Baanmonceramic

Page 1

เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ นครสวรรค์

มัลลิกา ยิ้มนาค



ชาวมอญ เริ่มอพยพเข้ามายังดินแดนไทย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๐๘๒ ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา และครั้งสุดท้ายใน พ.ศ.๒๓๕๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อมอญถูกพม่ากดดันอย่างหนัก ต้อง หนีเข้าไทยเป็นระลอกใหญ่ ราว ๔๐,๐๐๐ คนเศษ ถิ่นที่อยู่ที่สำ�คัญของชาว มอญในภาคกลาง เช่น ลพบุรี อยุธยา นครปฐม ราชบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ เพชรบุรี ทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำ�พูน ลำ�ปาง กำ�แพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี นครราชสีมา มีบ้างเล็กน้อย ที่อพยพลงใต้ อย่าง ชุมพร สุราษฎร์ธานี


ชาวมอญ จ.ปทุมธานี หรือ มอญสามโคก สามโคกมีชื่อปรากฏอยู่ ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายฉบับ ที่กล่าวถึงการอพยพชาวมอญเข้ามาอยู่ที่สามโคก ในปี พ.ศ. ๒๒๐๓ สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชาวมอญเมืองเมาะตะมะ ได้อพยพครัวเรือนหนี ภัยสงครามเข้ามาประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ที่บ้านสามโคก นับเป็นครั้งแรกที่ชาวมอญได้เข้ามาตั้งบ้านเรือน หมู่บ้านนี้ประกอบอาชีพท�ำเครื่องปั้นดินเผาออกจ�ำหน่าย มีการก่อตั้ง โคกเนิน เพื่อสร้างเผาเตาริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาขึ้นสามโคก แต่ละโคกก็มีการ ก่อเตาเรียงคู่ขนานสลับซับซ้อนกันอยู่ ประมาณว่า ทั้งสามโคกมีเตารวมกันไม่ น้อยกว่า ๑๕ เตา จากหลักฐานขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีโดยส�ำนักงาน โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่ จ. สุพรรณบุรี กรมศิลปากร ร่วม กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และองค์บริหารส่วนต�ำบลสามโคก เข้าด�ำเนินงานขุดแต่งจนแล้วเสร็จ ในเดือนมีนาคม พ.ศ ๒๕๔๓ ในบริเวณ เนินโคกเตาเผาที่ ๑ พบซากเตาเผาปรากฏอยู่ ๔ เตาเรียงซ้อนกันอยู่ ในเนิน เดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่พบในเตาบ้านสามโคก เป็นของที่ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ทั่วไปในครัวเรือน เช่น ตุ่มอีเลิ้ง อ่าง ครก กระปุก โถ หม้อน�้ำ หวดนึ่งข้าว เตา ชาม ตะคัน

2


ท่อน�้ำภาชนะบางส่วน มีการตกแต่งด้วยลวดลายขูดขีด หรือลายกด ประทับเป็นลายดอกพิกุล ลายดอกไม้กลีบบัว ลายกระจัง ลายจักร บางชิ้นมี จารึกข้อความเป็นภาษามอญ ซึ่งยังแปลความหมายยังไม่ได้ บางชิ้นมีจารึก ข้อความเป็นภาษาไทย อ่านความว่า “หนังสือออกหลวง” แหล่งเตาเผาที่บ้าน สามโคก นับเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ใหญ่ ในสมัยอยุธยาตอนล่าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปทุกครัวเรือน โดยเฉพาะ “ตุ่มอีเลิ้ง” ซึ่งเป็นตุ่ม ดินสีแดงไม่เคลือบ ปากเล็กก้นลึก กลางป่อง ซึ่งต่อมาเรียกตามชื่อแหล่งผลิต ว่า “ตุ่มสามโคก” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ของชาว มอญที่บ้านสามโคก

3


ชาวมอญ จ.พระนครศรีอยุธยา หรือ ชาวมอญ บ้านเสากระโดง ไม่ทราบแน่ชัดว่า อพยพเข้ามาในสมัยใด แต่สันนิษฐานจากค�ำบอก เล่า ของผู้อาวุโสภายในหมู่บ้าน และจากโบราณสถาน ภายในวัดทองบ่อ คือ เจดีย์โบราณ ท�ำให้คาดคะเนว่า น่าจะอพยพเข้ามาอยู่ ณ ชุมชนนี้ ตั้งแต่ช่วง สมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะจากค�ำบอกเล่า ของคุณป้าภูมิ พลอยรัตน์ (ธรรมนิยาม) ว่า คุณตาฉ�่ำ ธรรมนิยาม ผู้บิดาเล่า ให้ฟังว่า บรรพบุรุษมาจากเมืองมอญ เข้ามาทางจังหวัดเชียงใหม่ แล้วเดิน ทางเข้ามาทางเกวียน มาก่อตั้งหมู่บ้าน ในระยะมีอาชีพท�ำนา ค้าเกลือ เผาอิฐ ในช่วงที่อพยพเข้ามาประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๖๐ หมู่บ้านเสากระโดง เดิมเรียก กันตามภาษามอญว่า กวานปราสาท และวัดทองบ่อ ก็มีการเรียกกันแต่เดิม ว่า เพียปราสาท ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นวัดทองบ่อ เนื่องจากบริเวณที่ตั้ง หมู่บ้านในอดีต เป็นด่านขนอน (ด่านเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา) มีค�ำบอกเล่าว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการใช้เรือส�ำเภา ในการขนส่งสินค้า และเดินทาง เกิดเหตุอัปปางลงเรือพร้อมเสากระโดง ลอยมาติดอยู่แถว หมู่บ้านนี้ จนท�ำให้ผู้คนผ่านไปมา เรียกหมู่บ้านว่าหมู่บ้านเสากระโดง ปัจจุบัน เสากระโดงได้เก็บรักษาไว้ ในบริเวณวัดทองบ่อ เป็นโบราณวัตถุ และ สัญลักษณ์ของหมู่บ้านเสากระโดง 4


อาชีพ เดิมประกอบอาชีพการเผาอิฐ ค้าขายเกลือ จาก ทำ�นา ปัจจุบันประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการ พนักงานโรงงาน และอื่น ๆ ศาสนา ประชาชน ในชุมชนมอญบ้านเสากระโดง นับถือศาสนาพุทธ ทั้งหมด มีวัดทองบ่อเป็นศูนย์กลางของชุมชน ผู้สูงอายุ ยังคงสวดมนต์ภาษา มอญ ทำ�วัตรเย็นเป็นประจำ�ทุกวัน และในวันพระยังคงถือศีลอุโบสถ ภาษา ผู้สูงอายุในหมู่บ้านยังพูดภาษามอญ สวดมนต์ภาษามอญ สำ�หรับผู้ที่สามารถเขียน และอ่านภาษามอญได้มีจำ�นวนน้อย แต่ปัจจุบันเจ้า อาวาสวัดทองบ่อ ดำ�ริจะจัดการสอนหนังสือภาษามอญ ให้กับเด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจ โดยจัดตั้งศูนย์ศึกษาภาษามอญ วัฒนธรรมประเพณี ชาวบ้านในชุมชนมอญบ้านเสากระโดง เคร่งครัดในศาสนา จะร่วมถือศีลฟังธรรม ในวันพระและวันส�ำคัญทางศาสนา รวมทั้งร่วมกิจกรรมทางศาสนา เช่น เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลเข้าพรรษา ประเพณีการตักบาตรน�้ำผึ้ง เทศกาลออกพรรษา การเทศน์มหาชาติ รวมทั้ง กิจกรรม ในงานวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พระบรมราชินีนาถ

5


ชาวมอญ จ.นนทบุรี หรือ ชาวมอญเกาะเกร็ด หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ต้นก�ำเนิดมาจากการที่ชาว รามัญหรือชาวไทยเชื้อสายมอญได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น อาศัยอยู่ที่เกาะเกร็ด อ�ำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เครื่องปั้นดินเผาเกิดจากความต้องการที่ต้องการมี เครื่องมือเครื่องใช้ในการด�ำรงวิถีชีวิต และเดิมทีชาวบ้านส่วนใหญ่มีความ ช�ำนาญการปั้นเครื่องปั้นดินเผา โดยเริ่มแรกชาวบ้านได้เริ่มผลิต เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนเช่น โอ่ง อ่าง กระถาง หม้อข้าว หม้อขนมครก และครก เดิมใช้เครื่องปั้นดินเผาสามารถเป็นสินค้า แลกเปลี่ยนหรือข้าวสารแทนได้ จนพัฒนาก่อตั้งเป็นโรงงานผลิต เครื่องปั้นดินเผาประกอบธุรกิจขนาดเล็ก และมีการท�ำในหลายๆครัวเรือนและ ได้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ในปัจจุบันเป็นรุ่นที่สืบทอดเป็นรุ่นที่ ๔ ย่างรุ่นที่ ๕

6


เครื่องปั้นดินเผา อาชีพของชาวมอญปากเกร็ดที่ขึ้นชื่ออย่างหนึ่ง คือการท�ำ เครื่องปั้นดินเผา เป็นที่รู้จักทั่วไป และรูปแบบหม้อน�้ำลายวิจิตรของชาวมอญ ยังได้ปรากฏบนตราประจ�ำจังหวัดนนทบุรีอีกด้วย ชาวมอญปากเกร็ดที่ท�ำอาชีพเครื่องปั้นดินเผานั้น เป็นชาวมอญที่ อพยพมาจาก “บ้านอาม่าน” เมืองมะละแหม่ง บ้านอาหม่าน แปลว่า บ้านช่าง ปั้น ชาวบ้านยังคงยึดถืออาชีพเดิมของบรรพชนจากเมืองมอญ ดินปากเกร็ด คุณภาพดี ฝีมือช่างประณีต และสีสรรสวยงามเป็นที่ต้องการของลูกค้า มีด้วย กัน ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ๑. เครื่องปั้นที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วัน รูปแบบเรียบง่าย เช่น โอ่ง อ่าง กระถาง ครก ๒. เครื่องปั้นประเภทสวยงาม เรียกว่า หม้อน�้ำลายวิจิตร โดยปกติ ช่างมักปั้นขึ้นในวาระพิเศษ เพื่อก�ำนัลแด่บุคคลส�ำคัญและถวายวัด เป็นการ ฝากฝีมือของช่างปั้น

7


ชาวมอญ จ.นครสวรรค์ หรือ ชาวบ้านมอญ บ้านมอญเป็นหมู่บ้านที่มีประวัติระยะเวลายาวนานประมาณ ๒๐๐ ปี เริ่ม จากชุมชนชาวมอญอพยพมาจากเกาะเกร็ด โดยมาทางเรือรวมกัน ๔ ครอบครัว ระหว่างหยุดพักเหนื่อยบางคนก็หุงข้าว บางคนก็ลงไปหาผักหา ปลาในบึง จึงบังเอิญพบแหล่งดินเหนียว ด้วยความช�ำนาญ ในกานในการท�ำ เครื่องปั้นดิน เผาอยู่แล้วจึงลองน�ำดินบริเวณนี้มาปั้นเป็นภาชนะที่ใช้ในครัว เรือน เมื่อเห็น ว่าดินบริเวณนี้มีคุณสมบัติ เหมาะสม จึงได้ชวนกันตั้งรกรากกัน อยู่ที่บริเวณนี้ ซึ่งปัจจุบันนี้คือ หมู่ที่ ๑ ต�ำบลบ้านแก่ง อ�ำเภอเมือง จังหวัด นครสวรรค์

8


ครอบครัวชาวมอญที่อพยพมามีทั้งหมด ๔ ตระกูลด้วยกัน คือ ๑. ตระกูลช่างปั้น ๒. ตระกูลเลี้ยงสุข ๓. ตระกูลแก้วสุทธิ ๔. ตระกูลเรืองบุญ ในการท�ำเครื่องปั้นดินเผาในสมัยปู่ย่าตายายนั้นท�ำไว้เพื่อแลกข้าว แลกอาหารทุกอย่างที่เลี้ยงชีพได้ ต่อมามีการปั้นเพื่อขาย ก็มีโอ่งใส่น�้ำ หวดนึ่ง ข้าวเหนียว อ่างนวดขนมจีน กระปุกดับถ่าน อ่างรองน�้ำข้าว และเตาขนมครก จนถึงปัจจุบันนี้ได้มีการ พัฒนารูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ทันกับความ ต้องการของตลาด

9


แหล่งเครื่องปั้นดินเผานี้คนทั่วไปได้เรียกขานว่า “ บ้านมอญ ” เพราะ ทั้ง ๔ ครอบครัวนี้เป็นเชื้อสายมอญ เหตุที่มีชื่อว่า “ บ้านมอญ ” เนื่องมาจาก ชาวมอญเป็น คนก่อตั้งชาวมอญมีฝืมือในการปั้นดินที่มีความละเอียดอ่อน และมีความ ช�ำนาญจึงสามารถคิดรูปแบบต่างๆออกมาด้วยความรู้สึกและ เป็นเอกลักษณ์ของคนบ้านมอญ การท�ำเครื่องปั้นดินเผาของคนบ้านมอญได้ ใส่จินตนาการของตน เองลงไปในผลงานที่ตนปั้น จึงท�ำให้ผลงานออกมามี ความละเอียดอ่อนและ สวยงามตามจินตนาการของคนปั้นนั้นเอง จนกระทั่ง ถึงปัจจุบันจากชุมชนเล็กๆ กลายเป็นหมู่บ้านที่รู้จักกันทั่วประเทศ และมีลูก หลานสืบทอดการปั้นดินที่เป็น เอกลักษณ์ของภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่น ให้ ลูกหลานชาวบ้านมอญตั้งปณิธานว่า จะสืบทอดภูมิปัญญานี้ตลอดไป

10


แหล่งวัตถุดิบ บึงเขาดิน อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ เมตร ชาวบ้านจะร่วม ตัวกันแล้วจ้างรถไปตักดินพร้อมน�ำมาส่งคันละประมาณ ๓๐๐บาท ปีหนึ่งจะ มีการขุด ๑ ครั้ง 11


ขั้นตอนการทำ� ๑. นำ�ดินเหนียวมากองไว้เตรียมใช้ งานเรียกว่า กองดิน

๒. ซอยดินเหนียว แล้วน�ำไปพรมน�้ำ หมักค้างคืน โดยใช้ใบตองแห้งคลุม ให้ดินชุ่มน�้ำพอเหมาะ

๓. ปั้นดินที่หมักเป็นก้อนๆ ยาว ประมาณ ๑ ศอกนำ�ไปวางไว้ในลาน วงกลมแล้วใช้ควายย่ำ�ให้ทั่ว เรียกว่า นวดดิน ปัจจุบันพัฒนามาเป็นการใช้ เครื่องนวดแทนควาย

12


๔. นำ�ดินที่นวดแล้วมาตั้งเป็นกอง ใหญ่ แล้วเหยียบให้เป็นกองแบน ลง ถ้าพบเศษวัสดุอะไรในดินก็หยิบ ออกมาแล้วนำ�ผ้ามาคลุมดินไว้เพื่อรอ การนำ�ดินมาใช้ในการปั้นต่อไป

๕. นำ�ดินมาปั้นเป็นแท่งกลมยาวเพื่อ ขึ้นรูป โดยขึ้นรูปบนแป้นหมุน เรียก ว่า ก่อพิมพ์ เป็นการปั้นครึ่งล่างของ ภาชนะที่ปั้น

๖. นำ�ครึ่งล่างที่ปั้นเสร็จแล้วไปผึ่งให้ หมาดๆ แล้วนำ�มาปั้นต่อให้เสร็จตาม รูปแบบที่ต้องการ

13


๗. นำ�มาผึ่งให้หมาดๆ แล้วนำ�ไปขัด ผิวให้เรียบโดยใช้ลูกสะบ้าขัด ทำ�ให้ ผิวเรียบและมันแล้วนำ�ไปตากให้แห้ง

๘. นำ�ภาชนะที่ปั้นเรียบร้อยแล้วและ แห้งดีแล้วไปเข้าเตาเผา ซึ่งเป็นเตาก่อ ด้วยอิฐ

๙. ในการเผาจะใช้เวลาประมาณ ๒ คืน ๓ วัน และต้องคอยใช้ฟืนในเตา เผาตลอดทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ได้ความ ร้อนสม่ำ�เสมอและทำ�ให้ดินสุกได้ทั่ว ถึง

14


๑๐. เมื่อเผาได้ตามที่กำ�หนดเวลา ต้องงดใส่ไฟ แล้วปล่อยทิ้งไว้ในเตา เผา 2 คืน โดยค่อยๆ เปิดช่องว่างเพื่อ ค่อยๆระบายความร้อนเรียกว่า แย้ม เตา

๑๑. นำ�ภาชนะที่เผาเรียบร้อยแล้ว ออกจากเตาคัดเลือกชิ้นที่มีสภาพดี นำ�ไปจำ�หน่าย

15


ปัจจุบันชาวบ้านมอญได้หันมาผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทสวยงาม (ลายวิจิตร) ซึ่งในอนาคตอาจะเป็นแหล่งอุตสากรรมที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลาง ก็ได้ ชาวบ้านมอญเริ่มผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทเครื่องใช้ในครัวเรือนน้อย ลง เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์อื่นที่สะดวกกว่า แรงงานก็หายากและต้นทุนการ ผลิตสูงขึ้นทำ�ให้ชาวบ้านมอญหันไปประกอบอาชีพอื่น จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ทางภาครัฐได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวและให้ประชาชนอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เครื่องปั้นดินเผาชาวบ้านมอญจึงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง 16


แนวโน้มในอนาคตของเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญลูกค้าน่าจะเป็นนัก ท่องเที่ยวและสินค้าที่ขายน่าจะเป็นประเภทของที่ระลึก ของขวัญ ซึ่งแรงงาน ที่จะมาสืบทอดฝีมือการแกะสลักและงานปั้นก็ยากขึ้น เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ การฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะและความชำ�นาญ นอกจากนั้น การปั้นมีหลายขึ้น ตอนทำ�ให้เด็กรุ่นใหม่สนใจน้อย ประการสำ�คัญถ้าจะให้อาชีพคงอยู่ต่อไปจะ ต้องช่วยกันสนับสนุนสินค้าประเภทนี้ เพื่อสร้างเป็นอาชีพหลักและเพื่อให้งาน เครื่องปั้นดินเผาของชาวบ้านมอญอยู่สืบไป นางเป้า เลี้ยงสุข (หัวหน้ากลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ)

17


เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์ © 2015 (พ.ศ. ๒๕๕๘) โดย มัลลิกา ยิ้มนาค สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียบเรียงและออกแบบโดย มัลลิกา ยิ้มนาค ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ Cordia New หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.