เครื่องแต่งกายเปรียบเสมือนศิลปะแขนงหนึ่ง ก่อนจะออกมาเป็นชุดสวยสง่า หนึ่งชุดนั้นต้องอาศัยทักษะทางด้านศิลปะไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ ออกแบบหรือการตัดเย็บ นอกจากนีเ้ บือ้ งหลังของชุดทีเ่ ราพบเห็นกันทัว่ ไปล้วน มีเรื่องราวอันน่าประทับใจ ในทุ ก ฤดู ก าลแฟชั่ น หลากหลายแบรนด์ ดั ง จะขนชุ ด ที่ เ หล่ า ดี ไ ซเนอร์ ไ ด้ สร้างสรรค์ มาอวดโฉมสู่สายตาสาธารณะ โดยนางแบบร่างสูงจะสวมชุดสุด อลังการราวกับภาพฝันเดินเฉิดฉายบนรันเวย์ เพือ่ ถ่ายทอดความสวยงามของ อาภรณ์และทุกครัง้ ของการจัดแฟชัน่ วีคในเมืองแฟชัน่ ระดับโลก สิง่ ทีผ่ หู้ ลงใหล และรักในแฟชัน่ ต่างจับตารอคอย คือ แฟชัน่ โชว์ โอต์ กูตรู ์ ทีเ่ ลิศหรูและอลังการ ปัจจุบันมีผู้สนใจแฟชั่นเครื่องแต่งกายเพิ่มมากขึึ้น จ�ำนวนยอดของผู้ที่เลือก ศึกษาด้านแฟชัน่ และการตัดเย็บก็สงู ขึ้นตามไปด้วย รวมถึงดีไซเนอร์รนุ่ ใหม่ที่ ก้ า วสู ่ อ าชี พ สายแฟชั่ น แต่ ก ลั บ เป็ น เรื่ อ งน่ า เสี ย ดายที่ี ผู ้ ส นใจและรู ้ จั ก แฟชั่นโอต์ กูตูร์ มีเพียงแค่บางกลุ่มเท่านั้น โอต์ กูตูร์ มีความส�ำคัญต่อวงการแฟชั่นอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นไอเดีย จุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน หนังสือเรื่อง The Story of Haute couture เล่มนีจ้ ะท�ำให้คณ ุ ได้รจู้ กั กับโอต์ กูตรู ม์ ากยิง่ ขึน้ ...
Contents
01 11 27 39
เน
THE STORY OF HAUTE COUTURE
IV หากย้อนไปในสมัยศตวรรษที่ 16 ยุคสมัยทีป่ ระเทศฝรัง่ เศสเฟือ่ งฟูอย่างมาก การใช้ชีวิตหรูหราและฟุ่มเฟือย ช่างเป็นเรื่องปกติธรรมดาของราชส�ำนัก ตลอดจนถึงบรรดาเหล่าขุนนางและข้าราชบริพารต่างๆ กษัตริยข์ องประเทศ ฝรัง่ เศสหลายพระองค์มคี วามสนพระทัยในเรือ่ งของเครือ่ งแต่งกายเป็นพิเศษ อาทิ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บอง และด้วยความที่ กษัตริย์สนพระทัยในเรื่องการแต่งกายเป็นพิเศษนี้เอง จึงท�ำให้ยุคนั้นกลาย เป็นจุดเริ่มต้นสู่ยุคทองของการแต่งกาย แม้ว่าพระองค์ทรงมิค่อยใส่พระทัยต่อการแต่งกายของพระองค์เอง แต่ทรง สนพระทัยที่จะพัฒนาฝรั่งเศสให้มีความก้าวหน้าในเรื่องเครื่องแต่งกาย พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มผ้าต่วนปักลายดอกไม้ ความนิยมใช้ก�ำมะหยี่และ ไหมในสมัยนั้น ท�ำให้พระองค์ทรงสนับสนุนให้ปลูกต้นหม่อนเพื่อใช้สำ� หรับ เลี้ยงไหมโดยเฉพาะ และกลายเป็นที่นิยมไปยังหมู่สตรีในราชส�ำนัก
THE STORY OF HAUTE COUTURE
THE STORY OF HAUTE COUTURE
เข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 17 ยุคที่อาณาจักรฝรั่งเศสได้กลายเป็นเมืองส�าคัญของโลก และขึ้นชื่อว่าเป็นผู้น�าด้านแฟชั่น ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 (ค.ศ. 1610–1643) นั้น มีความฟุ่มเฟือยไปกับการประดับตกแตงเสื้อผ้าอย่างมหาศาล คนนิยมใช้ผ้าเงินและ ผ้าทองมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายอย่างแพร่หลาย และเมื่อมากจนเกินพอดี จึงมีคนกลุม่ หนึง่ ออกมาต่อต้านการใช้สนิ ค้าฟุม่ เฟือยทีท่ า� จากวัตถุดบิ ประเภทนี้ เหตุนเี้ องท�าให้ ความนิยมในการใช้ผา้ ทองลดลง ชาวฝรัง่ เศสหันมาให้ความสนใจกับผ้าทอสีเรียบอย่างผ้าซาตินหรือ ผ้าต่วน รวมถึงผ้าก�ามะหยีท่ สี่ ไี ม่ฉดู ฉาด การแต่งกายจะเน้นไปทางสีกลางๆ ไม่จดั จ้าน และเริม่ มีการประดับ ตกแต่งเสื้อผ้าด้วยผ้าลูกไม้แทนการปัก มีการน�าริบบิ้นไหมเส้นเล็กๆ มาตกแต่งบริเวณคอเสื้อ จนกลาย เป็นที่นิยม และคอเสื้อในลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า คอเสื้อหลุยส์ที่ 13
THE STORY OF HAUTE COUTURE
กระทั่งสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ฝรั่งเศสก็ยังครองอันดับหนึ่งในต�ำแหน่งผู้นำ� แฟชัน่ ยุคนีค้ อื ยุคแห่งความฟุม่ เฟือยในเรือ่ งการแต่งกายมากทีส่ ดุ ผูค้ นนิยมการประดับ ตกแต่งเสื้อผ้าด้วยลูกไม้ และนิยมใส่กระโปรงทรงโดมและทรงระฆัง
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ฝรั่งเศสในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 การแต่งกายของสตรี มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง จากที่เคยนิยมกระโปรงทรงคล้าย ระฆัง ก็เปลี่ยนมานิยมกระโปรงที่ด้านหน้าเรียบทิ้งตัว ไม่กางออก เช่นเดิมอย่างทรงระฆัง โดยด้านหลังจะมีลักษณะโด่งงอน ลักษณะของ รูปทรงเครื่องแต่งกายในสมัยนี้จึงมีรูปร่างคล้ายตัวเอส
แม้ว่าในช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 ยุโรปและสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ แต่ถงึ กระนัน้ ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีฐานะย�่ำแย่ หลายๆ ครอบครัว สามารถรักษาความมัน่ คงของฐานะเอาไว้ได้ และ ผู้มั่งคั่งเหล่านี้ก็ใช้ชีวิตอย่างหรูหราอยู่เช่นเดิม คนกลุ่มนี้มักจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษจาก กลุ่มผู้ท�ำนิตยสารแฟชั่นชั้นน�ำ เช่น โว้กและ บาซาร์ ซึง่ เป็นนิตยสารแฟชัน่ ชัน้ น�ำส�ำหรับสตรี ทีข่ นึ้ ชือ่ ในเรือ่ งรสนิยม ในช่วงเวลานีค้ วามนิยม ในเรื่องเนื้อผ้าที่ใช้ทำ� เครื่องแต่งกายจะจ�ำกัดอยู่ เพียงแต่สิ่งที่หาได้จากธรรมชาติ โดยเส้นใยที่ สังคมตะวันตกนิยมใช้นั้นมีอยู่ 4 ชนิดได้แก่ ฝ้าย ลินิน ไหม และขนสัตว์
THE STORY OF HAUTE COUTURE
กาลเวลาผ่านไปเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 หากจะเรียกศตวรรษนี้ว่า ยุคมหัศจรรย์ ก็คงจะไม่เป็นการกล่าวที่เกินจริงไปนัก เพราะในศตวรรษนี้มีการตั้งต้นยุคใหม่ในลักษณะที่สาธารณชนนิยมงานเฉลิมฉลองและการจัดนิทรรศการ อย่างเช่น การจัดแสดงเครื่องแต่งกาย แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ส�ำคัญที่ท�ำให้ยุคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คือผลพวงจาก สงคราม สงครามเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้เครื่องแต่งกายของสตรีเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการออกแบบจะเน้น การสวมใส่ที่สะดวกสบาย กระชับและทะมัดทะแมงมากขึ้น ช่วงเปลี่ยนศตวรรษการจัดนิทรรศการต่างๆ จะได้รับความสนใจจากสาธารณชนเป็นพิเศษ โดยงานนิทรรศการสากล ในสมัยนั้น มักจะเป็นงานจัดแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของส�ำนักแฟชั่นต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคม ช่างตัดเสื้อชั้นสูงชาวปารีส (Chambre Syndicale De La Couture Parisienne) โดยแต่ละส�ำนักจะเนรมิตสถานที่ จัดแสดงให้วิจิตรตระการตาและเป็นที่ดึงดูดใจ ส�ำนักแฟชั่นที่ส�ำคัญและยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ดูเซ (Ducet) ปาแก็ง (Paquin) โรอุฟ (Rouf) เชอรุยต์ (Cheruit) กัลโล (Callot) เซอร์ (Soeurs) เรดเฟิรน์ (Redfern) และเวิรธ์ (Worth)
Haute Couture โอต์ กูตูร์ เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาฝรั่งเศสให้ความหมายว่า แฟชั่นชั้นสูง หรือเครื่องแต่งกายที่มีกระบวนการตัดเย็บที่พิถีพิถันและใส่ใจในทุก รายละเอียด ซึ่งบางครั้งมักจะถูกเรียกว่า Couture (กูตูร์)
THE STORY OF HAUTE COUTURE
C
ชาร์ลส์ เฟรดอริก เวิร์ธ นักออกแบบผู้ทรงอิทธิพลในวงการแฟชั่นแห่ง มหานครปารีส ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 (1825-1895) เขา เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 1825 ที่บอร์น ลิงคอล์น ประเทศอังกฤษ
ในช่วงวัยรุ่น เวิร์ธเข้าร่วมฝึกงานกับร้านขายผ้าและสิ่งทอแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ ระหว่างการฝึกงานนั้น เขาได้ใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับสิ่งทอและการท�ำเสื้อผ้าเป็นประจ�ำ สิ่งนี้ท�ำให้เขาค่อยๆ ซึมซับรายละเอียด เกี่ยวกับเนื้อผ้าทีละเล็กทีละน้อย จนกลายเป็นผู้มีความรอบรู้ในเรื่องเนื้อผ้าเป็นอย่างดี อีกทั้งในเรื่องของการท�ำธุรกิจเกี่ยวกับ เครื่องแต่งกายก็เช่นกัน นอกเหนือจากเวลาท�ำงานเวิร์ธผู้หลงใหลในงานศิลปะ มักจะใช้เวลาว่างไปกับการเสพสุนทรียะและ ศึกษาภาพจากประวัติศาสตร์ต่างๆที่หอศิลป์แห่งชาติเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ต่อมาใน ค.ศ.1845 เขาตัดสินใจเลือกก้าวต่อไปของชีวติ โดยการเดินทางมุง่ สูป่ ารีสมหานครทีม่ ชี อื่ เสียงด้านแฟชัน่ ถึงแม้วา่ เขา จะไม่สามารถพูดสื่อสารภาษาฝรั่งเศสได้แม้แต่น้อย ขณะนั้นเวิร์ธเป็นเพียงคนหนุ่มที่มีอายุเพียง 20 ปีแต่การเริ่มต้นชีวิตใน ปารีสนับว่าไปได้ดมี ากกว่าทีเ่ ขาได้คาดคิด เขาได้รว่ มงานกับบริษทั ขายสินค้าประเภทสิง่ ทอและชิน้ ส่วนเสือ้ ผ้าส�ำเร็จรูปทีป่ ระสบ ความส�ำเร็จและมีชื่อเสียง แม้แรกเริ่มเขาจะเป็นแค่พนักงานรับจ้างธรรมดาแต่ด้วยความพยายามและความมุ่งมั่น ไม่นานนัก ก็ได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าและริเริ่มเปิดแผนกตัดเย็บเสื้อผ้าอาภรณ์ให้กับบริษัท
ในขณะทีเ่ วิรธ์ ท�างานอยูท่ เี่ มซงกาเกอลอง เขาใช้เงินทีม่ อี ยูไ่ ม่มากนัก ออกแบบตัดเย็บ ชุดสตรีขึ้นมาและภรรยาของเขาเป็นแบบสวมใส่ นับได้ว่าเธอเป็นนางแบบคนแรก ของประวัติศาตร์ หลังจากนั้นไม่นานนักก็มีผู้คนสนใจ สตรีในสมัยนั้นต่างชื่นชมชุด ที่เขาออกแบบและมาให้เขาท�าชุดให้อีกมากมาย ช่วงทีเ่ วิรธ์ เริม่ ออกแบบเครือ่ งแต่งกาย เป็นช่วงทีร่ าชวงศ์ของฝรัง่ เศสมีการเปลีย่ นแปลง ครัง้ ส�าคัญหลังจากกษัตริยห์ ลุยส์ ฟิลปิ ป์ สละราชบัลลังค์ได้ไม่นานนัก หลุยส์ นโปเลียน ผู้เป็นประธานธิบดีของฝรั่งเศสในขณะนั้น ได้ก่อรัฐประหารขึ้นในค.ศ. 1852 และได้ เข้าสวมอ�านาจเป็นจักรพรรดินโปเลียนทีส่ าม ฝรัง่ เศสสามารถกูต้ า� แหน่งผูน้ า� ในยุโรป กลับคืนมาได้อกี ครัง้ กรุงปารีสก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของยุโรป ในเรือ่ งความต้องการ สินค้าหรูหรา สิ่งทอและเครื่องแต่งกายแฟชั่น ต่อมาใน ค.ศ.1858 เวิร์ธได้ลาออกจากเมซงกาเกอลองและมาเปิดห้องเสื้อของตัวเอง แต่การที่จะประสบความส�าเร็จในอาชีพช่างตัดเสื้อนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ในสมัยนั้นชนชั้น สูงเป็นกลุม่ คนทีม่ อี ทิ ธิพลในการแต่งกายด้วยอาภรณ์ทตี่ ดั เย็บโดยช่างเสือ้ ฝีมอื ดี และ หากท�าให้สตรีในราชส�านักมาอุปถัมภ์เครือ่ งแต่งกายของเขาได้ หนทางทีจ่ ะท�าให้เขา ประสบความส�าเร็จก็ไม่ใช่เรื่องที่เกินเอื้อมอีกต่อไป เขาจึงตัดสินใจน�าอาภรณ์ทอี่ อกแบบไปเสนอให้กบั เจ้าหญิงเปาลีน เมตเตอนิช ภรรยา เอกอัครราชทูตชาวออสเตรีย ซึ่งเป็นบุคคลส�าคัญในราชส�านัก พระนางเป็นต้นแบบ ของสตรีชาวปารีสในเรือ่ งแฟชัน่ เครือ่ งแต่งกายอีกด้วย กาวน์ทเี่ วิรธ์ทา� ถวายเจ้าหญิง เป็นที่ชื่นชอบของสตรีชั้นสูงอย่างมากรวมถึงจักรพรรดินี เออเชนี ด้วยเหตุนี้ท�าให้ ชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นในฐานะช่างเสื้อชั้นสูง เหล่าบรรดาหญิงสาว ปารีเซียงที่คลั่งไคล้ในแฟชั่น ก็พากันมาตัดเสื้อผ้าที่ห้องเสื้อของเขาเป็นจ�านวนมาก กระทั่งช่วง ค.ศ.1880 หลังจากที่เขาวางมือจากการท�างาน บรรดาลูกชายก็เข้ามา สานต่อธุรกิจจัดการงานตัดเย็บ ซึ่งขยายธุรกิจที่เวิร์ธเริ่มให้กว้างไกลมากขึ้น จากที่ ขายส่งงานออกแบบให้ช่างเสื้อชาวต่างชาติน�าไปปรับและขายปลีกที่ร้าน ลูกชายก็ เปิดเป็นซาลอง และเข้าร่วมกับสมาคมช่างตัดเสือ้ ชาวปารีส (Chambre Syndicale De La Couture Parisiene) ซึ่งเป็นองค์กรที่รวมช่างตัดเสื้อฝีมือดี ซึ่งยังมีอยู่ถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนที้ า� ให้ฝรัง่ เศสกลายเป็นประเทศทีไ่ ด้รบั การยอมรับว่าเป็นเมืองแฟชัน่ อันดับ หนึ่งของโลก.
THE STORY OF HAUTE COUTURE
เรียกได้วา่ ชาร์ลส์ เฟรเดอริก เวิรธ์ เป็นบิดาของโอต์ กูตรู ์ หรือการตัดเย็บ แฟชั่นชั้นสูงแห่งฝรั่งเศส เป็นผู้ริเริ่มวิธีการตัดเย็บแบบฉบับฝรั่งเศส ขึน้ มา ในหนังสือประวัตศิ าสตร์หลายเล่มได้กล่าวว่าเขาคือผูร้ อื้ ฟืน กระโปรงห่วง ที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 16 ให้กลับมาเป็นที่ นิยมอีกครั้ง และที่น่าตื่นตาตื่นใจกว่านั้นก็คือความสามารถ พิเศษอันน่าทึง่ ของเวิรธ์ คือ ทักษะทางด้านวิศวกรรม ซึง่ เขาสามารถน�ามาผสมผสานกับออกแบบเครื่องแต่ง กาย โดยที่แต่ละส่วนนั้นสามารถสลับปรับเปลี่ยน หรือน�ามาต่อกันได้อย่างน่าทึ่ง อาทิ แขนเสื้อ ของชุดหนึ่ง สามารถน�าไปต่อกับบอดิซของ ตัวอื่นได้ และบอดิซเองก็สามารถไปต่อ เข้ากับกระโปรงแบบอืน่ ได้อกี มากมาย นอกจากนี้การออกแบบเครื่องแต่ง กายของเขายังเป็นตัวก�าหนด ทิศทางของแฟชั่นว่าอะไรที่ อยู่ในสมัยนิยมอีกด้วย
THE STORY OF HAUTE COUTURE
เดอะชองเบรอะ แซงดิกาล เดอ ลา โอต์ กูตูร์
หลังจากที่ ชาร์ลส์ เฟรเดอริก เวิรธ์ ได้กลายเป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะช่างเสือ้ ชัน้ สูง ผูม้ ฝี มี อื เป็นเลิศในด้านการตัดเย็บและออกแบบ สมาคมช่างตัดเสือ้ ชาวปารีส ก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมช่างเสื้อและนักออกแบบ ฝีมือดีของฝรั่งเศสเอาไว้ บรรดาเหล่านักออกแบบที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ ยึดถือให้ โอต์ กูตูร์ เป็นจุดรวมของแรงบันดาลใจ ที่มีแนวโน้มว่าสามารถ เป็นต้นก�ำเนิดเทรนด์แฟชั่นต่อไปได้ หากมองลึกลงไปถึงรายละเอียดในโครงสร้างของสมาคมแล้ว เหตุผลทีม่ กี าร จัดตัง้ สถาบันนีข้ นึ้ มานัน้ เพือ่ กระตุน้ และผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดค้นสร้างสไตล์ใหม่ๆ ของนักออกแบบ ในทุกๆ ปีจะมีการจัดแสดง แฟชัน่ เสือ้ ผ้าเครือ่ งแต่งกายถึงสองครัง้ และมักจะเป็นทีจ่ บั ตามองของกลุม่ นักหนังสือพิมพ์แฟชัน่ จนเกิดการเผยแพร่เทรนด์ของเสือ้ ผ้าเครือ่ งแต่งกาย ไปสู่เมืองต่างๆ ทั่วโลก ในแต่ละปี กูตูริเยร์(Couturier) หรือดีไซเนอร์ จะเนรมิตเครื่องแต่งกาย ชิน้ ต้นต�ำรับเพือ่ จัดแสดงตามฤดู ทุกชิน้ ล้วนผ่านกระบวนการทีพ่ ถิ พี ถิ นั ต้องใช้ฝีมือและความประณีต ในกระบวนการเย็บ ปัก ถัก ร้อย อีกทั้ง วัตถุดิบที่ใช้ผลิตนั้นต้องผ่านการคัดสรรมาอย่างดี ผลงานชิ้นเอกนี้จึง เป็นงานที่มีคุณค่าและเป็นเหตุผลว่าท�ำไมงานโอต์ กูตูร์ จึงมีราคาสูง หรือไม่สามารถประเมินค่าได้ ในการจัดแสดงแฟชั่นโชว์แต่ละครั้งต้อง ใช้เครือ่ งแต่งกายชิน้ ต้นต�ำรับมากกว่าหนึง่ ชิน้ ซึง่ ส่วนมากกูตรู เิ ยร์จะท�ำ ออกมาเป็นคอลเลคชั่น ในแต่ละชุดจะมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป แต่ ยังคงอยู่ภายใต้แนวความคิดและมีกลิ่นอายเดียวกัน
The difference between style and fashion is quality. - Giorgio Armani -
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ส�ำนักเสื้อผ้าชั้นสูงของปารีส ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องก�ำหนด แนวโน้มแฟชั่น แต่ตำ� แหน่งนี้กลับถูกท้าทายเมื่อเสื้อผ้า ส�ำเร็จรูปเข้ามามีอทิ ธิพลในวงการแฟชัน่ มากขึน้ ถึงขนาด ที่นักปราชญ์ด้านแฟชั่นประกาศว่า “ส�ำนักเสื้อผ้าชั้นสูง ได้ตายเสียแล้ว” เมื่อเครื่องแต่งกายประเภท มินิสเกิร์ต ทีเชิ้ต และบลูยีนส์ กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
THE STORY OF HAUTE COUTURE
แท้จริงแล้วนักออกแบบแฟชั่นโอต์ กูตูร์ยังไม่ได้หายจากไปเสียทีเดียว ยังคงมีการจัดแสดงแฟชั่นอยู่ทุกปี นักออกแบบและช่างเสื้อโอต์ กูตูร์เปรียบเสมือนนักทดลองที่ท�ำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์และ จุดประกายความคิดในการออกแบบมากกว่าการเป็นผูน้ ำ� ด้านแฟชัน่ แต่เมือ่ ค.ศ. 1970 แฟชัน่ โอต์ กูตรู ์ หรือ แฟชัน่ ชัน้ สูงก็ได้หวนคืนสูฐ่ านะเดิม บรรดาสตรีผมู้ งั่ คัง่ ในประเทศผูผ้ ลิตน�้ำมันได้เข้ามาเป็นลูกค้าหลัก แม้วา่ ชาวมุสลิมจะมีขอ้ ห้ามด้านเครือ่ งแต่งกายสมัยใหม่ แต่สตรีเหล่านีก้ น็ ยิ มสวมใส่เครือ่ งแต่งกายแบบ โอต์ กูตรู ์ เป็นการส่วนตัวอยู่ในเคหะสถาน
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ยามทีเ่ ศรษฐกิจดีความฟุม่ เฟือยก็กลายเป็นทีย่ อมรับในสังคม นิตยสารแฟชัน่ มักเลือกใช้ชดุ ทีห่ รูหรา โดยเฉพาะชุดราตรี มาตีพิมพ์ในเล่มของตน ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงในยุคนั้นจะศึกษาเรื่องเทรนด์และ แต่งกายตามภาพที่พบเห็นจากนิตยสาร ช่างเสือ้ ชัน้ สูงคือปัจจัยส�ำคัญทีท่ ำ� ให้หอ้ งเสือ้ ชัน้ สูงอยูต่ อ่ ไปได้ การแข่งขันกับเสือ้ ผ้าพร้อมใส่ (Ready to wear) ก็ลดน้อยลงเนื่องจากมีจุดยืนที่แตกต่างกัน โดยโอต์ กูตูร์ จะเน้นไปทางเครื่องแต่งกาย เนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น สูท ชุดราตรี และชุดวิวาห์ เป็นหลัก การน�ำเสนอความคิดและผลงานของช่างเสือ้ โอต์ กูตรู ์ นัน้ แตกต่างกันออกไปมีสำ� นักด้านการออกแบบ แยกออกไปเป็นสองแนวความคิด โดยกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่านักคลาสสิคนิยม อันได้แก่ จิออร์จิโอ อาร์มานี (Giorgio Armani) ทีเ่ น้นการออกแบบเครือ่ งแต่งกายให้มคี วามสมบูรณ์ดา้ นรูปแบบตามแนว นิยมคลาสสิคแบบกรีก ส่วนนักออกแบบคนอื่นๆ จะมีมุมมองแฟชั่นในแง่มุมที่สนุกสนาน สามารถ สร้างจินตนาการสุดวิจิตรให้กับงานออกแบบ
THE STORY OF HAUTE COUTURE
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ส�ำนักเสือ้ ผ้าชัน้ สูงกับเสือ้ ผ้าส�ำเร็จรูป สัมพันธ์กนั ในเชิงสัญลักษณ์ ส�ำนักเสื้อผ้าชั้นสูงส่วนใหญ่มอง โอต์ กูตูร์ ว่าเป็นเครื่องมือที่คอย ผลักดันสินค้าตัวอื่นๆ เช่นเสื้อผ้าพร้อมใส่และน�้ำหอม
THE STORY OF HAUTE COUTURE
สีสันของวงการแฟชั่น
หลังจากที่เวิร์ธเสียชีวิต กาสต็องและช็อง ฟิลิปป์ บรรดา ลูกชายของเวิร์ธก็ได้เข้ามาดูแลและด�ำเนินกิจการของส�ำนัก กาสต็องได้มองเห็นแววนักออกแบบหนุ่มคนหนึ่ง นามว่า ปอล ปัวเรต์ (Pual Poiret) เขาเชื่อว่าปัวเรต์ คือผู้ที่สามารถ สร้างสไตล์ใหม่ๆ ให้กับวงการแฟชั่นได้ จึงว่าจ้างชายหนุ่ม ให้มาเป็นนักออกแบบในส�ำนักของเวิรธ์ แต่ชอ็ ง ฟิลปิ ป์ กลับ ไม่ได้เห็นเช่นนัน้ เขากลับคิดตรงข้ามกับกาสต็อง ด้วยเหตุผล นี้ท�ำให้เขาต้องออกจากส�ำนักของเวิร์ธไปอย่างน่าเสียดาย
ด้วยระยะเวลาเพียงแค่ 2-3 ปี ปอล ปัวเรต์ก็สามารถตั้งส�ำนัก เป็นของตัวเองได้ เขาเป็นนักออกแบบที่มีบุคคลิกเฉพาะตัว ทีโ่ ดดเด่นจึงกลายเป็นตัวหลักของผูน้ ำ� ด้านสไตล์ เปรียบกันว่า เขาเป็นตัวละครทีม่ สี สี นั ของวงการแฟชัน่ ในสมัยนัน้ และความ มีสไตล์ของเขานีเ่ องทีท่ ำ� ให้ชอื่ ของเขากลายเป็นอมตะ ในฐานะ นักออกแบบแฟชั่นชั้นสูง ในระหว่างทีเ่ กิดสงครามโลกครัง้ ที่ 1 เขาคือสุดยอดนักออกแบบ ที่สามารถครองอ�ำนาจในวงการช่างตัดเสื้อชั้นสูงของปารีสได้ เขาเป็นผู้ปลดการใช้กอร์แซ็ตออกจากเรือนร่างสตรี ด้วยการ ออกแบบชุดที่ท�ำให้ผู้สวมใส่รู้สึกมีอิสระมากขึ้น พรสวรรค์อกี ด้านหนึง่ ของเขา คือการใช้สจี ดั จ้าน (Vivid colors) เขาน�ำเอาสไตล์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันออกมาผสมผสาน เข้ากับชุดบัลเลย์ของชาวรัสเซียแต่ไม่เพียงเฉพาะอิทธิพลของ บัลเลต์เพียงอย่างเดียว สไตล์การใช้สีแผด ที่เน้นหนักไปทาง ตะวันออกก็เป็นสิ่งที่ท�ำให้การใช้เส้นและสีเป็นที่นิยม
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ในค.ศ. 1912 ปัวเรต์ออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับการแสดง ละครเวที เรื่อง เลอ มินาเร (Le Minaret) ตูนิกที่เขาเลือกมาใช้ กับละครเวทีเรือ่ งนีก้ ไ็ ด้กลายเป็นทีน่ ยิ มอย่างมากในเวลาต่อมา นอกจากการสร้างสไตล์อันโดดเด่น เขาผู้นี้ยังเป็นนักคิดค้น ด้านอืน่ ๆ อีกมากมาย เขามักเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับ เหล่านางแบบ โดยมีจดุ หมายเพือ่ ทีจ่ ะน�ำผลงานการออกแบบ ไปแสดง อีกทั้งปัวเรต์ยังเป็นช่างตัดเสือ้ ชัน้ สูงคนแรกทีเ่ ริ่มท�ำ ตลาดน�้ำหอม ในระหว่างที่เกิดสงครามโลกครั้งที่1 จนถึงช่วงระยะเวลาที่ สงครามสิ้นสุด สไตล์ที่เต็มไปด้วยสีสันเป็นเอกลักษณ์ของ ปอล ปัวเรต์ ได้กลายเป็นสิ่งที่ล�้ำสมัย แต่แล้วการที่เขายึดติด กับสิ่งเดิมและไม่พยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในยุคสมัยท�ำให้เป็นเรือ่ งยากทีเ่ ขาจะสามารถครองความส�ำเร็จ เอาไว้ได้ ในที่สุดชื่อของเขาก็ค่อยๆ หายไปจากวงการแฟชั่น
THE STORY OF HAUTE COUTURE
มาริโอ ฟอร์ตูนิ อิ มาดราโซ เจ้าของผลงานไร้กาลเวลา ชาวสเปน ที่เริ่มต้นแสดงผลงานครั้งแรกในช่วง ค.ศ. 1890 งานออกแบบของเขานั้นมักจะแตกต่างจากสิ่งก�ำลังเกิดขึ้น อยู่ในกระแส แท้จริงแล้วเขาไม่ใช่ช่างตัดเสื้อ เพียงแต่เขา เป็นนักออกแบบเครื่องแต่งกาย เขามีวิธีการท�ำงานด้าน การออกแบบเครื่องแต่งกายในท�ำนองเดียวกับการท�ำงาน ด้านจิตรกรรม ฟอร์ตูนิหลงใหลในหลักการกระทบกันของ แสงและความโปร่งอย่างมาก จึงมีการน�ำเทคนิคการพิมพ์ ภาพประกอบ การแต่งแต้มสี รวมถึงการสร้างลวดลายด้วย ความกลมกลืนมาใช้ในผลงานของเขา
ด้านตลาดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ไม่ค่อยนิยมงานของเขามากนัก ท�ำให้กลุม่ นักหนังสือพิมพ์แฟชัน่ ไม่สนใจทีจ่ ะท�ำเรือ่ งของฟอร์ตนู อิ อก เผยแพร่ แต่ในขณะเดียวกันกลุม่ นักเต้นร�ำ ดารา และสตรีมฐี านะ ต่าง พากันชื่นชมงานของเขา และคนเหล่านี้ก็คือกลุ่มคนที่คอยสนับสนุน ผลงาน รวมถึงปัวเรต์นักออกแบบเครื่องแต่งกายที่มีผลงานโดดเด่น ก็นิยมชมชอบงานของเขาเป็นที่สุด ส่วนใหญ่แล้วผลงานของฟอร์ตูนิ จะอยู่ในครอบครองของพิพิธภัณฑ์และนักเก็บสะสม งานของเขา ได้กลายเป็นแหล่งบันดาลใจให้นักออกแบบอีกหลายคนในช่วงปลาย ศตวรรษที่ 20 เช่น แมรี แมกเฟดเดนและช็อง มิเชล
THE STORY OF HAUTE COUTURE
นอกจากนี้เขายังน�ำความเป็นอดีตและวัฒนธรรมต่างถิ่น ที่นอกเหนือ จากวัฒนธรรมของยุโรป มาสร้างเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ ที่เห็นได้ชัด คือ สไตล์กรีกโบราณ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของแรงบันดาลใจ ในการสร้างชุด กาวน์เดโฟ (Dephos) มีลกั ษณะเป็นชุดผ้าไหมอัดพลีท ยาวปิดปลายเท้า ซึง่ ในปัจจุบนั จะเห็นได้จากงานเลีย้ งทีเ่ ป็นทางการ งานสิง่ ทอของฟอร์ตนู มิ กั จะหยิบจับลวดลายแบบเรอเนอส์ซองซ์ทวี่ จิ ติ ร งดงาม มาผสมผสานลวดลายทีม่ กี ลิน่ อายของตะวันออกมาในการสร้าง ผลงานได้อย่างลงตัว และเป็นเอกลักษณ์
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ที่สุดแห่ง 20 th Century
ชาเนลได้เข้าสูว่ งการแฟชัน่ ก่อนทีจ่ ะเกิดสงครามโลกครัง้ ที่ 1 และในระหว่างที่เกิดสงครามนี้เอง เธอได้มีโอกาสไปเปิดร้าน เสือ้ ผ้าเล็กๆอยูท่ โี่ ดวิลล์ เมืองตากอากาศริมทะเลของฝรัง่ เศส งานออกแบบที่ท�ำให้เธอประสบความส�ำเร็จและเป็นที่พูดถึง ก็คอื แจ๊กเก็ตผ้าถักแบบล�ำลองกับสเวตเตอร์พลู โอเวอร์ โดย ลักษณะงานของชาเนลจะเน้นเสือ้ ผ้าทีส่ วมใส่สบายและเหมาะ กับการใช้งาน มากกว่าการเน้นเรือ่ งการตกแต่งทีเ่ กินจ�ำเป็น
ศตวรรษที่ 20 ปารีสขาดการติดต่อกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แม้วา่ จะอยู่ ในสภาวะสงคราม แต่เสือ้ ผ้าชัน้ สูงของฝรัง่ เศสก็ยงั เป็นตัวก�ำหนดสไตล์ของ เครือ่ งกายสตรีอยูเ่ ช่นเดิม และในกลุม่ ช่างเสือ้ ชัน้ สูงจะมีบรรดานักออกแบบ ที่มีฝีมือโดดเด่นกว่านักออกแบบท่านอื่นในยุคเดียวกัน สไตล์ของ ชาเนล นับว่าโดดเด่นและได้รบั ความนิยมมากในช่วงก่อนสงครามโลกในค.ศ. 1920
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ในช่วงปลายค.ศ. 1920 ชาเนลได้เดินทางสู่ฮอลลีวู้ดเพื่อออกแบบเสื้อผ้าให้ กับภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ซึ่งการแต่งกายของดาราภาพยนตร์ในสมัยนั้นต้อง สวมใส่เสื้อผ้าที่อลังการ แม้ว่าจะไม่เหมาะสมกับบทบาทที่แสดงเลยก็ตาม เธอจึงแนะน�ำให้เปลีย่ นจากเสือ้ ผ้าทีอ่ ลังการเหล่านัน้ มาเป็นชุดทีเ่ หมาะสมกับ บทบาททีแ่ สดงแทน กาเบรียล โคโค ชาเนล จึงได้ชอื่ ว่าเป็นผูท้ ำ� ให้เสือ้ ผ้าใน การแสดงภาพยนตร์มีความสมจริง จากนั้นเธอก็ได้เป็นนักออกแบบแฟชั่น ในระดับแนวหน้ามาตลอดช่วงค.ศ. 1930 แม้ว่าจะต้องยุติการท�ำเสื้อผ้าไป ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 แต่กไ็ ม่ได้ทำ� ให้ชอื่ ของโคโค ชาแนล หายไปจาก วงการ ภายหลังที่สงครามสิ้นสุดลงชาเนลก็กลับคืนสู่วงการแฟชั่นอีกครั้ง ใน ค.ศ. 1954 ด้วยการท�ำเสื้อผ้าชั้นสูงหรือโอต์ กูตูร์ สิ่งนี้เองท�ำให้เธอ ประสบความส�ำเร็จอีกครั้งในฐานะช่างเสื้อชั้นสูงชื่อดัง
THE STORY OF HAUTE COUTURE
มัดแลน วิองเน เริ่มต้นชีวิตในวงการแฟชั่นจากเด็กฝึกงาน ในส�ำนักแฟชั่นของสี่สาวพี่น้องกิลโล ซึ่งภายหลังเขาได้ ย้ายไปท�ำที่ส�ำนักของดูเซ ผลงานของวิองเนมีเอกลักษณ์ ที่ความเรียบง่าย เป็นการตัดเย็บที่เน้นฝีมือมากกว่าการ ประดับประดา ด้วยความเรียบง่ายที่ไร้การตกแต่งแบบ อลังการ ท�ำให้วิองเนไม่ประสบความส�ำเร็จในการท�ำงาน กับห้องเสือ้ ดูเซ เขาจึงเลือกทีจ่ ะออกจากส�ำนักแห่งนัน้ เพือ่ มาเปิดห้องเสือ้ ของตัวเอง ทีส่ ามารถออกแบบเครือ่ งแต่งกาย ตามเอกลักษณ์และรสนิยมของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ภายหลัง ชื่อของเขาก็ติดอยู่ในกลุ่มช่างเสื้อชั้นสูงของฝรั่งเศส
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ด้วยวิธีการตัดทแยง (Bias cut) ซึ่งเป็นเทคนิคส�ำหรับใช้ตัด เครือ่ งแต่งกายตามแนวเฉลียง ท�ำให้ผา้ สามารถยืดได้และการตัด ในลักษณะนี้ช่วยเน้นความโค้งเว้าของร่างกายได้มากขึ้นด้วย บรรดานักออกแบบชาวฝรั่งเศสพากันยกย่องว่าวิองเน เสมือน ประติมากรผู้เข้าใจเรื่องผ้า ที่ได้สร้างสไตล์จากความเรียบง่าย แต่ดูสง่างามให้เกิดขึ้น
THE STORY OF HAUTE COUTURE
มาตรฐานทีจ่ ะบ่งบอกว่าเครือ่ งแต่งกายชิน้ นี้ คือโอต์ กูตรู ์ มีสองมุมมอง หากพิจารณาในมุมของวิธีการสร้างสรรค์ งานออกแบบ โอต์ กูตรู ์ ต้องผ่านกระบวนการทีท่ �ำด้วยมือ อย่างพิถพี ถิ นั คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของผลงาน ส�ำหรับ อีกกรณี เครื่องแต่งกายที่จะเรียกว่าโอต์ กูตูร์ ได้นั้นต้อง ผ่านการจดทะเบียนกับสมาคมเสื้อผ้าชั้นสูงของประเทศ ฝรั่งเศสซึ่งส�ำนักแฟชั่นที่สามารถใช้ค�ำว่าโอต์ กูตูร์ได้ นั้น ต้องผ่านการพิจารณาตามเงื่อนไขที่ก�ำกับไว้ ได้แก่ เทคนิคการผลิตและความสามารถในการผลิตคอลเลกชัน่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้
การได้รับชมงานจัดแสดงผลงานเสื้อผ้าโอต์ กูตูร์ ของ ส�ำนักแฟชัน่ ดังระดับโลก ไม่เพียงแต่เพือ่ รับความบันเทิง เท่านัน้ แต่ยังเปิดโอกาสให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง และ ได้รับรู้ถึงกระแสของแฟชั่นในฤดูกาลนั้นด้วย เพื่อน�ำมา ประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์งานออกแบบ และสร้าง กระแสแฟชั่นในภูมิภาคของตนเอง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าการจับกระแสแฟชัน่ เมืองใหญ่ระดับโลก มีอทิ ธิพลมาก เพราะในภูมภิ าคต่างๆ ทัว่ โลก ล้วนเชือ่ ถือกระแสแฟชัน่ ของเมืองทีเ่ ป็นผูน้ ำ� ทางด้านแฟชัน่ มายาวนาน เช่น ปารีส นิวยอร์ก ลอนดอน มิลาน ฯลฯ
นักออกแบบเครื่องแต่งกายของหลายส�ำนักผลิตแฟชั่น โอต์ กูตูร์ เพื่อเป็นการน�ำร่องคอลเลกชั่นก่อนที่จะ ออกแบบเครือ่ งแต่งกายแฟชัน่ พร้อมใส่ โดยมีจดุ ประสงค์ เพื่อเป็นการก�ำหนดแนวความคิดในการออกแบบเสื้อผ้า ในฤดูกาลนั้นๆ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการสื่ออารมณ์ โทนสี กลิ่นอาย และวัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างสรรค์
อิ ท ธิ พ ลของแฟชั่ น โอต์ กู ตู ร ์ นั้ น ส่ ง ผลถึ ง บุ ค คลและ สถานการณ์ที่แตกต่างกัน ในบางกลุ่ม เสื้อผ้าโอต์ กูตูร์ คือ ตัวบ่งชี้สถานะทางการเงินและสถานะทางสังคมของ ผูซ้ อื้ ซึง่ โดยปกติแล้วเสือ้ ผ้าโอต์ กูตรู ์ จะมีราคาสูงและใน อีกแง่มุมเสื้อผ้าโอต์ กูตูร์ ยังเป็นตัวบ่งบอกถึงรสนิยม การเสพศิลปะของผู้มีฐานะ ในอนาคตโอต์ กูตูร์ อาจเป็นตัวก�ำหนดความเป็นไปได้ ของกระเเสแฟชัน่ ทีม่ ผี ลต่อภาคเศรษฐกิจการเงินของโลก ไม่วา่ จะเป็นในด้านกรอบความคิด การตีความ การเสียดสี หรือว่าจะเป็นด้านการเลือกใช้วัตถุดิบ ซึ่งล้วนมีอิทธิพล ต่อกลุ่มเสื้อผ้าส�ำเร็จรูปพร้อมใส่ทั้งสิ้น
จุดประสงค์หลักของผู้สวมใส่กูตูร์นั้น เพื่อออกงานสังคม หรือ งานที่พิเศษส�ำหรับตัวเอง เช่น งานวิวาห์ ผู้ที่สวมใส่งานกูตูร์ ถือว่าเป็นผู้มีฐานะและมีรสนิยม มีความชอบในงานที่ประณีต และละเอียดอ่อน เพราะเครือ่ งแต่งกายประเภทนีม้ รี ายละเอียด ค่อนข้างเยอะ จ�ำเป็นต้องใช้ชา่ งทีม่ ฝี มี อื รวมถึงระยะเวลาการ ท�ำที่นานกว่าชุดทั่วไป บางชุดมีเพียงชิ้นเดียวในโลก ต่างจาก เสือ้ ผ้าพร้อมใส่ทวั่ ไปทีผ่ ลิตครัง้ ละจ�ำนวนมากซึง่ ไม่ใช่วา่ ทุกคน ใส่แล้วจะดูสวยและพอดีกับสัดส่วน เนื่องจากถูกผลิตมาในรูป แบบไซส์ S M และ L ไม่ได้พอดีส�ำหรับทุกคน แต่งานกูตูร์นั้น จะมีการวัดไซส์พอดีตามสัดส่วนของผู้สวมใส่ ต้องประณีต กระทั่งการเก็บตะเข็บด้านในต้องเรียบร้อย ความสวยงาม ของชุดไม่ได้อยู่เพียงภายนอกแต่ภายในนั้นจะต้องสวยงาม ด้วยเช่นกัน การใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ท�ำให้งาน กูตูร์มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่ได้เป็นเจ้าของ ซึ่งส�ำคัญกว่า คุณค่าที่วัดออกมาเป็นจ�ำนวนเงิน ฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ พิ์ ระบรมราชินนี าถ หลายชิน้ เป็นผลงานของช่างกูตรู ช์ าวไทย ทุกขัน้ ตอนไม่วา่ จะ เป็นงานปักหรืองานเย็บ รายละเอียดทุกอย่างต้องประณีตและ พิถีพิถันเป็นพิเศษ คุณพิจิตรา บุญรัตพันธุ์ เป็นอีกหนึ่งท่านที่ท�ำเครื่องแต่งกาย เทียบเท่าโอต์ กูตูร์ งานปักดีเทลนั้นถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของ คุณพิจติ รา รวมถึงการใช้ผา้ ไทย แต่คนทัว่ ไปนัน้ ยังคิดว่าการ ใช้ผา้ ไทยท�ำให้ดมู อี ายุเวลาสวมใส่ แท้จริงแล้วผ้าไทยมีลกั ษณะ ทีส่ วยงาม สามารถน�ำมาปรับเปลีย่ นรูปแบบและโครงสร้างของ ผ้าให้ออกมาน่าสนใจได้ ซึ่งผ้าไทยที่คุณพิจิตราเลือกน�ำมาใช้ เป็นผ้าจากศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ทั้งสิ้น ในเมืองไทยงานกูตูร์มักไม่ค่อยออกสื่อ และจะจ�ำกัดอยู่แค่ เฉพาะกลุม่ จึงไม่เป็นทีพ่ ดู ถึงของคนทัว่ ไป ปัจจุบนั มีดไี ซเนอร์ เพิ่มมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางการท�ำเสื้อผ้าพร้อมใส่ ท�ำให้จ�ำนวนช่างกูตูร์ลดน้อยลง เมื่อเทียบกับดีไซเนอร์ที่ ออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วไป ช่างกูตูร์ต้องเป็นช่างที่มีฝีมือ ผ่านประสบการณ์ในการท�ำเสื้อผ้ากูตูร์มาแล้วกว่า 20 – 30 ปี นับเป็นเรื่องน่าเสียดายหากดีไซเนอร์รุ่นใหม่หันไปท�ำแบรนด์ เสื้อผ้า Ready to wear โดยให้ความสนใจกับงานโอต์ กูตูร์ น้อยลง แท้จริงแล้วงานกูตรู ข์ องไทยมีคณ ุ ค่ามากและช่างกูตรู ์ ไทยก็มคี วามสามารถไม่นอ้ ยกว่าชาติใดในโลก เมือ่ มีโอกาส น�ำผลงานไปจัดแสดงในต่างประเทศ ช่างกูตูร์ไทยมักท�ำให้ ชาวต่างชาติทึ่งในความสามารถอยู่เสมอ
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ปัจจุบันในเมืองไทยยังคงมีช่างกูตูร์ ที่มีฝีมือเทียบเท่ากับ ช่างโอต์ กูตูร์ ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมช่างเสื้อชั้นสูงของ ฝรั่งเศส เพียงแต่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักส�ำหรับกลุ่มคนทั่วไป เพราะงานประเภทกูตูร์ส่วนใหญ่จะไม่มีหน้าร้านอยู่ตามห้าง สรรพสินค้าชั้นน�ำ อย่างแบรนด์เสื้อผ้าของดีไซเนอร์หน้าใหม่ ที่พาตัวเองเข้าสู่วงการแฟชั่น
THE STORY OF HAUTE COUTURE
Federation of french couture rea
ady-to-wear and fashion design.
THE STORY OF HAUTE COUTURE
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ใครเล่าจะรู้ว่า ชายหนุ่มผู้เกิดและเติบโตมาในครอบครัวที่มี ฐานะเพียบพร้อม ทัง้ พ่อและแม่ตา่ งคาดหวังว่าจะให้เขาเป็น นักการทูต จะหลงใหลในอาชีพนักออกแบบเสื้อผ้าโอต์ กูตูร์ และพยายามก่อตัง้ แบรนด์ Christian Dior ขึน้ มาด้วยความ ยากล�ำบาก ก่อนจะหายไปอย่างปริศนาหลังจากทีต่ ั้งแบรนด์ ได้เพียง 11 ปี แต่ชุดกระโปรง New Look ที่เขาสร้างสรรค์ ไว้ก็ได้กลายเป็นไอคอนส�ำคัญของโลกแฟชั่น ภายหลังจากทีผ่ กู้ อ่ ตัง้ แบรนด์ได้เสียชีวติ ลง ก็ได้นกั ออกแบบ เครื่องแต่งกายอายุน้อย 2 คนมา ได้แก่ อีฟส์ แซงต์ โลรองต์ และจอห์น กัลลิอาโน ปัจจุบัน Chirstian Dior ซึ่งส่วนมาก จะรูจ้ กั กันในชือ่ Dior เป็นอีกหนึง่ แบรนด์เนมในเครือ LVHM ที่แตกสาขาการผลิตออกไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โอต์ กูตูร์ เสื้อผ้าส�ำเร็จ กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้าผู้ชาย เครื่องส�ำอาง นาฬิกา ไฟน์จิวเวลลี่และน�้ำหอม จากงานออกแบบชิ้นเก่าสุดคลาสสิคจนถึงปัจจุบัน Dior ก็ยัง มีเอกลักษณ์อยู่ที่ ความหรูหรา สง่างาม และรายละเอียดใน ผลงานโดยฝีมือช่างชั้นสูง จิตวิญญาณแห่งความโรแมนติก และสง่างาม ถูกผสานเข้ากับความร่วมสมัย อย่างน่าตื่นใจ และแนบเนียน
แบรนด์ดงั จากฝรัง่ เศสทีก่ อ่ ตัง้ โดย กาเบรียล โคโค ชาเนล เธอคือผูท้ ไี่ ด้รบั การยกย่องว่าเป็นดีไซเนอร์ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เพราะชีวิตของเธอนั้นได้ ถูกน�ำไปเขียนหนังสือและสร้างเป็นละครโทรทัศน์ รวมถึงภาพยนตร์มาแล้วหลายเวอร์ชั่น Chanel ถู ก สื บ ทอดโดย อแลงและเจอร์ ร าร์ ด เวิ ร ์ ธ ไฮเมอร์ สองพี่ น ้ อ งนั ก ธุ ร กิ จ ชาวฝรั่ ง เศส ปู่ทวดของพวกเขา ปิแอร์ เวิร์ธไฮเมอร์ คือผู้ ร่วมก่อตั้งแบรนด์นี้ขึ้น กับ มาดมัวแซลล์ชาเนล ปัจจุบนั คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์ เป็นหัวหน้าดีไซเนอร์ ให้กับแบรนด์นี้ ซึ่งนอกจาก Chanel แล้วเขายัง ดูแล Fendi รวมทั้งแบรนด์ส่วนตัว ในแต่ละปีจะ ออกคอลเลกชัน่ Spring Summer Autumn Winter รวมถึง โอต์ กูตูร์อีกด้วย แม้ว่าตอนนี้อายุของเขา จะเข้าใกล้ 80 แล้วก็ตาม
THE STORY OF HAUTE COUTURE
$
THE STORY OF HAUTE COUTURE
Hubert de Givenchy เกิดเมือ่ ค.ศ 1927 ทีเ่ มืองเล็กๆ ของฝรัง่ เศส ในขณะทีเ่ ขาอายุเพียง 10 ขวบเขาสนใจ แฟชัน่ และเริม่ อ่านนิตยสารโว้ก นิตยสารแฟชัน่ ชัน้ น�ำ การเข้าชมนิทรรศการ “Fashion Pavilion” เป็นจุด เริ่มต้นให้เขาสนใจแฟชั่น ดีไซเนอร์ที่เขาประทับใจ ในขณะนัน้ คือ Balenciaga เขามีความใฝ่ฝนั ทีจ่ ะร่วม งานกับ Balenciaga แต่ด้วยขณะนั้นเขายังอ่อน ประสบการณ์จงึ ท�ำให้เขาถูกปฏิเสธ จนกระทัง่ เขาได้ ร่วมงานกับ Lucien Lelong เขาจึงได้พบกับ Elsa Schiaparelli ท� ำ ให้ จี ว องชี่ ไ ด้ เ รี ย นรู ้ แ ละสั่ ง สม ประสบการณ์เกี่ยวกับเครื่องประดับเรื่อยมา ซึ่งเป็น ประสบการณ์ส�ำคัญจนท�ำให้เขาประสบความส�ำเร็จ จนทุกวันนี้ จีวองชี่ได้เปิดร้านตัวเองใกล้กับ Parc Monceau ในประเทศฝรั่งเศสในปี 1952 งบประมาณ ที่เขามีตอนนั้นนับว่าเป็นจ�ำนวนที่น้อยมาก แต่เขาก็ สามารถสร้างสีสันให้แก่วงการแฟชั่นทั่วโลก
THE STORY OF HAUTE COUTURE
หากเอ่ยถึงแบรนด์ดังอย่าง Valentino ขึ้นมาเมื่อไหร่ จะชวนให้นึกถึงความ สง่างามและหรูหราอยูเ่ สมอ เจ้าของแบรนด์ดงั ก็คอื ชาวอิตาลีนามว่า วาเลนติโน่ การาวานี เขามักบอกตัวเองเสมอว่าเขาไม่ได้เป็นเพียงแค่ดีไซเนอร์เท่านั้น แต่เขาคือช่างเสื้อชั้นสูง สิ่งที่เขาจะนึกถึงเมื่อออกแบบชุดคือคุณภาพ ต้องไร้ ทีต่ ิ ทัง้ การตัดเย็บ เนือ้ ผ้า และดีเทล อย่างเช่น การปักต้องละเอียด วิจติ รงดงาม แม้วา่ เขาจะเป็นนักออกแบบทีช่ นื่ ชมแฟชัน่ ของอิตาลี แต่ปารีสคือแรงบันดาลใจ ส�าคัญและมีอิทธิพลต่อเขามากที่สุดในการสร้างสรรค์ผลงาน
THE STORY OF HAUTE COUTURE
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ประเทศฝรัง่ เศสมีววิ ฒ ั นาการด้านการแต่งกายมาตลอด และในปลายศตวรรษก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น การแต่งกายแบบ Gibson Girl ได้เกิดขึน้ และเป็นทีน่ ยิ ม โดยเจ้าหญิงอเล็กซานดร้า แห่งประเทศอังกฤษเป็น ผู้น�ำในสไตล์นี้ ในประวัติศาสตร์ได้กล่าวว่า นักวาดภาพชาวอเมริกา นามว่า กิบสัน (Gibson) ได้วาดรูปภรรยาและลงตีพมิ พ์ ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ซึ่งรูปที่เขาวาดได้แสดงถึง สัดส่วนที่ชัดเจนของผู้หญิงในลักษณะอกล้น เอวเล็ก คอด และท�ำผมมวย ท�ำให้รูปของเขานั้นเป็นที่ตรึงตา ตรึงใจ เจ้าหญิงอเล็กซานดร้าได้นำ� รูปของกิบสันมาใช้ เป็นต้นแบบฉลองพระองค์ ซึ่งชุดในสไตล์นี้จะผูกโบว์ ที่คอด้วยผ้าสีขาว ประดับด้วยลวดลายกุหลาบและ ใบไม้ ลูกไม้สีขาวที่กุ๊นขอบด้วยสีน�้ำตาลก็ถูกน�ำมา ใช้กับสไตล์นี้ด้วยเช่นกัน
THE STORY OF HAUTE COUTURE
ในฤดูใบไม้ผลิเมื่อค.ศ. 1947 เป็นปีที่คริสเตียน ดิออร์ ประสบความส�ำเร็จกับการจัดแสดงแฟชั่นและยิ่งไป กว่านั้นเขาเป็นผู้สร้างแฟชั่น “นิวลุค” (New Look) ซึ่งสไตล์นี้ได้เป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็วและกลายมา เป็นรากฐานของสไตล์ในช่วงเวลาต่อมา ท�ำให้มีการ เปลี่ยนแปลงความระดับความยาวของกระโปรงอย่าง รวดเร็ว ชุดที่เขาออกแบบเป็นลักษณะกระโปรงบานคลุมเข่า ยาวจนถึงน่อง ในบางชุดมีความยาวเกือบถึงข้อเท้า ผ้าที่ใช้นั้นเป็นผ้าเฉลียงบ้างก็ใช้ผ้าพลีทหรือผ้าอัดจีบ ต่อเป็นชั้นๆ บางชุดก็ใช้ผ้าพลีททั้งตัวส่วนเสื้อช่วงบน นิยมเว้าช่วงอก และเวลาต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนให้ เป็นเสื้อเข้ารูปไม่หนุนไหล่ ซึ่งผลงานการออกแบบ ของดิออร์นั้นท�ำให้ผู้หญิงที่สวมใส่ดูเป็นผู้หญิงมากขึ้น เขาเชื่อเสมอว่าผู้หญิงจะดูมีอายุและหมดเสน่ห์ในช่วง อายุ 35 ปี ฉะนั้นจึงต้องการบางสิ่งที่จะช่วยให้ผู้หญิง เหล่านี้ดูสาว อ่อนเยาว์กว่าวัย เขาจึงเน้นไปในแบบ ของผู้ใหญ่และออกแบบให้เข้ากับฤดูกาลมากที่สุด
การเดรป เป็นวิธีการแต่งกายอีกวิธีหนึ่งในลักษณะของการห่ม เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ของประเทศฝรั่งเศส ในสมัยนั้นนิยมเดรปด้วยผ้าไหมและยังใช้วิธีการเดรปท�ำเป็นคอเสื้ออีกด้วย
The House of Worth’s Haute Couture Spring Summer 2012 Collection
จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2555 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
Rewriter Rung Rerkpinit French translation Jane Pinksugarit Consultant Yodkwan Sawatdee Sponsor Therdsak Rerkpinit Malee Rerkpinit Content and picture acknowledgments Interview Atelier Pichita (Watchara Yorsuksang) Wannakorn Oonwised Book ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องแต่งกาย (ผู้แต่ง : รศ.ดร.พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง) ประวัติเครื่องแต่งกาย (ผู้แต่ง : พวงผกา คุโรวาท) HELLO! Fashion&Style Vol.1 No.1 2012 Website http://en.wikipedia.org http://famousfashionquotes.tumblr.com http://fashion.1stdibs.com http://hautecouture.com http://modeaparis.com http://metmuseum.org http://pinterest.com http://thairath.co.th http://thecoincidentaldandy.blogspot.com http://violetapurple.com