Lanna dhamma book chest Phrae

Page 1

ตู้ และหีบธรรม จังหวัดแพร่ พันธวัช ภิราญคำ�



1

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

แนวคิดและต้นกำ�เนิดตู้พระธรรมโบราณ ต้นกำ�เนิดตู้ไทยโบราณ เป็นตู้ที่มีลักษณะพิเศษเป็นแบบฉบับของไทยโดยเฉพาะ ในปัจจุบัน ยังไม่พบหลักฐานว่าตู้ดังกล่าวมีต้นกำ�เนิดเริ่มต้นใช้กันมาตั้งแต่ครั้งใด แม้ในศิลาจารึกจะ กล่าวถึงการสร้างวัสดุสิ่งของหลายสิ่งหลายอย่าง เพื่อเป็นการบูชา อุทิศแด่พระศาสนาไว้ ตามที่ต่างๆ มากมายแต่ไม่ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักใด ณ ที่ใดบ่งบอกว่าได้มีการ สร้างตู้ หรืออุทิศตู้ให้แก่วัดหรือพระศาสนา แต่ยังคงมีแต่คำ�บางคำ�ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก บางหลักซึ่งนำ�มาพิจารณาใช้เป็นจุดโยงของต้นกำ�เนิดตู้พระธรรม เช่น คำ�ว่าพระมนเทียร ธรรม หอปิฏก หอพระปิฎกธรรม ซึ่งหมายถึง หอหรืออาคารที่เก็บพระไตรปิฎก หรือพระ ธรรมคัมภีร์ ถ้าจะเรียกกันตามความนิยมในปัจจุบันคำ�ว่า พระมนเทียรธรรม หอปิฎก และ หอปิฎกธรรม ก็คือหอไตรหรือหอหนังสือ หรือหอสมุดก็อาจจะเรียกได้ คำ�ทั้งสามดังกล่าว ข้างต้นนี้ปรากฏเป็นครั้งแรก ในศิลาจารึกหลักต่างๆ



3

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ลักษณะตู้ไทยโบราณ

ตู้ไทยโบราณมีลักษณะอยู่ในทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ด้านบนสอบทำ�ให้ดูแคบกว่า ด้านล่าง ส่วนมากมุมขาตู้ทั้ง 4 ด้าน มีขาตั้งเป็นขาสี่เหลี่ยม (ตู้ไทยโบราณลักษณะแบบนี้ได้ ชื่อว่า ตู้ขาหมู) เหนือตู้ขึ้นไปมีเสาหัวเม็ดทรงมันอยู่ทั้ง 4 มุม เช่นกันบางตู้ช่างไม่ได้กลึงเป็น รูปหัวเม็ด แต่จะทำ�เสาสี่เหลี่ยมสูงให้ได้ส่วนสัดแต่พองามกับความสูงของตู้ไทยโบราณซึ่ง มีขนาดแตกต่างกันไปมีทั้ง ใหญ่และเล็กแต่บางครั้งช่างไม่ได้ทำ�เสาหัวเม็ดไว้เลยก็มี ความ สูงของตู้ไทยโบราณนั้นอยู่ในระหว่าง 100 ซ.ม. – 288 ซ.ม. ด้านหน้ากว้างระหว่าง 80 ซ.ม. – 200 ซ.ม. ด้านข้างกว้างระหว่าง 57 ซ.ม. –180 ซ.ม. ขอบตู้ด้านบนประกอบด้วย ขอบซึ่งตกแต่งด้วยลายอยู่เหนือส่วนที่กลึง หรือจำ�หลักเป็นรูปบัวหงาย ส่วนขอบตู้ด้านล่าง ประดิษฐ์ขอบอยู่เหนือส่วนที่ทำ�เป็นรูปบัวหงาย รูปบัวคว่ำ�ก็มีอยู่บ้าง แต่ทำ�กันเป็นส่วนน้อย ด้านที่ใช้ปิด และเปิดประตูตู้คือด้านหน้า ซึ่งมีบานประตูติดบานพับเพื่อสะดวกในการปิด เปิด 2 บาน ภายในตู้มีชั้นไม้ซึ่งเดิมพับสะดวกในการปิด เปิด 2 บาน ภายในตู้มีชั้นไม้ซึ่งเดิม ใช้สำ�หรับวางพระคัมภีร์ ซึ่งห่อไว้อย่างดีโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ชั้น และไม่ตกแต่งลวดลาย ส่วนใหญ่มักจะลงรักแดงทึบส่วนสำ�คัญของตู้ไทยโบราณที่ก่อกำ�เนิดประเภทของตู้ให้มีชื่อ แตกต่างกันไปนั้น คือส่วนล่าง นับตั้งแต่ใต้ขอบล่างของตู้ลงมาตู้ไทยโบราณที่มีขาตู้เป็นขา สี่เหลี่ยม



5

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

นิยมทำ�เป็นรูปลักษณะแตกต่างกัน และมีชื่อเรียกเฉพาะ 1.ตู้ขาหมู ได้แก่ ตู้ที่ใต้ขอบตู้ด้านล่างลงไปมีขาตู้เป็นขาตรงทรงสี่เหลี่ยมทั้ง 4 ขา และบางตู้อาจมีเชิงตู้เป็นรูปปากสิงห์ หรือหูช้าง 2.ตู้ขาหมูมีลิ้นชัก ได้แก่ ตู้ที่มีขาสี่เหลี่ยมเหมือนตู้ขาหมูดัง แต่เพิ่มส่วนที่เป็นก รอบลิ้นชักและตัวลิ้นชักเข้าไปใต้ขอบล่าง ก่อนถึงขาตู้ 3.ตู้เท้าสิงห์ ได้แก่ ตู้ที่มีการจำ�หลักส่วนล่างของขาตู้ให้เป็นรูปเท้าสิงห์ มีนิ้วและ เล็บสิงห์ งดงาม บางตู้ช่างได้ประดิษฐ์พิเศษขึ้นไป ทำ�เป็นรูปเท้าสิงห์เหยียบอยู่บนลูกแก้ว 4.ตู้เท้าสิงห์มีลิ้นชัก ได้แก่ ตู้ที่มีขาตู้เป็นรูปเท้าสิงห์ แต่เพิ่มส่วนที่เป็นกรอบลิ้นชัก และตัวลิ้นชักเข้าไป ใต้ขอบล่าง ก่อนถึงขาตู้ 5.ตู้ฐานสิงห์ ได้แก่ ตู้ที่ไม่มีขา แต่ตัวตู้ตั้งอยู่บนแท่นฐานเป็นชั้นซ้อน จำ�หลักลาย รูปขาสิงห์ และปากสิงห์ 6.ตู้เท้าคู้ ได้แก่ ตู้ที่มีส่วนของขาตู้ตอนบนต่อจากขอบล่างลงไป ทำ�เป็นรูป สี่เหลี่ยม และลบเหลี่ยมนอกตรงมุมขาตู้ให้มนเล็กน้อย ส่วนตอนล่างของขาตู้โค้งคู้เข้าไปใต้ พื้นตู้ ลักษณะส่วนสำ�คัญของตู้ไทยโบราณที่ปรากฏมีมาและราชบัณฑิตได้กำ�หนดอายุ และแบ่งสมัยของศิลปะตู้ไทยโบราณออกเป็น ๓ สมัย ด้วยกันดังนี้ คือ สมัยอยุธยา สมัย ธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์



7

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

การตกแต่งตู้พระธรรม ตู้พระธรรมส่วนมากมักตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของตู้ด้วยลวดลายไทย เป็นลาย รดน้ำ�บนพื้นรักดำ�ที่ทำ�เป็นลายกำ�มะลอลายจำ�หลักประดับกระจก และลายประดับมุก ก็มี บ้างแต่เพียงส่วนน้อย สำ�หรับลายที่ใช้ตกแต่งในแต่ละส่วนของตู้ ช่างก็จะเลือกใช้ลายตาม ประเภท หรือหน้าที่อันเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะลายไทย เช่น ลายหน้ากระดาน จะใช้ ตกแต่งเฉพาะขอบบน และขอบล่างของตู้ ส่วน ลายเชิง ใช้เฉพาะเสาขอบตู้ตอนบนและตอน ล่าง

ส่วนต่างๆ ของตู้พระธรรมที่มีการตกแต่ง

ด้านหน้าและด้านข้างของตู้ ด้านหน้าซึ่งทำ�เป็นบานประตู 2 บาน และด้านข้างทั้ง ซ้ายและขวาเป็นส่วนที่ตกแต่งลวดลายลักษณะเดียวกัน เช่น มีลายกระหนกเปลวเครือเถา ลายกระหนกใบเทศ ลายก้านขด ลายเหล่านี้ช่างมักตกแต่งให้มีนกคาบ นาคคาบ หรือออก เถาแบบต่างๆ เคล้าภาพสัตว์ มีนก กระรอก ลิง เป็นอาทิ บางตู้ก็มีภาพประกอบ ทั้งภาพเล่า เรื่อง และภาพลอยตัว เช่น ภาพพุทธประวัติ วรรณกรรมชาดก รามเกียรติ์ เทพ ทวารบาล และสัตว์หิมพานต์



9

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ขอบตู้ด้านบนและด้านล่าง จะใช้ลายหน้ากระดาน เช่น ลายประจำ�ยามลูกฟัก ลายประจำ�ยามลูกฟักก้ามปู ลายดอกซีก ดอกซ้อน ลายหมอนทอง ลายเกลียวใบเทศ ลาย สังวาลเพชรพวง เสาขอบตู้ทั้ง 4 เสา ระหว่างช่วงกลางเสานิยมเขียนลายก้านต่อดอก ลายรักร้อย ซึ่งมีทั้งลายรักร้อยหน้าสิงห์ ลายรักร้อยบัวร้อย และลายรักร้อยใบเทศ ส่วนตอนบนและ ตอนล่าง ของเสาขอบตู้ มักเป็นลายกรวยเชิง และมีบางตู้ที่ช่วงกึ่งกลางเสาตกแต่งด้วยลาย ประจำ�ยามรัดอก เชิงตู้ ตู้พระธรรมที่มีเชิงตู้ส่วนมากจะทำ�เป็นรูปปากสิงห์ หรือหูช้าง ซึ่งนิยมทำ� ด้วยกรรมวิธีต่างๆ กัน เช่น ลายรดน้ำ�ประดับกระจก และจำ�หลักฉลุโปร่ง สำ�หรับลวดลาย ที่ใช้มีลายก้านขด ลายดอกพุดตาน ลายกระหนกเปลวเครือเถา นกคาบ นาคคาบ ออกเถา เทพนม ช่อเปลวหางโต เสาขาตู้ โดยเฉพาะตู้ขาหมู นิยมตกแต่งด้วยลายกรวยเชิง ลายกาบพรหม-สิงห์ ลายครุฑจับนาค และที่เขียนเป็นภาพยักษ์แบก ลิงแบก และท้าวเวสสุวัณยืนถือตะบอง ก็ มี ส่วนตู้เท้าสิงห์นั้น นอกจากจะจำ�หลักขาตู้เป็นรูปเท้าสิงห์ ซึ่งมีเล็บสิงห์เรียวแหลมแล้ว ยังนิยมทำ�เท้าสิงห์นั้นเหยียบอยู่บนลูกแก้วด้วย และบางตู้ยังตกแต่งเพิ่มเติมด้วยลายต่างๆ เช่น ลายก้านขด และที่เขียนเป็นภาพนารายณ์ทรงครุฑยุดนาคก็มี สำ�หรับตู้ฐานสิงห์นั้น ส่วนใหญ่จะทำ�เป็นฐานจำ�หลักประดับกระจก ส่วนที่เป็น ลายหน้ากระดานมักทำ�เป็นลายประจำ�ยามลูกฟักก้ามปู เรียงลำ�ดับชั้นฐานด้วยลายบัวหลัง สิงห์ ปากสิงห์ และเท้าสิงห์ ลายทั้งหมดประดับด้วยกระจกสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว และสีน้ำ�เงิน โดยส่วนใดที่ไม่ประดับกระจกสี ก็จะลงรักปิดทองทึบ องค์ประกอบของลาย จำ�หลักประดับกระจก แสดงให้เห็นถึงความสามารถอันชาญฉลาดของช่างไทยโบราณ ที่ ตกแต่งส่วนต่างๆ ของตู้ ให้มีความผสมผสานกัน ระหว่างกระจกสี และลายทอง ขาตู้อีก ประเภทหนึ่งคือ ตู้เท้าคู้ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่นิยมตกแต่งลวดลาย มักลงรักทึบเพียงอย่างเดียว



11

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ความเป็นมาของหีบพระธรรมล้านนา

หีบธรรม หรือ หีดธัมม์ (หีดธรรม) เป็นตู้พระธรรมหรือตู้พระไตรปิฎกในภาคกลาง เป็น คำ�ที่ชาวเหนือใช้เรียกหีบเก็บคัมภีร์ใบลาน มีใช้สืบต่อกันมาแต่โบราณกาลในดินแดน ล้านนา ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์ใบลานที่จารด้วยอักษรธรรมล้านนาซึ่งเป็นอักษรที่ใช้อย่างแพร่ หลายบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย หีบพระธรรมที่ใช้ในภูมิภาคนี้นับว่ามีเอกลักษณ์ เฉพาะที่แตกต่างจากหีบเก็บคัมภีร์ใบลานของภาคอื่น เพราะมีลักษณะเป็น “ทรงลุ้ง” คือ เป็นทรงสี่เหลี่ยม ด้านล่างของฐานสอบเข้า ส่วนปากหีบผายออก มีฝาครอบปิดด้านบนซึ่งมี หลายลักษณะทั้งฝาตัด ฝาคุ้ม และฝาเรือนยอด หีบพระธรรมจึงเป็นโบราณวัตถุที่ใช้สำ�หรับบรรจุหรือเก็บพระธรรม เป็นภาชนะ สำ � หรั บ การเก็ บ รั ก ษาพระธรรมคั ม ภี ร์ ไ ม่ ใ ห้ เ สี ย หายจากแมลงหรื อ สั ต ว์ ที่ จ ะมาทำ � ลาย ตัวพระธรรมคัมภีร์ หีบพระธรรมล้านนานั้นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกับ โบราณวัตถุที่เก็บรักษาคัมภีร์ของทางภาคอื่น เนื่องจากชาวล้านนานั้นมีวัฒนธรรมเป็นของ ตัวเองอยู่แล้ว ตัวหีบพระธรรมได้ถูกเสนอตัวให้ทำ�หน้าที่ไว้อย่างชัดเจน คือเป็นที่เก็บพระ ธรรมคัมภีร์ตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง



13

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ลักษณะของหีบพระธรรมล้านนา หีบพระธรรมล้านนามีรูปแบบลักษณะที่ตกต่างจากตู้พระธรรมของภาคกลาง

ซึ่ง ตู้พระธรรมนั้นมีลักษณะเป็นตู้มีประตูเปิดปิดด้านหน้าหรือด้านข้าง แต่หีบพระธรรมล้านมา นั้นมีลักษณะเป็นกล่องไม้ทำ�เป็นหีบสำ�หรับเก็บสิ่งของ มีฝาปิดเปิดอยู่ทางด้านบนของตัว หีบ ฐานล่างของตัวหีบจะแคบกว่าปากหีบด้านบนสูงกว่าขึ้นมาจะคอดกิ่วเล็กลงเอว สอบลง โดยกองขึ้นไปจะกว้างขึ้นจนไปถึงขอบปาก ฝาปิดเป็นอีกชิ้นหนึ่งแยกจากตัวหีบ หีบพระธรรมประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ตัวหีบ ส่วนฐาน และฝาปิด นิยมใช้ ไม้สักเป็นวัสดุเนื่องจากเนื้อไม้ไม่เสียรูปทรงเมื่อนำ�มาแกะสลัก และมีความคงทนต่อสภาพ ดินฟ้าอากาศ เป็นงานหัตถศิลป์ที่เน้นความแข็งแรงเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ใบลานให้อยู่รอด ปลอดภัยในสภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด ลักษณะหีบพระธรรมพบในล้านนาสามารถแบ่งตาม ลักษณะโครงสร้างดังนี้ 1.หีบพระธรรมแบบทรงสี่เหลี่ยมคางหมู 2.หีบพระธรรมแบบทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3.หีบพระธรรมแบบทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า



15

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

โดยโครงสร้างของหีบธัมม์แบบล้านนาดูจะไม้ซับซ้อนมากนัก เนื่องจากเป็นครุภัณฑ์ที่สร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย จึงเน้นความแข็งแรงเป็นสำ�คัญ ซึ่งแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ 1.ส่วนฐาน เป็นส่วนที่รับน้ำ�หนัก มีขนาดกว้างจะ มีการซ้อนชั้นต่างๆ จากขนาด เล็กไปหาใหญ่ ใช้วิธีเข้าไม้โดยการอาศัยการเข้าเดือยยึดสี่มุมเข้าด้วยกัน เนื่องจากส่วนฐาน นี้เป็นส่วนที่รับน้ำ�หนักมากที่สุดจึงป็นส่วนที่สำ�คัญ จึงจำ�เป็นต้องใช้ไม้ที่มีขนาดหนาและมี น้ำ�หนักจึงจะเหมาะสมและเกิดความมั่นคงและแข็งแรง 2.ตัวหีบ หรือส่วนกลางของหีบ มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ทรงสี่เหลี่ยม จัตตุรัส และทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ว่าจะใช้รูปทรงแบบไหน องค์ประกอบ ของตัวหีบ ท้องไม้หรือฝาโดยรอบทั้งสี่ด้านเป็นไม้กระดานต่อกัน โดยอาศัยเสาสี่ต้นเป็น โครงยึดติดเข้าด้วยกัน อาศัยการเข้าไม้โดยใช้เดือยยึดการเข้าไม้เป็นฝาสี่ด้านโดยการใช้ เดือยยึดกับเสาจะทำ�ให้เกิดการงัดขบกันของเดือย ฝาไม้ทั้งสี่ด้านจะมีแรงผลักดัน รักษาตัว โครงสร้างให้คงรูปไว้อย่างมั่นคง บริเวณปากหีบจะทำ�เป็นสลักตัวผู้ไว้มีลักษณะคล้ายกับ การซ้อนปากหีบที่มีลักษณะเล็กเท่าตัวหีบจริง เพื่อสวมกันกับบริเวณส่วนที่เป็นฝา 3.ส่วนฝา คือส่วนที่ใช้ปิดตัวหีบมีลักษณะคล้ายฝาบาตรพระเพียงแต่มรูปทรง สี่เหลี่ยม โดยจะสร้างพอดีกันกับตัวหีบเวลาสวมปิดฝา ส่วนที่เป็นฝานี้บริเวณด้านบนของ ฝาจะใช้ไม้กระดานต่อกันเข้าเดือยยึดกับด้านข้างทั้งสี่ด้านประกอบกันเป็นรูปทรง ฝาด้าน บนสุดจะเป็นแผ่นไม้กระดานติดกันจนเป็นแผ่นเรียบเป็นเนื้อเดียวกันกับด้านข้างจะผายออก ตรงปลายเพื่อให้สวมสนิทกันกับส่วนที่เป็นส่วนตัวหีบ ซึ่งหีบพระธรรมล้านนาโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นทรงลุ้ง ด้านบนผาย ด้านล่างสอบ เข้าทางด้านใน มีอยู่สองแบบด้วยกันคือ แบบฝาตัด และแบบฝาเรือนยอด



17

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

การตกแต่งหีบพระธรรมล้านนา หีบพระธรรมมีโครงสร้างที่เป็นแผ่นไม้กระดานประกอบกันเป็นกล่องลักษณะ สี่เหลี่ยมแผ่นไม้กระดานโดยรอบ ที่เป็นพื้นผิวรองรับงานประดับตกแต่งได้เป็นอย่างดี ช่าง ในสมัยโบราณจึงมักสร้างลวดลายมาประดับ เพื่อมิให้ดูแล้วเป็นเพียงกล่องไม้สี่เหลี่ยม ธรรมดาโดยอาศัยเทคนิคและวิธีการที่ค่อนข้างจะประณีตบรรจง เนื่องจากเป็นงานที่สร้าง ขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาลวดลายประดับตกแต่งนี้จึงเป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญของหีบพระ ธรรม ส่งให้เห็นคุณค่าทางความงามของศิลปะล้านนาได้อย่างชัดเจน



19

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ที่มาของลวดลาย

ในสมัยโบราณนิยมที่จะให้มีการสร้างลวดลายต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้ประดับตกแต่ง สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และงานประณีตศิลป์ ลวดลายต่างๆ เหล่านี้จึงมิได้ เจาะจงใช้เฉพาะในงานประเภทหนึ่ง แต่จะมีการถ่ายเทรูปแบบให้แก่กัน ในงานศิลปกรรม ต่างแขนงกันลวดลายประดับของหีบพระธรรมล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากลวดลายประดับ ของงานศิลปกรรมประเภทอื่นด้วยเช่นกัน ที่เห็นได้ชัดเจนคือ จากงานจิตรกรรมและ สถาปัตยกรรม จุดประสงค์ของช่างก็เพื่อให้เกิดคุณค่าทางความงามยกระดับให้เป็นของใช้ ที่มีค่าสำ�หรับศาสนา นอกจากนี้ ยังเป็นสื่อให้เกิดจินตนภาพสร้างอารมณ์ของบุคคลที่ได้ พบเห็นให้เข้าถึงสัจธรรมของพระศาสนาเป็นพื้นฐานเบื้องต้น

ลักษณะของลวดลาย

ลวดลายประดับหีบพระธรรม จัดว่าเป็นสิ่งที่มีความสำ�คัญมากเป็นคุณลักษณะ เด่นที่สุดเพราะช่างจะตกแต่งลวดลายด้วยเทคนิคต่างกัน เพื่อให้ดูแล้วไม่เป็นเพียงแต่หีบ ไม้ธรรมดาเท่านั้นเทคนิคที่พบ เทคนิคการปรุกระดาษลายรดน้ำ� ประดับกระจกกระแหนะ ความงามนั้นอยู่ที่ลวดลายและจังหวะของช่องไฟการจัดวางองค์ประกอบ ลักษณะลวดลาย ส่วนใหญ่ที่ได้มาจากลวดลายประดับของงานศิลปกรรมประเภทอื่น นอกจากนี้ยังมีที่พิเศษ คือ มีการเขียนภาพเล่าเรื่อง เช่น ชาดก ทศชาติ เป็นต้น



21

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ลักษณะการประดับลวดลายที่ใช้ในหีบพระธรรม มักจะเป็นพื้นฐานของลวดลาย ไทย เช่น ลายก้านขด ลายเครือเถาธรรมชาติ โดยการประดิษฐ์จากเถาไม้ ใบไม้ ดอกไม้ ลาย รัศมีวงกลม ลายกระหนก เป็นต้น สานในโครงรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และลายประกอบ อิสระ เช่น ภาพเล่าเรื่องต่างๆ โดยนำ�ไปใช้ตามส่วนต่างๆ ดังนี้ การประกอบลายแนวนอน เช่น ลายหน้ากระดาน ลายท้องไม้ และส่วนฐานนิยม ทำ�เป็นลายดอกไม้ ลายรัศมีทรงกลม ลายก้านขด ลายก้านแย่ง มีการใช้ลายประจำ�ยาม หรือลายประจำ�ยามผสมกระหนกในส่วนที่เป็นฐานหีบพระธรรมล้านนา มักจะไม่ใช้ลาย กระหนกมากนักเนื่องจากเป็นความเชื่อว่าเป็นลายที่ร้อนไม่เป็นมงคล การประกอบลายตามแนวตั้ง เช่น ลายเสา ของต่างๆ นิยมใช้ลายดังนี้ ลายก้าน แย่ง คือการแตกลายออกไปทั้งสองข้างเท่ากัน ลายเครือเถานำ�มาจากการเลื้อยของเถาไม้ ตามแนวตั้ง ส่วนลวดลายที่เป็นการแสดงภาพเล่าเรื่อง เป็นภาพชาดก ทศชาติ ลักษณะของ ลวดลายถึงแม้จะยึดถือตามแบบประเพณี แต่ก็ได้สอดแทรกลักษณะอันเป็นส่วนบุคคลลง ไปในงานด้วย ช่างจะแสดงถึงลักษณะสิ่งแวดล้อมรอบตัว องค์ประกอบของสังคมในสมัยนั้น จากภาพ เครื่องใช้ เครื่องพิธีกรรม การแต่งกาย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของท้องถิ่น



23

ลักษณะของพื้นผิว

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ลักษณะของพื้นผิวในงานลวดลายหีบพระธรรมล้านนา ขึ้นอยู่กับเทคนิคต่างๆ ที่ช่างใช้ ซึ่งเทคนิคก็จะแสดงออกถึงลักษณะพื้นผิว อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกัน เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำ�หีบพระธรรมนั้นเป็นไม้ซึ่งสามรถแปลงการประดับตกแต่งได้หลาย ประเภท ลักษณะพื้นผิวจึงมีลักษณะแตกต่างกันออกไป พื้นผิวเทคนิคลายรดน้ำ� เทคนิคนี้สามารถตกแต่งได้อย่างละเอียดและชัดเจนที่สุด แต่ก็เป็นเทคนิคที่มีกรทำ�ซับซ้อนมากที่สุดอีกด้วย ลักษณะลายพื้นผิวจะเรียบมัน มีความ แวววาวจาก การปิดทอง เกิดความสว่าง เสริมให้งานตู้และหีบพระธรรมล้านนามีค่า มากยิ่งขึ้น พื้นผิวลายปรุกระดาษ พบมากในหีบพระธรรมล้านนา จะใช้ลวดลายที่ซ้ำ�ๆเป็น จังหวะที่เท่ากัน ความละเอียดของลายจะไม่ละเอียดมากเท่ากับลายรดน้ำ� แต่ยังคงความ เป็นระเบียบอยู่มาก พื้นผิวจะหยาบกว่าพื้นผิวลายรดน้ำ� แต่ยังคงความแวววาวของทองให้ เห็นอยู่ พื้นผิวเทคนิคการเขียนรักปิดทอง อาจทำ�ให้เกิดความละเอียดประณีต หรือหยาบ ขึ้นอยู่กับฝีมือของช่างแต่ละบุคคล พื้นผิวที่เกิดจากเทคนิคการเขียนรักลงชาด พบมากเช่นเดียวกันกับเทคนิคลาย ประกบกระดาษ พื้นผิวของรักจะดูดกลืนความสว่าง ชัดเจนไปมาก ลวดลายชาดสีแดงจึง ไม่ชัดเจนเท่าใดนัก พื้นผิวที่เกิดจากเทคนิคปูนปั้นรักกระแหนะ มีลักษณะเป็นนูนต่ำ� ให้ความสำ�คัญ ของลวดลายมาก ให้ความรู้สึกที่หยาบกระด้างกว่าเทคนิคอื่นๆ โดยมากไม่มีการปิดทอง ทับ พื้นผิวที่เกิดจากเทคนิคการติดแก้วอังวะ เทคนิคการประดับกระจกให้เกิดความ รู้สึกแวววาวระยิบระยับตาจากการหักเหของแสงที่มาตกกระทบ เกิดมิติบนเนื้อไม้ พื้นผิว แต่ละชนิดของเทคนิคต่างๆ จะนำ�มาซึ่งความรู้สึกต่างกัน ช่างในสมัยโบราณมีความถนัดใน แต่ละเทคนิค จึงสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล



25

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

การจำ�แนกข้อมูลตู้และหีบพระธรรม

ตู้และหีบพระธรรมภายในวัดสูงเม่นและวัดพระธาตุหลวงเนิ้ง ซึ่งตู้และหีบพระ ธรรมที่พบในทั้งสองวัดก็จะมีรูปทรงเทคนิคการตกแต่งและรายละเอียดของลวดลายที่แตก ต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน

หีบพระธรรมรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู รูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ก็ต่อเมื่อมุมที่อยู่ติดกันรวมเป็นมุม ประกอบสองมุมฉาก (180 องศา) จำ�นวนสองคู่ เงื่อนไขอีกอย่างหนึ่งที่สำ�คัญและเพียงพอ คือ เส้นทแยงมุมตัดกันด้วยอัตราส่วนของความยาวเท่ากัน (ค่านี้เป็นค่าเดียวกับอัตราส่วน ระหว่างด้านคู่ขนาน) กล่าวคือ หีบพระธรรมที่มีลักษณะรูปทรงก้นแคบแต่ปากหีบผาย ออก หีบพระธรรมที่มีรูปทรงในลักษณะนี้ จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของหีบพระธรรมรูปทรง สี่เหลี่ยมคางหมู ลักษณะรูปทรงของตัวหีบพระธรรมในส่วนล่างของตัวหีบจะมีลักษณะแคบกว่า บริเวณปากหีบ คือ ก้นแคบปากผายออก

ฝาหีบพระธรรม

ตัวฝาหีบพระธรรมก็จะมีลักษณะคล้ายกันกับตัวหีบพระธรรม แต่กลับกันตรงที่ ฝาหีบนั้นจะมีลักษณะสอบเข้า มี 2 ลักษณะด้วยกับ คือ แบบฝาตัด และฝาคุ่ม

ฐานหีบพระธรรม

ฐานหีบพระธรรมส่วนใหญ่จะนิยมทำ�ฐานหีบธรรมเป็นฐานบัวหรือฐานปัทม์ธรรม ลูกแก้วออกไก่ ฐานสอบ คล้ายกับฐานของตู้พระธรรมทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่มีลักษณะที่ เตี้ยกว่า



27

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ตู้พระธรรมทรงตู้ ลักษณะของตู้พระธรรมทรงตู้ ก็กล่าวคือ ตู้ที่มีลักษณะ มีประตู เปิด – ปิด ด้าน หน้า และมีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมอาจจะมีขาหรือไม่มีขา แต่ขอมีประตูสำ�หรับ ปิด – เปิด ก็จะจำ�แนกจัดอยู่ในกลุ่มของตู้พระธรรมทรงตู้

ตัวตู้พระธรรม

ตัวตู้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าของตู้ มีประตู เปิด – ปิด ได้สองบาน โดย ใช้บานพับเป็นตัวยึด

ฐานตู้พระธรรม

มีลักษณะเป็นฐานขาหมู แบบมีลิ้นชักและไม่มีลิ้นชัก



29

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ตู้พระธรรมทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มุมทั้งสี่ของมันเป็นมุมฉาก ส่วนคำ�ว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมายถึงรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หีบธรรมนั้นก็จะจัดอยู่ในกลุ่มของรูป ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ตัวหีบธรรม

เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านกว้างคูณด้านยาว

ฐานตู้พระธรรม

เป็นฐานบัว ลูกแก้วอกไก่ ตามีลักษณะความสูงค่อนข้างมากกว่าฐานหีบพระธรรม ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู



31

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

การจำ�แนกตามเทคนิคตกแต่งของตู้และหีบพระธรรม เทคนิคลายรดน้ำ� ลวดลายหรือภาพรวมไปถึงภาพประกอบลายต่างๆ ที่ปิดด้วยทองคำ�เปลวบนพื้น รัก โดยลวดลายหรือภาพลายทองที่ปรากฏ สำ�เร็จในขั้นสุดท้ายด้วยการเอาน้ำ�รด กล่าว โดยย่อ “ลายรดน้ำ�” คือ ลายทองที่ล้างด้วยน้ำ� ลายรดน้ำ�จัดเป็นงานประณีตศิลป์ ประเภท การตกแต่งประเภทหนึ่ง ลักษณะพิเศษของลายรดน้ำ� คือ มีกรรมวิธีในการ เขียนผิดแผก แตกต่างไปจากงานจิตรกรรมทั่วไป ที่ใช้สีหลายสี หรือแม้แต่งานจิตรกรรมประเภทเอกรงค์ เองก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการเขียนลายรดน้ำ� ใช้น้ำ�ยาหรดาลเขียนบนพื้นซึ่งทาด้วยยางที่ ได้จากต้นรัก เมื่อเขียนเสร็จแล้วจึงเช็ดรัก ปิดทองแล้วเอาน้ำ�รดน้ำ�ยาหรดาลที่เขียน เมื่อถูก น้ำ�ก็จะหลุดออก ส่วนที่เป็นลวดลายทองก็ติดอยู่ ทำ�ให้ลวดลายหรือรูปภาพที่ปรากฏหลัง การรดน้ำ�เป็นสีทองเพียงสีเดียว บนพื้นสีดำ�หรือสีแดง เทคนิคลายรดน้ำ�นี้เป็นเทคนิคที่ทำ�สืบเนื่องกันมาแต่โบราณ จัดเป็นงานช่างศิลป์ ประเภทหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในช่างรักอันเป็นช่างหมู่ หนึ่งในบรรดาช่างหลวง หรือช่างประจำ�ราช สำ�นักซึ่งเรียกกันว่า “ช่างสิบหมู่”



33

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

เทคนิคฉลุลายกระดาษปิดทอง

เป็นการสร้างลวดลายประดับตกแต่งโดย ใช้วิธีทำ�แบบลวดลายขึ้นบนกระดาษ บ้าง หนังแพะบ้าง แล้วฉลุตัวลายให้ขาดเป็นช่องๆ ตามรูปแบบลายนั้น ขึ้นไว้บนพื้นกระดาษ นั้น เมื่อจะทำ�ลวดลาย ก็เอาน้ำ�ยาขึ้นไปทาพื้น ตรงที่จะทำ�ให้เป็นลวดลาย แล้วเอาแบบ ลวดลายปะติดเข้าตรงที่ต้องการให้ติดแน่น จึงเอาทองคำ�เปลวปิดลงตรงช่องที่เจาะ ทำ�เป็น ตัวลายบนแบบนั้นให้ทั่ว พอทองจับติดพื้นดี แล้วจึงแกะแบบถอนออกจากพื้น ตามแบบ ลายฉลุที่ได้ทำ�ขึ้นเป็นแบบนั้น แบบลายฉลุนี้อาจใช้ทำ�ลวดลายต่อเนื่องกันไปได้ไม่จำ�กัด ลวดลาย และวิธีทำ�ให้เกิดเป็นลวดลาย ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่า งานลงรักปิดทองฉลุลาย เทคนิคนี้จัดได้ว่าเป็นเทคนิคดั้งเดิมของชาวล้านนา จะพบลักษณะงานเทคนิค ฉลุลายกระดาษปิดทองเหล่านี้ได้ตามวัดล้านนาทั่วไปโดยเฉพาะวัดล้านนาที่มีอายุเก่าแก่



35

เทคนิคปั้นรักประดับกระจก

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

เป็นเทคนิคการสร้างลวดลายประดับโดยเริ่มจากการนำ�เอารักที่ผ่านการกรอง เรียบร้อยแล้ว นำ�เอามาทาในบริเวณที่ต้องการประดับกระจก บางที่ก็อาจจะใช้ชาดสีแดง หาบนพื้นรัก จากนั้นก็นำ�เอากระจกสีต่างๆ หรือที่เรียกกันว่า กระจกจืน มาติดบริเวณที่ ต้องการ โดยการตัดแต่งรูปทรงตามความต้องการของช่าง อาจจะทำ�เป็นจุดไข่ปลา ลาย ประจำ�ยาม ลายพันธ์พฤกษา เป็นต้น เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ได้มาจากช่างพม่า ซึ่งพบได้จาก งานเครื่องเขินนั้นเอง



37

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

เทคนิคเขียนชาด เป็นเทคนิคการสร้างลวดลายโดยการเขียนสี โดยไม่มีการใช้ทองในการประดับ ตกแต่ง หรือมีทองบ้างเพียงน้อยนิด ซึ่งเทคนิคนี้ ก็ไม่ต่างจากเทคนิคทั่วไปโดยการเขียน ชาดลงไปในพื้นรัก เป็นเส้นดอกไม้ เครือเถา และลายพันธ์พฤกษา อาจจะหมายความได้ว่า จะพบในกลุ่มช่างตามชนบทที่ไม่มีการใช้ทอง แต่ใช้ชาดในการเขียนลวดลายประดับตกแต่ง ในตัวตู้หรือหีบพระธรรมแทน



39

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

การจำ�แนกตามลวดลายประดับตกแต่งของตู้และหีบธรรม กลุ่มลวดลายที่ใช้สัญลักษณ์เป็นหลัก

ลวดลายประดับตกแต่งที่ปรากฏอยู่ในตู้และหีบพระธรรม ลักษณะเป็นลวดลาย ประดับที่ต้องการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความหมายออกมา แทนความหมายในทาง พระพุทธศาสนา และเพื่อให้ตัวลายนั้นเป็นตัวแทนของพุทธศาสนิกชน

ภาพบุคคล หรือเทวดา

เป็นภาพที่มีการประดับตกแต่งโดยที่มีลักษณะเป็นตัวภาพบุคคล หรือตัวเทวดา เป็นสัญลักษณ์ในการสร้างเพื่อเป็นการแทนการสักการะบูชาพุทธศาสนา เช่น ตัวภาพพนม มือบนตัวหีบพระธรรม ก็อาจจะหมายความได้ว่า เป็นการสักการะคำ�สอนของพระพุทธเจ้า แต่แสดงออกมาเป็นตัวแทนในเชิงสัญลักษณ์ ต่อผู้ที่สร้างหีบพระธรรมใบนี้ก็แสดงถึงความ ศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา



41

ตัวภาพหม้อบูรณฆฏะ

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

เป็นตัวภาพที่สื่อถึงคติความเชื่อของชาวล้านนาได้อย่างชัดเจน คือ ความหมาย ของหม้อบูรณฆฏะ เป็นหม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์ คนล้านนาเชื่อว่าดอกไม้ คือ สิ่งที่ สวยงามและมีคุณค่าในตัวเอง ดอกไม้ทุกดอกจะส่งกลิ่นหอมหวน และเมื่อนำ�มารวม กันในหม้อไหดอกบูรณฆฏะแล้ว กลิ่นหอมและความหลากหลายที่มารวมกันนั้น จะยิ่ง ใหญ่ประมาณไม่ได้ โดยสิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ก็คือ คำ�ว่า บูรณฆฏะ ที่ใช้ในการบูชา พระพุทธเจ้า ที่แสดงถึงความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา



43

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ตัวภาพวัด หรือปราสาท

ตัวภาพวัดหรือปราสาทที่นำ�มาเป็นลวดลายประดับบนตัวหีบพระธรรมนั้นพบ น้อยมาก โดยส่วนใหณ่จะเป็นลวดลายที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากช่างผู้ที่ศรัทธาต่อวัดนั้นๆ และสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะถวายแก่วัด ตัวลวดลายประดับจึงเป็นตัววิหาร หรือตัวอุโบสถ ไม่ก็ เป็น ตัวเจดีย์ ที่จะแสดงให้เห็นถึง ความศรัทธาที่มีต่อวัดนั้นๆ

ตัวภาพผสม

เป็นกลุ่มภาพเชิงสัญลักษณ์ ที่มีความหมายในตัวภาพนั้นๆ ซึ่งอาจจะประกอบไป ด้วยตัวเหตุการณ์ หรือ ตัวภาพบุคคลที่แสดงถึงเรื่องราว ซึ่งเราเรียกตัวภาพกลุ่มนี้ว่า กลุ่ม ภาพเชิงสัญลักษณ์แบบผสม



45

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

กลุ่มที่ใช้ลวดลายประดับตกแต่งเป็นหลัก

กลุ่มที่ใช้ลวดลายประดับตกแต่งนี้จะเน้นลวดลายประดับที่มีความสวยงามเป็น หลัก ไม่มีภาพเล่าเรื่อง ตัวลวดลายไม่มีความหมายแอบแฝง

ลายพันธ์พฤกษา

คือ ลวดลายประดับตกแต่งที่มีลักษณะเป็นลายธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ใบไม้ เครือ เถาต่างๆ ที่มีรูปทรงอิสระพลิ้วไหว ส่วนมากมักจะอยู่ในฐานวงกลมเป็นส่วนใหญ่ รวมไปถึง กระทั่งลายดอกไม้ประดิษฐ์ด้วย ลายพันธ์พฤกษานี้โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะพบมาที่สุดใน การตกแต่งลวดลายบนตัวหีบพระธรรม



47

ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่

ลวดลายผสม

คือ ลวดลายประดับ ที่มีการผสมลายกัน อย่างตัวลายประจำ�ยาม ลายพันธ์ พฤกษา ลายเรขาคณิต หรือเพียงแค่ 2 อย่าง ก็เรียกว่าลายผสม ลายผสมนี้ ถือว่าพบค่อน ข้างมากในกลุ่มลวดลายประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม ตู้และหีบพระธรรมภายในวัดสูงเม่นและวัดพระหลวงธาตุเนิ้ง พบตู้และหีบพระ ธรรมซึ่งสามารถจำ�แนกรูปทรงของตู้และหีบพระธรรมได้ 3 รูปทรง ได้แก่ รูปทรงตู้ รูปทรง สี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู จากรูปทรงของตู้พระธรรมและหีบพระธรรม ที่พบมากที่สุดคือ ตู้พระธรรมทรงตู้ ซึ่งเป็นรูปทรงที่มาจากทางภาคกลาง ส่วนใหญ่ทรงตู้จะมีมากในวัดพระหลวงธาตุเนิ้ง และ นอกจากนี้ ยังมี ตู้พระธรรมทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และหีบพระธรรมทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ซึ่งมี เทคนิคการตกแต่งที่สามารถจำ�แนกออกมาได้อีก 4 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคลายรดน้ำ� เทคนิค ฉลุลายกระดาษปิดทอง เทคนิคปั้นรักประดับกระจก และเทคนิคเขียนชาด เทคนิคการประดับตกแต่งที่พบมากที่สุด คือ เทคนิคฉลุลายกระดาษปิดทอง ซึ่ง เป็นเทคนิคที่มีมาตั้งแต่โบราณ ส่วนเทคนิคลายรดน้ำ� ปั้นรักประดับกระจก และเขียนชาด ก็มีบ้าง แต่ไม่มากนัก ลวดลายที่นิยมนำ�มาตกแต่งตัวตู้และหีบพระธรรมนั้น จะเป็นตัวลาย สัญลักษณ์และลายพันพฤกษา เนื่องจากชาวบ้านอาจจะศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามาก และใกล้ชิดกับธรรมชาติ จึงมักจะสร้างตู้และหีบพระธรรมที่มีลวดลายประดับเหล่านี้ แบ่ง เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ลวดลายสัญลักษณ์เป็นหลัก คือ ภาพบุคคล และภาพผสม ลวดลายประดับตกแต่งเป็นหลัก คือ ลายพันธุ์พฤกษา และลายผสม


ตู้และหีบธรรม จังหวัดแพร่ © 2015 (พ.ศ. 2558) โดย พันธวัช ภิราญคำ� สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียบเรียงและออกแบบโดย พันธวัช ภิราญคำ� ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Niramit AS หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.