส / ชาวโอรังลาโวด / ชาวมาเลย์ / ชาวเขมร / ชาวเขมร / ชาวเวียตนาม / ชาวเมาริ แถว 5. ชาวลังกา / ชาวอินโด / ชาวอินโด / ชาวอินโด / ชาวโอรังอัสลิ (บาติก) / ชาวเซมัง / ชาวปาปวน / ชาวออสโตรอะบอริจิน / ชาวฮาวาย d-25
ข้อมูลอ้างอิง บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ : ชาวเขาในไทย (ISBN 974-322-616-8) บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ : 30 ชาติในเชียงราย (ISBN978-974-7236-05-7) Dr. Stephen Openheimer : Eden is the East (ISBN 0-75380-679-7) Wikipedia Online Encyclopedia World Haplogroup Map : J.D. McDonald http://www.joshuaproject.net ภาพประกอบ ชากร สาทเวท Siam Land And Volk : Carl Dohring
en.wikipedia.org
www.trekearth.com
d-26
ชนชาติ ภาษา และรัฐ จิตร ภูมิศักดิ์
หมู่เหล่าเผ่าพันธ์ุสมมุติเดียวกันอยู่แล้วนี่ คนเราบางพวกยัง หาข้ออ้างที่ไม่มีเหตุผล ในการสร้างความแตกแยกแตกต่างให้ เกิดขึ้นมาได้อีกไม่รู้จักจบสิ้น. จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นชื่อที่ผมคุ้นเคยในสมัยวัยรุ่นหัด เล่นกีต้าร์ แน่นอนว่าเพลงเพื่อชีวิตอย่างวงคาราวาน เป็นเพลง ที่คนเล่นกีต้าร์มักเอามาเล่นกัน ผมเองยังวัยรุ่น ไม่ได้คิดมาก หรือหนักใจอะไรกับเรื่องคอมมิวนิสท์ที่รัฐบาลคอยกรอกหูใน ตอนนั้น รู้แต่ว่าส่วนตัวไม่ชอบจอมพลถนอม รู้ดีว่านักการ เมืองนักปกครองในเมืองไทยล้วนแต่โกงกินคอรัปชั่น รู้ว่าบ้าน เมืองไทยถูกอิทธิพลคนมีอำนาจครอบงำ ถึงจะไม่เข้าข้างคอม มิวนิสท์ แต่ก็ไม่เข้าข้างเผด็จการทหารและนักการเมืองเหมือน กัน ในตอนนั้นเพลงนึงที่เล่นกันก็คือ "...เขาตายในชายป่า เลือดแดงทาดินเข็ญ ยากเย็นข้นแค้นอับจน ...." เพลง "จิตร ภูมิศักดิ์" ก็ทำให้ผมได้รู้จักชื่อผู้ชายคนนี้ แต่ก็ไม่มากไม่น้อย ไปกว่านั้น.
ขณะบ้านเมืองกำลังคุกรุ่นคับขัน ผมอดนึกย้อนถึง เหตุการพฤษภาทมิฬไม่ได้ นึกถึงตอนที่เขียนเพลงโองการแช่ง น้ำขณะที่ติดอยู่ในสตูดิโอตอนเขายิงกัน แล้วจู่ๆ ผมก็นึกถึง ปราชญ์ท่านหนึ่งขึ้นมา เดือนหน้าเป็นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น เดือนที่ จิตร ภูมิศักดิ์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้เสียชีวิตเช่น กัน คิดแล้วก็ให้เสียดาย หยิบหนังสือของท่านมาพลิกๆ อ่านดู ก็ยังคงรู้สึกถึงคุณค่าอันอัดแน่นในงานเขียนทุกชิ้น หนำซ้ำยิ่ง นานวันยิ่งรู้สึกคุณค่านั้นเพิ่มมากขึ้น เพราะสมองในกระโหลก หนาๆ ของผมมันค่อยๆ โง่น้อยลง พอเห็นรูปท่านแล้วก็นึกถึง ความวุ่นวายที่เกิดแก่คนไทยในชาติและเพื่อนบ้านพี่น้องใกล้ ชิดอย่างกัมพุชประเทศ ก็มีความรู้สึกอยากจะเขียนถึงท่าน และนำข้อเขียนของท่านมาให้พวกเราได้อ่านได้ตรึกตรองดู. ที่ผ่านไปสองบทก่อนหน้า ผมเขียนเรื่องของภาษา และเรื่องของชื่อและชนเผ่าต่างๆ เราคงพอเข้าแล้วละว่า อะไร ที่ผู้คนเชื่อและยึดถือกันมานานนั้น บางทีข้อเท็จจริงมันก็ไม่ได้ หมายความว่าจะเป็นอย่างที่เชื่อเช่นนั้นเสมอไป เหมือนเช่นที่ วิทยาศาสตร์บอกกับเราว่าชื่อและชนชาตินั้นเป็นสิ่งสมมุติที่ เรายึ ด ถื อ กั น ไปเอง ทั ้ ง ๆที ่ เ ราทั ้ ง หมดมาจากครอบครั ว เดียวกัน, เหมือนเช่นที่ภาษาศาสตร์โบราณคดีแนะนำเราไปสู่ ภาษาแรกของโลกและการแตกออกของภาษาต่างๆ .. สำหรับ ผมมันยังไม่น่าแปลกใจนัก กาลเวลา ภูมิศาสตร์ การช่วงชิง กำลังคน ทรัพยากร ภัยธรรมชาติ.... ฯลฯ ล้วนเป็นตัวแปรที่ ทำให้มนุษย์ในอดีตจำต้องแบ่งแยกกันไปเช่นนั้น ซึ่งเราก็พอ จะเข้าใจและยอมรับได้ แต่ที่ผมประหลาดใจก็คือ ทั้งที่อยู่ใน
ผมเป็ น คนชอบอ่ า นหนั ง สื อ ที น ี ้ พ ออายุ มากขึ้น หนังสือที่อ่านก็แก่ขึ้นตาม "โฉมหน้าศักดินาไทย" (นามปากกา สมสมัย ศรีศูทธพรรณ) เป็นหนังสือต้องห้ามในสมัยหนึ่ง ผู้คน ส่วนใหญ่ในยุคนั้นมองหนังสือนี้ด้วยใจเป็นอคติ แต่ที่จริง เป็นการวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นสหวิทยาการ เป็น หนังสือเล่มหนึ่งที่อ่านแล้วชอบทันที รู้ว่านี่.. จิตร ภูมิศักดิ์ เป็น คนเขียน ก็เริ่มสนใจที่จะรู้จักผู้ชายคนนี้มากขึ้น เวลาผ่านไปเมื่อโลกและสังคมตาสว่างขึ้น คุณค่า ความดีของคนและความจริงก็จะปรากฏ ผลงานของจิตรกลับ กลายมาเป็นงานที่ทรงคุณค่า แต่มันช่างน่าเศร้า เพราะนั่นไม่ อาจจะกู้ชีวิตของเขาคืนมาได้ ลองคิดดูว่า เพียงช่วงเวลาอัน น้อยนิดที่เขามีชีวิตอยู่ ยังสร้างผลงานที่ดีได้เพียงนี้ หากเขายัง มีชีวิตอยู่ยืนยาวกว่านั้น จะสร้างผลงานดีๆ ได้อีกมากมาย เพียงใด แค่หนังสือ "ความเป็นมาของคำ สยาม ไทย ลาวและ ขอม" เพียงเล่มเดียว ก็ถือเป็นตำราที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของเมือง ไทย ที่ไม่เพียงนักนิรุกติศาสตร์เท่านั้นที่ใช้เป็นคำภีร์ นัก ภาษาศาสตร์ มนุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ แทบทุกคนก็ใช้ เป็นคำภีร์อ้างอิงเช่นกัน จิตร ภูมิศักดิ์ ถือเป็นนักวิชาการหัว ก้าวหน้าที่ทำงานแบบบูรณาการและสหวิทยาการ มาก่อนที่ ยุคสมัยใหม่จะนำคำเหล่านี้มาให้เรารู้จักเสียอีก ผมมีโอกาสได้อ่านงานเขียนที่หาอ่านยากอีกชิ้นหนึ่ง ของเขา บทความนั้นชื่อ "ชนชาติ ภาษาและรัฐ " เป็นบทความ ที่ดีเยี่ยมมากชิ้นหนึ่ง อาจสามารถเตือนสติผู้คนที่กำลังมัวเมา อยู่ในสภาพความขัดแย้งขณะนี้ ให้สำเหนียกรู้ในข้อเท็จจริง
ทางวิชาการ ก็หวังใจว่าคงจะทำให้ผู้คนได้คิดบ้าง จึงอยากจะ ยกมาเล่าให้ฟังดังนี้... (จิตร ภูมิศักดิ์ เขียน....) ชนชาติก็ดี ภาษาก็ดี อักษรก็ดี เป็นเรื่องของพื้นฐาน ทางด้านสมาชิกของสังคมหรือรัฐ. ชนชาติก็ดี ภาษาก็ดี อักษร ก็ดี มิได้ชี้ขาดกำหนดขอบเขตของสังคม กล่าวคือมิได้กำหนด รัฐ. รัฐเป็นโครงสร้างเบื้องบนที่กำหนดขึ้นโดยอำนาจทาง เศรษฐกิจ. ฉะนั้นชนชาติเขมรทั้งหมดจึงมิได้เป็นเครื่อง กำหนดรัฐเขมรขึ้น. มิใช่ว่าชาวเขมร หรือชนที่พูดภาษาเขมร ทั้งหมดจะรวมกันเป็นรัฐเดียว คือรัฐเขมร หรือรัฐแห่งกรุงศรี ยโศธรปุระ (นครธม). ชาวเขมร หรือชนที่พูดภาษาเขมรทั้งหมด อาจจะ แบ่งออกเป็นหลายรัฐได้ในสมัยเดียวกัน ทั้งนี้ตามอำนาจรวม ศูนย์ทางเศรษฐกิจและการเมืองว่าจะมีกี่ศูนย์, มีผู้เผด็จ อำนาจกี่พวก. ชาวเขมร หรือชนที่พูดภาษาเขมรบางส่วน อาจจะ มิได้อยู่ในรัฐที่ชาวเขมรเป็นชนชั้นปกครอง, หากอาจจะรวม อยู่ในรัฐที่ชนชาติอื่นเป็นชั้นปกครองก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ เป็นจริงที่ว่าอาณาบริเวณนั้นตกอยู่ภายในอำนาจรวมศูนย์ ทางเศรษฐกิ จ และการเมืองของใคร. เช่นชนชาวเขมรใน จังหวัดศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์ และบางส่วนของ ปราจีนบุรีในประเทศไทยบัดนี้ รัฐเขมร หรือรัฐที่ชนชาติเขมรเป็นชนชั้นปกครองใน แต่ละยุคสมัย ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีพลเมืองเป็นเขมรทั้งหมด และความเป็นจริงก็ไม่เคยเป็นเช่นนั้น, หากอาจประกอบด้วย ชนเชื้อชาติเขมรเพียงส่วนเดียว ส่วนที่เหลืออาจจะเป็นชนเชื้อ ชาติอื่นหลายเชื้อชาติ มากบ้าง น้อยบ้าง . เช่นประเทศเขมร ปัจจุบันนี้ มีพวกกุย หรือกวย (ไทยเรียกส่วย) เป็นชนพื้นเมือง อยู่เป็นจำนวนมากในทางทิศเหนือ บริเวณเหนือเมืองกำปงธม ขึ้นไปตามแม่น้ำสตึงแสน คือเขตมลูไพร ดังนี้เป็นต้น. ข้ อ เท็ จ จริ ง ทั ้ ง สามข้ อ นี ้ จ ะต้ อ งจดจำเป็ น หลั ก ให้ มั่นคงในการศึกษาประวัติศาสตร์ ประเทศลาวปัจจุบันนี้มีพลเมืองราวหนึ่งล้านห้าแสน ถึงสองล้านคน. ในจำนวนนี้หนึ่งในสามเป็นชนชาติข่า หรือที่ เรียกว่าลาวเทิง (คือลาวบน) อีกหนึ่งในสามเป็นชนชาติแม้ว
หรือที่เรียกว่าลาวสูง. ชนชาติลาวจริงๆ มีอยู่ราวหนึ่งในสาม หรือกว่าเล็กน้อยเท่านั้น. เรื่องของชนในรัฐจึงเป็นเรื่องของ ประชาชาติ ไม่ใช่ชนชาติ. ชนชาติหาได้มีบทบาทกำหนด ขอบเขตของรัฐไม่. ปัจจุบันนี้ชนเชื้อชาติลาวที่มีอยู่ในภาค อีสานของประเทศไทยนั้น มีถึงแปดล้านคน มากกว่าที่อยู่ใน ประเทศลาวเองเสียอีก. ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องรัฐกับชนชาติหรือเชื้อ ชาติ จึงมักจะเอียงกระเท่ไปศึกษาเรื่องราวของเชื้อชาติ, ศึกษาประวัติของเชื้อชาติ แทนการศึกษาประวัติศาสตร์แห่ง สังคมในรัฐ. ผลก็คือ พากันบ้าคลั่งเชื้อชาติ (Racialism) หรือ เป็นนักลัทธิคลั่งชาติ (Chauvinism) คิดแต่จะไปรวบเอาชน เชื้อชาติเดียวกันภายนอกประเทศ มารวมกับประเทศตน หรือ คิ ด แยกชนเชื ้ อ ชาติ ต นไปรวมกั บ ประเทศอื ่ น ที ่ ม ี เ ชื ้ อ ชาติ เดียวกัน ให้วุ่นวายไปหมด. ถ้าคนไทยก็คิดจะรวบเอารัฐชานซึ่งเป็นพวกไทใหญ่ และไตลื้อสิบสองปันนา ตลอดไปจนถึงผู้ไทในเวียดนามเหนือ; ชาวลาวก็คิดจะรวบเอาภาคอีสานของไทย; ชาวเขมรก็คิดจะ รวบเอาดินแดนฟากใต้แม่น้ำมูล; ชาวพม่าก็คิดจะรวบเอาดิน แดนกะเหรี่ยงทางด้านตะวันตก; ชาวมลายูก็คิดจะรวบเอาดิน แดนสี่จังหวัดภาคใต้ของไทย และหลายๆ ประเทศก็เป็นไปใน ทำนองนี้, โลกจะเป็นอย่างไร ? ก็ต้องทำสงครามเพราะลัทธิ คลั่งชาติกันเรื่อยไป และก็ไม่มีวันจะตกลงอะไรกันได้. นี่แหละคือผลร้ายของการเรียนประวัติศาสตร์โดยวิธี ผิดๆ ที่พวกฝรั่งถ่ายทอดทิ้งไว้ให้ นั่นคือแทนที่จะเรียน ประวัติศาสตร์ของสังคมไทยที่อยู่ภายในการรวมศูนย์ทาง เศรษฐกิจและการเมืองเดียวกัน ซึ่งสังคมนี้ประกอบขึ้นด้วย หลายชนชาติอันมีไทย ลาว เขมร มลายู ฯลฯ เรากลับถูกพวก ฝรั่งจูงให้ไปมุ่งเรียนแต่ประวัติศาสตร์ของชนเชื้อชาติไท-ไต, ไปสืบสาวราวเรื่องเรียนเรื่องของสังคมน่านเจ้าในเขตยูนนาน ของประเทศจีนเสียเป็นคุ้งเป็นแคว แล้วมาเริ่มศึกษาประวัติ ของชนชาติ ไ ทยในแหลมทองเอาเมื ่ อ สมั ย สุ โ ขทั ย และ ศรีอยุธยา. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยที่ถูกต้องจะต้องเริ่มกัน ใหม่ นั่นคือศึกษาประวัติความเป็นมาแห่งสังคมบนผืนดินอัน เป็นเอกภาพผืนนี้ ศึกษาย้อนขึ้นไปตามลำดับ จากอยุธยาไป สู่ละโว้, พิมาย , สุโขทัย , โยนก , ศรีธรรมราช , ไชยาหรือศรี วิชัย, จานาศปุระ, ทวารวดี , พนมหรือฝูหนาน ฯลฯ ศึกษาให้ ทราบว่าสังคมบนเอกภาพแห่งดินแดนนี้ พัฒนาขึ้นมาจาก ลักษณะใด มาสู่ลักษณะใด มีประวัติการณ์ของชนชาติใดมา บ้างบนผืนแผ่นดินนี้ และทั้งหมดนี้รวมกันคือประวัติศาสตร์
ของประชาชาติไทย อันประกอบด้วยหลายชนชาติ และผ่าน ยุคสมัยมาหลายสมัย บางสมัยก็ชนชาตินี้เป็นชนชั้นปกครอง บางสมัยก็ชนชาตินั้นเป็นชนชั้นปกครอง; ส่วนชนชาติใด อพยพมาจากที่ไหนนั้น เป็นเพียงส่วนประกอบทางตำนานอัน เป็นข้อปลีกย่อย เป็นเรื่องของมานุษยชาติวิทยาเท่านั้น. การศึกษาด้วยทรรศนะเช่นนี้เท่านั้นจึงจะได้รับความ รู้ที่เป็นประวัติศาสตร์แห่งสังคมในรัฐเอกภาพหนึ่งๆ ที่แท้จริง และจะไม่ก่อให้เกิดลัทธิคลั่งชาติหรือหลงเชื้อชาติ อันนำมาซึ่ง ความเพ้ อ ฝั น แผ่ อ ิ ทธิพล หรือน้อยเนื้อต่ำใจคิดแบ่ ง แยก เอกภาพ. ทั้งนี้เพราะประวัติศาสตร์ที่ศึกษาในแนวนี้จะเป็น ประวัติศาสตร์ของสังคมที่ทุกชนชาติเป็นเจ้าของ, เป็นผู้เคยมี บทบาทมาแล้ว, และก็ยังจะมีบทบาทต่อไปอีกในอนาคต ภายในเอกภาพแห่งดินแดนนี้. ทุกชนชาติได้เคยมีหุ้นส่วนใน ดินแดนที่เป็นเอกภาพนี้มาแล้วแต่โบราณ, มีหุ้นส่วนในการ สร้างสังคมนี้มาแล้วแต่โบราณ และก็ยังจะมีอยู่ต่อไป. เอกภาพของรัฐหรือสังคมเกิดจากพื้นฐานเศรษฐกิจ และความไหวตัวทางการเมือง มิได้เกิดขึ้นจากหรือกำหนดขึ้น จากเชื้อชาติ นี่เป็นความจริงที่เราจะต้องปลูกฝัง. เรื่องที่คิดจะ กำหนดเอกภาพของรัฐหรือสังคมขึ้นจากเชื้อชาตินั้น เป็นเรื่อง ของความเพ้อฝันที่ไม่อาจเป็นจริง และไม่เคยเป็นความจริงมา ก่อนเลยในอดีต. ความคิดอย่างนั้นขัดต่อความจริงของชีวิต เพราะชีวิตในสังคมรวมศูนย์กันด้วยเศรษฐกิจและการเมือง มิใช่ด้วยเชื้อชาติ. ความคิดอย่างนั้นรังแต่จะก่อให้เกิดความ หายนะแก่มนุษยชาติทุกเชื้อชาติ ดังเช่นลัทธินาซีของฮิตเลอร์ เคยก่อมาแล้วในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้น. เอกภาพของดินแดนและสังคมที่เป็นประเทศไทยทุก วั น นี ้ เป็ น ผลิ ต ผลสื บ ทอดลงมาจากการไหวตั ว , ต่ อ สู ้, สร้างสรรค์ ของชนหลายเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ที่นี่ . ชนเหล่านี้ได้ ไหวตัว ต่อสู้ สร้างสรรค์ มาตั้งแต่ครั้งก่อนประวัติศาสตร์ คือมี ประวั ต ิ ก ารณ์ ม าตั ้ ง แต่ ส มั ย หิ น ดั ง ที ่ เ ราได้ พ บร่ อ งรอยอยู ่ มากมายหลายแห่งทั่วประเทศ. แล้วทำไมเราจึงจะไปตัดทุก อย่างทุกชนชาติทิ้งหมด, เรียนกันแต่ประวัติการณ์ของชนชาติ เดียว; แทนที่เราจะเริ่มเรียนประวัติการณ์ของสังคมบนผืน แผ่นดินนี้ตั้งแต่สมัยหิน, เรากลับหันหลังให้เสียหมดสิ้น แล้ว เดินทางออกนอกประเทศไปเรียนประวัติการณ์ของสังคมอื่น เป็นต้นว่าน่านเจ้ากันเป็นวรรคเป็นเวร? นี่เป็นประวัติของเชื้อ ชาติ, ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ของสังคมซึ่งหล่อหลอมขึ้นที่นี่
พัฒนาขึ้นที่นี่ มีชนชาตินั้นผ่านเข้ามา แล้วก็ผ่านออกไป อยู่ที่ นี่. สังคมไทยและผืนแผ่นดินไทยจะต้องเป็นเอกภาพ ข้าพเจ้าคัดค้านความคลั่งเชื้อชาติที่คิดแบ่งแยกเอกภาพนี้ทุก ชนิด. แต่ขณะเดียวกันเอกภาพของสังคมไทยนี้ และผืนแผ่น ดิ น นี ้ ก็ ป ระกอบขึ ้ น จากหลายภู ม ิ ภ าคและหลายชนชาติ ข้าพเจ้าคัดค้านการผูกขาดเรียนประวัติของชนเชื้อชาติเดียว, ภูมิภาคเดียว ตัดประวัติของชนชาติอื่นและภูมิภาคอื่นทิ้งไป. รัฐประชาชาติกำหนดขึ้นด้วยเอกภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และเอกภาพแห่งดินแดน, มีเอกภาพทางภาษา กล่าวคือมีภาษาที่มีลักษณะทั่วไป ภาษาหนึ่งเป็นภาษากลาง, และมีเอกภาพทางวัฒนธรรม คือมีวัฒนธรรมที่มีลักษณะ ทั่วไปกระแสหนึ่ง เป็นวัฒนธรรมหลักของรัฐ . องค์ประกอบ ของรัฐประชาชาติทั้งห้านี้จะละทิ้งเสียประการใดประการหนึ่ง มิได้. ฉะนั้นในขณะที่ศึกษาเรื่องราวของแต่ละชนชาติ ซึ่งมี ภาษาเป็นของตนเอง และมีวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเป็นของ ตนเองนั้น ก็จะเลยเถิดจนลืมเอกภาพทั้งห้าประการ, เกิดลัทธิ คลั่งชาติหรือคลั่งท้องถิ่น (Provincialism) ขึ้น ไม่ได้เป็นอัน ขาด! นี ่ ค ื อ ทรรศนะและแนวทางศึ ก ษาประวั ต ิ ศ าสตร์ ท ี ่ ข ้ า พเจ้ า ยึดถือว่าถูกต้องที่สุด. ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงมองไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมจึงจะ ต้องพยายามปฏิเสธบทบาทของชนชาติที่พูดภาษาเขมรในดิน แดนผืนนี้, แล้วพยายามพิสูจน์ให้ร่องรอยต่างๆ ของเขมร โบราณกลายเป็นชนชาติอื่นหรือแม้กระทั่งเป็นไทย. ข้าพเจ้า เห็นว่าเราต้องยอมรับรู้บทบาทอันมีจริงและยาวนานของเขา. แต่ขณะเดียวกันชนชาติเขมรหรือชนชาติที่พูดภาษาเขมรบน ผืนแผ่นดินนี้ ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเขมรแห่ง นครธมเสมอไป, ทั้งนี้เพราะชนชาติมิได้กำหนดขอบเขตรัฐ. บางครั้งชนชาติที่พูดภาษาเขมรที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาและ ลุ่มน้ำมูลแห่งอีสาน อาจเป็นรัฐอิสระที่มีอำนาจพอๆ กับนคร ธม บางครั้งก็อาจจะยิ่งใหญ่กว่ารัฐเขมรแห่งนครธมและได้ เป็นผู้ครองนครธม บางครั้งก็อาจตกเป็นเมืองขึ้นของรัฐเขมร แห่งนครธม...สภาพเช่นนี้มีขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์. รัฐใน บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้ก็ดี ในภาคอีสานของไทยบัดนี้ก็ ดี ล้วนเคยมีรัฐเขมร หรือรัฐที่ชนชั้นปกครองเป็นชนชาติเขมร และใช้ภาษาเขมรเป็นภาษากลางมาแล้วทั้งนั้น รัฐเหล่านั้น บางรัฐก็ใหญ่ บางรัฐก็เล็ก แต่ละรัฐเป็นอิสระแก่กันในบาง
ระยะ รวมกันในบางระยะ แต่ที่สำคัญก็คือเคยมีระยะอัน ยาวนานหลายร้อยปีที่รัฐเหล่านี้เป็นสังคมต่างหากที่อยู่นอก เขตอำนาจของรัฐ สังคมทาสแห่งเขมรนครธม , เจริญรุ่งเรือง เคียงบ่าเคียงไหล่กับรัฐเขมรแห่งนครธม. ฉะนั ้ น ข้ า พเจ้ า จึ ง คั ด ค้ า นความเห็ น ของพวกนั ก ประวัติศาสตร์ล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสแต่ก่อน ที่พยายามอุปโลกน์ ให้ดินแดนไทยปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตกอยู่ใต้อำนาจรัฐเขมรนครธมมาโดยตลอด ตั้งแต่พุทธ ศตวรรษที่ ๑๓ ถึง ๑๘. ฉะนั้นเมื่อพูดถึงรัฐเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาหรือ อีสาน ข้าพเจ้าจึงมิได้หมายความว่ารัฐเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่ง ของเขมรนครธมเสมอไป หากหมายถึงรัฐที่มีชนชาติเขมรเป็น ชนชั้นปกครอง, ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษากลาง; ชนชาติภายใน รัฐไม่จำเป็นต้องเป็นชนชาวเขมรทั้งหมดและพูดภาษาเขมร ทั้งหมด อาจจะมีส่วนที่เป็นละว้า เป็นมอญ เป็นไทย เป็นจาม เป็นมลายู เป็นกุยหรือกวย . ศิลปวัฒนธรรมของรัฐนี้มีอิทธิพล แบบเขมร แต่ก็มิใช่แบบเขมรนครธม หากหล่อหลอมเป็น เอกภาพขึ้นจากศิลปวัฒนธรรมของเขมร มอญ ชวา-มลายู เช่นที่เรียกว่าศิลปะสกุลลพบุรีเป็นอาทิ. ศิลปะสกุลนี้มีเค้า เขมรเป็นแกน แต่องค์ประกอบทั้งหมดเป็นอิสระจากเขมร, หากเป็นผลิตผลของสังคมแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้เองโดย เฉพาะ. รัฐดังกล่าวนี้มีทั้งระยะที่เป็นอิสระ มีทั้งระยะที่ได้ เป็นใหญ่เหนือนครธม และก็มีทั้งระยะที่ตกเป็นเมืองขึ้นของ นครธม, มีการถ่ายเทแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมระหว่าง เขมรนครธมกับเขมรที่นี่. รัฐเหล่านี้มีชื่อของตนเป็นอิสระ เป็นต้นว่ารัฐละโว้ รัฐจานาศปุระ รัฐมหีธรปุระ ฯลฯ รัฐที่มีชนชาติเขมรเป็นชนชั้นปกครองเหล่านี้หาใช่สิ่ง นิรันดรไม่ ก่อนยุคของเขาบริเวณนี้ก็เป็นเขตสังคมของรัฐ มอญหรือชนชาติที่พูดภาษามอญ, ก่อนหน้ามอญขึ้นไปก็เป็น รัฐละว้า. ในระยะที่รัฐเขมรเหล่านี้เกิดขึ้นนั้น , เฉพาะในแถบ ลุ่มน้ำเจ้าพระยานี้ รัฐเขมรก็มิได้เป็นสิ่งจีรัง ; บางระยะก็หาย ไป มีรัฐที่ชนชาติชวา-มลายูเป็นชนชั้นปกครองเกิดขึ้นแทนที่; บางระยะก็ถูกชนชาติไทยช่วงชิงอำนาจรัฐไปได้ ปรากฏเป็น รัฐไทยขึ้น. เรื่องของรัฐเขมรในระยะหลังจึงเป็นเรื่องบางระยะ บางสมัย ไม่ใช่ตลอดกาล.
ความผสมผสานคลุ ก เคล้ า ระหว่ า งมอญเดิ ม แห่ ง ทวารวดี กับเขมรแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (ละโว้) กับชวามลายูที่แผ่อิทธิพลขึ้นมาเป็นครั้งคราว รวมทั้งไทยซึ่งเป็น สมาชิกส่วนใหญ่สำคัญส่วนหนึ่งของสังคม ได้ก่อให้เกิดศิลปะ สกุลช่างผสมขึ้นใหม่ คืออู่ทอง . ศิลปะสกุลช่างนี้เป็นศิลปะ ของดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นของชนชาติต่างๆ ในบริเวณนี้ใช้และสร้างร่วมกัน; ไม่ว่าเขมรจะชิงอำนาจชนชั้น ปกครองไปได้และตั้งรัฐเขมรขึ้น รัฐนั้นก็คงใช้ศิลปะนี้ และ ถ่ า ยเทศิ ลปะนี ้ กั บเขมรนครธมและเขมรทางที ่ ร าบสูง ภาค อีสาน; ไม่ว่าชนชาติไทยจะชิงอำนาจการปกครองมาได้และ ตั้งรัฐไทยขึ้น รัฐนั้นก็คงใช้ศิลปะนี้ และถ่ายเทศิลปะนี้แลก เปลี่ยนกับรัฐไทยทางเหนือ เช่น เชลียง (ศรีสัชนาลัย) เป็นต้น. ลักษณะของรัฐที่มีชนชั้นปกครองเป็นชนชาติชวามลายู, เขมร และไทย ณ บริเวณที่ได้มากลายเป็นเขตชั้นใน ของกรุงศรีอยุธยาในชั้นหลังดังกล่าวมานี้ เป็นลักษณะที่เรา จะสำรวจได้ชัดจากประวัติศาสตร์แห่งศิลปะ. พระปรางค์องค์ประธานแห่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจังหวัด ลพบุรี ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง เป็นปรางค์โดด ก่อบนฐานแคบลด ชั ้ น สู ง โดด, องค์ ป รางค์ ท รงสู ง มี ซ ุ ้ ม ประตู ห ลอกสามทิ ศ, จระนำเหนือประตูทรงมนผายสูง, ด้านตะวันออกเป็นซุ้มมุข เด็จยื่นเป็นห้องยาว เป็นทางเข้าด้านเดียว, องค์ปรางค์ไม่ ประดับด้วยลายจำหลักลายเบาแบบเขมรนครธม หากประดับ ด้วยปูนปั้นแบบศิลปะมอญ ทวารวดี หรือละโว้-หริภุญไชย. นี่ เป็นฝีมือช่างสกุลลพบุรีหรือละโว้อย่างชัดเจน. สกุลช่างนี้มี แกนอิทธิพลเขมร, แต่ไม่ใช่ลอกแบบเขมร. ปรางค์เขมรไม่ สร้างทรงสูงโดด ส่วนที่เป็นประตูและซุ้มจระนำต่ำกว่านี้มาก. พระมหาธาตุองค์นี้ต่างกันอย่างชัดเจนกับปรางค์สามยอดซึ่ง เป็นฝีมือช่างเขมรแท้. สังคมรัฐเขมรที่ละโว้ยุคที่สร้างปรางค์มหาธาตุนี้ เป็นรัฐเขมรที่มีพัฒนาการทางศิลปะเฉพาะแบบของตนเอง และมีร่องรอยของมอ ทวารวดีเดิมในเรื่องศิลปะปูนปั้น รัฐนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐภายใต้อำนาจเขมรนครธมเลย ในทางพุ ท ธรู ป เราได้ พ บพระพุ ท ธรู ป สำริ ด เป็ น จำนวนมากที่มีเค้าหน้าเป็นเขมร แต่ทรวดทรงเป็นศรีวิชัย สวมเทริดกลีบขนนกแบบศิลปะศรีวิชัย เราเรียกศิลปะสกุลนี้ ว่าสกุลลพบุรี นี่เป็นร่องรอยของรัฐละโว้ที่ครั้งหนึ่งเคยมี กษัตริย์ชวา-มลายูแห่งศรีวิชัยขึ้นมาปกครอง (หรืออาจจะ หลายครั้ง ระหว่าง พ.ศ . ๑๒๐๐-๑๖๐๐ ) รัฐเขมร- ชวา หรือ
ชวา-เขมรแห่งละโว้นี้ ได้เป็นสื่อถ่ายทอดศิลปะสกุลศรีวิชัยขึ้น ไปยังภาคเหนือ เป็นต้นว่าวัดเจดีย์เจ็ดแถวที่เมืองเชลียง และ ศิลปกรรมแห่งรัฐหริภุญไชย (ลำพูน) นอกจากนั้นยังเป็นทาง ผ่านของศิลปะชวาขึ้นไปยังบริเวณที่ราบสูงโคราช. ที่ปราสาท หินเมืองแขก ณ ตำบลโคราช เมืองโคราชเก่า จังหวัด นครราชสีมา ซึ่งเป็นเทวสถานบูชาพระศิวะ (พบศิวลึงค์อยู่ นอกปราสาท) มีรูปสลักหินลายจำหลักศิลานูนต่ำอยู่รูปหนึ่ง เป็นภาพนางทุรคาชายาของพระศิวะ ปางมหิษาสุรมรรทินี (ปราบพญาควาย), ซึ่งเป็นเรื่องปรากฏอยู่ในมารกัณเฑยบุ ราณะ. ภาพที่กล่าวนี้จำหลักเป็นนางทุรคายืนบนหลังควาย งอเข่า แยกขา มีสี่กร มือขวาบนถือจักร ล่างถือตรีศูล (สามง่าม) มือซ้ายบนชำรุดหมด มือล่างพอเห็นรอยได้ว่ายึด หางควายไว้. ภาพจำหลักดังกล่าวนี้เป็นแบบที่พบมากใน อินโดนีเซีย ได้พบมากกว่า ๑๐๐ ภาพ และได้มาไว้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ ภาพหนึ่งด้วย (J.J. Boeles ใน JSS. Vol. XLVIII pt.2, Nov. 1950 pp. 87-8) เมื ่ อ ชนชาติ ไ ทยได้ เ ข้ า มามี บ ทบาทที ่ ล ุ ่ ม แม่ น ้ ำ เจ้าพระยานี้ ศิลปะสกุลลพบุรีที่เป็นแบบเขมรผสมมอญบ้าง (ปรางค์และปูนปั้น) หรือเขมรผสมชวาหรือศรีวิชัยบ้าง ได้ หลอมตัวใหม่อีกครั้ง เป็นส่วนผสมของมอญ เขมร ไทย และมี ศรีวิชัยปน. ศิลปะที่เกิดใหม่นี้คือศิลปะสกุลช่างอู่ทอง. ปรางค์ สมัยนี้พัฒนาขึ้นจากปรางค์ทรงสูงของลพบุรี แต่ขยายฐาน ออกให้ใหญ่มากกว่าเดิมหลายเท่า ยกฐานลดชั้นให้สูงกว่า เดิมจนมีลักษณะเป็นภูเขาย่อมๆ องค์ปรางค์เสริมยอดสูง เพรียวกว่าเดิม แต่คงรักษาเค้าศิลปะลพบุรีหรือละโว้ดั้งเดิม ไว้. ศิลปะนี้ได้แลกเปลี่ยนถ่ายทอดกับทางเหนือ เช่นปรางค์ มหาธาตุเชลียง จังหวัดสวรรคโลก เป็นต้น . ในบริเวณภาค กลาง ศิลปะฝีมือช่างปรางค์แบบอู่ทองนี้แพร่หลายมาก เราได้ พบที่สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี อยุธยา เป็นต้น. ส่วนพระพุทธรูปสกุลช่างอู่ทอง ซึ่งมีเค้าศิลปะลพบุรี เดิมมาหล่อหลอมขึ้นใหม่นั้น ก็ได้แพร่หลายไปอย่างกว้าง ขวาง นอกจากบริเวณภาคกลางนี้แล้ว, ยังแพร่ไปถึงภาค อีสาน เป็นต้นว่าพระเศียรพระพุทธรูปศิลาที่วัดเดิม , อำเภอ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา . (มานิต วัลลิโภดม , นำเที่ยว พิมายและโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา. ๒๕๐๒, หน้า ๑๘-๑๙). ตามการศึกษาของนายมานิต วัลลิโภดม, ศิลปะ อู่ทองนี้ได้แพร่หลายถ่ายทอดออกไปถึงนครธมของเขมร เช่น
ที่ปราสาทหินเทพประณมกลางเมืองนครธม ข้างเทวสถาน บายน, ปราสาทหินนครวัด ตลอดจนศิลาจำหลักบางชิ้นใน พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ อันเป็นของเคลื่อนย้ายไปจาก กลุ่มปราสาทบายน (เล่มเดียวกัน). ข้าพเจ้าเสียดายมาก ที่ได้ไปนครวัด นครธม กว่าสิบ ครั้งแต่มิได้สังเกตในข้อนี้เลย. เฉพาะปฏิมาที่ตั้งเกลื่อนอยู่ ตามระเบียงนครวัดนั้น มิได้เอาใจใส่เลยทีเดียว. มีเตะตาอยู่ก็ แต่พระพุทธรูปศิลาองค์ใหญ่มหึมาที่วัดเทพประณม ซึ่งก็ได้ แต่มองดูแต่ไกลและบอกตัวเองว่าไม่ใช่ฝีมือเขมร, แต่หาได้ พิจารณาอะไรไม่. เมื่อได้อ่านงานของนายมานิต วัลลิโภดม จึงนึกขึ้นได้ทันทีว่าน่าจะเป็นจริงตามนั้น. ศิลปะสกุลอู่ทองซึ่งก่อกำเนิดขึ้นตั้งแต่ราว พ.ศ. ๑๕๐๐ และมีชีวิตมาจนราว พ.ศ. ๒๐๐๐ นี้ เป็นศิลปะที่เป็น คู่แข่งสำคัญของศิลปะลพบุรี และเข่นฆ่าศิลปะลพบุรีลงใน ที่สุด. พวกเขมรนครธมที่ออกมาปกครองลพบุรี ได้พยายาม สร้างศิลปกรรมของตน เช่นปรางค์สามยอด แต่ก็ไม่อาจ ทำลายศิลปะลพบุรีอันเป็นศิลปะของท้องถิ่นได้. ชาวเขมรมอญ-ไทยที่บริเวณนี้หล่อหลอมศิลปะของเขาขึ้นเองพร้อม ด้วยอิทธิพลบางส่วนของศรีวิชัย, ปรากฏเป็นศิลปะอู่ทองขึ้น และศิลปะนี้เองได้กุมชัยชนะเหนือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใน บั้นปลาย. รัฐไทยก็ดี รัฐเขมรก็ดี ที่ใช้ชื่อว่าอโยธยา , ไม่ว่าใน ครั้งที่เขมรได้ขึ้นเป็นชนชั้นปกครอง หรือไทยเป็นชนชั้น ปกครอง ต่างก็ใช้ศิลปกรรมนี้เป็นศิลปกรรมหลักสำคัญของ รัฐ. มีการถ่ายทอดศิลปกรรมจากที่อโยธยากับเขมรนครธม และจากอโยธยากับศรีสัชนาลัยหรือเชลียง ทั้งสองด้าน. อักษรขอม ที่เราได้วิเคราะห์กันมาแล้วในบทก่อน คืออักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรเขมร หรือนัยหนึ่งก็คืออักษร เขมรที่ใช้อยู่ ณ บริเวณลุ่มเจ้าพระยานี้ และมีพัฒนาการของ ตนเฉพาะพิเศษขึ้นที่นี่. ชนชาติเขมรที่เป็นชนชั้นปกครองซึ่ง มาจากนครธม อาจจะใช้อักษรเขมรแบบนครธมตามยุคสมัย ของเขา แต่สำหรับชาวเขมรที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยารวมทั้งชาว ไทย ย่อมใช้อักษรของเขาเองตามความเคยชิน วัดต่างๆ อัน เป็นสถานศึกษาก็ย่อมจะสอนหนังสือขอมหรือเขมรแบบพื้น เมืองของตนสืบทอดกันต่อไป. เมื่อเขมรพื้นเมืองได้มีอำนาจ ปกครองเป็นรัฐอิสระก็ใช้อักษรนี้, และเมื่อไทยได้อำนาจ ปกครองเป็นอิสระก็ใช้อักษรนี้ เรียกว่าอักษรขอมไทย. จน
ภายหลังได้พัฒนาอักษรของตนเองเป็นอักษรไทยขึ้น อักษร ขอมไทยจึงคงเหลือใช้อยู่แต่ตามวัดหรือในทางศาสนา. ตามที่กล่าวมาแล้ว คงจะพอเข้าใจได้แจ่มชัดถึง ความแตกต่างระหว่างชนชาติกับรัฐ. และคงเป็นที่เข้าใจ มั่นคงว่า เมื่อกล่าวถึงรัฐเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาหรือทาง ลุ่มแม่น้ำมูล ย่อมมิได้หมายความว่าเป็นรัฐเมืองขึ้นของเขมร นครธมเสมอไป; หากส่วนใหญ่แล้วคือรัฐของชนชาติที่พูด ภาษาเขมรซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่นี่ เกิดที่นี่ ตายที่นี่ มีศิลป วัฒนธรรมของตนเองเป็นอิสระที่นี่ มีอักษรศาสตร์ของตนเอง ซึ่งมีรากเหง้ามาจากอักษรเขมรเดิม แต่พัฒนาขึ้นที่นี่เป็น เอกเทศ. การศึกษาประวัติศาสตร์แต่เดิมมาของเรา มิได้ ศึกษาโดยสัมพันธ์กับลักษณะของสังคม. เมื่อเอ่ยถึงรัฐเขมร จึงมักนำเอาความคิดของรัฐเอกภาพอย่างปัจจุบันไปสวมให้ และเข้าใจว่าจะต้องเป็นอาณาจักรเดียว กว้างใหญ่ เป็นชาติ ใหญ่. นั่นเป็นเรื่องของความไม่เข้าใจพัฒนาการสังคม , เอา สภาพที่เห็นปัจจุบัน ไปสวมให้แก่รูปลักษณะของรัฐโบราณ. รัฐโบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็ดี ลุ่ม แม่น้ำยมก็ดี ลุ่มแม่น้ำกกก็ดี ลุ่มแม่น้ำมูลก็ดี เป็นรัฐแบบที่ เรียกว่ารัฐเจ้าครองนคร หรือนาครรัฐ อย่างที่ยังเป็นอยู่ในเขต สิบสองปันนาและรัฐชานเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้. ในเขตสิบสองปันนานั้น มีทั้งหมดสิบสองแคว้นเจ้า ฟ้าผู้ครองนคร แคว้นหนึ่งเป็นปันนาหนึ่ง . ปันนานั้นเป็นภาษา ไตลื้อ ตรงกับคำไทยว่าพันนา หมายถึงจำนวนที่นานับตาม จำนวนข้าวพันธุ์ที่ใช้หว่านหนึ่งพันตาง, และมีความหมาย เฉพาะถึงขอบเขตที่ดินที่มี "เจ้าหม่อม" ครอบครอง ตรงกับคำ ภาษาอังกฤษว่า Principality หรือฝรั่งเศสว่า Principaulite คือรัฐเจ้าฟ้า. รัฐเหล่านี้ต่างเป็นอิสระ เมื่อมีรัฐใดเข้มแข็งขึ้น ก็ รวบอำนาจการเมืองรวมศูนย์ปกครองเป็นเอกภาพเสียครั้ง หนึ่ง แต่ก็ไปได้ไม่จีรัง เอกภาพก็ทลายลงอีก แล้วก็แย่งยิ่งชิง ยุ่งกันไปตามแต่กำลังจะอำนวย. รัฐไทยแถบลุ่มแม่น้ำกกก็มีลักษณะทำนองเดียวกัน นี้. ใครที่อ่านประวัติศาสตร์ลุ่มแม่น้ำกกแล้วคิดว่ารัฐเงินยาง (หิรัญนคร) หรือรัฐโยนกชัยบุรี (เชียงแสน) เป็นรัฐใหญ่มหึมา ตลอดกาล นั่นฝันไปกลางวันแสกๆ.
รัฐเชียงใหม่ รัฐหริภุญไชย รัฐพะเยา รัฐศรีสัชนาลัย (เชลียง) เดิม รัฐไตรตรึงษ์ ก็ล้วนเป็นทำนองเดียวกันนี้ทั้งสิ้น. พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัยรวบอำนาจรวมศูนย์ได้ครั้งหนึ่งก็ เพียงชั่วคราว สิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้วก็แตกทลายออก เป็นรัฐเจ้าผู้ครองนครอีกต่อไป. ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ยิ่งสับสนมากกว่าทาง เหนือ เพราะเป็นเมืองใกล้ทะเล มีการค้าขายติดต่อกับต่าง ประเทศมากมายสับสน ชนิดที่เรียกได้ว่าเป็น cosmopolitan. รัฐที่บริเวณนี้มีหนาแน่น และซอยถี่ยิบ เป็นของชนหลายเชื้อ ชาติ ทั้งที่เป็นชาวพื้นเมืองและชาวต่างประเทศ, มีศิลป วัฒนธรรมหลายกระแส. บางระยะก็มีรัฐที่มั่งคั่งเข้มแข็งรวบ อำนาจสำเร็จขึ้นคราวหนึ่ง รักษาเอกภาพไว้ได้เร็วบ้างช้าบ้าง แล้วก็แตกกระจายออกอีกตามเดิม. สิ่งที่คงอยู่และพัฒนาไป ไม่ขาดสายคือศิลปกรรม ภาษา และวัฒนธรรม . ศิลปวัตถุ แบบทวารวดีที่เราพบเกลื่อนกลาดนั้น มิได้หมายความว่า อาณาจักรทวารวดีจะต้องใหญ่โตคลุมตั้งแต่สุราษฎร์ธานีขึ้น ไปถึ ง เพชรบู ร ณ์ , จากราชบุ ร ี ไ ปถึ ง ปราจี น บุ ร ี และจาก กาญจนบุรีไปถึงนครราชสีมาตลอดถึงกาฬสินธุ์ (ตามซาก โบราณวัตถุสมัยทวารวดีที่ได้พบ) ตลอดกาล . ในระยะสมัย ของศิลปะสกุลนี้อาจมีรัฐผลัดเปลี่ยนกันทรงอำนาจหลายรัฐ หรือทรงอำนาจคู่เคียงกันหลายรัฐ. ทวารวดีอาจเป็นรัฐเล็กๆ รัฐหนึ่งที่แผ่อำนาจรวมศูนย์ได้ชั่วคราวแล้วก็ทลายไป กลาย เป็นรัฐเล็กๆ ตามเดิมหรือเป็นเมืองขึ้นของรัฐอื่นที่พัฒนาขึ้น รวบอำนาจแทนที่ เป็นต้นว่ารัฐเขมรจานาศปุระ (อิสระต่าง หากจากนครธม) ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๑๑๐๐-๑๔๐๐. ลักษณะของรัฐเจ้าครองนครหรือนครรัฐเช่นกล่าวนี้ มาสิ้นสุดเมื่อพระเจ้ารามาธิบดีผู้สถาปนาอาณาจักรศักดินา รวมศูนย์ขึ้นเมื่อ พ.ศ . ๑๘๙๓ , ซึ่งได้พยายามทำลายรัฐเจ้า ครองนครลงตามลำดับในช่วงระยะ ๑๐๐ ปีแรกแห่งสมัย ศรีอยุธยา. ส่วนทางกัมพูชานั้น ต่างกับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ นั่นเป็นรัฐสังคมทาสที่รวมศูนย์เกือบจะตลอดเวลา ดินแดนชั้น ในของอาณาจักรนั้นจึงเป็นเอกภาพอยู่เสมอ. อำนาจทาง เศรษฐกิจและการเมืองที่เป็นเอกภาพของรัฐ เปิดโอกาสให้แก่ การมีฐานะเป็นรัฐมหาอำนาจ ก่อสร้างถาวรวัตถุตามคติ ความเชื่อถือของตนได้อย่างมหึมาและมากมาย (ปราสาทหิน ทั้งหมดมีที่พบแล้วกว่า ๖๐๐ แห่ง!)
ฉะนั ้ น ในการศึ ก ษาเรื ่ อ งของสั ง คมในบริ เ วณลุ ่ ม แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งระบบสังคมเป็นแบบเจ้าครองนครศักดินา (Feudal Principality), นานๆ จะมีการรวมศูนย์แท้จริงสัก ครั้ง, เราจึงจะนำไปเพ้อฝันให้เป็นรัฐสังคมที่เป็นเอกภาพใหญ่ เกรียงไกร แผ่อิทธิพลได้ถาวรอย่างรัฐสังคมทาสที่เป็นเอกภาพ ตลอดเวลา (มียกเว้นบ้างบางครั้ง) มิได้. ประวัติศาสตร์ พัฒนาไปตามสภาพเศรษฐกิจ และระบบการผลิตของสังคม ไม่ใช่เรื่องยี่เกที่เราจะฝันเอาอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ.
* บทความเรื่อง "ชนชาติ ภาษา และรัฐ " ของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ลงพิมพ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของต้นฉบับร่างงานค้นคว้าเกี่ยวกับ "ขอม" ที่ไม่เคยเผย แพร่มาก่อน ต้นฉบับร่างที่ยังไม่ได้นำมาลงพิมพ์ และรวมทั้งเรื่อง "ชนชาติ ภาษา และรัฐ " นี้ จะได้จัดพิมพ์เป็นภาคผนวกของ "ข้อเท็จจริง ว่าด้วยชนชาติขอม" ในชุดศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ
รั ฐ เจ้ า ครองนครขนาดใหญ่ ท ี ่ น ั บ ว่ า เป็ น หลั ก ใน บริเวณภาคกลางนี้ ดูเหมือนจะมีรัฐสุพรรณภูมิ (อู่ทอง), เพชรบุรี, ละโว้ (ลพบุรี), อโยธยา, ทวารวดี (แถบนครปฐม?), ศรีมหาโพธิ์ (ในปราจีนบุรี) และจันทบูร (ในจันทบุรี) นอกนั้น ยังมีเมืองเล็กเมืองน้อยที่มีอายุถึงรุ่นทวารวดี (พ.ศ. ๑๒๐๐) อีกมาก. รัฐเหล่านี้มีทั้งที่เป็นของชนชาติละว้า มอญ เขมร และไทย. และก็ผลัดเปลี่ยนกันมีอำนาจปกครองสูงสุดเป็นใน บางระยะ ยาวบ้าง สั้นบ้าง.
........................................................................................
ฉะนั้นเมื่อเรากล่าวถึงรัฐเขมรที่นี่ จึงต้องไม่เข้าใจว่า หมายถึงเขมรนครธมซึ่งแผ่อำนาจมาเป็นครั้งคราวเสมอไป. ทั้งก็ไม่จำเป็นต้องรังเกียจ พยายามพิสูจน์ว่ารัฐนั้นมิใช่ของ ชนชาติเขมร หากเป็นชนชาติขอมอะไรสักอย่าง. ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ท่านที่เสนอทฤษฎีชนชาติขอมและ รัฐขอมขึ้นโดยกล่าวว่ามิใช่เขมรนั้น คงจะมีความประสงค์ที่จะ ยืนยันออกมาว่า มีรัฐที่มิได้เป็นเมืองขึ้นของนครธมอยู่ที่นี่ แต่ เป็นรัฐที่พูดภาษาเดียวกับนครธมและใช้อักษรคล้ายอักษร เขมรนครธม, แล้วก็เลยเรียกชื่อว่าเป็นรัฐของชนชาติขอม. ความประสงค์ที่จะยืนยันดังกล่าวนี้, ถ้าเป็นจริงดัง ข้าพเจ้าคาดคะเน, ก็เป็นความคิดที่ข้าพเจ้ามีความเห็น สอดคล้องด้วยเต็มที่ แต่เรื่องจะปฏิเสธว่าขอมไม่ใช่เขมรนั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย. อนึ่งการที่จะสร้างความหมายของคำว่าขอมขึ้นใหม่ ให้หมายถึงชนชาติอื่นนั้น เป็นเรื่องยุ่ง ชวนงงเปล่าๆ เพราะ ไทยเราใช้คำว่าขอมเรียกเขมรทั้งนอกและในประเทศมาแต่ โบราณกาลเหลือเกินแล้ว และในความสำนึกของคนไทยก็ยัง คงเข้าใจว่าขอมคือเขมรโบราณอยู่แม้ในทุกวันนี้. ........................................................................................
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม ขอขอบพระคุณคุณวิชัย นภารัศมี ที่ได้ เอื้อเฟื้อจัดหาต้นฉบับอันมีค่าชิ้นนี้ อนึ่งในการนำมาตีพิมพ์ครั้งนี้ กอง บรรณาธิการศิลปวัฒนธรรมได้ให้ตัวเน้น และยกย่อหน้าใหม่เป็นบาง แห่งด้วย
สถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิดของผู้คนใน สังคมขณะนี้ ทั้งในสังคมเมืองก็ดีและสังคมชนบทก็ดี ได้แสดง ให้เห็นชัดเจนถึงความไม่รู้ไม่เข้าใจในเหตุและผล แสดงถึง ความไม่รู้หรือรู้มาผิดๆ เชื่อมาผิดๆ ของผู้คนทั้งหลายมากมาย ที่ในที่สุด โดยไม่รู้ตัว คนเหล่านี้ก็จะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ ที่ต้องการสร้างชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งนั้นขึ้นมา ซึ่งผู้ ต้องการสร้างความขัดแย้งนี้ แน่นอนว่ามุ่งหวังจะได้ประโยชน์ จากความขัดแย้งนั้น โดยไม่มุ่งหวังจรรโลงสิ่งดีงามใดๆ เพราะ ธรรมชาติของความแบ่งแยกนั้นเป็นแนวคิดของการทำลาย ล้างไม่ใช่สร้างสรรค์ ยกตัวอย่างเช่น ผู้คนบางส่วนในเชียงใหม่ ที่ลุกขึ้นมาตอบสนองการปลุกเร้าของขั้วการเมืองฝ่ายหนึ่ง ว่า.. พวกเรานี้เป็นชาวล้านนา เรามีประเทศของเราเอง มี ภาษาของเราเองมาก่อน วันหนึ่งสยามก็มารวบประเทศของ เราเอาไว้ในอำนาจ.. ผู้ที่พูดเช่นนี้นั้น ได้ขับเคลื่อนเลื่อนไหลไป ตามพลวัตรทางการเมืองของฝ่ายนั้น โดยหาได้รู้ข้อเท็จจริงว่า เชียงใหม่นั้นตกไปเป็นของพม่านับร้อยปี พม่ากวาดครัวผู้คน ไปจนเชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้าง จนรัชกาลที่หนึ่งโปรดให้ พระยากาวิละกลับขึ้นไปฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ รวบรวมผู้คนเพื่อ สร้างเมืองขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้มีแต่ชาวไทโยนเท่านั้นที่เป็นพลเมือง แต่มีชาวลั๊วะ ชาวม้ง ชาวหลอหลอ ชาวเผ่าต่างๆ ข้างเคียงเข้า มารวมอยู่ด้วย ข้อเท็จจริงก็คือ เหลือชาวไทโยนจริงๆ ในพื้นที่ อยู่ไม่มากเลย พม่าได้กวาดต้อนเอาไปใช้งานเสียเกือบหมด เมืองแต่โบราณแล้ว ก็เพราะได้รวบรวมเอาผู้คนหลากหลาย เผ่าพันธ์ุเข้ามาอยู่ด้วยกันนั่นเอง เชียงใหม่จึงกลับคืนสถานะ มาเป็นเมืองใหญ่ดังเดิมได้.. แม้แต่ผู้ที่พูดดังเช่นที่กล่าวไปนั้น ก็เป็นไปได้ว่า ท่าน อาจไม่ใช่คนไทโยนล้านนาก็ได้ ท่านอาจเป็นลูกหลานชาวม้ง ชาวลาหู่ หรือแม้แต่ทหารชาวสยามที่ขึ้นไปช่วยก่อร่างสร้าง เมืองในยุคนั้นก็เป็นได้ จนเวลาผ่านไปเป็นร้อยปี ในที่สุด ท่าน ก็หลอมรวมกลายเป็นประชาชนเชียงใหม่ไป เหมือนเช่นที่ใน ภาคกลางเองก็มีประชาชนชาวล้านนา ชาวมอญ ชาวเขมร
ชาวจีน ชาวลาว หรือแม้ชาวปาทาน หลอมรวมเป็นชาวไทย สยามร่วมกันมาแต่โบราณเช่นกัน จะมีประโยชน์อะไรในการ สร้างความแตกแยกร้าวฉานกันขึ้นมา ในเมื่อความเป็นจริงคือ พวกท่านเป็นประชาชาติเดียวกัน เป็นพี่น้องกันทั้งทางชาติรัฐ และชาติพันธ์ุไปนานนมเหลือเกินแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวคิดในความเป็นชาติรัฐนั้น ถือว่าเป็นแนวคิดของความแบ่งแยกอีกอย่างหนึ่งก็ตามที แต่ ทว่า สังคมโลกในปัจจุบันนั้น ได้มุ่งไปสู่การช่วงชิงความเป็น หนึ่งกันมานานแล้วทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง กลไกของ การหลอมรวมจิตใจผู้คนในชาติให้มีสำนึกรักในชาติ จึงยังเป็น สิ่งจำเป็นที่จะต้องผดุงไว้ ตราบใดที่เรายังไม่อาจทะลาย พรมแดนรัฐชาติไปสู่ภราดรภาพแบบสหพันธ์ุโลกได้ ทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อให้คลั่งชาติ ไม่ใช่เพื่อให้มีอำนาจเหนือชาติอื่น แต่ เพื่อให้มีความปรองดองสามัคคี เพื่อให้ชาติตั้งอยู่ได้อย่าง มั่นคงแข็งแรงเป็นปึกแผ่น และที่สำคัญคือเพื่อไม่ให้ชาติตกอยู่ ในสถานะเป็นรองชาติอื่นในสังคมโลก นี่จึงเป็นเครื่องมือเพียง ชนิดเดียวที่เราจะใช้ปกป้องตัวเราเองได้ หากชาติไม่แข็งแรง พอ เราก็จะถูกเอาเปรียบจากชาติอื่นๆ อีกมากมาย ที่มี แนวคิดในการแสวงหาความเป็นหนึ่งและมุ่งหวังครองอำนาจ ในสังคมโลก เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากชาติที่ด้อย กว่าอ่อนแอกว่า ดังนั้น จึงเป็นเรื่องแน่นอนว่า ยุทธศาสตร์ของ ชาติต่างๆ เหล่านั้น ก็ย่อมต้องมุ่งโจมตีสำนึกความเป็นชาติ ของประชาชาตินั้นๆ ให้อ่อนแอลง เพื่อจะได้ง่ายในการเข้า แทรกแซงแบ่งแยก เพื่อจะได้เข้าฉกชิงทรัพยากรและความ มั่งคั่งของชาติอื่นมาเป็นของชาติตน เราต้องไม่ลืมว่า นับแต่ โบราณมาแต่สุโขทัยจนอยุธยา ผู้คนหลายหลากชาติพันธ์ุที่ หลอมรวมกันอยู่บนดินแดนนี้ ได้ช่วยกันพิทักษ์รักษาดินแดน นี้ตกทอดมาถึงเราได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะสำนึกของความ เป็นชาติไทยอันนี้นั่นเอง สำนึกนี้แหละ ที่ทำให้ขุนรองปลัดชู ครูดาบแห่งวิเศษไชยชาญ อาสาพากองอาทมาตสี่ร้อยคนไป สละชีพเพื่อปกป้องพี่น้องไทยและมอญทางปักษ์ใต้ สำนึกนี้ แหละ ที่ทำให้พี่น้องบางระจันพลีชีพเพื่อสกัดทัพอันเกรียงไกร ของพม่า จำไว้เสมอว่า 10 เปอร์เซ็นต์ที่เราแตกแยกกันเองใน ชาติ ก็คือ 10 เปอร์เซ็นต์ความเข้มแข็งที่ได้เพิ่มขึ้นในชาติอื่น ถ้าเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ช้า เราก็จะล้าหลังในหมู่ประชาคม เอเชีย ผมเองยังไม่รู้สึกสิ้นหวังในตอนนี้ เราต่างก็ได้เห็นพลัง ของสำนึกในชาติที่แฝงตัวอยู่ สำแดงพลังออกมา เมื่อตอนที่ วิบัติภัยสึนามิโจมตีเราเมื่อครั้งที่ผ่านมานี่เอง ชาตินี้ยังมีพลังที่ ซ่อนเร้นอยู่. อย่างที่ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เขียนไว้ ในชาติรัฐนั้น ไม่มี ทางที่จะมีชาติพันธุ์ใดชาติพันธ์ุหนึ่ง ก่อกันเป็นชาติรัฐเผ่าพันธ์ุ
อันบริสุทธิ์เพียงเผ่าพันธ์ุเดียว มันเป็นเรื่องเลอะเทอะเพ้อเจ้อ ไม่มีอยู่จริง เมื่อห้าพันปีที่แล้ว ห้าร้อยปีที่แล้ว หรือปัจจุบันก็ ไม่ได้ต่างกัน ตัวผมเอง น้องชายผมคนหนึ่งได้ภรรยาเป็นคน ล้านนา เชียงใหม่ ถามว่า วันนึง จะมีใครมาแบ่งให้ไปอยู่ฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่งกระนั้นหรือ ? แล้วลูกเขาที่มีสองคนล่ะ จะให้ไป เป็นชาวไทโยนหรือไทสยามดี.. แล้วก็อาจเป็นไปได้อีกไหมว่า ที่จุดหนึ่งญาติฝ่ายภรรยาน้องผมที่ว่าเป็นคนล้านนาเนี่ย เมื่อ พันปีที่แล้ว ที่จริงอาจเป็นชาวไทลื้อที่เคลื่อนลงมาอยู่ร่วมกับ ไทโยนจนกลายเป็นไทโยนไปในเวลาต่อมาก็ได้ เอ ... งั้นก็คง ต้องให้กลับไปอยู่กับฝ่ายสิบสองพันนาสิถึงจะถูก ก็ต้องย้าย ไปยูนนานด้วย เอ .. หรือว่าจะให้ถูก ควรต้องให้ไทลื้อทั้งหมด รวมทั้งดินแดนยูนนานในประเทศจีน แยกออกมาจากจีนมา รวมตัวกับเผ่าไททั้งหมด อ้อ แล้วก็ไทดำในเวียตนามด้วยนะ เออ.. เอากันเข้าไป ! หันมาดูทางพี่สาวผมบ้าง ไปแต่งงานกับคนอิสลาม ตอนนี้ก็เลยเป็นอิสลามไปด้วย มีลูกชายสองคนก็เป็นอิสลาม ไปด้วย ส่วนสามีเขา เอาเข้าจริงๆ ก็เป็นคนไทยน่ะแหละ เชื้อ สายก็อยู่กันมาอย่างนี้หลายชั่วคนแล้ว เหมือนกับที่ทั้งอุษาค เนย์นี้เป็นมาก่อน คือเป็นพี่น้องเชื้อเครือเดียวกันนี่แหละ เคย ไหว้มดไหว้ผีกันมาก่อน แล้วมาวันหนึ่งเรือสำเภาก็มา ศาสนา อิสลามก็มา คริสต์ก็มา ฮินดูก็มา ขงจื้อก็มา ก็ไม่ได้มีปัญหา อะไร มาเลย คนในคาบสมุทรนี้ ไม่ได้ตั้งแง่รังเกียจเดียจฉันท์ อะไรอย่างในยุโรปอราเบีย มาเข้ามา อยู่ด้วยกันอย่างนี้เป็น ร้อยๆ ปี คนไหนจะชอบจะศรัทธาอะไรก็ว่ากันไป คือต่อให้พี่ ชายฉันไปบวชจนได้เป็นโป๊ป เขาก็ยังเป็นพี่ชายฉันวันยังค่ำ นั่นแหละ แต่แล้ว วันหนึ่งก็จะให้เลือกฝ่ายกันเสียแล้ว ทีนี้จะให้ทำอย่างไร โจรมุสลิมมันวางระเบิด (ใช่ มุสลิมจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้) จะให้พี่สาวผมร่วมรับผิดชอบด้วย หรือ หรือให้ไปเห็นดีเห็นงามตามอย่างพวกโจรพวกนั้นหรือ ต้องไปเชื่อตามพวกนั้นด้วยรึเปล่า หรืออีกฝ่ายจะมาบอกให้ ผมตัดญาติขาดมิตรกับทางพี่สาวไปเลยไม๊ ทำไมต้องมาเลือก ต้องมาแบ่งแยกด้วยล่ะ ทำไมต้องไปบ้าจี้ตามไอ้พวกที่อยู่ใน ตะวันออกกลาง ซึ่งไม่ใช่ญาติข้างพ่อข้างแม่ข้างตุ้มเลยสักข้าง เพียงเพื่อบางคนที่มันอยากเป็นสุลต่าน อยากมีท้องพระคลัง เป็นของตัวเองหรือ ? ถ้าทำอย่างนั้นแล้วมันจะดูแลพี่น้อง มุสลิมในสามจังหวัดได้ดีมากกว่าพวกนักปกครองชั่วๆ ทั้งใน พื้นที่และในรัฐสภาได้จริงหรือเปล่า กลัวแต่ว่ามันจะดูแลแต่ พวกพ้องมันนั่นแหละ แล้วจะมาให้เราเลือกฝ่ายด้วยเหตุผลใด ทั้งที่ความจริงในสายเลือดแล้วนั้น ชาวอุษาคเนย์ทั้งหมดล้วน เป็นพี่น้องกันหมดทั้งทวีป ศาสนาใดก็ตามแต่ที่เผยแพร่มาถึง ผู้คนในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็น พุทธ อิสลาม คริสต์ ล้วนเข้ามา ภายหลังสายใยอันเก่าแก่นี้ จะใช้มาเป็นข้ออ้างในการทำให้
ครอบครัวใหญ่นี้แตกกันไม่ได้โดยเด็ดขาด ศาสนาใดคิดเช่น นั้น ถือว่าชั่วร้ายแท้จริง เพราะยุแยงให้พี่น้องเข่นฆ่ากันเอง เราทุกคนรู้ดีว่า ไม่ว่าจะ พระอัลเลาะฮ์ุ พระยะโฮวา หรือ พระพุทธเจ้า ล้วนไม่เคยมีคำสอนเช่นนั้นทั้งสิ้น แต่หากท่าน เป็นคนเชื้อสายอื่น ที่อพยพมาจากครอบครัวอื่น จากดินแดน อื่น ไม่ว่าจะยุโรปหรือตะวันออกกลางก็ตาม ทั้งที่เข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภารแต่โบราณหรือเข้ามาค้าขายแต่ภายหลัง ก็ตาม หากท่านคิดเห็นแตกแยกไปจากนี้ หากท่านไม่พอใจ แผ่นดินนี้ด้วยเหตุนี้ ก็จงกลับไปยังดินแดนของท่าน ที่ซึ่งท่าน จะได้อยู่อาศัยอย่างมีความสุข อยู่กับพวกพ้องที่มีทัศนะคิด เห็นเหมือนเช่นเดียวกับท่าน นิยมธรรมเนียมปฏิบัติในแบบ เดียวกับท่าน ขอให้ไปเสียเถิด แต่หากท่านเป็นลูกหลานของ ดินแดนนี้ ก็จงกลมเกลียวกัน มีสำนึกในชาติร่วมกัน รวมพลัง กัน ขจัดคนชั่วที่มีเป็นเพียงส่วนน้อยแต่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย เหล่านี้ไปให้หมด ความสุขสงบก็จะกลับคืนมา. คนชั่วนั้นมีน้อยก็จริง แต่คนพวกนี่้รู้วิธีหลอกคนส่วน มากมาเป็นเครื่องมือให้มันทำชั่วได้สะดวกขึ้นอย่างแนบเนียน ไม่ว่าสังคมไหนๆ ชาวบ้านทุกคนต่างก็อยากมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข ทำมาหากินไม่ฝืดเคืองกันทั้งนั้น ซึ่งถ้าเป็นไปเช่น นั้นแล้ว ใครจะมาเรียกชื่อเราว่าอะไรก็ไม่มีความหมาย จะ แขก จีน ลาว ไทย หรือ ไอ้บ้า เราก็ยิ้มได้ ก็มีความสุขได้ ไม่ โกรธ ไม่จำเป็นต้องออกมาเรียกร้องในนามของอะไรทั้งสิ้น แต่ เวลาไม่มีความสุข พูดผิดหูเพียงนิดเดียวทั้งที่ไม่ได้ด่าทอ คน เราก็พร้อมที่จะห้ำหั่นตีรันกัน ความสุขมนุษย์แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ ระบบใดๆ ไม่ว่าศาสนาหรือการเมือง ไม่ว่าประชาธิปไตยหรือ คอมมิวนิสท์ หรือระบบอะไรก็ตามแต่ที่มนุษย์คิดขึ้น มันเป็น แค่เครื่องมือหนึ่งของกลไกทางสังคม มันไม่ใช่ระบบพยุงชีพ มันไม่เคยเป็นหลักประกันหรือเป็นปัจจัยแห่งความสุขในชีวิต ได้จริงๆ แต่ทว่า สันติ (ความสงบ) คุณธรรม (ความดี) และ ภราดรภาพ (ความปรองดอง) นั้นไม่ใช่ระบบ ไม่ต้องไปหา ปรัชญามารองรับให้ปวดหัว มันเป็นสิ่งที่คนเราต้องมี ต้องการ และต้องเป็น เป็นหนทางนำไปสู่ความสุขได้แน่นอน ไม่ว่าจะ เอ่ยจากปากในนามพระเจ้าองค์ใดก็ตาม เพราะฉนั้น ต้อง ทำให้เกิดสันติก่อน เราจึงจะสามารถร่วมแรงกัน ใช้คุณธรรม ไปกำจัดอธรรมได้ จากนั้นโลกก็จักมีภราดรภาพ. หวังใจว่าข้อเขียน "ชนชาติ ภาษาและรัฐ " ของ จิตร ภูมิศักดิ์ นี้จะทำให้ผู้คนได้คิดบ้าง ผมกราบอธิษฐานขอดวง วิญญาณท่าน จิตร ภูมิศักดิ์ จงมีสุขสงบอยู่บนสรวงสวรรค์นะ ครับท่าน. ด้วยจิตรคารวะ พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
รายชื่อผลงานเขียนของ จิตร ภูมิศักดิ์ (ไม่รวมงานแปล) โฉมหน้าศักดินาไทย (2517) กวีการเมือง (2517) บทวิพากษ์ว่าด้วยศิลปวัฒนธรรม (2517) นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา (2518) ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ (2519) ภาษาและนิรุกติศาสตร์ (2522) ชีวิตและศิลป (2523) โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา (2524) ความใฝ่ฝันแสนงาม (2524) ตำนานแห่งนครวัด (2525) ความอบอุ่นอันอ่อนหวาน (2525) สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา (2526) ภาษาละหุหรือมูเซอร์ (2526) ........................................................................................ ผลงานและมรดกความคิดอันมีค่าของปราชญ์ท่านนี้มีกองทุน มูลนิธิหนึ่งดูแลอยู่ครับ ท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้ด้วย การร่วมบริจาคได้ที่ กองทุน จิตร ภูมิศักดิ์ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ท่าพระจันทร์ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ นางดาวเรือง แนวทอง นายธนาพล อิ๋วสกุล เลขที่บัญชี 155-2-03676-4
ซุนดา อีเดนในอุษาทวีป
เสียใจที่บรรพชนของพวกเขาทำเช่นนั้นในสมัยโบราณ แม้มี ส่วนน้อยบางคนที่ยังไม่สำนึกและก็ยังชื่นชมความคิดบัดซบ เช่นนั้นอยู่บ้างก็ตาม ก็ช่างหัวมัน แต่โดยรวมแล้วในหลายแห่ง ทั่วโลกเช่น ในอเมริกา ในออสเตรเลีย.. มีการขอโทษอย่างเป็น ทางการต่อชนพื้นเมืองในอาชญากรรมที่บรรพชนของเขาได้ ก่อไว้ในอดีต ผมเองก็มีเพื่อนฝรั่งที่แสนน่ารักมากมาย แถม พวกนั้นก็คิดแล้วก็พูดแบบนี้แหละ เหมือนกับผมเป๊ะเลย โดย เฉพาะพวกอเมริกันที่เป็นนักคิดนักเขียนในวันนี้ ต่างก็ไม่ได้ ผูกพันกับโลกเก่าเหล่านั้นแล้วอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นไม่ว่าพระ ราชินีองค์ใดหรือสำนักบัณฑิตสภาไหน ก็ไม่ได้มีอิทธิพลกับ องค์ความรู้และทัศนะคติของพวกเขาอีกต่อไป นอกจาก รางวัลโนเบล หรือการได้ขึ้นปกไทม์แม๊กกาซีนไง (หุ หุ..)
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
นับแต่โบราณกาล ในประวัติศาสตร์อันแสน ยาวนานของมนุษย์ชาติ มีการต่อสู้รุกรานและรบรบฆ่าฟันกัน หลายต่อหลายครั้ง ปรากฏอยู่ในทุกดินแดนทุกอารยธรรม แต่ โดยมากแล้ว แทบไม่เคยมีครั้งไหนเลยที่เราจะเห็นว่าผู้รุกราน นั้นมีเหตุผลอันชอบธรรมใดให้เข้าโจมตีรุกรานผู้อื่น นอกจาก ความโลภและความหิวกระหายในอำนาจ ในประวัติศาสตร์ เหล่านั้น ไม่มีอาชญากรรมใดที่จะชั่วร้ายมากไปกว่าการล่า อาณานิคมของชาวยุโรปอีกแล้ว มันเกิดขึ้นเพียงเพื่อกอบโกย แสวงหาความมั่งคั่งจากทรัพยากรในดินแดนของชนชาติอื่น อย่างแท้จริง และด้วยกุศโลบายอันแยบยลของนักปกครอง จอมโกง พวกเขาใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือบังหน้า พวกเขารู้ดีว่า หากเปลี่ยนแปลงความเชื่อของชนเผ่าทั้งหลายนี้ได้ ก็จะทำให้ ปกครองได้ง่ายขึ้น นโยบายของพวกเขาคือไปเพื่อพิชิตและ ครอบครองเท่านั้น ดังนั้นกองเรือทั้งหลายจึงเคลื่อนไปทุกแห่ง หนพร้อมกับทหารติดอาวุธ โดยไม่มีนักการทูตติดตามมาเพื่อ เชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับดินแดนใดๆ หากจะเจรจา ขุนทหารจะ เป็นผู้เจรจา ทูตจะมาก็ต่อเมื่อพบว่ายากที่จะพิชิต พวกเขามี แต่ทาสเอาไว้ใช้ทำงานและก่อสร้างเมือง มีบาดหลวงเพื่อสอน ศาสนา ขณะที่อ้างว่าเพื่อชี้ทางสว่างสู่พระเจ้า อีกมือก็ฉกเอา ทองคำและสินทรัพย์ในแดนดินทั้งหลายที่ได้ขูดรีดเอามาจาก “คนนอกศาสนา” โกยใส่เรือสำเภาส่งกลับไปเพิ่มความร่ำรวย ให้ท้องพระคลังของราชาราชินีของตนยังโพ้นทะเล (ทั้งที่ ประชาชนชาวยุโรปเองนั้นก็อดอยากยากแค้นเช่นกัน) มันเกิด ขึ้นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในทุกคาบสมุทร พวกเขาไม่ได้ทำ ภารกิจให้กับพระเจ้าในการปลดปล่อยคนบาปหรอก ในทาง กลับกัน พวกเขาต่างหาก ที่สร้างบาปให้แปดเปื้อนพระเจ้า ของพวกเขา โดยที่ท่านเองก็ไม่ได้รู้เห็นด้วย ผมเดาได้เลยว่า กัปตันคุ๊ก คงจะนึกถึงพระเจ้าเอาก็นาทีสุดท้ายที่หอกของชาว โพลีนีเชียนแทงเข้าไปในอกของเขาน่ะแหละ ก่อนหน้านั้นเขา อาจจะไม่ได้นึกถึงพระองค์มาก่อนเลยด้วยซ้ำ นอกจากนึกถึง การได้รับการแต่งตั้งเป็นท่านเซอร์ และในสมองคงมีแต่คำว่า ทองคำ เงิน .. หินมีค่า .. เครื่องเทศ .. เครื่องหอม .. แพร ไหม..ฯลฯ ภายใต้ทัศนะคติที่มีมาตลอดเป็นพันปีว่า มนุษย์ที่ ไม่ได้ผิวสีขาวเหมือนพวกตนนั้น เป็นสัตว์ชั้นต่ำ. ☯
ในทุกหนแห่งที่นักล่าอาณานิคมไปถึง การทำลาย ศิลปะวัฒนธรรมก็เกิดขึ้นที่นั่น ชาวยุโรปตั้งคุณค่าธรรมเนียม แบบตนเท่านั้นที่เป็นสิ่งถูกต้อง, ศาสนา เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่ อาศัย การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลป ประเพณีต่างๆ ต้อง แบบตะวันตกเท่านั้นที่อารยะ นอกนั้นถือว่าป่าเถื่อนล้าหลัง ต้องเลิก และใช้อำนาจสั่งห้าม ถือเป็นบาป ถือว่าชั่วร้าย ชน พื้นเมืองแอ๊ฟริกาถูกห้ามไม่ให้ตีกลอง ถูกบังคับให้นับถือ คริสต์ แต่ก็ไม่ให้เข้าโบสถ์ร่วมกับคนขาว พระเจ้าคงจะเข้าข้าง และเห็นใจพวกเขา ภายใต้การกดขี่นี้ คนดำก็ให้กำเนิดดนตรี ที่วันนี้กลายเป็นรากของดนตรีตะวันตกสมัยใหม่ทั้งหลาย นั่น คือ ดนตรีบลูส์. ความกดขี่นี้แผ่ขยายไปกว้างขวาง หนักที่สุดคือใน อเมริกา ชาวพื้นเมืองอเมรินเดียน แทบถูกล้างเผ่าพันธ์ุหมด สิ้นต้องร่อนเร่พเนจรจากเมืองที่ตนสร้างออกไปอยู่ตามหุบเขา รกร้าง และทะเลทรายอันกันดาร ภายหลังก็ยังถูกบีบให้ย้าย ถิ่นอีกครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งที่พวกเขาคือเจ้าของดินแดนทวีปนี้ มาก่อน, ชนเผ่าแอ๊ฟริกาผ่านการกดขี่และต่อสู้ยาวนาน แม้จน บัดนี้ก็ยังไม่ได้ลืมตาอ้าปากอย่างแท้จริง คนขาวเข้ายึดครอง บริเวณที่สมบูรณ์ที่สุดและมีอยู่ไม่มากนักในแอ๊ฟริกา พวกเขา บุกรุกเข้าขุดค้นโบราณสถานต่างๆ ทั้งในแอ๊ฟริกาและที่อื่นๆ ทั่วโลก ประโยชน์เพียงเสี้ยวเดียวคือการศึกษา ที่เหลือนอกนั้น คือการโกงเอาโบราณวัตถุมีค่าไปประดับพิพิธภัณฑ์ของตน และเลวกว่านั้นก็คือไปตกแต่งบ้านของเศรษฐีที่มีอำนาจ คุณ เคยเห็ น บ้ า งไหมว่ า ในพิ พ ิ ธ ภั ณ ฑ์ ข องชาวเอเชี ย หรื อ ชาว อาหรับ จะมีประตูจากพระราชวังพระเจ้าหลุยส์ รูปปั้นโรมัน เสาวิหารกรีก หรือมงกุฏพระนางมารีอังตัวเน็ต หรืออะไร เทือกๆ นั้น มาตั้งโชว์ .. ไม่มีหรอกครับ กลับกันเลย ขนาดเสา โบราณ ใหญ่เบ้งอย่างเสาโอบิลิสค์ของอียิปต์นี่ มันยังข้ามน้ำ
เปล่านะ ที่พูดอย่างนี้นี่ ไม่ได้ฟื้นฝอยหาตะเข็บ หรือ ไม่ใช่เพราะผมมีอคติกับคนยุโรปหรือฝรั่งทั้งหลายหรอก ใช่.. เรื่องมันก็ผ่านมานานนมแล้วล่ะ และเท่าที่เห็น พวกเขาก็ดูจะ e-1
เผยความเป็นพี่น้องเชื่อมโยงกันของมนุษย์ ผู้คนก็เริ่มจะตั้ง คำถามให้กับตัวเองว่า จริงๆ แล้วเราเป็นใคร พวกเขาหันหน้า เข้าหากัน โดยที่ก่อนหน้านั้น สังคมเมืองทำให้พวกเขาห่างกัน ยิ่งหลังเหตุการร้าย 11 กันยา ที่นิวยอร์ค จากที่ต่างคนต่างอยู่ พวกเขาก็หันมาสนใจกันและกันมากขึ้น แน่นอนละว่าความ หวาดระแวงได้เพิ่มขึ้นมาด้วย เราไม่รู้แน่ว่าอะไรคือสาเหตุ แท้จริงที่พวกเขาเริ่มหยิบยื่นมิตรภาพให้กัน อาจไม่ใช่เพราะมี มนุษยสัมพันธ์ที่ดีก็ได้ เป็นไปได้ว่าอาจเป็นเพราะพวกเขากลัว ว่า วันหนึ่งเพื่อนบ้านเขาอาจเป็นผู้ก่อการร้าย แล้ววันนึงก็ดัน เลือกพวกเขาเป็นเหยื่อ ก็เลยผูกมิตรไว้ก่อน จะได้ไม่เสี่ยงตก เป็นเหยื่อมั๊ง ? เราไม่รู้หรอก แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุนี้พวก เขาก็ขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น พวกเขาเริ่มอยากจะรู้ว่าคนที่อยู่ ข้างบ้านเขาเป็นใคร มาจากเมืองไหน และเมืองนั้นอยู่ที่ไหน ในโลก ทั้งที่ก่อนหน้านั้นแรมปีไม่เคยคิดจะคุยกันเลยสักคำ ตอนนี้พวกเขาอาจเดินเข้าหาเพื่อนบ้านชาวญวน เข้าครัวไป หัดทำก๋วยเตี๋ยวกับพวกนั้น และเริ่มจะให้ค่ากับความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ด้วยกันมากขึ้นกว่าที่เคยเป็น.
ข้ามทะเลไปตั้งอยู่ในอังกฤษได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจถึงสี่เสา นับประสาอะไรกับทับหลังนารายณ์ หรือศิราภรณ์ทองคำสมัย อยุธยาของเรา มีนักวิชาการทุเรศคนหนึ่งที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ใน เยอรมัน ไม่ยอมคืนโบราณวัตถุให้อียิปต์ (ถูกโขมยไป) มันให้ สัมภาษว่าให้เราช่วยเก็บรักษาไว้ให้ดีกว่า คนอียิปต์ไม่มี ปัญญาดูแลหรอก ดูมันตอบสิ เชื่อไม๊ล่ะ ผมนี่เป็นแฟนตัวยง ดร.ซาฮี ฮาวาส พอฟังแล้ว ควันมันออกหูแทนแกเลย.
อินเดีย คืออีกดินแดนโบราณ ที่ให้กำเนิดอารยธรรม ที่เป็นรากของชาวตะวันตกหลายอย่าง กระนั้นก็ยังเคยผ่าน ยุคแห่งการกดขี่ของชาวยุโรปมาก่อน แม้แต่ถนนที่ตนเป็นผู้ สร้างขึ้น ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ร่วมเดินเคียงกับชาวยุโรปที่มา ปกครองได้ ร้ายกว่าก็คือที่ไกลออกไปยังหมู่เกาะต่างๆ ใน มหาสมุทร ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติค มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิค ในจำนวนชนเผ่าเหล่านั้น มีบางเผ่าถูกฆ่า ล้างจนสิ้นสูญไปจากโลกแล้ว ที่ทุเรศคือ เรื่องราวเหล่านี้ถูก ซ่อนเร้นจากบันทึกประวัติศาสตร์ ไปในเวลาเดียวกันกับที่นัก ล่าอาณานิคมเหล่านี้ จะพยายามเขียนประวัติศาสตร์ในแต่ละ ท้องถิ่นขึ้นใหม่ ตามทัศนะที่ตัวเองต้องการให้เป็น แน่นอนว่า เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเจ้าอาณานิคมนั่นเอง.
หลายคนเริ่มมองย้อนกลับไปดูรากเง่าของตัวเอง ว่า มาจากไหน บางคนหาไม่เจอ ก็เลยหันไปเสพย์รับวัฒนธรรม อื่น บางคนไปเรียนกังฟูเส้าหลิน บางคนมาเรียนมวยไทย เรียนชงน้ำชา จัดดอกไม้ เรียนโยคะ เรียนฝังเข็ม เรียนหมอดู ฮวงจุ้ย เรียนทำสมาธิ หรือแม้แต่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ มองแง่หนึ่ง พอเกิดปรากฏการณ์นี้ วัฒนธรรมก็เลยกลายเป็น สินค้าขายได้ขึ้นมาในตอนนี้ ประเทศจีนเป็นตัวอย่าง เขาส่ง ออกวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเป็นสินค้าอย่างเห็นได้ชัด แต่ ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็นับว่ายังดีนะ เพราะวัฒนธรรมต่างๆ ก็อาจ จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ โดยไม่ถูกกลืนไปในเบ้าหลอมอย่างที่ กังวลกันอยู่ ผมก็หวังว่ามันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป.
วัฒนธรรมหลายอย่างนั้นสิ้นสูญไปแล้วอย่างไม่มีวัน หวนกลับ ภาษาได้ตายไปหลายภาษา แต่โชคดีที่คุณสมบัติ อันสำคัญของมนุษย์อย่างหนึ่งก็คือ หัวใจที่ไม่ยอมแพ้ต่อการ กดขี่ที่ไม่ชอบธรรม มีความรักและหยิ่งทะนงในตัวตน ถึงห้าม ฉันก็จะแอบทำว่างั้นเถอะ พวกเขาก็เลยเก็บรักษาและสืบทอด วัฒนธรรมหลายอย่างเอาไว้ได้ เมื่อโลกผ่านมาสู่ยุคปัจจุบันนี้ ดูเหมือนเรากำลังได้เห็นความตื่นตัวบางอย่างกำลังเกิดขึ้นใน ทุกมุมโลก วันนี้ ชนเผ่าทั้งหลายต่างก็เริ่มฟื้นฟูวัฒนธรรมของ ตนขึ้น ในท่ามกลางกระแสความวิตกกังวลต่ออิทธิพลของยุค สมัยใหม่และความเชื่อมโยงกันทั้งโลก ซึ่งก็เปรียบเหมือนสิ่ง คุกคามอันใหม่ เป็นเหมือนเบ้าหลอมซึ่งจะดูดกลืนวัฒนธรรม ให้สูญหายไปได้ ด้วยความกังวลนี้ มนุษย์ก็เลยตื่นตัวขึ้น ลุก ขึ้นมาหาวิธีปกป้องกัน ยิ่งภายหลังมีความรู้ใหม่เรื่องดีเอ็นเอที่
ผมมีเพื่อนฝรั่งที่ตั้งวงเล่นดนตรีพื้นเมืองไอริชด้วย ความรักและหลงไหลยิ่ง เขาบอกว่าเมื่อก่อนมีแต่คนล้อว่าเชย เพื่อนรุ่นเดียวกันที่เล่นดนตรีร๊อคก็แซว ตอนนี้กลับพลิกผันไป งานวิ่งเข้ามาตลอดทั้งปี วงของพวกเขาแทบจะกลายเป็น สัญลักษณ์ของเมืองไปแล้ว แถมมีคนมาเรียนดนตรีไอริชกับ เขาชนิดต้องจองคิว หมวกยุคกลางที่มีขนนกเสียบแบบที่เขา ชอบใส่ ตอนนี้เป็นของเท่ห์ยิ่งกว่ารองเท้าไนกี้อีก. ในระยะหลังๆ มานี่ ผมก็จะได้ยินอะไรแบบนี้ตลอด ที่ขำคือ การสักตัวแบบเอเชียน-โพลีนีเชียน อย่างเช่น แบบเผ่า เมาริ พวกยุโรปนั้นเคยสั่งห้ามหนักหนาว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย เป็น ของปีศาจ ขอบอกว่า ตอนนี้ฝรั่งมันฮิตมาสักกันตรึมไปเลย. e-2
* แผนที่จากเว็บไซ๊ท์ National Geographic
ที่พูดมานี่ไม่ได้จะมากล่าวโทษอะไรใคร เพียงแต่ เกริ่นให้ฟังว่า โลกก่อนหน้านี้ เอาแค่ว่าราวๆ 500 กว่าปีก่อน หน้านั้น มันมีแบ๊คกราวด์มาแบบนี้ ซึ่งถือเป็นต้นเหตุใหญ่ข้อที่ หนึ่งที่ทำให้วัฒนธรรมหลายอย่างสูญหายตายไป ข้อสองคือ ด้วยโลกถูกชี้นำด้วยอิทธิพลอาณานิคมเช่นนี้มาก่อน วิชา ความรู้อะไรต่างๆ ที่เคยเรียนรู้มา ก็จะตกอยู่ใต้อิทธิพลชี้นำนี้ มากมายหลายเรื่องไปหมด ถึงตอนนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนกันใหม่ ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะความรู้ที่พวกเรามี เกี่ยวกับทวีปเอเชีย ของเรา โดยปราศจากอิทธิพลชี้นำดังกล่าวเหมือนเช่นในอดีต ความรู้ก่อนนั้น ปลูกฝังกันมายาวนานว่าอารยธรรมนั้นเกิดขึ้น ในซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป ส่วนคนที่อยู่ทางซีกโลกใต้ นั้น รับเอาความรู้จากอารยธรรมของคนทางเหนือมา ก็คือ อารยธรรมตะวันตกทั้งหลายที่สืบทอดมาจากตะวันออกกลาง และอียิปต์ นั่นแหละ ด้วยเหตุนี้ วิทยาการต่างๆ ในโลก จึงถูก เปรียบเทียบโดยใช้อารยธรรมเหล่านี้เป็นมาตรฐานวัดเสมอ.
แต่นักวิชาการในยุคหลังมานี้ ไม่คิดอย่างนั้นกันแล้ว หลักฐานและข้อมูลหลายอย่างจากการค้นคว้าภายใต้แนวคิด ที่เปิดกว้างขึ้น ทำให้ทุกคนเริ่มมองกันว่า ต้นกำเนิดของอารย ธรรมแรกๆ นั้นน่าจะเกิดขึ้นในเอเชียหรืออุษาทวีปนี่ เมื่อราว หมื่นกว่าปีมาแล้ว อาจมีจุดกำเนิดอยู่ตามแนวชายฝั่งแปซิฟิค ริม และแผ่ขยายไปในลุ่มแม่น้ำใหญ่ของอุษาคเนย์. ภาพแผนที่ข้างบนนี้ แสดงให้เห็นสภาพภูมิศาสตร์ ในยุคโบราณ (ดูภาพที่2) นั่นคือสภาพตอนที่บรรพชนกลุ่ม แรกมาถึงทวีปนี้ เราจะเห็นว่า แผ่นดินนั้นยังเชื่อมติดกันเป็น ผืนเดียว จากนั้นราวสามหมื่นปี B.C. (4) เป็นช่วงที่ยุคน้ำแข็ง กลับมาอีกครั้ง ระดับน้ำลดลงอย่างมาก แผ่นดินที่เรียกกันว่า ซุนดา นั้นขยายไปกว้างสุด นับแต่นั้นถึงราวหมื่นปี (6) จะเกิด ยุคน้ำแข็งสั้นๆ สลับกับน้ำแข็งที่ละลายเมื่อสิ้นสุดแต่ละช่วง ถึงสามครั้งด้วยกัน ระดับน้ำทะเลก็สูงขึ้น จนในที่สุดแผ่นดิน ซุนดา ก็ถูกน้ำทะเลท่วมจนจมอยู่ใต้ทะเลอย่างเช่นทุกวันนี้. e-3
e-4
หุบเขา บางพวกถูกพัดพาไปตามกระแสน้ำและกระแสลม สู่ เกาะแก่งต่างๆ และไกลออกไป บ้างย้อนสู่แผ่นดินที่บรรพบุรุษ พวกเขาเคยเดินผ่านมาก่อน เราไม่มีทางรู้ได้ว่าพวกเขาเจริญ แค่ไหน ก่อนที่จะหนีน้ำท่วมหัวซุกหัวซุน หากจะมีหลักฐานใด ก็คงจะจมอยู่ใต้ทะเลหมดแล้ว คงเหลือไว้เพียงหลักฐานขาด วิ่นที่ไม่อาจหาต้นกำเนิดที่แท้จริง (โฮบิเนียน/ดองซอน?) แต่ อย่างหนึ่งที่รู้แน่ๆ คือ พวกเราชาวอุษาคเนย์ทั้งหลายนี่แหละ เป็นลูกหลานสายตรงของผู้รอดชีวิตเหล่านั้นนั่นเอง.
แผนที่อันใหญ่ที่ผ่านไปนั่น เป็นแผนที่แสดงแผ่นดิน ซุนดาที่ละเอียดขึ้น ลองนึกดูเล่นๆ สนุกๆ สมมุติว่านี่เป็นเกม วางแผนชื่อดังอย่างเกมชุด Civilization ของ ซิด ไมเออร์, เมื่อ ดูจากภูมิประเทศที่เห็น คุณจะสร้างอารยธรรมของคุณที่ไหน สมมุติว่าคุณมีประชากรอยู่ราวหมื่นกว่าคน แผ่นดินออกใหญ่ โตปานนั้น มีที่ว่างอยู่เหลือเฟือให้จับจอง อย่าลืมว่าคุณเพิ่งมา ถึงดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก สัตว์ร้ายที่จ้องจะจับคุณ กินก็ไม่ได้มีมากมายเหมือนในแอ๊ฟริกา ตรงกันข้าม สัตว์ที่คุณ จะจับมากินได้ มีมากมายเสียจนแทบไม่ต้องออกแรง ปลาอีก มากมายในน้ำ ผลไม้ป่าที่แสนอร่อยนับไม่ถ้วนงอกงามไปทั่ว ป่าฝน ถามว่าคุณจะอยู่บนภูเขาสูงรึ ? ไม่อย่างแน่นอน คุณคง ทำเหมือนกับที่มนุษย์ในสมัยโบราณทำ คือเลือกพื้นที่ลุ่มปาก แม่น้ำใกล้ชายฝั่งทะเล ทิวทัศน์สวยงามแถวบริเวณป่าชาย เลนที่แสนอุดมสมบูรณ์ สร้างชุมชนไล่เรียงกันเข้าไปในที่ราบ ลุ่มแผ่นดินใหญ่ นั่นดูจะเป็นชีวิตที่สุขสบายกว่าที่จะไปใช้ชีวิต ผจญภัยในป่าเขาที่เต็มไปด้วยโรคภัย และสัตว์ร้ายเป็นไหนๆ ถึงตอนนี้ชีวิตก็ไม่ต้องใช้ความพยายามเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อ ไป พวกเขามีเวลานอนเล่น หรือหาอะไรสนุกๆ ทำมากมาย พวกเขาเริ่มสังเกตุธรรมชาติอย่างลึกซึ้งขึ้น จากที่เพียงแค่ สนใจแต่สิ่งที่จะทำให้มีชีวิตรอด ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาคงมี ประสบการณ์อันแสนระทึกอยู่ทั้งชีวิต ลองกินนู่นกินนี่ไม่หยุด หย่อน อ้าวไอ้นี่กินเข้าไปแล้วชักกะแด่วๆ เว้ย กินไม่ได้ มีพิษ ว่ะ ไอ้ลูกนี่เอามาทุบแล้วมีน้ำข้างในหวานดีว่ะ หรือใบไม้นี่เอา มาโปะเวลาถูกงูกัดก็จะรอดตายได้ พวกเขาสังเกตุดูพฤติกรรม ของสัตว์ ทำให้ได้รู้จักกับอาหารและยาหลายอย่าง สังเกตุดูว่า พืชมันโตยังไง ออกดอกออกผลตอนไหน เอามากินเอามาทำ อะไรได้บ้าง ลองทุบลองบดลองบีบลองหมัก พวกเขาก็เริ่มเห็น วัฒจักรอันเปลี่ยนไปอย่างมีจังหวะของธรรมชาติและฤดูกาล ท้องฟ้าและดวงดาว ในที่สุดการกสิกรรมยุคแรกก็เริ่มขึ้น ที่จุด นี้ อารยธรรมยุคแรกของโลกก็ได้ถือกำเนิดขึ้น นักวิชาการคาด ว่าการกสิกรรมอย่างเช่นการปลูกข้าว และการทำโลหะสัมริด น่าจะมีจุดเริ่มขึ้นในช่วงเวลานี้.
อาจารย์ ดร . สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นหนึ่งใน นักวิชาการสมัยใหม่ ที่มองเอเชียด้วยมุมมองที่ต่างไปจากนัก วิชาการกระแสเก่า ท่านมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับนัก วิชาการหัวก้าวหน้าอย่าง Buckminster Fuller และ Thor Heyerdahl. ฟุลเลอร์ นั้นเสนอความคิดของเขาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 ว่า เอเชียอาคเนย์หรือที่เรียกว่าอุษาคเนย์นั้น เป็นแหล่ง อารยธรรมสำคัญของโลก, ทอร์ นั้นทุ่มความสนใจกับการเดิน ทางพิชิตมหาสมุทรของมนุษย์ครั้งใหญ่ในสมัยโบราณ ออกสู่ ทะเลแปซิฟิค ไปยังเกาะแก่งต่างๆ ทั้งใกล้และไกล ซึ่งน่าจะ เกิดขึ้นไม่น้อยกว่าหกพันปีมาแล้ว มนุษย์โบราณนั้นไม่ได้ป่า เถื่อนโง่เขลา พวกเขาท่องไปในทะเลอย่างเชี่ยวชาญ ท้อง ทะเลนั้นไม่ใช่อุปสรรค ป่าที่มีสัตว์และโรคร้าย ภูเขาและทะเล ทรายต่างหากที่เป็นอุปสรรค.
แต่แล้ว ใครเลยจะคาดเดาธรรมชาติอันแสนยิ่งใหญ่ มนุษย์โบราณที่มีเพียงเทคโนโลยีขั้นเริ่มต้น ที่ไหนจะไปรับมือ กับภัยพิบัติอันใหญ่หลวงจากธรรมชาติได้ เมื่อน้ำแข็งละลาย ระดับน้ำก็เริ่มสูงขึ้น ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรืออย่างฉับพลันทันที มหาสมุทรก็ได้เข้าท่วมท้นแผ่นดินอัน แสนอุดมสมบูรณ์นี้ในที่สุด ก็ลองคิดดูสิว่าหากคุณเกิดในยุค นั้น คุณจะทำเช่นไร นี่เองที่ทำให้พวกเขาอพยพย้อนเข้าสู่ใน แผ่นดินใหญ่อีกครั้ง บ้างเดินทางด้วยแพเลาะล่องขึ้นเหนือร่น ไปตามลุ่มแม่น้ำ ลึกเข้าไปในแผ่นดินที่สูงขึ้นๆ บางพวกก็ขึ้นสู่
แพแบบที่ชาวโพลีนีเชียนโบราณใช้ท่อง ทะเล ตามแนวคิดของ Thor Heyerdahl e-5
แผนที่เราก็คงจะเห็นพ้องตรงกันว่า บริเวณที่น่าอยู่อาศัยที่สุด ก็คงจะเป็นส่วนที่ผมเขียนไว้ว่า อ่าวซุนดากับอ่าวไห่หนานนั่น แหละ ตอนนั้นภูมิอากาศน่าจะกำลังสบายดี ต้องเข้าใจว่าทาง เหนือนั้นยังหนาวอยู่มาก ทีนี้พอน้ำท่วมมาเนี่ย จะเดินเท้าหนี ก็คงไม่มั่นใจเท่าไร ชีวิตคนพวกนี้คุ้นกับการใช้เรือใช้แพอยู่ แล้ว ดังนั้น วิธีที่ปลอดภัยสุดก็คือล่องแพท่องแม่น้ำขึ้นมา น่า จะเป็นการดีกว่า ไม่ต้องกลัวโดนเสือขบด้วย. ในแผนที่นี้ ผมวงกลมสีแดงเล็กๆ ไว้ เขียนว่า Yonaguni Monument นั่นเป็นบริเวณเกาะโยนากูนิ เป็นเกาะเล็กๆ ทางใต้ของญี่ปุ่น ใกล้กับไต้หวัน เป็นบริเวณที่พบสิ่งก่อสร้าง อยู่ใต้ทะเลเมื่อไม่นานมานี้ ก็เป็นที่ฮือฮากันน่าดู ตามข้อมูลที่ อ่านมา ก็คาดว่าอายุราวหมื่นปี เรายังไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยว กับมัน แต่เห็นชัดๆ เลยว่า น่าจะเป็นฐานรากของสิ่งก่อสร้างที่ มนุษย์สร้างขึ้น ก็มีรูปมาให้ดูกันนิดหนึ่ง พอหอมปากหอมคอ.
ดร.สุเมธ นำเสนอแนวคิดที่ต่างไปจากนักวิชาการ ไทยก่อนหน้านี้ และให้ข้อสังเกตุคุณสมบัติเด่นที่เกี่ยวกับน้ำ และชีวิตที่เกี่ยวพันแนบแน่นกับน้ำของชาวไทย รวมทั้งชาติ พันธ์ุเครือญาติใกล้ชิด ทั้งยังชี้ให้เห็นข้อบ่งชี้หลายประการที่มี ร่วมกันของผู้คนในเอเชียและหมู่เกาะในแปซิฟิค โดยไม่ได้ แบ่งแยกชาติเชื้อของผู้คนในแถบนี้ออกจากกัน บทความชื่อ กำเนิดมาแต่น้ำ (หนังสือ“ลักษณะไทย” เล่ม1) แนะนำแนวคิด ดังกล่าวทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ โบราณคดี เทววิทยา คติชน มนุษยวิทยา ภาษาศาสตร์ สถาปัตยกรรม .. โดยชี้ให้พุ่งความ สนใจไปที่ปัจจัยสามสิ่งที่เด่นเป็นพิเศษ คือ 1. ข้าว ซึ่งไม่เพียง แต่ผู้คนในแถบนี้จะกินข้าวกันเป็นอาหารหลักเท่านั้น ยังสอน การปลูกข้าวให้กับชาวโลกด้วย 2. บ้านเสาไม้ใต้ถุนสูง พบได้ ตั้งแต่เชิงหิมาลัยไปสุดขอบฝั่งทะเลญี่ปุ่น ไล่ลงมาอุษาคเนย์ และหมู่เกาะในแปซิฟิค และ 3. เครื่องจักสานแบบสามแฉก ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมที่พบแต่ในเอเชียนี้เท่านั้น. นอกจากนั้น ยังชี้ให้เห็นหลักฐานสำคัญที่นำมาซึ่งการหักเหทางวิชาการก็ คือการพบสำริดที่บ้านเชียง ซึ่งมีอายุเก่าถึง 3,600 B.C. (อาจ เก่ากว่านั้น แต่ถูกเตะตัดขานิดหน่อย) ขณะที่สำริดของอนาโต เลียมีอายุเพียง 3,000 B.C. สำริดของอินดัสแวลลีย์อายุราว 2,000 B.C. ของจีนสมัยราชวงศ์ชางมี ก็ราว 1,000 B.C., พวกเราหลายคนอาจยังไม่ทราบว่า สำริดของเจ้าของสถิติ สำริดเก่าแก่ที่สุดคือชาวซูเมอร์เนี่ยะ มีส่วนประกอบที่ด้อยกว่า คือมีอาร์เซนิคที่มีพิษอยู่ด้วย และข้อเท็จจริงอีกอย่างก็คือ ดิน แดนในแถบอนาโตเลีย เมดิเตอร์เรเนียน และลุ่มน้ำสินธุนั้น มี ทองแดงอยู่มากก็จริงแต่ไม่มีดีบุกเลย ขณะที่ในอุษาคเนย์และ แถบลุ่มแม่น้ำโขงนั้น เต็มไปด้วยทองแดงและดีบุกปะปนอยู่ ด้วยกันในธรรมชาติ มนุษย์โบราณสมัยนั้นยังไม่มีความรู้ที่จะ คิดนวัตกรรมการผสมโลหะขึ้น ตามทฤษฎีของฟุลเลอร์นั้นว่า การผสมโลหะในยุคแรกเกิดขึ้นเพราะโลหะที่ต่างชนิดกันแต่ ปะปนอยู่ในบริเวณเดียวกันตามธรรมชาติ ถูกหลอมเข้าด้วย กันโดยบังเอิญ ภายหลังเมื่อพบความรู้นี้ จึงได้ส่งต่อไปยังที่อื่น พวกคนที่บ้านเชียงนั้นรู้จักเอาไฟมาเผาทำหม้อกัน ไฟที่จะทำ หม้อดินเผานั้นความร้อนสูงมากนะครับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ จะฟลุ๊คไปหลอมทองแดงกับดีบุกเข้าด้วยกัน จนได้สำริดขึ้น มา. ดูที่แผนที่ซุนดาอันใหญ่นั่นอีกที จะเห็นลูกศรสีแดง จางๆ นั่นคือเส้นทางอพยพเข้าสู่แผ่นดินใหญ่มาตามลุ่มแม่น้ำ สำคัญๆ ผมปรับมาจากแผนที่ของ ดร.สุเมธ ในหนังสือเล่มดัง กล่าว ผสมกับแผนที่ของ ดร.สตีเฟน เส้นทางแม่น้ำเหล่านี้ก็จะ ประกอบไปด้วย แม่น้ำแดง แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วก็ มีแม่น้ำอีกสายตรงอ่าวบาหลี ส่วนเส้นสีฟ้าจางๆ นั่นก็แสดง เส้นทางที่อพยพไปในทะเลตามกระแสน้ำกระแสลม ถ้าดูจาก
เรื่องของชื่อทวีปเนี่ยะ ถ้านับตามที่กำหนดกันอย่าง เป็นทางการ ผมว่ามันสับสนนะ ตะวันออกกลางนั้นน่าจะเรียก เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนเอเชียกลางต้องเรียกเอเชียตะวัน ตก ถึงจะถูก แต่ผมว่าถ้าพิจารณาตามสภาพปัจจุบันนี้ ทำไม เขาไม่เอาตะวันออกกลางมารวมกับเอเชียกลาง (อัฟกัน เติร์ก เมน อุซเบก ทาจิก เคอจิส คาซัคส์) แล้วเรียกว่า เปอร์เซียหรือ อาหรับไปเลยจะง่ายกว่า ส่วนรัสเซียก็เป็นยุโรปตะวันออกไป ดังนั้นผมก็เลยต้องขออธิบายนิดหนึ่งก่อนว่า เอเชีย หรือ อุษา ทวีป ของผม นี่ จะนับตั้งแต่อินเดีย ปากีสถาน ไล่ขึ้นไปถึง แถบเขาหิมาลัยอย่าง เนปาล ภูฏาน ทิเบต บังคลาเทศ ตี กรอบด้วยเทือกเขาเทียนซาน ทะเลทรายโกบีตามขอบไซบีเรีย ตอนล่าง ไล่มามองโกเลีย จนสุดฝั่งขวาที่ญี่ปุ่น แล้วไล่ลงมา ตอนล่างคือ จีน เกาหลี ไต้หวัน เวียตนาม ลาว ไทย เขมร พม่า มาเลย์ ฟิลิปปินส์ อินโด บอร์เนียว ปาปัว เท่านั้น . ส่วน กลุ่มหมู่เกาะทั้งหมดในแปซิฟิคทั้งใกล้และไกล นับตั้งแต่ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไห่หนาน ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ปาปัว หมู่เกาะเมลานี เซีย ไมโครนีเซีย โพลีนีเซีย ออสเตรเลีย อาวเตียรัว ยันสุดขอบ นอกอย่าง ฮาวาย อีสเตอร์..ฯ ผมจะขอเรียกว่าอุษาสมุทรนับ จากนี้ไป พวกเขาทั้งหมดนี้เกี่ยวโยงกันทั้งทางพันธุกรรมและ มนุษยวิทยา ผมไม่นับชาวยุโรปที่เข้ามายึดภายหลัง. e-6
มันถูกท่วมจนแผ่นดินจมหายไปเกือบครึ่ง ระดับน้ำที่ท่วมนี้ รวมแล้วราว 120 กว่าเมตรทีเดียว ซึ่งรุนแรงมากเมื่อเทียบกับ การท่วมของที่อื่นในยุคสมัยเดียวกัน อย่างเช่นที่ทะเลดำ ที่ว่า กันว่าคือต้นตอของเรื่องเรือโนอาห์ ในไบเบิ้ลภาคเจเนซิส. ดร. สตีเฟน กล่าวว่า หนังสือมากมายที่เขียนเกี่ยวกับ กำเนิดอารยธรรมของโลกนั้น ล้วนมองข้ามเอเชียไปซะเฉยๆ หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในแถบนี้ก็พูดถึง ยุคก่อนประวัติศาสตร์แค่ไม่กี่บรรทัด แล้วก็ไปสนใจแต่อิทธิพล ของอินเดียและจีนที่มีต่อภูมิภาคแถบนี้ในช่วงสองพันปีหลัง จนกระทั่งถึงยุคอาณานิคม, ทั้งๆ ที่นักชาติพันธ์ุวิทยานั้นก็พบ ความสอดคล้องกันบ่อยๆ ของผู้คนที่อยู่ในแถบหมู่เกาะอุษา สมุทรนี้กับผู้คนที่อยู่ในยุโรปและตะวันออกกลาง ไม่ว่าจะด้าน คติชนวิทยา เทววิทยา ศาสนาโบราณ.ฯ แต่ก็ยังสันนิษฐานกัน ไปว่า เป็นเพราะอิทธิพลจากตะวันตกแพร่มาสู่ตะวันออกน่ะสิ ทั้งที่จนบัดนี้ ยังไม่เคยพบหลักฐานใดเลย ที่แสดงการถ่ายเท ทางวัฒนธรรมจากตะวันตกเข้ามาสู่ตะวันออกในยุคก่อนที่ ชาวยุโรปจะเดินทางเข้ามาสำรวจดินแดนแถบนี้ สตีเฟนเห็น ว่ามีเหตุผลอีกหลายอย่าง นอกเหนือไปจากความหยิ่งทะนง ทางวัฒนธรรม ที่ทำให้การมองยุคก่อนประวัติศาสตร์ของ อุษาคเนย์นี้ไม่ปะติดปะต่อ หนึ่งคือ นักวิชาการทั้งของไทย และทั้งของเวียตนามนั้น เพิ่งพบหลักฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สองคือ ยังไม่ประสบความสำเร็จในการแปลความหมายของ จารึกโบราณยุคแรกๆ ที่เป็นของยุคก่อนอิทธิพลอินเดียจะเข้า มา และสาม ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลใหญ่สุดก็คือ เกือบทั้งหมด ของบริเวณที่น่าจะได้พบเจอหลักฐาน มันจมอยู่ใต้ท้องทะเล.
ดร . สตีเฟน อ๊อพเพนไฮเมอร์ เป็นนักวิชาการอีกคน ที่ศึกษาเรื่องการอพยพย้ายถิ่นของมนุษย์ และมีความเห็นไป ในทางเดียวกับ ดร.สุเมธของเรา. สตีเฟน มีความกระตือรือล้น และเพ่งความสนใจมากเป็นพิเศษต่ออุษาทวีปแห่งนี้ เขาเขียน หนังสือที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากชื่อ Eden in the East ดร.สตีเฟนเล่าว่า เขาพบข้อมูลและหลักฐานมากมายจากการ มาอาศัยและทำงานอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา นาน เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมืองในมาเลเซีย ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย บอร์เนียว ปาปัวนิวกินี และออสเตรเลีย.. และว่า หลักฐานทางพันธุกรรมของผู้คนที่กระจายอยู่ในอุษาค เนย์ และในบริเวณรายรอบชายฝั่งอุษาสมุทรนั้น ชี้ย้อนกลับ ไปหา กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งอยู่ใน ซาบาห์ (Sabah) บอร์เนียวตะวันออกเฉียงเหนือ และอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ ตามป่าลึกของคาบสมุทรมาเลย์ ร่องรอยทางพันธุกรรมของ ชนพื้นเมืองในซาบาห์นั้น เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มที่พูดภาษา ตระกูล ออสโตรนีเชียน และยังสัมพันธ์กับการกระจายตัวของ กลุ่มนี้ ไกลออกไปทางตะวันออกสู่หมู่เกาะอุษาสมุทรด้าน นอก ส่วนพวกที่อยู่ในคาบสมุทรมาเลย์นั้นก็ประกอบด้วยกลุ่ม ที่เก่าแก่ที่สุดอย่างออสโตรนีเชียนพวกนี้ด้วย และก็ยังโยงใย ไปสู่อีกกลุ่มนึงที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากกว่า คือ กลุ่มออสโตรเอเชียติค (มอญ-เขมร), ทั้งหมดนี้กระจายอยู่ เป็นประชากรในผืนแผ่นดินใหญ่ของอุษาคเนย์ กลุ่มชนพื้น เมืองที่หลงเหลืออยู่นี้ ดร.สตีเฟน บอกว่า โอรังอัสลิ คือรากอัน เก่าแก่ของชาวเอเชียใต้.
นักโบราณคดีก่อนหน้านี้ มีหลายคนที่กังขากับแง่ที่ มีการยอมรับกันทั่วไปในหมู่นักวิชาการว่า ดินแดนอุษาคเนย์ แห่งนี้นั้น แรกรับเอาอารยธรรมมาจากจีน แต่หลักฐานทาง โบราณคดีกลับปรากฏว่า ได้มีการปลูกมันเทศป่าและเผือกใน อินโดนีเซียสมัยโบราณย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ 15,000 - 10,000 B.C. และการปลูกข้าวบนแผ่นดินใหญ่ในแหลมทองแห่งนี้ ย้อนถอยไปได้ราวเจ็ดพันปี B.C. นั่นคือก่อนที่ชาวจีนจะรู้จัก ข้าวซะอีก ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจอีกจากแหล่งสำรวจยุคสัม ริดที่บ้านเชียงและใน Phung Nguyen เวียตนาม การวัดอายุ ของแหล่งสำรวจสองแห่งนี้ก็เคยเป็นที่โต้เถียงกันอย่างหนักมา แล้วเหมือนกัน แต่ภายหลังผลการตรวจคาร์บอนของเมล็ด ข้าวที่พบในหม้อที่ขุดเจอ พาย้อนไปได้กว่าสองพันปี B.C. และมีวัตถุอยู่สองชิ้นที่ย้อนไปได้กว่าห้าถึงหกพันปีมาแล้ว ซึ่ง ถ้ามันถูกต้องและเป็นที่ยอมรับกัน นั่นก็จะทำให้มันเก่ากว่า ยุคสำริดของชาวซูเมอร์และก่อนที่ชาวจีนจะรู้จักการทำสำริด.
เขายังมีความเชื่อมั่นอีกว่า สวนอีเดนที่กล่าวขานกัน นั้นอยู่ในอุษาคเนย์นี้ และบ่อเกิดของตำนานเก่าแก่ปรำปราทั้ง หลายในโลกส่วนใหญ่ เช่น ตำนานน้ำท่วมโลก .. ก็ล้วนแต่มี ที่มาจากอุษาคเนย์และอุษาสมุทรนี่แหละ ระดับน้ำที่สูงขึ้นทั้ง สามครั้งหลังยุคน้ำแข็งทำให้น้ำท่วมไปตามไหล่ทวีปของโลก แต่จะว่าไปแล้ว มีอยู่ที่เดียวที่ถือว่าถูกท่วมสาหัสพอจะเรียก ได้ว่า น้ำท่วมโลก นั่นก็คือ บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผ่นดินโบราณซุนดานี้ เดิมมีขนาดใกล้เคียงกับอเมริกาเหนือ e-7
แผนที่แสดงการอพยพหนีน้ำของชาวซุนดา
เส้นทางการกระจายออกทางทะเล ของความรู้ในการปลูกข้าวยุค โบราณ จากตะวันออกไปสู่ตะวันตกในอินเดีย ซึ่งสอดคล้องพอดีกับ การกระจายของภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติค
เมื่อเกิดการค้นพบที่ยิ่งใหญ่สักอย่างขึ้นมาในโลกนี้ อย่างเช่น การปลูกข้าว การทำภาชนะดินเผา การทำสำริด..ฯ ในเวลาไล่เรี่ยกัน แต่ในภูมิภาคที่ห่างไกลกันมาก นักวิชาการก็ จะอธิบายว่า มันเกิดขึ้นอย่างเป็นเอกเทศ ของใครของมันไม่ เกี่ยวกัน ซึ่งจะว่าไปเป็นข้ออ้างที่อ่อน แต่ปลอดภัยกว่าสำหรับ นักวิชาการ จะได้ไม่เสี่ยงโดนคนถากถาง เพราะไม่สามารถหา ข้อพิสูจน์ได้ว่า การส่งผ่านความรู้ระยะทางไกลเช่นนั้น เกิดขึ้น ได้อย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม หลักฐานโบราณคดีก็ชี้ว่า ความรู้ ด้านกสิกรรม ได้เกิดขึ้นในวัฒนธรรมแห่งหนึ่งนานมาแล้ว จาก นั้นจึงได้กระจายออกไปยังทวีปอื่นๆ ทั้งทางบกและทางทะเล เหตุที่เป็นเช่นนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะการเผยแผ่ความรู้ แต่น่าจะ เป็นเพราะผู้คนที่มีความรู้นี้ ประสบหายนะบางอย่าง ทำให้ทิ้ง ถิ่นฐานจากไปและนำความรู้นี้ติดตัวไปด้วย หายนะที่เกิดกับ แผ่นดินซุนดานั้น แน่นอนว่าเพียงพอที่จะรองรับสมมุติฐานข้อ นี้ และการผุดขึ้นของความรู้นี้ในดินแดนอื่นๆ นั้น ก็เกิดขึ้น หลังจากที่ระดับน้ำทะเลได้ท่วมซุนดาไปแล้ว.
ผมเองไม่ได้คิดจะมองออกไปไกลถึงนอกทวีป แต่จะ พิจารณาดูเฉพาะในอุษาทวีปด้วยกันนี้เท่านั้น ซึ่งนอกจากจะ มีข้อบ่งชี้สามอย่างที่ ดร. สุเมธ ได้แนะนำคือ ข้าว บ้านเสาไม้ ใต้ถุนสูง และเครื่องจักสานสามแฉกแล้ว ผมก็ยังมีอย่างอื่น สนุกๆ มาเพิ่มเติมให้ด้วย อย่างเช่น การสักร่างกาย กลองกบ ลวดลายในศิลปพื้นบ้าน พิธีศพ .. ฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะเสริมกัน เป็นฐานรากที่มั่นคง ซึ่งจะใช้เป็นปัจจัยในการสนับสนุนความ สอดคล้องเชื่อมโยงของผู้คนในอุษาทวีปนี้ ควบคู่ไปกับการ สำรวจทางดนตรี ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของภารกิจเรา. การปลูกข้าวแบบของชาวอุษาทวีปนั้น มีวิธีการ เฉพาะ และเป็นความรู้ที่ไม่ใช่จะมั่วเอาได้ มันผ่านการทดลอง ใคร่ครวญ และสังเกตุเป็นเวลานาน ทั้งสัมพันธ์กับฤดูกาลและ ธรรมชาติ ตั้งแต่การเพาะกล้า ทดน้ำ ไถ หว่าน ดำ จนกระทั่ง เก็บเกี่ยวและสี แม้กระทั่งวิธีการหุง การดง ก็มีกระบวนการที่ เป็นขั้นตอน เกินกว่าจะเป็นการที่ต่างภูมิภาคกันต่างค้นพบวิธี การเหมือนกันได้โดยบังเอิญเช่นนี้ ดังนั้น ความรู้นี้จึงเป็นการ ส่งต่อถ่ายทอดความรู้แก่กันอย่างแน่นอน และเนื่องด้วยความ รู้นี้เกิดในอุษาทวีป ข้าวจึงเป็นอาหารหลักของคนในภูมิภาคนี้ ทั้งหมด และพวกเขาก็ได้สอนความรู้นี้ให้กับมนุษย์ในส่วนอื่น ของโลก ไม่เพียงเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากและโยงพวก เขาเข้าด้วยกันอีกก็คือ คติและความเชื่อที่เกี่ยวกับข้าว พิธีข้าว ต่างๆ ตั้งแต่พิธีกรรมบูชาเพื่อขอความสมบูรณ์จากเทพีข้าว เพลงที่ใช้ร้องในทุ่งนาขณะทำงานปลูก เพลงร้องเกี้ยวกันของ หนุ่มสาวตอนฤดูเก็บเกี่ยว เพลงร้องตอนตำข้าว เพลงและพิธี ในการขอบคุณเทพีแห่งข้าวหรือขอขมาข้าว กรรมวิธีในการ
อารยธรรมใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น ซูเมอร์ อีแลม อียิปต์ ซีเรีย ครีท ปาเลสไตน์ และอินดัสแวลลีย์นั้น มีความแตกต่าง จากกันและกันหลายอย่าง แต่ก็มีลักษณะทางวัฒนธรรมบาง อย่างร่วมกันด้วย ซึ่งก็น่าจะเป็นส่วนที่รับเอามาจากสังคม กสิกรรมโบราณที่เป็นผู้ส่งต่อให้แก่พวกเขานั่นเอง เราอาจ สังเกตุเห็นได้จาก การสร้างอนุสรณ์สถาน การจัดลำดับชั้น ทางสังคม กฏเกณฑ์ของนักบวช ตำนานการสร้างโลก การ สร้างอักษรภาพ โลหะกรรม ศิลปกรรม .. แต่แม้พวกเขาจะมี รากฐานร่วมกัน พวกเขาก็ยังมีอัตลักษณ์เฉพาะของตนด้วย อย่างเช่น ทั้ง ซูเมอร์ อีแลม และอียิปต์ ล้วนต่างก็คิดค้นอักษร ภาพขึ้นมา แต่มันก็แตกต่างกัน ทั้งรูปแบบและวิธีการ. e-8
เรือนเสาไม้ใต้ถุนสูงนั่นเอง มุมมองอีกอย่างที่ควรจะพิจารณา และใช้เปรียบเทียบก็คือหลังคาจั่ว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชัดเจน ของชาวน้ำหมายถึงเรือที่คว่ำลง ซึ่งเป็นบ้านหลังแรกของผู้ที่ เพิ่งเดินทางมาถึงแผ่นดินใหม่ๆ ก่อนที่จะได้สร้างที่อยู่อาศัย หรือบ้านขึ้นมา.
แปรรูปข้าวไปสู่อาหารชนิดต่างๆ อย่างเช่น เหล้า ข้าวหมัก ขนม..ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยความเกี่ยวโยงกันของผู้คน ชนเผ่าเหล่านี้ทั้งสิ้น.
พูดถึงเรื่องข้าวไปแล้วก็มาว่าเรื่องบ้านกัน เราได้ยิน บ่อยๆ เกี่ยวกับลักษณะบ้านแบบเผ่าไทคือเรือนเสาไม้ใต้ถุน สูง แล้วก็มักสรุปเอาว่าเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าตระกูล ไท อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่ความเห็นที่ตรงนัก เนื่องเพราะว่า บ้าน ในลักษณะนี้ก็พบอยู่ทั่วไปในอุษาทวีปตอนกลางและตอนล่าง ตั้งแต่ซ้ายสุดคือแถบอัสสัม อรุณาจัลประเทศ พม่า เสฉวน ยูน นาน เวียตนาม ไห่หนาน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ลาว ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไปจนถึงหมู่เกาะอุษาสมุทรอย่างปาปัวนิวกินี เพียงแต่เมื่อขึ้นไปทางเหนือมากขึ้น อากาศเย็นกว่า เสาก็จะ ค่อยๆ หดสั้นลง เช่นที่พบในญี่ปุ่น เป็นต้น ในขณะที่ไล่ลงมา ยิ่งใกล้ทะเลมากเท่าไร เสาบ้านก็ยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่นที่ เห็นในเกาะปาปัว ผมว่าอธิบายด้วยภาพคงจะดีกว่า.
ภาพนี้เป็นบ้านของชนเผ่า อดิ ในอรุณาจัลประเทศ.
บ้านของเผ่ามิชมิในอรุณาจัลประเทศ ใต้ถุนล้อมคอก
ลวดลายแบบไป่เยว่รูปบ้านบนเสาใต้ถุนสูง
ภาพแรกนี้เป็นภาพที่วาดจากศิลปกรรมของชาวเยว่ ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณจีนตอนใต้มาแต่ยุค โบราณ นักวิชาการเชื่อว่าเป็นรากของบรรพบุรุษตระกูลไททั้ง หลาย รวมทั้งเครือญาติอีกหลายเผ่า ก็อย่างที่เห็น มันเป็นรูป
ภาพนี้เป็นบ้านแบบดั้งเดิมของชนเผ่านากาในอัสสัม อินเดีย e-9
ภาพนี้เป็นบ้านอีกแบบของชนเผ่านากา อันนี้จั่วหลังคาบ้านก็จะ เป็นแบบอุษาสมุทรชัดเจนขึ้น แล้วก็เหมือนกับของไป่เยว่และอินโด แถมพวกนี้ยังเคยล่าหัวมนุษย์เหมือนพวกละว้าและพวกโพลีนีเชียน อย่างเช่น ดายัค ในบอร์เนียว.
บ้านของชนเผ่า อามิ ชาวพื้นเมืองในไต้หวันอีกพวก
บ้านของชนเผ่าอตายาลในไต้หวัน พวกนี้สักหน้าและร่างกายแบบอุษา สมุทร บ้านไม่มีใต้ถุนแล้ว แต่หลังคายังเป็นแบบโพลีนีเซียน.
ภาพนี้เป็นบ้านของชนเผ่าละว้าในยูนนาน.
บ้านแบบญี่ปุ่น เสาหดลงมาแล้วแต่ยังมีใต้ถุนอยู่.
บ้านแบบไทใหญ่ในรัฐฉาน (พม่า)
e-10
ได้เคยกล่าวถึงไปแล้ว เกี่ยวกับกลองกบหรือกลอง มโหระทึก ว่าเป็นมรดกร่วมของชนเผ่าชาวอุษาคเนย์และอุษา สมุทร กลองพวกนี้ต่างก็มีรูปร่างและลวดลายคล้ายคลึงกัน ลวดลายสไตล์นี้ ยังปรากฏอยู่ในงานหัตถกรรมชนิดอื่นด้วย เช่น ผ้าทอ งานแกะไม้.. ทีนี้ลองเปรียบเทียบกันดู
ลายนี้มาจากกลองที่พบในไทย ที่เกาะสมุย
บ้านแบบอินโดนีเซีย ใต้ถุนล้อม หลังคาเหมือนไป่เยว่
ลายนี้มาจากกลองที่พบในเวียตนาม
ลายนี้มาจากกลองที่พบในเวียตนามอีกอัน มีลักษณะที่ โยงกับลวดลายแบบชาวไป่เยว่
บ้านแบบชนเผ่าปาปัวนิวกินี หลังนี้ขนาดใหญ่มาก สังเกตุจาก ต้นมะพร้าวข้างๆ ใต้ถุนบ้านสูงมาก บางหลังอาจมีใต้ถุนสูงกว่า นี้อีก.
ที่ผ่านไปก็เป็นตัวอย่างของบ้านเสาไม้ใต้ถุนสูงทั้ง หลาย ทีนี้ผมอยากให้ลองพิจารณาดูลวดลายต่างๆ จากงาน ฝีมือช่างของชนเผ่าเหล่านี้ดูบ้าง.
ลวดลายนี้ไม่ใช่กลอง แต่มาจากแจกันของชาว ไป่เยว่ มีบางอย่างคล้ายๆ กันอยู่
e-11
ภาพข้างบนนี้เป็นหัวเรือของชาวเมาริ
แผนที่ข้างบนนี้แสดงจุดที่พบกลองสำริดโบราณ (จุดแดง) และแหล่งโบราณคดียุคสำริด (จุดเหลือง).
อันนี้เป็นหัวเรือของชาวปาปัวนิวกินี เหมือนลายกนกไม๊ ?
อันนี้ก็ของไทยเรา ผ่านการปรับปรุงมามากกว่า แต่มีเค้า น่าจะเคยเรียนโรงเรียนเดียวกันมาก่อน คุณว่ายังงั้นไม๊ ? ก็ ถือว่าหยอดไว้ตรงนี้ สองสลึงแล้วกัน เผื่อใครเอาไปคิดต่อ.
ภาพข้างบนนี่เป็นลวดลายของชาวปาปัวนิวกินี ที่ตัว ดำปี๋สักตามตัว เดินแก้ผ้าถือหอกนี่แหละ ถ้าใครว่าพวกนี้ไม่มี วัฒนธรรมก็ต้องเห็นงานศิลปของพวกเขาก่อน สวยงามและ ละเอียดมาก ผมว่าลวดลายแบบนี้น่าจะเป็นลักษณะแบบ บรรพกาลของศิลปในแถบนี้ก็เป็นได้ แล้วก็ยังมีความใกล้ เคียงกับลวดลายกลองสำริดที่เพิ่งให้ดูไปหน้าก่อน แถมดูไปดู มาก็คล้ายลายไทยอย่างลายเถาลายกนกอีก หรือว่าลายไทย นี่เป็นการหลอมรวมกันของลายแบบอินเดียซึ่งโค้งๆ มนๆ กว่า กับแบบอุษาสมุทรที่เป็นแบบกิ่ง แหลมๆ คมๆ .
ทีนี้มาดูการสักร่างกายกันบ้าง เป็นอีกศิลปหนึ่งที่ โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ที่เชื่อว่าถือกำเนิดขึ้นในอารยธรรม แถบนี้ก่อน แม้จะมีการพบร่างมนุษย์ถ้ำที่มีรอยสัก (เล็กน้อย) เก่าแก่ประมาณสี่พันปี พบแช่แข็งอยู่แถบภูเขาแอลป์ ก็ไม่ได้ หมายความว่าการสักจะกำเนิดขึ้นแถวนั้น เพราะแถวหมู่เกาะ แปซิฟิคนี้ มันไม่มีน้ำแข็งมาแช่มนุษย์แถวนี้เอาไว้ยืนยัน อย่างไรก็ตาม ความนิยมในแฟชั่นชนิดนี้ แผ่กว้างกว่า อยู่ในผู้ คนแถบนี้เป็นเวลายาวนานมาก และก็ยังคงนิยมอยู่จนทุกวัน นี้ ตอกย้ำชัดเจนว่าธรรมเนียมนี้เริ่มขึ้นที่นี่ และแพร่ออกไปสู่ ดินแดนอื่น คำว่า tattoo เอง ก็มาจากคำว่า tatau ในภาษาโพ ลีนีเซียน ดูภาพเลยแล้วกัน.
ลักษณะลวดลายคล้ายกับที่ผ่านไปนั่น ก็ยังปรากฏ ให้เห็นในงานช่างแบบอื่นอีก เช่นการตกแต่งหัวเรือ ซึ่งก็เป็น จุดเด่นทางวัฒนธรรมอีกอย่างร่วมกันของชนเผ่าเหล่านี้.
e-12
ไม่เพียงแค่ดูสวยงาม แต่ยังมีคาถาอาคมขลัง สลัก ลงไปบนเนื้อหนังด้วย ชนเผ่า ตระกูลไท ลาว ขอม มอญ ก็ นิ ย มสั ก ตั ว กั น มาแต่ โ บราณ นานนมแล้ว เป็นธรรมเนียมที่ แสดงถึงความเป็นชายชาตรี แสดงสถานะนักรบผู้กล้า ชาย ใดไม่สัก ก็อาจหมายถึงไม่ได้ แอ้มสาวไปด้วย บางทีก็สักที่ ตัว บ้างก็สักจากเอวลงไปถึง ขา ที่เรียกกันว่าไทพุงดำ ลาวพุงดำนั่นแหละ บ้างก็สักทั้งตัว แต่ไม่นิยมสักหน้า ไม่อาจรู้ได้ว่าแรกเริ่มสักเป็นลวดลายอะไร จนเมื่ออิทธิพลจากฮินดูเข้ามาในพวกมอญ ขอม ไท ลาว ก็คง เปลี่ยนมาสักอักขระตามคติไสยศาสตร์แทน พอศาสนาพุทธ เข้ามา ทีนี้ก็ปนกันไปทั้งคติ ฮินดูทั้งพุทธ แต่ไม่มีปัญหา อะไรเพราะเข้ า กั น ได้ ไ ม่ ต ้ อ ง ทะเลาะเบาะแว้ง ลวดลายที่สัก ก็เลยต่างไปจากญาติในอุษาค เนย์อื่น กลายไปเป็นยันต์คาถา สารพัดชนิด.
ลายสักนักล่าหัวมนุษย์ ในฟิลิปปินส์
ภาพซ้ายนี้เป็นหญิงเผ่า อตายาล ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมแห่ง เกาะไต้หวัน อันนี้ก็สักกันที่หน้าเลย ในไต้หวันนอกจากเผ่านี้แล้ว ยังมีเผ่า ทาโรโก เผ่าไทยารุ.. ฯ ที่สักหน้าและ ร่างกายเหมือนกัน.
ลายสักชนพื้นเมืองในบอร์เนียว
หญิงเผ่าอตายาล
รูปนี้ชาวเผ่านากาในอัสสัม ก่อนหน้า นี้ไม่เคยมีใครคิดว่าจะเป็นญาติกับ เราไปได้ แต่ดูหน้าตาแล้วก็ไม่แปลก ใจเท่าไร.
ลายสักหน้าแบบชาวเมาริ
ชาวเผ่านากา
e-13
อันนี้ที่พบในเมสโสโปเตเมีย ใช่รูปปั้นชาวอุษาสมุทรรึเปล่า ?
ลายสักของสาวเผ่าหลีในเกาะไห่หนาน อันนี้เป็นรูปปั้นสไตล์เมสโสโปเตเมียแบบมาตรฐาน
รูปปั้นโบราณ ซานซิงตุ่ย ในเสฉวน
ยังมีความน่าสนใจอย่างอื่นอีก ที่ อาจจะเป็นร่องรอยยืนยันการอพยพ จากอุษาสมุทรไปสู่แผ่นดินใหญ่อีก อย่าง ก็คือแหล่งโบราณคดีซานซิง ตุ่ยในเสฉวน ลักษณะของศิลปวัตถุที่ ขุดพบนั้น ดูแล้วน่าจะเป็นแบบอุษา สมุทรมากกว่าจะเป็นของชาวจีน ยก ชาวเผ่าปาปวน ตัวอย่างรูปปั้นใบหน้าที่มีขอบตาลึก จมูกใหญ่ โหนกแก้มเป็นสันสูง ปากแบะหนา หน้าตาเหมือน ชาวปาปวนอยู่เหมือนกัน แล้วก็มีปฏิมากรรมที่รูปทรงเหมือน กับต้นไม้แห่งชีวิตอีกอย่าง ที่ดูคล้ายคลึงกับที่พบในศิลปของ ชนเผ่าในอินโดนีเซีย.
ลายสักแบบชาวญี่ปุ่น
ก็คงเห็นกันล่ะ ว่าผู้คนในอุษาทวีปนี้ เขานิยมแฟชั่น การสักนี้กันขนาดไหน แถมท้ายด้วยรูปขวาบน ที่สร้างความ งุนงงให้นักวิชาการ เป็นรูปปั้นที่ขุดพบในแหล่งอารยธรรม เมสโสโปเตเมีย แต่หน้าตาไม่ยักเหมือนคนแถวนั้น ซึ่งก็ถกกัน ว่าเป็นชาวเอเชีย เพราะมีลักษณะตาที่เฉียง มีลวดลายที่ ใบหน้าและไหล่ที่คาดว่าน่าจะเป็นรอยสัก (ญาติคนนึงของ พวกนี้รึเปล่า ที่ไปโดนแช่แข็งในเขาแอ๊ลป์ ) ก็ลองเทียบกับรูป ถัดไป ซึ่งเป็นรูปปั้นของเมสโสโปเตเมียแบบพิมพ์นิยม คุณ คงจะเห็นด้วย ว่าคนละสำนักกันเลย. e-14
ต้นไม้แห่งชีวิต ที่พบที่แหล่งโบราณคดีซานซิงตุ่ย
โลงศพแขวนของชาวเผ่าโบในเสฉวน (จีน)
โลงศพแขวนในซากาดา (ฟิลิปปินส์)
ต้นไม้แห่งชีวิต ศิลปของเผ่าดายัค ในบอร์เนียว
ทีนี้มาดูปัจจัยที่สามซึ่ง ดร. สุเมธ ได้แนะนำเราไว้ ก็ คือเครื่องจักสานแบบสามแฉก ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยเหมือน กัน นี่ก็อีกอย่างที่แสดงว่าเรียนโรงเรียนเดียวกันมาก่อน เพราะ เครื่องใช้ชนิดนี้เป็นของที่มีมาแต่โบราณ เช่น ตะกร้า ชะลอม หรือ ลูกตะกร้อ เป็นต้น เขียนถึงตรงนี้ก็อยากพูดถึงตะกร้อสัก นิด คนไทยเรากับมาเลย์นี่ก็เถียงกันน่าดูนะครับ ว่ากีฬา ตะกร้อนี่เป็นของใคร อย่าเถียงกันเลยครับ ถ้าอ่านมาถึงนี่แล้ว ก็คงรู้ละว่า เป็นมรดกร่วมกันของลูกหลานโอรังอัสลินี่ละ.. (รัก กัน รักกัน).
อันต่อมานี่ก็น่าตื่นตะลึงไม่แพ้กันครับ มันคือโลงศพ แขวน เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงการหนีน้ำอย่างไม่ต้อง สงสัย ซึ่งเป็นเรื่องน่าฉงนอย่างยิ่ง ที่ประเพณีนี้พบอยู่ในพื้นที่ ที่ห่างไกลกัน คือ ในซากาดา ลูซอน ฟิลิปปินส์ , ในอินโดนีเซีย และในประเทศจีนที่ เสฉวน หูเป่ย จิงสี ยูนนาน .. ดูภาพเอา เองแล้วกันว่าน่าทึ่งเพียงใด เห็นได้ชัดว่านี่เป็นคติความเชื่อ เดียวกันของชนเผ่าที่น่าจะเคยมีความเกี่ยวโยงทางวัฒนธรรม กันมาก่อนอย่างแน่นอน (รับรองว่าแขวนไว้อย่างนั้น น้ำท่วม ไม่ถึงคุณปู่ทวดแน่ๆ ).
e-15
ตะกร้า ชาวญี่ปุ่น
ตะกร้า ชาวไทย
ตะกร้า ชาวมาเลย์
ตะกร้า ชาวอตายาล
ถึงตรงนี้ก็อยากจะเล่นเกมกันสักนิดหนึ่ง ดูซิว่าจะ ทายถูกไหม ทายซิว่า รูปสุดท้ายนี่เป็นตะกร้าของใคร ? ตะกร้า ชาวบาหลี
ตอบ : ถามได้ ของไทยอีสานชัวร์อยู่แล้ว ผิด ! ของชาวภูฏานต่างหากล่ะ เหมือนกันเด๊ะเลย (เห็นไม๊ เรียนมาโรงเรียนเดียวกันอีกแล้ว)
ตะกร้า ชาวเวียตนาม
e-16
เมื่อพิจารณาตัวอย่างที่ได้ยกมาให้ดูทั้งหมดนั่น ก็ คงจะเห็นแล้วว่า มีเหตุผลอยู่พอสมควร ที่อารยธรรมเก่าแก่จะ เริ่มต้นขึ้นในอุษาทวีปนี้ ไม่เพียงเท่านั้น ร่องรอยมากมายที่ เกี่ยวโยงผู้คนในแถบนี้เข้าด้วยกันนั้น ยังแผ่ขยายออกไปเป็น วงกว้าง หากคุณย้อนกลับไปดูแผนที่ที่แสดงกลุ่มของดีเอ็นเอ ในบท “ชื่อและชนเผ่า“ คุณก็จะพบว่า มันลงตัวเข้ากันพอดีกับ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ชาวตะวันตกนั้นยึดมั่นกับความคิดที่ว่า อารยธรรมนั้นมาคู่กับภาษาเขียนและการบันทึก ก็เลยมอง ข้ามความจริงหลายอย่างที่เกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ของ อุษาคเนย์ไป และก็ไม่ได้พิจารณาว่า อารยธรรมนั้นไม่จำเป็น ต้องมีพัฒนาการที่เหมือนกัน เอเชียเป็นดินแดนแห่งมุขปาฐะ มีตำนาน นิทานมากมาย มี Oral History หรือประวัติศาสตร์ บอกเล่า การที่ต้องเผชิญภัยพิบัติทางทะเลมาก่อน และสภาพ ชีวิตที่อาศัยอยู่กับน้ำหรือครึ่งบกครึ่งน้ำมาตลอด ไม่มีความ สะดวกในการทำศิลาจารึก(เดี่๋ยวเรือจม) หรือจดบันทึก(เดี๋ยว
แต่มันยังปรากฏอยู่ในพวกที่อยู่ในกลุ่ม Y-DNA O นี่หลายเผ่า ในแง่การศึกษานั้น นักวิชาการตะวันตกในยุคก่อนหน้านี้ ไม่ ยอมรับประวัติศาสตร์บอกเล่า เหตุผลก็คือความไม่น่าเชื่อถือ มีแต่เรื่องอภินิหารเหลวไหล ผิดเพี้ยนและเพ้อเจ้อเลื่อนลอยซะ มาก ซึ่งก็จริงอยู่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ลึกซึ้งก็ไม่ได้หมายความ ว่ามันจะไม่มีมูลความจริงอยู่บ้างเลย เดี๋ยวนี้นี่ นักวิชาการก็ หันมาสนใจกันแล้ว เพียงแต่ต้องใช้ความพยายามในการกลั่น กรอง จึงจะใช้เป็นข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ได้. ตำนานนิทานเหล่านี้นั้น มาจากห้วงเวลาที่ย้อนลึก ยาวไกลก่อนภาษาเขียน ดังนั้นพอมีการเขียนบันทึกเกิดขึ้น เรื่องราวส่วนใหญ่ของบันทึกเหล่านั้น ก็เลยบรรจุเต็มไปด้วย คติปรัมปราและตำนานมากมาย ที่เคยเล่าสืบทอดมาจากยุค ก่อน ด้วยเหตุนี้ คัมภีร์ทางศาสนาที่คัดเรื่องเล่าเรื่องเดียวกัน แต่มาจากผู้เขียนคนละคน ต่างเวลา ต่างสถานที่ ต่างสังคม จึงเกิดความผิดเพี้ยนขึ้น กลายเป็นต้นเหตุให้ศาสนาเดียวกัน แตกออกเป็นนิกายต่างๆ หรือแม้กระทั่งแยกออกไปเป็นคนละ ศาสนาในที่สุด อย่างเช่น ยิว อิสลามและคริสต์ เป็นต้น บันทึก โบราณทางศาสนาเช่นคัมภีร์ไบเบิ้ล วันนี้ถูกศึกษาอย่าง ระมัดระวังในแง่ที่เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์อีกชนิดหนึ่ง นักค้นคว้าอาจต้องประหลาดใจเมื่อพบว่า เรื่องราวของกำเนิด โลกในเจเนซิส อาจมีส่วนสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ , ตัวอย่าง เช่น เคนและเอเบล ในไบเบิ้ล เห็นชัดเจนว่า แท้จริงแล้วไม่ได้ หมายถึงพี่น้อง แต่หมายถึงสองวัฒนธรรมที่แข่งขันกัน ตาม ตำนานในไบเบิ้ลและตำนานฉบับของซูเมอร์สร้างภาพไว้ว่า เคนเป็นชาวนา เอเบลเป็นคนเลี้ยงสัตว์ ซึ่งพ้องกับตำนานของ ชาวอุษาสมุทรว่า มีพี่น้องคู่หนึ่ง คนหนึ่งผิวคล้ำเป็นนักล่าสัตว์ อีกคนหนึ่งมีผิวซีดกว่าเป็นชาวประมง และต่อมาได้รุกรานอีก ฝ่ายจากทางทะเล เราได้ข้อมูลมากมายด้วยการเปรียบเทียบ เนื้อความและจุดมุ่งหมายของเรื่องราวเหล่านี้ด้วยกัน ซึ่งทำให้ สามารถคาดคำนวณอดีตได้ เป็นวิธีคล้ายกันกับที่เราใช้ภาษา และยี น ของเราเป็ น เครื ่ อ งมื อ เปรี ย บเที ย บกั น เพื ่ อ สร้ า ง สาแหรกของวงศ์วานว่านเครือ. นิทานตำนานมากมายได้ถูกศึกษา และพบความ คล้ายคลึงกันอย่างน่าฉงนในทุกมุมโลก ผมเคยเกริ่นให้ฟังไป บ้างแล้วอย่างเช่นกรณีของนิทานซินเดอเรลลา กับนิทานปลา บู่ทอง และเรื่องเล่าในหนังสือจีนเหยียวหยางซาจูอายุสอง พันปี นี่เป็นตัวอย่างเสียงประสานจากดินแดนที่ห่างไกลกัน ทั้งทางอารยธรรมและภูมิศาสตร์ ในบรรดาเรื่องเล่าตำนานทั้ง หลายนี้ ตำนานที่เกี่ยวกับน้ำท่วมโลกจากทั่วโลกที่มีมากมาย ราว 500 เรื่อง เป็นหนึ่งในประเด็นที่น่าศึกษาค้นคว้าเปรียบ เทียบมากที่สุด เอาไว้จะเล่าให้ฟังแยกออกไปอีกบทต่างหาก.
แผนที่เดินทะเล ที่ทำจากโครงไม้ ของชาวโพลีนีเชียน
เปียกน้ำ) เห็นได้จากแผนที่เดินทะเลของพวกเขา มันเป็น อุปกรณ์ที่ไม่ต้องกลัวจะถูกน้ำเสียหาย การเดินทางด้วยเรือแพ ไม่ได้เอื้อให้ขนอะไรต่อมิอะไรได้นัก ต้่องรอจนกระทั่งมั่นใจที่ จะปักหลักอยู่กับที่ได้นั่นแหละ พวกเขาจึงจะเริ่มบันทึกกัน ดัง นั้นมันจึงไม่มีหลักฐานอะไรเกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ เหลือมาให้ลูบคลำได้ พวกเขาเน้นการบอกเล่า มีเพลงร้องเล่า เรื่อง ซึ่งความคล้องจองกันของคำร้องจะทำให้จดจำถ้อยคำได้ ง่ายกว่าจำคำพูดบอกเล่าปกติ นี่ก็เลยอธิบายได้อีกว่า ทำไม พวกเขาถึงเจ้าบทเจ้ากลอนและเก่งในเรื่องของเพลงปฏิภาณ นัก ทักษะนี้ไม่ได้หมายถึงแค่ชนเผ่าในกลุ่มตระกูลไทเท่านั้น e-17
ภาพต่ออันใหม่ (Re-examine the hypotheses ?)
เลียบชายฝั่งทะเลและไปปรากฏขึ้นที่ญี่ปุ่น แล้ววกย้อนกลับ เข้ามาแผ่นดินใหญ่แถบมองโกเลีย มุ่งสู่ทิเบต (เป็นเส้นทางที่ งงน่าดู) จึงแทบไม่ปรากฏดีเอ็นเอให้เห็นในบริเวณนี้ พวกกลุ่ม ที่มีพ่อเป็น Y-DNA C ซึ่งมาถึงก่อนเหมือนกันคือราว 40,00050,000 B.C. ก็ไหลเลื่อนไปสุดแดนตะวันออกของเกาะปาปัว บางพวกข้ามไปถูกกักอยู่ในออสเตรเลียแต่แรกๆ แล้ว น่าจะ เป็นตั้งแต่ตอนที่น้ำท่วมครั้งแรก เห็นชัดว่าผู้ชายตระกูลนี้ไม่ ค่อยมีบทบาทนักด้านการแพร่พันธ์ุในแถบอ่าวซุนดา แต่ไปลูก ดกที่อื่นแทน ที่เป็นอย่างนี้ก็คงแน่นอนละว่าสาวๆ ออสโตรนี เชียนโบราณนี่ ก็คงชอบหนุ่มจากทางเหนือที่ขาวกว่า น่ารัก เร้าใจกว่า ก็เลยยอมพลีกายใจให้ พวกหนุ่มๆ กลุ่ม C นี่ก็คง แค้น ก็เลยล่าเอาหัวมาแขวนเสาบ้านให้หายเจ็บใจอยู่บ่อยๆ อีกฝ่ายก็เอาบ้าง ก็คงจะล่าหัวกันไป ล่าหัวกันมา อย่างนี้อยู่ นานแสนนานทีเดียว จนกลายเป็นธรรมเนียมนิยมไป การสู้รบ กันในยุคดึกดำบรรพ์นั้นยังไม่ใช่การแย่งชิงทรัพยากรและดิน แดน เพราะมันมีเหลือเฟือไม่ต้องแย่งกัน แต่แรงขับทางเพศ เพื่อแย่งเพศเมียกันต่างหาก ที่เป็นสาเหตุใหญ่ เป็นเพราะผู้ ชายกลุ่ม O พวกนี้เป็นฝ่ายพิชิตและแพร่พันธ์ุได้รวดเร็ว พวก กลุ่ม C นี่ก็เลยต้องล่าถอยไปทางด้านขวาสู่แถบปาปัว มีพวก Y-DNA M อีกกลุ่มหนึ่งที่เดินทางมาแถบนี้พร้อมๆ กับพวก YDNA O แต่พวกเขาก็ไม่มีบทบาทเด่นบนซุนดา และได้เลื่อน ไหลไปยังเกาะปาปัว-ไมโครนีเซียเช่นกัน ไม่มีใครมีลูกเยอะยิ่ง ไปกว่ากลุ่ม O อีกแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เพราะการแต่งงาน ข้ามเผ่า ภาษาและธรรมเนียมบรรพกาลของพวกเขาทุกกลุ่ม ในแถบนี้ก็ได้แลกเปลี่ยนผสมผสานเข้าด้วยกันก่อนแล้วตลอด ทั้งชายฝั่ง ทั้งสายพ่อและสายแม่ เช่น วัฒนธรรมในการสัก ร่างกาย พวกที่ผิวดำกว่าก็ได้แต่สักร่างกายให้เป็นรอยแผล เป็น แบบที่เคยทำสมัยบรรพชนแอ๊ฟริกา เพื่อเอาใจเพศเมีย พวกผิวขาวกว่าก็เบ่งทับด้วยการสักหมึก เห็นชัดและสวยกว่า พวกผิวดำ ก็เกิดธรรมเนียมการสักขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีคติ และความรู้อีกหลายอย่างที่ถ่ายทอดส่งต่อกัน มีภาษาร่วมกัน มีการปลูกมัน ปลูกข้าว มีหัตถกรรมอย่าง จักสาน เครื่องดิน เผาลายคาดเชือก การทำกลองสำริดและฆ้องอาจเริ่มขึ้นแล้ว ที่แผ่นดินนี้ ทำให้ผู้คนในแถบนี้เป็นเจ้าแห่งฆ้องสารพัดชนิด.
ข้อมูลที่สาธยายมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นนั้น ไม่เพียงแต่ เสนอสมมุติฐานว่า อารยธรรมนั้นอาจเกิดขึ้นในเอเชียมานาน มากแล้ว และเป็นไปได้ว่าอาจเป็นแหล่งอารยธรรมแห่งแรกๆ ของโลก ขณะเดียวกันก็ยังนำเสนอแง่มุมใหม่ในการสืบค้นปะ ติดปะต่อความเกี่ยวโยงของชาติพันธ์ุทั้งหมดในอุษาทวีปนี้เข้า ด้วยกัน ซึ่งแง่มุมนี้ จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ได้ถูกนำเสนอ มาก่อนแล้วโดยนักวิชาการหลายท่าน เช่น ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา, ดร.สตีเฟน ออพเพนไฮเมอร์..ฯ นักภาษาศาสตร์ ชื่อดัง พอล เบเนดิคท์ ก็เคยเสนอว่ามีความเชื่อมโยงกันของ ภาษาออสโตรนีเชียน ออสโตรเอเชียติค และออสโตรไทหรือ ภาษาในตระกูลไท-กระได-คำไต มาก่อนแล้วเช่นกัน . ข้อมูล ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น เมื่อมาประกบติดกันกับข้อมูล ทางดีเอ็นเอ ก็ทำให้เกิดภาพร่างที่จะนำเสนอ สมมุติฐานใหม่ ได้ว่า ผู้คนชนเผ่าที่เรียกว่าไป่เยว่ ซึ่งนักวิชาการเชื่อกันว่า เป็นต้นสายของไทและเผ่าเครือญาติใกล้ชิดนั้น อาจเป็นลูก หลานของชาวอุษาทวีปโบราณแห่งแผ่นดินซุนดา ซึ่งผมขออนุ ญาติเรียกว่า ชาวอุษาอัสเลียน จะได้ไม่ปนกัน และถ้าทฤษฎีที่ ว่าคนทิเบตันและคนจีนเป็นพวกเดียวกันนั้นไม่ผิด ก็เป็นไปได้ ว่า เมื่อผ่านเข้าประตูปามีร์นอต (Pamir Knot) มา ครอบครัว Y Haplogroup O นี้ได้แยกออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งแยก ขึ้นไปทางเหนือ พวกนี้ได้ขึ้นไปก่อร่างสร้างอารยธรรมซึ่งต่อมา ก็ได้กลายเป็นชาวจีนต้าฮั่นไป (ซึ่งถ้าเป็นเช่นที่ว่านี้ละก็ พวก นี้จะต้องเผชิญกับความหนาวอันแสนสาหัสแน่) ส่วนอีกกลุ่ม หนึ่งนั้น หลังตัดผ่านที่ราบสูงทิเบต เสฉวน ยูนนาน มาแล้ว ก็ ลงใต้ ไปสู่ที่ซึ่งอุ่นกว่าและอากาศกำลังสบาย คือบริเวณที่ราบ ลุ่มอ่าวไห่หนานและไล่เรียงลงไปยังอ่าวซุนดา นี่คือเมื่อราว สามหมื่นห้าพันปี B.C. มาแล้ว ยุคน้ำแข็งได้กลับมาและน้ำ ทะเลลดลง ปากทางปามีร์นอตก็ถูกผนึกปิดด้วยน้ำแข็ง ไม่มี ใครเข้ามาหรือออกไปนอกจากเคลื่อนไปมาอยู่ในเอเชียนี่ พวก กลุ่ม Y-DNA O นี้ บางพวกอาจลงมาไม่ลึกนักจึงไม่ได้ผสมกับ ชาวเผ่าทางด้านใต้ พวกนี้จึงอาจเป็นบรรพบุรุษพวกกะเหรี่ยง พวกโลโล พวกม้งเย้า .. แต่ส่วนใหญ่นั้นเคลื่อนลงมาทางใต้ มาผสมกับผู้หญิงพื้นเมือง ซึ่งมาถึงก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อราวห้า หมื่น B.C. คือ mtDNA M* และ B,D ซึ่งแชร์เปอร์เซ็นต์สูงสุด ในเอเชียทางสายแม่ ผลก็คือได้ให้กำเนิดชาวอุษาอัสเลียน แห่งคาบสมุทรมาเลย์ พวกเขาตั้งหลักแหล่งอาศัยบริเวณอ่าว ไห่หนันและอ่าวซุนดา ออกลูกหลานแพร่พันธ์ุกันครอบครอง พื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นดินนี้และเกาะฟิลิปปินส์ ตระกูลพ่อ ที่มาถึงก่อนพวก Y-DNA O นี้ ก็มีเหมือนกัน กลุ่มที่หนึ่งคือ YDNA D แต่แปลกที่ไม่มีบทบาทเลย สันนิษฐานว่าเลาะล่อง
ต่อมา น้ำทะเลได้ยกระดับสูงขึ้นจนท่วมถึงสามครั้ง ครั้งแรก อาจทำให้พวกเขาระมัดระวังและเริ่มสร้างบ้านที่อยู่ บนเสาสูงขึ้น เพื่อเลี่ยงจากอันตราย ครั้งที่สอง อาจเริ่มเคลื่อน ย้ายหนีไปบ้างแล้วบางส่วน และน่าจะมีตำนานอะไรที่เริ่มเล่า ขานกันในเผ่า จนทำให้พวกเขากลัวมากพอที่จะไม่กล้าลุ้นอีก ในครั้งต่อไป ดังนั้นพอการท่วมครั้งที่สามมาถึง การอพยพครั้ง ใหญ่ก็เกิดขึ้นและได้ผลักพวกเขาออกไปทั้งทางบกทางทะเล. e-18
ตะวันออก ซึ่งในที่สุด ก็ได้สร้างเมืองและรัฐที่แข็งแรงขึ้นมาได้ ก่อนลูกหลานอุษาอัสเลียนกลุ่มอื่น กลายเป็น จาม เขมร .. มี บางกลุ่มอาจยังเดินทางขึ้นเหนือตามลำน้ำโขงไปอีกเรื่อยๆ บ้างเข้าสู่ขุนเขาและป่าลึก เป็นบรรพชนชาวข่าเผ่าต่างๆ บาง พวกก็เลื่อนขึ้นไปอยู่ร่วมกับพวกเยว่กลุ่มไห่หนานที่อยู่ด้านบน ซึ่งก็น่าจะแค่อยู่ร่วมกันเท่านั้น แต่ไม่น่าจะได้แอ้มสาวของ พวกเยว่ จึงแยกว่าเป็นคนละกลุ่มกันเสมอมา. กลุ่มที่อยู่แถวอ่าวซุนดาตอนกลางแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกล่องตามแม่น้ำขึ้นเหนือสู่ใจกลางสุวรรณภูมิ กลาย เป็นบรรพบุรุษออสโตรเอเชียติคกลาง คือลัวะหรือละว้า พวก นี้บางพวกสร้างเมืองสร้างรัฐขึ้นในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา ได้กลายเป็นลวรัฐและกลายเป็นชาวเมืองละโว้ในที่สุด แต่ พวกละว้าบางกลุ่มยังคงย้อนขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึง พม่า ยูนนาน เสฉวน และอัสสัม ไปอยู่ร่วมหรือผสมกับพวก ทิเบตันที่ไม่ได้เลื่อนลงมา กลายเป็นพวก นากา อดิ มิชมิ อปา ตานิ. บางพวกเลี้ยวขวาไปรวมกับกลุ่มไห่หนานกลายเป็นเยว่ อีกตระกูลหนึ่ง. กลุ่มที่อยู่ในอ่าวซุนดาตอนกลางกลุ่มที่สอง หนีน้ำ ท่วมโดยล่องแม่น้ำย้อนมาทางตะวันตก สู่ภูเขาสูงในบริเวณ มาเลเซีย กลายเป็นชนพื้นเมืองมาเลย์โอรังอัสลิ เมื่อไม่ได้ เคลื่อนไปไกลจากถิ่นเดิมนัก จึงรักษาลักษณะทางพันธุกรรม ดั้งเดิมไว้ได้ยาวนาน แต่ก็มีบางกลุ่มที่เลาะล่องทางบกขึ้นทาง เหนือไปเรื่อยผ่านมาตามคอคอดกระ พวกนี้คือออสโตรเอเชีย ติคฝั่งตะวันตกคือมอญ และได้เริ่มต้นอารยธรรมโบราณในซีก ตะวันตกแถบฝั่งอันดามันขึ้น เนื่องจากต่อมามีมหาวิทยาลัย โบราณเกิดขึ้นทางตะวันตกของพวกเขา ดินแดนนี้ก็เลยเป็น สถานีส่งความรู้ย้อนกลับเข้ามาสู่ฝั่งตะวันออก ในกลุ่มนี้มีบาง พวกเตลิดออกทะเลไปทางตะวันตกจนถึงอินเดีย กลายเป็น พวกออสโตรเอเชียติคที่พูดภาษามุนดา และพวกนี้ยังเดินทาง ต่อไปไกลถึงเมสโสโปเตเมียเอาความรู้ทางกสิกรรม โลหะ กรรม และตำนานท้องถิ่นไปส่งต่อ. ส่วนกลุ่มที่อยู่อ่าวซุนดาทางใต้ บางกลุ่มล่องแม่น้ำ หนีย้อนมาทางสุมาตรา กลายเป็นชาวอินโดโบราณมากมาย หลายเผ่า บางกลุ่มขึ้นสู่ภูเขาสูงในบอร์เนียว บางกลุ่มเตลิด ออกทะเลไปยังเกาะฟิลิปปินส์ เกาะไต้หวัน ญี่ปุ่น และไกล ออกไปสู่เกาะแสนไกลในมหาสมุทร พวกที่อยู่ในอ่าวบาหลี นั้นก็มีบางกลุ่มขึ้นสู่เขาสูงในบอร์เนียวเหมือนกัน บางกลุ่มก็ บ่ายหน้าสู่เขาสูงในบาหลี บางกลุ่มไปตามเกาะใกล้เคียง พวก กลุ่มที่เคลื่อนเข้าหาภูเขาในซาบาห์บอร์เนียวนั้น ยังคงร่อง รอยเจเนติคมาร์คเกอร์ที่เก่าแก่อยู่ในดีเอ็นเอ เช่นเดียวกับพวก โอรังอัสลิในมาเลย์ แต่เก่าแก่กว่า เพราะทะเลช่วยกั้นพวกเขา ไว้จากการปนเปื้อน รอดมากระทั่งถึงยุคอาณานิคมยุโรป.
กลุ่มที่อยู่ทางเหนือสุดทางอ่าวไห่หนานนั้น แต่เดิม คงลงมาอยู่ที่แถวอ่าวซุนดาก่อน ต่อมาเมื่ออากาศอุ่นขึ้นหรือ อาจจะเป็นตอนที่น้ำท่วมมาครั้งที่สอง พวกเขาก็ขยับขึ้นไปอยู่ แถวอ่าวไห่หนาน และพวกเขาคงจะกระจายกันอยู่ตามแถบ ฝั่งทะเล ไล่ตั้งแต่ตังเกี๋ยจนถึงไต้หวัน และคงจะมีเสื้อผ้าที่ทน ความหนาวได้ เพราะอากาศค่อนข้างจะหนาวกว่าแถบอ่าวซุน ดา เพราะเหตุนี้เองละมัง พวกเขาจึงมีความเด่นในการทอผ้า มาแต่โบราณ แล้วก็ทอผ้ากันเก่งจนเป็นที่เลื่องลือในยุคหลัง ต่างกับพวกซุนดาที่ชอบแก้ผ้าเดินโทงโทง ตลอดเวลาพวกเขา ก็ยังคงติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกันตลอดแนวชายฝั่งด้านใต้ และพวกเขายังคงมีความเชื่อและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงร่วม กันกับพวกซุนดาใต้อยู่ แต่เนื่องเพราะต่อมา ได้เคลื่อนขึ้นไป อยู่ห่างไกลกันพอประมาณ จึงเกิดช่องว่างพอที่จะก่อลักษณะ ทางวัฒนธรรมบางอย่างที่แตกต่างออกไปจากพวกอ่าวซุนดา บ้าง เช่นการปรับเปลี่ยนทางภาษาจากแบบออสโตรเอเชียติค ไปสู่ออสโตรไท เนื่องเพราะต่อมาเมื่อขยับขึ้นไปก็ได้ติดต่อกับ ผู้คนที่อยู่ทางตอนบนด้วย(จีน) ขณะที่พวกในอ่าวซุนดานั้นไม่ ได้ติดต่อ และเนื่องจากว่า ไม่ต้องกังวลใจในเรื่องการล่าหัวกัน และกันเหมือนพวกทางใต้ พวกเขาก็เลยมีอารมณ์สุนทรีย์กับ เรื่องงานศิลปและการร้องรำทำเพลงมากกว่า ก็เลยพัฒนามี การร้องเพลงต่อกลอนประสานเสียงกันสนุกสนาน ประดิษฐ์ เครื่องดนตรีพวกปี่ลิ้นทองแดง (ตอนหลังกลายเป็นลิ้นทอง เหลือง) ที่ฝรั่งเรียก free reed ขึ้น ซึ่งก็คือ ปี่อ้อ ปี่จุม ปี่น้ำเต้า และก็กลายเป็นแคนชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นมรดก ร่วมกันของพวกกลุ่มนี้ไปในที่สุดนั่นเอง เมื่อน้ำท่วมมาครั้งที่ สาม พวกนี้ได้หนีย้อนแม่น้ำแดงขึ้นไปรวมกับผู้คนเดิมที่อยู่ใน ดินแดนแถบกว่างตง กวางสี กุยโจว ยูนนาน ผสมกันภายหลัง กลายเป็นเยว่หลายเผ่า ที่เป็นบรรพบุรุษของตระกูลไท กะได จ้วง ก้ำสุ่ย ทั้งหลาย ทั้งยังคบค้ากันฉันท์พี่น้อง และถ่ายเท ถ่ายทอดความรู้บางอย่าง เช่น การปลูกข้าว ทำสำริด การ เลี้ยงไหม การท่องทะเล ให้กับชนเผ่าที่อยู่ทางเหนือขึ้นไป(จีน) ซึ่งกำลังพัฒนาขึ้นเป็นแว่นแคว้นที่เติบโตขึ้นทุกทีๆ ด้วยความ ที่อุษาอัสเลียนพวกนี้มีเสื้อผ้าที่อบอุ่น และเวลานั้นอากาศก็ อุ่นขึ้นด้วยเพราะยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลง พวกเขาจึงย้อนขึ้นเหนือ ไปได้ไกลกว่ากลุ่มอื่น คือขึ้นไปถึงจนแถบแม่น้ำแยงซี. ส่วนกลุ่มที่อยู่ทางอ่าวซุนดาด้านเหนือนั้น เมื่อน้ำ ท่วมมาพวกเขาพากันหนีย้อนแม่น้ำโขงขึ้นไป ความที่อยู่ใกล้ บริเวณเทือกเขาสูงในแถบเวียตนามใต้และที่ราบสูงโคราช พวกเขาจึงหนีเร็วกว่าและปลอดภัยกว่าพวกอ่าวซุนดากลุ่มอื่น แล้วก็เลยตั้งหลักได้ก่อนกลุ่มอื่น ร่องรอยวัฒนธรรมโบราณ ของลูกหลานอุษาอัสเลียนกลุ่มนี้ก็เลยเก่าและเด่นเป็นพิเศษ (บ้านเชียงฯ) พวกนี้เป็นบรรพบุรุษชาวออสโตรเอเชียติคฝั่ง e-19
เนื่องเพราะชาวอุษาอัสเลียนทั้งหลายนี้ ได้ประสบภัยพิบัติใหญ่หลวงจากภัยธรรมชาติอันรุนแรง จนต้องทิ้งถิ่นฐานบ้าน เมืองหนีภัยมา พวกเขาจึงประสบกับสภาวะที่เรียกว่าวิวัฒนาการย้อนกลับ (เหมือนเช่นที่ชาวอเมรินเดียนอย่าง อินคา มายา ที่ต้อง ทิ้งถิ่นฐานบ้านเมืองไปใช้ชีวิตแบบบุพกาลอีกครั้งเพราะถูกขับไล่) พวกเขาจำนวนมหาศาลได้ทะลักขึ้นมาดุจคลื่นยักษ์ นับร้อยเผ่า ต้องช่วยกันสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ ชาวจีนที่อยู่ทางแดนเหนือขึ้นไปแต่แรก จึงเรียกพวกนี้ว่าเยว่ร้อยเผ่า ต่อมาเมื่ออาณาจักรทาง เหนือนั้นกว้างใหญ่รุ่งเรืองขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการทรัพยากรและแรงงานมีมากขึ้น จากที่เคยเป็นมิตรกัน มาก่อน ก็เริ่มเกิดการรุกรานระหว่างแว่นแคว้นขึ้นนับแต่นั้น และเนื่องเพราะชนเผ่าทางเหนือเหล่านี้มีความเจริญกว่า พวกเขาจึง เริ่มเรียกพวกนี้อีกชื่อว่า คนเถื่อนแดนใต้. เรื่องราวทั้งหมดนี้เริ่มขึ้นเมื่อเวลาสามหมื่นกว่าปี ก่อนนิยามความหมายของชาติรัฐจะเกิด และไม่ว่าจะเหนือหรือใต้ พวก เขาส่วนใหญ่ก็คือ กลุ่ม O ทั้งหมด ไม่ว่าจะจีนหรือเยว่ร้อยเผ่าก็ตาม แต่ในช่วงสองพันปีสุดท้าย ข้อเท็จจริงนี้เริ่มจางลงเรื่อยๆ จนผู้ คนไม่รู้ว่าความจริงเป็นเช่นไรในที่สุด. ก็หยอดใส่กระปุกไว้ก่อนสองสลึง ตรงนี้นะครับ หวังว่าจะมีใครมาหยอดต่อให้ครบบาท ห้าบาท สิบบาท... นั่นคือการปะติดปะต่อภาพของผม ต่อยอดมาจากสมมุติฐานของอาจารย์สุเมธ อาจารย์สตีเฟน.. ฯ อีกที จะเห็นด้วยหรือ ไม่ก็แล้วแต่ แต่ขออภัยที่ต้องบอกว่า ผมไม่คิดที่จะไปพิสูจน์ว่ามันจริงแท้แค่ไหนมากไปกว่านี้แล้ว (คงต้องเป็นหน้าที่ของนักวิชาการ ด้านนี้โดยตรง) ใครอยากแน่ใจก็ต้องไปหาคำตอบเอาเอง ใครไม่เห็นด้วยก็ไปหาข้อมูลมาค้าน เป้าหมายที่ผมต้องการพิชิตนั้นมีแค่ หาคำตอบว่ามีพันธุกรรมเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมอย่างเช่นดนตรีหรือนาฏศิลป์อยู่หรือไม่ และมันสัมพันธ์กับพันธุกรรมทางสาย เลือดและการอพยพย้ายถิ่นของมนุษย์หรือเปล่า ที่เหลือคือการใช้เบาะแสที่ได้ไปรวบรวมดนตรีที่เกี่ยวโยงกันทั้งหมดนี้มาจัดเก็บทำ ฐานข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ และพัฒนาต่อยอด ผมว่าแค่นี้ก็เหนื่อยหนักหนาสาหัสแล้ว จากข้อมูลทั้งหมดที่มีนี้ ผมก็คิดว่าผม คงมีทุนสำรองมากเพียงพอกับการออกไปสำรวจแล้ว ดังนั้น พูดอย่างไม่รับผิดชอบก็คือ .. ผมเผ่นก่อนล่ะ ! แว๊บ เจอกันในสนาม แล้วกัน. ข้อมูลอ้างอิงและภาพประกอบ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา : ลักษณะไทย เล่ม 1 “ภูมิหลัง” (สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช) ชลธิรา สัตยาวัฒนา : ไป่เยว่ (สำนักงานกองทุนสนันสนุนการวิจัย สกว.) Stephen Oppenheimer : Eden in the East (ISBN 0-75380-679-7) National Geographic : https://genographic.nationalgeographic.com/genographic/index.html Sanxingdui Museum Website : http://www.sxd.cn/en/yizhi.html Yonaguni Under Water Structure : www.morien-institute.org Vanishing Tattoo Website : http://www.vanishingtattoo.com/ Gerald Warner Taiwan Image Collection : http://warner.lafayette.edu/index.php Wikipedia Free Online Encyclopedia
www.trekearth.com
e-20
en.wikipedia.org
เสียงจากสวรรค, และโลก
และถ้าเรารู้จักฟัง.. อย่างอ่อนน้อม เราจะได้ยินอีกหลายเสียง ที่น้อยคนนักจะได้ยิน โลกไม่เคยไร้เสียง
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
สรรพสำเนียงทั้งหลายในธรรมชาตินี่แหละที่สร้างแรง บัน ดาลใจพื้นฐานให้แก่มนุษย์ เสียงของน้ำตก.. เสียงกบร้อง ระงมมาจากทุ่งนาหลังฝนหยุดตก.. เสียงสดใสเจื้อยแจ้วจาก เจ้านกตัวดี..ฯลฯ เสียงทั้งหลายเหล่านี้ได้สร้างประสบการณ์ อันแสนมหัศจรรย์ทางการได้ยินให้แก่เรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันหลอมรวมกับภาพทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลก มันไม่ เพียงแค่มีผลทางอารมณ์หรือความรู้สึกที่ทำให้เราพึงพอใจ ประทับใจ หรือแม้แต่หวาดกลัว .. มันยังมีผลกับความคิดและ วิถีชีวิตของเราด้วย. จากอดีตกาลที่ผ่านมา โดยลำดับ มนุษย์ได้เรียนรู้ถึง ความสัมพันธ์กันของสิ่งทั้งหลายกับเสียงต่างๆ ที่ได้ยินและคุ้น เคย รวมทั้งได้พบกับประสบการณ์อันน่าฉงนและน่าสงสัยของ เสียงมากมาย ที่มนุษย์เองในตอนนั้น ก็ยังไม่เข้าใจว่ามันคือ อะไรและมาจากไหน สิ่งใดกันหนอที่ทำให้เกิดเสียงเหล่านั้น ขึ้น แม้ว่าในวันนี้ เราจะมีเทคโนโลยีและความรู้มากพอที่จะ เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับศาสตร์ของเสียงแล้วก็ตาม แต่ โลกก็ยังคงมีเสียงใหม่ๆ มาให้เราได้ประทับใจไม่หยุดไม่หย่อน เช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้ประสบการณ์ทางเสียง ยังคงเป็นสิ่งที่สร้าง ความอัศจรรย์ใจให้กับเราได้เสมอ.. ทุกสิ่งที่เราเห็น จะดู ปราศจากชีวิตถ้ามันไม่มีเสียง.
☯ ดนตรี คีตา เวหา จักรวาล
ดวงดาวที่เล่าขาน ระยิบหวาน ระยับหาว.. หยดน้ำค้างพร่างพราย หยาดประกายพร่างพรม คล้อยเคลื่อนเลื่อนสายลม ปรอยเมฆฝนหล่นทำนอง สู่ยอดไม้ใกล้ฟ้า สู่ยอดหญ้าใกล้ดิน น้ำเชี่ยวที่ไหลริน ลำธารนิ่งที่ไหลลืม ยอดเขาเงาตระหง่าน ลมไขขานกรรโชกพัด แผ้วพานผ่านป่าชัฏ สู่ที่สงัดในอาราม
พอจะนึกภาพออกไม๊ว่าว่ามนุษย์ยุคหิน ที่ได้ยินเสียง ก้องสะท้อนคนแรกจะเป็นยังไง ขณะที่กำลังยืนอยู่ในหุบเขา แล้วส่งเสียงออกไป คงตกใจแทบแย่ตอนที่มันมีเสียงสะท้อน กลับมา.. “เฮ้ย..! ใครหว่า ? ก็ตูอยู่คนเดียวนี่นา.. แล้วเสียงนั่น มันมาจากไหนกันล่ะ..” ความคิดที่จะอธิบายเรื่องนี้ในยุค ดึกดำบรรพ์มีประการเดียวครับ นั่นคือ ผีสางเทวดา ใช่แล้ว.. นี่ต้องเป็นเสียงตอบจากสวรรค์แน่ๆ !
เงียบสงบไม่เงียบเหงา พระธรรมเคล้าเข้าสวรรค์ ศีลสมาธิปัญญาพลัน ทำนองสรรค์สุญตา : เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ / พ.ศ. 2525
โลกไม่เคยไร้เสียง .. ในความเงียบสงบที่สุดของที่สุด ก็ ยังมีเสียง ตั้งแต่เสียงที่แผ่วเบาและรวยรินของลมปราณชีวิต ไปส่ ู เ สี ย งที ่ ท ั ้ ง โอบอุ ้ ม นุ ่ ม นวล ทั ้ ง กรรโชกหวี ด หวิ ว ของ ลมปราณในธรรมชาติ.. เสียงอันไหลเลื่อนและชุ่มเย็นของ สายน้ำ.. เสียงอสนีบาตครั่นครื้นและพายุที่คลุ้มคลั่ง .. เพลง พริ ้ ว ไหวของปลายยอดไม้ เ มื ่ อ ต้ อ งลม.. เสี ย งกล่ อ มของ มหาสมุทรที่ไม่รู้จบ.. เสียงขับขานของหมู่นกที่เปิดอรุณสู่วัน ใหม่....
จะด้วยธรรมชาติบันดาลหรือเป็นพระเจ้าองค์ใดก็ตาม ที ปรากฎการณ์เช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ก่อให้เกิดอำนาจที่จะ ทำให้เผ่าพันธ์ุนี้รู้จักก้มหัวให้กับบางสิ่ง เกิดอำนาจที่ต่อมาได้ กลายเป็นอุบายที่ทำให้เกิดความยับยั้งชั่งใจ เป็นรากฐานของ ระบบที่ก่อกำเนิด ความเชื่อ การเคารพนับถือ ศรัทธา ศีลธรรม จนที่สุดได้กลายเป็น ศาสนา ซึ่งในที่สุดคือส่วนสำคัญในการ กล่อมเกลามนุษย์ให้เป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าเดรัจฉาน. f-1
เขียนถึงตรงนี้อยู่ๆ ก็เห็นหน้า นิเซา ลอยขึ้นมา แล้วก็เลยพักขำอยู่ อึดใจนึง.. คิดว่าหลายคนคงจะเคยดู หนังเรื่อง เทวดาท่าจะบ็องส์ (The Gods Must Be Crazy) กันมาแล้ว เป็นหนังเก่าพอสมควร มีอยู่สองภาค ด้วยกัน.. ตัวเอกคือ นิเซา (แสดงโดย Xixo ชาวป่าเผ่าซานแห่งกาลาฮารี แอ๊ฟ ริกา) ภาคแรกนั้นเรื่องมีอยู่ว่า..นักท่องเที่ยวดันโยนขวดโคคา โคลาลงมาจากเครื่องบินตกลงมาในป่าของนิเซา เขาไม่เคย เห็นหรือรู้จักวัตถุชนิดนี้มาก่อน.. มันดูดีเกินกว่าจะเป็นของ มนุษย์อย่างพวกเขา ก็เลยคิดว่าเทวดาบนสวรรค์คงจะทำมัน หล่นลงมา. แรกๆ ก็เพลิดเพลินมาก โอ.. เป็นของดีนะนี่ ใช้ทำ อะไรได้มากมาย ใช้บดหัวมัน ใช้ทุบรากไม้ เอามาเป่ามีเสียง ก็ได้ช่างดีแท้ จนใครๆ ต่างก็ชอบแล้วก็เริ่มแย่งกัน เกิดความ ร้าวฉานในครอบครัวอันแสนซื่อและสงบสุขซึ่งไม่เคยทะเลาะ กันมาก่อนเลยแม้สักครั้งเดียว นิเซาก็เลยชักเอะใจ สงสัยเขา จะถูกสาปแล้วเป็นแน่แท้ ที่เก็บของดีของเทวดาได้ แล้วก็เอา มาใช้ไม่ยอมคืน คิดดูแล้วมันคงจะต้องวุ่นวายแน่ถ้าเทวดาหา มันไม่เจอแล้วโกรธ เผ่าของเขาก็จะต้องเดือดร้อนเพราะ เทวดาคงบันดาลอะไรแย่ๆ ลงมาทำโทษ ในใจก็นึกไปว่า เทวดาคงจะสติไม่ดีที่ทำของอย่างนี้หล่นลงมา ดังนั้นเขาก็เลย ตัดสินใจจะเอามันไปคืนที่ขอบโลก แล้วนิเซาก็เริ่มเดินทางไป ขอบโลก.. ก็ผจญภัยไปเรื่อย ขำไปตลอดทาง ท้ายสุดก็คือไป อยู่ที่หน้าผาสูงมาก มองไปก็เห็นแต่ทะเลเมฆ ชะรอยว่าพวก เผ่านี้ไม่เคยมีใครไปไกลกว่านี้แล้ว และนี่ก็คือขอบโลกของเขา ว่าแล้วก็ขว้างขวดโคลา ฟิ้ว ..! คืนให้เทวดาไป แล้วก็กลับบ้าน เรื่องก็จบลงอย่างนี้ ซึ่งว่าไปแล้วก็มีคติสอนใจให้ได้คิดอยู่ เยอะแยะสลับกับมีฉากให้ขำอยู่ทั้งเรื่องด้วยความซื่อและ จริงใจของนิเซา ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า มนุษย์เราในยุค โบราณก็คงจะซื่อและจริงใจอย่างนิเซานี่แหละ. อันที่จริง มันคงน่ากลัวพิลึกและไม่น่าจะขำ หากต้อง เจออะไรแปลกๆ อย่างนี้เมื่อซักแสนซักหมื่นปีที่แล้ว . แม้มันจะ ขำเมื่อทำเป็นหนัง แต่เชื่อไม๊ว่า โลกปัจจุบันก็ยังคงไม่ได้หลุด ไปจากแนวคิดโบราณนี้เลย มนุษย์ยังคงบูชาผีสางนางไม้เทพ ไท้เทวาอยู่จนทุกวันนี้ ทั้งที่มีฤทธีสร้างสถานีอวกาศลอยอยู่ บนฟ้าได้แล้ว. โอย .. ลูกช้างหันไปทางไหน ก็เห็นแต่พระพักตร์องค์จตุ คามรามเทพพะย่ะค่ะ นมัสเต !
ชื่นชอบหรือประทับใจ ก็มักจะพยายามเลียนเสียงนั้น ไม่ว่าจะ เป็นเสียงนก เสียงสัตว์ เสียงต่างๆ ที่มีในธรรมชาติ หรือแม้แต่ เสียงมนุษย์ด้วยกันเอง มนุษย์ในยุคเริ่มแรกนั้นไม่ได้คิดว่าตน วิเศษกว่าสัตว์ พวกเขาอยู่ร่วมกันกับสัตว์ พวกเขานับถือสัตว์ ด้วยซ้ำไป ซึ่งปรากฏอยู่ในระบบความเชื่อยุคแรกๆ . เราลองมาสมมุติเล่นๆ ดูว่า ถ้าเราเอามนุษย์สักกลุ่ม หนึ่ง เอาเป็นว่าสักยี่สิบคู่ นำไปปล่อยในป่าตั้งแต่เด็ก (ตัดข้อ เท็จจริงออกไปก่อนและสมมุติว่ารอดอยู่ได้) โดยไม่ได้เจอกับผู้คนอื่น ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่รับรู้การมีอยู่ใดๆ ของเมือง และเทคโนโลยีอย่างที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ แม้ว่าพวกเขาจะมี สมองที่ใหญ่และสมบูรณ์ในแบบโฮโมเซเปี้ยนส์แล้วก็ตาม วิวัฒนาการการเรียนรู้ก็คงจะต้องไปเริ่มกันใหม่เหมือนมนุษย์ ยุคหิน ไม่มีทางที่อยู่ๆ ก็ลุกขึ้นมาแต่งซิมโฟนี่หรือเขียนบทกวี ได้หรอก แม้ว่าสมองพวกเขาจะมีศักยภาพที่จะทำอย่างนั้นได้ ก็ตามทีเถอะ นี่เนื่องเพราะว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันมีฐานความรู้ที่ สั่งสมมาจากรุ่นก่อนๆ นานนับเป็นพันๆ ปี และมีระบบการ สอนที่ถูกเตรียมเอาไว้เพื่อฝึกฝนมนุษย์ ให้มีทักษะที่สั่งสมมา เป็นพันๆ ปีเหล่านั้นได้ภายในช่วงเวลาแค่ไม่กี่สิบปี แล้วแต่ละ คนก็ยังจะยกระดับให้สูงขึ้นไปได้อีก ด้วยการต่อยอดความรู้ หรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นี่ถือเป็นปรากฎการณ์ปาฏิหาริย์ ชนิดหนึ่งของมนุษย์ชาติทีเดียวล่ะ อย่างไรก็ตาม มันเริ่มจาก ศูนย์เสมอ เป็นลำดับขั้น แล้วถึงไป หนึ่ง-สอง-สาม-สี่ .. ‘โดย ทั่วไป’ กฎของการเรียนรู้เป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อใดก็ตามที่ เกิดการกระโดดข้าม ก็จะตามมาด้วยคำถามที่ไม่มีคำตอบ. ปราศจากรากฐานของความรู้และระบบการเรียนการ สอนที่ว่านี้ โลกก็คงจะวิวัฒน์ไม่ได้ การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ให้แก่ โลก ล้วนตั้งอยู่บนฐานของสิ่งเก่าที่มีอยู่แล้ว ซึ่งย้อนกลับไปสู่ ก้าวที่หนึ่งในอดีตที่ไกลโพ้น (ตามตำราให้เครดิตก้าวที่หนึ่งนี้ กับ ‘การค้นพบวิธีทำให้เกิดไฟ’ ) แต่พึงระวังและตระหนักเอา ไว้เสมอว่า สิ่งต่างๆ และระบบความรู้ทั้งมวลนี้อาจล่มสลาย และสูญสิ้นไปได้ในชั่วข้ามคืน ด้วยหายนะอย่างเช่นมหา ภูเขาไฟระเบิด (Super Eruption) ที่เกิดขึ้นในโทบาอินโดนีเซีย ราวเจ็ดหมื่นกว่าปีมาแล้ว.. หรืออุกกาบาตชนโลก .. หรือไม่ก็ สงครามนิวเคลียร์ล้างโลก เคยมีผู้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจเอาไว้ว่า ถ้ามีสงครามโลกครั้งที่สี่ ตอนนั้นเราก็คงจะต้องรบกันด้วย ก้อนหินและหอกอย่างแน่นอน เพราะเมื่อคำนวณจากอาวุธที่ มนุษย์มีกันอยู่ในตอนนี้ หากเกิดสงครามโลกครั้งสามขึ้น โลก ก็คงไม่เหลืออะไรเลยไว้ให้ใช้สู้กันในครั้งที่สี่ และถ้ายังดันมี มนุษย์เหลือรอดอยู่ แน่นอนเลยว่าพวกเขาคงต้องเริ่มกันใหม่ เกือบหมดแหละ แม้จุดเริ่มต้นอาจจะไม่ถอยไปไกลถึงยุคหิน แต่ก็รับประกันได้ว่าต้องถอยกลับไปไกลโขทีเดียว.
มนุษย์เป็นนักเลียนแบบ การเรียนรู้ของมนุษย์อยู่บน พื้นฐานการเลียนแบบมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เสียงอะไรก็ตามที่ f-2
เมื่อผ่านไปหลายพันปี เราจึงมีศิลปศาสตร์แห่งเสียงสองแขนง ซึ่งเกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่นมาตั้งแต่แรก ก็คือ ‘ภาษา และ ดนตรี’ สั่งสมไว้ในฐานความรู้ของเรา สองสิ่งนี้ไม่เคยแยกจาก กันได้โดยเด็ดขาด.
ดังนั้น ถ้าเราสมมุติว่าเอามนุษย์ไปปล่อยในป่าอย่างที่ ว่านั่น มนุษย์พวกนี้ก็คงเริ่มต้นเหมือนตอนที่บรรพบุรุษเราเริ่ม นั่นแหละ คือ เอาตัวให้รอด หากิน ไม่ถูกกิน ไม่ป่วยตาย สร้าง บ้าน สืบพันธ์ุ .. ในหนึ่งวัน นอนซักหกชั่วโมง หากินดิ้นรนราย วัน ขุดนั่นล่านี่อีกสักสิบสองชั่วโมง เรื่อยเปื่อยไปสักสองชั่วโมง แบ่งเวลามาวันละสี่ชั่วโมงใช้หาความรู้ จะใช้เวลาเท่าไรกว่า จะจุดไฟอันแรกของพวกเขาได้ คงใช้เวลาหลายพันปีกว่าจะ เรียนถึงวิชาร๊อคเก็ทไซแอ๊นซ์ 101 (บั้งไฟวิทยา).
ภาษานั้น เป็นสิ่งที่มีมานานมากแล้ว เราไม่อาจรู้ได้ว่า นานเท่าไร Edo Nyland ผู้เขียนหนังสือชื่อ “Linguistic Archaeology” ที่เกี่ยวกับการค้นหาความลับของรากเง่าที่ซ่อน อยู่ของภาษาโบราณต่างๆ เริ่มต้นบทนำในหนังสือของเขา เล่มนี้ได้อย่างคมคายว่า...
มนุษย์รู้จักกับเสียงต่างๆ ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว เสียง จากภายนอกผ่านเข้าไปกระตุ้นการเรียนรู้ของพวกเขาแต่แรก ในโลกที่ห้อมล้อมด้วยของเหลว ทันทีที่คลอดออกมา ก็ได้ยิน เสียงอึกทึกมากมายรายรอบตัว ทำให้เด็กน้อยตกใจและร้อง ออกมา นั่นเป็นครั้งแรกที่เขาได้ยินเสียงตัวเองและรู้จักกับ อุปกรณ์ทางเสียงชั้นเยี่ยมที่ติดตัวเขามา จากนี้ไป เขาจะเริ่ม เรียนรู้วิธีว่าจะใช้มันอย่างไร เช่น เมื่อเวลาหิว ต้องการนมอีก ง่วงนอน หรือต้องการให้อุ้ม มีเวลามากมายให้ฝึกฝนเตรียม ตัว กว่าจะเริ่มพูดคำแรก อย่างช้าๆ .. บรรพบุรุษของเราค่อยๆ ฝึกฝนและจดจำ เสียงต่างๆ แม้จะไม่เข้าใจมัน แต่ก็พยายามหาคำอธิบายและ ทำตามกันต่อๆ ไป ทำอย่างนั้นอย่างนี้จะมีผลยังไง ทำยังไงให้ เป็นเสียงแบบนั้น เริ่มต้นเกิดธรรมเนียมเกี่ยวกับเสียงขึ้นมา พวกเขารู้จักทำเสียงสัตว์เพื่อหลอกสัตว์อื่น เพื่อช่วยในการล่า หรือไม่งั้นก็ทำเล่นสนุกๆ พวกเขาเจอสัตว์นักล่าที่ทำให้เขา กลัว เขาจึงเลียนเสียงของมันบ้างเพื่อทำให้ผู้อื่นหรือสัตว์อื่น กลัว เขาเองรู้สึกตกใจเมื่อได้ยินเสียงดัง จึงรู้จักใช้เสียงดังเพื่อ ประโยชน์เดียวกัน และทำตรงข้าม คือใช้เสียงเบาเพื่อปลอบ ประโลมให้สงบ.. พวกเขารู้จักใช้เสียงส่งสัญญาณ เพื่อส่งข่าว เตือนภัย เริ่มแยกแยะเสียงสูง ต่ำ ดัง เบา ใกล้ ไกล.. ได้ค้นพบ ลักษณะใหม่อันหลากหลายในเสียงของตัวเอง และเสียงจาก เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เช่น เสียงสั่นที่แสดงความกลัว เสียง ร้องไห้ เสียงเมื่อรู้สึกโกรธ เสียงจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ด้วยการเคาะตีดีดถูไปตามร่างกาย ปรบมือ กระทืบเท้า.. เมื่อพบคุณสมบัติที่ทำให้เกิดเสียงในร่างกายแล้ว ก็ เริ่มแยกแยะคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันจากสิ่งอื่น เช่น เสียง หวีดของลมจากปาก เสียงผิวปาก เทียบเคียงกับเสียงที่เป่า ผ่านใบไม้ หรือผ่านโพรงไม้ .. ทั้งสิ้นทั้งปวงนี้คือบ่อเกิดพื้นฐาน ของ ‘ภาษาพูด’ ซึ่งคือการสื่อสารชนิดแรกของมนุษย์ จากนั้นก็ ขยายขอบเขตความรู้ออกไปสู่การจดจำและใช้ประโยชน์ของ สภาพแวดล้อมทางเสียงต่างๆ เช่น ถ้าไปใช้เสียงในโตรกผาจะ เป็นอย่างไร ใช้ในถ้ำ ใช้ในลำธาร จะได้ผลของเสียงที่แตกต่าง กันออกไปอย่างไร... ที่จุดหนึ่ง ดนตรีอันแรกในโลกก็เกิดขึ้น
“ภาษานั้นควรจะต้องมีขึ้นก่อนที่จะมีแสงสว่าง เพราะถ้าไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าก็คงไม่สามารถพูดในบทเริ่มต้นเจเนซิสได้ว่า.. ‘Let there be light’ .. ‘ให้ที่นั้นมีแสงสว่าง’ ” แน่นอนว่านี่เป็นการเปรียบเปรย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ภาษานั้น เก่าแก่พอๆ กับเผ่าพันธ์ุของเรา ถึงตอนนี้ ให้ลองทดลองนึกคำในภาษาไทยหรือภาษา อื่นก็ได้ ลองนึกเล่นๆ ดูสนุกๆ ว่ามันเหมือนกับเสียงสัตว์หรือ เหมือนเสียงอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ‘ขู่’ หรือ ‘คำราม’ คุณจะพบว่ามันให้เสียงที่ใกล้เคียงกับลักษณะที่มันนิยามมาก ทีเดียว หรืออย่างคำว่า ‘หอน’ ทำไมเราไม่ใช้คำว่า ‘เด่ว’ กับ อาการหอนล่ะ เช่น ไหนเด่วให้ฟังหน่อย… ก็เพราะมันไม่ตรง อาการไง อย่างคำ ‘เห่า’ ก็เหมือนกัน เสียงมัน เห่า เป๊ะเลย. คุณอาจลองแลกคำกันดูก็ได้เช่น ใช้คำว่า ‘หูด’ แทน ‘ต่อย’ จะ เห็นว่ามันไม่ได้อาการตรงที่มันดูดเสียงเข้ามา แทนที่จะออก ไปไง เหตุนี้เราถึงใช้คำว่า ‘ทิ่ม’ แทน ‘ต่อย’ ได้ พอๆ กับแทน คำว่า ‘ชน’ หรือ ‘แทง’ ก็ได้ เพราะเสียงมันให้ความรู้สึกตรงกับ อาการตามธรรมชาติมากกว่า อาจลองเทียบคำเดียวกันกับภาษาอื่นก็ได้ สนุกดีออก เป็นไงบ้าง... ถึงตอนนี้คุณพบปริศนาทางภาษาศาสตร์กี่อัน ? ดนตรีเกิดขึ้นอย่างไร ? ในชั้นเรียนดนตรีชาติพันธ์ุวิทยา คำถามคลาสสิกที่มัก ถามกันอยู่เสมอคือดนตรีเกิดขึ้นอย่างไร เช่นเดียวกันกับ คำถามว่าภาษาเกิดขึ้นได้อย่างไร มันเป็นการยากที่จะนึกถึง ดนตรีอันแรกของโลกจริงๆ แต่กระนั้นก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ซะ ทีเดียว สิ่งที่ทำได้ก็คือ เดาให้ได้ใกล้เคียงที่สุด และหวังว่าการ เดานั้นจะทำให้คนส่วนใหญ่เห็นด้วย ซึ่งถ้าจะว่ากันไปแล้ว f-3
เป็นไปได้มากเลยว่า มันจะไม่ได้รับความสนใจเหมือนเช่นทุก วันนี้ บางทีมันอาจฟังดูไม่เหมือนกับดนตรี แล้วก็ไม่ได้มี คุณสมบัติอะไรอย่างที่ดนตรีในทุกวันนี้มีอยู่มากมายเต็มไป หมด เป็นไปได้ว่า มันอาจไม่เคยถูกแบ่งแยกออกจากสิ่งที่มัน เคยเป็น ซึ่งสิ่งนั้นที่ในที่สุด ได้กลายมาเป็นภาษา.. ณ เวลา หนึ่ง ด้วยวิธีใดก็ตาม ดนตรีก็ได้ปรากฏขึ้น”.
วิชาประวัติศาสตร์หรือวิชาโบราณคดีก็ไม่ได้อยู่ในฐานะที่ได้ เปรียบกว่าซักเท่าไหร่ไม่ใช่หรือ ในความคิดเห็นส่วนตัวผม หากให้คาดเดากำเนิดของ ดนตรีผมก็เชื่อว่ามันน่าจะเกิดขึ้นมาพร้อมกันกับภาษา ณ จุด หนึ่ง เมื่อมนุษย์เริ่มความพยายามที่จะใช้เสียงของตัวเองเพื่อ ที่จะแสดงออกหรือสื่อสารบางอย่าง ผมคิดว่าจากอดีตจนถึง ปัจจุบัน มนุษย์น่าจะยังคงทำเหมือนกับที่เคยทำทุกครั้ง เวลา พยายามทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน นั่นก็คือการลองผิดลองถูก มนุษย์จะต้องผ่านขั้นตอนการลองรูปเสียงต่างๆ เท่าที่อวัยวะ ในการออกเสียงจะทำได้ ซึ่งก็มียากมีง่ายปะปนกันไป แล้วก็ เลือกเอาว่าอันไหนจะแทนความหมายอะไร บางเสียงอาจฟัง แปลกและมันไม่สะดวกจะใช้พูดคุย เช่น เสียงโหยแบบที่จำมา จากชะนี เป็นต้น นั่นเป็นเทคนิคที่ปัจจุบันนี้นักร้องเรียกว่า glide. มนุษย์บางคนอาจรู้สึกว่ามันสนุกดีที่จะทำเสียงแบบนั้น จนได้กลายมาเป็นการขับร้องไป เสียงบางแบบที่คนส่วนใหญ่ อาจจะทำไม่ได้ มันก็จะไม่ถูกใช้ในระบบการพูดแต่ถูกเอาไป ใช้ในวิธีที่พิเศษอย่างการสวดหรือขับร้อง ซึ่งก็สอดคล้องดีกับ ข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ทุกคนที่จะร้องเพลงได้ดี เสียงบางเสียงเกิด เป็นถ้อยคำที่มีความหมายในรูปภาษาพูด แต่เสียงบางเสียงก็ อาจไม่มีความหมายทางภาษาพูด เช่น เสียงว่า ‘ซู่ซ่า’ ‘หวีด หวิว’ หรือเสียง ‘ฮู่’ ซึ่งเมื่อเราได้ยิน เราบอกได้ว่าอะไร หรือรู้ สึกอย่างไรมากกว่าจะไปแปลความหมายมัน ด้วยวิธีการอย่าง นี้ พัฒนาการอย่างนี้แหละ มันจึงค่อยๆ แยกออกจากกันเป็น สองทาง คือ ทางหนึ่งเป็น 'ภาษา' และอีกทางหนึ่งที่จะกลาย มาเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า ‘ดนตรี’ ซึ่งถ้าหากพิจารณากันในแง่นี้ ก็หมายความว่า ดนตรี เกิดขึ้นมาจากภาษานั่นเอง อย่างไรก็ตาม ความเห็นของผมก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ใครๆ อยากจะเห็นพ้องด้วย มีนักวิชาการมากมายหลายท่านเคย เสนอแนวคิดที่น่าสนใจไว้หลายทางด้วยกัน และส่วนใหญ่ก็ชี้ ให้เห็นความสัมพันธ์กับภาษาอย่างเห็นได้ชัด
Carl Stumpt นักปรัชญา- จิตวิทยาชาวเยอรมัน นำ เสนอว่า ดนตรีนั้นเกิดขึ้นมาจากวิธีการสื่อสารด้วยเสียงของ มนุษย์ มันเป็นพัฒนาการของการใช้คุณสมบัติที่พิเศษหลาย รูปแบบของถ้อยคำ. Siegfried Frederick Nadel นักมนุษยวิทยาชาว อังกฤษเชื้อสายออสเตรีย ก็สนับสนุนแนวคิดเดียวกันนี้ว่า การ เพิ่มระดับเสียงให้สูงขึ้นและการลากเสียงให้ยาวขึ้น ก็เพื่อ ให้การสื่อสารระยะไกลได้ผลที่ดีขึ้นกว่าการใช้เสียงพูดปรกติ บางทีการทำเช่นนี้แหละ ที่นำไปสู่ดนตรี การขับร้องเพลงนั้น ใช้ลักษณะการลากเสียง แบบที่คนเราใช้เวลาร้องเรียกหากัน และมันก็ได้ผลมากขึ้นถ้าทำพร้อมกันหลายคน (unison) ซึ่ง นี่ก็เป็นคุณสมบัติหลักอีกอย่างหนึ่งของดนตรี. เมื่อระยะทางนั้นไกลมากขึ้น ส่งเสียงไปไม่ไหว จึง ต้องมีการหาเครื่องผ่อนแรงเข้ามาใช้ในการสื่อสาร แน่นอนว่า กลองนั่นคือเครื่องมืออย่างแรกๆ แต่ในแถบภูเขาสูงมากๆ ที่ การก้องสะท้อนมีเยอะกว่า การใช้กลองก็อาจไม่เหมาะสม เรา พบการใช้แตรขนาดใหญ่ที่มีเสียงกังวาลไกล อย่างเช่น Alp Horn ของผู้คนแถบเทือกเขาแอลป์ หรืออย่าง Dung Chen ที่ ใช้โดยพระในแถบทิเบต ดังนั้นเครื่องดนตรีในยุคแรกๆ ก็อาจ เกิดขึ้นด้วยจุดหมายอย่างเดียวกันนี้ เคยมีทฤษฎีเก่าแก่อันหนึ่งที่มีมาก่อนหน้านี้นานแล้ว โดย Carl Buecher ว่า ดนตรีนั้นกำเนิดขึ้นจากจังหวะการ ทำงานของมนุษย์ แน่นอนว่ามีดนตรีสำหรับการทำงานอยู่ แต่ ต้นกำเนิดดนตรีจริงๆ ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างนั้น Charles Darwin เคยนำเสนอแนวคิดที่น่ารักกว่านั้นไปอีกว่า ดนตรีอันแรก นั้นเกิดจากการร้องเรียกหาคู่ของมนุษย์… แหม.. น่ารักจริง.
Homer G. Barnett นักมนุษยวิทยา ได้ให้ทัศนะไว้ว่า “ดนตรีเป็นผลพวงของการเติบโตจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในเวลา นั้น ไม่ว่าจะเป็น เสียงร้องของสัตว์ เสียงพูด จังหวะการ ทำงาน.. ถ้าเรานึกภาพว่า ดนตรีได้เกิดขึ้นและกลายมาเป็น ระบบในการจัดการเสียง มันก็น่าจะทำเช่นนั้นกับเสียงที่มีอยู่ ก่อน ซึ่งมนุษย์ได้รู้จักและเข้าใจมันแล้ว จากแนวคิดนี้ เรา อาจจะพอนึกภาพออกว่า ที่จุดหนึ่งในอดีตของมนุษย์ รูปแบบ ชนิดหนึ่งของการสื่อสาร ได้ก่อร่างลักษณะที่ชัดเจนของสิ่งที่ ตอนนี้เราพิจารณาว่ามันเป็น ดนตรี ขึ้น แต่ในความคิดของ สังคมมนุษย์ที่ใช้มันอยู่ขณะนั้น มันอาจไม่ใช่ดนตรี และมันก็
Siegfried Frederick Nadel กล่าวเสริมไว้อีกว่า ใน ทุกวัฒนธรรม ไม่มีอะไรที่เชื่อมโยงกันใกล้ชิดไปกว่าดนตรีและ ศาสนาอีกแล้ว มันเป็นการหลอมรวมรูปแบบที่จริงจังและเป็น แบบแผนของพิธีกรรมต่างๆ ให้เข้ากับดนตรีได้เป็นอย่างดี เขา ยังกล่าวด้วยว่า กำเนิดของดนตรีนั้น เป็นผลมาจากความ f-4
ว่าไปอินเดียนแดงกับเรานี่เป็นญาติกันนะ แนวคิดก็เลยจะ เหมือนกับคนเอเชียอย่างเรานี่แหละ เนื้อเพลงนี้ถ่ายทอดคำ พูดที่โพคาฮอนตัสบอกกับผู้กองสมิธนายทหารหนุ่มจากกอง เรือล่าอาณานิคมชาวอังกฤษ มีเนื้อความแปลว่า..
ต้องการของมนุษย์ ที่จะจัดหาวิธีการเฉพาะเป็นพิเศษ เพื่อ สื่อสารกับอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นวิธีการที่จะนำเอารูป แบบของคำพูดที่ใช้สื่อสารกันตามปรกติของคนเรา มาใช้ใน อีกวิธีที่ต่างกันอย่างชัดเจน. ไอ้เจ้าการสื่อสารแบบพิเศษที่ว่านี้เนี่ย... ว่าไปแล้ว มันได้แบ่งออกเป็นสองทางครับ อย่างที่เราคงเคยได้ยินกันมาบ้าง.. Heaven and Earth..
สูเจ้าคิดว่าข้าคือคนเถื่อนผู้โง่เขลา และเจ้าคือผู้ได้เหยียบย่างไปทุกแดนดินแล้ว ข้าไม่สงสัยในข้อนั้นนัก แต่ข้าก็ไม่เห็นด้วยสักนิด ว่าคนเถื่อนที่เจ้าเอ่ยนั้น คือตัวข้า บัดนี้ ไม่ใช่เจ้าดอกหรือที่โง่เขลา และยังไม่รู้อะไรอีกมากมาย
“สวรรค์และโลก” นั่นเอง. ยังไงน่ะเหรอ... ยกตัวอย่างเช่น.. เมื่อพระลามะในทิเบตร่ายบทสวดในพระสูตร หรือเมื่อแม่หมอแห่งทุ่งกุลา ฮ่ายเพลงบูชาผีข่วงฟ้า นั่นก็คือการสื่อสารทางสวรรค์
สูเจ้าคิดว่าเป็นเจ้าของแผ่นดินใดใดที่ได้พิชิต โลกเป็นเพียงสิ่งที่ตายแล้วในคำอ้างของเจ้า แต่ข้านั้นรู้ดีว่า หินทุกก้อน ไม้ทุกต้น สัตว์ทุกตัว มีชีวิต มีวิญญาณ และมีชื่อ สูเจ้าคิดว่ามีคนพวกเดียวเท่านั้นที่เป็นคน และคนพวกนั้นคือพวกที่มีรูปกายและความคิดเยี่ยงเจ้า แต่หากเจ้าน้อมเดินในรอยเท้าของคนแปลกหน้าแล้วไซร้ เจ้าจะได้เรียนรู้อีกมากมายในสิ่งที่เจ้าไม่เคยรู้
เมื่อหนุ่มสาวขับเพลงเรือเกี้ยวกัน หรือเมื่อไมเคิล แจ๊คสันร้อง “ยู โน แอม แบ๊ด... อึ๊.. แอม แบ๊ด..อึ๊..” นั่นก็คือการสื่อสารทางโลก เสียงแห่งสวรรค์และโลก ในยุคหิน ด้วยความรู้อันจำกัด แม้มนุษย์เราสามารถ ควบคุมตัวแปรบางอย่างได้ แต่ก็อีกนานโขกว่าจะเข้าใจมัน เรารู้ว่าทำอย่างไรจึงมีไฟ แต่ก็ไม่รู้ว่าไฟมาจากไหน และบาง ครั้งก็ยังได้รับอันตรายวอดวายจากมัน แม้มนุษย์จะทำให้เกิด ไฟได้ แต่บ่อยครั้งก็ควบคุมมันไม่ได้ นี่มันคงต้องมีวิญญาณ อะไรสักอย่างหรือไม่ก็เทพเจ้าอยู่ในไฟแน่ๆ อำนาจนั้นช่าง รุนแรงน่ากลัว อยู่เฉยๆ ไฟก็อาจลุกโพลงขึ้นในป่าลามมาเผา หมู่บ้านให้วอดวายได้ ต้องทำดีๆ ต้องให้ความเคารพ ไฟจึงจะ ให้คุณประโยชน์ แล้วก็ยังรวมไปถึงเตาไฟอีกที่มีวิญญาณสถิต อยู่ ผมเองทุกวันนี้เวลาไปไหนถ้าต้องแวะปัสสาวะตามทุ่งตาม ต้นไม้ก็ยังถือคติ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ คือไหว้เอาไว้ก่อนไม่เสีย หาย. คนโบราณเชื่อว่าทุกอย่างมีผี มีวิญญาณ และมีเทวดา อยู่เต็มไปหมด. ผมชอบเพลงอยู่เพลงหนึ่ง เป็นเพลงประกอบการ์ตูน ของดิสนีย์เรื่องโพคาฮอนตัสชื่อเพลงว่า Colors Of The Wind ผู้แต่งคือ Stephen Schwartz แต่งไว้ดีมาก ไพเราะลึกซึ้ง และ มันสะท้อนให้เห็นความเชื่อของคนโบราณได้อย่างชัดเจน จะ
เคยได้ยินเสียงหมาป่าหวนไห้กับเสี้ยวจันทร์แสนเศร้าไหม หรือเคยถามเจ้าแมวป่าบ้างไหมว่าเหตุใดมันจึงแยกเขี้ยว เจ้าจะร่วมร้องไปกับลำนำสรรพเสียงแห่งขุนเขาได้ไหม เจ้าจะสามารถระบายสีสันอันหลากหลาย ของสายลมได้หรือเปล่า พายุฝนและแม่น้ำคือพี่ชายของข้า นกกระสาเฮรอนและนากน้ำคือเหล่ามิตรสหาย เราทั้งหมดล้วนเชื่อมโยงถึงกันและกัน ในวัฏจักรของห่วงโซ่ที่ไม่สิ้นสุด...
f-5
เกิดภาวะแร้นแค้นขึ้นมา ก็จะทำพิธีเพื่อขอให้ช่วยผีสางช่วย บรรเทาความเดือดร้อนนั้น. เพื่อให้แน่ใจว่าพิธีกรรมเหล่านี้จะดำเนินสืบทอดกันต่อ ไปเพื่อความอยู่รอดของชนเผ่า ก็จำเป็นต้องมีเรื่องราวเล่าขาน ความเป็นมาว่าพิธีกรรมเหล่านี้มีที่มาอย่างไร ทำไมต้องทำ เช่นนั้น ผู้เฒ่า พ่อหมอ หัวหน้าเผ่า จะมีเรื่องเล่า มีตัวอย่าง ของผลร้ายที่ไม่เชื่อฟังหรือไม่ทำตามธรรมเนียมมาขู่ และก็มี ตัวอย่างของผลดีเมื่อเชื่อฟังมาเล่าควบคู่กันไป คนเฒ่าคนแก่ คนมดคนหมอก็จะคอยขู่ไว้ เพื่อไม่ให้ลืม ไม่ให้ย่อหย่อน และ แน่นอนว่าการจะพูดกับสวรรค์ ก็ต้องไม่ธรรมดาล่ะ จะพูดกับ ผีฟ้าเทวดาเหมือนพูดกับเมียได้อย่างไร ไม่ใช่เพื่อนเล่นน๊ะจ๊ะ เธอ ก็ต้องใช้ภาษาอย่างละเอียดกว่า เห็นว่าสูงส่งกว่า .. (เช่น เราพูดภาษาไทยอยู่ แต่ใช้ภาษาบาลี สันสกฤต ในพิธีกรรม ทางศาสนา เป็นต้น) มีการคิดค้นให้มีเสียงที่พิเศษซับซ้อนกว่า ภาษาพูดธรรมดา แรกๆ ก็อาจเป็นแค่ทำเสียงให้ดัง หรือทำ เสียงต่ำมาก หรือไม่ก็ทำเสียงให้ประหลาดให้รวดเร็วกว่าปรก ติมากๆ ต่อมาก็พัฒนาทำให้มีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ เป็น ท่วงทำนองขึ้น จากนั้นก็เพิ่มความซับซ้อนของเสียงมากกว่า หนึ่งเสียงขึ้นไป มีการเพิ่มสัญลักษณ์ทางเสียงและข้อความที่ ศักดิ์สิทธิ์ มีรหัสนัยมากมาย ก็เกิดที่เรียกว่า การ สวด หรือ การร่าย (Chant) ขึ้นมา แรกๆ ก็บูชาสัตว์ บูชาผี บูชาปีศาจ บูชาเทวดาไป ผู้ดำเนินพิธีก็จะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของ ชาวบ้าน เช่น พ่อมดพ่อหมอ แม่มดแม่หมอ ของเผ่า (Shaman). ทุกวันนี้ก็ยังมีพิธีกรรมพวกนี้หลงเหลืออยู่ เช่น ใน ประเทศไทยก็มีชาวโอรังลาโวด ชนพื้นเมืองในอุษาคเนย์อย่าง ในมาเลย์มีพวกโอรังอัสลิ พวกดายักชนพื้นเมืองในบอร์เนียว พวกอะบอริจินในปาปัว ในหมู่เกาะเมลานีเซีย อย่างโซโลมอน วานูอตู เป็นต้น.. อย่างของชนชาวไทยทางเหนือเนี่ย พวกเราก็ คงเคยได้ยินมาบ้างที่เรียกว่า ผีฟ้า เพราะกลายเป็นละครทีวี ฮิตมากอยู่ยุคนึง เวลาต่อมาเมื่อมีศาสนาเกิดขึ้นจึงได้มี นักบวช นักพรต มาทำพิธีกรรมทางศาสนาเพิ่มขึ้นมา ก็จะมี การบูชาเทพยดา พระผู้เป็นเจ้า พระโพธิสัตว์อะไรต่างๆ ก็ว่า กันไป.. เมื่อมีร่ายในพิธีกรรมแล้ว จึงได้แยกออกไปเป็น “ขับ / ลำ / ร้อง” สำหรับไปใช้ในทางโลกอีกที.
พวกล่าอาณานิคมอย่างเช่น สมิธ ในเรื่องนี้ หรืออย่าง คอร์เตซ กับ โคลัมบัส ที่มาถึงอเมริกาแรกๆ นี่แหละ ที่ genocide พวกเอซเทค มายา อินคา จนต้องแตกสานซ่านเซ็นเป็น อินเดียนเร่ร่อนหมด พวกเขาไม่ได้ขึ้นยานอวกาศไปไหนหรอก เชื่อผมสิ. (ได้มีการตรวจดีเอ็นเอของซากมัมมี่สาวเผ่าอินคาที่มีอายุกว่า 500 ปี พบว่าเป็น haplogroup A กลุ่มเดียวกับพวก อินเดียนแดงเก่าแก่ในอเมริกา) คนเอเชียนอย่างพวกเราล้วนเคยมีวิถีชีวิตและวิธีคิดที่ อิงอยู่กับธรรมชาติเช่นนั้นมาก่อน แต่เราได้เปลี่ยนแปลงไป นานแล้ว และเราก็กำลังรับผลกรรมที่เราได้ทำร้ายธรรมชาติ อยู่ในตอนนี้ มันน่าเศร้ามากที่ป่าและแม่น้ำของเรากำลังตาย คนปกากะญอถามคนไทยว่า "คุณโง่รึไงที่ทำลายต้นน้ำ คุณ จะตายนะ" ถึงวันนี้ แม้จะมีเทคโนโลยีล้ำสมัยเพียงใด ผมยินดี จะก้มหัวให้กับพระเจ้าองค์ใดก็ตาม ที่มาสามารถทำให้มนุษย์ หยุดการกระทำเลวทรามต่ำช้าต่อธรรมชาติอย่างเช่นที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้ได้ ไม่สำคัญหรอก ว่าพระเจ้าองค์นั้นจะมีอยู่จริงหรือ ไม่ ขอบันดาลให้ธรณีสูบไอ้พวกที่มันกินป่า กินภูเขาอยู่ฮึ่มๆ นี่ ให้หมดไปที. ในอดีต มนุษย์ก้มหัวให้กับสิ่งเหล่านี้ครับ เมื่อเขาเก็บ พืชผักมากิน เขาพูดกับมันด้วยความเคารพและขอให้ความ อุดมสมบูรณ์คงอยู่ต่อไป เมื่อเขาจะกินหมูป่า เขาก็จะพูดกับ มัน "หมูผู้ทรงเกียรติ เราขอบคุณในเนื้อของท่าน จงอย่าโกรธ เคืองหรืออาฆาตเราเลย จงอย่าได้ตามรังควานหรือนำโชคร้าย มาให้..." นี่ไม่ใช่เรื่องตลกนะ คนโบราณเป็นอย่างนี้ คนพื้น เมืองที่ยังเหลืออยู่ในทุกวันนี้ ก็ยังคงมีความเคารพอย่างนี้อยู่ และจะด้วยเพราะมีอำนาจใดหรือไม่มีก็ตามที ธรรมชาติก็ ตอบแทนพวกเขา ด้วยการหยิบยื่นประโยชน์ให้มากกว่าความ หายนะ มนุษย์เองก็พยายามทำตัวดี ให้ความเคารพธรรมชาติ อยู่ในศีลธรรม เพื่อว่าผีร้าย (โรคภัย) จะได้ไม่มา-กล้ำกลาย.. ผีฟ้า ผีแถน เทวดา จะไม่ลงโทษ พืชผลจะได้งอกงามเก็บเกี่ยว ได้ผลดี มีกินไม่อดอยากยากแค้น เมื่อถึงฤดูกาลที่สำคัญต่างๆ ก็ต้องทำพิธีบูชาเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะดีเช่นนั้นตลอดไป เมื่อ
พวกเราที่เป็นคนไทยสยามส่วนใหญ่เนี่ย อาจไม่เคย ได้ยินพระของชนชาติอื่นสวด จะคุ้นกันแต่พระไทยที่การสวดดู เหมือนจะไม่มีทำนอง แต่จริงๆ มีนะ มีการเคลื่อนของตัวโน๊ต เพียงแต่ไม่มากนัก เราชินแล้วก็เลยเหมือนไม่มีทำนอง แต่ถ้า f-6
ส่วนภาคอีสานเรียกสองแบบ คือ แบบที่ใช้สวด (หรือสูตร) ทำขวัญต่างๆ จะเรียก ‘ฮ่าย’ เช่น ฮ่ายยาว และแบบที่ใช้เซิ้งต่างๆ จะเรียก ‘กาพย์’ เช่น กาพย์เซิ้ง (อ้างถึง ของดีอีสาน โดย จารุบุตร เรืองสุวรรณ)….
ขึ้นไปทางเหนือก็จะมีทำนองมากขึ้น อย่างพระไทลื้อนี่คนไทย บางคนไปได้ยินเข้าคิดว่าร้องเพลง ยิ่งถ้าได้ฟังพระชาติอื่นๆ เช่น พระทิเบต พระจีน พระญี่ปุ่นนี่ มีทำนองเป็นเรื่องเป็นราว โดยเฉพาะภิกษุณีทิเบตนี่สวดเพราะมาก การสวดหรือการร่าย นี่เป็นแบบนี้มาแต่โบราณแล้ว และก็อยู่คงทนมาก เชื่อว่าของ พระไทยก็ต้องเคยมีทำนองแบบนั้นมาก่อนอย่างแน่นอน.
โดยทั่วไปผู้คนในตระกูลไทย-ลาวเชื่อว่า อำนาจที่เหนือธรรมชาติคือผีที่อยู่บนฟ้า จึงมักเรียกกันว่า “ผีฟ้า” หรือ “ผีแถน” ซึ่งมีความหมายเท่ากับเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายก็น่าจะมีอำนาจไม่น้อย ที่จะดลบันดาลสิ่งใดๆ ได้ แต่ผีเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เหล่านั้นไม่ใช่คน เมื่อไม่ใช่คน ก็สื่อสารกันด้วยภาษาธรรมดา ที่คนพูดและร้องเพลงกันทั่วๆ ไปไม่ได้ ดังนั้นจึงจะต้องสร้างภาษาและท่วงทำนองพิเศษ เพื่อใช้สื่อสารกับ ผี เทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะ….
จากการสำรวจพบว่าดนตรีดั้งเดิมของทุกชนเผ่าก็จะ เริ่มจากพิธีกรรมก่อน จากนั้นจึงออกจากถ้ำ จากวิหาร ออก จากอารามจากวัด ไปสู่ชาวบ้าน ซึ่งในชั้นแรก ก็อาจจะยังคาบ เกี ่ ย วอย่ ู บ ้ า งกั บ ดนตรี ท ี ่ ใ ช้ ใ นพิ ธ ี ก รรมง่ า ยๆ ที ่ ช าวบ้ า น ประกอบเองได้โดยไม่ต้องมีพ่อมดแม่มดหรือนักบวช พอชาว บ้านเอามาใช้แล้ว ก็คงอยากเอามาร้องฟังกันเองเพลินๆ บ้าง จึงเกิดเป็นเพลงร้องทั่วไป เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงทำงาน เพลงศึก เพลงเกี้ยว เพลงรัก .. ในภายหลัง ซึ่งก็จะเรียกว่าเป็น การขับ การ ลำ การ ร้อง ซึ่งต่างจากการสวดการร่ายอย่าง ชัดเจน ไม่ให้ปะปนกัน ดนตรีที่ใช้สื่อสารกับสวรรค์นี้ มักจะ สงวนไว้ให้กับชนชั้นพิเศษเท่านั้นเช่น เชื้อพระวงศ์ พราหมณ์ นักบวช.. ที่มีสิทธิร้องและบรรเลง รวมไปถึงอนุญาตให้เล่า เรียนฝึกฝนได้. สวรรค์และโลก แบ่งกันเช่นนี้มาตั้งแต่แรกเรื่อยมาจน กระทั่งถึงทุกวันนี้ ทางดนตรีวิทยาสากลก็จะเรียกว่า Sacred Music สำหรับดนตรีทางสวรรค์ และ Secular Music สำหรับ ดนตรีทางโลก.
ส่วนที่เกี่ยวกับการ ‘สวด’ อ.สุจิตต์ เขียนไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันว่า สวด - พิธีกรรมสื่อสารด้วยคนคนเดียว มักมีขึ้นเพื่อความอยู่รอดของครอบครัวและญาติมิตร ได้แก่ พิธีเซ่นสรวงปวงผี พิธีบายศรีสู่ขวัญต่างๆ เช่น สู่ขวัญเรือน สู่ขวัญลาน(นวดข้าว) สู่ขวัญข้าว สู่ขวัญเล้า(ยุ้ง) สู่ขวัญนาค สู่ขวัญแต่งงาน สู่ขวัญโกนจุก และ.. ฯลฯ
การดนตรีของไท-ไทยเราเองก็แบ่งเป็นเช่นนี้มาแต่ โบราณเหมือนกับทุกที่ในโลกนั่นแหละ ราชสำนักได้ปรับแต่ง การสวดการร่ายให้แตกต่างจากเดิมที่ชาวบ้านเคยทำกัน โดย ผสมผสานอิทธิพลที่รับมาจากต่างประเทศเช่น อินเดียหรือจีน มีการจัดระบบวางธรรมเนียมแบบแผนอันเคร่งครัด สำหรับ พิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับสวรรค์ และยังคงกระทำสืบเนื่องกัน มาจนถึงปัจจุบันอยู่ แต่ก็มีหลายอย่างที่เสื่อมสูญหายไปแล้ว.
ผู้ทำหน้าที่สวดร่ายเพื่อส่งภาษา และทำนองอันศักดิ์สิทธิ์ ไปสังสรรค์กับปวงผีในสังคมยุคแรกๆ ก็คือ หมอผี และ หมอขวัญ
อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนเกี่ยวกับการ ‘ร่าย’ ของ ชาวไทยโบราณไว้ในหนังสือ “ร้องรำทำเพลง ดนตรีและนาฎ ศิลป์ชาวสยาม” ว่า..
(หมอผีและหมอขวัญในสังคมยุคแรกๆ เป็นผู้มีความรู้พิเศษทางพิธีกรรมประจำเผ่าพันธ์ุ เทียบเท่ากับนักบวชหรือบัณฑิตในสมัยหลังๆ )….
กลอนส่งสัมผัสร่ายนี้ แต่ละท้องถิ่นมีชื่อเรียกต่างกันดังนี้ ภาคกลางเรียก ‘ร่าย’ ภาคเหนือเรียก ‘ฮ่ำ’
คนไทยเราเป็นชาวพุทธ ถ้าได้ไปวัดบ้าง ก็คุ้นเคยกับ การ-สวดอยู่แล้ว คงไม่ต้องพูดถึงว่าเป็นอย่างไร ผมมีตัวอย่าง f-7
ความรู้ทั้งมวลที่เกิดจากปัญญาของมนุษย์ มันคงไม่เป็นเช่นนี้ ถ้าถูกสงวนเอาไว้ในวัดในวิหารเท่านั้น นอกเหนือจากความ เพลิดเพลิน มันได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน กล่อมทารกให้ นอนหลับ ให้จังหวะในการทำงาน โอ้โลมสาวคนรัก ปลุกเร้า นักรบ... มันได้สร้างธรรมเนียมเฉพาะของชนเผ่าและกลาย เป็นวิธีการบันทึกประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญในโลกยุค โบราณ กลายเป็นเพลงพื้นบ้านต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ตำนานและประวัติศาสตร์บอกเล่า จากปากต่อปาก จากพ่อสู่ ลูก จากครอบครัวสู่ครอบครัว จากเผ่าสู่เผ่า ก่อนที่จะมีตัว หนังสือเกิดขึ้น
ของการสวดจากทั่วสารทิศ ที่คนส่วนใหญ่ไม่น่าจะได้ยินได้ฟัง กัน เก็บเอาไว้เยอะในฐานข้อมูลของโครงการไซมีส. มีตัวอย่างของบทร่ายมาให้ดู เป็นร่ายคำสาปแช่งใน โองการแช่งน้ำ จากพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทสัตยา ตั้งแต่ สมัยอยุธยาโน่น คัดมาอีกทีจากหนังสือ “ร้องรำทำเพลง ดนตรีและนาฎศิลป์ชาวสยาม : สุจิตต์ วงษ์เทศ” เชิญผีสางเทวดา….
ผีดงผีหมื่นถ้ำ มาหนน้ำหนบก แดนฟ้าตั้งฟ้าต่อ ทั้งภูติเหง้าพนัสบดี ยักษกุมาร ล้วนผีห่าผีเหว หน้าเท่าแผง
ล้ำหมื่นผา ตกนอกขอกฟ้าแมน หล่อหลวงเต้า ศรีพรหมรักษ์ หลายบ้านหลายท่า เร็วยิ่งลมบ้า แรงไกยเอาขวัญ...
ในบรรดาดนตรีที่เป็นของทางโลกนี้ เพลงรัก ดูเหมือน จะครองความนิยมในทันทีที่มันถูกแสดงเป็นครั้งแรกบนโลก มากกว่าครึ่งของบทประพันธ์เพลงที่ถูกเขียนขึ้นในโลกนับแต่ ยุคโบราณเท่าที่เราจะย้อนรอยไปค้นหาได้จนถึงบัดนี้ เป็น เพลงรัก ไม่ต้องสงสัยเลยว่า แรงบันดาลใจอันดับหนึ่งที่ทำให้ ชายหนุ่มคนหนึ่งฝึกฝนทักษะทางดนตรี กวี หรือบทเพลง ก็คือ แรงขับทางเพศ เพื่อให้ต้องใจเพศตรงข้ามนั่นเอง
สาปแช่ง…..
จุ่งมาสูบเอา เขาผู้บ่ซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถเกียจกาย ว่ายกะทู้ฟาดฟัด คว้านแคว้นมัดศอก หอกดิ้นเด้าเท้าทก หลกเท้าให้ไปมิทันตาย หงายระงมระงม ยมพบาลลากไป ไฟนรกปลาบปลิ้นดิ้นพลาง เขาวางเหนืออพิจี ผู้บ่ดีบ่ซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถแก่เจ้า ผู้ผ่านเกล้าอยุธยา
ผมถามนักเรียนผมคนหนึ่ง… “ธานินทร์ ทำไมเล่นดนตรี เอาไว้ยืดหญิงใช่เปล่า ?” “เปล่าครับ ผมรักดนตรีครับ” “อืมม.. ตอบดี เออ แล้วทำไมเล่นกีต้าร์ ทำไมไม่เล่นทรัมเป็ต ?” “ก็ .. ทรัมเป็ตมันไม่เท่ห์ กีต้าร์มันเท่ห์กว่า สาวชอบ” นั่นไง แล้วบอกว่ารักดนตรี
แรงและขลังทีเดียว อดสงสัยไม่ได้ว่า พวกขุนนางบ้าน เรานี่ ไม่รู้ว่ายำเกรงกันบ้างรึเปล่า เวลาที่เข้าพิธีถือน้ำนี้ ผมว่า หลายๆ คนคงจะไม่กลัวหรอก ไม่งั้นเค้าจะทำตัวกันอย่างนั้น กันรึ
เพลงพื ้ น บ้ า นของของ ชนเผ่าตระกูลไทนั้นมีมากมาย จริงๆ ดูเหมือนว่าคุณสมบัติ ของความเป็นนักเพลงนี้ มีอยู่ ในชนเผ่าไทมาแต่โบราณนาน แสนนานจนชนชาติอื่นๆ กล่าว ขานกันทั้งจีน แขก ฝรั่ง .. อย่าง ในบั น ทึ ก ของทู ต ฝรั ่ ง เศสลาลู ขวัญจิตร ศรีประจัน แบร์ที่มาเมืองไทยในสมัยพระ นารายณ์ก็เล่าว่า ชาวสยามนั้น มีชั้นเชิงทางกวี เจ้าบทเจ้ากลอนนัก คนไทยอย่างเราไม่แปลก ใจและรู้ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะทักษะลีลาในการด้นกันสดสด โดยใช้ปฏิภาณอย่างในสมัยโบราณยุคอยุธยานี่ ถ้าต่อปากต่อ คำเป็นกลอนเป็นเพลงไม่ได้ อย่าหวังได้ไปจีบสาวสวยๆ เขา
รสชาติอันน่าพึงใจของดนตรีนั้นมีอยู่ตั้งแต่เมื่อมันเริ่ม ปรากฏ แม้จะอยู่ในรูปแบบของพิธีกรรมต่างๆ มันก็ยังสร้าง ความพึงใจให้ผู้คนเมื่อได้ยินได้ฟัง เป็นธรรมดาที่ต้องเกิด ความต้องการที่จะนำไปใช้นอกเหนือไปจากรูปแบบที่ใช้ใน พิธีกรรมเหล่านั้น ในแง่ของความเพลิดเพลิน และขณะ เดียวกันก็ไม่เป็นการล่วงละเมิดอำนาจสวรรค์ใดๆ จึงต้องมี รูปแบบที่แตกต่างแยกออกมาสำหรับดนตรีทางโลกโดยเฉพาะ และก็ด้วยเหตุนี้นั่นเอง ที่ดนตรีได้ถูกทำให้แพร่หลาย ซึ่งทำให้ เกิดการพัฒนาจนกลายมาเป็นศิลปศาสตร์ชั้นยอด หนึ่งใน f-8
เจอน้องเมื่อเวลาจวนเอย….
จะส่งสารรักถึงกันก็ว่าเป็นเพลงยาว แล้วเขาก็คุยกันไปคุยกัน มาเป็นกลอนหน้าตาเฉย เป็นเรื่องปรกติจริงๆ ถ้าใครเคยฟัง แม่เพลงอย่างแม่ขวัญจิตร ศรีประจัน ด้นสดสด ก็จะรู้ว่านี่ ไม่ใช่เรื่องโม้ และคงทราบดีว่าชั้นเชิงในการขับชั้นครูนั้นเป็น ยังไง สามารถขับร้องอะไรก็ได้อย่างคล่องแคล่วลื่นไหลได้ อารมณ์ ก็ลองนึกดูสิว่า สมัยก่อนเนี่ย คนไทยเราไปทางไหนก็ จะเจอสาวๆ แบบแม่ขวัญจิตรนี่ทุกตำบลหนแห่ง จะจีบให้ได้ก็ ต้องมีเชิงกลอนให้ทันเขา ไม่งั้นก็ไม่สมหวัง พอถึงหน้าปลูก ข้าวก็ไปร้องเพลงจีบกัน พอเกี่ยวข้าวก็ไปร้องเพลงจีบกัน หน้า น้ำก็ไปเล่นเพลงเรือจีบกันอีก เพลงพื้นบ้านไทยก็จะมีเพลง เกี้ยวกันนี่อยู่เยอะเลย จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมคนโบราณ ถึงเจ้าบทเจ้ากลอนนัก แรงจูงใจมันสูง ในคนไทเผ่าอื่นๆ ก็ไม่ ต่างกัน ตอนไปเยี่ยมชาวไทลื้อที่เชียงรุ่ง หลังเลี้ยงข้าวเราเสร็จ เขาก็ขับกันขึ้นมาจากกลางวงรับประทานนั่นแหละ เป็นเพลง ขับต้อนรับพวกเราที่เป็นแขกแก้วมาเยือน (ที่จริงเป็นแขกนรก) หนุ่มคนนึงผิวคล้ำๆ นั่งกินข้าวอยู่ข้างๆ เมื่อกี้ ดูไม่น่าเป็น ศิลปิน อยู่ๆ ก็ ร้อง แดเหวย ..! ขึ้นมา เอ้า ร้องได้ด้วย ตกใจ หมด ด้นกันสดๆ เหมือนกัน อย่างชาวจ้วงที่เป็นเผ่าไทที่เก่า แก่มากก็มีการต่อกลอนสดๆ ของหนุ่มสาวเหมือนกัน เขาก็ไป เกี้ยวกันในงานเทศกาลหาคู่ ส่วนตัวผม ในฐานะที่เป็นนักแต่ง เพลงเนี่ย เมื่อสังเกตุจากเพลงต่างๆ ที่เคยได้ฟังมาของหลายๆ ชนชาติ ก็อดจะเปรียบเทียบไม่ได้ว่า รูปแบบของฉันทลักษณ์ และสัมผัสของไทยนั้น ดูจะละเอียดกว่าเพลงของหลายๆ ชน ชาติอยู่มากทีเดียว เช่น การใช้สัมผัสในและการถ่ายเสียงที่มี อยู่ยุบยิบไปหมด อาจเป็นเพราะเราชอบเล่นสนุกกับศิลปแบบ นี้มานานแล้วกระมัง
คนสมัยก่อนเขาเล่นเพลงกันล่อแหลมยังงี้แหละ ยิ่งโต้ กันยาวเท่าไร ก็ยิ่งออกรส ยิ่งทะลึ่งตึงตัง ชีวิตชาวบ้านก็ค่อยมี สีสันสนุกสนานขึ้น ไม่เห็นต้องมีเอ็มทีวีดู น่าเสียดายที่โอกาสจะดูพ่อเพลงระดับนี้นี่ แทบไม่มี แล้ว เหลือช่างขับที่เล่นเพลงได้ขนาดนี้ไม่กี่คนแล้วครับ นี้ก็ตัวอย่างบทเพลงทางโลกอีกอันหนึ่ง อายุนับพันปี เป็นหนึ่งในเพลงรักยุคแรกๆ จากอียิปต์ในสมัยราชวงศ์ที่ 18 (1580-1320 B.C.) ผมแปลมาจากคำแปลภาษาอังกฤษ ซึ่งถอดความมาอีกที โดย J.E. Manchip White จากหนังสือ 3000 Years of Black Poetry เรียบเรียงโดย Alan Lomax และ Raoul Abdul Love Song (เพลงรัก) ซิกคามอร์ต้นน้อย ที่เธอปลูกด้วยมือของเธอเอง มันเผยอปากเพื่อเอื้อนเอ่ย กิ่งที่เสียดสีฟังดูไพเราะ ดุจลมเย็นของน้ำผึ้ง ช่างงดงามนี่กระไร กิ่งใบอันอ่อนช้อยในความเขียวชอุ่ม แขวนอยู่ด้วยผลที่อ่อนและผลที่สุกงอมเต็มวัย แดงยิ่งกว่าโลหิตหรือแม้หินแจสเปอร์สีแดง ใบของมันก็ช่างเขียวดังหินแจสเปอร์สีเขียว
ลองดูตัวอย่างสนุกๆ ของเพลงพื้นบ้านไทยดูสักอัน เป็นเพลงเรือ บันทึกอยู่ในหนังสือเพลงนอกศตวรรษ : เอนก นาวิกมูล พ่อเพลงที่เป็นช่างขับ ชื่อ นายสไว วงษ์งาม
ความรักของคนที่ข้ารักอยู่ที่อีกฟากฝั่ง แขนของแม่น้ำกั้นขวางระหว่างเรา จระเข้ซุ่มอยู่บนตลิ่งทราย แต่ข้าก็ยังลงน้ำไป แหวกพุ่งไปในสายน้ำ
เอ๋ยน้องทัก น้องเอ๋ยพี่ทัก ไม่ให้เลยสำลัก น้ำตา ร้องทักก็น้องเอ๋ยพวกพี่ อ๋อว่าวันนี้ ก็มา พอเห็นพวกพี่ อีหนูเอ๋ย (กระแอม)กันอยู่เสียที่ริมแคม นาวา แต่พอตกหลังปับดูเต้นรับ ยังกะม้า น้องทักพี่ทักไม่ให้สำลักน้ำกา จะขอฝากน้ำห้วยเอาไว้สักสองถ้วยชา กล้วยตานี ไปยัดหวีน้ำว้า
หัวใจที่พองโตนำพาข้าไปอย่างรวดเร็วเหนือเกลียวคลื่น แหวกว่ายไปอย่างมั่นใจประดุจเดินบนผืนดิน ความรัก.. มันคือรัก ที่มอบกำลังแก่ข้า และปกป้องข้าจากภยันตรายในท้องน้ำ
f-9
Loreena McKennitt ศิลปินสาวนักเล่นฮาร์ปที่มีผล งานดนตรีแบบเซลทิค (celtic) อันแสนไพเราะหลายต่อหลาย ชุด ได้แรงบันดาลใจจากบท กวีเสปนในศตวรรษที่ 15 เป็น ผลงานอันแสนลึกลับและเต็ม ไปด้วยความเพ้อฝัน ของ นัก บุญจอห์น งานชิ้นที่ไม่มีชื่อนี้ ดื่มด่ำและเต็มไปด้วยความรู้ สึกอย่างรุนแรงของบทกวีที่เปรียบเปรยความรักที่เขามีต่อ พระเจ้า มันฟังดูเป็นเพลงรักและใช้กับคู่รักไหนก็ได้ ลอรีนา แปลมันออกมาได้สามท่อน แล้วก็ติด เพราะว่ามันเต็มไปด้วย ข้อความที่ลึก ยากแก่การตีความ แต่เพียงแค่สามท่อนก็เพราะ มากแล้ว อาจพูดได้ว่านี่เป็นเพลงที่อยู่กึ่งกลางระหว่างโลก และสวรรค์ แปลมาให้อ่านสองท่อนนะ
สู่ที่ซึ่งเขานิ่งคอยอยู่ มันคือดินแดนที่มิมีผู้ใดจะย่างกราย…… * ถ้าได้ฟังเพลงด้วยนะ บอกเลยว่าเพราะมากๆ คือถ้า ไม่รู้มาก่อนว่าเป็นความรักกับพระเจ้าละก็ จะต้องนึกไปว่า เป็นเพลงคร่ำครวญถึงคนรักแน่ๆ เลย ผมว่าถ้า เซ็นต์ จอห์น อธิบายเรื่องนี้ไม่ได้ละก็ มีหวัง โดนเผาทั้งเป็น มีเรื่องเล่ากันในหมู่นักดนตรีว่า ในสมัยโบราณ การ เล่นท่วงทำนองและเสียงประสานเพราะๆ อย่างเช่น Major 7th หรือ Major 9th นี่อาจทำให้ถูกเผาทั้งเป็นได้ เพราะข้อหาเป็น พ่อมดแม่มด ใช้มนต์ดำทำให้คนฟังเคลิบเคลิ้มหลงไหล ก็ คงจะมีมูลอยู่บ้าง เพราะดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์นั้นไม่ ค่อยเคลื่อนทำนองนัก เต็มไปด้วยความสำรวมและแบบแผนที่ ดูขลัง ในขณะที่ดนตรีทางโลกมีทำนองที่ชวนให้หลงไหลและ ท่วมท้นไปด้วยความรู้สึก มากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็น ธรรมดาที่ฝ่ายพระฝ่ายหมอจะรู้สึกว่า ชั่วร้าย หรือ เป็นบาป ด้วยเหตุนี้ดนตรีสองสายนี้ก็แยกห่างออกจากกันไปเรื่อย จน กระทั่งสุดกู่เหมือนอย่างเช่นทุกวันนี้แหละ.
The Dark Night Of The Soul (St. John, 15th Century)
เหนือค่ำคืนอันมืดมิด เพลิงรักเผาไหม้อยู่ในอก ด้วยตะเกียงที่ลุกโชน ข้าหลบจากบ้าน ในยามผู้คนล้วนหลับไหลอย่างสงบ รัตติกาลครอบคลุมร่าง ข้าหลบออกมาอย่างรวดเร็วทางบันไดลับ ผ้าคลุมบดบังดวงตาข้าไว้ ขณะที่ทุกคนเงียบงันราวคนตาย
มนุษย์ ไม่ได้แค่เลียนแบบเป็นอย่างเดียว ส่วนหนึ่งที่ เป็นแรงกระตุ้นอันทรงพลังอย่างหนึ่งของการสร้างสรรค์ก็คือ ความขี้เกียจ เชื่อไม๊ล่ะ .. ด้วยความขี้เกียจที่เกิดขึ้นพร้อมกับ ความฉลาดที่เพิ่มขึ้น มนุษย์ก็เริ่มประดิษฐ์เครื่องมือ เริ่มจาก ขวานหินกระเทาะ ตอนนี้เรามีเครื่องมือสารพัดอย่างที่จะ ทำให้เราสบายที่สุดเท่าที่จะมากได้ “at your finger tips“... เป็นข้อความที่ฮิตที่สุดที่จะพบในโฆษณาของเครื่องอะไรต่อมิ อะไรอยู่เสมอๆ ผมคงไม่แปลกใจเลยที่วันนึงดันมีเครื่องมือ ฆ่าตัวตายออกมาขาย ที่กล่องเขียนว่า “ง่ายดาย ที่ปลายนิ้ว สัมผัส”... วันนี้ มนุษย์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเจ้าแห่งเครื่องมือ อย่างแท้จริง แม้กระทั่งเครื่องมือที่เรียกว่าไร้สาระสุดๆ ก็ยังมี คนทำมาขายกัน. หลังจากทุบหน้าอก ทุบตรงนู้นตรงนี้ของตัวเองมานาน จนระบมพอสมควร มนุษย์ก็เริ่มหาอย่างอื่นทุบแทน พวกเขา เริ่มทำเครื่องดนตรี จากทุบบ้าง เขย่าบ้าง ก็มีทั้งเป่า ทั้งดีด ทั้ง สี ตามกันมา จากวัสดุธรรมชาติทั่วไปเช่น เปลือกหอย ไม้ไผ่ ต้นไม้ต่างๆ ก็พัฒนาไปสู่โลหะ เช่น สัมริด เหล็ก ทองเหลือง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่เสียงดังและขลังกว่า โดย เฉพาะอย่างยิ่งพวก ฆ้อง ระฆัง กังสดาลต่างๆ ซึ่งสมาคมจิต วิญญาณในแถบอุษาทวีป เห็นพ้องกันเป็นส่วนใหญ่ว่าเครื่อง โลหะนี่ใช้คุยกับสวรรค์ได้ดีที่สุด เลยปลดระวางเครื่องดนตรี
* โอ้ราตรี ท่านคือผู้ชี้ทางข้า โอ้ราตรี มีรักมากกว่าตะวันฉาน โอ้ราตรี ที่ผนึกคู่รักให้เป็นหนึ่ง บันดาลให้อณูในตัวเขากลืนเข้าหากันและกัน เหนือค่ำคืนแห่งม่านหมอก ในความลี้ลับ ห่างไกลจากสายตามนุษย์ โดยมิต้องการผู้นำทางหรือแสงใด เพราะแสงหนึ่ง ได้สาดลึกออกมาจากใจข้าแล้ว ไฟนั้นนำทางข้ามา สุกสว่างกว่าอาทิตย์เที่ยงวัน f-10
อื่นๆ ส่วนใหญ่ให้ไปรับใช้ทางโลกอย่างเดียว มีคนถามบ่อย อีกเหมือนกัน ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลกคืออะไร ก็คงไม่ ต้องสงสัยกันแล้วละว่า (ถ้าไม่นับเครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลก จริงๆ คือตัวมนุษย์เอง ) มนุษย์จะสร้างเครื่องดนตรีอะไรเป็น อย่างแรก.. ก็ต้องเป็นเครื่องตีอย่างแน่นอน มันง่ายและตอบ สนองสัญชาตญาณดิบเบื้องต้น แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องเครื่อง ดนตรีในตอนนี้ก็คงจะต้องเป็นหนังม้วนยาวแน่ เอาไว้จะให้ อาจารย์อานันท์ นาคคง มาเล่าให้ฟัง ขออนุญาตข้ามไปก่อน. ถ้ำซึ่งมีเสียงก้องสะท้อน ฟังดูศักดิ์สิทธิ์ เหมือนมีเสียงตอบรับจากสวรรค์
ก็อย่างที่เขียนไว้ตอนต้นแหละ เมื่อมีเสียง มันก็ต้องมี ภาพประกอบถึงจะสมบูรณ์ เสียงกับภาพต้องมาด้วยกันเสมอ ก็เลยต้องมีการประดิษฐ์ท่าทางต่างๆ ประดิษฐ์เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์สารพัด ประกอบหรือใส่ลงไปในข้อความและ ทำนองอันศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น ซึ่งทำให้เป็นกิจกรรมที่สามารถ ได้ยินและมองเห็นไปพร้อมๆ กัน จากสวรรค์ลงมายังพิธีการ บูชา เมื่อเป็นดังนั้น จึงได้เกิดท่าทางของการระบำรำฟ้อนขึ้น ซึ่งผมก็คิดไปอีกแหละว่า ทีแรกนั้น ก็คงไม่ใช่นาฏศิลป์อะไร หรอก คงแค่พยายามทำเครื่องหมายต่างๆ เผื่อว่าเสียงจะดัง ไม่พอถึงสวรรค์ แต่ก็ยังมีภาพให้ดู และเทวดาก็คงจะพอใจ มากขึ้นด้วย ต่อมาถึงได้พัฒนาไปจนกลายเป็นระบำรำฟ้อน ไป อันนี้ก็เป็นการเดาของผมซึ่งคงต้องไปถามผู้ชำนาญการ เต้นระบำเอาจะดีกว่า. ทีนี้เมื่อมีภาพและเสียงพร้อมแล้ว ก็ต้องมีการเลือก เฟ้นผืนดินศักดิ์สิทธิ์ (sacredground,holyground) ที่เชื่อว่า เป็นจุดเหมาะสมในการสื่อสารกับสวรรค์ เพื่อใช้เป็นที่ทำพิธี เช่น ในถ้ำหรือในโตรกผาที่มีเสียงก้องหรือมีเสียงสะท้อน (echo, reverberation) ซึ่งจะว่าไปก็คือ มีสภาพอะคูสติคทาง เสียงที่เหมาะสม รวมไปถึงมีทัศนียภาพที่สวยงามเหมาะแก่ การเปิดคอนเสิร์ทนั่นแหละ ซึ่งในที่สุดแนวคิดนี้ ก็จะนำไปสู่ การสร้างวิหารและเทวสถานต่างๆ ขึ้นในเวลาต่อมา แต่ตอน นี้เราก็จะยังไม่พูดถึงเรื่องภาพและสัญลักษณ์ทั้งหลายพวกนั้น โอย.. สนุกทีเดียวล่ะ ขอพูดถึงแค่เรื่องของเสียงก่อนในตอนนี้.
เรียนกัน เมื่อมนุษย์รู้จักการสร้างบ้านเรือนแล้ว พวก เขาก็จะ ไม่อาศัยในถ้ำอีก นอกจากจำเป็นจริงๆ เช่น เข้าไปหลบภัย.. เขาจะเข้าไปก็ต่อเมื่อมีเหตุผลทางจิตวิญญาณถึงจะไปกัน ก็ คือเข้าไปใช้ทำพิธีเท่านั้น ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ทีนี้เมื่อเข้าไปอยู่ รวมกันหลายๆ คน ก็ได้ค้นพบความน่าสนใจของเสียงหลาย เสียงที่พูดหรือสวดพร้อมกันอีก ทีนี้นักร้องประสานเสียงคณะ แรกของโลกก็กำเนิดขึ้น และความนิยมนี้ก็ไม่เคยถูกยกเลิก เลย มนุษย์สร้างถ้ำใหญ่ขึ้นสวยขึ้น จนกลายเป็นโบสถ์วิหาร อารามต่างๆ แล้วก็เอาคนเข้าไปสวดทำเสียงก้องเหง่งหง่างอยู่ ในนั้น เหมือนอย่างที่เคยทำกันมาหลายพันปีแล้ว.
ทัศนีภาพที่เหมาะกับการทำพิธีชนเผ่าโบราณ ที่ผาแต้ม อุบลราชธานี
เมื่อเวลาผ่านไป ระบบความเชื่อพื้นฐานทั้งหลายของ มนุษย์ก็เริ่มจะซับซ้อนขึ้น วิทยาการต่างๆ ก็เกิดขึ้น โดยเฉพาะ เมื่อเริ่มมีความรู้เรื่องโลหะ ก้าวที่สำคัญของเทคโนโลยีจึงเกิด ขึ้นอย่างแท้จริง พร้อมๆ กับที่ศาสนาต่างๆ เกิดขึ้น เรารู้จัก สร้างตัวอักษร มีความรู้ในการคำนวณ เราได้รู้จักดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เราสร้างศิลปศาสตร์และวัฒนธรรมทั้งหลาย ตอนนี้แหละที่เราเริ่มต้นหาคำตอบและอธิบายสิ่งต่างๆ ที่ไม่ เคยอธิบายได้ในอดีตมาก่อน... ไม่ว่าจะผิดหรือถูก เราก็มีวิชา ต่างๆ ขึ้นมามากมายที่ดูเหมือนจะตอบคำถามทั้งหลายได้พอ สมควร แล้วเราก็สร้างระบบระเบียบอะไรต่างๆ ขึ้นมาทำให้
นักร้องทุกคนรู้จักประสบการณ์อันหฤหรรษ์ในห้องน้ำ ดี มันเป็นที่ที่ทำให้เสียงร้องของคุณไพเราะกว่าไปร้องที่หน้า เสาธงหรือตามสี่แยกเป็นไหนๆ ความก้องทำให้เสียงเพราะ ขึ้น คนโบราณไม่มีวิทยาศาสตร์อธิบายความไพเราะนี้ ดังนั้น จึงคิดว่ามันเป็นความลี้ลับของสวรรค์ นั่นคือสาเหตุที่มนุษย์ ยุคโบราณก่อนประวัติศาสตร์ชอบไปทำพิธีในถ้ำ แล้วก็ไป เขียนรูปทิ้งเอาไว้เต็มไปหมด ให้นักมนุษยวิทยาทุกวันนี้ไป
f-11
มันเป็นแบบแผนจารีตขึ้น ก็เช่นเดียวกัน ปรากฏการณ์ทาง เสียงและศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับมัน ก็เริ่มมีคำอธิบายและมี แบบแผนองก์ความรู้ให้สืบทอดส่งต่อ. เนื่องจากเครื่องดนตรีในยุคดึกดำบรรพ์มักทำจากไม้ อวัยวะและหนังสัตว์ จึงยากที่จะหลงเหลือเป็นหลักฐานอยู่ได้ นาน ไม่เหมือนที่เป็นหินเป็นโลหะ ซึ่งอยู่ได้นานกว่ามาก แต่ กว่าจะถึงยุคโลหะ เราก็ต้องพลาดของดีๆ ไปมหาศาล.
ยังมีขลุ่ยกระดูกจากยุคมนุษย์โครมันยองอีกชุด ที่เห็น ในรูปข้างล่างนี่ ก็ถือว่าโชคดี ที่วัสดุนี้มีความคงทนที่จะอยู่ รอดมาได้นานพอให้เราใช้เป็นหลักฐานศึกษาได้ แล้วก็ยังมี การขุดพบขลุ่ยกระดูกนกกระเรียนในประเทศจีนที่เจียหู ซึ่งก็มี ความเก่าแก่ไม่น้อยเหมือนกัน เสียดายที่ผมไม่มีรูปให้ดู.
มีหลักฐานอยู่ชิ้นหนึ่ง เชื่อกันว่ามันเป็นขลุ่ยโบราณทำ จากกระดูก มันมีโพรงเสียงอยู่สี่รู จากการตรวจวัด ว่ากันว่า อายุราว 43,000-82,000 ปี พบที่แหล่งขุดสำรวจมนุษย์นี แอนเดอร์ทาลโดย ดร. ไอแวน เทิร์ค . ว่ากันว่ามันเป็นเครื่อง
ดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่เคยถูกขุดพบมา (เว้นแต่ว่ามันจะ ไม่ใช่ขลุ่ยละนะ ซึ่งผมก็ว่าไม่ใช่ ) แต่หากการสันนิษฐานนี้ถูก ต้อง จากหลักฐานนี้ อย่างน้อยเมื่อราวสี่หมื่นปีที่แล้ว มนุษย์ คงจะต้องรู้จักการใช้ระดับเสียงตั้งแต่สี่เสียงขึ้นไปเป็นแน่ (ซึ่ง โดยสามัญสำนึกเนี่ย เป็นผมนะ ลองได้เจาะมาจนถึงสี่รูแล้ว มีเรอะจะไม่ลองเจาะต่อๆ ไปอีก) เสียดายส่วนที่เหลือมัน แตกหักไปแล้วก็เลยได้แต่เดาๆ กัน จากรูที่เห็นบนกระดูก นัก วิชาการต่างก็คาดเดากันว่า นี่น่าจะเป็นตำแหน่งที่ให้เสียง โด เร มี ฟา นับจากรูที่หนึ่งจากซ้ายมือ ซึ่งเป็นรอยแตกหักพอดี มีระยะห่างไปยังรูที่สองและสามใกล้เคียงกัน ในขณะที่รูที่สี่ ห่างจากรูที่สามเท่ากับครึ่งหนึ่งของระยะห่างของรูที่หนึ่งมารูที่ สองและรูที่สองมารูที่สาม ก็ว่ากันไป . อย่างไรก็ตาม มนุษย์น่าจะรู้จักมาตราเสียงอย่างน้อย ห้าเสียงมานานมากแล้ว เป็นไปได้ว่ามาตราเสียงเพนทาโทนิก ที่มีห้าเสียง ซึ่งมักพบอยู่ในดนตรีพื้นเมืองโบราณส่วนใหญ่ใน โลกนั้น น่าจะเก่าแก่ไม่น้อย มีข้อสังเกตุว่า การร้องทำนองใน มาตราเสียงต่างๆ นั้น มีหลายมาตราที่คนทั่วไปที่ไม่ได้ฝึกมา อย่างเข้มข้นจะไม่สามารถร้องได้ แต่ในมาตราเสียงห้าเสียงนี้ ไม่ว่าใครก็ร้องได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องถูกฝึกมา คงเป็นเพราะมัน เต็มธรรมชาติของคนเรามาเนิ่นนานนั่นเอง.
ว่ากันว่า นี่เป็นสกอร์เพลงโบราณ อายุ 3400 ปี บันทึกบนแผ่นดินเหนียว ของชาวยูการิตโบราณ เขียนด้วยอักษรคูนิฟอร์ม .. เขาว่าอย่างนั้นนะ (อ่านไม่ออก.. ยอม) ข้างล่างถัดลงมา คือที่ถอดเป็นโน๊ตสมัยใหม่แล้ว
จะว่าไปแล้ว หลักฐานทางดนตรีจากโลกโบราณก็ไม่ ได้ถึงกับฝืดเคืองนัก เราอาจย้อนไปได้ไกล ก่อนที่จะมีการ พยายามอธิบายหลักเกณฑ์ของดนตรีโดยนักคณิตศาสตร์ อย่างพิทากอรัสเสียอีก เช่น บันทึกดินเหนียวของพวกยูการิต สมัยเมโสโปเตเมียที่บันทึกเพลงเก่าแก่เอาไว้ ถือเป็นหลักฐาน ของเพลงที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่เคยมีการบันทึกไว้ ซึ่งถ้าหาก เราพิจารณาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้ดี ก็คงเห็นด้วยกับผมว่า การที่ เอะอะอะไรก็เอาเครดิตความรู้ต่างๆ ในโลก ซึ่งรวมไปถึงการ ดนตรีด้วย อย่างเช่นความรู้เกี่ยวกับโหมดและเสกลทั้งหลาย ไปยกให้กับกรีกหมดนี่ ดูออกจะไม่เป็นธรรมนัก ยกตัวอย่าง เช่น phrygian scale ที่เห็นชัดๆ เลยว่าอิทธิพลมาจากอาหรับ อย่างชัดเจน ดนตรีนั้น น่าจะมีระบบพื้นฐานของมันมาตั้งแต่ ก่อนยุคสมัยอียิปต์แล้ว. f-12
เปรียบเทียบเสียง) แต่กระนั้น เรามักจะพบการใช้เสียงทั้งเจ็ด เสียงนี้ครบแต่ในดนตรีพิธีการที่เป็นของสายราชสำนัก ซึ่งเป็น ดนตรีพื้นเมือง เช่น มโหรี ปี่พาทย์..ฯ เท่านั้น ในดนตรีพื้นบ้าน ของชาวบ้านทั่วไปจะใช้กันอยู่ 5 เสียงเป็นส่วนใหญ่ และ บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีง่ายๆ เช่น ขลุ่ย แคน ปี่อ้อ ปี่จุม พิณ.. ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้เครื่องดนตรีไทยจะเล่นได้ถึงเจ็ดเสียง เราก็จะ พบว่าท่วงทำนองดนตรีไทยโดยมาก จะดำเนินอยู่ในเสกลห้า เสียงหรือเพนทาโทนิกเป็นส่วนใหญ่ เรื่องของ scale ไทย ยังมี ประเด็นให้ถกกันอีก ถึงทัศนะของสำนักคิดต่างๆ เอาไว้ในบท ที่ลงลึกเกี่ยวกับดนตรีไทย เราค่อยมาว่ากันอีกที.
เมื่อมนุษย์เชี่ยวชาญในศิลปะนี้มากขึ้น พวกเขาก็เริ่ม สร้างระบบให้กับดนตรี ซึ่งก็ไม่ได้เป็นทฤษฎีอะไรหรอก เรื่อง ของทฤษฎีนี่ คนเราก็เพิ่งจะเริ่มมาชำระมาจัดระบบและเรียบ เรียงกันก็ราวๆ ยุคกลางเข้าไปแล้ว แรกๆ มันก็คงเกิดจาก ความบังเอิญ ไม่ได้มีหลักการหรือวิศวกรรมอะไรมากำหนด ตอนนั้นยังไม่มีความรู้แบบนั้น พวกเขาเอาไม้ไผ่มาเจาะทำ ขลุ่ย ก็เจาะรูไป ลองไปลองมา ชอบเสียงแบบเนี้ย ก็ เอาละ ฟังดูดีนี่ ก็ไม่ได้คิดว่ามันจะเรียกเสกลอะไร ฟังไม่ดีไม่ชอบก็ เจาะใหม่ จนกว่าจะพอใจ พอได้แล้วก็จำไว้ทำอันอื่นๆ ต่อมา เรื่อยๆ ทีนี้เนี่ยะ พอใช้ไปนานๆ เข้าก็ชิน หูของผู้คนในสังคม นั้นก็ชิน ก็ต้องเป็นอย่างนี้ไปตลอด พอต่างไปก็จะรู้สึกแหม่งๆ ไม่ได้ผิดนะ แต่มันไม่คุ้น แต่ละที่ก็ต่างกันไป เพราะเรียนกัน คนละโรงเรียนแล้วตอนนี้ แล้วต่างก็มีวิชามาอธิบายว่าเสียงนี้ หมายถึงอะไร เป็นสัญญลักษณ์ของอะไร เช่น นั่นธาตุไม้ นี่ ธาตุน้ำ นี่เป็นเสียงของช้าง นั่นเสียงนกยูง ปรุงแต่งจนกลาย เป็นลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมไป ทำให้ฟังแยกได้ว่า อันนี้ มัน ไทยนะ นี่ชวา นี่มองโกเลีย...ฯ ตอนหลังถึงได้มาวิเคราะห์ ว่า อ้อ มองโกเลีย จะมีโน๊ตนี้โน๊ตนั้นนะ เป็นเสกลนี้เสกลนั้น นะ เอาวิชาการสมัยใหม่มาอธิบายทีหลัง.
ในชนเผ่ากลุ่มตระกูลไท รวมทั้งกลุ่มชนชาติอื่นๆ ใน เอเชีย เกิดมีวัฒนธรรมดนตรีมาเนิ่นนานเต็มทีแล้ว แต่ปัญหา ก็คงเหมือนกับที่พูดไปเมื่อกี้คือ เครื่องดนตรียุคแรกๆ ก็คงจะ เป็นพวกที่ใช้วัสดุจากไม้ จากหนังหรืออวัยวะของสัตว์ ซึ่งไม่มี ทางจะคงทนยาวนานเหลือมาให้สำรวจ เรียนถาม อ.สมิทธิ ศิริภัทร โบราณคดีศิลปากร ก็บอกว่าหลักฐานทางโบราณคดี ของไทยหรือเอเชียอื่น ไม่พบอะไรเก่าไปกว่า กลองสำริด หรือ พวกระฆังสำริด.
เสกลหรือมาตราเสียงที่มนุษย์ใช้กันมานาน และเป็นที่ รู้จักในการดนตรีทุกวันนี้นั้น มีหลายมาตราด้วยกัน จากระบบ ที่น่าจะเป็นพื้นฐานแรกง่ายๆ ที่มีเพียง 5 เสียงต่อวงรอบอ๊อค เตฟ (octave) ก็ยังมีระบบ 7 เสียง / ระบบ 12 เสียง / ระบบ 15 เสียง / ระบบ 19 เสียง / ระบบ 21 เสียง / ระบบ 22 เสียง / ระบบ 31 เสียง มีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ อย่างระบบดนตรี ตะวันตกสมัยใหม่ที่เรารู้จักกันดีในวันนี้ ก็คือระบบที่มีวงรอบ อ๊อคเตฟละ 12 ขั้นเสียง มีระยะห่างแต่ละขั้นเท่าๆ กันคือหนึ่ง เซมิโทน (semitone) รวม 12 ขั้นเสียง. ซึ่งถ้ามากกว่านั้น ก็จะ มีระบบแบ่งขั้นเสียงที่ละเอียดขึ้นไปมากกว่าหนึ่งเซมิโทน เรียกกันว่าไมโครโทน (microtone). อย่างเช่นดนตรีอาหรับ เป็นระบบเสียงที่หนึ่งวงรอบอ๊อคเทฟมี 24 ขั้นเสียง เป็นต้น.. ด้วยระบบเหล่านี้ แต่ละท้องถิ่นก็ได้เลือกใช้และพัฒนาเป็นรูป แบบมาตราหรือเสกลเสียงที่ต่าง ๆ กันออกไป ซึ่งทำให้เกิด เป็นลักษณะเฉพาะของชนเผ่า แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังแสดงให้ เห็นร่องรอยความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมที่มีส่วนสัมพันธ์ซึ่ง กันและกันอยู่.
ระฆัง 250 B.C.
ในทางประวัติศาสตร์ จากข้อมูลที่ค้นพบก็จะมีที่ เป็นการกล่าวถึงอยู่ในจารึกต่างๆ ซึ่งมักจะเกี่ยวพันอยู่กับ ศาสนา อย่างเช่น จารึกถ้ำนารายณ์ ที่กล่าวถึงการขับร้องและ ฟ้อนรำ, จารึกแผ่นทองแดงอู่ทอง กล่าวถึงการถวายดนตรี และการฟ้อนรำแก่พระผู้เป็นเจ้า, จารึกหินขอน 1 กล่าวถึง เครื่องดนตรีหนึ่งอย่าง คือ สังข์ , จารึกหินขอน 2 กล่าวถึง เครื่องดนตรีสองอย่างคือ ฆ้องสำริด สังข์ , จารึกบ้านตาดทอง กล่าวถึง การบริจาคเครื่องดนตรีและนักร้อง , จารึกสตกก๊อก ธม 2 กล่าวถึงการบริจาคเครื่องดนตรี 50 อย่าง แต่ที่อ่านออก
อ. อุทิศ นาคสวัสดิ์ เขียนไว้ว่า ดนตรีไทยนั้นใช้มาตรา เสียงแบบ 7 เสียง (7-TET หรือ 7-Tone Equal Temperament) ที่แบ่งทั้งเจ็ดเสียงออกเท่าๆ กัน ไม่มีครึ่งเสียงหรือเซมิ โทน ซึ่งก็จะไม่ตรงกับระบบเสียงแบบตะวันตก (ดูตาราง f-13
ตัวอย่างตารางเปรียบเทียบมาตราเสียง octave
1200
15:8 1088.3 major 7th >> 16:9 996.1 minor 7th >>
te 1.8878 1100
5:3 884.4 major 6th >> 8:5 minor 6th 813.7 >>
la 1.6818 900
1200
1200
1200
1200
1200
1200 1200 1161.3 1136.8
1088.3
นิ
1073.7
960
967.7 947.4 929.0
yǔ 羽
ธะ
1.5874 800
884.4
884.2 889.8 851.6 821.1
813.7
zhǐ 徵
757.9
ปะ 685.7
735.4
702.0
702.0
702.0
694.7 696.6 658.1 631.6
มะ
568.4
514.2 480
498.0
505.3 503.5 484.5 425.8
jué 角
386.3
กา
386.3
378.9 386.3
342.8 1.1892 300 240
348.4
315.6
315.8 310.3
266.9
252.6
271.0 232.3
shāng 商
ริ
203.9
203.9
203.9
171.4
189.5 193.1 154.8 126.3
63.2
12-TET
579.4
442.1
16:15 min 2nd 111.7 1.0595 >> 100
1:1 Tonic 000.0
619.4
541.9
mi 1.2599 400
do 1.000 000
812.9 772.6
764.9
45:32 dim 5th 1.41421 590.2 600 >>
9:8 maj 2nd re 203.9 1.1225 >> 200
1082.8
1010.51006.9
996.1
857.1
4:3 fa perfect 4th 1.3348 496.0 500 >>
1122.6
1045.2
1028.5
1.7818 1000
3:2 sol perfect 5th 1.49831 720 702.0 700 >>
5:4 maj 3rd 386.3 >> 6:5 min 3rd 315.6 >>
1200
gōng 宮
000 5-TET
000 Penta
ไทย 7-TET
f-14
76.0 38.7
ศา 000
116.1
000
000
000
Darbari Kanada
31 Shuddha Hamsadh- 19 TET TET Kalyan wani
000
000
มาได้คือ พิณ ขลุ่ย ฉิ่ง กลอง , จารึกปราสาทหินพนมวัน 2 กล่าวถึง สังข์ , จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 3 กล่าวถึง การถวาย เครื่องดนตรี 4 อย่าง , จารึกศาลเจ้าลพบุรี กล่าวถึงการถวาย นางระบำ นักร้อง นักดีดและนักสี .. เป็นต้น แล้วก็มีภาพสลัก อย่างเช่นปฏิมากรรมปูนปั้นทวารวดีพบที่บ้านคูบัว ราชบุรี มี คนดีดพิณน้ำเต้าอยู่ด้วย นอกนั้นก็ต้องไปค้นเอาจากหนังสือ โบราณต่างๆ เช่น จากจีน อย่าง หมานซู หรือ ของไทยอย่าง โองการแช่งน้ำ อะไรพวกนั้น ซึ่งก็ได้แต่มอง ได้แต่นึกเดาเอา ลูบคลำไม่ได้.
เป็นเครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสวรรค์หรือใน พิธีกรรมอย่างเดียวเท่านั้น ยังเป็นสัญญลักษณ์ทางอำนาจ ของผู้ปกครองด้วย กลองสำริดแบบนี้ยังคงใช้กันสืบมาอยู่ใน ชนพื้นเมืองเช่น จ้วง ม้ง. ข้อมูลทางพันธุกรรมนั้นบอกกับเราว่า ความสัมพันธ์ุ เชื่อมโยงของชนเผ่าทั้งหลายในเอเชียนั้นมีแนบแน่น บริเวณที่ เป็นสุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์นั้น เป็นจุดปะทะหลอมรวมทาง ชาติพันธ์ุและวัฒนธรรม ผมขอเรียกว่าจุดปะทะ อินดัส-ซิโนออสโตร หากเที ย บจากดี เ อ็ น เอ ชนพื ้ น เมื อ งดั ้ ง เดิ ม ใน คาบสมุทรมาเลย์ไล่ไปจนถึงหมู่เกาะเอเชียตะวันออก อย่าง เช่น เมลานีเซีย ปาปัวนิวกินีและออสเตรเลีย เป็นรากเก่าแก่ อันหนึ่งของเอเชีย และโชคยังดีที่ชนพื้นเมืองดั้งเดิมพวกนี้ ยัง คงรักษาธรรมเนียมจารีตดั้งเดิมเอาไว้ได้สูงมาก มองในแง่ร้าย ก็คือ คนพวกนี้ถูกทอดทิ้งจากรัฐหรือไม่พวกเขาก็ปิดกั้นตัวเอง มองในแง่ดีคือโลกโบราณถูกผนึกเอาไว้ได้ให้ศึกษากัน ดนตรี พื้นเมืองของชนเผ่าเหล่านี้ถูกปนเปื้อนบ้าง แต่ไม่ยากจะแยก เอาส่วนที่ปนเปื้อนนั้นออกในการวิเคราะห์ ผมว่าวงการ วิชาการโดยเฉพาะด้านดนตรีหรือวัฒนธรรมในเอเชีย ไม่ได้ มองชนเผ่าพวกนี้อยู่ในสารบบการศึกษาหรือวิจัยเลย เห็นว่า เป็ น นี โ กรนี ก รอยทั ้ ง ที ่ ค วรจะสงสั ย ว่ า พวกนี ้ ม าอย่ ู แ ถวนี ้ อย่างไรและเมื่อไร จนกระทั่งเลือดบอกข่าวสารกับเรานั่น แหละ ถึงได้รู้ว่าเกี่ยวดองกัน ในส่วนตัวของผมมองว่า ชนพื้น เมืองพวกนี้แหละที่เป็นตัวแปรที่สำคัญทีเดียว.
กลองมโหระทึกลูกหนึ่งที่พบในประเทศไทย
ในทางโบราณคดี พบโบราณวัตถุที่เป็นของให้จับต้อง ได้บ้าง อย่างเช่น ระนาดหิน (ขวานหินยาว?) ทำมาจากหิน ภูเขาไฟ พบหกชิ้นที่นครศรีธรรมราช ว่ากันว่า เล่นได้ห้าเสียง นักโบราณคดีบางคนก็ว่าไม่ใช่เครื่องดนตรี ความจริงรู้ได้ไม่ ยาก ถ้าแค่มีเสียงดังแต่ฟังแล้วไม่อยู่ในมาตราเสียงใดเป็น เรื่องเป็นราวก็อาจไม่ใช่เครื่องดนตรี เพราะชามก๋วยเตี๋ยวก็ เคาะมีเสียงดังกังวานดี ในทางกลับกัน เครื่องดนตรีก็อาจค้น พบด้วยความบังเอิญจากข้าวของเครื่องใช้ได้เหมือนกัน อย่าง เช่น เสียงจากสายของคันธนู เป็นที่มาของเครื่องสาย.. เครื่อง ดนตรี โ บราณที ่ พ บมากหน่ อ ย พบหลายชิ ้ น ก็ ค ื อ กลอง มโหระทึก เรียกอีกอย่างว่า กลองกบหรือฆ้องกบ ทำจากสำริด อายุ ก ็ ร าวสองสามพั น ปี โ ดยเฉลี ่ ย คาดว่ า เกี ่ ย วโยงกั บ วัฒนธรรมดองซอน ซึ่งมีอายุอยู่ประมาณราว 200-300 ปีก่อ นคริสตศักราช มีถิ่นฐานในบริเวณเวียต- นามตอนเหนือ อันนี้ นักวิชาการก็สันนิษฐานต่างกันไปสามสี่ทัศนะไม่ลงตัวกัน (บางทีอาจเป็นเพราะคำตอบจริงๆ หลบอยู่ใต้ทะเลก็ได้นะ) กลองกบนี้พบในหลายประเทศในเอเชีย คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว พม่า จีน และเวียตนาม ในไทยพบที่ ภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ ทั้งหมดที่พบมี 12 ใบด้วยกัน ไม่เพียง
ขอเกริ ่ น นำไว้ เ พี ย งแค่ น ี ้ ก ่ อ น เราจะได้ พ ู ด ถึ ง โดย ละเอียดเมื่อถึงบทที่กล่าวถึงแต่ละหัวข้อเฉพาะโดยละเอียด อีกทีหนึ่ง เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ผมเฝ้าค้นหาดนตรีจากทุก มุมโลกมาฟังมาชื่นชมอย่างแสนเป็นสุข ในคลังเสียงของผม เต็มไปด้วยงานดนตรีมหัศจรรย์สะสมไว้มากมาย ทุกวันนี้ผม ก็ยังคงเฝ้าค้นหามาเพิ่มเติมในคลังของผมอยู่เสมอๆ กระนั้น ก็ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีวันหมด เสียงดนตรีทั้งสวรรค์และโลก ที่แสนจะมีมนต์ขลังและวิจิตรบรรจง ก็ยังคงปรากฏออกมาให้ ได้ชื่นชมไม่จบสิ้น มีบ้างที่ซุกซ่อนตัวรอวันค้นพบ มีบ้างที่ยัง ไม่ถือกำเนิด และมีบ้างที่รอวันจุติใหม่ เหมือนกับกงล้อของ ธรรมชาติ ฉันใดฉันนั้น. โลกไม่เคยไร้เสียง
f-15
อ้างอิงและภาพประกอบ สุจิตต์ วงษ์เทศ เอนก นาวิกมูล สิริรัตน์ ประพัฒน์ทอง
ร้องรำทำเพลง ดนตรีและนาฏศิลป์ชาวสยาม (ISBN 974-321-466-6) เพลงนอกศตวรรษ (ISBN 978-974-323-942-7) วิทยานิพนธ์ : การศึกษาเครื่องดนตรีจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบใน ประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 [ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร] Curt Sachs The History Of Musical Instruments (ISBN 0-486-45265-4) Lucie Rault Musical Instruments : A Worldwide Survey of Traditional Music-Making (ISBN 0-500-51035-0) Alan Lomax, Raoul Abdul 3000 Years of Black Poetry [Dodd, Mead & Company, New York] Edo Nyland Linguistic Archaeology (ISBN 155212668-4) Bruno Nettl The Study Of Ethnomusicology (ISBN 978-0-252-07278-9) Robert Fink บทความออนไลน์ “Neanderthal Flute” จาก “Evidence of Harmony” http://www.greenwych.ca ภาพประกอบเพิ่มเติม
en.wikipedia.org
f-16
g-1
ภาพ นิมิต และสัญลักษณ1 พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ภาพลายเส้นบนหน้ากลองมโหระทึก พบที่จังหวัดตราด
ในบท “เสียงจากสวรรค์และโลก” เราได้เกริ่นไปแล้วว่า เมื่อมีเสียงก็ต้องมีภาพ เสียงกับภาพนั้นมาคู่กันเสมอ เราได้ พูดถึงเรื่องของเสียงกันไปแล้ว คราวนี้จะมาพูดถึงเรื่องภาพกัน บ้าง ว่าไปแล้ว หลายส่วนในตอนนี้อาจดูไม่เป็นวิชาการอะไร ที่จริงแล้วเรียกได้ว่าเป็นการมั่วของผมก็ว่าได้ แต่เป็นการมั่วที่ มีหลักการพอสมควรนะท่านนะ.. เปิดช่องไว้ เผื่อใครจะได้เอา ไปคิดเอาไปค้นคว้าต่อ แต่ผมสนุกมากๆ เลย พับผ่าสิ !. คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการฟังดนตรีนั้น จะสมบูรณ์กว่า ถ้าได้มองเห็นผู้เล่นผู้แสดงไปด้วย การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอ แม้เมื่อเรานั่งฟังดนตรีจากเทปหรือซีดี เราก็มัก หลับตาและสร้างมโนภาพในความคิดไปด้วย เพื่อให้การฟัง นั้นดื่มด่ำขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อเราชมภาพยนตร์ มันคงจะไม่ สนุกแน่แน่ถ้ามีแต่ภาพแล้วไม่มีเสียงไม่มีดนตรีประกอบ การ นั่งฟังเสียงไหลรินของลำธาร ไปพร้อมๆ กับการได้มองเห็น การเลื่อนไหลของสายน้ำไปด้วยนั้นเป็นความรื่นรมย์ และจะ ยิ่งสมบูรณ์แบบเข้าไปอีก ถ้าได้หย่อนเท้าลงไปในสายน้ำนั้น ได้รับรู้ความชุ่มฉ่ำชื่นเย็นไปพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งก็คือการได้ ชื่นชม ทั้ง ภาพ ทั้งเสียง และได้มี ส่วนร่วม ในปรากฏการณ์นั้น ไปด้วยนั่นเอง. สามอย่างนี่แหละครับ ที่เป็นหัวใจสำคัญของศิลปด้าน บันเทิง.
มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์ที่สำคัญของผัสสะเหล่านี้มา ตั้งแต่แรกที่ได้พบความลับของมันแล้ว ไม่เพียงเท่านั้นนะ เชื่อ ไม๊ว่า ในทุกวันนี้ มีการแสดงหลายอย่างที่นอกจากเราจะ ได้ เห็น ได้ยิน ได้มีส่วนร่วมแล้ว มันยังได้กลิ่นอีกด้วย การแสดง บางอย่างมีการฉีดกลิ่นที่ต้องการให้สัมพันธ์กับการแสดง ออก มาจากใต้ที่นั่งของคนดู เช่น กลิ่นดอกไม้ กลิ่นขนมปัง กลิ่น น้ำมัน.. อะไรแบบนั้น แจ๋วไม๊ล่ะ (อันนี้ไม่รวมกลิ่นลมสังหาร จากผู้ชมท่านอื่น ที่อาจปล่อยออกมาโดยไม่เกี่ยวกับการแสดง นะ) ยังขาดก็แต่ได้ลิ้มรสเท่านั้น ถึงตอนนั้น คงมีการแสดง บางอย่างที่เอาอะไรต่อมิอะไรมาใส่ปากคุณเป็นแน่. คนเรามีตาเพื่อมองเห็นสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ จำเป็นที่สุดในการเอาชีวิตรอด เป็นหนึ่งการรับรู้ที่สำคัญที่สุด ของมนุษย์ห้าอย่าง ซึ่งประกอบด้วย การเห็น การได้ยิน การ ได้รส การได้กลิ่น การได้รู้สึกถึงสัมผัสทางกายต่างๆ . การมองเห็นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด พอกันกับการ ได้ยิน เพราะเราอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ง่ายๆ ถ้ามองไม่ เห็นหรือไม่ได้ยิน จากนั้นรองลงไปถึงเป็น การรู้สึกสัมผัส การ ได้กลิ่น และท้ายสุดคือการได้รส. เพราะเหตุนี้ คนเราจึงให้ความสำคัญกับภาพและเสียง เป็นอันดับต้น. อย่างที่เราได้พูดถึงไปแล้วในบทก่อน เกี่ยวกับต้นตอ ของภาษาพูด ซึ่งเป็นการสื่อสารกันด้วยเสียง ในเวลาเดียวกัน กับที่วิวัฒนาการนี้ได้เริ่มต้นขึ้น ภาษาภาพก็ได้ปรากฏขึ้นด้วย ด้วยการโยกหัวไปมา หรือทำมือทำไม้แบบต่างๆ พยายาม ทำท่าทางสื่อสารไปพร้อมกับการพยายามออกเสียงอู้อ้า.. แม้ ทุกวันนี้ พฤติกรรมนี้ก็ยังเกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อเราต้องไปยัง ต่างแดนที่พูดกันคนละภาษา แม้จะพูดกันไม่รู้เรื่องเลยก็ตาม เราก็ยังมีวิธีที่พอจะสื่อสารหาของกินหรือหาที่นอนได้ ยังไงรึ ? ก็ด้วยภาษาภาพหรือสัญลักษณ์ต่างๆ นี่แหละ เช่น .. เราผงก หัว เมื่อ ใช่ และ ส่ายหัว เมื่อ ไม่ใช่. นักมนุษยวิทยา Leslie White เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1949 ว่า “ สัญลักษณ์ คือปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรมมนุษย์ในทุก อารยะธรรม” สัญลักษณ์นั้น ปรากฏขึ้นในทุกที่ที่พบหลักฐาน การมีอยู่ของอารยะธรรมมนุษย์ ไม่ว่าจะในตัวของภาษาเอง ทั้งในสัญลักษณ์ที่เป็นภาษา เช่น อักษรภาพของจีน , อักษร ภาพของอียิปต์ (เฮียโรกลิฟิก) หรือ ทั้งในภาษาที่แสดงนัยยะ เป็นสัญลักษณ์ (การซ่อนความหมายไว้ หรือการนิยามเปรียบ เทียบ) เรายังพบสัญลักษณ์ปรากฏอยู่ในศาสนา ในความเชื่อ ในวัฒนธรรม ในพิธีกรรม ในศิลปะ ในสถาปัตยกรรม ในวิถี ชีวิตความเป็นอยู่..ฯลฯ g-2
ทุกคนคงสังเกตุเห็นได้ว่ามีสัญลักษณ์และเครื่องหมาย ต่างๆ ล้อมรอบตัวเราอยู่เต็มไปหมด ในศิลปะด้านดนตรี นอกจากมันจะหลอมรวมอยู่ในเสียงดนตรีและอยู่ในถ้อยคำที่ เป็นคำร้องแล้ว มนุษย์ก็ยังสร้างสัญลักษณ์ปรากฏให้เห็นเป็น ภาพเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งก็คือท่าทางของการเคลื่อนไหวหรือการ ร่ายรำในขณะที่กำลังแสดง เพื่อสื่อถึงเรื่องราวหรือข้อความที่ บทเพลงต้องการบอกเล่า เพื่อแสดงให้เห็นท่าทางของความ เคารพยำเกรง แสดงให้เห็นรูปสัญลักษณ์ของเครื่องหมายอัน ศักดิ์สิทธิ์เมื่อบรรเลงบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม ทั้งจากผู้ ที่แสดงการร้องรำประกอบพิธี และจากผู้คนที่มีส่วนร่วมใน กิจกรรมนั้น อาจเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง ศิลปะของการฟ้อนรำ ก็กำเนิดขึ้น ก่อนจะกลายมาเป็นความบันเทิงในภายหลัง.
“The Nightmare” Henry Fuseli (18th Century Swiss Artist)
การมองเห็นภาพของเรานั้น ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การ เห็นด้วยตาเนื้อเท่านั้น เมื่อเราหลับตาเราอาจเห็นภาพปรากฏ ขึ้นในใจ ที่เราเรียกกันว่า ‘มโนภาพ’ นั่นแหละ.. มันต่างจากตา เนื้อก็ตรงที่ ในมโนภาพนั้น เราอาจมองเห็นสิ่งที่นอกเหนือไป จากความเป็นจริงได้ เราอาจสร้างจินตนาการที่ต่างออกไป จากความเป็นจริงได้ และเมื่อสติปัญญาและจิตสำนึกของ มนุษย์ได้เจริญขึ้น พัฒนาพอกพูนขึ้น การได้ยินข้อความที่มี ความหมาย อย่างเช่นข้อความที่กระตุ้นมโนธรรมสำนึกชั่วดี ก็
อาจทำให้คนมองเห็นความดีงาม หรือมองเห็นสัจธรรมที่เป็น มโนภาพของมโนคติได้ ซึ่งอันนี้นับเป็นการมองเห็นอีกชนิด หนึ่งเหมือนกัน (อย่าเพ่ิงเครียด) แต่นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเราควบคุมการนึกคิดจินตนาการของเราชนิดนี้ได้ แต่ที่ เราควบคุมไม่ได้เลย (เชื่อกันว่ามีบางคนควบคุมได้) ก็คือภาพ ที่มีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อคนสมัยโบราณเป็นอย่างมาก และ ถือเป็นต้นตอที่ให้กำเนิดระบบความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์ด้วย นั่นก็คือ ‘ภาพนิมิต’. เปล่า ! ไม่ได้จะพูดถึงเรื่องอภินิหารอะไรหรอก ภาพ นิมิตในที่นี้ ผมหมายถึงภาพที่เกิดขึ้นในความฝันของคนเรา ต่างหากน่ะ ซึ่งก็ไม่นับพวกเมาแดด หรือเป็นโรคประสาท เห็น ภาพต่างๆ ไปเอง. แน่นอนว่าในยุคดึกดำบรรพ์โบราณนั้น คนเรายังไม่มี ความรู้เช่นทฤษฎีของ Sigmund Freud หรือ Carl Jung...ฯ ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับความฝันของมนุษย์ ได้ แม้กระทั่งในทุกวันนี้ก็ตามเถอะ ความรู้ที่เกี่ยวกับสมอง เช่นที่ว่านี้ก็ยังคลุมเครือเกินกว่าจะพูดว่าเข้าใจได้ทะลุปรุโปร่ง แม้ว่าเราจะมีเครื่องมือสแกนวิเคราะห์และทำความเข้าใจการ ทำงานของสมอง แต่จนบัดนี้เราก็ยังไม่เข้าใจการทำงานของ มันดีนัก ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า มนุษย์ในสมัยโบราณ จะต้องคิดไปว่าปรากฏการณ์ของความฝันนั้น เป็นเรื่องเหนือ ธรรมชาติอย่างแน่นอน มันคงเป็นนิมิต ที่สวรรค์ เทวดา ผีสาง หรือพระเจ้า ส่งข่าวสารมาถึงเขาโดยตรงเพื่อจุดประสงค์บาง อย่าง ทุกวันนี้ เราทุกคนคุ้นเคยดีกับความฝัน เรารู้ว่าความฝัน อาจประหลาดพิสดารพิลึกพิลั่นหรือเป็นอย่างไรก็ได้ ซึ่งอาจ เป็นผลมาจากการกินของเรา จากความเครียดจากงาน ความ หมกมุ่นในเรื่องบางอย่าง ความดีใจ ความเศร้า การเก็บกดใน จิตสำนึก...ฯ แต่ในมนุษย์โบราณ พวกเขามองว่ามันคือภาพ นิมิต ที่อาจบอกข่าวสารบางอย่างมาให้รู้ชัดเจน หรืออาจเป็น ปริศนาที่ต้องตีความโดยผู้ชำนาญการด้านลึกลับศาสตร์ ซึ่งก็ คือ แม่มดแม่หมอหรือนักพรตนักบวชนั่นเอง. ความรู้ในยุคปัจจุบันนี้ สามารถแยกแยะปฏิกิริยา พิเศษที่เกิดจากการทำงานของสมองได้ในระดับหนึ่ง นักวิทยา ศาสตร์เรียนรู้ว่าสมองของคนเรามีอีกหลายส่วนที่ไม่ทราบว่า มันทำหน้าที่อะไร และสมองหลายส่วนก็ดูเหมือนมันไม่ถูกใช้ ในคนปรกติ แต่ในบางคนที่ไม่ปรกติหรืออาจกล่าวอีกทางหนึ่ง ก็ได้ว่า ใน 'คนที่พิเศษ' บางคน สมองส่วนที่ลึกลับดังกล่าวมี การทำงานต่างไปจากปรกติ.. ในแง่ลบก็คือ ก่อความวิกลจริต เห็นภาพหลอนที่ไม่มีอยู่จริง ได้ยินเสียงบางอย่างอยู่คนเดียว g-3
มีบุคคลิกซ้อน...ฯ ในแง่บวกก็คือ มีความสามารถพิเศษบาง อย่างขึ้นมา เช่น อ่านใจคนได้ เคลื่อนวัตถุ งอช้อน มีความจำ ที่มหัศจรรย์ คำนวณรวดเร็ว หรือแม้แต่กระทั่ง โทรจิต...ฯ เรา คงเคยเห็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับความคิดแนวนี้กันมาแล้ว.
ภาพ “Seven Chakra” : by Pieter Weltevrede [www.sanatansociety.com]
ในขณะที่คนทั่วไปต้องนอนหลับเพื่อฝัน จึงจะเห็นภาพ นิมิตเช่นที่ว่านี้ได้ มีเรื่องเล่ามากมาย ถึงพวกนักบวชโบราณ ลามะ โยคี ฤาษี ชีปะขาว แม่มด หมอผี ... ที่บำเพ็ญตนจนมี ญาณอำนาจพิเศษเหนือธรรมชาติต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงความ สามารถในการมองเห็นภาพนิมิตต่างๆ เพื่อใช้ในการทำนาย เหตุการณ์อนาคต หรือเพื่อสื่อสารกับสวรรค์และวิญญาณ ว่า กันว่า ลามะทิเบตโบราณ เคี้ยวรากไม้บางชนิด เช่นที่เรียกว่า ‘กลิงเช็น’ เพื่อได้อำนาจเหนือธรรมชาติดังกล่าว ทำเป็นเล่น ไป.. ผมว่านี่อาจเป็นเรื่องเดียวกับที่พวกบุปผาชนสาวกแนวไซ เคเดลิกทั้งหลาย เสพย์ยาพวกแอมเฟตตามีน- แอลเอสดี เพื่อ เปิดมิติพิสดารทางจิตพวกนี้ก็ได้ ผมเคยเห็นในสารคดีมาแล้ว ที่พวกนักพรตสวามีดูดกัญชากันควันคลุ้ง แสนจะเบิกบานใจ มีหลักฐานอยู่ว่า นักบวชในยุคโบราณก็ใช้สมุนไพรในทำนอง เดียวกันนี้ ตั้งแต่ประเภทที่เรารู้จักกันดีคือ พวกกัญชา ใบ
กระท่อม.. ไปจนถึงอื่นๆ เช่น พวกรากไม้ ใบไม้ ดอกไม้ ลูกไม้ หรือเห็ดต่างๆ ที่มีฤทธิ์ในการกล่อมหรือหลอนประสาท ซึ่งก็ เป็นที่ถกเถียงกันไปว่าตัวยานั้นสร้างภาพหลอนขึ้นมาเอง หรือ ว่าเป็นเพราะตัวยานั้น จิตคนเราถึงได้เปิดเชื่อมกับพรมแดน เหนือธรรมชาติ ที่ซึ่งเชื่อกันว่า 'มีอยู่แล้ว' ได้ อันนี้ก็ว่ากันไป.. นี่ยังไม่รวมถึงพวกลัทธิแปลกๆ ในปัจจุบันนี้ ที่ก้าวหน้าไปถึง การสะกดจิตหมู่ ล้างสมอง หรือใช้คลื่นความถี่ต่างๆ และ สเปเชี่ยลเอ๊ฟเฟ็คระดับฮอลลีวู๊ด เป็นเครื่องมือในการชักจูง และสร้างความเลื่อมใส. ทำไมคนเราถึงฝัน ? มันไม่มีข้อเท็จจริงให้ฟันธงลงไป ได้ว่าทำไมเราถึงฝัน มีทฤษฎีเกี่ยวกับการฝันหลายสำนัก เช่น ของ Frued, Jung, Cayce, Evans, Crick & Mitchinson... แต่ละคนก็ต่างทฤษฎีกันไป ซึ่งเราก็ยังไม่มีทางรู้ได้ว่าของใคร ถูกกว่ากัน. ฟรอยด์ มีความเห็นว่า ความฝันเก็บซ่อนความปราถ นาที่ซ่อนเร้นของคนเราเอาไว้. จุง มีความเห็นว่า ความฝันนั้น สื่อความหมายซึ่งอาจไม่ได้เป็นความปราถนาเสมอไปและมัน สามารถตีความออกมาได้. เคซี เห็นต่างกับคนอื่นว่า ความ ฝันคือองค์สำคัญในการปรับปรุงแก้ไขตนเอง ที่ซึ่งสั่งสมสภาพ จิตใจ วิญญาณ และความสมบูรณ์ของร่างกาย. อีวานส์ เห็น สนับสนุนว่า ความฝันคือองค์สำคัญที่เก็บข้อมูลอันกว้างขวาง ที่ได้รับในแต่ละวัน. ในขณะที่ คริกและมิทชินสัน แย้งว่า ข้อมูลที่ว่านี้ถูกกำจัดทิ้งต่างหาก ไม่ใช่เก็บไว้.
ในยุคโบราณอย่างอียิปต์นั้นคิดว่า ความฝันคือโลก เหนือธรรมชาติ เป็นข่าวสารที่พระเจ้าส่งมาสู่ผู้คนในยาม ค่ำคืน เป็นเครื่องมือในการเตือนล่วงหน้าให้รู้ถึงภัยพิบัติหรือ โชคลาภ พวกอียิปต์เป็นพวกแรกที่มีการถอดนัยยะของความ ฝัน พวกเขาเขียนคัมภีร์ที่บอกเล่าถึงรหัสและสัญลักษณ์ต่างๆ ของความฝัน ถือเป็นพวกแรกที่มีพิธีกรรมบ่มฝัน เมื่อผู้ใด ก็ตาม มีปัญหาในชีวิตและต้องการให้พระเจ้าช่วย พวกเขาจะ g-4
เข้าไปนอนในวิหารเพื่อบ่มฝัน และเมื่อตื่นขึ้นก็จะถ่ายทอด เรื่องราวของความฝันให้แก่นักบวชเจ้าแห่งศาสตร์เร้นลับ ผู้จะ ให้คำแนะนำและแปลความหมายของความฝันนั้น ไม่ต้องเดา ก็รู้ว่าต้องมียาหรือสมุนไพรบางอย่างให้กินก่อนนอนด้วย เพื่อ ให้แน่ใจว่าเขาจะหลับฝัน ซึ่งจะต้องมีผลกับสมองของผู้ที่มา นอน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่ๆ .
Iliad
ในยุคศตวรรษที่แปด ก่อนคริสตศักราช มหากาพย์อิล เลียตซึ่งแต่งโดยโฮเมอร์ (Homer) ได้เขียนบรรยายฉากที่อมา เก็ดดอน (Amageddon) ได้รับคำแนะนำจากเทวทูตผู้ส่งข่าว ของเทพเจ้าซูส (Zeus) ทางความฝัน ชาวกรีกเองก็เชื่อว่า ความฝันคือสารของเทพเจ้า และมันสามารถถอดความได้โดย นักบวชเท่านั้น เช่นเดียวกับชาวบาบิโลเนียนและชาวอียิปต์ ซึ่งเป็นสองกลุ่มที่พวกกรีกสืบทอดมรดกด้านพิธีกรรมความรู้ และเวทย์มนต์ลึกลับต่างๆ มา สำหรับชาวกรีก ความฝันยัง เป็นวิถีทางในการแพทย์ด้วย พวกเขาส่งคนป่วยเข้าไปในวิหาร เฉพาะ อันเป็นที่ประดิษฐานแท่นบูชาของเทพเจ้าแห่งร่างกาย คนป่วยจะมาที่วิหารนี้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ และมานอนค้าง โดยหวังว่าจะได้รับความฝันที่สร้างความเชื่อ มั่นว่าจะกลับมามีสุขภาพดีอย่างเดิม พวกเขาอาจนอนค้างแค่ คืนสองคืน อาจเป็นสัปดาห์หรือหลายเดือน จนกว่าจะได้รับ ความฝันที่เชื่อว่าถูกต้อง. ชาวเปอร์เซียน ก็เชื่อในความฝันแบบเดียวกัน พวกเขา บันทึกไว้ว่า การทำนายความฝันที่แม่นยำอย่างแท้จริงต้องทำ ภายในวันที่ฝันเท่านั้น. Gabdorrhachamn, ผู้พยากรณ์คน แรกๆ ที่มีชื่อเสียงของชาวอาหรับ เขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า ความฝันคือคำพยากรณ์ และมีแต่ผู้ที่วิญญาณบริสุทธิ์ ทรง
ศีล ไม่มุสา และถือพรหมจรรย์เท่านั้น ที่จะแปลความหมายได้ แต่คำพยากรณ์แบบนี้ ยึดจากความรู้สึกของผู้พยากรณ์ ไม่ได้ ตีความจากตำราหรือสัญลักษณ์ทางความฝันใดๆ . ชาวเอเชี ย โบราณก็ ไ ม่ ต่างกับชนเผ่าโบราณอื่น ที่เชื่อ ในความฝันว่า เป็นข่าวสารจาก เทวดาหรือภพภูมิอื่น มีตำราที่ อธิบายสัญลักษณ์ของความฝัน มากมาย มีทั้งที่เป็นสัญลักษณ์ ตรงกันในหลายชนเผ่าและก็มีที่ แตกต่างไปบ้าง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ พยากรณ์ ที่อาจทำนายไปโดย อิสระไม่มีกฏเกณฑ์อะไร หรือ ทำนายไปตามคัมภีร์โบราณที่ยึดถือสืบทอดกันมา อย่างเช่น งู หมายถึงเรื่องเพศ ฝันถึงงูมารัด หมายถึงจะมีคู่ครอง.. ผมมีตัวอย่างของคำทำนายโบราณที่โด่งดัง มาให้ดูกัน เป็นคำทำนายที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายนิมิต 16 ประการของ พระเจ้าปเสนธิโกศล ซึ่งได้ทรงฝันไปดั่งนี้... โคสี่ตัว วิ่งมาจะชนกัน แต่แล้วถอยไป ทำนายว่า ข้าวจะยากหมากจะแพง ☉ ไม้รุ่นออกดอกผล ทำนายว่า ผู้เยาว์จะหลงในกาม ☉ แม่โคขอนมลูกกิน ทำนายว่า ลูกในไส้จะเนรคุณ ☉ ลูกโคไถนา ทำนายว่า ใช้คนไม่ถูกงาน ☉ ม้ามีสองปาก ทำนายว่า ความยุติธรรมจะเสื่อมลง ☉ ถาดทองรองเยี่ยว ทำนายว่า คนชั่วจะมีอำนาจ ☉ สุนัขกินเชือกหนัง ทำนายว่า คู่ครองนอกใจกัน ☉ ตุ่มน้ำว่างเปล่า ทำนายว่า มีความเหลื่อมล้ำในชนชั้น ☉ สระน้ำขุ่นตรงกลาง ทำนายว่า คนดีหนีหน้า คนชั่วช้าครอง เมือง ☉ ข้าวสุก ดิบ แฉะ ไหม้ ทำนายว่า เห็นชั่วเป็นดี เห็นดีเป็นชั่ว ☉ แก่นจันทร์แลกนมโค ทำนายว่า สงฆ์และนักบวชประพฤติ ชั่ว ☉ น้ำเต้าจมน้ำ ทำนายว่า คนดีจะถูกรังแก ☉ ศิลาลอยน้ำ ทำนายว่า ผู้นำหูเบา ☉ เขียดขยอกงู ทำนายว่า หญิงชายมั่วกาม ☉ หงส์ทองล้อมกา ทำนายว่า คนดีรับใช้คนชั่ว ☉ เนื้อไล่เสือ ทำนายว่า คนดีจะไร้ค่า ☉
g-5
เพราะว่าความฝันมีอิทธิพลกับคน โบราณอย่างนี้นี่เอง มันจึงมีผลต่อ ศรัทธา และระบบความเชื่อในยุค แรกของมนุษย์เป็นอย่างมาก เรา พบจารึกมากมายที่มีการถ่ายทอด คำทำนายนิมิตของกษัตริย์โบราณ ที่สำคัญๆ หลายองค์ ทั้งที่เป็นศิลา จารึก เป็นแผ่นดินเหนียว ผืนผ้า แท่งหินโอบิลิสค์ หนังสัตว์ ปาปิรัส หรือเขียนลงบน ผนังถ้ำ ผนังวิหาร .. ความฝันอาจทำให้เกิดการปฏิบัติที่กลาย เป็นจารีตไปก็ได้ เช่น เทพเจ้ามาเข้าฝันบอกว่า วัวเป็นสัตว์ ศักด์ิสิทธิ์ เพราะฉนั้นแต่นี้ไปจะต้องไม่ฆ่าหรือกินเนื้อวัว เป็นต้น. หรืออาจฝันถึงเรือขนาดใหญ่แล้วก็ตีความไปว่า ต้อง สร้างเรือขนาดใหญ่ถวายแก่เทพเจ้า.. ซึ่งแน่นอนเหลือเกินว่า คนที่มีฐานะเป็นกษัตริย์หรือนักบวช ก็ยิ่งมีอิทธิพลสูงส่งกว่า ความฝันของชนชั้นเหล่านี้ย่อมมีความสำคัญ และถือว่ามีผล กับแผ่นดินและอาณาประชาราษฎรทั้งหลายได้ แน่นอน.. เมื่อนักบวชต้องการได้วิหารที่โอ่อ่าใหญ่โตขึ้น เทพเจ้าก็ถือ เป็นข้ออ้างที่ดี.. “เมื่อคืนนี้ เทพเจ้าตรัสแก่ข้า หากพวกเจ้าไม่ ต้องการเป็นหมันกันทั้งเมือง แผ่นดินจะแห้งแล้งไร้พืชผล พวก เจ้าต้องสร้างวิหารที่ใหญ่เทียมเมฆ”.. หรือ “... เพื่อให้ฟาโรห์ผู้ เป็นสมมุติเทพแห่งเรา บินกลับไปยังสวรรค์ข้างบนได้ พวกเจ้า ต้องสร้างสุสานขึ้นไปจรดเหนือฟ้า เล็งไปยังดาวหมีใหญ่” อะไรเทือกนั้น.. เมื่อเราได้ศึกษาดูก็จะพบว่ามนุษย์ในยุคแรกๆ นั้นปก ครองโดยผู้หญิงมาก่อน นั่นคือสังคมดึกดำบรรพ์จริงๆ โดย เฉพาะในแถบเอเชีย นิมิตของแม่หมอหรือของผู้หญิงโบราณ จะพอเหมาะพอควรกว่าและไม่ค่อยมักใหญ่ไฝ่สูง เรามักพบ หลักฐานที่เป็นศิลปวัตถุที่แสดงสัญลักษณ์ของเพศแม่ การให้ กำเนิด.. แต่แล้ว .. เมื่อผู้ชายได้เป็นใหญ่ ความทะเยอทะยาน ในอำนาจและความยิ่งใหญ่ก็ครอบครองเต็มที่กว่า อย่างที่ เห็น สัญลักษณ์แห่งความเป็นชายพุ่งตระหง่านเสียบฟ้าตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมา นับไล่แต่มหาปิรามิดแห่งคูฟู เสาโอบิลิสค์ สถูป ต่างๆ มากหลายในเอเชีย มหาปราสาทสูงเสียดฟ้า วิหารอัน โอฬาร..ฯ แต่นอกจากสัญลักษณ์แห่งความเป็นชายจะครอง ความนิยมอันดับหนึ่งในการออกแบบยุคโบราณแล้ว ก็ยังมีรูป ทรงศักด์ิสิทธ์ิอื่นๆ อีก ซึ่งประกอบไปด้วย วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม แปดเหลี่ยม.. เรียกกันว่า เรขลักษณ์อัน ศักดิ์สิทธิ์.
เรขลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Geometry) มันคือรูปทรงที่รับรู้และยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคม นั้น หรือรับรู้ในหลายๆ สังคม ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญทาง ศาสนา และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม มักแสดงให้เห็นโครงสร้าง ที่ซับซ้อนของระบบบางอย่าง เช่น จักรวาล ภพภูมิ อวกาศ เวลา และรูปร่างของสิ่งต่างๆ เป็นตัวแทนแนวคิดของกฏบาง อย่าง หรือแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีต่อกัน บาง ครั้งรูปทรงพวกนี้ก็ถูกเรียกว่าเป็น ‘ภาษาของพระผู้เป็นเจ้า’ ใน บางชนเผ่า และมันแปลกมากๆ ที่มันมักมีความสัมพันธ์กับ คณิตศาสตร์ได้อย่างน่าฉงน ซึ่งปรากฏให้เห็นมาแต่ยุคโบราณ แล้ว แสดงให้เห็นถึงความน่าทึ่งของสติปัญญาบรรพชนในยุค ก่อนอย่างเห็นได้ชัด อันที่จริงเรื่องของ Sacred Geometry นี้ น่าสนุกและก็พิสดารลึกล้ำมาก แต่ผมคงจะไม่ลงลึกไปมาก นัก ถ้าใครคันอยากจะลองไปค้นคว้าหาอ่านกัน ขอแนะนำให้ ลองหาดูในอินเทอร์เน็ท รับรองว่าเพลิน มีทั้งแบบเป็นวิชาการ และแบบออกนอกอวกาศไปเลย. มีสัดส่วนสมมาตรชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า Golden Ratio หรืออัตราส่วนทองคำ บางทีก็เรียกว่า God Ratio มันมี แนวคิดมาจากการรังสรรค์อันมหัศจรรย์ของธรรมชาติ นั่นคือ รูปทรงกรวยก้นหอยของเปลือกหอยนอติลุส ที่มีความสมดุลย์ เด่นล้ำ และได้กลายเป็นแม่แบบให้สถาปัตยกรรมในกรีกและ โรมันหลายต่อหลายแห่ง เป็นเหมือนสัญลักษณ์ธรรมชาติของ จักวาล และเราพบมันได้ในสถานที่ที่โด่งดังอย่างเช่น Crop Circle ปีรามิด หรือ Stone Henge... เจ้า Golden Ratio นี้ ยังสัมพันธ์กับตัวเลขทางคณิตศาสตร์คือ 1-2-3-5-8-13 อย่าง น่าทึ่ง
8 13 2 11 3
g-6
5
ดิน
น้ำ
ลม
ไฟ
สามเหลี่ยม คือ ไตรลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของจักรวาล ตรีเอกานุภาพ พระรัตนตรัย ไตรปิฎก ตรีมุรติ ไตรภูมิ / สวรรค์-โลก-บาดาล / บิดา-มารดา- บุตร / ร่างกาย-จิตใจวิญญาณ../ สามเหลี่ยมที่ชี้ปลายขึ้น หมายถึง ชีวิต องคชาติ สัญลักษณ์แห่งธาตุไฟ ความร้อน.. หากคาดด้วยเส้นแนวนอน หนึ่งเส้นหมายถึงสัญลักษณ์แห่งธาตุลม สามเหลี่ยมที่ชี้ปลาย ลงหมายถึงพระจันทร์ โยนี แหล่งกำเนิด ความเย็น สัญลักษณ์ แห่งธาตุน้ำ อำนาจแห่งเพศแม่ .. หากคาดด้วยเส้นแนวนอน หนึ่งเส้นหมายถึงธาตุดิน (โลก).
Six Bardos And The Circle of Life
วงกลม จากศูนย์ คือจุดศูนย์กลางของอนันต์ (สุญตา) เมื่อเริ่มหมุนก็เกิด วงกลม จักรวาลก็กำเนิด อันที่จริงมันเป็น อย่างนั้นทั้งทางวิทยาศาสตร์ และทางศาสนาน่ะแหละ วัฒ จักรชีวิตเป็นวงกลมเหมือนที่จักรวาลเป็นวงกลม มันก่อรูปที่ สมบูรณ์พร้อมของหนึ่งรูปทรง เป็นพลังสูงสุดที่รวมเป็นหนึ่ง เดียว ศูนย์จึงเกิดเป็นวงกลมหนึ่ง เป็นรูปทรงโบราณที่ถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด หมายถึงสุขภาพที่สมบูรณ์ ความพร้อมเพรียง ความกลมกลืน อาตมัน ไม่มีที่สิ้นสุด ไร้กาลเวลา ไร้ต้นไร้ ปลาย คือความเท่าเทียม ภราดรภาพ วงโคจร พระผู้สูงสุด สวรรค์ พระอาทิตย์ ฉัพพรรณรังสี...ฯ สี่เหลี่ยม คือโลก มันตั้งอยู่มั่นคงบนมุมทั้งสี่อย่าง สมมาตร มันหมายถึงความบริสุทธิ์ใจ ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม (ตรงข้ามกับวงกลมที่เคลื่อนที่) มันคือการหยุดนิ่ง ของชีวิต (อาจหมายถึงความตายหรือการลงหลักปักฐานก็ได้) สัญลักษณ์ของสิ่งก่อสร้าง ปริมณฑล บ้าน การกสิกรรม การ โอบล้อม การปกป้อง วัด สนาม สวน ความรู้ที่สูงส่ง .. ในรูป ทรงสถาปัตยกรรม มันหมายถึงธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ.
ห้าเหลี่ยม คือ ร่างกายมนุษย์ ศีรษะ แขนซ้ายขวา และ ขาซ้ายขวา.. หมายถึงองค์ประกอบของร่างกายที่ครบถ้วน หมายถึงผัสสะทั้งห้า คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส.. ในคตินิยม แบบเอเชีย หมายถึง ธาตุทั้งห้าคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ ไม้ .. มันคือ เสียงแห่งรูปและธาตุทั้งห้า. แปดเหลี่ยม แปดคือสัญลักษณ์แห่งการปฏิรูป การเกิด ใหม่, ความเปลี่ยนแปลง หมายถึง อี้จิง , ปากัว คือสัญลักษณ์ ทิศทั้งแปด คือ อุดร อีสาน บูรพา อาคเณย์ ทักษิณ หรดี ประจิม พายัพ .., เป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ก่อรูป ทรงของโดม เป็นการผสานกันของรูปทรงสี่เหลี่ยมไปสู่วงกลม, หมายถึงลมทั้งแปด, ประตูทั้งแปดไปสู่การเปลี่ยนแปลงจาก สภาพหนึ่งไปสู่สภาพอื่น, ในคติฮินดูหมายถึงช่วงเวลาทั้งแปด ของวัน. โดยส่วนใหญ่ เราจะพบรูปทรงเหล่านี้มากที่สุด และ จะพบว่ามีคติคล้ายคลึงกันในหลายชนเผ่า อาจพบรูปทรงอื่น ที่ต่างออกไปบ้าง เช่น หกเหลี่ยม เจ็ดเหลี่ยม เก้าเหลี่ยม.. หรือ อาจพบรูปทรงของกลุ่มดาว เช่น เจ็ดดาว จักรราศี.. หรืออาจมี นัยยะที่กำหนดเฉพาะกลุ่มต่างไปจากคติทั่วไปบ้าง ขึ้นอยู่กับ เหตุและปัจจัยเฉพาะด้วย เช่น สัญลักษณ์สามเหลี่ยม ที่อาจ แทนรูปการจัดทัพของนักรบในตำนานของชนเผ่าหนึ่ง อาจนำ มาใช้กับระบำของชนเผ่านั้นที่จัดแถวเรียงเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับคติสากลของสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมที่ เราได้พูดถึงไปแล้วก็ได้. รูปทรงดังกล่าวเหล่านี้แหละครับ ที่จะมีบทบาทอย่าง สูง อยู่ในอารยะธรรมของมนุษย์ทุกหนแห่ง มันเป็นสัญลักษณ์ g-7
พื้นฐานในการก่อรูปของทุกสิ่งทุกอย่างในความรู้ของเรา ทั้ง ในเชิงนามธรรมและเชิงรูปธรรม ในบรรดาความรู้ต่างๆ เหล่า นั้น มีองค์ความรู้อยู่แขนงหนึ่งที่รวบรวมเอาคติของคนโบราณ เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ วิชานี้ภาษาอังกฤษเขาเรียก กันว่า ‘Mythology’ เรียกเป็นภาษาไทยว่า ‘ปรัมปราคติวิทยา‘ (เคยได้ยินเขาเรียกกันว่า เทววิทยา ก็มี แต่ผมขอเรียกแบบนี้ ตามอย่างคุณรณี เลิศเลื่อมใส นะครับ) ปรัมปราคติวิทยา (Mythology) คือองค์ความรู้ว่าด้วยทัศนะของมนุษย์ ที่เกี่ยวกับการ กำเนิดของจักรวาล การเกิดสิ่งมีชีวิต คน สัตว์ พืชพรรณต่างๆ ผีสางเทวดา เทพเจ้า บรรพชน กษัตริย์ โคตรวงศ์พงศ์เผ่า ชาติ พันธ์ุต่างๆ ทั้งในธรรมชาติและเหนือธรรมชาติิ วัฏจักรการเกิด แก่เจ็บตาย นรก สวรรค์ ชีวิตหลังความตาย โลกหน้า และคติ ที่เกี่ยวกับกฏข้อห้ามหรือจารีตปกครอง ประเพณี .. ทั้งนี้ เพื่อ ให้สังคมดำเนินไปอย่างสัมพันธ์กับจักรวาล และสัมพันธ์กับ สรรพสิ่งทั้งหลายอย่างสมบูรณ์เกื้อหนุนจุนเจือ เพื่ออำนวยให้ สังคมมีจริยธรรม ศีลธรรม และเป็นพลังของอารยะธรรม เพื่อ ให้มนุษย์มีอุดมการณ์และภารกิจ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้สังคมใน ยุคบุพกาล ส่งเสริมให้เกิดศรัทธาความเชื่อ ขวัญและกำลังใจ อันจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว เมื่อต้องเผชิญกับภัยพิบัติและโรคร้าย ต่างๆ ..ฯ เพื่อสอนให้บรรลุวิถีแห่งอุดมคติเหล่านี้ ก็จะมีเรื่องราว ตำนานทั้งหลาย ที่ประกอบขึ้นทั้งจากเรื่องจริงและเรื่องสมมุติ ด้วยการบอกเล่าสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษในชนเผ่าเดียวกัน หรืออาจได้รับและแลกเปลี่ยนปนเปกับคติของชนเผ่าใกล้เคียง โดยมีพิธีกรรม สวดขับ ดนตรี และการร้อง การฟ้อนรำ เป็น เครื่องมือผดุงชีวิตให้กับคติเหล่านี้. จากหนังสือ “ฟ้า - ขวัญ - เมือง : จักรวาลทัศน์ดั้งเดิม ของไท ในคัมภีร์โบราณไทอาหม” ผลงานวิจัยของคุณรณี เลิศ เลื่อมใส ได้แบ่ง ‘ปรัมปราคติ’ ออกเป็น 3 ประเภท คือ.. 1. จักรวาลทัศน์ - ทัศนะที่เกี่ยวกับโลกหรือจักรวาล ว่าด้วยการกำเนิดจักรวาล การพินาศแตกดับของจักรวาล การ บังเกิดใหม่ของจักรวาล กาลจักรและห้วงเวลา 2. ชีวะทัศน์ - ทัศนะที่เกี่ยวกับชีวิตทั้งหลาย วัฏสงสาร ชะตาลิขิตและโชคเคราะห์ ดวงดาวและโหราศาสตร์ สัมพันธ์
ของมนุษย์และจักรวาล การเกิด ความตาย การเกิดใหม่ ธาตุ ทั้งหลาย พิธีกรรมต่างๆ สังคม การปกครอง โคตรวงศ์พงศ์เผ่า 3. เทวะทัศน์ - ทัศนะเกี่ยวกับเทพเจ้าทั้งหลาย ผีสาง เทวดา ภพ ภูมิ สวรรค์ นรก สมมุติเทพ ทิพยบรรพชน.. ☯ จักรวาลทัศน์
เมื่อไร้นามสภาวะ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งฟ้าและดิน เมื่อมีนามมีสภาวะ จึงเป็นมารดาแห่งสรรพสิ่ง ดำรงตนอยู่ในความไร้สภาวะ จึงทราบบ่อเกิดแห่งจักรวาล ดำรงตนอยู่ในสภาวะ ย่อมแลเห็นปรากฏการณ์ที่ถูกสร้างสรรค์ ทั้งความมีและความไร้ มีบ่อเกิดแห่งเดียวกัน แต่แตกต่างกันเมื่อปรากฏออก บ่อเกิดนั้นสุดแสนลึกล้ำ ความลึกล้ำสุดแสนนั้น คือประตูที่เปิดไปสู่ความรู้แจ้งแห่งสรรพชีวิต เต๋า เต็ก เก็ง : เล่าจื๊อ แปลและเรียบเรียง : พจนา จันทรสันติ
จักรวาลทัศน์ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีนนั้น มี รากฐานมาจากลัทธิเต๋าของจอมปราชญ์เล่าจื๊อ. จาก ‘เต๋า’ คือ ความว่างเปล่า ก็บังเกิดพลังจักรวาลอันยุ่งเหยิงขึ้น จากนั้น พลังแห่งธรรมชาติคือ หยิน-หยาง ก็ผลักดันให้เกิดการสมดุลย์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (อี้) เกิดเป็นปราณ (ชี่) ของขั้วพลัง ทั้งสองด้านขึ้น จักรวาลก็จึงบังเกิด ปรากฏเป็นไข่ฟ้า ในไข่นั้น มีสวรรค์และโลกผสานกันอยู่ด้วยกัน และมี P’an-Ku มนุษย์ คนแรกอยู่ด้วย.. P’an-Ku ได้โตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเขารู้สึกอึดอัด จึง กระแทกเปลือกไข่ให้แตกออกด้วยขวาน จากนั้น P’an-Ku ก็ เป็นอิสระ เขาจุติออกมาจากไข่พร้อมกับสิ่วและค้อนที่จะ สร้างสรรค์ปั้นมวลสรรพสิ่งทั้งหลายที่เหลือ โดยมีสัตว์แห่งโชค คือ มังกร นกไฟ กิเลน และเต่า กำเนิดออกมาจากไข่ด้วยกัน เขาแบ่งหยินหยางออกเป็นสวรรค์และโลก ปั้นสวรรค์ขณะที่ g-8
มันยังเย็นอยู่แล้วเอาไว้ด้านบนกับเปลือกไข่ชิ้นบน ปั้นโลก แล้วเอาไว้เบื้องล่างกับเปลือกไข่ชิ้นล่าง โดยตัว P’an-Ku เอง นั้นอยู่ตรงกลาง จากนั้นก็ขยายขึ้นทั้งข้างบนข้างล่างจนสูงเก้า ล้านลี้ ในแต่ละวัน P’an-Ku จะโตขึ้นวันละสิบฟุต โดย ร่างกายเป็นหมอนรองทั้งสองภพไว้.. P’an-Ku มีชีวิตกรำงาน หนัก สร้างสรรค์สรรพสิ่งอยู่หมื่นแปดพันปี ก็เสร็จสิ้นภารกิจ แล้ว P’an-Ku ก็ตาย ลมปราณหรือชี่ของเขาก็กลายเป็นลม และเมฆ เสียงของเขากลายเป็นฟ้าคำรามและอสนี ดวงตา ของเขากลายเป็นอาทิตย์และจันทร์ ผมของเขากลายเป็น ดวงดาว เนื้อกลายเป็นดินอันอุดม ผิวหนังกลายเป็นต้นไม้ และมวลบุปผชาติต่างๆ ท้องและปอดกลายเป็นขุนเขาใหญ่ น้อย เหงื่อ น้ำลายและน้ำตากลายเป็น ฝน แม่น้ำ ทะเลสาบ และมหาสมุทร ไขกระดูกกลายเป็นหยกและไข่มุก ตัวหมัดใน ร่างของเขากลายเป็นเผ่าพันธ์ุมนุษย์ต่างๆ จากนั้น วิญญาณ ทิพย์ของ P’an-Ku ก็ลอยขึ้นไปอยู่ในห้วงอวกาศ อยู่อย่างนั้น อีกหนึ่งหมื่นแปดพันปี ก็กลายสภาพเป็นแสงหรือวิญญาณอัน พิสุทธิ์.
P’an-Ku กับสัตว์มงคลทั้งสี่ การกำเนิดของจักรวาลของจีนตามคติเต๋า ภาพวาดของ Linda & Roger Garland จากหนังสือ “The book of the unicorn” [www.unicorngarden.com]
ส่วนจักรวาลทัศน์ในคติของฮินดูนั้นก็มีหลายคติ จะ เลือกมาเล่าสักคติหนึ่ง ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกันส่วนใหญ่ ความมี อยู่ว่า..
มีสถานะหนึ่งสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด นั่นคือ ปรมาตมัณ พระเป็นเจ้าอันเป็นนิรันดร์และไม่สิ้นสุด ไร้รูป เป็นกำเนิดแห่ง ชีวิตและสรรพสิ่ง และจะปรากฏให้เห็นเป็นรูปคือ อาตมัน ใน ลักษณะที่ต่างกันไปมากมาย รวมทั้งเทพในรูปลักษณ์ต่างๆ ในเบื้องแรกนั้นมีเพียงความมืด ไม่มีสวรรค์และโลก ไม่มีแม้ห้วงอวกาศอยู่ระหว่างนั้น ไม่มีสิ่งใดปรากฏหรือไม่ ปรากฏ มหาสมุทรอันมืดมิดสาดซัดไปบนฟากฝั่งซึ่งไร้สิ่งใดๆ แต่มีงูยักษ์ตัวหนึ่งลอยอยู่บนมหาสมุทรนั้น ขนดเป็นวงรองรับ ร่างอันหลับไหลของพระวิษณุเทพ และงูศักดิ์สิทธิ์นี้ก็คอยเฝ้า อารักขาอยู่เช่นนั้น ในท่ามกลางความสงบอันลึกล้ำ ซึ่งไม่ถูก รบกวนจากความเคลื่อนไหวหรือแม้แต่ความฝันใดๆ และแล้ว จากเบื้องลึกสุด ก็บังเกิดเสียงสั่นสะเทือนขึ้น.. "โอม" ... เสียงนั้นแผ่ขยายออกไปจนเต็มความว่างเปล่า บังเกิดชีพจร อันเปี่ยมพลังขึ้น ความมืดมิดสิ้นสุดลง และวิษณุเทพทรงตื่น ขึ้น รุ่งอรุณได้ปรากฏขึ้นจากสะดือของวิษณุเทพ พร้อมกับที่ บังเกิดดอกบัวอันแสนงดงาม กลางดอกบัวนั้นก็คือพระพรหม ผู้ซึ่งนั่งอยู่และรอรับคำสั่ง พระวิษณุเทพทรงมีรับสั่งว่า "บัดนี้ คือเวลาแห่งการเริ่มต้น... ท่านจงสร้างโลก" จากนั้นบังเกิดลม กวาดผ่านผืนสมุทร แล้วพระวิษณุกับงูยักษ์ก็พลันหายไป พระ พรหมประทับนั่งบนดอกบัวที่ลอยอยู่บนผืนสมุทรนั้น ทรงยก แขนทั้งสองขึ้นเพื่อให้ลมและมหาสมุทรสงบลง จากนั้นก็แบ่ง ดอกบัวออกเป็นสามส่วน อันหนึ่งสร้างเป็นสวรรค์ อันหนึ่ง สร้างเป็นโลก และอีกอันสร้างเป็นท้องฟ้า โลกอันโล่งกว้าง ปรากฏ พระพรหมจึงสร้างทุ่งหญ้า ดอกไม้ ต้นไม้ และพรรณ ไม้นานาชนิด ทรงเนรมิตให้มีความรู้สึก สร้างสัตว์และแมลง สร้างนกบนท้องฟ้าและปลาในสายน้ำ และให้ผัสสะทั้งหลาย แก่สรรพชีวิต บันดาลให้เคลื่อนไหวไปได้ในโลกนั้น... อันนี้ก็เป็นฉบับของฮินดูเขา.
g-9
ส่วนชนเผ่า San Bushman มนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกนั้น ตำนาน กำเนิดโลกของพวกเขาเล่าว่า... มนุษย์นั้น ไม่ได้อยู่บนพื้นโลก มาก่อน ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ทั้งมนุษย์ และสัตว์อาศัยอยู่ใต้พื้นพิภพ ร่วมกับ 'Kaang' เทพเจ้าสูงสุด เจ้าแห่งสรรพ ชีวิต... ณ ที่นั้น มนุษย์และสัตว์อยู่กันอย่างสงบสุข พวกเขา สามารถพูดจาเข้าใจกัน ไม่มีผู้ใดต้อง การสิ่งใดทั้งสิ้น ที่ใต้ พิภพนั้นมีแสงอยู่ตลอดเวลาแม้ว่ามันจะปราศจากดวงอาทิตย์ ในช่วงยุคสมัยอันแสนสำราญนี้ Kaang ก็ได้วางแผนอัน มหัศจรรย์ที่จะสร้างโลกที่เบื้องบน. อย่างแรก Kaang บันดาลต้นไม้วิเศษขึ้นมา กิ่งก้าน ของมันแผ่ออกไปทั่วแดนดิน ที่โคนต้น ท่านได้ขุดโพรงลึกลง ไปจนถึงที่ที่มนุษย์และสัตว์นั้นอาศัยอยู่ เมื่อเทพ Kaang เสร็จ การรังสรรค์โลกแล้ว ท่านก็ให้มนุษย์ผู้ชายคนแรกขึ้นมาจาก โพรง เมื่อขึ้นมา ชายนั้นก็นั่งลงที่ขอบโพรง แล้วทันใดมนุษย์ผู้ หญิงคนแรกก็ตามออกมา ไม่นานนักมนุษย์ทั้งหลายก็ออกมา กันเต็มไปหมดอยู่ที่โคนต้นไม้นั้น และพากันประหลาดใจกับ โลกใหม่ที่เพิ่งได้เห็น ต่อมา Kaang ก็ช่วยให้สัตว์ทั้งหลายไต่ ขึ้นมาจากโพรงด้วย จนกระทั่งสัตว์ต่างๆ ออกมากันจนหมด Kaang ได้เล่าให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายฟังเกี่ยวกับ ตัวท่านและสอนให้ทั้งหมดอยู่กันอย่างสันติสุข ท่านเตือนชาย และหญิงทั้งหลายว่า อย่าสร้างไฟหรือกระทำสิ่งเลวร้ายใดๆ ที่ จะทำให้เกิดไฟขึ้น มนุษย์ทั้งหลายก็รับปาก แล้วเทพ Kaang ก็จากไปสู่ที่ที่ท่านจะแอบเฝ้ามองโลกอยู่อย่างเงียบๆ เมื่อตก เย็น ดวงอาทิตย์ก็ลับขอบฟ้าไป ผู้คนและสัตว์พากันนิ่งดู ปรากฏการณ์นี้จนกระทั่งความมืดครอบคลุมไปทั่ว เมื่อดวงอาทิตย์หายไป ความกลัวก็บังเกิดขึ้นในใจของ มนุษย์ พวกเขามองกันและกันไม่เห็นเสียแล้ว ต่างกับสัตว์ที่ มองเห็นได้ในความมืด พวกเขาไม่มีขนที่ทำให้อบอุ่นเหมือน อย่างที่สัตว์มี ไม่นานก็เริ่มรู้สึกหนาวเย็น ดังนั้น ชายคนหนึ่งก็ เสนอให้จุดไฟเพื่อความอบอุ่น ลืมเลือนคำเตือนของ Kaang ไปสิ้น พวกเขาได้ความอบอุ่นและมองเห็นกันได้เพราะไฟนั้น. เมื่อมนุษย์จุดไฟ สัตว์ทั้งหลายก็พากันกลัวที่มนุษย์ขัด คำสั่งเทพ พวกมันพากันเตลิดหนีไปสู่ป่าสู่ถ้ำและขุนเขาทั้ง หลาย นับแต่นั้นมา มนุษย์และสัตว์ก็ไม่สามารถจะพูดเข้าใจ กันได้อีกต่อไป และความกลัวก็ได้เข้ามาแทนที่มิตรภาพที่เคย มีแต่ก่อนนั้น. พวกซาน เชื่อว่าไม่เพียงต้นไม้และสัตว์ที่มีชีวิต ฝน ฟ้า ลม และฤดูต่างๆ ก็มีชีวิต พวกเขาเชื่อว่า สิ่งที่เราเห็นเป็นเพียง รูปร่างภายนอก แต่วิญญาณที่อยู่ข้างในนั้น เรามองไม่เห็น
วิญญาณนี้สามารถบินจากร่างหนึ่งไปอีกร่างหนึ่งได้ เช่น วิญญาณของคนคนหนึ่ง อาจบินไปอยู่ในร่างของเสือหรือสิงห์ โตได้. บนแผ่นดินอเมริกา เจ้าของแผ่นดินที่แท้จริงก็คือพวก ชนเผ่าอเมอรีนด์และนาดีนทั้งหลาย ซึ่งก็คืออินเดียนแดงที่เรา รู้จักกันนั่นเอง ชนเผ่าที่เก่าแก่ที่สุดเผ่าหนึ่งก็คือเผ่า 'นาวาโฮ' พวกนาวาโฮนั้นมีความเชื่อกันต่อๆ มาว่า ผู้สร้างโลกได้ตั้งชื่อ ให้กับพวกเขาว่า "Ni'hookaa Diyan Dine" ซึ่งแปลว่า คนแห่ง โลกศักดิ์สิทธิ์ ทุกวันนี้ พวกเขาเรียกตัวเองสั้นๆ ว่า 'Dine' แปล ว่า 'คน' ตำนานกำเนิดโลกของพวกเขานั้นซับซ้อนและมีหลาย ฉบับ เหมือนกัน ขอเลือกฉบับสั้นๆ ซักอันมาเล่าให้ฟัง.. แต่เดิมนั้น โลกมีอยู่สี่โลก โลกที่หนึ่ง โลกสีดำ เป็นที่อาศัยของแมลงและมนุษย์ แมลง มันไม่ใช่โลกที่น่าอยู่เลย ดังนั้นพวกมนุษย์แมลงจึงสร้าง ปีกให้กับตัวเองและบินขึ้นฟ้าเพื่อมองหาบ้านใหม่ ในที่สุด พวกมันพบรอยแตกบนท้องฟ้า จึงพากันย้ายออกไปสู่โลกที่ สอง โลกที่สอง โลกสีน้ำเงิน เป็นโลกของนก พวกนกต่อ ต้านการบุกรุกของพวกมนุษย์แมลงอย่างโกรธเคือง เกิดการ ต่อสู้กันอย่างต่อเนื่อง ในที่สุด พวกมนุษย์แมลงตามเสียงของ สายลมออกไปสู่โลกที่สาม โลกที่สาม โลกสีเหลือง มันเกือบจะดูคล้ายโลกที่เรารู้ จัก มีมนุษย์และสัตว์ที่เกือบจะดูคล้ายกับที่อยู่ในโลกปัจจุบัน นี้แล้ว มีภูเขาใหญ่อยู่สี่ภูเขาในทั้งสี่ทิศ และคนภูเขาก็เริ่ม สอนชายคนแรกและหญิงคนแรกให้ปลูกข้าวโพดและสร้าง บ้าน พวกเขาถูกสอนไม่ให้รบกวนอสูรน้ำ แต่หมาป่าโคโยตี้ไม่ เชื่อ มันแอบไปยังบ้านของอสูรน้ำและโขมยลูกของอสูรน้ำมา ทันใดนั้น มหาสมุทรก็ยกตัวสูงขึ้นและแผ่นดินก็เริ่มถูกน้ำท่วม ทั้งมนุษย์และสัตว์ก็พากันหนีขึ้นไปบนภูเขาที่สูงสุด มนุษย์ได้ ปลูกต้นกกยักษ์ขึ้นที่บนยอดเขานั้น พากันมุดเข้าไปในโพรง ข้างในแล้วปีนขึ้นไป ในที่สุด ผ่านไปสี่วัน พวกเขาก็ปีนมาถึง โลกที่สี่ โลกที่สี่ เป็นสีขาวกับดำ มันสวยงามกว่าทุกโลกที่ผ่าน มา ที่นี่เอง ที่มีมนุษย์และสัตว์พวกอื่นๆ ที่เรารู้จัก ที่นี้ ชาย และหญิงคนแรกได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพด และกฏที่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องเพศ แต่เพราะโคโยตี้นั้นโขมย ลูกของอสูรน้ำมา พวกเขาจึงต้องตกใจอีกครั้งเมื่อโลกใหม่ของ พวกเขาเริ่มถูกน้ำท่วมอย่างฉับพลัน พวกเขาปลูกต้นกกอีก แล้วก็เริ่มปีน แต่คราวนี้ไม่สำเร็จ พวกเขาหาโพรงไม่เจอ ดัง นั้น เหยี่ยวเหลือง นกกระสา และนกแร้งจึงช่วยกันเจาะโพรง g-10
แต่มีเพียงตั๊กแตนเท่านั้นที่ปีนขึ้นไปสำเร็จ แมงมุมจึงใช้ใยปั่น เชือกขึ้นมา ทั้งหมดจึงปีนขึ้นมาในโพรงได้ แล้วก็พากันไต่ไปสู่ โลกถัดไป โลกที่ห้า คือโลกปัจจุบันนี้ โลกใหม่นี้เป็นเพียงเกาะ มันมีน้ำล้อมรอบ มดเป็นพวกแรก ที่ขนเอาเมล็ดพืชจากโลกที่ สี่มายังโลกที่ห้านี่ได้ พวกอื่นๆ ก็ตามมา ขนเมล็ดข้าวโพดและ สมบัติอื่นๆ จากโลกที่สี่มาสมทบ แต่พวกเขายังไม่ทันจะตั้ง หลักแหล่ง น้ำก็เริ่มขึ้นสูงอีก ชายคนแรกและหญิงคนแรกรู้ แล้วว่า ต้องมีใครทำให้อสูรน้ำโกรธแน่ๆ พวกเขาจึงค้นหาดู และพบว่าโคโยตี้นั่นเองที่โขมยลูกของอสูรน้ำมา พวกเขาเอา เด็กใส่เรือไปคืนที่ทะเลสาบ แล้วน้ำก็ลดลงในทันที ตั้งแต่นั้น มาน้ำก็ไม่ท่วมทำลายแผ่นดินของมนุษย์อีกเลย. จักรวาลทัศน์ในคติของชนเผ่าไทนั้น ก็สนุกและน่า สนใจไม่แพ้กัน ก่อนที่ศาสนาพุทธจะเผยแพร่เข้ามาสู่กลุ่มชน เผ่าไท-ไทย เราก็เคยถือคติบูชาผีฟ้าเทวดาผีบรรพบุรุษมาก่อน ดังนั้นจึงมีตำนานเกี่ยวกับการกำเนิดโลกและเผ่าพันธุ์มนุษย์ รวมทั้งเทพไทเทวาผีสางเทวดาเหมือนกัน แม้ทุกวันนี้ก็ยังเชื่อ กันอยู่ ทั้งที่เรานับถือศาสนาพุทธแล้ว อย่างเช่น เรื่องของ ขวัญ..เป็นต้น คติเหล่านี้ยังคงอยู่อย่างเหนียวแน่นกว่าในชน เผ่าไทบางเผ่าที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ เช่นกลุ่มไทดำ ไทขาว ไทอาหม ก็จะเล่าให้ฟังดังนี้...
เพราะไม่มีชั้นฟ้าครอบโลก ฟ้าเป็นมิต จึงบันดาลแมงมุม ทองคำให้ทอใยถักเป็นหลืบหลังคาเพดานฟ้า แล้วเนรมิต แมงมุมทองคำตัวผู้ตัวเมีย รุมกันบินถักทอใยเป็นผืนธรณี(ดิน เหนืออิง) และเมืองพันเมือง ดันฟ้ายอดสุดขึ้นไปจนสุดฟ้าเป็น ขวัญฟ้าอยู่ต่อกับชั้นดวงดาว แต่ไม่ได้ครอบปิดหมด เพื่อให้ ดวงดาวยังอยู่ได้ น้ำฟ้าก็ตกอ่อนลง ชั้นฟ้าก็เกิดเป็นเมืองฟ้า น้ำฟ้าที่ถูกแสงหญ้ายา ก็ไหลแยกแตกมาเป็นแคว สางอาบ แล้วชีวิตก็จะยืนยาวเป็นพันปี จากนั้นแมงมุมทองก็ตาย กลายเป็น หญ้าปูลอก หญ้าวิเศษแห่งชีวิต แล้ว ฟ้าเป็นมิต ก็เนรมิตดาวเดือนและตะวันประดับ ในชั้นฟ้า แต่ยังมิมีผู้ใดปกครองทั้งในชั้นฟ้าและชั้นดิน จึงให้ ฟ้าเหมยนายเต้าหว่าน ซึ่งเป็นเทพชั้นสูง หว่านพืชพันธ์ุลงมา เป็นป่าเป็นไม้ไปทุกแห่งหน หว่านพันธ์ุผี พันธุ์สาง พันธ์ุคน แล้วก็เนรมิตไข่ฟ้ามาไว้ที่ผาเผือกที่อยู่ยังทิศหัวเมืองสูงเปี่ยม ฟ้า ให้สายฟ้างำ ไปกกไข่ฟ้า เอาหญ้าปูลอกมายา ไข่ก็แตก ออก แล้วบังเกิดเป็นถ้ำผาหลวงผาไฟ ก่อกำเนิดหน่อเนื้อเชื้อ ไข เทพไท ผีสางและเจ้านางต้นวงศ์กษัตริย์ทั้งหลาย แบ่งกัน ปกครองฟ้า ปกครองป่า ปกครองเมือง ไปมาหาสู่กันทั้งผีสาง และคนเป็นปรกติ มีขวัญป่า ขวัญผา ขวัญเมือง เชื่อมโยงอยู่กับขวัญฟ้า ซึ่งตั้งอยู่เบื้องบนเชื่อมต่อกับแผ่นดินอย่าง มั่นคง. กลางหาว (ขุนลม, ชั้นลม)
'ฟ้าเป็นมิต' พระเป็นเจ้าสูงสุด เนรมิตฟ้าเก้าหรือแดน ฟ้าขึ้นที่สุดขอบฟ้าทิศเหนือ ที่เหนือกว่านั้นขึ้นไปเป็นชั้นลมอยู่ กลางหาว สุดขอบฟ้าทางเหนือนั้นไม่มีเดือนหรือตะวัน แต่มี แสงสว่างแสงรุ้งแสงเงินแสงทองเริ่มจับสลับสีสุกใสสวยงาม ต่อมาอีกสิบล้านปีก็กลายเป็นแดนไอน้ำสายหมอกลอยค้ำฟ้า อยู่ ที่สุดขอบฟ้ามีสมุนไพรวิเศษงอกงามเปล่งแสงเรือง ซึ่งรวม ทั้งหญ้ายาว่านพันธ์ุคนอยู่ด้วย หญ้านี้ออกผลมาเต็มต้น สาง(เทพ)เหนือ ก่อบันดาลลมเป่า ผลก็ตกลงมากลายเป็นคน มากมาย แต่อยู่ได้สามวันก็ตาย เพราะไม่ได้กินหญ้าจอปแสง อีกทั้งพระเป็นเจ้าก็ยังมิได้สร้างพื้นโลกเบื้องล่างรองรับ ผีแม่ย่าอิงคึ เป็นเหมือนผืนธรณีใหญ่กางออกทุกทิศ ทุกทางกว้างกว่าแสนปีหนาถึงพันวา พระเป็นเจ้าสร้างไว้ดี สิบ ล้านปีก็ไม่มีวันตาย นางลงมาอยู่ยังเบื้องใต้แล้วแม่อิงคึก็ บนบานฟ้าขอให้มีลูก ฟ้าก็เบิกช่องลมเร้ามาและละออง น้ำค้างตกใส่ ผีแม่อิงคึก็ตั้งท้องคลอดลูกสาวออกมาสี่คน ชื่อ นางเย เป็นดินเสื่อใต้ อยู่เหนือแม่อิงคึขึ้นไป , ชื่อ นางอี่ เป็น ทรายใต้น้ำ อยู่ชั้นถัดขึ้นไปอีก , ชื่อ นางอาม เป็นน้ำฝายราย อยู่ชั้นถัดขึ้นไปอีกชั้น, และชื่อ นางไอ่ ผาเต้าขวาง อยู่ชั้นบน สุด.. แต่น้ำจากฟ้านั้นยังตกไม่หยุด จนเกิดท้องน้ำคลุมไปทั่ว
ขวัญฟ้า --------------- จิกฟ้า (ยอดฟ้า) ---------------- กูบกึบฟ้างำเมือง (ท้องฟ้า) -------------------- ชั้นเดือน ดาว ตะวัน แจ่งฟ้า (มุมฟ้า) ------------------------ ชั้นเมฆหมอก ---------------------- ชั้นหมอกและน้ำค้าง ----------------------------------------- ผาเผือก ------------------- ดินเหนืออิง ----------------- นางไอ่ - ผาเต้าขวาง ------------------- นางอาม - น้ำฝายราย -------------- นางอี่ - ทรายใต้น้ำ --------------------------- นางเย - ดินเสื่อใต้ ---------------------- ผีนางอิงคึ
แสดงส่วนต่างๆ ในจักรวาลทัศน์แบบไทโบราณ
g-11
จักรวาลทัศน์ตามคติไทโบราณ จาก พื้นก่อเมือง คัมภีร์อาหมบุราณจี ของไทอาหม - ลายเส้นโดย : พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
g-12
นั่นแล เป็นจักรวาลทัศน์ในคติของชนเผ่าไทดั้งเดิม นอกจากนี้ จักรวาลทัศน์ยังประกอบด้วยคติที่เกี่ยวกับ ห้วงเวลาและความเป็นนิรันตร์ มีการกำหนดยุคในแบบคติ โบราณมากมาย เช่น กฤตยุค เตรตายุค ทวาปรยุค กลียุค.. และแบ่งระนาบของเวลาในแต่ละภพภูมิไม่เท่ากัน เช่นช่วง เวลาของเทวดาบนสวรรค์ ที่มีมากกว่าช่วงเวลาของรากษสใน บาดาลและมนุษย์บนผืนโลก มีคติที่กล่าวถึงการพินาศดับสิ้น ของจักรวาล กลียุคและการทำลายล้างสรรพชีวิต เช่น ของ ฝรั่งก็มี อะมาเกดดอนและดวงตราสัญญาณทั้งเจ็ดก่อนวันสิ้น โลก การมาถึงของวันพิพากษา.. ของคติทางพุทธทัศน์ก็มีเรื่อง ของไฟประลัยกัลป์ล้างโลก โดยรวมก็คือโลกซึ่งชั่วร้ายขึ้น จนถึงที่สุดจะได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ และตามมาด้วยการ บังเกิดของโลกใหม่อีกครั้ง คือโลกแห่งอุดมคติที่ปราศจาก ความชั่วร้าย เช่น ยูโทเปียของฝรั่ง หรือ ของทางพุทธก็คือ แผ่นดินแห่งพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ ชื่อ พระศรีอาริยะเมตตรัย.. เราคงจะสังเกตุเห็นได้ว่า มีความคล้ายคลึงกันอยู่ อย่ า งหนึ ่ ง ระหว่ า งคติ ข องไทกั บ ของจี น เกี ่ ย วกั บ กำเนิ ด จักรวาล นั่นก็คือเรื่องของไข่ฟ้า ในคติของทางทิเบตเขาก็มีไข่ ฟ้าเหมือนกัน ของอินเดียก็มี เช่นเดียวกับพวกชนเผ่าจ้วงที่ เป็นชนเผ่าไทที่เก่าแก่ที่สุดกลุ่มหนึ่งก็มีตำนานเกี่ยวกับไข่ เหมือนกันอีก (แต่เป็นไข่หิน) แล้วก็ยังมีแมงมุมอีกที่น่าสนใจ ในคติชนเผ่าโบราณหลายพวกก็มักมีแมงมุมเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเช่นพวกอินเดียนแดง ที่มีนางแมงมุมซึ่งนับว่าเป็น เทพเจ้ามาสอนความรู้ต่างๆ ให้แก่ชายหญิงคนแรก ให้แนวคิด ทำนองว่าแมงมุมเป็นสัตว์ที่ให้คุณเหมือนกัน มันแปลก ที่ยังมี สัตว์ที่สาวๆ กลัวกันอีกหลายอย่าง กลายเป็นสัตว์มงคลในคติ โบราณไปอย่างน่าพิศวง อย่างเช่น งู ค้างคาว เป็นต้น แนวคิด เช่นนี้จะไปปรากฏในปรัมปราคติประเภทเทวทัศน์อีก เพราะ มนุษย์นับถือสัตว์เป็นเทพเจ้ามากมายหลายองค์ เกือบจะทุก ชนเผ่าเลยทีเดียว แต่เราจะว่ากันถึงทัศนะที่สอง คือ ชีวทัศน์ ก่อน ☯ ชีวทัศน์
มนุษย์นั้นเป็นสัตว์โลกที่เปราะบาง เพราะสติปัญญา หรอกที่ทำให้มนุษย์ปกครองโลก ไม่ใช่เพราะความแข็งแรง ดัง นั้นชีวิตจึงเป็นสิ่งที่ต้องประคับประคองให้ดี ยิ่งมีสุขมากเท่า ไหร่ก็ยิ่งอยากจะมีชีวิตอยู่ให้มันนานมากขึ้น แต่ไม่ว่าใครก็ไม่ อาจหนีพ้นสัจธรรมที่ว่าทุกชีวิตมีเกิดแก่เจ็บตาย เมื่อไม่อาจ หนีกฏเกณฑ์นี้ไปได้ จึงบังเกิดทัศนะของวัฏสงสารขึ้น ว่าชีวิต นั้นจะเวียนว่ายกลับมาเกิดอีก มาแก่ มาเจ็บ แล้วก็ตาย ภพ
แล้วภพเล่า เป็นการสร้างความหวังไม่ให้วิตกกังวลกับความ ตายมากเกินไป ให้ทัศนะว่ามีภพหน้าชาติหน้า มีชีวิตหลังค วามตาย ไม่เป็นไรเดี่๋ยวก็กลับมาใหม่ .. กระนั้นความตายก็ยัง คงเป็นสิ่งที่มนุษย์หวาดกลัวกันมากที่สุดอยู่ดี ทำให้เกิด ทัศนะในทางที่จะแสวงหาความเป็นอมตะ ยาอายุวัฒนะ หรือ ปาฏิหาริย์ที่จะชุบฟื้นคืนชีวิตให้กลับมาได้.. ฝังแน่นอยู่ใน ปรัมปราคติส่วนที่เป็นชีวทัศน์นี้มาแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว และ แนวคิดนี้ก็อิงอยู่กับแนวคิดหลักคือจักรวาลทัศน์อย่างเลี่ยงไม่ ได้ ด้วยลักษณะอันสัมพันธ์กันอยู่ภายใต้กฏและอิทธิพลของ จักรวาล เมื่อจักรวาลนั้นหมุนเวียนมีกำเนิดและดับ ชีวิตก็ย่อม เป็นเช่นกันอยู่ใต้อิทธิพลของจักรวาลนั้น ที่ซึ่งบันดาลให้ ดวงดาวต่างๆ โคจรไป ให้กลางวันหมุนเปลี่ยนกับกลางคืน ให้ ฤดูกาลต่างผลัดเปลี่ยนกันไป ชีวิตก็ต้องดำเนินไปตามชะตาที่ ลิขิตและอิทธิพลของดวงดาวที่ควบคุมอยู่ สัมพันธ์เป็นส่วน หนึ่งของธาตุต่างๆ ที่ประกอบอยู่ในจักรวาล คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ขยับไปตามขั้นตามสภาวะแห่งชีวิตเฉก เดียวกัน ความคิดนี้ยังครอบคลุมไปสู่สิ่งต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะ เป็นสัตว์หรือพืชพันธ์ุทั้งหลาย ล้วนสัมพันธ์อยู่ในกฏเกณฑ์ เดียวกัน การเกิด เป็นปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิต ทัศนะ นี้เหมือนกันหมดทุกชนชาติ สำหรับผู้ที่ให้กำเนิด นี่คือ สัญลักษณ์ของการเป็นคนที่สมบูรณ์ เป็นชัยชนะและมหา กุศล ที่ได้ให้ชีวิตหนึ่งจุติออกมา การอุ้มชูชีวิตนั้นให้เติบโตไป สร้างกุศลอีก ก็จะยิ่งเป็นอภิมหากุศลใหญ่ ชนเผ่าบางเผ่าใน แอ๊ฟริกาเมื่อเด็กคลอดออกมา เขาจะยกไว้เหนือหัวชูขึ้นสู่ฟ้า อีกครั้งที่ความดีมีชัยเหนือปีศาจที่จ้องยื้อยุดชีวิตไว้ไม่ให้เกิด ในยุคโบราณการที่เด็กรอดตอนคลอดไม่ใช่เรื่องง่าย ในคติไท ก็จะต้องมีพิธีการที่จะเฉลิมฉลองยินดีกันกับชีวิตใหม่นี้ มีการ ทำขวัญรับขวัญ เพราะคนไทแต่ดั้งเดิมเชื่อกันว่าคนเราทุกคน เสียบปลั๊กโยงอยู่กับสวรรค์ เรียกว่าสายขวัญ สายชะตาหรือ สายแนน เหมือนเช่นจักรวาลทัศน์ ที่ฟ้า ที่ป่า ที่เมือง และ ภูเขา มีสายขวัญโยงใยอยู่ด้วยกัน ในช่วงชีวิตคนเรานั้น ย่อมต้องเคลื่อนไปตามสถานะ ต่างๆ ตามลำดับ บางครั้งความเปลี่ยนแปลงอย่างอัศจรรย์ใน ชีวิต ถูกถือให้เป็นการเกิดครั้งที่สอง เช่น รอดจากโรคร้าย เปลี่ยนจากศาสนาหนึ่งเป็นศาสนาหนึ่ง เปลี่ยนจากฆราวาส ไปสู่บรรพชิต จากโจรไปสู่สุจริตชน การเกิดก็ถูกนำมาเป็น สัญลักษณ์ในแง่นี้ด้วย เด็ก คือสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ แม้แต่นักบวชที่ ทรงศีลที่สุดก็ยังไม่ถือว่าบริสุทธิ์เท่า เด็กเป็นสัญลักษณ์ของ ศักยภาพแห่งอนาคต คือการเริ่มต้นใหม่ ในทางกลับกัน ด้าน g-13
ที่ชั่วร้ายของพวกลัทธิอุบาทบางลัทธิจึงบูชายัญเด็ก เพราะเชื่อ ในพลังอันยิ่งใหญ่ของความบริสุทธิ์นี้นี่เอง ความชรา แม้จะไม่ใช่สิ่งที่คนเราต้องการ แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะไม่มีทัศนะในแง่ดีซะทีเดียว ความชรานั้นเป็นสัญลักษณ์ ของความฉลาดและความรอบรู้ด้วยเหมือนกัน
Book of Death
ความตาย เป็นสิ่งที่มนุษย์กลัวมากที่สุด ดังนั้นไม่ว่า จะเป็นชนชาติไหน ก็ต้องหาวิธีการมารับมือกับความน่ากลัวนี้ ปรัมปราคติเกี่ยวกับความตายนั้นจึงหลากหลายและซับซ้อน ปรากฏอยู่ในทุกลัทธิ ทุกศาสนา ไล่ตั้งแต่ Book of Death ของอียิปต์ จนถึงคัมภีร์มรณะศาสตร์อันลือลั่นของทิเบต แต่ไม่ ว่าฉบับไหนก็ตาม ล้วนมีคติเหมือนกันหมดคือ มีอีกสถานะ หนึ่งรออยู่หลังจากตายไปแล้ว. ทุกชนเผ่าในโลก เวลาที่มีคนตาย พวกเขาจะจัดเตรียม สิ่งต่างๆ ไว้ให้คนตายอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้ใช้ ในโลกหน้า ยิ่งเป็นคนสำคัญมากเท่าไร การจัดเตรียมและ พิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตายก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น ที่ หมกมุ่นที่สุดเห็นจะไม่มีใครเกินชาวอียิปต์ ถึงขนาดสร้าง สุสานใหญ่โต เตรียมทรัพย์สมบัติเอาไว้รอท่า เพราะเชื่อว่าผู้ ตายจะกลับมาจากภพภูมิของความตายได้ ก็เลยต้องรักษา ร่างเอาไว้ ชาวเอเชียอย่างเช่นไท-จีนเราไม่ถึงกับเชื่อว่าจะมี การคืนชีพขึ้นมาอีก แต่ก็เชื่อในชีวิตหลังความตายว่ามีอีกภพ ภูมิรออยู่ สุดแต่ว่ามีบุญมีกรรมแค่ไหน ถ้าทำชั่วก็ต้องไปลง นรก ทำดีก็ขึ้นสวรรค์ แต่บางทีอาจต้องติดรออยู่ในภพเรานี้ เป็นผีเป็นวิญญาณพเนจรไปก่อน ก่อนที่จะไปลงเอยว่าไปนรก หรือสวรรค์ บ้างก็ว่ามีอีกภพเป็นภพของวิญญาณคั่นกลางอยู่ ระหว่างจะไปนรกหรือสวรรค์ และที่เชื่อตรงกันในหลายๆ คติก็ คือ จะมีแม่น้ำกั้นอยู่ เมื่อตายก็ต้องข้ามแม่น้ำนี้ไปยังโลกของ วิญญาณ โดยทั่วไปแล้วคนที่ยังอยู่ ก็จะกลัวจะห่วงเหมือนๆ กันทุกคติล่ะ คือ กลัวผู้ตายจะอดอยากหิวโหย ทั้งระหว่างล่อง ลอยพเนจรไปในภพวิญญาณหรือไม่ก็ระหว่างที่ใช้บาปในนรก คือจะห่วงกันไปในทางที่ร้ายไว้ก่อน เพราะถ้าบุญเยอะพอแล้ว ได้ขึ้นสวรรค์ ก็คงไม่ต้องอดอยากหรือตกระกำลำบากหรอก ดังนั้นนอกจากจะเผาข้าวของ เสื้อผ้า เครื่องใช้ เงินทอง และ เซ่นไหว้ของกินของโปรดไปให้แล้ว ก็ยังทำบุญเอาไว้เผื่อด้วย ทั้งทำบุญให้คนตาย แล้วก็ทำยังบุญให้ผีอื่นๆ ให้เจ้ากรรม นายเวรต่างๆ บาปที่มีจะได้ทุเลาเบาบาง ถ้าอยู่บนสวรรค์อยู่
แล้วก็แล้วไป ถือซะว่าเจือจานให้ผีอื่นไป เป็นบุญกุศลเพิ่มพูน ในชนชั้นสูงเช่น กษัตริย์หรือเจ้านายต่างๆ ก็จะยิ่งมีการจัด เตรียมเช่นเดียวกันนี้ แต่เอิกเกริกมโหฬารมากกว่าคนธรรมดา ซึ่งบางท่านก็ไม่น้อยหน้าชาวอียิปต์เหมือนกัน อย่างเช่น จักร พรรดิจีนผู้ลือนาม ฉินซีฮว๋างตี้ ไม่แค่ทรัพย์สมบัติอันมีค่า มหาศาลเท่านั้นที่ถูกฝังไว้ให้ท่านไปใช้ยังโลกหน้า ยังมีกองทัพ มหึมาที่ถูกฝังเอาไว้ในสุสานด้วย กล่าวกันว่า คงเกรงว่าผู้คน มากมายที่พระองค์ได้เข่นฆ่าจะตามมาเช็คบิลทีหลัง ก็เลย ต้องพกกองทัพไปปรโลกด้วย เรียกว่าเอาไว้กันเหนียว. ศาสนาพุทธนั้นมีแง่คิดที่แตกต่างออกไปจากศาสนา อื่น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบอกกับเราว่าเมื่อชีวิตดับไปแล้วจะ เกิดอะไรขึ้นกับเรา ท่านว่าปัญหาดังกล่าวไม่มีประโยชน์ต่อ การแสวงหาสัจธรรมในชีวิต กระนั้นก็มีคำสอนในลักษณะว่า ถึงแม้จะขึ้นสวรรค์ไปเป็นเทวดาแล้ว ก็ถือว่ายังไม่หลุดพ้น ยัง มีกรรมเหลืออยู่ เสวยสุขบนสวรรค์แล้วก็ต้องลงมาจุติใหม่อีก ถึงแม้จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์นี่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นบุญ แค่ดีกว่า เกิดเป็นหมาหรือสัตว์เท่านั้น เป็นการใช้กรรมอย่างหนึ่ง นิพพานต่างหากที่เป็นการแสวงหนทางอันสูงสุด คือ หลุดพ้น และไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว ไม่ว่าชาติภพภูมิไหน. คัมภีร์มรณะศาสตร์ของทิเบต รจนาโดยคุรุปัทมสมภพ มีแง่คิดที่น่าสนใจและต่างออกไปจากทัศนคติที่คนทั่วไปใน โลกเคยคุ้น ในทุกสังคม ทุกชนชาติ ทุกคนจะเลี่ยงที่จะพูดถึง และยอมรับความตาย เวลาที่ใครสักคนใกล้ๆ ตัว อาจเป็นคน ที่รัก คนในครอบครัว มิตรสหาย .. เกิดเจ็บป่วยร้ายแรงขึ้นจน เกินเยียวยา ร้อยทั้งร้อยทุกคนจะปฏิบัติเหมือนกันหมด คือ เลี่ยงที่จะยอมรับหรือพูดถึงความตายอย่างตรงๆ อันนี้เราไม่ ได้พูดถึงกรณีที่ความหวังยังมีอยู่ ซึ่งการให้กำลังใจย่อมเป็น สิ่งที่สำคัญ แต่กรณีนี้ก็คือ ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าไม่มีทางที่จะ ยื้อยุดฉุดรั้งหรือแก้ไขใดๆ อีกแล้ว กระนั้น ทุกคนก็ยังจะ พยายามเลี่ยงที่จะพูดถึงความตายที่จะมาถึงด้วยการเฉไฉ พูดให้ความหวังลมๆ แล้งๆ เลี่ยงที่จะยอมรับความจริง ไปจน กระทั่งนาทีสุดท้ายมาถึง ซึ่งนั่นคือการทำลายช่วงเวลาที่มี ค่าที่สุดของผู้ที่กำลังจะจากไปให้สูญเปล่า แทนที่จะให้เขาได้ เรียนรู้และเตรียมความพร้อมต่อโลกหน้า ที่กำลังจะมาถึง ไม่ ต่างอะไรกับการปล่อยให้คนผู้หนึ่งลงไปในน้ำโดยไม่ได้สอนให้ เขาว่ายน้ำให้เป็นเสียก่อน ในทัศนะของมรณะศาสตร์แห่ง ทิเบตนั้น สอนให้เรามองดูความตายตรงหน้าอย่างไม่พรั่นพรึง เหมือนการมองดูประตูบานหนึ่งที่จะเปิดไปสู่อีกห้องหนึ่ง และ มีความรู้อยู่มากมายที่เกี่ยวกับห้องนั้น ที่ผู้กำลังจะจากไป จำเป็นต้องได้เรียนรู้ก่อนที่จะเปิดมัน ซึ่งเวลาแห่งการเรียนรู้นี้ ก็คือช่วงสำคัญก่อนที่จะละสังขารนี้ไปนั่นเอง ความรู้นี้ถูก g-14
เรียกว่า “การเข้าสู่มหาวิมุตติ โดยผ่านการสดับฟัง” คำสอนใน คัมภีร์นี้กล่าวถึงช่องว่างที่อยู่ระหว่างการเกิดและการตายที่ เราทุกคนจะต้องเผชิญ สภาวะนี้เรียกว่า “บาร์โด” ประกอบ ด้วยภพทั้งหก ซึ่งสาธยายอยู่ในคาถาสำคัญแห่งบาร์โดทั้งหก อันเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์นี้ ดังนี้.
๑. บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งการเกิดได้ปรากฏต่อข้าแล้ว ข้าจะสละทิ้งซึ่งความเกียจคร้านทั้งปวง เพราะไม่มีเวลาในช่วงชีวิตใดให้เราผลาญเปล่า ข้าจะยาตรย่างสู่มรรคแห่งสิกขา การไตร่ตรอง.. และสมาธิภาวนา โดยไม่แชเชือนไปเป็นอื่น ข้าจะควบคุมตามนิมิตและจิตภาวะ ให้ดำเนินไปบนวิถีและประจักษ์แจ้งในตรีกาย บัดนี้ ข้าได้มาซึ่งกายแห่งมนุษย์อีกครั้ง ไม่มีเวลาให้จิตได้ร่อนเร่อีกต่อไปแล้ว ๒. บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งความฝันได้ปรากฏต่อข้าแล้ว ข้าจะละทิ้งการหลับไหลในอวิชชาอันเปลือยเปล่า ดุจซากศพไปเสีย และปลดปล่อยความคิดให้เข้าสู่ภาวะปกติ โดยปราศจากความหวั่นไหว ควบคุมและแปรเปลี่ยนความฝันสู่ภาวะสุกใส ข้าจะไม่หลับไหลดั่งสัตว์ต่ำช้า ทว่าจะประสานความหลับและการปฏิบัติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
๓. บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งสมาธิภาวนาได้ปรากฏต่อข้า ข้าจะสละทิ้งซึ่งมิตรสหายแห่งความฟุ้งซ่านและสับสน และพักพิงอยู่ในภาวะอันหาที่สุดมิได้ โดยปราศจากความไหลหลงและตื่นกลัว หมดจดอยู่ในนิมิตและความหนักแน่น ในห้วงแห่งสมาธิ จิตนั้นเป็นหนึ่ง ไม่ข้องแวะกับกิจใดๆ ข้าจะไม่เพลี่ยงพล้ำสู่อำนาจแห่งวิจิกิจฉา ๔. บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งชั่วขณะก่อนอำลาร่างได้ปรากฏต่อข้าแล้ว ข้าจะละทิ้งการข้องแวะ เกาะเกี่ยว ผูกพันทั้งปวงเสีย มุ่งหน้าสู่การตระหนักแจ้งแห่งคำสอนอย่างกล้าหาญ นำทางดวงวิญญาณลุล่วงสู่ที่ว่างแห่งจิตอันไร้การดิ้นรน ข้าได้สละเสียซึ่งกายอันชุ่มไปด้วยเลือดและผิวเนื้อ และรับรู้ว่ามันเป็นเพียงมายาแปรเปลี่ยนที่ไม่แน่นอน ๕. บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งธรรมดาได้ปรากฏต่อข้าแล้ว ข้าจะละทิ้งซึ่งความคิดที่ข้องแวะอยู่ในความหวาดกลัว และพรั่นพรึงให้หมดสิ้น ไม่ว่าจะมีสิ่งใดอุบัติขึ้น ข้าจะเฝ้าเตือนตนว่าเป็นเพียงมายาจากใจข้า และรับรู้ว่ามันเป็นเพียงนิมิตแห่งบาร์โด ในที่สุดข้าก็ได้มาถึงจุดเป็นตายแล้ว ข้าจะไม่หวั่นไหวต่อเทพสันติหรือเทพพิโรธใด อันเป็นภาพสะท้อนแห่งใจข้าเอง ๖. บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งการแปรเปลี่ยนได้ปรากฏต่อข้าแล้ว ข้าจะกำหนดจิตเป็นหนึ่งเดียว และต่อสู้เพื่อธำรงไว้ซึ่งกุศลกรรม ปิดทางผ่านเข้าออกแห่งครรภ์อุทร ในช่วงเวลานี้ ข้าจำต้องพึ่งพาซึ่งจิตอันประภัสสร และวิริยะบารมีทั้งปวง ข้าจะละทิ้งซึ่งความริษยาอาฆาต และเพ่งสมาธิต่อองค์คุรุและศักติ จากหนังสือ คัมภีร์มรณะศาสตร์แห่งทิเบต รจนาโดย คุรุปัทมะสมภพ เซอร์เกียม ตรุงปะ รินโปเช : อรรถาธิบาย อนุสรณ์ ดิปยานนท์ : แปลและเรียบเรียง
g-15
อันที่จริงผมมีบทแปลฉบับภาษาอังกฤษ Book of Death ของ อียิปต์ด้วย คลาสสิคอย่าบอกใครเชียว แต่เดี๋ยวจะยาวเกินไป ขอข้ามละนะ.
ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเทวทัศน์ดั้งเดิมเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ ก็คือการบูชาสัตว์ ชาวพื้นเมืองที่ยังหลงเหลืออยู่ทุกวันนี้ในดิน แดนที่ปิดกั้นหลายพื้นที่ ยังคงเชื่อถือเช่นนั้นอยู่ เช่น พวกเซมัง ที่นับถือเสือ ซึ่งเป็นพาหนะของพระเจ้าสูงสุดของพวกเขาที่ชื่อ ว่า “คารี” เสือจึงเป็นสัญลักษณ์ของเทพคารีด้วย ถ้าโชคร้าย ถูกมันกัดตายก็แสดงว่าทำให้เทพคารีโกรธ แน่นอน นี่แสดงว่า พวกเขากลัวเสือล่ะ. งู เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์แต่โบราณอีกชนิดหนึ่ง มีแต่คติ ของชาวคริสต์เท่านั้นที่ถือว่างูเป็นสัญลักษณ์ชั่วร้ายของปีศาจ ที่มาหลอกล่อให้มนุษย์ทำบาป แต่ในชนเผ่าโบราณโดยเฉพาะ เอเชียนั้น งู เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และสัตว์มงคลในชั้นต้น เช่น พญานาคราชที่ขดรองแท่นที่ประทับของพระวิษณุเทพ.. หรือ งูเห่าที่เป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะ.. และพญามังกร เทพแห่ง บาดาล เจ้าแห่งน้ำ สัตว์มงคลอันดับหนึ่งของจีน ซึ่งตรงกับ พญานาคของคติไทเป๊ะและเห็นได้ชัดเลยว่าโดยแนวคิดแล้ว เป็นงูยักษ์มากกว่ากิ้งก่ายักษ์ที่เรียกว่า Dragon ในแนวคิด ของฝรั่ง ซึ่งออกไปแนวก๊อดซิลล่าซะมากกว่า บางทีก็ดูเหมือน กับจิงโจ้ยักษ์ที่มีปีก แต่ทำไมยังชอบเอาไปเทียบว่าเป็นสัตว์ ประเภทเดียวกันอยู่ร่ำไปก็ไม่รู้. อย่างเทพของอียิปต์นี่คลาสสิคที่สุด เพราะอิทธิพล ของหนังฮอลลีวู๊ด ก็เลยทำให้เราคุ้นกันมากหน่อยโดยไม่ต้อง เรียนเทววิทยา อย่างเช่นเทพ AKER ที่เป็นสิงโต ANUBIS ที่ หัวเป็นหมาไน HORUS ที่หัวเป็นเหยี่ยว เป็นต้น
ขนาดของสังคมก็ใหญ่ขึ้นกลายเป็นชุมชนขึ้นมา มีอาวุธที่ดี และความรู้ที่มากขึ้น อำนาจต่อรองของสัตว์ก็น้อยลง แม้แต่ สัตว์ใหญ่ที่น่ายำเกรงอย่างช้าง ยังถูกพิชิตและนำมาใช้งาน เทพที่เป็นสัตว์ก็เริ่มสำคัญน้อยลง แต่อำนาจที่ยังคงเอาชนะ ไม่ได้ก็คืออำนาจของฟ้าดิน ธรรมชาตินั่นเอง เทพที่อยู่เบื้อง บนก็มีจำนวนมากขึ้นและทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ ฟ้าจึง เป็นใหญ่สุดในเทพดั้งเดิม เช่น เทพ เทียน (แปลว่าฟ้า) ของ จีน, เทพ อนู ของสุเมเรียน , เทพี นุท ของอียิปต์ , ฟ้าเป็นมิต ของไท, ทยาอุส ของอารยัน.. ฯ ถัดมาก็เป็นเทหเทพอันได้แก่ อาทิตย์ จันทร์ และตามมาด้วยเทพแห่งดวงดาวต่างๆ ซึ่งเกิด ขึ ้ น มาพร้ อ มๆ กั บ ความร้ ู ใ นทางดาราศาสตร์ แ ละการทำ ปฏิทิน, แล้วก็มีเทพแห่งฤดูกาลและเทพที่มีผลกับความอยู่ดีมี สุขของมนุษย์ทั้งหลายเช่น เทพแห่งการเพาะปลูก ล่าสัตว์ ที่ อยู่อาศัย พืชพันธุ์ธัญญาหารสารพัดชนิด ต่อมาเมื่อมนุษย์ปีก กล้าขาแข็งมากขึ้น เก่งขึ้น รับมือธรรมชาติได้ดีขึ้น ก็เริ่ม ตีเสมอเทพ เริ่มสมมุติตนเป็นเทพ ว่าเผ่าพันธ์ุบางเผ่าบางสกุล สืบสายมาจากเทพ เพื่ออำนาจการปกครอง เพื่อความมั่งคั่ง ทางทรัพย์สินและผลเก็บเกี่ยว (ด้วยเหตุนี้แหละรูปของเทพจึง เหมือนกับคน) คราวนี้เทพก็เลยยิ่งออกลูกออกหลานกันบาน ตะไท ไม่รู้กี่องค์ต่อกี่องค์ ทั้งยังมีการผสมผสานอย่างพิสดาร พันลึกออกไปอีก เช่นเทพที่ผสมระหว่างคนกับเทพ เทพกับ สัตว์ เทพกับมาร เทพกับพืช เทพที่มีสองเพศ บรรพชนหรือ วีรบุรุษที่ตายกลายไปเป็นเทพ คนหรือสัตว์ที่บำเพ็ญตนจน กลายเป็นเทพ เทพที่ถูกลดชั้นลงเป็นมาร โอ๊ย .. มีหลายตำรา หลายคติ ให้นักวิชาการมานั่งปวดหัวเรียนกันเป็นอีกวิชาหนึ่ง ไป. เทพทั้งหลายเหล่านี้แหละ ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามปรัมปราคติ ควบคู่ไปกับ จักรวาลทัศน์และชีวทัศน์ที่เราได้พูดถึงไปแล้ว.
ในความคิดของคนโบราณ ถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างมี วิญญาณมีเทพเจ้าอยู่ ในขุนเขา ป่าไม้ ในน้ำ ในดิน ในไฟ ใน อากาศ ในก้อนหิน และเพราะสังคมยุคโบราณแรกเริ่มนั้นเป็น สังคมนักล่า พวกเขายังไม่มีเทคโนโลยีและความรู้อะไรมาก จึงอยู่อย่างเกื้อกูลกันกับสัตว์ และมีความยำเกรงต่อกันอยู่ ต้องพึ่งพาสัตว์เป็นอาหาร ต่อเมื่อเริ่มเป็นสังคมกสิกรรมแล้ว
ของไทเรา นอกจากเทพหรือสางในคติไทเก่าแก่อย่าง เช่นฟ้าเป็นมิต ฟ้าเหมยนายเต้าหว่าน สายฟ้างำ... ฯ รวมทั้ง ทิพยบรรพชนต้นพงศ์วงศา อย่างขุนหลวง ขุนลายที่ไต่ฟ้าลง มาปกครองโลก ก็ยังมีคติฮินดูอย่างเช่น พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ แล้วก็ยังเทวดาและเทวีอีกหลายต่อหลายโหลผนวก กันเข้ามา เช่น พระอินทร์ พระวรุณ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระเกตุ พระยม พระสมุทร พระพาย พระอัคนี พระมารุต พระมนู หรือ เทวีอย่างเช่นพระแม่ธรณี พระแม่โพสพ พระแม่คงคา..ฯลฯ รับรองว่าไม่น้อยหน้าคติอียิปต์หรือกรีกก็แล้วกัน. นักวิช าการศาสนามีความเชื่อ ว่าทุกศาสนาที่มีคติ “พระเป็ น เจ้ า สู ง สุ ด หนึ ่ ง เดี ย ว” มี ร ากฐานมาจากศาสนา
☯ เทวทัศน์
g-16
เดียวกัน ความรู้ใหม่ที่บอกเราเกี่ยวกับพันธุกรรมนั้น ยังเปิด ประตูใหม่ให้เรามองหาความเชื่อมโยงของศาสนาทุกศาสนา ในโลก ไปหาศาสนารวมดั้งเดิมของโลก (global early religion) ที่นักวิชาการสันนิษฐานกันว่าเหลือร่องรอย อยู่ในศาสนา เก่าแก่ในแอ๊ฟริกาที่เรียกกันว่าอิฟา (Ifa) จะมียกเว้นก็เพียง ศาสนาพุทธที่ไม่มีพระเจ้า และนักวิชาการต่างก็ลงความเห็น ว่าเป็นปรัชญา เป็นองค์ความรู้มากกว่าเป็นศาสนา ผมเห็น ด้วยกับแนวคิดนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แท้จริงแล้วนั้น พระเจ้าไม่เคย เปลี่ยนไปเลย ท่านยังคงเป็นพระเจ้าองค์เดิมหนึ่งเดียวเสมอ มา ไม่ว่าจะเป็น Olodumare, Kaang, พระยะโฮวา, พระอัล เลาะฮุ์, ปรมาตมัณ , เทียนตี่ , หรือฟ้าเป็นมิต.. ฯ มีเพียงแต่เรา เท่านั้นแหละที่ตาถั่ว มองเห็นท่านในใบหน้าที่แตกต่างกันออก ไปเอง แล้วก็นำมาซึ่งความขัดแย้งไม่รู้จักจบสิ้น ก็เนื่องด้วย จิตใจที่คับแคบ โง่เขลา อคติและมืดบอดนั่นแหละ ด้วยทัศนะ ส่วนตัวของผม นี่ไม่มีปัญหาซักนิด ผมใช้พุทธปรัชญาในการ ดำเนินชีวิต ใช้เป็นความรู้นำทาง ขณะเดียวกันผมก็กราบ พระเจ้าทุกองค์ที่มีชื่อเรียกขานกันในโลกนี้ได้อย่างบริสุทธิ์ใจ และจะไม่รู้สึกลำบากใจด้วย ถ้าเพียงแต่เราคิดเสมอว่า ก็ไหว้ พระเจ้าองค์นั้นแหละ ที่มองดูเราอยู่เสมอ องค์เดียวกันและไม่ เคยเปลี่ยน ถอยก้าวหนึ่งสิเพื่อนเอ๋ย.. ในท่วงทำนองแห่งเสียงนั้น ก็มีสัญลักษณ์และนัยยะ ความหมายอยู่เช่นกัน ในการตีความโดยสากล บางคนอาจรู้ จักหรืออาจเคยได้ยินมาบ้าง เช่น ทำนองของเมเจอร์เสกลให้ ความรู้สึกอันเป็นสุข เป็นทัศนะในทางบวก เรารู้สึกเศร้าสร้อย เมื่อได้ยินท่วงทำนองที่เป็นไมเนอร์ ความรู้สึกหวนอาลัยแบบ เมโลดิกไมเนอร์ ความร้อนแรงของไฟรักในโหมดฟรีเจี้ยน ความสงบสมถะของเพนทาโทนิกเสกล ความไพเราะอย่างมี มนต์ขลังของทำนองแบบเปอร์เซียน ไม่เพียงแค่ความหมาย เหล่านี้ เท่านั้น ยังมีคติที่แสดงสัญลักษณ์ของเสียงที่จำเพาะ เจาะจงอีกมากมาย อย่างในดนตรีของอินเดียเป็นต้น มีเสกล มากมายหลายเสกลหรือหลายทาง ที่เรียกกันว่ามูรชนา และ ท่วงจังหวะอีกนับไม่ถ้วน ที่มีความหมายและจุดประสงค์ เฉพาะต่างกันไป เช่น ทางที่ใช้สำหรับบรรเลงก่อนพระอาทิตย์ ตก หรือสำหรับหลังพระอาทิตย์ตก หรืออย่างเช่น เพลงสวดใน พระเวท จะใช้เสกลที่เรียกว่า อูฑวะ ซึ่งประกอบด้วยเสียง เพียงห้าเสียงเท่านั้น.. เป็นต้น เป็นที่รู้และเล่าเรียนกันมาว่า ไทยเรานั้นรับเอาคติและ จารีตทางดนตรีของอินเดียมาใช้ เช่น เสียงทั้งเจ็ดที่จัดลำดับก็ เรียกตามระบบอินเดีย คือ
สา ริ กา มา ปา ธา นิ
: สัทชะ คือเสียงของนกยูง : ริชะภะ คือเสียงของโค : คานธรวะ คือเสียงของแพะ : มัธยมะ คือเสียงของนกกระเรียน : ปัญจมะ คือเสียงของนกกาเหว่า : ธวตะ คือเสียงของม้า : นิษาท คือเสียงของช้าง
(ถ้าสังเกตุให้ดีจะรู้สึกคุ้นๆ ที่เขาว่าคารมดี เพราะมี “สาริกา” ลิ้นทอง ... ผมว่าได้คติมาจากเสียงสามเสียงแรกนี่ แหงๆ เลย) แต่แม้ว่าจารีตที่เราได้รับมาจะเป็นอินเดีย แต่ผมว่าสุ้ม เสียงของดนตรีไทยก็ไม่ได้เป็นแขกไปด้วยนะ ออกจะไปทาง ชวาบาหลีเมื่อมองดูและออกผสมไปทางจีนอีกนิดหน่อยเมื่อ ฟัง ผมว่าเส้นทางอพยพนี่บอกเราบางอย่างได้ อย่างที่ผมเรียก ว่าจุดปะทะอินดัสชิโนออสโตร นั่นแหละ ผมว่าคนไทแต่ ดั้งเดิมรากของเสียงเป็นเพนทาโทนิก ที่จุดปะทะนี้ ดนตรีชั้น สูงในราชสำนักรับเอาหลักการและจารีตแบบอินเดียมา แต่มี นิสัยมีสุ้มเสียงแบบซุนดา ที่ถูกทำให้กลมกล่อมและเทนชั่น น้อยลงด้วยลักษณะไท (และจีนใต้) แบบดั้งเดิม แต่เมื่อฟัง เพลงพื้นบ้านของชาวบ้าน จะมีแต่เพนทาโทนิกเป็นหลัก และ ก็กลมกล่อมเรียบง่ายเสมอ ไม่ซับซ้อนอะไร อันนี้ขอหยอดไว้ ก่อนสองสลึง ไว้ให้สานกันต่อทีหลัง. ในคติจีน ก็มีสัญลักษณ์อยู่ในเสียงแต่ละเสียงเหมือน กัน เช่นในบันไดเสียงห้าเสียง ที่เป็นเสกลหลักของจีน คือ 宮 gong
(โด) สีเหลือง คือศูนย์กลาง เสียงแห่งธาตุดิน
商 shang (เร) สีขาว คือด้านตะวันตก เสียงแห่งธาตุโลหะ 角 jué
(มี) สีเขียว คือด้านตะวันออก เสียงแห่งธาตุไม้
徵 zhi
(ซอล) สีแดง คือด้านใต้ เสียงแห่งธาตุไฟ
羽 yu
(ลา) สีน้ำเงิน คือด้านเหนือ เสียงแห่งธาตุน้ำ
อันที่จริงคติเรื่องสัญลักษณ์ในดนตรีและนาฏศิลป์นั้น ยังมีอีกมากมายหลายกระบุง เขียนได้เป็นเล่มๆ อยากให้ใคร สักคนทำเรื่องนี้อย่างจริงๆ ก็อย่างที่บอก มาเขี่ยบอลเอาไว้ เผื่อใครจะนึกสนุกเอาไปต่อยอดได้อีก อันนี้ก็ขอพอแค่ให้เห็น ภาพรวมๆ แล้วกัน.
g-17
ปรัมปราคติที่ร่ายมาเสียยืดยาวข้างต้นเนี่ยแหละ ที่จะถูกนำมาใช้ และปรากฏเป็นภาพเป็นสัญลักษณ์ให้เราเห็นมากมาย โดยที่พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคยรู้หรือเคยสังเกตุ ทั้งที่มันอยู่ในดนตรีและนาฏศิลป์ต่างๆ มาเนิ่นนานแต่โบราณแล้ว ผ่านการจัดรูป ขบวน การตกแต่งมณฑลพิธี รูปทรงของศาสนสถานหรือวิหารที่ประกอบพิธีกรรม ท่าทางการเคลื่อนไหว หรือฟ้อนรำ มุทราและ สัญญาณมือต่างๆ การใช้สายตาและใบหน้า ลักษณะของเครื่องแต่งกายและสีสันของเสื้อผ้าที่สวมใส่ ในเครื่องประดับหรือ หน้ากากที่สวมใส่ในการแสดง ในเสียงดนตรีที่เปล่งออกมา ในชนิดของเครื่องดนตรีที่เลือกใช้ ในบทสวดหรือคำร้องที่ขับขาน...ฯลฯ เมื่อเราได้มีพื้นฐานอันดีเกี่ยวกับคติเหล่านี้แล้ว ก็จะทำให้การท่องไปในพรมแดนอันแสนกว้างไกลและมหัศจรรย์ของศิลปะเหล่านี้ มีความสนุกสนานและมีความเข้าใจมากขึ้น เพื่อจะได้ร่วมกันดื่มด่ำในปรากฏการณ์แห่งภาพและเสียง ที่เราจะได้พบได้เห็นร่วมกัน ในบทต่อๆ ไป ตลอดการเดินทางของเรา.
อ้างอิงและภาพประกอบ รณี เลิศเลื่อมใส Lucie Rault
จักรวาลทัศน์ ฟ้า ขวัญ เมือง คัมภีร์โบราณไทอาหม (ISBN 974-7883-22-8) Musical Instruments : A Worldwide Survey of Traditional Music-Making (ISBN 0-500-51035-0) Bruno Nettl The Study Of Ethnomusicology (ISBN 978-0-252-07278-9) Mark O’Connell & Raje Airey Sign & Symbols (ISBN-13:978-0-7548-1548-8) David Fontana The Secret Language of Symbols (ISBN 0-8118-0462-3) Brandan Schulze Article “Dream History” http://library.thinkquest.org ปัญญาวัฒน์ (เรียบเรียง) พุทธทำนาย (ISBN 974-94944-1-5) พจนา จันทรสันติ (แปล-เรียบเรียง) เต๋าเต็กเก็ง (บริษัท เคล็ดไทย จำกัด / ธันวาคม 2524) อนุสรณ์ ดิปยานนท์ (แปล-เรียบเรียง) คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต (ISBN 974-7014-68-8)
http://meta-religion.com
en.wikipedia.org
g-18
Part II The Expedition
การสำรวจ
จากนี้ไป จะเป็นเรื่องราวของการสำรวจ ในแต่ละพื้นที่ ที่เราได้เดินทางไป
1-1
บันทึกการเดินทาง
❂
เรียกดินแดนแห่งนี้ว่า "ภูฏาน" แต่ชาวภูฏานเรียกว่า "ดรุ๊กยุล" (Druk Yul) แปลว่า "Land of the thunder dragon" หรือแปล เป็นไทยได้ว่า “ดินแดนแห่งมังกรอสนี”. และพวกเขาเรียกตัว เองว่า “ดรุ๊กปา” (Druk Pa).. ซึ่งก็คือ ชาวมังกรอสนี นั่นเอง.
ภูฏาน ❂ ดินแดนแห่งมังกรอสนี
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เทือกเขาหิมาลัย
ภูฏาน เป็นดินแดนหิมพานต์อีกแห่งที่ซุกซ่อนตัวอยู่ บนเทือกเขาหิมาลัย. มีเพื่อนบ้านที่อยู่ข้ามภูเขาไปอีกฝั่งด้าน ทิศเหนือก็คือจีนทิเบต ติดกันทางพรมแดนทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันออกนั้นก็คืออินเดีย. ดินแดนนี้นับว่าเป็นสถานที่ ที่พิเศษอย่างยิ่ง เป็นดินแดนอันแสนสงบสุขที่ยังคงรักษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมในชาติเอาไว้ได้อย่าง น่าอัศจรรย์ใจโดยไม่ถูกดูดกลืนจากอารยะธรรมตะวันตกที่ กำลังครอบงำไปทั่วทุกมุมโลก. ในภูฏานนี้ .. คุณจะไม่เห็น ป้ายโฆษณามาเกะกะลูกตา คุณจะไม่เห็นร้านอาหารขยะ ฟาสท์ฟู๊ดอย่างแม็คโดแนลด์หรือเคเอฟซีทั้งหลาย. อาคาร บ้านเรือนทั้งหมดล้วนถูกสร้างในแบบภูฏานเท่านั้น ไม่ว่าจะ เป็นลักษณะรูปทรงของอาคาร, ประตู , หน้าต่าง .. คุณจะต้อง ทึ่งที่ได้เห็นว่าบ้านและอาคารทุกหลังนั้นถูกวาดลวดลายแบบ ภูฏานด้วยมือล้วนๆ ละเอียดละออมากน้อยคละเคล้ากันไป จนถึงขั้นทั้งวาดและแกะสลักอย่างประณีตในบ้านของคนที่มี ฐานะสูงกว่า ไม่มีบ้านแบบตะวันตกให้เห็นเลย . ชาวภูฏาน เกือบทุกคนที่เราเห็นจะสวมใส่เสื้อผ้าที่เป็นชุดประจำชาติของ เขา ผู้ชายสวมชุดที่เรียกว่า "โกะ" ชุดผู้หญิงเรียกว่า "กีร่า". เมื่อมองดูพวกเขาแล้วผมรู้สึกอิจฉาจริงๆ .. ในทุกหนแห่งทั่ว โลก ส่วนใหญ่ผมเห็นแต่ผู้คนที่พยายามลืมกำพืดและตัวตน ของตน เพื่อสวมใส่สัญชาติสากล . แต่ที่นี่..เราจะเห็นความ เป็นภูฏานอยู่ในทุกๆ อณูของอากาศอันบางเบาบนแผ่นดินที่ สูงเฉลี่ยสองพันเมตรจนถึงกว่าเจ็ดพันเมตรเหนือระดับน้ำ ทะเลแห่งนี้. ทิวทัศน์และธรรมชาติที่นี่สวยเหมือนใครมาปั้น แต่งเอาไว้จนสมกับคำว่าแดนหิมพานต์ ช่างดูมีมนต์ขลัง ความคิดที่แว่บเข้ามาบ่อยๆ ทุกครั้งที่มองไปตามทิวทัศน์ต่างๆ ก็คือ โห..มันเหมือนฉากในภาพยนตร์แฟนตาซีจริงๆ ผิดก็ตรง ที่.. สิ่งที่เห็นอยู่นี้เป็นของจริง. จริงพอๆ กับความหนาว ประมาณสององศาที่แทรกทะลุมาในกระดูกเลยทีเดียว. โลก
ดินแดนเอเชียแห่งนี้มีอดีตอันยาวนาน มาแต่โบราณ คงเป็นเพราะว่าพวกเขา สามารถคงสภาพชี ว ิ ต ความเป็ น อย่ ู แบบดั้งเดิมไว้ได้โดยไม่ถูกล่วงล้ำนัก และผู้คนก็ดูมีความพึงพอใจกับความสุขอันแท้จริงในชีวิต มากกว่าความสุขจอมปลอมทางวัตถุ สถานที่แห่งนี้จึงเหมือน ถูกตรึงไว้กับอดีต เป็นหน้าต่างที่เราอาจใช้มองย้อนกลับไปใน อดีตกาลของเอเชียโบราณได้ง่ายดายและชัดเจน. ที่กล่าวเช่น นี้ ไม่ใช่คนที่นี่ล้าหลัง .. เปล่าเลย .. พวกเขาจงใจเลือกชีวิต เรี ย บง่ า ยเช่ น นี ้ ต ่ า งหาก คุ ณ จะต้ อ งแปลกใจเมื ่ อ พบว่ า ประชาชนทั่วไปกระทั่งเด็กๆ ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ดี ไม่เว้นแม้แต่ชาวบ้านในชนบท ฐานการศึกษาของที่นี่แข็งแรง เลยทีเดียว. ทฤษฎีอยู่อย่างพอเพียงถูกใช้อย่างได้ผลที่นี่ . ผู้ คนมีความยึดมั่นและศรัทธาในพระพุทธศาสนาวัชระญาณ แบบทิเบต เดินไปทางไหนก็จะพบคนสวดภาวนา นับลูก ประคำ หมุนกงล้อภาวนา . วัดที่นี่สวยงามมากๆ เรียกกันว่า "ซอง" (Dzong) ซึ่งในสมัยโบราณจะทำหน้าที่เป็นทั้งป้อม ปราการ เป็นวัด และเป็นที่ทำการของผู้ปกครองด้วย . ดังนั้น วัดทุกวัดจึงตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เป็นเลิศทางยุทธศาสตร์ อยู่ในที่ สูงสามารถมองเห็นได้ไกล เพื่อที่จะได้ใช้สังเกตุเห็นผู้รุกรานได้ ง่าย ทำให้วิหารเหล่านี้ยิ่งดูงดงามและมีมนต์ขลังอยู่ใน ท่ามกลางทิวทัศน์ที่แสนมหัศจรรย์ วิหารหลายแห่งสร้างอยู่ 1-2
บนหน้าผาที่สูงชันอย่างน่าทึ่ง และจะยิ่งน่าทึ่งหนักเข้าไปอีก ถ้าคุณได้เห็นความวิจิตรที่ซ่อนอยู่ภายในวิหารแต่ละแห่ง ความสงบ แสงเงา กลิ่นธูปหอม เสียงกลองและดามารู จยา ลิงและแตรประโคม เสียงระฆังดอร์เจ พระพุทธรูปทองคำ... เสียงท่องบ่นมนตรา.. (โอม มณี ปัทเม หุง..) ลอยอ้อยอิ่งเวียน วนอยู่ในอากาศรอบตัว. อั น ที ่ จ ริ ง จะว่ า ไปแล้ ว ไม่ ว ่ า ประวั ต ิ ศ าสตร์ แ ละ การเมืองจะถูกเล่าขานหรือ เขี ย นไว้ เ ช่ น ไร ชนชาติ ภูฏานนั้นก็จัดเป็นเผ่าพันธ์ุ เดียวกับชาวทิเบต ทั้งยังมี พันธุกรรมโยงใยใกล้ชิดกับ สายพั น ธ์ ม องโกลอยด์ ท ั ้ ง หลายอย่างเราๆ ท่านๆ ที่ อย่ ู ท ั ้ ง ในเอเชี ย และเอเชี ย กลาง ซึ่งก็สะท้อนให้เห็น เด่นชัดอยู่ในโครงสร้างหน้า ตาของผ้ ู ค นชาวภู ฏ าน รวมไปจนถึ ง วั ฒ นธรรมต่ า งๆ ขนบธรรมเนียม ความเป็นอยู่ ศิลปะและศาสนา...ฯ ชาวภูฏานพูดภาษา "ซองกา" (Dzongkha) ที่ซึ่งมี ความเชื่อมโยงกับภาษาทิเบตในปัจจุบัน (โบดิชกลาง). ใน ทางภาษาศาสตร์.. "ซองกา" นั้นก็คือภาษาโบดิชใต้ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของภาษาสาย Tibeto - Burman อีกแขนงหนึ่งในภาษา กลุ่ม Sino - Tibetan มีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับภาษา ของชาวสิกขิม. ภาษาของภูฏานนั้นเขียนด้วยตัวเขียนทิเบต. พระลามะทั ้ ง ในทิ เบตและภูฏ านยังคงเรีย นรู้และใช้ ภาษา ทิ เ บตโบราณซึ ่ ง เป็ น ภาษาศั ก ดิ ์ ส ิ ท ธิ ์ ท างศาสนาที ่ เ รี ย กว่ า Chöke อยู่จนทุกวันนี้.
เช่นเดียวกับชาติรัฐอื่นๆ ในเอเชีย ที่มักขาดแคลนหลัก ฐานและบันทึกทางประวัติศาสตร์โบราณ ที่เกี่ยวกับชนเผ่า ของตน. อาจจะเป็นเพราะการที่ไม่ค่อยได้มีการบันทึกขีด เขียนเรื่องราวต่างๆ มากนักเช่นเดียวกับชนเผ่าโบราณใน เอเชียทั้งหลายที่เรื่องราวต่างๆ มักจะอยู่ในประวัติศาสตร์บอก เล่าหรือตำนานนิทานปรัมปราเสียมากกว่า และอาจเป็น เพราะการรบพุ่งรุกรานกันมักลงเอยด้วยการเผาผลาญกันให้ วอดวายไปซะทุกที. ประวัติศาสตร์โบราณและเรื่องราวของภูฏานก็ไม่ได้มี ย้อนถอยหลังไปมากนัก ทั้งที่โดยแท้จริงแล้ว เป็นชนเผ่าเก่า แก่ที่อยู่ในดินแดนที่ถูกปิดล้อมและปกป้องไว้โดยกันชนของ ธรรมชาติอันแสนห่างไกลและเดินทางไปถึงยากลำบากยิ่งนัก. จากหลักฐานทางโบราณคดีที่เหลืออยู่ให้ค้น เช่น เครื่องมือหิน อาวุธ ปราสาทหิน... พาเราย้อนไปสู่ชนเผ่าเร่ร่อนพื้นเมือง ดั้งเดิมที่เรียกว่า "Monpa" ที่ได้เข้ามาตั้งรกรากบนแผ่นดินอัน เป็นประเทศภูฏานนี้เมื่อราวสองพันกว่าปีก่อนคริสตกาล ซึ่งที่ จริงแล้ว ควรจะมีความเก่าแก่มากกว่านั้นมาก มีรายงานว่า เอกสารและหลักฐานประวัติศาสตร์หลายอย่างได้เสียหายไป จากการถูกเผาในสงครามบ้างและเพราะภัยจากแผ่นดินไหว บ้าง มีหลักฐานบางส่วนที่เก็บรักษาไว้ได้โดยพระลามะ. แล้วก็ ยังพอมีเรื่องเล่าเก่าแก่ที่พอจะช่วยปะติดปะต่อเรื่องราวได้บ้าง ไม่นับผู้บุกรุกชาวอังกฤษที่ก็จะพยายามเข้ามานำเสนอเรื่อง ราวของ ดรุ๊กยุล ในฉบับที่บริติชอยากให้เชื่อเหมือนเช่นที่นิยม ทำในดินแดนที่หมายจะครอบครองแห่งอื่นๆ . แน่นอนว่ามี ส่วนถูกอยู่น้อยกว่าส่วนที่เอื้อประโยชน์ให้แก่นักล่าอาณานิคม พวกนี้.
1-3
ประวั ต ิ ศ าสตร์ ของภูฏานบันทึกย้อน ไปถึงปี 746 A.D. เมื่อ คุรุ รินโปเช มาถึงดิน แดนแห่งนี้ มีเหล่าผู้ นำนักรบอยู่มากมาย แบ่ ง เขตกั น ปกครอง ดินแดนต่างๆ อยู่ก่อน มาเป็นเวลานานแล้ว และต่อสู้แย่งชิงกันไม่ จบสิ้น ผู้นำทางจิต วิญญาณท่านหนึ่งชื่อ Zhabdrung Ngawang Namgyal ได้ยุติ การสู้รบอันยาวนานนี้และรวมดินแดนแห่งนี้เข้าเป็นชาติหนึ่ง เดียวกัน นำชาติผ่านพ้นการรุกรานของต่างชาติมาได้จน กระทั่งถึงปี ค.ศ.1907 เมื่อกษัตริย์ Gongsa Ugyen Wangchuk ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชาองค์แรกแห่งราชอาณาจักร ภูฏาน.
ไหน คงจะน่าเสียดายนักถ้าภายภาคหน้าจะต้องเสื่อมลงไป งานศิลปะพื้นบ้านของที่นี่มีความสวยงามและมีมนต์ขลังแบบ เอเชียโบราณเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน งานหัตถกรรม งานแกะไม้ ดาบ เครื่องประดับ เสื้อผ้าและผ้าทอมือทั้ง หลาย..ฯ ล้วนมีความประณีตสวยงามทรงคุณค่า . ที่น่าตื่นตา ตื่นใจเป็นที่สุดก็คือศิลปะการเริงระบำต่างๆ โดยเฉพาะระบำ หน้ากากที่เรียกกันว่า "ชาม" (*Cham) ซึ่งปรกติจะเล่นกัน เฉพาะในช่วงเทศกาลทเซชู (Tsechu) เท่านั้น . ระบำหน้ากาก นี้มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ผู้เล่นจะสวมใส่หน้ากากที่หลาก หลายและแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีสันสวยงามสดใส เป็นการเต้น เพื่อแสดงเนื้อหาของหลักธรรม ถวายสักการะแด่พระพุทธองค์ มหาลามะ คุรุเทวะทั้งปวง และอำนวยพรให้แก่มวลมนุษย์. จึง ไม่น่าแปลกใจเลยที่มันได้ดึงดูดตากล้องจากทั่วโลกให้มาที่นี่ เพื่อเก็บภาพการเริงระบำเหล่านี้. (* โดยทั่วไป Cham ก็หมายถึงการเต้นระบำอยู่แล้ว)
ในอดีต ภูฏานเป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อ อย่างเช่น.. "Lho Mon" แดนใต้ที่มืดมิด. "Lho Tsendenjong" แดนใต้แห่ง ไม้จันทร์. "Lho Men Khazhi" แดนใต้แห่งวิถีทั้งสี่. และ "Lho Men Jong" แดนใต้แห่งสมุนไพร . คำว่า Bhutan นี้ [buː'tɑːn] คาดกันว่าอาจมาจากคำสันสกฤต "Bhots-ant" หมายถึง สุดปลายทิเบต . หรืออาจมาจาก "Bhu-Uttan" ที่ หมายถึง แผ่นดินสูง . ลิ้นคนดรุ๊กปา ออกเสียงก้ำกึ่งไปทาง "ภู ทาน" มากกว่าจะเป็น "ภูตาน" ซึ่งก็เหมาะดีที่เราเขียนด้วย “ฏ” แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่ภูฐานอย่างที่หลายคนมักพูดกัน ความ หมายที่ถามมาก็ไม่ได้มีความหมายว่า "ฐานของภู" แต่ ประการใด อันที่จริงแล้วมันอยู่สูงขึ้นมาตั้งสองพันเมตรเป็น อย่างน้อย. ผมว่าฐานของภูหิมาลัยส่วนนี้น่าจะเป็นบริเวณที่ เป็นแคว้นอัสสัมและอรุณาจัลประเทศของอินเดียมากกว่า. ยัง มีอีกชื่อหนึ่งที่มีบางคนใช้เรียกขานดินแดนแห่งนี้ ชื่อนั้นก็คือ "The Last Shangrila".. หมายถึงอาณาจักรโบราณชัมบาลาที่ ยังเหลืออยู่.
อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ภูฏานเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลกนั่น คือการยิงธนู. มันเป็นทั้งกีฬาและเป็นทั้งศิลปะการต่อสู้ที่เป็น มรดกจากบรรพชนนักรบดรุ๊กยุล ศิลปะการยิงธนูของภูฏาน นั้นเป็นที่หนึ่ง พวกเขายิงกันได้ไกลและแม่นยำอย่างเหลือเชื่อ ทั้งที่ระยะยิงนั้นไกลกว่าร้อยเมตร ไกลยิ่งกว่าระยะที่ใช้ในการ แข่งขันโอลิมปิกเสียอีก ในขณะที่แข่งขันกัน ฝ่ายหนึ่งจะยืนอยู่ ข้างๆ เป้าที่อีกฝ่ายกำลังยิงเข้ามา พร้อมกับล้อเลียนเย้าแหย่ ฝ่ายตรงข้ามไปด้วย โดยไม่ยักหวาดเสียวว่าอีกฝ่ายจะพลาด เป้ามาถูกหัวตัวเอง นี่หมายถึงว่าพวกเขาควรจะต้องมีีฝีมือที่ แม่นกันมากๆ จนมั่นใจได้ทุกคนอย่างแน่นอน.
ศิลปะประจำชาติของภูฏานนั้นโดดเด่น อย่างที่เกริ่น แต่แรก คือคงรูปแบบดั้งเดิมเอาไว้ได้อย่างน่าชื่นชม จนอด กังวลแทนไม่ได้ว่าจะประคับประคองให้รอดพ้นจากวัฒนธรรม ตะวันตกที่พยายามจะแทรกซึมเข้ามาอยู่ตลอดนี้ได้นานแค่ 1-4
1-5
เมืองที่มีสนามบินเพียงแห่งเดียวของภูฏานนี่ ตั้งแต่วันแรก เรา สองคนก็แยกออกไปจากกลุ่มนี้ โดยนัดจะไปเจอกันอีกทีในวัน ที่สี่ของทริปที่วิหารพูนาคา ซึ่งทางกองถ่ายจะไปถ่ายทำพระ ลามะทำพิธีกันที่นั่น ซึ่งผมจะทำงานกับทีมงานของคุณแหม่ม เพียงแค่วันเดียว ที่เหลือนอกนั้นอีกห้าวัน ผมกับโอก็จะ ตะลอนร่อนเร่ไปตามภารกิจที่ตั้งใจไว้ของเรา โดยมีเพื่อนชาว ภูฏานสองคนมาคอยทำหน้าที่ดูแล คนนึงเป็นมัคคุเทศน์ชื่อ "วังชุก".. อีกคนเป็นคนขับรถชื่อ "คิงซัง". ทั้งคู่เป็นคนหนุ่มที่ แสนจะสุภาพเรียบร้อยแล้วก็ขี้เกรงอกเกรงใจซะเหลือเกิน พวกเขาได้ช่วยเหลือเราอย่างมากในการเป็นธุระประสานงาน ต่างๆ ให้เราล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการนัดพบกับผู้คน ศิลปิน พื้นบ้าน และพาเราไปยังสถานที่ที่น่าสนใจต่างๆ .
ผมกับ "โอ" (ชากร สาทเวท ) ลูกน้องที่เป็นทั้งช่างภาพ และซาวด์เอ็นจิเนียร์ด้วย (คนเดียวเสปคแบบออลอินวัน) เดิน ทางมาถึงภูฏานในเดือนมกราคม 2550 (2007) พร้อม อุปกรณ์พอสมควร มีโน๊ตบุ๊ค Apple Macintosh มาตัวหนึ่งซึ่ง เป็นตัวหลักสำหรับใช้บันทึกเสียง ออดิโออินเตอร์เฟส MOTU Ultralite แบบ 8 in / 8 out ขนไมโครโฟนมา 6-7 ตัว มีทั้ง คอนเดนเซอร์และไดนามิคไมค์ มีไมค์ช๊อตกัน ไวร์เลสลาวา เลียร์ แล้วก็เครื่องบันทึกเสียงดิจิตัลแบบเคลื่อนที่เร็วที่บันทึก เสียงลงเมมโมรีก๊าร์ดขนาดหนึ่งกิกะไบ๊ต์อีกหนึ่งตัว กล้องถ่าย รู ป สองตั ว และกล้ อ งดี ว ี ห นึ ่ ง ตั ว พร้ อ มบู ม และขาตั ้ ง กล้ อ ง พะรุงพะรัง โดยยังนึกไม่ออกนักว่าคนแค่สองคนจะทำอะไรกับ อุปกรณ์เหล่านี้ได้บ้าง.
คืนก่อนที่จะออกเดินทางมานี่ผมไม่ได้นอนเลย ตรวจ ตราอุปกรณ์ข้าวของเสร็จก็ตีสามแล้ว เพลียอยู่เหมือนกันใน วันแรกที่มาถึง แต่เราก็ยังได้ไปชมอาราม (Dzong) แห่งหนึ่ง ในเมืองพาโรเป็นการอุ่นเครื่องก่อน ไม่ได้ทำอะไรมากนัก นอกจากแค่ถ่ายรูปและก็อัดเสียง ambient ของเมืองพาโรเอา ไว้ อากาศมันหนาวเข้าไส้เสียดกระดูก ตอนลงเครื่องใหม่ๆ นี่ ยังทำซ่าอยู่เลย นึกในใจว่าไม่หนาวเท่าไหร่นี่หว่า ที่ไหนได้...
เราบินมากับสายการบินดรุ๊กแอร์ของรัฐบาลภูฏาน สายการบินเพียงหนึ่งเดียวที่มายังประเทศนี้ ซึ่งถึงแม้จะเป็น เครื่องขนาดเล็ก แต่ก็สะอาดสะอ้านสะดวกสะบาย แถมแอร์ โฮสเตสก็หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูดีซะด้วย. ตอนที่เครื่องใกล้ลง จอดที่ภูฏาน เราสามารถมองเห็นทิวทัศน์อันสวยงามของ เทือกเขาหิมาลัยจากช่องหน้าต่างของเราได้อย่างชัดเจน ขณะ ที่กำลังเพลิดเพลินกับทัศนียภาพอยู่ได้ไม่นาน เราก็ต้องทึ่ง เต็มที่กับการเลี้ยวอันแสนจะตื่นเต้นของเครื่องบินและภาพ ของภูเขาที่อยู่ๆ ก็โผล่ขึ้นตรงหน้าต่าง ภูฏานนั้นอยู่บนพื้นที่สูง และเมืองพาโรนั้นก็ซุกอยู่บนที่ราบอันหนึ่งบนอ้อมกอดของ กลุ่มเทือกเขาสูง เรียกว่านักบินนี่ฝีมือเหลือกิน แบบเลาะยอด เขามาปุ๊บ เลี้ยวเข้าไปในซอกเขาอีกหนึ่งทีก็ เฮ้ย..จอดอยู่บน พื้นแล้ว. อันที่จริง เรามาพร้อมกับขบวนใหญ่ราวสิบกว่าชีวิต เป็นกองถ่ายภาพยนตร์จากบ.แมชชิ่งของ "พี่ดอม" ตากล้อ งอันดับหนึ่งของเมืองไทย แล้วก็ "แหม่ม" สุรัสวดี เชื้อชาติ ผู้ กำกับมือหนึ่งที่เดินทางมาถ่ายหนังโฆษณาที่นี่ด้วยกัน. เผอิญ ผมต้องทำดนตรีให้งานชิ้นนี้ของเขาอยู่แล้ว ก็เลยเกาะกลุ่มมา ทำงานไซมีสพร้อมกันไปด้วย แต่พอมาถึงเมืองพาโรซึ่งเป็น
ดนตรีและนาฏศิลป5ของภูฏาน
"วังชุก" นัดหมายกลุ่มนักดนตรีพื้นบ้านไว้ให้เราที่เมือง ทิมพู เมืองหลวงของภูฏาน ซึ่งเราจะต้องออกเดินทางกันตั้ง แต่เช้าตรู่ของวันที่สอง ดังนั้นในคืนวันแรก ที่ผมทำได้คือซุก เข้าไปใต้ผ้าห่มแล้วอยู่ในนั้นนิ่งๆ ขนาดในห้องน้ำยังไม่อยาก เข้าไปเลย มันหนาวจนพื้นเย็นเฉียบ เสียงขลุกๆ ขลักๆ อยู่ข้าง นอกบ้านพัก เจ้าโอกำลังตั้งไมค์ AKG 451 สองตัวเพื่ออัด เสียงบรรยากาศของเมืองพาโรตอนกลางคืน ตอนเคลิ้มๆ ใกล้ หลับก็ได้ยินเสียงผีกะเหรี่ยงแว่วมาเบาๆ ... "เสียงบรรยากาศ พาโร กลางคืน เทคหนึ่ง.." มันต้องบ้าไปแล้วแน่ๆ เลย..หนาว จะตาย !
วังชุก นัดให้เราไปเจอกับคณะนาฎศิลป์และนักดนตรี พื้นบ้านชื่อคณะ "กูจู-ลูยาง" ที่มีหัวหน้าทีมชื่อ คุณเชวัง โลเด ซึ่งเป็นนักดนตรีพื้นบ้านผู้ก่อตั้งคณะนี้ เราได้นัดหมายกับเขา เพื่อจะได้พูดคุยสอบถามความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับดนตรีของ ภูฏาน พร้อมกับขอให้ทำการแสดงสาธิตให้เราดูประกอบการ อธิบาย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างอบอุ่นยิ่ง คุณเชวังยังได้ อนุญาติให้เราใช้ห้องบันทึกเสียงของเขาเพื่อทำการบันทึก เสียง แยกเฉพาะเพลงที่เราสนใจเป็นพิเศษอีกด้วย การแสดง 1-6
ดนตรี
สาธิตที่จัดขึ้นนั้นมีทั้งการเต้นระบำแบบต่างๆ การขับร้อง และ การบรรเลงดนตรีพื้นเมือง เมื่อจบการสาธิตคุณเชวังก็จะ อธิบายรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงอันนั้นให้ฟังว่า มีชื่อเรียกว่าอะไร มีความเป็นมาอย่างไร และมีความหมาย อย่างไรบ้าง คุณเชวังนี่แกเก่งทีเดียว นอกจากจะเป็นนักเล่น ดรามเยน (Dramnyen หรือจะเรียกว่ากีต้าร์ของภูฏานก็ได้ ) แกยังเล่นเครื่องดนตรีได้อีกหลายอย่าง เดี๋ยวผมจะกลับมา เล่าถึงการแสดงของคณะนี้ต่อในตอนหลัง ช่วงนี้เราจะกล่าว ถึงนาฏศิลป์และดนตรีของภูฏานโดยทั่วไปก่อน.
เช่นเดียวกับการเริงระบำ . ดนตรีและเพลงพื้นบ้านของ ภูฏานมักจะเกี่ยวข้องกับศาสนา หรือไม่ก็เป็นดนตรีสำหรับ เทศกาลสำคัญๆ ในวัฒนธรรมของเขา . เหมือนเช่นดนตรีพื้น เมืองทั้งหลายในเอเชีย ดนตรีของที่นี่ก็แบ่งออกเป็นสองพวก หลักๆ คือ หนึ่ง..ดนตรีสำหรับใช้ในพิธีกรรม (Sacred music) พูดอีกอย่างก็คือ ทางสวรรค์ . และ สอง..ดนตรีพื้นบ้านทั่วไป (Secular music) ซึ่งก็คือ ทางโลกนั่นเอง. Sacred Music
เพลงหรือดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมนั้นมักจะมีรูปแบบที่ เป็นบทสวด (Chant) ทางศาสนา ซึ่งก็เป็นรูปแบบโบราณที่ พบได้ในทุกๆ อารยะธรรม. Chant ของภูฏานนี้เหมือนกับใน ทิเบต.. คือมีบทสวดที่เป็นภาษาทิเบตโบราณและมีเครื่อง ดนตรีบรรเลงประกอบการสวด จะมีลามะที่สวดเสียงต่ำ มากๆ ลากเสียงยาวๆ (drone) อยู่ด้วย มีระดับของคลื่น ความถี่เสียงอยู่ในย่านต่ำกว่าคนทั่วไปจะสามารถเปล่งเสียง ร้องได้ คล้ายคลึงกับวิธีร้องจากในคอที่เรียกว่า Throat Singing ของพวกทูวาในมองโกเลีย . แม้ว่าจะเป็นเสียงที่ต่ำมาก แต่กลับมีความดังและมีพลังเสียงอยู่ในนั้น อาจเจ็บหูถ้าฟัง ตรงๆ ด้วยความดังปานกลางเป็นเวลานานกว่าสิบนาทีขึ้นไป ซึ่งแปลกมาก.. ผมเคยได้ยินเรื่องเล่าโบราณเกี่ยวกับเสียงสวด ปราบมารของลามะ นึกว่าขำ ทำไปทำมาก็ เอ๊ะ .. ชักพอจะมี เค้ามูลอยู่บ้าง เพราะพอฟังนานๆ มารอย่างผมก็รู้สึกเจ็บหู จริงๆ น่าสนใจดี .. ผมอดสงสัยไม่ได้จริงๆ ครับ ว่าต่ำขนาด ไหน ลองทำการวิเคราะห์เสียงดูพบว่ามีช่วงเสียงโดยเฉลี่ยอยู่ ประมาณระหว่าง 100-500 hz แต่มีความถี่ช่วงต่ำๆ ลงไปถึง 50-60 hz รวมอยู่เป็นระยะๆ โดยเฉพาะเมื่อเริ่มประโยค แต่ละครั้ง.
นาฏศิลป5 ก่อนจะพูดถึงดนตรีของภูฏานก็คงต้องพูดถึงนาฏศิลป์ ของเขาก่อน เพราะศิลปะเหล่านี้เกี่ยวพันกับดนตรีจนแยกกัน ไม่ได้ ก็อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่าเกี่ยวข้องกับศาสนา ระบำ ของเขาจึงค่อนข้างจะเคร่งขรึม สำรวม ไม่ยิ้มแย้มหรือล้อเล่น. การเต้นของภูฏานนั้นมีมากมายหลายแบบ นอกจากมีการ เต้นสำหรับพิธีกรรมสำคัญๆ และเทศกาลต่างๆ แล้ว ก็ยังมี การเต้นแยกย่อยของเผ่าพื้นเมืองต่างๆ ออกไปอีก อย่างเช่น.. การบูชาผี ขอฝน การเต้นประกอบการทำงานเช่น ปลูกข้าว เป็นต้น. ซึ่งรูปแบบจุดมุ่งหมายและวิถีทางก็คล้ายๆ กันกับ ระบำพื้นบ้านของไทยเรา หรือคล้ายกับชนเผ่าเอเชียอื่นๆ จะ ต่างกันก็ที่ลีลาและท่วงทำนอง. การเต้นรำที่มักจะได้เห็นกัน บ่อยเพราะจะแสดงกันในเทศกาลสำคัญ เช่น ระบำต้อนรับ, ระบำอำลา, ระบำลายับ (ของเผ่าเร่ร่อนที่อยู่ทางตะวันตก), ระบำสักเตนของเผ่า Brokpas ที่อยู่ทางตะวันออก , ระบำนก กระเรียนที่จัดในเทศกาลนกกะเรียนคอดำ, ระบำเครื่องดนตรี ต่างๆ ที่ทั้งเล่นและเต้นไปด้วยกัน , ระบำแห่งชัยชนะอเชลาโม, และที่มีมนต์ขลังที่สุดก็คือ "ชาม" (Cham) ระบำหน้ากากอัน ลือลั่นนั่นเอง. ซึ่งคุณเชวังนั้น ก็จัดให้เราได้ชมกันหลายแบบ น่าตื่นตาตื่นใจเลยทีเดียว.
เท่าที่เห็น มีแต่พระผู้ใหญ่ที่สวดเสียงต่ำ การสวดจะ เริ่มต้นด้วยการขึ้นบทสวดเสียงต่ำๆ ที่ว่านี้ ซึ่งจะเป็นบท อัญเชิญปวงเทวดาคุรุเทวะอะไรต่างๆ พระลามะที่ร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะสวดเสียงปรกติธรรมดาพร้อมกันไปเรื่อยๆ ไม่ค่อย เคลื่อนทำนองและมีรูปแบบของทำนองที่ไม่แตกต่างกันนัก 1-7
การประโคมดนตรีในพิธีสวดแบบนี้ ไม่ได้มีจังหวะหรือ ทำนองอะไรแน่นอนตายตัว ไม่สามารถจะเขียนออกมาเป็น มาตรฐานได้ว่าบรรเลงอย่างไร เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในพิธี สวดเหล่านี้ เหมือนกันกับที่ลามะในทิเบตใช้ ที่สำคัญก็คือ เครื่องดนตรีพวกนี้เป็นเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่สักแต่เล่นๆ ไป มันมี นัยยะอยู่ในการบรรเลงโดยตลอด ผู้เล่นจะสำรวมสมาธิและ เปล่งมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ออกมาในเสียงที่บรรเลงและปราณที่ ขับออก ดังนั้นเสียงของดนตรีนี้จึงเป็นเสียงของมนตรา ภาษาพิเศษที่ใช้สื่อสารกับสวรรค์์เบื้องบนนั่นเอง.
สักสองสามแบบ สวดจบบทหนึ่งก็จะประโคมดนตรี แต่เราได้ พบลักษณะสวดที่น่าสนใจกว่านี้จากพวกแม่ชี มีทำนองและ ความไพเราะ มีเสียงประสานและการสอดรับแปลกๆ แต่เอา ไว้เราค่อยมาพูดถึงกันในภายหลังอีกที. เครื่องดนตรีที่ใช้ประโคมสำหรับพิธีสวดก็จะมีหลาย อย่าง มีกลองกลมขนาดใหญ่พอสมควรที่เรียกว่า "Nga Chen" ทำจากไม้เขียนลวดลายสวยงามมีด้ามจับ ขึงด้วยหนัง แพะหย่อนๆ เสียงครางต่ำยาว มีสองหน้า ใช้ไม้ตีที่มีลักษณะ โค้งงอนตรงปลาย เวลาตีนั่งจับด้ามตั้งเอาไว้แล้วตี ดูไม่ เหมือนกับกลองโบราณอื่นๆ อย่างเช่นพวก frame drum หรือ def drum ที่มีแค่หน้าเดียว. ขนาดใหญ่เรียก "Bang Nga" ขนาดเล็กเรียก "Lag Nga" มีด้ามจับเหมือนกันแต่ถือตีอยู่ใน มือและเต้นรำไปด้วยได้ แล้วก็ยังมีกลองน้อยอันเล็กๆ ที่เรียก ว่า "Damaru" ก็คล้ายๆ กับบัณเฑาะว์ คือมีสองหัวประกบกัน ขึ ง หนั ง มี เ ชื อ กติ ด ตุ้ม ไว้ต รงปลายสองอันใช้แกว่งไปมาให้ กระทบหนัง ว่ากันว่าสมัยโบราณใช้กระโหลกคนสองคน ผ่า เอาครึ่งบน เอาด้านโค้งมาประกบติดกันแล้วขึงหนังทางด้านที่ เปิด แต่ปัจจุบันคิดว่าคงไม่น่าจะมีแล้วนะ แต่บางทีวัดเก่าๆ อาจจะมีของโบราณตกทอดมาก็ได้ เสียงคงดังดี ยกเว้นว่า อย่าไปเอากระโหลกนักการเมืองหนาๆ บ้านเราบางคนมาทำ เสียงคงจะทึบๆ ไม่ดีหรอก . นอกจากกลองแล้วก็ยังมีเครื่อง ดนตรีอื่นอีก. "Dorje" เป็นระฆังมือ. "Silnyen" และ "Rolmo" ก็ คือฉาบ เสียงดังสนั่นหวั่นไหวน่าดูชมเหมือนกัน . "Gyaling" เป็นปี่ตระกูลเดียวกับ Shawm ใช้ลิ้นเป็นเยื่อไม้ ตัวปี่เป็นโลหะ ที่อาจจะทำด้วยทองแดง ทองเหลือง หรือเงินก็ได้ หรืออาจ เป็นเงินสลับกับทองเหลืองแล้วแต่ว่าเกรดดีแค่ไหน.. มีความ สวยงามมาก เสียงก็เหมือนปี่จุมปี่ชวาที่บ้านเรา แต่จะบรรเลง คู่กันสองอันเสมอ เล่นทำนองซ้ำๆ อยู่ไม่กี่โน๊ตและไม่ตายตัว. เครื่องสุดท้ายเรียกว่า "Rag-Dung" หรือที่มักจะเรียกกันว่า ทรัมเป็ท มีความสัมพันธ์เป็นญาติกับฮอร์นโบราณของชาว ภูเขาอย่างเช่น Shofar, Alp Horn ซึ่งมาจากพวกฮอร์นเขา สัตว์ที่แพร่กระจายในหมู่นักล่าสัตว์เร่ร่อน. Dung สำหรับสวด โดยทั่วไปยาวประมาณเกือบสามเมตร ได้ยินว่าในวัดเก่าๆ มี อันที่ยาวกว่าสี่-ห้าเมตร แบบของทิเบตก็จะมีที่ใหญ่และยาว ขึ้นไปอีก มันทำด้วยทองเหลืองหรือบร็อนซ์ สามารถหดเข้ามา เพื่อเก็บได้ ตรงปลายด้านที่เป่า เป็นกำพวดแบบทรัมเป็ท (มัน ก็เลยมักถูกเรียกอย่างนั้น) ผู้บรรเลงจะนั่งเล่นคู่กันสองคน บรรเลงเป็น drone มีช่วงแผดเน้น swell และครางอู้อี้เป็นบาง ครั้ง บทบาทใกล้เคียงกับ Didgeridoo ของพวกออสโตรอะ บอริจินมาก.
ลั ก ษณะทำนองที ่ พ บในบทสวดของลามะใน ภูฏาน ตัวอย่างดังกล่าวนี้เคลื่อนทำนองอยู่เพียงแค่ 4 โน๊ตใน มาตราเสียงไมเนอร์ แต่ที่น่าสนใจก็คือมีอัตราจังหวะที่แปลก. คือ 1 ประโยคนับได้ 13 จังหวะ (ที่ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 120 bpm) อาจจะเขียนแบ่่งให้ครึ่งประโยคแรกมี 6 จังหวะ และครึ่งประโยคหลังมี 7 จังหวะก็ได้ สลับกันไป. ลักษณะของ แพทเทิร์นก็จะมีสองประโยค ทั้งหมดรวม 26 จังหวะ วนซ้ำ แบบนี้ไปเรื่อยๆ . การสวดทำนองแบบนี้มักจะปรากฏในตอน ท้ายพิธี สลับกับการสวดแบบธรรมดาที่มีแค่จังหวะจะโคนแต่ ไม่มีทำนอง. พิ ธ ี ก รรมการสวดมนต์ ข องพระลามะนี ้ เ ราได้ ข ึ ้ น ไป ทำการบันทึกเสียงที่อารามแห่งพูนาคา ซึ่งเป็นวัดใหญ่โตที่สุด วัดหนึ่ง มีความสวยงามของทัศนียภาพอย่างยากที่จะบรรยาย ทุกๆ รายละเอียดของลวดลายที่แกะสลักและสีสันจากพู่กันที่ บรรจงประดิดประดอยวาด เสาทุกเสา ระเบียงต่างๆ หน้าต่าง ประตู พื้น .. ล้วนสวยงามมีมนต์ขลัง น่าเสียดายที่ไม่อาจถ่าย รูปภายในพระอุโบสถของอารามได้ เพราะรัฐบาลเขาไม่อนุ ญาติให้ถ่ายรูปด้านในอย่างเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่งั้น เป็นได้ตาถลนกัน เพราะพระพุทธรูปข้างในนั้นเป็นทองคำ จริงๆ แถมยังมีอัญมณีลำ้ค่าที่ประดับประดาอีก. ที่อารามพูนาคานี่แหละ..เป็นที่ที่เรานัดมาเจอกับทีม ของคุณแหม่มผู้กำกับหญิงคนเก่ง. เดือนมกราที่นี่อากาศอุ่น กว่าทั้งพาโรและทิมพู อารามแห่งนี้จึงเป็นที่ที่เหล่าลามะจะมา อาศัยจำวัดในช่วงฤดูหนาวกัน. มีอย่างหนึ่งที่สาหัสหน่อย สำหรับนักเดินทางก็คือถนนของภูฏานนั้นลดเลี้ยวเคี้ยวคด เป็นพญานาคพันภูเขาเลยทีเดียว ทางก็ไม่ค่อยดีและจำกัด 1-8
อยู่หนึ่งคนที่ทำหน้าที่เหมือนโซโลคอยแทรกอยู่ ไม่เคยได้ยิน อะไรแบบนี้มาก่อน เป็นอีกประสบการณ์เสียงที่น่าทึ่งสุดๆ .
ความเร็วเพราะทางมันไต่ไปตามภูเขา เรียกว่าซ้ายผาขวาเหว กว่าจะถึงเล่นเอาเมาไปเหมือนกัน เพราะฉนั้นใครจะมาเที่ยว ให้เตรียมยาแก้เมารถมาด้วย. เมื่อเราไปถึงอารามพูนาคา.. เราต้องทำงานกันอย่างรวดเร็วมาก เพราะลามะทั้งหลายนั้น ท่านจะไม่รอเรา เมื่อได้เวลาท่านก็จะเริ่มกันเลย ดังนั้น จึงไม่มี การเทสท์เสียง เราต้องปรับแต่งอุปกรณ์- แบบกะๆ เอาไว้ก่อน แล้วก็ไปลุ้นเอาว่าจะใช้ได้ไม๊ ค่อยๆ ทำไปปรับไป โชคดีที่ผลที่ ได้มาก็นับว่าดีทีเดียว. บรรยากาศนั้นไม่ต้องพูดถึง เวลาที่ ภาพ, แสง, เสียง, และฉาก มันสมบูรณ์พร้อมอยู่ด้วยกันนี่ พา ให้ขนลุกขนชันไปตามๆ กัน เป็นประสบการณ์ทางเสียงที่ บรรเจิดมากครั้งหนึ่งในชีวิตของผมทีเดียว. ยังมีอีกอย่างที่ไม่ กล่าวถึงไม่ได้ ก็คือ ห้องน้ำครับ .. ห้องน้ำลามะที่นี่สุดยอด จริงๆ ผมเรียกว่าปิคนิคส้วมราง คือเป็นส้วมรวม แบ่ง ประมาณสองแถวแถวละประมาณสี่ช่อง มีรางน้ำลอดใต้ กั้น เป็นคอกเตี้ยๆ ... เรียกว่านั่งถ่ายไป มองหน้ากันไป ใกล้ชิด เหมือนไปปิคนิคกันยังไงยังงั้น เกิดมาก็เพิ่งได้ลองเป็นครั้ง แรกในชีวิต.. หึ หึ.. ลืมไม่ลง. (แต่อย่างอื่นน่ะ.. ลงไปแล้ว).
เช่นเดียวกับการสวดของลามะ การสวดของแม่ชีนั้นก็ จะมีเครื่องดนตรีประโคมเหมือนกันทั้งชนิดของเครื่องและวิธี การเล่น แต่จะดูไม่ลึกลับเท่าของลามะ . มีอย่างนึงที่ต้องบอก ให้คุณรู้ไว้.. การได้ยินหรือฟังเอาจากที่บันทึกเสียงมาอย่าง เดียวนั้น มันเทียบไม่ได้เลยจริงๆ กับการที่คุณไปอยู่ที่นั่นแล้ว ฟังมันด้วยหูเนื้อๆ ในสถานที่จริง ได้เห็นภาพ ได้กลิ่น รู้สึกและ สัมผัสได้ ถ้าหาโอกาสได้ก็ควรจะลองซักครั้งหนึ่งในชีวิต. Sacred Music ของภูฏานเท่าที่เราได้เห็นนั้นมีแค่นี้ เสียดายที่ เที่ยวนี้เรายังไม่สามารถบุกฝ่าไปยังส่วนที่ลึกเข้าไปในป่าสูง ของภูฏานเพื่อบันทึกดนตรีพิธีกรรมอื่นๆ อย่างเช่นดนตรีที่ใช้ ในการบูชาภูตผี.. พวกเราไม่มีเวลามากพอ ก็คงต้องฝากเอา ไว้เที่ยวหน้าแล้วล่ะ ยังไงๆ เราก็ยังต้องกลับมาที่นี่อีก. อ้อ..เกือบลืมไป . การเต้นระบำหน้ากากหรือ "Cham" ที่เราได้พูดถึงไปก่อนแล้ว ก็จัดเป็นการเต้นรำที่อยู่ในส่วนของ พิธีกรรมด้วย. มี "ชาม" บางแบบที่ผู้เต้นจะต้องเป็นพระลามะ เท่านั้น ต้องฝึกฝนและเตรียมพร้อมร่างกายมาอย่างดี เพื่อพิธี เต้นที่จะดำเนินไปยาวนานเป็นวันถึงหลายวัน แล้วเราก็ยัง ได้ยินเขาเล่าอีกว่ายังมีระบำหน้ากากแบบลามะที่เต้น จะไม่ สวมอะไรเลยนอกจากหน้ากาก.. ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เป็นความ ลับ คนภายนอกไม่มีสิทธิได้เห็น การแสดงระบำนี้ก็จะใช้ เครื่องดนตรีแบบเดียวกับที่ใช้ประโคมในการสวดมนต์ คือมี กลอง Nga มี Rag-Dung, Damaru.. ส่วนลีลาการบรรเลง นั้นก็คล้ายคลึงกันครับ.
ไม่เพียงแต่เราจะได้ไปบันทึกเสียงพิธีกรรมของลามะที่ อารามพูนาคาเท่านั้น หลังกลับจากพูนาคา เราได้กลับไปยัง เมืองทิมพูนครหลวงอีกครั้ง วังชุก ได้นัดหมายให้เราได้พบกับ คณะแม่ชีที่อารามชีแห่งเมืองทิมพู ซึ่งยากอยู่เหมือนกันกว่า จะนัดให้เราขึ้นไปบันทึกเสียงบนวัดที่มีแต่แม่ชีที่เป็นผู้หญิง ล้วนๆ ได้ ผมกับโอนี่ก็หน้าตาน่ากลัวใช่ย่อย เราก็ไปรออยู่จน กระทั่งมืด แต่ก็ได้รับการอนุญาติในที่สุด เป็นอีกคืนที่หนาว สาหัสแถมทางขึ้นก็มืดและชัน ทำเอาเกือบไหลลงภูเขาไป เหมือนกัน. เหมือนเช่นที่อารามแห่งพูนาคา .. ไม่มีการซาวด์ เช็ค เราต้องรีบตั้งเครื่องอย่างเร็วมาก พอมาครบปุ๊บท่านก็เริ่ม ปั๊บแทบกดอัดไม่ทัน บางคนก็เอาแต่จ้องเราเกือบตลอดเวลา ทำเอาเกร็งไปเหมือนกัน เพราะบรรยากาศมันขลังซะจนอดรู้ สึกไม่ได้ว่า มีสักบทสวดนึงที่สาปให้ผมเป็นแมวหรือแมลงสาบ รึเปล่า. การสวดแบบแม่ชีนี้แปลกและน่าสนใจกว่ามาก มี ความไพเราะพิสดารบอกไม่ถูก จะแบ่งออกเป็นกลุ่ม ส่วนหนึ่ง จะสวดแบบพึมพัมเบาๆ ฟังดูเป็นแพทเทิร์นบางอย่างรองพื้น อยู่ เกือบเป็น drone เพราะมีโน๊ตเดียว แต่ก็ไม่ใช่เพราะเป็น รูปประโยคบางอย่างที่ฟังไม่ออกและเสียงก็ไม่ต่ำแบบลามะ จะมีอีกกลุ่มที่สวดเป็นคำชัดเจนอยู่ในย่านเสียงพูดปรกติบาง ครั้งมีรูปแบบที่ล้อกันคล้ายคลึงการร้องแบบแคนนอน มีเสียง ประสานแปลกๆ ปนอยู่เบาๆ ฟังดูเหมือนว่าจะเป็นคู่เสียงที่สี่ และแฟล็ตห้าสลับกัน ไม่คงที่ มีฮาร์โมนิคแปลกๆ ที่ฟังไม่ออก ปนอยู่ด้วย มีช่วงหยุดแล้วพึมพัมซ้ำคำเดียวกันสั้นๆ แต่ทำที ละคน ทำให้ฟังดูเป็นเหมือนกับแคนนอน . ที่เด่นมากคือจะมี 1-9
1-10
เครื่องดนตรีที่ลามะใช้บรรเลงประกอบการสวด
Silnyen
Rolmo
Tingsha
Dorje
Gyaling
Damaru
Nga
Rag-Dung
1-11
1-12
1-13
1-14
•Zhungdra เป็นเพลงประเภทที่เก่าแก่ที่สุด เนื้อเพลงมักจะ
ขับขานเกี่ยวกับศาสนา จะร้องและเต้นต่อหน้าแท่นสักการะ ลามะชั้นสูงหรือแขกอันทรงเกียรติ ด้วยท่าทางที่แสดงความ เคารพนอบน้อมอย่างที่สุด. •Boedra เป็นเพลงประเภทที่เก่าแก่รองลงมาจากจุงดรา
ตกทอดมาจากชนเผ่านักรบทิเบตโบราณที่เรียกว่าโบดราหรือ โบดิช เป็นเพลงที่ร้องและเต้นล้อมกันเป็นวง เป็นเพลงร้อง เพื่อความสามัคคีร่วมใจ เพลงปลุกปลอบกำลังขวัญให้ฮึกเหิม เพลงเพื่อการรำลึกถึง เพลงฉลองชัยชนะ.. •Zhey เป็นเพลงประเภทที่นิยมกันมากที่สุด หลากหลายต่าง กันออกไปตามแต่ละภูมิภาคของภูฏาน เป็นเพลงที่ร้องและ เต้นกันเป็นวงกลม แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ Nubzhey ประกอบด้วยเพลงที่มีความแตกต่างกัน ยี ่ ส ิ บ สองเพลง ผ้ ู ท ี ่ เ ต้ น รำจะสวมห่ ว งบนหั ว แบบฤษี หรื อ นักบวชอาวุโส แต่งตัวด้วยชุดที่มีสีสันต่างๆ ที่แทนความหมาย ที่ต้องการจะสื่อ เช่น ใส่โกะสีแดงเพื่อแสดงความศรัทธาใน พุทธศาสนา ใส่เทโกะสีเขียวหมายถึงพืชสมุนไพรที่มีมากมาย รองเท้าบู๊ทแบบโบราณ เป็นสื่อแทนความอดกลั้นที่มีต่อการ รุกรานของพวกอาณานิคมอังกฤษในอินเดีย เป็นต้น. Goenzhey มีรูปแบบของเพลงและการเต้นรำที่ต่างกัน 25 ชนิด . ประกอบด้วยนักระบำ 21 คน . แต่ละคนจะสวมใส่ โกะที่เป็นขนแกะสีแดง และเทโกะสีดำ แบบนักรบโบราณ Pazap.สวมผ้าพันคอที่เรียกว่า Kabney Wangzhey มีเพลงที่ต่างกัน 13 เพลง และนักเต้น 13 คน.แต่ละคนจะสวมมงคลหลากสี ใส่บูราโกะ นุ่งผ้าถุงสีขาว หรือไม่ก็ขนสัตว์สีแดง. Woochupaizhey ประกอบด้วยเพลงที่แตกต่างกัน 18 เพลง สวมชุดที่โดดเด่นสวยงามซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากนก พิราบของ Lam Goembo Dorji แห่ง Dzongdra. นักเต้นไม่ เจาะจงจำนวน แต่ละคนจะใส่ผ้าโพกหัวสีดำ เทโกะดำ และ รองเท้าบู๊ทสีน้ำเงิน. สงสัยอยู่ว่ามันเหมือนนกพิราบตรงไหน นะ. อืมม.
Secular Music
อันนี้ก็จะเป็นทางโลก เป็นดนตรีของชาวบ้านเขา.. ชาวบ้านในที่นี้ก็คือประชาชนทั่วไปนั่นเอง ไม่ใช่พระสงฆ์องค์ เจ้า หรือว่าราชา เสนาบดี . ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้ง ชาวบ้านที่เป็น ชาวเมือง ชาวบ้านที่เป็นชาวชนบท-ชาวป่า-ชาวดอยอีก. ดนตรี ห รื อ เพลงพื ้ น บ้ า นของภู ฏ านมี ห ลายแบบเหมื อ นกั น เพลงในยุคแรกๆ นั้น เขาเล่าว่ามีต้นกำเนิดมาจากในวัดหรือ "ซอง" ก่อน แล้วค่อยกระจายเข้าไปในหมู่บ้าน ซึ่งก็ยังไม่พ้นที่ ต้องมีเพลงสักการะเทวดาและวิญญาณศักดิ์สิทธิอยู่ดี แต่ก็มี เพลงสำหรับร้องเพื่อความบันเทิงรื่นเริงบ้าง เพลงสำหรับ เทศกาลก็เยอะ ก็จะแยกออกเป็นประเภทหลักๆ คือ..
• Zhungdra • Boedra • Zhey • Lozey & Tshangmo • Rigsar
•Lozey / Tshangmo ทั้งสองอันนี้จริงๆ เป็นเพลงคนละแบบ
กัน แต่มีลักษณะเด่นๆ เหมือนกัน คือเป็นเพลงคู่ที่ต้องร้อง สองคนสู้กัน •Rigsar ก็คือเพลงสมัยใหม่นั่นเอง ริกซาร์เริ่มมีบทบาทใน
ภูฏานมาตั้งแต่ปี 1970 เป็นผลพวงจากดนตรีตะวันตกและ 1-15
ดนตรีชาติเพื่อนบ้านใกล้เคียงเช่น เนปาล อินเดีย จีน.. อิทธิพลจากโทรทัศน์ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมและจาก พื้นที่ใกล้เคียงเริ่มส่งผลให้เกิดความสนใจมากขึ้น มีผลงาน เพลงออกมาขายกันมากมายไม่น้อย คนภูฏานผู้ใหญ่หลาย คนก็ไม่ชอบหรอก แต่เด็กวัยรุ่นชอบ เป็นปัญหาคลาสสิคเดิมๆ เหมือนกับทุกที่ที่ MTV บุก เผลอแผลบเดียว เดี๋ยวดนตรีพื้น บ้านก็ขึ้นหิ้งไปตามระเบียบ เพราะมองกันต่างมุม . ศิลปินพื้น บ้านภูฏานต้องเริ่มรับมือแต่เนิ่นๆ การไปต่อต้านหรือปิดกั้นแต่ ตัวเองยังคงทำแต่แบบเก่าๆ อย่างเดียวแย่แน่ๆ ทำยังไงก็หยุด ไม่ได้ สู้เอาเวลามาต่อยอดให้ดนตรีพื้นเมืองมีรูปแบบที่ทันโลก ขึ้น เกาะไปกับกระแสดนตรีเวิลด์มิวสิคที่ตอนนี้เป็นทางเลือก ใหม่ได้ ส่วนที่อนุรักษ์ก็ต้องทำอย่างเหนียวแน่นและไปข้าง หน้า ไม่ให้รูปแบบโบราณหายไปแต่ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนา ต่อ ไม่ใช่อนุรักษ์แบบเต่าล้านปี ต้องทำให้ Dramnyen ขึ้น เวทีเดียวกับ Guitar ได้อย่างภาคภูมิ. เพลงพื้นบ้านพื้นเมืองของภูฏานรวมๆ แล้วก็อาจแยก ออกเป็นแบบ "ร้องอย่างเดียว" กับ "ทั้งร้องทั้งเต้น" ก็ได้. พวกที่ ร้องด้วยเต้นด้วยได้ ก็อย่างเช่น .. Zhungdra, Boedra, Yuedra, Zhey, Zhem. ส่วนพวกที่ร้องอย่างเดียวก็อย่างเช่น.. Tshangmo, Alo, Khorey, Ausa. คณะกูจูลูยางได้สาธิตการร้องหลายแบบให้เราฟังเช่น Zhungdra, Boedra และ Zhey. ซึ่งเราได้ทำการบันทึกเสียง เอาไว้ด้วย นอกจากนั้นเรายังได้มีโอกาสบันทึกเพลงร้องของ กลุ่มนักธน ูและเพลงที่ร้องโดยชาวบ้านขณะทำงานตำข้าว ซึ่ง ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย แถมเรายังได้ซีดีเพลงพื้นบ้านอื่นๆ และเพลง Rigsar ติดกระเป๋ามาเป็นตัวอย่างอีกหลายแผ่น.
ตราของสถาบันนาฏศิลป์แห่งชาติภูฎาน
1-16
เครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวภูฏาน
Dramnyen [dramyin/dranyen] เป็นเครื่องสายประเภทดีด คล้ายๆ กับซึงหรือพิณ อีสานบ้านเรา เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญของชาวภูฏาน และมี เล่นกันในหมู่ชนเผ่าพื้นเมืองในแถบหิมาลัย. แม้จัดเป็นเครื่อง ดนตรี ช าวบ้ า น แต่ บ างครั ้ ง พบพวกลามะใช้ เ ล่ น บรรเลง ประกอบในการเล่าเรื่องหรือเล่านิทานแฝงคติธรรม หรือบาง ครั ้ ง ใช้ เ ล่ น ประกอบในระบำ"ชาม". คนทั ่ ว ไปใช้ บ รรเลง ประกอบการขับร้องเพลง, บรรเลงประกอบการเต้นรำ , หรือ เป็นส่วนหนึ่งของการเต้นคือผู้เล่นนั้นต้องเต้นไปด้วยบรรเลง ไปด้วย. การบรรเลงก็มีทั้งการดีดเป็นแนวทำนอง, ดีดเป็น จังหวะคลอการขับร้อง, ดีดเป็นเสียงคู่ประสาน.. ดรามเยียนนี้ มีหลายขนาด ระหว่าง 60cm ถึง 120cm มีช่วงคอที่ยาว ทำ จากไม้ชิ้นเดียวที่ขุดให้ตรงกลางกลวง ส่วนคอประกบไม้เรียบ ลงไปเป็น finger board แต่ไม่มีเฟร็ท (fretless) ส่วนลำตัว โดยทั่วไปไม่มีโพรงเสียง แต่ปิดด้วยแผ่นหนังสัตว์ขึงตึง มีบาง แบบที่ปิดด้วยไม้และเจาะเป็นรูฉลุ เพื่อให้เกิดความก้อง. ตลอดทั้งตัวจะระบายสีสันสดใสเป็นลวดลายต่างๆ ส่วนหัวจะ โค้งเป็นรูปตัว 'ซี' แกะสลักและระบายสีเป็นรูปหัวนาค chusing (ไม่ใช่หัวมังกรอย่างที่ใครคิด) ส่วนหัวเป็นส่วนที่ติดตั้ง หมุดขึงสายที่ทำด้วยไม้ ไม่มีกลไกหรือเฟืองช่วยการขึง มีสาย ทั้งหมด 7 เส้น ซึ่งผูกกับห่วงส่วนท้ายลำตัว ขึงพาดไปบน หย่องไม้ไปสู่่หมุดขึงที่ส่วนหัว 6 เส้นคือสายที่ 1/2/3/4/6/7. อีก หนึ่งเส้นคือสายที่ 5 สอดเข้าไปกลางลำคอที่มีหมุดขึงสายอีก อันเสียบอยู่ ในสมัยก่อนสายของมันจะทำจากเครื่องในสัตว์ แต่ใน ปัจจุบันนี้ใช้สายไนลอนแบบเดียวกับที่ใช้เป็นเอ็นตก ปลาแทน
วิธีการตั้งสายของมันก็คือ สายที่ 1 และ 2 = f (double) / สายที่ 3 และ 4 = c / สายที่ 5 ที่อยู่กลางคอ = c แต่สูง ขึ้นกว่าสายที่ 3,4 หนึ่งอ๊อคเทฟ / สายที่ 6 และ 7 = g เหมือน กัน แต่สายที่ 6 จะต่ำลงไปหนึ่งอ๊อคเทฟ . ผมซื้อเจ้าตัวในรูป 1-17
ณ ที่นี้ข้าได้ละซึ่งชีวิต ปลดปลิดบ่วงซึ่งรั้งติดสังขารขัย พินิจดูวังวนแห่งเวไนย บำเพ็ญตนและจิตใจให้มั่นคง
ขวามือนี่มาประมาณ 100 $US เกือบสี่พันบาทแน่ะ สร้างไม่ ค่อยดีนักแต่ราคาแพงอยู่เหมือนกัน พยายามเดินหาแบบที่ ทำเนี๊ยบๆ ฝีมือปราณีต แต่ก็ไม่เจอ. อย่างไรก็ตาม.. ไอ้เจ้าตัว ที่ได้มานี่ก็เล่นได้จริงๆ ล่ะ แล้วเสียงของมันก็โอเคพอสมควร. ในเพลง rigsar สมัยใหม่ มีการปรับปรุงดรามเยียนให้ มีสายมากขึ้น ด้วยความที่อยู่ใกล้อินเดียและเนปาล ก็เลยอาจ รับอิทธิพลมาบ้าง บางตัวจึงมีสายถึงสิบห้าสาย.
เป็นที่ซึ่งพึงฝึกฝนค้นดวงจิต และครองไว้ให้ความคิดไม่มืดหลง ด้วยฤทธาอันวิเศษแห่งพุทธองค์ อานิสงส์อันสว่างสู่ทางธรรม
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับบทเพลงอัน ลือชื่อในตำนานอันหนึ่ง ซึ่งได้กลายเป็น ที่มาของ ระบำดรามเยียน (Dramnyen Cham) ซึ่งมีขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองและ ระลึ ก ถึ ง ชั ย ชนะของ มหาลามะ Tsangpa Gyare Yeshe Dorji ที่มีต่อ ปีศาจร้าย. กล่าวกันว่า ในระหว่างการ เดิ น ทางจาริ ก ของท่ า นบนเส้ น ทางส่ ู Tsari ดินแดนอันห่างไกลรกร้างของทิเบตที่ติดกับพรมแดน ทางเหนือของภูฏาน ขณะที่ท่านกำลังจะเข้าสู่หมู่บ้านลึกลับ แห่งหนึ่ง ปีศาจกบตนหนึ่งได้สำแดงกายขึ้นขวางทาง (บางฉบับ ก็ว่าเป็นปีศาจงูใต้พิภพ) ทันใดนั้นมันก็แปลงร่างจากกบกลาย เป็นจามรี ซังปาจยารี จึงกระโดดขึ้นไปบนหลังจามรีปีศาจตน นั้น ดีดดรามเยียนพร้อมกับเต้นระบำ แล้วร้องว่า “ หากผู้ใด หาญกล้าจะต่อกรกับข้า บุตรผู้สืบสายเลือด แห่งมังกรอสนี แล้วไซร้ ขอให้มันจงออกมา ” เจ้าปีศาจกบก็พลันเปลี่ยนร่าง เป็นหินอีก แต่ด้วยอำนาจแห่งมหาลามะ ท่านเคาะไม้เท้าของ ท่านลงบนหิน หินนั้นก็กลับอ่อนลงเป็นโคลน ท่านซังปาจยารี เหยียบเท้าของท่านลงไปบนก้อนโคลนนั้น เจ้าปีศาจก็สิ้นฤทธิ ไปในทันที เจ้าปีศาจกบอ้อนวอนขอชีวิตและเสนอตัวเป็นข้า รับใช้ท่านซังปา ซึ่งทำให้ กบ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเทพผู้ พิทักษ์แห่งดินแดน ’ทซาริ’ .. จนแม้ทุกวันนี้ผู้จาริกแสวงบุญก็ ยังดั้นด้นไปที่นั่นเพื่อแสวงหาการหลุดพ้น.
โอ้แดนสวรรค์อันบรรเจิด ทซาริ หาได้มีอารามน้อยให้ค้างค่ำ ด้วยอำนาจ* ตัวยา ข้าขบคำ ปีศาจน้อยที่ต้อยต่ำจงหลีกทาง * เล่ากันว่า ซังปาจยารี เคี้ยวสมุนไพร gling-chen ทำให้ได้อำนาจวิเศษ
ผู้ที่แสดง ระบำดรามเยียน นี้ ก็จะแต่งกายสะท้อนให้ เห็นถึงการเชื่อมโยงกับเรื่องราวที่เล่าผ่านไปนี้ คือเครื่องแต่ง กายแบบที่ลามะซังปาใส่ เป็นแบบพระทิเบตโบราณผ้าขน สัตว์หนาหนัก พกอาวุธแบบองครักษ์ของลามะชั้นสูง มีเชือก แบบทิเบตสีดำคาดแดงที่เรียกว่า Chuba สวมบู๊ทยาว สวม มงคลควั่นด้วยเชือก สีแดง เหลือง เขียว น้ำเงิน ขาว -แทน- ไฟ อากาศ ดิน น้ำ ลม . มือซ้ายสวมแหวนกระดูก มือขวาสวม แหวนหินเทอร์-ค๊อยส์ มีโล่ห์เงินประดับทองมัดติดที่อกและ หลัง ผู้เป็นหัวหน้านักเต้นจะใส่เสื้อทับสีน้ำตาลอีกตัว ระบำจะ แสดงประกอบกับการบรรเลงดรามเยียน.
Yangchen [yangqin]
ในศตวรรษที่สิบหก ผู้นำแห่งดรุ๊กปาชื่อ Kunkhyen Pema Karpo ได้เขียนบทพรรณาถึง ทซาริ ไว้อย่างละเอียด ซึ่งได้รวมเอาบทเพลงที่ท่าน ซังปาจยารี ได้ขับร้องตอนที่ผจญ ปีศาจ ผมร้อยกรองถ่ายทอดออกมาเป็นเนื้อความดังนี้....
เป็นเครื่องสายประเภทตี มีกำเนิดจากเปอร์เซีย เรียก ว่า Santur. ในจีนเรียกว่า Yangqin . พบในส่วนอื่นๆ ของโลก ก็มี เรียกว่า Dulcimer, Cimbalom. ของไทยก็มีเรียกว่า ขิม. ซึ่งทั้งหมดนับว่าเป็นเครื่องชนิดเดียวกัน มีความต่างกันใน แต่ละท้องถิ่นเพียงเล็กน้อยบางจุด เช่น จำนวนสาย การตั้ง เสียง.. เวลาบรรเลงใช้ไม้ตี. Yangchen ของชาวภูฏาน ใกล้ เคียงกับ yangqin ของจีน ต่างกันเพียงเล็กน้อย มีสายอยู่ 72 สาย.
โอ้แดนสวรรค์อันบรรเจิด ทซาริ มิเคยมีมนุษย์ใดได้มาถึง ที่ซึ่งข้าลืมโลกโศกคำนึง เป็นที่ซึ่งปัญญาญาณฉานดั่งไฟ 1-18
Chewang เป็นเครื่องสายชนิดสี มีลักษณะละม้าย Erhu ของจีนกับซอ ด้วงของไทย มีสองสาย สีด้วยคันชักที่ทำจากหางม้า.
Chewang
Lyem [lim] คือขลุ่ยนั่นเอง เป็นขลุ่ยชนิดที่ใช้การเป่าแบบผิว มี 6 รู ดูดู ไปแล้วน่าจะเป็น Bansuri ขลุ่ยของอินเดีย. Yangchen
Lyem
เครื่องดนตรีของภูฏานทั่วไปก็มีแค่นี้ครับ Dulcimer
Yangqin
1-19