สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสวันสือ่ มวลชนครัง้ ที่ 50 ความตอนหนึง่ ว่า “การสือ่ สารคือพลัง ที่สร้างสะพาน ช่วยให้การพบปะเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งจะบันดาลให้สังคมมีประสิทธิภาพ...” เป็นดังการจุดประกาย ในการเริ่มใหม่ทุกครั้งในทุกวันและในทุกโอกาสของการสื่อสารทุกรูปแบบ แม้ "สื่อสาร ธมอ." จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 35 แล้วก็ตาม แต่ยังคงได้รับการจุดประกายจากสาส์นข้างต้น ผู้จัดท�ำ ปรารถนาให้ "สื่อสาร ธมอ." เป็นดังการสร้างสะพานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการพบปะที่เป็นหนึ่งเดียวกันและสร้าง สายสัมพันธ์ที่อบอุ่น... จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สื่อสาร ธมอ. จะกลับเป็นดัง “การสื่อสารที่มีพลัง เพื่อสร้างสะพานแห่ง ความรัก สันติ และความเข้าใจที่ดีต่อกัน...” (เทียบสาส์น วันสื่อมวลชนครั้งที่ 50) สื่อสาร ธมอ. ฉบับนี้ ทางผู้จัดท�ำได้ร่วมกันปรับโครงสร้างใหม่ ที่ยังคงเค้าโครงเดิมอยู่ในบางส่วน และปรับ เปลี่ยนชื่อคอลัมภ์บางคอลัมภ์ เพื่อให้ข่าวสารหรือเนื้อหาเป็นที่น่าสนใจ ชวนติดตามมากขึ้น ทั้งปรารถนาให้ท่านผู้อ่าน ได้รับสาระดีดีและประโยชน์ด้านต่าง ๆ มากที่สุด - โดยคอลัมภ์ข่าวจะรวมอยู่ใน “ช็อตเด่น” ซึ่งเป็นการสรุป เรียบเรียงและรวบรวมข่าวทั้งระดับแขวง และระดับหมู่คณะ ในรูปแบบที่สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ เนื่องจากรายละเอียดต่าง ๆ ของข่าว ท่าน ผู้อ่านสามารถติดตามได้ที่เวปไซด์ www.fma.or.th หรือ เฟสบุค @salesiansistersthailand - นอกจากนี้ คอลัมภ์ “โฟกัส” จากคอลัมภ์เดิมที่ชื่อว่า Follow Up.. เป็นคอลัมภ์การแบ่งปันของฝ่ายงาน ต่าง ๆ ของคณะในแขวงไทย โดยแต่ละฉบับจะหมุนเวียนกันแบ่งปันเรื่องราวต่าง ๆ - คอลัมภ์ “วันวาน” เป็นอีกหนึ่งคอมลัมภ์ที่จะเป็นเรื่องราวการแบ่งปันเกี่ยวกับการย้อนรอยหรือ หันกลับไปมองชีวติ ภารกิจ ความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละแง่มมุ ต่าง ๆ ของผูต้ งั้ คณะ ผูร้ ว่ มก่อตัง้ คณะ และผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ในครอบครัวซาเลเซียน - คอลัมภ์ “นักเดินทาง...” เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการแสวงหาเส้นทางชีวิตของบรรดาเยาวชน ในรูปแบบ กระแสเรียกต่าง ๆ ทั้งที่มาจากชีวิตจริง หรือจากงานแปล หรืองานเขียนของผู้รับผิดชอบคอลัมภ์ - และคอลัมภ์ “ซีรยี .์ ..วัยใส” เป็นอีกหนึง่ รูปแบบงานเขียนของเยาวชน ทีจ่ ะแบ่งปัน ถ่ายทอดเรือ่ งราวชีวติ ของพวกเขาในรูปแบบต่าง ๆ เป็นพื้นที่ของการสะท้อนความคิด มุมมองและประสบการณ์ต่าง ๆ ของ พวกเขา ทางผู้จัดท�ำจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สื่อสาร ธมอ. ที่อยู่ในมือของท่านผู้อ่าน จะเป็นสื่อ...ที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างสรรสิ่งที่ดีงาม ก่อเกิดพลังและจุดประกายความดีงามต่อไปในสังคมไทยของเราอีกนานเท่านาน... บ.ก.
3
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สิงหาคมปีนี้ นับเป็นเดือนที่มีความหมายพิเศษส�ำหรับพสกนิกรชาวไทย เพราะเป็นเดือน ประสูติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา พสกนิกรไทยต่างส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย เป็นต้นต่อผู้ยากจน ด้อยโอกาส ทั้งยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความ หลากหลายทางชีวภาพของประเทศอย่างต่อเนือ่ งมาเป็นเวลาเนิน่ นาน เป็นทีป่ ระจักษ์แก่สาธารณชนทัง้ ในและต่างประเทศ ดังที่ทรงมีพระด�ำรัสว่า "...พระเจ้าอยู่หัวเป็นน�้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน�้ำ ..." พระเจ้าอยูห่ วั สร้างอ่างเก็บน�ำ ้ ฉันจะสร้างป่า..." (พระราชด�ำรัส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ณ บ้านถ�ำ้ ติว้ อ�ำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร / 20 ธันวาคม 2525) สมเด็จพระนางเจ้า ฯ ทรงเป็นต้นแบบมารดาของแผ่นดิน ทรงอยู่ เคียงข้างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายความจงรักภักดีตลอดพระชนมายุที่ผ่านมาดังปณิธานที่ทรงตั้งไว้ นีค่ อื แบบอย่างของมารดาผูท้ ใี่ ห้โดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นมารดาของแผ่นดินและพสกนิกรไทย ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน ณ โอกาสนี้ ซิสเตอร์ขอส่งความสุข “วันแม่แด่ทุกท่านผู้เป็นมารดา” ขอให้ทุกท่านเปี่ยมด้วยความสุข ได้รับ ความรัก และความห่วงใย จากบรรดาเหล่าบุตรธิดาซึ่งต่างส�ำนึกในพระคุณด้วยความกตัญญูกตเวที เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ที่ผ่านมา คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ได้เฉลิมฉลองการปฏิญาณตนตลอดชีพของสมาชิก 4 ท่าน ปฏิญาณตนเป็นนักบวชครบ 25 ปี 2 ท่าน และครบ 50 ปี 1 ท่าน สมาชิกทั้ง 7 ท่านนี้ ได้ปฏิญาณตน มอบถวายชีวติ ทัง้ ครบเพือ่ รักและรับใช้พระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์ตลอดชีวติ บรรดา ซิสเตอร์ได้เลือกสถานะนักบวช เป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ นี่คืออีกหนึ่งแบบอย่าง ของชีวิตที่มอบอุทิศตน โลกนี้จะเปี่ยมสุขยิ่งขึ้น หากบุคคลในโลกนี้รู้จักแบ่งปัน อุทิศตน และรู้จักให้มากกว่าที่ จะคอยรับ ทุกบุคคลไม่วา่ จะอยูใ่ นสถานะใดของสังคม สามารถเป็นผูใ้ ห้ได้ดว้ ยกันทัง้ นัน้ แม้แต่ ผู้ขัดสนเงินทอง ก็สามารถให้ได้ อาจจะเป็นการให้ด้วยรอยยิ้ม แรงกาย แรงใจ ให้ด้วยค�ำ ปลอบประโลมใจ และอื่น ๆ เพียงเท่านี้หัวใจของผู้รับก็เปี่ยมด้วยความสุขแล้ว เป็น “การให้ที่มิต้องลงทุน แต่...มีคุณอนันต์” ซิสเตอร์ใคร่เชิญชวนทุกท่านเติมเต็มความสุขของชีวิตด้วยการเป็นผู้รู้จัก ให้ด้วยใจโอบอ้อมอารี ยินดีอุทิศตน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม แล้วท่าน จะพบความสุขใจแท้จริงที่ไม่มีผู้ใดสามารถมาช่วงชิงไปจากท่านได้ เพราะ “การให้ย่อมเป็นสุขมากกว่าการรับ” (กจ 20,35) ขออวยพรให้ทุกท่านประสบความสุขยินดีจากการเป็นผู้ให้ เพราะ “พระเจ้าจะทรงตอบแทนความใจดีของท่านเป็นร้อยเท่าพันทวี” ค่ะ ด้วยรักในองค์พระมารดามารีย์ ซิสเตอร์อันนา มารีอา ตอวิเชียร อธิการิณีเจ้าคณะแขวงคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์แห่งประเทศไทย
4
ส
วัสดีค่ะ...ในรอบสามเดือนที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ส�ำคัญมากมายเกิดขึ้น ทั้งระดับแขวง ระดับหมู่คณะและระดับโรงเรียนในเครือของคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ คอลัมภ์ “ช็อตเด่น” จึงเรียบเรียงและแบ่งปันให้กบั ท่านผูอ้ า่ นได้ตดิ ตามกัน โดยในช่วงแรกจะเป็นข่าวระดับแขวง และช่วงทีส่ องเป็นข่าวจาก หมู่คณะและโรงเรียนต่าง ๆ ในเครือฯ ค่ะ ธมอ. ร่วมสัมมนาฝ่ายอภิบาล... เริ่มกันที่ข่าวแรกในระดับแขวงกันเลย... ตัวแทนสมาชิกคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ได้เข้าร่วมสัมมนา ของฝ่ายอภิบาลในครอบครัวซาเลเซียน ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มิถนุ ายน 2559 ณ ส�ำนักงานบ้านเจ้าคณะซาเลเซียน ถนน กรุงเทพกรีฑา กรุงเทพฯ โดยคณะกรรมการฝ่ายอภิบาลเยาวชน ซาเลเซียน มีผู้เข้าร่วมประมาณ 25 คน มีคุณพ่อนพดล ยอแซฟ เป็นวิทยากรให้การ และคุณพ่อจรัล ทองปิยะภูมิ ผู้เชี่ยวชาของ สภาการศึกษาคาทอลิก ได้มาแบ่งปันในหัวข้อ การบูรณาการ คุณค่าพระวารสารในกิจกรรมการเรียนรู้...
ธมอ. เปิดศูนย์เยาวชนออนไลน์...
ส่วนข่าวที่เรียกได้ว่า ฮือฮากันทั่ว โลก ธมอ.ก็เห็นจะ ไม่พ้น...การเปิดศูนย์เยาวชน ธมอ. ออนไลน์ โดย ธมอ. ไทย ซึ่ ง ได้ เริ่ ม เปิ ด อย่ า งเป็ น ทางการ วั น ที่ 24 มิ ถุ น ายน 2559 ณ โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน นครปฐม มีซิสเตอร์วรรณี ฉัตรสุภางค์ รองอธิการิณีเจ้าคณะแขวง ธมอ. แห่งประเทศไทย เป็ น ประธานในพิ ธี นอกจากนี้ ส มาชิ ก และโรงเรี ย นในเครื อ ทัว่ ประเทศได้จบั มือ ร่วมกันกดไลค์ ผ่านทางเฟสบุค๊ ศูนย์เยาวชน ออนไลน์ โอกาสนนี้ยังมีตัวแทนจากคณะซาเลเซียน คุณพ่อบุญเลิศ ปณีตัธยาศัย คณะซิสเตอร์ คณะครูและนักเรียนร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่าว ทุกคนต่างหวัง เป็นอย่างยิ่งว่า การเปิดศูนย์เยาวชนออนไลน์ในครั้งนี้ จะน�ำไปสู่ความท้าทายใหม่ ๆ และการสร้างเครือข่าย ธมอ. ที่เข้มแข็งและมั่นคงตลอดไป
ธมอ. ร่วมไว้อาลัยและภาวนา...
วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 สมาชิก ธมอ. ได้ร่วม ไว้อาลัยและภาวนาแด่ ซิสเตอร์เวโรนิกา ตัน ธมอ. ใน พิธีปลงศพ ณ วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง โดยมีคุณพ่อ เจ้าคณะแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย เป็นประธาน ในพิธบี ชู าขอบพระคุณ ร่วมกับบรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียน นักบวช ญาติพี่น้อง ศิษย์เก่าและสัตบุรุษ ให้เกียรติมา ร่วมงานในพิธีเป็นจ�ำนวนมาก โดยต่างร�ำลึกถึงความดี มากมายที่ได้รับจากท่าน... 5
ประชุมสามัญสหพันธ์ศิษย์เก่า... ท่านผู้อ่านทราบไหมค่ะว่า ในการประชุมสามัญ สหพันธ์ศิษย์เก่าของ ธมอ. ประเทศไทย ครั้งล่าสุด ที่ได้มี การเลือกประธานและคณะกรรมการสหพันธ์ศิษย์เก่า ธมอ. ประเทศไทย ชุดใหม่นั้น ใครเป็นผู้ที่ได้รับการเท คะแนนเสียงให้เป็นประธานอย่างเป็นเอกฉันท์ ก็คงทราบ กันดีอยู่แล้วค่ะ คุณอรวรรณ ผลสมบูรณ์ นั่นเอง ซึ่งได้รับเลือกเป็นสมัยที่สอง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2559 ที่หอพัก หญิงเอาซีลีอุม ศาลาแดง กรุงเทพฯ ในบรรยากาศของความร่าเริง แต่จริงจัง แบบครอบครัว
อบรมสัมมนา...พนักงานโรงเรียนในเครือ ธมอ.
การอบรมสัมมนา พนักงานโรงเรียนในเครือ ธมอ. ระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2559 ณ บ้านสเตลลา มารีส ชะอ�ำ ในหัวข้อ “รักษ์โลก ด้วยความรักเมตตา” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสิบกว่าปี เป็นดังเหตุการณ์แห่งพระพร ความชื่นชมยินดี เต็มไปด้วยรอยยิ้มแห่งมิตรภาพ และความยินดีที่ได้เรียนรู้ความรักเมตตาจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดไว้ อย่างดี จากทีมวิทยากรผู้มีประสบการณ์ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 148 คน ช่วงเวลาอีกหนึ่งช่วงเวลาที่ส�ำคัญมากส�ำหรับนักบวชก็คือการเข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจ โดยในระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2016 ซิสเตอร์ ธมอ. เข้าเงียบประจ�ำปี 2016 รุ่นที่ 2 จ�ำนวน 31 คน ณ บ้านธารพระพร สามพราน นครปฐม โดยมีคุณพ่อฟรังซิส ไกส์ สงฆ์ซาเลเซียน เป็นผู้เทศน์เข้าเงียบ ในหัวข้อ “เป็นพยานถึงความรัก ของพระเจ้าด้วยความยินดีสุขล้น เพื่อความหวังนิรันดร” ซึ่งผู้เข้าเงียบทุกคนต่างแบ่งปันด้วยความยินดีว่า เป็นช่วง เวลาที่ประเสริฐ และเอื้อต่อการไตร่ตรองอย่างมากทีเดียว
ธมอ.เข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจประจ�ำปี รุ่นที่ 2
6
รื้อฟื้นค�ำปญิญาณผู้รับเจิม... หลังการเข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจ รุ่นที่ 2 แล้ว ได้มีพิธีรื้อฟื้นค�ำปฏิญาณ ... ผู ้ รั บ เจิ ม ธมอ. ระยะ 2 ปี ของ ซิ ส เตอร์ โ ยธิ ก า บุ ญ ธาตุ ซิ ส เตอร์ ปัจจนีย์ ไทยล�ำภู และซิสเตอร์มัลลิกา ด้านซอม โดยมีซสิ เตอร์อนั นา มารีอา ตอวิเชียร อธิการิณีเจ้าคณะแขวงเป็น ผู้รับค�ำปฏิญาณ ณ บ้านมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน ในบรรยากาศของการ และข่าวสุดท้ายของระดับแขวงใน ภาวนาและความศรัทธา เมื่อเช้าวันที่ สื่ อ สาร ธมอ.ฉบั บ นี้ ก็ คื อ การกลั บ มา 5 สิงหาคม 2559 เยี่ ย มเยี ย นของ Sr.Maria Assunta Inoue Sumiko, Visiting Councillor ธมอ.เฉลิมฉลองสมาชิกปฏิญาณตนครบ... ระหว่างวันที่ 10-20 สิงหาคม 2559 โดย ตัวแทนสมาชิกจากบ้านต่าง ๆ ของแขวง ในปีแห่งเมตตาธรรมนี้ ถือได้วา่ สมาชิกคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ พร้อมด้วยผู้ฝึกหัด ตัวแทนนักเรียนจาก แห่งประเทศไทย ได้รบั พระพรอันยิง่ ใหญ่ โดยมีสมาชิกของคณะได้ปฏิญาณ ศูนย์ตาบอดหญิง สามพราน และเจ้าหน้าที่ ตนตลอดชีพ จ�ำนวน 4 คน ปฏิญาณตนครบ 25 ปี จ�ำนวน 2 คน ได้ให้การต้อนรับท่านในบรรยากาศของ และปฏิญาณตนครบ 50 ปี จ�ำนวน 1 คน โดยจัดขึ้น ณ โรงเรียนมารีย์ ความยินดี เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2559 ที่ อุ ป ถั ม ภ์ สามพราน นครปฐม เมื่ อ วั น ที่ 6 สิ ง หาคม 2559 โดยมี บ้านธารพระพร สามพราน โอกาสที่ท่าน พระสังฆราชยอแซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล ประมุขของสังฆมณฑล ได้มาให้ค�ำชี้แนะ และร่วมด�ำเนินการตาม สุราษฎร์ธานีเป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ ท่ามกลางความชื่นชม ขั้นตอนต่าง ๆ ของการท�ำวินิจฉัยเพื่อการ ยินดีของบรรดาพระสงฆ์ นักบวช ญาติพี่น้อง ผู้มีพระคุณและบุคลากร หยั่ ง เสี ย งเลื อ กอธิ ก าริ ณี เจ้ า คณะแขวง ทุกฝ่าย คนใหม่
77
ค่ะ...ข่าวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระดับบ้านก็ คงจะเป็นข่าวที่น่าสนใจ และชวนติดตามด้วยเช่นกัน เชิญท่านผู้อ่านติดตามกันเลยที่ ....
มารีย์อุปถัมภ์ สามพราน ...ซิสเตอร์ และคณะครู จาก มาเก๊า เยี่ยมอนุบาล เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 ซิสเตอร์มักดาเลนา ซุย และซิสเตอร์ปาร์ติสเซีย วอง ได้พาคณะครู ระดับ เนิสเซอรี่ จ�ำนวน 34 คน มาเยี่ยมโรงเรียนมารีย์ อุปถัมภ์ แผนกอนุบาล โดยมีคณะซิสเตอร์ คณะครู และนักเรียนระดับอนุบาลให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ม.อ. เปิดธนาคารโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน ร่วมกับธนาคาร ออมสิน เปิดธนาคารโรงเรียนอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 เพื่อมุ่งส่งเสริมนักเรียนให้ รักการออม ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โอกาสนี้ คณซิสเตอร์ ผูบ้ ริหาร เจ้าหน้าทีร่ ะดับสูงของธนาคาร ออมสิน พร้อมด้วยคณะครู ผู้ปกครองและนักเรียน ร่วมเป็นสักขีพยาน
ธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่
จัดการแข่งขันกีฬาสีภายใน โรงเรียนธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่ จัดการแข่งขันกีฬาสี ภายใน ตามอุดมการณ์ประจ�ำปี “Save the world with a merciful heart” ระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2559 โดยมีการเดินขบวนพาเหรดไปตามถนนสายหลักของ อ.หาดใหญ่ ภายใต้แนวคิดสร้างสรรค์อย่างตระการตา มีการ แข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ ตลอดจนภาพสีสนั ของเชียร์ลดี เดอร์และกองเชียร์แต่ละหมูส่ ที สี่ วยงาม การแข่งขันกีฬาด�ำเนิน ไปด้วยบรรยากาศแห่งความรักสมัครสมาน สามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย
8
ธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่ ธิดานุเคราะห์...ประชุมผู้ปกครองคาทอลิก วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 โรงเรียนธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่ เปิดบ้านสานสัมพันธ์ผู้ปกครองนักเรียน คาทอลิกประจ�ำปี 2559 โดยได้รับความสนใจจาก ผูป้ กครองและนักเรียนเข้าร่วมประชุมเป็นจ�ำนวนมาก โอกาสนี้ ซิสเตอร์นภิ า ระงับพิษ อธิการิณี และคุณพ่อ ยอห์น แปร์ตีเล คุณพ่อเจ้าอาวาสวัดแม่พระประจักษ์ เมืองลูร์ด เป็นผู้ให้ความรู้และการอบรม
มารีย์นิรมล หัวหมาก
พระคาร์ดินัลเยี่ยมชมกิจการ... พระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกนิชวานิช ได้ให้ เกียรติมาเป็นประธานในพิธสี มโภชพระตรีเอกภาพในพีบชู า ขอบพระคุณภาษาเกาหลี พร้อมกับเยีย่ มชมบริเวณหมูค่ ณะ ด้วยความเป็นกันเอง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559
9
ร่วมพิธมี อบประกาศนียบัตรผูส้ ำ� เร็จการศึกษา ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 ซิสเตอร์มาร์การีตา เปเรส และซิสเตอร์กาญจนา เดชาเลิศ ได้ไปร่วมพิธี มอบประกาศนียบัตรผู้ส�ำเร็จการศึกษา และไหว้ครู ประจ�ำปีการศึกษา 2559 ของบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จ�ำกัด มหาชน และร่วมแสดงความยินดี กับนักศึกษาของหอพักที่จบการศึกษา
บ้านธิดารักษ์ เชียงใหม่
วันที่ 18 มิถุนายน 2016 เยาวชนธิดารักษ์ ร่วมถอนกล้าที่แปลงนาจอมทอง เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิต การท�ำนาในสังคมเกษตรกรรมของไทย พร้อมกับ ชาวอิตาเลียน 2 คน นางสาวเชสคีนี คาทารีนา และ นางสาวอาร์คันเจลี จูเลีย อายุ 20 ปี ซึ่งก�ำลังศึกษา คณะนิติศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัย ลาเตรัน ประเทศ อิตาลี มาท�ำประสบการณ์อาสาสมัครที่บ้านธิดารักษ์
“50 ปี” แห่งความรักและความซื่อสัตย์ภักดี วั น ฉลองพระเยซู เจ้ า ทรงจ� ำ แลงพระกายในปี น้ี น� ำ ความชื่ น ชมยิ น ดี กั บ สมาชิ ก ที่ ท� ำ การปฏิ ญ าณตน ตลอดชีพ และสมาชิกที่ท�ำการฉลองหิรัญสมโภชและ สุวรรณสมโภชแห่งการปฏิญาณตนเป็นนักบวช ธมอ. หมู่คณะมารีย์นิรมลทินได้ร่วมแสดงความชื่นชมยินดี เป็นพิเศษแด่ซิสเตอร์อันนา กราสซี โอกาสฉลอง สุวรรณสมโภชของท่านด้วย
วันที่ 15 มิถุนายน 2016 เยาวชนบ้านธิดารักษ์ จอมทอง เชียงใหม่ ชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ถ่ายภาพ ร่วมกับซิสเตอร์มารีอา ตอวิเชียร อธิการิณีเจ้าคณะ โอกาส เยี่ยมบ้านธิดารักษ์ประจ�ำปีการศึกษานี้
มารีย์นิรมลทิน สามพราน
ร่วมกันขอบคุณ...แด่มาเดอร์ หมูค่ ณะมารียน์ ริ มลทิน สามพราน พร้อมกับนักเรียนกลุม่ ธิดา รักษ์ ได้รว่ มพร้อมใจกันขอบคุณแด่ซสิ เตอร์มารีอา ตอวิเชียร อธิการิณีเจ้าคณะ โอกาสปิดการเยี่ยมบ้านประจ�ำปี ใน บรรยากาศของความรักและรู้คุณต่อสิ่งดีงามที่ได้รับเป็น พิเศษ ตลอดช่วงวันที่ 11 -13 กรกฎาคม 2016
10
เอาซีลีอุม ศาลาแดง วันที่ 22 มิถุนายน 2559 ซิสเตอร์ศิริรัตน์ อนุวัฒน์ประกิจ ได้รับ เชิญให้เข้าร่วมประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (focus group) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพือ่ พิจารณาความเหมาะสมและความ เป็นไปได้ของการพัฒนากลยุทธ์ การบริหารโรงเรียน ตลอดจน เสริมสร้างคุณลักษณะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับ ประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (สพฐ.) นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 27 มิถนุ ายน – 8 กรกฎาคม 2559 ซิ ส เตอร์ ผู ้ เ ยาว์ จ� ำ นวน 4 ท่ า น ได้ ม าศึ ก ษาอบรมและ ฝึกประสบการณ์ ช่วงเดือนที่ 2 เพื่อเตรียมปฎิญาณตนตลอดชีพ ที่หมู่คณะศาลาแดงด้วย
วิสุทธิวงศ์ โพนสูง
วันที่ 4-8 กรกฎาคม 2559 โรงเรียนวิสุทธิวงศ์ โพนสูง เปิดงาน “นิทรรศการแม่พระ” มุ่งปลูกฝังความศรัทธาต่อ แม่พระ และรู้จักนามชื่อแม่พระตามองค์อุปถัมภ์ต่าง ๆ โดยมี คุ ณ พ่ อ ดานี โ ล อโบกาโด ดานี่ คุ ณ พ่ อ เจ้ า อาวาสวั ด พระ วิสุทธิวงศ์โพนสูง ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมกันนี้ คณะครู และนักเรียนต่างเข้าร่วมพิธีด้วยบรรยากาศของความยินดี วันที่ 6 สิงหาคม 2559 คณะครูและนักเรียนวิสุทธิวงศ์ โพนสู ง ร่ ว มแสดงความชื่ น ชมยิ น ดี กั บ ซิ ส เตอร์ จั น ทร์ เ พ็ ญ กิ่ ง แก้ ว เพชร โอกาส ปฏิ ญ าณตนตลอดชี พ แ ล ะ ข อ พ ร ส� ำ ห รั บ ภารกิจต่าง ๆ ของท่าน ใ น ก า ร ด� ำ เ นิ น ชี วิ ต นั ก บวชที่ ซื่ อ สั ต ย์ ต ่ อ พระองค์ตลอดไป
11
นารีวุฒิ บ้านโป่ง "เปิดบ้านวิชาการ สืบสานงานพ่อหลวงไทย" วันที่ 5 สิงหาคม 2559 โรงเรียนนารีวุฒิ บ้านโป่ง จัดงานวันวิชาการ เพื่อ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเสด็จ เถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ 70 ปี ภายในงานจัดกิจกรรมตามฐานกลุ่มสาระ 8 สาระ ให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโครงการพระราชด�ำริ เพื่อให้นักเรียน สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน นอกจากนี้ในวันที่ 11 สิงหาคม 2016 ได้มีการจัดงาน เทิดไท้องค์ราชินี 84 พรรษา....1 ห้องเรียน 1 ความรู้ โอกาสวั น แม่ แ ห่ ง ชาติ และตลอดวั น โรงเรียนยังได้จัดกิจกรรม 1 ห้องเรียน 1ความรู ้ และฝ่ า ยอนุ บ าลได้ มี ก ารจั ด โครงการ (Project Approach) โดย เด็ก ๆ ได้น�ำผลงานของตนมาแสดงให้แก่ ผู้ปกครองได้รับชม
มหาไถ่ศึกษา บึงกาฬ
เทิดเกียรติในหลวงโอกาสครบรอบ 70 แห่งการครองราชย์ วั น ที่ 10 มิ ถุ น ายน โรงเรี ย นมหาไถ่ ศึ ก ษา บึ ง กาฬ ได้ จั ด กิ จ กรรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โอกาสครบ 70 แห่งการ ครองราชย์ เริ่มด้วยวจนพิธีกรรมขอพรพระส�ำหรับพระองค์ท่าน มีคุณพ่อ ปรีชา ศิลาโครต ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต เป็นประธาน จากนั้นผู้แทนครู และนักเรียนร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อเทิดพระเกียรติ
12
และในวันที่ 29 มิถนุ ายน 2016 คุณพ่อปรีชา ได้เป็นประธานโอกาส ฉลองพระสันตะปาปาด้วย นอกจากนี้ นักเรียนยังได้รจู้ กั ประวัตขิ องพระองค์ ท่านผ่านทางกิจกรรมการแนะน�ำ ซึ่ง ช่ ว ยให้ นั ก เรี ย นปรารถนาที่ จ ะ เลียนแบบคุณธรรมของพระองค์ท่าน เป็นต้นในความรักเมตตา
ชุมนุมเยาวชนโลก ครั้งที่ 31 บ
...เก็บเกี่ยว...กลิ่นไอแห่งความสุข...
นเส้นทางแห่งการจาริกไปพร้อมกัน เป็นช่วงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และความทรงจ�ำที่งดงาม หลากหลาย การชุมนุมเยาวชนโลก ครั้งที่ 31 ณ ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 26-31 กรกฎาคม ที่ผ่านมายังคง ทิ้งกลิ่นไอแห่งความสุข รอยยิ้มและมิตรภาพที่เต็มเปี่ยม พร้อมด้วยความประทับใจในการพบปะกับองค์สมเด็จ พระสันตะปาปาฟรังซิส ทุกการเทศน์สอนของพระองค์ท่านได้สร้างแรงบันดาลใจในการด�ำเนินชีวิตบนเส้นทางสายนี้ ...เส้นทางแห่งความเชือ่ ความหวังในองค์พระเจ้า... ให้เราได้กา้ วเดินไปพร้อมกันกับบรรดาเยาวชนทัว่ โลกด้วยดวงใจ ที่ปรารถนาจะสัมผัสพระเมตตารักอันไม่สิ้นสุดของพระเจ้า โปแลนด์ เ ป็ น หั ว ใจของความศรั ท ธาเรื่ อ ง พระเมตตา ตั้งแต่ ค.ศ.1930 และเป็นบ้านเกิด เมืองนอนของนักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 งานชุมนุมเยาวชนโลก อยูใ่ นระหว่างปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ แห่งเมตตาธรรม “ผู้มีใจเมตตา ย่อมเป็นสุข เพราะ เขาจะได้รับพระเมตตา” (มธ.5, 7) จึงถูกเลือกให้ เป็นหัวข้อของการชุมนุมครั้งนี้ บรรดาเยาวชนจาก ทั่วทุกมุมโลกได้เดินทางมาด้วยหัวใจที่พร้อมเปิดรับ แสงสว่างแห่งพระจิตเจ้า พวกเขาได้สมั ผัสเหตุการณ์ ต่าง ๆ ในหัวข้อเมตตาธรรม อาศัยกิจกรรม การ อธิษฐานภาวนา เรียนค�ำสอน ในวันของการพบปะ กับเยาวชนในครั้งนี้ พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ให้ ข้อคิดเตือนใจที่ทั้งโดนใจเยาวชนและคนทุกเพศ ทุกวัย พระองค์ทรงเทศน์สอนโดยสรุปความว่า 13
พระเยซูเจ้าทรงเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวติ แก่ เรา พระองค์ทรงพอพระทัยในสิง่ เล็กน้อย มักคุน้ กับชีวติ ที่ เรี ย บง่ า ย ทรงประทั บ อยู ่ ท ่ า มกลางมนุ ษ ย์ ไมเคยอยู ่ ห่างไกลจากมนุษย์ นอกจากนีต้ วั อย่างชีวติ ของพระมารดา มารียท์ เี่ ต็มใจกระท�ำสิง่ เล็กน้อย โดยไม่บน่ พร้อมรับใช้ผทู้ ี่ ต้องการความช่วยเหลือ จากสิ่งเหล่านี้จะท�ำให้เราเรียนรู้ ความงดงามของการรับใช้คนอืน่ โดยไม่สนใจความต้องการ ของตัวเราเอง องค์สมเด็จพระสันตะปาปายังทรงเตือนสอน อีกว่า ความเมาตตาคือสิ่งที่ต้องปราฎอยู่บนใบหน้าของ เยาวชน เพราะหัวใจทีเ่ มตตาจะท�ำให้พร้อมทีจ่ ะก้าวออก จากมุม สุขสบายในชีวิต หัวใจที่เมตตาสามารถก้าวออก ไปพบกับคนอื่น พร้อมจะโอบกอดทุกคน หัวใจที่เมตตา สามารถเป็นที่พักพิงให้กับคนที่ไม่มีบ้านให้พักอาศัย นี่คือ ความอ่อนโยนและรูส้ กึ เป็นทุกข์ไปกับคนทีท่ กุ ข์รอ้ น หัวใจ ทีเ่ มตตาสามารถแบ่งปันอาหารให้กบั ผูห้ วิ โหยและต้อนรับ ผู้อพยพลี้ภัยทุกคน โอกาสนี้พระองค์ยังเชิญชวนบรรดา เยาวชนให้แสวงหาการเติมเต็มชีวติ แสวงหาตัวบุคคลซึง่ ก็ คื อ องค์ พ ระคริ ส ตเจ้ า เพราะพระองค์ ท รงเป็ น ผู ้ ท ี่ มอบหมายความหมายที่แท้จริงในชีวิตให้กับเรา พระองค์ สามารถท�ำให้เราก้าวไปข้างหน้า มองให้สูงและกล้าที่จะ ฝันถึงแต่สงิ่ ดี เราต้องกล้าทีจ่ ะให้พระองค์เข้ามาอยูใ่ นชีวติ หากบรรดาเยาวชนต้องการชีวิตที่ดีพร้อม พวกเขาจะต้อง เริ่มต้นสร้างชีวิตด้วยการเปิดตัวเอง เพราะความสุขจะได้ รับการหว่านเมล็ดพันธุ์และจะผลิดอกออกผลเป็นความ เมตตา นี่คือค�ำตอบที่องค์สมเด็จพระสันตะปาปาอยาก บอกกับบรรดาเยาวชนทุกคน
ในโอกาสพิธบี ชู าขอบพระคุณ ปิดงานชุมนุมเยาวชน โลกครั้งที่ 31 ในวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2016 ที่ แคมปัส มิเซริคอร์ดิเอ เมืองคราครูฟ ประเทศโปแลนด์ ท่ามกลางเยาวชนที่มาร่วมพิธีกว่า 2 ล้านคน โดยในวัน ดั ง กล่ า วพระวรสารประจ� ำ มิ ส ซาปิ ด งานเยาวชนโลก เล่าถึงเหตุการณ์ที่พระเยซูเสด็จไปพักที่บ้านของซักเคียส หัวหน้าคนเก็บภาษี ท�ำให้หลายคนนินทาว่าพระองค์กำ� ลัง ไปพักบ้านคนบาป ซักเคียสทูลพระเยซูว่า ตนยินดียก ทรัพย์สมบัติครึ่งหนึ่งให้คนจน และถ้าไปโกงใครมา จะ ชดใช้ให้ 4 เท่า พระเยซูจึงตรัสกับซักเคียสว่า "วันนี้ ความ รอดพ้นมาสู่บ้านนี้แล้ว" (ลูกา 19:1-10) สมเด็จพระ สันตะปาปาทรงแบ่งปันกับเยาวชนว่า มีอุปสรรคอยู่ 3 ประการที่ท�ำให้ซักเคียสต้องประสบในเหตุการณ์นี้ อุปสรรคแรก เขาตัวเตี้ยตัวเล็กเกินไป แม้ในทุกวัน นี้ พวกเราก็เสี่ยงที่จะไม่ได้เข้าใกล้พระเยซู เพราะเรารู้สึก ว่าเราไม่ยิ่งใหญ่พ่อ เพราะเราคิดว่าตัวเราไม่มีค่าพอ นี่คือ การประจญอย่างหนึ่งเลยนะ พวกเราถูกสร้างมาตาม พระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า อย่างที่สองการไม่ยอมรับ ตัวเอง การท�ำตัวให้หม่นหมองและการประพฤติตนแย่ ๆ ซึ่งหมายถึงการไม่ตระหนักถึงอัตลักษณ์แท้จริงของเรา คล้ายกับการที่เราเดินหนีจากพระเจ้าผู้ทรงมองเราอยู่ อย่าลืมว่า พระเยซูทรงห่วงใยเราทุกคน ไม่มีใครไม่คู่ควร หรือห่างไกลจากความคิดของพระองค์ ไม่มีใครไม่ส�ำคัญ เราทุ ก คนส� ำ คั ญ เท่ า กั น ในสายพระเนตรของพระเจ้ า พระเจ้าวางใจในสิ่งที่เราเป็น ไม่ใช่ในสิ่งที่เราเป็นเจ้าของ ในสายพระเนตรของพระเจ้า ไม่ว่าลูกจะแต่งตัวอย่างไร หรือใช้โทรศัพท์มอื ถือรุน่ ไหน พระเจ้าไม่เคยสนใจ พระองค์ ไม่แคร์วา่ ลูกจะแฟชัน่ หรือเปล่า ไม่เลย พระองค์แคร์แต่ตวั ลูกเท่านั้น ดังนั้น เราจึงต้องไม่ด�ำเนินชีวิตอยู่ในความ เศร้าโศก แต่หากจะดีกว่านี้ ถ้าเราสวดภาวนาทุกเช้าว่า 'พระเจ้า ลูกขอบคุณพระองค์ส�ำหรับความรักที่มอบให้ โปรดช่วยลูกให้รักชีวิตของลูกด้วย' อุปสรรคที่สอง ซักเคียสเผชิญหน้ากับความตายด้าน จากความน่าละอายใจ เขาเข้าใจและรู้ซึ้งถึงความอัปยศ 14
ของตนเอง เพราะแรงดึงดูดในพระเยซูนั้นทรงพลังยิ่งนัก พวกลูกพอจะนึกออกใช่ไหมว่า เมือ่ มีใครสักทีด่ นู า่ หลงใหล มากและเราตกหลุมรักคนนัน้ เข้ามาในชีวติ เราจะพร้อมท�ำ ทุกสิ่งที่เราไม่เคยท�ำเพื่อคนนั้น ซักเคียสก็เช่นกัน นี่คือ ความลั บ ในความชื่ น ชมยิ น ดี ดั ง นั้ น อย่ า ละอายที่ จ ะ สารภาพทุกสิง่ กับพระเจ้า เฉพาะอย่างยิง่ บาปผิดจากความ อ่อนแอของเรา พระเจ้าจะท�ำให้เราประหลาดใจด้วยการ ให้อภัยของพระองค์ อย่ากลัวที่จะตอบรับ (YES) กับ พระเจ้าด้วยหัวใจของเรา อย่าปล่อยให้จติ วิญญาณของเรา ตายด้าน แต่จงตั้งเป้าเพื่อความรักอันงดงามและเสียสละ อุปสรรคที่สาม ซักเคียสต้องเจอกับการนินทาจาก ฝูงชน คนเหล่านี้พยายามกีดกันซักเคียสและต�ำหนิเขา คนเหล่ า นี้ พ ยายามกี ด กั น เขาไม่ ใ ห้ รั บ พระเมตตาจาก พระเจ้า แต่พระบิดาทรงเรียกร้องเราให้มคี วามกล้า กล้าที่ จะเอาชนะความชัว่ ด้วยการรักเพือ่ นมนุษย์ แม้กระทัง่ ศัตรู ของตนเอง ผู้คนอาจหัวเราะเยาะเรา เพราะเราเชื่อใน ความสุภาพและถ่อมตน ผูค้ นอาจตัดสินเราทีเ่ ราเป็นนักฝัน เพราะเราเชื่อในมนุษยชาติและปฏิเสธความเกลียดชัง พ่ อ อยากบอกว่ า จงอย่ า ท้ อ ! จงยิ้ ม และกางแขนรั บ สิง่ เหล่านี้ ลูกประกาศความหวังและลูกเป็นผูม้ บี ญ ุ ซึง่ ก�ำลัง เป็นตัวแทนของความงดงามเหล่านี้ จงอย่ายอมแพ้ในการ เผชิญหน้ากับความคิดที่ปิดตาย แต่จงแสวงหาจุดหมายที่ ด�ำรงไว้ซึ่งหัวใจอันบริสุทธิ์ สู้อย่างสันติเพื่อความซื่อสัตย์ และยุตธิ รรม จงอย่าท�ำอะไรแค่ผวิ เผิน อย่าวางใจจิตตารมณ์ ทางโลกซึ่งเน้นแค่รูปร่างหน้าตา มันคือเครื่องส�ำอางที่ ท�ำให้เราดูดีแค่ภายนอก แต่จงดาวน์โหลดลิ้งค์ที่ดีที่สุด ซึ่ง ก็คือ หัวใจที่มองเห็นและถ่ายทอดคุณความดีโดยไม่ต้อง ปรุงแต่งใด ๆ ในการเสวนาและแชทในแต่ละวัน จงให้ พระวรสารเป็นเข็มทิศน�ำทางการพูดคุย ความทรงจ�ำของ พระเจ้าไม่มี 'ฮาร์ดดิสก์' ไว้บันทึกและเก็บข้อมูลของเรา แต่หัวใจของพระเจ้าเต็มไปด้วยความเมตตากรุณาที่แสน จะอ่อนโยน ดังนัน้ ขอให้เราพยายามด�ำเนินชีวติ เลียนแบบ ความทรงจ�ำทีศ่ รัทธาของพระเจ้าและรักษาสิง่ ดี ๆ ทีเ่ ราได้ รับตลอดหลายวันที่ผ่านมาในงานเยาวชนโลกไว้ด้วย.... 15
กลิน่ ไอแห่งความสุข กระจายอยูท่ วั่ ทุกมุมโลก ด้วย ความรักเมตตาขององค์พระเจ้าทีพ่ ร้อมจะส่งมอบให้กบั เรา แต่ละคนทุก ๆ วัน พระเจ้าผู้ไม่เคยเหนื่อยหน่ายในการรอ คอยการกลับมาของบุตรสุดที่รักที่ได้จากไป พระเจ้าผู้ที่ พร้อมเสมอที่จะโอบกอด และให้อภัยลูก ๆ ที่กลับมา พึ่งพิงพระเมตตาของพระองค์ ในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตา ธรรมนี้จึงขอเชิญชวนทุกคนได้ก้าวเดินไปพร้อม ๆ กัน บนเส้นทางแห่งความเชือ่ กลับสูอ่ อ้ มกอดขององค์พระเจ้า สัมผัสประสบการณ์แห่งความรักเมตตา เพื่อเราแต่ละคน จะได้สามารถกลับเป็นสื่อกลางแห่งความรักเมตตาแก่ เพื่อนพี่น้อง กระจายกลิ่นไอแห่งความสุขไปทั่วทุกมุม โลก...
พรพรรณ ทองอ�ำไพ
VIDES THAI...โอกาสแห่งพระพร สวัสดีค่ะ พวกเรากลุ ่ ม VIDES ขอแบ่ ง ปั น ประสบการณ์ ความประทับใจ จากการไปประชุม Congress VIDES นานาชาติครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 16-18 กรกฎาคม ค.ศ.2016 ณ บ้านซาเลเซียน เมืองปีซานนา ประเทศอิตาลี หัวข้อ “LOVE FOR SELF AND VOLUNTEEING : WHAT IS THE RELATIONSHIP” พวกเราเดินทางออกจากประเทศไทย ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2016 ถึงกรุงโรมวันที่ 13 กรกฎาคม 2016 ได้ รับการต้อนรับอย่างดีจาก ซิสเตอร์เจลันดา ที่ขับรถมารับ พวกเรา ไปยัง Casa VIDES ซึ่งอยู่ใกล้กับวาติกันมาก ซิสเตอร์ยวุ ดี อารีจติ รานุสรณ์ รับเราไปทานข้าวเทีย่ งทีบ่ า้ น ศูนย์กลางคณะ (Casa Generalizia )และพบกับซิสเตอร์ คนไทย ซิสเตอร์เนาวรัตน์ ซิสเตอร์อมั รินทร์ ซิสเตอร์ภผู า ซิสเตอร์วารี ที่ได้เตรียมอาหารเที่ยงให้กับพวกเรา
วันที่ 14 กรกฎาคม 2016 หลังอาหารเช้า เดินทาง จากบ้านพัก ไปวาติกนั ร่วมมิสซาในมหาวิหารนักบุญเปโตร และเดินชมความงามภายในซึง่ มีรปู แกะสลัก Pieta' รูปปัน้ นักบุญ ชมความงามของน�้ำพุเทรวี ซึ่งเชื่อกันว่าหากโยน เหรียญ 1 เหรียญลงสระ ขอพร แล้วจะได้กลับมาอีก ครั้งหนึ่ง วันที่ 15 กรกฎาคม 2016 ไปเยีย่ มชม 4 พระวิหาร หลัก คือ 1. พระวิหารพระหฤทัย ที่คุณพ่อบอสโกหาทุน สร้างวัดตามประสงค์ของพระสันตปาปา 2. มหาวิหาร (Basilica di Santa Maria Maggiore) ที่ ส มเด็ จ พระสันตะปาปาจะน�ำดอกไม้มาถวายทุกครัง้ ทีพ่ ระองค์จะ เสด็จเยือนประเทศห่างไกล 3.มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน (Basilica di San Giovanni in Laterano) 4. โบสถ์ Scala santa church มีบนั ไดศักดิส์ ทิ ธิท์ พี่ ระเยซูเจ้า เดินขึ้นไปหาปีลาโต
จากนั้ น นั่ งรถไฟฟ้าไปชมโคโลเซียม สนามกีฬา อั น เก่ า แก่ แ ละมี ค วามหมายทางประวั ติ ศ าสตร์ ข อง พระศาสนจักร
16
ช่วงบ่ายเราได้เข้าประตูศกั ดิส์ ทิ ธิท์ วี่ าติกนั พร้อมกับ อาสาสมัคร VIDES จาก 32 ประเทศ จากนั้นเดินทางไป บ้านปีซานนา (Pisana Salesianum) เพื่อเตรียมเข้า ประชุม วันที่ 16-18 กรกฎาคม 2016 เราได้เข้าประชุมกับ เพื่อนๆ VIDES ต่างชาติ 32 ประเทศ ในหัวข้อ “LOVE FOR SELF AND VOLUNTEEING WHAT IS THE RELATIONSHIP” สรุปสั้น ๆ คือ ความรักเป็นหัวใจของ การเป็นอาสาสมัคร ความรักเป็นขุมพลังหลักซึง่ ท�ำให้การ สร้างสังคมที่มีความเป็นพี่น้องและความเป็นน�้ำหนึ่งใจ เดียวกันนั้นเกิดขึ้นได้ สังคมที่ศักดิ์ศรีมนุษย์ ทุกคนได้รับ การเคารพและทุกคนได้รับการอบรม (education) การ สร้างความสัมพันธ์ที่กลมกลืน ไม่มีความขัดแย้งภายในตัว เราแต่ละคนเอง ระหว่างตัวเราแต่ละคนกับผู้อื่น กับ สิ่งสร้างและกับพระเจ้า แนวทางที่เราใช้ในการท�ำงาน (action)ของเรานัน้ เป็นสิง่ ทีจ่ ะรับรองว่า จะเกิดการอบรม ที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการอบรมส�ำหรับทุกคน และมีความ ยุติธรรม รวมถึงสนับสนุนให้เกิดโอกาสแห่งการเรียนรู้ ส�ำหรับทุกคน วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2016 เรามีโอกาสแวะไป หาแม่พระองค์อุปถัมภ์ และคุณพ่อบอสโกที่วัลดอกโก กรุงตุริน โดยความช่วยเหลือของซิสเตอร์อันเจลา พี่สาว ซิสเตอร์อาเดไลเดของเรา ท่านน่ารักใจดีมาก ไปรับเรา และเตรียมที่พักให้เราอย่างดี
วั น ที่ 21 กรกฎาคม 2016 เราเดิ น ทางกลั บ ประเทศไทยโดยแวะที่ Milano Centrale เยี่ ย มชม พระวิหารหินอ่อน และ Galleria ทีม่ ชี อื่ เสียงของกรุงมิลาน ทานไอศครีมและปิซซ่าก่อนขึ้นเครื่องกลับอย่างปลอดภัย
สมาชิกทั้ง 7 คน ที่ได้เดินทางไปในครั้งนี้ ขอขอบ พระคุณพระเจ้าและคณะผูใ้ หญ่ทกุ ท่าน ทีเ่ อือ้ โอกาสพิเศษ นี้ให้เรา เราประทับใจในสถานที่อันสวยงามและมีประวัติ ความเป็นมาด้านศาสนา การเมือง ภาพศิลปะต่าง ๆ ทั้งภาพวาดฝาผนัง งานแกะสลัก พวกเราประทับใจใน บรรดาผู้ใหญ่ที่อุทิศตน เสียสละ ต้อนรับ เตรียมทุกสิ่ง ทุกอย่างความเป็นพี่น้องกัน ในบรรยากาศการประชุม แต่ละคนมาจากทีต่ า่ ง ๆ หลายประเทศ แต่รว่ มกันเป็นหนึง่ เดียวกัน ในจิตตารมณ์เดียวกัน เห็นถึงความร่วมมือที่จะ ช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น แม้ จ ะล� ำ บากในการสื่ อ สาร และทุกคนมีความยินดีเสมอเมื่อพบปะกัน 17
SSYV ธมอ...อาสาสมัครรุ่นเยาว์
ตามที่ท่านผู้อ่านทราบกันแล้วว่า นอกจากซิสเตอร์ คณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ แ ห่ ง ประเทศไทยจะมี กลุ่มอาสาสมัคร VIDES หรือกลุ่มอาสาสมัครรุ่นใหญ่แล้ว ยังมีกลุม่ อาสาสมัครรุน่ เยาว์อกี กลุม่ หนึง่ ด้วย ทีเ่ รียกกันว่า กลุ ่ ม อาสาสมั ค ร SSYV หรื อ กลุ ่ ม อาสาสมั ค ร ธมอ. ได้ถูกก่อตั้งตั้งแต่ในปี 2006 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 75 ปีของแขวงไทย เราได้ฟังเรื่องราวของพี่ ๆ VIDES ที่ได้เข้าร่วม ประชุมกับอาสาสมัครอื่น ๆ ทั่วโลกไปแล้ว... นับว่าเป็นสิ่งที่งดงาม ที่ผู้เขียนจะขอใช้พื้นที่หน้านี้ เพื่อแบ่งปันเรื่องราว ด้วยภาพกับกิจกรรมน่ารัก ๆ ของอาสาสมัครรุ่นเยาว์ของโรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน ในครั้งนี้ด้วย โดยซิสเตอร์ผกามาศ มาสอน ผูร้ บั ผิดชอบกลุม่ น�ำแนวคิดจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ แห่งเมตตาธรรม...เป็นพื้นฐานของการอบรมและกิจกรรมต่าง ๆ ในปีนี้ ตามไปดูกันเลย ค่ะ
จ�ำหน่ายขนม-ดอกไม้ โอกาสต่าง ๆ เพือ่ หาทุนส�ำหรับกิจกรรมกิจเมตตา
กิจเมตตาที่สมาชิกอาสาสมัครท�ำร่วมกันท่ามกลางพี่น้องชาว ปากีสถาน ด้วยการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และกิจกรรมอืน่ ๆ
18
ยุพา ชูลีระรักษ์
“พระแม่แห่งความเมตตา” ดังที่เราทราบกันดีว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ทรงประกาศผ่านทางสมณโองการ Misericordiae Vultus (พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม) ว่า ให้ปนี เี้ ป็น “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่ง เมตตาธรรม” เพื่อให้คริสตชนได้ร�ำพึงถึงพระเมตตาของ พระเจ้าและเจริญชีวิตด้วยความเมตตาบนพื้นฐานแห่งความ รักต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนพี่น้อง พระเยซูเจ้าเองได้ทรงเป็น แบบอย่างสูงสุดแห่งความรักและความเมตตานี้เพราะตลอด พระชนมชีพของพระองค์ ล้วนแสดงให้เราเห็นว่า พระพันธกิจ ทีพ่ ระบิดาทรงมอบให้แก่พระองค์กค็ อื การเสียสละแม้กระทัง่ พระชนมชีพของพระองค์เพื่อความรอดพ้นของมวลมนุษย์ นี่แหละคือความเมตตา เพราะพระองค์มิใช้ทรงเจริญเพื่อ ตนเองเลย แต่เพื่อผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา พระมารดามารียไ์ ด้ชอื่ ว่าเป็น “ศิษย์เอก” ของพระเยซูเจ้า ดังทีพ่ ระองค์ได้ตรัสในพระวรสารเรือ่ ง “พระญาติแท้จริงของ พระเยซูเจ้า” (มก. 3:31-35) เพราะหากเราพิจารณาให้ด ี จะพบว่า พระวาจานีต้ อ้ งการยกย่องพระนางมารียเ์ ป็นบุคคล แรก ด้วยเหตุทวี่ า่ ไม่มใี ครเลยทีจ่ ะปฏิบตั ติ ามพระประสงค์ของ พระเจ้าได้ดีกว่าพระนางอย่างแน่นอน ในที่นี้เราจึงจะมา พิจารณากันถึงชีวติ ของพระนางมารีย์ ผูท้ รงเป็นมนุษย์คนแรก ซึ่งได้เจริญรอยตามองค์พระบุตรพระเจ้าได้อย่างใกล้ชิดที่สุด โดยศึกษาจากสิ่งที่เล่าไว้ในพระคัมภีร์ ในพระวรสารมี เ ล่ า เรื่ อ งราวของพระนางมารี ย ์ ไ ม่ มากนัก แต่ทุกตอนแสดงถึงคุณลักษณะเด่นของพระนาง ในท่ า ที แ ละคุ ณ ธรรมที่ แ ตกต่ า งกั น ไป แต่ เรื่ อ งที่ เ สดงถึ ง “ความเมตตา” ของพระนางต่อบุคคลรอบข้างอย่างเด่นชัด คือเรื่อง “พระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ” (ลก. 1:39-58) และเรือ่ ง“งานสมรสทีห่ มูบ่ า้ นคานา” (ยน. 2:1-12) เรื่อง “พระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ” (ลก. 1:39-58) เล่าถึงเหตุการณ์หลังจากเรือ่ ง “ทูตสวรรค์แจ้ง ข่าวการประสูติของพระเยซูเจ้า” ซึ่งเมื่อพระนางมารีย์ทรง ทราบจากทูตสวรรค์วา่ นางเอลีซาเบธเป็นญาติทชี่ ราแล้วของ
19
พระนางได้ตั้งครรภ์ถึงหกเดือนแล้ว พระนางได้รีบเร่ง ออกเดินทาง ไปยังแคว้นยูเดีย ทีซ่ งึ่ นางเอลีซาเบธอาศัยอยู่ โดยพระนางมิ ไ ด้ คิ ด ถึ ง แต่ ต นเองว่ า ทรงเป็ น ถึ ง พระมารดาพระเจ้ า และได้ ตั้ ง ครรภ์ เช่ น เดี ย วกั น พระนางจึงมีเหตุผลอันสมควรทุกประการทีจ่ ะอยูท่ บี่ า้ น และไม่ควรจะเดินทางไกลเพราะอาจกระทบกระเทือน ต่อสุขภาพของพระนางและพระกุมารได้ แต่พระนาง กลับเป็นห่วงและใส่ใจถึงความยากล�ำบากของนาง เอลีซาเบธมากกว่าตนเอง จึงทรงรีบออกเดินทางไป ซึง่ หากเราดูจากแผนที่แล้วจะพบว่า เมืองนาซาเร็ธและ แคว้นยูเดียนั้นห่างไกลกันมาก เฉพาะอย่างยิ่งส�ำหรับ ในสมั ย นั้ น ที่ ต ้ อ งเดิ น ทางด้ ว ยการขี่ ม ้ า หรื อ ลาเป็ น พาหนะ ซึ่งแน่นอนว่า พระนางมารีย์คงจะไม่เลือกขี่ม้า ซึ่งสามารถวิ่งไปได้อย่างรวดเร็วแต่พระนางคงได้เลือก สัตว์ที่เดินทางได้ไม่รวดเร็วมากนัก
จุดประสงค์ทพี่ ระนางมารียไ์ ปเยีย่ มนางเอลีซาเบธไม่นา่ จะ ใช่การไปตรวจเช็คดูวา่ ค�ำของทูตสวรรค์นนั้ เป็นจริงหรือไม่ แต่ในพระวรสารเล่าว่า พระนางได้อยู่กับนางเอลีซาเบธ เป็นเวลาสามเดือนจึงกลับบ้าน นัน่ หมายความว่า เป็นช่วง เวลาสามเดือนสุดท้ายก่อนที่นางเอลีซาเบ็ธจะคลอดบุตร ซึ่งด้วยความชราและเป็นช่วงที่ล�ำบากที่สุดของระยะตั้ง ครรภ์ นางจึงต้องการความช่วยเหลือจากใครบางคนอย่าง แน่นอน ด้วยพระทัยแห่งความเมตตาพระนางมารียไ์ ด้ทรง เข้าใจในสถานการณ์นี้ และด้วยพระทัยที่เปี่ยมล้นด้วย “ความรักและความเมตตา” อีกเช่นกัน จึงได้ทรงตัดสิน ใจออกเดินทางไปโดยไม่ตอ้ งถามนางเอลีซาเบ็ธว่าต้องการ ความช่วยเหลือหรือไม่ พระนางมิได้ไปที่นั่นเพียงเพื่อ เยี่ยมเยียน เที่ยว คุยและทักทายกัน ให้หายคิดถึงเท่านั้น แต่ตรงข้าม ทรงตั้งใจไปเพื่อช่วยเหลือ รับใช้ ให้บริการใน งานทุกรูปแบบด้วยความสุภาพถ่อมตน เยี่ยงผู้พร้อม ให้ ก ารรั บ ใช้ ซึ่ ง ในสายตาของหลายคนในสมั ย นี้ อ าจ พิ จ ารณาว่ า งานแบบนี้ เป็ น งานที่ ต�่ ำ ต้ อ ย ไร้ เ กี ย รติ ไร้ศักดิ์ศรีก็ได้ งานรับใช้ที่ท�ำด้วยใจรักและเมตตาอย่างที่พระนาง มารีย์ทรงกระท�ำ ย่อมไม่เป็นดังที่กล่าวมานั้น เพราะ พระนางเข้าใจในคุณค่าของความรักและความเมตตา พระนางจึงทรงปฏิบตั ติ นให้การรับใช้ดว้ ยพระทัยอันสูงส่ง พระนางทรงเข้าใจดีว่า ทุกสิ่งที่ท�ำด้วยความรักต่อเพื่อน พีน่ อ้ งก็เท่ากับเป็นการมอบถวายความเสียสละนัน้ แด่องค์ พระเจ้าเอง ดังนัน้ เมือ่ ท�ำด้วยใจรักแล้ว สิง่ ทีแ่ สดงออกมา ย่อมกลายเป็นความเมตตาต่อเพื่อนพี่น้องด้วยคุณค่าที่ สูงส่งยิ่ง และแม้จะต้องท�ำด้วยความยากล�ำบากหรือ เสี ย สละเพี ย งใด ก็ ท� ำ ให้ ไ ด้ ด ้ ว ยความยิ น ดี เพราะท� ำ ออกมาจากใจที่ ไ ม่ ห วั ง ผลตอบแทน แต่ เ ป็ น ความรั ก ความเมตตาที่ให้เปล่าแบบ “ฟรี ๆ” เพื่อเห็นแก่ความรัก ต่อพระเจ้าและเพื่อนพี่น้อง เรื่อง “งานสมรสที่หมู่บ้านคานา” (ยน. 2:1-12) เป็นอีกเรือ่ งเล่าหนึง่ ทีแ่ สดงให้เห็นถึงความรัก ความเมตตา
ที่แสดงออกมาในรูปแบบของการรู้จักสังเกต ระแวดระวัง ต่อความเป็นไปของบุคคลและเหตุการณ์รอบข้าง ด้วยไหว พริบและใจอันละเอียดอ่อน พระวรสารได้เล่าว่า พระนาง มารีย์ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานวิวาห์นี้ โดยพระเยซูเจ้า และบรรดาศิษย์ของพระองค์กไ็ ด้เสด็จไปด้วยเช่นกัน นอก นั้นยังมีแขกเหรื่ออีกมากมายที่ก�ำลังเลี้ยงฉลองกันอย่าง สนุกสนาน ในขณะที่ทุกอย่างก�ำลังด�ำเนินไปด้วยดีตาม ปกติ พระนางมารีย์ทรงรับรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น นั่นคือ เหล้าองุ่นที่ใช้เลี้ยงแขกหมด พระนางมิได้ทรงโวยวาย และ “ส่ง” เรื่องนี้ไปยังเจ้าภาพแล้วก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ ของเขาในการแก้ปัญหา ซึ่งหากพระนางจะทรงท�ำเช่นนี ้ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ผิ ด อะไร เพราะนั่ น เป็ น เรื่ อ งที่ เจ้ า ภาพจะต้ อ ง รับผิดชอบโดยตรง แต่ดว้ ยจิตและใจทีเ่ มตตา พระนางทรง ทราบดี ว ่ า การแก้ ป ั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น นั้ น จะต้ อ งรวดเร็ ว และไม่ใช่เรื่องที่ง่าย พระนางจึงทรง “รับธุระ” ไว้ดั่งว่า นั่นเป็นปัญหาของพระนางเอง โดยทรงขอให้พระเยซูเจ้า พระบุ ต รของพระนางเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยแก้ ป ั ญ หาเรื่ อ งนี้ แม้ พระเยซูเจ้าได้ทรงตอบกับพระนางว่า “...เวลาของเรายัง มาไม่ถงึ ...” (ยน. 2:4) แต่พระนางก็ทรงมัน่ ใจว่า พระบุตร ซึ่งทรงมีพระทัยเมตตายิ่งกว่าพระนางมากมายนัก จะไม่ ทรงปฏิเสธที่จะช่วยแก้ปัญหานี้อย่างแน่นอน เรื่องก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ พระเยซูเจ้าได้ทรงช่วยแก้ ปัญหา “เหล้าองุน่ หมด” ด้วยวิธที ธี่ รรมดาทีส่ ดุ คือการให้ คนรับใช้ตักน�้ำใส่ในโอ่งหินหกใบ แล้วก็ให้พวกเขาตักน�้ำ นั้ น ไปให้ ผู ้ จั ด การที่ จั ด งานเลี้ ย ง แต่ น ่ า สั ง เกตสิ่ ง ที่ ไ ม่ ธรรมดาคือ พระเยซูเจ้ามิได้ให้คนรับใช้ตักน�้ำไปใส่ในโอ่ง หรือไหทีใ่ ช้บรรจุเหล้า แต่ให้ใส่ในโอ่งหิน ทีบ่ รรจุนำ�้ เพือ่ ใช้ ช�ำระแทน หากเราอ่านเรื่องราวนี้ต่อไปจะสังเกตพบว่า อัศจรรย์การเปลี่ยนน�้ำให้เป็น เหล้าองุ่นนี้ ทั้งเจ้าบ่าว และผู้จัดการของเรื่องอาจไม่ได้รู้ตัวด้วยซ�้ำว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะเรื่องได้เล่าต่อไปว่าสิ่งที่พวกเขาได้ท�ำก็คือเพียงแค่ “ชิมเหล้าองุ่น” และได้รู้ตัวว่าเหล้าองุ่น “ชนิดหลัง” นี้ มีคุณภาพดีกว่า “ชนิดแรก” เท่านั้น เพราะเรื่องนี้ได้
20
จบลงด้วยค�ำพูดของผู้จัดงานเลี้ยงที่กล่าวแก่เจ้าบ่าวว่า “...ใคร ๆ เขาน�ำเหล้าองุ่นอย่างดีมาให้ก่อน เมื่อบรรดา แขกดื่มมากแล้วจึงน�ำเหล้าองุ่นอย่างรองมาให้ แต่ท่าน เก็บเหล้าอย่างดีไว้จนถึงบัดนี้” (ยน. 2:10) แต่ทั้งสองคน อาจมิ ไ ด้ สงสั ย เลยว่า ท�ำไมจึง เป็นเช่นนั้น ยิ่งกว่านั้น พวกเขาอาจไม่ทนั รูด้ ว้ ยซ�ำ้ ว่า ได้เกิดปัญหาอะไรขึน้ อีกทัง้ คงไม่ได้ระแคะระคายเลยว่า ผู้ใดอยู่เบื้องหลัง การแก้ ปัญหานั้นและได้แก้ไขปัญหานั้นด้วยวิธีใด เหตุการณ์ทั้งปวงในเรื่องนี้ มีพระเยซูเจ้าทรงเป็น ศู น ย์ ก ลาง แต่ มี พ ระนางมารี ย ์ ท รงเป็ น “ต้ น เรื่ อ ง” พระนางมิได้ทรงกระท�ำไปเพื่อ “กู้หน้า” ของเจ้าภาพ เท่านั้น แต่ทรงทราบดีถึงพระพันธกิจขององค์พระบุตร และการท�ำให้พระพันธกิจนั้นส�ำเร็จไป อีกทั้งเรื่องนี้ยัง แสดงให้เราเข้าใจด้วยว่า พระบุตร จะไม่ทรงปฏิเสธในสิ่ง ที่พระมารดาของพระองค์ทรงพิจารณาว่าเหมาะสม ซึ่งก็ แน่ น อนว่ า พระมารดามารี ย ์ จ ะไม่ ท รงกระท� ำ สิ่ ง ใดที่ ไม่สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้า และทุกสิง่ ทีท่ รง กระท�ำก็ลว้ นแต่มจี ดุ ประสงค์เพือ่ แสดงความรักต่อพระเจ้า และต่อมนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบุตรของพระนางเท่านั้น ที่เมืองคานานี้ จึงได้เกิดอัศจรรย์ครั้งแรกของพระเยซูเจ้า โดยที่ พ ระมารดามารี ย ์ ไ ด้ ท รงเป็ น ผู ้ มี บ ทบาทและมี ส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด เราจะเห็นได้ว่า พระวรสารทั้งสองตอนนี้ ได้แสดง ให้เราเห็นถึงดวงพระทัยที่เปี่ยมล้นด้วยความเมตตาของ พระนางมารีย์ ซึ่งท่วมท้นมาจากความรักอันยิ่งใหญ่ที่ พระนางทรงมีต่อพระเจ้าและต่อเหล่าบุตรของพระนาง นั่นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตลอดชีวิตของพระนาง ล้ ว นแสดงถึ ง ความรั ก และความเมตตานี้ อ ยู ่ ใ น ทุกเหตุการณ์ เพราะพระนางทรงเจริญชีวติ อย่างสอดคล้อง กับ ค� ำ ตอบรั บ ที่ พ ระนางให้แ ก่ทูต สวรรค์อยู่เ สมอด้วย ประโยคทีว่ า่ “ข้าพเจ้าเป็นผูร้ บั ใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็น ไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (ลก. 1:38) ซึง่ เมือ่
21
เราได้ศึกษาพระวรสารอย่างดีแล้วจะพบว่า การเป็น “ผู้รับใช้” ของพระนางนั้นล้วนเป็นไปเพื่อเป็นเครื่องมือ หรือสื่อกลางที่แสดงถึง “พระเมตตา” ของพระเจ้านั่นเอง
เราแต่ละคนที่เป็นลูกของพระมารดามารีย์จึงต้อง เป็นดัง “ลูกไม้ใกล้ต้น” อาศัยการเจริญชีวิตในความรัก และความเมตตาต่อเพือ่ นพีน่ อ้ ง ด้วยกิจเมตตาทัง้ ฝ่ายกาย และฝ่ายจิตใจ เพื่อเป็น “เครื่องมือ” ที่สื่อให้ทุกคนรอบ ข้างได้สัมผัสถึงความเมตตาและพระทัยรักอันยิ่งใหญ่ไม่มี ขอบเขตของพระเจ้าตามแบบฉบับของพระมารดา
วันวาน.... เมือ่ กล่าวถึง “วันวาน” ดูเหมือนว่าเป็นช่วงเวลา หนึ่งหรือเหตุการณ์หนึ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีต มีอะไร บางอย่างที่แอบแฝงอยู่ หรือซุกซ่อนอยู่ อาจมีทั้ง ความทรงจ�ำที่น่าประทับใจ หรืออาจเป็นความผิดหวัง ความขมขืน่ ทีอ่ ยากลบให้เลือนหายไปจากความทรงจ�ำ อั น น้ อ ยนิ ด ของเราแต่ ค อลั ม น์ “วั น วาน” ในที่ นี้ เราอยากจะแบ่งปันสิง่ ทีด่ ี ๆ ในอดีตโดยมองในมุมมอง ของแง่มุมต่าง ๆ ของผู้ตั้งคณะซาเลเซียนของเรา นั่นคือคุณพ่อบอสโก (1815-1888) และผู้ร่วมตั้งคณะ ธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ นักบุญมาเรีย โดเมนิกา มัสซาแรลโล หรือทีเ่ รารูจ้ กั กันในสมญานามว่า “มาเดอร์มสั ซาแรลโล” (1837-18881) “วันวาน” ฉบับนีเ้ ป็นบทความทีต่ พี มิ พ์เป็นครัง้ แรก จึงขอน�ำเสนอจุดประสงค์หลักส�ำคัญ ๆ ของการจารึกความ ทรงจ�ำทางด้านประวัติศาสตร์ หรือท�ำไมเราจึงท�ำการศึกษาย้อนรอยประวัติศาสตร์ซาเลเซียน ความเป็นมาของคณะ ของเรา ซึ่งจุดประสงค์หลักใหญ่ ๆ ก็คือ 1. เพื่อมองเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในช่วงเวลาปัจจุบัน การศึกษาเรื่องราวในอดีต มิใช่เพื่อมุ่งสู่อนาคตเท่านั้น แต่เพื่อเข้าใจสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันด้วย จริงแล้วดูเหมือนว่า แทบจะไม่มีความสอดคล้องกันเลยระหว่างยุคสมัยที่แตกต่างกัน ระหว่างตัวบุคคลและเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การค้นหาหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ เป็นการค้นพบเครือข่ายความสัมพันธ์ และคุณค่าเฉพาะบุคคล ของหมู่คณะหนึ่ง ๆ หรือกลุ่มบุคคล การที่บุคคลหนึ่งอยากจะศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคปัจจุบันนี้เท่านั้น อาจจะสื่อ ความหมายว่า ไม่ได้เข้าใจสภาพยุคปัจจุบันเลย มิหน�ำซ�้ำยังขาดความเข้าใจในรากเหง้าในอดีต ท่าทีต่าง ๆ ที่ต่อเนื่อง กันมา รวมถึงท่าทีใหม่ ๆ ด้วย 2. เพื่อช่วยให้เห็นมุมมองในอนาคตที่คาดการณ์ไว้ การศึกษาเรือ่ งราวในอดีต เป็นการน�ำเสนอข้อมูลพืน้ ฐานทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ ทีจ่ ะมุง่ ไปสูอ่ นาคตข้างหน้าและมีแนวโน้ม ที่จะบรรลุผลส�ำเร็จนั้น ดังนั้น เรื่องราวเฉพาะเจาะจงนี้ ต้องได้รับการปกป้องไว้ด้วยความเคารพและซื่อสัตย์ ไม่เพียง แต่การซ�้ำเนื้อหาไปมา หรือเรียงล�ำดับเหตุการณ์ก่อน-หลัง แต่เพื่อพบว่าเรื่องราวในอดีตคือความมั่งคั่ง และคุณค่าของ ชีวิตซาเลเซียน เพราะแสดงถึง พระพรพิเศษที่ยังคงมองเห็นได้จริงในปัจจุบัน
22
3. เพื่อใช้ในการวิพากษ์ เรื่องราวในอดีต ช่วยให้เรารับทั้งความซับซ้อนแห่งความเป็นจริงของมนุษย์ และความยุ่งยากที่จะให้ค�ำตอบ ที่น่าพึงพอใจกับค�ำถามต่าง ๆ มากมายในแต่ละยุคแต่ละสมัย การค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ต้องอาศัยความรอบคอบ ค�ำนึงถึงข้อจ�ำกัดต่าง ๆ และผลต่าง ๆ ที่จะตามมา
4. เพื่อใช้เป็นแนวทางให้รู้จักและช่วยให้เกิดความเข้าใจตัวบุคคล
การศึกษาประวัตศิ าสตร์ น�ำเราสูก่ ารพบปะบุคคลชาย-หญิงในอดีต ผ่านชีวติ ประจ�ำวัน แนวความคิด ข้อบกพร่อง ความส�ำเร็จของพวกเขา การไตร่ตรองถึงมรดกทางด้านวัฒนธรรม การปกป้องเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ เงื่อนไขด้านการเป็นมนุษย์ ก็สามารถท�ำให้เกิดความเข้าใจตัวบุคคลและความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีค�ำพูดหนึ่งกล่าวว่า เรื่องราวในอดีตช่วยเราให้เราเห็นการอบรม ซึ่งต่อต้านอารยธรรมของความรีบเร่ง การให้เวลากับการศึกษาเรื่องราว ในอดีต เป็นแนวทางการค้นพบความเป็นมนุษย์ที่มีวัฒนธรรม และเพื่ออบรมให้เป็นพลเมืองของประเทศที่มี ความรับผิดชอบ Milena Santerini กล่าวว่า ประวัติศาสตร์เป็นดังพื้นฐานที่สามารถสัมผัสแตะต้องได้กับหลักการ แห่งการเป็นพี่เป็นน้องในระบบสากล การเติมเต็มความรักในประวัตศิ าสตร์ เป็นการหล่อเลีย้ งชีวติ จิตแห่งการเป็น ส่วนหนึง่ ของหมูค่ ณะ เป็นการพัฒนา ความรับผิดชอบ เป็นการอบรมให้มุ่งสู่องค์รวม เพื่อเปิดตนเองออกสู่ผู้อื่น ประวัติศาสตร์ยังสอนถึงความเป็นหนึ่งเดียว และความแตกต่างของบุคคล คุณพ่อ Juan Edmundo Vecchi ในจดหมายเวียนของท่านได้กล่าวไว้ว่า เรื่องราวประวัติศาสตร์ของซาเลเซียน เป็นดังการสื่อประสบการณ์ที่ได้รับการ ไตร่ตรองแล้ว ซึง่ แสดงออกในเอกลักษณ์เฉพาะ สัมผัสได้ ในบริบทและวัฒนธรรม ทีต่ า่ งกัน ในช่วงเวลาปกติธรรมดาและในช่วงเวลาทีม่ เี หตุการณ์พเิ ศษ “คณะของ เราจัดตัง้ สถาบันด้านประวัตศิ าสตร์ของซาเลเซียนขึน้ ซึง่ แสดงถึงความกังวลของ ท่านที่อยากได้รับการตอบรับจากแต่ละแขวง ใครที่ละเลยเหตุการณ์ในอดีตก็ เหมือนการสูญเสียรากเหง้าของตน ปัจจุบนั นีเ้ ราพบว่า คณะซาเลเซียนแผ่ขยาย ไปใน 150 ประเทศในทุกทวีป ซึ่งยังต้องการที่จะมีการเล่าสืบต่อกันมา เราไม่ สามารถท�ำให้มรดกล�้ำค่าของเราสูญหายไป เราต้องคิดถึงคุณค่าที่เป็นของเรา และส�ำหรับสมาชิกในอนาคต ประวัติศาสตร์ที่เราปูพื้นฐานและท�ำให้คณะของเราเติบโตในแต่ละทวีป และในประเทศ ต่าง ๆ ซึง่ มีการรือ้ ฟืน้ กันอยูใ่ น ณ เวลานี้ นัน่ แสดงว่ายังไม่เป็นการเพียงพอทีจ่ ะสร้างเฉพาะตึกหรืออาคาร ถ้าไม่มสี มาชิก ที่ท�ำงานด้วยความร้อนรนและความรักในแต่ละแขวงขอให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่ต้องท�ำการเก็บรักษา ศึกษา ประชาสัมพันธ์ประวัติศาสตร์แขวงของตน เพื่อจะท�ำสิ่งนี้ได้ จ�ำเป็นต้องมีการค้นคว้า ศึกษาวิจัย รวมถึงการให้ความ ส�ำคัญต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ประจ�ำวัน ในการบันทึกเหตุการณ์ของบ้าน (cronaca) และในการรักษาจัดเก็บเอกสารที่มี ความส�ำคัญและความหมายต่อคณะ”
ประวัตศิ าสตร์บง่ บอกถึงการทีเ่ ราต้องมีสว่ นร่วมค้นหาความส�ำคัญ “เรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ ในอดีต” ซึ่งเป็นดังรากฐานของปัจจุบันและผลักดันสู่อนาคต 23
สวัสดี ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในช่วงเวลาของปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรมนี้ ฝ่ายค�ำสอนก็อดไม่ได้ทจี่ ะ แบ่งปันเนื้อหา ข้อมูลเกี่ยวกับปีศักดิ์สิทธิ์ใน 2 หัวข้อ คือ 1) ปฏิทินปีศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมตตาธรรมและ 2) เรื่องอุปมาแห่งพระเมตตาจึงขอเริ่มต้นด้วยก�ำหนด ปฏิทนิ ซึง่ ได้ดำ� เนินการมาแล้วตัง้ แต่วนั ที่ 8 ธันวาคม 2015 วันสมโภชพระนาง มารีย์ผู้ปฎิสนธินิรมล ซึ่งเป็นวันเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ที่มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม มีกิจกรรมที่ฟื้นฟูจิตใจคริสตชนอย่างต่อเนื่อง สม�่ำเสมอ ให้เรามา ติดตามกิจกรรมของพระศาสนจักรในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ดังนี้
1) ปฏิทินปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม โดย สมณสภาเพื่อการประกาศข่าวดีใหม่ วัน/เดือน/ปี
กิจกรรม
เดือนกรกฎาคม 2016 วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม – วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2016
ปีศักดิ์สิทธิ์ส�ำหรับเยาวชน งานเยาวชนโลก ณ เมืองคราคูฟ ประเทศโปแลนด์ (ปิดงานในวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา)
เดือนกันยายน 2016 วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2016 วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2016
วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา ระลึกถึงบุญราศรีเทเรซาแห่งกัลกัดตา (วันที่ 5 กันยายน) ปีศักดิ์สิทธิ์ส�ำหรับผู้ที่ท�ำงานและอาสาสมัครในงานเมตตาธรรม วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา ปีศักดิ์ส�ำหรับครูค�ำสอน
เดือนตุลาคม 2016 วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม - วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2016
วันเสาร์และวันอาทิตย์หลังระลึกถึงแม่พระแห่งลูกประค�ำ ปีศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีอา
เดือนพฤศจิกายน 2016 วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2016 วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2016 วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2016 วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน 2016
สมโภชนักบุญทั้งหลาย พิธีบูชาขอบพระคุณเพื่อระลึกถึงผู้ล่วงลับ โดยพระสันตะปาปาเป็นประธาน วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา ปีศักดิ์สิทธ์ส�ำหรับนักโทษ ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา พิธีปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ของมหาวิหารในกรุงโรม และพิธีปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ของสังฆมณฑลต่าง ๆ ทั่วโลก สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล พิธีปิดประตูศักดิ์สิทธ์ ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร และปิดปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม
24
2. อุปมาแห่งพระเมตตา
ใครที่ได้รับการอภัยมากกว่า ก็จะรักมากกว่า : อุปมาเรื่องลูกหนี้ 2 คน กับเจ้าหนี้ (ลก.7,36-50) ความเมตตาสงสารส�ำหรับคนแปลกหน้า : อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี (ลก.10,25-37) เรื่องแกะที่พลัดหลง และเงินเหรียญที่หายไป (ลก.15,1-10) ความเมตตาที่หาที่สุดมิได้ : อุปมาเรื่องบิดาผู้ใจดี (ลก.15,11-32) สิ่งที่ตรงข้ามกับพระเมตตากรุณา : อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส (ลก.16,19-31) เราจะเปลี่ยนพระทัยของพระเจ้าได้อย่างไร: อุปมาเรื่องผู้พิพากษาที่ไร้เมตตาธรรมและหญิงม่ายผู้รบเร้า (ลก.18,1-8) ใครถูกพระเจ้าตัดสินว่าเป็นผู้ชอบธรรม : อุปมาเรื่องชาวฟาริสีและคนเก็บภาษีในพระวิหาร (ลก.18,9-14)
อุปมาต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถใช้บูรณาการในการสอนศีลธรรมและค�ำสอนได้เสมอ โดยให้นักเรียนได้ท�ำเป็น กิจกรรม ไม่วา่ จะเป็นการแสดงบทบาทสมมติ เกม ละครใบ้ ครัง้ นีฝ้ า่ ยค�ำสอนจะขอน�ำเสนองานศิลปะอันเป็นทีช่ นื่ ชอบ ของทัง้ เด็กเล็กและเด็กโต ท�ำให้เขาได้มเี วลาจินตนาการ ไตร่ตรองพร้อมกับภาพ และยังสามารถน�ำไปแสดงเป็นผลงาน ให้เกิดความภาคภูมิใจ ในสัปดาห์พระคัมภีร์ หรือกิจกรรมวิชาการด้วย
25
26
27
กุลชฎา เลิศวิทยาวิวัฒน์
ชีวิต...กับการเดินทาง...
ถ้าให้คุณผู้อ่านลองจินตนาการว่า ตอนคุณก�ำลัง อยู่ในช่วงวัยรุ่น คุณจะนึกถึงเรื่องอะไรเป็นอันดับแรก?? เชื่อว่าค�ำถามนี้คงไม่ได้ท�ำให้เกิดค�ำตอบที่เหมือนกันจาก ทุก ๆ คน แต่ก็คงไม่ได้ต่างกันมากนัก และถ้าจะให้ฉันหา ค�ำที่บอกถึงความเป็นวัยรุ่น ฉันก็คิดได้เพียง 3 อย่าง นั่นก็คือ “เรื่องกิน เรื่องเที่ยวและเรื่องความรัก” เพิ่งผ่านช่วงของการปิดเทอมไปไม่นาน คงมีคน ไม่น้อยที่ออกเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัว หรือไปเทีย่ วต่างประเทศกับเพือ่ น ๆ ฉันก็เป็นคนหนึง่ ทีร่ กั การเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ ถ้าถามว่า เที่ยวบ่อยขนาดไหน คงต้องตอบว่า “ไม่เคยมีช่วงวันหยุดไหนที่ไม่มีแพลนออก จากบ้านของตัวเอง” และคงไม่แปลกเลยถ้าจะมีความฝัน ว่า ซักวันคงจะได้มีโอกาสใช้เวลาไปเที่ยวรอบโลกกับ ครอบครัว แต่ถ้าถามตอนนี้คงต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ ไว้เก็บเงินเข้ากระปุกไปก่อน
ถ้าคุณชอบการไปเทีย่ วเหมือนฉัน คงเคยได้มโี อกาส อ่าน review ของคนหลาย ๆ คน ที่เคยไปมาก่อนแน่ ๆ มันคงเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้ว่า จะไปหรือไม่ไปดี หรือถ้าไปแล้ว ที่ไหนที่ไม่ควรพลาด ร้านไหน ที่ควรต้อง ลอง หลังจากเป็นผูอ้ า่ นมาหลายครัง้ เลยคันไม้คนั มืออยาก ลองเขียนดูบา้ งแบบย่อ ๆ เผือ่ จะท�ำให้ใครหลายคนทีช่ อบ การเดินทางเลือกไป ลองใช้เวลาในประเทศนีด้ ู ซึง่ หลังจาก นี้ก็ต้องให้คุณลองเดาแล้วหล่ะว่า คนแบบฉันจะอยากไป เที่ยวประเทศอะไรเป็นอันดับแรก ๆ เวลาเปิด facebook ในช่วงนี้ เพื่อน ๆ หลายคนก็ ลงรูปเที่ยวกันใหญ่ คนนี้ไปเที่ยวอเมริกา คนนั้นไปเที่ยว เนเธอร์แลนด์ คนนู้นไปเที่ยวญี่ปุ่น อะไรจะอยู่ไปทั่วทุก ทวีปในโลกขนาดนัน้ ฉันก็เริม่ อิจฉาตาร้อนขึน้ มาบ้าง ท�ำให้ หนีไม่พ้นเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่าน มา ช่วงวันหยุดยาวของเด็กชอบเที่ยวอย่างเรา ก็คงไม่ ปล่อยเวลาผ่านไปแบบฟรี ๆ ฉันกับเพือ่ นอีก 3 คนเริม่ มอง หาทีจ่ ะไปเทีย่ วกัน ความคิดของเราคือคงจะดีไม่นอ้ ยถ้าได้ ไปเหยียบหนึง่ ในเกือบสองร้อยประเทศในโลก หลังจากนัน้ สามวัน เราก็สามารถเลือกถิน่ ทีเ่ ราจะไปจนได้ ถ้าคุณผูอ้ า่ น คนใดเดาไว้ตั้งแต่แรกว่า คงเป็นสักประเทศที่พูดมาก่อน หน้านี้แล้ว คงต้องขอบอกว่า คุณคิดผิดไปนะเนี่ย เพราะ ประเทศที่ไปมาอยู่ใกล้เรามาก ๆ เลยทีเดียวแหละ ชิด ติดขอบกับประเทศเราเลย และถูกต้อง!! นัน่ คือ “ประเทศ เวียดนามนั่นเอง” คุณบางคนอาจสงสัยว่าท�ำไมมีโอกาส ได้เลือกแล้วถึงไปประเทศใกล้ ๆ แบบนี้ ท�ำไมไม่ไปประเทศ ทีโ่ ดดเด่นกว่านีอ้ กี หน่อย อย่างฝัง่ ยุโรปหรืออเมริกา เหตุผล ประการแรกก็ไม่ได้หรูหราอะไรมากมาย นั่นก็เพราะ เรายังมีความหนาของกระเป๋าเงินไม่มากพอ ส่วนเหตุผล ประการ ทีส่ อง ก็คงเพราะว่า นีจ่ ะเป็นครัง้ แรกทีไ่ ด้ออกไป เทีย่ วต่างประเทศ โดยไม่ได้ไปกับครอบครัว เลยต้องสัง่ สม ประสบการณ์ กั น ไปก่ อ น และประการสุ ด ท้ า ย ก็ คื อ “คิดว่าที่อยู่ใกล้ ๆ นี่แหละ มีอะไรดีเยอะแน่ๆ”
28
วันแรกทีเ่ ราไปถึงประเทศเวียดนาม เราทัง้ สีค่ นก็เริม่ โดยแลกเงินจากเงินสกุลบาทไปเป็นเงินดองก่อน หลังจาก นัน้ เราก็เช่ารถแท็กซีจ่ ากสนามบินไปบริษทั รถทัวร์เพือ่ จะ ซื้อตั๋วนั่งไปต่างเมือง ระหว่างทางที่ไป สะดุดตามากกับ ความสามารถในการขับรถของคนในประเทศนี้ ถ้าคนทีเ่ พิง่ มาครั้งแรกอย่างเรา ก็ต้องคิดในใจว่า “โอ้โห!! อะไรจะ วุ่นวายมากมายขนาดนี้เนี่ย” ถ้ า คิ ด ว่ า ในเมื อ งหลวงของประเทศเราอย่ า ง กรุงเทพมหานครวุน่ วายแล้วนะ ของทีเ่ วียดนามนีห่ นักกว่า เยอะเลยค่ะ ทีน่ ไี่ ม่มใี ครยอมใครเลยจริง ๆ ถ้าจะพูดให้เห็น ภาพมากขึ้นไปอีก ก็ให้ลองคิดว่าถ้าคุณเห็นรถชนกันที่นี่ ก็คงมองไม่ค่อยออกว่าคันไหนผิดกันแน่ อ่านไปอ่านมา ก็คงคิดว่า “เอ๊ะ ตกลงที่นี่น่ามาเที่ยวจริง ๆ เหรอเนี่ย ก็ ไหนบอกว่าเมืองนี้มีแต่ความวุ่นวายไปหมด” มันไม่ได้จบ แค่นี้หน่ะสิ คุณรู้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่นักท่องเที่ยวพูดเล่า ต่อ ๆ กัน และเป็นเหมือนความเป็นตัวตนของเมืองนีไ้ ปซะ แล้ว จนถึงขนาดว่า มีนักท่องเที่ยวหลายคนที่หาร้านเช่า รถจักรยานยนต์มาลองขับกันเอง และมากไปกว่านัน้ ผูค้ น มากมายก็พยายามหามุมดี ๆ เพือ่ เก็บภาพ ความสวยงาม ของแสงไฟบนท้องถนนยามค�่ำคืนไว้เป็นภาพประทับใจ หลังจากการเฝ้าสังเกตการณ์เรื่องราวบนท้องถนน ระหว่ า งการนั่ งรถ ความท้าทายของเราก็เ พิ่มมากขึ้น เรือ่ ย ๆ สิง่ ทีต่ อ้ งเริม่ ต้นท�ำความคุน้ เคยด้วยอย่างมากก็คอื การสือ่ สาร ผูค้ นประเทศนีส้ อื่ สารกันโดยใช้ภาษาเวียดนาม และภาษาอังกฤษกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเราก็พอมีความ
29
สามารถที่จะสื่อสารภาษาที่สอง อย่างภาษาอังกฤษพอรู้ เรือ่ งอยูบ่ า้ ง แต่กไ็ ม่ใช่ทกุ คนทีน่ จี่ ะฟังภาษาอังกฤษได้เข้าใจ จึงท�ำให้เกิดภาษาทีส่ ามขึน้ มาอย่างไม่มขี อ้ ยกเว้น นัน่ ก็คอื “ภาษามือ” คุณผู้อ่านต้องแอบข�ำกันในใจแน่ ๆ แต่ของ แบบนีช้ ว่ ยชีวติ ได้จริง ๆ นะคะ ยิง่ ถ้าคุณอยากลองชิมขนม ทีม่ คี ณ ุ ป้านัง่ ท�ำขายอยูต่ ามทางเดินทีค่ ณ ุ เดินผ่านแล้วเนีย่ คุ ณ ยิ่ ง ต้ อ งใช้ นิ้ ว มื อ ของคุ ณ ชู เ ป็ น ตั ว เลขสื่ อ สารกั น ไป ไม่ อ ย่ า งนั้ น คงต้ อ งอดกิ น เป็ น แน่ ถึ ง แม้ จ ะดู ล� ำ บาก นิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้มีผลกระทบที่ท�ำให้ความสนุกในการ เที่ยวครั้งนี้น้อยลงเลยแม้แต่นิดเดียว การไปเทีย่ วเวียดนามในครัง้ นีข้ องพวกเรา เนือ่ งจาก เป็นการ backpack กันไปเอง ก็เลยต้องมีการวางแผน ล่วงหน้าเป็นตารางคร่าว ๆ เอาไว้ดูว่า วันไหนเราจะไป ทีไ่ หนกันบ้าง และเพือ่ ให้ครบตามสถานทีห่ ลัก ๆ ทีเ่ ราควร จะไปดูให้เห็นกับตา ดังนั้นเราก็ได้เตรียมซื้อทริปส�ำหรับ เมืองต่าง ๆ ไปเป็นที่เรียบร้อย เวลาที่นอกเหนือจากนั้น ถูกใช้ไปกับเรือ่ งการแวะซือ้ ของกินทีร่ า้ นนี้ นัง่ กินทีร่ า้ นนัน้ ยิ่งถ้าเป็นถนนคนเดินที่มีร้านขายของกินเต็มไปหมดนะ ยิ่งไม่มีทางพลาดเลยทีเดียว และที่ขาดไม่ได้ส�ำหรับทริป ของเด็กวัยรุน่ อย่างเรา นัน่ คือ กล้องถ่ายรูปนัน่ เอง เพือ่ การ เที่ยวอย่างสบายใจว่า เราจะมีรูปกลับไปอวดคนที่บ้าน และเหมือนเป็นของที่ระลึก ซึ่งต่อให้ภาพนั้นจะอยู่บน โปสเตอร์ทขี่ ายอยูท่ ั่วไป ก็คงไม่ถูกใจเท่าภาพทีเ่ ราเป็นคน ถ่ายด้วยตัวเอง ฉันได้บอกเล่าถึงการเดินทางสี่วันสามคืนในการ ทดลองใช้ชีวิต ณ ทางตอนใต้ของประเทศเพื่อนบ้านของ เรา การเดินทางในครั้งนี้ เต็มไปด้วยความประทับใจ มากมาย ตั้งแต่ผู้คนที่อาศัยที่นั่น อัธยาศัยที่ดี รอยยิ้ม อาหารที่ แ ปลกใหม่ ที่ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ วิ ว ทิ ว ทั ศ น์ ที่ สวยงาม และอื่น ๆ อีกมากมาย มากจนกระทั่งสร้างความ รู้สึกที่คิดว่า “ถ้ามีโอกาสก็อยากกลับไปที่นั่นอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็คงอีกนานเลย”
เมื่อพูดย้อนไปถึงความทรงจ�ำที่เยี่ยมยอดครั้งหนึ่ง แล้ว ก็ท�ำให้นึกถึงการเดินทางของชีวิต ในความเป็นจริง คงจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาเริ่มต้นของการลืมตาดูโลก เราก็ เริม่ เดินทางเข้าสูค่ วามเป็นครอบครัว ผ่านไปไม่กปี่ ี เมือ่ เรา สามารถเดินได้ดว้ ยตนเอง เราก็เริม่ ก้าวเข้าสูส่ งั คมเพือ่ นใน โรงเรียน จบออกจากโรงเรียนก้าวเข้าสูค่ วามเป็นนักศึกษา ในมหาวิทยาลัย เริม่ ท�ำความรูจ้ กั กับคนอืน่ มากยิง่ ขึน้ หลัง จากนั้นเราเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่ เริ่มต้นท�ำงาน และเริ่มต้น การมีครอบครัวใหม่ ถ้าคุณลองคิดดี ๆ “ชีวติ ก็เหมือนการ เดินทาง” ยิง่ เวลาผ่านไปมากเท่าไร เราก็ยงิ่ เดินออกไปไกล เรื่อย ๆ เหมือนวันแรกในชีวิตที่คุณได้สัมผัสกับค�ำว่า ท่องเที่ยว คุณอาจจะไปแค่หน้าปากซอยบ้าน แต่อีกวัน
คุณอาจจะได้ไปต่างจังหวัด หรือต่อมาคุณมีโอกาสเดินทาง ไปต่างประเทศ และหลังจากนั้นอีกไม่กี่ปี คุณอาจได้เดิน ทางไปใช้ชีวิตในประเทศที่อยู่คนละซีกโลก และชีวิตของ คุณก็ยังคงเดินต่อไปเรื่อย ๆ สิ่งที่อยากจะบอกคือ ชีวิตของหลายคนก้าวเดินไป ไกลมาก ประสบความส�ำเร็จทั้งการเรียน หน้าที่ การงาน มีเพือ่ นเยอะแยะมากมาย เป็นทีเ่ คารพนับถือของผูค้ นมาก หน้าหลายตา แต่ยงิ่ เราเดินออกไปไกล มากขึน้ ก็ยงิ่ หลงลืม บุคคลทีอ่ ยูร่ อบข้างไป ละเลยทีจ่ ะใส่ใจพวกเขา หรือถ้าพูด ง่าย ๆ ก็คงจะเป็นค�ำถามทีว่ า่ “เราเคยลืมหันกลับไปมอง คนในครอบครัวบ้างหรือเปล่า?”
บทความบทนี้ เริ่มมาจากความคิดของเด็กคนหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ชีวิตต่างจากเด็กวัยรุ่นทั่วไป แต่มีความคิด อยากให้ความส�ำคัญของ “ครอบครัว” ไม่ใช่แค่เพียงการเจอและทักทาย แต่หมายถึง การได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน แล้วจะรู้ว่า แม้เราคิดว่าสิ่งรอบตัวเราจะส�ำคัญมากขนาดไหน ก็ไม่ส�ำคัญเท่าครอบครัวเล็ก ๆ ที่เรามี ดังนั้น ถ้าวันนี้คุณจะให้เวลากับครอบครัวมากกว่า ทุก ๆ วัน ก็คงเป็นวันที่ดีไม่น้อยเลย และสุดท้าย จะขอจบบทความนีด้ ว้ ยประโยคซึง่ ตอนนีอ้ าจจะเป็นเพียงความปรารถนาของคนหนึง่ คน แต่ ก็หวังว่า จะมีหลาย ๆ คนที่คิดเหมือนกัน “ถ้าคุณเป็นวัยรุ่น ไม่อยากให้คุณนึกถึงแค่เรื่องกิน เรื่องเที่ยว และเรือ่ งความรัก แต่อยากให้นกึ ถึงค�ำว่า ครอบครัว ไม่ใช่แค่ครอบครัวทีอ่ าจจะมีในอนาคต แต่เป็นครอบครัว ที่สร้างคุณในปัจจุบัน”
30
รู้ใช้ ไอที ชีวีจะเป็นสุข อ.ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ n.padtheera@gmail.com
วินาทีนี้ เด็ก ๆ หลายคนก�ำลังติดตามไล่ล่าเพื่อ ค้นหาและจับโปเกม่อนอยู่หรือเปล่าคะ ใครไม่รู้จักเกมโปเกม่อนอาจถูกมองและตั้งค�ำถาม ว่า “ไปอยู่ในกะลาไหนมา” แต่ผู้เขียนขอสารภาพเลยว่า ไม่รู้จักเกมดังกล่าว จนกระทั่งไม่กี่วันมานี้ที่ถูกนักศึกษา วิ่งตัดหน้าไปเพื่อจะเก็บโปเกม่อน จึงได้มาค้นหาดูว่า เกมดังกล่าวเป็นอย่างไร ยิ่งมีข่าวออกมาว่า ผู้เล่นเกม ถูกรถชนบ้าง ตกน�้ำบ้าง ในต่างประเทศพ่อแม่ มัวแต่เล่น เกมอยู่ ปล่อยลูกตามล�ำพังจนพ่อแม่ถูกต�ำรวจจับบ้าง ยิง่ ตระหนักถึงพิษภัยของการใช้ไอทีแบบไม่รเู้ ท่าทันจนเป็น อันตรายถึงชีวิต ปรากฏการณ์ข้างต้น ท�ำให้หวนระลึกถึงเมื่อต้น เดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมา ผูเ้ ขียนไปศึกษาดูงาน ในโรงเรียน ประถมแห่งหนึ่งในเมืองเมลเบิร์น รัฐวิคตอเรีย ประเทศ ออสเตรเลีย โรงเรียนที่ไปศึกษานี้เป็นโรงเรียนประถมเล็ก ๆ มีนกั เรียนราว 300 คน แต่มคี วามพิเศษคือ โรงเรียนแห่ง นี้ เ ป็ น โรงเรี ย นที่ มี ชื่ อ เสี ย งด้ า นการเรี ย นการสอนเรื่ อ ง เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ก้าวล�้ำน�ำสมัยมาก ๆ ขนาดที่ว่าเด็ก ประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถผลิตหุ่นยนต์บังคับวิทยุไป ประกวดชนะได้รางวัลระดับโลก เด็กประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถเนรมิตให้ห้องเรียนโล่ง ๆ ว่าง ๆ กลายเป็นห้อง 3D หรือสามมิติ ที่มีปลาโลมากระโดดขึ้นกลางห้องจนน�้ำ กระจายท�ำให้พวกเราหลายคนที่อยู่ในที่นั้นหลงกลคิดว่า เป็นของจริงกระโดดหลบเพราะกลัวน�้ำกระเซ็นมาเปียก เป็นทีข่ บขันของเด็ก ๆ กันยกใหญ่ทเี ดียว ยิง่ กว่านัน้ เด็ก ๆ หลายคนที่ไปประกวดแข่งขันทางด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ 31
สามารถสร้างรายได้จากเงินรางวัลและมีชอื่ เสียงเป็นทีร่ จู้ กั ทั่วไปด้วย แต่ที่น่าแปลกใจมากคือ ในโรงเรียนซึ่งเด็กๆ มีความสามารถทางเทคโนโลยีชนั้ สูงขนาดนัน้ กลับไม่เห็น เด็ก ๆ ใช้โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน หรือ แท็ปเล็ตใน โรงเรี ย นเลย เมื่ อ ถึ ง เวลากริ่ ง หมดเวลาในแต่ ล ะคาบ เด็ก ๆ สนุกที่จะวิ่งไปเล่นในสนามกีฬาโล่งกว้างซึ่งไม่มี รถยนต์ของครูมาจอดขวาง บ้างก็วิ่งไปเล่นที่มุมปิ้งย่าง ซึ่งมีเตาขนาดใหญ่ใช้ได้จริงเพราะบรรดาผู้ปกครองเข้ามา ช่วยกันท�ำขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ บ้างก็เล่นในมุมปลูกต้นไม้ ใบหญ้า เรียกว่าไม่มใี ครคว้าแท็ปเล็ตหรือสมาร์ทโฟนมาให้ เห็นเลยสักคน นีห่ มายรวมถึงคุณครูดว้ ย ในขณะทีโ่ รงเรียน ในสังคมไทยครูและบุคลากรในโรงเรียนจ�ำนวนมากต่างบ่น ปวดหัวกับเรื่องการใช้ไอทีของเด็ก ๆ ชนิดที่ติดงอมแงม ยิ่งกว่าติดยาเสพติดเสียอีก ท�ำไมเป็นเช่นนั้น? ย้อนกลับมาทีเ่ กมโปเกม่อนทีก่ ำ� ลังแพร่ระบาดไปทัว่ กระทัง่ มีคนท�ำภาพล้อเลียนขึน้ มาว่า มนุษย์กำ� ลังตกอยูใ่ ต้ การควบคุมของโปเกม่อนเสียแล้ว ผู้เขียนคิดว่ามนุษย์ใน สังคมเราไม่เพียงแต่เป็นทาสโปเกม่อนเท่านั้น แต่ยังเป็น ทาสไลน์ เฟสบุ๊ค และสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ อีกมากมาย ทีเดียว ค�ำถามที่อาจจะน่าสนใจและเชิญชวนผู้อ่านมาลอง คิดตามดูวา่ เราจะไม่ตกเป็นทาสของ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (Information Technology, IT) ได้อย่างไร คงมีคนชวนคิดกันมากแล้วแต่กย็ งั ไม่เห็นว่าจะแก้ไขปัญหา ได้ ผู้เขียนเห็นว่า มาลองทบทวนกันอีกสักครั้งดีไหมว่า ต้นทุน ที่ต้องเสียไปจากการใช้ไอทีแบบไม่รู้เท่าทันมี อะไรบ้าง ยกตัวอย่างติดโปเกม่อนแล้วกัน ใครทีค่ ดิ จะเล่น เกมนี้ต้องมีสมาร์ทโฟนที่มีอินเทอร์เน็ตที่แรงเพียงพอต่อ การจะใช้กบั โปรแกรมจีพเี อสใช่ไหมคะ ค�ำถามทีต่ ามมาคือ ค่าบริการอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการอยู่ในบ้านเรา ไม่ว่าจะ กี่จีก็ตาม ต่างก็มีราคาที่ต้องจ่าย ลองมาค�ำนวณราคาไป ด้วยกันดีกว่า
1. สมาร์ทโฟนราคาถูก ๆ หนึ่งเครื่อง ประมาณ 2. ค่าเปิดบริการหมายเลขโทรศัพท์ 3. ค่าบริการอินเทอร์เน็ต 4G รายเดือน รวมต้นทุนเบื้องต้น
ราคาข้างต้นคือ ส่วนเดียวเท่านั้น เพราะทุกเดือน ต้องมีคา่ ใช้จา่ ยประจ�ำคือ ค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือน นอกจากนี้ ต้ น ทุ น ที่ ป ระมาณค่ า มิ ไ ด้ คื อ ต้ น ทุ น เวลา สุขภาพ และความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในครอบครัว ค�ำถามทีต่ อ้ งคิดมาก ๆ คือ ใครเป็นคนหาเงิน ใครเป็นคน ได้เงิน (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ใช่ไหม เขาคิดค่าใช้จ่าย อย่างไร ใช้ไปไม่เท่าไรก็ขึ้นข้อความว่า “ขณะนี้คุณได้ใช้ 4G ไปแล้วเท่านี้เท่านั้น หากต้องการใช้งานต่ออย่างมี ประสิทธิภาพต้องซื้อ ต้องจ่ายเท่านั้น เท่านี้ใช่ไหม ใครจะ ตรวจสอบได้บา้ งว่าเราใช้ไปเท่านัน้ จริง ๆ หรือไม่) ใครเป็น คนจ่าย และหากค�ำตอบคือ คุณพ่อคุณแม่ ต้องถามต่อไป ว่า มีรายจ่ายทีจ่ ำ� เป็นอืน่ ๆ ทีค่ ณ ุ พ่อคุณแม่ตอ้ งจ่ายอีกไหม เช่น ค่าเทอม ค่าอาหาร ค่าขนม ค่าเดินทาง ไปท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายยามเจ็บไข้ได้ป่วย ค่าใช้จ่ายอีกสารพัด แล้ว ค�ำถามที่ต้องชวนคิดคือ คุณพ่อคุณแม่เหนื่อยไหมกับการ ต้องหาเงินมาใช้จ่ายสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ไปอีกขั้นหนึ่ง นอกเหนือจากต้นทุนที่เป็นเงินตรา มาดูท่ีต้นทุนเวลาก่อนแล้วกัน เมื่อใช้ไอทีจนติดนั่นหมาย ถึงว่า เวลาที่จะท�ำอย่างอื่น คิดอย่างอื่น เรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาชีวิต ย่อมหมดไป และเวลา เหล่านี้ย้อนคืนไม่ได้ ซื้อขายก็ไม่ได้ โดยเฉพาะเวลาแห่ง ชีวิต อย่างกรณีของคนที่เล่นโปเกม่อนจนถูกรถชนตาย หรือคนที่ตามเก็บโปเกม่อนจนตกน�้ำทั้งคนทั้งโทรศัพท์ มือถือ ต้นทุนสุขภาพก็มงี านวิจยั จ�ำนวนมากทีช่ ใี้ ห้เห็นโทษ ของการเสพติดไอที ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรืออะไร ก็ตามพบว่า คนที่เสพติดอยู่กับหน้าจอจะมีปัญหาเรื่อง การมองเห็นเป็นอันดับแรก ทั้งแสงที่ท�ำลายแก้วตา เลนส์ และจอประสาทตาจากการเพ่งนาน ๆ บางรายก็สายตาสัน้ บางรายก็ปวดศีรษะบ่อย ๆ เพราะสมองส่วนหน้าถูกท�ำลาย เรียนรู้ช้า ขาดทักษะชีวิตในด้านอื่น ๆ
8,000 บาท 199 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 699 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 8,898 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ต้นทุนโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อความ ก้าวหน้าในชีวิตก็น้อยลง ทั้ง ๆ ที่โลกกว้างใบนี้ มีสิ่งดีงาม สารพัดให้เรียนรู้ ได้พฒ ั นาตนเอง ย้อนไปทีโ่ รงเรียนประถม ในออสเตรเลี ย แห่ ง นั้ น เด็ ก ประถม 5-6 เป็ น แชมป์ บาสเก็ตบอล บางคนเป็นนักร้อง ได้มีโอกาสไปร้องเพลงที่ โอเปร่าเฮ้าส์ในซิดนีย์ เพราะเวลาที่มีหลังจากเรียนใน ห้องเรียน เด็ก ๆ ก็ไปเล่นกีฬา เล่นไปเล่นมาก็เข้าตา แมวมองเข้า ส่งไปแข่งขัน ได้แชมป์กลับมานั่นหมายถึงว่า ได้ทั้งเงินรางวัลและชื่อเสียงเกียรติยศ หากพัฒนาต่อใน ด้านกีฬา โอกาสที่จะเป็นนักกีฬาอาชีพค่าตัวเป็นหลาย ๆ ล้านก็มมี ากขึน้ บางคนทีส่ นใจอยากเป็นนักร้องก็ไปฝึกหัด ร้องเพลง หากมัวจมจ่อมติดเกมหรือติดไอทีอยู่ พวกเขาคง ไม่มีโอกาสได้ไปเรียนรู้โลกกว้างเป็นแน่ ทั้ง ๆ ที่โรงเรียน ของเขามีเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมใช้ แต่ พวกเขาก็รู้ว่าควรใช้มันแค่ไหน อย่างไร บทความนี้ อยาก ชวนเด็ก ๆ คิด วิเคราะห์ ให้รู้เท่าทันไอที เพื่อชีวีจะได้มี ความสุข ไม่ตอ้ งสร้างความทุกข์รอ้ นใจให้ทง้ั คุณพ่อคุณแม่ และตัวเอง หากผู้อ่านอยากรู้จักโรงเรียนที่ผู้เขียนไปเยี่ยมชม ติดตามได้ที่ www.woorannaparks.com.au แล้วลอง ติดตามจากวิดีโอของโรงเรียน ซึ่งจะได้เห็นว่า เด็ก ๆ ของ เขามีความก้าวหน้าทางไอทีมากเพียงใด ท�ำไมไม่เสพติด ไอที แต่พวกเขากลับใช้มันอย่างเป็นประโยชน์ต่อการ เรียนรู้ สร้างชื่อเสียงและพัฒนาความสามารถด้านไอทีให้ ก้าวหน้า จนสามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ มาขายให้เราได้
32
นักบุญซาเลเซียน เจน สเว (Jan Swierc) และเพื่อน 8 คน เจน สเว และเพื่อน 8 คน ซาเลเซียน ข้ารับใช้พระเจ้า กลุ่มมรณสักขีชาวโปแลนด์กลุ่มที่ 2 ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 เหยื่อของกลุ่มนาซี ในกลุ่มนี้ยังมีบรรดาพระสงฆ์ นักบวชและฆราวาสอีก 122 คนน�ำโดย คุณพ่อแอนโทนี เฮนรี่ ซูมาน ข้ารับใช้พระเจ้า เจน สเว เกิดที่เมือง Kro’lewska Huta ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1877 บิดามารดา ชื่อมัทธิวและฟรังเชสกา ท่านมาศึกษาที่โรงเรียนของคณะซาเลเซียนที่ตุริน หลังจากจบแล้วท่านขอสมัครเข้าในคณะ ได้ศึกษาวิชาปรัชญา และเทวศาสตร์ที่ตุริน ประเทศอิตาลี ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1903 ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ที่ตุรินจากพระคาร์ดินัล ริเคลมี จากนั้นท่านกลับไปที่ประเทศโปแลนด์ เริ่มท�ำงานด้านการอบรมแบบซาเลเซียนด้วยความขยันขันแข็ง ท่านได้ ปฏิบัติคุณธรรมและฤทธิ์กุศลด้านชีวิตนักบวชอย่างดีเยี่ยม ได้รับเลือกเป็นอธิการในหลายหมู่คณะ เป็นที่ปรึกษาระดับ แขวงตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งแขวงจนกระทั่งวาระสุดท้ายของท่าน ท่านเป็นนักบวชซาเลเซียนตัวอย่าง มีความต่อ รักคณะและคุณพ่อบอสโก มีความรอบคอบ ได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบในเรื่องที่ส�ำคัญและที่ยากล�ำบากกว่า ใน วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ.1941 ช่วงนั้นท่านท�ำหน้าที่เป็นอธิการและเจ้าอาวาส ได้ถูกจับไปโดยกลุ่มเกสตาโป พร้อมกับ เพือ่ นสมาชิกคณะซาเลเซียน ถูกขังในคุก ในวันที่ 27 มิถนุ ายน ค.ศ.1941 ท่านถูกทรมานและฆ่าตายจากทหารเยอรมัน ด้วยเหตุที่ท่านเป็นพระสงฆ์ ไม่ยอมปฏิเสธพระนามของพระเยซูเจ้า ท่านมีอายุ 64 ปี ปฏิญานตนเป็นนักบวชได้ 42 ปี และเป็นพระสงฆ์ 38 ปี พร้อมกันนี้ยังมีพระสงฆ์อีก 8 ท่านที่ถูกทรมานและถูกฆาตกรรมในเดือนเดียวกัน
บทภาวนา ข้าแต่พระเยซูเจ้า ผู้ทรงชัยชนะต่อความตาย นรก และปีศาจ พวกลูกขอขอบพระคุณส�ำหรับพระพรแห่งความรัก ความเข้มแข็งของข้ารับใช้ เจน สเวและเพื่อนมรณสักขี ผู้ซื่อสัตย์ต่อกระแสเรียก ในการถูกเบียดเบียน และในการเป็นมรณสักขี พวกลูกวอนขอพระองค์ด้วยดวงใจสุภาพถ่อมตน และเทิดเกียรติมรณสักขีที่เป็นพยานถึงพระองค์ อาศัยค�ำเสนอวิงวอนท่านเหล่านี้ ขอโปรดประทานพระหรรษทานแก่พวกลูกที่ได้วอนขอพระองค์ด้วยความไว้วางใจ ทั้งนี้ ขอพึ่งพระบารมีพระคริสตเจ้าพระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย อาแมน (ผู้ที่ได้รับพระคุณอาศัยค�ำเสนอวิงวอนของมรณสักขีเหล่านี้ โปรดส่งเรื่องราวไปยัง postulazione@sdb.org) (บทความจาก Bollettino Salesiano Luglio - Agosto 201
33
ค�ำสอน...ของอาจารย์ สาร ธมอ. ฉบับนี้ ขอน�ำเสนอเรื่องเล่าคุณธรรมเกี่ยวกับศิษย์ของขงจื้อท่านหนึ่ง ซึ่งผิดหวังใน ค�ำสอนของอาจารย์ จนคิดจะล้มเลิกความตั้งใจทึ่จะศึกษาในส�ำนักขงจื้อ แต่เขากลับค้นพบความหมายที่แท้จริง ภายใต้ค�ำสอนนั้น เพราะคุณธรรมส�ำคัญกว่าสิ่งใด
8 x 3 เท่ากับ 23 ถูกต้องแล้ว ศิษย์รักคนหนึ่งของขงจื้อชื่อ เอี๋ยนหุย เขาเป็น บัณฑิต ใฝ่ศึกษาและมีคุณธรรม วันหนึ่ง เอี๋ยนหุยออกไป ท�ำธุระทีต่ ลาด เห็นผูค้ นจ�ำนวนมากห้อมล้อมอยูท่ หี่ น้าร้าน ขายผ้า จึงเข้าไปสอบถามดูจึงรู้ว่า เกิดการพิพาทระหว่าง คนขายผ้ากับลูกค้า ลูกค้าคนนัน้ ตะโกนเสียงดังโหวกเหวก ว่า “3 x 8 ได้ 23 ท�ำไมท่านถึงให้ข้าจ่าย 24 เหรียญ ล่ะ!” เอีย๋ นหุยจึงเดินเข้าไปทีร่ า้ น หลังจากท�ำความเคารพ แล้ว ก็กล่าวว่า “พี่ชาย 3 x 8 ได้ 24 จะเป็น 23 ได้ยังไง? พี่ชายคิดผิดแล้ว ไม่ต้องทะเลาะกันหรอก” คนซื้อผ้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ชี้หน้าเอี๋ยนหุยและ กล่าวว่า “ใครให้เจ้าเข้ามายุ่ง! เจ้าอายุเท่าไหร่กัน! จะ ตัดสินก็มีเพียงท่านขงจื้อเท่านั้น ผิดหรือถูกมีท่านผู้เดียว ที่ข้าจะยอมรับ ไป ไปหาท่านขงจื้อกัน” เอี่ยนหุยกล่าวว่า “ก็ดี หากท่านขงจื้อบอกว่าท่าน ผิด ท่านจะท�ำอย่างไร?” คนซื้อผ้ากล่าวว่า “หากท่านขงจื้อวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมให้หัวหลุดจากบ่า! แล้วหากเจ้าผิดล่ะ?”
เอี๋ยนหุยกล่าวว่า “หากท่านขงจื้อวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมถูกปลดหมวก (ต�ำแหน่ง)” ทั้งสองจึงเกิดการเดิมพันขึ้น เมื่อขงจื้อสอบถามจน เกิดความกระจ่าง ก็ยมิ้ ให้กบั เอีย๋ นหุยและกล่าวว่า “3 x 8 ได้ 23 ถูกต้องแล้ว เอี๋ยนหุย เธอแพ้แล้ว ถอดหมวกของ เธอให้พี่ชายท่านนี้เสีย” เอี๋ยนหุย ไม่โต้แย้ง ยอมรับในการวินิจฉัยของท่าน อาจารย์ จึงถอดหมวกที่สวมให้แก่ชายคนนั้น ชายผู้นั้นเมื่อได้รับหมวกก็ยิ้มสมหวังกลับไป แม้ตอ่ หน้าขงจือ้ เอีย๋ นหุยจะไม่โต้แย้ง และดูเหมือน ว่าจะยอมรับค�ำวินิจฉัยของขงจื้อด้วยความเคารพ แต่ใน ใจกลับไม่ได้คดิ เช่นนัน้ เอีย๋ นหุยคิดว่าท่านอาจารย์ชรามาก แล้ ว ความคิ ด คงเลอะเลื อ น จึ ง ไม่ อ ยากอยู ่ ศึ ก ษากั บ ขงจื้ออีกต่อไป พอรุ่งขึ้น เอี๋ยนหุยจึงเข้าไปขอลาอาจารย์กลับบ้าน ด้วยเหตุผลที่ว่า ที่บ้านเกิดเรื่องราว ต้องรีบกลับไปจัดการ ขงจื้อรู้ว่าเอี๋ยนหุยคิดอะไรอยู่ ก็ไม่ได้สอบถามมากความ อนุญาตให้เอีย๋ นหุยกลับบ้านได้ ก่อนทีเ่ อีย๋ นหุยจะออกเดิน ทาง ได้เข้าไปกราบลาขงจื้อ ขงจื้อกล่าวอวยพรและให้รีบ กลับมาหากเสร็จกิจธุระแล้ว พร้อมกันนั้น ก็ได้ก�ำชับว่า 34
“อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ ชัดแจ้ง” เอี๋ยนหุยค�ำนับ พร้อมกล่าวว่า “ศิษย์จะจ�ำใส่ใจ” แล้วลาอาจารย์ออกเดินทาง เมื่อออกเดินทางไปได้ ระยะหนึ่ง เกิดพายุลมแรงสายฟ้าแลบแปลบ เอี๋ยนหุยคิด ว่า ต้องเกิดพายุลมฝนเป็นแน่ จึงเร่งฝีเท้าเพื่อจะเข้าไป อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ แต่ก็ฉุกคิดถึงค�ำก�ำชับของท่าน อาจารย์ที่ว่า “อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหาก ไม่ชัดแจ้ง” เราเองก็ ติ ด ตามท่ า นอาจารย์ ม าเป็ น เวลานาน ลองเชื่ออาจารย์ดูอีกสักครั้ง คิดได้ดังนั้น จึงเดินออกจาก ต้นไม้ใหญ่ ในขณะที่เอี๋ยนหุยเดินไปได้ไม่ไกลนัก บัดดล สายฟ้าก็ผ่าต้นไม้ใหญ่นั้นล้มลงมาให้เห็นต่อหน้าต่อตา เอีย๋ นหุยตะลึงพรึงเพริด ค�ำกล่าวของพระอาจารย์ประโยค แรกเป็นจริงแล้ว หรือตัวเราจะฆ่าใครโดยไม่รู้สาเหตุ? เอี๋ยนหุยจึงรีบเดินทางกลับ กว่าจะถึงบ้านก็ดึกแล้ว แต่ไม่กล้าปลุกคนในบ้าน เลยใช้ดาบที่น�ำติดตัวมาค่อย ๆ เดาะดาลประตูห้องของ ภรรยา เมื่อเอี๋ยนหุยคล�ำไปที่เตียงนอน ก็ต้องตกใจ ท�ำไม มีคนนอนอยู่บนเตียงสองคน! เอี๋ยนหุยโมโหเป็นอย่างยิ่ง จึงหยิบดาบขึ้นมาหมายปลิดชีพผู้ที่นอนอยู่บนเตียง เสียง ก�ำชับของอาจารย์ก็ดังขึ้นมา
35
“อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง” เมื่อเขาจุดตะเกียง จึงได้เห็นว่า คนหนึ่งคือภรรยา อีกคนหนึ่งคือ น้องสาวของเขาเอง พอฟ้าสาง เอี๋ยนหุยก็รีบกลับส�ำนัก เมื่อพบหน้า ขงจื้อ จึงรีบคุกเข่ากราบอาจารย์และกล่าวว่า “ท่าน อาจารย์ ค�ำก�ำชับของท่านได้ช่วยชีวิตของศิษย์ ภรรยา และน้องสาวไว้ ท�ำไมท่านจึงรูเ้ หมือนตาเห็นว่า จะเกิดอะไร ขึ้นกับศิษย์บ้าง?” ขงจื้อพยุงเอี๋ยนหุยให้ลุกขึ้น และกล่าว ว่า “เมื่ อ วานอากาศไม่ ค ่ อ ยสู ้ ดี นั ก น่ า จะมี ฟ ้ า ร้ อ ง ฟ้าแลบเป็นแน่ จึงเตือนเธอว่า อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ ใหญ่ และเมื่อวาน เธอจากไปด้วยโทสะ แถมยังพกดาบ ติดตัวไปด้วย อาจารย์จึงเตือนเธอว่า อย่าฆ่าผู้ใดหาก ไม่ชัดแจ้ง” เอี๋ ย นหุ ย โค้ ง ค� ำ นั บ “ท่ า นอาจารย์ ค าดการณ์ ดังเทวดา ศิษย์รู้สึกเคารพเลื่อมใสท่านเหลือเกิน” ขงจื้อจึงตักเดือนเอี๋ยนหุยว่า “อาจารย์ว่า ที่เธอขอ ลากลับบ้านนั้นเป็นการโกหก ที่จริงแล้วเธอคิดว่าอาจารย์ แก่แล้ว ความคิดเลอะเลือน ไม่อยากศึกษากับอาจารย์ อีกแล้ว เธอลองคิดดูสิ อาจารย์บอกว่า 3 x 8 ได้ 23 เธอ แพ้ ก็เพียงแค่ถอดหมวก หากอาจารย์บอกว่า 3 x 8 ได้ 24 เขาแพ้ นัน่ หมายถึงชีวติ ของคน ๆ หนึง่ เธอคิดว่าหมวก
หรือชีวิตส�ำคัญล่ะ? ” เอี๋ยนหุยกระจ่างในฉับพลัน คุกเข่าต่อหน้าขงจื้อ แล้วกล่าวว่า “ท่านอาจารย์เห็นคุณธรรมเป็นส�ำคัญ โดยไม่เห็นแก่เรื่องถูกผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ศิษย์คิดว่าอาจารย์ แก่ชราจึงเลอะเลือน ศิษย์เสียใจเป็นที่สุด”
ข้อคิด
จากนัน้ เป็นต้นไป ไม่วา่ ขงจือ้ จะเดินทางไปยังแห่งหนต�ำบลใด เอีย๋ นหุยติดตามไม่เคย ห่างกาย *** เรื่องราวต่าง ๆ แบ่งเป็นหนัก เบา รีบ ช้า อย่าเป็นเพราะต้องการเอาชนะให้ได้ แล้ว ท�ำให้เสียใจไปตลอดชีวิต
เรื่องราวมากมายที่ไม่ควรทะเลาะกัน
• ทะเลาะกับลูกค้า ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณก็จะรู้สึก) • ทะเลาะกับเถ้าแก่ ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ตรวจผลงานปลายปีมาถึง คุณก็จะรู้สึก) • ทะเลาะกับภรรยา ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เธอไม่สนใจคุณ คุณก็หากับข้าวกินเองละกัน) • ทะเลาะกับเพื่อน ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เคลียร์ไม่ได้ คุณอาจจะเสียเพื่อนไปเลย) *** ใบชา เกิดสีสวยและกลิ่นหอมน่าลิ้มลองได้ ก็เพราะโดนน�้ำร้อนลวก ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน เพราะเผชิญกับอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า
จึงเหลือไว้ซึ่งเรื่องราวเป็นต�ำนานให้ได้เล่าขาน น่าตามติด
36
ออกก�ำลังกาย...ง่ายนิดเดียว
อภิรดี โกศัยกานนท์
จากระยะเวลา 2-3 ปี ที่ ผ ่ า นมา คนไทยเริ่ ม ให้ ค วามสนใจ และตื่นตัว ในเรื่องของการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออก ก�ำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ การเลือกทานอาหารเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะ คนรุ่นใหม่ที่หันมาใส่ใจและดูแลร่างกายของตัวเองมากขึ้น จนกลายเป็น เทรนด์ดูแลสุขภาพด้วยหลากหลายวิธีขึ้นมา องค์การอนามัยโลกแห่ง สหประชาชาติ (WHO) ได้ให้คำ� จ�ำกัดความเกีย่ วกับสุขภาพไว้วา่ สุขภาพ ดี คือ การมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสวัสดิภาพทางสังคมอยู่ในสภาพ ดี ไม่ได้หมายความเพียงว่า ไม่มีการเจ็บป่วยหรือไม่มีทุกข์กังวลกับการ เจ็บป่วยเท่านั้น ในทางการแพทย์ ค�ำว่า “สุขภาพดี” ไม่มีก�ำหนดค่าที่ แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับสภาพความเหมาะสมของแต่ละคน ดังนั้น จึงมี สารพัดวิธีการดูแลสุขภาพออกมาให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละคน ลองมาดูกันว่า มีการออกก�ำลังกายประเภทใดบ้างที่สามารถท�ำได้ง่าย และมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพให้เราได้อย่างแท้จริง
1. การวิ่ง มีงานวิจัยพบว่า การวิ่งช่วยชะลอวัยได้ เนื่องจากการวิ่งส่งผลดี
ต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทัง้ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ที่ส�ำคัญ คือ การวิ่งช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุน ที่พบมากในสตรีวัยทองได้
2. การปั่นจักรยาน การออกก�ำลังกายด้วยจักรยานเป็นวิธีที่สนุก และสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกับการได้เดินทางสัมผัสประสบการณ์กลางแจ้ง อย่างเพลิดเพลิน และเมื่อปั่นอย่างจริงจังก็จะช่วยให้หัวใจและระบบไหล เวียนเลือดดีขนึ้ การปัน่ จักรยาน 1 ชัว่ โมง ช่วยให้สามารถเผาผลาญพลังงาน ได้ถึง 500 กิโลแคลอรี่ อีกทั้งจักรยาน ก็มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตาม ความชอบและถนัดของแต่ละคน
3. โยคะ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมให้ร่างกายมีการเชื่อมโยงกับจิตใจมาก
ยิง่ ขึน้ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบไหลเวียนของเลือดมีประสิทธิภาพดี ขึ้น เป็นการบริหารกล้ามเนื้อและเสริมสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น ของกล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ ท�ำให้เกิดความสมดุลด้านกายกับใจ อาทิ ความ สมดุลเรื่องการทรงตัว ความแม่นย�ำ ความยืดหยุ่น ความสมดุลทางอารมณ์ ฯลฯ ที่ส�ำคัญยังสามารถฝึกฝนได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย 37
4. ฟิตเนส (Fitness) เป็นสถานที่ออกก�ำลังกายที่รวมการออกก�ำลัง
กายรูปแบบต่าง ๆ ไว้ในพื้นที่ที่จ�ำกัด เช่น การวิ่งบนสายพาน การออก ก�ำลังกายโดยการใช้อุปกรณ์ เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและขจัดไขมัน ส่วนเกิน ปกติจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 Cardio เครื่องเล่นที่ เป็นแมชชีน มีทั้งวิ่ง สกีบก สเตปเปอร์ เป็นการออกก�ำลังที่เหนื่อยอยู่กับ ที่ เงียบและสันโดษอยู่เพียงล�ำพัง เหมาะส�ำหรับคนที่ไม่ชอบสุงสิงกับใคร ส่วนที่ 2 ห้อง Exercise เป็นการออกก�ำลังกายแบบเคลื่อนที่ เน้นความ สนุกสนานและความอึด ที่จะต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงอยู่ในห้องคลาส ส่วน สุดท้ายคือ Free weight เป็นการออกก�ำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และกระชับกล้ามเนื้อ (สยามทูเว็บดอทคอม)
5. แอโรบิค หรือ แอโรบิกแดนซ์ (aerobic dance) เป็นอีก
รูปแบบหนึ่งของการออกก�ำลังกายยืดเหยียดประกอบจังหวะเพลง โดยมี จุดประสงค์เพือ่ ให้เกิดความยืดหยุน่ และความแข็งแรงของกล้ามเนือ้ The American College \of Sports Medicine (ACSM) ได้ให้ความหมาย ว่า “การออกก�ำลังกายแบบแอโรบิค เป็นกิจกรรมที่มีการใช้กล้ามเนื้อ มัดใหญ่ให้ได้ต่อเนื่อง และเน้นจังหวะอย่างสม�่ำเสมอ” เป็นวิธีการออก ก�ำลังกายที่ท�ำให้หัวใจและปอดของมนุษย์มีการท�ำงานมากขึ้น มากกว่าการท�ำงานในขณะพัก โดยมีเป้าหมายส�ำคัญ คือ การเพิ่มและรักษาอัตราการเต้นของหัวใจในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การมีสุขภาพอนามัยที่ดี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คนรุ่นใหม่เริ่มหันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน มีกระแสการกินอาหารเพื่อสุขภาพเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งหลายคนคงเคยได้ยินค�ำว่า “อาหารคลีน” เป็นลักษณะการรับ ประทานอาหารเพือ่ สุขภาพรูปแบบหนึง่ ทีส่ ง่ ผลดีตอ่ สุขภาพร่างกาย และก�ำลังได้รบั ความนิยมจากผูค้ นในปัจจุบนั เป็น จ�ำนวนมาก อาหารคลีน (Clean Food) คือ การทานอาหารที่สด สะอาด โดยเน้นการทานอาหารแบบธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งและขัดสีด้วยสารเคมีต่าง ๆ หรือกระบวนการหมักดอง รวมถึงอาหารขยะและอาหารส�ำเร็จรูป ที่จะมีปริมาณแป้ง ผงชูรสและโซเดียมในปริมาณสูง ซึ่งอาหารคลีนนั้น อาจผ่านการปรุงแต่งบ้างเล็กน้อย หรืออาจจะ ไม่ผ่านการปรุงแต่งเลยก็เป็นได้ เช่น ใช้เกลือในการปรุงรสอาหารเพียงเล็กน้อยแทนน�้ำปลา หรืออาจจะเป็นซีอิ๊วขาว ชนิดที่ไม่มีผงชูรสเจือปน และจะไม่ใช้ผงชูรสในการปรุงอาหาร เป็นต้น (เกร็ดความรู้.net) ขอชักชวนให้ทกุ ท่านออกก�ำลังกายอย่างสม�ำ่ เสมอ เพราะ การออกก�ำลังกายเป็นยาวิเศษที่ท�ำให้ร่างกายแข็งแรงและ สุขภาพดี อย่าให้ค�ำว่า “ไม่มีเวลา” มาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ ออกก�ำลังกาย หากคุณยังมีเวลาเล่นเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ดูละคร ดูหนัง เดินห้าง คุณก็มีเวลาพอที่จะออก ก�ำลังอย่างแน่นอน....
…วันนี้คุณเริ่มต้นออกก�ำลังกายแล้วหรือยัง? 38
นักเดินทาง... “มีคนเคยกล่าวว่า...ชีวิตคือการเดินทางที่ต้องเรียนรู้ อย่างไม่มวี นั สิน้ สุด แต่ละวันเราก้าวไปบนเส้นทาง ทีเ่ ราเลือกที่ จะเดินและเลือกทีจ่ ะเป็น โดยทีไ่ ม่มใี ครรูว้ า่ ทางข้างหน้าจะเป็น อย่างไร คงไม่มีใครอยากให้มันผิดพลาด แต่หากปรารถนาให้ หนทางที่เราเลือกนั้นสวยงามไปตามแบบที่เราคิด ...และถ้า จริง ๆ แล้ว ชีวิตคือการเดินทาง จุดเริ่มต้นควรเริ่มอย่างไร และ มีจดุ หมายปลายทางไปยังทีแ่ ห่งใด” (เทียบ www.gotoknow. org/posts/311052) ในคอลัมภ์ “นักเดินทาง...” ทีท่ า่ นก�ำลังจะอ่านอยูน่ ี้ ผูเ้ ขียนปรารถนาอย่างยิง่ ทีจ่ ะให้เป็นดังพืน้ ทีข่ องการแบ่งปัน เรื่องราวของชีวิต ของผู้ที่ก�ำลังแสวงหา หรือของผู้ที่ได้ค้นพบหนทางของตนแล้ว เพื่อจะเป็นก�ำลังใจของกันและกันใน การก้าวเดินเยี่ยง “นักเดินทาง”...ที่มีความสุขยินดี...และประสบความส�ำเร็จในชีวิตตามพระประสงค์ของพระเจ้า
“ความยินดีของผู้ที่เป็นเจ้าสาว....ของพระคริสตเจ้า” “องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงเลีย้ งดูขา้ พเจ้าอย่างผูเ้ ลีย้ งแกะ ข้าพเจ้าจึงไม่ขาดสิง่ ใด” (สดด. 23:1) พระกรุณาและความรักมั่นคงของพระองค์ติดตามข้าพเจ้าในทุกวันเวลาของชีวิต...เพราะเห็นแก่ พระนามของพระองค์ พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าอยูน่ ี่ ข้าพเจ้าพร้อมทีจ่ ะก้าวเดินไปบนหนทางทีท่ รงเรียก ข้าพเจ้า เพราะเมือ่ พระองค์ทรงอยูเ่ คียงข้างข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ไม่กลัวสิง่ ใด พระคทาและธารพระกร ของพระองค์ช่วยให้ข้าพเจ้าอุ่นใจ ... พละก�ำลังทั้งหมดของข้าพเจ้ามาจากพระองค์ ตลอดทางเดิน สายนี้ข้าพเจ้าจะประกาศพระนามของพระองค์ ประกาศถึงความรักยิ่งใหญ่ของพระองค์แก่ นานาชาติ ให้ทุกคนได้รู้ว่าข้าพเจ้ารักพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรักข้าพเจ้าตลอดนิรันดร์กาล...
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2016 ได้มีพิธีปฏิญาณตนตลอดชีพของซิสเตอร์เทเรซาวิไลพร เต็มอรุณรุ้ง ซิสเตอร์ลูซีอา มาลัย วงศ์นรี นาท ซิสเตอร์เทเรซา จันทร์เพ็ญ กิง่ แก้วเพชร และซิสเตอร์มารีอา มะลิวลั ย์ ตันสิงห์ ทัง้ ได้มกี ารรือ้ ฟืน้ การปฏิญาณ ตนครบ 25 ปี ของซิ ส เตอร์ ม ารี อ า สุ ภ าวรรณ โชติ ผ ล ซิ ส เตอร์ เ ทเรซาอุ ษ ณี ษ ์ ธี ร ะพั ช รรั ง ษี และรื้ อ ฟื ้ น การปฏิญาณตนครบ 50 ปี ของซิสเตอร์อันนา กราสซี ธรรมทูตจากประเทศอิตาลี ณ โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน
39
นครปฐม ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะซิสเตอร์ธิดาแม่พระองค์ ฐานะเจ้ า สาวของพระคริ ส ตเจ้ า นั ก บวชในคณะธิ ด า อุปถัมภ์ (ซิสเตอร์ซาเลเซียน) แม่พระองค์อุปถัมภ์ ด้วยรูปแบบการด�ำเนินชีวติ เฉพาะตามพระพรพิเศษ จึ ง เชิ ญ ชวนผู ้ ท ่ า นผู ้ อ ่ า นทุ ก ท่ า นได้ ร ่ ว มกั น ขอบพระคุณพระเจ้า พร้อมกับบรรดาซิสเตอร์ผปู้ ฏิญาณ ตนตลอดชีพ ซิสเตอร์ผฉู้ ลองสุวรรณสมโภช หิรญ ั สมโภช แห่งชีวิตนักบวช และพร้อมกับสมาชิกธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์ ส�ำหรับพระพรแห่งกระแสเรียก อีกทั้งพระพร มากมายทีพ่ ระเจ้าทรงประทานให้ตลอดเส้นทางในชีวติ
ของคณะ ที่ผู้ปฏิญาณตนได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะติด ตามพระคริสตเจ้าตลอดไป ดังค�ำกล่าวปฏิญาณที่ว่า “วัน นี้ ต่อหน้าหมู่คณะและพี่น้องทั้งหลายที่ร่วมชุมนุมกัน ณ ทีน่ ี้ ข้าพเจ้า.... ขอมอบถวายตนทัง้ ครบแด่พระองค์ดว้ ยใจ อิสระ ขอปฏิญาณตนว่าจะถือความบริสุทธิ์ ความยากจน และความนอบน้อมเชื่อฟัง ตามแนวทางแห่งพระวรสาร ตลอดชี พ ต่ อ ซิ ส เตอร์ อั น นา มารี อ า ตอวิ เ ชี ย ร ผู้แทนอัคราธิการิณีดังที่ระบุไว้ในธรรมนูญของคณะธิดา
แม่พระองค์อุปถัมภ์....” และ “ดิฉันได้เขียนค�ำปฏิญาณนี้ ด้วยตนเอง และจะลงชื่อก�ำกับบนพระแท่น เพื่อชีวิตของ ดิ ฉั น จะได้ มี ส ่ ว นร่ ว มกั บ เครื่ อ งบู ช าของพระคริ ส ตเจ้ า ตลอดไป” อาจกล่ า วได้ ว ่ า ไม่ ใช่ เ ป็ น เส้ น ทางธรรมดา หากแต่เป็นเส้นทาง ทีต่ อ้ งก้าวเดินไปด้วย ค ว า ม รู ้ ตั ว แ ล ะ ซื่อสัตย์ทุก ๆ วัน จน ลุ ถึ ง เป้ า หมายของ ชีวติ นัน่ คือ ความสุข ยินดีตลอดนิรนั ดรใน 40
ประวัติซิสเตอร์เทเรซา วิ ไลพร เต็มอรุณรุ้ง ชื่อ วิไลพร เต็มอรุณรุ้ง นักบุญ เทเรซา เกิดที่ หมู่บ้านแม่โถ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน สัตบุรุษ วัดนักบุญยอห์น บัปติส รับศีลล้างบาป 28 กุมภาพันธ์ 1982 ที่วัดนักบุญยอห์น บัปติส บ้านแม่โถ รับศีลก�ำลัง 30 มีนาคม 1997 ที่วัดนักบุญยอห์น บัปติส บ้านแม่โถ บิดาชื่อ นายวิกเตอร์ พะยอถ่า เต็มอรุณรุ้ง มารดาชื่อ นางเยโนเวฟา หน่อหมื่ออิ เต็มอรุณรุ้ง พี่น้องในครอบครัว มีทั้งหมด 6 คน ข้าพเจ้าเป็นบุตรคนสุดท้อง ได้แก่ 1. นายด�ำรง เต็มอรุณรุ้ง 2. นางวามู ริทู 3. คุณพ่อชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง 4. คุณพ่อไพศาล เต็มอรุณรุ้ง 5. นางดีพอ เต็มอรุณรุ้ง 6. ซิสเตอร์วิไลพร เต็มอรุณรุ้ง
41
ความเป็นมาของกระแสเรียก
โปสตุลันต์ เข้านวกภาพ ถวายตัวครั้งแรก ปัจจุบัน
12 ตุลาคม 2005 ที่บ้านมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน 4 สิงหาคม 2006 ที่บ้านมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน วันที่ 5 สิงหาคม 2008 ที่บ้านมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน ประจ�ำอยู่ที่ โรงเรียนเซนต์เมรี่อุดรธานี บ้านพระมารดาผู้แจกจ่ายพระหรรษทาน
ประถมศึกษาปีที่ 1-6 มัธยมศึกษาปีที่1-3 มัธยมศึกษาปีที่4-6 อุดมศึกษา
โรงเรียนบ้านแม่โถ จ.แม่ฮ่องสอน โรงเรียนบ้านแม่โถ จ.แม่ฮ่องสอน โรงเรียนนารีวุฒิ จ.ราชบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การศึกษา
ประสบการณ์การท�ำงาน - - - -
ผู้ดูแลนักเรียนกลุ่มธิดารักษ์ สามพราน ผู้ดูแลนักเรียนคาทอลิก (กลุ่มเลารา) โรงเรียนเซนต์เมรี่ จ.อุดรธานี ครูผู้สอน ปัจจุบันเป็นผู้ดูแลนักเรียนประจ�ำและท�ำการสอนในโรงเรียน
42
กระแสเรียกของดิฉัน กล่าวได้ ว่ามีจุดเริ่มต้นจากความเชื่อ ความ ศรั ท ธาของคุ ณ พ่ อ และคุ ณ แม่ ที่ ค ร อ บ ค รั ว ถู ก ห ล ่ อ เ ลี้ ย ง ด ้ ว ย บรรยากาศแห่ ง ความเชื่ อ แบบ คริสตชนในหมูบ่ า้ น อีกทัง้ แบบอย่าง ชี วิ ต ของคุ ณ พ่ อ ธรรมทู ต และ ซิ ส เตอร์ คณะภคิ นี แ พร่ ธ รรมแห่ ง พระนางมารี ผู้ปฏิสนธินิรมล (คณะ แม่ปอน) จึงท�ำให้ชีวิตกระแสเรียก ของดิฉันได้เติบโตขึ้น บนเส้นทางสายนี้ พระองค์ทรง น�ำพาดิฉันเสมอมา ดิฉันมีความฝัน ตั้งแต่ยังเป็นเด็กที่อยู่ลึก ๆ ในใจว่า อยากเป็ น ซิ ส เตอร์ และเมื่ อ ดิ ฉั น เรียนจบมัธยมศึกษา ปีที่ 3 คุณพ่อ ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง (พี่ชาย) ก็ได้ แนะน� ำ ให้ ไ ปศึ ก ษาต่ อ ที่ โรงเรี ย น นารีวุฒิ บ้านโป่ง ซึ่ง ณ เวลานั้น ดิฉันไม่มีความรู้เกี่ยวกับที่โรงเรียน แห่งนั้นเลย ทั้งไม่เข้าใจว่าบรรดา ซิสเตอร์เหล่านั้นเป็นซิสเตอร์คณะ อะไร ไม่รู้จักซิสเตอร์คนไหนเลย ในช่วงแรกทีเ่ ข้ามาอยู่ ก็ยงั ไม่รู้ ด้วยว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเยาวชนที่ สนใจกระแสเรียก ดิฉันคิดเพียงว่า มาเพือ่ เรียนเท่านัน้ แต่พระเจ้านัน้ ... มี วั น เวลาของพระองค์ เ สมอ พระองค์ ท รงช่ ว ยให้ ดิ ฉั น ค่ อ ย ๆ เรียนรู้ ไป ดิฉันจ�ำได้ว่า ตั้งแต่อยู่ที่ บ้ า นแล้ ว ตอนนั้ น ชอบอ่ า นสาร
ดอนบอสโก ภายหลังจึงมาค้นพบว่า ตัวเองได้เข้ามาอยู่ในคณะของ ครอบครัวซาเลเซียน เป็นคณะที่คุณพ่อบอสโกตั้งขึ้น ชื่อว่าคณะธิดา แม่พระองค์อปุ ถัมภ์ ช่างเป็นเรือ่ งทีน่ า่ แปลก เพราะอะไรอะไรก็ดจู ะลงตัว ไปหมด แม้ว่าตัวเองจะต้องปรับตัวในหลายด้าน ทั้งภาษา การเรียน ชีวิตกลุ่ม แต่ในความยากล�ำบาก ดิฉันก็ยังคงก้าวไปข้างหน้าเสมอ ด้วยพลังที่มาจาก ข้างใน.... ดิฉันได้เรียนรู้จากแบบอย่างชีวิตของซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์ ในการอุทศิ ตน เสียสละ อยูก่ บั เด็กและเยาวชน ด้วยความรักใจดี ตามคติพจน์ที่ว่า “ขอแต่วิญญาณ สิ่งอื่นไม่ต้องการ"ตลอดเวลาบนเส้น ทางที่ก้าวไปทีละก้าวจนถึงเวลานี้ ดิฉันค้นพบกับความสุขลึก ๆ ที่อยู่ ภายในที่พระเจ้าให้กับดิฉัน ขอบคุณคุณยาย คุณพ่อ คุณแม่ พี่น้องในครอบครัว ครอบครัว พี่ด�ำรง ครอบครัวพี่วามู ครอบครัวพี่ดีพอ ที่ได้อยู่เคียงข้างและเป็นก�ำลัง ใจให้เสมอ ขอบคุณคุณพ่อชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง คุณพ่อไพศาล เต็มอรุณรุ้ง และซิสเตอร์สายทอง เต็มอรุณรุ้ง ที่เป็นก�ำลังใจและคอยติดตามดูแล ซึง่ กันและกันเสมอมดัง ค�ำสอนสุดท้ายของพ่อทีว่ า่ พวกเราได้ถวายตัวแด่ พระแล้วจงดูแลซึ่งกันและกันเสมอ ขอบคุณผูใ้ หญ่ ผูใ้ ห้การอบรมและสมาชิกในคณะ ทุกท่านทีไ่ ด้ดำ� เนิน ชีวิตร่วมกัน ร่วมทุกข์ ร่วมสุข และอยู่เคียงข้างกันเสมอมา ขอบคุณทุกท่านและเพือ่ น ๆ ทีผ่ า่ นเข้ามาในชีวติ ทีค่ อยอยูเ่ คียงข้าง และเป็นก�ำลังใจให้เสมอ และในขณะเดียวดิฉนั ได้สมั ผัสถึงการน�ำพาของ พระเจ้าและความช่วยเหลือของพระมารดาอยู่เสมอ ทั้งในเวลาสุขหรือ ทุกข์ และดิฉันเชื่อมั่นเสมอว่าตลอดเส้นทางสายนี้ ปราศจากพระองค์ ไม่ได้ เพราะว่า"..ข้าพเจ้าท�ำทุกสิง่ ได้ในพระองค์ ผูป้ ระทานพละก�ำลัง แก่ข้าพเจ้า"(ฟป 4: 13 ) 43
คติพจน์ "อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด แต่จงก้าวเดิน ด้วยใจร่าเริง" พระวาจาประจ�ำใจ "..ข้าพเจ้าท�ำทุกสิ่งได้ในพระองค์ ผู้ประทาน พละก�ำลังแก่ข้าพเจ้า" (ฟป4:13)
ประวัติซิสเตอร์ลูซีอา มาลัย วงศ์นีรนาท ชื่อ มาลัย วงศ์นีรนาท นักบุญ ลูซีอา เกิดที่ บ้านห้วยไม้ซาง ต.แม่โถ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน รับศีลล้างบาป 13 กุมภาพันธ์ 1982 บ้านแม่โถ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน รับศีลก�ำลัง 30 มีนาคม 1997 บ้านแม่โถ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮอ่ งสอน สัตบุรุษวัด นักบุญเปาโล จ�ำนวนพี่น้อง 3 คน เป็นบุตรคนแรก บิดาชื่อ นายยอห์น ปีมู วงศ์นีรนาท มารดาชื่อ นางเฮเลนา สุดา วงศ์นีรนาท รับเหรียญโปสตูลันต์ 12 ตุลาคม 2005 ณ บ้านมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน รับเหรียญโนวิส 4 สิงหาคม 2006 ณ บ้านมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน ถวายตัวครั้งแรก 5 สิงหาคม 2008 ณ บ้านธารพระพร สามพราน
44
ที่มาของกระแสเรียก
หลังจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว คุณพ่อชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง ได้แนะน�ำให้ดิฉันไปเรียนต่อที่โรงเรียนนารีวุฒิ บ้านโป่ง ราชบุรี ดิฉัน รู้สึกสนใจและตัดสินใจไปเรียนต่อที่น่ัน เมื่อเริ่มเข้ามาเป็นกลุ่มเลารา ดิฉันก็เริ่มที่จะเรียนรู้จักคณะ จากแบบอย่างชีวิตของบรรดาซิสเตอร์ อีกทั้งได้รับการอบรมสั่งสอน และเห็นถึงความรักใจดี การอุทิศตน และการเสียสละของท่าน เมื่อดิฉันเห็น...และได้สัมผัส รู้สึกประทับใจ และอยากเป็นซิสเตอร์เหมือนท่าน ตั้งแต่นั้นมาฉันก็มีความปรารถนา อยากที่จะเป็นซิสเตอร์ และมุ่งมั่นที่จะเดินในเส้นทางนี้ต่อไป แม้ว่า บนเส้นทางชีวติ สายนีจ้ ะมีหลายต่อหลายครัง้ ทีต่ อ้ งประสบกับอุปสรรค ต่าง ๆ แต่ดิฉันก็มีแรงผลักดันให้ก้าวต่อไป จากค�ำพูดของคุณพ่อ บอสโกทีว่ า่ "พระเห็นฉันและรักฉันเสมอ" เป็นประโยคทีด่ ฉิ นั ได้ยดึ เป็น ข้อเตือนใจเสมอมา ซึง่ ท�ำให้ดฉิ นั มีกำ� ลังใจและมีความมัน่ ใจในความรัก ของพระเสมอ
45
ว่า พระองค์จะไม่ทอดทิ้งดิฉัน ดิฉันจะอยู่ เฉพาะพระพั ก ตร์ ข องพระองค์ เ สมอ ชี วิ ต กระแสเรี ย กนั ก บวชของดิ ฉั น จึ ง ค่อย ๆ เติบโตขึน้ โดยอาศัยความช่วย เหลือจากบรรดาผูอ้ บรมและผูใ้ หญ่ การอบรมสั่งสอนของท่านที่มีต่อ ดิ ฉั น ดิ ฉั น ยั ง คงจดจ� ำ เสมอ และจนถึงทุกวันนี้ ขอขอบพระคุ ณ พระเจ้ า ส� ำ ห รั บ พ ร ะ พ ร แ ห ่ ง กระแสเรียกซาเลเซียน ใน คณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุปถัมภ์ ขอขอบพระคุ ณ พระเจ้ า ส� ำ หรั บ ความรั ก เมตตา และพระพรมากมายที่ ประทานให้แก่ดิฉันเสมอ มา
คติพจน์
ก้าวแรกอาจผิดพลั้ง ก้าวหลังคือเริ่มใหม่…
พระวาจาประจ�ำใจ
"เพราะไม่มีสิ่งใดที่พระเจ้าทรง กระท�ำไม่ได้" (ลก. 1:37)
46
ประวัติซิสเตอร์เทเรซา จันทร์เพ็ญ กิ่งแก้วเพชร
ประวัติการศึกษา
ชื่อ เทเรซา จันทร์เพ็ญ กิ่งแก้วเพชร พี่น้อง เป็นบุตรคนที่ 2 ในจ�ำนวนพี่น้อง 3 คน สัตบุรุษ วัดพระแม่มารีย์ บิดา นายพะจ่าโย กิ่งแก้วเพชร มารดา นางหน่อริกวา กิ่งแก้วเพชร บ้านเกิด บ้านหนองแห้ง เลขที่ 49 หมู่ 9 ต. เมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน รับศีลล้างบาป 4 มิถุนายน ค.ศ. 1984 รับศีลก�ำลัง 11 เมษายน ค.ศ. 1998 ปฏิญาณตนครั้งแรก 5 สิงหาคม ค.ศ. 2009
1. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 2. โรงเรียนนารีวุฒิ บ้านโป่ง 3. โรงเรียนเซนต์โยเซฟอินเตอร์เทคโนโลยี 4. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 5. วิทยาลัยแสงธรรม
ชั้น ม. 3 ชั้น ม.6 ปวส ป.ตรี
ประวัติการท�ำงาน - โรงเรียนธิดานุเคราะห์ สอนค�ำสอน-ศีลธรรมและดูแลนักเรียนประจ�ำ - โรงเรียนวิสุทธิวงศ์ ดูแลแผนกอนุบาล สอนค�ำสอนและศีลธรรม
47
ชีวิตในวัยเด็ก
ดิฉันเป็นนักเรียนประจ�ำตั้งแต่ชั้น ป.1จนถึง ม.3 ดังนัั้นชีวิตในวันเด็กจึง อยู่ที่โรงเรียนประจ�ำเป็นส่วนใหญ หลังจากการจบการศึกษาชัั้น ม.3 แล้ว ก็ได้ ย้ายไปเรียนต่อทีโ่ รงเรียนนารีวฒ ุ ิ บ้านโป่ง ราชบุรี ซึง่ ก็อยูแ่ บบนักเรียนประจ�ำ เช่นเดียวกัน เนื่องจากตั้งแต่ที่บ้านแล้วที่ตนเองเติบโตในบรรยากาศของพุทธ ศาสนา จึงท�ำให้ดิฉันไม่ค่อยชอบที่จะเข้าวัด หรือชอบสวดภาวนาเลย เพราะ สมัยนั้นในหมู่บ้านยังไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจ�ำวัด นาน ๆ สักครั้งหนึ่ง จึงจะมี พระสงฆ์มาถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ ส่วนในช่วงปิดเทอมดิฉันก็ไม่ค่อยได้อยู่ บ้านด้วย ดิฉันจึงรู้สึกเบื่อและร�ำคาญทุกครั้ง ที่บิดาของดิฉันหลังจากกลับจาก การ�ำงานแล้วจะมานั่งเล่น และนอนอ่านพระคัมภีร์ให้ฟัง ดิฉันฟังแล้วเบื่อมาก บางครั้งก็็หลับหรือบางครั้งก็เลี่ยงไปท�ำอย่างอื่น ครั้งหนึ่งในช่วงปิดเทอมดิฉัน ถูกพ่อแม่และญาติพนี่ อ้ ง ให้ไปเข้าค่ายค�ำสอน เพือ่ เตรียมรับศีลก�ำลัง โดยบอก ว่าพวกเขาจะตามมาภายหลัง แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครมา ดิฉันเสียใจ ร้องไห้ และโกรธมากแต่เหมือนกับเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า โอกาสนีด้ ฉิ นั ได้สมั ผัส
48
กับบรรยากาศที่ดีมาก ที่ช่วยให้ ดิฉันอยากที่จะภาวนา ดิฉันรู้สึก สนุ ก สนานที่ จ ะอยู ่ แ ละเล่ น กั บ เพื่อนต่างหมู่บ้าน จนลืมความ เสียใจและความโกรธ วันหนึ่งขณะที่นั่งเล่นอยู่ที่ศาลา โรงเรียน พระสังฆราช ยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ได้มานั่งคุย และพูดถึงความเชื่อ มีประโยค หนึ่งที่ท่านได้พูดว่า “ชีวิตของ ลูกจะเป็นอย่างไร... คงน่าเป็น ห่วงนะ ถ้าลูกโตขึน้ โดยไม่มพี ระ อยู่ในชีวิต เพราะทุกอย่างที่เรา ท� ำ มั น ก็ สู ญ เปล่ า ไม่ มี ค วาม หมาย จะมีประโยชน์อะไรถ้าลูก มีทุกอย่าง แต่ไม่มีพระอยู่บน เส้นทางของชีวติ ” แล้วท่านก็นงั่ เป่าใบไม้ให้ฟงั นัน่ คือประกายไฟ เล็ ก ๆ ที่ ท� ำ ให้ ดิ ฉั น อยากที่ จ ะ ท� ำ ให้ ชี วิ ต นี้ ข องดิ ฉั น มี คุ ณ ค่ า และมีความหมายขึ้น ในวันเวลา ที่ยังเหลืออยู่
ประวัติกระแสเรียก
กระแสเรียกของดิฉัน เริ่มจากการพูดคุยและการเชิญชวนของคุณพ่อชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง แม้ว่าในช่วงเวลา แรก ๆ นั้น ดิฉันจะไม่ชอบที่จะฟังเรื่องเกี่ยวกับ การเป็นนักบวช และคอยหลบทุกครั้งที่ท่านมา เพราะกลัวว่าท่านจะมาชวนให้ไป เป็นซิสเตอร์จริง ๆ แต่เมื่อมาเรียนต่อที่โรงเรียนนารีวุฒิ ดิฉันได้เห็นถึงชีวิตของ บรรดาซิสเตอร์ได้อยู่ใกล้ชิดมากขึ้น ได้เห็นถึงความใจดีและความเสียสละของ บรรดาซิสเตอร์ ที่ท�ำงานอุทิศตนโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ประทับใจในใบหน้าที่ ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ รวมทั้งการที่ได้รับความรัก ความเอาใจใส่และการดูแลจาก พวกท่าน จึงท�ำให้ดิฉันปรารถนาที่จะเป็นเหมือนท่านบ้าง บางครั้งเมื่อดิฉันท�ำผิด ท่านก็มีค�ำพูดที่ให้ก�ำลังใจและให้โอกาสเสมอ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ประทับใจไม่มีวันลืม ทั้งความรักใจดี ท�ำให้รู้สึกอยากที่จะเริ่มต้นใหม่ เอาจริงเอาจังกับชีวิต และหวังไว้ ว่าสักวันหนึ่งจะมีโอกาสเป็นเหมือนท่านเช่นเดียวกัน ขอขอบคุณพระเจ้า และพระมารดาที่รักและค�้ำจุนลูกอยู่เสมอ ขอบคุณพระ สังฆราช พระสงฆ์ เป็นต้นบรรดาผู้ใหญ่ในคณะที่คอยติดตาม ค�้ำจุนและแนะน�ำใน ทุกช่วงตอนของชีวติ เป็นพิเศษ แด่ซสิ เตอร์นภิ า ระงับพิษ และซิสเตอร์ลบั สมจันทร์ ขอบคุณพ่อแม่ บรรดาญาติพนี่ อ้ ง และผูม้ พี ระคุณทุกท่านทีส่ นับสนุนด้วยค�ำภาวนา ตลอดมา ท�ำให้ดิฉันสามารถก้าวเดินต่อไปในชีวิตนักบวช ขอพระเจ้าตอบแทนใน น�ำ้ ใจดีของทุก ๆ ท่าน ด้วยพระพรมากมายในโลกนี้ และรางวัลทีง่ ดงามในโลกหน้า
อุดมการณ์ ท�ำให้ถงึ ทีส่ ดุ ทีเ่ หลือพระเจ้าจะทรงจัดการเอง คติพจน์ จงวางใจในพระเจ้าด้วยสุดใจของเจ้า และอย่าพึ่งพาความรอบรู้ของ ตนเอง จงยอมรับรูพ้ ระองค์ในทุกทางของเจ้า และพระองค์จะทรงกระท�ำให้วถิ ขี อง เจ้าราบรื่น (สุภาษิต 3:5-6)
ความใฝ่ฝัน อยากช่วยเด็กที่ยากจน ด้อยโอกาส ไม่มีการศึกษา อยากให้พวกเขามีความรู้ มีชีวิตที่ดีและสามารถ ด�ำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
49
ประวัติซิสเตอร์มารีอา มะลิวัลย์ ตันสิงห์ ชื่อ มะลิวัลย์ ตันสิงห์ นักบุญ มารีอา เกิดที่ บ. หนองฟานยืน ต. เหล่างาม อ. โพธิ์ไทร จ. อุบลราชธานี สัตบุรุษ วัดนักบุญยอแซฟ หนองฟานยืน อุบลราชธานี รับศีลล้างบาป วันที่ 16 มิถุนายน 1985 รับศีลมหาสนิท 9 ตุลาคม 1994 รับศีลก�ำลัง วันที่ 20 พฤศจิกายน 1994 บิดาชื่อเปโตร ทวีศักดิ์ ตันสิงห์ มารดาชื่อ โยฮันนา สมัย ตันสิงห์ พี่น้องในครอบครัว มีทั้งหมด 4 คน ข้าพเจ้าเป็นบุตรคนแรกได้แก่ 1. ซิสเตอร์มะลิวัลย์ ตันสิงห์ 2. นายวสันต์ ตันสิงห์ 3. นายยุระนันท์ ตันสิงห์ 4. นางสาวสุภาวรรณ ตันสิงห์
50
ความเป็นมาของ ... กระแสเรียก
โปสตุลันต์ วันที่ 7 ตุลาคม 2007 เข้านวกภาพ วันที่ 4 สิงหาคม 2008 ถวายตัวครั้งแรก วันที่ 6 สิงหาคม 2010 วัดน้อยโรงเรียนเซนต์เมรี่ อุดรธานี ปัจจุบัน ประจ�ำอยู่ที่ โรงเรียนเซนต์เมรี่อุดรธานี บ้านพระมารดาผู้แจกจ่ายพระหรรษทาน การศึกษา ประถมศึกษา 1-6 โรงเรียนบ้านหนองฟานยืน จ. อุบลราชธานี มัธยมศึกษา 1 โรงเรียนเซนต์เมรี่ อุดรธานี มัธยมศึกษา 2-6 โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการบัญชี ประสบการณ์การท�ำงาน ท�ำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเด็กนักเรียนประจ�ำและท�ำการสอนในโรงเรียน ปัจจุบันดูแลนักเรียนคาทอลิก (กลุ่มเลารา)
51
ตั้งแต่แรกดิฉันปรารถนาที่ จะท�ำงานอุทศิ ตนเป็นอาสาสมัคร เพราะรู ้ สึ ก ว่ า เมื่ อ ได้ เ สี ย สละ และช่วยเหลือผูอ้ น่ื แล้วมีความสุข ลึก ๆ ในใจ จากนั้นก็ได้พยายาม ที่จะแสวงหา ถามตนเองบ่อย ๆ ว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ท�ำ อย่ า งไรชี วิ ต จะมี คุ ณ ค่ า และมี ความหมาย นอกจากนี้ยังได้ถาม ซิสเตอร์บางท่านและอาศัยแบบ อย่างการเจริญชีวิตของบรรดา ซิสเตอร์ ท�ำให้เห็นว่าชีวติ นักบวช เป็ น อี ก รู ป แบบหนึ่ ง ของการ ด�ำเนินชีวิตที่ท้าทาย น่าค้นหา อะไรทีท่ ำ� ให้ผคู้ นมากมายได้เลือก ที่จะเป็นซิสเตอร์ทั้งที่ไม่มีอะไร เป็นค่าตอบแทนเลย ค�ำถามเหล่า นี้ก็ค่อย ๆ ได้รับค�ำตอบอาศัย แสงสว่างจากเบือ้ งบน และการใช้ เวลาไตร่ตรองเงียบ ๆ ลึก ๆ ก็ยัง มีความห่วงกังวลมากมายเนื่อง ด้วยตนเองเป็นลูกคนแรก แต่ใน ทีส่ ดุ คุณแม่กไ็ ด้บอกว่า “อยากจะ ไปก็ไปไม่ตอ้ งเป็นห่วง พ่อกับแม่ ยินดีคนื ให้กบั พระ” ซึง่ ท�ำให้ดฉิ นั หมดความกังวล ขอบคุณพระเจ้า ที่ ท รงชี้ น� ำ ทาง และก� ำ ลั ง ใจที่ เด็ดเดีย่ วจากครอบครัว ดิฉนั จึงได้ ตัดสินใจเข้าคณะ
ตลอดเส้นทางของการก้าวเดิน ตั้งแต่วันแรกที่ ตอบรับเสียงเรียกของพระ จนถึงวันนี้และตลอดไป อยากจะบอกว่า “ขอบคุณ” ดิฉันมีความสุขใจที่ ได้เดินตามเสียงเรียกของพระในทุกๆวัน .....ขอบคุณพระในทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาใน ชีวิต ที่ พ ระองค์ ทรงอยู่เคียงข้า ง ค�้ำจุนด้วยพระพร มากมาย .....ขอบคุณคุณพ่อ- คุณแม่ ญาติพี่น้อง ที่คอยให้ ก�ำลังใจ ร่วมสวดภาวนาให้เสมอ .....ขอบคุณผูใ้ หญ่และสมาชิกทุกคนในคณะ ทีช่ ว่ ย แนะน�ำ อบรมสั่งสอน ค�้ำจุนด้วยค�ำภาวนา และก�ำลัง ใจในทุก ๆ วันเพือ่ หล่อหลอมการเจริญชีวติ ร่วมกันเป็น หมูค่ ณะ ในการติดตามพระคริสต์เจ้าด้วยความซือ่ สัตย์ ต่อพระพรพิเศษของคณะ .....ขอบคุณทุกคนทีผ่ า่ นเข้าในชีวติ และได้เติมเต็ม ชีวิตให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อให้ชีวิตนี้ถวายแด่พระเจ้า ตลอดไป
คติพจน์
จงขอบพระคุณในทุกกรณี ( 1 เธสะโลนิกา 5:18) 52
ประวัติ ซิสเตอร์มารีอา สุภาวรรณ โชติผล เกิดที่ จังหวัดจันทบุรี ปฏิญาณตนครั้งแรก วันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ.1991 ปฏิญาณตนตลอดชีพ วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1998
ประวัติการศึกษา
ระดับประถมศึกษา-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต ระดับปริญญาโท คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต
โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จันทบุรี โรงเรียนนารีวุฒิ ราชบุรี มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
ปัจจุบัน ท�ำหน้าที่ อธิการิณีและผู้จัดการโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาบึงกาฬ พระวาจาประจ�ำใจ “เพียงสิ่งเดียว ได้เข้ามา ได้รับใช้ ของภูบาล
ชีวประวัติ
ที่ข้า ฯ เพียร สู่นิวาส ใต้เบื้อง ตลอดชีวิต
เวียนปรารถนา พระราชฐาน บทมาลย์ เป็นนิตย์ไป” (สดด.27)
ข้าพเจ้าเป็นบุตรคนที่ 6 ในจ�ำนวนพีน่ อ้ ง 8 คน บิดาชือ่ ฟรังซิสโก วิศิษฐ โชติผล(เสียชีวิต) มารดาชื่อ มารีอา โต๊ด โชติผล ได้รับการ ถ่ายทอดชีวิตด้านความเชื่อชีวิตคริสตชนจากครอบครัวอย่างเข้มข้น เพราะคุณยาย บิดาและมารดาเป็นคนศรัทธา และมีความเชื่อใน พระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้ามาก รวมทั้งได้รับบรรยากาศแห่ง ความเชื่อจากญาติพี่น้อง ญาติพี่น้องหลายท่านเป็นพระสงฆ์ นักบวช จึงท�ำให้ข้าพเจ้าเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การตอบรับการเรียกของพระ 53
ที่มาของกระแสเรียก :
ตั้งแต่จำ� ความได้ นอกจากคุณพ่อ คุณแม่จะสอนทักษะในการด�ำเนินชีวิตให้ กับเราลูก ๆ แล้ว ท่านมักจะเป็นแบบอย่างชีวิตด้านความเชื่อให้เราตลอดเวลา ท่าน พาเราสวดภาวนาทุกค�่ำก่อนนอนพร้อมกัน พาเราไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณที่วัด เอาเงิ น ใส่ ก ระเป๋ า ให้ เราส� ำ หรั บ ใส่ ถุ ง ทานทุ ก วั น อาทิ ต ย์ และตั ด ชุ ด ใหม่ ใ ห้ พวกเราทุกครั้งที่มีฉลองส�ำคัญ เช่น โอกาสฉลองวัด วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ วันเสกป่าช้า และวันขึน้ ปีใหม่ ฯลฯ เพือ่ ให้เรามีเครือ่ งแต่งกายทีเ่ หมาะสมกับวันฉลองของพระเจ้า และที่ส�ำคัญท่านปลูกฝังให้เรามีความรักความศรัทธาต่อพระมารดามารีย์ด้วยการ สวดสายประค�ำพร้อมกันทุกคืน เพือ่ ฝากความต้องการและเรียกหาพระแม่เสมอ ขณะ เดียวกัน ท่านเปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมของวัดได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะ เป็นนักขับร้อง (ทั้งที่เป็นคนเสียงตกแต่ก็ชอบร้องเพลง ชอบเล่นดนตรี) ช่วยคุณพ่อ เปิด-ปิดวัด เตรียมไมค์ เตรียมบทอ่าน เตรียมและก่อเพลงมิสซาต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ ช่วยให้ข้าพเจ้าได้คลุกคลี อยู่ใกล้ชิดกับวัดตลอด เมื่อข้เรียนในระดับชั้นมัธยมต้น วันหนึ่งได้รู้จักกับซิสเตอร์ฟิโลเมนา มายี ซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ปัจจุบันท่านอยู่ที่ประเทศเมียนมา ในปีนั้น ท่านพากลุ่มคนพิการทางสายตา จาก สามพราน มาร่วมงานที่อาสนวิหาร แม่พระปฏิสนธินิรมล จันทบุรี เนื่องในโอกาส ปิดปีคนพิการสากลที่วัดของเราเป็นเจ้าภาพ ตั้งแต่วินาทีแรกที่ได้รู้จักทักทายท่าน
54
ข้ า พเจ้ า รู ้ สึ ก ประทั บ ใจในท่ า ที ข อง ซิสเตอร์ผู้นี้มาก เพราะเพียงท่านรู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นเยาวชน และเป็นเยาวชน คาทอลิก ท่านแสดงความดีใจที่ได้รู้จัก กับข้าพเจ้าจนออกนอกหน้า และแสดง ความปรารถนาทันที ที่จะให้ข้าพเจ้าพา ไปท�ำความรู้จักกับครอบครัว ซึ่งอยู่ไม่ ไกลจากบริเวณวัดนัก พอท่านไปถึงบ้าน ทักทายคุณแม่ ท่านถามย�้ำอยู่ประโยค เดียวกับคุณแม่ซ�้ำไปซ�้ำมาว่า “แม่ให้ ลูกสาวไปเป็นซิสเตอร์มั้ย ให้มั้ย ๆ ๆ ??..” จากนั้ น ข้ า พเจ้ า ได้ เริ่ ม ติ ด ต่ อ ท�ำความรู้จักกับคณะ เพราะซิสเตอร์ ฟิโลเมนาได้ให้ทอี่ ยูบ่ า้ นเจ้าคณะแขวงไว้ ข้าพเจ้าเกิดความพิศวงใจภายหลังว่า ซิ ส เ ต อ ร ์ ผู ้ นี้ ไ ม ่ ไ ด ้ ห ว ง แ ห น ห รื อ หน่วงเหนี่ยวข้าพเจ้าไว้ส�ำหรับตนเอง เลย ท่านส่งต่อให้ข้าพเจ้ารู้จักผู้ใหญ่ ส่วนกลางของคณะทันที แทนที่จะให้ที่ อยู่ของท่านเองแก่ข้าพเจ้า ต่อมาทาง คณะได้ให้ซิสเตอร์ไพเราะ ศันสนยุทธ ชาวจันทบุรี ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะอยู่ แล้ ว มาเยี่ ย มและท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ ข้าพเจ้าและครอบครัว คุยกันไปคุยกัน มา ก็พบว่าเราเป็นเครือญาติกันด้วย ... เมื่อใกล้จบ ม.3 แล้ว เช่นเดียวกับเพื่อน ๆ เราเริ่มคุยกันแล้วว่าจบแล้วไปต่อไหน ดี ข้าพเจ้ามีความสนใจ อยากเรียนด้าน เลขานุการ หรือด้านภาษาอังกฤษ โดยมี ความตั้งใจว่า อยากจะได้งานที่ดีเพื่อ ช่ ว ยแบ่ ง เบาภาระครอบครั ว เพราะ พี่ ๆ ไปบวชกันแล้ว 3 คน แต่ในใจลึก ๆ ก็มีความปรารถนาอยากถวายตัวเป็น นักบวชด้วยเช่นกัน เพราะจากการที่ มี โอกาสไปร่วมกิจกรรมค่ายกระแสเรียก
ของคณะนักบวชต่าง ๆ ในหลายคณะ ก็รู้สึกชอบทุกคณะ เวลานั้นยัง ไม่รจู้ กั เข้าใจแยกแยะความแตกต่างในจิตตารมณ์ของคณะต่าง ๆ รูส้ กึ แต่อย่างเดียว คือ อยากเป็นนักบวช อยากเป็นของพระทัง้ ครบเหมือน พี่ ๆ มากทีส่ ดุ ทีส่ ดุ ข้าพเจ้าได้รบั หนังสือเล่มหนึง่ จากซิสเตอร์คณะธิดา แม่พระองค์อุปถัมภ์ ชื่อว่า “สดับเสียงสวรรค์” เป็นหนังสือที่ได้ รวบรวมที่มาของกระแสเรียกของซิสเตอร์หลาย ๆ ท่านในคณะ เมื่อ อ่านแล้ว รู้สึกชอบใจถึงประวัติความเป็นมาของกระแสเรียก ซิสเตอร์ ท่านหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้ารู้สึกว่าเหมือนกับสภาพของข้าพเจ้าในขณะนั้น เลย จึงตัดสินใจท�ำตามทันที คือว่า ซิสเตอร์ผนู้ รี้ จู้ กั คณะนักบวชหลาย คณะ ท�ำให้ท่านตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเข้าคณะไหนดี ที่สุดท่านได้เขียน ชื่อคณะต่าง ๆ และจับฉลากเอา จนจับได้เป็นคณะซาเลเซียน ท่านจึง สมัครเข้าในคณะซาเลเซียน ข้าพเจ้าจึงเตรียมฉลากบ้าง มีด้วยกัน 5 แผ่น คือ แผ่นที่ 1 คณะธิดากางเขน ณ จันทบุรี ด้วยเหตุผลที่ว่า มี พี่ ส าวอยู ่ แ ล้ ว และมี ญ าติ ผู ้ ใ หญ่ เ ป็ น สมาชิ ก ในคณะหลายท่ า น และอารามก็อยู่ใกล้บ้านด้วย แผ่นที่ 2 คณะศรีชุมพาบาล เพราะมีพี่สาวอยู่แล้ว แผ่นที่ 3 คณะคามิลเลียน เพราะประทับใจ อัธยาศัยของคณะ ซิสเตอร์กับพี่ ๆ ผู้ฝึกหัด แผ่นที่ 4 คณะซาเลเซียน เพราะข้าพเจ้าสังกัดกลุ่มเยาวชน YCS ของโรงเรียน และระดับสังฆมณฑล ได้เข้าร่วม กิจกรรมเยาวชน บ่อย ๆ และรู้สึกชอบ แผ่นที่ 5 ข้าพเจ้าได้เตรียมกระดาษว่างเปล่า หากได้แผ่นนี้ อาจไม่มีกระแสเรียกเป็นนักบวช จะได้ไม่ต้องคิดถึงเรื่องนี้อีกต่อไป จากนัน้ ข้าพเจ้าได้สวดภาวนาขอพระมารดา ให้ชว่ ยเลือกคณะ นักบวชจากฉลากนีใ้ ห้ หากข้าพเจ้าไม่มกี ระแสเรียกเป็นนักบวช ขอให้ จับฉลากได้กระดาษที่ว่างเปล่า จะได้ไม่ต้องคิดถึงเรื่องนี้อีก และจะ ตัง้ ใจเรียนเพือ่ จะได้มงี านท�ำทีด่ ชี ว่ ยเลีย้ งครอบครัวได้ ทีส่ ดุ ข้าพเจ้าจับ ได้ฉลากเป็นชือ่ คณะซาเลเซียน เพราะก่อนจับฉลากนัน้ ข้าพเจ้าได้บอก
55
กับแม่พระว่า “อย่างไรก็ตาม ลูกก็ชอบคณะซาเลเซียน มากกว่า” ตั้งแต่วันแรกที่สมัครเข้าในคณะจวบจนปัจจุบัน ข้าพเจ้ามีความมั่นใจว่า กระแสเรียกนี้เป็นของพระแม่ที่ ทรงเลือกให้ขา้ พเจ้า ยามมีความทุกข์ หรืออุปสรรคใด เมือ่ หวนคิดถึงเหตุการณ์นี้ ข้าพเจ้าก็รสู้ กึ บรรเทาใจ และมีพลัง ที่จะก้าวพ้นไปได้ ด้วยความมั่นใจว่า หนทางนี้เป็นทางที่ พระนางทรงเลือกให้ พระนางจะอยู่ใกล้ ๆ และเป็นก�ำลัง ให้แก่ข้าพเจ้าแน่นอน ข้าพเจ้าสวดภาวนาและฝากตัวกับ พระแม่เสมอ และภูมิใจมากที่ข้าพเจ้าได้เป็นสมาชิกใน คณะของพระแม่เอง ทีม่ ชี อื่ ว่า “ธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์” เป็นลูกของคุณพ่อบอสโก และมาเดอร์มัสซาแรลโล 25 ปี แห่งการปฏิญาณตนที่เปี่ยมด้วยความรัก ความห่วงใยจากบิดา-มารดา ญาติพน่ี อ้ ง คณะผูใ้ หญ่ เพือ่ น สมาชิก พี่น้องนักบวชคณะต่าง ๆ ตลอดจนผู้ร่วมงาน เพื่อน ๆ และผู้มีพระคุณทุกท่าน พร้อมกับพระหรรษทาน จากพระเจ้าพระมารดาและนักบุญผู้ก่อตั้งคณะที่ช่วย ค�้ำพยุงและทะนุบ�ำรุงกระแสเรียกของข้าพเจ้าให้ค่อย ๆ บรรลุวุฒิภาวะมากยิ่งขึ้น จนข้าพเจ้าได้ลิ้มรสถึงความ งดงามทีไ่ ด้อาศัยอยูใ่ น “นิวาส พระราชฐานของพระเจ้า” ทั้งปัจจุบันและตลอดไป
ประวัติซิสเตอร์เทเรซา อุษณีษ์ ธีระพัชรรังษี รับศีลล้างบาป รับศีลก�ำลัง ปฏิญาณตนครั้งแรก ปฏิญาณตนตลอดชีวิต
19 มีนาคม 1967 25 พฤษภาคม 1980 5 สิงหาคม 1991 6 สิงหาคม ค.ศ.1998
ครอบครัวของดิฉนั เป็นครอบครัวคาทอลิก มีคณ ุ พ่อคุณแม่ ที่ศรัทธา ที่ได้หว่านและเพาะบ่มเมล็ดพันธุ์แห่งกระแสเรียก และมอบถวายเราพี่น้อง 2 คนด้วยความเสียสละในคณะธิดา แม่พระองค์อุปถัมภ์ จากจ�ำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน
ชีวิตในวัยเด็ก
ชีวิตในวัยเด็กเป็นชีวิตที่มีความสุข ในบรรยากาศของ ความเป็นพี่น้อง ที่มีความผูกพัน ที่มีทั้งความสุข ความทุกข์ ความยากล�ำบากที่สลับกันไป ในวัยเด็กจึงเป็นประสบการณ์ที่มี ความสุข บรรยากาศในครอบครัวทีม่ คี ณ ุ พ่อคุณแม่เป็นผูน้ ำ� ทีช่ ว่ ย
56
ให้พนี่ อ้ งทุกคนด�ำเนินชีวติ ในความศรัทธาและเรียนรูท้ จี่ ะเอาจริงเอาจัง ในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย ท�ำให้พี่น้องทุกคนในครอบครัว ประสบความส�ำเร็จในชีวิต ประวัติการศึกษา พื้นฐานของการศึกษาที่ดีได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ให้เป็นคนเก่ง คนดี จนถึงอายุ 15 ปี และคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ได้สนับสนุนให้ได้รบั การศึกษาทีส่ งู ขึน้ ในทุกระดับการศึกษา ตลอดระยะ เวลาที่ผ่านมา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ สามารถรับใช้ในด้านภารกิจการอบรมอภิบาลในระดับแขวงและหมูค่ ณะ ขอขอบพระคุณคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ที่ให้โอกาสในการพัฒนา ตนเองด้ ว ยการให้ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษา การฝึ ก อบรมทั้ ง ระยะสั้ น และระยะยาว
57
ประวัติกระแสเรียก
เริ่มต้นเข้ามารับการฝึกอบรมในคณะธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนนารีวุฒิ และเป็นเวลานับ 10 ปีของการฝึกอบรมในขั้นตอน ต่าง ๆ วันแล้ววันเล่า เพื่อเดินทางตามความฝันที่ จะต้องแลกด้วยทัง้ หยาดเหงือ่ และน�ำ้ ตา มาถึงวัน นี้ 25 ปี ของการมอบชีวติ ทัง้ หมดแด่พระเจ้า ยัง คงมุ่งมั่นเดินตามเส้นทางนี้ที่ได้เลือกไว้ตั้งแต่ วันแรกด้วยความตั้งใจ
ประวัติการท�ำงาน
1991-1993 โรงเรียนเซนต์เมรี่ อุดรธานี 1993-1995 โรงเรียนนารีวุฒิ บ้านโป่ง ราชบุรี 1996-2003 โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน นครปฐม 2003-2004 โรงเรียนธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่ สงขลา 2004-2006 โรงเรียนนารีวฒ ุ ิ บ้านโป่ง ราชบุรี 2006-2012 โรงเรียนเซนต์เมรี่ อุดรธานี 2012-ปัจจุบัน โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน นครปฐม
พระวาจาประจ�ำใจ
“ตัง้ แต่ยามเช้า จิตวิญญาณของข้าพเจ้า ส ร ร เ ส ริ ญ พ ร ะ น า ม ข อ ง พ ร ะ อ ง ค ์ พระหรรษทานของพระองค์หลัง่ ล้นดุจน�ำ้ ค้าง ของรุ ่ ง อรุ ณ องค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ทรงกระท� ำ สิ่งมหัศจรรย์ในชีวิตของข้าพเจ้า ทรงเลือกสรร ข้ า พเจ้ า ข้ า พเจ้ า ขอสรรเสริ ญ พระองค์ ตลอดกาล”
58
ประวัติ ซิสเตอร์อันนา กราสซี เกิดที ่ บิดาและมารดา ถวายตัวครั้งแรก ปฎิญาณตนตลอดชีพ เป็นธรรมทูต
Gioia de’ Marsi (L’Aquila) สังฆมณฑล Avezzano ประเทศอิตาลี Saverio Grassi / Raffaele Filomena 5 สิงหาคม 1966 ที่ Castelgandolfo 5 สิงหาคม 1972 ที่โรม Cinecitta’ 4 กันยายน 1974 ที่ประเทศไทย
พระวาจา “หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด” (ยน. 13,1)
59
บทสอนประทับใจ ...“โอ! ช่างเป็นพระคุณอันให่ญยิ่งสักเพียงไร ที่พระเป็นเจ้าโปรดให้ ดิฉนั เป็นเจ้าสาวของพระองค์ และได้อยูใ่ นฐานะเช่นนี้ ทีไ่ ด้เป็นธิดาของแม่พระ องค์อุปถัมภ์ และของคุณพ่อบอสโก ขอพระองค์โปรดประทานพระคุณนี้แก่ บรรดาซิ ส เตอร์ ที่ ดิ ฉั น รั ก และจะรั ก เสมอไปเมื่ อ อยู ่ ใ นสวรรค์ ด ้ ว ย” (นักบุญมารีอา มัสซาแรลโล)
ค�ำ...จากใจของท่าน
ซิสเตอร์ขอขอบคุณพระเจ้าส�ำหรับพระคุณแห่งกระแสเรียกของการ เป็นธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ การเป็นผู้รับเจิมแด่พระเจ้า ร่วมส่วนในการขยาย พระอาณาจักรของพระองค์ไปสุดปลายแผ่นดิน พร้อมกับการได้เจริญชีวติ ตาม แบบอย่าง และค�ำสอนของมาเดอร์มัสซาแรลโล ผู้ร่วมตั้งคณะ และก้าวเดินไป พร้อมกับบรรดาสมาชิกในภารกิจการอบรมอภิบาล ซิสเตอร์เข้าคณะเมื่ออายุ 17 ปี ทั้ง ๆ ที่ยังเรียนไม่จบ แต่มีความมุ่งมั่น ที่จะเป็น ธมอ. ครูค�ำสอน และเป็นธรรมทูต
60
ซิสเตอร์ได้เรียนที่โรงเรียน “เยซูนาซาเรธ” เพือ่ จะกลับเป็นครู สอนในโรงเรียนประถม ในช่วงทีเ่ ป็น โนวิสซิสเตอร์ได้ขอทีจ่ ะเป็นธรรมทูต หลังจากการปฏิญาณตนครั้งแรกได้ 4 ปี มาเดอร์โรเซตตา มาร์เคเซ จึงบอก ซิสเตอร์วา่ คณะได้อนุญาตให้ซสิ เตอร์ ได้ไปเป็นธรรมทูต เดือนกันยายน 1969 ซิสเตอร์ได้รบั การเตรียมตัวเพือ่ ที่จะเดินทางไปยังดินแดนธรรมทูต มาเดอร์เอร์ซลี อี า คันตา ได้เชือ้ เชิญ ซิสเตอร์ให้ไปที่ตุรินที่บ้าน “Sacro Cuore” เพือ่ ไปเรียนวิชาครูแล้วจึงได้ เรียกท่านให้ไปทีโ่ รม ณ บ้านศูนย์กลาง ของคณะเพื่อเรียนเกี่ยวกับชีวิตฝ่าย จิตที่ “Teresianum” ทัง้ เพือ่ เป็นการ เตรียมตัวปฏิญาณตนตลอดชีพ ในวัน ที5่ สิงหาคม 1972 ซึง่ เป็นปีทคี่ รบ 100 ปี ของการก่อตัง้ คณะ และในปี เดียวกันนี้เอง ซิสเตอร์ได้รับความ นบนอบไปเป็นธรรมทูตทีป่ ระเทศไทย แต่ ก ่ อ นที่ จ ะไปซิ ส เตอร์ ไ ด้ ไ ปที่ ประเทศอังกฤษ
เพื่อเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และท�ำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ดูแลและครู ผู้สอนบรรดาโนวิส ที่สุดในวันที่ 4 กันยายน 1974 พร้อมกับ ซิสเตอร์แอลด้า บารัตตีโน พวกเราก็ได้เดินทางมาถึงแผ่นดิน ที่รัก ซึ่งเรารอคอยด้วยดวงใจที่เปิดกว้าง และเปี่ยมด้วย ความรู้คุณ จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลา 42 ปีแล้วของ ชีวิตการเป็นธรรมทูตในประเทศไทย และ 50 ปี ใน ชี วิ ต ผู ้ รั บ เจิ ม วั น เวลาที่ ผ ่ า นไปอย่ า งรวดเร็ ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังมั่นคงอยู่เสมอไม่เปลี่ยนแปลง เลย คือ ท่าทีแห่งการตอบรับต่อภารกิจการ เป็นธรรมทูต ซึ่งซิสเตอร์ภาวนาเสมอว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอให้ทุกคนที่ได้พบปะ กั บ ลู ก ประสบการประทั บ อยู ่ ข อง พระองค์แม้ในความอ่อนแอของลูก ด้วยความรักเยี่ยงบิดาของพระองค์ โปรดให้ลูกเป็นดังเช่นองค์พระเยซู เจ้าส�ำหรับบรรดาบุตรของพระองค์ พร้อมกับพวกเขาลูกจะรักพระองค์ นมัสการพระองค์และขอบพระคุณ พ ร ะ อ ง ค ์ ซิ ส เ ต อ ร ์ ไ ด ้ รั บ ประสบการณ์มากมายหลากหลาย ในการแบ่ ง ปั น ชี วิ ต แห่ ง การเป็ น ธรรมทูตนี้แก่ทุก ๆ คนที่ได้พบปะ และได้ร่วมท�ำภารกิจที่ได้รับมอบ หมายถึงแม้ว่าจะจ�ำกัดด้วยขอบเขต มากมาย แต่ดว้ ยความเชือ่ ไว้ใจในความ ช่วยเหลือขององค์พระเจ้าทีท่ รงอยูเ่ คียง ข้ า งตลอดเส้ น ทางแห่ ง การเติ บ โตของ บรรดาเด็ก ๆ และเยาวชน ซิสเตอร์ไว้วางใจ ว่า พระองค์โปรดให้การอบรมนัน้ เก็ดผลดีได้
61
ผู้เขียนขอจบการแบ่งปันคอลัมภ์ “นักเดินทาง...” ในฉบับนี้ ด้วยภาพของนักเดินทาง... อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ฝึกหัดของคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์...พวกเขาก�ำลังแสวงหารูปแบบชีวิตที่... เป็นทีส่ บพระทัยของพระเจ้า ขอเราท่านร่วมเป็นก�ำลังใจส�ำคัญและหนุนน�ำพวกเขาด้วยค�ำภาวนา พร้อมความปรารถนา ดีทั้งปวง เพื่อพวกเขาจะบรรลุเป้าหมาย...ตามพระประสงค์ของพระองค์ “พระเจ้าผู้ทรงรักและพระทัยเมตตา” พวกเขา ... จะถูกจดจ�ำในความทรงจ�ำอันเอื้ออาทรของเรานานเท่านาน...
เอลีซาเบ็ธ กฤติยา วงศ์นีรนาท กาธารีนา อรนุช โตมู อักแนส ฐนชา โสทน
แคทธารีน ชโลทร สนชัยทอง
มาการีตา มารีย์ นิตยาภรณ์ เส็งเจริญ กาธารีนา ทิพรวรรณ เติมบรรยงกุล
62
63