หนังสือ mooc

Page 1



MOOCs : แหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 MOOCs (Massive Open Online Courses) หมายถึง ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำ�หรับ มหาชน ซึ่งมีลักษณะให้เข้าเรียนได้ไม่จำ�กัดจำ�นวนคน Courses เป็นระบบ “เปิด” ที่ทุกคนที่อยากเรียนจะต้อง ได้เรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเรียน และใช้เทคโนโลยี ออนไลน์เป็นเครื่องมือ เทคโนโลยีนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2008 เมื่อ ห้องเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้า เรียนออนไลน์

ซึ่งนอกเหนือจากนักศึกษาในห้อง 25 คนแล้ว คนอีกนับ พันคนก็ได้มีโอกาสได้เรียนรู้วิชานั้นด้วย เครื่องมือในการ ทำ� MOOCs เป็นเทคโนโลยีธรรมดาๆ ที่เราคุ้ยเคยกันอยู่ เช่น เว็บไซต์ วิดีโอ บล็อก ฯลฯ เงื่อนไขในการใช้งานข้อมูล เช่น ให้ใช้งานได้อย่างเดียว ให้นำ�ไปเผยแพร่ได้ หรือให้นำ�ไปแก้ไข ดัดแปลงได้ ขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาแต่ละราย


MOOCs 1

MOOCs ต่างจาก E-learning ตรงที่ E-learn-

ing จะเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ MOOCs มีลักษณะ เหมือนหลักสูตร มีระยะเวลาเปิด - ปิด เหมือน ห้องเรียนปกติ ถูกกำ�หนดหัวข้อย่อยใน รายวิชาไว้แล้ว มีการวัด และประเมิน ผล มีการบ้าน มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ ทำ�งานกลุ่ม รวมทั้งให้ผู้เรียนช่วยกัน ตรวจงาน MOOCs หลายตัวสามารถ ให้ผู้เรียนเทียบหลักสูตรกับสถาบัน อุดมศึกษาชื่อดัง หรือใช้อ้างอิงใน การสมัครงานได้ ปัจจุบันมี MOOCs Provider เพิ่ม มากขึ้นเรื่อยๆ โดยแต่ละแห่งจะจับมือ กับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ ช่องทางที่บริษัทและมหาวิทยาลัยจะสร้าง รายได้ ได้แก่ กรณีที่ผ ู้เรียนต้องการใบรับ รองการจบหลักสูตร ค่าดำ�เนินการสอบ การ ช่วยนำ�โปรไฟล์ในการเรียนไปเผยแพร่กับบริษัท จัดหางาน ฯลฯ


2 MOOCs

1 3

ค่าย MOOCs ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบัน ได้แก่

edX

edX เป็น MOOCs ที่ได้รับความนิยมสูงสุดแต่การนำ�เสนอเนื้อหา ไม่ค่อยน่าสนใจ Google กำ�ลังจะเข้าไปเป็นผู้พัฒนาปรับปรุง คาดว่า น่าจะมีอะไรแปลกใหม่เข้ามาในระยะอันใกล้นี้ (www.edx.org)

Coursera

2 4

Coursera ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่ง MOOCs และเป็น MOOCs ที่ใหญ่ที่สุด (www.coursera.org)

Udacity

Udacity ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น MOOSC ที่มีเสน่ห์ สนุก และน่าประทับใจ (www.udacity.com)

การใช้งาน ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Pixlive Maker สแกน QR CODE สแกนรูปเพื่อรับชมสื่อวีดีโอ

Khan Academy

Khan Academy เป็น MOOCs สัญชาติอินเดียที่ทำ�วิดีโอ ประกอบการสอนได้เข้าใจง่าย และสนับสนุนกลุ่มผู้เรียนหลายวัย (www.khanacademy.org)


MOOCs 3 ค่าย MOOCs น้องใหม่มาแรง

1 2 3 4

Open 2 study

Open 2 study ออกแบบให้มีความคล่องตัวในการใช้งานสูง เช่น สามารถลงทะเบียนได้ในเวลาเพียง 20 วินาที (www.open2study.com)

Youtube Education

Youtube Education เป็น MOOCs ของยูทูบ ที่นำ� วิดีโอมาจัดระบบเป็นรายวิชาที่หลากหลาย (www.youtube.com/education)

TED.ED

TED.ED สอนโดยวิทยากรที่รู้จริงมีลีลาการพูดที่มีสีสัน หรือบางครั้งก็ทำ�เป็นแอนนิเมชั่นน่าชม (www.ted.com)

iTunes U

iTunes U เป็น MOOCs ของค่าย Apple รองรับเฉพาะ อุปกรณ์ของ iOS เท่านั้น มหาวิทยาลัยหลายแห่งของไทยกำ�ลัง จะใช้ MOOCs รายนี้ (www.apple.com/education/ipad/itunes-u)

การใช้งาน ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Pixlive Maker สแกน QR CODE สแกนรูปเพื่อรับชมสื่อวีดีโอ


4 MOOCs

MOOCs ได้ช่วยลดอุปสรรคสำ�คัญในการศึกษา ที่ปัจจุบันมีความต้องการในการเรียนระดับอุดมศึกษา สูงเกินกว่าความสามารถที่สถานศึกษาจะรองรับได้ รวมทั้งต้นทุนการศึกษาที่มีราคาแพง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการศึกษาต่อในต่างประเทศ แต่ปัจจุบัน MOOCs ก็ ยังมีข้อจำ�กัดบางด้าน เช่น ด้านภาษา มาตรฐานในการ เทียบวุฒิ และยากที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่สอบกับผู้ที่ขอจบ หลักสูตรเป็นคนเดียวกันหรือไม่ ฯลฯ สถิติผู้เรียนจนจบหลักสูตร MOOCs มีน้อยกว่าผู้ ลงทะเบียนเรียนในสัดส่วนที่แตกต่างกันมาก ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะถ้าผู้เรียนเรียนแล้วไม่ชอบ หรือไม่สนใจแล้วก็มีสิทธิ์ที่จะเลิกเรียนหรือเปลี่ยนไป เรียนวิชาอื่นได้ สถิติผู้ใช้ MOOCs ขณะนี้ส่วนใหญ่อยู่ใน อเมริกาเหนือและยุโรป ส่วนเอเชียมีผู้เรียนเป็นสัดส่วน 24% ซึ่งส่วนมากได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยของสิงคโปร์กำ�ลังจะร่วม มือกับบริษัทแห่งหนึ่งในการทำ�หลักสูตรใน MOOCs เอง ด้วย ส่วนในประเทศไทย สำ�นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) กำ�ลังทำ�โครงการ Thailand Cyber University ซึ่งกำ�ลังจะพัฒนาETeacher E-Courseware และ E-Learning และ หลายมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ เริ่มสนใจที่จะทำ�หลักสูตรใน MOOCs

MOOCs จึงเป็นเทรนด์ของแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 สิ่งที่จะต้องมีควบคู่กับไปกับเทคโนโลยีก็คือทักษะ ที่จำ�เป็นสำ�หรับอนาคต เช่น การคิดระดับสูง การ ยอมรับระหว่างวัฒนธรรม การคิดวิเคราะห์แปลความ อ้างอิงจาก

** สรุปประเด็นจากการเสวนาหัวข้อ MOOCs : แหล่ง เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในงานสัมมนาวิชาการ “การ ประกันคุณภาพการศึกษา” ประจำ�ปี พ.ศ. 2556 โดย สำ�นักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 วิทยากรผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ ผศ.ภก.ดร.อนุ ชัย ธีระเรียงไชยศรี อ.วรสรวง ดวงจินดา และ รศ.ดร. เด่นพงษ์ สุดภักดี ** สรุปและเก็บความ โดย นางสาวทัศนีย์ จันอินทร์ ฝ่ายวิชาการ สำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้


MOOCs 5 Massive Open Online Course (MOOCs) คำ�ว่า อีเลิร์นนิง นั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการการศึกษา ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ ทางออนไลน์ และอุปกรณ์โมบายต่างๆ ได้โดยสะดวก เทคโนโลยีไอซีทีก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งก็ทำ�ให้เทคโนโลยีด้านอีเลิร์นนิงมีการพัฒนารูป แบบและช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว และเทคโนโลยีด้านการศึกษาที่กำ�ลังถูกกล่าวขวัญถึงในปัจจุบันกันอย่างมากก็คือ “MOOC” (อ่านว่า “มู้ก”) ความหมายของ Massive Open Online Course Massive ผู้เรียนลงทะเบียนได้มากกว่า 10,000คน Open ไม่เสียค่าใช้จ่าย ใครๆก็ลงทะเบียนเรียนได้ Online เรียนออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต Course เปิดสอนได้ตลอดตามเวลาที่ต้องการได้ โดยไม่จำ�เป็นต้องขอรับ ประกาศนียบัตร ผล การเรียน Moocs ย่อมาจาก Massive Open Online Course หมายถึง การ เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แบบเปิดเสรีที่ไม่ว่าใครก็ตาม จากซีกไหนในโลกสามารถสมัครเข้าเรียนได้ไม่จำ�กัดจำ�นวน โดยเฉพาะการ ศึกษาระดับสูงที่ในระบบการศึกษาเดิมนั้นจำ�กัดอยู่แต่เฉพาะคนจำ�นวนน้อย เท่านั้น ข่าวสารด้าน Massive Open Online Course : Moocs เท่าที่มีอยู่ใน ปัจจุบันมีทั้งที่ทำ�ในเชิงธุรกิจเพื่อสร้างกำ�ไร หรือเป็นแบบไม่แสวงกำ�ไร หนึ่งใน Moocs แบบไม่แสวงกำ�ไรที่เป็นรู้จักกันก็คือ edX ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเอ็มไอทีของสหรัฐอเมริกา เปิดหลักสูตรออนไลน์ฟรีจาก มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ ใครที่ไหนในโลกที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเพียง พอสามารถลงทะเบียนเรียนแบบออนไลน์ได้กันอย่างไม่จำ�กัด มีผู้สอนที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือผู้เชี่ยวชาญมาสอนผ่านระบบออนไลน์ไม่ต่างไปจากการเรียนในมหาวิทยาลัย มีทุกอย่างที่เหมือนกันหมด ยกเว้นผู้เรียนไม่ ได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น วิธีนี้เปิดโอกาสให้คนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับสูงได้แบบไม่จำ�กัด ซึ่งในอดีตไม่ สามารถทำ�ได้ ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวใหม่เกิดขึ้นก็คือ กูเกิล ยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีของโลกก้าวเข้าในแวดวงนี้ด้วยการเปิด แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดใหม่ขึ้นมาที่ชื่อว่า MOOC.org โดยจับมือกับ edX ซึ่งนอกจากจะมีหลักสูตรออนไลน์ ฟรีจาก edX แล้ว ยังรับหลักสูตรออนไลน์จากภายนอกจาก สถาบันอื่นๆ รัฐบาล ธุรกิจ และจากคนทั่วๆ ไปด้วย กล่าวโดย รวบรัด MOOC.org เปิดเสรีสำ�หรับใครก็ตามไม่ว่าจะเป็นคน หน่วยงาน องค์กร สถาบัน เสนอหลักสูตรการเรียนการสอน ออนไลน์ขึ้นมาที่ไซต์เพื่อเปิดสอน หรือสุดท้ายแล้วสูงสุดก็คือ จะทำ�ให้ MOOC.org เปรียบเสมือนยูทูบสำ�หรับ Moocs เลย ทีเดียว MOOC.org จะเปิดตัวจริงๆ กันกลางปีหน้า เพราะฉะนั้นตอนนี้เข้าไปที่เว็บไซต์จะยังไม่มีหลักสูตรอะไรนอกจากข้อมูล คร่าวๆ แต่สามารถดูของจริงที่ให้บริการอยู่จาก www.edx.org และสามารถเลือกลงทะเบียนเรียน หลักสูตรต่างๆ ได้ด้วย แต่ละหลักสูตรเมื่อเรียนจบ และผ่านจะมีใบรับรองให้ว่าผ่านการเรียนมาแล้วในวิชานั้นๆ


M

O

O

6 MOOCs

C

นี่คือโอกาสทางการศึกษาที่เปิดกว้าง สำ�หรับมวลชนทั้งโลกจริงๆ แม้จะจำ�กัดเฉพาะสำ�หรับคนที่เข้า ถึงอินเตอร์เน็ตได้เท่านั้นก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมา เราไม่เคยมีระบบการศึกษา แบบขนานใหญ่และเปิดเสรีมากขนาดนี้มาก่อน แม้จะมีสิ่งที่เรียกกันว่า การศึกษาทางไกล แต่เมื่อเทียบกับMoocs แล้วยังห่างไกลกันมาก

ข้อจำ�กัด

ที่จะเป็นอุปสรรคของผู้เรียนผ่าน Moocs ก็คือ ความสามารถทาง ด้านภาษาอังกฤษเท่านั้น (มติชนรายวัน 2556)

องค์ประกอบของรายวิชา MOOC

เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยต้องมี 1. วิดีโอแบบสั้นๆหลายๆชุด เช่น 1.1 การพูดให้ข้อมูล 1.2 การยกตัวอย่างงาน 1.3 การทดลอง 2. เอกสารประกอบออนไลน์ 3. การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 4. กิจกรรมออนไลน์ 5. การประเมินผลการเรียน 6. การทดสอบความเขาใจ เช่น แบบเลือกตอบ แบบจบกลม การพูดให้ข้อมูล

คุณสมบัติสำ�คัญสำ�หรับของ MOOCs

เป็นระบบเปิด หรือเรียนได้แบบเสรี โดยที่ผู้เรียนไม่จำ�เป็นต้องมีการลงทะเบียนเป็นนักเรียน หรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้ง สิ้น รองรับผู้เรียนได้อย่างกว้างไกล และรับจำ�นวนผู้เรียนมากได้ ซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนแบบเดิมๆ ที่รองรับผู้เรียน ได้จำ�นวนน้อยเพราะต้องใช้ครูสอน ซึ่งทำ�ให้มีข้อจำ�กัดเรื่องอัตราส่วนของครูกับคนเรียน ซึ่ง MOOCs ไม่มีข้อจำ�กัดนั้น เพราะสามารถรองรับผู้เรียนได้แบบมหาศาล หรือคุณสมบัติอื่นๆ เช่น เนื้อหาที่นำ�มาให้เรียนเป็นเนื้อหาแบบเปิด (open licensing of content) เป็นต้น


MOOCs 7 แนวคิดที่เป็นแก่นของ MOOC เรียกว่า “หัวใจของ MOOC” 1. การเข้าถึง (Accessibility) : การเรียนผ่าน MOOC นั้นส่วนใหญ่จะไม่มีค่าใช้จ่าย

โดยผู้จัดทำ� (มหาวิทยาลัยต่างๆ)และผู้ให้ทุนสนับสนุนเริ่มต้นด้วยแนวคิด “เราเป็นคนใจดี” (CSR) ไม่มีค่าใช้จ่าย (หรืออาจมีค่าใช้จ่ายถ้าแลกกับปริญญาบัตรจริง) ทำ�ให้ใครก็ตามที่มี อินเตอร์เน็ตก็สามารถเรียนได้ แต่ก็ต้องฟังภาษาที่เค้าสอนรู้เรื่องด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็น ภาษาอังกฤษ

2. การปฏิสัมพันธ์ (Interaction) : การเรียนผ่าน

MOOC นั้นผู้เรียน ไม่ได้เพียงนั่งฟังอย่างเดียว ระหว่างดูวิดีโอไปจะมีคำ�ถามแทรกอยู่ตลอด ทำ�ให้ผู้ เรียนต้องตั้งใจเรียนตลอดเวลา นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถตั้งคำ�ถามโดยให้เพื่อน นักเรียนที่มีอยู่ทั่วโลกมาช่วยกันมาตอบได้ และสามารถปรึกษากับผู้ส่วนหรือผู้ ช่วยสอนได้ตลอด ซึ่งสิ่งนี้เป็นการสร้างบรรยายการเรียนแบบ one-on-one (มีคนช่วยสอนแบบตัวต่อตัว) ให้เกิดเป็นจริงในโลกออนไลน์ได้แม้จะมีนักเรียนเป็น จำ�นวนมากก็ตาม

3. เสรีภาพ (Freedom) : ผู้เรียนจะเป็นใครอยู่ที่ไหน อายุเท่าไหร่ และมีพื้นฐาน อะไรไม่สำ�คัญมีสิทธิเข้าเรียนได้เหมือนกันหมด โดยสามารถเลือกวิชาที่อยากเรียนได้ตามใจ ชอบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวบังคับ (นอกจากจะเรียนเอาเกียรติบัตรและปริญญา) และเรียน ตามความเร็วและเวลาที่ตัวเองสะดวก ในกรณีที่เป็นการเรียนแบบตามอัธยาศัย (self-pace) แต่ ถ้าเป็นการเรียนแบบมีกำ�หนดเวลาก็ต้องทำ�ตามเวลาที่เค้ากำ�หนด (สุริยา เผือกพันธ์ 2013) การเรียนลักษณะที่เรียกว่า MOOCs หรือ Massive Open Online Courses ที่ใช้หลักการนำ�เสนอแบบ Anyone Anywhere “ใครก็ได้ อยู่ที่ไหนก็เรียนได้” เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น และมีการเปิดหลักสูตรกันในมหาวิทยาลัยชั้นนำ�หลายแห่งทั่วโลก ล่าสุด ที่ออสเตรเลีย โปรแกรม Open2Study ที่ออสเตรเลียได้เปิดโปรแกรมเรียนฟรีออนไลน์มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมี 10 วิชา(หลักสูตร วิชาละ 4 สัปดาห์) 7 เดือนต่อมา มีการเพิ่ม 32 วิชาเรียน โดยผู้ลงทะเบียนเรียน 60% มาจากต่าง ประเทศ โดยในจำ�นวนนี้ 5 ชาติที่เรียนมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐ อินเดีย สหราชอาณาจักร สเปน และ แคนาดา คอร์สที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ “Principles of project management”, “Food, nutrition and your health”, “Writing for the web”, “User experience for the web” and “Strategic management” ส่วนอาจารย์ผู้สอนก็มีความหลากหลาย เพราะมาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันในลักษณะโพลีเทคนิกต่าง ๆ สิ่งที่เป็น ความท้าทายของระบบ MOOCs การศึกษาออนไลน์ ก็คือ แม้ว่าจะดึงดูดผู้เรียนได้ จำ�นวนมาก แต่ส่วนใหญ่เรียนไม่จบ จึงเป็นปัญหาให้ผู้ออกแบบระบบต้องไปวิเครา ห์ เพราะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการเรื่องนี้ โดยที่ผ่านมา มีเพียง 1 ใน 4 ที่เรียนโปรแกรม Open2Study ที่จบหลักสูตรตามกำ�หนด อย่างไรก็ตาม ผู้ บริหารระบบOpen2Study มองในแง่ดีว่า เป็นเพราะโปรแกรมมีการเน้นคุณภาพ ที่เข้มข้น กว่ารูปแบบอื่น ๆ และจากที่มีการเปิดวิชาใหม่ขึ้นแทบทุกเดือน ทำ�ให้ คาดว่าภายในสิ้นปี 2013 Open 2S tudyจะมีวิชาเรียนเพิ่มขึ้น เป็นมากถึง 50 วิชา (ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ 2556)


8 MOOCs ผู้ให้บริการ MOOC (MOOC Provider) ยอดนิยม

Khan Academy

Salman Khan อดีตนักวิเคราะห์เฮจด์ฟันด์ผู้ก่อตั้ง Khan Academy ความเป็นมา

ก่อตั้งโดย Salman Khan ชาวอเมริกันเชื้อสายบังคลาเทศ-อินเดีย ซึ่งเปิดสอนหัวข้อในระดับมัธยมเป็นหลักและขยายไปหลากหลาย ซึ่ง Salman Khan มีอดีตเป็นนักวิเคราะห์ของบริษัทเฮจด์ฟันด์ และเคย เรียนจบทั้ง MIT และ Harvard Business School ซึ่งบังเอิญต้องมา ช่วยสอนการบ้านหลานสาวทาง YouTube เมื่อคนดูแล้วชอบเลยได้รับ การสนับสนุนจาก มูลนิธิ Bill & Melinda Gates ถึง 5.5 ล้านเหรียญ สหรัฐ และได้เงินรางวัลสนับสนุนอีกหลายแหล่ง และตอนนี้มีวิชาให้เรียนกว่า 3,000 บทเรียนแล้ว และมีคนเช้ามาเรียนกว่า 70,000 คนทุกๆ วัน มีระบบ ติดตามประเมินการเรียน และมีการให้ Badgeเป็นรางวัลรับรองความสำ�เร็จอีกด้ วย ที่สำ�คัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนใดๆ ทั้งสิ้น


MOOCs 9

Coursera

Daphne Koller โปรเฟสเซอร์ด้าน Computer Science จากมหาวิทยาลัย Stanford ผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera ความเป็นมา

Coursera เป็น MOOC ที่แสวงหากำ�ไร ก่อตั้งโดย Andrew Ng และ Daphne Koller โปรเฟสเซอร์ด้านComputer Science จากมหาวิทยาลัย Stanford โดยร่วมกับ 62 มหาวิทยาลัยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งมหาลัย ชื่อดังอย่างเช่น Duke, California Institute of Technology, University of Illinois at Urbana-Champaign เป็นต้น ที่น่าสนใจก็คือตอนนี้มีมหาวิทยาลัยหลาย ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมทั้งจากเอเชีย ยุโรป และอาหรับ ดังนั้นการเรียนจึงมีให้เลือกหลายภาษา ได้ เงินทุนสนับสนุนจากเวนเจอร์แคปิตอลมาถึง 22 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรก โดยทดลองรูปแบบธุรกิจในการให้บริการ บุคคลากรซึ่งเป็นนักเรียนของตนเองกับบริษัทต่างๆ

หลักสูตร : หลายร้อยวิชาจากเกือบร้อยมหาวิทยาลัยทั่วโลก มีวิชาหลากหลาย ตั้งแต่ computer science, math, business, humanities, social science, medicine, engineering, education

การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้าน ข้อสอบประเภทปรนัย ส่วนอัตนัยจะใช้เพื่อน 5 คนช่วยกันตรวจ ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ผ่านทางกลุ่มออนไลน์ฟอรัม และสามารถนัดพบกันได้ทาง meetupซึ่งมีกลุ่นนักเรียนจัดนัดพบกัน ตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก

เวลาในการเรียน : บทเรียนส่วนมากมีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดชัดเจน โดยสามารถย้อนกลับไปดูวีดิโอย้อนหลังได้ตลอด สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : เกียรติบัตรซึ่งมีลายเซ็นของอาจารย์คนสอนแต่ไม่ใช่จากมหาวิทยาลัย และเริ่มมีบางวิชาสามารถเทียบ โอนหน่วยกิตกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ทั่วสหรัฐอเมริกา


10 MOOCs

UDACITY (Udacity.com)

Sebastian Thrun ผู้ก่อตั้ง UDACITY (Udacity.com) ความเป็นมา

เป็น MOOC ที่แสวงหากำ�ไรก่อตั้งโดย Sebastian Thrun ซึ่งเป็น VP ของ Google อาจารย์พาร์ทไทม์จากมหาวิทยาลัย Stanford ร่วมกับPeter Norvigโดยได้ติดต่อศาสตราจารย์เก่งๆ จาก หลายมหาวิทยาลัยเข้ามาสอน ดังนั้นจึงเน้นขายชื่อผู้สอนมากกว่าชื่อ มหาวิทยาลัย โดยเน้นวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เงินทุน สนับสนุนจากบริษัทเวนเจอร์แคปิตอลมา 21 ล้านเหรียญสหรัฐ

หลักสูตร : 28 วิชา ด้านธุรกิจ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้าน ข้อสอบทั้งหมด ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ผ่านทางกลุ่มออนไลน์ และสามารถนัดพบกันได้ตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก เวลาในการเรียน : ผู้เรียนสามารถเริ่มเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ตามอัธยาศัย สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : เกียรติบัตรแบ่งระดับความสามารถ 4 ระดับ มีบริการหางานด้านเทคโนโลยีกับบริษัทใหญ่ๆ ให้ และโอนหน่วยกิตได้ในบางวิชา


MOOCs 11

edX (edx.org)

มหาวิทยาลัย Harvard และ MIT ได้ร่วมกันด่อตั้ง edX

(edx.org)

ความเป็นมา

เป็น MOOC ที่ไม่แสวงหากำ�ไร ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT โดยทั้งสองสถาบันได้ลงเงินทุนสนับสนุนให้ถึง 60 ล้านเหรียญ สหรัฐ ตอนนี้วิชาเรียนยังมาจาก Hardvard, MIT, และ UC Berkeley เป็นหลัก แต่ตอนนี้มีวิชาเรียนจากอีก 9 มหาวิทยาลัยเข้ามาร่วม และที่ น่าสนใจคือกำ�ลังจะมีมหาวิทยาลัยจากทางเอเชียหลายแห่ง เช่น ปักกิ่ง, โซล, ฮ่องกง, เกียวโต และบอมเบย์ เข้าร่วม

หลักสูตร : 68 กว่าวิชา จาก 12 มหาวิทยาลัย การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้านและ ข้อสอบทั้งหมด โดยการสอบบางวิชาจะต้องไปสอบที่ศูนย์สอบ ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ยังมีน้อยเพราะเพิ่งเปิดได้ไม่นาน ที่ผ่านมามีแค่วิชาเดียวที่มีการนัดพบกันในระดับภูมิภาค เวลาในการเรียน : ส่วนมากจะมีวันเริ่มและวันสิ้นสุดที่แน่นอน และสามารถลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจาก เริ่มสอน

สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : ได้รับเกียรติบัตร 2 ใบ ใบแรกรับรองว่าเรียนจบ อีกใบหนึ่งรับรองว่าสอบผ่าน โดยทั้งสองใบมีตรา ของ edX และตราของมหาวิทยาลัยต่อท้ายด้วย “X” เช่น HardvardX, MITXเป็นต้น


12 MOOCs โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ความจริง! ประเทศไทยก็มีการให้บริการความรู้ทางออนไลน์มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว อย่างเช่น เว็บไซต์ ไทยกู๊ดวิวดอทคอม (Thaigoodview.com) ที่เกิดจากหน่วยงานเอกชน และรัฐบาลร่วมมือกัน, วิชาการดอทคอม (vcharkarn.com) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร ์และเทคโนโลยี (สสวท), ทรูปลูกปัญญา (trueplookpanya.com) ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จำ�กัด และถ้าเป็นระดับมหาวิทยาลัยทางโครงการ Thailand Cyber University (TCU : Thaicyberu.go.th) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาของรัฐ (สกอ.) ก็ได้นำ�เสนอ บทเรียนออนไลน์เพื่อเรียนฟรีตามอัธยาศัย (self-pace) กว่า 600 รายวิชาแล้ว จากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมมือในโครงการ นี้ และปัจจุบันทาง TCU ก็กำ�ลังริเริ่มจะมีการเรียนการสอนในรูปแบบ MOOC มาตรฐาน เรียกว่า Thai-MOOC โดยมี มหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ก่อตั้งคือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็หวังว่าเราจะได้เห็นบรรยากาศ ความตื่นตัวในการเรียนรู้ของคนไทยเพื่อเตรียมตัวต้อนรับสู่ AEC ในไม่ช้านี้ ปัญหา และความท้าทายของ MOOC !

ปัญหาท้าทายมากที่สุดของ MOOC ก็คืออัตราการเลิกเรียนหรือเรียนไม่จบยังสูงมาก โดยครั้งหนึ่งได้มีการสำ�รวจพบ ว่ามีนักเรียนเข้าไปลงทะเบียนเรียนใน edX วิชา Circuits & Electronics จำ�นวนมากถึง 155,000 คน แต่มี 23,000 คน เท่านั้นที่ได้แต้มไปบ้าง (หมายถึงได้ลงมือทำ�แบบฝึกหัดอะไรไปบ้าง) แต่มีเพียง 9,300 คนที่ผ่านการสอบกลางภาค พอถึง ก่อนสอบปลายภาคก็เหลือนักเรียนแค่ 8,200คน ซึ่งจากจำ�นวนนี้มี 7,000 คนเท่านั้นที่ผ่านหลักสูตรโดยสมบูรณ์ และจาก จากสำ�รวจเจาะลึกพบกว่า มีเพียงครึ่งหนึ่งจากผู้เรียนจบเท่านั้นที่มีอายุอยู่ในวัยเรียนมหาวิทยาลัยตามระบบ ที่สำ�คัญคือ สองในสามของนักเรียนกลุ่มนี้ ยอมรับว่าเคยเรียนวิชาที่คล้ายกับวิชา Circuits & Electronics มาแล้ว แต่เกือบทุกคนบอก ว่าการออกแบบหลักสูตรของ edX ดีกว่าที่เคยเรียน จะเห็นได้ว่า MOOC อาจเป็นช่องทางการเรียนเสริมที่ดีมากกว่าการ เรียนที่จะเอาประกาศนียบัตร แต่ทำ�อย่างไรถึงจะให้ผู้เรียนตั้งใจเรียนจนจบในอัตราส่วนที่มากกว่านี้

โอกาสของคนทำ�อีเลิร์นนิง และครู/อาจารย์ !

MOOC มีโอกาสที่จะไม่ใช่แค่มา “ปรับโฉม” รูปแบบการศึกษาในโลกยุคดิจิตอลเท่านั้น แต่อาจถึงขั้น “ปฏิวัติ” การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษากันเลยทีเดียว (แต่มหาวิทยาลัยในรูปแบบเดิมก็ยังคงอยู่) ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิด ประตูแห่งโอกาสอย่างกว้างขวางสำ�หรับนักเรียนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้กับนักพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิตอล ไม่ว่า จะเป็นนักออกแบบการสอน (Instructional Designer), นักพัฒนาหลักสูตร (Courseware Engineer), นักออกแบบ กราฟิก, นักถ่ายและตัดต่อวิดิโอ แม้กระทั่งครูอาจารย์ที่จะได้บทบาทเพิ่มเติมเป็นนักแสดง นักเล่าเรื่อง และนักเขียนบทอีกด้วย ซึ่งดูเหมือนงานจะมากขึ้น แต่ความจริงแล้วงานสอนจะมีความสร้างสรรค์และมีคุณภาพมากขึ้น แต่เหนื่อยที่ต้องพูดซ้ำ�ๆ กัน น้อยลงมากมาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำ�รายได้มากขึ้นจากส่วนแบ่งของการสอนอีกด้วย (ภาสกร ใหลสกุล 2014)


MOOC

จัดทำ�โดย : นายธีรศักดิ์ คนต่ำ� รหัสนิสิต 59010518076 จัดทำ�เมื่อ : 3 เมษายน 2560


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.