ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก

Page 1

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก จัดพิมพ์เผยแพร่โดย กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 49 พระราม 6 ซอย 30 ถนนพระราม 6 พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2278-8400 โทรสาร 0-2298-5631 http://www.deqp.go.th ISBN : พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2553 ที่ปรึกษา อรพินท์ วงศ์ชุมพิศ รัชนี เอมะรุจิ สากล ฐินะกุล เรียบเรียงโดย ดร.เจริญวิชญ์ หาญแก้ว สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต ออกแบบรูปเล่มโดย รุ่งโรจน์ จุกมงคล นฤมล ต่วนภูษา การอ้างอิง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2553. ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ. 128 หน้า.

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


คำนำ

โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด นับจากที่สิ่งมีชีวิตแรก เกิดขึน้ มีววิ ฒ ั นาการมาอย่างต่อเนือ่ ง จนมีสงิ่ มีชวี ติ จำนวนมากมายหลากหลาย ชนิดกระจายอยูต่ ามส่วนต่างๆ บนโลกใบนี้ ก่อให้เกิดสังคมของสิง่ มีชวี ติ และ ไม่มีชีวิตสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นระบบนิเวศโลกที่ยิ่งใหญ่ เกื้อหนุนกันและ กันหล่อเลี้ยงทุกสรรพชีวิตอย่างงดงาม จนปัจจุบันนี้มีจำนวนประชากรมนุษย์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อ สรรพชี วิตและเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลกอย่ า งรุ น แรง ก่ อให้ เ กิ ด การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตลดลง องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ ปี 2010 ซึง่ ตรงกับ พ.ศ. 2553 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้ประชาคมโลก ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และร่วมมือกัน เพื่อพิทักษ์รักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่ และกำหนดหัวข้อ

การรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลกปีนี้ ในเรื่องความสำคัญของความหลากหลาย ทางชีวภาพต่ออนาคตของโลก ภายใต้หัวข้อ Many Species, One Planet, One Future “ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก” สำหรับประชาชน ฉบั บ นี้ จั ด ทำขึ้ น เพื่ อ สร้ า งความเข้ าใจและส่ ง เสริ ม ให้ ป ระชาชนชาวไทย ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และร่วมมือกัน เพื่อพิทักษ์รักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้ดำรงคงอยู่ต่อไปในอนาคต กรมส่งเสริมและเผยแพร่คุณภาพสิ่งแวดล้อม มิถุนายน 2553

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


สารบัญ

รู้จักความหลากหลายทางชีวภาพ

5

สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพของโลกและประเทศไทย

27

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

37

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

48

การดำเนินการในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก

64

การดำเนินการของประเทศไทยในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

83

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

111

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก

118

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก

1. รู้จักความหลากหลายทางชีวภาพ

สรรพชีวติ ทัง้ หลายบนโลกล้วนเป็นผลพวงจากกระบวนการวิวฒ ั นาการ ตามกาลเวลาและสภาวะสมดุลของธรรมชาติ ท่ามกลางถิน่ อาศัยหลากหลาย รูปแบบ นั่นหมายถึง ธรรมชาติได้สร้างสรรค์จรรโลงสิ่งมีชีวิตทั้งมวล สิ่งนี้ถือเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งบนโลก เมื่อความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวิวัฒนาการทั้งของสิ่งมีชีวิตเองและผันแปรไปตาม สภาพแวดล้อม โดยควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบันและยังคง ดำเนินไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนถึงวัน นี้ กิจกรรมต่างๆ ของมนุษ ย์ ได้ส่งผลให้เกิดการสูญเสีย ความหลากหลายของสิ่งที่มีชีวิตในอัตราที่เพิ่มสูงมากขึ้น และสร้างความ เสียหายให้แก่ระบบนิเวศที่ค้ำจุนชีวิตมนุษย์และสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆ ทั้งหมด ดังนั้นองค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปี 2010 (พ.ศ. 2553) เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้ประชาคมโลก ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และร่วมมือกัน เพื่อพิทักษ์รักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้ดำรงคงอยู่ต่อไปในอนาคต และกำหนดหัวข้อการรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลกปีนี้ ในเรื่องความสำคัญของ ความหลากหลายทางชีวภาพต่ออนาคตของโลก

1.1 ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความหมายกว้างขวางครอบคลุมถึง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


สิ่งมีชีวิตนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นจุลิน ทรีย์ พืช สัตว์ หรือมนุษ ย์ สิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดล้วนมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมแตกต่างแปรผันออกไปมากมาย เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยในแต่ละท้องถิ่น ซึ่ง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนและหลากหลายในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ความหลากหลายทางชี ว ภาพจึ ง เป็ น ผลที่ เ กิ ด จากกระบวนการ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และมีความสำคัญต่อมนุษ ย์ทั้งโดยทางตรงและ ทางอ้อม เพราะสิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ จำเป็นต้องพึ่งพาสำหรับปัจจัยสี่ เพื่อช่วยค้ำจุนให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่าง ปกติสุข คำว่ า ความหลากหลายทางชี ว ภาพ (Biodiversity หรื อ Biological diversity) มีที่มาจาก ความหลากหลาย (Diversity) หมายถึง มี ม ากมายและแตกต่ า ง รวมกั บ ทางชี ว ภาพ (Biological) หมายถึ ง ที่ เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานา พันธุ์อยู่ ในระบบนิเวศอันเป็นถิ่นอาศัยซึ่งมีมากมายและสภาพแตกต่างกัน

ทั่วโลก ทั้งนี้มีความหมายกว้างไกลกว่า “สิ่งมีชีวิต (life)” หรือกล่าวให้

ชัดเจนได้ว่า หมายถึงคุณสมบัติของชุมชนสิ่งมีชีวิตอันหลากหลายในระดับ พันธุกรรม (gene) ขึ้นไปถึงระดับชนิด (species) จนถึงความหลากหลาย ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเชิงนิเวศวิทยา (ecological community) ที่แตกต่าง หลากหลายบนโลก ดังนั้นความหลากหลายทางชีวภาพจะปรากฏขึ้นในสังคม สิ่งมีชีวิตทุกระดับตั้งแต่ระดับโมเลกุลจนไปถึงระดับระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นความแตกต่างที่หลากหลาย ของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดบนพื้นโลกซึ่งมีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกัน และไม่ สามารถแยกออกจากกันได้ เป็นแหล่งทีม่ าของอาหาร ยารักษาโรค เชือ้ เพลิง

และปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ รวมถึงเป็นแหล่งสร้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


รายได้ที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพมีหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นพวก จุลินทรีย์ พืช สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนแต่มีองค์ประกอบ ทางพันธุกรรมที่แตกต่างแปรผันกันออกไปมากมาย (genetic diversity) เพื่ อให้ เ กิ ด ความสอดคล้ อ งเหมาะสมกั บ สภาพแหล่ ง ที่ อ ยู่ อ าศั ย ในแต่ ล ะ ท้องถิ่นอันเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนและหลากหลายในบริเวณต่างๆ ของโลก (ecological diversity)

ลักษณะของความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถแบ่งออกได้ เป็น 3 ประเภท คือ

1. ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) เป็นความหลากหลายที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตได้รับการถ่ายทอดมาจาก รุ่น พ่อแม่และส่งต่อไปยังรุ่นต่อไป เช่น ความแตกต่างของลวดลายและสี ของขนนก ความหลากหลายของสายพันธุข์ า้ ว เป็นต้น ความแตกต่างผันแปร ทางพันธุกรรมในแต่ละหน่วยชีวิตมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


หรือการกลายพันธุ์ (Mutation) อาจเกิดขึน้ ในระดับยีนหรือในระดับโครโมโซม ผสมผสานกับการสืบพันธุแ์ บบอาศัยเพศ ซึง่ เกิดขึน้ ตามธรรมชาติได้นอ้ ยมาก และเมื่อลักษณะดังกล่าวถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก จะทำให้เกิดความหลาก หลายทางพันธุกรรม ในระบบนิเวศหนึ่งๆ ประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลายชนิด แม้ ในสิ่ง

มีชีวิตเดียวกันก็ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดสายพันธุ์ ต่างๆ อันเป็นรากฐานสำคัญที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตให้ สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้สืบไป กระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโดยการคัดเลือกตามธรรมชาติ มีปัจจัยสำคัญอยู่ที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้นกับสภาวะ แวดล้อม ความหลากหลายของพันธุกรรมเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยให้สิ่ง มีชีวิตสามารถดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวด ล้อมรอบๆ ตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการหลีกเลี่ยงศัตรูและต่อต้าน โรคภัยไข้เจ็บ ความหลากหลายของพันธุกรรมของประชากรแต่ละชนิดทีอ่ าศัย อยู่ตามแหล่งต่างๆ ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของประชากรชนิดนั้นให้สามารถ วิวัฒนาการและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมต่างกัน ได้อย่างเหมาะสมในระยะยาวอีกด้วย การขาดแคลนความหลากหลายของพันธุกรรมหรือขาดความผันแปร ทางพันธุกรรมของประชากรธรรมชาติย่อมส่งผลต่อการลดประสิทธิภาพ ของการอยู่รอด ตลอดจนความสมบูรณ์ ในการสืบพันธุ์ด้วย อันจะทำให้เกิด การสูญเสียความยืดหยุ่นทางวิวัฒนาการตามมาอย่างแน่นอน การคัดเลือกและเก็บรักษาพันธุ์พืชหรือสัตว์เพื่อการเกษตรกรรม จะ ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายของพันธุกรรม อันอาจก่อให้เกิดผล ร้ายตามมา ซึ่งเป็น ปัญหาสำคัญของมนุษ ย์ ในความพยายามที่จะเอาชนะ ธรรมชาติ แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคที่เกิดจากธรรมชาตินั่นเอง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


2. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (species diversity) เป็นความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต (species) ที่มีอยู่ในถิ่นอาศัย พื้นที่หนึ่งนั่นเอง ทั้งนี้สามารถวัดความหลากหลายของชนิดพันธุ์ โดยดูจาก 2 ลักษณะดังนี้ ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


10 ปริ ม าณชนิ ด (species richness) หมายถึ ง จำนวนชนิ ด ของสิ่ ง มีชีวิตต่อหน่วยเนื้อที่ เช่น ประเทศเมืองหนาวในพื้น ที่หนึ่งๆ มีต้นไม้อยู่ ประมาณ 1 - 5 ชนิด ขณะที่ป่าในประเทศเขตร้อนในพื้นที่เท่ากันมีต้นไม้ นับร้อยชนิด เป็นต้น ความสม่ำเสมอของชนิด (species evenness) หมายถึง สัดส่วน ของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่หนึ่งๆ แม้จะยังไม่สามารถระบุลงไปได้อย่างชัดเจนว่า บนโลกมีสิ่งมีชีวิต ทัง้ พืชและสัตว์รวมกันแล้วปริมาณเท่าใด แต่ประมาณการณ์วา่ มีอยูอ่ ย่างน้อย 30-50 ล้านชนิด แม้ทุกวัน นี้ก็ยังมีการค้น พบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ ทั่วโลก ขณะเดียวกันมีสิ่งมีชีวิตที่ค้นพบไปแล้วราว 1.7 ล้านชนิดเท่านั้นที่ ได้รับการ ศึกษาวิจัยตามหลักวิทยาศาสตร์ และในจำนวนชนิดที่รู้จักกันแล้วนี้มีเพียง น้อยนิด ไม่ถึงร้อยละ 0.01 ที่นักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาและตรวจสอบถึง ศักยภาพและคุณค่าที่จะให้ประโยชน์ต่อมนุษ ย์ ในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อม

ความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิต

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


11 ข้อเท็จจริงดังกล่าวสะท้อนให้ เห็นถึงความไม่เอาใจใส่และด้อยใน องค์ความรู้ของมนุษ ย์เกี่ยวกับสิ่งมี ชีวิตอื่นที่อยู่ร่วมโลก ป่าชื้นเขตร้อน เป็ น แหล่ ง ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ แ ละเอื้ อ อำนวยให้ มี ค วามหลากหลายของ สิ่งมีชีวิตมากมาย เสมือนเป็นศูนย์- กลางแห่ ง ความหลากหลายทาง ความหลากหลายของชนิดพันธุ์เห็ด ชี ว ภาพที่ ส มควรได้ รั บ ความสนใจ ในธรรมชาติ ดู แ ลรั ก ษาสภาพไว้ ใ ห้ เ ป็ น สมบั ติ ล้ำค่าของประเทศและของโลก แต่กลับมีสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่น้อยในป่าชื้นเขต ร้อนถูกทำลายสูญหายไปจากโลกนี้อย่างไม่มีวันกลับด้วยน้ำมือมนุษย์ ไม่ว่า โดยจงใจหรือไม่ก็ตามทั้งๆ ที่สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ ไปแล้วนั้นอาจมีประโยชน์ ต่อมนุษ ยชาติอย่างมหาศาล หากว่ามนุษ ย์จะได้รู้จักและศึกษาหาความรู ้

เสียก่อน 3. ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (ecological diversity) เป็นความซับซ้อนของลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของ โลก เมื่อประกอบกับสภาพภูมิอากาศและลักษณะภูมิประเทศทำให้เกิด ระบบนิเวศหรือถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat) ของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งมี ปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบ นิเวศนั้น สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีวิวัฒนาการในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้

ในระบบนิเวศอันหลากหลาย ขณะที่บางชนิดกลับอยู่ ได้เพียงระบบนิเวศที่มี ภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความหลากหลายของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิด

และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


12 ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดและรูปแบบต่างกัน ไม่ว่า จะเป็ น พื ช สั ต ว์ จุ ลิ น ทรี ย์ ที่ อ ยู่ ร วมกั น พื้ น ที่ ใ ดพื้ น ที่ ห นึ่ ง โดยสิ่ ง มี ชี วิ ต เหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวได้ การปรับตัว

เปลี่ ย นแปลงบางอย่ า งของสิ่ ง มี ชี วิ ต อาจเกิ ด ขึ้ น ภายในหนึ่ ง ชั่ ว อายุ ห รื อ

ยาวนานหลายชั่วอายุ ผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ตามกระบวนการ วิวัฒนาการ คุณสมบัติ และความสามารถของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตและ สภาพแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกัน และมีปฏิกิริยาต่อกันซับซ้อนในระบบ นิเวศที่สมดุล โครงสร้างและคุณสมบัติของระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สิ่ง

มีชีวิตชนิดต่างๆ รวมทั้งมนุษ ย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล จนกระทั่งความ เจริ ญ และอารยธรรมของมนุ ษ ย์ ไ ด้ ม าถึ ง จุ ด สุ ด ยอดและค่ อ ยๆ เสื่ อ มลง เพราะมนุษ ย์เริ่มทำลายสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ที่เคยช่วยเหลือสนับสนุนตนเอง มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ และนำไปสู่ความเสียหายอย่าง ใหญ่หลวงของสรรพสิ่งทั้งมวล ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทาง ชีวภาพอันซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศ แต่ ล ะประเภท เช่ น ป่ า ดงดิ บ ทุ่ ง ทะเลสาบ หนอง บึ ง หญ้ า ป่ า ชายเลน ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษ ย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั้งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบ นิเวศเหล่านี้เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัย แตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ส่งผลต่อสมดุลของระบบนิเวศโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


13

คุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของ ความหลากหลายของชนิด ความหลากหลายทางพันธุกรรม และความหลาก หลายทางระบบนิ เ วศ (รวมทั้ ง สิ่ ง แวดล้ อ มทางกายภาพทั้ ง ดิ น น้ ำ และ อากาศ) ล้วนแต่เป็นทุนทางธรรมชาติ (natural capital) ที่โลกได้สร้าง ไว้ เ ป็ น มรดกตกทอดของสรรพชี วิ ต ตลอดมาจนกลายเป็ น ภู มิ ปั ญ ญา แห่ ง ธรรมชาติ (Nature’s Wisdom) ซึ่ ง เป็ น ผลพวงจากกระบวนการ เปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ

1.2 ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ

เมื่อความหลากหลายทางชีวภาพเป็นความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

ทัง้ ระหว่างชนิดพันธุ์ สายพันธุ์ และระบบนิเวศทีอ่ าศัยอยู่ สามารถยกตัวอย่าง ให้ชัดเจนได้ดังนี้

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


14

บนโลกมีทั้งพืชและสัตว์ โดยพืชมีทั้งที่มีดอกและไม่มีดอก สัตว์ก็มี

ทั้งที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนความหลากหลายระหว่าง

สายพั น ธุ์ เช่ น วั ว มี ทั้ ง วั ว เนื้ อ และวั ว นม ไก่ มี ทั้ ง สายพั น ธุ์ เ นื้ อ และไก่ ไ ข่

ขณะที่ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศแต่ละแห่งจะมีความซับซ้อน

แตกต่างกันออกไป เช่น ป่า แม่น้ำ ทะเล ซึ่งความแตกต่างหลากหลาย

ระหว่างระบบนิเวศนี้ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ

ได้อาศัยและดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน จนก่อให้เกิดบทบาทในการให้ “บริการ ทางสิ่งแวดล้อม” (environmental service) ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้ง

มนุษ ย์ต่างกันออกไป เช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ ให้เกิดน้ำท่วมและ

การพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ ให้ ไปทับถม

จนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจาก กระแสลมและคลื่น ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมีอยู่ระหว่างสายพันธุ์ ความสัมพันธ์

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


15 ของการให้บริการซึ่งกันและกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ก่อให้เกิดสมดุล

ต่อระบบนิเวศโดยรวม หากส่วนใดส่วนหนึ่งภายในระบบสูญหายหรือถูก

ทำลายย่อมส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นภายในระบบโดยรวมไม่มากก็น้อย ทรัพยากรชีวภาพเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม

สิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวไทยทุกหมู่เหล่า ผลประโยชน์

จากคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งที่มาของอาหาร ยา

รักษาโรค เชื้อเพลิง และปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษ ย์

รวมถึงเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น ในอดีตที่ผ่านมา บรรพชนไทยได้ รั บ ผลประโยชน์ จ ากคุ ณ ค่ า ของ

ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหาร

เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและ

ประเพณีอันดีงามของประชาชนคนไทย ที่สร้างสรรค์และสั่งสมสืบสานกัน

มายาวนาน ในรูปลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


16 ผลผลิตและบริการจากระบบนิ เวศที่สำคัญมีดังนี้:

อาหาร, เชื้อเพลิง และเส้นใย วัตถุดิบสำหรับสร้างที่อยู่อาศัยและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ทำให้อากาศและน้ำบริสุทธิ์ กรองสารพิษและย่อยสลายขยะของเสียต่างๆ ช่วยให้สภาพภูมิอากาศของโลกมีความคงที่ ไม่แปรปรวนหรือ

เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ช่ ว ยป้องกัน ควบคุม บรรเทาภัยพิบั ติ จ ากธรรมชาติ แ ละการ

เปลี่ ย นแปลงอุ ณ หภู มิ ไม่ ใ ห้ มี ค วามรุ น แรงจนเกิ น ระดั บ ที่ ส ามารถ

รองรับได้ ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ ให้แก่ดิน และฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพ

รวมถึงช่วยในการหมุนเวียนของวัฎจักรสารอาหาร ช่วยในการผสมเกสรและการแพร่กระจายพันธุ์ของพืชหลายชนิด ช่วยควบคุมศัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ ดำรงรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม เพือ่ เป็นฐานทรัพยากร

สำหรับการคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์พืชปลูกและปศุสัตว์ต่างๆ รวม

ถึงการผลิตยารักษาโรค และผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากทรัพยากรชีวภาพ ผลประโยชน์ทางวัฒนธรรม และสุนทรียศาสตร์/นันทนาการ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มนุษ ย์ต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ และ

จุลินทรีย์ ทั้งประโยชน์ทางตรง เพื่อเป็นอาหารและยา รวมทั้งประโยชน์ทาง

อ้อม ในส่วนวัตถุดิบที่ ใช้ ในอุตสาหกรรมก็ได้จากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติหรือ

ที่นำมาเพาะเลี้ยง โดยเฉพาะป่าไม้เป็นแหล่งรวมสรรพชีวิตไว้มากมาย พืช

เกษตรล้วนกำเนิดจากป่า ไม่ว่าจะใช้เป็นอาหารหรือไม้ประดับ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


17 ประโยชน์ที่มนุษย์ได้จากระบบนิเวศตามธรรมชาตินั้นมีอยู่มากมาย สามในสี่

ของประชากรโลกยังพึ่งพาพืชสมุนไพรจากป่า โดยเฉพาะในประเทศกำลัง

พัฒนา ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีอุตสาหกรรมผลิตยาที่สกัดจากวัสดุ

ธรรมชาติมูลค่านับแสนล้านบาท สิ่งเหล่านี้นับเป็นคุณค่ามหาศาลที่ ได้จาก

พืชสมุนไพรที่มีอยู่ ทรัพยากรที่เป็นสิ่งมีชีวิตยังสร้างประโยชน์ในด้านท่องเที่ยวได้เช่นกัน

การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติสามารถสร้างรายได้และทำให้เงินหมุนเวียน

ภายในประเทศมากขึ้น

ประเทศไทย ตั้งอยู่ ในเขตร้อนชื้นบริเวณเส้นศูนย์สูตร (Equator)

จึงเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงแห่งหนึ่งของโลกภายใต้

ระบบนิเวศที่สำคัญ ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าพรุ และ

ป่าชายเลน และเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าหลากชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


18

ในประเทศไทยมี ค วามหลากหลายทางชี ว ภาพมากมายกระจั ด

กระจายอยู่ตามถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งทางบกและทางน้ำ มี

พรรณไม้ที่ศึกษาแล้วประมาณ 20,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์ประมาณ

12,000 ชนิด ส่วนพวกจุลินทรีย์นั้นยังรู้จักกันน้อย นั ก วิ ช าการคาดคะเนว่ า น่ า จะมี สิ่ ง มี ชี วิ ต อี ก มากมาย อาจมี ถึ ง

100,000 ชนิด ที่ยังไม่ ได้มีการนำมาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลกันอย่าง

จริงจัง และสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันนั้น อาจมีจำนวนไม่น้อยที่มี

คุณค่าทางด้านทรัพยากรพันธุกรรม ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นยาและ

อาหาร และผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ได้

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


19 ความหลากหลายทางชีวภาพกับการดำรงชีวิต

มนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น

ความหลากหลายทางชีวภาพจึงเกี่ยวข้องโดยตรงต่อมนุษ ย์ โดยเฉพาะเป็น

แหล่งที่มาของปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตด้วยเหตุนี้การรักษาสมดุลของ

สภาพแวดล้อม นอกจากช่วยให้ความหลากหลายทางชีวภาพคงอยู่ต่อไปแล้ว

ยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์อีกด้วย 1. ประโยชน์ทางตรง เราสามารถนำเอาสิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็น

พืชและสัตว์มาใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวันหลายด้าน เช่น

ต้นไม้มาทำเป็นที่อยู่อาศัย หรือนำพืชมาเป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่อง

นุ่งห่ม เชื้อเพลิง สิ่งของเครื่องใช้ เป็นต้น 2. ประโยชน์ ทางอ้ อ ม ความหลากหลายทางชี ว ภาพมี ป ระโยชน์

ทางอ้อมต่อมนุษ ย์และสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ เป็นแหล่งอาศัยของ

สัตว์ป่า ช่วยควบคุมสภาพอากาศ ช่วยรักษาคุณภาพดิน คุณภาพน้ำ เป็นต้น

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


20 คุณค่าทางเศรษฐกิจของความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตระหว่างชนิด สายพันธุ์ และระบบ

นิเวศ เป็นต้นธารวัตถุดิบที่ช่วยให้มนุษ ย์สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยน

แปลงในปัจจุบันและในอนาคต อีกทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรมในชนิด

พันธุ์พืช สัตว์ และจุลิน ทรีย์ ได้ทำให้พืชและสัตว์สามารถปรับตัวเข้ากับ

สภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ ความสามารถของสายพันธุ์ ที่ทนทานต่อความแห้งแล้งหรือสภาพ

น้ำท่วมขัง เจริญในดินเลวหรืออุดมสมบูรณ์ ต้านทานต่อแมลงศัตรูพืชหรือ

เชือ้ โรค ให้ผลผลิตสูงหรือผลิตอาหารทีม่ รี สชาติดขี นึ้ ล้วนแต่เป็นคุณลักษณะ

ที่สืบทอดตามธรรมชาติมาจากพันธุกรรมของสายพันธุ์นั้นๆ ซึ่งจำเป็นยิ่งต่อ

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนโลก อีกทั้งเป็นฐานให้เทคโนโลยีชีวภาพ

สมัยใหม่สามารถนำความหลากหลายตามธรรมชาติมาถ่ายทอดเข้าไปในพืช

สัตว์ และจุลินทรีย์ ช่วยพัฒนาการเกษตร แพทย์ อาหาร และด้านอื่นๆ เพื่อ

เอื้อต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากที่กล่าวมาจึง

ถือได้ว่าความหลากหลายจากทรัพยากรธรรมชาติได้สร้างคุณค่าและทุนทาง

เศรษฐกิจให้แก่มนุษย์อย่างใหญ่หลวง ตัวอย่างของคุณค่าทางเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดทำและดำรงรักษาเครือข่ายพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ซึ่งมี

เป้าหมายในการอนุรักษ์ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ทะเลและมหาสมุทร

อาจมีต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 5-19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่จะ

สามารถช่วยคุ้มครองและรักษาสัตว์น้ำที่เป็นทรัพยากรในการประมง

และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่ารวมถึง 70-80 พันล้าน

เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และบริการจากระบบนิเวศทางทะเลที่มีมูลค่า

สูงถึง 4.5 ถึง 6.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


21 มู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จโดยเฉลี่ ย ของการประมงในบริ เ วณอ่ า ว

แคลิฟอร์เนีย หากมีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ดำรงอยู่ จะมี

มู ล ค่ า สู ง ถึ ง 37,500 เหรี ย ญสหรั ฐ ฯ ต่ อ พื้ น ที่ เ ขตป่ า ชายเลนหนึ่ ง

เฮกแตร์ ส่วนคุณค่าของป่าชายเลนในการคุ้มครองชายฝั่งทะเล อาจ

มี มู ล ค่าสูงถึง 300,000 เหรียญสหรัฐ ฯ ต่ อ พื้ น ที่ ช ายฝั่ ง หนึ่ ง ตาราง

กิโลเมตร การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในทวีปแอฟริกา สามารถสร้างรายได้ ใน

มูลค่าที่ ใกล้เคียงกับรายได้จากการทำการเกษตร การทำป่าไม้ และ

การประมง ทั้งหมดรวมกัน มีการศึกษาและประเมินว่า แนวปะการังเกรทแบริเออร์รีฟ มี

ส่วนช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในแง่ของการเป็นแหล่ง

ท่องเที่ยว การเป็นแหล่งประมง และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ คิดเป็น

มูลค่าถึงเกือบหกพันล้านเหรียญออสเตรเลีย

คุณค่าทางด้านอาหารของความหลากหลายทางชีวภาพ

ข้าว ข้าวไทยมีหลายสายพันธุ์ และให้รสชาติ ความอ่อนนุ่ม

ความเหนี ย วที่ แ ตกต่ า ง ทำให้ ค นไทยสามารถเลื อ กรั บ ประทาน ทั้ ง ข้ า ว

เหนียวและข้าวเจ้าตามความพึ่งพอใจ ผัก พืชผักพื้นเมืองจากทุกภาคของประเทศไทยมีมากกว่า

300 ชนิด ทำให้คนไทยสามารถเลือกรับประทานได้ตามรสนิยม ฤดูกาล

และความปรารถนาของร่างกาย ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


22 เครื่องเทศ เครื่องเทศจากพืชไม่น้อยกว่า 50 ชนิด มีน้ำมัน

หอมระเหยซึง่ ให้กลิน่ และรสชาติทบี่ ง่ บอกความเป็นอาหารไทยจากเครือ่ งเทศ

แห้ง เช่น พริกไทย ขิง เร่ว กระวาน กานพลู ขมิ้น เป็นต้น ผลไม้ ผลไม้มีประมาณ 400 ชนิด เป็นไม้ปลูกประมาณ 120

ชนิด ไม้ป่าประมาณ 280 ชนิด และมีความแตกต่างหลากหลายตามฤดูกาล

ไม้ผลเศรษฐกิจ เช่น ลองกอง กล้วย ทุเรียน มะม่วง ลำไย มังคุด เป็นต้น

คุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพทางการแพทย์

สามในสีข่ องประชากรในโลกนัน้ ใช้พชื สมุนไพรจากป่า โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้วมีอตุ สาหกรรมผลิตยาทีส่ กัดจากวัสดุธรรมชาติ

มูลค่านับแสนล้านบาท

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


23 หนึ่งในสี่ของยาที่ใช้ในสหรัฐขณะนี้มีตัวยาสกัดจากพืช ตัวยาสำคัญที่ ใช้กันมากในโลกนั้นพบครั้งแรกในพืช เช่น ควินิน

แอสไพริน (จากเปลือกของต้นหลิว) ยาปฏิชีวนะมากกว่า 3,000 ชนิด สกัดมาจากราภายในดิน ในจีนใช้สมุนไพรกว่า 5,100 ชนิด ในโซเวียตใช้พืชสมุนไพรมากกว่า 2,500 ชนิด องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


24 คุณค่าทางการพัฒนาการเกษตรของความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคั ญ โดยตรงและโดยอ้ อ ม

ทั้งต่อการพัฒนาการเกษตรและเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืนในหลายด้าน

ประโยชน์ แ ละความสำคัญของความหลากหลายทางชี ว ภาพสำหรั บ การ

เกษตรและการพัฒนาประกอบด้วยความสำคัญด้านต่างๆ ได้แก่ การเป็น

แหล่งเชื้อพันธุ์สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ ในภาคการเกษตร การเป็นแหล่ง

สมุนไพรและยารักษาโรค การทำให้เกิดเสถียรภาพของนิเวศการเกษตร

ความมั่นคงทางด้านอาหาร การเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม การ

ให้บริการทางนิเวศ และการให้คุณค่าทางสุนทรียภาพและจิตวิญญาณ ในวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์เน้นความสัมพันธ์ ในระบบนิเวศ ตั้งแต่

การวางแผนการผลิต เช่น ปลูกพืชหลากหลาย สิ่งมีชีวิตเกื้อกูลกันในระบบ

นิเวศโดยรวมทั้งพืชและสัตว์ เป็นต้น รวมทั้งระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

ที่ยอมรับในระดับสากลให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

เช่น ปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด (ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช โรค

แมลงต่างๆ) และได้กำหนดความหลากหลายขั้นต่ำที่เกษตรกรผู้ผลิตต้อง

มี ในฟาร์มหรือพื้นที่ทำการเกษตรไว้ด้วย เช่น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ

มกท. (ประเทศไทย) ต้องมีความหลากหลายอย่างน้อย 5% ของพื้นที่การ

ผลิต หรือมาตรฐานบางประเทศ (ยุโรป) กำหนดความหลากหลายอย่าง

น้อย 7% ของพื้นที่ทำการผลิต จึงเห็นได้ ชัดเจนว่าเกษตรอินทรีย์มีความแตกต่าง

กับเกษตรเคมีที่เน้นระบบการผลิตเพียง

ชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้นไม่ ได้มองระบบ

นิเวศโดยรวมแต่มุ่งเน้น ที่ ให้ ได้ปริมาณ

ผลผลิตสูงสุด

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


25 ลักษณะการจัดการฟาร์มในระบบเกษตรอิน ทรีย์ที่ส่งผลต่อการ

อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในฟาร์ม มีการจัดการอย่างน้อย

4 ด้านเป็นสำคัญ คือ ก.) การปลูกพืชหมุนเวียน ข.) การสร้างสมดุลของความเกื้อกูลในการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์

ในฟาร์ม ค.) การใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยพืชสด ง.) การจัดการวัชพืชศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ นักส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรผู้สนใจมีความจำเป็นอย่าง

ยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ

ในแง่มุมต่างๆ ตลอดจนคัดเลือกแนวทางในการจัดกิจกรรมและโครง

การเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ให้สอดคล้องกับ

ระบบนิเวศ ชุมชน สังคม ท้องถิ่นนั้นๆ โดยไม่ทำลายแต่ช่วยส่งเสริม

ให้ทุกภาคส่วนช่วยกันอนุรักษ์และฟื้น ฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

ให้ยั่งยืนสืบทอดสู่ชั่วรุ่นชั่วหลานต่อไป

คุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพด้านการสร้างวัฒนธรรม

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


26

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


27

2. สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพของโลก และประเทศไทย

จาก 65 ล้านปี ในอดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืช สัตว์ รา จุลินทรีย์บนโลกได้เพิ่มจำนวนชนิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และมี ชุมชนของสิ่งมีชีวิตบนบกซับซ้อนมากขึ้น จนถึงตอนที่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมา บนโลกน่าจะมีชนิดของสิง่ มีชวี ติ ประมาณ 10 ล้านชนิด เป็นชนิดของสิง่ มีชวี ติ ในทะเลประมาณร้อยละ 15 ที่เหลือเป็นสิ่งมีชีวิตบนบกและในน้ำจืด ซึ่งไม่

เคยปรากฏว่ามีชนิดของสิ่งมีชีวิตมากกว่านี้อีกเลย

2.1 สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพของโลก

ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา คือ สิ่งมีชีวิตที่ปรากฏอยู่ ในโลก ปัจจุบัน คาดว่าอาจจะมีมากมายถึง 30 ล้านชนิด แต่ที่ได้มีการศึกษาโดยใช้ หลักวิทยาศาสตร์มีอยู่เพียงประมาณ 2 ล้านชนิดเท่านั้น ในจำนวน 2 ล้าน ชนิดมีชนิดที่รู้จักกันแล้วเพียงน้อยนิด ไม่ถึงร้อยละ 0.01 สิ่งมีชีวิตใช้เวลานานใน การก่อกำเนิดและวิวัฒนาการ ที่ ใ ดมี สิ่ ง มี ชี วิ ต หลากหลาย ที่ นั้ น ย่ อ มมี ก ระบวนการทาง นิเวศวิทยาที่สลับซับซ้อน และ มี วิ วั ฒ นาการของสิ่ ง มี ชี วิ ต สู ง สิ่ ง มี ชี วิ ต บางชนิ ด เมื่ อ เกิ ด ขึ้ น

แล้วสามารถแพร่พันธุ์กว้างไกล ไปทั่วโลก แต่มีมากมายหลาย ชนิดที่อยู่เฉพาะที่เท่านั้น ดังนั้น พื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลกย่อมมี

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


28

ตาราง จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ศึกษาทางวิทยาศาสตร์แล้ว ในโลกและในประเทศไทย

กลุ่มสิ่งมีชีวิตแตกต่างกันไป เช่น ป่าไม้สักพบเฉพาะในอินเดีย พม่า ไทย และลาวเท่านั้น น่าเสียดายหากสิ่งมีชีวิตต้องสูญพันธุ์ ไป เพราะสิ่งมีชีวิต นั้นไม่มีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ ได้ ทั้งยังไม่มีโอกาส วิวัฒนาการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอีกต่อไป ยิ่งในปัจจุบันที่เราสามารถ ถ่ายทอดพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ทำให้สูญเสีย แหล่งพันธุกรรมที่มีลักษณะพิเศษ และมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษย- ชาติ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


29

ภาพแสดงโลกของสิ่งมีชีวิต (Biomes) ในพื้นที่ป่าประเภทต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั้งโลก

ในการพัฒนาที่ผ่านมามีการเปิดพื้นที่ทำกิน ทำลายพื้นที่ป่าไม้อย่างรุนแรง ในรอบศตวรรษที่ผ่านมา ดังแสดงในภาพ ทำให้ระบบนิเวศโลกขาดความสมดุล

2.2 สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

ประเทศไทยอยู่ ในภูมิภาคเขตร้อน มีที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทร ขณะที ่

ทางภาคเหนือเป็นเขตภูเขาสูงที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหิมาลัย และทอดตัว

ต่อเนื่องลงทางด้านตะวันตก เช่น เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


30 ตามแนวชายแดนไทย-พม่า เรื่อยไปจนถึงเทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานคร ศรี ธ รรมราชจนจรดชายแดนมาเลเซี ย ทางตอนใต้ สุ ด บนแนวเทื อ กเขา สันกาลาคีรี ส่วนทางภาคกลางต่อภาคอีสานก็มีเทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือก เขาดงพญาเย็น และเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นชายแดนไทย-กัมพูชา ประเทศไทยตั้งอยู่ ในเขตร้อนชื้น บริเวณเส้นศูนย์สูตร (Equator) เป็นรอยต่อระหว่างป่าดงดิบชื้นกับป่าผลัดใบเขตร้อนของโลก จึงเป็นแหล่ง ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงแห่งหนึ่งของโลก และเป็น ที่รวมของ พรรณพืช 3 เขต คือ Indo-Burma, Annametic และ Malesia ประเทศ ไทยเป็น ที่รวมของพันธุ์สัตว์ 3 เขต คือ (1) Sino-Himalayan, IndoChinese และ Sundaic

ภาพแผนที่เขตสัตวภูมิศาสตร์ของไทย

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


31 ในประเทศไทยมีสังคมพืชหลากหลาย กระจายต่อเนื่องกันในธรรม- ชาติ บ่อยครั้งที่พบหวายขึ้นอยู่ริมห้วยในป่าดิบชื้น สูงขึ้นไปเพียงเล็กน้อย เป็นป่าเบญจพรรณผลัดใบ และห่างออกไปไม่มากเป็นป่าเต็งรัง ขณะที่มี ป่าดิบเขาอยู่บนพื้นที่ระดับสูง เมื่อสังคมพืชประเภทต่างๆ นี้อยู่ใกล้ชิดติดต่อ กัน จำนวนสิ่งมีชีวิตก็ย่อมมากหลากหลายตามไปด้วย หรือบนภูเขาหินปูน

แถบ จ. กาญจนบุรีมีพื้น ที่ลาดด้านทิศใต้เป็น ป่าไผ่ ส่วนทิศเหนือเป็น ป่า

ผลัดใบ มีไม้ตะแบกและไผ่รวมกัน แต่ริมห้วยและสันเขาเป็นป่าดงดิบ

ประเทศไทยมีพื้นที่บนบก 513,115 ตารางกิโลเมตร และตั้งอยู่ ใน เขตสภาพภูมิอากาศแถบร้อนชื้นใจกลางทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อ

ให้เกิดสภาพธรรมชาติอันหลากหลาย เป็นสะพานเชื่อมต่อสังคมสิ่งมีชีวิต จากเขตเหนือของโลกแถบเทือกเขาหิมาลัยและตอนใต้ของจีนกับคาบสมุทร มลายู รวมถึงสังคมสิ่งมีชีวิตแบบร้อนแห้งแล้งจากกัมพูชาและลาว จึงเป็น แหล่งกำเนิดของระบบนิเวศเขตร้อนหลากหลายประเภท ได้แก่

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


32

ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร ความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น ความหลากหลายทางชีวภาพทางป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพทางภูเขา ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพทางเกาะ ความหลากหลายทางชีวภาพทางแหล่งน้ำในแผ่นดิน

แนวประการัง

บึงน้ำและภูเขา

น้ำตกและป่าไม้

ป่าชายเลน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


33 ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมานับแต่

อดีตจวบจนปัจจุบัน ความหลากหลายทางชีวภาพมีส่วนสนับสนุนค้ำจุนให้ วิถีชีวิตของคนไทยดำเนินไปโดยสมบูรณ์พูนสุข ไม่แร้นแค้น อดอยากหิวโหย ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นตัวส่งเสริมให้อาหารไทยมีความหลากหลาย ในรูปแบบ กลิ่นและรส ความหลากหลายทางชีวภาพปรากฏในยาพื้นบ้าน ทั้งที่ ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บและใช้บำรุงรักษาสุขภาพอนามัย ความหลาก หลายทางชีวภาพยังทำให้คนไทยไม่ขาดเครื่องใช้ ไ ม้สอยที่จำเป็นสำหรับ การดำรงชีวิต นอกจากนั้นความหลากหลายทางชีวภาพยังเป็นที่ชื่นชมใน ประเพณีไทยที่ยังคงสืบทอดมาจนปัจจุบัน

จำนวนชนิดที่รู้จักกันในประเทศไทย

จากการสำรวจความหลากหลายของชนิดพืชและสัตว์ ในประเทศไทย ขณะนี้พบว่ามีอยู่ประมาณ 0.36% ของพื้นที่บกของโลก ประเทศไทยจึงเป็น แหล่งที่มีความหลากหลายอยู่ ในลำดับที่สูงมากแห่งหนึ่ง โดยมีความหลาก หลายของสัตว์มีกระดูกสันหลังและพืชจำพวกที่มีท่อลำเลียงมากกว่า 9.3% ของที่มีบนโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


34 จำนวนชนิดโดยประมาณและจำนวนเปอร์เซ็นต์ของสัตว์มีกระดูก

สันหลังและพืชจำพวกมีท่อลำเลียงที่พบแล้วของไทย เปรียบเทียบกับจำนวน ที่พบแล้วของโลก จำนวนชนิ ดโดยประมาณของกลุ่ ม สั ต ว์ มี ก ระดู ก สั น หลั ง ของไทย ที่เปรียบเทียบกับของโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


35

นกแต้วแล้วท้องดำ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ที่มีสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


36 จำนวนชนิดโดยประมาณของสัตว์เลื้อยคลานที่พบแล้วในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง สัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก มีประมาณ 96% ของสัตว์โลกทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นพวกสัตว์ขาปล้อง 85% โดยแบ่งออกเป็น แมลง ประมาณ 74% พวก กุง้ ปู กัง้ ตัก๊ แตน ไรน้ำ แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ กิง้ กือ แมงดาทะเลและสัตว์ขาปล้องชนิดอื่นๆ ประมาณ 11% และที่เหลือเป็นสัตว์ ประเภทอื่นๆ เช่น ปะการัง หนอนตัว แบน หนอนตัวกลม หอย และเอไคโนเดริม รวมแล้วประมาณ 11%

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


37

3. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพมีหลายประการ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการบริโ ภคต่อคน เพิ่มขึ้น รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี ได้ทำให้สิ่งแวดล้อมโลกเกิดการเปลี่ยน แปลง แม้ว่า 1 ใน 5 ของจำนวนพลโลกทั้งหมด 6 พันกว่าล้านคนอาศัยอยู ่

ในประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรืออีกหลายประเทศ ในยุโรป แต่พวกเขาเหล่านี้ ได้ ใช้ผลิตผลของโลกไปประมาณ 4 ใน 5 ของ ทั้งหมด เมื่อบรรพบุรุษ ของเราพัฒนาการเกษตรขึ้นมาเมื่อ 10,000 ปี

ที่ ผ่ า นมา มี ป ระชากรมนุ ษ ย์ ไ ม่ กี่ ล้ า นคนในช่ ว งเริ่ ม คริ ส ตกาล จำนวน ประชากรมนุษ ย์ ได้เพิ่มขึ้นอีก และเมื่อ พ.ศ. 2493 มีประชากร 2.5 พัน ล้านคน ซึ่งมากเป็น ประวัติการณ์ จำนวนประชากรยังเพิ่มขึ้นเป็น ทวีคูณ จนขณะนี้มีประมาณ 6 พันกว่าล้านคน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


38 ลำดับการเพิ่มจำนวประชากรบนโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


39 จำนวนประชากรเพิม่ ขึน้ เป็นทวีคณ ู จาก พ.ศ. 2493 มี 2.5 พัน ล้านคน จนขณะนี้มีประมาณ 6 พันกว่าล้านคน ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากร จำนวนมากและทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลาก หลายของสิ่งที่มีชีวิตในอัตราที่เพิ่มสูงมากขึ้น ส่งกระทบที่เกิดจากการพัฒนา ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะความยากจนของชาวชนบท การ สูญเสียทรัพยากรพันธุกรรมที่ถูกลักลอบนำพาออกไปจากประเทศ ความ ขัดแย้งแข่งขันกันในเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการตัดไม้ทำลาย ป่า การเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วของมนุษย์ส่งผลกระทบอย่าง รุ น แรงและต่อเนื่องกับสิ่งแวดล้อมและถิ่ น อาศั ย ของสิ่ ง มี ชี วิ ต นานาชนิ ด ในโลก ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากมายกำลังชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของการลด จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การสูญเสียทางชีวภาพ คือ การสูญหายไปอย่างถาวรของชนิดของ สิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของชีวิตบนโลก โดยสาเหตุของการสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพมีหลายประการ การสูญเสียระบบนิเวศป่าไม้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผล ต่อการลดลงของประชากรสัตว์ป่าและพืชป่าหลายชนิด จนนำไปสู่ภาวะใกล้

สูญพันธุ์ - ประชากรช้างป่าเหลืออยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 2,500 เชือก - ควายป่า 50-70 ตัว เสือโคร่ง 100-250 ตัว - ส่วน กูปรี ละมั่งและแรดชวา ไม่มีผู้พบเห็นในป่าเมืองไทยมานาน แล้ว - นอกจากนั้นพรรณไม้เฉพาะถิ่นจำนวนมากก็กำลังสูญหายไปอย่าง ไม่มีวันเรียกกลับคืน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


40 การปรับเปลี่ยนพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย

โรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อ การพัฒนาประเทศทีผ่ า่ นมา โดยมิได้คำนึงถึงการอนุรกั ษ์ คุณค่า และการใช้ ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน น่าเสียดายที่จนบัดนี้ นโยบายด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่มีอยู่ก็ยังเป็นเพียงนโยบายที่ไร้การปฏิบัติ อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม อีกไม่นานเราคงได้แต่โหยหาความหลาก หลายเหล่านี้จากรายงานและรูปถ่ายที่เคยมี การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเป็นการสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพที่น่ากลัวที่สุด เพราะการสูญพันธุ์หมายถึงการหมดสิ้นไปของ แหล่งพันธุกรรมจำนวนมากพร้อมๆ กัน ทั้งหมดโดยไม่อาจหาหรือสร้างมา ทดแทนได้

สาเหตุพื้นฐานที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเสี่ยงต่อการสูญพันธุ ์

การขาดแคลนความหลากหลายทางพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตที่มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเพียงแบบเดียว ย่อมไม่มีทาง เลือกอื่นในการปรับตัวเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยที่จะส่งผลให้ ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง ได้แก่ การผสมพันธุ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์เดียวกัน การผสมพันธุ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมือนกัน การ ไม่มีการย้ายถิ่น การที่กลุ่มประชากรมีขนาดเล็ก และสิ่งแวดล้อมแปรปรวน อย่างฉับพลัน เป็นต้น การลดลงของจำนวนประชากรในแต่ละถิ่นอาศัย สิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วยเกิดขึ้นและตายไป แต่ประชากรของสิ่งมีชีวิตนั้น

ยังคงอยู่เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดสืบทอดลูกหลานชนิดเดียวกับตัวเองได้ ดังนั้นความยั่งยืนของประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจึงขึ้นอยู่กับความ สามารถในการดำรงหรือการเพิ่มจำนวนลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไป ความสำคัญ จึงขึ้นอยู่กับประชากรนั้นมีความสามารถในการเจริญพันธุ์มากน้อยเพียงใด ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


41 ซึ่งเชื่อมโยงกับจำนวนของประชากรในวัยเจริญพันธุ์ อัตราส่วนของเพศ อัตราการเจริญพันธุ์ อัตราการอยู่รอดของประชากรก่อนวัยเจริญพันธุ์ และ โอกาสการจับคู่ผสมพันธุ์ ดังนั้นเมื่อประชากรที่เจริญพันธุ์ ได้ประสบปัญหาลดจำนวนลง ย่อม เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของประชากรนั้น นอกจากนี้กลุ่มประชากรขนาดเล็กยัง

ทำให้เกิดสภาพการสุ่มเสี่ยงทางพันธุกรรมและเกิดการผสมพันธุ์ ในหมู่ญาติ โดยปริยาย ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง เป็นการเพิ่ม

อัตราเสี่ยงอีกทางหนึ่งด้วย การสูญเสียถิ่นอาศัย สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่รอดสืบทอดลูกหลานได้ ถ้าปราศจากถิ่นอาศัย

สิ่งมีชีวิตจำนวนมากต้องการถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ จึงจะสืบทอดลูกหลาน ได้ คำว่า “ถิ่นอาศัย” มิได้หมายความเฉพาะพื้นที่เท่านั้น แต่หมายรวมถึง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


42 สภาพแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบทั้งชีวภาพและกายภาพด้วย พืชและสัตว์

จำนวนมากกำลังสูญพันธุ์ด้วยเหตุนี้ การที่ ป่ า ผื น ใหญ่ ห รื อ แหล่ ง น้ ำ ขนาดใหญ่ ถู ก ตั ด แยกเป็ น ส่ ว นเล็ ก ส่วนน้อย แม้ว่าเนื้อที่รวมกันอาจไม่ลดลง แต่ก็ทำให้ภาพถิ่นอาศัยถูกตัดขาด จากกัน ประชากรในแต่ละส่วนจึงเผชิญกับภาวะเสี่ยงตามที่ ได้กล่าวมาแล้ว

เช่นเดียวกัน การสูญพันธุ์อย่างรวดเร็ว กำลังเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ในป่าชื้นเขตร้อน รวมทั้งประเทศ ไทยด้วย ประมาณกันว่าเมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ใน โลกจะสูญพันธุ์ ไปอีกไม่น้อยกว่า 20 - 50% และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นใน ป่าชื้นเขตร้อนนั่นเอง

อัตราการสูญเสีย

การสูญพันธุ์ถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วน มีโอกาสจบลงด้วยการสูญพันธุเ์ หมือนกันหมด ทว่าอัตราเร็วของการสูญพันธุ์ กลายเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ กล่าวคือภายใต้สภาพการณ์ตามธรรมชาติ

ตลอดชั่วระยะเวลาที่โลกได้วิวัฒนาการมานั้นอัตราการสูญพันธุ์จะมีน้อยกว่า

อัตราวิวัฒนาการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ดังนั้นความหลากหลายของชนิด

สิ่งมีชีวิตจึงมีเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา ในอดีตหลายล้านปีมาแล้วอาจมีบางช่วงเกิดการสูญพันธุ์ขนานใหญ่

ขึ้นบนโลก แต่ก็มีบางช่วงที่มีสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นมากมายเช่นเดียวกัน สิ่งที่น่า เป็นห่วงที่สุดเกิดขึ้นหลังจากมนุษย์เจริญขึ้นจนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม มีการ ทำลายถิ่นกำเนิดธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตหลายอย่างโดยกิจกรรมที่เรียกว่า

“การพัฒนา” ซึ่งส่งผลให้อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตมีมากกว่า 1,000 เท่าของที่ควรจะเป็นในธรรมชาติ ขณะนี้สรรพชีวิตของโลกได้ถูกทำลายสูญพันธุ์จนเหลือต่ำสุดในรอบ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


43 65 ล้านปีที่ผ่านมา และอีก 20 ปีข้างหน้าจะสูญพันธุ์ ไปถึง 1 ใน 4 ของ ที่เคยมี ในปี พ.ศ. 2525 การทำลายป่าเป็นต้นเหตุสำคัญของการสูญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิต เพราะป่าไม้เป็นที่รวมของสรรพชีวิตมากมาย ทว่าอัตราการ ทำลายป่าขณะนี้ทำให้สิ่งมีชีวิตในโลกสูญพันธุ์ ไปวันละ 50-150 ชนิด ซึ่ง

สูงกว่ายุคใดๆ ที่ผ่านมา

การที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ถูกทำลายสูญหายไปจากโลกเป็น ปัจจัย

สำคัญที่ช่วยเร่งให้อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่เหลืออยู่เพิ่มมากขึ้น

เป็นทวีคูณ อันเนื่องจากการเสียดุลของระบบนิเวศนั่นเอง อัตราการสูญพันธุ์ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละระบบนิเวศ จะมีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด หรือไม่ที่มนุษย์จะนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ ในการ ปรับปรุงหาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาทดแทนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไป ทั้งนี้เพราะการ สูญเสียแหล่งสะสมความแปรผันทางพันธุกรรม อันถือว่าเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่า ของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้น จะเป็นการส่งเสริมให้มีการทำลายความหลาก หลายทางชีวภาพของระบบนิเวศมากขึ้นด้วย

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


44

พื้นที่วิกฤต (Hot Spot) กระจายเพิ่มมากขึ้นทุกภูมิภาคของโลก

สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย

นักวิชาการประมาณการว่ามีสิ่งมีชีวิตในโลกอยู่ประมาณ 5 ล้านชนิด

ในจำนวนนี้พบในประเทศไทยเราร้อยละเจ็ด ขณะนี้ประเทศไทยมีประชากร เพี ย งร้ อ ยละหนึ่ ง ของประชากรโลก ดั ง นั้ น เมื่ อ เที ย บสั ด ส่ ว นกั บ จำนวน ประชากร ประเทศไทยจึงนับว่ามีความรุ่มรวยอย่างมากในด้านความหลาก หลายของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตในประเทศไทยมีความหลากหลายมาก เนื่องจากมีสภาพ ทางภูมิศาสตร์หลายรูปแบบและแต่ละแหล่งล้วนมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญ เติบโตของสิ่งมีชีวิต นับตั้งแต่ภูมิประเทศแถบชายฝั่งทะเล ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบลอนคลื่น และภูเขาที่มีความสูงหลายระดับ ตั้งแต่เนินเขาจนถึงยอด เขาสูงสุดถึง 2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งรวม ของป่าไม้นานาชนิด ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน ป่าพรุ และป่าสนเขา และเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากชนิด ทั้งสัตว์

เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสีย

พื้นที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเพิ่มของ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


45

การแพร่กระจายของป่าไม้

ประชากรทำให้มีการบุกเบิกป่าเพิ่มขึ้น การให้สัมปทานป่าไม้ที่ขาดการ ควบคุมอย่างเพียงพอ การตัดถนนเข้าพื้นที่ป่า การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม การแพร่ของเทคโนโลยีที่ ใช้ทำลายป่าได้อย่างรวดเร็ว การครอบครองที่ดิน เพื่อเก็งกำไร เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ซึ่งเคยมีมากถึงประมาณ 2.7 แสนตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณร้อยละ 53 ของพื้น ที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2504 เหลือเพียง ประมาณ 1.3 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 26 ในปี พ.ศ. 2536 ข้อมูลนี้จากการศึกษาตามโครงการ VAP61 โดยคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2539) แสดงว่า พื้นที่ป่าไม้ลดลงเท่าตัวในช่วงเวลา 32 ปี

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


46 การสูญเสียพื้น ที่ป่าส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชายเลน ส่งผลให้มีพืชและสัตว์สูญพันธุ์ เช่น เนื้อสมัน แรด กระซู่ กูปรี และเสี่ยงต่อ

การสูญพันธุ์ ในอนาคตอันใกล้นี้อีกเป็นจำนวนมาก เช่น ควายป่า ละอง ละมั่ง เนื้อทราย กวางผา เลียงผา สมเสร็จ เสือลายเมฆ เสือโคร่ง และช้าง ป่า รวมทั้งนก สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง และสัตว์น้ำ อีก เป็นจำนวนมาก การทำลายป่าก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ เริ่มลดน้อยลง ผืนป่าที่เหลืออยู่ ไม่สามารถซับ น้ำฝนที่ตกหนัก เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ยังผลให้เกิดความเสียหาย แก่เศรษฐกิจ บ้านเรือน และความปลอดภัยของชีวิตคนและสัตว์เป็นอันมาก เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เหตุการณ์ พายุเกย์ถล่มจังหวัดชุมพร และเหตุการณ์น้ำท่วมในที่ต่างๆ เป็นต้น ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยจึงเป็นปัญหาใหญ่ และเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันแก้ ไขด้วยการหยุดยั้งการสูญเสียระบบนิเวศป่า ทุกประเภท พร้อมทั้งอนุรักษ์ธรรมชาติที่เหลืออยู่ และฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมให้

กลับคืนสู่สภาพป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพดังเดิม เพราะความหลาก หลายเหล่านั้น เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน สังคมไทยมีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม และเกษตรกรรมแบบ ดั้งเดิมต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก วัฒนธรรมไทยหลายอย่างผูกพันกับการ แสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณในการเพาะปลูก คนไทยแต่โบราณ กาลจึงมีความอ่อนน้อมต่อธรรมชาติและผูกพันกับธรรมชาติอย่างแยกกัน ไม่ออก นับว่าคนไทยมีพื้นฐานเชิงวัฒนธรรมพร้อมมูลอยู่แล้ว แม้ว่าการศึกษาสมัยใหม่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาการและเทค- โนโลยีที่ก้าวหน้า แต่การใช้เทคโนโลยีและวิชาการอย่างไม่เข้าใจหลักการ และความสำคั ญ ของสิ่ ง แวดล้ อ ม ย่ อ มนำสั ง คมไปสู่ ห ายนะในระยะยาว แม้ว่าในระยะสั้นจะดูเหมือนว่ามีความเจริญรุ่งเรืองก็ตาม ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


47 การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึง่ เป็นทรัพยากรธรรมชาติทสี่ ำคัญ ยิ่งของประเทศ เนื่องมาจากการบุกรุกทำลายป่าบกและป่าชายเลนเพื่อขยาย พื้นที่ทำเกษตรกรรมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ทำให้เกิดการทำลายถิ่นอาศัย ปัญหามลพิษในแหล่งน้ำ ที่กลายเป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่ง ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จากการพัฒนาประเทศตามแนวทางของโลก ตะวันตกในช่วง 30 ปีเศษที่ผ่านมา การทำลายป่าและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ จากเดิมที่เคย มีมากถึงร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยเมื่อประมาณ 100 ปี

ที่แล้ว จนในขณะนี้เหลือพื้นที่ป่าเพียงประมาณร้อยละ 26 ของพื้นที่ประเทศ เท่านั้น ที่ น่ า เสี ย ดายยิ่ งไปกว่ า

นัน้ คือ การสูญเสียทรัพยากรพันธุกรรม ที่ถูกลักลอบนำพาออกไปจากประเทศ ไทย โดยชาวต่างชาติ และบริษั ทข้าม ชาติ แล้วเอาไปพัฒนาเป็นตัวยารักษา โรคภัยไข้เจ็บ และที่เอาไปพัฒนาปรับ ปรุ ง เป็ น สายพั น ธุ์ พื ช สายพั น ธุ์ สั ต ว์

ตลอดจนสายพันธุ์จุลิน ทรีย์ที่มีมูลค่า

ทางเศรษฐกิ จ อย่ า งมากมาย โดยที ่

ประชาชนคนไทยไม่ได้รับผลประโยชน์ ป่าไม้ในประเทศไทย ใดๆ ตอบแทนอย่างเป็นธรรม เรามิอาจประเมินคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพที่สูญเสียไป อย่างมากมายนั้นได้

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


48

4. ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพซึง่ มีความสำคัญยิง่ ต่อสิง่ แวดล้อม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม กำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่าง รวดเร็ว อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 1.0-3.5 องศาเซลเซียสในอีก 100 ปี

ข้างหน้า จะทำให้เขตภูมิอากาศปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะพื้นที่ ใน เขตอบอุ่น องค์ประกอบและการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตจะเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ของระบบนิเวศธรรมชาติ ขณะเดียวกันการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การทำลายป่า และแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อม อื่นๆ จะส่งผลกระทบต่อชนิดและการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ต่างๆ ชนิดพันธุที่ ไม่สามารถปรับตัวได้อย่างทันท่วงทีก็อาจสูญพันธุ์ ซึ่งเป็นการ สูญเสียที่ไม่อาจกลับคืนมาได้

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอันเป็นผลจากกิจกรรมของ มนุษ ย์ที่เปลี่ยนองค์ประกอบของบรรยากาศโลกโดยตรงหรือโดยอ้อม และ เพิ่มเติมจากความแปรปรวนของสภาวะอากาศตามธรรมชาติที่สังเกตได้ ใน ช่วงระยะเวลาเดียวกัน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ฤดูกาล ซึ่งเป็น ปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ

สภาพภูมิอากาศในบริเวณที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยนัก- วิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา เป็นสาเหตุสำคัญ

ที่ ท ำให้ ค วามเข้ ม ข้ น ของก๊ า ซเรื อ นกระจก (greenhouse gas) ในชั้ น

บรรยากาศเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


49 effect) หรือภาวะโลกร้อน (global warming) ปรากฏการณ์ที่ความร้อนถูกกักเก็บไว้ ในชั้นบรรยากาศนี้ เป็นที่รู้จัก กันว่า “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกับสภาพที่เกิดขึ้นภายในเรือนกระจกสำหรับปลูกพืชในประเทศ เขตหนาว โดยแสงแดดสามารถส่องผ่านให้ความอบอุ่นภายในเรือนกระจก ได้ แต่กระจกสามารถสะท้อนไม่ ให้ความร้อนออกไปจากเรือนกระจก จึง

สามารถคงอุณหภูมิภายในเรือนกระจกไม่ให้หนาวเย็นเหมือนภายนอกไว้ได้

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

เป็นปรากฏการณ์อันเนื่องจากการที่โลกไม่สามารถระบาย ความร้อนออกไปได้ จึงทำให้อณ ุ หภูมสิ งู ขึน้ ปัจจุบนั โลกกำลังถูกปกคลุม ด้วยก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินสมดุลของธรรมชาติ ก๊าซเรือนกระจกจะ ทำการเก็บกักความร้อนไม่ ให้สะท้อนออกนอกผิวโลก ทำให้อุณหภูมิ พื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น องค์การสหประชาชาติ ได้ประมาณการว่า อุณหภูมขิ องโลก จะสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 2-4 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 20-50 ซ.ม. ในเวลาอีก 10-50 ปีนับจากปัจจุบัน โดยสาเหตุหลักที ่

ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ก๊าซมีเทน (CH4), ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O), คลอโรฟลูโอโรคาร์- บอน (CFC3) และ โอโซน (O3) ซึ่งมาจากกิจกรรมของมนุษ ย์ ได้แก่

การใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ก๊าซต่างๆ ในชัน้ บรรยากาศ เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ โอโซนและ มีเทน ทำตัวเสมือนเป็นหลังคาเรือนกระจก โดยดักจับความร้อนไว้แล้วทำให้

โลกเกิดความอบอุ่น ก๊าซเหล่านี้เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก มีทั้งที่เกิดขึ้นเอง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


50 ตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกเป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความ ร้อนหรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูม ิ

ในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราาะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้ อุณหภูมติ อนกลางวันร้อนจัด และตอนกลางคืนหนาวจัด เนือ่ งจากก๊าซเหล่านี ้ ดูดคลืน่ รังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รงั สีความร้อนออกมา ในเวลากลางคืน ทำให้อณ ุ หภูมใิ นบรรยากาศโลกไม่เปลีย่ นแปลงอย่างฉับพลัน ระดับของก๊าซเหล่านี้ ในธรรมชาติมปี ริมาณเพิม่ ขึน้ จากการปลดปล่อย จากกิ จ กรรมมนุ ษ ย์ เช่ น การเผาไหม้ เชื้อเพลิง การเพาะปลูก การเลี้ยง สัตว์ และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ส่งผลให้พื้นผิวโลกและบรรยากาศ ชัน้ ล่างกำลังร้อนขึน้ เรือ่ ยๆ การเพิม่ ขึน้ ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก๊ า ซเรื อ นกระจกที่ ถู ก ควบคุ ม โดยพิ ธี ส ารเกี ย วโต มี 6 ชนิ ด

โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษ ย์เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) - ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษ ย์ที่สำคัญอีกชนิด หนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสาร ทำความเย็นและใช้ ในการผลิตโฟม แต่ ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


51 การเพิม่ ขึน้ ของก๊าซเรือนกระจกส่งผลให้ชนั้ บรรยากาศมีความสามารถ ในการกักเก็บรังสีความร้อนได้มากขึน้ จนทำใหอุณหภูมเิ ฉลีย่ ของชัน้ บรรยากาศ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้น ไม่ ได้เพิ่มขึ้นเป็น

เส้นตรงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกแต่ละ ชนิดยังมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming

Potential: GWP) ที่แตกต่างกัน ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน นี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อนของโมเลกุล และขึ้นอยู่กับ

อายุของก๊าซนั้นๆ ในบรรยากาศ และจะคิดเทียบกับการแผ่รังสีความร้อน ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 20 ปี 50 ปี หรือ

100 ปี โดยค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ในช่วงเวลา 100 ปี ของ ก๊าซเรือนกระจกต่างๆ เป็นดังนี้ (ตาราง)

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จัดเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่ง

และเพิม่ ปริมาณสูงขึน้ อย่างรวดเร็วจากการเผาไหม้เชือ้ เพลิงทีม่ าจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึง่ มีอตั ราการบริโภคสูงขึน้ อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินของทวีปต่างๆ มีส่วนทำให้ สารคาร์บอนที่ถูกกักเก็บอยู่ ในรูปของสารอินทรีย์ถูกปลดปล่อยออกมาใน รูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มปริมาณสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


52

กิจกรรมต่างๆ ของมนุษ ย์กำลัง

เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ (ยกเว้นไอน้ำ) การเผาไหม้เชื้อเพลิง

จากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรม- ชาติ รวมทั้ ง การตั ดไม้ ท ำลายป่ า ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การทำการเกษตรและการปศุ สั ต ว์ ปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ปล่อยก๊าซ โอโซน นอกจากนี้กระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมปล่อยสารฮาโลคาร์บอน (CFCs, HFCs, PFCs)

การเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษ ย์มาจากการเพิ่มขึ้น

ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าร้อยละ 60 ในปี พ.ศ. 2534 มีการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดถึง 26.4 พันล้านตัน การเปลี่ยนแปลง นี้เกิดขึ้นรวดเร็วมาก นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าการเปลี่ยนแปลงก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ในช่วง 10,000 ปีก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมมี ไม่ถึง

ร้อยละ 10 และธรรมชาติสามารถปรับปรุงให้สมดุลกับการเปลี่ยนแปลง นั้นได้ แต่ช่วงระยะเวลาเพียง 200 ปีที่ผ่านมาระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 และถึงแม้บางส่วนถูกดูดซับไปโดยมหาสมุทรและ พืช ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็ยังเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ใน ทุกๆ 20 ปี การทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าวในนาที่มีน้ำขังและการ ปศุสัตว์เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นอกจาก นี้การฝังกลบขยะ การทำเหมืองถ่านหิน และการผลิตก๊าซธรรมชาติก็ปล่อย ก๊าซมีเทนเช่นกัน คาดกันว่าประมาณร้อยละ 15-20 ของก๊าซเรือนกระจก

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


53 ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากก๊าซมีเทน ประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นนั้น เกิด จากการเพิ่มขึ้นของไนตรัสออกไซด์ CFCs และโอโซน ปริมาณก๊าซไนตรัส

ออกไซด์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 เนื่องจากการทำการเกษตรเป็นส่วน ใหญ่ ส่วนสาร CFCs นั้นก็ได้เพิ่มขึ้นจนกระทั่งถูกควบคุมโดยพิธีสารมอน- ทรีออล กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ส่งผลให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก จะเพิม่ ขึน้ ต่อไป โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาจเพิม่ ขึน้ จากระดับ 300 ppm ในปัจจุบัน เป็น 600 ppm หรืออาจสูงถึง 900 ppm ภายใน 100 ปีข้าง หน้า ขณะที่ความเข้มข้นของก๊าซมีเทน อาจเพิ่มจากระดับ 1,750 ppb ใน ปัจจุบัน เป็น 3,500 ppb ภายในปี พ.ศ. 2643

ที่มา :UNEP, Vital Climate Chage Grphics, February 2005

สภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า อดีตมาก สังเกตได้ชัดเจนในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้มาจากภาวะ โลกร้อนซึ่งเกิดการที่ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้เพิ่มสูงขึ้นอย่าง รวดเร็วและก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


54

อุณหภูมิเฉลี่ย 1995-2004

แนวโน้มสูงขึ้น 2075-2100

1 ใน 5 ของดินชั้น บนถูกปล่อยให้รกร้างจนไม่เหมาะแก่การ เพาะปลูก ร้อยละ 50 ของพื้นที่เกษตรบนโลกเคยเป็นดินชุ่มน้ำ กลายเป็น

ดินเค็ม หรือทะเลทราย ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น 1 ใน 5 โอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์หายไปร้อยละ 6 ถึง 8 และประมาณ 1 ใน 3 ของป่าไม้ทั้งโลกถูกตัดโดยไม่มีการปลูก

ทดแทน ตัง้ แต่กลางศตวรรษที่ 18 อุณหภูมโิ ดยเฉลีย่ ของโลกเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกทั้งหมด มีตัวอย่างการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ดังนี้

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


55

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


56 ความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความหลากหลายทางชีวภาพทำให้มนุษ ย์เราสามารถดำเนินชีวิตได้

อย่ า งยั่ ง ยื น แรงกดดั น /กิ จ กรรมของมนุ ษ ย์ ที่ มี ต่ อ ระบบนิ เ วศกำลั ง เป็ น สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงและการสูญเสียในอัตราที่เร็วและรุนแรงเพิ่ม

ขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เพิ่มแรงกดดันต่อระบบนิเวศตาม ธรรมชาติยิ่งขึ้น การประเมินระบบนิเวศแห่งสหัสวรรษอย่างถ่องแท้ โดย UNEP, 2005 แสดงให้เห็นปัจจัยห้าประการที่มีผลต่อการสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแพร่กระจายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินขีดจำกัด การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน มลพิษ ดังนั้นเห็นได้ว่าในความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพของระบบนิเวศ และ ความเป็นอยู่ของมนุษ ย์นั้น สภาพภูมิอากาศ เป็นแรงผลักดันที่สำคัญอย่าง ยิ่งต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในท้ายศตวรรษนี้ การเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และการแพร่

กระจายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น มีผลต่อขีดจำกัดความสามารถของบางชนิด

พันธุ์ ในการอพยพย้ายถิ่น ซึ่งจะไปเร่งการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์เกิดเร็วยิ่ง ขึ้น ความเชื่อมโยงระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยน

แปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดขึ้นได้สองทิศทาง คือ ความหลากหลายทาง

ชีวภาพถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่การจัดการ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


57 ความหลากหลายทางชีวภาพที่เหมาะสมจะสามารถลดผลกระทบของการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ การเผาป่า

การขยายเมืองและไฟฟ้า

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อความหลากหลายทางชีวภาพใน 3 ระดับ

1. ผลกระทบต่อองค์ประกอบความหลากหลายทางชีวภาพ • ระดับชนิดพันธุ ์ มี ผ ลกระทบต่ อ พฤติ ก รรมของชนิ ด พั น ธุ์ ต่ า งๆ ในวิ ถี ท างที่ ต่างกันเช่น ช่วงเวลาของการสืบพันธุ์และการอพยพย้ายถิ่น บางชนิดเริ่มมี

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


58 ช่วงเวลาผลิบานของดอกเร็วขึ้นกว่าปกติ เพราะอุณหภูมิสูงขึ้น หรือนกอาจ วางไข่เร็วขึน้ หรือทำให้ระบบของนาฬิกาชีวภาพ (biological clock) ของชนิด พันธุต์ า่ งๆ สันสน ชนิดพันธุอ์ พยพย้ายถิน่ มีความอ่อนไหวต่อการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมอิ ากาศ เนือ่ งจากต้องการแหล่งเพาะพันธุว์ างไข่ แหล่งอาหาร แหล่ง จำศีล และหลบอากาศหนาว เป็นต้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงในเรื่องแหล่งที่อยู่ของประชากร เช่น ประชากรหมีขั้วโลก กำลังมีจำนวนลดลงจากการละลายของน้ำแข็ง จนจัดอยู่ ในทะเบียนรายการชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของ IUCN หรือการที่ ระบบนิเวศป่าชายเลนซุนดาบอนในประเทศบังคลาเทศซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของ เสือเบงกอลถูกทำลายลง จนคุกคามสถานภาพของเสือชนิดนี้ให้สูญพันธุ์ได้ • ระดับพันธุกรรม เมื่ อ 12,000 ปี ที่ แ ล้ ว มี ค วามหลากหลายทางชี ว ภาพทาง การเกษตรสูง ประชากรโลกต่างพึ่งพาชนิดพันธุ์พืชต่างๆ ที่เป็นพืชอาหาร กว่า 7,000 ชนิด ขณะที่ ในปัจจุบันร้อยละ 90 ของอาหารในโลกขึ้นอยู่กับ พืชเพียง 15 ชนิด และสัตว์เพียง 8 ชนิดเท่านั้น ร้ อ ยละ 35 ของผลผลิ ต พื ช ขึ้ น อยู่ กั บ ชนิ ด พั น ธุ์ ที่ ช่ ว ยผสม เกสร และหลายกรณีที่เป็นชนิดพันธุ์อพยพ เช่น นก และค้างคาว ดังนั้นการ สับสนเรื่องของนาฬิกาชีวภาพจะเปลี่ยนช่วงเวลาอพยพและรูปแบบของการ ผลิตก็เปลี่ยนไปเช่นกัน • ระดับระบบนิเวศ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบนิเวศ เป็น ที่ทราบอย่างชัดเจนว่า เมื่ออากาศเริ่มแปรเปลี่ยน ระบบนิเวศจะเริ่ม เคลื่อนที่เข้าสู่เส้นศูนย์สูตร ในอัตรา 6 กิโลเมตร ทุกๆ 10 ปี จะพบว่าแนว ของพืชพรรณของระบบนิเวศภูเขาก็จะเคลื่อนตัวสูงขึ้น สัตว์ต่างๆ จำต้อง อพยพย้ายถิ่น เนื่องด้วยถิ่นที่อยู่เดิมหายไป ผลกระทบรุนแรงที่สุดจะเกิดขึ้น

ในบริเวณเขตร้อน (tropical zone) และใต้เขตร้อน (sub-tropical zone)

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


59 จะมีช่วงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากต่ำสุดจนถึงสูงสุดที่จำกัด กระทั่งมี

ฤดูหนาวที่หนาวจัด ฤดูร้อนก็ร้อนจัด มีการคาดการณ์ลว่ งหน้าว่าภายในปี พ.ศ. 2643 ร้อยละ 12-39 ของโลกจะมีนกที่ภูมิอากาศใหม่เนื่องจากการเคลื่อนย้าย นำไปสู่ปัญหาซึ่ง

ซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมว่าจะอนุรักษ์ชนิดพันธุ์เหล่านี้ได้อย่างไร 2. ผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู ่ มี ผ ลต่ อ เรื่ อ งน้ ำ ดื่ ม สะอาดและความมั่ น คงทางด้ า นอาหาร ขณะที่อุณหภูมิสูงขึ้น จนส่งผลต่อการละลายของธารน้ำแข็ง จนทำให้เกิด

น้ำท่วม และในระยะยาวจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่ม ในอีก 15 ปีข้าง หน้า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ความมั่นคงทางด้านอาหาร เป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมอิ ากาศ ก่อให้เกิดน้ำท่วมในบางพืน้ ที่ ขณะทีบ่ างพืน้ ทีก่ ลับขาดแคลน น้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร เช่น ล่าสุดประเทศ ออสเตรเลียประสบภาวะแห้งแล้งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา มีการคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ปี พ.ศ. 2563 ประชากรห้าสิบ

ล้านคน จะมีความเสี่ยงที่จะต้องประสบภาวะหิวโหย และตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้น ในลักษณะก้าวกระโดดจนกระทั่งทวีขึ้นถึงจำนวนสองร้อยหกสิบล้านคน ใน ปี พ.ศ. 2623 3. ผลกระทบต่อภัยธรรมชาติ ผลกระทบทีเ่ ด่นชัดอีกประการหนึง่ คือ ภัยธรรมชาติ ซึง่ มีความ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้จะยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจน เท่าไรนัก แต่เป็นทีแ่ น่ชดั ว่าตัง้ แต่เริม่ ตระหนักถึงภัยของโลกร้อน ภัยธรรมชาติ บางประเภทจะมีความถี่ของการเกิดบ่อยครั้งขึ้น ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรง ขึ้น

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


60 มีการคาดการณ์ว่าภายใน ปี ค.ศ. 2553 ประชากรนับล้านคน จะถูกคุกคามจากน้ำท่วม ประชากรที่อาศัยอยู่ ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะได้

รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลท่วมสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีประเด็นด้านสุขภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ เชื้อติดต่อต่างๆ เช่น มาลาเรีย ไข้รากสาด อหิวาตกโรค จะมีการแพร่กระจายของเชือ้ โรคตามเขตภูมศิ าสตร์ จะก่อให้เกิดความเสียหาย เช่นเดียวกับ การระบาดของวัชพืช เช่น การระบาดของตั๊กแตนที่ทำลาย ผลผลิตพืชและเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


61 ผลกระทบภาวะโลกร้อนผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ภาวะโลกร้อนนี้มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอุณหภูม ิ

โดยรวมสูงขึ้น ทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป สิ่งมีชีวิตที่ ไม่สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ ก็จะค่อยๆ ตายลงและอาจ สูญพันธุ์ไปในที่สุด สำหรับผลกระทบต่อมนุษย์นั้น อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอาจ ทำให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม บางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักเนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลก และบนยอดเขาสูงละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเล ได้รับผลกระทบโดยตรง อาจทำให้บางพื้น ที่จมหายไปอย่างถาวร ดังนั้น

ปั ญ หาด้ า นการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศจึ ง เป็ น ปั ญ หาสำคั ญ ที่ ม วล มนุษ ยชาติจะต้องร่วมมือกันป้องกัน และเสริมสร้างความสามารถในการ รองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


62

เนื่ อ งจากเป็ น ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ต่ อ มวลมนุ ษ ยชาติ ซึ่ ง ทุ ก ประเทศ ย่อมได้รับผลกระทบ เพียงแต่แตกต่างในรูปแบบและระดับความรุนแรง เช่น ภาวะการแปรปรวนของลมฟ้าอากาศและภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติทรี่ นุ แรง ขึ้น ภาวะภัยแล้ง น้ำท่วมฉับพลัน ปัญหาสุขภาพอนามัยและโรคระบาด การ เหือดแห้งของแหล่งน้ำ ผลผลิตทางการเกษตรไม่ ได้ผลจากสภาพอากาศที่ ร้อนแล้ง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มิใช่เป็นเพียงปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่เป็น ปัญหาที่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อภาคการผลิตและบริการของประเทศ เช่ น ภาคการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง เพาะเลี้ ย งชายฝั่ ง การท่ อ งเที่ ย ว เป็นต้น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบให้เกิดการสูญเสียด้านสังคมและเศรษฐกิจใน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


63

ระดับท้องถิ่น และระดับประเทศต่อเนื่องกันไป การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การทำลายป่าและแรงกดดันต่อ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ จะส่งผลกระทบต่อชนิดและการเจริญเติบโตของพืชและ สัตว์ต่างๆ พันธุ์พืชและสัตว์ที่ ไม่สามารถปรับตัวได้ทันท่วงทีก็อาจสูญพันธุ ์

ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ไม่อาจกลับคืนมาได้ ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


64

5. การดำเนินการในการจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก

มนุษ ย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ทั้งยังมีสมองและความสามารถ เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มนุษ ย์จึงได้เป็นทั้งผู้ทำลายและผู้พิทักษ์ธรรมชาติ

กิจกรรมต่างๆ ของมนุษ ย์ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทาง ชีวภาพของสิ่งมีชีวิต ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และ สร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศที่ค้ำจุนชีวิตมนุษ ย์และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น

ทั้งหมด อย่างไรก็ตามเรายังมีโอกาสที่จะหยุดยั้งความสูญเสียนี้ได้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้ประชาคมโลก ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และร่วมมือกัน เพื่อพิทักษ์รักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้ดำรงคงอยู่ต่อไปในอนาคต ในขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่ประชาคมโลกต้องดำเนินงานร่วมกันเพื่อ ดำรงรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และหยุดยั้งการสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพ ทั้งในปี 2010 และต่อไปในอนาคต เพราะ ความหลากหลายทางชีวภาพคือชีวิต..... Biodiversity is Life .....คือชีวิตของเราทุกคน Biodiversity is our Life.

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


65

แล้วจะทำอย่างไรต่อไป

มนุษ ย์ต้องเพิ่มความพยายามในการลดผลกระทบของการเปลี่ยน- แปลงสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัว ถึงแม้ระบบนิเวศจะมีการปรับตัวต่อ สภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอดีต ทว่าในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง กำลังเกิดขึ้นในอัตรารวดเร็วและรุนแรงอย่างที่ ไม่เคยประสบมาก่อน ผล กระทบที่เกิดขึ้นต่อมนุษย์และระบบนิเวศก็มากขึ้น นอกจากการลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกจะสามารถช่วยลดความกดดัน ทำให้ระบบนิเวศธรรมชาติ

มีเวลาในการปรับตัวมากขึ้น

มีแนวทางสองประการในการต่อสู้กับปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวทางแรกคือการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว โดยไม่สามารถจะหยุดยั้งได้ และจะป้องกันไม่ ให้เกิดขึ้น

ก็ทำไม่ ได้เช่นกัน จึงต้องพิจารณาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ เช่น การยับยั้ง การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


66 ชนิดพันธุ์ต่างๆ แนวทางสู่ระบบนิเวศ การสร้างเครือข่ายพื้นที่คุ้มครอง ให้ พื้นที่คุ้มครองมีอาณาบริเวณที่ติดกัน เพื่อสรรพชีวิตจะได้ ไม่ถูกจำกัดพื้นที่ ให้อยู่เพียงถิ่นอาศัยที่ถูกแบ่งแยกนั้นๆ การปรับตัวเป็นเรื่องปกติที่จะต้องดำเนินการ เพราะเป็นมาตรการ ที่ ใช้อยู่แล้วในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับรองการบริการทาง ระบบนิเวศที่มนุษย์พึ่งพาอยู่ การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ เน้นเฉพาะเรื่องการลดหรือหลีกเลี่ยงการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความหลาก หลายทางชีวภาพ และเป็นแนวทางที่มีศักยภาพมากสำหรับประเทศกำลัง พัฒนาที่จะดำเนินการ ทั้งยังได้รับผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย ในรายงานการประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ฉบับที่ 3 เน้นเรื่องการบรรเทาผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก ภาคการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งจากภาคการเกษตร การพลังงาน และ การตัดไม้ทำลายป่า ประเด็นการลดการตัดไม้ ทำลายป่านี้จึงเป็นหลักการใหม่ที่ ประเทศสมาชิกกลุ่มพันธมิตรแห่ง ป่าดงดิบชื้น (alliance of rain forest) ได้ เ สนอในการประชุ ม สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการ เปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ (COP) ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่ ง นอกจากจะเป็นการลดการปลด

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


67 ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นการกักเก็บคาร์บอนแล้ว ยังช่วยในการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพด้วย ความเชื่อมโยงระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยน

แปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดขึ้นได้สองทิศทาง คือ ความหลากหลายทาง

ชีวภาพถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่การจัดการ

ความหลากหลายทางชีวภาพที่เหมาะสมจะสามารถลดผลกระทบของการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

ความหลากหลายทางชีวภาพ : เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความยืดหยุ่นของระบบนิเวศสามารถเพิ่มขึ้นได้ และความเสี่ยงของ การเกิดความเสียหายต่อมนุษ ย์และระบบนิเวศตามธรรมชาติจะลดลงด้วย การนำกลยุทธ์ในการปรับตัวและการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกบนพื้นฐาน ของความหลากหลายทางชีวภาพได้ ตัวอย่างกิจกรรมที่สนับสนุนและส่งเสริมการลดปริมาณก๊าซเรือน กระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศดั้งเดิม การป้องกันและการเพิ่มพูนการบริการของระบบนิเวศ การจัดการถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ การสร้างแหล่งพักพิงและแนว กันชน การสร้ า งเครื อ ข่ า ยของพื้ น ที ่ คุ้มครองป่าไม้ แหล่งน้ำจืดและทะเลที่คาดว่ า น่ า จะเกิ ด ขึ้ น จากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อากาศ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


68 สามอนุสัญญาริโอ ในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ในการประชุ ม สหประชาชาติ เ กี่ ย วกั บ สิ่ ง แวดล้ อ มและการพั ฒ นา (The United Nation Conference on Environment and Development: UNCED) ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในระหว่างวันที่ 5-14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 มีการลงนามยกร่างสองอนุสัญญา ได้แก่ อนุสัญญา ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2537 รวมทั้งปัญหาการแปรสภาพ เป็นทะเลทรายได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกันในการประชุม

ครัง้ นัน้ และได้มกี ารลงนามรับร่างอนุสญ ั ญาสหประชาชาติวา่ ด้วยการต่อต้าน การแปรสภาพเป็นทะเลทราย (United Nation Convention to Combat Desertification: UNCCD) ณ กรุงปารีส ปี พ.ศ. 2535 และเริ่มมีผลบังคับ ใช้ใน ปี พ.ศ. 2539 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลาย ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร ชายฝั่งทะเลมหาสมุทร โครงสร้างพื้นฐาน ในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ สุขภาพอนามัย แหล่งน้ำ โดยเฉพาะด้านความ หลากหลายทางชีวภาพ ในการรับมือต่อผลกระทบด้านความหลากหลายทาง ชีวภาพนั้น อนุสัญญาทั้งสามนี้เป็นเครื่องมืออย่างดีในการรับมือในการแก้ไข ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ปี พ.ศ. 2542 การประชุมสมัชชาภาคีของ อนุสัญญาฯ UNFCCC ได้มีการเรียกร้องให้มีการร่วมมือกันดำเนินการระหว่างองค์กรระหว่าง ประเทศ โดยเฉพาะ อนุสัญญาฯ CBD และอนุสัญญาฯ UNCCD และเริ่ม จัดตั้ง Joint Liaison Group ของสามอนุสัญญาฯ เมื่อปี พ.ศ. 2544 และ มีการร่วมงานกันมาอย่างต่อเนื่อง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


69 อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ Convention on Biological Diversity (CBD)

ในปี พ.ศ. 2530 มีการยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทาง ชีวภาพขึ้น โดยองค์กรพัฒนาเอกชน IUCN (The World Conservation Union) และในปี พ.ศ. 2535 อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รับการลงนามจาก 157 ประเทศ ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วย สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ในระหว่างวัน ที่ 5-14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ ริโอ เดอ จาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล หลังจากนั้น อนุสัญญาฯ ได้เปิดให้ลงนามจนถึงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ซึ่งมี 167 ประเทศ อนุสัญญาฯ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทาง ชีวภาพ ใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน แบ่งปันผลประโยชน์ทเี่ กิดจากการ ใช้ ท รั พ ยากรพั น ธุ ก รรมอย่ า งเท่ า เที ย มและ ยุติธรรม อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่ยอมรับกันใน

แวดวงของนั กวิ ท ยาศาสตร์ ชี ว ภาพและนั ก กฎหมายระหว่ า งประเทศว่ า

เป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่ครอบคลุมทุกแง่มุมของความ

หลากหลายทางชีวภาพ ครอบคลุมการอนุรักษ์ทั้งชนิดพันธุ์ พันธุกรรม

และระบบนิเวศ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


70 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสญ ั ญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ในลำดับที่ 188 และอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่ ง จนถึ ง ปั จ จุ บั น (เดื อ นพฤษภาคม พ.ศ. 2551) มี ป ระเทศภาคี อนุสัญญา 193 ประเทศ

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC)

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 นักวิทยาศาสตร์ต่างเริ่มกังวลว่าการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์สู่ชั้นบรรยากาศ จะส่งผลให้ สภาวะเรือนกระจกทวีความรุนแรงขึน้ World Meteorological Organization (WMO) และ the United Nations Environment Programme (UNEP) จึงได้จดั ตัง้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 IPCC ได้จัดทำเอกสาร First Assessment Report ซึง่ ยืนยันว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์สง่ ผลกระทบต่อสภาพภูมอิ ากาศ จริง ประกอบกับในปีนั้นได้มีการจัดการประชุม Second World Climate Conference ขึน้ จึงทำให้ปญ ั หาการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศเป็นทีส่ นใจ ของนานาชาติ และได้ยกร่างอนุสญ ั ญาสหประชาชาติวา่ ด้วยการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 และมีผล บังคับใช้ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2537 ภายหลังจากมีประเทศให้สัตยาบัน มากกว่า 50 ประเทศ ตามเงื่อนไขของอนุสัญญาฯ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อ เอาชนะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชนิด

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


71 พันธุ์พืชและสัตว์ การสูญเสียชนิดพันธุ์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ดิน อันนำมาซึ่งความแห้งแล้ง

วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ

รักษาปริมาณความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในระดับที่ ไม่ เป็นอันตรายกับมนุษย์ มีระยะเวลาให้ระบบนิเวศปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศโดยธรรมชาติ แน่ใจว่าผลิตผลด้านการเกษตรไม่ถูกคุกคาม แน่ใจว่าระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐาน ดังนี้ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและเทคโนโลยี ในการพัฒนา ที่ยั่งยืน ร่วมมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมให้มีการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาและมีหลักการสำคัญ ได้แก่ หลักการป้องกันไว้ก่อน (precautionary principle) หลักการความรับผิดชอบในระดับที่แตกต่าง (common but differentiated responsibility) ประเทศอุตสาหกรรมต้องเป็นผู้นำในการ ต่อสู้กับปัญหา Annex I countries ได้แก่ ประเทศพัฒนาแล้วที่เรียกว่า กลุ่ม

ประเทศ OECD (Organization of Economic Cooperation and Development) กับประเทศยุโรปตะวันออก ยุโรปกลาง และรัสเซียที่เรียก ว่า “กลุ่มประเทศกำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นระบบตลาด

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


72 เสรี” หรือ EIT (Economic in Transition) Non-Annex I countries ได้แก่ ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด Annex II countries เป็นกลุม่ ประเทศอุตสาหกรรมใน OECD ที่พันธกรณีเข้มข้นกว่ากลุ่ม EIT อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (United Nation Convention to Combat Desertification: UNCCD) ปัญหาการแปรสภาพเป็นทะเลทรายได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ ในการประชุมทีก่ รุงริโอ ปี พ.ศ. 2535 เช่นกัน และได้รบั การยกร่างอนุสญ ั ญา เพื่อต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายในประเทศที่ประสบภัยแล้ง และ/ หรือ การแปรสภาพเป็นทะเลทราย โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา และได้รับ การรับรอง ณ กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2537 และมีผลบังคับใช้ ในวัน ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2539 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเล ทราย (UNCCD) ได้ ใหัคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ดิน ซึ่งนำมาซึ่งความแห้งแล้ง ดังนี้ การแปรสภาพเป็น ทะเลทราย (Desertification) หมายถึง การ เสื่อมโทรมของที่ดิน (Land degradation) ในพื้นที่แห้งแล้ง กึ่งแห้งแล้ง และพื้นที่แห้งแล้งในเขตชื้น อันเป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมของมนุษย์ ให้คำนิยามของ “ที่ดิน” (land) ว่า “บริการพื้นฐานของผลผลิต”

หมายถึง ระบบผลิตทางชีวภาพบนบก ที่ประกอบด้วย ดิน พืช จุลชีวอื่นๆ และกระบวนการนิเวศและอุทกวิทยาที่ดำเนินอยู่ภายในระบบนั้น ให้คำนิยามของ “การเสื่อมโทรมของที่ดิน” ว่าการสูญเสียการให้

บริการ และการลดลงหรือสูญเสียผลผลิตทางชีวภาพหรือทางเศรษฐกิจ มี สาเหตุมาจากการใช้ที่ดิน ไม่ว่าจากกระบวนการอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


73 ร่วมกัน รวมทั้งกระบวนการที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษ ย์และรูปแบบการ ดำรงชีพ เช่น การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจากลม และหรือน้ำ การเสื่อมโทรมของคุณสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ หรือเศรษฐกิจของดิน การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในระยะยาว ซึ่งข้อที่สองและที่สาม จะเกี่ยวข้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลาก หลายทางชีวภาพ ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการเป็นทะเลทราย เพราะกำลังสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ แผนปฏิบัติงาน แผนงานโครงการของกรมพัฒนาที่ดินที่เกี่ยวข้องกับ

อนุสัญญาฯ UNCCD ได้แก่ การฟื้นฟู ปรับปรุงบำรุงดิน และอนุรักษ์ดินและน้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการช่วยเหลือ ความเชื่อมโยงระหว่างสามอนุสัญญาฯ อยู่ที่การพัฒนาที่ยั่งยืน การ

เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสีย

ในเรื่องอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะเรื่องดิน การสูญเสียหน้าดิน หรืออินทรีย-

วัตถุในดิน หรือการสูญเสียคาร์บอนในดิน ส่งผลให้ผลผลิตขั้นพื้นฐานไม่มี

ประสิทธิภาพ เมื่อโครงสร้างดินเสียทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลาย

ทางชีวภาพตามมา ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


74 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

สืบเนื่องจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งได้กำหนดกรอบในการดำเนินการเพื่อรักษาระดับ

ความเข้ ม ข้ น ของก๊ า ซเรื อ นกระจกภายในปี พ.ศ. 2543 โดยที่ ห ลั ง จาก อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้แล้ว จะต้องมีการจัดประชุมสมัชชาประเทศภาคี อนุสัญญา (Conference of the Parties: COP) ขึ้นทุกปี ในการประชุมสมัยแรก ที่จัดขึ้น ณ กรุงเบอร์ลิน ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2538 ประเทศภาคีสมาชิกได้เล็งเห็นถึงความ จำเป็นในการกำหนดพันธกรณีภายหลัง พ.ศ. 2543 และได้ตกลงใน Berlin Mandate เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเจรจา และภายใต้ข้อตกลงใน ได้มีการ จัดตั้ง Ad Hoc Group on the Berlin Mandate (AGBM) เพื่อทำหน้าที่ ในการบรรลุถึงข้อตกลงดังกล่าว AGBM จัดประชุม 8 ครั้งระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2538 และ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 ในการประชุมสมัชชาฯ สมัยที่ 3 โดยการประชุม ครัง้ 4 ซึง่ ตรงกับการประชุมสมัชชาฯ สมัยที่ 2 ณ กรุงเจนีวา พอดี ได้มกี าร ตกลงในหลักการสำคัญของพิธีสารและยกร่างเป็น “Geneva Declaration” และการประชุมของ AGBM ครั้งต่อมาได้ร่างเนื้อหาของพิธีสาร โดยมีแนว ทางตามข้อเสนอของสหภาพยุโรปให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3 ชนิด ให้ ได้ร้อยละ 15 ภายในปี พ.ศ. 2553 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2533 โดยเฉลี่ยร้อยละ 5 เป็นอย่างน้อย พันธกรณีของพิธีสารเกียวโต พิธีสารเกียวโตได้กำหนดให้ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ต้องลด การปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจก 6 ชนิ ด ได้ แ ก่ คาร์ บ อนไดออกไซด์ (CO 2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PCFs) และซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ (SF6)

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


75 ระยะเวลาในการประเมินผลการลดก๊าซคือปี พ.ศ. 2551 - 2555 หรือที่รู้จักกันว่า ช่วงพันธกรณีแรก (fist commitment period) สาเหตุที่มี การขยายเวลาของพันธกรณีเป็นช่วงเวลา 5 ปี แทนที่จะเป็นปีเดียวนั้นเพื่อ ป้องกันผลกระทบของปัจจัยที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น สภาพอากาศ หรือวัฏจักรเศรษฐกิจ กลไกของพิธีสารเกียวโต การดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายของพิธีสารเกียวโตในการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนัน้ พิธสี ารเกียวโตเน้นการดำเนินการในประเทศ ที่มีพันธกรณีเองเป็นหลัก อย่างไรก็ดี พิธีสารเกียวโตได้นิยามกลไกยืดหยุ่น (flexibility mechanisms) ไว้อีก 3 กลไก เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการ ลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในภาคผนวกที่ I ได้แก่ การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) การดำเนินการร่วม (Joint Implementation: JI) กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanis m: CDM) ประเทศไทยให้สตั ยาบันต่อพิธสี ารเกียวโตแล้ว แต่ประเทศไทยไม่ได้

อยู่ในกลุ่มภาคผนวกที่ I จึงไม่มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจกแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ประเทศไทยสามารถร่วมในการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้จากการดำเนินโครงการภายใต้กลไกการพัฒนาที่ สะอาด (CDM) ตามที่นิยามไว้ในมาตรา 12 ของพิธีสารเกียวโต

พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ

พิธสี ารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นพิธสี ารภายใต้ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ถือเป็นความตกลงระหว่าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


76 ประเทศที่มีผลผูกพันตามกฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทาง ชี ว ภาพของสิ่ ง มี ชี วิ ต ดั ด แปลงพั น ธุ ก รรม ปั จ จุ บั น มี ภ าคี 155 ประเทศ (มีนาคม พ.ศ. 2552) ครอบคลุม การเคลื่อนย้ายข้ามแดน การส่งผ่าน การ ดูแล และการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อาจมีผลกระทบ ที่ ไม่เอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยั่งยืน ความร่วมมือระหว่างอนุสัญญาและสนธิสัญญ อนุสัญญาและสนธิสัญญาที่มีความเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทาง ชีวภาพ ซึ่งเดิมมี 5 อนุสัญญา ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยพื้น ที่ชุ่มน้ำ : Ramsar Convention on

Wetlands (Ramsar) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า

และพื ช ป่ า ที่ ใ กล้ สู ญ พั น ธุ์ : Convention on International Trade

in Endangered Species (CITES) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ

ทางธรรมชาติ : World Heritage Convention (WHC) อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่น :

Convention on Migratory Species (CMS) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ : Convention

on Biological Diversity (CBD) ได้จัดทำความตกลงร่วมกัน และจัดตั้ง Biodiversity Liaison Group ขึ้นในปี พ.ศ. 2547 ตามการร้องขอของสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความ หลากหลายทางชีวภาพในการประชุมครัง้ ที่ 7 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ มาเลเซี ย (Decision VII/26) ทั้งนี้ เพื่อเป็ น การส่ ง เสริ ม ความร่ ว มมื อ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


77 ระหว่างอนุสัญญาที่มีความเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ และ ในปี พ.ศ. 2549 ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น ได้แก่ International Treaty on Plant Genetic Resources

for Food and Agriculture (ITPGRFA)

นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกันในหลายภาคส่วนทั้งในระดับภูมิภาค และหลายองค์กรความร่วมมือในการอนุรักษ์จัดการความหลากหลายทาง ชีวภาพ เช่น IUCN, BirdLife International, WWF, WCS ดังปรากฏใน Global Environment Outlook: environment for development (GEO-4)

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


78

แม้จะเข้าสู่ “ปีแห่งความหลากลายทางชีวภาพ” แต่อัตราการสูญ

พันธุ์ของชนิดพันธุ์ต่างๆ ยังมีมาก เราต่างล้มเหลวในคำปฏิญาณที่จะลด

อัตราการสูญเสียสิ่งมีชีวิตต่างๆ ด้านนักชีววิทยาเตือนการสูญเสียชนิดพันธุ์

ต่างๆ ผลักมนุษ ย์ให้เข้าสู่ยุคการสูญพันธุ์ครั้งใหญ มีรายงานว่า เมื่อ 8 ปีก่อนหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งทั่วโลก ต่าง ปฏิ ญ าณว่ า จะลดอั ต ราการสู ญ เสี ย ความหลากหลายทางชี ว ภาพลงก่ อ น ปี พ.ศ. 2553 แต่มาถึงวันนี้มีความชัดเจนว่า คำปฏิญาณดังกล่าวไม่เป็นผล เพราะการขยายตัวของเมือง การทำฟาร์ม และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็น

เหตุผลหลัก ทั้งนี้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้เปิด “ปีแห่งความหลากหลาย ทางชีวภาพ” (International Year of Biodiversity) อย่างเป็นทางการใน วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553 ซึง่ นายบัน คี มูน (Ban Ki-moon) เลขาธิการ สหประชาชาติ รวมทัง้ นางอังเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) นายกรัฐมนตรี แห่งเยอรมนี ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาเปิดงานด้วย เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวในเรื่องเกี่ยวกับการขยายตัวของ ประชากรมนุษย์ ที่ได้กวาดล้างสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุอนื่ ๆ เร็วกว่าอัตราตาม ธรรมชาติถึง 1,000 เท่า ทั้งนี้เขาได้ชี้ ให้เห็นว่าความล้มเหลวในการ ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพนั้น ควรจะเป็นเสมือน “เสียงปลุก” ที่นำไปสู่หนทางที่ ให้ประสิทธิผลในการพิทักษ์ป่า ลุ่มน้ำ แนวปะการัง และระบบนิเวศอื่น

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


79 นอกจากนีย้ งั ชี้ให้เห็นว่า หากระบบในธรรมชาติอย่างป่าและพืน้ ชุม่ น้ำ ลดลง มนุษย์ก็จะสูญเสียแหล่งอำนวยประโยชน์ที่ปัจจุบันคนเราได้มาโดยไม่ เสียค่าใช้จ่าย เช่น ความบริสุทธิ์ของอากาศและน้ำ การปกป้องจากสภาพ อากาศอันเลวร้าย เป็นต้น จากการศึกษาเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านเศรษฐกิจ ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติ พบว่าเพียงแค่การลดลงของป่าอย่าง เดียวทำให้ทั่วโลกต้องมีค่าใช้เพิ่มปีละ 2-5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ “เรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการสูญพันธุ์ การสูญเสียความหลาก

หลายทางธรรมชาติที่สวยงามและซับซ้อน ซึ่งเป็นฐานสนับสนุนสิ่งมีชีวิต

ทั้งหมดบนโลกใบนี้ เป็นการคุกคามที่น่าห่วงต่อมนุษ ยชาติในยุคนี้และต่อไป

ในอนาคต” นายเจน สมาร์ท (Jane Smart) ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์ความ หลากหลายทางชีวภาพ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (Union for the Conservation of Nature: IUCN) ด้านนายอาชิม สไตเนอร์ (Achim Steiner) ผู้อำนวยการสำนักงาน โครงการด้านสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนป (UNEP) ได้ชี้ให้เห็น

ถึงปัญหาที่เกิดจากชนิดพันธุ์ที่รุกราน (invasive species) และศักยภาพ ของระบบนิเวศอย่างป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนจาก อากาศ นอกจากนี้ยูเอ็นยังคาดหวังว่า จะเกิดสนธิสัญญาในการควบคุมการ สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพภายในการประชุมด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพที่จะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ที่ประเทศญีปุ่น และจะเป็นการ แก้ตัวให้กับรัฐบาลชาติต่างๆ ที่ล้มเหลวในการตกลงเรื่องการควบคุมปัญหา การเปลี่ยนภูมิอากาศที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


80 จากสถานการณ์การสูญเสียชนิดพันธุ์ ต่ า งๆ ที่ เ ป็ น อยู่ นี้ ทำให้ นั ก

ชีววิทยาบางคนกล่าวว่ามนุษย์เรากำลังเข้าสู่วัฏจักรการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ใน รอบที่ 6 ของโลก (Earth’s sixth great extinction) หากแต่การสูญพันธุ์ ครั้งใหญ่ 5 ครั้งก่อนนั้นเป็นผลพวงจากเหตุการณ์ในธรรมชาติ เช่น การพุ่ง ชนของอุกกาบาต ไม่ใช่จากน้ำมือมนุษย์อย่างที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้ Biodiversity is Life

Biodiversityอis our Life.

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


81 วันสิ่งแวดล้อมโลก : World Environment Day

สืบเนื่องจากเหตุวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง บนโลก ดั ง นั้ น เพื่ อให้ เ กิ ด ความร่ ว มมื อ และรู้ เ ท่ า ทั น เหตุ ก ารณ์ องค์ ก าร สหประชาชาติ จึงได้มีการจัดประชุมใหญ่ระดับโลกโดยเรียกการประชุมนี้ว่า

“การประชุมสหประชาชาติเรือ่ งสิง่ แวดล้อมของมนุษย์” หรือ “UN Conference

on the Human Environment” ขึ้นที่ กรุงสตอกโฮลม์ ประเทศสวีเดน ใน ช่วงวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยมีรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพเป็น

ประธานการประชุมครั้งนั้น เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมได้มีข้อตกลงร่วมกัน

หลายประการ เช่ น การจั ด ตั้ ง โครงการสิ่ ง แวดล้ อ มแห่ ง สหประชาชาติ

(UNEP: United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่ อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่างๆ ได้รับข้อตกลง จากการประชุมครั้งนั้นไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศ ของตน ดั ง นั้ น เพื่ อ เป็ น การระลึ ก ถึ ง จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการร่ ว มมื อ จากหลาก หลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์กาสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วัน ที ่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ประเทศไทยก็ได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสภาพสิ่งแวด

ล้อม พ.ศ. 2518 และได้ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

ขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการ

ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ก็ได้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่ง

ชาติเป็น 3 หน่วยงาน คือ กรมส่งเสริมคุณ ภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุม มลพิ ษ และสำนั ก นโยบายและแผนสิ่ ง แวดล้ อ ม กระทรวงวิ ท ยาศาสตร์

เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และในปี พ.ศ. 2548 มีการปรับโครงสร้างไป สังกัดอยู่ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


82 วันสิ่งแวดล้อมโลกในแต่ละปีมีหัวข้อในการรณรงค์ที่ต่างกันออกไป ในทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการรณรงค์เพื่อความร่วมมือรับโลกร้อน เช่น พ.ศ. 2549 เพิ่ ม ความชุ่ ม ชื้ น คื น สู่ ธ รรมชาติ : DON’T DESERT

DRYLANDS! พ.ศ. 2550 ลดโลกร้อน ด้วยชีวิตพอเพียง : MELTING ICE-A HOT

TOPIC พ.ศ. 2551 ลดวิกฤติโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่ เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ : CO2 Kick the Habit! Towards a Low Carbon Economy พ.ศ. 2552 คุณคือพลัง ช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน : Your Planet

Needs You - Unite to Combat Climate Change สำหรับปี พ.ศ. 2553 เพื่อร่วมฉลองในโอกาสที่ปี ค.ศ. 2010 หรือ พ.ศ. 2553 เป็น ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การสห- ประชาชาติได้ประกาศให้มีการรณรงค์ด้านการอนุรักษ์จัดการความหลาก หลายทางชี ว ภาพและเศรษฐกิ จ เขี ย ว (Biodiversity - Ecosystems

Management and the Green Economy) ในทุกประเทศทั่วโลก และ กำหนดหัวข้อวันสิ่งแวดล้อมโลกปี 2553 หรือ World Environment Day 2010 คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ กูว้ กิ ฤตชีวติ โลก : MANY SPECIES,

ONE PLANET, ONE FUTURE

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


83

6. การดำเนินการของประเทศไทยในการจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพ

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้

ปี พ.ศ. 2553 เป็นปีแห่งความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย เพื่อ ร่วมฉลองในโอกาสที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2010 หรือ พ.ศ. 2553 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อกระตุ้น ให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ ตระหนักในคุณค่าความสำคัญของ ความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ร่วมมือกันในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์

ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เมื่อก้าวเข้าสู่ปี พ.ศ. 2553 หรือ ค.ศ. 2010 ถือเป็นนิมิตหมายอันดี ของผู้ที่อยู่ในสายความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะองค์การสหประชาชาติ

ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ จนได้ประกาศให้ ปีนี้เป็น “ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ” หรือ “International

Year of Biodiversity” ซึ่งทั่วโลกจะจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความหลากหลาย ทางชีวภาพ มีการรณรงค์ ให้ความรู้เพื่อเผยแพร่ ให้ประชาคมโลกมองเห็น เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และ ความจำเป็นที่จะต้องหยุดยั้งการสูญเสียความสูญเสียความหลากหลายทาง ชีวภาพที่กำลังเกิดขึ้น ทั่วโลก ซึ่งตรงกับเป้าหมายที่เกิดขึ้นจากที่ประชุม สุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD) ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งกำหนดให้

ลดอัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพลงอย่างมีนัยสำคัญ ภายใน ปี พ.ศ. 2553 หรือที่เรียกกันว่า เป้าหมายปี 2010 (2010 target)

ดำเนินการในภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

ในการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลกว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development; WSSD) ที่ น คร

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


84 โจฮันเนสเบอร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 ที่ ประชุมได้วางเป้าหมายให้ประเทศต่างๆ ช่วยกันลดการสูญเสียความหลาก หลายทางชี ว ภาพลงให้ ไ ด้ ใ นปี พ.ศ. 2553 ซึ่ ง ตามมาตรา 7(a) ของ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดให้ภาคีจำแนก วินิจฉัย องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญสำหรับการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยพิจารณารายการซึ่งระบุตามประเภท ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นหรือชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม และมาตรา 8(k) กำหนดให้ ภาคีจัดทำหรือธำรงรักษากฎข้อบังคับที่จำเป็นและ/หรือข้อกำหนดระเบียบ บังคับต่างๆ เพื่อการคุ้มครองชนิดพันธุ์และประชากรที่ถูกคุกคาม ในปี พ.ศ. 2539 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมได้จัดประชุมเพื่อจัดสถานภาพทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย ขึ้น โดยได้พิจารณาสถานภาพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา โดยได้พิจารณาสถานภาพตามแนวทาง เอกสาร IUCN Red List Categories โดยระบบเลขรุ่นของเกณฑ์ (version numbering) ที่ ได้นำมาใช้ ในขณะนั้น คือในปี พ.ศ. 2537 รุ่นที่ (version) 2.3 : IUCN (1994) ต่ อ มาในปี พ.ศ. 2544 (2001) IUCN ได้ มี ก าร เปลี่ยนแปลงปรับปรุงเกณฑ์การจำแนกขึ้นใหม่ โดยใช้รุ่นที่ (version) 3.1 : IUCN (2001) และปี พ.ศ. 2547 (2003) ได้ประกาศเป็น บัญชีรายชื่อ

Red list ของ IUCN ซึง่ จัดว่าเป็นการจัดสถานภาพของสิง่ มีชวี ติ ในระดับโลก ปี พ.ศ. 2547 สำนั ก งานนโยบายและแผนทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการพัฒนาแห่ง สหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP) เพือ่ ดำเนินโครงการ The Development of Conservation and Protection Mechanism on Red Data of Thailand โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สำรวจสถานภาพและถิ่นที่อยู่อาศัย และจัดทำฐานข้อมูลของชนิดพันธุ์หา ยาก ใกล้ สู ญ พั น ธุ์ และชนิ ด พั น ธุ์ เ ฉพาะถิ่ น ในกลุ่ ม สั ต ว์ มี ก ระดู ก สั น หลั ง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


85 ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2547

จากการทีป่ ระเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสญ ั ญาว่าด้วยความหลาก หลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547 ในลำดับที่ 188 ซึง่ จนถึงปัจจุบนั (เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551) มีประเทศภาคีอนุสัญญา 193 ประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทย ต้องดำเนินตามพันธกรณีของประเทศภาคีสมาชิก คือ ต้องเร่งรัดการดำเนิน การเพื่อรักษาระบบนิเวศธรรมชาติโดยลดการสูญเสียความหลากหลายทาง ชีวภาพลง ทั้งต้องพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ ให้ทำการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบสื่ออิเลคทรอนิกส์

และทำวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพทุกระดับ ทั้งนี้ประเทศไทย อาจไม่สามารถสนองตอบต่อนโยบายระดับโลกที่ ให้ลดอัตราการสูญเสีย

ความหลากหลายทางชีวภาพ หากปราศจากการดำเนินงานเร่งด่วนที่จะ สำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศทุกระบบ ของประเทศไทย

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


86 ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้มีความพยายามจากหลายหน่วยงานในการ เตรียมความพร้อมเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีดังกล่าว สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในด้านนี้ ในปี พ.ศ. 2548 จึงได้การดำเนินโครงการสำรวจและจัดทำข้อมูล ความหลากหลายทางชีวภาพ เพือ่ ตอบสนองต่อแผนปฏิบตั กิ ารโจฮันเนสเบิรก์ (Johannesburg Implementation Plan) จากการประชุมสุดยอดของโลก ว่ า ด้ ว ยการพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น (WSSD) โดยมอบหมายให้ ม หาวิ ท ยาลั ย

เกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลในพื้น ที่ที่มีความ หลากหลายทางชีวภาพสูง (Biodiversity Important Area: BIA) และ พื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) สำนั ก งานนโยบายและแผนทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ได้ดำเนินการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2551 ทางสำนัก

งานฯ ได้พิจารณาดำเนินการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทาง ชีวภาพในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพในจังหวัดชุมพรและ สุ ร าษฎร์ ธ านี เนื่ อ งจากพื้ น ที่ ดั ง กล่ า วเป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ค วามหลากหลายทาง ชีวภาพสูง มีความต่อเนื่องกับพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่ง

ประกอบด้ ว ย 4 ระบบนิ เ วศหลั ก ได้ แ ก่ ระบบนิ เ วศแหล่ ง น้ ำ ในแผ่ น ดิ น ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ระบบนิเวศเกาะ และระบบนิเวศเกษตร แต่ยังขาดข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะนำไปใช้ เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ เพื่อการคุ้มครอง อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์

ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนของประเทศ โดยต้องทำการติดตาม ตรวจสอบสถานภาพของสิ่ ง มี ชี วิ ต เฉพาะถิ่ น สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ ถู ก คุ ก คามและ สถานภาพอื่ น ๆ ที่ อ ยู่ ใ นทะเบี ย นชนิ ด พั น ธุ์ ที่ ถู ก คุ ก คามของประเทศไทย (Thailand red data) ตลอดจนจัดทำระบบฐานข้อมูลความหลากหลาย ทางชี ว ภาพและระบบสารสนเทศทางภู มิ ศ าสตร์ สำหรั บ พื้ น ที่ เ ป้ า หมาย ประกอบด้วย

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


87 ในปี พ.ศ. 2548 โดยความร่ ว มมื อ กั บ สำนั ก งานหอพรรณไม้ ไ ด้ ดำเนินการศึกษาสำรวจวิเคราะห์สถานภาพพรรณพืชที่พบในประเทศไทย เพื่อจัดสถานภาพพรรณพืชที่ ใกล้สูญพันธุ์ พรรณพืชที่ถูกคุกคาม พรรณพืช

ที่หายาก และพรรณพืชเฉพาะถิ่น รวมถึงการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ในการ จำแนกสถานภาพพรรณพืชของ IUCN เพื่อนำไปสู่การจัดทำเป็นทะเบียน รายชื่อชนิดพรรณพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พรรณพืชที่ถูกคุกคาม พรรณพืชหายาก และพรรณพืชเฉพาะถิน่ ของประเทศไทย สำหรับใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลพืน้ ฐาน ในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองพรรณพืชที่ ใกล้สูญพันธุ ์

พรรณพืชทีถ่ กู คุกคาม พรรณพืชหายาก และพรรณพืชเฉพาะถิน่ และกำหนด นโยบายการอนุรักษ์ระบบนิเวศที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพรรณพืชนั้น รวม ถึงนำไปสู่การดำเนินงานลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพลงให้ได้ ภายในปี พ.ศ. 2553 ดังเจตนารมณ์ของประชาคมโลก โครงการการสำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


88 กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพ

กลไกการเผยแพร่ ข้ อ มู ล ข่ า วสารความหลากหลายทางชี ว ภาพ (Clearing-House Mechanism: CHM) ของประเทศไทย ได้รับการพัฒนา ขึ้นมาโดยมีบทบาทหน้าที่ ตามมาตรา 18 ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลาก หลายทางชี ว ภาพ ในการส่ ง เสริ ม และเอื้ อ อำนวยการแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล

ข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ และวิชาการระหว่างภาคีอนุสัญญาฯ กลไกการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย เชื่อม โยงและเปิดให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานรัฐบาล สถาบันการศึกษา และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


89 การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางป่าไม้

ประเทศไทยมีพื้น ที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร (320.6 ล้านไร่) มีเทือกเขาที่สำคัญ 15 ทิวเขา และมีลุ่มน้ำที่สำคัญ 25 ลุ่มน้ำ กรมป่าไม้ (เดิม) รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ของป่าลดลงเหลือ

ประมาณ 29.97% ของพื้นที่ประเทศลุ่มน้ำปิง มีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด (22,362.74 ตารางกิโลเมตร) ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาเหลือพื้นที่ป่าไม้น้อย ที่สุด (313.31 ตารางกิโลเมตร) จังหวัดเชียงใหม่มีพื้น ที่ป่าเหลืออยู่มาก ที่สุดประมาณ 16,640 ตารางกิโลเมตร จังหวัดพิจิตรเหลือพื้นที่ป่าไม้น้อย ที่สุด ประมาณ 1.6 ตารางกิโลเมตร

พื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่คุ้มครอง (Protected Area, PA)

สำหรับป่าไม้ที่เหลืออยู่ ส่วนใหญ่รัฐบาลโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช/กรมป่าไม้ ได้อนุรักษ์ ไว้ ในรูปแบบของพื้นที่อนุรักษ์ หรือพื้นที่คุ้มครอง ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า โดยปี พ.ศ. 2542 มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่เพียง 25.28% ของพื้นที่ประเทศ และเพิ่มขึ้นเป็น 33.4% ในปี พ.ศ. 2551 อุทยานแห่งชาติทางบกมี 75 แห่ง และทางทะเล 21 แห่ง พื้นที่รวมประมาณ 5,810.65 ตารางกิโลเมตร เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ มี 48 แห่ง มีพนื้ ทีร่ วมประมาณ 33,433.51 ตารางกิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรมีพื้นที่ป่ามากที่สุด (3,647.20 ตารงกิโลเมตร) และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยามีพื้นที่ น้อยที่สุด (153.58 ตารางกิโลเมตร) เขตห้ามล่าสัตว์ป่ามี 54 แห่ง พื้นที่รวมประมาณ 4,294.20 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีพื้น ที่เตรียมการประกาศให้เป็น พื้น ที่อนุรักษ์ อีกหลายแหล่ง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


90 การจัดการกลุ่มป่าอนุรักษ์หรือผืนป่าอนุรักษ์เชิงระบบนิเวศ

ในปัจจุบนั พบว่าพืน้ ทีป่ า่ อนุรกั ษ์เหลืออยูเ่ ป็นหย่อมเล็ก กระจัดกระจาย ทั่วประเทศ ซึ่งการอนุรักษ์พื้นที่ขนาดเล็กเป็นสิ่งไม่ดี เพราะมีจำนวนชนิด

และปริมาณของสิ่งมีชีวิตไม่มากนัก จึงทำให้เกิดการผสมพันธุ์กันในหมู่เครือ ญาติ (Inbreeding) ของพืชและสัตว์ ในท้องที่ ผลคือทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี ้

นั้นอ่อนแอลงและอาจสูญพันธุ์ ได้ ในอนาคต อีกทั้งการที่มีผืนป่าขนาดใหญ่ ซึ่งมีระบบนิเวศที่หลากหลายต่อเนื่อง ถ้าพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งใกล้เคียงกัน ถูกรบกวนหรือถูกทำลายจะทำให้มีผลกระทบต่อเนื่องถึงระบบนิเวศข้างเคียง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นความพยายามในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและ การป้องกันพื้นที่อนุรักษ์ที่เหลืออยู่นั้น ทำให้เกิดการจัดการพื้นที่อนุรักษ์เชิง

ระบบนิเวศ (Ecosystem Management) หรืออนุรักษ์ผืนป่าขนาดใหญ่และ ผืน ป่าใหญ่น้อยที่อยู่ห่างกันไม่มาก สำหรับผืน ป่าที่เคยกว้างขวางในอดีต แต่ปัจจุบันถูกแบ่งแยกและอยู่ห่างกันไม่มาก ก็จำเป็น ที่จะต้องหาวิธีการ สร้างแนวเชื่อมต่อเพื่อให้สัตว์ป่าและพืชพันธุ์เคลื่อนย้ายและกระจายไปมา ระหว่างกันได้ เมื่อพื้นที่ดังกล่าวมีความหลากหลายทางชีวภาพสมบูรณ์มั่งคง ธรรมชาติจะเกิดความสมดุล อันจะส่งผลที่ดีต่อการดำรงชีวิตของประชาชน รอบผืนป่าและเป็นประโยชน์อย่างยั้งยืนต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ต่อไป หลักการจัดการเชิงระบบนิเวศ มีหลักการพื้นฐาน 4 ประการ คือ 1. ขบวนการทางนิเวศที่สำคัญและองค์ประกอบของความหลาก หลายทางชีวภาพต้องถูกเก็บรักษาไว้ 2. ปัจจัยคุกคามจากภายนอกต้องถูกลดลงและผลประโยชน์ทั้งทาง ตรงและทางอ้อมที่ได้รับต้องเพิ่มขึ้น 3. ขบวนการวิวัฒนาการต้องถูกอนุรักษ์ไว้ ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


91 4. การจั ด การต้ อ งมี ก ารปรั บ เปลี่ ย นอย่ า งค่ อ ยเป็ น ค่ อ ยไปตาม สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Adaptive Management) ทั้งนี้การจัดการพื้น ที่เชิงระบบนิเวศดั ง กล่ า วต้ อ งคำนึ ง ถึ ง มิ ติ ท าง นิเวศวิทยา เศรษฐสังคม และมนุษ ยวิทยา ซึ่งทั้ง 3 มิติมีความเหลื่อมล้ำ กันอยู่ด้วย การดำเนินงานของกรมป่าไม้ในและการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ มีดังนี้ การอนุรกั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าอนุรกั ษ์ และการ ประกาศเขตอนุรักษ์เพิ่มเติมในเขตที่เป็นช่องว่าง (Corridor) ดำเนินการประสานงานด้านอนุรักษ์กับประเทศเพือนบ้านใกล้ เคียง เช่น โครงการสำรวจพื้นที่ระหว่างไทยกับมาเลเซีย มีการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ป่าไม้ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ของกลุ่มคนโดยรอบและในเขตพื้นที่ป่าเหล่านั้น มีโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมพืชในกลุ่มป่าต่างๆ โดย สำนักวิชาการป่าไม้ และสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จัดตั้งโครงการและหน่วยงานเฉพาะในการจัดการพื้นที่อนุรักษ์

เพื่อดำเนินการวางแผนและมีการประสานงานในด้านการอนุรักษ์ความหลาก หลายทางชีวภาพป่าไม้ จัดตั้งศูนย์และสถานี ไฟป่าทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ ให้ ไฟป่า ทำลายป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่มีความเปราะบาง ประสานงานการจั ด การป่ า ชุ ม ชนร่ ว มกั บ องค์ ก รชาวบ้ า น ในท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2530 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานประสานงานระดับชาติของอนุสัญญาฯ ทำ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


92 หน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการฯ โดยมีกรมศิลปากร และกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการดูแลแหล่ง มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติตามลำดับ

มรดกโลกทางธรรมชาติในประเทศไทย

ประเทศไทยได้ รั บ ความเห็ น ชอบให้ ขึ้ น บั ญ ชี แ หล่ ง มรดกโลกทาง ธรรมชาติ รวม 2 แห่ง ได้แก่ ทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง (พ.ศ. 2534) และผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ (พ.ศ. 2548) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ห้วย ขาแข้ง มีพื้นที่รวม 4,015,087 ไร่ หรือ 6,424.14 ตารางกิโลเมตร จัดเป็น พื้น ที่อนุรักษ์ที่เป็นแกนกลางของกลุ่มป่าตะวันตก ซึ่งเป็นผืน ป่าที่มีความ อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ สูงสุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้ผืนป่า

ตะวันตกยังเป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่มีอาณาเขตกว้าง ใหญ่ ที่ สุ ด ของประเทศ และของภู มิ ภ าคเอเชี ย

ตะวันออกเฉียงใต้ โดยผืน ป่าตะวันตกเกิดจาก การผนวกรวมเขตอนุ รั ก ษ์ ถึ ง 17 แห่ ง เข้ า เป็ น ผืนป่าขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 11 อุทยานแห่ง

ชาติ และ 6 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีพื้น ที่รวม 11,706,586 ไร่ หรือ 18,730.54 ตารางกิโลเมตร ทอดตัวตามแนวเทือกเขาถนนธงชัยและตะนาวศรี โดยมีพื้นที่คาบเกี่ยวใน 6 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และ สุพรรณบุรี สำหรับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์ สัตว์หว้ ยขาแข้ง มีรายงานการพบสัตว์ปา่ ทีถ่ กู คุกคามหลายชนิด เช่น ควายป่า (Bubalus bubalis) วัวแดง (Bos javanicus) สมเสร็จ (Tapirus indicus) แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata) เสือโคร่ง (Panthera tigris) ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


93 นกเงือกคอแดง (Aceros nipalensis) และนกยูง (Pavo muticus) เป็นต้น ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เกิดจากการรวมกันของ 5 พื้นที่อนุรักษ์ คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปาง สีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ มีพื้นที่ รวม 3,845,082.53 ไร่ หรือ 6,152.13 ตารางกิโลเมตร โดยผืนป่าดงพญา เย็น-เขาใหญ่ มีพื้นที่คาบเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สระบุรี และสระแก้ว ในอดีตผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ มีสภาพป่ารกทึบ ชุมชุมไปด้วย สัตว์ป่าขนาดใหญ่ แต่หลังจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้ ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนา ผืน ป่าถูกแผ้วถางเปลี่ยนเป็น พื้น ที่เพาะปลูก ประกอบกับการตัดถนนมิตรภาพผ่าใจกลางป่า ได้ทำให้ผืนป่ายิ่งถูกทำลาย มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 ป่าเขาใหญ่ก็ได้ รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งนับเป็น

จุดรากฐานการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทยที่ก่อตัวเป็นรูปร่างอย่าง ชัดเจน และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve)

พื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) หมายถึง พื้นที่อนุรักษ์

สังคมพืชและสัตว์ ในสภาวะของระบบนิเวศที่เป็นธรรมชาติ เพื่อรักษาความ หลากหลายทางพันธุกรรม และเพือ่ ใช้เป็นแหล่งศึกษาวิจยั ทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐาน ทั้งในสภาพแวดล้ อ มที่ เ ป็ น ธรรมชาติ แ ละที่ ถู ก

เปลี่ยนแปลงไป พื้นที่สงวนชีวาลัยนี้มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก ในการศึกษาและฝึกอบรมด้วย ซึ่งพื้นที่เหล่านี้สภาประสานงานนานาชาติ ด้านมนุษ ย์และชีวาลัย (The Man and the Biosphere International Co-ordinating Council) จะเป็นผูป้ ระกาศ ประเทศไทยได้เข้าร่วมโปรแกรม มนุษ ย์และชีวมณฑล ในปี พ.ศ. 2519 ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้น ที่สงวน ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


94 ชีวมณฑลในเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑล รวม 4 แห่ง ได้แก่ พื้นที่สงวน ชีวมณฑลสะแกราช และสถานีวจิ ยั สิง่ แวดล้อม สะแกราช จังหวัดนครราชสีมา, พืน้ ทีส่ งวนชีวมณฑลแม่สา ห้วยคอกม้า จังหวัดเชียงใหม่, พืน้ ทีส่ งวนชีวมณฑล สวนสั ก ห้ ว ยทาก จั ง หวั ด ลำปาง และพื้ น ที่ ส งวนชี ว มณฑลป่ า ชายเลน จังหวัดระนอง โดยเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่อยู่ ในบริเวณทะเลและชายฝั่ง จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าชายเลนจังหวัดระนอง

โครงการบริหารจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านป่าไม้ และสัตว์ป่า แบบบูรณาการ เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการบรหาร จัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ และสัตว์ป่า แบบบูรณาการ เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนหลายประการดังเช่น ทำการสำรวจรวบรวมและศึกษาความหลากหลายของแมลง ชนิดต่างๆฃ ทำการศึกษาระบบนิเวศวิทยาในป่าชุมชนและพื้นที่อนุรักษ์ ทำการสำรวจ รวบรวม และศึ ก ษาความหลากหลายของ พรรณพืชที่พบในประเทศไทย ทำการสำรวจ รวบรวม ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ระบบสืบพันธุ์ และประเมินสถานภาพแหล่งพันธุกรรมของพันธุ์ ไม้ป่าและ พืชป่าในพื้นที่อนุรักษ์ โดย Molecular markers ทำการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการขยายพันธุ์ ไม้และ พืชป่ามีค่า หายาก ใกล้สูญพันธุ์ ทำการศึ ก ษาสถานภาพความยั่ ง ยื น และใกล้ สู ญ พั น ธุ์ ข อง ทรัพยากรป่าไม้ ทำการสำรวจรวบรวมพันธุกรรมไม้เพือ่ จัดทำแปลงรวบรวมพันธุ ์

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


95 ทำการศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สำรวจกำลังการผลิตและประเมินสถานภาพพื้นที่เสี่ยงต่อการ บุกรุกในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ สำรวจและรวบรวมข้อมูลความหลากหลายและนิเวศวิทยา ของสัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สำรวจสถานภาพและความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ในพื้นที ่

อุทยานแห่งชาติ ศึกษาผลกระทบของการบุกรุกทำลายป่าต่อความหลากหลาย ทางชีวภาพ ศึกษาและประเมินสถานภาพของพันธุ์ ไม้ป่าและพืชป่าที่ ใกล้

สูญพันธุ์ในพื้นที่อนุรักษ์ ศึกษาสถานภาพและความหลายหลายของพันธุ์ ไม้และพืชป่า ในพื้นที่อนุรักษ์

ดำเนินการในภาคอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ระหว่างประเทศ (RAMSAR Site)

อนุสัญญาว่าด้วยพื้น ที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือ แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Convention) ตัง้ ชือ่ ตามสถานทีท่ จี่ ดั ให้มกี ารประชุม เพื่อรับรองอนุสัญญาใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) คือ

เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญานี้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงาน สำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญเสียของพื้นที่ ชุม่ น้ำในโลกซึง่ จะต้องมีการจัดการเพือ่ ใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดอนุสญ ั ญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ตามเงื่อนไขว่าอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคี 7 ประเทศ ขณะนี้นับถึง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


96 วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 มีประเทศต่างๆ จากภูมิภาคทั่วโลกเข้าร่วม เป็นภาคี รวมทั้งสิ้น 158 ประเทศ และมีพื้นที่แรมซาร์ ไซต์ 1832 แห่ง คิด เป็นพื้นที่รวมประมาณ 170,048,460 เฮคแตร์ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำในลำดับที่ 110 เมื่ อ วั น ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยเสนอพื้ น ที่ ชุ่ ม น้ ำ พรุ ค วนขี้ เ สี ย น เป็นพืน้ ที่ชมุ่ น้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ซึ่งพันธกรณีที่สำคัญประการ หนึ่ ง คื อ การเสนอพื้ น ที่ ชุ่ ม น้ ำ ที่ มี คุ ณ สมบั ติ ท างนิ เ วศวิ ท ยาเหมาะสมและ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาฯ ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความ สำคัญระหว่างประเทศ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้น ที่ชุ่มน้ำที่ขึ้น ทะเบียน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแล้ว 11 แห่ง

ดำเนินการในภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยได้เห็นความสำคัญของปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change, UNFCCC) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 จนเป็นผลให้อนุสญ ั ญาฯ มีผลบังคับใช้เมือ่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่ง เป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาฯ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 เหตุผลที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เนื่องจาก เป็นปัญหาระหว่างประเทศที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


97 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วย ประสานงานกลางแห่งชาติ ได้จัดทํากรอบภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศในประเทศไทย ได้แก่ การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) การปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (Adaptation) ด้านการศึกษา การฝึกอบรม และเสริมสร้าง จิตสำนึกของประชาชน ด้านการเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานและภาค ส่วนที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมด้านการวิจัยและพัฒนา และการดำเนินงานกลไก การพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism, CDM) ภายใต้ พิธีสารเกียวโต เป็นต้น เพื่อเตรียมปรับตัวกับผลกระทบจากการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ การทีพ่ ธิ สี ารเกียวโตมีผลบังคับใช้ตงั้ แต่วนั ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ประเทศไทยในฐานประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 จึงสามารถร่วม ดําเนินงานกับประเทศภาคผนวกที่ 1 ในโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ภายใต้พิธีสารเกียวโต เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการลดก๊าซ เรือนกระจกในประเทศไทยให้แพร่หลาย ตลอดจนส่งเสริมความสามารถในการ แข่งขันของประเทศในการพัฒนาธุรกิจที่ตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและหาแนวทาง การแบ่งปันผลประโยชน์ (ABS)

ทรัพยากรชีวภาพเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต การศึกษา วิจัย และการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะใน ปัจจุบนั การขยายตัวของ อตุ สาหกรรมและเทคโนโลยีทมี่ พี นื้ ฐานมาจากทรัพยากร ชีวภาพเกิดขึน้ อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มกี ารแสวงหาทรัพยากรชีวภาพจากประเทศ ทีม่ คี วามหลากหลายทางชีวภาพสูงมากยิง่ ขึน้ ทัง้ นีม้ ตี วั อย่างหลายกรณีทกี่ าร แสวงหาทรัพยากรเหล่านี้สร้างประโยชน์ ให้แก่ผู้ดำเนินการอย่างมากมาย โดยมิได้มีผลตอบแทนแก่ประเทศหรือชุมชนท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของทรัพยากร

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


98 อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพได้เล็งเห็นถึงปัญหาดัง กล่าว จึงมีวัตถุประสงค์ ในเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ชี ว ภาพอย่ า งยั่ ง ยื น ควบคู่ ไ ปกั บ การแบ่ ง ปั น ผลประโยชน์ ที่ ไ ด้ จ ากการใช้

ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ประเทศไทยซึง่ เป็นภาคีอนุสญ ั ญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และอยู่ ในเขตร้อนแถเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็น พื้น ที่ที่มีความหลากหลายทาง ชีวภาพสูงแห่งหนึง่ ของโลก มีกจิ กรรมทีเ่ กีย่ วกับการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรชีวภาพ ทัง้ ทีเ่ กิดจากประชาชนภายในประเทศและชาวต่างประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรร่วมกันดูแลการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและหา แนวทางการแบ่งปันผลประโยชน์ทเี่ หมาะสมและเป็นธรรมต่อทัง้ ผู้ให้และผูร้ บั เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน

แนวทางบอนน์ว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม (Bonn Guidelines on Access to Genetic Resources and Fair and Equitable Sharing of the Benefits Arising out of their Utilization.)

การประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการเข้าถึงและการแบ่งปัน

ผลประโยชน์ ครั้งที่ 1 (WG-ABS 1) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ณ กรุง

บอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้จดั ทำร่างแนวทางบอนน์วา่ ด้วยการเข้าถึง และการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางให้ภาคีอนุสัญญาฯ รัฐบาลและ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้จัดทำกลยุทธ์การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จาก ทรัพยากรพันธุกรรมและจำแนกระบุขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการยื่นขอการ เข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม และการแบ่งปันผลประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็น

แนวทางช่วยเหลือภาคีอนุสัญญาฯ ในการจัดทำมาตรการทางกฎหมาย

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


99 มาตรการในการบริหารจัดการ และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง และการแบ่งปันผลประโยชน์ และ/หรือ เมือ่ ทำการเจรจาต่อรองในข้อตกลง สำหรับการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ และโปรแกรมสำหรับการ เสริมสร้างสมรรถนะ แนวทางดังกล่าวได้รับการรับรองในประชุมสมัชชา ภาคีอนุสัญญาอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 6 เมื่อ เดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

ยุทธศาสตร์การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพได้ กำหนดและแจ้งให้ประเทศภาคีอนุสญ ั ญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ รับทราบหัวข้อวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ในปี พ.ศ. 2553 คื อ “Biodiversity, Development and Poverty Alleviation” หรื อ

“ความหลากหลายทางชีวภาพ กับการพัฒนา และการบรรเทาความยากจน” ยุทธศาสตร์ ในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของไทย โดยใช้แนวทางยุทธศาสตร์ลดความยากจนด้วยความหลากหลายทาง ชีวภาพ เพิ่มความรู้และการศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพในอนุภมู ภิ าค และนำองค์ความรูเ้ รือ่ งความหลากหลายทางชีวภาพไปช่วยในการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การลดความยากจนด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ นโยบายขจัด

ความยากจนมีเป้าประสงค์คอื ลดความยากจนและเพิม่ พูนทรัพยากรสิง่ แวดล้อม

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


100 และฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่หลายๆ ระบบสู่พื้นที่ความยากจน ปัจจุบันต้อง เน้นเรือ่ งการเพิม่ ความหลากหลายทางชีวภาพในพืน้ ที่ และมีการใช้ประโยชน์ จากความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนัน้ ถ้าเราให้ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติได้สูงสุดก็จะเป็นการแก้ปัญหาความยากจนได้อย่าง หนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเรื่องสมุนไพรก็ได้ การเพิ่มความรู้และการศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ให้

ประชาชนมีความถนัดในเรื่องของคุณค่าของความหลากหลายหรือทรัพยากร ทางชีวภาพ ขีดความสามารถในการบริหารจัดการ ปัจจุบันประเทศไทยังมี หลักสูตรเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพไม่มากนัก ควรเน้นให้นักเรียน เรียนรูจ้ ากนอกห้องเรียนให้มากขึน้ นักวิทยาศาสตร์ทงั้ หลายน่าจะมีการพัฒนา เกี่ยวกับเรื่องวิถีชีวิตของคน นำสิ่งที่มีอยู่ ในธรรมชาติมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ สูงสุด ควรเน้นการพัฒนาให้ใกล้ชุมชนมากที่สุด ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ

ในอนุ ภู มิ ภาค ควรมีการร่วมมือพัฒนาต่อยอดบนความหลากหลายทาง ชีวภาพในอนุภูมิภาค โดยนำทั้งเทคโนโลยีและใช้ความรู้สึกจิตวิญญาณเข้า

มารวมกัน เพิ่มมูลค่าและมีลักษณะพิเศษของเศรษฐกิจซึ่งอยู่บนฐานของ ทรัพยากรทางชีวภาพ การนำองค์ความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพไปช่วยในการ

บริ หารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม มี ก ารใช้ ท รั พ ยากร ธรรมชาติเพือ่ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างยัง่ ยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ คือสินทรัพย์หรือทุนของชีวิตซึ่งเป็นหลักประกันของคนไทย การสร้างสมดุล ของความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับในเมือง เริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว โดยการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวมากขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพเป็น ประเด็นแนวราบซึ่งเกี่ยวข้องกับ หลายส่วนหลายหน่วยงาน ต้องอาศัยการประสานงานที่ดี ต้องมีการพัฒนา ธนาคารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งควรมี 2 ระดับ คือ ระดับชาติที่เชื่อม

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


101 ต่อระหว่างประเทศ และระดับท้องถิ่นซึ่งมีการประมวลสินทรัพย์ของชุมชน การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยเฉพาะการฟื้นฟูป่า การท่องเที่ยว เชิงนิเวศ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของ ชุมชนและของประเทศชาติต่อ

กลไกการจัดกาความหลากหลายทางชีวภาพ

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกลไกในการจัดการความหลากหลายทาง ชีวภาพ ดังนี้

ความหลากหลายทางชีวภาพในนโยบาย

นโยบายและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ที่เกี่ยวข้องกับความ หลากหลายทางชีวภาพมีดังนี้ นโยบายรัฐบาล พ.ศ. 2552 ประเด็นยุทธศาสตร์ตามนโยบายของรัฐบาล มีดังนี้ การสร้างสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์กับการอนุรักษ์ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูดินและใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม การจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การจัดการทรัพยากรภายใต้การมีส่วนร่วม การควบคุมมลพิษ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 นโยบาย มาตรการ และแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความ

หลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2551-2554 ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


102 ความหลากหลายทางชีวภาพในกฎหมาย ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยได้รับการคุ้มครองดูแล จากกฎหมายหลากหลายฉบับที่สำคัญมากได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 56 ระบุถึงสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและ ชุมชนในการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ ความหลากหลายทางชีวภาพ มาตรา 79 กำหนดให้รฐั ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน มีสว่ นร่วมในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ได้กำหนดให้มกี ารประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่อที่จะได้มีการคุ้มครอง ควบคุม ดูแลระบบนิเวศและถิ่นที่อยู่อาศัยตาม ธรรมชาติ (habitat) ของพืชและสัตว์ ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ห้ามเก็บหา นำไม้หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่นออกไป ห้ามนำสัตว์ออกไปหรือทำอันตราย แก่สัตว์ ห้ามเก็บหา นำออกกล้วยไม้ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายดอกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้ ห้ามดำเนินกิจกรรมเพื่อหาผลประโยชน์ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ห้ามมิให้บุคคลใดทำไม้ เก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เว้นไว้แต่ ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ นอกจากนั้น หากเห็นสมควร กำหนดป่าอื่นใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่าไม้ ของป่า หรือ ทรัพยากรธรรมชาติอื่น สามารถกระทำได้โดยออกกฎกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ พระราชบั ญ ญั ติ กั ก พื ช พ.ศ. 2507 และพระราชบั ญ ญั ติ กั ก พื ช

(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ตลอดจนประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


103 กำหนดพืช ศัตรูพืช หรือพาหะจากแห่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม กำหนดให้ พืชที่ ได้รับการตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งเป็นผลจากเทคโนโลยีชีวภาพเป็นสิ่งต้อง ห้าม ซึ่งการนำเข้า หรือนำผ่านต้องได้รับอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร และอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะเพื่อการทดลองหรือวิจัย พระราชบั ญ ญั ติ บ ำรุ ง พั น ธุ์ สั ต ว์ พ.ศ. 2509 กำหนดให้ มี ก าร ป้องกันและควบคุมสัตว์สงวนพันธุ์เพื่อใช้ทำพันธุ์ ห้ามตอน ห้ามฆ่า หรือส่ง สัตว์สงวนพันธุ์ออกนอกราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต พระราชบั ญ ญั ติ การส่ ง ออกไปนอกและนำเข้ าในราชอาณาจั ก ร

ซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ควบคุมการนำเข้าและส่งออก โดยพระราชกฤษฎีกา ควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2518 และประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการส่งสินค้าออกไปนอก ราชอาณาจักร 11 ฉบับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา ได้กำหนดรายชื่อ สัตว์ปา่ ซากสัตว์ปา่ ปลาทะเลสวยงาม 400 ชนิด สัตว์นำ้ อืน่ ๆ 258 รายการ เป็นสินค้าทีต่ อ้ งขออนุญาตนำออกนอกประเทศไทย โดยมีหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงื่อนไขการขออนุญาตตามกำหนดในกฎกระทรวง พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ปรับปรุงแก้ ไขมาจากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ได้มีการประกาศกำหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อที่จะ คุ้มครองถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ตลอดจนมีการประกาศกำหนดชนิด

สัตว์ป่าสงวน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายาก จำนวน 15 ชนิด (เดิม 9 ชนิด) รวมทั้งมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติให้ทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิด สัตว์ป่าและพืชป่าที่ ใกล้จะสูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora, CITES) และกำหนดการควบคุมการนำเข้า ส่งออก ส่งเสริมการขยาย พันธุ์สัตว์ป่าบางชนิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มประชากร อนุรักษ์ชนิด

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


104 พันธุ์ และลดความกดดันที่เกิดจากการล่า พระราชบั ญ ญั ติ ส่ ง เสริ ม และรั ก ษาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มแห่ ง ชาติ

พ.ศ. 2535 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้พื้น ที่ที่มีระบบนิเวศตาม ธรรมชาติอนั โดดเด่นพิเศษเฉพาะ หรืออันอาจถูกทำลายได้งา่ ย เป็นเขตพืน้ ที่ คุม้ ครองสิง่ แวดล้อม ซึง่ จะต้องมีการจัดการโดยเฉพาะ และมีการคุม้ ครองตาม ที่เหมาะสมแก่สภาพของพื้นที่ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ให้ความคุ้มครอง แก่พันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และ พันธุพ์ ชื ป่า โดยกำหนดให้มกี ารขออนุญาตและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์

ในกรณีที่เก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชนั้นหรือส่วนใดของพันธุ์พืชไปใช้ เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลอง และวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการค้า

โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษา นโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญและ ความจำเป็นเร่งด่วนในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา บุคลากรนักวิจัย

รุ่นใหม่ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้ร่วมกันก่อตั้ง “โครงการ พัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศ ไทย (Biodiversity Research and TrainingอProgram- BRT) หรือเรียก โดยย่อว่า โครงการบีอาร์ที” เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการงานวิจัยด้านความ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


105 หลากหลายทางชีวภาพ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยและวิทยานิพนธ์แก่นิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อศึกษาวิจัยทรัพยากร ชีวภาพในภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย รวมทั้งสนับสนุนการฝึกอบรมระยะ สั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพงานวิจัยด้านความหลาก หลายทางชีวภาพในประเทศ ไทยให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพือ่ เพิม่ ศักยภาพของงานวิจยั ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทีม่ คี ณ ุ ภาพเป็นทีย่ อมรับในระดับชาติและนานาชาติ รวมทัง้ เพือ่ ให้เกิดประโยชน์

ต่อชุมชนท้องถิ่น เพือ่ ค้นคว้าหาแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมของสิง่ มีชวี ติ ทีส่ ามารถ นำมาพัฒนาให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

ภาพวิชาการด้านชีววิทยาเชิงซิสเตเมติก : (1) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ ชนิดหรือสปีชีส์ที่ใกล้ชิดกันและมีปฏิสัมพันธ์กัน (2) การนำความรู้พื้นฐาน ไปใช้ประโยชน์ในการวิจัยประยุกต์ทางการเกษตร การแพทย์ และการอนุรักษ์

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


106 ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ที่ศึกษารวบรวมแล้ว (สผ.)

รวบรวมรายชื่อของแมลงที่พบในป่าไม้ของประเทศไทย กว่า

3,800 ชนิด ที่ได้จากการศึกษาวิจัยและจำแนกเป็นเวลากว่า 25 ปี รวบรวมรายชื่อและแหล่งที่พบ พืชชั้นต่ำไม่มีท่อลำเลียงที่พบ ในประเทศไทยทัง้ หมด 925 ชนิด 237 สกุล ประกอบด้วย hornworts 2 ชนิด liverworts 279 ชนิด และ mosses 644 ชนิด รวบรวมรายชื่อสาหร่ายที่พบในประเทศไทย ตั้งแต่สาหร่ายที่มี ขนาดเล็กเซลล์เดียวไปจนถึงสาหร่ายที่มีขนาดใหญ่ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ทัง้ สิน้ 333 ชนิด 132 สกุล เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 63 ชนิด 28 สกุล สาหร่ายสีเขียว 91 ชนิด 29 สกุล สาหร่ายสีน้ำตาล 48 ชนิด 20 สกุล และ สาหร่ายสีแดง 131 ชนิด 55 สกุล รวบรวมชนิดพันธุป์ ลาทีพ่ บทัง้ หมดในประเทศไทย ทัง้ ปลาทะเล และปลาน้ำจืด 1,741 ชนิด ใน 171 วงศ์ 35 อันดับ รวบรวมชนิดสัตว์ ในกลุ่มกุ้ง กั้ง และปู ที่พบในประเทศไทย ทั้งหมด 922 ชนิด โดยอยู่ ในอันดับ Decapoda 861 ชนิด และอันดับ

Stomatopoda 61 ชนิด รวบรวมชนิดพันธุส์ ตั ว์เลีย้ งลูกด้วยนมในประเทศไทย 294 ชนิด ทัง้ แสดงสถานภาพการถูกคุกคาม 114 ชนิด และชนิดพันธุเ์ ฉพาะถิน่ 6 ชนิด และประกอบด้วยภาพถ่ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่บนบก 93 ชนิด ใช้เวลากว่า 50 ปี ในการศึกษารวบรวมชนิดพันธุพ์ ชื วงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) ที่พบทั้งหมดในประเทศไทย 1133 ชนิด ใน 6 วงศ์ย่อย 177 สกุล ประกอบข้อมูลถิ่นที่อยู่อาศัย รวบรวมรายชื่อสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ในประเทศไทย ใช้ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูลกว่า 25 ปี ประกอบด้วย รายชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ และถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลาน 325

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


107 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 132 ชนิด รวบรวมรายชือ่ เฟิน (fern) และกลุม่ ใกล้เคียงเฟิน (fern Allies) ในประเทศไทย ที่ได้มกี ารศึกษาและรวบรวมแล้วทัง้ หมด 671 ชนิด ใน 139 สกุล 35 วงศ์ โดยเป็นเฟิน 625 ชนิด และกลุ่มใกล้เคียงเฟิน 46 ชนิด รวบรวมข้อมูลที่ ได้จากการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการสำรวจ ความหลากหลายชนิดของไลเคนในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วย ความรูเ้ บือ้ งต้น ลักษณะและองค์ประกอบไลเคน คูม่ อื จำแนกและบัญชีรายชือ่ ไลเคนในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จากตัวอย่างไลเคน 6,400 ตัวอย่าง จำแนกได้ 518 ชนิด 90 สกุล 32 วงศ์ โดยเป็นของประเทศไทย 236 ชนิด และชนิดใหม่ของโลก 117 ชนิด ทะเบียนแสดงสถานภาพการถูกคุกคามของนกในประเทศไทย ทำการประเมินโดยใช้หลักการจัดทำ Red List of Threatened Species (IUCN Ver. 3.1:2001) ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) โดยแสดง สถานภาพของนก 282 ชนิด จากนกที่พบในประเทศไทยทั้งหมด 982 ชนิด นกในระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้นของประเทศไทย จาก การสำรวจจากพื้นที่ตัวแทนระบบนิเวศพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้นคือ อุทยาน แห่งชาติผาแต้มและอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเทิบ) พบนกทั้งสิ้น 107

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


108 ชนิด 31 วงศ์ โดยมีนกที่จัดอยู่ ในสถานภาพตามทะเบียนรายการชนิดพันธุ ์

ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย (Thailand red data : ONEP 2005) จำนวน 7 ชนิด รวบรวมชนิดสัตว์ ในกลุ่มกุ้ง กั้ง และปู ที่พบในประเทศไทย ซึ่งได้แก้ ไขและเพิ่มเติมให้ทันสมัยทั้งหมด 1,144 ชนิด จำแนกเป็นอันดับ Decapoda 1,020 ชนิด อันดับ Stomatopoda 81 ชนิด อันดับ Anostraca 3 ชนิด อันดับ Myodocopa 35 ชนิด และอันดับ Isopoda 5 ชนิด โดย บางชนิดเป็นสัตว์ถิ่นเดียว (endemic species) ของประเทศไทยและเป็น

ชนิดใหม่ของโลก

เป้าประสงค์การพัฒนาแห่งสหัสวรรษ

เป้าประสงค์การพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development

Goal) ได้ รั บ การรั บ รองจาก 189 ประเทศ ในการประชุ ม สุ ด ยอดแห่ ง

สหัสวรรษในเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 ปฏิญญานี้ยืนยันการพัฒนาที่มีคน เป็นศูนย์กลางและมีการพัฒนาคนอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 9 เป้าประสงค์

หลั ก และมี กรอบระยะเวลาสัมฤทธิ์ผลภายในปี พ.ศ. 2558 โดยมี เ ป้ า ประสงค์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน เป้าประสงค์ที่ 7 รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ความสมบูรณ์อัน

ยิ่งใหญ่ซึ่งธรรมชาติให้ไว้แก่ชนรุ่นปัจจุบันและคงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลัง ตามข้ อ มติ VI/26 จากการประชุ ม สมั ช ชาภาคี อ นุ สั ญ ญาว่ า ด้ ว ย ความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่ 6 ในปี พ.ศ. 2545 รับรองแผนกลยุทธ์ สำหรับอนุสญ ั ญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ภาคีอนุสญ ั ญาฯ ตกลง ร่วมกันที่จะดำเนินการตามถ้อยแถลงว่าด้วยพันธกิจในการดำเนินการตาม วัตถุประสงค์ทั้งสามประการ ของอนุสัญญาฯ ในการลดอัตราการสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และ โลกภายในปี พ.ศ. 2553 เพื่อลดระดับความยากจนและเพื่อประโยชน์ต่อ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


109 สิ่งมีชีวิตบนผืนโลก ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการดำรง ชีวิตของมวลมนุษยชาติและการกินดีอยู่ดีของมนุษ ย์ มนุษ ย์ ได้ ใช้ประโยชน์ จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่ออุปโภค บริโ ภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนคนยากจนในชนบทส่วนใหญ่ที่ดำรงชีวิตโดยอาศัยความหลาก หลายทางชีวภาพจากป่าไม้ น้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการยังชีพ ดังนั้นการสูญเสีย

หรือการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีส่วนทำให้ความยากจน เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาประเทศ การขยายถิ่นฐานของมนุษย์ รวม ถึงการดำรงชีวติ ของมนุษย์ในปัจจุบนั ล้วนมาจากการเก็บเกีย่ วและใช้ประโยชน์ จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมากจนเกินขีดความสามารถของ ธรรมชาติที่จะเอื้ออำนวยให้ ได้ ดังนั้นการสนับสนุนความมั่นคงทางด้าน อาหาร การสร้างงานสร้างรายได้ให้ประชาชน และการให้ความรู้ ความเข้าใจ ในคุณค่า ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนที่ยากจนดีขึ้น

และช่วยลดการคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพลงได้ จึงเห็นได้ว่า การ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนนั้น เป็นการ ช่วยขจัดและบรรเทาปัญหาความยากจนของประชาชนทั้งในเขตเมืองและใน ชนบท อันเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน สำนั ก งานนโยบายและแผนทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม (สผ.) กำหนดจัดการประชุม วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง “ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาและการบรรเทาความ ยากจน (Biodiversity, Development and Poverty Alleviation) ระหว่าง วันที่ 20-21 พฤษภาคม 2553 ณ ห้องแคทรียา โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ “ประเทศไทยร่วมฉลองปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ 2010” โดย สผ. ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง กำหนดจัด

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


110 กิจกรรม ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี ในระหว่างวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2553

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ร่วมรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก ปี พ.ศ. 2553 ภายใต้คำขวัญที่ว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก : Many Species, One

Planet, One Future” เพือ่ ร่วมฉลองในโอกาสทีป่ ี ค.ศ. 2010 หรือ พ.ศ. 2553 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ โดยขอเชิญร่วมงานวันสิง่ แวดล้อม โลก ประจำปี 2553 และร่วมงานประชุมวิชาการทรัพยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในวันที่ 3-5 มิถนุ ายน 2553 ณ คอนเวนชัน่ เซ็นเตอร์ เมืองทองธานี รวมทัง้ จัดพิมพ์หนังสือ “ความหลากหลายทางชีวภาพ กูว้ กิ ฤต ชีวิตโลก (สำหรับประชาชน) เพื่อเผยแพร่และสร้างความเข้าใจในการร่วมมือ ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


111

7. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ

กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากรชีวภาพ ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพกำลังเป็นเสียงเรียกร้องจาก นักวิชาการ นักอนุรักษ์ และนักพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับ ประเทศ และระดับโลก ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการโยงใย ความสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์ ให้เข้ากับปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการ พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะความยากจนของชาวชนบท การหลั่งไหลของแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ ความขัดแย้งแข่งขันกันในเรื่องการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการตัดไม้ทำลายป่า เพราะกิจกรรมต่างๆ เหล่านี ้ ก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและทำลายล้างชุมชน สิง่ มีชวี ติ ในป่าเขา ป่าทีร่ าบลุม่ ป่าชายเลน แหล่งน้ำ และแนวปะการังชายฝัง่ ของประเทศ การอยู่ดีกินดีของชุมชนท้องถิ่นในอดีต ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความ มัง่ คัง่ และมัน่ คงของระบบนิเวศสมบูรณ์ทบี่ รรพชนไทยได้นำทรัพยากรชีวภาพ โดยรอบชุมชนมาใช้อย่างทะนุถนอมยัง่ ยืนยาวนานนับร้อยปีนบั พันปี จนกลาย เป็น “เทคโนโลยีพื้น บ้าน” ที่สืบสานถ่ายทอดกันเรื่อยมาตามสภาพของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพาะปลูกพืช การประมง การเลี้ยง สั ต ว์ การหาอาหารและยาสมุนไพรจากป่ า ซึ่ ง ล้ ว นแต่ มี คุ ณ ค่ า ต่ อ สั ง คม พื้นบ้านติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย การคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพจึงควรเป็นงานและความ รับผิดชอบของทุกคนในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนท้องถิ่น องค์กรพัฒนา เอกชน (NGOs) หน่วยงานระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ แนวทางการแก้ไขปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่ดี หนทางหนึ่งคือการทำงานร่วมกับประชาชนในท้องถิ่นตามชนบทที่อยู่ใกล้ชิด

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


112 กับแหล่งทรัพยากรชีวภาพ ให้ชาวบ้านเข้ามามีสว่ นร่วมในกระบวนการอนุรกั ษ์ โดยอาศัยหลักการและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผสมผสาน กับภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาชนบทตาม วิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ตลอดจน เสริมสร้างการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างได้ผลคุ้มค่า มีหลายแนวทางที่สามารถเพิ่มบทบาทให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น

การมีส่วนร่วมในการประมวลสินทรัพย์ของชุมชน สำรวจข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น

โครงการสำรวจรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ระดับท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ 1. สำรวจรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพระดับท้องถิ่น 2. จัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพระดับท้องถิ่น 3. สร้างกระบวนการการมีสว่ นร่วมระหว่างท้องถิน่ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ 4. พัฒนากลไกในการคุ้มครองและควบคุม การใช้และการแบ่งปัน

ผลประโยชน์จากทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


113 การคัดเลือกชุมชน ชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้หรือโดยรอบกลุ่มป่าที่สำคัญของประเทศ 19 กลุ่มป่า เป็นชุมชนทีม่ คี วามพร้อมและมีศกั ยภาพในการอนุรกั ษ์ทรัพยากร ชีวภาพของตนเอง

การมีส่วนร่วมในการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

เปิ ด เวที เ พื่ อ ระดมความเห็ น ในการคุ้ ม ครองและส่ ง เสริ ม การใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลาก หลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการคุ้มครอง และส่งเสริมการใช้ภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุรกั ษ์และใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมถึงนักวิจัยที่มีงานวิจัยเกี่ยวข้อง กับภูมิปัญญาท้องถิ่นจากหน่วยงาน สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนตัวแทนครูภูมิปัญญาและนักวิจัยพื้นบ้าน ได้รับทราบสถานภาพและการดำเนินการในเวทีโลก และร่วมหารือและ ระดมความเห็น เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ข้อถือปฏิบัติทางจริยธรรม เพื่อดูแล ให้ เ กิ ด ความเคารพต่ อ มรดกทางวั ฒ นธรรมและภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น การ คุ้มครองและส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์

และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อร่วมดำรง รักษาความหลากหลายทางสังคม-วัฒนธรรมของชุมชนพื้นเมืองและท้องถิ่น

สร้างความรู้ การประดิษฐ์คิดค้น และการถือปฏิบัติที่สืบทอดตามธรรมเนียม ประเพณี และเพื่อทราบถึงสิทธิของชุมชนพื้นเมืองและท้องถิ่น เหนือความรู ้

การประดิษฐ์คิดค้นและวิถีปฏิบัติที่สืบทอดตามธรรมเนียมประเพณีของตน รวมถึงสิทธิที่จะแบ่งปันผลประโยชน์ ได้รับการคุ้มครอง

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


114

การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยเฉพาะการฟื้นฟูป่า/ป่าชุมชน

จัดระบบนิเวศให้ใกล้เคียงตามธรรมชาติ โดยฟื้นฟูหรือพัฒนา พื้นที่เสื่อมโทรมให้คงความหลากหลายทางชีวภาพไว้มากที่สุด การพัฒนาที่เหมาะสม ต่อพื้นที่และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น

เช่น ป่าชุมชน

ป่าชุมชน เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการ แก้ปัญหาความยากจนของผู้คนในชนบท เพื่อสนองพระราชดำริของในหลวงตาม ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนา เศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทาง ชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


115 การมีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว\

การปลูกต้นไม้ ตามหัวไร่ปลายนา การเลือกปลูกป่าทดแทนด้วย ชนิดพันธุ์ดั้งเดิม การปลูกป่าทดแทนหรือปลูกซ่อมแซมป่าทีเ่ สือ่ มโทรม แม้จะไม่ เทียบเท่ากับการลดการทำลายพื้นที่ป่าไม้ แต่ก็เป็นความพยายามที่จะฟื้นฟู

ระบบนิเวศและเพิ่มฐานทรัพยากรชีวภาพได้ทางหนึ่ง

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตร

ส่งเสริมการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม และใช้ต้นไม้ล้อมรั้วบ้านหรือ แปลงเกษตร เพือ่ ให้มพี ชื และสัตว์หลากหลายชนิดมาอาศัยอยูร่ ว่ มกัน ซึง่ เป็น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้ ทฤษฎี ใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เป็นรูปแบบใหม่ของเกษตรกรรมแบบธรรมชาติ ในแง่ของชีววิทยา ทฤษฎีนี้ นำเสนอกลไกของระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยระบบนิเวศนี้มีครอบครัว

อย่างน้อยหนึง่ ครอบครัวเป็นองค์ประกอบหลัก โดยเป็นทัง้ ผูส้ ร้างและผูค้ วบคุม ระบบให้สมดุลให้มากที่สุด มีการจัดทำและจัดการเกษตรกรรมแบบผสม

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


116 ผสานรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทุกส่วนภายในระบบให้ครบวงจรมากที่สุด ทรัพยากรชีวภาพที่เกื้อหนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน ความมั่นคง ทางอาหารของท้องถิ่น และการดูแลสุขอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ คนจน สมควรได้รับการดำรงรักษา

การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทรัพยากรชีวภาพที่อาศัยอยู่บนโลกล้วนแล้วมีคุณค่ามหาศาลต่อการ ดำรงชีวิตของมนุษย์และระบบนิเวศต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยเป็นประเทศที่มี ทรัพยากรชีวภาพสูง แต่ ในปัจจุบันพบว่าอัตราการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพ มีมากขึ้น จากสาเหตุหลายประการ ซึ่งหนึ่งในหลายเหล่านั้น มาจากการ ท่องเที่ยวที่เข้าไปบุกรุกในถิ่นอาศัยของทรัพยากรชีวภาพเหล่านั้น ทั้งโดย เจตนาหรือไม่เจตนา ประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพได้ตระหนักถึงปัญหา เหล่านี้ จึงเกิดความร่วมมือของหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และองค์ ก รต่ า งๆ ดำเนิ น งานจั ด

กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อเสริม สร้างให้ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


117 อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพให้คงอยู่ต่อไป เพื่อนำไปสู่การเพิ่มรายได้และ บรรเทาปัญหาความยากจนได้

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

การสร้างชุมชนเข้มแข็งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนบน ฐานเศรษฐกิจพอเพียงและสิทธิบุคคล โดยเน้นให้เห็นชุมชนเป็นส่วนหนึ่ง

ของสังคมและมีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรไว้ให้คนรุ่นต่อๆ ไป เพื่อนำ ไปสู่ความงอกงามความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทาง วัฒนธรรมอย่างแท้จริง การสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชน-โรงเรียนวัด-องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น-องค์กรพัฒนาเอกชน ที่เชื่อมโยงกับฝ่ายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเพื่ อ

พัฒนาองค์ความรู้แบบบูรณาการ เป็นเรื่องเหมาะสม และจำเป็นอย่างยิ่งตามวิถีดั้งเดิมและวิชาการสมัยใหม่

ในยุคโลกาภิวัตน์ ตัวอย่างเครือข่ายความร่วมมือใน การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น โครงการแผนฟืน้ ฟูสถานภาพนกแต้วแล้ว ท้องดำ/ป่าที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ จ. กระบี่ โครงการอนุรักษ์อ่าวไทยตอนใน โครงการเยาวชนรักษ์ทะเลไทย เป็นต้น

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


118

8. ความหลากหลายทางชีวภาพ กูว้ กิ ฤตชีวติ โลก

นับแต่เริ่มต้นพัฒนาระบบเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมโดยการนำ เทคโนโลยีมาใช้ขยายฐานทางเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ทำให้ประชากรมนุษย์ เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลา 200-300 ปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิด การปรับเปลีย่ นและการทำลายระบบนิเวศโดยตรง เช่น การบุกล้างถางพงและเผาป่าเพือ่ การเพาะปลูกและเลีย้ งสัตว์ การสร้ า งเขื่ อ นขนาดใหญ่ เ พื่ อ ผลิ ต พลั ง งานไฟฟ้ า และการ ชลประทาน การใช้สารเคมีทำลายพรรณไม้ยืนต้นในป่าเขตร้อนในระหว่าง การทำสงครามเพือ่ แย่งชิงพืน้ ที ่ การสร้างถนนใหญ่ตดั ผ่านเข้าไปในป่าสมบูรณ์ การอุตสาหกรรมป่าไม้เพื่อใช้ ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือ การเผาถ่าน ระบบนิเวศของทุ่งนาธรรมชาติถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะ เลีย้ งสัตว์ ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลายกลายสภาพเป็นนากุง้ เพือ่ การส่งออก ป่าพรุถกู ขุดหรือถมให้เป็นทีพ่ กั ผ่อนของนักท่องเทีย่ ว เป็นต้น กิจกรรมและการพัฒนาเหล่านี้นอกจากทำลายถิ่นอาศัยจนสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ยังส่งผลเสียตามมาคือ ทำให้สภาพป่าที ่ เหลืออยู่เป็นหย่อมเล็ก ขาดการเชื่อมโยงกัน จนส่งผลให้สังคมสิ่งมีชีวิตขาด ดุลยภาพ กระจายเป็นประชากรย่อย (fragmentation) ที่ถูกคุกคามได้ง่าย และเสีย่ งต่อการสูญพันธุ ์ ในอดีตมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลกอย่างรุนแรงเกิดจาก อุบตั ภิ ยั ธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวทีเ่ กิดจากภูเขาไฟระเบิด การเคลือ่ นตัวของ

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


119 แผ่นเปลือกโลก และการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในโลกและนอกโลก จน ทำให้เกิดการสูญพันธุค์ รัง้ ใหญ่ของสิง่ มีชวี ติ (mass extinction) รวม 5 ครัง้ ครั้งล่าสุดเกิดเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน สันนิษฐานว่าเกิดจากอุกกาบาต ขนาดใหญ่พงุ่ ชนโลกทำให้สงิ่ มีชวี ติ สูญพันธุก์ ว่า 76% โลกใบนี้กำลังตกอยู่ในอันตราย สรรพชีวิตบนโลกกำลังถูกคุกคาม นักวิชาการคาดการณ์วา่ ถ้าหากจะมีการสูญพันธุค์ รัง้ ใหญ่เป็นครัง้ ที่ 6 คง เกิดจากน้ำมือมนุษย์ซงึ่ เป็นต้นเหตุสำคัญในการเปลีย่ นแปลงสิง่ แวดล้อม โลกทีร่ นุ แรง จากกิจกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมยุคใหม่

ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ยังผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและสารมลพิษต่างๆ ทำให้สงิ่ มีชวี ติ สูญพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว กระแสโลกาภิวัตน์ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีจากซีกโลก ตะวันตกเป็นการพัฒนาที่ ไม่ยั่งยืน เป็นคลื่นวัฒนธรรมที่โถมทับเข้ามาหา ประเทศที่ ก ำลั ง พั ฒ นา เสมื อ นการรุ ก รานทางวั ฒ นธรรม ยั ง ผลให้ เ กิ ด

ความยากจนและสูญเสียฐานทรัพยากร วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เหตุการณ์อันไม่น่าพึงประสงค์นี้ ไม่ต่างกับการรุกรานของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ ์ ต่างถิ่น เช่น หอยเชอรี่หรือผักตบชวาที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตชนิดประจำ ถิ่นจนอาจถึงขั้นสูญพันธุ์ได้ เป็นการทำลายความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยที่ไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้อกี เหมือนอย่างทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศโลกทีส่ าม เช่น ไนจีเรีย เอธิโอเปีย กลุ่มประเทศในอเมริกาใต้ และในเอเชีย รวมทั้ง ประเทศไทยที่นำเอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจแบบตะวันตกมาใช้ เพื่อขยายฐาน ด้านอุตสาหกรรมอย่างไม่ระมัดระวัง รวมทั้งการบุกเบิกและทำลายความ หลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าที่มีคุณค่าทางวัตถุและจิตวิญญาณ เพื่อ ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตเบ่งบานอย่างรวดเร็วแบบฟองสบู่ บนฐานที่ ไม่ มัน่ คงและไม่ยงั่ ยืน นำไปสูก่ ารเสือ่ มสลายทางวัฒนธรรมและสังคมตามมา

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


120 การพัฒนากับการอนุรกั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ของโลกและประเทศไทย

สถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกที่เสื่อมโทรมลงจนถึงขั้นวิกฤต ปรากฏ อยู่ ในบทวิเคราะห์และสังเคราะห์ของโครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การ สหประชาชาติ (UNEP Report: GEO 2000)

จะเห็นได้ว่าระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเป็นพื้นฐาน ที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นหากระบบนิเวศโดนรบกวน ความ หลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย ย่อมส่งผลต่อมนุษย์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ และในสภาวะปัจจุบนั ในการใช้ประโยชน์จากความหลาก

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


121 หลายทางชีวภาพเพิม่ มากขึน้ จนทำให้เกิดความสูญเสียความหลากหลายทาง ชีวภาพเพิ่มมากขึ้น ประชาคมโลกเริ่มหันมาตระหนักถึงความสำคัญและการ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และดำเนินการที่จะอนุรักษ์จัดการ ฟื้นฟู

ระบบนิเวศ และดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพกลับมามีสภาพอุดม สมบูรณ์และได้สมดุลใหม่ ในการฟื้นฟูระบบนิเวศให้ ได้สมดุลใหม่นั้น ต้องมองไปที่ต้นเหตุของ การสูญเสียก่อนว่า สาเหตุหลักแห่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ คือการเสียพืน้ ทีป่ า่ สิง่ มีชวี ติ ถูกทำลายสูญหายไปจากโลก โดยเฉพาะอย่างยิง่

ป่าเขตร้อน จึงถึงเวลาแล้วที่ต้องยอมรับและเข้าใจ รวมทั้งการใช้อย่างชาญ ฉลาด เพื่อความมั่นคงทางชีวภาพของมวลสรรพชีวิตบนโลของเราในอนาคต ร่วมกันตลอดไป ทุกคนต้องตระหนักว่า ความหลากหลายทางชีวภาพเกือ้ หนุน ชีวติ ของเราทุกคน

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


122

“Many Species One Planet One Future:

หลากหลายชนิดพันธุ์ ร่วมโลกเดียวกัน สร้างสรรค์อนาคต”

ป่า คือ แหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ

สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก จุลินทรีย์ พืชป่า สัตว์ป่า อยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์

กันอย่างลึกซึ้ง เช่น ตามโคนต้นไม้ ในป่าทึบ จะพบมอสและเฟิร์นเกาะ ตามพืน้ ทีอ่ บั ชืน้ บนลำต้นและกิง่ ก้านต้นไม้จะมีกล้วยไม้และพวกไม้เลือ้ ย เกาะอาศัย สัตว์พวกแมลง นก ค้างคาว นอกจากอาศัยป่าเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย และเป็นแหล่งอาหารแล้ว ยังช่วยผสมเกสรให้กบั พันธุ์ไม้ในป่าด้วย ดังนัน้

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว จะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซต่อสิง่ มีชวี ติ ชนิดอืน่ ๆ ด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


123

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


124

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก Many Species, One Planet, one Future. ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


125 เอกสารอ้างอิงและอ่านประกอบ

กรมส่งเสริมคุณ ภาพสิ่งแวดล้อม. 2545. สะพานสีเขียวสู่การปฏิบัติการ

สิ่งแวดล้อมศึกษา. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. 2548. ในโลกกว้าง สำรวจและเรียนรู ้ ความหลากหลายทางชีวภาพ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิง่ แวดล้อม. กรุงเทพฯ. 140 หน้า กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2544. หนังสืออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ

อนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง ทุ่งสามร้อย

ยอด. กรุงเทพฯ. พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต). 2540. การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable

Development). สำนักพิมพ์มลู นิธโิ กมลคีมทอง. กรุงเทพฯ. วินัย วีระวัฒนานนท์. 2540. วิกฤติสิ่งแวดล้อม ทางตันแห่งการพัฒนา.

ส่องศยาม. กรุงเทพฯ. วิสทุ ธิ์ ใบไม้. 2536. ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจยั . กรุงเทพฯ. วิสทุ ธิ์ ใบไม้. 2538. สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย,

หน้า 17-20. วิสุทธิ์ ใบไม้. 2545. วิวัฒนาการ มนุษ ย์ และความหลากหลายทางชีวภาพ.

รวมบทความวิชาการ. บริษัทจิรวัฒน์ เอกซ์เพรส จำกัด. กรุงเทพฯ. วิสุทธิ์ ใบไม้. 2548. ความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม และสังคม.

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ. 224 หน้า

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


126 สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ผักพื้น

บ้าน. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. กรุงเทพฯ. สมศักดิ์ สุขวงศ์. 2536. ป่าเขตร้อน : คุณค่าความหลากหลายของสรรพชีวติ .

นิตยสารสารคดี (พฤษภาคม). 76-100. สนิท อักษรแก้ว. 2545. ป่าชายเลน : อาณาจักรสรรพสิง่ มีชวี ติ ชายฝัง่ ทะเล

ทีค่ วรอนุรกั ษ์. ชีวปริทรรศน์ (มีนาคม - เมษายน) 4(2): 6-11 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2545. รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง

ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ ราน.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. กรุงเทพฯ. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. 2546. ความ

หลากหลายทางชีวภาพ Biological Diversity “โลกทำอะไรบ้าง แล้ว

เราจะทำอะไร”. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ. 60 หน้า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. รายงานโลกทรรศน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ฉบับที่ 2. กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. กรุงเทพฯ. 90 หน้า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. ความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. กรุงเทพฯ. 44 หน้า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง

“ความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม. กรุงเทพฯ. 196 หน้า

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


127 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2552. รายงานการประชุมหารือ เรื่อง การดำเนินการตามโปรแกรมว่าด้วย

พื้น ที่คุ้มครองของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. กรุงเทพฯ. 125 หน้า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2552. รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่อง

ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร (Biodiversity and

Agriculture). กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. กรุงเทพฯ. 156 หน้า Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. 2009. Thailand: National Report on the Implementation of

the Convention on Biodiversity. Ministry of Natural Resources and Environment. Bangkok. Thailand. 76 p. Secretariat of the Convention on Biological Diversity. 2006. Global

Biodiversity Outlook 2. Montreat. 81 + vii p. Solomon, E.P., Berg, L.R. and Martin, D.W. 2002. Biology 6th ed.

Thomson Books/Cole, USA UNEP. 1995. Global Biodiversity Assessment. Cambridge University Press, Cambridge. UNEP. 1999. Cultural and Spiritual of Biodiversity : A Complementary

Contribution. London, United Kingdom. 1987. World Commission on Environment and Development. Our Common

Future. Oxford University Press, Oxford and New York.

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


128 Websites: • http://www.biodiv.org/ • http://www.wri.org/wr2000 • http://www.environnet.in.th/evdb/info/bio/bio 2. html • http://www.seub.or.th/datacenter/forest/forest-id001.asp • http://www.tgo.or.th/index.php?option=com_content&task= view&id=49&Itemid=37 • http://www.lesa.in.th/bio/evolution/evolution.htm • http://www.cpd.go.th/M&e/%E0%B8%BABiodiversity.htm • www.unep.org • www.ramsar.org • www.cites.org • www.wcmc.org.uk/cms • www.unesco.org/whc/ • www.bdmthai.com • www.onep.go.th • www.deqp.go.th • www.chm-thai.onep.go.th • www.dnp.go.th • www.doa.go.th • www.dmcr.go.th • www.forest.go.th • www.bcst.co.th

ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.