"Farmily เที่ยว | ทำงาน | แลก | ที่พัก"

Page 1

KATE KALAMANG WRITER ALYS K. ILLUSTRATED


Farmily เที่ยว | ทำ�งาน | แลก | ที่พัก First Published in 2016 Senior Project 2016 Silpakorn University Program of Information and Communication Technology In Major of Communication Arts, Journalism By Rungtiva Mangkala 13550513


Farmily 3

WRITER TALK ออกเดินทาง สิ่งที่หลายๆ คนปรารถนาที่จะท�า ความตื่นเต้นที่ได้จากการรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น ท�าในสิ่งที่ไม่เคยท�า และเป็นในสิ่งที่ไม่เคยเป็น ความตื่นเต้นที่ได้ออกจากสิ่งแวดล้อมเดิมๆ เข้าไปสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เปรียบได้กับเวทย์มนตร์ที่จะช่วยเติมเต็มจิตใจอันว่างเปล่าได้เป็นอย่างดี หนังสือ “Farmily เที่ยว | ท�างาน | แลก | ที่พัก” เล่มนี้ อยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะเติมเต็มจิตใจของคุณให้เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ฉันไม่ได้เสนอทริปที่ดีที่สุด หรูหราที่สุด สะดวกสบายที่สุด ให้กับคุณ แต่ฉันขอน�าเสนอทริปที่จะท�าให้หัวใจของคุณอบอุ่น ราวกับคุณได้ไปเที่ยวกับคนในครอบครัว (แหม! ก็ใช้งานเราซะขนาดนั้น ฮ่าๆ) ที่จ่ายเงินร้อยล้านก็ไปไม่ได้!! มีเงินพันล้าน ก็อย่าหวังเลย!! พร้อมแล้วก็ “ออกเดินทาง” ไปใช้แรงงานกันเถอะ

KATE KALAMANG


สารบั ญ 7

รู้จักโครงการ เทีย ่ วฟาร์มท�ำงานแลกทีพ ่ ัก

17 พุฒิฟาร์ม ฟาร์มไข่ไก ่ ่ 45 ฟาร์มไทย - เดนมาร์ค ฟาร์มโคนม 75 บ้านสบลาน โรงเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่า 99 บ้านห้วยฮี้ ไร่หมุนเวียน 125 รายชื่อฟาร์ม




Farmily 7

รู ้ จั ก โครงก�ร

เที่ยวฟ�ร์ม ทำ�ง�น แลกที่พัก


Farmily 8

ฉันเชื่อว่ามีคนจ�ำนวนไม่น้อยบนโลกที่มีความฝันว่า อยากจะออกเดินทางเที่ยว รอบโลก ฉันเองก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตามการออกเดินทางท่องเที่ยวนั้น จ�ำเป็นต้อง มีค่าใช้จ่ายตามมา ไหนจะค่ากิน ค่าเดินทาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าที่พัก ยิ่งเที่ยวนาน ก็ยิ่งต้องใช้เงินเยอะ บางครั้งยังเที่ยวไม่ทันหน�ำใจ งบหมดก็ต้องกลับเสียแล้ว ปัญหาเหล่านี้ เป็นปัญหาที่นักท่องเที่ยวจ�ำนวนไม่น้อยต้องเจอ ในปี ค.ศ. 1971 สุภาพสตรีชาวอังกฤษที่มีชื่อว่า ซู คอปปาร์ด (Sue Coppard) จึงได้ปิ๊งไอเดีย คิดโครงการที่ชื่อว่า วูฟ (WWOOF) ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ เบื่อหน่ายชีวิตในเมือง ลองมาใช้ชีวิตในชนบทดูบ้าง โดยมาลองท�ำงานในฟาร์มออร์แกนิค ช่ ว งสุ ด สั ป ดาห์ ปรากฏว่ า ผลตอบรั บ ค่ อ นข้ า งดี ท� ำ ให้ กิ จ กรรมนี้ แ พร่ ข ยายออกไปยั ง หลายประเทศทั่ว โลก ปั จ จุ บั น โครงการวู ฟ ด� ำ เนิ น การผ่ า นเว็ บ ไซต์ รั บ หน้ า ที่ เ ป็ น สื่ อ กลางระหว่ า ง เจ้ า ของบ้ า นที่ต้องการคนไปช่วยท�ำงานกับนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปสัมผัสวิถีชีวิตแบบ คนท้องถิ่น โดยการท�ำงานท�ำงานวันละ 6 ชั่วโมงหรือแล้วแต่ (ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่าง นักท่องเที่ยวกับเจ้าของบ้าน) เพื่อแลกกับที่พักและอาหารฟรี ถ้าหากคุณไม่ตอ้ งการสมัครสมาชิกของเว็บไซต์ให้ยงุ่ ยากหรือคุณเป็นคนไทยทีอ่ ยากจะ ท�ำงานแลกที่ในประเทศไทยแบบฉัน คุณสามารถติดต่อฟาร์มเหล่านั้นด้วยตัวเอง ตามวิธีการ ในหน้าถัดไป นอกจากวิธีการติดต่อในส่วนแรกแรกและรายชื่อฟาร์มที่อยู่ท้ายเล่มแล้ว ฉันยัง ได้คัดเลือกเอา 4 ฟาร์ม ที่ฉันได้มีโอกาสไปเยือน มาเขียนเล่าให้คุณอ่านไว้ในบทต่อไป เพื่อ เป็นการยืนยันว่า เที่ยวแบบท�ำงานแลกที่พักนั้น ท�ำได้จริงๆ ในประเทศไทยแถมสนุกไม่แพ้ ไปแลกที่พักในต่างประเทศอีกด้วย


Farmily 9

HOW TO ติดต่อด้วยตัวเอง

1

คุณสามารถลองน�ำชื่อฟาร์มที่ได้จากเว็บไซต์ (ถ้า คุณไม่ได้สมัครสมาชิกคุณจะเห็นแต่ชื่อฟาร์มแต่ ไม่เห็นรายละเอียดทั้งหมด) ไปเสิร์ชหาในเฟซบุ๊ก หรือ กูเกิล แล้วติดต่อไปโดยตรงก็ได้

2

เสิ ร ์ ช ชื่ อ ฟาร์ ม ที่ คุ ณ ต้ อ งการลงไป โดยระบุ ประเภทของฟาร์มหรือการท�ำงานลงไป แล้วลอง อ่ า นหรื อ โทรไปสอบถามดู ว ่ า มี ที่ ไ หนเปิ ด รั บ อาสาสมัครเองโดยตรงบ้าง

3

พลิกไปด้านท้ายเล่ม ฉันได้รวบรวมรายชื่อฟาร์ม เอามาไว้ให้แล้ว ซึ่งได้จากการสมัครเป็นสมาชิก ของเว็บไซต์ wwoof.net การหาข้อมูล บวกกับ โชคชะตาฟ้าลิขิตให้ฉันได้ไปพบกับคนที่ไปท�ำงาน แลกที่พักมาโดยไม่รู้ตัว


Farmily 10

HOW TO ติดต่อผ่านเว็บไซต์ของโครงการวูฟ STEP 1

STEP 2

STEP 3

สมัครสมาชิก

จ่ายค่าสมาชิก

ดูข้อมูลฟาร์ม

สมัครสมาชิกกับเว็บไซต์วูฟ ทีค ่ ณ ุ สนใจ ซึง่ จะมีหลายเว็บ ให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น - www.wwoof.net - www.wwoofinternational. org เป็นต้น

เลือกประเทศ ค่าสมาชิกของ แต่ละประเทศจะไม่เท่ากัน และ คุณจะเห็นแต่รายละเอียดของ ฟาร์ ม ในประเทศที่ คุ ณ สมั ค ร เท่านั้น *ค่ า สมาชิ ก ส�ำหรั บ ดู ข ้ อ มู ล ฟาร์มในประเทศไทยประมาณ 1,800 บาท ขึ้นอยู่กับค่าเงิน

เข้ า ไปดู ร ายละเอี ย ดของ ฟาร์ม โดยทางฟาร์มจะโพส รายละเอียดต่างๆ ของฟาร์ม การท�ำงาน ทีพ ่ ก ั อาหารและ รู ป ถ่ า ย รวมถึ ง ข้ อ จ�ำกั ด ต่างๆ เอาไว้


Farmily 11

STEP 4

STEP 5

ติดต่อฟาร์ม

ออกเดินทาง

ถ้ า ฟาร์ ม ไหนมี เ บอร์ โ ทร โทรเข้าไปจะดีที่สุด วิธีการ ติดต่อก็แนะน�ำตัวบอกรายละเอียดในการเดินทางของ คุณว่าจะพักอยูก ่ วี่ น ั จะไปถึง และกลับวันที่เท่าไหร่ กี่โมง เดินทางด้วยวิธีไหน

เมื่ อ ทางฟาร์ ม ตอบตกลง โดยทั้งคุณและเจ้าของบ้าน พอใจกับข้อเสนอ ก็สามารถ เดินทางไปผจญภัยได้เลย

วิธีการติดต่อข้างต้นเป็นวิธีการที่ คนโดยส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อ โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยวที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปเทีย่ วต่างประเทศ ส่วนใหญ่ คนไทยจะนิ ย มไปที่ ป ระเทศญี่ ปุ ่ น หรื อ นิวซีแลนด์ คุ ณ จะเห็ น ว่ า วิ ธี นี้ จ ะมี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย ที่เกิดขึ้นตอนสมัครสมาชิก ซึ่งถือว่าถูกมาก เมือ่ เทียบกับค่าโรงแรมทีค่ ณ ุ ต้องจ่ายหากคุณ ไม่ได้ไปท�ำงานแลกที่พักกับโครงการวูฟ แต่ก็ มีข้อเสียคือในกรณีที่คุณต้องการไปวูฟในอีก ประเทศหนึง่ ก็ตอ้ งสมัครและจ่ายค่าสมาชิกใหม่ โดยมีอายุในการเป็นสมาชิก 1 ปี นับจาก วันที่คุณจ่ายเงิน


Farmily 12

ติดต่อด้วยตัวเอง การติดต่อไปยังฟาร์มหรือเจ้าของบ้านด้วยตัวเอง มีข้อดีคือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็มีข้อเสียคือฟาร์มอาจจะเคยรับอาสาสมัครมาน้อย ท�าให้การจัดการจึงไม่เป็นระบบ มากนัก ถ้าหากคุณเป็นคนไม่กล้าถามหรือเคมีไม่เข้ากับเจ้าของบ้านอาจท�าให้เกิดความรู ้ สึ ก อึ ก อั ด หรื อ ว่ า งงานได้ นอกจากนี้ คุ ณ อาจจะไม่ มี โ อกาสได้ เจอเพื่ อ นอาสาสมั ค ร คนอื่นมากนักหรืออาจจะไม่เจออาสาสมัครคนอื่นๆ เลย เพราะมีผู้ที่ทราบน้อยว่าฟาร์ม แห่งนี้เปิดรับอาสาสมัครด้วย


Farmily 13

ติดต่อผ่านเว็บไซต์ การติ ด ต่ อ ผ่ า นเว็ บ ไซต์ ข องวู ฟ โดยตรงมี ข ้ อ ดี คื อ ฟาร์ ม หรื อ บ้ า นที่ เ ปิ ด รั บ อาสาสมั ค รจะมี ค วามคุ ้ น เคยในการดู แ ลและจั ด ตารางงานให้ กั บ อาสาสมั ค รค่ อ นข้ า งดี เพราะเคยรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วมาท� า งานอยู ่ เ ป็ น ประจ� า ท� า ให้ เ ป็ น มื อ อาชี พ มากกว่ า ส่ ว น ข้ อ เสี ย คื อ ต้ อ งเสี ย ค่ า สมั ค รสมาชิ ก และจะมี เจ้ า ของฟาร์ ม หรื อ กิ จ การท้ อ งถิ่ น ที่ อ าศั ย เว็บไซต์วูฟในการโปรโมทธุรกิจของตนเอง คุณจึงต้องอ่านรายละเอียดให้ดีว่า คุณโอเคกับ ข้อเสนอของฟาร์มหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีโฮมสเตย์หรือเจ้าของกิจการมาขายของ แต่ก็จะบอก รายละเอียดชัดเจนว่า เขาจะขอเก็บเงินค่าที่พักเท่าไหร่ต่อคืนซึ่งอาจจะเป็นเพราะสมาชิก ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่มีความหลากหลาย บางคนอาจจะต้องการความสะดวกสบาย หรื อ สนั บ สนุ น ธุ ร กิ จ ท้ อ งถิ่ น ถ้ า หากพอใจต่ อ กั น ทั้ ง 2 ฝ่ า ยก็ ไ ม่ มี ป ั ญ หา ไม่ เ คยมี ก รณี หลอกลวงว่าจะให้พักฟรีแต่เก็บเงินในภายหลังแต่อย่างใด


Farmily 14

ลักษณะของการทำ�งานแลกที่พัก ในประเทศไทย ส�ำหรับลักษณะของการท�ำงานแลกที่พักในประเทศไทยนั้น จะมีความแตกต่างจาก การท�ำงานแลกทีพ่ กั ในประเทศอืน่ ๆ เนือ่ งจากสภาพแวดล้อมทีแ่ ตกต่างกันอยูบ่ างประการ อาทิ ในต่างประเทศโดยส่วนใหญ่อาสาสมัครจะได้รับที่พักและอาหารฟรี เนื่องจากฟาร์มเปิดรับ อาสาสมัครเข้ามาท�ำงานเพราะแรงงานในประเทศมีค่าจ้างสูง การรับอาสาสมัครเข้ามาท�ำให้ เจ้าของฟาร์มประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานไปได้มาก การเลี้ยงอาหารจึงถือเป็น การตอบแทนที่เจ้าของฟาร์มท�ำได้สบายๆ แต่ในประเทศไทยแรงงานของเรามีราคาถูกบวกกับ เกษตรกรในบ้านเรายังมีฐานะที่ไม่มั่นคงมากนัก ส่วนใหญ่เจ้าของบ้านจึงมักจะให้อาสาสมัคร ช่วยค่าอาหารเล็กน้อยหรือซื้ออาหารเข้ามาท�ำรับประทานร่วมกันเพื่อเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่าย


Farmily 15 ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ใช่ว่าการท�ำงานแลกทีพ่ กั ในประเทศไทยจะต้องเสียค่าอาหารเสมอไป เพราะฟาร์มแห่งแรกที่ฉันมีโอกาสไป ซึ่งเป็น ฟาร์ ม ไข่ ไ ก่ ชื่ อ ว่ า พุ ฒิ ฟ าร์ ม ตั้ ง อยู ่ ท่ี อ� ำ เภอ สันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่ ก็ให้ทั้งที่พักและ อาหารแก่ อ าสาสมั ค รที่ ม าช่ ว ยงานฟรี แถม “พ่อพุฒิ” เจ้าของฟาร์มยังแอบกระซิบบอกว่า ตัง้ แต่รบั อาสาสมัครมาช่วยงาน คุณพ่อก็เบาแรง ไปได้ ม ากเพราะอาสาสมั ค รส่ ว นใหญ่ ที่ เ ป็ น ชาวต่างชาติ ตัวใหญ่ แข็งแรง แถมตั้งใจท�ำงาน งานหนักแค่ไหนไม่บ่น คุณพ่อชอบมาก จนไม่ จ�ำเป็นต้องจ้างคนงานมาช่วยงานอีกเลย ท�ำให้ คุ ณ พ่ อ ประหยั ด ค่ า ใช้ จ ่ า ยไปได้ เ ยอะ จาก ตอนแรกทีต่ งั้ ใจจะเก็บค่าอาหารวันละ 100 บาท (3 มื้อ) แต่เมื่อเห็นประสิทธิภาพในการท�ำงาน แล้ว คุณพ่อจึงไม่คิดจะเก็บ เริ่มอยากไปกันหรือยัง? ถ้าอยากไปก็ รีบลงมือติดต่อได้เลย ระหว่างทีร่ อการตอบกลับ พลิกไปอ่านบทต่อไปซึง่ เป็นฟาร์มทีฉ่ นั ได้มโี อกาส ไปมาทัง้ 4 ฟาร์ม เพือ่ ฆ่าเวลาเล่นๆ ก่อนก็ได้



PHUTHI FARM

พุฒิฟ�ร์ม ฟ�ร์ ฟ�ร์มมไข่ ไข่ไไก่ก่ อำอำ��เภอสั เภอสันนปป��ตอง ตอง จัจังงหวั หวัดดเชี เชียยงใหม่ งใหม่

โทรศั โทรศัพพท์ท์ :: 088 088 251 251 2608 2608 ทีที่อ่อยูยู่ ่ :: 14 14 หมู หมู่ ่ 66 ตำตำ��บล บล ยุยุหหว่ว่�� อำอำ��เภอ เภอ สัสันนปป��ตอง ตอง จัจังงหวั หวัดด เชีเชียยงใหม่ งใหม่ FB FB :: PhuthiWWOOFChickenFarm PhuthiWWOOFChickenFarm


Farmily 18


Farmily 19

พุ ฒิ ฟ าร์ ม ที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นฟาร์มแรกๆ ที่ฉันได้ติดต่อเข้าไปเพราะ ได้เห็นรูปของชาวต่างชาติที่ได้เข้าไปท�ำงานแลกที่พักดูมีความสุขกันมากๆ ทุกคนดูยิ้มแย้ม แจ่ ม ใส แถมยั ง เป็ น ฟาร์ ม ไข่ ไ ก่ ซึ่ ง เป็ น อาหารที่ กิ น กั น ทั่ ว โลก ฉั น เองก็ ช อบกิ น อาหาร เมนูไข่เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียว ไข่ดาว ไข่ตุ๋น ไข่ต้ม ไข่กระทะ ฯลฯ แต่คนซื้อ ก็ จ ะเห็ น ไข่ ไ ก่ อ อกมาอยู ่ ใ นรู ป แบบแพค ท� ำ ความสะอาดและแยกขนาดมาเรี ย บร้ อ ยจึ ง อยากจะรู้มานานแล้วว่า ที่มาของไข่ไก่เหล่านี้เป็นยังไง จึงอดตื่นเต้นไม่ได้ตอนที่ติดต่อไป และดีใจเป็นอย่างมากที่ฟาร์มตอบรับมาด้วยความเต็มใจ ฟาร์มแห่งนี้เป็นฟาร์มไข่ไก่ขนาดกลาง มีไก่จ�ำนวน 12,000 ตัว ทุกๆ วันจะ เก็บไข่ได้ประมาณ 10,800 ฟองโดยเฉลี่ย ซึ่งจะมีรถจากบริษัทมารับซื้อทุกวัน โดยเป็น การขายแบบประกันราคา คือไม่ว่าราคาไข่จะขึ้นหรือลง บริษัทจะรับซื้อในราคาฟองละ 2.60 บาทเสมอ เนื่ อ งจากมี ไข่ จ� ำ นวนมาก ฟาร์ ม แห่ ง นี้ จึ ง เต็ ม ใจรั บ อาสาสมั ค รเข้ า มา ช่วยงาน และมีประสบการณ์ในการรับอาสาสมัครมาแล้วถึง 32 คน ในเวลาเพียงแค่ 1 ปี ถึงแม้ว่าฉันจะเห็นข้อมูลของฟาร์มจาก www.wwoof.net ซึ่งต้องเสียเงินสมัครสมาชิก แต่ถ้าคุณไม่ได้เป็นสมาชิกก็ไม่ต้องตกใจ เพราะสามารถติดต่อฟาร์มได้ผ่านทาง Facebook แฟนเพจ และ ทางโทรศัพท์ รับรองว่าทางฟาร์มตอบเร็วและเต็มใจให้ข้อมูล อย่างแน่นอน


Farmily 20

เตรียมตัว การเตรียมตัวมาที่ฟาร์มแห่งนี้ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ที่ฟาร์มจะมีอุปกรณ์จ�ำเป็น ให้ทั้งหมด ทั้งผ้าปิดจมูก หมวกคลุมผมและผ้ากันเปื้อน การแต่งตัวระหว่างท�ำงานก็สบายๆ ขอให้เคลื่อนไหวสะดวกเป็นอันใช้ได้ สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ มีเพียงแค่อาหารไก่ (ซึ่งมี ลักษณะเป็นผงคล้ายทราย) อาจจะเปื้อนชุดได้ง่าย แต่ทางฟาร์มก็จะมีผ้ากันเปื้อนช่วยกัน ไว้ให้ชั้นหนึ่ง ระยะเวลาในการพักอยูก่ บั ฟาร์ม ก็แล้วแต่เราจะตกลงกับฟาร์ม จะสัน้ หรือยาวก็ได้ แต่ ทางฟาร์มไม่อยากให้อยูเ่ กินกว่า 3 สัปดาห์เพราะต้องการเผือ่ ทีใ่ ห้คนอืน่ ๆ เข้ามาช่วยงานบ้าง ส�ำหรับใครที่จะมาอยู่ท�ำงานแลกที่พักเป็นระยะเวลานานๆ อาจจะมีข้อตกลงว่า จะท�ำงานให้ 6 วันและขอหยุด 1 วัน ทางฟาร์มก็ไม่ว่าอะไร สามารถตกลงกันได้ นอกจากจะได้พักฟรีแล้ว ทางฟาร์มยังเลี้ยงอาหารอีกด้วย อาหารโดยส่วนมาก จะเป็นอาหารง่ายๆ เจ้าของบ้านกินอะไรเราก็กินอย่างนั้น จึงมั่นใจได้ว่าเราจะได้กินอาหาร พื้นเมืองแน่นอน ขอกระซิบว่าคุณแม่ (เจ้าของฟาร์ม) ท�ำอาหารอร่อยมากและไม่หวงเครื่อง เวลาเจียวไข่นี่ตอกไข่หมดแผง ฉันเห็นครั้งแรกได้แต่ยืนอึ้ง ทอดออกมาไข่เจียวหนาเป็นไข่ตุ๋น ดังนั้น เรื่องอาหารไม่ต้องห่วง ฟาร์มนี้จัดเต็มจริงๆ (บางครั้งก็เต็มเกินไป ล้นแล้ว!!)


Farmily 21

การเดินทาง การเดินทางไปยังเชียงใหม่นั้น สะดวกมากเพราะมีรถทุกแบบรอให้บริการ ทั้งรถไฟ รถทัวร์ หรือแม้แต่เครื่องบิน ก็เลือกเอาตามความชอบและเงินในกระเป๋าได้เลย เมื่อมาถึง เชียงใหม่แล้ววิธจี ะเข้าไปในฟาร์มก็งา่ ยมาก คือนัดหมายล่วงหน้าว่าจะมาวิธไี หน ถึงกีโ่ มง ฟาร์ม จะเอารถมารับถึงทีเ่ ลย แต่ถา้ ใครไม่รกั ความสบาย ชีวติ เกิดมาก็อยากจะผจญภัยให้สดุ ๆ สามารถ เดินทางเข้าไปด้วยตัวเอง ด้วยวิธีนี้เลย นั่งรถสองแถวสีแดงที่ประจ�ำอยู่ตามท่ารถต่างๆ บอกว่าไป “สถานีขนส่งช้างเผือก” เมือ่ มาถึงให้มองหารถสองแถวสีเหลืองทีต่ ดิ ป้าย “บ้านกาด” หรือ “แม่วาง” บอกคนขับว่าช่วย จอดตรง “แยกอุเม็ง” ให้ดว้ ย พอลงตรงแยกอุเม็งแล้วให้เดินเข้าซอยไปได้เลย เดินเข้าไปประมาณ 300 เมตร จะเห็นฟาร์มอยูท่ างด้านซ้ายมือ มีรา้ นขายของช�ำอยูห่ น้าบ้าน ถ้าหลงทางสามารถ ถามทางชาวบ้านได้เพราะชาวบ้านทีน่ คี่ นุ้ เคยกับคนต่างถิน่ ทีเ่ ข้ามาท�ำงานแลกทีพ่ กั เป็นอย่างดี



Farmily 23

ที่พัก ที่ พั ก ของฟาร์ ม เป็ น บ้ า นที่ ส ร้ า งแยกออกมาส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ เข้ า มาท� ำ งานแลกที่ พั ก โดยเฉพาะ อยู่โซนเดียวกับเล้าไก่ และเนื่องจากฟาร์มมีเนื้อที่ค่อนข้างกว้าง บ้านพักจึงมีความเป็นส่วนตัว บ้านมีลกั ษณะเป็นห้อง 1 ห้อง มีทนี่ อนและผ้าห่มพร้อม ติดมุง้ ลวดรอบห้องจึงไม่มยี งุ ออกมาจากห้องนอนจะมีส่วนที่เอาไว้ใช้ท�ำกิจกรรม เช่น อ่านหนังสือหรือเล่นดนตรี มีตู้เย็นไว้ เก็บอาหาร มีโต๊ะไม้่ไผ่ ห้องน�้ำแยกออกมาจากตัวบ้าน ห้องน�้ำเป็นห้องน�้ำแบบชาวบ้าน ผนัง และหลังคาท�ำด้วยสังกะสี ถ้าเป็นมีผู้ชายมาท�ำงานแลกที่พักด้วย คุณแม่จะให้ไปนอนที่กระท่อมในส่วนที่ ปลูกต้นสักเอาไว้ มีที่นอนและมุ้งให้ ได้บรรยากาศเหมือนอยู่ในป่า เดินออกมาจะมีเปลผูกไว้ ให้นอนเล่นใต้ต้นสัก น่าอยู่มากๆ ได้อารมณ์เหมือนไปนอนโฮมสเตย์เลย


Farmily 24

ก�รทำ�ง�น งานหลักๆ ของที่ฟาร์มไก่แห่งนี้จะมีสองอย่าง หนึ่งคือให้อาหารไก่ในตอนเช้า และเก็บไข่ไก่ตั้งแต่ช่วงสายๆ ไปจนถึงบ่ายนิดๆ เนื่องจากการท�างานจะเป็นแบบชาวบ้านๆ เรื่องเวลาจึงสามารถยืดหยุ่นได้ บางวั น คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ อาจจะตื่ น สายเล็ ก น้ อ ย หรื อ ถ้ า มี ค นมาท� า งานเยอะ งานอาจจะเสร็จเร็ว ขึ้น ขึ้น อยู่กับ สถานการณ์ ถ้ า คุ ณ ไปก็ ปรั บเปลี่ ย นไปตามเหตุ ก ารณ์ เฉพาะหน้าน่าจะดีที่สุด ตารางการท�างานแบบคร่าวๆ ก็จะเป็นประมาณนี้


Farmily 25

ตารางงาน 04.00

ตื่นนอน

ดีดตัวขึ้นจากที่นอน อาบน�้ำ แต่งตัว เตรียมตัวรอที่โต๊ะ มีกาแฟให้ชงดื่มให้ตาสว่าง

04.30 06.00

ให้อาหารไก่ เตรียมอาหารเช้า

ซักผ้ากันเปื้อน ล้างจาน ช่วยคุณแม่เตรียมอาหารเช้า

07.30

รับประทานอาหารเช้า

08.00

เริ่มเก็บไข่

ทานอาหารเช้าพร้อมกัน หลังทานอาหารก็มก ั จะมีการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ในเรือ่ งต่างๆ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราได้รับความรู้และกระชับความสัมพันธ์

วิธีการเก็บก็ง่ายมากๆ ให้เก็บฟองที่ดูปกติใส่ลงไปในแผงไข่ ถ้าเต็มแล้วก็วางไว้ที่พื้น ซ้อนขึน ้ ไปเรือ่ ยๆ ส่วนไข่ทไี่ ม่ปกติให้ทงิ้ ไว้บนชัน ้ หลังจากเก็บไข่ปกติ เสร็จแล้ว เราจะมา เก็บไข่ที่ทิ้งไว้ทีหลัง เพื่อน�ำไปแยกอีกที ถ้าอยากรู้ว่าตัวอย่างไข่ที่ไม่ปกติ เป็นยังไง พลิกหน้าต่อไปเลย


ตัวอย่างไข่ที่ ไม่ต้องเก็บ

ไข่ที่สกปรก

จะมีไข่บางฟองที่เลอะขี้ไก่ ถ้าใส่ ไปในแผงก็จะได้ราคาไม่ด ี จึงต้อง แยกออกมาท�าความสะอาดก่อน แล้วค่อยน�าไปใส่แผง

Farmily 26

ไข่ฟองเล็กเกินไป

จะเห็นความแตกต่างชัดมาก บางฟองมี ขนาดเท่าลูกเกาลัดเท่านั้น ครั้งหนึ่งคุณพ่อยังเคยให้ไข่ขนาดเท่า ไข่นกกระทามาให้ฉันเก็บไว้ น่าเสียดาย ที่มันแตกไปเสียก่อน แต่ถ้าเป็นไข่ฟอง เล็กมากๆ อย่างที่คุณพ่อให้ฉัน จะไม่มี ไข่แดงอยู่ด้านใน มีแต่ไข่ขาวเพียวๆ

ไข่จัมโบ้

จะเป็นไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ไข่ในส่วนนี้คุณแม่จะน�าไปขายให้ ชาวบ้ า นที่ ร ้ า นของช� า หน้ า บ้ า น ส่ ว นใหญ่ ไข่ จั ม โบ้ จ ะเป็ น ไข่ ที่ มี ไข่แดงสองฟองหรือไข่แฝดนั่นเอง


Farmily 27

ไข่แตก ร้าวหรือไข่ทโี่ ดนแม่ไก่จิก

อันที่จริงแว้บแรกที่ฉันรู้ว่าต้องมาเก็บไข่ ภาพในหัวคือ เราอาจจะต้อง ไปหยิบไข่จากรังของแม่ไก่ทกี่ า� ลังกกไข่ดว้ ยความรัก แต่!! ความเป็นจริง คือ แม่ไก่โหดร้ายกว่านั้น คือไล่จิกไข่ตัวเองจนเป็นรูอย่างฮาร์ดคอร์ ดังนั้น ฉันจึงไม่ค่อยรู้สึกผิดมากนักที่ไปแย่งเอาไข่มาจากแม่ไก่ นอกจากนี้คุณพ่อยังบอกอกว่า ไข่ไก่ในฟาร์มนี้ไม่สามารถฟักออกมา เป็นลูกเจี๊ยบได้เพราะไม่ใช่ไข่ที่ได้รับการผสมจากพ่อพันธุ์ แต่เป็นไข่ ที่แม่ไก่ออกมาตามธรรมชาติเนื่องจากได้กินอาหาร

ไข่ที่สีซีด สีขาว เปลือกไม่ แข็งหรือมีลักษณะเป็นวุ้น

ไข่เหล่านีจ้ ะเห็นได้ชดั ว่าไม่ควรใช่ลงไป ในแผง ให้ทิ้งไว้ที่ชั้นได้เลย


Farmily 28

หลังจากเก็บไข่เรียบร้อย คุณพ่อก็จะน�ารถเข็นเข้าไปเก็บไข่มาเรียงไว้รอบริษัท มารับอีกที ระหว่างนี้เราก็เอาถังไปเก็บไข่ที่เราทิ้งไว้ในชั้นตั้งแต่ตอนแรก ซึ่งช่วงแรกคุณจะ แปลกใจว่าท�าไมมันถึงมีไข่ปกติปนอยู่ด้วย ทั้งๆ ที่เราเก็บไปแล้ว ค�าตอบคือแม่ไก่บางตัว ก็ออกไข่ช้ากว่าเพื่อน เราเก็บไปแล้วแม่ไก่ถึงเพิ่งออกไข่ ดังนั้น ไม่ต้องตกใจไม่ใช่ผีหลอก แน่นอน เมื่อเก็บมาก็ช่วยกันแยกไข่เป็นรอบสุดท้ายเป็นอันเสร็จการท�างานของเรา เมื่องานเสร็จก็เป็นเวลาของเรา อยากจะเดินเล่นพักผ่อน เข้าเมืองก็ท�าได้ ฉันเคย ถามคุณแม่ว่าฝรั่งที่มาท�าอะไรบ้างในเวลาว่าง คุณแม่บอกว่า บางคนก็ไปนั่งสมาธิ บางคนไป ออกก�าลังกายที่สวนสาธารณะริมน�้า ส่วนฉันผู้ซึ่งมาเดียวและไม่มีเพื่อนในช่วงแรกตัดสินใจ ช่วยงานคุณพ่อคุณแม่ทั้งวัน เพราะไม่รู้จะท�าอะไร งานตอนบ่ายๆ ก็จะมีหลายอย่างและ เป็นงานที่ท�าไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบท�าให้เสร็จ เช่น ปัดฝุ่นตะแกรงที่รองรับไข่ แซะอาหาร ออกจากรางเพื่อป้องกัน เชื้อรา ส่ว นคุณพ่อคุ ณ แม่ ก็ จ ะต้ อ งตั ก ขี้ ไ ก่ เ อาไปตากแล้ ว บรรจุ ใส่กระสอบเพื่อเอาไปขายให้พวกม้งน�าไปใส่ผักบนดอย ซึ่งเป็นงานที่ฉันไปช่วยท�าตอนแรก แต่ยกพลั่วแทบไม่ขึ้น จึงถูกเนรเทศให้ไปท�างานเบาๆ แทน งานหลักๆ ก็จะมีเพียงเท่านี้ ส่วนตอนเย็นจนถึงค�่า หน้าบ้านจะเป็นแหล่งรวมตัว ของชาวบ้านมากหน้าหลายตามาพบปะสังสรรค์ ดื่มแอลกอฮอล์แก้หนาวทุกวัน เราที่เป็น คนต่างถิ่นก็จะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับชาวบ้าน ทุกคนน่ารัก และใจดีมากๆ




เก็บมาเล่า

LET’S SHARE THE EXPERIENCE คนเขียนอย�กเล่�


Farmily 32


Farmily 33

คนที่รอคอย วันแรกที่ฉันไปถึง คุณพ่อ คุณแม่ และลูกสาว ซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์ม ขับรถมารับฉัน ด้วยความอบอุน่ พร้อมทัง้ บอกข่าวดีวา่ จะมีเพือ่ นฝรัง่ คนหนึง่ เข้ามาท�างานแลกทีพ่ กั ในวันเดียว กับฉันด้วย ฉันดีใจมากเพราะฉันเป็นคนติดเพื่อน แต่ทุกคนไม่ว่างฉันจึงต้องออกเดินทาง ตามล�าพัง (รู้สึกจะดราม่ามากไปแล้ว ฮ่า) วันทั้งวัน ฉันเฝ้ารอเพื่อนฝรั่งที่จะมาด้วยความหวัง จนกระทั่งฉันออกมาหาคุณแม่ อีกทีในช่วงบ่าย คุณแม่กร็ บี เรียกฉันไปหา บอกว่าเพือ่ นมาแล้ว ฉันก็รบี โผล่หน้าไปทีโ่ ต๊ะหินอ่อน หน้าบ้าน กะจะทักทายแล้วรีบชวนมาช่วยงานทันที สิ่งที่ฉันเห็น ท�าให้ฉันตกใจมาก เพื่อนที่มาแล้วของฉัน เป็นชายชาวเอเชีย ไม่รู้ชาติไหน มีแผลถลอกปอกเปิก เลือด โชกมาเลย สิ่งแรกที่ฉันคิดคือ ใครจะช่วยฉันท�างาน เอ๊ย ไม่ใช่ เขาไปท�าอะไรมา ท�าไมแผล เต็มตัว เมื่อไปสอบถามก็ได้ความว่า เขาเป็นชาวจีน พอดีเที่ยวอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่เลย เช่ามอเตอร์ไซค์ขับมาดูฟาร์มก่อน แต่ระหว่างทางดันเกิดอุบัติเหตุรถแฉลบลงข้างทาง เลยมี สภาพเป็นอย่างที่เห็น ระหว่างที่ฉันช่วยท�าแผลให้ พี่ลูกสาวเจ้าของบ้านที่ชื่อว่า “พี่พู่” ก็เดินเข้ามาทักทาย และถามอายุของ “จิน” เพือ่ นชาวจีนของฉัน (คือเป็นเพือ่ นกันตัง้ แต่เมือ่ ไหร่?) นีค่ อื บทสนทนา ของทั้งคู่


Farmily 34

พี่พู่ : How old are you? (เอ็งอายุเท่าไหร่อ่ะ) จิน : 25 (ยี่สิบห้าครับ) พี่พู่หันมาคุยกับฉัน “มิน่าล่ะ มันอายุ 25 เบญจเพสพอดี เลยไปรถล้มถลอกปอกเปิก เนอะ” ฉันไม่รู้จะตอบอะไรเลยได้แต่ยิ้มๆ แล้วพี่พู่ก็หันไปคุยกับจินต่อด้วยน�้ำเสียงจริงจัง พู่ : You know? A lot of people in Thailand die at 25 years old. (นี่เอ็งรู้ป่ะ? มีคนไทยเยอะมากที่ตายตอนอายุ 25) แล้วพี่พู่ก็เดินจากไป ทิ้งฉันกับจินไว้สองคน ตัดภาพกลับไปที่จิน โอโห้!!! จินได้ยินแบบนั้นถึงกับท�ำหน้าเหวอ ฉันเองก็อึ้งเหมือนกัน โพลไหนส�ำรวจ ไว้เนี่ย น่ากลัวมั่กๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เพื่อนฉันกลัวจนหนีกลับจีนไปเสียก่อน ฉันเลยรีบอธิบาย มันเป็นความเชื่อของไทยน่ะ ว่าถ้าคุณอายุ 25 จะค่อนข้างโชคร้าย แบบมีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้น บางคนก็ไม่ถึงตายหรอก จินมีสีหน้าโล่งอกลงเล็กน้อย เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ฉันรีบคิดหาหัวข้อสนทนาใหม่ เพื่อให้จินลืมเรื่องที่เขาอาจจะตายตอนอายุ 25 สายตาฉันก็ไปหยุดอยู่ที่กางเกงของจิน ไม่ใช่ อะไรแบบคุณคิดนะ!! (คือคุณคิดหรือยัง ฉันไม่ได้ร้อนตัวใช่ไหม ฮ่าๆ) กลับมาที่กางเกงที่เพื่อนชาวจีนใส่อยู่ ก็มีลักษณะเป็นกางเกงขาสั้นธรรมดาๆ แบบที่ นักท่องเที่ยวต่างชาติชอบใส่ แต่ที่ไม่ธรรมดาคือลายกางเกงเป็นสามมิติ คือจะมีเส้นแหลมๆ เล็กๆ เหมือนที่ติดอยู่ที่ล้อรถเพื่อใช้วัดอายุของยาง ติดอยู่ทั่วกางเกงขาสั้นของจิน ส�ำหรับ


Farmily 35

ฉันแล้ว นั่นมันเท่มาก ฉันไม่เคยเห็นกางเกงแบบนี้ที่ไหน ฉันก็เลยกล่าวชมด้วยความจริงใจ ฉัน : Wow! I like your pants. Look at the design, so cool. VERY NICE PANTS!! (ว้าว! ฉันชอบกางเกงคุณจังเลย ดูการออกแบบของมันสิ เจ๋งมากอ่ะ เป็นกางเกงที่ดีมั่กๆ) จินยังไม่ทันตอบอะไร คุณแม่ที่เดินเอายาแดงและผ้าพันแผลมาให้ ก็ก้าวฉับๆ มานั่ง ข้างจิน พร้อมกับดึงเส้นๆ ที่ติดตามกางเกงจินออก ปากก็พูดว่า “ดึงออกเร็วหนู เขาไปล้มโดน ต้นอะไรไม่รู้เนี่ย หนามติดเต็มไปหมด บอกให้เค้าดึงออกเร็วจะได้ไม่เจ็บ” คุณพอจะนึกสีหน้าของฉันออกไหม เหมือนสีหน้าของมิสโคลอมเบีย ตอนรูค้ วามจริง ว่า พิธกี รประกาศผิดและเธอไม่ได้เป็นนางงามจักรวาล แต่ชวี ติ ต้องด�าเนินต่อไป ฉันก็เลยเนียน ท�าแผลต่อเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อเขามีสภาพพอไปวัดไปวาได้ อย่างน้อยเลือดก็หยุดไหลแล้ว จินก็ต้องขี่รถมอเตอร์ไซค์กลับไปคืนในเมืองและไปโรงพยาบาล พร้อมกับพูดว่า จะมาวันพรุง่ นี ้ แต่ฉนั ประเมิน จากสภาพของจินแล้ว คิดว่าจินไม่น่าจะได้กลับมาท�างานในเร็วๆ นี้แน่ น่าจะต้องพักฟื้น 1 อาทิตย์เป็นอย่างน้อย และนัน่ ก็เป็นครัง้ สุดท้ายทีฉ่ นั เห็นจิน แต่เขาก็โทรมาบอกความคืบหน้า อาการและค่าซ่อมรถให้ลูกสาวเจ้าของบ้านฟังทุกวัน กว่าจินจะพร้อมมาท�างานแลกที่พัก ฉัน ก็คงกลับกรุงเทพไปแล้ว และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ฉันต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลา 4 วัน จนกระทั่งเพื่อนชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ จู่ลี่ เดินทางมาถึง


Farmily 36

จูลี่ กับ ยี่เป็ง จูลี่ตั้งใจเดินทางมาถึงเชียงใหม่ในช่วงเทศกาลลอยกระทงพอดี ภารกิจที่จูลี่ตั้งใจ จะท�ำในเชียงใหม่ก็คือ ไปดูการปล่อยโคมลอยจ�ำนวนมหาศาลแบบภาพในอินเทอร์เน็ต ฉันเอง ก็เช่นกัน เราสองคนจึงตั้งใจว่า จะเข้าไปดูในเมืองด้วยกัน แต่ทว่า คุณพ่อมาบอกข่าวร้ายให้เรา ทราบว่า ปีนี้ทางรัฐบาลได้ขอความร่วมมืองดปล่อยโคมลอยในหลายๆ อ�ำเภอ โดยเฉพาะ ในตัวเมือง ดังนัน้ ภาพแบบทีโ่ พสอยูต่ ามอินเทอร์เน็ตนัน้ เราจะไม่มโี อกาสได้เห็นด้วยตาตัวเอง อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ถามชาวบ้านหลายๆ คน พบว่าไม่มีใครเคยเห็นมหกรรม การปล่อยโคมครั้งยิ่งใหญ่แบบนั้นกันสักคน แม้แต่คนที่เคยไปเที่ยวลอยกระทงในตัวเมือง เชียงใหม่ ฉันรูส้ กึ สงสัยว่าท�ำไมถึงไม่มใี ครเคยเห็นเลย จนกระทัง่ คุณลุงทีม่ าสังสรรค์คนหนึง่ พูด ขึ้นมาอย่างติดตลกว่า “สงสัย เขาจะโฟโต้ชอปเอามั้ง” ถึงลุงจะพูดข�ำๆ แบบไม่มีหลักฐาน แต่ ก็น่าคิดเหมือนกันนะ ฮ่าๆ (ที่ทึ่งที่สุดคงเป็นการที่คุณลุงรู้จักโฟโต้ชอปด้วย ทันสมัยมากๆ) ถึงแม้เราจะไม่ได้เห็นมหกรรมโคมลอยในเมือง แต่เราก็ได้ปล่อยโคมและจุดประทัด กันหน้าบ้าน คุณพ่อบอกว่าอ�ำเภอสันป่าตองไม่ได้ถกู ห้าม ฉันก็เชือ่ คุณพ่อ ฉันเชือ่ คนง่าย เพราะ ฉะนั้นถ้าเกิดอะไรขึ้นฉันไม่เกี่ยวนะ ฉันไม่รู้เรื่อง อย่างไรก็ตามเราได้เห็นวิธีการฉลองประเพณี ยี่เป็งของชาวบ้านแล้วก็รู้สึกชอบมาก ตอนหัวค�่ำทุกบ้านจะจุดเทียนเล็กๆ ที่มีลักษณะกลมๆ เหมือนคุกกี้ ไว้ที่รั้วบ้าน เรียงต่อกันไปเรือ่ ยๆ ทัว่ หมูบ่ า้ น มีการปล่อยโคมหลายอัน คุณลุงคนหนึง่ วาดรูปหอไอเฟลลงบน โคมของจูลี่เพื่อไว้อาลัยให้แก่เหตุการณ์กราดยิงในปารีส สวยมาก และซึ้งมาก


Farmily 37

จนกระทั่ง...มีการจุดประทัดเกิดขึ้น!!! ตลอดเวลาทีฉ่ นั เข้ามาท�างานแลกทีพ่ กั ในฟาร์มแห่งนี ้ ฉันมักจะได้ยนิ เสียงระเบิดปึงปัง อยู่เสมอ ดูเหมือนคนเชียงใหม่ทุกคนจะรักการจุดประทัด พลุ และดอกไม้ไฟเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เสียงพลุดูจะน่ารักขึ้นเมื่อได้ยินจากที่ไกลๆ จากที่พักของฉันในวันแรกๆ ที่ไป แต่จะเป็นคนละเรื่องเมื่อคุณไปอยู่ในสถานที่จุดพลุเสียเอง เหตุการณ์ชวนขวัญผวาของฉันกับ จู่ลี่ได้เกิดขึ้นขณะที่เราก�าลังยืนมึนๆ กับหลายเหตุการณ์อยู่ที่หน้าบ้าน มีทั้งคนชวนเราคุย มีทั้งชาวบ้านเอาโคมมาให้เราปล่อย มีคุณลุงคนหนึ่งมาสะกิดฉันกับจูลี่แล้วพูดว่า ลุง : นี่หนู ยกกล้องไว้เลยๆ ฉัน : ห้ะ!! อะไรนะคะ ได้ๆ ฉันหันไปบอกจูลี่งงๆ ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ระหว่างที่เรายืนงงอยู่นั้น ก็มีเสียงระเบิด ขนาดใหญ่ดังขึ้น ปัง! พร้อมๆกับที่มีสะเก็ดไฟขนาดใหญ่พุ่งขึ้นมาจากพื้นเหมือนน�้าพุไฟ ขนาดใหญ่ รัศมีการท�าลายล้างประมาณ 4 เมตร ฉันและจูลี่กรีดร้องเสียงดังก่อนจะวิ่งหนีไป ให้ไกลที่สุด เมื่อเหตุการณ์ทุกอย่างจบลง เราสองคนถึงตั้งสติกันได้ว่า นั่นเป็นแค่ดอกไม้ไฟ เท่านั้น!!! และคุณลุงคนเดิมก็เดินมาสะกิดเราอีกครั้งพร้อมกับพูดด้วยน�้าเสียงไม่ค่อยพอใจว่า ลุง : เอ้า ลุงบอกให้เตรียมถ่าย ไม่ใช่ให้วิ่งหนีนะ โห!!! ถึงติชา่ จะอยากได้รปู สวยๆ แต่ถา้ เกิดอะไรขึน้ มาติชา่ ก็ไม่อยากตายนะคะ #THE FACE


Farmily 38


Farmily 39


Farmily 40

WE EAT DOG !?! จูลี่เป็นคนอารมณ์ดีมาก คุณจะได้ยินเสียงหัวเราะจากจูลี่อยู่เสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่ง จูลี่ให้ฉันสอนนับเลข 1-5 เป็นภาษาไทย ส่วนจู่ลี่จะสอนฉันนับเลข 1-5 เป็นภาษาฝรั่งเศส ภาษาทีเ่ ราใช้สอื่ สารกันนัน้ เป็นภาษาอังกฤษ และบ่อยครัง้ ทีค่ นในโต๊ะส่วนใหญ่ซงึ่ พูดภาษาเหนือ (บางครั้งฉันก็ฟังภาษาถิ่นไม่ออก) ให้ฉันช่วยแปลประโยคเป็นภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับจูลี่ ดังนั้นภาษาที่เราคุยกันในวงสนทนาจึงมีทั้งหมด 4 ภาษา 4 สไตล์ ซึ่งกลายมาเป็นสาเหตุ ของการเบลอของฉันในที่สุด ระหว่างที่การสอนด�ำเนินไป จูลี่ก็มักจะมีปัญหากับเลข หนึ่ง จูลี่ จะออกเสียงว่า หนอน ตลอด ฉันก็สวมรอยเป็นครูลิลลี่ทันที ฉัน : Julie, You are wrong. It’s Nueng. Not Non. Repeat after me one more time. (นี่จูลี่ เธอพูดผิดล่ะ เธอต้องออกเสียงว่า หนึ่ง ไม่ใช่ หนอน นะ เข้าใจไหม? พูดตามฉันอีกครั้ง) แล้วจูลี่ก็มีสีหน้าตั้งใจขั้นสูงสุด ราวกับไม่มีอะไรจะมาปิดกั้นการเรียนรู้ภาษาไทย ครั้งนี้ได้ ฉัน : Okay, One Two Three Four Five ??? (โอเค พูดตามฉันนะ วัน ทู ทรี โฟร์ ไฟว์ ???) จูลี่ : But It’s English. I can speak English. (แต่นั่นมันภาษาอังกฤษนะ ฉัน พูดได้อยู่แล้วนี่) หลังจากนั้น จูลี่ก็หัวเราะฉัน และเอาเรื่องนี้มาล้อฉันทุกครั้งที่เราสอนภาษาให้กัน


Farmily 41

แม้การสอนนับเลขจะไม่คอ่ ยรุง่ แต่มสี งิ่ หนึง่ ทีจ่ ลู เี่ รียนรูไ้ ด้ไวมากๆ นัน่ ก็คอื ชือ่ หมาในฟาร์ม ฟาร์ม แห่งนี้มีสุนัขอยู่ทั้งหมด 5 ตัว คือ ย้งยี้ เอลี่ ด้วง หมิงเทียน และดัมมี่ ซึ่งทุกตัวน่ารักและร่าเริง มาก (มากๆ เลยล่ะ) หมาทีฟ่ าร์มนีไ้ ม่กลัวคนแปลกหน้า ฉันและจูลจี่ งึ มักจะเล่นกับหมาอยูบ่ อ่ ยๆ วันหนึ่ง หลังจากเราเล่นกับหมาเสร็จ เราก็เห็นคุณแม่เดินเข้าครัว ฉันจึงชวนจูลี่ ไปช่วยคุณแม่ท�าอาหาร พอไปถึงฉันก็บอกคุณแม่ว่า “เดี๋ยวหนูกับจูลี่ขอไปล้างมือแป๊บนะคะ เพิง่ เล่นกับหมามา” คุณแม่กบ็ อกว่า ไปล้างทีไ่ หน (คือฟาร์มกว้างมากทีล่ า้ งมือก็เลยอยูไ่ กลออกไป ที่อยู่ใกล้ก็มืดเกินกว่าจะไปล้างได้ แถมอยู่ในโซนป่า) ล้างที่นี่ได้เลย แล้วคุณแม่ก็ชี้ที่กะละมังใบ หนึ่ง ซึ่งมีน�้าอยู่ แต่มันไม่ได้มีแค่น�้าอย่างเดียว มันมีวุ้นเส้นที่ก�าลังจะเอามาท�าอาหารเย็น แช่ อยู่ด้วย!!! จูลี่ที่พอจะเข้าใจภาษาท่าทางของคุณแม่ที่ให้ล้างมือในกะละมัง หันมาถามฉันทันที ว่า นั่นไม่ใช่อาหารที่เราจะกินกันเย็นนี้ใช่ไหม ฉันไม่มีทางเลือกจึงตอบไปว่าใช่ จูลี่สั่นหัวอย่าง แรง ยิ้มกว้างและบอกคุณแม่ว่า โนโนโน คุณแม่พูดเล่นใช่ไหม? คุณแม่ยิ้มอย่างใจดีชี้ไปที่กะละมังอีกครั้งและพูดว่า เยสเยส พร้อมพยักหน้า คงเป็น เพราะหน้าตาคุณแม่ใจดีแท้ๆ พวกเราจึงแข็งข้ออยู่ได้ไม่นานก็ตัดสินใจจุ่มมือลงไป ก็แหม! คนโบราณเขาบอกว่า เข้าเมืองตาหลิ่วให้หลิ่วตามนี่นา วันนัน้ จูลโี่ พสต์รปู อาหารลงในเว็บแชร์ภาพถ่าย แล้วแคปชัน่ เก๋ๆ ว่า Today, we eat a part of dog. !!! VERY YUMMY.





THAI-DENISH

ไทย-เดนม�ร์ค ฟ�ร์มโคนม อำ�เภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

โทรศัพท์ : 036 909 685 ที่อยู่ : 160 ถนนมิตรภ�พ ตำ�บล มิตรภ�พ อำ�เภอ มวกเหล็ก จังหวัด สระบุรี เว็บไซต์ : www.dpo.co.th


Farmily 46


Farmily 47

หลายๆ คนน่าจะพอจ�ำนม UHT ที่บรรจุมาในกล่องคลาสสิก มีรูปวัวสีแดง อยู่บนกล่องกันได้ นมที่คนรุ่นคุณแม่เรียกว่า “นมวัวแดง” หรือ “นมไทยเดนมาร์ค” นั่นเอง ถ้าจะให้พดู กันแบบซือ่ สัตย์แล้วล่ะก็ ฉันเองไม่ใช่นกั ดืม่ ตัวยงของนมไทยเดนมาร์ก แต่กร็ จู้ กั และ เห็นตั้งแต่เด็กจนโต ถ้ามีโอกาสก็ซื้อดื่มบ้างตามสมควร แต่น่าแปลกใจที่พอต้องหาข้อมูลติดต่อ ฟาร์มทีอ่ ยากไป ฉันกลับนึกถึงฟาร์มไทยเดนมาร์กเป็นทีแ่ รกๆ อาจจะเป็นเพราะความคลาสสิก ของมันก็เป็นได้ หลังจากหาข้อมูลไปตามสมควร ก็พบว่าที่ฟาร์มไทยเดนมาร์ก หรือ ชื่ออย่างเป็นทางการคือ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เขามีกจิ กรรมเปิดให้บคุ คล ทัว่ ไปเข้าไปเทีย่ วชมฟาร์มได้ดว้ ย ระยะเวลาในการเข้าชมต่อ 1 รอบ ไม่เกินสองชัว่ โมง ถ้าใคร ผ่านไปแถวๆ นัน้ ก็ลองแวะชมได้ สนนราคาค่าเข้าชมก็ไม่แพงเท่าไหร่ ผูใ้ หญ่ราคา 120 บาท เด็ก ราคา 80 บาท ขอแนะน�ำให้โทรเข้าไปจองทีน่ งั่ ก่อนทีเ่ บอร์ 036-345188 หรือ 036-344926 แต่ส�ำหรับใครที่ไม่พอใจจะหยุดอยู่แค่สองชั่วโมงเหมือนกับฉัน ตามมาทางนี้เลย เราจะเข้าไป ท�ำงานในฟาร์มโคนมกันเก๋ๆ ถึงแม้ฟาร์มไทยเดนมาร์คจะมีหน่วยงานที่ดูแลด้านการท่องเที่ยวโดยตรงคือฝ่ายการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่ถ้าเราจะเข้าไปท�ำงานแลกที่พักล่ะก็ เราต้องติดต่อไปที่ ฝ่ายวิจัยและ พัฒนาการเลีย้ งโคนม เพราะฝ่ายนีเ้ ขามีหน้าทีโ่ ดยตรงในการรีดน�ำ้ นมป้อนเข้าสูโ่ รงงาน พูดง่ายๆ คือ ถ้าเราไปที่ฝ่ายท่องเที่ยว การรีดโคนมที่เราจะได้ชม จะเป็นแค่การสาธิต ไม่ใช่กระบวนการ รีดนมทีแ่ ท้จริง ทีร่ นู้ กี่ เ็ พราะฉันไปเทีย่ วกับฝ่ายท่องเทีย่ วหลังจากได้เข้าไปท�ำงานแลกทีพ่ กั แล้ว ชมไปก็ได้แต่ทำ� หน้ากระหยิม่ ยิม้ ย่องในใจ เพราะเราได้สมั ผัสประสบการณ์ทลี่ กึ กว่าคนอืน่ เห็นๆ รู้สึกชนะ!!!


Farmily 48

เตรียมตัว ส�ำหรับแผนการเข้ามาท�ำงานแลกทีพ่ กั ในฟาร์มครัง้ นีข้ องฉันก็คอื 3 วัน โดยต้องเข้าไป เก็บของและดูสถานทีท่ ำ� งานคร่าวๆ ในตอนเย็นก่อนวันเริม่ งาน ดังนัน้ จะเท่ากับฉันมีเวลาอยูใ่ น ฟาร์มทั้งสิ้น 3 วัน 3 คืนเต็มๆ และอาสามัครต้องเตรียมรองเท้าบู๊ตมาด้วย (แบบที่ใส่ท�ำงาน ตามตลาดนะ ไม่ใช่รองเท้าบู๊ตแฟชั่น) ราคาที่ฉันซื้อจากตลาดในกรุงเทพฯ อยู่ที่ 150 บาท แต่ เพื่อนที่ไปกับฉันหาซื้อไม่ได้จึงต้องไปซื้อในตลาดมวกเหล็ก ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 220 บาท และเมื่อขอลดราคา อาม่าเจ้าของร้านพูดด้วยน�้ำเสียงหนักแน่นว่า ร้านนี้ไม่เคยลดราคา!!! เรา ไม่มที างเลือกก็เลยต้องซือ้ ข้อดีคอื วัสดุทเี่ อามาท�ำรองเท้าดีมาก ดูแข็งแรง ทนทานและมีสขี าว ซึ่งเป็นสีที่พนักงานส่วนใหญ่ในโรงรีดของฟาร์มไทยเดนมาร์กใช้ ดังนั้น ใครอยากได้แบบไหน ก็เลือกซื้อเอาตามใจได้เลย การแต่งกายอื่นๆ ก็ตามสะดวก ชุดเบสิคจะเป็นกางเกงยีนส์ขายาวกับรองเท้าบู๊ต เสื้อก็เป็นเสื้อมีแขนเป็นอันใช้ได้ จะแขนสั้นแขนยาวก็ตามสะดวก ไม่รู้ว่าคนอื่นจะเป็น เหมือนกันไหม แต่ภาพในหัวของฉันคือทุกคนในฟาร์มน่าจะแต่งตัวแบบสไตล์คาวบอยแบบ ในละคร ประมาณว่ากางเกงขาม้า เสื้อเชิ้ต สวมหมวกและเหน็บปืน (อย่างน้อยก็มีซองใส่ปืน ล่ะน่า) แต่โดยส่วนใหญ่คนงานเค้าก็แต่งตัวกันปกติไม่ได้ดูคาวบอยขนาดนั้น


Farmily 49

การเข้าไปท�ำงานแลกทีพ่ กั ในฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์คในครัง้ นี้ ฉันตกลงกับฟาร์มว่า จะช่วยท�ำงานแลกกับที่พัก ส่วนเรื่องอาหารฉันจะดูแลตัวเอง แต่ไม่ต้องกลัวอด เหตุผลข้อแรก คือตลาดอยูใ่ กล้มาก สามารถนัง่ รถรับจ้างไปได้ เหตุผลข้อทีส่ องมีรา้ นอาหารอยูใ่ กล้ทพี่ กั แต่จะ เปิดปิดเป็นเวลาเพราะเป็นเหมือนโรงอาหารของพนักงาน และข้อสุดท้ายถ้าข้ามถนนมาจาก ทีพ่ กั จะมีรา้ นสหกรณ์ขนาดใหญ่และร้านขายอาหารจ�ำพวกข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง และก๋วยเตีย๋ ว แถมยังมีจุดซื้อของฝากขนาดใหญ่ ไว้คอยดูดเงินจากกระเป๋าอีกด้วย สรุปได้ว่า ไม่อดตาย อย่างแน่นอน ฉันคอนเฟิร์ม!!! ของอย่างสุดท้ายที่ฉันขอแนะน�ำให้ทุกคนพกไปด้วยคือ เพื่อน!! เพื่อนเป็นสิ่งมีชีวิต ที่ส�ำคัญมากในการใช้ชีวิตอยู่ในฟาร์มไทยเดนมาร์ก โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้หญิง เพราะต้อง ออกจากที่พักตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่างและไหนจะอารมณ์ขวัญอ่อนที่อาจะเกิดขึ้นได้เมื่อคุณไปอยู่ ต่างถิ่น ในบรรยากาศที่...เอ่อ เรียกว่าไม่คุ้นเคยน่าจะดีที่สุด นอกจากนี้คุณจะได้มีเพื่อนไว้ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เชื่อฉันพาเพื่อนไปสักคนอุ่นใจ กว่าเยอะ


Farmily 50

การเดินทาง สามารถเดินทางสะดวกเพราะฟาร์มตัง้ อยูบ่ นถนนสายหลัก ขอแนะน�ำวิธกี ารเดินทาง 3 วิธที ฉี่ นั เห็นว่าดีทสี่ ดุ แล้วกันนะ 1. รถส่วนตัว อันนีด้ ที สี่ ดุ เพราะนอกจากจะสะดวกในการเดินทางไปกลับแล้ว เรา ยังสามารถน�ำรถไปใช้ในฟาร์มได้ดว้ ยเพราะฟาร์มไทยเดนมาร์กมีขนาดใหญ่มาก และส่วนต่างๆ ค่อนข้างจะแยกกัน ถ้าคุณมีรถและไม่มปี ญ ั หาค่าน�ำ้ มัน ก็เอาไปเถอะ แต่ถา้ ชอบความล�ำบาก แนะน�ำให้อา่ นข้อ 2 2. รถตูส้ าย “อนุสาวรียช์ ยั สมรภูมิ - มวกเหล็ก” จะผ่านข้างหน้าฝ่ายวิจยั และ พัฒนาการเลีย้ งโคนม ลงปุบ๊ ถึงปับ๊ ถ้าสัมภาระไม่เยอะมาก นัง่ รถตูก้ ด็ เี พราะมีรถวิง่ เรือ่ ยๆ ใช้เวลา ไม่นาน และไม่ตอ้ งต่อรถอีกแล้ว ค่ารถอยูท่ ี่ 120 บาทต่อคน แต่ถา้ คิดว่านีย่ งั ล�ำบากไม่พอ ไปข้อ 3 เลย 3. รถไฟ ข้อดีทเี่ ห็นชัดทีส่ ดุ คือ ตอนนีค้ นไทยขึน้ ฟรี และเนือ่ งจากเราไม่ได้นงั่ สุดสาย จึงมีหลายขบวนให้เลือก ซึง่ รายละเอียดเยอะมากๆ เพือ่ ความมัน่ ใจให้โทรไปเช็คได้ทสี่ ายด่วนรถไฟ 1690 เจ้าหน้าทีใ่ ห้ขอ้ มูลละเอียดและบริการดีมาก โดยสถานีทเี่ ราต้องลงคือ สถานีมวกเหล็ก เมือ่ ลงแล้วให้เดินออกมาต่อรถรับจ้างทีจ่ อดรออยูท่ สี่ ถานีรถไฟได้เลย บอกว่าไปฟาร์มไทยเดนมาร์ค ราคาจะอยูท่ ปี่ ระมาณ 50 – 80 บาท ขึน้ อยูก่ บั ควาสามารถในการต่อราคาของ แต่ละคน ซึง่ ราคานีเ้ ป็นราคาเหมา ไปกีค่ นก็หารได้เลย เหลือคนละไม่กสี่ บิ บาท ถูกมากๆ


Farmily 51

ที่พัก

ที่พักของฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์คเรียกว่า “หอแดง” มีลักษณะคล้ายหอพักของ โรงเรียนประจ�า บนชัน้ สองแบ่งออกเป็นห้องพักเล็กๆ หลายๆ ห้องเพือ่ รองรับผูม้ าเยือน ภายใน ห้องมีเตียงเหล็ก 4 เตียง เป็นห้องพัดลม มีตู้กดน�้า กระติกน�้าร้อนและทีวีคอยบริการอยู่ตรง โถงทางเดิน ห้องอาบน�้ารวมแยกชาย – หญิง ตอนที่ฉันไปไม่มีใครอยู่ในหอเลย อาจจะเป็นเพราะยังไม่ถึงช่วงที่มีนักศึกษาหรือคน เข้ามาดูงาน ในหอจึงมีแค่ฉันและเพื่อนอยู่สองคน เป็นเรื่องที่แปลกมากเพราะตอนนั้นเรา สองคนรู้สึกสามัคคีกันมากเป็นพิเศษ ทั้งๆ ที่ปกติจะทะเลาะกันเป็นประจ�า ไม่รู้เหมือนกันว่า เพราะอะไร? (ไม่รู้จริงๆ นะ)


Farmily 52

ก�รทำ�ง�น ตารางการท�างานทีฟ่ าร์มไทยเดนมาร์คจะเป็นระบบและตรงเวลามาก ดังนัน้ พยายาม อย่าไปสายจะดีที่สุด การรีดนมนั้นจะแบ่งออกเป็นสองช่วง คือช่วงเช้าและช่วงบ่าย งานที่เรา ท�าได้ คือช่วยคนงานยกถังนมทีร่ ดี เสร็จแล้วไปเทลงในถังทีจ่ ะส่งเข้าโรงงาน ก่อนจะเท ต้องดูวา่ เป็นน�า้ นมจากแม่ววั ตัวไหน (วัวแต่ละตัวจะมีหมายเลขติดอยูต่ รงป้ายเล็กๆทีห่ แู ละป้ายตรงคอก ที่แม่วัวยืน) น�าน�้านมไปชั่ง ถ้าเป็นถังขนาดใหญ่ คุณลุงคนงานจะบอกว่าต้องลบน�้าหนักของถัง ออกด้วย (ตอนฉันไปคือลบออก 4 กิโลกรัม) เพื่อความไม่สับสน เรามาดูตารางการท�างานแบบ ละเอียดกันดีกว่า


Farmily 53

ตารางงาน 04.00

ตื่นนอน

ตื่นนอน อาบน�้ำ แต่งตัว ใส่รองเท้าบู๊ตออกไปได้เลย การเดินทางวันแรกอาจจะนัดหมายให้คนที่โรงรีดขับรถมารับก่อนถ้าคุณ ไม่มีรถเพราะมันค่อนข้างไกลพอสมควร น่าจะประมาณ 1.5 กิโลเมตรได้ แต่สามารถ เดินได้นะ (เพราะฉันเดินมาแล้วก็ปวดขาใช้ได้ คิดซะว่าออกก�ำลังกายเพือ่ หุน ่ ทีด ่ ี ฮ่าๆ) อย่ า งไรก็ ต ามที่ ห อมี จั ก รยานให้ ยื ม แต่ ด ้ ว ยความที่ ท างขึ้ น เป็ น ถนนที่ ค่อนข้างลาดชัน จึงไม่แนะน�ำ เหมือนจะเป็นภาระมากกว่า แต่ขากลับคุณจะสบายเพราะ เป็นทางลงเขา ก็ลองเฉลี่ยน�้ำหนักดูว่าคุณจะ ไปโรงรีดด้วยวิธีไหน จึงจะเหมาะสม ที่สุด

04.45

ถึงโรงรีด

เมื่อถึงโรงรีด คุณจะเห็นคนงานต้อนวัวเข้าคอกกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว และก�ำลังใช้สายยางที่น�้ำไหลแรงประหนึ่งรถดับเพลิง ท�ำความสะอาดหรืออาบน�้ำ ให้แม่วัวอยู่ แต่ไม่ได้มีสบู่ยาสระผมเข้ามาเกี่ยวข้องนะ แค่น�้ำเปล่าเฉยๆ ถึงตรงนี้ ด้วยความที่แต่ละคอกจะมีคนงานประจ�ำอยู่แล้วและมีสายยาง อันเดียว เราก็เดินเตร็ดเตร่ไปตีซี้กับคุณลุงที่เป็นคนงานคนหนึ่งระหว่างเค้าท�ำงาน ไปพลางๆ อยากรู้อะไรก็ถามได้เลย


Farmily 54

06.00 เริ่มรีดนม กระบวนก�รจะแบ่งออกเป็นขั้นตอน ดังนี้

STEP 1

เช็ดเต้�นม

คุณลุงจะน�าผ้าขนหนูชุบน�้าไปเช็ด ที่เต้านมของวัว ประมาณ 2 รอบ เพื่อท�าความสะอาด

STEP 2

เช็คคุณภ�พน้ำ�นม เช็คด้วยการรีดน�้านมด้วยมือใส่ถาดสีขาวขนาดเล็กที่ แบ่งออกเป็น 4 ช่อง แทนน�้านมแต่ละเต้า ใส่น�้ายาตรวจคุณภาพลงไป แกว่งภาชนะให้น�้านมเข้ากัน ถ้ามีลักษณะ เหนียวหนืดและตกตะกอนแสดงว่าใช้ไม่ได้ ซึ่งบางครั้ง จากเต้ า นมทั้ ง หมดสี่ เ ต้ า อาจจะเสี ย แค่ เ ต้ า เดี ย วก็ ไ ด้ ก็เว้นเต้านัน้ ไว้ ก่อนจะมารีดด้วยมือในภายหลังเพือ่ น�าไป เลีย้ งลูกวัว แต่ถา้ เสียหมดทัง้ สีเ่ ต้า ก็เก็บไว้รดี เป็นตัวท้ายๆ ด้วยเครื่องรีดนมวัวแล้วน�าไปเลี้ยงลูกวัวเช่นเดียวกัน ทั้งนี้สาเหตุการเสียของน�้านมนั้น มีที่มาจากสุขภาพของ แม่วัวตัวนั้นๆ ที่อาจจะไม่แข็งแรงเพียงพอหรือป่วย ซึ่ง เจ้าหน้าจะคอยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกัน การแพร่เชื้อไปยังแม่วัวตัวอื่นๆ


Farmily 55

STEP 3

รีดนม

น�้ า นมส่ ว นใหญ่ ประมาณ 98 เปอร์ เซ็ น ต์ จะผ่านคุณภาพและสามารถรีดได้ คุณลุงจะ น�าเอาเครื่องรีดที่มีหน้าตาเหมือนปลาหมึก ผสมยานอวกาศไปสวมที่เต้านม เปิดเครื่อง เสร็จ เครื่องรีดก็จะท�าหน้าที่รีดนมออกมา ใส่ถังด้วยความรวดเร็ว


Farmily 56

STEP 4

ชั่ง เก็บ บันทึก เท ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เป็นหน้าที่ของพนักงานฝึกหัดอย่างเรา หลังจากเครื่องรีดเสร็จคุณลุงก็จะยกนมมาวางไว้ด้านหลังแม่วัว เราก็ต้องรีบไปยก มาชัง่ น�า้ หนัก โดยในช่วงเช้าวัวจะให้นา�้ นมเยอะ จึงต้องใช้ถงั ขนาดใหญ่เราจึงต้องลบน�า้ หนักถัง 4 กิโลกรัมออกไปจากน�้าหนักทั้งหมดที่ชั่งได้ จากนัน้ ให้ดตู รงตะกร้าทีม่ ขี วดยาขนาดเล็กๆ เรียงอยู ่ ตรงฝาขวดจะมีหมายเลขแม่ววั ติดอยู่ ให้เทน�้านมใส่ลงไป ที่ต้องเก็บน�้านมเหล่านี้ก็เพื่อที่จะน�าส่งเข้าแลบเพื่อตรวจความปลอดภัยและสารอาหารอย่างละเอียดหรือบางตัวเป็นแม่วัวที่ก�าลังท�าวิจัยอยู่จึงต้องบันทึก ประวัติการให้นมอย่างละเอียด เสร็จแล้วให้ไปบันทึกปริมาณน�้านมลงในใบบันทึกตามหมายเลขของแม่วัว เทนมลงถังขนาดใหญ่ น�าถังเปล่ากลับไปให้คุณลุงใส่น�้านมต่อ เป็นอันเสร็จพิธี ท�าไปเรื่อยๆ จนครบทุกตัว ซึ่งเจ้าหน้าที่ 1 คน จะดูแลแม่วัวประมาณ 20 ตัว ซึ่ง การที่เราไปช่วยนั้น คุณลุงบอกว่า ช่วยผ่อนแรงไปได้เยอะ ถ้าช่วงไหนที่ไม่มีเด็กฝึกงานหรือ คนมาดูงาน คุณลุงก็ตอ้ งท�าทัง้ หมดคนเดียว แต่ถามว่าเหนือ่ ยไหม? คุณลุงบอกสบายมากเพราะ ท�ามาเกือบสิบปีแล้ว คุณลุงถึงได้แข็งแรงสุดๆ ไปเลย


02

เก็บตัวอย่างน�้านม

03

บันทึกปริมาณ น�้านม

01

04

ชั่งน�้าหนัก น�้านม

เทน�้านมลง ถังใหญ่


Farmily 58

07.30

ล้างอุปกรณ์

นำ�อุปกรณ์เครื่องรีดและถังต่�งๆ ไปล้�ง ซึ่งนำ้�ที่ใช้ล้�งนั้น ไม่ใช่นำ้�ประป� ธรรมด�ๆ แต่เป็นนำ�้ แร่ทส ี่ ง่ ตรงม�จ�กเข�ใหญ่น�ำ้ จึงใสสะอ�ดและเย็นม�ก และอุปกรณ์ เครื่องรีดต้องนำ�ไปจุ่มนำ้�ผสมคลอรีนเป็นนำ้�สุดท้�ยเพื่อฆ่�เชื้อโรคก่อนจะนำ�ไปผึ่ง ให้แห้ง ดังนั้นภ�ยในห้องล้�งอุปกรณ์จึงมีกลิ่นคล้�ยโรงพย�บ�ลนิดๆ ให้คว�มรู้สึก สะอ�ดม�กๆ

08.30

ต้อนวัวเข้าคอก

หลั ง จ�กนั้ น คนง�นก็ จ ะต้ อ นวั ว เข้ � ไปในคอกที่ อ ยู ่ ห ่ � งออกไปเพื่ อ ให้ วั ว ได้ พักผ่อนและกินอ�ห�รต�มอั ธย�ศั ย ก่ อ นจะต้ อ นกลั บม�ที่ โ รงรี ดอี ก ครั้ ง ตอนบ่ � ย สองโมง

หลังจ�กเสร็จง�นคนง�นก็จะแยกย้�ยกันกลับบ้�น ดังนัน ้ ช่วงเวล�นีจ้ ะเป็นเวล� ของเร� อย�กจะทำ�อะไรก็ท�ำ ได้เลย กลับม�ทำ�ง�นอีกทีกบ ็ �่ ยสองโน่นแน่ะ รอบบ่�ยสอง ก็ท�ำ เหมือนเดิม แต่รอบนีจ้ ะสบ�ยกว่�และใช้เวล�น้อยกว่�เพร�ะแม่ววั จะให้น�้ำ นมน้อยกว่� ช่วงเช้�ประม�ณครึง่ หนึง่ ประม�ณสีโ่ มงเย็นนิดๆ ก็ออกไปลัล้ ล�ได้แล้ว จะไปเทีย ่ วตล�ด หรือ นำ้�ตกมวกเหล็กที่อยู่ใกล้ๆ ก็ได้ หรือใครอย�กจะเดินชมฟ�ร์มก็ทำ�ได้เช่นกัน



Farmily 60

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ตลาดมวกเหล็ก

เป็นย่านเล็กๆ ที่สามารถซื้ออาหารและของใช้ส่วนตัวได้ มีร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ และอยู่ใกล้ฟาร์มสามารถนั่งรถรับจ้างไปได้ ราคาไม่เกิน 30 บาท

น�้ำตกมวกเหล็ก

น�ำ้ ตกสีเขียวใส ทีฉ่ นั แวะไปกับเพือ่ นหลังจากท�ำงานช่วงเช้าเสร็จ นอกจากจะสามารถเล่น น�ำ้ เย็นๆ ให้เพลิดเพลิน ทีน่ ำ�้ ตกแห่งนีย้ งั มีสวนอุทยานทีม่ คี วามร่มรืน่ เต็มไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ ถึงแม้ด้านนอกจะมีอากาศร้อนแค่ไหน แต่แค่คุณเข้ามาอยู่ในเขตน�้ำตกแล้วล่ะก็จะสัมผัสได้แต่ ความร่มรื่นเย็นสบายอย่างไม่น่าเชื่อ วิธีเดินทางไปก็มีหลายวิธี จะเดินไปก็ได้ ถือเป็นการออกก�ำลังกายไปในตัว ถ้าจะนั่ง รถรับจ้างก็ราคาไม่เกิน 30 บาทเช่นกันเพราะอยู่ก่อนถึงตลาดนิดเดียว แต่ฉันกับเพื่อนเลือกที่ จะโบกรถไป เพราะรถส่วนใหญ่ออกจากฟาร์มก็จะผ่านน�้ำตกอยู่แล้ว ถือโอกาสโบกซะเลย!!






เก็บมาเล่า

LET’S SHARE THE EXPERIENCE คนเขียนอย�กเล่�



Farmily 67

โบกรถ ยังจ�ากันได้ใช่ไหมว่าฉันเคยบอกว่า ฟาร์มไทยเดนมาร์คนั้นมีขนาดใหญ่มาก ถ้ามีรถ ส่วนตัวมาจะดีที่สุด แต่ถ้าเราไม่มีรถก็ใช่ว่าจะหมดหนทางไปเสียทีเดียว ถึงแม้เราจะสามารถ เดินชมวิวตามทางกลับมาได้เรื่อยๆ แต่ไม่ว่าวิวจะสวยแค่ไหน ถ้าต้องเดินหลายกิโลทุกวัน มันก็ เมื่อยไม่ใช่น้อย วันที่สองในฟาร์ม ระหว่างที่ฉันกับเพื่อนก�าลังเดินอย่างหมดอาลัยตายอยากอยู่ข้าง ทางเพราะเดินมาเป็นเวลาชั่วโมงกว่าๆ แล้ว ก็มีรถปิคอัพสีขาวมาจอดถามว่าจะไปด้วยกันไหม ฉันและเพือ่ นรีบพยักหน้าด้วยความดีใจก่อนจะกระโดดขึน้ รถทันที หลังจากนัน้ ไม่วา่ จะไปทีไ่ หน ในฟาร์ม ฉันและเพื่อนใช้วิธีโบกรถเอาเพราะคนที่นี่ใจดีและดูเต็มใจที่จะให้ความช่วยเหลือ แก่พวกเรา ถ้าพูดถึงความปลอดภัยในการโบกรถ ถือว่าที่นี่มีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง ถึงแม้ ฟาร์มไทยเดนมาร์คจะกว้าง แต่ถนนหนทางไม่ซบั ซ้อน รถขับเป็นวงกลม ซึง่ เราจะสามารถทราบ ได้เลยว่ารถก�าลังมุ่งหน้าไปทางไหน ส่วนใหญ่ก็เป็นรถของคนที่ท�างานในฟาร์มกันทั้งนั้น โดยปกติฉันไม่เคยคิดจะโบกรถเลยเพราะไม่กล้าและเป็นคนขี้เกรงใจ แต่ไหนๆ ก็ตกกระไดพลอยโจนจะโบกรถก็เลยนึกถึงค�าสอนของคนรู้จักที่เล่าวิธีโบกรถให้ฟังเมื่อนาน มาแล้ว หลักๆ คือ อย่าโบกคนเดียว อย่าโบกตอนกลางคืน โบกแค่รถกระบะและนั่งด้านหลัง ก่อนลงอย่าลืมขอบคุณพร้อมรอยยิ้มพิมพ์ใจ เท่านี้ก็ปลอดภัยประมาณหนึ่งแล้ว


Farmily 68

ฉันคิดว่าอาจเป็นเพราะเมื่อผู้คนพบเห็นเราใส่รองเท้าบู๊ตและเดินเตร็ดเตร่ เขาก็จะทราบทันที ว่าเรามาฝึกงาน จึงอยากจะช่วยเหลือ ฉันและเพื่อนจึงถือโอกาสใช้การสวมรองเท้าบู๊ตให้เป็น ประโยชน์ซะเลย ถือเป็นครั้งแรกที่ฉันกล้าโบกรถไปยังที่ต่างๆ ด้วยความมั่นใจ ถึงแม้จะเป็นแค่ การโดยสารภายในฟาร์มหรือใกล้ๆ ฟาร์ม แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ใช่ไหม?


Farmily 69

ลูกวัวเจาะหู บ่ายวันหนึง่ ฉันและเพือ่ นเดินไปทีค่ อกเลีย้ งวัวเด็ก ซึง่ มีตงั้ แต่ลกู วัวแรกเกิดอายุเพียง หนึง่ วันไปจนถึงลูกวัววัยรุน่ อายุเกือบ 1 ปี หลังจากไปเดินเตร็ดเตร่สอบถามคนดูแล จนได้ความรู้ มาหลายอย่าง คนดูแลก็บอกกับพวกเราว่า เดีย๋ วจะเจาะหูของลูกวัวให้ดู ส�าหรับการเจาะหูนี้เป็นเหมือนการท�าสัญลักษณ์หมายเลขให้แก่ลูกวัว เพื่อป้องกัน การสับสน เป็นเหมือนเลขรหัสนั่นเอง สัญลักษณ์จะมีทั้งหมดสามจุดได้แก่ ป้ายแท็กสีเหลืองที่ ติดอยูต่ รงใบหู การเจาะหูแทนเลขรหัส และการสักเลขรหัสลงไปทีใ่ บหูของวัว โดยมีวธิ กี ารอ่าน ค่าที่เจาะดังนี้

100

5 3

1

300 10

50 30


Farmily 70

สมมติว่าเลขรหัสของลูกวัวคือ 13 ก็จะต้องเจาะในลักษณะนี้

3

10

ฉันรู้สึกนับถือคนคิดระบบนี้ขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพราะสามารถแทนเลขได้ตั้งแต่ 1 - 1,190 เป็นวิธีท�ำสัญลักษณ์ที่ฉลาดมากๆ หลังจากสอนเราจนเข้าใจดีแล้วคุณลุงก็ไปหยิบอุปกรณ์การเจาะหูลูกวัวมาให้เราดู ก่อนจะลงมือเจาะอย่างว่องไว ลูกวัวมีลักษณะตื่นกลัว แต่คุณลุงก็ท�ำเร็วมาก รหัสของลูกวัวตัว นีก้ ค็ อื เลข 13 ตามทีฉ่ นั ยกตัวอย่างไปข้างต้น ทุกอย่างดูจะเป็นไปด้วยดี จนกระทัง่ คุณลุงหันมา ถามฉันว่า


Farmily 71

ลุง : เมื่อกี้รหัสเท่าไหร่นะ ฉัน : 13 ป่ะคะ ลุง : แล้วเมื่อกี้ลุงตัดไปเท่าไหร่นะ ฉันหันไปนับที่หูลูกวัวตามที่ได้เรียนมา ฉันยิ้มแหยๆ แล้วหันไปตอบลุงว่า ฉัน : ดูเหมือนลุงจะตัดไป 40 นะคะ ลุง : เออะ ไม่เป็นไรๆ แต่อายนะเนี่ย เป็นอาจารย์ดันเจาะผิดซะได้ ฮ่าๆ ลุงพูดพร้อมกับหัวเราะเสียงดังให้กับความผิดพลาดของตัวเอง นั่นน่ะสิคะลุง ว่าแต่ฉันควรจะ ท�าหน้ายังไงดีล่ะเนี่ย!!!





i SOBLARN VILLAGE VILLAGE SOBLARN

บ้านสบลาน โรงเรียยนโจ๊ นโจ๊ะะมาโลลื มาโลลืออหล่ หล่าาอำอำ��เภอสะเมิ เภอสะเมิงง โรงเรี หวัดดเชีเชียยงใหม่ งใหม่ จัจังงหวั

โทรศัพพท์ท์: :088 088251 2512608 2608 โทรศั ที อ ่ ยู ่ : 46/1 หมู ่ 6 ตำ � บล สะเมิงงใต้ใต้ ที่อยู่ : 46/1 หมู่ 6 ตำ�บล สะเมิ เภอสะเมิ สะเมิงงจัจังงหวั หวัดดเชีเชียยงใหม่ งใหม่ อำอำ��เภอ FB : jomaloluela FB : jomaloluela


Farmily 76

PHOTO : INKAEW O.


Farmily 77

หมู่บ้านสบลานเป็นหมู่บ้านของชาวปากาเก่อญอ ที่นับถือภูตผีและศาสนาพุทธ

ควบคู่กันไป มีสมาชิกในหมู่บ้านทั้งสิ้น 106 คน 30 หลังคาเรือน (ข้อมูลสอบถามมาจาก ชาวบ้าน) หมู่บ้านตั้งอยู่ในหุบเขา ล้อมรอบด้วยป่าชุมชนเนื้อที่กว่า 4,000 ไร่ ซึ่งชาวบ้าน แบ่งออกไปเป็นพื้นที่ท�ำไร่หมุนเวียนและปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงชีพประมาณ 1,000 ไร่ นอกจากจะ ด�ำรงชีวิตด้วยการท�ำไร่นาแล้ว ชาวบ้านยังเลี้ยงควายเพื่อน�ำไปขายอีกด้วย แรกเริ่มเดิมทีนั้น ความตั้งใจของฉันคือจะไปปลูกข้าวและท�ำไร่หมุนเวียนที่บ้านของ พะตีตาแยะ ซึ่งเป็นผู้น�ำของหมู่บ้านสบลาน (พะตีเป็นภาษาปะกาเก่อญอ แปลว่าลุง) แต่ด้วย ช่วงเวลาไม่เอื้ออ�ำนวยตอนที่ฉันไปเป็นช่วงปีใหม่พอดี พะตีเพิ่งจะเก็บข้าวไปบวกกับเป็นช่วง เวลาพักผ่อนของชาวบ้าน จึงไม่มงี านในไร่ให้ทำ� มากนัก พะตีจงึ ชวนให้มาเป็นครูอาสาดูแลเด็กๆ ในโรงเรียนของชุมชนและช่วยเหลืองานบ้านนิดๆ หน่อยๆ ในเมื่อเตรียมตัวไปทั้งหมดแล้วฉันก็ เลยตัดสินใจที่จะลองดูสักตั้ง ทั้งๆ ที่ไม่มั่นใจนักว่าจะสอนเด็กๆ ได้หรือไม่


Farmily 78

โรงเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่า โรงเรียนแห่งนีเ้ ป็นโรงเรียนของชุมชนตัง้ อยูบ่ นภูเขาเหนือหมูบ่ า้ น ท�ำให้เวลาเดินขึน้ ไป เหนือ่ ยไม่ใช่นอ้ ย เทคนิคในการเดินขึน้ เขาทีใ่ ช้ได้ผลก็คอื ให้คอ่ ยๆ เดินไม่ตอ้ งรีบเร่ง เดินช้าๆ ให้ ฝีเท้าสม�่ำเสมอก็จะช่วยลดความเหนื่อยลงไปได้ วันแรกๆ ฉันพยายามเดินให้ทันเด็กๆ และ พะตีที่แข็งแรงมาก บอกได้ค�ำเดียวว่า เกือบตาย!! ฮ่าๆ ดังนั้นประเมินตัวเองนะคะ หัวใจวาย หรือเป็นลมไปคงไม่สนุกแน่ๆ โรงเรียนแห่งนี้เปิดมาแล้ว 6 ปี มีเด็กๆ ชาวปะกาเก่อญอเรียนอยู่ทั้งสิ้น 11 คน โดย นักเรียนชั้นที่โตที่สุดคือนักเรียนชั้นม. 4 และเด็กที่สุดคือชั้นป. 2 การเรียนรู้จะไม่เน้นการสอน ตามหลักสูตร แต่จะเน้นให้เด็กเรียนรู้จากวิถีชีวิตและการคิดแก้ปัญหา เด็กที่นี่จึงก่อไฟเป็น ท�ำอาหารได้ ปลูกผัก ท�ำนาและเลีย้ งสัตว์ได้สบายๆ แถมยังมีความรูเ้ รือ่ งต้นไม้และสมุนไพรเป็น อย่างดี จนฉันรู้สึกอายเลยทีเดียว วิธกี ารติดต่อก็งา่ ยมาก สามารถติดต่อได้ดว้ ยการโทรไปคุยรายละเอียดกับพะตีตาแยะ ได้โดยตรง อยากจะท�ำอะไรก็บอกพะตีไปเลย จะท�ำไร่ เข้าป่าหาสมุนไพร อยากปลูกข้าว หรือ มาเป็นครูอาสา พะตีใจดีและจะให้ค�ำแนะน�ำแบบเต็มใจ เรื่องนี้ฉันคอนเฟิร์ม!! เกริ่นมาพอสมควร พร้อมกันหรือยัง? ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันได้เลย



Farmily 80

การเตรียมตัว การเตรียมตัวและสิ่งของไปยังหมู่บ้านสบลานนั้น ขอให้ถามสภาพอากาศจากพะตี ก่อนจะมา ฉันที่ไปในช่วงหน้าหนาว พะตีจึงแนะน�ำให้เอาถุงนอนหรือผ้าห่มติดมาด้วย เพราะ ถึงแม้ที่บ้านพะตีจะมีที่นอนและผ้าห่มไว้ให้แล้ว แต่อากาศหนาวบนภูเขาสูงไม่เคยปราณีใคร ดังนั้นติดถุงนอนไปซักชิ้นให้อุ่นใจดีกว่า นอกจากถุงนอนแล้ว อีกอย่างทีเ่ ราต้องเตรียมมา คืออาหาร เพราะเราต้องท�ำอาหารแชร์ กับเจ้าของบ้าน ของทีเ่ ตรียมมาก็ตามสะดวก ส�ำหรับฉันและเพือ่ นๆ ทีฝ่ มี อื ท�ำอาหาร ยังไม่เข้าขัน้ ก็เตรียมอาหารง่ายๆ อย่างเช่น มาม่า ไข่และปลากระป๋องเป็นหลัก อาหารเหล่านี้สามารถซื้อได้ที่ตลาดสะเมิงซึ่งเป็นจุดที่เราต้องไปลงรถเพื่อต่อรถ เข้าหมู่บ้านอยู่แล้ว แต่ถ้าอาหารที่ซื้อมาไม่เพียงพอ ในหมู่บ้านมีร้านขายของช�ำไปซื้อจากที่นั่น ก็ได้เช่นกัน อ้อ! อีกอย่างคือ ซื้อแค่กับข้าวก็พอ ข้าวสารที่บ้านพะตีอุดมสมบูรณ์มาก ตักข้าวที พูนจานจนน่าตกใจ ฉันและเพื่อนต้องคอยตักออกตลอด


Farmily 81

การเดินทาง วิธีการเดินทางไปยังหมู่บ้านสบลานนั้น ถึงแม้เส้นทางจะไม่ได้สะดวกสบายโรยด้วย กลีบกุหลาบ แต่ก็น่าจะถูกใจขาลุยทั้งหลายอยู่ไม่น้อย เริ่มจากเดินทางมาให้ถึงเชียงใหม่ด้วยวิธีใดก็ได้ตามที่คุณสะดวก เมื่อมาถึงให้นั่ง รถสองแถวสีแดงทีม่ ปี ระจ�ำท่ารถต่างๆ มายัง “สถานีขนส่งช้างเผือก” (ก่อนขึน้ รถแดงให้ถามว่า ผ่านที่นี่ไหม ถ้าผ่านก็ขึ้นได้เลย พอถึงเขาจะเรียกเราเอง) ตอนลงรถให้จ่ายเงิน 20 บาทโดย ไม่ต้องถามว่าเท่าไหร่ เพราะอาจจะโดนเพิ่มราคาได้ เมื่อมาถึง สถานีขนส่งช้างเผือก คุณจะเห็นรถสองแถวสีแดง สีเหลืองและรถประจ�ำ ทางขนาดเล็กจอดอยูล่ ะลานตา ให้มองหารถสองแถวสีเหลืองสาย “เชียงใหม่-สะเมิง-บ่อแก้ว” ซึง่ รถจะออกทุกๆ ครึง่ ชัว่ โมง บอกคนขับว่าจะลงทีส่ ะเมิง เป็นอันเรียบร้อย ค่ารถอยูท่ ี่ 65 บาท พอถึงสะเมิง ก็รอให้พะตีตาแยะมารับเข้าหมู่บ้านได้เลย โทรไปนัดหมายเวลามาถึง คร่าวๆกับพะตีให้เรียบร้อยเป็นอันใช้ได้ ส�ำหรับใครที่มีรถและอยากซ่า เข้าไปยังหมู่บ้านด้วย ตัวเอง ถ้าคุณขับรถไม่เก่งจริงๆ ประหนึ่งเป็นนักขับรถวิบากหรือคนในพื้นที่แล้วล่ะก็ เก็บรถไว้ ซิ่งแถวบ้านน่าจะดีที่สุด ส�ำหรับค่ารถเข้าหมู่บ้านพะตีไม่ได้เรียกร้องค่าบริการอะไร นอกจาก ค่าน�้ำมันเที่ยวละประมาณ 150-200 บาทต่อคน ซึ่งถือเป็นราคาที่ไม่ได้แพงเลยเมื่อเทียบกับ ระยะทางที่ไกลพอสมควรจากตัวอ�ำเภอสะเมิง



Farmily 83

ที่พัก ที่พักก็นอนที่บ้านของพะตีหรือชาวบ้านในหมู่บ้านได้เลย แล้วแต่ว่าพะตีจะจัดให้ แบบไหน อย่างไรก็ตามไม่วา่ จะไปนอนบ้านไหนก็ไม่แตกต่างมากนัก นอกจากลักษณะบ้านเรือน จะใกล้เคียงกัน ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนยังมีประสบการณ์ในการต้อนรับผู้มาเยือนอยู่บ่อยๆ จึงสบายใจได้ ถึงแม้ทพี่ กั จะไม่ได้เป็นห้องแยกออกมาเป็นส่วนตัว แต่กแ็ บ่งโซนอย่างชัดเจนระหว่าง เจ้าบ้านและผู้มาเยือน เนื่องจากโดยส่วนใหญ่เจ้าบ้านจะมีความเชื่อว่า ให้เจ้าของบ้านนอนข้าง กองไฟ (มีลักษณะคล้ายเตาผิง มีหินสามก้อนตั้งอยู่ จะมีอยู่ในบ้านทุกหลังใช้ส�ำหรับประกอบ พิธีกรรม ผิงไฟ และท�ำอาหาร) ห้องน�้ำถ้าให้พูดตามตรงถือว่าไม่สะดวกสบายนักถ้าจะอาบน�้ำเพราะประตูมันปิดไม่ สนิท (ของบ้านที่ฉันไปอยู่นะ แต่ก็จะมีบางบ้านที่ห้องน�้ำค่อนข้างดูดี ถ้าเราไม่สะดวกจริงๆ ไปขอใช้ที่บ้านเหล่านั้นได้) แต่ฉันและเพื่อนเลือกที่จะเดินไปไกลอีกนิดหน่อย แล้วไปอาบน�้ำ ที่น�้ำตกใกล้กับนาขั้นบันไดของชาวบ้าน โอ้โห!! ได้อารมณ์ประหนึ่งเป็นนางในวรรณคดีกันเลย ทีเดียว น�้ำในน�้ำตกเย็นๆ ใสๆ งานนี้ฟินสุดๆ แนะน�ำให้มาลอง


Farmily 84

ก�รทำ�ง�น การท�างานที่นี่ไม่ถึงขั้นเป็นตารางการท�างานอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับแต่ละวันและ ช่วงเวลาที่คุณไปมากกว่า ทั้งนี้ฉันจะบอกคร่าวๆ แล้วกันนะ ว่าช่วงไหนมีงานอะไรท�าบ้าง แล้วก็จะเขียนอธิบายตารางการท�างานต่างๆ จากประสบการณ์การเป็นครูอาสาของตัวเอง พะตีตาแยะเล่าว่า ค�าว่า ปากาเก่อญอ นั้น แปลว่า คนที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ดังนั้น วิถชี ีวติ ของชาวปากาเก่อญอที่หมูบ่ า้ นสบลานจึงเรียบง่ายและไม่สะสมสิง่ ต่างๆ ไม่มีสงิ่ อ�านวยความสะดวกสบายมากมาย ไม่มีแม้กระทั่งไฟฟ้า!!! แต่อย่างไรก็ตามพะตีบอกว่าอีกไม่กี่เดือน ข้างหน้าชาวบ้านที่นี่ก็จะมีไฟฟ้าใช้กันแล้ว ดังนั้นกว่าคุณจะได้ไปไฟฟ้าก็คงเข้าถึงหมู่บ้าน เรียบร้อย ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง


Farmily 85

ฉันคิดๆ ดูแล้ว ก็อดเสียดายความมืดในหมูบ่ า้ นไม่ได้ บรรยากาศตอนหนึง่ ทุม่ ทีช่ วนง่วง เหมือนตอนห้าทุ่ม ยังคงมีเสน่ห์ส�าหรับฉัน ความมืดที่สอนให้ฉันรู้ว่าจริงๆแล้วไม่มีไฟก็อยู่ได้ เหมือนกันนะ แค่แสงเทียนก็เพียงพอแล้วส�าหรับท�ากิจกรรมต่างๆ แต่นี่ก็คือความเปลี่ยนไป ของโลก ทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลง บ้านสบลานก็เช่นกัน เวิ่นเว้อมานาน เรามาดูงานใน หมู่บ้านกันดีกว่าเนอะ

PHOTO : INKAEW O.


Farmily 86

ปลูกข้าว ชาวบ้านทีน่ ที่ ำ� นาขัน้ บันไดตามไหล่เขาปีละ 1 ครัง้ โดยเริม่ ท�ำในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือเดือน มิถุนายน(ขึ้นอยู่กับปริมาณน�้ำและสภาพอากาศในแต่ละปี) และจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วง เดือนพฤศจิกายน ฉันซึ่งไปในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม จึงพลาดไปอย่าง น่าเสียดาย

ไร่หมุนเวียน ชาวไร่ทนี่ ที่ ำ� ไร่หมุนเวียนตลอดทัง้ ปี พืชทีป่ ลูกก็มหี ลายๆ อย่าง อย่างละนิดละหน่อย เช่น กล้วย มังคุด พืชสมุนไพรพื้นบ้านต่างๆ และพะตีมีแผนจะน�ำต้นกาแฟมาปลูกในอนาคตอีกด้วย

เลี้ยงควาย การเลี้ยงควายของชาวบ้านที่นี่ เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ เราจึงช่วยอะไรไม่ได้นัก แต่ส่วนใหญ่พะตีก็จะเดินไปตามหาควายของตัวเองบ้างเพื่อเอายาไปใส่หรือเอาเกลือไปให้กิน ใครอยากเห็นก็ตดิ ตามพะตีไปได้ แต่มนั ก็ไกลไม่ใช่เล่น ถ้าเดินไม่เก่งจริง ไม่ตอ้ งไปเป็นภาระเขา ก็ได้ ฮ่าๆ อยู่บ้านก็มีงานนู่นนี่ให้ท�ำเยอะเหมือนกัน ไม่ต้องกลัวเบื่อ


PHOTO : INKAEW O.

ทำ�อ�ห�ร/เก็บฟืน งานส่วนนีเ้ ป็นงานประจ�าวันทีเ่ ราต้องท�าทุกวัน ส่วนใหญ่กส็ นุกดีเพราะทุกคนจะได้ชว่ ยๆ กัน วิธกี าร หาฟืนก็เดินออกไปหาแถวๆบ้านจะมีไม้ที่ตายแล้ว ซึ่งเนื้อไม้จะมีลักษณะแห้งส�าหรับใช้เป็นฟืน ส่วนไม้สดจะเป็นไม้ที่มีอยู่ประจ�าบ้านอยู่แล้ว ในเนื้อไม้จะมีน�้ามันอยู่มากจึงน�ามาเป็นเชื้อไฟได้เป็น อย่างดี ซึ่งไม้สดนี้เราจะไม่รู้วิธีการหาเพราะชาวบ้านจะเป็นคนไปตัดมาจากในป่าเอง

สอนหนังสือเด็กในโรงเรียน มาถึงงานทีฉ่ นั ได้ไปท�ามา นัน่ ก็คอื การเป็นครูอาสา เนือ่ งจากหมูบ่ า้ นตัง้ อยูใ่ นหุบเขาและเป็นโรงเรียน ขนาดเล็กจึงมีความต้องการครูที่จะมาช่วยสอนและดูแลเด็กๆ อยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แค่ไปสอนภาษาไทยหรือคอยอ่านหนังสือ ให้เด็กๆฟัง ชาวบ้านก็ดีใจมากแล้ว


Farmily 88

ต�ร�งง�น (สำ�หรับครูอ�ส�) 06.30

ตื่นนอน

08.30

รับประทานอาหารเช้าพร้อมกัน

09.00

เดินทางไปโรงเรียน เริ่มสอนเด็กๆ

12.00 13.00

ทานอาหารกลางวันฝมือเด็กๆ กลับไปเรียนอีกครั้ง

ตื่นนอนม�ก็ผิงไฟ ทำ�ภ�รกิจส่วนตัวแบบไม่ต้องเร่งรีบ หลังจ�กนั้นก็ทำ�อ�ห�รเช้�

เดินท�งไปโรงเรียน เริ่มสอนเด็กๆ โดยแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มๆ เด็กเล็กอ�จจะให้อ่�นนิท�น เด็กโตก็อ่�นหนังสือแล้วว�ดรูป หรือห�เกมให้เด็กๆ เล่นเป็นกลุ่มๆ บ�งครั้งก็ออกไปตี แบตมินตันหรือเล่นตะกร้อ

ส่วนใหญ่เด็กๆ จะชอบฟังนิท�นกัน ดังนั้นเร�ก็ไปเลือก นิท�นม�อ่�นให้น้องฟังได้ ตอนฉันไปดูเหมือนเด็กๆ จะชอบเรื่องปล�บู่ทองเป็นพิเศษ เอ�ม�ให้อ่�นแทบทุกเวอร์ชั่น ทั้งนิท�นภ�พ นิท�นคำ�กลอน ก�ร์ตูน เด็กๆ ที่บ้�นสบล�นที่มักจะร่�เริง กระโดดโลดเต้น อยู่ตลอด แต่พอได้ฟังนิท�น จะอยู่นิ่งกันหมดเหมือนถูกสะกดไว้ด้วยเวทมนต์ น่�รักม�กๆ


PHOTO : PATTAMON W.

16.00

17.00

เลิกเรียน กลับบ้าน ช่วยตักน�้า เล่นกับเด็กๆ

ช่วยไปตักนำ้�ที่บ่อม�ใช้ทำ�อ�ห�รและล้�งของต่�งๆ ทำ�อ�ห�รเย็น นั่งคุยเล่นกับเด็กๆ ก็ได้ บ�งครั้งน้องๆ ก็จะเอ�นิท�นม�ให้อ่�น (อีกแล้ว!!!) ดังนั้นเตรียมย�แก้เจ็บคอไว้ได้ เลย เด็กที่นี่เข�ฟังนิท�นกันโหดม�กจริงๆ

18.00 19.00

รับประทานอาหารเย็น พักผ่อนตามอัธยาศัย

เตรียมตัวแปรงฟัน ถ้�ไม่มอี ะไรทำ�จะนอนเลยก็ได้นะ เพร�ะมันมืดม�ก ฮ่�ๆ แต่สว่ นใหญ่ พะตีจะม�นั่งคุยด้วยพร้อมกับเล่�เรื่องนู่นนี่ให้ฟัง บ�งครั้งก็จะเล่�นิท�นป�ก�เก่อญอ หรือให้เร�ถ�มคำ�ถ�มที่อย�กรู้ บ�งคืนก็อ�จจะเป็นคล�สภ�ษ�ป�ก�เก่อญอสำ�หรับ ผู้เริ่มต้นอย่�งพวกเร� ได้คว�มรู้เยอะเลย



PHOTO : INKAEW O.



เก็บมาเล่า

LET’S SHARE THE EXPERIENCE คนเขียนอย�กเล่�


PHOTO : INKAEW O.


Farmily 95

พะตีกับวิถี Slow Life วันหนึง่ พะตีตาแยะเดินมาบอกฉันกับเพือ่ นว่ามีเรือ่ งจะวานให้ชว่ ยท�านิดหน่อยนัน่ คือ การเขียนโครงการของบประมาณเป็นภาษาไทยให้กบั โรงเรียน ฉันและเพือ่ นรูส้ กึ ดีใจและเต็มใจ อย่างยิ่งที่จะช่วยพะตีเพราะอยากตอบแทนที่พะตีสอนสิ่งต่างๆ ให้กับพวกเรามากมาย พะตีนดั หมายว่าในวันพรุง่ นีต้ อนบ่ายให้เราลงจากโรงเรียนเร็วหน่อย คือให้ลงมาเขียน โครงการให้พะตีในช่วงบ่ายนั่นเอง พอกินข้าวเสร็จฉันและเพื่อนก็รีบร�่าลาคุณครูและเด็กๆ ลงจากโรงเรียนด้วยความร่าเริง พอมาถึงก็รีบขึ้นบ้าน สิ่งที่ฉันกับเพื่อนเห็นคือ พะตีตาแยะนอนหลับอยู่!!! เดี๋ยวนะ ไหนว่าจะรีบใช้ ฮ่าๆ ฉันกับเพื่อนก็รอพะตีอยู่นานไม่ตื่นซักที ก็เลยเดินไปอาบน�้าที่น�้าตก พอ กลับมาพะตีบอกว่า ไว้เขียนพรุ่งนี้หลังจากประชุมหมู่บ้านแล้วกัน วันต่อมา โรงเรียนหยุดและมีประชุมในหมูบ่ า้ นเรือ่ งงานต่างๆ พวกเราก็ไปวนเวียนอยู่ ใกล้ๆ พะตีเพื่อรอเขียนโครงการเช่นเคย แต่รอแล้วรอเล่าพะตีก็ยังไม่ว่าง จนในที่สุดตอนเย็น พะตีก็บอกอีกครั้งว่าขอเลื่อนเป็นพรุ่งนี้แทนแล้วกัน ฉันและเพื่อนกลับมาคิดๆ ดูแล้ว ก็อดข�าไม่ได้เพราะพวกเราถามพะตีบ่อยมากจริงๆ ว่าจะให้เขียนโครงการตอนไหน แต่ก็ไม่ได้เขียนซักที อาจเป็นเพราะชาวปากาเก่อญอเป็น คนง่ายๆ อย่างที่พะตีบอก จึงไม่ค่อยเร่งรีบท�างานมากนัก


Farmily 96

มีอยูห่ ลายครัง้ ทีฉ่ นั ถามพะตีในตอนเช้าว่าวันนีพ้ ะตีจะไปท�ำงานอะไรหรือเปล่า มีอะไร ให้ช่วยไหม พะตีก็จะตอบกลับมาว่า วันนี้พะตีจะไม่ท�ำอะไรเลย พะตีจะพักผ่อน ฮ่าๆ บางครั้ง เวลาท�ำกับข้าว ฉันก็จะถามว่าผักเหล่านี้ปลูกเองใช่ไหม เพราะชาวบ้านเองก็ท�ำไร่หมุนเวียนอยู่ พะตีตอบกลับมาว่า “อ่อ อันนี้พะตีไปซื้อจากตลาดที่สะเมิง” ฉัน : ท�ำไมไม่ปลูกเองล่ะค่ะ พะตี : พะตีขี้เกียจ แล้วพะตีก็ไม่ค่อยว่างเลยนะ โอ้โห นี่ขนาดพะตีไม่ว่างเลยนะเนี่ย ฮ่าๆ เรื่องหาฟืนก็เช่นกัน วิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่นี่คือไม่สะสม ดังนั้น เวลาจะท�ำกับข้าวทีก็เดินไปหาฟืนที พอฉันถามว่าท�ำไมไม่หามาเก็บไว้ เยอะๆ พะตีก็บอกว่า จริงๆ ก็ต้องหามาเก็บไว้นะ เดี๋ยวจะออกไปหามาตุนไว้แล้วล่ะ แต่ตลอด ระยะเวลาที่ฉันอยู่กับพะตี ก็ไม่มีวันไหนที่มีคนออกไปหาฟืนมาเก็บไว้เลย กลับมาที่การเขียนโครงการ พวกเราเห็นท่าไม่ดี เพราะใกล้จะกลับลงจากดอยแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ช่วยเขียนสักที ค�่ำวันหนึ่งเราจึงจัดการเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม ต้อนพะตี ให้จนมุม แล้วระดมถามค�ำถามเกีย่ วกับโครงการ ในทีส่ ดุ ภายในเวลาไม่ถงึ หนึง่ ชัว่ โมง โครงการ ก็ถูกเขียนออกมาเสร็จเรียบร้อย (ได้เขียนสักที!!!) แหม่ เล่นเอาฉันกับเพื่อนเสียพลังงานไปไม่น้อยเลย!!!




l HUAY HEE HEE VILLAGE VILLAGE HUAY บ้านห้วยฮี้ เภอเมือองง ไร่ไร่หหมุมุนนเวีเวียยนนอำอำ��เภอเมื หวัดดแม่ แม่ฮฮ่อ่องสอน งสอน จัจังงหวั

โทรศัพพท์ท์: :094 094612 6123517 3517 โทรศั 21หมู หมู่ 8่ 8ตำตำ��บล บลห้ห้ววยปู ยปูลลิงิง ทีที่อ่อยูยู่ :่ :21 เภอเมืเมือองงจัจังงหวั หวัดดแม่ แม่ฮฮ่อ่องสอน งสอน อำอำ��เภอ



Farmily 101

หมูบ่ า้ นห้วยฮีเ้ ป็นหมูบ่ า้ นปากาเก่อญอทีเ่ ป็นคริสเตียนกันทัง้ หมูบ่ า้ น (คริสเตียน

หมายถึงผูท้ นี่ บั ถือศาสนาคริสต์นกิ ายโปรแตสแตน) โดยเปลีย่ นศาสนามาได้กว่า 60 ปีแล้ว หมูบ่ า้ น ห้วยฮีต้ งั้ อยูใ่ นกลางหุบเขาทีม่ อี ากาศหนาวเย็นตลอดทัง้ ปี มีปา่ ไม้ทอี่ ดุ มสมบูรณ์และมีววิ ทีง่ ดงาม ชาวบ้านทีน่ มี่ รี ายได้หลักจากการท�ำไร่หมุนเวียน ทอผ้า และมีรายได้เสริมทีม่ าจากการ เปิดโฮมสเตย์ เมือ่ สอบถามจากพีไ่ มตรี ซึง่ เป็นเจ้าของบ้านทีเ่ ราจะไปช่วยงานและยังควบต�ำแหน่ง อบต.ห้วยปูลงิ (อง์การบริหารส่วนต�ำบลห้วยปูลงิ ) ทีบ่ า้ นห้วยฮีส้ งั กัดอยูด่ ว้ ย ก็ได้ความว่าในหนึง่ ปี จะมีผู้เข้ามาพักประมาณ 200 รายเลยทีเดียว จึงท�ำให้มีงานเยอะเพราะไหนจะต้องปลูกข้าว ไว้กนิ ท�ำไร่ไว้กนิ และขาย ดูแลนักท่องเทีย่ ว และท�ำกิจกรรมทางศาสนา บ้านของพี่ไมตรี จึงเปิดรับอาสาสมัครให้เข้าไปท�ำงานแลกที่พักได้ โดยงานที่คุณจะ ได้ทำ� ขึน้ อยูก่ บั ช่วงเวลาทีค่ ณ ุ ไป แต่รบั รองได้วา่ ชาวบ้านทีน่ เี่ ขามีงานให้คณ ุ ช่วยตลอดทัง้ ปีจริงๆ


Farmily 102

การเตรียมตัว การเตรียมตัวไม่มีอะไรเป็นพิเศษเลยเพราะที่นี่ทุกบ้านรับนักท่องเที่ยวเป็นประจ�ำ จึงมีอุปกรณ์อ�ำนวยความสะดวกค่อนข้างพร้อมมาก มีเครื่องนอนครบ อุปกรณ์ท�ำไร่แบกฟืน ก็พร้อมทุกอย่าง เรียกได้ว่าเอาแรงไปอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว ถ้าสนใจก็สามารถติดต่อไปที่พี่เสรีทอง ซึ่งอยู่ที่หมู่บ้านใกล้เคียงแต่มีหน้าที่ติดต่อ ประสานงานด้ า นการท่ อ งเที่ ย วและรั บ อาสาสมั ค ร โทรไปแจ้ ง ความประสงค์ แ ละตกลง ก�ำหนดการไปถึงก็เป็นอันเรียบร้อย เก็บกระเป๋าได้เลย


Farmily 103

การเดินทาง วิธกี ารเดินทางมายังตัวเมืองแม่ฮอ่ งสอนนัน้ มีหลายวิธี วิธที งี่ า่ ยทีส่ ดุ คือนัง่ รถทัวร์ของ สมบัตทิ วั ร์มาลงโดยตรงได้เลย แต่ควรโทรไปส�ำรองทีน่ งั่ ไว้กอ่ นเพราะรอบรถมีจำ� นวนน้อย แถมมี แค่บริษทั เดียวทีม่ าได้ ส�ำหรับค่ารถอยูท่ ปี่ ระมาณ 700-800 บาท ขึน้ อยูก่ บั ประเภทและความสะดวกสบายของรถด้วย แต่ถา้ คุณจองไม่ทนั จริงๆ มีอกี วิธที สี่ ามารถมาถึงได้ นัน่ คือนัง่ รถตามที่ คุณต้องการไปลงทีเ่ ชียงใหม่ แล้วไปขึน้ รถตูส้ าย “เชียงใหม่-ปาย-แม่ฮอ่ งสอน” ทีส่ ถานีขนส่งอาเขต หรือสถานีขนส่งผูโ้ ดยสารแห่งที่ 2 ตัง้ อยูบ่ นถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่ - ล�ำปาง ราคา 250 บาท อยูบ่ นรถตูป้ ระมาณ 5 ชัว่ โมงคุณก็จะมายืนรับลมหนาวทีแ่ ม่ฮอ่ งสอนได้แล้ว เมือ่ มาถึงแม่ฮอ่ งสอนก็รอรถกระบะของชาวบ้านมารับได้เลย ตรงนีพ้ เี่ สรีทองจะชีแ้ จง รายละเอียดให้ฟงั ตัง้ แต่ตอนติดต่อ ราคาค่ารถทีจ่ ะเข้าหมูบ่ า้ นจะอยูท่ ปี่ ระมาณ 1,500-2,000 บาท ต่อเทีย่ ว ซึง่ เมือ่ คุณได้นงั่ คุณจะทราบเองว่า มันไม่แพงเลยเมือ่ เทียบกับระยะทางทีห่ า่ งไกลและ ทางลูกรังบางจุดในการเข้าหมูบ่ า้ น ทริปนีฉ้ นั ขอแนะน�ำให้ไปกับเพือ่ น นอกจากจะมีคนช่วยหาร แล้ว คุณจะได้มคี นช่วยกรีด๊ วิวเทือกเขาอันงดงามสองข้างทางอีกด้วย ถ้ามาคนเดียวเหงาแย่เลย จริงๆ นะ



PHOTO : PATTAMON W.



Farmily 107

ที่พัก ที่พักของเราก็คือที่พักเดียวกับนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ นั่นเอง นอกจากจะมีมุ้ง ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ครบถ้วนแล้ว ยังมีความเป็นส่วนตัวเพราะเจ้าของบ้านจะนอนแยกที่บ้านอีกหลัง หนึง่ ท�ำให้สบายใจได้เรือ่ งความปลอดภัย ทีพ่ กั กว้างขวางและสะดวกสบายกว่าบ้านของเจ้าของบ้านเสียอีก ห้องน�้ำก็เป็นห้องน�้ำแบบชาวบ้านแต่ให้ความรู้สึกสะอาดและกว้างขวาง ถ้าไม่ติดว่า อากาศหนาวมากล่ะก็ ฉันคงอาบน�ำ้ ให้ชนื่ ใจทุกวัน ฮ่าๆ รูเ้ ลยใช่ไหมว่าฉันไม่ได้อาบน�ำ ้ (บ่อยนัก) ก็แหม!!! อากาศมันหนาวมากเลยนีน่ า


Farmily 108

ก�รทำ�ง�น การท�างานของทีน่ จี่ ะมีหลายส่วน แล้วแต่วา่ เจ้าของบ้านจะให้เราท�าอะไร แต่ทนี่ เี่ วลา ท�างานจะแยกกันไประหว่างผูช้ ายและผูห้ ญิง อย่างเช่น ถ้าวันนีพ้ ะตีไปไร่ใหม่ (ไร่ทอี่ ยูใ่ นปัจจุบนั ) โหม่กา (โหม่กา เป็นภาษาปากาเก่อญ่อ หมายถึง ป้า) จะไปไร่เก่า (ไร่ที่ท�าไว้เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้จะ ไม่ท�าเพราะท�าไร่แบบหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ให้ดินได้พัก อีก 7 ปีค่อยมาท�าใหม่) เพื่อหาอาหาร ตัดฝืน หรือทอผ้า ช่วงที่ฉันไปเป็นช่วงเวลาที่เขาเตรียมไร่ไว้ แต่ยังไม่ปลูกพืช (อีกแล้ว) พี่ไมตรี เจ้าของบ้านกระซิบบอกว่า พอฉันกลับไปได้สองวันเขาก็จะเริ่มลงเมล็ดใหม่ พอดี ดังนัน้ ฉันกับเพือ่ นๆ จึงพลาดการท�าไร่ไปอย่างน่าเสียดายอีกครัง้ แต่ชว่ งทีฉ่ นั อยูพ่ ะตีกไ็ ป ไร่นะ แต่พะตีไม่ให้ฉันไปด้วยเพราะต้องอยู่ช่วยโหม่กา และนี่คือสิ่งที่ฉันท�าในแต่ละวัน


Farmily 109

ตารางงาน 06.30

ตื่นนอน

เตรียมตัว ผิงไฟ ดื่มชา กาแฟหรือเครื่องดื่มร้อนๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น

07.30

เตรียมอาหารเช้า

ช่วยท�ำอาหาร ซึง่ เอาจริงๆก็แทบไม่ได้ชว่ ยอะไรเลย เนือ่ งจากคนท�ำอาหารซึง่ เป็นลูกชาย และลูกสาวของพะตีและโม่กาท�ำอาหารเก่งมากและอร่อยมาก ดังนั้นพวกเราซึ่งฝีมือ ท�ำอาหารยังอ่อนหัดจึงแค่เข้าไปนั่งสังเกตการณ์และเป็นก�ำลังใจก็พอ

08.30

รับประทานอาหารเช้า

ชาวปากาเก่อญอเขาจะมีประเพณีทใี่ ห้ผม ู้ าเยือนทานข้าวก่อน ดังนัน ้ ทุกครัง้ พวกเราจะ รูส ้ ก ึ เกรงใจมากเพราะได้กน ิ ก่อนใครเพือ่ น อย่างไรก็ตามวันหลังเมือ่ สนิทกันแล้วเจ้าของ บ้านก็จะมากินด้วยกันเพราะตอนนี้เราอยู่ในฐานะคนช่วยงานของครอบครัวแล้ว


Farmily 110

09.00

หาฟืน เก็บผัก ขุดมัน หาอาหารที่ไร่เก่า

อันนี้ก็ไปกับโหม่กาและลูกสาว แบกกระบุงใส่หลังแล้วก็ออกเดินทางไปกันเลย หน้าที่หลักๆ ของเรา คือการแบกของ นานๆ ทีก็ไปช่วยเขาขุดนิดๆ หน่อยๆ แต่เราจะ ท�ำได้ชา้ มาก ต้องค่อยๆ ฝึกไป งานทีฉ ่ น ั ท�ำไม่รอดคือการตัดฟืน เพราะต้องใช้มด ี พร้า ขนาดไม่ใหญ่มากนักตัดต้นไม้ขนาดประมาณต้นแขนออกมาทัง้ ต้น ซึง่ ต้องใช้พละก�ำลัง อันมหาศาลก็เลยขอยกหน้าที่นี้ให้คนท้องถิ่นที่คุ้นชินเป็นอย่างดีท�ำดีกว่า คือจะให้ฉัน ตัดก็ได้นะ แต่มน ั ก็จะท�ำให้พวกเขาเสียเวลาไปอีก ดังนัน ้ ฉันขอยอมแพ้แต่โดยดี เมือ่ เสร็จ ก็แบกของทั้งหมดกลับบ้าน ในบางวันงานช่วงเช้าก็จะเปลี่ยนเป็นการต�ำข้าวบ้าง ร่อนข้าวบ้าง ข้าวที่ต�ำเองนั้นจะได้ ออกมาเป็นข้าวกล้องหน้าตาน่ารับประทาน บางครัง้ ก็น�ำไปหุงเป็นอาหารกลางวันด้วย

12.00

รับประทานอาหารกลางวัน


Farmily 111

13.00

ปั่นฝ้าย

ช่วยกันปั่นฝ้ายเพื่อน�ำไปทอผ้า งานปั่นฝ้ายไม่ได้ยาก แต่ต้องอาศัยความอดทน(ไม่ให้ เผลอหลับ ฮ่าๆ) เพราะเป็นงานที่ต้องท�ำแบบเดิมซ�้ำไปเรื่อยๆ โดยรวมถือว่าเป็นงาน ที่เพลินดีเหมือนกัน คล้ายๆ การฝึกสมาธิไปในตัว

16.00

ไปรับหลานของเจ้าของบ้านที่โรงเรียน

คือจริงๆ เป็นเวลาว่างแหละ แต่เราไม่มีอะไรท�ำเลยไปเล่นกับเด็กๆ ในโรงเรียนที่มีอยู่ ทั้งหมด 9 คน ก็ชวนน้องเล่นไปเรื่อยๆ สนุกดีเหมือนกัน

17.00

กลับบ้าน สอนน้องทำ�การบ้าน

18.00

กินอาหารเย็น นัง่ คุยเรือ่ งต่างๆ เริม ่ ง่วง ก็ไปนอนได้


Farmily 112

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ดอยปุย

ดอยปุยนี้คนละที่กับดอยปุยที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่นะ เมื่อเราท�ำงานจนถึงวันก่อน กลับ เจ้าของบ้านจะพาขึ้นไปนอนค้างบนดอยปุย 1 คืน โดยการจะขึ้นไปถึงดอยปุยนั้นต้องใช้ พลังขาอันแข็งแกร่งและความอึดของร่างกายในระดับทีค่ อ่ นข้างสูง ดังนัน้ ฟิตร่างกายไปให้ดี แต่ อย่างไรก็ตามวิวบนดอยปุยก็สวยสมกับที่ฉันยอมเดินขึ้นเขาเกือบ 3 ชั่วโมง พอขึ้นมาถึงได้เห็น วิวสวยๆ กับลมเย็นๆ ก็หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเลย พอตื่นเช้ามาก็มารอดูพระอาทิตย์ขึ้น เห็นทะเลหมอกอยู่รอบตัว ไม่มีอะไรจะฟินได้ เท่านี้อีกแล้ว ถ้าคุณได้มีโอกาสแวะมาที่บ้านห้วยฮี้ ไม่ควรพลาดดอยนี้ด้วยประการทั้งปวง (เรา เตือนคุณแล้วนะ ฮ่าๆ)






เก็บมาเล่า

LET’S SHARE THE EXPERIENCE คนเขียนอย�กเล่�


Farmily 118

PHOTO : PATTAMON W.


Farmily 119

ครอบครัวเดียวกัน บ้านที่ฉันไปพักมีเด็กผู้ชายอายุ 7 ขวบ อยู่คนหนึ่ง เป็นหลานชายตัวน้อยของบ้าน ชื่อว่าน้องกรวิทย์ น้องกรวิทย์เป็นเด็กผู้ชายหน้าตาน่าเอ็นดู (ดูเหมือนเด็กกรุงเทพฯ มากกว่า ฉันและเพื่อนๆ เสียอีก ฮ่าๆ) เวลาอยู่บ้านกรวิทย์จะเป็นเด็กเรียบร้อย พูดน้อย น่ารัก แต่พอไป ถึงโรงเรียนเท่านั้น คุณครูในโรงเรียนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า กรวิทย์เป็นเด็กที่แสบที่สุด ในโรงเรียน เป็นคนที่ถูกปล่อยกลับบ้านเป็นคนสุดท้ายทุกวัน แต่พอกลับถึงบ้านกรวิทย์ก็จะ กลับไปเป็นเด็กเรียบร้อยอีกครั้ง นอกจากกรวิทย์ทอี่ ายุนอ้ ยทีส่ ดุ ในบ้าน ก็ยงั มีลกู สาวของพะตีและโหม่กา ชือ่ ว่า พีส่ ร้อย และลูกชายอีกสองคนคือพี่ไมตรีและพี่สุธี พีส่ ร้อย เป็นคนดูแลควบคุมพวกเราเป็นหลัก เป็นคนทีอ่ ยูก่ บั พวกเราบ่อยทีส่ ดุ พีส่ ร้อย เป็นคนตลกและหัวเราะเสียงดัง ตอนเด็กๆ พี่สร้อยป่วยหนักและเกือบไม่มีชีวิตรอด แต่ในที่สุด พี่สร้อยก็ Make it happen! ด้วยการกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง พี่สร้อยเป็นคนมีโลกส่วนตัวสูง บางครั้งพี่สร้อยก็จะหลุดออกไปอยู่โลกของตัวเอง เรียกเท่าไหร่พี่สร้อยก็ไม่ได้ยิน พูดง่ายๆคือ พี่สร้อยเป็นคนชอบเหม่อนั่นเอง และบางครั้งพี่สร้อยก็พูดตลกโดยไม่ได้ตั้งใจ


Farmily 120

วันที่ฉันจะขึ้นดอยปุย ฉันกับเพื่อนพากันไปช่วยชาวบ้านขุดหลุมเพื่อลงเสาที่จะท�ำ เป็นศาลา เราขุดไปได้สองหลุมก็ต้องขอตัวกลับลงมาเพื่อเตรียมของไปค้างบนดอยปุย กลับมา ถึงบ้านก็เห็นพี่สร้อยนั่งทอผ้าอยู่ พี่สร้อย : ไปช่วยงานสนุกไหม (ถามด้วยน�้ำเสียงร่าเริงมาก) ฉัน : สนุกมากเลยค่า (ตอบกลับไปด้วยน�้ำเสียงร่าเริงกว่ามาก) พี่สร้อย : เหรอ สนุกเหรอ สนุกแล้วกลับลงมาท�ำไม ฉัน : สตั้น ไป 10 วิ ส่วนพีไ่ มตรีนนั้ ไม่คอ่ ยอยูบ่ า้ นเพราะท�ำงานเป็น อบต. จึงต้องเข้าประชุมนูน่ นีอ่ ยูเ่ สมอ ส่วนพี่สุธีเป็นพ่อครัวมือฉมัง ท�ำอาหารทุกอย่างได้อร่อยอย่างน่าหมั่นไส้ ของบางอย่างที่ฉัน ไม่กินตอนที่อยู่กรุงเทพฯ เช่น ฟักทอง มะเขือ ถั่วแระ พี่สุธีสามารถท�ำออกมาได้อร่อยจนฉัน ไม่ใช่แค่กินได้ แต่แทบจะขอเติมข้าวอีกเป็นครั้งที่ 2 เลยทีเดียว พีส่ ธุ เี ป็นคนขีอ้ ายมาก ฉันและเพือ่ นมาอยูไ่ ด้สามวัน พีส่ ธุ ถี งึ ยอมออกมาท�ำกับข้าวให้ เรากิน เมื่อถามว่าพี่ไปอยู่ไหนมา ท�ำไมเราไม่เห็นพี่มาก่อน พี่สุธีตอบว่า อ่อ พี่เป็นคนขี้อายมาก พี่เลยไปซ่อนอยู่ที่บ้านเพื่อน คืออะไร พอมีคนแปลกหน้ามาพี่ถึงกับต้องไปซ่อนตัวเลยเหรอ คนแบบนี้ก็มีด้วย!!!


Farmily 121

มาถึงพะตีกบั โหม่กา พะตีเป็นคนน่ารัก ยิม้ เก่งและอารมณ์ด ี ส่วนโหม่กาชอบพูดภาษา ปากาเก่อญอใส่พวกเรารัวๆ ซึง่ ส่วนใหญ่พวกเราจะไม่เข้าใจ ได้แต่บอกว่า หน่าเต๊อะเป่อๆ (แปลว่าไม่เข้าใจในภาษาปากาเก่อญอ) และเนื่องจากฉันเคยไปอยู่ที่หมู่บ้านปากาเก่อญอที่เชียงใหม่ มา 1 สัปดาห์ จึงพอรูค้ �าภาษาปากาเก่อญออยู่บา้ ง แต่กไ็ ม่มากนัก เช่น นับเลขได้ สวัสดีได้ ถาม ประโยคง่ายๆ ได้ เพื่อนจึงมักจะเรียกฉันไปช่วยเสมอ แต่พอเจอโหม่การัวใส่ ฉันก็ไปไม่เป็น เหมือนกัน ฮ่าๆ เทคนิคการสื่อสารกับโหม่กาของฉัน ก็คือ พูดทวนค�าโหม่กาไปเรื่อยๆ ซึ่งบางครั้งก็ ไม่ได้ผล อย่างเช่นครั้งนี้เป็นต้น โหม่กา : #@$%#@$#@%%@$% ฉัน : อะไรนะคะ อ้อ %%@$% ใช่ไหม? พี่สุธี : โม่กาไปหาหมอมา (กลับไปท�ากับข้าวต่อปล่อยฉันเผชิญชะตากรรม) ฉัน : อ้อ ไปหาหมอใช่ไหมคะ? โม่กาไม่สบายหรอ หายหรือยังคะ? หมอว่าไงบ้าง? โหม่กา : #@$%#@$#@%%@$% โหม่การัวภาษาปากาเก่อญออีกแล้ว ฉันจับใจความอะไรไม่ได้เลย แต่เหมือนได้ยิน ค�าทีส่ ะกดด้วยสระอูและกอไก่ ฉันเทียบหาค�าศัพท์เกีย่ วกับการเจ็บป่วยอย่างรวดเร็วในทีส่ ดุ ก็เจอ


Farmily 122

ฉัน : โหม่กาไม่สบาย มีน�้ำมูกใช่ไหมคะ? อ้อ อากาศเย็นนะคะ ดูแลตัวเองดีๆ (ฉันพูดช้าๆ พร้อมท�ำสีหน้าเข้าอกเข้าใจ ประหนึ่งนางงามจักรวาลออกเยี่ยมคนป่วย) พี่สุธีที่ท�ำกับข้าววุ่นวายอยู่ถึงกับวางมือ แล้วเดินเข้ามาหยุดระหว่างฉันกับโหม่กา “เมื่อกี้แม่พี่บอกว่า ไปหาหมอไปตรวจมดลูก ไม่ใช่มีน�้ำมูกนะครับ” พี่สุธีพูดพร้อมกับยิ้มอ่อน “ค่ะ พี่สุธี เข้าใจแล้วค่ะ ชัดเจนเลย!!!”




Farmily 125

รายชื่อฟาร์มที่เปิดให้ ทำ�งานแลกที่พักและอาหาร ในประเทศไทย


Suwan Farm จังหวัดเชียงใหม่ 081 020 4084

ฟาร์มออแกร์นิค ปลูกพืชผักพื้นบ้านหลากหลายชนิด ที่พักแยกออกจากบ้าน เจ้าของฟาร์ม มีความเป็นส่วนตัว อาหารทานกับเจ้าของบ้านได้เลย

Pom & U

จังหวัดสุพรรณบุรี 089 113 1933 ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลาและเป็ด เป็นฟาร์มออร์แกนิคที่เจ้าของใจดี ท�ำงาน วันละ 5 - 6 ชั่วโมง ฟาร์มอยู่ใกล้ทะเลสาบ วิวสวยมาก

Baanwanghed จังหวัดปราจีนบุรี 081 919 0004

ฟาร์มที่ปลูกเห็ดเป็นหลัก มีพืชผักบ้างนิดหน่อย อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ เดินทาง สะดวก ที่พักเป็นกระท่อมมีความเป็นส่วนตัว


Gaia Ashram

จังหวัดหนองคคาย 080 579 1006 เจ้าของฟาร์มเป็นชาวต่างชาติที่มีภรรยาเป็นคนไทย ได้ช่วยกันนริเริ่มสร้าง ฟาร์มออร์แกนิคขึ้น อาสาสมัครจะได้ท�ำกิจกรรมหลาหลาย

Colin/ Wichien จังหวัดขอนแก่น 098 216 8539

เจ้าของฟาร์มเคยท�ำงานแลกที่พักมาก่อน ต้องการคนมาช่วยท�ำงานเล็กๆ น้อยๆ ภายในฟาร์ม จึงเปิดรับอาสาสมัครเข้ามาท�ำงาน

Small World Organic Farm จังหวัดระนอง 098 727 3041

ฟาร์มขนาดเล็ก เน้นอยู่แบบอบอุ่นเหมือนครอบครัว งานที่ท�ำคือดูแลต้นไม้ ภายในสวนและงานก่อสร้างเล็กๆ น้อยๆ



Farmily 129

ส่งท้�ย ก�รเดินท�งก็เหมือนกับก�รทำ�ทุกสิ่งบนโลก เมื่อมีจุดเริ่มต้น ก็ต้องมีจุดจบ หนังสือเล่มนี้ก็เช่นกัน ถึงแม้ก�รผจญภัยร่วมกันระหว่�งคุณกับฉันผ่�นหนังสือเล่มนี้ได้จบลงแล้ว แต่ฉันหวังว่�หนังสือเล่มนี้จะช่วยจุดประก�ยให้เกิดก�รออกเดินท�งของใครสักคน เช่น ก�รเดินท�งท�งของคุณเอง เป็นต้น รอติดต�มนะคะ


PHOTO : PATTAMON W.


ขอขอบคุณ คุณนายแม่ คุณนายหนิง ต้นน�้ำ จันทร์เจ้า ครอบครัวที่น่ารักที่คอยสนับสนุน และผลักดัน จนฉันมีทุกวันนี้ อาจารย์ทุกท่านที่ช่วยให้งานส�ำเร็จออกมาด้วยดี อลิซเพื่อนผู้ประเสริฐที่ช่วยวาดภาพประกอบ ซัพพอร์ทขนมและท�ำให้ทุกวัน เหมือนเป็นวันคริสมาสต์ ทับทิม เก้า เค้ก น้องมาย ป้าเดียร์ จูลี่ แจน โย มาย เบส มิ้น ป๊อบ มิ้ง ขิม และเพื่อนทุกคน ที่ช่วยหลายอย่างทั้งแรงกายและแรงใจ ไม่มีพวกเธอ งานเราคงไม่เสร็จ พุฒิฟาร์ม ฟาร์มไทย - เดนมาร์ค หมู่บ้านสบลาน หมู่บ้านห้วยฮี้ ที่ให้ฉันและเพื่อนๆ เข้าไปท�ำงานแลกที่พักด้วยความเต็มใจ แถมยังดูแลเป็นอย่างดี ภาพวาดบางส่วนจาก www.freepix.com สุดท้าย ขอบคุณจักรวาลและโลกใบนี้ ที่น�ำพาสิ่งดีๆ คนดีๆ สถานการณ์ตลกๆ มาให้ฉันได้พบเจอ ขอบคุณค่ะ ปล. สุดท้ายจริงๆ ฝากค�ำขอโทษไปยังคุณตา และ ปลา ปลีรัตน์ กลการวิทย์ ที่ไม่ได้ไปร่วมงานศพ วันนั้นตอนนั่งท�ำหนังสือเล่มนี้ นึกถึงตลอดนะ หลับให้สบาย เสียใจจริงๆ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.