มุทิตาจิต ๒๕๕๖

Page 1

design 4.indd 1

9/9/2556 14:16:30


design 4.indd 2

9/9/2556 14:16:32


๑๑๑ครู กาย ใจ

สวนฯเป็น design 4.indd 3

อุทิศ ผสาน

ศิ ษ ย์ ทดแทนคุณ 9/9/2556 14:16:34


หลวงพ่อสวนกุหลาบ องค์สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเปรื่องปราดสร้างสิ่งอนุสรณ์ วางรากฐานการศึกษาสถาวร องค์ภูธรทรงก่อเกิดสวนกุหลาบวิทยาลัย ทรงประทาน “หลวงพ่อสวนกุหลาบ” ให้น้อมกราบนำ�ดวงจิตคิดแจ่มใส เป็นหลักให้ยึดเหนี่ยวเกี่ยวดวงใจ ศิษย์สวนฯ ให้ทำ�ดีมีคุณธรรม พุทธรูปที่ประทานปางมารวิชัย ขจัดภัยในดวงจิตคิดเลิศลํ้า ชนะมารสร้างชื่อเสียงเลี่ยงอธรรม ให้น้อมนำ�หลวงพ่อก่อความดี ขอพระบารมีหลวงพ่อสวนกุหลาบ ศิษย์น้อมกราบประจำ�จิตเป็นสักขี เป็นมิ่งขวัญเป็นพลังสร้างความดี เพื่อศักดิ์ศรีสวนกุหลาบฯ ตราบนิรันดร์ ร้อยกรองโดย ครูลักษณา ปริกขิตตานนท์ ๔ design 4.indd 4

9/9/2556 14:16:34


พ่อปู่สวนกุหลาบ โอม! พ่อปู่สวนฯ เทพยดาผู้อารักษ์ สิทธิศักดิ์เรืองฤทธาปฏิหาริย์ เหล่าลูกสวนฯ ล้วนบูชามากราบกราน ขอพรท่านบนบานช่วยอำ�นวยชัย ให้สอบได้สอบผ่านทุกฐานสอบ ทุกคำ�ตอบถูกต้องตามที่ถามได้ สุขสมหวังเยี่ยมยอดตลอดไป ทั้งขอให้กิจการงานมั่นคง ลูกกลับมาเพื่อบำ�บวงหลวงพ่อปู่ จะทนสู้วิ่งผ่อนใช้ไม่ลืมหลง วันละรอบสนามนั้นอย่างมั่นคง จนจบลงครบจำ�นวนชวนยินดี ศาลพ่อปู่สถิตเด่นเป็นสง่า เทพรักษาแดนสวนฯ ล้วนสุขี เกียรติก้องฟุ้งรุ่งเรืองเรื่องสิ่งดี ลูกสวนฯ มีหลวงพ่อปู่คู่ใจเอย ร้อยกรองโดย ครูประสิทธิ ปริกขิตตานนท์ ๕ design 4.indd 5

9/9/2556 14:16:34


ถวายอาศิรวาทราชสดุดดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช จักรีศรีสุรเดชณเขตรตนฉัตร โกสินทร์นิเวศน์รัฐ สยาม ทรงกฤษดาภินิหารประภาพนิกรคร้าม ทั่วทิศมิต่อตาม ระราน ทรงเร่งพัฒนชาติพิเศษประลุพิศาล ต่างชาติผดาพาล ตระหนัก รถไฟการชลกิจประดิษฐ์สกลหลัก สื่อสารพลังศักย์ ระดม ปวงทาสชื่นมนทรวงละบ่วงจิตะระทม เสรีระรื่นรมย์ พิสุทธิ์ การศึกษาประจุวิชช์สถิตอภินิยุต โรงเรียนสถานวุฒิ ตระหง่าน เฉกเช่นสวนสิริศรีกุหลาบบวรประทาน กำ�เนิดประเสริฐการ ธำ�รง บังคมบาทปิยราชมหาสุคตพงศ์ ด้วยเกล้าฯ ระลึกทรง พระคุณ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ครูเก่านามอาภรณ์ ปิยะเวช ร้อยกรองถวาย ๖ design 4.indd 6

9/9/2556 14:16:37


ถวายอาศิรวาทราชสดุดดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระภัทรมหาราช สมมุติเทวสุกษัตริย์ องค์ภูมิพลอดุลย์เดช ทรงศักดิการุณยราษฎร์ แม้ทุกขยากบมิจะมี แดนดินณถิ่นทุรประเทศ บุกป่าณห้วงชลชลัย โอบเอื้อ ธ เกื้อทุนพระองค์ สร้างสรรคเขตณสถาน หลักเศรษฐกิจ ธ ตริ ธ เตือน พอเพียงจะแผ้วพิชิตสำ�่ ทรงทศธรรมปวรเอก ปวงข้าฯมหานิกรชน น้อมเกล้าฯ ประณตรตนตรัย ขอทรงเกษมพระชนมา

นวรัชปกเกศ นคเรศสยามศรี ธ ประพาสละธานี จะแสดงฤทัยไหว พนเวศสิแดนไกล ขณะท้นทลายลาญ จิตทรงประสงค์สาน ประลุล่วงแหละล้ำ�นำ� มิละเลือนประเสริฐล้ำ� จรล่วงคระไลจน รุจิเรขถกลมน ฤดิท้นวิสักการ์ จตุไท้สุเทวา ยุเจริญนิรันตร์เทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ครูเก่านามอาภรณ์ ปิยะเวช ร้อยกรองถวาย

๗ design 4.indd 7

9/9/2556 14:16:41


สารจากผู้อำ�นวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

๓๐ กันยายน วันอำ�ลาชีวิตราชการของใครหลายคน ที่อดทน มุ่งมั่นปฏิบัติงานมาด้วยความซื่อสัตย์ อดทน โดยเฉพาะคนเป็นครู ครูคือบุคคลที่ทำ�หน้าที่ไม่ต่างจากพ่อแม่ มุ่งมั่นดูแล อบรม สั่งสอนศิษย์ ให้เป็นคนดี คนเก่ง ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ครูสวนกุหลาบฯ ก็ไม่แตกต่างกัน ได้เฝ้าสอนอบรมศิษย์ ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ มาแล้วนับจำ�นวนไม่ถ้วน เมื่อศิษย์ออกจากอก ก็เฝ้าติดตามความเจริญก้าวหน้า ติดตามถามทุกข์สุขด้วยความอาทร

ครูสวนกุหลาบฯ ได้ชื่อว่าเป็นครูที่อุทิศทั้งจิตวิญญาณ จึงเป็นที่รักเคารพของศิษย์อย่างยิ่ง ๘ design 4.indd 8

9/9/2556 14:16:44


วันนี้...วันที่ศิษย์พร้อม ในโอกาสที่คุณครูของเขาเกษียณอายุราชการ จึงรวมใจ รวมพลังกัน แสดงมุทิตาจิตแด่คุณครู อันเป็นที่รักของพวกเขา นำ�ความปลื้มปีติมาสู่คุณครูที่เกษียณอายุราชการเป็นอย่างยิ่ง ขอกุศลผลบุญที่ครูและศิษย์ที่มีต่อกัน รวมทั้งบารมี หลวงพ่อสวนกุหลาบ พ่อปู่สวนกุหลาบ และพระบารมี แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ส่งผลให้คุณครูที่เกษียณอายุราชการ มีสุขภาพกายและใจที่ดี และศิษย์เก่ารุ่น ๑๑๑ ที่จัดงานมุทิตาจิต พร้อมครอบครัว จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานตลอดไป

ดร. เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ

ผู้อำ�นวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

๙ design 4.indd 9

9/9/2556 14:16:46


สารจากประธานชมรมครูเก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย “๑ กาย ๑ ใจ ครูอุทิศ ผสานศิษย์สวนฯ เป็น ๑ ทดแทนคุณ” เป็นรูปแบบ (Theme) ของศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ รุ่น ๑๑๑ หรือ “รุ่นมหาราช” ในการจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ ได้สาระครอบคลุมไปถึงหมายเลขของรุ่นด้วย ต้องขอแสดงความยินดีกับครูน้องๆ ทุกท่านที่เกษียณอายุราชการที่จะได้พักผ่อน หลังจากได้รับใช้ราชการในหน้าที่ของครูมาหลายปี และมีความยินดีต้อนรับสู่ “บ้านสวนฯ อาวุโส” ของชมรมครูเก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นบ้านที่อบอุ่น ซึ่งน้องๆจะมีความสุขที่ได้ร่วมกิจกรรมกับครูรุ่นพี่ ขอชืน่ ชมกับศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย รุน่ ๑๑๑ ทีเ่ ป็นเจ้าภาพจัดงานมุทติ าจิต ทราบว่าหลังจากได้ศึกษาดูงานรุ่นพี่ๆ ก็ได้มีการประชุมวางแผนการจัดงาน กันหลายครั้ง เพื่อให้งานออกมาดูดี ดูเนี้ยบทุกขั้นตอน เป็นที่ประทับใจของ คุณครูที่เกษียณอายุราชการ คุณครูและศิษย์เก่าทุกรุ่นที่มาร่วมงาน นี่คือเอกลักษณ์ของศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ยากจะหาใครเสมอเหมือน ศิษย์เก่าสถาบันอื่นๆ เขาชื่นชมและพยายามที่จะทำ�ตาม มีคำ�ถาม ด้วยความห่วงใยจากคุณครูหลายท่านว่า “จะเป็นภาระหนักไปไหม... ๑๐ design 4.indd 10

9/9/2556 14:16:49


ศิษย์เก่ารุ่นที่เป็นเจ้าภาพจัดงานอายุน้อยไปหรือเปล่า....” คำ�ตอบก็คือ ศิษย์เก่าทุกรุ่นเมื่อถึงวาระปีที่จะเป็นเจ้าภาพ จัดงานมีอายุเท่ากันครับ เท่าที่พูดคุยกับทุกรุ่น มีความยินดีเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ และมีความตัง้ ใจทีจ่ ะจัดงานให้ดีตามที่กล่าวมาแล้ว

“กตัญญู” เป็นสัญลักษณ์ของคนดี กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ กตัญญูต่อแผ่นดินถิ่นเกิด บุคคลใดที่มีความกตัญญูก็จะประสบแต่สิ่งที่ดีงามในชีวิต ในนามชมรมครูเก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย จึงขอให้ศิษย์เก่า สวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น ๑๑๑ และศิษย์เก่า สวนกุหลาบวิทยาลัยทุกรุ่น มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน และมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตตลอดไป

ครูวีระ กาญจนะรังสิตา

ประธานชมรมครูเก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย

๑๑ design 4.indd 11

9/9/2556 14:16:52


สารจากนายกสมาคมผู้ปกครอง และครูสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ในนามของสมาคมผู้ปกครอง และครูสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอแสดงความชื่นชม และภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนร่วมสนับสนุนและส่งเสริม ให้บรรดาลูกศิษย์ของครูสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่ได้รับการฝึกอบรม สั่งและสอน จนจบการศึกษาได้รวมตัวกันเป็นรุ่นๆ และส่งมอบภารกิจนี้ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ มาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานจนถือเป็นประเพณี ของศิษย์สวนกุหลาบวิทยาลัยที่จะจัดงาน

“วันมุทิตาจิตสวนกุหลาบวิทยาลัย”

ซึ่งเป็นวันที่ศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดขึ้นเพื่อแสดงความคารวะ ขอบคุณ ยกย่อง ให้ก�ำ ลังใจครูที่ได้ปฏิบัติหน้าที่มาจนอายุครบ ๖๐ปี ทุกคน ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของครูสวนกุหลาบฯ ต่อลูกศิษย์ เป็นที่ประจักษ์อย่างเด่นชัด ด้วยคุณภาพที่ให้กับศิษย์สวนกุหลาบฯ ด้วยใจ เหตุนจ้ี งึ ทำ�ให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ยังเป็นทีน่ ยิ มและต้องการของผูป้ กครองอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย ๑๒ design 4.indd 12

9/9/2556 14:16:54


ในนามของสมาคมผู้ปกครองและครู สวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้ปกครอง นักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้งมวลร่วมกับศิษย์เก่ารุ่น ๑๑๑ ขอคารวะและแสดงมุทิตาจิตแก่คณะครูอาจารย์ทุกท่าน ที่เกษียณอายุราชการประจำ�ปี ๒๕๕๖ และขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดดลบันดาลให้ ครูอาจารย์ทุกท่านที่เกษียณอายุราชการ พร้อมด้วยคณะกรรมการจัดงานมุทิตาจิต สวนกุหลาบวิทยาลัย ปี ๒๕๕๖ จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ และปราศจากโรคภัยตลอดไป

นายแพทย์ภาวิต ปุญญฤทธิ์

นายกสมาคมผู้ปกครอง และครู โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

๑๓ design 4.indd 13

9/9/2556 14:16:55


สารจากนายกสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ในนามของสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รู้สึกยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยทุกๆ รุ่น ได้สืบทอดประเพณีการจัดงานมุทิตาจิต ให้กับคุณครูที่จะเกษียณอายุราชการในแต่ละปี

ในปี พ.ศ.๒๕๕๖ นี้มี รุ่น ๑๑๑ เป็นแกนนำ�

“ผสาน” หัวใจของลูกศิษย์ชาวสวนกุหลาบฯ

จัดงานมุทิตาจิตขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อ

คุณครูทั้ง ๑๕ ท่าน ที่ “อุทิศกาย อุทิศใจ”

อบรมสั่งสอนนักเรียนให้มีความรู้ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรม ด้วยความเมตตา กรุณา อย่างไม่ย่อท้อตลอดชีวิตการเป็นครู เพื่อให้ลูกศิษย์เป็นคนเก่ง เป็นพลเมืองที่ดี ทำ�คุณประโยชน์ ให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ๑๔ design 4.indd 14

9/9/2556 14:16:56


สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ใคร่ขอแสดงมุทิตาจิตและกตเวทิตาคุณแด่ท่านอาจารย์ ที่เกษียณอายุราชการทั้ง ๑๕ ท่าน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ ขออารธนาคุณพระศรีรัตนตรัย หลวงพ่อสวนกุหลาบ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก โดยเฉพาะ พ่อปู่สวนกุหลาบ ตลอดจนเดชะพระบารมีอันแผ่ไพศาล แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระผู้ให้กำ�เนิดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดดลบันดาลพระราชทานพรให้ ท่านอาจารย์ทั้ง ๑๕ ท่าน มีสุขภาพสมบูรณ์ ประสบแต่ความสุข ความเจริญ ตลอดไป

นายอาทร สินสวัสดิ์

นายกสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

๑๕ design 4.indd 15

9/9/2556 14:16:58


สารจากประธานกรรมการมูลนิธิสวนกุหลาบวิทยาลัย

ความกตัญญูกตเวทีต่อครู อาจารย์ ผู้มีพระคุณเป็นคุณธรรม ที่ศิษย์สวนกุหลาบฯ ยึดมั่นถือมั่นสืบต่อกันมาช้านาน

นำ�ความสำ�เร็จและความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาตินานัปการ สร้างความภูมิใจให้แก่ชาวสวนกุหลาบฯทั้งมวล คุณธรรมและความสำ�เร็จดังกล่าว สืบเนื่องมาจากเรามีครูดี มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม ท่านได้อุทิศกำ�ลังกาย กำ�ลังใจ กำ�ลังความคิด สติปัญญา เพื่อศิษย์รักทั้งหลาย โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำ�บากกายแต่อย่างใด

การที่ศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ รุ่น ๑๑๑ จัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการ ในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ จึงเป็นเรื่องที่น่ายกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง ๑๖ design 4.indd 16

9/9/2556 14:16:59


ในนามมูลนิธิสวนกุหลาบวิทยาลัย ขอแสดงความชื่นชม ในความมีนำ�้ ใจที่เปี่ยมไปด้วยความเสียสละ ของศิษย์เก่ารุ่นนี้เป็นอย่างยิ่ง ขออำ�นาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์ทั้งหลายในสากลจงดลบันดาลให้ ครูอาจารย์ที่อายุครบ ๖๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ และศิษย์เก่ารุ่น ๑๑๑ มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคาพาธทั้งปวง และขอให้การจัดงานครั้งนี้ ประสบความสำ�เร็จสมดังปรารถนาทุกประการ

นายเจียม เสาวภา

ประธานกรรมการมูลนิธิสวนกุหลาบวิทยาลัย

๑๗ design 4.indd 17

9/9/2556 14:17:00


สารจากประธานคณะกรรมการจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ งานมุทิตาจิตของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ เป็น งานที่มีคุณค่าและความสำ�คัญในการเติมเต็มชีวิตนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยให้ สมบูรณ์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่รวบรวมเพื่อนๆ ในรุ่น ให้กลับมารวมตัวทำ�กิจกรรม เพื่อโรงเรียนอีกครั้ง หลังจากที่จบการศึกษาไป 20 ปี เป็นการพิสูจน์ได้เป็นอย่างดี กับคำ�กล่าวที่มักจะได้ยินเสมอว่า

“กุหลาบเปลี่ยนกระถางไม่จางกลิ่น ชมพู-ฟ้าเปลี่ยนถิ่นไม่จางสี”

ต้องขอขอบคุณสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้มอบหมายงานสำ�คัญให้ศิษย์เก่าในแต่ละรุ่น ได้แสดงพลังของความสามัคคีใน การร่วมมือร่วมใจกันจัดงานใหญ่ให้คุณครูที่เกษียณอายุในแต่ละปี ในฐานะตัวแทนของรุน่ และคณะกรรมการจัดงานฯ ต้องขอขอบคุณเพือ่ นๆ รุ่น ๑๑๑ (มหาราช) ทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจกัน ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกัน จนมีวันนี้ได้ในที่สุด แม้หลายๆ สิ่งจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังกันไว้ แต่ก็ เป็นสิ่งพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างดีว่า

“สวนกุหลาบฯ ไม่เป็นที่สองรองใคร”

๑๘ design 4.indd 18

9/9/2556 14:17:02


นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก ศิษย์เก่า รุ่นพี่ รุ่นน้อง ในการช่วยเหลือรุ่น ๑๑๑ สมทบทุนการจัดงานมุทิตาจิต ไม่ว่าจะ เป็นการอุดหนุนปฏิทินและโปสการ์ด การอุดหนุนผลิตภัณฑ์ทร่ี ะลึก ของงานมุทติ าจิต ๒๕๕๖ อันประกอบไปด้วย เสื้อ หมวก ร่ม กระเป๋า เสื้อผ้า ถุงกอล์ฟ การให้ความสนับสนุนงานกอล์ฟเพื่องานมุทิตาจิต รวมถึงคำ�แนะนำ�ดีๆ จากรุน่ พี่ ๑๑๐ ในการวางแผนการจัดงานมุทติ าจิต ซึ่งด้วยความร่วมมือร่วมใจและให้ความช่วยเหลือของรุ่นพี่รุ่นน้องจาก รุ่นต่างๆ แม้ว่าจะไม่ได้สนิทสนมกันเป็นการส่วนตัวมาก่อน จึงเป็น ที่มาของแนวคิดในการจัดงานในปีนี้ คือ

“๑ กาย ๑ ใจ ครูอุทิศ ผสานศิษย์สวนฯ เป็น ๑ ทดแทนคุณ”

แม้ว่ารุ่น ๑๑๑ (มหาราช) จะมีการเตรียมตัวมาเป็นระยะเวลา นาน มีการวางแผนต่างๆ อย่างรัดกุม และรอบคอบ แต่ก็ต้องยอมรับ ว่า การจัดงานใหญ่ขนาดนี้ เป็นงานที่ไม่ง่ายเลยแม้แต่น้อย มีปัญหา ต่างๆ เข้ามาให้แก้ไขเป็นระยะ เป็นงานที่ยากแต่มีความสุขที่ได้ทำ�งาน นี้ เป็นงานที่เพื่อนๆ ร่วมรุ่นทุกคนยินดีและเต็มใจเข้ามาช่วยเหลือเพื่อ ให้งานออกมาดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำ�ได้ การได้กลับมาเจอเพื่อนๆ อีกครั้ง ได้มาทำ�กิจกรรมร่วมกัน ทำ�ให้ภาพเก่าๆ บรรยากาศเก่าๆ สมัย เรียน สมัยวิ่งเล่นที่โรงเรียน กลับมาแจ่มชัดขึ้นอีก ได้มาใกล้ชิดกับครู ได้กลับมาโรงเรียน ได้มาเจอสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ทำ�ให้มีความสุข

เป็นอย่างยิ่ง เป็นความสุขที่ต้องบอกว่า “ชีวิตความเป็น นักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยครบและสมบูรณ์แบบแล้ว เมื่อได้จัดงานมุทิตาจิตให้ครู” ท้ายที่สุดนี้ ผมขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายใน สากลโลก รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดที่ทุกท่านนับถือ ได้โปรด ดลบันดาลให้คุณครูทุกท่าน เจ้าหน้าที่ของโรงเรียน รวมถึง ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน พร้อมทั้งทุกๆ ท่านที่เกี่ยวข้องกับ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีสขุ ภาพร่างกายแข็งแรง ไร้โรคภัย ใดๆ มาเบียดเบียน แคล้วคลาดจากอุปัทวันตรายทั้งหลายทั้ง ปวง มีความสุขกายสุขใจตลอดไป หากการจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ มีข้อบกพร่องประการใด รุ่น ๑๑๑ (มหาราช) ขอน้อม รับและกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ และขอขอบพระคุณทุกๆ ท่าน อีกครั้งครับ

นายยรรยง นิติสาโรจน์

ประธานคณะกรรมการจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ โดยคณะศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น ๑๑๑ (มหาราช)

๑๙ design 4.indd 19

9/9/2556 14:17:04


๒๐ design 4.indd 20

9/9/2556 14:17:16


๑๑ กาย ๑ ทดแทนคุณ

ใจ ครูอุทิศ ผสานศิษย์สวนฯ เป็น

๒๑ design 4.indd 21

9/9/2556 14:17:23


ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น ที่อยู่ปัจจุบัน โทรศัพท์ Email

นางสาวฉันทิศา ชั้นประเสริฐ กบ ๒๓ หมู่ ๑๒ ซอยพระราชวีริยาภรณ์ ๑๑ ถนนพระราชวีริยาภรณ์ ตำ�บลบางพึ่ง อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐ ๐ ๒๔๖๓ ๑๗๓๕, ๐๘ ๑๘๑๙ ๓๕๖๖ chantisa05@hotmail.com

ประวัติการศึกษา โรงเรียนศึกษานารี มัธยมศึกษา ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษา อังกฤษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ ปริญญาโท เพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๘ เริ่มรับราชการตำ�แหน่งครูตรี โรงเรียน ศรีอยุธยา กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญ ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ๒๒ design 4.indd 22

9/9/2556 14:17:25


๑ กันยายน ๒๕๒๐ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๘ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ ๑ กุมภาพันธ์

อาจารย์ ๑ โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยมรัชดาภิเษก อาจารย์ ๑ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๒ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ครูช�ำ นาญการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ครูฉันทิศา ชั้นประเสริฐ เกียรติประวัติการทำ�งาน พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับทุนครูแลกเปลี่ยนของ American Field Service ไปอบรม ศึกษา ดูงาน และสอนภาษาอังกฤษนักเรียนต่างชาติ ที่โรงเรียน Pelham Memorial High School รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา ๑ ปีการศึกษา ได้รับเกียรติบัตรครูผลิตสื่อการสอนดีเด่น จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับเกียรติบัตรเป็นครูแกนนำ� วิชาภาษาต่างประเทศ กรมสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รบั รางวัลที่ ๓ จากการประกวดสือ่ การสอน จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รบั รางวัลที่ ๒ จากการประกวดสือ่ การสอน จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติปฏิบัติหน้าที่ครู โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย เป็นเวลา ๓๐ ปี ได้รับเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติหนึ่งแสนครูดี จากคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ ๒๓ design 4.indd 23

9/9/2556 14:17:26


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔

เหรียญจักรพรรดิมาลา ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

คติประจำ�ใจ คิดวิเคราะห์และใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ อดทน ขยัน มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด อบรมสั่งสอนศิษย์ด้วยความรัก เมตตา และยุติธรรม ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนอกจากนักเรียนจะมีความเป็นเลิศทางวิชาการ แล้ว นักเรียนยังมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นมาก เรียกได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของนักเรียน สวนกุหลาบฯ นักเรียนมีความเป็นสุภาพบุรุษสวนกุหลาบฯ จากการที่นักเรียนทำ�กิจกรรม ชุมนุมต่างๆ ตามความถนัดและสนใจนั้น ได้หล่อหลอมให้นักเรียนเติบโตไปเป็นผู้นำ�ใน สังคมของทุกสาขาวิชาชีพ นักเรียนมีความรักเพื่อน นับถือพี่ โดยจะเห็นได้จากเมื่อนักเรียน จบออกไปแล้ว มีการเลี้ยงรุ่นพบปะสังสรรค์กันอยู่เสมอ รุ่นพี่จบไปแล้วก็ยังมีเวลามาสอน ติววิชาให้น้อง หรือเป็นที่ปรึกษาในการทำ�กิจกรรมต่างๆ น้องเชื่อฟังพี่และทำ�ตามที่พี่ แนะนำ�อย่างตั้งใจ เมื่อนักเรียนจบจากโรงเรียนและจบมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ยังไปมาหาสู่ เยี่ยมครูที่โรงเรียน ดูแลสุขภาพคุณครูหรือพาครูอาวุโสไปเลี้ยงอาหารหรือไปเที่ยว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ครูคิดว่าออกมาจากใจจริงของความมีนำ�้ ใจของนักเรียน ความผูกพันระหว่างครูกับ นักเรียน และเพื่อนกับเพื่อนจนครูคิดว่าจะหาสิ่งเหล่านี้ได้ยากในที่อื่นใด ๒๔ design 4.indd 24

9/9/2556 14:17:29


ครูคือแม่พิมพ์ ลูกผู้หญิงต้องเป็นครู หากจะนึกภาพย้อนไปในอดีต เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ชื่อว่า ด.ญ. กบ ที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน คงเป็นเพราะได้เติบโตอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น มีคุณพ่อที่เป็นครูคอย อบรมสั่งสอนและเป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตตลอดมา คุณครูเล่าว่าสมัยที่เรียนที่โรงเรียน ศึกษานารี ต้องนั่งรถเมล์สาย ๘๒ จากสุขสวัสดิ์เพื่อมาเรียนหนังสือ เมื่อถึงเวลาเลิกเรียนก็ต้อง รีบกลับบ้านก่อนที่จะมืดคำ�่ เนื่องจากบ้านของคุณครูอยู่ในสวนที่ต้องเดินจากถนนใหญ่เข้าไปอีก ประมาณ ๓-๔ กิโลเมตร จึงไม่มีโอกาสได้ไปเถลไถลที่ไหน เมื่อกลับถึงบ้านจึงมีเวลาได้ทบทวน บทเรียนได้อย่างเต็มที่ ทำ�ให้ผลการเรียนในช่วงทีเ่ รียนชัน้ มัธยมศึกษาอยูใ่ นเกณฑ์ดมี าก โดยเฉพาะ วิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาที่โปรดปรานที่สุด ได้เรียนห้องคิงส์และสอบได้ที่ ๑ มาตลอด เมื่อ ผลการเรียนอยู่ในระดับดี อาชีพที่ใฝ่ฝันก็คือ แพทย์ แต่เนื่องจากคุณพ่อที่เป็นหลักในครอบครัว อยากให้เป็นครู เพราะคิดว่าอาชีพที่เหมาะกับผู้หญิงก็คือการรับราชการเป็นครู จึงทำ�ให้ต้องเบน ความตั้งใจจากการเป็นหมอมาเป็นครูแทน สวนกุหลาบฯ คือความท้าทาย เมื่อมีเป้าหมายของชีวิต คือ การเป็นครูแล้ว หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนศึกษานารี คุณครูฉันทิศาจึงเลือกเรียนต่อที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ได้รับปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ๒๕ design 4.indd 25

9/9/2556 14:17:30


จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงสอบบรรจุเข้ารับราชการที่โรงเรียนศรีอยุธยาเป็นที่ แรก สอนได้ ๒ ปี จึงย้ายมาสอนที่โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม อีก ๓ ปี ตามนโยบายโรงเรียนใกล้บ้านของกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น

ครูก็เหมือนแมพ ่ ิมพ์ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ให้กับนักเรียน ถ้าอยากให้นักเรียนพูดจาไพเราะ ครูก็ตอ้ งพูดจาไพเราะกับนักเรียน ถา้ อยากใหน้ ักเรียนแตง่ กายถูกระเบียบ ครูก็ต้องแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสมกับความเป็นครู ด้วยอุปนิสัยใจคอที่เป็นคนใจเย็น เรียบร้อย มักจะมีเพื่อนๆ ครูแนะนำ�ว่า “เธอควรจะไปสอนโรงเรียนเด็กผู้หญิงล้วนนะ” สวนกุหลาบฯ จึงกลายเป็นความ ท้าทายทำ�ให้อยากมาทำ�งานที่นี่ พอปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในสมัยท่านผู้อำ�นวยการ สำ�เริง นิลประดิษฐ์ มีนโยบายที่จะขยายแผนการศึกษา ของโรงเรียนและต้องการรับครูจำ�นวนมากเพื่อรองรับกับเด็กนักเรียนที่เพิ่มขึ้น คุณครูฉันทิศาจึงตัดสินใจขอย้ายมาสอนที่สวนกุหลาบฯ โดยเริ่มทำ�งานเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๓ ๒๖ design 4.indd 26

9/9/2556 14:17:31


แรกเริ่มประทับใจคือ “เพลง” คุณครูเล่าว่าภารกิจแรกที่ได้รับคือการพานักเรียนชั้น ม.๑ ไปเข้าค่าย ปฐมนิเทศ ได้รับการต้อนรับจากครูรุ่นพี่อย่างอบอุ่น ช่วงเวลาที่ทำ�กิจกรรมอยู่ ในค่ายมักจะได้ยินเพลงของโรงเรียนบ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นเพลงชมพูฟ้าอาลัย กุหลาบที่ไม่เคยโรย ฟังแล้วเกิดความซาบซึ้งในเนื้อเพลงถึงกับเอ่ยปากบอก ว่า “ไม่เคยเจอสถาบันการศึกษาที่ไหนที่มีเพลงเกี่ยวเนื่องกับสถาบันที่ไพเราะ มากขนาดนี้” นับเป็นความประทับใจที่ได้รับเมื่อก้าวเข้ามาทำ�หน้าที่เป็นครู ในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ครูคือแม่พิมพ์ ถึงแม้ว่าเด็กสวนกุหลาบฯ ในความคิดของคุณครูจะเป็นเด็กที่เก่ง ฉลาด มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการเรียนเป็นอย่างดี แต่ความเป็นครู ไม่ได้จำ�กัดอยู่แค่เพียงการสอนในบทเรียนเท่านั้น ครูต้องเสียสละส่วนตนเพื่อ ส่วนรวมมาตลอดชีวิตการเป็นครู ประคองชีวิตให้อยู่ในระเบียบวินัย ต้องตื่น ตั้งแต่ตี ๓ เพื่อจัดการธุระที่บ้านให้เรียบร้อยแล้วออกเดินทางมาถึงโรงเรียน ตั้งแต่ ๖ โมงเช้า มาตรวจการบ้าน เตรียมการสอน ใช้เวลาอยู่ในโรงเรียน จนถึงสี่โมงเย็นจึงกลับบ้าน เป็นอย่างนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ครูมีหลักว่า “ครูก็เหมือนแม่พิมพ์ ไม่ใช่แม่พิมพ์ทางความรู้อย่างเดียว แต่ต้องเป็นแม่พิมพ์ ในทางความประพฤติด้วย ครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียน ถ้าอยากให้ นักเรียนพูดจาไพเราะ ครูก็ต้องพูดจาไพเราะกับนักเรียน ถ้าอยากให้นักเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ครูก็ต้องแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสมกับความเป็นครู” ๒๗ design 4.indd 27

9/9/2556 14:17:31


ชอบภาษาอังกฤษจึงรักที่จะสอนภาษาอังกฤษ “ภาษาเป็นสิ่งสำ�คัญ ต่อให้เด็กฉลาดแค่ไหนแต่ ถ้าภาษาและการสื่อการไม่ดีก็เป็นอุปสรรคในการทำ�งาน ในอนาคตได้” คุณครูฉันทิศาเชื่อเช่นนั้นและภาษาอังกฤษ ก็เป็นภาษาที่ครูใส่ใจมาตลอดตั้งแต่เด็ก ครูมักจะปลูกฝัง นักเรียนให้ทราบถึงความสำ�คัญของภาษาอังกฤษว่า “ภาษา อังกฤษนี่สำ�คัญมากนะ การติดต่อธุรกิจสากลเขาก็ใช้ภาษา อังกฤษกันทั้งนั้น การที่เรารู้และเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษ จะทำ�ให้เราไม่เสียเปรียบในสนธิสัญญาต่างๆ ซึ่งมันอาจจะ มีรายละเอียดซ่อนเร้นที่เราต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ถ้าเรา เข้าใจแตกฉานก็จะไม่เสียเปรียบ เดี๋ยวนี้เวลาจะไปสมัคร งานที่ไหน คุณสมบัติพื้นฐานที่บริษัทต่างๆ ต้องการก็คือคุณ จะต้องมีทักษะทางภาษาอังกฤษดี ใครที่คล่องภาษาอังกฤษ ก็มักจะได้เป็นหัวหน้าทีม” สำ�หรับครูแล้วการสอนภาษาอังกฤษที่สวนกุหลาบฯ เป็นงานที่สนุกมาก เพราะนอกจากจะได้ทำ�ในสิ่งที่ชอบแล้ว นั ก เรี ย นยั ง ให้ ค วามร่ ว มมื อ ในการเรี ย นการสอนอย่ า งดี คุณครูกล่าวว่า “เด็กสวนฯ นี่เก่ง สนใจเรียน ถามอะไรตอบได้ หมด ในหนังสือเรียนนี่อ่านกันมาหมดแล้วก่อนที่ครูจะสอน ซะอีก เราก็ต้องหาเนื้อหาจากข้างนอกทำ�ชีทมาสอน บางที ออกข้อสอบนอกหนังสือเหมือนจะลองภูมิเด็ก แต่เด็กก็ตอบ ๒๘ design 4.indd 28

9/9/2556 14:17:32


ได้นะ ...ตอนที่เริ่มมาสอนใหม่ๆ จะมีการให้การบ้านทุกวัน ตอนเช้าๆ ก็จะมี นักเรียนมาแอบดูว่าห้องอื่นส่งการบ้านอาจารย์ตั้งสูงกว่าห้องตัวเองหรือเปล่า ถ้าตั้งของเพื่อนห้องอื่นสูงกว่าจะกลับไปตามเพื่อนในห้องให้มาส่งให้ตั้งสูงขึ้น ทำ�ให้มีความสนุกในการเรียนการสอนระหว่างครูกับนักเรียน”

นั่นคือสิ่งที่ครูตอ้ งการ

เพื่อที่นักเรียนจะได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศนั้นในสถานการณจ์ ริง เรียนรูว้ ัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ ของเจ้าของภาษา มีโลกทัศน์กว้างไกลขึ้น เปิดโลกกว้าง AFS เมื่อได้สอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมา ๗ ปี คุณครูมีความคิดว่า ประสบการณ์ชีวิตในโรงเรียนนั้นไม่เพียงพอสำ�หรับจะนำ�มาสอนเด็กอีกต่อไป ครูจึงเริ่มเขียนเรียงความเพื่อขอทุนจาก American Field Service (AFS) และ ได้รับคัดเลือกให้ได้ทุนดังกล่าวไปเป็นครูแลกเปลี่ยนเพื่อสอนเด็กๆ ในประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปีการศึกษา ๒๕๓๐ เป็นเวลา ๑ ปี และกลับมาสอนที่โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัยอีกครั้งในปีการศึกษา ๒๕๓๑ ๒๙ design 4.indd 29

9/9/2556 14:17:33


จากการที่ได้ไปทำ�หน้าที่ครูแลกเปลึ่ยน AFS ทำ�ให้ครูเห็นประโยชน์ในเรื่อง ของการใช้ชีวิตร่วมกับเจ้าของภาษาในการที่จะพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้มีความ เชี่ยวชาญในการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก เมื่อกลับมาจึงตัดสินใจรับหน้าที่เป็น อาสาสมัคร (ไม่ได้รับผลตอบแทน) ทำ�หน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ประสานงาน โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ซึ่งได้รับการส่งเสริมจาก USIS ของสหรัฐอเมริกา กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จนถึงปัจจุบัน “สมั ย นั้ น มี โ ครงการแลกเปลี่ ย นนั ก เรี ย นไปต่ า งประเทศเพี ย งองค์ ก รนี้ เ พี ย ง องค์กรเดียวเท่านั้น และอยู่ในความสนใจของนักเรียนมัธยมปลายมากพอสมควร มีการ สอบแข่งขันกัน งานของครูก็คือจัดหาแนวข้อสอบให้นักเรียน มีการติวเตรียมการสอบ สัมภาษณ์ส�ำ หรับนักเรียนที่สอบผ่านการสอบข้อเขียนแล้ว และช่วยในเรื่องกรอกเอกสาร หลายฉบับเพื่อหาโรงเรียนและครอบครัวอุปถัมภ์ เมื่อได้รับคัดเลือกแล้ว นักเรียนจะต้อง ไปเรียนในระดับชั้นมัธยมปลายในต่างประเทศเป็นเวลา ๑ ปี นั่นคือสิ่งที่ครูต้องการ เพื่อ ครูพรทิพย์ หิรัญบูรณะ ครูเก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ครูฉันทิศา (ฉันทนา) หรือ ครูกบ รู้จักและทำ�งานร่วมกันมายาว นานกว่า ๓๐ ปี จึงเปรียบเหมือนน้องสาวคนหนึ่ง ครูกบ มีอัธยาศัยดี น่ารักเอื้อเฟื้อต่อผู้ร่วมงานทุกคน ตั้งใจทำ�งานและ ปรึกษาหารือในการ สอนด้วยกันอย่างดี ครูกบเป็นน้องสาวที่รักและสนิทมากกับดิฉันคนหนึ่ง ขอให้น้องใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขค่ะ ๓๐ design 4.indd 30

9/9/2556 14:17:37


ที่นักเรียนจะได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศนั้นในสถานการณ์จริง เรียนรู้วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา มีโลกทัศน์กว้างไกลขึ้น สามารถนำ�ภาษา ความรู้ ทักษะชีวิต และประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการ ตลอดระยะเวลา 1 ปี มาใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพต่อไปใน อนาคต นอกจากนี้นักเรียนก็ยังได้มีโอกาสเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศไทยไปสู่ สายตาชาวต่างชาติอีกด้วย” นอกจากจะเป็นครูที่ปรึกษาให้กับนักเรียนไทยไปต่างประเทศแล้ว ครูก็ ยังทำ�หน้าที่ประสานงานให้กับนักเรียนแลกเปลี่ยนจากประเทศอิตาลี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เยอรมันนี สหรัฐอเมริกา และโคลัมเบีย ในโครงการ AFS เพื่อมาเรียน ในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยอีกด้วย เรียนภาษาอังกฤษต้องพูดต้องฟังให้มาก การเรียนในบทเรียนนั้นเป็นมาตรฐานตามหลักสูตรที่ถูกกำ�หนดมา คุณครู ฉันทิศากล่าวว่า “เด็กสวนฯ นี่เขารับผิดชอบบทเรียนในหนังสือดีอยู่แล้ว” ส่วนที่ นอกเหนือจากในหนังสือจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องหาความรู้จากภายนอกมา สอนเพิ่มเติม ปกติก็จะคอยติดตามข่าวสารบ้านเมืองแล้วนำ�มาพูดคุยกันในห้องเรียน โดยเน้นให้นักเรียนได้ฟัง ได้พูดโต้ตอบกัน หรือให้นักเรียนออกมาสวมบทบาทเป็น ตัวละครคนนัน้ คนนีโ้ ดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เวลาว่างก็จะหาบทความใน internet เอามาสอนเพิ่มเติม มีหลายๆ ครั้งที่นักเรียนออกเสียงคำ�ศัพท์ไม่ถูกต้อง ซึ่งก็ทำ�ให้ คุณครูขำ�อยู่ในใจ เช่น sometimes อ่านว่า โซ-มิ-ติ-เมส nowhere อ่านว่า นาวเฮีย alive อ่านว่า อะ-ลีฟ ๓๑ design 4.indd 31

9/9/2556 14:17:40


“ครูพยายามหาโอกาสให้นักเรียนได้มีชั่วโมงในการฟังเทปจากเจ้าของ ภาษาให้มากขึ้น แต่บางทีเด็กก็ไม่ชอบฟัง เพราะฟังไม่รู้เรื่อง แต่ครูก็พยายาม ชี้แนะว่าการฝึกฝนการฟังภาษาอังกฤษเป็นเรื่องจำ�เป็นมากเลยนะ การเรียนในห้อง โดยฟังจากครูก็อาจจะไม่ได้สำ�เนียงถูกต้องสักเท่าไหร่ เพราะครูเองก็ไม่ใช่เจ้าของ ภาษา” ครูฉันทิศากล่าว

ครูพยายามหาโอกาสให้นักเรียนได้มีชั่วโมง ในการฟังเทปจากเจา้ ของภาษาใหม้ ากขึ้น แตบ่ างทีเด็กก็ไมช่ อบฟัง เพราะฟังไมร่ ู้เรื่อง ชีวิตหลังเกษียณ ในสถานภาพการเป็นครู บทบาทที่อยู่ในโรงเรียนคือการสอนหนังสือ และ ดูแลเอาใจใส่ความเป็นไปของลูกศิษย์ ต้องตื่นตั้งแต่ตี ๓ เพื่อทำ�ธุระที่บ้านให้เสร็จ เพื่อที่จะได้เดินทางมาถึงโรงเรียนเวลา ๖ นาฬิกา ดูเหมือนจะเป็นภาระหน้าที่อัน หนักหนาสำ�หรับผู้หญิงคนหนึ่ง แต่ครูฉันทิศากลับไม่เคยย่อท้อต่อหน้าที่ และปฏิบัติ หน้าที่ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว สถานภาพของ ลูกสาวของคุณพ่อคุณแม่ และบทบาทที่เปรียบเสมือนเสาหลักของครอบครัวใน ขณะนี้ ยังดำ�เนินต่อไป ครูฉันทิศากล่าวว่า “ครูจะใช้เวลาในการดูแลคุณพ่อคุณแม่ ๓๒ design 4.indd 32

9/9/2556 14:17:43


ที่อายุมากกว่า 90 ปีแล้ว ดูแลงานบ้าน สัตว์เลี้ยง รวมทั้งวางแผนที่จะไป เที่ยวต่างประเทศ ไปเยี่ยมเพื่อนที่อยู่ต่างประเทศ แต่ถ้าโรงเรียนมีงานก็ คงจะกลับมาเยี่ยมเยือนเสมอ ถึงจะไม่ได้มาเป็นครูสอนที่สวนกุหลาบฯ แล้ว ก็จะยังคิดถึงสวนกุหลาบฯ เสมอ” หนึ่งใจที่ฝากไว้ให้สวนกุหลาบฯ “โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้มุ่งสอนใน เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียว มีการจัดกิจกรรม ฝึกฝนให้นักเรียนเป็น ผู้นำ�ในสังคม คิดเป็น ทำ�เป็น ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นนักประชาธิปไตย เช่นให้มีการเลือกตั้ง มีการหาเสียง จำ�ลองแบบการเลือกตั้งจริงๆ มีการ ติวเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่เก่งไปแข่งขันระดับประเทศ ส่วนนักเรียนที่อ่อน ก็มีการสอนซ่อมเสริม เพื่อช่วยเหลือให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น โรงเรียนมีทั้ง นักเรียนที่เรียนเก่งและเรียนไม่เก่ง แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ครูอาจารย์ มีความเป็นพี่เป็นน้องกัน และให้ความเอาใจใส่แก่นักเรียนเป็นอย่างดี สิง่ ต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมสวนกุหลาบฯ คงเป็นสิง่ ทีห่ ล่อหลอมให้นกั เรียน มีความเป็น “สุภาพบุรษุ สวนกุหลาบฯ” มีความเป็นผูน้ �ำ เมือ่ จบการศึกษา แล้วก็ไปเป็นผู้น�ำ ในทุกสาขาวิชาชีพ มีความรักเพื่อนพ้อง เมือ่ จบไปก็จะ พบปะสังสรรค์กนั อย่างสม�ำ่ เสมอ รุน่ พีท่ จ่ี บออกไปจะมีความห่วงใยรุน่ น้อง เมื่อจบไปก็มักจะกลับมาติวให้น้องหรือเป็นที่ปรึกษาชุมนุนต่างๆ หรือ กลับมาเยี่ยมครูอาจารย์ รุ่นน้องก็จะเชื่อฟังรุ่นพี่ เวลามีรุ่นพี่รับเชิญมา เป็นวิทยากรบรรยาย รุ่นน้องก็จะตั้งใจฟังอย่างมาก เป็นความผูกพันกัน ๓๓ design 4.indd 33

9/9/2556 14:17:46


อย่างที่ไม่มีที่ไหนจะเหมือนโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ครูจึง อยากให้ทุกคนตระหนักและช่วยกันรักษา สร้างสรรค์สิ่ง ที่ดีงาม เพื่อรักษาชื่อเสียงของโรงเรียนให้ยั่งยืนตลอดไป”

๓๔ design 4.indd 34

9/9/2556 14:17:52


Mr. Somchai OSK 104 “I am extremely elated to have a chance to write an article in honors of Ajarn Chantisa Chanprasert. Throughout this article, I will use the word “I” instead of “We” and “Me” instead of “Us” to make it more “personally affectionate” between a student and his beloved teacher. Ajarn Chantisa taught me English in Mattayomsuksa 3 at Suankularb. Then, her first name was Chantana. She taught me English twice a week and I remember that one of the classes was on Monday afternoon on the second floor of our Long Yellow Building. She was my first English teacher who taught me how to use verb to “Have” and verb to “Get”. She had a formula of “Have someone do something”, “Have something done”, “Get someone to do something”, and “Get something done”. When I was starting my Mattayomsuksa 4, Ajarn Chantisa spread the news to my English teachers in Mattayomsuksa 4 that I got the full 100% score from her English class in Mattayomsuksa 3 from the previous academic year. This could happen only because I had such a “Prasert” teacher like Ajarn Chantisa Chanprasert. I have included a photo of a rose I have grown in my “Sunshine’s Garden”. This one has been named “Heart O’ Gold”. It is the most appropriate photo of roses for Ajarn Chantisa as the beauty of this rose as a whole represents the beauty of her face and the “Gold Color” in the center of the flower represents her “Gold Mind” for her students. Ajarn Chantisa Chanprasert is certainly the “Heart O’ Gold” for her students.” ๓๕ design 4.indd 35

9/9/2556 14:17:54


ชื่อ–นามสกุล นายชูเกียรติ สายพิมพ์ ชื่อเล่น เปี๊ยก ชื่อหรือฉายาที่เพื่อนครูเรียก เสี่ยชู ที่อยู่ปัจจุบัน ๑๙/๑ หมู่ ๔ ตำ�บลท่าวุ้ง อำ�เภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โทรศัพท์ ๐๘ ๖๑๒๘ ๔๑๖๗ Email chu.suan313@gmail.com ประวัติการศึกษา มัธยมศึกษา สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง รุ่นที่ ๑๓ สถาบัน อื่นๆ พัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ พ.ศ. ๒๕๒๑ อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนท่าวุง้ วิทยาคาร จังหวัดลพบุรี พ.ศ. ๒๕๒๕ อาจารย์ ๑ ระดับ ๕ โรงเรียนโคกกระเทียม วิทยาลัย จังหวัดลพบุรี ๓๖ design 4.indd 36

9/9/2556 14:17:57


พ.ศ. ๒๕๓๕ อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เกียรติประวัติการทำ�งาน l ผูก ้ �ำ กับนักศึกษาวิชาทหารดีเด่น ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๔๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ l ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย

ครูชูเกียรติ สายพิมพ์ คติประจำ�ใจ l เกียรติยศย่อมเกิดจากการกระทำ�ที่สุจริต l อยู่อย่างจงรัก ตายอย่างภักดี ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย การถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของนักเรียนรุ่นพี่ที่มีให้รุ่นน้อง นั่นคือวันละอ่อน ความสามัคคี ความรักที่มีต่อสถาบัน คือวันสมานมิตร การรวมพลังทุกๆ ส่วน ในงานวันจตุรมิตร ความกตัญญูต่อโรงเรียน คือวันก่อตั้งโรงเรียน และวันมุทิตาจิต ๓๗ design 4.indd 37

9/9/2556 14:17:59


ผมไม่ได้สอนหนังสือ ผมสอนความเป็นคน จากทหารมาเป็นครู เนื่องจากคุณพ่อของครูรับราชการทหารอยู่ที่ลพบุรี ลูกทหารก็ต้องเป็น ทหาร ครูก็เลยรับราชการทหารเรื่อยๆ มา จนถึงยศสิบเอก แต่ก็ขวนขวายไป เรียนปริญญาตรีตอนกลางวันด้วยนะ เท่านั้นยังไม่พอ ยังเป็นนักฟุตบอลด้วย หลายอย่างมาก แต่ก็แบ่งเวลาด้วยการตื่นเช้าซ้อมฟุตบอลตั้งแต่ ๖ โมงไปจนถึง ๘ โมงเช้า จากนั้นก็ไปเรียนปริญญาตรีตอนกลางวันจนถึงบ่าย ๓ โมง ในที่สุด ก็จบปริญญาตรีมาได้ แต่ก็เกิดเรื่องทางการเมืองเสียก่อน ก็เลยเปลี่ยนจาก รับราชการทหารมาเป็นรับราชการครูที่โรงเรียนโคกกระเทียมวิทยาลัย บุญกุศลที่ทำ�มาถึงได้มาอยู่สวนกุหลาบฯ ไม่ได้นึกไม่ได้ฝันกับเขาหรอก เป็นครูอยู่ลพบุรีจะมาเป็นครูที่กรุงเทพฯ ก็ลำ�บากแล้ว อีกทั้งมาโรงเรียนใหญ่ๆ อย่างสวนกุหลาบฯ ด้วยแล้ว คงไม่มีทาง แต่คงเป็นเพราะบุญกุศลที่ท�ำ มา เจ้านายเก่า (ทหาร) ท่านย้ายเข้ามาประจำ� กองที่กรุงเทพฯ พอดีลูกชายของครู ตอนเด็กไม่สบายบ่อย ท่านก็เลยรับเป็น พ่อทูนหัวให้ แล้วท่านก็อยากให้ลูกบุญธรรมได้เข้ามาเรียนที่สวนกุหลาบฯ ท่าน ก็เลยหาหนทางให้ ทำ�ให้ผมเข้ามาเป็นครูที่สวนกุหลาบฯ ในปี ๒๕๓๕ สมัย ๓๘ design 4.indd 38

9/9/2556 14:18:01


อาจารย์สมหมาย วัฒนะคีรี เป็นผู้อำ�นวยการโรงเรียน พอเข้ามาก็ได้เป็นครู ประจำ�ชั้น ม.๒ ส่วนลูกของครูก็อยู่รุ่น ๑๑๗ รด. ส.ก. สอบได้ไม่มีตก หลังจากสมัยของครูเพชร และครูชัยอนันต์แล้ว ครูก็ได้รับมอบหมาย ให้เป็นผู้กำ�กับนักศึกษาวิชาทหารของโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ส่วนหนึ่งก็คง เป็นเพราะครูเป็นทหารเก่า มีพรรคพวกเยอะน่าจะช่วยเหลือโรงเรียนได้อีก ทางหนึ่ง

ตอนนั้นก็มีแตค่ นอิจฉาวา่ ทำ�ไมสวนกุหลาบฯ ถึงได้เรียนวันศุกร์บ่ายทุกชั้นปี สิ่งที่ครูทำ�อย่างแรกก็คือ เจรจากับทางกรมการรักษาดินแดน ขอให้ นักเรียนที่เกรดไม่ถึง ได้มีสิทธิ์เข้าไปสอบคัดเลือกเรียน รด. เพราะไม่อย่าง นั้นเด็กเหล่านี้พอวันศุกร์บ่าย ไม่ได้ไปเรียน รด. กับเพื่อนก็ไปเที่ยว ไปเล่น เสียเวลาเปล่า เอาให้ได้สิทธิ์ไปสอบก่อน และถ้ามีสิทธิ์ได้เรียนแล้วยังไม่ตั้งใจ เรียนเหมือนคนอื่นๆ อีก คราวนี้ครูไม่ช่วยแล้วนะ (แต่สุดท้ายเมื่อเกิดอะไร ขึ้น ครูก็คงช่วยอยู่ดี) ๓๙ design 4.indd 39

9/9/2556 14:18:03


พอตอนไปสอบคัดเลือก ครูก็ใช้กุศโลบายซะหน่อย ไม่อย่างนั้นก็จะเหมือนๆ บางปีที่ไป ๘๐๐ คน ตกเสีย ๔๐๐ คน วิธีการก็คือไปขอทดสอบสมรรถภาพเป็น กลุ่มสุดท้ายของวันสุดท้ายที่มีการคัดเลือก ครูก็พานักเรียนไปสอบวันนั้นแหล่ะ ตอน ทดสอบสมรรถภาพในการวิ่ง พวกไหนวิ่งผ่านก็ให้วิ่งไปตามปกติ เพราะมีหลายรอบ ส่วนพวกทีด่ ทู า่ แล้วไม่ผา่ นแน่ๆ ก็คดั เอาไว้มาอยูห่ ลังๆ พอใกล้ๆ เลิกก็ไปคุยกับครูฝกึ ว่า ให้วิ่งก่อนหนึ่งรอบ แล้วค่อยกดจับเวลา ซึ่งยังไงก็ผ่านแน่ๆ ส่วนฐานสอบอื่นก็ไปคุย

ไปสอนสวนกุหลาบฯ เนี่ย ผมไมไ่ ดส้ อนหนังสือนะ ผมสอนความเป็นคนให้นักเรียน กับเพื่อนๆ ทหารด้วยกันว่า วันนี้เลี้ยงหมดทุกฐานนะ ช่วยๆ ลูกศิษย์ผมหน่อยก็แล้ว กัน ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองทั้งหลายเป็นอย่างดี ตกเย็นก็ไปกินข้าวกัน ทำ�ความรู้จักกันไว้ มีอะไรจะได้ช่วยเหลือกัน รด. ส.ก. ไม่ธรรมดา หน้าทีห่ ลักๆ ของการเป็นผูก้ �ำ กับนักศึกษาวิชาทหารของโรงเรียนทีส่ �ำ คัญมากๆ เลยก็คือ ทำ�อย่างไรให้นักเรียนของเราสามารถสอบผ่านในแต่ละชั้นปีได้ เพราะทาง กรมฯ เองก็มีกฎว่าห้ามขาดเรียนเกิน ๔ ครั้ง ซึ่งก็ยากสำ�หรับนักเรียนที่ทำ�กิจกรรม ๔๐ design 4.indd 40

9/9/2556 14:18:05


และสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการด้านวิชาการ สอบแข่งขันตามที่ ต่างๆ หรือด้านกิจกรรม นักกีฬาในแต่ละประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟุตบอลที่ต้อง เก็บตัวเป็นเดือนๆ ซึ่งนักเรียนเหล่านี้ก็ไม่มีทางไปเรียนได้ครบแน่ๆ ครูกเ็ ลยไปตระเวนตามทีฝ่ กึ ต่างๆ ว่ามีเพือ่ นของครูอยูท่ ไ่ี หนบ้าง ไปทัง้ สามที่ นั่นแหละ จะได้ไปไหว้วานฝากช่วยดูแลลูกศิษย์หน่อย คอยไปทำ�เรื่องขอผ่อนผัน เวลาเรียน ทำ�ทุกรูปแบบอย่างไรก็ได้เพือ่ ให้นกั เรียนได้มสี ทิ ธิส์ อบในช่วงปลายปีให้ได้ แล้วช่วงนัน้ เจ้านายเก่าของครูกเ็ ป็นเจ้ากรมการรักษาดินแดน ก็ไปพึง่ บารมีทา่ นหน่อย รวมถึงการไปขอจองเวลาเรียน รด. ให้สวนกุหลาบฯ ได้เรียนวันศุกร์บ่ายทุกครั้ง ซึ่งตอนนั้นก็มีแต่คนอิจฉาว่า ทำ�ไมสวนกุหลาบฯ ถึงได้เรียนวันศุกร์บ่ายทุกชั้นปี เท่านั้นยังไม่พอสวนกุหลาบฯ ยังได้รับเกียรติจากท่านเจ้ากรมให้มีพิธีต้อนรับและ เดินสวนสนามในโรงเรียนด้วยนะ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่โรงเรียนอื่นๆ ไม่มี ก็เป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของครูที่ทำ�เพื่อสวนกุหลาบฯ วางแผนเพื่อให้ลูกศิษย์มีแรงไปสอบเอ็นท์ หน้าที่ของนักเรียนชั้น ม.๖ ทุกคน คือ การสอบเอ็นทรานซ์ เพื่อให้นักเรียน สวนกุหลาบฯ มีความพร้อมสำ�หรับการสอบให้มากที่สุด ครูก็ไปหาทางทำ�อย่างไร ก็ได้ให้สวนกุหลาบฯ ได้ไปฝึกภาคสนามเป็นกองพันสุดท้าย เพราะว่าจะฝึกน้อย แต่จะไปหนักในเรื่องเก็บของ เพราะนักเรียนของเราต้องเตรียมตัวสอบ คือออก จากค่ายไปนี่แทบจะต้องไปสอบเอ็นท์กันต่อเลย ครูก็ไปเจรจาแบบนี้ ใครที่ไม่อยาก อ่านหนังสือเตรียมสอบก็ออกไปฝึกแทนเพื่อนๆ ใครจะอ่านหนังสือก็ไปเก็บเต็นท์ เสร็จแล้วก็มานั่งอ่านหนังสือ ซึ่งก็ต้องตระเวนไปทุกฐาน ก็จะมีรถขับพาตระเวนดู ๔๑ design 4.indd 41

9/9/2556 14:18:07


เอาขนม เอาผลไม้ไปให้บ้าง และก็ต้องมีของติดไม้ติดมือไปฝากครูฝึกด้วย ทำ�นองว่า ช่วยฝึกลูกศิษย์เราเบาๆ หน่อยนะ... ก็ต้องใช้กลยุทธ์แบบนี้แหละ กิจกรรมกับเด็กสวนฯ นอกจากดูเรือ่ งรักษาดินแดนแล้ว ครูกไ็ ด้ดแู ลในส่วนของการเข้าค่ายเด็กนักเรียน ม.๑ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส�ำ คัญมาก เพราะเป็นการรวมเด็กร้อยพ่อพันแม่ ซึ่งตอนเข้ามา ใหม่ๆ ก็เป็นหัวหน้าคณะสีนำ�้ เงิน ช่วงนั้นก็เป็นที่ฮือฮามาก เพราะทุกอย่างต้อง เป็นสีนำ�้ เงินหมด แม้กระทั่งกางเกงใน ผ้าเช็ดตัว เชือกไนลอน ต้องน้ำ�เงินหมด โดน ประท้วงจากหลายๆ ฝ่าย แต่ก็เป็นกุศโลบายของครูนะ เพราะครูรู้ว่านักเรียน ม.๑ เป็นเด็กใหม่ ยังไม่ค่อยมีระเบียบวินัย ทิ้งของเรี่ยราด จับมือคนดมยาก ถ้าใช้สีเดียว แบบนี้ เมื่อเวลาเด็กทิ้ง เราก็จะรู้ว่าสีไหนทิ้ง จะได้ไม่ต้องมาเถียงกัน ดูแลกันก็ง่ายขึ้น พอเห็นของเป็นสีน�ำ้ เงินเราก็จะรูว้ า่ เด็กของเราไม่เก็บกลับไป หาคนรับผิดชอบได้งา่ ยขึน้ ดังนั้นช่วงเวลาส่วนใหญ่ของครูมักจะมีแต่เรื่องราวของกิจกรรม ครูจึงรู้สึกว่า การไปสอนสวนกุหลาบฯ “ผมไม่ได้สอนหนังสือ ผมสอนความเป็นคนให้นักเรียน” สอนความเป็นระเบียบวินัยเสียมากกว่า จะว่าไปครูก็ต้องมีทั้งพระเดช พระคุณ เพราะ บางครั้งจะใช้คำ�พูดอย่างเดียวก็ไม่ได้ ครูยังอยากให้มีการเฆี่ยน การตีด้วยไม้เรียวอยู่ (หัวเราะ) เพราะสวนกุหลาบฯ เราโตมาด้วยไม้เรียว แต่ไม่ใช่ตีแบบฆ่ากันนะ ต้องตี แบบมีมาตรฐาน ทุกอย่างต้องมีกฎเกณฑ์ หลังจากสอน ม.ต้น ได้สักระยะ ครูก็ย้ายมาสอน ม.๔ ห้องสายศิลป์ สอน กฎหมาย สอนการเมือง ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยเข้าเรื่องในหนังสือเท่าไหร่ แต่นักเรียนชอบ ฟัง เพราะจะเน้นสนุก เน้นกิจกรรมเสียมากกว่า อย่างเช่น ตอนที่สอนเรื่องการเมือง ๔๒ design 4.indd 42

9/9/2556 14:18:10


รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย พอดีตอนนั้นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ครูก็เลยจัดนิทรรศการการเลือกตั้ง ให้เวลานักเรียน ๒ เดือน ช่วยกันจัดการเลือกตั้ง ขึ้นที่หน้าห้องสมุด แล้วก็เชิญผู้ปกครองที่เป็นทนายความ อัยการ บรรยายให้ฟัง ซึ่งทำ�ให้เด็กจำ�เนื้อหาได้มากขึ้น สนุกด้วย

มีแข่งฟุตบอลเมื่อไหร่ ครูก็พร้อมจะทำ�หน้าที่ เป็นคูลเลอร์ขวาขา้ งสนามทันที ซึ่งเวลาถ่ายทอดทางโทรทัศน์ เขาจะนึกว่าครูเป็นโค้ช จริงๆ แล้วครูประจำ�อยู่ชั้น ม.๔ ห้องสายศิลป์ นักเรียนส่วนใหญ่ในห้อง ก็เป็นนักฟุตบอล มีแข่งฟุตบอลเมื่อไหร่ ครูกพ็ ร้อมจะทำ�หน้าทีเ่ ป็นคูลเลอร์ขวา ข้างสนามทันที ซึง่ เวลาถ่ายทอดทางโทรทัศน์ เขาจะนึกว่าครูเป็นโค้ช (หัวเราะ) แต่จริงๆ แล้วโค้ชคืออาจารย์สุรินทร์ กับอาจารย์ทนสิงห์ ต่างก็จะนั่งนิ่ง หลบมุม วางแผนเกมส์ตลอด ส่วนครูก็แอ็คท่ายืนอยู่ตรงนั้นตลอด เวลาโชว์ในกล้องก็เลยดู เสมือนว่าเราใหญ่ พอบอลยิงเข้านี่ก็วิ่งเลย สร้างสีสันข้างสนามตลอด ๔๓ design 4.indd 43

9/9/2556 14:18:13


เมื่อต้องจากลา แม้ไม่อยากจากไป สวนกุหลาบฯ เรานี้เปรียบเหมือนต้นไม้ต้นใหญ่ อยู่ๆ มีนโยบายจะมา ตัดต้นไม้ต้นใหญ่ให้เท่ากับต้นเล็ก ไม่ถูกต้อง อยู่ๆ ก็มาเปลี่ยนแปลงจากสอบเข้า ๑๐๐% ก็มีเรื่องโควตาด้วย ทำ�ไมโรงเรียนอื่นๆ ถึงสอบเข้าได้ ๑๐๐% ทำ�ไม สวนกุหลาบฯ สอบเข้าอย่างเดียวไม่ได้ มีโควตาทำ�ไม ซึง่ เรือ่ งโควตารอบๆ โรงเรียน ที่ได้สิทธิ์เข้าเรียนฟรี ครูไม่ได้ว่าอะไร เพราะสำ�หรับครูแล้ว ครูก็เต็มที่กับลูกศิษย์ ทุกคน ไม่เกี่ยงที่จะสอน เข้ามาวิธีไหนก็ตาม ทุกคนก็เป็นลูกศิษย์เหมือนกัน แม้ จำ�นวนจะมากขึ้นก็ตาม

ชื่อเสียงที่เรามีอยูน่ ี้ตอ้ งรักษาใหด้ ี ศิษย์ปัจจุบันก็รักษาชื่อเสียงที่มันดีอยูแ่ ลว้ ให้คงอยู่ตลอดไป เพราะเรื่องการสอบเข้านี้เอง ทำ�ให้สวนกุหลาบฯ ต้องพบกับเหตุการณ์ ต่างๆ เรื่อยๆ จนกระทั่งถึงขั้นผู้อ�ำ นวยการถูกย้ายไปเฉยๆ แบบไม่มีสาเหตุ ทำ�ให้นักเรียนหลายๆ คนเริ่มทนไม่ไหว จนวันหนึ่งพร้อมใจกันจะไปร้องเรียนที่ กระทรวงฯ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็น ม.ปลาย ที่เรียน รด. นั่นแหละ (ก็รู้จักกันดี เพราะครูรบั ผิดชอบเรือ่ ง รด.) ซึง่ ผูอ้ �ำ นวยการในขณะนัน้ ก็สง่ั ให้ปดิ ประตูโรงเรียน แต่พอดีครูหวิ ข้าวก็เลยว่าจะไปกินข้าวข้างนอก ก็เลยบอกให้ชว่ ยเปิดประตูหน่อย ๔๔ design 4.indd 44

9/9/2556 14:18:16


พอครูเปิดประตูปุ๊บ เด็กก็เดินตามไป บางคนก็ว่าครูเป็นคนนำ� ครูบอกไปว่า ครูไม่ได้นำ� ครูไปกินข้าว แล้วเด็กเดินตามมาเอง แล้วเด็กไปกระทรวงฯ ได้ อย่างไร ครูก็บอกครูไม่รู้เรื่อง ครูกลัวว่าเด็กนักเรียนจะโดนรถชน ครูก็เลยรีบ เดินตามไปที่กระทรวงฯ อย่างไรก็ตามหลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ก็มีคนไม่ค่อยพอใจครูสัก เท่าไหร่ หลังจากนัน้ ไม่นาน เพือ่ ความสบายใจของหลายฝ่าย ครูกเ็ ลยตัดสินใจ ลาออก ซึง่ ในปีนน้ั ก็มเี พือ่ นครูทเ่ี ข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำ�หนด อีก ๑๖ ท่าน จากครูเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำ�หรับโรงเรียน เพราะครูดีๆ ทั้งนั้น เก่งๆ กัน ทุกคน ที่ออกมาพร้อมกับครู ซึ่งถ้าครูเหล่านี้ไม่ได้สอนที่โรงเรียนก็สามารถ ไปสอนพิเศษตามที่ต่างๆ ได้สบาย แต่สำ�หรับครูสังคมอย่างครูที่สมัยนั้น ยังไม่มีการสอนพิเศษ ครูได้ตัดสินใจกลับบ้านไปดูแลแม่ที่ลพบุรี เนื่องจาก คุณพ่อเสียมา ๖ ปี แม่ครูที่อายุมากก็อยู่คนเดียว ให้ย้ายมาอยู่ด้วยกันก็ ไม่ยอม เพราะท่านรักบ้าน อยากอยู่แต่ที่ลพบุรี พอดีมีพรรคพวกด้วยกันอยู่ ในวงการก่อสร้าง ครูก็เลยไปรับเหมาก่อสร้าง จนถึงตอนน้ำ�ท่วมปี ๕๔ จึง เปลี่ยนมารับงานต่อเติมบ้านแทน เพราะหลังน้ำ�ท่วมที่ผ่านมาก็มีแต่คนเรียก ไปทำ�งานแบบนี้ ดังนั้นกิจวัตรประจำ�วันของครูก็คือ มีหน้าที่ขี่จักรยานไปซื้อกับข้าว ให้แม่ทต่ี ลาดซึง่ อยูไ่ ม่ไกล พอสายๆ ครูกอ็ อกไปทำ�งาน และกลับบ้านตอนเย็น ๔๕ design 4.indd 45

9/9/2556 14:18:18


ส่วนโครงการที่ทำ�อยู่ตอนนี้คือ รับทำ�บ้านแบบ Knock Down ทำ�ต้นแบบ อยู่หน้าบ้าน ชื่อ “บ้านเหนือนำ�้ นิดนึง” ใครสนใจอยากได้ ก็ติดต่อมา ลูกผู้ชายสวนกุหลาบฯ สุภาพบุรุษสวนกุหลาบฯ โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ของพวกเรานัน้ เป็นโรงเรียนทีม่ ชี อ่ื เสียง ไม่เพียง แต่เรือ่ งวิชาการ ยังรวมไปถึงความผูกพันของชาวสวนกุหลาบฯ ทีเ่ หนียวแน่น เป็นทีท่ ราบกันดีของคนภายนอก ครูเองแม้จะออกจากโรงเรียนมาอยูท่ ล่ี พบุรี เวลาเจอคุณหมอที่เป็นศิษย์เก่า เขาก็ไหว้ทักทายครูเสมอ บางครั้งไปเอายา ให้แม่ที่กองบินสอง ทหารอากาศ คุณหมอก็เป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ ก็ จัดยาให้อย่างดี นีแ่ หละ ครูอยากฝากเอาไว้ให้กบั เด็กสวนกุหลาบฯ ทัง้ ปัจจุบนั และศิษย์เก่าว่า ชื่อเสียงที่เรามีอยู่นี้ต้องรักษาให้ดี ศิษย์ปัจจุบันก็รักษาชื่อ เสียงที่มันดีอยู่แล้วให้คงอยู่ตลอดไป มีน้ำ�ใจ เสียสละ เช่น ลุกยืนให้ผู้หญิงนั่ง แต่งกายเรียบร้อย ดึงถุงเท้าให้สูงหน่อย เสื้อใส่ในกางเกง แค่นั้นก็พอแล้ว ส่วนศิษย์เก่าก็ต้องกลับมาดูแลโรงเรียน กลับมาดูแลรุ่นน้อง ดูแลกันไป ตลอด เพื่อรักษาชื่อเสียงของโรงเรียนให้คงอยู่สืบไป

๔๖ design 4.indd 46

9/9/2556 14:18:25


design 4.indd 47

9/9/2556 14:18:26


ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ปัจจุบัน โทรศัพท์

นายชูชวน เปาอินทร์ ๓๓๗ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๕๗ ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางบำ�หรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๐ ๒๔๒๔ ๑๖๓๘ ๐๘ ๖๕๐๐ ๕๘๕๓

ประวัติการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๔ ประถมศึกษาปีที่ ๗ มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ปริญญาตรี

โรงเรียนวัดห้วยคันแหลน โรงเรียนกำ�แพงมณีวิทยา โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ โรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน

ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ครูตรี ระดับ ๒ โรงเรียนอ่างทองวิทยาคม จังหวัดอ่างทอง ๓๐ กันยายน ๒๕๑๘ อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนอ่างทอง วิทยาคม จังหวัดอ่างทอง ครูตรี ระดับ ๔ โรงเรียนอ่างทองวิทยาคม ๑ ตุลาคม ๒๕๒๒ จังหวัดอ่างทอง ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๓ โรงเรียนสามโก้วทิ ยาคม จังหวัดอ่างทอง ๔๘ design 4.indd 48

9/9/2556 14:18:29


๑ สิงหาคม ๒๕๒๕ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๗ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๗ ๑ เมษายน ๒๕๕๐

ย้ายมาสอนทีโ่ รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๒ ระดับ ๕ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๒ ระดับ ๖ อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ คศ. ๒ ชำ�นาญการ คศ. ๓ ชำ�นาญการพิเศษ

ครูชูชวน เปาอินทร์ เกียรติประวัติการทำ�งาน l หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ l รองผู้ช่วยผู้อำ�นวยการฝ่ายบริการ l รักษาราชการในตำ�แหน่งผู้อำ�นวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๖ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๑ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๕ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐

จัตรุ ถาภรณ์ชา้ งเผือก ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ชา้ งเผือก ทวีตยิ าภรณ์มงกุฎไทย ๔๙

design 4.indd 49

9/9/2556 14:18:30


๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๓

ทวีตยิ าภรณ์ชา้ งเผือก เหรียญจักรพรรดิมาลา

คติประจำ�ใจ มีความรู้มาก ฉลาดมาก ต้องตอบแทนสังคมให้ได้มาก และมีคุณธรรมสูงด้วย ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมและดีที่สุด การที่ได้ มีโอกาสมาเป็นครูนบั ว่ามีบญ ุ และโชคมาก ทำ�ให้ได้พบได้เห็นระบบการเสริมสร้างนักเรียน ให้มีคุณภาพเป็นเอกหลายๆ ด้าน พร้อมไปทำ�หน้าที่รับใช้ประเทศชาติและสังคมอย่าง ต่อเนื่อง ต้องกราบขอบพระคุณผู้มีส่วนเสริมสร้างองค์กรนี้ให้มีความเป็นเลิศตลอดไป

๕๐ design 4.indd 50

9/9/2556 14:18:38


ใครๆ ก็เรียกครูว่า ป๋า

จากเกษตรกรเป็นครู “ครูเป็นคนชอบเกษตรนะ ตอนแรกก็ยงั อยากเรียนเกษตรเลย แต่หนทาง ก็ผกผันมาเป็นครูกับเขาจนได้” คุณครูชูชวนเผยความตั้งใจตั้งแต่แรกก่อนที่จะ ตัดสินใจมาประกอบอาชีพครู คุ ณ ครู ชู ช วนสอบเข้ า บรรจุ เ ป็ น ครู แ ห่ ง แรกที่ โรงเรี ย นประจำ � จั ง หวั ด อ่างทอง แต่กไ็ ม่เคยทิง้ งานเกษตรซึง่ เป็นสิง่ ทีช่ อบ เวลาว่างๆ จากการสอนก็จะไป ทำ�นาบ้าง เลี้ยงหมูบ้าง ครูเล่าว่า “สมัยก่อนชาวบ้านเขายังไม่นิยมสั่งหมู CP มา เลี้ยงกันหรอก ครูนี่แหละไปสั่งมาเลี้ยงก่อนเลย” หลังจากที่สอนที่โรงเรียนแรกได้ ๕ ปี จึงย้ายไปสอนที่โรงเรียนประจำ�อำ�เภอ มาสวนกุหลาบฯ ได้เพราะพี่ เมื่อลูกเริ่มโต ครูชูชวนอยากให้ลูกได้เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ จึงตัดสิน ใจหยุดงานเกษตรกรรมที่ชอบลง และทำ�เรื่องขอย้ายเข้ามาสอนในกรุงเทพฯ ๕๑ design 4.indd 51

9/9/2556 15:52:46


“ครูก็มาทำ�เรื่องขอย้ายตามปกติ แต่ไม่ได้เลือกมาสอนสวนกุหลาบฯ นะ แต่พอดีได้พบครู สมชาย สุวพันธ์ ซึ่งท่านก็สนิทกับรุ่นพี่ ท่านก็บอกว่า “เฮ้ย ต้องมาอยู่ด้วยกัน” ท่านก็ให้กลับไป ทำ�เรื่องย้ายมาใหม่โดยระบุเลือกโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ที่เดียว ช่วงนั้น สมัยครูส�ำ เริง นิลประดิษฐ์ เป็นผู้อำ�นวยการ ท่านก็เป็นคนอ่างทองเหมือนกัน ส่วนท่านสุวรรณ เป็นรองอธิบดีกรมสามัญพอดี ท่านก็เลยให้ความเมตตาก็เลยได้ย้ายมาอยู่สวนกุหลาบฯ ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งก็ได้สอน คณิตศาสตร์ ม. ๓ มาตลอด” ครูชูชวนเล่า

ด้วยความที่นักเรียนเรียนเก่ง มีความกระตือรื้อร้นขวนขวายหาความรู้ ทำ�ให้ครูก็ตอ้ งมีความกระตือรือรน้ ตาม

จะนิ่งนอนใจกับบทเรียนในหนังสือไมไ่ ด้ เด็กสวนกุหลาบฯ ไม่เหมือนที่อื่น แม้จะสอนระดับโรงเรียนประจำ�จังหวัดมาก่อนก็ตาม แต่เมื่อเทียบขนาดกับสวนกุหลาบฯ แล้วก็เป็นโรงเรียนทีใ่ หญ่ เด็กเยอะ และเด็กเรียนเก่ง ครูยงั ชืน่ ชมนักเรียนรุน่ ก่อนๆ ว่า “เด็กสวนกุหลาบฯ เป็นเด็กที่ไม่ต้องพูดอะไรมากเลย มีความรับผิดชอบ ให้งานไปแป๊บเดียวก็เสร็จละ ขยันมาก ถ้ามี เวลาว่างปุ๊บ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ก็จะรีบทำ� โดยมากเป็นหลักใหญ่เลย พอเขาทำ�เสร็จไว ครู ก็สามารถหาโจทย์แปลกๆ มาให้ลองให้ท�ำ ได้” ด้วยความที่นักเรียนเรียนเก่ง มีความกระตือรื้อร้น ๕๒ design 4.indd 52

9/9/2556 15:52:49


ขวนขวายหาความรู้ ทำ�ให้ครูก็ต้องมีความกระตือรือร้นตาม จะนิ่งนอนใจกับบทเรียน ในหนังสือไม่ได้ ครูต้องหาข้อมูล หาโจทย์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรื่องราวความขยัน ของเด็กสวนกุหลาบฯ รุ่นเก่าๆ ครูได้พยายามถ่ายทอดให้เด็กรุ่นหลังได้ฟังแม้ว่าพวก เขาจะไม่ค่อยเชื่อก็ตาม เป็นป๋าที่มีไม้เรียว “ป๋า” คำ�ๆ นี้ได้มาจากนักเรียนที่ครูเคยเป็นครูประจำ�ชั้น คงจะเป็นเพราะ ความมีเมตตาของครูที่ทำ�ให้นักเรียนเชื่อใจ ไว้ใจ จนเกิดความสนิทสนม แล้วก็เริ่มแพร่ หลายไปเรื่อยๆ “เห็นป๋าๆ อย่างนี้ครูก็ถือไม้เรียวนะ ถามว่า ตีไหม “ตี” แต่ครูจะเรียกเด็กไป ตีในห้อง หลังๆ ก็เรียกไปตีในห้องพักครู แต่ก็ชี้ให้เห็นผิดถูก ต้องสอน ซึ่งส่วนใหญ่เด็ก จะไม่ค่อยกลัว คงเป็นเพราะสนิทกับเด็ก เป็น “ป๋า” ด้วย ตีแล้วก็แล้วกันไป เด็กเขาก็ ไม่โกรธ เพราะครูจะสอนทุกครั้งว่า การเรียนเนี่ย ถ้าเราเรียนเก่ง เรามีสิทธิ์ที่จะเลือก งานได้เยอะ มีโอกาสเยอะกว่าเพื่อน ใครเก่งก็มีโอกาสได้เลือกก่อน ได้อาชีพที่ต้องการ ที่อยากทำ�ได้ก่อน หลายๆ คนก็คิดได้ แต่บางคนไม่ใช่ ตีเท่าไหร่ก็เท่านั้น ไม่เป็นไร ไม่ กลัว แต่ถ้าเรามาคุยกัน เราก็จะรับรู้ เข้าใจกันมากกว่า เพราะเด็กบางคนเขาก็ชอบคิด วัยรุ่นก็มีแนวคิดของเขา อยากทำ�อย่างนั้น อย่างนี้ อยู่ในกลุ่มเพื่อนก็อยากแสดงอะไร บ้าง เขาก็ต้องเรียนรู้ บางทีผิดก็เพื่อที่จะได้รู้ว่าอะไรถูก เรียนรู้ด้วยตัวเอง เพียงแต่ตอน หลังๆ เด็กจะเล่นเกมเยอะ มีเกมติดมือตลอด นั่งตรงไหนก็ต้องเปิดเกมเล่น ซึ่งส่วน ใหญ่ครูจะไม่ค่อยยึด เพราะเกมมันแพง เดี๋ยวจะมีปัญหา ในขณะที่ครูบางคนเขาก็ยึด แต่ครูไม่หรอก ไม่ก็ปรามหรือตี” ๕๓ design 4.indd 53

9/9/2556 15:52:51


นอกจากหน้าที่ที่จะต้องสอนในวิชาคณิตศาสตร์ที่รับผิดชอบแล้ว ครูชูชวนยัง ตระหนักอยู่เสมอว่าครูจะต้องเป็นเสมือนพี่เลี้ยงนักมวย ต้องคอยดูแล ให้กำ�ลังใจ เพื่อ ที่จะให้นักเรียนไว้ใจและรู้สึกว่ายังมีคนอยู่ข้างๆ เสมอ “วันนี้ครูเองก็ยังเป็นห่วงเด็กนักเรียนหลายๆ คนนะ บางทีเขาไม่ค่อยมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี การที่จะเติมให้เขาเต็มเนี่ยมันยาก มีอุปสรรคหลายอย่าง บางปีครูเคยทำ�การ

“ป๋า” คำ�ๆ นี้ไดม้ าจากนักเรียน

ที่ครูเคยเป็นครูประจำ�ชั้น คงจะเป็นเพราะความมีเมตตาของครู ที่ทำ�ให้นักเรียนเชื่อใจ ไว้ใจ จนเกิดความสนิทสนม สำ�รวจเด็ก ก็ต้องออกไปพบผู้ปกครองที่บ้าน หรือไม่ก็ต้องโทรคุยกับผู้ปกครองที่บ้าน ไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ เพื่อที่จะทราบถึงปัญหาของนักเรียนจริงๆ อย่างนักเรียนบางคน พอได้เวลากลับบ้านตอนเย็น พ่อแม่ก็ต้องออกไปขายของ เด็กก็จะไม่ได้สัมผัสกับพ่อ แม่เลย เด็กก็จะค่อนข้างเกเร เราก็สะท้อนใจเหมือนกันว่าปัญหาของเด็กก็มีปัจจัยมา จากคุณภาพด้านเศรษฐกิจ นี่ยังไม่รวมถึงปัจจัยอย่างอื่นอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ปัญหา ของนักเรียนเยอะมาก แต่พวกครูเองก็ยังไม่ได้สำ�รวจกันจริงๆ จังๆ เนื่องจากเด็ก นักเรียนเยอะ ซึ่งเราก็พยายามจัดให้เขาได้ทุนจากโรงเรียน โรงเรียนเรามีทุนเยอะ เป็น ๕๔ design 4.indd 54

9/9/2556 15:52:55


ร้อยๆ ทุน ทุนจากมูลนิธิสวนกุหลาบฯ บ้าง จากครูบริจาคมา บ้าง จากศิษย์เก่าบ้าง เป็นโครงการต่อเนื่องกันทุกปี ถ้าเด็กขอ มา พวกครูก็จะติดตามให้ขอเรื่อยๆ เด็กบางคนก็ไม่ขอรับเพราะ เขาอาย ก็ต้องไล่กวดหากันให้มารับ” สัมผัสงานด้านบริหารแต่ใจไม่พร้อม หลังจากทำ�งานได้เป็นหัวหน้าระดับชั้นหลายปี ครูชูชวน ได้รับมอบหมายให้ทำ�หน้าที่รองผู้ช่วยผู้อำ�นวยการฝ่ายบริการ แต่ ใจจริ ง ของครู แ ล้ ว คิ ด ว่ า ครู เ องยั ง ไม่ มี ค วามพร้ อ มในการ ทำ�งานด้านบริหาร อยากที่จะสอนอย่างเดียวมากกว่า “เหตุผลที่ครูย้ายจากอ่างทองมากรุงเทพฯ ก็เพื่อมาดูแล ลูก ก็เลยคิดว่าถ้าจะต้องมาทำ�อย่างอื่นอีก กลัวว่าจะดูแลลูกได้ ไม่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นงานด้านบริหารของครูก็ขอทำ�แค่งานรอง ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการฝ่ายบริการ ไม่อยากขึ้นไปอีกเพราะกลัวไม่มี เวลา แต่ก็เคยมีช่วงเขาให้รักษาการณ์ผู้อ�ำ นวยการบ้างเหมือน กัน ก็ไม่กี่วัน เพราะช่วงนั้นไปราชการกันหมด” ครูหัวเราะ ทำ�การเกษตรหลังเกษียณ หลังจากเกษียณอายุราชการไปแล้ว ครูชูชวนตั้งใจว่าจะ พักผ่อนอยู่กับครอบครัว แบ่งเบาภาระหน้าที่ของแม่บ้าน และที่ ไม่ลืมก็คือ การกลับไปทำ�การเกษตรกรรมอีกครั้ง ๕๕ design 4.indd 55

9/9/2556 15:52:57


“หน้าที่หลักๆ ของครูก็คงจะช่วยแม่บ้านถูบ้าน” ครูหัวเราะ “คือบ้านครูมี ๓ ชั้น คิดว่าจะแบ่งชั้นกันไปเลย ครูก็จองไป ๑ ชั้น แล้วก็ต้องแบ่งเวลาไปดูแลคุณแม่ที่จังหวัดอ่างทอง ส่วนการเกษตร ที่เคยอยากทำ�เมื่อก่อนนี้ก็ได้ทำ�แล้วนะ ตอนนี้เริ่มปลูกไปบ้างแล้ว เช่น พวกต้นยางนา สะเดา ก็ประมาณสัก 20 กว่าไร่ ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็เคยปลูกมะม่วงพันกว่าต้นตายหมดตอนนำ�้ ท่วม ตอนหลังปลูกใหม่ ๔๐๐ – ๕๐๐ ต้น ก็ตายอีก ก็เลยเลิกเลย เอาไปทำ�นาแทน” ความภูมิใจในสวนกุหลาบฯ “สวนกุหลาบฯ เนี่ยเป็นแหล่งที่สร้างคนที่มีคุณภาพ มีระบบ มีวิธีการจัดการในการสร้างคนที่หาไม่ได้ในที่อื่นๆ คือไม่ใช่มุ่งผลิตให้ เก่งอย่างเดียว แต่ก็มุ่งในเรื่องกิจกรรม การพบปะผู้คน การสัมผัส คนเนี่ย เราจะเก่ง เพราะฉะนั้นเด็กที่ออกไปทำ�งาน ก็จะคล่องตัว มี ความรอบรู้ เข้ากับคนง่าย ตรงนี้เองที่เป็นส่วนสำ�คัญที่สร้างชื่อให้กับ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ สิ่งต่างๆ เหล่า นี้มันอยู่ในเลือดของชาวสวนกุหลาบฯ ซึ่งก็มีการสืบทอดรับเลือด กันไปจากรุ่นสู่รุ่นอยู่แล้ว ส่วนวิธีการมันไม่อะไรหรอก ใหม่ๆ ก็รู้สึก เฉยๆ อยู่ไปเรื่อยๆ เลือดมันซึมซับไปเอง”

๕๖ design 4.indd 56

9/9/2556 15:53:00


ยรรยง นิติสาโรจน์ รุน่ ๑๑๑ มหาราช ร่วมสนับสนุนงานมุทิตาจิต ๕๖

design 4.indd 57

9/9/2556 15:53:01


ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น ที่อยู่ปัจจุบัน Email

นางดาริกา วีรวินันทกุล จิ๋ม ๒๓๒/๒๗ หมู่ ๗ ถนนสวนผัก ซอยสวนผัก ๔๓ แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งขัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๗๐ darika_sk@hotmail.com

ประวัติการศึกษา เตรียมประถม – ประถมศึกษา ๓ โรงเรียนวัฒนะศึกษา ประถมศึกษา ๔ โรงเรียนวัดอัปสรสวรรค์ ประถมศึกษา ๗ โรงเรียนวัดนาคปรก มัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีอัปสรสวรรค์ ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการ ปริญญาโท ศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ครูตรี โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) (วิสามัญชั่วคราว) ๕๘ design 4.indd 58

9/9/2556 15:53:06


๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ๓๐ กันยายน ๒๕๑๘ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

ครูตรี โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) (สามัญ) อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๑ ระดับ ๔ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๑ ระดับ ๕ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๒ ระดับ ๕ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ครูดาริกา วีรวินันทกุล ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙

อาจารย์ ๒ ระดับ ๖ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คศ. ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ครูชำ�นาญการ สพท. กทม. ๑ คศ. ๒ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

เกียรติประวัติการทำ�งาน l รองหัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ๓ สมัย l หัวหน้างานโอลิมปิกวิชาการ ปัจจุบัน l ที่ปรึกษาชุมนุมหมากล้อม พ.ศ. ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน ๕๙ design 4.indd 59

9/9/2556 15:53:08


เป็นตัวแทนครูน�ำ นักเรียนไปแข่งขันดาราศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๒ ครั้ง u ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ เมืองดัมยาง ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) นักเรียน จำ�นวน ๔ คน เป็นนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๑ คน และได้รับรางวัลเหรียญทอง u ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ เมืองกวางจู ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) นักเรียน จำ�นวน ๓ คน เป็นนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๒ คน ได้รับเหรียญเงิน ๑ เหรียญ เหรียญทองแดง ๑ เหรียญ l รางวัลแสนครูดีของคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ l รางวัลครูดีคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๕๖ l

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔

จตุรถาภรณ์ช้างเผือก ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ช้างเผือก ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก

ความประทับใจที่มีต่อสวนกุหลาบวิทยาลัย ความเป็นครอบครัวเดียวกันของชาวสวนกุหลาบฯ การให้ความเคารพผู้อาวุโส ความเคารพ ครู ความรักพี่ รักน้อง รักเพื่อน ความเอื้ออาทร ความมีนำ�้ ใจ การช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน การ ช่วยกันรักษาเกียรติยศชื่อเสียงของโรงเรียน ความเป็นสุภาพบุรุษสวนกุหลาบฯ การแต่งเครื่องแบบ นักเรียนและทรงผม ซึ่งมองทางด้านหลังก็รู้ว่าเป็นนักเรียนสวนกุหลาบฯ ๖๐ design 4.indd 60

9/9/2556 15:53:10


วิชาดาราศาสตร์ คือความสุขที่สุดในชีวิตการเป็นครู ยังไม่รู้ใจตัวเอง คุณครูดาริกาผ่านชีวิตในช่วงวัยรุ่นเหมือนวัยรุ่นทั่วๆ ไป คือ ไปเรียนหนังสือตามหน้าที่ ถึงบ้านก็ต้องกลับมาช่วยงานบ้านทุกวัน เพราะเป็นลูกคนโต วันๆ แทบจะไม่ค่อยได้คุยหรือไป เที่ยวกับเพื่อนที่ไหน จึงกลายเป็นเด็กผู้หญิงเงียบๆ ไม่ค่อยพูดจากับคนอื่น จนบางครั้งครูที่สอน ยังเป็นกังวลและตักเตือนให้ครูไปเล่นหรือคุยกับเพื่อนบ้าง แต่ในเรื่องของการเรียนก็เป็นนักเรียน คนหนึ่งที่เรียนได้ดีมาตลอด “ตอนที่ครูจบ ม.ศ.๓ คะแนนครูสูงมาก จะเลือกเรียนสายอะไรก็ได้ ไม่มีปัญหาเลย แต่ เพื่อนครูเลือกเรียนสายวิทย์ ครูก็เลยเลือกสายวิทย์ตามเพื่อน พอได้เรียนก็เรียนสายวิทย์แบบพื้นๆ แต่ครูชอบเรียนภาษาอังกฤษมาก จนครูที่สอนภาษาอังกฤษมาชวนให้ครูไปสอบชิงทุน นี่ถ้าครู เลือกเรียนสายศิลป์ ครูคงรุ่งกว่านี้เยอะเลยล่ะ” ครูหัวเราะ ด้วยคะแนนการเรียนในชั้นมัธยมปลายไม่ดีนัก เพราะได้หันไปทำ�กิจกรรมของโรงเรียน จนคะแนนเก็บไม่ค่อยมี ครูดาริกาเล่าว่า “ตอน ม.ศ.๕ เรียนที่โรงเรียนสตรีอัปสรสวรรค์ คะแนน รวมทั้งที่ไม่มีคะแนนเก็บเลยได้ประมาณ ๕๙% แต่ก็ได้อันดับที่สองของโรงเรียน ห่างจากอันดับ หนึ่งที่ได้ ๘๑% ห่างกันเยอะนะ พอคะแนนไม่ดีก็ไม่รู้จะเลือกเรียนอะไรต่อดี แต่ในเมื่อจบสาย วิทย์ ก็ต้องเอ็นท์ฯ สายวิทย์” ๖๑ design 4.indd 61

9/9/2556 15:53:13


ครูดาริกาทบทวนความคิดแล้วเล่าให้ฟังว่า “ครูยืนยันได้เลย ว่าครูไม่คิดว่าจะมาเป็นครูสอนหนังสือนะ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่อยากให้ เป็นครู เพราะคิดว่าเป็นครูนั้นลำ�บาก ต้องทำ�งานหนัก แต่ครูมีคุณอา

พอเริ่มเรียนวิชาชีพครู ประมาณปี ๓ เกือบทุกชั่วโมงเรียนจะต้องออกมาพูด หน้าชั้น จากการเป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยพูด คอ่ ยจา กลายเป็นคนพูดเป็นตอ่ ยหอยเลย แล้ววิชาวิธีการสอน จิตวิทยา ก็ไดเ้ อหมด เลย ตอนนี้แหละที่รู้สึกว่าสนุก และตัดสินใจ ว่าครูต้องไปเป็นครูแน่ๆ ที่เป็นครูเป็นแบบอย่างนี่แหละ คุณอามีลูกศิษย์มากมาย มีวีรกรรมใน การปราบลูกศิษย์จอมเฮี้ยวมาเล่าให้ฟังอยู่เรื่อยๆ ก็เห็นว่าแม้กระทั่ง เวลาที่คุณอาเกษียณไปแล้วก็ยังมีลูกศิษย์มาเยี่ยมเยือนอยู่เป็นประจำ� ก็เลยมีความรู้สึกว่าอยากเป็นครูเหมือนคุณอาบ้างเหมือนกัน” ๖๒ design 4.indd 62

9/9/2556 15:53:14


เป็นครูนี่แหละ ใช่เลย “ครูจบสายวิทย์ ครูต้องเอ็นท์ฯ สายวิทย์ ก็เลือกครุวิทย์” ถึงจะเลือกเรียนครุศาสตร์ ในตอนแรกนั้นครูก็ยังไม่มีความเชื่อว่า จะออกมาเป็นครูได้ ด้วยอุปนิสัยที่พูดน้อย ขี้กลัว ขี้อาย ผลการเรียนใน วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิชาคณิตศาสตร์ก็พอผ่านๆ ไปได้ จนเริ่มจะ ท้อใจ และสงสัยตัวเองว่าจะไปรอดหรือเปล่า “สารภาพนะว่าตอนเรียนครุศาสตร์เนีย่ ต้องไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์ ก็ผ่านแบบเฉียดฉิวนะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่พอเริ่มเรียนวิชาชีพครูประมาณปี ๓ เกือบทุกชั่วโมงเรียนจะต้องออก มาพูดหน้าชั้น จากการเป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยพูดค่อยจา กลายเป็นคนพูด เป็นต่อยหอยเลย แล้ววิชาวิธีการสอน จิตวิทยา ก็ได้เอหมดเลย ตอนนี้ แหละที่รู้สึกว่าสนุก และตัดสินใจว่าครูต้องไปเป็นครูแน่ๆ” เริ่มชีวิตการเป็นครู หลังจากจบการศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแล้ว ครูและเพื่อนๆ ร่วมอุดมการณ์ที่อยากจะเป็นครูจึง ตัดสินใจไปสมัครสอบสัมภาษณ์ที่สาธิตเกษตร แต่ก็ไม่ได้อย่างที่หวัง จึง ไปสอบบรรจุได้เป็นครูที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นที่แรก “ตอนที่ครูจบออกมา ที่สาธิตเกษตรเปิดรับพอดี ครูก็ไปกับเพื่อน ครูอีก ๓ คน เขาก็เรียกไปสัมภาษณ์ทีละคน กรรมการสัมภาษณ์มีทั้งหมด ๗ คน ถามจนครูงงและคิดว่าเขาคงป่วนเราแล้วล่ะ ครูเองก็นิสัยไม่ดีก็ ๖๓ design 4.indd 63

9/9/2556 15:53:15


เลยป่วนกลับ” ครูหัวเราะ “พอออกมาจากห้องสัมภาษณ์ก็คิดว่าคงไม่ ได้สอนที่สาธิตเกษตรละ พอกระทรวงศึกษาธิการเปิดสอบ ครูก็เลยไป สมัครสอบ ปีนั้นสวนกุหลาบฯ ไม่ได้เปิดรับครูวิทยาศาสตร์ทั่วไปนะ ครู ก็เลยได้ไปบรรจุที่โรงเรียนบดินทรเดชา” เดินหน้าไม่ถอยหลัง ขอไปตายเอาดาบหน้า เนื่องด้วยโรงเรียนบดินทรเดชานั้นอยู่ไกลจากบ้านของครูที่อยู่ แถวตลาดพลูเป็นอย่างมาก เมื่อครูดาริกาสอนได้ ๕ ปีครบตามกฎของ กระทรวงฯ ที่ว่าหากจะขอย้ายโรงเรียนจะต้องทำ�งานมาแล้ว ๕ ปีถึงจะ ขอย้ายได้ ครูดาริกาจึงทำ�เรื่องขอย้ายมาสอนในโรงเรียนที่ใกล้บ้าน “ตอนทำ�เรื่องขอย้าย ครูเลือกโรงเรียนใกล้บ้าน คือ สวนกุหลาบฯ วัดราชโอรส ศึกษานารีบางบอน ที่เพิ่งเปิดใหม่ ครูก็ไม่คิดว่าจะได้มาสอน ที่สวนกุหลาบฯ หรอกนะ แต่ที่เลือกเพราะได้ข่าวว่าปีนั้นสวนกุหลาบฯ มีการขยายตึกเรียน จากโรงอาหารเดิมก็เปลี่ยนเป็นอาคารเรียน ๕ ชั้น มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการครูจำ�นวนมาก พอครูทำ�เรื่องขอย้าย แล้ว ใจหนึ่งก็กังวลอยู่ว่าถ้าย้ายไม่ได้จะทำ�อย่างไร กลัวว่าจะกลับไปมอง หน้าเพื่อนครูที่โรงเรียนเดิมไม่ได้ แต่เมื่อตัดสินใจแล้วยังไงก็จะไป จะให้ ไปอยู่ในท้องนาที่ศึกษานารีบางบอนก็จะไป ไปตายเอาดาบหน้า คือถ้า ก้าวขาออกไปแล้ว ไม่มีการถอยหลัง ตายก็ตาย สุดท้ายก็ได้ไปโรงเรียน สวนกุหลาบฯ” เสียงครูเด็ดเดี่ยวมากๆ เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ๖๔ design 4.indd 64

9/9/2556 15:53:17


แรกเริ่มประทับใจ : ผอ. สำ�เริง ดิ ไอดอล ในช่วงสมัย ผอ. สำ�เริง นิลประดิษฐ์ โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ได้มีการขยายห้องเรียนมากขึ้น จึงต้องการครูเพื่อรองรับนักเรียน ทัง้ นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเอง และนักเรียนชายจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ทีต่ อ้ งมาอาศัยเรียนเนือ่ งจาก อาคารเรียนที่ปากเกร็ดยังไม่พร้อมใช้ ปีการศึกษา ๒๕๒๓ จึงเป็น ปีทโ่ี รงเรียนสวนกุหลาบฯ มีครูใหม่เข้ามามากทีส่ ดุ ในประวัตกิ ารณ์ “ปีนั้นมีครูใหม่ ๕๐ คน ทั้งย้าย ทั้งบรรจุใหม่ ทุกคน ยืนเข้าแถวโชว์ตัวสนามฟุตบอล มีอาจารย์ส�ำ เริง นิลประดิษฐ์ เป็นผู้อำ�นวยการมาปฐมนิเทศครูใหม่ อาจารย์ส�ำ เริงเดินเข้ามาหา แล้วก็ทักทายครูใหม่ทุกคนว่า อาจารย์ศรีบัญชาใช่ไหม อาจารย์ ฉันทนาใช่ไหม อาจารย์พิมมาศใช่ไหม อาจารย์อาคมใช่ไหม ครูนี่ ตะลึงเลยนะ มารู้ทีหลังว่าอาจารย์ท่านเป็นคนจำ�แม่น ก่อนที่ท่าน จะรับรายงานตัว ท่านได้อ่านประวัติ ดูรูปครูทุกคนแล้ว ท่านไม่ พลาดเลย พอมาทำ�งาน ครูได้พูดคุยกับท่านบ่อยมาก อาจารย์ ท่านจะรู้หมดนะว่าครูมีกิจกรรมพิเศษอะไร เช่น มีอยู่ช่วงหนึ่ง ครูไปทำ�งานให้ สสวท. ทุกวันพุธ อาจารย์ส�ำ เริงมาบอกครู ว่า ไปเลย ไปได้ แล้วนำ�สิ่งใหม่ๆ สิ่งดีๆ มาให้กับนักเรียนนะ เป็นสิ่งที่ครูชื่นชมมากประทับใจมาก เป็นไอดอลคนหนึ่งของครู เลยล่ะ” ๖๕ design 4.indd 65

9/9/2556 15:53:20


กลัว เกร็ง อิน ในสมัยนั้นสวนกุหลาบฯ เป็นโรงเรียนอันดับต้นๆ มีชื่อเสียงในวงกว้าง ทั้งความเก่งของนักเรียน หรือแม้แต่คุณภาพของคุณครู เรียกได้ว่าไม่เป็นที่สอง รองใคร “พอเข้ามาสอน รู้สึกตกใจ เพราะครูเป็นครูชานเมือง อาจารย์ผู้ใหญ่ หลายๆ ท่าน ดูสมาร์ท สง่า เท่ห์ น่านับถือ ครูรู้สึกว่าครูตัวเล็กไปเลยจริงๆ กลัว ไปหมดเลย ครูพี่เลี้ยงก็คือ ครูทิพมาลย์ เป็นครูพี่เลี้ยงที่เยี่ยมมาก ครูเข้ามา สอน ม.๒ เป็นชั้นแรก ปีต่อมาก็ได้สอนวิทยาศาสตร์กายภาพ ม.๔ ด้วย” ในการเผชิญหน้ากับเด็กๆ ครูดาริกาเล่าว่า “ช่วงแรกรู้สึกกลัว กลัวว่า จะสอนไม่ได้ เพราะเขาล่ำ�ลือว่าเด็กสวนกุหลาบฯ เก่ง เพื่อนครูที่บดินทรเดชา ก็เตือนครูว่า นี่เธอ เธออย่าสอนตามหนังสือนะ เด็กเขาอ่านจบหมดแล้ว ด้วย ความกลัวว่าจะสอนไม่ได้ ครูก็ต้องเตรียมการเรียนการสอนมาอย่างดี” ครูดาริกายำ�้ ถึงความคิดที่ครูตระหนักอยู่เสมอๆ ตั้งแต่เริ่มเป็นครูจนถึง ทุกวันนี้ว่า ครูจะเตรียมการสอนเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างเดียวไม่ได้ ครูยัง ต้องมีหน้าที่อบรมศีลธรรม เป็นแบบอย่างให้นักเรียนเป็นคนดีในสังคมด้วย “ตอนทีค่ รูเรียนทีค่ รุศาสตร์ ศาสตราจารย์ดวงเดือน พิศาลบุตร ท่านบอก ว่า การศึกษาไทยเริม่ ทีว่ ดั พระท่านสอนทุกสิง่ ทุกอย่าง ไม่วา่ จะวิชา ศีลธรรม คือ พ่อแม่มาฝากไว้ เมือ่ เป็นหนังสือก็จะได้เป็นเจ้าคนนายคน การปฏิบตั ขิ องพระเป็น อย่างไร ครูกเ็ ป็นอย่างนัน้ เพราะฉะนัน้ ครูคอื กึง่ สงฆ์ กึง่ ฆราวาส ต้องมีจติ เมตตา มี ศีลธรรม” และความผูกพันของครูกบั ลูกศิษย์นน้ั ก็เหมือนคนในครอบครัว เมือ่ ครู ดาริกาถูกถามว่า ครูจะให้ค�ำ จำ�กัดความของคำ�ว่า “ครู” ว่าอย่างไร ครูได้ยอ้ นถามว่า ๖๖ design 4.indd 66

9/9/2556 15:53:26


อำ�ลา – อาลัย “อ.ดาริกา” ในรั้วสวนฯ อวลอบอุ่น เปี่ยมความรักความหวังดี ผ่านคืนวันยิ่งพันผูก ยากเพียงใดร่วมฝ่าฟัน “อ.ดาริกา” คือเพื่อนรัก เปี่ยมน้ำ�ใจและไมตรี จากนี้ไปจงรื่นรมย์ “มิตรภาพ” เราจักคงมั่น

รื่นหอมกรุ่นด้วยไมตรี เหล่าน้องพี่มีต่อกัน ทั้งทุกข์สุขเราแบ่งปัน มุ่งสร้างสรรค์สิ่งดีดี สมานสมัครมานานปี ที่เพื่อนนี้มีให้กัน เปี่ยมสุขสมทุกคืนวัน แนบผูกพัน...มิผันแปร

ด้วยความปรารถนาดีจากใจจริง กัญญารัตน์ องค์วิศิษฐ์ กันยายน ๒๕๕๖

“แล้วลูกศิษย์ล่ะ คืออะไร ...ลูกศิษย์ ก็คือ ลูก + ศิษย์ พวกเธอเป็น ทั้งลูก และเป็นทั้งศิษย์” ถึงแม้ว่าลูกศิษย์จะออกฤทธ์ออกเดชกับครูมากมายแค่ไหน แต่ก็เป็น เรื่องท้าทายความสามารถของครู และด้วยอุปนิสัยที่เป็นคนเอาจริงเอาจัง มุ่งมั่น ครูจึงมีความสุขกับการสอนอยู่เสมอ ครูดาริกาอธิบายถึงการทำ�งาน ของครูว่า “งานของคนที่เป็นครูเนี่ย ทุกครั้งที่เข้าห้องสอน ไม่รู้จะเจออะไร มันจะมีเรื่องให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา เพราะเด็กในแต่ช่วงเวลาเขา ไม่เหมือนกัน อันดับแรกที่สำ�คัญที่สุดคือ จะทำ�ยังไงให้เขาพร้อมเรียนที่สุด ถ้า เขาไม่พร้อม ไม่มีทางที่ครูจะสอนได้ เราจะต้องรู้จักเด็ก ทำ�ความเข้าใจเด็ก” ในระยะหลังๆ เมื่อมีการยกเลิกวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ครูดาริกา ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาดาราศาสตร์ ซึ่งจะต้องรับผิดชอบสอนให้กับเด็ก สายวิทย์และสายศิลป์ด้วย “ความแตกต่างระหว่างเด็กสายวิทย์กับเด็กสาย ศิลป์เนี่ย เด็กสายศิลป์เขาจะซื่อ เวลาโกหกอะไรก็ไม่เนียน เวลาดุว่าอะไรก็ จะเชื่อฟัง แต่เด็กวิทย์นี่ฉลาดแล้วขี้โกง แล้วการสอนเด็กสายศิลป์ เราแค่บอก เขาก็เชื่อ แต่สายวิทย์นี่ต้องสู้มากด้วยเหตุผล ความรู้ต้องเจ๋ง แล้วเวลาเขาขี้ โกงนะ จับได้ถ้าไม่คาหนังคาเขา ให้ตายยังไงก็ไม่รับ ทุกรุ่นเลย ... เพราะเขา ฉลาด แบบภาษาโบราณที่ว่า ฉลาดแกมโกงไง” ครูยิ้ม เมื่อเวลาผ่านไป ความผูกพันระหว่างครู นักเรียน และโรงเรียนนั้นมาก ขึ้นเรื่อยๆ จากแรกเริ่มเดิมทีที่รู้สึกกลัวว่าจะสอนไม่ได้ แต่เมื่อมีการเตรียมตัว การสอนอย่างดีและสม่ำ�เสมอ นักเรียนตั้งใจเรียน ทำ�ความสุขของครูเพิ่มพูน ขึ้นทุกๆ วัน ๖๗

design 4.indd 67

9/9/2556 15:53:31


“เด็กสวนฯ ฉลาด ชอบคิดอะไรที่เราคาดไม่ถึง แต่ก็มีความเคารพครูบาอาจารย์นะ บางครั้งก็ทำ�ให้ครูหายโมโหได้ง่ายๆ ทำ�ให้ครูมีความหวังอยู่เสมอว่า ถ้าครูจะสอนให้เขาเป็น คนดี หรือเป็นคนเก่ง มันเป็นเรื่องไม่ยาก ถ้าเรารู้ใจกัน” “แล้วพอเวลาที่มีงานโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น สมานมิตร จตุรมิตร มันเป็นงานที่แสดง ศักยภาพของเด็กมากๆ แล้วไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าทุกคนพูดว่า “เพื่อสวนกุหลาบฯ” เนี่ย มันพรึบนะ อย่างตอนครูอยู่ ม.ต้น ลูกเสือซ้อมเดินสวนสนาม ซ้อมให้ตายก็ไม่เรียบร้อย แต่ พอวันจริงทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี ครูก็เริ่มอินทีละน้อย เพราะฉะนั้นถ้าใครถามครูว่า ทำ�ไม ครูรักโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ครูตอบไม่ได้ ครูเองก็งง มันเป็นไปเองโดยไม่รู้ตัว ไม่รู้เลยว่ารัก ตอนไหน” เสียงครูฟังแล้วรู้สึกได้ถึงความอ่อนโยน และรักสวนกุหลาบฯ จริงๆ มือเขียนตำ�ราของประเทศสอนอยู่ที่สวนกุหลาบฯ นอกจากการสอนในโรงเรียนสวนกุหลาบฯ แล้ว ครูดาริกายังมีผลงานการเขียนตำ�รา วิทยาศาสตร์ภายภาพ รวมทั้งคู่มือครูที่ใช้เป็นหลักในการเรียนการสอนทั่วประเทศอีกด้วย “ครูเป็นส่วนหนึ่งของทีมเขียนตำ�ราให้ วิทยาศาสตร์กายภาพ 14 เล่ม ให้กับวัฒนา พานิช เป็นช่วงที่ครูประสบอุบัติเหตุวิ่งขึ้นรถเมล์แล้วข้อเท้าพลิก โชคดีที่เป็นช่วงปิดเทอม ใหญ่ แต่ก็ไม่ได้ไปไหน ทาง สสวท. ก็ติดต่อมาให้เขียนคู่มือครูให้ ซึ่งครูก็บ่ายเบี่ยงมาตลอด พอไม่ได้ไปไหนก็เลยไม่มีเหตุผลที่จะบ่ายเบี่ยง ฉะนั้นก็จะมีชื่อครูและโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัยอยู่ด้านหลังหนังสือ เด็กๆ เห็นแล้วเอามาแซว ครูก็บอกว่า ฉันทำ�เพื่อโรงเรียนนะ”

๖๘ design 4.indd 68

9/9/2556 15:53:33


ดาราศาสตร์ อดีตรักฝังใจ ดาราศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาโปรดของคุณครูดาริกามาตั้งแต่ตอนเรียนที่จุฬาฯ เป็น วิชาบังคับที่ครูได้ A “ครูชอบเรียนวิชานี้ แล้วครูก็เรียนได้ดี ที่เรียนได้ดีเพราะครูได้ครูดี คือ อาจารย์ประยูร ร่มโพธิ์ อาจารย์สอนไปก็ยิ้มไป สอนแล้วครูชอบ พอชอบมากๆ แล้วก็เลย ตั้งใจเรียน ได้ A คนเดียวเลยนะ” ครูปลื้ม

เมื่อตัดสินใจแล้วยังไงก็จะไป จะใหไ้ ปอยูใ่ นทอ้ งนาที่ศึกษานารีบางบอนก็จะไป ไปตายเอาดาบหนา้ คือถา้ กา้ วขาออกไปแลว้ ไม่มีการถอยหลัง ตายก็ตาย สุดท้ายก็ได้ไปโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ปีการศึกษา ๒๕๔๖ เป็นปีที่ยกเลิกการสอนวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ แต่เพิ่มวิชา ดาราศาสตร์เข้ามาแทน ซึ่งจะต้องสอนทั้งเด็กแผนวิทย์ และแผนศิลป์ “ตอนที่รู้ว่าจะมีการยกเลิกวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ครูรู้สึกเหมือนตกงาน แต่ครูก็ ต้องจับเอาวิชาใดวิชาหนึ่งมาสอน ใครๆ ก็บอกว่า วิชาดาราศาสตร์เป็นวิชาที่น่ากลัว เพราะ สอนให้เข้าใจยาก แต่สำ�หรับครู ครูชอบดาราศาสตร์มาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พอเขาเสนอมานี่ รับทันที ไม่มีคู่แข่งด้วย เพราะไม่มีใครรับสอนเลย” ๖๙ design 4.indd 69

9/9/2556 15:53:36


“หนังสือเรียนก็ไม่มี ให้มาแต่มาตรฐานการเรียนรู้ว่าต้องเรียนรู้อะไร ถึง จะมีความรู้และความชอบอยู่เป็นทุนเดิมก็เถอะ แต่ครูก็กลัวว่าจะสอนไมได้ ครูมี เวลาเตรียมตัวแค่ช่วงปิดเทอมใหญ่ ๓ เดือนเท่านั้นเอง ที่ไหนมีตำ�ราดีๆ ครูก็ไป ซื้อมาอ่าน มาเตรียมทำ�เอกสารประกอบการสอน มีเวลาแค่นั้นจริงๆ เปิดเทอมมา ก็ได้สอนเลย ก็เหมือนได้รื้อฟื้นความรู้ ได้กลับมาทำ�ในสิ่งที่ตัวเองชอบ มีความสุข มาก มากที่สุดในชีวิตความเป็นครูเลยล่ะ” น้ำ�เสียงและแววตาของครูทำ�ให้รับรู้ได้ ถึงความรู้สึกนั้นจริงๆ

แล้วลูกศิษย์ล่ะ คืออะไร... ลูกศิษย์ ก็คือ ลูก + ศิษย์ พวกเธอเป็นทั้งลูก และเป็นทั้งศิษย์ “มันมีกฎอยู่ข้อหนึ่งในทั้งหมด ๙ ข้อของการสอนหนังสือนะว่า ต้องแสดง ให้ลูกศิษย์เห็นว่าเราชอบในวิชาที่เราสอน ครูไม่ต้องแสดงเลย มันชอบอยู่แล้ว พอ เด็กเห็นเรามีความสุข เด็กก็เลยเรียนกับเราอย่างมีความสุข” ครูดาริกากล่าว พี่เลี้ยงมุ่งสู่โอลิมปิก นโยบายของโรงเรียนอย่างหนึ่ง คือ นอกจากครูจะมีหน้าที่สอนนักเรียน ตามหลักสูตรแล้ว ครูจะต้องมีงานพิเศษอย่างอื่นควบคู่กันไปด้วย เมื่อคุณครู ดาริกาเป็นครูสอนวิชาดาราศาสตร์ การเป็นคุณครูพี่เลี้ยงสำ�หรับนักเรียนที่สนใจ ๗๐ design 4.indd 70

9/9/2556 15:53:39


วิชาดาราศาสตร์และต้องการไปแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิก จึงดูเป็น สิ่งที่เหมาะสมที่สุด “งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานส่งเสริมศักยภาพนะ ครูก็แค่ทำ� หน้าที่เป็นครูพี่เลี้ยง คอยประสานงาน ติดต่อวิทยากรข้างนอกมาติวให้ คอยดูแลเด็กทีจ่ ะไปสอบแข่งขัน บางทีถา้ เด็กต้องไปสอบทีต่ า่ งประเทศ ครูก็ต้องไปดูแลพวกเขาด้วย ต้องเข้าใจว่า โอลิมปิกวิชาการทั้งหลาย นั้นเขามีขั้นตอน คือเด็กต้องไปสมัครเพื่อจะสอบ ขั้นตอนแรกเลยต้อง ไปสมัครเพื่อเข้าค่ายที่ ๑ พอเด็กได้รับการคัดเลือก เขาก็จะมีสถานที่ เรียน โดยวิชาดาราศาสตร์ก็จะเรียนที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เพราะ โรงเรียนเขาเป็นศูนย์ดาราศาสตร์ ในค่ายนั้นก็จะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาสอน พอเด็กเรียนค่าย ๑ ครบตามเวลาที่ก�ำ หนดประมาณ ๗๐ ชั่วโมง ก็จะสอบคัดเลือกเพื่อเข้าสู่ค่ายที่ ๒ ก็จะเข้มข้นขึ้น แล้ว ก็จะคัดเลือกเป็นตัวแทนของประเทศต่อไป ซึ่งทั่วประเทศจะมีค่าย ดาราศาสตร์ทั้งหมด ๖ ค่าย จะเลือกมาค่ายละ ๖ คน ก็จะมีนักเรียน ทั้งหมด ๓๖ คน มาสอบแข่งกันอีกครั้งให้เหลือแค่ ม.ปลาย ๔ คน ม.ต้น ๓ คน เพื่อไปแข่งในต่างประเทศ เมื่อได้ตัวแทนนักเรียนแล้ว ก็ มีการเข้าค่ายอบรม ซึ่งทางอาจารย์มหาวิทยาลัยจะเป็นคนจัดการเอง ส่วนครูทำ�หน้าที่เหมือนผู้ปกครอง ต้องไปนั่งอบรมกับเด็กในวันเสาร์ อาทิตย์ประมาณ 10 สัปดาห์ เพื่อทำ�ความคุ้นเคย เพราะว่าตรงจุดนั้น ก็จะมีเด็กโรงเรียนอื่นด้วย พอถึงเวลาที่จะไปแข่งต่างประเทศก็ต้องไป เป็นผู้ปกครองเหมือนกัน เด็กจะไปไหนครูก็จะตามไปดูแลตลอด” ๗๑ design 4.indd 71

9/9/2556 15:53:42


ชีวิตหลังเกษียณ เมื่อวันเวลาผ่านไปเป็นเวลา ๓๓ ปี ที่ครูดาริกาเข้ามาสอนที่โรงเรียน สวนกุหลาบฯ ครูบอกว่า “ครูไม่รู้สึกเหนื่อยเลย เพราะมีเรื่องให้ต้องทำ�ทุก วัน และครูก็เพลินกับการทำ�งาน ตอนแรกที่พวกเธอมาติดต่อเพื่อขอถ่าย รูปเพื่อทำ�หนังสือมุทิตาจิต ครูยังคิดว่านี่ถึงเวลาแล้วเหรอ เมื่อถึงเวลาแล้ว จริงๆ ครูก็มานั่งคิดได้ว่า โลกมันก็หมุนไปอยู่ทุกๆ วัน เมื่อเราออกไปก็ต้องมี คนใหม่เข้ามารับผิดชอบแทน เพราะฉะนั้น ครูก็เลยตั้งใจกับตัวเองว่า ความ รู้ที่ครูมีอยู่ทุกวันนี้ครูจะให้กับผู้ที่รับผิดชอบหมดทุกอย่าง เพื่อที่ว่าเมื่อครู

ถ้าใครถามครูวา่ ทำ�ไมครูรักโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ครูตอบไม่ได้ ครูเองก็งง มันเป็นไปเองโดยไม่รู้ตัว ไมร่ ูเ้ ลยวา่ รักตอนไหน ออกไปครูจะได้ไม่ต้องเป็นห่วง ครูไม่หวงนะ ใครอยากได้ความรู้ครูให้หมด เพราะครูเองก็ไม่ได้อยู่คำ�้ ฟ้า เมื่อครูแก่ตัวไป ความรู้ที่ครูสะสมมาจะหายไป เมื่อไหร่ก็ไม่รู้” เมื่อหมดหน้าที่ของการเป็นครู แต่หน้าที่ของการเป็นแม่บ้านยังต้อง ดำ�เนินต่อไป หลังจากนี้ครูดาริกาก็จะได้มีเวลาพักผ่อน ดูแลสามี และลูกชาย อีก ๒ คนที่เป็นผลผลิตของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้อย่างเต็มที่ ๗๒ design 4.indd 72

9/9/2556 15:53:45


“ครูไม่ยึดมั่นถือมั่น แค่นี้พอแล้ว ตอนนี้ครูอิ่ม ครู ภูมิใจ มีความสุข อะไรที่เคยอยากทำ�ก็ได้ทำ�แล้ว แล้วความ สำ�เร็จก็พอแล้วแค่นี้” ครูบอกด้วยน้ำ�เสียงราบเรียบที่แฝง ด้วยรอยยิ้ม

ทรงเกียรติ นุตาลัย (ส.ก. รุ่น ๑๒๕) กำ�ลังศึกษาปริญญาโท University of Massachusetts Amherst เมื่อ ๙ ปีที่แล้ว ผมจำ�ไม่ได้แน่ชัดว่าใครระหว่างครูดาริกาและครูดรุณีเป็นคนประกาศ กับนักเรียน ม.๓ เกี่ยวกับค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ผมสนใจในวิชา ดาราศาสตร์ และทำ�ให้ผมได้พบกับการเรียนนอกห้องเรียนที่มีแรงขับดันเป็นความสงสัยใคร่รู้ใน ธรรมชาติของเอกภพ ครูดาริกาเป็นครูที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ได้เรียนในวิชา โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศได้อย่างน่าสนใจ ท่านสอนนักเรียนให้รู้จักคิดและตั้งคำ�ถามตาม แบบฉบับครูยุคใหม่ ท่านเป็นครูต้นแบบคนหนึ่งของครูไทย และครูรุ่นหลังควรเอาเป็นแบบอย่าง มีหลายคนกล่าวไว้ว่าคนคนหนึ่งจะเป็นแบบอย่างหรือเป็นไอดอลได้ต้องประพฤติตนเป็น แบบอย่างตั้งแต่วันเริ่มต้นจนถึงวันสุดท้ายของหน้าที่การงาน คุณครูดาริกาเป็นหนึ่งในนั้นครับ ๗๓ design 4.indd 73

9/9/2556 15:53:48


ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น ที่อยู่ปัจจุบัน โทรศัพท์

นางบุญรัตน์ โพธิไพรัตนา แดง ๒๙ ซอยเทิดไท ๕๕ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ๐ ๒๔๕๗ ๗๗๒๒, ๐๘ ๑๒๖๗ ๒๔๕๓

ประวัติการศึกษา ครุศาสตร์บัณฑิต เอกคหกรรมศาสตร์ ปริญญาตรี สถาบันราชภัฏธนบุรี สาขาไทยศึกษา (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) ปริญญาโท เอกศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๗ บรรจุรับราชการที่โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๕๖ หัวหน้าสำ�นักงานกลุ่มบริหารทั่วไป พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๘ หัวหน้างานยานพาหนะ พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๖ ผู้ช่วยรองผู้อำ�นวยการกลุ่มบริหารทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๓ หัวหน้างานยานพาหนะ ๗๔ design 4.indd 74

9/9/2556 15:53:50


พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๖

หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ ดำ�รงตำ�แหน่งครูชำ�นาญการพิเศษ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กลุ่ม สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จนกระทั่งเกษียณอายุ ราชการ

ครูบุญรัตน์ โพธิไพรัตนา เกียรติประวัติการทำ�งาน พ.ศ. ๒๕๓๙ ครูนกั บริการดีเด่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๕ ครูแกนนำ� พ.ศ. ๒๕๔๖ ครูตน้ แบบ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครูช�ำ นาญการพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๔ รางวัลหนึง่ แสนครูดขี องคุรสุ ภา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ๗๕ design 4.indd 75

9/9/2556 15:53:50


๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เหรียญจักรพรรดิมาลา คติประจำ�ใจ ความดี ความอดทน ทำ�ให้ผ่านพ้นอุปสรรคทั้งปวง ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ถ้าจะพูดคำ�ว่า “รักสวนกุหลาบฯ” ก็ยังมีค่าน้อย เกินไป เพราะสวนกุหลาบฯ เป็นเหมือนจิตวิญญาณที่ แทรกซึมอยู่ในจิตใจ อยู่ในสายเลือด ไม่สามารถที่จะแยก ส่วนออกไปจากหัวใจของชาวสวนกุหลาบฯ ได้

๗๖ design 4.indd 76

9/9/2556 15:53:51


คุณครูหัวใจบริการ จากแม่บ้านหันมาเป็นครู คุณครูบุญรัตน์เริ่มต้นชีวิตการเป็นครูเมื่ออายุ ๓๐ ปี ก่อนหน้านั้นชีวิตประจำ�วันคือการ เป็นแม่บ้านคอยดูแลครอบครัว จนกระทั่งลูกๆ โตพอที่จะดูแลตัวเองได้แล้ว ประกอบกับเกิด ความเบื่อกับงานที่บ้าน จึงได้ตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตข้าราชการที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็น แห่งแรก “จริงๆ แล้ว สามีครูเขาอยากให้ครูทำ�งานที่บ้าน เพราะที่บ้านเขามีกิจการ ทุกอย่างเป็น กงสี ส่วนสามีเขาก็ออกมาทำ�งานข้างนอก ก็เลยอยากให้ครูคอยช่วยงานที่บ้านแทน เสร็จจากงาน บ้านและงานทำ�บัญชี ก็จะมีเวลาว่างละ นานๆ เข้าครูก็เบื่อ พอลูกๆ โตพอที่จะดูแลตัวเองได้ ครู ก็เลยบอกกับสามีว่าจะออกไปทำ�งานข้างนอกนะ สามีครูเขาก็ต่อรองว่าถ้าจะไปทำ�งานข้างนอก ขอให้เป็นข้าราชการนะ” ครูบุญรัตน์เริ่มทบทวนเรื่องในอดีต มีโอกาสต้องรีบฉวย อย่าได้นิ่งนอนใจ เมื่อกรมสามัญศึกษาเปิดรับสมัครตำ�แหน่งครูธุรการ ครูบุญรัตน์จึงตัดสินใจสมัครสอบ บรรจุเป็นข้าราชการ โดยเลือกโรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง แต่สุดท้ายโชคและโอกาสก็ทำ�ให้ครูได้ มาบรรจุที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ เป็นที่แรกในชีวิตการเป็นข้าราชการ “ตอนที่สอบบรรจุนั้น ครูไม่ได้โรงเรียนตามที่เลือกไว้ เพราะครูสอบไม่ได้ที่ ๑ แต่เพราะ คะแนนครูถึงเกณฑ์ก็เลยได้ขึ้นบัญชีรอเรียกลำ�ดับที่ ๕ ทีนี้ก่อนวันเรียกตัว โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ๗๗ design 4.indd 77

9/9/2556 15:53:51


ก็เรียกครูมาสัมภาษณ์ หลังจากนั้นอีก ๒ วัน ก็มีหนังสือให้ไปรายงานตัวที่กรมสามัญศึกษา เจ้าหน้าที่เขาบอก ว่าไม่ต้องรอถึงวันเรียกตัวก็ได้นะ ถ้าได้รับจดหมายแล้วก็ไปรายงานตัวได้เลย พอบ่ายวันหนึ่งครูได้รับจดหมาย รุ่งขึ้นครูก็ไปรายงานตัวทันที ปรากฏว่าครูได้บรรจุที่สวนกุหลาบฯ ...มันช่างประจวบเหมาะกันพอดีที่พอถึง ลำ�ดับของครู โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ได้ท�ำ เรื่องขอตำ�แหน่งครูธุรการไปพอดี มาคิดอีกทีถ้าครูได้รับจดหมาย แล้วครูรอให้ถึงวันเรียกตัว คนอื่นอาจจะได้มาแทนครูไปแล้วก็ได้ นี่แหละ ที่เขาบอกว่า โอกาสดีๆ มาแล้ว อย่า ได้นิ่งนอนใจ” ครูบุญรัตน์เล่าถึงความรู้สึกที่ไม่เชื่อว่าจะได้มาสอนที่สวนกุหลาบฯ

ถ้าครูไดร้ ับจดหมายแลว้ ครูรอใหถ้ ึงวันเรียกตัว คนอื่นอาจจะไดม้ าแทนครูไปแลว้ ก็ได้ นี่แหละ ที่เขาบอกวา่ โอกาสดีๆ มาแล้ว อย่าได้นิ่งนอนใจ ก้าวย่างสู่แสนสวนฯ “ตอนนั้นครูไม่รู้หรอกว่าสวนกุหลาบยิ่งใหญ่ขนาดไหน เพราะในการรับรู้ของคนที่เป็นแม่บ้านและ ไม่ได้อยู่ในแวดวงการศึกษานั้น สวนกุหลาบฯ เป็นเรื่องที่ไกลตัวครูมากๆ อีกอย่างครูเองก็เป็นเด็กฝั่งธนบุรี เรียนที่บางปะกอก เคยมาแถวโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ก็ตอน ม.ศ.๒ นั่งรถเมล์สาย ๒๑ มาลงปากคลองตลาด เพื่อที่จะไปซื้ออุปกรณ์การทำ�งานฝีมือที่พาหุรัด ตอนนั้นครูได้เห็นรุ่นพี่ที่นี่ก็ยังสงสัยเลยว่า ทำ�ไมเด็กผู้ชายที่ สวนกุหลาบฯ นี่ตัวโต เสียงดังจัง” ครูบุญรัตน์หัวเราะ “วันแรกที่เข้ามารายงานตัวที่สวนกุหลาบฯ ไม่รู้ว่าห้องธุรการอยู่ไหน เดินเข้ามาก็เหมือนคนบ้านนอก พอดีมีอาจารย์ท่านหนึ่งใส่ชุดสีชมพูทั้งชุด ผมสั้นๆ ผิวขาวๆ ไม่อ้วน ไม่ผอม ดูท่าทางใจดีมาก ท่านก็เข้ามา ๗๘ design 4.indd 78

9/9/2556 15:53:53


ถามว่ามาทำ�อะไรคะ ครูก็ตอบว่า มารายงานตัวค่ะ ท่านบอกว่า มาเลยค่ะ เดี๋ยว จะพาขึ้นไปห้องธุรการ” ด้วยความตื่นเต้นก็ไม่ทันได้ถามชื่อเสียงเรียงนามของ ท่าน พอครูเข้าไปในห้องธุรการแล้วนึกขึ้นได้ว่าจะขอบคุณ ท่านก็ไม่อยู่ซะแล้ว อยากจะบอกว่า ประทับใจมาตลอด และอยากจะขอบพระคุณอาจารย์ท่านนั้น มากๆ ในวันนั้นทางโรงเรียนก็ให้ครูทำ�งานเลย เป็นงานรับแขกจากกระทรวง การต่างประเทศ” เส้นทางที่กลับกัน เมื่อได้ไปสอนหนังสือจึงต้องไปเรียนครู หลังจากที่ครูบุญรัตน์ทำ�หน้าที่ครูธุรการได้ ๑ ปี คุณครูณัฐฐา สมพื้น ซึ่ง ขณะนั้นดำ�รงตำ�แหน่งหัวหน้าหมวดคหกรรมได้ขอให้ไปช่วยสอนในหมวด “ตอนที่มารับตำ�แหน่งครูธุรการ ครูใช้วุฒิ ปวช. มาสอบ แต่ถ้าครูจะต้อง ไปสอนหนังสือ ครูจะต้องไปเรียนต่อเพื่อให้ได้ ครุศาสตร์บัณทิต ทางโรงเรียนก็ กำ�หนดให้ครูไปเรียนต่อในสาขาวิชาคหกรรม ปีแรกที่สอนประมาณปี ๒๕๒๘ ถึง ๒๕๒๙ ได้สอนวิชางานบ้านห้องคิงส์ ม.๑๐๗ เพราะอาจารย์ณัฐฐา เห็นว่า ครูทำ�งานสำ�นักงาน ก็พยายามหาห้องที่ไม่หนักใจ สอน ม.๑ ประมาณ ๒ ปี ก็ ขึ้นไปไปสอนชั้นโตขึ้นๆ หลังๆ ก็ไปสอน ม.ปลาย สุดท้ายก็ให้ไปสอนวิชาเลือก ม.ปลาย ในสายศิลป์ แรกๆ ก็จะมีวิชาช่างประดิษฐ์ของชำ�ร่วย จากนั้นก็มีวิชา ทั่วไปในหมวดคหกรรม เช่น อาหารไทย ขนมไทย ขนมอบ งานบาติก ช่าง ดอกไม้สด โชคทีที่ครูได้เรียนมาหมดเลยทุกช่าง การสอนก็เลยไม่มีปัญหา เรียก ได้ว่าครูไปเรียนต่อก็เพื่อจะนำ�ความรู้ออกมาสอนโดยเฉพาะเลย เกรดก็ออกมา ดีนะ ๔ ทุกเทอม เป็นที่พึ่งของเพื่อนๆ ได้ เวลาไปเรียนก็ไม่อยากแสดงตัวว่าเรา ๗๙ design 4.indd 79

9/9/2556 15:53:56


เป็นครูที่ไหน เพราะกลัวเขาจะหมั่นไส้ แม้แต่อาจารย์ที่สอนก็ไม่ได้บอกให้รู้ เขามารู้ก็เมื่อ วันที่มีการแนะนำ�ตัว พอเขารู้ว่าเราอยู่สวนกุหลาบฯ ก็เหมือนกับว่าเขาศรัทธาโรงเรียนนะ ทุกอย่างก็จะเพ่งมาที่เรา เพราะฉะนั้นความเป็นที่หนึ่งก็ต้องมีอยู่ในตัว เราก็จะไปทำ�อะไร กิ๊กก๊อกไม่ได้แล้ว แล้ววิชาการจัดการมัธยมเนี่ยก็ได้เต็ม เพราะเป็นงานที่เราทำ�อยู่ เพราะ ฉะนั้นข้อสอบที่ออกมาอัตนัย ให้บรรยาย ให้ร่างจดหมาย ทุกอย่างเป็นงานที่ผ่านมือเรามา แล้วทั้งนั้น” ครูบุญรัตน์กล่าวอย่างภาคภูมิใจ

เดี๋ยวนี้จะเห็นได้ว่าเด็กๆ ซักผ้าไม่เป็น หุงหาอาหารเองไม่เป็น บางครั้งเด็กก็ถามว่า เรียนไปทำ�ไม ไปซื้อเอาก็ได้ ครูก็ตอบเขาไปว่า อีกหนอ่ ยถ้าเธอจะไปทำ�ธุรกิจ จะได้รู้ว่าการจะทำ�สิ่งนั้นสิ่งนี้ ต้องใชค้ วามลำ�บากแค่ไหน ต้องใช้เวลานานเท่าไร เด็กผู้ชายกับหมวดการงาน หากมองแบบผิวเผิน วิชาการงานอาจจะถูกมองว่าไม่เหมาะกับนักเรียนชาย แต่ครู บุญรัตน์เชื่อว่าทุกวิชาในหลักสูตรนั้นสามารถสอนในเรื่องของกระบวนการคิด ฝึกให้เด็ก มีความรับผิดชอบทั้งส่วนตัวและส่วนรวมเมื่อต้องทำ�งานเป็นหมู่คณะ วิชาการงานอาจจะ ๘๐ design 4.indd 80

9/9/2556 15:53:57


เป็นวิชาทีช่ ว่ ยให้นกั เรียนคลายเครียด เพราะเป็นวิชาทีจ่ ะต้องลงมือ ปฏิบตั ิ และระหว่างปฏิบตั กิ จ็ ะเป็นการฝึกสมาธิของนักเรียนเองด้วย “เด็กๆ เค้าเลือกเรียนคงเพราะครูใจดี บางทีครูก็พาเค้าออก ไปข้างนอก เดินดูว่าที่ชุมชนของเรามีอาหารอะไรขายบ้าง แม้ว่า ตอนหลังจะมี ดิ โอลด์ สยาม ก็ยังพาไปเดินดู ไปดูเขาทำ�ขนมไทย ของจริงเลย สิ่งที่สำ�คัญของการเรียนวิชาการงาน คหกรรม ก็คือการ ฝึกฝน ได้ปฏิบัติจริง เห็นของจริง เป็นการเปิดโลกทัศน์ของนักเรียน ด้วยตัวนักเรียนเอง ครูก็เป็นเพียงผู้ชี้นำ�ในแนวทางนี้ ใครชอบก็ เรียนจริงๆ จังๆ ใครไม่ชอบจะได้รู้ใจตัวเอง” ครูบุญรัตน์ยังเสริม อีกว่า “เด็กผู้ชายก็จำ�เป็นต้องเรียนรู้วิชาการงานเหมือนกัน เดี๋ยวนี้ จะเห็นได้ว่าเด็กๆ ซักผ้าไม่เป็น หุงหาอาหารเองไม่เป็น บางครั้ง เด็กก็ถามว่า เรียนไปทำ�ไม ไปซื้อเอาก็ได้ ครูก็ตอบเค้าไปว่า อีก หน่อยถ้าเธอจะไปทำ�ธุรกิจจะได้รู้ว่าการจะทำ�สิ่งนั้นสิ่งนี้ ต้องใช้ ความลำ�บากแค่ไหน ต้องใช้เวลานานเท่าไร” ครูบุญรัตน์อธิบายเทคนิควิธีการสอนวิชาการงานให้กับเด็ก ผูช้ ายว่า “บางทีการสอนเด็กแล้วเด็กไม่ท�ำ เนีย่ คนเป็นครูตอ้ งมีลกู ล่อ ลูกชนนะ ต้องมีความอดทนเป็นเลิศ บางครั้งเราไม่ได้โกรธหรอก แต่ก็ต้องทำ�ท่าเหมือนโกรธ ให้เขาได้รู้บ้าง แต่ว่าก็ต้องดูด้วยนะว่า เด็กคนนี้เขาพร้อมไหมกับอากัปกริยาของครูในแต่ละเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น” ๘๑ design 4.indd 81

9/9/2556 15:53:59


วิชาการท่องเที่ยว วิชาที่ไปถึงหัวใจเด็กจริงๆ วิชาที่คุณครูบุญรัตน์คิดว่าเป็นวิชาที่สอนแล้วได้เข้าไปถึงหัวใจเด็กจริงๆ ก็คือ วิชาการท่องเที่ยว เป็นวิชาที่สนุกเพราะจะต้องศึกษาหาความรู้จากสถานที่จริง มีการฝึก ให้ทำ�งานกันเป็นทีม เป็นอีกวิชาหนึ่งที่ครูบุญรัตน์กล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำ�ว่าสอน แล้วมีความสุข “ครูเริ่มสอนวิชานี้ตั้งแต่เทอม ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๔๕ นอกจากที่นักเรียนจะ ได้ความรู้จากแหล่งท่องเที่ยวแล้ว เขายังได้ประสบการณ์การทำ�งานร่วมกัน มีภาวะผู้นำ� มีการแบ่งงานกันทำ� มีความรัก สามัคคี แล้วเด็กที่ครูสอนเนี่ยก็ไม่เคยทำ�ให้ครูต้องเป็น กังวลหรือกลัว มีอยู่ครั้งหนึ่งครูพาเด็กนักเรียนไปที่แสมสาร ก็ไปดำ�น้ำ�ดูปะการังที่ทหาร เรือเขาจัดให้ หลังจากดูปะการังเสร็จก็ยังพอมีเวลา เด็กๆ เขาก็ขอเล่นนำ�้ ต่อ ครูก็ปล่อย ให้เล่นนำ�้ กันตามอัธยาศัย พอเวลาใกล้จะหมดครูก็ไปยืนริมหาดแล้วก็เรียก เขาก็เดินขึ้น มา ทหารเรือเขาก็เดินเข้ามาหาครูแล้วก็ถามว่า อาจารย์ครับ อาจารย์ทำ�ได้ยังไง อาจารย์ เป็นผู้หญิง อาจารย์ไม่เห็นต้องไปโวยวายอะไร เด็กๆ ก็เชื่อฟังเดินขึ้นมากันหมด ... ก็คง เป็นเพราะเป็นนักเรียนสวนกุหลาบฯ ด้วยมั้ง ปีต่อมาเด็กมาลงทะเบียนเรียนเยอะมาก เยอะจนอยากจะเป็นลม แต่ก็จ�ำ เป็นต้องรับ แต่เด็กๆ ของเราก็มีน้ำ�ใจนะ เวลาจะไปดู งานข้างนอก ถ้ามีผู้ปกครองที่ทำ�งานในหน่วยงานนั้นก็จะขอให้อำ�นวยความสะดวกให้ ผูป้ กครองท่านไหนทีท่ �ำ ธุรกิจเกีย่ วกับยานพาหนะก็จะขอความอนุเคราะห์เรือ่ งการเดินทาง พวกเด็กเขาทำ�กันเองโดยที่ครูไม่ต้องบอก แล้วก็มีบางคนนะ จบออกไปก็ไปเปิดบริษัท ท่องเที่ยว ซึ่งนึกไม่ถึงเลยว่าเขาจะไปทำ�งานการท่องเที่ยวได้ เพราะเขาเป็นเด็กเงียบๆ ครูดีใจมาก” ครูบุญรัตน์กล่าวอย่างภูมิใจ ๘๒ design 4.indd 82

9/9/2556 15:54:01


“เวลาที่เราได้ออกไปดูงานข้างนอก บางทีก็ต้องไปพักแรมกัน ก็จะมี กิจกรรมเปิดใจกันระหว่างครูกับเด็ก บางทีเขาก็มี surprise ครู หลังจากที่ เราออกไปทำ�กิจกรรมข้างนอกด้วยกัน พอกลับเข้ามาเรียนในโรงเรียน ความ สัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ดีขึ้น เข้าใจกันง่ายขึ้น มันได้ใจกันไง นี่แหละเวลา สอนเด็ก เราต้องได้ใจเด็ก มันจะทำ�ให้การปกครองดูแลของเรานั้นง่ายขึ้น แต่ การได้ใจไม่ใช่ว่าเราไปโอ๋เด็กนะ หมายถึงว่าเราต้องรู้เท่าทัน สังเกตเขาว่าเป็น

พอเขาเห็นวา่ เราเป็นหว่ งหรือสนใจเขา เขาก็จะไวใ้ จเรา ตอ่ ใหเ้ ด็กดื้อแค่ไหนก็เถอะ ถา้ เขามีเรานั่งอยู่ในใจ ครูต้องเป็นได้ทุกอย่างให้กับลูกศิษย์ บางครั้งต้องเป็นแม่ เป็นเพื่อน อะไร เป็นห่วงเขา พอเขาเห็นว่าเราเป็นห่วงหรือสนใจเขา เขาก็จะไว้ใจเรา ต่อ ให้เด็กดื้อแค่ไหนก็เถอะ ถ้าเขามีเรานั่งอยู่ในใจ ครูต้องเป็นได้ทุกอย่างให้กับ ลูกศิษย์ บางครั้งต้องเป็นแม่ เป็นเพื่อน” น่ า เสี ย ดายที่ ก ารเรี ย นการสอนวิ ช าการท่ อ งเที่ ย วต้ อ งประสบกั บ อุปสรรคหลายอย่างๆ รวมทั้งอายุของครูที่มากขึ้น ครูจึงตัดสินใจที่จะยุติ การสอนวิชานี้ไปในที่สุด ๘๓ design 4.indd 83

9/9/2556 15:54:04


กุหลาบพันธุ์ดีมีอยู่เต็มสวนฯ หากจะเปรียบเทียบโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นแหล่งเพาะปลูก ครู เป็นชาวสวนที่คอยดูแลสวนกุหลาบฯ คอยรดน้ำ�พรวนดินเพื่อที่จะให้ลูกศิษย์ที่ เปรียบเสมือนต้นกุหลาบออกดอกออกผลให้เจริญสวยงาม กุหลาบนั้นก็ต้องเป็น กุหลาบพันธุ์ดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ในความคิดของครูบุญรัตน์นั้น เด็กสวนกุหลาบฯ เป็นเด็กซนตามประสาเด็กผู้ชาย แต่มีสติปัญญา รู้จักไตร่ตรอง รู้จักผิดชอบชั่วดี มี บางครั้งถึงแม้จะออกนอกลู่นอกทางไปบ้าง แต่โดยรวมก็ไม่ได้สร้างความกังวลใจให้ กับครูเลย “ครูประทับใจเด็กสวนกุหลาบฯ นะ ถึงบางครั้งจะซน จะหนีเที่ยวบ้าง แต่ก็ ไม่ได้ไปทำ�ตัวเกะกะระรานใคร มีอยู่คราวหนึ่ง พวกเด็กๆ ชมรมท่องเที่ยว เด็กกลุ่ม นี้เขาจะเกเรนิดหน่อย เขาขโมยรถพ่อแม่ไปเที่ยวพัทยากัน กลับมาก็โดนตี แต่เด็ก กลุ่มนี้แหละที่หนีโรงเรียนแล้วไปช่วยพระที่วัดสุทัศน์วิ่งไล่ขับขโมยที่จะมาลักเศียร พระ สุดท้ายก็ได้รับใบประกาศชมเชย นี่แหละนะ ถึงแม้ว่าจะเกเรแค่ไหน แต่ลึกๆ พวกเขาก็รู้ว่าอะไรผิดอะไรชอบ” ครูกล่าวพร้อมกับหัวเราะ มือสำ�คัญในงานด้านบริการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นองค์การขนาดใหญ่ เป็นทั้งบ้าน เป็น ทั้งสถานศึกษา การดำ�เนินงานทุกอย่างจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันจากทุกภาคส่วน บุคลากรสำ�คัญที่จะมาทำ�หน้าที่ขับเคลื่อนให้กิจการของโรงเรียนดำ�เนินไปได้อย่าง ราบรื่นก็คือฝ่ายบริหารทั่วไป ครูบุญรัตน์เป็นบุคคลหนึ่งที่เริ่มต้นชีวิตข้าราชการ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ในหน้าที่ครูธุรการ ได้รับการพัฒนา ฝึกฝน จนรู้ระบบ ๘๔ design 4.indd 84

9/9/2556 15:54:06


ระเบียบของโรงเรียนเป็นอย่างดี ถึงแม้วา่ จะต้องแบ่งเวลาไปสอนนักเรียน บ้าง แต่ครูก็ยังคิดถึงและอยากที่จะทำ�งานธุรการอยู่เสมอ และด้วย ความเชี่ยวชาญในการทำ�งานนี้เอง ครูจึงได้รับความไว้วางใจให้ท�ำ งาน ด้านการบริหารการจัดการ ดูแลเรื่องสวัสดิการ ยานพาหนะ มาตลอด ระยะเวลาที่ทำ�งานอยู่ที่โรงเรียน

ครูเริ่มทำ�งานที่นี่เป็นที่แรก โรงเรียนก็เปรียบเสมือน เป็นพอ่ แมข่ องครู คอยป้อน คอยสอนใหเ้ ราทำ�งาน เป็นทีละขั้นตอน ดังนั้นครูจะมองว่าบุคลากรทุกคน ในโรงเรียนก็เปรียบเสมือนญาติพี่น้องของครู “ครูบอกตัวเองเสมอๆ ว่า โรงเรียนให้โอกาสครูได้มาทำ�งานที่ นี่ ครูเริ่มทำ�งานที่นี่เป็นที่แรก โรงเรียนก็เปรียบเสมือนเป็นพ่อแม่ของ ครู คอยป้อน คอยสอนให้เราทำ�งานเป็นทีละขั้นตอน ดังนั้นครูจะมอง ว่าบุคลากรทุกคนในโรงเรียนก็เปรียบเสมือนญาติพี่น้องของครู” ครูบุญ รัตน์กล่าวถึงความรู้สึกภายในใจ “งานที่ครูทำ�นอกจากสอนหนังสือมีเยอะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นงาน เกี่ยวกับสวัสดิการที่จะต้องดูแลเรื่องงานศพ จัดรถรับส่งครูไปร่วมงาน จัดพวงหรีด จัดเงินสำ�หรับช่วยงานศพ วางแผนงานสำ�หรับจัดงาน ๘๕ design 4.indd 85

9/9/2556 15:54:08


สัมมนา อบรมบุคลากรในโรงเรียน งานสวนฯ สัญจรที่จะพาครูในโรงเรียนไปเที่ยวพักผ่อน ซึ่งงาน นี้อาจารย์วิชาญเป็นคนริเริ่ม ครูก็ไปช่วยๆ กันทำ� ต่อมาอาจารย์วิชาญไปอยู่ฝ่ายธุรการ ครูเองอยู่ ฝ่ายบริหารทั่วไปก็ยังต้องรับทำ�ต่อ นอกจากนี้งานยานพาหนะก็ต้องทำ�นะ ต้องดูแลเรื่องรถของ โรงเรียน ครูจะเป็นคนจัดคิวเอง แรกๆ ก็จะต้องให้ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการเป็นคนเซ็นอนุมัติ ภายหลัง ก็แต่งตั้งให้ครูเป็นหัวหน้างานยานพาหนะคนแรกเลย งานหนักมาก เพราะต้องรับหน้าที่ใน

งานบริหารทั่วไปเป็นงานที่ต้องติดต่อกับคนจำ�นวนมาก ดังนั้นเราต้องระลึกเสมอวา่ เราจะตอ้ งมีความละเอียด รอบคอบ มีหลักธรรม คือ พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นที่ตั้ง ที่ส�ำ คัญที่ขาดไม่ได้คือสัจจะ และความซื่อสัตย์ในหน้าที่ สำ�นักงานด้วย เวลาทำ�ยานพาหนะมันลำ�บากตรงที่ต้องจัดรถให้สามารถใช้งานได้เต็มที่ เพราะทุก คนคิดว่างานตัวเองสำ�คัญทั้งนั้น เราก็ต้องดูความเหมาะสมว่าจะต้องใช้รถคันไหน บางทีคนขับรถ ก็ลา วิ่งหาคนขับกันให้วุ่น แต่ทุกอย่างก็แก้ไขกันมาเรื่อยๆ ด้วยการออกระเบียบการใช้ยานพาหนะ ทำ�ให้เป็นระบบมากขึ้น แล้วพอมาถึงปี ๒๕๕๔ ก็มารับตำ�แหน่งหัวหน้างานประชาสัมพันธ์อีกให้ กับโรงเรียนอีกหนึ่งตำ�แหน่ง” ๘๖ design 4.indd 86

9/9/2556 15:54:10


ถึงแม้ว่างานในฝ่ายบริหารทั่วไปจะเป็นงานที่มีปัญหาเฉพาะหน้าอยู่ ตลอดเวลา ครูบุญรัตน์เองก็ไม่ได้มีความย่อท้อต่อปัญหาที่มีเข้ามา ครูบุญรัตน์ ได้กล่าวถึงหลักการทำ�งานของครูว่า “งานบริหารทั่วไปเป็นงานที่ต้องติดต่อกับคนจำ�นวนมาก ดังนั้นเราต้อง ระลึกเสมอว่าเราจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ เพราะว่างานบางอย่างถ้าหลุด แล้วก็เกิดความเสียหาย ความจำ�จะต้องดี จะต้องอดทนกับอารมณ์ของผู้อื่นได้ เป็นอย่างดี มีหลักธรรม คือ พรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็น ที่ตั้ง ที่สำ�คัญที่ขาดไม่ได้คือสัจจะ และความซื่อสัตย์ในหน้าที่ และเป็นธรรมดา ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม จะต้องมีทั้งคนที่รักและชังเรา อยู่ที่ว่าเราจะครองใจ เราให้เป็นสุขยังไง อะไรที่เป็นทุกข์ ถ้ารู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องของเรา หรือไม่เป็น ความจริง เราก็ปล่อยให้ผ่านไป อย่าให้มันมากระทบใจ” ชีวิตหลังเกษียณ “ครูยังมีพลังอยู่ค่ะ” เป็นคำ�ยืนยันจากปากของครูบุญรัตน์ที่ยังมีความ รู้สึกว่ายังไม่อยากเกษียณอายุราชการ “ก็ยังต้องการหาอะไรทำ�อีกเพราะครูคิดว่ายังมีแรงนะ เกษียณออกไป ก็คงรู้สึกใจหาย เพราะชีวิตประจำ�วันคือมาทำ�งานที่โรงเรียน ได้เจอลูกศิษย์ เป็นประจำ� ก็คงคิดถึงบรรยากาศการทำ�งาน การสอน ลูกชายก็ชวนไปสอนที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏที่เชียงใหม่ แต่อีกใจก็อยากช่วยลูกสาวเลี้ยงลูกตั้งแต่เค้า เกิดเลย เพราะคิดว่าลูกสาวครูซึ่งเป็นพยาบาลจะต้องเข้าเวรไม่เป็นเวลา อาจจะ ไม่มีเวลาดูแลลูกเพียงพอ” ครูบุญรัตน์พูดถึงชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ ๘๗ design 4.indd 87

9/9/2556 15:54:12


หนึ่งใจที่ฝากไว้ให้กับชาวสวนฯ “ต้องแยกส่วน คนที่ยังเรียนก็ต้องตั้งใจเรียน มีหน้าที่เรียน ไม่ดื้อ ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนแล้วผลสำ�เร็จก็ จะตามมา และส่วนของศิษย์เก่า บางคนครูไม่ได้สอน ก็มาดูแลครู อยาก ให้น่ารักอย่างนี้ตลอดไป สวนกุหลาบฯ ไม่ว่าจะกี่รุ่นต่อกี่รุ่นจะเป็นนำ�้ หนึ่ง ใจเดียวกัน มันก็เป็นเหมือนลูกโซ่ไปเรือ่ ยๆ น้องทีอ่ ยูใ่ นนีก้ ร็ กั รุน่ พี่ เชือ่ ฟังรุน่ พี่ แม้บางครัง้ จะมีเรือ่ งขัดแย้งกันบ้าง แต่พอเค้าจบไปแล้ว ก็มกี ารช่วยเหลือ ดูแล ซึง่ กันและกัน ซึง่ ไม่มใี นทีอ่ น่ื คนภายนอกเขาจะมองชาวสวนกุหลาบฯ ว่าต้อง เก่ง เวลาไปทำ�งาน ทำ�กิจกรรมที่ไหนก็จะได้รับความสนใจ เวลาโรงเรียน มีงานอะไร ใครๆ เห็นก็ถามว่า สวนกุหลาบฯ ทำ�ไมรักกันอย่างนี้ พวกเรา อย่าลืมว่าเรามีศักดิ์ศรีที่สง่างาม ความสง่างามที่ไม่ได้เกิดจากเสื้อผ้าเครื่อง แต่งกาย แต่หากเกิดจากมันสมอง ความรักในสถาบัน ซึ่งครูก็อยากให้เป็น เช่นนี้ตลอดไป”

๘๘ design 4.indd 88

9/9/2556 15:54:16


พูลลาภ วีระธนาบุตร รุ่น ๑๑๑ มหาราช ร่วมสนับสนุนงานมุทิตาจิต ๕๖

design 4.indd 89

9/9/2556 15:54:20


๖ ทศวรรษ คุณครู มณฑล วิวิตรกุล ทศวรรษ ที่ ๑ – ๒ (๒๔๙๕ - ๒๕๑๕) ชาตกาล ๖ ตุลาคม ๒๔๙๕ ตรงกับวันแรม ๒ คำ�่ เดือน ๑๑ ปีมะโรง อ.เมือง จ.หนองคาย ประถมวัย ชั้นอนุบาล - ประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๒ โรงเรียน “หอประชุม” อ.เมือง จ.หนองคาย ประถมศึกษาปีที่ ๒ – ๗ โรงเรียนบ้านหมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล อ.เมือง จ. อุดรธานี มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียน ที่ ๒ – มัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ทศวรรษ ที่ ๓ (๒๕๑๖ - ๒๕๒๕) หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปทุมวัน) ใน ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้กลับไปสอนหนังสือที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปี การศึกษา ๒๕๑๙-๒๕๒๐ ต่อจากนั้นตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๑ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ เป็นเวลา ๓๕ ปี ๔ เดือน ปฏิบัติงานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ๙๐ design 4.indd 90

9/9/2556 15:54:23


ในทศวรรษนี้ เป็นช่วงเวลาที่จบการศึกษาขั้นอุดมศึกษา และเริ่มชีวิตการ ทำ�งาน ภายหลังมาทำ�งานที่ กฟผ. เป็นการถาวร ได้รับความไว้วางใจจาก อาจารย์สุพล สุวรรณนพ (ถึงแก่กรรมแล้ว) และอาจารย์โอฬาร มีศักดิ์ ให้ไป สอนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชาวัดเลียบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี เรียกได้ว่า ในช่วงเวลานั้นทำ�งานสัปดาห์ละ ๗ วัน ไม่มีวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ เหนื่อย มากๆ ในปีสุดท้ายของทศวรรษนี้ เมื่ออายุครบ ๓๐ ปี ได้บำ�เพ็ญกุศลครั้ง

ครูมณฑล วิวิตรกุล ยิง่ ใหญ่ดว้ ยการออกบรรพชาอุปสมบท โดยได้รบั ความเมตตาจากท่านเจ้าคุณ พระเทพโสภณ (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่ พระธรรมราชา นุวัตร) อนุญาตให้จำ�พรรษา ณ หมู่กุฏิในคณะเหนือ (น.๑๖) วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ตลอดไตรมาส ภายหลังพรรษากาล ได้มี โอกาสรับเสด็จพระราชดำ�เนินขึ้นรับผ้าพระกฐินบนอาสน์สงฆ์ ซึ่งในปีนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำ�เนินแทนพระองค์ มาทรงบำ�เพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอารามแห่งนี้

๙๑ design 4.indd 91

9/9/2556 15:54:24


ทศวรรษ ที่ ๔ - ๕ (๒๕๒๖ - ๒๕๔๕) ๒ ทศวรรษนี้ เป็นช่วงที่คุณพ่อและคุณแม่ เกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ และ พ.ศ. ๒๕๓๑ ตามลำ�ดับ แต่ก่อนที่คุณแม่จะเกษียณอายุราชการ ๑ ปี ได้เกิดอุบัติเหตุ อย่างรุนแรง ต้องเข้าเฝือกที่เท้าทั้ง ๒ ข้างนอนพักรักษาตัวที่ ร.พ.ศิริราช นานกว่า ๖ สัปดาห์ ภายหลังคุณแม่ไปไหนด้วยตนเองไม่สะดวกนัก ต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงร่างกาย ในส่วนตัวนั้นก็มีความสุขในการทำ�งาน มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศโดย เฉพาะประเทศในทวีปเอเชีย และบางประเทศในทวีปยุโรปบ้างตามสมควร ในปีสุดท้าย ของทศวรรษนี้ ต้องสูญเสีย ท่านเจ้าคุณ “พระธรรมราชานุวัตร (กมล โกวิโท)” ไปใน วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๕ นำ�มาซึ่งความเศร้าสลดเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ในส่วนตัวแล้วท่าน เจ้าคุณมีความเมตตากรุณาอนุเคราะห์ในทุกเรื่องมาโดยตลอดกว่า ๓๕ ปี ทำ�ให้การ เตรียมงานทำ�บุญอายุ “กึ่งศตวรรษ” ที่ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณไว้ต้องยกเลิกไป เป็นการ ทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลถวายท่านแทน ทศวรรษ ที่ ๖ (๒๕๔๖ - ๒๕๕๕) ในช่วง ๕ ปีแรก ชีวิตได้เปลี่ยนไปมาก ได้ย้ายบ้านจากศรีย่าน มาที่รามอินทราในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ต่อมาต้องประสบกับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต ด้วยคุณพ่อได้ถึงแก่กรรมโดย กะทันหัน ในเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๔๘ ขณะที่คุณแม่กำ�ลังนอนรักษา ตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเข้าสุภาษิตที่ว่า“ถึงโรคซำ�้ กรรมซัดวิบัติเป็น” หลังจากนั้น ก็ต้องอยู่ ที่บ้านใหม่แห่งนี้กันเพียง ๒ คน กับคุณแม่... เงียบ... และเหงา... ในบางขณะ แต่ก็ต้อง ทำ�ใจ และเตรียมใจ รับสถานการณ์ต่างๆที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งเป็นเรื่อง “ธรรมดา” เพราะอายุก็ล่วงมาถึงปูนนี้แล้ว สุขและทุกข์คละเคล้ากันไป จะมีแต่สุขอย่างไรได้ ๙๒ design 4.indd 92

9/9/2556 15:54:25


สำ�หรับ ๕ ปีสุดท้าย ในทศวรรษนี้ ที่สำ�คัญในปลายปี ๒๕๕๓ ร่มโพธิ์แก้วของลูกได้ รับอุบัติเหตุหกล้ม กระดูกที่ไหล่ขวาแตกเล็กน้อย ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล รามาธิบดี โดยได้รับการดูแลจากคุณหมอลูกศิษย์ของคุณแม่หลายคน ประกอบกับ คุณแม่เริ่มมีอาการของ “ความจำ�เสื่อม” เกิดขึ้นแล้ว เมื่อออกจากโรงพยาบาล จึง จำ�เป็นต้องนำ�คุณแม่ไปฝากไว้กับ “บ้านหมอสม” สถานรับดูแลผู้สูงวัย ตั้งแต่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ มาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นทุกวันตอนเย็นก่อนกลับเข้าบ้าน จะแวะ เข้าไปเยี่ยม พร้อมกับป้อนอาหารมื้อเย็น (ปกติคุณแม่จะช่วยตนเองในเรื่องนี้ได้พอ สมควร) และพูดคุยกับคุณแม่ในทุกๆเรื่อง วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ มีอายุครบ ๖๐ ปี ได้ บำ�เพ็ญกุศลนิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์ สร้างพัดรองที่ระลึก และย่ามปักข้อความ “สัฏฐีวัสสายุ กมงคล นายมณฑล วิวิตรกุล ๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ พร้อมรูปพญานาคพ่นนำ�้ ดั้นเมฆ” และนิมนต์ฉันภัตตาหารเพล ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราช วรมหาวิหาร พร้อมพระภิกษุสามเณร ที่จำ�พรรษา ณ พระอารามนี้ อีก ๖๐ รูป เป็น มงคลยิ่งหาที่สุดมิได้ และยอดยิ่งของมงคลและความปิตินั่นคือ “พระอรหันต์ของลูก” คุณแม่นิรมล – อาจารย์นิรมลของลูกศิษย์ ท่านมาเป็นประธานในงานนี้ เป็นบุญของ ลูกสุดที่จะพรรณนา เริ่มทศวรรษ ที่ ๗ ( ๒๕๕๖........)

๙๓ design 4.indd 93

9/9/2556 15:54:27


สวนกุหลาบฯ นี้ บุญคุณยิ่งใหญ่เกินจะทดแทน รบกวนอาจารย์แนะนำ�ตัวครับ ชีวิตครู เข้ามาเกี่ยวข้องกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ขณะอายุ ได้ ๑๓ ปี เมื่อย้ายติดตามคุณแม่ ซึ่งก็คืออาจารย์นิรมล วิวิตรกุล กลับภูมิล�ำ เนาเดิม โดยได้เข้า “สู่แดนสวนฯ” วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๘ ในชั้น ม.ศ.๑ อาจารย์สุภาพ จันทรศัพท์ (ถึงแก่ กรรม) เป็นอาจารย์ประจำ�ชั้น ในฐานะที่เป็นนักเรียนใหม่ เข้ากลางปีการศึกษาก็เลยถูกเรียกตัว ให้ไปพบกับอาจารย์ หลายท่าน เริ่มจากอาจารย์รัมภา (มาศเมือง) เจริญยิ่ง อาจารย์ฉวี สงวน เกียรติ และอาจารย์ประภา บรรณกิจโสภณ ที่ห้องพักครูตึกนาฬิกาเพื่อซักไซ้ไล่เลียงถึงประวัติ โดยเฉพาะที่มาและที่ไปของครู กับ อาจารย์นิรมล ฯ (คุณแม่) ซึ่งทราบต่อมาว่าท่านอาจารย์ฉวี ฯ และอาจารย์ประภา ฯ นั้นเป็นเพื่อนรุ่นพี่และเพื่อนนักเรียนของคุณแม่ ทำ�ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น ขึ้นในทันที บรรยากาศสมัยที่เป็นนักเรียนเป็นอย่างไรบ้างครับ บรรยากาศสมัยเป็นนักเรียน คงเริ่มตั้งแต่ตอนเช้า จำ�ได้ว่าช่วง ม.ศ.๑-๒ เข้าแถวเคารพ ธงชาติที่สนามฟุตบอล ต่อมาเพื่อรักษาหญ้าบนสนามฟุตบอล นักเรียนทุกระดับชั้นเข้าแถวเคารพ ธงชาติบนถนนรอบสนามฟุตบอล วงดุริยางค์บรรเลงเพลงและนักเรียนร่วมร้องเพลงชาติ ดัง ๙๔ design 4.indd 94

9/9/2556 15:54:28


กระหึ่มเป็นบรรยากาศที่ “ขลังมากๆ” ขณะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา หัวหน้านักเรียนนำ�สวดมนต์ จะมีอาจารย์ใหญ่ หรืออาจารย์ที่ได้รับมอบ หมายกล่าว “อบรม” หรือ “แจ้งข่าวสารสำ�คัญของโรงเรียน” นักเรียนที่ รับผิดชอบกิจกรรมต่างๆ (ส่วนใหญ่เป็นประธานชมรมฯ หรือเลขานุการ ชมรมฯ) ประกาศข่าว เสร็จขั้นตอนนี้วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมาร์ช ชมพู-ฟ้า แยกย้ายเดินขึ้นตึกเข้าชั้นเรียน (อย่างเป็นระเบียบ)

“การเป็นครู” ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ ตอ้ งมีความรู้ ความสามารถ เพื่ออบรมสั่งสอน ชี้แนะให้ “ศิษย์” โดยไมป่ ิดบัง ต้องมีคุณธรรมสูง และความประพฤติที่พึงปฏิบัติ สูงกวา่ บุคคลอื่นๆ ในสังคม สำ�หรับการเรียน-การสอน นั้น แบ่งการเรียนเป็นภาคเช้า ๓ คาบ (คาบละ ๖๐ นาที เต็ม) หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน ๑ ชั่วโมง ก่อนเข้าเรียนภาคบ่าย (อีก ๓ คาบ) ต้องเข้าแถวหน้าห้องให้เรียบร้อย ตามสัญญาณระฆัง หรือ สัญญาณออด ๙๕ design 4.indd 95

9/9/2556 15:54:30


จบการเรียนภาคบ่ายประมาณ ๑๖.๐๐ น แยกย้ายกันกลับ บ้าน หรือทำ�กิจกรรมต่างๆ ตามความชอบหรือความถนัด เล่นฟุตบอล (เล็ก) บนถนนรอบๆ สนาม พอได้เหงื่อ แยกย้ายกันกลับบ้าน มี “วีรกรรม” ของเพื่อนคู่หนึ่งที่อยากจะเล่าให้ฟัง ขณะนั้นเรียน อยู่ชั้น ม.ศ.๓ เขาทะเลาะวิ่งไล่ตีกันขึ้นมาที่ชั้น ๒ ตึกหอนาฬิกา คนที่วิ่ง ไล่คว้ารองเท้าคู่กรณีขว้างใส่ ปรากฏว่ารองเท้าปลิวผ่านหน้าต่างห้อง ตกลงพื้นข้างล่าง เจ้าของรองเท้ากระโดดตาม ลอยลงสู่พื้น ดีที่เป็น เพียงตึก ๒ ชั้นเท่านั้น ผลเพียงแค่ขาหัก ต้องเข้าเฝือกเป็นเดือน ปัจจุบัน เพื่อนคนนี้ยังปฏิบัติงานที่ ธนาคารโลก กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา มีโอกาสเจอกันทาง Facebook สำ�หรับเพือ่ นๆ ซึง่ มีมากกว่า ๒๐๐ คนถ้าจะกล่าวถึงแต่ละคน จะ กลายเป็นหนังสือเล่มโต จึงขอกล่าวถึงพอเป็นตัวอย่าง อาทิ คุณศุภชัย บานพับทอง (เพื่อนร่วมห้องภาษาเยอรมัน ชั้น ม.ศ.๔-๕ ที่มี ๑๘ คน หรือทีพ่ วกเราเรียกกันเองว่า ๑๘ มงกุฎ) ดำ�รงตำ�แหน่งรองปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ก่อนเกษียณ ได้เป็น “พระยาแรกนาขวัญ” ประจำ� ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งคงไม่มีอีกแล้วในประวัติศาสตร์ของรุ่น และโรงเรียน หรือในฝ่ายการเมือง ดร.พิสิฐ์ ลี้อาธรรม เคยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้ดำ�รงตำ�แหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระยะหนึ่ง คุณ วิรัช ชาญพาณิชย์ อดีตผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติไทย อาจารย์มานพ แย้มอุทัย แห่งคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ส่วนเพื่อนที่เรียนห้อง ม.ศ.๑ ฉ อาทิ เช่น คุณวิชญ์ พิพุธวัฒน์ (อดีตรองผู้ว่าการ กฟผ.) พล.ต.ท. บริหาร ๙๖ design 4.indd 96

9/9/2556 15:54:32


เสี่ยงอารมณ์ พล.ต.ท. นิคม อินเฉิดฉาย พล.ต.ต พิสุทธิ์ พุ่มพิเชษฐ์ ซึ่งได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ครูเกิดต้นเดือนตุลาคม จึงต้องปฏิบัติงาน ต่ออีก ๑ ปี จึงมาเกษียณในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ น.พ. เสถียร ภู่ประเสริฐ (ผู้บริหาร ร.พ.พระรามเก้า) และ คุณอาทร สินสวัสดิ์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง และนายกสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ซึ่งจะเกษียณอายุในต้นปี ๒๕๕๗) เป็นต้น

เวลานั้นครูตกอยู่ใน ๒ สถานะ คือเป็นนักเรียน และ เป็นลูกของอาจารย์ในโรงเรียน ดังนั้นต้องยิ่งประพฤติปฏิบัติตนในฐานะของนักเรียนอย่างเคร่งครัด อาจารย์อยู่ในครอบครัวที่มีสายเลือดแห่งความเป็นครูอยู่แล้ว อาจารย์ให้คำ�จำ�กัดความของคำ�ว่า “การเป็นครู” อย่างไรครับ “การเป็นครู” คงต้องบอกว่าไม่ได้เป็นกันง่ายๆ เพราะ “ครู” ได้รับการยกย่องในสังคมไว้ในที่ “ปูชนียบุคคล” ฉะนั้นผู้เป็นครู จึง จำ�เป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ เพื่ออบรมสั่งสอน ชี้แนะให้ “ศิษย์” โดยไม่ปิดบัง เพื่อ “ศิษย์” ได้มีความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง “ครู” ต้องมีคุณธรรมสูงและความประพฤติที่พึงปฏิบัติสูงกว่าบุคคลอื่นๆ ในสังคม สมัยที่อาจารย์เป็น “นักเรียน” กับสมัยที่เป็น “ครู” นั้น แตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ สมัยที่เป็นนักเรียน บอกได้ว่าต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบระเบียบ กฎข้อบังคับของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด เพราะ ณ เวลานั้นครู ตกอยู่ใน ๒ สถานะ คือเป็นนักเรียน และ เป็นลูกของอาจารย์ในโรงเรียน ดังนั้นต้องยิ่งประพฤติปฏิบัติตนในฐานะของนักเรียนอย่างเคร่งครัด เพราะถ้าความประพฤติไม่ดี ก็จะเดือดร้อนถึงผู้ปกครอง และจะเป็น “ขี้ปาก” ของคนอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างครู กับอาจารย์นิรมลฯ ต้อง แบ่งโดยเด็ดขาด ความเป็นแม่-ลูก เมื่อเข้าประตูโรงเรียน ต้องเปลี่ยนเป็น นักเรียน กับครู ทันที และเป็นเช่นนี้ไปตลอดทั้งวัน ได้เวลากลับบ้าน ต้องมายืนรออาจารย์ (แม่) ที่หน้าห้องพักครู เมื่ออาจารย์ (แม่) ปฏิบัติภารกิจต่างๆ เสร็จ ครูจะเดินตามอาจารย์ (แม่) กลับออกไป พ้นประตู โรงเรียนแล้ว ความเป็นแม่-ลูก จึงกลับมา เป็นเช่นนี้ตลอดเวลา ๕ ปี ในสถานะนักเรียน ๙๗ design 4.indd 97

9/9/2556 15:54:33


ต่อมาเมื่อมีโอกาสกลับมาสอนหนังสือ ครู ก็มีสถานะของตนเองเพิ่มขึ้น คือเป็นทั้งครูและลูก ศิษย์ของอาจารย์บางท่าน ก็ต้องปรับตัวอีกนะ คือเป็นเพื่อนร่วมงาน แต่ครูก็สามารถปฏิบัติตนช่วง กลับมาสอนหนังสือด้วยความสุข ไม่มีปัญหาอันเนื่องด้วย “สถานะ” เนื่องจากได้รับคำ�สั่งสอนจาก “ครูของครู” ในเรื่องนี้ว่า “ต้องรู้สถานะของตนเองในสังคม” คือต้องรู้ว่าเราเป็นใคร ณ เวลานั้น เล่น บทไหน อย่างไร สำ�คัญต้องเล่นให้ถูกบทนั้นๆ ครู รับวิชาประวัติศาสตร์ไทย ชั้น ม.ศ.๔ จากอาจารย์อัมพา แสนทวีสุข (อดีตผู้อำ�นวย การโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี คนแรก ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว) มาสอน แม้จะจบเอก ภูมิศาสตร์ แต่ประวัติศาสตร์ไทยนั้น อยู่ในสายเลือด โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ยุครัตนโกสินทร์ เพราะอยู่ใกล้ตัว สามารถค้นคว้าเอกสารหาหลักฐานต่างๆ ได้ง่าย ประกอบกับเมื่อครั้งเป็นนักเรียน ครูได้อาจารย์ที่ทรงภูมิความรู้ ในวิชาภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ ได้ปูพื้นวิชาเหล่านี้ให้กับครู เพื่อการ แสวงหาความรู้เพิ่มเติมในเวลาต่อมา เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตา ยกย่องเชิดชู และบูชาพระคุณ ของท่าน จึงขอยกยกย่องสรรเสริญท่านให้ปรากฏไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้ วิชาภูมิศาสตร์คือท่านอาจารย์นิภา กิติศรีวรพันธ์ ขณะนี้ท่านอายุ ๙๒ ปีแล้ว อาจารย์ถนัด สุคนธปฏิภาค ท่านสอนประวัติศาสตร์สมัย อยุธยาได้อย่างยอดเยี่ยม ในหลักสูตรชั้น ม.ศ.๒ ว่าด้วยเรื่องสงครามระหว่างไทยกับพม่า อาจารย์ สอนได้ทะลุปรุโปร่ง มีหลักในการสอน ไม่ใช่สอนอย่างท่องจำ� ทำ�ให้ครูมีความเข้าใจในเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์สงครามระหว่างไทยกับพม่า ถึงสาเหตุ เหตุการณ์ และสรุปผลของสงครามในแต่ละครั้ง เรียกว่าเรียนประวัติศาสตร์ช่วงนี้สนุกมากๆ นั่นคือ ครูได้ “ครู” ที่ดี ต่อมาในชั้นมัธยมปลาย ครูได้รับ การถ่ายทอดวิชาประวัติศาสตร์ไทย และ สากล (ชื่อเรียกในสมัยนั้น) จาก อาจารย์ชาดา พิทักษ์ภูวดล และอาจารย์อัมพา แสนทวีสุข ส่วนวิชาภูมิศาสตร์นั้นท่านอาจารย์ทัศนีย์ อนมาน (อาจารย์ทั้ง ๓ ท่าน หลังนี้ ถึงแก่กรรมแล้ว) ท่านอาจารย์ทัศนีย์สอนภูมิศาสตร์เก่งมาก อุปกรณ์การสอนของท่านมีแผนที่ แผ่นเดียว หรือลูกโลกเท่านั้น สามารถพูดได้ทุกเรื่อง ฟังแล้วเพลิน และเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้ว ก็ไม่ต้อง ๙๘ design 4.indd 98

9/9/2556 15:54:35


ท่องอย่างนกแก้วนกขุนทอง หากแต่เนื้อหาวิชานั้นเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน ฉะนั้น วิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เป็นวิชาท่องจำ�อย่างที่นักเรียนส่วนใหญ่เข้าใจ หากแต่เป็นวิชาที่เป็นเหตุผลซึ่งกันและกันต้องบอกว่า ครู มี “ครูดี” การทีอ่ าจารย์กลับมาสอนหนังสือทีส่ วนกุหลาบฯ เป็นงานทีใ่ ฝ่ฝนั หรือเปล่าครับ ก็ต้องบอกว่า “ใฝ่ฝัน” เพราะตั้งใจเรียนมาด้านนี้ ด้วยหวัง “ตอบแทนคุณ โรงเรียน” ในปีแรกไม่ทันสอบบรรจุ แต่ด้วยวิชาประวัติศาสตร์ไทยชั้น ม.ศ.๔ ยังหา ครูสอนแทนอาจารย์อัมพาฯ ไม่ได้ จึงได้มีโอกาสเข้ามาสอน (ในอัตราจ้าง) หลังจาก โรงเรียนเปิดเทอมไปได้ ๑ สัปดาห์ ชั่วโมงแรกที่สอน ครูก็เตรียมการสอนมาอย่าง เต็มที่ตามทฤษฎีที่รำ�่ เรียน “วิชาครู” มา อาจารย์อัมพาท่านเข้าไปแนะนำ�ว่าได้ อาจารย์ใหม่มาสอนแทนแล้วและตลอดไป ที่สำ�คัญคือเขาเป็นศิษย์เก่า รุ่นพี่พวกเธอ ด้วย อาจารย์เน้นตรง “รุ่นพี่เธอด้วย” ชั่วโมงแรกที่สอน บอกได้ว่าตื่นเต้นมากๆ แต่ ก็พยายามทำ�สมาธิและบอกกับตนเองว่า วัยวุฒิและคุณวุฒิเรามีเหนือกว่า เพราะอายุ ของ ครู กับ นักเรียนรุ่นแรกนี้ ห่างกันแค่ ๗ ปี นอกจากต้องรับการสอนทั้งหมด ๑๖ ชั่วโมงต่อสัปดาห์แล้ว ยังต้องทำ�หน้าที่ อาจารย์ที่ปรึกษาชั้น ม.ศ.๔/๑๔ ด้วย จากการที่ได้รับผิดชอบวิชาประวัติศาสตร์ชั้น ม.ศ.๔ ซึ่งเป็นการเรียนการสอน วิชาประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ นั้น เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๒ วิชา คือ ภาคเรียนแรก เป็นวิชา ส. ๔๐๑ ว่าด้วยเรื่องการปกครองและการต่างประเทศ ภาคเรียนที่ ๒ เป็นวิชา ส. ๔๐๒ ว่าด้วยเรื่องศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวรรณคดี ๙๙ design 4.indd 99

9/9/2556 15:54:37


ครูได้พานักเรียนไปทัศนศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ ความรู้ เกิดความภาคภูมิใจ ในชาติ และบรรพบุรุษ ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างมีเหตุผล และฉายภาพสไลด์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับบทเรียน นับว่าเป็นการใช้อุปกรณ์การสอนที่น่าจะทันสมัยที่สุด เท่าที่ทำ�ได้ในเวลานั้น ได้ริเริ่มจัดกิจกรรมฟื้นฟูประเพณี “ลอยกระทง” ในปี ๒๕๒๐ หลังจากว่าง เว้นกิจกรรมประเภทนี้ด้วยเหตุสถานการณ์ทางการเมืองช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๙ ซึ่งก็ได้รับความ ร่วมมือจากโรงเรียน ครู-อาจารย์หลายๆ ท่านร่วมเป็นกรรมการตัดสิน “นางนพมาศ” และ “กระทง” บรรยากาศในบ่าย “วันลอยกระทง” ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นที่ประทับใจของหลายๆ คน เป็นต้น วันหนึ่งในห้องพักครู มีอาจารย์รุ่นพี่ท่านหนึ่ง กล่าวว่า “คุณสอนวิชาประวัติศาสตร์อย่างไร นักเรียนถึงหัวเราะตลอดเวลา” ครู ได้ยิน ถึงกับตกใจ แต่ยังไม่ได้ตอบหรือถามอาจารย์ท่านนั้นกลับไป อาจารย์ท่านนั้น ก็ กล่าวต่อไปว่า “เพราะที่เห็นมา วิชาประวัติศาสตร์ ห้องเรียนจะเงียบ พี่ก็คิดว่านักเรียนคงตั้งใจฟังครู แต่ที่ไหนได้ นักเรียนนั่งหลับเกือบทั้งห้อง !” ครู ไม่ได้ตอบอะไรอาจารย์ท่านนั้น ได้แต่ยิ้ม อยู่ในใจ….. อาจารย์ให้สวนกุหลาบฯ มามากในช่วงสองปี แล้วสวนกุหลาบฯ ให้อะไรกับอาจารย์บา้ งครับ คงต้องบอกว่า ครูไม่ได้ให้อะไรสวนกุหลาบฯ มากมายเลย เพียงแต่ ณ เวลานัน้ ครูตง้ั ใจสอนตาม ความผิดชอบอย่างเต็มที่ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้นักเรียนอย่างเต็มกำ�ลังความสามารถที่มีอยู่ เป็นการ “ทดแทนคุณโรงเรียน” ได้เพียงน้อยนิด เมื่อเปรียบกับพระคุณอันมหาศาลที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ให้นั้นไม่อาจเปรียบได้ ๑๐๐ design 4.indd 100

9/9/2556 15:54:38


ส่วน “สวนกุหลาบฯ” ให้อะไรครูนั้น คงตอบได้ว่า “ครู” มีทุกวันนี้ได้ ก็เพราะความเป็น “นักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย” ที่ได้รับสรรพวิชาความรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานแก่การศึกษาในเวลาต่อมา การทำ�กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นพื้นฐาน การทำ�งานในสังคม ความเป็นพี่เป็นน้อง ที่พี่ต้องให้ความเมตตาแก่น้อง น้อง ให้ความเคารพต่อพี่ สอนให้เป็นคนมีเหตุผล ใจคอมั่นคงหนักแน่น ให้รักดอก กุหลาบ และสีชมพู-ฟ้า สิ่งที่ครูได้รับจากโรงเรียนนั้นมากมาย ยากที่จะพรรณนา ได้หมดสิ้น สุดท้ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสอนให้เป็น “สุภาพบุรุษ สวนกุหลาบฯ”

ก็ต้องบอกว่า “ใฝ่ฝัน” เพราะตั้งใจเรียนมาด้านนี้ ดว้ ยหวัง “ตอบแทนคุณโรงเรียน” อีกสิ่งหนึ่งที่โรงเรียนให้กับครู ก็คือ “ความภาคภูมิใจ” ที่ครูสามารถเอา ไปอวดกับใครๆ ก็ได้ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งเกียรติประวัตขิ องโรงเรียนเรา นับตัง้ แต่การ พระราชทานกำ�เนิด สีประจำ�โรงเรียน (ที่มีความหมาย และที่มา) งานสมานมิตร การเป็ น ผู้ นำ � การจั ด กิ จ กรรมทางวิ ช าการกั บ โรงเรี ย นมั ธ ยมในส่ ว นกลาง เช่น งานวิทยาศาสตร์สัมพันธ์ งานสังคมนิทรรศน์ ภูมิใจกับถ้วยรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกีฬา-กรีฑาของกรมพลศึกษา ภูมใิ จกับรางวัลชนะเลิศประกวดโครงงาน วิทยาศาสตร์ ภูมใิ จกับผูท้ ไ่ี ด้รบั พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง (King Scholarship) ภูมิใจกับการที่โรงเรียนเคยเป็นสถานที่จัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระยะ ๑๐๑ design 4.indd 101

9/9/2556 14:19:56


แรก สุดท้ายภูมิใจและรับใส่เกล้าฯ ในพระราชกระแส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ พระราชทานไว้ในงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียนในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ว่า “สวนกุหลาบฯ ต้อง ไว้ลาย” และสุดท้ายของสุดท้ายคือประเพณีการจัดงาน มุทิตาจิต ที่ครูได้มีส่วนร่วมจัดงาน เมื่อ กันยายน ๒๕๑๙ และสืบทอดเป็นมรดกต่อๆ มาจนถึงปัจจุบันและสืบไปในอนาคต มาพูดถึงเรื่องนักเรียนบ้างนะครับ นักเรียนในความทรงจำ�ของอาจารย์ล่ะครับ ครู สอนหนังสืออยู่เพียง ๒ ปีการศึกษา (๒๕๑๙-๒๕๒๐) นักเรียนทุกคนต้องเรียนวิชา ที่ครูสอน ดังนั้นจึงมีลูกศิษย์ ๒ รุ่น รวม ประมาณ ๑,๗๐๐ คน ซึ่งคงไม่สามารถจำ�นักเรียน ได้ทั้งหมด เท่าที่จ�ำ ได้ส่วนใหญ่ ก็คงเป็นนักเรียนห้องที่ประจำ�ชั้น ม.ศ.๔/๑๔ และ ม.ศ.๔/๑๖ และนักเรียนที่ได้ร่วมกิจกรรม ที่ครูเข้าไปเกี่ยวข้อง คงพอจะเอ่ยชื่อไว้ในที่นี้ได้บ้าง เช่น นักเรียนที่ครูเลือกส่งตอบปัญหาการบินไทย ๒ คน และชนะเลิศการแข่งขันในปีนั้น ได้รับ รางวัลที่ ๑ เดินทางไปทัศนศึกษา ณ สหราชอาณาจักร ตอนนี้ทั้ง ๒ คน ก็คือ น.อ. (พิเศษ) ฐิระไชย แก้วปาน และ นายแพทย์ภูริปกรณ์ ภักดีรัตน์ นอกจากนั้นนักเรียนที่ได้ติดต่อกัน อยู่ประจำ�จนถึงทุกวันนี้ อาทิเช่น ดร.เมธาวุฒิ พีรพรวิทูร ซึ่งครูก็ได้ไปร่วมเป็นสักขีพยานใน พิธีสมรสพระราชทาน บัณฑิต สุรินทรเสรี สำ�หรับ น.อ. (พิเศษ) ฐิระไชย นั้น ทุกวันที่ ๑๖ มกราคม ซึ่งเป็นวันครู เวลาคำ�่ ครูจะได้รับโทรศัพท์ เป็นประจำ�แทน ส.ค.ส. จากลูกศิษย์ คนนี้ ได้คุยกันถึงสารทุกข์สุกดิบในรอบปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นอาจกล่าวได้ว่า การที่ครูได้ เปลี่ยนที่ทำ�งานมาที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้พบกับ “ลูกศิษย์” ที่เข้า มาทำ�งานใน กฟผ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิศวกร อีกหลายคน เรียกว่า ทำ�งานที่เดียวกัน คงไม่มีใคร มีประสบการณ์เช่นนี้เหมือนครู ๑๐๒ design 4.indd 102

9/9/2556 14:20:02


นอกจากนี้แล้ว ช่วง ๑- ๒ ปีที่ผ่าน จนถึงปัจจุบัน ครู ได้พบลูกศิษย์ ทั้ง ๒ รุ่น รวมทั้งที่เคยเรียนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชาวัดเลียบ ทางหน้า Facebook มากพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อวันทำ�บุญวันเกิด ๖๐ ปี ได้มีลูกศิษย์ ทั้ง ๒ รุ่น มา ร่วมงานด้วย เป็นที่ดีใจด้วยกันทั้ง ครู และศิษย์ อาจารย์วางแผนชีวิตอย่างไรบ้างครับ หลังเกษียณ ไม่ได้วางแผนอะไร เพียงแต่ขอพักสักระยะหนึ่งก่อน เพราะที่ผ่านมา ๓๗ ปี ชีวิตถูกกำ�หนดให้อยู่ในกรอบ (แห่งเวลา) หลังเกษียณ เวลาเป็นของเราแล้ว คงได้อ่านหนังสือต่างๆ ที่ซื้อไว้เป็นจำ�นวนมากให้หมด และต้องช่วยงานของ ชมรมครูเก่า เพราะอาจารย์วีระ กาญจนะรังสิตา ประธานชมรมฯ ท่านกรุณาตั้ง ให้เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการชมรมฯ ถ้ามีเวลาก็อาจไปเยี่ยมและพักกับ หลานที่อังกฤษบ้างเป็นครั้งคราว ณ วันนี้อาจารย์มองสังคมไทยอย่างไรครับ ทุกวันนี้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการแก่งแย่ง เห็นแก่ตัว คนในสังคม ขาดการอบรมสั่งสอน พื้นฐานของสังคมน่าจะอยู่ที่ครอบครัว ครูชอบใจคำ�พูด ของ คุณวีระ ธีรภัทร นักจัดรายการชื่อดัง ส.ก. หลังครู ๓-๔ ปี ที่พูดว่า “ต้อง ดูแลคอกใครคอกมัน” ซึ่งหมายความว่า คนในครอบครัวดูแลกันให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย เมื่อครอบครัวเป็นระเบียบเรียบร้อย ชุมชน หมู่บ้าน อำ�เภอ จังหวัด และประเทศ ก็จะเป็นระเบียบเรียบร้อย ปัญหาต่างๆ ในสังคมก็คงจะไม่เกิดดัง ปัจจุบัน ถามว่า แล้วจะเป็นเช่นนั้นเมื่อไหร่ ๑๐๓ design 4.indd 103

9/9/2556 14:20:06


อาจารย์ คิ ด ว่ า การศึ ก ษาช่ ว ยให้ ค นมี ร ะเบี ย บวิ นั ย ได้ ไ หมครั บ หรื อ ว่ า สอนไปก็ เท่านั้น อย่างคนญี่ปุ่นคนเยอะกว่าเรา แต่เขามีระเบียบกันได้ ครูก็ยังยืนยันว่า “ครอบครัว” เป็นหน่วยของสังคมหน่วยแรกที่ต้องดูแล อบรมสั่ง สอนระเบียบ วินัยให้กับสมาชิกในครอบครัว หรือการศึกษา ก็ไม่อาจช่วยให้เป็นคนมีระเบียบ วินัยได้ตามที่ต้องการ คงเป็นเพราะพฤติกรรมไร้ระเบียบวินัย นั้นมันอยู่ในกระแสเลือดเสีย แล้ว ทำ�ให้นึกถึงคำ�กล่าวที่เคยได้ยินมาว่า “ทำ�อะไรตามใจคือไทยแท้” อาจเป็นคำ�ตอบผกผัน ของคำ�ถามนี้

สิ่งที่ครูไดร้ ับจากโรงเรียนนั้นมากมาย ยากที่จะพรรณนาไดห้ มดสิ้น สุดท้ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสอนให้เป็น

“สุภาพบุรุษสวนกุหลาบฯ”

แต่อย่างไรก็ตามหวังว่า “การศึกษา” จะช่วยให้คนมีระเบียบวินัย ได้บ้าง เมื่อภาระ เช่นนี้เกิดกับ “ครู” จึงจำ�เป็นที่ครู จะต้องพร่ำ�สั่งสอน “ลูกศิษย์” ให้รู้จักคำ�ว่า “ระเบียบ วินัย” อย่างเด่นชัดเสียก่อน และยังยืนยันว่า “ต้องสอน” เพราะระเบียบ วินัย ของสังคมนั้น เด็กหรือนักเรียน หรือผู้อ่อนกว่า เขาอาจไม่ได้รับการสอนจากครอบครัวเขา จะด้วยเหตุใด ก็ตาม เพราะครูเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่ามนุษย์นั้นสามารถสั่งสอนได้ ดังที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบ มนุษย์กับบัว ๔ เหล่านั่นเอง ๑๐๔ design 4.indd 104

9/9/2556 14:20:09


ครูดารากร ทัดทอง ครูเก่าโรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย ในความจดจำ�รำ�ลึก ที่ ครูดารากร มีต่อครูมณฑล ครู มณฑลกั บ ครู รู้ จั ก กั น มาตั้ ง แต่ ยังเป็นนักศึกษา ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพราะครู ม ณฑลเป็ น ศิ ษ ย์ เ ก่ า สวนฯ ที่ท�ำ กิจกรรม เวทีที่เราไป ทำ�กิจกรรมและรู้จักผูกพันเป็น เพื่ อ นกั น ยาวนานมาจนทุ ก วั น นี้ คือเป็นครูอาสา สอนเด็กสลัมคลองเตย ตั้งแต่สอนหนังสือ สอน วิธีรักษาสุขอนามัย ตัดเล็บ ตลอดจนหาเหา สอนเล่นกีฬาและพา เที่ยว คงต้องกล่าวถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการนี้คือ คณะ สังคมฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พวกเราใช้เวลาว่างทุกวันเสาร์อาทิตย์ ไม่เพียงแต่สอนหนังสือ แต่ยังต้องช่วยจัดระเบียบชุมชน รับ ฟังปัญหาและทำ�รายงานส่งอาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการ เพื่อเสนอ รัฐฯ แก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งองค์การ Unicef เป็นผู้ให้งบประมาณใน การดำ�เนินงาน ๑๐๕ design 4.indd 105

9/9/2556 14:20:11


สำ�หรับครู นอกจากรับผิดชอบเนื้อหาการสอนให้ ครบถ้วนตรงตามหลักสูตรแล้ว เมื่อมีโอกาสหรือทำ�วิกฤต ให้เป็นโอกาส ก็จะใช้เวลาของชั้นเรียนไม่มากสอนเรื่อง “ระเบียบวินัย” ของสังคมเล็กๆ น้อยๆ ไปด้วย ซึ่งหลายคน อาจคิดว่า “ต้องสอนด้วยหรือ” นั้นคือ สอนเรื่อง การเดิน การยืน การนั่ง และการนอน คงไม่ต้องอธิบายขยายความ ลองไปคิดดูว่าจริงหรือไม่ แต่มีเรื่องหนึ่งที่ครู ไม่เคยสอน หรือบอกนักเรียน นั่นคือการเข้ามาพบครู ขณะที่ครูนั่งเก้าอี้ นักเรียนสวนกุหลาบฯ จะ “นั่งคุกเข่า” พูดกับครู จะไม่ยืน คำ�้ ศีรษะโดยเด็ดขาด นักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยปฏิบัติ เช่นนี้มาโดยตลอด ไม่มีใครสอน และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป อีกเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการสนับสนุนว่า การอบรม สั่งสอนของครูที่มีต่อลูกศิษย์ “ไม่ใช่สอนไปก็เท่านั้น” หาก แต่ตั้งใจสอน เพื่อให้ลูกศิษย์ได้นำ�ไปใช้ในสังคมตามกาละ นั้นๆ และอาจพูดได้ว่าเป็นเสน่ห์ในตัว ใครได้ยินก็คงยกย่อง สรรเสริญว่า “เป็นศิษย์มีครู” นั่นคือคำ�ว่า “ขอบคุณ” “ขอโทษ” ซึ่งท่านอาจารย์สิริเพ็ญ ชัยรัตน์ ที่ให้ความรู้ใน วิชาวรรณคดีไทย ชั้น ม.ศ. ๔-๕ กับครู ท่านสอนไว้ให้ ๒ คำ� นี้ติดอยู่ที่ปาก และนำ�มาใช้เมื่อถึงเวลา ครูก็นำ�มาสอนกับลูก ศิษย์ และน้องๆ ที่ทำ�งานในเวลาต่อมา และเพิ่มคำ�ว่า “ไม่ ๑๐๖ design 4.indd 106

9/9/2556 14:20:14


เป็นไร” กับ “ช่างหัวมัน” เข้าไปอีก กลายเป็น “วลีทอง” เพราะ เมื่อได้ใช้ “วลีทองทั้ง ๔” นี้ให้ถูกกับกาละแล้ว ดูเหมือนว่า โลกใบ น้อยนี้จะมีแต่ความสุข ปราศจากความทุกข์ ยิ้มแย้มแจ่มใสให้กัน ช่วยเหลือเผื่อแผ่เกื้อกูลกัน เป็นได้ดังนี้ประเสริฐยิ่ง สำ�หรับญี่ปุ่นที่ปรากฏในคำ�ถามนั้น คงจำ�กันได้เมื่อตอน เกิดสึนามิ มีการนำ�ของบรรเทาทุกข์ไปแจกกับผู้ประสบภัย แม้เขา เป็นผู้เดือดร้อนด้วยกับเหตุการณ์นั้น เขายังบอกให้ไปแจกกับคน แก่-ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เดือดร้อนกว่าก่อน นี่คืออะไร คงไม่ใช่เพราะ การศึกษา หากเป็น “สำ�นึก” ของคนคนนั้นที่มีในสายเลือดกระมัง คงตอบคำ�ถามต่างๆ ของนักเรียน ไว้เพียงเท่านี้ และ ขอบคุณที่ให้โอกาสมารำ�ลึกถึงอดีต ถ้านับตั้งแต่เป็นนักเรียน ถึง วันนี้ เป็นเวลากว่า ๔๘ ปี แล้ว เรียกว่า กว่าครึ่งหนึ่งของชีวิต ครูมี ความผูกพันกับโรงเรียนสวนกุหลาบฯอย่างมาก ยากที่จะพรรณนา ได้หมดสิ้น ขอบคุณครับ

๑๐๗ design 4.indd 107

9/9/2556 14:20:18


ชื่อ – นามสกุล นายมานิตย์ จิรโกเมศ ชื่อหรือฉายที่เพื่อนครูเรียก ฮุนเซ็น ที่อยู่ปัจจุบัน ๕ ซอย หมู่บ้านเศรษฐกิจ ๓๑/๑ แขวงบางแคเหนือ เขต บางแค กทม. ๑๐๑๖๐ ๐ ๒๔๒๑ ๘๔๒๑, ๐๘ ๖๔๑๙ ๖๙๕๙ โทรศัพท์ Email manit_jir@yahoo.com ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต วิชาเอกคณิตศาสตร์ วิชาโทภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ปริญญาโท ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๓๒ เริม่ รับราชการที่ โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๕๖ ย้ายมาสอนทีโ่ รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ขณะทีอ่ ยูโ่ รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เคย ปฏิบตั หิ น้าที่ l หัวหน้างานทะเบียนวัดผล l หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ l ผูช ้ ว่ ยรองผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายวิชาการ ๑๐๘ design 4.indd 108

9/9/2556 14:20:20


เกียรติประวัติการทำ�งาน l ครูชำ�นาญการพิเศษ สอนวิชาคณิตศาสตร์ l นำ�ระบบเทคโนโลยีมาใช้กับงานทะเบียนวัดผลของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย l ก่อตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยระยะเริ่มแรก l ร่วมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น โครงการ พัฒนาการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่พัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ

ครูมานิตย์ จิรโกเมศ ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ณ ประเทศสิงคโปร์ l คณะทำ�งานยกร่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เครื่องคำ�นวณเชิงกราฟ ของ สสวท. l คณะทำ�งานดัดแปลงบทเรียนออนไลน์วช ิ าคณิตศาสตร์จากสือ่ skoool ของประเทศไอร์แลนด์เป็นภาษาไทย l คณะทำ�งานตรวจพิจารณาเนื้อหาสื่อชุด All Our Kids (AOK) สำ�หรับใช้ในการจัดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ l วิทยากรเสริมประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ ๓ เพื่อเตรียมนักเรียนเป็นตัวแทนประเทศ แข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติ ของ สพฐ. l นำ�นักเรียนที่เป็นตัวแทนของประเทศเข้าแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติ ของ สพฐ. l

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ l ทวีติยาภรณ์ ๑๐๙ design 4.indd 109

9/9/2556 14:20:21


คณิตศาสตร์ คือ ตัวตนของครู ครูคือทางเดินที่ต้องเลือก ครู ม านิ ต ย์ เ ติ บ โตมาจากครอบครั ว ที่ มี คุ ณ พ่ อ เป็ น ครู ใ นจั ง หวั ด สุพรรณบุรี ถึงแม้ว่ามีคุณพ่อเป็นครู แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ทำ�ให้ครูมานิตย์ได้ ตัดสินใจมารับราชการเป็นครูเหมือนคุณพ่อ ครูมานิตย์ให้เหตุผลว่า “ในสังคมเด็กต่างจังหวัดรุ่นครูนั้น อาชีพที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คงจะ หนีไม่พ้นทหารกับครู แต่ครูคิดไว้อยู่แล้วว่าครูคงไปเป็นทหารไม่ได้เพราะ ครูมีปัญหาเรื่องสายตาสั้น อีกอย่างหนึ่งตอนที่ครูเรียนมัธยมต้น ถือว่าเป็น เด็กเรียนดีนะ ก็เลยคิดว่าการที่เราได้รำ�่ เรียนมีความรู้ดีอยู่แล้ว การจะไป เป็นครูก็คงเป็นอาชีพหนึ่งที่ท�ำ ประโยชน์ให้กับคนอื่นๆ ได้” เมื่อจบการศึกษาระดับชั้น ม.ศ.๓ จากโรงเรียนสองพี่น้องวิทยา ครู มานิตย์ตัดสินใจมาเรียนต่อที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เนื่องจากที่ โรงเรียนสองพี่น้องวิทยานั้นเปิดสอนถึงแค่ชั้น ม.ศ.๓ เป็นชั้นสูงสุด หลังจาก สำ�เร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขัน้ สูง จึงมาเรียนต่อปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และปริญญาโท ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำ�ดับ ๑๑๐ design 4.indd 110

9/9/2556 14:20:23


เส้นทางสู่สวนฯ คุณครูมานิตย์เริ่มรับราชการเป็นครูสอนที่โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขมเป็น แห่งแรก ช่วงระยะเวลา ๑ ปี ก่อนที่ลูกชายคนโตของครูจะจบการศึกษาจากโรงเรียน อัสสัมชัญ ธนบุรี ครูได้ขอย้ายมาสอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพราะหวังว่าจะ ให้ลูกชายได้เข้ามาศึกษาต่อที่สวนกุหลาบฯ

คณิตศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นา่ คน้ หา ทา้ ทาย เป็นวิชาที่ฝึกฝนใหเ้ รารูจ้ ักแกป้ ัญหา โดยใช้หลักการและเหตุผล ต้องรู้ที่มาที่ไป เพราะธรรมชาติของวิชาที่ครูชอบเป็นแบบนี้ ครูก็คิดวา่ ครูเองก็คงเป็นที่ชอบท้าทายและเป็นคนที่มีเหตุผล “พอครูมาสอนที่โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขมได้สักพัก ก็มีครอบครัว มีลูกชาย ๒ คน คนโตเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ลูกชายคนเล็กเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ พอจบจาก อัสสัมชัญ ธนบุรี ก็คิดว่าจะให้เขามาเรียนที่สวนกุหลาบฯ ครูก็เลยขอย้ายมาก่อน ๑ ปี หลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าเป็นการใช้สิทธิ์โควตาลูกครู แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ ลูกครูทั้ง สองคนล้วนแล้วแต่สอบเข้าด้วยตัวเอง ครูก็เลยไม่ต้องใช้สิทธิ์นี้” ครูหัวเราะ “ตอนนี้ เขาก็เรียนจบจากสวนกุหลาบฯ ไปแล้ว คนโตก็รุ่น ๑๑๖ ส่วนคนเล็กรุ่น ๑๑๘” ๑๑๑ design 4.indd 111

9/9/2556 14:20:25


“ในระยะแรกที่ย้ายมาทำ�งานที่สวนกุหลาบฯ เป็นการย้าย มาทำ�งานในลักษณะช่วยราชการ คือตำ�แหน่งยังอยู่เดิม แต่ตัวมา ทำ�งานที่สวนกุหลาบฯ เพราะตอนนั้นยังไม่มีตำ�แหน่งให้ลง พอสมัย ท่านผู้อำ�นวยการ สมหมาย วัฒนะคีรี ท่านจึงมอบหมายให้ไปรับ ตำ�แหน่งเป็น “นายทะเบียน” จุดเปลี่ยนของงานทะเบียนวัดผล งานหลักของคุณครูมานิตย์เมื่อเริ่มเข้ามาทำ�งานที่โรงเรียน สวนกุหลาบฯ คือนายทะเบียน เนื่องจากสวนกุหลาบฯ เปรียบ เหมือนองค์กรขนาดใหญ่ มีจำ�นวนครู นักเรียน และเจ้าหน้าที่ จำ�นวนมาก ดังนั้นฐานข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อมูลส่วน บุคคล ประวัติการทำ�งาน การลา การวัดผล จึงเป็นข้อมูลขนาด มหาศาล เมื่อคุณครูมานิตย์ได้รับมอบหมายให้มาจัดการในเรื่องนี้ จึง ได้นำ�ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาทดลองใช้ในวงเล็กๆ และพัฒนาขึ้น เรื่อยๆ จนสามารถทำ�งานได้สะดวกยิ่งขึ้น นับเป็นจุดเปลี่ยนที่มีคุณ ประโยชน์ให้กับการทำ�งานฝ่ายทะเบียนของโรงเรียนอย่างมาก “งานทะเบียนของสวนกุหลาบฯ เป็นงานที่หนักมาก และ ต้องเป็นหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยี ดูแลคอมพิวเตอร์ทั้งโรงเรียนด้วย ครูรุ่นก่อนๆ ที่ทำ�กันอยู่ก็มีไม่กี่คน ระบบงานก็เก่า พอครูเข้าไปทำ� หน้าที่ตรงนั้นก็รู้สึกว่าทำ�ไม่ไหว เพราะระบบเก่าทำ�ให้เราตรวจสอบ อะไรไม่ได้เลย คิดดูสิ ถ้าเราจะต้องออกหลักฐาน ใบสุทธิ ใบ ร.บ. ใบ ๑๑๒ design 4.indd 112

9/9/2556 14:20:27


รายงานผลการเรียน แล้วยังต้องเปิดลิ้นชักหาแฟ้มกันอยู่แบบเดิมครูจะเหนื่อยขนาด ไหน สิ่งที่ครูคิดอย่างแรกก็คือการนำ�เอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ เพราะตอนครูเรียน ปริญญาโท ครูได้เรียนสถิติ เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ก็พอเขียนโปรแกรมได้บ้าง ตอนนั้น อาจารย์สมหมาย ก็บอกเลยว่า คุณมีหน้าที่ท�ำ เรื่องเงินไม่ต้องห่วง ฉันจัดการให้” การปรับปรุงระบบงานทะเบียนในช่วงนั้น ครูมานิตย์ได้รับความร่วมมือจาก ชาวสวนกุหลาบฯ ด้วยกันเองเป็นอย่างมาก ครูเล่าว่า

การเตรียมการสอนนั้นต้องใชเ้ วลา ต้องค้นคว้า ต้องหาโจทย์แปลกๆ ใหม่ๆ ทั้งจากอินเทอร์เน็ต หรือจากหนังสือทั้งของไทยและของตา่ งประเทศ “ครูคิดว่า ถ้าจะทำ�ก็ต้องทำ�ให้ดีที่สุด ซอฟต์แวร์ก็ต้องใช้อย่างดีไปเลย ด้วย ความที่เป็นโรงเรียนสวนกุหลาบฯ นี่แหละ จะเอาอะไรก็หางบให้ได้หมด ขาดแค่คน ที่จะมาบริหารจัดการตรงนี้เท่านั้นเอง แรกเริ่มครูก็พยายามสร้างวง LAN ขึ้นมาห้อง หนึ่ง พอดีตอนนั้นได้คุยกับ ดร. รุจพร ชนะชัย หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ศิริราช พยาบาล ซึ่งเป็นคุณพ่อของนักเรียน ม.๑ ที่ครูสอน ก็คุยกันถูกคอ จึงได้ปรึกษาเรื่อง วางระบบให้โรงเรียน ท่านก็ดึงทีมงานมาช่วย” ๑๑๓ design 4.indd 113

9/9/2556 14:20:28


“ส่วนการใช้งานระบบ เราก็มีการฝึกให้เด็กนักเรียนที่เก่งและมีทักษะ ทางคอมพิวเตอร์มาทำ�หน้าที่จัดการระบบโดยมี SUAN IT ของศิษย์เก่าเข้ามา ช่วยสอน ช่วยดูแลอีกกำ�ลังหนึ่ง กระบวนการนี้ครูคิดว่าเป็นกระบวนการที่ดี มาก โรงเรียนอื่นๆ ที่มาดูงานยังชื่นชมและพยายามจะทำ�บ้าง แต่ก็ทำ�กันไม่ค่อย ได้ เพราะความสามารถของเด็กยังมีไม่พอ” คณิตศาสตร์คือตัวตนของครู ในสมัยเรียนอยู่ที่โรงเรียนสองพี่น้องวิทยา ครูมานิตย์ฉายแววในเรื่อง การเรียนดีในทุกวิชา ผลการเรียนอยู่ในอันดับที่ ๑ เกือบทุกเทอม แต่วิชา คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ครูมานิตย์ถึงกับเอ่ยปากว่าเป็นวิชาที่โปรดปรานมากที่สุด “วิชาคณิตศาสตร์ ถ้าคนไม่เข้าใจหรือเรียนไม่เป็น ไม่ถูกทาง ไม่ฝึกฝน ก็จะบอกว่าเป็นวิชาที่ยาก เพราะคณิตศาสตร์ไม่ใช่ตัวหนังสือที่จะเรียงร้อยเป็น ข้อความ แต่คณิตศาสตร์เป็นกระบวนการคิดทีถ่ า่ ยทอดออกมาในรูปของสัญลักษณ์ สำ�หรับครูแล้ว คณิตศาสตร์จึงเป็นวิชาที่น่าค้นหา ท้าทาย เป็นวิชาที่ฝึกฝนให้ เรารู้จักแก้ปัญหาโดยใช้หลักการและเหตุผล ต้องรู้ที่มาที่ไป เพราะธรรมชาติของ วิชาที่ครูชอบเป็นแบบนี้ ครูก็คิดว่าครูเองก็คงเป็นที่ชอบท้าทายและเป็นคนที่มี เหตุผล” ครูหัวเราะ พักงานทะเบียนมาสอนนักเรียนดีกว่า เมื่องานฝ่ายทะเบียนวัดผลเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ครูมานิตย์จึงตัดสินใจ ขอลาออกจากฝ่าย เพื่อไปสอนวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูชอบมากกว่า ๑๑๔ design 4.indd 114

9/9/2556 14:20:31


“ใจจริงครูอยากจะสอนนักเรียนมากกว่า คิดเอาไว้ว่าถ้าเราไม่ต้องทำ�งานทะเบียนแล้วก็จะมี เวลาในการสอนอย่างเต็มที่ สามารถเตรียมโจทย์ ลงเนื้อหาลึกๆ ให้กับนักเรียนได้ ซึ่งการเตรียมการ สอนนั้นต้องใช้เวลา ต้องค้นคว้า ต้องหาโจทย์แปลกๆ ใหม่ๆ ทั้งจากอินเทอร์เน็ตหรือจากหนังสือทั้ง ของไทยและของต่างประเทศ เวลาอยู่กับเด็ก ได้เห็นเด็กบางคนกระตือรือร้นที่จะทำ�โจทย์ ครูก็รู้สึก สนุก ในชั่วโมงเรียนครูจะสอนให้ลึก แต่เวลาออกข้อสอบจะออกให้เบาลง เด็กบางคนอาจจะมองว่า

พอเขารูว้ า่ เป็นครู เขาก็สวัสดี ทักทายอยา่ งนอบนอ้ ม และให้เกียรติครูมากๆ ครูยังนึกในใจวา่ นี่ขนาดครูมาไกลขนาดนี้ ก็ยังเจอเด็กสวนฯ ได้ คงต้องบอกว่า สำ�หรับสวนกุหลาบฯ นั้น พระอาทิตย์ไม่เคยตกดินเลย ครูดุ ครูเครียด แต่ครูคิดว่าถึงเวลาเรียนก็ต้องเรียน ต้องเอาจริงเอาจัง วิชาคณิตศาสตร์ต้องเรียนอย่าง ตั้งใจ ถ้าเราเข้าใจแล้ว จะไปเล่นอะไรก็เล่นได้ มีเด็กหลายคนที่จบออกไปแล้ว กลับมาโรงเรียนก็มา ทักทาย มาขอบคุณว่าสิ่งที่ครูสอนไปนั้นดีมาก ได้ยินแบบนั้นครูก็ภูมิใจ” ครูมานิตย์เล่าถึงหลักในการสอนของครูว่า “ครูจะสอนให้นักเรียนเข้าใจ คณิตศาสตร์ไม่มี อะไรยากหรอก ถ้าเด็กเข้าใจก็เรียนได้ แต่จะยากตรงที่ต้องเอาไปประยุกต์ใช้ แต่ช่วงหลังเด็กก็อ่อน ไปเยอะ บางทีโจทย์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนก็ทำ�ไม่ได้ ทั้งเด็กทั้งผู้ปกครองก็มาโวยว่าออกข้อสอบยากเกิน ๑๑๕ design 4.indd 115

9/9/2556 14:20:33


หาว่าออกข้อสอบเกินกว่าที่สอน แต่พอเฉลยด้วยหลักความเข้าใจ ใช้เหตุและผล ครูจะ ถามเขาว่า โจทย์บอกอะไรบ้าง โจทย์ให้หาอะไร แล้วโจทย์เขาถามอะไร ลองนึกไปถึงสิ่ง ที่เธอเรียนซิ อันนี้เรียนแล้วใช่ไหม อันนี้หายังไง ก็แทนออกมา แทนแล้วติดตรงนั้น แล้ว อันนี้ไปตรงนั้นได้ยังไง สรุปว่าถามไปเด็กก็ตอบออกมาทีละเปลาะ เบ็ดเสร็จก็ได้คำ�ตอบ ครูก็ถามยำ�้ ว่าตกลงยากตรงไหน (หัวเราะ) เพราะฉะนั้น เรียนคณิตศาสตร์ก็ต้องมีเหตุผล ต้องฝึกโจทย์ อย่าเรียนเอาแต่คะแนน”

ระยะหลังๆ เด็กจะสนใจแตค่ ะแนน เวลาจะใหท้ �ำ อะไรก็จะถามครู ว่าครูจะใหค้ ะแนนเทา่ ไร ทำ�แล้วได้คะแนนไหม แทนที่จะมองปรัชญาการเรียน รู้ว่าเรียนแล้วได้อะไรไปใช้ ทำ�ให้กลายเป็นว่าระยะหลังๆ จะมีเรื่องการทุจริตในการสอบคอ่ นขา้ งมาก “เดี๋ยวนี้เด็กของเราก็เปลี่ยนไปเยอะ สมัยที่ผมเข้ามาสอนใหม่ๆ เด็ก ม.๑ เป็น เด็กที่ค่อนข้างใช้ได้เลย เพราะเป็นเด็กที่สอบเข้ามาเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มีความ รับผิดชอบสูง สั่งอะไรทำ�ได้หมดขอให้มีเหตุผล แต่ระยะหลังๆ เด็กจะสนใจแต่คะแนน เวลาจะให้ท�ำ อะไรก็จะถามครู ว่าครูจะให้คะแนนเท่าไร ทำ�แล้วได้คะแนนไหม แทนที่จะ มองปรัชญาการเรียนรู้ว่าเรียนแล้วได้อะไรไปใช้ ทำ�ให้กลายเป็นว่าระยะหลังๆ จะมีเรือ่ ง ๑๑๖ design 4.indd 116

9/9/2556 14:20:37


การทุจริตในการสอบค่อนข้างมาก” ครูมานิตย์เล่าถึงการเปลีย่ นแปลงของนักเรียน สวนกุหลาบฯ ทีอ่ าจจะส่งผลให้คณ ุ ภาพทางวิชาการของโรงเรียนผิดเพีย้ นไป ผู้อยู่เบื้องหลังการแข่งขันคณิตศาสตร์วิชาการของประเทศ นอกจากจะมีหน้าที่สอนหนังสือในโรงเรียนสวนกุหลาบฯ แล้ว คุณครู มานิตย์ยังมีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันคณิตศาสตร์วิชาการในหลายๆ รายการ โดยจุดเริ่มต้นของการเข้าไปมีส่วนร่วมในภารกิจดังกล่าวเป็นเพราะครู คิดว่าครูมีความพร้อมทั้งเวลาและความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ เมื่อได้รับเชิญไป ช่วยภารกิจนี้ จึงรับปากโดยไม่รีรอ “พอดีเพื่อนผมซึ่งเป็นผู้อำ�นวยการสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เรียกให้ไปช่วย เพราะตอนนั้นหาคนทำ�ไม่ได้ ตอนนี้ก็มี อาจารย์จากเตรียมอุดม บดินทรเดชา มาช่วยกัน ในแง่หนึ่งที่ครูได้ไปทำ�งานใน ส่วนนี้ก็ถือว่าได้ช่วยโรงเรียนส่วนหนึ่ง เพราะครูจะได้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหว ของเด็กเก่งๆ จากโรงเรียนอื่น เพื่อที่จะนำ�มาปรับปรุงพัฒนาด้านวิชาการของ เราด้วย” “ขั้นตอนการคัดเลือกเด็กเพื่อไปแข่งขันก็คือ ทางกระทรวงศึกษาธิการ จะประกาศให้โรงเรียนเตรียมตัวเด็กของตัวเอง ขั้นแรกก็เปิดรับสมัครในระดับ เขตพื้นที่การศึกษา ทุกคนต้องไปผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนของเขต จากเขต เป็นจังหวัด จาก ๒ - ๓ จังหวัดรวมกันเป็นศูนย์ ทั่วประเทศมี ๑๙ ศูนย์ จำ�นวน นักเรียนที่ได้ในแต่ละศูนย์นั้นไม่ได้ถูกกำ�หนดว่าจะต้องได้เด็กกี่คน แต่จะใช้ คะแนนเป็นเกณฑ์ จาก ๑๙ ศูนย์ก็คัดเหลือร้อยกว่าคน ถึงตรงนี้ก็จะมีการพาเด็ก ๑๑๗ design 4.indd 117

9/9/2556 14:20:40


ไปเข้าค่าย ก็มีการติวพื้นฐานให้ได้มาตรฐานใกล้เคียงกัน สุดท้ายก็จะสอบให้เป็น ตัวจริงประมาณ ๒๘ คน แล้วก็แบ่งไปว่าใครจะไปแข่งรายการไหน ถ้าจะถามว่า ครูทำ�อะไร ครูก็ทำ�หน้าที่อยู่ในส่วนกลาง ทำ�ในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะออกข้อสอบ คัดเลือกเด็ก เมื่อเวลาจะต้องไปแข่งระหว่างประเทศก็จะติวให้เด็ก เวลาไปต่าง ประเทศก็ไปแปลข้อสอบให้เด็ก รวมทัง้ ต้องไปชีแ้ จงการทำ�ข้อสอบต่อคณะกรรมการ ตรวจข้อสอบ หากว่าคณะกรรมการไม่เข้าใจในสิ่งที่เด็กของเราทำ�ลงไป ก็สนุกดี เพราะเราชอบวิชาการอยู่แล้ว” เด็กสวนฯ คือความประทับใจ จากประสบการณ์การสอน และการเป็นวิทยากรที่อื่นๆ หลายๆ ที่ ทำ�ให้ ครูมานิตย์ได้คลุกคลีกับเด็กจากที่ต่างๆ มากมาย แต่เด็กสวนกุหลาบฯ ก็ยังเป็น เด็กที่อยู่ในใจของครูอยู่เสมอมา ไม่ใช่แต่เพียงชื่อเสียงในเรื่องวิชาการเพียงอย่าง เดียว แต่ยังชื่นชมลักษณะนิสัยใจคอ และการใช้ชีวิตร่วมกันของเด็กสวนฯ ที่ เกาะเกี่ยวความสัมพันธ์กันเหนียวแน่นแม้ว่าจะเรียบจบออกไปแล้วก็ตาม “เด็กสวนกุหลาบฯ ส่วนใหญ่แล้วจะมี ๒ อย่างคู่กัน คือ ประการที่หนึ่ง เป็นคนรับผิดชอบ ประการที่สองเป็นคนกล้าแสดงออก สองอย่างนี้เขาจะชัดเจน มาก อีกอย่างหนึ่งก็คือเขารู้จักการทำ�งานเป็นทีม อาจจะเป็นเพราะโรงเรียนเปิด โอกาสให้เขาได้ท�ำ กิจกรรมด้วยความสมัครใจ โดยที่ครูเป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น ซึ่งกิจกรรม เช่น ชุมนุมต่างๆ หรือระบบรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง เหล่านี้เป็นกระบวนการ เรียนรู้ของเด็กที่ดีมาก เป็นเรื่องที่ครูไม่ได้สอน แต่เขาเรียนรู้ของเขาเองโดย ธรรมชาติ ครูเคยไปรับลูกชายซึ่งไปจัดนิทรรศการของชุมนุมถ่ายภาพ หลังจาก ๑๑๘ design 4.indd 118

9/9/2556 14:20:43


เสร็จงานพวกเขาก็ยังไม่แยกย้ายกันกลับบ้านในทันที แต่เขาจะมานั่งประชุมระดม สมอง วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขกันเดี๋ยวนั้นเลย การทำ�งานแบบนี้ ครูถือว่าใช้ได้นะ ผู้ใหญ่หลายๆ คนยังทำ�ไม่ได้เลย นี่แหละ เด็กสวนกุหลาบฯ ได้ เปรียบเด็กที่อื่นตรงนี้ ซึ่งที่อื่นทำ�ไม่ได้”

สวนกุหลาบฯ ไดใ้ หอ้ ะไรแกค่ รูมากมาย ใหห้ นา้ ที่การงาน ให้เกียรติ ให้ศักดิ์ศรีความเป็นครูสวนกุหลาบฯ เพราะชื่อสวนกุหลาบฯ เปรียบใบการันตีคุณภาพของเรา “อีกเรือ่ งคือ ความรักในสถาบัน ความรักเพือ่ น รักในความเป็นสวนกุหลาบฯ ไม่วา่ จะเป็นใครก็เถอะ ถ้าไปเจอกันข้างนอกแล้วรูว้ า่ เป็นสวนกุหลาบฯ เหมือนกัน ก็จะดูแลกันอย่างดี แล้วเด็กสวนฯ นี่มีอยู่ทุกมุมโลกนะ เคยได้ยินได้ฟังจากครูท่าน อื่นๆ เวลาที่ไปเที่ยวต่างประเทศ ก็มักจะมีลูกศิษย์มาทักทายกันตลอด ครูเองก็เจอ กับตัวเหมือนกัน ตอนนัน้ ไปเยีย่ มลูกชายทีอ่ เมริกา มีเวลาก็ขบั รถไปเทีย่ วกัน วันนัน้ ครูใส่เสือ้ ทีม่ สี ญ ั ลักษณ์โรงเรียน ก็มศี ษิ ย์เก่าเข้ามาทักทายว่าจบสวนกุหลาบฯ เหรอ ครูก็บอกว่าผมสอนอยู่ที่สวนกุหลาบฯ พอเขารู้ว่าเป็นครูเขาก็สวัสดี ทักทายอย่าง นอบน้อมและให้เกียรติครูมากๆ ครูยังนึกในใจว่านี่ขนาดครูมาไกลขนาดนี้ก็ยังเจอ เด็กสวนฯ ได้ คงต้องบอกว่า สำ�หรับสวนกุหลาบฯ นัน้ พระอาทิตย์ไม่เคยตกดินเลย” ๑๑๙ design 4.indd 119

9/9/2556 14:20:46


หนึ่งใจที่อยากฝากไว้กับชาวสวนกุหลาบฯ “สำ�หรับครู สวนกุหลาบฯ ให้อะไรแก่ครูมากมาย ให้หน้าที่การงาน ให้เกียรติ ให้ศักดิ์ศรีความเป็นครูสวนกุหลาบฯ เพราะชื่อสวนกุหลาบฯ เปรียบใบการันตีคุณภาพของเรา คนอื่นๆ เขาจะให้เกียรติครูเสมอ ตรงนี้ แหละที่เป็นแรงผลักดันให้ครูต้องทำ�สิ่งดีดีให้กับโรงเรียน” “และจากการที่ ค รู ค ลุ ก คลี อ ยู่ ใ นวงการคณิ ต ศาสตร์ ภ ายนอก โรงเรียน ครูมองว่าสถานการณ์ทางวิชาการของโรงเรียนค่อนข้างน่าเป็นห่วง หลายๆ โรงเรียนพยายามที่จะผลักดันคุณภาพให้ดีขึ้น ซึ่งเขาก็พัฒนาได้ รวดเร็ว เราเองต้องไม่หลงระเริงกับเกียรติยศ ถ้วยรางวัลเก่าๆ อย่างเดียว เราต้องหันมาดูคนอื่นบ้างว่าเขาไปกันถึงไหนแล้ว” “อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสวนกุหลาบฯ จะดำ�เนินไปในทิศทางใด ครูเชื่อ ว่า สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ เ่ี ป็นทีย่ ดึ เหนีย่ วจิตใจของพวกเรา หลวงพ่อสวนกุหลาบ พ่อปู่ สวนกุหลาบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะช่วยให้พวกเรา ฝ่าฟันอุปสรรคกันไปได้ทุกเวลา”

๑๒๐ design 4.indd 120

9/9/2556 14:20:53


design 4.indd 121

9/9/2556 14:20:56


ชื่อ–นามสกุล นางระอวน แก่นโกมล วันเดือนปีเกิด ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ที่อยู่ปัจจุบัน ๑๓๘/๑๒ ซอยอิสรภาพ ๓๙ (วัดดงมูลเหล็ก) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ประวัติการศึกษา ประถมศึกษา ๔ ประถมศึกษา ๗ มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรชั้นสูง ปริญญาตรี

โรงเรียนราชนัดดา โรงเรียนวัดยางสุทธาราม โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม โรงเรียนการช่างสตรีชลบุรี เอกดนตรี วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ครุศาสตร์บัณฑิต (ค.บ.) เทคโนโลยีทางการศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ โรงเรียนชาตศึกษา ซอยวัดใหม่พเิ รนทร์ ถนนอิสรภาพ กรุงเทพมหานคร ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ครู ๒ ระดับ ๒ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๑๒๒ design 4.indd 122

9/9/2556 14:21:00


๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕

ครู ๒ ระดับ ๓ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๑ ระดับ ๔ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๑ ระดับ ๕ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ครูระอวน แกน่ โกมล ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

อาจารย์ ๒ ระดับ ๕ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๒ ระดับ ๖ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สพท.กทม. ๑ คศ.๒

เกียรติประวัติการทำ�งาน l ครู ที่ ป รึ ก ษาและควบคุ ม วงดนตรี ไ ทยโรงเรี ย นสวนกุ ห ลาบวิ ท ยาลั ย ชนะเลิ ศ การ ประกวดวงมโหรี ในงาน “ประลองเพลง ประเลงมโหรี” ได้รับพระราชทานถ้วย รางวัลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยได้รับรางวัลติดต่อกันถึง ๓ ปีซ้อน (พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๖) ๑๒๓ design 4.indd 123

9/9/2556 14:21:01


ครูที่ปรึกษาและควบคุมวงดนตรีไทย รางวัลชนะ เลิศตะโพนทองคำ� l ครูที่ปรึกษาและควบคุมวงดนตรีไทย รางวัลถ้วย พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว งาน เผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย l

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ตริตาภรณ์ช้างเผือก ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรี ย นสวนกุ ห ลาบวิ ท ยาลั ย เป็ น โรงเรี ย นที่ มี ชื่ อ เสียง เด็กนักเรียนน่ารัก

๑๒๔ design 4.indd 124

9/9/2556 14:21:02


ดนตรีไทยคือชีวิตจิตใจ “บรรดาเราเหล่านักเรียน เอ่อ เออ เอิง เอย สวนกุหลาบฯ ย่อมปลื้มปลาบปรีดิ์เปรม เอ่อ เออ เอ้อ เออ เอิ่ง เอย เกษมศรี....” เพลงประจำ�โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่พวกเราได้ร้องกันตอนเข้าแถวตอนเช้าทุกวัน จันทร์ หรือจะต้องร้องปิดงานอันเกี่ยวเนื่องกับโรงเรียนทุกๆ งาน เหมือนเป็นธรรมเนียมที่ยึดถือ ปฏิบัติกันมาจนฝังอยู่ในสัญชาตญาณของบรรดาเหล่าศิษย์เลือดชมพูฟ้าทุกๆ คนเสมอ แต่จะมี ใครบ้างที่ยังจำ�คำ�สอนของครูผู้หญิงร่างท้วม ใส่แว่นกลมๆ หนาๆ ที่สอนพวกเราว่า “เพลงนี้ใช้ทำ�นองเพลงไทยเดิมที่เรียกว่า ทำ�นองแขกต่อยหม้อ ๒ ชั้นนะคะ” ด้วยน้ำ�เสียง ที่สุภาพ ใจเย็น และหยิบฉิ่งขึ้นมาเคาะจังหวัดร้องเพลงนี้เป็นตัวอย่างให้ฟังด้วยสีหน้าที่ปราศจาก ความกังวลต่อเรื่องราวใดๆ คุณครูระอวน แก่นโกมล มีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ด้วยความที่ครอบครัวเป็นชาว ต่างจังหวัด อยู่ด้วยกันด้วยความเกื้อหนุนเจือจุนกันแบบสังคมไทย ครูระอวนจึงมีความรักใน ความเป็นอยู่แบบไทยๆ ชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมไทยโดยเฉพาะดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็กๆ เมื่อเข้า มาเติบโตในกรุงเทพฯ จนกระทั่งได้เข้าเรียนในระดับปริญญาตรี จึงได้ตัดสินใจที่จะเรียนวิชาเอก ดนตรีไทยที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จพระยา ๑๒๕ design 4.indd 125

9/9/2556 14:21:03


“ครูชอบศิลปวัฒนธรรมไทย ชอบดนตรีไทย ครูก็เลยเลือกที่จะ เรียนเอกดนตรีไทย ในสมัยนั้นการเลือกที่จะเรียนแบบนี้คงยากที่จะอธิบาย ถึงการทำ�งานในอนาคตได้ แต่ท�ำ อย่างไรได้ ก็ใจมันชอบไปแล้ว” เมื่อเรียนจบจากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาแล้ว อาชีพครู ไม่ใช่อาชีพที่ครูตั้งใจจะทำ�ตั้งแต่แรก แต่โชคชะตาก็พาให้มาเป็นครูในที่สุด “ตอนแรก ญาติของครูต้องการให้ไปทำ�งานการประปาแม้นศรี แต่ พอดีครูมีพี่สาวที่ท�ำ งานที่โรงเรียนชาตศึกษา แถวซอยวัดใหม่พิเรนทร์ เขา ชวนให้ไปสอนแผนกอนุบาล ครูจึงเริ่มสอนที่นั่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็น ครูสอนเด็ก สอนทุกอย่างก็ว่าได้ สอนไปสอนมา เอ๊ะ รู้สึกติดใจและสนุก ผ่านไป ๕ ปี เริ่มมีความคิดอยากจะลองไปสอบบรรจุเป็นครูข้าราชการกับ เขาบ้าง เพราะโรงเรียนเดิมเป็นโรงเรียนเอกชน” ครูระอวนเล่าว่าการมาสอบเพื่อมาบรรจุที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ นั้น ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้ เพราะคิดว่าคู่แข่งเก่งๆ ก็มีเยอะ แต่อยากลองมา เสี่ยงดวงดู “ลองสอบครัง้ แรกไม่ตดิ พอครัง้ ทีส่ องก็ลองเลือกโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ตอนนั้นครูก็ไม่ค่อยรู้จักโรงเรียนสวนกุหลาบฯ มากเท่าไหร่หรอก รู้แต่ว่า เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงทางวิชาการและการกีฬา อีกอย่างช่วงที่ครูมาสอบ นั้นทางโรงเรียนกำ�ลังขยายการเรียนการสอน มีการเปิดโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย นนทบุรี ที่ปากเกร็ด ครูก็นึกว่าครูมาสอบเพื่อไปบรรจุที่นั่น ตอน สอบครูก็หิ้วซออู้กับขลุ่ยซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ครูถนัดมากที่สุดมาสอบ ผล ปรากฏว่าครูสอบได้อันดับสอง ก็เหมือนติดเป็นตัวสำ�รองที่จะได้สอนที่ ๑๒๖ design 4.indd 126

9/9/2556 14:21:05


สวนกุหลาบฯ ใหญ่ พอดีว่าครูคนที่สอบได้อันดับที่หนึ่งลาออกไปเรียนต่อ คนจะมีดวงได้มา เป็นครูนะ และก็เป็นดวงที่ดีมากที่ได้มาสอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ” “ตอนที่เข้ามาแรกๆ สมัยนั้นผู้อำ�นวยการคือท่านสำ�เริง นิลประดิษฐ์ มีครูพังงา เทียนทอง เป็นที่ปรึกษาวิชาดนตรีไทย มีอาจารย์นิรมล วิวิตรกุล ท่านคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ เพราะได้เป็นครูประจำ�ชั้นร่วมกัน แรกๆ ก็รู้สึกเฉยๆ นะ แต่พอได้สอนนานๆ ก็รู้สึกชอบมาก ขึ้นๆ เพราะเด็กนักเรียนน่ารักมาก” คุณครูระอวนเล่าให้ฟัง

พอดีว่าครูคนที่สอบได้อันดับที่หนึ่งลาออกไปเรียนต่อ คนจะมีดวงได้มาเป็นครูนะ และก็เป็นดวงที่ดีมาก ที่ได้มาสอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ครูระอวนคิดอยู่เสมอว่า “ดนตรีไทย” เป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคล การที่ สอนให้นักเรียนทุกคนเรียนได้ดีและชอบดนตรีไทยเป็นเรื่องที่บังคับกันไม่ได้ แต่ครูก็ไม่เคย ย่อท้อกับการสอน ทั้งนี้ก็เพราะความรักในดนตรีไทย “ตอนที่ครูสอนนั้นนักเรียนทุกคนในโรงเรียนต้องผ่านวิชาครูทั้งนั้น ครูเข้าใจนะว่า ดนตรีไทยนี่ เป็นเรื่องของพรสวรรค์ ใครเรียนแล้วไม่ได้ดี เล่นไม่ได้ ครูก็ไม่ได้คะยั้นคะยอว่า ๑๒๗ design 4.indd 127

9/9/2556 14:21:07


ต้องทำ�ให้ได้ ก็อยากให้เขาได้เรียนรู้เบื้องต้น ได้รู้จักดนตรีไทยที่เป็นวัฒนธรรม ของเราเอง ส่วนนักเรียนคนใดที่สนใจอย่างเรียนอย่างจริงๆ จังๆ อยากจะมา เรียนเพิ่มเติมทีหลังครูก็ยินดีที่จะสอนให้ ครูมาสอนดนตรีไทย เพราะครูชอบ ดนตรีไทย ครูรักในวัฒนธรรมไทย แม้ว่าเงินเดือนการเป็นครูจะไม่ได้มากมาย แต่ ครูก็มีความสุขกับการได้ทำ�ในสิ่งที่ครูรัก และครูก็มีความสุขทุกครั้งที่เห็นลูกศิษย์ เล่นดนตรีไทยให้ฟัง” ครูระอวนกล่าวพร้อมกับยิ้ม

ครูมาสอนดนตรีไทย เพราะครูชอบดนตรีไทย ครูรักในวัฒนธรรมไทย แมว้ า่ เงินเดือนการเป็นครูจะไมไ่ ดม้ ากมาย แต่ครูก็มีความสุขกับการไดท้ �ำ ในสิ่งที่ครูรัก

และครูก็มีความสุขทุกครั้ง ที่เห็นลูกศิษย์เลน่ ดนตรีไทยใหฟ้ ัง

นอกเหนือจากวิชาดนตรีตามหลักสูตรที่ครูระอวนมีหน้าที่ที่จะต้องสอน แล้ว การที่จะทำ�ให้คนอื่นๆ ได้เห็นคุณค่าของดนตรีไทยเหมือนอย่างที่ครูระอวน เห็นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าจะมีนักเรียนส่วนน้อยที่สนใจเข้ามาเรียนและฝึกฝน ๑๒๘ design 4.indd 128

9/9/2556 14:21:09


ในเวลาว่างๆ แต่ครูระอวนก็ยินดีต้อนรับนักเรียนเสมอ และยังหาโอกาสให้นักเรียนที่มี ความสนใจ มีพรสวรรค์ ได้ออกไปแข่งขันตามเวทีประกวดต่างๆ อีกด้วย “ครูคิดว่า นอกจากที่เราต้องให้ความรู้กับนักเรียนแล้ว เราต้องหาโอกาสส่ง เสริมกิจกรรมในด้านดนตรีไทยควบคู่กันไปด้วย เวลามีกิจกรรมอะไรที่มีดนตรีไทยครูก็ จะไปดู ไปร่วมกิจกรรมกับเขา ถ้ามีโครงการประกวดก็จะมาบอกนักเรียน เผื่อว่าจะมี นักเรียนคนไหนสนใจ ถ้าครูเห็นว่าเด็กมีแวว เก่งกล้าสามารถ ครูก็จะพาไปประกวด” การสร้างวงดนตรีไทยของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเพื่อที่จะไปประกวด ตามเวทีต่างๆ ในระยะแรกนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทายและมีอุปสรรคค่อนข้างมาก สิ่งแรก คือจำ�นวนนักดนตรีที่มีไม่พอ ครูระอวนจึงต้องวางแผนขอยืมนักดนตรีจากภายนอก เข้ามาร่วมฝึก “ตอนที่ครูพยายามจะส่งวงดนตรีของโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ไปประกวดข้าง นอก ครูก็ได้ลูกศิษย์คู่คิดของครูคือคุณประชากร ศรีสาคร มาช่วยกันคิด ช่วยกันสร้าง ทีมขึ้นมา ตอนที่จะส่งเข้าประกวดงาน ประลองเพลง ประเลงมโหรี ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ก็เชิญครูยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ มาปรับวงดนตรีให้ จนวงดนตรีของเราได้รับรางวัล ชนะเลิศปี พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๖ ถึง ๓ ปีซ้อน งานนี้พวกเราได้รับถ้วยพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเชียวนะ” ครูระอวนเล่าให้ฟัง ด้วยความภาคภูมิใจ ไม่เพียงแต่ถ้วยรางวัลชนะเลิศงานประลองเพลง ประเลงมโหรี ๓ ปีซ้อน ยัง มีถ้วยรางวัลพระราชทานที่น่าภูมิใจยิ่งขึ้นไปอีก นั่นคือ รางวัลชนะเลิศ ถ้วยรางวัล ๑๒๙ design 4.indd 129

9/9/2556 14:21:10


พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒ ใบ คือ การ ประกวดวงดนตรีไทยในงานเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย และ การประกวดดนตรีไทยเทิดพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชินี จัดโดยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งการประกวดครั้งนี้เป็นวงดนตรีไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ประกอบด้วยนักดนตรีที่เป็นเด็ก สวนกุหลาบฯ ทั้งหมด “ครั้งหนึ่งพาวงดนตรีไทยไปประกวดที่งานเผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย มีนักเรียนคนหนึ่ง ชื่อประพจน์ แอตาล เล่นโทน รำ�มะนา ตอนนั้นเขาเป็นไข้ แต่ก็บอกว่าไม่เป็นไร ก็ รางวัลพระราชทานชนะเลิศประกวด วงมโหรี “ประลองเพลง ประเพลงมโหรี” ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ (ใบซ้าย) ถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รางวัลชนะเลิศ ประเภทวงปี่พาทย์ผสม เครื่องสาย ระดับมัธยม จากการประกวด ดนตรีไทยเทิดพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชินี จัดโดยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗ (ใบขวา)

๑๓๐ design 4.indd 130

9/9/2556 14:21:16


ยังลุกขึ้นมาเต้นได้ แต่แป๊บเดียวเท่านั้นแหละ เขาก็ทรุดตัวล้มลงไป ครูนี่ร้องไห้แทบแย่ กลัวลูกศิษย์จะเป็นอะไร... แต่งานนั้นก็ผ่านไป ได้ด้วยดี และได้รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยพระราชทานจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วยนะ” ครูระอวนทบทวนความทรงจำ�ถึง เหตุการณ์ในครั้งนั้น นอกจากเรื่องนักดนตรีที่ครูระอวนพยายามสร้างขึ้นมาจน สามารถเล่นเป็นวงและสร้างชื่อให้กับโรงเรียนได้บ้างแล้ว ปัญหาอีก อย่างหนึ่งที่ครูบอกกล่าวให้ฟังก็คือ ไม่มีห้องดนตรีไทย ๑๓๑ design 4.indd 131

9/9/2556 14:21:18


“เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๒ ทางโรงเรียนได้ปิดตึกยาวเพื่อทำ�การบูรณะครั้งใหญ่ ห้องดนตรีไทยที่เคยอยู่ที่ชั้นล่างของตึกยาวก็ถูกย้ายออก ซึ่งก็ใกล้เคียงกับช่วงที่ครูเริ่มทำ� วงดนตรีไปประกวด ตอนนั้นครูไม่มีห้องดนตรีไทยให้เด็กได้ซ้อม ก็ต้องไปขอยืมห้องหมวด ต่างๆ ซึ่งก็ไม่ใช่จะขอยืมกันง่ายๆ เพราะแต่ละหมวดก็มีหน้าที่ มีกิจกรรมที่จะต้องใช้ห้องอยู่ เหมือนกัน บางทีครูอยากให้เด็กในวงมาเข้าค่ายเพือ่ ซ้อมอย่างเข้มข้น เมือ่ โรงเรียนไม่มสี ถานที่ ให้ก็ต้องไปขออาศัยนอนที่วัดเลียบก็มี” “แต่ตอนนี้ครูดีใจที่ได้ข่าวว่า คุณเจียม เสาวภา ประธานมูลนิธิสวนกุหลาบฯ ได้ช่วย พยายามผลักดันให้มีห้องดนตรีไทยของโรงเรียนจนสำ�เร็จเรียบร้อยตามที่ใจครูอยากให้มี เป็นห้องเรียน ห้องซ้อม และห้องบันทึกเสียงที่น่าใช้มากๆ” ครูระอวนกล่าวด้วยนำ�้ เสียงยินดี ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ครูระอวนจำ�เป็นต้องเกษียณอายุราชการก่อนกำ�หนด เนื่องมาจาก สุขภาพไม่แข็งแรง “ตอนนั้นครูกำ�ลังทำ�ผลงานขอซี ๘ เหนื่อยมาก รู้สึกเหมือนทำ�งานไม่ได้พักผ่อน อาหารการกินก็ไม่ได้ใส่ใจดูแลเท่าที่ควร จนมารู้อีกทีว่าครูป่วยด้วยโรคเบาหวาน แล้วครูก็ มานั่งคิดว่า เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีต่างๆ นานาเข้ามาช่วยในการสอนเยอะแยะ ทันสมัยจนครูตาม ไม่ทัน ซึ่งครูเองก็ไม่ถนัดนัก ครูก็เลยขอเกษียณอายุราชการก่อนกำ�หนด” ครูระอวนพูดด้วย น้ำ�เสียงนิ่งก่อนจะถอนหายใจด้วยความเสียดาย ช่วงชีวติ หลังเกษียณอายุราชการก่อนกำ�หนดนัน้ ครูระอวนจึงใช้เวลาอยูก่ บั ครอบครัว ที่บ้าน และต้องรักษาสุขภาพต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่มารุมเร้าอยู่ตลอดเวลา “ครูเองก็ป่วยออดๆ แอดๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สอนที่โรงเรียนแล้ว แต่ ศิษย์เก่าก็ไม่เคยทอดทิ้งครู ครูต้องขอขอบคุณ คุณรติ ช่อลำ�ไย เป็นอย่างมาก ที่เป็นโต้โผ

คุณครูกาญจนา เตชะวณิชย์ กลุม่ สาระการเรียนรูศ้ ลิ ปศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ระอวนเข้ามาบรรจุ ที่สวนกุหลาบวิทยาลัยปีเดียวกัน ครู ดูแลวงดนตรีสากล อาจารย์ระอวน

๑๓๒ design 4.indd 132

9/9/2556 14:21:22


จัดกิจกรรมหาทุนมาเป็นค่ารักษาพยาบาลให้ครู ครูซาบซึ้งจริงๆ ที่ชาว สวนกุหลาบฯ ไม่ทอดทิ้งกัน” ครูระอวนกล่าวชื่นชม สุดท้ายนี้ ถึงแม้ว่าครูระอวนจะไม่สามารถเล่นดนตรีไทยได้อีกแล้ว แต่จิตสำ�นึกของครูยังโหยหาเสียงดนตรีไทยอยู่ตลอดเวลา และหวังว่า สวนกุหลาบฯ จะเป็นสถาบันแห่งหนึ่งที่ยังสนับสนุนดนตรีไทย ศิลป วัฒนธรรมไทย ให้คงอยู่สืบไปตลอดชั่วกาลนาน ก็ดูดนตรีไทย เราเป็นครูดนตรีเหมือนกัน จะว่าไปก็ เหมือนสองคู่ชู้ชื่น เหมือนอ้วนผอมจอมยุ่งที่บุคลิก แตกต่างกันชัดเจน ครูเป็นคนรวดเร็วตามลักษณะวิชา อาจารย์ระอวนก็จะเรียบร้อย ใจเย็นตามแบบฉบับ ดนตรีไทย แต่เราก็อยู่ด้วยกันได้เพราะความเข้าใจ กัน ฟันฝ่าอุปสรรคมาด้วยกัน อาจารย์ระอวนเป็น บุคลากรที่ทรงคุณค่าของโรงเรียน ท่านทุ่มเทแรง กาย แรงใจ แรงทรัพย์ส่วนตัวให้กับวงดนตรีไทยของ โรงเรียนมานาน ก็อยากให้ท่านสบายใจ เพราะสิ่งที่ ท่านฝัน ท่านคิด มันได้งอกงามแล้ว และจะงอกงาม ต่อไป ขอให้ท่านภูมิใจ ซึ่งสวนกุหลาบฯ ก็จะยังระลึก ถึงท่านตลอดไป ขอให้ท่านรักษาสุขภาพ เรื่องต่างๆ ที่เป็นความกังวลก็ขอให้ผ่อนคลาย มีจิตใจแจ่มใส เหมือนดนตรีที่ท่านชอบ ขอให้ท่านมีความสุขนะคะ

คุณครูอรทัย สวัสดิ์แดง กลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบฯ อาจารย์ระอวนเป็นอาจารย์กลุ่ม สาระเรียนรู้ศิลปะเหมือนกัน เราทำ�งาน ร่วมกันมาเป็นเวลานาน อาจารย์ระอวน เป็นคนใจเย็น ใจดี หากรู้ว่าพี่ๆ น้องๆ ต้ อ งการความช่ ว ยเหลื อ ก็ จ ะช่ ว ยเป็ น อย่างดี เป็นที่รักของพี่ๆ น้องๆ ทุกคน อยากให้ อ าจารย์ ร ะอวนรั ก ษาสุ ข ภาพ พวกเราน้องๆ ในกลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปะ เป็นห่วงและคิดถึงเสมอค่ะ ๑๓๓

design 4.indd 133

9/9/2556 14:21:28


ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น ที่อยู่ปัจจุบัน โทรศัพท์

นางวัฒนา ปรองดอง ต้อย ๙๗ หมู่ ๑๓ ซอยสวนผัก ๒๙ ถนนสวนผัก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๐ ๒๔๓๒ ๐๒๑๙

ประวัติการศึกษา โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม มัธยมศึกษา ปริญญาตรี สาขาคณิต-ฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๙ เริ่มเข้ารับราชการที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หัวหน้าหมวดคณิตศาสตร์ และเลขานุการ พ.ศ. ๒๕๔๑ ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาการเรียนรู้ พ.ศ. ๒๕๔๑ ประเทศมาเลเซีย ๒๑ วัน หัวหน้าระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๔ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เข้าร่วมโครงการเกษียณก่อนกำ�หนด ๑๓๔ design 4.indd 134

9/9/2556 14:21:31


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๐

ครูวัฒนา ปรองดอง ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาเป็นครูที่สวนกุหลาบฯ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙ ถึง ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ครูขออำ�ลาสวนกุหลาบฯ ด้วยบทกลอนนี้ วันเวลาผ่านไปของชีวิต หลงดีใจเวลางานนานเหลือเฟือ อยากค้นพบตัวจริงที่จริงแท้ พายส่งคนขึ้นฝั่งทั้งตาปี ยี่สิบห้าปีผ่านไปใจหายวาบ สวนกุหลาบฯถิ่นที่เคยทุ่มเทกาย มองเด็กๆ ลูกสวนฯชวนให้คิด ละสิ่งชั่วทำ�ความดีทุกกระบวน

ช่างสวนทิศกับเวลาส่วนที่เหลือ แล้วที่เหลืออีกกี่วันฝันเป็นจริง ไม่เป็นแต่เรือจ้างตามวิถี พบอีกทีกลัวเรือล่มจมน้ำ�ตาย กลิ่นกำ�ซาบคิดถึงอยู่มิรู้หาย อีกกำ�ลังใจอยู่สู้อดทน ถ้ามีจิตมุ่งมั่นสรรสร้างสวนฯ สวนฯคงเหมือนสวรรค์ของเทวา ๑๓๕

design 4.indd 135

9/9/2556 14:21:32


วันใดลูกสวนฯหมดความคิด สวนกุหลาบฯที่รักคงบรรลัย ครูขอฝากสวนกุหลาบฯที่รักยิ่ง เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขทั้งใจกาย ฝากคำ�อวยพรวอนให้ แต่เกรงว่าศิษย์ไม่ซึ้ง กราบวอนคุณพระรัตนตรัย อยู่เย็นเป็นสุขและโชคดี

ถูกหรือผิดสติตรองครองไม่ไหว สวนฯสลายก็เพราะน้ำ�มือเรา สุดประวิงเวลาต่อไปได้ ต่อนี้ไปคงไม่ได้คลุกคลีกัน ส่งแทนจิตใจไปถึง เพราะมีไม่ถึงครึ่งใจ บันดาลให้ “ศิษย์สวนฯ” จงสุขศรี ตลอดชั่วชีวีของศิษย์เทอญ

และช่วงเวลาตั้งแต่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ จนถึง ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ครูขอมอบบทกลอนนี้ให้กับชาวสวนกุหลาบฯ อีกเช่นเคย วันเวลาผ่านไปของชีวิต สิบสองปีผ่านไปไม่รีรอ “สุวิชา โน ภวํ โหติ” ตรองตรึก ตีให้แตกแยกแยะออกอยากบอกคน มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐถ้าได้ฝึก ของดีดีต้องอดทนพากเพียรไป

เหลือน้อยนิดสุดท้ายแล้วหนอ ฝึกสติฝึกตนแก้ไขนิสัยไม่ดี คิดให้ลึกคือหลักที่ฝึกฝน ต้องเป็นที่พึ่งของตนนั่นหลักชัย ลูกสวนฯนึกดูว่าฝึกมากไหม ค่อยทำ�ค่อยไปได้ดีเอง

๑๓๖ design 4.indd 136

9/9/2556 14:21:35


ครู คือ ผู้ยกระดับ จิตวิญญาณของศิษย์ เป็นครูสวนฯ ได้เพราะเพื่อนเตือนสติ เชื่อว่าทุกคนย่อมเคยมีความฝันในวัยเด็ก คุณครูวัฒนาก็เช่นกัน ความฝันในวัยเด็กของ ครูคือ อยากจะไปเป็นครูประจำ�อยู่ที่ชนบท หลังจากสอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงได้เรียนครูสมใจ แต่แล้วความฝันก็เลือนรางลงเพราะมาพบรักกับแฟนที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยด้วยกัน พอจบ ปริญญาตรีจึงตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทที่นิด้า “คุณพ่อคุณแม่บอกอยากให้ครูแต่งงาน แล้วทำ�งานอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่ครูไม่อยากอยู่ กรุงเทพฯ ครูก็เลยเลือกสอบบรรจุครูที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ คิดว่าไม่น่าจะได้ เพราะการแข่งขัน สูง และต้องได้ทห่ี นึง่ เท่านัน้ ถึงจะได้บรรจุ ในตอนนัน้ ถามว่ารูจ้ กั สวนกุหลาบฯ ไหม ไม่รจู้ กั เลยนะ เพราะครูคิดว่าโรงเรียนที่ครูเรียนทางโน้นสมัยเด็กๆ ดีที่สุดละ” “เชื่อไหมว่า เป็นการสอบที่ยากจริงๆ เพราะตอนที่สอบวิชาวิชาคณิตศาสตร์หมดตอน ครึ่งเช้านี้ ครูก็ออกมาบ่นกับเพื่อนของครูที่มาสอบด้วยว่า โห ไม่เคยเห็นข้อสอบอะไรแบบนี้มา ก่อน ต้องเขียนพิสูจน์ทั้งหมดเลย แล้วก็ไม่เคยที่จะทำ�ข้อสอบไม่ได้เท่านี้มาก่อน ตอนั้นคิดว่าจะ กลับบ้าน ไม่ไปสอบภาคบ่ายแล้ว แต่เพื่อนของครูได้ให้ข้อคิดว่า เธอต้องทำ�เหมือนนักวิ่ง ต้องวิ่ง ให้ครบรอบ เพราะฉะนั้นเธอต้องสอบให้ครบ ครูเลยตั้งใจทำ�เต็มที่ตามที่กัลยาณมิตรแนะนำ� ผล ปรากฏว่าครูสอบได้ที่ ๑ และครูก็ได้บรรจุที่นี่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ นั่นคือ การเริ่มต้นของคำ�ว่า ครู สวนกุหลาบฯ” ๑๓๗ design 4.indd 137

9/9/2556 14:21:37


สวนกุหลาบฯ ยิ่งใหญ่จริงๆ จากความรู้สึกที่ว่าโรงเรียนของครูนั้นดีมากแล้ว พอวันแรกที่เข้ามา ในสวนกุหลาบฯ นั้น ประทับใจมากที่เห็น นักเรียนเข้าแถว มีวงดุริยางค์เล่น ด้วย ดูน่าเกรงขาม และแสดงให้เห็นว่าเด็กสวนกุหลาบฯ นั้นมีความเป็น ระเบียบวินัยสูง เป็นสิ่งที่ครูชอบมากจนมาถึงทุกวันนี้ เมื่อเข้ามาสอนที่สวนกุหลาบฯ คุณครูวัฒนาเริ่มสอนชั้น ม.ศ.๑ จาก นั้นสอนไปได้สักพัก ก็ได้รับมอบหมายให้ไปสอนชั้น ม.ศ.๔ ซึ่งนอกจากวิชา คณิตศาสตร์แล้ว อาจารย์ก็ยังได้รับมอบหมายให้ช่วยสอนวิชาลูกเสืออีกด้วย การบ้านเยอะหรือน้อยไม่สำ�คัญ ความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจเรียน คงเป็นสิ่งที่เด็กสวนกุหลาบฯ มีมา ทุกคน และเด็กสวนกุหลาบฯ ก็กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีเรื่องราวที่ ครูที่อยู่ในความทรงจำ�ของครูจนถึงทุกวันนี้ “นักเรียนอยู่คนหนึ่ง เขามาพูดกับครูว่าครูอ่อนแอ พอได้ยินอย่างนี้ ครูไม่ได้โกรธนะ เพราะครูรู้ว่าเขามีความหวังดี ครูก็เลยฟังให้เขาว่า สิ่งที่เขา ว่าครูก็คือ ทำ�ไมครูต้องลดการบ้านนักเรียน เวลาที่นักเรียนบ่นว่าการบ้าน เยอะ เขาบอกว่า ทำ�แบบนี้ไม่ได้ มันจะทำ�ให้การเรียนไม่เข้มเข็ง ส่วนตัวเขา ก็ไปเรียนกวดวิชาเยอะมาก แต่ว่าคะแนนทดสอบในห้องกลับได้คะแนนไม่ดี ครูแนะนำ�เขาไปว่าเธอน่ะพื้นฐานในวิชาไม่ดีนะ พอจบไป เขาก็สอบติดแพทย์ แล้วก็กลับมากราบที่เท้าเลย ขออภัยที่เคยต่อว่า เพราะว่าครูทำ�ถูกแล้ว ต้อง มีพื้นฐานที่ดีแล้วถึงจะไปต่อยอดได้” ๑๓๘ design 4.indd 138

9/9/2556 14:21:41


ดังนั้นการบ้านเยอะกับการบ้านน้อยไม่สำ�คัญ ต้องดูที่รายวิชา วิชาไหนที่ต้องใช้ทักษะ ต้องอาศัยความชำ�นาญ เพื่อให้เกิดความจดจำ� ก็ให้การบ้านแบบเหมาะสม เพราะทุกอย่างที่เยอะเกินไปนั้น ไม่ดีแน่ๆ ทุกอย่างมันต้องพอดี “นีแ่ หละ การเป็นครูไม่ได้หมายความถึงผูใ้ ห้ความรูใ้ นเรือ่ งวิชาการ อย่างเดียว การเป็นครูจึงเป็นเหมือนผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ทั้งใน ด้านคุณธรรม และจริยธรรม ต้องให้คำ�แนะนำ�ในการครองตนให้กับลูก ศิษย์ด้วย” สวนกุหลาบฯ ความทรงจำ�ชั่วชีวิต “ครูจะบอกลูกเสมอว่า ที่เราอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะแม่ทำ�งานที่ สวนกุหลาบฯ ให้ชวี ติ ให้บา้ น ให้ทอ่ี ยูอ่ าศัย ให้เงินทอง แล้วก็ให้ความเป็น อยู่ที่สบายกับลูก แล้วก็เพื่อนครูที่สวนกุหลาบฯ เนี่ย ดีมาก โดยเฉพาะ คุณครูสังวร และคุณครูวรนุช โดยที่คุณครูสังวรจะคอยแนะนำ�ในเรื่อง ของระเบียบวินัย และเป็นเพื่อนที่มีจิตใจดี ส่วนคุณครูวรนุช จะคอยให้ ข้อมูลที่ดีในเรื่องต่างๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม” เมื่อถึงเวลาที่คุณครูวัฒนารู้สึกอิ่มตัวกับการเป็นครูสอนนักเรียน ประกอบกับเมื่อมีอายุมากขึ้น สุขภาพก็เริ่มเปลี่ยนแปลง คุณครูวัฒนา จึงขอเกษียณอายุราชการก่อนกำ�หนดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ “ตอนนั้นครูรู้สึกว่าร่างกายอ่อนล้ามาก และครูเองก็มีปัญหา เรื่องสายตา เหมือนกับว่าตาครูมองเสื้อสีขาวๆ ของนักเรียนมากเกินไป ๑๓๙ design 4.indd 139

9/9/2556 14:21:45


จนกระทั่งวันหนึ่งครูรู้สึกเหมือนกับมีเข็มมาทิ่มตาครูจนเจ็บไปหมด ซึ่งทุก วันนี้ครูก็ยังมีอาการทางสายตาอยู่ คือจะสู้แสงไม่ค่อยได้ นี่ก็เป็นเหตุผล หนึ่งที่ครูต้องขอเกษียณอายุราชการออกไปก่อน” ในคราวที่คุณครูวัฒนาเกษียณอายุราชการก่อนกำ�หนดนั้น ครูได้ ฝาก บทกลอน ไว้ให้กับชาวสวนกุหลาบฯ ดังนี้ “ยี่สิบห้าปีที่ผ่านไปใจหายวาบ กลิ่ น กำ � ซาบคิ ด ถึ ง อยู่ ไ ม่ รู้ ห าย สวนกุหลาบฯ ถิ่นที่เคยทุ่มเทกาย อีกกำ�ลังใจอยู่สู้อดทน มองเด็กๆ ลูกสวนฯ ชวนให้คิด ถ้ามีจิตมุ่งมั่นสรรสร้างสวนฯ ละสิ่งชั่วทำ�ความดีทุกกระบวน สวนฯ คงเหมือนสวรรค์ของเทวา วันใดลูกสวนฯ หมดความคิด ถูกหรือผิดสติตรองครองไม่ไหว สวนกุหลาบฯ ที่รักคงบรรลัย สวนฯ สลายก็เพราะน้ำ�มือเรา ครูขอฝากสวนกุหลาบฯ ที่รักยิ่ง สุดประวิงเวลาต่อไปได้ เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขทั้งใจกาย ต่อนี้ไปคงไม่ได้คลุกคลีกัน ฝากคำ�อวยพรวอนให้ ส่งแทนจิตใจไปถึง แต่เกรงว่าศิษย์ไม่ซึ้ง เพราะมีไม่ถึงครึ่งใจ กราบวอนคุณพระรัตนตรัย บันดาลให้ “ศิษย์สวนฯ” จงสุขศรี อยู่เย็นเป็นสุขและโชคดี ตลอดชั่วชีวีของศิษย์เทอญ” - ครูวัฒนา ปรองดอง : กันยายน ๒๕๔๔ ๑๔๐ design 4.indd 140

9/9/2556 14:21:46


ความสุขหลังเกษียณ “เมื่อครูได้ตัดสินใจก้าวเดินออกมาจากสวนกุหลาบฯ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วยังอาลัย ชีวิตการสอนหนังสืออยู่นั้น ช่วงแรกๆ ของชีวิตแม่บ้านนั้นไม่ค่อยคุ้นเคยสักเท่าไหร่ เหมือนคนที่เป็นนักวิ่งที่วิ่งเร็วมาตลอด อยู่ๆ ดีจะให้มาหยุดวิ่งคงเป็นไม่ได้ จำ�เป็นที่จะ ต้องมีลู่วิ่งเหยาะไปก่อน ซึ่งตรงนี้ก็ต้องขอขอบคุณครูอนวัชที่ชวนให้ไปสอนที่โรงเรียน ของครูแถวพุทธมณฑลสาย ๔ เพราะไม่อยากให้ความรู้หมด ครูก็ไปช่วยสอนอยู่ได้สอง สามปี พอโรงเรียนของครูอนวัชเริ่มอยู่ตัว ครูก็ขอลาออกมาเพราะตอนนั้นตั้งใจว่าจะ คุมการปลูกบ้านเอง เพราะครูชอบดูการปลูกบ้าน ดูสิ่งก่อสร้าง รวมถึงการคิดคำ�นวณ จำ�นวนวัสดุก่อสร้างด้วยตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องของการคำ�นวณกระเบื้องที่ใช้ภายใน บ้าน เพราะจากที่ครูได้ศึกษาด้วยตัวเองมานั้น จำ�นวนกระเบื้องที่ต้องใช้ส�ำ หรับการปู ทั้ง ๕ ห้องนี้ ต้องใช้จำ�นวนเท่านี้แน่ๆ ในขณะที่ผู้รับเหมาก็ไม่เชื่อสั่งมาตามที่เขาคำ�นวณ ซึ่งตอนนั้นครูก็เดิมพันเลยว่า ถ้าผิดพลาดครั้งนี้ ครูจะเผาตำ�ราทิ้งเลย ซึ่งหลังจาก ทำ�งานไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าผู้รับเหมาคำ�นวณ ผิดจริงๆ ทำ�ให้ต้องเอากระเบื้องที่เหลือ นั้น ไปทำ�ห้องน้ำ�ห้องที่ ๖ นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดีใจที่สุดว่าครูไม่ต้องเผาตำ�ราทิ้ง เพราะ คำ�นวณถูกต้อง” หลังจากบ้านเสร็จครูก็ได้ทำ�ในสิ่งที่ที่ครูอยากทำ�ต่อมา นั่นก็คือ การปฏิบัติธรรม “หลังจากปลูกบ้านเสร็จแล้วครูกเ็ ริม่ สนใจมาปฏิบตั ธิ รรม ซึง่ ในช่วงแรก ดูเหมือน ไม่ค่อยประสบความสำ�เร็จเท่าไหร่ เพราะยังมีตัวตน มีความยึดมั่น ถือมั่น ว่าเราเป็น ครู เป็นนั่นเป็นนี่อยู่เยอะ เลยทำ�ให้ทำ�ไม่ส�ำ เร็จ จากนั้นจึงเริ่มผ่อนคลาย และเพราะมี อาจารย์ดีสอน ซึ่งก็คือหลวงพ่อปราโมทย์ ตอนนั้นอยู่นครปฐม ครูก็ขับรถไป ไปกันไม่ ๑๔๑ design 4.indd 141

9/9/2556 14:21:47


เกินสิบคน ทำ�ให้การปฏิบัติธรรมเริ่มดีขึ้น จากที่ไม่เข้าใจเริ่มเข้าใจมากขึ้น ครู ได้ไปประมาณ ๕ – ๖ ครั้ง หลวงพ่อก็ย้ายไปอยู่ชลบุรี ก็เลยไม่มีโอกาสได้ไป อีก จึงได้กลับมาต่อยอดเอง ปฏิบัติอยู่ที่บ้าน โดยเฉพาะเวลารีดผ้า การฝึก กรรมฐานของครูคือ การรีดผ้า ทุกวันนี้ครูก็มีความสุขดี” และในโอกาสที่ศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ จะจัดงานมุทิตาจิตแด่คุณครู อีกครั้ง ครูวัฒนาขอมอบบทกลอนอีกบทให้เป็นข้อคิดแก่ชาวสวนกุหลาบฯ ทุกคน “วันเวลาผ่านไปของชีวิต เหลือน้อยนิดสุดท้ายแล้วหนอ สิบสองปีผ่านไปไม่รีรอ ฝึกสติฝึกตนแก้ไขนิสัยไม่ดี สุวิชาโน ภวํ โหติ ตรองตรึก คิดให้ลึกคือหลักที่ฝึกฝน ตีให้แตกแยกแยะออกอยากบอกคน ต้องเป็นที่พึ่งของตนนั่นหลักชัย มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐถ้าได้ฝึก ลูกสวนฯ นึกดูว่าฝึกมากไหม ของดีดีต้องอดทนพากเพียรไป ค่อยทำ�ค่อยไปได้ดีเอง” - ครูวัฒนา ปรองดอง : กันยายน ๒๕๕๖ -

๑๔๒ design 4.indd 142

9/9/2556 14:21:50


เพื่อนหอ้ ง ๖๐๒ รุน่ ๑๑๑ มหาราช

ร่วมสนับสนุนงานมุทิตาจิต ๕๖

design 4.indd 143

9/9/2556 14:21:52


ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพล สกลเกียรติ วุด ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ๙๙ แยก ๕ ซอยพระยาวรพงษ์ (๔๖) ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐

ประวัติการศึกษา โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์ อำ�เภอกระทุ่มแบน ประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร โรงเรียนกระทุ่มแบน ”วิเศษสมุทคุณ” มัธยมศึกษา ปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยศิลปากร l ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญาโท (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ l ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง) มหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาเอก ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การศึกษานอกระบบโรงเรียน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๔๔ design 4.indd 144

9/9/2556 14:21:56


ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ l ครูโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” สมุทรสาคร l ครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร l อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง กรุงเทพมหานคร l อาจารย์คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง กรุงเทพมหานคร

ผศ. ดร. วุฒิพล สกลเกียรติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ l จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย l ตริตาภรณ์มงกุฎไทย l ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย l ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก l เหรียญจักรพรรดิมาลา ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในช่วงเวลาที่สอนอยู่ ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีอะไรหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำ�ให้ เกิดความประทับใจและฝั่งลึกอยู่ในจิตใจ ปัจจุบันก็ไม่ลืมเลือนไป ทั้งกับสถาบัน เพื่อนร่วมอาชีพ และร่วมสถาบัน รวมถึงลูกศิษย์ที่รักทุกคน ซึ่งประมวลออกมาเป็นภาษาเขียนได้คือ ๑๔๕ design 4.indd 145

9/9/2556 14:21:58


ความเป็นชาวสวนกุหลาบ ที่เป็นชมพูฟ้าไม่ ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด กับใคร โดยเฉพาะกับชาวชมพูฟ้าด้วย กัน และกับครูอาจารย์ ความกตัญญูรู้คุณ เป็นคนดีของ สังคมไทย l บรรยากาศของโรงเรียน บูรณาการทั้งอดีต และปัจจุบัน หล่อหลอมความภาคภูมิที่ฝั่งลึกและหยิ่ง ในเกียรติศักดิ์ศรี หลอมรวมความรัก ความผูกพัน ความ เป็นหนึ่งเดียวกัน และความเป็นไท l

ขอขอบคุ ณ โรงเรี ย นสวนกุ ห ลาบวิ ท ยาลั ย ขอบคุณเพื่อนร่วมสถาบัน ขอบใจลูกศิษย์ ที่ท�ำ ให้เกิด ความรู้สึกดี ๆ เหล่านี้ในจิตใจ

๑๔๖ design 4.indd 146

9/9/2556 14:22:02


การได้มาเป็นครูสวนกุหลาบฯ นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้นๆ “ไมร่ ูว้ า่ แสดงความรูส้ ึกอะไรมากเกินไปไหม เข้ามาอยู่แค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง ๓ ปี แต่ที่พูดออกมาจาก ใจจริงทั้งสิ้น” คุณครูวุฒิพลกลา่ วกอ่ นจบการสนทนาในวันนั้น ท่านจัดว่าเป็นคุณครูคิวทองท่านหนึ่งของพวกเราทีมงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ เนื่องจากท่านมีสอนทุกวันเสาร์-อาทิตย์ที่มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง แต่พวกเราทีม งานฯว่างกันในวันดังกล่าว เมื่อคุณครูตอบรับนัดในบ่ายวันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม พวกเราจึงรีบคว้าโอกาสนี้ไว้ทันที ถึงแม้ว่าคุณครูวุฒิพลได้มาสอนที่สวนกุหลาบ ๑๔๗ design 4.indd 147

9/9/2556 14:22:04


วิทยาลัยในช่วงที่พวกผมยังศึกษาอยู่แต่ท่านก็สอนมัธยมศึกษาปีที่สองซึ่งพวกผมได้ ผ่านชั้นนั้นไปแล้ว ส่วนตัวก็ยอมรับว่าจำ�หน้าท่านไม่ได้แม้มีรูปเก่าของท่านอยู่ โชคดีว่า วันนั้นเป็นวันอาทิตย์ ผู้คนในโรงเรียนไม่มากนักจึงได้พบว่าชายหนุ่มในเสื้อสีสดสะพาย กระเป๋าทันสมัยท่านนี้คือคุณครูของเราเอง “ปิยะคือคนไหน วันนี้มาไหม มันตามได้สุดยอดเลย” คุณครูยิงคำ�ถามทันที แล้วทั้งคนถามและคนถูกถามก็ต่างหัวเราะร่วนพร้อมกัน เป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากว่าผู้ชายท่าทางสมาร์ทที่กำ�ลังคุยกับผมท่านนี้คือบุคคล ที่พวกผมกำ�ลังจะจัดงานมุทิตาจิตให้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพราะนอกจากใบหน้าที่ อ่อนกว่าวัย ยังเต็มไปด้วยกำ�ลังวังชาและความกระตือรือร้น คุณครูเล่าให้ฟังว่าก่อนย้ายมาสอนที่สวนกุหลาบฯ ท่านสอนอยู่ที่โรงเรียนใน จังหวัดสมุทรสาคร แต่ก็ไม่ใช่คนแปลกหน้าของสวนกุหลาบฯ เสียทีเดียว เพราะเคย เข้ามาติดต่อขอยืมเพลทแปรอักษรจากชุมนุมเชียร์และแปรอักษรอยู่เป็นระยะๆ “ในสมัยนี้ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรแล้ว แต่สมัยก่อนตอนที่ครูเรียนประถม มัธยม ที่ต่างจังหวัด เป้าหมายสูงสุดของเด็กผู้ชายทุกคนคือการได้มาเรียนที่สวนกุหลาบฯ แต่ เผอิญว่าเราไม่มีโอกาสตรงนั้น” จนเมื่อได้ทราบว่าทางโรงเรียนมีอัตราครูภาษาอังกฤษว่างลง ท่านจึงไม่รีรอที่ จะมาเป็นคุณครูสวนกุหลาบฯ “มันเป็นจังหวะชีวิต เหตุการณ์ต่างๆ บังเอิญมาตรงกัน มีอาจารย์มาชวนว่า อัตราครูภาษาอังกฤษและลูกเสือที่สวนกุหลาบฯ ขาด จากเดิมที่เคยตั้งเป้าว่าอยากมา เรียนที่สวนกุหลาบฯ แต่ไม่ได้มาเรียน ก็ไม่เป็นไร มาเป็นครูก็ได้ ก็นับว่าบรรลุเป้าหมาย ชีวิตอย่างหนึ่ง เป็นความโชคดีที่คิดเอาไว้แล้วได้อย่างที่คิด” ๑๔๘ design 4.indd 148

9/9/2556 14:22:09


หนึง่ ในผูช้ กั ชวนให้มาอยูท่ ส่ี วนกุหลาบฯ ไม่ใช่ใครอืน่ คือ ผ.อ.สุทธิ เพ็งปาน และอีกท่านที่มาทราบภายหลังว่าเป็นผู้ผลักดันอยู่เบื้องหลังคืออาจารย์วราภรณ์ ปัญญาเพชร์ ซึ่งทุกวันนี้ยังติดต่อและพบเจอกันตามงาน เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ ทำ�ให้คุณครูวุฒิพลแทบไม่พลาดงานใหญ่ๆ ของชาวสวนกุหลาบฯ “อาจารย์วราภรณ์ปัจจุบันท่านอยู่เชียงใหม่ วันไหนที่สวนกุหลาบฯ มีงาน และท่านลงมา จะโทรมาแล้ว พี่ถึงงานแล้วเธออยู่ไหน ไอ้เราก็เกรงใจพี่เขา อยู่ ไกลขนาดนั้นยังลงมา ไม่ไปไม่ได้แล้ว” พูดแล้วก็หัวเราะ

เป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากว่าผู้ชายท่าทางสมาร์ท ที่ก�ำ ลังคุยกับผมทา่ นนี้ คือ บุคคลที่พวกผม กำ�ลังจะจัดงานมุทิตาจิตใหใ้ นอีกไมก่ ี่เดือนขา้ งหนา้ เพราะนอกจากใบหนา้ ที่ออ ่ นกวา่ วัย ยังเต็มไปด้วยกำ�ลังวังชาและความกระตือรือร้น “สมัยที่ครูอยู่ เรานั่งเป็นระดับ กลุ่มที่สอนมัธยมปีที่สองด้วยกันที่จ�ำ ได้มี หลายคน อาจารย์ศรีวรรณ อาจารย์วราภรณ์ อาจารย์ทพิ มาลย์ อาจารย์ชวลักษณ์ เป็นกลุ่มที่สนุกสนานมาก ไปไหนไปกัน” ๑๔๙ design 4.indd 149

9/9/2556 14:22:12


“ที่จริงตอนที่ย้ายเข้ามา มีลูกศิษย์ที่ครูเคยสอนตอนมัธยมที่สมุทรสาครสอน อยู่ที่สวนกุหลาบฯ ด้วย ลูกศิษย์คนนั้นก็คืออาจารย์ดำ�รงฤทธิ์ แต่บอกไปคนมักไม่ ค่อยเชื่อ” ครูเล่าอย่างมีความสุข ได้ถามถึงลูกศิษย์ที่ประทับใจ ท่านว่า “บอกตรงๆว่าจำ�ไม่ได้ ปีแรกที่มาก็ประจำ�ชั้นเลย เด็กห้องหนึ่งหกสิบคน กว่าจะเดินทะลุไปถึงหลังห้องเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน แต่ที่คิดถึงมากๆ คือกลุ่มที่

จากเดิมที่เคยตั้งเป้าว่าอยากมาเรียนที่สวนกุหลาบฯ แต่ไม่ได้มาเรียน ก็ไม่เป็นไร มาเป็นครูก็ได้ ก็นับวา่ บรรลุเป้าหมายชีวิตอยา่ งหนึ่ง ไปเข้าค่ายลูกเสือที่มาเลเซียด้วยกัน เพราะมีโอกาสได้ทำ�กิจกรรมร่วมกัน มีโอกาส พบกันมากหน่อย ยังอยู่ในความทรงจำ� เห็นหน้าคงพอจำ�ได้แต่ถ้าถามว่าชื่ออะไรคง ไล่เรียงลำ�บาก” จากการพูดคุยกันทำ�ให้ทราบว่านอกจากที่ท่านเคยสอนมัธยมศึกษา ปัจจุบัน สอนอุดมศึกษา ยังเคยสอนประถมศึกษาอีกด้วย เลยสอบถามในแง่ความแตกต่าง “ในแง่ของตัวครูไม่ได้มีความแตกต่างอะไร มันอยู่ที่ว่าตัวครูเองตั้งปณิธาน กับตัวเองไว้อย่างไรในวิชาชีพ เป้าหมายของเราคือให้ความรู้ ดูแลเรื่องพฤติกรรม ๑๕๐ design 4.indd 150

9/9/2556 14:22:14


ในการที่ทำ�อย่างไรให้เขาเป็นคนดีของสังคม มีเพียงบริบทหรือสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยน เช่นเคยสอนที่ต่างจังหวัดแล้วย้ายมาสอนที่กรุงเทพฯ อันนี้ความแตก ต่างเยอะมาก” ถามท่านในแง่ความเป็นครู “มีคำ�สองคำ�ที่ใช้เรียกคนที่มีอาชีพนี้ คือคำ�ว่าครูและอาจารย์ คำ�ว่า ครูกินความลึกซึ้งกว่า ครูจะกินความในเรื่องการให้ความรู้ควบคู่ไปกับการ อบรมคุณธรรมและจริยธรรม ส่วนอาจารย์จะเน้นหนักไปในการให้ความรู้ เท่านั้น เป็นเหมือนที่ฝรั่งเขาใช้ค�ำ ว่า Lecturer คนเป็นครูจึงน่าจะกินความ ได้ถึงทุกๆ เรื่องของนักเรียน ในกระบวนการเติบโตของเด็ก” แล้วกับการเป็นครูสวนกุหลาบฯ “ไม่ได้แปลกแตกต่างจากการเป็นครูที่อื่น แต่จะประทับใจกับอะไร หลายๆ อย่างที่ไม่พบในที่อื่น เช่นความรู้สึกของนักเรียนต่อโรงเรียนจะเรียก ว่าอะไรดี ความจงรักภักดีแล้วกัน ผูกพันกันแน่นหนามากในความเป็นชมพู ฟ้า เป็นสิ่งที่ประทับใจมากที่สุด มันเหมือนกับว่ากรีดเลือดออกมาแล้วจะ เป็นสีชมพูฟ้าจริงๆ ซึ่งจะเป็นไปได้อย่างไร แต่ความรู้สึกมันให้แบบนั้น” อารมณ์เริ่มได้ถามท่านต่อว่า ด้วยความที่สอนหนังสือมาหลากหลาย ระดับและสถานศึกษา เด็กสวนกุหลาบฯ มีอะไรที่แปลกต่างกับที่อื่นอย่างไร “ในแง่ความเป็นคนไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นที่อื่นเขาอาจ ไม่ได้พูดถึงประเด็นของการที่เขาจบมาจากที่ไหน หรือความภาคภูมิใจต่อ โรงเรียน แต่เด็กสวนฯ มีเรื่องนี้” ๑๕๑ design 4.indd 151

9/9/2556 14:29:53


“ยิ่งในสมัยก่อนเป็นเด็กสอบเข้าทั้งหมด มีการคัดเลือกที่เข้มข้น คนที่ สอบได้ก็เกิดความภาคภูมิใจ ทำ�ให้เกิดความแตกต่างว่าพอเอ่ยถึงสวนกุหลาบฯ ปุ๊บ เขาจะแสดงออกทางสีหน้าได้ สีหน้าเขาจะบอกว่าเขาเป็นสวนกุหลาบฯ นะ ความภูมิใจมันพรั่งพรูในตัวเขา” ผมถามท่านไปเรื่อยๆว่า ถ้านึกถึงสวนกุหลาบฯ นอกจากชมพูฟ้าแล้ว ครูนึกถึงอะไร ท่านตอบทันทีว่าตึกยาวและเพลงประจำ�โรงเรียน

คำ�ว่าครูกินความลึกซึ้งกว่า ครูจะกินความ ในเรื่องการใหค้ วามรู้ ควบคูไ่ ปกับการอบรม คุณธรรม และ จริยธรรม “เพลงไทยเดิม บรรดาเราเหล่านักเรียน... เป็นเพลงที่เพราะนะ ร้องไป เรื่อยๆ มันประทับใจ ฝังอยู่ในความรู้สึก” “เป็นธรรมเนียมอยู่อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะไปงานไหนก็ตาม เพลงนี้ก็จะ เป็นเพลงที่แสดงความรู้สึกสื่อระหว่างนักเรียนกับผู้ที่อยู่ในงานนั้น ไม่ว่าจะเป็น งานแต่ง งานศพ งานอะไรก็ไม่รู้ พวกเราก็จะไปยืนกันแล้วก็... ร้องเพลงนี้ ทำ�ให้ เกิดความรู้สึกความเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเรื่องที่แปลก ที่อื่นไม่ค่อยรู้สึกอะไร มากเท่าที่นี่ ถามว่าทุกที่มันมีไหม มันก็มีเหมือนกัน แต่ว่าที่นี่มากที่สุด” ๑๕๒ design 4.indd 152

9/9/2556 14:29:54


เกือบลืมถามท่านถึงแผนชีวิตหลังเกษียณ “ยังคิดอยากทำ�งานอยู่ ความตั้งใจอย่างหนึ่งคือออกไปอยู่ชนบท ไปช่วยสอนโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารขาดแคลนครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เรื่องของภาษา เพราะเด็กในชนบทค่อนข้างจะเสียเปรียบในเรื่องของภาษา อังกฤษ แล้วยิ่งจะเข้า AEC ด้วย ก็ยังคิดอยู่ว่าถ้าเรามีโอกาสจะไปทำ�ตรงนี้ ได้ไหม ตัวเองตั้งเป้าหมายไว้อย่างนั้น แต่ว่าพอไปอยู่มหาวิทยาลัย เงื่อนไข ตัวอื่นๆ ก็ตามมาว่า นักศึกษาระดับ ปริญญาโท ปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัย เขาก็มีความรู้สึกว่าเราต้องดูแลเขา ก็เหมือนกลายเป็นเงื่อนไขว่า สิ่งที่เรา ตั้งเป้าหมายไว้ยังไงต้องทำ�แน่นอน ต้องไปช่วยเหลือในชนบท หรือทำ�ยังไง ให้ประเทศชาติดีขึ้น แต่ว่าก่อนหน้าที่จะไปถึงตรงจุดนั้น ก็ต้องช่วยเหลือที่ มหาวิทยาลัยไปก่อน เพราะว่ายังเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่ต้องดูแลในเรื่อง วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก อยู่จำ�นวนหนึ่ง ต้องให้ เขาจบก่อน งานก็ค่อนข้างเยอะนะ คิดอะไรเยอะไปหมด เพราะว่ามีความ รู้สึกว่ายังมีแรงอยู่ ก็เลยยังอยากจะทำ�” ส่วนตัวฟังแล้วก็เชื่อมั่นว่าคุณครูวุฒิพลสามารถทำ�ได้อย่างที่คิดหวัง ไว้ ก่อนจะจบการสนทนาเลยอยากให้ครูฝากอะไรให้ชาวสวนกุหลาบฯ “คงเป็นเรื่องความผูกพัน สิ่งเดิมที่มีอยู่แล้ว อยากให้มันมีต่อไป ที่จริง สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพิ่งมาเกิดตอนที่ตัวเองเข้ามาอยู่ แต่เกิดมานานแล้ว เพราะว่า ชื่อเสียงของโรงเรียนโด่งดังอย่างนี้มานาน แต่ละคนพูดถึงสวนกุหลาบฯ ใน ภาพบวก ในความชื่นชม ในสิ่งที่แบบ...ยกย่องชมเชย เทิดทูนมากกว่า มัน ก็เลยทำ�ให้ภาพที่ปรากฏออกมาตรงนี้ กลายเป็นสิ่งที่ทำ�ให้เราเกิดความ ๑๕๓ design 4.indd 153

9/9/2556 14:29:55


ประทับใจ อยากให้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่อยากให้ลบเลือน ออกไป แต่ว่า ไม่รู้นะว่าในปัจจุบัน เด็กรุ่นใหม่เป็นอย่างไร เราก็ไม่ทราบ เพราะว่าห่างหายไปตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โน่น ก็เลยไม่รู้ว่าปัจจุบันสิ่งเหล่า นี้ยังคงอยู่ไหม แต่คิดว่ายังคงอยู่ และอยากให้อยู่ต่อไปจริงๆ” มีอะไรที่ผมไม่ได้ถามแต่อยากจะบอกไหมครับ “ยังคงประทับใจ ทั้งที่ออกไปตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ตอนนี้ก็ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ก็ ๒๒ ปีแล้ว ยังไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นทุกฉากทุกตอน ตลอดเวลา ๓ ปีที่อยู่ในรั้วสวนกุหลาบฯ มีกิจกรรมดีดีหลายอย่างที่ทำ�ให้เราระลึกถึงได้ ตลอดเวลา เช่น การไปเชียร์กีฬาจตุรมิตร ยังจำ�ได้เลยว่าต้องใส่เสื้อวอร์ม ไปทั้งที่ร้อนก็ร้อน ฝนตกอีกต่างหาก ก็เปียกฝนกัน แต่ว่าทุกคนสู้กันหมด ทั้งนักเรียน ทั้งครูเปียกปอนกัน หรือการพาลูกเสือไปเข้าค่ายที่มาเลเซีย วันสมานมิตร รวมทั้งมุทิตาจิตที่จะจัดให้ครู มันเป็นกิจกรรมที่ดี มัน ทำ�ให้เราระลึกถึงกันตลอดเวลา น่าจะเป็นตรงนี้ที่ท�ำ ให้เรารู้สึกผูกพันกับ โรงเรียนตลอดมาและตลอดไป” ฟังมาทั้งหมด ผมเชื่อแล้วอย่างที่ครูร้องท่อนหนึ่งของเพลงให้ ฟัง ”นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้นๆ”

๑๕๔ design 4.indd 154

9/9/2556 14:30:00


อัฐ ทองแตง รุน่ ๑๑๑ มหาราช

ร่วมสนับสนุนงานมุทิตาจิต ๕๖

design 4.indd 155

9/9/2556 14:30:06


ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ปัจจุบัน โทรศัพท์

นายศิริชัย บุญพิทักษ์ ๑๙/๑๕๕ ซอยสะแกงาม ๑๓ ถนนสะแกงาม แขวง แสมดำ� เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐ ๐ ๒๔๕๑ ๕๗๕๐, ๐๘ ๕๖๐๐ ๔๕๔๘

ประวัติการศึกษา จบปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (บางเขน) ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ 1. เริ่มเข้ารับราชการที่โรงเรียนสตรีวัดระฆัง เมื่อ ๙ มกราคม ๒๕๒๑ 2. ย้ายมาปฏิบัติงานที่โรงเรียนบางขุนเทียนวิทยา เมื่อ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 3. ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ดำ�รงตำ�แหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ 4. ย้ายมาปฏิบัติงานที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๒ จนเกษียณอายุราชการ 5. ได้เลื่อนวิทยฐานะเป็นครูช�ำ นาญการพิเศษ (ค.ศ. ๓) เมื่อ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒

๑๕๖ design 4.indd 156

9/9/2556 14:30:08


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๒๗ จตุรถาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๓๐ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๕ ตริตาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๔๐ ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก

ครูศิริชัย บุญพิทักษ์ คติประจำ�ใจ ทำ�หน้าที่ของตนให้ดีและสมบูรณ์ที่สุด ความประทับใจที่มีต่อสวนกุหลาบวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นสถาบันอันทรงคุณค่า เป็นที่สร้างบุคลากร ที่มีความสามารถให้ทุกวงการ เรามีศิษย์เก่าที่เป็นนายกรัฐมนตรีถึง ๘ ท่าน รัฐมนตรีอีกหลายท่าน และมีผู้บริหารระดับแนวหน้าอีกมากมาย นอกจากนั้น สวนกุหลาบฯ ยังปลูกฝังความรัก ความสามัคคีและ ความกตัญญูให้กับนักเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะติดตัวนักเรียนสวนกุหลาบฯ ไป ตราบนานเท่านาน ๑๕๗ design 4.indd 157

9/9/2556 14:30:09


พูดไม่ค่อยเก่ง แต่รักสวนฯ ไม่แพ้ใคร ครูเป็นหน้าทีท่ ห่ี นัก เพราะต้องปัน้ เด็กทีม่ าจากต่างทีต่ า่ งถิน่ ให้มบี คุ ลิก และมีศกั ยภาพทีด่ ขี น้ึ เพือ่ ให้ออกไปเป็นพลเมืองทีด่ ขี องสังคม เป็นคนทีม่ คี ณ ุ ภาพ และสามารถดำ�รงชีวติ ในสังคมได้อย่างมีความสุข จุดเริ่มต้นของการเป็นครู ครูศิริชัยเล่าว่าแต่เดิมไม่คิดไม่ฝันที่จะมาเป็นครูสอนหนังสือ แต่เนื่องจากในช่วงวัยเด็กทางบ้าน ประสบปัญหาบางอย่าง ตอนจบ ม.ศ.๕ จึงไปสมัครเป็นครูโรงเรียนเอกชน แล้วก็เรียนการศึกษาภาคค�ำ่ ควบกับทำ�งานมาจนจบปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (บางเขน) หลังจากนั้นก็ประกอบอาชีพด้วยการเป็นครูมาตลอด โดยเริ่มบรรจุเข้ารับราชการที่โรงเรียน สตรีวัดระฆัง เมื่อวันที่ ๙ ม.ค. ๒๕๒๑ สอนอยู่ที่นั้นได้ ๒ ปี ก็ย้ายมาสอนที่โรงเรียนบางขุนเทียนวิทยา (ปัจจุบันคือ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน) จนกระทั่งปี ๒๕๓๒ ก็ได้ย้ายมาที่โรงเรียน สวนกุหลาบฯ จนถึงปัจจุบัน เพราะชื่อเสียงของสวนกุหลาบฯ จึงมาเป็นครูที่นี่ ชื่อเสียงของสวนกุหลาบฯ นั้น คุณครูศิริชัยรับรู้มาตั้งแต่สมัยเรียนชั้นประถมศึกษา โตขึ้นมาก็ จะได้ยินข่าวคราวของสวนกุหลาบฯ จากการแข่งขันฟุตบอลอยู่เป็นประจำ� ช่วงเรียนมัธยมปลายก็ได้ มาชมนิทรรศการของสวนกุหลาบฯ ทุกครั้ง แต่ละครั้งก็ได้หนังสือวิชาการติดมือกลับไปทุกที ญาติที่ เรียนอยู่ที่เสาวภาก็แนะนำ�ให้มาเรียนที่สวนกุหลาบฯ เพราะมีชื่อเสียง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำ�ให้ครูฝังใจกับ สวนกุหลาบฯ มาตลอด ๑๕๘ design 4.indd 158

9/9/2556 14:30:10


ชีวิตในสวนกุหลาบฯ เมื่อเข้ามาเป็นครูที่สวนกุหลาบฯ วิชาที่ได้รับ มอบหมายให้สอนคือวิชาฟิสิกส์ ซึ่งในตอนแรกสอน ระดับขั้น ม. ๖ แต่ส่วนใหญ่อาจารย์จะสอนระดับชั้น ม. ๔-๕ ตลอดระยะเวลาที่สอนคุณครูประทับใจใน นำ้�ใจและความรับผิดชอบของนักเรียนสวนกุหลาบฯ ทีม่ ตี อ่ ครู เช่น มีการจัดเวรมาช่วยรับของอาจารย์กอ่ น เข้าสอน ตอนหมดคาบก็ชว่ ยมาส่งอาจารย์ นอกจากนี้

ชื่อเสียงของสวนกุหลาบฯ นั้น คุณครูศิริชัยรับรูม้ าตั้งแตส่ มัยเรียน ชั้นประถมศึกษา การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำ�กิจกรรมด้ ว ยความ สมัครใจก็เป็นสิ่งที่ปลูกฝังให้นักเรียนได้รู้จักคิดอย่าง เป็นระบบ มีการทำ�งานร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง ซึ่งครูได้พบเห็นตลอดระยะ เวลาที่เป็นครู ผ่านกิจกรรมชุมนุมต่างๆ ชุมนุมเชียร์ ๑๕๙ design 4.indd 159

9/9/2556 14:30:12


และแปรอักษร เป็นกิจกรรมต้องอาศัยความสมัครสมาน สามัคคี ชุมนุมดนตรี เป็นชุมนุมที่รุ่นพี่ฝึกรุ่นน้อง และ ชุมนุมลูกเสือ สร้างระเบียบวินัยที่ดี การช่วยเหลือเกื้อกูลกันของชาวสวนกุหลาบฯ ไม่ ได้พบเจอแต่เฉพาะนักเรียน คุณครูเองก็ได้รบั ความช่วยเหลือ เกื้อกูลจากเพื่อนครูด้วยกันเอง คุณครูศิริชัยกล่าวว่า เพื่อน ครูที่สนิทสนมก็เป็นที่พึ่งให้กับครูได้ตลอดเวลาก็มีคุณครู สุรพร คุณครูเรียม และคุณครูฒัมษ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ใน หมวดวิชาเดียวกัน คุณครูแต่ละท่านเป็นคนมีน้ำ�ใจ เวลา ขอความช่วยเหลือไม่เคยปฏิเสธ ความซนแก่นของเด็กสวนกุหลาบฯ เรื่องหนึ่งที่เป็น ที่จดจำ�ของครูคือ มีนักเรียนชั้น ม. ๑ ขึ้นไปบนฝ้าหอประชุม สวนกุหลาบฯ รำ�ลึก เนื่องจากฝ้าเพดานมันเก่ามาก ทำ�ให้ เหยียบแล้วทะลุลงมา แต่โชคดีที่ไม่ตกลงมา ถ้าตกลงมาก็ ไม่รู้จะเป็นยังไง เพราะเพดานหอประชุมเก่านั้นสูงมาก แล้ว ก็มีเหตุการณ์หนึ่งที่นักเรียนวิ่งทะลุกระจกห้องสมุดทั้งตัว จนต้องส่งไปให้ศิษย์เก่าเป็นแพทย์ทำ�การผ่าตัดใช้เวลาถึง สี่ชั่วโมง ก็เป็นเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงความซุกซนของ นักเรียนสวนกุหลาบฯ ที่ไม่ธรรมดาจริงๆ

๑๖๐ design 4.indd 160

9/9/2556 14:30:13


๑๖๑ design 4.indd 161

9/9/2556 14:30:14


กาลเวลาผ่าน สิ่งต่างๆ เปลี่ยน เป็นเวลา ๒๔ ปี ในรัว้ สวนกุหลาบฯ ครูศริ ชิ ยั ให้ขอ้ สังเกตว่า “สมัยก่อนนักเรียนสวนกุหลาบฯ มีความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะเข้ามาเรียน เมือ่ เข้า มาได้กจ็ ะมีความรักความผูกพัน กิจกรรมของโรงเรียนก็จะเห็นว่าเป็น หน้าทีข่ องตัวทีจ่ ะต้องช่วย สมัยก่อนความมีระเบียบวินยั ค่อนข้างจะสูง กว่าในปัจจุบนั ตัง้ แต่ระเบียบในการรับนักเรียนเปลีย่ นไป มีนกั เรียน

ปลูกฝังให้นักเรียนได้ร้จู ักคิดอย่าง เป็นระบบ มีการทำ�งานรว่ มกัน ชว่ ยเหลือ เกื้อกูลกันระหว่างรุน่ พี่ รุน่ นอ้ ง บางคนทีไ่ ม่ได้อยากเข้าสวนกุหลาบฯ แต่พอ่ แม่อยากให้เข้ามาเรียน จึงไม่มคี วามผูกพันกับโรงเรียนเหมือนนักเรียนรุน่ ก่อนๆ บางกิจกรรม ก็จะพยายามหลบเลีย่ ง” สวนกุหลาบฯ ให้อะไรกับครูบ้าง อาจารย์ศิริชัยได้บอกว่า การเป็นครูที่สวนกุหลาบฯ ทำ�ให้ ครูต้องเตรียมตัวในการสอนอย่างมาก เพราะนักเรียนสวนกุหลาบฯ ๑๖๒ design 4.indd 162

9/9/2556 14:30:19


ถ้าไม่เข้าใจสงสัยจะถาม แต่การถามของนักเรียนจะไม่ก้าวร้าวจะให้เกียรติ ครู อาจารย์เสมอ ชีวิตหลังเกษียณ อาจารย์ได้ให้ค�ำ ตอบกับทางทีมงานว่าอาจารย์ตง้ั ใจจะพักผ่อนอยูบ่ า้ น ฝากถึงชาวสวนกุหลาบฯ สวนกุหลาบฯ เป็นสถาบันอันทรงคุณค่าผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ สามารถผลิตบุคลากรที่เป็นนายกฯของไทยถึงแปดท่าน ผลิตบุคลากรที่เป็น ผู้บริหารประเทศมากมาย ในแวดวงต่างๆ ไม่ว่าทหาร ตำ�รวจ หรือธุรกิจ ก็ จะมีศิษย์เก่าสวนฯอยู่ในระดับแนวหน้า ครูอยากให้ทุกคนภูมิใจในสถาบัน และช่วยกันดูแลและสนับสนุนสถาบันของเราให้คงอยู่คู่ประเทศตลอดไป

๑๖๓ design 4.indd 163

9/9/2556 14:30:24


ชื่อ – นามสกุล ชื่อเล่น ที่อยู่ปัจจุบัน Email

นางศิรินันท์ ปิติสันต์ ติ๋ม บ้านเลขที่ ๕๖/๖๔ หมู่บ้านศรีบัณฑิตการ์เด้นวิลล์ ถนนบางกรวย-ไทยน้อย ตำ�บลบางกรวย อำ�เภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๓๐ tsirinan@yahoo.com / tsirinan@gmail.com

ประวัติการศึกษา โรงเรียนสตรีวิทยา มัธยมศึกษา ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต วิชาเอกภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกการมัธยม ปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ ๒ พฤษภาคม ๒๕๑๘ รับราชการครัง้ แรกทีโ่ รงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ - ปัจจุบัน รับราชการทีโ่ รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๑๖๔ design 4.indd 164

9/9/2556 14:30:26


พ.ศ. ๒๕๔๐

ครูช�ำ นาญการพิเศษ (คศ ๓) กลุม่ สาระการเรียนรูต้ า่ งประเทศ และ ปฏิบตั หิ น้าทีก่ รรมการวิชาการของโรงเรียน

เกียรติประวัติการทำ�งาน พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๕๕ ปฏิบตั หิ น้าทีห่ วั หน้ากลุม่ สาระการเรียนรูภ้ าษาต่างประเทศ ด้วยการ เลือกตัง้

ครูศิรินันท์ ปิติสันต์ พ.ศ. ๒๕๕๑

พ.ศ. ๒๕๕๒ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖

ผ่านการคัดเลือกทุน Fullbright Special Administrator Exchange Program ประจำ�ปี ๒๕๕๑ เพือ่ ศึกษาดูงานในระดับผูบ้ ริหาร หลาย สถาบันการศึกษาในรัฐต่างๆ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ผ่านการอบรมเป็นครู Master Teacher วิชาภาษาอังกฤษระดับ ม.ปลาย รุน่ ที่ ๑ ได้รบั เครือ่ งหมายเชิดชูเกียรติบตั รครูผสู้ อนดีเด่นระดับประเทศ กลุม่ สาระการเรียนรูภ้ าษาต่างประเทศ จากคุรสุ ภา ครูผมู้ ผี ลงานดีเด่น กลุม่ สาระการเรียนรูภ้ าษาต่างประเทศ จาก สำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษาเขต ๑ กรุงเทพมหานคร ได้รบั เข็มเชิดชูเกียรติ “หนึง่ แสนครูด”ี จากคุรสุ ภา ๑๖๕

design 4.indd 165

9/9/2556 14:30:27


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ l ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประทับใจความเป็นครูสวนกุหลาบฯ ทุกคนมีความ เอือ้ อาทรให้ความช่วยเหลือเกือ้ กูลกันในหมูเ่ พือ่ นพีน่ อ้ ง ลูก ศิษย์ให้ความรักเคารพและช่วยเหลือครูอย่างสมำ่�เสมอไม่ เสือ่ มคลาย ศิษย์สวนกุหลาบฯ มีความรักซึง่ กันและกัน น้อง เคารพพี่ พีเ่ อ็นดูนอ้ ง ขอให้เป็นเช่นนีไ้ ปตลอดกาล

๑๖๖ design 4.indd 166

9/9/2556 14:30:29


เพราะความน่าเชื่อถือ จึงต้องรับภาระ เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ถึง ๑๕ ปี ชีวิตที่ผูกพันกับข้าราชการ การวางตัวให้อยู่ในระเบียบแบบแผนนั้นเป็นสิ่งที่ครูควรจะยึดถือปฏิบัติ เพราะครูจะ ต้องคลุกคลีกับเด็กอยู่ตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน การจะอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ได้นั้น ครูก็ต้อง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ด้วย คุณครูศิรินันท์เป็นตัวอย่างของครูผู้ครองตนให้อยู่ ในระเบียบวินัยได้ดีที่สุดท่านหนึ่งเลยก็ว่าได้ “ขอบคุณนะคะที่ชมครู อาจจะเป็นเพราะว่าครูเติบโตจากครอบครัวที่เป็นข้าราชการ ตอนเด็กๆ คนรอบข้างครูเป็นก็เป็นราชการกันหมด คุณแม่ก็เป็นครู ก่อนเกษียณอายุราชการ ท่านดำ�รงตำ�แหน่งเป็นผู้อ�ำ นวยการศึกษานิเทศก์ จังหวัดนครราชสีมา คุณพ่อก็เป็นปลัดจังหวัด พอมีครอบครัว สามีครูตอนนี้ก็ดำ�รงตำ�แหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา น้องชายครูสอง คนก็เป็นข้าราชการ คนหนึ่งเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ รุ่น ๙๕ ก็คือ พลตำ�รวจเอก เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ตอนนี้ก็ดำ�รงตำ�แหน่งรองผู้บัญชาการตำ�รวจแห่งชาติ อีกคนหนึ่งก็เป็นทหารเรือ คือ พลเรือตรี ชาติชาย ศรีวรขาน ลูกชายครูสองคน คนโตก็เป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ รุ่น ๑๒๑ ก็ เป็นผู้พิพากษา ลูกชายคนเล็ก ก็เป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ รุ่น ๑๒๕ รายนี้ก็เตรียมตัวจะเป็น ผู้พิพากษาเหมือนกัน ดูสิ มีแต่คนที่อยู่ในระเบียบวินัยทั้งนั้น” ครูศิรินันท์หัวเราะ ๑๖๗ design 4.indd 167

9/9/2556 14:30:31


“เอ๊ะ... คนอื่นอาจจะมองว่าครูเป็นคนอยู่ในกรอบ แต่ครูก็ไม่ใช่คนหัวโบราณ นะ เดี๋ยวนี้มีอะไรใหม่ๆ ครูก็ท�ำ ได้หมด ไม่ใช่ว่าอายุปานนี้แล้วจะทำ�อะไรอย่างที่เด็ก สมัยนี้ทำ�ไม่ได้” ครูหัวเราะอีกครั้ง ตั้งใจมาเป็นครู เมื่อจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีวิทยาด้วยคะแนนที่ เรียกได้ว่าเป็นนักเรียนเรียนดีคนหนึ่ง คุณครูศิรินันท์จึงตัดสินใจที่จะใช้ความสามารถ ของครูไปประกอบอาชีพเป็นครู เพราะคิดว่าน่าจะเป็นหนทางที่จะทำ�ประโยชน์ให้ กับสังคมได้มากที่สุด “ครูจบ ม.ศ.๕ จากสตรีวิทยา คะแนนดีทีเดียวล่ะ สามารถเลือกเรียนอะไร ก็ได้ แต่ครูก็เลือกที่จะเป็นครู เพราะคิดว่าคงจะเป็นอาชีพที่สร้างประโยชน์ได้ดีที่สุด สำ�หรับครู อีกอย่างหนึ่งก็คงเป็นเพราะคุณแม่เป็นครูเหมือนกัน เห็นคุณแม่มีลูกศิษย์ มากมายก็รู้สึกชอบ ครูก็เลยเลือกสอบเข้าเรียนที่ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอันดับแรก แล้วก็เลือกเรียนเอกภาษาอังกฤษ เพราะเป็นวิชาทีค่ รูคดิ ว่ามีประโยชน์ ที่สุด เพราะใช้กันอย่างกว้างขวาง สุดท้ายก็เลยได้มาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ” เส้นทางสู่สวนกุหลาบฯ ชีวิตครอบครัวของคุณครูศิรินันท์ แท้จริงแล้วเป็นชีวิตที่ราบรื่น มีความสุข และอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา เพราะครอบครัวไปที่ไหน คุณครูศิรินันท์ก็จะต้องไปอยู่กับ ครอบครัวที่นั่น หลังจากที่จบการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้ว จึงได้รับราชการสอนอยู่ที่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม เนื่องจาก ๑๖๘ design 4.indd 168

9/9/2556 14:30:35


ขณะนั้นคุณพ่อดำ�รงตำ�แหน่งเป็นปลัดจังหวัด ต่อมาคุณพ่อย้ายมาเป็นรองผู้ว่า ราชการจังหวัดอุดรธานี คุณครูศิรินันท์ก็ต้องย้ายตามมา หลังจากนั้นครูได้ขอ ลาไปเรียนปริญญาโท วิชาเอกการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และได้แต่งงานมีครอบครัว จึงย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ “ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะขอย้ายมาที่สวนกุหลาบฯ หรอก แต่ครูก็คิดๆ ดู แล้วว่าสามีครูกท็ �ำ งานอยูศ่ าลฎีกาทีส่ นามหลวงซึง่ ก็ใกล้กบั โรงเรียน ก็เป็นตัวเลือกที่ น่าสนใจ อีกอย่างหนึ่ง ความคุ้นเคยกับโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ก็มีอยู่บ้าง เพราะ ว่าครูเองก็พาน้องชายมาสมัครสอบเข้าที่สวนกุหลาบฯ เรียกได้ว่าจูงมือกันมา เลย เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่อยู่ต่างจังหวัดกันหมด แล้วตอนที่ครูเรียนที่โรงเรียน สตรีวิทยา ก็จะมาร่วมกิจกรรมที่สวนกุหลาบฯ อยู่บ่อยๆ” ๑๕ ปี กับการเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ครูศริ นิ นั ท์เข้ามาสอนสวนกุหลาบฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยเริม่ สอน ม.๑ ต่อมาจึงมาสอน ม.๓ ม.๔ พอปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จึงได้รับเลือกให้ดำ�รงตำ�แหน่ง หัวหน้าหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ และสอนในระดับชั้น ม.๖ จนกระทั่ง เกษียณอายุราชการ “ก็คงเป็นเพราะเพื่อนครูคงเห็นว่าครูเป็นคนน่าเชื่อถือ (หัวเราะ) จึง เลือกให้ครูเป็นหัวหน้าหมวด จนถึงตอนนี้ก็ ๑๕ ปี เป็นงานที่หนักพอสมควร นะ เพราะหน้าที่เดิมของเราคือต้องสอนนักเรียน แต่พอมาเป็นหัวหน้าหมวด หรือหลังๆ นี่จะเรียกว่าหัวหน้ากลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศ ก็มีงานอื่นๆ ที่ เราต้องดูแลมากมาย เป็นที่ทราบกันดีว่าสวนกุหลาบฯ นั้น วิชาคณิตศาสตร์ ๑๖๙ design 4.indd 169

9/9/2556 14:30:40


วิทยาศาสตร์ เราเน้นกันมานาน แต่ภาษาต่างประเทศเราก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ นะ พวกครูก็ สนับสนุนให้นักเรียนได้ไปสอบชิงทุน หรือไปแข่งขันตอบปัญหาภาษาอังกฤษภายนอกอยู่ บ่อยๆ ที่ภูมิใจก็คือในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๔๘ นักเรียนของเราก็ได้รางวัลที่ ๑ จาก การตอบปัญหาภาษาอังกฤษของเชลล์” “ระยะหลังนี่ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศทำ�งานกันเหนื่อยมาก เพราะว่าครูมีน้อย จำ�ได้ว่าตอนที่ครูเข้ามาสอนที่สวนกุหลาบฯ แรกๆ นั้น มีครูทั้งหมด ๔๒ คน แต่ปัจจุบันเหลือแค่ ๓๐ คน เป็นครูที่เป็นข้าราชการ ๑๗ คน อัตราจ้าง ๔ คน นอกนั้นก็เป็นครูชาวตะวันตก ครูภาษาจีน นี่ถ้าหากครูอัตราจ้างสอบบรรจุได้เขา ก็ต้องออกไปสอนที่อื่น คราวนี้ล่ะ โรงเรียนก็จะไม่มีครูมาสอนเด็กได้เพียงพอ นอกจาก นี้หลักสูตรของกระทรวงก็กำ�หนดคาบการสอนภาษาต่างประเทศน้อยลง แต่เนื้อหาใน หนังสือไม่ได้น้อยตาม แต่โรงเรียนเราก็ไม่ได้ลดเวลาเรียนตามกระทรวงนะ เรายังเปิดวิชา เพิ่มให้เด็กได้เรียนไม่ได้น้อยไปกว่าสมัยก่อน ครูเองก็ยำ�้ กับครูภายในกลุ่มสาระฯ ว่า เรา คงสอนตามหนังสือไม่ได้ เพราะหนังสือของกระทรวงเด็กอาจจะอ่านเองได้ ถ้าไม่เข้าใจ ตรงไหนก็มาถามครู ส่วนครูก็มาคุยกันว่าเป้าหมายในการสอนเราจะสอนอะไรที่เป็น ประโยชน์เพิ่มเติมจากหลักสูตร ต้องพยายามหาอย่างอื่นมาผสมผสานกันให้ควบคู่ไปกับ หลักสูตรให้ได้ ถ้าเอาแต่สอนตามหนังสือจะกลายเป็นว่าเราจะไม่มีเวลาสอนได้ทัน” ภาษาต่างประเทศกับการรับมือ AEC AEC เป็นเรื่องที่กำ�ลังตื่นตัวกันมากในช่วงระยะ ๑-๒ ปีที่ผ่านมา ภาษาถูกจัด อันดับความสำ�คัญให้อยู่อันดับต้นๆ ในการให้ความรู้เพื่อนำ�ไปใช้งานได้จริงๆ ในชีวิต ประจำ�วัน ๑๗๐ design 4.indd 170

9/9/2556 14:30:46


“เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้ความ สนใจกันมากอีกเรื่องหนึ่ง แต่ภาษาที่โรงเรียนเราเน้นเป็นหลักก็คือภาษา อังกฤษ ซึ่งก็เป็นภาษาหลักที่จะใช้ในกลุ่มอาเซียนด้วย เพราะฉะนั้นสองปีที่ ผ่านมาก็จะมีโครงการ มีกิจกรรมของภาษาอังกฤษจำ�นวนมาก ก็เพื่อที่จะ ให้เด็กได้มีโอกาสได้ฝึกใช้ เช่น กิจกรรมหน้าเสาธง เราจะใช้เวลาไม่เกิน ๑๐

ครูก็เลือกที่จะเป็นครู เพราะคิดว่า คงจะเป็นอาชีพที่สร้างประโยชน์ได้ดีที่สุด นาที ในเช้าวันอังคาร ให้เด็กมาพูดหรือแนะนำ�ประเทศต่างๆ โดยให้พูดหน้า แถวเลยนะ แล้วก็มีชีทให้เขา เช่น คำ�ว่าสวัสดีของประเทศนี้พูดว่าอะไร ส่วน ปีนี้ก็มีนโยบายว่าจะจัดกิจกรรมแบบเดียวกันนี้บริเวณหน้าห้องสมุด” นอกจากนีก้ ม็ งี านวันภาษาต่างประเทศ ซึง่ เด็กจะได้มโี อกาสแสดงความ สามารถทางภาษากันอย่างเต็มที่ คุณครูศริ นิ นั ท์บรรยายบรรยากาศของกิจกรรม วันภาษาต่างประเทศว่า “วันภาษาต่างประเทศเนี่ยเป็นกิจกรรมที่นักเรียน ของเราจะได้ประโยชน์กันทุกคน เราจะจัดกันที่ห้องประชุม ซึ่งก็จะมีกิจกรรม หลายอย่าง ไม่วา่ จะเป็นการแสดงละคร การประกวดร้องเพลง แข่งขันการพูด การตอบปัญหา ทางครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศก็จะขอความ ๑๗๑ design 4.indd 171

9/9/2556 14:30:48


ร่วมมือกับครูวิชาอื่นๆ ให้ปล่อยนักเรียนได้ขึ้นไปร่วมกิจกรรม ซึ่งเด็กๆ ก็มี ความสุขกับกิจกรรมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี” นอกจากนี้ยังมีโครงการที่คุณครูศิรินันท์เคย แต่ยังไม่ได้ลงมือ ก็คือ การเปิดห้องสื่อการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อให้นักเรียนที่สนใจภาษาต่าง ประเทศได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มาเรียนจากสื่อการเรียนการสอนด้วย ตัวเอง “เรื่องการเรียนภาษาต่างประเทศ บางทีครูผู้สอนก็ไม่สามารถสอน เด็กได้ทุกอย่าง เด็กบางคนที่สนใจภาษาต่างประเทศจริงๆ จังๆ ก็น่าจะมีห้อง ที่มีสื่อภาษาต่างประเทศให้เด็กๆ เหล่านี้ได้มาฝึกทักษะด้วยตัวเองในยามว่าง ปัจจุบันกลุ่มสาระเรียนรู้ฯ ก็มีห้องศูนย์สื่อใช้เป็นห้องเรียนและเป็นห้องโชว์ ซึ่ง ตอนนี้ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับประเทศในอาเซียนจัดเอาไว้ให้ชมด้วย ก็คิดว่าจะใช้ ห้องนี้นี่แหละเป็นโซนภาษาอังกฤษ ใครจะเข้ามาต้องพูดภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งครูคิดว่าน่าจะเริ่มที่เด็ก ม.๑ ก่อน ก็เคยเสนอไปว่าน่าจะมีขนมให้เด็ก ทาน ให้เด็กเข้ามาอ่านหนังสือแข่งกัน มาตอบคำ�ถาม ถ้าทำ�ได้ก็อยากให้มี คอมพิวเตอร์สัก ๑๐ ตัว เผื่อว่าเราจะมีโปรแกรมให้เด็กได้ใช้ฝึกฝน มีครูคอย ดูแลอยู่ประจำ� การเสริมสร้างอะไรแบบนี้น่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพของนักเรียน ได้ไม่มากก็น้อย” ภาษาอื่นๆ ก็ต้องดูแล นอกจากภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาต่างประเทศที่สอนกันเป็นหลักใน โรงเรียนแล้ว ยังมีภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ที่กลุ่มสาระ ๑๗๒ design 4.indd 172

9/9/2556 14:30:57


การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจะต้องดูแล นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม สาระฯ คุณครูศิรินันท์ได้พยายามผลักดันให้มีการเรียนการสอนภาษาจีนขึ้นใน โรงเรียนโดยเริ่มมีการสอนมาได้ประมาณ ๑๐ ปีแล้ว “ก็เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าโรงเรียนของเราก็มีสอนภาษาเยอรมัน และ ภาษาฝรั่งเศส ซึ่งปัจจุบันก็มีนักเรียนเลือกเรียนน้อย ภาษาฝรั่งเศสนี่บางปีมี นักเรียนเรียนแค่ ๙ คนเท่านั้นเอง”

ความคุน้ เคยกับโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ก็มีอยู่บา้ ง เพราะว่าครูเองก็พาน้องชายมาสมัครสอบเข้า ที่สวนกุหลาบฯ เรียกได้ว่าจูงมือกันมาเลย “ตอนนีศ้ ษิ ย์เก่าทีจ่ บไปนานๆ อาจจะยังไม่รวู้ า่ โรงเรียนเรามีการสอนภาษาจีน มา ๑๐ ปีแล้วนะ ครูเองก็เคยไปดูงานที่ประเทศจีนหลายครั้ง ได้เห็นอะไรหลายๆ อย่าง ก็อยากผลักดันให้สนับสนุนการสอนภาษาจีนเนื่องจากมีคนจีนมากที่สุดใน โลก แล้วบ้านเราก็มีคนจีนมากมาย ธุรกิจต่างๆ ก็มีภาษาจีนเข้ามาเกี่ยวข้องมาก พอสมควร หลักสูตรที่เราใช้ก็ไม่ยากมากนัก เอาให้เขาพูดได้ สื่อสารได้ หลักสูตร กระทรวงเขาจะกำ�หนดมาตรฐานมาให้อยู่แล้ว อยู่ที่เราจะสอนยังไงให้เป็นไปตาม มาตรฐาน ตอนนี้เราก็มีครูสอนภาษาจีนที่เป็นข้าราชการเลยจริงๆ ๑ คน แล้วก็จ้าง ครูคนจีนจริงๆ อีก ๓ คน นอกจากนี้ยังมีทันตแพทย์ มนตรี ปัญญาวงศ์ขันติ ศิษย์เก่า ๑๗๓ design 4.indd 173

9/9/2556 14:30:59


สวนกุหลาบฯ มาช่วยสอนอาทิตย์ละวัน โดยที่คุณหมอเป็นจิตอาสา ไม่ขอรับค่าตอบแทน โดยคุณหมอจะสอนในระดับ ม.ปลายซึ่งมีนักเรียน เรียนประมาณ ๒๕ คน แต่ละคนล้วนแล้วแต่ได้รับการคัดเลือกจากคุณ หมอมนตรีให้เข้ามาเรียน โดยพิจารณาจากความตั้งใจจริง ส่วน ม.ต้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ เป็นปีที่ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯ ประสบความ สำ�เร็จในการผลักดันให้นักเรียนระดับชั้น ม.๑ ได้เรียนภาษาจีนกันทุกคน ทุกห้อง ซึ่งคนที่มีส่วนผลักดันสำ�คัญก็คือคุณหมอมนตรีนั่นเอง” เสริมประสบการณ์ด้วยทุน Fulbright ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ คุณครูศิรินันท์ตัดสินใจที่จะเดินทางไปศึกษา ดูงานในระดับผู้บริหาร หลายสถาบันการศึกษาในรัฐต่างๆ ณ ประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อนำ�ประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับการอบรมมาปรับใช้ กับการทำ�งาน การไปครั้งนี้ต้องใช้ความสามารถทางวิชาการเพื่อสอบ ชิงทุนเพื่อให้ได้สิทธิ์ไปเข้าร่วมอบรม “ตอนนั้นครูได้หาข้อมูลเกี่ยวกับทุน Fulbright ครูไปสมัครสอบ เอง ก็มีสอบทั้งข้อเขียนและสอบปากเปล่า มีคนมาสมัครเป็นจำ�นวน มาก ครูเองก็ไม่คิดว่าจะได้เหมือนกัน” คุณครูศิรินันท์กล่าวอย่างภูมิใจ “พอได้ไปศึกษาดูงานที่นั่นแล้วไม่ผิดหวังจริงๆ ได้เห็นความแตกต่างทาง วัฒนธรรมและนิสัยใจคอของคนต่างวัฒนธรรม ซึ่งของเขาจะมีระเบียบ วินัยเคร่งครัดมาก ในโรงเรียนเขาไม่ให้เด็กใช้โทรศัพท์เลยนะ เด็กเองก็ ไม่ใช้ มีแต่โทรศัพท์สาธารณะอยู่หน้าห้องปกครองอยู่เครื่องเดียว เขาก็ ๑๗๔ design 4.indd 174

9/9/2556 14:31:03


อยู่กันได้ ไม่เห็นมีปัญหา อีกอย่างหนึ่ง เขาจะมีการซ้อมหนีภัยทุกๆ วันศุกร์ พวกครูและเด็กของเขาจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี วิ่งออกจากตึกกันเหมือน ว่ามีเหตุการณ์จริงๆ เกิดขึ้น โรงเรียนเราก็มีซ้อมนะ แต่ก็ทำ�กันแบบไม่จริงจัง” ชีวิตหลังเกษียณ ตลอดเวลาระยะเวลาที่สอนอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คุณครู ศิรินันท์จะต้องตื่นแต่เช้า เพื่อที่จะต้องออกจากบ้านเวลา ๕.๓๐ น. ขับรถไปส่ง ลูกชายที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก่อนที่จะมาถึงโรงเรียน สี่โมงเย็นจึงจะกลับบ้าน “ถามว่าเหนื่อยไหม ครูเหนื่อยนะ เพราะฉะนั้นวันเสาร์อาทิตย์ก็อยาก พักผ่อนอยู่กับครอบครัวบ้าง ถ้าเกษียณไปแล้วก็คงได้มีเวลาดูแลครอบครัวได้ มากขึ้น ก็อาจจะมีงานอะไรให้ทำ�นิดๆ หน่อยๆ แต่คงไม่ใช่งานหลัก แต่ก็บอก น้องๆ ว่า ถ้าหาใครมาสอนไม่ได้ ก็ขอนึกถึงพี่ก็แล้วกัน ก็จะมาช่วยนะ แต่ หลักๆ ก็คือคงต้องพักผ่อน เพราะอายุก็มากแล้วนะคะ (หัวเราะ) แล้วก็คงต้อง ดูแลลูกชายคนเล็กจบปริญญาโทซึ่งกำ�ลงรอสอบปีหน้า เขาดูหนังสือหนักมาก แล้วก็คงดูแลคุณพ่อคุณแม่ ขับรถให้สามี (หัวเราะ) ไปเป็นเพื่อนกัน เพราะเขา ยังต้องทำ�งานอีก ๖-๗ ปี” หนึ่งใจที่ฝากไว้ให้กับชาวสวนกุหลาบฯ “โรงเรียนให้อะไรเรามาตัง้ มากมาย ทีเ่ รามีวนั นีก้ เ็ พราะโรงเรียน โรงเรียน ให้มาตั้งแต่น้องชาย ได้เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ก็เพราะที่นี่มีส่วนผลักดัน ถึงแม้ว่าเรา จะออกจากสวนกุหลาบฯ ไปแล้ว ถ้ามีอะไรที่สามารถตอบแทนพระคุณของ ๑๗๕ design 4.indd 175

9/9/2556 14:31:07


โรงเรียนได้ก็จะรีบทำ� ขอฝากไว้กับครูรุ่นน้องๆ ว่า ถึงแม้ว่าจะ เกษียณไปแล้ว แต่ถ้าเมื่อใดที่ต้องการความช่วยเหลือก็ขอให้ บอกกล่าว เราจะไม่มีวันทิ้งกัน เช่นเดียวกัน นักเรียนปัจจุบัน ศิษย์เก่า ก็อยากให้ช่วยกันดูแลโรงเรียน รักษาเกียรติ และ ชื่อเสียงของโรงเรียนให้ดี ถึงจะเป็นใหญ่เป็นโตที่ไหน ก็ให้ กลับมาระลึกถึงครูบาอาจารย์ มาดูแลโรงเรียนบ้าง เพื่อให้ สวนกุหลาบฯ จะได้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป”

design 4.indd 176

9/9/2556 14:31:15


พงศ์พสุ อุณาพรหม รุน่ ๑๑๑ มหาราช เลขประจำ�ตัว ๓๔๕๕๗ ฐิติพันธ์ (เจริญ) นิยมรัตนกิจ และครอบครัว รุน่ ๑๑๑ มหาราช เลขประจำ�ตัว ๓๒๕๕๗ คณุตม์ นิรันตสุขรัตน์ รุน่ ๑๑๑ มหาราช พ.ท.พีรพงศ์ วัลลภาทิตย์ รุน่ ๑๑๑ มหาราช ร่วมสนับสนุนงานมุทิตาจิต ๕๖

design 4.indd 177

9/9/2556 14:31:23


ชื่อ – นามสกุล วันเดือนปีเกิด ภูมิลำ�เนาเดิม ที่อยู่ปัจจุบัน

นายสมบัติ ศรีประเสริฐ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ๕๐ – ๕๑ หมู่ที่ ๖ ตำ�บลน้ำ�ตาล อำ�เภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ๙๙/๘๖ หมู่บ้านชัยพฤกษ์ หมู่ที่ ๒ ซอย ๓๒ ถนนบางกระดี่ แขวงแสมดำ� เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๕๐

ประวัติการศึกษา โรงเรียนประจำ�จังหวัดชาย (สิงห์บุรี) อำ�เภอเมือง จังหวัด มัธยมศึกษา สิงห์บุรี ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) อนุปริญญา วิชาเอกสังคมศึกษา วิทยาลัยครูเทพสตรี ลพบุรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัย ปริญญาตรี ศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก l การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาการบริหารการศึกษา ปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร l ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาการสอน สังคมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๗๘ design 4.indd 178

9/9/2556 14:31:26


ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑ บรรจุรบั ราชการโรงเรียนนนทรีวทิ ยา ๑ ตุลาคม ๒๕๑๕ อาจารย์ ๑ ระดับ ๔ โรงเรียนนนทรีวทิ ยา ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๙ อาจารย์ ๒ ระดับ ๕ โรงเรียนนนทรีวทิ ยา ๑ ตุลาคม ๒๕๓๒ อาจารย์ ๒ ระดับ ๖ โรงเรียนนนทรีวทิ ยา

ครูสมบัติ ศรีประเสริฐ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๑ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๗ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ หน้าที่พิเศษ พ.ศ.๒๕๒๘ – ๒๕๔๗ พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๔๖

ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียน ระดับ ๗ โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยมรัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียน ระดับ ๗ โรงเรียนนนทรีวทิ ยา รองผูอ้ �ำ นวยการสถานศึกษา ระดับ ๘ โรงเรียนนนทรีวทิ ยา รองผูอ้ �ำ นวยการสถานศึกษา คศ.๓ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม รองผูอ้ �ำ นวยการสถานศึกษา คศ.๓ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรรมการตรวจหนังสือเรียนและคูม่ อื ครูของผูผ้ ลิตแบบเรียน ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสมาคมผูป้ กครองและครูโรงเรียนนนทรีวทิ ยา คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนนนทรีวทิ ยา ๑๗๙

design 4.indd 179

9/9/2556 14:31:28


พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๗ พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐

ประธานกรรมการจัดทำ� GPA และ Pr ของสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๑ เลขาธิการมูลนิธโิ รงเรียนนนทรีวทิ ยา l หัวหน้าสำ�นักงานบริหาร กลุม ่ ๓ สังกัด สพท.กทม. ๑ l ประธานสวัสดิการโรงเรียนวัดสุทธิวราราม l ประธานพัฒนาบุคลากรโรงเรียนวัดสุทธิวราราม l ประธานควบคุมดูแลวงดุรย ิ างค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม l คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดสุทธิวราราม l ประธานควบคุมดูแลวงดนตรีไทยโรงเรียนวัดสุทธิวราราม

การศึกษาดูงาน ๑๑ – ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ l ศึกษาดูงานเรือ ่ งการจัดการเรียนการสอน ณ โรงเรียน Angly School เมือง Kent ประเทศอังกฤษ l ศึกษาดูงานเรือ ่ งการสอนแบบบูรณาการ ณ โรงเรียน Colloers Green เมือง Kent ประเทศอังกฤษ l ศึกษาดูงานเรือ ่ งการสอนและการจัดกิจกรรม ณ โรงเรียน Cranbrook Primary School เมือง Kent ประเทศอังกฤษ ๑๑ – ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ l ศึกษาดูงานเรือ ่ งการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนมัธยมเทียนจิน และโรงเรียนประถมศึกษา ผิงชานเต้า ทีม่ ณฑลเทียนสิน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน l ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาและระบบการเรียนระดับอุดมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยเทียนจินและ หนานไค มหาวิทยาลัยเทียนจินธุรกิจ ทีม่ ณฑลเทียนสิน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ๑๘๐ design 4.indd 180

9/9/2556 14:31:30


การฝึกอบรม พ.ศ. ๒๕๓๕ อบรมหลักสูตรผูบ้ ริหารสถานศึกษาระดับสูง รุน่ ที่ ๔/๒๕๓๕ โดยสถาบันผูบ้ ริหารการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๖ อบรมหลักสูตรการฝึกงานตามโครงการฝึกงานสำ�หรับ ผูผ้ า่ นการอบรมหลักสูตรผูบ้ ริหารสถานศึกษาระดับสูง ปีงบประมาณ ๒๕๓๖ โดยกรมสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๐ อบรมวิชาผูก้ �ำ กับลูกเสือสามัญรุน่ ใหญ่ ขัน้ ความรูช้ น้ั สูง รุน่ ๗๗๕ จากกองลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๔๒ อบรมการบริหารด้านสิง่ แวดล้อม ISO ๑๔๐๐๑ โดย พีที แอนด์ซสี เต็ม ดีเวลลอป พ.ศ. ๒๕๔๕ อบรมเชิงปฏิบตั กิ ารเพือ่ สร้างค่านิยมกับระบบการเรียน การสอน โดยสถาบันพระปกเกล้า รางวัลและผลงาน พ.ศ. ๒๕๓๒ ครูดเี ด่นโรงเรียนนนทรีวทิ ยา พ.ศ. ๒๕๓๘ ครูดเี ด่นโรงเรียนนนทรีวทิ ยา พ.ศ. ๒๕๓๘ ครูอทุ ศิ เวลาให้ราชการและไม่มวี นั ลา ๕ ปี ติดต่อกัน พ.ศ. ๒๕๓๙ ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียนดีเด่น กลุม่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๖ ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียนดีเด่น โรงเรียนนนทรีวทิ ยา

๑๘๑ design 4.indd 181

9/9/2556 14:31:32


รางวัลและผลงาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ทีมบริหารจัดการระบบการจัดการสิง่ แวดล้อม ISO ๑๔๐๐๑ โดยได้รบั การประเมินและรับรองมาตรฐาน สากล จาก UKAS จากประเทศอังกฤษและโรงเรียน ได้รบั พระราชทานเกียรติบตั รจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รบั โล่เกียรติยศโครงการอ่านเฉลิมพระเกียรติจาก ท่านองคมนตรี ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รบั โล่ชนะเลิศโครงการอ่านจากบริษทั ซี พี เซเว่น อีเลฟเว่น จำ�กัด และของกรมสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รบั โล่เกียรติยศด้านกิจกรรมสาธารณประโยชน์ จากรัฐมนตรี ประจำ�สำ�นักนายกรัฐมนตรี นายอภิสทิ ธิ์ เวชชาชีวะ ุ การส่งเสริมการอ่านจาก พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รบั ประกาศเกียรติคณ มูลนิธศิ าสตราจารย์ ดร. ก่อ สวัสดิพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รบั พระราชทานป้าย “โครงการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรม พืช อันเนือ่ งมาจากพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานสวน พฤกษศาสตร์โรงเรียนสนองพระราชดำ�ริโดยโรงเรียน นนทรีวทิ ยา” ๑๘๒ design 4.indd 182

9/9/2556 14:31:37


พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รบั ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั “ชนะเลิศการแข่งขันการประกวด ดรัมไลน์ ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ ๓ ประจำ�ปี ๒๕๕๐” เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ จัตรุ ถาภรณ์ชา้ งเผือก ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ตริตาภรณ์ชา้ งเผือก ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ทวิตยิ าภรณ์มงกุฎไทย ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ทวิตยิ าภรณ์ชา้ งเผือกไทย ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เหรียญจักรพรรดิมาลา

๑๘๓ design 4.indd 183

9/9/2556 14:31:41


ครูก็รักสวนกุหลาบฯ ไม่น้อยไปกว่าคนอื่น คนนอกมองสวนฯ ก่อนที่ครูสมบัติจะมาเป็นครูที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ นั้น ได้ผ่าน การเป็นครูฝ่ายบริหารของโรงเรียนวัดสุทธิวนารามมาก่อน เรื่องราวของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจึงได้ผ่านหูผ่านตามาโดยตลอด ครูสมบัติ กล่าวว่า “ในตอนนั้นครูมองโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ คือความรักในสถาบันของนักเรียน ส่วนที่ ๒ เด็กนักเรียนเรียน เก่ง มีความประพฤติที่น่ายกย่อง ส่วนที่ ๓ คือ องค์กรของสวนกุหลาบฯ เข้มแข็งมาก” “ตลอดเวลาทีม่ าเป็นครูทส่ี วนกุหลาบฯ ๖ ปี ได้เข้ามาเป็นฝ่าย บริหารจริงๆ จังๆ ทำ�ให้ครูตระหนักได้วา่ สิง่ ทีค่ รูคดิ มาก่อนหน้านัน้ ไม่ได้ ผิดเพีย้ นไปเลย เชือ่ ไหมว่าครูเกิดมาก็ไม่เคยพบเห็นโรงเรียนไหน ทีอ่ งค์กร ทุกองค์กรมีความรักในสวนกุหลาบฯ ครูก็รักสวนกุหลาบฯ ผู้ปกครอง เด็กก็ยิ่งรักอีก และเด็กก็รักความเป็นคนสวนกุหลาบฯ ทำ�ให้การทำ�งาน ในสวนกุหลาบฯ ง่ายมาก ถ้าบอกคำ�เดียวว่าทำ�เพื่อโรงเรียนนะ เขาจะ ทำ�ทันทีเลย” ครูสมบัติยืนยันในความคิดของครู ๑๘๔ design 4.indd 184

9/9/2556 14:31:51


ทำ�อย่างไรให้สวนกุหลาบฯ น่าอยู่ ครูสมบัติเล่าว่า “ครูเริ่มมาปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ วัน ที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ สมัยท่านผู้อำ�นวยการ มนตรี แสนพิเศษ ผมยัง จำ�คำ�พูดของท่านได้ว่า มาอยู่สวนกุหลาบฯ ให้มาช่วยกันทำ�งานให้ประสบ ความสำ�เร็จ สมความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียนของเรานะ” ซึ่ง ครูสมบัติได้รับปากกับท่านผู้อำ�นวยการไว้ว่า ประการที่หนึ่ง จะทำ�งานให้ สวนกุหลาบฯ อย่างเต็มความสามารถ ประการที่สอง จะดูแลสวนกุหลาบฯ ให้เป็นโรงเรียนที่สมกับความคาดหวังของผู้ปกครองและศิษย์เก่า “ในช่วงแรก ปี ๒๕๕๐ ถึง ๒๕๕๓ ครูได้มาทำ�งานในตำ�แหน่งรอง ผูอ้ �ำ นวยการกลุม่ บริหารทัว่ ไป หรือสมัยก่อนเรียกว่าฝ่ายบริการ ครูท�ำ หน้าที่ ในการดูแลโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนทีม่ ภี มู ทิ ศั น์ทน่ี า่ อยู่ ซึง่ ถ้ามองย้อนกลับไป วันนัน้ จะเห็นได้วา่ ครูตง้ั ใจทำ�จนโรงเรียนนัน้ ประสบผลสำ�เร็จใจหลายประการ มีการพัฒนามากมาย สิ่งที่ครูได้ทำ�คือครูดูแลเกี่ยวกับห้องนวัตกรรม ห้อง ดนตรีไทย ดนตรีสากล ห้องพยาบาล และห้องกุหลาบเพชร ปรับปรุงภูมทิ ศั น์ บริเวณหน้าตึกสามัคยาจารย์” “สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยบอกใครเลย การปรับปรุงสภาพหน้าโรงเรียน ก็คือ คือครูได้มองเห็นสภาพหน้าโรงเรียนด้านติดปากคลองตลาด มันจะเป็นรั้ว และแม่ค้าก็จะอยู่ติดรั้วในเวลากลางคืน เมื่อครูตรวจดูตอนสัก ๒-๓ ทุ่ม บาง คนก็ยืนปัสสาวะ เอาอะไรมาแขวนรั้ว แล้วทำ�ให้รั้วของเราพัง ครูจึงตั้งใจที่ จะทำ�รั้วเหล็กให้เหมือนกับด้านถนนตรีเพชร ครูนั่งวางแผนอยู่เกือบครึ่งปี ช่วยกันกับท่านผู้อำ�นวยการพีระ ครูได้ไปติดต่อรองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ๑๘๕ design 4.indd 185

9/9/2556 14:31:58


ติดต่อกับสำ�นักงานเขตพระนคร ติดต่อกับฝ่ายโยธา เขาก็บ่ายเบี่ยงกับครูมาก เขา บอกให้เขียนแบบแปลนมา ครูก็ไปจ้างให้คนเขียนและยื่นแบบให้ จนสุดท้ายเขา ก็บอกว่าครูต้องไปสู้รบกับแม่ค้าเอง แล้วฝ่ายโยธากับสำ�นักงานเขตก็เซ็นอนุญาต ให้ครูกั้นรั้วออกไปอีก ๘๐ เซนติเมตร ตอนที่จะดำ�เนินการปรับปรุงพื้นที่จริงๆ ครู วางแผนกับฝ่ายบริการ เตรียมงานตั้งแต่เที่ยงคืนของวันอาทิตย์ คือเตรียมสังกะสี เตรียมตะปู เตรียมค้อนให้หมด เพราะว่ารู้ว่าเขาจะหยุดขายของวันจันทร์ พอ แม่ค้าเริ่มถอนตัวตอนตี ๕ ครึ่ง ครูก็ให้ผู้รับเหมาเอาสังกะสีตีกั้นตั้งแต่ไปรษณีย์ วัดเลียบจนมาถึงหัวมุมตึกยาว ให้เขาดำ�เนินการก่อสร้างทั้งหมด ๓๐ วันเอง ซึ่ง ณ ตอนนั้นแม่ค้า-พ่อค้ากับครูก็ทะเลาะกันทุกวัน มาหาครูที่ห้องบริการทุกวัน เหมือน กับว่าทำ�ให้เขาสูญเสียที่ท�ำ มาหากินเพราะรั้ว ครูก็บอกเขาว่าเดิมตรงนี้เป็นที่ของ โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้ประทานที่ให้โรงเรียน ก็ควรจะทำ�ให้ สวยงาม และทุกวันนี้รั้วนี้จึงเป็นสมบัติของโรงเรียนสวนกุหลาบ แต่ไม่ใครรู้เลยว่า เสี่ยงมาก สิ่งที่ภูมิใจก็คือได้ทำ�ตรงนี้จนประสบความสำ�เร็จ แต่การมีเรื่องกับแม่ค้า พ่อค้านั้น หนักหนาจริงๆ” ครูสมบัติกล่าวอย่างภูมิใจ ก้าวเข้าสู่ด้านวิชาการ “ในสมัยครูเด็กๆ ตอนที่อยู่สิงห์บุรี ครูก็เคยได้ยินชื่อโรงเรียนสวนกุหลาบฯ นะ แต่กไ็ ม่นกึ ว่าจะได้มวี าสนามาเป็นรองฯ ฝ่ายวิชาการของสวนกุหลาบฯ พอครูได้ ย้ายมาอยูฝ่ า่ ยวิชาการ ก็ตง้ั ใจไว้วา่ จะทำ�อย่างไรให้สวนกุหลาบฯ กลับมาเป็นหนึง่ เหมือนเดิม วันนัน้ เลยขอพรพ่อปูฯ่ ว่า ลูกจะทำ�โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ให้กลับมา ประสบผลสำ�เร็จเป็นทีห่ นึง่ ให้ได้ ขอให้ทา่ นดลบันดาลอย่าให้มอี ปุ สรรคใดๆ” ๑๘๖ design 4.indd 186

9/9/2556 14:32:04


หลังจากทีท่ �ำ ให้ฝา่ ยวิชาการต้องทำ�งานหนักมาตลอด ซึง่ ต้องขอบคุณ ทางอาจารย์ชูชม อาจารย์พรศิริ อาจารย์ฟรายเดย์ อาจารย์ชาติชาย และ ครูทั้งหมดเลยที่ทำ�ให้โรงเรียน ได้คะแนนโอเน็ตระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลับมาเป็นที่หนึ่ง ในปี ๒๕๕๓ และจัดอันดับโรงเรียนปี ๒๕๕๓ ก็ได้ที่ ๑ ของประเทศ และปี ๒๕๕๕ ได้ที่ ๒ ก็เป็นสิ่งที่ภูมิใจ เด็กสวนฯ มีสัมมาคารวะ สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ค รู ส มบั ติ ไ ด้ รั บ รู้ ใ นเอกลั ก ษณ์ ข องนั ก เรี ย นโรงเรี ย น สวนกุหลาบวิทยาลัยก็คือ ความเป็นเด็กที่มี สัมมาคารวะ รู้ผิดรู้ชอบชั่วดี รู้จักเจรจาต่อรอง โดยไม่ก้าวร้าว “ตั้งแต่เป็นครูมา ๓๕ ปี ครูไม่เคยคิดว่าจะมีเด็กที่มีความสามารถ เท่าเด็กสวนกุหลาบฯ ดูเหมือนเขาทำ�งานไปเรื่อยๆ แต่เมื่อผลออกมาก็ น่าชื่นชมและประทับใจ ครูขอชื่นชมจริงๆ เด็กสวนกุหลาบฯ เป็นเด็กที่ มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ และสิ่งหนึ่งที่น่ายกย่องคือ รู้จักการเจรจา ต่อรอง ถ้ารู้ว่าสู้ไม่ได้ เขาก็จะไม่ดันทุรัง แต่เขาก็จะไปหาเหตุผลใดๆ มา ร้อยแปดพันประการมาเพื่อต่อรองกับครู เพื่อที่ว่าอย่างน้อยเราได้พบกัน ครึ่งทาง บางครั้งจะหาคนมาคุยกับครูหลายรอบ คนแรกมาคุยกับครูแล้ว ไม่สำ�เร็จเขาก็จะหาคนที่สองมาอีก เปลี่ยนคนมาจนงานสำ�เร็จได้อย่างที่ ต้องการ ครูเองบางครั้งก็ต้องยอมในความพยายามของเขา บางเรื่องที่ครู เห็นว่าทำ�ไม่ถูก ถ้าไม่ให้บทเรียนกับเด็กบ้าง เขาก็จะไม่รู้สึก แต่เขาก็ไม่เคย ชักสีหน้าหรือตาแข็งใส่ครู เขาไม่เคยโกรธครู ครูดุเขาก็เงียบ ซึ่งทำ�ให้เรามี ๑๘๗ design 4.indd 187

9/9/2556 14:32:09


ความเมตตา และเรื่องเรียนนี่ก็แปลก เล่นก็เล่น กิจกรรมก็ทำ�นะ แต่ถึง เวลาเรียนก็เรียน” “เหตุการณ์ที่ทำ�ให้ครูจ�ำ ได้เป็นอย่างดีก็คือ การจัดนิทรรศการ สวนกุหลาบฯ วิชาการ เป็นการทำ�งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับเด็กค่อน ข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการนักเรียน เพราะเขาจะมา ปรึกษาครูบ่อยๆ เขาจะมาปรึกษากับครูวันละ ๒ เวลาเลย คือในช่วง เช้ามืด เพราะครูมาเช้า นักเรียนจะมาตั้งแต่ ๖ โมงหรือ ๗ โมง และอีก ทีนักเรียนก็จะมาตอน ๖ โมงเย็น เขาจะมานั่งคุยกับครูทุกวันว่าเขาจะ ต้องทำ�อะไร” จากการทำ�งานร่วมกันครัง้ นัน้ ทำ�ให้ครูสมบัตริ สู้ กึ ได้วา่ สนิทสนม คุ้นเคยกับคณะกรรมการนักเรียนเป็นอย่างดี และการจัดงานนิทรรศ สวนฯ ๒๐๑๒ ยังได้รับคำ�ชมเชยอย่างมาก เมื่อนักเรียนประสบความ สำ�เร็จ ครูก็รู้สึกว่าประสบความสำ�เร็จด้วยเช่นกัน “ถ้าครูเป็นเด็กสวนกุหลาบฯ ครูกจ็ ะดีใจ ทีโ่ รงเรียนสวนกุหลาบฯ ให้เขาคิดในสิ่งที่อยากคิด ได้ท�ำ ในสิ่งที่อยากทำ� โดยที่คณะครูไม่เคยปิด กั้นความต้องการทำ�งานของนักเรียนเลย ครูคิดว่าเป็นโรงเรียนเดียวใน ประเทศไทย ซึ่งครูอยู่มาหลายโรงเรียน อยู่มา ๕-๖ โรงเรียนแล้ว ครูเพิ่ง เห็นโรงเรียนนี้ที่ให้สิทธิ์เด็กได้ทำ�งานเต็มที่ เต็มความสามารถ หน้าที่ของ ครูของสวนกุหลาบฯ คือ ให้ค�ำ แนะนำ�และร่วมมือร่วมใจกับเด็ก ตรงนี้ เองที่จะทำ�ให้เด็กรักและเข้าหา” ๑๘๘ design 4.indd 188

9/9/2556 14:32:14


อยากให้นักเรียนได้จบทุกคน สิ่งหนึ่งที่จะทำ�ให้ครูดีใจก็คือถ้าในแต่ละปีเด็กนักเรียนจบการ ศึกษากันได้ทุกคน แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อมีนักเรียน จำ�นวนหนึ่งเรียนไม่จบ ครูต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จะทำ�ให้นักเรียน จบการศึกษาจากโรงเรียนให้ได้ ซึ่งอาจจะขัดใจครูท่านอื่นอยู่บ้าง “ครูมคี วามรูส้ กึ ทีจ่ ะต้องช่วยเขา เพราะเขาเป็นเด็กสวนกุหลาบฯ เขาอาจจะเกเรบ้างในช่วงเรียนหนังสือ เช่น ไม่เข้าเรียน โดดเรียน หรือ สิ่งใดๆ ก็ตาม ครูก็คิดว่าเขาถูกลงโทษแล้ว เพราะเขาไม่สามารถจะสอบ เอ็นทรานซ์เข้าพร้อมเพื่อนได้ เขาจะจบทีหลัง ทุกวันนี้เขาก็เริ่มสำ�นึกว่า เขาทำ�ผิดไปเยอะ อยากจะบอกกับครูสวนกุหลาบฯ ทุกคนว่า สิ่งหนึ่งก็ คือ เขาก็ถูกลงโทษแล้ว ส่วนเวลาที่เหลือตรงนี้ เรามาช่วยกันคิดว่าทำ� อย่างไรให้เขาจบ ครูอาจจะสอนสั่งเขา ว่ากล่าวเขา แต่ก็ต้องทำ�ให้พอดี เพราะว่าเขาคือนักเรียนสวนกุหลาบฯ พวกเขาคือเด็กของเรา เด็กทุก คนมีพ่อมีแม่ที่รักลูก อยากให้ลูกเรียนจบกันทุกคน เด็กสวนฯ ก็ใช่ว่าจะ เก่งทุกคน เด็กไม่เก่งนี่แหละต่อไปเขาจะรักโรงเรียน เพราะว่าเขาลำ�บาก กว่าจะจบการศึกษาไปได้ คิดเสียว่าถ้าเขาไม่จบก็เป็นกรรมของเขา ครู ก็เหมือนเป็นคนแก้กรรม วันไหนที่ผมปลดปล่อยเด็กให้จบไปได้คนหนึ่ง ผมจะดีใจมาก ถึงแม้ว่าผมจะถูกครูบาอาจารย์หลายท่านด่าตามหลัง ผม ก็เฉยๆ ผมถือว่าการที่ให้เด็กจบไปคนหนึ่ง เหมือนทำ�บุญ”

๑๘๙ design 4.indd 189

9/9/2556 14:32:20


ใครได้มาอยู่สวนกุหลาบฯ ต้องหลงรักทุกคน “ความประทับใจในสวนกุหลาบฯ น่ะหรือ สำ�หรับครูนั้น มากมายเหลือเกิน ประเด็น แรก สวนกุหลาบฯ เป็นสถาบันที่ให้โอกาสให้ความเป็นครูที่สมบูรณ์ และให้ประสบการณ์ใน การบริหารงานจริงๆ บริหารทั้งโรงเรียน บริหารครู บริหารนักเรียน บริหารการเรียนการสอน” “ประเด็นที่สอง นักเรียนมีสัมมาคารวะ ไม่ว่าจะเป็นศิษย์ปัจจุบันหรือศิษย์เก่าล้วน ให้ความเคารพและให้ความเกรงใจกับความเป็นครูสวนกุหลาบฯ ถึงแม้จะไม่ได้สอนเขา เขาก็ เกรงใจ อย่างเช่น ศิษย์เก่ารุ่น ๑๑๑ พอรู้ว่าเราเป็นครูสวนกุหลาบฯ เจอครูก็เรียก “ครู” ซึ่ง เป็นคำ�ที่ครูชอบมาก ครูไม่เห็นจะชอบคำ�ว่าอาจารย์เลย เวลาโทรศัพท์มาหรือพูดคุยก็มีความ นอบน้อม สิ่งนี้ประทับใจที่สุดและหาไม่ได้จากสถาบันอื่นๆ” “ประเด็นที่สาม คือประทับใจองค์กร เป็นองค์กรที่ดี ทั้งสมาคมศิษย์เก่า มูลนิธิโรงเรียน สวนกุหลาบ สมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบฯ เครือข่ายผู้ปกครองก็ดี ที่อื่นเขาอาจจะมี ปัญหาแต่ที่นี่ไม่มีปัญหา และเป็นองค์กรที่รักโรงเรียน ครูอยู่มาหลายโรงเรียนเพิ่งเห็นโรงเรียน นี้เวลาเข้าประชุมทุกครั้ง ก็จะประชุมกันจริงๆ จังๆ เพื่อหาแนวทางพัฒนาโรงเรียน ไม่ใช่มา ประชุมเพื่อที่จะทานข้าวร่วมกันแล้วก็เลิกกันไป” สิ่งต่างๆ ที่ท�ำ ให้ครูสมบัติประทับใจในโรงเรียนสวนกุหลาบฯ นั้น ได้หล่อหลอมให้เกิด ความรักในสังคมชาวสวนกุหลาบฯ รักในสถาบัน รักนักเรียน รักความเป็นครู รักในความมี เกียรติ หากใครได้เข้ามาอยู่ในสังคมนี้ก็ต้องหลงรักกันทุกคน ครูสมบัติกล่าวว่า “เมื่อนักเรียน และศิษย์เก่าแสดงความรักให้ครูได้เห็น ได้รับรู้แล้ว ดังนั้นการเป็นครูโรงเรียนสวนกุหลาบฯ จึงไม่ใช่ครูที่มีหน้าที่สอนหนังสือ หรือทำ�งานบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ครูสวนกุหลาบจะ ต้องดำ�รงตัวเองให้เหมาะสม ต้องเป็นทั้งผู้แนะนำ�ในการทำ�งานและยืนเคียงข้างกับเด็กและ โรงเรียนตลอดเวลา เพื่อที่ครูจะได้เป็นที่ภาคภูมิใจของลูกศิษย์” ๑๙๐ design 4.indd 190

9/9/2556 14:32:32


“สวนกุหลาบฯ ให้อะไรกับครูมาก เพราะคำ�ว่าครูสวนกุหลาบฯ นี้เป็นเครื่องการันตีอย่างหนึ่งว่า เด็กนักเรียนสวนกุหลาบฯ ทุกคน ทุก อาชีพ ทุกเหล่า ที่ไหนก็ตาม พอรู้ว่าครูเป็นครูสวนกุหลาบฯ ก็จะให้ความช่วยเหลือ ภรรยาครูไม่สบายมากแต่ก็เสียชีวิตไปแล้ว ก็ได้รับความ อนุเคราะห์จากศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ ที่เป็นคุณหมอที่ศิริราชพยาบาลช่วยเต็มกำ�ลังความสามารถ ผมเกิดมาไม่เคยนึกว่าจะมีศิษย์เก่าซึ่งผมเองก็ ไม่สอนเขา แต่เมื่อเขารู้ว่าผมเป็นครูสวนกุหลาบฯ เขาก็ช่วยเหลือเต็มที่ตั้งแต่วันเข้าจนวันที่เสียชีวิต แล้วอย่างนี้จะไม่รักสวนกุหลาบฯ ได้อย่างไร นี่แหละ ผมก็เลยตั้งใจเอาไว้กับตัวเองผมจะต้องตอบแทนคนสวนกุหลาบฯ” เมื่อไม่เป็นครูแล้ว “สวนกุหลาบฯ ให้ความสบายอกสบายใจ และสอนให้ครูเป็นครูในช่วงอายุสุดท้ายของชีวิตราชการ บางคนอาจจะคิดว่าเงินเดือนเยอะ แล้วไม่ต้องทำ�งานหนักมาก ซึ่งไม่ถูก ครูคิดว่าครูต้องทำ�งานคุ้มกับเงินเดือน ครูต้องคิดทุกวัน เวลาครูขับรถครูต้องมีกระดาษอยู่แผ่นหนึ่งอยู่ ข้างๆ คอยจดตลอดเวลาว่าคิดอะไรได้บ้าง พอถึงโรงเรียนครูก็จะบอกอาจารย์ชูชม อาจารย์ฟรายเดย์ว่า ทำ�อย่างนี้ดีกว่าไหม ทำ�แล้วจะมีผลดีกับ โรงเรียนอะไรบ้าง” “หลังจากที่ครูท�ำ งานอย่างหนักมาตลอด ครูคิดว่าเมื่อเกษียณไปแล้วก็อยากจะกลับไปดูบ้านดูแลคุณแม่บ้าง เพราะ ตั้งแต่มาอยู่กรุงเทพ เรียนปริญญาโทปี ๒๕๒๐ ครูก็ไม่เคยกลับไปบ้านอีกเลยตลอดเวลา ๓๖ ปี แล้วก็คงใช้เวลาส่วนนี้ในการอ่านหนังสือเพราะ ชอบอ่านหนังสือ และ เขียนหนังสือ เพราะนี่คือสิ่งที่อยากทำ�มากที่สุดมาตั้งนานแล้ว” เรื่องที่ครูยังเป็นห่วง “สิ่งที่อยากฝากให้กับชาวสวนกุหลาบฯ คือโรงเรียนจะเกิดปัญหาทางวิชาการในช่วงหลังปี ๒๕๕๘ เพราะจะมีการเกษียณอายุราชการ ของครูที่มีความรู้ความสามารถจำ�นวนมาก ครูคิดว่าถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของโรงเรียนนะ ถ้าเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นเขาจะมีครู ๓ รุ่น คือ รุ่น ใหม่ รุ่นเก่า รุ่นกลาง แต่ทราบหรือไม่ว่าโรงเรียนสวนกุหลาบฯ มีครูแค่ ๒ รุ่น คือ รุ่นใหม่กับรุ่นเก่า ครูเก่าอายุเฉลี่ยประมาณ ๕๕ ปี ครูใหม่ อายุประมาณ ๒๔, ๒๕ ปี ซึ่งมีความแตกต่างกันและเข้ากันยากขึ้น เพราะฉะนั้นโรงเรียนจะไม่สามารถพัฒนาให้ทันกันได้ และถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ ความเข้มแข็งทางวิชาการของโรงเรียนอาจจะเกิดปัญหาไม่คาดคิดในอีก ๕ ปีข้างหน้า คือความขาดคุณภาพของบุคลากรครู” ๑๙๑ design 4.indd 191

9/9/2556 14:32:32


“และเหนือสิ่งอื่นใด หลังปี ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ แล้ว ศิษย์เก่ามา โรงเรียนอาจจะไม่เจอครูของตัวเองเลยก็ได้เพราะเกษียณหมด พอเจอครู ใหม่ๆ ก็ไม่รู้จะไปทักทายหรือคุยกับครูคนไหน ตรงนี้อยากจะให้ครูใหม่ ได้ตระหนัก และก็เข้ามาสัมผัสกับศิษย์เก่าด้วย ฝากครูเก่าที่ยังอยู่ให้ช่วย แนะนำ�ครูใหม่ให้รู้จักสนิทกับศิษย์เก่า มิฉะนั้นแล้วจะเกิดปัญหา ปัจจุบัน ทางฝ่ายวิชาการร่วมกับสมาคมครูเก่าฯ เองหรือศิษย์เก่า พยายามมีการ พูดคุยถึงความเป็นครูสวนกุหลาบฯ ปลูกฝังให้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมา เข้าใจถึงโครงสร้าง เข้าใจถึงที่มาที่ไปของคำ�ว่าสวนกุหลาบฯ ให้ครูรุ่นใหม่ ได้ตระหนัก และฝากบอกกับครูรุ่นใหม่ด้วยว่าอย่าหวังกับเศรษฐกิจจนลืม โรงเรียน” “ครูที่จะมาเป็นรองฯฝ่ายวิชาการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หนึ่งจะต้องเป็นคนที่เสียสละ มุ่งมั่นตั้งใจว่า มาทำ�หน้าที่ตรงนี้เพื่อ ประโยชน์ของโรงเรียน เพื่อประโยชน์ของเด็ก สองอันนี้ต้องคำ�นึงเป็น ประการสำ�คัญ เรื่องอื่นเป็นเรื่องรอง เมื่อมาทำ�ตรงนี้แล้วต้องใช้ทั้งหลักการ บริหาร ความมานะพยายาม ความตั้งใจที่จะไปสู่ความสำ�เร็จที่ให้โรงเรียน สวนกุหลาบนั้นเป็นหนึ่ง และทำ�ให้เด็กสวนกุหลาบเป็นคนเก่ง คนดี และ เป็นผู้นำ� ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ทุกประการ ต้องเข้าดูแลการเรียนการสอน จัดตารางสอน ทุกๆ อย่าง ตรงนี้เป็นเรื่องที่ส�ำ คัญที่อยากจะฝากไว้

๑๙๒ design 4.indd 192

9/9/2556 14:32:36


เพื่อนๆ กลุม่ 2ข ร่วมสนับสนุนงานมุทิตาจิต ๕๖

นราธิป ศุขโข รุ่น ๑๑๑ มหาราช พูนพงศ์ ทัศนเศรษฐ รุน่ ๑๑๑ มหาราช ร่วมสนับสนุนงานมุทิตาจิต ๕๖

design 4.indd 193

9/9/2556 14:32:44


ชื่อ–นามสกุล นายอาคม กำ�แพงเศรษฐ ชื่อเล่น ตู่ ที่อยู่ปัจจุบัน ๑๒๓/๒๕๘ หมู่บ้านเสริมศิริ ซอยสายไหม ๒๙ ถนนสายไหม แขวงสายไหม เขตสายไหม กทม. ๑๐๒๒๐ yukinari_snowy@hotmail.com Email ประวัติการศึกษา มัธยมศึกษา โรงเรียนดรุณราชบุรี จังหวัดราชบุรี ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนวิทยาศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๐ อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนเทเวศร์วทิ ยาคม ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๓ อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๑๙๔ design 4.indd 194

9/9/2556 14:32:52


๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ครูชำ�นาญการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ เกษียณอายุราชการก่อนกำ�หนด

ครูอาคม กำ�แพงเศรษฐ เกียรติประวัติการทำ�งาน l สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น วิชาดาราศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและวิชาฟิสิกส์ ม. ๔-๕-๖ แต่ส่วนใหญ่สอนวิชาฟิสิกส์ระดับชั้น ม.๔ l หัวหน้าระดับชั้น ม.๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) l ผู้ช่วยรองผู้อำ�นวยการฝ่ายกิจการนักเรียน (พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๕๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ l ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ปี ๒๕๔๔

๑๙๕ design 4.indd 195

9/9/2556 14:32:55


ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประทับใจในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งเป็น สถาบันที่มีชื่อเสียงระดับต้นๆของประเทศ เป็นสถาบันที่ เก่าแก่และมีคุณค่าอย่างยิ่ง ประทับใจใน ครู-อาจารย์ของโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง สังคมสวนกุหลาบฯ เป็นสังคมที่ อบอุ่น ให้ความรู้ให้ก�ำ ลังใจ ครูรุ่นพี่คอยดูแลให้ค�ำ แนะนำ� ชี้แนะ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ครูรุ่นน้อง ครูสวนกุหลาบฯ มีความกระตือรือร้นไม่ว่างานด้านการเรียนการสอน งาน วิชาการและกิจกรรมต่างๆ ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือให้ งานต่างๆ ลุล่วงด้วยดี ประทับใจในนักเรียนสวนกุหลาบฯ ซึง่ เป็นนักเรียน ที่น่ารัก สุภาพอ่อนน้อม มีความรับผิดชอบ กล้าทำ�กล้ารับ ผิด สมกับการเป็น “สุภาพบุรุษสวนกุหลาบฯ” มีความรัก เคารพ มีความกตัญญูต่อครู-อาจารย์ ประทับใจในศิษย์เก่า มีความรักความสามัคคี รุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องไม่ทิ้งกันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้ความ ช่วยเหลือในกิจกรรมทุกอย่าง ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ โรงเรี ย นเพื่ อ พั ฒ นาโรงเรี ย นให้ ดี ขึ้ น สร้ า งชื่ อ เสี ย งให้ โรงเรียน สมกับคำ�ว่า “สวนกุหลาบฯ ไม่เป็นสองรองใคร” ๑๙๖ design 4.indd 196

9/9/2556 14:33:00


คุณครูวิทยาศาสตร์ การปกครอง อยากกลับบ้านก็ตอ้ งเป็นครู สำ�หรับคนที่จบจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ โดยมาก แล้วสาขานี้มักจะรับราชการ หรือทำ�งานโรงงาน มากกว่าการเป็นครู ดังนั้นก็คงไม่แปลก อะไรที่ครูอาคมเองก็เป็นเหมือนคนอื่นๆ ที่เริ่มทำ�งานแรกที่โรงพิมพ์คุรุสภา แต่ทำ�งานไป สักพักด้วยความเป็นคนเกิดอยุธยา แต่ไปโตที่ราชบุรี ก็อยากจะกลับเยี่ยมบ้านบ่อยๆ ซึ่งถ้า ยังทำ�งานอยู่ในโรงพิมพ์แบบเดิมไปเรื่อยๆ ก็คงกลับบ้านได้แค่เสาร์อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นครูปิด เทอมก็สามารถกลับไปอยู่ที่บ้าน ตอนช่วงปิดเทอมจึงตัดสินใจยื่นใบลาออก ซึ่งคนที่ทำ�งาน โรงพิมพ์ด้วยกัน ก็พากันขบขัน ว่าทำ�งานได้เงินเดือนดีๆ จะไปเป็นครูทำ�อะไร เพราะคนที่นี่ ส่วนใหญ่ก็ลาออกจากครูมาทำ�งานที่โรงพิมพ์กันทั้งนั้น “ถ้าให้ใกล้บ้านที่สุดก็คงต้องสมัครเป็นครูที่ราชบุรี แต่ไปเจอเพื่อนที่เป็นครูมาสมัคร สอบด้วย ก็เลยบอกว่าเพื่อนไปว่า ผมให้คุณสอบแล้วกัน ผมจะไปสอบที่กรุงเทพฯ แทน นอกจากจะหลีกทางให้เพื่อนแล้ว การสอบในกรุงเทพฯ นั้นถ้าเลือกโรงเรียนที่ต้องการแล้ว ไม่ได้ ยังมีโอกาสได้บรรจุสูงกว่าต่างจังหวัดอีกด้วย ซึ่งตอนนั้นก็สอบบรรจุได้ที่โรงเรียน เทเวศร์วิทยาคมอยู่หลังหอสมุดแห่งชาติ” ๑๙๗ design 4.indd 197

9/9/2556 14:33:02


หนทางไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่กไ็ ด้เข้าสวนกุหลาบฯ หลังจากบรรจุครูมาได้ ๒ ปี ทางหอสมุดแห่งชาติก็ได้ขอเวนคืนที่ดิน ทำ�ให้ครูร้อยกว่าชีวิตที่อยู่ในโรงเรียนเทเวศร์วิทยาคมก็แยกย้ายกันไปตาม แต่โรงเรียนที่ครูเหล่านั้นเลือก ซึ่งคุณครูอาคมก็ได้เลือกโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัยเป็นอันดับหนึ่ง แล้วก็ได้เข้ามาบรรจุเข้าเป็นครูที่โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัยในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ สมัยของ ผอ.สำ�เริง นิลประดิษฐ์ ในขณะทีเ่ ข้ามารายงานตัวทีน่ ่ี ครูรนุ่ พีต่ า่ งก็ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี ตอนแรกนั้นครูวิฑูรย์ บุญวานิช ได้มอบหมายงานให้สอนวิทยาศาสตร์ระดับ ม.๑ ซึ่งเป็นชั้นเด็กๆ โดยส่วนตัวแล้วครูอาคมชอบที่จะสอนเด็ก เพราะเด็กๆ ที่เพิ่ง เข้ามาใหม่ เป็นเด็กน่ารัก เหมือนผ้าขาวที่สามารถจะสอนอะไรเค้าก็ได้ ให้ วิชาความรู้อย่างไร เขาก็รับได้อย่างที่ต้องการ เมื่อสอน ม.๑ ได้ประมาณ ๓ ปี ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๗ ครูฟิสิกส์ของ ม.ปลายขาด ก็เลยได้ขึ้นไป สอนชั้น ม.๖ กุหลาบยิง่ โต หนามยิง่ แหลม เลยโดนเด็กลองของ การได้สอน ม.๖ ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายและก็สนุก เพราะเด็ก ม.๖ ไม่ ได้เป็นผ้าขาวเหมือนกันเด็ก ม.๑ อีกแล้ว เด็ก ม.๖ เป็นพี่ใหญ่สุดของโรงเรียน เห็นครูพึ่งย้ายจากมาจาก ม.๑ ก็เลยอยากมาลองภูมิครูเสียหน่อย ด้วยการเอา โจทย์มาให้ทำ� “ครูครับ โจทย์ข้อนี้ผมทำ�ไม่ได้ ครูช่วยสอนหน่อยครับ” ก็มอง หน้าแล้วก็ขอดูโจทย์หน่อย พอทำ�ได้ ก็มีเพื่อนมาถามอีกคน ไม่รู้เป็นหน้าม้า หรือไม่ ก็ไม่รู้หรอก เดินมาบอกว่า “ครูครับ ผมก็มีปัญหาข้อนี้อีกข้อหนึ่งครับ” ๑๙๘ design 4.indd 198

9/9/2556 14:33:09


เราก็สอนให้ สามารถทำ�ให้เขาได้ ก็มีมาถามเรื่อยๆ จะว่าโจทย์ ส่วนใหญ่เป็นโจทย์เอ็นทรานซ์ ซึ่งบอกตรงๆ ว่า ถ้าเป็นโจทย์ เอ็นทรานซ์เนี่ยดูมาเกือบหมดทุกข้อ เพราะเตรียมการสอนมา อยู่แล้ว อีกทั้งโรงเรียนเดิมก็สอนมา ๓ ระดับเลย เพราะเด็ก เขาน้อย ทำ�ให้สามารถที่จะสอน ทำ�การบ้านหรืออะไรก็ตามที่ มีเรียนในชั้นก็สามารถทำ�ได้อย่างสบายๆ และก็สนุกกับการที่ เขามาลองภูมิปัญญาอยู่เรื่อยๆ เมือ่ ต้องเดินออกจากสวนกุหลาบฯ ครัง้ แรก พอสอน ม.๖ ได้ไม่กี่ปี ก็ลงมาสอน ม.๕ หลายปีอยู่ จนถึงปี ๒๕๓๑ เนือ่ งจากความเป็นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ทำ�ให้ครูที่มีอยู่ก็มีความสามารถเยอะ แล้วคนก็จบปริญญาโทก็ เยอะ “ด้วยความรู้สึกที่ว่าแค่ปริญญาตรี และยังเป็น วท.บ. ก็เริ่มคิดว่า วท.บ. สอนนักเรียนได้ไหม เพราะตอนนั้นไม่ได้ เรียนวิชาครู พอไม่ได้เรียนวิชาครูปั๊บ มีคนถามแบบนั้นแล้วจะ อย่างไรต่อดี แต่ก็จะมีอีกหนทางหนึ่ง ก็คือว่า ถ้าคนที่จบ วท.บ เขาจะสอบเทียบอีกตัวก็คือ พ.ม. คือ พิเศษครูมัธยม เพราะ ฉะนั้น คนที่ได้ วท.บ. พ.ม. เขาจะสามารถเป็นครูได้เลยโดยที่ ไม่มีปัญหา พอจบปริญญาตรีหน่อยนึง แล้วก็สอบ ก็ได้ พ.ม. ติดมาด้วย ก็กลายเป็น วท.บ. พ.ม.” ครูอาคมอธิบายให้ฟัง ๑๙๙ design 4.indd 199

9/9/2556 14:33:14


เมื่อคิดดังนั้น ครูอาคมจึงขอลาไปศึกษาต่อปริญญาโทด้าน การสอนวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี ๒๕๓๑ และ กลับมาสอนที่สวนกุหลาบฯ อีกในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้สอนรุ่น ๑๑๑ เทอม ๒ พอดี เบนวิถคี รูจากครูวชิ าการเป็นครูฝา่ ยปกครอง กลับเข้ามาสวนกุหลาบฯ ครัง้ นี้ ก็ได้รบั มอบหมายให้สอน ม.๔ พอสอนได้สักพัก ครูพัชรี เกิดศรี ซึ่งเป็นหัวหน้าระดับ ม.๔ อยากได้ ครูฝ่ายปกครอง ก็เลยถามว่า “อาคม ช่วยพี่ได้ไหม เป็นฝ่ายปกครอง ให้หน่อย” โดยส่วนตัวแล้ว ไม่คิดว่าจะทำ�หน้าที่ครูฝ่ายปกครองได้ เนื่องจากว่าต้องปะทะกับเด็ก ผู้ปกครอง และอะไรอีกหลายๆ อย่าง ตอนนั้นก็คิดหนักเหมือนกันว่าจะทำ�ฝ่ายปกครองดีหรือไม่ดี สุดท้าย ก็ตัดสินใจช่วยพี่ละกัน ก็เลยได้เป็นฝ่ายปกครองระดับ ม.๔ ทำ�ให้ ประสบการณ์การเป็นครูที่สวนกุหลาบฯ เปลี่ยนไป เพราะหลังจาก นั้นอีก ๒ ปี ครูพัชรีก็ขึ้นไปเป็น ผู้ช่วยรองผู้อ�ำ นวยการฝ่ายธุรการ ครู ก็เลยขึ้นไปเป็นหัวหน้าระดับ ม.๔ ต้องดูแลเด็กทั้งระดับ ก็มีหลายๆ อย่างที่สนุกสนานกับเด็กในด้านของระเบียบวินัย เป็นครูปกครองทีด่ ตี อ้ งมีวธิ ี จะว่าไปตอนนั้นครูที่สนิทที่สุด ก็จะนึกถึง ครูนิกร หอมอุดม ใครเห็นครูนิกร ก็ต้องเห็นครูอาคม ส่วนใหญ่เราจะไปไหนด้วยกัน ๒๐๐ design 4.indd 200

9/9/2556 14:33:17


คุณครู พัชรี เกิดศรี ครูเก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย “พี่พัชได้พบปะกับตู่ตั้งแต่ตู่เริ่มเข้ามาสอน ที่สวนกุหลาบฯ ประทับใจที่ตู่เป็นครูรุ่นน้องที่ อ่อนน้อม พูดจาให้เกียรติ เรียก พี่พัชครับ ทุกครั้ง ที่ได้พูดคุยกัน ทักทายสวัสดีทุกครั้งที่ได้เจอกัน ใน

เรื่องการสอน ตู่เป็นคนที่เอาใจใส่กับการสอนมาก จะเห็นได้จาก ตอนที่พี่พัชเป็นรองหัวหน้าระดับ ทำ�หน้าที่ในการจัดตารางการ สอน ซึ่งจะต้องดูแลเรื่องการสอนแทนเวลาที่ครูลากิจ ซึ่งตู่ไม่เคย มีปัญหาในเรื่องนี้เลย มาสอนเป็นประจำ� พอพี่พัชได้รับการเลือก ตั้งให้เป็นหัวหน้าระดับ พี่พัชก็ชวนตู่มาทำ�งานฝ่ายปกครองของ ระดับด้วยกัน ช่วงนี้เองที่เราได้ท�ำ งานใกล้ชิดกันอย่างจริงจัง พี่ ยังระลึกถึงบรรยากาศการประชุมสรุปการติดตามพฤติกรรมของ นักเรียนทุกๆ วันศุกร์ของพวกเราได้ และตู่ก็ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายได้อย่างดี ไม่เคยทำ�ให้พี่พัชผิดหวัง ตู่เป็นครูที่มีน้ำ�ใจ เอาจริงเอาจังกับการดูแลนักเรียนทั้งในและนอกโรงเรียนไม่เคย ย่อท้อ แม้ว่าจะโดนแรงปะทะกลับจากนักเรียนและผู้ปกครอง ค่อนข้างมากก็ตาม หรือแม้แต่ในระยะหลังที่ตู่ต้องดูแลลูกสาว ก็ ไม่ยอมละเลยหน้าที่ของครูฝ่ายปกครองเลย พี่อยากจะขอบคุณ จากใจจริงๆ ที่ช่วยเหลือกันมาตลอด จนทำ�ให้โรงเรียนของเรามี ความเจริญก้าวหน้าตลอดมา” “เมื่อถึงวันที่น้องตู่เกษียณอายุราชการ พี่พัชขอกราบ อาราธนาอันเชิญอำ�นาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท้งั หลายในสากลโลก รวมทัง้ หลวงพ่อสวนกุหลาบ พ่อปูส่ วนกุหลาบ พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จง ประทานพรให้น้องประสบแต่ความสุข มีสุขภาพแข็งแรง สุขกาย สบายใจ ตลอดไปชั่วกาลนาน” ๒๐๑

design 4.indd 201

9/9/2556 14:30:46


ครูนิกรสอนฟิสิกส์ ครูก็สอนฟิสิกส์ ครูนิกรทำ�ฝ่ายปกครอง ตอนนั้นครูนิกรเป็นหัวหน้าระดับ ม.๕ ครูก็เป็นหัวหน้าระดับ ม.๔ หลายๆ อย่างมันคล้ายๆ กัน พอครูขึ้นมาเป็นผู้ช่วยรองผู้ อำ�นวยการฝ่ายปกครอง ครูนิกรก็ขึ้นมาเป็นผู้ช่วยฝ่ายปกครอง ด้วยกัน พูดง่ายๆ คือทำ�งานไปด้วยกันตลอด แล้วก็สามารถ ทำ�งานร่วมกันได้อย่างดี ถ้าครูนิกรเป็นฝ่ายบู๊ ครูจะเป็นฝ่ายบุ๋น แต่ถ้าวันไหนครูบู๊ขึ้นมา ครูนิกรก็จะเป็นฝ่ายบุ๋นทันที ก็คือจะ สลับกันแบบนั้น เรียกว่าทำ�งานเข้าขากัน “สมมติวา่ จับเด็กคนหนึ่งมา คือการที่เอาเด็กคนไหน มาก็ตาม ส่วนใหญ่เราจะมีหลักฐานว่าเขาได้เกี่ยวข้องกับเรื่อง นั้นๆ เราถึงได้เอามา ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะไม่ยอมรับในสิ่งที่เขา ทำ� ถ้าสมมติวา่ ครูเป็นฝ่ายขู่ ครูจะขู่แหลกลาญในพื้นฐานของ หลักฐานที่เรามี แล้วครูก็จะเดินออกนอกห้อง ครูนิกรก็จะเข้า มาปลอบ บอกว่าเธอสารภาพครูอาคมเขาเถอะ ที่ครูอาคมน่ะ พูดถูกต้องทุกอย่างใช่ไหม เพราะครูอาคมเขามีหลักฐาน ไม่ใช่ เขาซี้ซั้วหาว่าคุณทำ�โน่นทำ�นี่ หลังจากนั้นครูนิกรก็ออกไป ผม ก็เดินเข้าไปคุยกับเด็กต่อ ว่าเป็นอย่างไร จะสารภาพหรือว่าจะ อย่างไร ว่ามาเลย ตอนนี้เด็กก็จะพูดออกมาในลักษณะที่ว่า ตัว เองก็มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องให้เด็กเขียนเป็นลาย ลักษณ์อักษรว่าสิ่งที่เขาสารภาพนั้น เขาเกี่ยวข้องนั้นเกี่ยวข้อง อย่างไร เป็นการป้องกันตัวเอง ป้องกันฝ่ายปกครอง เพราะว่า ๒๐๒ design 4.indd 202

9/9/2556 14:30:51


ถ้าไม่มีลายลักษณ์อักษร เดี๋ยวจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมา อย่างเช่น ครูแกล้งเด็ก และสิ่งที่เรากลัวมากๆ คือผู้ปกครอง เพราะเราไม่อยากจะปะทะผู้ปกครอง ยกเว้นว่าเราจะมีหลักฐานจริงๆ เพราะผู้ปกครองมาแล้วบางครั้งก็จะถามลูก เขาว่า ครูเขาใส่รา้ ยใช่ไหม ครูบอกให้ลกู พูดใช่ไหม ครูบอกให้ลกู เขียนใช่ไหม” ส่วนใหญ่เด็กก็จะบอกว่า ไม่หรอกครับ ผมเขียนเอง ซึ่งแน่นอน ว่า ต้องมีผู้ปกครองมาร้องเรียนแน่ แต่ครูโชคดีที่มีท่านผู้อำ�นวยการที่ดี คือ เข้าใจในการทำ�งาน เพราะทุกครั้งที่มีผู้ปกครองมาหาครูอาคม ส่วนใหญ่เขา จะขึ้นไปพบผู้อำ�นวยการ และบางครั้งเรื่องก็จะอยู่ที่ผู้อำ�นวยการ แต่บางที ผู้ปกครองก็ยังอยากจะคุยกับครูอาคม ผู้อำ�นวยการก็ต้องเรียกครูอาคมขึ้น ไปคุย ก็คุยกันด้วยดีนะ ให้เข้าใจกันว่าการทำ�งานเราเป็นอย่างไร เรามีหลักฐาน และมีอะไรไหม แต่ถ้าไม่มีหลักฐาน เราปรักปรำ�ลูกเขา ก็โอเค เขาก็สามารถ ทำ�อะไรเราได้เลย เพราะบางครั้งเราสืบบางอย่าง มันสืบไม่ได้ บางครั้งเรา ต้องขอบคุณกล้องวงจรปิดของโรงเรียน เพราะถ้าสืบไม่ได้จริงๆ แต่เรามอง ดูกล้องเวลานั้น เราจะมองเห็นเด็กบางคนที่มีประวัติในเรื่องนั้น หลังจากนั้น แล้ว มันก็จะมีบางอย่างที่เข้ามาหาเรา บางครั้งไม่รู้ว่าจะเป็นโชค หรือเป็น อะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่บางครั้งที่เราก็อยากได้หลักฐานประกอบ หลักฐาน บางอย่างก็มา อาจจะมาจากครูด้วยกัน หรือเด็กด้วยกัน ครูบางคนบอกว่า เมื่อเช้ามีเด็กชกกัน สงสัยเรื่องส่วนแบ่งไม่ลงตัว เขาว่าอย่างงั้น พอเราได้ ข่าวปั๊บ เราก็มองว่าเด็กคนนี้เป็นใคร กลุ่มไหน เราก็จะเดินดูว่าเด็กคนไหนที่ อ่อนแอที่สุดในกลุ่มที่เราจะคุยกับเขาได้ ส่วนใหญ่เราก็จะได้ความจริง ๒๐๓ design 4.indd 203

9/9/2556 14:30:53


คุณครู นิกร หอมอุดม ผมสอบบรรจุราชการที่สวนกุหลาบฯ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ หลังจากนั้น ๒-๓ ปีคุณอาคมก็บรรจุตามมา แรกๆ ก็ไม่มีอะไรแปลกเหมือนครูทั่วไป ผมสอนชั้น ม.ศ.๓ คุณอาคมสอนชั้น ม.๑ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อยู่หมวด วิทยาศาสตร์ด้วยกัน สอนฟิสิกส์เหมือนกัน คุณอาคมเป็นคนจริงจัง มุ่งมั่น ในหน้าที่การงาน ซึ่งผมเคยสังเกตบ่อยๆ เราต่างทำ�งานในหน้าที่ คือ ครู ประจำ�ชั้นเป็นหลัก ต่อมาไม่กี่ปีผมและคุณอาคมขึ้นไปสอนชั้น ม.ปลาย ผมสอน ม.๕ คุณอาคมสอน ม.๔ ทีนี้แหละเจอของจริงแล้วเพราะนักเรียน ม.ปลายมีฤทธิ์มากกว่า ม.ต้น งานปกครองต้องเข้มข้น เราทั้งสองก็ท�ำ งาน ไปเพราะอยู่คนละระดับชั้น ต่างคนต่างทำ�ด้วยความสามารถของตัวเอง แต่ เราไม่รู้หรอกว่าเราเป็นอย่างไร ต้องมีคนอื่นมาบอกถึงจะรู้ ในที่สุดผลการ ทำ�งานด้านปกครอง คุณอาคมและผมต่างได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าระดับ ชั้น คุณอาคมเป็นหัวหน้าระดับ ม.๔ ส่วนผมเป็นหัวหน้าระดับ ม.๕ คุณ อาคมทุ่มเทงานปกครองระดับ ม.๔ อย่างเต็มที่ ทั้งบี้ทั้งไล่พวกนักเรียนที่ท�ำ ผิดระเบียบอย่างเต็มสูบ จน ม.๔ สมัยนั้นราบคาบ พอนักเรียนขึ้นชั้น ม.๕ มาเจอผมอีก เลิกพูดกันเลย ทีนี้นักเรียนจะไปไหนระเบียบวินัยก็ต้องดีเลิศ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ด้วยความที่คุณอาคมและผมทุ่มเทงานปกครองเต็มที่ โรงเรียนจึง แต่งตั้งให้ทำ�หน้าที่ฝ่ายปกครอง คือ ตำ�แหน่งผู้ช่วยรองผู้อ�ำ นวยการฝ่าย ปกครอง (สมัยนั้น) เดี๋ยวนี้เรียกว่ากิจการนักเรียน เมื่อเราทั้งสองมาทำ�งาน

ร่วมกัน ผมรู้สึกดีใจมาก เพราะได้คุณอาคมที่ชัดเจน งานปกครอง มองหน้าก็รู้ทันทีว่าจะทำ�อะไร ไม่ต้อง เสียเวลาเนื่องจากนักเรียนมีมากปัญหาก็มาก แต่ละ วันมีเรื่องเข้าฝ่ายปกครองเป็นสิบๆ เรื่อง คุณอาคมอยู่ ฝ่ายสืบ สอบสวน ไล่บี้ ชนิดกัดไม่ปล่อยพวกที่ท�ำ ผิด กฎระเบียบของโรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นฝ่าย บุ๋น เปรียบ เสมือน “กงซุน” ในหนังเปาบุ้นจิ้น ส่วนผมรับหน้าที่ ฝ่ายบู๊ล้างผลาญ ปราบปรามทั้งในและนอกโรงเรียน เสมือนน้องๆ “จั่นเจา” สมมุติเท่านั้นอย่าคิดมากผู้อ่าน ด้วยความจริงจังและติดตามคดีความต่างๆ ซึง่ นักเรียนย่อมไม่ชอบแน่นอน เรือ่ งนักเรียนด่าครูปกครอง เป็นเรื่องปกติ แต่คุณอาคมถูกกรีดรถด้วยคัตเตอร์สลัก เป็นตัวอักษรของคำ�ว่า “ครูวิทยาศาสตร์” รอบคัน รถยนต์ทั้งหมด ๑๘ คำ� ทั้งหมดที่กล่าวเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น คุณ อาคมทำ�หน้าที่เต็มความสามารถซึ่งผมทำ�งานร่วมกัน ขอชื่นชมด้วยใจจริง ระยะหลังๆ คุณอาคมมีปัญหา ทางครอบครั ว ซึ่ ง ยากที่ จ ะอธิ บ ายซึ่ ง ผมรู้ อ ยู่ แ ก่ ใ จดี คุ ณ อาคมขอเกษี ย ณก่ อ นกำ � หนดผมไม่ คั ด ค้ า นเลย

๒๐๔ design 4.indd 204

9/9/2556 14:30:54


เพราะเข้าใจในเหตุผล แต่ผมเสียดาย ฝีมือการทำ�งานปกครองที่ดีของเขา ซึ่งต่อมาผมต้องทำ�งานหนักขึ้นเป็น สองเท่า เดื อ นกั น ยายนปี นี้ คุ ณ อาคม ครบเกษียณอายุจริงๆ ผมก็ขอแสดง ความยินดีกับเพื่อนที่ดี ที่รู้ใจ ขอให้ ความดีที่ทำ�มาแต่ก่อนจงดลบันดาล ให้คุณอาคมจงประสพแต่ความโชคดี สิ่ ง ใดที่ คุ ณ อาคมปฏิ บั ติ กั บ นั ก เรี ย น ล้วนแต่ด้วยความหวังดีและอยากให้ นักเรียนเป็นคนดี สมเป็นสวนกุหลาบ วิทยาลัย...โชคดี เพื่อนผู้รู้ใจ

ขอระบายออกทีร่ ถครูหน่อยเถอะ อย่างที่บอกไปตอนต้นว่า การเป็นครูปกครองก็ต้องมีการปะทะกันบ้างระหว่างครูและ นักเรียน ทำ�ให้รถของครูนั้นมีรอยอยู่เสมอ แต่ครูไม่ได้โกรธเด็ก หรืออะไรเลย เพราะครูเข้าใจ ว่าเป็นทางระบายออกอย่างนึง แต่นักเรียนที่ทำ�นะ เชื่อว่าส่วนใหญ่หลังจากทำ�แล้ว ไม่สบายใจ หรอก มีนักเรียนคนหนึ่งที่แค้นครูมากๆ ที่เขาทำ�อะไรผิดสักอย่างหนึ่งแล้วต้องเชิญผู้ปกครอง ซึ่งเขาบอกว่าไม่เชิญไม่ได้เหรอ ครูบอกว่า บางอย่างต้องเชิญผู้ปกครองมารับทราบ ซึ่งเขาแค้น มาก เขาวิ่งมาที่รถจอด “ตอนนั้นอาคารสวนกุหลาบรำ�ลึกกำ�ลังก่อสร้าง แล้วรถครูก็จอดแถวนั้น แล้วเขาก็ เอาเศษอิฐที่ก่อสร้างมาขีดตั้งแต่หัวยันท้าย เป็นรอยลึกมากๆ แล้วก็มีคนมาบอก เราก็มาดู ดู เสร็จเราก็มอง มองเสร็จก็คิดว่าน่าจะเป็นเค้า ก็เลยไปคุยกับเค้า พอคุยกับเค้า เค้าก็สารภาพ คือสวนกุหลาบฯ เนี่ย ครูคิดว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง การสารภาพของเขาเพราะเขาคิดว่าเขาไม่ สบายใจ เหตุที่ไม่สบายใจเพราะเขาทำ�เสร็จแล้ว เขาหันหลังกลับมา... คือรถครูจอดอยู่ใกล้ๆ ศาลพ่อปู่ เขาบอกว่ามีคนมาดูเขา เขาก็หันขวับมาปั๊บ เขาก็เจอศาลพ่อปู่ตรงนั้นพอดี ทำ�ให้เขา ไม่สบายใจ เขากลับไปที่ห้องเขาก็ไม่สบายใจ เจอหน้าครูเรียกเข้ามาคุย เขาก็สารภาพแน่นอน ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าได้สารภาพแล้วจะสบายใจมาก ก็โอเค ก็คุยกันให้เข้าใจ ก็เลยบอกว่า โอเค ถ้าเธอไม่อยากเชิญผู้ปกครอง ครูไม่เชิญก็ได้ แต่เราก็ต้องเข้าใจกันสองคนนะว่าครูทำ�หน้าที่ของ ครู ครูไม่ได้กลั่นแกล้งอะไรเธอ เขาบอกเขาเข้าใจ ก็โอเค” “มีอยู่ครั้งหนึ่งเคยไปงานของครูนิกรนะ คือบ้านของครูนิกรเขาจัดงานวันเด็ก แล้วก็ ใช้รถครู รถกระบะขับไปส่งขนของให้ พอจอดรถที่โรงเรียนแล้วเด็กก็มาช่วยขนของ จนมีเด็ก กลุ่มหนึ่งเดินรอบรถแล้วเขาก็นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ โดยนับที่เขียนเป็นตัวอักษร เนื่องจากเขา อยากจะบอกว่าครูน่ะสอนวิทยาศาสตร์ ก็เลยเขียนตัวย่อว่า ครูวิทยาศาสตร์ คงทราบว่าครู ๒๐๕

design 4.indd 205

9/9/2556 14:30:54


วิทยาศาสตร์ตัวย่อว่าอย่างไร เขาเขียนบนรถเนี่ย คือเด็กเนี่ยนับได้ ๑๒ ตัว ก็ ถามเด็กว่านับอะไรเหรอ เด็กตอบว่า นับเนี่ยครับ ก็ถามว่านักเรียนนับได้กี่ตัว นักเรียนตอบว่า ๑๒ ตัว ครูบอกว่า ไม่ใช่ มันมี ๑๓ ตัว ตัวที่ ๑๓ มันเล็กมาก (หัวเราะ) ได้ตัวย่อ ครูวิทยาศาสตร์ ๑๓ ตัวรอบรถ นั่นคือที่เด็กสวนกุหลาบฯ ฝากไว้ให้” ไม่อยากจากสวนกุหลาบฯ แต่กต็ อ้ งไป เนื่องจากพอลูกสาวครูป่วยเมื่อตอนขึ้นชั้น ม.๔ ทำ�ให้ครูต้องดูแล อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ แม้กระทั่งจบ ม.๖ เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้วก็ตาม ยังต้องดูแลอย่างใกล้ชิดมากๆ ซึ่งตอนนั้นในช่วงปี ๒๕๕๐ เด็ก ม.๔ รุ่นนั้น จะรู้ว่าครูไม่ค่อยมีเวลาที่จะสอนเขาได้เต็มที่ ก็คือต้องวิ่งไปวิ่งมาระหว่าง สวนกุหลาบฯ กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจราจรก็ติดขัดตลอดแล้ว ก็ขับรถเร็วตลอดเพราะต้องการไปหาลูก บางครั้งครูก็บอกนักเรียนว่า ครู ต้องขออนุญาตก่อน นักเรียนทำ�โจทย์ไปก่อนนะ ซึ่งเหลือเวลาประมาณสัก ๑๐-๑๕ นาที ให้เด็กอยู่ในห้องเงียบๆ ซึ่งเด็กก็เข้าใจ เด็กรุ่นนั้นโอเค ต้อง ยอมรับนับถือเขาหน่อยว่าเขาเข้าใจครู แล้วก็ตอนปี ๕๑ ก็มานั่งคิดว่าถ้าเป็น แบบนี้จริงๆ แล้วเราไม่สามารถทุ่มเทเวลาให้กับสวนกุหลาบฯ ได้ ไม่มีเวลา ที่จะทุ่มเทให้กับเด็กนักเรียนได้ ซึ่งตอนนั้นก็คิดพอสมควรเหมือนกัน แต่เรา จำ�เป็นต้องไป ไม่อย่างงั้นลูกสาวเราก็แย่ แล้วก็บอกเด็กว่าครูจำ�เป็นต้อง ลาออกนะ เพราะครูต้องดูแลลูกสาวอย่างใกล้ชิด ก็เลยต้องออก ๒๐๖ design 4.indd 206

9/9/2556 14:30:56


กับความทรงจำ�ของความเป็นครู หลายคนจะบอกว่า ครูคือผู้สอน แต่สำ�หรับครูแล้ว ครูเป็นอะไรหลายๆ อย่างที่ควร จะทำ�ให้กับเด็กทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นการอบรมสั่งสอนในด้านของสิ่งที่เด็กควรจะได้รับเพื่อ ที่จะต้องออกไปสู่สังคมภายนอก การสอนวิชาความรู้เนี่ย เด็กสวนกุหลาบฯ บางคนไม่จำ�เป็น ต้องสอน เขารู้มากกว่าเรา บางครั้งเขาไปเรียนพิเศษข้างนอกเขารู้มากกว่าเราเยอะ เด็กสวนฯ ครูคิดว่าเป็นเด็กที่เรียนเก่ง และมีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียน อย่างไรก็ตามสำ�หรับเด็ก สวนฯ ที่ควรได้รับจากครูก็คือ การได้รับการอบรมสั่งสอน ให้ได้ไปดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน สู่สังคม ภายนอกแล้วก็จะได้เผชิญปัญหาต่างๆ และก็อยากให้เข้าใจครูฝ่ายปกครองด้วย เพราะงานฝ่าย ปกครองเป็นงานที่ทำ�ให้เด็กเป็นคนดี ทำ�ให้เด็กรู้จักระเบียบวินัยของโรงเรียน ระเบียบวินัยของ สังคม ดังนั้นครูฝ่ายปกครองนั้นโอกาสที่เด็กจะชอบเนี่ยมันยาก เพราะฉะนั้นอย่ารังเกียจครูฝ่าย ปกครอง เพราะว่าการทำ�งาน การที่จะหาครูมาทำ�งานฝ่ายปกครองเนี่ยยาก ไม่มีใครเขาอยาก มาเปลืองตัว มาให้เด็กด่า การดำ�เนินชีวตี หลังเกษียณ หลังจากที่ครูเกษียณไป หน้าที่หลักๆ ของครูก็คือ ดูแลคุณพ่อของครูและลูกสาว ซึ่งก็ไป รักษาที่ศิริราชพยาบาลเป็นหลัก ส่วนถ้าครูเจ็บป่วยครูก็จะไปโรงพยาบาลรามา ซี่งการไปรักษา ในแต่ละครั้งก็จะเจอลูกศิษย์ที่เป็นหมอ ซึ่งเราก็ไม่คิดว่าจะไปเจอเขาลักษณะแบบนั้น ก็มีอยู่ครั้ง หนึ่งก็เดินขึ้นบันไดเลื่อนไป แล้วก็มีคนคนหนึ่งยืนจ้องเราอยู่ข้างบน จ้องอยู่พอสมควร เราก็ขึ้นไป เราก็แหงนหน้ามอง เขาก็บอก อ้าว ครูอาคมสวัสดีครับ ครูมาทำ�อะไร ครูก็บอกว่าครูมาหาหมอ กระดูก เขาก็บอกว่า ผมเนี่ยแหละหมอกระดูก ครูมาเลย เดี๋ยวผมจัดการให้ เขาก็เลยพาไปตรวจ รักษา ก็โอเค ได้ความประทับใจจากนักเรียนที่นี่ และบางครั้งเราก็เจอเด็กข้างนอกที่จบไปแล้ว ๒๐๗ design 4.indd 207

9/9/2556 14:30:58


เขาก็ทักทาย หรือตอนนี้ครูเพิ่งเล่น Facebook เมื่อต้นปีก็จะมีรูปของรุ่น ๑๑๑ ที่เป็นมุทิตาจิตเนี่ย ครูก็เอารูปนั้นมาลง ขอแชร์รูป ก็มีนักเรียนศิษย์เก่า เข้ามา แล้วก็เข้ามาเสร็จก็ลงความคิดเห็น บอกเห็นหน้าแล้วคิดถึงสมัยก่อนก็ สยอง เห็นหน้าอีกแล้วเริ่มสยองอีกแล้ว เลยอยากจะบอกว่าอย่าสยองครูเลย อยากจะฝากนักเรียนทั่วไป ศิษย์เก่าบางคนที่มีจิตใจยังอาฆาตแค้นครูอาคม ครูอาคมก็อยากจะขอโทษในที่นี้ เพราะสิ่งที่ครูทำ�นั้นบางครั้งอาจจะแรงไป ในความคิดของเด็กสมัยนั้น และอาจจะแรงไปจนนักเรียนอาฆาตแค้นครู ครู ต้องขออภัยจริงๆ เพราะครูทำ�ตามหน้าที่ของครูฝา่ ยปกครอง ซึ่งก็คืองาน ดูแลนักเรียน ก็พยายามจะทำ�ให้นักเรียนเป็นคนดีของสังคม ของโรงเรียนให้ ได้ แต่บางครั้งนักเรียนอาจจะมีความเคียดแค้น ชิงชังหรืออะไรครูก็ตาม ต้อง ขออภัยจริงๆ ต้องขออภัยมากๆ เพราะไม่ได้มีความคิดอะไรกับเด็กนักเรียน มากหรอก พอครูเกษียณไปแล้ว บอกตรงๆ ความจำ�ครูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แล้ว ครูก็ลืมเรื่องหมดแล้ว บางครั้งเด็กมาหาครู มาคุยกับครู ครูยังจำ�เขาไม่ได้ เขา ยังต้องมารื้อฟื้นบางอย่างให้ฟัง พอรื้อฟื้นบางอย่างโอเค ครูจำ�ได้แล้วล่ะว่า เรื่องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ต้องขออภัยศิษย์เก่าบางคนละกัน ที่ยังมีอารมณ์ เคียดแค้นกับครูอาคม

๒๐๘ design 4.indd 208

9/9/2556 14:31:02


นิคม ต่อรุ่งเรืองจิต วิวรรธน์ เกง่ ถนอมศักดิ์ และครอบครัว รุ่น ๑๑๑ มหาราช เลขประจำ�ตัว ๓๒๕๘๑ สุทธิชัย ภูมิรักษานนท์ และครอบครัว รุ่น ๑๑๑ มหาราช เลขประจำ�ตัว ๓๒๓๙๖ ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ รุ่น ๑๑๑ มหาราช กัมพล สิริเดชชัย รุ่น ๑๑๑ มหาราช เลขประจำ�ตัว ๓๒๖๒๗ ร่วมสนับสนุนงานมุทิตาจิต ๕๖

design 4.indd 209

9/9/2556 14:31:04


ชื่อ–นามสกุล นางอุษณีย์ เจียรนัยอาภรณ์ ที่อยู่ปัจจุบัน ๒๘/๖๕ หมู่บ้านพฤกษ์ภิรมย์รีเจนท์ปิ่นเกล้า หมู่ที่ ๗ ถนนกาญจนาภิเษก ตำ�บลบางม่วง อำ�เภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๔๐ Email usaneejear@gmail.com ประวัติการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสวนสุนันทา มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำ�งาน / รับราชการ พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๒ อาจารย์ ๑ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๒๙ อาจารย์ ๑ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๕๐ อาจารย์ ๒ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๒๑๐ design 4.indd 210

9/9/2556 14:31:10


พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ ครูชำ�นาญการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๖ ครูชำ�นาญการพิเศษ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ครูอุษณีย์ เจียรนัยอาภรณ์ เกียรติประวัติการทำ�งาน พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รบั ประกาศเกียรติคณ ุ “ครูแม่แบบสาขาครูวทิ ยาศาสตร์” จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รบั เกียรติบตั ร “ปฏิบตั หิ น้าทีค่ รูครบ ๒๐ ปี” จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รบั เกียรติบตั ร “ครูแกนนำ�วิชาวิทยาศาสตร์” จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รบั เกียรติบตั รและเข็มเชิดชูเกียรติ “ปฏิบตั หิ น้าทีค่ รูครบ ๓๐ ปี” จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รบั เกียรติบตั รและเข็มเชิดชูเกียรติ “หนึง่ แสนครูด”ี จากคุรสุ ภา

๒๑๑ design 4.indd 211

9/9/2556 14:31:16


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๒ พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๔

จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก ตริตาภรณ์มงกุฏไทย ตริตาภรณ์ช้างเผือก ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)

ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้ก่อตั้งมานานกว่าร้อยปีแล้ว นับเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อ เสียงและเกียรติประวัติดีเด่นมาโดยตลอด ในชีวติ การทำ�งานของครูนบั ได้วา่ เป็นความโชคดีทไ่ี ด้มโี อกาส มาทำ�งานในสถาบันที่ทรงเกียรตินี้ยาวนานถึง ๓๔ ปี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีชื่อเสียงอย่างยิ่ง ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของโรงเรียน ทำ�ให้ เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ นักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นประชากรที่มี คุณภาพ มีความก้าวหน้าในหน้าทีก่ ารงาน เป็นผูน้ �ำ ในสังคม ทำ�ให้ศษิ ย์เก่า ศิษย์ปจั จุบนั ครูและบุคลากร ทางการศึกษามีความภาคภูมิใจในสถาบันแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง เหนือสิ่งอื่นใดโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัยยังเป็นศูนย์รวมใจของชาวสวนกุหลาบฯ ทุกคน ความรักใคร่สมัครสมานสามัคคี การช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างเต็มความสามารถและด้วยความเต็มใจของชาวสวนกุหลาบฯ เป็นสิ่งที่ น่าชื่นชมและน่ายกย่อง ความประทับใจทีม่ ตี อ่ โรงเรียนสวนกุหลาบฯ มีมากมายไม่อาจกล่าวได้ครบถ้วน แต่โดยสรุปแล้ว “ครูภูมิใจที่ได้เป็นชาวสวนกุหลาบฯ” ๒๑๒ design 4.indd 212

9/9/2556 14:31:19


ครูผู้มีชีวิตที่ผูกพันกับ สวนกุหลาบฯ ตลอด 24 ชั่วโมง ความทรงจำ�เกี่ยวกับอาจารย์อุษณีย์คือเมื่อปีการศึกษา ๒๕๓๔ ตอนที่รุ่น ๑๑๑ เรียนอยู่ ท่านเป็นหนึ่งในคณาจารย์วิชาเคมีระดับ ม.๕ ที่วิชาการแข็งแกร่งมาก ผมคิดไปเองว่าท่านน่าจะดุ อาจเป็นเพราะไม่ค่อยได้เห็นตอนท่านยิ้ม เมื่อมีโอกาส ได้มาสัมภาษณ์และเรียงร้อยให้เป็นบทความจึงได้ทราบว่าท่านใจดีมาก และสัมผัส ได้ว่าท่านได้รับการอบรมกิริยามารยาท คำ�พูดคำ�จามาเป็นอย่างดี งดงามอ่อนช้อย แบบที่พบเจอได้ยากในปัจจุบัน มีข้อมูลส่งมาให้ว่าอาจารย์อุษณีย์สอนที่สวนกุหลาบ วิทยาลัยมาเป็นปีที่ ๓๔ แล้ว “ใช่ค่ะ ถ้านับอายุราชการทั้งหมดก็จะเป็นปีที่ ๓๗ แต่ถ้านับเฉพาะที่อยู่ สวนกุหลาบฯ ก็ ๓๔ ปีค่ะ” ท่านเล่าให้ฟังต่อว่าก่อนหน้านี้ได้รับการบรรจุที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งก็ไม่ธรรมดาแม้เปิดสอนไม่นาน สอนที่นั่นอยู่สามปีจึงได้ยา้ ยมาที่โรงเรียน ของเรา ๒๑๓ design 4.indd 213

9/9/2556 14:31:23


คุณครูปัทมา นิธิปกรณ์พงศ์ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ครูอุษณีย์เป็นทั้งเพื่อนรักและเพื่อนสนิทของครู เมื่อเห็นคนหนึ่งก็มักจะพบอีกคนหนึ่งเสมอ เราจึงเป็น เหมือนคู่แฝดกัน ครูอุษณีย์เป็นแบบอย่างของครูมาตรฐาน สูงในการสอนนักเรียน ทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ เด่นชัด ในการตรวจงานนักเรียน ทำ�ให้เกิดวินัยตนเองแก่นักเรียน มุ่งมั่นต่อทุกภาระงานของโรงเรียน และมีนำ�้ ใจ เป็นผู้จุด ประกายความคิดให้การทำ�งานสำ�เร็จไปได้ด้วยดี เสียดาย ครูดีที่ชื่ออุษณีย์ เจียรนัยอาภรณ์ รักเพื่อนคนนี้เสมอ ๒๑๔ design 4.indd 214

9/9/2556 14:31:31


“สมัยครูเป็นนักเรียนมัธยม เคยมาดูนิทรรศการที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ เป็นนิทรรศการที่ครูประทับใจมาก ชื่นชมรุ่นพี่ที่เขาจัดนิทรรศการได้ดี โดย เฉพาะงานวิทยาศาสตร์สัมพันธ์ ได้มาดูบ่อยๆ ตอนเรียนมัธยม มีความรู้สึกว่า รุ่นพี่สวนกุหลาบฯ นี่เก่งจังเลย สามารถจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ได้นา่ สนใจ ครูก็เลยมีความรู้สึกว่า ถ้าครูได้มีโอกาสมาเป็นครูที่นี่ ก็จะมีโอกาสได้สอนเด็กที่ น่ารักและมีความสามารถ” ฟังแล้วอดปลืม้ ใจและนึกขอบคุณคุณครูและพีๆ่ สวนกุหลาบฯ ไม่ได้ แต่อดแซวอาจารย์อษุ ณียไ์ ม่ได้วา่ ถูกรุน่ พีส่ วนกุหลาบฯ จีบบ้างหรือเปล่า “ไม่ค่ะ พี่ๆน่ารัก เขาอธิบายด้วยความตั้งใจดี แล้วก็มีหนังสือดีๆ สมัย นั้นเขาออกหนังสือด้วย งานนิทรรศการก็จะออกหนังสือพ็อกเก็ตบุ้คส์เล่มเล็กๆ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มีเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ เราก็ซื้อเก็บไว้เป็นที่ระลึก” ฟังที่เล่ามาเหมือนตั้งใจมากที่เลือกวิชาชีพครูเป็นอาชีพนะครับ “ก็ไม่ถึงกับร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็นอาชีพหนึ่งที่อยู่ในใจ อาจจะมีแบบ อย่าง เพราะว่า พี่สาวของครูก็เป็นครูค่ะ ครูเองเคยได้รับการสั่งสอนจาก คุณพ่อคุณแม่ ท่านบอกว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่ดีสำ�หรับผู้หญิง เพราะว่าเป็น อาชีพที่มีเกียรติ และการที่เรามีลูกศิษย์หลากหลายสาขาอาชีพ ทำ�ให้เรา สามารถที่จะดูแลสังคมได้กว้างไกล หมายความว่า เมื่อลูกศิษย์มาเยี่ยมเยียน เราสามารถสอบถามว่าเขาไปมีอาชีพนั้นอาชีพนี่ แล้วมันมีอะไรบ้าง ทำ�ให้ชีวิต ๒๑๕ design 4.indd 215

9/9/2556 14:31:36


อนาคตก้าวหน้าอย่างไร และส่วนตัวก็คิดว่าการที่ผู้หญิงจะเป็นครูนี่เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าเรามีวิญญาณ ของการที่จะอบรมสั่งสอนอยู่แล้ว” รู้สึกได้เลยว่าคุณพ่อคุณแม่ของอาจารย์เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ แม้ลูกผู้หญิงก็สนับสนุนให้เรียน สูงๆในยุคสมัยนั้น “ใช่คะ คุณพ่อเคยบอกว่า พ่อไม่ใช่คนร่ำ�รวย พ่อเป็นข้าราชการ ไม่มีสมบัติอะไรจะให้ สิ่งที่พ่อ ให้ได้คือให้ลูกเรียนหนังสือเยอะๆ ถ้าลูกคนไหนมีความสนใจตั้งใจเรียน ก็จะส่งเสริมให้เต็มที่ แล้วก็เอา ความรู้นั้นไปประกอบอาชีพเพื่อที่จะได้มีอนาคตที่รุ่งเรืองต่อไป” ผมพอทราบมาว่าคนมาเป็นครูสมัยก่อนเป็นคนที่หัวดีเรียนเก่ง เลยอยากทราบว่าอาจารย์ เคยคิดประกอบอาชีพอื่นไหม “ก็คงเหมือนเด็กสมัยก่อน อาชีพที่อยากเป็นอันดับหนึ่งก็คืออยากเป็นคุณหมอ เหตุผลที่ อยากเป็นหมอมากๆ คือว่า คุณพ่อคุณแม่สุขภาพไม่ดี ท่านป่วยมาตั้งแต่ครูเรียนระดับมัธยมต้น ป่วย ค่อนข้างมากด้วย เพราะฉะนั้นก็เลยมีความรู้สึกว่า ทุกครั้งที่เราปรนนิบัติดูแลพ่อแม่เนี่ย จะคิดว่า ถ้า ในอนาคตเราได้เป็นหมอหรือได้เป็นพยาบาล เราคงดูแลพ่อแม่ได้ดีกว่านี้ เลยมีความมุ่งมั่นว่า ถ้าเป็น ไปได้ก็อยากจะเป็นหมอค่ะ” แต่ที่สุดก็ได้มาเป็นคุณครูที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีความรู้สึกตื่นเต้นบ้างไหมครับ “ถ้าพูดจริงๆแล้ว การเดินเข้ามาในสวนกุหลาบฯ ในการเข้ามารายงานตัว สำ�หรับครูไม่ค่อย ตื่นเต้นมาก เพราะว่าไม่ใช่เป็นการเข้ามาในโรงเรียนนี้เป็นครั้งแรก ครูเคยเข้ามาที่สวนกุหลาบฯ ก่อน หน้านี้หลายครั้ง เช่นที่เคยเล่าไปแล้วว่าได้เข้ามาชมนิทรรศการส่วนหนึ่ง แล้วก็อีกส่วนหนึ่งครูมักจะได้ ๒๑๖ design 4.indd 216

9/9/2556 14:31:41


เป็นตัวแทนนักเรียนมาตอบปัญหาที่สวนกุหลาบฯ อยู่เป็นประจำ� เพราะฉะนั้นก็ เลยไม่ค่อยรู้สึกขัดเขินอะไร เป็นเรื่องคุ้นเคยด้วยซำ�้ แต่บรรยากาศอาจจะแตกต่าง จากตอนที่เคยสอนที่บดินทรเดชา เพราะว่าบดินทรเดชาเป็นโรงเรียนสหศึกษา แต่ที่นี่เป็นเด็กผู้ชายล้วน ทำ�ให้ต้องคิดว่าเราควรวางตัวอย่างไรดี ให้เหมาะสมที่จะ เป็นครูที่สอนนักเรียนผู้ชายล้วนๆ”

ครูเองเคยได้รับการสั่งสอนจากคุณพ่อคุณแม่ ท่านบอกวา่ อาชีพครูเป็นอาชีพที่ดีสำ�หรับผู้หญิง เพราะวา่ เป็นอาชีพที่มีเกียรติ และสว่ นตัวก็คิดวา่ การที่ผหู้ ญิงจะเป็นครูนี่เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าเรามีวิญญาณของการที่จะอบรมสั่งสอนอยู่แล้ว แต่ผมก็เดาถูกว่าบรรยากาศน่าจะผ่อนคลายกว่า “สอนไปสักระยะหนึ่งก็รู้สึกผ่อนคลาย เพราะว่าเด็กผู้ชายไม่เรื่องมาก ก็ไม่ ค่อยจุกจิกกับเรา ครูเองเป็นผู้หญิงก็จริง แต่ครูขี้รำ�คาญ” “ครูไม่ชอบให้ใครมาป้วนเปีย้ นอยูใ่ กล้ๆ มากมาย คือพูดกันตรงนีจ้ บก็คอื จบ” ว่าไปแล้วก็ดุเหมือนกันนะครับคุณครูของผม “ตอนแรกที่มาถึง สวนกุหลาบฯ กำ�ลังวุ่นวายมาก เพราะว่ามีการสร้างตึก น่าจะเป็นตึกพระเสด็จ ต้องมีอาคาร ๒๑๗ design 4.indd 217

9/9/2556 14:31:43


เรียนสำ�รอง เรียนตามใต้ถุนหอประชุมอะไรแบบนั้น แล้วก็มี สองรอบ มีรอบเช้า รอบบ่าย” “ครูจบวิชาเอกเคมี แต่ตอนนั้นวิชานี้มีอาจารย์เต็มอยู่ แล้ว ท่านรองผู้อำ�นวยการฝ่ายวิชาการสมัยนั้นเลยให้ครูสอน ชั้นมัธยมต้น สอน ม.๑ ก่อน โดยให้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ แล้ว ก็วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสองวิชา” เพิ่งทราบว่ามีวิชาแบบนี้ด้วย เรียนอะไรกันครับ “จริงๆก็ยงั ไม่ถงึ กับให้เด็กทำ�โครงงานนะคะ คือ ปูพน้ื ฐาน ให้ก่อนว่าวิชาโครงงานมีอะไรบ้าง เป็นอย่างไร เด็กสนใจไหม ชอบทำ�โครงงานไหม คือให้เด็กรู้ตัวเองว่าอยากจะทดลองเรื่อง อะไร ถ้าได้มีโอกาสได้ทำ�การทดลองนอกเวลา สนใจเรื่องอะไร คล้ายๆ อย่างงั้น แต่ก็ไม่ถึงกับว่าจัดทำ�โครงงานเป็นชิ้นเป็นอัน แค่ปูพื้นฐานให้เด็กเข้าใจคำ�ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์” สอนกี่ปีครับถึงได้มาสอนวิชาเคมี ม.๕ “ถ้าจำ�ไม่ผิดก็สองปีคะ สมัยก่อนยังเป็น ม.ศ.๔ ม.ศ.๕ ค่ะ ครูก็สอน ม.ศ.๔ ก่อน เพราะสมัยนั้น ม.ปลาย จะมีถึง ม.ศ.๕ ซึ่ง คือ ม.๖ ในปัจจุบัน ตอนหลังก็จะปรับมัธยมปลายมาเป็น ๓ ปี ครูก็จะอยู่ที่ ม.๕ แต่ ม.๔ ก็เคยสอน มีระดับเดียวที่ไม่ได้ สอนคือ ม.๖” ๒๑๘ design 4.indd 218

9/9/2556 14:31:48


จำ�ได้ว่าสมัยที่ผมเรียน เด็กส่วนใหญ่จะสอบเทียบและเอ็นทรานซ์ กันตอน ม.๕ เป็นรอยต่อที่สำ�คัญ “ใช่ค่ะ ม.๕ เนื้อหาความรู้ค่อนข้างหนัก ในปัจจุบันก็เป็นแบบนั้น ซึ่งครูมีความคิดว่าอยากให้เปลี่ยนแปลงหลักสูตร ก็ทราบว่าอีกไม่นานนี้จะ มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มันไม่น่ามาหนักที่ ม.๕ อย่างเดียว” สอนมานานมีลูกศิษย์ในดวงใจ ในความทรงจำ�บ้างไหมครับ “คือในแง่ดีเนี่ย นานมากละ ครูจำ�ไม่ได้ว่าเป็นปี พ.ศ. เท่าไหร่ แต่ ว่าจำ�ได้วา่ เขาเป็นนักเรียน ส.พ.พ. ไม่ทราบว่าเข้าใจคำ�ว่า ส.พ.พ. ไหมคะ จะเรียน ม.ปลาย สองปี” ที่มีอยู่สองรุ่น ๑๑๓ กับ ๑๑๔ ใช่ไหมครับ “ค่ะ มีอยู่คนหนึ่ง เขาเป็นหัวหน้าห้อง ชื่อ ปณต แต่ครูจำ�นามสกุล ไม่ได้ คือเขาเป็นคนน่ารักน่ะ คือดูแลเอาใจใส่ มีความรับผิดชอบ หลังจาก ที่เขาจบไปแล้ว ก็ยังกลับมาเยี่ยมเยียนครูบ่อยๆ แต่ก็แปลกใจว่าในช่วงหลัง เขาหายไป ถามจากเพื่อนว่าปณตไปไหน เลยได้ทราบข่าวว่าเขาไปบวช เขา เรียนจบวิศวะนะ แล้วก็เห็นว่าบวชไม่สึก เขาคงซึ้งในรสพระธรรม ครูก็เลย ไม่มีโอกาสพบปณตอีกเลย”

๒๑๙ design 4.indd 219

9/9/2556 14:31:52


แล้วลูกศิษย์ลิงทะโมนมีบ้างไหมครับ “จริงๆ แล้วครูไม่ถือสาเด็กนะ แต่ว่าในช่วงสัก ๒-๓ ปีที่ผ่านมา รู้สึกท้อแท้เหมือนกัน เพราะว่าครูเจอเด็กบางคนที่ไม่มีสัมมาคารวะมากๆ ไม่รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร เขาเป็นคนเก่งนะ ครูได้เฝ้าดูห่างๆ ว่าต่อไปเขาจะเป็นอย่างไร ช่วง หลังๆ เขามีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก ไม่ระลึกถึงบุญคุณโรงเรียนสวนกุหลาบฯ แล้วก็ไม่คอ่ ยมาทีโ่ รงเรียนอีก ก็คงต้องปล่อยไป เหมือนกับคำ�ของพระพุทธองค์ ที่ว่า ทำ�อย่างไรก็จะได้อย่างนั้น นี่คือนักเรียนที่จบไปแล้ว เป็นคนเดียวนะที่ ทำ�ให้ครูเสียความรู้สึก” กุหลาบที่มีหนอนไชแค่ดอกเดียวเองครับอาจารย์ มีกุหลาบอีก หลายดอกที่รอให้รดน้ำ�พรวนดิน ผมบอกท่าน ทำ�เอาน้ำ�ตาซึมไปด้วย “คือเด็กไม่เก่ง แต่มีสัมมาคารวะนี่ครูรับได้ เด็กเก่งดีอยู่แล้วโดย ธรรมชาติ คือกุหลาบมีทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์และไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เด็กไม่เก่ง ครูก็เคยสอน เด็กไม่เก่งที่น่ารัก เขาไม่เก่ง แต่เราสามารถที่จะปลูกฝัง ทำ�ให้ เขามีพัฒนาการที่ดีได้ เป็นความสุข ไม่ใช่ว่าครูชอบสอนเด็กเก่งนะ ครูชอบ สอนเด็กที่มีความพยายาม ถ้าเขาไม่เก่งแล้วสามารถสอนให้เขาได้ดีได้ เป็น ความภาคภูมิใจ แต่ถ้าเขาเก่งอยู่แล้ว บางครั้งครูมีความรู้สึกว่า เขาอาจจะ คิดว่าเขาเก่งด้วยตัวเขาเอง เขาไม่ได้เก่งเพราะว่าครูเป็นผู้ประสิทธิ์วิชาให้ ใช่ไหมคะ แต่ว่าก็มีเด็กเก่งอีกหลายคนที่ไม่ได้มีพฤติกรรมแบบนี้” ๒๒๐ design 4.indd 220

9/9/2556 14:31:53


ฟังแล้วทำ�เอาผมเหนื่อยแทน (แล้วคิดว่าท่านเหนื่อยแค่ไหน) เปลี่ยนเรื่องคุย กันดีกว่าครับ สวนกุหลาบฯ ให้อะไรกับอาจารย์บ้างครับ “ให้ทุกอย่างคะ สวนกุหลาบฯ ให้ทุกอย่าง ให้ความอบอุ่น ให้ความร่มเย็น ให้ความ ภาคภูมิใจ ทุกๆ อย่างเกิดขึ้นที่นี่ คนในครอบครัวของครูเป็นสวนกุหลาบฯ หมดนะคะ” ท่านพูดไปอมยิ้มไป “ทั้งบ้านนี้เป็นสวนกุหลาบฯ ทั้งหมด สามีก็เป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ ลูกชายคน เดียวของครูกจ็ บสวนกุหลาบฯ ตัวครูเองก็เป็นครูสวนกุหลาบฯ เรามีความรูส้ กึ ว่าเราอบอุน่ น่ะ เราอยู่ด้วยกันในความเป็นสวนกุหลาบฯ ทั้งที่ทำ�งานและที่บ้าน อยู่กับสวนกุหลาบฯ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง” “สวนกุหลาบฯ ให้เพือ่ นทีด่ ดี ว้ ยค่ะ เพือ่ นร่วมงานค่ะ เพือ่ นสนิทครูเป็นกัลยาณมิตร เขามีความเข้าใจ รู้จักครูดีทุกด้าน ทั้งในด้านการงาน สนิทกันในเรื่องของครอบครัวด้วย ไม่ว่าครูมีปัญหาทางด้านไหน ครูปรึกษาได้ตลอดทุกเรื่อง แล้วเขาก็ให้คำ�ปรึกษาที่ดีกับเรา บางครั้งนี่เราถึงทางตัน หาทางออกไม่ได้ แต่ถ้าเราเปิดปัญหาออกไป เราก็จะได้คำ�ตอบ ให้ ทางออกเราได้ เป็นความรู้สึกที่ดีมากๆ” คิดว่าเด็กสวนกุหลาบฯ มีความโดดเด่นตรงไหนครับ “เป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบค่อนข้างสูง บางครั้งเขาไม่ถึงภาวะที่คับขันเขาก็ไม่ แสดงศักยภาพออกมา แต่เมื่อถึงเวลา ถึงจุดหนึ่ง ที่เขาต้องแสดงศักยภาพในเรื่องความ สามารถ เขาก็สามารถแสดงได้เต็มที่ แล้วก็มีภาวะหลายๆ อย่างที่บางครั้งเรามองข้ามไป คือคิดว่าเด็กคนนี้ทำ�ไม่ได้หรอกนะ ไม่เห็นว่าจะมีคุณลักษณะพิเศษอะไรเลย แต่บางทีพอ ถึงเวลาที่จำ�เป็นแล้ว เขาสามารถที่จะแสดงศักยภาพได้สูง เป็นที่น่าภูมิใจ” ๒๒๑ design 4.indd 221

9/9/2556 14:32:01


ดูเหมือนจะกลืนหายไปในหมู่ชนทั้งหลายหรือเปล่าครับ “ใช่ค่ะ หรือบางทีครูสอนนักเรียนบางคนก็รู้สึกว่าเขาธรรมดา แต่ว่าเราก็จำ�ได้ ก็ไม่ได้ มีพฤติกรรมที่โดดเด่นหรือเลวร้ายอะไร แต่หลังจากที่เขาจบไปแล้ว อีก ๕-๑๐ ปีเขากลับมา ทุกคนมีความโดดเด่นในตัวของตัวเองในหลากหลายรูปแบบ” แสดงว่าเฝ้าดูอยู่ตลอดเลย “ค่ะ คือจำ�ชื่อไม่ได้แล้ว แต่จำ�หน้าได้ จิตวิญญาณของความเป็นครูนี่แปลก ครูก็ไม่เข้าใจ นะ คือเราจำ�ชื่อไม่ได้หรอกนอกจากคนที่โดดเด่นจริงๆ แต่พอเห็นหน้าก็จำ�ได้ อย่างบางทีออก รายการทีวี หรือบางทีไปเป็นข่าว จะรู้ได้เลยว่าเด็กคนนี่เราต้องสอนมาแน่ๆ เป็นลูกศิษย์ฉัน” สิ้นเดือนกันยายนนี้วางแผนกับชีวิตไว้อย่างไรบ้างครับ “ตอนนี้ครูอยากพักผ่อน เพราะว่าเหนื่อยมากค่ะ สามสิบกว่าปีนี่เหนื่อยมาก เพราะว่า ต้องออกแต่เช้า ตื่นแต่เช้า กลับบ้านก็ค่ำ� และถึงแม้ว่าเป็นวันหยุด คนที่มีอาชีพเป็นครูมันไม่มี เวลาหยุด คือสมองมันต้องคิดอยู่ตลอด ว่าเราจะต้องทำ�อย่างไรกับหน้าที่ของเรา อย่างวันเสาร์ อาทิตย์หลังจากที่เราพักผ่อน เย็นวันอาทิตย์นี่เริ่มคิดแล้ว ว่าพรุ่งนี้เช้า เราต้องสอนอะไร เตรียม การสอนหรือยัง มันต้องคิดอยู่ตลอดเวลา” “ช่วงระยะหลังๆ ครูเป็นโรคภูมิแพ้ มีอาการไอ ครูเคยอ่านหนังสือ มีหลายสาเหตุว่าโรค นี้มันไม่ได้เกิดจากแพ้อะไรมากๆ แต่มันเป็นโรคทางจิตแบบหนึ่ง ถ้าเราวิตกกังวล เราคิดมาก พักผ่อนน้อย คนที่บ้านครูบอกว่า ช่วงปิดเทอมไม่เห็นไอเลย แต่ช่วงอาทิตย์หนึ่งก่อนจะเปิด เทอมนี่ เหมือนกับวิตกกังวลว่าเราจะสอนอะไร เราเตรียมพร้อมหรือยัง จะมีอาการไอทันที” ๒๒๒ design 4.indd 222

9/9/2556 14:32:05


หรือไปเที่ยวที่ไหนดีครับ “ครูไม่ค่อยได้เที่ยวค่ะ เป็นคนแปลก คือคนที่บ้านเขาเป็นคนทำ�งานหนัก ตลอดระยะ เวลาที่เขาทำ�งาน เขาก็มุ่งแต่การทำ�งาน เรามีความรู้สึกว่า เราก็ต้องให้หัวหน้าครอบครัวเขา ได้ทำ�งานได้เต็มที่ เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลครอบครัว ดูแลลูก ทุกอย่าง ปล่อยให้หัวหน้า ครอบครัวเขาไปทำ�งานได้เต็มที่ เมื่อถึงเวลาต้องเลือก ครูต้องเสียสละ ให้เขาไปก่อน เราทีหลัง เพราะฉะนั้น เมื่อเพื่อนครูเขาทำ�ผลงานกัน ครูก็ไม่ทำ� เพราะว่าเราไม่มีเวลา ต้องดูแลลูก ปล่อย ให้เขาไปกันก่อน จนกระทั่งเกือบจะสุดท้าย ครูถึงได้มีเวลาพอจะทำ�ได้บ้าง” “เอาเป็นว่าขอพักผ่อนก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง” ไปนั่งสมาธิ หรือปฏิบัติธรรมไหมครับ “จริงๆครูว่า สมาธิก็เป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่งนะ มันก็อาจจะเกิดขึ้น แต่วา่ ยังไม่ถึงกับ บ่งบอก ๑๐๐% ว่าจะต้องไปทำ�อย่างนั้นอย่างนี้ คือมีเวลาก็ทำ� ครูไม่ชอบจำ�กัดตัวเองว่าจะต้อง ทำ�อะไร คืออยากจะทำ�อะไรก็จะทำ� เราไม่อยากถูกตีกรอบอีกแล้ว อยากมีอิสระ” ยังแข็งแรง สมองยังแจ่มใส ไปสอนพิเศษไหมครับ “ชีวิตครูไม่เคยมีคำ�ว่าสอนพิเศษ ตั้งแต่ครูรับราชการการ จากวันแรกที่บรรจุ จนกระทั่ง วันที่กำ�ลังจะเกษียณ ครูไม่เคยสอนพิเศษ ครูคิดว่าครูให้เต็มที่แล้วค่ะ” ไม่สอนพิเศษเพราะว่าฐานะไม่เดือดร้อนหรือเปล่าครับ “ก็ไม่เชิง ครูไม่ใช่คนร่ำ�รวยนะ ชีวิตครอบครัวครูก็กลางๆ พอกินพอใช้ แต่เราสอนตัว เองเสมอว่า เราไม่เป็นหนี้เป็นสินใครก็พอแล้ว เพราะฉะนั้นครูพยายามจะไม่ไปก่อหนี้ เมื่อเรา ๒๒๓ design 4.indd 223

9/9/2556 14:32:08


ไม่ก่อหนี้เราก็มีความเพียงพอ คือเงินเดือนแค่นี้เราก็พอ เราไม่ต้องไปผ่อนอะไรต่อ อะไร เราก็มีความสุขค่ะ” ฝากความคิดอะไรไว้ให้สวนกุหลาบฯ สักหน่อยครับ “ครูได้ทราบข่าวมาว่า อีกไม่นานสวนกุหลาบฯ ก็จะออกนอกระบบ สภาพ สังคมสิ่งแวดล้อมต่างๆ คงเปลี่ยนไป ทุกวันนี้โรงเรียนก็ไม่เหมือนเดิม เพราะว่า มีอาจารย์รุ่นใหม่ๆ เข้ามาเป็นจำ�นวนมาก สิ่งที่เราพยายามทำ�คือเราพยายามจะ ถ่ายทอดความเป็นพี่ ความเป็นสวนกุหลาบฯ ในยุคก่อนๆ ที่ผ่านมาให้กับน้องใหม่ เพราะฉะนั้นอยากให้เรารักษาสิ่งที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของสวนกุหลาบฯ ไว้ ถึงแม้ว่าเราจำ�เป็นต้องออกนอกระบบ แต่ก็ขอให้รักษาสิ่งที่ดีงามของเราเอาไว้ให้คงอยู่ ตลอดไป มันเป็นเอกลักษณ์ค่ะ เป็นโรงเรียนที่เก่าแก่ อะไรที่ดีๆของสังคมไทยทุกวันนี้ มันก็เหลือน้อยอยู่แล้ว จึงอยากให้เก็บรักษาความดีงามต่างๆ เอาไว้” อยากให้สวนกุหลาบฯ จดจำ�อาจารย์อุษณีย์ เจียรนัยอาภรณ์ไว้อย่างไรครับ “จดจำ�ว่าครูเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น มีความอดทน ตั้งใจจริง ทำ�งานเพื่อ โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ของเรา” ขอบคุณ ๓๔ ปีอันทรงคุณค่าที่อาจารย์มอบให้กับพวกเราชาวสวนกุหลาบฯ

คุณครูชูชม ธรณธรรม ผู้ช่วยรองผู้อำ�นวยการ กลุ่มบริหารวิชาการ อ. อุษณีย์ เจียรนัยอาภรณ์ ครูเคมีของสวนกุหลาบฯ สามสิบกว่าปีในรั้วสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ อุ ษ ณี ย์ เ ป็ น ทั้ ง พี่ แ ละเพื่ อ นร่ ว มงานที่ สนิทที่สุด เพราะนอกจากจะจบจากสถาบัน เดียวกัน เรียนวิชาเอกเดียวกัน สอนวิชาเคมี เหมือนกัน และยังสอนระดับชั้นเดียวกันอีก และ

๒๒๔ design 4.indd 224

9/9/2556 14:32:10


ที่สำ�คัญเรามีอุดมการณ์ในเรื่องการสอนเคมีเหมือนกัน คือการเรียนเคมีนักเรียนต้องทำ�แลป ดังนั้นเราจึงมักเป็นคู่หูในการเตรียมแลปเป็น ประจำ� ในการเตรียมแลปเรามักจะมีเรื่องบ่นเป็นประจำ�คือการทำ�ความสะอาดห้องแลป สมัยก่อนยังไม่มีอาจารย์ประจำ�ห้องปฏิบัติการ พวกเราจึงต้องเตรียมแลปกันเอง ล้างอุปกรณ์ อ่างน้ำ� กวาดห้อง ถูห้อง ทำ�ไปก็บ่นกันไปจนเป็นเรื่องธรรมดา อาจารย์อุษณีย์จะยอมไม่ ได้ถ้าห้องแลปไม่สะอาด ต้องขอขอบคุณว่าสิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่ได้ปฏิบัติตามตลอดมา อีกเรื่องหนึ่งที่ส�ำ คัญและขอชื่นชมอาจารย์อุษณีย์ เป็นพิเศษเพราะนับวันอาจจะหาได้ยากขึ้น คือ อาจารย์อุษณีย์มีความเป็นครูอย่างร้อยเปอร์เซนต์ ก่อนการสอนทุกครั้งต้องมีการเตรียม การสอนก่อนเสมอ จนถูกแซวเสมอว่าสอนมาตั้งสามสิบปี ยังต้องเตรียมอีกเหรอ เวลาที่มีความจำ�เป็นต้องลาหยุดก็จะมีความกังวลว่าจะ สอนไม่ทัน สอนไปแล้วนักเรียนจะรู้เรื่องไหม และที่ส�ำ คัญไม่เคยเห็นอาจารย์อุษณีย์ปล่อยนักเรียนก่อนเวลา มีแต่เลยเวลาโดยเฉพาะชั่วโมง ก่อนคาบพักกลางวัน เพราะนัดกันทานข้าวกลางวันทีไรต้องลงไปตามเป็นประจำ� เรื่องนี้เป็นที่รู้กันระหว่างครูและอาจารย์ปัทมา อาจารย์ อุษณีย์จึงถูกต่อว่าจากพวกเราเป็นประจำ� และก็สัญญาว่าจะไม่ท�ำ อีกแต่ก็เหมือนเดิมทุกที แสดงว่าอาจารย์เห็นความสำ�คัญกับการเรียน การสอนเป็นอันดับหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องยอมรับความเป็นนักวิชาการของอาจารย์อุษณีย์คือเรื่อง ข้อสอบ ในทีมที่สอนด้วยกันเราจะ ออกข้อสอบแล้วมาตรวจสอบโดยการนำ�ไปอ่านทั้งฉบับกันก่อน ข้อสอบของอาจารย์อุษณีย์รับรองว่าไม่มีคิดชั้นเดียวไม่มีการออกโดยลอก ของเก่ามาหรือลอกตำ�ราใดมา จึงถือว่าสุดยอด และก่อนจะเป็นข้อสอบฉบับสมบูรณ์ทุกครั้งเราต้องมาเถียงกันก่อนว่าถูกต้องหรือไม่ จน คุณครูในห้องพักครูมักจะแซวว่าเคมี ม.๕ เข้มข้นจัง ครูยังเถียงกันเลยแล้วนักเรียนจะทำ�ข้อสอบได้หรือ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการทำ�ที่ถูกต้อง เพราะบางครั้งการใช้ภาษาของครูและนักเรียนจะเข้าใจไม่ตรงกัน เมื่อเขียนถึงเรื่องนี้ท�ำ ให้ คิดถึงบรรยากาศเก่าๆเหล่านั้น ถือว่าเป็นช่วงที่ มีความสุขมากคิดว่าอาจารย์อุษณีย์ก็คงรู้สึกเช่นกัน น่าเสียดายที่กาลเวลาทำ�ให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยต้องขาดบุคลากรที่มีคุณค่าไป แต่สิ่งอาจารย์อุษณีย์ได้ท�ำ หน้าที่ของครู สวนกุหลาบฯได้สอนศิษย์สวนกุหลาบฯให้มีความรู้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน มีศิษย์เก่าหลายคนกลับมาขอบคุณ อาจารย์ว่าวิชาเคมีของอาจารย์ท�ำ ให้สามารถไปใช้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี การปฏิบัติตนสมกับความเป็นครู การทุ่มเท กำ�ลังกายกำ�ลังใจในการทำ�งาน สิ่งเหล่านี้คิดว่าลูกศิษย์ทุกคนคงภูมิใจ และเชื่อว่าอาจารย์อุษณีย์จะเป็นครูของสวนกุหลาบฯ ที่อยู่ใน ความทรงจำ�ของลูกศิษย์และชาวสวนกุหลาบฯ ตลอดไป ๒๒๕ design 4.indd 225

9/9/2556 14:32:10


๒๒๖ design 4.indd 226

9/9/2556 14:32:12


๒๒๗ design 4.indd 227

9/9/2556 14:32:19


เราได้รับการสั่งสอนมาตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนว่าให้มีความเป็นสวนกุหลาบฯ ให้มี Spirit Suankularb ศิษย์เก่าที่เรียนจบไปแล้ว ก็ยังได้รับการสั่งสอนให้มี ต้องมี หรือแม้แต่ คนที่ไม่ได้เรียนสวนกุหลาบฯ แต่เกี่ยวข้องกับสวนกุหลาบฯ เช่น เป็นครู ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ แม่ค้าในโรงอาหาร ก็ยังมีการบอกว่า ต้องมี Spirit Suankularb ด้วยเหมือนกัน แล้วความ เป็นสวนกุหลาบฯ นั้นเป็นอย่างไร และ มีค่าเท่าไรกันแน่ เรามาทำ�ความเข้าใจกัน

บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะตัดสินใจวา่ จะจา่ ยเทา่ ไหร่ ก็อยูท่ ี่เขาเห็นคุณคา่ ของสินคา้ หรือบริการนี้มากหรือนอ้ ย

ซึ่งแต่ละคนก็ให้ค่าไม่เท่ากัน

คุณสมบัติ vs มูลค่า vs ราคา ตัวข้าพเจ้าเองสมัยที่ยังเป็นฆราวาสอยู่เคยไปซื้อรองเท้าที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เขาตั้ง รองเท้าเอาไว้โชว์ให้ดู ก่อนที่จะหันไปดูราคาของมันว่าราคาเท่าไร เราก็หยิบขึ้นมาเพื่อพิจารณา ว่ารองเท้าคู่นี้ มี คุณสมบัติ (Property) อย่างไรบ้าง เช่น มีการตัดเย็บอย่างนี้ ใช้วัสดุอย่างนี้ การ ออกแบบอย่างนี้ มีอรรถประโยชน์ในกรณีตา่ ง ๆ อย่างนี้ เป็นต้น เพื่อพิจารณาดูว่า คุณสมบัติตา่ งๆ ของรองเท้าคู่นี้ จะมี มูลค่า (Value) สำ�หรับตัวเราเองเท่าไร เมื่อพอทราบมูลค่าคร่าวๆในหัวเรา แล้ว ก็ค่อยไปดู ราคา (Price) ว่าเท่าไร หากจะยกตัวอย่างกรณีของทองคำ�อาจจะทำ�ให้เข้าใจเรื่องนี้ได้ชัดเจนขึ้น ตอนนี้ราคา ทองคำ�ผันผวนมาก ทองคำ�มี คุณสมบัติ (Property) คือความแวววาว ไม่เป็นสนิม ขึ้นรูปเป็น ๒๒๘ design 4.indd 228

9/9/2556 14:32:20


ความเป็นสวนกุหลาบฯ มีคา่ เทา่ ไร !

พระไพบูลย์ อภิปุณฺโณ / ส.ก. ๑๑๑ ๒๒๙

design 4.indd 229

9/9/2556 14:32:22


รูปทรงต่างๆ ได้งา่ ย มีคุณสมบัติทางเคมี เช่น มีจุดเดือด จุดหลอมเหลว ความแข็งเป็นค่าๆ หนึ่ง รวมถึงความที่เป็นของมีน้อยหายาก เป็นต้น คุณสมบัติเหล่านี้ทำ�ให้ทองคำ�มี มูลค่า (Value) สูง และเมื่อต้องมีการเปลี่ยนมือก็ต้องมีการกำ�หนด ราคา (Price) กัน นี่แหล่ะจึงเริ่มเป็นปัญหา เพราะ คุณสมบัติและมูลค่าของทองคำ�ไม่เคยเปลี่ยน ๒๐ ปีที่แล้วทองคำ�มีคุณสมบัติอย่างไร ตอนนี้ก็ยัง มีคุณสมบัตินั้นอยู่ หรืออีก ๒๐ ปีขา้ งหน้าทองคำ�ก็ยังคงมีคุณสมบัตินั้นอยู่ แต่ที่ราคาทองคำ�นั้น เปลี่ยนก็เพราะ demand/supply หรือ อุปสงค์/อุปทาน นั่นเอง ตอนไหนทองคำ�มีคนต้องการ มาก ราคาก็สูง ตอนไหนที่คนต้องการน้อย ราคาก็ต่ำ� ทั้งๆที่คุณสมบัติของทองคำ�ก็ยังคงเหมือน เดิมไม่เปลี่ยนแปลง นี่คือลักษณะของซื้อของขายทั่วๆ ไปที่วา่ ต้องดูที่คุณสมบัติก่อนแล้วจึงจะรู้ว่ามีมูลค่ามาก หรือน้อย แล้วจึงสามารถกำ�หนดราคาได้ (คุณสมบัติ ð มูลค่า ð ราคา) กำ�หนดราคา (Name your price) ศิษย์เก่าบางคนเปิดร้านอาหาร หรือทำ�ธุรกิจส่วนตัวบางอย่าง ก็ต้องมีกำ�หนดราคาสินค้า และบริการที่บริษัทหรือร้านของเราจะเสนอขายต่อลูกค้าเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนได้ ผู้ซื้อนั้นก็มี ความคิดอยู่แล้วว่าด้วยคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการแบบนี้เราจะจ่ายเป็นราคาเท่าไร ในตลาด หลักทรัพย์เขาซื้อขายหุ้นกันก็มีการกำ�หนดราคาต้องเสนอซื้อเสนอขายกันในลักษณะนี้ แล้วสำ�หรับของที่ไม่ได้ซื้อขายได้ทั่วๆไป อย่างเช่นอวัยวะมนุษย์ล่ะ ถ้าสมมติว่ามีคนมาขอ ซื้อดวงตาของเราสักข้างหนึ่ง หรือไตสักข้างหนึ่ง หรือแขนสักข้างหนึ่ง ไหนๆ ดวงตา ไต แขน พวก นี้ก็มี ๒ ข้างอยู่แล้ว ขายไปสักข้างหนึ่งเราก็ยังไม่ตาย ยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่อาจจะเปลี่ยนวิถีการ ดำ�เนินชีวิตไปบ้างเท่านั้นเอง ตรงนี้เราจะกำ�หนดราคาสักเท่าไร ที่กล่าวมานี้อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่าจะ มาพูดเรื่องการซื้อขายสิ่งที่ผิดกฎหมายกัน บางคนอาจจะบอกว่า “อันนี้ไม่ใช่ของซื้อของขาย ถ้า ๒๓๐ design 4.indd 230

9/9/2556 14:32:25


มาขอซื้อ ผมก็ไม่ขาย” แต่วา่ ในเรื่องนี้เราก็คงเคยได้ทราบว่าในตลาดมืดเขา มีการขายอวัยวะกัน มีการกำ�หนดราคาตายตัวเลย เช่นไตข้างหนึ่งมีราคาเท่า นี้ๆ เป็นต้น อันนี้เป็นคำ�ถามเพื่อให้คิดว่า ถ้ามีคนจะมาซื้ออวัยวะของเรา หรือ แม้แต่ซื้อทั้งชีวิตของเรา เราจะขายเขาด้วยราคาเท่าไร

คุณธรรมตา่ งๆ เหล่านี้ เป็นคุณสมบัติที่ท�ำ ให้ความเป็นสวนกุหลาบฯ มี มูลค่าขึ้นมา มีชื่อเสียงแพร่หลาย เป็นที่รจู้ ักของคนโดยทั่วไป อะไรคือ Spirit Suankularb ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ครูเก่า ครูปัจจุบัน ผู้ปกครองนักเรียน หรือ ผู้บริหารโรงเรียน ก็อาจจะมีความคิดแตกต่างกันไปในเรื่องที่ว่า อะไรคือความ เป็นสวนกุหลาบฯ อะไรคือ Spirit Suankularb บางคนก็จะบอกว่า ความรัก สถาบันบ้าง ความเสียสละบ้าง ต่างๆกันไป ข้าพเจ้าเองก็ไม่อยากที่จะบัญญัติ อะไรใหม่ เรามาลองสังเกตกันดูดีกว่า ที่เขาบอกกันว่าทำ�อย่างนี้เป็นอย่าง ดีแล้ว เป็นการมี Spirit นั้น มันเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น การแปรอักษร การ แข่งกีฬา การเชียร์กีฬา การสอบแข่งขันตามสนามต่างๆ การรับน้อง การรับ เพื่อนใหม่ ๒๓๑ design 4.indd 231

9/9/2556 14:32:29


ในกรณีของการแปรอักษร นักเรียนที่ขึ้นแปรอักษรไม่วา่ จะเป็นงานจตุรมิตร หรืองานแข่งขันกีฬาระดับชาติก็ตาม คนที่เคย ผ่านการแปรอักษร สัก ๓-๔ ครั้งเนี่ยจะทราบดีว่ามันเป็นอย่างไร แน่นอนว่าทุกคนต้องอดทนกับความร้อน บางทีไม่ได้กินตามเวลา บางทีไม่ได้ไปห้องน�ำ้ ตามต้องการ บางทีชว่ งพิธกี ารต้องนิง่ เงียบ ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น ส่วนคนทีอ่ อกแบบ Code แปรอักษรเป็นภาพหรือตัวหนังสือ ต่างๆ ต้องอดหลับอดนอน ต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ทำ�สิ่งใหม่ๆ ออกมา เพราะฉะนั้นคุณสมบัติหรือคุณธรรมที่ทำ�ให้คุณมีความ เป็นสวนกุหลาบฯ (ที่เกิดจากที่คุณไปแปรอักษร) นั้นก็คือ การ อดทน (ต่อความร้อน ความหิว) การต่อสู้ (ความเพียร) การมีจิต เป็นหนึ่ง (เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์) การแข่งกีฬาก็เหมือนกัน นักกีฬาจะไปแข่งได้ก็ต้องซ้อม ซะก่อน ไม่ได้ไปเที่ยวเล่นอย่างอื่น บางทีต้องลาเรียนไปซ้อมหรือ ไปแข่ง กีฬาบางอย่างต้องเล่นเป็นทีม ก็ต้องสามัคคีกับเพื่อนร่วม ทีมด้วย เพราะฉะนั้นคุณธรรมที่ทำ�ให้คุณมีความเป็นสวนกุหลาบฯ (ที่เกิดจากการเป็นนักกีฬา) นั้นก็คือ ความเพียร ความอดทน ความสามัคคี เป็นต้น เวลามีนักเรียนเข้ามาใหม่รวมชั้นเรียนกับนักเรียนที่มีอยู่ แล้ว เช่นตอน ม.๔ (สมัยที่ยังมีการรับนักเรียน ม.๔ อยู่) นักเรียน ๒๓๒ design 4.indd 232

9/9/2556 14:32:30


ร่วมชั้นปัจจุบันก็ยังมองคนที่เข้ามาใหม่ด้วยสายตาแห่งความรักใคร่ ด้วยความยินดีต้อนรับ ให้เข้ากัน ได้เหมือนน้ำ�นมผสมกับนำ�้ อันนี้ก็เป็นการแสดงถึงคุณธรรม คือ ความเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ศิษย์เก่าที่จบไปแล้วเจอรุ่นน้องที่มาเรียนมหาวิทยาลัยร่วมกัน มาอยู่ที่จังหวัดเดียวกัน มา ทำ�งานที่เดียวกัน มาอยู่ประเทศเดียวกัน ก็พยายามให้คำ�แนะนำ� บอกเตือน ให้ความช่วยเหลือต่างๆ อันนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความกรุณาเอ็นดู หรืออย่างเวลาที่มีนักเรียนเรียนเก่งไปสอบได้ เช่น สอบคณิตศาสตร์โอลิมปิกได้เหรียญทอง เป็นต้น พวกที่เรียนไม่เก่งก็ยังมีความยินดีที่ต่อนักเรียนห้องคิงส์ที่ทำ�ชื่อเสียงให้กับโรงเรียน นี่ก็เป็น ตัวอย่างของคุณธรรม คือ ความมุทิตา (ยินดีที่ผู้อื่นมีความสำ�เร็จ)

คุณธรรม ความเมตตา ความสามัคคี เป็นสิ่งที่เมื่อใชแ้ ลว้ ไมห่ มดไปจากใจเรา บางครั้งเราพบเห็นว่าเพื่อนประพฤติตัวในทางที่ไม่เหมาะสม มากบ้าง น้อยบ้าง ถ้าบอก สอนเตือนกันได้ก็ทำ� เตือนกันไม่ได้ก็ไม่ถึงกับทำ�ให้เขาเสียหายหรือเสียอนาคตไป ด้วยความที่มา จากโรงเรียนเดียวกัน อย่างดีก็ไม่ไปยุ่งหรือผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ อันนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็น อุเบกขาได้ บางทีมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับโรงเรียนออกไป ก็ไม่ปรากฏเห็นว่ามีการไปเดินประท้วง หรือเกิด เหตุการณ์รุนแรงถึงเลือดตกยางออก อย่างมากก็มีการแถลงข่าวให้เห็นเรื่องจริงเรื่องไม่จริงว่าอย่างไร อันนี้ก็เป็นการแสดงออกถึงความสงบเสงี่ยม ๒๓๓ design 4.indd 233

9/9/2556 14:32:31


ทุกๆปี ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ก็มาทำ�พิธีเพื่อน้อมรำ�ลึกถึงองค์ผู้ให้ กำ�เนิดโรงเรียน คือรัชกาลที่ ๕ นี่ก็แสดงถึงความจงรักภักดี ความซื่อสัตย์ หรือความศรัทธา คุณธรรมต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ความอดทน ความเป็นนักสู้ ความสามัคคี ความเมตตา ความกรุณา ความมุทิตา ความอุเบกขา ความ สงบเสงี่ยม ความซื่อสัตย์ ความศรัทธา ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำ�ให้ความเป็น สวนกุหลาบฯ มีมูลค่าขึ้นมา มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไป

การจะทำ�ใหม้ ูลคา่ ของคุณธรรมตา่ งๆ เหลา่ นี้เพิ่มขึ้นได้ คือการที่เราเอามันออกมาใช้งานในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดงานมุทิตาจิต สิ่งที่ไม่ใช่ Spirit Suankularb ต้องมี Side Note ตรงนี้นิดหนึ่งว่า คนไม่ดีบางคนอาจจะเอา “ความ เป็นสวนกุหลาบฯ” นี้ไปทำ�ไม่ดี เช่นคำ�กล่าวที่วา่ “มึงต้องให้กูลอกข้อสอบซิวะ เราเป็นสวนกุหลาบฯ เหมือนกัน” หรืออาศัยช่องทางเหล่านี้ในสิ่งที่เกี่ยวข้อง กับยาเสพติด การคดโกง ซึ่งต้องทำ�ความเข้าใจในที่นี้วา่ ถ้าเราเอะอะอะไร ก็ยึดแต่สถาบัน โดยไม่มีคุณธรรมดังที่กล่าวแล้ว นั่นอาจจะเป็นการขุดหลุม ฝังศพให้ตัวเองก็ได้ แต่ถ้าเราใช้หลักคุณธรรม มีความอดทน ความสามัคคี ๒๓๔ design 4.indd 234

9/9/2556 14:32:32


เป็นต้น สถาบันสวนกุหลาบฯ ของเราจะเจริญขึ้นได้ด้วยคุณธรรม ต่างๆ เหล่านั้น ความเป็นสวนกุหลาบฯ ของคุณมีค่าเท่าไร ตรงไหน จากในตอนต้นที่เรากล่าวถึงว่า คุณสมบัติ ð มูลค่า ð ราคา คุณคิดว่า คุณสมบัติ (Property) ที่ทำ�ให้ใครสักคนใดคนหนึ่งมีมูลค่า (Value) เป็น Spirit Suankularb นั้น จะมีราคา (Price) เท่าไร? บางคน อาจจะคิดไปถึงขนาดว่า “ถ้าจะเอาลูกมาเข้าเรียนสวนกุหลาบฯ จะ ต้องจ่ายค่าแป๊ะเจี๊ยะให้โรงเรียนเท่าไรดี” หรือบางคนอาจจะคิดไปถึง ค่าเทอมที่ได้จ่ายมาตอนเป็นนักเรียน หรือบางคนอาจจะคิดถึงค่าจ้าง ที่ได้จากการทำ�งานให้กับโรงเรียน หรือบางคนอาจจะคิดถึงสินทรัพย์ ทั้งหมดที่ตนมีอันได้มาจากการที่สวนกุหลาบฯ ได้หล่อหลอมให้เป็น คนขึ้นมา สิง่ ทีต่ อ้ งชีใ้ ห้เห็นเพือ่ ให้ตดั สินใจถึงราคาได้นน้ั ก็คอื ความแตกต่าง ระหว่าง “สินค้า” มีรองเท้าหรือทองคำ� เป็นต้น กับ “คุณธรรม” มี ความอดทน ความเพียร เป็นต้น อยู่ที่ว่า สินค้าใช้แล้วหมดไป เรา ขายไปแล้ว มันหมดไปจากเรา ไปอยู่ที่คนอื่น เราจึงต้องการเงินที่เป็น ราคามาแทนความหมดไปนี้ แต่คุณธรรม ความเมตตา ความสามัคคี เป็นต้น เป็นสิ่งที่เมื่อ ใช้แล้ว ไม่หมดไปจากใจเรา เมื่อเรามองดูคนอื่นด้วยสายตาแห่งความ รักใคร่ความสามัคคีกันอยู่ (คือการนำ�เอาความเมตตาออกมาใช้ออก ๒๓๕ design 4.indd 235

9/9/2556 14:32:33


มาให้ มาแสดงออก) ความเมตตาในจิตของเราไม่ได้ลดลงหรือหายไป มันยังอยู่เหมือนเดิม ณ เวลา นั้น ในขณะเดียวกัน คนที่เราเอามาใช้ให้กับใคร เขาคนนั้นก็ยังได้รับกระแสความรักความเมตตานี้ เพิ่มในใจเขาด้วย ความยินดีกับผู้อื่นเมื่อเขาประสบความสำ�เร็จ (คือความมุทิตา) เมื่อเราแสดงออกซึ่งความ ยินดีกับความสำ�เร็จของคนอื่น ความสุขในจิตของเราไม่ได้ลดลงไป มีแต่จะเพิ่มขึ้น คนที่เราแสดง ความมุทิตาออกให้นั้น เมื่อได้รับกระแสนี้ก็มีความมุทิตาเพิ่มในจิตของเขา คุณธรรมเหล่านี้ไม่เหมือนกับของที่ขาดแคลนหายาก เช่น ทองคำ� ซึ่งเมื่อเอาออกใช้แล้ว ก็หมดไปจึงต้องหาสิ่งอื่นมาแทน (คือเงินที่เป็นการกำ�หนดราคา) แต่คุณธรรมเหล่านี้หาใช่เป็น ของที่ขาดแคลน คือใช้แล้วหมดไปไม่ แต่เป็นของที่มีแต่จะเพิ่มมูลค่าขึ้นเมื่อเราเอาออกมาใช้ พูด ง่ายๆ คือยิ่งใช้ยิ่งเกิด ยิ่งใช้ยิ่งมี เป็นของหาค่าหาราคาไม่ได้ เพราะยิ่งเอาออกใช้ยิ่งมีมูลค่าเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ ของที่หาค่าไม่ได้จะมากำ�หนดราคาว่าเท่านี้แสน เท่านี้ลา้ น ไม่ได้ เพราะถ้าเรามีการ กำ�หนดราคาก็เท่ากับเป็นของที่ขาดแคลน ของหายาก แต่การจะทำ�ให้มูลค่าของคุณธรรมต่างๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นได้นั้น คือการที่เราเอามันออกมา ใช้งานในรูปแบบต่าง เช่น การจัดงานมุทิตาจิต การให้ความช่วยเหลือกับรุ่นน้อง การบริจาคทาน การทำ�ความดีให้สังคมในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นคำ�ตอบของคำ�ถามที่ว่า ความเป็นสวนกุหลาบฯ ของคุณมีค่าเท่าไร ก็อยู่ที่คุณเอา คุณธรรม เหล่านั้น คือ ความอดทน ความเมตตา เป็นต้น ออกมาใช้งานเท่าไร ถ้าเอาคุณธรรมนั้น ออกมาใช้งานน้อย ค่าคุณก็น้อย แต่ถ้าคุณเอามันออกมาใช้งานมาก ค่าคุณก็จะมากด้วย และคำ� ตอบสำ�หรับคำ�ถามที่ว่าที่ไหน? ก็คือที่นั้นๆ ที่คุณเอามาใช้นั่นล่ะที่จะเกิดเป็นมูลค่าขึ้นมาทันที ถ้า คุณเอาคุณธรรมเหล่านี้ออกใช้ในครอบครัว คุณก็สร้างมูลค่าขึ้นในครอบครัวทันที ๒๓๖ design 4.indd 236

9/9/2556 14:32:36


ป.ล. อีกประการหนึ่ง ไม่ใช่ว่า ศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ หรือเด็ก สวนกุหลาบฯ เท่านัน้ ทีจ่ ะมีคณ ุ ธรรมทีท่ �ำ ให้คณ ุ มีความเป็นสวนกุหลาบฯ เหล่านี้ได้ แม้คนที่จบมาจากโรงเรียนอื่นที่เขามีความอดทน ความเป็น นักสู้ ความสามัคคี ความเมตตา ความเอื้อเฟื้อ ความกรุณา ความมุทิตา ความอุเบกขา ความสงบเสงี่ยม ความซื่อสัตย์ ความศรัทธา ได้เหมือนกัน นั่นเป็นเหตุผลว่า เพื่อนของเราบางคนที่เป็นเพื่อนรัก เพื่อนช่วยเหลือ การงานกัน ไม่ใช่ว่ามีแต่เด็กสวนกุหลาบเท่านั้น เด็กโรงเรียนอื่นก็มี ผู้หญิงก็มี ผู้ชายก็มี

พระไพบูลย์ อภิปณ ุ โฺ ณ แสดงธรรมทางสถานีวทิ ยุกระจายเสียงแห่ง ประเทศไทยเป็นประจำ�ทุกวันเวลา ๕:๐๐ น. ท่านจำ�พรรษาอยู่ ณ วัดป่าดอนหายโศก อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ซึง่ มีการจัดหลีกเร้น ปฏิบตั สิ มาธิวปิ สั สนาอยูเ่ ป็นประจำ�ทุกเดือน รายละเอียดติดตามได้ท่ี www.wpdhs.org ท่านเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ รุน่ ๑๑๑ หลังจากสำ�เร็จการศึกษา วิศวกรรมไฟฟ้าจาก ม.เกษตรศาสตร์ ก็เข้าทำ�งานในประเทศสิงค์โปร์ พร้อมกับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทก่อนการอุปสมบท ๒๓๗ design 4.indd 237

9/9/2556 14:32:40


เป็นเรื่องแปลกเมื่อมีการเล่าขาน พูดคุยกับเพื่อนครูต่างโรงเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรม ศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ ทีม่ คี วามผูกพันกับครูสวนกุหลาบฯ ทุกคนจะพูดตรงกันว่า ทำ�ไมศิษย์เก่า ของเขาจึงไม่เหมือนศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ ครูเองเคยคุยกับศิษย์เก่าหลายคนในโอกาสงาน เลี้ยงรุ่นบ้าง ศิษย์เก่าแต่ละรุ่นพาครูไปเที่ยวบ้างว่า “มีบุญที่ได้เป็นครูสวนกุหลาบฯ” ลูก ศิษย์ก็จะตอบว่า “ผมก็มีบุญที่ได้เป็นนักเรียนสวนกุหลาบฯ” จึงตอบกลับไปว่า “แสดง ว่าเราได้ท�ำ บุญร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน จึงได้อยู่ในสถาบันที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระราชทานกำ�เนิด”

เด็กสวนฯ เขาคิดเป็นและจะดูแบบอย่างจากรุ่นพี่ ดังอัตลักษณ์ที่ว่า “รักโรงเรียน รักเพื่อน นับถือพี่

เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง”

คงไม่มีคุณครูท่านไหนไปบอกกับนักเรียนว่า เมื่อเป็นศิษย์เก่าจะต้องปฏิบัติตนกับ ครูอย่างนั้นอย่างนี้ แต่คุณครูจะบอกตรงกันว่า “เมื่อสำ�เร็จการศึกษาต้องรับใช้ประเทศ ชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สมดังพระราชประสงค์แห่งองค์พระผู้พระราชทานกำ�เนิด โรงเรียน และเมื่อมีความพร้อม ขอให้กลับมาดูแลโรงเรียน” เด็กสวนฯ เขาคิดเป็นและจะ ดูแบบอย่างจากรุ่นพี่ ดังอัตลักษณ์ที่วา่ “รักโรงเรียน รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญู พ่อแม่ ดูแลน้อง” เมื่อเห็นรุ่นพี่ๆ ปฏิบัติต่อคุณครูอย่างไร รุ่นน้องๆ ก็จะปฏิบัติตามโดยไม่ ต้องไปสั่งหรือมีใครบอก ๒๓๘ design 4.indd 238

9/9/2556 14:32:43


ครูเกา่ ... ศิษยเ์ กา่ มหัศจรรย์ ! ผูกพันล้ำ�ลึก

ตึกยาวเล่าเรื่อง ... ตอนที่ 2 โดย ครูวีระ กาญจนะรังสิตา ๒๓๙

design 4.indd 239

9/9/2556 14:32:50


งานมุทิตาจิต งานมุทิตาจิตเป็นงานที่แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูที่ทา่ นสำ�เริง นิลประดิษฐ์ อดีตผู้อำ�นวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ริเริ่มไว้ว่าศิษย์เก่าควรจะเป็นเจ้าภาพ ในการจัดงาน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ และกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมา เป็นงานที่มีมนต์ขลังกับผู้ที่เข้ามาสัมผัสบรรยากาศของงาน แต่ละรุ่นที่เป็นเจ้าภาพจัด งานมีความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์บรรยากาศของงานเพื่อให้เกิดความประทับใจแด่คุณครู ที่เกษียณอายุราชการ คุณครูเก่า คุณครูปัจจุบัน ศิษย์เก่าทุกรุ่นที่มาร่วมงาน เมื่อรุ่นพี่มี การจัดงาน รุ่นน้องอย่างน้อย ๒-๓ รุ่น ก็จะมาศึกษาดูงาน เช่นปี ๒๕๕๖ นี้ ส.ก. ๑๑๑ เป็นเจ้าภาพจัดงาน ส.ก. ๑๑๒ ต้องมาศึกษางานแน่นอน มอบทุนรุ่นน้องในการจัดงาน ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ส.ก. ๘๗ (นับแบบเดิมคือ ๙๑) เป็นเจ้าภาพจัดงาน มีการมอบ ทุนให้รนุ่ น้อง คือ ส.ก. ๘๘ ทีจ่ ะเป็นเจ้าภาพปีตอ่ ไป ซึง่ มีคณ ุ เสรี ดาราราช เป็นประธาน จัดงาน และรุน่ ส.ก. ๘๘ ก็มกี ารมอบทุนให้รนุ่ น้อง คือ ส.ก. ๘๙ ซึง่ มีคณ ุ สุรพล เตชะหรูวจิ ติ ร เป็นประธานจัดงานและเป็นประธานรุ่นตลอดกาล มีการเว้นช่วงไปบ้าง แต่ก็จะช่วยใน รูปแบบจัดหาสปอนเซอร์หรือเป็นสปอนเซอร์ให้รุ่นน้อง การมอบทุนให้รุ่นน้องนี้เริ่มมอบ กันอย่างจริงจังเมื่อ ส.ก. ๑๐๓ เป็นเจ้าภาพจัดงานในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มากบ้างน้อยบ้าง ไม่มกี ารกำ�หนดแล้วแต่สถานการณ์ และบางรุน่ ก็จะมอบให้กบั ชมรมครูเก่าสวนกุหลาบฯ อีกส่วนหนึ่งด้วย ทราบว่าตั้งแต่ ส.ก. ๑๐๔, ๑๐๕, ๑๐๖, ๑๐๗, ๑๐๘, ๑๐๙ มอบทุนให้ รุ่นน้องรุ่นละห้าหมื่นบาทเท่ากัน และ ส.ก. ๑๑๐ มอบทุนให้ ส.ก. ๑๑๑ ซึ่งเป็นเจ้าภาพ จัดงาน ในปี ๒๕๕๖ หนึ่งแสนบาท ๒๔๐ design 4.indd 240

9/9/2556 14:33:07


จัดทำ�ธงมุทิตาจิต ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ส.ก. ๙๙ เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน มีคุณวิรัช อาชวกุลเทพ เป็นประธาน จัดงานและเป็นประธานรุ่นตลอดกาล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จัดทำ� ธงมุทิตาจิต จึงเกิดเป็น ประเพณีส่งมอบธงพร้อมกับเงินทุนให้กับรุ่นน้องต่อหน้าคุณครูและศิษย์เก่าที่มาร่วมงาน เหมือน กับการส่งมอบธงในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ โอลิมปิกเกมส์ ทำ�นองนั้น... นี่แหละ เด็กสวนฯ ไม่เคยหยุดนิ่ง !

งานมุทิตาจิต เป็นงานที่แสดงใหเ้ ห็นถึงความกตัญญู ที่ทา่ นสำ�เริง นิลประดิษฐ์ อดีตผู้อ�ำ นวยการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ริเริ่มไว้ โดยเริ่มจัดตั้งแตป่ ี พ.ศ. ๒๕๒๔ และกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมา กำ�หนดรูปแบบ (Theme) งานมุทิตาจิต เด็กสวนฯ เขาไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่จริงๆ ครับ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ส.ก. ๑๐๓ เป็นเจ้าภาพจัด งาน มีคุณอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ เป็นประธานจัดงาน จัดที่หอประชุมกองทัพเรือ มีการกำ�หนด รูปแบบ (Theme) ในการจัดงานว่า “ศิษย์กตัญญู... ครูไม่ใช่เรือจ้าง” รุ่นนี้คงจะหาทุนได้ มาก นอกจากจะมอบเงินทุนให้รุ่นน้องแล้ว ยังมีเงินเหลือพาคุณครูที่เกษียณอายุราชการไปทัวร์ เกาหลีใต้อีกด้วย ๒๔๑ design 4.indd 241

9/9/2556 14:33:15


ส.ก. ๑๐๔ มีคุณวีรยศ สายอรุณ เป็นประธานจัดงาน จัดที่หอประชุมโรงเรียน บรรยากาศจัดงานน่าสนใจ ตรึงผู้ร่วมงานไม่ให้กลับก่อนงานเลิกได้ มีรายการ ฝันที่เป็น จริง ให้กับคุณครูที่เกษียณอายุราชการ ระหว่างสัมภาษณ์คุณครูก็จะถามว่า “คุณครู ชอบอะไรเป็นพิเศษ” เช่น ชอบนักร้องคนไหน ก็จะมีนักร้องในดวงใจท่านนั้นออกมา ปรากฏตัวและครวญเพลงให้ฟังกันตัวเป็นๆ เช่น คุณสุเทพ วงศ์คำ�แหง และนักร้อง วงสุนทราภรณ์ การจัดและกำ�กับรายการเป็นฝีมือคุณยุทธนา บุญอ้อม และรุ่นน้อง พงศ์นรินทร์ อุลิศ (ส.ก. ๑๐๗) ที่มาช่วยเสริม ส.ก. ๑๐๕ เป็นเจ้าภาพจัดงานปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีคุณรวมพล สายอรุณ เป็นแม่งาน เป็นช่วงกระแสเศรษฐกิจพอเพียง การจัดงานจึงเน้นนโยบายดังกล่าว จัดที่หอประชุม โรงเรียน แม้จะไม่ได้กำ�หนดรูปแบบที่ชัดเจนแต่ก็ใช้คำ�ว่า “เทิดทูนพระคุณ ครูบา อาจารย์” บนเวที มีการนิมนต์พระมหาสมปอง พระนักเทศน์มาบรรยายธรรมในงาน มี การนำ�เงินที่เหลือไปทำ�บุญและช่วยเหลือเพื่อนร่วมรุ่นที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ส.ก. ๑๐๖ เป็นเจ้าภาพจัดงานปี พ.ศ. ๒๕๕๑ กำ�หนดรูปแบบว่า “ครูผู้สร้าง สุภาพบุรุษ สวนกุหลาบฯ” มีคุณสกล ปลอดวิมุติ เป็นประธานจัดงาน จัดที่หอประชุม โรงเรียนมีการสืบข้อมูลความต้องการของคุณครูที่เกษียณอายุราชการ จัดให้ครูมีความ สุขมากที่สุข มีศิษย์เก่าที่คุณครูสอนมาร่วมงานเป็นจำ�นวนมาก มีการจัดซุ้มเหมือน บรรยากาศงานแต่งงานให้คุณครูและศิษย์เก่าถ่ายรูปก่อนเข้างาน สร้างความประทับใจ กับคุณครูเกษียณราชการและผู้มาร่วมงานได้มาก ๒๔๒ design 4.indd 242

9/9/2556 14:33:16


ส.ก. ๑๐๗ เป็นเจ้าภาพจัดงานปี พ.ศ. ๒๕๕๒ กำ�หนดรูปแบบว่า “กุหลาบนี้ มีครู เป็นผู้ปลูก” มีคุณสยาม มณีวงศ์ เป็นประธานจัดงาน จัดที่หอประชุมโรงเรียน บรรยากาศจะ เน้นส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย โดยการนำ�หุ่นกระบอกคณะโจหลุยส์ ที่มีผลงงานชนะเลิศระดับ โลกมาโชว์ให้ผู้ร่วมงานได้ชม บรรยากาศสนุกสนานสร้างความประทับใจได้มากเช่นกัน ส.ก. ๑๐๘ “เพราะท่าน... จึงเป็นเรา” มีคุณโอภาส ศรพรหม เป็นประธานจัดงานจัด ที่สโมสรทหารบก วิภาวดีรังสิต รุ่นนี้มีชื่อรุ่นว่า “สลาตัน” เริ่มมีชื่อรุ่นเป็นครั้งแรก เข้าเรียน ม.๑ ปีการศึกษา ๒๕๒๗ ผู้อำ�นวยการ สุทธิ เพ็งปาน เป็นผู้ริเริ่มการตั้งชื่อตามสถานการณ์ ของบ้านเมืองบ้าง ตามบรรยากาศของการเข้าค่ายปฐมนิเทศของนักเรียน ม.๑ แต่ละรุ่นบ้าง เคยบันทึกรายละเอียดเหตุที่มาของชื่อรุ่นไว้ในหนังสือสูจิบัตรการปฐมนิเทศนักเรียนชั้น ม.๑ ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยทุกปีเมื่อสมัยเป็นผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ ส.ก. ๑๐๙ “มุทิตาจิตไม่ใช่หน้าที่ แต่คือ... กตัญญู” มีคุณอิทธิพล คุณปลื้ม เป็น ประธานการจัดงาน จัดที่หอประชุมกองทัพเรือ รุ่นนี้มีชื่อรุ่น “ลมทะเล” จัดได้ยิ่งใหญ่ เพราะมีคุณครูเกษียณอายุราชการมากที่สุดถึง ๒๓ ท่าน บรรยากาศอลังการจริงๆ ส.ก. ๑๑๐ “กุหลาบงาม... เพราะครูดี” มีคุณกิตติพุฒ เปล่งขำ� เป็นประธานจัดงาน จัดที่หอประชุมกองทัพเรือ รุ่นนี้มีชื่อรุ่น “ฝนฉำ�่ ” ฟังชื่อรุ่นแล้วก็พอจะเดาบรรยากาศค่าย ปฐมนิเทศ ม.๑ ปีการศึกษา ๒๕๒๙ ได้ ทำ�กิจกรรมลำ�บากเพราะฝนตกตลอดเวลาระหว่าง อยู่ค่ายพักแรม ปีนี้คุณครูเกษียณอายุราชการมากเช่นกัน มีจำ�นวน ๑๒ ท่าน ก็จัดงานได้ อลังการไม่แพ้รุ่นพี่ เวทีออกแบบได้หรูให้บรรยากาศความเป็นสวนกุหลาบฯ ๒๔๓ design 4.indd 243

9/9/2556 14:33:18


ส.ก. ๑๑๑ เป็นเจ้าภาพจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ ชื่อรุ่น “มหาราช” ยิ่งใหญ่มาก ที่ได้ชื่อ นี้เพราะในวันฉัตรมงคลก่อนเปิดปีการศึกษา ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับ การถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระภัทรมหาราช” ทุกคนภาคภูมิใจกับชื่อรุ่นและตัวเลข ของรุ่น จึงกำ�หนดรูปแบบ (Theme) ได้ลำ�้ ลึกมาก “๑ กาย ๑ ใจ ครูอุทิศ ผสานศิษย์สวนฯ เป็น ๑ ทดแทนคุณ” คิดได้ไง? มีหนึ่งครบ ๓ ตัวตรงกับลำ�ดับเลขของรุ่นจริงๆ แล้วรูปแบบ (Theme) ของแต่ละรุ่น คมและได้สาระทุกรุ่นครับ ผมเคยบอกสวนฯ รุ่นน้องๆ ว่า หยุดตรงของ

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่ง ส.ก.๙๙ เป็นเจา้ ภาพ เป็นปีแรกที่ริเริ่มจัดทำ� ธงมุทิตาจิต จนเกิดเป็นประเพณีส่งมอบธงในเวลาต่อมา รุ่น ๑๐๙ ก็ได้ แต่คนสวนกุหลาบฯ ก็คือ คนสวนกุหลาบฯ ทำ�ให้ห่วงรุ่นน้องๆ ว่าปีต่อๆ ไปจะ คิดรูปแบบกันอย่างไร ไหวไหมน้อง? แต่ก็เชื่อว่า “สวนกุหลาบฯต้องไว้ลาย” ดังพระราชดำ�รัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องคิดได้แน่นอนโปรดติดตาม ดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ของครู การดูแลสุขภาพก็มีหลายรูปแบบ สมัยที่นายแพทย์สุรัติ เล็กอุทัย เป็นผู้อำ�นวยการ โรงพยาบาลดำ�เนินสะดวก มีการเชิญคุณครูเก่าไปทัวร์สขุ ภาพหลายครัง้ จะมีศษิ ย์เก่าทีม่ ภี มู ลิ �ำ เนา หรือ รับราชการอยู่ในบริเวณใกล้เคียงมาต้อนรับ ดูแลคุณครูทุกปี เช่น ส.ก. ๙๕ พาครูทัวร์ ๒๔๔ design 4.indd 244

9/9/2556 14:33:20


สุขภาพที่โรงพยาบาลในวันหยุดราชการ แถมทำ�แว่นตาสำ�หรับอ่านหนังสือให้คุณครูอีก ใน โอกาสทีโ่ รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีงานสำ�คัญ เช่น ฉลองตึกยาวมีอายุครบ ๑๐๐ ปี เมือ่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ส.ก. ๙๘ ซึ่งมีคุณไพรัช มณฑาพันธุ์ เป็นแกนหลัก นำ�แพทย์ พยาบาล มาให้บริการตรวจสุขภาพคุณครูเก่า ครูปัจจุบัน และยังเอื้อเฟื้อเชิญชุมชนใกล้โรงเรียนเข้า มารับบริการอีกด้วย และต่อไปในวันอาทิตย์ที่ ๓ ของเดือนเมษายน ซึ่งเป็นวันที่ชมรมครู เก่าฯ จัดพิธีทำ�บุญเนื่องโอกาสปีใหม่ไทยอุทิศส่วนกุศลให้ครูเก่า ศิษย์เก่า ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมกับพิธีรดนำ�้ ขอพรคุณครูอาวุโส ก็จะมีการตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด ทุกปี โดยเริ่มมาแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๖ และจะจัดแบบนี้ทุกปีที่โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อทราบว่ามีคุณครูทา่ นใดประสบปัญหาทางครอบครัว หรือต้องดูแลสุขภาพ อย่างต่อเนื่องก็ไม่ละเลย นำ�คุณครูเข้ารักษาที่โรงพยาบาลบ้าง ส่งผู้แทนรุ่นไปดูแลที่บา้ น บ้าง เรื่องนี้ชมรมครูเก่าก็ปฏิบัติ คือ ส่งผู้แทนครูเก่าไปเยี่ยม บางรุ่นก็จะมอบเงินให้คุณครู เป็นรายเดือน เช่น ส.ก. ๑๐๒ จะหาเงินไว้ก้อนหนึ่งฝากให้ชมรมครูเก่าฯ ดูแลคุณครูท่าน หนึ่งที่พวกเขาห่วงใย พาคุณครูเที่ยว เป็นกิจกรรมพาคุณครูเที่ยวพักผ่อนทัศนศึกษา ไม่แน่ใจว่าเริ่มจากรุ่นไหน ปกติ ชมรมครูเก่าฯ ก็จะมีรายการทัวร์ของชมรมฯ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้งอยู่แล้ว โดยจัดกันเอง บ้าง ให้บริษัททัวร์มาจัดให้บ้าง ชมรมศิษย์เก่าภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ ตราด จะรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดระยอง เริ่มจากจัดคุณครู ไปเที่ยวทุกปีในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมบ้าง ต้นเดือนมิถุนายนบ้าง ซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้ ๒๔๕ design 4.indd 245

9/9/2556 14:33:21


กำ�ลังออกสู่ตลาด โดยพักค้าง ๑ คืนที่ระยอง เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ สมัยท่านอาจารย์ผล ใจสว่าง ยังมีชีวิตอยู่ และขยายเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยจัดรถบัสปรับอากาศมารับ พร้อมกับมอบหมายผู้แทนศิษย์เก่ามาประจำ�รถเพื่อนำ�ทางและดูแลคุณครู ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ปรับ รูปแบบเป็น ๒ คืน โดยคุณครูที่ร่วมเดินทางขอมีส่วนรับผิดชอบค่ารถบัสปรับอากาศในการเดิน ๓ วัน เหตุที่ปรับแผนเป็น ๒ คืน เพราะชมรมศิษย์เก่าสวนฯ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และ จังหวัดชลบุรี ขอโอกาสต้อนรับและไปพักที่จังหวัดของเขาบ้าง คืนแรกไปพักที่จันทบุรีบ้าง ที่ จังหวัดตราดบ้าง และที่ชลบุรีบา้ ง แต่คืนที่ ๒ ต้องพักที่จังหวัดระยองเพราะมีศิษย์เก่าจำ�นวน มากรออยู่เพื่อจะร่วมพิธีมุทิตาจิตให้กับคุณครู ตั้งแต่รุ่นที่มีอายุยี่สิบกว่าๆ ไปจนถึงเกือบจะ แปดสิบปี ชมรมครูเก่าฯ จึงต้องขอร้องคุณครูอาวุโส เช่น ครูฉวี สงวนเกียรติ ครูลลิตา ธนพุทธิ ครูถนัด สุคนธปฏิภาค ครูฉวีวรรณ อารยะศาสตร์ ครูชวลักษณ์ คงสมจิตร ครูสมหมาย วัฒนะคีรี ครูนงนุช สาราภรณ์ ครูศรีวรรณ รู้ธรรม ครูศิริ จุลินทร ร่วมขบวนไปกับครูรุ่นน้องๆ ด้วย บางปี ท่านสุขภาพไม่ดีก็ไม่ไป บางท่านลูกหลานเป็นห่วงก็ไม่อยากให้ไป เหตุที่ศิษย์เก่าภาคตะวันออก รวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น เพราะมีศิษย์เก่ารุ่นพี่เป็นหลักโดยเฉพาะคุณนิวัฒน์ พ้นชั่ว (ส.ก. ๗๘ พี่หลงของน้องๆ) อดีตสมาชิกวุฒิสภาเป็นประธานชมรม และยังมีพี่อาวุโสอีก เช่น คุณพนัส แก้วลาย (ส.ก. ๗๒) คุณเชาว์ ภิญโญภูษาฤกษ์ (ส.ก. ๗๙) คุณชัชลิต ละเอียด (ส.ก. ๗๙) คุณสหัสชัย พาณิชย์พงศ์ (ส.ก. ๘๐) นายแพทย์ปราโมทย์ เอสิตานนท์ (ส.ก. ๘๖) ดูแลและเป็นหลักให้น้องๆ เป็นอย่างดี กิจกรรมพาครูเที่ยวเป็นรายการเช้าไปเย็นกลับบ้าง พักค้าง ๑ คืน บ้าง มีจัดกันหลายรุ่น พบว่าแต่ละรุ่นจะมีการวางแผนทุกขั้นตอนในการเดินทาง เช่น เตรียมรถนั่งสำ�หรับคุณครูที่เดิน ไม่ไหว จัดแพทย์ซึ่งเป็นเพื่อนในรุ่นประจำ�รถไปด้วย แจกร่มกันแดดกันฝน ๒๔๖ design 4.indd 246

9/9/2556 14:33:26


ส.ก. ๘๘ (นับแบบเดิมคือรุ่น ๙๒) จัดเลี้ยงสังสรรค์และเชิญคุณครูไปร่วมทุกปี ที่พิเศษ คือกลัวคุณครูจะไม่ชอบอาหารที่โรงแรม ก็เที่ยวไปสรรหาอาหารและขนมสูตรโบราณที่อร่อยๆ มาเสริมทุกครั้ง คงเห็นว่าคนโบราณก็ต้องชอบอาหารโบราณสูตรตั้งเดิม ส.ก. ๘๙ (รุ่น ๙๓ เดิม) จัดทุกปีเช่นกัน ประธานรุ่นตลอดกาลเป็นเจ้าของโรงแรมเอเชีย ที่ ราชเทวี พัทยา และชะอำ� ก็จัดพบปะสังสรรค์เพื่อนที่โรงแรมเอเชีย พัทยา โดยพัก ๑ คืน อยู่ หลายปี แล้วก็เปลี่ยนมาจัดที่กรุงเทพฯบ้าง ที่ชะอำ�บ้าง

ส.ก. ๑๑๑ เป็นเจา้ ภาพจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ ชื่อรุน่ “มหาราช” กำ�หนดรูปแบบไดล้ �้ำ ลึกมาก “๑ กาย ๑ ใจ ครูอุทิศ ผสานศิษย์สวนฯเป็น ๑ ทดแทนคุณ” คิดได้ไง? มี ๑ ครบ ๓ ตัว ตรงกับลำ�ดับเลขของรุ่น ส.ก. ๙๐ (รุ่น ๙๔ เดิม) รุ่นนี้มาแปลกจัดงานตอนกลางวันในวันเสาร์หรืออาทิตย์ จะมีคุณครูเก่ามาร่วมงานมากที่สุด เดินทางสะดวกเพราะเป็นเวลากลางวัน ประกอบกับมี การบริหารจัดการดี วางตัวเพื่อนๆ รับ-ส่งคุณครูที่เดินทางเองไม่สะดวก ใช้ Theme ในการ จัดงานว่า “เพราะท่าน จึงเป็นเรา” มาตั้งแต่เริ่มจัดงาน รูปแบบก็จะเปลี่ยนไปทุกปี เช่น จัดที่โรงแรมโอเรียลเตล นั่งเรือไปรับประทานอาหารฝั่งตรงข้าม จัดเลี้ยงที่ชั้นสูงสุดของ ๒๔๗ design 4.indd 247

9/9/2556 14:33:29


ดุสิตธานี เชิญคุณสุเทพ วงศ์กำ�แหง มาครวญเพลงให้คุณครูฟัง จัดที่ตึกใบหยกเพื่อชมวิว ทิวทัศน์กรุงเทพมหานคร บางปีก็เชิญจำ�อวดตาโย่ง - พวง - นงค์ ให้คุณครูได้หัวเราะ บาง ปีก็ลงเรืออังสนาของทหารเรือล่องเจ้าพระยาไปเกาะเกร็ด รับประทานกลางวันในเรือ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ รูปแบบงาน “เพราะท่าน จึงเป็นเรา” ได้ดัดแปลงเป็น “เพราะท่าน เราจึง โชว์” และทราบข่าวมาว่าปี ๕๖ จะเป็น “เพราะศิษย์ ครูจึงโชว์” จะไหวไหมนี่คุณครู…?

กิจกรรมพาครูเที่ยวเป็นรายการเชา้ ไปเย็นกลับบา้ ง พักค้างคืนบ้าง มีจัดกันหลายรุ่น พบว่าแต่ละรุ่นจะมีการวางแผนทุกขั้นตอนในการเดินทางเป็นอย่างดี ส.ก. ๙๕ เริ่มพาคุณครูเที่ยว ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ไปดอนหวาย จังหวัด นครปฐม ก็มีหยุดไปบ้าง ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ พาครูเที่ยวบางปะอิน ลงเรือรับประทานอาหาร กลางวันรอบเกาะกรุงเก่าอยุธยา ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ไปจังหวัดสุพรรณบุรี กิจกรรมก็เปลี่ยน ไปทุกปี เช่น พาครูทัวร์สุขภาพที่โรงพยาบาล พร้อมทำ�แว่นตาอ่านหนังสือให้คุณครู ทัวร์ ในกรุงเทพฯ ชมวังพญาไท สุดท้ายปี พ.ศ. ๒๕๕๕ พาครูเที่ยวชมสัตว์และรับประทาน อาหารที่ภัตตาคารในเขาดินวนา เวลาเขาโทรติดต่อคุณครู ครูทุกคนคงจะหัวเราะ “พา ครูไปทำ�ไม” เขาก็ถามย้อนกลับมาว่า “คุณครูครับ ครูไปเที่ยวเขาดินครั้งสุดท้ายเมื่อ ปีไหนและกี่ปีมาแล้ว ปัจจุบันเขาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเยอะแล้ว” จริงของเด็กครับ ครั้งสุดท้ายผมไปเมื่อประมาณ ๔๐ กว่าปีมาแล้ว ๒๔๘ design 4.indd 248

9/9/2556 14:33:31


ส.ก. ๙๖ จัดงานพบปะสังสรรค์เพื่อร่วมรุ่นและเชิญคุณครูไปร่วมทุกปี ทราบว่า กำ�ลังดำ�ริจะพาครูทัวร์ไหว้พระในต่างจังหวัด ล่าสุดวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๖ จัดที่โรงแรม เจ้าพระยาปาร์ค มีคุณครูหลายท่าน และเพื่อนฝูงไปร่วมงานมากเป็นประวัติการณ์ ส.ก. ๙๗ ก็จัดพบปะสังสรรค์เพื่อนร่วมรุ่นเป็นประจำ�เช่นกัน ก็ไปร่วมงานกับลูก ศิษย์หลายครั้ง แต่หลายครั้งติดภารกิจส่วนตัวจึงไม่ค่อยมีข้อมูลอะไรมาเล่า แต่ประทับ ใจผู้แทนรุ่น คือ คุณศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล เมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๖ ส.ก. ๙๙ พาครู เที่ยวชะอำ�ผ่านสมุทรสาคร แวะปั๊มน้ำ�มัน เขาต้อนรับคุณครูและดีใจที่รุ่นน้องพาครูแวะ เยี่ยมเยียน ส.ก. ๙๘ พาครูเที่ยวครั้งแรก ปี ๒๕๕๕ ไปโคราช พัก ๑ คืน แวะโรงงานผลิตนม ของเพื่อนร่วมรุ่น ไร่องุ่นผลิตไวน์ของรุ่นพี่ รุ่นนี้เขามีความพร้อมที่จะดูแลสุขภาพคุณครู เมื่องานฉลองตึกยาว ๑๐๐ ปี ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ นำ�เพื่อนในรุ่นที่เป็นแพทย์มาเปิด คลินิกสุขภาพ บริการคุณครู และชุมชนรอบๆ โรงเรียน เป็นกิจกรรมที่โดดเด่นของงาน และ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ที่ ๓ ของเดือน ชมรมครูเก่าฯ จัดพิธีทำ�บุญ อุทิศส่วนกุศลให้ครูเก่า ศิษย์เก่า ที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จัดกลุ่มแพทย์ พยาบาลมาบริการ ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ให้ครูเก่า ครูปัจจุบันและผู้มาร่วมงาน และ จะจัดบริการแบบนี้ทุกปี โดยต้องการให้วันนี้เป็นวันครอบครัวของชาวสวนฯ ภาคบ่ายมี กิจกรรมบันเทิง ศิษย์เก่าจากชุมนุมดุริยางค์เล่นดนตรีให้ครูฟัง

๒๔๙ design 4.indd 249

9/9/2556 14:33:32


ส.ก. ๙๙ มีการจัดเลี้ยงพบปะสังสรรค์กันทุกปีเช่นกัน ๒๗-๒๘ เมษายน ๒๕๕๖ พาครูเที่ยวและทำ�บุญครั้งแรกที่อำ�เภอชะอำ� จังหวัดเพชรบุรี พักโรงแรมรีเจนส์ มีการนำ� เพื่อนที่เป็นจักษุแพทย์พร้อมเครื่องมือและเพื่อนที่เป็นเจ้าของร้านแว่นตามาตรวจสายตา ประกอบแว่นให้คุณครูทุกท่าน เลือกได้ระหว่างแว่นอ่านหนังสือ หรือแว่นดูทางไกล (คง คิดว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไป สายตาคุณครูนา่ จะเปลี่ยนไปด้วย แว่นตาที่รุ่นพี่ ส.ก. ๙๕ ให้ไว้ ก็ควรเปลี่ยนไปตามเวลา) ส.ก. ๑๐๐ ก็มีการเลี้ยงพบปะสังสรรค์เป็นประจำ�ทุกปี แต่เรื่องจัดเที่ยวทางรุ่น เคยบอกว่า “เงินน่ะมีพร้อมแต่ยังไม่พร้อมเรื่องคนบริหารจัดการ” จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เขามีความพร้อมให้บริษัท พราวด์ฮอลิเดย์ พาครูทัศนศึกษา จุดหมายปลายทางคือ ปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พักค้างคืนที่รีสอร์ทชายทะเลที่เพื่อนในรุ่นเป็นเจ้าของ เนื่องจากใช้มืออาชีพมาบริหารจัดการ ครูจึงได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินกันถ้วนทั่ว มีศิษย์เก่าในพื้นที่ใกล้เคียงมาต้อนรับครูเก่าคับคั่ง เช่นเดียวกับการทัวร์ของครูทุกครั้ง ส.ก. ๑๐๑ ก็เหมือนทุกรุ่นครับ จัดพบปะกันทุกปีและเริ่มพาครูเที่ยวตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จัดต่อเนื่องทุกปี เริ่มจากไปจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรปราการ ปี ๒๕๕๖ ทราบว่าจะพาไปทัวร์ จังหวัดสระบุรี รุ่นนี้พาไปทัวร์จังหวัดใกล้เคียงเพราะในตอนเย็นต้องพาคุณครูมาร่วมงาน เลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนๆ ร่วมรุ่นในกรุงเทพฯ เหมือนกับทุกรุ่นครับคือ มีการสำ�รวจพื้นที่ที่ จะพาครูไปมีผู้แทนรุ่นขึ้นประจำ�บนรถบัสและดูแลรับช่วงกันตลอดเส้นทาง เรียกว่าดูแล ยังกับ “ไข่ในหิน” ๒๕๐ design 4.indd 250

9/9/2556 14:33:34


ส.ก. ๑๐๒, ส.ก. ๑๐๓, ส.ก. ๑๐๔ ก็มีการจัดงานพบประสังสรรค์เพื่อนร่วมรุ่นทุกๆ ปีเช่นกัน และเชิญคุณครูที่เคยสอนไปร่วมงานด้วย บางรุ่นที่ไม่ทราบข้อมูลต้องขออภัยด้วย นะครับ รุ่น ๑๐๒ มีแกนหลัก คือ คุณรติ ช่อลำ�ไย ที่จัดการหาทุนดูแลคุณครูท่านหนึ่งผ่าน ทางชมรมครูเก่าฯ สวนกุหลาบฯ ส.ก. ๑๐๓ ก็มีบทบาทสำ�คัญในการเข้าไปดูแลทีมฟุตบอลโรงเรียนอยู่ระยะหนึ่ง ส.ก. ๑๐๔ ปัจจุบันก็มีบทบาทเข้าไปช่วยงานของสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ น้ำ�ใจเด็กสวนฯ เป็นอีกเรื่องที่ต้องเล่าสู่กันฟัง เมื่อศิษย์เก่ารุ่นหนึ่งรุ่นใดพาคุณครูไปเที่ยวต่างจังหวัด แน่นอนศิษย์เก่าในรุ่นก็จะร่วมเดินทางทั้งอยู่บนรถเพื่อดูแลคุณครู อีกส่วนหนึ่งขับรถตามไป แต่ที่แปลก คือ ศิษย์เก่ารุ่นอื่นๆ ในพื้นที่จะมารอรับครูทั้งรุ่นพี่ รุ่นน้อง ที่ขาดไม่ได้คือของ ฝากติดไม้ติดมือ ใครจำ�หน่ายหรือผลิตสินค้าอะไรเมื่อไปถึงที่ก็นำ�มาฝากคุณครู เช่น ส.ก. ๑๐๑ พาไปชมพิพิธภัณฑ์และการแสดงหนังใหญ่ที่ จังหวัดราชบุรี ศิษย์เก่าในพื้นที่ก็นำ�ขนม อร่อยๆ มาให้คุณครูรับประทาน ผู้ผลิตวิตามินซี ก็นำ�วิตามินมาฝากครู ผู้ผลิตน้ำ�ปลาตรา หน่อไม้ก็นำ�มาฝากให้ครู ปกติก็ไม่เคยเห็นและไม่เคยรับประทานแต่ขอประชาสัมพันธ์ว่า รสชาติของเขาดีนะครับและเป็นนำ�้ ปลาอนามัย ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ไปจังหวัดอ่างทอง ศิษย์เก่า ในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงมารับเป็นจำ�นวนมาก ที่ขาดไม่ได้ คือ ส.ส.น้ำ�ดี ฝีปากดี ภราดร – กรวีร์ ปริศนานันทกุล เป็นผู้แทนคุณพ่อมาต้อนรับและมอบพระดังของจังหวัด (พระเครื่อง นะครับไม่ใช่พระจริง) มามอบคุณครูทุกท่าน ๒๕๑ design 4.indd 251

9/9/2556 14:31:19


ส.ก. ๙๘ คุณสัญชัย สิฌชรังษี เป็นเถ้าแก่โรงสีหรือเปล่าไม่ทราบ จะนำ�ข้าวอนามัย บรรจุถุงสุญญากาศมาฝากคุณครูเสมอเมื่อทราบว่าจะพบครูในโอกาสต่างๆ สวนฯ สมุทรสาคร ของฝากต้องเป็นของพื้นเมือง คือ อาหารทะเลแห้ง ปลากรอบ กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง เป็นต้น เมื่อเชิญคุณครูไปร่วมกิจกรรมก็ต้องมีของฝากทุกครั้ง สวนฯ ภาคตะวันออก เช่น สวนฯ ระยอง ของดีเมืองระยอง เช่น กะปิ น้ำ�ปลา ใส่ ถุงผ้า สัญลักษณ์สวนกุหลาบฯ ฝากคุณครู แถมด้วยมังคุดพันธุ์ดีส่งนอกของคุณนิวัฒน์ พ้นชั่ว เลี้ยงในงานแบบไม่มีหมด สวนฯ จันทบุรี ก็ต้องเป็นผลไม้เอกลักษณ์ของจันทบุรีมาช้านาน ล่าสุด ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ มีความหวังดีกับคุณครูมาก ไปเหมาทุเรียน “พวงมณี” พันธุ์ที่กำ�ลัง ดังมากและแพงด้วยมาเลี้ยงครู มื้อกลางวันที่ร้านอาหาร Timeless ที่มีรายการอาหารอร่อย ทุกอย่าง (แต่เลี้ยงแบบไม่ดูกำ�ลังแขก) มาทราบจุดประสงค์ของลูกศิษย์ภายหลัง “เขาอยาก ให้คุณครูได้รับประทานอาหารที่อร่อยของร้านทุกอย่าง รวมทั้งอาหารขึ้นชื่อของพื้นเมือง เช่น แกงหมูชะมวง ผัดก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง ของฝากก็ต้องเป็นผลไม้ พวงกุญแจ พลอยอัด สวนฯ จันทบุรี มี นายแพทย์วิชัย ชูชีพชัยมงคล เป็นประธานชมรม ไม่กล่าวถึง สวนฯ ชลบุรี คงไม่ได้ ประธานชมรมฯ คือ คุณพงศ์ศักดิ์ (ตึ๋ง) ร่มโพธิ์ทอง ส.ก. ๑๐๒ ที่ปรึกษาที่เป็นกำ�ลังสำ�คัญ คือ คุณอิทธิพล คุณปลื้ม ส.ก. ๑๐๙ นายกเทศมนตรี เมืองพัทยา คุณณรงค์ชัย คุณปลื้ม ส.ก. ๑๑๒ นายกเทศมนตรีตำ�บลแสนสุข (บางแสน) เต็มใจ และยินดีที่ได้ต้อนรับครู ล่าสุดเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้าน แดง – ดำ�ของคุณเดชา สัจจา ส.ก. ๑๐๐ แล้วก็พาเที่ยวสวนนงนุช ชมโชว์อัลคาซ่าร์ มีเสื้อที่ระลึกแจกคุณครูทุกครั้ง ผู้ประสานงานสำ�คัญในการทัวร์ผลไม้ของชมรมครูเก่าฯ ทุกครั้ง คือ คุณสมศักดิ์ (ช่อ) จรูญภาสุรกุล ส.ก. ๑๐๑ ในการเข้าชมสวนสุภัทราแลนด์ คุณสุรศักดิ์ คกมิ ส.ก. ๑๑๔ ๒๕๒ design 4.indd 252

9/9/2556 14:31:28


จะทำ�หน้าที่เลขานุการให้กับพี่ๆ สวนฯ ระยองอย่างเข้มแข็ง โปรแกรมทัวร์ของชมรม ครูเก่าฯ อาจเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเพราะความมีน้ำ�ใจของเด็กสวนฯ นี่แหละ เช่นครั้ง สุดท้ายของการทัวร์ผลไม้ วันแรก ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ครูจะเข้าที่พักก่อนไปชมโชว์ รอบ ๑๗.๐๐ น. คุณทัชช ฤทธิมัต ส.ก. ๑๐๐ ผู้จัดการโรงแรมฟูรามา พัทยา ทราบ ข่าวว่าครูมาโทรแจ้งพรรคพวกขอเลี้ยงชา กาแฟ ของว่าง แด่คุณครู ให้พาไปแวะที่ โรงแรมก่อน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ รายการทัวร์ไม่มีแวะชลบุรี แต่สวนฯ ชลบุรีก็ไม่ยอม ตกขบวน ก่อนกลับเข้ากรุงเทพฯ ขอเลี้ยงอาหารว่างกึ่งอาหารเย็นแด่คุณครูสักมื้อที่ โรงแรมบางแสนของณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม ส.ก. ๑๑๒ อีกหนึ่งคณะไม่กล่าวถึงไม่ได้อีกเช่นกัน คือ ส.ก. ที่นครสวรรค์ ซึ่งรวมตัวกัน อย่างเหนียวแน่นพอๆ กับสวนกุหลาบฯ ภาคเหนือ พอทราบว่าครูจะมาหรือจะเดิน ทางผ่านต้องขอมีส่วนต้อนรับ ถ้าไม่แวะรับประทานอาหารก็ขอส่งเสบียงเป็นขนม อร่อยๆ ของจังหวัดพร้อมของขบเขี้ยวใส่รถให้คุณครู นี่เป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำ�เท่าที่นึกได้ และต้องขออภัยถ้าไม่ได้กล่าวถึง ศิษย์เก่าบางรุ่น หากท่านมีข้อมูลที่อยากจะเพิ่มเติมก็ขอให้ส่งมาที่ชมรมครูเก่าฯ เพื่อ จะได้จัดพิมพ์ให้สมบูรณ์ดีขึ้นในโอกาสต่อไป

๒๕๓ design 4.indd 253

9/9/2556 14:31:36


สวนฯ มุทิตาจิต ประพันธ์คำ�ร้อง : ครูวีระ กาญจนะรังสิตา ทำ�นอง – ดนตรี : ประพิชญ์ ชมชื่น ส.ก. ๑๑๑ หนึ่งกาย หนึ่งใจ ครูผู้อุทิศ รวมพลังสวนกุหลาบทุกๆ รุ่น มุทิตาจิตนั้นไม่ใช่หน้าที่ กุหลาบพันธุ์ดี ครูผู้ปลูก ผู้ปั้น ครู...ผู้สร้าง สุภาพบุรุษสวนฯ ่ ครูพรำ�่ สอน ครูอบรม ครูคอยขัดเกลา กตัญญู...ครูมิใช่เรือจ้าง กุหลาบงามเพราะครูดีเป็นที่สรรเสริญ หมายเหตุ

ผสานศิษย์สวนฯ เป็นหนึ่งทดแทนคุณ ค้ำ�จุน ให้ครูเป็นสุขชั่วนิจนิรันดร์ แต่ความกตัญญูนี้ ลูกสวนฯ นั้นต่างรู้กัน ครูคือผู้สร้างสรรค์ เพราะมีท่านนั้นจึงเป็นเรา ศิษย์ทุกคนต้องคิดใคร่ครวญเมื่อครั้งที่ยังเยาว์ ขจัดความเขลา ให้พวกเรารุ่งเรืองเจริญ ใครหนอเปรียบเปรยผิดทาง ครูคือแสงส่องทางให้เดิน ลูกสวนฯ ก้าวหน้าเจริญขอวันทาบูชาคุณครู

บทเพลงนี้เกิดจากแรงบันดาลใจ ที่ได้เห็นรูปแบบ (Theme) ในการจัดงานมุทิตาจิตของศิษย์เก่าแต่ละรุ่น เป็นความชาญฉลาด ในการคิด จึงนำ�มาร้อยเรียงอยู่ในเพลงทั้ง ๘ รุ่น และให้ คุณประพิชญ์ ชมชื่น ส.ก. ๑๑๑ เรียบเรียงเรื่องดนตรี

๒๕๔ design 4.indd 254

9/9/2556 14:31:36


วชิระ โชติรสเศรณี กุหลาบเปลี่ยนกระถาง ไม่จางสี

design 4.indd 255

9/9/2556 14:31:57


เนื่องในโอกาสที่ในปี ๒๕๕๕ ทีมฟุตบอลจตุรมิตรของโรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัยได้สัมผัสถ้วยแชมป์ในรอบเวลาหลายๆ ปี คณะกรรมการ จัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ จึงได้ขอสัมภาษณ์พี่เนวิน ชิดชอบ ส.ก.๙๐ ผู้จัดการ ทีมฟุตบอลจตุรมิตรของโรงเรียนในบางแง่มุม เพื่อบันทึกไว้เป็นอนุสรณ์ใน หนังสือที่ระลึกงานมุทิตาจิต

ต้องเข้าใจคำ�ว่า “สวนกุหลาบฯ” ในหัวใจของแต่ละคน มันหลากหลายมาก มันมีอีโก้ ซุปเปอร์อีโก้เยอะมาก ขอทราบความเป็นมาในการเป็นนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปี ๒๕๑๒ ได้เข้าเรียนที่สวนกุหลาบฯ จากเด็กบ้านนอกคนหนึ่งที่ บุรีรัมย์ ได้ไปเป็นเด็กสวนกุหลาบวิทยาลัย รหัสประจำ�ตัว ๑๘๕๘๕ ณ เวลานั้น คำ�ว่า “สวนกุหลาบฯ” เป็นที่สุดของมัธยมในประเทศไทยแล้ว เป็นสิ่งที่เกิน ความใฝ่ฝันว่าจะได้มีโอกาสเข้าไปเรียน ชีวิตสมัยเป็นนักเรียน ตอนเข้าเรียนก็เป็นเด็กตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ มาจากบ้านนอก แต่ก็มี ความผูกพันกับโรงเรียนเป็นอย่างมาก ความผูกพันทั้งในแง่ลบ และแง่บวก ๒๕๖ design 4.indd 256

9/9/2556 14:32:00


ผูก้ อบกูบ้ อลสวนกุหลาบฯ

เนวิน ชิดชอบ / ส.ก. ๙๐

ภาพถ่ายในงานฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ ๒๖ (ปี พ.ศ. ๒๕๕๕) : คุณวรภัทร ลวนนท์ สก.๑๒๑

๒๕๗ design 4.indd 257

9/9/2556 14:32:02


เหตุการณ์ที่น่าประทับใจช่วงเรียนที่สวนกุหลาบวิทยาลัย ในแง่ลบ ก็เป็นเด็กเกเร เป็นดาราหน้าเสาธง ถูกตีหน้าเสาธง เป็นประจำ� มีเรื่องราวในทุกประเภท โดนครูประจำ�ชั้นลงโทษ หน้าห้องเรียน ซึ่งจำ�ได้จนทุกวันนี้ และคิดว่าคงมีที่สวนกุหลาบฯ ที่เดียวที่มีวิธีการลงโทษของครูสุภาพ (ครูผู้หญิง รุ่นเดียวกับแม่พี่) โดยการรูดซิป ล้วงเข้าไปหยิกและบิด ซึ่งโดนมาตั้งแต่ ม.ศ.๑ ในแง่บวกความประทับใจในสวนกุหลาบฯคือ“สวนกุหลาบฯ เป็นโรงเรียนที่สอนให้เรามีพี่มีน้อง เป็นโรงเรียนที่สอนให้เรามี เพื่อน เป็นโรงเรียนที่สอนให้เรามีวฒ ุ ภิ าวะต่อการตัดสินใจในการ นำ�พาผูค้ น หรือ ตัดสินใจเพือ่ ส่วนรวม” ความสนใจเรื่องฟุตบอลมีที่มาอย่างไร ตั้งแต่ ม.ศ.๑ ก็เป็นนักฟุตบอลรุ่นจิ๋วของโรงเรียน มีครูศิริ เป็นครูสอนพละ ครูผล เป็นรอง ผอ. และมีครูสุวรรณ เป็นผอ. และก็สนใจในเรื่องฟุตบอลมาโดยตลอด แรงจูงใจที่มารับหน้าที่ผู้จัดการทีมฟุตบอลของโรงเรียนสวน กุหลาบวิทยาลัย (ทราบว่าพี่วิรัช ชาญพานิชย์ ไปชักชวนมา) ความรูส้ กึ ของเด็กสวนกุหลาบฯ ทุกคน โดยเฉพาะคนรุน่ พี่ ก็คือ หลังๆ มา ฟุตบอลสวนกุหลาบฯ มันหมูเหลือเกิน (หมูทั้ง ในกรมพละ หมูทั้งในจตุรมิตร) เป็นอะไรที่อับอายขายขี้หน้าเขา ๒๕๘ design 4.indd 258

9/9/2556 14:32:04


สมัยพี่เรียน กท. อสช. ทศ. นี่เด็กๆ เลย บอลมาเจอ ส.ก. เมื่อไหร่ก็ขนม แต่ระยะ ในรอบสิบกว่าปีมานี้ มันไม่ไหว ตอนแรกพี่กร๊องเป็นผู้จัดการทีม แล้วติดงาน ต้องไปต่างประเทศ พี่กร๊องก็ขอ ให้มาเป็นผู้จัดการทีม ก็ไปแบบศิษย์เก่าทั่วๆ ไปที่ได้ไปช่วยงาน คือ ถูกเขาหลอกไป มั้ง (หัวเราะ) เขาทำ�อะไรให้เสร็จหมดแล้ว เขาก็เอาชื่อเราไปใส่ แล้วก็ให้ไปนั่ง แล้วก็ จ่ายตังค์ ช่วงนั้นก็เป็นรัฐมนตรี เป็นศิษย์เก่า เป็นคนชอบฟุตบอลอยู่แล้ว ก็ถูกหลอก

สำ�หรับผม ผมไมเ่ คยลืมคำ�วา่ สวนกุหลาบฯ เลย ไม่วา่ อะไรก็ตามที่ผมจะทำ�ใหโ้ รงเรียนได้ แล้วทำ�ให้พี่น้องในสวนกุหลาบฯ มีความสุข ผมยินดีที่จะทำ� ไปจ่ายตังค์ (หัวเราะ) แต่มันก็ไม่ใช่ตัวเราไง ไม่ไหว อายเขา ก็เลยบอกไปว่า ปีหน้าผม ขอทำ�เองดีกว่า แต่มีเงื่อนไขนะ ทุกอย่างต้องเบ็ดเสร็จ ปีต่อมาก็ทำ�ต่อ เป็นปีแรกที่ท�ำ เองเต็มตัว เอาเด็กๆ มาดูแล เป็นปีแรกที่เริ่มทำ�ทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดด้วย มาเริ่มดูแล เองก็จัดการให้เป็นระบบมากขึ้น แม้ว่าจะไม่ประสบความสำ�เร็จในจตุรมิตร (ได้ที่ ๓) มันเจ็บในหัวใจนะ เพราะความเป็นสวนกุหลาบมันแพ้ใครไม่ได้ไง แต่ก็ยังดีที่ได้แชมป์ ๑๘ ปี กรมพละ ถ้วย ก ปัญหาและอุปสรรคในการทำ�ทีมฟุตบอลของโรงเรียน design 4.indd 259

๒๕๙ 9/9/2556 14:32:07


design 4.indd 260

9/9/2556 14:32:11


หลายเรื่องนะ โรงเรียนเรา สนามซ้อมก็ไม่มี ระบบการดูแลเด็กๆ ก็ไม่มี การ เดินทาง การจราจร ทุกอย่างมันไม่ได้เลย ก็คิด วางระบบใหม่ คัดเด็กกันใหม่ ที่ ผ่านมาโรงเรียนเราเวลาคัดตัวเด็กเข้าทีมฟุตบอล ถ้าเป็นกะทิก็น้ำ�สาม น้ำ�สี่แล้วล่ะ โรงเรียนอื่นๆ เขาเอาไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะ กท. อสช. อัสสัมฯธน อัสสัมฯชล เพราะ โรงเรียนเหล่านี้เขามี Academy ให้ไปต่อได้หลังจากเรียนจบมัธยม เราก็มาวางระบบกันใหม่ เริ่มต้นก็เอามาเก็บตัวที่บุรีรัมย์ เตรียมตัวอย่างดี แต่ ก็บังเอิญมีปัญหาทางการเมือง นำ�้ ท่วม ทำ�ให้ท้ายที่สุดไม่ได้ลงแข่งจตุรมิตรในปีนั้น (เลื่อน) ก็เสียโอกาสไป แต่เด็กทีมนั้นก็ไปได้แชมป์โค้กคัพ ประเทศไทย

เมื่อไหร่ก็ตามแต่ที่สวนกุหลาบฯ ต้องการความเป็นเลิศ ทางด้านกีฬาฟุตบอล พี่ก็ยินดีให้การสนับสนุนอยู่แล้ว เต็มที่!!! มาถึงปีล่าสุด ที่ได้แชมป์ร่วมกับ กท. จริงๆ แล้วมีการวางระบบมาเป็นอย่างดี และน่าจะได้แชมป์เดี่ยว แต่เนื่องจากเด็กๆ หลายคนติดปัญหาเรื่องการลงทะเบียน กับฝ่ายวิชาการของโรงเรียน มีปัญหา ทำ�ให้ครึ่งทีมที่เตรียมไว้ และมีการส่งไปฝึกซ้อม ที่เลสเตอร์ทั้งปี ได้ลงทะเบียนกลับมาเล่นได้แค่ ๔ คน แต่ก็เป็น ๔ คนที่มีส่วนสำ�คัญ ทำ�ให้เป็นแชมป์ ถ้าโรงเรียนเราไม่ปรับระบบ เราจะสูญเสียความเป็นจ้าวฟุตบอล จะไม่มีทาง ที่จะรักษาความเป็นมหาอำ�นาจลูกหนังของนักเรียนไว้ได้ ก็เข้าใจนะเรื่องการเรียนก็ ๒๖๑ design 4.indd 261

9/9/2556 14:32:13


ต้องมี แต่ในปัจจุบันเรามีเด็กหลายจำ�พวก บางพวกสร้างชื่อเสียงด้านวิชาการ บาง พวกสร้างชื่อเสียงด้านกีฬา เด็กๆ ก็มีความหลากหลายที่จะสร้างชื่อเสียงเกียรติยศ ให้กับโรงเรียน หากสตาฟทีมงาน และครูบาอาจารย์ไม่เข้าใจเด็ก ยังคงมีความคิดว่า นักกีฬาจะต้องเรียนเก่งด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากลำ�บากมาก ก็คงจะประสบความ สำ�เร็จด้านกีฬาได้ยาก จนถึงวันนี้เด็กชุดแชมป์จตุรมิตรที่ผ่านมา ยังไม่จบการศึกษาเลย บางคนไม่ จบ ม.๕ บางคนไม่จบ ม.๖ ซึ่งก็ทำ�ให้เรื่องบางเรื่องมันยากขึ้น เสียโอกาสของเด็ก

สวนกุหลาบฯ เป็นโรงเรียนที่สอนให้เรามีพี่มีน้อง เป็นโรงเรียนที่สอน ใหเ้ รามีเพื่อน เป็นโรงเรียนที่สอนใหเ้ รามีวุฒิภาวะตอ่ การตัดสินใจ ในการนำ�พาผู้คน หรือ ตัดสินใจเพื่อสว่ นรวม พี่มีเด็กๆ ใน Academy อยู่ร่วมๆ ๒๐๐ คน ตั้งแต่ ๑๐-๑๘ ปี เลี้ยงมา ฝึกมา สร้าง ทักษะต่างๆ ให้มาดีหมด ซึ่งพอบอกว่าให้ไปเรียนที่สวนกุหลาบฯ เด็กๆ ไม่เอา ถอย หมด เพราะเขาเห็นปัญหาจากรุ่นก่อนๆ มาแล้ว ๓ รุ่น ที่ไปเรียนแล้วยังเรียนไม่จบ ก็หนักใจกับจตุรมิตรครั้งต่อไปพอสมควร ก็คงลำ�บากถ้าต้องจัดตัวเด็กอายุ ๑๘ ปี ที่จะเล่นในปีหน้า (เด็ก ๑๘ ปี ที่มีอยู่ในตอนนี้ ถ้าให้ไปเล่นจตุรมิตร น่าจะเป็น ทีมที่เก่งที่สุดในประเทศไทย) แต่ปัญหาเรื่องวิชาการ เป็นเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาต่อไป ทั้งตัวเด็กเอง ทั้งผู้ปกครองเด็ก ๒๖๒ design 4.indd 262

9/9/2556 14:32:16


จะทำ�อย่างไร โรงเรียนจะแก้ปัญหาเรื่องการเรียน ให้กับเด็กได้ เพราะการช้าไปปีหนึ่ง เป็นปัญหาสำ�หรับ เด็ก ตัวเด็กเองไม่ได้มุ่งหวังให้ตัวเองเรียนเก่ง หรือได้ เกรดอะไรมากมาย ขอให้เด็กได้ผ่าน ได้เรียนจบตามเวลา ที่ควรจะเป็น เพราะถ้าเทียบเด็กด้วยกัน แนวทางการ เติบโตในสายอาชีพนักกีฬาจะต่างไปจากเด็กที่เรียนทาง วิชาการ เด็กทั่วไปจบ ม.๖ สอบเข้ามหาวิทยาลัย เรียน อีก ๔ ปี ออกมาทำ�งาน ได้เงินเดือนไม่เกิน ๒ หมื่น แต่ เด็กนักกีฬาจบ ม.๖ เงินเดือนเริ่มต้นที่ ๒ หมื่นกว่าๆ แล้ว เรื่องค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่เคยคิด พึ่งพาโรงเรียนอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ภาระ พี่ยินดีสนับสนุน ก็อยากให้ทางโรงเรียนเข้าใจและรับรู้ถึงความ เปลี่ยนแปลง นักฟุตบอลก็เป็นอาชีพอย่างหนึ่ง คือ แนวคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเปลี่ยน เด็กชุดที่จะเตรียมไว้ หากจะต้องไปช่วยจตุรมิตร ในปีหน้า ปีนี้ก็ได้แชมป์กรมพละ ถ้วย ข ได้ขึ้นมาเล่น ถ้วย ก เดือนสิงหาคมปีนี้ก็จะไปเล่น Tournament ที่ คาชิว่า ประเทศญี่ปุ่น เด็กชุดนี้คงเป็นความสุขใจ เป็น ความหวังให้ศิษย์เก่าและโรงเรียนได้ แต่จะทำ�ยังไงให้ ปัญหาเรื่องวิชาการลุล่วงไปได้ ๒๖๓ design 4.indd 263

9/9/2556 14:32:19


สิ่งที่อยากจะพัฒนาให้กับทีมฟุตบอลของโรงเรียนใน อนาคต (หากปัญหาเรื่องวิชาการสามารถแก้ไขได้ใน ที่สุด) เป็นเรื่องที่สมาคมศิษย์เก่าฯ และผู้บริหารโรงเรียน จะต้องไปคุยกัน พี่เป็นศิษย์เก่าคนหนึ่งที่พร้อมให้การ สนับสนุน เมื่อไหร่ก็ตามแต่ที่สวนกุหลาบฯ ต้องการความ เป็นเลิศทางด้านกีฬาฟุตบอล พี่ก็ยินดีให้การสนับสนุนอยู่ แล้ว เต็มที่!!!

ดีใจที่ไดก้ ลับมาทำ�ฟุตบอลใหโ้ รงเรียน ทำ�ให้พี่น้องสวนกุหลาบฯ ทุกคน มีความภูมิใจ และมีความรู้สึกว่า เราเดินเข้าสนามฟุตบอล ดว้ ยความรูส้ ึกวา่ “วันนี้กูไมแ่ พ”้ พี่มีทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว พี่มี Academy พี่มีทีม บุรีรัมย์ยูไนเต็ดที่ถือว่าเป็นทีม Top Ten ของ Asia เป็นทีม ที่ดีที่สุดในประเทศไทย แล้วมันจะแปลกอะไรกับการที่พี่จะ ทำ�ให้กับโรงเรียน มันไม่ได้ทำ�ให้พี่เสียหายอะไรเลย เท่ากับ พี่ได้ตอบแทนโรงเรียนด้วย ๒๖๔ design 4.indd 264

9/9/2556 14:32:21


ต้องเข้าใจคำ�ว่า “สวนกุหลาบฯ” ในหัวใจของ แต่ละคนมันหลากหลายมาก มันมีอีโก้ ซุปเปอร์อีโก้ เยอะมาก พวกเพื่อนๆ ของพี่เอง บางคนพูดๆๆๆๆๆๆ ไม่ทำ�เลย คอมเมนต์อย่างเดียว วิจารณ์อย่างเดียว ลูก อีช่างติ ก็มีพวกนึง ทำ�อะไรไม่ถูกสำ�หรับมันเสมอ มัน ก็มี อีกพวกก็คอยให้กำ�ลังใจ ทำ�เหอะเพื่อน ทำ�น่า ช่วย โรงเรียนหน่อย อีกพวกก็ไม่ได้เลย สวนกุหลาบฯ มันจะ เก่ง มันจะต้องเป็นเด็กสวนกุหลาบฯ แท้ๆ เด็กโรงเรียน เลย เปรียบเหมือนกับ ต้องเอาไก่บ้านอย่างเดียว ไม่เอา ไก่ป่า เอาเหอะ มึงคงเกิดเร็วไป การทำ�ทีมฟุตบอลสมัย นี้มันเปลี่ยนแปลงไปมากมายแล้ว ทุกอย่างมันไม่เหมือน เมื่อก่อนแล้ว ก็เอาเหอะ ขี้เกียจอธิบาย ความประทับใจ และภูมิใจในการทำ�ทีมฟุตบอลของ โรงเรียน ก็ดีใจที่ได้กลับมาทำ�ฟุตบอลให้โรงเรียน ทำ�ให้ พี่น้องสวนกุหลาบฯ ทุกคน มีความภูมิใจและมีความรู้สึก ว่า เราเดินเข้าสนามฟุตบอลด้วยความรู้สึกว่า “วันนี้กูไม่ แพ้” ที่ผ่านมา ความรู้สึกตอนเดินเข้าสนาม มันเป็น แค่ กูไป เพราะกูเป็นสวนกุหลาบฯ กูจะเชียร์ไม่ว่าจะแพ้ ๒๖๕ design 4.indd 265

9/9/2556 14:32:23


หรือชนะ กูก็จะเชียร์ แต่ก็จะมีคนบางพวกที่ไม่ชอบความพ่ายแพ้ ก็จะไม่ไปสนาม แต่พอบอลชนะ คนก็เดิน เข้าสนามแบบฮึกเหิม อยากดู อยากเชียร์ ซึ่งเห็นได้จากนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลจตุรมิตรที่ผ่านมา กองเชียร์ สวนกุหลาบฯ เยอะที่สุดในสนามศุภชลาศัย ฝากสมาคมศิษย์เก่าฯ บรรดาศิษย์เก่าทั้งหลาย ไปหารือกับโรงเรียนให้ดี ถ้าต้องการจะกลับมาเป็น จ้าวจตุรมิตรในปี ๒๐๑๔ ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาเรื่องการเรียนของเด็กให้ผมด้วย เพราะผมก็บังคับเด็กๆ ลำ�บาก วางแผนจะคุมทีมฟุตบอลโรงเรียนยาวเลยหรือไม่ ถ้าไม่ติดปัญหาเรื่องการเรียนของเด็ก ก็อยากจะทำ�ให้ดีที่สุด เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าเราเป็นจ้าวบอล นักเรียน อยากเอาอดีตสมัยที่พี่เรียนหนังสือกลับมาให้โรงเรียนให้ได้ แต่ว่าจะทำ�ได้มากน้อยแค่ไหนก็ยังไม่รู้ อยากฝากอะไรถึงศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนให้เรามีโอกาส เมื่อเรามีโอกาสแล้ว เราได้รับโอกาสนั้นแล้ว เราก็ต้องตอบแทนโรงเรียน สำ�หรับผม ผมไม่เคยลืมคำ�ว่าสวนกุหลาบฯ เลย ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ผมจะทำ�ให้โรงเรียนได้ แล้วทำ�ให้ พี่น้องในสวนกุหลาบฯ มีความสุข ผมยินดีที่จะทำ� ไม่เคยลืมความรู้สึกที่เดินผ่านไปแล้วเห็นรุ่นน้องที่เป็นสวนกุหลาบฯ เรียนอยู่ในปัจจุบัน จริงๆ ไม่ใช่ รุ่นน้องแล้ว ต้องบอกว่ารุ่นลูกมากกว่า..ลูกยังอายุเยอะกว่าเลย (หัวเราะ) มีครั้งหนึ่งที่ได้ยินน้องๆ พูดแล้ว รู้สึกว่าต้องทำ�ให้โรงเรียนมากกว่านี้ เท่าที่มีโอกาสจะทำ�ได้ ก็คือ วันชิงชนะเลิศฟุตบอลกรมพละ แฟนพี่นั่ง อยู่บนอัฒจันทร์ในสนามศุภชลาศัยกับเด็กๆ สวนกุหลาบฯ ที่เป็นนักเรียนปัจจุบัน ระหว่างแข่งนักฟุตบอล โรงเรียนเราถูกใบแดงเหลือ ๑๐ คน น้องคนนึงพูดกันขึ้นมาว่า “ทำ�ไงดี เหลือ ๑๐ คน แพ้แน่” ก็มีน้อง อีกคนพูดขึ้นมาว่า “ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวพี่เนวินต้องจัดการได้ พี่เนวินต้องเอาชนะได้ พี่เนวินต้องทำ�ให้เรา ๒๖๖ design 4.indd 266

9/9/2556 14:32:26


ชนะได้” หลังจากจบการแข่งขัน เราได้แชมป์ แฟน พี่ก็กลับมาเล่าให้ฟัง ทำ�ให้เรารู้สึกว่า อืมม์ อย่าง น้อยที่สุด เราก็เป็นศิษย์เก่าคนหนึ่งที่เป็นความหวังที่ น้องๆ ฝากไว้กับเรา เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เรา มีโอกาสที่จะทำ�ให้เขามีความสุข ก็อยากจะทำ� และ ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่สวนกุหลาบทุกคนต้องช่วยกันทำ�

อย่างน้อยที่สุด เราก็เป็นศิษย์ เก่าคนหนึ่งที่เป็นความหวังที่ น้องๆ ฝากไว้กับเรา เพราะ ฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามี โอกาสที่จะทำ�ให้เขามีความสุข ก็อยากจะทำ� และผมคิดว่านี่คือ สิ่งที่สวนกุหลาบทุกคนต้อง ช่วยกันทำ� ๒๖๗ design 4.indd 267

9/9/2556 14:32:30


๓๓ ปี ที่กินนอน อยู่ในรั้วสวนกุหลาบฯ คุ้นเคยกับสวนกุหลาบฯ ตั้งแต่เริ่มเป็นนาย จากเด็กวัยรุ่นบ้านเกิดอยู่ที่อ�ำ เภอเมือง จังหวัดนครปฐม คอย รับจ้างทำ�งานก่อสร้างทั่วไป แล้วแต่ใครจะจ้างให้ไปทำ�ที่ไหน วันหนึ่ง ญาติที่เป็นภารโรงอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชวนให้มารับงาน วางท่อระบายนำ�้ รอบสนามฟุตบอล อาจจะเป็นเพราะผลงานออกมา ดี จึงได้รับการว่าจ้างให้ท�ำ งานอื่นๆ เรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็น ทำ�ถังขยะ โรงเรียน ไปจนถึงการสร้างศาลพ่อปู่สวนกุหลาบ (หลังเดิม) กระทั่งอายุ ได้ ๒๗ ปี จึงตัดสินใจสมัครสอบเป็นนักการภารโรงของโรงเรียน โดยไม่ เคยคิดมาก่อนว่าการตัดสินใจครั้งนั้น จะทำ�ให้ชีวิตของผู้ชายธรรมดาคน หนึ่งได้มาซึ่งความรัก ความอบอุ่น และมีความสุขอยู่ในจิตใจจนถึงวัน สุดท้ายที่จะได้ท�ำ งานอยู่ในรั้วสีชมพูฟ้าแห่งนี้ “ตอนอายุ ๑๗ ก็เริ่มเข้ามารับงานทำ�ท่อระบายน้ำ�รอบสนาม ฟุตบอล สมัยนั้นผัดไทยลุงหนวดหรือผัดไทยวัดเลียบยังจานละ ๓ บาท เอง น้าจำ�ได้ว่าต้องลางานไปทำ�บัตรประชาชนครั้งแรกเลย ที่มารับงาน ที่โรงเรียนก็เพราะญาติที่เป็นภารโรงอยู่ก่อนแล้วเป็นคนแนะนำ�งานให้ ๒๖๘ design 4.indd 268

9/9/2556 14:32:34


น้าก็ทำ�มาเรื่อยๆ ทุกอย่างที่โรงเรียนจะให้ทำ� ทีนี้เราก็ฝึกฝนความชำ�นาญเรียกว่า เยอะพอสมควร โดยเฉพาะงานปูนนี่เป็นงานถนัดเลย พอปี พ.ศ.๒๕๒๓ ตอนนั้น อายุ ๒๗ ปี ก็สมัครสอบเข้าเป็นภารโรง จำ�ได้ว่าตอนนั้นมาสอบกัน ๑๕ คน คัด เอา ๓ คน ต้องสอบปฏิบัติ ๔ วิชา คือ ช่างไม้ ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ช่างประปา น้า ก็สอบเข้ามาได้พร้อมกับน้าทองดีซึ่งเกษียณไปก่อนแล้ว ส่วนอีกคนทำ�งานได้ ๒ ปีก็ลาออก”

ธวัช น่วมปฐม งานคือชีวิต ตลอดระยะเวลาตั้งแต่สมัยยังหนุ่มที่เริ่มเข้ามาทำ�งานหาเลี้ยงชีพ น้าธวัช แทบจะไม่ได้กลับบ้าน และเมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้เสียชีวิตลง ความรู้สึกห่วงใดๆ ก็ แทบจะไม่มี “ที่โรงเรียน เพื่อนๆ ภารโรงจะเรียกชื่อเล่นน้าว่า หวาน อาจจะเพราะเห็น เราทำ�งานเอื่อยๆ เรื่อยๆ แบบหวานเย็นนะ” น้าธวัชหัวเราะ “ทุกวันที่ทำ�งานก็จะ ต้องตื่นแต่เช้า ไปกวาดถนนในโรงเรียน ก็จะแบ่งหน้าที่กันว่าใครรับผิดชอบส่วน ไหน จำ�ได้ว่าใครๆ ก็ไม่อยากรับผิดชอบถนนตรงหน้าตึกสามัคยาจารย์ เพราะ ว่าใบต้นสนจะร่วงทุกวัน และร่วงเยอะมาก กวาดเสร็จก็จะต้องมาเปิดห้องเรียน ๒๖๙ design 4.indd 269

9/9/2556 14:32:38


ในอาคารที่ตัวเองรับผิดชอบ ต้องเปิดให้เสร็จก่อนหกโมงเช้า หลังจากนั้นจึง ไปทำ�ความสะอาดที่ห้องพักครู หลังจากนั้นก็จะได้ทานข้าวเช้า พอเก้าโมง จะเป็นการระดม การระดมก็คือช่วยกันทำ�งานของภารโรง แล้วแต่ว่าจะได้ รับมอบหมายให้ท�ำ อะไร เช่น ลอกท่อระบายน้ำ� ซ่อมโต๊ะ เก้าอี้ ก็จะมีคำ�สั่ง ให้เป็นวันๆ ไป พอสี่โมงเย็นก็แยกย้ายกันไปเก็บกวาดทำ�ความสะอาด ตาม ห้องเรียน ยกเก้าอี้ขึ้นไว้บนโต๊ะ ปิดห้องเรียน จึงเสร็จหน้าที่ในแต่ละวัน”

อายุได้ ๒๗ ปี ตัดสินใจสมัครสอบเป็นนักการภารโรง ของโรงเรียน โดยไม่คิดมาก่อนว่าการตัดสินใจครั้งนั้น จะทำ�ใหช้ ีวิตของผูช้ ายธรรมดาคนหนึ่ง ได้มาซึ่งความรัก ความอบอุน่ และมีความสุขอยูใ่ นจิตใจ จนถึงวันสุดท้าย ที่จะไดท้ �ำ งานอยู่ในรั้วสีชมพูฟ้า ด้วยความใจเย็น และมีหลักการทำ�งานที่ว่า เวลาทำ�งานแล้วจะปัญหา หนักๆ ก็จะปล่อยวาง ไม่เป็นศัตรูกับใคร ประกอบเวลาที่มีปัญหาในชีวิต ครู อาจารย์ในโรงเรียนก็จะให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี “มันก็มีบ้างที่คนอื่นเขาจะมองเราว่าเป็นแค่ภารโรง จะพูดจาอะไรไม่ ดีกับเรา เราก็ปล่อยมันไป ไม่ไปคิดเคียดแค้น ไม่ไปเครียดตามคำ�ใครเขา เรา เองต้องคิดว่าภารโรงก็คืออาชีพหนึ่ง แล้วเราก็ท�ำ ด้วยความสุจริต ไม่คิดโกง ๒๗๐ design 4.indd 270

9/9/2556 14:32:41


ขโมยของใครๆ อย่างงานทำ�ความสะอาดห้องเรียน ถามว่านักเรียนทำ�กันเองได้ไหม บางทีเด็กก็คือเด็ก ระเบียบวินัยก็อาจจะลืมกันไป ถึงเวลาเลิกเรียนก็อยากไปเล่น กับเพื่อน เราก็ต้องทำ� เพราะความเรียบร้อยของอาคารสถานที่เป็นที่ของพวกเรา จะว่าไปถ้าไม่มีงานให้เราทำ� โรงเรียนก็คงไม่จ้างหรอก งานน่ะมีให้ทำ�ก็ทำ�ไปเถอะ เหนื่อยมาทั้งวัน ได้นอนพักผ่อน ตื่นขึ้นมาก็หายเหนื่อย” เมื่อพูดถึงตรงนี้ แววตา ของน้าธวัชแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของน้าจริงๆ น้าธวัชเล่าให้ฟังว่า ในสมัยที่คุณครูโอฬารเป็นหัวหน้างานอาคารสถานที่ คุณครูโอฬารได้ช่วยให้เปลี่ยนตำ�แหน่งมาเป็นพนักงานขับรถ จึงเปลี่ยนหน้าที่จาก งานดูแลอาคารสถานที่มาเป็นพนักขับรถให้กับโรงเรียน พอระยะหลังเงินเดือนที่ ได้รับเริ่มถึงเพดานของขั้นเงินเดือน รองฯ สมบัติ จึงช่วยปรับตำ�แหน่งให้เป็นช่างไม้ พิเศษ ๓ เพื่อให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น “หลังจากที่เป็นพนักงานขับรถได้ระยะหนึ่ง พอเงินเดือนตัน ตอนนั้นท่าน รอง ผอ. สมบัติ ก็ช่วยเปลี่ยนตำ�แหน่งให้เป็นช่างไม้พิเศษ ๓ เพื่อที่จะเลื่อนขึ้น เงินเดือนให้ แล้วก็ทำ�เรื่องขอยืมตัวมาช่วยงานขับรถเหมือนเดิม ก็ต้องขอบคุณครู ทั้งสอง คือ คุณครูโอฬาร และท่านรองสมบัติ ที่ช่วยเรื่องหน้าที่การงานของน้า” น้า ธวัชกล่าวด้วยความประทับใจ สวนกุหลาบฯ ก็เหมือนครอบครัวที่อบอุ่น น้าธวัชเป็นผู้ชายธรรมดาๆ คนหนึ่งที่ชีวิตมีทั้งสุขและทุกข์ เมื่อถึงวันที่ต้อง อยู่กับปัญหา ไม่เพียงแต่ตนเองเท่านั้นที่จะต้องสร้างกำ�ลังใจให้แข็งแกร่งขึ้นมา แต่ คนรอบข้างก็มีส่วนช่วยให้น้าประคองตัวให้อยู่ครรลองคลองธรรมได้จนถึงทุกวันนี้ ๒๗๑ design 4.indd 271

9/9/2556 14:32:45


“ช่วงที่ชีวิตครอบครัวของน้ามีปัญหา อะไรๆ ก็แย่ไปหมดนะ น้าเอง ก็รับรู้ว่าลูกๆ คงเสียใจ ตอนนั้นน้องสาวของน้าก็ชวนลูกชายสองคนที่เป็น เด็กสวนกุหลาบฯ นี่แหละไปบวช ตอนแรกๆ น้าเองก็เสียใจ ถึงกับนอนไม่ หลับเลยทุกคืน กลัวว่าถ้าบวชไปแล้วเรื่องเรียนก็ต้องพักเอาไว้ ถ้าสึกออกมา แล้วไม่เรียนต่อเดี๋ยวจะเสียผู้เสียคน แต่ตอนนี้สบายใจแล้ว เพราะคิดว่าท่าน ก็เลือกทางของท่านแล้ว ตอนนี้พระรูปโตก็ไปจำ�วัดไทยที่นิวซีแลนด์ ส่วน พระรูปเล็กก็ไปจำ�วัดสาขาของวัดธรรมกายในต่างจังหวัด” “ช่วงที่แยกทางกับภรรยาเก่า พวกลูกๆ ของน้าก็ได้รับความช่วยเหลือ จากครูที่โรงเรียนนะ โดยเฉพาะคุณครูบุลภรณ์ สังขกร ที่ช่วยเหลือเรื่องค่า เล่าเรียน ก็ให้ทุนเป็นเดือนๆ ไป เป็นบุญคุณต่อครอบครัวของน้า ประทับใจ จนถึงทุกวันนี้” “ส่วนตัวน้า รู้สึกซาบซึ้งกับนำ�้ ใจของครูที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ นี้นะ ครูที่นี่ดีกันทุกๆ คน น้าเองก็มีลูกหลายคน บางครั้งเงินเดือนไม่พอกับค่าใช้ จ่ายก็ได้รับนำ�้ ใจจากครู แต่ที่ประทับใจเป็นพิเศษคือ อาจารย์โอฬาร ที่ดูแล ครอบครัวมาตลอด เวลามีปัญหาอะไร อาจารย์โอฬารก็จะเข้ามาช่วยเหลือ แล้วยังมีอาจารย์ นัททวี หัวหน้าหมวดศิลปะ ซึ่งน้าเองก็รับผิดชอบในส่วน ของห้องเรียน ห้องพักครู ของหมวดศิลปะอยู่ช่วงหนึ่ง ท่านก็ช่วยเหลือดูแล เป็นอย่างดีมาโดยตลอด” “ผมอยู่ที่นี่มา ๓๓ ปี นานกว่าบ้านเกิดของผมอีก ตื่นมาก็อยู่ที่ สวนกุหลาบฯ หลับก็ที่สวนกุหลาบฯ สิ่งที่ได้รับจากโรงเรียน มีมากมายจน บอกไม่ได้หมด โรงเรียนให้ผมทุกอย่าง มีที่อยู่ที่กินอย่างดี ดูแลเราอย่างดี ๒๗๒ design 4.indd 272

9/9/2556 14:32:50


ผมรักและผูกพันกับโรงเรียนนี้มาก ถึงขนาดที่ว่า เห็นตึกยาวแล้วมีความสุข ขอขอบคุณอาจารย์ทุกๆท่านที่มีนำ�้ ใจให้มาตลอด ผมเคารพนับถือทุกๆท่าน เวลามีอะไรที่ผมพอจะช่วยเหลือได้ ผมก็เต็มใจที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มความ สามารถ” ชีวิตหลังเกษียณ ตลอดเวลาที่ท�ำ งานในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย น้าธวัชได้เก็บหอม รอมริบ นำ�เงินไปปลูกบ้านที่บ้านเกิดที่จังหวัดนครปฐม เพื่อให้ลูกสาวได้อยู่ ส่วนตัวเองและภรรยา เมื่อจะต้องย้ายออกจากแฟลตเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน ก็ จะย้ายไปอยู่บ้านที่ปลูกด้วยนำ�้ พักน้ำ�แรงของตัวเองที่จังหวัดราชบุรี “สบายใจแล้ว เกษียณไปน้าก็คงไปอยูบ่ า้ นทีร่ าชบุรี ส่วนบ้านทีน่ ครปฐม ก็ให้ลูกสาวกับครอบครัวเขาอยู่ไป ตอนนี้ไม่ห่วงอะไรแล้ว พระลูกทั้งสองรูป ท่านก็มีความสุขสงบดี ลูกชายของภรรยาคนนี้ก็โต มีงานการทำ�แล้ว ส่วนน้า กับภรรยาก็คงอยู่บ้าน ไม่ทำ�อะไรมาก เพราะมีบำ�นาญ พออยู่ได้ หนี้สินก็ไม่มี ขอเวลาพักผ่อนดีกว่า” น้าธวัชกล่าวพร้อมกับยิ้ม นับว่าเป็นการสิ้นสุดชีวิตการทำ�งานที่สบายใจที่สุดของผู้ชายธรรมดาๆ ที่ต่อสู้มาทั้งชีวิตคนหนึ่งก็ว่าได้ หนึ่งใจที่ฝากไว้ให้สวนกุหลาบฯ “สำ�หรับเพื่อนๆ นักการด้วยกัน ขอให้ดูแลโรงเรียนให้ดี เหมือนที่ตัว น้าธวัชดูแล และให้รักโรงเรียน เหมือนที่น้าธวัชรัก ขอขอบคุณครูทุกท่านที่ ๒๗๓ design 4.indd 273

9/9/2556 14:32:53


คอยช่วยเหลือมาตลอด บุญคุณนี้ไม่มีวันลืมจริงๆ ส่วนศิษย์เก่าก็ต้อง ขอขอบคุณ เวลาที่น้าขับรถพาครูไปไหนมาไหน ก็จะคอยดูแล เป็น เจ้ามือเลี้ยงอาหาร บางครั้งเห็นรถโรงเรียนจอดอยู่ข้างนอก ก็จะมี ศิษย์เก่าเข้ามาทักทาย โดยไม่คิดว่าน้าเป็นแค่ภารโรง หรือคนขับรถ ทุกคนให้เกียรติมาโดยตลอด ทำ�ให้น้ารู้สึกมีความสุข และอบอุ่นใจ ภูมิใจแทนโรงเรียนและครูที่ได้ปลูกฝังให้ลูกศิษย์เป็นคนดี มีน้ำ�ใจ น้ารักสวนกุหลาบฯ จริงๆ” กุหลาบฯ แม้ว่าจะมีต้นขนาดเล็ก หากแต่ผู้ปลูก ผู้ดูแล ใส่ใจให้ความสำ�คัญ กุหลาบต้นเล็กๆ ก็สามารถยืนหยัดอวดโฉม ที่งดงามและส่งกลิ่นหอมให้ซึมซับอยู่ในจิตใจผู้คนที่ได้พบเห็น ได้ สัมผัส กลายเป็นความรู้สึกที่อบอุ่น เป็นไม้ยืนต้นที่หยั่งรากลึกลง ในจิตใจได้ตราบนานเท่านาน

๒๗๔ design 4.indd 274

9/9/2556 14:32:58


design 4.indd 275

9/9/2556 14:33:00


อำ�นวยการกลาง ยรรยง นิติสาโรจน์ อนุกูล อัศวฉัตรโรจน์ ปิยะ ลิมพลญาณ แนวคิดของงานและออกแบบ ณัฐวัฒน์ แซ่งุ่ย ฐากูร อังกุรวัฒนานุกุล จาริต เดชะคุปต์ สืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต วรงค์ หัสรังค์ การเงิน พลเดช สุดายุวร อาหาร เครื่องดื่ม ของว่าง ปิยะ ลิมพลญาณ พลเดช สุดายุวร ๒๗๖ design 4.indd 276

9/9/2556 14:33:06


รายชื่อทีมงานจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ ของที่ระลึก ปิยะ ลิมพลญาณ ประเสริฐ สุนทรกิจจารักษา พลเดช สุดายุวร พงษ์สวัสดิ์ พิณหิรัญ แสวงสิน แซ่ฉั่ว บุญชู เศษชัยชาญ สื่อและสิ่งพิมพ์ (หนังสือ ภาพถ่าย วีดีโอ พรีเซนเทชั่น) พูลลาภ วีระธนาบุตร จักรพล ดียืน ณัฐวัฒน์ แซ่งุ่ย ฐากูร อังกุรวัฒนานุกุล บพิธ สมภพกุลเวช ประเสริฐ ซื่อสัตยาศิลป์ สืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จาริต เดชะคุปต์

จราจรและปฐมพยาบาล พงษ์สวัสดิ์ พิณหิรัญ ยรรยง นิติสาโรจน์ ปิยะ ลิมพลญาณ สถานที่ แสง เสียง พงษ์สวัสดิ์ พิณหิรัญ ยรรยง นิติสาโรจน์ ปรากรม์ กาญจนะศรีสุขสกุล สืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ประสานงาน และดูแลครูเกษียณ ปิยะ ลิมพลญาณ ธนะพงษ์ จงจีรังทรัพย์ ฐากูร อังกุรวัฒนานุกุล พงษ์สวัสดิ์ พิณหิรัญ พลเดช สุดายุวร

ประชาสัมพันธ์ และประสานงานองค์กร (โรงเรียน, ชมรมครูเก่า, สมาคมศิษย์เก่าฯ และองค์กรอื่นๆ) พงษ์สวัสดิ์ พิณหิรัญ ณัฐวัฒน์ แซ่งุ่ย ฐากูร อังกุรวัฒนานุกุล กิจกรรมบนเวทีและบริเวณงาน วศิน ทองคำ� ประพิชญ์ ชมชื่น จักรพันธ์ เธียราวัฒน์ พงศ์พสุ อุณาพรหม ทศพร ศรีตุลา

๒๗๗ design 4.indd 277

9/9/2556 14:33:10


รายชื่อทีมงานจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ ทีมสัมภาษณ์ เมธัส ไทรงามทอง จักรพล ดียืน พงษ์สวัสดิ์ พิณพิรัญ สุทธิรักษ์ สุขเกษม วรสิทธิ์ กาญจนกิจเกษม สมบุญ ตุลพงศารักษ์ อนุกูล อัศวฉัตรโรจน์ พูลลาภ วีระธนาบุตร ปิยะ ลิมพลญาณ วุฒิพงษ์ วุฒิพฤกษ์ จักรพันธ์ เธียราวัฒน์ ทีมช่างภาพ ณัฐวัฒน์ แซ่งุ่ย ประเสริฐ ซื่อสัตยาศิลป์ บพิธ สมภพกุลเวช เจตพล เอมมณี

ทีมรับส่งครู ธนะพงษ์ จงจีรังทรัพย์ ทศพล ชินนิวัฒน์ ประเสริฐ สุนทรกิจจารักษา คณุตม์ นิรันตสุขรัตน์ เชษฐา ศรีเวช ธีรวัฒน์ พิริยะอารยะกูล เมธัส ไทรงามทอง เดชอุดม มหาศรานนท์ ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ สักกะ จราธิวัฒน์ วชิระ โชติรสเศรณี สุทธิชัย ภูมิรักษานนท์ ธนพล เหลืองอรุณเลิศ มติ เจริญศิริ ภูริพัฒน์ จันทร์เมือง อนุกูล อัศวฉัตรโรจน์ อนันต์ พงษ์พันธ์ภาณี ชาญวุฒิ อัศววริยชน

อิทธิพงษ์ พุ่มสุวรรณ วสุ งามสม เกรียงไกร ทิพาทรัพย์ ประวิตร พงศ์เพชรบัณฑิต ชัชวาล ใจซื่อกุล สมควร รุ้งสุวรรณ อดิศักดิ์ อัมพรกชกร ธนู จันทร์ธนูเดช ณัฐนารถ ปริกขิตตานนท์ กัมพล สิริเดชชัย วุฒิชัย จันท์แสนโรจน์ สมิช บัตรเจริญ สุขสรรค์ ปุริเส พงษ์สวัสดิ์ พิณพิรัญ ปิยะ ลิมพลญาณ วุฒิพงษ์ วุฒิพฤกษ์ ยรรยง นิติสาโรจน์ บพิธ สมภพกุลเวช สิทธิชัย สุดใจชื้น

๒๗๘ design 4.indd 278

9/9/2556 14:33:14


กิตติพัฒน์ วิชญวิเชียร เฉลิมชัย นรเศรษฐกมล วีรยุทธ เกิดในมงคล สุรสิงห์ ผาเจริญ ทีมกอล์ฟ ดนัยวิทย์ ธัญญสิริ พิตรา กองแก้ว ภูริพัฒน์ จันทร์เรือง มนต์ชัย วรรณพรศิริ

๒๗๙ design 4.indd 279

9/9/2556 14:33:19


รายชื่อผู้ร่วมสมทบทุน กนก สมภพรุ่งโรจน์ กนก สุวรรณรัตน์ กฤติชัย ธาราธรรมาธิกรณ์ กฤษณะ พงศกรกุล กฤษณะ วนินทราดุลย์ กศิณพจน์ คูหาแดนสวรรค์ ก้องภพ คูสุวรรณ กัมพล สิริเดชชัย กานต์ พฤกษาประทานพร กานต์ เสรีภาณุ กิตติ คำ�วิลัยศักดิ์ กิตติ ฏิระวณิชย์กุล กิตติพัฒน์ วิชญวิเชียร กิตติวัฒน์ ศรีรงควัฒน์ กิตติศักดิ์ อรุณรัตนากุล กิตติศักดิ์ ออมทรัพย์ กีรติ ศตะสุข เกรียงไกร จรรยารักษ์กุล เกรียงไกร ตระกูลงาม

เกรียงไกร ทิพาทรัพย์ เกรียงไกร ผลิตผลการพิมพ์ เกรียงศักดิ์ เวทย์วิรุณ เกียรติศักดิ์ เกษมโชติพัฒน์ ไกรสร วงศ์สุรไกร ไกรสิทธิ์ วงศ์นาค ขจร บรรลือนุชรี คณุตม์ นิรันตสุขรัตน์ คมศิลป์ วังยาว โฆษิต จิราภิรักษ์ จงกล วัฒนากุลชัย จรัส ประจันพาณิชย์ จักรพงศ์ ธรรมาภิมุข จักรพล ดียืน จักรพันธ์ เธียราวัฒน์ จักรพันธ์ มีโภคี จักรพันธุ์ จุรุพันธุ์ จารุ สวรรยาวัฒน์ จีรนพ จันทรโรจน์

๒๘๐ design 4.indd 280

9/9/2556 14:33:24


จัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ เจตพล เอมมณี เจษฎา แผ่อารยะ เฉลิมชัย นรเศรษฐกมล เฉลิมศักดิ์ จิระรุ่งเสถียร ชลธา ไกรวัตนุสสรณ์ ชวการ เนตรงามทวี ชวชัย พงษ์พนัศ ชัชวาล ใจซื่อกุล ชัชวาลย์ ธีรทวีวุฒิ ชัยชะฤทธิ์ กิตติชัย ชัยรัตน์ เตียจันทร์พันธุ์ ชัยรินทร์ จุลทอง ชาญชัช คูหิรัญ ชาญณรงค์ รุจิระชาติกุล ชาญวิทย์ สุขิตานนท์ ชาญวุฒิ อัศววริยชน ชานนท์ วงศ์เสริมสิน ชายชาญ ศรีสวัสดิ์ ชายชาญ สายะตานันท์

ชิฏฐพงษ์ ฉันทะกูล ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ เชษฐา ศรีเวช เชิงชาย เลาหสุรโยธิน ญาณวัฒน์ พฤติธาดา ญุรวัฒน์ จารุชัยกุล ฐากูร อังกุรวัฒนานุกุล ฐิติณัฐ ประยูรหงษ์ ฐิติพงษ์ ยิ่งยง ฐิติพันธ์ นิยมรัตนกิจ ณรงค์เดช ประเสริฐศรี ณัฐกร เอื้ออมรรัตน์ ณัฐนารถ ปริกขิตตานนท์ ณัฐพร นุตยะสกุล ณัฐพฤทธิ์ จินดานนท์ ณัฐวัฒน์ แซ่งุ่ย ณัฐวุฒิ โพธิ์ขำ� ณัฐวุฒิ เสริมสาธนสวัสดิ์ ดารุทัช ศรีชยันดร

ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย ดิษฐ นาคเปลี่ยว เดชอุดม มหาศรานนท์ ตนะพันธุ์ กรุณานนท์ เติมพงศ์ แสงแก้ว ไตรรัตน์ วัฒนไวฑูรย์ชัย ทวีศักดิ์ เจริญเตโชสกุล ทวีศักดิ์ ไตรโลกา ทศพร ศรีตุลา ทศพล ชินนิวัฒน์ ทินนาถ สิตตะไพโรจน์ ทิว คำ�ปาน เทอดพงศ์ ศรีสุขพันธุ์ ธนกร (พรศักดิ์) สหชัยรุ่งเรือง ธนนพ ไพบูลย์ ธนบดี ยอดมนต์ ธนพ ปัญญาพัฒนากุล ธนพล เหลืองอรุณเลิศ ธนพันธุ์ โรจนวโรดม ๒๘๑

design 4.indd 281

9/9/2556 14:33:28


รายชื่อผู้ร่วมสมทบทุน ธนเสฏฐ์ บุญชู ธนะพงษ์ จงจีรังทรัพย์ ธนันต์ชัย นพแก้ว ธนา จันทร์วโรภาศ ธเนศ ตันติวราชัย ธรรมนูญ นคราพานิช ธรากร สาระธรรม ธวัชชัย สุขเมือง ธิติ วงศ์ธนาศักดิ์ ธีรวัฒน์ พิริยะอารยะกูล นรพล ผิวทองอ่อน นราธิป ศุขโข นวพล ปิวาวัฒนพานิช นันทน์ภัณฑ์ หรรษาภิพัฒน์ นัสรี่ มัสอูดี นิคม ต่อรุ่งเรืองจิต นิติพัฒน์ ประเสริฐ นิธี พิพัฒน์ธนวงศ์ นิพนธ์ เสาสมภพ

นิมิต ตันกิตติมงคล นิรุทธิ์ นิลพฤกษ์ บพิธ สมภพกุลเวช บรรพต วุฑฒิปรีชา บวรเวท สิงหพันธุ์ บัญญัติ ฉัตรบัณฑิตกุล บัณฑ์ หนูทับ บัณฑิต อัศวฤทธิไกร บุญชู เศษชัยชาญ บุญธร ตันวรเศรษฐี ปกรณ์ จารุจิตติพันธ์ ประพนธ์ สินสาฎก ประพิชญ์ ชมชื่น ประยุทธ วงศ์หาญชัย ประวิตร พงศ์เพชรบัณฑิต ประสพชัย อยู่สำ�ราญ ประเสริฐ ซื่อสัตยาศิลป์ ประเสริฐ สุนทรกิจจารักษา ปรัชญา ศรีรอต

ปรากรม์ กาญจนศรีสุขกุล ปราชญ์พงศ์ จิตต์จำ�นงค์ ปิติ รุจนเวชช์ ปิยะ ลิมพลญาณ พงศกร อัมระพยาคย์ พงศ์พชร ศรีนวล พงศ์พสุ อุณาพรหม พงษ์ศักดิ์ เอี่ยมนวชาต พงษ์สวัสดิ์ พิณหิรัญ พรชัย กิติพิมล พรชัย สุธีดวงสมร พรพจน์ แดงท่าไม์ พฤทธิรัชต์ ธีรผกาวงศ์ พลเดช สุดายุวร พลังรัฐ ธนการพาณิช พัชรเจษฎ์ ชัยประสาธน์ พัฒนชัย รัตนทัศนีย์ พัฒนศักดิ์ วุฒิทวี พัฒนะพงศ์ แซ่เอ็ง

๒๘๒ design 4.indd 282

9/9/2556 14:33:30


จัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ พัสกร ภักดีมงคล พิเชษฐ์ พุทธฤดีสุข พิรเกษม สร้อยทอง พิสิฏฐ์ เต็มภัทราโชค พีรพงศ์ วัลลภาทิตย์ พีรพล ประเสริฐศรี พูนพงศ์ ทัศนเศรษฐ พูลลาภ วีระธนาบุตร เพทาย พรพจมาน ไพบูลย์ บุศยจารักษ์ ไพรัช อัครเมธาธรรม ไพรัตน์ นิติกรไชยรัตน์ ไพโรจน์ จันทร์จุงจิตต์ ภัทรวุฒิ ตุลยลักษณ์ ภาณุกร จุลกะเสวี ภาณุพันธ์ จงสุทธนามณี ภานุวัฒน์ จิตรโรจนรักษ์ ภาสันต์ อิทธิกุล ภาสุร มากแสง

ภิญโญ ฤกษ์เย็น ภูมินทร์ บูรณพานิช ภูวดล วีรพันธุ์ มงคล สมภพกุลเวช มงคลเทพ เทพทรงสัจจ มติ เจริญศิริ มานะ ธุระกิจเสรี มีศักดิ์ ไกรวิมล เมธัส ไทรงามทอง แมนสรวง สุรางครัตน์ ยงยุทธ เอกอริยทรัพย์ ยรรยง นิติสาโรจน์ ยศวัฒน์ ปานโต ยิ่งยศ ฟุ้งตระกูล ยุทธดนัย สมจิตต์ชอบ รัชต เตชะวิจิตรชัย รัฐฤกษ์ อรุณากูร รัฐศักดิ์ จีรพุทธิรักษ์ รุ่งธรรม สุชินศักดิ์

รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล รุจนพงศ์ พยุงกิจ วชิระ โชติรสเศรณี วรพจน์ อุดมสรยุทธ วรวิศร์ วีรคเชนทร์ วรสิทธิ์ กาญจนกิจเกษม วศิน ทองคำ� วสุ งามสม วัลลภ วัฒนจงกล วัลลภ อรรคสถาวร วิริยะ ตันเยาวลักษณ์ วิโรจน์ หัสดินไพศาล วิวรรธน์ เก่งถนอมศักดิ์ วิวัฒน์ เอี่ยมชีรางกูร วิษณุ ปานจันทร์ วีรพล เอาทารย์กุล วีรภัทร สู่พานิช วุฒิชัย จันท์แสนโรจน์ วุฒิชัย อิทธิสุริยะกุล

วุฒิพงศ์ วุฒิพฤกษ์ วุทธินันท์ สุขโต ศิรัส ต่อสัมพันธ์ ศิริวัฒน์ หวังสุข ศุภโชค สิงหกันต์ ศุภฤกษ์ สุกาญจนาภรณ์ ศุภฤกษ์ แสนทวี ศุภวัชร วงษ์จันทนีย์ ศุภวัฒน์ ลาภปริสุทธิ์ ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ศุภัชย์ จุลศิริ เศรษฐ์ สัมภัตตกุล สกนธ์ ใจอารีย์ สมควร รุ้งสุวรรณ สมพล กฤษฎี สมพล สุทธิกลัด สมโพธิ อยู่ไว สมภพ เตลานุปถัมภ์ สมยศ แซ่ลิ้ม ๒๘๓

design 4.indd 283

9/9/2556 14:33:31


รายชื่อผู้ร่วมสมทบทุน สมัชชา วิราพร สมิทธ์ สฤษฏ์มุทากูล สยาม เลิศเจริญศิลป์ สวัสดินา อินทพรอุดม สักกะ จราวิวัฒน์ สัชญา สถิรพงษะสุทธิ์ สันต์ ศรีอรรฆ์ธำ�รง สิทธิชัย คุณากรไพบูลย์ศิริ สิทธิชัย สุดใจชื้น สิทธิพงศ์ ลาภพันธุ์พรหม สุกิจ ศรีมันทยามาศ สุขสรรค์ ปุริเส สุเชษฐ ธนะมั่น สุดเขตต์ เที่ยงตรง สุทธิชัย คุ้มวรชัย สุทธิชัย ภูมิรักษานนท์ สุทธิพันธ์ โกศัยพลกุล สุทธิรักษ์ สุขเขษม สุทธิวุฒิ สถิตาภรณ์

สุนทร อุดมวัชรรัศมี สุพล องคณานุวงศ์ สุพัฒน์ พงษ์เดช สุรชัย บุษรานนท์ สุรชัย เพิ่มทรัพย์ทวี สุรชัย ลีฬหาเกียรติ สุรชัย หิรัญนิธิชัย สุรพงศ์ ขวัญคำ� สุรพงศ์ จินต์จันทรวงศ์ สุรสีห์ เพทายบรรลือ สุลักขินท์ สุวรรณประสพ สุวิทย์ งามจิตรกุล สุวิทย์ แสงสว่าง เสกสรร โตศรีพลับ เสริมพงศ์ หาญศิริ เสวิต จิตตนูนท์ แสวงสิน ฉั่วเจริญ หัสดา พันธุ์งาม อดิศักดิ์ มณีไสย

อดิศักดิ์ อัมพรกชกร อดุลย์ ลือกิจนา อนันต์ พงศ์พันธุ์ภาณี อนันต์ วัชรดำ�รงกุล อนุกูล อัศวฉัตรโรจน์ อนุพงษ์ หอมขจร อนุศักดิ์ หวังดำ�รงเวศ อัคภพ วัฒนประจักษ์ อัครก์เศรษฐ์ จามรจุรีกุล อัฐ ทองแตง อาศิส อัญญะโพธิ์ อำ�นาจ พละพลีวัลย์ อิทธิพงศ์ พุ่มสุวรรณ อิศรา สันตอรรณพ อุทิศ บุญเสริมคณิต

๒๘๔ design 4.indd 284

9/9/2556 14:33:34


ขอขอบคุณเป็นพิเศษ o

งานเลี้ยงรุ่น และงานชุมนุมของศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่เปิดโอกาสให้รุ่น ๑๑๑ ได้เข้าไป จำ�หน่ายสินค้าที่ระลึกงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ (ปฏิทิน โปสการ์ด เสื้อ) เพื่อสมทบทุนในการจัดงาน ๒๖ ต.ค. ๒๕๕๕ งานเสมา-จักรดาว ที่โรงแรมเอเชีย ๒๗ ต.ค. ๒๕๕๕ งานสวนโดม ที่สมาคมศิษย์เก่าฯ ๒๗ ต.ค. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๙๘ ที่สโมสรวปอ. ๒๘ ต.ค. ๒๕๕๕ งานสวนแฟร์#๓ ที่ร้าน Coffee Model ๓ พ.ย. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของพี่สวนฯ ๑๐๒ ที่โรงแรมใบหยกสกาย ๓ พ.ย. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๘๔ ที่สมาคมศิษย์เก่าฯ ๓ พ.ย. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๑๐๙ ที่โรงแรมแกรนด์ไชน่า ๑๐ พ.ย. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๑๐๐ ที่โรงเรียน ๑๐ พ.ย. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๑๐๑ ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ ๑๐ พ.ย. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๘๘ ที่โรงแรมริชมอนด์ ๑๗ พ.ย. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๑๐๕ ที่โรงแรมทาวน์อินทาวน์ ๒๔ พ.ย. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๑๐๗ ที่โรงแรมทาวน์อินทาวน์ ๒๔ พ.ย. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ น้องสวนฯ ๑๑๕ ที่โรงเรียน ๑๓ ธ.ค. ๒๕๕๕ งานนิทรรศสวนฯ ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๕ งานเลี้ยงรุ่นของ สวนใหญ่ นนทบุรี ที่ภัตตาคารแวร์ซายน์ ๒๓ ธ.ค. ๒๕๕๕ งานสวนแฟร์#๔ ที่สมาคมศิษย์เก่าฯ ๒๘๕

design 4.indd 285

9/9/2556 14:33:35


o

งานเลี้ยงรุ่น และงานชุมนุมของศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่เปิดโอกาสให้รุ่น ๑๑๑ ได้เข้าไป จำ�หน่ายสินค้าที่ระลึกงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ (เสื้อ หมวก ร่ม กระเป๋าเสื้อผ้า ถุงกอล์ฟ) เพื่อสมทบ ทุนในการจัดงาน งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๙๕ ที่โรงเรียน ๑๙ ม.ค. ๒๕๕๖ ๑๙ ม.ค. ๒๕๕๖ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๑๐๓ ที่โรงเรียน ๒๕ ม.ค. ๒๕๕๖ งานกอล์ฟ ๕ รุ่น พี่สวนฯ ๘๒-๘๖ ที่สนามธูปะเตมีย์ ๒ ก.พ. ๒๕๕๖ งานชมรมกีฬายิงปืนศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ ที่พัน ร.มทบ.๑๑ ๑๖ ก.พ. ๒๕๕๖ งาน OSK League ที่สนามฟุตบอล ร.๑ พัน.๑ รอ. ๑๖ ก.พ. ๒๕๕๖ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๙๑ ที่วิลล่าชาช่า ๘ มี.ค. ๒๕๕๖ งานวันสถาปนาโรงเรียน ๙ มี.ค. ๒๕๕๖ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๑๐๘ ที่โรงเรียน ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๖ งานเลี้ยงรุ่นของ พี่สวนฯ ๑๐๔ ที่โรงแรมอริสตั้น ๑๑ พ.ค. ๒๕๕๖ งานเลี้ยงรุ่นของ น้องสวนฯ ๑๑๓ ที่โรงเรียน

o

ขอขอบคุณ พี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ สวนกุหลาบวิทยาลัย (รวมถึงเครือข่ายสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้งหมด) ทุกๆ ท่าน ที่อุดหนุนสินค้าที่ระลึกงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖

o

ขอขอบคุณ เพื่อนๆ สวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น ๑๑๑ ทุกๆ คน ที่มาช่วยจำ�หน่ายสินค้าที่ระลึก งานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ ได้แก่ ประพิชญ์, ณัฐวัฒน์, ศิริวัฒน์, พงษ์สวัสดิ์, เจตพล, เจษฎา, อนุกูล, ปิยะ, พลเดช, รุ่งธรรม, แสวงสิน, สุทธิรักษ์, ธนะพงษ์, สุขสันต์, ประเสริฐ (สุนฯ), บพิธ...โดย เฉพาะแสวงสินและครอบครัว ผู้เป็นกำ�ลังหลักในการจำ�หน่ายในหลายๆ งานครับ

๒๘๖ design 4.indd 286

9/9/2556 14:33:37


o

ขอขอบคุณ รุ่นพี่ ๑๑๐ ทุกๆ ท่านที่กรุณาให้คำ�แนะนำ� รวมถึงเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการจัดงาน มุทิตาจิต

o

ขอขอบคุณ รุ่นพี่ ๑๑๐ ที่กรุณามอบเงินขวัญถุงในการจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ เป็นจำ�นวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

o

ขอขอบคุณ ร้านธนาบุตร ถ.พระราม ๑ ของเพื่อนพูลลาภที่เอื้อเฟื้อสถานที่จัดประชุมทุกๆ ครั้ง

o

ขอขอบคุณ เพือ่ นพลเดชทีซ่ อ้ื กุยช่ายเจ้าอร่อยจากพาหุรดั มาเป็นอาหารหลักในการประชุมทุกๆ ครัง้

o

ขอขอบคุณ เพือ่ นอัฐทีช่ ว่ ยเหลือในหลายๆ เรือ่ งทำ�ให้หลายๆ กิจกรรมลุลว่ งไปด้วยดี รวมถึงการมอบ แพคเกจตรวจสุขภาพให้ครูเกษียณปี ๒๕๕๖ ทุกๆ ท่าน พร้อมทัง้ เตรียมรถพยาบาลและเจ้าหน้าทีจ่ าก เครือโรงพยาบาลเปาโลและเครือโรงพยาบาลพญาไท สำ�หรับวันงานมุทติ าจิต

o

ขอขอบคุณ น้องวรภัทร ลวนนท์ สก. ๑๒๑ ที่เอื้อเฟื้อภาพทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับงานฟุตบอล จตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ ๒๖ (ปี พ.ศ. ๒๕๕๕)

o

ขอขอบคุณ พี่เนวิน ชิดชอบ ที่อนุญาตให้เข้าพบและให้สัมภาษณ์

๒๘๗ design 4.indd 287

9/9/2556 14:33:38


o

o

ขอขอบคุณ รุ่นพี่รุ่นน้องที่สนับสนุนงานกอล์ฟ • พี่สวนฯ ๘๔ • (พี่กร๊องมอบกล่องดนตรีเพื่อ • ใช้งานการประมูล) • พี่สวนฯ ๘๘ • • พี่สวนฯ ๙๕ • • พี่สวนฯ ๙๗ • • พี่สวนฯ ๙๘ • • พี่สวนฯ ๙๙ • พี่สวนฯ ๑๐๐ • • พี่สวนฯ ๑๐๒ • • พี่สวนฯ ๑๐๓ • พี่สวนฯ ๑๐๔ • • พี่สวนฯ ๑๐๕ • • พี่สวนฯ ๑๐๖ • • พี่สวนฯ ๑๐๗ •

พี่สวนฯ ๑๐๘ พี่สวนฯ ๑๐๙ พี่สวนฯ ๑๑๐ น้องสวนฯ ๑๑๒ น้องสวนฯ ๑๑๓ น้องสวนฯ ๑๑๔ บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จ�ำ หน่ายโตโยต้า จำ�กัด เครือโรงพยาบาลพญาไท บจก. โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส บจก. ยูนิทรีโอ เทคโนโลยี บจก. วุฒิศักดิ์ เอสเธติค แคร์ บจก. ที วาย วาย บจก. บิ๊กซ้ง ซุปเปอร์สโตร์

• • • • • • • • • • • •

บมจ. ธนาคาร ธนชาต บจก. ทวีอุดม คอร์ปอเรชั่น บมจ. ซีฟโก้ บมจ.ประสิทธิ์พัฒนา บจก. เปาโล เมดิค บจก. เอ็มไอจี โปรดักชั่น LINDE (Thailand) Public Company Limited OSK Motor เพือ่ นต้น ณัฐกรณ์ สวนฯ ๑๑๑ พี่ฤ หมาแดง สวนฯ ๑๐๒ เพือ่ นโต วุฒพิ งษ์ สวนฯ ๑๑๑ เพือ่ นมน มนต์ชยั สวนฯ ๑๑๑

ขอขอบคุณในโชคชะตาทีก่ �ำ หนดให้เข้ามาเป็นนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย…ชัว่ ชีวติ ข้าฯ ไม่ลมื

๒๘๘ design 4.indd 288

9/9/2556 14:33:41


design 4.indd 289

9/9/2556 14:33:42


โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๘๘ ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๑ ๖๗๐๑, ๐ ๒๒๒๕ ๕๖๐๕ - ๘ โทรสาร ๐ ๒๒๒๔ ๘๕๕๔ www.sk.ac.th สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๔๐๐ ถนนสามเสน แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๘๒ ๔๕๔๕, ๐ ๒๒๘๑ ๓๒๓๖ โทรสาร ๐ ๒๒๘๑ ๓๒๓๖ www.skalumni.net จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการจัดงานมุทิตาจิต ๒๕๕๖ ศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น ๑๑๑ อาร์ตเวิร์ค โดย บริษัท ปพิชญ์ภูมิ จำ�กัด 08 1327 7033

design 4.indd 290

9/9/2556 14:33:47


design 4.indd 291

9/9/2556 14:33:49


design 4.indd 292

9/9/2556 14:33:58


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.