Fondabartit wongsawang e book 20141003 1

Page 1

“อักขระล้านนา ศาสตราศิลป์”

รุ่งทิพย์ แก้วต้อม



อักขระล้านนา ศาสตราศิลป์ รุ่งทิพย์ แก้วต้อม



วัตถุ สีเงินประดิษฐ์จากเหล็กกล้าขนาดกว้างนิ้วยาว ๒ ศอก ที่ด้าน

หนึ่งสะท้อนแสงวาววับบ่งบอกถึงความคมและความเอาใจใส่ของผู้เป็นเจ้าของ ไล่ ไปจนถึงส่วนปลายจนแหลมที่สุดชวนให้ครั่นคร้าม ผู้คนเรียกสิ่งนั้นว่า “ดาบ” เล่าว่า บรรพบุรุษปกบ้านป้องเมืองด้วยการใช้ดาบ ประหัตประหาร ลงทัณฑ์ก็ด้วยดาบ จนกระทั่งใช้เป็นเครื่องแสดงยศถาบรรดาศักดิ์ ตลอดจนเป็น มรดกตกทอดใช้ในพิธีสู่ขอเป็นนัยแสดงการปกป้องครอบครัวของฝ่ายชายต่อไป สิ่งนี้จึงมีบทบาทตลอดมา ใช่เพียงแต่สู้รบแล้วลบเลือนหายไปพร้อมกับสงคราม “ศิลปะการต่อสู้” จึงเป็นผลพวงของคำ�ว่า “สงคราม” เมื่อผนวกเข้ากับศิลปะการ เคลื่อนไหว (Movement) พร้อมเครื่องประกอบจังหวะตามแต่ภูมิภาคบรรเลง ประกอบจังหวะที่เร้าใจ ฮึกเหิม รวมเรียกว่า “ศิลป์ศาสตรา” 1



การเดินทางค้นหา ศาสตร์ ศิลป์ แห่งศาสตราวุธ สิ้นสุดลงเมื่อพบ กับตัวอักษรแปลกตาตรงหน้า ถูกเรียกว่า “อักษรธรรม” สิ่งอันเป็นต้นก�ำเนิด ของภาษา มรดกทางวัฒนธรรมการสื่อสาร เครื่องแสดงความเจริญรุ่งเรื่องของ เอกราชทางวัฒนธรรมกลุ่มชน ถือเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของครูบาอาจารย์ ที่ใช้ตัวอักษรธรรมนี้สร้างเป็นแบบฝึกหัดให้ผนวกเข้ากับท่าทางการใช้ดาบแบบ ต่าง ๆ ท�ำให้ผู้เรียนสามารถจ�ำแม่ท่าต่าง ๆ ได้ง่ายเพียงนึกถึงตัวอักษรนั้นก็ สามารถวาดลวดลายดาบออกมาได้ทันทีและด้วยอักษรธรรมล้านนานี้ใช้กันใน พับสาใบลานซึ่งล้วนเป็นบทสวดคาถาต่าง ๆ ครูบาอาจารย์ผู้ต้นคิดก็น�ำเอาพระ คาถาพระสูตรที่ส�ำคัญๆ มาก�ำหนดเป็นบทท่องเพื่อให้ง่ายต่อการจ�ำ เช่น บทสวด อิติปิโส นะโมพุทธายะ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ภาษาล้านนาหรืออักษรธรรม ล้านนาไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะได้เรียนตามปกติในปัจจุบันเพราะในอดีตล้านนา เคยถูกสั่งห้ามให้มีการเรียนการสอนภาษาล้านนา รุ่นปู่ย่าตายายถ้าไม่ได้บวช เรียนในพระพุทธศาสนาก็หาคนอ่านเขียนได้ยากมากแค่อักษรธรรมล้านนายังหา ผู้รู้ยากการเรียนฟ้อนดาบโดยใช้อักษรธรรมจึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่าในปัจจุบันนี้ จึงมีผู้ฟ้อนดาบส�ำนักนี้น้อยมากจากเรื่องที่จดจ�ำง่ายกลายเป็นเรื่องที่ยากไปโดย ปริยายตัวหนังสือก็ยากอ่านก็ไม่เข้าใจบทท่องก็มาจากบทสวดมนต์ต่าง ๆ หาก ไม่ศรัทธาในดาบและไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงก็คงยากที่จะเรียน ส�ำนักดาบนี้ได้ พ่อครูอาทิตย์ วงศ์สว่าง เป็นผู้สืบทอดการฟ้อนดาบแขนงนี้จาก พระ ครูอิ่นค�ำ ญาณวโร หลักฐานเพียงอย่างเดียวที่มีคือ ค�ำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ว่า ฟ้อนดาบอักขระล้านนานั้นสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน แต่สิ่งนั้น ไม่ส�ำคัญเท่ากับว่า “ฟ้อนเชิงดาบอักขระล้านนา” เป็นที่ประจักษ์จนถึงปัจจุบัน มีเอกลักษณ์โดดเด่นยากจะเทียบเคียง พ่อครูให้นิยามว่า “ฟ้อนดาบเชิงศรัทธา” กล่าวว่า “ผู้ฟ้อนจะต้องแม่นย�ำตัวอักษรธรรมล้านนา ซึ่งในปัจจุบันหาผู้ที่จะ เขียนอ่านภาษาล้านนาได้ยากยิ่ง นอกจากนั้นการฝึกยังต้องใช้ความตั้งใจ ความ ขยันและความอดทนในการฝึกฝน ประกอบกับใช้จังหวะประสานกับการย่างขุม มือขมวด หัวตวัดให้ได้รูป ใช้มือและกระบวนท่าของช่วงล่างวาดเป็นลวดลายขุม เดินสัมพันธ์กัน บวกกับลีลาเฉพาะเพิ่มเติมเข้าไป แต่หากผู้ใดฝึกฝนได้ส�ำเร็จ ก็จะ มีภูมิรู้ด้านการใช้ศาสตราวุธและคาถาป้องกันตัว” 3



ก่อนการฟ้อนจะต้องไหว้ก่อน และหลังการฟ้อนดาบเสร็จสิ้นก็ต้องไหว้ อีกครั้งหนึ่งทุกครั้ง ซึ่งแสดงถึงความเคารพนบนอบต่อคุณครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ เพื่อเรียกขวัญก�ำลังใจจากครูบาอาจารย์ในการฟ้อนดาบ และในบางครั้งผู้ฟ้อนจะกล่าวคาถาเพื่อป้องกันไม่ให้อาวุธเข้าตัว “ฟ้อน เชิง ดาบ อักขระล้านนา” เป็นค�ำที่ถูกน�ำมาผสม และใช้อธิบาย การแสดงได้อย่างลงตัว พ่อครูอาทิตย์ กล่าวถึงสาเหตุที่ใช้ค�ำซ้อนค�ำเป็นความ หมายว่า “เหตุที่ใช้เป็น ฟ้อนเชิงดาบอักขระล้านนา ไม่ใช้ ฟ้อนดาบอักขระล้านนา หรือฟ้อนเชิงอักขระล้านนา ก็ด้วยว่าในการฟ้อนเชิงดาบอักขระล้านนานั้นมีทั้งการ ใช้ดาบและการใช้เชิง (เจิง) ผสมผสานเข้าด้วยกัน มีบางกระบวนท่าที่วาดด้วยมือ เปล่าหรือใช้ดาบเพียงเล่มเดียว ซึ่งครูบาอาจารย์ท่านได้บอกเล่าไว้ว่า ในการสู้รบ จริงๆ นั้น มีความเป็นไปได้น้อยมากที่ดาบจะอยู่ในมือของเราตลอดเวลา แม้น ว่าเราจะเก่งกาจสักเพียงใด ก็ไม่ควรประมาทในความสามารถตน ไม่มีวันที่เรา จะไม่เพรี่ยงพล�้ำ จึงสอนให้ศิษย์เรียนรู้ที่จะประยุกต์ พลิกแพลงกระบวนยุทธ์ให้ พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์” 5



นอกจากนี้แล้วเทคนิคในการฟ้อนเชิงดาบอักขระล้านนาให้สวยงามนั้น ยังต้องมีความแข็งแรงของแต่ละกระบวนท่า ผสมผสานกับความอ่อนช้อยในลีลา ของการฟ้อนแม้จะมาจากศิลปะการต่อสู้ก็ต้องมีความสุขุมนุ่มลึก อีกทั้งยังต้องใส่ บุคลิกของตัวอักษรที่ตนฟ้อนได้อย่างชัดเจน สมจริง เช่น การฟ้อนตัว “ส” มีความเป็นเจ้าป่า แสดงออกถึงความน่าเกรงขาม การฟ้อนตัว “ป” ใช้ร่างกายเป็นอาวุธ เหมือนเช่นปลาที่ใช้เงี่ยงปลาใน การป้องกันตัวเอง การฟ้อนตัว “ม” มีความกระฉับกระเฉง ทะมัดทะแมง สง่างามแบบม้า อาชาไนย การฟ้อนตัว “ช” ทุกท่วงท่าต้องมีความหนักแน่น สง่างามและองอาจ ดังพญาช้างเดิน การฟ้อนตัว “น” มีความว่องไวในการฟันดาบ เช่นเดียวกับลักษณะของ หนูที่ว่องไว รวดเร็ว การฟ้อนตัว “ต” เรียนรู้การรู้หลบ รู้หลีก การใช้อาวุธที่มีในตัวให้ครบ เหมือนเช่นกระดองของเต่า การฟ้อนตัว “ค” การใช้ดาบชนะคู่ต่อสู้โดยฉับไว และคู่ต่อสู้เสียเปรียบ หรือสิ้นใจโดยพลัน การฟ้อนตัว “ธ” มีความองอาจบ่งบอกถึงชัยชนะ หรือความมั่นใจ การฟ้อนตัว “ล” มีความปราดเปรียว ว่องไว ใช้ความเร็วในการพิชิต ศัตรู การฟ้อนตัว “อ” มีความสลับซับซ้อนด้วยท่วงท่า เป็นการเปิดพื้นที่การ ต่อสู้ให้ตนเองเมื่อเสียเปรียบ การฟ้อนตัว “ว” มีงดงามโดดเด่น เมื่อยามวาดดาบให้แสงกระทบกับ คมดาบ เพื่อแสดงความคม 7



เทคนิคและกลวิธขี องพ่อครูอาทิตย์ในการถ่ายทอดวิชาความรูใ้ ห้ศษิ ย์นนั้ พ่อครูอาทิตย์จะแนะแนวทางให้เอกลักษณ์การฟ้อนของพ่อครูเท่านัน้ แล้วให้ศษิ ย์ วิเคราะห์หาแนวทางเอกลักษณ์การฟ้อนของตนเองโดยมีพอ่ ครูอาทิตย์เป็นต้นแบบ เนือ่ งจากศิษย์แต่ละคนมีบคุ ลิกทีแ่ ตกต่างกัน มนุษย์แต่ละผูม้ นี วิ้ ทีไ่ ม่เท่ากัน มีลลี า เฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ทแี่ ตกแขนงออกไปโดยมีตน้ แบบเค้าโครงเป็นหลัก ถือได้วา่ ฟ้อนดาบต�ำรานีเ้ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และมีเค้าโครงแบบอย่างของพ่อครูทสี่ อน เรียกได้วา่ เป็นการฟ้อนทีม่ แี บบแผนแต่ไม่ตายตัว ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน ดัง เช่นการเล่นดนตรี ครูคอื ผูส้ อนให้ลกู ศิษย์รจู้ กั โน้ตตัวต่าง ๆ ทัง้ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด แต่นกั เรียนคือผูน้ �ำตัวโน้ตเหล่านัน้ มาเรียบเรียงให้เกิดเป็นบทเพลงของตนเอง ทีม่ กี ารสอดประสาน ล้อ รับกันอย่างไรให้ไพเราะเสนาะหู ให้ตนเองเป็นผูบ้ รรเลง และจดจ�ำท่วงท�ำนองนัน้ แล้วน�ำไปถ่ายทอดต่อไป


การฟ้อนเจิงเป็นตัวบ่งชี้ว่า อาณาจักรล้านนานั้น ไม่ได้เป็นชาติป่าเถื่อน ไร้ศิลปะ แต่ในความเข้มแข็งของล้านนานั้นแฝงไปด้วยความมีอารยะ และความ เป็นระบบระเบียบ พร้อมต่อการรุกรานจากอาณาจักรเพื่อนบ้านอีกทั้งยังส่งผลให้ ร่างกายแข็งแรงจากการฟ้อนเจิงด้วย ในการฟ้อนเชิงดาบอักขระล้านนา มีทั้งการฟ้อนในเชิงรุก เชิงรับ และ การข่มขวัญคู่ต่อสู้ แฝงด้วยปรัชญาให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ การฟ้อนดาบจึง ต้องรู้ตน รู้ตัว รู้เขา รู้เรา รู้จักใช้ดาบให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ใช้กระบวนท่าต่างๆ เพื่อสัประยุทธ์คู่ต่อสู้ให้พ่ายแพ้ แต่ในแง่ของศิลปะการแสดงการฟ้อนดาบได้น�ำ เอาความแข็งกร้าวมาใช้ให้เป็นศิลปะที่งดงามอีกมุมหนึ่ง ผสมผสานลีลาการฟ้อน ที่อ่อนหวานแต่เปี่ยมไปด้วยพลัง เป็นอีกปรัชญาในกระบวนยุทธ์ ที่สอดใส่ศิลปะ เข้าไป 10


อี ก นั ย หนึ่งเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนในสมั ย ก่ อ นที่ น�ำเอา อักขระล้านนามาสร้างเป็นกระบวนยุทธ์บง่ บอกถึงความเป็นชาติทมี่ อี ารยะ มีตวั หนังสือของตนเอง คิดเอง ใช้เอง จนเกิดภูมปิ ญ ั ญานีข้ นึ้ เรียกว่า ฟ้อนเชิงดาบอักขระ ล้านนาทีผ่ สมผสานทัง้ คาถาป้องกันภัย ทัง้ บทร่าย และการน�ำเอาอักขระล้านนา มาฟ้อน ใช้ได้ทงั้ ดาบเดีย่ วและดาบคู่ ดาบทีใ่ ช้ในการบันทึกภาพ เป็นดาบส่วนตัว ของพ่อครูอาทิตย์ วงศ์สว่าง ได้รบั มอบจากครูธรี ยุทธ์ ยวงศรี ครูโขน-ละครประจ�ำ วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ผูป้ ระกอบพิธคี รอบครูซงึ่ ได้รบั โองการครอบครูหลวง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ซึง่ ดาบเล่มนีป้ จั จุบนั ใช้เฉพาะในการประกอบ พิธไี หว้ครูของพ่อครูอาทิตย์ในทีต่ า่ ง ๆ ถือเป็นดาบประจ�ำกาย เป็นของสูงทีม่ คี วาม ศักดิส์ ทิ ธ์และเป็นทีน่ บั ถือของลูกศิษย์ทกุ คน เป็นดาบทีพ่ อ่ ครูอาทิตย์จะน�ำออกมา ฟ้อนเพือ่ บูชาและร�ำลึกถึงครูอาจารย์เฉพาะในพิธไี หว้ครูและงานส�ำคัญๆ เพียงปีละ ไม่ถงึ 5 ครัง้ เท่านัน้ กระบวนท่าฟ้อนเชิงดาบอักขระล้านนา ของพ่อครูอาทิตย์ ทำ�ให้เห็นว่าการ ต่อสูท้ เ่ี กิดขึน้ จากสนามรบ หรือเพือ่ ป้องกันตนเองนัน้ ได้ถกู พัฒนา และสร้างสรรค์ จากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่ได้นำ�อักขระล้านนาภาษาพื้นเมืองของตนมาผสม ผสานกับการต่อสูเ้ พือ่ ให้คนจดจำ�ได้งา่ ยขึน้ และสอดแทรกคาถาธรรมต่างๆ เข้ามา เพือ่ ให้ผฟู้ อ้ นเกิดสติและปัญญา จึงได้เกิดเป็นศาสตร์และศิลป์ทม่ี เี อกลักษณ์และชัน้ เชิง แล้วได้ถา่ ยทอดสืบต่อกันมาจนกลายเป็นศิลปะอันทรงคุณค่า มีทง้ั การฟ้อนใน เชิงรุกและการฟ้อนในเชิงรับ ใส่ลลี าลักษณะท่าทางของอักขระทีฟ่ อ้ นทำ�ให้เกิดความ สวยงามและแฝงไปด้วยศิลปะการป้องกันตัว อีกทัง้ พ่อครูยงั ได้แนะนำ�ว่า การฟ้อน เชิงดาบอักขระล้านนา ควรฟ้อนอย่างเข้มแข็ง บวกกับความสุขมุ นุม่ ลึกของท่วงท่า และลีลาในการย่างขุมเชิง ซึง่ การฟ้อนของพ่อครูอาทิตย์ เป็นอีกสำ�นักหนึง่ ทีส่ มควรที่ จะอนุรกั ษ์ และสืบทอดไว้ให้ลกู หลาน http://www.youtube.com/watch?v=5qLNTUJgGDY 11



๑๑


ฟ้อนเชิงดาบอักขระล้านนา

14


พ่อครูอาทิตย์ วงศ์สว่าง

http://www.youtube.com/watch?v=Jale1-4mHEc&feature=youtu.be

15


อักขระล้านนา ศาสตราศิลป์ ภาพและเนื้อเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย รุ่งทิพย์ แก้วต้อม, 530310137
 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557
 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย รุ่งทิพย์ แก้วต้อม ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK 16 pt. 
หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษาภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.