Adobe Phoshop CC บทที่ 1 รู้จักกับพื้นที่ทำงาน

Page 1

บทที่ 1 รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

การเรียนรู้พื้นที่ทำ�งานบนหน้าจอของโปรแกรม Adobe Photoshop ถือเป็นสิ่งสำ�คัญอันดับแรก เพราะคุณจำ�เป็นต้องรู้จักชื่อเรียก ของสิ่งต่างๆ เมื่อต้องการเรียกใช้งาน หรือเมื่อต้องปฏิบัติงานตามคำ�สั่งในบทเรียน ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการใช้งาน Photoshop CC ในระบบปฏิบัติการ Windows เท่านั้นเพื่อให้ตรงระบบปฏิบัติการกับในห้องเรียน แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณเรียนรู้การใช้งานในระบบใด เมื่อต้องใช้งานโปรแกรม Photoshop ในระบบปฏิบัติการอื่นหรือรุ่นอื่นคุณจะ พบว่ามันแทบไม่มีความแตกต่างเลย คุณยังคงใช้งานได้บนพื้นฐานความรู้เดียวกัน โดยปรับตัวกับความแตกต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำ�หรับผู้ในใช้งานในระบบ Mac OS จะมีปุ่มบนคีย์บอร์ดที่ต่างไปจากเอกสารนี้เล็กน้อย เช่น เมื่อเอกสารฉบับนี้กล่าวถึงปุ่ม Ctrl มักจะแทนที่ด้วยปุ่ม Command ( ) และมักจะแทนที่ปุ่ม Alt ด้วยปุ่ม Option เนื้อหาในบทนี้ - การเรียกใช้งานโปรแกรม Adobe PhotoShop - รู้จักและใช้งานพื้นที่ทำ�งานบหน้าจอ บนหน้าจอของโปรแกรม Adobe PhotoShop - การเปิดไฟล์งาน - การสร้างไฟล์งานใหม่ - การบันทึกงานลงสู่ดิสก์ - เรียนรู้การใช้เครื่องมือวาดและระบายสี - เครื่องมือและคำ�สั่งในการแก้ไขความผิดพลาด - เครื่องมือและคำ�สั่งเกี่ยวกับมุมมอง

การเรียกใช้งานโปรแกรม สำ�หรับคอมพิวเตอร์ทั่วไปคุณเรียกใช้งาน Adobe Photoshop ได้โดยคลิกที่ไอค่อนของโปรแกรมจากปุ่ม Start ในระบบ Window หรือ บนแถบ Dock ในระบบ Mac OS

การเรียกคืนการตั้งค่าดั้งเดิมของโปรแกรม ทุกครั้งที่คุณเริ่มบทเรียนใหม่ในเอกสารฃุดนี้จะแนะนำ�ให้คุณเรียกคืนการตั้งค่าดั้งเดิมของโปรแกรม หรือที่เรียกว่าค่า Default เพื่อให้หน้า จอของโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ของคุณเหมือนกันในเอกสาร ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นวิธีเปิดโปรแกรม Adobe Phoshop เพื่อเรียกคืนการ ตั้งค่าของโปรแกรมให้กลับไปเป็นค่าดั้งเดิมเหมือนตอนที่เพิ่งติดตั้งโปรแกรมใหม่

1. เตรียมนิ้วไว้ที่ปุ่ม Alt + Ctrl + Shift แต่ยังไม่ต้องกด 2. คลิกที่ปุ่ม Start ( ) ซึ่งอยู่มุมซ้ายด้านล่างของจอภาพ จากนั้นเลือกเมนู Adobe Photoshop CC 2018 3. ทันใดนั้นให้กดปุ่ม Alt + Ctrl + Shift พร้อมกันค้างไว้จนกว่าจะปรากฎกรอบข้อความ (ขั้นตอนนี้ต้องกดทั้ง 3 ปุ่มพร้อมกันทันทีที่ เปิดโปรแกรม หากกดช้าเกินไปกรอบข้อความจะไม่ขึ้น ให้ปิดโปรแกรมแล้วเริ่มขั้นตอนข้อ 1 ใหม่)

5. กด Yes เพื่อยีนยันการตั้งค่า หากคุณต้องการเรียกใช้งานโปรแกรมตามปกติ คุณเพียงทำ�ตามขั้นตอนในข้อ 2 เท่านั้น


2 ADOBE PHOTOSHOP รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

พื้นที่ทำ�งานของโปรแกรม เมื่อเรียกใช้งานโปแกรมครั้งแรกจะปรากฎหน้าจอหลักหรือ Home Screen ลักษณะแบบนี้

ตอนนี้ให้คุณเลือกเมนู Window > Workspace > Essentials (Default) พื้นที่ทำ�งานบนหน้าจอจะเปลี่ยนเป็นแบบพื้นฐานเหมาะ สำ�หรับผู้ใช้งานทั่วไป มีส่วนประกอบสำ�คัญดังนี้ ข

ก. พื้นที่สำ�หรับวินโดว์ไฟล์งาน ข. แถบเมนู ค. ไตเติลบาร์ของพาเนล ง. ปุ่มเปลี่ยนรูปแบบพื้นที่ทำ�งานบนหน้าจอ จ. แถบออพชั่น (Option) ฉ. แผงเครื่องมือ (Tool) ช. ปุ่มเปลี่ยนสถานะพาเนล

เวลาเปิดไฟล์งานจะปรากฎตรงนี้ เป็นแถบรายการคำ�สั่งต่างๆ ของโปรแกรม บอกชื่อพาเนลและใช้ลากเพื่อย้ายตำ�แหน่งของพาเนล ใช้เปลี่ยนรูปแบบหน้าจอ ใช้ปรับแต่งการทำ�งานของเครื่องมือ เป็นที่รวมเครื่องมือต่างๆ คลิกเพื่อเปลี่ยนสถานะของพาเนลสลับไปมาระหว่าง ไอคอน และ แบบขยายเต็ม ซ. พาเนลต่างๆ (Panels) เป็นแผงการทำ�งานหลายแผง แต่ละแผงทำ�หน้าที่ต่างกันไป หากมีการปรับเปลี่ยนหน้าจอพื้นที่ทำ�งาน และต้องการเปลี่ยนกลับให้เหมือนกับในภาพนี้ 1. เลือกเมนู Window > Workspace > Essentials (Default) 2. เลือกเมนู Window > Workspace > Reset Essentials


ADOBE PHOTOSHOP 3 รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

การจัดการพาเนล พาเนล ต่างๆ ของ Photoshop มีหน้าที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ และเนื่องจากมี พาเนล อยู่มากมาย Photoshop จึ่งจัดรวบรวม พาเนล ที่เกี่ยวข้องกันให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และไม่ได้แสดงมันทั้งหมดในเวลาเดียวกัน (มิเช่นนั้นหน้าจอคงจะเต็มไปด้วย พาเนล จนไม่เหลือพื้นที่ทำ�งานแน่) การเรียกใช้งานพาเนลจากเมนู Window รายชื่อทั้งหมดของ พาเนล ต่างๆ รวมทั้งแผงเครื่องมือ (Tools) และออพชั่น (Option) จะแสดงอยู่ในเมนู Window ขอย้ำ�เมนู Window คุณสามารถเลือกที่จะเปิดหรือปิดทุกๆ พาเนล ได้จากเมนูนี้ โดยการเลือกชื่อพาเนลที่ปิดอยู่เพื่อเปิดมัน จะสังเกตุได้ว่า พาเนลที่เปิดใช้งานอยู่แล้วจะมีเครื่องหมายถูก ( ) ข้างหน้า และถ้าคุณเลือกรายการนั้นซ้ำ�มันจะปิด (โปรดอ่านหัวข้อนี้อีกครั้ง) - ตอนนี้ให้คุณเปิดพาเนลที่ชื่อ Swatches โดยเลือกเมนู Window > Swatches จะปรากฏพาเนลชื่อ Swatches ขึ้นมาบนจอ ส่วนประกอบของพาเนล ภาพแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของพาเนลเมื่ออยู่ในสภาพขยายเต็ม ก

ค ง

จ ฉ

ก. ไตเติ้ลบาร์ (Title bar) ข. แทบ (Tab) ชื่อของพาเนล ค. ปุ่มเปลี่ยนสภาพ ง. เมนูของพาเนล จ. ปุ่มปรับขนาด ฉ. ปุ่มคำ�สั่ง พิเศษ การดอคก์ (Dock) และ ออกจากดอคก์ (Undock) พาเนล ดอคก์ (Dock) คือลักษณะของพาเนลที่มีสภาพติดกันเป็นแผงแนวตั้งหรือแนวนอนอยู่ที่ขอบจอ ข้อดีของการดอคก์คือพาเนลต่างๆ จะไม่บดบังส่วนของชิ้นงานที่คุณทำ� - พาเนลที่ต้องการออกจากการดอคก์ ให้ลากที่ไตเติลบาร์หรือแทบของพาเนลออกจากตำ�แหน่งเดิม - การดอคก์ (Dock) พาเนล ทำ�ได้โดยลากที่แทบของพาเนลเข้าไปภายในดอคก์หรือเส้นขอบแนวตั้งหรือแนวนอน* ของดอคก์หรือ ขอบจอ จนกระทั้งมองเห็นเส้นสีฟ้าปรากฏเป็นเส้นกรอบ เส้นแนวต้​้งหรือแนวนอน* แล้วปล่อยเมาส์ ให้คุณทดลองด้วยการย้ายพาเนลเครื่องมือ (Tool) ออกจากดอคก์ และ ย้ายกลับเข้าไปเป็นแบบ ดอคก์อีกครั้ง ลองทำ�ดูสิสนุกจะตาย

การลากพาเนลออก จากดอคก์

พาเนลที่ออกจากดอคก์

ลากพาเนลเข้าไปในดอคก์จะปรากฎ “ดรอพโซน” เป็นเส้นสีฟ้า

พาเนลเมื่ออยู่ในดอคก์

* พาเนลส่วนใหญ่สามารถดอคก์ได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน แต่พาเนลเครื่องมือ (Tool) จะไม่สามารดอคก์เป็นแนวนอนได้ และ พาเนลออพชั่น (Option) ก็ไม่สามารถดอคก์เป็นแนวตั้งได้


4 ADOBE PHOTOSHOP รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

การสลับใช้งานพาเนลที่เปิดอยู่ เพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่บนหน้าจออันมีอยู่น้อยนิด โปรแกรมได้จัดชุดของพาเนลเป็นกลุ่มๆ ยกตัวอย่างเช่น บนหน้าจอของ คุณขณะนี้จะมีกลุ่มของ COLOR และ SWATCHES อยู่ แต่จะปรากฎตัวเลือกของ SWATCHES เพียงพาเนลเดียวเท่านั้น หาก ต้องการใช้งานพาเนลอื่นก็เพียงแค่คลิกที่แทบ (Tab) ชื่อของพาเนลนั้นเท่านั้น ลองคลิกเรียกพาเนล COLOR ดูสิ

การย้ายพาเนล (อ่านแล้วทดลองทำ�ตามไปด้วยนะ) ยามเมื่อคุณย้ายพาเนลเข้าไปในดอคก์ ตรงเส้นขอบของดอคก์ หรือรอยต่อระหว่างกลุ่มของ พาเนล จะปรากฏเส้นสีฟ้าที่เรียกว่าพื้นทีด่ รอพโซน ซึ่งจะบอกคุณว่าเมื่อคุณปล่อยเมาส์พาเนลที่คุณย้ายจะแทรกเข้าไปแทนที่บริเวณ นั้น แต่ถ้าคุณวางพาเนลไว้นอกพื้นที่ดรอพโซนพาเนลนั้นก็จะหลุดออกจากดอคก์ - คุณสามารถย้ายแต่ละพาเนลด้วยการลากเมาส์ที่แทบ (Tab) ชื่อของพาเนล - คุณสามารถย้ายกลุ่มของพาเนลด้วยการลากเมาส์ที่พื้นที่ว่างด้านขวาของแทบชื่อพาเนล - คุณสามารถย้ายชุดของกลุ่มพาเนลทั้งหมดในดอคก์โดยการลากที่ไตเติลบาร์ของพาเนล - ถ้าพื้นที่ดรอพโซนตรงที่คุณลากเมาส์ไปชี้เป็นเส้นสีฟ้าแนวตั้ง หรือ แนวนอน เมื่อปล่อยเมาส์พาเนลจะแทรกแทนที่เส้นสีฟ้า

ลากพาเนลไปยังพื้นที่ดรอพโซนเพื่อแทรกระหว่างกลุ่มพาเนล

- ถ้าย้ายพาเนลไปยังพื้นที่ดรอพโซนที่เป็นกรอบสีฟ้ารอบกลุ่ม จะเป็นการรวมพาเนลเข้ากับกลุ่มใหม่

ลากพาเนลเข้าไปรวมกลุ่ม

ปรับขนาดพาเนล - พับเก็บพาเนลให้เหลือเพียงแทบชื่อโดยดับเบิลคลิกที่แทบชื่อของพาเนล และถ้าต้องการขยายออกก็ดับเบิลคลิกอีกครั้ง (หรือคลิก ตรงพื้นที่ว่างด้านขวาของแทบก็ได้)

- ปรับขนาดโดยการลากที่ขอบด้านใดก็ได้หรือลากที่ปุ่มปรับขนาดของพาเนล (บางพาเนลปรับขนาดไม่ได้เช่น COLOR )


ADOBE PHOTOSHOP 5 รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

การใช้งานพาเนลแบบไอค่อน ใน Photoshop CC คุณสามารถเพิ่มพื้นที่ทำ�งานได้อีกด้วยการเปลี่ยนสภาพพาเนลต่างๆ ให้เป็นไอค่อนเล็กๆ - เปลี่ยนสภาพพาเนลเป็นไอค่อน และ คืนสภาพแบบขยายเต็ม โดยคลิกที่ปุ่มเปลี่ยนสภาพพาเนล ( ) ที่อยู่บนไตเติลบาร์ของ พาเนล - เรียกใช้งานพาเนลที่มีสภาพเป็นไอค่อนโดยการคลิกที่ไอค่อนของพาเนล - ทำ�ให้พาเนลแสดงเพียงไอค่อนอย่างเดียว (ไม่มีชื่อ) โดยการปรับความกว้างของดอคก์ให้แคบลง และ ทำ�ให้แสดงไอค่อนและชื่อ โดยปรับดอคก์พาเนลให้กว้างขึ้น

ปุ่มเปลี่ยนสภาพพาเนล

พาเนลมีสภาพเป็นไอคอน

คลิกที่ไอค่อนเพื่อเรียกใช้งานพาเนล

เรียกคืนค่าเริ่มต้นของพื้นที่ทำ�งาน ก่อนเริ่มทำ�งานส่วนต่อไปให้รีเซตหรือเรียกคืนการตั้งค่าตำ�แหน่งการจัดเรียง พาเนล ให้เหมือนค่าดั้งเดิม (Default) ของโปรแกรม 1. ให้คุณเลือกเมนู Window > Workspace > Essentials (Default) 2. เลือกเมนู Window > Workspace > Reset Essentials และย้ำ�อีกครั้งจำ�ไว้เสมอว่าถ้าพาเนลที่คุณต้องการไม่ปรากฎบนจอให้ไปที่เมนู Window โว่ ๆๆๆๆ

การเปิดไฟล์งาน การเปิดไฟล์งานสามารถทำ�ได้หลายวิธี ในตอนนี้คุณจะเปิดไฟล์งานโดยใช้คำ�สั่ง Open ในเมนูบาร์เพื่อเปิดไฟล์ ก่อนเปิดไฟล์งานสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเป็นสิ่งแรกคือ ไฟล์อยู่ที่ใหน และ ชื่ออะไร ซึ่งในชั้นเรียนนี้จะมีวิธีการเขียนชื่อและที่อยู่ของ ไฟล์เป็นรูปแบบที่เข้าใจกันได้โดยทั่วไปดังนี้ C:\Tutorial\Lesson01\Start01.psd ตัวอักษร C: ตัวแรกหมายถึงชื่อไดรฟ์ จากนั้นจะ คั่นด้วยเครื่องหมาย \ (อ่านว่า แบค-สะ-แลต) ตามด้วยชื่อโฟลเดอร์ที่อยู่ภายใน คั่นด้วยเครื่องหมาย \ ไปเรี่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะมี โฟลเดอร์ซ้อนกันอีกลึกแค่ใหน จนกระทั่งหลังเครื่องหมาย \ ตัวสุดท้ายคือชื่อไฟล์ เมื่อพิจารณาจากที่อยู่ไฟล์ หมายความว่าให้คุณ เปิดไดรฟ์ C: แล้วเปิด Tutorial แล้วเปิด Lesson01 แล้วเปิด Start01 ลองทำ�ดูนะ 1. เลือกเมนู File > Open (หมายถึงให้คลิกที่เมนู File จากนั้นเลือกเมนูย่อย Open) จะปรากฏไดอะลอกบอกซ์ Open ขึ้น


6 ADOBE PHOTOSHOP รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

2. พิจารณาจากที่อยู่ของไฟล์ C:\Tutorial\Lesson01\Start01.psd ต้องค้นหาไดรฟ์ C: ก่อนโดยเลื่อนหาจากช่องด้านซ้ายแล้วคลิก เลือกไดรฟ์ C: จากนั้นในช่องแสดงรายการไฟล์และโฟล์เดอร์ (กรอบสี่เหลี่ยมใหญ่) จะแสดงรายชื่อโฟลเดอร์ต่างๆ ที่อยู่ในไดรฟ์ C:

3. พิจารณาที่อยู่ของไฟล์ในวรรคที่ 2 C:\Tutorial\Lesson01\Start01.psd หมายความว่าให้มองหาโฟลเดอร์ชื่อ Tutorial แล้ว ดับเบิลคลิกที่โฟลเดอร์ Tutorial เพื่อเปิดมัน หลังจากเปิดเข้ามาในโฟลเดอร์แล้วสังเกตุว่าที่ช่อง Look in จะเปลี่ยนเป็น Tutorial ภายในกรอบสี่เหลี่ยมใหญ่จะเห็นโฟลเดอร์ต่างๆ ภายในโฟลเดอร์ Tutorial

4. จากนั้นดูที่อยู่ของไฟล์ในวรรคถัดไป C:\Tutorial\Lesson01\Start01.psd ดังนั้นให้ดับเบิลคลิกที่โฟล์เดอร์ชื่อ Lesson01 เพื่อเปิด โฟล์เดอร์ ถ้าที่อยู่ของไฟล์มีชื่อโฟลเดอร์ต่อไปอีกก็เปิดในลักษณะเช่นนี้ไปเรีื่อยๆ 5. สุดท้ายคือดับเบิลคลิกไฟล์ซึ่งอยูเป็นอันดับสุดท้ายของรายการที่อยู่ C:\Tutorial\Lesson01\Start01.psd ในที่นี้คือไฟล์ชื่อ Start01.psd จะปรากฏภาพเด็กสองคนกับตัวการ์ตูน อยู่ในวินโดว์ของของพื้นที่ทำ�งาน เป็นเหมือนกระดาษหรือเฟรม ซึ่งเป็นส่วนที่คุณจะใช้ ดู แก้ไข หรือสร้างผลงานที่เป็นรูปภาพลงไปนั่นเอง

การบันทึกไฟล์งานลงสู่ดิสก์ เมื่อคุณสร้างไฟล์หรือเปิดไฟล์ขึ้นมาและทำ�การแก้ไขใดๆ ลงไป คอมพิวเตอร์จะแสดงผลบนหน้าจอให้คุณเห็นสิ่งต่างๆ ที่คุณทำ�ลงไป แต่จะยังไม่บันทึกข้อมูลเหล่านั้นลงสู่ดิสก์จนกว่าคุณจะทำ�การ Save การ Save คือการบันทึกข้อมูลที่ถาวรลงสู่ดิสก์ ดังนั้นคุณควรทำ�การ Save ไฟล์งานเป็นระยะๆ ในขณะที่คุณทำ�งาน เพราะหากคุณ ปิดงาน ปิดโปรแกรม หรือปิดคอมพิวเตอร์ หรือ มีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำ�ให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำ�งานต่อไปได้ เช่น ไฟดับ และคุณ ยังไม่ได้ Save งานที่คุณทำ�ลงไปก็จะไม่ถูกบันทึกไว้เลย นั่นอาจหมายถึงการเสียเวลาทำ�งานเหล่านั้นใหม่ ในตอนนี้ไฟล์รูปภาพที่คุณเปิดขึ้นมาเป็นไฟล์เริ่มต้นเพื่อสำ�หรับใช้ในห้องเรียนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นคุณต้องไม่แก้ไขสิ่งใดๆ ลงไปบนไฟล์


ADOBE PHOTOSHOP 7 รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

ต้นฉบับนี้ คุณจะต้องใช้คำ�สั่ง Save As ซึ่งจะบันทึกไฟล์นี้ให้กลายเป็นไฟล์ใหม่ ขณะเดียวกันคุณก็จะได้ตั้งชื่อ และ เลือกที่จัดเก็บ ใหม่ให้กับไฟล์นี้ด้วย 1. เลือกเมนู File > Save As จะปรากฏไดอะลอกบอกซ์ Save As ขึ้นมา 2. เลื่อนหาที่ช่องด้านซ้าย เลือกไดรฟ์ D: 3. ในช่องรายการโฟลเดอร์ เลือกโฟล์เดอร์ห้องของนักเรียนที่คุณสร้างไว้เมื่อบทเรียนก่อนหน้านี้ 4. ที่ช่อง File Name พิมพ์ชื่อไฟล์ใหม่ว่า 01Intro_ชื่อ_เลขที่_ห้อง (ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณชื่อ มะลิโอ้ มาวปลิ้น เลขที่ 99 ห้อง 1/9 จะตั้งชื่อไฟล์ว่า 01Intro_Malio_99_9) การตั้งชื่อไฟล์คุณจะใส่เครื่องหมาย / ไม่ได้ 5. คลิกที่ปุ่ม Save

การใช้งาน แผงเครื่องมือ, แถบออพชั่น และ พาเนลต่างๆ ในบางครั้งการเรียกใช้งานส่วนต่างๆ บนหน้าจอของโปรแกรม Photoshop นั้นอาจมีการทำ�งานร่วมกันในหลายๆ ส่วนเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ที่ต้องการ ในตอนนี้คุณจะได้เรียนรู้วิธีการใช้งาน แผงเครื่องมือ, แถบออพชั่น และ พาเนล ไปพร้อมๆ กัน แผงเครื่องมือ (Tool) โดยปกติแผงเครื่องมือจะอยู่ทางด้านซ้ายของจอภาพประกอบไปด้วยเครื่องมือสำ�หรับ การเลือก การวาดและแก้ไขภาพ เครื่องมือ ควบคุมมุมมอง การเลือกใช้สี เป็นต้น เราจะเริ่มต้นด้วยเครื่องมือง่ายๆ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำ�หรับวาดหรือระบายสีลงไปบนภาพ 1. เลื่อนพอยเตอร์ของเมาส์ไปที่แผงเครื่องมือ และชี้เมาส์ที่เครื่องมือรูปพู่กัน ( ) สักครู่จะมีคำ�อธิบายของ Brush Tool (B) ขึ้นมา 2. คลิกที่เครื่องมือ Brush Tool ( ) เพื่อเรียกใช้งานเครื่องมือนี้ (หรือจะกดปุ่ม B บนคีย์บอร์ดก็ได้)

แถบออพชั่น (Option) ปรับแต่งเครื่องมือให้โดนใจ

Option แปลว่า ทางเลือก ดังนั้นมันจึงทำ�หน้าที่ตั้งค่าทางเลือกต่างๆ ของเครื่องมือ แถบออพชั่นเป็นแถบยาวอยู่ด้านบน ถัดลงมา จากเมนูบาร์ แถบออพชั่นจะเปลี่ยนสถานะตัวเองไปตามเครื่องมือที่คุณเลือกใช้ เช่นในขณะนี้คุณเลือกเครื่องมือ Brush Tool บน แถบ ออพชั่นก็จะเป็นทางเลือกสำ�หรับการปรับแต่งเครื่องมือ Brush Tool นั่นเอง 3. ที่แถบออพชั่นคลิกที่ปุ่มปอปอัพเมนูของช่อง Brush จะมีเมนูออกมาให้เลือกขนาดและฝีแปรง ที่ช่อง Size สำ�หรับปรับขนาด ปรับเป็น 9 Pixels และปรับ Hardness เป็น 0 % เพื่อปรับขอบเส้นแบบนุ่มหรือ Sorft Round


8 ADOBE PHOTOSHOP รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

พาเนล (Panel) ถาดสารพัดประโยชน์ พาเนล ต่างๆ ของโปรแกรม Photoshop โดยปกติจะวางเรียงกันอยู่ด้านขวาของจอภาพ เนื่องจากมี พาเนล อยู่มากบาง พาเนล จึงถูกซ่อนเพื่อไม่ให้เปลืองพื้นที่ทำ�งาน และเราสามารถแสดง หรือ ซ่อน พาเนล เหล่านั้นได้ด้วยเมนู Window 4. คลิกเลือกเมนู Window คุณจะเห็นว่าในบางรายการของเมนู Window นี้จะมีเครื่องหมายถูก ( ) กำ�กับอยู่ด้านหน้า นั่น หมายความว่าพาเนลเหล่านั้นถูกเปิดใช้งานอยู่แล้ว จากนั้นให้คุณคลิกเลือก Swatches (สวอทเชส) จะปรากฏพาเนลชื่อ Swatches ขึ้นที่กลุ่มของพาเนลด้านขวาของจอภาพ 5. เลือกสีชมพูที่คุณชอบจากพาเนล Swatches หลังจากเลือกสีแล้วให้คุณดูช่อง Set Foreground Color ซึ่งอยู่ส่วนล่างของแผง เครื่องมือ ช่องนี้ใช้สำ�หรับการเลือกสีและแสดงสี Foreground ว่าขณะนี้คุณเลือกสีอะไร สำ�หรับตอนนี้มันจะเป็นสีชมพูที่คุณเลือก

ตอนนี้เครื่องมือ Brush Tool ของคุณก็ได้ถูกปรับขนาดและเลือกสีตามที่ต้องการแล้วพร้อมจะนำ�ไปเขียนลงบนภาพ 6. นำ�เครื่องมือ Brush Tool วาดลงบนภาพเป็นเส้นรอบใบหน้าเด็กคนซ้ายมือ หากเส้นที่คุณวาดยังไม่เป็นที่พอใจ จงอย่าได้กับวล กับมัน ให้ทำ�งานต่อไปก่อน เพราะคุณจะสามารถแก้ไขมันได้หลังจากเรียนรู้เรื่องการแก้ไขความผิดพลาด

การเลือกเครื่องมือที่ซ่อนอยู่ Photoshop มีเครื่องมือมากมาย เครื่องมือที่มีลักษณะการทำ�งานคล้ายกันจะถูกรวมเป็นหมวดหมู่อยู่ภายในปุ่มเดียวกัน สังเกตุได้ จากปุ่มเครื่องมือที่มีรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ที่มุมขวาล่าง ต่อไปคุณจะได้ฝึกการใช้เครื่องมือ Pencil Tool ซึ่งซ่อนอยู่รวมกับเครื่องมือ Brush Tool 1. เลื่อนเมาส์ไปที่เครื่องมือ Brush Tool ( ) แล้วกดปุ่มเมาส์ค้างไว้บน Brush Tool จะปรากฎเครื่องมือในชุดเดียวกันขึ้น

2. คลิกเลือกที่เครื่องมือ Pencil Tool ( ) 3. ที่แถบออพชั่นในช่อง Brush ปรับ Size เป็น 9 Pixels และปรับ Hardness เป็น 100 % (เป็นการปรับแบบ Hard Round) 4. ที่พาเนล Swatches ให้เลือกสีฟ้าที่คุณชอบ 5. ใช้เครื่องมือ Pencil Tool วาดเส้นรอบใบหน้าเด็กคนขวามือ 6. เลือกเมนู File > Save เพื่อบันทึกไฟล์รูปภาพของคุณ การ Save ครั้งนี้คุณไม่ต้องกรอกไดอะลอกบอกซ์อีกแล้ว เพราะคำ�สั่ง Save จะบันทึกไฟล์ทับลงบนชื่อและที่อยู่เดิมที่ Save ครั้ง แรก


ADOBE PHOTOSHOP 9 รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

การแก้ไขความผิดพลาด มหัศจรรย์ราวกับไทม์แมชชีน Photoshop มีคำ�สั่งสำ�หรับการยกเลิกการกระทำ�ที่เพิ่งทำ�ลงไป และ อีกหลายวิธีในการแก้ไขความ ผิดพลาดทั้งในรูปแบบของคำ�สั่งบนเมนู เครื่องมือ และ พาเนล ที่จะช่วยให้คุณย้อนกลับไปแก้ไขความผิดพลาดอดีตได้ราวกับมีไทม์ แมชชีน คำ�สั่ง Undo ผิดปุ๊บ แก้ตัวปั๊บ คำ�สั่ง Undo เป็นคำ�สั่งที่ควรนึกถึงเป็นอันดับแรกทันที่เกิดความผิดพลาด เพราะง่ายต่อการใช้งานและทำ�ความเข้าใจ 1. ให้คุณเลือกเครื่องมือ Pencil Tool ( ) เลือกสีแดงที่คุณชอบ จากนั้นให้คุณคลิกเมาส์เพื่อวาดจุดลงบนภาพ 3 จุด 2. เลือกเมนู Edit > Undo Pencil

«“¥®ÿ¥¥â«¬ Pencil Tool

º≈À≈—ß®“°„™â§” —Ëß Undo

รอยจุดที่วาดไว้เป็นจุดสุดท้ายจะหายไป และถ้าคุณกลับไปที่เมนู Edit อีกครั้งหนึ่งคุณจะเห็นว่าที่ตำ�แหน่งเดิมของคำ�สั่ง Undo บัดนี้ ได้กลายเป็นคำ�สั่ง Redo Pencil ไปแล้ว ถ้าคุณเลือกเมนู Edit > Redo Pencil จะเป็นการเรียกจุดที่หายไปคืนกลับมานั่นเอง ข้อจำ�กัดของคำ�สั่ง Undo ก็คือ สามารถทำ�การย้อนหลังได้เพียงการกระทำ�เดียว เมื่อ Undo คำ�สั่งจะกลายเป็นคำ�สั่ง Redo ซึ่งจะ เป็นย้อนกลับไปกลับมาเพียงหนึ่งการกระทำ� หมายเหตุ : คำ�ที่ต่อท้ายคำ�สั่ง Undo จะเปลี่ยนไปตามสิ่งที่คุณเพิ่งทำ�ลงไป เช่นถ้าคุณเพิ่งใช้ Brush Tool ก็จะเป็น Undo Brush

การใช้พาเนล History (ฮิสโตรี) ผิดหลายครั้งแต่ยังไม่สาย แม้คุณจะทำ�ผิดครั้งแล้วครั้งเล่า Photoshop ยังให้โอกาสคุณเสมอ ด้วย History พาเนล จะทำ�ให้คุณย้อนการกระทำ�ได้หลายขั้นตอน เพื่อกลับไปแก้ใขความผิดพลาดในอดีตได้ 1. คราวนี้ให้คุณวาดจุดด้วย Pencil Tool ประมาณ 5 จุด 2. ดูที่พาเลท History (ถ้าไม่มีให้เลือกเมนู Window > History) คุณจะเห็นรายการสิ่งที่คุณทำ�ในแต่ละขั้นตอนมากมาย 3. ถ้ามีรายการเยอะมากให้คุณเลื่อนแถบสกอร์บาร์ลงมาด้านล่างสุดเพื่อให้เห็นรายการด้านล่าง 4. คลิกที่รายชื่อคำ�สั่งทีละรายการจากด้านล่างค่อยไล่จากด้านล่างขึ้นมาด้านบนเรื่อยๆ และระหว่างคลิกให้สังเกตุความเปลี่ยนแปลง ของรูปภาพ

การที่คุณคลิกรายการการกระทำ� (State) ขั้นตอนใดใน History พาเนล ภาพในขั้นตอนนั้นก็จะกลับคืนมา คุณอาจคลิกรายการใด ก็ได้เพื่อเรียกภาพที่ถูกแก้ไขในขั้นตอนนั้นขึ้นมา ค่ามาตรฐานของ History พาเนล จะจดจำ�การกระทำ�ล่าสุดไว้ 20 รายการ แต่คุณอาจตั้งเพิ่มหรือลดได้ตามความเหมาะสม และนอกจากวิธีคลิกที่ History พาเนล แล้ว คุณอาจใช้คำ�สั่ง Step Backward หรือ Step Forward เพื่อเป็นการเลือกรายการ การกระทำ�ให้ย้อนหลังหรือเดินหน้าที่ละหนึ่งขั้นตอนก็ได้ 5. เลือกเมนู Edit > Step Backward เพื่อย้อนหลังการกระทำ� และเลือกเมนู Edit > Step Forward เพื่อเดินหน้าทีละหนึ่งขั้นตอน


10 ADOBE PHOTOSHOP รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

ไม่ว่าคุณจะแก้ไขความผิดพลาดได้กี่ขั้นตอนใน History พาเนล ก็ตามแต่ในวิชาคอมพิวเตอร์นั้นถ้าคุณขาดเกิน 3 ครั้งคุณจะ มส. อิอิ History Brush (ฮิสโตรีบรัช) ย้อนรอยอดีตด้วยพู่กันวิเศษ เราอาจเรียกเครื่องมือ History Brush ตัวนี้ว่า พู่กันย้อนอดีต ก็น่าจะไม่ผิด 1. เลือกเครื่องมือ History Brush ( ) จากแผงเครื่องมือ แล้วเลือกขนาด 13 Pixels (เครื่องมือตัวนี้ไม่ต้องเลือกสี) 2. นำ�เครื่องมือไปเขียนทับบริเวณที่มีร่องรอยที่มีการเขียนสีเอาไว้

โอ้ว! อะไรกันนั่น รอยสีที่เกิดจากการขีดเขียนทับไปบนภาพได้หายไปอย่างน่ามหัศจรรย์ ต้องบอกก่อนว่าเครื่องมือ History Brush นี้ไม่ใช่ยางลบ เพราะถ้าใช้เครื่องมือยางลบภาพเดิมก็จะถูกลบไปด้วย แต่ History Brush จะทำ�หน้าที่เรียกคืนรูปภาพเฉพาะใน บริเวณที่คุณเขียนมันลงไปให้กลับคืนไปเหมือนตอนที่คุณเปิดไฟล์นี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก คำ�สั่ง Revert (รีเวอร์ท) พอกันทีความผิดพลาดทั้งหลาย เมื่อคุณก่อปัญหาจนยุ่งเหยิง ความผิดพลาดทั้งหลายยากจะแก้ไขได้ ไม่ว่าด้วยคำ�สั่งและเครื่องมือใดๆ ที่ผ่านมา คุณอาจต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่กับไฟล์รูปภาพเดิมที่คุณเคย Save เอาไว้เมื่อตอนมันยังเป็นรูปที่ดีอยู่ คำ�สั่ง Revert อาจช่วยคุณได้ 1. เลือกเมนู File > Revert ภาพจะกลับไปเหมือนตอนที่คุณเคย Save ไว้เมื่อครั้งล่าสุด ก่อนใช้คำ�สั่ง Revert คุณต้องแน่ใจว่ามันจะย้อนกลับไปสู่ภาพที่คุณต้องการ นั่นคือคุณจะต้อง Save งานเอาไว้เมื่อตอนที่ภาพยังไม่ เสียหาย แต่ถ้าคุณไม่เคย Save เลยภาพที่จะกลับมาคือเมื่อตอนคุณเปิดงานครั้งแรกนั่นเอง และคำ�สั่งนี้ใช้ไม่ได้กับไฟล์ใหม่ที่ยังไม่ เคยมีการ Save 2. ถ้าคุณไม่พอใจกับผลที่เกิดขึ้นคุณยังสามารถใช้คำ�สั่ง Undo หรือใช้ History พาเนล เพื่อยกเลิกการ Revert ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรทำ�สิ่งผิดพลาดบ่อยๆ จนเป็นนิสัย เพราะความผิดพลาดบางอย่างก็ไม่สามารถแก้ไขได้เสมอไป ดังนั้นสิ่งที่ คุณควรฝึกปฏิบัติให้เกิดเป็นสัญชาตญาณคือ เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นให้รีบ Undo เพื่อแก้ไขในทันที และ การ Save งานบ่อยๆ เมื่อแน่ใจว่าไม่ได้ทำ�สิ่งผิดพลาดลงไปในชิ้นงาน

คำ�สั่งและเครื่องมือในการควบคุมมุมมอง การควบคุมมุมมองไม่ได้มีผลกับชิ้นงานรูปภาพของคุณเลย แต่ก็มีความสำ�คัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันจะช่วยอำ�นวยความสะดวก ในการทำ�งาน เช่น ถ้าคุณต้องการขยายดูภาพในระยะใกล้ เลื่อนชิ้นงานไปดูส่วนต่างๆ หรือดูภาพรวมทั้งหมด ด้วยเครื่องมือ เมนู และ พาเนล ต่างๆ ต่อไปนี้ การใช้งาน Zoom Tool (ซูมทูล) แว่นย่อขยายประสิทธิภาพสูง เครื่องมือ Zoom Tool เห็นหน้าตาเครื่องมือแล้วให้นึกถึงเซียนพระแถวท่าพระจันทร์ มันทำ�ได้ทั้งย่อภาพให้ดูไกลออกไปและขยาย ภาพให้ดูใกล้เข้ามา 1. ที่แผงเครื่องมือเลือกเครื่องมือ Zoom Tool ( ) แล้วเลื่อนเมาส์ไปในบริเวณภาพ ให้สังเกตุพอยเตอร์ตอนนี้กลายเป็นรูปแว่น ขยาย และมีเครื่องหมายบวก ( + ) ตรงกลางเลนส์แว่นด้วย 2. ให้คลิกไปบนภาพตรงที่ต้องการขยายให้ดูใกล้ เมื่อคลิกแล้วภาพจะขยายดูใหญ่ขึ้น และให้คุณสังเกตุตัวเลขใน Status Bar (ส เตตัสบาร์) ที่มุมซ้ายล่างของรูปภาพ ซึ่งเป็นแถบแสดงสถานะจะบอกกำ�ลังการขยายเป็นเปอร์เซนต์ และถ้าคุณคลิกซ้ำ�อีกภาพก็จะ


ADOBE PHOTOSHOP 11 รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

ขยายขึ้นอีก ภาพสามารถขยายได้สูงสุดที่ 1600% ให้คุณคลิกซ้ำ�ไปเรี่อยๆ จนกระทั่ง Zoom ภาพไปที่ 400% แต่ถ้าเกินไปแล้วก็ไม่เป็นไร ให้หยุด Zoom ก่อน 3. ต่อไปจะเป็นการย่อภาพให้ดูไกลออกไปหรือดูเล็กลง ให้กดปุ่ม Alt บนคีย์บอร์ดค้างไว้ จะเห็นว่าตอนนี้พอยเตอร์ของเครื่องมือ Zoom Tool กลายเป็นเครื่องหมายลบ ( - ) ตรงเลนส์แว่น ให้คลิกไปบนภาพ คลิกจนกระทั้งภาพถูกย่อลงมาที่ 100% ยังมีอีกหลายวิธีในการ Zoom นั่นคือ คุณอาจใช้ปุ่ม Zoom In ( ) และ Zoom Out ( ) บนแถบออพชั่นเพื่อสลับเครื่องมือ Zoom Tool ไปมา หรือคุณ จะใช้เมนู View > Zoom In หรือ View > Zoom Out หรือคุณจะพิมพ์ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่คุณต้องการลงใน Status Bar ก็ได้

4. ใช้เครื่องมือ Zoom Tool ( ) ทดลองลากเมาส์ไปทางซ้ายและขวาเพื่อย่อและขยายบริเวณใบหน้าของเด็กคนโต

จากนั้นให้คุณลากเมาส์ไปทางขวาผ่านใบหน้าเด็กคนโตภาพจะถูกขยายขึ้นมาอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องคลิกหลายครั้ง 5. ให้ใช้เครื่องมือ Pencil Tool ( ) เลือกขนาด 1 pixel และเลือกสีดำ� เขียนเลขที่ของนักเรียนให้ตัวอักษรเล็กที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ลงไปบริเวณไต้คางของเด็กคนโต การใช้งาน Hand Tool (แฮนด์ทูล) มือขยันมาช่วยขยับเขยื้อน ขณะที่คุณต้องทำ�งานในระยะใกล้คุณจะมองเห็นเพียงบางส่วนของภาพ และถ้าคุณต้องการทำ�งานในส่วนอื่นของภาพคุณก็ต้องเลื่อน ภาพเพื่อให้มองเห็นในส่วนที่คุณต้องการ คุณอาจใช้วิธีเลือนที่ Scroll Bar (สโคล์บาร์) แต่นั่นก็ยังไม่สะดวกเท่าการใช้มือขยันอย่าง Hand Tool 1. ขณะที่ภาพยังถูกขยายใหญ่อยู่ เลือกเครื่องมือ Hand Tool ( ) จากแผงเครื่องมือ 2. ลาก Hand Tool บนภาพ คุณจะเห็นว่าภาพมีการเคลื่อนที่ จากนั้นให้คุณเลื่อนภาพไปยังใบหน้าของเด็กอีกคน 3. ให้เขียนห้องของนักเรียนในตัวเล็กที่สุดลงบนหน้าผากของเด็กคนนี้ การใช้งานพาเนล Navigator อีกทางเลือกหนึ่งในการมองภาพ 1. เลือกเมนู Window > Navigator พาเนล Navigator (นาวิเกเตอร์) เป็นเสมือนแผนที่เล็กๆ ที่จะแสดงภาพทั้งภาพ และมีกรอบสีแดงในภาพตัวอย่างเล็กๆ บอกให้รู้ว่า คุณอยู่ส่วนใหนของภาพ และมีขนาดเท่าไหร่ 2. ที่ Navtgvtor พาเนล คุณจะเห็นกรอบสี่เหลื่ยมผืนผ้าสีแดงเล็กๆ อยู่บนภาพตัวอย่างเล็กๆ (Thumbnail) ให้คุณเลื่อนกรอบนั้นไป มา จะเห็นว่าภาพชิ้นงานของคุณจะถูกเลื่อนไปมาตามตำ�แหน่งของกรอบสีแดง เป็นวิธีที่รวดเร็วและทำ�ให้คุณรู้ว่าคุณกำ�ลังทำ�งานอยู่ ส่วนใดของภาพ 3. เลื่อนตัว Slider (สไลเดอร์) ที่อยู่ใต้ภาพตัวอย่างใน Navigator พาเนล ไปมา การเลื่อนไปทางซ้ายจะเป็นการย่อมุมมอง และ เลื่อนไปทางขวาจะเป็นการมุมมองภาพ

4. ตอนนี้ให้คุณเลือกเมนู File > Save เพื่อบันทึกงานของคุณอีกครั้ง


12 ADOBE PHOTOSHOP รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

§Àการสร้างไฟล์งานใหม่ 1. เลือกเมนู File > New 2. จะปรากฎกรอบ New Document ให้ตั้งค่าตามนี้ : ความกว้าง = 10 นิ้ว (Width = 10 inchs) | ความสูง = 8 นิ้ว (Higth = 8 inchs) | ความคมชัด 72 จุดต่อนิ้ว (Resolution = 72 Pixcels/Inch) | ระบบสี (Color Mode) RGB Color | สีกระดาษ = สีขาว (Background Contents = White) ชื่อไฟลงาน ความกวาง ความสูง

หนวยวัด

ความคมชัด ระบบสี สีกระดาษ

3. เมื่อตั้งค่าต่างๆ เสร็จกดปุ่ม Create

การทำ�งานกับหลายวินโดว์ไฟล์งาน ตอนนี้ให้คุณเปิดไฟล์งานอีกหนึ่งไฟล์ตามที่อยู่นี้ C:\Tutorial\Lesson01\Garden.jpg เพื่อให้มีวินโดว์ไฟล์งานมากกว่าหนึ่งไฟล์งาน บนหน้าจอ โดยปกติเมื่อคุณเปิดวินโดว์ไฟล์งานหลายวินโดว์มันจะจัดเรียงในรูปแบบแท็บ (คล้ายกับกลุ่มพาเนล) การจัดการกับ วินโดว์ไฟล์งานก็คล้ายกับพาเนลเช่นกัน ให้อ่านและทดลองทำ�ตามไปด้วยนะ (ใครไม่ทำ�ขอให้ปากเหม็น)

- คุณสามารถสลับการทำ�งานแต่ละวินโดว์ได้ด้วยการคลิกที่แท็บชื่อของวินโดว์ไฟล์งานที่ต้องการเลือกเพื่อทำ�งาน - คุณสามารถเปลี่ยนจากรูปแบบแท็บเป็นแบบวินโดว์อิสระโดยการลากที่แท็บชื่อของวินโดว์ออกจากบริเวณกลุ่มแท็บวินโดว์ - คุณสามารถดอคก์หรือรวมกลุ่มวินโดว์ไฟล์งานได้ด้วยการลากแทบชืี่อหรือไตเติลบาร์ของวินโดว์เข้าไปยังพื้นที่ดรอพโซนต่างๆ - คุณสามารถให้วินโดว์ทั้งหมดออกจากดอคก์โดยเลือกเมนู Window > Arrange > Float All in Window - คุณสามารถเลือกรูปแบบการจัดเรียงวินโดว์ไฟล์งานได้จากเมนู Window > Arrange

ให้คุณทดลองเลือกการจัดเรียงวินโดว์แบบต่างๆ และสุดท้ายเลือกแบบ Consolidate All ซึ่งเป็นค่าดั้งเดิมของโปรแกรม


ADOBE PHOTOSHOP 13 รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

การใช้งาน Eraser Tool (อีเรเซอร์ทูล) ยางลบธรรมด๊าธรรมดา 1. เลือกเครื่องมือ Eraser Tool ( ) จากแผงเครื่องมือ 2. เลือกสีให้ยางลบด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง - ที่แผงเครื่องมือคลิกที่ปุ่ม Default Foreground and Background Color ( ) ที่อยู่ไกล้ๆ กับช่อง Set Foreground Color และ Set Background Color เพื่อให้สีในช่อง Set Background Color เป็นสีขาว Default Forground and Background Color เรียกคืนคาสีโฟรกราวดและแบคกกราด Set Forground Color เลือกสีโฟรกราวด

Switch Forground and Background Color สลับสีโฟรกราวดและแบคกกราด

Set Background Color เลือกสีแบคกกราวด

- กดปุ่ม Ctrl ที่คีย์บอร์ดค้างแล้วคลิกเลือกสีในพาเนล Swatches - คลิกที่ช่อง Set background color แล้วเลือกสีจากกรอบ Color Picker สีของเครื่องมือ Eraser Tool ขึ้นอยู่กับสีที่อยู่ในช่อง Background Color 3. ปรับแต่งเครื่องมือที่แถบออพชั่น - ที่ช่อง Brush เลือกขนาดและฝีแปรงแบบที่คุณต้องการ - ที่ช่อง Mode เลือกรูปแบบของยางลบได้ 3 แบบ คือ Brush และ Pencil การเขียนออกมาจะเหมือนเครื่องมือชนิดนั้น ส่วน Block หัวยางลบจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีขนาดตายตัว 4. ใช้ Eraser Tool เขียนไปบนภาพในบริเวณที่คุณต้องการลบสีในภาพออกและแทนที่ด้วยสีของ Background การใช้งาน Paint Bucket Tool (เพนท์บัคเกตทูล์) ถังสีทันใจ 1. ที่แผงเครื่องมือกดเมาส์ค้างไว้ที่เครื่องมือ Gradient Tool ( ) เพื่อเปิดรายการแล้วเลือกเครื่องมือ Paint Bucket Tool ( ) จากรายการเครื่องมือ 2. เลือกสีที่คุณต้องการจากพาเนล Swatches 3. ปรับแต่งค่าบนแผงออพชั่น (ในตอนนี้แนะนำ�ว่ายังไม่ต้องปรับค่าใดๆ) 4. คลิกเครื่องมือลงบนบริเวณที่มีสีเรียบๆ เป็นบริเวณกว้างในภาพ สีที่คุณเลือกจะถูกระบายไปทั่วพื้นที่ที่มีสีเหมือนหรือใกล้เคียงกัน กับบริเวณที่คุณคลิก

การเรียกคืนการตั้งค่าปรับแต่งเครื่องมือเป็นแบบดั้งเดิม ในกรณีที่เครื่องมือถูกปรับแต่งจนใช้งานผิดปกติ คุณสามารถเรียกคืนค่า ดั้งเดิมของการปรับแต่งเครื่องมือใด้ดังนี้ 1. เลือกเครื่องมือที่ต้องการเรียกคืนการตั้งค่าจากแผงเครื่องมือ 2. คลิกเลือกปุ่ม Tool Preset บนแถบออพชั่น 3. คลิกเลือกปุ่มเมนูของ Tool Preset 4. หากเลือก Reset Tool จะมีผลกับเครื่องมือที่เลือกใช้งานอยู่ตัวเดียว แต่ ถ้าเลือก Reset All Tool จะมีผลกับเครื่องมือทั้งหมด 5. กด OK

1 2

3


14 ADOBE PHOTOSHOP รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

แบบฝึกหัดบทที่ 1 แบบฝึกหัดชิ้นที่ 1 1. ให้เปิดไฟล์ C:\Tutorial\Lesson01\ex01-1end.psd เพื่อดูภาพตัวอย่างงานที่เสร็จแล้ว 2. ให้เปิดไฟล์ C:\Tutorial\Lesson01\ex01-1.psd 3. บันทึกงานเป็นไฟล์ใหม่ เลือกเมนู File > Save as 4. ตั้งชื่องานชิ้นใหม่นี้ว่า ex01-1ชื่อของนักเรียน_เลขที่_เลขห้อง (ตัวอย่าง ex01-1malio_99_9) บันทึกงานลงในโฟล์เดอร์ห้องของ นักเรียน 5. การทำ�ข้อ 4 มันสำ�คัญมาก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณบันทึกงานลงในโฟล์เดอร์ห้องของคุณ และตั้งชื่ออย่างถูกต้อง 6. ใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ได้เรียนมาเพื่อทำ�งานตามคำ�สั่งที่ปรากฎในภาพ - Hard Round คือ Hardness 100% และ Sorft Round คือ Hardness 0% - ใช้เครื่องมือ คำ�สั่งและพาเนลเพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองในภาพได้ตามต้องการ เช่น Hand tool ( ), Zoom Tool ( ) - ถ้าทำ�งานผิดพลาดให้ใช้เครื่องมือ พาเนล หรือคำ�สั่งต่างๆ ในการแกไขความผิดพลาด เช่น History Brush Tool ( ), พาเนล History หรือ คำ�สั่ง Undo เป็นต้น 7. ในระหว่างการทำ�งานควร Save งานเป็นระยะๆ แบบฝึกหัดชิ้นที่ 2 1. ให้สร้างไฟล์งานใหม่ ตั้งค่าดังนี้ - ความกว้าง Wide : 10 inches - ความสูง Height : 8 inches - ความละเอียด Resorution : 72 pixels/inch - ระบบสี Color Mode : RGB Color 2. ใช้เครื่องมือเครื่องมือต่อไปนี้ Pencil Tool ( ), Brush Tool ( ), Ereser Too ( ), และ Paint Bucket Tool ( ) เท่านั้น วาดภาพระบายสีเป็นผลงานที่มีความงามและมีคุณค่าทางทัศนศิลป์ 3. บันทึกไฟล์ตั้งชื่อว่า ex01-2ชื่อนักเรียน_เลขที่_ห้อง (ตัวอย่าง ex01-2malio_99_9) บันทึกลงในโฟลเดอร์ห้องของนักเรียน นักเรียนควร Save งานบ่อยๆ


ADOBE PHOTOSHOP 15 รู้จักกับพื้นที่ในการทำ�งาน

สรุปคำ�สั่งและเครื่องมือ คำ�สั่งในเมนู File คำ�สั่ง New Open Save Save As Revert

คำ�สั่งในเมนู Edit คำ�สั่ง Undo Step Backward

คำ�อธิบาย สร้างไฟล์งานใหม่ เปิดไฟล์งาน บันทึกไฟล์งาน บันทึกไฟล์งานเป็นไฟล์ใหม่ เรียกคืนไฟล์ไปสู่การบันทึกครั้ง สุดท้าย

Step Forward

คำ�อธิบาย ยกเลิกการกระทำ�ล่าสุด 1 การกระทำ� ย้อนหลังการกระทำ�ครั้งละ 1 การก ระทำ� เรียกคืนการกระทำ�ที่ถูกย้อนหลัง

คำ�สั่งในเมนู View คำ�สั่ง Zoom In Zoom Out Fit on Screen

คำ�อธิบาย ขยายมุมมองภาพ ย่อมุมมองภาพ ปรับมุมมองภาพพอดีกับหน้าจอ

คำ�สั่งในเมนู Window คำ�สั่ง คำ�อธิบาย Workspace เลือกรูปแบบพื้นที่งานบนหน้าจอ ชื่อของพาเนลต่างๆ เปิดและปิดพาเนลนั้น

เครื่องมือ เครื่องมือ

คำ�อธิบาย วาดเส้นคล้ายภู่กัน หรือ ภู่กันลม Blush Tool ปรับความนุ่มของขอบได้ วาดเส้นขอบแข็ง Pencil Tool เปลี่ยนสีบนภาพเป็นสีพื้นหลังหรือ Eraser Tool โปร่งใส ระบายสีบนพื้นที่ที่มีสีเรียนหรือสี Paint Bucket Tool คล้ายกัน History Brush Tool กู้คืนรูปภาพบางส่วนให้เหมือนเดิม ขยายและย่อมุมมองภาพ Zoom Tool เลื่อนมุมมองภาพ Hand Tool


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.