Panyophas Gatepan
PALUANG
form the legend to apparel
“ปะหล่อง” จากตำ�นานสู่อาภรณ์ บ้านปางแดง อำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ปัญโญภาส เกตุปาน ปํญโญภาส เกตุปาน่
ผ้าถุงหรือผ้าซิ่นของชาวปะหล่อง
ชาวปะหล่องเป็นกลุ่มชนทีม่ ีต้นกำ�เนิดในโกสัมพี ในครั้งพุทธศักราช 1200 โดยมีจดุ ศูนย์กลางของอาณาจักรในขณะนั้นอยู่ ในบริเวณเมืองแสนหวี ซึง่ เป็นตำ�แหน่งทีต่ งั้ เดียวกับเมืองรัฐฉานประเทศพม่าในปัจจุบนั ครัน้ ในช่วงปีคริสต์ศกั ราช 1858 2484 ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที2่ ได้เกิดสงครามขึน้ ระหว่างประเทศญีป่ นุ่ และอังกฤษซึง่ ส่งผลกระทบมาถึงประเทศพม่าทัง้ การตกเป็นเมืองขึน้ ของประเทศทีเ่ ข้ามารุกราน และ ความขัดแย้งทีร่ นุ แรงในประเทศพม่าจึงทำ�ให้กลุม่ ชาติพนั ธุห์ ลายๆกลุม่ ในประเทศพม่าต้องอพยพถิ่นฐานหนีออกจากประเทศไปอยู่ในบริเวณเขตชายแดนประเทศใกล้เคียงรวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวปะหล่องที่มีการอพยพหนีเข้ามาในประเทศไทยประมานปี 2527 มีชาวปะหล่องอพยพเข้ามาตามชายแดนไทย พม่า บริเวณดอยอ่างขาง อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่บ้านนอแล ชาวประหล่องที่อพยพเข้ามานั้นมาจากดอยลายซึ่งอยู่ ระหว่างเมืองเชียงตุงกับเมืองปัน่ เขตเชียงตุง และ กระจายไปทัว่ เขตบริเวณภาคเหนือของปะเทศไทยในปัจจุบนั ถึงอย่างไร ชาวปะหล่องก็ยังมีประวัติความเชื่อ และวิธีชีวิตที่งดงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะประวัติศาสตร์ 2
การทอย่ามของชาวปะหล่อง
และรูปแบบเครื่องแต่งกายของชาวปะหล่องนั้นมีเอกลักษณ์ทั้งในด้านของรูปแบบเครื่องแต่งกายและความเป็นมาของ การสร้างรูปแบบเครื่องแต่งกาย ซึ่งมีแนวคิดทางความเชื่อ มาสร้างเป็นรูปแบบเครื่องแต่งกาย จากตำ�นานประวัติของ บรรพบุรุษที่กล่าวถึงนางฟ้าหรอยเงินที่เป็นหัวเรื่องหลักที่ทำ�ให้เกิดความเชื่อและหลักปฏิบัติมากมาย ทั้งในส่วนของการ แต่งกาย การดำ�รงชีวิต พิธีกรรมต่างๆ ของชาวปะหล่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความฉลาด หลักแหลมในการสร้างรูปแบบ เครื่องแต่งกายรวมไปถึง การตกแต่งเพิ่มเติมที่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ซึ่งในปัจจุบันยังมีการแต่งกายในรูปแบบนี้ หลงเหลืออยูบ่ า้ งแต่กไ็ ด้มกี ารเปลีย่ นแปลงทางรูปแบบและการสวมใส่ซงึ่ เกิดจากสภาพแวดล้อมและสังคมทีเ่ ปลีย่ นแปลง ไป จึงไม่ใช่เรือ่ งง่ายเลยทีเ่ ราจะพบเห็นการสวมใส่เครือ่ งแต่งกายในรูปแบบของชาวปะหล่องอย่างถูกต้องตามแบบดั้งเดิม กระนั้นยังโชคดีที่อย่างน้อยการแต่งกายในรูปแบบของชาวปะหล่องดั้งเดิมก็ยังมีหลงเหลืออยู่ ถึงแม้การสวมใส่จะไม่ครบ ชิน้ หรือว่าสมบูรณ์แบบตามแบบฉบับดัง้ เดิมแต่กย็ งั เหลือบางส่วนให้เราค้นหาไปจนถึงต้นกำ�เนิดของรูปแบบเครือ่ งแต่งกาย 3
ทั้งนี้รูปแบบเครื่องแต่งกายของชาวปะหล่องก็ยังคงแนวคิดและรูปแบบที่คล้ายคลึงจากอดีตถึงแม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยน ทางด้านวัสดุในการทำ�และรูปลักษณ์ไปบ้าง แต่ก็ยังคงแนวคิดและประวัติความเป็นมาของรูปแบบเครื่องแต่งกาย และ สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของชนเผ่าได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างมาก
ตำ � น า น ค ว า ม เ ชื่ อ ที่ ส่ ง ผ ล ต่ อ รู ป แ บ บ เ ค รื่ อ ง แ ต่ ง ก า ย ตามตำ�นานความเชื่อของชาวปะหล่องนั้นเชื่อว่า นางฟ้าหรอยเงินซึ่งเป็นน้องคนสุดท้องของกษัตริย์ที่อยู่บนสรวง สวรรค์ ได้ลงมาเล่นน้ำ�ในลำ�ธารและถูกจับด้วยบ่วงแร้วของนายพราน จึงไม่สามารถกลับสวรรค์ได้ ต้องตัดขาดจาก สวรรค์ลงมาใช้ชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์ จึงเป็นสาเหตุที่ชาวปะหล่องมีการตกแต่งและกำ�หนดรูปลักษณ์ของเครื่องแต่งกาย ให้สอดคล้องกับตำ�นานเช่น การตกแต่งเส้นขอบชายเสือ้ ด้านหน้าด้วยโลหะและลูกปัดบริเวณแถบผ้าสีแดง ซึง่ แตกต่างกัน
การตกแต่งตัวเสื้อด้วยหมุดเงิน 4
จากเผ่าอื่นๆเพราะเชื่อว่าเป็นเสมือนเส้นแบ่งระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ เสื้อกำ�มะหยี่ผ่าอกหน้า แขนกระบอก เอวลอย สีพื้นสดใสส่วนใหญ่มักเป็นสีน้ำ�เงิน สีดำ� สีเขียวใบไม้ ตกแต่งลายเสื้อด้านหน้าด้วยโลหะและลูกปัด บริเวณแถบผ้าสีแดง ตกแต่งลวดลายจุดทั่วบริเวณเสื้อที่เป็นผ้ากำ�มะหยี่ด้วยลูกปัด หรือโลหะ ซึ่งมีความเชื่อว่าบริเวณผ้ากำ�มะหยี่นั้นเปรียบ เสมือนท้องฟ้า และลวดลายทีป่ ระดับนั้นคือดวงดาวทีอ่ ยู่เต็มท้องฟ้านัน่ เอง บริเวณแขนทีเ่ ป็นแขนกระบอกจะประดับด้วย สร้อยลูกปัดเป็นพวกสาย เมือ่ กางแขนออกจะดูเหมือนปีกนางฟ้านัน่ เอง บริเวณแขนทีเ่ ป็นแขนกระบอกจะประดับด้วยสร้อย ลูกปัดเป็นพวกสาย เมื่อกางแขนออกจะดูเหมือนปีกนางฟ้านั่นเอง บริเวณชายเสื้อเอวลอยมีการปักด้ายเป็นลวดลายริ้วสี ต่างๆที่มีแนวคิดว่าเป็นเส้นขอบฟ้า ส่วนผ้าซิ่นที่ทอขึ้นมาเองนั้นจะเป็น สีแดงสลับลายริ้วขาวเล็กๆ หรือ อีกแบบหนึ่งคือ ลายริ้วสีดำ�สลับลายริ้วสีขาว เรียกกลุ่มที่ใส่ซิ่นดำ� ว่า “ปะหล่องดำ�” ลวดลายซิ่น ขวาง ลำ�ตัว ยาวคร่อมเท้า ซึ่งจะพบเห็น ได้ในประเทศไทยอย่างมากแค่เพียงสองแบบนี้ แต่ความเป็นจริงแล้วผ้าซิน่ หรือผ้าถุงของชาวปะหล่องนั้นมีความแตกต่าง
ภาพลายเส้นลายริ้วขอบฟ้า
ลวดลายริ้วขอบฟ้า 5
กันออกไปมากเนื่องจากตระกูลของชาวปะหล่องนั้นมีแยกออกไปได้อีก 12 กลุ่มย่อย นอกจากผ้าถุงสีดำ�และแดงที่เห็นใน ประเทศไทยแล้วยังมีผ้าถุงทีเ่ ป็นสีทองอีกด้วย ซึง่ ผ้าถุง หรือผ้าซิน่ ทีช่ าวปะหล่องสวมใส่นั้นจะบ่งบอกถึงชาติตระกูลแต่ละ ตระกูลของชาวปะหล่อง นอกจากนีก้ ม็ กี ารโพกศีรษะด้วยผ้าผืนยาวมีพวกลูกปัดประดับ นอกจากนีย้ งั มีโลหะประดับกลาง หน้าผากเรียกว่า “มงกุฎ” ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้ผ้าขนหนู ซึ่งซื้อจากตลาดพื้นราบ ลักษณะที่โดดเด่นของเครื่อง แต่งกายหญิงชาวปะหล่องนั้นก็คือ คือการสวมที่เอวด้วยวงหวายลงรักแกะลายหรือใช้เส้นหวายเล็กๆ ย้อมสีถักเป็นลาย บางคนก็ใช้โลหะสีเงินลักษณะเหมือนแผ่นสังกะสีมาตัดเป็นแถบยาวตอกลวดลายต่างๆ แล้วขดเป็นวงสวมใส่ปนกัน วง สวมเอวเหล่านีช้ าวประหล่องเรียกว่า”หน่องว่อง”โดยหน่องของแต่ละหน่องมีอยู่ 5 หน่องด้วยกันคือ หน่องรึอณ หน่องเรณ หน่องหว่อง หน่อ-งดอน หน่องไปย หน่องทั้งห้านี้จะสวมใส่รวมกันทั้งหมดเฉพาะกับหญิงชาวปะหล่องทีม่ ีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนหญิงสาวชาวปะหล่องจะสวมใส่เพียงแค่สองหน่องเท่านั้นคือ หน่องรึอณ และหน่องหว่อง การสวมหน่องหว่องนี้ชาว
ผ้าถุงหรือผ้าซิ่น
การโพกศีรษะ 6
หน่องรึอญ
ปะหล่องมีความเชือ่ ว่าหน่องเป็นตัวแทนของบ่วงแร้งของนายพรานทีจ่ บั นางฟ้าร้อยเงินได้จึงต้องคาดหน่องหว่องไว้ตลอด เวลา เพราะเชือ่ ว่าตนเองเป็นลูกหลานของนางฟ้าร้อยเงินเพือ่ ระลึกถึง ในกรณีทเี่ ป็นชุดเข้าพิธแี ต่งงงานหรือพิธกี รรมพิเศษ ก็จะมีการตกแต่งของพวกลูกปัดทีบ่ ริเวณแขน และการปักลูกปัดบริเวณผ้ากำ�มะหยีท่ เี่ ยอะขึน้ หรือมากกว่าปกติเป็นพิเศษ นอกจากนี้ก็จะสะพายย่ามที่เป็นแถบเส้นหลากหลายสี ประดับด้วยพวกลูกปัดห้อยกรุยกราย
การแต่งกายของผู้หญิงชาวปะหล่อง
เครื่องแต่งกายของผู้หญิง เป็นเครื่องแต่งกายที่สืบทอดกันมาแต่รุ่นบรรพบุรุษโดยมีการแต่งกายในแต่ละรุ่นก็จะ เกิดการดัดแปลงไปในแต่ละยุคสมัย ซึง่ ก็จะมีความแตกต่างจากเดิมไปบ้างในปัจจุบนั เพือ่ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม โดยลักษณะดัง่ เดิมของเครือ่ งแต่งกายหญิงชาวปะหล่องจะเป็นเสื้อผ่าหน้า แขนกระบอกเอวลอย สีพื้นสดใสส่วนใหญ่เป็น สีฟ้า สีน้ำ�เงิน สีเขียวใบไม้หรือสีดำ�สำ�หรับผู้ที่สูงวัย ตัวเสื้อจะไม่มีการตกแต่ง ซึ่งเป็นเสื้อที่ใช้สำ�หรับใส่ในชีวิตประจำ�วัน
ย่ามสะพาย
รายละเอียดชุด 7
การปักด้ายบริเวณชายเสื้อด้านหลัง
การปักด้ายเป็นเส้นริ้วขอบฟ้า
ซึ่งในปัจจุบันจะมีการใช้ผ้ากำ�มะหยี่ลายสีสันสดใสในการทำ�เสื้อ ส่วนเสื้อที่ใช้ออกงานจะเป็นเสื้อที่มีการตกแต่งที่บริเวณ สาบเสื้อประดับประดาด้วยเครื่องเงิน เบี้ย เมล็ดพันธ์พืชต่างๆเป็นโลหะ เป็นด้าย หรือเชือกถัก บางครั้งก็จะเป็นผ้าถักทอ ร้อยเรียงติดกับเสือ้ และมีพไู่ หมพรมห้อยรอบต้นแขนเสือ้ ทัง้ สองข้าง สำ�หรับผูส้ งู อายุชาวดาระอัง้ นัน้ จะใส่เสือ้ พืน้ สีด�ำ สาบ เสือ้ ทัง้ สองข้างเป็นสีแดง โพกหัวสีด�ำ และจะมียา่ มทีต่ อ้ งใส่กบั ชุดเวลาออกงาน สวมผ้าซิน่ ทีท่ อขึน้ เองเป็นซิน่ สีแดงทีม่ ลี าย ริ้วขาวเล็กๆขวางลำ�ตัว จะสวมจากหน้าอกยาวลงมาถึงข้อเท้า โพกผ้าผืนยาวที่เป็นผ้าทอสีดำ�ประดับลวดลาย ซึ่งในอดีต ชาวดาระอั้งนั้นจะไม่สวมเสื้อหรือกางเกงข้างในผ้าซิ่น ส่วนผ้าโพกหัวนั้นในปัจจุบันก็จะใช้ผ้าขนหนูที่หาได้จากตามตลาด และใส่เสื้อยืดและกางเกงข้างในอีกชั้นหนึ่ง ส่วนผ้าซิ่นก็จะมีซิ่นสำ�เร็จรูปที่เป็นสีพื้น เช่น สีชมพูและสีแดง 8
การตกแต่งบริเวณเเขนเสื้อ
เมื่อการแขนจะคล้ายปีกนก 9
รายละเอียดของชุด
ส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายหญิงชาวปะหล่อง 1. 2. 3. 4. เซน) 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14.
ผ้าถุง (ฆลาง) ผ้าคาดเอวสีขาว เข็มขัดเงิน (แซ) ผ้าโพกหัวผ้าลูกไม้ คือสีผ้า สีเหลือง สีชมพู (กาไม ที่คาดหัวเงิน (ซึก) หวีไม้ (อึณ ฌา) สร้อยห้วยหน้าผาก (ฮา ลา กลิน) สร้อยเงินประดับศีรษะสามเส้น (มา กา ไว) ตุ้มหู (เบล โยว) เสื้อ (ซา โตว) สร้อยคอเงินแบบยาว (กันโคว) กำ�ไล(กันแด) ที่สวมเอว (หน่องรึอณ,หน่องหว่อง) ถุงย่าม (ฮูดูยหยาง)
16
การแต่งกายของหญิงชาวปะหล่อง 10
การแต่งกายของผู้ชายชาวปะหล่อง ในอดีตชาวปะหล่องชายจะใส่เสื้อคอกลม แขนยาว ผ่าหน้า ติด กระดุมจีน นุ่งกางเกงแบบไทยใหญ่ มีผ้าเคี่ยนศีรษะแบบเดียวกับผู้หญิง ตัวเสื้อนั้นถ้าหากเป็นผู้ชายที่มีฐานะดีตัวเสื้อจะผ่าไขว่และติดกระดุมที่ ทำ�มาจากเงินแท้สามแถว ถ้าฐานะไม่ดีนักก็จะติดกระดุมเงินแถวเดียว และตัวสื้อผ่าหน้า ในปัจจุบันลักษณะการแต่งกายเปลี่ยนแปลงไปจนไม่ สามารถหาลักษณะทีบ่ ง่ บอกเอกลักษณ์ได้ ทัง้ เด็ก หนุม่ และชายชรา ล้วน แต่งกายแบบคนพืน้ ราบภาคเหนือ ใส่เตีย่ วสะดอ ใส่เสือ้ เชิต้ แขนยาว และ มักจะเป็นเสื้อที่มีสีสันสดใส จะใส่ทับเสื้อคอกลมข้างใน ยกตัวอย่างเช่น สวมกางเกงสะดอที่ทอด้วยผ้าฝ้ายสีน้ำ�-เงิน กับชุดที่ใช้สำ�หรับประกอบ พิธีแต่งงานหรือพิธีสำ�คัญคือจะใส่เสื้อเชิ้ตซ้อนกันหลายๆตัวหลากสีใส่ เสือ้ คอกลมไว้ขา้ งในให้เข้ากับชุดของเจ้าสาว และนุง่ กางเกงสะดอ คร่อม ตาตุ่ม สะพายย่ามที่ทอลวดลายเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวปะหล่อง ประดับพวงลูกปัดเต็มย่าม ในปัจจุบันชายชาวปะหล่องแต่งตัวเหมือน คนพืน้ ราบจะมีกเ็ พียงการสูบยาของผูเ้ ฒ่าบางคนด้วยกล้องยาสูบ ขนาด ประมาณ ๑ ฟุต ทำ�จากไม้แกะสลักเป็นสัญลักษณ์ทบี่ ง่ บอกถึงความเป็น ปะหล่องที่แตกต่างจากชนเผ่าอื่นๆ ในประเทศไทย
11
เครื่องแต่งกายของชายชาวปะหล่อง
เครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวปะหล่อง
หน่อง หน่องเป็นห่วงเงินทีช่ าวปะหล่องสวมคาดเอวตลอดเวลา มีประวัตแิ ละความเชือ่ ตามตำ�นานของเผ่าดาราอัง้ ว่าเป็น เสมือน ห่วงแร้วของนายพรานทีจ่ บั นางฟ้าร้อยเงินทีเ่ ป็นกินรีลงมาเล่นน้�ำ หนึง่ ในหกของนางฟ้า นางร้อยเงินเป็นน้องคนสุดท้องทีโ่ ดน จับไม่สามารถหนีขึ้นสวรรค์ได้จึงต้องใช้ชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์ ตามความเชื่อของชาวปะหล่องเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเป็น นางฟ้าร้อยเงินจึงสวมห่วง หน่องรึอณไว้ตลอดเวลาเว้นก็เพียงเวลาที่อาบน้ำ�เพื่อเป็นการเตือนสติและระลึกถึงบรรพบุรุษ เด็กหญิงที่โตมาเมื่อสามารถเดินได้แล้วพ่อกับแม่ก็จะเอาหน่องรึอณมาสวมให้ตั่งแต่ยังเล็ก หน่องมีลักษณะที่แตกต่างกัน ไปทั้งรูปแบบและชื่อเรียกโดยมีอยู่หลักๆที่เห็นกันมากมีอยู่ 3 แบบได้แก่ หน่องรึอณ (ปี ปาย ดีโบง ห่องรึอณ) หน่องรึอณมีลกั ษณะเป็นห่วงเงิน จัดอยูใ่ นประเภทหว่องตาม คำ�เรียกของชาวปะหล่อง ลักษณะทีโ่ ดดเด่นหรือเฉพาะของ หน่องรึอณนั้นก็คือจะมีลักษณะเป็นห่วงเงินที่มีลวดลายอยู่ เพียง 2 แบบเท่านั้นคือ ลายดอก และลายเถาวัลย์ การสวมหน่องรึอณนี้จะสวมอยู่บนหน่องหว่องการ สวมหน่องรึอณหรือหน่องต่างๆนีส้ ามารถบ่งบอกถึงสถานะ ภาพได้เนือ่ งจากหญิงสาวทีย่ งั ไม่แต่งงานจะสวมหน่องรึอณ 12
หน่องรึอณ
และหน่องต่างๆทั้งหมดจากทางหัวลงมาสู่เอว แต่หญิงที่แต่งงงานแล้วจะสวมหน่องจากทางเท้าขึ้นมาสู่เอวอีกอย่างคือ แต่ละคนไม่ควรใส่หน่องร่วมกันเพราะสรีระของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หน่องหว่อง หน่องหว่องมีลักษณะเป็นห่วงหวายเส้นเล็กสีดำ� ลักษณะที่โดดเด่นของหน่องหว่องก็คือเป็นวงไม้ที่มีการทาด้วยรักสีดำ� อาจจะทำ�ลวดลายเล็กน้อยด้วยการพันเชือกที่หน่องหว่องก่อนจะทารักลงไป โดยต้องใช้ความระมัดระวังในการทำ�เพราะ ยางรักเมื่อสัมผัสกับผิวหนังอาจทำ�ให้เกิดอาการแพ้ หน่องหว่องจะสวมอยูด่ า้ นล่างสุดของหน่องทัง้ หมด ถ้านับจากด้านบนช่วงเอวลงล่าง หน่องนีม้ กั จะทำ�จากหวายเพราะหวาย มีความทนทานและอายุการใช้งานนานกว่าไม้ชนิดอืน่ นอกจากนี้ยงั สังเกตได้ว่าหน่องหว่องจะมีอยู่สีเดียวเท่านั้นคือสีด�ำ ที่ ทาด้วยยางรัก ซึง่ ถ้าหากเป็นสีอนื่ จะถือว่าไม่ใช่ชาวปะหล่อง ในปัจจุบนั จะมีการทาสีหว่องด้วยสีเคมีแทนการทาด้วยยางรัก
ด้านข้างของหน่องหว่อง
หน่องหว่อง 13
หน่องเรณ
ลายละเอียดด้านข้างของหน่องเรณ
หน่องเรณ หน่องเรญมีลักษณะเป็นห่วงสีแดงทำ�ด้วยหวาย มีการประดับลวดลายเป็นเส้นๆด้วยวิธีการพันรอบๆห่วงในขั้นตอนการ ย้อมหวาย ความแตกต่างของหน่องเรณที่ไม่เหมือนหน่องอื่นๆนั่นก็คือระยะเวลาในการทำ�ของหน่องเรณจะใช้ระยะเวลา นานกว่า 1 ปี เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการแช่หวายให้แดงซึ่งหวายจะแดงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาโดยจะแช่หวายไว้ กับใบห่�ำ ลีกให้นานกว่า 8 เดือนถ้าหากแช่น้อยกว่านั้นหวายอาจจจะไม่แดง โดยต้องใช้หวายแก่เท่านั้นในการแช่เพือ่ จะให้ หวายแดง โดยระหว่างทีต่ ม้ หวายนัน้ มีความเชือ่ ว่าห้ามมีคนมาทักหรือถามว่าหวายจะแดงไหม เพราะเชือ่ ว่าหวายจะไม่แดง หน่องเรณนั้นจะสวมอยู่ตรงกลางของหน่องต่างๆ หน่องเรณที่ทำ�ออกมาต้องเป็นสีแดงเท่านั้นถ้าหากว่าเป็นสีอื่นจะไม่ ถือว่าเป็นหน่องเรณและจะไม่ถือว่าเป็นชนเผ่าปะหล่อง 14
กำ�ไลเงิน (กันแด) ในสมัยก่อนหญิงสาวชาวปะหล่องสวมใส่กำ�ไลก็เพราะเป็นเครื่องป้องกัน ทางการต่อสู้ เนื่องจากกำ�ไลที่ชาวปะหล่องสวมใส่นั้นมีน้ำ�หนักมาก จึง สามารถใช้เป็นอาวุธทำ�ให้บาดเจ็บได้อกี ด้วย นอกจากนีห้ ญิงสาวชาวปะหล่อง ยังนิยมสวมใส่ก�ำ ไลมากๆ ขนาดทีว่ า่ สวมไปจนถึงข้อศอก แต่ในปัจจุบนั ก็เหลือ เพียงข้างละ 1-2 วงโดยลักษณะและวัสดุที่ใช้ทำ�กำ�ไลนั้นก็จะเป็นโลหะ เงิน ซึ่งกำ�ไลนี้ชาวปะหล่องจะถือว่าเป็นเครื่องประดับที่ขาดไม่ได้เลยเพราะมีการ สืบทอดกันมาเมือ่ สมัยอดีตจนถึงปัจจุบนั โดยลักษณะลวดลายของกำ�ไลของ ชาวปะหล่องนี้จะมีเพียงสองลวดลายเท่านั้นคือ ลายดอกและลายเส้นเท่านั้น
เสื้อกำ�มะหยี่เอวลอย
กำ�ไลเงิน (กันแด)
เสื้อกำ�มะหยี่เอวลอย เสื้อเอวลอยที่ชาวปะหล่องใช้สวมใส่นั้นเป็นเสื้อที่มีการประดับตกแต่งที่ โดดเด่นและมีความหมายในลายระเอียดมากทั้งแถบสีแดงบริเวณขอบ คอเสื้อยาวจนถึงด้านหน้าที่มีความหมายว่าเป็นสะพานสู่สรวงสวรรค์ การปักด้ายที่ขอบชายเสื้อที่เป็นลวดลายเฉพาะสื่อถึงเส้นขอบฟ้า การ ประดับพวกลูกปัดไหมพรหมที่บริเวณรอบกระบอกแขนที่เมื่อเวลา กางแขนจะมีลักษณะเหมือนปีกนกที่ชาวปะหล่องบอกว่าคือปีกนางฟ้า และ ลักษณะที่เด่นชัดอีกอย่างในรายละเอียดเสื้อคือผ้าที่ใช้มักเป็นผ้า กำ�มะหยี่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีม่วง น้ำ�เงิน เขียว ซึ่งจะมีการปักกระดุม เงินเต็มเสื้อซึ่งหมายถึงดาวที่ระยิบระยับเต็มท้องฟ้านั่นเอง 15
อิทธิพลทีม่ ผี ลต่อรูปแบบเครือ่ งแต่งกายในอดีตของกลุม่ ชาติพนั ธุช์ าวปะหล่องนัน้ มีรากฐานมาจากเครือ่ งแต่งกาย ของชาวพม่าโดยจะเห็นได้จากหลักฐานที่ชาวปะหล่องมีต้นกำ�เนิดเดิมมาจากประเทศพม่าและความคล้ายคลึงกันของรูป แบบโครงสร้างของเครื่องแต่งกาย เช่น วัฒนธรรมการโพกผ้า สะพายย่าม การสวมใส่เสื้อผ่าหน้าเป็นต้น ทำ�ให้เห็นได้ว่า อิทธิพลของการสร้างเครื่องแต่งกายชาวปะหล่องนั้นมีพื้นฐานเดิมแบบเดียวกับเครื่องแต่งกายของชาวพม่านอกจากนี้ยัง มีอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทีเ่ กิดการเปลีย่ นแปลงหรือการสร้างวัฒนธรรมในการสวมใส่เครือ่ งแต่งกายโดยเป็นอีกหนึง่ ปัจจัยในอดีตที่เกิดการสร้างรูปแบบของเครื่องแต่งกาย
วัฒนธรรมการสวมเสื้อผ่าอก
วัฒธรรมการสะพายย่าม 16
วัฒนธรรมการโพกศีรษะ
การปักด้ายเป็นเส้นริ้วขอบฟ้า
แนวคิดในการสร้างรูปแบบเครื่องแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวปะหล่องยังมีตำ�นานความเชื่อที่ส่งผลต่อรูปแบบเครื่อง แต่งกายของชาวปะหล่องอย่างมาก ซึง่ เป็นวิธีการสร้างรูปแบบเครือ่ งแต่งกายให้สอดคล้องกับความเชือ่ และประวัติความ เป็นมาของชาวปะหล่องซึ่งมีนัยยะไปในเชิงสัญลักษณ์ซึ่งสามารถสร้างเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ รสนิยม ความคิด และเป็นการสร้างความแตกต่างให้สามารถบอกถึงลักษณะกลุ่มชาติพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบนั ชาวปะหล่องมีวถิ ชี วี ติ ทีด่ �ำ เนินไปอย่างเรียบง่ายบนพืน้ ฐานของกฎระเบียบทีม่ อี ยูใ่ นหมูบ่ า้ นซึง่ การใช้ชวี ติ อยูร่ ว่ ม แปะปนกับคนพืน้ ราบและสภาพแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปในอดีตก็สง่ ผลต่อการใช้สอย และการสวมใส่เครือ่ งแต่งกาย โดย ในปัจจุบันชาวการสวมใส่เสื้อผ้าและรูปแบบเครื่องแต่งกายซึ่งก็เกิดจากการใช้ชีวิตในชีวิตประจำ�วัน การเข้ามาของวัฒน ธรรมอื่นๆ สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ถึงอย่างไรการปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงของ รูปแบบเครื่องแต่งกายของชาวปะหล่องก็ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้างไม่มากก็น้อย 17
“ปะหล่อง” จากตำ�นานสู่อาภรณ์ ปัญโญภาส เกตุปาน 530310126 ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย ปัญโญภาส เกตุปาน
18