ข้ อมูลเบือ้ งต้ นเกีย่ วกับคดีปราสาทพระวิหาร วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ *
ภาพวาดปราสาทพระวิหารจากจินตนาการ ในหนังสื อกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยชิน อยูด่ ี เผยแพร่ ใน สุจิตต์ วงษ์เทศ, ปราสาทพระวิหาร ทําไม ? มาจากไหน (๒๕๕๑)
สารบัญ ๑. ลําดับเหตุการณ์: จาก บรรพต “ดงเร็ ก” สู่ บัลลังก์ “กรุ งเฮก” ........................................................................... ๒ ๒. หนึ่งหน้ากระดาษ: ใจความคําพิพากษาศาลโลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ......................................................................... ๙ ๓. ห้าสิ บปี ยังไม่จบ: พบกันอีกครั้งที่ศาลโลก (๒๕๕๔-?) (๑) สามประเด็นที่กมั พูชาขอให้ศาลตีความคําพิพากษา ................................................................................... ๑๒ (๒) คําสั่งศาลโลก ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ (กรณี มาตรการชัว่ คราว) ............................................................... ๑๓ ๔. เล่าให้ครบ: ย่อคําพิพากษาศาลโลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ............................................................................................. ๑๕ ๕. ขบกันต่อ: ประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร (๑) “บริ เวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯ” ส่ วนใดเป็ นของไทย ส่ วนใดเป็ นของกัมพูชา ? ...................................... ๒๑ (๒) ศาลโลกได้ตดั สิ นเรื่ องเส้นพรมแดนและแผนที่ฯ หรื อไม่ ? ..................................................................... ๒๒ (๓) สถานะที่แท้จริ งของ แผนที่ฯ คืออะไร ? ................................................................................................... ๒๓ (๔) สยามถูกปิ ดปากจริ งหรื อ ? ........................................................................................................................ ๒๔ (๕) กฎหมายระหว่างประเทศ ชนะทั้งคู่ได้หรื อไม่ ? ....................................................................................... ๒๔ ๖. บันทึก “อนาคตกรณี ปราสาทพระวิหาร” ........................................................................................................ ๒๕ * อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ. นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์ วาร์ ด. นิ ติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อีเมล verapat@post.harvard.edu. ความเห็นและข้อมูลที่นาํ มาอ้างอิงในเอกสารนี้เป็ นผลงานวิชาการส่ วนตัว หากผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู ้ เดียว. เอกสารฉบับนี้เผยแพร่ เมื่อวันที่ ๕ สิ งหาคม ๒๕๕๔ โปรดดูฉบับล่าสุ ดที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple.
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๒ จาก ๒๕
๑. ลําดับเหตุการณ์ : จาก บรรพต “ดงเร็ก” สู่ บัลลังก์ “กรุงเฮก” พ.ศ. ช่วง ๑๔๐๐-๑๖๐๐
เหตุการณ์ * “ปราสาทพระวิหาร” หรื อ “ปราสาทเขาพระวิหาร” (หรื อ “ปราสาทเปรี ยะฮ์วเิ ฮียร์ ” ตามเสี ยงเขมร หรื อ “ศรี ศิขรี ศวร” หรื อ “ศรี ศิขเรศวร” ตามศิลาจารึ ก) ถูกสร้างขึ้นในยุคจักรวรรดิขแมร์ (อาณาจักร เขมร หรื อ อาณาจักรขอม) ให้เป็ นศาสนสถานตามคติความเชื่อฮินดู แสดงถึงความเจริ ญและวิถีชีวติ ของผูค้ นในอดีตซึ่ งอาศัยปราสาทเป็ นเครื่ องยึดเหนี่ยวจิตใจและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน หลากเชื้อชาติในดินแดนแถบนี้มาแต่บรรพกาล (ปั จจุบนั ปราสาทพระวิหารเป็ นโบราณสถานตามแบบ ศิลปะขอม ตั้งอยูบ่ นภูเขาในเทือกเขาพนมดงรัก หรื อ “พนมดงเร็ ก” บริ เวณชายแดน ไทย-กัมพูชา ตรง ข้ามบ้านภูมิซรอล ตําบลบึงมะลู อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรี สะเกษ ตัวปราสาทไล่เรี ยงเป็ นชั้นๆ เป็ น ทางยาวตามแกน ทิศเหนือ-ใต้เริ่ มจากเชิงเขาด้านล่างทางทิศเหนือไปจนสุ ดยอดเขาพระวิหาร)
ภาพจาก เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ
ภาพจาก สุจิตต์ วงษ์เทศ, ปราสาทพระวิหาร ทําไม ? มาจากไหน (๒๕๕๑)
ข้อมูล พ.ศ. ๒๔๐๔ - มิถุนายน ๒๕๕๑ อ้างจากภาคผนวก โดย ปิ ยชาติ สึ งตี ใน ศรี ศกั ร วัลลิโภดม, อภิญญ์เพ็ญ และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, เขาพระ วิหาร: ระเบิดเวลาจากยุคอาณานิคม (๒๕๕๑) หน้า ๑๑๔-๑๗. บางส่ วนอ้างจากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ แต่ยงั ขาดข้อมูลจากฝ่ ายกัมพูชา.
*
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๓ จาก ๒๕
ดัดแปลงจากภาพใน สุจิตต์ วงษ์เทศ, ปราสาทพระวิหาร ทําไม ? มาจากไหน (๒๕๕๑)
พ.ศ. ๒๔๐๔
เหตุการณ์ (ต่ อ) ฝรั่งเศสได้ไซง่อนและเวียดนามใต้เป็ นอาณานิคม และเริ่ มมีความสนใจลาวและกัมพูชา
๒๔๑๐
สยามกับฝรั่งเศสทําสนธิ สัญญายอมรับกัมพูชาเป็ นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส ยกเว้น เสี ยมราฐ พระตะบอง ศรี โสภณ
๒๔๓๖
ฝรั่งเศสเข้ายึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ าํ โขงพร้อมทั้งให้สยามทําสนธิ สัญญายกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ าํ โขงให้ ฝรั่งเศส
๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔)
สยามทําสนธิสัญญากับฝรั่งเศส (“อนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๐๔”) ยกเมืองหลวงพระบางกับดินแดนทางใต้ ภูเขาดงเร็ กให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับจันทบุรี (ที่ถูกฝรั่งเศสยึดไปก่อนหน้า)
๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗)
สยามทําสนธิสัญญากับฝรั่งเศส (“สนธิสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๐๗”) โดยสยามยกดินแดนเสี ยมราฐ พระ ตระบอง ศรี โสภณให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย เมืองตราด และเกาะแก่งทั้งหลายซึ่ งอยู่ ภายใต้แหลมลิงลงไปจนถึงเกาะกูดให้กบั สยาม จากนั้นฝรั่งเศสได้ทาํ แผนที่บริ เวณดินแดนสยามฝรั่งเศส (กัมพูชา) ทั้งสิ้ น ๑๑ ฉบับ หนึ่งในนั้นก็คือ “แผนที่ภาคผนวก ๑”
๒๔๗๒
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ เสด็จเยือนปราสาทเขาพระวิหาร โดยมี เรสิ เด้น กําปงธม (ผูว้ า่ ราชการจังหวัดกําปงธม) ชาวฝรั่งเศสแต่งกายเครื่ องแบบเต็มยศ พร้อมชักธงชาติ ฝรั่งเศสมารอรับเสด็จ (ภายหลังกัมพูชาได้นาํ กลับไปเป็ นข้ออ้างในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๔ จาก ๒๕
หน้ าตา “แผนที่ภาคผนวก ๑” (หรือทีม่ ีผ้ เู รียกว่ า “แผนที่มาตราส่ วน ๑:๒๐๐,๐๐๐”)
(ดัดแปลงภาพจาก ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๔๘๓
หน้าที่ ๕ จาก ๒๕
เหตุการณ์ (ต่ อ) รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พบว่าพรมแดนเขตนี้ ใช้ลาํ ห้วยเป็ นเส้นเขตแดนแทนที่เป็ นสันปั นนํ้า จึงได้มีความพยายามขอแก้ไขการปั กปั นเขตแดนในส่ วนนี้ กบั ฝรั่งเศส
หน้ าตาของส่ วนขยาย “แผนทีภ่ าคผนวก ๑” (หรือทีม่ ีผ้ เู รียกว่ า “แผนที่มาตราส่ วน ๑:๒๐๐,๐๐๐”) กัมพูชาอ้ างถึงเส้ นเขตแดน (++++++) และข้ อความกํากับสั ญลักษณ์ ตวั ปราสาท “Preas Vihear”
(ดัดแปลงภาพจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
พ.ศ. ๒๔๘๔
เหตุการณ์ (ต่ อ) ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพญี่ปุ่นในฐานะของมหามิตร เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศสอินโดจีน กรณี รัฐบาลไทยโดยการนําของจอมพล ป.พิบูลสงคราม กรี ฑาทัพเข้ายึด ดินแดนที่เคยเสี ยไปสมัยรัชกาลที่ ๕ กลับคืนมา ทําให้ไทยได้ดินแดนที่เคยเสี ยไป (รวมทั้งปราสาทเขา พระวิหาร) กลับคืนตามสนธิ สัญญาโตกิโอ แต่ภายหลังจบสงครามครั้งที่ ๒ รัฐบาลไทยเพื่อหลีก สถานะผูแ้ พ้สงครามจึงต้องคืนดินแดนดังกล่าวกลับให้ฝรั่งเศส
๒๔๙๒
กัมพูชากับฝรั่งเศสคัดค้านการใช้อาํ นาจอธิ ปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารของประเทศไทย
๒๕๐๑
เริ่ มมีความเคลื่อนไหวของกัมพูชาเกี่ยวกับปั ญหาปราสาทเขาพระวิหาร หนังสื อพิมพ์ของไทยและกัมพูชา
ตลอดจนการโต้ตอบทาง
- สิ งหาคม รัฐบาลไทยประกาศสภาวะฉุ กเฉิ นทางชายแดนไทยด้านกัมพูชารวม ๖ จังหวัด คือ จันทบุรี ปราจีนบุรี สุ รินทร์ บุรีรัมย์ ศรี สะเกษ และอําเภอเดชอุดม จ.อุบลราชธานี - ธันวาคม กัมพูชาประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย .
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๖ จาก ๒๕
พ.ศ. ๒๕๐๒
เหตุการณ์ (ต่ อ) วันที่ ๖ ตุลาคม รัฐบาลกัมพูชายืน่ คําร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุ งเฮก ให้ วินิจฉัยกรณี อาํ นาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชา
๒๕๐๔
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ศาลโลกพิพากษาในขั้นเขตอํานาจว่าศาลมีอาํ นาจรับคดีระหว่างไทยและกัมพูชา ไว้พิจารณา พร้อมกําหนดประเด็นพิพาท (subject of the dispute) ว่า กัมพูชาอ้างว่าไทยละเมิด “อํานาจ อธิ ปไตยเหนือบริ เวณปราสาทพระวิหารและเขตที่เกี่ยวข้อง” (sovereignty over the region of the Temple of Preah Vihear and its precincts) ถือเป็ นคําพิพากษาศาลโลกฉบับแรกในประวัติศาสตร์ ไทย
๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒)
- วันที่ ๑๕ มิถุนายน ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีคาํ พิพากษา ใจความสําคัญ ๓ ประการ (๑) ปราสาทเขาพระวิหารอยูใ่ นเขตอํานาจอธิ ปไตยของประเทศกัมพูชา และดังนั้น (๒) ไทยต้องถอนกําลังเจ้าหน้าที่ซ่ ึ งไทยส่ งไปประจํา ณ ตัวปราสาทฯ หรื อ ในบริ เวณใกล้เคียงตัว ปราสาทฯ (vicinity) ซึ่ งอยูใ่ นอาณาเขตของกัมพูชา (๓) ไทยต้องคืนบรรดาวัตถุที่นาํ ออกไปจากตัวปราสาทฯ หรื อบริ เวณปราสาทฯ - วันที่ ๖ กรกฎาคม ไทยทําหนังสื อถึงสหประชาชาติ เพื่อประท้วงว่าไทยไม่เห็นด้วยกับคําพิพากษา แต่ไทยในฐานะสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติกพ็ ร้อมจะยอมรับปฏิบตั ิตามคําพิพากษา - วันที่ ๑๐ กรกฎาคม คณะรัฐมนตรี ไทยได้ประชุมเพื่อกําหนดวิธีการปฏิบตั ิตามคําพิพากษาของศาล - วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ไทยได้จดั ทํารั้วลวดหนามขึ้นเป็ นแนวตามมติคณะรัฐมนตรี พร้อมปักป้ าย ภาษาไทย และอังกฤษ เพื่อเป็ นเครื่ องหมายขอบเขตของ “บริ เวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯ” (vicinity) ซึ่ ง ไทยมองว่าฝ่ ายกัมพูชาก็ยอมรับขอบเขตดังกล่าวตลอดเวลา ๔๐ ปี หลังจากนั้นมา
๒๕๑๓-๑๘
กัมพูชาภายใต้การนําของรัฐบาลลอนนอล ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยขึ้น ใหม่ และเปิ ดเขาพระวิหารให้เป็ นแหล่งท่องเที่ยวสําหรับบุคคลทัว่ ไป
๒๕๑๘-๓๔
ภายหลังการล่มสลายของรัฐบาลลอนนอล และเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างเขมรฝ่ ายต่างๆ ทําให้ เป็ นอุปสรรคต่อการขึ้นชมปราสาทเขาพระวิหาร
๒๕๓๕
กัมพูชาเปิ ดปราสาทเขาเป็ นแหล่งท่องเที่ยวอีกครั้งหลังการยุติลงของเรื่ องสงครามกลางเมือง
๒๕๔๓
ไทยและกัมพูชายังไม่สามารถเจรจาเรื่ องเขตแดนแล้วเสร็ จ จึงได้ตกลง “บันทึกความเข้าใจระหว่าง รัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสํารวจและจัดทําหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. ๒๕๔๓” (“เอ็มโอ ยู (MOU) พ.ศ. ๒๕๔๓”) โดยจัดให้มี “คณะกรรมาธิการเขตแดนร่ วม” (เจบีซี) ประกอบด้วยตัวแทน ทั้งสองฝ่ ายทํางานร่ วมกันเพื่อสํารวจ (survey) และจัดทําหลักเขตแดน (demarcation) ให้ชดั เจน
๒๕๕๐
กัมพูชายืน่ เรื่ องขอให้ข้ ึนทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็ นมรดกโลก ณ ที่ประชุมคณะกรรมการ มรดกโลก ณ เมืองไครส์เชิร์ท ประเทศนิวซี แลนด์ และไทยยืน่ เรื่ องคัดค้านโดยอ้างถึงความเชื่อมโยง ของปราสาทเขาพระวิหารกับปราสาทหิ นอื่นๆ ที่ต้ งั อยูใ่ นเขตประเทศไทย ที่ประชุมจึงยุติเรื่ องไว้ก่อน .
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)
หน้าที่ ๗ จาก ๒๕
เหตุการณ์ (ต่ อ) สถานการณ์เริ่ มตึงเครี ยดมากขึ้นเมื่อกัมพูชามีท่าทีตอ้ งการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็ นมรดก โลกพร้อมแผนที่ครอบคลุมบริ เวณโดยรอบตัวปราสาทซึ่ งยังพิพาทกันอยูร่ ะหว่างไทยและกัมพูชา - วันที่ ๑๘ มิถุนายน ไทยและกัมพูชา และผูแ้ ทนยูเนสโกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม (Joint Communiqué) ใจความสําคัญคือ ไทยสนับสนุนการที่กมั พูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็ น มรดกโลก แต่กมั พูชาก็ตกลงที่จะเปลี่ยนแผนที่ที่แนบในเอกสารคําขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยจด ทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารและบริ เวณที่ติดกับตัวปราสาทเท่านั้น (ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้วนิ ิจฉัยว่ากระบวนการเกี่ยวกับแถลงการณ์ร่วมในส่ วนที่ รัฐบาลไทยดําเนินการนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไทย และต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกได้มี มติมิให้นาํ แถลงการณ์ร่วมมาใช้ประกอบการพิจารณาในการประชุม) - วันที่ ๗ กรกฎาคม ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ ๓๒ ณ นครควิเบก ประเทศแคนาดา ได้ มีมติให้ปราสาทพระวิหารเป็ นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณค่าสากลที่โดดเด่นของตัวปราสาทพระวิหาร เอง (แต่ท้ งั นี้มติไม่รวมถึงบริ เวณทั้งชะง่อนเขาพระวิหารที่มีพ้ืนที่กว้าง หรื อ หน้าผาและถํ้าต่างๆ) - วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ทหารไทยเข้าคุม้ ครองชาวไทย ๓ คนในบริ เวณวัด “แก้วสิ ขาคีรีสะวารา” ใกล้ ปราสาทพระวิหาร ซึ่ งไทยมองว่ากัมพูชาสร้างลํ้าดินแดนไทย - วันที่ ๑๘ กรกฎาคม กัมพูชาทําหนังสื อแจ้งคณะมนตรี ความมัน่ คงแห่งสหประชาชาติและเสนอให้มี การประชุมด่วนคณะมนตรี ความมัน่ คงแห่งสหประชาชาติโดยอ้างว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบต่อ อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกัมพูชา รวมทั้งสันติภาพและความมัน่ คงของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉี ยงใต้ ซึ่ งไทยก็ได้ทาํ หนังสื อถึงสหประชาชาติช้ ีแจงจุดยืนของไทยและแสดงความมุ่งมัน่ ที่จะแก้ไขปัญหากับกัมพูชาโดยสันติวธิ ี - วันที่ ๒๔ กรกฎาคม คณะมนตรี ความมัน่ คงแห่งสหประชาชาติได้ตดั สิ นใจเลื่อนการพิจารณาคําขอ ของกัมพูชาออกไป ทั้งนี้ สมาชิกส่ วนใหญ่ของคณะมนตรี ความมัน่ คงแห่งสหประชาชาติ เห็น สอดคล้องกับไทยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็ นปัญหาในระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่ งควรแก้ไข ปัญหาด้วยกลไกทวิภาคีท่ีมีอยูแ่ ล้วแม้จะมีความพยายามเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชาดังกล่าว - วันที่ ๓ ตุลาคม ความตึงเครี ยดที่ชายแดนยังคงมีอยูอ่ ย่างต่อเนื่อง และนําไปสู่การเผชิญหน้าและการ ใช้กาํ ลังในบริ เวณเขาพระวิหารบริ เวณภูมะเขือ (ทางด้านตะวันตกของปราสาทพระวิหาร) - วันที่ ๖ ตุลาคม ทหารไทย ๒ นาย เหยียบทุ่นระเบิด (ที่ไทยเชื่อว่ามีการวางใหม่) และบาดเจ็บสาหัส - วันที่ ๑๕ ตุลาคม เกิดเหตุการณ์ปะทะกัน ทหารไทยเสี ยชีวิต ๒ นาย ทหารกัมพูชาเสี ยชีวติ ๓ นาย
๒๕๕๒
วันที่ ๓ เมษายน สื่ อมวลชนรายงานว่าไทยกับกัมพูชาปะทะด้วยอาวุธ กัมพูชาได้ยงิ จรวดอาร์ พีจีเข้ามา ในฝั่งไทย ส่ งผลให้ทหารเสี ยชีวิตสองนาย
๒๕๕๓
วันที่ ๒๙ ธันวาคม นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ (ขณะนั้นเป็ นผูช้ ่วยรัฐมนตรี วา่ การกระทรวงการต่างประเทศ) พร้อมคนไทย ๕ คน เดินทางไปบริ เวณชายแดนจังหวัดสระแก้ว ที่มีการร้องเรี ยนว่าทหารกัมพูชารุ กลํ้า เข้ามาในเขตไทย แต่กมั พูชาควบคุมตัวไปดําเนินคดีฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๕๔
หน้าที่ ๘ จาก ๒๕
เหตุการณ์ (ต่ อ) ความตึงเครี ยดระหว่างไทยและกัมพูชายังคงดําเนินต่อมา - วันที่ ๒๑ มกราคม ศาลกัมพูชาได้ตดั สิ นว่านายพนิชและคนไทยอีก ๔ คน มีความผิดฐานเข้าเมือง โดยผิดกฎหมาย มีโทษจําคุกแต่ให้รอลงอาญาไว้ก่อน ทําให้คนไทยทั้ง ๕ คนสามารถเดินทางกลับ ประเทศได้ทนั ที แต่ยงั คงดําเนินคดีต่อกับนายวีระ สมความคิดและนางราตรี พิพฒั นาไพบูรณ์ - วันที่ ๔-๗ กุมภาพันธ์ มีการปะทะกันด้วยอาวุธในบริ เวณปราสาทพระวิหาร แม้จะมีการตกลงหยุดยิง ระหว่างทหารในพื้นที่แต่กย็ งั มีการปะทะกันต่อ ส่ งผลให้ประชาชนและกองกําลังทั้งสองฝ่ ายบาดเจ็บ และเสี ยชีวติ และตัวปราสาทพระวิหารได้รับความเสี ยหาย - วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ คณะมนตรี ความมัน่ คงแห่งสหประชาชาติได้เรี ยกร้องให้ท้ งั สองฝ่ ายหยุดการ ปะทะกันและสนับสนุนให้อาเซี ยนช่วยมีบทบาทในการแก้ปัญหา ซึ่ งประเทศอินโดนิเซี ยในฐานะ ประธานอาเซี ยนขณะนั้น ได้เสนอว่าจะส่ งผูส้ ังเกตการณ์เข้าไปในบริ เวณพิพาท แต่ไทยและกัมพูชาไม่ สามารถตกลงกันได้ - วันที่ ๒๐-๒๖ เมษายน ไทยและกัมพูชาปะทะกันด้วยอาวุธ แม้จะมีการตกลงหยุดยิงในพื้นที่กต็ าม - วันที่ ๒๘ เมษายน กัมพูชาได้ยนื่ คําร้อง (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔) ขอให้ศาลโลก ตีความคําพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร ที่ศาลโลกได้ตดั สิ นไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยระบุวา่ ไทย กับกัมพูชามีประเด็นที่เห็นขัดแย้งกันเกี่ยวกับความหมายหรื อขอบเขตของคําพิพากษาดังกล่าว อีกทั้ง ยังยืน่ คําร้องขอให้ศาลมีมาตรการคุม้ ครองชัว่ คราวโดยเร่ งด่วน เพื่อสั่งให้ไทยถอนทหารและยุติ กิจกรรมทางทหารในบริ เวณปราสาทพระวิหาร - วันที่ ๒๙ เมษายน – ๓ พฤษภาคม ไทยและกัมพูชาปะทะกันด้วยอาวุธต่อเนื่อง - วันที่ ๓๐-๓๑ พฤษภาคม ไทยและกัมพูชาเดินทางไปชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลโลก ณ กรุ งเฮก เรื่ องคํา ร้องของกัมพูชาที่ขอให้ศาลมีมาตรการคุม้ ครองชัว่ คราว - วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ศาลโลกมีคาํ สั่งมาตรการชัว่ คราว โดยสั่งให้ท้ งั ไทยและกัมพูชาต้องเคารพเขต ปลอดทหารชัว่ คราว และมาตรการอื่นๆ และศาลยังคงดําเนินกระบวนพิจารณาเรื่ องการตีความคํา พิพากษาต่อไป - วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน จะครบกําหนดระยะเวลาที่ไทยสามารถส่ งเอกสารข้อสังเกต (Written Observation) เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาเรื่ องการตีความคําพิพากษาฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๕ และศาลอาจนัด ให้มีการแถลงคดีเป็ นวาจาต่อไปหากเห็นสมควร
๒๕๕๕ (คาดการณ์)
คาดว่าศาลโลกอาจพิจารณาคดีที่กมั พูชาขอให้ตีความคําพิพากษาฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๕ ไปถึงช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ก่อนจะมีคาํ พิพากษาฉบับใหม่เรื่ องการตีความคําพิพากษาฉบับเดิม ซึ่ งยังไม่แน่ชดั ว่าสุ ดท้าย ศาลจะรับตีความหรื อไม่ หรื อรับตีความประเด็นใดบ้าง ทั้งนี้ คําสั่งมาตรการชัว่ คราวที่ศาลโลกสั่งเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จะยังคงมีผลต่อไปจนกว่า ศาลจะสั่งเป้ นอย่างอื่น หรื อจนกว่าศาลจะมีคาํ พิพากษาตีความ หรื อมีการถอนคดี
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๙ จาก ๒๕
๒. หนึ่งหน้ ากระดาษ: ใจความคําพิพากษาศาลโลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลกําหนดประเด็นวินิจฉัยคดีนีเ้ พียงเรื่องเดียว คือ กัมพูชาหรื อไทยเป็ นเจ้าของ “บริ เวณปราสาทพระวิหาร”. ข้ออ้าง เรื่ องแผนที่ใดๆเป็ นแค่เหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่าปราสาทฯตั้งอยูใ่ นกัมพูชาหรื อไทย. ศาลสรุ ปว่าคดีน้ ีเกิดจากการตกลงเขต แดนระหว่างไทยและฝรั่งเศส ซึ่ งกัมพูชาสื บสิ ทธิฝรั่งเศสต่อมาภายหลัง ดังนั้นกฎหมายที่ศาลใช้วนิ ิจฉัยก็คือ อนุสัญญาสยามฝรั่งเศสฯ ค.ศ. ๑๙๐๔ ซึ่ งเป็ นข้อตกลงเขตแดนต่างๆซึ่ งรวมถึงบริ เวณที่ปราสาทฯตั้งอยู.่ ศาลอธิบายข้ อกฎหมายไว้ ๓ ประการ ว่ า (๑) เมื่ออนุสัญญาฯ มิได้ระบุที่ต้ งั ปราสาทฯไว้ ศาลจึงจําเป็ นต้องตรวจสอบว่า เส้นพรมแดนคือเส้นใด (๒) แม้อนุสัญญาฯ จะกําหนดให้พรมแดนบริ เวณปราสาทฯเป็ นไปตามเส้นสันปันนํ้า แต่การกําหนด เส้นพรมแดนให้ชดั เจนนั้นเป็ นหน้าที่ของคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-ไทย (พหูพจน์) และ (๓) เส้นพรมแดนที่แท้จริ งซึ่ ง กําหนดโดยคณะกรรมการผสมฯนั้น สําคัญกว่าเส้นสันปั นนํ้า. ศาลสรุ ปข้ อเท็จจริงว่ า คณะกรรมการผสมฯได้กาํ หนดเส้นพรมแดนบริ เวณปราสาทฯเสร็ จแล้ว แต่ไม่ได้บนั ทึกข้อสรุ ปไว้ ว่าเส้นนั้นเป็ นอย่างไร. ต่อมาไทยได้ขอให้ฝรั่งเศสทําแผนที่บริ เวณพรมแดนต่างๆ ฝรั่งเศสจึงทําแผนที่ข้ ึนทั้งสิ้ น ๑๑ ฉบับ ซึ่ ง หนึ่งในนั้นก็คือ แผนทีภ่ าคผนวก ๑ ต่ อท้ ายคําฟ้องกัมพูชา หรื อ Annex I Map (“แผนที่ฯ”) ซึ่ งกัมพูชานํามาอ้างว่าปราสาทฯ ตั้งอยูใ่ นเขตกัมพูชา . ศาลพิจารณาเกีย่ วกับแผนทีฯ่ แบ่งเป็ นสามช่วงเวลา ดังนี้ ๑. ช่วงที่แผนที่ฯถูกทําขึ้น (ค.ศ. ๑๙๐๗) ศาลเห็นว่าแผนที่ฯไม่ผกู พันไทยเพราะฝรั่งเศสทําขึ้นฝ่ ายเดียวและไม่ใช่ผลงานของ คณะกรรมการผสมฯ แต่ศาลก็เห็นว่าแผนที่ฯมีลกั ษณะเป็ นทางการและน่าเชื่อถือในทางเทคนิค. ๒. ช่วงที่ไทยรับแผนที่ฯมา (ค.ศ. ๑๙๐๘ – ๑๙๐๙) ศาลเห็นว่า แม้แผนที่ฯจะแสดงชัดว่าปราสาทฯอยูใ่ นเขตกัมพูชา แต่ไทยก็ ยอมรับแผนที่ฯมาโดยไม่สอบถามหรื อทักท้วง. ไทยดูไม่ติดใจว่าฝรั่งเศสทําแผนที่ฯขึ้นฝ่ ายเดียวแต่กลับมีท่าทียอมรับให้ แผนที่ฯเป็ นเสมือนผลงานของคณะกรรมการฯผสม เช่น ไทยได้อธิบายถึงแผนที่ฯว่าเป็ นเรื่ องเกี่ยวกับคณะกรรมการผสม ฯ (เอกพจน์) ตามที่กรรมการฝ่ ายไทยขอให้กรรมการฝ่ ายฝรั่งเศสทําขึ้น อีกทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงและกรรมการฝ่ ายไทยใน คณะกรรมการผสมฯก็ไม่ทกั ท้วงเกี่ยวกับแผนที่ฯ แม้บนหน้าแผนที่ฯจะมีคาํ ว่า “คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอิน โดจีนและสยาม” (เอกพจน์) ปรากฏอยูช่ ดั นอกจากนี้ ไทยยังได้ขอให้ฝรั่งเศสทําสําเนาแผนที่ฯเพิ่มเติมอีก ๑๕ ฉบับเพื่อ นําไปแจกจ่ายในประเทศ. ศาลจึงเห็นว่าไทยได้ยอมรับให้แผนที่ฯเป็ นผลจากการกําหนดเส้นพรมแดนบริ เวณปราสาทฯ แล้ว. เมื่อแผนที่ฯลากเส้นชัดเจน ไทยจึงอ้างความเข้าใจผิดไม่ได้. ๓. ช่วงหลังจากที่ไทยรับแผนที่ฯมา (ค.ศ. ๑๙๐๙ – ๑๙๕๙) ศาลเห็นว่าเหตุการณ์ตลอด ๕๐ ปี ยืนยันว่าไทยเคยยอมรับแผนที่ฯ ไปแล้ว เช่น การที่เจ้านายระดับสู งของไทยเสด็จเยีย่ มปราสาทฯ และเมื่อฝรั่งเศสต้อนรับโดยชักธงฝรั่งเศสเหนือปราสาทฯ ไทยกลับไม่ทกั ท้วง หรื อ การที่ไทยได้สาํ รวจดินแดนบริ เวณปราสาทฯและทําแผนที่ใช้เองใน ค.ศ. ๑๙๓๗ แต่แผนที่ของ ไทยกลับระบุให้ปราสาทฯอยูใ่ นเขตกัมพูชา. ศาลเห็นว่าไทยย่อมเสี ยสิ ทธิที่จะปฏิเสธการประพฤติปฏิบตั ิตลอด ๕๐ ปี ซึ่ ง ล้วนยืนยันว่าไทยได้ยอมรับแผนที่ฯ ไปก่อนหน้านั้น . ศาลอธิบายว่ า ไทยได้ยอมรับแผนที่ฯให้กลายมาเป็ นส่ วนเดียวกันกับอนุสัญญาฯ เส้นในแผนที่ฯจึงมีสถานะสู งกว่าเส้น สันปั นนํ้า. อีกทั้งวัตถุประสงค์สาํ คัญของอนุสัญญาฯคือการตกลงให้พรมเแดนแน่นอนและยุติ. สันปั นนํ้าเป็ นเพียงคําสะดวกที่ ใช้อธิบายบริ เวณที่ตอ้ งการให้มีการกําหนดเส้นพรมแดนให้ชดั เจน ซึ่ งในที่สุดไทยและฝรั่งเศสก็ได้ยอมรับนําเส้นตามแผนที่ฯ มาเป็ นเส้นพรมแดน. แผนที่ฯจึงไม่ขดั กับอนุสัญญาฯ. ศาลยํ้าว่าเรื่ องแผนที่ฯและเส้นพรมแดนนั้นเป็ นเพียงเหตุผลที่นาํ มาสู่ผล วินิจฉัย แต่ไม่ใช่เรื่ องที่ศาลพิพากษาผูกพันไทย. ศาลจึงวินิจฉัยว่ า ปราสาทฯตั้งอยูใ่ นเขตกัมพูชา ไทยต้องถอนกําลังออกจากปราสาทฯหรื อบริ เวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯ บนอาณาเขตของกัมพูชา และคืนทรัพย์สินที่นาํ ออกไปจากตัวปราสาทหรื อบริ เวณปราสาท. (ดูภาพประกอบหน้าต่อไป). ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๑๐ จาก ๒๕
ภาพเส้ นเขตต่ างๆ ทีส่ ื่ อมวลชนนําไปรายงาน
(ภาพจาก แนวหน้า)
ภาพนีถ้ ูกนําไปใช้ อย่ างแพร่ หลาย แต่ ต้องทําความเข้ าใจอย่ างระมัดระวัง ในคดีปราสาทพระวิหารซึ่ งศาลโลกพิพากษาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ กัมพูชาต่ อสู้ ว่า เขตแดนไทยและกัมพูชาในบริ เวณ ปราสาทพระวิหารคือเส้นตาม “แผนที่ภาคผนวก ๑” (ตามภาพด้านบนโดยสังเขป) ดังนั้นปราสาทจึงตั้งอยูใ่ นเขตกัมพูชา. ไทยต่ อสู้ ว่า เขตแดนต้องเป็ นไปตามเส้นสันปั นนํ้า ตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ ซึ่ งไทยนําสื บว่าเป็ นไป ตามแนวขอบหน้าผาที่เป็ นสันเขา (ตามภาพด้านบนโดยสังเขป) ดังนั้น ปราสาทพระวิหารจึงตั้งอยูใ่ นเขตไทย. ศาลโลกพิจารณาแล้ ว เห็นว่ า ในบริ เวณปราสาทพระวิหารนั้น เส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก ๑ ได้กลายเป็ นส่ วน หนึ่งของอนุสัญญาฯ และมีสถานะเหนือเส้นสันปั นนํ้า แต่เมื่อกฎหมายให้ศาลมีอาํ นาจพิพากษาที่จาํ กัดแต่เพียงเรื่ อง “อํานาจ อธิ ปไตยเหนืออาณาบริ เวณปราสาทพระวิหาร” (มิใช่เรื่ องเขตแดนหรื อแผนที่ฯ) ศาลจึงพิพากษาเพียงว่ า (๑) ศาลเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยูใ่ นอาณาเขตใต้อธิ ปไตยของกัมพูชา; (๒) ไทยจึงต้องถอนกําลังเจ้าหน้าที่ซ่ ึ งไทยส่ งไปประจํา ณ ตัวปราสาทฯ หรื อ ในบริ เวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯซึ่ งอยูใ่ น อาณาเขตของกัมพูชา (in its vicinity on Cambodian territory); และ (๓) ไทยจึงต้องคืนบรรดาวัตถุที่นาํ ออกไปจากตัวปราสาทฯ หรื อบริ เวณปราสาทฯ (the Temple area) แต่ศาลมิได้ระบุวา่ “บริ เวณใกล้เคียง” (vicinity) บนเขตกัมพูชาดังกล่าวมีรายละเอียดเช่นใด. ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๐๕ ไทยได้ปฏิบตั ิตามคําพิพากษาโดยการอาศัยแนวเส้นปฏิบตั ิการ (ซึ่ งไม่เหมือนเส้นเขต แดน) ตามมติคณะรัฐมนตรี (ตามภาพด้านบนโดยสังเขป) เพื่อล้อมรั้วหลวดหนามรอบตัวปราสาทพร้อมปั กป้ ายแสดงข้อความ ว่าบริ เวณที่ลอ้ มรั้วไว้คือ บริ เวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯ (“From this point lies the vicinity of the Temple of Phra Viharn.”). ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๑๑ จาก ๒๕
ภาพเส้ นเส้ นสั นปันนํา้ ทีเ่ ป็ นไปได้ แบบหนึ่ง
คําอธิบายลักษณะนีถ้ ูกนําไปใช้ อย่ างแพร่ หลาย แต่ ต้องทําความเข้ าใจอย่ างระมัดระวัง “เส้นสันปั นนํ้า (Divide) อธิ บายแบบง่ายๆ คือเป็ นสันเนินหรื อสันเขา เมื่อหยาดนํ้าฟ้ าหรื อฝนตกลงมาจะแบ่งนํ้าจาก สันเนินหรื อสันเขา ออกเป็ นสองส่ วนให้ไหลลงสู่พ้นื ที่รองรับนํ้าทั้งสองฟากของพื้นที่ หรื อลุ่มนํ้านัน่ เอง” (ภาพดัดแปลงและ คําอธิ บาย โดย เอกรักษ์ ใฝ่ บุญ). ความหมายตามราชบัณฑิตยสถาน: “สันปั นนํ้า (watershed) หมายถึง บริ เวณที่สูงหรื อสันเขา ซึ่ งแบ่งนํ้าที่อยูแ่ ต่ละด้านของสันเขา ให้ไหลออกไป ๒ ฟาก (หรื อมีทิศทางตรงกันข้าม) ไปสู่แม่น้ าํ ลําธาร แต่สันปั นนํ้าในการกําหนดเขตแดนนั้น หมายถึง ที่สูงหรื อส่ วนใหญ่คือสันเขาที่ ต่อเนื่องกัน และจะปั นนํ้าหรื อนํ้าฝนที่ตกลงมา ให้แบ่งออกเป็ น ๒ ฟากโดยไม่มีการไหลย้อนกลับ ในกรณี ที่มีสันเขาแยก ออกเป็ นหลายสันจะยึดถือสันเขาที่มีความต่อเนื่ องมากที่สุด นัน่ คือ สันเขาที่สูงที่สุดไม่จาํ เป็ นต้องเป็ นสันปั นนํ้าเสมอไป แต่สัน เขาที่สูงและมีความต่อเนื่องมากที่สุดมักจะได้รับการพิจารณาให้เป็ นสันปั นนํ้า” (อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ไทย เล่ม ๑, ๒๕๔๕, อ้างโดย อัครพงษ์ คํ่าคูณ). ข้ อสั งเกต ภาพด้านบนไม่ใช่ภาพเส้นสันปั นนํ้าตามคําพิพากษาศาลโลก พ.ศ. ๒๕๐๕ เพราะศาลมิได้วนิ ิจฉัยว่าเส้นสันปั นนํ้าคือ เส้นใด ในทางตรงกันข้าม ศาลกล่าวในคําพิพากษาหน้า ๑๕ ว่าเส้นสันปั นนํ้าไม่จาํ เป็ นต้องเป็ นไปตามแนวขอบหน้าผาที่เป็ น สันเนินหรื อสันเขาเสมอไป อย่างไรก็ดีมีผพู ้ ิพากษาในคดี เช่น ผูพ้ ิพากษา Sir Gerald Fitzmaurice ทําความเห็นเอกเทศเป็ นส่ วน ตนว่าเส้นสันปั นนํ้าที่ถกู ต้องสําหรับบริ เวณดังกล่าวต้องเป็ นไปตามแนวสันขอบหน้าผาดังที่ผเู ้ ชี่ยวชาญฝ่ ายไทยได้นาํ สื บไว้.
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๑๒ จาก ๒๕
๓. ห้ าสิ บปี ยังไม่ จบ: พบกันอีกครั้งทีศ่ าลโลก (๒๕๕๔-?) (๑) สามประเด็นทีก่ มั พูชาขอให้ ศาลตีความคําพิพากษา กัมพูชาขอให้ศาลโลกกลับไปตีความคําพิพากษา พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่ งในขั้นแรก ต้องเข้าใจว่าคําพิพากษาเดิมนั้นมีส่วนที่ ผูกพันไทยและกัมพูชา หรื อที่เรี ยกว่า “บทปฏิบตั ิการ” สามข้อ คือ (๑) ศาลเห็นว่าปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) ตั้งอยูใ่ นอาณาเขตใต้อธิปไตยของกัมพูชา; และจากเหตุดงั กล่าว (in consequence) (๒) ไทยจึงต้องถอนกําลังเจ้าหน้าที่ซ่ ึ งไทยส่ งไปประจํา ณ ตัวปราสาทฯ (at the Temple) หรื อ ในบริ เวณใกล้เคียงตัว ปราสาทฯซึ่ งอยูใ่ นอาณาเขตของกัมพูชา (in its vicinity on Cambodian territory); และ (๓) ไทยจึงต้องคืนบรรดาวัตถุที่นาํ ออกไปจากตัวปราสาทฯ (the Temple) หรื อบริ เวณปราสาทฯ (the Temple area) ตามที่กมั พูชาสามารถระบุได้. ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๔ กัมพูชาได้ยนื่ คําร้องเป็ นภาษาฝรั่งเศสความยาว ๑๗ หน้า เพื่อขอให้ศาลตีความคํา พิพากษา โดยอ้างว่ากัมพูชาและไทยมีขอ้ ขัดแย้งต่อความหมายและขอบเขตของคําพิพากษาเดิมในประเด็นดังต่อไปนี้ (๑) ประเด็นที่กมั พูชาเห็นว่าคําพิพากษาเดิมนั้นได้อาศัยเขตแดนระหว่างประเทศที่มีมาอยูก่ ่อนแล้วซึ่ งศาลพิจารณาว่า ไทยและกัมพูชาต่างให้การยอมรับ (๒) ประเด็นที่กมั พูชาเห็นว่าเขตแดนดังกล่าวเป็ นไปตามแผนที่ในภาคผนวก ๑ ที่ต่อท้ายคําฟ้ องของกัมพูชาซึ่ งศาลฯ ได้อา้ งถึงในหน้า ๒๑ ของคําพิพากษาเดิม ซึ่ งศาลได้อาศัยแผนที่ฉบับนี้เพื่อวินิจฉัยว่าการที่กมั พูชามีอธิปไตย เหนือปราสาทพระวิหารนั้นเป็ นผลโดยตรงที่เกิดขึ้นเองจากการที่กมั พูชามีอธิปไตยเหนือบริ เวณที่ปราสาทพระ วิหารตั้งอยู่ (๓) ประเด็นที่คาํ พิพากษาเดิมได้ตดั สิ นให้ไทยมีพนั ธกรณี ตอ้ งถอนกําลังทหารหรื อบุคคลากรอื่นออกจากบริ เวณ ใกล้เคียงตัวปราสาทที่ต้ งั อยูบ่ นเขตแดนของกัมพูชา โดยกัมพูชาเห็นว่าพันธกรณี ที่มีลกั ษณะทัว่ ไปและต่อเนื่อง ดังกล่าวย่อมเป็ นไปตามถ้อยคําในคําพิพากษาเดิมที่ศาลได้ยอมรับว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือบริ เวณดังกล่าว กัมพูชาอธิบายต่อว่า แม้ไทยจะไม่โต้แย้งว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร แต่เมื่อไทยโต้แย้งว่ากัมพูชาไม่ มีอธิปไตยเหนือบริ เวณโดยรอบและใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ย่อมถือว่าไทยโต้แย้งว่า เส้นเขตแดนที่ศาลได้ยอมรับไว้ตามคํา พิพากษาเดิมนั้นไม่ถกู ต้องทั้งหมด ซึ่ งย่อมกระทบไปถึงบริ เวณตัวปราสาทด้วยเช่นกัน กัมพูชาจึงมีขอให้ศาลวินิจฉัยและสั่งว่า พันธกรณี ที่ไทยต้องถอนกําลังทหารหรื อกําลังตํารวจใดๆ หรื อเจ้าหน้าที่ยาม หรื อผูเ้ ฝ้ าดูแลอื่นๆ ที่ไทยได้เคยให้ประจําอยู่ ณ ตัวปราสาทหรื อบริ เวณใกล้ตวั ปราสาท (ตามบทปฏิบตั ิการข้อ ๒ ของคํา พิพากษาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕) เป็ นผลโดยเฉพาะที่เกิดจากพันธกรณี อนั ทัว่ ไปและต่อเนื่องที่ไทยจะต้องเคารพบูรณภาพอาณาเขต ของกัมพูชา โดยที่บริ เวณตัวปราสาทและบริ เวณใกล้เคียงในอาณาเขตดังกล่าวได้มีการปักปั นโดยเส้นเขตแดนตามแผนที่ซ่ ึ งศาล ได้อา้ งถึงในหน้า ๒๑ ของคําพิพากษาเดิมอันศาลได้อาศัยเป็ นฐานในการพิพากษา (กล่าวคือ แผนที่ภาคผนวก ๑ แผนที่ ๑: ๒๐๐,๐๐๐) ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๑๓ จาก ๒๕
(๒) คําสั่ งศาลโลก ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ (กรณีมาตรการชั่วคราว)
สรุปใจความจากข่ าวโดยกระทรวงการต่ างประเทศ เรื่อง “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่ างประเทศให้ สัมภาษณ์ ทางไกล เกีย่ วกับคําสั่ งของศาลโลกกรณีกมั พูชาขอให้ มคี าํ สั่ งออกมาตรการชั่วคราว” วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ (จากเว็บไซต์ กระทรวงการต่างประเทศ) เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ศาลโลกมีคาํ สั่ง ดังนี้ ๑. ปฏิเสธที่จะจําหน่ายคดีที่กมั พูชาขอให้ศาลตีความคําพิพากษา (กล่าวคือ คดีการตีความยังคงดําเนินต่อไป) ๒. ศาลโลกได้ออกมาตรการชัว่ คราวซึ่ งประกอบด้วย (๑) ให้ท้ งั สองฝ่ ายถอนกําลังทหารออกจากเขตปลอดทหารชัว่ คราวโดยทันที ตามขอบเขตของพื้นที่ที่ศาลโลกได้ กําหนด รวมทั้งให้ละเว้นจากการวางกําลังทหารในเขตดังกล่าว และการดําเนินกิจกรรมทางอาวุธใด ๆ ต่อเขตดังกล่าว (๒) ให้ฝ่ายไทยไม่ขดั ขวางฝ่ ายกัมพูชาในการเข้าออกปราสาทพระวิหาร รวมทั้งการส่ งเสบียงสิ้ นเปลืองให้แก่เจ้าหน้าที่ ที่ไม่ใช่ทหารของฝ่ ายกัมพูชาในปราสาทพระวิหาร (๓) ให้ไทยและกัมพูชาดําเนินความร่ วมมือกันต่อไปในกรอบของอาเซี ยน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ต้องอนุญาตให้คณะผู้ สังเกตการณ์อาเซี ยนสามารถเข้าไปยังเขตปลอดทหารชัว่ คราวดังกล่าวได้ (๔) ให้ไทยและกัมพูชาละเว้นจากกิจกรรมใด ๆ ที่จะทําให้สถานการณ์ขอ้ พิพาทเลวร้ายหรื อรุ นแรงมากขึ้น หรื อทําให้ ปัญหาข้อพิพาทมีความยากลําบากยิง่ ขึ้นที่จะแก้ไข ๓. ฝ่ ายไทยและกัมพูชาจะต้องแจ้งต่อศาลโลกถึงการปฏิบตั ิตามมาตรการชัว่ คราวดังกล่าว (มาตรการสี่ ประการในข้อ ๒) ๔. ศาลยังคงอํานาจในการพิจารณาเรื่ องคําสั่งมาตรการชัว่ คราวต่อไปได้ จนกว่าศาลโลกจะมีคาํ ตัดสิ นกรณี ที่ฝ่ายกัมพูชา ขอให้ตีความคําพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี ๒๕๐๕ - เรื่ องเกี่ยวกับการอนุญาตให้คณะผูส้ ังเกตการณ์ของอาเซี ยนเข้าพื้นที่บริ เวณปราสาทพระวิหารนั้น รัฐมนตรี วา่ การฯ กล่าวว่า ฝ่ ายไทยไม่ขดั ข้อง. - รัฐมนตรี วา่ การฯ กล่าวว่า ฝ่ ายไทยเคารพคําสั่งของศาลและจะปฏิบตั ิตามพันธกรณี ที่มีอยูภ่ ายใต้กฎบัตรของ สหประชาชาติ ทั้งนี้ ไทยมีความพอใจต่อคําสั่งของศาลโลกดังกล่าว เพราะมีผลให้ท้ งั สองฝ่ ายปฏิบตั ิตาม ในขณะที่คาํ ขอของ ฝ่ ายกัมพูชาได้ขอให้ฝ่ายไทยเป็ นฝ่ ายปฏิบตั ิเพียงฝ่ ายเดียว โดยคําสัง่ กล่าวไม่มีผลกระทบต่อการตีความของศาลโลกกรณี ที่ฝ่าย กัมพูชาขอให้ตีความเกี่ยวกับขอบเขต (vicinity) ของปราสาทฯ นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับท่าทีที่ฝ่ายไทยยืนยันมาโดยตลอด ทั้งในแง่ของการให้ฝ่ายกัมพูชาถอนกําลังทหารออกจากบริ เวณปราสาทพระวิหารและวัดแก้วสิ กขาคีรีสะวารา รวมทั้งให้มีการ เจรจาหารื อกันผ่านกลไกในกรอบทวิภาคีที่มีอยู.่ - สําหรับการดําเนินการภายในของฝ่ ายไทยต่อคําสั่งของศาลโลก รัฐมนตรี วา่ การฯ กล่าวว่า จะมีการหารื อกันระหว่าง หน่วยงานความมัน่ คงของไทย และจะเสนอให้สาํ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเกี่ยวกับการนําเรื่ องดังกล่าวเข้าสู่การ ประชุมคณะรัฐมนตรี ชุดปัจจุบนั ในส่ วนของรัฐสภานั้น จะรายงานต่อคณะกรรมาธิการการต่างประเทศของวุฒิสภา.
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๑๔ จาก ๒๕
ภาพดัดแปลง ร่ างแผนทีเ่ ขตปลอดทหารชั่วคราวตามคําสั่ งศาลโลก ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๔ (โดยสั งเขป)
(ดัดแปลงภาพจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ อนึ่ง เส้นเขตแดนที่แสดงในภาพเป็ นเพียงแนวเส้นตัวอย่างพอสังเขปเท่านั้น)
ข้ อสั งเกต - ศาลวาด “ร่ างแผนที่” (sketch-map) ดังกล่าวเพื่อให้ไทยและกัมพูชาพอเห็นเป็ นตัวอย่างเท่านั้น ดังที่ศาลระบุไว้ชดั เจนในคําสั่ง หน้า ๑๗ ว่า “this sketch map has been prepared for illustrative purposes only” ดังนั้นไทยและกัมพูชาจึงมีหน้าที่ตอ้ งนําพิกดั แผนที่ซ่ ึ งศาลระบุไว้ในคําสัง่ ไปร่ วมหารื อเพื่อทําแผนที่หรื อเส้นปฏิบตั ิการตามคําสั่งของศาลต่อไป ศาลมิได้สั่งให้นาํ “ร่ างแผน ที่” ของศาลไปใช้เสมือนแผนที่สาํ เร็ จรู ปแต่อย่างใด และดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่ องแปลกที่ไทยและกัมพูชายังไม่อาจถอนกําลังทหาร ได้ทนั ที แต่ตอ้ งหารื อกันก่อนว่าจะนําพิกดั ที่ศาลกําหนดไปปฏิบตั ิอย่างไร - เขตปลอดทหารชัว่ คราวดังกล่าว เป็ นเพียงเรื่ องมาตรการชัว่ คราวที่มุ่งป้ องกันการปะทะกันด้วยอาวุธ แต่ไทยและกัมพูชามีสิทธิ ขอให้ศาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หากมีเหตุผลจําเป็ น ที่สาํ คัญ พิกดั และ “ร่ างแผนที่” มิได้มีผลทางกฎหมายต่อเขตแดนแต่อย่าง ใด ดังที่ศาลได้ย้าํ อย่างชัดเจนในคําสั่งหลายครั้ง (เช่น ย่อหน้าที่ ๒๑, ๓๘, ๖๑ และ ๖๘) ว่าการพิจารณาออกคําสั่งครั้งนี้ ศาลย่อม ไม่กา้ วเข้าไปวินิจฉัยประเด็นที่กมั พูชาอ้างว่าดินแดนส่ วนใดเป็ นของใครหรื อเขตแดนจะต้องเป็ นไปตามเส้นหรื อแผนที่ใด (ซึ่ ง อาจต้องรอการพิจารณาของศาลในปี พ.ศ. ๒๕๕๕) ดังนั้น คําสั่งของศาลโลกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จึงมิได้ เปลี่ยนแปลงเขตแดนไทย-กัมพูชาแต่อย่างใด - ศาลใช้ถอ้ ยคําอธิ บายถึงเขตปลอดทหารชัว่ คราวในคําสั่งย่อหน้าที่ ๖๑ ว่า “a zone around the area of the Temple” หรื อ “เขต บริ เวณที่อยูร่ อบบริ เวณของตัวปราสาท” ในทางหนึ่งจึงสื่ อได้วา่ ไม่วา่ “บริ เวณของตัวปราสาท” จะกว้างเพียงใด ย่อมไม่ สามารถกว้างไปกว่าบริ เวณเขตปลอดทหารชัว่ คราวดังกล่าวได้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๑๕ จาก ๒๕
๔. เล่ าให้ ครบ: ย่ อคําพิพากษาศาลโลก พ.ศ. ๒๕๐๕ หมายเหตุ บทย่อนี้ประมวลเพียงคําพิพากษาขั้นเนื้อหาส่ วนหลักฉบับภาษาอังกฤษ (ยังไม่รวม ความเห็นเอกเทศและความเห็นแย้งของผูพ้ ิพากษา) โดยอ้างรายงานคําพิพากษา ICJ Reports 1962 (เลขหน้ามุมบน). “คําแปล” หมายถึงคําแปลคําพิพากษาเผยแพร่ โดยสํานักทําเนียบนายกรัฐมนตรี วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๐๕ คัดจากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ. โปรดดูขอ้ มูลและหมายเหตุ ท้ายคําพิพากษาเพิ่มที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962 คดีปราสาทพระวิหาร (ระหว่ างกัมพูชากับไทย) ขั้นเนือ้ หา คําพิพากษาศาลยุตธิ รรมระหว่ างประเทศ วันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๖๒ ศาลตีกรอบคําพิพากษา (หน้ า ๖ - ๑๔, คําแปลหน้ า ๑ – ๑๘) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสรุ ปกระบวนพิจารณาคดีและกล่าวทวนคําแถลงสรุ ปของกัมพูชาและไทย โดยในหน้า ๑๔ ย่อหน้าสุ ดท้าย (คําแปลหน้า ๑๖ ย่อหน้าสุ ดท้าย) ศาลอ้างถึงคําอธิบายประเด็นแห่งคดีที่ศาลเคยสรุ ปไว้วา่ กัมพูชากล่าวอ้าง ว่าไทยได้ละเมิด “อํานาจอธิ ปไตยเหนือบริ เวณปราสาทพระวิหารและเขตที่เกี่ยวข้อง” (sovereignty over the region of the Temple of Preah Vihear and its precincts) และศาลก็ย้าํ กรอบ (confined) ประเด็นแห่งคดีตามคําสรุ ปดังกล่าวซํ้าดังเดิมแต่ละคํา ว่า “เขตที่เกี่ยวข้อง” (precincts) ออกไป (คํานี้ ตีความหมายได้หลายทาง โปรดดูหมายเหตุ). ศาลสรุ ปว่า การที่คู่ความอ้างถึงแผน ที่และข้อต่อสู้ที่เกี่ยวเนื่องกับแผนที่น้ นั ศาลจะพิจารณาเพียงเท่าที่จาํ เป็ นต่อการหาเหตุผล (reasons) มาวินิจฉัยประเด็นพิพาท แห่งคดี (settle the sole dispute) ที่จาํ กัดอยูเ่ ฉพาะเรื่ องอํานาจอธิปไตยเหนือบริ เวณปราสาทพระวิหารประเด็นเดียวเท่านั้น. ศาลระบุข้อกฎหมาย (หน้ า ๑๕ – ๑๖, คําแปลหน้ า ๑๘ – ๑๙) ศาลสรุ ปข้อเท็จจริ งเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร (ย่อว่า “ปราสาทฯ”) และปฏิเสธที่จะนําข้อต่อสู้เชิงประวัติศาสตร์ ศาสนาและโบราณคดีมาประกอบการพิจารณา. ศาลกล่าวถึงข้อพิพาทในคดีวา่ เป็ นเรื่ องที่สืบจากการตกลงเรื่ องเขตแดน (boundary settlement) ระหว่างสยามและฝรั่งเศสเมื่อช่วง ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๙๐๘ ซึ่ งต่อมากัมพูชาได้รับเอกราชและสื บสิ ทธิต่อ จากฝรั่งเศส. ศาลระบุวา่ การวินิจฉัยคดียอ่ มเป็ นไปตาม (depends upon) หนังสื อสัญญาเรื่ องเขตแดนระหว่างสยามและฝรั่งเศส วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๐๔ (ชื่อเต็มคือ “อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิ สัญญาฉบับลง วันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสิ นทรศก ๑๑๒ ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่น ๆ ฉบับลงนาม ณ กรุ งปารี ส เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ รัตนโกสิ นทรศก ๑๒๒” ย่อว่า “อนุสัญญาฯ”) ซึ่ งมีใจความสําคัญสองข้อ คือ ข้อ ๑. กําหนดให้ “พรมแดน” (frontier) ระหว่างไทยและฝรั่งเศสบริ เวณปราสาทฯเป็ นไปตามสันปันนํ้า (follows the watershed); และ ข้อ ๓. กําหนดให้มีคณะกรรมการสองชุดทํางานผสมกัน (Mixed Commissions – อนุสัญญาฯใช้รูปพหูพจน์) ระหว่าง ไทยและฝรั่งเศส เพื่อทําหน้าที่ปักปันพรมแดนต่างๆ (delimitation of the frontiers) ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการผสม ดังกล่าวดําเนินงานเกี่ยวกับพรมแดนที่อนุสัญญาฯ ข้อ ๑. กําหนดไว้ (the work will relate to the frontier determined by [Article I]). ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๑๖ จาก ๒๕
ศาลอธิบายข้ อกฎหมาย (หน้ า ๑๖ – ๑๗, คําแปลหน้ า ๑๙ - ๒๐) ศาลอธิบายถึงอนุสัญญาฯ ไว้สามประการ. ประการแรก เมื่ออนุสัญญาฯ มิได้ระบุถึงปราสาทฯไว้ ศาลจึงจําเป็ นต้องตรวจสอบ (examine) ว่าเส้นพรมแดน (frontier line) คือเส้นใด เพื่อศาลสามารถวินิจฉัย (give a decision) ได้วา่ กัมพูชาหรื อไทยมีอธิ ปไตยเหนือบริ เวณปราสาทฯ (the Temple area). ประการที่สอง แม้อนุสัญญาฯ ข้อ ๑. จะกําหนดให้พรมแดนเป็ นไปตามเส้นสันปันนํ้า แต่แนวพรมแดนที่ชดั เจน (exact course) นั้นต้องปักปั นตามอนุสัญญาฯ ข้อ ๓. ซึ่ งให้มีคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-ไทย (Franco-Siamese Mixed Commission – ศาลใช้รูปเอกพจน์ ) เป็ นผูป้ ั กปั น. ประการที่สาม แม้การดําเนินการปั กปันตามอนุสัญญาฯ ข้อ ๓. จะมีขอ้ สันนิษฐานเบื้องต้น (prima facie) ว่าต้อง กระทําตามหลักเกณฑ์ที่กาํ หนดไว้ในอนุสัญญาฯ ข้อ ๑. (อาศัยสันปันนํ้า) แต่ศาลเห็นว่าเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของ อนุสัญญาฯ ก็เพื่อทําให้มีเส้นพรมแดนที่เป็ นผลมาจากการปักปั นตามความเป็ นจริ ง (establish the actual line of the frontier) เว้นแต่จะพิสูจน์ได้วา่ การปั กปันนั้นไม่มีผลทางกฎหมาย (invalid). (กล่าวโดยสังเขป คําว่า “ปักปั น” หรื อ delimitation นั้นศาลน่าจะหมายถึงการตกลงเส้นเขตแดนบนแผนที่หรื อเอกสาร ซึ่ งศาลเห็นว่าชัดเจนกว่าการตกลงนิยามเบื้องต้น เช่น ตกลงให้แนวพรมแดนอาศัยสันปันนํ้า - โปรดดูหมายเหตุ) ศาลสรุ ปข้ อเท็จจริงและเหตุผลทีค่ ู่ความยกขึน้ ต่ อสู้ (หน้ า ๑๗ – ๒๑, คําแปลหน้ า ๒๐ – ๒๗) ศาลสรุ ปข้อเท็จจริ งว่า ไทยและฝรั่งเศสได้ต้ งั คณะกรรมการผสม (Mixed Commission – เอกพจน์) ขึ้นหนึ่งคณะแต่มี สองแผนก คือแผนกไทยและแผนกฝรั่งเศสโดยแต่ละแผนกมีประธานกรรมการของตน (กล่าวคือศาลเรี ยกคณะกรรมการผสม ตามอนุสัญญาฯ ข้อ ๓. ที่เป็ นพหูพจน์ให้เป็ นเอกพจน์แทน – ต่อไปนี้ยอ่ ว่า “คณะกรรมการผสมฯ” - โปรดดูหมายเหตุ). ศาล สรุ ปว่า แม้คณะกรรมการผสมฯจะไม่ได้บนั ทึกข้อสรุ ปเรื่ องการปักปันพรมแดนบริ เวณปราสาทฯไว้ แต่สันนิษฐานจากหลักฐาน ว่าได้มีการสํารวจและกําหนดพรมแดนแล้ว (surveyed and fixed) แต่โดยใครหรื อโดยวิธีการใดนั้นศาลเห็นว่าไม่ชดั เจน. ต่อมาไทยกับฝรั่งเศสได้ทาํ หนังสื อสัญญาอีกฉบับใน ค.ศ. ๑๙๐๗ (สนธิสญ ั ญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยามกับ ประธานาธิ บดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุ งเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสิ นทรศก ๑๒๕) และตั้ง คณะกรรมการผสมชุดที่สองขึ้นอีกชุดเพื่อปั กปันพรมแดนบริ เวณอื่นที่ไม่ได้ดาํ เนินการตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๐๔ อีกทั้ง หนังสื อสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๗ ยังมีพิธีสารอนัเป็ นข้อตกลงต่อท้าย (พิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญา ฉบับลง วันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสิ นทรศก ๑๒๕) กําหนดให้งานของคณะกรรมการชุดที่สองรวมไปถึงบริ เวณที่ปราสาทฯตั้งอยู่ แต่ คณะกรรมการชุดที่สองก็มิได้ปักปันพรมแดนบริ เวณปราสาทฯ ศาลจึงสันนิษฐานว่าคณะกรรมการผสมฯชุดแรกตามอนุสัญญา ฯ ค.ศ. ๑๙๐๔ ได้ทาํ การสํารวจและปักปันพรมแดนบริ เวณปราสาทฯเสร็ จแล้ว แต่ผลออกมาเป็ นเช่นใดนั้นศาลไม่ทราบ. ศาลอธิ บายว่าขั้นตอนสุ ดท้ายของการปักปั นพรมแดนคือการทําแผนที่ ไทยซึ่ งไม่ชาํ นาญด้านแผนที่ได้ขอให้ฝรั่งเศส จัดทําแผนที่ ทั้งนี้ มีหลักฐานที่ไทยเคยกล่าวถึง “คณะกรรมการปั กปันพรมแดนผสม (Mixed Commission – เอกพจน์) และคํา ขอของกรรมการฝ่ ายไทย (Siamese Commissioners) ที่ขอให้กรรมการฝ่ ายฝรั่งเศส (French Commissioners) ทําแผนที่พรมแดน ต่างๆ (maps of various frontiers)” (ผูย้ อ่ ตีความจากบริ บทว่าศาลพูดถึงคณะกรรมการผสมฯชุดแรกที่ศาลเรี ยกว่ามีแผนกไทย ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๑๗ จาก ๒๕
และแผนกฝรั่งเศส). ฝรั่งเศสจึงให้เจ้าหน้าที่ของตน ๔ คน (๓ คนเป็ นอดีตสมาชิกคณะกรรมการผสมฯ ชุดแรก) ทําแผนที่ท้ งั สิ้ น ๑๑ ฉบับ ซึ่ งหนึ่ งในนั้นก็คือแผนที่ภาคผนวก ๑ ต่อท้ายคําฟ้ องกัมพูชา หรื อ Annex I Map (“แผนทีฯ่ ”) ซึ่ งกัมพูชานํามาอ้างว่า ปราสาทฯตั้งอยูใ่ นเขตกัมพูชา. ศาลสรุ ปข้อต่อสู้ของไทยเกี่ยวกับแผนที่ฯ สามข้อ ดังนี้ . (๑) แผนที่ฯไม่ใช่ผลงานการปักปันโดยคณะกรรมการผสมฯ จึงไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย; (๒) เส้นพรมแดนที่แท้จริ งต้องเป็ นไปตามสันปันนํ้า (ตามอนุสัญญาฯ ข้อ ๑.) ซึ่ งย่อมทําให้ปราสาทฯตั้งอยูใ่ นเขตไทย แต่เมื่อแผนที่ฯกลับลากเส้นที่ไม่ใช่เส้นสันปันนํ้าในบริ เวณนั้น (in this vicinity – หน้า ๒๑) เนื้อหาแผนที่ฯ จึงผิดพลาดชัดเจน และไม่สามารถถือเป็ นการใช้อาํ นาจหรื อดุลพินิจของคณะกรรมการผสมฯที่ถกู ต้องได้; และ (๓) ไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ฯหรื อเส้นพรมแดนตามแผนที่ฯ หรื อแม้หากไทยเคยยอมรับ ก็เพราะไทยเข้าใจผิดในข้อ สําสัญว่าเส้นแผนที่ฯได้เป็ นไปตามเส้นสันปันนํ้าอย่างถูกต้อง. ศาลเห็นว่ าแผนทีฯ่ ไม่ ผูกพันไทย แต่ เป็ นผลจากการสํ ารวจจริง (หน้ า ๒๑ ย่อหน้ าสุ ดท้ าย, คําแปลหน้ า ๒๗ ย่อหน้ าสุ ดท้ าย) ศาลเห็นในขั้นแรกว่า แผนที่ฯ ณ ขณะที่ทาํ ขึ้นย่อมไม่ผกู พันไทยในทางกฎหมาย เพราะฝรั่งเศสทําขึ้นฝ่ ายเดียวและไม่ มีหลักฐานแสดงว่าคณะกรรมการผสมฯ ได้มอบหมายหรื อรับรองการทําแผนที่ฯ. อย่างไรก็ดี ศาลเชื่อว่าแผนที่ฯถูกทําขึ้นโดย อาศัยการสํารวจบริ เวณที่ปราสาทฯตั้งอยูจ่ ริ ง และเมื่อไทยเป็ นฝ่ ายร้องขอให้ฝรั่งเศสทําขึ้น แผนที่ฯจึงมีลกั ษณะที่เป็ นทางการ อีกทั้งเห็นว่าแผนที่ฯมีความน่าเชื่อถือในทางเทคนิคโดยชัดแจ้ง. ศาลเห็นว่ าไทยได้ ยนิ ยอมและยอมรับแผนทีฯ่ ในช่ วง ค.ศ. ๑๙๐๘ – ๑๙๐๙ (หน้ า ๒๒ – ๒๗, คําแปลหน้ า ๒๘ - ๓๖) ศาลอธิบายต่อว่า ในเมื่อไทยยอมรับเองว่าแผนที่ฯไม่ใช่ผลจากการปั กปันโดยคณะกรรมการผสมฯ ศาลจึงมองว่าการ ที่คณะกรรมการผสมฯ จะได้ปักปันพรมแดนและรับรองแผนที่ฯโดยถูกต้องหรื อโดยมีอาํ นาจหรื อไม่น้ นั ย่อมไม่ใช่ประเด็นที่ แท้จริ ง แต่ประเด็นพิจารณาที่สาํ คัญคือ ในที่สุดแล้วไทยและฝรั่งเศสในฐานะภาคีอนุสัญญาฯได้ถือเอา (adopt) แผนที่ฯ ให้เป็ น ผลจากการปั กปั นพรมแดนบริ เวณปราสาทฯ (as representing the outcome of the work of delimitation) อันส่ งผลให้แผนที่ฯมี สถานะทางกฎหมายหรื อไม่? ศาลไม่เห็นด้วยกับข้อต่อสู้ของไทยว่า ไทยเพียงแต่แสดงท่าทีนิ่งเฉย (passive attitude) และไม่เคย เป็ นฝ่ ายยินยอม (consenting party) ให้เปลี่ยนแปลงเส้นสันปันนํ้าตามอนุสัญญาฯ. ศาลพิจารณาถึงการประพฤติปฏิบตั ิระหว่าง ไทยและฝรั่งเศสเกี่ยวกับแผนที่ฯ ดังต่อไปนี้ -
-
ชุดแผนที่ท้ งั ๑๑ ฉบับ (หนึ่งในนั้นคือแผนที่ฯที่กมั พูชาอ้าง) ถูกนําไปเผยแพร่ อย่างกว้างขวางกว่า ๑๖๐ ชุด ในหลาย ประเทศ; อัครราชทูตไทย ณ กรุ งปารี ส ได้ทาํ หนังสื อแจ้งรัฐบาลไทยโดยใช้ถอ้ ยคําว่า “สําหรับเรื่ องเกี่ยวกับคณะกรรมการปัก ปันพรมแดนผสม (Mixed Commission – เอกพจน์) และคําขอของกรรมการฝ่ ายไทยที่ขอให้กรรมการฝ่ ายฝรั่งเศสทํา แผนที่พรมแดนต่างๆ บัดนี้กรรมการฝ่ ายฝรั่งเศสได้ทาํ แผนที่เสร็ จแล้ว” เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยและกรรมการฝ่ ายไทยในคณะกรรมการผสมฯเองรับทราบถึงแผนที่ฯดังกล่าวโดยมิได้ ทักท้วง อีกทั้งกรรมการฝ่ ายไทยเองก็มิได้แสดงให้เห็นว่าแผนที่ฯมิได้เป็ นไปตามการปักปันโดยคณะกรรมการผสมฯ; หน้าแผนที่ฯปรากฏชื่อชัดว่า “ดงเร็ ก – คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนและสยาม” (Dangrek –
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
-
หน้าที่ ๑๘ จาก ๒๕
Commission of Delimitation between Indo-China and Siam – โปรดสังเกตว่า Commission ทั้งในภาษาฝรั่งเศสตาม แผนที่ฯและในภาษาอังกฤษตามคําพิพากษาล้วนเป็ นคําเอกพจน์ ต่างจาก Commissions ซึ่ งเป็ นคําพหูพจน์ใน อนุสัญญาฯ – ดูภาพแผนที่ฯได้ที่เว็บไซต์ผยู้ อ่ ); และ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ขอให้ฝรั่งเศสทําสําเนาแผนที่ฯเพิ่มเติมอีก ๑๕ ฉบับเพื่อนําไปแจกจ่ายให้ผวู้ า่ ราชการ จังหวัดของไทยต่อไป.
ศาลพิจารณาว่าการประพฤติปฏิบตั ิเหล่านี้โดยที่ไทยรับแผนที่ฯโดยไม่ทกั ท้วง ไม่วา่ จะในเวลานั้นหรื อต่อมาเป็ นเวลา หลายปี กฎหมายถือว่าเข้าลักษณะการยินยอมจากการนิ่งเฉยในการที่ควรปฏิบตั ิ (held to have acquiesced) ศาลจึงเห็นว่าไทยได้ ยอมรับ (accept) แผนที่ฯให้เป็ นผลจากการปักปั นพรมแดนบริ เวณปราสาทฯแล้ว. ศาลกล่าวถึงข้อต่อสู้ของไทยที่วา่ ณ เวลาที่ได้รับแผนที่ฯมานั้น ไทยไม่ทราบเกี่ยวกับตัวปราสาทฯ จึงไม่ได้ใส่ ใจ เกี่ยวกับตัวปราสาทฯ ศาลพิจารณาว่าฟังไม่ข้ ึนเพราะไทยได้ยอมรับเองว่าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้คน้ พบปราสาทฯอีกครั้ง ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๙๙. ศาลกล่าวต่อว่า ไทยจะยกข้อต่อสู้วา่ ไทยเข้าใจแผนที่ฯผิดไม่ได้ เพราะเส้นแผนที่ฯไม่เพียงแต่แสดงให้ เห็นชัดว่าปราสาทฯตั้งอยูใ่ นเขตกัมพูชา แต่ยงั แสดงให้เห็นอีกว่าการลากเส้นมิได้เป็ นไปตามตามแนวขอบหน้าผา แต่กลับลาก เหนือขึ้นไปจากชะโงกผาที่ปราสาทฯตั้งอยูอ่ ย่างชัดเจน. ศาลกล่าวว่าฝ่ ายไทยย่อมต้องสงสัยได้ทนั ทีวา่ แผนที่ฯแสดงเส้นตาม แนวสันปันนํ้าหรื อไม่ แต่ไทยเองเป็ นฝ่ ายวางใจขอให้ฝรั่งเศสทําแผนที่ฯและรับมาโดยไม่ตรวจสอบ ดังนั้น เมื่อกฎหมายไม่ อนุญาตให้ฝ่ายที่ผดิ พลาดอ้างความผิดพลาดของตนเองมาลบล้างความยินยอม ข้อต่อสู ้ของไทยเรื่ องความเข้าใจผิดจึงฟังไม่ข้ ึน. ศาลเห็นว่ าสิ่ งทีเ่ กิดขึน้ หลัง ค.ศ. ๑๙๐๙ ยืนยันว่ าไทยเคยยอมรับแผนทีฯ่ และไทยเสี ยสิ ทธิทจี่ ะปฏิเสธ (หน้ า ๒๗ – ๓๓, คําแปลหน้ า หน้ า ๓๖ - ๔๖) ศาลพิจารณาการประพฤติปฏิบตั ิของไทยหลัง ค.ศ. ๑๙๐๙ ต่อไปนี้ -
-
-
-
ไทยไม่ยกประเด็นปราสาทฯขึ้นเจรจากับฝรั่งเศส แม้มีโอกาสในช่วงการเจรจาหนังสื อสัญญาอื่นในปี ค.ศ. ๑๙๒๕ และ ๑๙๓๗ แต่ในทางกลับกัน ไทยและฝรั่งเศสกลับมีท่าทียนื ยันพรมแดนที่ได้ตกลงไปแล้วเมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๔; ไทยได้สาํ รวจดินแดนบริ เวณปราสาทฯด้วยตนเองช่วง ค.ศ. ๑๙๓๔ – ๑๙๓๕ จากนั้นใน ค.ศ. ๑๙๓๗ ไทยได้ทาํ แผน ที่เพื่อใช้เองในประเทศ แต่แผนที่ฉบับดังกล่าวกลับระบุให้ปราสาทฯอยูใ่ นกัมพูชาโดยแผนที่มิได้อธิบายหรื อสงวน ข้อความประการใด; ไทยอ้างว่าไทยได้ใช้อาํ นาจทางปกครองแสดงความมีอธิปไตยเหนือบริ เวณปราสาทฯ แต่ศาลกล่าวในหน้า ๓๐ ว่าการ กระทําดังกล่าวเป็ นเพียงในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคอันไม่ชดั เจนว่าเกี่ยวข้องกับยอดเขาพระวิหารและบริ เวณ ปราสาทฯ (the summit of Mount Preah Vihear and the Temple area) หรื อเป็ นที่อื่นในบริ เวณใกล้กนั (in the vicinity); ไทยนําแผนที่อีกฉบับมาแสดงในระดับระหว่างประเทศเมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๗ โดยแผนที่ฉบับดังกล่าวระบุให้ปราสาทฯอยู่ ในกัมพูชา; ผูแ้ ทนประเทศไทยเคยใช้ถอ้ ยคําในการประชุมระดับระหว่างประเทศใน ค.ศ. ๑๙๕๘ ซึ่ งถ้อยคําชี้ให้เห็นว่าไทยได้ ปราสาทฯ กลับคืนมาเพียงแค่ช่วงหลัง ค.ศ. ๑๙๔๐ (สมัยที่ไทยเคยครอบครองดินแดนบางส่ วนของกัมพูชาชัว่ คราว) ซึ่ งสอดคล้องกับเอกสารราชการไทยที่ใช้คาํ ว่าได้ปราสาทฯ “กลับคืนมา” (retaken) แม้ไทยจะอ้างว่าพิมพ์ผิด; และ ไทยมีท่าทีที่ไม่ชดั เจนเกี่ยวกับปราสาทฯเมื่อได้รับหนังสื อสอบถามจากฝรั่งเศสและกัมพูชา จนกัมพูชานําคดีมาสู่ศาล ในปี ค.ศ. ๑๙๕๙.
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๑๙ จาก ๒๕
นอกจากนี้ ศาลกล่าวถึงกรณี ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดํารงราชานุภาพ อดีต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยซึ่ ง ณ เวลานั้นเป็ นผูม้ ีหน้าที่เกี่ยวกับโบราณสถาน ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริ ย ์ ไทยให้เสด็จเยีย่ มปราสาทฯเมื่อ ค.ศ. ๑๙๓๐ และเมื่อข้าหลวงฝรั่งเศสให้การต้อนรับพร้อมชักธงฝรั่งเศสเหนือปราสาทฯ ฝ่ าย ไทยกลับไม่ทกั ท้วงทั้งที่กรณี เสด็จเยีย่ มดังกล่าวมีลกั ษณะกึ่งทางการ. ศาลกล่าวต่อในหน้า ๓๑ (คําแปลหน้า ๔๒ – ๔๓) ว่า หาก พิจารณาการเสด็จเยีย่ มปราสาทฯโดยรวม (taken as a whole) ดูได้วา่ (it appears) ไทยได้รับรองว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือ ปราสาทฯโดยปริ ยาย (tacit recognition) และข้อที่น่าจะชัด (what seems clear) คือ ไทยไม่คิดว่าตนเป็ นเจ้าของปราสาทฯ หรื อไม่ (either…or) ไทยก็ยอมรับการอ้างสิ ทธิ โดยฝรั่งเศส หรื อไม่ไทยก็ยอมรับเส้นพรมแดนตามที่ปรากฏบนแผนที่ฯ อย่างใด อย่างหนึ่ ง. ศาลพิจารณาการประพฤติปฏิบตั ิของไทยหลัง ค.ศ. ๑๙๐๙ เป็ นต้นมา และสรุ ปในหน้า ๓๒ (คําแปลหน้า ๔๒ – ๔๓) ว่า ไม่วา่ ไทยจะได้ยอมรับเส้นพรมแดนตามที่ปรากฏบนแผนที่ฯหรื อไม่ ไทยย่อมเสี ยสิ ทธิ (precluded) ที่จะปฏิเสธการประพฤติ ปฏิบตั ิของตนที่ต่อเนื่องมาเป็ นเวลา ๕๐ ปี . ศาลเห็นว่าไทยเองก็ได้อา้ งและรับประโยชน์จากการมีพรมแดนที่มนั่ คง (stable frontier) และไม่อาจปฏิเสธความยินยอมผูกพันของตนได้. จากนั้น ในย่อหน้าสุ ดท้ายของหน้า ๓๒ ไปถึงต้นหน้า ๓๓ (คําแปลหน้า ๔๕) ศาลได้กลับไปอาศัยสิ่ งที่ศาลเคยกล่าว ไว้เกี่ยวกับช่วง ค.ศ. ๑๙๐๘ – ๑๙๐๙ (หน้า ๒๗ – ๓๓ หรื อคําแปลหน้า ๓๖ - ๔๖) เป็ นเหตุผลสําคัญในการพิจารณา (The Court however considers) ว่า ด้วยเหตุที่ไทยได้ยอมรับ (accept) แผนที่ฯให้เป็ นผลจากการปักปันพรมแดนบริ เวณปราสาทฯนั้น ไทย ย่อมได้รับรอง (recognized) เส้นตามแผนที่ฯว่าเป็ นเส้นพรมแดน เหตุดงั กล่าวจึงส่ งผลให้ปราสาทฯตั้งอยูใ่ นอาณาเขตกัมพูชา. ศาลกล่าวเพิม่ ว่าการประพฤติปฏิบตั ิของไทยต่อมาหลัง ค.ศ. ๑๙๐๙ เป็ นข้อที่ยนื ยันและสื บเนื่อง (confirms and bears out) จาก การที่ไทยได้ยอมรับแผนที่ฯ ไปก่อนหน้านั้น. ศาลกล่าวต่ออีกว่า การที่ไทยอ้างว่าตนเข้าใจแผนที่ฯผิดนั้น ฟังไม่ข้ ึนในสองระดับ. ในระดับแรกหากไทยเชื่อว่าเส้น บนแผนที่ฯคือเส้นสันปั นนํ้าจริ ง ไทยก็ยอ่ มต้องไม่เคยอ้างการกระทําใดๆในบริ เวณปราสาทฯ เพราะเส้นตามแผนที่ฯแสดงชัด ว่าปราสาทฯอยูใ่ นเขตกัมพูชา แต่เมื่อในคดีน้ ีไทยกลับอ้างถึงการกระทําของไทยในบริ เวณปราสาทฯ ข้อต่อสู้ที่ขดั แย้งกันเอง ของไทยจึงฟังไม่ข้ ึน. ในระดับต่อมา แม้หากในหลักการ (in principle) ไทยจะอ้างได้วา่ เข้าใจผิดว่าจริ ง ไทยก็คงจะอ้างได้ถึงช่วง หลัง ค.ศ. ๑๙๓๔ – ๑๙๓๕ ซึ่ งเป็ นตอนที่ไทยได้ทาํ การสํารวจดินแดนบริ เวณปราสาทฯด้วยตนเอง แต่จะนํามาอ้างต่อศาลใน บัดนี้ไม่ได้ (กัมพูชาฟ้ องคดีน้ ี เมื่อ ค.ศ. ๑๙๕๙). ศาลอธิบายว่ าแผนทีฯ่ ไม่ ขัดกับอนุสัญญาฯ (หน้ า ๓๓ – ๓๕, คําแปลหน้ า หน้ า ๔๗ – ๕๐, ดูประกอบกับหน้ า ๑๖ – ๑๗, คําแปลหน้ า ๑๙ - ๒๐) ศาลเห็นว่าศาลจําเป็ นต้องอธิบาย (finds it necessary to deal) เกี่ยวกับอนุสัญญาฯและแผนที่ฯว่า ไม่วา่ แผนที่ฯจะ ลากเส้นตรงกับเส้นสันปันนํ้าตามที่อนุสัญญาฯ ข้อ ๑. กําหนดไว้หรื อไม่ แผนที่ฯก็ไม่ขดั ต่ออนุสัญญาฯ เพราะไทยและฝรั่งเศส ได้ถือเอาการตีความ (adopted an interpretation) ว่าแผนที่ฯคือผลของการปั กปันเขตแดนตามอนุสัญญาฯ ข้อ ๓. ดังนั้น แผนที่ฯ จึงเข้าสู่ความตกลง (enter the treaty settlement) และกลายมาเป็ นส่ วนเดียวกัน (integral part) กับอนุสัญญาฯ และส่ งผลให้เส้น ตามแผนที่ฯมีสถานะสู งกว่า (prevails) ข้อกําหนดเรื่ องสันปันนํ้า. ศาลกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้หากศาลจะต้องพิจารณาคดีโดยอาศัยการตีความสนธิสัญญาโดยปกติ (solely of ordinary treaty interpretation) ศาลก็สามารถตีความโดยพิจารณาวัตถุประสงค์สาํ คัญ (primary object) ของอนุสัญญาฯ ซึ่ งวิธีน้ ีกจ็ ะทําให้ ศาลได้ขอ้ สรุ ปเดียวกันกับการตีความแบบแรก. ศาลอธิบายว่าวัตถุประสงค์สาํ คัญที่สุดของไทยและฝรั่งเศสในช่วง ค.ศ. ๑๙๐๔ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๒๐ จาก ๒๕
– ๑๙๐๙ ก็คือการตกลงเรื่ องพรมเแดนให้มนั่ คงแน่นอนและเป็ นที่ยตุ ิ (stability, certainty and finality) ดังจะเห็นได้วา่ การทํา ข้อตกลงเรื่ องพรมแดนนั้น ไทยและฝรั่งเศสจะตกลงว่าให้ใช้สันปั นนํ้ากําหนดพรมแดนเพียงขั้นตอนเดียวเท่านั้นก็ยอ่ มทําได้ แต่ เมื่อไทยและฝรั่งเศสกลับตกลงให้มีคณะกรรมการผสมฯเป็ นผูป้ ักปันพรมแดนอีกขั้นตอน แสดงว่าไทยและฝรั่งเศสมองว่าสัน ปั นนํ้ามีความไม่ชดั เจน. ศาลอธิบายต่ออีกว่า ประเด็นการตกลงเรื่ องพรมเแดนในช่วง ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๙๐๙ ได้ทาํ ให้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสมีปัญหากระทบกระทัง่ และนํามาสู่ “ความตึงเครี ยดที่ทวีข้ ึนเรื่ อยๆ”. ศาลอธิบายว่าหาก ปล่อยให้เส้นพรมแดนไม่ชดั เจนแล้ว นอกจากจะทําให้เกิดกระบวนการโต้แย้งกันที่ไม่จบสิ้ น ยังจะทําให้เกิดสถานการณ์สุ่ม เสี่ ยงอย่างยิง่ . ศาลอธิบายต่อว่า วัตถุประสงค์สาํ คัญดังกล่าวยังเห็นได้จากการเจรจาหนังสื อสัญญาใน ค.ศ. ๑๙๐๗, ค.ศ ๑๙๒๕ และ ค.ศ. ๑๙๓๗ ซึ่ งไทยและฝรั่งเศสต่างให้ความสําคัญต่อการตกลงเรื่ องพรมแดนให้เป็ นที่ยตุ ิ. ศาลมองว่าการที่อนุสัญญาฯ ข้อ ๑. กล่าวถึงสันปั นนํ้าไว้ ก็เพื่อความสะดวกในการอธิบายบริ เวณพรมแดนที่ตอ้ งการให้มีการปั กปันเท่านั้น อีกทั้งศาลก็ไม่พบ หลักฐานว่าไทยและฝรั่งเศสให้ความสําคัญพิเศษกับสันปันนํ้าแต่อย่างใด. ดังนั้น เมื่อแผนที่ฯสามารถทําให้การปักปันพรมแดนแน่นอนและเป็ นที่ยตุ ิ ศาลจึงตีความว่าไทยและฝรั่งเศสได้ ยอมรับแผนที่ฯเพื่อบรรลุวตั ถุประสงค์สาํ คัญของอนุสัญญาฯดังกล่าว และไม่มีความจําเป็ นต้องพิจารณาว่าเส้นแผนที่ฯเป็ นไป ตามเส้นสันปันนํ้าที่ถกู ต้องหรื อไม่อย่างไร. ศาลยํา้ กรอบคําพิพากษา (หน้ า ๓๖; คําแปลหน้ า ๕๐ – ๕๑) ศาลยํ้าสิ่ งที่ศาลได้กล่าวไว้แล้วในหน้า ๑๔ ว่า การที่กมั พูชาขอให้ศาลวินิจฉัยสถานะทางกฎหมายของแผนที่ฯและ เส้นพรมแดนนั้น ศาลเพียงรับฟังในฐานะเหตุผล (grounds) ประกอบการวินิจฉัยคดีเท่านั้น มิใช่ในฐานะประเด็นพิพาท (claims) ที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในบทปฏิบตั ิการของคําพิพากษา. ส่ วนเรื่ องที่กมั พูชาขอให้วนิ ิจฉัยว่าไทยต้องคืนบรรดาวัตถุที่นาํ ออกไป จากปราสาทฯนั้น ถือเป็ นส่ วนหนึ่งของประเด็นอธิปไตยเหนือปราสาทฯ ศาลจึงรับมาวินิจฉัยได้. บทปฏิบัติการของคําพิพากษา (หน้ า ๓๖ – ๓๗; คําแปลหน้ า ๕๑ – ๕๒) ศาลโดยมติขา้ งมากจึงวินิจฉัยว่า (๑) ศาลเห็นว่าปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) ตั้งอยูใ่ นอาณาเขตใต้อธิปไตยของกัมพูชา; และจากเหตุดงั กล่าว (in consequence) (๒) ไทยจึงต้องถอนกําลังเจ้าหน้าที่ซ่ ึ งไทยส่ งไปประจํา ณ ตัวปราสาทฯ (at the Temple) หรื อ ในบริ เวณใกล้เคียงตัว ปราสาทฯซึ่ งอยูใ่ นอาณาเขตของกัมพูชา (in its vicinity on Cambodian territory); และ (๓) ไทยจึงต้องคืนบรรดาวัตถุที่นาํ ออกไปจากตัวปราสาทฯ (the Temple) หรื อบริ เวณปราสาทฯ (the Temple area) ตามที่กมั พูชาสามารถระบุได้.
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๒๑ จาก ๒๕
๕. ขบกันต่ อ: ประเด็นน่ าสนใจเกีย่ วกับคดีปราสาทพระวิหาร หมายเหตุโปรดดูเพิ่มที่หมายเหตุทา้ ยคําพิพากษา https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962 (๑) “บริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯ” ส่ วนใดเป็ นของไทย ส่ วนใดเป็ นของกัมพูชา ? คําพิพากษา พ.ศ. ๒๕๐๕ ส่ วนที่ผกู พันไทย หรื อที่เรี ยกว่า “บทปฏิบตั ิการ” มีสามข้อ คือ (๑) ศาลเห็นว่าปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) ตั้งอยูใ่ นอาณาเขตใต้อธิปไตยของกัมพูชา; และจากเหตุดงั กล่าว (in consequence) (๒) ไทยจึงต้องถอนกําลังเจ้าหน้าที่ซ่ ึ งไทยส่ งไปประจํา ณ ตัวปราสาทฯ (at the Temple) หรื อ ในบริ เวณใกล้เคียงตัว ปราสาทฯซึ่ งอยูใ่ นอาณาเขตของกัมพูชา (in its vicinity on Cambodian territory); และ (๓) ไทยจึงต้องคืนบรรดาวัตถุที่นาํ ออกไปจากตัวปราสาทฯ (the Temple) หรื อบริ เวณปราสาทฯ (the Temple area) ตามที่กมั พูชาสามารถระบุได้. หากพิจารณาจากบทปฏิบตั ิการข้อที่ (๒) ศาลได้วนิ ิจฉัยว่ามี “บริ เวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯ” ที่เป็ นของกัมพูชา แต่ศาล มิได้ระบุให้แน่ชดั ว่า “บริ เวณใกล้เคียง” (in the vicinity) ดังกล่าวมีความหมายว่าอย่างไร. เกือบห้าสิ บปี ต่อมา ในเดือนเมษายน ๒๕๕๔ กัมพูชาได้ขอให้ศาลตีความคําพิพากษาในประเด็นที่เกี่ยวกับ “บริ เวณ ใกล้เคียง” ดังกล่าว ซึ่ งศาลจะรับตีความหรื อไม่อย่างไรย่อมขึ้นอยูก่ บั ข้อพิจารณาสําคัญหลายประการ และก็มีวธิ ีตีความ หลายทาง กัมพูชาอาจตีความไปในทางว่าต้องยึดตามเส้นในแผนที่ฯ ส่ วนไทยอาจจะสู้วา่ ต้องเป็ นไปตามแนวรั้วหลวดหนาม ที่ไทยได้ดาํ เนินการไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ฯลฯ อย่างไรก็ดี หากเราต้องการทราบในเบื้องต้นว่า “บริ เวณใกล้เคียง” นั้นศาลอาจหมายความว่าอย่างไร เราสามารถลอง “ถอดรหัส” ถ้อยคําในคําพิพากษา โดยพิจารณาถึงถ้อยคําที่อาจเกี่ยวข้องกัน อาทิ (๑.) ถ้อยคําว่า “in the vicinity” ที่ศาลกล่าวไว้ในบทปฏิบตั ิการท้ายคําพิพากษาในหน้า ๓๗ นั้น คําพิพากษาฉบับฝรั่งเศสใช้ คําว่า “dans ses environs” แต่คาํ ดังกล่าวทั้งในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสก็แปลทัว่ ไปได้วา่ “บริ เวณใกล้เคียง” หรื อ “บริ เวณรอบๆ” ตัวปราสาทฯ ซึ่ งก็ไม่ชดั เจน; (๒.) หากเทียบเคียงคําว่า “vicinity” ในจุดอื่นของคําพิพากษา เช่น ในหน้า ๒๑ หรื อ ๓๕ ก็จะพบว่าศาลใช้อย่างกว้างๆเพื่อ กล่าวถึง “บริ เวณเดียวกัน”. นอกจากนี้ ศาลใช้คาํ ว่า “vicinity” ในหน้า ๓๐ เพื่ออธิบายถึงละแวกอื่นที่ไม่ได้อยูบ่ ริ เวณ เดียวกับตัวปราสาทหรื อยอดเขาพระวิหาร ดังนั้น “vicinity” ในหน้า ๓๐ ดังกล่าวจึงมิอาจนํามาเทียบเคียงกับ “vicinity” ในบทปฏิบตั ิการณ์ในหน้า ๓๗ ได้. คําว่า “vicinity” จึงมีความหมายที่ไม่แน่นอนในตัวเอง; (๓.) คําว่า “region” ซึ่ งอาจหมายถึงพื้นที่หรื อบริ เวณ ก็ถกู นํามาใช้หลายครั้งซึ่ งมิอาจตีความเทียบกับบริ บทของบริ เวณรอบ ปราสาทฯได้โดยชัดได้; (๔.) ถ้อยคําที่น่าสนใจคือถ้อยคําว่า “and its precincts” ในหน้า ๑๔ ซึ่ งศาลทวนข้อสรุ ปของศาลเองที่สรุ ปไว้วา่ กัมพูชา ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๒๒ จาก ๒๕
กล่าวอ้างว่าไทยได้ละเมิด “อํานาจอธิปไตยเหนือบริ เวณปราสาทพระวิหารและเขตที่เกี่ยวข้อง” (sovereignty over the region of the Temple of Preah Vihear and its precincts). คําว่า “precincts” ที่ปรากฏในคําพิพากษานี้แปลอย่างเป็ น กลางได้วา่ “เขตที่เกี่ยวข้อง” แต่มีนยั ที่สาํ คัญยิง่ กว่านั้น อาทิ (ก.) หากแปลคําว่า precincts ตามนัยศาสนาหรื อโบราณคดีแล้ว จะแปลว่าบริ เวณทั้งหลายที่ถือรวมเป็ นส่ วนหนึ่ งของ สถานที่เดียวกัน เช่น เราอาจเรี ยก เจดีย ์ อุโบสถ ศาลาและลานวัดทั้งหลายที่ต้ งั อยูใ่ นกําแพงวัด ว่าเป็ น precincts ของวัด โดยการใช้ลกั ษณะนี้มกั ใช้รูปพหูพจน์. การถอดรหัสคําว่า precincts ในคําพิพากษาต้องแปลจากบริ บทที่ ศาลกล่าวว่า “sovereignty over the region of the Temple of Preah Vihear and its precincts”. คําถามคือศาลอธิบาย ถึง precincts ของ “region” (บริ เวณ) หรื อ ของ “Temple” (ตัวปราสาทฯ) เพราะหากเป็ นกรณี “Temple” เราอาจ ตีความได้วา่ ศาลกําลังพูดถึงบริ เวณบันไดนาค โคปุระ บ่อนํ้า หรื อรอยกําแพงรอบๆตัวปราสาทฯที่ถือเป็ นส่ วน หนึ่งของปราสาทพระวิหารเท่านั้น; (ข.) คําว่า “precincts” ในหน้าที่ ๑๔ นี้ ศาลใช้คาํ ภาษาฝรั่งเศสว่า “environs” ซึ่ งก็เป็ นคําแปลคําเดียวกันกับคําว่า “vicinity” ในบทปฏิบตั ิการหน้า ๓๗. ศาลจึงอาจสื่ อว่า คําว่า “precincts” ในหน้าที่ ๑๔ กับคําว่า “vicinity” ในบท ปฏิบตั ิการหน้า ๓๗ เทียบกันได้; (๕.) คําว่า “ruins of the Temple of Preah Vihear” แปลได้วา่ ซากปรักหักพังของปราสาท (จึงมิใช่บริ เวณโดยรอบ) คํานี้ ศาลกล่าวถึงในหน้า ๙ โดยเป็ นคําที่กมั พูชาเคยใช้อธิบายถึงพื้นที่ปราสาทฯในตอนแรกของกระบวนพิจารณา; (๖.) หากพิจารณาจากบริบทบทปฏิบัตกิ ารทั้งสามข้ อในคําพิพากษา คําว่า “vicinity” ในบทปฏิบตั ิการข้อที่ ๒ นั้น สามารถ ถอดรหัสโดยการอ่านรหัสควบคู่กบั คําว่า “in consequence” และ “Temple area”. ในทางหนึ่งกล่าวได้วา่ การที่ศาลใช้ คําว่า “vicinity” ในข้อ ๒ และใช้คาํ ว่า “Temple area” ในข้อ ๓ ทั้งที่กเ็ ป็ นเรื่ องผลที่ตามมาจากข้อ ๑ เหมือนกันแสดง ให้เห็นว่าในบริ บทโดยรวมศาลก็หมายถึง บริ เวณที่ใกล้ชิดหรื อเป็ นส่ วนหนึ่ งของตัวปราสาทฯ (precincts); (๗.) คําว่า “บริ เวณปราสาทฯ” (Temple area) มิได้ปรากฏอยูแ่ ต่ในบทปฏิบตั ิการข้อ ๓. เท่านั้น แต่เป็ นคําที่ศาลใช้บ่อย เช่น ในหน้า ๑๕, ๑๗, ๑๙, ๒๑, ๒๒, ๒๙, ๓๐, ๓๓ และ ๓๖. หากเราเทียบเคียงจากบริ บทในบทปฏิบตั ิการว่า “Temple area” ต้องเป็ นบริ เวณที่มีโบราณวัตถุที่สามารถถูกเคลื่อนย้ายได้ ก็ยอ่ มสนับสนุนการตีความว่า “Temple area” นั้นต้อง หมายถึง “precincts” ในเชิงศาสนาและโบราณคดีเท่านั้น และไม่สามารถรวมไปถึงบริ เวณพื้นที่รอบๆตัวปราสาทอย่าง อื่นได้. ข้อสรุ ปนี้จะสําคัญพิเศษหากพิจารณาถึงคําว่า “Temple area” ที่ศาลใช้ในหน้า ๑๗ ซึ่ งตีความได้วา่ ศาลต้องการ จํากัดประเด็นพื้นที่ให้อยูเ่ ฉพาะสิ่ งที่ถือเป็ นส่ วนหนึ่งของปราสาทฯเท่านั้น; (๘.) นอกจากนี้ หากเราพิจารณาบริบทโดยรวมของคําพิพากษาทั้งฉบับ เราจะเห็นว่าศาลเขียนคําพิพากษาด้วยความ ระมัดระวังอย่างยิง่ ว่าศาลไม่ได้วินิจฉัยเรื่ องเรื่ องเส้นพรมแดนและแผนที่ฯแต่อย่างใด ซึ่ งย่อมตีความว่า คําว่า “vicinity” มิอาจรวมไปถึงบริ เวณอื่นๆโดยกว้างได้; เป็ นต้น. (๒) ศาลโลกได้ ตัดสิ นเรื่องเส้ นพรมแดนและแผนทีฯ่ หรือไม่ ? ศาล “พิจารณา” แผนที่ฯในฐานะข้อเท็จจริ งประกอบการตีความกฎหมาย ซึ่ งก็คืออนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๐๔ ที่กาํ หนด เขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา แต่ ศาลไม่ ได้ “วินิจฉัย” เรื่ องสถานะทางกฎหมายของแผนที่ฯ กล่าวคือ ศาลมิได้บอกว่าตัว แผนที่ฯ โดดๆ มีผลทางกฎหมายที่จะผูกพันไทยหรื อไม่ ดังที่ศาลอธิ บายดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๒๓ จาก ๒๕
(๑) ช่ วงต้ นของคําพิพากษาในหน้ า ๑๔ ย่อหน้ าสุ ดท้ าย ศาลตีกรอบว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีจาํ กัดอยูเ่ ฉพาะ (confined to) เรื่ อง “อํานาจอธิปไตยเหนือบริ เวณปราสาทพระวิหาร” (sovereignty over the region of the Temple of Preah Vihear) และกล่าวต่อว่าศาลจะพิจารณาแผนที่และข้ออ้างที่เกี่ยวเนื่อง (ซึ่ งย่อมหมายถึงเรื่ องเส้นพรมแดน) เพียงเท่าที่จาํ เป็ นต่อ การหาเหตุผล (reasons) มาวินิจฉัยประเด็นพิพาทแห่งคดี (settle the sole dispute) ที่จาํ กัดอยูเ่ ฉพาะเรื่ องอํานาจ อธิปไตยเหนืออาณาบริ เวณปราสาทพระวิหารประเด็นเดียวเท่านั้น. (๒) ศาลอธิบายข้ อกฎหมายในหน้ า ๑๖ – ๑๗ ว่ า การวินิจฉัยคดียอ่ มเป็ นไปตาม (depends upon) อนุสัญญาฯ แต่เมื่อ อนุสัญญาฯ มิได้ระบุถึงปราสาทฯไว้ ศาลจึงมีความจําเป็ นต้องตรวจสอบ (examine) ว่าเส้นพรมแดน (frontier line) คือเส้นใด เพื่อศาลสามารถพิจารณาวินิจฉัย (give a decision) ได้วา่ กัมพูชาหรื อไทยมีอธิ ปไตยเหนือบริ เวณปราสาทฯ (the Temple area). (๓) ในหน้ า ๒๑ ศาลกล่าวว่ า แผนที่ฯ ณ ขณะที่ทาํ ขึ้นย่อมไม่ผกู พันไทยในทางกฎหมาย เพราะฝรั่งเศสทําขึ้นฝ่ ายเดียวและ ไม่มีหลักฐานแสดงว่าคณะกรรมการผสมฯ ได้มอบหมายหรื อรับรองการทําแผนที่ฯ. (๔) จากนั้นในหน้ า ๒๒-๓๓ ศาลจึงตั้งประเด็นการพิจารณา (ไม่ ใช่ ประเด็นคดีทศี่ าลวินิจฉัย) คือ ไทยและฝรั่งเศสได้ถือ ให้แผนที่ฯเป็ นผลจากการปักปันพรมแดนบริ เวณปราสาทฯ (as representing the outcome of the work of delimitation) ตามที่อนุสัญญาฯข้อ ๓ กําหนดไว้หรื อไม่ ศาลพิจารณาการประพฤติปฏิบตั ิต่างๆของไทยและเห็นว่า ไทยได้ยอมรับให้เส้นแผนที่ฯ เป็ นผลการปักปั นตามอนุสัญญาฯ ข้อ ๓ แล้ว. (๕) แต่ ท้งั นี้ ในหน้ า ๓๓ – ๓๕ ศาลกล่าวว่ ามีความจําเป็ นต้ องอธิบายข้ อกฎหมายว่ า แผนที่ฯได้เข้าสู่ความตกลง (enter the treaty settlement) และกลายมาเป็ นส่ วนเดียวกัน (integral part) กับอนุสัญญาฯ และส่ งผลให้เส้นแผนที่ฯมีสถานะสูง กว่า (prevails) ข้อกําหนดเรื่ องสันปันนํ้า. ศาลยํ้าอีกครั้งว่าเรื่ องเกี่ยวกับแผนที่ฯนั้น ศาลพิจารณาในลักษณะการตีความ อนุสัญญาฯ (as a matter of treaty interpretation). (๖) ช่ วงท้ ายของคําพิพากษาในหน้ า ๓๖ ศาลยํา้ สิ่ งที่กล่าวไว้ แล้วในหน้ า ๑๔ ว่ า การที่กมั พูชาขอให้ศาลวินิจฉัยสถานะทาง กฎหมายของแผนที่ฯและเส้นพรมแดนนั้น ศาลเพียงรับฟังในฐานะเหตุผล (grounds) ประกอบการวินิจฉัยคดีเท่านั้น มิใช่ในฐานะประเด็นพิพาท (claims) ที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในบทปฏิบตั ิการของคําพิพากษา. (๓) สถานะทีแ่ ท้ จริงของ แผนที่ฯ คืออะไร ? อาจมีผสู ้ งสัยว่า ก็ในเมื่อศาลบอกเองว่า แผนที่ฯได้กลายมาเป็ นส่ วนเดียวกันกับอนุสัญญาฯ (integral part) แถมยัง กล่าวด้วยว่าเส้นในแผนที่ฯนั้นมีค่าบังคับสูงกว่า (prevails) เส้นสันปันนํ้า ไทยก็มีหน้าที่ตอ้ งเคารพผูกพันตามแผนที่ฯมิใช่หรื อ? ข้อนี้ตอบได้วา่ ไทยย่อมต้องเคารพปฏิบตั ิตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๐๔ แต่การปฏิบตั ิตามอนุสัญญาฯในวันนี้เป็ นเรื่ อง ของการตีความอนุสัญญาฯตามหลักกฎหมายในวันนี้ ซึ่ งก็คือ อนุสัญญากรุ งเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ (ไม่ ว่าวันนี้ ไทยจะเป็ นภาคีหรื อไม่ บางส่ วนของอนุสัญญาฯนี้กผ็ กู พันไทยในฐานะกฎหมายจารี ตประเพณี ). หากพิจารณาหลักกฎหมายในอนุสัญญากรุ งเวียนนาฯ การตีความอนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ในวันนี้ มิใช่ ว่าจะต้องยึดตามแผนที่ฯเท่านั้น แต่ยงั มีขอ้ สําคัญประการอื่นที่ท้ งั ไทย (และกัมพูชา ซึ่ งเป็ นภาคีเรี ยบร้อยแล้ว) ต้องนํามา ประกอบการตีความ เช่น การประพฤติปฏิบตั ิภายหลังระหว่างไทยและกัมพูชา (subsequent practice) และข้อตกลงภายหลังอื่นๆ ระหว่างไทยและกัมพูชา (subsequent agreement) ที่เกี่ยวข้องกับการตีความอนุสัญญาฯ ที่เคยมีมาตั้งแต่มีอนุสัญญาฯ มิใช่แค่ ช่วง ค.ศ. ๑๙๐๔ หรื อ ช่วงที่มีคาํ พิพากษา แต่ตอ้ งพิจารณาทุกสิ่ งที่มีมาจนถึงปัจจุบนั . เช่น สมมติวา่ ไทยและกัมพูชาเคยทํา “บันทึกความเข้าใจ” (MOU) เกี่ยวกับหลักเขตแดนทางบกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ ฉบับหนึ่ง และ “แถลงการณ์ร่วม” (Joint Communiqué) พ .ศ.๒๕๕๑ อีกฉบับหนึ่ง ไทยอาจอ้างการตกลงหรื อการกระทําทั้ง ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๒๔ จาก ๒๕
สองกรณี (รวมถึงกรณี อื่นๆที่เกี่ยวข้อง) เพื่อพิสูจน์วา่ ไทยกับกัมพูชามีเจตนาจะร่ วมกันสํารวจและทําแผนที่ฉบับใหม่ข้ ึนมาใช้ แทนที่แผนที่ท้ งั หลายที่มีมาก่อนหน้านี้ . หากไทยอ้างได้สาํ เร็ จ ผลก็คือข้อตกลงหรื อการกระทําดังกล่าวย่อมนํามาใช้ตีความอนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๐๔ ได้วา่ แผน ที่ฯที่กมั พูชาอ้างต่อศาลโลกเมื่อกว่า ๕๐ ปี ที่แล้ว แม้ตอนนั้นศาลจะมองว่าเป็ นส่ วนหนึ่งของอนุสัญญาฯ แต่การกระทําและการ ตกลงระหว่างไทยและกัมพูชาตลอดเวลาที่ผา่ นมาได้พิสูจน์วา่ ณ วันนี้แผนที่ฯ มิได้มีสาระสําคัญสําหรับไทยและกัมพูชาดังที่ ศาลเห็นในอดีตอีกต่อไป สถานะใดๆที่แผนที่ฯ อาจจะเคยมีเมื่อเกือบห้าสิ บปี ที่แล้ว ย่อมไม่เหมือนเดิมในวันนี้ เป็ นต้น. ฉันใดก็ฉนั นั้น กัมพูชาก็อาจนําข้อตกลงหรื อการกระทําที่เกี่ยวข้องมาอ้างตีความในทางตรงกันข้ามได้. เราจึงสมควรตระหนักว่า เขตแดน สันติภาพและกฎหมายระหว่างประเทศล้วนเป็ นเรื่ องของกระบวนการที่สอดคล้อง กับความเป็ นจริ งในปัจจุบนั มิได้ยดึ ติดอยูก่ บั แค่แผ่นกระดาษหรื อภาพวาดในอดีตแต่อย่างใด. (๔) สยามถูกปิ ดปากจริงหรือ ? นอกจากความเข้าใจผิดเรื่ องแผนที่ฯแล้ว มักมีผกู้ ล่าวว่าศาลได้อาศัยหลัก estoppel หรื อ “กฎหมายปิ ดปาก” มาวินิจฉัย ว่าไทยจะ “อ้าปาก” ปฏิเสธแผนที่ฯ ไม่ได้. เกรงว่าผูท้ ี่กล่าวเช่นนั้นอาจต้องด้วยกฎหมายปิ ดปากเสี ยเอง. ประการแรก คําพิพากษาส่ วนหลักที่ศาลลงมติน้ นั มิได้อาศัยหลักกฎหมายปิ ดปากดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งผูพ้ ิพากษา ชาวอังกฤษเสี ยงข้างมากในคดีน้ ี คือ Sir Gerald Fitzmaurice ได้อธิบายถึงลักษณะของหลักกฎหมายปิ ดปากโดยอ้อมว่าไม่เหมาะ กับคดีปราสาทพระวิหารที่อาศัยพื้นฐานความยินยอมตามข้อตกลง (ICJ Reports 1962, หน้า ๖๓). อีกทั้งต่อมาศาลเดียวกันในคดี North Sea Continental Shelf Cases ก็ได้กล่าวถึงหลักกฎหมายปิ ดปากในทางระหว่าง ประเทศว่า ฝ่ ายที่ถกู ปิ ดปากมักประพฤติปฏิบตั ิในทางลวงหรื อทําให้อีกฝ่ ายหลงชื่อและเสี ยประโยชน์. ดังนี้ เมื่อพระมหากษัตริ ยแ์ ละบรรพชนชาวสยามได้เจรจาเขตแดนกับมหาอํานาจเรื อปื นอย่างเปิ ดเผย อาจหาญ และ เยือกเย็น เราจึงสมควรร่ วมรณรงค์มิให้อนุชนผูห้ วังดีหลงใช้คาํ ว่า “กฎหมายปิ ดปาก” โดยรู้เท่าไม่ถึงการ. (๕) กฎหมายระหว่ างประเทศ: ชนะทั้งคู่กไ็ ด้ หรือไม่ ? การแก้ไขปั ญหาระหว่างไทยและกัมพูชาให้เป็ นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศมิได้ยดึ ติดอยูก่ บั เพียงการเอาแพ้ เอาชนะตามคําพิพากษาหรื อข้อตกลงบางฉบับเท่านั้น แต่ยงั มีหลักการและกลวิธีที่เกี่ยวข้องอีกมาก เช่น หลักการทัว่ ไปว่าด้วย การเป็ นเพื่อนบ้านที่ดีและร่ วมมือกันตามข้อ ๗๔ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ หรื อตามมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ ๒๖๒๕ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๑๙๗๐. ไทยและเพื่อนบ้านเองก็เคยนําหลักการดังกล่าวมาปฏิบตั ิให้เกิดผล เช่น กรณี ที่ไทยและมาเลเซี ย ได้ตกลงเพื่อสํารวจ และพัฒนาปิ โตรเลียมในพื้นที่พฒั นาร่ วม (Joint-Development Area) ซึ่ งทําให้ไทยและมาเลเซี ยสามารถร่ วมกันใช้ประโยชน์ จากก๊าซธรรมชาติในทะเลร่ วมกัน แม้จะยังไม่สามารถตกลงเขตแดนทางทะเลได้ชดั เจนก็ตาม นอกจากนี้ยงั มีกลไกอื่นที่เป็ นไป ในแนวทางเดียวกัน อาทิ ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์ กติก ค.ศ. ๑๙๕๙ ที่ทุกฝ่ ายต่างได้ใช้ประโยชน์จากแอนตาร์ กติกร่ วมกัน เพราะทุกฝ่ ายต่างยอมรับว่าแอนตาร์ กติกเป็ นของใครนั้น ให้ไปเจรจากันทีหลัง เป็ นต้น. ***
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ – ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร
หน้าที่ ๒๕ จาก ๒๕
คําพิพากษาอาจเป็ นที่สิ้นสุดในทางกฎหมาย แต่ ความชอบธรรมนั้นใคร่ครวญได้ ไม่ สิ้นกาลเวลา A judgment may be final in law; its legitimacy is another matter in time
บันทึก “อนาคตกรณีปราสาทพระวิหาร” ท่ านเห็นเป็ นเช่ นไร? .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................................................
เชิญร่ วมแบ่ งปันข้ อคิดเห็นและพูดคุยกันได้ ทาง เฟซบุค๊ http://www.facebook.com/verapat.pariyawong อีเมล verapat@post.harvard.edu เว็บไซต์ https://sites.google.com/site/verapat/temple ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร รวบรวมโดย วีรพัฒน์ ปริ ยวงศ์ โปรดดูที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple