คัในจันงหวัทวย ดน่าน สาธิต ผาแก้ว
คันทวย
ในจังหวัดน่าน สาธิต ผาแก้ว
คันทวยมีความหมายเดียวกับ นาคทันต์ และหูชา้ ง เป็นตัวไม้สำ� หรับค�ำ้ ยันตามมุม ของตัวอาคารระหว่างผนังด้านนอกกับชายคา มีลักษณะเป็นแผ่นไม้รูปสามเหลี่ยมชายธง ส่วนบนแนบรับน�้ำหนักโครงหลังคา ส่วนแนวตั้งแนบติดกับผนัง มีการสลักลวดลาย ส่วน มากพบที่โบสถ์และวิหาร ค�ำว่าคันทวยเป็นค�ำภาษาไทยภาคกลาง ส่วนค�ำว่า นาคทันต์ หรือ หูช้าง เป็นค�ำ ที่ใช้เรียกในภาคเหนือ แต่หูช้างจะมีข้อแตกต่างคือ มีลักษณะเป็นแผ่นไม้รูปสามเหลี่ยม ชายธงหรือสามเหลีย่ มมุมฉาก ส่วนบนกว้างรับน�ำ้ หนักโครงหลังคา ส่วนแนวตัง้ แนบติดกับ ผนัง เหตุที่เรียกว่าหูช้างเพราะว่า รูปแบบของมันมีลักษณะเหมือนหูของช้าง ส่วนสาเหตุที่ เรียกว่านาคทันต์เพราะว่าลวดลายประดับส่วนมากจะเป็นลวดลายเกี่ยวกับพญานาค
คันทวยวิหารวัดบุญยืน พระอารามหลวง
องค์ประกอบของคันทวย
มีการแบ่งองค์ประกอบเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนบน มักท�ำเป็นลายแถวหน้ากระดานแนวนอน ส่วนกลาง เป็นบริเวณที่มีการตกแต่งลวดลายมากที่สุด ส่วนล่าง เป็นส่วนที่เล็กและอยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม 2
จากการศึกษา ลักษณะทางศิลปกรรมคันทวยประดับอาคาร ศาสนถานในจังหวัด น่าน ได้มีการศึกษาถึง รูปแบบ เทคนิค การประดับตกแต่งและจากการเก็บข้อมูลคันทวย ทั้งหมด 12 วัด ในเขตพื้นที่ 4 อ�ำเภอ ได้แก่ อ�ำเภอเวียงสา 2 วัด อ�ำเภอนาน้อย 5 วัด อ�ำเภอนาหมืน่ 1 วัด เป็นคันทวยจ�ำนวน 179 ชิน้ ซึง่ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ มีลกั ษณะ ดังนี้ แบบที่ 1 เป็นคันทวยมีลกั ษณะประดับตกแต่งในส่วนของคันทวยทัง้ หมดเพียงส่วน เดียวเป็นกรอบนอก มีการตกแต่งเฉพาะส่วนของลายหลักเต็มกรอบสามเหลีย่ มของคันทวย บางครั้งอาจมีลายประกอบหรือไม่มีก็ได้ แบบที่ 2 เป็นลักษณะของคันทวยทีแ่ บ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นส่วนของลวดลาย หลักรองรับเครื่องบนหลังคา และส่วนที่ 2 เป็นฐานกรอบสามเหลี่ยมด้านล่าง โดยช่างจะ เน้นการตกแต่งรองรับเครื่องบนของหลังคา แบบที่ 3 เป็นลักษณะของคันทวยทีแ่ บ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นลายหน้ากระดาน ส่วนที่ 2 เป็นลายกรอบ บางครัง้ อาจใช้ตวั เหงาหรือพญานาค พญาลองเป็นลายกรอบ ส่วน ที่ 3 เป็นฐานสามเหลี่ยมอาจมีการประดับด้วยการแกะสลักลายประดับตกแต่ง
ค ันทวยกับความเชื่อ
ความเชื่อเกี่ยวกับการแกะสลักลวดลายประดับคันทวยมีอยู่หลายความเชื่อด้วย กันเช่น กลุ่ม 12 ลาย นักษัตร ชาวล้านนาเชื่อว่า ถ้าได้สร้างคันทวยที่ประดับปีเกิดของตน มาประดับศาสนสถานไว้ จะท�ำให้ได้ไปสูส่ รวงสวรรค์ลวดลายนาคหรือพญาลวงพันกันหรือ อยู่ตัวเดียวโดๆ แสดงถึงสัตว์แห่งฟ้าหรือน�้ำ เพราะว่าเป็นส่วนในระดับกึ่งกลางของหลังคา ลวดลายนาครวมกับเมฆ แสดงถึงสัตว์แห่งฝน เป็นสัตว์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ลวดลายนาค ผสมคลื่นน�้ำแสดงให้เห็นชัดว่าเป็นสัตว์ที่อยู่กับน�้ำ อาจเป็นทะเลแห่งสีทันดรหรือสายน�้ำที่ อยู่รอบๆ เขาพระสุเมรุจะสังเกตได้ว่า ลวดลายส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่เกี่ยวกับพญานาค อาจจะเป็นเพราะเป็นพื้นที่ในระดับเดียวที่นาคอยู่นอกวิหารแสดงว่าเป็นพื้นที่ของนาค โดยเฉพาะ
3
ลวดลายสัญลักษณ์และคติความเชื่อ
การประดับตกแต่งงานศิลปกรรมประดับวิหารตามลักษณะของลวดลายทีป่ รากฏได้ดงั นีค้ อื ลวดลายประเภทเทพเทวา ลวดลายประเภทสัตว์ต่างๆ ลวดลายประเภทพันธุ์พฤกษา ลวดลายประเภทธรรมชาติ
1. ลวดลายประเภทเทพเทวา
รูปแบบส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทพพนมยีนบนดอกบัวที่รองรับการแต่งกายแบบ เครือ่ งทรงกษัตริยห์ รือเทพขัน้ สูง ซึง่ การประดับอาภรณ์ตา่ งๆ มีการออกแบบทีห่ ลากหลาย มีความเป็นอิสระแต่รูปแบบของผ้านุ่งหรือภูษามีความคล้ายคลึงกันคือ ผ้านุ่งยาวเกือบ จรดข้อเท้า แสดงออกให้เห็นถึงวิธีการนุ่งแบบจีบหน้านางที่เอวมีส่วนประดับตกแต่งด้วย เข็มขัดหรือผ้ารัดสะเอว เทวดาที่เป็นภาพลายทองในบางครั้งจะแสดงลักษณะการถือช่อ ดอกไม้ทิพย์เพื่อแสดงการคารวะพระพุทธองค์หรือถือเครื่องดนตรี เช่น พิณ หรือ กางฉัตร ให้พระพุทธองค์ โดยทัง้ หมดจะหันหน้าเข้าสูพ่ ระพุทธรูปประธานทัง้ ข้างเหล่าเทวดาเหล่านี้ น่าจะเป็นเทพชุมนุมหรือเทวดาทีพ่ ากันมาชุมนุมเพือ่ แสดงสักการะและชืน่ ชมยินดีเมือ่ ครัง้ ทีพ่ ระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ นอกจากนัน้ เทวดานัน้ ใช้เป็นสัญลักษณ์คมุ้ ครองศาสนาเป็นเครือ่ ง เฉลิมพุทธบารมีของพระมหากษัตริย์
4
ภาพคันทวยวัดพญาภู 5
2. ลวดลายประเภทสัตว์ต่างๆ
ลวดลายสัตว์นมี้ กั จะใช้ในลักษณะของ “สัญลักษณ์” แทนค่าสิง่ ใดสิง่ หนึง่ หรือเป็นผูพ้ ทิ กั ษ์ และท�ำใน2 ลักษณะ คือ 1. สัตว์ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ 2. สัตว์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากจินตนาการ หรืออุดมคติ คือ “สัตว์หิมพานต์” หรือ สัตว์ ในวรรณคดีตา่ งๆ ในนิทานชาดกมักเล่าเรือ่ งถึง บาดาลโลก มนุษย์โลก และสวรรค์ โดยละเอียดเป็นเหตุให้ศิลปินค้นตัวภาพลายต่างๆ เป็นสรรพชีวิตที่มีรูปร่างลักษณะแปลก ไปจากสภาพตามธรรมชาติ โดยได้อทิ ธิพลประติมานวิทยามาจากทัง้ ศาสนาพราหมณ์ และ ศาสนาพุทธปะปนกัน บรรดาสัตว์เหล่านี้ รวมเรียกว่า “ สัตว์หิมพานต์ ”
6
ภาพคันทวยวัดบุญยืน 7
3. ลวดลายประเภทพันธุ์พฤกษา
ช่างได้น�ำแนวความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งรอบตัว การประดิษฐ์สร้างลวดลายนั้น ใช้พนื้ ฐานมาจากธรรมชาติ และได้มกี ารประยุกต์ดดั แปลงเพิม่ เติม ลวดลายเครือเถาก้านขด มีลักษณะคล้ายเถาวัลย์ของพืชม้วนกลม ขณะเดียวกันมีใบไม้แตกแซมออกมาจากก้าน เครือเถา และมีก้านที่แตกม้วนในลักษณะเดียวกันอีก เป็นลวดลายที่นิยมใช้กับนาคทันต์ จะประกอบกับตัวลวงและนาคอีกด้วย
8
ภาพคันทวย วัดดอนไชย 9
4. ลวดลายประเภทธรรมชาติ
เป็นลวดลายที่พบร่วมกับภาพต้นศรีมหาโพธิ์ หรืองานแกะสลักร่วมกับพญาลวง ของนาคทันต์วิหารหลวง วัดพระธาตุล�ำปางหลวง ซึ่งโดยมากแล้วจะเป็นลวดลายจ�ำพวก ลวดลายเมฆในลักษณะต่างๆ ซึ่งลวดลายนี้จะมีความหมายบอกถึงท้องฟ้า สวรรค์ อัน สามารถโยงไปถึงฝนและน�้ำอันเป็นสิ่งจ�ำเป็นในการด�ำรงชีพของมนุษย์
10
ภาพคันทวย วัดดอนไชย 11
คันทวย ในจังหวัดน่าน วัดพระธาตุช้างคำ้ �วรวิหาร วัดภูมินทร์ วัดพญาภู วัดบุญยืน วัดดอนไชย วัดบ้านใหม่ไชยสถาน วัดนาเตา วัดนาหวาย
12
วัดพระธาตุช้างค�้ำวรวิหาร
วัดพระธาตุช้างค�้ำวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 13 บ้านช้างค�้ำ ต�ำบลในเวียง อ�ำเภอเมือง จังหวัดน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ. 1946 ตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า เจ้าผู้ครองนครน่าน ชือ่ พญาภูเข็ง เป็นผูส้ ร้างขึน้ เรียกชือ่ ในครัง้ นัน้ ว่าวัดหลวง หรือ วัดหลวงกลางเวียง ส่วนชือ่ วัดช้างค�ำ ้ เพิง่ มาเปลีย่ นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รบั พระราชทานพระบรมราชานุญาติ จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้ยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2501
ลั ก ษณะลวดลายประดั บ คั น ทวย คั น ทวยมี 2 ส่ ว น มี ส ่ ว น หลักเป็นลายนาคสะดุ้งแอ่นโค้งตวัด หางออก หางมีลกั ษณะเป็นลายกนก กลางตัวโค้งเป็นลายกนก กลางล�ำตัว เป็นลายประจ�ำยามครึ่งซีก ภายใน เป็นดอกประดิษฐ์ ด้านล่างเป็นบัว อกไก่ ด้านล่างเรียวแหลมลง
ภาพคันทวย วัดพระธาตุช้างค้ำ�วรวืหาร
13
วัดภูมินทร์
1
วัดภูมินทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 33 บ้านภูมินทร์ ต�ำบลในเวียง อ�ำเภอเมืองน่าน จังหวัด น่าน ตามพงศาวดารเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจต บุตรพรหมมินทร์ หลังจากที่พระองค์ทรงครองนครน่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมือง เหนือว่า เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างแต่ ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2410 หลังจากที่สร้างมา 271 ปี โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน โปรดให้ซ่อมแซมครั้งใหญ่แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2418 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลา ซ่อมนานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิต ของคนเมืองในสมัยนั้น ลักษณะลวดลายประดับคันทวย คันทวยมี 2 ส่วน ส่วนหลักคือนาคแอ่นโค้งทูนหางขึ้น หางเป็นลาย หางหงส์ กลางคันทวยตกแต่งด้วยลวดลายประจ�ำยาม ครึ่งซีก ตวัดออก กลางคั นทวย เป็ นลายประจ� ำ ยาม ภายในเป็นลวดลายดอกประดิษฐ์ ส่วนล่างเป็นบัวหงาย เรียวลงด้านล่าง 14
15
วัดพญาภู
2
วัดพญาภู ตั้งอยู่เลขที่ 5 บ้านพญาภู ต�ำบลในเวียง อ�ำเภอเมืองน่าน วัดพญาภู ตั้ง เมือ่ พ.ศ. ๑๙๕๖ เป็นวัดเก่าแก่วดั หนึง่ ทีม่ คี วามส�ำคัญของจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารเมือง น่านกล่าวไว้วา่ พระยาภูเข็ง (พญาภู) แห่งราชวงศ์ภคู า ซึง่ เป็นเจ้าผูค้ รองเมืองน่าน ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๕๐–๑๙๖๐ ได้สร้างวัดพญาภูขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๖ ต่อมาเจ้าผู้ครองเมืองน่านทุก พระองค์ได้ให้ความอุปถัมภ์วัดพญาภูตลอดมา จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๐๐ พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองเมืองน่าน ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพญาภู
ลักษณะลวดลายประดับคันทวย คันทวยมี 2 ส่วน ส่วนหลักคือนาคแอ่นโค้งทูนหางขึ้น หางเป็นลาย หางหงส์ กลางคันทวยตกแต่งด้วยลวดลายประจ�ำยาม ครึ่งซีก ตวัดออก กลางคั นทวย เป็ นลายประจ� ำ ยาม ภายในเป็นลวดลายดอกประดิษฐ์ ส่วนล่างเป็นบัวหงาย เรียวลงด้านล่าง 16
17
วัดบุญยืน
3
ตัง้ อยูท่ ี่ หมูท่ ี่ 4 ต�ำบลกลางเวียง อ�ำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สร้างเมือ่ ปี พ.ศ. 2329 และตัง้ ขึน้ พร้อมกับการสร้างเมืองซึง่ เรียกว่า เวียงป้อ โดยพระยาองค์หนึง่ ชือ่ ว่า พระยาป้อ จึงเรียกชื่อเมืองตามผู้สร้าง และวัดที่สร้างขึ้นก็เป็นเพียงส�ำนักสงฆ์เล็กๆ ชื่อว่า วัดบุญนะ ตั้งอยู่ท่ีตลาดสดในปัจจุบัน ครั้งต่อมาเมื่อ ผู้ครองนครน่านว่า เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เสด็จ ประพาสเวียงป้อทรงเห็นว่าวัดบุญนะนัน้ คับแคบไม่อาจขยายให้กว้างขวางได้ ประกอบกับ เจ้าอาวาส ขณะนัน้ คือ พระอธิการนาย (ครูบานาย) และราษฎร ได้เห็นพ้องต้องกันด้วย ดัง นั้นเจ้าฟ้าอัตถวร ปัญโญ จึงให้ย้ายวัดมาสร้างใหม่ห่างจากวัดเดิมประมาณ 100 เมตร ทาง ด้านทิศเหนือบนฝั่งขวาของล�ำน�้ำน่าน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพนธ์ พ.ศ. 2328 บริเวณที่ตั้งวัด นั้นมีป่าไม้สักที่สมบูรณ์ จึงได้ใช้ไม้สักบริเวณนั้นมาสร้างวิหาร กุฏิสงฆ์และศาสนวัตถุอื่นๆ เป็นจ�ำนวนมาก และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดป่าสักงาม ต่อมา ได้โปรดเกล้าให้ช่าง ก่อสร้างวิหาร กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร และสร้างพระพุทธรูปยืน ปางประทับยืน พระประธานในวิหาร หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ขนาดสูง 5 ศอก ดังนั้น จึงเปลี่ยนชื่อ วัดป่าสักงามเป็น วัดบุญยืน ตามลักษณะพระพุทธรูป และทรงโปรดเกล้า ให้เจ้าราชวงค์ เชียงของ เป็นผู้แกะสลักบานประตูใหญ่พระวิหาร พระพุทธรูปไม้สัก พระพุทธรูปจ�ำลอง เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ และศาสนวัตถุอื่นๆ อีกมากมาย ลั ก ษณะลวดลายประดั บ คั น ทวย คั น ทวย ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนด้านบนหน้ากระดานเป็น ลายกลีบบัวหงาย ตัวคันทวยเป็นโครงลายพญานาคเป็น โครงสร้างกรอบลาย ภายในสลักลายพันธุ์พฤกษาแบบ กระหนกภาคกลางด้านในจ�ำหลักรูปนักษัตร และด้าน ล่างเป็น ลายบัวหงายเล็กต่อด้วยลายบัวหงายกลีบใหญ่ ด้านล่างเป็นโครงสร้างดอกบัวตูมกลีบซีก 18
19
วัดดอนไชย
4
วัดดอนไชย ตั้งอยู่เลขที่ 173 บ้านดอนไชย หมู่ 7 ต�ำบลกลางเวียง อ�ำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ทีด่ นิ ตัง้ วัดมีเนือ้ ที่ 4 ไร่ 1งาน 94 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 14 วา จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้ประมาณ 2 เส้น 14 วา จดทาง สาธารณประโยชน์ ที่ธรณีสงฆ์จ�ำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 12 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา อาคาร เสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร กุฏิสงฆ์ หอพระไตรปิฎก ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูป พระประธาน วั ด ดอนไชย สร้ า งเมื่ อ พ.ศ.2358 ได้ รั บ พระราชทานวิ สุ ง คามสี ม าเมื่ อ วั น ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2438 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 10 เมตร ยาว 14 เมตร การบริหารและการ ปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบ คือ พระจินะวงศ์ พระยาวีระ พระปลัดชัยธมมสาโร และ พระครูจักรธรรมสุนทร
ลักษณะลวดลายประดับคันทวย คันทวยชิ้นนี้ ท�ำจากไม้ เทคนิคแกะสลักฉลุลาย มีการแกะสลักเป็น พญานาค หางพันกันมีลายเมฆและลายกนกตกแต่ง บางชิ้นเป็นลายพันธุ์พฤกษา และตัวภาพ 20
21
วัดนาเตา
5
จุลศักราชได้ ๑๑๖๗ ตัวปีกา้ บเสร็จเดือน ๓ ออก ๕ ค�ำ่ ว่าได้วนั ศุกร์ ไตรก่าไก้ ยาม กองงายได้ถกษ์บด ๒๘ ตัว ชือ่ ว่า อุตะลาษาพระกัง๋ ได้พร้อมกันก่อยังพุทธปิมารูปองค์หลวง นี้ไว้เรามีครูบาเจ้าต๋นมีชื่อว่า ปะละมะวังสะ เป็นประธานละธรรมสิธิภิกขุ และธาสิทธิภิกขุ ขนานยานะปิขะกังเป็นผูพ้ จิ จารราลิดจาเอาขเบ็ดขบวนบลมวนแล้วใส่ลกั หางยางแดง พระ จิตรติดสุวรรณเรืองเลือ่ เพือ่ เป็นทีไ่ หว้และบูชาแก่นาตะละปะตังหลายห้าพันพระวะษา ดีหลี ถึงเมือ่ ปีดบั ไก้ ศักราชได้ ๑๑๗๗ ตัวเดือนหกเป็ง เป็นวันพุธ ไตดับเป้าฤกษ์กดได้ ๑๐ตัว ชือ่ มะขะเตวะตา ก็จึงสรุปฉลองอุษาภิเษกซ้อมย้อมยังวะละพุทธะพิมาเจ้าและที่ดังอั้นเป็นที่ สถิตส�ำราญแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยเจตนาด้วยนิลเป๊กตกเหือนแผ่นพสุธาวันนัน้ แล ต่างปลูก ไว้เป็นตัวหื้อแล้วยังก�ำลังอันมากชักลากทั้งมวล และ ดินกี่เสี้ยง เก้าหมื่นป๋ายสองร้อย ปูน สามล้าน เหล็กเสี้ยงสี่หมื่น ปันเงินเศษ ค�ำเสี้ยงหมื่นห้าปันเจ็ดแล แป้นเกดหมื่นป๋ายสี่ร้อย ห้าสิบ วัดนาเตา ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕ หมู่๕ บ้านหนองเตา ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดนาเตา สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๗ จุลศักราช ๑๑๖๕ (ตามศิลาจารึกในอุโบสถ)ได้ รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๘ ลักษณะลวดลายประดับคันทวย มีสามส่วน คือ ส่วนลายหน้ากระดาน ลายสัตว์ ส่วนปลาย และมีเต้ารับ เป็นรูปนก ส่วนลายหน้ากระดานเป็นลายบัวรวนซ้อนกัน 5 กลีบ ส่วนทีร่ องเป็นลายมกรคายนาค ยืดหางยาวออก ภายในมีลายกนกก้านขด ส่วนปลายเป็นบัวรวนและลาย กนกปลายแหลมลงมีเต้ารับกนกด้านหลังเรียบ ไม่มีการ แกะสลัก 22
23
6
วัดบ้านใหม่ไชยสถาน
ตัง้ อยูเ่ ลขที่ 31 บ้านใหม่ไชยสถาน หมูท่ ี่ 7 ต�ำบลศรีษะเกษ อ�ำเภอนาน้อย จังหวัด น่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดนี้เนื้อที่ 6 ไร อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 2 วา จดถนนสาธารณะ ทิศใต้ประมาณ 15 วา จดทีด่ นิ เอกชน ทิศตะวันออกประมาณ 30 วา จด ที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกประมาณ 5 วา จดที่ดินเอกชน ที่ธรณีสงฆ์จ�ำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 50 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ ปูชนียะวัตถุมพี ระพุทธรูป วัดใหม่ สร้างเมือ่ พ.ศ. 2254 ได้รบั พระราชทานวิสงุ คามสีมาเมือ่ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2254 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 35 เมตร การบริหาร และปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ พระครูอนุกุลกุลเขต การศึกษาโรงเรียนพระ ปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ. 2496
ลักษณะลวดลายประดับคันทวย คันทวยท�ำ จากไม้ เทคนิคแกะสลัก ส่วนแรกแกะสลักเป็นลายบัว หงาย ส่วนตรงกลางแกะสลักเป็นลักษณะลอยตัวเป็นรูป พญานาค อยู่ในลักษณะใช้หางค�้ำยัน มีลายประจ�ำยาม อก หางแกะสลักเป็นลายกนก 3 ตัว ส่วนที่เป็นฐานบัว หงายแกะสลักเป็นลายกาบซ้อนกัน ต่อด้วยสามเหลี่ยม ขนาดเล็กแกะเป็นลายกนก มีเต้ารับแกะสลักจากไม้เป็น รูปกนก 24
25
วัดนาหวาย
7
วัดนาหวาย ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖ บ้านนาหวาย หมู่ที่ ๘ ต�ำบลบ่อแก้ว อ�ำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เดิมชือ่ วัดกูค่ ำ � สร้างในสมัยพญาค�ำย่อยเป็นเจ้าเมืองน่าน(ไม่ทราบว่าองค์ไหน) โดยมีหมืน่ หินเป็นผูส้ ร้างวัดนีข้ นึ้ ในโขงเขตเมืองหินแคว้นใต้สบื ต่อกันมาเป็นเวลานาน จนถึง พ.ศ.๒๑๖๗ เจ้าฟ้าสุทโธ(พม่า) ได้ได้สง่ กองทัพมารุกรานชาวเมืองหิน กวาดต้อนเอาผูค้ นไป มากมาย ผู้คนที่หลงเหลืออยู่ต่างพากันโยกย้ายบ้านและวัดไปตามสถานที่ต่างๆ ถึง ๓ ครั้ง ส่วนบริเวณวัดนีก้ ต็ กอยูใ่ นสภาพรกร้างมีปา่ ไม้เถาวัลย์ขนึ้ เต็มไปหมดโดยเฉพาะเครือหวาย ต่อมา พ.ศ.๒๒๔๖ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งอพยพหนีมาจากบ้านตาลชุมเมืองราม มาจับจอง ที่ท�ำมาหากินในหมู่บ้านแห่งนี้หลังจากนั้นมาชาวบ้านจึงได้สร้างอารามขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ณ บริเวณร้องหวายค�ำ อันเป็นที่ทราบกันดีว่าสถานที่นี้เคยเป็นวัดวาอารามมาก่อน และชาว บ้านในขณะนั้นมีความเชื่อกันว่า บริเวณนี้ยังมีโขงเจดีย์และกู่พระเจ้าหลงเหลืออยู่ด้วย ไม่ ปรากฏวันเดือนในการก่อสร้าง
ลั ก ษณะลวดลายประดั บ คั น ทวย คั น ทวยมี โครงสร้างที่ประกอบด้วยโครงสร้างลายบัวหงาย โครง ลายหางวัน ด้านล่างเป็นโครงสร้างคล้ายลายอกไก่ ด้าน ในเว้นโครงสร้างลายหางวันให้เห็นชัด ด้านในสลักลาย พันธุ์พฤกษาเครือเถาว์ พันกันจนเต็มตัวโครงสร้าง ช่าง มีอิสระในการสร้าง 26
27
คันทวยในจังหวัดน่าน ภาพและเนื้อเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย สาธิต ผาแก้ว, 540310143 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย สาธิต ผาแก้ว โดยใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK 16 pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คั น ทวย
มี ค วามหมายเดี ย วกั บ นาคทั น ต์ และหู ช ้ า ง เป็ น ตั ว ไม้ ส�ำหรับค�้ำยันตามมุมของตัวอาคาร ระหว่ า งผนั ง ด้ า นนอกกั บ ชายคา
ปกหน้า : คันทวยวิหารวัดภูมินทร์ ปกหลัง : คันทวยวิหารวัดบุญยืน พระอารามหลวง ออกแบบปกโดย : สาธิต ผาแก้ว