ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิด (1)

Page 1

ปลูกพืชอินทรียไมดีอยางที่คิด

ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ ดีกวาไหม (ปรับปรุงครัง้ ที่ ๑)

ปุย ชีวภาพ

¾×ª»ÅÍ´ÀÑ ¨Ò¡ÊÒþÔÉ

ปุย อินทรีย

ปุยN-P-K เคมี

ศาสตราจารยเกียรติคุณ ดร. อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร บางเขน

จัดทำโดย ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร บางเขน


ปลูกพืชอินทรียไมดีอยางที่คิด

ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ ดีกวาไหม ปุย อินทรีย

ปุย ชีวภาพ

ปุยN-P-K เคมี


คำ�นำ� (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๑) หนังสือรุ่นนี้ต่างจากรุ่นแรก (ปี ๒๕๕๗) เพียงมีการเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับ ผลของปุ๋ยประเภทต่างๆต่อคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของผลผลิตพืชและ ปรับปรุงบางถ้อยคำ�เท่านั้น อำ�นาจ สุวรรณฤทธิ์ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

คำ�นำ� (ฉบับพิมพ์ครั้งแรก)

ปัจจุบนั ได้เกิดกระแสความคิดและหรือความเชือ่ อย่างกว้างขวาง ในระดับโลก รวมทั้งในประเทศไทย ว่าการผลิตพืชอินทรีย์เป็นการผลิตที่ดีที่สุด ทั้งในแง่ ต้นทุนการผลิตพืชต่ำ� มีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดมลพิษหรือมีความเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูง ไม่มีสารพิษในผลผลิต ทำ�ให้โรคและแมลงทำ�ลาย พืชน้อย และคุณภาพด้านโภชนาการและด้านประสาทสัมผัสของผลผลิตสูง การผลิตพืชอินทรีย์ในที่นี้หมายถึงการผลิตพืชที่ไม่ใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็น สารเคมีเลย เช่น ไม่ใช้สารเคมีปอ้ งกันกำ�จัดโรคและแมลง ไม่ใช้สารกำ�จัด วัชพืช รวมทัง้ ไม่ใช้ปยุ๋ เคมี การห้ามใช้ปยุ๋ เคมี ซึง่ ไม่ใช่สารพิษแต่เป็นสารที่ ให้ธาตุอาหารพืช เป็นสิง่ ทีผ่ เู้ ขียนเห็นว่าขัดกับหลักความเป็นจริงและหลัก วิชาการ โดยความจริงปุย๋ เคมีมคี ณ ุ สมบัตหิ ลายอย่างทีท่ �ำ ได้ดกี ว่าและมีความ ได้เปรียบปุย๋ อินทรียแ์ ละปุย๋ ชีวภาพในเรือ่ งที่กล่าวข้างต้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนได้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับกระแส ความคิดหรือความเชื่อดังกล่าว ซึ่งผลงานวิจัยที่ทำ�อย่างถูกต้องให้ขอ้ สรุปว่า


กระแสความคิดและหรือความเชื่อเรื่องข้อดีของการผลิตพืชอินทรีย์ดังกล่าว ข้างต้นนั้นไม่ถูกต้อง การปล่อยให้เกิดกระแสความเข้าใจผิดของสังคมไทย ที่กล่าวข้างต้นต่อไปโดยไม่มีการทักท้วง ผู้เขียนเป็นห่วงว่าจะทำ�ให้การ เกษตรของประเทศหลงทาง ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร และทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ก็คอื นอกจากจะทำ�ให้เกษตรกรถูกใช้เป็น “หนูทดลอง” ซึง่ ทำ�ให้เสียโอกาส แทนทีจ่ ะมีก�ำ ไรจากการผลิตแต่ตอ้ งขาดทุน แทนทีจ่ ะได้ก�ำ ไรมากก็ได้ก�ำ ไร น้อยแล้วยังทำ�ให้เสียโอกาสในการลดมลพิษและการปรับปรุงคุณภาพด้าน โภชนาการของผลผลิตพืชอีกด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวผูเ้ ขียนจึงได้เรียบเรียง หนังสือนี้ขึ้น เพื่อเสนอข้อมูลผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้ผู้สนใจได้ศกึ ษา แต่เพือ่ ให้ผอู้ า่ นไม่ตอ้ งใช้เวลาในการอ่านหนังสือนีม้ ากจนเกินไป จึงได้เสนอข้อมูล ในแบบกระชับมากที่สุด พร้อมกับให้ข้อมูลที่บอกที่มาของผลงานวิจยั ทีน่ �ำ มา เสนอเพื่อให้ผู้อ่านติดตามรายละเอียดได้ด้วยตนเองในประเด็นที่ต้องการราย ละเอียดเพิม่ เติมได้ ผูเ้ ขียนขอขอบคุณภาควิชาปฐพีวทิ ยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่กรุณาจัดทำ�หนังสือนี้ และขอบพระคุณศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สรสิทธิ์ วัชโรทยาน ดร. สุจนิ ต์ จันทรสอาด และคุณธเนศ ปิงสุทธิวงศ์ ทีแ่ นะนำ�การปรับปรุงต้นฉบับของหนังสือนี้ ผูเ้ ขียนหวังเป็นอย่างยิง่ ว่าหนังสือนี้ จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อดีและด้อยของการปลูกพืชอินทรีย์ การปลูกพืชปลอดสารพิษ และการปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ แก่ประชากร ของประเทศทุกอาชีพและทุกระดับชัน้ และประชากรทุกอาชีพและทุกระดับชัน้ จะช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชด้วยวิธที ถี่ กู ต้องเหมาะสม ซึง่ จะส่งผลให้ การเกษตรของประเทศพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมในที่สุด

อำ�นาจ สุวรรณฤทธิ์ ตุลาคม ๒๕๕๗


สารบัญ เรื่อง บทคัดย่อ ๑. ความนำ� ๒. ปริมาณผลผลิตพืชที่ได้เมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีเท่ากัน ๓. ราคาต้นทุนผลผลิตพืชจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ๔. ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเข้าทำ�ลายพืช โดยโรคและแมลง ๕. ผลของปุ๋ยประเภทต่างๆ ต่อคุณภาพด้านโภชนาการของพืช ๖. ผลของปุ๋ยประเภทต่างๆ ต่อคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของพืช ๗. ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อความโปร่งและความแข็งของดิน ๘. การเกิดมลพิษจากการใช้ปุ๋ยประเภทต่างๆ ๙. การปลูกพืชที่ดีกว่าการปลูกพืชอินทรีย์ และปัญหาด้านการ คุ้มครองผู้บริโภคที่เกิดจากพืชอินทรีย์

หน้า ๔ ๖ ๖ ๘

๑๒ ๑๗ ๒๑ ๒๔ ๒๖ ๓๐


บทคัดย่อ หนังสือนี้เสนอผลการวิจัยเปรียบเทียบผลในด้านต่างๆ ของปุ๋ยทั้งสาม ประเภท คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ เมื่อใช้ประเภทเดียว ใช้ สองประเภทร่วมกัน และใช้สามประเภทร่วมกันในการผลิตพืช เพื่อหาข้อ สรุปเกี่ยวกับกระแสความเชื่อหรือความคิดที่ว่า การผลิตพืชอินทรีย์เป็น การผลิตที่ดีที่สุด ทั้งในแง่ต้นทุนการผลิตพืชต่ำ� มีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิด มลพิษหรือมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูง ไม่มีสารพิษในผลผลิต ทำ�ให้ โรคและแมลงทำ�ลายพืชน้อย และคุณภาพด้านโภชนาการของผลผลิตสูง ผลการวิ จั ย ให้ ข้ อ สรุ ป ว่ า กระแสความเชื่ อ และหรื อ ความคิ ด ดั ง กล่ า ว ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ผลการวิจัยให้ข้อสรุปว่า การปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยทั้งสาม ประเภทให้เหมาะสมกับดินและพืชทำ�ให้ต้นทุนผลผลิตต่ำ�กว่า มีความเสี่ยง ต่ อ การเกิ ด มลพิ ษ น้ อ ยกว่ า หรื อ มี ค วามเป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มสู ง กว่ า ทำ�ให้โรคและแมลงทำ�ลายพืชน้อยกว่า และคุณภาพด้านโภชนาการและด้าน ประสาทสัมผัสของผลผลิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ป๋ยุ เคมี ในการปลูกพืชอินทรีย์ แต่พืชอินทรีย์มีข้อดีในเรื่องการปลอดสารพิษตกค้าง จากสารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืช ดังนั้น ในพื้นที่ที่สามารถผลิตพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัด ศัตรูพืช จึงควรผลิตพืชโดยไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืชแต่มีการใช้ ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพอย่างเหมาะสม ซึ่งน่าจะเรียกว่า “การผลิตพืชปลอดสารพิษ” อย่างไรก็ตาม การผลิตพืชในพื้นที่ส่วนใหญ่ ของประเทศไทยยังจำ�เป็นต้องใช้สารเคมีปอ้ งกันกำ�จัดศัตรูพชื จึงควรทำ�การ ผลิตโดยใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืชตามหลักวิชาการและใช้ปุ๋ยทั้ง สามประเภทร่วมกันอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP: Good Agricultural Practices) ที่องค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ (FAO) ให้การสนับสนุน การผลิตพืชแบบนี้น่าจะเรียกว่า


“การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ” การผลิตพืชแบบหลังนี้จะต้องใช้สาร เคมี ป้ อ งกั น กำ � จั ด ศั ต รู พื ช โดยมี ก ารปฏิ บั ติ ที่ ทำ � ให้ ผ ลผลิ ต พื ช มี ส ารเคมี ป้องกันกำ�จัดศัตรูพชื ตกค้างอยูไ่ ม่เกินระดับทีป่ ลอดภัยสำ�หรับผูบ้ ริโภค อนึง่ ในการผลิ ต พื ช ปลอดสารพิ ษ และการผลิ ต พื ช ปลอดภั ย จากสารพิ ษ เกษตรกรสามารถผสมผสานการใช้ ปุ๋ ย ทั้ ง สามประเภทให้ ช่ ว ยลดการ ทำ�ลายพืชโดยโรคและแมลงได้ ซึ่งทำ�ให้มีความจำ�เป็นที่จะต้องทำ�การกำ�จัด โรคและแมลงน้อยลงอีกด้วย การผลิตพืชอินทรีย์ไม่เพียงแต่จะด้อยกว่าการผลิตพืชปลอดสารพิษ สำ�หรับพื้นที่ที่ไม่จำ�เป็นที่จะต้องใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืชและการ ผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษสำ�หรับพี้นที่ที่จำ�เป็นต้องใช้สารเคมีป้องกัน กำ�จัดศัตรูพืช แต่ยังเปิดโอกาสให้มีการหลอกลวงผู้ที่ต้องการบริโภคพืช อินทรีย์เพราะไม่มีวิธีที่จะใช้ตรวจพิสูจน์ว่าผลผลิตนั้นได้จากการผลิตที่ไม่ ใช้ปุ๋ยเคมีจริงหรือไม่ แต่ในกรณีพืชปลอดสารพิษและพืชปลอดภัยจากสาร พิษสามารถตรวจพิสูจน์ได้ด้วยการตรวจปริมาณสารพิษในพืชเหล่านั้น ดัง นั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการผลิตพืชอินทรีย์มีข้อเสียทั้งในด้านวิชาการและใน ด้านสังคม และแนวคิดการผลิตพืชอินทรีย์ไม่เพียงแต่จะทำ�ให้การเกษตร ของประเทศหลงทาง แต่ยังเปิดช่องทางให้ผู้บริโภคถูกหลอกโดยกฎหมาย ไม่สามารถคุ้มครองได้อีกด้วย


๑. ความนำ� ปัจจุบนั ได้เกิดกระแสความคิดและหรือความเชือ่ อย่างกว้างขวางในระดับ โลกรวมทัง้ ในประเทศไทย ว่าการผลิตพืชอินทรียเ์ ป็นการผลิตทีด่ ที ส่ี ดุ ทัง้ ใน ด้านต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตพืชทีล่ ดลง การลดการระบาดของโรคและแมลง ทำ�ลายพืช ความเสีย่ งต่อการเกิดมลพิษน้อยหรือความเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม สูง การปลอดสารพิษจากสารเคมีปอ้ งกันกำ�จัดศัตรูพชื ของผลผลิต และคุณภาพ ด้านโภชนาการของผลผลิตสูง การผลิตพืชอินทรียใ์ นทีน่ ห้ี มายถึง การผลิตพืช ทีไ่ ม่ใช้ปจั จัยการผลิตทีเ่ ป็นสารเคมีเลย ซึง่ รวมทัง้ ไม่ใช้สารเคมีปอ้ งกันกำ�จัด ศัตรูพชื และไม่ใช้ปยุ๋ เคมี การห้ามใช้ปยุ๋ เคมีเป็นสิง่ ทีข่ ดั กับหลักวิชาการ เพราะ โดยความจริงปุ๋ยเคมีมีสมบัติหลายอย่างที่สนับสนุนให้มีความได้เปรียบปุ๋ย อินทรียแ์ ละปุย๋ ชีวภาพในด้านต่างๆ ทีก่ ล่าวข้างต้น และมีผลการวิจยั ทีใ่ ห้ขอ้ สรุปได้ชดั เจนจำ�นวนมาก ข้อสรุปในด้านต่างๆ และตัวอย่างผลงานวิจยั ทีใ่ ห้ ข้อสรุปเหล่านัน้ สามารถอธิบายโดยสังเขปได้ดงั นี้ ใชพวกเราทั้ง ๓ ใหเหมาะสมกับดินและพืช จะทำใหพืชดีที่สุดและเกิดมลพิษนอยที่สุด

ปุย อินทรีย

ปุย ชีวภาพ

ปุยN-P-K เคมี

๒. ปริมาณผลผลิตพืชที่ได้เมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีเท่ากัน เมือ่ ใช้ในปริมาณเท่ากัน ในทีด่ นิ แปลงเดียวกัน ปุย๋ อินทรียใ์ ห้ผลผลิตพืช ได้น้อยกว่าปุ๋ยเคมีมาก กล่าวคือ หากจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตเท่ากับ ปุ๋ยเคมีจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นจำ�นวน ๘-๗๐ เท่าของปุ๋ยเคมี ขึ้นอยู่กับ


ชนิดปุ๋ยอินทรีย์ ดังรายละเอียดในตารางที่ ๒.๑ ตารางที่ ๒.๑ ปริมาณปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ให้ผลผลิตพืชได้เท่ากับปุ๋ย เคมี ๑ กิโลกรัม เมื่อปลูกพืชในที่ดินแปลงเดียวกัน ปริมาณ (กิโลกรัม) ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ที่ให้ผลผลิตพืชเท่ากับปุ๋ยเคมีหนึ่งกิโลกรัม ๐๘ ๑๒ ๑๔ ๑๘ ๒๐ ๔๔ - ๗๐

ชนิดปุ๋ย มูลค้างคาว มูลไก่ มูลเป็ด มูลสุกร มูลโค ปุ๋ยหมัก

ที่มา อำ�นาจ สุวรรณฤทธิ์. ๒๕๕๓. ปุ๋ยกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม พิมพ์ครั้งที่ ๓ สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๑๕๖ หน้า หมายเหตุ ข้อมูลบ่งชี้ว่า มูลค้างคาว มูลไก่ มูลเป็ด มูลสุกร มูลโค และ ปุ๋ยหมักจะต้องมีราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีอย่างน้อย ๘, ๑๒, ๑๔, ๑๘, ๒๐ และ ๔๔ เท่าจึงจะให้ผลตอบแทนจากการใส่ปุ๋ยเท่ากับปุ๋ยเคมี (คำ�นวณโดยไม่รวมค่าขนและค่าแรงใส่ปุ๋ย) ตองใสปุยอินทรียในปริมาณ ๘-๔๔ เทาของปริมาณปุยเคมี พืชจึงจะใหผลผลิตเทากับปุยเคมี ปุย อินทรีย

ปุย อินทรีย

ปุย อินทรีย

ปุย อินทรีย

ปุย ปุย ย อินททรีย อินทรีย ออินปุทร ย ี  ปุย ปุย อินทรีย อินทรีย

P11

พวกนายก็เหนื่อยหนอยนะ ปุยN-P-K เคมี


๓. ราคาต้นทุนผลผลิตพืชจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และ ปุ๋ยเคมี ดังได้กล่าวแล้วในข้อ ๒ หากต้องการให้ได้ผลผลิตพืชที่ปลูกในดินเดียว กันเท่ากัน จะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากกว่าปุ๋ยเคมีหลายเท่า เช่น หากปลูก พืชชนิดเดียวกันในดินเดียวกัน ต้องใช้มูลไก่ ๑,๒๐๐ กิโลกรัมจึงจะเพิ่ม ผลผลิตพืชได้เท่ากับปุ๋ยเคมี ๑๐๐ กิโลกรัม ดังนั้น ปุ๋ยอินทรีย์ ๑ กิโลกรัม จะต้องมีราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมี ๑ กิโลกรัมหลายเท่า (๘-๗๐ เท่า ขึ้นอยู่กับ ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อคำ�นวณโดยไม่รวมค่าขนส่งและค่าแรงใส่ปุ๋ยซึ่งใน กรณีปุ๋ยอินทรีย์สูงกว่าปุ๋ยเคมีมาก) จึงจะทำ�ให้ต้นทุนต่อหนึ่งกิโลกรัมของ ผลผลิตพืชที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เท่ากับผลผลิตพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และหากใช้ราคา ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่จำ�หน่ายในปัจจุบันในการคำ�นวณราคาต้นทุนต่อ หน่วยผลผลิตพืช (โดยไม่รวมค่าขนส่งและค่าแรงใส่ปุ๋ย) จะพบว่าการผลิต โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีราคาต้นทุนสูงกว่าการผลิตโดยใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้น หาก ต้ อ งการให้ ร าคาต้ น ทุ น ของผลผลิ ต พื ช ที่ ป ลู ก โดยใช้ ปุ๋ ย อิ น ทรี ย์ ถู ก กว่ า ผลผลิตพืชที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี เกษตรกรจะต้องทำ�ปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองหรือมี แหล่งปุ๋ยอินทรีย์ที่ราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมี ๘-๗๐ เท่า ขึ้นอยู่กับชนิดปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่มากกว่าปุ๋ยเคมีหลายเท่าใน การเพิ่มผลผลิตพืชขึ้นเท่าๆกันแล้ว ในบางกรณีปุ๋ยอินทรีย์ไม่ทำ�ให้ผลผลิต พืชเพิ่มขึ้นเนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์มีชนิดและปริมาณธาตุอาหารไม่เหมาะสม กับดินและพืชที่ปลูก แต่ปุ๋ยเคมีที่ได้รับการคัดเลือกสูตรปุ๋ยที่ใช้ให้เหมาะสม กับดินและพืชทำ�ให้คุณภาพและปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ดังตัวอย่างผลงาน วิจัยในตารางที่ ๓.๑ ผลงานวิจัยในตารางที่ ๓.๑ แสดงให้เห็นว่ามูลสุกรเพิ่มน้ำ�หนักส่วน เหนือดินแต่ไม่เพิ่มผลผลิตหัวมันสำ�ปะหลัง ขณะที่ปุ๋ยเคมีเพิ่มทั้งน้ำ�หนัก


ส่วนเหนือดินและผลผลิตหัวมันสำ�ปะหลัง ในกรณีนี้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มต้นทุน การผลิตแต่ไม่เพิ่มผลผลิตหัวมันซึ่งส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตสูงขึ้น แต่ปุ๋ยเคมีเพิ่มรายได้จากผลผลิตหัวมันประมาณ ๑,๘๐๐ บาทโดยจ่ายค่า ปุ๋ยประมาณ ๖๐๐ บาทต่อไร่ (คำ�นวณโดยใช้ราคาหัวมันและปุ๋ยในเดือน กันยายน ๒๕๕๗) ซึ่งมีผลทำ�ให้ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตหัวมันต่ำ�ลงพร้อม กับปริมาณผลผลิตหัวมันต่อไร่เพิ่มขึ้น ทำ�ให้กำ�ไรต่อไร่เพิ่มขึ้น ตารางที่ ๓.๑ น้ำ�หนักสดส่วนเหนือดินและหัวมันสำ�ปะหลังที่ไม่ใส่ปุ๋ย เปรียบเทียบกับที่ใส่ปุ๋ยเคมีและมูลสุกร ปุ๋ยที่ใส่ ๑. ปุ๋ยเคมี ๑.๑ ไม่ใส่ ๑.๒ ปุ๋ยสูตร ๑๒-๘-๘ จำ�นวน ๕๐ กก./ไร่ ๒. มูลสุกร ๒.๑ ไม่ใส่ ๒.๒ ๑๐๐ กิโลกรัมต่อไร่

น้ำ�หนักสด ส่วนเหนือดิน (ตัน/ไร่)

น้ำ�หนักหัวสด (ตัน/ไร่)

๒.๕๓

๒.๓๑

๓.๗๐

๓.๒๘

๓.๒๔ ๓.๕๖

๒.๘๑ ๒.๘๘

ที่มา รายงานผลการวิจัยดิน-ปุ๋ยพืชไร่ เล่มที่ ๒ ปี ๒๕๓๓, กลุ่มงานวิจัยดิน

และปุ๋ยพืชไร่ กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร หน้า ๒๓๘-๒๕๒.

อีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำ�ให้ราคาต้นทุนของผล ผลิตสูงขึ้น และทำ�ให้กำ�ไรต่อไร่ที่ได้จากการปลูกพืชน้อยลง คือ ผลการ วิจัยของสุทิศา และคณะ (ที่มา: Pinitpaitoon, S. and co-authors. 2011.


Field Crops Res. 124: 302 – 315) ซึ่งทำ�ซ้ำ�ที่เดิมในประเทศไทยเป็นเวลา ๕ ปี ผลการวิจัยนี้ให้ข้อสรุปว่า ปุ๋ยหมักทำ�ให้การปลูกข้าวโพดได้กำ�ไรต่อไร่ น้อยลงเมื่อเทียบกับการปลูกโดยไม่ใส่ปุ๋ยอะไรเลย ไม่ว่าจะคำ�นวณโดยรวม ค่าปุย๋ และค่าแรงใส่ปยุ๋ หรือเมือ่ คำ�นวณโดยรวมเฉพาะค่าแรงงานในการใส่ปยุ๋ แต่ไม่รวมค่าปุย๋ ในการทดลองนีก้ ารปลูกโดยใช้ปยุ๋ เคมีท�ำ ให้ได้ก�ำ ไรมากขึน้ (ปุ๋ยหมักที่ใช้เป็นปุ๋ยที่จำ�หน่ายในท้องตลาดที่ใช้ตราที่ได้รับความเชื่อถือสูง มีไนโตรเจน ๐.๕๙% ฟอสฟอรัส ๐.๓๑% โพแทสเซียม ๐.๕๕%]

ปุย อินทรีย

ปุยN-P-K เคมี

แม้ปุ๋ยชีวภาพที่แนะนำ�ให้ใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ ต่ำ�กว่ามากเมื่อเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยชีวภาพส่วนใหญ่มี เงื่อนไขหลายอย่างที่จะทำ�ให้การใช้ปุ๋ยได้ผลดี ตัวอย่างเงื่อนไข คือ (ก) ดิน จะต้องไม่มีจุลินทรีย์ชนิดเดียวกับจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพหรือมีน้อย (ข) ต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อการเจริญเติบโตและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในปุ๋ย (ค) ดินต้องไม่ขาดธาตุอาหารอื่นๆที่ไม่ใช่ธาตุที่จุลินทรีย์ในปุ๋ยจะช่วยเพิ่มให้ แก่พืช และ (ง) ต้องทราบว่าจำ�เป็นต้องใส่ปุ๋ยชีวภาพนั้นซ้ำ�หลังจากมีการใส่ ไปแล้วครั้งหนึ่งหรือไม่ เงื่อนไขเหล่านี้แตกต่างกันอย่างมากในระหว่างพื้นที่

๑๐


ต่างๆ หรือแม้แต่ในจุดต่างๆในแต่ละแปลงปลูกพืช และจำ�เป็นจะต้องทำ�การ วิจัยอีกมากเพื่อให้ทราบเงื่อนไขเหล่านี้ ดังนั้น การให้คำ�แนะนำ�การใช้ปุ๋ย ชีวภาพในปัจจุบันจึงเป็นแบบ “เหวี่ยงแห” คือไม่ได้บอกเงื่อนไขที่จะทำ�ให้ การใช้ปุ๋ยได้ผลดี ทั้งนี้เพราะยังไม่ทราบเงื่อนไข หรือไม่มีวิธีที่เหมาะสมที่ จะทำ�ให้ทราบว่าสภาพที่จะใช้ปุ๋ยมีเงื่อนไขเหมาะสมต่อการใช้ปุ๋ยชีวภาพ หรือไม่ การขาดความรู้เรื่องเงื่อนไขและหรือขาดวิธีที่เหมาะสมที่จะทำ�ให้ ทราบความเหมาะสมของเงื่อนไขดังกล่าวนี้ส่งผลให้การใช้ปุ๋ยชีวภาพให้ผล คุ้มค่าเฉพาะบางพื้นที่ แต่ทำ�ให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูงขึ้นโดยผลผลิตไม่ เพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่นๆ ยกเว้นกรณีเชื้อไรโซเบียมซึ่งมีข้อมูลจากการวิจัยมาก พอสำ�หรับประกอบการให้คำ�แนะนำ�ที่มีความแม่นยำ�ที่น่าพอใจแล้ว

ทำไมผลผลิตไมดีเหมือนไรขางๆ นะ

ปุยชีวภาพใชไดผลดีบางพื้นที่ แตใชไมไดผลในบางพื้นที่ เพราะแตละพื้นที่เหมาะสมตอการใชปุยตางกัน

ปุย ชีวภาพ

๑๑


๔. ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเข้าทำ�ลายพืชโดยโรค และแมลง ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ทำ�ให้พืชถูกโรคและแมลงเข้าทำ�ลายมากขึ้น สำ�หรับ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้กันทั่วไปมีเพียงชนิดเดียว คือ มูลค้างคาว ซึ่งมีฟอสฟอรัสสูง ที่อาจจะช่วยลดการทำ�ลายพืชโดยโรคและแมลง (แต่ยังไม่มีรายงานผล การทดลอง) ตรงกันข้ามปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและหรือโพแทสเซียมมาก แต่ มี ไ นโตรเจนไม่ ม ากเกิ น ไปทำ � ให้ พื ช ถู ก โรคและแมลงทำ � ลายน้ อ ยลง ทำ�ให้เกษตรกรสามารถลดการทำ�ลายพืชของโรคและแมลงได้ด้วยการ เลือกใช้ปุ๋ยเคมีท่ีมีสูตรที่ให้ฟอสฟอรัสและหรือโพแทสเซียมที่เป็นสัดส่วนที่ เหมาะสมกับปริมาณไนโตรเจน โดยไม่ควรมีไนโตรเจนสูงกว่าฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งจะทำ�ให้พืชแข็งแรงไม่อวบน้ำ� เป็นวิธีการหนึ่งในการ ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อให้การผลิตพืชโดยไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืชมีปัญหา ด้านโรคและแมลงน้อยลงได้ด้วย ตัวอย่างผลงานวิจัยที่ให้ข้อสรุปดังกล่าว มีดังนี้ คือ

ใชเราแลว โรคและแมลงรบกวนนอยลง

ปุย ฟอสฟอรัส

๑๒

ปุย โพแทสเซี่ยม


๔.๑ ปุย๋ เคมีทมี่ แี ต่ไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว และปุย๋ เอ็นพีเคทีม่ ไี นโตรเจน สูงทำ�ให้พืชถูกโรคและแมลงเข้าทำ�ลายมากขึ้น [ที่มา: (๑) Chau, L. M. and Heong, K.L. 2005. Omonrice 13: 26-33. และ (๒) Zhong-xian, L. and co-authors. 2007. Rice Science 14(1): 56-66.] ๔.๒ ปุย๋ อินทรีย์ซึง่ ส่วนใหญ่มไี นโตรเจนมากกว่าฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ทำ�ให้พืชถูกโรคและแมลงเข้าทำ�ลายมากขึ้น ดังตัวอย่างผลการทดลองใน ตารางที่ ๔.๑ ตารางที่ ๔.๑ ผลของมูลไก่ต่อการถูกแมลงและโรคทำ�ลายของพริก ชื่อโรคและแมลง ๑. เพลี้ยอ่อน (ตัวต่อต้น) ๒. ตั๊กแตน (ตัวต่อต้น) ๓. มวนยุง (ตัวต่อต้น) ๔. ด้วงหมัด (ตัวต่อต้น) ๕. แมลงหวี่ขาว (ตัวต่อต้น) ๖. โรคใบด่าง ๖.๑ ต้นพริกที่เป็นโรค(%) ๖.๒ ความรุนแรงของโรค(%)

อัตราปุ๋ยมูลไก่ที่ใส่ (ตัน/ไร่) ๐ ๓.๒ ๖.๔ ๑.๔ ๑.๔ ๓.๑ ๐.๙ ๑.๖ ๑.๘ ๑.๐ ๒.๖ ๓.๘ ๐.๘ ๑.๐ ๐.๙ ๔.๙ ๖.๒ ๗.๙ ๓๑.๑ ๓๑.๑

๔๕.๘ ๔๕.๘

๔๗.๓ ๔๑.๕

ที่มา Echezona, B.C and Nganwuchu, O.G. 2006. Journal of

Agriculture, Food, Environment and Extension 5 (2): 49-58.

๑๓


๔.๓ งานวิจัยเกี่ยวกับผลของปุ๋ยเคมีที่ให้ฟอสฟอรัสต่อการทำ�ลายพืช โดยโรคและแมลงยังมีไม่เพียงพอที่จะให้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่มีรายงานว่า ปุ๋ยเคมีที่ให้ฟอสฟอรัสทำ�ให้พืชถูกโรคจุดสีน้ำ�ตาลรบกวนน้อยลง ดังผลงาน วิจัยในตารางที่ ๔.๒ ตารางที่ ๔.๒ ผลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อการเป็นโรคจุดสีน้ำ�ตาล (จากเชื้อ Colletotrichum capsici)และผลผลิตของถั่วพุ่ม อัตราปุ๋ยฟอสฟอรัส (กก.พี/ไร่) ๐.๐ ๔.๘ ๙.๖ ๑๔.๔ ๑๙.๒

จำ�นวนต้นถั่วพุ่มที่เป็นโรค ผลผลิตเมล็ดถั่วพุ่ม (%) (กก./ไร่) ๕๙.๖ ๑๔๔ ๕๗.๗ ๒๓๖ ๔๓.๕ ๒๓๒ ๒๖.๑ ๒๓๖ ๒๕.๕ ๓๑๓

ที่มา Owolade O.F. and co-authors. 2006. African J. Biotechnology

5 (4): 343-347. หมายเหตุ “พี” หมายถึง ปริมาณฟอสฟอรัสทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ พืชทีแ่ สดงเป็น น้ำ�หนักของฟอสฟอรัสเป็นต๊อกไซด์ (P2O5)

๑๔


๔.๔ ปุ๋ยเคมีที่ให้โพแทสเซียมทำ�ให้พืชถูกโรคและแมลงรบกวนน้อยลง ตามการเพิ่มอัตราปุ๋ย ดังข้อมูลผลการวิจัยในตารางที่ ๔.๓ ตารางที่ ๔.๓ ผลของปุ๋ยโพแทสเซียมต่อผลผลิตและการถูกโรคและ แมลงทำ�ลายของถั่วเหลือง อัตราปุ๋ย ผลผลิตเมล็ด ด้วงสีน้ำ�เงิน แมลงวันเจาะ แมลงกินใบ โพแทสเซียม ถัว่ เหลือง (ตัว/แถว ๑ ลำ�ต้น (ตัว/แถว ๑ (กก.เค/ไร่) (กก./ไร่) เมตร) (% ต้นทีถ่ ูก เมตร) เจาะ) ๐๐ ๒๔๒ ๕.๙ ๑๓.๙ ๑.๓ ๒๕ ๒๘๙ ๒.๐ ๐๓.๙ ๑.๐ ๕๐ ๓๑๗ ๑.๘ ๐๒.๙ ๐.๘ ๗๕ ๓๑๙ ๑.๓ ๐๐.๐ ๐.๗

ที่มา International Potash Institute. 2007. e-ifc no. 11. http://www.ipipotash.org/en/eifc/2007/11/4 หมายเหตุ “เค” หมายถึง ปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำ� แสดงเป็นน้ำ�หนัก ของโพแทสเซียมออกไซด์(K2O)

ตารางที่ ๔.๓ (ต่อ) อัตราปุ๋ยโพแทสเซียม (กก.เค/ไร่) ๐๐ ๒๕ ๕๐ ๗๕

โรคโคนเน่า (% ต้นตาย) ๙.๑๗ ๖.๐๗ ๔.๖๑ ๒.๒๒

โรคใบจุด (% ต้นที่เป็นโรค) ๓๘.๖ ๒๘.๕ ๒๒.๖ ๒๕.๔

๑๕


๔.๕ ปุย๋ เคมีเอ็นพีเคทีม่ ที ง้ั ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมมากแต่มไี นโตรเจน ไม่มากเกินไปทำ�ให้พชื ถูกโรคและแมลงรบกวนน้อยลง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คือ ๔.๕.๑ ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ทำ�ให้ถั่วเหลืองถูกโรคและแมลง รบกวนน้อยลงเมื่อเพิ่มอัตราปุ๋ย ดังผลการวิจัยในตารางที่ ๔.๔ ตารางที่ ๔.๔ ผลของปุ๋ยเคมีสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต่อผลผลิตและการ เป็นโรคและการถูกแมลงทำ�ลายของถั่วลิสง อัตรา ปุ๋ยเคมี๑/ (กก./ไร่)

คะแนน โรค ใบจุด๒/

คะแนน โรค ราสนิม๒/

๐๐.๐ ๐๖.๕ ๑๒.๘ ๒๐.๐

๒.๐๘ ๑.๑๗ ๐.๙๖ ๐.๙๖

๑.๔๖ ๑.๒๒ ๑.๑๕ ๑.๐๐

คะแนน โรคแห้ง ตายของ ต้นกล้า๒/ ๑.๓๒ ๑.๒๐ ๑.๑๖ ๑.๑๐

คะแนน การถูก แมลง ทำ�ลาย๒/ ๔.๘๗ ๔.๔๕ ๓.๗๗ ๓.๒๘

น้ำ�หนัก เมล็ด ถั่วลิสง (กก./ไร่) ๓๑๔ ๕๔๖ ๕๖๓ ๕๗๐

๑/ ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕; ๒/ คะแนนสูงหมายถึงเป็นโรคมาก

ที่มา Ihejirika, G. O. and co-authors. 2006. J. Plant Sci. 1(4): 362-367.

K

P N ๑๖

ปุยN-P-K เคมี

ไนโตรเจนไมสูงกวา ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ทำใหพืชถูกโรคและแมลงทำลาย นอยลง


๔.๕.๒ ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ทำ�ให้มันสำ�ปะหลังถูกโรคและ แมลงรบกวนน้อยลงเมื่อเพิ่มอัตราปุ๋ย ดังข้อมูลผลการวิจัยในตารางที่ ๔.๕ ตารางที่ ๔.๕ ผลของปุ๋ยเคมีสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต่อการเจริญเติบโตและ การเป็นโรคและการถูกแมลงทำ�ลายของมันสำ�ปะหลัง อัตราปุ๋ย เคมี๑/ (กก./ไร่)

ไร๒/

๐.๐ ๖.๔ ๑๒.๘

๒.๓๖ ๑.๘๐ ๑.๓๘

เพลี้ยแป้ง๒/ โรคใบด่าง๒/ โรคใบจุด๒/ ๒.๐๔ ๐.๘๑ ๐.๗๕

๑.๗๒ ๑.๗๔ ๑.๑๕

๘.๘๑ ๔.๒๑ ๔.๐๘

เส้นรอบวง ต้นมัน สำ�ปะหลัง (ซม.) ๐.๕๙ ๐.๖๘ ๐.๗๔

๑/ ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕.

๒/ คะแนนมากหมายถึงเป็นโรคหรือถูกแมลงรบกวนมาก ทีม่ า Omorusi, V.I. and Ayanru, D.K.G. 2011. Int. J. Agric. Biol. 13: 391–395.

๕. ผลของปุ๋ยประเภทต่างๆ ต่อคุณภาพด้านโภชนาการของพืช ยั ง ไม่ มี ผ ลการวิ จั ย ที่ ชี้ ชั ด ว่ า ปุ๋ ย อิ น ทรี ย์ ห รื อ ปุ๋ ย เคมี ใ ห้ ผ ลผลิ ต พื ช ที่ มี คุณภาพด้านโภชนาการสูงกว่ากันหรือไม่ แต่ผลการวิจัยแสดงว่าพืชที่ใส่ปุ๋ย เคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อย่างเหมาะสมมีคุณภาพด้านโภชนาการสูงกว่าพืชที่ ใส่ปุ๋ยประเภทเดียว และพืชที่ใส่ปุ๋ยทั้งสามประเภท (ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และ ปุ๋ยชีวภาพ) ร่วมกันอย่างเหมาะสมกับดินแต่ละแห่งและพืชแต่ละชนิดมี คุณภาพสูงกว่าพืชทีใ่ ส่ปยุ๋ ประเภทเดียวหรือสองประเภทร่วมกัน ดังตัวอย่าง ข้อสรุปจากผลงานวิจัยต่อไปนี้ คือ

๑๗


๕.๑ หัวกะหล่ำ�ปลีและผลแตงกวาที่ได้รับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยคอก มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระไม่แตกต่างกัน ดังผลการวิจัยใน ตารางที่ ๕.๑ ตารางที่ ๕.๑ ผลของปุ๋ยประเภทต่างๆต่อความสามารถในการต่อต้าน อนุมูลอิสระ(มิลลิกรัมสมมูลย์ของกรดกัลลิกต่อน้ำ�หนักพืชสด ๑๐๐ กรัม) ของหัวกะหล่ำ�ปลีและผลแตงกวา ปุ๋ยที่ใช้

กะหล่ำ�ปลี ปี ๒๐๐๕ ปี ๒๐๐๖

แตงกวา ปี ๒๐๐๕ ปี ๒๐๐๖

ไม่ใส่ปุ๋ย ๒๓๓ ± ๓๒ ก ๒๙๙ ± ๒๗ ก ๑๐๘ ± ๑๔ ก ๑๘๔ ± ๐๑ ก ปุ๋ยเคมี ๑๘๖ ± ๗๓ ก ๒๘๑ ± ๐๕ ก ๑๑๗ ± ๔๓ ก ๐๕๓ ± ๓๓ ข ปุ๋ยหมัก ๒๐๑ ± ๓๔ ก ๒๘๔ ± ๒๒ ก ๑๓๓ ± ๑๐ ก ๐๖๐ ± ๓๘ ข ปุ๋ยคอก ๒๑๑ ± ๖๕ ก ๒๙๖ ± ๓๒ ก ๑๒๙ ± ๓๒ ก ๐๖๒ ± ๑๒ ข

หมายเหตุ (๑) ในคอลัมน์เดียวกัน ค่าที่มีอักษร (ก หรือ ข) เหมือนกัน

ที่มา

กำ�กับไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น ๙๕ เปอร์เซ็นต์ (๒) ปุ๋ยทุกชนิดใส่ในอัตราที่ให้ธาตุอาหารหลักใกล้เคียงกัน (๓) ค่าความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงหมายถึงผลผลิต พืชมีความสามารถในการต่อต้านการอนุมูลอิสระสูง อนุมูลอิสระเป็น สาเหตุที่ทำ�ให้เกิดโรคมะเร็ง Pavla, B. and Pokluda, R. 2008. Not. Bot. Hort. Agrobot. Cluj 36(1): 63-67

๕.๒ การวิจยั ทีท่ �ำ ในไร่ในประเทศไต้หวัน เพือ่ เปรียบเทียบผลมะเขือเทศที่ ผลิตแบบอินทรีย์ และทีผ่ ลิตตามหลักวิชาการ (good agricultural practices: GAP) ทำ�การทดลองในสิ่งแวดล้อม ๔ แบบ และในสภาพแวดล้อมแต่ละ

๑๘


แบบปลูกพืชอินทรีย์เปรียบเทียบกับปลูกพืชตามหลักวิชาการ ให้ข้อสรุปว่า การผลิตทั้งสองแบบให้ผลมะเขือเทศที่มีคุณภาพของผล ปริมาณสารต้าน อนุมูลอิสระ (ไลโคพีน เบตาคาโรทีน กรดแอสคอร์บิค และสารฟีนอลิค) และ มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระไม่แตกต่างกัน [ที่มา: Lumpkin, H. L. 2005. Tech. Bull. 24. AVRDC Pub. No. 05-623. Shanhua, Taiwan] ไดผลผลิตมีคุณภาพ ดานโภชนาการสงู

ใชปุยอินทรีย รวมกับปุยเคมี ปุย อินทรีย

ปุยN-P-K เคมี

๕.๓ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสมทำ�ให้มะเขือเทศ มีคุณภาพด้านโภชนาการสูงกว่าใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว [ที่มา: Heeb, A. 2005. Doctoral Thesis. Swedish University of Agricultural Science, Uppsala.] ๕.๔ การใช้ปยุ๋ เคมีชว่ ยเพิม่ ความเข้มข้นของสารโปลีฟ่ นี อล คาร์โรตินอยด์ และความสามารถในการต่ อ ต้ า นอนุ มู ล อิ ส ระในหั ว มั น เทศมากกว่ า ปุ๋ย อินทรีย์ และการใช้ปยุ๋ เคมีรว่ มกับปุย๋ อินทรียช์ ว่ ยเพิม่ สมบัตทิ ง้ั สามดังกล่าว ของหัวมันเทศมากที่สุด [ที่มา: Koata, M. and co-authors. 2013. J. Nat. Sci. Res. 3: 23-30] ๕.๕ ผักโขมทีไ่ ด้รบั ปุย๋ เคมีรว่ มกับปุย๋ อินทรียแ์ ละปุย๋ ชีวภาพมีคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี คาโรตินอยด์ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี และวิตามินบี-๙ มากกว่า เมื่อเทียบกับผักโขมที่ได้รับปุ๋ยอินทรียห์ รือปุย๋ เคมีอย่างใดอย่างหนึง่

๑๙


เพียงอย่างเดียว และผักโขมที่ใส่ปุ๋ยสองประเภทร่วมกันมีสารดังกล่าวเท่า เทียมหรือสูงกว่าในหลายกรณีเมื่อเทียบกับผักโขมที่ใส่ปุ๋ยประเภทเดียว ผลการทดลองบางส่วนแสดงในตารางที่ ๕.๒ ตารางที่ ๕.๒ ผลของปุย๋ ประเภทต่างๆต่อ (๑) น�ำ้ หนักแห้งส่วนเหนือดิน (๒) ความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และคาโรตินอยด์ในใบ (๓) คาร์โบไฮเดรตในเนื้อเยื่อ และ (๔) ไวตามินซี และไวตามินบี-๙ ใน ใบของผักโขม ปุ๋ยที่ใช้๑/

น้ำ�หนักแห้ง คลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี คาโรตินอยด์ (กรัมต่อ (ไมโครกรัม (ไมโครกรัม (ไมโครกรัม กระถาง) ต่อ ๐.๑๐ ต่อ ๐.๑๐ ต่อ ๐.๑๐ ตารางเมตร) ตารางเมตร) ตารางเมตร)

เคมี (๑) ๑๒.๙ ก อินทรีย์ (๒) ๓.๔ จ ชีวภาพ (๓) ๔.๒ จ ๑+๒ ๗.๘ ค ๑+๓ ๑๑.๑ ข ๒+๓ ๓.๑ ค ๑ + ๒ + ๓ ๕.๖ ง

๒๐

๒.๒๓ คง ๑.๗๕ จฉ ๑.๕๕ ฉ ๒.๘๘ ข ๒.๕๕ ขค ๒.๐๔ งจ ๓.๗๗ ก

๑.๕๗ กข ๑.๑๑ ขค ๐.๗๖ ค ๑.๗๗ ก ๑.๖๗ ก ๑.๑๔ ขค ๒.๑๘ ก

๐.๘๒ ก ๐.๖๗ ข ๐.๕๖ ข ๐.๙๑ ก ๐.๗๔ กข ๐.๘๑ ก ๐.๘๘ ก

๑/ (๑) เทียบเท่าปุ๋ยสูตร ๑๒-๑๒-๔๐ อัตรา ๔.๕ กรัมต่อกระถางที่ใส่ดินทราย ๗ กิโลกรัม (๒) ปุ๋ยหมัก [๐.๖๐% ไนโตรเจน] ๑๔ กรัมต่อกระถาง และ (๓) อโซโตแบคเตอร์ อโซสไปริลลั่ม และแบคทีเรียที่ละลายฟอสเฟต หมายเหตุ ค่าที่มีอักษร (ก, ข, ค,..) ร่วมกำ�กับไม่แตกต่างกันที่ระดับ ความเชื่อมั่น ๙๕% ที่มา Alderfast, A. A. and co-authors. 2010. World App. Sci. J. 9(1): 49-54.


ตารางที่ ๕.๒ (ต่อ) ปุ๋ยที่ใช้๑/

เคมี (๑) อินทรีย์ (๒) ชีวภาพ (๓) ๑+๒ ๑+๓ ๒+๓ ๑+๒+๓

คาร์โบไฮเดรต ในเนื้อเยื่อ (เปอร์เซ็นต์) ๑๓.๓ ๑๒.๐ ๑๑.๖ ๑๕.๐ ๑๔.๐ ๑๓.๕ ๒๑.๐

คง งจ จ ข ขค ค ก

ไวตามินซี (มิลลิกรัมต่อ ๑๐กรัม) ๔๒.๗ ๒๘.๔ ๒๙.๐ ๔๔.๗ ๔๑.๑ ๓๘.๐ ๕๒.๒

ข ง คง กข ข กข ก

ไวตามินบี ๙ (ไมโครกรัมต่อ ๑๐ กรัม) ๘๕.๐ ๕๕.๐ ๔๐.๐ ๑๒๕.๐ ๑๐๐.๐ ๖๕.๐ ๑๕๕.๐

งจ งจ จ ข ขค งจ ก

๖. ผลของปุย๋ ประเภทต่างๆ ต่อคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของพืช ผลงานวิจยั ให้ขอ้ สรุปว่า หากต้องการผลผลิตข้าวทีม่ คี วามหอมและความนุม่ สูงและต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดปริมาณปุ๋ยเคมีที่ต้องใช้ จะต้องใช้ปุ๋ย อินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่ไม่มีไนโตรเจน หรือมีน้อย แต่มีฟอสฟอรัสและ โพแทสเซียมสูง ตัวอย่างผลงานวิจัยที่ให้ข้อสรุปดังกล่าว คือ ๖.๑ ปุย๋ อินทรียส์ ว่ นใหญ่ (ซึง่ มีไนโตรเจนมากกว่าฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม) และปุ๋ยเคมีที่ให้ไนโตรเจนทำ�ให้ความนุ่มและความหอมของข้าวขาวดอก มะลิ ๑๐๕ และข้าวสุพรรณบุรี ๑ ต่ำ�ลง (ยกเว้นกรณีดินมีไนโตรเจนต่ำ�มาก ซึ่งการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนไม่มากเกินไปจะทำ�ให้สมบัติทั้งสองของข้าวสูงขึ้น) ดังตัวอย่างผลการทดลองในตารางที่ ๖.๑ และ ๖.๒

๒๑


ตารางที่ ๖.๑ ผลของปุย๋ อินทรียต์ อ่ ผลผลิตและความหอมของข้าวสุพรรณบุรี ๑ ปริมาณไนโตรเจน ในปุ๋ยอินทรีย์ (กก.ไนโตรเจน/ไร่)

ผลผลิตข้าวเปลือก (กก./ไร่)

ปริมาณสารหอม (2-AP) ในเมล็ดข้าว (ส่วนในล้านส่วน, ppm)

๐.๐ ๑๒.๕ ๒๕.๐ ๕๐.๐

๒๘๓ ง ๔๕๕ ค ๖๒๔ ข ๘๙๒ ก

๑.๕๙ ข ๑.๗๗ ก ๑.๔๓ ค ๑.๑๕ ง

ที่มา พักตรเพ็ญ ภูมพิ นั ธ์ และคณะ ๒๕๖๐. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๒๕: ๒๔๘-๒๕๙. หมายเหตุ (๑) ปุย๋ อินทรียม์ ไี นโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ๔.๓, ๔.๐ และ ๓.๐ ตามลำ�ดับ (๒) ในคอลัมน์เดียวกัน ค่าที่มีอักษรเหมือนกันกำ�กับ ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น ๙๕%

๖.๒ ความนุม่ ของข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ สูงสุดเมือ่ ข้าวได้รบั ฟอสฟอรัส ในปริมาณที่เริ่มให้ผลผลิตเมล็ดข้าวสูงสุด [ที่มา: อำ�นาจ สุวรรณฤทธิ์ และ คณะ ๒๕๔๐. ว.เกษตรศาสตร์ (วิทย.) ๓๑: ๓๖-๕๐.] ๖.๓ ความหอมของข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ สูงสุดเมือ่ ข้าวได้รบั โพแทสเซียม ในปริมาณทีส่ งู กว่าปริมาณทีใ่ ห้ผลผลิตเมล็ดข้าวสูงสุดจนทำ�ให้ขา้ วให้ผลผลิต เพียง ๘๒ % ของผลผลิตสูงสุด [ทีม่ า: อำ�นาจ สุวรรณฤทธิ์ และคณะ ๒๕๔๐. ว.เกษตรศาสตร์(วิทย.) ๓๑: ๑๗๕-๑๙๑.]

๒๒


ตารางที่ ๖.๒ ผลของไนโตรเจนในปุ๋ยเคมีต่อผลผลิต ความหอม และ

ความนุ่มของข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ปริมาณไนโตรเจน ผลผลิต ในปุ๋ยเคมี ข้าวเปลือก คะแนนความหอม คะแนนความนุ่ม (กก.ไนโตรเจน/ไร่) (กก./ไร่) ๐ ๕ ๑๕ ๔๕

๕๐๖ ค ๗๒๒ ข ๘๗๒ ก ๔๒๓ ค

๖.๖๐ ก ๖.๖๕ ก ๖.๒๐ ข ๕.๑๐ ค

๗.๓๐ ก ๖.๙๕ กข ๖.๕๕ ข ๕.๕๐ ค

ที่มา อำ�นาจ สุวรรณฤทธิ์ และคณะ ๒๕๓๙. ว.เกษตรศาสตร์(วิทย.)

๓๐: ๔๕๘-๔๗๔. หมายเหตุ (๑) ในคอลัมน์เดียวกัน ค่าทีม่ อี กั ษรเหมือนกันกำ�กับไม่แตกต่างกัน ทางสถิตทิ ร่ี ะดับความเชือ่ มัน่ ๙๕% (๒) คะแนนความหอมและความนุม่ สูง หมายถึงความหอมและความนุ่มสูง

ใชเรา หรือใชเรารวมกับปุยอินทรีย ไดขาวที่ หอมและนุมกวาใชปุยอินทรียอยางเดียว

ปุย ิอนทรีย

ขาวขาว ดอกมะลิ

ปุยN-P-K เคมี หอม

นุม

๒๓


๗. ผลของปุย๋ อินทรียแ์ ละปุย๋ เคมีตอ่ ความโปร่งและความแข็งของดิน ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ต่างก็ทำ�ให้ดินโปร่งมากขึ้น(มีความหนาแน่น รวมน้อยลง) และมีความแข็งน้อยลง ดังตัวอย่างผลงานวิจัยในตารางที่ ๗.๑ และ ๗.๒ ตารางที่ ๗.๑ ผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักที่ใส่ให้กับข้าวนาน้ำ�ขังเป็นเวลา ๑๑ ปี (โดยไม่เผาตอซังข้าวหรือขนย้ายตอซังข้าวออกจากพืน้ ทีน่ า) ต่อความ โปร่งและความแข็งของดิน ความหนาแน่นรวม ของดินที่ระดับความลึก ความแข็ง ปุ๋ยที่ใส่ ๔-๑๐ เซนติเมตร ของดินชั้นบน๒/ (กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร)๑/ ไม่ใส่ ๑.๖๗ ๒๔.๗ ปุ๋ยเคมี๓/ ๑.๖๐ ๑๙.๖ ปุ๋ยหมัก ๑ ตัน/ไร่/ปี ๑.๖๐ ๑๗.๒ ๑/ ความหนาแน่นรวมต่ำ�แสดงว่ามีความโปร่งสูง

๒/ ไม่มีหน่วย ค่าสูงแสดงว่าความแข็งสูง ๓/ ใส่ปุ๋ยเดี่ยวเทียบเท่าปุ๋ยสูตร ๑๖-๘-๘ อัตรา ๕๐ กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ที่มา ประเสริฐ สองเมือง และคณะ. ๒๕๒๙. รายงานผลการค้นคว้าวิจัย ดินและปุ๋ยข้าว, กลุ่มงานวิจัยดินและปุ๋ยข้าว, กองปฐพีวิทยา, กรมวิชาการเกษตร น. ๓๕๗-๓๖๖.

การที่ปุ๋ยเคมีทำ�ให้ดินโปร่งมากขึ้นและแข็งน้อยลงเหมือนกับการใส่ปุ๋ย อินทรีย์ก็เนื่องจากปุ๋ยเคมีทำ�ให้พืชมีปริมาณตอซังและรากมากกว่าพืชที่ ไม่ใส่ปุ๋ย เมื่อไถกลบตอซังจึงทำ�ให้ดินมีอินทรียวัตถุมากกว่าแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ย เคมี ส่งผลให้ดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีโปร่งมากกว่าและแข็งน้อยกว่าเมื่อเทียบกับดิน ที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี อนึ่ง การที่เกษตรกรบางรายสังเกตพบว่าดินที่ใส่ปุ๋ยเคมี

๒๔


แน่นทึบกว่าและแข็งมากกว่าดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งขัดแย้งกับข้อสรุปจาก ผลงานวิจยั ทีก่ ล่าวข้างต้นนีส้ นั นิษฐานได้วา่ เป็นเพราะเกษตรกรเผาตอซังพืช หรือเคลือ่ นย้ายตอซังออกจากแปลงปลูกพืช ซึง่ ทำ�ให้ดนิ ทีใ่ ส่ปยุ๋ เคมีไม่เพียง แต่ได้รับซากพืชในปริมาณน้อย คือ จากรากพืช เท่านั้น แต่การเผาตอซัง พืชยังทำ�ให้อินทรีย์วัตถุที่มีอยู่แต่เดิมในดินส่วนบนถูกเผาไหม้ไปด้วย ตารางที่ ๗.๒ ผลของปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้กับข้าวโพดเป็นเวลา ๑๐ ปี (โดย ไม่เผาและไม่ขนย้ายตอซังออกจากพื้นที่) ต่อความแน่นทึบของดิน ปุ๋ยที่ใส่ ไม่ใส่ ปุ๋ยเคมี๒/

ความหนาแน่นรวมของดิน (กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร)๑/ ที่ความลึก ที่ความลึก ๒-๘ เซนติเมตร ๑๒-๑๘ เซนติเมตร ๑.๑๗ ๑.๔๘ ๑.๐๔ ๑.๒๓

๑/ ความหนาแน่นรวมต่ำ�แสดงว่าดินมีความแน่นทึบน้อย ๒/ ใส่ปยุ๋ เดีย่ วอัตราเทียบเท่าปุย๋ สูตร ๑๐-๑๐-๑๐ อัตรา ๕๐ กิโลกรัมต่อไร่ตอ่ ปี ที่มา Tottao, D.A. 1987. Ph.D. Thesis, Department of Soil Science, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. 157p. ใชปุยเคมีโดยไมเผาหรือยายตอซังออก ทำใหดินมีความโปรงมากขึ้นและแข็งนอยลง

ปุยN-P-K เคมี

๒๕


๘. การเกิดมลพิษจากการใช้ปุ๋ยประเภทต่างๆ การผลิตพืชอินทรีย์ ซึ่งห้ามใช้ปุ๋ยเคมี ทำ�ให้เกิดมลพิษมากกว่าการผลิต พืชแบบปลอดสารพิษที่มีการใช้ปุ๋ยทั้งสามประเภทอย่างเหมาะสม กล่าวคือ ทำ�ให้มีการชะล้างไนเทรตจากดินลงสู่แหล่งน้ำ�มากกว่า มีการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกมากกว่า มีความเข้มข้นของไนเตรทในพืชสูงกว่า และมี ความเสี่ยงต่อการมีโลหะหนักในดินจนเกินระดับที่ปลอดภัยมากกว่า ดัง ตัวอย่างข้อสรุปจากการวิจัยต่อไปนี้ คือ

มีเทน

ปุย อินทรีย

ไนตรัสออกไซด

มีเทน

ปุย อินทรีย

ปุยอินทรียทำใหจุลินทรียเจริญเติบโตและใชออกซิเจนในดินมากขึ้น ซึ่งทำใหเกิดกาซมีเทนและไนตรัสออกไซดออกมาจากดินมากขึ้น

๘.๑ การปลูกพืชอินทรีย์ที่ทำ�ให้มีการชะล้างไนเตรทจากดินมากกว่า การปลูกพืชที่มีการใช้ปุ๋ยทั้งสามประเภทอย่างเหมาะสม กล่าวคือ เมื่อคิด ต่อหนึ่งกิโลกรัมของผลผลิตพืช การปลูกพืชอินทรีย์ปลดปล่อยไนเตรทจาก ดินสู่แหล่งน้ำ�มากกว่า ๒ เท่าของการปลูกพืชที่ใช้ปุ๋ยทั้งสามประเภทอย่าง เหมาะสม [ที่มา: Torstensen, G. and co-authors. 2006. Agron. J. 98: 603-615] ทั้งนี้เพราะอัตราการปลดปล่อยไนโตรเจนจากปุ๋ยอินทรีย์ไม่ สอดคล้องกับความต้องการของพืชในแต่ละช่วงอายุ ทำ�ให้ในบางช่วงเวลา ดินมีไนโตรเจนทีถ่ กู ปลดปล่อยออกมาเหลือจากทีพ่ ชื ดูดใช้มากและถูกเปลีย่ น

๒๖


เป็นไนเตรทแล้วถูกชะล้างออกจากดิน แต่สามารถปรับปริมาณและเวลาการ ใส่ปุ๋ยเคมีให้สอดคล้องกับความต้องการของพืชได้ [ที่มา: Torstensson, G. and co-authors. 2006. Organic farming increases nitrate leaching from soils under cold temperate conditions. Abstract in 18th World Congress of Soil Science, July 9-15, 2006. Philadelphia, Pennsylvania, USA. งานวิจัยนี้ทำ�การทดลองกับดินเหนียวจัด ดินร่วนปนเหนียว และดินทราย เป็นเวลา ๑๐ ปีหรือมากกว่า] ๘.๒ ปุย๋ อินทรียท์ �ำ ให้มกี ารปลดปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์จาก ดินมากกว่าปุ๋ยเคมี ทั้งในสภาพน้ำ�ขังและสภาพปลูกพืชบนที่ดอน เพราะ คาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์ทำ�ให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตและใช้ออกซิเจนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนในดินมากขึ้น ซึ่งทำ�ให้เกิดก๊าซมีเทนและ ไนตรัสออกไซด์ออกมาจากดินมากขึ้น ก๊าซทั้งสองนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ ทำ�ให้โลกร้อน [ที่มา: (๑) Stevens, J. and Laughllin, J. 2001. Soil Sci. Soc. Am, J. 65: 1307-1314. (๒) Meng, L. and co-authors. 2005. Biochem. 37: 2037-2045. (๓) Ma, J. and co-authors. 2007. Aus. J. Soil Res. 45(5): 359-367. (๔) Jin, T. and co-authors. 2010. Soil Sci. and Plant Nut. 56: 53-56. (๕) Yang, X and Xiong, Z. 2010. Agriculture, Ecosystem and Environment 137: 308-316.] ๘.๓ เมื่อใส่ปุ๋ยในปริมาณที่ให้ผลผลิตพืชเท่ากัน ปุ๋ยอินทรีย์ทำ�ให้มี การสะสมไนเทรตในผลผลิตพืชมากกว่าปุ๋ยเคมี ดังตัวอย่างผลงานวิจัยใน ตารางที่ ๘.๑ ผลงานวิจัยในตารางที่ ๘.๑ แสดงว่า ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีในปริมาณ ที่ใช้ในการทดลองทำ�ให้กะหล่ำ�ปลีให้ผลผลิตเท่ากัน แต่ผลผลิตกะหล่ำ�ปลี

๒๗


ที่ใส่ปุ๋ยคอกมีไนเทรตสูงกว่ากะหล่ำ�ปลีที่ใส่ปุ๋ยเคมี ทั้งนี้เพราะไม่สามารถ ควบคุมให้ปุ๋ยอินทรีย์ปลดปล่อยไนโตรเจน (ซึ่งถูกเปลี่ยนต่อไปเป็นไนเตรท และถูกพืชดูดกิน) ให้สอดคล้องกับความต้องการของพืชในแต่ละช่วงอายุ แต่ ส ามารถปรั บ ปริ ม าณและเวลาการใส่ ปุ๋ ย เคมี ใ ห้ ส อดคล้ อ งกั บ ความ ต้องการของพืชในแต่ละช่วงอายุได้ อนึ่ง แม้ว่าผลการวิจัยดังกล่าวแสดงว่าผลผลิตกะหล่ำ�ปลีที่ใส่ปุ๋ยหมักมี ไนเตรทต่ำ�กว่ากะหล่ำ�ปลีที่ใส่ปุ๋ยเคมี แต่กะหล่ำ�ปลีที่ใส่ปุ๋ยหมักให้ผลผลิต ต่ำ�กว่ากะหล่ำ�ปลีที่ใส่ปุ๋ยเคมีเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเพิ่มอัตราปุ๋ยหมัก เพือ่ ให้ผลผลิตเพิม่ ขึน้ จะทำ�ให้ผลผลิตพืชมีไนเตรทเพิม่ ขึน้ และการลดอัตรา ปุ๋ยเคมีลงเพื่อให้ได้ผลผลิตกะหล่ำ�ปลีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเท่ากับกะหล่ำ�ปลีที่ใช้ ปุ๋ยอินทรีย์จะทำ�ให้ปริมาณไนเตรทในกะหล่ำ�ปลีต่ำ�ลง ดังนั้น การเปรียบ ปริ ม าณไนเตรทในกะหล่ำ � ปลี ที่ ใ ส่ ปุ๋ ย หมั ก ในการทดลองนี้ กั บ ปริ ม าณ ไนเตรทในกะหล่ำ�ปลีที่ใส่ปุ๋ยเคมีทำ�ให้ได้ข้อสรุปที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ใชฉันพืชมีไนเตรทนอย และมีไนเตรทถูกชะลงสูแหลงน้ำนอย เพราะปรับปริมาณและเวลาที่ใสฉัน ใหสอดคลองกับความตองการ แตละชวงอายุพืชได

เคมี ปุยN-P-K

๒๘


ตารางที่ ๘.๑ ผลของปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตหัวและ ปริมาณไนเตรทในหัวกะหล่ำ�ปลี ปุ๋ยที่ใช้

๑/

ผลผลิตหัวกะหล่ำ�ปลี๒/ ปริมาณไนเตรทในหัวกะหล่ำ�ปลี (กก./ตร.ม.) (มก./กก.) ๖.๔๐ ก ๔๐ ๕.๗๙ ก ๔๙ ๘.๐๖ ข ๑๒๑ ๗.๘๖ ข ๗๑

ไม่ใส่ปุ๋ย ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี ๑/ คำ�นวณจากปริมาณธาตุอาหารในปุย๋ โดยตัง้ เป้าผลผลิต ๘.๐ ตันต่อไร่

และผลผลิต ๑ ตันต้องใส่ไนโตรเจน ๓.๗๕ กก. ฟอสฟอรัส ๐.๕๗ กก. และโพแทสเซียม ๓.๕๗ กก. ๒/ ค่าที่มีอักษร (ก หรือ ข) เหมือนกันกำ�กับไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ที่มา Zahradnik, A. and Petrikova, K. 2007. Hort. Sci. (PRAGUE) 34: 66-71.

๘.๔ ปุ๋ ย อิ น ทรี ย์ มี ค วามเสี่ ย งสู ง กว่ า ปุ๋ ย เคมี ใ นการทำ � ให้ มี ก ารสะสม โลหะหนักในดิน ซึ่งจะทำ�ให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคพืชที่ปลูกบนดินนั้น ดังตัวอย่างผลงานวิจัยในตารางที่ ๘.๒ ผลงานวิจัยในตารางที่ ๘.๒ แสดงว่า ธาตุตะกั่ว โครเมียม อาร์เซนิค และปรอทติ ด มากั บ ปุ๋ ย อิ น ทรี ย์ เ ข้ า ไปสู่ พื้ น ที่ ป ระเทศอั ง กฤษและเวลส์ มากกว่าที่ติดมากับปุ๋ยเคมีและปูนมาก ส่วนแคดเมียมผลการวิจัยไม่ชี้ชัด ว่าปุ๋ยอินทรีย์มีติดมามากหรือน้อยกว่าปุ๋ยเคมีและปูน

๒๙


ตารางที่ ๘.๒ ปริมาณ (ตันต่อปี) ธาตุโลหะหนักที่ดินซึ่งใช้ทำ�การเกษตร ในประเทศอังกฤษและเวลส์ได้รับจากปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ชนิดปุ๋ย ๑. ปุ๋ยอินทรีย์ ๑.๑ ของเสียจาก ครัวเรือน ๑.๒ มูลสัตว์ ๑.๓ ผลพลอย ได้จาก อุตสาหกรรม รวม ๒. ปุ๋ยเคมีและปูน

ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม อาร์เซนิค ปรอท ๙๕

๙๘

มข

๕๒ <๑

๔ <๑

๓๙ ๒๑๐

๑๖ <๑

๑ <๑

>๑๔๗ ๑๓

>๖ ๘

๓๔๗ ๘๑

>๑๖ ๕

>๒ <๑

ที่มา Nicohlson, F.B. และคณะ 1998. Symp. No.25. Proc. 16th World

Congr. of Soil Sci., Montpellier, France หมายเหตุ < หมายถึงน้อยกว่า; > หมายถึงมากกว่า; มข หมายถึง ไม่มีข้อมูล

๙. การปลูกพืชทีด่ กี ว่าการปลูกพืชอินทรีย์ และปัญหาด้านการคุม้ ครอง ผู้บริโภคที่เกิดจากพืชอินทรีย์ ผลการวิจยั ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การผลิตพืชอินทรีย์ ซึง่ ไม่ใช้สารเคมี รวมทัง้ ไม่ใช้ปยุ๋ เคมี เป็นการผลิตทีท่ �ำ ให้ตน้ ทุนการผลิตต่อหน่วยผลผลิตสูง กว่า ทำ�ให้พชื ถูกโรคและแมลงรบกวนมากกว่า ให้ผลผลิตทีม่ คี ณ ุ ภาพด้าน โภชนาการและด้านประสาทสัมผัสต�ำ่ กว่า และมีความเสีย่ งต่อการทำ�ให้เกิด

๓๐


มลพิษมากกว่า เมื่อเทียบกับระบบการผลิตที่ใช้ปุ๋ยทั้งสามประเภทร่วมกัน อย่างเหมาะสมกับดินแต่ละแห่งและพืชแต่ละชนิด แต่พืชอินทรีย์มีข้อดีใน เรือ่ งการปลอดสารพิษตกค้างจากสารเคมีปอ้ งกันกำ�จัดศัตรูพชื ดังนัน้ จึงควร ผลิตพืชโดยมีการปฏิบัติท่รี วมข้อดีของการผลิตพืชอินทรีย์และข้อดีของการ ใช้ปุ๋ยทั้งสามประเภทอย่างเหมาะสมกับดินแต่ละแห่งและพืชแต่ละชนิด การผลิตพืชแบบนี้ ก็คอื การผลิตพืชทีไ่ ม่ใช้สารเคมีปอ้ งกันกำ�จัดศัตรูพชื แต่มี การใช้ปยุ๋ เคมีรว่ มกับปุย๋ อินทรียแ์ ละปุย๋ ชีวภาพอย่างเหมาะสม ซึง่ น่าจะเรียก ว่า “การผลิตพืชปลอดสารพิษ” หรือหากจำ�เป็นต้องใช้สารเคมีปอ้ งกันกำ�จัด ศัตรูพชื ก็ควรทำ�การผลิตโดยใช้สารพิษป้องกันกำ�จัดศัตรูพชื ตามหลักวิชาการ ร่วมกับการใช้ปุ๋ยทั้งสามประเภทร่วมกันอย่างเหมาะสม ซึ่งน่าจะเรียกว่า “การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ” การผลิตพืชแบบหลังนีใ้ ช้การปฏิบตั ทิ าง การเกษตรทีด่ ี (GAP: Good Agricultural Practices) ซึง่ องค์การอาหารและ เกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้การสนับสนุน การผลิตพืชแบบนีจ้ ะต้อง ใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืชโดยมีการปฏิบัติท่ที ำ�ให้ผลผลิตพืชมีสารพิษ ตกค้างจากสารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืชอยู่ไม่เกินระดับที่ปลอดภัยสำ�หรับ ผูบ้ ริโภค ดังนั้น สำ�หรับพื้นที่ที่ผลิตพืชได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรู พืชจึงควรผลิตพืชปลอดสารพิษแทนการปลูกพืชอินทรีย์ อย่างไรก็ตาม การผลิตพืชในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจำ�เป็นต้องใช้สารเคมีป้องกัน กำ�จัดศัตรูพืช จึงควรใช้การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษกับพื้นที่เหล่านี้ อนึ่ง การผลิตพืชปลอดสารพิษและการผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษเป็น การผลิตที่สามารถผสมผสานการใช้ปุ๋ยทั้งสามประเภทในแบบที่จะช่วยลด การทำ�ลายพืชโดยโรคและแมลงได้ ซึ่งทำ�ให้มีความจำ�เป็นที่จะต้องทำ�การ กำ�จัดโรคและแมลงน้อยลงอีกด้วย

๓๑


ไมมีวิธีที่ตรวจพิสูจนผลผลิตที่อางวาเปนพืชอินทรีย ซึ่งเปดชองใหมีการหลอกลวง ที่กฎหมายไมสามารถคุมครองผูบริโภคได แตพืชปลอดสารพิษ และพืชปลอดภัยจากสารพิษ ตรวจพิสูจนได

พืชอินทรีย ปุยN-P-K เคมี

พืชปลอดภัย จากสารพิษ

ปุย ชีวภาพ ปุย อินทรีย

ปุยN-P-K เคมี

การผลิ ต พื ช อิ น ทรี ย์ ไ ม่ เ พี ย งจะด้ อ ยกว่ า การผลิ ต พื ช ปลอดสารพิ ษ สำ�หรับพื้นที่ที่ไม่จำ�เป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัดศัตรูพืชและการผลิต พืชปลอดภัยจากสารพิษสำ�หรับพื้นที่ที่จำ�เป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันกำ�จัด ศัตรูพืชดังที่กล่าวข้างต้น แต่ยังไม่มีวิธีตรวจพิสูจน์ว่าผลผลิตที่อ้างว่าเป็น ผลผลิตพืชอินทรีย์เป็นผลผลิตพืชที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีจริงหรือไม่อีกด้วย ในขณะ ที่ ผ ลผลิ ต พื ช ปลอดสารพิ ษ และพื ช ปลอดภั ย จากสารพิ ษ สามารถตรวจ พิสูจน์ได้ด้วยการตรวจปริมาณสารพิษในผลผลิตเหล่านั้น ดังนั้น จึงอาจ กล่าวได้ว่าการผลิตพืชอินทรีย์มีข้อเสียทั้งในด้านวิชาการและในด้านสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำ�ให้การเกษตรของประเทศหลงทาง แต่ยังจะทำ�ให้เกิด ปัญหาด้านสังคมจากการที่การผลิตพืชอินทรีย์เปิดช่องทางให้ผู้บริโภคถูก หลอกโดยกฎหมายไม่สามารถคุ้มครองได้อีกด้วย เพราะอาจมีผู้นำ�ผลผลิต พืชที่ผลิตโดยมีการใช้ปุ๋ยเคมีมาจำ�หน่ายโดยอ้างว่าเป็นผลผลิตพืชอินทรีย์ ได้โดยอาศัยช่องโหว่จากการที่ไม่มีวิธีตรวจพิสูจน์ว่าผลผลิตนั้นได้จากการ ปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยเคมีหรือไม่

๓๒


ประวัติผู้เชียน ศาสตราจารยเกียรติคุณ ดร.อํานาจ สุวรรณฤทธิ์ เกิดวันที ่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้รบั ปริญญากสิกรรมและสัตวบาล บัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาเอก สาขาปฐพีวทิ ยาจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลอัพพอนไทน์ ประเทศอังกฤษ รับราชการเป็นอาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ตลอดอายุการทำางานมีผลงานทางวิชาการ ๒๑๖ เรื่อง เคยดำารงตำาแหน่งหัวหน้าภาควิชาปฐพีวิทยา ประธานสภาข้าราชการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอุปนายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย เกษียณอายุราชการ ในตำาแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ หลังเกษียณอายุราชการได้รับ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ

๓๓


บันทึกเพิ่มเติม _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________

๓๔


บันทึกเพิ่มเติม _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________

๓๕


บันทึกเพิ่มเติม _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________ _______________________________________

๓๖


¾×ª»ÅÍ´ÀÑ ¨Ò¡ÊÒþÔÉ

๓๓


ปลูกพืชอินทรีย

พื้นที่สวนใหญทำไมได พืชไมมีสารพิษ พืชที่ไดมีตนทุนสูง เปนมิตรตอสิ่งแวดลอมนอย พืชมีคณ ุ ภาพดานโภชนาการและประสาทสัมผัสต่ำ พืชมีไนเทรตและธาตุโลหะหนักสูง ปรับปุยใหพืชตานทานโรคและแมลงไมได ตรวจพิสูจนผลผลิตไมได

ปลูกพืชปลอดสารพิษ

พื้นที่สวนใหญทำไมได พืชไมมีสารพิษ พืชที่ไดมีตนทุนต่ำ เปนมิตรตอสิ่งแวดลอมมาก พืชมีคณ ุ ภาพดานโภชนาการและประสาทสัมผัสสูง พืชมีไนเทรตและธาตุโลหะหนักต่ำ ปรับปุยใหพืชตานทานโรคและแมลงได ตรวจพิสูจนผลผลิตได

ปลูกพืช ปลอดภัยจากสารพิษ

ทำไดทุกพื้นที่ พืชมีสารพิษไมเกินระดับปลอดภัย พืชที่ไดมีตนทุนต่ำ เปนมิตรตอสิ่งแวดลอมปานกลาง พืชมีคณ ุ ภาพดานโภชนาการและประสาทสัมผัสสูง พืชมีไนเทรตและธาตุโลหะหนักต่ำ ปรับปุยใหพืชตานทานโรคและแมลงได ตรวจพิสูจนผลผลิตได

ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.