เราทำ�งานทุกวันสุข บุ คคลทั้งสี่ท่ีมีความสุขเป็นเป้าหมายหลักของชี วิต
รวีวรรณ วรินทร์
เราทำ�งานทุกวันสุข รวีวรรณ วรินทร์
เรื่อง
รวีวรรณ วรินทร์ โทร 08-1534-9959 อีเมล์ raweewan.wr@gmail.com
ภาพ
รวีวรรณ วรินทร์ บริหารความสุข : ขอบคุณรูปภาพจาก Mink’s ออกแบบชีวิต : ขอบคุณผลงานภาพถ่ายจาก คุณปิยทัต เหมทัต ปั่นความฝัน : ขอบคุณภาพบางส่วนจากคุณปิยดา สาครินทร์ สุขเพียงพอ : ขอบคุณภาพบางส่วนจากคุณอนวัช อนันต์
ปก
รวีวรรณ วรินทร์
คณะที่ปรึกษาจุลนิพนธ์
อาจารย์กองทรัพย์ ชาตินาเสียว อาจารย์มัทนา เจริญวงศ์ รศ.ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย อาจารย์อารีย์ พีรพรวิพุธ อาจารย์สมเกียรติ จันทรสีมา
จุลนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2557
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
สารบัญ บริหารความสุข
ออกแบบชีวิต
คุณมิง้ ค์ เทพสวรินทร์ ตะเพียนทอง
คุณโอ๋ ปิ ยทัต เหมทัต
“สิง่ ที่เป็นอาชีพต้องหาเลีย้ งเราได้ โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น ขณะเดียวกันเราก็ สนุกที่จะท�ำ ไม่ใช่ ตื่นขึน้ มาแล้วไม่ อยากท�ำแบบนัน้ มันจะท�ำร้ายเราไปเรื่อยๆ“
“งานแบบนีม้ ันต้องอาศัยความเป็นตัวตน ยิง่ เป็นตัวตน งานเราก็ยงิ่ แตกต่างเพราะมันไม่มีใครเหมือนใคร ส่วนใหญ่แล้วคนก็จะไปติดกับค่านิยมอะไรต่างๆ ที่มันไม่ให้เราเป็นตัวเอง”
11
31
ปั่นความฝัน
สุขเพียงพอ
คุณแนน นนลนีย์ อึง้ วิวัฒน์กุล
คุณโต้ง อนวัช อนันต์
“พอรักมัน พี่ก็มองเห็นโอกาสจากมัน เห็นช่ องว่าง จากจักรยานเยอะว่าจะต้องโตกว่านี้ เรามองเห็น ความต้องการจากตัวเราเอง”
“วินาทีท่ีจะตายนัน้ เราไม่รู้ตัว เพราะฉะนัน้ ท�ำสิง่ ที่ อยากท�ำให้เต็มที่ปล่อยเวลาไปไม่ได้ ได้ไม่ได้ท�ำไปก่อน อย่างน้อยท�ำแล้วเรามีความสุข”
53
73
เมื่อแรกสงสัย การจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมานั้นเกิดจากความต้องการในการหาค�ำตอบให้กับตัวเอง และเพื่อนๆที่ประสบปัญหาเดียวกันในค�ำถามที่ว่า เราจ�ำเป็นต้องท�ำงานที่เราไม่ชอบก่อนหรือไม่ ผู้ใหญ่หลายคนกล่าวว่าเด็กอย่างเราไม่มีความอดทนมากพอ อาจจะเป็นเช่นนั้น การฝืนใจท�ำ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราไม่ชอบนั้นถือเป็นความจ�ำเป็นต้องท�ำจริงหรือ ในหนังสือ “เราท�ำงานทุกวันสุข”นี้จึงตามหาบุคคลที่พัฒนาสิ่งที่ชอบให้กลายเป็นอาชีพ ได้ด้วยน�้ำพักน�้ำแรงของตนจนสามารถกล่าวได้ว่า พวกเขาประสบความส�ำเร็จในการท�ำให้สิ่งนั้น กลายเป็นงานที่สร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ซึ่งความส�ำเร็จในข้อนี้เป็นเป้าหมาย แรกที่ท�ำให้ทุกคนประกอบอาชีพ ในเล่มนี้ได้รวบรวมไว้ถึงบทสัมภาษณ์ของบุคคล 4 คนที่มี ความชอบแตกต่างกันออกไป คนแรกเป็นผู้หญิงที่ชื่นชอบในงานไม้และเริ่มต้นท�ำอาชีพนี้ด้วยเงินเพียง 5,000 บาท ต่อยอดขยายกลายเป็นเลขเจ็ดหลัก และทั้งหมดมาจากความชอบในการสร้างสรรค์และ ออกแบบของเธอเอง คนที่สองเป็นช่างภาพที่ไม่เคยเรียนถ่ายภาพ ผู้แสวงหาและเรียนรู้สิ่งต่างๆบนโลกด้วย มุมมองที่ต่างออกไปในแบบของเขาเอง
8
ต่อมาเป็นอาชีพที่อิสระเหลือจะกล่าว นั่นคือการปั่นจักรยาน ไม่ใช่การปั่นเพื่อแข่งแต่ เป็นการปั่นเพื่อชักชวนให้ผู้อื่นร่วมปั่นไปด้วยกัน ในเส้นทางที่แปลกใหม่ ได้รู้จักเมืองเดิมในมุมที่ ต่างออกไปทุกวัน เธอเป็นผู้หญิงที่ท�ำสิ่งที่หลายบอกว่าเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ และสุดท้าย ชายที่รู้จักค�ำว่าพออย่างมีความสุข เขาตอบโจทย์สิ่งที่เขาต้องการในชีวิต อย่างสมถะ เรียบง่ายแต่ความสุขที่ได้มานั้นครบถ้วนในทุกส่วนที่เขาต้องการอย่างแท้จริง บุคคลทั้งสี่นี้ได้แบ่งปันเรื่องราวการเริ่มต้นท�ำเงินจากความชอบของพวกเขา มุมมองใน การใช้ชีวิตและท�ำงานที่พวกเขาใช้เพื่อแสวงหาความสุขและเป้าหมายที่ตนได้ตั้งไว้
9
บริหารความสุข มิง้ ค์ เทพสวรินทร์ ตะเพียนทอง
นาฬิ กาหน้าปั ดไม้ สายหนัง สินค้าที่ท�ำให้ร้าน Mink’s กลายเป็นที่รู้จัก
12
เมื่อแรกรัก คนทุกคนย่อมมีหนทางที่เป็นของตนเอง มี ความชอบ มีสิ่งที่บ่งบอกความเป็นเราออกมา และ สิ่งที่จะกลายเป็นข้อได้เปรียบสูงสุดหากรู้ว่าสิ่งที่บ่ง บอกความเป็นเรานั้นคืออะไร คุณมิ้งค์ เทพสวรินทร์ ตะเพียรทอง มีข้อได้ เปรียบนั้นเธอชื่นชอบและหลงใหลในเสน่ห์ของไม้ จนพัฒนามาเป็นเจ้าของแบรนด์ Mink’s สินค้าไลฟ์ สไตล์ แนวมินิมอล ที่เรียบง่ายผสมความน่ารัก ตอนนี้เธอกลับมาท�ำงานที่จังหวัดระยองซึ่ง เป็นบ้านของพ่อแม่ของเธอ พี่มิ้งค์ใช้พื้นที่หน้าบ้าน ท�ำเป็นโรงงานขนาดเล็ก วางเครื่องจักรและท่อนไม้ มีคนงานยืนท�ำงานอยู่ 3 คน ถัดเข้าไปเป็นห้องสตูดิ โอที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นห้องท�ำงาน ในห้องนั้นมี เครื่องจักรขนาดใหญ่วางอยู่หนึ่งตัว ใกล้ๆกันมี คอมพิวเตอร์ที่ใช้ป้อนค�ำสั่งงานวางอยู่ ข้างๆกันเป็น ชั้นหนังสือ เก้าอี้และโต๊ะพร้อมกับของใช้บนโต๊ะที่ เป็นของแบรนด์ mink’s วางขายทั้งหมด เราพูดคุย กันในห้องนั้น
พี่มิ้งค์รู้มาตั้งแต่ยังเด็กว่าตนเป็นคนชอบ การประดิดประดอย และในขณะเดียวกันก็ชอบ ภาษาและการค�ำนวณ ท�ำให้เธอเลือกเรียนคณะ บริหาร สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยบูรพา แทน การเรียนออกแบบ เพราะอยากเป็นคนที่สร้าง สมดุลในทั้งสองแขนงที่ชอบ และอีกข้อหนึ่งที่เธอ สังเกตเห็นคือเพื่อนที่เรียนออกแบบหลายคนไม่เก่ง เรื่องค�ำนวณเอาเสียเลย เธอไม่ต้องการเป็นแบบนั้น เมื่อเรียนจบ เธอเลือกท�ำงานเป็น Art Director ของบริษัทโฆษณาขนาดเล็กแห่งหนึ่ง เธอมี ความสุขในการท�ำงานทุกๆวันและเมื่องานมั่นคง ดีแล้ว ในวันเกิดของเธอเอง ชายหนุ่มคนรักได้มอบ ของขวัญเป็นกระเป๋าที่ติดแบรนด์ว่า mink’s ความ คิดที่จะท�ำสินค้าขายภายใต้แบรนด์ชื่อ mink’s จึง เริ่มต้นขึ้น
“ก็แค่อยากท�ำงานทีต่ วั เองชอบ ก็เลยเปิ ดเพจเฟสบุ ค๊ แล้วเองของทีต่ วั เองท�ำมาขายเพราะเปิ ดเพจเฟสบุ ๊คไม่ต้องเสียเงิน” 13
“ของทุกอย่างของ Mink’s เริม่ มาจากความชอบ เป็นคนชอบท�ำอะไรเอง อยากได้อะไรก็ท�ำเอง” หญิงสาวจึงเริ่มสิ่งที่ตนชอบอีกแขนงหนึ่งนั้นคือการขายของแฮนด์เมด เธอเล่าด้วย น�้ำเสียงร่าเริงว่า “ตอนนั้นงานประจ�ำก็มั่นคงดี ไม่ได้ไม่ชอบหรือไม่อยากท�ำ เราแค่อยากท�ำ สิ่งที่ชอบ ก็เลยลงทุนเล่นๆ 5,000 บาทท�ำจิวเวอร์รี่ทองเหลืองมาขาย ผลตอบรับก็ดี แต่ถ้า ขาดทุนมันก็5,000 ไม่ได้ซีเรียสอะไร เพราะไม่ได้หวังผลตอบแทนมากมายอยู่แล้ว” สินค้าชิ้นถัดมาที่ท�ำให้แบรนด์mink’sกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นเกิดจากความต้องการ นาฬิกาข้อมือหน้าปัดไม้ซึ่งขณะนั้นในเมืองไทยไม่มีขาย และหากซื้อจากต่างประเทศก็มี ราคาสูงเกินไป เธอจึงตัดสินใจจะท�ำขึ้นเอง โดยการสอบถามหน้าที่และวิธีการใช้งานเครื่อง ต่างๆจากร้านที่ซื้อมา ลองผิดลองถูก จนกระทั่งประสบความส�ำเร็จ ได้นาฬิกาหน้าปัดไม้ เรือนแรกสมใจ นาฬิกาข้อมือเรือนแรกที่ท�ำขึ้นเองนั้น ได้รับผลตอบรับเกินคาดเพราะหลายๆคนชื่น ชอบและต้องการ เจ้าของแบรนด์ Mink’sจึงเริ่มท�ำขาย นาฬิกาข้อมือหน้าปัดไม้กลายเป็น สินค้าหลักของร้าน mink’s และสินค้าที่เป็นเครื่องประดับทองเหลืองนั้นถูกน�ำออกเพื่อ ก�ำหนดจุดยืนของแบรนด์ที่จะท�ำสินค้าไม้เป็นหลัก สินค้าตัวแรกที่ผลิตจากไม้ท�ำให้แบรนด์mink’sเป็นที่รู้จักมากขึ้นและท�ำรายได้มาก ขึ้นเรื่อยๆ แต่แรงงานที่ท�ำในขณะนั้นยังคงมีแค่สองคนคือ คนรักและตัวเธอเท่านั้น เมื่อต้อง เร่งงานที่ต้องใช้ฝีมือและความละเอียดอ่อนในการจัดท�ำ ท�ำให้อย่างเดียวที่เพิ่มมากขึ้นคือ เวลาที่ใช้ท�ำและอย่างเดียวที่ลดน้อยลงคือเวลาที่พักผ่อน ช่วงเวลาทดลองหกเดือนที่เปิดร้านmink’s ขึ้นมา เจ้าของแบรนด์ Mink’sตัดสินใจ ลาออกจากงานประจ�ำที่ท�ำอยู่ แม้ว่าจะรู้สึกเสียใจและเสียดาย เนื่องจากตนเองก็รักและ ผูกพันกับงานนี้เช่นกัน แต่คนเราต้องมีหนทางของตนเข้าสักวัน เธอพิจารณาถึงความชอบ ในงานไม้ที่มีมาตั้งแต่ยังเด็กและรายรับที่มากกว่างานประจ�ำหลายเท่าตัว ที่แน่นอนคือเธอ มั่นใจว่างานนี้สามารถพัฒนาไปต่อได้และสามารถสร้างรายได้จากมันได้ 14
พี่มิ้งค์ เทพสวรินทร์ ตะเพียรทอง และคนรัก พี่เบิร์ต เอกชัย กล่อมเจริญ
15
หน้าร้านที่ปิดไปแล้วของร้าน Mink’s พี่มิ้งค์ก็ได้บอกว่าจะเปิ ดอีก อาจต้องใช้เวลาสักพัก
16
ผสมผสาน ช่ วยกัน ลงตัว แม้ว่าพี่มิ้งค์จะไม่ได้เรียนจบมาทางด้านงาน ไม้แต่ก็มีความคุ้นเคยกับไม้มาตั้งแต่เด็ก เพราะคุณ ตาของเธอเคยท�ำงานไม้มาก่อน จึงไม่ได้เป็น อุปสรรคในการเรียนรู้เพิ่มเติม ในส่วนวิชาที่เรียน จบมาหรือด้านบริหารนั้น เธอน�ำมาประยุกต์ใช้กับ ธุรกิจนี้ด้วย ขณะเดียวกันคุณเบิร์ท คนรักของเธอ นั้นเรียนจบมาทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้ง สองคนจึงสามารถเติมเต็มในจุดที่บกพร่องของกัน และกันได้เป็นอย่างดี ทั้งสองคนร่วมกันศึกษาและส�ำรวจตลาด เพื่ อ การออกสิ น ค้ า แต่ ล ะตั ว ค่ อ นข้ า งเยอะเพื่ อ ที่ สิ น ค้ า แต่ ล ะตั ว นั้ น จะออกไม่ ซ�้ ำ กั บ ของที่ มี อ ยู ่ ใ น ตลาด เจ้าของแบรนด์ Mink’s ยังบอกด้วยว่าใน ช่วงแรกที่ท�ำนั้นงานไม้ที่เป็นงานคราฟต์ ในเมือง ไทยนั้นแทบจะไม่มีเลย
“มี แรงงานหลั ก พี ย งสองคนคื อ พี่ กั บ คุ ณ เบิร์ท สินค้าที่สั่งมี่เยอะถึง 20 – 30 เรือนต่อวัน แต่ เราจัดท�ำได้แค่ 10 – 20 เรือนต่อวัน ท�ำไม่ทันก็ต้อง ชี้แจ้งให้ลูกค้ารู้ก่อนว่าสินค้าที่สั่งเป็นงานฝีมือที่ ละเอียดอ่อน อาจจะต้องรอสักสองสามวัน ซึ่งลูกค้า ส่วนใหญ่สามารถรอได้”เจ้าของแบรนด์ Mink’s เล่าถึงข้อจ�ำกัดในการท�ำงานช่วงแรก เมื่อกิจการเติบโตและมีผลก�ำไรมากพอ เธอ และแฟนหนุ่มจึงจ้างช่างคนไทยมาช่วย โดยจะสอน ขั้นตอนทุกอย่างแต่แรกเริ่ม และงานของ Mink’s จะเน้นเรื่องฝีมือเป็นส�ำคัญ หากเข็มของนาฬิกาไม่ เท่ากันหรืองานไม่เรียบร้อยจะต้องได้รับการแก้ไข ดั ง นั้ น สิ น ค้ า ทุ ก ชิ้ น จะได้ รั บ ตรวจสอบความ เรียบร้อยจากทั้งสองก่อนเสมอ
“พี่คงจะไม่เบื่อไม้เพราะมันมีเสน่ห์ ไม้ท่อนเดียวกัน แบบ เดียวกัน ชนิดเดียวกัน ลายมันยังไม่เหมือนกันเลย” 17
“การตลาดของ mink’sจะเน้นไปทางที่เราท�ำแล้วสบายใจหรือ เราจะต้องคิดมาว่าท�ำแล้วสบายใจ” “เราสอนคนงานเองทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนแรก เลย คนทั่วไปก็จะบ่นว่าท�ำไมต้องละเอียด ไม่ชอบท�ำ แบบนี้ เพราะพี่ตรวจทุกชิ้นเลย อย่างเข็มไม่เท่ากันเราก็ ให้เอาไปแก้ เขาก็บอกว่าหยวนๆเถอะ เราก็ต้องย�้ำว่าไม่ ได้ๆ” เธอกล่าวด้วยรอยยิ้มแต่น�้ำเสียงกลับดูเหนื่อยใจ แม้ว่าจะดูเหมือนร้าน mink’s ไม่ได้ท�ำการตลาด มากนั ก แต่ ห ญิ ง สาวก็ ก ล่ า วว่ า ทุ ก อย่ า งที่ ท� ำ นั้ น ผ่ า น กระบวนการคิดมาอย่างดี ซึ่งทั้งสองคนมองว่า การ ตลาดที่ท�ำแล้วสร้างความไม่สบายใจให้กับฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งเราก็ไม่ควรท�ำ “พี่เรียนการตลาดก็เอามาประยุกต์ใช้ แล้วพี่ก็ ชอบศิลปะด้วย อะไรที่เราไม่สบายใจ เราก็ไม่ท�ำอย่าง การตลาดแบบลดแลกแจกแถมหรือบางทีซื้อยอดกดไลค์ แบบนี้เราไม่ท�ำ คนที่กดไลค์ให้เราทุกคนนั้นเป็นลูกค้า เราจริงๆ เขาชอบเขาก็แชร์ มันก็เกิดการบอกต่อไปโดยที่
18
สบายใจทั้งเราและลูกค้า”เจ้าของแบรนด์Mink’sอธิบาย เพราะสินค้าของmink’s นั้นเป็นสไตล์มินิมอลที่ เรียบง่าย ผสมกับความน่ารักจึงเข้าได้บุคคลทุกเพศทุก วัย คนส่วนใหญ่ที่รู้จักสินค้าของMink’sนั้นโดยส่วน ใหญ่จะมาจากการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก ซึ่งในช่วง แรกนั้นคนที่ชอบงานmink’sจะเป็นเด็กที่เรียนศิลปะ แต่ หลังจากที่mink’sกลายเป็นที่รู้จักก็มีทั้งรุ่นคุณปู่ไปจนถึง เด็กสิบขวบ เจ้าของแบรนด์ Mink’sไม่ได้วางจุดยืนของ min k’sว่าเป็นสินค้าไม้เพียงอย่างเดียว เธอตั้งใจอยากให้ นึกถึงสไตล์ มินิมอลที่ผสมความน่ารักอยู่ในตัวมากกว่า ดังนั้นนอกจากงานไม้แล้ว เธอยังอยากจะท�ำงานเซรา มิกซ์ เสื้อผ้า หรือของใช้ประเภทไลฟ์สไตล์ต่างๆ โดยใน ช่วงนี้พี่มิ้งค์ก็ได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับเซรามิกซ์โดยการไป เรียน และทดลองท�ำเช่นเดียวกับงานไม้
ก้าวผ่านบางสิ่ง เพื่อพบบางสิ่ง สิ่งที่นักออกแบบทั่วไปต้องเจอคือปัญหาการลอก เลียนสินค้า Mink’s เองก็เช่นกันทั้งชื่อที่น�ำไปเปลี่ยนให้ คล้ายกัน หรือการน�ำภาพโฆษณาไปใช้ บางครท�ำกระทั่งน�ำ สินค้าที่ลอกเลียนไปถ่ายที่ร้าน mink’s เลยก็มี แม้ในช่วง แรกๆนั้นเธอจะรับไม่ได้ แต่เวลาผ่านไปสักพักเธอก็เริ่มมอง ว่าคนที่เค้าลอกเลียนเราก็เป็นไปเพียงผู้ตามเท่านั้น “มีคนหนึ่งที่เขาไม่รู้แล้วซื้อนาฬิกาจากร้านที่ลอกเรา ไป เขาก็ไปว่านะว่าเขาเสียความรู้สึกมากเลยซื้อมาแล้วเป็น ของปลอม แต่พี่เฉยๆแล้ว ก็มีคนรู้จักเราในระดับหนึ่งแล้ว คนก็เชื่อใจว่าเราเป็นออริจินัล ไม่ได้ลอกใครมา”แม้จะบอก ว่าปล่อยวางแล้วแต่ขณะเล่าก็ยังมีน้�ำเสียงโมโหอยู่บ้างใน ช่วงแรก
สินค้าของ mink’s นั้นมาจากการคิดค้น ลองผิดลอง ถูก ถึงแม้ว่าพี่เบิร์ทจะเรียนจบมาทางด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์แต่สินค้าหลายอย่างก็จ�ำเป็นต้องหาค�ำตอบ คิดค้น วิธีการท�ำขึ้นด้วยตนเอง สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคจึงเป็นความรู้ ที่ไม่มีอยู่ในหนังสือ เจ้าของแบรนด์mink’sกล่าวว่า“ของชิ้นหนึ่งต้องท�ำ อะไร ลองท�ำแล้วก็พัง พังแล้วก็กลับมาศึกษาดูใหม่ แกะออก มาดู อย่างที่แขวนจักรยานหรือนาฬิกาข้อมืออย่างนี้ใครจะ มาประกอบเอง ใช่ว่าทุกคนจะรู้เพราะมันไม่มีอยู่ในต�ำรา เรียน”
“ถ้ามีคนก็อปไปแล้ว เราก็ก้าวไปอีก ก้าวไปอีก ให้เขาตามเราไม่ได้เพราะ พวกนีก้ ็เป็นได้แค่คนตาม เพราะถ้าเขาคิดได้ก่อนเขาคงน�ำไปแล้ว” 19
“ของชิน้ หนึ่งต้องท�ำอะไรบ้าง ใส่ใจลองแล้วก็พัง ลองแล้วพัง ก็ต้องมาศึ กษา แกะออกมาดู อยากท�ำ แฮนด์จักรยานไม้แบบนี้ ก็ใช่ ว่าทุกคนจะรู้ว่าท�ำอย่างไรเพราะ มันไม่มีในต�ำราเรียน” ปัญหาใหญ่อีกหนึ่งปัญหาที่เธอเจอนั่นเป็นเรื่องของเงินทุน เพราะร้าน mink’s นั้นเริ่มต้นด้วยเงินทุนห้าพันบาท และน�ำเงินที่ ได้จากการลงทุนมาต่อยอดซื้อเครื่องมือต่างๆเพื่อการท�ำงานที่เร็ว ขึ้น แม้ว่าปัจจุบันเธอจะสามารถซื้อเครื่องมือจนมูลค่าจาก 5,000 กลายเป็นมูลค่าเกือบ3,000,000 บาทแล้วแต่ก็ยังคงขาดเครื่องมือ เครื่องใช้อีกมาก 20
“พี่เริม่ ต้นแค่ห้าพัน พี่ก็ค่อยๆขยายมัน เรื่อยๆ ที่มีอยู ่ตอนนีก้ ็สามล้านแล้ว พี่ก็ เอาเงินที่ได้จากการขายมาค่อยๆซือ้ ของ” “เครื่องจักร เครื่องมือมันแพง อย่างเลื้อยก็ไม่ได้มีแค่แบบ เดียว มันมีหลายชนิด ตัวหนึ่งก็50,000 – 100,000 บาท พี่ก็เอามา จากเงินเริ่มต้น 5,000 นั่นแหละ ค่อยๆมาทยอยซื้อ ตอนนี้ลูกค้าก็ได้ ของเร็วขึ้นกว่าเมื่อก่อน ขาดเครื่องมืออะไรก็ต้องหาวิธีทดแทนไป ก่อน” เจ้าของแบรนด์ Mink’sเล่าพร้อมมองไปที่เครื่องจักรตัวใหญ่ที่ วางอยู่ในห้อง
อยู ่กับความเป็ นจริง คนบางคนกล่าวว่าอย่าน�ำสิ่งที่ตนรักมาเป็นอาชีพ เพราะวันหนึ่งเราอาจจะไม่ชอบมันอีกต่อไป แต่พี่มิ้งค์ไม่เชื่อ เช่นนั้นเพราะหากเป็นสิ่งที่ตนรัก เมื่อตื่นขึ้นจะต้องอยากท�ำ ตื่นเต้นและกระตือรือร้นที่จะได้ท�ำ หากเราไม่ได้ชอบจริงเมื่อ เจออุปสรรคปัญหาหรือเจองานที่จ�ำเจ เราก็จะเบื่อ แต่ถึงอย่างนั้นอาชีพก็จะต้องเป็นสิ่งที่สามารถเลี้ยง ตัวเองได้ ไม่ใช่การเรียกสิ่งที่เรารักว่าอาชีพแต่ไม่สามารถ เลี้ยงตัวเองได้ ซึ่งบางคนอาจจะยังหาไม่พบว่าตัวเองอยากท�ำ อะไร ไม่ใช่การตื่นขึ้นมาแล้วไม่อยากท�ำ หากเป็นแบบนี้มันก็ จะยิ่งท�ำร้ายเราไปเรื่อยๆ อาชีพที่ดีเราควรจะสนุกเมื่อได้ท�ำ
“สิง่ ที่เป็นอาชีพต้องหาเลีย้ งเราได้ โดยที่เรา ไม่ต้องพึ่งคนอื่น แล้วเราก็ชอบที่จะท�ำ ไม่ใช่ ตื่นขึน้ มาแล้วไม่อยากท�ำ แบบนีม้ ันก็จะ ท�ำร้ายเราไปเรื่อยๆ เราต้องสนุกกับมันนะ” นาฬิ กาหน้าปั ดไม้ท่ีท�ำเพื่อใส่เป็นคู่กัน โดยด้านซ้าย เป็นของผู ้ชาย และต้านขวาเป็นของผู ้หญิง
22
หญิงสาวกล่าวว่า มีคนที่เห็นเรื่องราวของเธอแล้วโทรมาหาว่าอยากลาออกจากงาน เธอก็บอกไปว่า “ชีวิตไม่ได้ง่าย ขนาดนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนที่เกิดมาแล้วจะได้ท�ำสิ่งที่ตนรัก เราไม่ได้เกิดมาด้วยต้นทุนที่เท่ากัน ดังนั้นค่อยๆเริ่มต้นจะดีกว่า ถึง อยากท�ำแต่เราจ�ำเป็นต้องรอบคอบ ไม่ใช่แค่ความรู้สึกแต่ยังมีปัจจัยอื่นร่วมอีกเช่น ออกมาแล้วจะท�ำอะไร หาเลี้ยงตัวเองได้ หรือเปล่า”
“
ถึงแม้จะเป็นอัจฉริยะมาต้งแต่เกิดอาจจะแพ้คนที่ทุ่มเท พี่เคยเจอคนเก่งๆที่สุดท้ายก็ใช้ ชีวิตไม่รอด
” ถ้าย้อนเวลากลับไปได้พี่มิ้งค์ยังคงเลือกที่จะท�ำงานประจ�ำก่อนเพราะ สิ่งที่ได้จากการท�ำงานประจ�ำมีหลายอย่าง เช่นเรื่องความอดทน เวลาที่โดนลูกค้าต�ำหนิ หรือความมีวินัย ในการท�ำงานให้เสร็จตามเวลาที่ก�ำหนด มันส่งผลดีต่องานที่ เราท�ำปัจจุบัน การมีกิจการของตนเองต้องคิดและกดดันมากกว่าเพราะความกดดันมาพร้อมความรับผิดชอบเพราะทุกอย่างเป็น ของเรา เราต้องรับผิดชอบเอง แก้ปัญหาเอง สิ้นเดือนที่เคยร่าเริงเพราะได้เงินเดือน ก็กลายเป็นสิ้นเดือนที่ปวดหัวเพราะ รายจ่ายต่างๆ “ขึ้นอยู่กับว่า เราจะยอมแลกไหม ถ้าถามเรา งานที่ท�ำตอนนี้ถือเป็นทุกอย่างของชีวิตไปแล้ว”
23
“งานที่ท�ำตอนนีถ้ ือเป็นทุกอย่างของชีวิตแล้ว ตื่นมาก็ท�ำ ก่อนนอนก็เห็น”
เก้าอี้ไม้ เป็นหนึ่งในสินค้าร้าน Mink’s มีทั้งสีเข้มและสีอ่อน 24
ที่แขวนจักรยานของ Mink’s โดยด้านบนสามารถวางของอย่างอื่นได้
25
ส่วนของหน้าบ้านที่เจ้าของแบรนด์ Mink’s เปลี่ยนมาเป็นโรงงาน ชั่ วคราว เพื่อผลิตสินค้า
จัดสรรความสุข ชีวิตในตอนนี้น้ันต่างจากตอนที่ท�ำงานประจ�ำมากเพราะในช่วงนั้นพี่มิ้งค์ไม่เคยมี เงินเก็บ เนื่องจากแน่ใจว่าอย่างไรสิ้นเดือนก็จะได้รับเงิน ฉะนั้นเงินเดือนสองถึงสามหมื่น จึงใช้อย่างไม่มีจุดหมายเท่าใดนัก แต่ตอนนี้เธอมีเป้าหมายในการใช้จ่ายมากขึ้นต้องเตือน ตัวเองในเรื่องการใช้เงินว่าจะใช้เหมือนเมื่อก่อนไม่ได้ รวมถึงการใช้ชีวิต เธอก�ำหนดเป้าหมายต่างๆในการใช้ชีวิต เธอไม่ได้คิดที่จะ ท�ำงานไปตลอด เพราะรู้ตัวว่าตนชอบอะไร และได้ท�ำสิ่งนั้นเป็นอาชีพไปแล้วหนึ่งอย่าง อีกอย่างหนึ่งคือการเดินทาง เธอเล่าว่า”จริงๆตอนนี้ก็เดินทางไปด้วยนะ มีโปรเจ็คจะท�ำ หนังสือเดินทาง แต่ถ้าพูดถึงจุดที่จะเลิกท�ำงาน อาจจะยากเพราะคงท�ำไปตลอดชีวิต แต่ คงลดลงไปเรื่อยๆตามก�ำลัง” เพราะเรียนจบทางด้านการบริหาร เธอจึงมองชีวิตเป็นเช่นนั้นด้วยเช่นกัน เจ้าของแบรนด์Mink’sกล่าวว่า “เราควรจัดสรรเวลาให้เราได้ท�ำสิ่งที่เรารัก ได้อยู่กับมัน ให้มากที่สุด ไม่ใช่แค่การตื่นมาก็ใช้ชีวิตไปวันๆ การที่ต้องอยู่กับสิ่งที่เราไม่ชอบนั้นเป็น เรื่องเสียเวลา” หลังจากพูดคุยกันเสร็จแล้ว หญิงสาวได้เตรียมพื้นที่ท�ำอีกงานที่เธอรับ นั่นคือ การถ่ายรูปสินค้าที่ติดต่อให้เจ้าของแบรนด์Mink’s ถ่ายให้ โดยงานนี้พี่เบิร์ท คนรักเป็นผู้ ถือกล้องกดชัตเตอร์และเธอเป็นผู้ช่วยคอยจัดวางสิ่งของต่างๆรอบโต๊ะ ทั้งสองช่วยกัน ท�ำงานด้วยรอยยิ้ม
28
“
ชีวิตคือการจัดสรร ให้เราได้อยู ่กับสิง่ ที่เรารัก ได้ท�ำในสิง่ ที่เราชอบให้ได้มากที่สุด
”
29
ออกแบบชีวิต โอ๋ ปิ ยทัต เหมทัต
เมื่อแรกค้นพบ พี่โอ๋ ปิยทัต เหมทัต เป็นช่างภาพและเป็นเจ้าของ RMA Institute ซึ่งเป็น สถานที่แสดงภาพศิลปะ จัดท�ำเวิร์คช็อปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ เราจึงนัดพูดคุยกันที่นี่ เมื่อเดินเข้ามาใน RMA institute จะเห็นด้านบนส่วนหลังคานั้นมีต้นไม้ขึ้น ปกคลุม ท�ำให้อากาศด้านในเย็นสบาย ด้านหน้ามีร้านค้าขายอาหารและเครื่องดื่ม แม้ จะอยู่ในกรุงเทพแต่ที่น่ีมีสไตล์การตกแต่งที่ผสมผสานระหว่างเก่ากับใหม่อย่างลงตัว การตกแต่งด้วยฉากกั้นไม้สานหรือเฟอร์นิเจอร์ส่วนหนึ่งที่เป็นไม้สีเข้มและ ห้องจัด แสดงภาพที่เป็นผนังปูนสีขาวสะอาด ท�ำให้แฝงความเรียบง่ายอยู่ในตัว พี่โอ๋มาด้วยชุดเสื้อยืดและกางเกงที่ดูจะใส่สบาย ด้วยท่าทางที่ผ่อนคลาย ท�ำให้การพบกันครั้งแรกของฉันกับเจ้าของ RMA Instituteไม่มีความกระอักกระอ่วน อยู่เลย เมื่อสอบถามจึงได้ทราบว่า เขาเป็นบุคคลที่ชื่นชอบงานสร้างสรรค์ตั้งแต่อายุ ประมาณ 5-6 ขวบ ชีวิตของเขามีเป้าหมายตั้งแต่ตอนนั้น ขณะที่อายุได้ 13 ปี เขาได้ ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ พร้อมทั้งเรียนต่อปริญญาตรีและโทที่นั่นในสาขา Fine Art ชายหนุ่มเริ่มต้นการถ่ายภาพโดยการถ่ายเพื่อใช้อ้างอิงในงานวาดหรืองาน ศิลปะที่เขาได้ท�ำขณะเรียน เมื่อได้ลองการถ่ายภาพก็ยิ่งติดใจ แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่ เคยเรียนถ่ายภาพเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ใช้วิธีการน�ำสิ่งที่เคยเรียนรู้ มุมมองของตน และวิธีการใช้กล้อง ซึ่งเขาใช้กล้องฟิล์มเป็นหลัก จึงใช้เวลาศึกษาอยู่นานหลายปี เพื่อ ให้ถ่ายภาพที่มองไม่เห็นภาพตัวอย่าง ดังเช่นกล้องฟิล์มนั้น ออกมาดีได้โดยอัตโนมัติ
“ถ้าเรามาสเตอร์ได้เมื่อไหร่เราถึงคิด แล้วก็ลงทุนกับไอ เดียพวกนี้ เพราะว่าถ้าจะท�ำควบคู่กันนี่มันก็ได้ แต่มัน จะไม่เคลียร์ มันต้องไปเป็นสเต็ป” 32
Piyatat Hemmatat, 11i
33
เขาได้เล่าเกี่ยวกับภาพแรกที่สร้างรายได้ว่า “ เป็นภาพ ที่ถ่ายขณะท�ำวิทยานิพนธ์ของปริญญาโทที่ทางแกลเลอร์รี่น�ำไป ขายให้ ก็ได้รับรู้บริบทการหารายได้จากอาชีพนี้เป็นครั้งแรก คือ เราไม่มีเงินเดือน แต่จะไม่ของานใครท�ำ เราต้องท�ำงานให้ออก มาน่าสนใจเพื่อให้คนอยากมาร่วมงานกับเราเอง” เมื่อเรียนจบ ชายผู้นี้ใช้เวลา 4 ปีในการทดลองท�ำอาชีพ ช่างภาพ และเขามีโปรเจ็คงานที่อยากจะสานต่อนั่นคือโปรเจ็คที่ เป็นวิทยานิพนธ์ของปริญญาโท และจัดนิทรรศการภาพถ่ายไป ด้วย เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เขาได้รูปมากพอแล้วจึงต้องการลองท�ำไอ เดียอื่นๆ แต่กลับคิดไม่ออกว่าอยากจะท�ำอะไร จึงตัดสินใจ สมัครเขาท�ำงานบริษัทโฆษณา เพราะเขาต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม
“เราไม่ได้ไปหางาน แต่ท�ำในสิง่ ที่น่า สนใจ ให้คนอยากมาท�ำงานกับเราเอง เป็นวิธีท่ดี ีท่สี ุดส�ำหรับพี่”
34
Piyatat Hemmatat, 28
เจ้าของ RMA institute เล่าด้วยสีหน้าเรียบเฉยแต่น�้ำเสียงกลับบ่งบอก ความ คิดถึงว่า “บริษัทโฆษณาที่พี่ท�ำงานนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากมีเพื่อนร่วมงานประมาณ 4-5 คน เพราะฉะนั้นทุกคนจึงได้ท�ำทุกอย่าง พี่ก็ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างทั้งการ ออกแบบกราฟิก งานโปรดักชั่นการถ่ายภาพ ตอนที่พี่ท�ำคนเดียว เราก็ท�ำตามที่เรา สะดวก แต่ท�ำงานบริษัทเราต้องท�ำตามที่ลูกค้าต้องการ ก็เลยได้รู้อะไรหลายๆอย่าง” เมื่อรู้สึกว่าความรู้ที่ได้จากการท�ำงานบริษัทมากพอแล้ว พร้อมกับอาม่าของ พี่โอ๋ซึ่งอยู่ที่เมืองไทยนั้นป่วย เขาจึงลาออกเพื่อกลับมาเมืองไทย หลังจากอาม่าเสีย ท�ำให้เขาเริ่มคิดว่าก�ำลังต้องการความเปลี่ยนแปลงเพราะการอยู่ที่ประเทศอังกฤษนั้น ไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้เขาคิดไอเดียใหม่ๆขึ้นมา จึงกลับมาเริ่มท�ำอะไรใหม่ๆที่เมืองไทย ชายผู้รักการถ่ายภาพกลับมาตั้งหลักอีกครั้งที่เมืองไทย เขาเอ่ยถึงเหตุผล การ ก่อตั้ง RMA institute ว่า “พี่รู้สึกว่ามันไม่ค่อยมีพื้นที่ระหว่างสักเท่าไหร่ ทั้งที่จริง ความเป็นไปได้มันเยอะกว่าที่จะท�ำให้ผู้คนเข้าถึงศิลปะ ซึ่งชีวิตพี่ พี่ก็วางตัว แบบนั้น จะไม่ขึ้นอยู่กับพรรคไหนหรือว่ากลุ่มใด”
35
RMA Institute จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ ระหว่างของประเภทแกลเลอร์รี่ต่างๆ เขาน�ำบ้านขอ งอาม่ามาปรับปรุงใหม่เพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงงาน และท�ำงานอื่นๆเพราะอย่างนั้นจึงตั้งชื่อว่า อาร์เอ็ม เอ อินสติจูด (RMA Institute) หรืออ่านได้อีกแบบว่า อาม่า อินสติจูด หากสังเกตดูจะพบว่าชื่อนั้นตั้งว่า Institute ซึ่งแปลว่าสถาบันไม่ใช่แกลเลอร์รี่ เจ้าของ RMA institute ให้เหตุผลว่า “บางครั้งเราก็เรียกตัวเองว่า แกลเลอร์รี่ แต่ที่ตั้งว่าสถาบันเพราะเราไม่ได้ท�ำแค่จัด
แสดงงานศิลปะ เราท�ำพวกเวิร์คช็อป สอนถ่ายภาพ ท�ำกิจกรรมต่างๆให้คนได้เรียนรู้และทดลองอย่างต่อ เนื่อง อย่างนิทรรศการต่างๆ เราก็ได้เรียนรู้โดยตรง กับชีวิตศิลปินแต่ละคนที่เขาอุทิศตนให้กับงาน” แต่โดยหลักแล้วที่นี่จะจัดแสดงภาพเป็นหลัก โดยจะมีศิลปินน�ำรูปภาพเข้ามาเสนอให้แก่พี่โอ๋เพื่อ คัดเลือกชุดภาพที่เขาดูแล้วเป็นงานที่ท�ำให้สังคมหรือ ผู้เสพศิลปะนั่นเข้ามาดูอย่างต่อเนื่องและภาพเหล่า นั้นต้องถูกสร้างขึ้นอย่างมีคุณภาพและมีความตั้งใจ จริง
“เราก็จะให้ใครก็ได้ท่ีอยากจะทดลองหรือสร้างสรรค์ ให้เขามีพนื้ ที่ได้ท�ำ”
36
ด้านหน้าของ RMA Intitute อาจคล้ายคาเฟ่ แต่เมื่อเดินเข้าไปทางซ้ายจะ เป็นห้องจัดแสดงภาพ และขวามือเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่ม
37
ดีท่สี ุด พี่โอ๋ไม่จ�ำกัดความสามารถของตนให้เป็น ช่างภาพแขนงใดแขนงหนึ่งเพราะเขาเชื่อว่าหากมี ความคิด หรือความสามารถในออกแบบมุมมอง ได้แล้วควรจะน�ำมาใช้ได้กับทุกๆสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ในเวลาใดก็ได้ ภาพมีภาษาที่จะสื่อสารกับเรา โดยงาน ของเขานั้นจะมีความเก่าผสมกับความใหม่อยู่ใน เวลาเดียวกัน และเป็นเพราะเมื่อเริ่มใช้กล้องนั้น ชายหนุ่มใช้กล้อง Large Format ในการถ่าย ภาพซึ่งเมื่อเล็งภาพแล้วรูปที่ได้จะกลับหัวกลับ ด้าน ฉะนั้นเวลาเล็งภาพจะต้องหา แสงเงาและ รูปทรงให้ชัด เขาจึงได้ข้อดีของส่วนนั้น เมื่อ เปลี่ยนมาใช้กล้องฟิล์มจึงได้ภาพที่มีรูปทรงจาก ธรรมชาติ ซึ่งจะใช้กล้องฟิล์มทั้งหมดสามขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ตามความเหมาะสมของภาพ ชายผู้รักการถ่ายภาพคนนี้ยังคงเดินหน้า ท�ำสิ่งที่ตนสนใจต่อไปโดยการท�ำสิ่งที่ตนสนใจ ทั้ง งานโฆษณา ชุดภาพถ่าย หรือแม้กระทั่งการจัด งานเวิร์คช็อปอย่างการจัดท�ำกล้องยักษ์ ซึ่งเป็นไอ เดียที่พัฒนามาจากลูกศิษย์ที่จุฬาฯ เพราะเขาเคย
รั บ งานสอนตามมหาวิ ท ยาลั ย อยู ่ ห ลายแห่ ง ประมาณสามปี ก่อนจะเลิกไป ปัจจุบันรับเฉพาะ การไปบรรยาย ซึ่งจะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับวิธีการ ถ่ายรูปที่ได้เจอหรือ แปลไอเดีย ปรัชญา การใช้ ความเป็ น พื้ น ฐานของตะวั น ตกบวกกั บ บริ บ ท วัฒนธรรมของเอเชีย ให้ออกมาเป็นภาพถ่าย เงื่ อ นไขการรั บ งานโฆษณาของพี่ โ อ๋ นั้ น เป็นเอกลักษณ์ เขาบอกด้วยสีหน้าและน�้ำเสียงที่ มั่นคงและพอใจว่า” การท�ำงานต้องมีช่วงเวลาที่ กดดันเป็นธรรมดา แต่มันยังสนุกเสมอส�ำหรับพี่ เพราะงานโฆษณาที่พี่ได้ถ่าย ลูกค้าก็จะให้พี่ท�ำ อะไรก็ได้ คือเขามาด้วยความเชื่อใจ ว่ามีโครงการ ที่มีสักษณะแบบนี้ ให้ช่วยคิดช่วยผลิต หาโจทย์ และค�ำตอบที่เหมาะสมว่าจะท�ำออกมาเป็นรูป แบบไหนจะช่วยให้ขายได้ ส�ำหรับตัวพี่เอง ถ้าไม่มี ใครบอกพี่ก็จะท�ำสิ่งที่อยากท�ำ ที่คิดว่าน่าท�ำ และบางทีก็ท�ำสิ่งที่ควรท�ำเพราะงานแบบนี้เรา ต้องท�ำให้ดีที่สุดให้เขาปฏิเสธเราไม่ได้อยู่แล้ว แต่ ถ้าเขาก�ำหนดอะไรมาให้ พี่จะไม่ท�ำ”
“เราใช้ ภาพเป็นภาษา มันจะไม่แค่สวยอย่างเดียว แต่มันต้องอ่านได้ด้วย เข้าใจอะไรบางอย่างได้ด้วย” 38
3rd Eye, The New Dawn 2013, No.12
“
พี่คิดว่าการที่มีความคิด ดีไซน์มุมมองนี่เราควรเอามาใช้ ได้กับ ทุกอย่าง ก็เลยไม่จ�ำกัดตัวเองอย่างนัน้ พี่คิดว่าเราควรจะถ่าย อะไรก็ได้เมื่อไหร่ก็ได้ให้ออกมาดูดี
” 39
Piyatat Hemmatat
นอกจากนี้เขายังท�ำงานส่วนตัวซึ่งคือการจัดท�ำชุดภาพถ่าย แต่การจัดท�ำชุด ภาพถ่ายของเขานั้นใช้เวลาเกือบสิบปีเพื่อจัดท�ำและแก้ไขออกมาให้ดีที่สุด แต่ช่วงเวลา เดียวกันนั้นหากมีไอเดียใหม่ออกมาเขาจะทดลองท�ำ ถ้าท�ำได้จริง ก็จะเก็บไว้เป็นหนึ่งใน โปรเจ็คที่ท�ำ ท�ำให้ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เขามีการจัดท�ำชุดภาพถ่ายอยู่ราวๆ 6-7ชุดและ อาจมีมากกว่านั้น
“บางทีมันเป็นเรื่องของการที่เราไปอธิบายอะไรแล้ว พอกลับมาไม่ใช่ แบบที่เราอยากได้ มันเป็นการเซฟเวลา เรารู้แล้วว่าเราต้องการอะไรก็ท�ำเองเลย” 40
ในการจัดท�ำชุดภาพถ่ายของเจ้าของ RMA Instituteนั้นจะมีความหลากหลายและไม่คล้ายกันมา กนัก เขาให้เหตุผลว่า “ในซีรี่ย์นั้นต้องมีความหลาก หลาย บางทีพี่เห็นรูปถ่ายที่มันมาจากที่เดียวกัน ช่วง เวลาเดียวกัน แบบเดียวกันแต่คนละท่า พี่ถือว่ามัน เป็นรูปเดียวกัน จะเลือกรูปที่ดีที่สุดมาแค่อันเดียวพอ เพราะพี่ต้องการหาความหลากหลายของสิ่งที่เราถ่าย ภายในโปรเจ็คให้มันแตกต่างดูเป็นซีรี่ย์เดียวกันใน เวลาเดียวกัน” รายได้ของพี่โอ๋นั้นเข้ามาหลายทางและบาง ครั้งอาจมากถึงหนึ่งล้านบาท แต่เหตุผลที่เขาท�ำนั้น เกิดจากความสนใจอย่างแท้จริง การถ่ายภาพท�ำให้พี่ โอ๋ได้แสวงหาสิ่งใหม่ตลอดเวลา และทุกครั้งที่เดินทาง เพื่อไปถ่ายภาพเขามักได้แนวคิด แรงบันดาลใจหรือไอ
เดียที่จะพัฒนาต่อยอดงานอื่นๆได้เสมอ ทั้งในแบบที่ เขาชอบและไม่ชอบ อี ก เหตุ ผ ลหนึ่ ง ที่ ช ายหนุ ่ ม เลื อ กใช้ วิ ธี ก าร ถ่ายทอดงานศิลปะเป็นการถ่ายภาพนั้น เพราะเชื่อว่า ภาพถ่ายยังสามารถพัฒนาต่อได้อีกมาก เขาอธิบายถึง เหตุผลนี้ด้วยท่าทางจริงจังว่า “พี่ผลักดันสื่อภาพถ่าย เพราะมันยังใหม่ เพิ่งมีมาได้ 200 ปี ถ้าเทียบกับ จิตรกรรม ประติมากรรม เพราะฉะนั้นพี่ยังเชื่อว่ามัน ท�ำไปได้เรื่อยๆแล้วเรายังไม่เห็นความสิ้นสุด อย่าง น้อยเราท�ำสิ่งที่เราไม่เคยเห็น แต่ก็ต้องมองดูว่าอดีต เขาท�ำอะไรมาแล้ว ปัจจุบันคนท�ำอะไรไปแล้ว ไม่ อย่างนั้นเราจะซ�้ำ จะหลุดสมัย ก็ต้องดูทั้งเก่าและใหม่ ควบคู่กันไป”
“อะไรที่เราไม่ชอบ เราสามารถพลิก ให้มันกลายเป็นสิง่ ที่น่าสนใจได้”
Piyatat Hemmatat, Alley 41
หาเราให้เจอ ในการเริ่มต้นท�ำงานที่ไม่แน่นอนและมี ความเป็นตัวเองสูงของเขานั้นค่อนข้างแปลกใหม่ และท้าทายมากเกินไปในมุมมองของครอบครัว เขา ต้องพิสูจน์ตัวเองอยู่พักหนึ่งเพื่อให้ครอบครัวเชื่อว่า หลักการของเขานั้นสามารถเอาชีวิตรอดได้จริงโดย การหาเงินได้โดยไม่พึ่งพาหรือท�ำให้คนอื่นเดือด ร้อน เมื่อทางบ้านมั่นใจว่าเขาท�ำได้ ครอบครัวก็ สนับสนุนและเป็นก�ำลังใจให้เขาสามารถก้าวต่อไป ได้อีก ในการท�ำงานชุดภาพถ่ายนั้นผ่านกระบวน การคิ ด มาอย่ า งหนั ก หน่ ว งเพื่ อ ให้ ง านออกมามี ความหมายแต่ในการสื่อความหมายในกระบวน การจัดท�ำใช้แรงกาย ทรัพย์สินและเวลามากกว่า อย่างเช่นการถ่ายภาพแลนด์สเคปที่เขาเล่าให้ฟังว่า “พี่ต้องเดินทางเข้าป่าเยอะมาก ใช้เวลาหลายปีใน การเดินป่า ขึ้นเขาเพื่อหารูปมาท�ำงาน บางทีไป สามเดือนอาจไม่ได้อะไรกลับมาเลย แต่มันก็ต้อง ลองไปนะ ไม่ลองก็ไม่รู้ ต้องเอาตัวเองไปอยู่กับ ธรรมชาติ บางทีก็เจออะไรที่น่าสนใจที่อาจเอามาใช้ กับงานได้”
ชายผู้รักการถ่ายภาพคนนี้มองว่ากล้องเป็น เพียงเครื่องมือในการสื่อสารดังนั้นสิ่งส�ำคัญก่อน ถ่ายภาพคือเราต้องมองเห็นภาพที่ดีที่สุดนั้นก่อน “เราต้ อ งท� ำ อะไรอั ต โนมั ติ เ พราะพี่ ไ ม่ มี เครื่องวัดแสง บางทีต้องใช้ตาดูก่อนว่ามันได้แน่ แต่ ถ้าดูแล้วไม่ได้ก็ไม่ต้องยกกล้องขึ้นมาเลย มันต้องรู้ ก่อนหยิบมาถ่าย เพราะยังไงกล้องเป็นแค่เครื่องมือ ส�ำคัญกว่าคือเราต้องเห็น มันเป็นงานที่ใช้ราย ละเอียด เราต้องหาให้เจอ พอมีประสบการณ์มาก เข้า เราก็จะสามารถมองมันได้ขาดขึ้นกว่าเดิมว่า ถ่ายออกมาแล้วไม่ใช่แน่” การท�ำงานในแบบของพี่โอ๋นั้นเน้นที่ความ เป็นตัวเองสูง ดังนั้นหากมีผู้คนสนใจอยากเป็นเช่น เขาชายผู้นี้จะแนะน�ำกลับมาว่า “ ในการท�ำงาน แบบนี้เราต้องอาศัยความเป็นตัวเองเยอะ เพราะว่า ยิ่งเราเป็นตัวเองได้เมื่อใด งานเราก็จะยิ่งแตกต่าง เพราะมันไม่มีใครเหมือนใครในโลกนี้ ส่วนใหญ่แล้ว คนมักไปติดกับค่านิยมอะไรต่างๆที่มันไม่ให้เราเป็น ตัวเอง”
“พี่จะบอกคนที่สนใจเสมอว่าต้องหาตัวตนให้เจอ เพราะงานแบบนี้ มันต้องอาศัยความเป็นตัวตนเยอะ เพราะยิง่ เป็นตัวตนได้เมื่อไหร่ งานเราก็ยงิ่ แตกต่างเพราะมันไม่มีใครเหมือนใคร ส่วนใหญ่แล้วคน จะไปติดกับค่านิยมอะไรต่างๆที่มันไม่ให้เราเป็นตัวเอง” 42
Piyatat Hemmatat, Civilisation 2009, no.45
Piyatat Hemmatat, Verve 2008 No.61
Piyatat Hemmatat, Void 2003, Natural History Museum
Piyatat Hemmatat, Apasmara 2010, Gucci
“
การถ่ายภาพเปรียบเสมือนเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ แสวงหาสิง่ ที่เราสนใจ หาค�ำตอบในสิง่ ที่เราสงสัย 44
”
ไม่สิ้นสุด เจ้าของ RMA institute ได้นิยามการถ่ายภาพในความหมายของเขาว่า “มัน เปรียบเสมือนการแสวงหาความรู้ แสวงหาสิ่งที่เราสนใจ หาค�ำตอบในสิ่งที่เราสงสัย ที่เราอยากจะวิเคราะห์หรือวิจัยเพื่อความเข้าใจของตัวเราเอง เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ เรา โลก คนอื่น ธรรมชาติ ทุกอย่าง” แม้ว่าเขาจะมีประสบการณ์ในการท�ำงานสายนี้มาเป็นเวลานาน แต่ชายหนุ่ม นั้นยังคงรู้สึกเริ่มใหม่ตลอดเวลา เพราะการที่เขารู้สึกเริ่มอะไรใหม่อยู่ตลอดนั้นคือการ ท้าทายตัวเองที่ท�ำให้ต้องกระตือรือร้นอยู่เสมอเพื่อให้คิดและท�ำอะไรที่ไม่เคยท�ำ เป็นการพัฒนาตัวเองและใช้ชีวิตให้คุ้มค่าในรูปแบบของเขา ศิลปินในคราบของช่างภาพ คืออาชีพที่พี่โอ๋บอกว่าเขาเป็น แต่ก็อธิบายความ คิดของตนเสริมว่า “พี่จะไม่ค่อยเรียกตัวเองว่าศิลปิน เพราะมันเป็นค�ำที่ค่อนข้างศักดิ์สิทธิ์ ไม่ ควรใช้เรียกตัวเอง แล้วแต่คนมอง หากเขาเห็นว่างานของเราเป็นศิลปะ จะเรียกเราว่า ศิลปินก็ให้เป็นการตัดสินใจของเขาเอง ถ้าคุยกับคนอื่นพี่จะบอกว่าตัวเองเป็นช่าง ภาพเหมือนคนอื่นๆ พี่ก็ถ่ายภาพที่เราเห็นไปเรื่อยๆ”
“พี่อยู ่ในจุ ดที่เราต้องเริม่ ท�ำอะไรตลอดเวลา คือ อะไรที่จบก็ให้มันจบไป เราก็เริม่ อย่างอื่นใหม่”
45
“ถ้าเขาเห็นงานของเราเป็นงานศิลปะแล้วจะเรียกเรา ว่าศิลปิ นก็ให้เป็นการตัดสินใจของเขาเอง” พี่โอ๋กล่าวด้วยรอยยิ้มละความแน่วแน่ในแววตาว่า “พี่เป็นคนโชคดีที่ได้ท�ำใน สิ่งที่เราต้องการ ที่เราเคยฝันไว้ ในเวลาเดียวกันเราก็ต้องส่งเสริมศิลปินคนอื่นให้เขามี โอกาสท�ำในสิ่งที่เราท�ำได้ เมื่อเรามีโอกาสแล้วเราต้องท�ำให้ดีที่สุด และดีขึ้นเรื่อยๆ หากท�ำได้ไม่ดี ไม่คู่ควรกับโอกาสที่มีก็ควรกลบมาคิดอะไรใหม่” งานที่เขาจะท�ำนั้น จะต้องไม่ดูคล้ายกับสิ่งที่ถูกท�ำขึ้นมาเพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ ได้ให้คุณค่าหรือประโยชน์ใดๆ เพราะคนสมัยนี้มีข้อมูลในตัวเยอะ รู้เยอะ หากท�ำ อะไรที่คล้ายกัน เหมือนกันมันจะไม่เรียกว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เขาควรจะท�ำให้คนที่มา ดูงานนั้นรู้ว่าเขาไม่ท�ำอะไรทั่วไป หรืออย่างน้อยเขาจะท�ำในสิ่งที่เขาไม่เคยเห็น จึง ศึกษาดูงานของศิลปินท่านอื่นอยู่ตลอดเพื่อไม่ให้งานตัวเองนั้นหลุดสมัยและไม่ท�ำสิ่ง ที่คล้ายหรือเหมือนกันออกมา เหตุผลที่เจ้าของ RMA Instituteท�ำงานตรงนี้ซึ่งในทางหนึ่งนั้นเขาผลักดัน ภาพถ่ายไปด้วยในตัวเพราะ สื่อภาพถ่ายนั้นเพิ่งเกิดขึ้นมาประมาณสองร้อยปี หาก เทียบกับจิตรกรรมหรือประติมากรรมแล้วถือว่ายังใหม่อยู่มาก ดังนั้นมันยังคงพัฒนา ต่อไปได้เรื่อยๆ
46
พี่โอ๋ ปิ ยทัต เหมทัต
47
Piyatat Hemmatat, 65
คงความเป็ นเรา พี่โอ๋คัดสรรของทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต เขาเรียนรู้สิ่งต่างๆจากการวิเคราะห์หรือจากข้อมูล ประวัติ ความเป็นมาของมัน เพราะสิ่งต่างๆเหล่านั้นเขาเชื่อว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นมาง่ายๆและสิ่งที่จะเข้ามามีบทบาทใน ชีวิตของเราก็ไม่ควรเข้ามาง่ายๆเช่นกัน โดยเรื่องนี้ถือว่าเป็นวินัยอย่างหนึ่งที่เราต้องท�ำในการคัดสรรสิ่งต่างๆ เข้ามาในชีวิต เกิดมาทั้งที่ต้องใช้ชีวิตให้คุ้มและการใช้ชีวิตให้คุ้ม เขาอธิบายว่า “ท�ำในสิ่งที่เราอยากท�ำ ชอบท�ำ ในวิธี การของเรา ให้อยู่ในสมัยที่เรากลมกลืนและให้ชีวิตกันมันได้ มันก็คือการเอาชีวิตรอดนั่นแหละ แต่ว่าเราเอา ธุรกิจหรือสิ่งที่เราชอบ ไปซึมแทรกในวงจรชีวิตที่เราสามารถเก็บความเป็นตัวตนได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์”
48
“
เขาจะท�ำมันออกมามันผ่านอะไรมาบ้างเราก็มาวิเคราะห์มันหมด คนนีเ้ ขาท�ำอะไรมาก่อน เขาฟังอะไรมาบ้าง เวลาจะหาอะไรเข้าตัวนี่ต้องลึก ไม่ใช่ อะไรก็ได้ จะหาอะไรเข้ามาในชีวิต เราต้องเลือก มันเป็นวินัยอย่างหนึ่ง
” 49
50
51
ปั่นความฝัน แนน นนลนีย์ อึง้ วิวัฒน์กุล
เมื่อแรกสัมผัส ฉันนัดเจอกับพี่แนน นนลนีย์ อึ้งวิวัฒน์กุล ครั้งแรกที่คาเฟ่เวโลโดม คาเฟ่เพื่อคนรักจักรยาน เธอปั่นจักรยานเข้ามาที่ข้างร้านซึ่งเป็นที่จอดรถ จักรยาน ด้านหลังตรงส่วนของที่ซ้อนมีกระเป๋าวาง พาดทั้งสองด้านและมีของใส่จนเต็มทั้งสองด้าน เธอเปิดประตูด้วยการใช้แขนดันเพราะมือทั้งสอง ถือกระเป๋านั้นอยู่ หญิงสาวเปิดกระเป๋าแล้วยื่น มะนาว เท่าที่ฉันมองเห็นมันคือมะนาวเต็มกระเป๋า ทั้งสองใบเพราะสิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ สาวนักปั่นสุด เท่ห์ที่อยู่ตรงหน้า พี่ แ นนสวมเสื้ อ และกางเกงที่ ไ ม่ ไ ด้ ดู แ ตก ต่างจากคนทั่วไป กางเกงไม่ใช้กางเกงที่ดูฟิตๆ ส�ำหรับจักรยาน แต่หมวกจักรยานที่ถือเข้ามา ปอก แขนสีเทา แว่นตากันแดด และรองเท้าผ้าใบ ท�ำให้ เธอดูทะมัดทแมง และที่ส�ำคัญคือใบหน้าที่บ่งบอก ความสุข พร้อมกับความสุขภาพดี ซึ่งคงเป็นผลจาก การปั่นจักรยานทุกวัน หลังจากการพูดคุยกันในวันนั้น เราจบการ สนทนาด้วยการนัดกันไปปั่นจักรยาน โดยมีพี่แนน เป็นผู้น�ำปั่น
สาวนั ก ปั ่ น คนนี้ เ รี ย นจบด้ า นบริ ห าร คอมพิวเตอร์ ที่เรียนแล้วจะเป็นโปรแกรมเมอร์แต่ เธอไม่ต้องการท�ำอาชีพนั้นและบอกเหตุผลกับเรา ว่า “มันเครียด มีแต่ตัวหนังสือ เลยบอกอาจารย์ว่า อาจารย์คะ จบแล้ว หนูคืนให้อาจารย์เลย เพราะ เดี๋ยวหนูจะไปท�ำกราฟิก ก็ไปซื้อหนังสือต่างๆมา หัดลองท�ำเอง ช่วงนั้นก�ำลังฮิตท�ำเว็บไซด์ เลยท�ำ บ้าง พี่เลือกเรื่องที่ตัวเองสนใจอย่างเรื่องอาหารขึ้น มาเป็นเนื้อหาหลัก” พี่แนนเป็นคนชอบคอมพิวเตอร์อยู่แล้วการ เรียนรู้ด้วยตนเองนี้จึงใช้เวลาไม่นาน เธอน�ำผลงาน ที่หัดท�ำนั้นรวบรวมไปสมัครงาน ช่วงนั้นคนส่วน ใหญ่ในเมืองไทยยังไม่ค่อยสนใจงานกราฟิกเท่าใด นัก ท�ำให้คนที่สนใจด้านนี้สามารถหารายได้ได้ไม่ ยาก เธอเองก็เช่นกัน เมื่อรู้ว่าเงินหาไม่ยาก จึงเดิน เข้าสู่เส้นทางนี้ ท�ำงานจนลืมการพักผ่อน กระทั่ง ได้ ยิ น ข่ า วเกี่ ย วกั บ เพื่ อ นที่ ท� ำ งานคล้ า ยกั น ต้ อ ง ผ่าตัดนิ้วเพราะนิ้วล็อก เหตุเพราะการค้างมือไว้ที่ เม้าท์นานๆท�ำให้เกิดพังผืดเกาะ เธอรู้สึกกลัว บวก กับไม่ต้องการน�ำเงินมารักษาตนเองจึงลาออก
“มีข่าวว่าเพื่อนคนหนึ่งไปผ่านิว้ มา เพราะนิว้ มันล็อก เป็นอาการของคนที่ท�ำกราฟิ กตอนนัน้ เลย พี่กลัว ก็เลยลาออกเลย” 54
พี่แนน นนลนีย์ อึ้งวิวัฒน์กุล ยืนสมุ ดบันทึกความประทับใจในการปั่ นจักรยาน
55
“พี่ไม่รู้สึกว่ามันเป็นงาน พี่รู้สึกว่ามันเป็นโอกาสที่เราได้เรียนรู้ ได้ลองโดยที่เราไม่ต้องใช้ เงินตัวเองเลย”
“ในตอนนั้นพี่เริ่มสังเกตว่า ถ้าท�ำงานในต�ำแหน่งที่ใหญ่กว่านี้ จะท�ำแค่สั่งงานเท่านั้น เลยยื่นผลงานที่มีในต�ำแหน่งที่สูงว่า คือผู้ช่วยผู้จัดการ กลายเป็นผู้คุมงานกราฟิกอีกทีหนึ่ง พอได้ประสบการณ์ก็ไปสมัครเป็นผู้จัดการ” เธอเล่าถึงวิธีการเปลี่ยนงานด้วยรอยยิ้ม งานผู้จัดการของเธอในครั้งนั้นค่อนข้างหนักเพราะเป็นบริษัทต่างชาติยังไม่มีแม้แต่ที่ ตั้งบริษัทในประเทศหรือผู้ร่วมงาน ทุกอย่างต้องจัดหาใหม่ทั้งหมด ซึ่งเธอมองว่ามันน่าสนุก และเป็นการเรียนรู้ที่หาไม่ได้ง่ายๆ “พี่ว่ามันเป็นประสบการณ์ที่หายากนะ อยู่ดีๆใครจะให้เรามาเลือกโลเคชั่น ให้เรารับ สมัครพนักงานเอง สัมภาษณ์เองทุกคน พี่เลยไม่รู้สึกว่ามันป็นงาน แต่เป็นโอกาสที่เราได้เรียน รู้ ได้ลองโดยที่เราไม่ต้องใช้เงินตัวเองเลย” หญิงสาวกล่าวเสริมด้วยสีหน้าตื่นเต้น เมื่อการท�ำเว็บไซด์ให้บริษัทแห่งนั้นเริ่มนิ่ง คนเบื่อง่ายอย่างเธอก็เริ่มมองหาอย่างอื่น พร้อมกับที่ช่วงนั้นการท�ำคอนเทนต์เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือก�ำลังเข้ามา เธอมองเห็นว่า สามารถท�ำเงินได้ไม่ยาก จึงย้ายตัวเองมาท�ำงานด้านนี้ ก่อนจะพบกับจักรยานที่เป็นงาน ปัจจุบัน ผู้น�ำปั่นบอกจุดหมายที่เราจะปั่นจักรยานคือจากตลาดน้อยไปถึงคาเฟ่เวโลโดม จะใช้ เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงส�ำหรับเที่ยวเดียว ฉันและเพื่อนอีก 4 คนปั่นจักรยานตามโดยเรียง เป็นแถว นี่เป็นครั้งแรกของฉันที่ได้ปั่นจักรยานในเมือง เชื่อว่าคงเป็นครั้งแรกของเพื่อนเช่น กันที่ปั่นในที่ที่รถเยอะแบบนี้
56
พวกเราไม่รู้เส้นทาง สิ่งส�ำคัญที่ฉันคิดตอนนั้นคือ ห้ามล้ม ห้ามช้าจนห่างจากคนอื่นเพราะเส้นทางที่ผ่านนั้น ไม่รู้เลยว่าเป็นส่วนใดของกรุงเทพ พี่แนนพาเราผ่านจุด ใหญ่ๆอย่างส�ำเพ็ง แต่ผ่านโดยการลัดเลาะไปตามซอย เล็กๆ เหมือนกับการผจญภัยในหุบเขา ที่เราไม่เห็นเส้น ทางที่ชัดเจน เปลี่ยนสองข้างทางที่เต็มไปด้วยต้นไม้ให้ กลายเป็นบ้านเรือน จากพื้นนุ่มๆของดินให้กลายเป็นพื้น แข็งๆ (ซึ่งบางที่มีน�้ำขัง)ของคอนกรีต ตรอกซอยที่เราผ่านบางซอยท้าทายพวกเราอย่าง มาก เพราะแคบจนต้องยกจักรยานข้ามรากไม้ที่ขึ้นมาปิด ทาง ล�ำต้นที่ต้องผ่านถูกแฮนด์จักรยานขูดจนขึ้นรอย ชาวบ้านตรงนั้นบอกว่า เมื่อก่อนต้นโพต้นนี้ไม่ได้โตขนาด นี้ ต่อไปอาจจะผ่านไม่ได้แล้ว จากการที่เขาสื่อสารกับเรา นั้นท�ำให้ฉันได้รู้ว่าเขาไม่แปลกใจกับการมาของขบวน จักรยานเท่าใดนัก อี ก ตรอกหนึ่ ง ที่ น ่ า สนใจและเชื่ อ ว่ า สามารถดึ ง ความสนใจจากเพื่อนร่วมทางไดทั้งหมดคือ ตรอกแขวน คอ เพราะบรรยากาศวังเวงที่มีแค่เรา รอบด้านเป็นบ้าน เรือนที่หันหลังให้อย่างแลดูไม่สนใจ ตรอกนี้จึงเงียบสงัด ราวกับไม่มีคนอยู่ละแวกนี้เลย และประวัติที่ว่ามีคน มากมายมาจบชีวิต ตัวเองที่นี่ด้ว ยการแขวนคอในอดีต กล้องโทรศัพท์มือถือที่ยกขึ้นถ่ายถึงกับชะงัก ทุกคนรีบขึ้น จักรยานเพื่อแสดงความพร้อม ฉันหันหลังกลับมามองอีก ครั้ง ยอมรับในความน่าสนใจของตรอกนี้ และพบกับ… ความว่างเปล่า…
ตรอกเล็กที่ต้องปั่ นผ่าน มีต้นโพธิ์ต้นใหญ่ท่ีโตขึ้นกับ ก�ำแพงบ้านจนปิ ดทางไปเกือบครึ่ง จึงต้องลงจาก จักรยานเพื่อลอดผ่านไปอีกด้านหนึ่ง
ถนนท่าเตียน ในช่ วงเย็น รถเยอะ คนเยอะ จนต้องปั่ นไปหยุ ดไป
เราปั่นผ่านส�ำเพ็งที่ต้องระวังคน ระวังเด็ก และระวังของ ยิ่งกว่าการเอาชีวิตรอด สองมือของฉัน ก�ำแฮนด์จักรยานแน่นพร้อมกับเกร็งแขนเพื่อบังคับ ทิศทาง เราผ่านเขตโรงเรียนในช่วงเวลาเลิกเรียนพอดี คราวนี้ต้องระวังไม่ให้แฮนด์จักรยานขูดรถของคนอื่น ความรู้สึกของฉันตอนนั้นไม่ใช่การตื่นเต้นแต่เป็นการ ตื่นกลัว เวลานั้นฉันเริ่มรู้สึกผิดกับเพื่อนๆที่ดูพยายาม ตามกันให้ทัน จนกระทั่งเส้นทางที่ไปนั้นเป็นซอยเล็ก ของตลาดมีผู้คนขนสินค้า พี่แนนจอดรอคนที่ยังมาไม่ ถึงอยู่ข้างหน้าห่างออกไปเล็กน้อย ฉันเข้ามาสมทบกับ เพื่อนเพื่อรออีกคนหนึ่ง เพื่อนของฉันกล่าวขึ้นมาใน ขณะนั้นว่า “ขอบคุณมากนะที่ชวน มันสนุกมากเลย ถ้าแกไม่ชวนคงไม่มีโอกาสได้ท�ำอะไรแบบนี้แน่ คุ้ม 58
มากที่ตามมา” หลายคนพูดสมทบ ท�ำให้ฉันคิดได้ว่า สงสัยเราจะไม่สนุกอยู่คนเดียว อาจเป็นเพราะนี่คือครั้งแรก แถมฉันยังปั่น จักรยานไม่เก่งเท่าไรนัก มือที่จับแฮนด์แน่นเกินไปก็ได้ แผล เมื่อเราไปถึงที่เวโลโดม นั่งพักและทานอะไรเอา แรงสักเล็กเพราะพวกเราต้องปั่นกลับไปคืนจักรยานที่ ตลาดน้อย โดยการปั่นกลับครั้งนี้มีเพื่อนร่วมทางจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเพิ่มอีก เราจึงกลายเป็น ขบวนยาวถึง 11 คน เมื่ อ ปั ่ น กลั บ รอบนี้ ผู ้ ร ่ ว มทางหลายคนที่ ดู เหมือนจะเป็นนักปั่นอยู่แล้ว พวกเขาคอยดูแลพวกเรา ที่เป็นมือใหม่ทั้งการจอดเพื่อหลบรถ การข้ามถนน และอื่นๆจนถึงที่หมาย
หากใครได้อ่านหนังสือที่พี่แนนเขียน ‘ลา ออกมาปั่น’ ซึ่งได้บอกเล่าจุดเริ่มต้นของนักปั่นคนนี้ จะเห็นได้ว่าเธอได้พบเจอเพื่อนหลายคนจากที่นี่ และ คาเฟ่เวโลโดมเองก็เริ่มจากความช่วยเหลือของเพื่อน จักรยานด้วยกัน รวมทั้งการเข้าไปมีส่วนร่วมในการ ปรับปรุงแก้ไขกรุงเทพฯให้น่าอยู่และเป็นมิตรต่อนัก ปั่นก็เกิดจากความตั้งใจที่ได้แรงสนับสนุนจากเพื่อน จักรยาน หลังจากแยกย้าย เพื่อนๆของฉันกล่าวเป็น เสียงเดียวกันว่าวันนี้สนุกมาก หากมีครั้งหน้าให้ชวน พวกเขาไปด้วย แม้จะมีสีหน้าที่อ่อนเพลียมากแต่แวว ตานั้นแสดงความสนุกออกมาอย่างเต็มเปี่ยม ไม่แน่ ว่าฉันคงแปลกจากคนอื่น ไม่ก็ความรู้สึกช้าเกินไป
เมื่อกลับมาถึงบ้าน อาการปวดแขนก็เข้า จู่โจมทันที แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อทบทวนสิ่งที่ได้ท�ำในวัน นี้อีกครั้ง ความรู้สึกบางอย่างก็พุ่งเข้ามา นั่นคือ ความ ตื่นเต้น(ซึ่งควรจะเกิดตอนที่ปั่น) และความสนุก(ซึ่งก็ ควรจะเกิดตอนที่ปั่นอีกเช่นกัน) เมื่อบ่ายที่ผ่านมาเรา ได้ผจญภัยในเมืองใหญ่ ตื่นเต้นราวกับเป็นอลิซที่ได้ ผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์ มันสนุกมากจริงๆ แต่ก็ น่าเสียดายที่เพิ่งมารู้สึกตอนนี้ แต่ฉันรู้สึกได้ว่าการ ปั่นจักรยานครั้งนี้นั้นให้มากกว่าค�ำว่าคุ้มที่มีโอกาสได้ ท�ำ
59
“
ความรู้สึกเวลาที่นงั่ อยู ่ในรถยนต์ มันเหมือนเราถูกหุ้มอยู ๋ในกรอบ สี่เหลี่ยม แต่เวลาปั่ นจักรยานมันไม่มีกรอบสี่เหลี่ยมกัน้ จะเสียบหู ฟังหรือฟังเสียงรถข้างนอก พี่ยังรู้สึกเลยนะว่ามันเป็นบ้าน
”
60
เที่ยวที่บ้าน พี่แนนชอบอ่านหนังสือ เพราะฉะนั้นกิจวัตรอย่างหนึ่งที่ท�ำคือการอ่านหนังสือ หากเก็บไอเดียอะไรดีๆได้เมื่อมีโอกาสก็จะลองท�ำ กิจวัตรอีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือการปั่น จักรยาน เธอเล่าด้วยรอยยิ้มและแววตาที่เป็นประกายว่า “พี่จะเลือกเวลาที่ปั่นเป็นช่วง ไม่มีแดดหรือหากเจอแดดที่แรงมากอย่างช่วงเที่ยง ก็จะเข้าไปหลบที่ร้านกาแฟสักที่ หรือ พักพูดคุยกับคนในพื้นที่ ถ้าท�ำแบบนี้จะท�ำให้เราสามารถทราบข้อมูลท้องถิ่นได้หลาย อย่างที่อาจไม่มีเขียนในหนังสือท่องเที่ยวที่เขียนเฉพาะจุดใหญ่ๆเพราะสิ่งที่เราพบเป็นจุด เล็กๆในท้องถิ่น ถือว่าเป็นการค้นพบสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง มันจะรู้สึกตื่นเต้นมาก พี่จะถ่าย รูป อัพลงโซเชียลเล่าให้เพื่อนฟัง แทนที่เราจะแนะน�ำวัดพระแก้ว เราก็แนะน�ำอะไรเล็กๆ ให้คนกล้าเข้ามาในซอย การค้าในซอยก็คึกคักถ้าเขามีอะไรขาย” การปั่นจักรยานส�ำหรับเธอนั้นเปรียบเสมือนการท่องเที่ยวตลอดเวลา โดยที่ ตลอดเส้นทางนั้นเป็นเหมือนบ้านที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น ได้มองเห็นความเป็นไปที่เกิดขึ้น ในบ้านเรือนที่ปั่นผ่าน ราวกับการดูภาพยนตร์ที่ฉายเกี่ยวกับชีวิตผู้คนที่เกิดขึ้นจริง ในบรรดาชุมชนต่างๆที่ได้ปั่นเข้าไปส�ำรวจนั้น เธอชอบชุมชนของชาวมุสลิมมาก ที่สุดเพราะพวกเขาอยู่ในกรุงเทพฯเหมือนกันแต่กลับไม่มีขยะวางเกลื่อนและน�้ำในคลอง ใสสะอาด เพราะเขาสอนเด็กเสมอว่าต้องทิ้งขยะตรงไหน พี่แนนสอบถามเพื่อนที่เป็น นับถือศาสนาอิสลามแล้วได้ความว่า เวลาที่เขาละหมาด เขาจ�ำต้องรักษาความสะอาดทั้ง ตัวเขาและสิ่งที่อยู่รอบตัวจึงรวมไปถึงชุมชน ขณะที่ซอยข้างกันนั้นเป็นของคนไทย กลับ สกปรกเต็มไปด้วยขยะ “อย่างบ้านที่พี่ไปเห็นนะ ใต้ถุนบ้านเขาเต็มไปด้วยขยะแบบแน่นๆ ประเด็นคือ ใครจะมานั่งยัดขยะลงไปใต้ถุนบ้านนอกจากเจ้าของบ้าน เพราะมันไม่ได้เป็นสถานที่ท่อง เที่ยวที่คนอื่นจะเข้าไปทิ้งได้ คือเราเห็นเลยว่าตัวคุณเองที่ไม่ท�ำพื้นที่ของคุณให้น่าอยู่” นักท่องตรอกซอยผู้นี้เล่าด้วยท่าทางโมโห 61
“ท�ำไมเราไม่ท�ำบ้านของเราให้น่าอยู ่ พอน่าอยู ่ก็จะมีคนมาเที่ยว เมื่อมีคนมาเที่ยวก็จะมีรายได้เพิม่ เข้ามาทางอ้อมให้กับคนอื่นเยอะแยะ ไม่ใช่ แค่เรา มันได้โดยรวมทัง้ หมด นัน่ คือสิง่ ที่พ่คี ิด”
อาชีพ ชวนปั่นจักรยาน คืออาชีพปัจจุบัน ของเธอที่ ต ้ อ งการให้ ค นอื่ น ๆได้ สั ม ผั ส สิ่ ง ที่ น ่ า ประทับใจ นักชวนปั่นผู้นี้จึงรับจัดทริปน�ำปั่นโดยที่ จะมีค่าตอบแทนให้เธอหรือไม่ ก็รับท�ำทั้งสิ้นเพื่อให้ เกิดการส่งต่อให้คนอื่นเป็นลูกโซ่ หากพี่พาน้องปั่น น้องอาจจะอยากชวนเพื่อนหรือคนอื่นปั่น ชวนกัน ต่อไปเรื่อยๆ เพราะไม่ได้ตั้งเป้าหมายที่เรื่องตัวเงิน แต่เป้าหมายหลักนั้นคือการเปลี่ยนเมือง “ท�ำไมเราถึงอยากไปเที่ยวเมืองอื่นอย่าง ญี่ปุ่น ลอนดอน ฯลฯ ท�ำไมเราไม่ท�ำบ้านเราให้น่า อยู่ ทั้งที่กรุงเทพฯที่ติดอันดับต้นๆของผลส�ำรวจสุด ยอดจุ ด หมายปลายทางของโลก(MasterCard Global Destination Cities Indexจัดท�ำขึ้นโดย มาสเตอร์การ์ด) แต่คนไทยกลับไม่ได้อยากเที่ยว กรุงเทพฯ พอถึงวันหยุดทุกคนอยากออกไปต่าง จังหวัด จะดีแค่ไหนถ้าหากท�ำกรุงเทพฯให้กลาย เป็นเมืองน่าเที่ยวทั้งส�ำหรับทุกๆคนได้ พี่ก็เลยตั้งใจ จะแก้ปัญหานี้ผ่านการปั่นจักรยาน” นักชวนปั่น อธิบายเหตุผล
หากเราไปที่คาเฟ่เวโลโดมอาจจะไม่ได้เจอพี่ แนนเพราะเธอย�้ำไว้แต่แรกว่าจะไม่เข้าร้าน หากมี อะไรให้โทรหาได้ตลอดเวลาเพราะการเข้าร้านจะ ท�ำให้ไม่ได้ปั่นจักรยาน และไม่ได้ส�ำรวจเส้นทาง หากวันหนึ่งนายกฯมา บอกว่าก�ำลังสนใจจะท�ำเรื่อง จักรยาน แต่ถ้าอยู่แต่ที่ร้าน ปั่นแค่จากบ้านมาร้าน เท่านั้น คงไม่รู้ว่าจะเตรียมให้อย่างไรและเสียโอกาส ตรงนั้นไป แต่ถ้าหากเธอพร้อม โอกาสที่จักรยานจะ ได้รับความสนใจมากขึ้นก็จะมีมากขึ้น หน้าที่ของหญิงสาวในการพัฒนานั้นคือการ เป็นตัวกลางที่คอยบอกเรื่องราวต่างๆ เพราะได้ สั มผั ส ปั ญหาและใกล้ ชิ ด บุ ค คลเหล่ า นั้ น มากกว่ า เธออธิบายถึงวิธีการที่ท�ำให้ได้เข้าใกล้ผู้ใหญ่ที่รับผิด ชอบดูแลว่า “ความจริงพี่ก็แค่ปั่นจักรยานเล่น อาจ จะเป็นเพราะความจริงใจ เขาคงเห็นว่าเราไม่ได้ท�ำ เล่นๆ เหมือนกับเขาให้โจทย์เรามา เราก็ท�ำส่วนของ เขาด้วย เราไม่ได้ขอให้ช่วยแต่เราไปช่วยเขามากกว่า พอเขารู้จักใคร เขาก็จะพาเราไปแนะน�ำด้วย ที่ เหลือก็เป็นหน้าที่ของเราว่าจะไปตีซี้กับเขาอย่างไร”
“โอกาสมาพร้อมกับความพร้อม” 63
มองมุ มใหม่ “มันจะมองเป็นปั ญหาหรือมองหาวิธีแก้ไข ตราบใดที่ใจเราอยาก ทุกอย่างมันไม่ได้เป็นปั ญหาหรอก” จักรยานเป็นพาหนะที่แตกต่างจากรถยนต์หรือมอเตอร์ไซด์ เนื่องจากใช้ร่างกายของ เราในการขับเคลื่อน หากมองในแง่การออกก�ำลังกายนั้นถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้น ด้วยสภาพอากาศของเมืองไทยที่ร้อนชื้นแม้จะเป็นเวลาเช้า ดังนั้นหากปั่นจักรยานไปท�ำงาน อาจมีปัญหาเรื่องเหงื่อและอื่นๆเกิดขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น พี่แนนไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นปัญหา เธอกล่าวว่า “เพราะหากว่าใจเรา ต้องการจะท�ำ เราจะไม่มองว่ามันเป็นปัญหา แค่หาทางแก้ไขเท่านั้น” อีกปัญหาหนึ่งคือเวลาที่คุยกับผู้ใหญ่หรือบุคคลทางราชการนั้นเขาชอบให้น�ำงานวิจัย มาอ้างอิง เธอเล่าถึงเหตุการณ์ด้วยท่าทางไม่สบอารมณ์เท่าใดนักว่า “พี่ไม่ใช่นักวิชาการหรือ นักสถิติ พี่ไม่มีตัวเลขอะไร แต่อยากให้เขาสัมผัสดูว่าจะรู้สึกแตกต่างกันจากตอนที่เขาเดินทาง ด้วยวิธีอื่นอย่างไร แล้วเขาจะได้ค�ำตอบเอง” ปัญหาได้ถูกแก้ไขเมื่อผู้ใหญ่ที่เธอรู้จักนั้นได้น�ำผลสถิติจากการวิจัยเกี่ยวกับการลด อาชญากรรมโดยใช้จักรยานเข้าอ้างอิง ทุกคนก็มองนักชวนปั่นเปลี่ยนไป กลายเป็นทุกคน ยอมรับและมาปรึกษาเธอเกี่ยวกับเรื่องจักรยาน
64
ก�ำแพงด้านหนึ่งของร้านเวโลมโดม ติดแผนที่และกิจกรรมการปั่ นจักรยานส�ำหรับผู ้ท่ีสนใจ
“ตอนนัน้ ทุกคนจะคิดว่าพี่บ้า บ้ามาก มันเป็นไปไม่ได้หรอก แต่พอมีข้อมู ลวิชาการมาอ้างอิง ก็กลายเป็นคนนีแ้ หละใช่ กลายเป็นทุกคนมาหาพี่หมดเรื่องจักรยาน”
65
มันมากกว่านัน้ ใบปริญญานั้นเป็นสิ่งส�ำคัญในการประกอบอาชีพในเมืองไทย เพราะอย่างนั้นผู้คน ถึงได้ไปเรียนต่อปริญญาโทและเอกไปเรื่อยๆเพื่อให้โอกาสเกี่ยวกับหน้าที่การงานของตนสูง ขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นขณะที่เป็นผู้จัดการ พี่แนนได้ให้คนที่สนใจเรียนรู้ได้เรียนในสิ่งที่ต้องการ เสมอ “พี่ไม่สนใจว่าเขาจะจบอะไรมา สนใจแค่ว่าเขาท�ำงานได้หรือไม่ ถ้าได้พี่จะให้โอกาส เขา เด็กคนนี้จบปวช. พี่ก็ให้ลองงานดู ด้วยความที่ให้งานเขารับผิดชอบแต่ถ้าเกิดอะไรขึ้นพี่ เป็นคนรับผิดชอบเพราะอย่างนั้นเขาจะท�ำเต็มที่ ถ้าเขาท�ำได้เขาโตได้อีก จนคนหนึ่งที่เขา รับเข้ามาเป็นคอลเซ็นเตอร์บริษัท แต่เขาอยากรู้เรื่องการตัดต่อ พี่เลยบอกเขาว่าถ้ามีเวลา ว่างก็ไปเรียน ลูกค้าโทรมาก็รับ พอท�ำได้เขาก็ย้ายไปอยู่แผนกตัดต่อ ชีวิตเขาเปลี่ยนไป เยอะ เพราะอย่างนั้นโอกาสที่ผู้ใหญ่ให้น่ะส�ำคัญนะ” นักชวนปั่นผู้นี้เชื่อว่า หากเราได้ท�ำงานในสิ่งที่ชอบหรือต้องการ เราจะไม่รู้สึกว่า ก�ำลังท�ำงาน แต่เป็นการเรียนรู้ เรียนรู้โดยที่ได้เงินเดือนไปด้วยอาจกดดันเพราะท�ำผลงาน ให้ดี แต่ก็มีความสุข ดังนั้นงานที่เธอท�ำจึงมาจากความชอบ มากกว่าการท�ำงานที่เป็น เอกสารซึ่งเธอไม่ชอบมัน
“พอรักมัน พี่ก็มองเห็นโอกาสจากมัน เห็นช่ องว่างจากจักรยาน เยอะมากว่าจะต้องโตกว่านี้ เราไม่ได้มองหาโอกาส แต่เรามองเห็น ความต้องการจากตัวเราเอง” 66
“ถ้าเราชอบอะไรจริงๆ พี่ว่ามันแปลงเป็นเงินได้ ทุกอย่างเลย”
การประกอบอาชีพจากสิ่งที่ตนรักไม่ได้เป็น เรื่องยากส�ำหรับเธอ เพราะเชื่อว่าหากเราชอบ เรา จะมองเห็นโอกาสจากความต้องการของเรา หากไม่ ได้ท�ำคาเฟ่จักรยาน ก็ยังสามารถมองเห็นโอกาสที่ จะสร้างเงินจากจักรยานได้อีกมากมายเพราะใน เวลานั้นเธอมีความต้องการหลายอย่างที่เมืองไทย ยังไม่มี ดังนั้นความหมายของค�ำว่าอาชีพของสาว นักชวนปั่นผู้นี้ จึงให้ความหมายว่า “มันคือการ เปลี่ยนสิ่งที่รักให้เป็นเงินได้ เพราะหากเรารักที่จะ ท�ำมัน เราจะท�ำมันได้ดีและมีความสุข เวลาเจอเด็ก ดูการ์ตูน ผู้ใหญ่ชอบว่าไร้สาระแต่พี่ไม่คิดอย่างนั้น
พี่จะบอกให้เขาดู ดูให้มันรู้จริงนะ แล้วมาคิดเกมส์ คิดการ์ตูน ท�ำให้มันเจ๋งไปเลย ให้เขารู้ที่ว่าไร้สาระ เราท�ำมันเป็นเงินได้ เหมือนที่หลายคนบอกจักรยาน ไม่มีทางเกิดหรอก แต่ตอนนี้จักรยานกลายเรื่องที่ คนทั้งประเทศสนใจไปแล้ว” หญิงสาวเคยเปลี่ยนงานบ่อยและยอมรับว่า ตัวเองเป็นคนเบื่อง่าย แต่กับจักรยานแล้ว เหตุผล นั้นต่างออกไป “พี่ไม่ได้มองเป็นของเล่น มันคือ พาหนะที่ใช้ทุกๆวัน แถมยังมีหลากหลายประเภท แต่ละประเภทนั้นแยกได้อีกหลายแบบ และที่ส�ำคัญ จักรยานนั้นพาพี่ไปสัมผัสโลกที่แปลกใหม่อยู่เสมอ คงเป็นไปได้ยากที่จะเบื่อมัน”
67
ของขวัญ การลาออกจากงานครั้งสุดท้ายแบบปุ๊บปั๊บ ไม่มี แผนส�ำรองใดๆเพื่อไปปั่นจักรยานในครั้งนั้น เพราะไม่ อยากท�ำสิ่งที่ต้องเสียใจในภายหลัง เธอเล่าว่าหากเราได้ ไปถามคนแก่ ว่าถ้าพวกเขาย้อนเวลาได้ อยากจะท�ำอะไร และมีค�ำพูดที่ว่า “เสียดาย ถ้าฉัน…”ออกมา เธอไม่ ต้องการเป็นเช่นนั้น ดังนั้นหากมีแรง ก็อยากจะท�ำสิ่งที่ ต้องการ จักรยานได้เปลี่ยนแปลงหญิงสาวผู้นี้ไป “พี่กลาย เป็นคนที่ไม่ติดแบรนด์ หรืออยากเดินห้างอีก เพราะได้ มองเห็นสิ่งใหม่ๆ เห็นน�้ำใจของผู้คนที่อยู่นอกเมือง ผู้คน ที่ มี ร ายได้ น ้ อ ยกว่ า แต่ แ บ่ ง ปั น ราวกั บ เขามี อ ยู ่ เ ยอะ เหมือนว่าบ้านนี้จอดมอเตอร์ไซด์ไว้ไม่ได้ใช้ถ้าจะให้คนอื่น
ยืมก็กลัวพัง แต่ที่ต่างจังหวัดมอเตอร์ไซด์จะพังอยู่แล้วยัง ซ้อนสามอยู่เลย เหมือนเมืองนี้เป็นเมืองแห้งวัตถุ แต่ที่ ต่างจังหวัดมันไม่ใช่ เหมือนได้มาแล้วเขาต้องแบ่ง ถึงเขา มีข้าวแค่นิดเดียวแต่ก็ชวนเรากิน” เธอประทับใจส่วนนี้ มาก เพราะเรื่องราวเหล่านั้นไม่ได้พบเห็นได้ง่ายนักใน สมัยนี้ พี่แนนเชื่อว่าหากเป็นไปได้ เราควรใช้ชีวิตของเรา ในการสร้างโอกาสให้กับผู้อื่น และควรจะท�ำสิ่งที่เป็น ประโยชน์ทิ้งไว้ให้คนข้างหลัง อาจไม่ถึงกับประเทศชาติ แต่เป็นครอบครัวของเราก็พอ ให้ได้ชื่อว่าไม่ได้เกิดมาตาย เปล่า
“เหมือนกับให้เราไปถามคนแก่ว่าถ้าย้อนเวลาได้อยากจะท�ำอะไร แล้วเขาตอบว่า “เสียดายนะ ถ้าฉัน…” มันให้ความรู้สึกว่า ท�ำไมต้องถ้าล่ะ ท�ำไมไม่ท�ำลงไปเลย”
68
“หากเป็นไปได้ เราใช้ ชีวิตของเรา สร้างโอกาสให้คนอื่น”
69
70
71
สุขเพียงพอ โต้ง อนวัช อนันต์
CANVAS TOTE BAG
74
เมื่อแรกลอง พี่โต้ง อนวัช อนันต์ เป็นคนหนึ่งที่เลือกท�ำงานไม่ตรงกับสายที่เรียนมา เขาเรียน เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ แต่ในเวลาหนึ่งนั้นก็เริ่มรู้ว่าตัวเองชอบคิดออกแบบ และไปได้ดี ทางศิลปะมากกว่า พร้อมกับที่เขาได้ยินค�ำกล่าวเมื่อตอนที่ไปอบรมส�ำหรับคนที่ไม่ได้จบตรง สายงานที่ต้องการถึงการเรียนรู้เพื่อเป็นอาชีพ ถึงการเรียนรู้ที่ว่า ก่อนเราจะไปเรียนตาม หลักสูตรที่ถูกวางไว้นั้น เราก็ไม่รู้อะไรมาก่อนเช่นกัน ขณะที่เริ่มพูดคุยกันชายหนุ่มและผู้ช่วยของเขาก็เริ่มลงมือท�ำงาน ผู้ช่วยของเขาตอก หนังอยู่ที่โต๊ะด้านหลังส่งเสียงดังเป็นจังหวะ พี่โต้งก�ำลังแกะกล่องพัสดุที่เขาส่งกลับมาแก้ที่ จักรอุตสาหกรรมด้วยท่าทางสบายๆ การเริ่มต้นท�ำงานด้านกราฟิกมาจากการฝึกฝนด้วยตนเอง เขาเล่าถึงวิธีการว่า “พี่เปิด ดูหนังสือต่างๆ แล้วก็ดู youtube เรียนรู้และท�ำตาม มันมีอะไรให้เรียนรู้เยอะนะบนอินเตอร์ เน็ตน่ะ มีผลงานมากพอก็ไปสมัครงานจะได้เรียนรู้เพิ่มเติม ตอนแรกนั้นท�ำด้านการรีทัชภาพ ท�ำงานด้านสิ่งพิมพ์ เมื่อรู้สึกได้ว่ารู้พอแล้ว ก็เปลี่ยนงานไปท�ำอย่างอื่นเรื่อยๆจนถึงการท�ำ ออกแบบกราฟิกของแพคเก็จและสื่อโฆษณา” อาจเป็นเพราะชอบการออกแบบ เมื่อต้องการของใช้เขาจึงเริ่มออกแบบและท�ำขึ้นเอง แต่เรื่องบางอย่างจ�ำเป็นต้องมีทักษะ ที่เกิดจากการฝึกฝนเช่น การเย็บผ้า ชายหนุ่มใช้เงินเดือนในตอนนั้นซื้อจักรเย็บผ้าแบบดิจิตอลที่วางขายทั่วไปในห้างและ เศษผ้าเศษหนังมาหัดเย็บเองหลังเวลางาน เพื่อจะเย็บหมวกส�ำหรับการปั่นจักรยานมาใส่เอง หลังจากนั้นก็มีผลงานการฝึกเย็บออกมามากมาย เช่น เสื้อ กระเป๋า และอื่นๆ ในทุกๆครั้งที่ท�ำ ส�ำเร็จเขาจะโพสลงเฟซบุ๊ค
“ตอนก่อนคุณมาเรียน คุณก็ไม่ได้เป็นอะไรมาก่อนเหมือนกัน” 75
“ถ้าอยากท�ำอะไรก็ท�ำอย่างนัน้ อย่างเดียวไปเลย พอท�ำไปนานๆเข้า จากทดลองท�ำเอง จากคนที่ไม่รู้ก็กลายเป็นคนรู้ ท�ำนานเข้าก็กลายเป็นช�ำนาญ พอช�ำนาญมากเข้าก็กลายเป็นเก่ง แต่มันไม่จบหรอก เพราะยิง่ ท�ำก็ยิง่ มีสงิ่ ที่เราไม่รู้มากขึน้ อีก คงเรียนต่อไปไม่จบ”
ส�ำหรับการฝึกฝนนั่น เขาอธิบายว่า “พี่เรียก ว่าการหมกมุ่นหรือการสนใจท�ำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่าง เดียวอยู่อย่างนั้น ไม่วอกแวก หรือหวั่นไหวไปกับสิ่งที่คน อื่นท�ำ ท�ำสิ่งนั้นไปให้ถึงที่สุด ก้าวไปในทางนั้นแล้วรอบรู้ ในเรื่องนั้นให้ถึงที่สุด หากท�ำไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งจะต้อง เห็นผลอย่างแน่นอน แต่ถ้าวอกแวกท�ำอย่างอื่นมันก็ไม่ เห็นผล” ผลที่เขาไม่ได้คาดคิดก็คือการที่เพื่อนของเขาขอ ให้ท�ำขาย แต่ก็ลองท�ำ อย่างแรกที่ชายผู้นี้ท�ำคือ แพทเทิ ร ์ น หมวกจั ก รยานแต่ เ พราะใช้ เวลาท� ำ ถึ ง หนึ่ ง เดือนก็ยังไม่เสร็จจึงไม่คิดจะท�ำขาย เพราะราคาไม่คุ้ม กับเวลาที่ใช้ จึงเลือกท�ำอย่างอื่นดีกว่า และลองท�ำไป เรื่อยๆ เจ้าของ Handmade by ANANพัฒนาความคิด จากการท�ำของต่างๆขาย จากความรู้ที่ได้เมื่อครั้งท�ำงาน
ประจ�ำ ในการออกแบบนั้นจะต้องค�ำนึงถึงอะไรบ้าง น�ำ มาปรับใช้กับงานตรงนี้ บวกกับความคิดที่มองว่า ณ เวลานั้นมีอะไรบ้างที่เขาสามารถท�ำได้ มาเป็นตัวก�ำหนด สินค้าที่จะท�ำ ซึ่งขณะนั้นที่ฝึกเย็บผ้าและหนัง เรียนรู้การ ท�ำงานไม้มาจากพ่อของเขา และตั้งใจท�ำงานแฮนด์เมด อยู่แล้ว ร้านจึงก�ำหนดเป็นงานแฮนด์เมดซึ่งท�ำจาก วัตถุดิบหลักสามอย่างคือ ผ้าแคนวาส ไม้และหนัง ความต้องการเรียนรู้ยังไม่ที่สิ้นสุด ชายหนุ่มไม่ พอใจแค่การใช้จักรเย็บผ้าแบบดิจิตอล เขาจึงเริ่มหัดใช้ จักรอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นจักรเย็บผ้าขนาดใหญ่ แต่จักร อุตสาหกรรมไม่เหมือนจักรอื่นที่ต้องปรับจักรทุกครั้งที่ เปลี่ยนเข็มหรือได้ ข้อดีของมันคือการเย็บหนังหรือผ้า หนาๆได้แต่ขณะเดียวกันข้อเสียของมันคือความยุ่งยาก ในการใช้งาน
“พออายุ มันถึงจุ ดหนึ่ง เราก็ต้องทบทวนว่าเรามีอะไรอยู ่กับตัวบ้าง อะไรที่เรามีอยู ่แล้วสามารถเอามาท�ำต่อได้บ้าง” 76
“บอกเขาว่าเป็นผ้าแคนวาส หนัง และไม้ วัสดุสามอย่างก็สามารถท�ำอะไร ได้หลายอย่างแล้ว แค่เอาไว้เป็นตัวไกด์ ให้เราสามารถท�ำต่อไปได้เรื่อยๆ”
77
เจ้าของ Handmade by ANANวางแผนอนาคตไว้ค่อนข้างชัดเจนหลัง ลาออกจากงานกราฟิก เขาเคยเปิดสตูดิโอที่สุขุมวิทซึ่งเป็นการแชร์ร้านร่วมกัน ในทุกครั้งที่ต้องปรับซ่อมจักรอุตสาหกรรมนั้นยังต้องเรียกช่าง เพราะเป็นมือใหม่ ในเรื่องนี้ “จักรอุตสาหกรรม มันไม่เหมือนจักรอื่น เวลาที่เปลี่ยนเข็ม เปลี่ยนขนาด ด้ายทีหนึ่งมันต้องตั้งใหม่หมด ไม่สามารถท�ำให้ราบรื่นได้ตลอดเวลา เวลาช่างมา ซ่อมเราก็คอยสังเกตดูว่าเขาซ่อมอย่างไร เราคิดไว้แล้วว่าจะไม่อยู่กรุงเทพฯหรอก เพราะอย่างนั้นต้องซ่อมให้ได้ อย่างน้อยก็เบื้องต้นหรือปรับจักรเป็นบ้าง” เขา อธิบายความคิดพร้อมกับมองจักรไปด้วย
“
เราไม่อยากพึ่งคนอื่น เราอยากท�ำเองให้ได้ก่อน จะพึ่งคนอื่นก็เอาให้รู้ว่าตัวเองท�ำได้เท่าไหร่ก่อน
” 78
ไร้ขอบเขต คนท�ำโปรดักซ์เป็นอาชีพของเจ้าของ Handmade by ANANในตอนนี้ และไม่ยึดติด กับการท�ำงานแฮนด์เมดแม้ปัจจุบันจะท�ำเป็นหลักเพราะ งานของเขามีการออกแบบร่วมด้วย หรืออาจเรียกว่าเป็นงานคราฟต์(craft) การซื้อสินค้านั้นมีเพียงช่องทางเดียวคือเฟซบุ๊ค แม้จะเป็นช่องทางเดียวแต่เป็นช่อง ทางที่ค่อนข้างเปิดกว้างคือสั่งได้ทุกเวลา พี่โต้งเดินไปเปิดหน้าเพจของHandmade by ANAN เพื่อให้ดูช่องทางสื่อสารที่แม้กระทั่งตีสองตีสามก็ยังมีคนเข้ามาสอบถามราคาเรื่อยๆ ชายหนุ่มเล่าถึงการท�ำการตลาดว่า เขาต้องการคนที่สนใจในงานของเขาจริงๆ “พี่จะ ไม่แชร์เพจ เพราะเวลาที่มีคนแชร์มาบางครั้งเราเองก็ไม่ชอบ เพราะอย่างนั้นที่เห็นคนที่กด ถูกใจเพจจึงเป็นลูกค้าของเราจริงๆ เวลาที่เราโพสสินค้าไปอาจจะเป็นกระเป๋า คนที่กดไลค์ใน 3,000 กว่าคนก็จะมาซื้อไป ไม่นานเกินสองวันขายได้เกือบสิบใบแม้จะตั้งราคาใบละสองพัน กว่าและระยะเวลาที่ต้องรอสินค้าก็อาจจะนานเป็นเดือนก็ตาม”
สายสะพายกล้อง ท�ำจากหนังแท้ ตัวเส้นมีโลโก้ Handmade by ANAN
79
“เพราะเราไม่ได้จ�ำกัดแค่เครื่องหนัง ผมท�ำแฮนด์เมด จะหนังก็ได้ เอาผ้า มาใส่หน่อยก็ได้ วันหนึ่งผมอาจจะเอาเหล็กมาเป็นพันธมิตรก็ได้ คือเราเปิ ด ช่ องทางทุกอย่างให้เราท�ำงาน” เมื่อฉันสอบถามถึงความคิดหรือที่มาในการผลิต สินค้าแต่ละอย่าง พี่โต้งอธิบายพร้อมกับยกกระเป๋าที่ เย็บเสร็จแล้วออกมาให้ดู “เราจะท�ำโปรดักซ์นี่เราต้อง เข้าไปคลุกคลีกับมันนะ เพราะเราต้องรู้ว่าเขาต้องการ อะไร ต้องรู้อินไซด์ของคนว่ามันต้องการความเท่ห์หรือ ใช้งานจริงจัง คนเขาสนใจเรื่องอะไรบ้าง พวกนี้ต้องคิด ทั้งหมด” เพราะการก�ำหนดอย่างกว้างๆด้วยค�ำว่าแฮนด์ เมดและวัสดุสามอย่างนั้น ท�ำให้เจ้าของ Handmade by ANANสามารถคิดงานได้เรื่อยๆ บวกกับการที่เป็น คนชอบอะไรหลายๆอย่างทั้งการปั่นจักรยาน ถ่ายภาพ และการท�ำของใช้แม้กระทั่งโฮมออฟฟิศที่ใช้เป็นสถาน ที่ท�ำงานนี้ก็มาสร้างจากการออกแบบและจัดท�ำด้วยตัว เขาเองโดยมีพ่อที่มีประสบการณ์ด้านการก่อสร้างและ เพื่อนที่เป็นสถาปนิกช่วยเหลือ ท�ำให้เขาสามารถท�ำงาน ได้อย่างไร้ข้อจ�ำกัด ทุกอย่างที่ต้องการท�ำสามารถต่อย อดแตกออกไปได้อีก แม้ว่าจะเป็นงานที่สามารถคิดได้เรื่อยๆแต่ยังคง สไตล์ความเรียบ เท่ห์เอาไว้ทุกชิ้น เขาตั้งใจไม่บอกแนว หรือสไตล์การออกแบบของที่ท�ำ แต่ของเหล่านั้นก็
80
สามารถสร้างเอกลักษณ์ให้ลูกค้าสามารถแยกออกได้ว่า ชิ้นใดที่เป็นสินค้าของHandmade by ANAN ด้วยความชอบส่วนตัวของเขาเอง ชายหนุ่มคิด ต่อยอดเกี่ยวกับโปรดักซ์ต่างๆไว้มากมาย “กระเป๋ายัง สามารถแตกออกได้อีกหลายประเภทรวมทั้งการน�ำผ้า ที่มีอยู่ในเมืองไทยมาใช้ซึ่งยังมีอีกมากมายทั้งผ้ามอฮอม ของทางเหนือ ผ้าเก่าที่มีลายหรือการทอที่แข็งแรง สวยงาม น�ำมาสร้างเป็นสินค้ารุ่นพิเศษต่างๆยังได้” เขา ชี้ไปยังชั้นที่เก็บผ้าต่างๆไว้ในถุงพลาสติก พี่โต้งคอยมองหาสิ่งต่างๆมาใส่ในงานของตน เสมอดังเช่นเรื่องผ้า เพราะงานที่ท�ำอยู่นั้นเป็นงานของ เขาเอง ไม่เหมือนตอนที่ท�ำงานประจ�ำ ที่เจ้านายจะมอบ หมายให้ท�ำเป็นงานไป งานเสร็จก็คือจบแล้ว รองาน ใหม่เข้ามา แต่ปัจจุบันนี้ที่ท�ำของตัวเองนั้น เมื่องานจบ จะต้องมองหาสิ่งใหม่ๆทันที ซึ่งบางครั้งอาจมาจาก อินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ เช่น pinterest หรือ youtube โดยบางครั้งอาจฝึกท�ำตาม เขาใช้เครื่องมือแบบไหนก็ หาซื้อมาเรียนรู้
ช่ วงเวลาเก้าโมงเช้า พี่โต้งและผู ้ช่วยท�ำงานด้วยกัน
“
ถ้าเราจะคิดโปรดักซ์เราต้องเอาตัวไปคลุกคลีกับมัน เพราะเราต้องรู้ ว่าเขาต้องการอะไร ต้องรู้อินไซด์ของคนว่ามันต้องการความเท่ห์ หรือการใช้ งานจริงจัง คนเขาสนใจเรื่องอะไร ก็คิดพวกนีท้ งั ้ หมด
” 81
การหาแรงบันดาลใจต่างๆที่น�ำมาประยุกต์กับ งาน เขาเล่าว่า “ดูจาก pinterest พวกแฟชั่น ดูว่าเทรนด์ อะไรก�ำลังมา อย่างปีหน้าพี่ว่าแบ็คแพ็คก�ำลังมานะ ถ้าไป เดินก็น่าจะเจอ แต่พวกแฟชั่นพวกนั้น มันจะวนอยู่อย่าง นั้น แต่เราไม่อยากไปวน เราอยากจะเอาไปแทรก คนมัน ก็แต่งตัวเปลี่ยนไปเรื่อยๆ” แม้ว่าจะรักงานที่ท�ำอยู่ แต่ก็ไม่เชื่อว่าคนเราจะ สามารถท�ำงานเพียงอย่างเดียวไปตลอดได้โดยเขามีวิธี เคลียร์สมองให้ปลอดโปร่งโดยการปั่นจักรยานเพื่อให้ สามารถลุยงานใหม่ได้ดียิ่งขึ้น โดยเส้นทางที่ใช้ปั่นเป็น ถนนหลักเลียบทะเล หากอยากแวะลงเที่ยวทะเลก็เพียง แค่เลี้ยวเข้าซอยและตรงไปไม่นานก็จะถึงทะเลและหาก หันไปอีกทางก็จะเจอภูเขา นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ จังหวัดตราดสามารถเติมเต็มความต้องการของชายผู้นี้ได้ 82
ครบ ปั่นจนพอใจแล้วก็กลับมาท�ำงานต่ออย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับการปั่นจักรยาน ถ่ายรูปที่เขาเองก็ ชื่นชอบ รูปสินค้าทุกชิ้นที่อยู่บนเพจนั้นเขาจะเป็นผู้ถ่าย เองทั้งหมด โดยอธิบายว่า จะถ่ายเฉพาะช่วงเช้าของวัน เท่านั้น เพราะหากเลยไปช่วงบ่ายแล้วแสงที่ได้จาก ธรรมชาติจะเป็นสีแดง ท�ำให้สีของสินค้าเพี้ยนไปจากช่วง เช้าซึ่งเป็นสีขาว ในอนาคตข้างหน้าที่เจ้าของ Handmade by ANANวางแผนเอาไว้นั้น ว่าตั้งใจจะขยายงานที่ท�ำไป เรื่อยๆเท่าที่ความสามารถทางการเงินจะท�ำได้ และยังมี โครงการที่ คิ ด ไว้ กั บ เพื่ อ นว่ า จะท� ำ สิ น ค้ า ซึ่ ง อาจจะไม่ จ�ำกัดว่าเป็นแฮนด์เมดอีก โดยน�ำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ ทดลองงานตรงนี้เป็นกรณีศึกษาว่าอุปสรรคที่จะต้องเจอ นั้นคืออะไรบ้าง
ที่นอนและที่ท�ำงานของพี่โต้ง โดยที่แห่งนี้ เขาค่อยๆสร้างขึ้นด้วยตนเอง จากความร่วมมือจากพ่อและเพื่อนของพ่อ
83
84
85
ตัวคนเดียว Handmade by ANAN นั้นมีพี่โต้งท�ำเป็นหลักเพียงคนเดียวเท่านั้น สินค้าที่ท�ำขึ้นมาจึงไม่ สามารถตอบสนองลูกค้าที่มีมากกว่าได้ทัน “ถ้าสั่งตอนนี้(สิ้นเดือนตุลาคม)ก็รอปีหน้าเลย แล้วแต่คิว บางคนสั่งอันเดียว แต่บางคนสั่งคน เดียว 20 อัน เท่ากับว่าคนเดียวที่สั่งอันเดียวต้องรอของคน 20 คนนี้ทันทีเลย เห็นปัญหาแล้วใช่ไหม มันมีอย่างนี้เข้ามาเรื่อยๆ มันไม่ได้ท�ำแปบเดียว แต่ก็มีคนสั่งแบบนี้เอาไปแจกปีใหม่ ถุงรูดแบบนั้นเขา สั่งกัน 200 ชิ้นอย่างนี้ แบบนี้เราท�ำงานไม่ทัน” เจ้าของ Handmade by ANANอธิบาย ชายหนุ่มเล่าว่าเคยมีห้างสรรพสินค้ามาติดต่อให้ท�ำสินค้าไปวาง แต่ด้วยค่าการวางสินค้าหรือ การจัดโปรโมชั่นหักลบกับต้นทุนการจัดท�ำ จะไม่ได้ก�ำไรเลย และปัญหาเรื่องแรงงานอีก จึงตัดสินใจไม่ ตอบตกลงกับข้อเสนอนั้น แต่เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะพอใจกับการขายสินค้าในช่องทางปัจจุบัน อยู่แล้ว สิ่งหนึ่งที่ยังอธิบายให้ลูกค้าส่วนหนึ่งเข้าใจไม่ได้นั้นคือการที่วัสดุสามอย่างที่ใช้นั้นจะมีการ เปลี่ยนสีไปตามช่วงเวลา เขาเล่าว่า “เคยมีลูกค้ามาถามนะ เขาไม่พอใจกระเป๋าที่ซื้อไปตอนแรกมันเป็น สีน�้ำเงิน พอใช้ไปใช้มากลายเป็นสีเทา เราก็บอกเขาว่ามันอยู่ที่น�้ำยาผ้า น�้ำยาดีมันก็แพงขึ้นไปอีก แล้ว ผ้ามันแพงขึ้นนะ เมื่อก่อนพี่ซื้อราคาถูกกว่านี้เยอะ”
86
พี่โต้งมีงานอดิเรกอีกอย่างคือการปั่ นจักรยาน
87
ภายในที่ท�ำงาน
88
พอที่เรา ครั้งที่ท�ำงานประจ�ำอยู่ พี่โต้งมักจะไปท�ำงาน สายเป็นประจ�ำ คนที่บริษัทไม่ค่อยพอใจในจุดนี้ เท่าใดนัก แต่เขาเชื่อว่าตนเป็นคนที่กลับหลังสุดเสมอ อยู่แล้ว ดังนั้นมันจึงควรหักลบกันได้ ผิดกับปัจจุบันที่ งานเป็นของเขา จะตื่นมาท�ำเมื่อใดก็ได้ บางครั้งเมื่อ เจองานเร่ง เขาก็อาจจะนอนน้อย ถึงที่สุดคือ ประมาณสี่ชั่วโมง โดยนอนตอนตีสี่และตื่นตอนแปด โมงเช้า แต่การตื่นนั้นไม่ได้ให้ใครมาปลุก สามารถลุก ขึ้นมาท�ำต่อได้เอง จุดนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ชื่นชอบงานที่ท�ำอยู่จากใจจริง หากถามเจ้าของ Handmade by ANANเกี่ย วกับความส�ำเร็จที่วางไว้นั้น เขากล่าวว่า “มันเรียกว่า ความสบายใจมากกว่า เราไม่รู้ว่าความส�ำเร็จเป็น อย่างไร ขึ้นอยู่กับแต่ละคน มันอยู่ความพอใจ ถ้าเป็น ความพอใจ พี่ว่าพี่พอใจละ ก็ท�ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ถือว่าส�ำเร็จในสิ่งที่ท�ำ มันอยู่ที่มุมมอง บางคนมอง
เป็นชื่อเสียง เงินทอง แต่ของพี่มันคือการท�ำงานอยู่ที่ บ้าน งานที่ท�ำได้ทุกวัน ท�ำแล้วมีความสุข เรื่องเงิน อะไรมันอยู่ที่เราจริงจังกับมันแค่ไหน ถ้าจริงจังเงินก็ มาเอง” ชายหนุ่มสบายใจที่ได้ท�ำงานที่บ้าน งานที่ตน สามารถท�ำได้ทุกวัน ท�ำแล้วมีความสุข ส่วนเรื่องเงิน จะตามมาทีหลัง หากเราจริงจังกับมันมากแค่ไหน เงินก็จะตามเรามาเท่านั้น แต่หากเราไม่ได้พัฒนาตัว เอง คนอื่นก็จะน�ำหน้าเราไป ความส�ำเร็จนั้นขึ้นอยู่ กับตัวเรา เขาเอ่ยถึงความหมายของอาชีพว่า “ต้องเป็น สิ่งที่ให้คุณค่าทางจิตใจ และส�ำคัญที่สุดคือให้ความ สุข หากต้องท�ำงานที่ไม่มีความสุข สมองของเราจะ ไม่คิดต่อ เราจะไม่อยากคิด ไม่อยากท�ำ แต่หากมี ความสุขแล้ว เราจะกระตือรือร้นที่จะทดลองท�ำ หา ข้อมูล หาทางพัฒนามันต่อเรื่อยๆ”
“ถ้าเป็นความพอใจ พี่ว่าพี่พอใจละ ก็ท�ำอย่างนีไ้ ปเรื่อยๆ ถือว่าส�ำเร็จในสิง่ ที่ท�ำ มันอยู ่ท่มี ุ มมอง บางคนมองว่าชื่อเสียง เงินทอง แต่ของพี่คือการท�ำงานอยู ่ท่บี ้าน ไม่ท�ำทุกวัน ท�ำแล้วมีความสุข” 89
90
ความคิดที่(ถูก)เปลี่ยน ครั้งหนึ่งในชีวิตเคยประสบอุบัติเหตุทางรถ คว�่ำ เขาจึงมีความคิดที่จะใช้ชีวิตโดยมีความสุขเป็น เป้าหมายหลัก เพราะอุบัติเหตุครั้งนั้นท�ำให้รู้ว่า คน เราจะจากไปเมื่อใดก็ได้ หากในตอนนั้นพี่โต้งไม่ได้ กระเด็นตกลงไปในน�้ำ คงตายไปแล้ว ทั้งที่ก่อน หน้านั้นเขาเพียงแค่ต้องการจะกลับไปกินข้าวกับ พ่อแม่ที่บ้านเท่านั้น หลังจากอุบัติเหตุครั้งนั้น ท�ำให้เขาคิดว่า ควรจะลองท�ำสิ่งที่อยากท�ำ ท�ำดูก่อนได้หรือไม่ ค่อยว่ากันอีกที หากท�ำได้มันก็จะสนุกเอง ช่วงเวลาหนึ่งเขาใช้หลักการหมกมุ่นในการ เรียนรู้สิ่งต่างๆ และช่วงเวลานี้เป็นการน�ำสิ่งที่เคย ได้เรียนรู้มาใช้งาน เจ้าของ Handmade by ANAN
บอกว่าทุกวันนี้ก็ได้ใช้ทุกอย่างที่เรียน(หมกมุ่นกับ มัน)มา ทั้งการเย็บผ้า หนัง การถ่ายรูป ปรับแต่ง ภาพ การออกแบบ และอื่นๆ การที่พี่โต้งเรียนรู้อะไรด้วยตนเองมากกว่า ที่จะให้ใครสอน เขาให้เหตุผลว่า “อะไรที่เราไม่ได้ มั่นใจว่าเราท�ำได้ แต่เราไม่อยากให้ใครมาเบี่ยงเบน กับมัน คือการที่คนนี้บอกว่าไอ้นี่ดี แล้วมันดีจริง หรือ แล้วคนก็ไปเชื่อมัน คือเราไม่อยากให้ใครมาตี กรอบ เราไม่ได้ไปขัดว่าเราเจ๋งนะ แค่อยากลอง หลายๆทาง แล้วมาวิเคราะห์ใช้ในจุดที่เป็น ประโยชน์ส�ำหรับเราจริงๆมากกว่าเราไปฟังเขาแล้ว ทุกคนเข้ามาขัดขวางความเป็นตัวเรา”
“วินาทีท่จี ะตายนัน้ เราไม่รู้ตัว เพราะอย่างนัน้ ท�ำในสิง่ ที่อยากท�ำให้เต็มที่ มันแต่ปล่อยเวลาไปไม่ได้ ท�ำที่อยากท�ำ ได้ไม่ได้ท�ำไปก่อน อย่างน้อยท�ำแล้ว เรามีความสุข”
91
92
93
เมื่อปลายคำ�ตอบ สิ่งที่สังเกตได้จากบุคคลในหนังสือเล่มนี้ คือทุกคนท�ำในสิ่งที่ต้องท�ำแต่ขณะเดียวกันก็ เลือกท�ำในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบและอยากเรียนรู้อยู่เสมอ พวกเขาออกตามหาความชอบของตน อย่างใจเย็น ส�ำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไรบางครั้งอาจจะต้องลงมืออย่าง ใจเย็น ทดลองท�ำทุกอย่างที่เรามีโอกาสจะท�ำเพื่อตามหาสิ่งนั้น โอกาสที่สร้างได้โดยไม่ต้องอาศัยต้นทุนเป็นเงินจ�ำนวนมากนั้นคือการสมัครเข้าท�ำงาน ประจ�ำ เป็นพนักงานกินเงินเดือน แม้เราจะได้ยินกิตติศัพท์ข้อเสียเกี่ยวกับมันมาอย่างมากแต่ ปฏิเสธไม่ได้ว่า งานประจ�ำคือสถานที่เรียนรู้การท�ำงานที่ดีแห่งหนึ่ง ดังเช่นทุกคนในหนังสือเล่มนี้ ได้เรียนรู้มา พวกเขาน�ำมาปรับใช้จนกลายเป็นจุดเด่น เราอาจตั้งเป้าหมายเพื่อความสุข แต่ไม่ได้หมายความจะมีความสุขเมื่อปลายทางความ ส�ำเร็จเท่านั้น เราควรมีความสุขระหว่างทางที่เลือกเดินไปพร้อมกับการสร้างส�ำเร็จให้กับตัวเอง ดังนั้นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการก�ำหนดเป้าหมายจึงขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตที่เราต้องการด้วย ขอขอบคุณบุคคลที่ท�ำงานด้วยความรักทั้ง 4 คนที่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นแรงบันดาลใจแก่ทุก คนและความร่วมมือในการจัดท�ำหนังสือสารคดีเล่มนี้จนส�ำเร็จ
94
95
เราทำ�งานทุกวันสุข ขอบคุณค่ะ
บุคคล 4 คนที่เลือกทำ�สิ่งที่ให้ความสุขแก่ตัวเองมากที่สุด เรื่องราว 4 เรื่องที่บอกแรงบันดาลใจในการทำ�งานให้เป็นงานของตัวเอง หลากข้อคิด หลายประโยชน์ที่คุณสามารถปรับใช้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า