เล่าแจ้ง...แถลง...ไข สวัสดีค่ะ วารสารเทพฯร่มเกล้าฉบับปลายปีการศึกษา ๒๕๖๐ มาแล้วนะคะ ภาคเรียนที่ ๒ นี้ มีโอกาสแนะน�ำ ชี้แจง เรื่องบางเรื่องให้เข้าใจตรงกัน เช่น Digital Gate ผลการสอบ O-NET วารสารเทพฯร่มเกล้า "อิเล็กทรอนิกส์" (E-Book) บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองเครือข่าย MOU ของคณะผู้บริหารเพื่อน�ำพานักเรียนให้มีโอกาสเปิดโลกกว้างทางการศึกษากับมาตรฐานโรงเรียน ที่ว่า “โรงเรียนสู่มาตรฐานสากล” ขอขอบพระคุณคณะผู้บริหาร ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในการประสานงานครั้งนี้ ท�ำให้วารสาร เทพฯร่มเกล้า ฉบับที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ส�ำเร็จลุล่วง เรียบร้อย สวยงาม วัตถุประสงค์
น้อมนุช ประเสริฐโกศลกุล บรรณาธิการ
๑. เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ และเกียรติคุณของโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ๒. เพื่อเป็นการสื่อประสานความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
สารบัญ
สารจากผู้อ�ำนวยการ คอลัมน์ประจ�ำฉบับ ผู้อำ� นวยการ นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ร�ำเพยบานบนพานทอง รองผู้อำ� นวยการกลุ่มบริหารวิชาการ นายคมศักดิ์ หาญสิงห์ ใต้ร่มร�ำเพย รองผู้อำ� นวยการบริหารงบประมาณ นายภักดี แสงจันทร์ เลียบเลาะรั้วร�ำเพย ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำ� นวยการบริหารทั่วไป นายสุวิทย์ รจนาสัณห์ สู่ขวัญคนของแม่รำ� เพย คอลัมน์ สรรหามาฝาก ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำ� นวยการบริหารงานบุคคล นายค�ำรพ ผลถาวร เครือข่ายผู้ปกครอง...ร่วมแรงแบ่งปันน�ำ้ ใจ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และหัวหน้างาน MOU ความสัมพันธ์นี้เพื่อเธอ Digital Gate ประตูอัจฉริยะ คณะกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ภาษาไทยวันละค�ำ นางสาวนันทนา นันทภัทรพานิช มีใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษา นางทัศนีย์ ดาหาญ สรุปผลการสอบ O-NET ปีการศึกษา ๒๕๖๐ บรรณาธิการ นางน้อมนุช ประเสริฐโกศลกุล ห้องสมุดมีชีวิต ย้อนดูผู้คน ยุคขุนหลวงนารายณ์ ในละคร "บุพเพสันนิวาส" กองบรรณาธิการ สิงคโปร์จากประเทศโลกที่ ๓ สู่โลกที่ ๑ นายกันตพงศ์ ก้อนนาค นางสาวสุพินิจ อัตมาตร ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๗ นางสาวภารดี ปัญญาใส นางสาวสุกานดา สายวารี คอลัมน์ สรรสาระวิชาการ นางสาวชนกนาถ สมสอาด นางสาวรัตนมณี แสงอรุณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นางสาวนิศารัตน์ พันธ์โสรี นายเลิศจักขณ์ อัครเดชเวชวานิช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นางสาววันวิสาข์ วงศ์พยัคฆ์ นายธิติณัฐ แก้วบุญเรือง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นางสาวมุทิตา สอนประเทศ นางสาววณิชวรรณ รัตนจารุพิทักษ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นางสาวสุจินดา คุ้มตลอด นายณัฐพล สิทธิกุล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นางวีดารัตน์ พานทอง นางสาวกฤษณา เจียมกิจรุ่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นางนิสาชล เอ้กัณหา นางวัฒนา เหมโยธิน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นางสาวพัทธนันท์ หนาแน่น นางสาวกนิษฐา ปานสังข์ คอลัมน์ เรียงเดือนร้อยดาว นางสาวชุดาพร สถานทรัพย์ (พื้นที่แสดงความสามารถของนักเรียนในรูปแบบต่าง ๆ) พิสูจน์อักษร นางสาวสุกานดา สายวารี นางสาวอัมรินทร์ เขียววงศ์ใหญ่ ผ่านร้อนผ่านหนาวกับประธานคณะกรรมการนักเรียน สโมสรอินเตอร์แรคท์ สีเขียวเหลือง นางสาวกฤษณา เจียมกิจรุ่ง นายปองพล ทิพย์สันเทียะ ภาษาญี่ปุ่นท�ำให้ผม หล่อ ขึ้นครับ...คุณเห็นด้วยไหมครับ ภาพ ลาแล้วถิ่นร�ำเพย ปีการศึกษา ๒๕๖๐
คณะกรรมการที่ปรึกษา
นางสาวลินิน แสนปลื้ม (ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์) กลุ่มฅนโสตฯร่มเกล้า (กลุ่มนักเรียนถ่ายภาพอิสระ)
จัดพิมพ์โดย : บริษัท อินเตอร์-เทค พริ้นติ้ง จ�ำกัด โทร. ๐-๒๕๘๗-๕๓๗๙
ที่อยู่โรงเรียน : โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เลขที่ ๒ ซอย ไอ ซี ดี ๘ แขวงคลองสามประเวศ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ๑๐๕๒๐ โทร : ๐๒-๗๓๗-๘๙๑๔-๒๐ Fax : ๐-๒๓๖๐-๙๒๘๗ WWW.Dsr.ac.th Fanpage DSR. INFORMATION
๑ ๒ ๓ ๔ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๔ ๑๖ ๑๘ ๒๐ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๓๐ ๓๑ ๓๒ ๓๔ ๓๗ ๔๒ ๔๒ ๔๓
สารจากผู้อ�ำนวยการ มนุษย์มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าเป็น สถาบันการศึกษา ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการที่ผลิตนักเรียนให้มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการควบคู่กับการ ปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ คือ มีสติปัญญาดี มีความเป็นผู้น�ำ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีพลานามัยดี พร้อมที่จะไปศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทที่สําคัญต่อวิถีชีวิต Digital Gate เป็นระบบ การเช็คชื่อนักเรียน เมื่อนักเรียนเดินผ่านเข้าประตูจะสแกนบัตร และใบหน้าของนักเรียนจากนั้นระบบจะส่งข้อมูล ทั้งหมดไปให้ผู้ปกครอง ผู้ปกครองก็จะทราบทันทีว่านักเรียนมาหรือไม่มาโรงเรียน ขอความร่วมมือให้ผู้ปกครอง อัพโหลดโปรแกรม D School ไว้ในโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามบุตรหลาน ขอให้ผู้ปกครองมั่นใจว่า โรงเรียน ครู และบุคลากรทุกฝ่ายของโรงเรียนได้ทุ่มเท ร่วมมือกันดูแล และพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ รู้จัก หน้าที่ และผ่านเกณฑ์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอย่างมีมาตรฐาน ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ นี้ ขอแสดงยินดีกับนักเรียนที่ส�ำเร็จการศึกษาอีกขั้นหนึ่ง และนักเรียนที่ได้เลื่อนชั้น การศึกษาขึ้นเป็นล�ำดับ ขอต้อนรับนักเรียนใหม่ทุกระดับชั้น ขอให้ผู้ปกครองและนักเรียนทุกท่านจงมีความภาคภูมิใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าสถาบันอันทรงเกียรติ
(นายประสงค์ สุบรรณพงษ์) ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน
วารสารเทพฯร่มเกล้า
1
คอลัมน์ประจ�ำ
ร�ำเพยบานบนพานทอง
โดย ครูสุกานดา สายวารี
ขอแสดงความยินดีกับลูกแม่ร�ำเพยทุก ๆ ท่าน ที่ได้ศึกษาเพิ่มพูนความรู้อย่างขยันขันแข็งจนได้รับปริญญามหาบัณฑิต ในวันนี้ เพราะการแสวงหาความรู้เป็นสิ่งที่จำ� เป็นส�ำหรับทุก ๆ คน เพื่อจะได้พัฒนาศักยภาพของตัวเอง ท�ำให้ศักยภาพใน การท�ำงานสูงขึ้น เพราะการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ครูมีศักยภาพ นักเรียนก็มีศักยภาพตามกันไปอย่างแน่นอน
ครูปาณิสรา ขุมวัฒนา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขา : การสอนภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หัวข้อวิทยานิพนธ์ : การใช้กิจกรรม การเขียนอิสระเพื่อเพิ่มความคล่อง ในการเขียนของนักเรียน
ครูกฤษณา เจียมกิจรุ่ง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขา : บรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง หัวข้อวิทยานิพนธ์ : การจัดห้องสมุด เพื่อพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ภาษา ต่างประเทศ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาใน เขตกรุงเทพมหานคร
2 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ครูวรารัตน์ แสงสุข การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขา : การวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หัวข้อวิทยานิพนธ์ : การศึกษา เปรียบเทียบคุณภาพของแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ แบบเลือกตอบเมื่อตรวจด้วยวิธีการ ให้คะแนนความรู้บางส่วนด้วยวิธีที่ต่างกัน
ครูณัฐพล สิทธิกุล ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขา : การวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ : การพัฒนา คุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะของข้ อ สอบและ แบบสอบการรู ้ เ คมี ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย น ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ครูกฤษฎา สังวรณ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขา : พัฒนาสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวข้อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การน�ำโครงการเสริมสร้างธรรมภิบาล ในสถานศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ครูยุพาภรณ์ สีวิกะ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม) สาขา : บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หัวข้อวิทยานิพนธ์ : Motivation in Work Performing of Employees of Jasmine Amenities Company Limited, Chiang mai
คอลัมน์ประจ�ำ...
ใต้ร่มร�ำเพย
โดย ครูภารดี ปัญญาใส
ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ภาคเรียนที่ ๒ นี้ พวกเราชาวลูกแม่ร�ำเพยมีโอกาสต้อนรับน้องใหม่ น้องที่สดใส มุ่งมั่น ในการ ท�ำงานจ�ำนวน ๑๗ คน ดังต่อไปนี้
๑
๔
๒
๕
๓
๖
๑. นางสาวปารวี วินทะไชย์ เกิด ๑๔ ต.ค. ๒๕๓๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภูมิล�ำเนา จังหวัดร้อยเอ็ด
๑๐. นางสาววันวิสาข์ วงศ์พยัคฆ์ เกิด ๒๔ พ.ค. ๒๕๓๗ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภูมิลำ� เนา จังหวัดฉะเชิงเทรา
๒. นางสาวศิรินารถ พรหมลา เกิด ๒๗ ก.พ. ๒๕๓๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภูมิล�ำเนา จังหวัดศรีสะเกษ
๑๑. นายศิรวิทย์ เชื้อสูง เกิด ๒ พ.ค. ๒๕๓๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ภูมิลำ� เนา จังหวัดนนทบุรี
๓. นางสาวสุนิสา แก้วพินิจ เกิด ๔ เม.ย. ๒๕๓๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภูมิล�ำเนา จังหวัดชัยภูมิ ๔. นางสาวกฤษณา น้อยอามาตย์ เกิด ๑ ส.ค. ๒๕๓๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ภูมิล�ำเนา จังหวัดร้อยเอ็ด
๗
๑๐
๘
๑๑
๑๓
๑๔
๑๖
๑๗
๙
๑๒
๑๕
๕. นายนพรัตน์ สุนทรชีระวิทย์ เกิด ๘ เม.ย. ๒๕๓๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ภูมิล�ำเนา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๖. นายทิวากร แก่นษา เกิด ๒๓ ก.พ. ๒๕๓๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภูมิล�ำเนา จังหวัดอุบลราชธานี ๗. นางสาวจิดาภา น�้ำแก้ว เกิด ๑๓ ก.พ. ๒๕๓๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภูมิล�ำเนา จังหวัดนครศรีธรรมราช
๑๒. นายสุรเกียรติ สโรบล เกิด ๒๓ มิ.ย. ๒๕๓๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ภูมิลำ� เนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ๑๓. นายปองพล ทิพย์สันเทียะ เกิด ๒๐ มี.ค. ๒๕๓๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ส�ำเร็จการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ภูมิลำ� เนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ๑๔. นางสาวนุสบา นพศิริ เกิด ๙ พ.ย. ๒๕๓๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ภูมิลำ� เนา จังหวัดฉะเชิงเทรา ๑๕. นางสาวกนิษฐา ปานสังข์ เกิด ๑๒ ก.พ. ๒๕๓๖ งานส�ำนักงาน ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภูมิลำ� เนา จังหวัดสงขลา
๑๖. นางสาวสุภรัศมิ์ สืบกระพันธ์ เกิด ๑๒ สิงหาคม ๒๕๒๓ ๘. นางสาวรัตนา สารชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เกิด ๕ ธ.ค. ๒๕๓๐ ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ภูมิลำ� เนา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูมิล�ำเนา จังหวัดศรีสะเกษ ๑๗. นางสาวลาวัณย์ แสงเย็นพันธุ์ เกิด ๕ มีนาคม ๒๕๓๐ ๙. นางสาวนพรัตน์ สงวนทรัพย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ เกิด ๒ ม.ค. ๒๕๒๔ ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ภูมิลำ� เนา จังหวัดลพบุรี ส�ำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ภูมิล�ำเนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร
วารสารเทพฯร่มเกล้า
3
คอลัมน์ประจ�ำ...
เลียบเลาะรั้วร�ำเพย
โดย ครูกันตพงศ์ ก้อนนาค
สวัสดีชาวลูกแม่ร�ำเพยทุกคน พบกันอีกเช่นเคยในเลียบเลาะรั้วร�ำเพย ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ข่าวสาร มากเป็นพิเศษเพราะการประสานงานอันดีระหว่าง ครู เครื่อข่ายผู้ปกครอง สมาคมฯ และ ผู้บริหาร รวมไปถึงผู้มีส่วน เกี่ยวข้องกับโรงเรียน โดยยึดหลักเพื่อการพัฒนาของนักเรียนทั้งสิ้น ขอเชิญติดตามรายละเอียดได้เลยครับ ศาสตร์พระราชา การพัฒนาที่ยั่งยืน วันที่ ๑๒ มกราคม
๒๕๖๐ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าจัดงานวิชาการประจ�ำปี การศึกษา ๒๕๖๐ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ได้ รับเกียรติจาก ดร.รัตติมา พานิชอนุรักษ์ ผู้อำ� นวยการส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒ เป็นประธาน โดยมี นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เป็นผู้กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน กิจกรรมภายในงานประกอบ ไปด้วยนิทรรศการจาก ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ น�ำเสนอหัวข้อ ศาสตร์ในการจัดการน�้ำของรัชกาลที่ ๙ นิทรรศการจากเครือข่าย ผู้ปกครองโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า กิจกรรมการตอบปัญหา ระดับชั้นประถมศึกษา ได้รับความสนใจจากนักเรียนและ ผู้ปกครองจ�ำนวนมาก แนะแนวศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๑ กลุ่มบริหารงานวิชาการจัดกิจกรรม แนะแนวและประชุมผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มี สิทธิ์ยื่นค�ำร้องเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ (โควต้า) ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ณ หอประชุมอเนกประสงค์
สานสัมพันธ์เยาวชนไทย – ญี่ปุ่น วันที่ ๒๕ ธันวาคม
๒๕๖๐ คณะเยาวชนญี่ปุ่น โครงการ Youth Exchange Short Team Thailand Tour ได้มาเยี่ยมชมโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเป็นไทย โดยมีนายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อ�ำนวยการให้การต้อนรับ ณ ห้องวิทยพัฒน์
วารดิถีปีใหม่ ๒๕๖๑ คารวะบุคคลส�ำคัญ วันที่ ๒๕
ธันวาคม ๒๕๖๐ นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อำ� นวยการโรงเรียน น�ำคณะผู้บริหาร ครู ตัวแทนสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชิ นู ป ถั ม ภ์ แ ละโรงเรี ย นในเครื อ เทพศิ ริ น ทร์ ทั้ ง ๑๐ โรงเรียน เข้าคารวะหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี อดีตประธานมูลนิธิ โครงการหลวง ศาสตราจารย์พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอ�ำนาจ องคมนตรี และพลอากาศเอกก�ำธน สินธวานนท์ อดีตองคมนตรี
4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
อินเตอร์แรคท์ ท.ศ.ร. เตรียมความพร้อมจัดงานใหญ่
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ นายคมศักดิ์ หาญสิงห์ รองผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนกลุ่มบริหารวิชาการเข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมกับ สโมสรโรตารีบางเขนและสโมสรโรตารีกรุงเทพพัฒนาการ ในการ จัดงานเฉลิมฉลองที่กลุ่มอินเตอร์แรคท์โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ได้รับสารตราตั้งที่จะจัดขึ้นวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ โรงแรม เพียต้า รัชดา กรุงเทพฯ
แนวคิดใหม่งานประกันและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
วันที่ ๑๗ - ๑๘ มกราคม ๒๕๖๑ คณะครูงานประกันคุณภาพการศึกษาได้ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวคิดใหม่ในการพัฒนาระบบการประเมิน และการประกันคุณภาพการศึกษา” เพื่อ น�ำมาพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียน ณ โรงเรียนดอนเมืองทหาร อากาศบ�ำรุง กรุงเทพฯ โดยมี ดร.รัตติมา พานิชอนุรักษ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒ เป็น ประธานเปิดงาน แนะแนว เรียนต่อสานฝัน ท.ศ.ร.
มอบทุน, Rotary Youth Exchange วันที่ ๒๓
มกราคม ๒๕๖๑ สมาคมโรตารีพัฒนาการ มอบทุนการศึกษา Short Term Rotary Youth Exchage แก่นักเรียนโรงเรียน เทพศิรินทร์ร่มเกล้า จ�ำนวน ๒ คน รองผู้อ�ำนวยการฝ่ายบริหาร วิชาการ นายคมศักดิ์ หาญสิงห์ เป็นประธานในการรับมอบและ ร่วมประชุมประจ�ำเดือนของโรตารีพัฒนาการ ณ โรงแรมเพียต้า รัชดา กรุงเทพฯ
วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเป็นประธานเปิดงาน “โลกกว้าง ทางการศึกษา” งานแนะแนวได้รับความร่วมมือจาก สถาบันการศึกษามาจัดนิทรรศการแนะแนวทางการ ศึ ก ษาและได้ รั บ ความสนใจจากนั ก เรี ย นระดั บ ชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ เป็นจ�ำนวนมาก ณ โดม อเนกประสงค์ ท.ศ.ร. ร่วมจัดติว O-NET สหวิทยาเขตเบญจบูรพา “การปฏิรูปการศึกษา ใครได้อะไร ในทัศนะ วันที่ ๒๓ - ๒๔ มกราคม ๒๕๖๑ นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ เป็นประธาน ของผู้บริหารสถานศึกษา” วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์
เปิดการสอนเสริม O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของสหวิทยาเขต ๒๕๖๑ นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน เบญจบูรพา ณ หอประชุมอเนกประสงค์ โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนใน ได้รับเกียรติจากสโมสรโรตารี บางเขน รับฟังการบรรยายพิเศษ เครือ สหวิทยาเขตเบญจบูรพาเข้าร่วมจ�ำนวน ๕๐๐ คน ในหัวข้อ “การปฏิรูปการศึกษา ใครได้อะไร ในทัศนะของ ผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีนายคมศักดิ์ หาญสิงห์ รองผู้อำ� นวยการ ฝ่ายบริหารวิชาการร่วมรับฟังการบรรยาย ณ Centara Grand Ladproa กรุงเทพฯ
อบรมเชิงปฏิบัติการจัดท�ำแผนพัฒนารายบุคคล
วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๑ สหวิทยาเขตเบญจบูรพาจัดโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการจัดท�ำแผนพัฒนารายบุคคล ID Plan ของครู และบุคลากรทางการศึกษาในวิทยาเขตเบญจบูรพา เพื่อยกระดับ การพัฒนารายบุคคลของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ ณ โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาสุวินทวงศ์
มอบทุนเด็กเก่งเทพศิรินทร์ร่มเกล้า Pretest O -NET เต็มร้อย วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ นายประสงค์ สุบรรณพงษ์
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเป็นประธานมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน ที่สามารถท�ำแบบทดสอบก่อนทดสอบแห่งชาติ (Pretest O-NET) ได้สูงสุดของแต่ละ รายวิชา ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท ณ โดมอเนกประสงค์
วารสารเทพฯร่มเกล้า
5
ลูกเสือ - เนตรนารี ม.๒ การอยู่ค่ายพักแรม
ระหว่างวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ถึง ๒ มีนาคม ๒๕๖๑ โรงเรี ย นเทพศิ ริ น ทร์ ร ่ มเกล้ า จั ด กิ จ กรรมอยู่ค ่า ยพักแรม ลูกเสือ - เนตรนารี มัธยมศึกษาปีที่ ๒ เพื่อเป็นการฝึกความ อดทนและทบทวนความรู้ที่ได้ศึกษามาตลอดภาคการศึกษา โดยมีนายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเยี่ยม และให้ก�ำลังใจคณะผู้อำ� นวยการฝึก ลูกเสือและเนตรนารี ณ ค่ายหัตถวุฒิแคมป์ อ�ำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี วันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๐ เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ซึ่งเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๓ บัดนี้ครบ วาระ ๓๙ ปี คณะผู้บริหาร สมาคมผู้ปกครองและนักเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง ครู นักเรียน ศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบัน ร่วมกันท�ำบุญ อุทิศส่วนกุศล อย่างพร้อมเพรียง
ประเมินคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๐
วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๐ งานประกันคุณภาพการศึกษารับการประเมินคุณภาพ ภายใน โดยมี ดร.กัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒ และคุณประสาน บุญรัตน์ ประธานเครือข่าย ผู้ปกครอง เป็นกรรมการ ในการประเมินครั้งนี้
โครงการฝึกอบรมเยาวชนสัมพันธ์ รุ่นที่ ๓๖๙
วันที่ ๒-๕ เมษายน ๒๕๖๑ กองบัญชาการต�ำรวจนครบาล ร่วมกับ กองบังคับการ ต�ำรวจนครบาล สถานีต�ำรวจนครบาลลาดกระบัง กต.ตร.สน.ลาดกระบังร่วมกับโรงเรียน เทพศิรินทร์ร่มเกล้าและโรงเรียนวัดลานบุญ จ�ำนวนผู้อบรม จ�ำนวน ๔๐๐ คน ณ โรงเรียน เทพศิรินทร์ร่มเกล้า เพื่อให้เยาวชนมีทักษะในการใช้ชีวิตให้ห่างไกลยาเสพติด
6 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ก�ำลังใจมีให้แก่กัน....
โดย ครูสุพินิจ อัตรมาตร
เฮือนถิ่นบ้านพี่เมืองน้องแดนล้านช้าง โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า น�ำโดย นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า จัดโครงการพัฒนา ศักยภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ณ จังหวัดอุบลราชธานี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๑๙-๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ • เยี่ยมชมแลกเปลี่ยนการเรียนการสอน ณ โรงเรียนมัธยม บังเลียงและสนับสนุนเงินเพื่อการศึกษา • ศึกษาประเพณีวัฒนธรรมและร่วมใส่บาตรเช้าตามวิถีเมืองพี่ เมืองน้อง เมืองจ�ำปาสัก • ศึกษาแหล่งธรรมชาติอันสวยงามของประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ผลการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาบุคลากร ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าประสบผลสัมฤทธิ์ บรรลุตามวัตถุประสงค์
กีฬาเบญจบูรพา ครั้งที่ ๑๔ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๐ โรงเรียนในเครือเบญจบูรพา โดยมีโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สมโภชน์ลาดกระบัง เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ร่วมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ด้วยการแข่งขันกีฬา ขบวนพาเหรด “ละครดัง” สังสรรค์งานเลี้ยงธีมงาน “ย้อนยุค อุ่นไอรัก” สร้างความประทับใจให้กับผู้ร่วมงานทุกคน
วารสารเทพฯร่มเกล้า
7
คอลัมน์...รอบรั้วรอบรู้
พื้นที่เติมเต็มสีสัน แง่มุมต่าง ๆ โดย ครู บุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เชื่อมความสัมพันธ์ บันทึกเรื่องราวต่างๆ มิให้สูญหายไปกับกาลเวลา
เครือข่ายผู้ปกครอง...ร่วมแรงแบ่งปันน�้ำใจ โดย ครูชาตรี โพธิ์ดก ระเบียบส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วย เครือข่ายผู้ปกครอง พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ความหมายเครือข่าย ผู้ปกครองว่า” การรวมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนในสถานศึกษา เดียวกัน เพื่อร่วมมือกับสถานศึกษาในการประกอบกิจกรรม ด้านการพัฒนาการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียน” และ ได้ ก� ำ หนดบทบาทและหน้ า ที่ ข องคณะกรรมการเครื อ ข่ า ย ผู้ปกครอง ไว้ ๑๔ ข้อ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับผู้ปกครอง เพียง ๖ ข้อนะครับ คือ ๑. ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา ด้านพัฒนาการ เรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียน โดยผ่านความเห็นชอบจาก ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. ร่วมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างครูและผู้ปกครอง
๓. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษา ๔. เสนอข้อคิด ข้อเสนอแนะในการพัฒนาที่จะเป็นประโยชน์ แก่นักเรียนและสถานศึกษา ๕. ร่วมกับสถานศึกษา จัดให้มีการประชุม ระหว่างคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในที่ประชุมใหญ่ของผู้ปกครอง นักเรียน ๖. สรุปและรายงานผลการด�ำเนินงานของคณะกรรมการ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในที่ประชุมใหญ่ของผู้ปกครองนักเรียน ตลอดปีการศึกษา ๒๕๖๐ มีการประชุมตามโครงการ ๙ ครั้ง (เดือนละ ๑ ครั้ง) โดยมีโครงการในความรับผิดชอบ ๑ โครงการ คือ สัมมนาระหว่างโรงเรียนและชุมชน
เยี่ยมค่าย นักศึกษาวิชาทหาร วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๐ เยี่ยม ค่ายนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ ๓ เพื่อ ให้ ก� ำ ลั ง ใจและมอบของที่ ร ะลึ ก แด่ ครูผู้ฝึก ณ เขาชนไก่ ต�ำบลลาดหญ้า อ�ำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ท.ศ.ร. จัดแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล
วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ร่วมจัดการแข่งขันโบว์ลิ่ง การกุศลชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และ ณ New Star Bolw ชั้น ๗ ศูนย์สรรพสินค้า อิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว มอบเสื้อคลุมให้วงดนตรีลูกทุ่ง DSR BAND
8 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประชุม มอบอุปกรณ์การศึกษาให้ ผู้ปกครองทุกระดับชั้น นักเรียนวันนิทรรศการวิชาการ
ร่วมแสดงความเสียใจ กับนักเรียนในทุกๆโอกาส
คอลัมน์เด่นประจ�ำฉบับ :
MOU ความสัมพันธ์นี้เพื่อนักเรียนเทพฯ ร่มเกล้า โดย ครูวีดารัตน์ พานทอง ตลอดระยะเวลา ๑ ปีการศึกษาที่ผ่านมา ผู้อำ� นวยการประสงค์ สุบรรณพงษ์ ประธานศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ได้ลงนาม MOU กับโรงเรียนและสถาบันการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ทั้งสิ้น ๓ แห่ง ๑. Hakuba Secandary School ๒. Aso Colledge ๓. Manabi Language Institute ผลจากการลงนาม MOU และการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายใต้ รัฐบาลญี่ปุ่น ส่งผลให้ นักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า แผนการเรียนภาษา วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ ญี่ปุ่น ได้รับโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนมากมาย อาทิ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า • นายณัฐดนัย เวียงสิมา และนายชิษณุพงศ์ คุณานุปกรณ์ ได้เข้าร่วม และคณะกรรมการสถานศึกษา โครงการ Akita Youth Exchange ระยะเวลา ๓ เดือน โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ท�ำ MOU ร่วมกับจังหวัดอะคิตะ • นายพันธกานต์ มีสันเทียะ ได้รับทุนการศึกษาเรียนภาษาญี่ปุ่น ที่โรงเรียน ประเทศญี่ปุ่น มานาบิ ณ จังหวัดนากาโน่ ประเทศญี่ปุ่น
วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ท�ำความร่วมมือ MOU ร่วมกับวิทยาลัย ASO จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๐ นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ท�ำความร่วมมือ Hakuba Secandary School จังหวัดนากาโน่ ประเทศญี่ปุ่น
วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๐ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ท�ำความร่วมมือ MOU ร่วมกับโรงเรียนมานาบิ จังหวัดนากาโน่ ประเทศญี่ปุ่น
วารสารเทพฯร่มเกล้า
9
Digital Gate ประตูอัจฉริยะ เช็คเวลาเรียนเด็กยุคดิจิทัล โดย ครูพัทธนันท์ หนาแน่น
ระบบสารสนเทศ D SCHOOL ที่สมบูรณ์ ที่สุดแบบสากล ดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้อย่างใกล้ชิด สื่อสารกับนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ถูกต้องและทันสมัย โดย เน้นที่นักเรียนเป็นส�ำคัญ เช่น เวลามาโรงเรียน ความประพฤติ ผลการเรียน ตารางสอน สุขภาพ อนามัย เป็นต้น เป็นระบบงานที่สถานศึกษา และผู้ปกครอง สามารถใช้ตรวจสอบรายละเอียด ต่างๆ ของนักเรียนได้ทันทีทุกเวลา ในเบื้องต้น ผู้ปกครองและนักเรียนจึงต้องมีระบบสารสนเทศ D SCHOOL ในเครื่องมือสื่อสาร ของตัวเองก่อนด้วยการดาวน์โหลด และใช้งาน
10 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ภาษาไทยวันละคำ�
โดย ครูปารวี วินทะไชย์
ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่ส�ำคัญของชาติไทย ปัจจุบันภาษาไทยมีการเปลี่ยน ไปตามยุคสมัย เยาวชนไทยมีการใช้ภาษาอย่างไม่ระมัดระวังจนท�ำให้ภาษาไทย เข้าขั้นวิบัติเพราะเกิดจากการรับสารจากสื่อที่ถ่ายทอดมาอย่างผิดๆ และใช้ ภาษาไทยด้วยความเคยชินแต่ไม่เคยตระหนักถึงความถูกต้อง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เห็นความส�ำคัญ ของปัญหาข้างต้นจึงจัดกิจกรรม “ภาษาไทยวันละค�ำ” ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้ นักเรียนมีทักษะในการฟัง พูด อ่าน และเขียนสะกดภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ให้นักเรียนรู้จักความหมายของค�ำศัพท์ และแสดงออกถึงศักยภาพความสามารถ ทางด้านภาษาไทย ตลอดจนสามารถน�ำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจ�ำวันได้อย่างถูกต้อง กิจกรรม “ภาษาไทยวันละค�ำ” เป็นหนึ่งในกิจกรรมหน้าเสาธงทุกเช้าที่ น�ำเสนอค�ำศัพท์ภาษาไทยที่หลากหลาย อาทิ - ค�ำไวพจน์ คือ ค�ำที่มีความหมายเหมือนกันแต่ใช้ในบริบทที่ต่างกัน ยกตัวอย่างค�ำไวพจน์ ของค�ำว่า นก ได้แก่ ค�ำว่า สกุณา ปักษา ทิชากร ทวิช เป็นต้น การสะกดค�ำทับศัพท์ เป็นการถอดเสียงมาจากภาษาต่างประเทศตามค�ำนั้น ๆ โดยมีหลักการเขียนสะกด ที่แน่นอนตามส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา เช่น WIFI คนส่วนใหญ่มักเขียนทับศัพท์เป็น ไวไฟ จนคุ้นชิน แต่ หลักการทับศัพท์สามารถเขียนได้เป็น วายฟาย
วารสารเทพฯร่มเกล้า
11
มีใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับ คุณภาพการศึกษา?
ยกมือขึ้น
โดย ครูทัศนีย์ ดาหาญ หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา
เมื่อพูดถึงโรงเรียนเราย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งแรกที่คนจะพูดถึงคือครูและนักเรียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรงเรียนยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกมากมายทั้งที่เป็นบุคลากรทางการศึกษา เช่น นักการ คนขับรถ แม่บ้าน คนขายอาหาร ยามหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่นผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา หรืออื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้นย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนทั้งสิ้น แต่ผู้ที่มีหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุดคือครู ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถูกก�ำหนดขึ้น ๑. ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดค�ำนวณ ตามเกณฑ์ของแต่ระดับชั้น ในข้อนี้ ประกอบด้วย ๔ มาตรฐาน คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ภาษาต่างประเทศ และคณิตศาสตร์ ทั้งสามกลุ่มสาระต้อง กลับไปดูหลักสูตรของตนเองว่าในแต่ละระดับชั้นหลักสูตร ของผู้บริหารสถานศึกษา มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ ได้กำ� หนดไว้อย่างไร ม.๑ ถึง ม.๖ ได้ก�ำหนดความสามารถ ในการอ่าน เขียน สื่อสารและการคิดค�ำนวณ ไว้อย่างไร เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ ครูในกลุ่มสาระในแต่ละระดับต้องช่วยกันออกแบบการจัด มาตรฐานที่ ๔ ระบบประกั น คุ ณ ภาพภายในที่ มี การเรียนรู้ ออกแบบเครื่องมือการประเมินให้เหมาะสม ประสิทธิผล และน่าเชื่อถือ เมื่อได้ผลการประเมินแล้วทั้งสามกลุ่มสาระ มาตรฐานที่ ๑ เป็นผลผลิตที่เกิดจากการด�ำเนินงาน จะต้ อ งน� ำ ผลส่ ง มายั ง งานประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาเพื่ อ ของมาตรฐานที่ ๒ ๓ และ ๔ คือกระบวนการบริหารของ ประมวลผลเป็นองค์รวมอีกครั้ง ฝ่ายบริหาร กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูและ ๒. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพที่ดี อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา กลุ่มสาระ มาตรฐานที่ ๒ และ ๔ จะเป็นระบบที่ช่วยส่งเสริม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการส่งเสริม ให้มาตรฐานที่ ๓ ให้สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอน และประเมินคุณภาพของผู้เรียนเนื่องจากในสภาพความ ของครู เ ป็ น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพอั น จะส่ ง ผลดี ไ ปยั ง เป็นจริงความสามารถในการคิดของเด็กไทยโดยภาพรวมมี คุณภาพค่อนข้างต�่ำ ดังนั้นครูในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์จึง มาตรฐานที่ ๑ คือคุณภาพของผู้เรียนอย่างแน่นอน ใครบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จ�ำเป็นต้องสร้างเครื่องมือเพื่อส่งเสริมศักยภาพและประเมิน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ด้านคือ ๑. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของ คุณภาพนักเรียนของตนเอง ผู้เรียน ๒. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผู้เขียน ๓. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เป็นหน้าที่ของครูกลุ่มสาระการงานอาชีพและ ขออธิบายตามประเด็นในการพิจารณาคุณภาพดังนี้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน มีประเด็น เทคโนโลยีจะต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องตาม หลักสูตรและประเมินคุณภาพของผู้เรียนด้วยเครื่องมือที่ พิจารณา ๖ ประเด็นคือ น่าเชื่อถือ
๑๒ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
๔. ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถาน ศึกษาเป็นหน้าที่ของครูทุกคนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ จะต้องพัฒนาการจัดเรียนการสอนของตนเพื่อที่จะให้ผล การเรียนรู้ของผู้เรียนมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีกราฟ แสดงถึงผลการจัดการเรียนรู้ มีโครงการ มีการจัดกิจกรรม ที่ส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนอย่างหลากหลาย
๒. ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระศิลปะ รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมที่ส่งเสริม ความเป็นไทยรวมทั้งจัดการเรียนการสอนในรายวิชาท้องถิ่น ของเรา ๓. ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและ หลากหลาย กลุ ่ ม สาระภาษาต่ า งประเทศซึ่ ง มี ก ารจั ด การเรียนการสอนหลากหลายภาษาทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ครูในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ มีภาระงานในการด�ำเนินงาน กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ทักษะในการด�ำเนินชีวิตท่ามกลางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
๕. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรีย นและพัฒ นาการจาก ผลการสอบวัดระดับชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาต่างประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบจะต้องจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้อง กับหลักสูตร มาตรฐานตัวชี้วัดให้ครบถ้วน มีการก�ำหนด ค่าเป้าหมายที่ชัดเจนและพัฒนากระบวนการจัดการเรียน ๔. สุขภาวะทางร่างกาย และลักษณะจิตสังคม การสอน เป็นการท�ำงานร่วมกันของครูกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ๖. ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือ ครูพยาบาลและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะร่วมกันส่งเสริมให้ การท�ำงานตามช่วงชั้นงานแนะแนวและครูกลุ่มสาระการงาน ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและมีจิตสาธารณะรวมทั้ง อาชีพและเทคโนโลยีจะต้องเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน ออกแบบเครื่องมือส�ำหรับประเมินคุณภาพของผู้เรียนให้ได้ ในทุกระดับชั้นมีการวัดประเมินตามมาตรฐาน เครื่องมือ ตามเป้าหมายที่วางไว้ ต้องมีความน่าเชื่อถือและหลากหลายมีความเหมาะสม นี่คือค�ำตอบว่ามีใครบ้างที่มีหน้าที่ในการพัฒนา คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีประเด็น พิจารณา ๔ ประเด็นคือ ๑. การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษา ก�ำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม ครูทุกคน ทุกกลุ่มสาระมีหน้าที่ในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๘ ข้อตามที่หลักสูตรได้กำ� หนดไว้ ในทุกรายวิชาและทุกระดับชั้นที่ตนเองรับผิดชอบ นอกจากนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าได้มอบหมายให้กลุ่มสาระต่างๆ ได้ออกแบบการส่งเสริม ปลูกฝังรวมทั้งประเมินคุณลักษณะ ที่ พึ ง ประสงค์ แ ยกตามธรรมชาติ ข องแต่ ล ะกลุ ่ ม สาระให้ สอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยบูรณาการเข้ากับ ค่านิยม ๑๒ ประการที่รัฐบาลได้ก�ำหนดไว้รวมทั้งบูรณาการ กับข้อก�ำหนดของโรงเรียนสุจริตที่โรงเรียนต้องด�ำเนินการ ตามเป้าหมายของโรงเรียน
คุณภาพการศึกษา ถ้าทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องหันกลับมาดู มาทบทวน บทบาท หน้าที่ของตนเองและท�ำหน้าที่ของ ตนเองให้ครบถ้วนให้คุ้มค่ากับความไว้วางใจที่ผู้ปกครองได้ มอบบุตรหลานให้อยู่ในมือของครูผู้ที่มีหน้าที่อบรม สั่งสอน ทั้งความรู้และคุณธรรม ดังนั้นเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ จะเป็นคนดีและคนเก่งอย่างสมบูรณ์ไม่ได้ ถ้าหากว่าผู้ที่มี หน้าที่ละเลยหรือขาดความรับผิดชอบ
วารสารเทพฯร่มเกล้า
13
คะแนน O-NET ปีการศึกษา ๒๕๖๐
ครูชุดาพร สถานทรัพย์ และครูกนิษฐา ปานสังข์
การสอบ O-NET (Ordinary Nation Education Test) คือ แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการ วัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส�ำหรับในช่วงชั้นที่ ๓ จัดสอบ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และภาษาไทย ขอแสดงความยินดี และชื่นชม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ที่มีผลการสอบ O-NET ระดับยอดเยี่ยมดังต่อไปนี้
คณิตศาสตร์
คะแนน
สริดา ทวีมั่นพุทธกาล ฐานวีร์ เพ็ญเพชรเจตน์ อาคิส อัศวบุญญาเลิศ ปฏิภาณ แก้วมะลัง ชญานิษฐ์ พิมลวิชยากิจ สถิระ จันทรกุลชัย ณภัทร พุ่มมูล โชติกา ตุลยวัฒนกุล ฐนกร สมมาตย์ ณภัทร บริสุทธิ์ประสิทธิ์ วัชรสิทธิ์ แสงจันทร์ฉาย
๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๙๖ ๙๖ ๙๖ ๙๖ ๙๒ ๙๒ ๙๒ ๙๒
ภาษาอังกฤษ
พรพณิชา พิมพาด วัชรสิทธิ์ แสงจันทร์ฉาย ฐานวีร์ เพ็ญเพชรเจตน์ อาศิส อัศวบุญญาเลิศ นิธิศ เจริญวิทยวรกุล พีรเดช บุญประเสริฐ สถิระ จันทรกุลชัย ฐนกร สมมาตย์
14 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
คะแนน ๘๖ ๘๔ ๘๐ ๘๐ ๗๖ ๗๔ ๗๔ ๗๐
วิทยาศาสตร์
สถิระ จันทรกุลชัย สรวิชญ์ จตุพรมงคล อาคิส อัศวบุญญาเลิศ วัชรสิทธิ์ แสงจันทร์ฉาย ณภัทร พุ่มมูล จิดาภา อัครศริโชติ นิธิศ เจริญวิทยวรกุล ชญานิษฐ์ พิมลวิชยากิจ ปฏิภาณ แก้วมะลัง
ภาษาไทย
ชลิตา ใจหมั่น วิวร วัฒโย อาคิน อัศวบุญญาเลิศ กัญญารัตน์ ประเจริญ ธนวรรณ แสนทวีสุข ปาณพัฒน์ เอกนิพิฐสริ จิรวรรณ บุ้งทอง ธารทิพย์ งานมั่น กรฒาพัชษ์ สารสินธุ์ ภัชรา นาสินสร้อย ชยิสรา คล้ายมี
คะแนน ๙๐ ๙๐ ๙๐ ๘๖ ๘๔ ๘๒ ๗๘ ๗๘ ๗๖
คะแนน ๘๘ ๘๘ ๘๘ ๘๗ ๘๗ ๘๗ ๘๓ ๘๓ ๘๑ ๘๑ ๘๑
ขอแสดงความยินดี ร่วมชื่นชมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ที่มีผลการสอบ O-NET ระดับยอดเยี่ยม ๕ รายวิชาดังต่อไปนี้
วิชาสังคมศึกษา
คะแนน
นางสาวธนนาฏ สุจิภิญโญ นายเพชรพงศ์พันธ์ แก้วจันทร์ทอง นายธนายุต จันชุม นายนวพล โสดากุล นางสาวธารวิมล กกรัมย์ นางสาวกิรณา ชวันกุล
๖๒ ๖๑ ๖๑ ๖๐ ๖๐ ๖๐
วิชาภาษาไทย
คะแนน
นางสาวอิสริยาภรณ์ เหมวรรณากุล นางสาวกุสุมา สองเมือง นายธนายุต จันชุม นางสาวธนนาฏ สุจิภิญโญ นายกิตติภพ ช่วยเจริญสุข นายนวพล โสดากุล นางสาวกิรณา ชวันกุล นางสาวพรอุมา แซ่เล้า นางสาวธัญลักษณ์ พจน์รัมย์
๘๘.๕ ๘๗.๕ ๘๗ ๘๕ ๘๒.๕ ๘๒ ๘๒ ๘๑ ๘๑
วิชาภาษาอังกฤษ
คะแนน
นายภูริลาภ ดาวอรุณเกียรติ นางสาวยศสิญา ธวัชชัยนันท์ นายกิติภพ ช่วยเจริญสุข นายปัญญา เรือนนุช นางสาวมัณฑนา วรรณหินทร์ นายปียมนัส ฉัตราวราพิทักษ์ นางสาวกิรณา ชวันกุล นายเพชรพงศ์พันธ์ แก้วจันทร์ทอง
๙๕ ๘๕ ๗๖.๒๕ ๗๕ ๗๕ ๗๓.๕ ๗๒.๕ ๗๐
วิชาวิทยาศาสตร์
คะแนน
นายธนายุต จันชุม นางสาวสิตางค์ เบิกบานดี นายพัสกร พึ่งธรรม นางสาวกิรณา ชวันกุล นายภูริลาภ ดาวอรุณเกียรติ นายกิตติภพ ช่วยเจริญสุข นายปัญญา เรือนนุช นางสาวอิสริยาภรณ์ เหมวรรณากุล
๘๑.๕ ๘๑.๕ ๘๐.๖ ๗๙.๓๕ ๗๗.๗๕ ๗๗.๔ ๗๕.๔๕ ๗๔.๕๕
วิชาคณิตศาสตร์
คะแนน
นายอดิศักดิ์ สกุลทรัพย์ศิริ นายธนายุต จันชุม นางสาวกิรณา ชวันกุล นางสาวสิตางค์ เบิกบานดี นายภูริลาภ ดาวอรุณเกียรติ นางสาวอิสริยาภรณ์ เหมวรรณากุล นายพัสกร พึ่งธรรม นายธนวัฒน์ ทองมณี นายปัญญา เรือนนุช
๑๐๐ ๑๐๐ ๙๗.๕ ๙๗.๕ ๙๕ ๙๕ ๙๕ ๙๐ ๙๐
วารสารเทพฯร่มเกล้า
15
งานห้องสมุด จัดกิจกรรม “สัปดาห์ห้องสมุด ตามรอยพ่อ ก-ฮ สืบสานศาสตร์พระราชา” วันที่ ๑-๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ โดมคุณากรพิชชากร
งานห้องสมุดรวมกับบริษัทสถาพรบุ๊คส์ จ�ำกัด จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ศาสตร์พระราชา เข้าร่วมกิจกรรม "ค่ายรักการอ่าน" ณ หอสมุดแห่งชาติ จัดโดย ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒
จัดกิจกรรมอบรม ซ่อมคอมพิวเตอร์สไตล์ช่างพันทิพย์ (Pantip) โดยความร่วมมือกับเครือข่ายผู้ปกครอง วิทยากรคือ คุณธเนศ เกิดแสง ณ ห้องสมุด 16 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
งานห้องสมุดร่วมจัดกิจกรรมบันทึกการอ่าน ศาสตร์พระราชา
ในงานนิทรรศการวิชาการ “ศาสตร์พระราชา การพัฒนาที่ยั่งยืน” ๑๒ มกราคม ๒๕๖๑
นักเรียนร่วมกิจกรรม บันทึกการอ่าน พร้อมรับของรางวัล กันอย่างสนุกสนาน
เข้าร่วมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๗ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “ ปันกันอ่าน ” ให้ผู้ปกครองและบุคลากร ทั้งภายในและภายนอก บริเวณป้อมยามประตู โรงเรียน
จัดมุมความรู้ และแนะน�ำหนังสือ ที่น่าสนใจ
วารสารเทพฯร่มเกล้า
17
ย้อนอดีต ดูผู้คน ยุคขุนหลวงนารายณ์ในละครบุพเพสันนิวาส โดย ครูกันตพงศ์ ก้อนนาค บุพเพสันนิวาสเป็นเรื่องราวความรักจากจิตใจที่บริสุทธิ์จาก ภายในของเกศสุรางค์ ที่อาศัยร่างของการะเกด คู่หมั้นหมายของหมื่น สุนทรเทวา โดยมีภาพเหตุการณ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นสาระส�ำคัญ ซี่งเรื่องราวที่สร้างขึ้นมาในละคร ล้วนมาจากบันทึกและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ หนึ่งในคณะราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับ สยาม (กรุงศรีอยุธยา) และบันทึกเรื่องราวสิ่งที่เขาได้พบเห็นของผู้คน สมัยนั้น มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมากและถูกอ้างถึงเสมอใน การจ�ำลองความเป็นอยู่ในเรื่องการกิน วงการประวัติศาสตร์ ในฐานะครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ผู้เขียนพบว่าความรู้แทรกที่ปรากฏเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาสังคมศึกษามีเนื้อหาดังต่อไปนี้ การค้าเศรษฐกิจ ผู้อ่านจะได้เห็นภาพความเป็นเมืองท่าทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยุธยา นั้นมีสินค้าที่ส�ำคัญ เช่น ไม้ฝาง ดีบุก ไม้หอม เขาสัตว์เพื่อใช้ท�ำส่วนประกอบยา เครื่องเทศซึ่งเป็นที่นิยมของต่างชาติอย่างมาก ช่วงเวลานั้นน�ำซึ่งรายได้อันมหาศาลท�ำให้อยุธยาเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียและน�ำมาซึ่งการล่า อาณานิคมเมืองขึ้นของชาติตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่มีความขัดแย้งจนนองเลือด การเมืองการปกครองระบบศักดินา “บุพเพสันนิวาส” เป็นละครที่กระตุ้นความรู้ด้านประวัติศาสตร์ได้ดีการที่จะชม ละครเรื่องนี้ให้ได้อรรถรสผู้อ่านควรทราบต�ำแหน่งขุนนางส�ำคัญที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ที่ปรากฎตามท้องเรื่อง ควรทราบถึง โครงสร้างทางสังคมสมัยอยุธยาเป็นสิ่งแรก ผู้ที่อยู่สูงสุดในแผ่นดินคือพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าชีวิตของคนทั้งมวล มีพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ไพร่ ทาส เรียงล�ำดับตามกันโดยมีระบบศักดินาเป็นสิ่งควบคุมหน้าที่ที่ต่างกันท�ำให้มีศักดิ์และสถานะทางสังคมต่างกัน ในละครเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในเรือนของขุนนางชั้นสูงใกล้ชิด “ขุนหลวงนารายณ์” หรือกษัตริย์อย่างมาก ทั้ง ออกญาโหราธิบดี ออกญาโกษาธิบดี (ดูแลการค้าชายฝั่งทะเล) เรียกง่ายๆ ว่าเป็นไฮโซอยุธยา มีหน้าตาทางสังคมสูง หรือท�ำให้เข้าใจง่ายขึ้นต�ำแหน่ง ที่กล่าวมาเปรียบได้กับรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน รวมไปถึงเห็นภาพความสัมพันธ์ทางสังคม เจ้านาย บ่าว ไพร่ได้อย่าง ชัดเจน รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้อ่านหลายคนจะเข้าใจว่าเป็นยุคที่มีความสัมพันธ์อันดีกับต่างชาติมากเป็นพิเศษเหตุ ที่เป็นเช่นนี้ต้องย้อนกลับไปสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองพระบรมราชชนกของสมเด็จพระนารายณ์ที่ยุคนั้นเป็นยุคที่ขุนนาง มีทรัพย์และอ�ำนาจมากเป็นภัยต่อความมั่นคงในพระราชบัลลังก์อย่างยิ่งจึงทรงก�ำจัดขุนนางเหล่านั้นเสียและเหตุนี้เองที่เป็น ช่องทางที่ท�ำให้ชาวต่างชาติเข้ามามีบทบาทเป็นขุนนางในราชส�ำนักกันอย่างมาก สมัยสมเด็จพระนารายณ์เองก็มีคอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีกเป็นตัวละครส�ำคัญในเรื่อง กินต�ำแหน่งถึงออกญาวิไชยเยนทร์ แต่ด้วยขุนนางต่างชาติไม่ได้มีอำ� นาจเป็นหลักฐาน ยึดมั่นไม่มาก พอปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ออกพระเพทราชา ออกหลวงสรศักดิ์เป็นแกนน�ำก�ำจัด เชื้อพระวงศ์ ขุนนาง ทั้งชาวสยามและต่างชาติบางส่วนและขับกองก�ำลังทหารฝรั่งเศสออกจากแผ่นดินสยามด้วยเหตุผลทางการเมืองในช่วงเวลานั้น
กรุงศรีอยุธยาเมืองท่าการค้าที่ส�ำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
18 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ความรักในถิ่นฐาน “บุพเพสันนิวาส” สะท้อนความรัก ต่อแผ่นดินและยังสะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่ ธรรมเนียมประเพณี โดยผ่านตัวละครส�ำคัญทั้ง พระเพทราชา ออกหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ออกญาโกษาปาน ที่เกรงอิทธิพลของฝรั่งเศสที่เข้ามา สยามจึงต้องหาวิธีการเพื่อลดทอนอ�ำนาจของต่างชาติ หรือแม่มะลิ (ตอง กี มาร์) ภรรยาของฟอลคอนที่นำ� ความลับของสามีที่ติดต่อ กับฝรั่งเศสไปบอกให้เกศสุรางค์เพราะแม่มะลิเองเป็นชาวต่างชาติ แต่ก็มีส�ำนึกรักถิ่นเกิดจึงไม่ยอมให้ต่างชาติมารุกรานบ้านเมืองที่ตน มาอาศัยอยู่และให้คุณแก่ตน การแต่งกาย ของตัวละครสอดคล้องกับบันทึกของ ลา ลูแบร์ เช่น การนุ่งผ้าทั้งชายหญิงไม่ต่างกัน ผู้หญิงส่วนใหญ่มักเปลือยส่วนบน เป็นเรื่องปกติแต่คนที่มั่งมีมักห่มผ้าแทบหรือห่มสไบ หญิงชายมักไว้ ผมสั้นตัดเกรียนติดหนังหัว หรือผู้หญิงอาจไว้ยาวรวบเป็นมวยผมไว้ ที่ท้ายทอย หรือแม้แต่การอาบน�ำ ้ ลา ลูแบร์ก็บันทึกไว้ด้วยว่าชาว สยามจะอาบน�้ำวันละ ๓ - ๔ ครั้ง แต่ถ้าอยู่เรือนก็จะไม่ค่อยอาบกัน เหมือนเราๆ ท่านๆ ปัจจุบันคงไม่ต่างกันเท่าไรนัก อาหารการกิน ก็น่าสนใจไม่น้อย ชาวสยามขึ้นชื่อเรื่อง กินง่ายอยู่ง่ายทั้งแมลง งู และที่มีมากนั้นคือปลาที่มีหลายพันธุ์ มากมายตามแหล่งน�้ำทางธรรมชาติที่แสดงให้เห็นว่าสยามเป็น อาณาจักรที่สมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ลา ลูแบร์เขียนไว้ ด้วยว่าชาวสยามรู้จักการแปรรูปอาหารจากทรัพยากรรอบตัว อาทิ ปลาบางจ�ำพวกน�ำมาหมักเป็นปลาร้า เขียนถึงของคาวต้องมีคู่กัน กับขนมหวาน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ขนมหวาน โบราณที่มีมานานหลายร้อยปี อย่าเข้าใจผิดคิดว่าแม่มะลิหรือ แม่การะเกดประดิษฐ์ขึ้นเอง ขนมเหล่านี้มีพัฒนาการมาจากขนม ของโปรตุเกสเป็นส่วนใหญ่ดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุดิบที่หาได้ง่ายใน ท้องถิ่นจนเป็นขนมหวานที่เราคุ้นเคยทุกวันนี้ ความสะอาด ตะลึงกันทั้งเรือนเมื่อแม่การะเกดประดิษฐ์ เครื่ อ งกรองน�้ ำ ให้ ส ะอาดที่ เราได้ ช มในละครนั้ น แท้ จ ริ ง แล้ ว เครื่องกรองน�้ำเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีมานับร้อยปี ย้อนกลับไปดูสภาพ บ้านเรือนสมัยก่อนที่อยู่ตามแม่น�้ำล�ำคลองนอกจากใช้สัญจรไปมา แล้วน�้ำในคลองยังน�ำมาดื่ม ใช้กันโดยปกติ เครื่องกรองน�ำ้ มีไว้เพื่อ กรอกสิ่งสกปรกออกจากน�้ำมาใช้ให้ถูกสุขลักษณะเป็นการป้องกัน โรคที่มีน�้ำเป็นสื่อน�ำโรค นอกจากจะลุ ้ น ไปกั บ ละครที่ ส นุ ก แล้ ว ยั ง ได้ ค วามรู ้ ประวัติศาสตร์ให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นมาที่น่าภาคภูมิใจของชาติ ไทยตลอดระยะเวลากว่า ๔๐๐ ปี และเป็นการทบทวนความรู้ ที่เรียนมาในห้องเรียนท�ำให้เข้าใจมากขึ้นหรือต่อยอดความรู้ให้ ค้นคว้าเพิ่มเติมได้อีกนับได้ว่าดูละครเรื่องเดียวได้ประโยชน์หลาย ทางและไม่ ใช่ เรื่ อ งแปลกที่ ล ะครและนวนิ ย ายเรื่ อ งนี้ จ ะประสบ ความส�ำเร็จในวงกว้าง
คณะราชทูต เดอ โชมองต์ของฝรั่งเศส เข้าเฝ้าสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช โน้มน้าวให้พระองค์เปลี่ยนศาสนา
การแต่งกายของชาวอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์
การแต่งกายของขุนนางและราษฎรสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช กลางภาพเป็นขุนนางสวม (ลอมพอก) เป็นหมวกมี ยอดแหลมใส่เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินเมื่อมีพระราชพิธีหรืองาน ส�ำคัญ วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ. ชุดถาม ตอบเสริมความรู้สาระ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา. (๒๕๖๐). สารคดี : นนทบุรี. มองซิออร์ เดอ ลาลูแบร์. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. (๒๕๕๗). ศรีปัญญา : นนทบุรี อ้างอิงภาพ เว็บไซต์ ไทยทีวีสีช่อง ๓ / เว็บไซต์ https://m. mgronline.com/drama//9580000088480
วารสารเทพฯร่มเกล้า
19
สิงคโปร์ จากประเทศโลกที่ ๓ สู่โลกที่ ๑
โดย...ครูนัน
เมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๑ ครูนันมีโอกาสได้ร่วมพานักเรียน MEP ไปค่าย ที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเล็ก ๆ ที่มีเนื้อที่เพียง ๗๑๘.๓ ตร.กม. เล็กที่สุดในอาเซียน ใหญ่กว่าภูเก็ตของไทยเล็กน้อย (๕๔๓.๐๓๔ ตร.กม.) มีพลเมือง ๕.๕ ล้านคน ครูนันไปสิงคโปร์ครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม ครั้งแรกเมื่อสามสิบปีมาแล้วรู้สึกประทับใจ ในเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบของบ้านเมือง ครั้งที่สองเมื่อสิบปีที่ผ่านมาก็เห็น พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ตึกรามบ้านช่อง ย่านธุรกิจที่เติบโตขึ้น แต่ไปครั้งนี้รู้สึกทึ่งกับ ความเปลี่ยนแปลงของสิงคโปร์ที่เด่นชัดมาก รวมทั้งชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ ที่ได้ฟังมาท�ำให้อดคิดไม่ได้ว่าท�ำไมเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยเป็นเพียงเมืองท่าที่เล็ก ๆ ที่แทบไม่มีทรัพยากรบนผืนดินที่เพียงพอกับการพัฒนาประเทศ ไม่มีแม้แต่แหล่งน�้ำจืดที่จะใช้ในการอุปโภค บริโภค และที่ส�ำคัญเพิ่งเป็นเอกราชมาได้เพียง ๕๓ ปี ท�ำไมสิงคโปร์จึงสามารถใช้เวลาอันสั้นในการยกระดับตัวเองขึ้นมาเป็นประเทศใน ล�ำดับต้น ๆ ในแทบทุกด้านในเอเซียและในโลก ฉบับนี้จึงขอน�ำเรื่องราวของสิงคโปร์ที่ได้พบเห็นและได้สืบค้นมามาเล่าสู่กันฟังนะคะ ชื่อทางการในปัจจุบัน คือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) หากเราได้ยินค�ำว่า เกาะอูจง (Pulau Ujong) เทมาเส็ก (Temasek) หรือ สิงหปุระ (Singapura) ก็หมายถึง ประเทศสิงคโปร์เช่นกัน ในอดีตสิงคโปร์เคยเป็นอาณานิคม ของหลายประเทศ เช่น โปรตุเกส ฮอลแลนด์ ญี่ปุ่น และอังกฤษ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ สิงคโปร์ตัดสินใจรวมชาติกับประเทศมาเลเซียเพื่อให้เป็นเอกราชจากประเทศ อังกฤษ แต่หลังจากนั้นเพียง ๒ ปี สิงคโปร์และมาเลเซียกลับมีปัญหาความขัดแย้งทางด้าน เชื้อชาติกันอย่างรุนแรง จึงท�ำให้สิงคโปร์ต้องประกาศตนเป็นเอกราชและมีอ�ำนาจอธิปไตย เป็นของตนเองในที่สุด สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยู เพียงคนเดียวเป็นเวลานานถึง ๓๑ ปี ปัจจุบันสิงคโปร์ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขทางด้านพิธีการ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานด้านบริหารประเทศ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายโทนี ตัน เค็ง ยัม เข้ารับต�ำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ส่วนนายกรัฐมนตรีคือ นายลี เซียน ลุง บุตรชายของนายลี กวน ยู เมื่อเป็นประเทศเอกราช (พ.ศ. ๒๕๐๘) ภาพลักษณ์ของสิงคโปร์ คือ ความยากจน ต้องซื้ออาหาร น�้ำ และแหล่งพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ตลาดภายในก็เล็กเกินไป ส�ำหรับการผลิตอุตสาหกรรม ขาดนักอุตสาหกรรมท้องถิ่น ที่ตัวเองมีอยู่ คือ พวกพ่อค้า และพวกปล่อยเงินกู้ นอกจากนี้ยังประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น ภัยจากคอมมิวนิสต์ ปัญหาจากประชากรที่มีอยู่หลายเชื้อชาติ ประชาชนทั่วไปขาดการศึกษา การว่างงานสูง การประท้วงของสหภาพแรงงาน และการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของประชาชน นาย เอส. ราจารัตนาม (S. Rajaratnam) รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ในสมัยนั้น เคยกล่าวว่า ในแง่การเมือง เศรษฐกิจ และทางทหาร โอกาสรอดของสิงคโปร์เกือบเป็นศูนย์ ภาพสิงคโปร์ในอดีต อย่างไรก็ดีสิงคโปร์ก็มีจุดที่เป็นความได้เปรียบ คือ การเป็นท่าเรือน�้ำลึกที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับแปซิฟิก และการค้า ระหว่างประเทศทางตะวันออกกับตะวันตก เป็นปัจจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเริ่มแรกมาจากการ แปรรูปวัตถุดิบน�ำเข้า เช่น ยางพารา ดีบุก และน�้ำมันปาล์มเพื่อส่งออกอีกต่อหนึ่ง ในขณะเดียวกันธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่สามารถพัฒนาขึ้นมา เช่น การเดินเรือ การประกันภัย และธนาคาร อีกทั้งในสมัยที่เป็นอาณานิคม สิงคโปร์เคยเป็นศูนย์กลางการบริหารและทางทหารของอังกฤษ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท�ำให้สิงคโปร์ได้มรดกจากอังกฤษในเรื่องระบบราชการและระบบกฎหมาย มีโรงเรียนที่ดีสุดของภูมิภาคนี้ที่ท�ำให้ นักเรียนที่จบไปแล้วสามารถไปศึกษาต่อที่อ๊อกซฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ กลายเป็นปัจจัยสร้างเอกภาพ ให้กับสิงคโปร์ และยังปัจจัยที่เอื้ออ�ำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ และในเวลาต่อมาช่วยให้สิงคโปร์มีความได้เปรียบที่โดดเด่นในยุค ปัจจุบัน
๒๐ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ปัจจัยที่ท�ำให้สิงคโปร์สามารถสร้างชาติขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วมีหลายข้อ ครูนันขอยกมาเพียง ๒ ข้อ ดังนี้ ๑. การมีผู้น�ำที่แข็งแกร่ง การที่สิงคโปร์เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดมาได้อย่าง ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งต้องยกความดีความชอบให้กับรัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ “ลี กวน ยู” อดีตนายกรัฐมนตรี คนแรก ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาผู้สร้างชาติ (Founding Father) ของสิงคโปร์ ผู้มีทั้งวิสัยทัศน์ มีความสามารถ และความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการบริหารประเทศ เขาให้ความส�ำคัญของการสร้าง ภาวะผู้น�ำ (Leadership) ให้เกิดขึ้นในทุกระดับในสิงคโปร์ เขาเคยให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ว่า “เขาเชื่อในเรื่องการน�ำคนดีมาด�ำรงต�ำแหน่ง ถึงแม้ระบบจะไม่ดีหรือแย่สุด ๆ เพราะคนดีเมื่อมา นายลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) ด�ำรงต�ำแหน่งจะสามารถสร้างระบบที่ดีได้ แต่ถ้าระบบดีแต่เอาคนไม่ดีมาด�ำรงต�ำแหน่ง ระบบก็จะพังและพินาศไป” สิ่งแรกที่ลี กวน ยู ท�ำในการพัฒนาชาติ คือ การปรับทัศนคติใหม่ให้กับคนในชาติ โดยปลูกฝังความคิดและความเชื่อให้กับประชาชนของเขาให้เชื่อในเรื่องที่ เขาจะน�ำประเทศสิงคโปร์ก้าวไปสู่ประเทศที่เจริญและศิวิไลซ์ เขาหล่อหลอมคนสิงคโปร์ให้มีทัศนะมุ่งทะยานไปข้างหน้า สนับสนุนให้สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ของสังคมสามารถปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นในอนาคต คนท้องถิ่นเองก็พร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจที่ เกิดขึ้น เพื่อท�ำให้ตัวเองหลุดพ้นจากความยากจน สิงคโปร์มีชื่อเสียงมากในเรื่องการสร้างสถาบันและองค์กรของรัฐที่ยึดหลักคุณธรรม ความสามารถ ท�ำให้เป็นประเทศที่เอื้ออ�ำนวย ต่อการลงทุนมากที่สุดในโลก สถาบันดังกล่าว ได้แก่ ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง กระบวนการยุติธรรมที่เที่ยงธรรม ตามตัวบทกฎหมาย ผู้น�ำการเมืองที่มีคุณธรรมกับคุณภาพระดับสูง และความเป็นเอกภาพทางสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยให้เกิดเสถียรภาพ ทางการเมือง ๒. การวางรากฐานการศึกษาของประชาชน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ ลี กวน ยู ให้ความส�ำคัญอย่างมาก เขาเชื่อว่าประเทศจะ พัฒนาได้ต้องสร้างคนก่อน เด็กสิงคโปร์ทุกคนจึงได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง จุดเด่นของการศึกษาของสิงคโปร์ คือ - ครูมีคุณภาพสูง สิงคโปร์ให้ความส�ำคัญและลงทุนกับครูค่อนข้างมาก โดยลงทุนจ้างครูต่างชาติที่มีความรู้ ความสามารถมาสอน ในระดับอุดมศึกษา คัดเลือกนักศึกษาระดับหัวกะทิไปเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นน�ำของโลกหลายแห่ง และกลับมาเป็นครู ครูใหม่ทุกคน ต้องผ่านการอบรมจากหน่วยงานที่อบรมครูโดยเฉพาะที่ชื่อว่า National Institute of Education (NIE) ท�ำให้สามารถควบคุมคุณภาพ ของครูได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเน้นการผลิตครูที่มีความรู้ลึกซึ้งเพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนมีรากฐานการคิดวิเคราะห์ที่ แข็งแรง ครูในสิงคโปร์มีค่าตอบแทนที่ดีแต่ก็มีความกดดันสูงและต้องท�ำงานหนักภายใต้ระบบการศึกษาของสิงคโปร์ที่เน้นประสิทธิภาพสูง - หลักสูตรสองภาษา (ภาษาอังกฤษและภาษาประจ�ำเชื้อชาติ) สิงคโปร์ก�ำหนดให้การเรียนการสอนทุกวิชาเป็นภาษาอังกฤษ และนักเรียนทุกคนต้องเลือกเรียนภาษาทางการของเชื้อชาติของตนซึ่งมี ๓ ภาษา ได้แก่ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์หรือภาษาทมิฬ นโยบายดังกล่าวเพื่อให้คนในชาติซึ่งประกอบด้วยชาวจีน (๗๖.๕%) ชาวมลายู (๑๓.๘%) ชาวอินเดีย (๘.๑%) และอื่น ๆ (๑.๖%) สามารถรักษาอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของตน การให้ความส�ำคัญแก่ภาษาประจ�ำเชื้อชาติเท่าเทียมกันท�ำให้เกิดความรู้สึกสมานฉันท์ เป็นคนชาติเดียวกันและน�ำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติ - การพัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ ได้ปรับการเรียนการสอนที่เน้นการท่องจ�ำ (Rote Learning) เป็นการเน้นการน�ำไปใช้ ในชีวิตจริงและการแก้ไขปัญหา (Ploblem-Based Learning) เช่น ในวิชาคณิตศาสตร์ ที่นักเรียน MEP ของเราได้เรียนที่ Shelton College International School ครูสอน ให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่อง sin cos tan จากนั้นครูตั้งค�ำถามว่าตึกนี้มีความสูงเท่าไหร่ ครูให้นักเรียนออกไปหาความสูงของตึกโดยใช้เชือก วัสดุและวิธีที่ครูเตรียมให้ จากนั้น นักเรียนน�ำผลความยาวของเชือกที่วัดได้มาค�ำนวณโดยใช้สูตรที่ได้เรียนไปแล้วเพื่อหา ค�ำตอบ ด้วยวิธีนี้ท�ำให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจถึงประโยชน์ในเรื่องที่ได้เรียนไปแล้ว นอกจากนี้ยังให้ความส�ำคัญกับวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยก�ำหนดให้ทั้งสองวิชาเป็นวิชาหลักในทุกระดับชั้น แม้นักเรียนที่เรียนสายมนุษยศาสตร์ก็ต้องเลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์เป็นวิชาบังคับ สิงคโปร์ให้ความส�ำคัญกับการวางรากฐานการศึกษาในช่วงประถมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยหลักสูตรจะเน้นความลึกของหัวข้อที่เรียน มากกว่าจ�ำนวนหัวข้อที่จะเรียน นอกจากจะวางรากฐานทางการศึกษาแล้ว ลี กวน ยู ยังเห็นว่าบุคคลที่จะมาพัฒนาประเทศได้นั้น มีความรู้ อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย จึงมีการสนับสนุนและพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ และเด็กในยุคนั้น ก็กลายเป็นประชาชนที่มีคุณภาพในวันนี้
วารสารเทพฯร่มเกล้า
๒๑
- ระบบการศึกษา นักเรียนจะถูกก�ำหนดเส้นทางการศึกษาตั้งแต่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยจะถูกแบ่งให้เข้าเรียน ๓ แผนการเรียน คือ l EM 1 ส�ำหรับนักเรียนที่ทำ � คะแนนได้ดีในวิชาอังกฤษ ภาษาที่สองและวิชาคณิตศาสตร์ จะได้เรียนภาษาและคณิตศาสตร์ ต่อในระดับสูง l EM 2 ระดับมาตรฐานของนักเรียนส่วนใหญ่ l EM 3 ส�ำหรับนักเรียนที่ไม่ถนัดด้านภาษาและคณิตศาสตร์ จะได้เรียนภาษาและคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เมื่อนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จะต้องสอบ PSLE (Primary School Leaving Examination) l ผลคะแนนดีเยี่ยม จะได้เรียนต่อโรงเรียนมัธยมศึกษาส�ำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (Specialised Independent School) หลักสูตร ๖ ปี หลังจากนั้นต้องสอบ GCE A-Level เพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย นักเรียนกลุ่มนี้จะได้เป็นผู้บริหารประเทศต่อไป l ผลคะแนนดี จะได้เรียนต่อโรงมัธยมศึกษาหลักสูตรเร่งด่วน (Express) หลักสูตร ๔ ปี จบแล้วต้องสอบ GCE O-Level เพื่อศึกษาต่อระดับวิทยาลัย (Junior College) ๒ ปี จากนั้นต้องสอบ GCE A-Level เพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย l ผลการเรียนปานกลาง จะเรียนได้โรงมัธยมศึกษาหลักสูตรปกติ (Normal) หลักสูตร ๔ ปี แบ่งเป็นสายวิชาการและสายเทคนิค การศึกษา จบแล้วต้องสอบ GCE N-Level หากมีความสามารถก็เข้าสอบ O-Level เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับวิทยาลัยได้เช่นกัน ส่วนนักเรียน ที่ได้คะแนน GCE N-Level ในระดับปกติจะศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาด้านเทคนิค (Institute of Technical Education) นักเรียนสิงคโปร์จะถูกกดดันในเรื่องการเรียนตั้งแต่เด็กเพราะการสอบแต่ละช่วงชั้นเหมือนกับการก�ำหนดเส้นทางชีวิตในวันข้างหน้า การเรียนอย่างหนัก การติวหลังเลิกเรียนและในวันหยุด การเข้าห้องสมุดเพื่อค้นคว้า หาความรู้จึงเป็นเรื่องปกติ เด็กสิงคโปร์อิจฉานักเรียน ไทยที่เรียนสบายๆ มีเวลาเล่นเกม ดูโทรทัศน์ แต่เมื่อถูกผู้ปกครองชี้ให้มองถึงอนาคตของตัวเองและของชาติ ความรู้สึกก็กลับเป็นตรงกันข้าม ทันที อีกนโยบายหนึ่งที่ประเทศสิงคโปร์มีวิสัยทัศน์และให้ความส�ำคัญ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และท�ำให้สิงคโปร์มีระบบการศึกษาที่มี คุณภาพอยู่ล�ำดับต้นของโลก คือ การส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศ มีค่านิยมรักการอ่านและการเรียนรู้ สิงคโปร์มี National Library ซึ่งเป็น ห้องสมุดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และยังมีห้องสมุดสาธารณะ หรือ Public Library กระจายอยู่ในพื้นที่ชุมชนหรือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ อีก ๒๘ แห่ง นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดในมหาวิทยาลัยที่เปิดให้ทุกคน สามารถเข้าไปค้นคว้าข้อมูลได้อีกด้วย ชาวสิงคโปร์มีอัตราการรู้หนังสือเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ งานหนัก ของรัฐบาลจึงไม่ได้อยู่ที่การส่งเสริมการอ่านเพื่อขจัดการไม่รู้หนังสือเหมือน ประเทศอื่น ๆ แต่อยู่ที่การตอบสนองความต้องการในการอ่านหนังสือของ ประชาชนซึ่งใช้บริการห้องสมุดกว่า ๓๐ ล้านครั้งต่อปี สถิติการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยคิดเป็น ๕๐-๖๐ เล่มต่อปี (คมชัดลึก, ๒ ต.ค. ๒๕๕๕) L2010 แผนการพัฒนาห้องสมุด ปรับปรุงห้องสมุดครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นในปี ๒๐๐๐ เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวสิงคโปร์ โดยมีสโลแกนว่า “ห้องสมุดเพื่อชีวิต (Libraries for Life), ความรู้น�ำพาความส�ำเร็จ (Knowledge for Success), เข้าถึงชุมชน ที่ถูกละเลย (Serve the Unserved Communities)” และ “เป็นหนึ่งในทีมมันสมองของสิงคโปร์ (Playing a Vital Role in Singapore’s Knowledge Team” ทั้งหมดนี้เพื่อให้ห้องสมุดเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ท�ำให้ความรู้เป็นสิ่งที่มีชีวิตชีวา, ปลุกจินตนาการของผู้คน และน�ำพาสิงคโปร์ไปสู่สังคมแห่งการสร้างสรรค์ จากที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นพื้นฐานส�ำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดของสิงคโปร์และไม่ใช่เรื่องที่น่า แปลกใจที่สิงคโปร์มีผลการสอบ PISA (Programme for International Student Assessment ) ในปี ๒๕๕๘ เป็นอันดับ ๑ ของโลก ในทุกการประเมิน ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และด้านการอ่าน ในขณะที่ของไทยคะแนนวิชาการอ่านอยู่ที่อันดับ ๕๗ ขณะที่ คะแนนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อยู่อันดับที่ ๕๔ ทั้งคู่ อันดับและคะแนนลดลงจากการทดสอบครั้งก่อนเมื่อปี ๒๐๑๒ ในทุกวิชา ครูนันอดถามตัวเองไม่ได้ว่าแล้วการสอบ PISA ที่จะมีขึ้นในปี ๒๕๖๑ นี้ ผลการสอบของเด็กไทยจะอยู่ในอันดับที่เท่าไรหนอ
๒๒ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๗ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ โดย ครูรัตนมณี แสงอรุณ
ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ร่วมแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่ ครั้งที่ ๖๗ ณ ศูนย์แข่งขันโรงเรียนในสังกัด สพม.๒ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ดังผลการแข่งขันดังนี้
ทอง ๕๐
เงิน ๔๔
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (11 รายการ)
ทองแดง ๒๕
เข้าร่วม ๑๒
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (14 รายการ)
รางวัลเรียงตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
วารสารเทพฯร่มเกล้า
23
คอลัมน์...สรรสาระวิชาการ
ได้รับความร่วมมือจากหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และประชาสัมพันธ์กลุ่มสาระฯ สรุปงาน โครงการ กิจกรรมที่ด�ำเนินการเสร็จสิ้นในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ครูปราณี ลาภเกิน : หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ครูนิศารัตน์ พันธ์โสรี : งานประชาสัมพันธ์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ค่ายเยาวชนคนรักภาษาไทย ครั้งที่ ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจัดค่าย ณ ภูสักธารรีสอร์ท จ.นครนายก ระหว่าง วันที่ ๙-๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ มีนักเรียนเข้าร่วมจ�ำนวน ๑๕๖ คน คุณครูและวิทยากร จ�ำนวน ๑๖ คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังให้เยาวชนไทยได้ตระหนัก ถึงความส�ำคัญของภาษาไทยและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาไทย ซึ่งภายในค่าย ได้จัดกิจกรรมเวียนฐานความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยด้านต่าง ๆ เช่น ทายส�ำนวนสุภาษิต ผะมี ตีลังกาคิด บิงโกค�ำศัพท์ เป็นต้น ส่วนกิจกรรมช่วงกลางคืนได้รับเกียรติจาก ผู้อ�ำนวยการประสงค์ สุบรรณพงษ์ เป็นประธานเปิดค่ายและรับชมการแสดงของ นักเรียนเกี่ยวกับภาพยนตร์ดังในอดีต
การส่งตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันทักษะภาษาไทย วันอังคารที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ กลุ่มสาระภาษาไทย ได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันแต่งค�ำประพันธ์ ณ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เนื่องในงานวันเกษตรแห่งชาติ ๒๕๖๑ ผลการแข่งขัน นักเรียนได้รับรางวัลชมเชย
วันพุธที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ กลุ่มสาระภาษาไทยได้ส่ง นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันแต่งค�ำประพันธ์ในโครงการ “ปิ่นมาลาวิชาการ เอกาทศวิชา เสริมสร้างปัญญาวุฒิ ครั้งที่ ๒” ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ผลการแข่งขันนักเรียนได้รับรางวัล ชมเชย
24 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ครูนิรดา บุญจิตร : หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ครูกันตพงศ์ ก้อนนาค : ประชาสัมพันธ์กลุ่มสาระฯ
ค่ายสังคมศึกษา วันที่ ๑๖ – ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ จัดกิจกรรมเข้าค่ายสังคมศึกษาครั้งที่ ๒ ณ จังหวัดกาญจนบุรี มีนักเรียนแผนก การเรียนมนุษยศาสตร์ – สังคมศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมได้เยี่ยมชมอุทยาน ประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ และเส้นทางรถไฟช่องเขาขาดเพื่อเพิ่มพูนความรู้และ ประสบการณ์
การรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม ความสะอาด รายวิชาหน้าที่พลเมืองเพิ่มเติมในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยครูฐาปนศักดิ์ อภิบาลให้นักเรียนออกแบบ กิจกรรมรณรงค์ห้องเรียนสะอาดปราศจากขยะ เพื่อให้นักเรียนเห็นความส�ำคัญของการใช้ห้องเรียนที่นักเรียนจ�ำเป็นจะต้อง เรียนร่วมกัน และในรายวิชาสุวรรณภูมิเมืองน่าอยู่สู่สากล นักเรียนแผนกการเรียน มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๔/๖ ร่วมออกแบบกิจกรรมรณรงค์งดทิ้งขยะในบริเวณโรงเรียนเพื่อปลูกจิตส�ำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและส่วนรวม
แข่งขันตอบปัญหาวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ น�ำนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน ตอบปัญหาทางวิชาการหลายรายการ ดังต่อไปนี้ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๓ การแข่งขันความรู้รอบตัว งาน ๖๐ ปี ความสัมพันธ์ไทย – อินเดีย
แข่งขันตอบปัญหาทางประวัติศาสตร์ จัดขึ้นโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ณ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี กรุงเทพฯ และร่วมแข่งขัน ตอบปัญหาทางประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและ มัธยมศึกษาตอนปลาย ณ โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพฯ การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการวิชาชีพ ครูสุพินิจ อัตมาตร เป็นตัวแทนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ อยุธยา : พลิกอดีต มุมมองใหม่ จัดโดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา ระหว่าง วันที่ ๑๘–๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ และวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ครูนิรดา บุญจิตร และครูพชร สายรัตน์ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการทาง ภูมิศาสตร์ ที่จัดขึ้นโดยศูนย์สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒ ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการ กรุงเทพฯ
วารสารเทพฯร่มเกล้า
25
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ครูนันทนา นันทภัทรพานิช : หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู ้ ครูมุทิตา สอนประเทศ : ประชาสัมพันธ์กลุ่มสาระฯ
กิจกรรมภาษาอังกฤษ
๑. กิจกรรมค่าย English Camp 2017 “In the jungle” โดยมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ จ�ำนวน ๑๒๐ คน เข้าร่วมกิจกรรม ณ ไอซ์แลนด์รีสอร์ท ริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ ๑๑-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะความรู้ และส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับครูชาวต่างชาติ
๒. ร่วมการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ ๖๗ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ระดับ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒ ในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ - การแข่งขันทักษะรวมภาษาอังก (Multi Skill) นางสาวยศสิญา ธวัชชัยนันท์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัลเหรียญทอง
๓. นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันในงาน SBC Open House 2017 ณ วิทยาลัย เซาธ์อีสบางกอก ในวันที่ ๒๗-๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ๓.๑ การแข่งขันตอบปัญหาภาษาอังกฤษ ๑. นายภูริลาภ ดาวอรุณเกียรติ ๒. นายกิตติภพ ช่วยเจริญสุข ๓. นางสาวยศสิญา ธวัชชัยนันท์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัล ชนะเลิศและเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท ๓.๒ การแข่งขันร้องเพลงภาษาอังกฤษ นางสาวกนกวรรณ ทิพย์คูนอก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ และ เงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท
๔. กิจกรรม International Festival 2018 และการประกวด Miss Fantasy 2018 ณ โดมอเนกประสงค์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐
๕. นักเรียนการแข่งขันตอบค�ำถามภาษาอังกฤษ ออนไลน์ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ ๓ จัดโดย บริษัท EOL System ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ๑. นายภูริลาภ ดาวอรุณเกียรติ ๒. นางสาวยศสิญา ธวัชชัยนันท์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ของภาค การศึกษากรุงเทพมหานคร และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ของระดับประเทศ พร้อมทั้งรับโล่รางวัล จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
26 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ห้องเรียนพิเศษ MEP ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ TOEIC นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ MEP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ทดสอบความรู้ ภาษาอังกฤษ TOEIC วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ หอประชุมอเนกประสงค์ โรงเรียน เทพศิรินทร์ร่มเกล้า นักเรียนได้คะแนนสูงสุดดังต่อไปนี ้ ๑. เด็กชายจิรภัทร กรรณสูตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑๑ ได้คะแนน ๖๕๐ คะแนน ๒. เด็กหญิงอภิญญา จันทร์เพชร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑๑ ได้คะแนน ๖๔๕ คะแนน ๓. เด็กหญิงแอมมีลี่ โจว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๑๑ ได้คะแนน ๕๑๐ คะแนน ๔. เด็กชายเอกชัย เขียวชอุ่ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑๑ ได้คะแนน ๕๐๐ คะแนน
ค่าย English Camp ประเทศ สิงคโปร์ วันที่ ๑๑-๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑ มีนักเรียนในโครงการเข้าร่วมจ�ำนวน ๓๒ คน ครูและผู้บริหารจ�ำนวน ๖ คน
กิจกรรมภาษาจีน ๑. นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันศิลปหัตถกรรม ระดับ เขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๖๗ ณ หอประชุมไพฑูรย์ โรงเรียนบางกะปิในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ๑.๑ การแข่งขันพูดภาษาจีนเพื่ออาชีพ มัธยมศึกษาตอนต้น ๑. เด็กหญิงลลิตา วิจิตรานุสรณ์ ม.๓/๑๐ ๒. เด็กหญิงพรหมพร ตันธนสมบัติ ม.๓/๑๐ ได้รางวัลระดับเหรียญทอง (ชนะเลิศ) ๑.๓ การแข่งขันพูดภาษาจีนเพื่ออาชีพ มัธยมศึกษาตอนปลาย ๑. นางสาวนฤภร แสงรักษ์ ม.๔/๙ ๒. นางสาวพัชรพร สุขนคร ม.๔/๙ ได้รางวัลเหรียญเงิน
๑.๒ การแข่งขันละครสั้นภาษาจีน ๑. นางสาวกนกทิพย์ ภาคเดี่ยว ม.๕/๘ ๒. นางสาวภูริชญา เศรษฐหิรัญ ม.๕/๘ ๓. นางสาวเพ็ญนภา วงษ์ศรี ม.๕/๘ ๔. นายรัฐศาสตร์ รักภักดี ม.๕/๘ ๕. นายนนทพันธ์ เดชผ่อง ม.๕/๘ ได้รางวัลเหรียญทอง ๑.๔ การแข่งขันเล่าเรื่องจากภาพภาษาจีน ๑. นางสาวชลธิชา ภูตีกา ม.๖/๘ ๒. นางสาวกัญญารัตน์ แซ่เจ้า ม.๖/๘ ได้รางวัลเหรียญทองแดง
๑.๕ การแข่งขันเขียนเรียงความภาษาจีน นางสาวภรณ์ทิพย์ ตะติยะสุนทร ม.๖/๘ ได้รางวัลเหรียญทองแดง
๓. การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาคกลาง และภาคตะวันออก ครั้งที่ ๖๗ ณ โรงเรียนองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑ ๓.๑ การแข่งขันพูดเพือ่ อาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๒. นักเรียนเข้าแข่งขัน ๒ รายการในงาน Southeast Bangkok Open House ๑. เด็กหญิงลลิตา วิจิตรานุสรณ์ ม.๓/๑๐ 2017 ณ มหาวิทยาลัย Southeast Bangkok ๒. เด็กหญิงพรหมพร ตันธนสมบัติ ม.๓/๑๐ ๒.๑ การแข่งขันร้องเพลงจีน ได้รับรางวัลเหรียญเงิน นางสาวปภัสรา ไชเสนา ม.๕/๘ ได้รับรางวัลชนะเลิศ และ ๔. การแข่งขันละครภาษาจีน ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ เงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท ๑. นางสาวกนกทิพย์ ภาคเดี่ยว ม.๕/๘ ๒. นางสาวภูริชญา เศรษฐหิรัญ ม.๕/๘ ๒.๒ การแข่งขันตอบปัญหาภาษาจีน ๓. นางสาวเพ็ญนภา วงษ์ศรี ม.๕/๘ ๑. นางสาวชลธิชา ภูตีกา ม.๖/๘ ๔. นายรัฐศาสตร์ รักภักดี ม.๕/๘ ๒. นางสาวกัญญารัตน์ แซ่เจ้า ม.๖/๘ ๕. นายนนทพันธ์ เดชผ่อง ม.๕/๘ ๓. นางสาวปิยนันท์ กนิษฐกุล ม.๖/๘ ได้รับรางวัลชมเชย และเงินรางวัล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ และเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
วารสารเทพฯร่มเกล้า
27
๕. กิจกรรมค่ายภาษาจีน ให้กับนักเรียนห้องเรียน ICP (Intensive Chinese ๖. กิจกรรมงานตรุษจีน ๒๐๑๘ ณ โดมอเนกประสงค์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า program) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๕ จ�ำนวน ๑๐๐ คน ณ โรงแรมนานาชาติ ในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ บางแสน จังหวัดชลบุรี ในวันที่ ๑๓-๑๔ มกราคม ๒๕๖๑
๒. นักเรียนเข้ามร่วมการแข่งขันศิลปหัตถกรรม กิจกรรมภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ ๖๗ ระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๒ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ๒.๑ การแข่งขันเขียนเรียงความญี่ปุ่น นายพันธกานต์ มีสันเทียะ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ๒.๒ การแข่งขันพูดเพื่ออาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑. นางสาวมัณฑนา วรรณมหิทร์ ๒. นางสาวนิศากร โพธิ์เสน ได้รับรางวัลชนะเลิศ ๑. นางสาวกชรัตน์ จีนยิ้ม เข้าร่วมโครงการ Hyogo- ๒.๓ การแข่งขันละครสั้นญี่ปุ่น OBEC exchange student ทุนการศึกษา ๑. นายสรนนท์ มะเด็น ๒. นางสาววีณัฏฐา สายณะรัตน์ชัย ๓. นางสาวบุษยารินทร์ แก้วทอง จากกระทรวงศึกษาธิการ ณ จังหวัดเฮียวโกะ ๔. นางสาวศุภสุตา วงศ์ไพรัตน์ ๕. นางสาวอุสนา กรเกษม ในวันที่ ๑๐ – ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ได้รับรางวัลชนะเลิศ
๓. การต้อนรับคณะเยาวชนจากประเทศญี่ปุ่น โครงการ Jenesys มาท�ำกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับ นักเรียนไทย ณ หอประชุมโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
๒.๔ การแข่งขันพูดเพื่ออาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๑. เด็กหญิงวรวลัญช์ ประดิษฐ์ถาวร ๒. เด็กหญิงจิฎากาญจน์ สายวัฒนพัฒน์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ๔. นางสาวกชรัตน์ จีนยิ้ม ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ระดับประเทศ ได้เข้าร่วมโครงการ JENESYS 2017 ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ที่จังหวัดฮอกไกโดและโตเกียว ในวันที่ ๕ - ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ ๕. การต้อนรับเยาวชน Youth Exchange Short Term Thailand Tour มาท�ำกิจกรรมแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมกับนักเรียนไทย ณ ห้องวิทยพัฒน์ โรงเรียน เทพศิรินทร์ร่มเกล้า ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐
๖. นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ ๖๗ ระดับภาคกลางและ ภาคตะวันออก ณ โรงเรียนองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑ ๖.๑ การแข่งขันเขียนเรียงความญี่ปุ่น นายพันธกานต์ มีสันเทียะ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน ๖.๒ การแข่งขันพูดเพื่ออาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑. นางสาวมัณฑนา วรรณมหิทร์ ๒. นางสาวนิศากร โพธิ์เสน ได้รับรางวัลเหรียญทอง ๖.๓ การแข่งขันละครสั้นญี่ปุ่น ๑. นายสรนนท์ มะเด็น ๒. นางสาววีณัฏฐา สายณะรัตน์ชัย ๓. นางสาวบุษยารินทร์ แก้วทอง ๔. นางสาวศุภสุตา วงศ์ไพรัตน์ ๕. นางสาวอุสนา กรเกษม ได้รับรางวัลเหรียญทอง ๖.๔ การแข่งขันพูดเพื่ออาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๑. เด็กหญิงวรวลัญช์ ประดิษฐ์ถาวร ๒. เด็กหญิงจิฎากาญจน์ สายวัฒนพัฒน์ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
28 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
๗. นักเรียนเข้าร่วมแข่งขัน งาน “สายสัมพันธ์สาธิตประสานมิตร” ณ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ การแข่งขันลับสมองประลองค�ำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น ๑. นายพันธกานต์ มีสันเทียะ ๒. นางสาวมัณฑนา วรรณมหินทร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท
๘. นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน SPU’s Got Talent 2018 ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ การแข่งขันละครสั้น ๑. นายสรนนท์ มะเด็น ๒. นางสาววีณัฏฐา สายณะรัตน์ชัย ๓. นางสาวบุษยารินทร์ แก้วทอง ๔. นางสาวศุภสุตา วงศ์ไพรัตน์ ๕. นางสาวอุสนา กรเกษม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ พร้อมโล่รางวัล และเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท
๙. การมอบทุนการศึกษาส�ำหรับนักเรียนที่แข่งขันสุนทรพจน์ โดยผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนมานาบิ จังหวัดนากาโน่ ณ ห้องวิทยพัฒน์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
๙.๑ นางสาวนิศากร โพธิ์เสน ม.๕/๙ รางวัลชนะเลิศ ได้เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ เยน และ I-PAD Mini ๑ เครื่อง ๙.๒ นายกีรติ จิตรวิมล ม.๕/๙ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ เยน และ TalkingDict ๑ เครื่อง ๙.๓ นายบดินทร์ เต่านวน ม.๕/๙ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้เงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ เยน และนาฬิกาข้อมือ ๙.๔ นางสาววรรณภรณ์ วงค์นาค ม.๕/๙ รางวัลชมเชยอันดับ ๑ ได้เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ เยน และหนังสือเรียนญี่ปุ่น ๙.๕ นายกฤษกร นาทันริ ม.๕/๙ รางวัลชมเชยอันดับ ๒ ได้เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ เยน และหนังสือเรียนญี่ปุ่น ๙.๖ นางสาวออมชญา โชติวงศ์ไพศาล ม.๕/๙ รางวัลชมเชยอันดับ ๓ ได้เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ เยน และหนังสือเรียนญี่ปุ่น และรางวัลชมเชยทุกรางวัล ได้รับเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท จากคุณพูนศรี ชื่มชม และ คุณมาลี ไวยเวทา
กิจกรรมภาษาฝรั่งเศส ๑. นักเรียนแผนการเรียนภาษาฝรั่งเศสได้เข้าร่วมแข่งขันเนื่องในกิจกรรมงานประจ�ำปี ของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ ในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ การแข่งขันละครสั้นภาษาฝรั่งเศส ๑. นางสาวภัทราวดี ทับทิม ม.๕/๗ ๒. นางสาวณัฐณิชา ตะกรุดแก้ว ม.๕/๗ ๓. นางสาวปริศนา สุขสม ม.๕/๗ ๔. นางสาวอัญมณี กลิ่นขวัญ ม.๕/๗ ได้รับรางวัลชมเชย และในโอกาสนี้ตัวแทนนักเรียนได้รับพระราชทานเกียรติบัตร และหนังสือ ภาษาฝรั่งเศสจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นายก สมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ๒. นักเรียนแผนการเรียนภาษาฝรั่งเศส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ และ ๖ คนได้เข้าร่วมทบสอบทักษะทางภาษาฝรั่งเศสตามกรอบแนวคิด มาตรฐานยุโรป (DELF) ระดับ A1 จ�ำนวน ๓ คน และ A2 จ�ำนวน ๒ คน ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ในวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๑
๓. นักเรียนแผนการเรียนภาษาฝรั่งเศสได้เข้าร่วมแข่งขันเนื่อง ในกิจกรรมงานนิทรรศการประจ�ำปี ของภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ในวันอังคารที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑ การแข่งขันเล่าบทกวีนิพนธ์ภาษาฝรั่งเศส นางสาวนิรมล เตตะนัง ม.๔/๘ ได้รับรางวัลชมเชย
วารสารเทพฯร่มเกล้า
29
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูถิรนันท์ ภูถอดใจ : หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูเลิศจักขณ์ อัครเวชวานิช : ประชาสัมพันธ์กลุ่มสาระการเรียนรู้
ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้จัดค่ายคณิตศาสตร์ ณ โกลเด้น โกลด์ รีสอร์ท(เขาใหญ่) ระหว่างวันที่ ๔-๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยมีนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้นเข้าร่วม จ�ำนวน ๑๕๐ คนและนักเรียนพี่เลี้ยง ๒๐ คน กิจกรรมต่างๆ ช่วยเพิ่มให้นักเรียน เกิดทักษะ และสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
ASMO (Asian Science and Mathematics Olympiad) วันที่ ๓ ส.ค.๖๐ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ส่งนักเรียนเข้าแข่งทางวิชาการ เพื่อให้นักเรียนได้เพิ่ม ประสบการณ์ในการแข่งขัน ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ผลการแข่งขันมีดังนี้ เหรียญเงิน ด.ช.อาศิส อัศวบุญญาเลิศ ม.๓/๑๒ เหรียญทองแดง ด.ข.สรวิชญ์ จตุพรมงคล ม.๓/๑๓ นายวริทธิ์ ช่วยอ่อน ม.๕/๕ ด.ช.ฐานวีร์ เพ็ญเพชรเจตน์ ม.๓/๑๒ รางวัลชมเชย ด.ช.ฐนกร สมมาตย์ ม.๓/๑๒
30 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ ๖๗ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ม.๑ - ม.๓ ณ โรงเรียนนครนายกวิทยาคม อาคารม่วงชมพู ชั้น ๒ ห้อง ๕๒๒-๕๒๖ จังหวัดนครนายก ผลการแข่งขัน ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
ครูนงลักษณ์ แพรศิลป์ : หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูฐิติณัฐ แก้วบุญเรือง : ประชาสัมพันธ์กลุ่มสาระการเรียนรู้
วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมให้ความรู้และสังเกตการณ์ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เต็มดวง โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ ซึ่งการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ในครั้งนี้ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากทั่วประเทศ โดย สามารถสังเกตดวงจันทร์ถูกเงามืดของโลกบังตั้งแต่เวลาหัวค�่ ำ หลังดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงเวลาประมาณ ๔ ทุ่มเศษ จันทรุปราคา เต็มดวงครั้งนี้ถูกเรียกว่า super blue blood moon เป็นการ ผนวกเข้าด้วยกันระหว่างค�ำว่า supermoon คือ ดวงจันทร์มี ต�ำแหน่งอยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุดในวงโคจรซึ่งเป็นวงรีรอบโลก ท�ำให้ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าค่าเฉลี่ย blue moon ใช้ เรียกจันทร์เพ็ญครั้งที่ ๒ ของเดือนในปฏิทิน และ blood moon คื อ ดวงจั น ทร์ เ ป็นสีแดงคล้ายสีเ ลือดขณะถูก เงามืดของโลก บังหมดทั้งดวง
ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (Gifted) สรุปกิจกรรมโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา ๒๕๖๐
วันที่ ๕ – ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ประสบการณ์ตรง ณ ต่างแดน และศึกษาวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น โดยศึกษา จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในกรุงโตเกียว เช่น ตลาดปลาซึกิจิ ตลาดอะเมียวโยโกะ วัดเซนโซจิ โยโกฮาม่าไชน่าทาวน์ และสถานที่สำ� คัญๆ หลายแห่ง โดยมีคณะผู้บริหารของโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าและ รศ.ดร.ศักดา ไตรศักดิ์ วิทยากรพิเศษร่วมการทัศนศึกษาครั้งนี้ด้วย
วารสารเทพฯร่มเกล้า
31
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นาฏศิลป์ โดย ครูวิรัลรุ้ง ศิริธนรุจสักโก
ครูค�ำรพ ผลถาวร : หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูวณิชวรรณ รัตนจารุพิทักษ์ : ประชาสัมพันธ์กลุ่มสาระการเรียนรู้
นักเรียนชมรมนาฏศิลป์ทำ� การแสดงจินตลีลาเปิดงานสานฝัน ตาม รอยพ่อ บริการชุมชน ณ บริษัทอิซูซุ นิคมอุตสากรรมลาดกระบัง
นักเรียนชมรมนาฏศิลป์ร�ำถวายพระพรวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐
นักเรียนชมรมนาฏศิลป์ ท�ำการแสดงระบ�ำศรีวิชัย และระบ�ำกินรีร่อนให้แก่ ผู้มีอุปการะคุณโรงเรียน ณ วัดบ�ำรุงรื่น
แสดงโปงลาง ในงาน ประชุมผู้ปกครอง นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
นักเรียนชมรมนาฏศิลป์ ท�ำการแสดงระบ�ำย่องหงิดและขบวนอันเชิญ รูปปั้นสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๔ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต
นักรียนชมรมนาฏศิลป์แสดงโขนรามเกียรติ์ ตอนยกรบ ในงานสืบสาน สายใย หัวใจสีแดง ณ สโมสรต�ำรวจ
32 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
น�ำนักเรียนชมรมนาฏศิลป์ ท�ำการ แสดงโขนรามเกียรติ์ ตอนยกรบ ในงาน เกษียณอายุราชการ ๑๐ เทพศิรินทร์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
เข้าร่วมการแข่งขันระบ�ำมาตรฐาน ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๗ ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ณ โรงเรียนปราจีนกัลยาณี ได้รับรางวัล รองชนะเลิศ (เหรียญเงิน)
ดนตรีไทย โดยครูนุชรีย์พร วิชาเดช
นักเรียนชมรมดนตรีไทยเข้าร่วมการแข่งขัน ระบ�ำมาตรฐาน ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๗ โดยมีผลการแข่งขันดังต่อไปนี้
ทัศนศิลป์ นายค�ำรพ ผลถาวร, นายศักดิ์ชัย ชรากาหมุด, นางสาววณิชวรรณ รัตนจารุพิทักษ์, นางสาวญาดา โพธิสาขา, นางสาวณิชมน ทองใบเล็ก และนางสาวกัญญารัตน์ พงษ์สนิท ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๗ ในสาขาทัศนศิลป์ รางวัลระดับเหรียญเงิน ๑. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๖ รวม ๗๐ คะแนน ผลการแข่งขันวาดภาพระบายสี ม.๔-ม.๖ ๒. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๙ รวม ๗๗ คะแนน ผลการแข่งขันเขียนภาพไทยประเพณี ม.๔-ม.๖ ๓. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑๐ รวม ๗๕ คะแนน ผลการแข่งขันเขียนภาพจิตรกรรมไทยสีเอกรงค์ ม.๑-ม.๓ ๔. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๕ รวม ๗๕ คะแนน ผลการแข่งขันประติมากรรม ม.๔-ม.๖ รางวัลระดับเหรียญทองแดง ๑. รางวัลอันดับที่ ๑๕ รวม ๖๐ คะแนน ผลการแข่งขัน “ศิลป์สร้างสรรค์” ม.๑-ม.๓ ๒. รางวัลอันดับที่ ๑๒ รวม ๖๙ คะแนน ผลการแข่งขันเขียนภาพไทยประเพณี ม.๑-ม.๓ ๓. รางวัลอันดับที่ ๑๘ รวม ๖๒ คะแนน ผลการแข่งขันสร้างสรรค์ภาพด้วยการปะติด ม.๑-ม.๓ รางวัลเข้าร่วมการแข่งขัน ๑. รางวัลอันดับที่ ๒๒ รวม ๕๐ คะแนน
ดนตรีสากล โดยครูภัทรพงษ์ จิตบรรจงและทีมงาน
ครูภัทรพงษ์ จิตบรรจง นายสุรเกียรติ สโรบล และ นายณัฐพล สาครขันต์ น�ำนักเรียนชมรม ดนตรีสากล บรรเลงเพลงเปิดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน เทพศิรินทร์ร่มเกล้า ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐
ครูภัทรพงษ์ จิตบรรจง นายสุรเกียรติ สโรบล และ นายณัฐพล สาครขันต์ ควบคุมดูแล ฝึกซ้อมนักเรียน เข้าร่วมการแข่งขันวงดนตรีลูกทุ่ง ประเภททีม ข ม.๑-ม.๖ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๗ ระดับภาค กลางและภาคตะวันออก ได้รับรางวัลเหรียญทอง ชนะ เลิศอันดับ ๖ รวม ๘๖.๒๐ คะแนน
วารสารเทพฯร่มเกล้า
33
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ครูกิติภพ ทับทิมพัชรากร : หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูวันวิสาข์ วงศ์พยัคฆ์ : ประชาสัมพันธ์กลุ่มสาระการเรียนรู้
การแข่งขันกีฬาภายใน ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ การแข่งขันกีฬาภายใน ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ได้รับเกียรติจาก ดร.รัตติมา พานิชอนุรักษ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒ เป็นประธานในพิธี แบ่งการแข่งขันออกเป็น ๖ คณะสี โดยได้รับความร่วมมือจากครูและ นักเรียนดังต่อไปนี้
คณะ
หัวหน้าคณะสี (ครู)
ประธานสี (นักเรียน)
คณะร่มเกล้า(สีน�้ำเงิน) คณะภาณุรังษี (สีแดง) คณะแม่รำ� เพย (สีฟ้า) คณะนวม (สีแสด) คณะสามประเวศ (สีม่วง) คณะแม่โพสพ (สีชมพู)
ครูภคมน นิธิศวรดา ครูณัทธมวันท์ ภู่สุนทรเกียรติ นางสาวปัณฑิตา น้อยผาติ นายสรศักดิ์ เจริญการค้า นางสาวสุพินิจ อัตมาตร นายเลิศจักขณ์ อัครเดชเวชวานิช
นายชัชพงศ์ ศรีละ นางสาวเพ็ญนภา วงษ์ศณี นายคีตภัทร แก้วแก่น นายอัชฎาวุธ ใจขาน นางสาวณัฐนรีย์ โลหิตศิริ นายภูชิตย์ ใจเย็น
34 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
วารสารเทพฯร่มเกล้า
35
สรุปถ้วยรางวัลการแข่งขันกีฬาภายใน ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ล�ำดับที่ ชนิดกีฬา / การแข่งขัน ๑ ชนะเลิศกีฬาฟุตบอล ชาย ม.ต้น ๒ ชนะเลิศกีฬาฟุตบอล ชาย ม.ปลาย ๓ ชนะเลิศฟุตบอล หญิง ๗ คน Open ๔ ชนะเลิศกีฬาฟุตซอล ชาย ม.ต้น ๕ ชนะเลิศกีฬาฟุตซอล ชาย ม.ปลาย ๖ ชนะเลิศกีฬาฟุตซอล หญิง Open ๗ ชนะเลิศกีฬาบาสเกตบอล ชาย ๘ ชนะเลิศกีฬาบาสเกตบอล หญิง Open ๙ ชนะเลิศกีฬาวอลเลย์บอล ชาย ๑๐ ชนะเลิศกีฬาวอลเลย์บอล หญิง ๑๑ ชนะเลิศกีฬาเปตอง ชาย ๑๒ ชนะเลิศกีฬาเปตอง หญิง ๑๓ ชนะเลิศกีฬาตะกร้อ ชาย ม.ต้น ๑๔ ชนะเลิศกีฬาตะกร้อ ชาย ม.ปลาย ๑๕ ชนะเลิศกีฬาตะกร้อ หญิง Open ๑๖ ชนะเลิศคะแนนรวมกีฬาแบดมินตัน ชาย – หญิง ๑๗ ชนะเลิศคะแนนรวมกีฬาเทเบิลเทนนิส ชาย – หญิง ๑๘ ชนะเลิศคะแนนรวมการแข่งขันกีฬา ๑๙ ชนะเลิศคะแนนรวมการแข่งขันกรีฑา ๒๐ ชนะเลิศการแข่งขันกิจกรรมเข้าจังหวะ รองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันกิจกรรมเข้าจังหวะ รองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันกิจกรรมเข้าจังหวะ ๒๑ ชนะเลิศการแข่งขันพาเหรด แฟนซี รองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันพาเหรด แฟนซี รองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันพาเหรด แฟนซี ๒๒ ชนะเลิศการแข่งขัน อัฒจันทร์เชียร์ รองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันอัฒจันทร์เชียร์ รองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันอัฒจันทร์เชียร์ ๒๓ ชนะเลิศการแข่งขัน กองเชียร์ รองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันกองเชียร์ รองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันกองเชียร์ ๒๔ ชนะเลิศการแข่งขัน ผู้น�ำเชียร์ รองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันผู้นำ� เชียร์ รองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันผู้นำ� เชียร์ ๒๕ ชนะเลิศคะแนนรวมกีฬาและกรีฑา ๒๖ รางวัลขวัญใจกรรมการ ๒๗ รางวัลถ้วยคุณธรรม
36 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
คณะที่ได้รับ ถ้วยรางวัล น�ำ้ เงิน ชมพู ชมพู แดง ชมพู แดง ม่วง น�ำ้ เงิน แสด ม่วง น�ำ้ เงิน ม่วง ฟ้า แดง น�ำ้ เงิน น�ำ้ เงิน แสด น�้ำเงิน น�้ำเงิน แดง ชมพู แสด แสด แดง ชมพู ชมพู น�ำ้ เงิน แสด ชมพู แดง แสด ชมพู แดง แสด น�้ำเงิน ฟ้า ชมพู
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ครูกฤษฎา สังวรณ์ : หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ในส่วนของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบไปด้วย กิจกรรมทัศนศึกษาตามโครงการส่งเสริมทักษะ ในศตวรรษที่ ๒๑ งานแนะแนว งานรักษาดินแดน และกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมทัศนศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตามโครงการส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
กิจกรรมทัศนศึกษา ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ส่งเสริมการบูรณาการเรียนรู้
กิจกรรมทัศนศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ตามโครงการส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ณ ฟาร์มโคมไทยเดนมาร์ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยการบูรณาการกับกิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี
กิจกรรมทัศนศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ตามโครงการส่งเสริมทักษะ ในศตวรรษที่ ๒๑ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ณ พระราชวังบางปะอิน และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ศึกษาแหล่งเรียนรู้จากสถานที่สำ� คัญทางประวัติศาสตร์ของไทย ณ พระราชวัง บางปะอิน และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
วารสารเทพฯร่มเกล้า
37
มัธยมศึกษาปีที่ ๔ สุวรรณภูมิ / ครัวการบินไทย ภาษาต่างประเทศ /พละ
มัธยมศึกษาปีที่ ๕ สวนสนุกไดโนเสาร์ (Dinosaur Planet) วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ร่วมกัน จัดกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ให้กับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ณ สวนสนุกไดโนเสาร์ (Dinosaur Planet) ถนนสุขุมวิท จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งไดโนซอร์ แพลนเน็ต
มัธยมศึกษาปีที่ ๖ อุทยานประวัติศาสตร์ จ.พระนครศรีอยุธยา สังคม /ไทย / พัฒนาผู้เรียน
38 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
งานแนะแนว
งานแนะแนวโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า จัดกิจกรรมแนะแนวสัญจรแก่นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม ๒๕๖๑
งานลูกเสือ - เนตรนารี
มัธยมศึกษาปีที่ ๑ งานชุมลูกเสือเทพศิรินทร์สัมพันธ์ ครั้งที่ ๑๘ ณ ค่ายลูกเสือ วชิราวุธ จ.ชลบุรี “ลูกเสือเทพศิรินทร์รวมใจ ถวายพระพรชัยองค์ราชัน”
งานชุมนุมลูกเสือเทพศิรินทร์สัมพันธ์ ครั้งที่ ๑๘ วันที่ ๑๘-๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ “กิจกรรมฐาน ลูกเสือนิทรรศ” รวบรวมประวัติและความเป็นมาของกิจการลูกเสือ
ค่ายพักแรมลูกเสือ เนตรนารี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ณ ค่ายหัตถวุฒิแคมป์ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
ค่ายพักแรมลูกเสือ เนตรนารี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ณ ค่ายลูกเสือ ชั่วคราวโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
วารสารเทพฯร่มเกล้า
39
ผู้แทนเนตรนารีโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือ พลังงานแสงอาทิตย์ ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี ควบคุมโดย คุณครูพฤฒินันท์ แสนสุข
ลูกเสือ - เนตรนารี กองพิเศษโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เข้าร่วม การฝึกอบรมลูกเสือ เนตรนารีจราจร จัดโดยส�ำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ โรงเรียน พระโขนงพิทยาลัย ควบคุมโดย คุณครูปองพล ทิพย์สันเทียะ
ลูกเสือ - เนตรนารี กองพิเศษโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ปฏิบัติ หน้าที่ต้อนรับนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นส่วนหนึ่ง ในการด�ำเนินกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ในวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ กระทรวงศึกษาธิการ
ลูกเสือ -เนตรนารี โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เข้าร่วมการแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๗ ระดับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต ๒ ณ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๑. รางวัลเหรียญเงิน ประเภทการจัดการค่ายพักแรม ๒. รางวัลเหรียญเงิน รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประเภทการสร้าง อุปกรณ์ให้บริการ
40 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
งานรักษาดินแดน กิจกรรมการฝึกภาคสนาม ของนักศึกษาวิชาทหาร ปีที่ ๒ และปีที่ ๓ งานรักษาดินแดน รับผิดชอบโดยคุณครู ว่าที่ร้อยตรีมหาดไทย บุษยเหม
กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับงานคณะสี สืบสานวัฒนธรรม ประดิษฐ์กระทงถวายวัดในชุมชน ควบคุมโดย คุณครูดวงใจ เพชรสารพรม
วารสารเทพฯร่มเกล้า
41
ว า ด ย อ ้ ร น อ ื เด การเขียน การวาด) ง ย ี ร เ ์ น ม ั ล อ ค ด้าน รถของนักเรียน ามสามา
(พื้นที่แสดงคว
ผ่านร้อยผ่านหนาวไปกับประธานนักเรียน นายพิสิษฐ์ บุญโท สวัสดีครับ ผม นายพิสิษฐ บุญโท นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ผมได้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็น ประธานคณะกรรมการนักเรียน จนตอนนี้ ก็หมดวาระไปแล้วในปีการศึกษา ๒๕๖๐ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในการปฏิบัติหน้าที่ ผมและคณะกรรมการนักเรียนทุกๆคน รู้สึก เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสอันยิ่งใหญ่จากชาวลูกแม่ร�ำเพยที่ไว้ วางใจเลือกพวกเรามาเป็นคณะกรรมการนักเรียน ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ซึ่งพวกเราก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่สำ� คัญต่าง ๆ ภายในโรงเรียน อย่างเต็มที่ และเต็มศักยภาพเพื่อโรงเรียนของพวกเราและชาว ลูกแม่ร�ำเพยทุกคน ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ในหลาย ๆ งานพวกเราก็ ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างดี รวมไปถึงโครงการที่คณะกรรมการ นักเรียนปีนี้ ได้จัดการด�ำเนินงาน เกิดผลส�ำเร็จหลายโครงการ เช่น โครงการ DSR Music Festival, โครงการฟุตซอล ท.ศ.ร. คัพ, โครงการ You know return และ กิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งโครงการและ กิจกรรมเหล่านี้ ช่วยสร้างความสามัคคี ความ สนุกสนาน และความผ่อนคลายให้กับนักเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ได้เป็นอย่างดี
การท�ำหน้าที่ประธานคณะกรรมการนักเรียนเป็นเกียรติประวัติ ของผม เป็นประสบการณ์ของชีวิตที่ไม่ใช่ว่าใครจะได้เป็นกันได้ง่ายๆ หนึ่งปีการศึกษาจะมีเพียงคนเดียวเท่านั้น เมื่อผมได้รับโอกาส อันทรงคุณค่านี้ ผมก็ตั้งปณิธานว่าจะท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุดเท่าที่ จะท�ำได้ โดยเป็นตัวแทนของนักเรียนทั้งโรงเรียน ท�ำกิจกรรมทั้งใน และนอกโรงเรียนด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ เพื่อจะน�ำชื่อเสียงมาสู่ โรงเรียนอันเป็นที่รักของพวกเราทุกคน และในโอกาสที่ผมได้หมด วาระการเป็นคณะกรรมการนักเรียนในปีการศึกษา ๒๕๖๐ ที่ผ่านมานี้ ในฐานะประธานนั ก เรี ย นก็ ข อเป็ น ตั ว แทนของคณะกรรมการ นักเรียน ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ กล่าวขอบคุณทุกๆท่าน ไม่ว่า จะเป็นคณะผู้บริหารคณะครู และนักเรียนชาวลูกแม่ร�ำเพยทุกคน ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ซึ่งท�ำให้การปฏิบัติหน้าที่ กิจกรรม และ โครงการต่างๆ ของพวกเราได้เกิดขึ้นและประสบความส�ำเร็จไปได้ ด้วยดี ซึ่งบางครั้งอาจเกิดข้อผิดพลาดในการท�ำงาน แต่ก็ยังได้ก�ำลัง ใจจากท่านเหล่านี้ ให้เกิดแรงผลักดันท�ำหน้าที่ให้ดีต่อไปจนวันนี้พวก เราคณะกรรมการนักเรียน ทุกๆคนก็ได้อ�ำลาต�ำแหน่งจากจุดที่สูง ที่สุดอย่างภาคภูมิใจ
สโมสรอินเตอร์แรคท์ สีเขียวเหลือง
อินเทอร์แรคท์ คือสโมสรของเยาวชน อายุ ๑๒-๑๘ ปี ที่ต้องการจะเชื่อมสัมพันธ์ กับคนหนุ่มสาวอื่นๆ ในชุมชนหรือโรงเรียน สมาชิกสโมสรอินเทอร์แรคท์สนุกสนาน ไปกับการทําโครงการบําเพ็ญประโยชน์ และเรียนรู้เกี่ยวกับโลกไปพร้อมกัน ซึ่ง ผม นายพิมาย สรรพเพทยพิศาล นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๙ แผนการเรียน ภาษาญี่ปุ่น รู้สีกดีใจที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ร่มเกล้าได้จัดตั้งสถาปนาสโมสรอินเตอร์แรคท์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าขึ้นในปีการศึกษา ๒๕๖๐ โดยมีผู้สนับสนุนจากสโมสรโรตารี บางเขนและสโมสรโรตารีกรุงเทพพัฒนาการ เพราะการจั ด ตั้ ง ในครั้ ง นี้ เ ป็ น การเปิ ด โอกาสให้กับผม เพื่อนๆ และรุ่นน้องได้ ลองท�ำกิจกรรมใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ได้ฝึกการท�ำงาน การวางแผนและการลงมือปฏิบัติ พร้อมทั้งยังได้รู้จักกับเพื่อนๆต่าง โรงเรียนที่เป็นอินเตอร์แรคท์ด้วยกันอีกด้วย ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ ที่ดีให้กับพวกผม และผมขอขอบคุณคุณครูวีดารัตน์ พานทอง คุณครูกันตพงษ์ ก้อนนาค เพื่อน ๆ เเละรุ่นน้องที่วางใจและเชื่อในตัวของผมให้ผม เป็นนายกก่อตั้งสโมสรและบริหารสโมสรในปีการศึกษา ๒๕๖๐ ในปี
42 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
โดย พิมาย สรรพเพทยพิศาล นายกก่อตั้งสโมสรอินเตอร์แรคท์โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ที่ผ่านมา พวกผมได้จัดท�ำโครงการจิตอาสา ประชาสั มพั น ธ์ ง านถวายดอกไม้จันทน์ใน งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ และโครงการพี่ ท.ศ.ร. พาน้องเลือกสาย ซึ่งถือว่าประสบความส�ำเร็จ พอสมควรส� ำ หรั บ ปี แรกที่ ส โมสรได้ ก ่ อ ตั้ ง ต้องขอขอบคุณคุณครูและเพื่อนๆรุ่นน้อง ทุกคนที่ร่วมใจกันมาท�ำกิจกรรมนี้ สุดท้ายนี้ผมขอฝากข้อความถึงรุ่นน้องในสโมสรรุ่นต่อไปว่า “ขอให้น้อง ๆ ตั้งใจท�ำกิจกรรมในสโมสรนี้ พี่เชื่อว่าทุกคนจะได้ ประสบการณ์ ความรู้ ความสนุกสนาน มิตรภาพระหว่างเพื่อนรุ่นพี่ รุ่นน้องในโรงเรียนและต่างโรงเรียน กับการมาท�ำกิจกรรมในจุดนี้ สู้ๆนะครับ”
ภาษาญี่ปุ่น ท�ำให้ผมหล่อขึ้นครับ...คุณเห็นด้วยไหมครับ? โดย นายพันธกานต์ มีสันเทียะ
“ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น” นั่นเป็นเสียงของการ์ตูนญี่ปุ่นที่ใครหลาย ๆ คนรู้จักอย่าง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน แต่จะมีใครรู้ว่า การ์ตูนแนวสืบสวนสอบสวนเรื่องนี้ จะท�ำให้ชีวิตของเด็กผู้ชายคนหนึ่ง เปลี่ยนไปตลอดกาล
ผมมีความฝันอยากที่จะไปต่างประเทศตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วครับ ผมจึงเริ่มหัดเรียนภาษาอังกฤษก่อน ตอนนั้นมีความฝันอยากไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นเพราะเหตุการณ์หนึ่ง จึงท�ำให้ผมรู้จัก กับประเทศที่มีชื่อว่า “ญี่ปุ่น” แดนอาทิตย์อุทัย เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔ แผ่นดินไหวและสึนามิทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่น รูปถ่ายกับ Sugiyama Harry ครั้งนั้น ท�ำให้ผมรู้จักกับประเทศญี่ปุ่น ในภาพข่าวเราเห็นภาพความรุนแรงของสึนามิที่กระหน�่ำ พิธีกรและดาราลูกครึ่งญี่ปุ่น เข้ามา แต่ก็เห็นภาพที่คนญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาต่อแถวรอความช่วยเหลืออย่างอดทนและใจเย็น เป็นสิ่งที่ผมประทับใจมากและสนใจในประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น มีอยู่ช่วงหนึ่ง ในขณะที่ผมดูการ์ตูนอยู่นั้น ผมได้เผลอ กดปุ่มเปลี่ยนภาษาเสียงบนรีโมตทีวี จึงได้ฟังเสียงภาษาญี่ปุ่นใน ครั้งแรก ซึ่งตอนนั้นผมไม่รู้เลยว่าพูดอะไร แต่ด้วยความไพเราะของ ภาษา จึงได้เริ่มเรียนด้วยตนเอง เริ่มจากการขอพ่อ ซื้อหนังสือเรียน ภาษาญี่ปุ่น แล้วเรียนด้วยตัวเอง และตอนที่โรงเรียนของน้อง มีการคัดเลือกนักเรียนไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผมก็เรียนภาษาญี่ปุ่นและน�ำมาสอนน้อง จนน้องของผมสามารถ ได้ไปประเทศญี่ปุ่นตอนที่ขึ้นชั้น ป.๕ ผมคิดไวในใจว่า สักวัน ผมก็อยากจะไปแบบน้องบ้าง ช่วงที่ขึ้นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ก็ยังเรียนภาษาญี่ปุ่น มาเรื่อย ๆ จนขึ้นชั้น ม.๒ ได้เข้าชุมนุมภาษาญี่ปุ่น ซึ่งตอนนั้น ได้เจอกับครูผู้สอนภาษาญี่ปุ่น ครูอภิชญาน์ หอมสะอาด ซึ่งครู ได้ชวนผมเข้าแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ซึ่งครั้งนั้นได้พูดเรื่อง เพื่อนรักของฉัน ผมได้เขียนเรื่องด้วยตัวเอง และให้คุณครูตรวจ บางครั้ง จะมีนักเรียนญี่ปุ่นมาร่วมด้วย ถือว่าได้ประสบการณ์ ไวยากรณ์ประโยคภาษาญี่ปุ่น และได้ฝึกซ้อมพูด ถึงวันแข่งขัน ที่ดีมากเลยครับ ผมตื่นเต้นมากกลัวพูดไม่ได้ แต่ผมก็ผ่านมาได้ และผมได้รางวัล รางวัลที่ประทับใจที่สุดคือ การแข่งขันพูดสุนทรพจน์ ชนะเลิศมาด้วยครับ วันนั้นผมได้เจอครูวีดารัตน์เป็นครั้งแรก ภาษาญี่ปุ่นระดับประเทศ ซึ่งรางวัลชนะเลิศจะได้ไปทัศนศึกษา ซึ่งครูได้บอกผมว่า ถ้าตั้งใจมากขึ้น ก็จะสามารถไปประเทศ ของโครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดให้ ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผมได้ ญี่ปุ่นได้ ผมตั้งใจเรียนภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ตอนนั้น ทั้งแข่งตอบ ตั้งใจมาก และคุณครูได้ร่วมกันช่วยปรับโครงเรื่อง ซึ่งผมได้น�ำ ปัญหา เปิดพจนานุกรม ละครสั้นภาษาญี่ปุ่น ฝึกซ้อมทุกอย่าง เรื่องชีวิตจริงมาเขียน และใช้ภาษามือญี่ปุ่น เพื่อให้คนที่พิการ เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น ทางการได้ยินสามารถรับรู้สุนทรพจน์ได้ครับ เมื่อผลประกาศ ผมได้มีโอกาสพบปะกับชาวญี่ปุ่นมากมาย เช่น ชาวญี่ปุ่น ออกมาได้รางวัลชนะเลิศ ผมดีใจมาก ๆ เหมือนความรู้สึกว่า ที่เป็นโฮสแฟมิลี่ของเพื่อนน้องผม มาเที่ยวที่ไทย และครูของ ฝันของผมจะเป็นจริงแล้ว ดีใจมาก ๆ เลยครับ เพื่อนของน้องคนนั้นติดต่อมา ให้พาเขาไปเที่ยวในกรุงเทพ วันแรกที่ได้ขึ้นเครื่องบินไปญี่ปุ่น ตื่นเต้นมาก ๆ ได้ไป ตอนนั้นผมตื่นเต้นมาก วันนั้นผมกับเขานัดเจอกันที่ถนนข้าวสาร เดินย่านต่าง ๆ ในโตเกียว พบปะกับผู้คนมากมาย ซึ่งมีแต่ชาว ผมยังจ�ำวันนั้นได้ดี ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เขาก็ ญี่ปุ่น ได้ผจญภัยในเมืองโตเกียว แต่ก็ได้เที่ยวนิดหน่อย ได้ไป มาญี่ปุ่นอีกครั้ง และได้พาไปเที่ยวอีกครั้งด้วย แลกเปลี่ยนที่โรงเรียนที่จังหวัดโทคุชิมะ อยู่กับโฮสแฟมืลี่ เป็น และในการแข่งขันบางครั้ง หรือการเข้าค่ายท�ำกิจกรรม ความประทับใจที่ดีมากครับ วารสารเทพฯร่มเกล้า
43
และล่าสุดผมได้ไปเยือนที่จังหวัดโอกินาวะเป็นเวลา ๑ สัปดาห์ ได้ท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น สถานที่สวยงามตามธรรมชาติ เป็นความทรงจ�ำที่ไม่ลืมเลือนครับ
และทางโรงเรียนซึ่งได้ท�ำข้อตกลงกับโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น มานาบิ ผมจึงได้ไปญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อเรียนภาษาญี่ปุ่นตลอด ๑ เดือน ใน ๑ เดือนที่ไปมานั้น มีผู้ร่วมการเดินทางเป็นนักเรียน ๗ คน รวมผมเป็น ๘ คน ครูป่านและครูเปิ้ล ซึ่งสลับกัน ครึ่งเดือน ได้เห็นซากุระครั้งแรกในชีวิต ได้สัมผัสอากาสหนาว ได้อยู่กับโฮสแฟมิลี่ แต่ครั้งนี้เป็นการฉายเดี่ยว เพราะผมได้ถูก จับแยกมาอยู่คนเดียวกับโฮส โดยที่คนอื่นอยู่กัน ๒ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ได้คิดแผนเดินทาง นัดเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่เคยมาที่ไทย พาเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ และที่ส�ำคัญ ได้เจอดาราที่เคยฝันไว้ว่า อยากเจอสักครั้งในชีวิต ตอนที่จะกลับไทยผมไม่อยากกลับเลย คิดถึงบรรยากาศทุกอย่างเลยครับ
44 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ปัจจุบันนี้ผมสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นได้ระดับ N3 แล้ว ซึ่งกว่าจะผ่านต้องใช้ความพยายาม ตั้งใจเรียนอย่างมากเลยครับ ถ้าทุกคนพยายาม ความส�ำเร็จจะตามมาหาเราเอง ผมมีความฝันที่ยิ่งใหญ่มาก คือการที่ได้ไปเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นและจะท�ำงานที่นั่นเลย จะได้ดูแล คุณพ่อคุณแม่ มีเงินก้อนโตให้พ่อแม่ได้สุขสบายและมีความสุข ตลอดไป ผมซึ่งจะส�ำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน อยากจะฝากถึง รุ่นน้องทุกคนว่า การที่เราจะประสบความส�ำเร็จ เราต้องเจอ กับความล้มเหลวมาก่อน ผมเจอมามากมายเลยครับ ทั้งท้อแท้ หมดก�ำลังใจ โดนสบประมาท ดูมองเป็นคนประหลาดในสายตา ใครหลาย ๆ คน ผมท้อมาก แต่ก็ยังมุ่งมั่นต่อไปจนกว่าเราจะถึง เป้าหมายที่คาดหวังไว้ ขอขอบคุณคุรพ่อ คุณแม่ คุณครูทุกท่าน ครูจิตรอับษร ครูรัตนาภรณ์ คุณครูประจ�ำชั้นของผม โดยเฉพาะครูเปิ้ล วีดารัตน์ ครูป่าน อภิชญาน์ เซนเซชาวญี่ปุ่นทุกท่าน ที่สนับสนุนและ เป็นก�ำลังใจให้ผม ในยามที่ท้อแท้ และสนับสนุนผม จนสามารถ มายืนได้ถึงจุดนี้ครับ ขอบคุณน้อง ๆ ทุกคนที่เป็นก�ำลังใจให้พี่ คนนี้ ขอให้ทุกคนประสบความส�ำเร็จแบบที่พี่ได้เป็นนะครับ สวัสดีครับ
ลาแล้วถิ่นรำ�เพย ปีการศึกษา ๒๕๖๐ โดย ชุมนุมคนหลังไมค์
“ปีนี้โรงเรียนจัดพิธิมอบประกาศนียบัตรส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และปีที่ ๖ อย่างสง่างาม น่าภาคภูมิใจยิ่งนัก โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอ�ำนาจ เป็นผู้มอบประกาศนียบัตร ให้อย่างสมภาคภูมิ เมื่อเสร็จพิธีทุกคนก็กราบลาแม่ร�ำเพย แล้วเดินลอดธงเขียวเหลือง มองแล้วใจหาย... ก็คนเคยคุย เคยเห็นหน้ากัน เคยร้องเพลงชาติภายใต้ โดมเดียวกัน...เป็นเวลา ๓ ปีจะไม่ให้อาลัยหากันคงเป็นไปไม่ได้ ...ก็คิดถึง บวกกับความยินดีด้วยกับทุกคนนะคะ ทั้งน้อง ม.๓ และพี่ ม.๖ มีโอกาสแวะมาเยี่ยมเยือน น้องๆ โรงเรียน คุณครู และกราบแม่รำ� เพยบ้างนะคะ” ปพิชญา นัยเนตร ประธานชุมนุมคนหลังไมค์