ratchaburi1 e-magazine

Page 1

1

สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 ฉบับเดือน เม.ย.- พ.ค. 55 ปีที่ 2 ฉบับที่ 13


2

คุยกับผู้อำ�นวยการ

ตอนนี้สถานศึกษาก็เริ่มจะเปิดเทอมใหม่ๆ อากาศ ก็แปรปรวน ร้อนบ้างฝนตกบ้าง แต่คุณครูก็จะต้องมีภาระกิจในการดูแลสภาพภูมิทัศน์ของอาคารเรียน ห้องเรียนและ รอบๆบริเวณให้ดูเหมาะสม สะอาดตา เพื่อสร้างบรรยากาศให้แก่การเรียนการสอนใน ปีการ ศึกษาใหม่ พร้อมทั้งยังคงต้องหาวิธีการที่จะรับมือ ในเรื่องการเรียนการสอนเพื่อ ให้เด็กได้มีผลสัมฤิทธิ์ที่ดี น่าพอใจ มีหลายโครงการที่จะเข้ามาเพื่อช่วยเหลือเยาวชน ของเราให้มีคุณภาพมายิ่งขึ้น จากหลายนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่คุณครูจะ ต้องปฏิบัติ เช่น โครงการแท๊ปเล็ตให้กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้ ได้เรียนรู้ โดยใช้ เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณครูในฐานะผู้จัดการเรียนการสอนจะต้องเรียนรู้วิธีการและ สามารถนำ�เทคโนโลยีมาใช้ ได้อย่างดีด้วย และเรื่องของภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เรา ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองเพื่อที่จะนำ�ไปเป็นแบบอย่างให้เด็ก โดยการใฝ่คว้าหาความรู้ พัฒนา ตนเองให้มา การที่เราจะนำ�เด็กของเราเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้คุณครูต้องเป็น ผู้นำ�ที่มีคุณภาพ สุดท้ายคือเรื่องของการพัฒนาตนเอง ซึ่งตอนนี้ สพฐ.ทำ�ความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามจัด การอบรม e-traning ในระบบ UTQ ออนไลน์ ให้ กับคุณครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ หลายหลักสูตรซึ่งนำ�ไปเลือกใช้พัฒนาคุณภาพการเรียน การสอนได้ หว้ังว่าคงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำ�หรับการพัฒนการเรียนการสอน....... วินัย ศรีเจริญ


3

CONTENTS คลีนิคปฐมวัย Tecnology For Teacher English for life Wellknow Asia เก็บตกจากนักการศึกษาไทย ข่าวกิจกรรมประชาสัมพันธ์

4 6 8 13 21 22

เจ้าของสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 นายวินัย ศรีเจริญ ผู้อำ�นวยการ สพป.ราชบุรี เขต 1 ที่ปรึกษา รองผู้อำ�นวยการ,ผู้อำ�นวยการกลุ่มทุกกลุ่ม คณะกรรมการ นายไพรัช นวลขำ� บรรณาธิการ นางดวงตาเข็มทองและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ กองบรรณาธิการ งานประชาสัมพันธ์ กลุ่มอำ�นวยการ ผู้ผลิต. โทร.032-321914 http//prcake1.wordpress.com


4

คลีนิคปฐมวัย

การวัดและประเมินแบบสภาพจริง เป็นการเก็บข้อมูลตามความเป็นจริงที่เกิด ขึ้นจากการปฏิบัติของเด็ก แล้วนำ�ข้อมูลที่ เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยและเป็น ประโยชน์กับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีการ พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา การ ประเมินดังกล่าวสิ่งสำ�คัญคือการประเมินว่า เด็กรู้อะไรและสามารถทำ�อะไรได้บ้าง หรือ เด็กมีพฤติกรรมอย่างไร ลักษณะของการ ประเมินสภาพจริง เช่น การประเมินความสามารถในการใช้กล้าม เนื้อใหญ่ โดยให้เด็กยืนทรงตัวขาเดียวด้วย ขา ข้างใดข้างหนึ่ง กระโดดขาเดียวไปข้าง หน้าด้วยขาที่ถนัด ส่วนการใช้กล้ามเนื้อเล็ก กับการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา โดยให้เด็กหยิบจับกรรไกร ตัดกระดาษตาม แนวที่กำ�หนดให้ การประเมินความสามารถในการเขียน ครู จะต้องเข้าใจในพัฒนาการการเขียนของเด็ก ปฐมวัย ซึ่งความสามารถด้านการเขียนมี ลำ�ดับขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 ขีดเขี่ยแทนเขียน ขั้นที่ 2 เขียนตั้งชื่อผลงานด้วย สัญลักษณ์ ขั้นที่ 3 เขียนโดยไม่มีแบบและกฎ เกณฑ์

ขั้นที่ 4 เขียนโดยลอกเลียนแบบ ขั้นที่ 5 เขียนในรูปของตัวอักษร และวาดภาพ ขั้นที่ 6 เขียนโดยสะกดคำ�ขึ้นเอง การประเมินความสามารถในด้านการจำ�แนก เช่น การจำ�แนกสิ่งของตามสี ขนาด รูป ทรง เปรียบเทียบจำ�นวน ขนาด น้ำ�หนัก หรือบอกความสัมพันธ์ของตำ�แหน่งที่อยู่ ของสิ่งของ ต่าง ๆ ตามที่ครูจัดหาอุปกรณ์ ประเภทต่าง ๆ เพื่อนำ�มาประเมินความ สามารถดังกล่าว


5

การประเมินตามสภาพจริง เป็นการวัดที่มีความสำ�คัญและมีคุณค่ายิ่งสำ�หรับเด็กปฐมวัย เพราะเป็นวัยที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องการคนที่มีความรู้ความเข้าใจในการร่วมกันอบรมเลี้ยง ดูและประเมินพัฒนาเด็กในแนวทางที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัย วิธีการประเมินจึงเป็น วิธีที่ ไม่เป็นทางการซึ่งพอกล่าวได้ดังนี้ 1. การประเมินด้วยการสร้างความรู้จัก 2. การประเมินด้วยการสังเกต 3. การประเมินด้วยการพูดคุย 4. การประเมินด้วยพอตโฟลิโอ 5. การประเมินด้วยการปฏิบัติจริง 6. การประเมินด้วยสถานการณ์จำ�ลอง 7. การประเมินตนเอง สิ่งสำ�คัญของการประเมินตามสภาพจริง คือ ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจใน วิธีการประเมินที่หลากหลาย รู้จักการใช้เครื่องมือการประเมิน การสรุปและรายงานผล การประเมิน ตลอดจนการนำ�ผลการประเมินใช้ ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมี คุณภาพอย่างเต็มศักยภาพ ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์ สพป.รบ.1


6

BACK

TO SCHOOL

กระตุ้นหัวใจเด็กให้มาโรงเรียน BACK TO SCHOOL กระตุ้นหัวใจเด็กให้มาโรงเรียน ในช่วงเปิดเรียนใหม่ๆเรามีกิจกรรมดีๆมาแนะนำ�กัน เป็นไอเดียเก๋ๆที่ ได้มาจากศึกษานิเทศก์ ของ สพป.น่าน2 เห็นว่าน่าจะเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และมีความหมายสำ�หรับการเตรี ยมความพร้อมของนักเรียนในด้านของจิตภาวะเป็นอย่างยิ่งมานำ�เสนอ กิจกรรม back to school เป็นกิจกรรมที่ครูร่วมต้อนรับนักเรียนกลับสู่รั้วโรงเรียนในวันเปิด เรียนวันแรกในแต่ละภาคเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่ง โดยมีแนวคิดว่าต้องการเห็นนักเรียน รู้สึกตื่นเต้นและมีความสุขเมื่อย่างเท้าเข้าสู่รั้วโรงเรียนในวันแรกของการเปิดเรียน ซึ่งจะ เป็นสิ่งหนึ่งกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะเรียนหนังสือในครั้งต่อ ๆ ไป กิจกรรม back to school แต่ละภาคเรียนจะปรับเปลี่ยนกิจกรรมไปตาม แนวคิดและความต้องการของครูที่ต้องการจัดให้เด็ก เริ่มครั้งแรกเมื่อปี 2552 ครูจะช่วยกัน ทำ�ซุ้มประตูสวยงามและให้เด็กลอดผ่าน พร้อมทั้งติดดอกไม้ ให้กับเด็กทุกคนด้วย ทำ�แล้ว เห็นสีหน้าและแววตาของเด็กทุกคนมีความสุข ครูก็พลอยปลื้มใจและสุขใจไปด้วย ต่อมาพบ ว่า เปิดเรียนวันแรกแต่ละภาคเรียน เด็กนักเรียนรวมถึงผู้ปกครองตื่นเต้นที่จะมาโรงเรียน และคอยรับการจัดกิจกรรม Back to School จากคุณครูทุกคน


7

สำ�หรับปีนี้ครูเกิดแนวคิดใหม่ที่อยากให้นักเรียนประทับใจและต้องการเห็นคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ที่จะเกิดในตัวเด็ก จึงให้ชื่อว่า “สัญญาใจเปิดเทอมใหม่ พร้อมใจเรียน” โดยเมื่อ เด็กนักเรียนย่างเข้าสู่รั้วโรงเรียน จะได้รับแจกหัวใจคนละดวง (ทำ�จากกระดาษรี ไซเคิล) เพื่อนำ�ไปเขียนสิ่งที่นักเรียนตั้งใจจะทำ�แล้วนำ�หัวใจไปติดไว้บนป้ายกระดานที่ครูทุกคนต่าง ช่วยกันตกแต่งไว้อย่างสวยงาม จากนั้นครูจะช่วยกันอ่านหัวใจแต่ละดวงของนักเรียน บาง คนมีความตั้งใจที่จะเป็นคนดี บางคนตั้งใจที่จะเรียนหนังสือให้ดีกว่าเดิม บางคนบอกว่าจะ ไม่ทำ�ตัวไม่ดีเหมือนปีก่อน ป้ายสัญญาใจซึ่งมีหัวใจทุกดวงของนักเรียนบ้านไร่ จะถูกนำ�ไปติด ไว้ที่สมุดโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้อ่านสิ่งที่ตนเองเขียนไว้เป็นการเตือนใจในการกระทำ� เมื่อจบภาคเรียนครูทุกคนก็จะประเมินพฤติกรรมนักเรียนแต่ละคนว่าเป็นไปตาม ที่ ได้เขียนสัญญาไว้หรือไม่ back to school จึงไม่ ใช่แค่กิจกรรมที่สร้างแต่ความสุขเท่านั้น แต่เป็นกิจกรรมที่สามารถประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในตัวนักเรียนได้อย่างหนึ่ง นั่น คือ ความซื่อสัตย์........ แหล่งที่มาข้อมูล นิเทศออนไลน์ ใต้ฟ้าน่าน 2 ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 10 พ.ค.55 โดย.นางสดศรี สุทธการ ศน.สพป.น่าน 2 http://www.nan2.go.th


8

TECNOLOGY

FOR TEACHERS

มารู้จัก Tablet กันเถอะ คำ�ว่า “แท็บเล็ต - Tablet” ที่วงการการศึกษากล่าวถึงและตื่นตัวกันอย่างมากมาย รัฐบาล จะแจกให้เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคนได้นำ�มาใช้ส่งเสริมการเรียนการสอน เรามารู้จัก เจ้า”แท็บเล็ต - Tablet” ว่ามันคืออะไร แต่ถ้าพูดว่า iPad, Samsung Galaxy Tab แล้วล่ะ ก็ต้องร้อง อ๋อ กันแน่นอนซึ่ง iPad และ Samsung Galaxy Tab นั้นจริงๆแล้วเป็นเพียงแค่ ชื่อรุ่นเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วตัวเครื่องเหล่านี้จะเรียกกันว่า “แท็บเล็ต - Tablet” “แท็บเล็ต - Tablet” ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความ ต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ ให้คำ� นิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ “แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)” และ “แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer” หรือ เรียกสั้นๆว่า “แท็บเล็ต - Tablet” “แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)” คือ “เครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำ�งานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำ�งานได้ด้วยตัวมันเอง” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากทาง Microsoft ได้ทำ�การเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจาก นั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก


9

“แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC” ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการ ใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) “แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC” ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำ�หรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และระบบเครือข่ายภายใน

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet “แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer” หรือเรียกสั้นๆว่า “แท็บเล็ต Tablet” คือ “เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ ในขณะเคลื่อนที่ ได้ขนาดกลางและ ใช้หน้าจอสัมผัสในการทำ�งานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกา ดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊ คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม” ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต “ไอแพด - iPad” ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น “แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer” เครื่องแรก ความแตกต่างระหว่าง “แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer” และ “แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC”เริ่มแรก “แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC” จะใช้หน่วย ประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐาน และมีการปรับแต่งนำ�เอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำ�ให้สามารถใช้การสัมผัสในการ ทำ�งานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้น พิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำ�ให้มีคนเรียกกัน ว่า “Wintel”


10

ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก “แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC” ขึ้นมา โดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ “แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet” ซึ่งจะใช้ หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำ�ให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้ โดยตรงและ สัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU ที่ ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำ�ให้แท็บเล็ตนั้นมี การใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้ กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง ** สรุปความหมายของแท็บเล็ตสั้นๆ ก็คือ คอมพิวเตอร์พกพาหรือคอมพิวเตอร์ ที่สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ ได้ขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสในการใช้งานเป็นหลัก แหล่งข้อมูลจาก •http://en.wikipedia.org/wiki/Tablet_personal_computer#cite_note-3 •http://en.wikipedia.org/wiki/Tablet_computer#cite_note-Editors_PC_Magazine-0 •http://en.wikipedia.org/wiki/X86 •http://en.wikipedia.org/wiki/Wax_tablet


CONVERSATIONS ENGLISH FOR LIFE คำ�ทักทาย สวัสดี Hello. สวัสดีตอนเช้าจนถึงเวลา 12.00 น. Good morning. สวัสดีตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงจนถึง 17.00 น. Good afternoon. สวัสดีตั้งแต่เวลา 18.00 น.จนถึงกลางคืน Good evening. สวัสดี (แต่ ใช้ทักทายอย่างเป็นกันเอง) Hi ! ราตรีสวัสดิ์ Good night. สบายดีหรือ Are you well ? / How are you ? สบายดี I’ m fine. / Very well. ก็เรื่อยๆ O.K. , thanks. / Not so bad. / Quite well. คุณชื่ออะไร What’ s your name ? ดิฉันชื่อ....... , ผม ชื่อ.......... My name is........ . ยินดีที่ ได้รู้จัก Pleased to meet you. แล้วพบกันนะ Good bye./ Bye / See you. ยินดีที่ ได้พบคุณอีก Nice to meet you again. ตัวอย่างบทสนทนาที่ 1 Dang : Hello ! How are you ? Ann : Fine, thank you. And you ? Dang : O.K. , thanks.

สวัสดีครับ คุณสบายดี ไหม สบายดีค่ะ ขอบคุณแล้วคุณล่ะ ก็เรื่อยๆ ขอบคุณครับ

11


12

CONVERSATIONS ENGLISH FOR LIFE

ตัวอย่างบทสนทนาที่ 2 Tom : Hi ! Jenny, what’ s up ? สวัสดีเจนนี่ เป็นอย่างไรบ้าง Jenny : Not so bad, and how are you today ? ก็ ไม่เลวหรอก แล้วคุณเป็น อย่างไรบ้างล่ะวันนี้ Tom : I’ m all right. I have to go now. I’ ll see you tomorrow. ฉันต้องไปแล้วล่ะ แล้วพบกันพรุ่งนี้นะครับ Jenny : O.K. See you. ตกลง แล้วเจอกันค่ะ

การแนะนำ�ตัว ประโยคที่นิยมใช้ ในการแนะนำ�ตัวเอง เช่น ฉันขอแนะนำ�ตัวเองค่ะ ฉันชื่อ.......... May I introduce myself ? I’ m ........... . May I introduce myself ? My name is.......... . สวัสดีครับ ผมชื่อ.......... Hi ! My name is........... . ตัวอย่างบทสนทนาที่ 3 Rock : May I introduce myself ? I’ m Rock. I’ m from Phattalung. I have an appointment to see Mrs. Manee, please. ผมขอแนะนำ�ตัวเองนะครับ ผมชื่อร็อก ผมมาจากพัทลุง ผมมีนัดกับคุณมณีครับ


CONVERSATIONS ENGLISH FOR LIFE ขอบคุณ ขอบคุณมาก ฉันรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ฉันไม่ทราบจะขอบคุณคุณอย่างไรดี ด้วยความยินดี ไม่เป็นไรหรอก

13

Thank you./ Thanks. Many thanks. Thank you very much. I’ m very grateful. I don’ t know how to thank you. It’ s a pleasure. You are welcome. That’ s OK. That’ s all right. Not at all.

ตัวอย่างบทสนทนาที่ 4 Dome : Could you tell me the time, please ?คุณช่วยบอกเวลาให้ฉันหน่อยได้ ไหมครับ Anna : Sure, it’ s nearly nine. ได้สิค่ะ เกือบจะเก้าโมงแล้ว Dome : Thank you. ขอบคุณครับ Anna : That’ s all right. ไม่เป็นหรอก


14

มารู้จักประเทศพม่า Myanmar เมืองหลวง เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า: ) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ ได้ย้ายมาจากย่างกุ้งตั้งแต่ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตก ของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะ ที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือ ประมาณ 320 กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย ทิศใต้ ติดกับเทือกเขาอาระกันโยมากั้นเป็นแนวยาว ทิศตะวันออก ติดกับเป็นที่ราบสูงชาน ทิศตะวันตก ติดกับมีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นเทือกเขาสูงจากเหนือลงใต้ เพราะเป็นแนวเทือกเขาหิมาลัยสลับกับพื้นที่ที่ เป็นที่ราบสูงมียอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศ คือ ยอดเขาคากาโบ ราซี (Hkakabo Razi) มี ความสูง 5,881 เมตร และมีที่ราบลุ่มแม่น้ำ�ที่สำ�คัญคือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ�อิระวดี (Ayeyarwady หรือ Irrawady) แม่น้ำ�ชินด์วินด์ (Chindwinh) แม่น้ำ�สะโตง (Sittoung) แม่น้ำ�สาละ วิน (Salween) ซึ่งที่ราบลุ่มแม่น้ำ�เหล่านี้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยทำ�การเกษตรที่สำ�คัญ ของชาวพม่าจวบจนปัจจุบัน


15

ประชากร ประชากรส่วนใหญ่ของพม่าจัดอยู่ ในกลุ่มชาวทิเบต – พม่า (Tibeto-Burman) ซึ่งอพยพลง มาจากดินแดนทิเบต โดยกลุ่มชนชาวพยู (Pyu) เป็นกลุ่มแรกที่เข้ามา ตั้งหลักแหล่งทำ�มา หากินในพม่า ตั้งแต่ยุค 2,500 กว่าปีก่อน ปัจจุบันเชื้อสายของประชากรจึงมีความแตก ต่าง กันมากมาย ประกอบไปด้วยชนเชื้อสายม่าน หรือเมียน หรือพม่า ประมาณ 65% ชาวไท ใหญ่ 10% ชาวกะเหรี่ยง 7% ชาวยะไข่หรืออาระกันและชาวฉิ่น 4 % และชาติพันธุ์ที่เหลือ แตกย่อยออก ไปเป็นกลุ่ม ชนอื่น ๆ มากมายถึง 135 ชาติพันธุ์ ได้แก่ พวกกะฉิ่น ว้า มอญ ไต ม้ง และกลุ่มชาวอัสสัมเผ่าต่าง ๆ เป็นต้น ระบอบการปกครอง เพิ่งจะมีการเลือกตั้งและส่งเสริมการเป็นประชาธิปไตเปลี่ยนแปลงมาจากการปกครอง แบบเผด็จการทหาร เขต เขตการปกครอง ประเทศพม่าแบ่งเป็น 7 เขต (divisions) และ 7 รัฐ (states) ได้แก่ 1.เขตอิรวดี (Ayeyarwady) 2.เขตพะโค (Bago) 3.เขตมาเกว (Magway) 4.เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) 5.เขตสะกาย (Sagaing) 6.เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) 7.เขตย่างกุ้ง (Yangon) รัฐ ได้แก่ 1.รัฐรัฐชิน (Chin) 2.รัฐกะฉิ่น (Kachin) 3.รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) 4.รัฐกะยา (Kayah) 5.รัฐมอญ (Mon) 6.รัฐยะไข่ (Rakhine) 7.รัฐฉาน หรือรัฐไทใหญ่ (Shan) ภาษา ประชาชนส่วนใหญ่ ใช้ภาษาพม่า กะเหรี่ยง และไทใหญ่ เพราะเป็นกลุ่มชนส่วนมาก และแม้ จะมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองสำ�หรับใช้สื่อสารกับชาวต่างชาติ แต่ก็มีจำ�นวนน้อยที่พูด ภาษาอังกฤษได้ดี แต่นักท่องเที่ยวสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับพนักงานโรงแรมหรือ ตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำ�คัญได้


16

เจดีย์ชเวมอดอร์ (พระธาตุมุเตา ) SHWEMAWDAW PAGODA พระมหาเจดีย์ชเวดากอง (SHWEDAGON PAGODA) หรือ เจดีย์ทองแห่งเมือง ดากอง หรือ ตะเกิง (ชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง) ไม่เคยเลือนหายจากจิตใจชาวมอญ และพม่าแห่งลุ่มน้ำ�อิระวดี เป็นเวลานับพันปีมาแล้ว แต่ โบราณนานมา ชาวมอญเรียก มหาเจดีย์แห่งนี้ว่า “ธาตุศก” คนไทยเรียก “ พระเกศธาตุ” เนื่องจากภายในพระมหา เจดีย์บรรจุพระเกศาแห่งองค์พระศาสดามหาเจดีย์ที่ ใหญ่ที่สุดของพม่า ซึ่งมีความสูง ถึง 326 ฟุตแห่งนี้ เมื่อแรกสร้างนั้นมีความสูงเพียง 27 ฟุตเท่านั้น ขนาดและความสูงขององค์เจดีย์ที่เพิ่มขึ้นกว่าสิบเท่า จึงสะท้อนแรงศรัทธา อันสืบ เนื่องยาว นานของกษัตริย์และประชาชนชาวมอญและพม่าได้เป็นอย่างดี ตามประวัตินั้น ไม่มีหลักฐานระบุว่ารูปร่างของเจดีย์ชเวดากองเมื่อแรกสร้างเป็น อย่างไร แต่เมื่อมีการ บูรณะและก่อเสริมในระยะหลัง มีหลักฐานว่าได้รับอิทธิพลมา จากมหาเจดีย์ชเวสิกอง เมืองพุกาม ซึ่งนับเป็นพุทธ ศิลป์สกุลช่างพุกามยุคต้น ชเว ดากองจึงมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลม มียอดฉัตรเป็นกลีบบัวถลา ก่อเป็นรูปกรวย แหลมกลมสูงไปจนถึงยอด ซึ่งเมื่อสืบค้นลึกลงไปก็พบว่าศิลปะการ ก่อสร้างเจดีย์เช่นนี้ พุกามก็รับเอามาจากมอญ อีกทอดหนึ่งนั่นเอง


17

พระเจดีย์สุเล (SULE PAGODA) ชาวพม่าถือว่าเป็นพระเจดีย์ทองที่สวยที่สุดใน พม่า และเป็นศูนย์กลางของกรุงย่างกุ้งเนื่องจากในช่วงเวลาที่อังกฤษใช้ย่างกุ้งเป็น ศูนย์ศูนย์กลางการปกครองพม่า ใน ฐานะเมืองขึ้น ได้มีการพัฒนากรุงย่างกุ้งโดย สร้างถนนหนทางตามระบบ “ Block System ”โดยใช้สุเลเจดีย์เป็นจุดเริ่มต้นสร้าง ถนนสายหลักพุ่งออกไปทุกทิศทาง รอบ ๆ สุเลเจดีย์จึงเป็นที่ตั้งสถานที่ราชการ ศาล ยุติธรรม ศาลาว่าการกรุงย่างกุ้ง และกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ มีพระนิพนธ์ว่า ชาวพม่าเรียกสุเลเจดีย์ว่า “ชเว สุเล” (Shwe Sule) หมายถึง “ จุลเจดีย์ทองคำ� ” เพราะคำ�ว่า “สุเล” เพี้ยนมาจาก “จุละ” คือเป็นเจดีย์ทององค์เล็ก ประดิษฐานเคียงข้าง “เชเวดากอง” ซึ่งเป็น “มหา เจดีย์” หรือเจดีย์ทององค์ ใหญ่ สุเลเจดีย์เป็นพุทธศิลป์แบบพระสถูปแปดเหลี่ยม ที่ มีทรวดทรงงดงาม ชาวพม่าถือ สุเลเจดีย์เป็น “หัวใจ” ของเมืองหลวงย่างกุ้ง ส่วน เจดีย์ชเวดากองเป็น “หัวใจ” ของชนชาติพม่าทั้งมวล อย่างไรก็ตาม ดร.สุเนตร ชุ ติณธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญพม่าศึกษา ให้ข้อมูลว่า “สุเล” เป็นชื่อของ “นัต” หรือภูติผี วิญญาณ 1ใน 37 ตนที่ชาวพม่านับถือคู่เคียงกับพุทธศาสนา เนื่องจากเป็น “นัต” ที่ ช่วยปกป้องคุ้มครองแผ่นดินพม่าไว้ ตามตำ�นานแล้ว สุเลเป็นยักษ์ตนหนึ่งที่สักกา ระบูชาและเชื่อฟังคำ�สอนของพระพุทธเจ้า และนำ�ทางนายวานิชสองพี่น้องให้นำ� พระเกศาพระพุทธเจ้ามาบรรจุในเจดีย์ชเวดากอง ชาวพม่าจึงสร้างสุเลเจดีย์ขึ้นเป็น อนุสรณ์สถานแด่คุณความดีของยักษ์สุเล ซึ่งถือเป็นนัตตนหนึ่งในจิตวิญญาณของ ชนชาติพม่า


18

เจดีย์กาบาเอ (KABA AYE PAGODA) เจดีย์ทรงกลมมีความสูงและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้เท่ากัน คือ 34 เมตร สร้าง โดยนายอูนุนายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่า เพื่อใช้เป็นสถานที่ชำ�ระพระไตรปิฎกครั้งที่ 6 ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2497 – 2499 และเพื่อให้บังเกิดสันติสุขแก่ โลก ล่าสุดใช้เป็น สถานที่ ใช้ ในการประชุมสงฆ์ โลกเมื่อเดือนธันวาคมพ.ศ. 2547ที่ผ่านมาที่สำ�คัญเป็น ที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ พร้อมทั้งพระธาตุของพระอัครสาวกพระสารีบุตร และพระโมคลานะ

พระพุทธไสยาสน์เจาทัตยี (KYAUK HTAT GYI) พระพุทธรูปองค์นี้ มีลักษณะพิเศษคือ ที่บริเวณพระบาทมีภาพวาดรูปสรรพสิ่ง อัน ล้วนเป็นมิ่งมงคลสูงสุด เพราะประกอบด้วย ลายลักษณธรรมจักร ข้างละองค์ ใน บริเวณใจกลางฝ่าพระบาท และล้อมด้วย รูปอัฏฐุตรสตกตมงคล 108 ประการ และ พระบาทซ้อนกันซึ่งแตกต่างกับศิลปะของไทย ซึ่งเป็นพระที่มีความสวยงามที่สุด มี ขนตาที่งดงาม


19

ตลาด “สก๊อตมาร์เก็ต”(SCOTT MARKET) ตลาดโป๊ะโจค หรือ “สก๊อตมาร์เก็ต” ซึ่งตลาดแห่งนี้ท่านสามารถเลือกซื้อของฝาก ญาติมิตรได้นานาชนิดเป็นต้นว่า เครื่องเงิน, เครื่องเขิน, ไม้แกะสลักพระพุทธรูป เทวรูปที่ทำ�ด้วยไม้จันทน์, เครื่องแกะสลัก, เครื่องลงรักปิดทองต่างๆ, ถ้วยชามกังไส จีนโบราณ, โคมไฟแก้ว และแจกันเจียระไนโบราณ, นาฬิกาข้อมือเก่า, ผ้าไหมลาย ต่างๆ ไปจนถึงบรรดาว่านต่างๆเช่น ว่านหงสาวดีภาพวาดสีน้ำ�มันรูปทิวทัศน์ของพม่า ฯลฯ

ภัตตาคารการะเวก ภัตตาคารนี้สร้างเลียนแบบเรือกัญญาหัวเรือเป็นรูปนกการะเวกสัตว์ ในป่าหิมพานต์

พระเจดีย์เยเลพญา เป็นเจดีย์บนเกาะกลางน้ำ�อายุนับพันปี เป็นที่สักการะของชาวสิเรียม ที่บริเวณท่า เทียบเรือบนเกาะสามารถซื้ออาหารเลี้ยงปลาดุกตัวขนาดใหญ่นับร้อยๆ ตัวที่ว่ายวน เวียนให้เห็นครีบหลังที่ โผล่เหนือผิวน้ำ�


20

พระธาตุอินทร์แขวน เมืองไจ้ โถ่ ตั้งอยู่ครึ่งทางระหว่างตะโถ่งกับแบ่กู มีเจดีย์สำ�คัญตั้งอยู่ทางตะวันออก สุดปลายทางเดินยาว 10 กิโลเมตร ชื่อเจดีย์ ไจ้ที โย แปลว่า“ก้อนหินสีทอง” ลักษณะ เป็นเจดีย์องค์เล็ก ๆ สูงเพียง 5.5 เมตรบนก้อนหินกลม ๆ ที่ตั้งอยู่บนยอดผาอย่าง หมิ่นเหม่ดูแล้วให้หวาดเสียวว่าจะกลิ้งตกลง ไปยังก้นหุบเขาเมื่อไหร่ก็ ไม่รู้ แต่ชาวพม่า มักยืนกรานว่าไม่มีทางตก เพราะพระเกศธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุ อยู่ภายในพระเจดีย์ ย่อมยังหินก้อนนี้ ให้ทรงตัวอยู่ ได้อย่างสมดุลเรื่อยไป ตำ�นานเล่าว่า ในศตวรรษที่ 11 มีกษัตริย์องค์หนึ่ง พระนามว่าพระเจ้าติสสะ ทรงเป็นโอรสของ ซอจีบิดาพญานาคัน หนึ่งมีฤาษีเฒ่านำ�พระเกศธาตุที่เก็บรักษาไว้ ในมุ่นมวยผมของตนนานหลายร้อยปี มา ถวาย โดยมีข้อแม้ว่าพระองค์จะต้องหาก้อนหินที่มีรูปทรงสัณฐานคล้ายศีรษะของ ท่าน แล้วสร้าง พระเจดีย์บรรจุพระเกศ ธาตุเอาไว้บนก้อนหินก้อนนั้น ร้อนถึงตะจา มิน(พระอินทร์)ราชาแห่งนัต ต้องลงมาช่วยงมหินก้อนนั้นขึ้นมาให้จากก้นทะเลจากนั้น พระเจ้าติสสะก็ ใช้เรือบรรทุก ก้อนหินลำ�เลียงขึ้นไปไว้บนยอดเขา เมื่อมาถึงที่หมาย เรือก็กลายเป็น หินไป ปัจจุบันยังปรากฎ ให้เห็นโดยอยู่ห่างจากเจดีย์ ไจ้ที โยไปไม่กี่ ร้อยเมตรชาวบ้านเรียกขานกันว่าเจ้าตัมปั่น แปลว่า “เจดีย์เรือหิน”ก่อนหน้าที่จะมีการ สร้างทางขึ้นเจดีย์ มีชาวต่างชาติเพียง ไม่กี่คนเท่านั้น ที่เคยเดินทางมาแสวงบุญที่ เจดีย์ ไจ้ที โย (ไจ้ที โยพยา ไทยเรียก พระธาตุอินทร์แขวน) แต่ทางการพม่าก็ตระหนัก ดีว่าที่นี่มีศักยภาพ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวสูง จึงได้สร้างโรงแรมขึ้น ที่นี่แห่งหนึ่ง และจัดทัวร์นำ�นักท่องเที่ยวขึ้นเขาด้วย ถึงแม้นั่งรถมาจะสบายกว่า แต่การเดินเท้า ขึ้นมาจากกิ่นปวนก็มีเสน่ห์ ไปอีกแบบหนึ่ง พระเจดีย์องค์นี้อยู่สูง 1,200 เมตรเหนือ ระดับน้ำ�ทะเล จากค่ายพักที่กิ่นปวนเดินขึ้นมาต้องใช้เวลาห้าชั่วโมงเต็ม ผู้มาแสวงบุญ ส่วนใหญ่จะเตรียมถุงนอนมา ค้างแรมที่วัดใกล้ๆพระเจดีย์ด้วย สำ�หรับชาวพม่าแล้ว การเดินขึ้นไจ้ที โยถือ เป็นการชำ�ระจิตใจ และสั่งสมบุญอย่างหนึ่ง


21

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองพุกาม พระเจดีย์ชเวสิกอง ( SHWEZIGON PAGODA) เป็นศิลปะของที่ โดดเด่นงดงามโดยแท้มีลักษณะเป็นสีทองอร่ามขนาดใหญ่ที่เชื่อกันว่า ภายในนั้น ประดิษฐานพระทัตนธาตุของพระพุทธเจ้า

วัดอนันดา เป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพุกาม มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีมุขเด็จยื่นออกไป ทั้ง 4 ด้าน แผนผังเหมือนไม้กางเขนแบบกรีก ซึ่งต่อมาเจดีย์แห่งนี้เป็นต้นแบบของ สถาปัตยกรรมพม่า ในยุคต้นของพุกาม และสิ่งที่น่าทึ่งของวิหารแห่งนี้ก็คือช่างได้ ทำ�การส่องแสงสว่างเข้าไป ในวิหารเฉพาะให้ตรงองค์พระประธาน


22

เก็บตกจากนักการศึกษาไทย

มี โอกาสได้อ่านบทความของนักการศึกษาซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของ กระทรวง ศึกษาธิการได้เขียนไว้มีแง่คิดและมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อนักการศึกษาจากบทความ ตอนหนึ่งที่ท่าน ดร.พนม พงษ์ ไพบูลย์ ตอนนั้นท่านดำ�รงตำ�แหน่งปลัด กระทรวง ศึกษาธิการ ได้เขียนไว้ว่า “ การเรียนรู้ ในยุคใหม่ ไม่ ได้เกิดขึ้นเฉพาะในโรงเรียน แต่เกิดขึ้นได้อย่างกว้าง ขวางในหลายสถานที่ แม้แต่ ในบ้านของตนเองก็เป็นแหล่งเรียนรู้ ได้ ถ้ามีระบบสื่อสาร และข้อมูลข่าวสารที่ดีพอ การเรียนรู้จากกันและกันก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้คน ได้รับความรู้ ได้อย่างดี การเรียนรู้จึงไม่จำ�เป็นต้องเรียนในห้องเรียน (จากครูเท่านั้น) อีกต่อไป โลกยุคใหม่ถูกเชื่อมโยงด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ที่ ใช้คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมและใยแก้วนำ�แสง ทำ�ให้การส่งทอดข้อมูลข่าวสาร เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากเราสามารถค้นคว้าหาความรู้ผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ต่างๆ ด้วยระบบ Internet ได้แม้อยู่คนละซีกโลกก็ตาม ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศจะเปลี่ยนรูปแบบของการเรียนรู้และแหล่งความรู้และจะทำ�ให้ทุกคนได้ เรียนรู้อย่างกว้างขวางเท่าเทียมกัน “ นั่นหมายความว่าองค์ประกอบต่างๆเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนช่วยเหลือใน การเรียนรู้เป็นอย่างมากถ้ามีความพร้อม มิได้หมายความว่าครูจะหมดความหมาย ไป เพียงแต่เทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ครูเองนอกจากจะ สอนตามภาระหน้าที่ ในห้องเรียนแล้ว จะต้องเป็นผู้แนะแนวทางวิธีการและชี้ช่องทาง ให้เด็กได้แสวงหาแหล่งเรียนรู้ ได้เอง ปลูกฝังให้เด็ก ได้เป็นค้นคว้าและใช้เทคโนโลยี ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ก็จะช่วยให้คุณภาพการศึกษาไทยดีขึ้นและเด็กนักเรียนได้ มีทางเลือกในการแสวงหาความรู้ ได้อย่างกว้างขวางแนวคิดแห่งบทความนี้จึงเป็น ประโยชน์ ในการคิดหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพการ เปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ที่เราได้เก็บตกมาบอกล่าวกัน คนชอบอ่าน ชอบคิด


23

ผู้ตรวจราชการฯเยี่ยม ร.ร.วัดเขาวัง

นางผานิตย์ มีสุนทร ผู้ครวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าเยี่ยมโรงเรียน วัดเขาวัง (แสงช่วงสุวณิช) สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 เมื่อปลายเดือน เมษายน 55 ได้เข้ารับฟังถึงโครงการต่างๆที่เป็นนโยบายของรัฐ และ กระทรวงศึกษาธิการ เช่น โครงการเรียนดีอย่างมีคุณภาพ,โครงการเรียนรู้ สู่ประชาคมอาเซียน,โครงการป้องกันและแก้ ไขยาเสพติดในสถานศึกษา,รวมไปถึง โครงการที่ส่งเสริมอัจฉริยะภาพและความสามารถ จากผู้ ให้ข้อมูลหลายฝ่ายเช่น นักเรียน,คณะครูผู้รับผิดชอบ,ผู้บริหารโรงเรียน จากผลจากการดำ�เนินงานต่างๆของ โรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเป็นที่พึงพอใจ ได้กล่าวถึงโครงการของรัฐบาลเกี่ยวกับการแจก “แท๊ปเล็ต” ให้กับเด็กชั้นประ ถมศึกษาปีที่ 1 ทางกระทรวงศึกษากำ�ลังรีบดำ�เนินการ ส่วนระยะเวลานั้นทางกระ ทรวงศึกษาธิการกำ�ลังรีบดำ�เนินการโดยด่วนเพื่อเด็กนักเรียนได้ทันใช้ภายในภาคเรียน แรกนี้พร้อมกับรอดูทิศทางความชัดเจนในเรื่องของค่าซ่อมแซม ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย รายหัวเด็กนักเรียน ขณะนี้ สพฐ.กำ�ลังเตรียมตัวที่จะช่วยให้ปรับค่ารายหัวให้เป็นไป ตามความจริงของสภาพปัจจุบัน ทางผู้ครวจกระทรวงฯรับปัญหาเพื่อนำ�เข้าที่ประชุม หาทางช่วยเหลือต่อไป


24

นายวินัย ศรีเจริญ ผอ.สพป.ราชบุรีเขต1 พร้อม คณะ เข้าร่วมพิธีวันฉัตรมงคล และลงนามในข้อตก ลงความร่วมมือของจังหวัดราชบุรี ในเรื่องของการ ส่งเสริมประชาธิปไตยและการปรองดอง ณ อาคาร ยิมเนเซียมจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 5 พ.ค.55 โดย มีผู้ว่าราชการจังหวัดราชุบุรี นายชนม์ชื่น บุญญานุ สาสน์ เป็นประธานในพิธี


25

การฝึกประสบการณ์ศึกษานิเทศก์ ใหม่ของสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ซึ่งได้ ดำ�เนินการสอบคัดเลือกจากคุณผู้ สอนในตำ�แหน่งที่ว่างอยู่จำ�นวน 7 ราย คือ น.ส.สพิชญ์นันท์ ทิมพิทักษ์ น.ส.สิริวรรณภา บุญเส็ง นางนิกุล ใจดี นายศิริชัย ทองหน้าศาล น.ส.ศศิกานต์ แสวงลาภ น.ส.วงศ์จินดา ฤกษ์เมือง นายนิรุทธิ์ อาทาทิพย์ เข้าร่วมฟังคำ�แนะนำ�จากผู้อำ�นวย การกลุ่มต่างๆ โดยมีนายอำ�นาจ งามยิ่งยวด รองผู้อำ�นวยการฯผู้ดู แลเป็นประธาน แนะนำ�การทำ�งาน ลักษณะของโครงสร้างและเครือข่าย ในการทำ�งานทั้งนี้จะเข้ารับการฝึก ประสบการณ์จริงตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. 55 ถึงวันที่ 6 มิ.ย.55 ก่อนที่จะเข้า สู่ตำ�แหน่งฯ


ผลิตโดยกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สพป.รบ.1 http//prcake1.wordpress.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.