ทรงพระเจริญ เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร คณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดในกรุงเทพมหานคร และพสกนิกรชาวไทยมุสลิมทั่วราชอาณาจักร
สารจากจุฬาราชมนตรี เนื่องในโอกาสการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕
ในโอกาสที่ส�ำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ ส�ำนักจุฬาราชมนตรี และ ส�ำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จัดงานเทิดไท้องค์ราชันขึ้น นับเป็นพลังความร่วมมือร่วมใจ ที่ส�ำคัญยิ่งส�ำหรับองค์กรศาสนาอิสลามในส่วนกลางได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์อัครศาสนูปถัมภก ผู้ทรงทะนุบ�ำรุงศาสนา ทั้งปวง ทรงเกื้อกูล ค�้ำจุนทุกศาสนาภายใต้พระบรมโพธิสมภารอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม และทรงให้การอุปถัมภ์ กิจการของศาสนาอิสลามด้วยพระราชหฤทัยอันเข้าใจอย่างลึกซึง้ ในความส�ำคัญของศาสนา นับเป็นพระมหากรุณาธิคณ ุ อย่างหาที่สุดมิได้ ในการจัดงานครั้งนี้ คณะกรรมการจัดงานได้จัดให้มีการคัดเลือกกอรี (การอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ท�ำนองเสนาะ) เพื่อเป็นผู้แทนกรุงเทพมหานคร เข้าทดสอบในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่ง ความส�ำคัญในการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนและผู้สนใจในการอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ยิ่งขึ้น และการจัดงานที่มีขึ้นนี้ถือได้ว่าเป็นอีกบทบาทหนึ่งขององค์กรศาสนาอิสลามท้องถิ่นที่ควรให้การสนับสนุน เพราะเป็นงานที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการพบปะกันระหว่างบุคคล ในสังคมมุสลิมทุกระดับชั้น และโดยเฉพาะในห้วงเวลานี้ท่ีสังคมต้องการสร้างการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันระหว่าง ความแตกต่างทางความเชื่อหรือพหุสังคม ผู้น�ำทางจิตวิญญาณ ผู้บริหารองค์กรศาสนาจะต้องเป็นแบบอย่างแห่งการ อยู่ร่วมกัน รู้รักสามัคคี มีความเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อการเจริญรอยตามของเยาวชนและสังคม และการจัดงาน ครั้งนี้จะมีส่วนช่วยในการผดุงสังคมมุสลิมให้ด�ำรงอยู่ในวิถีแห่งอิสลามอย่างยั่งยืนท่ามกลางความหลากหลายทาง วัฒนธรรมและความเชื่อต่อไป ข้าพเจ้าวิงวอนต่อเอกองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ให้การจัดงานเทิดไท้องค์ราชันและทดสอบกอรี กรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕ ของคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร และองค์กรร่วม ได้ส�ำเร็จ ลุล่วงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และขอพระองค์ทรงประทานความสุข ความจ�ำเริญและสุขภาพพลานามัยที่ดี แด่ทุกท่านตลอดไป อามีน
(นายอาศิส พิทักษ์คุมพล) จุฬาราชมนตรี
สารจากอธิบดีกรมการศาสนา เนื่องในโอกาสการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕
รัฐบาลได้ให้ความสําคัญในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชนในทุกระดับ โดยได้ ประกาศใช้ แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) และได้ขยายการใช้ แผนดังกล่าวไปถึง ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้ทุกภาคส่วน ทุกศาสนาได้ร่วมขับเคลื่อนคุณธรรมของคนในชาติ โดยส่งเสริมให้องค์การ ทางศาสนามีบทบาทสําคัญในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เติบโตเป็นคนดีของสังคม และ “มีความรู้คู่คุณธรรม” สํานักงานคณะกรรมการอิสลามประจํากรุงเทพมหานคร ถือเป็นองค์กรหลักในการพัฒนา มัสยิดและ ประชาคมมุสลิมกรุงเทพมหานคร สู่การเป็นองค์กรต้นแบบของสังคม ที่ยึดมั่นหลักธรรมาภิบาล และการดําเนินชีวิต ตามหลักคําสอนของศาสนาอิสลาม รวมทั้งขับเคลื่อนให้องค์กรมัสยิดเป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนาชุมชน ปรับปรุง และแก้ไขปัญหาสังคม เพื่อให้ชุมชนมีความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับ การยอมรับจากประชาชนที่นับถือ ศาสนาอิสลามทั่วประเทศ การกําหนดจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เป็นการร่วมกัน แสดงพลังการขับเคลื่อนองค์กรของเครือข่ายทั่วประเทศ เพือ่ ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสนิ ทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมพิ ลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา และคัดเลือกกอรีเป็นผูแ้ ทนกรุงเทพมหานคร เข้าทดสอบในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมงานด้านศาสนา โดยการ ทํานุบํารุงส่งเสริมและให้การอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการขององค์การทางศาสนาที่ทางราชการรับรอง ส่งเสริมความเข้าใจ อันดีและสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม แก่ประชาชน โดยมุ่งเน้น พลังทางศาสนาในการขับเคลื่อนเพื่อนําไปสู่ความร่วมมือในการสร้างความรัก ความสามัคคี การปรองดองสมานฉันท์ เพื่อให้ศาสนิกชนทุกศาสนาอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม อย่างมีความสุข ซึ่งกรมการศาสนาได้เห็นถึง ความสําคัญในเรื่องนี้ โดยการสนับสนุนงบประมาณให้แก่ สํานักงานคณะกรรมการอิสลามประจํากรุงเทพมหานคร เพื่อดําเนินการจัดกิจกรรม/โครงการในมิติด้านศาสนา เป็นประจําทุกปี ในโอกาสนี้ ขออํานวยพรให้การจัดงานครั้งนี้บรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ และขอให้ ประสบความ สําเร็จในการร่วมกันพัฒนาเด็กเยาวชนและสังคมไทยไปสู่เป้าหมาย คือ สังคมที่มีคุณภาพ และคุณธรรม สืบไป
(นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์) อธิบดีกรมการศาสนา
สารจากอธิบดีกรมการปกครอง เนื่องในโอกาสการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕
เนื่องในโอกาสที่คณะกรรมการอิสลามประจํากรุงเทพมหานคร ได้จัดงานเทิดไท้ องค์ราชัน และทดสอบ กอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕ เพื่อถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เพือ่ เป็นการแสดงความ จงรักภักดีของพสกนิกรชาวไทยมุสลิมที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อชาวไทยมุสลิม ตลอดมา ทั้งต่อศาสนบุคคล ศาสนสถาน และศาสนบัญญัติ โดยทรงประกอบ พระราชกรณียกิจด้านการศาสนา อย่างต่อเนื่องในฐานะทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกและทํานุบํารุง ศาสนาทั้งปวง ทรงเกื้อกูลคํ้าจุนทุกศาสนาภายใต้ พระบรมโพธิสมภารอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ด้วยทรงเชื่อว่าทุกศาสนาล้วนสอนให้ทุกคนเป็นคนดี การจัดกิจกรรมเทิดไท้องค์ราชันและการทดสอบกอรีในครั้งนี้ นอกจากจะแสดงถึงความจงรักภักดีต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว การอ่านกอรียังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักศาสนาอิสลาม ในการสร้างความ เข้าใจในหลักการและข้อบัญญัติของศาสนาได้อย่างถูกต้อง ทําให้มีผลสะท้อนทางจิตวิญญาณ เป็นรูปแบบทาง วัฒนธรรมที่ดีในสังคมอิสลาม ส่งผลต่อการดําเนินชีวิตตามหลักการของศาสนา เกิดความสงบสุขและความสามัคคี ของคนในชาติ ณ โอกาสนี้ ผมขออํานวยพรให้การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕ ประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ และขอให้คณะกรรมการจัดงาน ผู้ร่วมงานทุกท่าน พร้อมทั้งครอบครัว ประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีสุขภาพพลานามัย ที่แข็งแรง มีกําลังใจที่ดีในการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน และ การดําเนินชีวิต เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ พัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า มั่นคง และเป็นสังคมแห่งความสันติสุข สืบต่อไป
(นายธนาคม จงจิระ) อธิบดีกรมการปกครอง
สารจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕
เนื่ อ งในโอกาสมหามงคลที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทรรามาธิ บ ดี ศ รี สิ น ทร มหาวชิ ร าลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗๐ พรรษา ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ นับเป็นโอกาสอันดีที่ปวงชน ชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้ร่วมกันแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี และส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ใต้ฝ่าละออง ธุลีพระบาท ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อความผาสุกร่มเย็นของอาณาประชาราษฎร์ และเพื่อความ มั่นคงของประเทศชาติ อีกทั้งทรงมีพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรมแก่พสกนิกรทุกเชื้อชาติ ศาสนา และทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชาวไทยทั้งชาติ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร และองค์กรมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันจัดงาน เทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕ ขึน้ ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมุสลิม อันจะเป็นการ แสดงออกซึ่งความจงรักภักดีอย่างพร้อมเพรียงของพสกนิกรชาวไทยมุสลิม และเพื่อคัดเลือกกอรีเป็นผู้แทนของ กรุงเทพมหานคร เข้าทดสอบในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย อันจะเป็นการธ�ำรงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของอิสลามิกชนให้คงอยู่ รวมถึงช่วยสนับสนุนให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ในกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างพี่น้องในชุมชนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขท่ามกลางความหลากหลาย ทางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สอดคล้องกับการด�ำเนินนโยบายของกรุงเทพมหานครที่ต้องการท�ำให้กรุงเทพ มหานครเป็นเมืองน่าอยู่ส�ำหรับทุกคน ผมขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมสร้างความรัก ความสามัคคี ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยดีเสมอมา และขอแสดงความชื่นชมต่อพลังศรัทธาของเหล่าพี่น้องชาวไทยมุสลิมทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการจัดงานครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความผาสุกและสันติทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ โดยรวมสืบไป
(นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สารจากปลัดกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยซึ่งเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม คือมีวัฒนธรรมที่มีความ หลากหลายและแตกต่างกันไปตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มชน ศาสนาอิสลามมีวัฒนธรรมในการส่งเสริมสนับสนุน ให้บุตรหลานได้อ่านพระคัมภีร์อัลกุรอาน หรือที่เรียกว่า การอ่านกอรี เพื่อสืบทอดค�ำสอนของศาสนาและเพื่อน�ำไป ใช้ ใ นชี วิต ประจ�ำวัน โดยคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานครได้ด�ำเนินการจัดงานเทิดไท้องค์ราชั น ประจ�ำปี ๒๕๖๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ และจัดกิจกรรมทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดเลือกผู้แทนกรุงเทพมหานคร เข้าร่วม ทดสอบกอรีในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร ในฐานะทีเ่ ป็นองค์กรหลักทีท่ ำ� หน้าทีส่ ง่ เสริมและธ�ำรงรักษาไว้ซงึ่ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามของไทย โดยการให้ความส�ำคัญแก่การท�ำนุบ�ำรุงศาสนา และสนับสนุนให้องค์กรทางศาสนา ทุกศาสนา ได้มีบทบาทส�ำคัญในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนการสร้างความรัก ความสามัคคี และ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างอิสลามิกชนและผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นส่วนส�ำคัญ ในการขับเคลื่อนสังคมไทย ให้เกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน ประกอบกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ที่ส่งเสริมให้กลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ อยู่ร่วมกันได้ อย่างมีความสุขและปรองดองในสังคมพหุวัฒนธรรม เมื่อมีกิจกรรมทุกคนพร้อมช่วยเหลือกันโดยไม่แบ่งแยก กรุงเทพมหานครมีความยินดีเป็นอย่างยิง่ ในการร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทดสอบกอรีกรุงเทพมหานครเป็นประจ�ำ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมและสนับสนุนวัฒนธรรมอันดีของพี่น้องชาวมุสลิม
(นายขจิต ชัชวานิชย์) ปลัดกรุงเทพมหานคร
สารจากเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เนื่องในโอกาสการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕
ด้วยส�ำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ ส�ำนักจุฬาราชมนตรี และส�ำนักงาน คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ก�ำหนดจัดงาน “เทิดไท้องค์ราชัน” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๒๗ – ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เพื่อถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมพิ ลราชวรางกูร กิตสิ ริ สิ มบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา และเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกอันเป็นศูนย์รวมใจปวงชนทั้งชาติ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและให้ความส�ำคัญกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ ท�ำให้พสกนิกรชาวไทยมุสลิมส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมกันนี้ยังจัดให้มีกิจกรรม การทดสอบกอรีเพื่อคัดเลือกเป็นผู้แทนกรุงเทพมหานคร เข้าทดสอบในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยต่อไป ในโอกาสแห่งการจัดงาน “เทิดไท้องค์ราชัน” นี้ ขอดุอาอ์จากเอกองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้โปรดประทานความส�ำเร็จแห่งการด�ำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ทัง้ ปวง และขอให้ผมู้ สี ว่ นเกีย่ วข้องทุกท่าน ทุกฝ่าย ได้รับทางน�ำ และประสบความสุข ความเจริญตลอดไป
พล.ต.ต.
(สุรินทร์ ปาลาเร่)
เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
สารจากประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕
การจัดงาน “เทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕” เป็นกิจกรรมส�ำคัญที่ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ร่วมกับส�ำนักจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิด สถาบันการศึกษา สมาคม มูลนิธิ และประชาคมมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันรังสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และจรรโลงไว้ซึ่งความ สมานฉันท์ของมุสลิมไทยและศาสนิกชนให้เกิดความเป็นเนื้อเดียวกันแห่งสังคมพหุวัฒนธรรม และเป็นต้นแบบ ที่ดีงามแก่คนรุ่นใหม่ เพื่อจักได้สืบสานหลักคิดนี้ให้ต่อยอดและวัฒนาถาวรสืบไป อัลกุรอาน เป็นโองการแห่งพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทานผ่านท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม ให้น�ำเสนอสู่มนุษยชาติ เพื่อเป็นทางน�ำชีวิต การอ่านคัมภีร์อัลกุรอานที่ถูกต้องด้วยศาสตร์และศิลป์ แห่งการอ่าน ล้วนได้รับการซึมซับมาจากนักอ่าน (กอรี) อย่างต่อเนื่องมาเป็นล�ำดับ นับแต่ยุคสมัยของศาสนทูต มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นต้นมา ดังนั้น การส่งเสริมให้มีการทดสอบกอรีอยู่เสมอ จึงเป็นมิติหนึ่งที่จะ เป็นการอนุรักษ์และพัฒนานักอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน (กอรี) ให้รักษามาตรฐานการอ่านอย่างยั่งยืน และได้รับการเชิดชู เสมือนเป็นอ�ำนาจละมุน (Islamic Soft Power) ในบริบทของอิสลาม ในนามของคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ขอขอบพระคุณ กรุงเทพมหานคร หน่วยราชการ สมาคม บริษัท ห้างร้าน และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้การสนับสนุนการจัดงานทุกรูปแบบ และผู้มีส่วน ร่วมในการจัดงานครั้งนี้ ทั้งในนามบุคคล สถาบัน และองค์กรมา ณ โอกาสนี้ ขอพร (ดุอาอ์) จากพระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา องค์พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดประทานพรให้ทุกท่าน และกิจการหรือกิจกรรมของทุกภาคส่วน จงประสบความสุข และความเจริญก้าวหน้าโดยทั่วกัน อามีน
(นายอรุณ บุญชม)
ประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร
สารจากประธานจัดงาน งานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจําปี ๒๕๖๕
งาน “เทิดไท้องค์ราชัน” ประจ�ำปี ๒๕๖๕ เป็นกิจกรรมส�ำคัญในรอบปีที่คณะกรรมการอิสลามประจ�ำ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประชาคมมุสลิมกรุงเทพมหานครทุกภาคส่วน ได้รว่ มกันจัดขึน้ เพือ่ แสดงออกถึงความส�ำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณ และความซาบซึ้งของพสกนิกรชาวไทยมุสลิมที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็น องค์อัครศาสนูปถัมภก พร้อมกันนี้ ยังได้จัดให้มีการทดสอบกอรีเพื่อคัดเลือกเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานครสู่การ ทดสอบกอรีงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย การประกาศเกียรติคุณบุคคลดีเด่นในด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งการประชุมสัมมนา และการส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระชับพื้นที่แห่งความรัก ความผูกพัน และความปรองดองในหมู่ประชาคมมุสลิมและศาสนิกชนในกรุงเทพมหานคร เป็นส�ำคัญ กรอบความคิดของการจัดงาน “เทิดไท้องค์ราชัน” ประจ�ำปี ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ นอกจากจะน�ำเสนอผลงานของคณะกรรมการอิสลาม ประจ�ำกรุงเทพมหานคร และองค์กรมัสยิดในกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีการประกาศเกียรติคุณผู้บริหารมัสยิด ผูน้ ำ� ครอบครัวทีเ่ ป็นแบบอย่างแห่งความดีงาม ตลอดจนการก�ำหนดพืน้ ทีใ่ ห้ผแู้ ทนภาคประชาคมมุสลิมกรุงเทพมหานคร ทั้งกลุ่มเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ได้แสดงออกและระดมสรรพความคิดในการขับเคลื่อนสู่สังคมยุคใหม่ และสังคม ผู้สูงอายุอีกด้วย ในนามของคณะกรรมการจัดงาน “เทิดไท้องค์ราชัน” ประจ�ำปี ๒๕๖๕ ขอขอบพระคุณกรุงเทพมหานคร กรมการศาสนา มัสยิด สถาบัน/องค์กรมุสลิม และปัจเจกบุคคล ที่ให้การสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ ขอพรจาก เอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) องค์พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดประทานคุณงามความดี แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ทุกฝ่าย มา ณ โอกาสนี้
(นายประสพ ภู่ส�ำลี)
ประธานจัดงาน “เทิดไท้องค์ราชัน” ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ภาพกิจกรรมการจัดงานพระบารมีปกเกล้าฯ งานเทิดไท้องค์ราชัน วันชุมนุมมุสลิม กทม. และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมา
อนุสรณ์การจัดงาน
“เทิดไท้องค์ราชัน” ป ร ะ จํ า ปี ๒ ๕ ๖ ๕
ก�ำหนดการ การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕ วั น ที่ ๒ ๗ - ๒ ๘ ก ร ก ฎ า ค ม ๒ ๕ ๖ ๕ ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ (การทดสอบกอรีรอบคัดเลือก)
20
๐๘.๐๐ น.
ลงทะเบียนผู้เข้าทดสอบกอรีทุกรุ่น
๐๙.๐๐ น.
พิธีเปิดการทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕ - อัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน โดย นายปรานนท์ มุสตาฟา - กล่าวรายงาน โดย นายพิสิษฐ์ อรุณพูลทรัพย์ ประธานฝ่ายทดสอบกอรี - กล่าวเปิดการทดสอบกอรี โดย นายอรุณ บุญชม ประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร
๐๙.๓๐ น.
- ชี้แจงระเบียบการทดสอบกอรี - จับสลากซูเราะฮ์/จัดล�ำดับการทดสอบ
๑๑.๐๐ น.
เริ่มการทดสอบกอรีรุ่นเยาวชน
๑๒.๐๐ น.
ละหมาดดุฮ์ริ
๑๓.๓๐ น.
ทดสอบกอรีรุ่นเยาวชน (ต่อ)
๑๖.๐๐ น.
เริ่มการทดสอบกอรีรุ่นประชาชนทั่วไป
๒๐.๐๐ น.
ปิดการทดสอบกอรี
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ๐๘.๐๐-๑๑.๓๐ น. กิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน ๑) - ประกาศผลการทดสอบกอรี (ห้องประชุมเล็ก - ด้านทิศตะวันออก) - สาธิตการอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน โดย ผู้ชนะเลิศการทดสอบกอรี ๒) ประชุมสมัชชาผู้บริหารมัสยิดกรุงเทพมหานคร (ห้องประชุมด้านปีกขวา) ๓) ประชุมสัมมนาผู้ประกอบการฮาลาล (ห้องประชุมด้านปีกซ้าย) ๔) กิจกรรมคณะอนุกรรมการกิจการเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ (ด้านหน้าหอประชุมฯ) ๕) ตรวจสุขภาพ โดยโรงพยาบาลคลองสามวา (ด้านหน้าหอประชุมฯ) ๖) นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ (บริเวณหอประชุมฯ) ๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. - รับประทานอาหารกลางวัน - ละหมาดดุฮ์ริ ๑๓.๓๐ น. พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕ - กล่าวรายงานและประกาศผลการทดสอบกอรี โดย นายพิสิษฐ์ อรุณพูลทรัพย์ ประธานฝ่ายทดสอบกอรี - สาธิตการอ่านอัลกุรอาน โดยผู้ชนะเลิศฝ่ายชาย และผู้ชนะเลิศฝ่ายหญิง - มอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการทดสอบกอรีและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความคาดหวังของกรุงเทพมหานครต่อประชาคมมุสลิม” โดย รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๑๔.๓๐ น. พิธีถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว - อัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน โดย นายชาติชาย บัลบาห์ - กล่าวรายงาน โดย นายประสพ ภู่ส�ำลี ประธานจัดงานฯ - การถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย จุฬาราชมนตรี - มอบเกียรติบัตร/โล่เกียรติยศ ๑) ผู้สนับสนุนการจัดงาน ๒) อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นอาวุโส ๓) ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นพ่อผู้บ�ำเพ็ญประโยชน์ ประจ�ำปี ๒๕๖๕ ๔) สถานประกอบการฮาลาลที่รักษามาตรฐานการขอรับรองฮาลาล เป็นเวลา ๒๐ ปีติดต่อกัน ๑๕.๐๐ น. กล่าวขอบคุณและดุอาอ์ปิดงาน โดย ประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
21
สารบัญ
22
หน้า
ทรงพระเจริญ - เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔
สารจากจุฬาราชมนตรี
๖
สารจากอธิบดีกรมการศาสนา
๗
สารจากอธิบดีกรมการปกครอง
๘
สารจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๙
สารจากปลัดกรุงเทพมหานคร
๑๐
สารจากเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
๑๑
สารจากประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร
๑๒
สารจากประธานจัดงาน
๑๓
ภาพกิจกรรมการจัดงาน “พระบารมีปกเกล้าฯ” “งานเทิดไท้องค์ราชัน” “วันชุมนุมมุสลิม กทม. และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร” ที่ผ่านมา
๑๔
ก�ำหนดการ
๒๐
บทความวิชาการ
๒๔
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพสกนิกรชาวไทยมุสลิม ผศ.ดร. วิศรุต เลาะวิถี
๒๖
จิตอาสาในอิสลาม อรุณ บุญชม
๓๒
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
หน้า ครอบครัวคือศูนย์การเรียนรู้เพื่อชีวิต สมัย เจริญช่าง
๓๖
เรื่องสั้น อับดุรเราะห์มานกับค�ำพ่อสอน ผศ.ดร. อับดุลเลาะ หนุ่มสุข
๔๐
บทบาทของพ่อ สมศักดิ์ มูหะหมัด
๔๔
ยุทธศาสตร์เมืองหลวงกับสังคมพหุวัฒนธรรม ซีรอซันคาร ปาทาน
๕๐
ศาสตร์และศิลป์แห่งการอ่านอัลกุรอาน กนกวรรณ สุขถาวร
๕๔
แนะน�ำผู้เขียนบทความ
๖๘
รายชื่อ “พ่อผู้บ�ำเพ็ญประโยชน์ ประจ�ำปี ๒๕๖๕”
๗๗
ค�ำสั่งคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ที่ ๓๒/๒๕๖๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงาน “เทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕”
๘๐
รายชื่อคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ในคณะกรรมการจัดงาน “เทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕”
๘๓
ปัจฉิมวจี
๑๑๔
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
23
บทความวิชาการ
พระราชกรณียกิจ
ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพสกนิกรชาวไทยมุสลิม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิศรุต เลาะวิถี พระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทรรามาธิ บ ดี ศ รี สิ น ทรมหาวชิ ร าลงกรณ มหิ ศ รภู มิ พ ลราชวรางกู ร กิ ติ สิ ริ สมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส พระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ เวลา ๑๗.๔๕ น. ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๖ ค�่ำ เดือน ๙ ปีมะโรง นับเป็นปีที่ ๗ แห่งการเสด็จขึ้นครองราชย์ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ 26
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพล ราชวรางกู ร กิ ติ สิ ริ ส มบู ร ณอดุ ล ยเดช สยามิ น ทราธิ เ บศรราชวโรดม บรมนาถบพิ ต ร พระวชิ ร เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี พ ระราชด� ำ รั ส ในงานสโมสรสั น นิ บ าต ซึ่ ง รั ฐ บาลจั ด ขึ้ น เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ที่ ท รงด� ำ รงพระอิ ส ริ ย ศั ก ดิ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ดังนี้ “...ข้าพเจ้าทราบตระหนักว่า ข้าพเจ้ามีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อประเทศชาติอย่างสูง และการปฏิบัติ ราชการแผ่นดินนั้น เป็นภาระส�ำคัญใหญ่ยิ่ง ที่ต้องอาศัยทั้งสติปัญญาและความรู้ความสามารถอย่างพร้อมมูล ข้าพเจ้าจะต้องเพียรพยายาม ศึกษาและปฏิบัติฝึกฝนตนเองต่อไปอีกอย่างมาก เพื่อให้สามารถเหมาะสม กับหน้าที่ ตามที่ทุกคนมุ่งหวัง... ในโอกาสอันพิเศษนี้ จึงใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายได้เป็นก�ำลังใจสนับสนุนข้าพเจ้า และได้ตั้ง ความปรารถนาร่วมกันกับข้าพเจ้าที่จะมุ่งมั่นประกอบกรณียกิจ ด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียง และด้วยความสุจริต ยุติธรรม เพื่อยังความเจริญมั่นคงและความร่มเย็นเป็นผาสุกให้บังเกิดแก่ชาติ ประเทศ และ ประชาชนยั่งยืน สืบไป...” พระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษก ถื อ เป็ น อี ก หนึ่ ง ความส� ำ คั ญ ที่ ไ ด้ รั บ การจารึ ก ไว้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ตลอดไป คือการที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทาน “พระปฐม บรมราชโองการ” หลังจากการทูลเกล้าฯ ถวายเครื่อง เบญจราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องราชูปโภค เพื่อแสดง ถึงพระราชปณิธานในฐานะทรงเป็นผู้รับพระราชภาระ แห่งชาติบ้านเมือง ส�ำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรี สิ น ทรมหาวชิ ร าลงกรณ พระวชิ ร เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว
เสร็ จ สิ้ น สมบู ร ณ์ เมื่ อ วั น ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ใจความว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครอง แผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยขน์สุขแห่งอาณาราษฎร ตลอดไป” อีกนัยหนึ่ง พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยรวมนั้น ล้วนเป็นพระมหา กรุณาธิคณ ุ อันแผ่ไพศาลสูพ่ ระสกนิกรชาวไทยทุกหมูเ่ หล่า และพระราชกรณียกิจส่วนหนึ่งที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย มุสลิมนั้น ประมวลได้ดังต่อไปนี้ การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
27
๑. ทรงมีพระราชปณิธานทีจ่ ะสานต่อพระราชด�ำริ ของ “เสด็จพ่อ” ในการแปลพระมหาคัมภีร์ อัลกุรอาน เป็นภาษาไทย สืบเนื่องจากในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านกงสุล แห่ ง ประเทศซาอุ ดิ อ าระเบี ย ได้ เ ข้ า เฝ้ า ถวายคั ม ภี ร ์ อั ล กุ ร อาน ฉบั บ ที่ มี ค วามหมายเป็ น ภาษาอั ง กฤษ เมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทอดพระเนตรและทรงศึกษา ทรงมี พ ระราชด� ำ ริ ว ่ า ควรจะมี คั ม ภี ร ์ อั ล กุ ร อานฉบั บ ความหมายภาษาไทย ให้ปรากฏเป็นศรีสง่าแก่ประเทศชาติ ดังนั้น เมื่อนายต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรีใน สมัยนั้น เป็นผู้น�ำผู้แทนองค์กร สมาคม และกรรมการ อิสลามเข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคลในนามของพสกนิกร ชาวไทยมุสลิม วันเฉลิม พระชนมพรรษา ในหลวงทรงมี พระกระแสรับสั่งให้จุฬาราชมนตรีแปลความหมายของ คัมภีร์อัลกุรอานจากคัมภีร์ฉบับภาษาอาหรับโดยตรง สิ่ ง นี้ นั บ เป็ น พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ ท รงมี ต ่ อ ศาสนา อิสลามและพสกนิกรชายไทยมุสลิมอันหาที่สุดมิได้ ยิ่งกว่านั้น ในช่วงเวลาที่จุฬาราชมนตรีอยู่ในช่วง ขอการแปลคั ม ภี ร ์ อั ล กุ ร อาน เมื่ อ มี โ อกาสเข้ า เฝ้ า ฯ ในหลวงจะทรงแสดงความห่ ว งใย ตรั ส ถามถึ ง ความ คืบหน้า อุปสรรค ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกครั้ง พร้อมทรง พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนการด�ำเนิน การ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้พิมพ์เผยแพร่ ให้กระจายทั่วประเทศอีกด้วย
28
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
แน่ น อน สิ่ ง ที่ นั บ เป็ น พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อย่ า งยิ่ ง คื อ พระบาทสมเด็ จ พระวชิ ร เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมีพระราชปณิธานให้สานต่อพระราชด�ำริเกี่ยวกับ การเผยแพร่คัมภีร์อัลกุรอานพร้อมค�ำแปลเป็นภาษาไทย ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สืบต่อไป ๒. ทรงอุปการะเด็กก�ำพร้าไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังเป็น สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช ฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ได้ ท รงอุ ป การะเด็ ก ก� ำ พร้ า ไว้ ใ นพระราชู ป ถั ม ภ์ เช่ น จักรกฤษณ์ และอนุเดช ชูศรี ที่สูญเสียครอบครัวจาก เหตุการณ์ภูเขาถล่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ รวมทั้งครอบครัว ของ บูรฮาน และบุศรินทร์ หร่ายมณี ซึ่งสูญเสียพ่อ จากการถู ก ลอบสั ง หารในเหตุ ก ารณ์ ค วามไม่ ส งบใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ทรงอุปการะจนกว่า จะส�ำเร็จการศึกษาปริญญาตรี หรือจนกว่าจะมีอาชีพ สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ ๓. พระราชทานถ้วยรางวัลงานทดสอบการอัญเชิญ คัมภีร์อัลกุรอาน และโล่เกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลแก่ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำจังหวัด อิหม่าม ผู้บริหาร โรงเรียน ครูและนักเรียน ณ จังหวัดปัตตานี
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ พระราชด�ำเนินไปทรงเป็นองค์ประธานในการพระราชทาน รางวัลมหกรรมการทดสอบการอัญเชิญคัมภีร์อัลกุรอาน ระดับภาคใต้ และระดับประเทศ ณ มัสยิดกลางจังหวัด ปั ต ตานี เนื่ อ งจากจั ง หวั ด ปั ต ตานี โดยเทศบาลเมื อ ง ปัตตานี ร่วมกับส�ำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจ�ำ จังหวัดปัตตานี และมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี จัดงาน มหกรรมทดสอบการอั ญ เชิ ญ คั ม ภี ร ์ อั ล กุ ร อาน โดย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราช ด� ำ เนิ น ไปพระราชทานโล่ เ กี ย รติ คุ ณ และเงิ น รางวั ล นั ก กอรี ผู ้ ไ ด้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ ในช่ ว งเวลาเดี ย วกั น กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการ ได้สนอง พระราชปณิธานการพระราชทานรางวัลแก่คณะกรรมการ อิสลามประจ�ำจังหวัด และอิหม่ามที่มีผลการปฏิบัติงาน ดีเด่น รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน ครูและนักเรียนโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ ที่สมควรได้รับรางวัล เพื่อประกาศเกียรติคุณ เป็นประจ�ำทุกปี
๔. องค์ ป ระธานเปิ ด งานเมาลิ ด กลางแห่ ง ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ พระราชด� ำ เนิ น แทนพระบาทสมเด็ จ พระบรมชนกา ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงเปิ ด งานเมาลิ ด กลางแห่ ง ประเทศไทยอย่ า ง ต่อเนื่องเป็นประจ�ำทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จนถึง ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นปีที่ “เสด็จพ่อ” เสด็จสวรรคต นั บ เป็ น พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ มี ต ่ อ พสกนิ ก รชาวไทย มุ ส ลิ ม อั น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ท� ำ ให้ พ สกนิ ก รชาวไทยมุ ส ลิ ม ทุ ก ภู มิ ภาค และมุ ส ลิ ม ต่ า งชาติ ซึ่ ง มาพ� ำ นั กอาศั ย ใน ประเทศไทย ได้มีโอกาสเข้าเฝ้า ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี ที่ พ ระองค์ เ สด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปทรงเปิ ด งาน เมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจ�ำปีฮิจเราะห์ศักราช ๑๓๒๘ ซึ่งเป็นปีแรกที่เปลี่ยนสถานที่จัดงานเมาลิดกลาง แห่งประเทศไทย จากสวนอัมพร มาจัดที่ศูนย์บริหาร กิ จ การศาสนาอิ ส ลามแห่ ง ชาติ เฉลิ ม พระเกี ย รติ
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
29
เขตหนองจอก กรุ ง เทพมหานคร และทรงเปิ ด ป้ า ย “ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ” ในค�ำรบเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี ๒๕๖๒ จนถึงปี ๒๕๖๔ มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ อย่างต่อ เนือ่ งท�ำให้ไม่สามารถจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ในปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ได้ ๕. โครงการพระราชทาน “จิตอาสา” พระบาทสมเด็ จ พระวชิ ร เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว พระราชทานโครงการจิตอาสา “เราท�ำความดีดว้ ยหัวใจ” อาจจะกล่าวได้วา่ เป็นโครงการทีอ่ ยูใ่ นดวงใจของคนไทย ทุ ก คน ที่ ม าโครงการนี้ เนื่ อ งจากพระบาทสมเด็ จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยและทรงค�ำนึงถึง ความอยู ่ ดี มี สุ ข ของประชาชนเป็ น ส� ำ คั ญ พระองค์ จึงทรงมีพระราชปณิธานที่จะท�ำให้ประเทศชาติมั่นคง และประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประกอบกับ มี พ ระราชประสงค์ ที่ จ ะสื บ สาน รั ก ษาและต่ อ ยอด โครงการ อั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ แ ละแนว
30
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
พระราชด�ำริต่าง ๆ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ในการ บ�ำบัดทุกข์และบ�ำรุงสุขให้ประชาชนในด้านความเป็นอยู่ และพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์ ร่วมกับหน่วยราชการต่าง ๆ และประชาชนทุกหมู่เหล่า ที่มีจิตอาสา บ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่ อ บรรเทาความเดื อ ดร้ อ น และแก้ ไ ขปั ญ หาให้ แ ก่ ประชาชน ไม่ ว ่ า จะเป็ น ปั ญ หาน�้ ำ ท่ ว มในเขตชุ ม ชน ปัญหาการจราจร และอื่น ๆ เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็ จ พระบรมชนกาธิ เ บศร มหาภู มิ พ ล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเปิดให้ประชาชน ทั่ ว ประเทศสมั ค รเข้ า ร่ ว มจิ ต อาสา “เราท� ำ ความดี ด้วยหัวใจ” ปรากฏว่า โครงการจิตอาสา “ท�ำความดี ด้วยหัวใจ” มีประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกศาสนา สมัคร เข้าร่วมโครงการเป็นจ�ำนวนมาก รวมทั้งพี่น้องพสกนิกร ชาวไทยมุสลิมด้วย
ดั ง กล่ า วนี้ ขอเรี ย นว่ า พระราชกรณี ย กิ จ ใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหา วชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณ อดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนก่อให้เกิดความซาบซึ้งใน พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ มิใช่เฉพาะพสกนิกร ชาวไทยมุ ส ลิ ม เท่ า นั้ น แต่ แ ผ่ พ ระบารมี อั น ไพศาลสู ่ พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ตลอดจนชาวมุสลิมใน
กลุ่มประเทศมุสลิม และนานาประเทศ ที่ได้รับทราบ พระราชกรณี ย กิ จ ในพระบาทสมเด็ จ พระวชิ ร เกล้ า เจ้าอยู่หัวอีกด้วย ดังนั้น ในโอกาสแห่งวันเฉลิมพระชนม พรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ขอเปล่งเสียงของ พสกนิ ก รชาวไทยมุ ส ลิ ม ทั้ ง ผองว่ า “ขอพระองค์ ท รง พระเจริญยิ่งยืนนาน”
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
31
จิตอาสาในอิสลาม อรุณ บุญชม การท�ำงานอย่างมีจิตอาสาหรือ ( )العمل التطوعيในหลักการอิสลามนั้นคือการให้ การเสียสละ การท�ำกิจกรรม เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือท�ำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นการกระท�ำด้วยจิตบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า อิคลาศ อัลกุรอานได้ส่งเสริมการท�ำงานอย่างมีจิตอาสาว่า
{184 : فَ َمن ت ََط َّو َع خ ْ ًَيا فَه َُو خ ْ ٌَي َّلُ}}{ البقرة “ผู้ใดอาสาท�ำความดี เขาย่อมได้รับความดีตอบแทน” (อัลบะกอเราะฮ์ ๑๘๔)
{158 : الل َشا ِك ٌر عَ ِل ٌمي}{ البقرة َ َّ َو َم ْن ت ََط َّو َع خ ْ ًَيا فَ� َّن إ
“ผู้ใดอาสาท�ำความดี อัลลอฮ์ทรงขอบคุณ อัลลอฮ์ทรงรู้” (อัลบะกอเราะฮ์ ๑๕๘) 32
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
อัลกุรอานทั้งสองอายะฮ์นั้นสนับสนุนและส่งเสริม ให้กระท�ำความดีอย่างมีจิตอาสา เป็นการท�ำความดี อย่ า งเต็ ม ใจ บริ สุ ท ธิ์ ใ จและด้ ว ยความปรารถนาดี และการอาสาท�ำความดีนั้นเป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงขอบคุณ ผู้กระท�ำ และทรงรู้เห็นการกระท�ำของเขาตลอดเวลา และท่านร่อซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้บอกเล่าตัวอย่าง ของการท�ำงานอย่างมีจติ อาสาให้ได้เห็นภาพอย่างชัดเจน ไว้ในฮะดีษที่รายงานโดยบุคอรีและมุสลิมไว้ว่า
« َفو َجدَ ب ْ ًِئا،بيامن رج ٌل مييش بطر ٍيق ا�ش َت َّد عليه ال َع َط ُش الثى ِم َن َ َّ مث خ ََر َج ف�إذا َ ْك ٌب يَلْه َُث ي�ألك،ش َب ِ َ َفزنل فهيا ف ْ َ لقد بَلَ َغ هذا: فقال الرج ُل،ال َع َط ِش الك َب ِم َن ال َع َط ِش ِمثْ َل ماء مث أ� ْم َس َك ُه َ َ ،ا ِذلي اكن قَدْ بَلَ َغ ِم ِ ّن ً فَ َم َ َأل ُخفَّ ُه،فن َل الب ْ َِئ ْ َ فَ َس َقى،َِب ِفي ِه َح َّت َر ِق »ُ فَ َغ َف َر هل،هللا هل ُ فشَ َك َر،الك َب ّ ِ ُ «يف:ائ أ� ْج ًرا؟ فقال ك ِ ِ َ َ � َّإن لَنَا يف الب، اي رسول هللا:قالوا َر َوا ُه الْ ُبخ َِار ُّي َو ُم ْس ِ ٌل.» َك ِب ٍد َر ْط َب ٍة أ� ْج ٌر. “ขณะที่ชายคนหนึ่งก�ำลังเดินอยู่ตามทาง เขาเกิด ความกระหายน�้ำอย่างรุนแรง, ต่อมาเขาได้พบบ่อน�้ำ เขาจึงได้ลงไปในบ่อและได้ดื่มน�้ำ, จากนั้นเขาได้ขึ้นมา จากบ่อได้พบสุนัขตัวหนึ่งก�ำลังแลบลิ้นเลียดินที่เปียก
เนื่องจากกระหายน�้ำ, ชายคนนั้นได้ร�ำพึงขึ้นว่าสุนัขตัวนี้ คงกระหายน�้ำเช่นเดียวกับที่ฉันกระหายน�้ำก่อนหน้านี้, เขาจึงลงไปในบ่อและเติมน�้ำใส่ในรองเท้าของเขาจนเต็ม เขาใช้ปากคาบรองเท้าจนขึ้นมาถึงปากบ่อและให้น�้ำดื่ม แก่สุนัขตัวนั้น, อัลเลาะฮ์ได้ขอบคุณเขา ได้อภัยโทษ ให้ เ ขา และในบางรายงานว่ า และพระองค์ ไ ด้ ใ ห้ เ ขา เข้าสวรรค์” อัครสาวกได้ถามว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮ์ พวกเราจะได้ รั บ ผลบุ ญ จากการท� ำ ความดี ต ่ อ สั ต ว์ ด้วยหรือ ? ท่านตอบว่า “การท�ำความดีกับทุกสิ่งที่มี ชีวิตนั้นย่อมได้รับผลบุญตอบแทน” รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม เมื่ อ เราพิ จ ารณาถึ ง การกระท� ำ ของชายคนนี้ หลังจากเขาได้เห็นสุนัขตัวหนึ่งนอนเลียดินเปียกอยู่ที่ ปากบ่อและเขาได้ลงไปในบ่อเอาน�้ำใส่รองเท้าจนเต็ม และใช้ ป ากคาบรองเท้ า ขึ้ น มาเอาน�้ ำ ให้ สุ นั ข ดื่ ม พฤติกรรมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากความเมตตาสงสารสัตว์ และเกิดจากการมีจิตอาสาที่จะให้ความช่วยเหลือสัตว์ ที่ก�ำลังทุกข์ทรมานจากความกระหายน�้ำ โดยไม่หวัง สิ่ ง ตอบแทนใดๆ การกระท� ำ ของเขาเกิ ด ขึ้ น โดยไม่ มี สิ่งใดกดดันให้เขาต้องกระท�ำเช่นนั้น และการกระท�ำ ของเขาไม่ได้รบั การปรบมือ ไม่ได้รบั การยกย่องและเชิดชู เกียรติจากสถาบันใดว่าเขาเป็นคนเมตตาสงสารสัตว์
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
33
การกระท� ำ ของเขาอาจเห็ น ว่ า เล็ ก น้ อ ยแต่ ผลตอบแทนทีเ่ ขาได้รบั จากอัลลอฮ์ ตาอาลา ผูเ้ ป็นเจ้านัน้ ยิ่งใหญ่นั่นคือ เขาได้รับการขอบคุณจากพระผู้เป็นเจ้า เขาได้รับการอภัยโทษ และพระองค์ให้เขาได้เข้าสวรรค์ และสิ่ ง ที่ อ ยู ่ เ บื้ อ งหลั ง ผลตอบแทนอั น ยิ่ ง ใหญ่ นี้ คื อ การท� ำ ความดี ด ้ ว ยความบริ สุ ท ธิ์ ใ จ(อิ ค ลาศ)ของเขา โดยไม่ ห วั ง การตอบแทน ไม่ห วังความยกย่อ งชมเชย ใดๆทั้ ง สิ้ น เพราะขณะเขาท� ำ ความดี นี้ มี แ ต่ เ พี ย งเขา กับสุนัขเท่านั้น และท่านร่อซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ยังได้ขยายความ เรื่องการท�ำงานทางด้านจิตอาสาไว้ในอีกฮะดีษหนึ่งว่า
َّ ُ ك ُس َل َمى ِم َن النَّ ِاس عَلَ ْي ِه َصدَ قَ ٌة ُّ ُ “ ك ي َ ْو ٍم ت َْطلُ ُع ِفي ِه ، َوتُ ِع ُني َّالر ُج َل ِف دَاب َّ ِت ِه، تَ ْع ِد ُل ب َ ْ َي اثْنَ ْ ِي َصدَ قَ ٌة: الشَّ ْم ُس َو ْال َ ِك َم ُة ا َّلط ِ ّي َب ُة، أ� ْو تَ ْرفَ ُع َ ُل عَلَيْ َا َمتَاعَ ُه َصدَ قَ ٌة، فَتَ ْح ِم ُ ُل عَلَيْ َا ِّ ُ َو ِب، َصدَ قَ ٌة ُ َوتُ ِميط، الص َل ِة َصدَ قَ ٌة َّ ك خ ُْط َو ٍة تَ ْم�شِهيَا � َل إ ْ َأ َّ ال َذى َع ِن. َر َوا ُه الْ ُبخ َِار ُّي َو ُم ْس ِ ٌل.”الط ِر ِيق َصدَ قَ ٌة “ทุกๆ ข้อต่อในร่างกายของมนุษย์นั้นควรจะ ต้ อ งบริ จ าคทาน ในทุ ก วั น ที่ ด วงอาทิ ต ย์ ขึ้ น ได้ แ ก่
34
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
การที่ ท ่ า นให้ ค วามยุ ติ ธ รรมระหว่ า งสองคนถื อ เป็ น การบริ จ าคทาน, การที่ ท ่ า นให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ชายคนหนึ่งในเรื่องสัตว์พาหนะของเขา การที่ท่าน น�ำเขาขึ้นขี่บนพาหนะของเขา หรือช่วยเขายกสิ่งของ ขึ้นบนพาหนะของเขาเป็นการบริจาคทาน, การใช้ ค�ำพูดที่ดี เป็นการบริจาคทาน, ทุกก้าวที่ท่านเดินไป ละหมาดเป็ น การบริ จ าคทาน, และการที่ ท ่ า นขจั ด สิ่งที่ท�ำความเดือดร้อนออกจากทางสัญจร เป็นการ บริจาคทาน” รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม ฮะดี ษ บทนี้ ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง เรื่ อ งจิ ต อาสา หรื อ จิตสาธารณะที่หมายถึง จิตส�ำนึกเพื่อส่วนรวมไว้ด้วย อั น ได้ แ ก่ ก ารช่ ว ยลดปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมในด้ า น การไกล่เกลี่ยกรณีขัดแย้ง การเสียสละช่วยเหลือผู้ที่ ก�ำลังเดือดร้อน การท�ำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยกัน พัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการด�ำเนินชีวิต การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการขจัดสิ่งที่จะ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่สังคมให้หมดสิ้นไป และให้ ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความ ช่วยเหลือเท่าที่จะท�ำได้
การปลู ก ต้ น ไม้ เ ป็ น กิ จ กรรมจิ ต อาสาที่ อิ ส ลาม ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ท่ า นร่ อ ซู ลุ ล ลอฮ์ ( ศ็ อ ลฯ) ได้กล่าวว่า
ُ ُ فَ َي�أ، أ� ْو يَ ْز َر ُع َز ْرعًا،َما ِم ْن ُم ْس ِ ٍل ي َ ْغ ِر ُس غَ ْر ًسا “ ك ِمنْ ُه َط ْ ٌي ” أ� ْو �ن ْ َس ٌان أ� ْو بَ ِ مي َ ٌة �الَّ َك َن َ ُل ِب ِه َصدَ قَ ٌة إ إ
“ไม่มีมุสลิมคนใดที่ปลูกไม้ยืนต้นหรือปลูกพืช ล้ ม ลุ ก และต่ อ มาได้ มี น กหรื อ มนุ ษ ย์ ห รื อ สั ต ว์ ไ ด้ ม า กินมัน นอกจากเขาจะได้รับผลบุญของการบริจาค ด้วยต้นไม้นั้น” รายงานโดยมุสลิม
อิสลามส่งเสริมให้ปลูกต้นไม้ และถือว่าการปลูก ต้ น ไม้ เ ป็ น บุ ญ กุ ศ ล แม้ ผู ้ ป ลู ก อาจไม่ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ จากการปลูกต้นไม้นนั้ ก็ตาม เพราะเขาได้ทำ� คุณประโยชน์ ให้แก่สิ่งมีชีวิตได้ใช้ประโยชน์จากต้นไม้นั้น การที่มีฝูงนก มาอาศัยเกาะกินแมลงผู้ปลูกก็ได้รับลผลบุญ หรือผู้คน มาเก็บดอกใบหรือผลไปกินผู้ปลูกก็ได้รับผลบุญ และ แม้แต่สัตว์ได้มาและเล็มต้นไม้ที่ได้ปลูกไว้ผู้ปลูกก็ได้รับ ผลบุญ จิตอาสา เป็นเรื่องที่ศาสนาอิสลามให้การส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างกว้าง ขวางในทุกด้านที่จะ ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความรักสามัคคีในหมู่คณะและ ในสังคมเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
35
ครอบครัว
คือศูนย์การเรียนรู้เพื่อชีวิต สมัย เจริญช่าง พ่อบ้าน คือ หัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบทุกชีวิตในบ้าน ทั้งภรรยาและลูก เกี่ยวกับการหาเลี้ยงชีพและ จัดสวัสดิการปัจจัย ๔ ในการด�ำรงชีวิตให้กับทุกคน นอกจากนั้นต้องดูแล ให้ความอบอุ่น ความใกล้ชิด สนิทสนมกับ สมาชิกทุกคนในบ้าน นอกจากนี้ พ่อยังต้องท�ำหน้าที่เป็น “ผู้น�ำต้นแบบ” โดยปฏิบัตินิยมให้สมาชิกในบ้านได้ศึกษา เรียนรู้อีกด้วย บ้าน คือ ศูนย์การเรียนรู้ที่แท้จริง ลูกๆ มักจะด�ำเนินชีวิตตามตัวแบบ (Model) ของผู้น�ำครอบครัว วัฒนธรรม (Culture) ในครอบครัว จึงมีอิทธิพลต่อวิถีด�ำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง อีกนัยหนึ่ง พ่อจึงเป็นบุคคลส�ำคัญในการออกแบบ (Designer) ให้กับทุกชีวิตในครอบครัว สมาชิกในครอบครัว จะมีทัศนคติ ค่านิยม หรืออุดมการณ์ไปในแนวทางใด หัวหน้าครอบครัว คือ “ผู้หว่าน” หรือ “ผู้ปั้น” ที่ส�ำคัญที่สุด
36
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ในค�ำสอนของท่านศาสดานบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ศาสนทู ต ของศาสนาอิ ส ลาม ได้ ส อนไว้ มี ค วามว่ า “เด็ก ๆ นั้น ถูกสร้างให้เกิดมาบนพื้นฐานของความ บริสุทธิ์ท้ังสิ้น บิดา มารดาของเขาต่างหาก จะเป็น ผู้ชักน�ำไปสู่ลัทธิความเชื่อต่าง ๆ เช่น ยะฮูด นะศอรอ หรือมะยูซ” ดังนั้น ความต่างกันในสังคมมนุษย์ได้ถูก หล่อหลอม หรือ “ถูกปั้น” มาจากครอบครัวของแต่ละ บุ ค คลที่ มี ค วามเชื่ อ ความศรั ท ธา หรื อ ความนิ ย มที่ ต่างกันโดยธรรมชาติ เมื่อสมาชิกของแต่ละครอบครัวเติบโตขึ้นมาแล้ว ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม ในฐานะ “มนุษย์” คือ “สัตว์สังคม” ทุกชีวิตต้องเพิ่มหน้าที่หรือพันธกิจของ ตัวเองขึน้ จากเดิม คือ ต้องมีการเรียนรู้ สร้างความคุน้ เคย และปรั บ ตั ว เข้ า หากั น ด้ ว ยความเป็ น มิ ต รที่ มี ต ่ อ กั น ในค�ำสอนของศาสนาอิสลามถือว่า พฤติกรรมดังกล่าว เป็นพระประสงค์ขององค์พระผู้อภิบาล คือ อัลลอฮ์ ซุ บ ฮานะฮู ว ะตะอาลา ดั ง ปรากฏบั ญ ญั ติ ใ นพระมหา คัมภีร์อัลกุรอานในซูเราะฮ์ (บท) ฮุยุรอต อายะฮ์ที่ ๑๓ มีความว่า
“โอ้ มนุษยชาติท้ังหลาย แท้จริง เรา-อัลลอฮ์ ได้สร้างพวกเจ้าจากชายและหญิง และได้ให้พวกเจ้า มีความแตกต่างกันเป็นชาติพันธุ์ และเผ่าต่าง ๆ ก็เพื่อ จะได้สร้างความคุ้นเคยและร่วมมือกันในความดีงาม แท้จริง ผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่ของพวกเจ้า ในทัศนะ ของอั ล ลอฮ์ คื อ ผู ้ ที่ มี จิ ต ภั ก ดี เ ชื่ อ มั่ น ต่ อ พระองค์ (ตักวา) มากกว่า” ส�ำหรับ พ่อบ้านทีม่ ศี าสนนิยม ก็ตอ้ งน�ำทางสมาชิก ในครอบครั ว ให้ มี ต ้ น ทุ น การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ในบริ บ ทของ การตักวา (จิตภักดี) ต่อพระเจ้า คือ อัลลอฮ์ (ซุบฯ) อย่างมั่นคง เป็นเป้าหมายสูงสุด (Ultimate Goal) หลังจากนั้นพ่อบ้านที่ดี ต้องประกอบสัมมาชีพที่สุจริต เพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง ริ ส กี (ปั จ จั ย ยั ง ชี พ ) ที่ ฮ าลาล (เป็ น ที่ อนุ มั ติ ต ามหลั ก ศาสนบั ญ ญั ติ ) การหารายได้ ที่ สุ จ ริ ต (ฮาลาล) เป็ น ปั จ จั ย องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ ที่ จ ะท� ำ ให้ ทุกชีวติ ในครอบครัวเป็นคนดี เพราะปัจจัยยังชีพ (อาหาร เครื่ อ งดื่ ม เครื่ อ งนุ ่ ง ห่ ม ที่ อ ยู ่ อ าศั ย และสิ่ ง อ� ำ นวย ความสะดวกต่างๆ) เมื่อน�ำมาสัมผัสกับร่างกาย ก็ถือว่า เป็ น วั ต ถุ ดิ บ น� ำ เข้ า (In Put) บริ บ ทการด� ำ เนิ น ชี วิ ต
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
37
คือ กระบวนการ (Process) ที่จะผลิตวัตถุส�ำเร็จรูป หรือผลิตภัณฑ์ (Out Put) และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้นั้น จะต้องมีคุณภาพมาตรฐานที่ดี (Out Come) ตลอด เส้นทางในการผลิตนั้น วัตถุดิบน�ำเข้า (In Put) เป็นสิ่ง ส�ำคัญมาก หากน�ำของไม่ดีของเสียเข้าสู่วงจรการผลิต เครื่ อ งกลจะดี อ ย่างไร ผลิตภัณ ฑ์ที่ผลิตออกมาก็ เ ป็ น ของเสียไร้คณ ุ ค่า ไม่เป็นทีต่ อ้ งการของตลาดหรือผูบ้ ริโภค เช่น น�ำอาหารบูดมาใส่ไมโครเวฟ เมื่อผ่านกระบวนการ อุ่นร้อนแล้ว น�ำออกมา ก็บริโภคไม่ได้ เพราะอาหารนั้น บูดเสียตั้งแต่ต้น เช่นเดียวกัน เงินตราหรือรายได้จาก สิ่ ง ที่ ฮ ารอม (สิ่ ง ที่ ต ้ อ งห้ า มตามบั ญ ญั ติ ศ าสนา) เช่ น รายได้จากการคอรัปชั่น การขายสิทธิ์ ขายเสียงเลือกตั้ง การพนัน การขายสิ่งมึนเมา การขายนะญิส(สิ่งปนเปื้อน) ฯลฯ เงินเหล่านี้ ย่อมน�ำมาเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีไม่ได้ พ่อบ้านต้องปลุกจิตส�ำนึกในเจตคติของลูกๆ ให้ ตระหนักในค�ำสอนของศาสนาทูตนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่เคยสอนไว้ มีความว่า “การบริโภคอาหารที่ฮารอม (สิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ) เพียง ๑ ค�ำ อัลลอฮ์ (พระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ) จะไม่ ท รงตอบรั บ การท� ำ ความดี ของเขาเป็นเวลา ๔๐ คืน ๔๐ วัน” นอกจากคุณพ่อ คุณแม่ ในฐานะผู้รับผิดชอบต่อการเลี้ยงดูลูก ๆ ให้ได้รับ การพัฒนาทางด้าน “สรีระ”แล้ว ผู้รับผิดชอบครอบครัว ยังต้องสรรสร้างและพัฒนาการทางจิตวิญญาณอีกด้วย การพัฒนาทางจิตวิญญาณเป็นความส�ำคัญอันดับแรก (First Priority) ของการสร้างมนุษย์ที่สมบู ร ณ์ แ บบ เพราะพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้มีความสรีระที่งดงาม
กว่าสิ่งถูกสร้างทั้งปวง นอกจากนั้น มนุษย์มีสติปัญญา อารมณ์และสังคมทีแ่ ตกต่างจากสิง่ ทีม่ ชี วี ติ อืน่ ๆ ครอบครัว ต้ อ งสร้ า งลู ก หลานให้ มี ส ติ แ ละปั ญ ญาที่ ช าญฉลาด คิดได้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล แต่ต้องมีพลังจิตที่สะอาด คอยก�ำกับปัญญาให้คิด และตัดสินใจท�ำในสิ่งที่ถูกต้อง งดงามเป็น “มโนสุจริต” อย่าปล่อยให้ความหลงผิด เข้ า ครอบง� ำ ปั ญ ญาของคนในครอบครั ว หาไม่ แ ล้ ว ความหายนะก็จะเกิดขึ้นกับครอบครัวนั้น ๆ “จิตสุจริต” คือ ศูนย์บังคับการปฏิบัติการทั้งปวง ที่ จ ะท� ำ ให้ ม นุ ษ ย์ เ ป็ น “สุ จ ริ ต ชน”ได้ ส� ำ เร็ จ โดยแท้ มี ค� ำ สอนจากท่ า นศาสนาทู ต นบี มู ฮั ม หมั ด ได้ ส อนไว้ มีความว่า “ในเรือนร่างของมนุษย์ มีเนื้ออยู่ ๑ ก้อน หากเนื้ อ ก้ อ นนั้ น ดี ทุ ก ส่ ว นในร่ า งกายก็ ดี ทั้ ง หมด หากเนื้อก้อนนั้นเสีย ทุกส่วนของร่างกายก็เสียทั้งหมด ท่านเฉลยปริศนาว่า เนื้อก้อนนั้น คือ “หัวใจ” ของมนุษย์ ในสังคมแห่งบรรพชนไทย เคยมีค�ำสอนเป็นคติ ไว้ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” เป็นการสอดคล้องกับ อุดมการณ์และค�ำสอนของท่านศาสนทูตของพระเจ้า โดยดุษฎี การสอนลูก ๆ ให้บริโภคอารมณ์ที่สะอาด มนุษย์ทุกคนมักมีอารมณ์ แต่ปัญญาชน ควรใช้สติอยู่ เหนื อ อารมณ์ อย่ า ให้ อ ารมณ์ ก ดทั บ สติ จ นขาดลอย อารมณ์มี ๒ ด้าน คือ ด้านบวกและด้านลบ “ครอบครัว” ต้องชี้แนะให้ลูกหลานให้มีความมั่นคง อยู่กับอารมณ์
38
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ด้านบวกหรืออารมณ์สะอาด ส่วนต้นเหตุของอารมณ์ ที่ปนเปื้อน คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ทั้ง ๓ แนวทางนี้ เป็นแนวทางสู่ความวิบัติของมนุษย์ โดยแท้จริง การระงับอารมณ์ที่รุ่มร้อนได้ คือ ชัยชนะ อันงดงาม เพราะท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ศาสนทูต ของอัลลอฮ์ ได้สอนไว้เป็นคติว่า “มิใช่คนเก่ง คนที่ใช้ ก�ำลังเข้าต่อสู้” เช่น การปล�้ำฟัดรัดเหวี่ยง แต่คนเก่ง คื อ คนที่ เ อาชนะตนเองได้ ใ นขณะที่ โ กรธ ดั ง นั้ น ทุกครอบครัว จึงควรสอนลูกหลานให้เป็นผู้มีชัยชนะ ด้วยการเอาชนะอารมณ์ด้านลบให้จงได้ในทุกสมรภูมิ แห่งการต่อสู้ ด่านสุดท้ายคือ การสร้างแนวคิด เรือ่ ง “การสังคม” ที่ถูกต้องให้กับลูกหลาน “สังคม” คือ การปะทะสังสรรค์ ของคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป การให้แนวคิด (Concept) เรือ่ งการเลือกสรรเพือ่ นในการคบค้าสมาคม เป็นพันธกิจ ของคุณพ่อ คุณแม่ทุกยุคทุกสมัย เพราะหากต้องการ ให้ลูกหลานเป็นคนดี ก็ต้องเริ่มมีการสังคมกับเพื่อนที่ดี หลักคิดในเรื่องนี้ ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ศาสนาทูต ของอัลลอฮ์ ได้สอนเป็นแนวทางไว้ว่า “การคบกับคนดี เป็นมิตร อุปมากับการคบคนขายเครื่องหอม ถึงแม้ เราจะมิได้ใส่เครื่องหอมมาไว้ในครอบครอง แต่กลิ่น
ความหอมย่อมติดตัวเรา และการคบกับคนชัว่ เป็นมิตร อุ ป มั ย กั บ การคบช่ า งตี เ หล็ ก แม้ น ว่ า มื อ เราจะไม่ เปื้อนเหล็กที่เผาไฟในเตาแต่เขม่าควัน ย่อมติดตัวเรา เป็นแน่แท้” ปัจจุบัน โลกมีนวัตกรรม (Innovation) เกิดขึ้น มากมายที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิด เพื่ อ ให้ แ นวคิ ด ที่ ถู ก ต้ อ งในการคบเพื่ อ นทาง Social Media โดยผ่านสมาร์ทโฟน และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็ น ช่ อ งทางที่ ส ะดวกรวดเร็ ว มาก การมี เ พื่ อ นใหม่ ซึ่งบางครั้ง ลูกหลานของเรารู้ไม่เท่าทัน คนที่เสนอตัว มาเป็นเพื่อน เกิดหลงรับเข้ามาด้วยความใสซื่อ บางกรณี ลูกหลานเราได้คนประเภท “หวังดี แต่ประสงค์ร้าย” รับเข้ามาเป็นเพือ่ นสนิทบ้าง คล้อยตามค�ำแนะน�ำโฆษณา ชวนเชื่ อ ของเขาบ้ า ง ปล่ อ ยตั ว ปล่ อ ยใจยอมมอบตั ว มอบใจให้เขาไปโดยไม่รู้หัวนอนปลายเท้า และนิสัยถาวร (สันดาร) ของคนๆนั้น ในที่สุดความเสียหายก็เกิดขึ้น กับคนของเรา ความผิดพลาดต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นเลย หากครอบครัว มีความเข้มแข็งในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี สร้างแนวคิดที่ถูกต้อง และปฏิบัตินิยม (ปฏิบัติจริงจัง) แล้วไซร้ แน่นอน สถาบันครอบครัว คือ ศูนย์การเรียนรู้ เพื่อชีวิตที่ส�ำคัญที่สุดนั่นเอง
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
39
เ รื่ อ ง สั้ น
อับดุรเราะห์มานกับค�ำพ่อสอน ผศ.ดร. อับดุลเลาะ หนุ่มสุข ในโลกใบนีค้ งไม่มลี กู คนใดปฏิเสธบุญคุณของพ่อบังเกิดเกล้า ผูม้ สี ว่ นส�ำคัญยิง่ ในการให้กำ� เนิดและการเจริญเติบโต แก่ลูกๆทุกคน ถึงแม้ว่าค�ำสอนของอิสลามจะให้ความส�ำคัญกับแม่มากกว่าพ่อ โดยท่านนบีได้กล่าวย�้ำถึงคุณค่าของแม่ ถึง ๓ ครั้ง (ดูอัลฮะดีษในเศาะฮีห์บุคอรี ๕๙๗๑ และเศาะฮีห์มุสลิม ๒๕๔๘) กระนั้นค�ำสอนของอิสลามก็มิได้ปฏิเสธ คุณค่าและความประเสริฐของพ่อในฐานะผู้น�ำครอบครัวแต่ประการใด เรื่องสั้นต่อไปนี้จะท�ำให้ผู้อ่านได้เห็นด้านหนึ่งของความเป็นพ่อซึ่งโดยธรรมชาติแล้วลูกกลัวมากกว่าแม่ เวลาแม่ดุลูก แม่มักพูดว่า “เดี๋ยวพ่อมาแม่จะฟ้อง” เพื่อให้ลูกกลัว ซึ่งลูกก็จะกลัวจริงๆ ลูกๆ ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ยังเล็กมักไม่เข้าใจสาเหตุที่พ่อดุ ว่ากล่าวตักเตือนและลงโทษ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จึงรู้และเข้าใจ
40
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
อับดุรเราะห์มานกับพ่อขี้บ่น อับดุรเราะห์มานเป็นเด็กหนุม่ คนหนึง่ ผูจ้ ะเล่าเรือ่ ง ราวระหว่างเขากับพ่อให้พวกเราได้ฟัง ดังนี้ พ่อของผม เป็นคนละเอียด รอบคอบ เข้มงวด และพิถีพิถัน พ่อให้ความส�ำคัญกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนดูเป็นคนขี้บ่น ทุกครั้งที่พ่อเข้าไปในห้องของผมและ พบว่ามีไฟเปิดอยู่โดยที่ผมไม่ได้อยู่ในห้อง พ่อจะดุผม “อับดุรเราะห์มาน ท�ำไมไม่ปิดไฟ ท�ำไมเหลวไหล อย่างนี้ไม่รู้หรือไงว่ามันเป็นความสุรุ่ยสุร่ายและความ สูญเปล่า” และทุกครั้งเมื่อพ่อเข้าห้องน�้ำ พบว่า มีน�้ำหยดอยู่ เพราะก๊อกน�้ำปิดไม่สนิท พ่อตะโกนเสียงดัง “อับดุรเราะห์มาน ท�ำไมปิดก๊อกน�้ำไม่สนิท ท�ำไม สุรุ่ยสุร่ายอย่างนี้ ไม่รู้หรือไงว่ามันเป็นความเสียหาย” พ่ อ มั ก ดุ แ ละต� ำ หนิ ผ มทุ ก เรื่ อ งไม่ ว ่ า เรื่ อ งเล็ ก หรื อ ใหญ่ แม้ ใ นขณะป่ ว ย พ่ อ ก็ ยั ง ไม่ ล ะเลยในการ สั่งสอนว่ากล่าวตักเตือนถึงข้อบกพร่องของผมเป็นเช่นนี้ เรื่อยมา กระทั่งผมเรียนจบ และก�ำลังจะได้งานท�ำ วันที่บริษัทนัดผมไปสัมภาษณ์เป็นวันที่ผมจดจ�ำ ไม่รู้ลืม เป็นการสัมภาษณ์ครั้งแรกในชีวิตของผม คิดว่า ถ้าผมได้ท�ำงานในบริษัทแห่งนี้ซึ่งมีชื่อเสียงและมั่นคง
ผมจะไม่ ก ลั บ ไปอยู ่ บ ้ า นอี ก ผมเบื่ อ ร� ำ คาญเสี ย งบ่ น ของพ่อ พอกันที ..ถึงเวลาแล้วที่ผมจะสบายและหลุดพ้น จากบรรยากาศเดิมๆในบ้าน
อับดุรเราะห์มานสัมภาษณ์งาน ผมตื่นแต่เช้า ละหมาดซุบฮิ และอาบน�้ำ เลือกชุด หล่ อ สุ ด ส� ำ หรั บ วั น นี้ และใช้ น�้ ำ หอมดี ที่ สุ ด รี บ ออก จากบ้านโดยไม่รีรอ แต่ก่อนที่ผมจะออกพ้นประตู ก็มี มือหนึ่งมาตบที่ไหล่ของผมเบาๆ เมื่อหันไปดู พบคุณพ่อ ทีด่ วงตาเหีย่ วย่น และใบหน้ามีรอ่ งรอยของความเจ็บป่วย ปรากฏอยู่ คุณพ่อยิ้มกับผม ยื่นเงินให้ผมจ�ำนวนหนึ่ง พูดว่า : “พ่ อ ต้ อ งการให้ ลู ก เป็ น คนคิ ด บวก (มองโลก ในแง่ด)ี มีความมัน่ ใจในตัวเอง ไม่หวัน่ ไหว และวิตกกังวล ต่อค�ำถามของผูส้ มั ภาษณ์ ขออัลลอฮ์ประทานความส�ำเร็จ ให้ลูกนะ” ผมยิ้มตอบรับค�ำพูดของพ่อ แต่ในใจรู้สึกอึดอัด และร�ำคาญอย่างมาก คิดในใจว่า ถึงนาทีนี้พ่อยังไม่ หยุ ด สอนไม่ ห ยุ ด บ่ น ไม่ ห ยุ ด จู ้ จี้ เหมื อ นพ่ อ จงใจจะ กวนอารมณ์ผมในช่วงเวลาที่ผมก�ำลังจะมีความสุขที่สุด การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
41
ผมรีบออกจากบ้าน เรียกแท็กซี่มุ่งหน้าสู่บริษัท เพื่อเข้าสัมภาษณ์ ทันทีที่ถึงบริษัทและเดินเข้าทางประตู ผมเริ่ม แปลกใจเนื่องจากที่ประตูทางเข้าไม่มียาม ไม่มีรปภ. และไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายต้อนรับ จะมีก็เพียงป้ายบอกทาง ไปสถานที่สัมภาษณ์ เมื่อผมเดินเข้าประตู สังเกตเห็นว่าลูกบิดประตู ได้หลุดออกมาจากที่ของมัน เสี่ยงต่อการแตกหัก หากมี คนไปกระแทก ขณะนั้นผมนึกถึงค�ำพูดของพ่อตอนผม ออกจากบ้านที่พ่อให้ผมเป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี ผมรีบประกอบลูกบิดให้เข้าที่ดังเดิม หลั ง จากนั้ น ผมเดิ น ต่ อ ไปตามป้ า ยบอกทาง จนผ่านมาถึงสวนหย่อมของบริษทั เห็นน�ำ้ เจิง่ นองทางเดิน เป็นน�้ำที่ไหลมาจากอ่างน�้ำใบหนึ่งที่มีน�้ำล้นอยู่ ทันใดนั้น ค�ำสอนของพ่อเรื่องความสูญเปล่าของน�้ำก็ผ่านเข้ามา ในมโนส�ำนึก ผมรีบเข้าไปดึงสายยางจากอ่างที่เอ่อล้น น�ำไปใส่ในอ่างอีกใบ ปรับก๊อกน�ำ้ ให้ไหลแต่นอ้ ยเพือ่ จะได้ ไม่เต็มเร็ว ทันคนสวนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้นมาดูแล
ภายในตึกและห้องสัมภาษณ์ ผมเดิ น เข้ า ไปภายในตั ว ตึ ก ตามป้ า ยบอกทาง ขณะที่ผมขึ้นบันได ผมสังเกตเห็นไฟหลายดวงเปิดจ้าอยู่ ทั้งๆ เป็นเวลากลางวัน ผมเดินไปปิดสวิตช์อย่างไม่ค่อย เต็มใจนัก เพราะเสียงตะโกนของพ่อยังดังก้องกังวาน อยู่ตลอดเวลาในหู จนกระทั่งขึ้นมาถึงชั้นบนสุดซึ่งเป็น 42
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ที่นัดสัมภาษณ์ ผมตกใจและตื่นเต้นที่เห็นผู้สมัครนั่งรอ สัมภาษณ์เป็นจ�ำนวนมาก ผมลงทะเบียนและนั่งรอคิว ที่จะมาถึงระหว่างนั่งรอผมกวาดสายตามองผู้คนที่มา รอสัมภาษณ์ แต่ละคนดูมีสง่าราศี สวมเสื้อผ้าดี และมี บุคลิกดี ท�ำให้ผมรู้สึกด้อยค่าตัวเองอย่างมาก บางคน น�ำเอกสารการศึกษาจบจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอเมริกา ออกอวดกัน ยิ่งท�ำให้ผมวิตกกังวลมากขึ้น ผมสังเกตว่า ผู้เข้าสัมภาษณ์แต่ละคนที่เข้าไปสัมภาษณ์ กลับออกมา ภายใน ๑ นาทีหรือต�ำ่ กว่าแสดงว่าคนเหล่านัน้ ตกสัมภาษณ์ ผมคิดในใจ ถ้าบุคคลเหล่านี้ซึ่งมีทั้งคุณวุฒิและความ สง่างามยังถูกปฏิเสธแล้วคนอย่างผมจะมีโอกาสหรือ คิดดังนัน้ แล้วผมตัดสินใจไม่เข้าสัมภาษณ์ ควรเดิน ออกไปก่อนที่จะถูกปฏิเสธจากคณะกรรมการสัมภาษณ์ ซึ่งถือเป็นการเสียเกียรติในความคิดของผมดีกว่า ผมลุกจากทีน่ งั่ ตัง้ ใจจะเดินออก ทันใดนัน้ เจ้าหน้าที่ เรี ย กชื่ อ ผมให้ เ ข้ า ไปสั ม ภาษณ์ ผมจึ ง ตั ด สิ น ใจใหม่ บอกตัวเองว่า “เอาละ ไหนๆ ก็ไหนๆ ขอมอบหมายต่ออัลลอฮ์ แล้วกัน” ผมเดิ น เข้ า ห้ อ งสั ม ภาษณ์ นั่ ง ลงตรงข้ า ม คณะกรรมการสอบซึ่งมี ๓ ท่าน ทั้งหมดมองผมด้วย รอยยิ้มกว้าง กรรมการท่านหนึ่งพูดกับผมว่า “คุณจะมาเริ่มงานได้เมื่อไหร่ ? “ ผมตกใจมาก คิดในใจว่าเขาคงล้อเล่น หรือไม่คงเป็นค�ำถามหนึ่งใน ค�ำถามสัมภาษณ์ซึ่งจะมีอีกหลายค�ำถามต่อจากนั้น
ค�ำพ่อสอน
ข้อคิดเตือนใจ
ผมนึกถึงค�ำเตือนของพ่อขณะที่ออกจากบ้านว่า “ลูกอย่าวิตกกังวล และจงเชื่อมั่นในตัวเอง” ผมตอบ คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ด้วยความมั่นใจว่า “ผมจะเริ่ ม งานหลั ง จากที่ ผ มสอบผ่ า นการ สัมภาษณ์ครับ อินชาอัลเลาะฮ์” กรรมการอีกท่าน พูดว่า “คุณสอบผ่านแล้วนะ” กรรมการท่านที่ ๓ พูดเสริม “เราทราบดี ว ่ า การตั้ ง ค� ำ ถามเพี ย งอย่ า งเดี ย ว ในการสอบสั ม ภาษณ์ ไ ม่ ส ามารถประเมิ น ทั ก ษะและ ความเชี่ ย วชาญของผู ้ ส มั ค รได้ เราตั ด สิ น ใจประเมิ น ผู ้ ม าสั ม ภาษณ์ ด ้ ว ยข้ อ สอบภาคปฏิ บั ติ โดยออกแบบ ข้อสอบทีส่ ามารถเปิดเผยให้เห็นถึงพฤติกรรมของผูส้ มัคร ว่าเป็นคนที่มีความคิดในเชิงบวกแค่ไหน อย่างไร และมี ความใส่ใจต่อทรัพย์สนิ ของบริษทั มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ดังนั้นคุณคือผู้สมัครเพียงผู้เดียว ที่ได้พิสูจน์ให้เราเห็น ในพฤติกรรมเหล่านัน้ คุณได้แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ทีเ่ รา จงใจจัดเตรียมไว้ตามทาง โดยเราใช้กล้องวงจรปิดบันทึก พฤติกรรมของทุกคนในทุกทางเดินของบริษัท”
วิ น าที นั้ น ผมลื ม เรื่ อ งงาน เรื่ อ งการสั ม ภาษณ์ ลื ม ทุ ก สิ่ ง ตาของผมมองไม่ เ ห็ น ดวงหน้ า ของใครเลย ในขณะนั้นนอกจากดวงหน้าของพ่อคนเดียว พ่อเหมือน ประตู บ านใหญ่ ที่ ดู ภ ายนอกแข็ ง กระด้ า ง (โหดร้ า ย) แต่ภายในมีแต่ความเมตตา ความรัก ความอ่อนโยน และความสงบ ผมรู้สึกอยากกลับบ้านทันทีเพื่อไปจูบมือ พ่อและขอมาอัฟพ่อ ณ ประตู บ ้ า นผมเห็ น ญาติ แ ละเพื่ อ นบ้ า นมา ชุมนุมกัน พวกเขามองมาที่ผมด้วยสายตา เศร้าสร้อย อ่อนโยน และเห็นอกเห็นใจ ผมเข้าใจสถานการณ์ทกุ อย่าง ทันที ผมมาถึงบ้านช้าไป พ่อผมเสียชีวิตจากภาวะหัวใจ ล้มเหลว นาทีนั้นผมอยากได้ยินเสียงพ่อ เสียงดุของพ่อ เสียงตะโกนของพ่อก้องอยู่ในหู ผมถามตัวเองว่าท�ำไมผมจึงไม่เห็นความปรารถนาดี ของพ่อก่อนหน้านี้ ผมตาบอด มองไม่เห็นได้อย่างไร ต่อการให้ทไี่ ม่หวังสิง่ ตอบแทน ต่อความรักความอ่อนโยน ที่ ไ ร้ ขี ด จ� ำ กั ด ต่ อ การตอบรั บ ที่ ไ ม่ ต ้ อ งรอการขอหรื อ การถาม และต่อค�ำแนะน�ำที่ไม่ต้องรอการขอค�ำแนะน�ำ ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตาพ่อผู้มีแต่ให้ ขออัลเลาะฮ์ ทรงเมตตาพ่ อ ทุ ก คนที่ ยั ง มี ชี วิ ต อยู ่ ห รื อ จากโลกนี้ ไ ป โดยทิ้งให้เรา -ลูกๆ- ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
แปลและเรียบเรียงจากเรื่องสั้นภาษาอาหรับใน https://www.belarabyapps,com (๑๘ - ๐๖ -๒๐๒๒) การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
43
บทบาทของพ่อ สมศักดิ์ มูหะหมัด องค์ประกอบของครอบครัวได้แก่ พ่อ แม่ ลูก แต่ละคนต่างมีสิทธิซึ่งจะได้รับและมีหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติ พ่อถือว่าเป็นบุคคลส�ำคัญที่สุดภายในครอบครัว ในฐานะที่เป็นหัวหน้าครอบครัว มีภาระแบกรับในการดูแลภรรยา และบุตร และต้องประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายภายในครอบครัว ส�ำหรับหน้าที่ของพ่อที่จะต้องปฏิบัติต่อลูก มีหลายประการ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกสตรีที่ดี เพื่อให้เป็นมารดาของลูก เมื่อท�ำการนิกาห์เรียบร้อยแล้ว ภาระ รับผิดชอบเกิดขึ้นทันที กล่าวคือ
44
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
๑. การขอดุอาอ์ให้ได้ลูกที่ดี ไว้ว่า
พระองค์อัลลอฮ์ ซุบห์ฯ ได้ตรัสถึงการขอดุอาอ์
ٱ ون َربَّنَا ه َْب لَنَا ِم ْن أ� ْز َ ٰو ِجنَا َو ُذ ّ ِري َّ ٰ� ِتنَا ُق َّر َة أ� ْع ُ ٍۢي َ َُو� َّ ِل َين ي َ ُقول َو�ٱ ْج َعلْنَا ِللْ ُمتَّ ِق َني � َما ًما إ
“และบรรดาผู้ที่กล่าวว่า โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของ เรา ได้โปรดประทานคู่ครองของเราและบุตรหลานของ เราให้แก่เรา โดยเป็นขวัญตา และได้โปรดท�ำให้เราเป็น ผู้น�ำส�ำหรับบรรดาผู้ย�ำเกรง” อัล ฟุรกอน / ๗๔
๒. อะซาน เมื่อบุตรคลอดออกมา เกี่ยวกับการนี้ เชคอับดุลอะซีซ อิบนิอับดิลลาฮ์ อิบนิบาซ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ อดีตมุฟตีทวั่ ไปของซาอูดอิ ารเบีย ได้ตอบค�ำถามเกี่ยวกับการอะซานและอิกอมะฮ์ที่หูของ ทารก ท่านกล่าวว่า “มี ป รากฏในตั ว บทหะดี ษ เกี่ ย วกั บ การอะซาน ที่หูข้างขวาของทารกและอิกอมะฮ์ที่หูข้างซ้ายของทารก โดยมีสายรายงานในระดับอ่อนแอ แต่มีการปฏิบัติของ บรรดามุ ส ลิ ม ผู ้ ใ ดปฏิ บั ติ เ ช่ น นี้ ก็ ไ ม่ เ ป็ น ไร และผู ้ ใ ด
ไม่ปฏิบัติก็ไม่เป็นไร และตั้งชื่อในวันที่ ๗ ซึ่งเป็นการชอบ ให้ปฏิบัติของนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง” มี ป รากฏในหะดี ษ บั น ทึ ก โดย อั ต ติ ร มิ ซี ย ์ และ กล่าวว่า หะดีษศ่อเฮียห์ ว่า “ท่านร่อซูล ศ็อลฯ ได้อะซาน ที่ หู ข ้ า งขวาของอั ล หะซั น เมื่ อ ท่ า นหญิ ง ฟาฏิ ม ะฮ์ คลอดท่านออกมา” อีกหะดีษหนึ่งว่า ท่านได้อิกอมะฮ์ที่ หูขา้ งซ้าย ค่อลีฟะฮ์อมุ รั อิบนุอบั ดิลอะซีซ และนักวิชาการ กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า การกระท�ำดังกล่าวเป็นประโยชน์ และบรรดามุสลิมกลุ่มหนึ่งได้ปฏิบัติเช่นนั้น และผู้ใดที่ ละทิ้งไม่ปฏิบัติก็ไม่เป็นไร มีรายงานจากนบี ศ็อลฯ ว่า ท่านตั้งชื่อบุตรของท่านว่า อิบรอฮีม เมื่อเขาเกิด และ ไม่ มี ก ารระบุ ว ่ า ท่ า นนบี ศ็ อ ลฯ อะซานที่ หู ข ้ า งขวา และอิกอมะฮ์ที่หูข้างซ้ายของเขา นี่เป็นการเปิดกว้าง ผู้ใดปฏิบัติเช่นนี้ก็เป็นการดี และผู้ใดไม่ปฏิบัติก็ไม่เป็นไร
๓. เปิดปากทารก (ตะห์นีก) ดั ง การกระท� ำ ของท่ า นร่ อ ซู ล ศ็ อ ลฯ อิ ม าม อันนะวะวีย์ กล่าวว่า บรรดานักวิชาการมีความเห็น ตรงกั น ให้ เ ปิ ด ปากทารกด้ ว ยอิ น ทผลั ม ถ้ า หากไม่ มี อินทผลัม ก็ให้หาสิ่งที่มีความหวานแทนอินทผลัมก็ได้ และขอดุอาอ์ให้ การตะห์นีกจะท�ำในวันที่ทารกคลอด หรือหลังจากวันนั้นก็ได้
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
45
๔. ตั้งชื่อที่ดี จะเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับพระนามที่ดีของพระองค์ อัลลอฮ์ก็ได้ เช่น อับดุลลอฮ์ หรืออับดุรเราะห์มาน หรือ อับดุลมะลิก หรืออับดุลกะรีม หรือชื่อของบรรดานบี โดยที่นบี ศ็อลฯ ได้ตั้งชื่อบุตรชายของท่านว่า อิบรอฮีม ส� ำ หรั บ ทารกที่ เ ป็ น ผู ้ ห ญิ ง อาจจะตั้ ง ชื่ อ ตามบรรดา ศ่อฮาบียาตของท่านร่อซูล ศ็อลฯ ก็ได้ ท่านอิบนุกอยยิม อัล เญาซียะฮ์ กล่าวว่า อนุญาต ให้ตั้งชื่อทารกในวันที่เขาเกิดและหลังจากนั้น ๓ วัน หรือในวันที่เชือดอะกีเกาะฮ์ของเขาก็ได้
๕. เชือดอะกีเกาะฮ์ อะกีเกาะฮ์คือ สัตว์เชือดส�ำหรับทารกที่เกิดใหม่ นักวิชาการส่วนมากมีความเห็นว่า อะกีเกาะฮ์เป็นซุนนะฮ์ ที่ แ ข็ ง แรง บรรดาเจ้ า ของหนั ง สื อ สุ นั น ได้ บั น ทึ ก จาก สะมุเราะฮ์ อิบนิญุนดุบ รฎิฯ ว่า ท่านร่อซูล ศ็อลฯ กล่าวว่า
46
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ُّ ُ َو ُ ْيلَ ُق َر أ� ُس ُه،ِالسا ِبع َّ ت ُْذب َ ُح َع ْن ُه ي َ ْو َم،ك غُ َل ٍم ُم ْرتَ َ ٌن ِب َع ِقي َق ِت ِه َوي َُس َّمى “ทารกทุกคนถูกประกันด้วยอะกีเกาะฮ์ของเขา มันจะถูกเชือดแก่เขาในวันที่เจ็ด เขาจะถูกโกนศีรษะ และถูกตั้งชื่อ” ส�ำหรับสัตว์อะกีเกาะฮ์ ท่านหญิงอาอิชะฮ์ รฎิฯ ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ ใช้ให้พวกเขาเชือดแกะ ๒ ตัว มีขนาดเดียวกันส�ำหรับทารกชาย และส�ำหรับทารกหญิง ให้เชือดแกะ ๑ ตัว บันทึกโดย อัตติรมิซีย์ และอิบนิ มาญะฮ์ การเชือดอะกีเกาะฮ์ให้เชือดในวันที่ ๗ ถ้าหากว่า มีเหตุขัดข้องก็ให้เชือดในวันที่ ๑๔ ถ้าหากไม่สะดวก ก็ให้เชือดในวันที่ ๒๑ และถ้าหากว่าไม่สามารถเชือด ในวันที่ ๒๑ ได้ ก็ให้เชือดในวันใดก็ได้ที่สะดวก ส�ำหรับ คุณสมบัตขิ องแกะทีเ่ ชือดเป็นอะกีเกาะฮ์กเ็ ป็นเช่นเดียวกับ สัตว์เชือดเป็นกุรบาน โดยแจกเป็นเนือ้ สดก็ได้ นักวิชาการ บางท่านไม่ชอบที่จะน�ำอะกีเกาะฮ์ไปแจกเป็นเนื้อสด
แต่ชอบให้ปรุงเป็นอาหาร แล้วน�ำไปแจกแก่ผู้ด้อยฐานะ นักวิชาการบางคนชอบให้เชิญแขกมารับประทานเนื้อ อะกีเกาะฮ์ หลังจากที่ปรุงเป็นอาหารแล้ว มีรายงานจาก อิมามมาลิก ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ โดยที่ท่านท�ำอะกีเกาะฮ์ ให้แก่ลูกของท่าน ท่านกล่าวว่า “ฉันได้ท�ำอะกีเกาะฮ์ให้แก่ลูกของฉัน ฉันเชือด สัตว์ตามที่ฉันต้องการ แล้วเชิญพี่น้องของฉันและผู้อื่น มารับประทาน ฉันได้เตรียมอาหารส�ำหรับพวกเขา และ ฉันเชือดแกะท�ำเป็นอะกีเกาะฮ์ แล้วให้ส่วนหนึ่งเป็น ฮะดี ย ะฮ์ แ ก่ เ พื่ อ นบ้ า น และครอบครั ว ก็ รั บ ประทาน ส่ ว นหนึ่ ง แล้ ว ฉั น ท� ำ อาหารแล้ ว เชิ ญ เพื่ อ นบ้ า นมา รั บ ประทาน และพวกเราก็ รั บ ประทาน ดั ง นั้ น ผู ้ ใ ด ที่มีความสามารถ ฉันก็ชอบให้เขาท�ำเช่นนั้น ถ้าผู้ใด มีความสามารถ ก็จงเชือดอะกีเกาะฮ์ แล้วรับประทาน และให้เป็นอาหาร”
๖. การท�ำคิตาน (ขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ) การคิตานเป็นการท�ำความสะอาดตามธรรมชาติ ท่านอบู ฮุรอยเราะฮ์ รฎิฯ กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ กล่าวว่า “ความสะอาดตามธรรมชาติ มี ๕ ประการ ได้แก่ การคิตาน การขจัดขนใต้ร่มผ้า การโกนขนรักแร้ การตัดเล็บ การขลิบหนวด” บันทึกโดย อัล บุคอรีย์ และมุสลิม อัล บุคอรีย์และมุสลิม บันทึกจากอบี ฮุรอยเราะฮ์ ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ กล่าวว่า ท่านนบีอิบรอฮีม ท�ำการคิตาน ขณะที่ท่านอายุได้ ๘๐ ปี ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมในการคิตาน อิมามอันนะวะวีย์ กล่าวว่า ชอบให้ผู้ปกครองท�ำการคิตานบุตรขณะที่ยัง เป็นเด็ก เพราะยังอยูใ่ นวัยเยาว์ อัล บัยฮะกีย์ บันทึกจาก ญาบิ ร ว่ า ท่ า นนบี ศ็ อ ลฯ ได้ ท� ำ อะกี เ กาะฮ์ ใ ห้ แ ก่ อั ล หะซั น และอั ล หุ เ ซน และได้ จั ด การคิ ต านทั้ ง สอง ในวันที่เจ็ด” หะดีษนี้สายรายงานอ่อนแอ
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
47
อิมามอันนะวะวียก์ ล่าวอีกว่า บรรดาสหายของเรา กล่าวว่า เวลาที่จ�ำเป็นจะต้องท�ำการคิตาน คือ หลังจาก ที่ บ รรลุ ศ าสนภาวะแล้ ว ท่ า นอิ บ นุ ล กอยยิ ม กล่ า วว่ า ส�ำหรับทัศนะของฉันให้ผปู้ กครองจัดการคิตานบุตรหลาน ก่อนที่เขาจะบรรลุศาสนภาวะ เมื่อเขาบรรลุศาสนภาวะ เขาจะได้อยู่ในสภาพที่ท�ำการคิตานแล้ว
๗. สิทธิทางการศึกษา สิ ท ธิ ที่ มี ค วามส� ำ คั ญ ซึ่ ง พ่ อ จะต้ อ งให้ แ ก่ ลู ก คื อ สิทธิทางการศึกษา อันเป็นการศึกษาทั้ง ๒ ภาคส่วน เพื่ อ จะให้ เ ขาสามารถด� ำ รงชี วิ ต อยู ่ ใ นโลกนี้ ใ นฐานะ คนคุณภาพ คือ ความรู้ทางธรรม จะรักษาควบคุมบุคคล ให้กรอบของศีลธรรม ธ�ำรงการปฏิบัติความดีและระงับ การท�ำความชัว่ และความรูท้ างโลก เพือ่ น�ำไปใช้ประโยชน์ ในการประกอบสัมมาชีพ ในการหารายได้มาเป็นค่าใช้จา่ ย เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว มีรายงานว่า เมื่อท่านอุมัร อิบนุลคอฏฏอบ รฎิฯ ด�ำรงต�ำแหน่งคอลีฟะฮ์ มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่าน และ ได้ร้องทุกข์เกี่ยวกับการเนรคุณของลูกต่อเขา คอลีฟะฮ์
48
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
อุมัรจึงให้ไปตามลูกของเขามา แล้วส�ำทับถึงความส�ำคัญ ของพ่อและคาดโทษที่เขาเนรคุณต่อพ่อของเขา ผู้เป็น ลูกจึงพูดขึ้นว่า “โอ้ ท่านอะมีรอลมุมินีน (ผู้ปกครอง ของบรรดามุมิน) ส�ำหรับลูกไม่มีสิทธิเหนือพ่อของเขา บ้างหรือ ?” คอลีฟะฮ์อุมัรกล่าวว่า “มี” เด็กคนนั้น กล่าวต่อไปว่า “มีอะไรบ้าง โอ้ ท่านอะมีรอลมุมินีน ?” คอลีฟะฮ์อุมัรกล่าวว่า “จ�ำเป็นจะต้องคัดเลือกแม่ที่ดี แก่เขา จะต้องตั้งชื่อที่ดีแก่เขา และจะต้องให้การศึกษา แก่เขา” เด็กคนนนั้นกล่าวว่า “โอ้ ท่านอะมีรอลมุมินีน เขาไม่ได้ท�ำสิ่งใดเลย แม่ของฉันเป็นทาสผิวด�ำบูชาไฟ เขาได้ตั้งชื่อฉันว่า “ญัวะอล์ (คนด�ำผิวหมึก) และเขา ไม่เคยให้การศึกษาใดๆ แก่ฉันแม้จะเพียงอักษรเดียว” คอลีฟะฮ์อุมัรจึงหันไปหาชายผู้เป็นพ่อพลางกล่าวว่า “ท่านมาหาฉันเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษถึงการเนรคุณของ ลูกต่อท่าน แต่ท่านไม่ได้ท�ำดีต่อเขาก่อน เขาจึงท�ำไม่ดี ต่อท่าน” เรื่องนี้ได้สะท้อนออกให้เห็นถึงสิทธิของบุคคล ที่ต้องได้รับและหน้าที่ของบุคคลที่ต้องปฏิบัติ เฉพาะ อย่างยิ่งพ่อกับลูก การละเลยถือเป็นความผิด
๘. ความยุติธรรม
๙. ออกค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกๆ
การปฏิบัติระหว่างลูกทุกคนด้วยความเสมอภาค โดยไม่แยกความแตกต่างระหว่างพวกเขา ซึ่งมีความ ส� ำ คั ญ ที่ จ ะท� ำ ให้ ลู ก ๆ เกิ ด ความสามั ค คี ก ลมเกลี ย ว ท�ำให้ครอบครัวเต็มไปด้วยความผาสุกและมีความอบอุ่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและความแตกแยก อันนัวะอ์ มาน อิบนุบะชีร รฎิฯ กล่าวว่า พ่อของเขาได้มอบเด็ก รั บ ใช้ ใ ห้ เ ขาคนหนึ่ ง แม่ ข องเขากล่ า วว่ า “ฉั น จะยั ง ไม่พอใจต่อการกระท�ำเช่นนั้นจนกว่าท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ จะเป็นพยานยืนยัน” บะชีร อิบนิสะอีด (ผูเ้ ป็นพ่อ) จึ ง ไปหาท่ า นร่ อ ซู ล ศ็ อ ลฯ แล้ ว บอกท่ า นถึ ง สิ่ ง ที่ เ ขา ได้ท�ำไป ท่านร่อซูลกล่าวว่า “ท่านได้ให้เด็กรับใช้แก่ ลู ก ของท่ า นทุ ก คน ดั ง ที่ ท ่ า นได้ ใ ห้ แ ก่ อั น นั ว ะอ์ ม าน หรือไม่ ?” เขากล่าวว่า “ไม่” ท่านร่อซูล ศ็อลฯ กล่าวว่า
จ�ำเป็นที่พ่อจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู ครอบครัวและออกค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกๆ จนกว่าเขาจะ บรรลุ ศ าสนภาวะ และยั ง ไม่ มี ค วามสามารถในการ ประกอบอาชีพ (ซึ่งไม่ใช่ไม่ยอมประกอบอาชีพ) ท่าน อิบนุลมุนซิรกล่าวว่า นักวิชาการส่วนมากมีความเห็นว่า จ�ำเป็นที่ผู้เป็นพ่อจะต้องออกค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกชาย จนกระทั่งบรรลุศาสนภาวะ และออกค่าใช้จ่ายให้แก่ ลูกสาวจนกว่านางจะแต่งงาน ถ้าหากว่า ลูกชายยังไม่มี รายได้ ก็จ�ำเป็นที่พ่อจะต้องออกค่าใช้จ่ายให้แก่เขา นี่คือ แบบอย่างของอิสลามที่ก�ำหนดสิทธิและ หน้าที่ของพ่อที่มีต่อลูก
َوا ْع ِدلُوا يف أ� ْو َل ِد ُ ْك،الل َ َّ ات َّ ُقوا “ท่ า นทั้ ง หลายจงย� ำ เกรงอั ล ลอฮ์ และจงให้ ความยุติธรรมแก่บรรดาลูกๆ ของพวกท่าน” บันทึกโดย มุสลิม
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
49
ยุทธศาสตร์เมืองหลวง กับสังคมพหุวัฒนธรรม ซีรอซันคาร ปาทาน กิจกรรมการคัดเลือกนักกอรีหรือผูอ้ า่ นพระมหาคัมภีรอ์ ลั กุรอานท�ำนองเสนาะเพือ่ ท�ำหน้าทีผ่ แู้ ทนกรุงเทพมหานคร เข้าทดสอบในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยเป็นงานหนึ่งที่คณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานครด�ำเนินการ อย่างต่อเนื่องตลอดมาทุกปี โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการด�ำเนินงานส่วนหนึ่งจากกรุงเทพมหานครด้วย ซึง่ แสดงถึงการทีท่ างราชการเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการอ่านพระมหาคัมภีรอ์ ลั กุรอาน อย่างถูกต้องและไพเราะของพี่น้องมุสลิม อันเป็นวัฒนธรรมส�ำคัญที่ปลูกฝังให้กับมุสลิมทุกช่วงวัยมีความผูกพันและ ยึดมั่นในหลักการของศาสนาอิสลาม 50
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ทั้งนี้ สังคมเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครที่ เป็นเมืองขนาดใหญ่ มีความหลากหลายของผู้คนหรือ ที่เรียกว่าเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุขของผู้คนที่มีความแตกต่างทางความเชื่อ ศาสนา และวิถีชีวิตจึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง กรุงเทพมหานคร ซึง่ เป็นการปกครองท้องถิน่ รูปแบบพิเศษได้มบี ทบาทหลัก ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ โดยในยุทธศาสตร์การพัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ที่เป็นแผนแม่บทในการก�ำกับทิศทางการพัฒนาเมือง ได้ก�ำหนดวิสัยทัศน์กรุงเทพมหานคร “มุ่งสู่มหานครแห่ง เอเชียของทุกคนอย่างยั่งยืน” ภายใต้ ๗ ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างเมืองปลอดภัยและ หยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การลดความเหลื่อมล�้ำด้วย การบริหารเมืองรูปแบบอารยะส�ำหรับทุกคน ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเชื่อมโยงเมืองที่มีความ คล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ ๕ ส่ ง เสริ ม การสร้ า งเมื อ ง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การต่อยอดความเป็นเมือง ศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่ ๗ การสร้างความเป็นมืออาชีพ ในการบริหารจัดการมหานคร
ในยุทธศาสตร์ที่ ๓ หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ยุทธศาสตร์ เมืองส�ำหรับทุกคน” กล่าวถึงการขับเคลื่อนความเป็น สังคมพหุวัฒนธรรมไว้อย่างมีนัยส�ำคัญ โดยมีการก�ำหนด เป้าประสงค์ที่จะต้องบรรลุผลส�ำเร็จ ได้แก่ ๑. กรุงเทพมหานครมีฐานข้อมูลพหุวัฒนธรรม กรุ ง เทพมหานคร โดยด� ำ เนิ น การส� ำ รวจและจั ด ท� ำ ฐานข้อมูลดังกล่าว ๒. กรุงเทพมหานครมีกจิ กรรมเพือ่ การเรียนรูด้ า้ น พหุวัฒนธรรมที่หลากหลายให้แก่ประชาชน โดยพัฒนา และส่งเสริมให้มีพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรม ที่ ห ลากหลายทั้ ง ในเชิ ง รู ป แบบและลั ก ษณะกิ จ กรรม ในกรุงเทพมหานคร ๓. กรุงเทพมหานครด�ำเนินการสร้างหรือพัฒนา กลไกและเครื อ ข่ า ยการขั บ เคลื่ อ นการเรี ย นรู ้ ด ้ า น พหุวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ๔. กรุ ง เทพมหานครด� ำ เนิ น การส่ ง เสริ ม ให้ กลุ ่ ม วั ฒ นธรรมต่ า งๆ อยู ่ ร ่ ว มกั น ได้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข และปรองดอง เมื่อมีกิจกรรมทุกคนพร้อมช่วยเหลือกัน โดยไม่แบ่งแยก โดยการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ ด้านพหุวัฒนธรรมแก่ประชาชนในพื้นที่ผ่านช่องทางสื่อ ที่หลากหลายของกรุงเทพมหานคร มิ ติ ด ้ า นวั ฒ นธรรมยั ง เป็ น ต้ น ทุ น ส� ำ คั ญ ในการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ ๖ คือการเป็นเมืองศูนย์กลาง เศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ แ ละการเรี ย นรู ้ ซึ่ ง ข้ อ มู ล ด้ า น วั ฒ นธรรมของเมื อ งจะมี ส ่ ว นต่ อ การสร้ า งโอกาสทาง เศรษฐกิจและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็น เมืองที่น่าท่องเที่ยวระดับโลก
นอกจากยุ ท ธศาสตร์ ข องกรุ ง เทพมหานครที่ กล่าวถึงการขับเคลื่อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมแล้ว นโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน คือ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งประกาศเป็นสัญญา ประชาคมกับคนเมืองหลวงใน ๙ มิติ ๒๑๖ นโยบาย ก็มีความเชื่อมโยงกับการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมด้วย ในมิติ “สร้างสรรค์ดี “และมิติ “เศรษฐกิจดี “อาทิ นโยบาย “ดึงอัตลักษณ์สร้างเศรษฐกิจ ๕๐ ย่านทั่วกรุงเทพฯ” ซึ่งแต่ละย่านของกรุงเทพมหานคร มี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว กล่ า วคื อ ในละแวกหนึ่ ง มั ก มี สินค้า กิจกรรม หรือบริการที่สอดคล้องไปในทิศทาง เดี ย วกั น แต่ ห ลายๆ ที่ ข าดการรวมกลุ ่ ม ในขณะที่ บางแห่งขาดการประชาสัมพันธ์หรือกลไกจากภาครัฐ สนั บ สนุ น ดั ง นั้ น กรุ ง เทพมหานครจึ ง จะส่ ง เสริ ม โครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (hard infrastructure) เช่น พัฒนาการเชื่อมต่อของย่านให้เข้าถึงได้ง่าย ควบคู่ ไปกั บ การส่ ง เสริ ม องค์ ค วามรู ้ ข้ อ บั ญ ญั ติ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง การประชาสั ม พั น ธ์ ฯลฯ (soft infrastructure) โดยตั้งต้นจากต้นทุนเดิมที่แต่ละละแวกมี เพื่อให้เกิด การพัฒนาศักยภาพของย่าน เช่น การสนับสนุนรวมกลุ่ม ของผู ้ ป ระกอบการและประชาชนในพื้ น ที่ การช่ ว ย ประสานงานกั บ สถาบั น ทางการเงิ น เพื่ อ หาสิ น เชื่ อ ต้นทุนต�่ำ ช่วยส่งเสริมการจัดการกิจกรรมเพื่อดึงดูด ลูกค้าและนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้จ่ายที่ย่าน เช่น การจัด one day trip การจัดถนนคนเดิน และการเสริมกิจกรรม จนกลายเป็น “ย่าน” ที่แข็งแรง ดึงดูดผู้คนเข้ามาและ เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ นโยบาย “๑๒ เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ” ซึ่ ง การจั ด เทศกาลคื อ การกระตุ ้ น เศรษฐกิ จ ระยะสั้ น ในรู ป แบบหนึ่ ง และเป็ น การเพิ่ ม มู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จ เป็ น การเปิ ด โอกาสการประกอบธุ ร กิ จ ใหม่ ๆ ให้ กั บ คนกรุงเทพมหานคร โดยเทศกาลสามารถเป็นเครื่องมือ ผลักดันความสร้างสรรค์ การออกแบบชุมชน รวมถึง เพิ่มเทศกาลที่น่าท่องเที่ยวให้กับคนกรุงเทพมหานคร คนต่างจังหวัด และนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย โดยแต่ละ เทศกาลจะดึ ง อั ต ลั ก ษณ์ แ ละศั ก ยภาพของแต่ ล ะย่ า น
52
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ออกมาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของย่านต่างๆ ในกรุงเทพ มหานคร สามารถคัดสรร จัดกลุ่ม สร้างเรื่องราวเพื่อ พัฒนากิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตลอดปี นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังให้ได้เกิดการท่องเที่ยวภายในย่านหลังจาก จัดเทศกาลอีกด้วย ซึ่งตัวอย่างเทศกาลที่จัดได้ในแต่ละ เดือนมีดังนี้ เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม เดือนเมษายน
-
เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม
-
เดือนกันยายน เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม
-
เทศกาลดนตรีในสวน เทศกาลดอกไม้แห่งความรัก เทศกาลหนังสือกรุงเทพฯ เทศกาลอาหารฮาลาล หลังอาทิตย์ลับขอบฟ้า เทศกาลผลไม้ไทย Pride Month เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ กรุงเทพฯ เทศกาลวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เทศกาลงานคราฟต์ เทศกาลแข่งเรือกรุงเทพฯ เทศกาล ๑๑.๑๑ ช้อปปิ้งพาราไดส์เฟสติวัล เทศกาลแห่งแสง ของขวัญกรุงเทพฯ (Bangkok Winter Illumination)
ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานคร และนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดังกล่าว ไปสู่การปฏิบัติ เป็นภาระหน้าที่ของส�ำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาท หลักด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร โดยมีการน�ำ เสนอโครงการส�ำคัญเข้าบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติราชการ กรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้แก่ (๑.) โครงการส�ำรวจค้นหาพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร โดยจะด�ำเนินการส�ำรวจจุดเด่นหรือ ค้นหาวัฒนธรรมของเขตใน ๖ กลุ่มเขต
(๒.) โครงการ Bangkok Cultural Data โดย จัดท�ำฐานข้อมูลพหุวฒ ั นธรรมของกรุงเทพมหานคร ทัง้ ที่ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (๓.) โครงการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้าน พหุวัฒนธรรม โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน พหุวัฒนธรรมในแหล่งเรียนรู้กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ อื่นๆ (๔.) โครงการวิถีทัศน์วัฒนธรรม Look Up BKK โดยจั ด กิ จ กรรมวิ ถี ทั ศ น์ วั ฒ นธรรม Look Up BKK ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เน้นให้เกิด พื้นที่น�ำเสนอความเป็นตัวตนของกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ (๕.) โครงการจั ด งานเทศกาลศิ ล ปวั ฒ นธรรม กรุงเทพมหานคร โดยจัดกิจกรรมรวบรวมศิลปวัฒนธรรม ในกรุงเทพมหานครให้มีพื้นที่จัดแสดง (๖.) โครงการส่งเสริมสนับสนุนการด�ำเนินงาน ด้านพหุวัฒนธรรม โดยส่งเสริม สนับสนุนการด�ำเนินงาน ด้ า นศิ ล ปวั ฒ นธรรม และภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ที่ จั ด ขึ้ น โดยเครือข่าย (๗.) โครงการเสริมสร้างพัฒนาเครื อ ข่ า ยการ ด� ำ เนิ น งานทางศิ ล ปวั ฒ นธรรมของกรุ ง เทพมหานคร โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และ จัดนิทรรศการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการด�ำเนินงาน ด้านศิลปวัฒนธรรม
(๘.) โครงการจั ด ท� ำ หนั ง สื อ เผยแพร่ ง านด้ า น ศิลปวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร โดยจัดท�ำหนังสือ เพื่อแนะน�ำและเผยแพร่องค์ความรู้ และแหล่งเรียนรู้ ทางด้านศิลปวัฒนธรรม (๙.) โครงการ Bangkok Cultural Channel โดยประชาสัมพันธ์ข้อมูลพหุวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ (๑๐.) กิจกรรมเผยแพร่ความรูด้ า้ นพหุวฒ ั นธรรม ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ (๑๑.) โครงการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์แหล่ง ท่องเทีย่ วทางประวัตศิ าสตร์ของเมืองและศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นพื้นที่หรือย่านเก่า ดั ง นั้ น ถึ ง เวลาแล้ ว ที่ ป ระชาคมมุ ส ลิ ม กรุ ง เทพ มหานคร ซึ่ ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของสั ง คมพหุ วั ฒ นธรรม เมืองหลวงจะได้ร่วมกันขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครไปสู่ การเป็นมหานครแห่งเอเชียของทุกคนอย่างยั่งยืน โดยใช้ ความโดดเด่นด้านวัฒนธรรมในแต่ละมัสยิด แต่ละชุมชน แต่ละย่าน แต่ละพื้นที่เขต น�ำเสนอออกสู่สังคมภายนอก โดยบู ร ณาการการท� ำ งานร่ ว มกั บ ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ทั้ง ๕๐ เขต ส�ำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ของกรุงเทพมหานคร และส�ำนักงานคณะกรรมการอิสลาม ประจ�ำกรุงเทพมหานคร ในลักษณะของเครือข่ายที่มี ความเหนียวแน่นเพื่อน�ำพากรุงเทพมหานครเมืองหลวง ของเรา สูส่ งั คมแห่งความดีงาม ความจ�ำเริญ และสันติสขุ ส�ำหรับทุกคน.
ศาสตร์และศิลป์
แห่งการอ่านอัลกุรอาน กนกวรรณ สุขถาวร การที่เราจะอ่านอัลกุรอานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์นั้น จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจและพากเพียร และให้เวลา ในการเรียน ฝึกฝนอย่างสุดก�ำลัง อัลกุรอานป็นภาษาอาหรับ ซึ่งเราไม่คุ้นเคยและไม่ได้ใช้ส่ือสารในชีวิตประจ�ำวัน ดังนั้น จึงต้องท�ำการศึกษาอย่างมีระบบและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากรู้จักอักษรพร้อมออกเสียงตามฐานเกิด อย่างถูกต้องชัดเจน ประสมสระ ประสมค�ำ ท�ำความเข้าใจกติกาการอ่าน ตามล�ำดับ จนถึงอ่านด้วยความไพเราะ เสนาะหูหรือตัรตีล (ชัดถ้อย ชัดค�ำ) และนอบน้อมถ่อมตนมากที่สุด เพื่อให้หัวใจของผู้ที่สดับรับฟังอัลกุรอาน มีความนอบน้อมถ่อมตน ไม่บังควรที่จะอ่านด้วยเสียงที่แข็งกร้าว ตะคอก ตะโกน ถึงขั้นท�ำลายสมาธิของคนรอบข้าง หรือเพื่อนบ้านจนเกิดความร�ำคาญ หรืออ่านด้วยความโอ้อวด ล�ำพอง ขาดความนอบน้อมและบริสุทธิ์ใจ เป็นส�ำคัญ 54
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
การอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน ได้ผ่านขั้นตอนมากมาย จากอดีตสู่ปัจจุบัน กลายเป็นวิชาหนึ่งของอัลกุรอาน ซึ่งมีทั้งศาสตร์และศิลป์อยู่ในตัว กล่าวคือ เมื่อเริ่มเรียน เริ่มอ่านก็จะเป็นไปอย่างมีขั้นตอนจากการจดจ�ำหน้าตา ของอักษรนั้น ๆ เช่นเดียวกับการท�ำความรู้จักกับภาษา อื่น ๆ ในครั้งแรก จนกระทั่งการออกสียงอักษรต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามฐานที่เกิดอักษรและรวมถึงการท�ำความ เข้าใจรายละเอียดของลักษณะของอักษรนั้นด้วย เพราะ นั่นเป็นการแสดงถึงความชัดเจน แยกแยะแต่ละอักษร ได้อย่างหมดจด ทว่าไม่เพียงเท่านั้น การค�ำนึงถึงสระ ต่าง ๆ เพื่อการท�ำรูปปากอันเป็นสาเหตุการออกเสียง ก็ เ ป็ น อี ก ขั้ น ตอนที่ จ ะท� ำ ให้ เ กิ ด ความประณี ต ในการ อ่านอัลกุรอานได้เป็นอย่างดี ดังที่กล่าวมา ซึ่งล้วนเป็น ศาสตร์ทั้งสิ้น
หากจะเรี ย บเรี ย งให้ เ ห็ น ล� ำ ดั บ ขั้ น ตอนอย่ า ง ชัดเจน ก็จะเห็นได้ว่า ประกอบด้วยศาสตร์และศิลป์ อยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานได้อย่างลงตัว ดังต่อไปนี้
เมื่ออ่านได้ชัดเจน ไม่ว่าอักษรทั้งฐานเกิดและ ลักษณะของอักษรแล้ว จากนี้จะพัฒนาสู่การอ่านเป็น ค�ำสั้น ประโยคยาว และสามารถอ่านวรรคหรืออายะฮ์ และบทหรือซูเราะฮ์ต่าง ๆ ได้ พอถึงตรงนี้ จะไม่เอ่ยถึง ศิลป์เห็นทีจะไม่ได้แล้ว เพราะความเป็นศิลปะในการอ่าน จะเข้ า มามีส่วนร่วมในขั้นนี้ เกิดขึ้นเพื่ อ ความรื่ นรมย์ ในจิตใจ และรับรูอ้ รรถรส สุนทรียรสของคัมภีรอ์ ลั กุรอาน แม้ไม่รู้ความหมายของบทนั้น ๆ ซึ่งประกอบด้วยเสียง และท� ำ นอง ท� ำ ให้ ก ารอ่ า นมี ล วดลายลี ล า หนั ก เบา ซึ่งถ้าบางคนที่ศึกษาความหมาย ก็สามารถจะเพิ่มเติม ในการท� ำ ความเข้ า ใจท� ำ นองและน� ำ มาปรั บ ใส่ กั บ ความหมายของวรรคนั้น ๆ ได้อย่างลงตัว
ก�ำเนิดของแต่ละอักษรภาษา อาหรับ
ขัน้ ตอนที่ ๑ คือการท�ำความรูจ้ กั กับอักษรและ สระในภาษาอาหรับ (ขัน้ พืน้ ฐาน) พยัญชนะภาษาอาหรับ (ท่องจ�ำและออกเสียงแต่ละอักษรต้องถูกต้องชัดเจน) ทั้ง ๒๘ อักษร (หากแบ่งจากลักษณะอักษร ๒๙) การอ่านออกเสียงแต่ละอักษรทีต่ อ้ งถูกต้องชัดเจน จะประกอบด้วย
خمارج احلروفฐานเกิดของอักษร صفات احلروفลักษณะของอักษร خمارج احلروفฐานเกิดของอักษร หรือแหล่ง
ล�ำคอแบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนล่าง ส่วนกลาง ส่วนบน ลิ้ น แบ่ ง เป็ น ๗ ส่ ว น ได้ แ ก่ โคนลิ้ น กลางลิ้ น ข้างลิ้น ปลายและหลังลิ้นจรดกลางเหงือก ปลายและ หลังลิน้ จรดระหว่างฟันบนและฟันล่าง ปลายและหลังลิน้ จรดโคนฟั น บน ปลายและหลั ง ลิ้ น จรดปลายฟั น บน ริมฝีปาก ๒ ส่วน ได้แก่ ริมฝีปากล่างประกบปลายฟันบน ริมฝีปากทั้งสองข้างมาประกบกัน
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
55
الصفات احلروفลักษณะของอักษรภาษาอาหรับ
แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ลักษณะคู่ ลักษณะเดี่ยว
ประเภทที่ ๑ ลักษณะคู่ มี ๑๑ ลักษณะ คู่ที่ ๑ พ่นลม ไม่พ่นลม คู่ที่ ๒ อัดแน่น หลวม ระหว่างอัด และหลวม คู่ที่ ๓ เสียงสูง เสียงต�่ำ คู ่ ที่ ๔ เสี ย งหนา เสียงบาง คู่ที่ ๕ ตายช้า ตายเร็ว ประเภทที่ ๒ ลักษณะเดี่ยว มี ๙ ลักษณะ ตะแคงลิ้น เสียงสะท้อน การกระจายลม นุ่มนวล คล้ายเสียงสัตว์ กระดิกลิ้น เสียงอืด ซ่อนเสียง หน่วงเสียง สระต่าง ๆ นั้นมี ๑๑ สระ แบ่งเป็น ๒ ประเภท
ขั้นตอนที่ ๒ เป็นพัฒนาการออกเสียงและ ประสมได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งตามอั ก ขระวิ ธี (ฟะซอหะฮ์ ความชัดเจน) และปฏิบัติการอ่านได้อย่างถูกต้องตามกฎ กรรมวิธี (หลักตัจญวีด) การประสมสระและตัวสะกดอย่างเป็นขั้นตอน อั ก ษรประสมสระ อั ก ษรประสมสระและตั ว สะกด กฎนูน สุกูน มีมสุกูน และสระซ้อน บรรดาสระเสียงยาว (มัด) อักษร รออ์ และอักษร ลาม การอ่านหยุด (วักฟ์)
ฟัตหะฮ์ คือ การเปิดปาก กัสเราะฮ์ คือ การแบะ ริมฝีปาก หย่อนปลายลิ้นสู่โคนฟันล่าง ดอมมะฮ์ คือ การหู่ปาก
ขั้นตอนที่ ๓ เป็นพัฒนาการออกเสียงไพเราะ เสนาะโสต เพื่ อ ประดั บ เกี ย รติ ข องคั ม ภี ร ์ อั ล -กุ ร อาน พัฒนาสู่ความไพเราะ ถึงขั้นตอนนี้เริ่มไม่ใช่ศาสตร์ โดยมี หลักเกณฑ์ตายตัวแน่นอน แต่เป็นจังหวะ ลีลา ท่วงท�ำนอง อันมีฐานของอารมณ์ ความรู้สึก เป็นส่วนผสมที่จัดสรร ได้อย่างพอเหมาะ ส�ำหรับความสมเหมาะพอควรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับศาสตร์ หรือกฎเกณฑ์การอ่าน (ตัจญวีด) ที่ได้ น�ำเสนอไว้ตอนต้นแล้ว
ประเภทที่ ๒ สระทีแ่ ยกออกมา ทัง้ ๘ (ฟัตฮะตัยน์ กัสรอตัยน์ ดอมมะตัยน์
ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีวจนะ ดังนี้ “ท่านทั้ง หลายจงประดับประดาอัล-กุรอานด้วยเสียงที่ไพเราะ”
๑ ฟัตฮะตัยน์ (สระซ้อน) คือ การเปิดสอง (เปิด ปากและเสียงขึ้นโพรงจมูก) ๒. กั ส รอตั ย น์ (สระซ้ อ น) คื อ การแบะสอง (แบะริมฝีปากล่างและเสียงขึ้นโพรงจมูก) ๓. ดอมมะตัยน์ (สระซ้อน) คือ การหู่ปากล่าง และบน (หู่ปากล่างและบนและเสียงขึ้นโพรงจมูก) ๔. มัตฟัตหะฮ์ คือ ใช้แทนจากอักษรอลีฟ (พร้อม กับอ่านเปิดปากในขณะที่อ่านออกเสียงยาว) ๕. มัตกัสเราะฮ์ คือ ใช้แทนจากอักษรยา (พร้อม กับแบะปากในขณะอ่านออกเสียงยาว ๖. มัดดอมมะฮ์ คือ ใช้แทนจากอักษรวาว (พร้อม กับหู่ปากในขณะอ่านออกเสียงยาว) ๗. สุกูน คือ เครื่องหมายตายที่ปรากฏบนอักษร ต่างๆ ซึ่งมันมีอยู่มากมาย ๘ ชัดดะฮ์ คือ การอ่านซ�้ำค�ำ
ขัน้ ตอนนีจ้ งึ ควรแก่การส่งเสริมสนับสนุนให้มสุ ลิม ในสังคมได้รับรู้ศิลป์ในการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน อันจะ ก่ อ ให้ เ กิ ด สุ น ทรี ย รส ความรื่ น รมย์ จิ ต ใจที่ จ ะฝั ก ใฝ่ ผูกพันอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าทักษะการฟังอัลกุรอานจากปากครู ขั้นตอนนี้ สามารถเสริมกิจกรรมการฟังจากเจ้าของภาษา (ชาว อาหรับ) ทักษะการฟัง ท�ำให้เลียนเสียง เลียนส�ำเนียง ใกล้เคียงอย่างเป็นธรรมชาติ การเรียนรู้ท�ำนองต่าง ๆ จะเป็นการเพิ่มอรรถรสได้เป็นอย่างดี
ประเภทที่ ๑ สระเดิม (ตายตัว) ทั้ง ๓ (ฟัตฮะฮ์ กัสเราะฮ์ ดอมมะฮ์)
(แหล่งอ้างอิง : หนังสือตัจญวีด ปี ๒๕๔๔ สมาคมกอรี แห่งประเทศไทย)
56
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ท�ำนองทั้ง ๗ ท�ำนอง ที่คุ้นเคยดีในหมู่นักอ่าน คื อ “บายาตี ” ที่ ใ ห้ ค วามรู ้ สึ ก กระชั้ น ขึ้ น จากเสี ย ง ต�่ำสุดระดับอกจนถึงสูง เพื่อส่งต่อท�ำนองถัดไป และ มักจะถูกอ่านเป็นท�ำนองแรก “ซอบา” ให้ความรู้สึก เศร้าโศก “ญิฮัรกะฮ์” อ่อนหวานในแบบเศร้า “ฮิญาซี” มีความกริ้ว ขึงขัง หวาดกลัว “ซิกาฮ์” จะออกไปทาง เศร้ า ที่ ดุ ดั น “นะฮาวั น ด์ ” ให้ ค วามรู ้ สึ ก อ่ อ นหวาน ความสุ ข เรื่ อ งยิ น ดี และ “รั ส ต์ ” ที่ ท� ำ ให้ เ ข้ า ถึ ง
ความยิ่งใหญ่ในค�ำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งสะกดใจ ผู ้ ฟ ั ง ให้ มี ค วามย� ำ เกรงได้ ดี ที เ ดี ย ว จะเห็ น ว่ า อารมณ์ ท�ำนองทีก่ ล่าวมานัน้ สอดรับกับความเป็นไปใน อัลกุรอาน แต่ ล ะส่ ว น ซึ่ ง หากผู ้ อ ่ า นและผู ้ ฟ ั ง ที่ รู ้ ภ าษาอาหรั บ ก็เป็นต่อในการอ่านและฟังอย่างซาบซึ้ง เพิ่มอีหม่าน ศรัทธา ตักวา-ย�ำเกรงได้ดีเยี่ยม ทั้งนี้ ก็อาจต้องผ่าน ผู้อ่านที่มีน�้ำเสียงกลมกลืนเหมาะสม และบางทีก็ยังมี ส�ำเนียงเสริมทีส่ อดแทรกผสมอยูก่ บั ท�ำนองทัง้ ๗ ท�ำนอง เช่ น ลั ก กะบี อาญั ม กุ ร ดี้ อี ก ด้ ว ยทั้ ง นี้ ย่ อ ม เป็ น ที่ รู้กันว่า การเสริมดังกล่าวนี้ถูกถ่ายทอดอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในประเทศอียปิ ต์ อิหร่าน ปากีสถาน บังกลาเทศ และปัจจุบัน มีความกว้างขวางอย่างมากในแถบภูมิภาค เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ เช่ น มาเลเซี ย อิ น โดนี เ ซี ย บรู ไ นดารุ ส สลาม รวมถึ ง บางส่ ว นของฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ซึ่งถ่ายทอดการอ่านได้อย่างทรงพลังมาก และเป็นที่ เลื่องลือไม่น้อยหน้ากว่าชาติใดคือ ประเทศไทยเรานี่เอง ขั้นตอนที่ ๔ เรียนรู้ความหมายสู่ความเข้าใจ ค�ำสอนในคัมภีร์อัลกุรอาน ศึกษาความหมาย จดจ�ำทั้ง ค�ำสั่งใช้และค�ำสั่งห้าม และใคร่ครวญจากประวัติศาสตร์ ที่ ป รากฏในอั ล กุ ร อาน เพื่ อ เป็ น อนุ ส ติ แ ละอุ ท าหรณ์ ในชีวิต
ขัน้ ตอนที่ ๕ ซึง่ จะขาดมิได้เลยก็คอื การปฏิบตั ิ ตามบทบัญญัติ การด�ำเนินชีวติ ตามกรอบค�ำสอน จัดการ ปัญหาชีวิตโดยใช้แนวทางของพระผู้เป็นเจ้า ดังที่ได้พบ จากการศึกษาความหมาย ขัน้ ตอนที่ ๖ การเผยแผ่ตอ่ สังคม เมือ่ รับรูแ้ ล้ว ให้ ป ฏิ บั ติ ด ้ ว ยตนเองเผยแพร่ ค� ำ สอนโดยบอกกล่ า ว เชิญชวนผู้คนรอบข้าง หรือทั่วไปในสังคม ในท้ า ยที่ สุ ด เป้ า หมายหลั ก ในการประทาน อั ล กุ ร อานนั้ น ส� ำ หรั บ มนุ ษ ยชาติ ทั้ ง มวล มิ ใ ช่ เ ฉพาะ บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเผ่าใดเผ่าหนึ่ง เมื่อมนุษย์ได้ ศึกษาสารัตถะแห่งอัลกุรอาน ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทางพฤติ ก รรม ทั้ ง ในส่ ว นของจิ ต ภาพและกายภาพ ดั ง กล่ า วจึ ง จะเห็ นว่ า คั ม ภี ร ์ อัล กุ ร อานพระด� ำ รั ส ของ พระองค์อลั ลอฮ์ องค์พระผูเ้ ป็นเจ้านัน้ เต็มไปด้วยศาสตร์ และประกอบด้ ว ยศิ ล ป์ อ ย่ า งละเมี ย ดละไม และสิ่ ง ที่ น่าอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง
“พวกท่านจงอ่านอัลกุรอานเถิด เพราะ อั ล กุ ร อานนั้ น จะปรากฎในวั น กิ ย ามะฮ์ ในสถานะของ ผู ้ ช ่ ว ยเหลื อ สหายของ อัลกุรอานอย่างแน่นอน” (ซอเฮียะห์มสุ ลิม ๘๐๔) การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
57
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
นายสุดุ๊ด อุหมัดละ (อิหม่าม)
นายสุรชัย โต๊ะกู (คอเต็บ)
นายสมศักดิ์ ธรรมรัฐ นายกิจวัฒน์ เจริญสุข นายวินัย โซ๊ะเฮง นายวิชัย รอมาลี นายสมศักดิ์ แปะสมัน นายศราวุธ โซะเฮง นายมาโนช อ�ำนวยพร นายมาลัย ประดิษฐ์ศร นายสุข โต๊ะกู คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิด
มัสยิดดารุ้นนาซีฮะห์
นายพีระ วังสตัง (บิหลั่น)
นายวิสูตร โต๊ะกู นายวินัย นุตมะหมัด นายการีม ด๊ะวี
เลขที่ ๙ หมู่ ๘ ซอยสุวินทวงศ์ ๘๔ ถนนสุวินทวงศ์ แขวงล�ำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
นายอรุณ บุญชม (อิหม่าม)
นายสมาน หนูรัก นายอนิรุทธิ์ มะหะหมัด นายอนันต์ มุสตาฟา
นายสมบัติ บุญมาเลิศ (คอเต็บ)
นายอานัต บัลลังน้อย (บิหลั่น)
นายสุพัฒน์ เด่นตี นายอนันต์ บัลลังน้อย นายสามารถ มีสุวรรณ นายประสิทธิ์ รักสลาม นายนฤทธิ พุ่มดอกไม้ นายมนตรี ยะรังวงษ์ นายกิตติ หนูรัก นายอารี เกตุเลขา นายประเสริฐ เทศงามถ้วน คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิด
มัสยิดดารุ๊ลมุห์ซีนีน
เลขที่ ๕๗๓ ซอยประเสริฐสิษฐ์ ถนนสุขุมวิท ๔๙/๑๔ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
นายอับดุลเราะห์มาน เยนา (อิหม่าม)
นายสมนึก ทรงเต๊ะ นายภูวดล ทรงเต๊ะ นายอนุชา ปาทาน
นายสุรินทร์ ดาราฉาย (คอเต็บ)
นายสมพงษ์ มีสุวรรณ (บิหลั่น)
นายสมหวัง น้อยนงเยาว์ นายมนตรี และมัด นายมานพ สันประเสริฐ นายภาวิน หวังภักดี นายสมหมาย ผ่องปัญญา นายสรยุทธ เกตุประสิทธิ์ นายสรพงษ์ ทรงเต๊ะ นางวารี ธีระวัจนเดช นางรักษณา ทรงเต๊ะ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิด
มัสยิดยะมีอุ้นอิสลาม
เลขที่ ๒๓ ซอยสุเหร่าบางมะเขือ แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดอัสสลาม มัสยิดอัสสลาม
เลขที่ ๖๑/๒ ซอยเสรีไทย ๒๔ ถนนเสรีไทย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๔๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายศราวุธ ศรีวรรณยศ (อิหม่าม)
นายสรยุทธ ชื่นภักดี (คอเต็บ)
นายกิติ ภู่มาลี (บิหลั่น)
นายธานี ศรีวรรณยศ นายมนูญพันธ์ รัตนเจริญ เรือตรี ทรงพล โสภจารีย์ นายชาตรี ศรีตองอ่อน นายวัชรชัย หรี่แสงเมฆ นายสถาพร ขวัญยืน นายไพโรจน์ อาระบียะห์ นายปรีดา นุตตะโยธิน นายสุทธิพงษ์ ชื่นภักดี นายรุ่งเรือง เทวคุปต์ นายสุจินต์ สุวรรณกิจบริหาร คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิด
มัสยิดต้นสน
เลขที่ ๔๔๙ ถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดดารุ้ลมูกร้อดรอบีน คณะครูและนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนดารุ้ลมูกร้อดรอบีน มัสยิดดารุ้ลมูกร้อดรอบีน
เลขที่ ๓๕ หมู่ ๘ ถนนคู้-คลองสิบ แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
นายกอเซ็ม มั่นคง (อิหม่าม) นายสุวัฒน์ พวงทองดี (คอเต็บ) นายบุญเลิศ อาลี (บิหลั่น) นายไพโรจน์ มาลีเมาะ นายมาลี หมัดละ นายเกษม ตะเคียนเขตต์ นายวรายุทธ สุขดี นายประเสริฐ ศิริยะ นายสุวิทย์ พวงทองดี นายประสิทธิ์ หวังหวาน นายด�ำรงค์ มั่นคง นายสมศักดิ์ เกตุแย้ม นายเอราวัณ สุขดี คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดดอฮีรุลอิสลาม
มัสยิดดอฮีรุลอิสลาม
เลขที่ ๘๑๖ ถนนสุขุมวิท ๕๕ (ทองหล่อ) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายวินัย สะมะอุน (อิหม่าม) นายพีระพงษ์ ฮะซัน (คอเต็บ) นายจรัล ยิดนรดิน (บิหลั่น) นายสมาน อารีย์ นายทองดี โซ๊ะมัน นายอ�ำนวย ยูฮันเงาะ นายวิชัย สะอิ๊นะ นายมูฮ�ำหมัด สลาม นายศุภเลิศ ศรีบ้านดอน นายสุทัศน์ ยิดนรดิน นายภูวดล บาการี นายบันฑิตย์ สะมะอุน นางศรินทิพย์ เสมอภพ นางวารี แชข�ำ นางกุลนารี นุสและ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดกามาลุลอิสลาม
มัสยิดกามาลุลอิสลาม เลขที่ ๑๒๙ ซอยประชาร่วมใจ ๔๘ ถนนประชาร่วมใจ แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดยามีอุลอิสลาม มัสยิดยามีอุลอิสลาม เลขที่ ๒๘ ซอยรามค�ำแหง ๕๓ (จันทร์ศรีชวาลา) แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๔๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายพงษ์ศักดิ์ เด็ดดวง (อิหม่าม)
นายปราโมช แสงไพจิตต์ นายปราโมทย์ รื่นสุข นายสมศักดิ์ มะดะเรส นายสมใจ สลามเต๊ะ
นายโซ๊ะ โต๊ะฮะ (คอเต็บ)
นายมานพ มะดะเรส (บิหลั่น)
นายอดุลย์ มูฮ�ำหมัดยูโซ๊ะ นายประดิษฐ มูฮ�ำหมัดยูโซ๊ะ นายมาโนช แสงศิริ นายวินัย สุไลมาน นายสมหวัง ซอเฮง นายพินิจ มะดะเรส นางอ�ำไพ เด็ดดวง นางณัฐฌา ตวนกู คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิด
มัสยิดนูรุดดีน (บ้านเกาะคลอง ๑๓)
เลขที่ ๙/๒ ถนนเลียบคลองสิบสาม แขวงหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดอัลอิสตีกอมะห์ ข อ ส นั บ ส นุ น
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ป ร ะ จํ า ปี ๒ ๕ ๖ ๕
มัสยิดอัลอิสตีกอมะห์
เลขที่ ๙ ซอยประชาอุทิศ ๖๙ ถนนประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๔๐
แนะน�ำผู้เขียนบทความ
ผศ.ดร.วิศรุต เลาะวิถี
การศึกษา
ป.๕ - ม.ศ.๓ โรงเรียนอิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ม.ศ.๔ - ๕ อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ปริญญาตรี (กศ.บ.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ปริญญาโท (ค.ม.) สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาเอก (Ed.D.) in Professional Development, Victoria University, Australia ประกาศนียบัตรวิชาศาสนาอิสลามและภาษาอาหรับ กระทรวงกิจการศาสนาและศาสนสมบัติ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ประสบการณ์
ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ/รองผู้อ�ำนวยการ อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร อาจารย์และหัวหน้าภาควิชาอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิทยาการอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
ต�ำแหน่งหน้าที่/งาน (ปัจจุบัน)
ที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี รองประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร
70
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
อรุณ บุญชม
การศึกษา
ปริญญาตรี (B.A) สาขาวิชาอัลหะดีษและอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลาม นครมะดีนะฮ์ ซาอุดีอาระเบีย ปริญญาตรี (ร.บ.) รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ต�ำแหน่งหน้าที่/งาน (ปัจจุบัน)
ประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาราชมนตรี รองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร อาจารย์สอนอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ ระดับ “ซานาวีย์” โรงเรียนมิฟตาฮุ้ลอุลูมิดดีนียะฮ์ กทม. อุปนายก (รักษาการนายก) สมาคมคุรุสัมพันธ์อิสลามแห่งประเทศไทย ในบรมราชูปถัมภ์ วิทยากรบรรยายศาสนธรรมให้แก่สถาบันและองค์กรต่างๆ
ผลงานแปล
หนังสือหะดีษซอเฮียะฮ์ (จริยวัตรท่านศาสดา) หนังสือริยาดุซซอลิฮีน (จริยธรรมอิสลาม) หนังสือ อัลฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ฯลฯ
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
71
สมัย เจริญช่าง
การศึกษา
ปริญญาตรี (ค.บ.) วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา ปริญญาโท (พบ.ม.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประสบการณ์
อดีตสมาชิสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร อดีตวุฒิสมาชิก กรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร รองประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ต�ำแหน่งหน้าที่/งาน (ปัจจุบัน)
กรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กรรมการสภาการศึกษา
72
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข
การศึกษา
ปริญญาเอก (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากมหาวิทยาลัยอิสลาม นครมะดีนะฮ์ ซาอุดีอาระเบีย
ประสบการณ์
อาจารย์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พ.ศ ๒๕๓๖ -๒๕๔๗ อาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗ -๒๕๕๗
ต�ำแหน่งหน้าที่/งาน (ปัจจุบัน )
อาจารย์บัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี ผู้อ�ำนวยการสถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา ส�ำนักจุฬาราชมนตรี กรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ฝ่ายส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม อิหม่ามมัสยิดดารุ้ลอิบาดะห์ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
ภูมิล�ำเนา
มีนบุรี คลองสามวา กรุงเทพมหานคร
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
73
สมศักดิ์ (มูนีร) มูหะหมัด
การศึกษา
ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยไคโร
ประสบการณ์
โรงเรียนจิตต์ภักดี จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนอิสลามบูรณศาสน์ คลองสิบ โรงเรียนมุสลิมวิทยาคาร คลอง ๑๙ จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนศาสนวิทยา หนองจอก ครูใหญ่โรงเรียนศาสนวิทยา หนองจอก ครูใหญ่โรงเรียนสตรีศาสนวิทยา หนองจอก ประจ�ำกองบรรณาธิการ วารสารสายสัมพันธ์ นักเผยแผ่ องค์การสันนิบาติมุสลิมโลก นครมักกะฮ์ ซาอุดิอาระเบีย
ต�ำแหน่งหน้าที่/งาน (ปัจจุบัน)
ผู้อ�ำนวยการฝ่ายอิสลามศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ ที่ปรึกษาโรงเรียนศาสนวิทยา ที่ปรึกษาโรงเรียนอิสลามบูรณศาสน์ ที่ปรึกษาสาราณียกร อัลอิศลาห์สมาคม
74
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ซีรอซันคาร ปาทาน
การศึกษา
ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง
ประสบการณ์
ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขตทุ่งครุ พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขตบางกะปิ พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓
ต�ำแหน่งหน้าที่/งาน (ปัจจุบัน)
ข้าราชการบ�ำนาญกรุงเทพมหานคร รองประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
75
กนกวรรณ มาชิเฏาะห์ สุขถาวร
การศึกษา
ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาอิสลามศึกษา (เกียรตินิยมอันดับ ๒) มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนากับการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล
ต�ำแหน่งหน้าที่/งาน (ปัจจุบัน)
วิทยากรของสมาคมคุรุสัมพันธ์อิสลามแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยากรของสมาคมกอรีแห่งประเทศไทย ในความอุปถัมภ์จุฬาราชมนตรี วิทยากรอิสลามศึกษา โรงเรียนล�ำสาลี ราษฎร์บ�ำรุง
ภูมิล�ำเนา
เขตสวนหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร E-mail : kanokwan๕๕๕toh.com
76
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
รายชื่อพ่อผู้บ�ำเพ็ญประโยชน์
งานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ล�ำดับ
ชื่อ-สกุล
มัสยิด
เขต
๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑. ๒๒. ๒๓.
นายสันติ หะยีนาแว นายยูซบ อาด�ำ นายสอาด อาด�ำ นายมูซา บุญเพชร์ นายสมาน กองเซ็น นายสะอาด มาสะและ นายสุทธินันท์ ทรงศิริ นายอนุรักษ์ พานิชนก นายวิรัช กาวี นายนาวี นุชมี นายมาโนช เกียรติธารัย นายบุญสม แลดูข�ำ นายสุรพนธ์ เวศยาภรณ์ นายจิตต์ส�ำราญ โยธาสมุทร นายดิเรก บุญมาเลิศ นายยูซบ เลาะหนับ นายมนัส มนัสตระกูล นายอุสมาน ศิริพลับ นายบุญส่ง ใยมณี นายเมธี เพียรลิขิต นายปรีชา กองเป็ง นายเราะมาน ยามัน นายวิสูตร สาโรวาท
ดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา) ย่ามีอะห์ (คลองหนึ่ง) ยามีอุลนาดียะห์ (ล�ำกระโหลก) ฮีดาย่าตุลอิสลามียะฮ์ (แสนแสบ) ยัมอียะตุ้นมุสลีมีน (สุเหร่าแดง) นูรุ้ลยากีน (จอมทอง) ดาริสสลาม เนียะมะตุลลอฮ์ อัตตักก์วา (บางมด) อัลอิสตีกอมะห์ นูรุ้ลมู่บีน (บ้านสมเด็จ) บางหลวง (กุฎีขาว) สวนพลู ต้นสน ดารุลอีบาดะห์ (หัวหมากน้อย) นูรุ้นอิสลาม (วังใหญ่) ยามีอุลอิสลาม (รามค�ำแหง) ริดวานุ้นอิสลาม (คลองจั่น) ญามีอุ๊ลค็อยร๊อต (บางใน) ดารุลอาบิดิน (ตรอกจันทน์) บางอุทิศ อมันนฤมิต อัสสละพียะฮ์ (ถนนตก)
คลองสามวา คลองสามวา คลองสามวา คลองสามวา คันนายาว จอมทอง ทุ่งครุ ทุ่งครุ ทุ่งครุ ทุ่งครุ ธนบุรี ธนบุรี ธนบุรี บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางกะปิ บางกะปิ บางกะปิ บางคอแหลม บางคอแหลม บางคอแหลม บางคอแหลม บางคอแหลม
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
77
ล�ำดับ
ชื่อ-สกุล
มัสยิด
เขต
๒๔. ๒๕. ๒๖. ๒๗. ๒๘. ๒๙. ๓๐. ๓๑. ๓๒. ๓๓. ๓๔. ๓๕. ๓๖. ๓๗. ๓๘. ๓๙. ๔๐. ๔๑. ๔๒. ๔๓. ๔๔. ๔๕. ๔๖. ๔๗. ๔๘. ๔๙. ๕๐.
นายอาคม สมุทรโคจร นายอภิศักดิ์ ตะเคียนเก้า นายวัชรพล รอมาลี นายอับดุลย์กอเดร์ จันทร์สนิท พล.ต.ต.บดินทร์ เจริญวงษ์ นายสาฟารุสดิน อาดัม นายสมศักดิ์ นุ้ยแม้นเนตร นายประเสริฐ เฮงโม้ นายไพบูลย์ เซ๊ะวิเศษ นายมนตรี หริ่มเพ็ง นายณัฐพล มะลิวัลย์ นายคณิต ชื่นภักดี นายสุขวัฒน์ วงศ์ศิวนาถ นายอีซา ปาแสล๊ะ นายมูเราะห์ กลิ่นสาท นายซาฟีอี มูฮ�ำมัดตอเฮต นายอุดม หวังใจ นายหซัน โต๊ะมุดบ�ำรุง นายอนันต์ ต่ายหลี นายชวลิต วงศ์หวังจันทร์ นายอารี ทับอุไร นายอาณัติ ศรีสวัสดิ์ นายสมหมาย มูลทรัพย์ นายยงยุทธ จรกา นายมีชัย นาคทิม น.อ.จ�ำรัส กองแก้ว นายสมเจตน์ มิด�ำ
ฮารูณ มิฟตาฮุ้นยีนาน (ล�ำเจียก) อัลบะเราะกะฮฺ อัสสอาดะห์ (พัฒนาชุมชน) บ้านตึกดิน กมาลุ้ลเอียะห์ซาน (แสงวิมาน) นูรุลอิสลาม (คูคต) อัตตั๊กวา (คลองสองต้นนุ่น) อัลบุซรอ (คลองสี่วังเล็ก) อัลเอียะห์ซาน (ศาลาคู้) ลิวาอุ้ลอิสลาม (สาธุประดิษฐ) ดารุ้ลอะมาน (พญาไท) ยามีอุลค็อยรียะห์ (บ้านครัว) ดารุลมุกีม (พระยาเพชร) ดารุ้ลมูฮายีรีน (ทับยาว) ดารุ้ลมูฮิบบีน (คลองแม่จันทร์) น่าฟีอ๊ะฮ์ (ล�ำนายโส) ดอฮีรุลอิสลาม (ทองหล่อ) อัลคอยรียะห์ (นวลน้อย) ฮีดาย่าตุ้ลอิสลาม (สามอิน) ม่านาฟี่อุลอิสลาม (คลองกะจะ) ยามิอุ้นอิดฮาด (หัวหมากใหญ่) ยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน) อัลเอียะตีซอม (หัวป่า) อัลกุ๊บรอ กันซุ้ลญันนะฮ์ (ม.พฤกษชาติ) เนียะม่าตุ้ลอิสลาม (ทับช้างล่าง)
บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ ประเวศ พระนคร มีนบุรี มีนบุรี มีนบุรี มีนบุรี มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ราชเทวี ลาดกระบัง ลาดกระบัง ลาดกระบัง ลาดกระบัง วัฒนา วัฒนา วัฒนา สวนหลวง สวนหลวง สวนหลวง สวนหลวง สวนหลวง สะพานสูง สะพานสูง
78
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ล�ำดับ
ชื่อ-สกุล
มัสยิด
เขต
๕๑. ๕๒. ๕๓. ๕๔. ๕๕. ๕๖. ๕๗. ๕๘. ๕๙. ๖๐. ๖๑. ๖๒. ๖๓. ๖๔. ๖๕. ๖๖. ๖๗. ๖๘. ๖๙. ๗๐. ๗๑. ๗๒. ๗๓. ๗๔. ๗๕. ๗๖. ๗๗. ๗๘.
นายสงวน บุญรอด นายสวัสดิ์ พิมพ์ส�ำฤทธิ์ นายสมาน กลิ่นสาท นายอนันต์ อิ่มใจ นายส�ำเริง ดาเก็ง นายณรงค์ หมัดหวัง นายวัชรพล ภิรมย์ภักดี นายมูฮ�ำหมัด ฟินดี้ นายมานิตย์ ภู่ส�ำลี นายสมพงษ์ ปานทอง นายอ�ำไพ อับบัส เรือโทไพฑูลย์ บุญมาเลิศ นายวินิต ซันมิน นายวินัย สุไลมาน นายประเสริฐ เจ๊ะสมัน นายณรงค์ชัย บุญธรรมาภิบาล ส.อ.เทวัณ เซ็มมี นายสมหวัง มั่นคง นายรังซีมัน โซ๊ะมิน นายมานพ มีทองค�ำ นายมนูญ ซอเฮง นายรอซิ้ด วันหวัง นายคอรี อินทสุวรรณ นายวิทยา ซันมิน นายสมนึก ม่วงมั่น นายเกษม ชะนะชัย นายยะยา หมัดละ นายกอเด็ด มูลทรัพย์
คอยรุดดีน (ล�ำต้นกล้วย) ซอลิฮุ้ลมุสลิมีน (ล�ำต้นกล้วย) ซอลิฮุ้ลอิสลาม (บึงเตย) ดารุซซอลีฮีน (คลองสอง) ดารุ้นนาซีฮะห์ (ล�ำแขก) ดารุ้ลมูกร้อดรอบีน (ล�ำหิน) ดารุลคอยรอต (เจียรดับ) ดารุ้ลน่าฮีม (แบนชะโด) ดารุ้ลมุตตะกีน (คู้) ดารุลมุมินีน (คู้ฝั่งเหนือ) ดารุ้ลฮ่าซ่านัย (คลองสิบเอ็ด) ดารุ๊สซุนนี (กระทุ่มราย) ดารุสสะลาม (บาหยัน) นูรุดดีน (บ้านเกาะคลอง ๑๓) นูรุลยะกีน (ท่าไข่) นูรูลลอห์ (ล�ำโขล่) ฟาลาฮฺ (คลองเก้า) ยะมีอุ้ลมุตตะกีน (ล�ำหินใต้) อัรเราะห์มาน (หนองปลาหมอ) อัลยามิอะห์ (ล�ำอีรั้ว) อัล-ฮาดีย์ (ท่าไข่) อัลฮุสนา (เจียรดับ) อินดารุลมีนา (หะยีมีนา) นูรุ้ลเอียะห์ซาน (ล�ำตาจีน) ดารุ้ลมู่ฮิบบีน (สนามกลางล�ำ) อีมาร่อตุดดีน (คลองลาดพร้าว) ดารุ๊สสลาม (คลองแปด) อัลยุซรอ (หลอแหล)
หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก หนองจอก ห้วยขวาง คลองสามวา สะพานสูง
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
79
ค�ำสั่งคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ที่ ๓๒/๒๕๖๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ด้ ว ยในวั น ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เป็ น วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะกรรมการอิสลามประจ�ำ กรุงเทพมหานคร จึงมีมติในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๕ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ให้จัดงาน เพือ่ ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยให้ พี่ น ้ อ งมุ ส ลิ ม ได้ ร ่ ว มกั น ถวายพระพรชั ย มงคลและร่ ว มกั น ท� ำ กิ จ กรรมเพื่ อ แสดงออกถึ ง ความ จงรักภักดี และ ในคราวเดียวกันนี้ ให้ด�ำเนินการจัดทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดเลือกผู้แทน ของกรุงเทพมหานครเข้าทดสอบในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยด้วย ดั ง นั้ น เพื่ อ ให้ ก ารจั ด งานดั ง กล่ า วเป็ น ไปด้ ว ยความเรี ย บร้ อ ย อาศั ย อ� ำ นาจตามความใน ข้อ ๘ (๒) แห่งระเบียบคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานของ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑ จึงแต่งตัง้ ผูม้ รี ายชือ่ ต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการ จัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕ ดังนี้ ๑. ที่ปรึกษา (๑) ปลัดกรุงเทพมหานคร (๒) อธิบดีกรมการปกครอง (๓) อธิบดีกรมการศาสนา (๔) ผู้อ�ำนวยการเขตหนองจอก (๕) ผู้อ�ำนวยการเขตคันนายาว (๖) ผู้อ�ำนวยการเขตคลองสามวา (๗) ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจนครบาลล�ำหิน (๘) นายประสิทธิ์ มะหะหมัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (๙) นายศิริพงษ์ รัสมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (๑๐) นายปวิน แพทยานนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางคอแหลม (๑๑) นางสาวปิยะวรรณ จระกา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสวนหลวง (๑๒) นายณรงค์ รัสมี สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก 80
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
๒. คณะกรรมการอ�ำนวยการ (๑) ส�ำนักจุฬาราชมนตรี (๒) คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (๓) คณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ๓. คณะกรรมการจัดงาน (๑) นายประสพ ภู่ส�ำลี (๒) นายกอเซ็ม มั่นคง (๓) นายบุญล้อม สาตและ (๔) ผู้อ�ำนวยการส�ำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (๕) นายวิบูลย์ มุขตารี (๖) นายพิสิษฐ์ อรุณพูลทรัพย์ (๗) ผศ.ดร.วิศรุต เลาะวิถี (๘) นายเสน่ห์ ลังเด๋ง (๙) นายมูฮัมหมัด เสน่หา (๑๐) นายนริศ อามินเซ็น (๑๑) นายภูวนาท นนทรีย์ (๑๒) นายสุธี เกตุประสิทธิ์ (๑๓) น.พ.ชาติชาย วงษ์อารี (๑๔) นายสมบัติ ซูโอ๊ะ (๑๕) นายสมพร ดีหมัด (๑๖) นายชาตรี แอนดาริส (๑๗) นายมานัดร ป้อมขุนพรม (๑๘) นายปรีชา ล้อมวงศ์ (๑๙) นายวันชัย สละกูดิง (๒๐) นายพีระพงษ์ ฮะซัน (๒๑) นายสุรศักดิ์ จ�ำปี (๒๒) นายมนธรรม โพธิ์ทอง (๒๓) นายประสิทธิ์ เจริญผล (๒๔) นายมานพ มะดะเรส
ประธานกรรมการจัดงาน รองประธานกรรมการจัดงาน รองประธานกรรมการจัดงาน รองประธานกรรมการจัดงาน เหรัญญิก ฝ่ายทดสอบกอรี ฝ่ายหนังสืออนุสรณ์ ฝ่ายคัดสรรพ่อผู้บ�ำเพ็ญประโยชน์ ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจฮาลาล ฝ่ายจัดประชุมสมัชชาผู้บริหารมัสยิด ฝ่ายสถานที่ ฝ่ายปฏิคม ฝ่ายกิจกรรมสตรี ฝ่ายนิทรรศการ ฝ่ายประเมินผล ฝ่ายอ�ำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัย ฝ่ายประชาสัมพันธ์และก�ำกับเวที ฝ่ายบันทึกภาพและวีดีทัศน์ ฝ่ายจัดเลี้ยง ฝ่ายร้านค้า ฝ่ายแสง-เสียง ฝ่ายประสานงาน เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
81
ให้คณะกรรมการจัดงานมีอ�ำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) จัดถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา (๒) จัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยมุสลิม (๓) จัดทดสอบกอรีเพื่อคัดเลือกผู้แทนของกรุงเทพมหานคร ส่งเข้าทดสอบกอรีในงานเมาลิดกลางแห่ง ประเทศไทย (๔) คัดเลือกอิหม่ามประจ�ำมัสยิดที่มีความอาวุโสและบริหารกิจการมัสยิดด้วยมาโดย และมอบประกาศ เกียรติคุณเพื่อเป็นขวัญและก�ำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ (๕) คัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นพ่อผู้บ�ำเพ็ญประโยชน์ และมอบประกาศเกียรติคุณเพื่อเป็น ตัวอย่างที่ดีแก่สังคม (๖) จัดกิจกรรมอื่นตามที่เห็นสมควรให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย (๗) ประสานกับส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กร บริษัท ห้างร้าน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือ และขอรับการสนับสนุนในด้านต่างๆ (๘) รายงานผลความคืบหน้าในการจัดงานให้ที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานครทราบ (๙) เมื่อด�ำเนินการเสร็จสิ้นให้รายงานผลการด�ำเนินงานต่อคณะกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕
(นายอรุณ บุญชม) ประธานกรรมการอิสลามประจ�ำกรุงเทพมหานคร
82
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
รายชื่อคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ในคณะกรรมการจัดงาน
เทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
คณะกรรมการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
คณะกรรมการ ฝ่ายทดสอบกอรี ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔.
ชื่อ-นามสกุล นายสนิท เอี่ยมฤทธิ์ นายสมชาย สนนุกิจ นายมนตรี หนูมา นายอัลว๊าด เจริญวงษ์ นายพิสิษฐ์ อรุณพูลทรัพย์ นายดนัย ดาราฉาย นายมิตร ดาราฉาย นายดินัย ชุ่มชื่น นายชาติชาย บัลบาห์ นายปรานนท์ มุสตอฟา นายนราศักดิ์ พุฒเพ็ง นายอะหมัด มะแก้ว นางสาวกนกวรรณ สุขถาวร นางสาวศิริพร รามบุตร
ต�ำแหน่ง ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการฝ่าย กรรมการฝ่าย/ผู้ช่วยเลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจฮาลาล ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕.
84
ชื่อ-นามสกุล นายมูฮัมหมัด เสน่หา นายนิรันดร์ วิจิตรตระการสม นายไพศาล มะหะหมัด นายสมศักดิ์ เสน่หา นายเมธวิน มีสุวรรณ
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย
๖. ๗. ๘. ๙ ๑๐. ๑๑.
นายวิเชียร โชติศิริ นายนอีม จุลธีระ นายบุญเลิศ เจ๊ะเซ็น นายบัญชา จันทร์วิเศษ นายสราวุฒิ และสง่า นายวิชัย เสน่หา
กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการฝ่าย กรรมการฝ่าย/ผู้ช่วยเลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายประเมินผล ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗.
ชื่อ-นามสกุล นายสมพร ดีหมัด นายเจริญ แววเนตรดี นายเดชา โต๊ะลง นายมานิตร์ มูลทรัพย์ นางดลจิตร มูลทรัพย์ นางสาวซัลมา มินเจริญ นางศรัญญา มินเจริญ
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายประสานงาน ล�ำดับ ๑. ๒. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑.
ชื่อ-นามสกุล นายมนธรรม โพธิ์ทอง นายชัยญา พิทักษ์เมธานนท์ นายเดชรินทร์ สันประเสริฐ นายสราวุฒิ ริสมัน นายมานพ เกสรเนียม นายเกชา เข็มท�ำ นายวรวุฒิ โฉมฉิน นายศราวุธ มะเล็ก นางสาวสุนันท์ เจริญวงษ์ นางสาวไอลดา พึ่งและ นางปิยนุช อับดุเล๊าะ นางสาวณัฐชา นิซู
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการฝ่าย กรรมการฝ่าย/ผู้ช่วยเลขานุการฝ่าย การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
85
คณะกรรมการ ฝ่ายเหรัญญิก ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔.
ชื่อ-นามสกุล นายวิบูลย์ มุขตารี นายปรีดา หร่ายมณี นายทวิช อารียะกิจโกศล นางศิริพร ไทยพิทักษ์
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และก�ำกับเวที ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕.
ชื่อ-นามสกุล นายมานัดร ป้อมขุนพรม นายสุกิจ เหล็งศิริ นายเรวัต รามบุตร นายอัสมี่ ดีหมัด ดร.สุกรี สุวินัย
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายจัดประชุมสมัชชาผู้บริหารมัสยิด ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔.
86
ชื่อ-นามสกุล นายนริศ อามินเซ็น ดร.ธีระวุฒิ มูฮ�ำหมัด นายอนุสิทธิ์ สุขุมานันท์ รศ.ดร.กรรณสิทธิ์ สะและน้อย ดร.อดิศักดิ์ นุชมี นายไพจิตร สะและมัด ดร.ทศพร มะหะหมัด นายศิริศักดิ์ สนนุกิจ นายสุรสิทธิ์ รอมลี รศ.ดร.ลัดดา หวังภาษิต นายช�ำนาญ บุญมาเลิศ นายสุเทพ เปลี่ยนเดชา นายกฤษดา ศรีผล
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายบันทึกภาพและวีดีทัศน์ ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕ ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙.
ชื่อ-นามสกุล นายปรีชา ล้อมวงศ์ นายอิสระชัย มูนิซา นายจรัส อุดมทรัพย์ นายประสิทธิ์ ล้อมวงศ์ นายธีรยุทธ บุญนิมิตร นายชารีฟ ฉิมกุล นายวัชรชัย จงรักศักดิ์ศรี นายเฉลิมพล อามีน นางโสภา มูฮัมหมัด นางชาลิณี เสนีวงษ์ นางรัตนา มีมูซอ นางสาวอินธิรา มูฮัมหมัด นางสุวรรณา ล้อมวงศ์ นางสาวพัชชา ล้อมวงศ์ นางสาวชรินรัตน์ ซูกองปาน นางสาวชาลิตา เสนีวงศ์ นางสาวพิชชา ล้อมวงศ์ นางพันทิพา ล้อมวงศ์ นางอทิตา อิบรอเฮม
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการ กรรมการฝ่าย/ผู้ช่วยเลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายร้านค้า ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐.
ชื่อ-นามสกุล นายพีระพงษ์ ฮะซัน ดร.จริยวัตร เจริญช่าง นายอนุรักษ์ ซันและห์ นายธนากร เจริญช่าง นายสันติ ชื่นสุขจิตต์ นายประเสริฐ ศิลาทอง นายสรายุทธ มีผลกิจ นายมูฮ�ำหมัด สลาม นายอ�ำนวย ยูฮันเงาะ นายอนันต์ ยิดนรดิน
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการ การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
87
คณะกรรมการ ฝ่ายจัดเลี้ยง ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕.
ชื่อ-นามสกุล นายวันชัย สละกูดิง นายพงษ์ศักดิ์ เด็ดดวง นายสุนันท์ ลามอ นายอภินันท์ มะหะหมัด นายวินัย สะนีเฮง นายสมชาย นุชมะหะหมัด นายสมชาย รักษาเดช นายปัญญา พึ่งและ นายประสิทธิ์ วงษ์ยีเมาะ นายอภิสิทธิ์ เลาะซ�ำซู นายสมเจตน์ กองเป็ง นายวิศรุต สละกุนดิง นายประเสริฐ วงษ์การีม นายศักดิ์ชัย เจริญวงษ์ นายสาวสุวภัทร พึ่งและ
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการฝ่าย กรรมการฝ่าย/ผู้ช่วยเลขานุการฝ่าย กรรมการฝ่าย/ผู้ช่วยเลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายปฏิคม ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑.
88
ชื่อ-นามสกุล นายสุธี เกตุประสิทธิ์ นายส�ำราญ เลาะมะ นายอาบีดิน แสงศรี นายอุสมาน อับดุลลอฮ์ นายอานันต์ ฤทธิ์งาม นายไพโรจน์ ฉิมหิรัญ นายยะห์ยา ก้อพิทักษ์ นายสมศักดิ์ เกิดอยู่ นายธวัชชัย สุบการี นายอารีย์ อับดุลสลาม นายอัซอารีย์ มะขยัน
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย
๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑. ๒๒. ๒๓. ๒๔. ๒๕. ๒๖. ๒๗. ๒๘. ๒๙. ๓๐. ๓๑. ๓๒. ๓๓. ๓๔. ๓๕. ๓๖. ๓๗. ๓๘. ๓๙. ๔๐. ๔๑. ๔๒. ๔๓. ๔๔.
นายอุสมาน รัศมี นายมุสตอฟา ศรีสะอาด นายสุธน เกตุประสิทธิ์ นายซอฟฟาน หรุ่นวิสัย นายศุภชัย เอื้อฤาชา นางลัดดา ข�ำวิลัย นางปราณี เกตุประสิทธิ์ นางสุขคนึง มั่นคง นางสุรัญญา ฤทธิ์งาม นางวนิดา ข�ำวิลัย นางวรลักษณ์ ศรีสอาด นางมาลาตรี สุขถาวร นางสาวนุชรีย์ ศรีสังวาลย์ นางพรพิมล ยาและ นางวนิดา เอี่ยมมะวัน นางรัชนีวรรณ เอี่ยมมะวัน นางสุนีย์ สนสุวรรณ นางสาววิภาพรรณ วิทยานนท์ นางมัยมูนะ อารายะ นางสุนัสดา สุดประเวศ นางพัชรี จิตต์หมวด นางน�้ำฝน ผ่องอ�ำไพ นางสาวชนวรรณ เหนียงแจ่ม นางสุชีลา มูลทรัพย์ นางสาวมาลี บุญมาเลิศ นางสาวชนมน เลาะมาน นางฮาซานะห์ อาหะหมัด นางอ�ำพร รามบุตร นางวัฒนา เซ็นหลวง นางบังอร สุขเจริญ นางนิตยา สาลี นางกัลยา อับดุลจาลีลคาน นายอุดม ข�ำวิลัย
กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการและเลขานุการฝ่าย
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
89
คณะกรรมการ ฝ่ายคัดสรรพ่อผู้บ�ำเพ็ญประโยชน์ ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘.
ชื่อ-นามสกุล นายเสน่ห์ ลังเด๋ง นายวุฒิวัย หวังบู่ นายทวี จ้อยรุ่ง นายทวี วันหวัง นายอาบีดีน แสงศรี นายวิเชียร หวังอับดุลเลาะ นายสุขุม เด่นประภา นายวิเชียร โชติศิริ
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายหนังสืออนุสรณ์ ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒.
90
ชื่อ-นามสกุล นายอรุณ บุญชม นายสมัย เจริญสุข นายอับดุลเราะห์มาน เยนา นายอาหะหมัด ขามเทศทอง นายอิธวัฒน์ พิทักษ์คุมพล ผศ.ดร.วิศรุต เลาะวิถี นายประสิทธิ์ เจริญผล ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข นายซีรอซันคาร ปาทาน นายธนารัช วัชระพิสุทธิ์ นายศราวุธ ศรีวรรณยศ นางสาวกนกวรรณ สุขถาวร
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
ต�ำแหน่ง ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการ/เลขานุการฝ่าย
คณะกรรมการ ฝ่ายเสียง-แสง ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐.
ชื่อ-นามสกุล นายสุรศักดิ์ จ�ำปี นายอดุน บุญมาเลิศ นายสมชาย ศรีสง่า นายทวี ฤทธิ์รุ่งเรือง นายชุมพล จ�ำปี นายสุรชาติ อิบรอฮีม นายธนิตสร หอมชิต นายศรายุทธ จ�ำปี นายดาวุด บุญมาเลิศ นายมารุต กอเซ็มมูซอ
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย รองประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/เลขานุการ
คณะกรรมการ ฝ่ายนิทรรศการ ล�ำดับ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕.
ชื่อ-นามสกุล นายสมบัติ ซูโอ๊ะ นายจรูญ มะตอระกี นายยุรนันต์ ซูโอ๊ะ นายนพดล โซ๊ะมญฑา นายช�ำนาญ บุญมาเลิศ
ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย กรรมการฝ่าย/ผู้ช่วยเลขานุการ
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕
91
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
นายมูฮัมหมัด เสน่หา (อิหม่าม)
นายสมาน บู่ทอง นายณรงค์ โต๊ะส�ำลี นายอดุลย์ และเล็ก
นายสาโรจน์ เสน่หา (คอเต็บ)
นายปัญญา เสน่หา (บิหลั่น)
นายประเสริฐ มูฮ�ำหมัด นายอิสมาแอล ฉิมวิเศษ นายสมจิต มณีด�ำ นายสมัย มะโซ๊ะ นายวิชัย เสน่หา นายรอฟีก อรุณพูลทรัพย์ นายสุรสิทธิ์ เสน่หา นายหวังมิต ข�ำมิน นายยะห์ยา มาลัยทัต คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดนูรุ้นอิสลาม
มัสยิดนูรุ้นอิสลาม เลขที่ ๕๐ ซอยกรุงเทพกรีฑา ๑๕ แยก ๔ ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดดารุ้ลฮ่าซ่านัย มัสยิดดารุ้ลฮ่าซ่านัย เลขที่ ๑๐๒ หมู่ ๑๑ ถนนคลองสิบ-สิบสี่ แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดนูรุลอิสลาม มัสยิดนูรุลอิสลาม เลขที่ ๑๐๑ ซอยรามอินทรา ๑๑๗ ถนนรามอินทรา แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐
นายสมบูรณ์ โนรันต์ (อิหม่าม)
นายประสิทธิ์ ยูฮันเงาะ นายช�ำนาญ โนรันต์ นายมาโนช ประยงค์
นายประสิทธิ์ อิสมาแอล (คอเต็บ)
นายสมพงษ์ มะหะหมัด นายอารีด อิสมาแอล นายโยธิน โนรันต์ นายสิทธิ์ ใบตานี นางสุทธิดา เซ็นหลวง นางรัญชิดา มุสตาฟา คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดอัตตักก์วา
นายซูรุด เซ็นหลวง (บิหลั่น)
นายมานิต ประยงค์ นายวิชาญ มาลัยพงษ์ นายนพดล โนรันต์
มัสยิดอัตตักก์วา
เลขที่ ๑๓ ซอยประชาอุทิศ ๕๙ ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๔๐
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดม่านาฟี่อุลอิสลาม ข อ ส นั บ ส นุ น
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ป ร ะ จํ า ปี ๒ ๕ ๖ ๕
มัสยิดม่านาฟี่อุลอิสลาม
เลขที่ ๙ ซอยศิริถาวร แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๕๐
นายสมนึก จิตหยาดสุวรรณ์ (อิหม่าม)
นายมนูศักดิ์ บินยะฟัล นายศราวุธ เยาวรินทร์ นายใจรัก หวังรวยนาม
นายยาซีน โกสินทร์ (คอเต็บ)
นายอารัมย์ พิธานวรรณกุล (บิหลั่น)
นายรังสรรค์ สุภีค�ำ นายสุวัธชัย ธรรมไพโรจน์ นายสมชาย จันทรวานิตย์ นายสุรชัย แม้นชีพสุข นายสกุล บินยะฟัน นายสุรชัย บุญหวัง นายมานิจ บินยะฟัล นายมูฮัมหมัดอาดัมส์ รื่นพิทักษ์ นางสาววรรณา หวังรวยนาม คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดดารุลฟะละฮ์
มัสยิดดารุลฟะละฮ์
เลขที่ ๙๑๕ ตรอกบ้านครัว ถนนเพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
นายหวังหมัด ศรีประยูร (อิหม่าม)
นายสอาด อาหวัง นายวิรัตน์ อาด�ำ นายพงษ์สัญ กีมัง
นายบุญเลิศ เจ๊ะเซ็น (คอเต็บ)
นายสิทธิพร น้อยนงเยาว์ นายยูรัตน์ แก้วถือธง นายณรงค์ และมา นายสุชาติ โซ๊ะบ�ำรุง นายธวัชชัย โมหะหมัดบาราเฮม นายสุรินทร์ สกุมา คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดย่ามีอะห์
มัสยิดย่ามีอะห์
นายทรงศักดิ์ ฮาซัน (บิหลั่น)
นายธน สะเล นายสะมะแอ เด่นซอ ว่าที่ ร.ต.ชาญชัย หมัดสะและ
เลขที่ ๖๒๑ ถนนสุเหร่าคลองหนึ่ง แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ เลขที่ ๔๙๗ ซอยพระรามที่ ๖ ซอย ๑๒ แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดนูรุ้ลยากีน ข อ ส นั บ ส นุ น
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ป ร ะ จํ า ปี ๒ ๕ ๖ ๕
มัสยิดนูรุลยากีน
เลขที่ ๔๑/๑๙ หมู่ ๕ ซอยสุขสวัสดิ์ ๑๔/๒๑ ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๕๐
นายอดุลย์ มณฑากลีบ (อิหม่าม)
นายอัศวิน มินกาเซ็ม (คอเต็บ)
นายปรีชา จั่นมา (บิหลั่น)
นายสมศักดิ์ สะเมาะยิ นายสมศักดิ์ มะยัง นายประเสริฐ เฮงโม้ นายประดิษฐ์ พงษ์เพ็ง นายอนันต์ อารอมัน นายประวิทย์ อับดุลเลาะ นายสมหมาย จ้อยรุ่ง นายสมชาย หวังบู่ นายกรณิศ บัวจันทร์ นายวินัย จั่นมา นายแสละห์ หมุดทอง นายสมศักดิ์ หิรัญพฤกษ์ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดอัตตั๊กวา
มัสยิดอัตตั๊กวา
เลขที่ ๑๐๙ ซอยร่มเกล้า ๖ ถนนร่มเกล้า แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐
นายเอนก กลิ่นมาลัย (อิหม่าม)
นายไพบูลย์ มุดทอง นายประพันธ์ ฟามุด นายบุญช่วย โพธิทอง
นายวีระศักดิ์ วงษ์ศรี (คอเต็บ)
นายวิเชียร พุ่มหิรัญ (บิหลั่น)
นายสมนึก มินซอมอ นายวรวิทย์ พงษ์ประเทศ นายต้อย อับดุลเลาะ นายดาวุด เผือกน้อย นายณรงค์ ลงสุวรรณ นายมูซอ เลาะประสิทธิ์ น.อ.จ�ำรัส กองแก้ว นายประสิทธิ์ ยิ้มม่วง นายสวัสดิ์ ลาวรรณ์ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดกันซุ้ลญันนะฮ์
มัสยิดกันซุ้ลญันนะฮ์
เลขที่ ๒๒ ซอยรามค�ำแหง ๑๑๘ แยก ๔๖-๑๐ ถ.รามค�ำแหง แขวง/เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๔๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดดารุสสะลาม มัสยิดดารุสสะลาม เลขที่ ๕๙ หมู่ ๑ ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
นายสวัสดิ์ ยูซบ (อิหม่าม)
นายชาตรี นุชมะหะหมัด (คอเต็บ)
นายสมัย ซะมะ (บิหลั่น)
นายประสาท นุชมะหะหมัด นายประหยัด เผ่ามะหะหมัด นายณรงค์ชัย บุญธรรมาภิบาล นายฉัตรชัย ตรีทิพสุวรรณ นายสวัสดิ์ ซะมะ นายวีระชัย บาระเฮม นายสมัย เด็ดดวง นายชาลี หมัดนุช นายประสิทธิ์ สังขยาลอ นางอุไร หัสนี นางสมจิตต์ สลามทร นางวรรณี เปลี่ยนเดชา คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดนูรูลลอห์
มัสยิดนูรูลลอห์
เลขที่ ๒๒ ๔๓/๕ หมู่ ๗ ถนนสุวินทวงศ์ แขวงล�ำต้อยติ่ง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
โรงฆ่าสัตว์แพะ-แกะ มาตรฐาน นเรศ ฟาร์ม ข อ ส นั บ ส นุ น
การจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ป ร ะ จํ า ปี ๒ ๕ ๖ ๕
โรงฆ่าสัตว์แพะ-แกะ มาตรฐาน นเรศ ฟาร์ม
เลขที่ ๕/๔ ถนนมิตรไมตรี แขวงหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพฯ ๑๐๕๓๐ โทร. ๐๘๑ ๗๒๐ ๕๘๒๓
บริษัท แอร์ เพาเวอร์ ซิสเท็ม จ�ำกัด ตัวแทนจ�ำหน่าย/ผลิต Air Compressor, Air Dryer, Air Receiver Tank, Filter Element ในโรงงานอุตสาหกรรม เลขที่ ๑๙/๑ หมู่ ๘ ถนนคู้-คลองสิบ แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดนูรุลยะกีน มัสยิดนูรุ้ลยะกีน เลขที่ ๒๙/๗ หมู่ ๗ ถนนสังฆสันติสุข แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะครูและนักเรียนหน่วยสอบที่ ๖ เขตการศึกษาที่ ๑
สมาคมคุรุสัมพันธ์อิสลามแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยสอบที่ ๖ เขตการศึกษาที่ ๑
สมาคมคุรุสัมพันธ์อิสลามแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
เลขที่ ๙/๑ ซอยมิตรไมตรี ๖ ถนนมิตรไมตรี แขวงหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
นายบุญล้อม สาตและ (อิหม่าม)
นายวิรัช ปานนพภา นายสมัย เจริญสุข นายเดช ปานนพภา
นายถนอม ปานนพภา (คอเต็บ)
นายยูซบ ปานนพภา (บิหลั่น)
นายวันชัย สาตและ นายสมศักดิ์ นุชสระบัว นายสาโรจน์ ปานนพพา นายแอน อาด�ำ นายสุรศักดิ์ ต�ำราเรียง นายสุริชัย อับดุลลา นายสมศักดิ์ สุขถาวร นายจรัญ ปานนพภา นายไพรัช สาตและ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดเราฎ่อติ้ลญันนะฮ์
มัสยิดเราฎ่อติ้ลญันนะฮ์
เลขที่ ๑๑๒๘/๑ ซอยอ่อนนุช ๑๗ ถนนอ่อนนุช แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๕๐
นายสวัสดิ์ สนนุกิจ (อิหม่าม)
นายชูชัย มะหะหมัดซอและ (คอเต็บ)
นายศักดิ์ชัย สนนุกิจ
นายอนุชา ลอยมา นายสุรศักดิ์ เหล็กเพ็ชร์ นายสุวิทย์ มูฮ�ำหมัด นายธีระศักดิ์ มีมูซอ นายลือชัย อับบัส นายสุนทร บัวเจริญ นายประสาน สนนุกิจ นายตอฮา มีมูซอ นายนิพนธ์ พุ่มแก้ว
(บิหลั่น)
นายธวัชชัย หมันหมอ นายอิศรา สนนุกิจ นายวิบูลย์ บุญเพชร
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดารุ้นมู่ฮิบบีน
มัสยิดดารุ้นมู่ฮิบบีน
เลขที่ ๗๔/๕ หมู่ ๘ ถนนคลองสิบ-สิบสี่ แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสสลามประจ�ำมัสยิดเราะหฺมาตุ้ลอิสลามียะ มัสยิดเราะหฺมาตุ้ลอิสลามียะ เลขที่ ๕๙ หมู่ ๔ ซอยสุวินทวงศ์ ๗ ถนนสุวินทวงศ์ แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐
นายวุฒิวัย หวังบู่ (อิหม่าม)
นายด�ำรงค์ เด่นตี (คอเต็บ)
นายบุญชู หวังบู่ (บิหลั่น)
นายประสาน หวันโซ๊ะ นายอภิสิทธิ์ วังสตัง นายสมศักดิ์ สลาม นายสมหวัง บินยีซัน นายประดิษฐ์ จูหมัดดิ่ง นายทวี อับดุลลอมาน นายวุฒิไกร หวังบู่ นายสมชาย หวังบู่ นายอุสมาน พิทักษ์เมธานนท์ นายสมศักดิ์ นรดิน นายประเสริฐ โต๊ะลุงแก้ว นายสมประสงค์ มะดะเรส คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดอิดดฮาดร์อูลูมุดดีน
มัสยิดอิดดฮาดร์อูลูมุดดีน
เลขที่ ๙ ซอยราษฎร์อุทิศ ๑๗ ถนนราษฎร์อุทิศ แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดซอลีฮุสสลาม มัสยิดซอลีฮุสสลาม เลขที่ ๑๑๑ ซอยหม่อมเจ้าสง่างามสุประดิษฐ์ ๒ ถนนเสรีไทย แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดารุ๊ลอีบาดะห์ มัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ ซอยหทัยราษฎร์ ๓๘ แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๑๐
นายวินิจ สุมาลยศักดิ์ (อิหม่าม)
นายวันชัย สุมาลยศักดิ์ นายสมศักดิ์ โต๊ะยีหวัง จ.ส.อ.สมศักดิ์ ข�ำมิน
นายสุวิทย์ สุมาลยศักดิ์ (คอเต็บ)
นายด�ำรงค์ สลามเต๊ะ
นายสมศักดิ์ สลามเต๊ะ นายสุวรรณ มาสุริยะ นายประเสริฐ บุญเลิศ นายรอซิ้ด วันหวัง นายปรีชา เนียงพา นายประสิทธิ โซ๊ะมาลี คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดอัลฮุสนา
(บิหลั่น)
นายอุดม มะดีลี นายสมคิด ฟักเขียว นายกิรหยา ปัตเวีย
มัสยิดอัลฮุสนา
เลขที่ ๒๔/๑๒ หมู่ ๑๒ ถนนมิตรไมตรี แขวงหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
นายองอาจ สะยอวรรณ์ (อิหม่าม)
นายสมศักดิ์ เดวี (คอเต็บ)
นายประวัติ ต�ำมีรายิส นายมีชัย นาคทิม นายปัญญา ซอเซวี นายอนุชา เงาะไพรวรรณ ว่าที่ ร.ต. วุฒิพงษ์ ปานเหล็ง นายเสงี่ยม สุวมิน นายธีรสิทธิ์ สายบริสุทธิ์ นายวันชัย บุญประเสริฐ นายสมชาย เดวี คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดอั้ลกุ๊บรอ
มัสยิดอั้ลกุ๊บรอ
นายสมพงษ์ โพธิ์วรรณ์ (บิหลั่น)
นายเอกรัตน์ อุ่นแอบ นายประมาณ ปานเหล็ง นายสุชาติ เงาะไพรวรรณ
เลขที่ ๕ ซอยอ่อนนุช ๒๙ ถนนสุขุมวิท ๗๗ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๕๐
กูโรตีชาชักเคหะหนองจอก
โทร. ๐๖๓ ๘๗๐ ๙๑๑๑, ๐๙๔ ๔๘๕ ๓๗๘๐ บริหารงานโดย :
คุณอาหวัง บิลังโหลด
เลขที่ ๑/๒๗ ถ.คู้ซ้าย แขวง คู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
อิหม่ามสุรสิทธิ์ กล้องวงจรปิด (CCTV)
บริการ : ติดตั้ง - ซ่อม - แก้ไขปัญหา กล้องวงจรปิด CCTV (บ้านพัก, ส�ำนักงาน, อพาร์ทเม้นท์ ฯลฯ)
CCTV อิหม่ามสุรสิทธิ์
๐๘๑-๘๐๙-๘๒๖๒
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะผู้บริหารร้านอาหาร เดอะ ทรีเฮ้าส์ หนองจอก ร้านอาหารเดอะ ทรีเฮ้าส์ หนองจอก
เลขที่ ๒๐/๑๓ หมู่ ๑๒ ถนนมิตรไมตรี แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ ๑๐๕๓๐ โทร. ๐๘๖ ๐๕๗ ๘๘๗๗, ๐๘๙ ๘๑๐ ๗๕๗๖
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะผู้บริหารรุ่งโรจน์ ฟาร์ม รุ่งโรจน์ ฟาร์ม
เลขที่ ๓๕/๒ ซอยเลียบวารี ๔๙ ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐ โทร. ๐๙๗ ๔๔๑ ๔๔๔๑
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายสมนึก อามินเซ็น (อิหม่าม) นายมู่รอด เพ็งสะและ (บิหลั่น) นายนิพนธ์ หมัดโรจน์ นายอัมรินทร์ มีสุวรรณ นายรังสรรค์ จั่นมณี นายสมหวัง ฤทธิ์งาม นายมาโนช อามินเซ็น นายสมศักดิ์ อามินเซ็น นายสมศักดิ์ เพ็งสะและ นายกิตติ อามินเซ็น นายปริญญา อามินเซ็น นายเอกรินทร์ ฤทธิ์งาม นายอมร เพ็งสะและ นายสมควร ลงสุวรรณ์ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิด
มัสยิดอีมาร่อตุดดีน เลขที่ ๑๒๘ ซอยสุวรรณมณี ถนนประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดอัสสละพียะฮ์ และสัปปุรุษประจ�ำมัสยิด มัสยิดอัสสละพียะฮ์ เลขที่ ๒๘๒๗ ถนนเจริญกรุง แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๒๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายสนิท วัธนวาทิน (อิหม่าม) นายนอีม จุลธีระ (คอเต็บ) นายดาวุธ วรประวัติ นายไพบูลย์ เรืองปราชญ์ นายวรพจน์ นิวัติวิฑิต นายสมศักดิ์ ทรัพย์รุ่งโรจน์ นายประทีป ภู่ส�ำลี นายประเสริฐ บุญประมาณ นายมูฮ�ำหมัด หวังพฤกษ์ นายยุทธนา ยกยอคุณ นายอิทธิพล วิมานสอาด นายสิริพงศ์ มัสกุล นายพิศาลชัย สิงห์โต นายศรีศักดิ์ ธรรมะธารีย์ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิด
มัสยิดสวนพลู เลขที่ ๑๙๖ ซอยเทอดไท ๑๑ ถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดมิฟตาฮุ้นยีนาน มัสยิดมิฟตาฮุ้นยีนาน เลขที่ ๕๓ ซอยคลองล�ำเจียก ๑๕ ถนนคลองล�ำเจียก แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๔๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
นายพีระพงษ์ ฮะซัน นายสว่าง เล็มบารอฮีม ประธาน รองประธาน นายสมเดช ใบแบแน นายสมคิด อิ๊สมาแอล นายวิทยา เล็มบารอฮีม กรรมการ กรรมการ กรรมการ นายสายันต์ เล็มบารอฮีม นายเสกสรร เล็มบารอฮีม เหรัญญิก เลขานุการ
มูลนิธิอิสลามพัฒนวิทยา (บาแลกีเว๊ะห์) ซอยราษฏร์อุทิศ ๒๗/๕ ถนนราษฎร์อุทิศ แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายสมบัติ ซูโอ๊ะ (อิหม่าม) นายสมศักดิ์ ซูโอ๊ะ (คอเต็บ) นายชูศักดิ์ ซูโอ๊ะ (บิหลั่น) นายอุสมาน ซูโอ๊ะ นายวสันต์ รักษาเดช นายลุกมาน ซูโอ๊ะ นายรังซีมัน โซ๊ะมิน นายอนุสนธ์ ซูโอ๊ะ นายบัญญัติ สนิสุริวงค์ นายอับดุลมานัฟ สุโอดี นายสมหวัง มลิซ้อน นายจักรรินทร์ ซูโอ๊ะ นายสุวัชชัย วังสตางค์ นายบรรหาร ประดับญาติ นายวิรัตน์ แสงอรุณ คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิด และโรงเรียนอนุสรณ์อับดุลเราะห์มาน (บ้านหนองปลาหมอ)
มัสยิดอัรเราะห์มาน เลขที่ ๙/๑ ซอยมิตรไมตรี ๖ แขวงหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดยัมอียะตุ้นมุสลีมีน และสัปปุรุษประจ�ำมัสยิด มัสยิดยัมอียะตุ้นมุสลีมีน เลขที่ ๑๐๘ ซอยเสรีไทย ๔๖ ถนนเสรีไทย แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๓๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดบ้านอู่ และสัปปุรุษประจ�ำมัสยิด มัสยิดบ้านอู่ เลขที่ ๖๓ ซอยเจริญกรุง ๔๖ ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๐๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายเสรี ศรีวิเศษ (อิหม่าม) นายซาฟี อับดุล (คอเต็บ) นายธนากร กองแก้ว (บิหลั่น) นายทวีศักดิ์ พวงมณี นายอดุลย์ เซะวิเศษ นายสวัสดิ์ พวงมณี นายชาคริต พวงมณี นายอาหมัด บินหะยีสุไรมาน นายดิเรก เซะวิเศษ นายวินัย หวังพิทักษ์ นายสมชาย แสงสรวย นายอีซา หวังพิทักษ์ นายอูม๊าด เถื่อนพิทักษ์ นายสุรินท์ ศรีวิเศษ นายมูฮ�ำหมัด สาสะกุล คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดอัลยุซรอ
มัสยิดอัลยุซรอ เลขที่ ๓ ซอยราษฎร์พัฒนา ๓๐ แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการอิสลามประจ�ำมัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม เลขที่ ๒๕๔๗ ถนนเพชรบุรี แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๕๐
ร้านเจริญช่างเภสัช
เลขที่ ๔๑/๖ หมู่ ๘ ถนนราษฎร์อุทิศ (ข้างโลตัสเอ็กเพรส) แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
ร้านเจริญช่างเภสัช ๒
เลขที่ ๑๗๓ ห้องที่ ๒ ซอยราษฎร์อุทิศ ๑๕ (ใกล้มัสยิดอิดด์ฮาร์ดอุลูมุดดีน) แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรึ กรุงเทพฯ
ร้านเจริญช่างเภสัช ๓
เลขที่ ๒๖/๒๗-๒๘ ถนนเลียบวารี เยื้องมัสยิดนูรุสสลาม (กุโบร์โต๊ะเยาะห์) แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ปัจฉิมวจี
การจั ด ท� ำ หนั ง สื อ อนุ ส รณ์ ถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของภาพรวมแห่ ง มหกรรมที่ อ งค์ ก รหรื อ สถาบั น จั ด ขึ้ น เพื่อประมวลสรรสาระที่เกี่ยวข้อง และสิ่งที่เป็นสุนทรียภาพอันทรงคุณค่ามาบันทึกไว้สู่ความทรงจ�ำ ณ วันนี้ และวันพรุ่งนี้ นั่นคือ การเก็บรักษาหรืออนุรักษ์สิ่งที่ดีและมีคุณค่าให้เป็น “อนุสรณ์” ไว้ให้ยาวนานอย่างต่อเนื่อง หนังสืออนุสรณ์งาน “เทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจ�ำปี ๒๕๖๕ เป็นส่วนหนึง่ ของงานครั้งนี้ มีเป้าหมายส�ำคัญเพื่อรังสรรค์ “สรรสาระ” และ “สุนทรียภาพ” ของการจัดงานในทุกมิติมาบรรจุ อย่างเต็มเปี่ยมสู่ความเป็น “อนุสรณ์” ของผู้มาร่วมงาน ผู้ให้การสนับสนุนการจัดงานและผู้แสวงหาองค์ความรู้ จากสื่อสิ่งพิมพ์ที่หลากหลาย คณะกรรมการจัดงานฯ โดยฝ่ายหนังสืออนุสรณ์ ต้องขอขอบคุณนักวิชาการทุกท่านทีก่ รุณาให้ความร่วมมือ ทางวิชาการ เขียนบทความที่เต็มเปี่ยมด้วยเนื้อหาสาระที่น่าสนใจและมีประโยชน์ยิ่ง ท�ำให้หนังสืออนุสรณ์เล่มนี้ มีคุณค่าและเหมาะสมสู่การเป็น “อนุสรณ์” แก่สมาชิกแห่งบรรณพิภพอย่างแท้จริง ขอขอบคุณมัสยิด สถาบัน องค์กร บริษัท และผู้มีจิตศรัทธา ทุกมัสยิด ทุกแห่ง และทุกท่าน ที่ได้กรุณา ให้การสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสืออนุสรณ์ครั้งนี้ ด้วยความซาบซึ้งใจยิ่ง ขอดุอาอ์ (อ�ำนวยพร) จากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า ได้โปรดประทานความดีงาม แด่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดท�ำหนังสืออนุสรณ์ ณ วาระนี้ ทุกท่าน ทุกฝ่าย ด้วยเทอญ อามีน ด้วยจิตคารวะ
(ผศ.ดร. วิศรุต เลาะวิถี)