green research

Page 1


บรรณาธิการชวนคุย ในเวลาต่อมาเมื่อเราจะเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกแล้วนักธรณีวิทยา ก็ยังเรียกภูมิภาคส่วนนี้ ว่า Ring Ofหลายปีที่ผ่านมานี้ปรากฎการณ์หลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น ราวกับเป็นการเขา้สู่ช่วงเวลาทดสอบตัวเองอยู่ว่า โลกยังน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ อีกต่อไป หรือไม่ บ้างบอกว่าวิกฤติหายนะที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกทั้ง ไฟป่า แผ่นดินไหว นํ้าท่วม พายุถล่ม อากาศเป็นพิษ เป็นเพราะมนุษย์ทำ�ร้ายทารุณต่อธรรมชาติจึงถึงเวลาแล้วที่โลกจะเรียกร้อง ทวงคืน บ้างก็ว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโลกเอง ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของ ตัวเอง เช่น การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนใต้มหาสมุทรและภูเขาไฟ เป็นต้น ที่จริง เป็นความคิดเห็นที่ถูกต้องทั้งสองคำ�ตอบ ในส่วนที่เกิดจากการกระทำ�ของมนุษย์ยังมีหลายอย่างที่ต้องเอามาคิดกันถึงการโยนความ ผิดให้กับคนรุ่นก่อน เช่น การตัดไม้ทำ�ลายป่าซึ่งวันนี้คนตัดไม้ ถางไร่ ตกเป็นจำ�เลย มีความ ผิดที่ทำ�ร้ายสภาพนิเวศวิทยาจนทำ�ให้ป่าไม่เหลือน้อย โลกร้อน แแต่หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง ใน วันก่อนโน่นหากไม่มี ไม้หมอนรถไฟ ไม่มีการรุกหักร้างถางพง โลกในวันนี้จะเป็น เช่นไร เรื่องราวหนึ่งๆ ย่อมเกิดขึ้นจากปัจจัยเงื่อนไขความจำ�เป็นในสภาพแวดล้อมขณะนั้น ซึ่ง อาจไม่ถูกต้องเมื่อเกิดขึ้นในอีกช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่คนในรุ่นปัจจุบันต้องทำ� คือการสำ�รวจ วิเคราะห์ วิจัย หาเหตุผลข้อมูล เพื่อนำ�เสนอต่อประชาคมโลกให้ช่วยกันตอบโจทย์ เป็นข้อมูล สำ�หรับการหาทางออกที่ดี ให้กับโลกใบนี้ งานของนักวิจัยสิ่งแวดล้อมจึงเป็นงานที่มีความ สำ�คัญยิ่ง !

คณะผู้จัดทำ� ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเทคโนธานี ตำ�บลคลองห้า อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0-2577-4182-9 ต่อ 1102 โทรสาร 0-2577-1138 ที่ปรึกษา : พรทิพย์ ปั่นเจริญ ภาวินี ปุณณกันต์ บรรณาธิการบริหาร : บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ บรรณาธิการ: ธรชัย ศักดิ์มังกร กองบรรณาธิการ : มีศักดิ์ มิลินทวิสมัย, โสฬส ขันธ์เครือ, นิตยา นักระนาด มิลน์, ศิรินภา ศรีทองทิม, หทัยรัตน์ การีเวทย, รุจยา บุณยทุมานนท์, จินดารัตน์ เรืองโชติวิทย์, อุไร เกษมศรี ติดต่อขอเป็นสมาชิก ส่วนความร่วมมือและเครือข่ายนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม โทรศัพท์ 0-2577-4182-9 ต่อ 1102, 1121, 1125 ;

2


สารบัญ เรื่องเด่นประจำ�ฉบับ

04 | วงแหวนแห่งไฟ กับเหตุแห่งภัยพิบัติ 08 | รอบรู้เรื่องกัมมันตภาพรังสี อันตรายและการป้องกัน

ติดตามเฝ้าระวัง

12 | สถานการณ์การตกค้าง ของสารพิษ 04

ตกค้างชนิดใหม่ ( Polybrominated Diphenyl Ethers; PBDEs) ใน ตัวอย่างตะกอนดินบริเวณปากแม่น้ำ� และตอนบนของอ่าวไทย 16 | การประเมินผลกระทบด้านเสียงจาก โครงการพัฒนาท่าอากาศยาน

ก้าวหน้าพัฒนา

20 | การพัฒนาผลิตภัณฑ์

22

การจัดการสิ่งแวดล้อม 22 | การผลิตเซรามิกส์ที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมตอบโจทย์การส่งออกสู่ ตลาดโลก 26 | แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยวิจัย

คิดค้นบริการ

28 | ศูนย์วิจัยการฝึกอบรม ด้านสิ่งแวดล้อม กับการขับเคลื่อนการดำ�เนินงานของเครือ ข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม

พึ่งพาธรรมชาติ

32 | ภูร่องกล้า ภูทับเบิก

ชุมชนเข้​้มแข็ง สิ่งแวดล้​้อมยั่งยืน 34 | สาร VOCs กับป่าไม้

32

3


เรื่องเด่นประจำ�วัน โดย : ขจรศักดิ์ หาญปราบ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ​ิ่งแวดล้อม

วงแหวนแห่งภัย (Ring of Fire) กับเหตุแห่งภัยพิบัติ

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในโลกเราไม่ว่าจะ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ระเบิด พายุถล่ม สึนามิ เหล่านี้ล้วนเป็นภัยพิบัติที่คนทั้ง โลกไม่อยากให้เกิด แต่เมื่อพูดถึงวงแหวนแห่งไฟนั้นเมื่อ ก่อนหลายคนคงนึกไม่ออกแต่ถ้าหากพูดถึงภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว สึนามิเชื่อว่าก็คงพอรู้ถึงความร้ายแรงกันบ้าง ทั้งหมดนี้ เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ส่งให้เกิดผลแตกต่างกันแล้วแต่พื้นที่ซึ่งแผ่นเปลือกโลก แบ่ง ได้ดังนี้ แผ่นแอฟริกัน : ครอบคลุมทวีปแอฟริกาเป็นแผ่นทวีป แผ่นแอนตาร์คติก : ครอบคลุมทวีปแอนตาร์คติกเป็นแผ่นทวีป แผ่นออสเตรเลียน : ครอบคลุ ม ออสเตรเลี ย (เคยเชื่ อ มกั บ แผ่ น อิ น เดี ย นเมื่ อ ประมาณ 50-55 ล้านปีก่อน) เป็นแผ่นทวีป แผ่นยูเรเซียน : ครอบคลุมทวีปเอเชียและยุโรปเป็นแผ่นทวีป แผ่นอเมริกาเหนือ : ครอบคลุมทวีปอเมริกาเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของไซบีเรียเป็นแผ่นทวีป แผ่นอเมริกาใต้ : ครอบคลุมทวีปอเมริกาใต้เป็นแผ่นทวีป แผ่นแปซิฟิก : ครอบคลุมมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นแผ่นมหาสมุทร นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดเล็กกว่า ได้แก่ แผ่นอินเดียน, แผ่นอาระเบียน, แผ่นแคริเบียน, แผ่นฮวน เดฟูกา, แผ่นนาซคา, แผ่นฟิลิปปินส์และแผ่นสโกเทีย จากที่กล่าวมาเราจะให้ความสนใจที่แผ่นแปซิฟิกความ รุนแรงครั้งล่าสุด จากกรณีภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามึที่เกิดขึ้น ในญี่ปุ่นจนเป็นเหตุช็อคโลกเมื่อไม่นานมานี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก จนทำ�ให้เกิดแผ่นดิน ไหวครั้งรุนแรง ผลที่ตามมาคือเมื่อเกิดสึนามิจึงทำ�ให้หลาย คนได้ยินชื่อวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) และรับรู้ถึงความ น่ากลัวของภัยพิบัติธรรมชาติหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ตั้งอยบนแผ่นโลกที่ เรียกกันว่าแผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) ซึ่งก็คือพื้นที่ รอบๆมหาสมุ ท รแปซิ ฟิ ค มาจนถึ ง แถวหมู่ เ กาะสุ ม าตรา โดยมี ก ารเกิ ด แผ่ น ดิ น ไหวและภู เ ขาไฟระเบิ ด อยตลอดมา ในประวั ติ ศ าสตร์ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ จึ ง เรี ย กว่ า วงแหวนไฟ หรือ Ring of Fire มาตั้งแต่ก่อนที่จะมีความเข้าใจเรื่องการ เคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเสียอีกจน

4


crustal plates boundaries ในเวลาต่อมาเมื่อเราจะเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกแล้วนักธรณีวิทยาก็ยังเรียกภูมิภาคส่วนนี้ ว่า Ring Of Fire เช่นเดิมเพราะเป็นชื่อที่เหมาะสมมากซึ่งนักวิทยาศาสตร์นั้นรจักและศึกษากันมามากจนคาดการณ์ ได้ว่าจะเกิด เมื่อไหร่แต่ทว่าถึงอย่างนั้นความเสียหายและความรุนแรงก็ยากจะรับมือสรุปง่ายๆ ก็คือทั้งแผ่นดินไหวสึนามิภูเขาไฟระเบิด ล้วนมีผลมาจากการเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่บน “วงแหวนแห่งไฟ” ซึ่งทำ�ให้ภูมิประเทศทั้งบนบก ทะเล และใต้พื้นดิน เอื้อต่อการ เผชิญหน้ากับภัยธรรมชาติ วงแหวนแห่งไฟ มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัว ตามแนวร่องสมุทรแนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลกโดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75%จากข้อมูล พบว่าเหตุ แผ่นดินไหวประมาณ 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลก และกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนแห่งไฟนอกจากวงแหวนแห่งไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา (สาเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิที่ถล่มอินโดนีเซีย) ผ่านเทือกเขาหิมาลัย และ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 27% ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผน่ ดินไหวเกิดขึ้น 5-6% ของทั้งโลก

ภาพแสดงลักษณะแผ่นเปลือกโลก

ที่มา http://www.drgeorgepc.com/Earthquake1964Alaska.html

ภาพวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ที่มา www.asianinfrastructure.com

รายชื่อประเทศที่อยู่ ในแนววงแหวนแห่งไฟ ได้แก่ ประเทศเบลีซ, โบลิเวีย, บราซิล, แคนาดา, โคลัมเบีย, ชิลี คอสตาริกา, เอกวาดอร์, ติมอร์ตะวันออก,เอลซัลวาดอร์, ไมโครนีเซีย, ฟิจิ, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, คิริบาตี,เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, นิการากัว, ปาเลา, ปาปัว นิวกินี, ปานามา, เปรู, ฟิลิปปินส์,รัสเซีย, ซามัว, หมู่เกาะ โซโลมอน, ตองกา, ตูวาลู และสหรัฐอเมริกา

5


ภาพความรุนแรงบางส่วนของภัยพิบัติของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในบางประเทศที่ได้รับผลกระทบ

ภาพแสดงจุดที่เกิดแผ่นดินไหว ที่มา:http://www.bloggang.com/data/v/vinitsiri/picture/1300353385.jpg

จะเห็นได้ว่า พื้นที่รอบๆ วงแหวนแห่งไฟนั้นมี อัตราการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด และแผ่นดินไหว นั้นสร้างความเสียหายต่อมนุษย์อย่างมากรวมถึง การเกิดของสึนามิ และนอกจาก “วงแหวนแห่งไฟ” จะเป็นแนวที่เกิดแผ่นดินไหวแล้ว ยังเป็น แนวของ “ภูเขาไฟ” ด้วย ภาพขวา : แสดงที่ตั้งของภูเขาไฟทั้งหมดในโลก ที่มา http://www.volcano.si.edu/world/ nd_regions.cfm

6


ยอดเขาชินโมวดาเกกำ�ลังระเบิดพื้นที่ ระหว่างเขตควบคุม มิยาซากิและคาโกชิมาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เมื่อ29 มกราคม ค.ศ. 2011 ที่มา http://www.oknation.net/blog/supawan/2011/02/01/entry-1

การระเบิดของภูเขาไฟปินาทูโบ (Pinatubo) ในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อปี ค.ศ. 1991 ที่มา http://pi.eng.src.ku.ac.th/mod/forum/discuss.php?d=4797

การระเบิดของภูเขาไฟปินาทูโบ (Pinatubo) ในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อปี ค.ศ. 1991 ที่มา http://pi.eng.src.ku.ac.th/mod/forum/discuss.php?d=4797

อ้างอิงจาก : 1.“วงแหวนแห่งไฟ” http://www.zone-it.com 2.“สึนามิ” http://www.oknation.net/blog/vconsult1978 /2008/07/16/entry-11 3.“วงแหวนแห่งไฟ” http://th.wikipedia.org/wiki/วงแหวงแห่งไฟ 4.“Pacific Ring of Fire” http://en.wikipedia.org/wiki/Pacific_Ring_of_Fire 5.http://geography.about.com/cs/earthquakes/a/ringofre.htm 6.http://th.wikipedia.org/wiki/แผ่นเปลือกโลก 7.http://www.volcano.si.edu/world/ nd_regions.cfm

7


เรื่องเด่นประจำ�วัน โดย : พีรายุ หงษ์กำ�เนิด นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

รอบรู้เรื่องกัมมันตภาพรังสี

อันตรายและการป้องกัน จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงขนาด 8.9 ริคเตอร์ ในวันมหาวิปโยค 11 มีนาคม 2554

ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น เป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสูง 6-10 เมตร เข้าซัดบ้าน เรือน สิ่งก่อสร้าง และคร่าชีวิตประชาชนไม่ตํ่ากว่า11,800 ราย และสูญหายอีก 15,540 ราย1 จากนนั้ ทวั่ โลกตอ้ งขวัญผวากับขา่วการระเบิดของโรงไฟฟา้นิวเคลียร 4 แห่ง ในบริเวณเดียวกันทตัง้ อยูภายใน เมืองฟูกูชิมะ ไดอิจิ (FukushimaDiichi) อันเนื่องมาจากระบบหล่อเย็นหยุดการทำ�งาน จึงได้มีการปั๊มนํ้า ทะเลเข้าสู่ระบบเพื่อลดอุณหภูมิของเตาปฏิกรณ์แทนระบบหล่อเย็น ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของสาร กัมมันตภาพรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งทางบรรยากาศ และชายฝั่งทะเล สำ�หรับสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหล ออกมามีหลายชนิดและที่ตรวจจับได้ ในครั้งนี้คือ ไอโอดีน-131 (131I) สูงกว่าระดับปกติ ถึง 126.7 เท่าสาร กัมมันตรังสี ซีเซียม-134 (134Cs) สูงกว่าระดับปกติ 24.8 เท่า และซีเซียม-137(137Cs) สูงกว่าระดับปกติ 16.5 เท่า2 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิชชันที่เกิดภายในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของโรงไฟฟ้า

8


สารกัมมันตรังสี เกิดขึ้นได้อย่างไร ? สารกัมมันตรังสีเกิดจากสสารหรือธาตุที่อยู่ ในสถาพไม่เสถียร (ไอโซโทปที่มีโครงสร้างปรมาณู ไม่คงตัว, Unstableisotope) อันเนื่องมาจากความไม่สมดุลย์กันระหว่าง โปรตอน นิวตรอนและ อิเล็กตรอนที่อยู่ภายในอะตอมของธาตุนั้นๆจึงต้องมีการปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินออกมาในรูป ของรังสีแอลฟา รังสีบีต้า รังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ รูป ใดรูปหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งรูปพร้อมๆ กัน เพื่อปรับให้อะตอมของธาตุมีความเสถียร เรียกธาตุเหล่านี้ว่าสารกัมมันตรังสีหรือไอโซโทป รังสี(Radioisotope) และจะค่อยๆ สลายตัวไปในชั่วระยะเวลาหนึ่งโดยมีอัตราการสลายตัวที่คงที่ ซึ่งระยะเวลาที่ ไอโซโทปจำ�นวนหนึ่งสลายตัวลดลงจนเหลือเพียงจำ�นวนครึ่งหนึ่ง เรียกว่า “ค่าครึ่ง ชีวิต (T1/2 , Half life)” ตัวอย่างเช่น ไอโอดีน-131 มีค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ 8 วัน หมายความว่าถ้ามี ไอโอดีน-131 ในวันแรก 6 กรัม หลักจากนั้นอีก 8 วัน จะมีเหลืออยู่ 3 กรัม แล้วต่อไปอีก 8 วัน จะ มีเหลืออยู่ 1.5 กรัม และต่อไปอีก 8 วัน ก็จะมีเหลืออยู่เพียง 0.75 กรัม3 ซึ่งธาตุแต่ละชนิดจะมีค่า ครึ่งชีวิตที่แตกต่างกัน อาจมีระยะเวลาสั้นมากจนนับเป็นวินาที หรืออาจจะนานเป็นล้านๆ ปีอนึ่ง แม้วา่ ธาตุทมี่ คี วามต่างกันในความเสถียรกล่าวคืออยู่ ในสภาวะเสถียร หรือว่ามีการปลดปล่อยรังสี ก็ จะมีคุณสมบัติอื่นๆ ประจำ�ธาตุเหมือนกันทุกประการสำ�หรับแหล่งกำ�เนิดสารกัมมันตรังสีนั้น เกิด ขึน้ ได้ทงั้ ในธรรมชาติ เกิดมาพร้อมกับการกำ�เนิดโลก เช่น คาร์บอน-14 (14C) และโพแทสเซียม-40 (40K) และสารกัมมันตรังสีทเี่ กิดจากมนุษย์สร้างขึน้ อาทิเช่น ทีเ่ กิดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึง่ ได้แก่ ไอโอดีน-131 และ ซีเซียม-137 เป็นต้น

สารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 และซีเซียม-137 ที่ตรวจจับได้ จากการรั่วไหลของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะไดอิจิ เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือไม่อย่างไร ? อันดับแรกมาทำ�ความรู้จักธาตุไอโอดีน ซึ่งส่วนใหญ่รู้จักกันในรูปของไอโอดีนเสถียร นั่นคือ ไอโอดีน-127 ซึ่งเป็นไอโอดีนที่อยู่ ในธรรมชาติ และช่วยในการสร้างฮอร์ โมนของต่อมไทรอยด์ แต่ เมือ่ ใดทีต่ อ่ มไทรอยด์ทำ�งานผิดปกติหรือทีเ่ รียกว่าต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แพทย์จะใช้ ไอโอดีน-131 ใน การรักษา โดยการกลืนเข้าไปเพือ่ หยุดการทำ�งานของต่อมไทรอยด์ แต่การรักษาต้องอยูภ่ ายใต้ความ ดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่ง จะต้องนอนพักรักษาอยูใ่นโรงพยาบาลที​ีมี่ ฉากกั้นเพื​ื่อป้องกัน การแผ่รังสีแกมมา เพื่อลดการกระจายรังสีสู่คนรอบข้างเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะใน เด็กเล็กและสตรีมคี รรภ์ควรอยูห่ า่ งจากผูป้ ว่ ยอย่างน้อย 2 เมตร (ปริมาณรังสีจะลดลง 4 เท่าเมือ่ เทียบ กับที่ 1 เมตร) และไม่ควรอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานเช่น ควรแยกนอนคนเดียว และระวังเรื่องการ กำ�จัดปัสสาวะ เช่น ราดนํ้าหรือชักโครกให้บ่อยครั้ง4 แต่สำ�หรับไอโอดีน -131ที่รั่วไหลจากโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ฟกู ชู มิ ะ ไดอิจิ ทีส่ ามารถแพร่กระจายสูบ่ รรยากาศได้เป็นระยะทางหลายไมล์นนั้ (ทัง้ นีข้ นึ้ อยู่ กับ ทิศทางและความเร็วลม) เนื่องจากมีลักษณะเป็นก๊าซสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยตรงจากการ หายใจเอาก๊าซไอโอดีน -131เขา้ ไป

9


ซีเซียม-137 สารกัมมันตรังสีอีกตัวหนึ่งที่ควร ให้ ค วามสนใจ แม้ จ ะมี พิ ษ รุ น แรงน้ อ ยกว่ า ไอโอดีน-131 หากได้รับในปริมาณที่ ไม่มากนัก ร่างกายจะสามารถขับออกมาได้อย่างรวดเร็ว ผ่านกระบวนการขับของเสียของร่างกายอย่าง เช่นเหงือ่ และปัสสาวะนัน่ เอง แต่สงิ่ ทีเ่ ป็นกังวล อย่างยิ่งคือการตกค้างของซีเซียม-137 ในสิ่ง แวดล้อม เนื่องจากมีค่าครึ่งชีวิตยาวนานถึง 30 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกปนเปื้อนในพืช ผัก และแหล่งนํา้ ธรรมชาติ ทำ�ให้สารกัมมันตรังสีดงั กล่าวถูกส่งผ่านเข้าไปในวัฎจักรห่วงโซ่อาหารของ ระบบนิเวศตั้งแต่อันดับต้นๆ (อาทิเช่น แพลงก์ ตอน สาหร่าย พืช) ไปสู่อันดับสูงๆ ของห่วงโซ่ อาหาร(สัตว์กนิ พืช เช่น วัว หมู หรือสัตว์นำ�้ อย่าง เช่น หอย กุง้ ปลา) และท้ายสุดคือมนุษย์ผซู้ งึ่ บรโิ ภคทัง้ พืชและสัตว์เหล่านีเ้ ป็นอาหาร หรือแม้กระ ทัง้ นมซึง่ เป็นผลผลิตจากสัตว์กนิ พืชก็ยอ่ มทีจ่ ะมี การปนเปือ้ นสารกัมมันตรังสีดงั กล่าวด้วยจากการ ศึกษาวิจัยของ Sawidis T. et. al (2003) ซึ่งได้ ทำ�การสำ�รวจการสะสมของซีเซียม-137 ในสาหร่าย บริเวณทางตะวันตกของอ่าว Thermaikos ของ ประเทศกรีซซึง่ เป็นบริเวณที่ได้รบั ฝุน่ กัมมันตรังสี จากบรรยากาศแล้วตกสู่ทะเลเป็นผลพวงมาจาก การระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์ โนบิลในประเทศ ยูเครน พบซีเซียม-137 สะสมในสาหร่ายผักกาด หอม (Ulva lactuca) ปริมาณสูงถึง 189.3 Bq /kg และยังพบในสาหร่ายสปีชีส์อื่นๆอีกที่เจริญ เติบโตในบริเวณอ่าวดังกล่าว 6ผลการศึกษาดัง กล่าวย่อมชี้ ให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตที่กินสาหร่ายเป็น

10

อาหารย่อมหนี ไม่พ้นที่จะสะสมสารกัมมันตรังสี นี้เข้าไปด้วยและหลีกเลี่ยงอย่างเสียไม่ ได้ เมื่อ ปลาในบริเวณดังกล่าวจะมีการสะสมในปริมาณ ที่สูงตามไปด้วยดังนั้นคาดว่าจะเกิดการรั่วไหล ของสารดังกล่าวและสารกัมมันตรังสีอื่นๆ ที่มี ค่าครึ่งชีวิตยาว เช่น สตรอนเซียม-90 (90Sr) ตกค้างอยู่ ในอาหารที่ผลิตจากบริเวณใกล้เคียง กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ซึ่งจะต้องมีการ ตรวจสอบติดตามเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะ อย่างยิง่ สารกัมมันตรังสีทมี่ คี า่ ครึง่ ชีวติ ยาว เช่น 137Csและ 90Sr เพื่อควบคุมไม่ ให้มีการบริโภค อาหารดังกล่าว

คือ ไมเ่ขา้ ไปอยู่ ในบริเวณทีส่ ารกัมมันตรังสีไม่รบั ประทานอาหารทีม่ กี ารปนเปือ้ นสารกัมมันตรังสี ทัง้ นีห้ ากไม่มนั่ ใจในอาหารทีม่ าจากประเทศญีป่ นุ่ ว่ามีการปนเปือ้ นหรือไม่ สามารถติดิ ตามผลการ ตรวจสอบได้จากสำ�นักคณะกรรมการอาหารและ ยา (อย.) สำ�หรับผูนำ�เข้า อาหารจากประเทศญีป่ นุ่ ถ้าต้องการทราบว่า อาหารมีการปนเปรื้อนสาร กัมมันตรังสี ในสินค้า เกินมาตรฐานที่กำ�หนด หรือไม่สามารถติดต่อได้ที่ “งานบริการตรวจวัด กัมมันตรังสีสนิ ค้าส่งออก” สถาบันนิวเคลียร์แห่ง ชาติ ซึง่ จะรับตรวจสอบสินค้าประเภทอาหารและ เครื่องดื่ม พร้อมออกใบรับรองรายงานผล

ระดับของสารกัมมันตรังสีทจี่ ะเป็นอันตราย ติดตามรายละเอียดได้ที่ ต่อร่างกายมนุษย์ แบ่งได้ 2 แบบ คือได้รับใน http://www.tint.or.th/service/export.html ปริมาณมากภายในระยะเวลาอันสัน้ เช่นกรณีเกิด สำ�หรับการป้องกันฝุ่นควัน เหตุระเบิดแล้วเกิดการรัว่ ไหลของสารกัมมันตรังสี ดังเช่นที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นเวลานี้ กับอีกแบบหนึ่ง คือได้รับสารกัมมันตรังสี ในปริมาณน้อย แต่ ได้ รับเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งกรณีดังกล่าวมักจะ เห็นผลเมื่อเวลาผ่านไปไม่น้อยกว่า10 ปี (ส่วน ใหญ่มักเกิดเป็นมะเร็ง) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ รังสีที่ ได้รับ ระยะเวลาที่ ได้รับสัมผัส และต้อง เป็นรังสีทมี่ อี ำ�นาจทะลุทะลวงสูง ผลกระทบจาก รังสีต่อร่างกาย International Commission on Radiological Protection (ICRP)ขององค์การสากล ในการป้องกันอันตรายจากรังสี ได้รวบรวมผลก ระทบจากรังสีต่อร่างกาย (ตารางที่ 1)สำ�หรับวิธ การป้องกันไม่ ให้ร่างกายไดร้บ สารกัมมันตรังสี


ตารางที่ 1 ผลกระทบจากรังสีต่อร่างกาย ปริมาณรังสี (มิลลิซีเวิร์ต)

แสดงอาการ

2.2 5 50 250 500 1,000 3,000 6,000 10,000

เป็นระดับรังสีปกติ ในธรรมชาติ ที่มนุษย์แต่ละคนได้รับใน 1 ปี เกณฑ์สูงสุดที่อนุญาตให้สาธารณชนได้รับใน 1 ปี เกณฑ์สูงสุดที่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ได้รับใน 1 ปี ไม่ปรากฏอาการผิดปกติ ใดๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เม็ดเลือดขาวลดลงเล็กน้อย มีอาการคลื่นเหียน และอ่อนเพลีย เม็ดเลือดขาวลดลง อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสีย เม็ดเลือดขาวลดลง ผมร่วง เบื่ออาหาร ตัวซีด คอแห้ง มี ไข้ อายุสั้น อาจเสียชีวิตภาย ใน 3-6 สัปดาห์ อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องร่วงภายใน 1-2 ชัว่ โมง เม็ดเลือดลดลงอย่าง รวดเร็ว ผมร่วง มี ไข้อักเสบบริเวณปาก และลำ�คออย่างรุนแรง มีเลือดออก มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50% ภายใน 2-6 สัปดาห์ มีอาการเหมือนข้างต้น ผิวหนังพองบวม ผมร่วง เสียชีวิตภายใน 2-3 สัปดาห์

ที่มา http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/65/nuclear1/icrp.html “หน่วยวัดปริมาณรังสีเพื่อใช้ ในการควบคุมและประเมินความอันตรายมีอยู่หลายหน่วย เช่น คูรี (Ci) เบคเคอเรล (Bq) เรินท์เกน (R) แต่เมือ่ ใช้ ในการประเมินในเชิงทีเ่ กีย่ วข้องกับสุขภาพแล้ว จะใช้เป็นหน่วยของรังสีทถี่ กู ดูดกลืน (Absorbed dose) ทีเ่ รียกว่า เกรย์ (gray) หรือ หน่วยรังสีสมมูลที่เรียกว่า ซีเวิร์ต (Sv)”

กัมมันตรังสีที่แพร่กระจายในบรรยากาศ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ ใกล้ โรงไฟฟา้นิวเคลียร์ที่เกิดอุบัติเหตุ ควรอยู่แต่เฉพาะภายในที่พัก ไม่ควรเปิด เครื่องปรับอากาศ การระบายอากาศ รวมทั้งปิดประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันฝุ่นกัมมันตรังสีเข้าไปภายในบ้านแต่สำ�หรับบริเวณที่อยู่ ไกลจากโรงไฟฟ้าที่ เกิดอุบัติเหตุ เช่นประเทศไทยไม่ควรมีความวิตกกังวลแต่อย่างไรก็ตามหน่วยงานราชการ เช่น สำ�นักงานปรมาณูเพื่อสันติได้มีสถานีเฝ้าระวังภัยทาง รังสี ในอากาศจำ�นวน 8 สถานีตามภูมิภาคต่างๆ โดยข้อมูลปริมาณรังสีที่ตรวจวัดจากแต่ละสถานีจะถูกส่งเข้ามายังศูนย์ระวังภัยแห่งชาติที่กรุงเทพฯ แบบต่อเนื่องตลอดเวลา (Real time) ซึ่งจะแสดงข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ www.oaep.go.th เอกสารอ้างอิง : 1.แผ่นดินไหว-สึนามิ ที่ญี่ปุ่น, สำ�นักข่าวไทยรัฐ, สืบค้น 10 เมษายน, 2554, จากเว็บไซต์ http://www.thairath.co.th/feed/2 2.เทปโก้ตรวจพบ’กัมมันตรังสี’ในนํ้าทะเล, สำ�นักข่าวคมชัดลึก, สืบค้น 18 เมษายน, 2554, จากเว๊บไซต์ www.komchadluek.net ต่างประเทศข่าวทัว่ ไป 3.สำ�นักงานพลังงานปรมาณูเพือ่ สันติ (2542). ความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับพลังงานนิวเคลียร์และกัมมันตรังสี, การฝึกอบรมหลักสูตร การป้องกัน อันตรายจากรังสี, น.19. 4.ธีรพล เปรมประภา, สุจิตรา ทองมาก, ธัญญลักษณ์ เธียรธัญญกิจ และคณะ (2549). การรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษด้วยกัมมันตรังสี I-131,สงขลานครินทร์เวชสาร, ปีที่ 24 ฉบับที่ 4 ก.ค.-ส.ค. 5.นายแพทย์ สามารถ ราชดารา (2554). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสี ไอโอดีน อันตราย และการป้องกัน สมาคมเวชศาสตร์นิวเคลียร์แห่งประเทศไทย, สืบค้น 8 เมษายน, 2554, จากเว๊บ ไซต์: http://www.oaep.go.th/dt_news1.php?id=809 6. Sawidis T., Heinrich G. and Brown M-T., 2003. Cesium-137 concentrations in marine macroalgae from different biotopesin the Aegean Sea (Greece). Ecotoxicology and Environmental Safety, 54, 249–254.

11


ติดตามเเฝ้าระวัง โดย : อารีรัตน์ จากสกุล และ รุจยา บุณยทุมานนท์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม และผู้อำ�นวยการส่วนห้องปฏิบัติการไดออกซินและสารอันตราย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์การตกค้างของ

สารพิ ษ ตกค้ า งยาวนานชนิ ด ใหม่ (Polybrominated Diphenyl Ethers; PBDEs) ในตัวอย่างตะกอนดินบริเวณปากแม่นํ้าและตอนบนของอ่าวไทย

12


สารพิษตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants; POPs) คือสารอินทรีย์ที่ทนต่อการย่อยสลายในสิ่งแวดล้อม เช่น ขบวนการย่อยสลายทางเคมี ชีวภาพ และแสงโดยเหตุผล นี้สารกลุ่มนี้จึงถูกจัดเป็นสารเคมีที่มีสภาพตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกเช่น สามารถ เคลื่อนย้ายเป็นระยะทางไกลๆ สะสมในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตทั้ง มนุษย์และสัตว์ ถ่ายทอดทางห่วงโซ่อาหาร . . . และที่สำ�คัญอย่างยิ่งคือ มีผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม . . .

สาร POPs โดยทั่วไปมีคุณสมบัติละ

ลายนํ้าได้น้อย ละลายได้ดี ในไขมัน เป็นสารกึ่ง ระเหยและนํ้าหนักโมเลกุลสูง สาร POPs ที่มีนํ้า หนักโมเลกุลตํา่ กว่า 236 กรัมต่อโมลมีความเป็น พิษและความคงตัวในสิง่ แวดล้อมตํา่ เมือ่ มนุษย์ และสัตว์สมั ผัสกับสารดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระ ทบต่อร่างกาย คือ สาร POPs จะไปก่อกวนการ ทำ�งาน ของระบบต่อมไร้ท่อของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า “สาร ก่อกวนระบบต่อมไร้ทอ่ (Endocrine disrupters)” โดยเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว สาร POPs บางชนิด สามารถเลียนแบบการทำ�งานของฮอร์ โมนได้ และหรือบางชนิดสามารถขัดขวางการทำ�งาน ของฮอร์ โมนในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความไม่ สมดุลของระดับฮอร์ โมนและระบบต่อมไร้ทอ่ ใน ร่างกายและก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา และ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลต่อระบบประสาทคือ ทำ�ให้ การทำ�งานของระบบประสาทผิดปกติ เป็นสาร ก่อมะเร็งรวมถึงมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรค มะเร็งเต้านม มะเร็งระบบสืบพันธุ์ ปริมาณและ คุณภาพของอสุจติ าํ่ ลง เกิดความผิดปกติของระดับ ฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนไทรอยด์โดยทัว่ ไปมนุษย์ และสัตว์มักได้รับสารกลุ่มนี้ผ่านทางการสัมผัส ทางผิวหนังซึ่งทำ�ให้เกิดการระคายเคืองบริเวณ ผิวหนัง การหายใจ และการกินอาหาร จากผล การตกค้างได้ยาวนานนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อ สุขภาพและระบบนิเวศ สาร POPs หลายชนิดก่อ ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยต่อมนุษย์และ สิ่งแวดล้อมดังกล่าว ซึ่งจากความตระหนักของ สารพิษประเภทต่างๆ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 รัฐบาลประเทศต่างๆ ทัว่ โลกได้ประชุมกัน ทีก่ รุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และรับรองข้อ ตกลงระหว่างประเทศเพือ่ จำ�กัดการใช้ ยกเลิกการ ผลิต การปลดปล่อยและการเก็บรักษาสาร POPs ข้อตกลงตามอนุสญ ั ญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารพิษ ที่ตกค้างยาวนาน ซึ่งผลจากการประชุม ณ กรุง

สตอกโฮล์มในครัง้ นัน้ ได้กำ�หนดเป้าหมายในการ ลดและเลิกใช้สาร POPs 12 ชนิด ดังตารางที่ 1ซึ่งสารดังกล่าวมีที่มาจากแหล่ง อุตสาหกรรมและแหล่งอื่นๆ เช่น เป็นสารเคมี ที่ ใช้กำ�จัดศัตรูพชื สารเคมีทางอุตสาหกรรม และ สารมลพิษทีป่ ลดปล่อยโดยไม่จงใจจากขบวนการ เผาไหม้และกระบวนการผลิต ซึ่งสารพิษเหล่านี้ มีคุณสมบัติคล้ายกัน 4 ประการ คือ มีความเป็นพิษสูง ตกค้างยาวนานเป็นเวลาหลายปีกว่าจะ เปลี่ยนไปอยู่ ในสภาพที่ ไม่เป็นอันตราย มีการระเหยและเคลื่อนย้ายไปได้ ไกลทั้ง ในอากาศและนํ้า สะสมในเนื้อเยื่อไขมัน จากการเพิ่มเติมสารจำ�นวน 9 ชนิดนั้นพบว่ามี สารกลุ่มหนึ่งเป็นที่น่าสนใจคือ สารกลุ่ม Polybrominated Diphenyl Ethers ซึ่งตาม POPs ชนิดใหม่กำ�หนดไว้เพียง 2 ชนิด คือ commercial pentabromodiphenyl ether (c-PentaBDE) และ commercial octabromodiphenyl ether (c-OctaBDE) หรือที่เรียกเปน กลุ่มว่า Polybrominateddiphenyl ether (PBDEs) เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีข้อมูล การผลิต การจำ�หน่าย การนำ�เข้าหรือแม้แต่

สาร PBDEs เป็นสารอินทรียท์ มี่ นุษย์

สังเคราะห์ขนึ้ มา และผลิตทางการค้า เพือ่ นำ�มา ใช้ ในงานด้านอุตสาหกรรม โดยนำ�มาเติมลงใน ขบวนการผลิตอุปกรณ์ ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า จอภาพคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์รวมถึงสิ่งทอ ต่างๆ เช่น พรม ผ้าม่าน ที่นอน และโซฟา เพื่อ วัตถุประสงค์ทำ�ให้การติดไฟช้าลง จึงเรียกสาร กลุ่มPBDEs นี้ว่า สารหน่วงการติดไฟ

13


ตารางที่ 1 แสดงชนิดของสารพิษตกค้างยาวนาน 12 ชนิด รายการที่

รายชื่อสารเคมี

วัตถุประสงค์การใช้งาน

1 aldrin ด้านการเกษตร 2 chlordane ด้านการเกษตร 3 DDT ด้านการเกษตร/สาธารณสุข 4 dieldrin ด้านการเกษตร 5 endrin ด้านการเกษตร 6 heptachlor ด้านการเกษตร 7 mirex ด้านการเกษตร 8 toxaphene ด้านการเกษตร 9 polychlorinated biphenyls ด้านอุตสาหกรรม 10 hexachlorobenzene ด้านอุตสาหกรรม 11 dioxins สารที่ปลดปล่อยโดยมิได้จงใจ ปัจจุบันมีสาร POPs ตัวใหม่ ได้ถูกบรรจุไว้ ในอนุสัญญาสตอกโฮล์มเพิ่มเติม สืบเนื่องจาก การประชุมสมัยที่ 4 เมื่อ พฤษภาคม 2552 ให้บรรจุรายชื่อสารเคมี 9 ชนิดภายใต้อนุสัญญา สตอกโฮล์มดังนี้ 12 furans สารที่ปลดปล่อยโดยมิได้จงใจ

ตารางที่ 2 แสดงชนิดของสารพิษตกค้างยาวนาน 9 ชนิด

รายการที่

รายชื่อสารเคมี

วัตถุประสงค์การใช้งาน

1 alpha-hexachlorocyclohexane (alpha-HCH) ด้านการเกษตร 2 beta-hexachlorocyclohexane (alpha-HCH) ด้านการเกษตร 3 chlordecane ด้านการเกษตร 4 lindane ด้านการเกษตร/สาธารณสุข 5 hexabomobiphenyl (HBB) ด้านอุตสาหกรรม 6 pentachlorobenzene (PeCB) ด้านอุตสาหกรรม 7 commercial pentabromodiphenyl ether (c-PentaBDE) ด้านอุตสาหกรรม 8 per uorooctane sulfonate (PFOS) ด้านอุตสาหกรรม 9 commercial octabromodiphenyl ether (c-OctaBDE) ด้านอุตสาหกรรม

14


ปัจจุบันสาร PBDEs ถูกจัดให้อยู่ ในกลุ่มสารพิษตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants, POPs)ในสิ่งแวดล้อม และอยู่ ในกลุ่มของสารรบกวนระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine Disruptor Compounds, EDCs) ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลายประเทศทางแถบ ยุโรป เช่น สวีเดน และนอร์เวย์มีการห้ามนำ�สาร PBDEs ชนิด decabromo diphenyl ether มา ใช้ ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ ไฟฟ้าส่วนประเทศทางแถบ เอเชีย เช่น ประเทศจีน ออกกฎหมายห้ามนำ�สาร PBDEs ชนิด octa และ pentabromodiphenyl ether มาใช้ ในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ ไฟฟ้าออกมาบังคับใช้แล้วเช่นกัน สำ�หรับประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายการห้ามนำ�สาร PBDEs มาใช้ ในอุตสาหกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตามประเทศไทย ได้ ให้สัตยาบันในอนุสัญญา สตอกโฮล์ม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมจากสาร มลพิษตกค้างยาวนานการติดตามตรวจสอบสารพิษตกค้างยาวนานในสิง่ แวดล้อม เป็นความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานThe United Nations University และศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม โดย ในปี 2554 ได้ทำ�การตรวจวิเคราะห์ปริมาณสาร PBDEs เพือ่ ประเมินสถานการณ์ของการตกค้างของ สาร PBDEs ในตัวอย่างตะกอนดิน และนำ�ข้อมูลสนับสนุนคณะกรรมการ Stockholm’s convention ของประเทศไทยในปี 2554 Stockholm’s convention ประกาศให้สาร PBDEs เป็น “New POPs” ผลการตรวจวัดปริมาณสาร PBDEs ในตะกอนดินจากอ่าวไทยโดยเก็บตัวอย่างตะกอนดิน 16 จุด จากปากแม่นํ้าในอ่าวไทยตอนบน รวมถึงพื้นที่อุตสาหกรรม ตัวอย่างตะกอนดินทำ�การสกัดด้วย วิธี soxhletextraction เป็นเวลา 20 ชั่วโมง และวิเคราะห์ด้วยเครื่อง GC/MS QP 2010 โดยใช้ คอลัมน์ Rtx1614การทดสอบหาเปอร์เซนต์ recovery ดำ�เนินการทดสอบโดยใช้เทคนิคการเติม สารที่เป็น 13C-PBDE(สาร Labeled-BDE) 9 ชนิด คือ ตั้งแต่ Tri-BDE ถึง Deca-BDE และสาร Native-BDE 7 ชนิด คือTri-BDE ถึง Hepta-BDE ลงในตัวอย่างตะกอนดินและทำ�การวิเคราะห์ ทุกขั้นตอนเหมือนตัวอย่างปกติเพื่อทดสอบความสามารถในการสกัดตัวอย่าง (% recovery test) ซึ่งในที่สุดแล้วปริมาณสารที่สามารถสกัดออกมาได้จะมีความเข้มข้นเทียบกับปริมาณ 13C-PBDE ที่เติมลงไปตอนต้นนั้นคิดเป็นร้อยละ 90-108% และค่าความสามารถที่ตํ่าที่สุดที่สามารถตรวจวัด ได้ด้วยวิธีนี้ (Limit of quantitation, LOQ) อยู่ ในช่วง 0.12 นาโนกรัมต่อกรัม ถึง 0.46 นาโนกรัม ต่อกรัมผลการตรวจวัดสรุปว่าไม่พบสาร PBDE ในตัวอย่างตะกอนดินเนื่องจากปริมาณที่พบนั้นมี ปริมาณตํา่ กว่าค่า LOQ มาก จึงสรุปว่าไม่พบปริมาณสาร PBDEs ตกค้างในตัวอย่างตะกอนดินทีเ่ ก็บ จากแม่นํ้าสายหลัก 4 สายของประเทศไทย ได้แก่ แม่นํ้าเจ้าพระยา แม่นํ้าแม่กลอง แม่นํ้าบางปะกง

เอกสารอ้างอิง Gevao, B., Jaward, F.M., MacLeod,M., and Jones, K.C., 2010. Diurnal Fluctuations in Polybrominated Diphenyl Ether Concentrations During and After a Severe Dust Storm Episode in Kuwait City, Kuwait 44, 8114–8120. Hooper, K. and McDonald, T.A., 2000. The PBDEs: an emerging environmental challenge and another reason for breast-milk monitoring programs. Environ Health Prospect 108, 387–392. Ronald, A.H., 2004. Polybrominated Diphenyl Ethers in the Environment and in People: INCLUDEPICTURE “http:// pubs.acs.org/appl/literatum/publisher/achs/journals/entities/2009.gif” \* MERGEFORMATINET A Meta-Analysis of Concentrations. Environmental Science and Technology 38, 945–956. The United Nation University and Shimadzu Corporation, 2010. Training Workshop; Testing method for brominated diphenyl ethers (BDEs) in sediment by GC/MS manual.

15


ติดตามเเฝ้าระวัง โดย : ธนาพันธ์ สุกสอาด นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

การประเมินผลกระทบด้านเสียง จากโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเพิม่ เติม

หลังจากเปิดใช้ทา่ อากาศยานสุวรรณภูมเิ มือ่ เดือนกันยายน พ.ศ.2549 ได้มปี ระชาชนทีอ่ าศัย

อยู่โดยรอบท่าอากาศยานร้องเรียนเกีย่ วกับปัญหามลพิษทางเสียงทีเ่ กิดจากการขึน้ และลงของเครือ่ ง บินทัง้ กลางวันและกลางคืนเป็นจำ�นวนมาก จึงทำ�ให้มผี สู้ นใจเกีย่ วกับปัญหามลพิษทางเสียงมากขึน้ ตลอดจนวิธีการประเมินผลกระทบด้านเสียงจากโครงการท่าอากาศยานว่ามีวิธีการอย่างไรและใช้ ค่าตัวแปรใดเป็นเกณฑ์ สำ�หรับการประเมินผลกระทบด้านเสียงจากอากาศยานในประเทศไทยใช้ค่า Noise Exposure Forecast, NEF สำ�หรับประเมินและจัดทำ�แผนที่เส้นเสียงซึ่ง NEF (Noise Exposure Forecast) หมายถึง เส้นทำ�นายค่าระดับเสียงจากโครงการท่าอากาศยาน เป็นเครื่องมือในการจัดทำ�รายงาน ผลกระทบสิง่ แวดล้อม (Environmental Impact Assessment, EIA) สำ�หรับประเมินพืน้ ทีท่ คี่ าดว่าจะ ได้รบั ผลกระทบด้านเสียง และรวมถึงเป็นเครือ่ งมือสำ�หรับการวางแผนจัดการการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ ทีเ่ หมาะสมกับพืน้ ทีบ่ ริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน ค่า NEF ไม่มหี น่วย สำ�หรับผลกระทบด้านเสียงจาก โครงการท่าอากาศยานสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังแสดงในตารางที่ 1

16


ตารางที่ 1 ผลกระทบด้านเสียงจากโครงการท่าอากาศยาน NEF น้อยกว่า 30 30-35 35-40 มากกว่า 40

ผลกระทบด้านเสียง

พื้นที่นั้นไม่มีผลกระทบด้านเสียงจากท่าอากาศยาน มีเสียงรบกวนจากท่าอากาศยาน ที่อยู่อาศัยในบริเวณ ต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อลดเสียง มีเสียงรบกวนจากท่าอากาศยานมาก และจะต้องมี มาตรการในการแก้ ไขที่อยู่อาศัยในบริเวณต้องได้รับการ ปรับปรุงเพื่อลดเสียง มีเสียงรบกวนจากท่าอากาศยานรุนแรง และต้อง ดำ�เนินการเจรจาขอซื้อที่ดินหรือจ่ายค่าชดเชย

เครื่องมือที่ ใช้ ในการจัดทำ�เส้นเสียง NEF ปัจจุบันนิยมใช้ โปรแกรมแบบจำ�ลองทางคณิตศาสตร์ Integrated Noise Model (INM) ที่ พัฒนาขึ้นโดยหน่วยงาน Federal Aviation Administration ประเทศสหรัฐอเมริกาฉบับล่าสุดเป็น รุ่น 7.0b ปรับปรุงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 NEF นั้นมิได้มาจากการตรวจวัดโดยเครื่องมือตรวจ วัดระดับเสียง แต่มาจากการคำ�นวณด้วยโปรแกรม INM7.0bซึ่งจะมีฐานข้อมูลเสียงของเครื่องบิน แต่ละประเภทไว้แล้ว สำ�หรับข้อมูลนำ�เข้าที่สำ�คัญได้แก่ ตำ�แหน่งที่ตั้งของท่าอากาศยาน พิกัดทาง ภูมิศาสตร์ของทางวิ่งและข้อมูลกายภาพของท่าอากาศยาน เส้นทางการบิน จำ�นวนเที่ยวบินเฉลี่ย ชนิดของอากาศยาน และข้อมูลอุตุนิยมวิทยา เช่น อุณหภูมิ ความเร็วลม สำ�หรับจำ�นวนเทีย่ วบินเฉลีย่ หมายถึง จำ�นวนเทีย่ วบินเฉลีย่ ต่อวัน ซึง่ หาได้จากข้อมูล สถิติรายปี ในกรณีการจัดทำ�รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ด้านเสียง จำ�นวนเที่ยวบินเฉลี่ย สามารถประเมินได้จาก 1. ขีดความสามารถสูงสุดในการรองรับอากาศยาน 2. ความสามารถในการรองรับอากาศยานตามอัตราการเจริญเติบโตในอนาคต (Aircraft Movement

17


การติดตามตรวจสอบเส้นเสียงจากโครงการท่าอากาศยาน การติดตามตรวจสอบเส้นเสียงจากโครงการท่าอากาศยาน จะต้องจัดทำ�เส้นเสียงจากการ ดำ�เนินการในสถานการณ์การบินจริงทุกๆ 1-2 ปีโดยใช้ โปรแกรมแบบจำ�ลองทางคณิตศาสตร์และ ใช้ข้อมูลค่าเฉลี่ยจำ�นวนเที่ยวบินรายวันจากสถิติการบินใน 1- 2 ปีนั้น นอกจากนี้ยังต้องมีสถานี ตรวจวัดเสียงเพื่อใช้เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างค่า NEF ที่คำ�นวณได้จากการตรวจวัดจริงกับค่า NEF ที่ ได้จากการคำ� นวณโดยแบบจำ� ลองทางคณิตศาสตร์รายปี การคำ�นวณ NEFนั้นสามารถคำ�นวณ ได้จากสมการดังนี้ NEFij = EPNLij+10log (Nd+16.67Nn)-88 โดย EPNLij (Effective PerceivedNoise Level) คือระดับเสียงอ้างอิง สำ�หรับเครื่องบินชนิด i และ เส้นทางบิน j Nd = จำ�นวนของเครื่องบินในเวลากลางวัน (ช่วงเวลา 07.00 น.ถึง 22.00 น.) Nn = จำ�นวนของเครื่องบินในเวลากลางคืน (ช่วงเวลา 22.00 น.ถึง 07.00 น. NEF มีการชดเชยค่าระดับเสียงทีเ่ กิดขึน้ ในเวลากลางคืน (22.00 น.ถึง 07.00 น.) โดยถือว่าเครือ่ งบินใน เวลากลางคืนรบกวนมากกว่าในเวลากลางวันForecast)

การแก้ ไขปัญหามลพิษทางเสียงจากอากาศยานในต่างประเทศ ในประเทศต่างๆ ที่มีปัญหาเรื่องมลพิษทางเสียงจากท่าอากาศยานได้มีการจัดทำ�โครงการ การจัดการเสียงที่เหมาะสมที่เรียกว่า Noise Compatibility Program(NCP) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ควบคุมเสียงจากอากาศยานและการจัดการการใช้ที่ดินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาท่า อากาศยาน วัตถุประสงค์ทสี่ ำ�คัญของโครงการการจัดการเสียงทีเ่ หมาะสมคือการศึกษาค่าระดับเสียง จากโครงการท่าอากาศยานในปัจจุบันNEF ผลกระทบด้านเสียงน้อยกว่า 30 พื้นที่นั้นไม่มีผลกระ ทบด้านเสียงจากท่าอากาศยาน30-35 มีเสียงรบกวนจากท่าอากาศยาน ที่อยู่อาศัยในบริเวณต้อง ได้รับการปรับปรุงเพื่อลดเสียง35-40 มีเสียงรบกวนจากท่าอากาศยานมาก และจะต้องมีมาตรการ ในการแก้ ไขที่อยู่อาศัยในบริเวณต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อลดเสียงมากกว่า 40 มีเสียงรบกวนจาก ท่าอากาศยานรุนแรง และต้องดำ�เนินการเจรจาขอซื้อที่ดินหรือจ่ายค่าชดเชยตารางที่ 1 ผลกระทบ ด้านเสียงจากโครงการท่าอากาศยาน17 ซึ่งรวมถึงพื้นที่ที่ ได้รับผลกระทบด้านเสียงจากโครงการ ท่าอากาศยานด้วย โดยเสนอแนะมาตรการเพื่อลดระดับเสียงจากเครื่องบินตลอดจนการเปลี่ยน การจัดการการบินให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหา ในพื้นที่ที่ยังไม่ถูกพัฒนาซึ่งอยู่บริเวณโดยรอบท่า อากาศยานให้มีการส่งเสริมการใช้ที่ดินที่เหมาะสมกับการพัฒนาท่าอากาศ ยานในอนาคตตัวอย่าง เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเป็นเขตเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรือย่านการค้า มากกว่าที่จะเป็น ทีอ่ ยูอ่ าศัย หรือเป็นสถานทีท่ ี่ไวต่อการรับเสียงเช่น โรงเรียน ศาสนสถานหรือโรงพยาบาล นอกจาก นี้พื้นที่ที่เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบในอนาคตหรือได้รับผลกระทบในปัจจุบัน ควรมี การกำ�หนดทางเลือกทีเ่ หมาะสมในการลดจำ�นวนผู้ ได้รบั ผลกระทบดังกล่าว สำ�หรับโปรแกรมทีจ่ ดั ทำ� ขึน้ ควรมีการนำ�ไปปฏิบตั ิ ทบทวนและ ปรับปรุงแก้ ไขให้ทนั สมัยอยูเ่ สมอเพือ่ ให้การแก้ ไขปัญหา หา

18

มลพิษทางเสียงจากอากาศยานเปน็ ไปอย่างมีประสิทธิภาพ (http://scottsdalairport.com)


ตารางที่ 2 การใช้ที่ดินตามข้อกำ�หนดของ Federal Aviation Administration (FAA)

การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน

การจัดการและการวางแผนการใช้ที่ดินบริเวณโดยรอบท่าอากาศยานถือว่าเป็นวิธีการจัดการปัญหาที่ ได้ผลดีที่สุดทั้งนี้เพื่อให้แน่ ใจว่ากิจกรรม ต่างๆ ที่อยู่ ใกล้กับอากาศยานเหมาะสมสำ�หรับกิจกรรมการบิน การจัดการ การใช้ประโยชน์ที่ดินนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดจำ�นวนประชากรที่ ได้รับ ผลกระทบจากปัญหาเสียงรบกวนของเครื่องบินขณะบินขึ้นและลง Federal Aviation Administration (FAA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำ�การ แบ่งเขต การใช้ทดี่ นิ บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานดังแสดงในตารางที่ 2 โดยใช้คา่ ระดับเสียงกลางวันกลางคืน( Ldn) เป็นเกณฑ์ซงึ่ เมือ่ เปรียบกับระดับ NEF แล้วNEF 30 จะมีค่าประมาณ Ldn เท่ากับ65 เดซิเบล (เอ) จากตารางที่ 2จะเห็นได้ว่ากิจกรรมประเภทที่อยู่อาศัยสถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน วัดศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานพักฟื้นเป็นพื้นที่อ่อนไหว (sensitive area)ไม่เหมาะสมสำ� หรับพื้นที่ที่ ได้รับผลกระทบจากเสียงของท่าอากาศยาน สำ�หรับกิจกรรมทีส่ ามารถกระทบได้ ในพืน้ ทีท่ ี่ได้รบั ผลกระทบด้านเสียงจากท่าอากาศยาน เช่น การใช้ทดี่ นิ เพือ่ ธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับกิจกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน เช่น โรงแรม ภัตตาคารโกดังเก็บสินคา้ กจิ กรรมเกยี่ วกับการนำ�เขา้และส่งออกสินค้า ตลอด จนอุตสาหกรรมทที่เกี่ยวข้องกับการบิน ดังนั้น จึงควรวางแผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบ เพื่อลดปัญหาผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต

19


ก้าวหน้าพัฒนา โดย : รัฐ เรืองโชติวทิย์ นักวิชาการสิ่งแวดลอมชำ�นาญการพิเศษศูนยวิจัยและฝกอบรมดานสิ่งแวดลอม

การพัฒนาผลิตภัณฑชุมชน การจัดการสิ่งแวดลอม ผลิตภัณฑ ชมุ ชนหมายถึงผลิตภัณฑ

ท่ผี ลิตในชุมชนโดยใชภมูปิ ญ  ญาชาวบ้านวัตถุดบิ พืน้ บา นหรือมีการคิดคนจากท้องถิน่ ในความเปน เอกลักษณของชุมชนนัน้ มีความโดดเดนเปนการ ผลิตจากการทำ�ในครัวเรือนมาสูก าร รวมกลุม่ กัน ในชมุชนโดยป 2545 สมัยรัฐบาลพตท.ดร.ทักษิณ ชิ น วั ต รได ห ยิ บ ยกเป น นโยบายสํ า คั ญ ที่ ส นั บ สนุนใหชุมชน ได้มีผลติภัณฑแตละตําบลทเี่รา รู้จักกันในชื่อหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ (OTOP) และจากการศึกษาวัสดุสิ่งของเคร่ืองใช ตลอด จนการผลิตจากภูมิปญญาชาวบ้านจะมีคําว่า ผลิตภัณฑ์ชุมชน (communityproduct) เป็น คําท่ีนิยมใชกันในปัจจุบัน ซึ่งในที่นี้เราให้ความ หมายรวมถึงการบริการการท่องเที่ยวที่สามารถ ตอบสนองความต้องการของผูบ้ ริโภคสะท้อนให้ เห็นวฒันธรรมและประเพณีท้องถิ่นหรือชุมชน นั้นๆ เป็นภูมิปัญญาไทย และกระบวนการทาง ความคิด จากศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การตอ ยอดภูมปิ ญ  ญาทองถ่นิ และการแลกเปล่ยี นเรียน รู เพือ่ ใหเ ปน ผลิตภัณฑท มี่ คี ณ ุ ภาพ มีจดุ เดน จดุ ขายที่รู้จักกันแพร่หลาย จะเห็นไดว า จากความหมายผลิตภัณฑช มุ ชน จึงเปนความจําเปน ท่ผี ปู ระกอบการตอ งคํานึงถึง การพัฒนาผลิตภัณฑ การบริการและการควบคุม คุ ณ ภาพการผลิ ต ให้ ได้ ม าตรฐานที่ ผ่ า นมามี มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ที่สํานักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑอตุ สาหกรรม (มอก.) กําหน

20

ดมาตรฐานสินคาขึน้ ตามชนิดสินคา ผลิตภัณฑชมุ ชนท่ี ขอการรับรอง สําหรับในดานการจัดกา รส่ิงแวดลอม มีขอกําหนดและมาตรฐานตางๆ ที่จะชวยใหผลิตภัณฑชุมชนที่มีการส่งออกต้อง คำ�นึงถึง และดำ�เนินการให้ ได้ตามข้อกำ�หนด ต่างๆ ของประเทศผู้สั่งซื่อสินค้าเช่น ระบบการ จัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 การใหฉลากสิ่ง แวดลอม ฉลากเขียว ฉลากประหยัดพลังงาน เปนตน ซึ่งสำ�หรับผลิตภัณฑ์ชุมชน นอกเหนือ จากการแข่งขันด้านราคา รูปแบบ ความสวยงาม เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ แลวยังต้องให้ความ ความต  อ งการสิ น ค  า ที่ เ ป น มิ ต รต่ อ สำ�คัญในการผลิตทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดลอมมากขึน้ สิ่งแวดล้อม (Eco product) ผูผลิตจากชุมชน ในบทความนีผ้ เู้ ขียนคิดและวิเคราะหจากปจจยัการ ต้องทำ�ความเข้าใจกฎระเบียบ ขอกําหนดของ ปรับตัวสําหรับด้านสิง่ แวดลอ มจากประเด็นต่อไปนี้ มาตรฐานการผลิตสินคาท่ปี ระกอบดว ยกระบวน การผลิต การใชสารเคมี การใชพลังงาน การ ใชทรัพยากร หลักคิดง่ายๆ ที่ชุมชนที่ต้องการ พัฒนาผลิตภัณฑตองพิจารณาตั้งแตการเลือก ใชวัตถุดิบการศึกษาขอมูลการผลิตสินคาที่เป็น มิตรต่อสิง่ แวดล้อมว่าต้องมีการจัดการสิง่ แวดล้อม อย่างไรแล้วกลับมาพิจารณากระบวนการผลิตใน ปัจจบุนั โดยเทียบกับมาตรฐานการผลิตท่ดี าํ เนิน การอยู รวมกับมาตรฐานคุณภาพดา นสิง่ แวดลอ ม เช่น การลดของเสียพลังงาน และการจัดการของ เสียที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเลือกใชสาร เคมี ในการผลิตเพื่อให ไดผลิตภัณฑที่ปลอดภัย เปนมิตรตอสิ่งแวดล้อมสำ�หรับผลิตภัณฑ์ชุมชน

1.


บทสรุป

ควรต้องพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ผลิตดวยการลงทุนใหน อ ยท่สี ดุ โดยการใหความ สําคัญกับการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมการผลิต อย่างง่าย เช่น ระบบการจัดการคุณภาพ (TQM) การทำ� 5 ส. ของโรงงานระบบการวางแผนการ ผลิตทีม่ีประสิทธิภาพเป็นต้น

2.

การพัฒนากระบวนการผลิต และการ ติ ด ตามข อ มู ล ข า วสารต า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สินค้า ผลิตภัณฑ์ที่ดำ�เนินการในปัจจุบัน ต้อง ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตใหทันตอกระแส ความตองการผลิตภัณฑที่เปนมิตรตอสิ่งแวด

ลอม ผูผลิต ตองใหความสําคัญตอการติดตาม ขาวสารการตลาด วิจัยและพัฒนาศักยภาพของ ผูผลิตสินคา โดยเฉพาะผลิตภัณฑชุมชนซึ่งมอง เหมือนเปนเรื่องยาก แตอยากให้คิดว่าทำ�ไมใน อดีตโบราณวิทยาการตางๆ จึงมีการพัฒนาการ ผลิตอย่างต่อเนือ่ ง จากภูมปิ ญ ั ญาของไทยทีม่ อี ยู่ หากวิเคราะห์ที่มา และนำ�มาประยกุต ใชจะเปน เครื่องมือ รูปแบบการผลิตท่ีเปนมิตรตอสิ่งแวด ลอมอยางงายๆ ที่เริ่มต้นจากองคความรูท่ีมีอยู

3.

ระบบฉลากด้านสิง่ แวดล้อมเป็นเครือ่ ง มือหนึ่งที่ผลิตภัณฑ ชุมชนนานำ�มาปรับใช โดย เริ่มจากการพัฒนาระบบฉลากที่เป็นมิตรตอสิ่ง แวดลอ มซึง่ ฉลากทีผ่ ลิตภัณฑ์ชมุ ชนนา จะพิจารณา คือฉลากสิ่งแวดลอมประเภทที่ 2 ที่ทำ�ไดง่าย และสะดวกต่อการปรับเปลี่ยนที่เป็นตัวตนของ

ผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยอาศัยหลักการสำ�คัญของ ฉลาก สิ่งแวดลอมประเภทที่ 2 คือการประกาศ ตนเองในการนําเสนอ ความสามารถในการ จัดการสิ่งแวดลอม ตามกําลัง ความสามารถ ของชุมชน เชน การลดของเสีย การจัดการของ เสีย การรี ไซเคิล ทรพัยากรเปนต้น การจัดการ สิ่งแวดลอมสําหรับผลิตภัณฑชุมชน เปนเรื่อง ใกลตัว ที่ตองคํานงึถึง โดยเฉพาะจากเครื่องมือ การจัดการสิง่ แวดลอมสําหรับ ผลิตภัณฑชมุ ชนที่ กลาวมาแลว ไมวาจะเปนระบบฉลากมาตรฐาน

การผลิตทีค่ าํ นงึ ถึงความเปน มิตรตอ สิง่ แวด ลอ มแลว นอกจากจะทําใหก ารผลิต ผลิตภัณฑชมุ ชน ไดคณ ุ ภาพดีขนึ้ ยังชวยลดคาใชจา ยอีกทางหนึง่ ในความหลากหลายของผลติ ภัณฑ์ชุมชนการ ลงทุนการผลิตที่เป็น ขอ จํากัด ความรูก ารผลิต ตามภูมปิ ญ ญาทอ ง ถิ่น และการสงเสริมผลิตภัณฑชุมชนใน การ จัดการสิ่งแวดลอม ตามที่ ไดกลาวถึงตองอาศัย เวลาและความทุมเทของผูประกอบการ จึงตอง ไดรับการสนับสนุนจากภาครัฐ และหนวยงา นที่เกี่ยวของในการใหสนับสนุน อยางเรงดวน ทันตอ กระแสความตอ งการของตลาด การพัฒนา ผลิตภัณฑชุมชนที่เปนมิตรตอ สิ่งแวดลอม ที่ ไดม าตรฐาน ตอ งเปน การพัฒนาที่ไมหยุดอยูก บั ที่ เพราะในตลาดโลกมีการ แขงขันสูงประเทศไทย จําเปน ตอ งสง เสริมสนับสนนุใหผ ลิตภัณฑช มุ ชนสรา ง นวัตกรรมในการผลิตมีศกั ยภาพและความพร้อม ทีจ่ ะพัฒนาอยางต่อเนือ่ งโดยเฉพาะมาตรฐานการ จัดการสิง่ แวดลอม จึงตองมีการยกเครือ่ งการพัฒ นาอยางมีระบบ มีเจาภาพและการดําเนินการที่ สอดคลอ งกัน บูรณาการองคค วามรูก ารผลิตกับ การจัดการสิง่ แวดลอ ม การใชท รัพยากร อยางมี ประสิทธิภาพ จะเปน กลไกสําคัญตอ การขับเคลือ่ น การผลิตสําหรับผลิตภัณฑชมุ ชนของประเทศ กับ การไดมาซึ่งการยอมรับสินคาที่เปนมิตรตอสิ่ง แวดลอมจากตางประเทศ ในวันนีก้ ารผลิตยังตามกับความตองการ ของตลาดและยังตองใหการสงเสริมการพัฒนาการ ผลิตอีกมากรวมทัง้ การประสานการให้ความรูก้ บั ผูป้ ระกอบการในชุมชนอย่างตอเนือ่ ง ซึง่ ตอ งทํา กันอยางจริงจังเปนวาระแหงชาติที่เราทั้งหลาย ตองชวยกันเพื่อวันนี้ และวันขางหนาสําหรับ ผลิตภัณฑชมุ ชน ผลิตภัณฑทแี่ สดงถึงความเปน ไทย ความเปน เอกลักษณของเราสูส ายตาชาวโลก ที่แสดงใหเห็นถึงความเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม

21


ก้าวหน้าพัฒนา โดย : นายรัฐ เรืองโชติวิทย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

การผลิตเซรามิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ตอบโจทย์การส่งออกสู่ตลาด

การผลิตเซรามิกส์ หรือเครือ่ งเคลือบดินเผา เป็นการผลิตทีม่ มี านานแล้ว จากบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี หรือ เครื่องเคลือบดินเผาจากเตาทุเรียง จังหวัดสุโขทัย มาสู่ เตามังกรทีผ่ ลิตโอ่ง จังหวัดราชบุรี จากภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้านสู่ อุตสาหกรรมทีม่ กี ารผลิตนับพันล้านบาท ทีข่ ายภายในประเทศ สูต่ ลาดโลก มีการ พัฒนามายาวนานประเทศไทย จึงเป็นประเทศหนึง่ ทีม่ กี ารออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ ตามความต้องการของตลาดโลกโดยเฉพาะรูปแบบ ความสวยงาม และความเป็น เอกลักษณ์ของศิลปะตะวันออกทีม่ คี วามเป็นตัวตนของชาติไทย ผูผ้ ลิตจึงต้องมีการ พัฒนาให้ทนั สมัย และเป็นไปตามข้อกำ�หนดต่างๆที่ให้ ผูผ้ ลิต ต้องปฏิบตั ติ ามข้อ กำ�หนดด้านสิง่ แวดล้อมเป็นส่วนหนึง่ ที่ในปัจจุบนั ผูผ้ ลิตต้องศึกษาและให้ความสำ�คญั

22


การตอบโจทย์สำ�หรับการส่งออกสู่ตลาดโลก สำ�หรับอุตสาหกรรมเซรามิกส์ต้องไม่เป็นการตั้ง รับรอคอยข้อกำ�หนดกฎระเบียบต่างๆ ออกมาแล้วจึงต้องปฏิบตั ติ าม ผูเ้ ขียนบทความนีจ้ งึ อยากจะใช้ ประสบการณ์ทที่ ำ�งานร่วมกับผูล้ ติ และมีความสุขในการพัฒนางาน สร้างภูมคิ มุ้ กันต่อกฎระเบียบตา่งๆ โดยเฉพาะด้านสิง่ แวดล้อมได้อย่างยัง่ ยืน และไม่จำ�เป็นต้องลงทุนสูงเพือ่ จัดการกับปัญหา ข้อกำ�หนด ด้านสิง่ แวดล้อมทีม่ อี ยูเ่ รือ่ ยๆ ตามความประสงค์ของประเทศผูส้ งั่ ซือ้ ทีม่ ขี อ้ กำ�หนดด้านสิง่ แวดล้อม สำ�คัญๆ ดังนี้ กลุ่มประเทศยุโรปจะเน้นการผลิตที่ ไม่ ใช้สารเคมีที่มีพิษหรือห้ามใช้ การกำ�จัดซากบรรจุภัณฑ์ และการรับผิดชอบต่อสินค้าทีม่ คี วามชำ�รุดต้องนำ�กลับไปทำ�ลายไม่ ให้ เป็นกากของเสียทิง้ ในประเทศ ของเขา ซึง่ ผูป้ ระกอบการจะต้องให้ความสนใจต่อมาตรการ Eco label หรือ EU flowerตัง้ แต่การจัดห าแหล่งวัตถุดบิ การดูแลผลกระทบสิง่ แวดล้อมจากกระบวนการผลิต ซึง่ จะมีผลต่อต้นทุนค่อนข้างมาก ประเทศญี่ปุ่นเน้นการรับรองตามมาตรฐานญี่ปุ่นเอง คือ JIS ที่ ให้ความสำ�คัญระบบ ควบคุมคุณภาพการผลิต การควบคุมคุณภาพการผลิต การใช้สารเคมี กลุ่มโพลิคลอริเนท-แนพทา ลีน ที่เป็นสารหล่อลื่น สี สารเพิ่มความเสถียรทางไฟฟ้าการทนตอ่ การติดไฟ หรือกลุม่ สารไตรบิว ทิวทินออกไซด์ (TBTO) ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อโรค สารต้านเชื้อรา เป็นต้น ประเทศจีน เน้นมาตรฐาน ฉลาก CCC Mark(China Compulsory Certication)และการ ทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานISO 10545-1 ถึง 7 เป็นต้น เพื่อเป็นโจทย์สำ�หรับผู้ประกอบการที่จะส่งออกเซรามิกส์ จึงขอนำ�เสนอประสบการณ์ ในแง่ มุมผู้ผลิตที่จัดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ดังนี้

23


1. ความเป็นตัวตนของภูมิปัญญาไทย ทำ�ให้หลายชาติอิจฉา ด้วยวัตถุดิบของไทยมีคุณภาพ ดินที่มีคุณภาพภูมิปัญญาการผลิตที่ ใช้เตามังกร (เตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาชนิดหนึ่ง) ที่ต้องให้ ความสนใจในการปรับปรุงระบบเตา การใช้เครื่องมือวัดระดับความร้อนที่เหมาะสมกับเวลาในการ เผาจะช่วยในการลดมลพิษทางอากาศและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ 2. การเลิกใช้สารพิษหรือโลหะในกระบวนการผลิตและวัตถุดบิ สำ�หรับการส่งเซรามิกส์ขายใน สหภาพยุโรปผูป้ ระกอบการจะต้องคำ�นึงถึงหรือให้ความสนใจต่อมาตรการ Eco-Labelหรือ EU flower ในเรื่องแหล่งที่มาของวัตถุดิบ การดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต supplier ที่เป็น ผู้จัดหาวัตถุดิบมีความแตกต่างกัน หากEco Label มผี ลบังคับใหผ้ ปู้ ระกอบการต้องปรับตัวมาก ขึ้น ถึงแม้จะเป็นมาตรการสมัครใจก็ตาม 3. การศึกษาข้อมูลให้ทันสมัยจากSupplier เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่มา ของแหล่งดิน วัตถุดบิ ตัง้ แต่ตน้ น้ำ�ถึงปลายนา้ํ การกำ�จัดของเสียข้อมูลการลดผลกระทบสิง่ แวดล้อม ที่ต้องพัฒนากระบวนการผลิต ซึ่งอาจทำ�ให้มีผลต่อต้นทุน เช่น ถ้าในเตาเผามีตะกั่วอยู่แล้ว แม้ นำ�สีที่ ไม่มีตะกั่วมาใช้หรือการเปลี่ยนเตาหรือกระบวนการผลิตก็อาจมีตะกั่วปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเตาที่มีการปนเปื้อนแล้วทำ�ให้มีค่าใช้จ่ายสูง 4. ปัญหาอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ไทยคือ สินค้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่ผลิตในประเทศจาก โรงงานขนาดเล็ก และมีผลิตภัณฑ์นำ� เข้าจากต่างประเทศจำ�นวนมาก เช่น จีนและเวียดนามนั้น ยังไม่มกี ารตรวจสอบคุณภาพสินค้า ซึง่ ผลิตภัณฑ์เหล่านัน้ อาจมีการปนเปือ้ นสารเคมีทเี่ ป็นอันตราย ต่อผูบ้ ริโภคได้อย่างไรก็ตาม สำ�หรับสินค้าทีผ่ ลิตในประเทศกำ�หนดมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐาน อุตสาหกรรม (มอก.) อยูแ่ ล้วซึง่ ผูผ้ ลิตต้องผลิตให้ ได้มาตรฐานก่อนวางจำ�หน่าย ในขณะทีส่ นิ ค้านำ�เข้า สามารถวางขายในท้องตลาดทั่วไปได้จึงมีราคาถูกกว่าสินค้าของประเทศเรา

5. จากกฎระเบียบต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วเป็นปัญหาที่เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาด กลางและขนาดเล็กในด้านเทคโนโลยีการผลิต การปรับเปลีย่ นกระบวนการตอบสนองต่อข้อกำ�หนด ระเบียบของที่ลูกค้าต้องการ มีผลต่อการหาแหล่งเงินทุนในการปรับปรุงอย่างมาก เช่น การแก้ ไข การปนเปื้อนสารเคมีตกค้างในเตาเผา โดยการเปลี่ยนเตาเผา ต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หรือการ ปรับเปลี่ยนการผลิตโดยใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่มโรงงานเซรามิกส์ ลำ�ปาง เมื่อราคาก๊าซสูงขึ้นต้อง ปรับเปลี่ยนวิธีการเผา เป็นต้น 6. ปัญหาการรับรองและทดสอบผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานของไทยยังไม่เพียงพอ หน่วย บริการทดสอบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑเซรามิกส์ทผี่ ผู้ ลิตใช้บริการ เช่น กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ(MTEC)สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (วว.) ใช้ระยะเวลา ในการทดสอบประมาณ 7-14 วัน และต้องรอส่งตัวอย่างทดสอบด้วยความลำ�บาก มีระยะทางไกล เช่น กลุ่มโรงงานเซรามิกส์ลำ�ปางส่งทดสอบที่กรุงเทพฯ เป็นต้น

24


จากโจทย์ที่ตั้งไว้ ขอตอบโจทย์จากแนวคิดของงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากประสบการณ์ชีวิตที่ คลุกคลี ในวงการนี้มองจากผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อกำ�หนด กฎ ระเบียบในการส่งออกสินค้า สู่ตลาดโลกในปัจจุบันและอนาคต ดังนี้ ควรมีการพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพสินค้าที่ทันสมัย เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและความสามารถในการแข่งขัน ปัจจัยสำ�คัญคือเพิ่ม ศักยภาพบุคลากรการผลิต การออกแบบที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความสามารถในการผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีหน่วยงานรองรับการทดสอบหรือการตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบ (Testing Lab) และหน่วยตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) เพื่ออำ�นวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการควรมีหน่วยงานให้คำ�ปรึกษาในการส่งออกเซรามิกส์ และติดตามมาตรฐานต่างๆ มาตรการที่ต่างประเทศกำ�หนดควรเน้นการประชาสัมพันธ์ ทำ�ความเข้าใจกฎระเบียบแต่ละประเทศกลุ่มผู้สั่งซื้อสินค้า อย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน สินค้าเซรามิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่สำ�คัญที่ควรให้ความสำ�คัญการออกแบบซึ่งต้องมีแนวคิดในการออกแบบที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วย ตอบโจทย์ตรงตามความต้องการของลูกค้าควรมีการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีเพื่อการลดของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การประหยัดพลังงาน และควรส่งเสริมกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสรุปจากที่กล่าวมาแล้วทั้งข้อกำ�หนดต่างๆ ในแต่ละกลุ่มประเทศยัง ต้องอาศัยความร่วมมือของจากภาครัฐ หน่วยงานการศึกษาวิจยั และผูป้ ระกอบการทีต่ อ้ งตอบรับต่อการเปลีย่ นแปลง การพัฒนาระบบการผลิต มีการ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ ติดตามข่าวสาร ข้อมูลข้อกำ�หนดต่างๆ ใหทันสมัยอยูต่ ลอดเวลาซึง่ ในอนาคตกระแสการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะในด้าน สิ่งแวดล้อมจะเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้ส่งออกเซรามิกสจะต้องให้ความสนใจและปฏิบัติ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจะทำ�ให้ประเทศของเรายืนอยู่ ได้ ในเวทีโลก เอกสารอ้างอิง : - สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.2543. สู่ทศวรรษใหม่ของการค้า-สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย.กรุงเทพฯ - กรมควบคุมมลพิษ 2549. การออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ - รัฐ เรืองโชติวิทย์ 2548. บทบรรยาย วิชาการจัดการมลพิษ กรณีศึกษาการส่งออกสินค้าไทย.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ - กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รายงานการศึกษาการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิตเซรามิกส์ กทม. 2553

25


ก้าวหน้าพัฒนา โดย : สุรสิน ธรรมธร นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

แก้ปญ ั หาสิง่ แวดล้อม...ด้วยการวิจยั ...

ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในประเทศไทยและทั่วโลก เช่น ปัญหานำ�้เสีย มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง

ขยะล้นเมือง ฯลฯ ต้นตอของปัญหาต่างๆ ล้วนแล้วเกิดจากนำ�มือมนุษย์แทบทั้งสิ้น การใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า การตัดไม้ทำ�ลายป่า การเพิม่ ปริมาณจำ�นวนประชากรอย่างรวดเร็ว กการขยายตัวของภาครัฐโดมิได้คดิ ถึงอัตราก การ รองรับของภาคสิ่งแวดล้อม สาเหตุดังกล่าวมีการกล่าวถึงมาอย่างยาวนาน แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าสาเหตุดังกล่าวยัง ไม่ ได้รับการแก้ ไขให้หมดไป ในยุคโลกาภิวัตน์ด้านการศึกษา มนุษย์ ได้คิดค้นกระบวนการเพื่อนำ�มาใช้แก้ปัญหาสิ่ง แวดล้อมโดยอาศัยกระบวนการค้นหาและพัฒนาความรูข้ องมนุษย์อย่างเป็นระบบทีเ่ รียกว่า กระบวนการวิจยั ปัจจุบนั อาจแบ่ง กระบวนการวิจัยได้ออกเป็น 2 วิธีการวิจัยหลักๆ คือ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธกี ารวิจยั ทัง้ 2 วิธี นัน้ จะนัน้ นำ�มาซึง่ องค์ความรู้ ใหม่เพือ่ นำ�มาใช้ ในการพัฒนาด้านต่างๆ เพือ่ ให้ชวี ติ มนุษย์ดำ�รงอยู่ ได้ การใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ ข้อดี คือ การทำ�ให้เห็นผลประจักษ์ ในเชิงตัวเลขอย่าง ชัดเจน สามารถสุ่มตัวอย่างได้ทั่วถึง ข้อมูลจึง สามารถใช้เป็นอ้างอิงได้แต่เมื่อนำ�มาใช้ ในการ แก้ปญ ั หาสิง่ แวดล้อมจริงๆ เช่น การแก้ ไขปัญหา เรื่องขยะมูลฝอย ผลการศึกษาดังกล่าวทำ�ให้รู้ ข้อมูลด้านต่างๆ เช่น ปริมาณขยะมูลฝอยที่ เกิดขึ้นจริงในแต่ละวัน องค์ประกอบของขยะ มูลฝอย แต่ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงข้อมูล สนับสนุนเพื่อตัดสินใจในการแก้ปัญหาเท่านั้น ส่วนกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นศึกษา ธรรมชาติของมนุษย์ที่ ไม่สามารถตีค่าออกมา

26

ในรูปของตัวเลขได้ การวิจัยชนิดนี้เน้นการเข้า ถึงกลุ่มประชาชนและบริบทของพื้นที่ศึกษามี ตัวนักวิจัยเองเป็นเครื่องมือหลักในการวิจัย ผล การศึกษาจึงสามารถใช้ ได้กบั พืน้ ทีท่ ที่ ำ�การศึกษา เท่านั้น ยากต่อการนำ�ไปใช้ ในพื้นที่ ที่มีบริบท แตกต่างกัน ในกระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูป ธรรม กุญแจสำ�คัญ คือ ประชาชน ด้วยเหตุนี้ เองการผสมผสานการวิจยั เชิงปริมาณเพือ่ ให้เห็น ภาพชัดเจนในเชิงประจักษ์ และใช้กระบวนการ วิจยั เชิงคุณภาพเพือ่ เปลีย่ นมนุษย์ทเี่ ป็นศัตรูของ ธรรมชาติ ให้เข้าใจ และตระหนักถึงความสำ�คัญ

พร้อมทีจ่ ะให้ความร่วมมือในการแก้ปญ ั หา สอด แทรกการสร้างจิตสำ�นึกในคุณค่าของสิง่ แวดล้อม ชี้ ให้เห็นผลกระทบที่จะเกิดกับตนเองและบุคคล รอบข้างเมื่อสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง


การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเริ่มจาก บริบทที่ 1 รู้สภาพและปัญหาทที่แท้จริงเริ่มจากศึกษาถึงปรากฏการณ์ แสวงหาความจริงใน สภาพที่เป็นนอยู่โดยธรรมชาติ (Naturalistic Inquiry) เปรียบเสมือนการสอบสวน มองภาพรวมทุก มิติ (Holistic Perspective) ด้วยตัวผูว้ จิ ยั เองอาศัยทัง้ ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพือ่ หาความ สัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทสี่ อดคล้องกับสภาพแวดล้อมนัน้ โดยให้ความสำ�คัญกับข้อมูลทีเ่ ป็นความ รูส้ กึ นึกคิดคุณค่าของมนุษย์และความหมายทีม่ นุษย์ ให้ตอ่ สิง่ แวดล้อมต่างๆรอบตัววิเคราะห์ขอ้ มูล โดยการตีความสร้างข้อสรุปในแต่ละกรณีจนไปถึงการสร้างข้อสรุปในภาพรวมทีเ่ รียกว่าการสร้างข้อ สรุปแบบอุปนัย(Inductive Analysis) บริบทที่ 2 สร้างการมีสว่ นร่วม ใช้กระบวนการวิจยั เชิงคุณภาพชักนำ�ประชาชนให้เห็นสภาพปัญหา สอดแทรกข้อมูลเชิงปริมาณทีเ่ กิดขึน้ จริง ชี้ ให้เห็นภาพผลกระทบอย่างชัดเจน สัมผัสได้ อาศัยทักษะ การโน้มน้าวจิตใจ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงทัศนะเกีย่ วกับปัญหา เพือ่ ให้เกิดการแลเปลีย่ น ความคิดเห็นในหมูป่ ระชาชน พร้อมร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหา และสร้างแนวทางการแก้ปญ ั หา ในแบบฉบับของตนเอง โดยนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญภายนอกเป็นผู้สนับสนุนข้อมลู ทางวิชาการ ให้กับประชาชน ทั่งนั้นจะะท ให้เกิดการยอมรับในวิธีการแก้ปัญหาทกี่ กำ�หนดขึ้น ประชาชนเกิด ความตระหนัก มีความภาคภูมิ ใจเมื่อปัญหาได้ถูกคลี่คลาย อีกทั้งยังเกิดความยั่นยืนของการแก้ ปัญหาในระยะยาว บริบทที่ 3 พร้อมเพรียงแก้ปัญหา ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติต้องมีการซักซ้อมความเข้าใจ วิธีการ ปฏิบัติที่ ได้ตกลงกัน และชี้ถึงผลตอบแทนที่จะได้รับเมื่อการแก้ปัญหาเป็นผลสำ�เร็จ ผลตอบแทนดัง กล่าวอาจไม่อยู่ ในรูปของตัวเงิน แต่อาจอยู่ ในลักษณะผลตอบแทนทางอ้อม เช่น สุขภาพทีด่ ขี นึ้ สิง่ แวดล้อมทีด่ ี ปัญหามลพิษลดลงสิง่ ทีข่ าดไม่ ได้คอื การกำ�หนดตัวชีว้ ดั การดำ�เนินการแก้ ไข ทัง้ นีต้ วั ชีว้ ดั อาจจะใช้ขอ้ มูลเชิงปริมาณมากำ�หนด และอาจนำ�วิธกี ารวิจยั เชิงปริมาณมาช่วยในการตรวจสอบเพือ่ ให้เกิดความชัดเจนยิง่ ขึน้ เมือ่ ระยะเวลาผ่านไปจะทำ�ให้เห็นผลจากการแก้ปญ ั หาได้อย่างชัดเจน ช่วง ระยะเวลาการลงมือปฏิบตั เิ พือ่ แก้ปญ ั หาต้องแบ่งออกเป็นระยะๆและในแต่ระยะจะต้องนำ�ข้อมูล ผล การดำ�เนินการ สภาพปัญหาที่เกิดจากการดำ�เนินการ อุปสรรค มาร่วมกันสนทนา และนำ�มาแก้ ไข ปรับปรุงเพื่อดำ�เนินการในระยะต่อไป กระบวนการศึกษาวิจยั เพือ่ การแก้ปญ ั หาสิง่ แวดล้อม ต้องคำ�นึงถึงกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ� ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับผลประโยชน์ โดยทุกขัน้ ตอนจะต้องอาศัยความเข้าใจและเข้าถึงบริบทของ ชุมชน ผสมผสานเทคนิคต่างๆ ในการศึกษา เช่น การสนทนากลุ่ม (Focus Group) หรืออาจใช้วิธี การวิจยั เชิงปริมาณร่วมด้วย เช่น การใช้แบบสอบถาม เพือ่ ศึกษาทัศนคติของประชาชนในพืน้ ที่ และที่ สิ่งที่ต้องคำ�นึงถึงตลอดการศึกษาวิจัยคือ 1) ทำ�ความรู้จักชุมชน และบริบทของชุมชนให้มากเพียงพอ 2) ค้นหาบุคคลที่ควรนำ�เข้ามามีส่วนร่วม หรือบุคคลที่มีผลต่อความสำ�เร็จ ของการศึกษา เช่น ปราชญ์ชาวบ้านซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 3) ใช้กระบวนการวิธกี ารสือ่ สาร และถ่ายทอดอย่างเหมาะสมไม่ถอื ตนว่าเป็น ผู้มีความรู้มากกว่า ลดการหยิ่งยโส 4) เป็นผู้ฟังที่ดี จดบันทึก และสรุปทุกวัน 5) ชี้นำ�ให้เห็นถึงว่าสุดท้ายของการวิจัย ชาวบ้านจะได้และต้องเสียอะไรจาก การศึกษา การพัฒนาและแก้ ไขปัญหาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทำ�ได้ยาก ถ้าขาดความ ร่วมมือของประชาชน นักวิจยั เองจึงต้องแสดงความจริงใจในการร่วมเป็นส่วนหนึง่ ในการแก้ปญ ั หา สุดท้ายแล้วงานวิจยั จะช่วยสร้างคุณลักษณะการเรียนรูแ้ บบพหุภาคีของประชาชนชน พร้อมก่อเกิด จิตสำ�นึกตระหนักในปัญหาหน้าที่ ซึ่งทั้งนี้จะนำ�ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนอย่างแท้จริง

27


คิดค้นบริการ โดย : จินดารัตน เรืองโชติวิทย์* อไุร เกษมศร** *นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการศูนยวิจัยและฝึกอบรมดานสิ่งแวดล้อม **นักวิชาการสิ่งแวดล้อมศูนย์วิจัยและฝกอบรมด้านสิ่งแวดลอม

ศนูย์วิจัยและฝกอบรม...ดานสิ่งแวดล้อม

กับการขับเคลื่อนการดําเนินงานของเครือขายนักวิจัยสิ่งแวดลอม นับตัง้ แต ในอดีตทีผ่ า นมาจวบจนถึงปจ จุบันทรัพยากรมนุษยเปนปจจัยหลักในการทํา ลายสิ่งแวดลอม ไมวาจะเปนปญหาสิ่งแวดล้อม ทางดานอากาศ น้ำ� ขยะ สารอันตราย การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นต้น อันเปน สาเหตุที่ทําใหเกิดภัยพิบัติตางๆ ทเ่ีกิดขึ้นท่ัว โลกไมวาจะเป็นเหตุการณ สึนามิ อทุกภัยดิน ถลมภัยแล้ง นโยบายและจัดทําโครงการตางๆ เพือ่ รักษาสภาพสิง่ แวดลอ้ มของโลกสังคม หรือชุมชน ใหมกี ารดํารงอยูเ คียงคูก บั ความตองการในการ พัฒนาทางดาน เศรษฐศาสตร์ของมนษุย และ เพือ่ ใหเ้ กิดความสมดลุยก์ นั มากยิง่ ขึน่ เพือ่ การบ ริโภคท่ีย่ังยืนตอไป ดวยเหตุนี้กรมสงเสริมคุณภาพ ส่ิง แวดลอ้ มโดยศูนย์วจิ ยัและฝึกอบรมด้านสิง่ แวดล้อม ในฐานะทีเ่ ป็นหน่วยงานหลักที่ ให้ความสาํคญ ั ต่อ สิ่งแวดล้อมจึงได้ก่อต้ังเครือขายนักวิจัยส่ิงแวด ลอมข้นึ เพื่อเปนการพัฒนากระบวนการศึกษา วิจยั ดานสิง่ แวดลอม โดยมุง เนนการสง่ เสริมการมี ส่วนร่วมในการศึกษาวิจยั ทางวิชาการของนักวิจยั จากหนวยงาน และภาคทีเ่ กีย่ วข้องรวมทัง้ เพือ่ ให้ สมาชิกเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อมได้มีโอกาส ทันตอสถานการณการเปลี่ยนแปลง อยางตอเนือ่ งและสามารถนําไปใช ใน การป้องกัน แก้ ไขปญ ั หาสิง่ แวดล้อมของประเทศไดอยางทัน สถานการณ และหลังจากการจัดตัง้ เครือขายนัก

22

วิจัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่ง แวดลอม ไดรวมกับสมาชิกเครือขายนักวิจัยสิ่ง แวดล้อมกำ�หนดกรอบทิศทางการดําเนินงาน ของเครือขายนักวิจยั สิง่ แวดล้อม ซึง่ ประกอบด้วย 3 ภารกิจหลกั ไดแก การสรางเครือขายใหเขม แข็งการจัดทํา KM เพ่ือการพัฒนานักวิจัย และ การบูรณาการงานวิจัย และเพ่ือเปนการผลัก ดันการดําเนินงานภายใตภารกิจของเครือข่าย นักวิจัยสิ่งแวดล้อมศูนยวิจัยและฝกอบรมดาน สิง่ แวดลอมจึงได้ดำ�เนินการส่งเสริม และพัฒนา ระบบการจัดการความรูของเครือขายนักวิจัย ทั้งหมดล้วนมาจากสาเหตุปัจจัยหลักอันเกิดมา จากน้ำ�มือของมนุษยทั้งส้ินรวมถึงสาเหตุอัตรา การเจริญเติบโตของประชากรมนุษยอยางรวดเร็ว ซึ่งเปนท่ีมาของความตองการของมนุษย ใน มิติทางด้านของเศรษฐกิจและสังคมอันเป็นเห ตุทําใหสภาพส่ิงแวดลอมทั่วโลกนั้นถูกทําลาย ลง เพราะสาเหตุจากปจจัย ดังกลา่ วขา้ งตน้ ปจั จุบนั ได้มหี ลายหน่วย งาน ทั้งภาครัฐเอกชนและภาคประชาชนแลก เปลี่ยนความรูขอมูลทางวิชาการส่ิงแวดลอมผา นทางการจัดเวทีแลกหันมาสนใจและเอาใจใส่ ต่อสิ่งแวดล้อม และประสบการณตางๆ ซึ่งกัน และกัน เปล่ียนเรียนรู โดยมุงเนนใหเกิดการ กันมากขึ้น ทําใหหลายหนวยงานมี ซึ่งจะทำ�ให้ ได้มาซึ่งข้อมูลที่ทันสมัย และแลกเปลี่ยนเรียน รู ในองคความรูทาง


วิชาการและประสบการณการวิจยั ระหวางสมาชิก ซึง่ จะส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการศึกษา วิจัยภายใตเครือข่ายต่อไปนอกเหนือจากนั้น ศูนย์วจิ ยั และฝึกอบรมด้านสิง่ แวดลอ้ มไดด้ ำ�เนิน โครงการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยแบบ บรูณาการภายใตเครือขายนักวิจัยสิ่งแวดลอม เพื่อเปนการสนับสนุน กระบวนการศึกษาวิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีดา้ น สิง่ แวดล้อมตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบนั ทีม่ งุ่ เนนการศึกษาการดําเนนิการตัดสินการประกวด เมือ่ Straining& Collector Ripening Aggregation & Disaggregation สรรคสรางองคค์ วามรู้ ใหมๆ่ รวมถึงการพัฒนาองคความรูแ ละเทคโนโลยี ใน ลักษณะของการตอ่ ยอดงานวิจยั และสามารถนํา ไปประยุกต ใช ในพื้นท่ี ไดจริง ตลอดจนเปนกา รกระตุนให ทุกภาคสวนท่ีเกี่ยวของตระหนักถึง ความสําคัญในการศึกษาวิจยั ดาน สิง่ แวดลอม การ ประกวดดังกลาว มีผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการ เข้าประกวด จํานวนทัง้ สิน้ 80 โครงการ โดยไดมี วิ จั ย ที่ จ ะนํ า ไปสู  ก ารพั ฒ นาเทคโนโลยี หรื อ องคความรู ที่สามารถนําไปใช ประโยชนได้ จริงในพื้นที่ซึ่งในปึงบประมาณ 2554 ศูนยวิจัย และฝกอบรมดาน สิง่ แวดลอม ไดดาํ เนินการสง เสริมการ จัดทําโครงการวิจัยแบบบูรณาการ ภายใตเครือขายนักวิจัยสิ่งแวดลอม ผานการ จัดประกวดขอเสนอโครงการวิจยั และการพัฒนา

เทคโนโลยีดา นสิง่ แวดลอมภายใตบ้ ริบทการพัฒนา ที่ยั่งยืนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการวันที่ 5 มีนาคม 2554 ท่ีผานมาซ่งึ มีขอเสนอโครงการ ท่ี ไดรับรางวัลจํานวน 5 โครงการสําหรบัการม อบรางวัลนัน้ ศูนยวจิ ยั และฝกอบรมดานส่งิ แวด ลอม จะจัดใหมีข้ึนในงานวันส่ิงแวดลอมโลก วันที่ 5 มิถุนายน 2554 ณ อิมแพค เมืองทอง ธานี รางวลัชนะเลิศโครงการการประเมินความ เหมาะสม ของการใชอนุภาคนาโนของเหล็ก ประจ ศูนย์ท่ีถูกปรับปรุงดวยโพลีเมอรร่วมกับ การเหนี่ยวนำ�ความร้อนทางแมเหล็กไฟฟ้า ใน การเรงการฟนฟูนา้ํ ใตดินและดิน ในพื้นท่ีนิคม อุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ปนเปอนดวยมลสาร อินทรียร ะเหยทีม่ คี ลอลีนเปน็ องคป์ ระกอบ โดย ดร.ธนพล เพ็ญรัตน จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร รางวัลรองชนะเลศิอนัดบัหนึ่ง โครงการการสังเคราะห์เซนเซอร์ที่มีความไวสูง สําหรับตรวจวัดโลหะหนักปรอทในนํา้ และในเซล ลสง่ิ มีชวี ติ ดวย เทคนิคการเปลีย่ นสีและสัญญาณฟู ลออเรสเซนต โดย ดร.สรวง สมานหมู จากศูนย์ พันธุวศิวกรรมและเทคโนโลยชีวีภาพ แห่งชาติ รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง: โครงการการพัฒนาต้นแบบของวิธิีวิเคราะห์ ยาซึ่งใชสารเคมีและก่อใหเกิดของเสียปริมาณ

น้อย:การไทเทรตยอส่วน สำ�หรับวิเคราะหป์ ริมาณ โซเดียมคลอไรด และยาชนิดอื่นๆ ในรูปเกลือ ไฮโดร คลอไรด โดย รศ.ดร.ธีรศักด์ิ โรจนราธา จากภาควิชาเภสชเคมี คณะเภสชั ศาสตร มหา วิทยาลยัศิลปากร รางวัลชมเชย 2 รางวัล: 1. โครงการกรใช้แกลบและกาก น้ำ�ตาล เปน็ วตัถดุบิ ในการผลติพลาสติก ชีวภาพโพลีไฮดรอ ซีอลั คาโนเอตโดย นางสาวพีรายุ หงษกเนิดจาก ศูนย์วิจัยและฝกอบรมดานสิ่งแวดล้อม 2. โครงการการศึกษาการเพาะเลี้ยง มดไฮ Crematogaster orgenhoferi (May, 1879) เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา พื้นที่ป่าอำ�เภอด่านซ้าย จังหวัดเลยโดยผศ.ดร.โยธินสุรยิ พงศจากโปรแกรม วิชาวิทยาศาสตร์สงิ่ แวดล้อมเดือนธันวาคม 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย นอกจากจะมี​ี ก ารประกวดข  อ เสนอ โครงการวิจัยแล้วศูนย์วิจัยและฝึกอบรมดาน สิ่ิงแวดลอม ไดคัดเลื​ือกขอเสนอ โครงการวิ จัยจํานวน 7 โครงการจาก ข้อเสนอโครงการที่ ส่งเข้าประกวดทั้งหมด เพ่ือสนับสนนุใหมีการ ศึกษาวิจัยตอไป และจะไดมีการนําเสนอผลการ ศึกษา วิจยั ทัง้ 7โครงการดงักลาวประมาณ เดือน ธันวาคม 2554

23


โครงการวิจัยที่ดำ�เนินการภายใตเครือขายนักวิจัยสิ่งแวดลอมในป 2554 ที่ ไดจากคัดเลือกการประกวดข้อเสนอโครงการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้บริบท “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ลําดับที่

โครงการ

เจาของโครงการ

1.

การประเมินความเหมาะสมของการใชอนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนยที่ถูก ปรับปรุงดวย โพลีเมอรรวมกับการเหนี่ยวนําความรอนทางแมเหล็กไฟฟาใน การเรงการฟนฟูนํ้าใตดินและดินในพื้นที่นคิมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ปน เปอนดวยมลสารอินทรียระเหยที่มีคลอลีนเปนองคประกอบ

ดร.ธนพล เพ็ญรัตน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร

2.

การสังเคราะหเซนเซอรทมี่ คี วามไวสูงสําหรับตรวจวัดโลหะหนักปรอท ในน้�ำ และ ในเซลลสิ่งมีชีวิตดวยเทคนิคการเปลี่ยนสีและสัญญาณ ฟลูออเรสเซนต

นายสรวง สมานหมู ศูนยพ นั ธุวศิ วกรรม และเทคโนโลยีชวี ภาพแหงชาติ

3.

การพัฒนาตนแบบของวิธีวิเคราะหยาซึ่งใชสารเคมีและกอใหเกิดของเสีย ปริ มาณนอย:การไทเทรตยอสวนสําหรับวิเคราะหปริมาณโซเดียมคลอไรด และยา ชนดิอื่นๆในรูปเกลือไฮโดรคลอไรด

รศ.ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

4.

การศึกษาการเพาะเลี้ยงมดไฮ Crematogaster orgenhoferi (May, 1879) เพื่อ การใชประโยชนอยางยั่งยืน:กรณีศึกษาพื้นที่ปา อําเภอดานซาย จังหวัดเลย

ผศ.ดร.โยธิน สุริยพงศ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตรสงิ่ แวดลอม มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย

5.

การศึกษาการเพาะเลี้ยงมดไฮ Crematogaster orgenhoferi (May, 1879) เพื่อ การใชประโยชนอยางยั่งยืน:กรณีศึกษาพื้นที่ปา อําเภอดานซาย จังหวัดเลย

ผศ.ดร.โยธิน สุริยพงศ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตรสงิ่ แวดลอม มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย

6.

การอนรุกั ษฟ น ฟูสงิ่ แวดล้อมในพ้นื ทีอ่ าว ปต ตานี:กรณีศกึษาการจัดการ นํา้ เสีย ในบ้านดาโตะ อ.ยะหริ่ง จ.ปตตานี

นายวรพงษ เจริญวงษ คณะทํางานเสียงเล็กๆ เพื่อสันติภาพ

7.

การศึกษาของเสียจากธรรมชาติ (ขีย้ อ) และของเสียจากโรงงาน (นํา้ ลา งกุง เศษ อาหารและนํ้าสมควันไม) เพื่อประโยชน ในการปลูกพืช (ทดแทนการใช ปุยเคมี และสารฆาแมลง) ในจังหวัดจันทบุรี

รศ.ดร.พิชัย สราญรมย คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎ รําไพพรรณี

 สว นการสง เสริมิ และพัฒ ั นาระบบ การจัดั การความรูขู องเครือื ขา ยนักวิจิ ยั สิง่ แวดลอ้ มในป2 554ศนูยว์ จิ ยั และ ฝก อบรมดานส่งิ แวดลอม ไดรว มกับ คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยบรูพาจัดเวทีการแลกเปลีย่ น เรียนรงาู นวิจยั ดานสิง่ แวดลอมภายใตเครือขายนักวิจยั ส่งิ แวดลอมจํา นวน 6 ครัง้ เพือ่ ใหส้ มาชิกเครือขายนักวิจยั สิง่ แวดล้อมได้ โอกาสแลกเปลีย่ นเรียนรขู อ้ มูลวิชาการและประสบการณ์การวิจยั ดานส่งิ แวดลอมและเพ่อื สง เสริม กระบวนการแลกเปลีย่ นเรียนรูข้ องสมาชิกเครือขา่ ยนักวิจยั สิง่ แวดล้อมในการกำ�หนดแนวทางการศกึษาวิจยั ด้านสิง่ แวดล้อมรวมกันในอนาคต ในลักษณะตอยอด การศึกษาวิจัยซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำ�นวนรวมทั้งสิ้น 500 คน

22


ทั้งนี้หากสนใจเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรูสามารถดาวน์ โหลดใบสมคัรไดที่ http://www.deqp.go.th/website/20 และ http://www.ertc. deqp.go.th/ern หรือสอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่สวนความรวมมือและเครือขายนักวิจัยดานสิ่งแวดล้อมศนูย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม โทรศัพท 02-5774182-9 ตอ 1102, 1121

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรูงานวิจัยประจําป2554 หัวขอการแลกเปลี่ยนเรียนรูงานวิจัย

วัน-เวลา

สถานที่การจัดเวที

ขยะมูลฝอยและนํ้าเสีย

2 พฤษภาคม 2554

มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง

กฎหมายกับการจัดการดานสิ่งแวดลอม

20 พฤษภาคม 2554

มหาวิทยาลัยขอนแกน

สารอันตราย

24 มิถุนายน 2554

มหาวิทยาลัยราชภฏัพระนครศรีอยุธยา

การบริโภคที่ยั่งยืน

22 กรกฎาคม 2554

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน 19 สิงหาคม 2554

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

อากาศ เสียงและความสั่นสะเทือน

23 กันยายน 2554

มหาวิทยาลัยบูรพา

สําหรับในเรื่องของทิศทางการขับเคลื่อนของ เครือข่ายนักวิจยั สิง่ แวดล้อมในอนาคต ศูนยวจิ ยั และฝกอบรมดานสิ่งแวดลอม จะดําเนินการขับ เคล่ือน การดําเนินงานของเครือขายนักวิจัย สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนา องค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและ การยกระดับ องค์ความรู้ ให้เป็นที่ยอมรับสูสากล โดยมุงเนน ประเด็น ดังตอไปนี้ เพิ่มศักยภาพทางการวิจัยของสมาชิก เครือขายฯ เพื่อเปนแรงกระตุน ในการค้นคว้า งานวิจยั อันจะนำ�ไปสูก่ ารพัฒนาองคความรูด า น สิ่งแวดลอม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยเพื่อ ให้สมาชิกเครือข่ายฯ ได้แลกเปลี่ยนองคความรู รวมถึงการระดมความคิด ในการแก ไขปัญหา สิ่งแวดลอม การถ่ายทอดองค์ความรู โดยการจัด

ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ ความรหู รือเทคโนโลยที่ได จากการศึกษาวิจยั ภาย ใตเครือขาย นกัวจิ ยั สิง่ แวดลอมโดยมุง แก ไขปญหา ของพื้นที่อยางมีประสิทธิภาพ และ สอดคลอ งกบั บรบิทของท้องถิ่นนั้นๆ อีกทั้งยังเปนกา รสรางโอกาสในการขยายสมาชิกเครือขายนักวิจยั สิง่ แวดลอมไปเครือ่ งมืออุปกรณ์ ในการวิเคราะห และ หองปฏิบตั กิ ารสําหรับการศึกษาวิจยั และใน ขณะนี้ศูนย์วิจัยและฝึก อบรม ดานสิ่งแวดลอม ไดเปดรับขอเสนอ โครงการวิจัยท่ีจะมีการดํา เนินการใน ปงบประมาณ 2555 แล้วหากสมาชิก ทานใดสนใจสามารถดาวน โหลดรายละเอียดกา รสง ขอ เสนอโครงการวิจยั เข้าร่วมในโครงการวิจยั แบบบรูณาการ ภายใตเครือขายนักวิจัยสิ่งแวด ลอม ไดที่ http://www.deqp.go.th/ website/20 และ http://www.ertc. deqp.go.th/ern

23


พึ่งพาธรรมชาติ โดย : อรศัย อินทรพาณิชย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการ สถาบันฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม

ภูรอ่ งกล้า ภูทบั เบิก ชุมชนเข้มแข็ง สิง่ แวดล้อมยัง่ ยืน

ซาโตยาม่าในประเทศญี่ปุ่นมีการทำ�นาและผลิต ก๊าซชีวมวล

32

จากการศึกษาความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของชุมชนต่างๆ บนพื้นภูมิภาคนี้ พบว่าหลายๆ ชุมชนอาศัยอยูร่ ว่ มกันกับธรรมชาติอย่างชาญฉลาด มีการนำ�เอาความรูภ้ มู ปิ ญ ั ญาตัง้ แต่บรรพบุรษุ ดั้งเดิมเข้ามาประยุกต์ ใช้กับชีวิตประจำ�วันมีการเลือกทที่อาศัยเพื่อ ความสะดวกสบายและความ เหมาะสมในการทำ�มาหากิน ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบพึ่งพาอาศัย มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม บางส่วนที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างแยบยล ชุมชนของแต่ละภูมิภาคจะต่างกันทั้งในด้านลักษณะภูมิ อากาศ ภูมิประเทศ วิถีชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นทุน ที่สำ�คัญในการดำ�รงชีวิตของชุมชน บางพื้นที่เหมาะกับการทำ�เกษตรกรรม บางพื้นที่มีภูมิอากาศที่ เย็นสบายอุณหภูมิเหมาะกับพืชพรรณไม้นานาชนิด ภูมิประเทศที่สวยงามเช่นเดียวกับที่ภูทับเบิก และภูร่องกล้า ทั้งสองชุมชนนี้มีวิถีชีวิตคล้ายคลึงกับชุมชนของญี่ปุ่น ที่เรียกกันว่า ซาโตยาม่า (satoyama)ซาโตยามา่ เปน็ ภาษาญี่ปุ่นมาจากคำ�ว่า ซาโต (sato) แปลว่า พื้นที่ ทำ�การเกษตรกรรม คำ�ว่า ยามา่ (yama) แปลว่า ภูเขา ดังนั้น ซาโตยาม่า ถ้าแปลตามตัว อักษร หมายถึง การทำ�เกษตรกรรมบริเวณภูเขา ทำ�นองเดียวกับ Community and Nature ก็ หมายถึง ชุมชนทีอ่ ยูร่ ว่ มกับธรรมชาติ ซึง่ ชุมชนทีม่ คี วามเป็นอยูร่ ว่ กับธรรมชาติ ในภูมภิ าคนี้ มีการ ใช้ทรัพยากรแตกต่างกันไป เช่น ทำ�การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ทำ�เหมืองแร่ ทำ�ป่าไม้เพื่อการสร้าง บ้านเรือน หาของป่า อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพที่ เกิดขึ้นจากใช้ทรัพยากรดังกล่าวทั้งนี้การจัดการพื้นที่ที่เป็นลักษณะเดียวกันกับซาโตยาม่าจะต้องมี การพัฒนาให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดหลักของซาโตยาม่ามี 5 ประการได้แก่ 1) การใชท้ รัพยากรทอี่ ยูภ่ ายใตก้ าํ ลังความสามารถของสิง่ แวดล้อมนัน้ (carrying capacity) 2) การใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยการหมุนเวียน(cyclic use) 3) การตระหนักและรูค้ ณุ คา่ และความสำ�คัญของวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม 4) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และ 5) การสนับสนุนเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้นๆ


การตั้งบ้านเรือนของชาวม้งในปัจจุบันใน หมู่บ้านร่องกล้า

ทุกภูมิภาคของประเทศไทยมีชุมชนที่อาศัยร่วมกับธรรมชาติ มีความสัมพันธ์เชิงระบบ การ พัฒนาพืน้ ทีเ่ พือ่ กิจกรรมใดๆ ย่อมส่งผลกระทบทัง้ ระบบ เช่นในกรณีของชุมชนหมูบ่ า้ นทับเบิก ตัง้ อยูท่ ตี่ ำ�บลวังบาลอำ�เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึง่ มีความสูงจากระดับนํา้ ทะเล ประมาณ 1,768 เมตร ภูมิประเทศมีความงดงามตามธรรมชาติป่าไม้ อากาศบริสุทธิ์เย็นสบายตลอดปี ในตอนเช้า มีหมอกและกลุม่ เมฆ เป็นแหล่งปลูกกะหลํา่ ปลีที่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก คนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้งทีย่ า้ ย มาจากทางภาคเหนือของประเทศ วิถชี วี ติ ของชาวม้งได้รบั การพัฒนาในการประกอบอาชีพ มีการทำ� แปลงเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ในพืน้ ทีอ่ นั กว้างไกลเหล่านี้ได้รบั การจัดสรรจากธรรมชาติในเรือ่ งของ นํา้ เพราะการปลูกผักในพืน้ ทีเ่ หล่านี้ ไม่จำ�เป็นต้องหาแหล่งนํา้ เป็นทีล่ ำ�บากเหมือนการทำ�แปลงผัก ในภาคกลาง อย่างไรก็ตามชาวม้งยังคงรักษาประเพณี วัฒนธรรมของเขาไว้ ได้ ไม่ตกอยู่ภายใต้ อารยธรรมจากที่อื่น ดังจะเห็นได้จากการรักษาประเพณี ไหว้ผีการแสดงเต้นรำ�ต่างๆ ที่หมู่บ้านทับ เบิกหากนักท่องเที่ยวจะพักแรมจะต้องกางเต้นท์ ในบริเวณที่จัดให้ซึ่งจะได้รับบรรยากาศในการ ท่องเที่ยวแบบง่าย ๆ ชุมชนหมู่บ้านร่องกล้า ตั้งอยู่ตำ�บลเนินเพิ่ม อำ�เภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ลักษณะ ภูมปิ ระเทศตลอดจนการทำ�มาหากิน มีความคล้ายกันกับชุมชนหมูบ่ า้ นทับเบิก แต่ทชี่ มุ ชนหมูบ่ า้ น ร่องกล้าจะมีโฮมสเตย์ขนึ้ อยูห่ ลายหลังนักท่องเทีย่ วสะดวกสบายมากขึน้ ในการพักอาศัยอยู่ เมือ่ เทียบ กับทีช่ มุ ชนหมูบ่ า้ นทับเบิก จะมีกลุม่ ชาวบ้านคอยอำ�นวยความสะดวกพาดูแหล่งธรรมชาติ การเดินป่า จากการสอบถามชาวบ้านทำ�ให้ทราบว่าจะมีศูนย์การท่องเที่ยวในอนาคต เป็นอาคารขนาดเล็ก มี ไว้เพื่อเป็นแหล่งให้ข้อมูลและอำ�นวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ทั้งสองชุมชนได้รับการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐร่วมกับเอกชน และผู้นำ� ชุมชน ในการวางแผนการจัดการท่องเทีย่ วในพืน้ ทีข่ องพวกเขามีการจัดทำ�และรวบรวมข้อมูลแหล่ง ท่องเที่ยว และแผนการในอนาคตต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และในที่สุดจะต้องไม่ลืมแนวคิดหลักของซาโตย่าม่า 5 ประการ ซึ่งพบว่ามีอยู่ข้อหนึ่งที่ กล่าวถึงความรว่มมือทุกภาคสว่ นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติการพัฒนาทีย่ งั่ ยืนจะต้องสร้าง ชุมชนเข้มแข็ง ให้เกิดความตระหนักและรับรูถ้ งึ ปัญหาสิง่ แวดล้อม มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของ ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ของตน มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอดี และรักษาไว้เพื่อคนรุ่นต่อไป . . .

ซึ่งจะต้องลงมือปฏิบัติเพื่อชุมชนเข้มแข็งและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

สภาพในหมู่บ้านชุมชนทับเบิกจังหวัดพิษณุโลก

33


พึ่งพาธรรมชาติ โดย : เพลินศักดิ์ พงษ์ประยูร นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำ�นาญการ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

สาร VOCs กับป่าไม้​้

สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds; VOCs) ใน บรรยากาศเกิดได้ทั้งจากธรรมชาติฃ(Biogenic VOCs; BVOCs) และการกระ ทำ�ของมนุษย์ (Anthropogenic VOCs; AVOCs)จากการประเมินของ IPCC ปี ค.ศ. 2001 พบว่าปริมาณสาร VOCs ที่มีการปล่อยสู่บรรยากาศของโลก มากกว่า 88% เกิดจากแหล่งธรรมชาติ และมากกว่า 99% ของสาร VOCs ที่ เกิดจากแหล่งธรรมชาติ เป็นการปล่อยจากพืช

โดยสารที่มีสัดส่วนของการปล่อยสูง ได้แก่ สาร isoprene (2-methyl-1,3-butadiene; C5H8) และสาร monoterpenes(C10H16 เช่น a-pinene b-pinene และ limonene) ซึ่งสาร isoprene มี สัดส่วนการปล่อยสูงสุดถึง 77% รองลงมาเป็นสาร monoterpenes 19% สาร VOCs ที่ปล่อยจากธรรมชาติ มีบทบาทสำ�คัญในชั้นบรรยากาศชั้นใกล้ โลก (โทรโฟสเฟียร) เนื่องจากมีสัดส่วนปริมาณการปล่อยสูง ซึ่งสาร isoprene และสาร monoterpenes ที่มีการปล่อย จากพืช ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนแต่เมื่ออยู่ ในอากาศจะมีความไวต่อการทำ�ปฏิกิริยา ในบรรยากาศสูงและจะถูกออกซิไดซ์ ได้ง่าย มีช่วงชีวิต (lifetimes) ในชั้นบรรยากาศโทรโฟสเฟียรสั้ นมาก น้อยกว่า 1 วัน (ประมาณ 1 ชั่วโมง สำ�หรับสาร isoprene) เนื่องจากมีสูตรโครงสร้าง เป็น ไฮโดรคาร์บอนทีม่ พี นั ธะคู่ ทำ�ให้งา่ ยต่อการทำ�ปฏิกริ ยิ ากับไฮดรอกซิลก๊าซโอโซน และก๊าซไนโตรเจน ออกไซด์ จึงเป็นสารที่มีบทบาทสำ�คัญในกระบวนการเคมี ในบรรยากาศ สนับสนุนการเกิดปฏิกิริยา โฟโตเคมิคัลทำ�ให้เกิดก๊าซโอโซนซึ่งเป็นมลพิษที่สำ�คัญในบรรยากาศ และยังมีการรวมตัวกับฝุ่น ละอองทำ�ใหเ้ กิดละอองทุตยิ ภูมใิ นบรรยากาศ (Secondary organicaerosol; SOA) ซึ่งเป็น อันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ก๊าซโอโซนที่อยู่ ในบรรยากาศโทรโฟสเฟยีรเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต ทำ�ใหไม่สบายเกิดอาการเจ็บคอ หายใจไม่สะดวก ถ้าได้รับเป็นเวลานานเนื้อเยื่อปอดจะถูกทำ�ลาย อย่างถาวร และมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ นอกจากนี้ก๊าซโอโซนยังเป็นตัวออกซิไดส์อย่าง แรง ทำ�ให้สิ่งก่อสร้างชำ�รุด เป็นตัวฟอกสีและยังมีผลทำ�ให้ผลผลิตทางการเกษตรตกตํ่าลงอีกด้ว

34


พื้นที่ป่าไม้ ในเขตร้อนมีการปล่อยสาร VOCs ปริมาณสูง ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อชนิดและปริมาณการปล่อยสาร VOCs ขึ้นอยู่กับแสง อุณหภูมิชนิด ของพืชพรรณ และความหนาแน่นของชีวมวลในพื้นที่ป่าไม้ พืชแต่ละชนิดจะมีการปล่อยปริมาณสาร VOCs ที่แตกต่างกัน จากการศึกษาของ Kesselmeier และ Staudt (1999) พบว่าอัตราการปล่อยของสารisoprene และสาร monoterpenes จากพืชแต่ละชนิดมีปริมาณที่แตกต่างกันและพืชบาง ชนิดไม่มีการปล่อยสาร VOCs สำ�หรับป่าไม้ ในเขตร้อนจะมีการปล่อยสาร isoprene มากกว่า 50% ของสาร VOCs ทั้งหมดที่ปล่อยจากป่าไม้ ในขณะที่สาร monoterpenes การปล่อยน้อยกว่า 10% ซึ่งตรงข้ามกับป่าไม้ ในเขตอบอุ่นจะมีการปล่อยสาร monoterpenesในปริมาณที่มากกว่า เนื่องจากอิทธิพลของอุณหภูมิมีผล ต่อปริมาณการปล่อยสาร isoprene โดยทั่วไปแล้วการปล่อยสารisoprene จะเพิ่มขึ้นตลอดทั้งวันเมื่อระดับอุณหภูมิสูงขึ้นและแสงมากในช่วงเวลาบ่าย และปริมาณการปล่อยจะลดลงเป็นศูนย์ ในเวลากลางคืน

ภาพที่ 1 แสดงแหล่งกำ�เนิดของสาร VOCs และการเกิดปฏิกริ ยิ าเคมีในบรรยากาศ

สาร VOCs ที่ปล่อยจากพืชออกสู่บรรยากาศจะถูกออกซิไดซ์ภายใน 1 ชั่วโมง โดยทำ�ปฏิกิริยากับไฮดรอกซิล เป็นการ“ทำ�ความสะอาด” ใน บรรยากาศ ซึ่งจะทำ�ให้เกิดอนุมูลเปอร์ร็อกซี่ (RO2) อาจนำ�ไปสู่การก่อตัวของกรดอินทรีย์ ขึ้นอยู่กับระดับของไนตริกออกไซด์ ทำ�ให้เกิดก๊าซโอโซน แต่ ปฏิกิริยาที่คล้ายกันสามารถเกิดขึ้นได้ โดยการออกซิเดชั่น ของก๊าซโอโซนและไนตริก ซึ่งเป็นการลดปริมาณของสาร VOCs ทั้งจากธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ สภาพแวดล้อมที่มีระดับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ตํ่า (โดยทั่วไปจะน้อยกว่า 5-10 ppt) จะถูกเรียกว่าบรรยากาศ“สะอาด” ก๊าซโอโซนจะเกิดจาก ปฏิกิริยาโฟโตเคมิคอล ระหว่างก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ สาร VOCs และแสงแดด ภายใต้สภาพบรรยากาศปกติปฏิกิริยาโฟโตดีคอมโพสิชั่นของก๊าซ ไนโตรเจนไดออกไซด์ จะเกิดก๊าซโอโซน และวงจรจะเกิดความสมดุลโดยไนตริกออกไซด์และก๊าซโอโซน อย่างไรก็ตามหากมีระดับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ สูง (ในช่วง ppb) จะเรียกว่า“สกปรก” ถ้าไนตริกออกไซด์ สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ โดยไม่ต้องมีก๊าซโอโซน จะทำ�ให้ก๊าซโอโซน ถูกสร้างขึ้นเกิน (ดังแสดงในภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 แสดงวงจรการรีไซคลิงของไฮดรอกซิกในบรรยากาศ

35


ตามธรรมชาติพื้นที่ป่าไม้มีการปล่อยสารมลพิษสู่บรรยากาศ แต่จะมีการทำ�ความสะอาดโดยเกิดปฏิกิริยาเคมี ในบรรยากาศ ทำ�ให้เกิดความ สมดุลย์ (ดังภาพที่ 3) แต่เมื่อพื้นที่ป่าไม้ถูกทำ�ลาย พื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซโอโซนของชั้นบรรยากาศโทรโฟสเฟรีย จะเปลี่ยนเป็นแหล่งปล่อย แทนเมื่อพุ่มไม้ ไม่สามารถดักจับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่ถูกปล่อยจากดินและการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น จากการเผาป่าและจากการก ระทำ�ของมนุษย์ (เช่น รถยนต์) ทำ�ให้เกิดเมฆกลั่นตัว นำ�ไปสู่เมฆที่มีการพัดโหมกระหนํ่าทำ�ให้ปริมาณฝนลดลงและลดการระเหย ทำ�ให้ระดับความ รุนแรงของการเกิดมลพิษทางอากาศสูงขึ้น การปล่อยสาร isoprene จากป่าไม้ ไม่เพียงแต่จะมีผลต่อบรรยากาศบริเวณพื้นที่ป่าไม้เท่านั้น ยังมีผลต่อ คุณภาพอากาศของเขตเมืองและเขตรอยต่อระหว่างเมือง เนือ่ งจากเกิดการพัดพาและทำ�ปฏิกริ ยิ ากับไนโตรเจนออกไซด์ทเี่ กิดจากการกระทำ�ของมนุษย์

ภาพที่ 3 แสดงปฏิกริ ยิ าทางชีวเคมีและชีวฟิสกิ สข์ องป่าไม้เขตร้อน ภาพซ้ายแสดงถึงพืน้ ทีป่ า่ ไม้ตามธรรมชาติ ภาพขวาแสดงถึงพืน้ ทีป่ า่ ไม้ทถ่ี กู ทำ�ลายและมลพิษทีเ่ กิดขึน้

สารมลพิษอากาศทุติยภูมิ (Secondary Air Pollutants) : เป็นสารมลพิษทางอากาศที่ ไม่ ได้เกิดและถูกระบายจากแหล่งกำ�เนิดใด ๆ แต่เกิดขึ้น ในบรรยากาศจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารมลพิษอากาศปฐมภูมิกับสารประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ ในบรรยากาศ เช่น ก๊าซโอโซน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และ สารมลพิษทางอากาศที่เป็นสารอนินทรีย์ (Inorganic) เช่น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และ ฝุ่นตะกั่ว เป็นต้น ละอองทุติยภูมิ ในบรรยากาศ (Secondary organic aerosol; SOA) จะเป็นการรวมตัวของสารมลพิษอากาศปฐมภูมิกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก

เอกสารอ้างอิง : กรมควบคุมมลพิษ. 2554. รู้รอบทิศ มลพิษทางอากาศ บทเรียน แนวคิด และการจัดการ. House, J. et.al. Ecosystems and Human Well-being: Current State and Trends. Chapter 13 : Climate and Air Quality.PCC. 2005. Climate Forcing Through Atmospheric Chemistry. Kesselmeier, J. and M. Staust. 1999. Biogenic Volatile Organic Compounds (VOC): An Overview on Emission, Physiology and Ecology. Journal of Atmospheric Chemistry. No.33. pp. 23–88. 1999. Lelieveld, J., et.al., 2008. Atmospheric oxidation capacity sustained by a tropical forest. Vol 452. Pressley, S. N.. 2004. Isoprene Flux Measurements Above a Northern Hardwood Forest. Washington State University. Department of Civil and Environmental Engineering. Sharkey, T. D. *, A. E. Wiberley and A. R. Donohue. 2008. Isoprene Emission from Plants: Why and How. Annals of Botany.Vol. 101. pp 5–18. Volatile Organic Compounds in the Biosphere-Atmosphere System (VOCBAS), 2010. www.esf.org/vocbas.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.