หนังสือคู่มือปฏิบัติการ จุลกายวิภาคศาสตร์มนุษย์

Page 1

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

ม ห า วิ ท ย า ลั ย น เ ร ศ ว ร

หนังสือคู่มือปฏิบัติการ

(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

Laboratory Direction : Human Microscopic Anatomy

บรรณาธิการ

¢¹ÔÉ°Ò ÈÃÕàÁ×ͧǧÈ

ÂØ·¸¾§É ·Í§¾º

(Third Edition)

Ë·ÑÂÃѵ¹ à¤Ã×ÍäÇÈÂÇÃó


หนังสือคู่ม ือปฏิบตั ิการจุลกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (ฉบับ ปรับปรุงครัง้ ที่ 2) Laboratory Direction: Human Microscopic Anatomy (Third Edition) บรรณาธิการ

อาจารย์ ดร.ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์ อาจารย์ ดร.ยุทธพงษ์ ทองพบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยรัตน์ เครือไวศยวรรณ

กองบรรณาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริยา พรมสุบรรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ อรรถปัณยวนิช อาจารย์ ดร.ศศิประภา ขุนชัย อาจารย์ ดร.สังกัป สุด สวาสดิ์

เรียบเรียงและจัดทาโดย

คณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

พิมพ์ค รั้งที่ 1 พิมพ์ค รั้งที่ 2 พิมพ์ค รั้งที่ 3

ตุลาคม 2555 มิถุนายน 2558 (ฉบับปรับปรุงครัง้ ที่ 1) พฤศจิกายน 2564 (ฉบับปรับปรุงครัง้ ที่ 2)

สงวนลิขสิทธิ์

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สงวนลิขสิทธิต์ ามพระราชบัญญัตลิ ขิ สิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ทาซ้าหรือลอกเลียนแบบโดยไม่ได้ร ับอนุญาต

ออกแบบปก ออกแบบรูปเล่ม จัดทารูปเล่มออนไลน์ จานวนหน้า

ยุทธพงษ์ ทองพบ ศศิประภา ขุนชัย ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์ ยุทธพงษ์ ทองพบ สัง กัป สุด สวาสดิ์ ชาคริยา พรมสุบรรณ์ 214 หน้า

จานวนพิมพ์ 1,000 เล่ม จานวนพิมพ์ 1,500 เล่ม รูปแบบ eBook

ราคา 300 บาท ราคา 300 บาท ราคา 199 บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ / National Library of Thailand Cataloging in Publication data หนังสือคู่มือปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ -- พิมพ์ครั้งที่ 3. -- พิษณุโลก : ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2564. 214 หน้า. 1. จุลกายวิภาคศาสตร์. I. ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์. II. ชื่อเรื่อง. 611.8 ISBN (e-book) 978-616-8219-30-0 (วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2564)


คานา (ฉบับ พิมพ์ครัง้ ที่ 1)

หนั ง สือ คู่ มือ ปฏิบั ต ิ ก าร จุล กายวิภ าคศาสต ร์ (Human Microscopic Anatomy) เล่ มนี้ จั ด ทาขึ้ นเพื่อ ใช้ ประกอบการจัด การเรี ยนการสอนในรายวิชาจุลกายวิภาคศาสตร์ (401214) ส าหรับ นิสิต คณะทั นตแพทยศาสต ร์ ชั้น ปี ที่ 2 รายวิชา Microscopic Anatomy (419531) สาหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และนิสิ ต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลัย นเรศวร โดยได้มีการจัดทารูปภาพประกอบและมีการเรียบเรียงการทาปฏิบัตกิ ารอย่างเป็นลาดับขัน้ ตอน เพื่อให้นสิ ิตสามารถเรียนรู้ ได้ด ้วยตนเอง และเป็นการส่งเสริมการเรียนรูจ้ ากประสบการณ์จริงของนิสติ นอกจากนี้ยัง ได้มี ก ารสรุปเนื้อ หาในภาคบรรยาย ไว้ เพื่อให้นิสิต ได้ทบทวนเนือ้ หาก่อนเข้าสูข่ ั้นตอนการทาปฏิบัตกิ าร คณะผู้จัด ทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือคูม่ ือปฏิบัตกิ ารเล่มนี้ จะยังประโยชน์สูงสุดแก่นสิ ิต ในการศึก ษาหาความรู้ จากการทาปฏิบตั กิ ารทางด้านจุลกายวิภาคศาสตร์ อันจะเป็นพื้นฐานสาคัญต่อการศึ กษาในขั้นสูงต่อไป หากมีขอ้ บกพร่อ งประการ ใด คณะผู้จัดทายินดีรบั ฟังและปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป

คณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ตุลาคม 2555


คานา (ฉบับ ปรับปรุงครัง้ ที่ 1)

หนัง สือคูม่ ือปฏิบตั กิ ารจุลกายวิภาคศาสตร์ (Human Microscopic Anatomy) เล่มนี้ จัดทาและปรับ ปรุง แก้ ไ ข เนื้อหา และรูปภาพประกอบ เพื่อใช้ประกอบการจัด การเรีย นการสอนภาคปฏิบัต ิการจุลกายวิภาคศาสตร์ สาหรับนิสิ ต คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาหรับนิสติ ระดับบัณฑิตศึกษา และนิ สิ ต คณะวิ ท ยาศาสตร์ การแพทย์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยได้มีการจัดทารูปภาพประกอบและมีการเรียบเรียงการทาปฏิบัตกิ ารอย่างเป็นลาดับ ขั้นตอน เพื่อให้นสิ ติ สามารถเรียนรูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง และเป็นการส่ง เสริมการเรียนรูจ้ ากประสบการณ์จริงของนิสติ นอกจากนี้ยั ง ได้มี การสรุปเนื้อหาในภาคบรรยายไว้ เพื่อให้นสิ ิตได้ทบทวนเนื้อหาก่อนเข้าสู่ขนั้ ตอนการทาปฏิบัตกิ าร คณะผู้จัด ทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือคูม่ ือปฏิบัตกิ ารเล่มนี้ จะยังประโยชน์สูงสุดแก่นสิ ิต ในการศึกษาหาความรู้ จากการทาปฏิบตั กิ ารทางด้านจุลกายวิภาคศาสตร์ อันจะเป็นพื้นฐานสาคัญต่อการศึกษาในขั้นสูงต่อไป หากมีขอ้ บกพร่องประการ ใด คณะผู้จัดทายินดีรบั ฟังและปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป

คณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มิถุนายน 2558


คานา (ฉบับ ปรับปรุงครัง้ ที่ 2)

ปัจจุบันนี้ การศึกษาในทุกศาสตร์สาขาวิชาการและวิชาชีพ โดยเฉพาะการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ต้อ ง อาศัยการค้นคว้าและการเรียนรูด้ ว้ ยตัวเองมากขึ้นอย่างมีนยั สาคัญ ภาควิ ชากายวิภ าคศาสตร์ ค ณะวิ ท ยาศาสตร์ก ารแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงเล็ง เห็นความสาคัญในการพัฒนาปรับปรุงสือ่ การเรียนการสอนของภาควิชาฯ จึง มีมติที่ ประชุ ม ภาควิ ชาฯ มอบหมายอาจารย์ ดร.ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์ และทีมบรรณาธิการในการจัดทาและปรับปรุง หนัง สือคูม่ ือ ปฏิ บัต ิก ารจุล กายวิ ภาค ศาสตร์มนุษย์ (Laboratory Direction: Human Microscopic Anatomy) เล่มนีใ้ ห้มีเนือ้ หาทีด่ ขี ึ้นและมี ค วามทัน สมั ย มากขึ้ น โดยทีมบรรณาธิการได้ประสานกับคณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละหัวข้อบทปฏิบตั ิก ารเพื่ อ เป็ นส่ วนร่ว ม สาคัญ ในการเป็นผู้เขียนและผู้ปรับปรุงหนังสือคูม่ ือปฏิบตั กิ ารจุลกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (ฉบับปรับปรุงครัง้ ที่ 2) เล่ ม นี้ โดยการ ปรับปรุงครังนี ้ ไ้ ด้มีการปรับปรุงทัง้ เนือ้ หาบรรยาย ขั้นตอนการทาปฏิบัตกิ ารอย่างเป็นระบบ รูป ภาพปร ะกอบ ค าอธิบายแต่ละ ขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนีใ้ นหนังสือคูม่ ือปฏิบตั กิ ารฯ (ฉบับปรับปรุงครัง้ ที่ 2) นี้ยังได้มีการเรียบเรียงเนือ้ หาใหม่ทงั้ หมด อีก 2 บทปฏิบัต ิการ คือบทที่ 14 เรือ่ งระบบสืบพันธุเ์ พศชาย และบทที่ 15 เรือ่ งระบบสืบพันธุเ์ พศหญิง อีกทั้งยังมีการเพิ่มรูปภาพ จากสื่อออนไลน์และแหล่งศึกษาเรียนรูต้ อ่ ยอดด้วยตัวเอง หนัง สือคูม่ ือปฏิบตั กิ ารจุลกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (ฉบับปรับปรุงครัง้ ที่ 2) จึง ถือเป็นสื่อภาษาไทยที่นบั ว่าเป็นปัจจั ย สาคัญ ที่จะเป็นเครือ่ งมือในการสนับสนุนการศึกษาภาคปฏิบัตกิ ารด้านจุลกายวิภาคศาสตร์ด ้วยตนเองให้ บรรลุ ผลส าเร็จ อย่า งมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึน้ ทีมบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่ ง ว่ า หนัง สือ คู่มื อ ปฏิ บัต ิก ารจุล กายวิ ภาคศาสตร์ม นุษ ย์ (ฉบับปรับปรุงครังที ้ ่ 2) เล่มนี้จะเป็นประโยชน์อย่า งยิง่ กับผู้สอน ผู้เรียนและผู้สนใจในการศึกษาหาความรู้ทางด้า นปฏิ บัต ิก ารจุล กายวิภาคศาสตร์ให้มีความรูแ้ ตกฉานมากยิง่ ขึ้น เพื่อเป็นพืน้ ฐานความรูค้ วามเข้าใจในการต่อยอดความคิดและทักษะไปยั ง ศาสตร์ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อบกพร่องประการใด ทีมบรรณาธิการยินดีน้อมรับคาติชมเพื่อนามาปรับปรุงแก้ไ ข หนัง สือเล่มนีใ้ ห้ดยี งิ่ ขึ้นต่อไป

อาจารย์ ดร.ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์ อาจารย์ ดร.ยุทธพงษ์ ทองพบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยรัตน์ เครือไวศยวรรณ บรรณาธิการ พฤศจิกายน 2564


ผู้ร่วมนิพนธ์ คณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


ผู้ร่วมนิพนธ์ คณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


สารบัญ หน้า ปฏิบัต ิการที่ 1

บทนาสู่จุลกายวิภาคศาสตร์และเซลล์วิทยา (Introduction to Histology and Cytology) ผู้เขียนและปรับปรุง ผศ.ดร.ณัฐธิยา สกุลศักดิ์

1-14

ปฏิบัต ิการที่ 2

เยื่อบุผิว (Epithelial Tissue) ผู้เขียนและปรับปรุง ผศ.ดร.หทัยรัตน์ เครือไวศยวรรณ

15-26

ปฏิบัต ิการที่ 3

เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเยือ่ หุม้ (Connective Tissue and Membrane) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.สังกัป สุดสวาสดิ์

27-40

ปฏิบัต ิการที่ 4

เนื้อเยื่อกล้ามเนือ้ (Muscular Tissue) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ยุทธพงษ์ ทองพบ

41-48

ปฏิบัต ิการที่ 5

เนื้อเยื่อประสาท (Nervous Tissue) ผู้เขียน รศ.ดร.สุทสิ า ถาน้อย ผู้ปรับปรุง ดร.ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์

49-60

ปฏิบัต ิการที่ 6

กระดูกอ่อนและกระดูกแข็ง (Cartilage and Bone) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ปุณกิ า นามวงค์สะกุล

61-72

ปฏิบัต ิการที่ 7

ระบบปกคลุมร่างกาย (Integumentary System) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ปุณกิ า นามวงค์สะกุล

73-82


สารบัญ หน้า ปฏิบัต ิการที่ 8

เนื้อเยื่อเลือด (Hemopoietic Tissue) ผู้เขียน ดร.เทวรัตน์ คุ้มจันทึก ผู้ปรับปรุง ดร.เขมิสา ศรีเสน

83-88

ปฏิบัต ิการที่ 9

ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System) ผู้เขียน ดร.เทวรัตน์ คุ้มจันทึก ผู้ปรับปรุง ดร.เขมิสา ศรีเสน

89-104

ปฏิบัต ิการที่ 10

ระบบหายใจ (Respiratory System) ผู้เขียนและปรับปรุง ผศ.ดร.อิทธิพล พวงเพชร

105-112

ปฏิบัต ิการที่ 11

ระบบน้าเหลือง (Lymphatic System) ผู้เขียน ผศ.พงษ์พทิ ักษ์ ภูตวิ ัตร์ ผู้ปรับปรุง ดร.นราวดี ชมภู

113-122

ปฏิบัต ิการที่ 12

ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์

123-146

ปฏิบัต ิการที่ 13

ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary System) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์

147-156


สารบัญ หน้า ปฏิบัต ิการที่ 14

ระบบสืบพันธุเ์ พศชาย (Male Reproductive System) ผู้เขียน ดร.ยุทธพงษ์ ทองพบ

157-168

ปฏิบัต ิการที่ 15

ระบบสืบพันธุเ์ พศหญิง (Female Reproductive System) ผู้เขียน ผศ.ดร.หทัยรัตน์ เครือไวศยวรรณ

169-180

ปฏิบัต ิการที่ 16

อวัยวะรับความรูส้ ึกพิเศษ (Special Sense Organs) ผู้เขียน รศ.ดร.สุทสิ า ถาน้อย ผู้ปรับปรุง ผศ.รัชนี ชนะสงค์

181-194

ปฏิบัต ิการที่ 17

ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ยุทธพงษ์ ทองพบ

195-204



Introduction to Histology and Cytology

ปฏิบัติการที่ 1 บทนำสู่จุลกายวิภาคศาสตร์และเซลล์วิทยา (Introduction to Histology and Cytology) ผู้เขียนและปรับปรุง ผศ.ดร.ณัฐธิยา สกุลศักดิ์ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงองค์ประกอบที่สำคัญของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง (light microscope) 2. สามารถชี้แสดงองค์ประกอบที่สำคัญภายในเซลล์ระดับจุลกายวิภาค 3. สามารถชี้แสดงเซลล์รูปร่างต่าง ๆ 4. สามารถชี้แสดงระยะการแบ่งตัวของเซลล์ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light microscope) ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้ (รูปที่ 1) 1. ฐานกล้อง (Base) มีรูปร่างสี่เหลี่ยมหรือวงกลม ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของกล้องจุลทรรศน์ และกล้องจุลทรรศน์ บางรุ่นทีบ่ ริเวณฐานมีปุ่มสำหรับปิดและเปิดไฟฟ้า 2. แขนกล้อง (Arm หรือ carrying handle) เป็นส่วนยึดลำกล้องและฐานไว้ด้วยกัน และใช้เป็นที่จับขณะเคลื่อนย้าย กล้อง 3. แท่นวางวัตถุ (Stage) มีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยมหรือวงกลมสำหรับวางสไลด์ตัวอย่าง สามารถปรับเลื่อนขึ้นและลงได้ ในกล้องรุ่นใหม่มีอุปกรณ์ช่วยในการเลื่อนสไลด์ได้สะดวกขึ้นเรียกว่า mechanical stage บริเวณตรงกลางมีรู (aperture) ให้แสงจากหลอดไฟส่องผ่านสไลด์ตัวอย่าง ด้านบน stage มีคลิปสำหรับยึดสไลด์ตัวอย่างเรียกว่า specimen holder 4. เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวบรวมแสงและส่งผ่านไปยังบริเวณตัวอย่างที่อยู่บนแผ่นสไลด์ โดยทั่วไปเลนส์ รวมแสงจะอยู่ด้านใต้ของแท่นวางวัตถุ 5. ไอริส ไดอะแฟรม (Iris diaphragm หรือ diaphragm) ทำหน้าที่เสมือนม่านปิดและเปิดรูรับแสง เพื่อปรับปริมาณ แสงให้เข้าสู่เลนส์ตามปริมาณที่ต้องการ โดยทั่วไปจะอยู่ด้านล่างบริเวณใต้แท่นวางวัตถุ มีคันโยกสำหรับปรับขนาดรูรับ แสงจึงสามารถปรับขนาดเพื่อให้ได้ปริมาณแสงตามความต้องการ 6. จานหมุนเลนส์ (Revolving nosepiece) มีลักษณะเป็นแผ่นกลมหมุนได้และมีเลนส์ใกล้วัตถุขนาดต่าง ๆ ติดอยู่ ใช้ สำหรับหมุนเพื่อเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุตามความต้องการ 7. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) ติดอยู่เป็นชุดกับจานหมุนเลนส์ ประกอบด้วยเลนส์ที่รับแสงที่ส่องผ่านมาจากตัวอย่าง ที่นำมาศึกษา (specimen) เมื่อลำแสงผ่านเลนส์ใกล้วัตถุ เลนส์นี้จะทำหน้าที่ขยายภาพของตัวอย่างนั้น และทำให้ภาพที่ ได้เป็นภาพจริงหัวกลับ (primary real image) เลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยายต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับชนิดของกล้อง โดยทั่วไป เลนส์ ใกล้ วั ต ถุ ก ำลั งขยายต่ ำ (lower power) มี ก ำลั งขยาย 4X, 10X และ 20X เลนส์ ใกล้ วั ต ถุ ก ำลั งขยายสู ง (high power) มีกำลังขยาย 40X และเลนส์ใกล้วัตถุแบบ oil immersion มีกำลังขยาย 100X 8. เลนส์ใกล้ตา (Eyepiece หรือ ocular lens) เลนส์นอี้ ยูท่ างด้านบน ส่วนใหญ่เป็นแบบสองตาที่สามารถปรับระยะ ความห่างของตาได้ ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุทำให้เกิดภาพที่ตาของผู้ใช้กล้องสามารถมองเห็นได้ โดย ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ (secondary virtual image) มีกำลังขยาย 5X, 10X หรือ 15X กล้องที่ใช้ใน ห้องปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์นั้น มีกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตาที่ 10X 9. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment knob) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเลื่อนระยะของเลนส์ใกล้วัตถุ ส่งผลทำให้เกิด การเลื่อนตำแหน่งของแท่นวางวัตถุขึ้นและลง ถ้าหากตัวอย่างที่ต้องการศึกษาอยู่ในระยะโฟกัส จะสามารถมองเห็นภาพ ได้ โดยทั่วไปปุ่มนี้มีขนาดใหญ่อยู่บริเวณด้านข้างของตัวกล้อง Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

Page |1


Introduction to Histology and Cytology 10. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment knob) ทำหน้าที่ปรับภาพให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น โดยทั่วไปปุ่มนีเ้ ป็นปุ่ม ขนาดเล็กที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับปุ่มปรับภาพหยาบ แต่อยูถ่ ัดจากปุ่มปรับภาพหยาบออกมาทางด้านนอก ในการใช้งาน ให้เริ่มจากการปรับด้วยปุ่มปรับภาพหยาบจนมองเห็นภาพ แล้วหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดจะทำให้เห็นภาพทีช่ ัดยิ่งขึ้น เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ระดับจุลกายวิภาคศาสตร์ โดยทั่ ว ไปเซลล์ สั ต ว์ ถู ก ห่ อ หุ้ ม ด้ ว ยเยื่ อ บาง ๆ เรี ย กว่ า เยื่ อ หุ้ ม เซลล์ (cell membrane หรื อ plasma membrane) ซึ่งภายในเซลล์ประกอบด้วย นิวเคลียส (nucleus) และส่วนที่เหลือทั้งหมดเรียกรวมกันว่า ไซโทพลาสซึม (cytoplasm) 1) นิวเคลียส (Nucleus) เป็นองค์ประกอบสำคัญภายในเซลล์ เนื่องจากเป็นแหล่งเก็บสารพันธุกรรม (DNA) ในรูป โครมาติน (chromatin) ภายในนิวเคลียสมีองค์ประกอบขนาดเล็กเรียกว่า นิวคลีโอลัส (nucleolus) ทำหน้าที่สร้างไรโบโซม (ribosome) เมือ่ สังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์จะพบ nucleolus มีลักษณะเป็นจุดขนาดเล็กติดสีเข้ม 1-2 จุด 2) ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) หมายถึง พื้นที่ภายในเซลล์นอกจากส่วนที่เป็นนิวเคลียส ซึ่งบรรจุสารน้ำในเซลล์ เรียกว่า ไซโตซอล (cytosol) และโครงสร้างเล็ก ๆ เรียกว่า cytoplasmic organelles ทีทำหน้าที่ต่าง ๆ กันภายในเซลล์ ซึ่ง การศึก ษา cytoplasmic organelles เหล่านี้ ภ ายใต้ก ล้อ งจุล ทรรศน์ แบบใช้แสง ต้อ งอาศัยวิธีก ารย้อ มพิ เศษที่ จำเพาะต่อ organelles ชนิดนั้น หรือศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ดังนั้นหากศึกษาเซลล์ที่ย้อมด้วย hematoxylin & eosin หรือ H&E ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง จะไม่สามารถศึกษาโครงสร้างของ organelles ได้ การแบ่งชนิดของเซลล์โดยอาศัยรูปร่าง (Cell shape) 1) เซลล์รูปร่างกลม (Spherical cell) เช่น เซลล์ไข่ (ovum) ที่อยู่ภายในรังไข่ 2) เซลล์รูปร่างแบน (Squamous cell) เช่น เซลล์ที่บุผนังหลอดเลือด (endothelium) เซลล์ที่บุด้านนอกของผนังอวัยวะ ต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร และเซลล์ที่บุผนังด้านในของ Bowman’s capsule ที่อยู่ภายในไต 3) เซลล์รูปร่างสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ (Cuboidal cell) เช่น เซลล์ที่บุตามผนังท่อภายในไต 4) เซลล์รูปร่างทรงกระบอก (Columnar cell) เช่น เซลล์ที่บุภายในของผนังอวัยวะต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร 5) เซลล์รูปร่างหลายเหลี่ยม (Polygonal cell) เช่น เซลล์ที่อยู่ในชั้นหนังกำพร้า (epidermis) 6) เซลล์รูปร่างคล้ายกระสวย (Fusiform หรือ spindle cell) เช่น เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle cell) 7) เซลล์รูปร่างคล้ายดาว (Stellate cell) เช่น เซลล์ประสาท (neuron) ที่อยู่ในไขสันหลัง (spinal cord) 8) เซลล์รปู ร่างคล้ายแจกัน (Flask cell) เช่น เซลล์ชอื่ ว่า Purkinje’s cell ที่พบในสมองน้อย (cerebellum) 9) เซลล์รูปร่างคล้ายปิรามิด (Pyramidal cell) เช่น เซลล์ประสาท (neuron) ที่อยู่ในสมองใหญ่ (cerebrum) การแบ่งเซลล์ (Cell division) การแบ่งเซลล์เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ในการเจริญเติบโตหรือทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป และดำรงเผ่าพันธุ์ของ สิ่งมีชีวิต ซึ่งประกอบด้วย การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis) และการแบ่งไซโทพลาสซึม (cytokinesis) โดยการแบ่งนิวเคลียส มี 2 แบบคือ 1) ไมโทซิส (mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์รา่ งกาย (somatic cell) จะทำให้ได้เซลล์ลูก (daughter cell) 2 เซลล์ที่ มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม คือ 2n และ 2) ไมโอซิส (meiosis) เป็นการแบ่งเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell หรือ gamete) จะทำให้ได้เซลล์ลูก 4 เซลล์ที่มีโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง หรือ n วัฏจักรของเซลล์ (Cell cycle) ประกอบด้วย 2 ระยะใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) ระยะพั ก (Interphase) เป็ น ระยะที่ เซลล์ ยั งไม่ มี ก ารแบ่ งตั ว เมื่ อ สั งเกตภายใต้ ก ล้ อ งจุ ล ทรรศน์ จ ะพบว่ า มี นิวเคลียสขนาดใหญ่ ทำให้สามารถมองเห็นนิวคลีโอลัส (nucleolus) ได้ชัดเจน และเส้นใยโครมาตินจะสานกันเป็นร่างแห 2) ระยะแบ่งตัว (Mitotic หรือ M phase) เป็นระยะที่เซลล์มีการแบ่งตัวแบบไมโทซิส (mitotic cell division) ซึ่ง แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 2|Page

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Introduction to Histology and Cytology 2.1 โปรเฟส (Prophase) เป็นระยะที่เส้นใย chromatin จะหดสั้นเป็นแท่งเรียกว่า โครโมโซม (chromosome) โดยแต่ละโครโมโซมจะประกอบด้วย 2 โครมาติด (chromatid) ที่ถูกยึดกันตรงตำแหน่งที่เรียกว่า เซนโตรเมียร์ (centromere) เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสจะสลายไป เมื่อสังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์จะพบว่าเซลล์มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ โครโมโซม ติดสีเข้มจนสามารถเห็นได้ชัดเจน และไม่พบนิวคลีโอลัส 2.2 เมตาเฟส (Metaphase) เป็ น ระยะที่ โครโมโซมเคลื่อ นตัวไปอยู่กึ่งกลางของเซลล์ เมื่ อ สังเกตภายใต้ก ล้อ ง จุลทรรศน์จะพบแนวการจัดเรียงของโครโมโชมได้อย่างชัดเจน 2.3 อะนาเฟส (Anaphase) เป็นระยะที่แต่ละคู่โครโมโซมถูกเส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) ดึงแยกออกจากกัน ตรงบริเวณเซนโตรเมียร์ ให้แยกไปอยู่ยังขั้วตรงกันข้าม เมื่อสังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์จะพบแนวของโครมาติดแต่ละเส้นที่ กำลังถูกดึงแยกจากกัน 2.4 เทโลเฟส (Telophase) เป็ น ระยะที่ เซลล์ ลู ก (daughter cell) ไปรวมอยู่ ที่ ขั้ ว ตรงข้ า มของเซลล์ เยื่ อ หุ้ ม นิวเคลียสและนิวคลีโอลัสเริ่มปรากฎ โครโมโซมมีการคลายตัวเป็นเส้นยาว เมื่อสังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์จะพบเซลล์ลูก 2 เซลล์ สามารถมองเห็นแนวของเยื่อหุ้มนิวเคลียสและเยื่อหุ้มเซลล์ที่แบ่งกั้นแต่ละเซลล์ การศึกษาส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง (Light microscope) ขั้นตอนการศึกษา 1. ศึกษาส่วนประกอบสำคัญของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง โดยใช้ภาพด้านล่างประกอบการศึกษา 2. การเก็บกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำสุดมาอยู่ตรงตำแหน่ง iris diaphragm แล้วหมุนปรับฐานกล้องให้ลงมาตำแหน่งต่ำสุด พร้อมกับม้วนเก็บสายไฟให้เรียบร้อย

รูปที่ 1 ภาพแสดงส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง ที่มา: http://www.coconuthead.org/content/microscopegif_151054 Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

Page |3


Introduction to Histology and Cytology การศึกษาเซลล์ในสไลด์ 1. ศึกษาเซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 84 (Ovary)

เลือกศึกษาบริเวณขอบของตัวอยEางเนื้อเยื่อรังไขEที่ติดสีจางบนสไลดO (ในกรอบสี่เหลี่ยม) ซึ่งเปWนตำแหนEงที่สามารถพบเซลลOไขE (ovum) ที่ ต^องการศึกษา

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X เลือกศึกษาที่บริเวณใกล้ขอบนอกของรัง ไข่ (ในกรอบสี่เหลี่ยม) จะสังเกตเห็น เซลล์ไข่ (ovum) ซึ่ ง มี รู ป ร่ า งกลม (spherical cell) ส่วนที่เห็นลักษณะคล้ายช่องว่างอยู่ภายในของ แต่ละเซลล์นั้นคือไซโทพลาสซึมของเซลล์

40X

ติด

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X จะสามารถศึกษาองค์ประกอบของเซลล์ ไข่แต่ละเซลล์ได้ชัดเจนขึ้น (ในกรอบสี่เหลี่ยม) โดยจะพบพื้นที่ที่ติดสีจางและอยู่บริเวณขอบ นอกของเซลล์คือไซโทพลาสซึม ส่วนพื้ น ที่ที่ สีม่วงน้ำเงินเข้มกว่าและอยู่บริเวณด้านในของ เซลล์คือนิวเคลียส

100X

4|Page

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Introduction to Histology and Cytology ขั้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X จะ ส าม ารถ ศึ ก ษ าแ ย ก ส่ วน cytoplasm (ลู ก ศ ร) แ ล ะ nucleus (ลูกศร) ได้ชัดเจนขึ้น ให้สังเกตภายใน nucleus จะพบจุดกลมเล็ก ๆ ติดสีม่วงน้ำเงินเข้ม ในบางเซลล์อาจ พบมากกว่า 1 จุดคือ nucleolus (ลูกศร)

Cytoplasm

Nucleolus Nucleus

400X 2. ศึกษาเซลล์ที่มีรูปร่างต่าง ๆ 2.1 ศึกษาเซลล์รูปร่างกลม (spherical cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 84 (Ovary) ทำการศึกษาเชEนเดียวกับข^อที่ 1 โดยเน^นให^สังเกต รูปรEางของเซลลOไขE (ovum) จะพบวEามีรูปรEางคEอนข^างกลม 2.2 ศึกษาเซลล์รูปร่างแบน (squamous cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 76 (Kidney)

เลือกศึกษาบริเวณขอบของตัวอยEางเนื้อเยื่อไตที่ติดสีเข^มบนสไลดO (ในกรอบ สี่เหลี่ยม) ซึ่งเปWนชั้นนอกของเนื้อเยื่อไตเรียกวEา cortex

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

Page |5


Introduction to Histology and Cytology ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด6วยเลนส<วัตถุกำลังขยาย 4X เลือกศึกษาในบริเวณที่มีโครงสร^างลักษณะคล^าย ก^ อ นกลมที่ เรี ย กวE า renal corpuscle (ในกรอบ สี่เหลี่ยม)

40X ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด6วยเลนส<วัตถุกำลังขยาย 40X เลือกศึกษาเซลลOที่บุผนังด^านในของแอEงที่เรียกวEา Bowman’s capsule จะพบวEาเซลลOดังกลEาวนี้เปWน เซลลO รู ป รE า งแบนชนิ ด squamous cell (ลู ก ศร) และมี ก ารเรีย งตั ว ตE อ เนื่ อ งกั น เปW น ผนั งบาง ๆ ซึ่ ง สามารถเห็นได^ชัดเจนเฉพาะสEวนของ nucleus ที่มี ลักษณะคล^ายจุดแบน ๆ ที่ติดสีมEวงน้ำเงินเข^มและ วางตั ว หE า ง ๆ กั น เปW น ระยะตามแนวของผนั ง Bowman’s capsule และกลุE ม หลอดเลื อ ดที่ อ ยูE ภายในเรียกวEา glomerulus (G)

G

400X 2.3 ศึกษาเซลล์รูปร่างสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ (cuboidal cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 76 (Kidney)

เลือกศึกษาบริเวณที่ติดสีจาง ซึ่งอยูEถัดจากสEวนที่ติดสีเข^มเข^ามาทางด^านในของ เนื้ อ เยื่ อ ไตบนสไลดO (ในกรอบสี่ เหลี่ ย ม) ซึ่ ง เปW น ชั้ น ในเนื้ อ เยื่ อ ไต เรี ย กวE า medulla

6|Page

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Introduction to Histology and Cytology ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 4X จะพบว่ า มี โ ครงสร้ า งที่ มี ลั ก ษณะคล้ า ยวง แหวนล้อ มรอบพื้ น ที่ สีข าวกระจายอยู่ทั่ วไป ซึ่ง โครงสร้ า งเหล่ า นี้ คื อ ท่ อ ชนิ ด ต่ า ง ๆ ที่ อ ยู่ ใ น เนื้อเยื่อชั้นในของไต

40X

400X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 40X เลื อ กศึ ก ษาท่ อ ที่ ถู ก ตั ด ตามขวาง สั ง เกต เซลล์ ที่ จั ด เรีย งกั น เป็ น วง และบุ ผ นั งท่ อ ด้ านใน เซลล์ เหล่ านี้ เป็ น เซลล์ รูป ร่างสี่ เหลี่ ย มลู ก บาศก์ ชนิ ด cuboidal cell (ลู ก ศร) จะเห็ น ได้ ชั ด เจน เฉพาะส่ วนของนิ วเคลี ย ส ที่ มี ลั ก ษณะค่ อ นข้ าง กลม ติดสีม่วงน้ำเงินเข้ม และจัดเรียงตัวห่างกัน เป็ น ระยะ ๆ รอบท่ อ ไต ปริม าณไซโทพลาสซึ ม รอบนิ วเคลียสมีป ริม าณเท่ า ๆ กัน ทุ ก ด้าน บาง เซลล์อาจสังเกตเห็นขอบเขตของเยื่อหุ้มเซลล์ทำ ให้เห็นลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ได้ชัดเจน

2.4 ศึกษาเซลล์รูปร่างทรงกระบอก (columnar cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 63 (Colon)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X เลือ กศึ ก ษาเซลล์ที่ เรีย งตัวเป็ น แถวยาว บริเวณขอบบน (ลูกศร) ที่ประกอบเป็นผนังบุ ด้านในของลำไส้ใหญ่ (colon)

100X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

Page |7


Introduction to Histology and Cytology

Mucus

Cytoplasm

Nucleus

400 X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 40X จะพบว่ าเซลล์ ที่ ป ระกอบเป็ น ผนั งด้ า นใน ของลำไส้ ใหญ่ มี รูป ร่างคล้ ายทรงกระบอก เป็ น ชนิ ด columnar cell (ในเส้ น ประ) ส่ ว นของ nucleus (ลู ก ศร) มี ลั ก ษณ ะคล้ า ยวงรี (oval shape) ติ ด สี ม่ ว งน้ ำ เงิน และวางตั ว ชิ ด กั บ เซลล์ ด้ า นข้ า ง ส่ ว นบริ เ วณ ที่ ติ ด สี ช มพู อ ยู่ ร อบ ๆ นิวเคลียสคือไซโทพลาสซึม ภายใน cytoplasm (ลู ก ศร) มี ส่ ว น วงกลมใสที่ อยู่ ด้ า น บ น ของ นิ ว เคลี ย สคื อ สารเมื อ ก (mucus; ลู ก ศร) ที่ ถู ก สร้างจากเซลล์ แต่เซลล์บ างตัวไม่สร้าง mucus จึงไม่พบโครงสร้างนี้ 2.5 ศึกษาเซลล์รูปร่างทรงหลายเหลี่ยม (polygonal cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 46 (Thick skin)

เลือกศึกษาบริเวณด^านนอกของผิวหนัง (skin) ที่ติดสีชมพูเข^ม ของเนื้อเยื่อบนสไลดO (ในกรอบสี่เหลี่ยม) ซึ่งเปWนชั้นหนังกำพร^า ทีเ่ รียกวEา epidermis

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 10X เลือกศึกษาบริเวณที่สังเกตเห็นเซลล์เรียงตัว ซ้อนกันหลายชั้น และติดสีเข้มกว่าบริเวณรอบ ๆ (ลูกศร) จากนั้น ให้เลือกศึกษากลุ่มเซลล์บ ริเวณ ตรงกลางของชั้ น นี้ ซึ่ ง เรี ย กว่ า ชั้ น stratum spinosum ของ epidermis

100X

8|Page

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Introduction to Histology and Cytology

Nucleolus

Nucleus

400X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 4 0 X จ ะ เห็ น ว่ าเซ ล ล์ ที่ อ ยู่ ใน ชั้ น stratum spinosum มีขอบเขตให้เห็นจาง ๆ แต่ละเซลล์มี รูปร่างหลายเหลี่ยม หรือ polygonal cell (แนว เส้นประ) ซึ่งภายในจะพบ nucleus (ลูกศร) อยู่ กลางเซลล์ และติด สีจางกว่า cytoplasm ที่ อ ยู่ ล้ อ มรอบและภายในนิ วเคลี ย สจะเห็ น จุ ด ขนาด เล็กที่ติดสีเข้มชัดเจนคือ nucleolus (ลูกศร)

นอกจากนี้นิสิตยังสามารถศึกษาเซลลOรูปรEางหลาย เหลี่ยมได^จากเซลลOภายในตับจาก virtual slide Nucleus

จากภาพเซลลO รู ป รE า งหลายเหลี่ ย ม (ในแนว เส^ น ประ) ภายในมี nucleus (ลู ก ศร) ล^ อ มรอบ ด^วยไซโทพลาสซึม และภายในนิวเคลียสจะมีจุด ขนาดเล็กที่ติดสีเข^มชัดเจนคือ nucleolus (ลูกศร) (ที่มา: ดัดแปลงจาก https://histologyguide.com/slideview/MH-015mitosis/01-slide-1.html สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564)

Nucleolus

400X 2.6 ศึกษาเซลล์รูปคล้ายกระสวย (fusiform หรือ spindle cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 22 (Smooth muscle)

บริเวณที่ติดสีชมพูเข้มเป็นแถบของเนื้อเยื่อบนสไลด์ ซึ่งเป็นแนวที่มีกลุ่ม เซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ถูกตัดตามแนวยาว (ล้อมด้วยเส้นทึบ ) และแนว ขวาง (ล้อมด้วยเส้นประ) โดยเลือกศึกษากลุ่มเซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ถูก ตัดตามแนวยาว (longitudinal section)

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

Page |9


Introduction to Histology and Cytology ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด6วยเลนส<วัตถุกำลังขยาย 4X เลื อ กศึ ก ษาบริ เ วณที่ ติ ด สี เ ข^ ม และเห็ น นิ ว เคลี ย สของเซลลO ก ล^ า มเนื้ อ เรี ย บที่ มี ก าร จัดเรียงตัวเปWนริ้วตามแนวยาว

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด6วยเลนส<วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาเซลลOกล^ามเนื้อเรียบแตEละเซลลOที่ ถู ก ตั ด แ บ บ longitudinal section มี ก า ร จัดเรียงตัวเปWนริ้วตามแนวยาว เซลลOเหลEานี้มี รูปรEางยาว ปลายหัวและท^ายแหลม คล^ายรูป กระสวย จั ด เปW น ชนิ ด fusiform cell ในบาง บริ เ วณ พบเซลลO มี ก ารเรี ย งตั ว ซ^ อ นกั น จึ ง มองเห็นขอบเขตของแตEละเซลลOไมEชัดเจน ให^ สังเกตนิวเคลียส (ลูกศร) ที่มีลักษณะคล^ายวงรี ยาว (long oval shape) ติดสีมEวงน้ำเงินอยEาง ชัดเจน

400X 2.7 ศึกษาเซลล์รูปคล้ายดาว (stellate cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 25 (Spinal cord)

เลือกศึกษาบริเวณที่ติดสีเข^ม (ในกรอบสี่เหลี่ยม) ซึ่งเปWนบริเวณที่มี เซลลO ป ระสาท (neuron) แทรกอยูE ใ นเนื้ อ เยื่ อ ของไขสั น หลั ง (spinal cord)

10 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Introduction to Histology and Cytology ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 4X เลือกศึกษาเซลล์ที่ติดสีเข้มและมีขนาดใหญ่ กว่ า เซลล์ อื่ น ๆ คื อ เซลล์ ป ระสาท (neuron) (วงกลมเส้นประ) พบกระจายอยู่ทั่วไป

40X

Nucleolus Nucleus

Cytoplasm

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 40X จะพบว่ า neuron มี ข อบเขตของเซลล์ ชัด เจน โดยขอบเขตที่ เห็ น มี ลัก ษณะหลายแฉก คล้ายดาว จึงจัด เป็ น ชนิ ด stellate cell สังเกต nucleus (ลู ก ศร) ที่ มี ลั ก ษณะค่ อ นข้ า งกลมอยู่ ตรงกลางเซลล์ มี cytoplasm (ลูกศร) ที่ติดสีจาง กว่าอยู่ล้อมรอบ และภายในนิวเคลียสมีจุดที่ติดสี เข้มขนาดเล็กคือ nucleolus (ลูกศร)

400X 2.8 ศึกษาเซลล์รูปร่างคล้ายแจกัน (flask cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 24 (Cerebellum)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด6วยเลนส<วัตถุกำลังขยาย 4X ศึ ก ษ า ภ า ย ใ น เนื้ อ เยื่ อ ข อ ง ส ม อ ง น^ อ ย (cerebellum) ป ระกอบ ด^ ว ยสE ว น ที่ ติ ด สี จ าง ทางด^านนอกและสEวนที่ติดสีเข^มอยูEด^านใน สังเกต วEาบริเวณรอยตE อ ของทั้ งสองบริเวณนั้ น (ในวงรี เส^นประ) จะพบเซลลOประสาทที่มีขนาดใหญE และ จั ด เรี ย งตั ว อยูE ต ามแนวรอยตE อ นี้ เซลลO ที่ เห็ น นี้ เรียกวEา Purkinje’s cell 40X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 11


Introduction to Histology and Cytology

Cell process Nucleus

ขั้น ตอนที่ 3 ศึกษาด6วยเลนส<วัต ถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษา Purkinje’s cell ที่ มี แ ขนง (cell process; ลู ก ศร) ที่ ยื่ น ขึ้ น ไปคล^ า ยปลายของ แ จ กั น จึ งจั ด เปW น ช นิ ด flask cell สั งเก ต nucleus (ลู ก ศร) มี ลั ก ษณะคE อ นข^ า งกลมอยูE กลางเซลลOและติดสีจางกวEาไซโทพลาสซึมที่อยูE ล^ อ มรอบ ภายในนิ ว เคลี ย สเห็ น จุ ด ที่ ติ ด สี เข^ ม ขนาดเล็กคือนิวคลีโอลัส

400X 2.9 ศึกษาเซลล์รูปร่างคล้ายคล้ายปิรามิด (pyramidal cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 23 (Cerebrum)

เลือกศึกษาบริเวณขอบด^านนอกของเนื้อเยื่อบนสไลดO (ในกรอบสี่เหลี่ยม) ซึ่ง บริเวณนี้คือชั้นนอกของสมองใหญE (cerebrum) ที่เรียกวEา cerebral cortex

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด6วยเลนส<วัตถุกำลังขยาย 4X จะพ บ วE า ภ ายใน เนื้ อ เยื่ อ ชั้ น cerebral cortex ประกอบด^วยเซลลOหลายชนิดที่ย^อมติด สี ด ำเนื่ อ งจากเนื้ อ เยื่ อ ถู ก ย^ อ มด^ ว ยวิ ธี พิ เ ศษ (Golgi staining) ศึ ก ษาเซลลO ที่ มี ป ลายยอด แหลมยื่ น ออกไปทางด^ า นขอบนอก (วงรี เส^ น ป ระ) เซลลO เ ห ลE า นี้ คื อ เซลลO ป ระสาท (neuron) ที่อยูEในชั้น cerebral cortex 40X

12 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Introduction to Histology and Cytology ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด6 ว ยเลนส< วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 40X ศึกษาเซลลOประสาทซึ่งย^อมติดสีดำ พบวEามี แขนงสั้น ๆ (short cell process) ยื่นขึ้นไป ทำ ให^ เซลลO มี รู ป ทรงคล^ า ยสามเหลี่ ย มหรื อ ป| ร ามิ ด เรียกวEา pyramidal cell (วงรีเส^นประ)

400X 3. ศึกษาระยะต่าง ๆ ของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitotic cell division) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 1 (Mitosis)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 4X สังเกตผนังด้านนอกจะมีลักษณะเรียบ และ ผนั งด้ านตรงข้ ามที่ ไม่ เรีย บคื อ ผนั งด้ านในของ ลำไส้เล็ก (small intestine) จะมีลักษณะคล้าย นิ้ วมือ ยื่น ออกไปจำนวนมากเรีย กว่า villi เลือ ก ศึ ก ษาบริ เวณฐานของ villi (ในแนวเส้ น ประ) บริเวณนี้คือชั้น lamina propria ของผนังลำไส้ เล็ก

40X

100X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 10X สังเกตที่บริเวณชั้น lamina propria จะพบ เซลล์ที่เห็นเป็นจุดสีเข้มกว่าเซลล์อื่น ๆ (วงกลม เส้นประ) เซลล์เหล่านี้คือ เซลล์อยู่ในช่วงที่กำลัง แ บ่ งตั ว (cell division) เส้ น ใย โค รม าติ น มี ลักษณะหดสั้นและเข้าคู่กันกลายเป็นโครโมโซม (chromosome) ทำให้สามารถมองเห็นเป็นจุดที่ ติดสีเข้มอย่างชัดเจน P a g e | 13


Introduction to Histology and Cytology

Mataphase

Anaphase Prophase

Telophase

400X

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวแบบไมโทซิส (mitotic cell division) และอยู่ใน ระยะต่าง ๆ ของกระบวนการไมโทซิส (วงกลมเส้นประ) ได้แก่ ระยะ prophase พบว่าเซลล์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ในส่วนนิวเคลียสของเซลล์มีโครโมโซมติดสีเข้มจนสามารถมองเห็นได้อย่าง ชัดเจน ระยะ metaphase พบว่าโครโมโซมมีการจัดเรียงตัวเป็นแนวยาวและอยู่ประมาณกึ่งกลางเซลล์ ระยะ anaphase พบว่าแต่ละข้างของโครโมโซมกำลังถูก spindle fiber ดึงแยกจากกัน จึงเห็นเป็นสองแถวและมีแนวเส้นติด สีจางของ spindle fiber อยู่ระหว่างสองแถวของโครโมโซม ระยะ telophase พบว่าเป็นระยะที่กำลังเกิดเซลล์ลูก (daughter cell) จำนวน 2 เซลล์ที่อยู่ติดกัน และเริ่มเห็นมีการสร้าง cell membrane ของแต่ละเซลล์เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ daughter cell ถูกแบ่งแยกจากกันและกลายเป็นเซลล์ใหม่ต่อไป

200X

Prophase

200X

Metaphase

200X

Anaphase

200X

Telophase

14 | P a g e

ภาพแสดงเซลล์ ร ากหั ว หอม (onion root tip) ที่ กำลั ง แบ่ ง ตั ว แบบไมโทซิ ส (mitotic cell division) ในระยะ prophase, metaphase, anaphase และ telophase (ที่มา: ดัดแปลงจาก https://histologyguide.com/slideview/MH-015mitosis/01-slide-1.html สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564)

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Epithelial Tissue

ปฏิบัติการที่ 2 เยื่อบุผิว (Epithelial Tissue) ผู้เขียนและปรับปรุง ผศ.ดร.หทัยรัตน์ เครือไวศยวรรณ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงและจำแนกชนิดของเยื่อบุผิวชนิดปกคลุม (covering epithelium) ได้ รวมทั้งบอกบริเวณที่พบเยื่อบุผิว ชนิดนั้น ๆ ในร่างกายได้ 2. สามารถชี้แสดงและจำแนกชนิดของเยื่อบุผิวชนิดต่อม (glandular epithelium) ได้ รวมทั้งยกตัวอย่างของต่อมแต่ละ ชนิดและบริเวณที่พบได้ เยื่อบุผิว (epithelial tissue) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1. เยื่อบุผิวชนิดปกคลุม (covering epithelium) 2. เยื่อบุผิวชนิดต่อม (glandular epithelium) 1. เยื่อบุผิวชนิดปกคลุม (Covering epithelium) เยื่อบุผิวชนิดปกคลุมคือเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่อยู่รวมกันและชิดติดกัน เพื่อทำหน้าที่ปกคลุมผิวของร่างกาย หรือทำหน้าที่บุท่อต่าง ๆ ที่เปิดสู่ภายนอกร่างกาย เช่น บุทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และต่อมต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยัง พบเยื่ อ บุ ผิ ว บุ ภ ายในช่ อ งปิ ด (closed cavities) ของร่ า งกาย เช่ น บุ ช่ อ งท้ อ ง และช่ อ งทรวงอก เรี ย กเยื่ อ บุ ผิ ว เหล่ า นี้ ว่ า mesothelium นอกจากนี้ยังบุหลอดเลือด และท่อน้ำเหลือง เรียกชื่อเฉพาะของเยื่อบุผิวชนิดนี้ว่า endothelium การจำแนกและเรียกชื่อเยื่อบุผิวมีอยู่หลายวิธี เช่น จำแนกตามจำนวนชั้นของเซลล์ ถ้ามีชั้นเดียวเรียกว่า simple epithelium ถ้ามีมากกว่าหนึ่งชั้นเรียกว่า stratified epithelium และจำแนกตามรูปร่างของเซลล์ เช่น เซลล์ที่มีรูปร่างแบน เรียกว่า squamous ถ้าเซลล์มีความสูงและความกว้างเท่ากัน เรียกว่า cuboid หรือถ้าเซลล์มีความสูงมากกว่าความกว้าง เรี ย กว่ า columnar หรื อ อาจจำแนกตามลั ก ษณะพิ เศษของเซลล์ เช่ น มี cilia หรื อ มี keratin ก็ เรี ย กเยื่ อ บุ ผิ ว ชนิ ด นั้ น ว่ า ciliated หรือ keratinized ตามลำดับ เพื่อความเหมาะสมและง่ายต่อการเรียกชื่อ จึงเอาลักษณะของเซลล์ทั้งหมดมารวมกัน และจำแนกใหม่ได้ดังนี้ คือ 1.1 Simple squamous epithelium เซลล์แบนคล้ายเกล็ดปลาเรียงตัวชั้นเดียว นิวเคลียส (nucleus) กลมอยู่กลาง เซลล์ เยื่อบุผิวชนิดนี้เมื่อดูในสไลด์ที่นำมาศึกษา ส่วนใหญ่จะเห็นเฉพาะนิวเคลียสแบน ๆ ติดสีเข้มเท่านั้น 1.2 Simple cuboidal epithelium เซลล์เป็นรูปลูกบาศก์เรียงตัวชั้นเดียว นิวเคลียสอยู่กลางเซลล์ 1.3 Simple columnar epithelium เซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกเรียงตัวชั้นเดียว นิวเคลียสค่อนข้างรี อยู่ค่อนมา ทางด้านฐานของเซลล์ ที่ผิวด้านบนของเซลล์อาจพบ cilia หรือ microvilli ได้ 1.4 Pseudostratified (ciliated) columnar epithelium เซลล์ เรี ย งตั ว ชั้ น เดี ย วแต่ เซลล์ มี ค วามสู ง ไม่ เท่ า กั น ทำให้ นิ ว เคลี ย สอยู่ ใ นระดั บ ต่ า ง ๆ กั น ดู ค ล้ า ยกั บ stratified epithelium เซลล์ ที่ อ ยู่ ร ะดั บ ผิ ว บนมี รู ป ร่ า ง columnar ชัดเจน เยื่อบุผิวชนิดนี้จะพบ cilia ที่ผิวด้านบนของเซลล์ เป็นเยื่อบุผิวที่พบเฉพาะในระบบทางเดิน หายใจ จึงเรียกชื่อเฉพาะว่า respiratory epithelium 1.5 Stratified squamous epithelium ประกอบด้วยเซลล์หลายชั้น เซลล์ชั้นบนสุดเป็น squamous cell เยื่อบุผิวชนิดนี้ยังแบ่งออกได้อีกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ (1) keratinized stratified squamous epithelium ปก Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 15


Epithelial Tissue คลุมอยู่ภายนอกร่างกาย มักมีสาร keratin คลุมอยู่อีกชั้น และ (2) non-keratinized stratified squamous epithelium ไม่มี keratin มักพบบุภายในร่างกาย 1.6 Stratified cuboidal epithelium ประกอบด้วยเซลล์ 2-3 ชั้น เซลล์ชั้นบนสุดเป็น cuboidal cell มักพบบุที่ ท่อขนาดใหญ่ของต่อมต่าง ๆ 1.7 Stratified columnar epithelium ประกอบด้วยเซลล์หลายชั้น เซลล์ชั้นบนสุดเป็น columnar cell เยื่อบุผิว ชนิดนี้พบได้น้อยมากในร่างกาย 1.8 Transitional epithelium เยื่อบุผิวชนิดนี้พบบุเฉพาะอวัยวะในระบบขับถ่ายปัสสาวะเท่านั้น ประกอบด้วยเซลล์ หลายชั้น เซลล์ชั้นบนมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดได้ตามสภาวะต่าง ๆ เช่น ในสภาวะที่กระเพาะปัสสาวะ ถูกยืด เซลล์ชั้นบนสุดจะมีรูปร่างเป็น squamous ส่วนในสภาวะที่กระเพาะปัสสาวะหดตัว เซลล์จะมีรูปร่าง cuboid ส่วนเซลล์ชั้นล่างไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง 2. เยื่อบุผิวชนิดต่อม (Glandular epithelium) ต่อมเกิดจากการหวำตัวของเยื่อบุผิว ต่อมแบ่งใหญ่ ๆ ออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ต่อมมีท่อ (exocrine gland) ซึ่งจะ หลั่งสารออกมาตามท่อสู่ภายนอก และต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) จะหลั่งสารเข้าสู่กระแสเลือด ในปฏิบัติการนี้จะศึกษา เฉพาะต่ อ มมี ท่ อ เท่ า นั้ น และให้ ศึ ก ษาเป็ น ตั ว อย่ า งในบางต่ อ ม เพราะนิ สิ ต จะได้ ศึ ก ษารายละเอี ย ดของต่ อ มชนิ ด ต่ า ง ๆ สอดแทรกอยู่ในปฏิบัติการเรื่องระบบอวัยวะต่าง ๆ ต่อมอาจจะประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว เรียกว่า unicellular gland เช่น goblet cell หรือประกอบด้วย เซลล์ห ลายเซลล์เรียกว่า multicellular gland ซึ่งได้แก่ต่อมส่วนใหญ่ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการจำแนกต่อมมีท่ อ ออกเป็นหลายชนิด โดยอาศัยเกณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ 2.1 จำแนกตามลักษณะของท่อและรูปร่างของหน่วยที่หลั่งสาร แบ่งได้หลายชนิด ได้แก่ • Simple straight tubular gland ต่อมชนิดนี้มีท่อเปิดท่อเดียว ส่วนที่ทำหน้าที่สร้างและหลั่งสารมีรูปร่างยาว ลักษณะคล้ายท่อทอดตรง ๆ เช่น intestinal gland หรือ crypt of Lieberkuhn • Simple coiled tubular gland ส่วนที่ทำหน้าที่สร้างและหลั่งสารมีลักษณะเป็นท่อแต่ขดไปขดมา เช่น ต่อม เหงื่อ (sweat gland) • Simple branched tubular gland ส่วนที่ทำหน้าที่สร้างและหลั่งสารมีการแตกแขนงเป็นหลายหน่วย แต่ละ หน่วยจะเปิดเข้าสูท่ ่อ ๆ เดียว เช่น pyloric gland ในกระเพาะอาหาร (stomach) • Simple branched alveolar gland หน่วยที่ทำหน้าที่สร้างและหลั่งสารมีลักษณะพองออกเป็นกระเปาะและ แตกแขนงออกเป็นหลายอัน ซึ่งแต่ละอันจะเปิดเข้าท่อใหญ่ตรงกลางทีเ่ ป็นท่อเดียว เช่น ต่อมไขมัน (sebaceous gland) และ Meibomian gland ในเปลือกตา (eyelid) • Compound tubular gland หน่วยที่ทำหน้าที่สร้างสารมีลักษณะยาวและแตกแขนงมากมาย และส่วนของท่อก็ มีการแตกแขนง เช่น อัณฑะ (testis) ไต (kidney) • Compound tubuloalveolar gland ท่อมีการแตกแขนง และหน่วยที่สร้างสารมีทั้งรูปร่างยาวและเป็น กระเปาะ เช่น ต่อมน้ำลาย (salivary gland) • Compound alveolar gland หน่วยที่สร้างสารมีลักษณะเป็นกระเปาะ ส่วนท่อมีการแตกแขนง เช่น ต่อมน้ำนม (mammary gland)

16 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Epithelial Tissue 2.2 จำแนกตามลักษณะของสารที่หลั่ง แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ • Mucous gland เซลล์ของต่อมชนิดนี้ ไซโทพลาสซึมย้อมไม่ติดสี ดังนั้นจะเห็นนิวเคลียสแบนอยู่ที่ฐานของเซลล์และ ไซโทพลาสซึมใส ได้แก่ goblet cell • Serous gland เซลล์ของต่อมชนิดนี้ ไซโทพลาสซึมย้อมติดสีแดงของ eosin ได้ดี นิวเคลียสกลมอยู่ค่อนมาทางด้าน ฐานของเซลล์ ได้แก่ ต่อมน้ำลาย parotid gland • Mixed seromucous gland เป็นต่อมที่พบได้ทั้ง serous และ mucous cell เช่น ต่อมน้ำลาย sublingual และ submandibular gland 2.3 จำแนกตามลักษณะกลไกการหลั่งสาร แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ • Merocrine gland สารที่ ต่ อ มสร้างจะถู ก หลั่ งออกไป โดยไม่ มี ก ารเสี ย ส่ ว นอื่ น ของเซลล์ เลย คื อ หลั่ งในรูป ของ แกรนูล ต่อมส่วนใหญ่หลั่งสารโดยวิธีนี้ เช่น ต่อมน้ำลาย (salivary gland) ตับอ่อน (pancreas) • Apocrine gland สารที่ต่อมสร้างจะรวมกันอยู่ที่ด้านบนของเซลล์ เวลาหลั่งสารส่วนของไซโทพลาสซึมด้านบน บางส่วนจะหลุดออกมากับสารที่หลั่งด้วย เช่น ต่อมน้ำนม (mammary gland) • Holocrine gland ต่อมชนิดนี้เวลาหลั่งสารเซลล์ทั้งเซลล์รวมทั้งสารที่เซลล์สร้างจะถูกขับออกมาหมด เช่น ต่อม ไขมัน (sebaceous gland) วิธกี ารศึกษา epithelium จากสไลด์ 1. ศึกษา simple squamous epithelium ซึ่งพบได้หลายบริเวณในร่างกาย จึงสามารถศึกษาได้จากหลายสไลด์ ได้แก่ สไลด์หมายเลข 36 (Vena cava) หรือ 37 (Medium artery & vein) โดยศึกษาบริเวณเยื่อบุท่อของหลอดเลือด ส่วนสไลด์ หมายเลข 76 (Kidney) ให้ศึกษาในส่วนที่เรียกว่า Bowman’s capsule ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 36 (Vena cava)

ขั้ น ต อ น ที่ 2 ศึ ก ษ า ด้ ว ย เล น ส์ วั ต ถุ กำลังขยายต่ำ 4X หรือ 10X จะเห็นหลอด เลื อ ดมี ลั ก ษณะเป็ น ท่ อ กลวง บริ เวณตรง กลางของท่ อ เรี ย กว่ า lumen ให้ ศึ ก ษา บริเวณเยื่อบุผิวที่บุด้านในท่อ (ลูกศรชี้)

100X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 17


Epithelial Tissue ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ด้วยกำลังขยายสูง จะเห็นเซลล์เยื่อบุผิวที่ บุภายในหลอดเลือด มีลักษณะเป็นเซลล์รูปร่าง แบน เรี ย งตั ว ชั้ น เดี ย ว โดยจะเห็ น แต่ เฉพาะ นิ ว เคลี ย สติ ด สี เข้ ม นู น ยื่ น เข้ า มาใน lumen เยื่ อ บุ ผิ ว ช นิ ด นี้ คื อ simple squamous epithelium (SSE) หรือเรียกชื่อเฉพาะที่พบ ในหลอดเลือดว่า endothelium

400X

2. ศึกษา simple squamous และ simple cuboidal epithelium ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 76 (Kidney) ศึกษาด้วยตาเปล่า จะเห็นเนื้อไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วน ด้านนอกที่ติดสีเข้ม เรียกว่า cortex (C) ส่วนชั้นในที่ติดสี จางกว่าเรียกว่า medulla (M)

40X

18 | P a g e

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ให้เลือกดูบริเวณชั้นนอก (cortex) ของไต โดยจะสังเกตเห็นโครงสร้างรูปร่างกลม เรียกว่า renal corpuscle (RC) ซึ่ งป ระ ก อ บ ด้ วย กลุ่ ม หลอดเลื อ ดฝอย ลั ก ษณะเป็ น ก้ อ นกลม เรี ย ก ว่ า glomerulus แ ล ะ มี Bowman’s capsule ห่ อ หุ้ ม อ ยู่ แ ล ะ พ บ ท่ อ (renal tubule) จำนวนมากที่ ถู ก ตั ด ตามขวาง อยู่ รอ บ ๆ renal corpuscle ให้ เลื อ ก ศึ ก ษ า renal corpuscle อั น ใด อั น ห นึ่ ง โด ยเพิ่ ม กำลังขยายให้มากขึ้น

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Epithelial Tissue

400X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ด้วยกำลังขยายที่มากขึ้น ให้สังเกตเยื่อบุผิว ที่บุ Bowman’s capsule ซึ่งเป็นชนิด simple squamous epithelium (SSE) จากนั้ น ให้ ศึ ก ษาท่ อ ที่ ถู ก ตั ด ตามขวางจำนวนมาก ซึ่ ง ป ระกอบ ด้ ว ย proximal tubule (PT) และ distal tubule (DT) ใน ป ฏิ บั ติ ก ารนี้ ไม่ ต้ อ ง จำแนกว่าเป็นท่อชนิดใด ให้ศึกษาเพียงลักษณะ ของเซลล์ที่บุท่อ ซึ่งเป็นเซลล์รูปลูกบาศก์ เรียง ตัวชั้นเดียว นิวเคลียสกลมอยู่กลางเซลล์ เยื่อบุ ผิ ว ที่ บุ ท่ อ เหล่ านี้ เป็ น ชนิ ด simple cuboidal epithelium (SCE) ขั้นตอนที่ 4 จากนั้นให้กลับมาดูด้วยกำลังขยาย 4X ให้เลือกศึกษาบริเวณชั้นใน (medulla) ของ ไต โดยจะเห็นท่อที่ถูกตัดตามขวางเป็นจำนวน มาก ให้เพิ่ มกำลังขยายและเลือกศึกษาท่อที่บุ ด้ ว ย simple cuboidal epithelium ที่ เห็ น ลักษณะขอบเขตของเซลล์ได้ชัดเจน

40X

ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ด้วยกำลังขยายสูง ให้ศึกษาท่อที่เรียกว่า collecting tubule (CT) ซึ่ ง บุ ด้ ว ย simple cuboidal epithelium ที่เห็นขอบเขตด้านข้าง ของเซลล์ ไ ด้ ชั ด เจนกว่ า เมื่ อ เที ย บกั บ distal tubule (DT) หรื อ proximal tubule โดยที่ ด้ า น ล่ า ง (basal surface) ข อ ง epithelial cell จะวางอยู่ บ น basement membrane (ลูกศรชี้) 400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 19


Epithelial Tissue 3. ศึกษา simple columnar epithelium, goblet cell, microvilli และ simple straight tubular gland ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 2 (Simple columnar epithelium) ศึกษาด้วยตาเปล่า จะเห็นโครงสร้างลักษณะคล้ายท่อกลวง ในสไลด์นี้คือลำไส้ เล็กส่วน duodenum ให้ศึกษาบริเวณเยื่อบุผิวด้านในชิดกับ lumen

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วัต ถุ ก ำลั งขยาย 4X ด้วยกำลังขยายต่ำจะพบโครงสร้างลักษณะ คล้ายนิ้วมือจำนวนมาก ยื่นเข้ามาใน lumen (L) เรี ย กโครงสร้ า งนี้ ว่ า intestinal villi (V) ซึ่ ง เป็นชั้น mucosa ของผนังลำไส้เล็ก และจะพบ ลั ก ษณะของเยื่ อ บุ ผิ ว ที่ ห วำตั ว ลงไป (ในทิ ศ ทางตรงข้ามกับ villi ที่ยื่นขึ้นมา) กลายเป็นต่อม ซึ่งก็คือ intestinal gland (GL) ให้เลือกศึกษา villi อันใดอันหนึ่ง โดยเพิ่มกำลังขยายให้มากขึ้น 40X

400X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วัต ถุ ก ำลั งขยาย 40X จะเห็นเยื่อบุผิวที่บุ villi มีรูปร่างเป็นเซลล์ ทรงกระบอกเรีย งตั วชิ ด ติ ด กั น ชั้ น เดี ย ว ซึ่ งเป็ น เ ยื่ อ บุ ผิ ว ช นิ ด simple columnar epithelium (SCoE) วางอยู่ บ น basement membrane (ลูกศรชี้) โดยมี goblet cell (G) ซึ่ ง เป็ น ต่ อ มชนิ ด unicellular gland และหลั่ ง ส า ร mucous ว า ง ตั ว แ ท ร ก อ ยู่ ร ะ ห ว่ า ง columnar cell ให้ สั ง เก ต ที่ ด้ า น บ น ข อ ง columnar cell จะพบโครงสร้างลักษณะคล้าย ขนแปรงเล็ก ๆ เรียกว่า striated border (SB) หรือ brush border ซึ่งก็คือ microvilli ที่ เรีย ง ตัวอัดกันแน่น ขั้น ตอนที่ 4 ศึก ษาด้วยเลนส์วัต ถุก ำลังขยาย 10X ให้ ศึ ก ษา intestinal gland (GL) หรื อ crypt of Lieberkuhn ซึ่ ง เป็ น ต่ อ ม ช นิ ด simple straight tubular gland (L = lumen; V = villi)

100X 20 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Epithelial Tissue 4. ศึกษา pseudostratified columnar epithelium ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 74 (Trachea & esophagus; x-sec) ศึกษาด้วยตาเปล่า จะเห็นโครงสร้างลักษณะเป็นท่อ 2 อัน คือท่อลม (trachea, T) ซึ่ ง มี lumen กว้ า งและเรี ย บ ส่ ว นอี ก ท่ อ คื อ หลอด อาหาร (esophagus, E) มี lumen แคบและเยื่อบุผิวในท่อมีลักษณะ ย่นไปมา ไม่เรียบ หรือจะศึกษาจากสไลด์หมายเลข 3 ก็ได้ ซึ่งเป็น สไลด์ของ trachea ที่ถูกตัดตามขวาง

ขั้ น ต อ น ที่ 2 ศึ ก ษ าด้ วย เล น ส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 4X ให้เลือกศึกษาในส่วนของ trachea ด้ ว ย ก ำ ลั งข ย า ย ต่ ำ จ ะ พ บ โครงสร้ า งติ ด สี ม่ ว ง ซึ่ ง ก็ คื อ กระดู ก อ่ อ น (cartilage, C) ที่ ป ระกอบเป็ น ผนั ง ของ trachea ใ ห้ เ ลื อ ก ศึ ก ษ า บ ริ เ ว ณ epithelium (E) ที่ บุ ด้ า น ใ น ข อ ง ท่ อ จากนั้นให้เพิ่มกำลังขยายให้สูงขึ้น

40X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้ น ต อ น ที่ 3 ศึ ก ษ าด้ วย เล น ส์ วั ต ถุ ก ำ ลั ง ข ย า ย 40X เมื่ อ ศึ ก ษ า ด้ ว ย กำลั ง ขยายสู ง จะพ บว่ า เยื่ อ บุ ผิ ว ที่ บุ trachea เป็ น ช นิ ด pseudostratified columnar epithelium (E) ที่ มี เ ซลล์ ทุ ก เ ซ ล ล์ ว า ง อ ยู่ บ น basement membrane (ลู ก ศ ร ชี้ ) โด ย มี goblet cell (G) แทรกอยู่ ร ะหว่ า ง epithelial cell และจะสั ง เก ต เห็ น cilia (C) ได้ ชั ด เจน ที่ บ ริ เ วณ ด้ า น บ น (free ห รื อ apical surface) ของเซลล์

P a g e | 21


Epithelial Tissue 5. ศึกษา non-keratinized stratified squamous epithelium ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 55 (Esophagus; middle) หรือ 56 (Esophagus; lower) ศึกษาด้วยตาเปล่า จะเห็น esophagus ที่ถูกตัดตามขวาง โดยให้ศึกษาบริเวณ เยื่อบุผิวที่บุด้านในของท่อ หรือจะศึกษาจากสไลด์หมายเลข 74 (Trachea & esophagus) ก็ได้ โดยเลือกศึกษาในส่วนของ esophagus

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งข ย าย 4X จ ะ พ บ stratified squamous epithelium (E) ที่ บุ lumen (L) มีลักษณะหนา ประกอบด้วย เซลล์หลายชั้น ไม่พบ keratin ที่ด้านบน ของ epithelium จึงเรียกชื่อเฉพาะของ epithelium ช นิ ด นี้ ว่ า nonkeratinized stratified squamous epithelium 40X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 10X เมื่อเพิ่มกำลังขยายให้ สู ง ขึ้ น จะสั ง เกตเห็ น ว่ า เซลล์ ที่ อ ยู่ ชั้ น บนสุ ด ของ epithelium (E) มี รู ป ร่ า ง เป็น squamous cell (SC; ลูกศร) ที่ยัง เห็นนิวเคลียสอยู่ ส่วนเซลล์ชั้นล่างสุดจะ ว า ง อ ยู่ บ น basement membrane (BM; ลูกศร)

100X

22 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Epithelial Tissue 6. ศึกษา keratinized stratified squamous epithelium, stratified cuboidal epithelium และ simple coiled tubular gland ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 46 (Thick skin) เมื่อมองด้วยตาเปล่า จะเห็นแถบสีชมพู ติดสีเข้ม ซึ่งเป็นชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ของผิวหนัง ให้ศึกษา keratinized stratified squamous epithelium จากบริเวณนี้ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ด้ ว ยกำลั ง ขยายต่ ำ จะเห็ น stratified squamous epithelium (E) ป ก ค ลุ ม อ ยู่ ด้านบนของผิวหนัง และให้สังเกตโครงสร้างที่มี ลัก ษณะเป็ น ท่ อ ที่ ถูก ตัด ตามขวาง อยู่รวมกัน เป็ น กลุ่ม โดยพบอยู่ลึก ลงมาในชั้น ใต้ ผิวหนั ง โค รงส ร้ า งเห ล่ านี้ คื อ ต่ อ ม เห งื่ อ (sweat gland, G; ลูกศร) 40X

100X

400X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ด้ วย ก ำลั งข ย าย ที่ สู งขึ้ น จ ะ พ บ ว่ า epithelium (E) ชนิ ด นี้ ป ระกอบด้ ว ยเซลล์ หลายชั้ น โดยที่ เ ซลล์ ชั้ น ล่ า งสุ ด วางอยู่ บ น basement membrane (BM; ลู ก ศ ร) ส่ วน เซลล์ชั้นบนสุดมีรูปร่างแบน พบ keratin (K) ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบหนา ติดสีแดง เป็นเซลล์ ในชั้นบนสุดที่ตายแล้ว และหลุดลอกออกเป็น ขี้ไคล ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ให้ เลื อ กศึ ก ษาต่ อ มเหงื่ อ เป็ น ต่ อ มที่ มี รูปร่าง simple coiled tubular ซึ่งท่อมีการ ขดงอไปมา ทำให้เห็นเป็นลักษณะท่อที่ถูกตัด ในแนวต่าง ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยจะเห็น ว่า epithelium ที่ พ บในต่ อ มเหงื่อ มี 2 ชนิ ด คื อ ส่ ว นที่ บุ ท่ อ (sweat duct, D; ลู ก ศร) จะ เ ป็ น ช นิ ด stratified cuboidal ซึ่ ง ประกอบด้วยเซลล์ 2-3 ชั้น เซลล์ชั้น บนสุดมี รูปร่างเป็น cuboid ส่วน epithelium ที่บุส่วน ที่ ส ร้างสาร (secretory part, S; ลู ก ศร) จะ เป็ น ชนิ ด simple cuboidal หรื อ เป็ น เซลล์ รู ป ร่ า งคล้ า ย pyramid โดยจะติ ด สี จ างกว่ า ส่วนท่อ P a g e | 23


Epithelial Tissue 7. ศึกษา transitional epithelium ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 77 (Ureter) หรือ 78 (Urinary bladder) โดยศึ ก ษาบริเวณ epithelium ที่ บุ ด้ านในของท่ อ ไต (สไลด์ ห มายเลข 77) หรือ กระเพาะปัสสาวะ (สไลด์หมายเลข 78)

400X

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ด้วยกำลังขยายสูง จะพบว่า epithelium ที่ บุ ท่ อ ไตและกระเพาะปั ส สาวะเป็ น ชนิ ด transitional epithelium (E) ประกอบด้วย เซลล์เรียงตัวกันหลายชั้น โดยชั้นล่างวางอยู่บน basement membrane (BM; ลู ก ศ ร ) ส่ ว น เซลล์ ชั้ น บนที่ เ ห็ น ในสไลด์ นี้ มี รู ป ร่ า งเป็ น cuboid ที่ มี ลั ก ษ ณ ะยื่ น เป็ น โด ม เข้ า ไป ใน lumen แสดงว่ากระเพาะปัสสาวะที่นำมาศึกษา นี้ อยู่ ใ นสภาวะหดตั ว (relaxed หรื อ nonstretched)

8. ศึกษา mixed seromucous gland ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 71 (Sublingual gland) หรือ 70 (Submandibular gland) เมื่อศึกษาด้วยตาเปล่าจะเห็นว่าเนื้อต่อมมีการแบ่งย่อยออกเป็น lobule เล็ก ๆ จากนั้นให้เพิ่มกำลังขยายขึ้นเพื่อศึกษาลักษณะของ acini

400X

24 | P a g e

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ด้ ว ยกำลั ง ขยายสู ง จะพบว่ า secretory unit ห รื อ acini ข อ ง ต่ อ ม น้ ำ ล า ย submandibular และ sublingual gland มี ทั้ ง ชนิ ด serous acini (SA) และ mucous acini (MA) ปะปนกัน จึงเรีย กต่ อ มชนิ ด นี้ ว่า mixed seromucous gland โดยที่ serous cell จะมีนิวเคลียสกลม อยู่ค่อนทางด้านฐาน ของเซลล์ ไซโทพลาสซึ ม ติ ด สี แ ดงเข้ ม ส่ ว น mucous cell จะมี นิ ว เคลี ย สแบน อยู่ ชิ ด ติ ด ฐานเซลล์ ไซโทพลาสซึมใสติดสีจาง ส่วนของ serous cell ที่ พ บคลุ ม อยู่ บ น mucous acini มี ลั ก ษณ ะคล้ า ยพระจั น ทร์ เ สี้ ย ว เรี ย กว่ า serous demilune (SD; ลู ก ศร) โดยจะพบ striated duct (D) แทรกอยู่ระหว่าง acini

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Epithelial Tissue 9. ศึกษา serous gland ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 69 (Parotid gland)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษาลักษณะโดยทั่วไปของต่อม จะพบว่า เนื้ อต่ อ ม (parenchyma) ถู ก แบ่ งออกเป็ น lobule (L) เล็ ก ๆ โด ย connective tissue septum (S) ซึ่ งจัด เป็ น ส่ วน stroma ของต่ อ ม ให้ เ ลื อ กศึ ก ษาในส่ ว นของ lobule โดยเพิ่ ม กำลังขยายให้สูงขึ้น

40X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ด้ ว ย ก ำ ลั งข ย า ย สู ง จ ะ พ บ ว่ า ส่ ว น parenchyma ข อ ง ต่ อ ม ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย secretory unit หรือเรียกว่า acinus (pleural = acini) และ excretory part หรือ duct โดย acini ของต่ อ มน้ ำ ลาย parotid gland เป็ น ชนิ ด serous acini (SA; ลู ก ศร) ทั้ งหมด ให้ สังเกตลักษณะของ serous cell ที่บุ acini จะ พบว่ามีนิวเคลียสกลม อยู่ค่อนไปทางด้านฐาน ของเซลล์ ไซโทพลาสซึม ติด สีเข้ม ในส่วนของ duct ที่ สั ง เกตเห็ น ได้ ใ น lobule เป็ น ท่ อ ที่ เรียกว่า striated duct (D; ลูกศร) เนื่องจาก บริเวณฐานของเซลล์ที่บุท่อมีลักษณะเป็นลาย

P a g e | 25


Epithelial Tissue 10. ศึกษา holocrine gland และ simple branched alveolar gland ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 47 (Scalp)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X เมื่ อ ศึ ก ษาด้ ว ยกำลั ง ขยายต่ ำ จะพบว่ า ห นั ง ศี ร ษ ะ (scalp) ถู ก ป ก ค ลุ ม ด้ ว ย keratinized stratified squamous epithelium ที่ มี ค วามหนาน้ อ ยกว่าที่ พ บใน ส ไล ด์ thick skin แ ล ะ พ บ ร าก ข น (hair follicle, F; ลู ก ศร) จำนวนมาก ให้ เ ลื อ ก ศึกษาบริเวณที่พบ hair follicle 40X

100X

26 | P a g e

ขั้ น ต อ น ที่ 3 ศึ ก ษ า ด้ ว ย เล น ส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 10X เมื่อเพิ่มกำลังขยาย จะเห็น keratinized stratified squamous epithelium (E) ได้ ชั ด เจนขึ้ น และจะพบ ต่ อ ม sebaceous gland (SG; ลู ก ศ ร ) บริ เวณใกล้ กั บ hair follicle (F) โดยเป็ น ต่อ มที่ มี รูป ร่างเป็ น กระเปาะและแตกแขนง (แต่ ใ นสไลด์ อ าจจะไม่ เ ห็ น การแตกแขนง ขึ้ น กั บ แนวในการตั ด เนื้ อ เยื่ อ ) จึ งจั ด ว่ า เป็ น ต่ อ มชนิ ด simple branched alveolar gland อาจเพิ่มกำลังขยายมากขึ้นเพื่อศึกษา เซลล์ในต่อม โดยจะสังเกตเห็นว่าเซลล์ที่อยู่ บริเวณกลางต่อมจะสลายและหลุดออกมากับ secretion ในขณะที่ เซลล์ ที่ อ ยู่ ข อบ ๆ จะ เจริญขึ้นมาทดแทน จึงจัดต่อมชนิดนี้ว่าเป็น holocrine gland

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Connective Tissue and Membrane

ปฏิบัติการที่ 3 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเยื่อหุ้ม (Connective Tissue and Membrane) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.สังกัป สุดสวาสดิ์ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงเซลล์ที่สำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue cell) ได้ถูกต้อง 2. สามารถจำแนกชนิดของเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue fiber) ได้ถูกต้อง 3. สามารถจำแนกชนิดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันได้ถูกต้อง 4. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้ม (membrane) ได้ถูกต้อง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) เป็นโครงสร้างที่ช่วยพยุงอวัยวะต่าง ๆ เช่น ประกอบเป็น capsule ที่หุ้ม ล้อมรอบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ช่วยยึดโครงสร้างต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น tendon และ ligament นอกจากนี้ยังจัดเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย เช่น adipose tissue เป็นต้น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ คือ 1. ส่วนที่เป็นเซลล์ (Living elements or connective tissue cells) โดยเจริญมาจากชั้น mesoderm ในระยะการ พัฒนาของตัวอ่อน เซลล์ที่พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดต่าง ๆ ได้แก่ 1.1. Mesenchymal cell มีลักษณะเซลล์รูปดาว (stellate shape) มี process ยาว ประสานกันกับเซลล์ใกล้เคียง นิ ว เคลี ย ส (nucleus) กลมถึ งรี (oval shape) ติ ด สี จ าง เนื่ อ งจากเส้ น ใย chromatin ละเอี ย ด ไซโทพลาสซึ ม (cytoplasm) ติดสี eosin จาง 1.2. Fibroblast/fibrocyte ในระยะ active stage เรียก fibroblast มีลักษณะรูปดาว และไซโทพลาสซึม ติดสีจาง นิวเคลียสค่อนข้างรีหรือกลม (oval shape) ส่วนระยะ inactive stage เซลล์รูปร่างแบนยาว นิวเคลียสเล็ก ติดสี basophilic เข้ม 1.3. Macrophage (histiocyte) มีนิวเคลียสกลม process สั้น มีหน้าที่เก็บกินสิ่งแปลกปลอม เซลล์นี้เปลี่ยนแปลงมา จาก monocyte สามารถพบได้ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ถ้าพบที่เนื้อเยื่อตับ เรียกว่า Kupffer cell พบที่ปอดเรียก dust cell เป็นต้น 1.4. Mast cell เป็ น เซลล์ ข นาดใหญ่ ค่ อ นข้ างกลมหรือ รี นิ วเคลี ย สกลมขนาดเล็ ก ติ ด สี จ างอยู่ ก ลางเซลล์ ภายใน ไซโทพลาสซึมมี granule มาก เมื่อย้อมด้วย toluidine blue จะติดสีม่วง (metachromasia) ทำหน้าที่สร้างสาร histamine และ heparin-like substance เกี่ ย วข้ อ งกั บ การตอบ สน อง hypersensitivity, allergy และ anaphylaxis 1.5. Plasma cell เปลี่ยนแปลงมาจาก B-lymphocyte รูปร่างเล็กกลม มีไซโทพลาสซึมน้อย นิวเคลียสกลมขนาดเล็ก อยู่ eccentric ส่วน chromatin granule เรียงตัวคล้ายกงล้อ (cartwheel) หรือหน้าปัดนาฬิกา (clock face) ซึ่ง เป็นลักษณะเด่นที่ใช้แยกจาก lymphocyte มีหน้าที่สร้าง antibody 1.6. Fat cell (Adipocyte) เซลล์รูปร่างกลม แต่ในเนื้อเยื่อจะอยู่เบียดกันทำให้มีรูปร่าง polyhedral ส่วนนิวเคลียส แบนจากการถูก fat ที่สะสมเบียดติดขอบเซลล์ เมื่อย้อมด้วย H&E ส่วนไขมันจะละลายไปทำให้เห็นเป็นส่วนที่ใส ๆ อยู่กลางเซลล์ ให้เห็นเพียงขอบเซลล์ 1.7. Wandering cell อื่น ๆ ได้แก่ eosinophil, neutrophil, basophil โดยเซลล์ต่าง ๆ เหล่านี้จะเคลื่อนที่เข้ามาใน ส่วนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเมื่อมีการติดเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอม Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 27


Connective Tissue and Membrane 2. ส่วนที่ไม่ใช่เซลล์ (Non-living element or extracellular matrix) เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตแทรกอยู่ระหว่างตัวเซลล์ ประกอบด้วย 2.1. เส้นใย (Fiber) - Collagen fiber เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ fibroblast เมื่อย้อมด้วย H&E จะติดสีชมพู ลักษณะเป็นเส้น ยาว ไม่มีการแตกแขนง อาจอยู่เป็นเส้นเดีย่ ว ๆ หรือเป็นกลุ่ม - Elastic fiber มีขนาดเล็ก และมัน วาว มีก ารแตกแขนงและมีลัก ษณะเป็ น คลื่น มากกว่า collagen fiber มี ความยืดหยุ่นดีกว่า - Reticular fiber เส้นใยมีการแตกแขนงมากมายจัดตัวเป็นร่างแห ส่วนใหญ่ประกอบด้วย glycoprotein แยก ออกจากเนื้อเยื่อข้างเคียงได้ยากเมื่อย้อมด้วย H&E ต้องย้อมด้วยวิธีพิเศษคือ silver stain จะติดสีดำของเกลือ เงิน หน้าที่ส่วนใหญ่จะเป็นโครงร่างให้กับอวัยวะในระบบน้ำเหลือง 2.2. Ground substance เป็นสารที่ไม่มีสี เป็นเนื้อเดียวกัน อยู่ระหว่างเซลล์และเส้นใย ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการ แลกเปลี่ ย นสารอาหาร ของเสี ย ระหว่ า งเซลล์ แ ละหลอดเลื อ ดฝอย และช่ ว ยหล่ อ ลื่ น ให้ กั บ โครงสร้ า งนั้ น มี ส่วนประกอบเป็นพวก glycosaminoglycan, proteoglycan, glycoprotein, carbohydrate และ lipid เมื่อย้อมด้วย H&E จะไม่เห็น แต่จะเห็นเป็นช่องว่างสีขาวแทรกอยู่ระหว่างเซลล์และเส้นใย ชนิดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันสามารถแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ได้โดยอาศัยส่วนประกอบ คือชนิดของเซลล์และชนิดของเส้นใย รวมถึง การจัดเรียงตัวของเส้นใย ความหนาแน่นของเซลล์ และลักษณะของ ground substance ทำให้แบ่งชนิดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ได้ดังนี้ 1. Embryonic connective tissue แบ่งออกเป็น 1.1. Mesenchymal connective tissue เจริ ญ ม าจาก mesoderm พ บ ใน ระย ะเป็ น ตั วอ่ อ น (embryo) ประกอบด้วย mesenchymal cell ส่วนเส้นใยอยู่ในระยะกำลังสร้างจึงทำให้สังเกตเห็นได้ยาก 1.2. Mucous connective tissue พบได้ ที่ ส ายสะดื อ (umbilical cord) พบ mesenchymal cell ที่ ก ำลั ง จะ พั ฒ นาไปเป็ น fibroblast ในระยะ term placenta เซลล์ มี process หดสั้ น ลง ส่ วน ground substance มี ลักษณะ homogenous เรียกว่า Wharton’s jelly ซึ่งเป็นสารพวก hyaluronic acid 2. Adult connective tissue แบ่งออกเป็น 2.1. Loose connective tissue มีปริมาณเซลล์จำนวนมาก พบเส้นใยน้อยเรียงตัวกันอย่างหลวม ๆ ไม่เป็นระเบียบ เส้นใยส่วนมากคือ collagen fiber เซลล์ที่พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดนี้คือ fibroblast, macrophage, plasma cell, mast cell, fat cell และ pigmented cell เป็นต้น 2.2. Dense connective tissue มีปริมาณเซลล์น้อยกว่าเส้นใย เส้นใยเรียงตัวแน่น มีทั้งเป็นระเบียบและไม่เป็น ระเบียบ 2.2.1. Dense irregularly arranged connective tissue พบเส้นใยชนิด collagen fiber มาก อยู่รวมกัน เป็นกลุ่ม ทิศทางของเส้นใยเรียงตัวหลายทิศทางไม่เป็นระเบียบ เซลล์ที่พบคือ fibroblast, mast cell และ macrophage 2.2.2. Dense regularly arranged connective tissue พบเส้นใยเรียงตัวหนาแน่นและเป็นระเบียบไปใน ทิศทางเดียวกัน แบ่งได้ 2 ชนิด ตามชนิดของเส้นใยที่เป็นส่วนประกอบหลัก - Collagenous type พ บ ได้ ใน tendon เส้ น ใย เป็ น ช นิ ด collagen fiber เซ ล ล์ ที่ พ บ คื อ fibroblast 28 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Connective Tissue and Membrane -

Elastic type ประกอบด้วย elastic fiber เรียงตัวทิศทางขนานกัน มีเซลล์ fibroblast แทรกอยู่ พบใน ligamentum nuchae แต่เมื่อย้อม elastic fiber ด้วยสี eosin จะไม่ติดสีหรือติดน้อยทำ ให้ชี้แสดงได้ยาก 2.3. Special connective tissue เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ ประกอบด้วย 2.3.1. Reticular connective tissue มีเส้นใยชนิด reticular fiber ที่ต้องย้อมพิเศษจึงจะเห็น ติดสีดำ เมื่อย้อมด้วยเกลือ เงิน ส่วนใหญ่ เนื้อเยื่อเกี่ยวพั น นี้ท ำหน้าที่ เป็ น โครงร่างให้ กับ อวัยวะในระบบ น้ำเหลือง เช่น ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) ม้าม (spleen) และ liver sinusoid เป็นต้น 2.3.2. Adipose connective tissue เซลล์ส่วนใหญ่คือ adipocyte (fat cell) พบมากที่บริเวณเต้านม ไหล่ ต้นขา สะโพก และชั้น subcutaneous layer ของผิวหนัง 2.3.3. Cartilage, bone และ blood จัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษ ที่มีโครงสร้างและองค์ประกอบ ที่ ท ำหน้ า ที่ เ ฉพาะอย่ า ง (รายละเอี ย ดศึ ก ษาได้ จ าก บทปฏิ บั ติ ก าร Cartilage and Bone / Hemopoietic tissue) เยื่อหุ้ม (Membrane) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ 1. Epithelium ซึ่งจะเป็นชนิดใดขึน้ อยูก่ ับตำแหน่งที่พบ 2. Basement membrane ทำหน้าที่รองรับ epithelium ไว้ 3. Connective tissue ช่วยยึดและรองรับ epithelium ไว้อีกชั้นหนึ่ง เยื่อหุ้มมีหน้าที่บุช่องต่าง ๆ ที่ติดต่อกับภายนอกร่างกาย เช่น gastrointestinal (GI) tract และ respiratory tract หรือบุช่อง ปิดต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น peritoneal cavity, pericardial cavity และ pleural cavity แบ่งชนิดของเยื่อหุ้มได้ 3 ชนิด คือ 1. Mucous membrane สร้ า ง fluid ที่ เป็ น เมื อ ก (mucous) พบได้ ที่ esophagus, respiratory tract และ genito-urinary tract 2. Serous membrane สร้ า ง fluid ชนิ ด ใส (serous) พบบริ เวณ pleural cavity, pericardial cavity และ peritoneal cavity 3. Synovial membrane พบได้ตาม joint cavity

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 29


Connective Tissue and Membrane การศึกษาเซลล์ เส้นใยและชนิดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในสไลด์ 1. ศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด mesenchymal connective tissue ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 15 (Intramembranous ossification)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 4X ศึ ก ษ าดู ลั ก ษ ณ ะทั่ วไป ใน บ ริ เ วณ ที่ กำลั ง มี ก าร พัฒนาการของตัวอ่อน ให้เลือกศึกษาดูลักษณะเซลล์ ในแต่ ล ะบริ เวณด้ ว ยกำลั ง ขยายที่ สู ง ขึ้ น (ในกรอบ สี่เหลี่ยม)

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X จะเห็นเซลล์เป็นจำนวนมากกระจายตัวอยู่ ให้เลือกดู เซลล์ที่นิวเคลียสกลมถึงรีติดสีจาง เห็น process ยื่น ออกจากเซลล์ คื อ mesenchymal cell (ลู ก ศรชี้ ) เรี ย ก เนื้ อ เยื่ อ เกี่ ย ว พั น นี้ ว่ า mesenchymal connective tissue

400X

30 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Connective Tissue and Membrane 2. ศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด mucous connective tissue ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 95 (Umbilical cord)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ให้ ศึ ก ษาดู ลั ก ษณะของสายสะดื อ ในบริ เวณกรอบ สี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นบริเวณที่กำลังมีการพัฒนาการของ ตัวอ่อน แล้วให้ศึกษาดูลักษณะเซลล์ในบริเวณนี้ด้วย กำลังขยายที่สูงขึ้น

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X จะเห็ น เซลล์ ก ระจายตั ว อยู่ ให้ เ ลื อ กดู เ ซลล์ ที่ มี นิวเคลียสกลมถึงรี ติดสีจาง เห็น process ยื่นออก จากเซลล์ ซึ่งคือ mesenchymal cell (ลูกศรชี้) ที่ ก ำลั งจ ะ ห ด process สั้ น ล งแ ล ะ เป ลี่ ย น เป็ น fibroblast ต่ อ ไป พร้ อ มกั น นั้ น ให้ ศึ ก ษาส่ ว นที่ อ ยู่ ระหว่างเซลล์ ที่ เรีย กเฉพาะว่า Wharton’s jelly เป็ น ground substance มี ลั ก ษ ณ ะ ค ล้ า ย วุ้ น (gelatinous substance) เ กิ ด จ า ก ส า ร ก ลุ่ ม mucopolysaccharides เ ช่ น hyaluronic acid และ chondroitin sulfate 400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 31


Connective Tissue and Membrane 3. ศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด loose connective tissue ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 63 (Colon)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 4X ศึ ก ษ า ดู ลั ก ษ ณ ะ ทั่ ว ไป ใน บ ริ เว ณ ที่ อ ยู่ ใต้ ต่ อ epithelium ที่ เ รี ย กว่ า lamina propria ให้ เ ลื อ ก ศึกษาดูลักษณะเซลล์ในแต่ละบริเวณด้วยกำลังขยายที่ สู ง ขึ้ น (ในกรอบสี่ เ หลี่ ย ม) เป็ น ส่ ว นของ loose connective tissue จะพบเซลล์ เม็ ด เลื อ ดขาวกลุ่ ม lymphocyte และ plasma cell

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X จะเห็ น เซลล์เรียงตัวหนาแน่ น อยู่ ให้ เลือ กดูเซลล์ 2 ชนิ ด ได้ แ ก่ lymphocyte (ลู ก ศรชี้ ) มี นิ ว เคลี ย ส กลมติดสีเข้ม และ plasma cell (หัวลูกศรชี้) มีเส้น ใย chromatin อยู่ ชิ ด ขอบของนิ ว เคลี ย สเรี ย งตั ว เหมื อ นตั ว เลขบนหน้ า ปั ด นาฬิ กา (clock-face appearance)

400X

32 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Connective Tissue and Membrane 4. ศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด dense irregularly arranged connective tissue ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 46 (Thick skin)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์วัต ถุก ำลังขยาย 4X ศึ ก ษาดู ลั ก ษณะทั่ ว ไปในบริเวณผิ ว หนั งชั้ น หนั งแท้ (dermis) (ในกรอบสี่เหลี่ยม) ซึ่งอยู่ใต้ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ให้เลือกศึกษาดูลักษณะเซลล์และเส้น ใย collagen fiber ด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X จะเห็ น เซลล์ ก ระจายตั ว อยู่ น้ อ ย ให้ เลื อ กดู เซลล์ ที่ นิ ว เคลี ย สติ ด สี เข้ ม คื อ fibroblast และศึ ก ษาการ เรียงตัวของเส้นใย collagen fiber ที่ติดสีชมพูเรียง ตัวหลายทิศทางไม่เป็นระเบียบ

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 33


Connective Tissue and Membrane 5. ศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด dense regularly collagenous type connective tissue ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 7 (Tendon)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วัต ถุก ำลั งขยาย 4X ศึกษาดูลักษณะทั่วไปในบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่าง เส้นใยกล้ามเนื้อและ tendon โดยให้ศึกษาบริเวณที่ ติ ด สี ช มพู จ างกว่า คื อ tendon (ในกรอบสี่ เหลี่ ย ม) แล้วใช้กำลังขยายที่สูงขึ้น

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ให้ สังเกตดูก ารเรีย งตัวของ collagen fiber ซึ่งเป็ น เส้นใยขนาดใหญ่ ติดสีชมพู เรียงเป็นระเบียบคล้าย คลื่ น น้ ำ ส่ ว น fibroblast มี นิ ว เคลี ย สแบนติ ด สี เข้ ม เรียงตัวเป็นระเบียบกระจายอยู่ทั่วไป

400X

34 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Connective Tissue and Membrane 6. ศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด dense regularly elastic type connective tissue ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 8 (Ligamentum nuchae) และ 35 (Aorta)

ขั้น ตอนที่ 2 ศึก ษาด้วยเลนส์วัต ถุก ำลังขยาย 4X โด ย ศึ ก ษ า จ า ก ligamentum nuchae (ส ไล ด์ หมายเลข 8) สังเกตดูลักษณะทั่วไปจะพบ collagen fiber ติ ด สี ช มพู เข้ ม กว่า tendon แต่ elastic fiber ย้อมติดสี eosin ไม่ดี ทำให้ไม่สามารถชี้แสดงได้ใน เนื้อเยื่อชนิดนี้

40X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาเส้ น ใย elastic fiber ด้ ว ย เลนส์ วัต ถุ ก ำลั งขยาย 40X โดยศึ ก ษาจาก aorta (สไลด์หมายเลข 35) ในชั้น tunica media สังเกต การเรียงตัวของ elastic fiber ซึ่งย้อมติดสีชมพูจาง มีความมันวาว และเรียงตัวเป็นคลื่น (wavy fiber; ลูกศรชี้)

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 35


Connective Tissue and Membrane 7. ศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด adipose connective tissue ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 9 (Adipose tissue)

40X

ขั้น ตอนที่ 2 ศึก ษาด้วยเลนส์วัต ถุก ำลังขยาย 4X ศึ ก ษาดู ลั ก ษณะทั่ ว ไปในบริ เวณที่ จ ะพบเซลล์ อ ยู่ ติ ด กั น คล้ า ยรั ง ผึ้ ง (กรอบสี่ เ หลี่ ย ม) พบช่ อ งว่ า ง มากมายเกิดจาก lipid ละลายไปขณะเตรียมชิ้นเนื้อ จากนั้นศึกษาด้วยกำลังขยายสูงขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X จะเห็ น fat cells (adipocytes) เรีย งตั ว ติ ด กั น เป็ น รูป หลายเหลี่ ย ม (polyhedral shape) มี นิ วเคลี ย ส แบนและถูกดันไปอยู่ชิดขอบเซลล์ (ลูกศรชี้) ภายใน ไซโทพลาสซึมพบช่องว่างไม่ติดสี

400X

36 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Connective Tissue and Membrane 8. ศึกษาเซลล์อื่น ๆ ที่พบได้ใน loose connective tissue 8.1 Mast cell ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 6 (Mesentery)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 40X ศึ ก ษา mast cell (ลู ก ศรชี้ ) เป็ น เซลล์ ที่ มี ลั ก ษณะรี ห รื อ กลม ติ ด สี ม่ ว งเข้ ม ขนาดใหญ่ ค่อนข้างพบน้อย มองไม่เห็นนิวเคลียส เนื่องจาก granule ที่ติดสีม่วงเข้มมีขนาดใหญ่และบังส่วน ของนิวเคลียส ( ที่ ม า https://histologyguide.org/slideview/MH0 0 3 -toluidine-blue/0 3 -slide-1 .html สื บ ค้ น เมื่ อ 1 กันยายน 2564)

8.2 Macrophage ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 67 (Liver) โดยศึกษาเซลล์ macrophage ที่พบในตับ เรียกว่า Kupffer cell

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษาบริเวณที่เป็นตำแหน่งของเซลล์ตับ (ในกรอบ สี่ เห ลี่ ย ม ) โด ย ใช้ ก ำลั งข ย าย สู งเพื่ อ ศึ ก ษ า รายละเอียดต่อไป

40X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 37


Connective Tissue and Membrane ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาลัก ษณะของ Kupffer cell (K; ลูก ศรชี้) ซึ่ง เป็นเซลล์ที่อยู่ในแอ่งหรือช่องว่าง มีลักษณะรีห รือ กลมติดสีแดง ขนาดใหญ่ ภายในไซโทพลาสซึมจะ พบสิ่งที่เซลล์เก็บกินเข้าไปติดสีน้ำตาลถึงดำ

400X

9. ศึกษาลักษณะของเยื่อหุ้ม (membrane) ชนิด mucous membrane ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 55 (Esophagus; middle)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X ศึ ก ษ าส่ ว น ที่ บุ อยู่ ภ ายใน ท่ อของห ลอดอาห าร (esophagus) (กรอบสี่ เ หลี่ ย ม) เรี ย กว่ า mucous membrane ใ ห้ ใ ช้ ก ำ ลั ง ข ย า ย สู ง เพื่ อ ศึ ก ษ า รายละเอียดในแต่ละส่วน

40X

38 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Connective Tissue and Membrane ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ศึกษาลักษณะของ mucous membrane จะเห็นว่า ประกอบด้วย 3 ชั้น ดังนี้ - Epithelium (Epi.) บุ ด้ ว ย stratified squamous epithelium พบ basement membrane ชัดเจน - Lamina propria (La.) เป็ น ชั้ น ที่ อ ยู่ ลึ ก ลงไป เป็น loose connective tissue - Muscularis mucosae (Mu.) เป็ น ชั้ น ของกล้ามเนื้อเรียบ 100X

10. ศึกษาลักษณะของเยื่อหุ้ม (membrane) ชนิด serous membrane ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 64 (Appendix)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษาส่วนที่บุอยู่ภายนอกท่อของไส้ติ่ง (appendix) (ก ร อ บ สี่ เห ลี่ ย ม เส้ น ป ร ะ ) เรี ย ก ว่ า serous membrane (serosa) ให้ ใช้ ก ำลั ง ขยายสู ง เพื่ อ ศึกษารายละเอียดในแต่ละส่วน

40X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 39


Connective Tissue and Membrane ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ศึกษาลักษณะของ serous membrane จะเห็นว่า ประกอบด้ ว ย epithelium (Epi) บุ ด้ ว ย simple squamous epithelium ที่ ว างอยู่ บ น basement membrane และ lamina propria (La) ซึ่งเป็นชั้น ของ loose connective tissue พบหลอดเลื อ ด แทรกได้

Epi La

100X

40 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Muscular Tissue

ปฏิบัติการที่ 4 เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (Muscular Tissue) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ยุทธพงษ์ ทองพบ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงและจำแนกชนิดของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อในร่างกายได้ 2. สามารถอธิบายเปรียบเทียบลักษณะทางจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อทั้ง 3 ชนิดในร่างกายได้ ได้แก่ - กล้ามเนื้อลาย (skeletal หรือ striated muscle) - กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) - กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) 3. สามารถชี้แสดงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ที่สัมพันธ์กับเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อได้ถูกต้อง 1. การจำแนกชนิดของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ สามารถแบ่งตามลักษณะทางจุลกายวิภาคได้ 3 ชนิด คือ 1.1 กล้ามเนื้อลาย (Skeletal / striated muscle) กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่มีลาย (striation) ปรากฏอยู่บนเซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อ ชนิดที่พบมากที่สุดในร่างกาย โดยเกาะติดอยู่กับกระดูก เมื่อกล้ามเนื้อทำงานหรือมีการหดตัว ส่งผลทำให้ร่างกายมีการ เคลื่อ นไหวในทิ ศ ทางต่าง ๆ ได้ กล้ามเนื้ อ ลายทำงานภายใต้อ ำนาจจิต ใจ (voluntary control) ซึ่งร่างกายสามารถ ควบคุมสั่งการให้ทำงานได้ เซลล์กล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle fiber) มีรูปร่างทรงกระบอกยาว (long cylindrical shape) โดยมีความ ยาวประมาณ 0.5-40 เซนติเมตร ในหนึ่งเซลล์กล้ามเนื้อมีนิวเคลียสอยู่จำนวนมาก จึงเรียกว่า multinucleated cell โดยนิวเคลียสเรียวยาว เรียงตัวอยู่ริมขอบเซลล์ (eccentric nucleus) และมีลายตามขวาง (cross striation) ซึ่งเกิดจาก การเรียงตัวของ myofilament เป็นระเบียบแบบแผน 1.2 กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่มีลายปรากฏอยู่บนเซลล์กล้ามเนื้อเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อลาย แต่ในกล้ามเนื้อหัวใจ นี้สามารถพบได้ที่ผนังของหัวใจและหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่มีการติดต่อกับหัวใจเท่านั้น กล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกเหนือ อำนาจจิตใจ (involuntary control) โดยทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system) เราจึงไม่สามารถควบคุมหรือสั่งการให้ทำงานได้ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle fiber) มีรูปร่างทรงกระบอก (cylindrical shape) มีนิวเคลียสเดี่ยวอยู่ กลางเซลล์ (concentric nucleus) และมีลายตามขวาง ซึ่งเกิดจากการเรียงตัวของ myofilament เป็นระเบียบแบบ แผนเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อลาย แต่ต่างกันตรงที่กล้ามเนื้อหัวใจมีเซลล์สั้นกว่าและตรงปลายของแต่ละเซลล์เชื่อมต่อกัน ด้ ว ย intercalated disc ซึ่ ง เป็ น ทางผ่ า นไอออน (ion) ระหว่ า งเซลล์ เพื่ อ ช่ ว ยให้ ก ระแสประสาทผ่ า นไปตามเซลล์ กล้ามเนื้อที่อยู่ข้างเคียงได้เร็วขึ้น นอกจากนี้บางเซลล์ยังมีการแตกแขนง (branching) ไปเชื่อมกับเซลล์ข้างเคียง

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 41


Muscular Tissue 1.3 กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลาย (non-striation) ปรากฏอยู่บนเซลล์กล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อชนิดนี้สามารถพบได้ที่ผนัง ของอวัยวะภายในของร่างกาย (visceral organ) เช่น หลอดอาหาร (esophagus) กระเพาะอาหาร (stomach) ลำไส้ เล็ก (small intestine) ลำไส้ใหญ่ (large intestine) หลอดลม (bronchus) มดลูก (uterus) ท่อไต (ureter) กระเพาะ ปัสสาวะ (urinary bladder) ท่อปัสสาวะ (urethra) และหลอดเลือด (blood vessel) เป็นต้น กล้ามเนื้อเรียบทำงาน นอกเหนืออำนาจจิตใจ โดยทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ เราจึงไม่สามารถควบคุมหรือสั่งการให้ ทำงานได้ เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle fiber) มีรูปร่างเป็นรูปกระสวย (fusiform / spindle shape) โดย ปลายทั้งสองเรียวเล็ก ตรงกลางป่อง เนื่องจากมีนิวเคลียสรูป ไข่เพี ยงอัน เดียวอยู่กลางเซลล์ (concentric nucleus) ดังนั้นเมื่อตัดตามขวาง สังเกตเห็นว่าแต่ละเซลล์มีขนาดไม่เท่ากัน เซลล์มีความยาวแตกต่างกันแล้วแต่ตำแหน่งที่พบ เช่น ที่ ผ นั งมดลู ก ของหญิ งมี ค รรภ์ มี ค วามยาวประมาณ 50 ไมโครเมตร ส่ วนที่ ผ นั งของหลอดเลื อ ดมี ค วามยาวประมาณ 20 ไมโครเมตร 2. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่สัมพันธ์กับเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ 2.1 Epimysium เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อทั้งมัด (total muscle / muscle bundle) 2.2 Perimysium เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทีห่ ่อหุ้มแต่ละกลุ่มย่อยของเซลล์กล้ามเนื้อ (fascicle) 2.3 Endomysium เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ห่อหุ้มแต่ละเซลล์กล้ามเนื้อ (muscle fiber) วิธกี ารศึกษา muscle tissue จากสไลด์ 1. ศึกษากล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 18 (Muscle bundle)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 4X สั ง เกตเห็ น muscle fibers ที่ ถู ก ตั ด ต า ม ข ว า ง (cross section) อยู่รวมกันเป็นกลุ่มย่อย ๆ ที่ เรี ย กว่ า fascicle (F; ในวงเส้ น ทึ บ สี ดำ) โดยแต่ละ fascicle ถูกห่อหุ้มด้วย เ นื้ อ เ ยื่ อ เ กี่ ย ว พั น ช นิ ด loose connective tissue ที่ เ รี ย ก ว่ า perimysium (P; ช่ อ งหลวม ๆ รอบ เส้นทึบ) เพื่อเป็นช่องทางในการนำเข้า แ ล ะ อ อ ก ข อ ง ห ล อ ด เลื อ ด แ ล ะ เส้นประสาทที่มาเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อ 40X 42 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Muscular Tissue ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษ าด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 10X สังเกตเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน perimysium (P) ที่ หุ้ ม รอบ ๆ fascicle (ในวงเส้นทึบสีดำ) โดยยื่นแทรกเข้าไปพัน ร อ บ แ ต่ ล ะ muscle fiber (M; ใน ว ง เส้ น ประสี ด ำ) เรี ย กว่ า endomysium (E; ช่องหลวม ๆ รอบเส้นประ)

100X

ขั้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษ าด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 40X สังเกตแต่ละ muscle fibers (M) ที่ถูกตัดตามขวาง มีนิวเคลียส รูปไข่ติดสีม่วงเข้ม (basophilic) จำนวน มาก เรียงตัวอยู่ริมขอบเซลล์ (eccentric nucleus; ลู ก ศรชี้ ) ซึ่ ง แต่ ล ะ muscle fiber ถู ก ห่ อ หุ้ ม ด้ ว ยเนื้ อ เยื่ อ เกี่ ย วพั น ที่ เรียกว่า endomysium (E)

400X

ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาสไลด์หมายเลข 19 (Striated muscle, longitudinal section)

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 43


Muscular Tissue ขั้ น ตอนที่ 6 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วัต ถุ กำลังขยาย 4X สังเกตเห็น muscle fibers ว า ง ตั ว ใ น แ น ว ย า ว (longitudinal) ทิศทางเดียวกัน มา รวมกั น เป็ น กลุ่ ม ย่ อ ย (fascicle; F คื อ ทั้ งกลุ่ ม ที่ ลู ก ศรชี้ ) ซึ่ งแต่ ล ะกลุ่ ม ย่ อ ยของกล้ า มเนื้ อ (fascicle) ถู ก ห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า perimysium (P)

40X

ขั้นตอนที่ 7 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ กำลั ง ขยาย 10X เห็ น muscle fibers เป็ น เซลล์ รู ป ทรงกระบอก ยาว ในแต่ ล ะเซลล์ มี นิ ว เคลี ย สอยู่ จำนวนมาก โดยสังเกตเห็นเนื้อเยื่อ เกี่ ย ว พั น ที่ ห่ อ หุ้ ม แ ต่ ล ะ เซ ล ล์ กล้ า มเนื้ อ เรีย กว่ า endomysium (E)

100X

400X 44 | P a g e

ขั้นตอนที่ 8 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ กำลั ง ขยาย 40X เห็ น muscle fibers เป็ น เซลล์ รู ป ทรงกระบอก ยาว ในแต่ ล ะเซลล์ มี นิ วเคลี ย สอยู่ จำนวนมาก โดยนิ วเคลีย สเป็ น รูป ไข่ ติดสีม่วงเข้ม (basophilic) เรียง ตั ว อยู่ ริ ม ขอบ เซลล์ (eccentric nucleus; ลูกศรชี้) และสังเกตเห็น ลายตามขวาง (cross striation) ของเซลล์กล้ามเนื้อได้ชัดเจนซึ่งเกิด จ า ก ก า ร เ รี ย ง ตั ว ข อ ง myofilament เป็ น ระเบี ย บแบบ แผน

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Muscular Tissue 2. ศึกษากล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 21 (Cardiac muscle) หรือ 39 (Heart wall)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษ าด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 4X และ / หรือ 10X โดยใน สไลด์หมายเลข 21 (cardiac muscle) มี ทั้ ง กล้ า มเนื้ อ หั ว ใจที่ ถู ก ตั ด ตามขวาง (cross section) แ ล ะ ต า ม ย า ว (longitudinal section; long.) นอกจากนี้ยังอาจพบบางส่วนที่ถูกตัดผ่าน แบบเฉียง ๆ (oblique section) ให้นิสิต เลือกศึกษาทีละบริเวณ

100X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษากล้ามเนื้อหัวใจที่ถูก ตั ด ตามขวาง (cross section) ด้ ว ย เลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เห็นลักษณะ muscle fiber ที่ถูกตัดตามขวาง (ในวง เส้ น ทึ บ สี ด ำ) ซึ่ ง รู ป ร่ า งและขนาดของ หน้าตัดนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากเส้นใย ก ล้ า ม เนื้ อ หั ว ใจ มี ก า ร แ ต ก แ ข น ง (branching) จากนั้นให้สังเกตนิวเคลียส ของแต่ละ muscle fiber ว่ามีนิวเคลียส เดี่ ย ว อ ยู่ ก ล า ง เซ ล ล์ (concentric nucleus) โดยแต่ละ muscle fiber ถูก ห่ อ หุ้ ม ด้ ว ยเนื้ อ เยื่ อ เกี่ ย วพั น ที่ เรี ย กว่ า endomysium (E)

P a g e | 45


Muscular Tissue

400X

ขั้น ตอนที่ 4 ศึกษากล้ามเนื้อหัวใจที่ถูก ตั ด ตามยาว (longitudinal section) ด้ ว ย เล น ส์ วั ต ถุ ก ำ ลั ง ข ย า ย 40X สั ง เก ต เห็ น muscle fiber ที่ ถู ก ตั ด ตามยาว มี รู ป ร่ า งทรงกระบอกสั้ น ๆ มี นิวเคลียสเดี่ยวอยู่กลางเซลล์ (concentric nucleus) มี ล า ย ต า ม ข ว า ง (cross striation) และมี endomysium (E) หุ้ ม รอบแต่ละเซลล์ นอกจากนี้ยังพบลักษณะ เด่ น ที่ ส ำ คั ญ คื อ intercalated disc (ลู ก ศรชี้ ) และมี ก ารแตกแขนงของเซลล์ (branching; เส้นประรูปตัว Y)

3. ศึกษากล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 22 (Smooth muscle), 61 (Jejunum), 62 (Ileum) หรือ 63 (Colon)

100X xx

46 | P a g e

ขั้ น ต อ น ที่ 2 ศึ ก ษ าด้ วยเล น ส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 4X และ 10X โดยในสไลด์ ห ม า ย เล ข 22 (smooth muscle) มี กล้ า มเนื้ อ เรี ย บที่ ถู ก ตั ด ทั้ ง ตามขวาง (cross section) แ ล ะ ต า ม ย า ว (longitudinal section; long.) ให้ นิ สิ ต เลือกศึกษาทีละบริเวณโดยใช้กำลังขยาย ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเลือกศึกษา กล้ามเนื้อเรียบได้จากสไลด์ที่ 61-63 โดย เลือกศึกษาผนังด้านนอก ซึ่งอยู่ตรงข้าม กับท่อช่องว่าง (lumen) จะพบกล้ามเนื้อ เรี ย บในชั้ น ลึ ก กว่ า ชั้ น submucosa (S) ซึ่ ง แบ่ ง ออกเป็ น สองชั้ น ย่ อ ย คื อ (1) กล้ า มเนื้ อ เรี ย บชั้ น ในที่ ถู ก ตั ด ตามยาว (long.) และ (2) กล้ามเนื้อเรียนชั้นนอกที่ ถูกตัดตามขวาง (cross)

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Muscular Tissue ขั้น ตอนที่ 3 สังเกตลักษณะของกล้ามเนื้อ เรียบด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X สังเกต ความต่างระหว่างกล้ามเนื้อเรียบที่ถูกตัดตาม ขวาง (cross) และตามยาว (long.)

400X X

400X

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษากล้ามเนื้อเรียบที่ถูกตัด ตาม ยาว (longitudinal section) ด้ ว ย เลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เลือกดูกลุ่มเซลล์ ที่ถูกตัดตามยาวที่ชัดที่สุดก่อน สังเกตเห็นว่า เซลล์ มี รู ป ร่ า งเป็ น รู ป กระสวย (spindle shape; ในวงเส้นทึบสีดำ) ขอบเขตของเซลล์ ไม่ ชั ด เจน ในแต่ ล ะเซลล์ มี นิ ว เคลี ย สเดี ย ว (ลู ก ศรชี้ ) อยู่ ก ลางเซลล์ เป็ น รูป ไข่ ห รือ เรีย ว ยาว กล้ า มเนื้ อ เรี ย บไม่ มี ล ายตามขวาง เนื่องจากภายใน sarcoplasm ของกล้ามเนื้อ เรี ย บ บ รรจุ myofibril ที่ เรี ย งตั ว ไม่ เ ป็ น ระเบียบ

ขั้นตอนที่ 5 ศึกษากล้ามเนื้อเรียบที่ถูกตัด ตามขวาง (cross section) ด้วยเลนส์วัตถุ กำลังขยาย 40X เห็นว่าหน้าตัดมีรูปร่างกลม แต่ ข นาดหลากหลายทั้ ง เล็ ก บ้ า งใหญ่ บ้ า ง ขึ้ น อยู่ กั บ ตำแหน่ ง ของเซลล์ ที่ ถู ก ตั ด บาง เซลล์ก็เห็นนิวเคลียส (ลูกศรชี้) เนื่องจากตัด ผ่านตรงตำแหน่งนิวเคลียส แต่บางเซลล์ก็ไม่ เห็นเพราะตัดไม่ผ่านนิวเคลียส

400X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 47


Muscular Tissue

48 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Nervous Tissue

ปฏิบัติการที่ 5 เนื้อเยื่อประสาท (Nervous Tissue) ผู้เขียน รศ.ดร.สุทิสา ถาน้อย ผู้ปรับปรุง ดร.ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของเนื้อเยื่อประสาทได้ 2. บอกลักษณะของเซลล์ประสาท และเซลล์ค้ำจุนชนิดต่าง ๆ ได้ 3. อธิบายลักษณะเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของเนื้อเยื่อประสาทได้ 4. บอกลักษณะทางจุลกายวิภาคของสมองใหญ่ และสมองน้อยได้ 5. บอกลักษณะทางจุลกายวิภาค และความแตกต่างของปมประสาทไขสันหลัง และปมประสาทอัตโนมัติได้

เนื้อเยื่อประสาท (Nervous tissue) เนื้ อ เยื่ อ ประสาทประกอบด้ ว ย เซลล์ ป ระสาท (nerve cell หรื อ neuron) เซลล์ ค้ ำ จุ น (glial cell) ที่ แ ทรกอยู่ ระหว่างเซลล์ประสาท และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) 1. เซลล์ประสาท (Neurons) เซลล์ประสาท แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ cell body ซึ่งประกอบด้วยนิวเคลียสและไซโทพลาสซึมอยู่ล้อมรอบ และ อีก ส่วนคือ แขนงที่ ยื่น ออกไปจากตัวเซลล์ เรีย กว่า cell processes ซึ่งแบ่ งออกเป็ น dendrite และ axon เซลล์ป ระสาท จำแนกออกได้หลายชนิด ถ้าแบ่งตามจำนวนของ processes แบ่งออกได้เป็น 1.1 Pseudounipolar neuron พบได้ที่ปมประสาทรับความรู้สึก (sensory ganglia, dorsal root ganglia) ตัว เซลล์ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม มี cytoplasmic process ออกจากเซลล์เพียงแขนงเดียว แต่เมื่อออกไปนอกเซลล์แล้ว จะแตก ออกเป็น axon และ dendrite อย่างละแขนง 1.2 Bipolar neuron เป็นเซลล์ประสาทที่มี cell processes 2 แขนง คือ axon และ dendrite อย่างละแขนง ออกจาก cell body ในด้ า นตรงข้ า มกั น พบได้ ในอวั ย วะที่ มี ห น้ า ที่ เกี่ ย วกั บ การรับ สั ม ผั ส เช่ น retina ของตา olfactory epithelium ในจมูก, spiral และ vestibular ganglia ในหู 1.3 Multipolar neuron เป็นเซลล์ประสาทชนิดที่พบมากที่สุด มีรูปร่างหลายแฉกเพราะมี cell process หลาย แขนง มีนิวเคลียสกลม นิวคลีโอลัสชัดเจน ภายในไซโทพลาสซึมเห็น Nissl body กระจายอยู่ทั่วไป ยกเว้นบริเวณที่ axon ยื่น ออกไปจากตัวเซลล์จะไม่พบ Nissl body เรียกบริเวณนั้นว่า axon hillock ซึ่งเป็นบริเวณเริ่มต้นของการส่งสัญญาณประสาท (initial segment) เซลล์ ป ระสาทชนิ ด multipolar neuron นี้ สามารถเรี ย กชื่ อ ตามรู ป ร่ า งของเซลล์ เช่ น multipolar neuron ที่พบใน cerebral cortex มีรูปร่างคล้ายปิรามิด เรียกว่า pyramidal cell หรือ เซลล์ประสาทที่พบที่ cerebellar cortex เรียกว่า Purkinje cell ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทชนิด multipolar neuron เช่นกัน

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 49


Nervous Tissue 2. เซลล์ค้ำจุนประสาท (Glial cell) ประกอบไปด้วยเซลล์ชนิดต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ค้ำจุน ให้อาหาร และทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่เนื้อเยื่อประสาท และ มีความสำคัญเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อประสาทด้วย เซลล์ค้ำจุนในระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ependyma glial cell หรือ neuroglia ส่วนในระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่ Schwann cell และ satellite cell 2.1 Ependyma เป็นเซลล์บุผิวที่ดาดอยู่ที่ช่องโพรงของสมอง (ventricles) และช่องไขสันหลัง (central canal) ซึ่งภายใน ventricles และ central canal นั้นมีน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) 2.2 Neuroglia เป็นเซลล์ค้ำจุนที่พบในระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ • Astroglia หรือ astrocytes เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายดาว พบอยู่ทั้งในส่วน gray matter และ white matter • Oligodendroglia ทำหน้ าที่ ส ร้าง myelin sheath ในระบบประสาทส่วนกลาง ลัก ษณะของเซลล์คือ นิวเคลียสกลม ขนาดเล็ก ติดสีเข้ม มักพบอยู่ใกล้ ๆ กับเซลล์ประสาท (pyramidal cell) ซึ่งก็คือนิวเคลียส ของ oligodendroglia นั่นเอง • Microglia เป็น glial cell ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในส่วนของ white matter จะเห็นนิวเคลียสของ glial cell มีรูปร่างเป็นแท่ง (rod shaped) 2.3 Satellite หรือ capsule cell เป็นเซลล์ค้ำจุนที่พบในระบบประสาทส่วนปลาย เป็น cuboidal cell เรียงตัว ชั้นเดียว มีนิวเคลียสกลมหรือรูปไข่ รอบนอก satellite cell เป็นชั้นของ fibroblast 3. เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เนื้ อ เยื่ อ เกี่ ย วพั น ทำหน้ า ที่ เป็ น sheath หรื อ capsule หุ้ ม ส่ ว นต่ า ง ๆ ของเนื้ อ เยื่ อ ประสาท ในระบบประสาท ส่วนกลาง ประกอบเป็นเยื่อหุ้มสมองและเยื่อหุ้มไขสันหลัง (meninge) ส่วนในระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่ sheath และ capsule ต่าง ๆ เนื้ อ เยื่ อ เกี่ ย วพั น ที่ หุ้ ม ภายนอกเส้ น ประสาททั้ งเส้ น เรีย กว่า epineurium ซึ่ งประกอบไปด้ วย fibroblast และ collagenous fibers และมี blood vessels และ fat cells แทรกอยู่ ภ ายใน จาก epineurium จะให้ เนื้ อ เยื่ อ เกี่ ย วพั น ที่ เรียกว่า perineurium เข้าไปหุ้มมัดใยประสาท (fasciculus) แต่ละมัด และจาก perineurium ก็จะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบาง ๆ แทรกเข้าไปหุ้มรอบเส้นใยประสาท (nerve fiber) แต่ละเส้นเรียกว่า endoneurium บริเวณ nerve fiber แต่ ล ะเส้ น ที่ ถู ก หุ้ ม อยู่ ด้ ว ย myelin sheath จะเห็ น นิ ว เคลี ย สของ Schwann cell ซึ่ งเป็ น supporting cell ของระบบประสาทส่วนปลาย ทำหน้ าที่ เกี่ย วกับ การสร้าง myelin sheath นอกจากนั้ น ยังพบส่วนของ neurolemma ที่มีลักษณะเป็นขอบบาง ๆ และโค้งเข้าหา axon ที่ node of Ranvier ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มี myelin sheath หุ้ ม ซึ่ ง node of Ranvier นั้ น จะทำให้ ก ารส่ ง สั ญ ญาณประสาทได้ เร็ ว ขึ้ น ดั ง นั้ น axon ที่ มี myelin sheath หุ้ ม จะส่ ง สัญญาณประสาทได้เร็วกว่า axon ที่ไม่มี myelin sheath หุ้ม ลักษณะทางจุลกายวิภาคของระบบประสาทส่วนกลาง (Histology of the central nervous system) 1. สมองใหญ่ (Cerebrum) Cerebral cortex แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ได้แก่ 1. Molecular layer เป็นชั้นที่อยู่นอกสุด พบเซลล์น้อยและอยู่กระจัดกระจาย นอกนั้นประกอบไปด้วยเส้นใย ประสาท ที่ผิวของสมองถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมอง pia mater 2. External granular layer เป็นชั้นที่พบเซลล์ขนาดเล็ก cell body มีลักษณะกลม 3. External pyramidal layer จะเห็น cell body ของ pyramidal cell ขนาดเล็ก 50 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Nervous Tissue 4. Internal granule layer พบ cell body ของ granule cell ขนาดใหญ่ขึ้น 5. Internal pyramidal layer พบ cell body ของ pyramidal cell ขนาดใหญ่ ใน precentral gyrus (motor cortex) พบ giant pyramidal cell เรี ย กว่ า Betz cell ซึ่ ง เซลล์ เ หล่ า นี้ จ ะส่ ง แขนงประสาทออกไปเป็ น pyramidal tract หรือ corticospinal tract 6. Multiform layer พบเซลล์มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กัน 2. สมองน้อย (Cerebellum) บริเวณผิ วของ cerebellum นั้ น จะมี folds เป็ น จำนวนมากเรีย งตั วขนานกั น กั บ main fissure ส่ วนของ gray matter ของ cerebellum นั้นเรียกว่า cerebellar cortex ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น ได้แก่ 1. Molecular layer เป็ น ชั้ น ที่ อ ยู่ น อกสุ ด ประกอบไปด้ ว ย dendrites ของ Purkinje cell และ axons ของ granule cells ดังนั้นจะพบว่าชั้นนี้จะมีเซลล์น้อย กระจัดกระจาย 2. Purkinje cell layer ประกอบไปด้ ว ยเซลล์ ป ระสาทขนาดใหญ่ ที่ มี ชื่ อ ว่ า Purkinje cell เรี ย งตั ว ชั้ น เดี ย ว ระหว่าง molecular layer กับ granular layer เซลล์ประสาทในชั้นนี้เป็นเซลล์ที่มีแขนง dendrite มากมาย เหมือนกิ่งไม้และส่ง dendrite ขึ้นไปที่ชั้น molecular layer 3. Granular cell layer ประกอบไปด้วย granule cell ขนาดเล็กจำนวนมาก 3. ไขสันหลัง (Spinal cord) รอยแยกลึกทางด้านหน้าเรียกว่า anterior median fissure ซึ่งแบ่งไขสันหลังออกเป็นซีกซ้ายและซีกขวา เนื้อไขสัน หลังนั้ น ถูกห่ อหุ้ ม ด้วยเยื่อหุ้ ม ไขสัน หลัง pia mater ในส่วนกลางของไขสัน หลังนั้น มีลักษณะคล้ายตัว H ซึ่งเป็ น ส่วน gray matter และเป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาท ส่วนขาของตัว H เรียกว่า anterior horn และ posterior horn พบเซลล์ประสาท ชนิด motor neuron ในส่วน anterior horn ของไขสันหลัง บริเวณตรงกลางของไขสันหลังมีรูเรียกว่า central canal ซึ่งถูก บุด้วย ependyma ลักษณะทางจุลกายวิภาคของระบบประสาทส่วนปลาย (Histology of the peripheral nervous system) 1. ปมประสาทไขสันหลัง (Spinal ganglion หรือ dorsal root ganglion) เซลล์ประสาท (dorsal root ganglion cell) ส่วนใหญ่ในปมประสาทเป็นชนิด pseudounipolar neuron และมีเส้นใย ประสาทแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ป ระสาท นิวเคลียสของ dorsal root ganglion cell มีลักษณะกลม อยู่กลางเซลล์ และมี นิ ว คลี โ อลั ส เด่ น ชั ด เจน ภายในไซโทพลาสซึ ม พบ Nissl bodies บางเซลล์ จ ะพบ lipofuscin pigment สี น้ ำ ตาล รอบ ๆ ของเซลล์ประสาทถูกล้อมรอบด้วย satellite cells ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนในระบบประสาทส่วนปลาย 2. ปมประสาทอัตโนมัติ (Sympathetic ganglion) เซลล์ป ระสาทใน sympathetic ganglion เป็ น ชนิ ด multipolar neuron ที่ มีนิ วเคลียสอยู่ชิด ขอบเซลล์ เซลล์มี ขนาดใกล้เคียงกันมากกว่า dorsal root ganglion cell แต่เซลล์มักไม่รวมอยู่กันเป็นกลุ่ม เซลล์ค้ำจุน (satellite cell) ที่อยู่ ล้อมรอบนั้นมักไม่ครบวง

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 51


Nervous Tissue การศึกษาเซลล์ประสาทและเซลล์ค้ำจุนประสาท 1. ศึกษาเซลล์ประสาทชนิด pseudounipolar neuron และ satellite cell ใน spinal ganglion ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 26 (Spinal ganglion)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อ เลื่อนสไลด์ดู โครงสร้ า งทั่ ว ไปของเนื้ อ เยื่ อ จากนั้ น เลื อ กตำแหน่ ง ของ เนื้อเยื่อที่ต้องการศึกษาตามกรอบสี่เหลี่ยม

CT

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X จะเห็นว่า ภายในปมประสาทประกอบด้วยเซลล์ประสาท (ในวงกลม) จำนวนมาก นิวเคลียสมีขนาดใหญ่ เซลล์ค้ำจุนมีขนาดเล็กกว่า ยังเห็นไม่ชัด ส่วนเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (CT) ติดสีชมพู

40X

*

*

400X

52 | P a g e

ขั้น ตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัต ถุกำลังขยาย 40X ศึกษา เซลล์ประสาทชนิด pseudounipolar neuron (หัวลูกศรชี้) จากสไลด์ จ ะไม่ เ ห็ น process เพราะโอกาสที่ จ ะตั ด ผ่ า น บริเวณที่ process ออกจากตัวเซลล์มีน้อย และการย้อมแบบ H&E ย้ อ มติ ด เฉพาะ cell body เป็ น ส่ ว นใหญ่ จะเห็ น ว่ า นิวเคลียสกลมขนาดใหญ่อยู่กลางเซลล์ เห็นขอบเขตนิวเคลียส และนิ ว คลี โ อลั ส ชั ด เจน บาง neuron เห็ น lipofuscin pigment สี น้ ำ ตาล (*) จากนั้ น ให้ ศึ ก ษา satellite cell (ลู ก ศรชี้ ) รอบ ๆ เซลล์ ป ระสาท เป็ น เซลล์ ข นาดเล็ ก มี นิวเคลียสกลมหรือรูปไข่

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Nervous Tissue

N

2. ศึกษาเซลล์ประสาทชนิด multipolar neuron และเซลล์ค้ำจุนประสาท ependymal cell ในไขสันหลัง ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 25 (Spinal cord)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อ เลื่อนสไลด์ดู โครงสร้างทั่วไปของเนื้อเยื่อ จะเห็นส่วนของ gray matter ติดสีเข้มกว่า จากนั้นเลือกตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่ต้องการ ศึกษาบริเวณกรอบสี่เหลี่ยม

ขั้น ตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X เลือก ข ยายดู ส่ ว น gray matter ใน บ ริ เ วณ anterior horn (วงเส้นประ) จะเห็นเซลล์ประสาทจำนวนมาก ให้เลือกดู เซลล์ขนาดใหญ่ทชี่ ดั ที่สุด

40X

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ขยายดู เซลล์ ที่ ชั ด ที่ สุ ด จะพ บ ว่ า เซลล์ มี รู ป ร่ า งห ลายแฉก มี นิ วเค ลี ย ส ก ล ม เห็ น นิ วค ลี โอ ลั ส ชั ด เจ น ภ าย ใน ไซโทพลาสซึมเห็น Nissl body ลักษณะจุดเล็ก ๆ ติดสีเข้ม (ลู ก ศรชี้ ) กระจายอยู่ ทั่ ว ไป ยกเว้ น บริ เวณที่ axon ยื่ น ออกไปจากตัวเซลล์จะไม่พบ Nissl body เรียกบริเวณนั้น ว่า axon hillock (หัวลูกศรชี)้

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 53


Nervous Tissue ขั้น ตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัต ถุกำลังขยาย 4X จะเห็น บริ เ วณ ตรงกลางของ gray matter มี ช่ อ งว่ า งเรี ย กว่ า central canal (กรอบสี่เหลี่ยม)

40X

ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X พิจารณา ดู ependymal cell ที่ บุ ร อบ central canal จะเห็ น ว่ า มี ลั ก ษ ณ ะ เป็ น simple cuboidal epithelium ที่ free surface มี cilia อยู่

400X

3. ศึกษาเซลล์ประสาทและเซลล์ค้ำจุนประสาทในสมองใหญ่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 23 (Cerebrum; Motor & sensory cortex) ย้อมด้วย H&E

CC CC

54 | P a g e

S

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อด้วยตาเปล่า ดูโครงสร้าง ทั่วไปของเนื้อเยื่อ จะเห็นส่วนของ cerebral cortex (CC) และช่องว่างที่ แบ่งส่วน cortex อยู่คือ central sulcus (S) จากนั้นเลือกตำแหน่งของ เนื้อเยื่อที่ต้องการศึกษาในกรอบสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็น motor cortex ดูด้วย ตาเปล่าจะเห็น central sulcus เป็นร่องกั้นระหว่าง precentral gyrus หรื อ motor cortex และ postcentral gyrus หรื อ sensory cortex ซึ่ง motor cortex หนากว่า sensory cortex

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Nervous Tissue ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X พิจารณาเนื้อสมองส่วน motor cortex ซึ่งแบ่งออกเป็น ส่วน gray matter (GM) หรือเรียกว่า cerebral cortex อยู่ ชั้ น นอก เป็ น ส่ ว นที่ มี เซลล์ ป ระสาทอยู่ จ ำนวนมาก เรียงตัวแบ่งออกได้เป็น 6 ชั้น (ในปฏิบัติการไม่ต้องแยก ชั้นของ cortex แต่ให้พิจารณารูปร่างของเซลล์ประสาท) และส่ วน white matter (WM) อยู่ ชั้ น ใน มี เซลล์ ค้ ำจุน ประสาทหรือ neuroglia จำนวนมาก

GM

WM

40X

ขั้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X พิ จ ารณารู ป ร่ า งของเซลล์ ใน cerebral cortex สั ง เกต เซลล์ที่ มีรูป ร่างสามเหลี่ยมคล้ายปิ รามิด อยู่เป็ น จำนวน มาก คือเซลล์ป ระสาทชนิด multipolar neuron เรียก เซลล์นี้ว่า pyramidal cells (ลูกศรชี้)

400X

ขั้ น ตอนที่ 5 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษา neuroglia ซึ่ ง เป็ น เซลล์ ค้ ำ จุ น ของ CNS ดั ง นี้ astroglia หรื อ astrocyte พบทั้ ง ใน gray และ white matter ให้ ข ยายเข้ า ไปดู บ ริเวณ white matter เลื่ อ น หาเซลล์ที่มีนิวเคลียสกลม รอบ ๆ เซลล์ไม่ใส คือเซลล์ astrocytes (ลู ก ศ ร ชี้ ) ส่ ว น oligodendrocyte (หัวลูกศรชี้) เซลล์มีนิวเคลียสกลมติดสีเข้ม และรอบ ๆ นิ ว เคลี ย สใส ส่ ว น microglia (วงเส้ น ประสี น้ ำ เงิ น ) มี นิวเคลียสรูปร่างเป็นแท่ง

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 55


Nervous Tissue 4. ศึกษาโครงสร้างใน cerebrum ย้อมแบบ Golgi staining ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 23 (Cerebrum)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อ สังเกตดูเนื้อ สมอง เห็ น cerebral cortex ซึ่ ง เป็ น ขอบด้ า นนอกของ เนื้ อ เยื่ อ สมองในสไลด์ เลื อ กตำแหน่ ง ที่ จ ะศึ ก ษาในกรอบ สี่เหลี่ยม ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X พิจารณา เนื้ อ สมองซึ่ ง แบ่ ง ออกเป็ น ส่ ว น gray matter (GM) ที่ อ ยู่ ชั้ น นอกและ white matter (WM) ที่ อ ยู่ ชั้ น ใน ให้ เ ลื อ ก บริเวณ gray matter เพื่อศึกษารูปร่างเซลล์ประสาทต่อไป GM WM

40X

ขั้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษ าด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X พิ จ ารณารู ป ร่ า งของเซลล์ ในชั้ น cortex ซึ่ ง การย้ อ มแบบ Golgi staining นี้ จ ะเห็ น process อ อ ก จาก ตั วเซ ล ล์ ประสาท แต่จะไม่เห็น นิวเคลียสของเซลล์ สังเกตเซลล์ที่ มี รู ป ร่ า งสามเหลี่ ย มคล้ า ยปิ ร ามิ ด อยู่ เ ป็ น จำนวนมาก มี process ยาว ๆ คือ pyramidal cells (ลูกศรชี้)

400X

56 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Nervous Tissue 5. ศึกษาปมประสาท sympathetic ganglion ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 27 (Sympathetic ganglion)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X เลือก ศึกษาบริเวณที่เซลล์ประสาทอยู่หนาแน่น ขยายเข้าไปดู เซลล์ใน sympathetic ganglion

40X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X พิจารณาเซลล์ประสาทและเซลล์ค้ำจุน พบว่านิวเคลียส ของ sympathetic ganglion cell (ลูกศรชี้) อยู่ริมเซลล์ และมี นิ วคลีโอลัสเด่น ชัด เจน รอบ ๆ เซลล์ป ระสาทพบ satellite cells (หัวลูกศรชี้) แต่ไม่ล้อมรอบเซลล์ประสาท เหมือน dorsal root (spinal) ganglion เนื่องจากเซลล์ ป ระ ส าท ใน sympathetic ganglion นั้ น เป็ น ช นิ ด multipolar neuron จึ ง มี process ออกจากตั ว เซลล์ มาก ทำให้ satellite cell ไม่เรียงตัวเป็นวงล้อมรอบเซลล์ ประสาท

P a g e | 57


Nervous Tissue 6. ศึกษาโครงสร้างใน cerebellum ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 24 (Cerebellum)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อ สังเกตดู เนื้ อ สมองส่ ว น cerebellum มี ลั ก ษณะหยั ก ไปมา ขอบ ด้านนอกของเนื้อเยื่อสมองเป็นส่วน cerebellar cortex เลือกตำแหน่งที่จะศึกษาตามกรอบสี่เหลี่ยม

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X พิจารณาดูจะเห็นส่วนของ gray matter (GM) อยู่บริเวณ ด้ า นนอกที่ พ บเซลล์ ป ระสาทจำนวนมาก และส่ ว นของ white matter (WM) อยู่ บ ริ เวณด้ า นใน ขยายเข้ า ไปดู ส่วนของ gray matter หรือ cerebellar cortex

GM

WM 40X

ขั้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ขยายดูส่วน cerebellar cortex ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ชั้น คือ molecular layer (ML) เป็ น ชั้ น ที่ อ ยู่ น อกสุ ด จะมี เซลล์ น้ อ ย กระจั ด กระจาย ชั้ น ถั ด มาเป็ น ชั้ น Purkinje cell layer ประกอบไป Purkinje cell (ลู ก ศร) เรี ย งตั ว ชั้ น เดี ย ว ซึ่ ง เป็ น เซลล์ ป ระสาทชนิ ด multipolar neuron ส่วนชั้นในสุดที่ติดกับ white matter คือ granular layer (GL) ประกอบด้วย granule cell ขนาดเล็กจำนวนมาก

ML

GL

400X 58 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Nervous Tissue 7. ศึกษาเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ที่หุ้มเส้นประสาท ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 28 (Nerve, x-sec)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อ สังเกตดูเห็น เส้ น ประสาทถู ก ตั ด ตามขวาง เลื อ กตำแหน่ งที่ จ ะศึ ก ษาใน บริเวณกรอบสี่เหลี่ยม

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X และ 10X เห็นเส้นประสาททั้งเส้นที่ตัดตามขวาง ห่อหุ้มภายนอกด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเรียกว่า epineurium (E) ประกอบไปด้วย fibroblasts, collagen fibers, blood vessels แ ล ะ fat cells แทรกอยู่ ส่ ว นภายในเส้ น ประสาทประกอบด้ ว ยใย ประสาท (fasciculus: F) ถูกตัดตามขวาง แต่ละ fasciculus ห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า perineurium (ลูกศรชี้)

F E F

F

40X

ขั้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ขยายเข้าไปใน fasciculus จะพบเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบาง ๆ หุ้ม รอบเส้ น ใยประสาท (nerve fiber) แต่ ล ะเส้ น เรี ย กว่ า endoneurium (ลูกศรชี)้ หากไม่ชัดเจน ให้ศึกษาจาก https://histologyguide.com/ : Chapter 6 Nervous tissue จ า ก ส ไ ล ด์ peripheral nerve (cross section) 400X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 59


Nervous Tissue ศึกษาเพิ่มเติมจาก virtual slide online https://histologyguide.com/ : Chapter 6 Nervous tissue จ า ก ส ไล ด์ MH 052 peripheral nerve (cross section) (H&E) ขยายดูภ ายใน fasciculus จะเห็ น nerve fiber ถูกตัดตามขวางห่อหุ้มด้วย endoneurium (ลูกศรชี้) ย้อมติดสีชมพูเข้ม

ที่ ม า : ดั ด แ ป ล งจ า ก https://histologyguide.com/slideview/ MH-052-peripheral-nerve/06-slide-1.html?x=22904&y =4567&z=100.0 สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564

8. ศึกษาเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ที่หุ้มเส้นประสาท ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 29 (Nerve, L-sec)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X พิจารณา ลั ก ษณะของเส้ น ประสาทที่ ถู ก ตั ด ตามยาว จะเห็ น ว่ า มี เนื้อเยื่อเกี่ยวพันห่อหุ้มภายนอกเส้นประสาททั้งเส้นเรียกว่า epineurium (E) ขยายเข้าไปในบริเวณตรงกลาง เพื่อศึกษา endoneurium ที่หุ้ม nerve fiber แต่ละเส้น

E

E

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X สังเกตดู nerve fiber แ ต่ ล ะ เส้ น บ างเส้ น เห็ น axon (*) เป็ น แก น ก ลางขอ ง nerve fiber และหุ้ ม อ ยู่ ด้ วย myelin sheath ใสย้ อ มไม่ ติ ด สี เนื่ อ งจากละลายไปในการเตรี ย ม สไลด์ ถั ด จาก myelin sheath อาจจะเห็ น นิ ว เคลี ย สของ Schwann cell (หั ว ลู ก ศรชี้ ) ให้ เลื่ อ นหารอยต่ อ ระหว่ า ง Schwann cell ข้ า งเคี ย งมี ลั ก ษณะโค้ ง เข้ า หา axon เป็ น บ ริ เ วณ ที่ ไม่ มี myelin sheath หุ้ ม เรี ย ก ว่ า node of Ranvier (ลูกศรชี้)

*

400X 60 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cartilage and Bone

ปฏิบัติการที่ 6 กระดูกอ่อนและกระดูกแข็ง (Cartilage and Bone) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ปุณิกา นามวงค์สะกุล วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. รู้จักชนิดและองค์ประกอบของกระดูกอ่อน (cartilage) 2. รู้จักชนิดและองค์ประกอบของกระดูกแข็ง (bone) 3. รู้จักการเจริญของกระดูกแข็ง (bone formation) ได้แก่ intramembranous ossification และ endochondral ossification 4. รู้จักส่วนประกอบของ Haversian system ในกระดูกแข็งประเภท ground bone 5. รู้จักบริเวณ (zone) ต่าง ๆ ของการเจริญของกระดูกแข็งแบบ endochondral formation กระดู ก อ่ อ น (cartilage) และกระดู ก แข็ ง (bone) เป็ น เนื้ อ เยื่ อ เกี่ ย วพั น ชนิ ด พิ เศษ (specialized connective tissue) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (musculoskeletal system) กระดูกมีหน้าที่สำคัญหลาย ประการ เป็นโครงร่างให้รา่ งกาย ทำให้สามารถคงท่าทางต่าง ๆ ได้ ช่วยให้รา่ งกายสามารถเคลื่อนไหวได้ เนื่องจากกระดูกเป็นที่ เกาะของกล้ามเนื้อและการหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นกลไกที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่าง ๆ นำไปสู่การเคลื่อนไหวของ ร่างกายได้ เป็นต้น กระดูกอ่อนเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่พบหลอดเลือดแทงเข้าไปเลี้ยง (avascular tissue) ทั้งนี้กระดูกทั้งสองชนิดมี ความแตกต่างกันของส่วนประกอบ ได้แก่ ชนิดของเซลล์ เส้นใย (fiber) และบริเวณเมทริกซ์นอกเซลล์ (extracellular matrix) ในบทปฏิบัติการนี้จะได้ศึกษาถึงโครงสร้างและองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูกอ่อนและกระดูกแข็ง 1. กระดูกอ่อน (Cartilage) ส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกอ่อน มีอยู่ 3 ส่วน คือ 1.1 เยื่อหุ้มกระดูกอ่อน (perichondrium) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มรอบกระดูกอ่อน แบ่งออกเป็นสองชั้นด้วยกัน คือ • Fibrous layer เป็นเยื่อหุ้มชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด dense connective tissue) และ พบเซลล์ลักษณะคล้าย fibroblast/fibrocyte ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจาก mesenchymal cell พบมีเลือดมาเลี้ยง • Chondrogenic layer เป็ น เยื่ อ หุ้ ม ชั้ น ใน ประกอบด้ ว ยเซลล์ ที่ ก ำลั ง แบ่ ง ตั ว ให้ เป็ น เซลล์ ข องกระดู ก อ่ อ น เรียกว่า chondrogenic cell แทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์ชนิดนี้จะเปลี่ยนเป็น chondroblast หรือ osteoprogenitor cell เป็นเซลล์ตั้งต้นของเซลล์กระดูก (bone cell) 1.2 เซลล์ (cell) ของกระดูกอ่อน ประกอบไปด้วยเซลล์สองชนิด คือ • Chondroblast พ บ บ ริ เ วณ เยื่ อ หุ้ มชั้ น ใน (chondrogenic layer) เป็ น เซลล์ ที่ เป ลี่ ย น แป ลงมาจาก mesenchymal stem cell จากเยื่อหุ้มกระดูก ทำหน้าที่สร้างเมทริกซ์นอกเซลล์ (extracellular matrix) และ หลั่งออกมารอบ ๆ เซลล์ตัวเองกลายเป็นเมทริกซ์ชองกระดูกอ่อน ก่อนที่จะเจริญเต็มที่กลายเป็นเซลล์ที่เรียกว่า chondrocyte • Chondrocyte พัฒนามาจากการแบ่งตัวของเซลล์ chondroblast แล้วเจริญมีขนาดใหญ่ขึ้น วางตัวในแอ่งที่ เรียกว่า lacuna เซลล์ที่เจริญเต็มที่ (mature cell) ทำหน้าที่หลายประการ ได้แก่ ทำหน้าที่สร้างเมทริกซ์ใน เซลล์ แ ละเมทริ ก ซ์ น อกเซลล์ (extracellular matrix) และมี ค วามสามารถในการแบ่ ง ตั ว ให้ เ ป็ น เซลล์ chondroblast ได้

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 61


Cartilage and Bone 1.3 Extracellular matrix ประกอบไปด้วยโครงสร้างหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ • เส้นใย (Fiber) แบ่งออกเป็น - เส้นใยคอลลาเจน (collagen fiber) เป็นส่วนประกอบในเมทริกซ์ของ hyaline cartilage และพบมากใน fibrocartilage - เส้นใยยืดหยุ่น (elastic fiber) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเมทริกซ์ของ elastic cartilage • Ground substance ป ร ะ ก อ บ ไป ด้ ว ย proteoglycan ซึ่ งเกิ ด จ า ก โม เล กุ ล ข อ งค า ร์ โบ ไฮ เด ร ต glycosaminoglycanชนิดต่าง ๆ รวมเกาะกลุ่มกันอยู่กับแกนโปรตีน proteoglycan บางชนิดไปเกาะอยู่กับ เส้นใย สาร glycoprotein ช่วยการยึดเกาะของ chondrocyte กับเมทริกซ์ และยังเป็นตัวชี้วัดการเจริญหรือ การเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนได้ด้วย เช่น fibronectin และใน ground substance ยังมีน้ำ (tissue fluid) เป็นส่วนประกอบด้วย ชนิดของกระดูกอ่อน กระดูกอ่อนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกัน โดยแบ่งตามสัดส่วนของเซลล์ ชนิดของเส้นใย โมเลกุลของ ground substances และน้ำ ที่แตกต่างกัน ดังนี้ • Hyaline cartilage เป็นชนิดของกระดูกอ่อนที่พบมากที่สุด จุดเด่นของกระดูกอ่อนชนิดนี้ คือ พบจำนวนเส้นใยคอลลาเจนชนิดที่ 2 (collagen type II) ในเมทริกซ์ มีเยื่อหุ้ม โดยกระดูกอ่อนชนิดนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ผนัง กั้นโพรงจมูก (nasal septum) กล่องเสียง (larynx) หลอดลม (trachea) กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) บริเวณข้อต่อ และกระดูกอ่อนซี่โครง (costal cartilage) ต่อระหว่างกระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอก • Fibrocartilage เป็นชนิดของกระดูกอ่อนที่มีส่วนผสมของเส้นใยคอลลาเจนชนิดที่ 1 (collagen type I) ไม่มีเยื่อหุ้ม โดยกระดูก อ่อนชนิดนี้ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอวัยวะต่าง ๆ เช่น หมอนรองกระดูก (intervertebral disc) ข้อต่อบริเวณ หัวหน่าว (pubic symphysis) ปลอกหุ้มข้อต่อ (joint capsule) เอ็น (ligament และ tendon) ชนิดต่าง ๆ • Elastic cartilage จุดเด่นของกระดูกอ่อนชนิดนี้ คือ พบเส้นใยยืดหยุ่น (elastic fiber) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ มีเยื่อหุ้ม โดย กระดูกอ่อนชนิดนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของใบหู (external ear/pinna) รูหูส่วนด้านนอก (external auditory canal) ฝาปิ ด กล่อ งเสีย ง (epiglottis) กระดูก อ่อ นบางส่วนของกล่อ งเสีย ง ผนั งของท่ อ ยูส เตเชีย น (Eustachian tube) ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางกับโพรงหลังจมูก ทำหน้าที่ปรับความดันของหูชั้นกลาง 2. กระดูกแข็งหรือกระดูก (Bone) ส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูก มี 3 ส่วน คือ 2.1 เยื่อหุ้มกระดูก แบ่งออกเป็นสองชนิดด้วยกัน ได้แก่ • Periosteum เป็นเยื่อหุ้มด้านนอกของกระดูก พบเส้นใยคอลลาเจนและเซลล์รูปกระสวย ที่เรียกว่า fibroblast เยื่ อ หุ้ ม ประกอบด้ ว ย 2 ชั้ น คื อ ชั้ น นอก เรี ย กว่ า fibrous layer ประกอบไปด้ ว ย dense irregular connective tissue ด้านนอกสุดของชั้นนี้มีหลอดมาเลี้ยง ขณะที่ด้านในประกอบไปด้วยเส้นใย fibro-elastic และชั้ น ในเรีย กว่ า osteogenic layer ซึ่ งจะพบเซลล์ รูป ร่า งคล้ า ย fibroblast เรีย กว่ า osteoprogenitor cells และ osteoblast มีหลอดเลือดขนาดเล็กมาเลี้ยง ซึ่งแขนงเหล่านี้จะรวมตัวกันส่งเลือดไปยัง Haversian และ Volkmann’s canal 62 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cartilage and Bone • Endosteum เยื่อหุ้มด้านในหรือผนังของ bone marrow บุท่อ Haversian canal และช่องว่างของกระดูก มี องค์ป ระกอบ ได้แ ก่ osteoprogenitor cell เรีย งตัวหนึ่ งแถว และเส้น ใยคอลลาเจนชนิ ด ที่ ส าม (collagen type III)หรือเส้นใยร่างแห (reticular fiber) 2.2 เซลล์กระดูก ประกอบไปด้วยเซลล์ 4 ชนิด ได้แก่ • Osteoprogenitor cell พบในชั้ น osteogenic layer เกิ ด จาก mesenchymal stem cell เจริ ญ ไปเป็ น เซลล์ osteoblast • Osteoblast ทำหน้ า ที่ ส ร้า งสารอิ น ทรีย์ (organic components) ที่ เรีย กว่า osteoid เป็ น ส่ ว นประกอบที่ สำคัญของเมทริกซ์ โดยที่ยังไม่มีแคลเซียมเข้ามาสะสม ในวัยรุ่นพบเซลล์ชนิดนี้ในชั้น osteogenic layer ด้วย • Osteocyte เจริ ญ และเปลี่ ย นแปลงจากเซลล์ osteoblast เซลล์ จ ะฝั ง ตั ว อยู่ ใน lacuna อยู่ ในภาวะสร้ า ง โปรตีนน้อยกว่า osteoblast และอาจทำหน้าที่ให้สารอาหารกับกระดูก • Osteoclast เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ เปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ monocyte ซึ่งเจริญมาจากไขกระดูก อาจพบอยู่ ตามแอ่งที่เรียกว่า Howship’s lacunae หรืออยู่บริเวณรอบ ๆ กระดูกที่กำลังสร้างใหม่ มีหลายนิวเคลียส ทำ หน้าที่ปรับแต่งกระดูก 2.3 เมทริกซ์นอกเซลล์ (extracellular matrix) ประกอบไปด้วยโครงสร้างหลายชนิดด้วยกัน • Organic portion (osteoid) ป ระกอบ ด้ ว ย collagen type I, hyaluronic acid, proteoglycan และ glycoprotein ต่าง ๆ ซึ่งสร้างมาจากเซลล์ osteoblasts • Inorganic portion ประกอบด้วยแคลเซียมและฟอสเฟต ซึ่งจะอยู่ในรูปของผลึก hydroxyapatite crystal ซึ่งจะไปเกาะที่เส้นใย ชนิดของกระดูก แบ่งตามลักษณะตำแหน่งและโครงสร้าง สามารถแยกออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ • Compact bone ส่วนที่มีลักษณะแข็ง ปกคลุมอยู่ภายนอกของกระดูก • Cancellous หรือ spongy (trabecular) bone มีลักษณะพรุน เป็นตาข่าย คล้าย ๆ ฟองน้ำ อยู่บริเวณด้านใน ของกระดูก หรือส่วนโพรงกระดูก จำแนกตามลักษณะการเจริญ ได้แก่ • Immature/woven bone พบส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เส้นใยคอลลาเจนที่อยู่ใน osteoid • Mature/lamellar bone อาจเจริญเป็นได้ทั้ง compact และ cancellous bone พบเส้นใยเรียงตัวกันเป็นวง อยู่ในเมทริกซ์ ดังนั้นจึงเรียกว่า lamellar bone Compact bone โครงสร้างจะมีการจัดเรียงตัวเป็นชั้นบาง (lamella) ซึ่งประกอบไปด้วย • ชั้นนอก เรียกว่า outer circumferential lamellae • ชั้นใน เรียกว่า inner circumferential lamellae • ส่วนตรงกลาง จะพบ Haversian system มีลักษณะเป็นวงกลม เกิดจากการเรียงตัวเส้นใยและ osteocyte เป็นชั้น ๆ ล้อมรอบท่อตรงกลาง ที่เรียกว่า Haversian canal Haversian system เป็ น โครงสร้ า งพื้ น ฐานของ compact lamellar bone ที่ มี ลั ก ษณะเป็ น วง (concentric lamellae) จัดเรียงตัวตามยาวของกระดูก ซึ่งในแต่ละ lamella จะมี osteocyte อยู่ในแอ่ง lacuna ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 63


Cartilage and Bone Haversian canal เป็นท่อที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งภายในจะมีหลอดเลือด หลอดน้ำเหลืองและเส้นประสาทบรรจุอยู่ ท่อจะ วิ่งขนานกับแกนยาวของกระดูก ล้อมรอบไปด้วยวงของเส้นใยคอลลาเจน 4-20 วง ซึ่งมีเซลล์ osteocyte เรียงตัว แทรกอยู่ในวง เยื่อหุ้มกระดูกชั้นนอกและชั้นในถูกหล่อเลี้ยงด้วยหลอดเลือดที่มาเชื่อมผ่าน โดยต่อมาจาก Haversian canal ผ่านทาง Volkmann’s canal 2.4 การสร้างกระดูก (Bone formation / ossification) การเจริญของกระดูกเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ growth hormone, thyroid hormone และ sex hormones โดยมีกระบวนการสร้างกระดูก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นสองแบบด้วยกัน คือ 2.4.1 Intramembranous ossification การเจริญ โดยการที่ มีแร่ธาตุม าสะสมแทนที่ บ ริเวณเซลล์เริ่ม ต้น (primitive mesenchyme tissue) พบที่ กระดูก maxilla, mandible และกระดูก กะโหลกศีรษะ (skull) บางชิ้น คือ frontal, parietal, occipital และ temporal bone รวมทั้ ง flat bone เช่ น กระดู ก เชิ ง กราน (ilium) กระดู ก อก (sternum) กระดู ก ซี่โครง (rib) เป็นต้น 2.4.2 Endochondral ossification การเจริญโดยอาศัย hyaline cartilage เป็นโครงร่าง จากนั้นเซลล์กระดูกเข้ามาแทนที่เซลล์ของกระดูกอ่อน และมีการสะสมของแร่ธาตุในเวลาต่อมา พบได้ที่ กระดูกแขน ขา นิ้วมือ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน และ ส่วนฐานของกะโหลกศีรษะ (base of skull) การเจริญหรือการสร้างกระดูกในลักษณะนี้พบในบริเวณส่วน ปลายของ long bone ที่ เ รี ย กว่ า epiphysis โดยกระดู ก ส่ ว นนี้ จ ะมี hyaline cartilage ที่ เ รี ย กว่ า epiphyseal plate เจริญมาก่อนอย่างต่อเนื่อง และต่อมาถูกแทนที่ด้วยเนื้อกระดูก ส่วน plate นี้มีการเจริญ อย่างต่อเนื่องจากวัยเด็กถึงวัยรุ่น ก่อนที่จะหยุดการเจริญเมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่หรือประมาณในช่วงอายุ 18 ถึง 25 ปี ซึ่งทำให้ความสูงของร่างกายจะหยุดในช่วงดังกล่าวด้วย

64 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cartilage and Bone การศึกษากระดูกอ่อนและกระดูกในสไลด์ 1. ศึกษา hyaline cartilage ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 74 (Trachea & esophagus)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X ศึกษาลักษณะทั่วไปของหลอดลม พบว่าแบ่งได้เป็น 3 บริเวณ ได้แก่ (1) ชั้นเยื่อบุหลอดลม (epithelium; E) อยู่ด้านในสุด (2) ชั้นกระดูกอ่อน (hyaline cartilage; C) ถัด จากชั้นเยื่อบุออกไป ย้อมติดสีน้ำเงินหรือม่วงอ่อน (3) ชั้ น เยื่ อ หุ้ ม กระดู ก อ่ อ น (perichondrium; P) หุ้ ม อยู่ ด้านนอกรอบ ๆ กระดูกอ่อน

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ศึกษาเยื่อหุ้มและเซลล์ของ hyaline cartilage Perichondrium มี 2 ชั้ น คื อ fibrous layer (F) ประกอบด้ วย collagen fiber ที่ ย้อ มติ ด สีช มพู วางตัว ขนานกั น และเซลล์ fibrocyte รู ป ร่ า งเรี ย วยาว มี นิวเคลียสรูปร่างแบนย้อมติดสีเข้ม (หัวลูกศรชี้) ถัดเข้า มาชั้นในคือ chondrogenic layer (CG) เซลล์เริ่มมีการ เจ ริ ญ แ ล ะ เป ลี่ ย น แ ป ล งไป เป็ น chondroblast (Cb, ลู ก ศรชี้ ) มี รู ป ร่ า งอ้ ว นขึ้ น เห็ น ไซโทพลาสซึ ม มี ลักษณะใส Chondrocytes (Cc) เจริ ญ มาจาก chondroblasts เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างปิรามิดหรือกลม อยู่กันแบบเดี่ยว หรือ รวมกลุ่ ม ในแอ่ ง lacunae กรณี มี เซลล์ ม ากกว่า หนึ่ ง เซลล์ เรี ย กว่ า isogenic group (chondrocytes ในวงเส้นประสีดำ)

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 65


Cartilage and Bone 2. ศึกษา fibrocartilage ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 12 (Fibrocartilage)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X พบว่าเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนชนิดนี้ ส่วนใหญ่ จะประกอบไปด้วยเส้นใย collagen type I ซึ่ง จะย้ อ มติ ด สี ช มพู เข้ ม ของ eosin จะพบเห็ น เซลล์ fibroblast เป็นจุด ๆ หรือขีด ย้อมติดสี น้ ำ เงิ น เข้ ม ข อ ง hematoxylin แ ท ร ก อ ยู่ โดยทัว่ ไป

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X พบเส้นใยคอลลาเจนแบบที่ 1 (collagen type I) เรียงตัวกันอยู่อย่างหนาแน่น ลักษณะ คล้ายคลื่น ย้อมติดสีชมพู (acidophilic) และมี สัดส่วนของเส้นใยมากกว่าจำนวนเซลล์ บริเวณ แมทริก ซ์ น อกเซลล์ ย้ อ มติ ด สี ช มพู ด้ ว ยเช่ น กั น พบเซลล์ fibroblast (F และ หั ว ลู ก ศรชี้ ) ซึ่ ง นิ ว เคลี ย สมี ลั ก ษ ณ ะแบ นยาว และเซลล์ chondrocyte (ลู ก ศรชี้ ) ย้ อ มติ ด สี น้ ำ เงิ น เข้ ม สังเกตไซโทพลาสซึมมีลักษณะใส

66 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cartilage and Bone 3. ศึกษา elastic cartilage ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 11 (Elastic cartilage)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4 X จ า ก ภ า พ เป็ น elastic cartilage จ ะ สั ง เกตเห็ น ชั้ น ต่ า ง ๆ ดั ง นี้ เยื่ อ บุ ผิ ว (E) อยู่ ด้ าน ซ้ าย สุ ด ก ร ะ ดู ก อ่ อ น ช นิ ด elastic cartilage (C) ย้ อ มติ ด สี น้ ำ เงิ น หรื อ ม่ ว งเข้ ม ต่ อ ม (G) อยู่ ลึ ก เข้ า มาเป็ น seromucous glands ต่ อ มดั ง กล่ า วพบแทรกอยู่ ร ะหว่ า ง กระดูกอ่อนและกล้ามเนื้อที่ย้อมติดสีชมพูอม แดงเข้ม 40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X พบเซลล์ chondrocyte (Cc) ย้อ มติ ด สี น้ำเงินหรือม่วงอ่อน รูปร่างปิรามิดหรือกลม มี นิวเคลียสอยู่ตรงกลาง พบลักษณะ isogenic group ในแอ่ ง lacuna (ช่ อ งว่างระหว่างวงสี ข าว) เช่ น เดี ย วกั บ ใน hyaline cartilage บริ เวณเมทริ ก ซ์ น อกเซลล์ พ บ elastic fiber (ลูกศรชี้) ย้อมติดสีชมพูอ่อนมีลักษณะมันวาว

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 67


Cartilage and Bone 4. ศึกษา Haversian system ขัน้ ตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 13 (Ground bone; x-sec) ศึกษาจาก ground bone ซึ่งเซลล์ osteocytes ตาย เหลือแต่ช่อง lacunae ที่เคย เป็นที่อยู่ของตัวเซลล์ และช่อง canaliculi ซึ่งเป็นที่อยู่ของ cell process

100X

ขั้น ตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X พบว่า Haversian system / osteon (โครงสร้างในวงเส้นประสีขาว) ประกอบไปด้วยโครงสร้างและเซลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) Haversian canal (H) คือ ท่อที่อยู่ตรงกลาง ภายในบรรจุหลอดเลือด หลอดน้ำเหลืองและเส้นประสาท (2) lacunae ของเซลล์ osteocytes (ลูกศรชี้) อยู่รอบ ๆ Haversian canal ซึ่งจะพบเป็น จุดรีสีดำและเรียงกัน อยู่ห ลายวงเป็น ชั้น (lamellae) (3) canaliculi (c, ลูกศรชี้) เป็น ท่อเล็ก ๆ แตกเป็น แขนงเชื่อมแต่ละ lacunae ซึ่งทอดตัวในแนวตั้งฉากกับ ท่ อ Haversian canal ที่ อ ยู่ต รงกลาง คล้ายรัศ มี ท่ อ นี้ ย อมให้ cell processes ของ osteocytes สัมผัสกัน เพื่อส่งผ่านเลือดและสารต่าง ๆ ระหว่างเซลล์ ซึ่งส่งผ่านมาจาก Haversian canals (4) Volkmann’s canal (V) เป็นท่อเชื่อมระหว่าง Haversian canals รวมทั้งเชื่อมระหว่างเยื่อหุ้มกระดูกชั้นนอก (periosteum) และชั้นใน (endosteum) 5. ศึกษาการสร้างกระดูกแบบ intramembranous ossification ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 15 (Intramembranous ossification)

68 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cartilage and Bone ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 4X เป็ น สไลด์ที่ ได้จากกระดูก บริเวณใบหน้ า ผ่าในแนว coronal section ผ่านลงมาบริเวณโพรงจมูก (nasal cavity, NC) ซึ่ ง จะพบเยื่ อ บุ ผิ ว (epithelium, E) บุ อยู่ด้านใน สังเกตพบกระดูกใบหน้าบริเวณจมูกเริ่มมี ก า ร เจ ริ ญ โด ย เริ่ ม พั ฒ น า จ า ก เซ ล ล์ ตั้ ง ต้ น (mesenchymal stem cells, MSCs) จ ะ เ จ ริ ญ เปลี่ ย นแปลงไปเป็ น กระดู ก แข็ ง เรี ย กว่ า woven bone ซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ ตาข่าย (trabeculae, T) 40X

400X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาเซลล์ต่าง ๆ ของกระดูก ดังนี้ Mesenchymal stem cells (MSCs, ลู ก ศรสี น้ ำ เงิ น ชี้ ) ซึ่ ง มี รู ป ร่ า งยาวรี เซลล์ เ หล่ า นี้ จ ะมี ก าร เปลี่ยนแปลงไปเป็น osteoblast Osteoblast (Ob; ลูกศรสีดำชี้) มีขนาดใหญ่ขึ้น พบ ล้ อ มรอบบริ เ วณ เนื้ อ กระดู ก ที่ ส ร้ า งขึ้ น มาใหม่ (osteoid) ย้อมติดสีชมพูหรือสีแดงเข้ม ในเนื้อกระดูก จะเห็ น เซลล์ osteoblast พั ฒ นากลายเป็ น เซลล์ osteocyte Osteocytes (หั วลู ก ศ รชี้ ) พ บ ฝั ง ตั ว อ ยู่ ใ น แอ่ ง lacunae มีลักษณะเป็นช่องว่างใส ถูกล้อมรอบโดย osteoid ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาเซลล์ osteoclasts (ลู ก ศรชี้ ) เป็ น เซลล์ ที่ เปลี่ ย นแปลงมาจากเซลล์ monocyte ทำหน้ า ที่ ใน การปรับแต่งกระดูก เซลล์ชนิดนี้จะย้อมติดสีแดงอม ส้ม และมีหลายนิวเคลียสในหนึ่งเซลล์ พบในบริเวณ ใกล้เคียงกับ osteoblast แต่บางครั้งพบในส่วนของ bone trabeculae ได้เช่นเดียวกัน

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 69


Cartilage and Bone 6. ศึกษาการสร้างกระดูกแบบ endochondral ossification ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 14 กระดูกนิ้วมือ (Endochondral ossification)

40X

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X สังเกตบริเวณที่อยู่ส่วนปลายของกระดูกชนิด long bone จะพ บ แ ผ่ น epiphyseal plate ซึ่ งเป็ น hyaline cartilage มี สี ม่ ว งอ่ อ นที่ ยั ง มี ก ารเจริ ญ และการเปลี่ ย นแปลงของเซลล์ แบ่ งออกเป็ น 5 บริเวณ คือ 1. Resting zone 2. Proliferative zone 3. Hypertrophic cartilage zone 4. Calcified cartilage zone 5. Ossification zone ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษาบริเวณ resting zone (RZ) ซึ่ งอยู่ ติ ด กั บ proliferative zone (PZ) จ ะ พ บ เซ ล ล์ chondrocytes มีรูปร่างค่อนข้างกลม ฝังตัวอยู่ใน แอ่ ง lacunae (ลู ก ศรชี้ ) เซลล์ เหล่ า นี้ มี ลั ก ษณะ เหมือนเซลล์ปกติที่พบในกระดูกอ่อนชนิด hyaline cartilage

400X

70 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cartilage and Bone ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาบริ เ วณ proliferative zone พบ เซลล์ มี ก ารแบ่ ง ตั ว แบบไมโทซิ ส อย่ า งรวดเร็ ว สั ง เกตเซลล์ chondrocytes (ลู ก ศรชี้ ) พบมี นิวเคลียสแบนและจัดเรียงตัวเป็นชั้น (stacked cell)

400X

ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาบริ เ วณ hypertrophic cartilage zone หรือ zone of maturation พบว่าเซลล์ chondrocytes (ลู ก ศรชี้ ) จะหยุ ด การแบ่ งตั ว และมีขนาดใหญ่ ขึ้น ซึ่งเกิดจากการสะสมของ glycogen ใน เซ ล ล์ แ ล ะ พ บ ลั ก ษ ณ ะข อ ง vacuole อยู่ในบริเวณไซโทพลาสซึม

400X

ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาบริ เวณ calcified cartilage zone ในส่ ว นของโซนนี้ พบว่ า มี ก ารตายของเซลล์ chondrocyte เพื่ อ รอให้ เซลล์ ต้ น กำเนิ ด ของ กระดู ก แข็ ง มาแทนที่ จะเห็ น นิ ว เคลี ย สของ chondrocytes (ลู ก ศรชี้ ) เริ่ม มี ก ารแตกสลาย ช่ ว งนี้ เริ่ ม มี ผ ลึ ก ของแคลเซี ย มเข้ า มาสะสมใน เซลล์

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 71


Cartilage and Bone

400X

72 | P a g e

ขั้ น ตอนที่ 7 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 40X ศึกษาบริเวณ ossification zone เริ่มมีการ สร้างเนื้อกระดูกใหม่ (B) เกิดขึ้น ซึ่งย้อมติดสีแดง ล้ อ มรอบบริเวณสี ม่ ว งซึ่ งเป็ น ส่ ว นเมทริก ซ์ ข อง กระดู ก อ่ อ นเดิ ม พบหลอดเลื อ ด (capillary; Cap) และพบเซลล์ ต้ น กำเนิ ด ของเซลล์ ก ระดู ก (progenitor cells; ลู ก ศรชี้ ) ซึ่ งเซลล์ เหล่ านี้ จ ะ เข้ ามาแทนที่ เซลล์ chondrocyte ใน lacunae ที่ ต ายไป เซลล์ ต้ น กำเนิ ด มี ก ารแบ่ ง ตั ว แบบ mitosis เพิ่มจำนวนมากขึ้นก่อนจะสร้างเมทริกซ์ และมีแร่ธาตุมาสะสมเป็นเนื้อกระดูกที่แข็งต่อไป

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Integumentary System

ปฏิบัติการที่ 7 ระบบปกคลุมร่างกาย (Integumentary System) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ปุณิกา นามวงค์สะกุล วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. รู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบปกคลุมร่างกาย (integumentary system) 2. รู้จักเซลล์และเนื้อเยื่อของชั้นต่าง ๆ ของผิวหนัง ได้แก่ epidermis และ dermis 3. รู้จักโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ของผิวหนัง (skin derivatives) ได้แก่ ปุ่มรากผม (hair follicle) ต่อมไขมัน (sebaceous gland) ต่อมเหงื่อ (sweat gland) และตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ระบบปกคลุมร่างกาย จัดเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ประกอบด้วยผิวหนัง (skin) และโครงสร้างที่เจริญมา จากเซลล์ของผิวหนัง ได้แก่ เส้นขน (hair) เล็บ (nail) ต่อมมีท่อ (exocrine gland) และตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ชนิดต่าง ๆ หน้าที่ของระบบปกคลุมร่างกาย คือ เป็นฉนวนกั้นน้ำ ปกป้องอวัยวะที่อยู่ด้านใน ขับถ่ายของเสีย ควบคุมอุณหภูมิ สร้างวิตามินดี 3 และรับความรู้สกึ 1. ผิวหนัง (Skin) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.1. ผิวหนังแบบบาง (thin skin) ปกคลุมทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นบริเวณฝ่ามือ (palm) และฝ่าเท้า (sole) พบ ปุ่มรากผม ต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อ 1.2. ผิวหนังแบบหนา (thick skin) ปกคลุมบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ไม่พบปุ่มรากผม ต่อมไขมัน แต่พบต่อมเหงื่อ ผิวหนังแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นนอกสุดเรียกว่า epidermis ชั้นกลางคือ dermis และชั้นในสุดเรียกว่า hypodermis § Epidermis เซลล์ผิวหนังชั้นนอกสุดมีการเรียงตัวกันเป็นชั้นและเซลล์แต่ละชั้นมีรูปร่างแตกต่างกัน แบ่งออกได้เป็น 5 ชั้น เรียงจากชั้นในสุดออกมายังชั้นนอกสุด ตามลำดับ คือ 1. Stratum basale หรือ stratum germinativum อยู่ในชั้นลึกสุด ติดกับชั้น dermis พบเซลล์รูปทรง ลูกบาศก์เรียงตัวชั้นเดียววางอยู่บน basement membrane ในชั้นนี้พบเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells) มัก พบเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวให้เซลล์ชื่อ keratinocyte เซลล์เหล่านี้เมื่อเจริญเติบโตจะถูกดันขึ้นสู่ชั้นบน นอกจากนั้นยังพบเซลล์ melanocyte และ Merkel 2. Stratum spinosum อยู่ต ื ้ น กว่า ชั้น stratum basale พบเซลล์ keratinocytes รูป ทรงหลายเหลี่ย ม (polyhedral shape) และมี spines สั้น ๆ พบเซลล์เรียงตัวอยู่หลายชั้น และพบเซลล์ Langerhans 3. Stratum granulosum อยู่ตื้นกว่าชั้น stratum spinosum พบเซลล์รูปร่างเปลี่ยนจากหลายเหลี่ยมเป็น แบน เรียงตัวอยู่ 3-5 ชั้น เซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่สร้าง keratohyalin granules ทำให้เซลล์ย้อมติดสีน้ำเงิน เข้ม ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ keratin ซึ่งนิวเคลียสของเซลล์ที่อยูด่ ้านบนจะเริ่มเสื่อมสลายไป 4. Stratum lucidum ชั้นนี้เป็นชั้นบาง ๆ พบเซลล์เรียงตัวกันอยู่ 2-3 ชั้น สังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากเซลล์ ในชั้นนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พบเฉพาะในผิวหนัง thick skin Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 73


Integumentary System 5. Stratum corneum อยู่ชั้นบนสุด เป็นชั้นของเซลล์ที่ตายแล้ว ภายในพบ keratin บรรจุอยู่ เซลล์เรียงตัว 20-30 ชั้น จัดเป็นชั้นที่หนาที่สุด และสามารถหลุดลอกออกได้ § Dermis Dermis เป็ น ชั ้ น ที ่ อ ยู ่ ล ึ ก กว่ า ชั ้ น epidermis รอยต่ อ ระหว่ า งชั ้ น dermis และ epidermis เรี ย กว่ า dermo-epidermal junction ชั้น dermis ประกอบด้วยเส้นใยชนิดต่าง ๆ เช่น fibrocollagen และ elastic fibers ในชั้นนี้พบหลอดเลือด เส้นประสาท กลุ่มเซลล์ประสาทรับความรู้สึกชนิดต่าง ๆ รวมทั้งต่อมเหงื่อและต่อมไขมัน แบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ชั้น คือ 1. Papillary layer อยู่ติดกับชั้น epidermis ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด areolar connective tissue เส้นใยคอลลาเจนชนิดที่ I, III และ VII ซึ่งชนิดที่ VII เกาะไปที่ basal lamina ดังนั้น จึงช่วยยึด ระหว่างชั้น dermis และ epidermis หลอดเลือด เส้นประสาท free nerve ending ท่อน้ำเหลือง ฝอย นอกจากนั ้ น ยั ง พบเซลล์ ช นิ ด ต่ า ง ๆ ได้ แ ก่ fibroblast, mast cells, dendritic cells และ leukocytes บริเวณที่ยื่นเข้าไปในส่วนของชั้น epidermis เรียกว่า dermal papillae พบกลุ่มเซลล์ ประสาทรับความรู้สึกชนิด Meissner’s corpuscle 2. Reticular layer อยู่ ล ึ ก กว่ า ชั ้ น papillary layer เป็ น ชั ้ น ที ่ ห นากว่ า ชั ้ น ตื ้ น และอยู่ ต ิ ด กั บ ชั้ น subcutaneous ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด dense irregular connective tissue ซึ่งส่วน ใหญ่เป็น type I collagen และ elastic fibers แทรกอยู่ มีปริมาณเส้นใยมากกว่าเซลล์ ทำหน้าที่ให้ ความยืดหยุ่นแก่ผิวหนัง พบปุ่มรากผม ต่อมไขมันและต่อมเหงื่อ เส้นประสาทและหลอดเลือดที่ยื่นลง ไปในชั้น subcutaneous หลอดเลื อ ดที ่ พ บระหว่ า งชั ้ น ของ dermis เรี ย กว่ า subpapillary plexus ให้ แ ขนงยื ่ น ไปยั ง dermal papillae และระหว่าง reticular layer ต่อกับ subcutaneous layer พบ deep plexus ซึ่งกลุ่มหลอดเลือดเหล่านี้ นอกจากหล่อเลี้ยงสารอาหารแล้ว ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมความร้อน (thermoregulation) § Subcutaneous layer / Hypodermis Subcutaneous layer เป็นชั้นที่อยู่ลึกสุดต่อจากผิวหนัง ไม่จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของผิวหนัง ติดกับกระดูก และกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อไขมันและ areolar connective tissue พบกลุ่มเซลล์ประสาทรับความรู้สึกชนิด Pacinian corpuscle apocrine glands โดยทั่วไปไม่พบปุ่มรากผม ทำหน้าที่ยึดระหว่างผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ลึก ลงไป ยอมให้ผิวหนังมีการเลื่อนไถลได้ บริเวณนี้พบหลอดเลือดจำนวนมาก จึงเหมาะสำหรับการฉีดสารต่าง ๆ เข้า ร่างกาย เช่น insulin เป็นต้น เซลล์ทพี่ บในผิวหนังชั้น epidermis ประกอบด้วย 1. Keratinocyte เป็นเซลล์ที่พบมากที่สุดในชั้น epidermis ทำหน้าที่สร้าง keratin ซึ่งมีคุณสมบัตกิ ันน้ำ 2. Melanocyte พบในชั้น stratum basale ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน (melanin pigments) รวมทั้งสีของ ผิวหนังและเส้นผม ซึ่งช่วยปกป้องร่างกายจากรังสีอัลตราไวโอเลตและช่วยกระจายความร้อน เม็ดสีเหล่านี้ถูก สร้างและส่งต่อไปยังเซลล์ keratinocytes ที่อยู่ข้างเคียง 3. Merkel / epithelial tactile cell เซลล์มีลักษณะคล้ายกับ keratinocytes เนื่องจากมีต้นกำเนิดจาก stem cell เดียวกัน พบในชั้น stratum basale ของ epidermis เกาะติดอยู่กับ sensory nerve ending พบมาก บริเวณปลายนิ้ว (fingertips) และส่วนฐานของปุ่มรากผม (base of hair follicle) ทำหน้าที่รับสัมผัสละเอียด (gentle / light touch)

74 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Integumentary System 4.

Langerhans cell เมื่อย้อมด้วย H&E ไม่สามารถแยกเซลล์ชนิดนี้ได้ กำเนิดมาจากเซลล์ monocyte จาก bone marrow และเคลื่อนย้ายไปยังผิวหนัง ส่วนใหญ่พบที่ชั้น stratum spinosum ทำหน้าที่จับกับสิ่ง แปลกปลอม (antigen-presenting cells)

ตัวรับความรู้สึกที่พบบริเวณผิวหนัง ประกอบด้วย § Free nerve ending ทำหน้าที่รับความรู้สึกเจ็บปวด (pain) คัน (fine touch) รับอุณหภูมิร้อน เย็น และรับ สัมผัส (tactile) พบเส้นประสาทยื่นจากชั้น dermal papilla ขั้นไปยังชั้นตื้นของ epidermis § Root hair plexuses พบบริเวณด้านล่างของปุม่ รากผม ในชั้น reticular dermis รับรู้การเคลื่อนไหวของเส้นขน หรือผม § Krause end bulbs มีลักษณะ oval ไม่มีแคปซูลหุ้ม พบบริเวณ penis และ clitoris รับสัมผัส low-frequency vibrations § Meissner’s corpuscle ทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสละเอียด (tactile และ light discriminative touch) § Pacinian corpuscle ทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสแบบหยาบ (coarse touch หรือ pressure change) การสั่นสะเทือน (vibration) § Ruffini corpuscle ทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสและแรงกด (skin stretch และ torque) พบมากบริเวณฝ่าเท้า นอกจากนั้นยังพบ non-myelinated fibers ให้ใยประสาทไปเลี้ยงหลอดเลือดบริเวณผิวหนัง ทำหน้าที่ขยายหลอด เลือด และให้ใยประสาทไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ arrector pili ซึ่งอยู่บริเวณปุ่มรากผม เพื่อควบคุมการลุกชันของเส้นผมหรือขน และควบคุมการหลั่งเหงื่อของต่อมเหงื่อ 2. Skin derivatives Skin derivative เป็ น โครงสร้ า งที่ เ จริ ญ และดั ด แปลงตั ว ของเซลล์ ใ นชั ้ น epidermis ยื ่ น ลงไปในชั ้ น dermis โครงสร้างที่พบได้แก่ ปุ่มรากผม ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมัน 2.1. ปุ่มรากผมและขน (Hair follicle and hair) ปุ่มรากผมมีต้นกำเนิดจากเซลล์ในชั้น epidermis งอกลงไปในชั้น dermis หรือ hypodermis ทำหน้าที่สร้าง เส้นผมหรือขน เส้นขนพบในทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้น บริเวณฝ่ามือ (palm) ฝ่าเท้า (sole) ริมฝีปาก (lip) ส่วนปลาย ขององคชาติ (glans penis) และอวัยวะสืบพันธุเ์ พศหญิง เช่น ปุ่มคลิตอริส (clitoris) และแคมเล็ก (labia minora) § Hair follicle อยู ่ ใ นชั ้ น dermis บริ เ วณส่ ว นปลายโป่ ง ออก เรี ย กว่ า hair bulb ส่ ว นฐานพบ dermal papilla เจริญมาจาก dermis มีหลอดเลือดจำนวนมากยื่นเข้าไป และล้อมรอบด้วย matrix cells ซึ่งเซลล์ ชั้นในสุด ทำหน้าที่เป็นเซลล์ต้นกำเนิด เซลล์ matrix ชั้นถัดออกไปทำหน้าที่สร้างเส้นผมหรือขนส่วน hair root โดยมีเซลล์ melanocyte ทำหน้าที่สร้างเม็ดสี เช่นเดียวกับที่พบในชั้นของผิวหนัง § Hair ประกอบด้วยสองส่วน คือ รากผม (hair root) อยู่ในชั้นผิวหนัง และเส้นผมหรือขนที่งอกโผล่ออกมา พ้นผิวหนัง (hair shaft) เป็นส่วนทีเ่ จริญต่อมาจาก hair root ประกอบด้วย keratinized cells ที่ตายแล้ว 2.2. ต่อมไขมัน (Sebaceous gland) ต่อมไขมันพบในชั้น dermis เจริญมาจากเซลล์ส่วน external root sheath ของปุ่มรากผม มีท่อไปเปิดเข้าที่ปุ่ม รากผม บริเวณส่วนเหนือต่อ hair root ทำหน้าที่ผลิตไขมันที่เรียกว่า sebum ต่อมนี้จะเริ่มผลิตไขมันเมื่อร่างกายเข้าสู่ วัยรุ่นจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศ (testosterone ในเพศชาย และ androgens ในเพศหญิง) ต่อมไขมันพบอยู่ในชั้น dermis โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณใบหน้า (face) หน้าผาก (forehead) และหนังศีรษะ (scalp) ต่อมชนิดนี้ไม่พบบริเวณ ฝ่ามือและฝ่าเท้า

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 75


Integumentary System 2.3. ต่อมเหงื่อ (Sweat gland) ต่อมเหงื่อ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะโครงสร้างและสารคัดหลั่ง § Eccrine sweat gland พบได้ทั่วร่างกาย พบมากบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หน้าผาก ยกเว้นที่ริมฝีปาก บริเวณ รอบ ๆ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและรูทวาร ต่อมชนิดนี้ทำหน้าที่สร้างเหงื่อ (sweat) § Apocrine sweat gland เจริญภายใต้การกระตุ้นของฮอร์โมนเมื่อเข้าสู่ระยะวัยรุ่น สร้างสารมีลักษณะ หนืด ไขมันสูง ประกอบด้วยโปรตีน น้ำตาล และแอมโมเนีย ไม่มีกลิ่น แต่แบคทีเรียกระตุ้นทำให้เกิดกลิ่นได้ ในภายหลังที่เรียกว่ากลิ่นตัว พบได้บริเวณรักแร้ (armpit) ผิวหนังรอบหัวนม (areola) รอบรูทวาร อวัยวะ สืบพันธุ์ภายนอก ขาหนีบ ใบหน้า และหนังศีรษะ (scalp) มีขนาดของ lumen กว้างกว่า eccrine sweat gland ต่ อ มชนิ ด นี้ ม ี ท ่ อ นำเหงื ่ อ ไปเปิ ด เข้ า สู่ ป ุ ่ ม รากผม นอกจากนี ้ ย ั ง พบบริ เ วณรู หูช ั ้ น นอก เรี ย กว่ า ceruminous gland มีหน้าที่สร้างขี้หู (ear wax) และบริเวณขนตา เรียกว่า gland of Moll ทำหน้าที่ สร้างสารที่มีลักษณะคล้ายไขมันไปเคลือบหยดน้ำตา § Apoeccrine sweat gland เป็นต่อมที่มีคุณสมบัติผสมระหว่าง eccrine และ apocrine sweat gland พบเฉพาะที่บริเวณรักแร้ มีท่อเปิดออกที่บริเวณด้านนอกของชั้น epidermis ผิว หลั่งสารลักษณะใส แต่ยัง ไม่ทราบหน้าที่แน่ชัด 2.4. เล็บ (Nail) เล็ บ คื อ ส่ ว นของแผ่ น เล็ บ (nail plate) จั ด เป็ น keratinized epithelial cells ซึ ่ ง เปรี ย บได้ ก ั บ เซลล์ ใ นชั้ น stratum corneum ของผิวหนัง วางตัวอยู่บน nail bed ซึ่งมีเซลล์ที่เปรียบได้กับเซลล์ในชั้น stratum basale และ stratum spinosum ของผิวหนัง มี nail matrix เป็นเซลล์ที่อยู่บริเวณตรงโคนของเล็บ ทำหน้าที่ในการสร้างเล็บ การศึกษาผิวหนังและ skin derivatives 1. ศึกษาชั้นของผิวหนัง (layers of skin) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 46 (Thick skin)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ดูลักษณะทั่วไปของชั้นผิวหนังทั้ง 3 ชั้น - Epidermis (E) อยู่ด้านบนสุด พบเซลล์เรียงตัว หลายชั้น ย้อมติดสีชมพูเข้ม - Dermis (D) อยู่บริเวณชั้นกลาง ย้อมติดสีชมพู อ่อน - Subcutaneous layer (SC) อยู่ชั้นล่างสุด จะ พบต่ อ มเหงื ่ อ (G) ชนิ ด eccrine sweat gland ที่ ย้อมติดสีแดงเข้ม และเนื้อเยื่อไขมัน 40X

76 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Integumentary System

100X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X และ 40X ศึกษาชั้นต่าง ๆ ของ epidermis ทั้งหมด 5 ชั้น เรียงจากชั้นลึกที่สุดขึ้นไปยังชั้นบน ดังนี้ - Stratum basale (SB) เซลล์อยู่ชั้นลึกสุดและ เรียงตัวชั้นเดียว ย้อมติดสีเข้ม - Stratum spinosum (SS) พบเซลล์ เ รี ย งตั ว กันอยู่หลายชั้น ย้อมติดสีจาง - Stratum granulosum (SG) พบเซลล์ เ รี ย ง ตัวกันอยู่ 3-5 ชั้น พบเซลล์ย้อมติดสีเข้ม - Stratum lucidum (ลูกศรชี้) เป็นชั้นบาง ๆ 2-3 ชั้น พบเซลล์มีลักษณะใส แบน (อาจไม่เห็น) - Stratum corneum (SC) เป็นชั้นที่อยู่บนสุด และมีความหนามาก และเซลล์ชั้นนีไ้ ม่มีนิวเคลียส ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาเซลล์ ในชั้นต่าง ๆ ของ epidermis - Stratum basale (SB) พบเซลล์ keratinocyte ม ี ร ู ป ร ่ า ง ล ู ก บ า ศ ก์ (cuboidal shape) ห รื อ ทรงกระบอก (low columnar shape) ย้ อ มติ ด สี เข้ม และพบเซลล์ melanocyte (หัวลูกศรชี้) มี ไซโทพลาสซึมใสล้อมรอบนิวเคลียสที่ย้อมติดสีเข้ม - Stratum spinosum (SS) เซลล์มีรูปร่างหลาย เหลี่ยม (polygonal shape) นิวเคลียสมีขนาดใหญ่ ย้อมติดสีจาง และนิวคลีโอลัสเด่น - Stratum granulosum (SG) เซลล์ ใ นชั ้ น นี ้ มี ลั ก ษณะแบนกว่ า ชั ้ น SS ไซโทพลาสซึ ม บรรจุ แกรนูล จึงย้อมติดสีเข้ม เซลล์ชั้นบน ๆ มักไม่พบ นิวเคลียส - Stratum lucidum (ลู ก ศรชี้ ) เซลล์ ใ นชั ้ น นี้ มี รูปร่างแบน ย้อมติดสีจาง เนื่องจากไม่พบนิวเคลียส และออร์กาเนลในไซโทพลาสซึม - Stratum corneum (SC) เซลล์ในชั้นนี้มีรูปร่าง แบน ไม่พบนิวเคลียส ย้อมติดสีชมพูแดง สังเกตว่า เซลล์ในชั้นบนเริ่มมีการหลุดลอกเป็นขี้ไคล

P a g e | 77


Integumentary System

100X

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ศึกษาเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในชั้น dermis ซึ่งสามารถ แยกย่อยออกได้อีก 2 ชั้น เรียงจากชั้นตื้นไปชั้นลึก ดังนี้ - Papillary layer (PL) อยู่ ต ิ ด กั บ ชั ้ น epidermis ม ี dermal papilla ( ล ู ก ศ ร ช ี ้ ) ย ื ่ น เ ข ้ า ไ ป ใ น epidermis และพบ Meissner’s corpuscle (ใน วงกลม) แทรกตัวอยู่ในโครงสร้างนี้ - Reticular layer (RL) อ ย ู ่ ล ึ ก ก ว ่ า papillary layer (fat = เซลล์ไขมันของ subcutaneous layer) ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ในชั้น dermis เมื่อศึกษาด้วยกำลังขยายที่เพิ่มขึ้น จะพบว่ า เนื ้ อ เยื ่ อ เกี ่ ย วพั น ในชั ้ น papillary layer (PL) ซึ่งอยู่ใต้ต ่อชั้น epidermis (E) ประกอบด้วย loose connective tissue ย้ อ มติ ด สี จ างกว่ า ชั้ น reticular layer (RL) ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ยเนื ้ อ เยื่ อ เกี่ยวพันชนิด dense irregular connective tissue มีลักษณะการเรียงตัวของ collagen fiber หนาแน่น และไม่เป็นระเบียบคล้ายรูปคลื่น ย้อมติดสีชมพูเข้ม

400X

2. ศึกษากลุ่มเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory receptors) ที่อยู่ในชั้นของผิวหนัง ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ศึ ก ษาตั ว รั บ ความรู ้ ส ึ ก Pacinian corpuscle ใน subcutaneous layer มีลักษณะคล้ายหัวหอม โดย เซลล์ มี ร ู ป ร่ า งแบนและเรี ย งซ้ อ นกั น เป็ น ชั้ น (lamellae) ตรงกลางมี เ ส้ น ประสาทชนิ ด nonmyelinated nerve fiber (ลู ก ศรชี ้ ) และมั ก พบ เส้นประสาท (N) และหลอดเลือด (V) อยู่ในผิวหนัง ชั้นนีอ้ ีกด้วย 100X

78 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Integumentary System ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาตัวรับความรู้สึก Meissner’s corpuscle (ใน วงรี) ซึ่งอยู่บริเวณ dermal papilla มีลักษณะเป็น ถุงหุ้มกลุ่มเซลล์รูปไข่ (oval shape) ซึ่งเรียงตัวกันใน แนวนอน

400X

3. ศึกษา hair, hair follicle และ arrector pili muscle ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 47 (Scalp)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ให้ศึกษาปุ่มรากผม (HF) ที่อยู่ในหนังศีรษะ ซึ่งเป็น ผิวหนังชนิด thin skin สังเกต HF อยู่ในชั้น dermis AP = adipose tissue D = dermis E = epidermis G = eccrine sweat gland SG = sebaceous gland

100X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 79


Integumentary System

400X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาโครงสร้างของปุ่มรากผมด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น จะเห็นว่าส่วนปลายมีลักษณะโป่งออกเรียกว่า hair bulb พบกลุ ่ ม เซลล์ hair matrix (Mat) ล้ อ มรอบ dermal papilla (DP) ซึ ่ ง จะแบ่ ง ตั ว และเจริ ญ เป็ น ส่วนต่าง ๆ ของ hair root ได้แก่ medulla (ไม่พบใน ภาพ) ล้ อ มรอบด้ ว ย cortex (C) เป็ น เซลล์ ร ู ป ร่ า ง cuboid ย้ อ มติ ด สี เ ข้ ม และ cuticle (Cut) เป็ น squamous cells ย้อมติดสีเข้ม เรียงตัวชั้นเดียว อยู่ ชั้นนอกสุด และส่วนปุ่มรากผมประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ internal root sheath (IRS) พบเซลล์ย้อมติด เข้มมีหลายชั้น รูปร่างแบนอยู่ด้านใน ส่วนชั้นนอก รูป ร่า ง cuboid และ external root sheath (ERS) อยู่ ด ้ า นนอกย้ อ มเซลล์ ย ้ อ มติ ด สี จ าง glassy membrane (GM) ซึ่งปุ่มรากผมออกจาก dermis หมายเหตุ ในบางตำรา รวม cuticle เป็นส่วนหนึ่ง ของ IRS ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษา arrector pili muscle (ลู ก ศรชี้ ) ซึ ่ ง เป็ น กล้ า มเนื ้ อ เรี ย บที่ ย ึ ด จากปุ ่ ม รากผม (HF) ไปยั ง ชั้ น papillary layer ของ dermis กล้ามเนื้อนี้ทอดตัวใน แนวเฉียง เมื่อหดตัวจะทำให้ขนตั้งขึ้น สังเกตบริเวณ ติดกับปุ่มรากผมจะมีต่อมไขมัน (SG) มาเปิดเข้า

400X

80 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Integumentary System 4. ศึกษาต่อมไขมันและต่อมเหงื่อ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 47 (Scalp)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาต่อมไขมัน (ในวงกลม) โดยยึดอยู่กับปุ่มรากผม (HF) เซลล์ของต่อมไขมันที่พบมีรูปร่างหลายเหลี่ยม ไซโทพลาสซึ ม ย้ อ มติ ด สี จ าง ภายในเซลล์ พ บเม็ ด ไขมั น (lipid droplets) จำนวนมาก ล้ อ มรอบ นิวเคลียส (Nu; ลูกศรชี้) อยู่ สังเกตว่าบางเซลล์พบ เฉพาะเม็ดไขมัน เนื่องจากนิวเคลียสได้สลายไปเพื่อ เตรียมหลั่งไขมัน

400X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาต่ อ มเหงื ่ อ ชนิ ด eccrine และ apocrine sweat glands - Eccrine sweat gland มี ล ั ก ษณะเป็ น simple coiled tubular gland ประกอบด้ ว ย 2 ส่ ว นคื อ ส่ ว นเซลล์ ต ่ อ ม (secretory portion; S) และท่ อ (duct; D) ซึ่งเซลล์ต่อมหรือ acinar cell มีรูปร่าง ทรงกระบอกหรือปิรามิด (pyramid) มีนิวเคลียส อยู ่ ก ลางเซลล์ แ ละไซโทพลาสซึ ม ย้ อ มติ ด สี จ าง ด้ า นนอกโอบล้ อ มด้ ว ยเซลล์ ร ู ป ร่ า งแบนเรี ย กว่ า myoepithelial cells (หัวลูกศรชี้) ส่วนท่อบุด้วย stratified cuboidal epithelium และย้ อ มติ ด สี เข้ม - Apocrine sweat gland (AG) มี ล ั ก ษณะเช่ น เดี ย วกั บ eccrine sweat gland แต่ ม ี lumen กว้างกว่า

P a g e | 81


Integumentary System

82 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Hemopoietic Tissue

ปฏิบัติการที่ 8 เนื้อเยื่อเลือด (Hemopoietic Tissue) ผู้เขียน ดร.เทวรัตน์ คุ้มจันทึก ผูป้ รับปรุง ดร.เขมิสา ศรีเสน วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงเม็ดเลือดแดง (red blood cell) ได้ถูกต้อง 2. สามารถชี้แสดงและจำแนกชนิดของเม็ดเลือดขาว (white blood cell) แต่ละชนิดได้ถูกต้อง 3. สามารถชี้แสดง megakaryocyte ในไขกระดูกได้ถูกต้อง เนื้อเยื่อเลือด (hemopoietic tissue) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษ มีลักษณะเป็นของเหลวที่สามารถไหลเวียนไป ทั่วร่างกาย โดยผ่านไปตามระบบไหลเวียนเลือด (blood circulation หรือ circulatory system) เนื้อเยื่อเลือด ประกอบด้วย เลือด (blood) และไขกระดูก (bone marrow) เลือด (blood) เมื่อนำเลือดไปปั่นเหวี่ยงเพื่อทำการแยกองค์ประกอบแต่ละส่วน พบว่าประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ โดยจะเห็นแยกเป็นชั้นที่ ต่างกัน คือ 1. น้ำเลือด (plasma) เป็นของเหลวซึ่งเป็นตัวกลางให้เม็ดเลือดแขวนลอยอยู่ จัดเป็นองค์ประกอบโดยส่วนใหญ่ของเลือด มี สัดส่วน 55 % ของปริมาณเลือดทั้งหมด 2. Formed element มี ป ระมาณ 45 % ของปริม าณเลื อ ดทั้ งหมด เป็ น ชั้ น ที่ อ ยู่ ท างด้ านล่ างของน้ ำเลื อ ด เป็ น ส่ ว นที่ แขวนลอยไหลเวียนอยูใ่ นระบบไหลเวียนเลือด สามารถจำแนกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ได้ 2 ส่วนย่อย 2.1. เม็ดเลือดแดง (red blood cell; RBC) หรือ erythrocyte เป็นเซลล์ที่เมื่อเจริญอย่างสมบูรณ์จะไม่มีนิวเคลียส เซลล์รูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน ตรงกลางเซลล์มีความบางกว่าด้านข้าง ๆ เซลล์ เนื่องจาก ตรงกลางเซลล์มีการหวำตัวเข้าหากัน (biconcave) ทำให้เห็นตรงกลางเซลล์ย้อมติดสีจาง ๆ 2.2. Buffy coat มีประมาณ 1 % แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 2.2.1. เม็ดเลือดขาว (white blood cell; WBC) หรือ leukocyte เซลล์เม็ดเลือดขาวส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่กว่า เซลล์เม็ดเลือดแดง โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มที่มี granule เรียกว่า granulocyte และ (2) กลุ่มทีไ่ ม่มี granule เรียกว่า agranulocyte § Granulocyte เป็นกลุ่มเม็ดเลือดขาวทีพ่ บ cytoplasmic granules แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1) Neutrophil มีขนาดเซลล์ประมาณ 12 – 15 ไมครอน นิวเคลียสย้อมติดสีน้ำเงินม่วง พบได้ตั้งแต่ 2 จนถึง 5 พู (lobes) cytoplasmic granules ขนาดเล็กละเอียดมาก อาจจะเห็นส่วนของนิวเคลียสยื่น ออกมาคล้ายไม้ตีกลอง เรียกว่า drumstick หรือ Barr body ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่พบได้ในเม็ด เลือดขาวชนิดนี้ของเพศหญิงเท่านั้น 2) Eosinophil หรือ acidophil มีขนาดเซลล์ป ระมาณ 10 – 14 ไมครอน นิวเคลียสมี 2 พู ภายใน ไซโทพลาสซึ ม พบ cytoplasmic granules ขนาดใหญ่ ติ ด สี ช มพู ห รื อ แดงส้ ม กระจายทั่ ว ไป จึ ง ยั ง สามารถมองเห็นลักษณะและระบุขอบเขตของนิวเคลียสได้ชัดเจน เนื่องจาก cytoplasmic granules ติดสีต่างจากนิวเคลียส Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 83


Hemopoietic tissue 3) Basophil เซลล์ มี ข นาดประมาณ 8 – 14 ไมครอน ใกล้ เคี ย งกั บ eosinophil มี นิ ว เคลี ย ส 2-5 พู ภายในไซโทพลาสซึ ม พบ cytoplasmic granules ขนาดใหญ่ ติ ด สี น้ ำเงิน ม่ วงกระจายทั่ วไป จึงไม่ สามารถมองเห็นลักษณะและระบุขอบเขตของนิวเคลียสได้ชัดเจน เนื่องจาก cytoplasmic granules ย้อมติดสีเดียวกับสีทยี่ ้อมติดนิวเคลียสจึงบดบังนิวเคลียส § Agranulocyte เป็นกลุ่มเม็ดเลือดขาวที่ไม่มี granules อยู่ภายในไซโทพลาสซึมมี 2 ชนิด คือ 1) Lymphocyte เซลล์มีขนาดประมาณ 7 – 12 ไมครอน ใกล้เคียงกับเม็ดเลือดแดง นิวเคลียสกลมหรือ รี ติดสีน้ำเงินม่วงเกือบเต็มเซลล์ มีส่วนของไซโทพลาสซึมที่พบเพียงเล็กน้อยติดสีเทาอ่อนหรือน้ำเงิน ปนเทา lymphocyte แบ่งออกเป็น small lymphocyte ซึ่งมีขนาดประมาณ 7-10 ไมครอน และ large lymphocyte ซึ่งมีขนาด 12 ไมครอน lymphocyte สามารถพัฒ นาไปเป็น B lymphocyte และ T lymphocyte ได้ 2) Monocyte เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีขนาดประมาณ 15 – 20 ไมครอน นิวเคลียสมี ลักษณะเหมือนเมล็ดถั่วหรือเกือกม้า ติดสีเทาอ่อนหรือน้ำเงินปนเทา เมื่อเคลื่อนที่ออกจากหลอดเลือด ไปอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ จะเปลี่ยนเป็นเซลล์ macrophage 2.2.2 Thrombocytes หรือ platelets (เกล็ดเลือด) เป็นองค์ประกอบของเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุด ขนาดประมาณ 2– 4 ไมครอน เป็นเศษชิ้นส่วนไซโทพลาสซึมของ megakaryocyte ที่ปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ไม่มีนิวเคลียส เซลล์รูปรางกลม แบนหรือรูปไข่ ย้อมติดสีน้ำเงิน ไขกระดูก (bone marrow) ไขกระดูกเป็นแหล่งกำเนิดของเม็ดเลือดทุกชนิด แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ red bone marrow และ yellow bone marrow 1. Red bone marrow Red bone marrow เป็นไขกระดูกที่มีการเจริญพัฒนาของเม็ดเลือดมากที่สุด จึงทำให้เห็นเป็นสีแดง พบได้ใน flat bone และส่วนปลายของ long bone ประกอบด้วย 1.1. Developing blood cells (เซลล์ออ่ นเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ) 1.2. Megakaryocyte เป็น multinucleated cell ขนาดใหญ่ที่สุดที่พบใน bone marrow โดยมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ เม็ดเลือดแดงทั่วไป 10 ถึง 15 เท่า ทำหน้าที่สร้าง blood platelets แล้วปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อช่วยในการ แข็งตัวของเลือด (blood clotting) 2. Yellow bone marrow Yellow bone marrow เป็ น ไขกระดู ก ที่ เ ปลี่ ย นมาจาก red bone marrow แต่ ถู ก แทนที่ ด้ ว ยเนื้ อ เยื่ อ ไขมั น (adipose tissue) จำนวนมาก จึงย้ อ มติ ด สี เหลื อ งพบได้ ที่ medullary cavity ของกระดู ก ยาว (long bone) จัด เป็ น inactive bone marrow แต่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็น red bone marrow ได้ในกรณีที่ร่างกายสูญเสียเลือดมาก เช่น การได้รับอุบัติเหตุรุนแรงจนเสียเลือดมาก

84 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Hemopoietic Tissue วิธีการศึกษาสไลด์ 1. ศึกษาเซลล์เม็ดเลือด (blood cell) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 16 (Blood smear)

200X

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 20X เลือกศึกษาบริเวณขอบสไลด์ที่เม็ดเลือด เกาะกลุ่มกันไม่หนาแน่นมาก เซลล์ที่เห็นส่วน ใหญ่ คื อ เม็ ด เลื อ ดแดง (red blood cells; RBCลูกศรสีแดงชี้) ย้อมติดสีแดง บริเวณกลาง เซลล์ ย้ อ มติ ด สี จ าง ส่ ว นเซลล์ อี ก กลุ่ ม คื อ เม็ ด เลื อ ดขาว (white blood cells; ลู ก ศรสี ด ำชี้ ) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงและนิวเคลียส ย้อมติดสีน้ำเงินม่วง พบเกล็ดเลือด (platelet; ลูกศรสีน้ำเงินชี้) ซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดที่เล็ก ที่สุด ติดสีน้ำเงินม่วงกระจายตัวอยู่ทั่วไป

400X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เพื่ อ จำแนกเม็ ด เลื อ ดแดง (red blood cell) และเกล็ดเลือด (platelet) Red blood cell เซลล์ มี รู ป ร่ า งแบน ไม่ มี นิวเคลียส ส่วนกลางเซลล์หวำตัวเข้าหากัน ทำ ให้บริเวณกลางเซลล์ย้อมติดสีจาง Platelet เป็ น เศษชิ้ น ส่ ว นไซโทพลาสซึ ม ของ megakaryocyte มีขนาดเล็กที่สุด ติดสีน้ำเงิน เข้ม ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ห รื อ 100X เพื่ อ ศึ ก ษ าลั ก ษ ณ ะข อ ง neutrophil (ลูกศรชี้) เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ กว่าเม็ดเลือดแดง นิวเคลียสมี 4-5 lobes ย้อม ติดสีน้ำเงินม่วง cytoplasmic granules ขนาด เล็กกระจายเต็มไซโทพลาสซึม

400X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 85


Hemopoietic tissue ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ห รื อ 100X เ พื่ อ ศึ ก ษ า ลั ก ษ ณ ะ drumstick หรื อ Barr body (ลู ก ศรชี้ ) ของ neutrophil ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่พบได้ใน เม็ดเลือดขาวชนิดนี้ของเพศหญิง

1000X

ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X หรือ100X ศึกษาลักษณะของ basophil (ลูกศรชี้) เซลล์มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง นิ ว เค ลี ย ส มี 2 lobes พ บ cytoplasmic granules ขนาดใหญ่ติดสีน้ำเงินม่วง กลมกลืน ไปกั บ นิ ว เคลี ย ส ซึ่ ง cytoplasmic granules นี้ ก ระจายเต็ ม ไซโทพลาสซึ ม จึ ง ไม่ ส ามารถ มองเห็ น ลั ก ษ ณ ะและระบุ ขอบ เขตของ นิ ว เค ลี ย ส ไ ด้ เนื่ อ ง จ า ก cytoplasmic granules บดบังนิวเคลียส 1000X

ขั้นตอนที่ 7 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ห รื อ 100X ศึ ก ษ า ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง eosinophil (ลู ก ศรชี้ ) เซลล์ มี ข นาดใหญ่ ก ว่ า เม็ ด เลื อ ดแดง นิ วเคลี ย สมี 2 lobes พ บ cytoplasmic granules ขนาดใหญ่ ติดสีชมพู หรือแดงส้ม กระจายเต็มไซโทพลาสซึม แต่ไม่ บดบังนิวเคลียส

1000X

86 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Hemopoietic Tissue ขั้นตอนที่ 8 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ห รื อ 100X ศึ ก ษ า ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง monocyte (ลู ก ศรชี้ ) ซึ่ ง เป็ น เซลล์ เม็ ด เลื อ ด ขาวที่ มี ข นาดใหญ่ ที่ สุ ด มี นิ ว เคลี ย สรู ป ร่ า ง เหมือนเม็ดถั่วหรือเกือกม้า

1000X 0

ขั้นตอนที่ 9 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ห รื อ 100X ศึ ก ษ า ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง lymphocyte (หัวลูกศรสีแดงชี้) เลื่อนหาเซลล์ ที่ มี ข นาดเล็ ก ใกล้ เคี ย งกั บ เม็ ด เลื อ ดแดง เป็ น เซลล์ที่มีนิวเคลียสรูปร่างกลมขนาดใหญ่เกือบ เต็มเซลล์ จึงทำให้มีไซโทพลาสซึมปริมาณน้อย จากภาพนี้พบ monocyte (ลูกศรสีดำชี้) ด้วย

1000X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 87


Hemopoietic tissue 2. ศึกษาเซลล์ megakaryocyte ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 17 (Bone marrow smear)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ กำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษาลั ก ษณะ ของ megakaryocyte (ลู ก ศรชี้ ) ซึ่ งเป็ น large multinucleated cell สามารถเห็นได้ง่ายเนื่องจาก เซลล์ มี ข นาดใหญ่ ที่ สุ ด มี ห ลาย นิวเคลียส

400X

88 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cardiovascular System

ปฏิบัติการที่ 9 ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System) ผู้เขียน ดร.เทวรัตน์ คุ้มจันทึก ผู้ปรับปรุง ดร.เขมิสา ศรีเสน วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงชั้นต่าง ๆ ของผนังหัวใจได้ 2. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและเซลล์ต่าง ๆ ที่พบทีห่ ัวใจได้ 3. สามารถชี้แสดงชั้นต่าง ๆ ของผนังหลอดเลือดได้ 4. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและเซลล์ต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของผนังหลอดเลือดได้ 5. สามารถแยกแยะชนิดของหลอดเลือดจากลักษณะทางจุลกายวิภาคได้ ระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular system) เป็นระบบหนึ่งของระบบไหลเวียน (circulatory system) จัดเป็นระบบปิดที่มีลักษณะเป็นท่อเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นโครงข่ายกระจายตัวทั่วร่างกาย เพื่อทำหน้าที่ขนส่งก๊าซ สารอาหาร ฮอร์โมน และของเสียต่าง ๆ ระหว่างเซลล์ อวัยวะที่สำคัญของระบบนี้ได้แก่ หัวใจ (heart) และหลอดเลือด (blood vessel) หัวใจ (Heart) หัวใจเป็นอวัยวะรูปทรงกรวย ที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจสานกันเป็นห้องหัวใจ (chamber) มีจำนวน ทั้งหมด 4 ห้อง โดยแต่ละห้องจะมีช่องว่างอยู่ภายใน หัวใจประกอบด้วยโครงร่างของหัวใจ (cardiac or fibrous skeleton) ลิ้นหัวใจ (heart valve) และผนังหัวใจ (heart wall) 1. โครงร่างของหัวใจ (Cardiac / fibrous skeleton) โครงร่างหัวใจเป็น dense connective tissue กั้นอยู่ระหว่างหัวใจห้องบน (atrium) และหัวใจห้องล่าง (ventricle) ทำ หน้าที่เป็นโครงให้กับหัวใจ เป็นที่ยึดของลิ้นหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ รวมทั้งเป็นฉนวนป้องกันการผ่านของกระแสไฟฟ้า จาก atrium ลงไปสู่ ventricle 2. ลิ้นหัวใจ (Heart valve) ลิ้นหัวใจคั่นอยู่ระหว่าง atrium และ ventricle ลักษณะเป็น dense connective tissue บาง ๆ ที่ต่อเนื่องมาจาก fibrous skeleton และยื่นเข้าไปในห้องหัวใจ (heart chamber) ผิวด้านนอกสุดบุผิวด้วย endothelium ซึ่งเป็นเซลล์ รูปร่างแบน เรียงตัวชั้นเดียว 3. ผนังหัวใจ (Heart wall) แบ่งออกได้เป็น 3 ชั้นคือ 3.1 ผนังชั้นในสุดของหัวใจ (Endocardium) ผนั ง ชั ้ น ในสุ ด ของหั ว ใจทุ ก ห้ อ งบุ ด ้ ว ยเยื ่ อ บุ ผ ิ ว ชนิ ด simple squamous epithelium หรื อ เรี ย กว่ า endothelium ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ endothelium ที่มีลักษณะเป็นเซลล์รูปร่างแบนเรียงตัวชั้นเดียว โดยจะ สังเกตเห็นนิวเคลียสติดสีเข้มนูนยื่นเข้ามาใน lumen 3.2 ชั้นกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardium) ผนังชั้นกลางของหัวใจมีความหนามากที่สุด ประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle cell หรือ cardiocyte) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ contractile cardiocyte และ nodal cardiocyte • Contractile cardiocyte เป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่พบมากที่สุด ทำหน้าที่หดตัวเพื่อปั๊มเลือดออกจาก หัวใจเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่าง ๆ ได้ เซลล์ชนิดนี้มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก นิวเคลียสเดี่ยว Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 89


Cardiovascular System อยู่กลางเซลล์ (concentric nucleus) และมีลายตามขวาง บางเซลล์มีการแตกเป็นแขนง (branching) เพื่อเชื่อมกับเซลล์ข้างเคียง เซลล์กลุ่มนี้จะเกาะประสานกันอย่างเป็นระเบียบ แต่ละเซลล์ติดต่อถึงกันได้ โดยส่วนปลายของเซลล์ที่เชื่อมต่อกันจะเห็นเป็นแถบย้อมติดสีเข้ม ซึ่งเป็นขอบเขตระหว่างเซลล์ เรียกว่า intercalated disk • Nodal cardiocyte หรื อ Pacemaker cell เป็ น เซลล์ พ ิ เ ศษที ่ ม ี ข นาดใหญ่ แ ละไซโทพลาสซึ ม (cytoplasm) ติด สีจ างกว่า contractile cardiocyte เซลล์เหล่า นี้ส ามารถสร้า งกระแสไฟฟ้า ได้ด ้ว ย ตั ว เอง (spontaneous depolarization) มั ก อยู่ ร วมกั น เป็ น กลุ ่ ม แต่ ล ะกลุ ่ ม มี ค วามเร็ ว ในการสร้ า ง กระแสไฟฟ้าไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มของเซลล์เหล่านี้ออกเป็น 3 ชนิดคือ - Sinoatrial (SA) node เป็นกลุ่มของ nodal cardiocyte ที่พบอยู่บริเวณรอยต่อของ superior vena cava กับ right atrium ซึ่งมีความสามารถในการสร้างกระแสไฟฟ้าได้เร็วที่สุด (ไม่ต้อง ศึกษาในปฏิบัติการ) - Atrioventricular (AV) node เป็นกลุ่มของ nodal cardiocyte ที่พบอยู่บริเวณ interatrial septum ใกล้กับลิ้นหัวใจที่ตำแหน่งรอยต่อระหว่าง atrium และ ventricle - Purkinje fiber เป็น nodal cardiocyte อีกชนิดหนึ่งที่จัดเป็น modified cardiac muscle cell ทำหน้าที่กระจาย impulse จาก AV bundle ไปยัง cardiac muscle cell มีตำแหน่งอยู่ ในชั้น subendocardium ซึ่งเป็นชั้นย่อยของผนังหัวใจชั้น endocardium 3.3 ผนังชั้นนอกสุดของหัวใจ (Epicardium) ผนังชั้นนอกสุดของหัวใจบุด้วยเยื่อบุผิวชนิด simple squamous epithelium ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ mesothelium ซึ่งเป็น เซลล์ร ูป ร่า งแบน เรีย งตัว ชั้น เดีย ว โดยจะเห็น แต่เฉพาะนิว เคลีย สย้อ มติด สีเข้ม และพบ loose areolar connective tissues หลอดเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงหัวใจ รวมทั้งพบเซลล์ไขมัน (fat cell) แทรกอยู่ในผนังชั้น นี้เป็นจำนวนมาก หลอดเลือด (Blood vessel) หลอดเลือดเป็นมีลักษณะเป็นท่อภายในเป็นรูกลวง กระจายตัวอยู่ทั่วไปในร่างกาย ทำหน้าที่ขนส่งเลือดไปเลี้ยงเซลล์และ เนื้อเยื่อทั่วร่างกาย และนำของเสียกลับไปกำจัดที่อวัยวะที่เหมาะสมต่อไป ผนังหลอดเลือด (vascular wall) แบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ 1. Tunica intima เป็นผนังหลอดเลือดชั้นในสุด แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ - Endothelial layer เป็นชั้นที่ถูกบุด้วย endothelial cell ซึ่งเป็นเซลล์รูปร่างแบน เรียงตัวชั้นเดียว โดยจะเห็นแต่ เฉพาะนิวเคลียสที่ย้อมติดสีเข้ม นูนยื่นเข้ามาใน lumen เรียกเยื่อบุผิวชนิดนี้คือ simple squamous epithelium บุ ผิวด้านในสุดของผนังหลอดเลือดทีส่ ัมพันธ์อยู่กับ lumen ของหลอดเลือด - Subendothelial layer เป็นชั้นของ loose connective tissue และพบเซลล์ Purkinje fiber ในชั้นนี้ - Internal elastic lamina เป็นชั้นนอกสุดของชั้น tunica intima ที่มี elastic fiber เรียงตัววนรอบหลอดเลือด เป็นชั้นกั้นแยกชั้น tunica intima ออกจาก tunica media 2. Tunica media เป็นผนังหลอดเลือดชั้นกลาง โครงสร้างที่พบในชั้นนี้ ได้แก่ - Circular smooth muscle เป็นกล้ามเนื้อเรียบที่เรียงตัววนรอบหลอดเลือด ช่วยทำให้หลอดเลือดหดตัวเพื่อเพิ่ม แรงดันเลือด พบองค์ประกอบนี้มากในหลอดเลือดขนาดกลางและเล็ก (small & medium artery) - Elastic fiber ช่วยทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น พบเป็นจำนวนมากในหลอดเลือดขนาดใหญ่ (large artery) - External elastic lamina/ membrane เป็ น ชั ้ น นอกสุ ด ของชั ้ น tunica media โดยเป็ น แถบของ elastic fibers เรียงตัววนรอบวนรอบหลอดเลือด แยกชั้น tunica media ออกจาก tunica adventitia

90 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cardiovascular System 3. Tunica externa หรือ tunica adventitia เป็นผนังหลอดเลือดชั้นนอกสุด ประกอบด้วย loose connective tissue เป็นส่วนใหญ่ โครงสร้างที่พบแทรกประสานไปกับ loose connective tissue ได้แก่ collagen fiber และ nerve fiber ที่เรียกว่า Nervi vascularis และพบหลอดเลือดที่มาเลี้ยงหลอดเลือดเรียกว่า vasa vasorum (blood vessel) ชนิดของหลอดเลือด (blood vessels) หลอดเลือดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ artery (หลอดเลือดแดง) capillary (หลอดเลือดฝอย) และ vein (หลอดเลือดดำ) 1. Artery เป็นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ 1.1 Elastic (conducting) artery (หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่) มีผนังหนากว่าหลอดเลือดแดงชนิดอื่น ๆ พบหลอดเลือดชนิดนี้ในตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับหัวใจ เป็นหลอดเลือดที่มี lumen ขนาดใหญ่ ชั้น tunica media มี elastic fiber ปริมาณมากเรียงตัวเป็นวงรอบท่อประมาณ 40-60 ชั้น แทรก ด้วย collagen fibers และ smooth muscle cell (ซึ่ง smooth muscle cell ทำหน้าที่สร้างทั้ง collagen และ elastic fibers) ไม่ พ บ fibroblasts ในชั ้ น tunica media นี้ ส่ ว นชั ้ น tunica adventitia ส่ ว นใหญ่ พ บ collagen fibers เพื่อป้องกันการยืดขยายที่มากเกินไปของหลอดเลือด (excess elasticity) และยังพบการแทรกด้วย elastic fiber จำนวนเล็กน้อย พบ fibroblast จำนวนมากซึ่งทำหน้าที่สร้าง collagen และ elastic fibers 1.2 Medium (muscular) artery (หลอดเลือดแดงขนาดกลาง) ผนังชั้น tunica media มีความหนาที่สุด ประกอบด้วย circular smooth muscle cell เรียงตัวกันประมาณ 11-40 ชั้น แทรกด้วย elastic และ collagen fibers พบ internal elastic lamina ชัดเจน 1.3 Small artery (หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก) หลอดเลือดชนิดนี้ชั้น tunica intima ไม่พบ subendothelial layer แต่ยังพบ internal elastic lamina ที่เด่นชัดเจน ผนังชั้น tunica media มีความหนาที่สุด ประกอบด้วย smooth muscle cell เรียงตัวกันวนรอบท่อหลอดเลือด ประมาณ 4-10 ชั้น พบ elastic fiber แทรกภายในชั้นจำนวนเล็กน้อย ส่วน external elastic lamina ไม่เด่นชัด 1.4 Arteriole Arteriole เป็นหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่สุด โดยชั้น tunica intima พบ endothelial cell เรียงตัวชั้นเดียว โดยจะ เห็นแต่เฉพาะนิวเคลียสที่ย้อมติดสีเข้มนูนยื่นเข้ามาใน lumen ของหลอดเลือด ไม่พบ internal elastic lamina ส่วน ชั้น tunica media พบ smooth muscle cell เรียงตัววนรอบท่อหลอดเลือดประมาณ 1-3 ชั้น ไม่พบ external elastic lamina 2. หลอดเลือดฝอย (Capillary) หลอดเลือดฝอยเป็นหลอดเลือดที่มีผนังบางที่สุด บุผิวด้วย endothelial cell เรียงตัวชั้นเดียววางอยู่บน basement membrane อาจพบเพียง 1 เซลล์ในหลอดเลือดฝอยขนาดเล็ก หรือ 2-3 เซลล์ในหลอดเลือดฝอยขนาดใหญ่ โดยจะ เห็นแต่เฉพาะนิวเคลียสของ endothelial cell ที่ย้อมติดสีเข้ม ยื่นเข้าไปใน capillary lumen นอกจากนี้ยังพบเซลล์ pericyte เป็นองค์ประกอบ วางตัวอยู่ทางด้านนอกต่อ endothelial cell ซึ่งเซลล์ pericyte จะทำหน้าที่คล้ายกับ smooth muscle cell เนื่องจากหลอดเลือดฝอยไม่มี smooth muscle cell เป็นองค์ประกอบสามารถจำแนกหลอด เลือดฝอยออกเป็น 3 ชนิดย่อย ดังนี้ 2.1 Continuous capillary Continuous capillary คือหลอดเลือดฝอยที่ไซโทพลาสซึมของ endothelial cell และ basement membrane ติดต่อกันตลอดไม่ขาดช่วงรอบท่อ พบหลอดเลือดฝอยชนิดนี้ได้ในเนื้อเยื่อทั่วไปภายในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ nervous tissue ปอด และผิวหนัง เป็นต้น

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 91


Cardiovascular System 2.2 Fenestrated capillary Fenestrated capillary คือหลอดเลือดฝอยที่ไซโทพลาสซึมของ endothelial cell มีลักษณะเป็นรูพรุน แต่ basal lamina ยังคงสมบูรณ์ พบได้ที่ glomerulus, intestinal villi, choroid plexus และ ciliary process of eye 2.3 Discontinuous (sinusoidal) capillary Sinusoidal capillary คือหลอดเลือดฝอยที่มีผนังบางมากและมีไซโทพลาสซึมของ endothelial cell และ basal lamina ขาดเป็นช่วง ๆ พบได้ที่ hepatic sinusoid ภายในตับ (liver) และ splenic sinusoid ภายในม้าม (spleen) 3. หลอดเลือดดำ (Vein) เป็นหลอดเลือดดำที่รับเลือดจากอวัยวะทั่วร่างกาย กลับเข้าสู่หัวใจแบ่งออกได้ 4 ชนิด ดังนี้ 3.1 Large-sized vein หลอดเลือดดำขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้หัวใจ เช่น superior vena cava ลักษณะเด่นของหลอดเลือดดำชนิดนี้คือ มีชั้น tunica adventitia หนาและเด่นชัด โดยพบ longitudinal smooth muscle bundle ที่วางตัวตามความยาวของ หลอดเลือด พบ collagen fiber bundle จำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบ elastic fiber และ reticular fiber 3.2 Medium-sized vein หลอดเลือดดำขนาดกลางมี lumen ขนาดใหญ่รูปทรงไม่มีแน่ชัด (irregular lumen) ชั้น tunica intima มีการยื่นเข้า มาใน lumen เพื่อเกิดเป็น valve of vein ทีบ่ ุผิวด้วย endothelial cell ส่วนชั้น tunica media มี smooth muscle cells เรียงตัววนรอบท่อประมาณ 4 – 10 ชั้น ชั้น tunica adventitia พบ fibroblasts ทำหน้าที่สร้าง collagen จำนวนมากและสร้าง elastic fibers จำนวนน้อย หลอดเลือดดำชนิดนี้พบทอดคู่กับหลอดเลือดแดงชนิด muscular artery 3.3 Small-sized vein หลอดเลือดดำขนาดเล็ก ทอดคู่กับหลอดเลือดแดงชนิด small artery มี irregular lumen ชั้น tunica intima มีการ ยื่นเข้ามาใน lumen เพื่อเกิดเป็น valve of vein ที่ถูกบุผิวด้วย endothelial cell ชั้น tunica media มี smooth muscle เรียงตัววนรอบท่อประมาณ 2 - 3 ชั้น ส่วนชั้น tunica adventitia มีการเจริญพัฒนาดีมากจึงมีความหนา มากกว่าทุกชั้นและประสานไปกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างเคียง 3.4 Venule หลอดเลือดดำฝอยขนาดเล็ก มี irregular lumen ขนาดใหญ่ ชั้น tunica media พบได้ใน venule ขนาดใหญ่เท่านั้น โดยมีการเรียงตัวของ smooth muscle cell วนรอบท่อ 1 ชั้น ประมาณ 1-2 cells ชั้น tunica adventitia หนาและ ประสานไปกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่รอบข้าง มักพบทอดคู่กับหลอดเลือดแดงชนิด arteriole และสามารถพบ valve of vein ได้

92 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cardiovascular System วิธีการศึกษาสไลด์ 1. ศึกษาผนังหัวใจ (heart wall) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 39 (Heart wall)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X เลื่อนสไลด์ดูให้ทั่วเพื่อแยกผนังทั้งสามชั้น ของหั ว ใจ ชั ้ น ที ่ อ ยู ่ ด ้ า นนอกสุ ด เรี ย กว่ า epicardium ซ ึ ่ ง ป ร ะ ก อ บ ด ้ ว ย เ ซ ล ล์ mesothelium เรียงตัวชั้นเดียว โดยจะเห็นแต่ เฉพาะนิ ว เคลี ย สย้ อ มติ ด สี เ ข้ ม และ loose connective tissues พ บ ห ล อ ด เ ล ื อ ด เส้ น ประสาท และ เซลล์ ไ ขมั น (fat cell) เป็ น จำนวนมาก แทรกอยู่ในผนังชั้นนี้ ส่วนผนังหัวใจ ชั้นกลางคือ myocardium จะพบ cardiocyte จำนวนมาก ทางด้ า นในสุ ด คื อ ผนั ง หั ว ใจชั้ น endocardium

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 93


Cardiovascular System ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X เลื่อนสไลด์ศึกษาผนังชั้น endocardium แ ล ะ ส ั ง เ ก ต cardiocytes ท ี ่ พ บ ใ น ชั้ น subendocardium (แถบเส้ น สี ด ำ) ซึ ่ ง เป็ น เซลล์ที่มีรูปร่างขนาดใหญ่และไซโทพลาสซึม ย้ อ มติ ด สี จ าง แตกต่ า งไปจากเซลล์ ใ นชั้ น myocardium อย่ า งชั ด เจน และมั ก พบ รวมกั น เป็ น กลุ ่ ม เรี ย ก cardiocyte นี ้ ว่ า Purkinje fibers

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4 0 X จ ะ พ บ ว ่ า เ ย ื ่ อ บ ุ ผ ิ ว ท ี ่ บ ุ ผ น ั ง ชั้ น endocardium เ ป ็ น ช น ิ ด simple squamous epithelium โ ด ย พ บ endothetial cells (ลูกศรสีดำ) เรียงตัวชั้น เดียว โดยจะเห็นแต่เฉพาะนิวเคลียสที่ย้อมติด สี เ ข้ ม ลึ ก กว่ า ชั ้ น endocardium คื อ ชั้ น subendocardium พ บ เ ซ ล ล ์ ข น า ด ใ ห ญ่ ไซโทพลาสซึมย้อมติดสีจาง มี 1-2 นิวเคลียส ลั ก ษณะเป็ น vesicular nucleus มั ก พบ รวมกันเป็นกลุ่ม เซลล์เหล่านี้คือ Purkinje fibers

ขั ้ น ตอนที ่ 5 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 10X โดยเลื่อนสไลด์ไปบริเวณ ส่วนกลางของเนื้อเยื่อของแผ่นสไลด์หรือชั้น myocardium เ พ ื ่ อ ศ ึ ก ษ า contractile cardiocytes จะพบกลุ่มเซลล์ที่ติดสีชมพู เข้ ม เนื ่ อ งจากภายในไซโทพลาสซึ ม มี ปริ ม าณ myofibril มาก เซลล์ ม ี ล ายตาม ขวาง นิ ว เคลี ย สรู ป ร่ า งกลมอยู ่ ต รงกลาง เซลล์ สามารถพบ intercalated disk ได้

94 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cardiovascular System

ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เลื่อ นสไลด์ไปศึก ษาผนัง ชั้น epicardium ชั้น นี้บ ุผิว ด้ ว ยเยื ่ อ บุ ผ ิ ว ชนิ ด simple squamous epithelium ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ mesothelial cell (ลูกศรสีดำ) ซึ่งเป็นเซลล์รูปร่างแบน เรียงตัวชั้นเดียว โดยจะเห็นแต่ เฉพาะนิวเคลียสย้อมติดสีเข้ม และพบ loose areolar connective tissues นอกจากนี ้ ส ามารถพบหลอด เลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงผนังหัวใจ รวมทั้งพบ เซลล์ไขมัน (fat cell) แทรกอยู่ในผนังชั้นนี้เป็นจำนวน มาก ซึ่งลักษณะที่มีเซลล์ไขมันเป็นองค์ประกอบถือว่า เป็นลักษณะที่พบได้เฉพาะผนังหัวใจชั้นนี้

2. โครงของหัวใจ (cardiac or fibrous skeleton), ลิ้นหัวใจ (heart valve), AV node, atrial cardiocyte ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 40 (Heart valve)

ห ร ื อ ศ ึ ก ษ า จ า ก virtual slide: http://histologyguide.com

ให้ศึกษา heart valve ตำแหน่งในวงกลม

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 95


Cardiovascular System ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 4X เลื่อนสไลด์ไปยังรอยต่อ ร ะ ห ว ่ า ง atrium แ ล ะ ventricle จ ะ สั ง เกตเห็ น fibrous skeleton ซึ ่ ง เป็ น dense connective tissue ค ั ่ น อ ยู่ ระหว่ า งกลาง และพบ heart valve ลักษณะเป็นแผ่นยื่นยาวลงไปใน ventricular chamber ซ ึ ่ ง ม ี ล ั ก ษ ณ ะ โครงสร้างเหมือนกับ fibrous skeleton และบุผิวด้วย endothelium

ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลั ง ขยาย 40X เลื ่ อ นสไลด์ ไ ปยั ง ตำแหน่ ง รอยต่ อ ระหว่ า ง atrium และ ventricle ต ำ แ ห น ่ ง ท ี ่ พ บ fibrous skeleton จะพบ AV node ซึ ่ ง เป็ น กลุ่ ม nodal cardiocytes ให้ ศ ึ ก ษาลั ก ษณะ ของเซลล์ nodal cardiocyte ซึ ่ ง เป็ น เซลล์ ท ี ่ มี ไ ซโทพลาสซึ ม ติ ด สี จ างกว่ า contractile cardiocyte และมีนิวเคลียส ก ล ม ใ ส ซ ึ ่ ง เ ป ็ น ล ั ก ษ ณ ะ vesicular nucleus

3. ศึกษาหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ (elastic artery) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 35 (Aorta)

96 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cardiovascular System

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X สังเกตได้ว่าผนังชั้นที่มีความหนามากที่สุดคือ tunica media ซึ่ง ประกอบด้วย elastic fibers จำนวนมากเรียงตัววนรอบท่อประมาณ 40 - 60 ชั้น โดยมี smooth muscle cell แทรก ปะปน ชั้น tunica adventitia มีความหนารองลงมา ประกอบด้วย loose connective tissue และพบว่ามีหลอดเลือด (vasa vasorum) ในชั้นนีด้ ้วย

Tunica media

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X และ 40X เลือกศึกษาผนังด้านที่ชิด lumen ของ aorta สังเกตดู epithelium ที่บุผิวภายในหลอดเลือดเป็นชนิด simple squamous epithelium โดย endothelial cell มีการยกตัวขึ้น (folded endothelium) จึงพบนิวเคลียสของเซลล์ย้อมติดสีเข้มนูนยื่นเข้ามาใน lumen แยกชั้น tunica intima ออกจาก tunica media ได้ยากกว่าหลอดเลือดขนาดกลาง เนื่องจาก internal elastic lamina ไม่ชัดเจน

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 97


Cardiovascular System ขั ้ น ตอนที ่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลั ง ขยาย 10X และ 40X เลื อ ก ศึกษาผนังด้านนอกสุดคือชั้น tunica adventitia ส่ ว นใหญ่ พ บ collagen fibers (ลูกศรสีดำ) เพื่อ ป้องกันการยืด ขยายที ่ ม ากเกิ น ไปของหลอดเลื อ ด (excess elasticity) แทรกด้ ว ย Vasa vasorum (ลู ก ศรสี แ ดง) และ Nervi vascularis (วงรีสีดำ)

4. ศึกษาหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ (large-sized vein) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 36 (Vena cava)

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 10X และ 40X เลื่อนสไลด์ดู ให้ทั่วเพื่อแยกผนังทั้งสามชั้นของหลอด เลื อ ด พบว่ า ผนั ง ชั ้ น tunica intima (ลูกศรสีดำ) และ tunica media บางมาก แยกจากกั น ได้ ย าก ส่ ว นชั ้ น tunica adventitia มี ค วามหนาที ่ ส ุ ด ชั ้ น นี้ พ บ กลุ ่ ม ของ smooth muscle เรี ย งตั ว ตามยาวที่ถูกตัดตามขวาง (ลูกศรสีแดง) ขนาดแตกต่างกันจำนวนมาก M = tunica media A = tunica adventitia

98 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cardiovascular System 5. ศึกษาหลอดเลือดขนาดกลาง (medium artery and vein) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 37 (Medium artery & vein) หรือสไลด์หมายเลข 43 (Lymph node) ให้ศึกษา ตำแหน่งในวงกลม

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษาหลอดเลือดขนาดกลาง (muscular vessels) ที่มีขนาดเดียวกัน จะพบว่า lumen ของหลอดเลื อ ดแดง (artery) มี ร ู ป ทรงกลม ชัดเจนกว่า ส่วน lumen ของหลอดเลือดดำ (vein) มีลักษณะบิดเบี้ยว และผนังของหลอด เลือดแดงมีความหนามากกว่าผนังของหลอด เลือดดำอย่างชัดเจน

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาผนังของหลอดเลือดแดงชั้น tunica intima บุ ผ ิ ว ด้ ว ยเยื ่ อ บุ ผ ิ ว ชนิ ด simple squamous epithelium พบนิ ว เคลี ย สของ endothelial cell (ลู ก ศรสี ด ำ) วางเรี ย งตั ว สั ม พั น ธ์ อ ยู ่ ก ั บ lumen ของหลอดเลื อ ด ชั้ น tunica media พบ smooth muscle cells จำนวนมากเรียงตัววนรอบท่อ ประมาณ 11 – 40 ชั้น ชั้น Internal elastic lamina เด่นเป็น เส้ น หยั ก สี ช มพู ใ สชั ด เจน (ลู ก ศรสี ข าว) คั่ น ระหว่ า งชั ้ น tunica intima และ tunica media

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 99


Cardiovascular System

ขั ้ น ตอนที ่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 10X และ 40X ศึกษาผนังของ หลอดเลื อ ดแดง ชั ้ น tunica adventitia ประกอบด้ ว ย loose connective tissue ท ี ่ ม ี fat cells จ ำ น ว น ม า ก พ บ Vasa vasorum ( ล ู ก ศ ร ส ี แ ด ง ) แ ล ะ Nervi vascularis (วงรอบสีดำ)

ขั้น ตอนที่ 5 ศึก ษาด้ว ยเลนส์ว ัต ถุ กำลั ง ขยาย 20X ศึ ก ษาผนั ง หลอด เลื อ ดดำ (vein) ชั ้ น tunica intima (ลู ก ศรสี ด ำ) ซึ ่ ง บุ ผ ิ ว ด้ ว ย simple squamous epithelium ถั ด มาเป็ น ชั ้ น tunica media ซึ ่ ง มี smooth muscle cells เรี ย งตั ว วนรอบท่ อ ประมาณ 4 – 10 ชั้น และชั้นนอก สุ ด คื อ tunica adventitia มี ค วาม ห น า ม า ก แ ล ะ ป ร ะ ส า น ไ ป กั บ connective tissue ของโครงสร้างที่ อยู ่ ข ้ า งเคี ย ง โดยในชั ้ น นี ้ พ บ vasa vasorum (ลูกศรสีแดง) และ nervi vascularis (วงรอบสีดำ) 6. ศึกษาหลอดเลือดขนาดเล็ก (small artery and vein) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 38 (Small artery and vein) หรือหมายเลข 7 (Pylorus) หมายเลข 53 (Circumvallate papilla) หมายเลข 75 (Lung)

100 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cardiovascular System ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 4X เลื่อนหาหลอดเลือดในชั้น ลึกของลิ้นในตำแหน่งวงกลม

ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 10X ศึกษาชั้นต่าง ๆ ของหลอด เลือด small artery ชั้น tunica intima พบ นิวเคลียสของ endothelial cells (ลูกศรสี ดำ) ดั น โป่ ง เข้ า มาใน lumen ชั ้ น tunica media (แถบเส้ น สี ข าว) พบ smooth muscle cells เรียงตัววนรอบท่อประมาณ 4 - 10 ชั ้ น และชั ้ น นอกสุ ด คื อ tunica adventitia (แถบเส้นสีดำ) พบ connective tissue ประสานไปกั บ โครงสร้ า งที ่ อ ยู่ ข้างเคียง พบ internal elastic lamina เด่น เป็นเส้นหยักสีชมพูใสชัดเจน (ลูกศรสีขาว) คั ่ น แยกชั ้ น tunica intima และ tunica media ออกจากกัน ขั ้ น ตอนที ่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 40X internal elastic lamina เด่นเป็นเส้นหยักสีชมพูใสชัดเจน (ลูกศรสี ข า ว ) ช ั ้ น tunica media พ บ smooth muscle cells เรียงตัววนรอบท่อของหลอด เลือด ประมาณ 4 - 10 ชั้น โดยหลอดเลือด ในภาพมี smooth muscle cells เรี ย งตั ว เป็นวงจำนวน 7 ชั้น

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 101


Cardiovascular System ขั ้ น ตอนที ่ 5 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 4X, 10X และ 40X ตามลำดับ โดยศึกษาชั้นต่าง ๆ ของหลอดเลือด small vein พบ endothelial cells (ลูกศรสีดำ) ในชั ้ น tunica intima ส่ ว นชั ้ น tunica media ประกอบด้ ว ย smooth muscle cells เรียงตัววนรอบท่อ 2-3 ชั้น ชั้นนอก สุ ด คื อ tunica adventitia ประกอบด้ ว ย connective tissue ป ร ะ ส า น ไ ป กั บ connective tissue ของโครงสร้างข้างเคียง ทำให้แยกออกจากกันได้ยาก

7. ศึกษาหลอดเลือด arteriole, venule และ capillary ขั้นตอนที่ 1 สามารถที่จะศึกษาได้เกือบทุกสไลด์ เช่น สไลด์หมายเลข 4, 45, 46, 55–63

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 10X แล้วเลื่อนสไลด์ไปยัง ตำแหน่ ง ที่ พ บเนื ้ อ เยื ่ อ เกี ่ ย วพั น ตาม อวัยวะต่าง ๆ เช่นบริเวณ hypodermis ของ skin หรือบริเวณชั้น submucosa ของอวั ย วะที ่ เ ป็ น ท่ อ แล้ ว เลื ่ อ นหา โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นท่อกลมหรือรี

102 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Cardiovascular System ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลั ง ขยาย 40X ศึก ษาโครงสร้า งที่มี ลักษณะเป็นท่อกลมหรือรีขนาดเล็กคือ capillary (ลู ก ศรสี ด ำ) พบเป็ น จำนวน มาก โดยเฉพาะใต้ ต ่ อ ชั ้ น เนื ้ อ เยื ่ อ บุ ผิ ว หลอดเลือดมีผนังบางเพียง 1 ชั้นคือชั้น tunica intima ที่บผุ ิวด้วย endothelial cell เพี ย ง 1 - 2 เซลล์ ม าหุ ้ ม รอบเป็ น ผนังหลอดเลือด ชั้น submucosa ที่อยู่ ลึกลงไป พบ arteriole มี lumen แคบ รูปร่างหลอดเลือดค่อนข้างกลม ผนังมี 2 ช ั ้ น ค ื อ ช ั ้ น tunica intima แ ล ะ ชั้ น tunica media และชั้น submucosa นี้ ยังพบ venule ซึ่งมี lumen กว้าง ผนัง บาง รูปร่างของหลอดเลือดมีลักษณะรี ขั ้ น ตอนที ่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 40X ศึกษา arteriole ที่ชั้น submucosa ที่อยู่ลึกลงไป รูปร่างหลอด เลือดค่อนข้างกลม มี lumen แคบ ผนัง มี 2 ชั ้ น คื อ ชั ้ น tunica intima เห็ น นิวเคลียสของ endothelial ดันโป่งเข้า มาใน lumen ของหลอดเลื อ ด ชั้ น tunica media พ บ smooth muscle cell ล้อมรอบประมาณ 1–3 ชั้น (ลูกศร สีดำ) ภายใน lumen พบ blood cell

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 103


Cardiovascular System ขั ้ น ตอนที ่ 5 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 40X ศึกษาเซลล์ pericytes (ลู ก ศรสี ด ำ) ซึ ่ ง พบที่ ห ลอดเลื อ ด capillary โดยวางตัวอยู่ด้านนอกสุดของ ผนังหลอดเลือด มีนิวเคลียสรูปร่างกลม ย้ อ มติ ด สี น ้ ำ เงิ น เข้ ม ทำหน้ า ที่ ค ล้ า ย smooth muscle cell

ขั ้ น ตอนที ่ 6 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 40X ศึกษา valve of vein ที พบที่ ห ลอดเลื อ ดดำ โดยเลื ่ อ นสไลด์ ห า หลอดเลือดดำที่ถูกตัดตามยาว ซึ่ง valve มีลักษณะเป็น pocket-shaped folds 2 แฉก (ลู ก ศรสี ด ำ) ของ fibroelastic connective tissue ท ี ่ ย ื ่ น ม า จ า ก ชั้ น tunica intima และผิ ว ของ valve ถู ก บุ ผิวด้วย endothelium ที่ต่อเนื่องมาจาก ชั ้ น tunica intima ของหลอดเลื อ ด พบ valve of vein ได้ในหลอดเลือดดำตั้งแต่ ระดับ venule จนถึง medium vein

104 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Respiratory System

ปฏิบัติการที่ 10 ระบบหายใจ (Respiratory System) ผู้เขียนและปรับปรุง ผศ.ดร.อิทธิพล พวงเพชร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถอธิบายและชี้แสดงโครงสร้างของอวัยวะที่ประกอบเป็นระบบทางเดินหายใจได้ถูกต้อง 2. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและจำแนกเนื้อเยื่อที่บุภายในโพรงจมูก หลอดลม กล่องเสียง และท่อลมขนาดเล็กภายใน ปอดได้ถูกต้อง 3. สามารถอธิบายและชี้แสดง respiratory epithelium และ olfactory epithelium ได้ 4. สามารถจำแนกและชี้แสดงเซลล์ชนิดต่าง ๆ ทีป่ ระกอบขึ้นเป็นโครงสร้างของปอดได้ถูกต้อง ระบบทางเดินหายใจประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. ส่ ว นที ่ ท ำหน้ า ที ่ น ำอากาศเข้ า และออก (air conduction part) ได้ แ ก่ nose, nasal cavity, pharynx, larynx, trachea, bronchus, bronchiole จนถึง terminal bronchiole ส่วนนี้ยังไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ เป็นเพียงท่อนำ อากาศเข้าสูแ่ ละออกจากปอด 2. ส่วนที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ (respiratory part) ได้แก่ respiratory bronchiole, alveolar duct, alveolar sac และ alveoli โดยผนังของ respiratory part นีจ้ ะบางมากจึงสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ อวัยวะในระบบทางเดินหายใจประกอบด้วย 1. จมูกและโพรงจมูก (Nose and nasal cavity) ภายในโพรงจมูกบุด้วย pseudostratified ciliated columnar epithelium with goblet cell หรือเรียกอีกชื่อว่า respiratory epithelium ยกเว้นบริเวณรูจมูกด้านหน้าส่วน vestibule ทีบ่ ุด้วย stratified squamous epithelium เหมือน ผิวหนัง และส่วนหลังคาโพรงจมูกหรือ olfactory area ซึ่งมี olfactory epithelium บุอยู่ เพื่อทำหน้าที่รับกลิ่น Olfactory area เป็นบริเวณผนังส่วนด้านบนของ nasal cavity บริเวณ superior nasal concha ซึ่งบุด้วย olfactory epithelium ทีม่ ี olfactory cell ซึ่งเป็น bipolar neuron ทำหน้าที่รับกลิ่น โดยมี microvilli ยื่นยาวไปจับสารเคมี ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ลอยเข้ามา แล้วแปรเป็นสัญญาณไฟฟ้าไปรายงานที่สมอง 2. Larynx เป็ น โครงสร้ า งรู ป ท่ อ ประกอบด้ ว ยกระดู ก อ่ อ นหลายชิ ้ น ได้ แ ก่ epiglottis, thyroid, cricoid, arytenoid, corniculate และ cuneiform โดยมีกล้ามเนื้อเกาะด้านนอก ช่วยในการเคลื่อนไหวกล่องเสียงและช่วยควบคุมการสร้างเสียง ภายในกล่องเสียงมีเนินนูนเข้ามาในรูท่อ 2 เนิน เนินอันแรกเรียกว่า vestibular fold บุด้วย pseudostratified ciliated columnar epithelium with goblet cell เนินถัดมาวางตัวอยู่ต่ำกว่าเรียกว่า vocal fold ที่ปลายเนินมีเส้นเสียง (vocal cord) ทำหน้าที่กำเนิดเสียง ผิวคลุมด้วย stratified squamous epithelium non-keratinized type มี vocalis muscle เป็นแกนกลาง ทำหน้าที่ปรับความตึงของเส้นเสียง 3. Trachea และ bronchi Trachea เป็นท่อมีความยาว 9-15 เซนติเมตร ต่อเนื่องจาก cricoid cartilage วางตัวอยู่หน้าต่อหลอดอาหาร มีกระดูกอ่อนชนิด hyaline cartilage รูปตัว C เป็นโครงร่างป้องกันไม่ให้ท่อแฟบ โดยมีกล้ามเนื้อเรียบ (trachealis muscle) Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 105


Respiratory System ยึดที่ปลายขาตัว C ไว้ เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะทำให้หลอดลมตีบแคบลง ท่อนี้ทอดตัวลงไปในช่องอก จะแตกแขนงเป็นท่อใหญ่ สองท่อ (main bronchi) เข้าปอดแต่ละข้าง ท่อจะมีการแตกแขนงเล็กลงไปเรื่อย ๆ กลายเป็นท่อที่แทรกในเนื้อปอด และ กระดูกอ่อนที่ค้ำจุนจะลดขนาดเป็นชิ้นเล็กลง trachea บุด้วย pseudostratified ciliated columnar epithelium with goblet cell และมี mixed seromucous gland หลั่งของเหลวเคลือบผิวด้านในท่อด้วย 4. Segmental bronchi, bronchiole, lung และ pleura ปอดเป็นอวัยวะคล้ายฟองน้ำ ภายในมีท่อลมเล็ก ๆ ที่เข้าสู่ segment ของปอดเรียกว่า segmental bronchi มี hyaline cartilage ชิ้นเล็ก ๆ ค้ำจุนท่อ ผิวท่อบุด้วย pseudostratified ciliated columnar epithelium with goblet cell และท่อต่อจากนี้แตกแขนงเล็กลงเรื่อย ๆ จนถึงท่อที่ไม่มีกระดูกอ่อนค้ำจุน มีแต่กล้ามเนื้อเรียบวนรอบท่อ เรียกท่อนี้ว่า terminal bronchiole ซึ่งเป็นท่อขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.0 มิลลิเมตร และแตกแขนงต่อไปขนาดเล็กลง จนเริ่มมีถุงลมมาเปิด เรียกว่า respiratory bronchiole ในระดับ bronchiole ไม่มี goblet cell แต่มี Clara cell สร้างสาร เหลวใส หลั่งมาเคลือบผิวแทน ท่อระดับถัดไปมีถุงลมเปิดมากขึ้นเรียกว่า alveolar duct ต่อเนื่องไปยังถุงลมใหญ่ที่มีถุงลม เล็ก ๆ มาเปิดออกรวมกันเรียกว่า alveolar sac และปลายสุดท้ายเป็นถุงลมเล็ก ๆ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซเรียกว่า alveoli ผนังถุงลม (alveolus) ประกอบด้วยเซลล์บุผนังถุงลม รูปร่างเป็น squamous cell เรียกว่า pneumocyte type I หรือ alveolar type I และพบเซลล์รูปทรง cuboid ที่มุมผนังถุงลม เรียกว่า pneumocyte type II หรือ alveolar type II ทำหน้าที่สร้างสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ปอดหุ้มด้วยเยื่อหุ้มปอด (pleura) มีเส้นใย collagen และ elastic เป็นโครงสร้างหลัก การศึกษาโครงสร้างต่าง ๆ ในสไลด์ 1. ศึกษา olfactory epithelium ที่โพรงจมูก ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 15 (Intramembranous ossification) ศึกษาดูที่บริเวณที่วงกลมจะเป็น olfactory area ที่มี olfactory epithelium

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ให้ ศึ ก ษาบริ เ วณที ่ ว งกลมในขั ้ น ตอนที ่ 1 ซึ ่ ง เป็ น olfactory area เป็ น ส่ ว นของอวั ย วะรั บ กลิ ่ น อยู่ บริเวณหลังคาของ nasal cavity บริเวณ superior nasal concha (SNC) และ nasal septum (NS) ให้ ศึกษาตำแหน่งของ olfactory epithelium (OE)

40X

106 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Respiratory System ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ให้ศ ึก ษาลัก ษณะของ olfactory epithelium (OE) ส ่ ว น ใ ห ญ ่ ป ร ะ ก อ บ ไ ป ด ้ ว ย pseudostratified ciliated columnar epithelium (OE) แ ต ่ ไ ม ่ มี goblet cells แทรก และให้ ส ั ง เกตในชั ้ น lamina propria มี Bowman’s glands (Gl) ทำหน้ า ที่ ผ ลิ ต ของเหลวใสออกมาเคลือบเนื้อเยื่อบุผิว

100X

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาเซลล์ ที่ เ ป็ น องค์ ป ระกอบของ olfactory epithelium ทั้ง 3 ชนิด คือ 1. Olfactory (sensory) cells ซึ ่ ง เป็ น bipolar sensory neuron เ ซ ล ล์ ร ู ป ร ่ า ง columnar มี นิ ว เคลี ย สอยู ่ ค ่ อ นไปด้ า นฐานเซลล์ ผิ ว ด้ า นบนมี olfactory hair ยื่นมารับกลิ่น 5-8 อัน และมี axon ยื่นมาใน lamina propria และรวมกันเป็น olfactory nerve ส่งไปยัง olfactory bulb 2. Supporting cells (sustentacular cells) เป็น เซลล์รูปทรงกระบอก นิวเคลียสกลมอยู่กลางเซลล์ ใน เซลล์มี RER มาก ผิวเซลล์มี microvilli 3. Basal cells เป็นเซลล์ขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยม อยู ่ ต ิ ด กั บ basal lamina ภายในไซโทพลาสซึ ม มี yellow-brown pigment บรรจุอยู่

400X

2. ศึกษาโครงสร้างของกล่องเสียง (larynx) ขัน้ ตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 73 (Larynx, coronal section) ให้ศึกษาในบริเวณที่วงกลมซึ่งเป็นส่วนของ vestibular และ vocal fold

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 107


Respiratory System 40X

ขั ้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X ให้ สังเกตลักษณะทั่วไป โดยโครงสร้างภายในของกล่องเสียงมี เนินนูน 2 เนิน ยื่นเข้ามาในโพรงกล่องเสียง ประกอบด้วย 1.Vestibular fold (VF) เป็นเนินที่อยู่เหนือ vocal fold (VoF) ทำหน้าที่กั้นไม่ให้เศษอาหารขนาดใหญ่ตกลงไปใน หลอดลม ระหว่าง vestibular fold และ vocal fold มี ลักษณะเป็นแอ่ง เรียกว่า ventricle (V) 2.Vocal fold (VoF) เป็นสันเนินแนวนอนยื่นจากผนัง กล่องเสียง มี vocalis muscle (Vm) เป็นแกนกลาง ทำ หน้าที่ปรับความตึงของเส้นเสียง ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ให้ ศึกษา vestibular fold ด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น พบว่าบุ ด้ ว ย pseudostratified ciliated columnar epithelium (PCCE) ลึกลงไปเป็นชั้น lamina propria (LP) ที่หนาและมี laryngeal gland (LG) เป็น mixed seromucous gland

400X

ให้ศึกษาเปรียบเทียบกับ vocal fold ซึ่งบุด้วย stratified squamous epithelium (SSE) และในชั้น lamina propria (LP) พบหลอดเลือด (V) มาเลี้ยงจำนวนมาก

400X 108 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Respiratory System 3. ศึกษาโครงสร้างของหลอดลม (trachea) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 74 (Trachea and esophagus, x-sec) ให้ศึกษา trachea ที่วงกลมไว้ เป็นท่อกว้างรูกลม มีกระดูกอ่อนรูปตัว C ค้ำจุน เปรียบเทียบกับหลอดอาหารซึ่งเป็นท่อที่มีชั้นกล้ามเนื้อหนา รูท่อ เป็นจีบ ไม่เรียบกลมและบุด้วย stratified squamous epithelium ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ศึ ก ษาเนื ้ อ เยื ่ อ บุ ผ ิ ว ของหลอดลม ซึ ่ ง เป็ น ช น ิ ด pseudostratified ciliated columnar epithelium (PCCE) with goblet cells ชั้นใต้ลง ม า เ ป ็ น ช ั ้ น lamina propria (LP) พ บ mixed seromucous gland (Gl) และชั ้ น กระดู ก อ่ อ นที่ เป็น hyaline cartilage (C)

100X

ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ใ ห ้ ศ ึ ก ษ า โ ค ร ง ส ร ้ า ง ข อ ง respiratory epithelium (PCCE) ที ่ แ ทรกด้ ว ย goblet cell (G) และที่ผิวด้านบนของเซลล์มีขนสั้น ๆ เรียกว่า cilia (Ci) เพื ่ อ โบกพั ด สิ ่ ง ที ่ mucous จั บ ไว้ ใ ห้ ออกไปทางช่อ งปาก ใต้ต ่อ epithelium เป็น ชั้น lamina propria (LP) ที่พบ mixed seromucous gland (Gl) 400X

4. ศึกษาโครงสร้างของปอด (lung) และท่อลม (bronchus) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 75 (Lung) ให้ศึกษาดูเนื้อเยื่อของปอดมีลักษณะคล้ายฟองน้ำและมีท่อลมขนาดต่าง ๆ แทรกอยู่

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 109


Respiratory System ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ดู โครงสร้างของ segmental bronchus จะเห็นเป็น ท่อแทรกในเนื้อปอด สังเกตเห็น hyaline cartilage (C) แยกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แทรกอยู่ และมีก ล้ามเนื้อ เรี ย บ (SM) โอบล้ อ มท่ อ โดยมี เ นื ้ อ เยื ่ อ บุ ผิ ว เป็ น ชนิ ด pseudostratified ciliated columnar epithelium with goblet cells และในชั้น lamina propria มี mixed seromucous gland สร้างสาร ให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อบุผิว 40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ใ ห ้ ศ ึ ก ษ า bronchiole ซ ึ ่ ง เ ป ็ น ท ่ อ ล ม ที่ มี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.0 มม. และไม่มี กระดู ก อ่ อ นค้ ำ จุ น แต่ มี ก ล้ า มเนื ้ อ เรี ย บ (SM) มา ห่อหุ้มแทนทีท่ ั้งหมด

100X

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษา terminal bronchiole (T) เป็นท่อลมที่มี เส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลางประมาณ 1 มม. ผิ ว ท่ อ บุ ด ้ ว ย cuboidal epithelium และยังไม่มี alveoli มาเปิด ใ ห้ เ ป ร ี ย บ เ ท ี ย บ ค ว า ม ห น า ข อ ง terminal bronchiole (T) กั บ respiratory bronchiole (R) ที่ ผ นั ง บางกว่ า ในระดั บ นี ้ ไ ม่ ม ี goblet cell แต่ มี Clara cell มาแทนที่ 40X

110 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Respiratory System ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษา Clara cell (C) ใน terminal bronchiole จะ เห็นว่า Clara cell มีรูปร่าง cuboid ที่ไม่มี cilia ส่วน ใหญ่พบที่ระดับ terminal bronchiole แทรกตัวอยู่ ร ะ ห ว ่ า ง cuboidal epithelium (CC) ม า แ ท น ที่ goblet cell เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างและหลั่งสาร เหลวใสเคลือบเนื้อเยื่อบุผิวของท่อลม

400 X

40X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษา respiratory bronchiole (R) ซึ่งเป็นท่อลมที่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 มม. มี alveoli (A) มาเปิด ผิวท่อบุด้วย low cuboidal epithelium ไม่มี goblet cell ผนังท่อบาง สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ ศึกษา alveolar duct (D) เป็นท่อที่มีถุงลม (alveoli, A) มาเปิดเข้าจำนวนมาก สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ ศึกษา alveolar sac (S) เป็นถุงขนาดใหญ่ที่เกิดจาก ถุงลมหลาย ๆ อันมาเปิดรวมกัน ศึกษา alveoli (A) เป็ น ถุ ง ลมขนาดเล็ ก ผนั ง บางมาก มี ป ระมาณ 200-500 ล้านถุง ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ขั้นตอนที่ 7 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึก ษาเซลล์ท ี่เป็น องค์ป ระกอบของผนังถุงลม ซึ่งมี เซลล์ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ Type I pneumocyte (P1) เป็ น squamous cell ที่ เ ป็ น โครงสร้ า งหลั ก ของถุ ง ลม ครอบคลุ ม พื ้ น ที่ ประมาณ 95% ของ alveolar surface ทำหน้าที่เป็น ทางผ่านของกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซ Type II pneumocyte (P2) ค ร อ บ ค ล ุ ม พ ื ้ น ที่ ประมาณ 5% เป็น cuboidal cell มัก พบที่ม ุม ของ alveoli มี ห น้ า ที ่ ส ำคั ญ คื อ สร้ า งสารลดแรงตึ ง ผิ ว (surfactant) เคลือบถุงลม Dust cell (M) เป็ น macrophage cell พบที ่ ผ นั ง ถุงลม โดยทำหน้าที่เก็บกินสิ่งแปลกปลอมที่เป็นเม็ด carbon particle เล็ก ๆ และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่ ผ่านเข้าสู่ปอดเก็บไว้ในเซลล์ โดยสามารถสังเกตพบ เม็ดสีดำทีไ่ ซโทพลาสซึมของ dust cell P a g e | 111


Respiratory System 5. ศึกษาเยื่อหุ้มปอด (pleura) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 75 (Lung) ให้ศึกษาที่บริเวณเยื่อหุ้มปอด (visceral pleura) ซึ่งอยู่ที่บริเวณขอบด้านนอก ของปอด

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ให้ศึกษาเยื่อหุ้มปอดซึ่งเป็นชั้น visceral pleura (P) ซึ ่ ง มี อ งค์ ป ระกอบเป็ น เส้ น ใยชนิ ด collagen และ elastic เป็นโครงสร้างหลักทำให้ยืดหยุ่นได้มาก ทำ หน้าทีห่ ่อหุ้มถุงลม (alveoli, A) ที่อยูด่ ้านใน

40X

112 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Lymphatic System

ปฏิบัติการที่ 11 ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic System) ผู้เขียน ผศ.พงษ์พิทักษ์ ภูติวัตร์ ผู้ปรับปรุง ดร.นราวดี ชมภู วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงหลอดน้ำเหลืองขนาดเล็กที่อยู่ในลำไส้เล็ก (small intestine) ได้ถูกต้อง 2. สามารถชี้แสดงเนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง (lymphoid tissue) ได้ถูกต้อง 3. สามารถชี้แสดงโครงสร้างต่าง ๆ ใน palatine tonsil ได้ถูกต้อง 4. สามารถชี้แสดงโครงสร้างต่าง ๆ ในต่อมน้ำเหลือง (lymph node) ได้ถูกต้อง 5. สามารถชี้แสดงโครงสร้างต่าง ๆ ในม้าม (spleen) ได้ถูกต้อง 6. สามารถชี้แสดงโครงสร้างต่าง ๆ ในต่อมธัยมัส (thymus) ได้ถูกต้อง ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบหนึ่งที่ช่วยในการไหลเวียนของโลหิต (circulatory system) โดยทำหน้าที่ในการรวบรวม tissue fluid ซึ่ ง มี ข องเสี ย ที่ เ กิ ด จากการเผาผลาญของร่ า งกาย (metabolic waste product) และสารอาหาร (food material) นำเข้าสู่ระบบหลอดเลือดดำ (venous system) โดยเริ่มจากหลอดน้ำเหลืองฝอย (lymph capillary) นำน้ำเหลือง (lymph) ไหลผ่ านเข้ าสู่ ห ลอดน้ ำเหลื อ ง (lymph vessel) ซึ่ งจะรวบรวมแล้ ว เทเข้ าสู่ ห ลอดน้ ำเหลื อ งขนาดใหญ่ ที่ เรีย กว่า lymph trunk จากนั้ น จะเทเข้าสู่ right lymphatic duct และ thoracic duct แล้วเข้าสู่ brachiocephalic veins ทั้ งข้าง ซ้ายและข้างขวา อวัยวะและเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (Lymphoid organs and tissues) สามารถแบ่งตามหน้าที่การทำงานได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. อวัยวะน้ำเหลืองขั้นปฐมภูมิ (primary lymphoid organs) คืออวัยวะน้ำเหลืองที่เป็นแหล่งของเซลล์ตั้งต้น (stem cells) ที่จะพัฒ นาต่อไปเป็น T และ B-lymphocytes ได้แก่ ไขกระดูก (bone marrow) และต่อมธัยมัส (thymus) 2. อวัยวะและเนื้อเยื่อน้ำเหลืองขั้นทุติยภูมิ (secondary lymphoid organs and tissues) คืออวัยวะและเนื้อเยื่อน้ำเหลือง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กล่าวคือเป็นบริเวณที่เกิดการ ตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย อวัยวะดังกล่าวได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ม้าม และเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ส่วนใหญ่กลุ่มที่เป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองมักพบกระจายอยู่ตามชั้น submucosa ของระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดิน อาหารที่เรียกว่า mucosa-associated lymphoid tissue (MALT) ต่อมธัยมัส ม้าม และต่อมน้ำเหลือง จัดว่าเป็น อวัยวะในระบบน้ำเหลือง เนื่องจากมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า capsule ห่อหุ้มอย่างชัดเจน ในขณะที่ lymphoid follicle ไม่มี capsule ห่อหุ้มจึงจัดเป็น lymphatic tissue โครงสร้างของ lymphoid organs Lymphoid organ มี เ นื้ อ เยื่ อ น้ ำ เหลื อ งเป็ น โครงสร้ า งพื้ น ฐาน เนื้ อ เยื่ อ น้ ำ เหลื อ งเป็ น reticular tissue ที่ มี lymphocyte เป็นเซลล์อิสระจำนวนมาก reticular tissue โดยทั่วไปประกอบด้วย reticular cell และ reticular fiber ทำ หน้าที่เป็นโครงร่างของเนื้อเยื่อน้ำเหลือง เซลล์ lymphocyte ในเนื้อเยื่อน้ำเหลืองสามารถเจริญแบ่งตัวเพิ่มขึ้นได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับการได้รับการกระตุ้น Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 113


Lymphatic System รูปแบบของเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (Pattern of lymphoid tissue) แบ่งตามลักษณะการกระจายตัวของเซลล์ lymphocyte ได้ 2 แบบ คือ 1. Diffuse lymphoid tissue เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มี lymphocyte กระจายตัวอยู่อย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีขอบเขต แบ่งแยกให้เห็นชัดเจน สามารถพบได้ตามชั้นใต้ผิวหนัง หรือตามเยื่อบุทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยัง พบใน lymphoid organs ต่าง ๆ ได้อีกด้วย 2. Lymphoid follicle เป็นกลุ่มของเซลล์ lymphocyte ที่อยู่รวมกลุ่มกันเป็นก้อนกลม ๆ สามารถเห็นขอบเขตได้อย่าง ชั ด เจน แม้ จ ะไม่ มี เส้ น ใยสร้า งเป็ น แคปซู ล ห่ อ หุ้ ม ก็ ต าม lymphoid follicle ไม่ ใช่ สิ่ งที่ มี ลั ก ษณะคงที่ ทั้ งในแง่ข อง โครงสร้างและตำแหน่ง มักจะเกิดขึ้นและหายไปได้เอง แล้วแต่สภาวะของร่างกาย lymphoid follicle สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ชนิด ดังนี้ • Solitary lymphoid follicle อยู่ เ ป็ น ก้ อ นเดี่ ย ว ๆ ซึ่ ง พ บได้ ต ามลำไส้ ใ หญ่ (colon) และไส้ ติ่ ง (vermiform appendix) • Aggregated lymphoid follicle เป็นก้อนกลมที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหลายกลุ่ม พบได้ตามต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ม้าม และ Peyer’s patch ทีล่ ำไส้เล็กส่วน ileum Lymphoid follicle สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ • Primary lymphoid follicle เป็นกลุ่มของ lymphoid follicle ที่ยังไม่ถูกกระตุ้นด้วย antigen จะไม่พบ germinal center • Secondary lymphoid follicle เป็นกลุ่มของ lymphoid follicle ที่ถูกกระตุ้นด้วย antigen โดยจะเกิด การเปลี่ยนแปลงที่บริเวณศูนย์กลางของ follicle นั้น ๆ กลายเป็นบริเวณที่มีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรีที่มีสี จางกว่าส่วนขอบเรียกว่า germinal center Mucosa-associated lymphoid tissue (MALT) MALT เป็ น เนื้ อ เยื่อ น้ ำเหลือ งทั้ งแบบ diffuse และ follicle ที่ พ บใน mucosa และ submucosa ของเยื่อ บุ ท างเดิน อาหารและทางเดินหายใจ ส่วนของ MALT ที่พบในเยื่อบุทางเดินอาหารเรียกว่า gut-associated lymphoid tissue (GALT) ส่วนที่พบในเยื่อบุทางเดินหายใจเรียกว่า bronchial-associated lymphoid tissue (BALT) Peyer’s patch ของลำไส้เล็กส่วน ileum Ileum เป็นลำไส้เล็กส่วนปลายซึ่งต่อมาจาก jejunum ไปสิ้นสุดที่ลำไส้ใหญ่ส่วน cecum ผนังด้านในของ ileum มีกลุ่ม ของ lymphoid follicle ที่ เรี ย กว่ า Peyer’s patch รวมทั้ ง สิ้ น ประมาณ 20-30 กลุ่ ม แต่ ล ะกลุ่ ม ประกอบด้ ว ย lymphoid follicle ประมาณ 20 อัน ซึ่งแทรกอยู่ต าม diffuse lymphoid tissue โดย lymphoid follicle มี ข นาด ใหญ่จนเบียดจมเข้าไปในชั้น submucosa ส่วนบนของ lymphoid follicle บางอันก็ดัน mucosa ขึ้นมาจนเห็นเป็นปุ่ม กลม ๆ อยู่กลาง villi ลักษณะทางจุลกายวิภาคของ palatine tonsil Palatine tonsil ถู ก ปกคลุ ม ด้ วยเนื้ อ เยื่ อ บุ ผิ วชนิ ด stratified squamous epithelium non-keratinized type และ ส่วนฐานของต่อมถูกรองรับด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เรียกว่า tonsillar bed ส่วนของเนื้อเยื่อบุผิวที่ปกคลุมด้านบนมีการยื่น เข้ า มาในเนื้ อ ของ palatine tonsil เรี ย กว่ า tonsillar crypt ภายใน palatine tonsil จะพบกลุ่ ม ของ lymphoid follicle เป็นจำนวนมาก ลักษณะทางจุลกายวิภาคของต่อมน้ำเหลือง (Lymph node) แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่ 1. Cortex เป็นเนื้อส่วนนอกที่อัดแน่นด้วย diffuse lymphoid tissue และแทรกด้วย lymphoid follicle 2. Medulla เป็นชั้นในสุดที่ประกอบด้วย medullary sinus และ medullary cord

114 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Lymphatic System ลักษณะทางจุลกายวิภาคของต่อมธัยมัส (Thymus) ต่อมธัยมัสถูกแบ่งออกเป็น lobule เล็ก ๆ โดย trabecula ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจากแคปซูล ต่อมธัยมัสแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่ cortex และ medulla โดยชั้น medulla เชื่อมติดต่อถึงกันทั้งหมด ภายในชั้น medulla พบ Hassall’s corpuscle ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เกิดจากการสลายตัวของเซลล์ epithelial reticular มีลักษณะเป็นก้อนค่อนข้างกลม ลักษณะทางจุลกายวิภาคของม้าม (Spleen) ม้ า มมี แ คปซู ล ซึ่ งเป็ น เนื้ อ เยื่ อ เกี่ ย วพั น ที่ เหนี ย ว เนื้ อ เยื่ อ จากแคปซู ล และ hilum ยื่ น เข้ า ไปภายในเนื้ อ ม้ า ม เรีย กว่ า trabecula โครงสร้างภายในม้ามประกอบด้วย white pulp และ red pulp การศึกษาเซลล์ในสไลด์ 1. ศึกษาโครงสร้างของหลอดน้ำเหลืองขนาดเล็ก (Lymphatic capillary) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 61 (Jejunum) สังเกตลักษณะทั่วไปของลำไส้เล็กจะพบว่าลำไส้ถูกตัดตามขวาง ทำให้มองเห็นว่ามี ลักษณะเป็นท่อที่มีช่องว่าง (lumen) อยู่ภายใน ให้นิสิตสังเกตบริเวณเนื้อเยื่อที่ยื่น เข้าไปในท่อ (ลูกศรสีแดงชี)้ ที่มีลักษณะคล้ายนิว้ มือ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยกำลังขยาย 40X ตามบริเวณที่ชี้ แสดงไว้ในขั้ น ตอนที่ 1 ให้ สั งเกตเนื้ อ เยื่ อ ที่ ยื่ น เข้ าไปใน บริเวณที่เป็นช่องว่างมีลักษณะคล้ายนิ้วมือเรียกว่า villi (ตามแนวเส้นประ) (ที่มา https://histologyguide.com/slideview/MHS-219 jejunum/14-slide-1.html สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564)

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยกำลังขยาย 400X เลือกดู villi ที่ มีช่องว่างอยู่ภายใน เมื่อเจอแล้วให้สังเกตดูช่องว่างนั้นซึ่ง จะมี เซลล์ แ บน ๆ บุ อ ยู่ ที่ ผ นั งเรีย กว่า endothelial cell จะเรี ย กช่ อ งว่ า งที่ มี เ ซลล์ แ บน ๆ บุ อ ยู่ ที่ ผ นั ง นั้ น ว่ า lymphatic capillary หรือ มี ชื่ อ เรีย กเฉพาะว่า lacteal (ลูกศรชี้)

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

(ที่มา https://histologyguide.com/slideview/MHS-219 jejunum/14-slide-1.html สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564)

P a g e | 115


Lymphatic System 2. ศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (Lymphatic tissue) 2.1 Solitary lymphoid follicle ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 63 (Colon) ศึกษากลุ่มเซลล์ที่ย้อมติดสีเข้ม (วงกลมประสีแดง) ที่กระจายอยู่ตาม ผนังของลำไส้ ซึ่งเรียกว่า lymphoid follicle

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยกำลั ง ขยาย 40X สั ง เกตกลุ่ ม เซลล์ ที่ ย้ อ มติ ด สี เ ข้ ม ๆ ในชั้ น submucosa (Sub) และ lamina propria เป็น กลุ่ ม เซลล์ lymphocyte ที่ เ รี ย กว่ า solitary lymphoid follicle (เส้ น ประสี เ หลื อ ง) โดย บริ เวณตรงกลางจะย้ อ มติ ด สี จ างกว่ า เรี ย กว่ า germinal center (Ge; เส้นประสีดำ) M: muscular Mu: mucosa layer 40X

(ที่มา https://histologyguide.com/slideview/ MHS-274-colon/14-slide-1.html สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564)

2.2 Aggregated lymphoid follicle ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 62 (Ileum) สไลด์นี้เป็นส่วนของลำไส้ที่ถูกตัดตามขวาง ทำให้เห็นช่องว่างอยู่ ตรงกลาง ให้ศึกษาบริเวณที่ลูกศรชี้

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษากลุ่มเซลล์ที่ย้อมติดสีเข้ม (ในเส้นประ) ซึ่งเป็นกลุ่มของ lymph follicle ที่เรียงชิด ติดกันเรียกว่า aggregated lymphoid follicles หรือ Peyer’s patch

40X

116 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Lymphatic System 3. ศึกษาอวัยวะในระบบน้ำเหลือง (Lymphoid organs) 3.1 ศึกษา palatine tonsil ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 44 (Palatine tonsil) ให้ ศึ ก ษาลั ก ษณะทั่ ว ไปของ palatine tonsil ที่ ถู ก ตั ด ตาม ขวางด้วยตาเปล่า จะพบว่าเห็นเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อที่ย้อมติดสี เข้ม (ที่อยู่ในเส้นประ) โดย palatine tonsil นั้นวางตัวอยู่บน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันทางด้านล่าง

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 40X เลื่ อ นสไลด์ ไ ปยั ง บริเวณ connective tissue (CNT) ที่ รองรั บ palatine tonsil จะพบกลุ่ ม ของ lymphoid follicle (LF) ย้อมติด สี ม่ ว งเข้ ม กระจายอยู่ ทั่ ว ไปภายใน tonsil M: muscle

400X

นิ สิ ต ส าม ารถ ศึ ก ษ าเพิ่ ม เติ ม จ าก virtual slide โ ด ย ศึ ก ษ า ด้ ว ย กำลังขยาย 40X ดู ลัก ษณะทั่ วไปของ palatine tonsil จะเห็ น ว่ า ด้ า น free surface คลุ ม ด้ ว ยเนื้ อ เยื่ อ บุ ผิ ว ชนิ ด stratified squamous epithelium non-keratinized type (EP) และให้ ตามดู ส่ ว นของ epithelium ที่ ยื่ น เข้ า มาภายในเนื้ อ เยื่ อ เกิ ด เป็ น ช่ อ งว่ า ง เรี ย กว่ า tonsillar crypt (รู ป ถั ด ไป: ลูกศรชี)้ 40X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

(ที่มา https://histologyguide.com/ slideview/ MH-081a-palatine-tonsil/10slide-1.html สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564)

P a g e | 117


Lymphatic System ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยกำลังขยาย 40X เลื่ อ นสไลด์ ไ ปศึ ก ษาบริ เ วณ tonsillar crypt (ลูกศรชี้) จะเห็นว่าเนื้อเยื่อบุผิวที่ คลุมช่องว่างนี้เป็นชนิดเดียวกันกับที่คลุม ด้าน free surface ของ palatine tonsil CNT: connective tissue EP: epithelium LF: lymphoid follicle

40X

(ที่มา https://histologyguide.com/ slideview/ MH-081a-palatine-tonsil/10slide-1.html สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564)

ขั้ น ต อ น ที่ 4 ศึ ก ษ าด้ ว ย เล น ส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 10X ให้ ศึ ก ษาลั ก ษณะของ เนื้ อ เยื่อ บุ ผิวที่ ค ลุม palatine tonsil เป็ น ชนิ ด stratified squamous epithelium non-keratinized type ซึ่ ง ตาม ลงไป บุ tonsillar crypt ด้วย

100X

เลื่อ นสไลด์ไปศึก ษาบริเวณ connective tissue (CNT) ที่รองรับ palatine tonsil

100X

118 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Lymphatic System 3.2 ศึกษาโครงสร้างของต่อมน้ำเหลือง (Lymph node) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 43 (lymph node) ต่ อ มน้ ำ เหลื อ ง (ลู ก ศรสี แ ดง) มี รู ป ร่ า งรู ป ไข่ ห่ อ หุ้ ม ด้ ว ย capsule บริเวณขอบย้อมติดสีม่วงเข้ม ตรงกลางติดสีจาง ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยกำลั ง ขยาย 40X สั ง เกต ลักษณะทั่วไปของต่อมน้ำเหลือง จะเห็นว่าถูกห่อหุ้ม ด้ วย capsule (Ca) ติ ด สี ช มพู ภายในเนื้ อ ต่ อ มแบ่ ง ออกเป็นชั้น cortex (C) เป็นส่วนที่ติดสีเข้มอยู่ติดกับ แคปซูล พบกลุ่มของ lymphoid follicles (LF) ส่วน บ ริ เ วณ ที่ ย้ อ มติ ด สี จ างและมี ช่ อ งว่ า งเรี ย กว่ า medulla (M) และให้ ศึ ก ษาแต่ ล ะบริ เ วณ ด้ ว ย กำลังขยายที่สูงขึ้น

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X เมื่อศึกษาบริเวณชั้น cortex ด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น จะพบว่า capsule (Ca) ส่วนที่ยื่นเข้าไปในเนื้อต่อม เรียกว่า trabecula (TB) ช่อ งว่างใต้ต่อ capsule เรี ย ก ว่ า subcapsular sinus (Sub) ให้ เลื่ อ น ส ไล ด์ ห า lymphoid follicle (LF) ซึ่ งอ ยู่ ใน ชั้ น cortex จะพบว่าบริเวณตรงกลางติ ด สี จ างเรีย กว่า germinal center 100X

GC

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ให้ ศึ ก ษาบริ เ วณชั้ น medulla ด้ ว ยกำลั ง ขยายที่ สูงขึ้น จะพบว่าภายใน medulla ประกอบด้วยส่วน ที่เป็นช่องว่างเรียกว่า medullary sinusoid (MS) และส่ ว นที่ เ ป็ น แท่ ง เนื้ อ เยื่ อ ติ ด สี ช มพู เรี ย กว่ า medullary cord (MC) Ca: capsule LF: lymphoid follicle Sub: subcapsular sinus

100X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 119


Lymphatic System ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เลื่ อ น ส ไล ด์ ไป ยั ง บ ริ เ วณ medulla แ ล้ วศึ ก ษ า medullary cord (MC) และ medullary sinusoid (MS) ซึ่ ง medullary cord มี ลั ก ษ ณ ะ เป็ น แ ท่ ง ประกอบไปด้วย antibody-secreting plasma cell, B-cell แ ล ะ macrophage ส่ ว น medullary sinusoid เป็นช่องว่างที่แยกแต่ละ medullary cord

400X

3.3 ศึกษาโครงสร้างของม้าม (Spleen) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 42 (Spleen) สังเกตกลุ่มของเนื้อเยื่อที่ย้อมติดสีม่วงเข้มในวงกลมสีแดง

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X เลื่อนดูเนื้อเยื่อในสไลด์แล้วดูลักษณะโดยทั่วไปของ ม้าม จะพบว่าถูกห่อหุ้มด้วย capsule (Ca) ย้อมติด สีจางอยู่รอบนอก ส่วนเนื้อเยื่อที่ติดสีเข้มที่อยู่ลึกเข้า ไปเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อภายในม้าม จะเห็นกลุ่มเซลล์อยู่ รวมกลุ่ ม กั น เป็ น ก้ อ นเรี ย กว่ า white pulp (WP; วงกลมประสีน้ำเงิน) และเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ white pulp เรียกว่า red pulp (RP: สัญลักษณ์รูปดาว) 40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ให้ศึกษาส่วนของ red pulp (RP: สัญลักษณ์รูปดาว) ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยแท่ ง เนื้ อ เยื่ อ ที่ เ รี ย กว่ า splenic cord (SC) แ ล ะ ช่ อ ง ว่ า ง ที่ เรี ย ก ว่ า splenic sinusoid (SS)

100X 120 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Lymphatic System

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาโครงสร้ า งต่ า ง ๆ ที่ อ ยู่ ใ น red pulp ด้ ว ย กำลังขยายที่สูงขึ้น SS: splenic sinusoid SC: splenic cord

400X

ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ศึกษาลักษณะของ white pulp (WP) ซึ่งเป็น กลุ่ม ของเซลล์ lymphocytes ส่วนบริเวณรอบนอกของ white pulp จะเป็นส่วนของ red pulp (RP) ลูกศรสีเหลืองชี้: central arteriole

100X

ขั้ น ตอนที่ 6 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 100X ให้ เ ลื่ อ นสไลด์ ห าหลอดเลื อ ดที่ อ ยู่ ภ ายใน white pulp (WP) ซึ่ ง เรี ย กว่ า central arteriole (C)

100X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

(ที่มา https://histologyguide.com/slideview/MHMHS-spleen/10-slide-1.html สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564)

P a g e | 121


Lymphatic System 3.4 ศึกษาโครงสร้างของต่อมธัยมัส (Thymus) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 41 (Thymus) สังเกตลักษณะโดยทั่วไปของต่อมธัยมัสด้วยตาเปล่า ประกอบด้วยส่วนที่ติดสี เข้มและติดสีจาง ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยกำลังขยาย 40X จะเห็นว่าต่อมธัยมัสล้อมรอบด้วย capsule และมี ส่ ว นที่ ยื่ น เข้ า ไปในเนื้ อ ต่ อ มเรี ย กว่ า trabecula (TB; รูป ล่ าง) ทำให้ แ บ่ งเนื้ อ ต่ อ มออกเป็ น lobule เล็ก ๆ แต่แยกจากกันไม่ชัดเจน นอกจากนี้จะเห็นว่า ภายในเนื้ อ ต่ อ มแบ่ งออกเป็ น ชั้ น cortex (C) ย้ อ ม ติดสีเข้ม และชั้น medulla (M) ย้อมติดสีจาง TB 40X

(ที่มา https://histologyguide.com/slideview/ MHS210-thymus/10-slide-1.html สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564)

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยกำลั ง ขยาย 100X ดู โครงสร้ า งภายในบริ เ วณ ชั้ น medulla จะพบ Hassall’s corpuscle (HS) ซึ่ ง เป็ น โครงสร้ า งที่ เกิ ด จากการสลายตั ว ของ epithelial reticular cells แล้วศึกษาด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น (ที่มา https://histologyguide.com/slideview/ MHS210-thymus/10-slide-1.html สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564) 100X

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ขยายดูลักษณะของ Hassall’s corpuscle (HS) ซึ่ง มี keratinized epithelial cells มาเรียงตัวกันอยู่ เป็ น วง และ epithelial reticular cells (ERC) มี ลักษณะเป็น stellate shape

400 X 122 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System

ปฏิบัติการที่ 12 ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของริมฝีปากได้ถูกต้อง 2. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของลิ้น และแยกแยะชนิดของ lingual papilla ได้ถูกต้อง 3. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของฟันและเหงือกได้ถูกต้อง 4. สามารถชี้แสดงชั้นต่าง ๆ ของผนังทางเดินอาหารได้ถูกต้อง 5. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของหลอดอาหารแต่ละส่วนได้ถูกต้อง 6. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของกระเพาะอาหารได้ถูกต้อง 7. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของลำไส้เล็กได้ถูกต้อง 8. สามารถแยกแยะลำไส้เล็กส่วน duodenum, jejunum และ ileum โดยอาศัยลักษณะทางจุลกายวิภาคได้ถูกต้อง 9. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของลำไส้ใหญ่ได้ถูกต้อง 10. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของไส้ติ่งได้ถูกต้อง 11. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและเซลล์ทสี่ ำคัญของต่อมน้ำลายได้ถูกต้อง 12. สามารถแยกแยะต่ อ มน้ ำ ลายหน้ า หู (parotid gland) ใต้ ข ากรรไกร (submandibular gland) และใต้ ลิ้ น (sublingual gland) โดยอาศัยลักษณะทางจุลกายวิภาคได้ถูกต้อง 13. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและเซลล์ที่สำคัญของตับอ่อนได้ถูกต้อง 14. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและเซลล์ที่สำคัญของตับได้ถูกต้อง 15. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของถุงน้ำดีได้ถูกต้อง ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่างกาย การย่อยอาหารเริ่มในช่องปาก มีน้ำลายจากต่อม น้ำลายมาช่วยย่อย จากนั้นอาหารจะผ่านเข้าสู่คอหอย (pharynx) หลอดอาหาร (esophagus) และเข้าสู่กระเพาะอาหาร (stomach) ซึ่งจะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร จากนั้นอาหารจะผ่านไปยังลำไส้เล็กส่วน duodenum, jejunum และ ileum ตามลำดับ โดยมีน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับมาช่วยย่อยอาหารด้วย อาหารที่ผ่านการย่อยจะถูกดูดซึมโดยลำไส้ เล็กเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนกากอาหารที่เหลือผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ เพื่อดูดน้ำกลับคืนสู่ร่างกาย กลายเป็น อุจจาระผ่านเข้าสู่สำไส้ตรง และขับถ่ายออกทางทวารหนักต่อไป 1. ช่องปาก (Oral cavity) ช่องปากประกอบด้วยริมฝีปาก (lip) แก้ม (cheek) และเพดาน (palate) เป็นผนังของช่องปาก ภายในประกอบด้วยฟัน เหงือก และลิ้น นอกจากนั้นยังมีท่อของต่อมน้ำลายนำน้ำลายมาเปิดเข้า 1.1 ริมฝีปาก (Lip) ด้าน cutaneous area ของริมฝีปาก คือผนังด้านนอก จึงมีผิวหนังคลุม (skin) มีขน (hair) ต่อมไขมัน (sebaceous gland) และต่ อ มเหงื่อ (sweat gland) ส่ ว นด้ า นในซึ่ งบุ ผ นั งช่ อ งปากเรีย กว่า oral mucosa คลุ ม ด้ ว ย mucous membrane มีกล้ามเนื้อลายชื่อ orbicularis oris เป็นแกนกลาง Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 123


Digestive System 1.2 ลิ้น (Tongue) ลิ้นประกอบด้วยกลุ่มของกล้ามเนื้อลายจำนวนมาก พื้นผิวของลิ้นทางด้านบน (dorsal surface) บุด้วย mucous membrane ซึ่งเต็มไปด้วย lingual papillae 3 ชนิด คือ filiform papillae ซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่ ส่วน fungiform และ circumvallate papillae มี taste bud แทรกอยู่ด้วย 1.3 ฟันและเหงือก (Tooth and gum) ฟั น ประกอบด้ ว ย crown, neck, root และ pulp cavity โดยส่ ว น crown เป็ น ส่ ว นที่ พ้ น เหงื อ กขึ้ น มา มี periodontal membrane ทำหน้ า ที่ ยึ ด รากฟั น ไว้ กั บ เหงื อ กและกระดู ก ขากรรไกร ใน pulp cavity มี เนื้ อ เยื่ อ เกี่ยวพัน (connective tissue) เรียกว่า dental pulp อยู่ภายใน ส่วนเหงือกถูกคลุมด้วย keratinized-stratified squamous epithelium โดยที่ชั้น lamina propria มี long vascular papillae มากมาย 2. ท่อทางเดินอาหาร (Alimentary canal) ท่อทางเดินอาหารเริ่มตั้งแต่คอหอย (pharynx) หลอดอาหาร (esophagus) กระเพาะอาหาร (stomach) ลำไส้เล็กส่วน ต้น (duodenum) ลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) แล้วผ่านลงสู่ลำไส้ใหญ่ (colon) และทวาร (anal canal) ตามลำดับ โดยทั่วไปท่อทางเดินอาหารมีผนัง 4 ชั้น คือ § Mucosa บุ ผ นั งด้ า นใน ประกอบด้ ว ยเนื้ อ เยื่ อ บุ ผิ ว (epithelium) รองรั บ ด้ ว ย lamina propria และชั้ น muscularis mucosae § Submucosa เป็นชั้นของ dense connective tissue § Muscularis externa เป็นชั้นกล้ามเนื้อเรียบ ยกเว้นหลอดอาหารจะมีกล้ามเนื้อลายปะปนอยู่ โดยทั่วไป เรีย งตั ว 2 ชั้ น คื อ ชั้ น ในวนรอบท่ อ (inner circular) และชั้ น นอกเรีย งตั ว ตามความยาวของท่ อ (outer longitudinal) § Serosa หรือ adventitia เป็นผนังชั้นนอกสุด ซึ่งหากเป็นท่อทางเดินอาหารส่วนที่บุด้วย peritoneum จะ คลุมด้วย serosa ซึ่งเป็น loose connective tissue ที่มี mesothelium คลุมอยู่ แต่ห ากเป็น ผนังด้านที่ ไม่ได้บุด้วย peritoneum จะคลุมด้วย adventitia ซึ่งเป็น loose connective tissue 2.1 หลอดอาหาร (Esophagus) ลักษณะที่สำคัญของหลอดอาหารคือ mucosa บุด้วย non-keratinized stratified squamous epithelium ส่วนชั้น muscularis externa ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 2 ชั้น ที่มีลักษณะพิเศษคือ ส่วนต้นเป็นกล้ามเนื้อลาย ทั้งหมด ส่วนกลางมีทั้งกล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ และส่วนล่างหรือส่วนปลายมีเฉพาะกล้ามเนื้อเรียบ 2.2 กระเพาะอาหาร (Stomach) ชั้น mucosa ของกระเพาะอาหารบุด้วย simple columnar epithelium และภายในชั้น lamina propria มี gastric gland จำนวนมาก ซึ่งเซลล์ของต่อมที่สำคัญ คือ chief cells และ parietal / oxyntic cells 2.3 ลำไส้เล็ก (Small intestine) ผนังของลำไส้เล็กบุด้วย simple columnar epithelium ที่มี goblet cells แทรกอยู่ มี villi และชั้น lamina propria มี intestinal gland ซึ่งลำไส้เล็กแต่ละส่วนมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ - Duodenum ชั้น submucosa เต็มไปด้วย Brunner’s gland ซึ่งเป็น mucous gland จำนวนมาก ชั้น muscularis mucosae แตกเป็นชิ้น ๆ ไม่เป็นชั้นต่อเนื่อง - Jejunum ชั้น mucosa และ submucosa ยื่นขึ้นเป็น fold ชัดเจน เรียกว่า plica circularis ส่วนชั้น submucosa ไม่มีต่อมอยู่เลย - Ileum มีลักษณะเด่นที่สำคัญคือมี aggregated lymphatic nodule หรือ Peyer’s patches

124 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System 2.4 ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) ชั้น mucosa บุด้วย simple columnar epithelium ที่มี goblet cells แทรกอยู่จำนวนมาก ไม่มี villi ยื่น เข้ า ไปใน lumen แต่ ชั้ น lamina propria มี intestinal gland อยู่ จ ำนวนมาก ส่ ว นชั้ น submucosa ไม่ มี ต่อมอยู่เลย 2.5 ไส้ติ่ง (Vermiform appendix) ไส้ ติ่ ง มี ลั ก ษณ ะที่ ส ำคั ญ คื อ มี lymphoid tissue อยู่ จ ำนวนมาก ทำให้ แ ยกชั้ น mucosa ออกจาก submucosa ได้ยาก และยังพบ lymphatic nodule ในชั้น submucosa ด้วย 3. Major digestive gland 3.1 ต่อมน้ำลาย (Salivary gland) ประกอบด้วย 3 ต่อมใหญ่ คือ § Parotid salivary gland ประกอบด้วย serous acini ทั้งหมด § Submandibular gland เป็น mixed seromucous gland ที่มี serous acini จำนวนมากกว่า § Sublingual gland เป็น mixed seromucous gland ที่มี mucous มากกว่า serous acini 3.2 ตับอ่อน (Pancreas) ตั บ อ่ อ น เป็ น mixed gland ป ระกอบ ด้ ว ย secretory acini ท ำห น้ า ที่ สร้ า งน้ ำ ย่ อ ย และ islets of Langerhans เป็น endocrine portion เกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมน 3.3 ตับ (Liver) ตับมีโครงสร้างพื้นฐานเรียกว่า hepatic lobule ลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยม ภายในประกอบด้วย central vein อยู่ ต รงกลาง มี hepatocytes เรี ย งตั ว เป็ น hepatic cord เป็ น รั ศ มี อ อกจาก central vein ส่ ว นมุ ม ของ lobule มี portal triad ซึ่งประกอบด้วยแขนงของ portal vein, hepatic artery และ bile duct 3.4 ถุงน้ำดี (Gall bladder) ชั้น mucosa บุของถุงน้ำดีด้วย simple tall columnar epithelium และยกตัวขึ้นเป็น fold ซึ่งอาจมีการ แตกแขนงเป็น primary และ secondary folds หรืออาจเชื่อมกันเกิดเป็น lumen ไม่มี goblet cell และชั้น submucosa ส่วนชั้น muscularis externa มีกล้ามเนื้อเรียบที่ถูกแทรกด้วย connective tissue fiber

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 125


Digestive System การศึกษาโครงสร้างต่าง ๆ ในสไลด์ 1. ศึกษาเซลล์และองค์ประกอบของริมฝีปาก (lip) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 48 (Lip)

ขั้ น ต อ น ที่ 2 ศึ ก ษ า ด้ ว ย เล น ส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 4X ลักษณะทั่วไปของริมฝีปาก ที่ตัดในแนว sagittal plane จะเห็นว่าด้าน หนึ่ ง คลุ ม ด้ ว ยผิ ว หนั ง เรี ย กว่ า cutaneous area (C) มีขนและต่อมไขมัน (sebaceous gland) บริเวณแกนกลางเป็นกล้ามเนื้อลาย ชื่อ orbicularis oris (OR) ด้านตรงข้ามคือ oral mucosa (O) ไม่ มี ข นหรื อ ต่ อ มไขมั น ส่วนด้านข้างเป็น red area มีลักษณะคล้าย oral mucosa แ ต่ จ ะ เ ห็ น vascular connective tissue papillae ยื่ น สู ง ขึ้ น ไป ในชัน้ เนื้อเยื่อบุผิว 40X

40X

ให้ ศึ ก ษาดู ลั ก ษณะในแต่ ล ะบริ เ วณด้ ว ย กำลังขยายที่สูงขึ้น ขั้ น ต อ น ที่ 3 ศึ ก ษ า ด้ ว ย เล น ส์ วั ต ถุ กำลั ง ข ยาย 40X ศึ ก ษ าลั ก ษ ณ ะของ cutaneous area จะเห็ น ว่ า เป็ น ผิ ว หนั ง ชนิด thin skin (S) และใต้ชั้นผิวหนังมี skin appendages ต่ า ง ๆ เช่ น ขน (H) ต่ อ ม ไขมั น (sebaceous gland; SB) และต่ อ ม เหงื่อ (sweat gland)

400X

126 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System ขั้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษาลั ก ษณะของ oral mucosa ซึ่ ง บุ ด้ ว ย nonkeratinized stratified squamous epithelium (E) ใต้ต่อเนื้อเยื่อบุผิวเป็น ชั้ น lamina propria (LP) ซึ่ งมี mixed seromucous glands (G) อยู่ จ ำน วน มาก

400X

400X

ขั้ น ตอนที่ 5 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษาลั ก ษณะของ red area สั ง เ ก ต ว่ า ค ลุ ม ด้ ว ย keratinized stratified squamous epithelium (SQ) แ ล ะ มี vascular connective tissue papillae (VP) ยื่ น สูงขึ้นไป

400X

2. ศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของลิ้น (tongue) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 52 (Tongue)

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 127


Digestive System ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 4X ศึ ก ษาลั ก ษณะทั่ ว ไป ของลิ้น จะเห็นว่าด้าน dorsal surface คือด้านที่ mucous membrane มีการ ย ก ตั ว สู ง ขึ้ น เ รี ย ก ว่ า lingual papillae (L) แ ต่ ด้ า น ventral surface เรี ย บ บุ ด้ ว ยเยื่ อ บุ ผิ ว nonkeratinized stratified squamous epithelium แกนกลางของลิ้ น เป็ น skeletal muscles (SK) ให้ศึกษาดูลักษณะในแต่ละบริเวณด้วย กำลังขยายที่สูงขึ้น

40X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 10X ศึ ก ษาชนิ ด ต่ า ง ๆ ของ lingual papillae ได้ แ ก่ filiform และ fungiform papillae ซึ่งส่วนใหญ่ จ ะ เป็ น filiform papillae (FL) มี ลั ก ษณ ะปลายด้ า นบนแหลม ส่ ว น fungiform papillae (FG) พบได้ น้ อ ย ลักษณะคล้ายดอกเห็ด

100X

ขั้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำ ลั งข ย า ย 40X ดู ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง fungiform papillae จะเห็ น ว่ า คลุ ม ด้ ว ยเยื่ อ บุ ผิ ว stratified squamous epithelium ที่บาง ผิวด้านบนพบกลุ่ม เซลล์ ที่ ติ ด สี จ างกว่ า เรี ย กว่ า taste bud (TB) ศึ ก ษาลั ก ษณะของ taste bud ด้วยกำลังขยายสูง แต่ไม่ต้องแยก เซลล์ภายใน 400X 128 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System 3. ศึกษา circumvallate papillae ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 53 (Circumvallate papillae)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ดู ลั ก ษณะทั่ ว ไปของ circumvallate papillae (CP) โดยเลื่อนสไลด์ห าโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายดอก เห็ดวางตัวในร่องสึก มีขนาดใหญ่กว่า papillae สอง ชนิดที่ผ่านมา ลักษณะปลายบานออก และโคนแคบ ลง ด้ า นข้ า งเป็ น ร่ อ งลึ ก เรี ย กว่ า cleft (C) หรื อ trench

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เลื่ อ นไปด้ า นลึ ก ของลิ้ น หากลุ่ ม ของต่ อ ม von Ebner’s gland (VEG; ลู ก ศรชี้ ) ซึ่ ง เป็ น serous gland ย้อมติดสีม่วงน้ำเงินของ hematoxylin อยู่ ใต้ ต่ อ cleft และบางสไลด์ อ าจเห็ น มี ท่ อ ของ von Ebner’s gland มาเปิดที่บริเวณ trench (D; ลูกศร ชี้) C = cleft / trench 400X

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาลั ก ษณะของ circumvallate papillae จะ เห็ น ว่ า ผิ ว ด้ า นบนบุ ด้ ว ย stratified squamous epithelium จากนั้ น เลื่ อ นสไลด์ ไปที่ ผ นั งด้ า นข้ า ง ของ papillae ที่อยู่บริเวณ trench (C) จะเห็นกลุ่ม ของ taste buds (TB) ที่ ติ ด สี จ างกว่ า เซลล์ ข อง เนื้อเยื่อบุผิว

400X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 129


Digestive System 4. ศึกษาฟันและเหงือก (tooth and gum) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 51 (Tooth & Gum; Decalcified section) ให้ศึกษาจากสไลด์ฟันที่ผ่านการเจริญของ dental tissue ที่เห็น dentine แล้ว

หรือศึกษาจาก https://histology.medicine.umich.edu no. 123 tooth, pig, H&E, 40X

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยกำลังขยายต่ำเลื่อน สไลด์ ศึ ก ษาโครงสร้ า งต่ า ง ๆ ของฟั น ด้ ว ย กำลั งขยายต่ ำ เห็ น ช่ อ งภายในฟั น คื อ pulp cavity (P) รากฟัน (root; R) ฝังอยู่ในกระดูก ขากรรไกร (B) ส่วน crown (C) ยังไม่โผล่พ้น เหงือก (gum ; G) ส่วนเนื้อฟันทั้งส่วน root และ crown ย้ อ มติ ด สี แ ดงเข้ ม คื อ dentine (D) ไม่ พ บ enamel เนื่ อ งจากเป็ น สไลด์ decalcified bone บริเวณด้านข้างของราก ฟั น มี periodontal membrane (PM) เป็ น เนื้ อ เยื่ อ เกี่ ย วพั น ทำหน้ า ที่ ยึ ด รากฟั น ไว้ กั บ เหงือกและกระดูกขากรรไกร ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยกำลั ง ขยายสู ง ขึ้ น ขยายดู ส่ ว นต่ า ง ๆ ดั ง ที่ ก ล่ า วมาแล้ ว และ ศึกษา pulp cavity (P) จะเห็นว่ามี dental pulp ซึ่งเป็ น loose connective tissue ที่ มี ห ลอดเลื อ ดแทรกอยู่ ส่ ว นนอกสุ ด ของ dental pulp ชิดกับ dentine เห็น เซลล์ติด สี เข้ ม รู ป ร่ า ง tall columnar เรี ย ก ว่ า odontoblast (O) ด้านข้างของรากฟันเป็น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยึดรากฟันไว้กับเหงือกและ กระดู ก ขากรรไกร เรี ย กว่ า periodontal membrane (M) ส่ ว นร่ อ งระหว่ า งฟั น และ เหงือกเรียกว่า gingival sulcus (S) D = dentine G = gum MQ = masticatory mucosa 130 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System

VP

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยกำลังขยายสูงขึ้น ศึกษาลักษณะของเหงือกที่คลุมฟันอยู่ ซึ่งบุ ด้วย masticatory mucosa (MQ) ซึ่งเป็น เยื่ อ บุ ผิ ว ช นิ ด keratinized stratified squamous epithelium ชั้นลึกของเหงือก เป็ น lamina propria ซึ่ ง เป็ น dense connective tissue ที่มีลักษณะเป็น long vascular papillae (VP; กรอบสี่ เ หลี่ ย ม) จ ำ น ว น ม า ก ส่ ว น เห งื อ ก บ ริ เว ณ gingival sulcus บุ ด้ ว ย non-keratinized stratified squamous epithelium (ลูกศรชี้) ที่ lamina propria ไม่มีลักษณะ ของ long vascular papillae D = dentine S = gingival sulcus M = periodontal membrane ดัดแปลงจาก https://histologyslides.med.umich.edu/ Histology/Digestive%20System/Oral%20 Region/123_HISTO_40X.htm สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 131


Digestive System 5. ศึกษาท่อทางเดินอาหาร (alimentary tract) 5.1 หลอดอาหาร (esophagus) ขัน้ ตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 55 Esophagus (middle) และหมายเลข 56 Esophagus (lower)

40X

40X

132 | P a g e

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษาผนังแต่ละชั้นของหลอดอาหาร ดังนี้ 1. Mucosa (M) เป็นชั้นในสุดติดกับ lumen ซึ่ ง บุ ด้ ว ย non-keratinized stratified squamous epithelium (Ep) โ ด ย มี ชั้ น muscularis mucosae (MM) เป็ น ชั้ น ของ กล้ า มเนื้ อ เรี ย บแยกชั้ น mucosa ออกจาก submucosa 2. Submucosa (S) เป็ น ชั้ น ข อ ง loose connective tissue ใ ห้ เ ลื่ อ น ส ไ ล ด์ ห า esophageal gland (EG; ลู ก ศรชี้ ) ซึ่ ง เป็ น mucous gland ที่พบได้จำนวนมากในหลอด อ าห ารส่ ว น ป ล าย (จ าก ส ไล ด์ Gastroesophageal junction no. 57) 3. Muscularis externa (ME) เป็ น ชั้ น ของ กล้ามเนื้อเรียงตัว 2 ชั้นที่มีความแตกต่างกัน ดังนี้ - ส่วนต้นเป็นกล้ามเนื้อลายเกือบทั้งหมด - ส่วนกลางเป็นกล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อ เรียบ - ส่วนปลายมีเฉพาะกล้ามเนื้อเรียบเท่านั้น 4. Adventitia (A) เป็ น ชั้ น ที่ ป ระกอบด้ ว ย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มี collagen fiber เป็นส่วน ใหญ่ ใช้ เล น ส์ วั ต ถุ ก ำลั งข ย าย 40X ศึ ก ษ าดู รายละเอียดของโครงสร้างแต่ละชั้น

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System 5.2 กระเพาะอาหาร (stomach) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 58 (Stomach; body)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X แยกแยะ ชั้นต่าง ๆ ของกระเพาะอาหารดังนี้ mucosa เป็นชั้นในสุด ติดกับ lumen ประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิว (epithelium; E) และ lamina propria (LP) ซึ่ ง เห็ น gastric gland จำนวน มาก และชั้น muscularis mucosae (MM) เป็ น กล้ามเนื้ อ เรี ย บบาง ๆ แยก mucosa ออกจากชั้ น submucosa (S) ซึ่งเป็นชั้นที่มีหลอดเลือด แต่ไม่มีต่อมอยู่เลย ถัดออกไปเป็น ชั้น muscularis externa (ME) เป็นชั้นกล้ามเนื้อเรียบ และ ชั้น serosa (Se) อยู่นอกสุด 40X

ขั้ น ต อ น ที่ 3 ใช้ เล น ส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ข ยาย 10X ศึ ก ษ า รายละเอียดของโครงสร้างในแต่ละชั้น Mucosa บุ ด้ ว ย simple columnar epithelium (E) ถั ด ออกมาเป็ น ชั้ น lamina propria (LP) เต็ ม ไปด้ ว ย gastric gland ซึ่ ง เป็ น simple tubular หรื อ branched tubular gland อยู่ลึกถึงชั้น muscularis mucosae

100X

ขั้ น ต อ น ที่ 4 ใช้ เล น ส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ข ยาย 40X ศึ ก ษ า รายละเอี ย ดของ gastric gland ซึ่ ง มี 3 ชนิ ด เรี ย กตาม ตำแหน่งที่พบ ดังนี้ cardiac, fundic และ pyloric gland ให้ศึกษาเซลล์ที่สำคัญของ gastric gland ดังนี้ - Chief or zymogenic cells (CC) พบได้ที่ฐานของต่อม รู ป ร่ า งคล้ า ยปิ ร ามิ ด นิ ว เคลี ย สกลม อยู่ ชิ ด ฐานเซลล์ ไซ โทพลาสซึมติดสีฟ้าหรือน้ำเงิน - Parietal or oxyntic cell (O; ลู ก ศรชี้ ) พบได้ จ ำนวน มาก โดยเฉพาะบริเวณ neck และ isthmus ของต่อม เซลล์ รู ป ร่ า งกลม ขนาดใหญ่ ไซโทพลาสซึ ม ติ ด สี ส้ ม แดง มี นิวเคลียสกลมอยู่กลางเซลล์

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 133


Digestive System 400X

400X

ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาโครงสร้างของชั้นอื่น ๆ ของกระเพาะอาหาร Submucosa (S) เป็น loose connective tissue ที่ มี collagen และ elastic fibers เป็ น องค์ ป ระกอบ และยื่นออกมาเป็น fold เรียกว่า rugae ซึ่งสามารถ เห็นได้ใน gross specimen Muscularis externa เป็ น ชั้ น ของกล้ า มเนื้ อ เรี ย บ เรี ย งตั ว จำนวน 3 ชั้ น คื อ ชั้ น ใน (IO) เรี ย งตั ว แบบ oblique แต่ เห็ น ไม่ ค รบวง ชั้ น กลาง (MC) เรี ย งตั ว แ บ บ circular ส่ วน ชั้ น น อ ก (OL) เรี ย งตั วแ บ บ longitudinal Serosa (Se) คลุมด้วย mesothelium

6. ศึกษาลำไส้เล็ก (small intestine) 6.1 ศึกษา duodenum ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 60 (Gastro-duodenal junction)

40X

134 | P a g e

ขั้ น ต อ น ที่ 2 ศึ ก ษ า ด้ ว ย เล น ส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 4X ศึ ก ษาลั ก ษณะทั่ ว ไปของ duodenum ให้ เลื่อนสไลด์ห าตำแหน่งของ duodenum โดยสั ง เกตที่ ชั้ น submucosa (S) จ ะ มี mucous gland จ ำ น ว น ม า ก ติ ด สี จ างเรี ย กว่ า Brunner’s gland (BG; ลูกศรชี้) ซึ่งไม่พบในลำไส้ส่วนอื่น ชั้นถัดเข้า ไปเป็ น muscularis mucosae (MM) เป็ น ชั้นของกล้ามเนื้อเรียบที่เรียงตัวชัดเจน ชั้นใน สุ ด เ ป็ น mucosa (M) บุ ด้ ว ย simple columnar epithelium แทรกด้ วย goblet cell

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System 6.2 ศึกษา jejunum ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 61 (Jejunum)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ด้วย กำลั ง ขยายต่ ำ จะเห็ น intestinal villi (V) ถู ก ตั ด ทั้ ง ตามยาวและตามขวางหลุ ด ลอยอยู่ ใน lumen จำนวน มาก แล้ ว ให้ แ ยกแยะชั้ น ต่ า ง ๆ ของ jejunum ซึ่ ง ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย ชั้ น mucosa (M), submucosa (S), muscularis externa (ME) และชั้ น นอกสุ ด คื อ serosa (Se; ลูกศรชี้) จะเห็ น ว่าบางบริเวณมีชั้น mucosa และ submucosa ยกตัวสูงขึ้นเป็น fold เห็นได้ชัดเจน เรียก โค รงส ร้ า งที่ ย ก ตั วขึ้ น นี้ ว่ า plica circularis ห รื อ valves of Kerckring (ในเส้นประ) 40X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ศึกษารายละเอียดของโครงสร้างในชั้น mucosa จะเห็น ว่ า บุ ด้ ว ย simple columnar epithelium ที่ มี goblet cells (G) แทรกอยู่ ลึกลงไปมีโครงสร้างที่เกิดจากการหวำ ตั ว ของเนื้ อ เยื่ อ บุ ผิ ว ลงไปในชั้ น lamina propria (LP) เรียกว่า intestinal gland (crypt of LieberKuhn; IG) ซึ่งเป็น simple straight tubular gland

400X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 135


Digestive System ขั้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์วัต ถุก ำลังขยาย 40X ศึ ก ษาชั้ น ที่ เ หลื อ ของ jejunum คื อ submucosa muscularis externa และ serosa จะเห็ น ชั้น บาง ๆ ของ muscularis mucosae (MM; ลู ก ศรชี้ ) กั้ น แยก ระหว่ า ง mucosa (M) และ submucosa (S) ไม่ พ บ ต่ อ มในชั้ น submucosa เลย ส่ ว นชั้ น muscularis externa (ME) เป็นชั้นกล้ามเนื้อเรียบ 2 ชั้น คือ inner circular layer (IC) และ outer longitudinal layer (OL) ส่ ว น serosa (Se; ลู ก ศ ร ชี้ ) บุ ด้ ว ย mesothelium ซึ่งอาจหลุดลอกหายไป

400X 400X

6.3 ศึกษา ileum ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 62 (Ileum)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X แยก แยะชั้ น ต่ าง ๆ ขอ ง ileum ดั งนี้ mucosa (M), submucosa (S), muscularis externa (ME) แ ล ะ serosa (Se; ลูกศรชี้) จะพบว่าผนังด้านหนึ่งของ ileum มี lymphatic nodules มาเรีย งชิด ติ ด กั น เป็ น aggregated lymphatic nodules หรื อ Peyer’s patches (PP) ซึ่ ง อยู่ในชั้นของ submucosa และบางส่วนอาจยื่นเข้าไปใน ชั้น lamina propria 40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษา ชั้ น mucosa จ ะ เห็ น ว่ า บุ ด้ ว ย simple columnar epithelium ที่ มี goblet cells (G; ลู ก ศรชี้ ) แทรกอยู่ จำนวนมาก และมี จ ำนวนมากกว่ า duodenum และ jejunum

400X

136 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System 7. ศึกษาลำไส้ใหญ่ (large intestine) ขัน้ ตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 63 (Colon)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X แยกแยะชั้นต่าง ๆ ของลำไส้ใหญ่ จะเห็นว่า แยกออกเป็น 4 ชั้น ได้ชัดเจน คือ mucosa (M) submucosa (S) muscularis externa (ME) และ serosa (Se) BV = Blood vessel LN = Lymphatic nodule 40X

100X

Se Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 10X ศึกษาโครงสร้างของแต่ละชั้นของลำไส้ใหญ่ Mucosa (M) บุ ด้ ว ย simple columnar epithelium ที่แทรกด้วย goblet cells จำนวน ม า ก ม า ย แ ล ะ เมื่ อ สั งเก ต จ ะ เห็ น ว่ า ไม่ มี intestinal villi ยื่นออกมาที่ lumen เลย ส่วน ชั้ น lamina propria มี intestinal gland (IG) หรือ crypts of Lieberkuhn อยู่เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับลำไส้เล็ก Submucosa (S) ไม่ มี ต่ อ มอยู่ เลย มี แ ต่ ห ลอด เลือ ด (VV) และบางบริเวณอาจพบ lymphatic nodule (LN) Muscularis externa (ME) เป็ น ชั้ น กล้ า มเนื้ อ เรี ย บเรี ย งตั ว 2 ชั้ น แยกได้ ชั ด เจน คื อ inner circular (IC) และ outer longitudinal (OL) Serosa (Se; ลู ก ศรชี้ ) เป็ น ชั้ น นอกสุ ด บุ ด้ ว ย mesothelium ที่มักหลุดลอกหายไป

100X P a g e | 137


Digestive System 8. ศึกษาไส้ติ่ง (vermiform appendix) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 64 (Appendix)

40X

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ดูลักษณะทั่วไปของไส้ติ่ง จะเห็น ว่ามี lymphoid tissue และ lymphatic nodule (LN) ย้ อ มติ ด สี ม่ ว งจำนวนมากแล้ ว ให้ แ ยกชั้ น ต่ า ง ๆ ของไส้ ติ่ ง ดั ง นี้ mucosa (M) ซึ่ ง มี lymphoid tissue และ lymphatic nodule (LN) เต็ ม ไปหมด ทำให้ แ ยก ชั้ น mucosa ออกจาก submucosa ได้ ย าก ถั ด อ อ ก ไ ป เ ป็ น submucosa (S), muscularis externa (ME) และชั้ น นอกสุ ด เป็ น serosa (Se; ลูกศรชี)้ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ศึก ษาชั้น mucosa จะเห็ น ว่ามี intestinal gland (IG; ลูกศรชี้) เพียงเล็กน้อย ชั้น lamina propria มี lymphocytes แ ล ะ lymphatic nodule (LN) กระจายอยู่ เ ต็ ม ไป ห มดทั้ งชั้ น mucosa และ submucosa

100X

ขั้นตอนที่ 4 ใช้เลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษา ชั้น muscularis externa จะเห็นว่าแยกเป็น 2 ชั้น ชั ด เจ น คื อ inner circular (IC) แ ล ะ outer longitudinal (OL) ส่ ว นชั้ น นอกสุ ด เป็ น serosa (Se; ลูกศรชี้) ซึ่งเห็น mesothelium ได้ เพราะมัก ไม่หลุดหายไป S = submucosa 400X 138 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System 9. รอยต่อระหว่าง rectum และ anal canal (recto-anal junction) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 66 (Recto-anal junction) (ตัดผ่าน anal valve) เป็ น สไลด์ ตั ด ผ่ า นบริ เวณ anal valve ซึ่ งเป็ น รอยต่ อ ระหว่ า ง rectum และ anal canal

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ให้ เลื่ อ น ส ไล ด์ ไป ยั งด้ าน rectum ซึ่ ง mucosa บุ ด้ ว ย simple columnar epithelium แล้วให้เลื่อนสไลด์ไป จนถึงปลาย อี ก ด้ า นหนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น anal canal เยื่ อ บุ ผิ ว จะ เ ป ลี่ ย น ไ ป เ ป็ น stratified squamous epithelium MM = Muscularis mucosae ME = Muscularis externa 40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X สั ง เก ต ชั้ น mucosa (M) ข อ ง ด้ า น rectum (รู ป ก ล าง) จ ะ เห็ น ว่ า มี crypt of Lieberkuhn (IG; ลู ก ศรชี้ ) จำนวนมาก ส่ ว น ด้าน anal canal (รูปล่าง) ไม่มีต่อมอยู่เลย ชั้น muscularis mucosae (MM) ที่ เห็ น เป็ น ชั้ น บ าง ๆ ใน ด้ า น rectum เมื่ อ มาถึ ง บ ริ เ วณ รอยต่ อ นี้ จ ะมี ก ารแตกเป็ น ชิ้ น ๆ ปนไปกั บ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน 100X

100X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 139


Digestive System 10. ศึกษา major digestive glands 10.1 ศึกษาต่อมน้ำลายหน้าหู (parotid salivary gland) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 69 (Parotid gland)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ดู ลั ก ษณะของต่ อ มน้ ำ ลาย จะเห็ น ว่ า ประกอบด้ ว ย secretory unit ที่ เป็ น serous acini (SA) ติ ด สี ม่ ว ง น้ำเงินทั้งหมด

40X

ขั้น ตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ขยายดูลัก ษณะของ serous acini (SA; ลูก ศรชี้) จะ เห็นว่าเซลล์มีรูปร่างปิรามิด มีนิวเคลียสกลมอยู่ที่ฐาน เซลล์ แล้ วเลื่ อ นสไลด์ ห าท่ อ ที่ แ ทรกอยู่ ต าม serous acini บุด้วย high cuboidal cell ที่มีลายริ้ว ๆ อยู่ที่ ฐานของเซลล์ เรี ย กท่ อ นี้ ว่ า striated duct (SD; ลูกศรชี)้

400X

140 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System 10.2 ศึกษาต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (submandibular gland) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 70 (Submandibular gland)

ขั้ น ต อ น ที่ 2 ศึ ก ษ า ด้ ว ย เล น ส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 4X ดูลักษณะของต่อมน้ำลาย ใต้ ข ากรรไกร จะเห็ น ว่ า secretory acini เป็น mixed type คือมีทั้ง mucous acini (MA; ลูกศรชี้) ติดสีจาง แทรกด้วย serous acini (SA; ลู ก ศรชี้ ) ติ ด สี เข้ ม ซึ่ ง มี จ ำนวน มากกว่า

SA

SD = Striated duct MA 40X

ขั้นตอนที่ 3 ใช้เลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ขยายดูลักษณะของ mucous (MA; ลูกศร ชี้ ) แ ล ะ serous acini (SA; ลู ก ศ ร ชี้ ) รวม ถึ ง striated duct (SD) ซึ่ งเป็ น ท่ อ ข น าด ให ญ่ บุ ด้ วย simple columnar epithelium ที่ บ ริ เวณฐานมี ลั ก ษณะเป็ น เส้นลาย

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 141


Digestive System 10.3 ศึกษาต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 71 (Sublingual gland)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลั งขยาย 4X ดู ลั ก ษณะทั่ ว ไปของ ต่ อ ม จะเห็ น ว่ า secretory portion ประกอบด้ ว ย mucous acini (MA; ลู ก ศรชี้ ) ซึ่ ง สี จ างมากเป็ น ส่ ว นใหญ่ แทรกด้ ว ย serous acini (SA; ลู ก ศร ชี้) ติดสีม่วงน้ำเงินซึ่งมีจำนวนเล็กน้อย

40X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งข ย าย 40X ดู ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง mucous acini (MA) จ ะ เห็ น ว่ า ไซ โทพลาสซึมติดสีจางมาก นิวเคลียสถูก ดั น จนแบนไปอยู่ ที่ ฐ านของเซลล์ ให้ เลื่ อ น สไลด์ ห า serous demilunes (SD; ลูกศรชี้) ซึ่งเป็น serous cell ที่มี ลั ก ษณะคล้ า ยพระจั น ทร์ ห รื อ หมวก สวมอยู่ ที่ ส่ ว นป ลายของ mucous acini

400X

142 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System 11. ศึกษาตับอ่อน (pancreas) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์ Pancreas หมายเลข 72

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึก ษาด้วยเลนส์วัต ถุก ำลังขยาย 4X ศึ ก ษาลั ก ษณะทั่ ว ไปของตั บ อ่ อ น ด้ า นนอกเห็ น loose connective tissue บาง ๆ หุ้มรอบตับอ่อน ไว้ และยื่ น connective tissue septa (S) เข้ า ไป ด้ า นใน ทำให้ แ บ่ ง เนื้ อ ตั บ อ่ อ นออกเป็ น หลาย lobules (L)

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ตับอ่อนมีทั้งส่วน exocrine และ endocrine gland ให้ เลื่ อ นสไลด์ ห า exocrine gland ที่ มี ห น้ า ที่ ส ร้ า ง น้ ำ ย่ อ ย มี ลั ก ษ ณ ะ เป็ น compound tubulealveolar gland ที่ มี serous acini (SA; ลู ก ศรชี้ ) ติ ด สี ม่ ว งน้ ำ เงิ น อยู่ จ ำนวนมาก ส่ ว น endocrine gland (ED) จะเป็ น กลุ่ ม เซลล์ รู ป ไข่ ติ ด สี จ างกว่ า serous acini เรียกว่า islets of Langerhans

100X

400X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึก ษาลัก ษณะของ serous acini (SA; ลูก ศรชี้) จะ เห็ น ว่าเป็ น เซลล์รูป ปิ รามิด เรียงตัวรอบ lumen มี นิ ว เคลี ย สกลมอยู่ ที่ ฐ าน เห็ น นิ ว คลี โ อลั ส ชั ด เจน ไซโทพลาสซึ ม บริเวณฐานติ ด สี น้ ำเงิน ส่ ว นบริเวณ ยอดเซลล์ ติ ด สี ส้ ม แดง เนื่ องจากมี zymogen granule อยู่ภายใน นอกจากนี้ยังพบ centroacinar cells (CA; ลูกศรชี้) ซึ่งเป็นเซลล์ที่บุท่อส่วนต้นเข้าไป อัดอยู่ใน secretory acini เป็นเซลล์ที่ไซโทพลาสซึม ติดสีจาง (ไม่ต้องหา) P a g e | 143


Digestive System ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ ก ำ ลั ง ข ย า ย 10X ศึ ก ษ า ส่ ว น endocrine gland ที่ เ รี ย ก ว่ า islets of Langerhans (IL) ซึ่ ง เป็ น กลุ่ ม เซลล์ ที่ แ ทรกอยู่ ร ะหว่า ง secretory acini มี ลั ก ษณ ะกลม หรือรูปไข่ ขอบไม่เรียบ เซลล์ติดสี จาง

100X

12. ตับ (liver) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 67 (Liver)

ขั้น ตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัต ถุ กำลั ง ขยาย 4X ศึ ก ษาลั ก ษณ ะ ทั่วไปของตับ จะเห็นว่าภายนอกถูก ห่อหุ้มด้วย capsule และมีบางส่วน ยื่ น เข้ า ไปในเนื้ อ ตั บ เป็ น septa (S; ลูกศรชี)้

40X

144 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Digestive System

PV

100X

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 10X ศึ ก ษา hepatic lobule ซึ่ ง เป็ น structural unit มี รูปร่างหกเหลี่ยม (บางสไลด์อาจเห็น ไม่ ชั ด เจน) ภายในประกอบด้ ว ย โครงสร้าง ดั งนี้ central vein (CV) อยู่ ต รงกลาง มี hepatocyte เรี ย ง ตั วเป็ น hepatic cord (HC) เป็ น รัศมี ออกมาจาก central vein ส่วน มุ ม ข อ ง hepatic lobule มี โครงสร้ า งที่ เรี ย กว่ า portal triad ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยแขนงของ portal vein (PV) hepatic artery (HA) แ ล ะ bile duct (BD) ซึ่ ง บุ ด้ ว ย simple cuboidal epithelium ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษา hepatic sinusoid (HS; ลูกศรชี้) ซึ่งเป็ น แอ่ง ที่ แ ทรกอยู่ ร ะหว่ า ง hepatic cord (HC; ลู ก ศ ร ชี้ ) ผ นั ง บุ ด้ ว ย endothelial cell ที่ มี ข น า ด เล็ ก รู ป ร่ า งรี แ ล ะ มี Kupffer’s cells (K; ลูกศรชี้) ภายในไซโทพลาสซึมมี particle สี น้ ำ ต า ล ด ำ ซึ่ งเป็ น สิ่ ง แปลกปลอมที่ เซลล์ phagocytosis เข้าไป

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 145


Digestive System 13. ถุงน้ำดี (gall bladder) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 68 (Gall bladder)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 4X ศึกษาลักษณะทั่วไป ของถุงน้ำดี จะเห็นว่าชั้น mucosa มี mucosal fold ยื่นเข้าไปใน lumen จำนวนมาก และบาง fold อาจมีการ แตกแขนงเป็ น primary (PF) และ secondary folds (SF) ห รื อ อ า จ เชื่ อ มกั น เกิ ด เป็ น lumen (L) เป็ น อวัยวะที่ไม่มีชั้น submucosa ชั้นถัด อ อ ก ไป เป็ น muscularis externa (ME) ชั้ น นอกสุ ด เป็ น serosa หรื อ adventitia 40X

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ กำลังขยาย 40X ศึกษาลักษณะของ ชั้ น mucosa จ ะ เห็ น ว่ า บุ ด้ ว ย simple columnar epithelium (SC) ที่เซลล์มีรูปร่าง tall columnar นิ วเค ลี ย สรี อ ยู่ ที่ ฐาน เซลล์ ไม่ มี goblet cell แทรก ส่วนชั้น lamina propria (LP) มั ก มี ห ล อ ด เลื อ ด (BV; ลู ก ศ รชี้ ) แท รกอยู่ ส่ ว น ชั้ น muscularis externa (ME) เป็ น ชั้ น ก ล้ าม เนื้ อ เรี ย บ ที่ ถู ก แ ท รก ด้ วย connective tissue fiber 400X

146 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Urinary System

ปฏิบัติการที่ 13 ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary System) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ขนิษฐา ศรีเมืองวงศ์ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงโครงสร้างต่าง ๆ ของ renal corpuscle และ renal tubule ต่าง ๆ ได้ถูกต้อง 2. สามารถชี้แสดงและบอกชื่อโครงสร้างที่ประกอบเป็น juxtaglomerular apparatus ได้ถูกต้อง 3. สามารถชี้แสดงหลอดเลือดในเลี้ยงเนื้อไตส่วนต่าง ๆ ได้ถูกต้อง 4. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของท่อไต (ureter) ได้ถูกต้อง 5. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของกระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ได้ถูกต้อง 6. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของท่อปัสสาวะ (urethra) ได้ถูกต้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary system) ประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญคือ ไต (kidneys) ท่อไต (ureters) กระเพาะ ปัสสาวะ (urinary bladder) และท่อปัสสาวะ (urethra) โดยอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะทำหน้าที่กรองของเสียที่เกิดจาก กระบวนการเมตาโบลิซึมของอาหารและกำจัดของเสียออกนอกร่างกายในรูปของน้ำปัสสาวะ (urine) ควบคุมและรักษาสมดุล ของน้ำและอิเลคโตรไลท์ของร่างกาย (homeostasis) นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิตของร่างกายอีกด้วย 1. ไต (Kidney) เนื้ อ ไตแบ่ ง ออกเป็ น 2 ส่ ว นคื อ ชั้ น นอก cortex และชั้ น ใน (medulla) ไตมนุ ษ ย์ ป ระกอบด้ ว ยหลาย lobes (multilobular kidney) เนื้อไต 1 lobe ประกอบด้วย 1 renal pyramid รวมกับครึ่งหนึ่งของเนื้อไตที่แทรกอยู่แต่ละข้างของ pyramid โดยมี interlobular arteries เป็นตัวแบ่งขอบเขตของแต่ละ lobe ภายในเนื้อไตประกอบด้วยท่อเล็ก ๆ จำนวน มากมายเรียกว่า uriniferous tubules ซึ่งแต่ละ uriniferous tubule ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ nephron และ collecting ducts / tubules 1.1 Nephron ประกอบด้ ว ย 1) renal corpuscle และ 2) renal tubule โดย renal corpuscle ประกอบด้ ว ย glomerulus ห่ อหุ้ มด้ ว ย Bowman’s capsule พ บ ได้ เ ฉพ าะไตส่ ว น cortex เท่ านั้ น ส่ ว น renal tubule ประกอบด้ ว ยท่ อ เรี ย งจากส่ ว นต้ น ไปส่ ว นปลายคื อ proximal convoluted tubule, thick & thin limbs of Henle’s loop และ distal convoluted tubule Epithelium ที่ บุ proximal & distal convoluted tubule และ thick limb of Henle’s loop เป็ น simple cuboidal epithelium แต่มีลักษณะแตกต่างกันไปดังนี้ § Proximal convoluted tubule เซลล์ บุ ท่ อ มี ไซโทพลาสซึ ม ติ ด สี เข้ ม ของ eosin มี brush border ที่ apical surface และเห็นหลุดลอยอยู่ใน lumen ขอบเขตเซลล์ไม่ชัดเจน § Distal convoluted tubule เซลล์บุท่อติดสีจางกว่า proximal tubule ขอบเขตเซลล์ไม่ชัดเจน ไม่มี brush border จึงทำให้ lumen ดูสะอาด นิวเคลียสอยู่ชิดติดกันมากกว่า proximal tubule § Thick descending limb of Henle’s loop เป็ น straight portion ของ proximal convoluted tubule จึงมีลักษณะคล้ายกับ proximal convoluted tubule แต่เซลล์มีความสูงน้อยกว่า Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 147


Urinary System § Thick ascending limb of Henle’s loop เป็น straight portion ของ distal convoluted tubule จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับ distal convoluted tubule แต่เซลล์มีความสูงน้อยกว่า § Thin segment of Henle’s loop เป็นท่อเดียวที่บุด้วย simple squamous epithelium 1.2 Collecting ducts เป็นท่อที่วางตัวอยู่ในส่วน medullary ray และ medulla บุด้วย simple cuboidal epithelium และ เมื่อเข้าใกล้ renal papilla จะเปลี่ยนเป็น simple columnar epithelium เรียกท่อส่วนนี้ว่า papillary duct ไป เปิดออกที่ renal papilla 2. ท่อไต (Ureter) ประกอบด้วยผนัง 3 ชั้น คือ mucosa, muscular layer และ adventitia § Mucosa บุ ด้ ว ย transitional epithelium ร อ ง รั บ ด้ ว ย lamina propria ซึ่ ง เป็ น fibroelastic connective tissue § Muscular layer ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบเรียงตัว 2 ชั้นคือ inner longitudinal และ outer circular layer แต่ถ้าเป็นท่อส่วนปลาย (lower 1/3 of ureter) ที่ใกล้จะเปิดเข้ากระเพาะปัสสาวะจะมีกล้ามเนื้อ เรียบเรียงตัว 3 ชั้น คือ inner longitudinal, middle circular และ outer longitudinal layer § Adventitia ประกอบด้วย loose connective tissue ที่มีเซลล์ไขมันอยู่เป็นจำนวนมาก 3. กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ประกอบด้วยผนัง 3 ชั้นเช่นเดียวกับ ureter คือ mucosa, muscular layer และ adventitia โดยชั้น muscular layer ประกอบด้ ว ยกล้ า มเนื้ อ เรี ย บเรี ย งตั ว 3 ชั้ น คื อ inner longitudinal, middle circular และ outer longitudinal layer แต่การแยกชั้นกล้ามเนื้อดังกล่าวออกจากกันทำได้ยาก เนื่องจากการเรียงตัวของกล้ามเนื้อประสานกันไปมา 4. ท่อปัสสาวะ (Urethra) Male urethra แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามโครงสร้างที่ผ่านคือ § Prostatic urethra ผ่านอยู่ใน prostate gland บุด้วย transitional epithelium § Membranous urethra ผ่านอยู่ใน urogenital diaphragm บุด้วย pseudostratified หรือ stratified columnar epithelium § Penile (spongy) urethra ผ่ า นอยู่ ใ น corpus spongiosum ของ penis บุ ด้ ว ย pseudostratified หรือ stratified columnar epithelium และเปลี่ ย นเป็ น stratified squamous epithelium เมื่ อ ใกล้ เปิ ด ออกภายนอก ใต้ ต่ อ เยื่ อ บุ ผิ ว เป็ น erectile tissue ที่ มี fibroelastic connective tissue และ smooth muscle fibers แทรกด้วยแอ่งเลือด (venous space) Female urethra ประกอบด้วยผนัง 3 ชั้น คือ § Mucosa บุ ด้ ว ย pseudostratified columnar epithelium และเปลี่ ย นเป็ น stratified squamous epithelium เมื่ อ ใกล้ รู เ ปิ ด ออกภายนอก ใต้ ต่ อ เยื่ อ บุ ผิ ว เป็ น ชั้ น lamina propria ซึ่ ง เป็ น loose connective tissue ที่มี elastic fibers และ venous plexus เป็นจำนวนมาก § Muscular layer เป็ น ชั้ น กล้ า มเนื้ อ เรี ย บจำนวน 2 ชั้ น คื อ inner longitudinal และ outer circular layer § Adventitia เป็น loose connective tissue

148 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Urinary System การศึกษาโครงสร้างต่าง ๆ ในสไลด์ 1. ศึกษาไต (kidney) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 76 (Kidney)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยตาเปล่ า ให้ แ ยกส่ ว นเนื้ อ ไต ออกเป็น 2 ส่วน คือ cortex ติดสีเข้ม medulla ติดสีจาง กว่า

40X

ขั้ น ตอนที่ 3 ใช้ เลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X ศึ ก ษา ลักษณะทั่วไปของเนื้อไต จะเห็นว่าภายนอกถูกหุ้ม ด้ ว ย capsule (ลู ก ศ ร ชี้ ) ซึ่ ง เ ป็ น fibrous connective tissue ถั ด เข้ า ไปจาก capsule เป็ น เนื้ อไต แบ่ งออกเป็ น 2 ส่ ว น คื อ cortex และ medulla - Cortex คือเนื้อไตที่อยู่ถัดจาก capsule เข้าไป มี renal corpuscle (RC) เป็ น โครงสร้ า งกลม ๆ กระจายอยู่ทั่วไป - Medulla อยู่ด้านในถัดจาก cortex เข้าไป ไม่มี renal corpuscle อยู่เลย

40X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 149


Urinary System ขั้ น ตอนที่ 4 ใช้ เ ลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X ศึ ก ษา โครงสร้างในส่วน cortex จะเห็นท่อถูกตัดในแนวต่าง ๆ เรียกท่อทั้งหมดนี้ว่า uriniferous tubule ให้เลื่อนหา กลุ่ม ของท่ อ ที่ เรียงตัวตามยาวเป็ น รัศ มีจาก medulla ไป ยั ง cortex เรี ย ก บ ริ เ วณ นี้ ว่ า medullary ray (MR) ส่ ว นบริ เวณที่ แ ทรกระหว่ า ง MR คื อ cortical labyrinths (CL) เป็นกลุ่มของท่อที่มีลักษณะขดไปมา ถูกตัดในแนว coronal ซึ่งมี renal corpuscle อยูด่ ้วย

40X

400X

VP

400X

150 | P a g e

ขั้ น ตอนที่ 5 ใช้ เลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษา โครงสร้างต่าง ๆ ในส่วน cortex ดังนี้ 1. Renal corpuscle ศึ ก ษา Bowman’s capsule ที่ ห่ อ หุ้ ม glomerulus (G) ไว้ ประกอบด้ ว ย 2 ชั้ น คื อ parietal layer (P) เป็ น ผ นั ง ชั้ น น อ ก บุ ด้ ว ย simple squamous epithelium ส่ ว นผนั ง ชั้ น ในเรี ย กว่ า visceral layer แนบติดกับผนังของ glomerulus (ชั้นนี้ไม่สามารถแยก ได้ ด้ ว ย light microscope) ช่ อ งว่างระหว่างผนั งสอง ชั้ น นี้ เ รี ย กว่ า Bowman’s space หรื อ capsular space (BS) ให้ นิ สิ ต เลื อ กหา renal corpuscle ที่ เ ห็ น vascular ห รื อ urinary pole ม าศึ ก ษ า ซึ่ งใน แ ต่ ล ะ renal corpuscle อาจจะเห็ น เพี ย ง urinary หรื อ vascular pole อย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะไม่เห็นเลยถ้าตัดไม่ ผ่าน - Urinary pole (UP; ดอกจั น ) (รู ป กลาง) เป็ น บริเวณที่มี proximal convoluted tubule (PCT) เปิด ติดต่อกับ Bowman’s space - Vascular pole (VP) (รู ป ล่ า ง) เป็ น บริ เ วณที่ มี หลอดเลือด afferent และ efferent arteriole ผ่านเข้า และออกจาก renal corpuscle โดยสั ง เกตเห็ น เม็ ด เลือดแดงอยู่ภายในหลอดเลือด

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Urinary System 2. Proximal convoluted tubule (PCT) PCT เป็ น ท่ อ ส่วนแรกที่ ต่อ มาจาก urinary pole อยู่ใน บ ริ เ วณ cortical labyrinth ผ นั งท่ อ บุ ด้ วย simple cuboidal epithelium ที่ เห็ น ไซโทพลาสซึ ม ติ ด สี ช มพู เข้ม ขอบเขตเซลล์ไม่ชัดเจน แยกจากเซลล์ข้างเคียงได้ ยาก และบริเวณ apical surface มี brush border มัก หลุดลอยเป็นตะกอนอยู่ใน lumen ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ พบในท่ออื่น ๆ ของ uriniferous tubules 400X

3. Distal convoluted tubule (DCT) DCT เป็นท่อที่พบได้น้อย เนื่องจากเป็นท่อที่มีความยาว ไม่มาก วางตัวอยู่ใน cortex ส่วน cortical labyrinth บุ ด้ ว ย simple cuboidal epithelium เช่ น เดี ย ว กั บ proximal convoluted tubule (PCT) โดยให้ สั ง เกต ไซโทพลาสซึมของ DCT จะติดสีจางกว่า ขอบเขตเซลล์ ไม่ชัดเจน นิวเคลียสเรียงชิดติดกันมากกว่า PCT ไม่พบ brush border จึงทำให้ lumen สะอาด

G

400X

4. Juxtaglomerular apparatus ใช้เลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X เลือกหา renal corpuscle ที่บริเวณ vascular pole สัมผัสกับ distal convoluted tubule แล้ ว ใช้ ก ำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษาลั ก ษณะของ macula densa (MD) จ ะ เ ห็ น ว่ า บุ ด้ ว ย high cuboidal epithelium บ า ง ส ไ ล ด์ อ า จ เ ห็ น Juxtaglomerular cell (JG) ที่ ผ นั ง ของหลอดเลื อ ด afferent arteriole (A) ได้ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ กว่า smooth muscle cell 400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 151


Urinary System ขั้ น ตอนที่ 6 ใช้ เ ลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X ศึ ก ษา โครงสร้างต่าง ๆ ในส่วน medulla โดยหาตำแหน่งของ medulla ที่อยู่ถัดจาก cortex จะเห็นท่อถูกตัดในแนว ต่าง ๆ จำนวนมาก สังเกตว่าบริเวณ medulla จะไม่มี renal corpuscle อยู่ เลย เริ่ ม ต้ น ศึ ก ษาโดยเลื่ อ นหา บริเวณที่พบกลุ่มของหลอดเลือดฝอยถูกตัดตามขวาง ภายในท่ อมีเม็ด เลือดแดงอยู่ (วงเส้น ประสีแดง) แล้ว ศึกษาโครงสร้างด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น 40X

ขั้ น ตอนที่ 7 ใช้ เลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษา โครงสร้างต่าง ๆ ในวงเส้นประสีแดง (จากรูปบน) โดย ใน บ ริ เ วณ นี้ จะพ บ ท่ อบุ ด้ ว ย simple squamous epithelium ถ้าภายในท่อมีเม็ดเลือดแดงอยู่คือหลอด เลื อ ด vasa recta (VR) แต่ ท่ อ ที่ ไม่ มี เม็ ด เลื อ ดแดงอยู่ คือ thin segment of Henle’s loop (T)

400X 400X

ขั้ น ตอนที่ 8 ใช้ เลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ศึ ก ษา collecting duct (CD) ซึ่ ง เ ป็ น โ ค ร ง ส ร้ า ง ใ น medulla บริเวณนอกเส้นประสีแดง (จากรูปบน) โดย พ บ collecting duct เป็ น ท่ อ ที่ บุ ด้ ว ย simple cuboidal epithelium ลักษณะที่ใช้แยกจากท่ออื่น ๆ คือ ไซโทพลาสซึม ติด สีจาง ขอบรอบนิ วเคลียสใสเห็ น ขอบเขตเซลล์ได้ชัดเจน

400X

152 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Urinary System

Cortex Cortex

Medulla

ขั้นตอนที่ 9 ใช้เลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษาหลอด เลือดภายในเนื้อไต โดยหาหลอดเลือดขนาดใหญ่ ที่อยู่ บ ริ เว ณ ร อ ย ต่ อ ร ะ ห ว่ า ง cortex กั บ medulla (corticomedullary junction) ห ล อ ด เลื อ ด นี้ คื อ arcuate vessels โดยหลอดเลื อ ดที่ มี ผ นั ง หนาคื อ arcuate artery (AA) ส่ ว น arcuate vein (AV) มี ผ นั ง บางกว่า

40X

ขั้นตอนที่ 10 ใช้เลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษาหลอด เลือ ดบริเวณ cortical labyrinth จะเห็ น มีห ลอดเลือ ด ถู ก ตั ด ตามขวางแทรกอยู่ คื อ interlobular vessels (IL) ซึ่งใช้เป็นขอบเขตของ functional renal lobule

40X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 153


Urinary System 2. ศึกษาท่อไต (ureter) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 77 (Ureter)

ขั้ น ตอนที่ 2 ใช้ เลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X ศึ ก ษา ลัก ษณะทั่ วไปของ ureter จะเห็ น ว่ามี ลัก ษณะเป็ น ท่ อ ผ นั งด้ าน ใน ติ ด กั บ lumen มี ก ารยื่ น ข อ ง mucosa ลักษณะคล้ายกลีบดอกไม้ และให้แยกแยะ ผนังของท่อออกเป็น 3 ชั้นเรียงจากด้านใน lumen ออกมาด้านนอกดังนี้ คือ - Mucosa (M) - Muscular layer (ML) - Adventitia (A) ให้ศึกษาแต่ละชั้นด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น 40X

400X

154 | P a g e

ขั้ น ต อ น ที่ 3 ใช้ เล น ส์ วั ต ถุ ก ำลั งข ย าย 10X และ 40X ศึกษาผนังของท่อไตแต่ละชั้นดังนี้ 1. Mucosa (M) ผนั ง ด้ า นในอยู่ ชิ ด กั บ lumen บุ ด้ ว ย transitional epithelium (T) สั ง เกตเซลล์ ชั้ น บนสุดมีลักษณะโค้งเป็นรูปโดม แต่บางสไลด์อาจเห็น เป็นเซลล์แบน ๆ เนื่องจากถูกน้ำปัสสาวะดันให้แบน ลง ถัดออกไปเป็นชั้น lamina propria (LP) ซึ่งเป็น fibroelastic connective tissue 2. Muscular layer (ML) ในสไลด์ นี้ เ ป็ น ureter ส่ วนปลาย จึงเห็ น กล้ ามเนื้ อ เรีย บเรีย งตั ว 3 ชั้ น คื อ ชั้ น ในเรี ย งตั ว ตามยาว (inner longitudinal layer; IL) ชั้ น กลางเรี ย งตั ว วนรอบท่ อ (middle circular layer; MC) และชั้ น นอกเรี ย งตั ว ตามยาว (outer longitudinal layer; OL) ถ้ า เป็ น สไลด์ ที่ ตั ด บริ เวณ ส่วนต้นจะเห็นเพียง 2 ชั้น 3. Adventitia (A) เป็ น ชั้ น ของ adipose tissue มี หลอดเลือดแทรกอยู่

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Urinary System 3. ศึกษากระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 78 (Urinary bladder)

ขั้ น ตอนที่ 2 ใช้ เ ลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X ดู โครงสร้างทั่วไปของกระเพาะปัสสาวะ เลื่อนสไลด์ ศึกษาผนังของกระเพาะปัสสาวะซึ่งประกอบด้วย 3 ชั้นคล้ายกับ ureter คือ - Mucosa (M) - Muscular layer (ML) - Adventitia (A) ให้ศึกษาแต่ละชั้นด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น

40X

ขั้นตอนที่ 3 ใช้เลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ศึกษา โครงสร้างแต่ละชั้นของกระเพาะปัสสาวะ โดยเริ่ม ศึ ก ษาชั้ น ในสุ ด คื อ mucosa บุ ด้ ว ย transitional epithelium (T) เช่ น เดี ย วกั บ ureter ถั ด ออกมา เ ป็ น lamina propria (LP) ซึ่ ง เ ป็ น dense fibroelastic connective tissue อ ยู่ ติ ด กั บ ชั้ น muscular layer (ML) ส่ ว นชั้ น muscular layer (ML) จะเห็ น ว่ า เป็ น ชั้ น กล้ า มเนื้ อ เรี ย บที่ ห นามาก เรียงตัว 3 ชั้นคือ inner longitudinal (IL), middle circular (MC) แ ล ะ outer longitudinal layer (OL) แต่แยกชั้นออกจากกันได้ไม่ชัดเจน 100X

4. ศึกษาท่อปัสสาวะ (urethra) จาก male urethra ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 83 (Penis)

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 155


Urinary System ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X เลื่ อ นสไลด์ ดู ลั ก ษณะทั่ ว ไปของ penis จะเห็ น ว่ า มี เนื้อเยื่อ 2 แท่ง คือ corpus cavernosum (CC) และ corpus spongiosum ( CS) ใ ห้ ศึ ก ษ า เ ฉ พ า ะ โครงสร้ า งที่ อ ยู่ ใ น corpus spongiosum ซึ่ ง เป็ น erectile tissue ที่มี lumen รูปร่างแบนหรือรี และมี mucosal fold ยื่นเข้าไปใน lumen

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X ศึกษาดูลักษณะของ male urethra ที่อยู่ใน corpus spongiosum แต่ในสไลด์นี้ เยื่อบุผิวที่บุจะมีลักษณะ คล้ า ย transitional epithelium (E) แต่ ใ น penile urethra ข อ ง ม นุ ษ ย์ บุ ด้ ว ย stratified ห รื อ pseudostratified columnar epithelium ซึ่ ง อ าจ ทำให้ สั บ สนได้ จึ ง ควรศึ ก ษาเพิ่ ม เติ ม จาก virtual slide online

100X

ให้ ศึ ก ษ า เพิ่ ม เติ ม จ า ก virtual slide online https://histologyguide.com/ Chapter 19 – Male reproductive system จากสไลด์ MH 184 penis (H&E) ขยายดู เยื่ อ บุ ผิ ว ที่ บุ ผ นั ง ของ penile urethra (PU) บริ เ วณที่ ไ ม่ ห ลุ ด ลอก จะเห็ น ว่ า บุ ด้ ว ย stratified columnar epithelium (E)

E

PU

200X

156 | P a g e

ที่มา: ดัดแปลงจาก https://histologyguide.com/slideview/MH-184penis/19-slide-1.html?x=29563&y=31298&z=25.0 สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Male Reproductive System

ปฏิบัติการที่ 14 ระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Male Reproductive System) ผู้เขียน ดร.ยุทธพงษ์ ทองพบ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงโครงสร้างทางจุลกายวิภาคและเซลล์ที่สำคัญของอัณฑะ (testis) ได้อย่างถูกต้อง 2. สามารถชี้แสดงโครงสร้างทางจุลกายวิภาคที่สำคัญของท่อทางเดินของตัวอสุจิ (male genital ducts) ได้อย่าง ถูกต้อง 3. สามารถชี้แสดงโครงสร้างทางจุลกายวิภาคที่สำคัญของต่อมที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย (male accessory sex organs) ได้อย่างถูกต้อง 4. สามารถชี้แสดงโครงสร้างทางจุลกายวิภาคที่สำคัญขององคชาติ (penis) ได้อย่างถูกต้อง ระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Male reproductive system) ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ ดังนี้ 1. อัณฑะ (Testis) อัณฑะภายนอกถูกห่อหุ้มด้วย dense fibrous connective tissue เรียกว่า tunica albuginea และ แทรกตัวเข้าไปแบ่งอัณฑะภายในออกเป็น lobule เล็ก ๆ ซึ่งภายในจะมีท่อ seminiferous tubule จำนวนมาก โดย ท่อ seminiferous tubule แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ (1) ส่วนท่อขด เรียกว่า convoluted seminiferous tubule และ (2) ท่อส่วนตรง เรียกว่า straight tubule มีลักษณะแคบและยืดออก ซึ่งจะผ่านเข้าไปในบริเวณที่เรียกว่า mediastinum testis แล้วต่อเนื่องกับส่วนที่เรียกว่า rete testis และ efferent duct (efferent ductule) ก่อนที่ จะเข้าสู่ epididymis อัณฑะมีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ ผลิตเซลล์สืบพันธุ์เพศชายเรียกว่าอสุจิ (spermatozoa หรือ sperm) และผลิตฮอร์โมนเพศชาย คือ androgen โดยฮอร์โมนที่สำคัญคือ testosterone ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้างอสุจิ และการพัฒนาของต่อมที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย (male accessory sex organs) 1.1 Seminiferous tubule ประกอบด้วยเซลล์ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ 1.1.1 Spermatogenic cells เป็นเซลล์ที่มีการเจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงในระยะต่าง ๆ ของกระบวนการ สร้างอสุจิ (spermatogenesis) ซึ่งประกอบด้วย o Spermatogonia หรือ primitive germ cell อยู่ล่างสุดติดกับฐานของท่อ (basal lamina) เป็นเซลล์ รูปร่างกลม (spherical shape) นิวเคลียสกลมขนาดเล็กติดสีเข้มชัดเจน o Primary spermatocyte อยู่ถัดเข้ามาด้านใน lumen กว่า spermatogonia เป็นเซลล์รูปร่างกลม (spherical shape) มีขนาดใหญ่กว่า spermatogonia โดยนิวเคลียสกลมขนาดใหญ่และมีลักษณะเด่นที่ เห็นได้ชัดคือการขดตัวของโครมาตินในนิวเคลียส o Secondary spermatocyte อยู่ใกล้ lumen กว่าและมีขนาดเล็กกว่า primary spermatocyte จะ เปลี่ยนแปลงเป็น spermatid อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไม่ค่อยพบเห็นใน section ที่ศึกษา

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 157


Male Reproductive System o Spermatid เป็นเซลล์ขนาดเล็กนิวเคลียสเล็กติดสีน้ำเงินเข้ม (basophilic) อยู่ใกล้ด้าน lumen ของ seminiferous tubule โดยเซลล์ spermatid มี 2 ระยะคือ early spermatid นิวเคลียสรูปร่างกลมเล็ก และ late spermatid นิ ว เคลี ย สเริ ่ ม ยื ด ยาว โดยเซลล์ spermatid มั ก อยู ่ ร วมกั น เป็ น กลุ ่ ม เพื่ อ เปลี่ยนแปลงไปเป็น spermatozoa ต่อไป o Spermatozoa อยู่ใกล้หรือใน lumen โดยมักพบอยู่ใกล้ส่วนยอดของ Sertoli cell เป็นเซลล์อสุจิที่ยัง โตไม่ เ ต็ ม ที่ (immature sperm) ที่ จ ะมี ก ารพั ฒ นาและเปลี ่ ย นแปลงรู ป ร่ า งไปเป็ น อสุ จิ ท ี ่ โ ตเต็ ม วั ย (mature sperm) ต่อไป 1.1.2 Sertoli cell (supporting cell หรื อ sustentacular cell) เป็ น เซลล์ ข นาดใหญ่ รู ป ร่ า งยาว (tall columnar shape) มีฐานวางตัวอยู่บน basement membrane และยอดเข้าหา lumen นิวเคลียสรูปไข่วางตัว ตั้งฉากกับฐาน และนิวคลีโอลัสกลมติดสีเข้มชัดเจน ภายในไซโทพลาสซึมพบ mitochondria, Golgi complex และ endoplasmic reticulum มักพบหัวของ spermatozoa เกาะติดอยู่กับไซโทพลาสซึมด้านใกล้ lumen ขอบเขตของเซลล์ไม่สม่ำเสมอ โดย Sertoli cell ทำหน้าทีค่ ้ำจุนเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย สร้างและหลั่ง androgenbinding protein (ABP) และ inhibin อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็น blood testis barrier 1.2 Leydig’s cell (interstitial cell of Leydig) Leydig’s cell ทำหน้าที่สร้างและหลั่ง testosterone พบอยู่ใน interstitial tissue ที่แทรกอยู่ระหว่าง seminiferous tubule เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ รูปร่างรี (oval) หรือหลายเหลี่ยม (polygonal shape) นิวเคลียสกลม ใหญ่และอยู่ขอบเซลล์ (eccentric nucleus) ไซโทพลาสซึมย้อมติดสีชมพูแดง (acidophilic cytoplasm) ภายใน พบ smooth endoplasmic reticulum และ lipid droplet จำนวนมาก 2. ท่อทางเดินของตัวอสุจิ (Male genital ducts) ท่อทางเดินของตัวอสุจิเป็นทางผ่านออกของอสุจิที่สร้างจาก convoluted seminiferous tubules ซึ่ง ประกอบด้วยท่อต่าง ๆ เรียงตามลำดับ ดังนี้ 2.1 Straight tubules (tubuli recti) เป็นท่อตรงและสั้น ต่อออกมาจาก seminiferous tubules บุดว้ ย simple low columnar หรือ cuboidal epithelium ชั้น lamina propria เป็น connective tissue ที่ไม่มีกล้ามเนื้อ เรียบ 2.2 Rete testis เป็นท่อที่ต่อเนื่องมาจาก tubuli recti ประสานกันเป็นร่างแห ภายใน lumen มีลักษณะคดเคี้ยว บุด้วย simple squamous หรือ cuboidal epithelium ที่มี stereocilia และถัดไปเป็นชั้น lamina propria เป็น connective tissue ที่ไม่มีกล้ามเนื้อเรียบ 2.3 Efferent ductule (ductuli efferent) เป็ น ท่ อ ตรงที ่ ต ่ อ เนื ่ อ งมาจาก rete testis และทะลุ tunica albuginea ผ่านออกจาก testis ไปเชื่อมต่อกับ epididymis ภายในท่อบุด้วย pseudostratified columnar epithelium ที่มี stereocilia ชั้น lamina propria เป็น connective tissue ที่มีกล้ามเนื้อเรียบและหลอดเลือด ฝอย (capillary) ถัดจากชั้น lamina propria ออกมาจะมี circular smooth muscle บาง ๆ หุ้ม 2.4 Epididymis เป็นท่อยาวขดไปมาที่ต่อเนื่องมาจาก efferent ductule ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ หัว (head), ตัว (body) และหาง (tail) ภายในท่อบุด้วย pseudostratified columnar epithelium ที่มี stereocilia, lamina propria เป็น connective tissue ที่มี elastic fiber มาก ถัดจากชั้น lamina propria ออกมาจะมี circular smooth muscle บาง ๆ หุ้ม 2.5 Ductus deferens (vas deferens) เป็นท่อยาวตรงที่ต่อเนื่องมาจากส่วนหางของ epididymis ประกอบด้วย ผนั ง 3 ชั ้ น คื อ (1) ชั ้ น mucosa เป็ น fold ยื ่ น เข้ า ไปใน lumen บุ ด ้ ว ย pseudostratified columnar 158 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Male Reproductive System epithelium (2) ชั้น muscular layer ชั้นนี้จะหนามากเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของท่อนี้ เนื่องจากมี กล้ามเนื้อเรียบเรียงตัว 3 ชั้น คือ inner longitudinal, middle circular และ outer longitudinal layer และ (3) ชั้น adventitia เป็น fibrous connective tissue พบหลอดเลือดและเส้นประสาทได้ 2.6 Ejaculatory duct เป็นท่อแคบและสั้น ต่อเนื่องมาจาก ampulla ของ ductus deferens และเชื่อมกับท่อ ของ seminal vesicle ก่ อ นเปิ ด เข้ า สู ่ prostatic urethra ภายในท่ อ บุ ด ้ ว ย simple columnar หรื อ pseudostratified columnar epithelium แล้วจะเปลี่ยนเป็น transitional epithelium ที่บริเวณใกล้รูเปิด ออกสู่ urethra และ lamina propria เป็น connective tissue ที่มี elastic fiber จำนวนมาก 3. ต่อมที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Male accessory sex organs) ต่อมที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์เพศชายเป็นต่อมที่ทำหน้าที่สร้างของเหลวเรียกว่า seminal fluid สำหรับ spermatozoa และหลั่งออกมาในรูปของ semen ประกอบด้วย 3 อวัยวะ ดังนี้ 3.1 ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) ต่อมลูกหมากเป็นต่อมชนิด tubuloalveolar gland มี capsule บาง ๆ ล้อมรอบ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ parenchyma (glandular tissue) ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างและหลั่ง secretion พวก acid phosphatase และ stroma (fibromuscular tissue) ซึ่งมีกล้ามเนื้อเรียบปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เสริมความแข็งแรง Prostate gland ในวั ย หนุ ่ ม จะประกอบด้ ว ย glandular tissue เป็ น ส่ ว นใหญ่ แต่ ใ นคนสู ง อายุ จ ะพบ ปริ ม าณของ fibromuscular stroma มากขึ ้ น และในบางตำแหน่ ง ของ glandular tissue จะพบกลุ ่ ม ของ secretion มาจับตัวกัน เห็นเป็นโครงสร้างกลม ๆ เรียงตัวเป็น concentric lamellae อยู่ใน lumen ของต่อม เรียกว่า prostatic concretion หรือ corpora amylacea ซึ่งจะพบได้มากขึ้นใน prostate gland ของคนที่อายุ มากขึ้น 3.2 Seminal vesicle Seminal vesicle เป็นต่อมชนิด single tubular gland มีหน้าที่สร้างและหลั่ง seminal fluid ซึ่งเป็นสาร พวกน้ำตาล fructose มาเลี้ยง sperm โดย seminal vesicle ประกอบด้วยผนัง 3 ชั้น คือ (1) ชั้น mucosa เป็น fold ยื่นเข้าไปใน lumen บุด้วย pseudostratified low columnar or cuboidal epithelium (2) ชั้น muscular layer มีกล้ามเนื้อเรียบเรียงตัว 2 ชั้น คือ inner circular และ outer longitudinal layer และ (3) ชั้น adventitia เป็นชั้นที่หุ้มอยู่นอกสุด 3.3 Bulbourethral gland (Cowper’s gland) Bulbourethral gland เป็นต่อมชนิด compound tubuloalveolar gland (ซึ่งไม่ต้องศึกษาต่อมนี้ในการ เรียนปฏิบัติการ) 4. ลึงค์หรือองคชาติ (Penis) องคชาติเป็น external genitalia ซึ่งประกอบด้วย erectile tissue ทรงกระบอก 3 แท่ง คือ corpora cavernosa 2 แท่งอยู่ทางด้าน dorsal และ corpus spongiosum (corpus cavernosum urethrae) 1 แท่งอยู่ ทางด้าน ventral ซึ่งมี penile part of urethra อยู่ข้างใน erectile tissue ส่วนปลายของ corpus spongiosum จะบานออกเรียกว่า glans penis

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 159


Male Reproductive System วิธีการศึกษาเซลล์ในสไลด์ 1. ศึกษาอัณฑะ (testis) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 79 (Testis & epididymis)

40X

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 4X สไลด์นี้ตัดผ่าน testis และ epididymis สังเกตเห็นท่อถูกตัด ในแนวต่าง ๆ จำนวนมากมาย สังเกต ตรงกลางชิ้นเนื้อ เป็นรอยต่อระหว่างท่อ 2 กลุ่มคือ (1) ท่อภายใน testis เรียกว่า convoluted seminiferous tubule (ภ า ย ใ น ท ่ อ ไ ม ่ เ ร ี ย บ ) แ ล ะ (2) epididymis (ภายในท่อเรียบกว่าด้าน testis) ให้ เ ลื อ กศึ ก ษาดู convoluted seminiferous tubule ใ น ส ่ ว น ข อ ง testis

ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 10X จะเห็น convoluted seminiferous tubule (CS) มากมาย ล ้ อ ม ร อ บ ด ้ ว ย loose connective tissue ที่เรียกว่า interstitial tissue ให้ ศ ึ ก ษ า ดู convoluted seminiferous tubule ที่ชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งท่อ

100X

160 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Male Reproductive System ขั ้ น ตอนที ่ 4 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลั ง ขยาย 40X พบว่ า ภายใน convoluted seminiferous tubule บุด้วย germinal หรือ seminiferous epithelium ซึ่งประกอบด้วย Sertoli cell และ spermatogenic cells

400X

400X รูปล่าง: ที่มาดัดแปลงจาก https://histologyguide.com/slideview/MHS-267-testisand-epididymis/19-slide-1.html สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564

4.1 ศึ ก ษา spermatogenic cells ที่เห็นได้ชัดในระยะต่าง ๆ ได้แก่ • spermatogonia (SG) • primary spermatocyte (PS) • early spermatid (ST) • late spermatid (STL) • spermatozoa (SZ) โดยสามารถทบทวนลักษณะเฉพาะ ของแต่ละเซลล์นี้ได้ที่หัวข้อ 1.1.1 4.2 ศึกษา Sertoli cell (S) มีรูปร่าง tall columnar shape (แนวเส้นประ สีฟ้า) มีฐานวางตัวอยู่บน basement membrane และส่วนยอดยื่นเข้าใกล้ lumen (*) นิวเคลียสรูปไข่วางตัวตั้ง ฉากกั บ ฐานของท่ อ seminiferous tubule และนิวคลีโอลัสกลมติดสีเข้ม ชัดเจน 4.3 ศึ ก ษา interstitial tissue ที่ แทรกอยู ่ ร ะหว่ า ง seminiferous tubule จ ะ พ บ Leydig’s cell (L) เป็ น เซลล์ ข นาดใหญ่ รู ป ร่ า งรี ห รื อ หลายเหลี ่ ย ม โดยตำแหน่ ง ของ นิวเคลียสชิดขอบเซลล์ ไซโทพลาสซึม ย้ อ มติ ด สี ช มพู แ ดง (acidophilic cytoplasm)

กรณีที่สไลด์หมายเลข 79 ในกล่องสไลด์ไม่ชัดเจน นิสิตควรศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของ testis เพิ่มเติมจาก virtual slide online https://histologyguide.com/ : Chapter 19 Male reproductive system จ า ก ส ไ ล ด ์ MHS 267 Testis and Epididymis (H&E) Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 161


Male Reproductive System 2. ศึกษาลักษณะของท่อ epididymis และ efferent ductule ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 79 (Testis & epididymis)

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 4X สไลด์นี้ตัดผ่านอัณฑะ และ epididymis สังเกตเห็นท่อถูกตัด ในแนวต่าง ๆ จำนวนมาก โดยสามารถ แ บ ่ ง เ ป ็ น 2 ก ล ุ ่ ม ค ื อ convoluted seminiferous tubule ใ น อ ั ณ ฑ ะ (testis) แ ล ะ epididymis ใ ห ้ เ ล ื อ ก ศึกษาดูในส่วนของ epididymis

40X ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ ก ำ ล ั ง ข ย า ย 10X จ ะ เ ห ็ น ท่ อ epididymis มากมาย สั ง เกตว่ า ขอบ ของท่ อ ทั ้ ง ด้ า นในและด้ า นนอกเรี ย บ เนื่องจากเนื้อเยื่อบุผิวมีความสูงเท่ากัน ตลอด และมักพบ spermatozoa (Sp) จำนวนมากภายใน lumen ของท่ อ epididymis

100X

162 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Male Reproductive System ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ กำลั ง ขยาย 40X จะสั ง เกตเห็ น ภายในท่ อ epididymis บุ ด ้ ว ย pseudostratified columnar epithelium (E) ท ี ่ ม ี stereocilia (Sc; ลูกศร) พบ circular smooth muscle (M; ล ู ก ศ ร ) บ า ง ๆ ล้อมรอบท่อไว้ ภายใน lumen ของ ท่อจะพบกลุ่มของ spermatozoa (Sp) จำนวนมาก

400X ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาลักษณะของท่อ efferent ductule ซึ่งอาจจะพบ ได้ในบางสไลด์ของสไลด์หมายเลข 79 (Testis & epididymis) แต่ ถ้ า ไม่มีในสไลด์นิสิตสามารถเพิ่มเติม จ า ก virtual slide online https://histologyguide.com/ : Chapter 19 Male reproductive system จ า ก ส ไ ล ด ์ MHS 204 Testis and Epididymis (H&E) 400X โดยศึกษา efferent ductule (ED) ที่กำลังขยาย 400X พบภายในท่อบุด้วย pseudostratified columnar epithelium (E) เนื่องจากเซลล์ที่บุแต่ละตัวมีความสูงไม่เท่ากัน จึงทำให้ผิวด้านในของท่อมีลักษณะสูงต่ำไม่เท่ากัน ชั้น lamina propria เป็น เนื้อ เยื่อ เกี่ย วพัน ที่ม ีก ล้า มเนื้อ เรีย บและหลอดเลือ ดฝอย (capillary) ถัด จากชั้น lamina propria ออกมาจะมี circular smooth muscle บาง ๆ หุ้ม รู ป ล่ า ง: ที ่ ม าดั ด แปลงจาก https://histologyguide.com/slideview/MHS-204-testis-and-epididymis/19-slide-1.html สื บ ค้ น เมื่ อ 8 กันยายน 2564

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 163


Male Reproductive System 3. ศึกษาท่อ ductus (vas) deferens ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 80 (Spermatic cord)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4 X สั ง เกตดู ช ั ้ น ต่ า ง ๆ ของท่ อ ductus deferens นี้ ได้แก่ - Mucosa ประกอบด้ ว ย epithelium (E; ลูกศรชี)้ และ lamina propria (LP) - Muscular layer หนามากเป็นพิเศษ เรียง ตัว 3 ชั้น คือ inner longitudinal (IL), middle circular (MC) และ outer longitudinal (OL) layers - ชั้นนอกสุดเป็นชั้น adventitia (A) 40X ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X พบว่าภายในท่อบุด้วย pseudostratified columnar epithelium (E) ท ี ่ ม ี stereocilia (Sc; ลูกศรชี้) ถัดออกมาเป็น lamina propria (LP) และจะเห็นบางส่วนของชั้นกล้ามเนื้อ คือ inner longitudinal (IL) และ middle circular (MC) layers

100X

164 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Male Reproductive System 4. ศึกษาต่อมลูกหมาก (prostate gland) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 81 (Prostate gland)

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 10X ศึกษาดูลักษณะทั่วไป ของ prostate gland เห็นว่าประกอบ ด้ ว ย 2 ส่ ว น คื อ parenchyma หรื อ glandular tissue (P) และ stroma (S) ที่เป็น fibromuscular tissue

100X ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 40X ให้สังเกตดู prostatic concretion (PC) ห ร ื อ corpora amylacea ซึ่งเป็นกลุ่มของ secretion ที ่ ม าจั บ ตั ว กั น เห็ น เป็ น structure ก ล ม ๆ เ ร ี ย ง ต ั ว เ ป ็ น concentric lamellae

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 165


Male Reproductive System 5. ศึกษา seminal vesicle ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 82 (Seminal vesicle)

lumen

100X

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลั ง ขยาย 10X สั ง เกตว่ า seminal vesicle มี mucosal fold (MF) ยื่นสูง เข้ า ไปใน lumen มี ก ารแตกแขนง ออกเป็ น primary, secondary และ tertiary fold และเชื ่ อ มกั น ดู ค ล้ า ย pocket หรื อ follicle (*) มากมาย มี กล้ามเนื้อเรียบเรียงตัว 2 ชั้น คือ inner circular (IC) และ outer longitudinal (OL) layers ช ั ้ น น อ ก ส ุ ด เ ป ็ น ชั้ น adventitia (A) ท ี ่ ม ี elastic fiber จำนวนมาก

6. ศึกษาองคชาติ (penis) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 83 (Penis) เนื่องจากสไลด์หมายเลข 83 ในกล่องสไลด์ไม่ชัดเจน ดังนั้นนิสิตควรศึกษา ลั ก ษณะทางจุ ล กายวิ ภ าคขององคชาติ เ พิ ่ ม เติ ม จาก virtual slide online https://histologyguide.com/ : Chapter 19 Male reproductive system จากสไลด์ MH 184 Penis (H&E)

166 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Male Reproductive System

9X

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษา cross-section ของ penis โดยเริ่มศึกษาที่กำลังขยายต่ำสุด (9X) สั ง เกตเห็ น องคชาติ ป ระกอบด้ ว ย erectile tissue หรื อ cavernous tissue รู ป ร่ า งเป็ น ทรงกระบอกยาว 3 แท่ ง ได้ แ ก่ corpora cavernosa (CC) 2 แ ท ่ ง แ ล ะ corpus spongiosum (CS) โดยจะพบ penile urethra (U) ห ร ื อ spongy urethra น อ ก จ า ก นี้ ย ั ง พ บ elastic fiber ห ่ อ ห ุ ้ ม ร อ บ corpus cavernosum แต่ ล ะแท่ ง เรี ย กว่ า tunica albuginea (TA) มี ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาโครงสร้ า งภายในของ corpus spongiosum ที ่ ก ำลั ง ขยาย 40X พบร่ า งแหของ cavernous space (*) และ fibrous trabeculae (T) บริ เ วณตรงกลาง ของแท่ง corpus spongiosum สังเกตเห็น ท่อ ทางเดินปัสสาวะเรียกว่า penile urethra (U; ช่องว่างที่ลูกศรชี้) ที่บุด้วย pseudostratified columnar epithelium (E; ลูกศรชี)้

40X

100X

ขั ้ น ตอนที ่ 4 ศึ ก ษาโครงสร้ า งภายในของ corpus cavernosum ที่ ก ำลั ง ขยาย 100X สั ง เกตเห็ น หลอดเลื อ ดแดงตรงกลางเรี ย กว่ า central (deep) artery (ca) และพบร่างแห ของ cavernous space (*) หรื อ lacuna ที่ บุด้วย endothelium ซึ่งเป็นช่องว่างให้เลือด จาก central artery เข้ามาคั่งอยู่ขณะที่มีการ แข็งตัวขององคชาติ (erection) นอกจากนี้ยัง พบ fibrous trabeculae (T) แทรกตั ว อยู่ ทั่วไป

รูปภาพทั้งสาม: ที่มาดัดแปลงจาก https://histologyguide.com/slideview/MH184-penis/19-slide-1.html สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

h t t p s

P a g e | 167


Male Reproductive System

168 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Female Reproductive System

ปฏิบัติการที่ 15 ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง (Female Reproductive System) ผู้เขียน ผศ.ดร.หทัยรัตน์ เครือไวศยวรรณ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถบ่งบอกลักษณะของรังไข่ (ovary) และแยกแยะพร้อมทั้งชี้แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของ primordial follicle, primary follicle, secondary follicle, Graafian follicle, atretic follicle และ corpus luteum ได้ 2. สามารถแยกแยะชั้นต่าง ๆ ของผนังท่อนำไข่ (uterine tube) ได้แก่ mucosa, muscular layer และ serosa ได้ 3. สามารถแยกแยะชั้นต่าง ๆ ของผนังมดลูก (uterus) รวมทั้งบ่งบอกระยะต่าง ๆ ของชั้นเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium) ได้แก่ proliferative phase และ secretory phase ได้ 4. สามารถบ่งบอกลักษณะของปากมดลูก (cervix) และช่องคลอด (vagina) ได้ 5. สามารถบอกลักษณะของ chorionic villi ของรก (placenta) รวมทั้งชี้แสดง cytotrophoblast, syncytiotrophoblast และ decidual cell ได้ และจำแนกลักษณะของ placenta ในระยะ early และ term pregnancy ได้ 6. สามารถแยกแยะลักษณะของ stroma และ parenchyma ของต่อมน้ำนม รวมทั้งจำแนกระยะต่าง ๆ ของต่อมน้ำนม ได้แก่ active และ resting stages ได้ อวัย วะในระบบสืบ พัน ธุ์เ พศหญิง ประกอบด้ว ยอวัย วะสืบ พัน ธุ์ภ ายนอก ได้ แ ก่ mons pubis, labia, majora, labia minora และ clitoris และอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ได้แก่ ovary, uterine tube, uterus และ vagina โดยในบทปฏิบัติการนี้จะ ศึกษาเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายในเท่านั้น รวมทั้งรก (placenta) และต่อมน้ำนม (mammary gland) 1. รังไข่ (Ovary) รังไข่แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า cortex เป็นที่อยู่ของเซลล์ไข่ที่กำลังเจริญเติบโตในระยะต่าง ๆ และชั้นในเรียก medulla ซึ่งพบหลอดเลือด หลอดน้ำเหลืองและเส้นประสาท Ovarian follicles ที่พบในรังไข่ เป็นโครงสร้างลักษณะคล้ายถุง ประกอบด้วยเซลล์ไข่ (oocyte) และเซลล์ที่อยู่รอบล้อม แบ่งออกได้เป็นหลายระยะ ได้แก่ § Primordial follicle ประกอบด้วย oocyte ที่ล้อมรอบด้วย follicular cells รูปร่างแบน ๆ เรียงตัวชั้นเดียว § Primary follicle ประกอบด้วย oocyte ที่ล้อมรอบด้วยเซลล์รูปร่าง cuboid เรียงตัวชั้นเดียวหรือหลายชั้น เรียกว่า granulosa cells และมี stromal cells มาเรียงตัวล้อมรอบ เรียกว่า theca folliculi § Secondary follicle พบช่องว่างที่บรรจุ follicular fluid เรียกว่า follicular antrum เกิดขึ้นแทรกอยู่ระหว่าง follicular cells § Mature or Graafian follicle เป็นระยะที่ oocyte เจริญเต็มที่ พร้อมที่จะหลุดออกไปจากรังไข่ follicular antrum มีขนาดใหญ่มากจนดัน oocyte ไปชิดด้านใดด้านหนึ่ง § Corpus luteum เป็นส่วนของ follicle ที่เหลืออยู่หลังจากที่ไข่ตกไปแล้ว ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน โดยจะสลายไป กลายเป็น corpus albicans หลังไข่ตกไปแล้วประมาณ 14 วัน

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 169


Female Reproductive System 2. ท่อนำไข่ (Uterine หรือ Fallopian tube) ผนังท่อนำไข่ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น ได้แก่ § Mucosa ชั้นในสุด มีลักษณะเป็น fold ยื่นเข้าไปใน lumen บุด้วย simple columnar epithelium ที่ประกอบด้วย ciliated และ secretory cells § Muscular layer เป็นชั้นกล้ามเนื้อเรียบ § Serosa ชั้นนอกสุด เป็น loose connective tissue 3. มดลูก (Uterus) ผนังมดลูกประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น ได้แก่ § Endometrium ชั้นในสุด บุด้วย simple columnar epithelium เป็นชั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงและหลุดลอกไปตาม รอบประจำเดือน แบ่งออกได้เป็นระยะ menstrual, proliferative และ secretory phases § Myometrium เป็นชั้นกล้ามเนื้อเรียบที่มีความหนามาก § Perimetrium ชั้นนอกสุด เป็น loose connective tissue บาง ๆ บริเวณปากมดลูก (cervix) เป็นบริเวณที่พบการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบุผิวจาก simple columnar ไปเป็น nonkeratinized stratified squamous เรียกบริเวณนี้ว่า transitional zone หรือ transformation zone หรือ squamocolumnar junction และพบ cervical gland ที่หลั่ง mucous เป็นจำนวนมาก 4. ช่องคลอด (Vagina) ผนังช่องคลอดประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น ได้แก่ § Mucosa ชั้นในสุด บุด้วยเนื้อเยื่อบุผิวชนิด non-keratinized stratified squamous § Muscular layer เป็นชั้นกล้ามเนื้อเรียบ § Adventitia 5. รก (Placenta) รกประกอบด้วย fetal และ maternal components โดยในระยะ early pregnancy จะพบ chorionic villi ที่หุ้มด้วย เซลล์ ส องชนิ ด ได้ แ ก่ cytotrophoblast และ syncytiotrophoblast ส่ ว นในระยะ term pregnancy มั ก จะพบแค่ syncytiotrophoblast 6. ต่อมน้ำนม (Mammary gland) ต่อมน้ำนมประกอบด้วยส่วน stroma ที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ช่วย support เนื้อต่อม และ parenchyma หรือ glandular tissue ที่ประกอบด้วย alveoli และ duct ต่อมน้ำนมแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือระยะ inactive หรือ resting stage และ ระยะ active stage

170 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Female Reproductive System วิธีการศึกษาจากสไลด์ 1. ศึกษารังไข่ (ovary) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 84 (Ovary)

40X

100X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 4X ด้วยกำลังขยายต่ำ ศึกษา ลักษณะโดยทั่วไปของรังไข่ จะพบว่า รังไข่ แบ่ ง ได้ เ ป็ น 2 ส่ ว น บริ เ วณรอบนอกเป็ น cortex (C) ซึ่งประกอบด้วย connective tissue stroma แ ล ะ ovarian follicles ระยะต่าง ๆ ในส่วนลึกเป็นส่วน medulla (M) ซ ึ ่ ง ป ร ะ ก อ บ ด ้ ว ย blood vessels จำนวนมาก รังไข่มีเปลือกหุ้มเป็น dense fibrous connective tissue เรียก tunica albuginea (TA) บริเวณที่มีเส้นเลือดและ เส้ น ประสาทผ่ า นเข้ า และออกจากรั ง ไข่ เรียกว่า hilum (H) ขั ้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลั ง ขยาย 10X สั ง เกตเห็ น ว่ า ผนั ง ด้ า น นอกสุ ด ของรั ง ไข่ ถ ู ก คลุ มด้ ว ย germinal epithelium (GE) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อบุผิวชนิด simple cuboidal epithelium ให้ส ัง เกต ภายใน cortex ของรังไข่ จะพบ ovarian follicle (F) ที ่ ก ำลั ง เจริ ญ เติ บ โตในระยะ ต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็น primordial และ primary follicles ให้เลือกศึกษาดูลักษณะ ของ follicle ในแต่ละระยะ (TA = tunica albuginea)

P a g e | 171


Female Reproductive System ขั ้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษา primordial follicle ด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X จะเห็นว่า primordial follicle ประกอบด้วย primary oocyte ที่มี eccentric vesicular nucleus (N) ขนาดใหญ่ เห็ น นิ ว คลี โ อลั ส ชั ด เจน ล้อมรอบด้วย follicular cells ซึ่งเป็นเซลล์ แบน ๆ ชั้นเดียว

400X

ขั ้ น ตอนที่ 5 ศึ ก ษา primary follicle ด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X Primary follicle ประกอบด้ ว ย oocyte ที ่ ม ี ข นาด ใหญ่ขึ้น มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ล้อมรอบ ด้วย follicular cells ที่เริ่มเปลี่ยนรูปร่าง เป็น cuboidal cells เรียกว่า granulosa cell (GC) เรียงตัวชั้นเดียว เรียก follicle ระยะนี้ว่า unilaminar primary follicle 400X

400X

172 | P a g e

ข ั ้ น ต อ น ที่ 6 ศ ึ ก ษ า multilaminar primary follicle ด ้ ว ย เ ล น ส ์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 40X ประกอบด้วย oocyte ที่ ล้อมรอบด้วย granulosa cell (GC) รูปร่าง cuboid ที ่ เ รี ย งตั ว หลายชั ้ น สั ง เกตดู ร อบ oocyte จะเห็นชั้นของ glycoprotein ย้อม ติดสีชมพู เรียกว่า zona pellucida (ZP) ต่อจากนั้นให้สังเกตดู stromal cells ที่อยู่ ล้อมรอบ granulosa cells จะเรียงตัวเป็น ชั ้ น ล้ อ มรอบ follicle เรี ย กว่ า theca folliculi (TF)

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Female Reproductive System

100X

40X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้ น ตอนที่ 7 ศึ ก ษา secondary follicle ด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 10X follicle มี ขนาดใหญ่ ข ึ ้ น ระหว่ า ง granulosa cells มี ช่ อ งว่ า งและมี follicular fluid แทรกอยู่ ระหว่ า งเซลล์ โดยรวมกั น เป็ น แอ่ ง ชั ด เจน เรียกว่า follicular antrum (FA) ต่อจากนั้น ให้สังเกตดู theca folliculi จะเห็นว่าแบ่งออก ได้เป็น 2 ชั้น ชั้นในประกอบด้วยเซลล์ขนาด ใหญ่ นิวเคลียสโปร่ง เรียกว่า theca interna (TI) ชั ้ น นอกเป็ น ชั ้ น ที ่ เ รี ย กว่ า theca externa (TE) ประกอบด้ ว ยเซลล์ ร ู ป ร่ า ง spindle shape ซึ ่ ง จะรวมไปกั บ stromal cells ที ่ อ ยู ่ ล ้ อ มรอบ ส่ ว น zona pellucida (ZP) ในสไลด์นี้ย้อมติดสีฟ้า เนื่องจากเป็นการ ย้อมวิธีพิเศษ (Oc = oocyte) ขั้นตอนที่ 8 ศึกษา Graafian follicle ด้วย เลนส์ ว ั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X เป็ น follicle ที่ มี ขนาดใหญ่ ม าก ภายในมี follicular fluid จำนวนมาก antrum ขยายขนาดใหญ่ขึ้นและ ดั น ส่ ว นของ oocyte (Oc) และ granulosa cells ที่อยู่รอบ ๆ ไปอยู่ด้านหนึ่งของ follicle เรียก granulosa cells ที่อยู่ล้อมรอบ oocyte และสัมผัสอยู่รอบ zona pellucida จะเรียงตัว เป็นรัศมีเรียกว่า corona radiata (CR) ส่วน กลุ่มเซลล์ที่ยึดอยู่กับผนังของ follicle จะหนา ตัวขึ้น เรียกว่า cumulus oophorus (CO)

P a g e | 173


Female Reproductive System

100X

ขั้นตอนที่ 9 ศึกษา atretic follicle ด้วย เ ล น ส ์ ว ั ต ถุ ก ำ ล ั ง ข ย า ย 10X Atretic follicle (ลูกศร) เป็น follicle ที่เสื่อมสลาย เพราะไม่สามารถเจริญถึงระยะตกไข่ได้ ทั้ง oocyte และ follicular cells จะแสดง ลั ก ษณะของเซลล์ ท ี ่ ก ำลั ง จะตาย ถ้ า เป็ น follicle ขนาดเล็ก จะมีล ัก ษณะรูป ร่า งไม่ กลม นิ ว เคลี ย สของ oocyte จะติด สี เ ข้ม และแตก ถ้ า follicle ขนาดใหญ่ จะพบ การเปลี ่ ย นแปลงทั ้ ง ใน oocyte, zona pellucida และ theca cell จะสลายไป

2. ศึกษา corpus luteum ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 85 (Corpus luteum) ศึกษาด้วยตาเปล่าจะเห็นว่าภายในรังไข่มี corpus luteum อยู่เกือบเต็มทั้งรังไข่ ซึ่ง เกิดจากผนังของ Graafian follicle ที่แฟบลงภายหลังจากตกไข่ไปแล้ว และจัดตัว เป็น fold ลักษณะคล้ายต่อม

100X

174 | P a g e

ขั ้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษา corpus luteum ด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X หรือ 10X ให้สังเกตว่า granulosa cells มีการขยาย ขนาดกลายเป็น granulosa lutein cells (GL) ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ ติดสีจาง มี vesicular nucleus ส่วนรอบนอกจะเป็น กลุ ่ ม ของ theca lutein cells (TL) ซึ่ ง เปลี ่ ย นแปลงมาจากเซลล์ ใ นชั ้ น theca interna เ ป ็ น เ ซ ล ล ์ ข น า ด เ ล ็ ก ก ว่ า granulosa lutein cells และนิวเคลียสติด สี basophilic เ ข ้ ม ก ว ่ า ส ่ ว น theca externa ไม่ ม ี ก ารเปลี ่ ย นแปลง โดยทำ หน้าที่เป็น fibrous เปลือกหุ้มของ corpus luteum ต่อไป

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Female Reproductive System 3. ศึกษาท่อนำไข่ (uterine tube) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 86 (Uterine tube)

40X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั ้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษา uterine tube ด้ ว ย เลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ด้วยกําลังขยาย ต่ำจะเห็นว่า uterine tube มีลักษณะเป็น ท่ อ ท ี ่ มี mucosal folds ย ื ่ น เ ข้ า ไ ป ใ น lumen (L) มากมาย สั ง เกตดู ชั้ น lamina propria (LP) ซึ ่ ง ยื ่ น ไ ป เ ป็ น แ ก น ข อ ง mucosal folds ประกอบด้ ว ยเซลล์ เ ป็ น จํ า นวนมาก ชั ้ น ถั ด ไปเป็ น ชั ้ น กล้ า มเนื้ อ เรียบ (muscular layer, M) ชั้นในเรียงตัว แ บ บ circular ช ั ้ น น อ ก เ ร ี ย ง ต ั ว เ ป็ น longitudinal ส่ ว นชั ้ น นอกสุ ด เรี ย กว่ า serosa (S) เ ป็ น loose connective tissue

ขั ้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษา uterine tube ด้ ว ย เลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ด้วยกําลังขยาย สู ง สั ง เกตดู เ นื ้ อ เยื ่ อ บุ ผ ิ ว ชนิ ด simple columnar epithelium ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ย ciliated cell (Cc) ที่ free surface ของ เซลล์ มี cilia เห็นได้ชัดเจน บางเซลล์ไม่มี cilia มี secretory granule ภายในเซลล์ ทําหน้าที่สร้าง secretion เรียกเซลล์เหล่านี้ ว่า secretory หรือ peg cell (Sc) (L = lumen; LP = lamina propria)

P a g e | 175


Female Reproductive System 4. ศึกษามดลูก (uterus) ในระยะ proliferative phase ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 87 (Uterus, proliferative) M E

ศึ ก ษาด้ ว ยตาเปล่ า จะเห็ น ว่ า ในสไลด์ ท ี ่ น ำมาศึ ก ษามี เ ฉพาะชั้ น endometrium (E) และ myometrium (M) ที ่ ห นา โดยไม่ มี ชั้ น perimetrium

40X

ข ั ้ น ต อ น ที่ 2 ศ ึ ก ษ า ด ้ ว ย เ ล น ส ์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 4X สังเกตลักษณะทั่วไป จะเห็น ว่ามี myometrium (M) หนามาก ให้ศึกษา ส่วน endometrium ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชั้นคือ ชั้น basal layer (BL) เป็นชั้นบาง ๆ ที่อยู่ ชิดกับ myometrium (M) ส่วนชั้นถัดขึ้นไป จนถึ ง surface epithelium (E; ลู ก ศรชี้ ) เป็นชั้น functional layer (FL) ซึ่งจะหลุด ออกไปในขณะที ่ ม ี ป ระจํ า เดื อ น ในชั้ น lamina propria (LP) ห ร ื อ stroma มี uterine gland (UG; ล ู ก ศ ร ชี้ ) อ ยู่ เ ป็ น จำนวนมาก โดยมีลักษณะเป็นท่อยาวทอด ตรง ๆ

5. ศึกษามดลูก (uterus) ในระยะ secretory phase ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 88 (Uterus, secretory)

E

M

ศึกษาด้วยตาเปล่า จะเห็นว่าในสไลด์ที่นำมาศึกษามีเพียงชั้น endometrium (E) ที่มีความหนามาก และชั้นของ myometrium (M) บางส่วน

ข ั ้ น ต อ น ที่ 2 ศ ึ ก ษ า ด ้ ว ย เ ล น ส ์ ว ั ต ถุ กำลั ง ขยาย 4X สั ง เกตดู endometrium พบว่าหนามาก มีเนื้อเยื่อบุผิวเป็น simple columnar epithelium ลึ ก ลงไปเป็ น ชั้ น myometrium ซึ่งหนามากเช่นกัน ในระยะ นี ้ uterine glands (UG; ลู ก ศรชี้ ) จะมี ขนาดใหญ่ ข ึ ้ น และมั ก จะขดงอไปมา บาง ต่อมอาจพบ secretion ขังอยู่ใน lumen (M = myometrium) 40X

176 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Female Reproductive System 6. ศึกษาปากมดลูก (cervix) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 89 (Cervix) ศึกษาด้วยตาเปล่า เป็นบริเวณรอยต่อระหว่าง endocervix และ ectocervix ซึ่งมีการเปลี่ยนชนิดของเนื้อเยื่อบุผิว ให้ขยายเข้าไปศึกษาดูในบริเวณกรอบ สี่เหลี่ยม

40X

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X สังเกตดูทางด้าน endocervix จะพบว่า เ น ื ้ อ เ ย ื ่ อ บ ุ ผ ิ ว เ ป ็ น ช น ิ ด simple tall columnar (SCE) ใ น ช ั ้ น lamina propria พ บ cervical gland (CG) ท ี ่ แ ต ก แ ข น ง มากมาย ต่อมนี้ให้ mucous secretion หล่อ ลื ่ น vagina สำหรั บ ส่ ว น ectocervix จะถู ก ค ล ุ ม ด้ ว ย non-keratinized stratified squamous epithelium (SSE) บ ร ิ เ ว ณ ที่ เนื้อเยื่อบุผิวเปลี่ยนจาก columnar cell ไป เป็น squamous cell เรียกว่า transitional ห ร ื อ transformation zone (TZ) ห รื อ squamo-columnar junction

7. ศึกษาช่องคลอด (vagina) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 90 (Vagina)

40X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X พบว่า vagina ประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ (1) ชั ้ น mucosa บุ ด้ ว ยเนื ้ อ เยื ่ อ บุ ผ ิ ว ชนิ ด non-keratinized stratified squamous epithelium (SSE) ที ่ ค่ อ นข้ า งหนา และชั้ น lamina propria (LP) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มี elastic fibers ม า ก ไ ม่ มี gland ใ น ช ั ้ น นี้ (2) ชั ้ น muscularis เป็ น ชั ้ น กล้ า มเนื ้ อ เรี ย บ (3) ชั ้ น adventitia เป็ น loose connective tissue (ในสไลด์ ท ี ่ น ำมาศึ ก ษาจะเห็ น แค่ ชั้ น mucosa)

P a g e | 177


Female Reproductive System 8. ศึกษารก (placenta) ในระยะ early pregnancy ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 93 (Placenta, early pregnancy) ศึ ก ษาด้ ว ยตาเปล่ า จะเห็ น ว่ า รกประกอบด้ ว ยส่ ว นที ่ ม าจากลู ก เรี ย กว่ า fetal component (F) ซึ่งประกอบด้วย chorionic plate (ลูกศรชี้) และ chorionic villi และส่ ว นของแม่ เรี ย กว่ า maternal component (M) ได้ แ ก่ decidua basalis ซึ่งมี decidua cells เป็นส่วนประกอบ ขั ้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษา fetal component ของรก ด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X ด้วยกําลังขยายต่ำจะเห็นว่ามี chorionic villi (CV) ที ่ ม ี ข นาดและรู ป ร่ า งต่ า งกั น ระหว่าง villi เป็น maternal blood เลื่อน ดูบาง villus ที่ติดต่อกับ chorionic plate (CP)

40X

400X

178 | P a g e

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษา chorionic villi ด้วย เลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เลือกดู villus อันใดอันหนึ่งด้วยกําลังขยายสูง จะเห็นว่า chorionic villi มี mesenchymal connective tissue เป็ น แกนกลาง ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย mesenchymal cell (MC) ใ น บ า ง villus อ า จ เ ห ็ น fetal blood vessels (B) ได้ รอบนอก villus มีเซลล์ที่ เ ร ี ย ก ว่ า trophoblasts หุ้ ม อ ยู่ ซึ่ ง ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด เซลล์ชั้นนอก เรี ย กว่ า syncytial trophoblasts หรื อ syncytiotrophoblast (ST) มีนิวเคลียส ติ ด สี เ ข้ ม ขอบเขตเซลล์ ไ ม่ ช ั ด เจน เซลล์ ชั ้ น ในเรี ย กว่ า cytotrophoblasts (CT) เป็นเซลล์รูปร่าง oval มีไซโทพลาสซึมติดสี จาง เห็นขอบเขตเซลล์ชัดเจน

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Female Reproductive System ขั ้ น ตอนที่ 4 ศึ ก ษารกในส่ ว น maternal component ด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X มี ล ั ก ษณ ะเป็ น cellular mass หรื อ plate ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ย decidual cells (DC) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีรูปร่าง oval ขนาดใหญ่ นิ ว เคลี ย สขนาดใหญ่ แ ละ โปร่ง (CV = chorionic villi)

40X

9. ศึกษารก (placenta) ในระยะ term pregnancy ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 94 (Placenta, term)

ขั ้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษา chorionic villi ด้ ว ย เลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เลือกดู villus อันใดอันหนึ่งด้วยกําลังขยายสูง จะเห็นว่า ภายใน villus มี fetal blood vessels (B) เพิ่มมากขึ้น แต่ cytotrophoblasts พบน้อย มากหรือไม่มีเลย มีแต่เซลล์รอบนอกที่เป็น syncytial trophoblast ซึ ่ ง มั ก อยู ่ ร วมกั น เป็นกลุ่มเรียกว่า syncytial knot (ลูกศรชี้)

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 179


Female Reproductive System 10. ศึกษาต่อมน้ำนม (mammary gland) ในระยะ resting stage ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 91 (Mammary gland, resting)

ขั ้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลั ง ขยาย 4X ด้ ว ยกํ า ลั ง ขยายต่ ำ ดู ลักษณะทั่วไปของต่อมน้ำนม จะเห็นว่ามี glandular tissue (G) น้ อ ย เมื ่ อ เที ย บ กั บ ส่ ว นของ stroma (S) ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น duct มี alveoli น้ อ ย ซ ึ ่ ง ม ั ก จ ะ เ ป็ น budding ติ ด ต่ อ ไปจาก ducts ส่ ว นของ alveoli นี้ไม่ค่อยเจริญและมีขนาดเล็ก

40X

11. ศึกษาต่อมน้ำนม (mammary gland) ในระยะ active stage ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 92 (Mammary gland, active)

40X

180 | P a g e

ขั ้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 4X ด้วยกําลังขยายต่ำจะเห็น ว่ า glandular tissue ซ ึ ่ ง เ ร ี ย ก ว่ า parenchyma ถูก แบ่งออกเป็น lobules (L) ด้วย interlobular connective tissue (CNT) ซึ ่ ง ภายในมี blood vessels และ interlobular duct อยู่ สั ง เกตดู ภ ายใน lobule เนื่องจากสไลด์นี้เป็นต่อมน้ำนมที่ อยู่ในระยะตั้งครรภ์หรือระยะให้นมบุตร ซึ่งเป็นภาวะ active จึงเต็มไปด้วย alveoli และ ducts ในบาง alveoli จะเห็ น ว่ า มี milk secretion ขังอยูใ่ น lumen

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Special Sense Organs

ปฏิบัติการที่ 16 อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ (Special Sense Organs) ผู้เขียน รศ.ดร.สุทิสา ถาน้อย ผู้ปรับปรุง ผศ.รัชนี ชนะสงค์ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายลักษณะทางจุลกายวิภาคของตาได้ถูกต้อง 2. ชี้แสดงและอธิบายโครงสร้างที่สำคัญของหูชั้นในได้ถูกต้อง 3. ชีแ้ สดงและอธิบายหน้าที่ของเซลล์ใน olfactory epithelium ได้ถูกต้อง 4. ชีแ้ สดงและอธิบายหน้าที่ของเซลล์ใน taste bud ได้ถูกต้อง จุลกายวิภาคศาสตร์ของตา (Histology of eye) ประกอบด้วยเยื่อหุ้มตา เลนส์ (lens) และหนังตา (eyelid) 1. เยื่อหุ้มลูกตา แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ 1.1 ชั้นนอก (outer fibrous layer) ประกอบด้วย cornea, sclera และ sclero-corneal junction 1.1.1 Cornea คือส่วนทางด้านหน้าของตาที่มีลักษณะใส (transparent) สามารถแบ่งเป็นชั้นต่าง ๆ ดังนี้ - Anterior corneal epithelium เป็น non-keratinized stratified squamous epithelium - Bowman’s membrane หรือ anterior elastic membrane - Substantia propria หรือ corneal stroma หนาประมาณ 90% ของความหนา cornea ทั้งหมด - Descemet’s membrane หรือ posterior elastic membrane เป็นชั้นที่ถัดลงมา สะท้อนแสง เห็นติดสี ชมพู ชั ด เจน ชั้ น นี้ จั ด เป็ น true basement membrane และถู ก สร้ า งมาจาก corneal endothelial cells - Corneal endothelium ห รื อ mesothelium เป็ น เยื่ อ บุ ผิ ว ชนิ ด simple squamous epithelium บุ anterior ocular chamber 1.1.2 Sclera ประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ - Episclera เป็นชั้นที่อยู่นอกสุด ชั้นนี้มีองค์ประกอบเป็น loose fibro-collagenous connective tissue - Stroma เป็นชั้นกลาง ซึ่งประกอบไปด้วย bundles ของ collagen ที่หนากว่า episclera - Inner part of sclera เป็นชั้นในสุดที่ติดกับชัน้ choroid 1.1.3 Sclero-corneal junction เป็นบริเวณรอยต่อระหว่าง cornea และ sclera 1.2 ชัน้ กลาง (middle vascular layer หรือ uvea) ประกอบด้วย choroid, ciliary body, iris และ iris angle 1.2.1 Choroid แบ่งออกเป็นชั้นต่าง ๆ ดังนี้ - Suprachoroid layer และ vascular layer (choroidal stroma) - Choriocapillary layer - Bruch’s membrane เป็นชั้นที่อยู่ระหว่าง choroid กับ retina 1.2.2 Ciliary body เป็ น ผนังชั้น กลางของลูกตา (uvea) บุด้วย cuboidal epithelium 2 ชั้น (double layers) ชั้ น ลึ ก หรือ deep layer มี pigmented cells เป็ น จำนวนมาก และชั้ น ผิ ว (surface layer) เป็ น ชั้ น ที่ ไม่ มี pigment ซึ่งคือชั้นที่ต่อเนื่องมาจาก non-photosensitive ของชั้น receptor layer ของ retina โครงสร้าง ของ ciliary body ประกอบด้วย ciliary process และ ciliary muscle Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 181


Special Sense Organs 1.2.3 Iris ประกอบด้วย - Stroma ประกอบด้วย connective tissue fibers และมี deeply pigmented cell จำนวนมาก - Sphincter pupillae muscle เป็น smooth muscle ซึ่งเรียงตัวเป็นวงแหวนรอบ ๆ ขอบของ pupil - Dilator pupillae เป็น smooth muscle ที่อยู่บริเวณใกล้ ๆ กับ pigmented epithelium - Pigmented epithelium ต่อเนื่องมาจาก non-visual portion of retina เรียกว่า pars iridica retinae 1.2.4 Iris angle เป็นมุมระหว่าง cornea กับ iris อยู่ที่ anterior chamber ที่บริเวณนี้พบโครงสร้างต่าง ๆ คือ - Trabecular meshwork เป็ น เส้ น ใย (fiber) ที่ ส านกั น เป็ น ตาข่ า ย ต่ อ เนื่ อ งมาจาก posterior elastic membrane ของ cornea ไปที่ root ของ iris - Spaces of Fontana เป็นช่องที่อยู่ระหว่าง trabecular meshwork - Canal of Schlemm หรือ sinus venous sclerae เป็นช่องเลือดดำซึ่งติดกับขอบของ cornea และติด กับมุมของ anterior chamber ลักษณะช่องเป็นรูปไข่และบุด้วย endothelial cells 1.3 ชั้นใน (inner layer) ได้แก่ retina Retina แบ่ ง ออกเป็ น 10 ชั้ น ได้ แ ก่ (1) pigment epithelium layer, (2) rods and cones layer, (3) external limiting membrane, (4) outer nuclear layer, (5) outer plexiform layer, (6) inner nuclear layer, (7) inner plexiform layer, (8) ganglion cell layer, (9) optic nerve fiber layer และ (10) internal limiting membrane 2. เลนส์ (lens) เป็น large biconvex body ที่อยู่หลังต่อ iris ประกอบด้วย - Capsule มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ เนื้อเดียว ประกอบขึ้นจาก collagen fiber หุ้มด้านนอกสุดของ lens - Lenticular epithelium เป็นชั้นที่อยูใ่ ต้ต่อ capsule ประกอบด้วยเซลล์รูปร่าง cuboid เรียงตัวชั้นเดียว - Cells of lens และ lens fibers ทีเ่ กิดจากการยืดยาวออกมาของ cells of lens - Lens nucleus เป็น lens fibers ที่อยู่ตรงกลางของ lens และฟอร์มตัวกันเป็นก้อน - Suspensory ligament เป็นเส้นใยบาง ๆ ซึ่งเกาะจาก ciliary body มายัง lens capsule 3. หนังตา (eyelid) หนังตาเป็น thin skin ที่อยู่ชั้นนอกของเปลือกตา จะเห็นรากขน ต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อ ถัดเข้ามาชั้นในของเปลือกตา เป็ น เยื่ อ หนั งตา (palpebral conjunctiva) ซึ่ งเป็ น เยื่ อ บุ ผิ ว ชนิ ด stratified columnar epithelium ใต้ ต่ อ ชั้ น lamina propria เป็ น dense fibrous tissue เรี ย กว่ า tarsal plate ภายใน tarsal plate จะมี simple branched alveolar glands เรียกว่า tarsal หรือ Meibomian glands ฝังตัวอยู่ ที่ส่วนปลายของเปลือกตานั้นจะมีขนตาออกมาจากต่อมราก ขน และพบต่ อ มไขมั น เรี ย กว่ า sebaceous gland of Zeis หรื อ Zeis gland และพบต่ อ มเหงื่ อ เรี ย กว่ า Moll gland เปลือกตานั้นมี orbicularis oculi muscle เป็นกล้ามเนื้อลายของลูกตาอยู่เป็นแกนกลาง จุลกายวิภาคศาสตร์ของหู (Histology of ear) หูแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ หูชั้นนอก (external ear) หูชั้นกลาง (middle ear) และหูชั้นใน (inner ear) ในที่นี้จะอธิบาย ลักษณะทางจุลกายวิภาคของหูชั้นในเท่านั้น ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญต่อระบบการได้ยิน และระบบการทรงตัว 1. Inner ear ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ bony labyrinth และ membranous labyrinth 1.1. Bony labyrinth เป็ น ส่ ว นที่ เ ป็ น กระดู ก ภายในเป็ น ช่ อ งกลวง แบ่ ง ออกเป็ น 3 ส่ ว นคื อ (1) vestibule, (2) semicircular canals และ (3) bony cochlea Cochlea มีลักษณะเป็น bony canal พันรอบแกนที่เรียกว่า modiolus ภายในโพรงซึ่งขดเป็นเกลียวนี้ มี แผ่นกระดูกยื่นออกมาจาก modiolus ออกไปสู่กลางโพรง มีลักษณะเป็นเกลียวเรียกว่า osseous spiral lamina จ า ก osseous spiral lamina จ ะ มี แ ผ่ น membrane ขึ ง ไป ยั ง outer wall ข อ ง bony cochlea เรี ย ก 182 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Special Sense Organs membrane นี้ว่า basilar membrane บริเวณ outer wall ที่ basilar membrane ยึดอยู่จะมีการหนาตัวขึ้นของ periosteum เป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกบริเวณนี้ว่า spiral ligament ซึ่งส่วนปลายสุดจะยื่นเข้าไปด้านในเรียกว่า spiral crest ส่ ว นของ basilar membrane จะแบ่ ง cochlea ออกเป็ น 2 ส่ ว น คื อ ส่ ว นที่ อ ยู่ ใ ต้ ต่ อ basilar membrane เรียกว่า scala tympani ส่วนที่อยู่เหนือ membrane เรียกว่า scala vestibule โดย scala vestibuli ยังถูกแบ่งอีกเป็น 2 ส่วน โดยโครงสร้างที่เรียกว่า vestibular membrane ซึ่งยึดอยู่กับ upper part ของ osseous spiral lamina และทอดไปยัง upper part ของ spiral ligament ส่วนที่อยู่เหนือ vestibular membrane เรียกว่า scala vestibuli proper และส่ ว นที่ อ ยู่ ใ ต้ ต่ อ vestibular membrane เรี ย กว่ า cochlear duct หรื อ scala media 1.2 Membranous labyrinth ในส่วนของ membranous labyrinth จะมี organ of hearing และ vestibular organ อยู่ภายใน โดยเกิดจากการ ดัดแปลงของเยื่อบุผิวกลายเป็น neuroepithelium ที่ทำหน้าที่เฉพาะ Neuroepithelium ที่อยู่ใน membranous labyrinth แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ (1) macula, (2) crista ampullaris อยู่บริเวณปลายกระเปาะ (ampullated end) ของ semicircular duct และ (3) organ of Corti หรื อ spiral organ เป็ น organ of hearing จะวางอยู่ บ น basilar membrane ใน cochlear duct ในปฏิบัติการนี้ให้ศึกษาเฉพาะ organ of Corti จากสไลด์สาธิต Organ of Corti วางอยู่บน basilar membrane (lower wall ของ cochlear duct) เยื่อบุผิวที่ปกคลุม บริเวณนี้ ประกอบด้วย hair cell และ supporting cell เรียงลำดับจากด้านใกล้ modiolus ออกไปยัง outer wall ได้ ดังนี้ 1. Border cells เป็นเซลล์รูปร่าง columnar เรียงตัวเป็นแถวเดียวอยู่ใกล้ modiolus มากที่สุด 2. Inner hair cells เป็ น เซลล์ รูป ร่า ง columnar เรีย งตั ว กั น เป็ น แถวเดี ย ว วางตั ว อยู่ บ น inner phalangeal cells ที่ปลายบนมี process คือ cilia ยื่นไปสัมพันธ์กับ tectorial membrane 3. Inner phalangeal cells ฐานของเซลล์วางอยู่บน basilar membrane ที่ส่วนบนของเซลล์มี facet ให้ inner hair cells วางทับอยู่ เซลล์จะเรียงตัวเป็นแถวเดียวเช่นเดียวกับ inner hair cells 4. Inner pillar cells และ outer pillar cells มี base กว้างและมี นิ วเคลีย สอยู่ภ ายใน พบ body มี ลัก ษณะ เรียวเล็กรูป cone ส่วน head จะโตออกและมีส่วนโค้งเว้ารับกันระหว่าง head ของ inner และ outer pillar cells ภายในเซลล์มี microtubule จำนวนมาก extend จาก base ถึง head ทำให้ pillar cells แข็งแรง ทำ หน้าที่เป็นโครงร่างของ organ of Corti ระหว่าง body ของ inner กับ outer pillar cell มีโพรงอยู่เรียกว่า inner tunnel 5. Outer phalangeal cells ทำหน้ า ที่ เป็ น supporting cells ให้ กั บ outer hair cells เช่ น เดี ย วกั บ inner phalangeal cells โดย outer phalangeal cell หนึ่งเซลล์จะมี outer hair cell วางทับอยู่หนึ่งเซลล์ 6. Outer hair cells เป็ น เซลล์ รูป ร่าง columnar วางทั บ อยู่ บ น outer phalangeal cells เพราะฉะนั้ น จะมี จำนวนและการเรีย งตั ว เหมื อ น outer phalangeal cells ที่ ส่ ว น apex ของเซลล์ จ ะมี villi ไปสั ม พั น ธ์กั บ tectorial membrane 7. Cells of Hensen เป็นเซลล์รูปร่าง tall columnar ซึ่งเป็น outer border ของ organ of Corti โดยบริเวณ ส่วนยอดของเซลล์จะกว้างออก จุลกายวิภาคศาสตร์ของระบบการรับกลิ่น (Histology of olfaction) Olfactory epithelium ประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด ได้แก่ olfactory nerve cell, sustentacular (supporting) cell และ basal cell Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 183


Special Sense Organs จุลกายวิภาคศาสตร์ของระบบการรับรส (Histology of gustation) บริเวณลิ้ น มี ระบบการรับ รส โดยจะพบ taste bud แทรกอยู่ ในเยื่ อ บุ ผิ วของ fungiform, circumvallate และ foliated papillae มีรูปร่างเป็นวงรีหรือรูปไข่ (ovoid shape) มีรูเปิดเข้าสู่ oral cavity เรียกว่า outer taste pore และที่โคนจะมีรู เปิดเล็ก ๆ คือ inner taste pore โครงสร้างของ taste bud ประกอบด้วย cell ประมาณ 30-40 cells แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ neuroepithelial (gustatory) cell, supporting cell และ basal cell การศึกษาโครงสร้างในสไลด์ Note: การศึกษาโครงสร้างต่าง ๆ ของลูกตา ใช้สไลด์หมายเลข 30 ซึ่งในกล่องสไลด์แต่ละกล่องนั้น สไลด์หมายเลข 30 บาง กล่อ งเป็ น eyeball บางกล่อ งเป็ น cornea ให้ นิ สิต แลกเปลี่ย นกัน ดู เพื่ อ ศึ ก ษาตามคู่ มื อ ปฏิ บั ติ ก าร รวมทั้ งจาก website https://histologyguide.com/ 1. ศึกษา sclera และ choroid ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์ Eyeball จาก https://histologyguide.com/

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาโดยใช้ ก ำลั ง ขยาย 2X สั ง เกต ลั ก ษณ ะโครงสร้ า งโดยรวมของลู ก ตา sclera มี ขอบเขตประมาณ 5 ใน 6 ของส่ ว นทางด้ า นหลั ง ทั้งหมด เมื่อขยายเข้าไปดูตามกรอบสี่เหลี่ยม สังเกต ชั้นของ sclera และชั้น choroid

2X ที่มา: https://histologyguide.com/ (สืบค้นวันที่ 19 กันยายน 2564)

10X ที่มา: https://histologyguide.com/(สืบค้นวันที่ 19 กันยายน 2564)

184 | P a g e

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาโดยใช้กำลังขยาย 10X สังเกต ส่วนของ sclera ประกอบด้วย 3 ชัน้ คือ (1) episclera เป็ น ชั้ น ที่ อ ยู่ น อ ก สุ ด ชั้ น นี้ มี อ งค์ ป ระ ก อ บ เป็ น loose fibro-collagenous tissues และอยู่ติดกับ periorbital fat (2) stroma เป็นชั้นกลาง ประกอบด้วย bundles ของ collagen ที่ ห นากว่ า episclera มี ลั ก ษณะ เป็น dense collagenous fiber bundles และ (3) inner part of sclera เป็น ชั้น ในสุดที่ติดกับ ชั้ น choroid และสั ง เกต ชั้ น choroid ซึ่ ง เป็ น โครงสร้ า งที่ ผิ ว ด้ า น ใของ sclera เป็ น ชั้ น ที่ มี pigmented cells และหลอดเลือดจำนวนมาก

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Special Sense Organs 2. ศึกษา cornea ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์ Eyeball จาก https://histologyguide.com/

0.8X ที่มา: https://histologyguide.com/(สืบค้นวันที่ 19 กันยายน 2564)

20X ที่มา: https://histologyguide.com/(สืบค้นวันที่ 19 กันยายน 2564)

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้ น ต อ น ที่ 2 ศึ ก ษ าโด ย ใช้ ก ำลั งข ย าย 0.8X ศึกษา cornea ซึ่งอยู่ท างด้านหน้าประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของลูกตา แยกชั้นต่าง ๆ ของ cornea จาก ด้าน นอกเข้ า สู่ ด้ า นใน ได้ แ ก่ (1) anterior epithelium ห รื อ corneal epithelium (2) Bowman’s membrane หรือ anterior elastic membrane (3) substantia propria ห รื อ corneal stroma (4) Descemet’s membrane ห รื อ posterior elastic membrane (5) corneal endothelium หมายเหตุ (2) และ (4) ศึกษาได้ชัดเจนที่กำลังขยาย 20X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาโดยใช้กำลังขยาย 20X ขยายดู ชั้ น ต่ า ง ๆ ของ cornea ได้ แ ก่ (1) corneal epithelium ซึ่ ง เป็ น non-keratinized stratified squamous epithelium (2) Bowman’s membrane อยู่ ร ะหว่ า ง corneal epithelium กั บ corneal stroma (3) corneal stroma เรียงตัวเป็น ชั้ น ขนานกั บ ผิ ว ของ cornea และระหว่ า งชั้ น จะมี corneal stromal cells ห รื อ corneal corpuscles แ ท ร ก อ ยู่ (4) Descemet’s membrane เป็น ชั้น ที่อยู่ระหว่าง corneal stroma กับ corneal endothelium สะท้อนแสง ติดสีชมพู เห็ น ชั ด เจน (5) corneal endothelium มี ลั ก ษณะ เป็น simple squamous epithelium

P a g e | 185


Special Sense Organs 3. ศึกษา ciliary body ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 30 (Eyeball) AP-8.30 Eyeball

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X สั ง เกต ciliary body และส่ ว นที่ ยื่ น ออกมาจาก ciliary body เรียกว่า ciliary processes

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X สั ง เกต ciliary process ซึ่ ง มี ลั ก ษณะเป็ น สั น ที่ ยื่ น ออกมาจาก ciliary body พิจารณาดูจะเห็น ciliary epithelium 2 ชั้ น ไ ด้ แ ก่ outer deeply pigmented layer (outer layer) แ ล ะ inner layer of clear epithelial cells (inner layer) แ ล ะ สั งเก ต ดู ใน ciliary body นั้ น จ ะ มี ciliary muscle ซึ่งเป็น smooth muscle สังเกตดูเห็นติดสี ชมพู 400X

186 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Special Sense Organs 4. ศึกษา iris และ iris angle ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 30 (Eyeball) AP-8.30 Eyeball

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X สั ง เกตดู จ ะเห็ น ว่ า iris เป็ น ส่ ว นที่ ต่ อ เนื่ อ งมาจาก ciliary body ซึ่ ง จะทอดไปอยู่ ห น้ า ต่ อ lens และ สั งเกต iris angle อยู่ ต รงบริเวณรอยต่ อ ระหว่ า ง cornea กั บ iris อ ยู่ ที่ บ ริ เว ณ ด้ า น anterior chamber

40X 40X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาโครงสร้างของ iris ดังนี้ (1) stroma ประกอบด้ ว ย deeply pigmented cell (stromal melanocytes) จ ำ น ว น ม า ก โดยเฉพาะในบริ เ วณใต้ anterior surface เพื่ อ ประกอบเป็น anterior border layer และในส่วน ลึกลงไปของ stroma จะประกอบด้วยหลอดเลือด เรี ย ก ว่ า vessel layer (2) sphincter pupillae muscle เป็ น smooth muscle เรี ย งตั ว เป็ น วง แหวนรอบขอบของ pupil (3) dilator pupillae muscle เป็ น smooth muscle ที่ อ ยู่ ใก ล้ กั บ pigmented epithelium และ (4) double layer of pigment ต่อเนื่องมาจาก non visual portion of retina เรี ย กว่ า pars iridica retinae และจะ สิ้นสุดที่ขอบของ pupil

P a g e | 187


Special Sense Organs ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X สังเกตโครงสร้างบริเวณ iris angle ได้แก่ (1) meshwork of the iris angle (Meshwork) เป็นเส้นใย (fibers) ที่สานกันเป็นตาข่ายต่อ เนือ่ งมาจาก posterior elastic membrane ของ cornea ไปที่ root ของ iris (2) spaces of Fontana เป็นช่องที่อยู่ระหว่าง meshwork of the iris angle (3) canal of Schlemm เป็นช่อง ติดกับขอบของ cornea ลักษณะช่องเป็นรูปไข่ และ บุด้วย endothelial cells 400X

5. ศึกษา lens ขัน้ ตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 30 (Eyeball) AP-8.30 Eyeball

A

AP-8.30 Eyeball

B

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสไลด์ A ด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X สังเกต lens เป็น large biconvex body ที่อยู่หลัง ต่อ iris และค้ำจุน iris อยู่ ศึ ก ษา zonula fibers (ลู ก ศรชี้ ) หรื อ suspensory ligament ซึ่ ง เป็ น เส้ น ใยบาง ๆ ซึ่ ง เกาะจาก ciliary body มายัง lens capsule

40X

188 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Special Sense Organs ขั้น ตอนที่ 3 ศึกษาสไลด์ A ด้วยเลนส์วัต ถุกำลังขยาย 1 0X ศึ ก ษ าโค ร งส ร้ างต่ อ ไป นี้ ข อ ง lens (1) lens capsule (2) lenticular epithelium เป็ น ชั้ น ที่ อ ยู่ ใ ต้ ต่ อ capsule ท าง anterior surface มี ลั ก ษ ณ ะ เป็ น simple cuboidal epithelium (3) lens fibers

100X

400X

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาสไลด์ B ด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาโครงสร้ า งต่ อ ไปนี้ ข อง lens (1) lens capsule มี ลั ก ษณะเยื่ อ บาง ๆ เป็ น เนื้ อ เดี ย ว เป็ น collagen fiber หุ้ ม lens โ ด ย ท า ง anterior จ ะ ห น า ก ว่ า posterior (2) lenticular epithelium ลักษณะเป็นเซลล์รูปร่าง cuboid ชั้ น เดี ย ว (3) cells of lens และ lens fibers (Forming lens fibers) ซึ่ ง เกิ ด จากการยื ด ยาวออกมาของ cells of lens และ (4) lens nucleus เป็ น lens fibers ที่ อ ยู่ ต รง กลางของ lens และฟอร์ม ตั ว กั น เป็ น ก้ อ น (ในสไลด์ เห็ น ไม่ ชัดเจน)

6. ศึกษา retina ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 30 (Eyeball) AP-8.30 Eyeball

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 4X สังเกตบริเวณ retina อยู่ท างด้านหลังของ lens มีการ เรียงตัวของเซลล์หลายชั้นด้วยกัน โดยชั้นนอกจะติดกับ ชั้น choroid

40X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 189


Special Sense Organs ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X ให้ ศึ ก ษ าเซลล์ ใ น แต่ ล ะชั้ น ของ retina ต า ม ล ำ ดั บ ดั ง ต่ อ ไ ป นี้ (1) pigmented epithelium เป็ น ชั้ น ที่ ติ ด กั บ choroid มี pigmented cells เรียงตัวกันเป็นแถวติดสีดำเข้ม (สำหรับ developing eyeball จะมี pigmented cells ไม่ ติ ด สี ด ำเข้ ม ) (2) rod and cone cells layer เป็ น ชั้ น ที่ มี ส่ ว น ไซ โท พ ล า ส ซึ ม ข อ ง rod แ ล ะ cone cells (3) external limiting membrane เป็นแผ่นบาง ๆ สีชมพูอยู่ใต้ชั้น rod and cone cells layer (4) outer nuclear 400X layer เป็ น ชั้ น ที่ มี cell bodies ของ rods และ cones อยู่ห นาแน่ น มองเห็ น ติด สีน้ ำเงิน เข้ม (5) outer plexiform layer อยู่ใต้ต่อ ชั้น outer nuclear layer (6) inner nuclear layer จะเห็น nuclei ของเซลล์ติดสีเข้มจำนวนมาก (7) inner plexiform layer จะเห็นแขนงประสาทติดสีชมพู ซึ่ ง เป็ น axons ข อ ง bipolar cells แ ล ะ dendritic processes ข อ ง ganglionic cells (8) ganglion cell layer ประกอบด้วย large multipolar ganglion cells สังเกตเห็น cell bodies ของเซลล์มีขนาดใหญ่ (9) optic nerve fiber layer ป ระ ก อ บ ด้ วย axons ข อ ง ganglionic cells ซึ่ งรวม กั น เป็ น optic nerve แ ล ะ (10) internal limiting membrane สังเกตเห็นเป็นเยื่อบาง ๆ ซึ่งอยู่ระหว่าง nerve fiber layer กับ vitreous body 7. ศึกษา eyelid ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 31 (Eyelid)

ขั้ น ตอนที่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั งขยาย 4X สังเกตชั้นนอกของเปลือกตาเป็น thin skin ซึ่ งจะเห็ น รากขน ต่ อ มไขมั น และต่ อ มเหงื่อ ถั ด เข้ า มาชั้ น ในของเปลื อ กตาเป็ น เยื่ อ หนั ง ตา (palpebral conjunctiva) ศึ ก ษา tarsal plate ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นหนา ๆ อยู่ลึกต่อกล้ามเนื้อ แ ล ะ ภ า ย ใ น tarsal plate จ ะ มี simple branched alveolar glands เรี ย ก ว่ า tarsal gland หรือ Meibomian gland ที่ส่วนปลาย ของเปลือกตานั้นจะมีขนตา ออกมาจากต่อมราก 40X ขน (hair follicle) และพบต่ อ มไขมั น เรี ย กว่ า sebaceous gland of Zeis หรื อ Zeis gland และพ บ ต่ อ มเหงื่ อ เรี ย กว่ า Moll gland (gland of moll) ซึ่ ง เป็ น modified sweat gland อยู่ ป ะปนกั น กั บ Zeis gland สั งเกตที่ เปลื อ กตามี ก ล้ ามเนื้ อ ลายของลู ก ตาอยู่ เป็ น แกนกลาง คื อ orbicularis oculi muscle 190 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Special Sense Organs 8. ศึกษา cochlea ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์ demonstration (Cochlea)

40X

100X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X สังเกตดูโครงสร้างใน cochlea มี membrane ที่ ขึ ง อ ยู่ 2 membranes ไ ด้ แ ก่ basilar membrane และ vestibular membrane ทำให้ เกิ ด เป็ น ช่ อ ง 3 ช่ อ ง ได้ แ ก่ (1) scala tympani (2) scala media (cochlea duct) แ ล ะ (3) scala vestibule ให้ สั ง เกตทางขอบนอกที่ membrane ยึ ด อยู่ เ ห็ น มี ก ารห น าตั ว ขึ้ น ของ periosteum เป็ น รู ป สามเหลี่ ย มนั่ น คื อ spiral ligament จากนั้นสังเกตดูโครงสร้างบน basilar membrane ซึ่ งมี เซ ล ล์ เรี ย งกั น อ ยู่ ม าก ม าย โครงสร้างนี้คือ organ of Corti นอกจากนั้นแล้ว ให้ สั ง เกตปมประสาท spiral ganglia ซึ่ ง จะให้ axon รวมออกไปเป็น cochlear nerve ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X สังเกตแผ่นกระดูกยื่นออกมาจาก modiolus ออก ไปสู่ ก ลางโพรงมี ลั ก ษณ ะเป็ น เกลี ย ว เรี ย กว่ า osseous spiral lamina จาก osseous spiral lamina จะมี basilar membrane ขึงไปยัง outer wall ของ bony cochlea ซึ่ ง มี organ of Corti วางอยู่ บ น membrane ส่ ว นบนของ organ of Corti มี gelatinous membrane ว า งทั บ อ ยู่ เรี ย กว่ า tectorial membrane และให้ สั ง เกต ด้าน spiral ligament จะพบ stria vascularis ซึ่ง เป็นบริเวณที่มีหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก และมี secretory cells ที่หลั่ง endolymph

P a g e | 191


Special Sense Organs ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึ ก ษาบริ เวณ organ of Corti ซึ่ ง มี เซลล์ เรี ย งกั น หลายเซลล์ ให้สังเกตเซลล์ที่สำคัญ ดังนี้ (1) inner hair cell เป็นเซลล์รูปร่าง columnar เรียงตัวกัน เป็ น แถวเดี ย ว ที่ ป ลายบ น มี process ยื่ น ไป สั ม ผั ส กั บ tectorial membrane (2) inner phalangeal cells (IPh) ฐานของเซลล์วางอยู่บน basilar membrane ที่ ส่ ว นบนของเซลล์ มี facet ให้ inner hair cells วางทั บ อยู่ (3) outer hair cells เป็ น เซลล์รูป ร่าง columnar วางทั บ อยู่บ น 400X 400X outer phalangeal cells ที่ ส่ ว น apex ของเซลล์ จะมี villi ไป สั ม ผั ส กั บ tectorial membrane (4) outer phalangeal cells (OPh) ซึ่ ง อยู่ ใ ต้ ต่ อ outer hair cells (5) inner pillar cells และ outer pillar cells เป็นเซลล์ที่มี base กว้างและมีนิวเคลียสอยู่ภายใน ส่วน body ของเซลล์มี ลักษณะเรียวเล็กเป็นรูป cone ส่วน head ของเซลล์จะโตออกและมีส่วนโค้งเว้ารับกันระหว่าง head ของ inner และ outer pillar cells ภายในเซลล์มี microtubule จำนวนมาก extend จาก base ถึง head ทำให้ pillar cells แข็งแรง ทำหน้าที่ เป็น โครงร่างของ organ of Corti โดยระหว่าง body ของ inner กับ outer pillar cell มีโพรงอยู่ เรียกว่า inner tunnel และภายใน tunnel นี้ พบ nerve fibers ซึ่งเป็นแขนงของเซลล์จาก spiral ganglia ส่งมาที่ hair cells

192 | P a g e

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Special Sense Organs 9. ศึกษา olfactory epithelium ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 15 (Intramembranous ossification)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X สั ง เกตดู olfactory epithelium และขยายเข้ า ไปดูเซลล์

40X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึก ษาด้ว ยเลนส์ วัต ถุก ำลัง ขยาย 40X สังเกตเซลล์ภายใน olfactory epithelium ได้ แ ก่ (1) olfactory cell (ลู ก ศ ร สี ด ำ ) มี นิวเคลียส กลมอยู่กลางเซลล์ มี process ยื่นไป ท า ง free surface ข อ ง เ ยื่ อ บุ ผิ ว (2) sustentacular cell (ลูกศรสีขาว) เป็นเซลล์ที่ มีนิวเคลียส รูปร่างรีติดสีเข้มค่อนไปทางด้าน free surface และที่ free surface มี microvilli อยู่ จำนวนมาก (3) basal cell (ลู ก ศรประสี ด ำ) เป็ น เซลล์ที่ มี นิ วเคลีย ส ค่ อ นไปทาง basement membrane

P a g e | 193


Special Sense Organs 10. ศึกษา taste bud ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 53 (Circumvallate papilla)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X ศึกษาโครงสร้างและตำแหน่งของ taste bud โดย เลื่ อ นสไลด์ ห า circumvallate papilla สั ง เกต กลุ่ ม เซลล์ ติ ด สี จ างบริ เวณด้ า นที่ ติ ด กั บ trench ของ circumvallate papilla

40X

400X

194 | P a g e

ขั้ น ตอนที่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ วั ต ถุ ก ำลั ง ขยาย 40X สั ง เกตเซลล์ ภ ายใน taste bud ได้ แ ก่ (1) neuroepithelial cell หรื อ taste cell (TC) มีรูปร่าง spindle มีนิวเคลียสรูปไข่ติดสีใสอยู่กลาง เซลล์ ส่วนไซโทพลาสซึม ติดสีจาง ที่เรียกว่า light cell ปลายบนของเซลล์มี microvilli ยื่น ออกไป ท า ง outer taste pore (2) sustentacular cell หรือ supporting cell (SC) มี ไซโทพลาส ซึม และนิวเคลียส ติดสีเข้มเรียกว่า dark cell แต่ ทั้ งนี้ ก ารย้ อ ม H&E เพื่ อ จำแนกเซลล์ ทั้ ง 2 ชนิ ด ออกจากกั น นั้ น จะไม่ จ ำเพาะเจาะจงเท่ า กั บ การ ย้อมด้วยวิธีพิเศษ (3) basal cell (BC) มีรูปร่าง สามเหลี่ยม นิวเคลียสติดสีเข้มวางตัวอยู่ด้านล่าง ของ taste bud

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Endocrine System

ปฏิบัติการที่ 17 ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ผู้เขียนและปรับปรุง ดร.ยุทธพงษ์ ทองพบ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและเซลล์ที่สำคัญของต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ได้ถูกต้อง 2. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของต่อมไพเนียล (pineal gland) ได้ถูกต้อง 3. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและเซลล์ที่สำคัญของต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ได้ถูกต้อง 4. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและเซลล์ที่สำคัญของต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) ได้ถูกต้อง 5. สามารถชี้แสดงโครงสร้างและเซลล์ที่สำคัญของต่อมหมวกไต (adrenal gland) ได้ถูกต้อง 6. สามารถชี้แสดงโครงสร้างที่สำคัญของกลุ่มเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ในตับอ่อน (islet of Langerhans of pancreas) ได้ ถูกต้อง 7. บอกชื่อและชนิดของฮอร์โมน (hormone) ที่สร้างจากต่อมไร้ท่อต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่สร้างและหลั่งสารสื่อเคมี (chemical messenger) พวกฮอร์โมน (hormone) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือดและ / หรือกระแสน้ำเหลืองไปยังอวัยวะเป้าหมาย ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย (target organ) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ต่อมไร้ท่อในร่างกายคนเรามีจำนวนมากมาย เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไพเนียล ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อม หมวกไต ต่อมไธมัส รังไข่ รก อัณฑะ และกลุ่มเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ในตับอ่อน เป็นต้น สำหรับในบทปฏิบัติการนี้ เน้นการศึกษาต่อมไร้ท่อเพียง 6 ต่อมเท่านั้น คือ - ต่อมใต้สมอง (pituitary gland หรือ hypophysis) - ต่อมไพเนียล (pineal gland หรือ epiphysis) - ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) - ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) - ต่อมหมวกไต (adrenal หรือ suprarenal gland) - กลุ่มเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ในตับอ่อน (islet of Langerhans of pancreas) 1. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ hypophysis) เป็น master endocrine gland 1.1 Connective tissue stroma มี capsule เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) หุ้มล้อมรอบต่อม 1.2 Parenchyma แบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1) Pars anterior (pars distalis) ประกอบด้วยเซลล์ 2 กลุ่ม คือ • Chromophil เป็นเซลล์ที่ชอบติดสี แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด - Acidophil เป็นเซลล์ที่ไซโทพลาสซึมย้อมติดสีชมพู-แดง (acidophilic) โดยเซลล์นี้ทำหน้าที่ผลิต growth hormone (GH) และ prolactin - Basophil เป็นเซลล์ที่ไซโทพลาสซึมย้อมติดสีน้ำเงิน-ม่วง (basophilic) โดยเซลล์นี้ทำหน้าที่ผลิต thyroid-stimulating hormone (TSH), follicle-stimulating hormone (FSH), luteinizing hormone (LH) และ adrenocorticotrophic hormone (ACTH) Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 195


Endocrine System • Chromophobe เป็นเซลล์ที่ไม่ติดสีหรือติดสีน้อยมาก เซลล์นี้จะไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมน โดยเชื่อกันว่าเซลล์นี้น่าจะเป็น undifferentiated cell หรือ degranulated cell ที่หมดอายุการทำงาน แล้ว 2) Pars intermedia มี ล ั ก ษณะเป็ น ร่ อ งประกอบด้ ว ยกลุ ่ ม ของถุ ง น้ ำ (colloid-filled vesicle / follicle) อยู ่ ร ะหว่ า ง adenohypophysis และ neurohypophysis เซลล์ ใ นส่ ว นนี ้ ท ำหน้ า ที ่ ใ นการผลิ ต melanocytestimulating hormone (MSH) โดยเซลล์นี้จะเจริญดีในสัตว์เลือ้ ยคลาน 3) Pars nervosa ส่ ว นนี ้ ม ี ล ั ก ษณะเหมื อ นเนื ้ อ เยื ่ อ ประสาท ประกอบด้ ว ย pituicyte และ Herring body ซึ ่ ง บรรจุ neurosecretion ที่ผลิตจาก hypothalamus คือ vasopressin (ADH) และ oxytocin 2. ต่อมไพเนียล (Pineal gland หรือ epiphysis) 2.1 Connective tissue stroma มี connective tissue หุ้มล้อมรอบต่อมเป็น capsule โดยเปลือกที่หุ้มต่อเนื่องมาจาก pia mater มี septum ยื่น แทรกเข้าไปในเนื้อต่อม 2.2 Parenchyma เนื้อต่อมหรือ parenchyma ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ pinealocyte (pineal chief cell) และ neuroglial cell โดย pinealocyte ทำหน้ า ที ่ ผ ลิ ต melatonin และ serotonin นอกจากนี้ ย ั ง พบ pineal sand (brain sand หรือ corpora arenacea) เกิดจากการสะสมของแคลเซียมปะปนกับสารระหว่างเซลล์ โดยจะพบได้มาก ขึ้นในต่อมไพเนียลของคนที่อายุมาก 3. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) 3.1 Connective tissue stroma มี capsule เป็น connective tissue หุ้มล้อมรอบต่อม และยื่นให้เป็น septum แทรกเข้าไปในเนื้อต่อม 3.2 Parenchyma เซลล์ ข องเนื ้ อ ต่ อ มมี ล ั ก ษณะเป็ น colloid-filled follicle เรี ย กว่ า thyroid follicle โดย thyroid follicle ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ 1) Follicular cell (thyroid epithelial cell) ผลิต thyroid hormone 2) Parafollicular cell (clear cell หรือ C-cell) ผลิต calcitonin hormone 4. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) 4.1 Connective tissue stroma มี capsule เป็น loose connective tissue บาง ๆ หุ้มล้อมรอบต่อมและยื่นให้เป็น septum แทรกเข้าไปในเนื้อ ต่อม 4.2 Parenchyma เซลล์ของเนื้อต่อมเรียงตัวเป็น cord หรือ mass ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ 1) Chief cell (principal cell) ผลิต parathyroid hormone (PTH) 2) Oxyphil เซลล์ชนิดนี้ไม่พบในเด็กเล็ก จะเริ่มพบในคนอายุ 6-7 ขวบ และเพิ่มมากขึ้นตามอายุ ยังไม่ทราบ หน้าที่ของเซลล์ชนิดนี้ แต่เชื่อกันว่าน่าจะเป็นระยะหนึ่งของ chief cell

196 | P a g e

.

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Endocrine System 5. ต่อมหมวกไต (Adrenal หรือ suprarenal gland) 5.1 Connective tissue stroma มี capsule เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หนาหุ้มล้อมรอบต่อม มีลักษณะเป็น vascular fibro-elastic tissue คือ มี หลอดเลือดแทรกอยู่เป็นจำนวนมาก และมี trabeculae ซึ่งเป็นส่วนยื่นจาก capsule แทรกเข้าไปในเนื้อต่อม 5.2 Parenchyma แบ่งตามการเจริญได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ 1) Adrenal cortex เนื้อต่อมส่วนนอกกำเนิดมาจาก mesoderm แบ่งย่อยออกเป็น 3 บริเวณ ตามลักษณะของขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวของเซลล์ ได้แก่ § Zona glomerulosa ผลิตฮอร์โมนในกลุ่ม mineralocorticoids โดยเฉพาะ aldosterone § Zona fasciculata ผลิตฮอร์โมนในกลุ่ม glucocorticoids โดยเฉพาะ cortisol § Zona reticularis ผลิต sex hormone แต่มีปริมาณน้อยมาก 2) Adrenal medulla เนื ้ อ ต่ อ มส่ ว นในสุ ด มี แ หล่ ง กำเนิ ด มาจาก neural crest ผลิ ต ฮอร์ โ มนประเภท catecholamine 2 ชนิด คือ epinephrine และ norepinephrine 6. กลุ่มเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ในตับอ่อน (Islet of Langerhans of pancreas) ตั บ อ่ อ นจั ด เป็ น ต่ อ มผสม (mixed gland) ที ่ ม ี ท ั ้ ง ส่ ว นที ่ เ ป็ น ต่ อ มมี ท ่ อ (exocrine portion) และต่ อ มไร้ ท่ อ (endocrine portion) ในส่ ว นของ endocrine portion เรี ย กว่ า islet of Langerhans ซึ ่ ง มี ล ั ก ษณะเป็ น กลุ ่ ม เซลล์ ที่ ไซโทพลาสซึ ม ย้ อ มติ ด สี จ าง ภายใน granule ซึ ่ ง บรรจุ ด ้ ว ย protein hormones หลายชนิ ด โดยเซลล์ ข อง islet of Langerhans ถู ก จำแนกเป็ น 4 ชนิ ด คื อ A (alpha) cells, B (beta) cells, D cells และ F (PP) cells ซึ ่ ง ทำหน้ า ที ่ ผ ลิ ต glucagon, insulin, somatostatin, และ pancreatic secretion ตามลำดับ การศึกษาเซลล์ในสไลด์ 1. ศึกษาต่อมใต้สมอง (pituitary gland หรือ hypophysis) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 97 (Pituitary gland)

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 4X ศึกษาดูลักษณะทั่วไปของ ต่อมใต้สมอง สังเกตเห็นว่าแบ่งได้เป็น 3 บริเวณ คือ - Pars distalis (PD) - Pars intermedia (PI) - Pars nervosa (PN) ให้ เ ลื อ กศึ ก ษาดู ล ั ก ษณะเซลล์ ใ นแต่ ล ะ บริเวณด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น 40X Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 197


Endocrine System

400X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เมื่อศึกษาดูลักษณะเซลล์ในบริเวณ pars distalis พบเซลล์ 2 กลุ่ม คือ - Chromophil เห็นไซโทพลาสซึมติดสีชัดเจน ซึ่งมี 2 แบบ คือ acidophil (A) เป็นเซลล์รูปร่าง กลมหรื อ รี ไซโทพลาสซึ ม ติ ด สี ช มพู แ ดง และ basophil (B) เ ป ็ น เ ซ ล ล ์ ร ู ป ร ่ า ง ก ล ม ใ ห ญ่ ไซโทพลาสซึมติดสีน้ำเงินม่วง - Chromophobe (C) เป็นเซลล์ที่ไม่ติดสีหรือ ติดสีน้อยมาก เซลล์มีขนาดเล็ก ภายใน ไซโทพลาสซึมไม่มี granule มักพบแต่นิวเคลียส และ มองเห็นขอบเขตเซลล์ไม่ชัดเจนนัก ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เมื ่ อ ศึ ก ษาดู ล ั ก ษณะที่ บ ริ เ วณ pars intermedia ซึ่งเป็นส่วนแคบ ๆ ที่อยู่ระหว่าง adenohypophysis และ neurohypophysis มี ล ั ก ษณะเป็ น ร่ อ งประ กอบด้วยกลุ่มของถุงน้ำ (colloid-filled vesicle / follicle) เปลือกของถุงน้ำบุด้วยเซลล์ขนาดเล็กเรียง ตัวชั้นเดียวเป็นเยื่อบุผิว (epithelium: Ep ที่ลูกศร เส้ น ประชี้ ) เซลล์ ใ นส่ ว นนี ้ ท ำหน้ า ที ่ ใ นการผลิ ต melanocyte-stimulating hormone (MSH)

400X

ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X เมื ่ อ ศึ ก ษาลั ก ษณะที ่ บ ริ เ วณ pars nervosa ซึ ่ ง มี ลักษณะเหมือนเนื้อเยื่อประสาท จะสังเกตเห็นเซลล์ pituicytes เป็ น เซลล์ พ ยุ ง ของเซลล์ ป ระสาทชนิ ด หนึ ่ ง (neuroglial cell) มี ร ู ป ร่ า ง stellate หรื อ fusiform เห็ น นิ ว เคลี ย สติ ด สี น ้ ำ เงิ น ชั ด เจน นอกจากนั้นยังพบ Herring body ซึ่งเป็นส่วนปลาย ของ axon ชนิด non-myelinated nerve fibers ที่ ข ย า ย อ อ ก แ ล ะ บ ร ร จุ ฮ อ ร ์ โ ม น ท ี ่ ผ ล ิ ต จ า ก hypothalamus ค ื อ vasopressin (ADH) แ ล ะ oxytocin 400X

198 | P a g e

.

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Endocrine System 2. ศึกษาต่อมไพเนียล (pineal gland หรือ epiphysis) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 96 (Pineal gland)

100X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั ้ น ตอนที ่ 2 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 10X พบว่ามี capsule เป็น เปลือกบาง ๆ หุ้มด้านนอก โดยเปลือกที่ หุ้มมาจาก pia mater Parenchyma (P) ประกอบด้วยเซลล์ 2 ช น ิ ด ค ื อ pinealocyte (pineal chief cell) และ neuroglial cell ลักษณะเด่น สำคัญที่พบได้ในต่อมไพเนียลคือ brain sand (B) ห ร ื อ ม ั ก เ ร ี ย ก ว ่ า pineal sand หรือ corpora arenacea ซึ่งจะ ม ี ล ั ก ษ ณ ะ เ ป ็ น lamellated body (calcified accretion) ต ิ ด ส ี ม ่ ว ง ห รื อ น้ ำ เงิ น เข้ ม เกิ ด จากการสะสมของ แคลเซียมปะปนกับสารระหว่างเซลล์ โดย จะพบได้มากขึ้นในต่อมไพเนียลของคนที่ อายุมากขึ้น ขั ้ น ตอนที ่ 3 ศึ ก ษาด้ ว ยเลนส์ ว ั ต ถุ กำลังขยาย 40X เพื่อศึกษาเซลล์ที่พบใน ต่อมไพเนียลคือ Pinealocyte / pineal chief cell (Pi; ที ่ ล ู ก ศรชี้ ) เป็ น เซลล์ ร ู ป ร่ า ง stellate ขนาดใหญ่ นิวเคลียสกลมใหญ่ ทำหน้าที่ ผลิต melatonin และ serotonin Neuroglial cell (Ne; ที ่ ล ู ก ศรชี้ ) เป็ น เ ซ ล ล ์ ร ู ป ร ่ า ง fusiform ข น า ด เ ล็ ก นิวเคลียสติดสีเข้มกว่า pinealocytes B = brain sand

P a g e | 199


Endocrine System 3. ศึกษาต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 98 (Thyroid gland)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ ก ำ ล ั ง ข ย า ย 4 X จ ะ พ บ ว ่ า มี capsule หุ้มต่อมอยู่ทางด้านนอก ภายในเนื ้ อ ต่ อ มจะพบ thyroid follicles หลากหลายขนาดจำนวน มาก ซึ ่ ง ภายในประกอบด้ ว ยสาร glycoprotein (thyroglobulin) ที่ ย้ อ มติ ด สี ช มพู บ รรจุ อ ยู ่ เรี ย กว่ า colloid (co)

40X

400X

200 | P a g e

.

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ กำลั ง ขยาย 40X จะสั ง เกตเห็ น thyroid follicle ป ร ะ ก อ บ ด ้ ว ย เซลล์ 2 ชนิด คือ - Follicular cell (F; หั ว ลู ก ศร สี ข าว) (thyroid epithelial cell) ซึ่งเป็นเซลล์ส่วนใหญ่ เซลล์มรี ูปร่าง cuboid ขนาดเล็ก นิวเคลียสกลม ใหญ่อยู่กลางเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่ จัดเรียงตัวเป็น simple cuboidal epithelium ท ำ ห น ้ า ท ี ่ ผ ลิ ต thyroid hormone - Parafollicular (C; หัวลูกศร สีดำและในวงกลมสีเหลือง) หรือ clear cell (C-cell) เป็ น เซลล์ อี ก ชนิดที่พบได้น้อยกว่า ทำหน้าที่ผลิต calcitonin hormone เ ซ ล ล์ มี ขนาดใหญ่ ไซโทพลาสซึมใส อาจ พบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่ม โดยมัก พบแทรกอยู ่ ร ะหว่ า ง thyroid follicle หรื อ ระหว่ า ง follicular cell

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Endocrine System 4. ศึกษาต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 99 (Parathyroid gland)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ กำลั ง ขยาย 4X ศึ ก ษาดู ล ั ก ษณะ ทั่ว ไปของต่อ มพาราไทรอยด์ พบ capsule หุ ้ ม ด้ า นนอกของต่ อ ม ภายในเนื ้ อ ต่ อ มพบ fat cell (F) จำนวนมากแทรกอยู ่ ร ะหว่ า ง parenchyma (P)

40X

400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ กำลังขยาย 40X ให้สังเกตลักษณะ parenchyma ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ย เซลล์ 2 ชนิด มาเรียงตัวเป็น cord หรือ mass - เซลล์ ส ่ ว นใหญ่ เ ป็ น chief หรือ principal cell (Ch; ที่ลูกศร ชี้) รูปร่าง polygonal หรือ round ขนาดเล็ก นิวเคลียสกลมค่อนข้าง ใหญ่อยู่กลางเซลล์ ไซโทพลาสซึมมี ป ร ิ ม า ณ น ้ อ ย ท ำ ห น ้ า ท ี ่ ผ ลิ ต parathyroid hormone (PTH) - เซลล์อีกชนิดพบได้น้อยกว่า คือ oxyphil cell (Ox; ที่ลูกศรชี้) เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ นิวเคลียสเล็ก ไซโทพลาสซึ ม มี ป ริ ม าณมากติ ด สี ชมพู เ ข้ ม (strongly acidophilic cytoplasm) แ ล ะ อ า จ พ บ อ ยู่ เดี่ยว ๆ หรืออยู่เป็นกลุ่ม เซลล์ชนิด นี้ไม่พบในเด็กเล็ก จะเริ่มพบในคน อายุ 6-7 ขวบ และเพิ่มมากขึ้นตาม อายุ

P a g e | 201


Endocrine System 5. ศึกษาต่อมหมวกไต (adrenal หรือ suprarenal gland) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 100 (Adrenal gland)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 4X พบว่ า มี adrenal capsule หุ ้ ม ต่ อ มอยู่ ทางผิวด้านนอก ภายในเนื้อต่อมหมวกไตแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน คือ - ชั้นนอก (adrenal cortex) - ชั้นใน (adrenal medulla)

40X

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 10X พบว่ า มี adrenal capsule หนาหุ ้ ม ผิ ว ด้านนอก ให้สังเกตในส่วน adrenal cortex ซึ่งแบ่งออก ได้ 3 บริเวณย่อย (zone) คือ - Zona glomerulosa (ZG) - Zona fasciculata (ZF) - Zona reticularis (ZR) และพบเนื ้ อ ต่ อ มหมวกไตชั ้ น ใน (adrenal medulla) ตามลำดับ ให้เลือ กศึก ษาดูล ัก ษณะการจัด เรีย งตัว ของ เซลล์ในแต่ละบริเวณ

100X 202 | P a g e

.

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Endocrine System ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุกำลังขยาย 40X ศึกษาดูลักษณะการจัดเรียงตัวของเซลล์ ในแต่ละบริเวณ Zona glomerulosa (ZG) (รูปบน) เซลล์จัดเรียงตัวขดเป็นกลุ่มเหมือนทรงกลม พบอยู ่ ใ ต้ ต ่ อ ชั ้ น capsule เซลล์ ม ี ร ู ป ร่ า ง columnar หรือ pyramid นิวเคลียสกลมติด สีน้ำเงินเข้ม ไซโทพลาสซึมมี lipid droplet กระจายอยู่อย่างเบาบาง 400X

Zona fasciculata (ZF) (รูปกลาง) เซลล์จัดเรียงตัวเป็นแถวตรงตามยาว (cord) พบอยู่ถัดลงมา เนื้อต่อมส่วนนี้หนาที่สุด เซลล์ มีรูปร่าง polygonal หรือ cuboid นิวเคลียส กลมติ ด สี น ้ ำ เงิ น เข้ ม ไซโทพลาสซึ ม มี lipid droplet หรือ vacuole อยู่จำนวนมาก ทำให้ เห็นเป็นรูพรุนกลม ๆ คล้ายฟองน้ำ (foamy appearance) บางครั้งจึงเรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า spongiocyte

ZF

400X

Zona reticularis (ZR) (รูปล่าง) เซลล์ จ ั ด เรี ย งตั ว ต่ อ เนื ่ อ งกั น คล้ า ยร่ า งแห (irregular network หรื อ cord) พบอยู ่ ด ้ า น ในสุ ด ของ adrenal cortex เซลล์ ม ี ข นาด ค่อนข้างเล็ก ไซโทพลาสซึมติดสีชมพูเข้ม แต่มี lipid droplet น้อย Adrenal medulla (รูปล่าง) เนื้อต่อมส่วน ในสุ ด พบเซลล์ ย ้ อ มติ ด สี ม ่ ว งมากกว่ า ชั้ น adrenal cortex 400X

Laboratory Direction of Human Microscopic Anatomy

P a g e | 203


Endocrine System 6. กลุ่มเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ในตับอ่อน (islet of Langerhans of pancreas) ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสไลด์หมายเลข 72 (Pancreas)

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาด้วยเลนส์วัตถุ กำลั ง ขยาย 10X จะสั ง เกตเห็ น เนื้อเยื่อของตับอ่อนย้อมติดสีเข้มและ เห็นลักษณะคล้ายจุดจาง ๆ กระจาย เป็นหย่อมคล้ายเกาะเล็ก ๆ จำนวน มากและมี ห ลายขนาด ส่ ว นนี ้ คื อ endocrine portion ของตั บ อ่ อ น เรียกว่า islet of Langerhans (iL; ในวงกลม) แทรกอยู่กับส่วนที่เป็น ต่อมมีท่อ (acini)

100X

400X

204 | P a g e

.

ขั้น ตอนที่ 3 ศึก ษาด้ว ยเลนส์ว ัต ถุ กำลั ง ขยาย 40X จะเห็ น islet of Langerhans ( iL; ใ น ว ง ก ล ม เส้ น ประ) มี ล ั ก ษณะเป็ น กลุ ่ ม เซลล์ ไซโทพลาสซึมย้อมติดสีจาง ภายในมี granule ซ ึ ่ ง บ ร ร จ ุ ด ้ ว ย protein hormones ห ล า ย ช น ิ ด โ ด ย iL ประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิดคือ A cell, B cell, D cell และ F cell ทฤษฎีระบุว่า A cell มักอยู่ตรงขอบ ของ iL ส่วน B cell มักอยู่ตรงกลาง ของ iL และเซลล์อื่น ๆ มักกระจาย อยู่ทั่วไป เนื่องจากสไลด์ในการเรียน ปฏิ บ ั ต ิ นี้ ย ้ อ มแบบ H&E นิ ส ิ ต จึ ง ไม่ สามารถระบุแยกเซลล์แต่ละชนิดได้ ชัดเจน ดังนั้นหากนิสิตต้องการระบุ จำแนกเซลล์แต่ละชนิดให้ได้ถูกต้อง แม่นยำ ควรศึกษาด้วยการย้อมแบบ พิเศษเพิ่มเติม

Department of Anatomy | Faculty of Medical Science | Naresuan University


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.