76 ตราด

Page 1

ฉบับที่ 76 จังหวัดตราด พ.ศ. 2561 Magazine

มนต์เสน่ห์แห่งทะเลตะวันออก

เมืองเกาะครึ่งร้อย

EXCLUSIVE

ตราด...เป็นเมืองที่จิ๋วแต่แจ๋ว ดร.ประธาน สุรกิจบวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด

Vol.9 Issue 76/2018

SPECIAL INTERVIEW โชว์ผลงาน “บวร” ช่วยแก้ปัญหาหนี้สิน นายเกษม สุดดี ผอ.พศจ.ตราด

อ่าวธรรมชาติ www.sbl.co.th

.indd 5

18/8/2561 10:20:47



หลวงพ่อเพ็ชร 162

วัดสลักเพชร ตำ�บลเกาะช้างใต้ อำ�เภอเกาะช้างจังหวัดตราด SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


Relax Travel. “The true journey of discovery is not a quest for new territory, but a new sight.”

AD_travel guide.indd 4

18/8/2561 13:40:20


CHAOMTARN RESORT ชมธาร รีสอร์ท ชมธาร รีสอร์ท ที่พักสบาย ๆ สไตล์ปูนเปลือยเท่ ๆ ตั้งอยู่ใกล้ แม่น�้ำตราดและสนามไดร์ฟกอล์ฟ จะดีแค่ไหน....ถ้าที่พักในวันหยุดสุดพิเศษของคุณ จะแวดล้อมด้วยบรรยากาศธรรมชาติริมแม่น�้ำ อีกทั้งยัง สะดวกสบายต่อการเดินทางไปทะเลและสถานที่ท่อง เทีย่ วต่าง ๆ ในจังหวัดตราด พร้อมสิง่ อ�ำนวยความสะดวก พืน้ ฐานภายในห้องพัก อาทิ เครือ่ งปรับอากาศ เครือ่ งท�ำ น�้ำอุ่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ฟรี WiFi ที่จอดรถกว้างขวาง สะดวกสบายใกล้กับห้องพัก ด้วยการเดินทางที่แสนจะง่ายดาย เพราะชมธาร รีสอร์ท ตั้งอยู่ใกล้สะพานข้ามแม่น�้ำตราด หากเดินทาง มาจากกรุ ง เทพฯ ให้ มุ ่ ง ตรงเข้ า สู ่ ตั ว จั ง หวั ด ตราด ผ่านแขวงการทางตราด พุทธมณฑลตราด โชว์รมู มาสด้า โรงแรมตราดซิ ตี้ วิ่ ง ตรงไปสั ก ครู ่ แ ล้ ว เลี้ ย วซ้ า ยตรง สามแยกคลองใหญ่ ใช้เส้นทางมุง่ สูค่ ลองใหญ่ ผ่านเทสโก้ โลตัส แมคโคร ผ่านแยกไฟแดง ตรงไปจนถึงสะพาน ข้ามแม่น�้ำตราดลงสะพานแล้วชะลอรถ ชมธาร รีสอร์ท จะตัง้ อยูท่ างด้านซ้ายมือ ด้านหน้ารีสอร์ทมีรา้ นก๋วยเตีย๋ วเรือ บริการ มองเห็นได้ชัดเจนจากริมถนนและอยู่ติดกับ ร้านอาหาร ถ้ามาจากตราดคอฟฟีแ่ ละสนามไดร์ฟกอล์ฟ

ส�ำรองที่พักหรือสอบถามเส้นทางติดต่อ

ชมธาร รีสอร์ท

299/1 หมู่ 2 ต�ำบลเนินทราย อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด 23000 โทร 094-935-5499, 099-613-9366 www.facebook.com/Chomtarn


2.indd 999

3/8/2561 9:24:03


บ้านทะเลภู รีสอร์ท... รีสอร์ทสบาย ๆ สไตล์คนรักทะเล

ในย่านอ�ำเภอคลองใหญ่ของจังหวัดตราด เป็นทีร่ จู้ กั ในหมูน่ กั ท่องเทีย่ วว่ามีหาดทรายสวย น�ำ้ ทะเลใส เหมาะ กับการพักผ่อน บ้านทะเลภู รีสอร์ท โรงแรมหรูที่ตั้งอยู่ ริมหาดส่วนตัวในต�ำบลคลองใหญ่ พร้อมจะมอบช่วงเวลา แสนสุขและประทับใจให้กับคุณ บ้านทะเลภู รีสอร์ท พิถีพิถันในการออกแบบให้ บ้านพักแต่ละหลังดูเก๋ไก๋อย่างมีระดับ แวดล้อมด้วย บรรยากาศอันร่มรืน่ เขียวขจี พร้อมสิง่ อ�ำนวยความสะดวก ภายในห้องพักครบครัน และกิจกรรมสันทนาการ อาทิ ชายหาดส่วนตัว, สระว่ายน�ำ้ กลางแจ้ง, สระว่ายน�ำ้ ส�ำหรับ เด็ก เพื่อมอบประสบการณ์การเข้าพักอันสะดวกสบาย แก่แขกผู้มาเยือน พร้อมอิ่มอร่อยกับอาหารทะเลสด ๆ รสชาติเยีย่ ม ในบรรยากาศแบบชายทะเลอย่างแท้จริง ณ เรือนอาหารทะเลภู นอกจากนี้ เรายังให้บริการจัดประชุม สัมมนา และจัดเลีย้ งสังสรรค์ โดยทีมงานมืออาชีพเพือ่ ให้ งานพิเศษของคุณเป็นที่ประทับใจแก่ผู้มาร่วมงาน และทีค่ ณ ุ จะสัมผัสได้จากการเข้าพักหรือใช้บริการที่ บ้านทะเลภู รีสอร์ท ก็คอื รอยยิม้ และมิตรภาพอันอบอุน่ จากเจ้ า หน้ า ที่ ทุ ก คน ที่ ยิ น ดี ต ้ อ นรั บ และพร้ อ มมอบ บริการที่ดีเยี่ยมแก่ทุก ๆ ท่าน

สนใจส�ำรองที่พักติดต่อ

บ้านทะเลภู รีสอร์ท Barn Talaepu Resort

เลขที่ 57/3 ม.5 ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 23110 โทร 039-510-921, 081-902-3042 โทรสาร 039-510 922


รีสอร์ทบนหาดในฝัน สวรรค์ของคนรักทะเล

เกาะช้าง ลากูน พริ้นเซส Koh Chang Lagoon Princess เกาะช้าง ลากูน พริ้นเซส ตั้งอยู่กึ่งกลางหาดทรายขาว ชายหาดที่สวยที่สุดของเกาะช้างและอยู่ห่างจากท่าเรือเฟอรี่ เพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น ที่นี่ท่านจะได้สัมผัสกับหาดทราย ยาวเหยียด เหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน�้ำ และสามารถชมวิว ยอดเขาที่สูงสง่าของหาดทรายขาวได้อีกด้วย เลือกผ่อนคลายในบรรยากาศที่คุณพึงพอใจ เกาะช้าง ลากูน รีสอร์ท ให้บริการห้องพักที่สะอาด ปลอดโปร่ง และ สะดวกสบาย แวดล้อมด้วยธรรมชาติของแมกไม้และสายลม เรามีหอ้ งพักให้ทา่ นเลือกทัง้ แบบห้องเดีย่ วพร้อมระเบียงส่วน ตัวบนอาคารโรงแรม และห้องพักแบบวิลล่าแยกเป็นสัดส่วน ห้องพักทุกแบบมีบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ฟรี พร้อม ที่จอดรถฟรี สัมผัสกลิ่นไอทะเลใกล้แค่เอื้อม เพียงท่านเดินจาก เกาะช้าง ลากูน พริน้ เซส เพียง 2 นาทีเท่านัน้ ท่านจะได้สมั ผัส กับหาดทรายขาว ชายหาดที่สวยที่สุดบนเกาะช้าง

อิ่มอร่อยที่ Lagoon Restaurant ด้วยวัตถุดิบที่เรา บรรจงคัดสรร ผ่านการปรุงอย่างพิถีพิถันด้วยเชฟมืออาชีพ ทั้ ง อาหารไทย อาหารนานาชาติ และอาหารทะเล ในบรรยากาศริมทะเลและในอาคาร พร้อมคอฟฟี่ช็อปให้ บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มนานาชนิดเพื่อความสดชื่น ตลอดวัน ครบครัน ด้านจัดเลี้ยง-สัน ทนาการ เพราะเรามีห้อง ประชุม สัมมนา พร้อมบริการจัดเลี้ยง ที่สามารถรองรับได้ ถึง 200 ท่าน รวมทั้งบริการน�ำเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั้งทางบก และทางน�้ำบนเกาะช้าง สะดวกสบายในการเดินทาง เพราะเราตั้งอยู่ห่างจาก ท่าเรืออ่าวสับปะรด หาดคลองพร้าว และหาดไก่แบ้เพียง 20 นาที และอยู่ห่างจากท่าเรืออ่าวธรรมชาติ 45 นาที เมื่อเดิน ทางโดยรถยนต์


สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งรีสอร์ทหรู บนหาดที่สวยที่สุดบนเกาะช้างได้ที่

เกาะช้าง ลากูน พริ้นเซส

Koh Chang Lagoon Princess

ส�ำรองห้องพักติดต่อ

เกาะช้าง ลากูน พริ้นเซส Koh Chang Lagoon Princess 7/5 หมู่ที่ 4 ถ.หาดทรายขาว ต�ำบลเกาะช้าง อ�ำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 23170 โทร. 0-3955-1201-2 , 081-863-1530 โทรสาร: 0-3955-1203 www.kohchanglagoonprincess.com


Editor’s Talk

ผู บริหาร คณะที่ปรึกษา

จังหวัดตราด

ศ.ดร.กฤช เพิ่มทันจิตต , พลเอกสรชัช วรป ญญา, ดร.นิเวศน กันไทยราษฎร , ดร.ประยุทธ คงเฉลิมวัฒน , ดร.ชาญ ธาระวาส, ดร.สุมิท แช มประสิท, ดร.วัลลภ อารีรบ, ดร.พิชัย ทรัพย เกิด, ดร.ไอศูรย ดีรัตน , ดร.สุเทษณ จันทรุกขา, ดร.อรรถสิทธิ์ ตันติวิรัชกุล

บรรณาธิการอํานวยการ ศุภกิจ ศิลปรังสรรค

บรรณาธิการบริหาร อัคราพงษ ศิลปรังสรรค

บรรณาธิการงานบุคคล

พงษ ศักดิ์ พรณัฐวุฒิกุล, วนัสกฤษณ ศิลปรังสรรค

ฝ ายกฎหมาย

สมคิด หวังเชิดชูวงศ , ทวิช อมรนิมิตร

กองบรรณาธิการ ฝ ายประสานงานโครงการภาครัฐและเอกชน

ฝ ายศิลปกรรม

คณะทีมงาน ถาวร เวปุละ ธนิน ตั้งธํารงจิต

กราฟ กดี ไซน พิมพ พิสุทธิ์ พังจูนันท วรเชษฐ สมประสงค จักรพันธ สิงห ดี

ผู จัดการ ทวัชร ศรีธามาศ

ฝ ายประสานงานข อมูล ผู จัดการ นันท ธนาดา พลพวก

ประสานงาน ศุภญา บุญช วยชีพ นงลักษณ เทียมเกตุทวีโชค นักเขียน ฐิติรัตน สุวรรณโรจน

ผู จัดการ พัชรา คํามี

ช างภาพ ชัยวิชญ แสงใส ปณต ป ติจารุวิศาล กิติวัฒน ทิศมั่ง วิทยา ประเสริฐสังข

ฝ ายการตลาด

การเงิน สุจิตรา แดนแก วนิต ณภัทร ชื่นสกุล ชวัลชา นกขุนทอง

Outsource ณพัชรกัณฑ รัชต เลิศโภคิน

(นายศุภกิจ ศิลปรังสรรค) บรรณาธิการอํานวยการ

ฝ ายบัญชี/การเงิน

ฝ ายประสานงานจังหวัด

จันทิพย กันภัย

ในนามของผู ้ จั ด ทํ า ขอขอบพระคุ ณ นายประเสริ ฐ ลื อ ชาธนานนท์ ท่ า นผู ้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด ตราด ที่ ก รุ ณ า เปิ ดโอกาสให้ ที ม งานได้ ร่ ว มบั น ทึ ก จั ง หวั ด ตราดไว้ และ ขอขอบคุณหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่ร่วมสนับสนุนข้อมู ลและการจัดพิมพ์จนสําเร็จลุล่วงด้วยดี ก่ อ นจากกั น ผมขอกราบเรี ย นว่ า ท่ า นสามารถติ ด ตาม เรื่องราวของจังหวัดต่างๆ ทั่วไทยได้ จากหลากหลายช่ องทาง

ตัดต อวีดีโอ วัชรกรณ พรหมจรรย บัญชี ป ฐมาภรณ แสงบุราณ

กชกร รัฐวร

มี อ าณาเขตด้ า นชายแดน ติดกับราชอาณาจักรกัมพู ชา ทั้งทางบกและทางทะเล ทําให้ เกิดตลาดการค้าชายแดนซึ่ ง มี มู ล ค่ า เพิ่ ม สู ง ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ งทุ ก ปี กระทั่ ง ภาครั ฐ ได้ กํ า หนดให้ อํ า เภอคลองใหญ่ เ ป็ น เขตพั ฒ นาเศรษฐกิ จ พิ เ ศษ นอกจากนี้ จังหวัดตราดยังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง เพราะมี ทั้ ง สถานที่ ท่ อ งเที่ ยวทางประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ ทางวั ฒ นธรรม แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ ข องป่ าเขา นํ้าตก และหมู ่เกาะน้อยใหญ่ 52 เกาะ ที่ดึงดูดชาวไทยและ ชาวต่ า งชาติ ใ ห้ เ ดิ น ทางเข้ า มาท่ อ งเที่ ย วเป็ น จํ า นวนมาก จังหวัดตราดจึงเป็นเสมือนประตูเชื่ อมโยงการค้า การท่องเที่ยว การลงทุน และการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ พร้ อ มทั้ง นํ าไปสู่ ก ารแลกเปลี่ ย นวั ฒ นธรรม และเศรษฐกิ จ กับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคอื่นๆ ด้วย

บริษัท สมาร ท บิซิเนส ไลน จํากัด

9/4-6 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทร. 0-2522-7171 แฟกซ. 0-2971-7747 Facebook : SBL บันทึกประเทศไทย E-mail : sbl2553@gmail.com www.sbl.co.th


Thai food

In trat

“ทุเรียนคุณภาพตราด” ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จ.ตราด ตั้งร้านขายทุเรียนแก่ 100 % ให้กับนักท่องเที่ยว สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค สร้างภาพลักษณ์ทุเรียนตราด ไม่มีทุเรียนด้อยคุณภาพ

AD_Thai food.indd 177

18/8/2561 10:21:06


CONTENTS จั ง หวั ด ตราด I TRAD 2018

3 วัดสลักเพชร 18 ใต้ร่มพระบารมี 22 บันทึกเส้นทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด

“ดร.ประธาน สุรกิจบวร”

32 บันทึกเส้นทาง ผอ.พศจ.ตราด

“นายเกษม สุดดี”

36 บันทึกไทยแลนด์ 4.0 38 บันทึกเส้นทางท่องเที่ยว 58 บันทึกเส้นทางความเป็นมา

ทต.ตะกาง (อ.เมือง)

62 ทต.ตะกาง (อ.เมือง)

62

68 อบต.หนองคันทรง 78 อบต.หนองโสน 84 อบต.อ่าวใหญ่ 88 อบต.ห้วงน�้ำขาว 92 วัดคิรีวิหาร พระอารามหลวง 96 วัดโยธานิมิต

วัดคิรีวิหาร พระอารามหลวง

92

78

อบต.หนองโสน

102 วัดบางปรือ 106 วัดธรรมาภิมุข 110 วัดท่าพริก

บันทึกเส้นทาง รองผู้ว่าราชการ จังหวัดตราด

“ดร.ประธาน สุรกิจบวร”

22

12

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

บันทึกเส้นทางท่องเที่ยว

38


CONTENTS จั ง หวั ด ตราด I TRAD 2018

114 อ�ำเภอบ่อไร่ 116 ทต.หนองบอน 117 ทต.บ่อพลอย 118 อบต.ด่านชุมพล 124 อบต.นนทรีย์ 126 อบต.ช้างทูน 128 วัดเนินตากแดด 132 วัดท่าน�้ำล่าง 136 วัดสลัก(อ.เขาสมิง) 140 วัดห้วงพัฒนา

อ�ำเภอบ่อไร่

142 อบต.แสนตุ้ง

114

124

อบต.นนทรีย์

144 อบต.เทพนิมิต 146 อบต.ท่าโสม 148 ทต.หาดเล็ก (อ.คลองใหญ่) 154 วัดคลองมะนาว 156 อบต.เกาะช้างใต้ (อ.เกาะช้าง)

117

160 วัดสลักเพชร

ทต.บ่อพลอย วัดสลักเพชร

160 132

วัดท่าน�้ำล่าง

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

13


โรงแรมตราดซิตี้

Trat City Hotel...

จุดหมายแรกก่อนเที่ยวหมู่เกาะตราด เชื่ อ ว่ า นั ก ท่ อ งเที่ ย วหลายท่ า นที่ ว างแผนไป พักผ่อนยังหมู่เกาะทะเลตราด มักจะพบปัญหาเรื่องเรือ ข้ามเกาะซึ่งมักจะออกในช่วงเช้าของวัน ท�ำให้บางท่าน ต้องรีบเร่งขับรถออกจาก กทม. เพือ่ ไปให้ทนั เวลานัดหมาย ลงเรือ พลอยให้วนั หยุดพักผ่อนของคุณ ต้องกลายเป็นวัน ที่เคร่งเครียดตั้งแต่เริ่มต้นเดินทาง SBL ขอแนะน� ำ ให้ คุ ณ หาโรงแรมในตั ว เมื อ งพั ก สบาย ๆ ก่อนสัก หนึ่งคื น แล้ วใช้เวลาในเมืองตราด อย่ า งคุ ้ ม ค่ า กั บ ที่ ต ้ อ งขั บ รถมานานถึ ง ห้ า ชั่ ว โมง ด้ ว ย การส� ำ รวจสถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วต่ า ง ๆ หาร้ า นอาหาร และขนมอร่ อ ย ๆ รั บ ประทาน ดู วิ ถี ชี วิ ต ชาวเมื อ ง ตราดในย่านเมืองเก่าที่มีเสน่ห์ และสัม ผัสบรรยากาศ ตลาดเช้ า ที่ คึ ก คั ก ก่ อ นจะเดิ น ทางชิ ล ๆ ไปท่ า เรื อ ในวันรุ่งขึ้น

โรงแรมตราดซิตี้ คือจุดหมายแรกที่เราขอแนะน�ำให้คุณแวะ พักก่อนข้ามเกาะ เพราะเป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดตราด อยู่ ห่างจากเกาะช้าง 31 กิโลเมตร ห่างจากสนามบินตราดเพียง 21 กิโลเมตร และที่ส�ำคัญคือ ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง ในจังหวัดตราด เพียบพร้อมด้วยบริการหลากหลาย ทีน่ เี่ รามีหอ้ งพักให้บริการ ทั้งหมด 71 ห้อง พร้อมบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายฟรีทั่วบริเวณ ทีพ่ กั ส�ำหรับสายสุขภาพมีเฮ เพราะทีน่ มี่ สี ระว่ายน�ำ้ กลางแจ้งและ ฟิตเนสให้บริการแก่ผู้เข้าพักฟรี หรือจะเลือกผ่อนคลายสุด ๆ กับ สปา ทีม่ หี ลากหลายบริการให้เลือกใช้ในราคาทีส่ มั ผัสได้ พิเศษสุด ! บริการให้ยืมรถจักรยานขับขี่ในตัวเมืองฟรีส�ำหรับนักปั่น เพลิดเพลิน กับอาหารรสเยี่ยมเคล้าเสียงเพลงในร้านอาหาร ของโรงแรม หมดกังวล กับเรือ่ งทีจ่ อดรถ เพราะทีจ่ อดรถกว้างขวาง มีระบบ การรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชัว่ โมง พร้อมแผนกต้อนรับส่วน หน้าให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง


ประเภทห้องพัก-อัตราค่าบริการ เรามีห้องพักให้คุณเลือก 4 ประเภท ดังนี้

1. ห้องพัก Superior ทั้งหมด 32 ห้อง ราคา 900 บาท

2. ห้องพัก Deluxe ทั้งหมด 32 ห้อง ราคา 1,200 บาท

3. ห้องพัก Connecting Room ทั้งหมด 3 ชุด (6 ห้อง)

4. ห้อง Junior Suit ทั้งหมด 1 ชุด (ห้องนอนพร้อมห้องรับแขก)

ราคา 2,400 บาท

ราคา 2,500 บาท

พิเศษ ! ห้องพักทุกประเภทรวมบริการอาหารเช้าฟรี ห้องละ 2 ท่าน ส�ำรองห้องพักติดต่อ

โรงแรมตราดซิตี้ Trat City Hotel เลขที่ 411/17 หมู่ที่ 2 ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด จ.ตราด 23000 โทร.039- 510 711-4 E-mail: reservation@tratcityhotel.com www.tratcityhotel.com Line id: tratcityhotel


พาราดิโซ่ บูติค รีสอร์ท

Paradiso Boutique Resort เพราะเราตัง้ อยูใ่ นตัวเมืองตราด เมืองทีม่ เี สน่ห์ อันน่าตื่นตาตื่นใจ เมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งให้คุณไป เยี่ยมชม มีตลาด-ร้านรวงต่าง ๆ ทั้งร้านเก่าแต่เก๋า ในคุณภาพ และร้านที่เปิดใหม่เก๋ไก๋ ชนิดที่ให้คุณ จะไปชิม ช็อป แชะ แชร์ กันได้ไม่เบื่อ พาราดิโซ่ บูตคิ รีสอร์ท เราให้คณ ุ มากกว่าการ พักผ่อน เพราะเราดีไซน์ห้องพักให้คุณได้สัมผัสถึง ความเท่ แต่ให้ความรู้สึกอบอุ่น ชวนทิ้งตัวลงนอน บนเตียงขนาดคิงไซส์ที่ทั้งใหญ่และหนานุ่ม พร้อม สิ่งอ�ำนวยความสะดวกในห้องพัก อาทิ เครื่องปรับ อากาศ ทีวี ตูเ้ ย็นขนาดใหญ่ เครือ่ งท�ำน�ำ้ อุน่ ฟรี WiFi และที่จอดรถเป็นสัดส่วนส�ำหรับแต่ละห้อง


พาราดิโซ่ บูติค รีสอร์ท

คือจุดเริ่มต้น

ทริปท่องเทีย่ วจังหวัดตราด ที่คุณไม่ควรพลาด

ส�ำรองที่พักติดต่อ พาราดิโซ่ บูติค รีสอร์ท Paradiso Boutique Resort 16/19 ม.3 ถ.พัฒนาการ-ปลายคลอง ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด 23000 โทร.039-510698, 098-9099930 Id line : paradisoresort Fanpage : Paradiso Boutique Resort


ใต้ร่มพระบารมี

บ้านเปร็ดใน... ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

คนเราถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศ มีความคิด อันนีไ้ ม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่า ท�ำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คน เราก็อยู่เป็นสุข 18

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

พระราชด� ำ รั ส อั น เกี่ ย วเนื่ อ งกั บ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ซึง่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พระราชทานให้ แก่ปวงชนชาวไทย เนือ่ งในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541 นี้ คือแนวทางส�ำคัญซึง่ ชุมชนแห่งหนึง่ ได้นำ� มาปรับใช้แก้ปญ ั หา ที่เกิดขึ้นจากการจัดสรรทรัพยากรภายในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม จนกลายเป็นชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนที่กล่าวถึงนี้คือ ชุมชนบ้านเปร็ดใน ต�ำบลห้วงน�้ำขาว อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด


จากชุมชนเรียบง่าย กลับกลายเป็นหนี้สิน เมื่อหลายสิบปีก่อน บ้านเปร็ดในเป็นชุมชนที่ชาวไทยเชื้อสายจีน อพยพมาตั้งหลักแหล่งบนเนื้อที่ประมาณ 2,367 ไร่ แต่เดิมชาวบ้านใช้ ชีวติ อย่างเรียบง่ายด้วยการปลูกข้าวไร่เลีย้ งชีพ ต่อมาได้รเิ ริม่ ท�ำสวนผล ไม้และประมง โดยมีทรัพยากรธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านเปร็ด ในและพื้นที่ในจังหวัดตราด ก็คือ ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน ซึ่งมีเนื้อที่ ประมาณ 12,000 ไร่ ประกอบด้วยคลองหลัก 12 คลอง และคลองย่อย จ�ำนวน 6 คลอง ป่าชายเลนผืนนี้เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งผสมพันธุ์ ของกุ้ง หอย ปู ปลา เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น�้ำวัยอ่อน และเป็นแหล่ง อาหารที่ส�ำคัญของชาวบ้านเปร็ดในด้วย ทว่าภายหลังจากปี 2522 ที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการปลูก สวนยาง ท�ำให้ชาวบ้านบางส่วนเปลีย่ นมาถางป่าเพือ่ ปลูกยางเป็นอาชีพ ประกอบกับการเปิดสัมปทานป่าบก ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2484 - 2525 ท�ำให้มี กลุม่ นายทุนลักลอบตัดไม้ในพืน้ ทีป่ า่ ชุมชน และฉกฉวยผลประโยชน์จาก ป่าชายเลน โดยการขุดลอกคลองแบ่งเขตป่าชายเลนเพื่อท�ำบ่อเลี้ยงกุ้ง เมื่อชาวบ้านเห็นเม็ด เงินจ�ำนวนมาก ต่างพากันท�ำนากุ้งเกือบทุก หลังคาเรือน ท�ำให้ระบบนิเวศป่าชายเลนถูกท�ำลายจากสารเคมีตา่ ง ๆ ที่ ใช้ในบ่อเลีย้ งกุง้ และถูกปล่อยลงคลองโดยไม่มกี ารบ�ำบัด ส่งผลให้ตน้ ไม้ ในป่าล้มตายเป็นจ�ำนวนมาก อีกทั้งสัตว์น�้ำที่เคยหาได้ตามธรรมชาติ ก็ร่อยหรอลง ท�ำให้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค สภาพชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวบ้านเปร็ดในนับวันจะย�ำ่ แย่ลงจากการล่มสลายของการท�ำนากุง้ กระทัง่ ในปี พ.ศ. 2534 ชุมชนมีภาวะหนีส้ นิ รวมกันถึง 30 ล้านบาท ไม่ เพียงเท่านั้น หมู่บ้านซึ่งในอดีตใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ถ้อยทีถ้อยอาศัย และมีความสุขตามอัตภาพ กลายเป็นหมูบ่ า้ นทีต่ อ้ งประสบปัญหาความ ยากจน หนี้สินรัดตัว และเกิดความขัดแย้งในชุมชนขึ้น TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

19


ยืนหยัดได้ด้วยหลักธรรม-ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม จังหวัดตราด ได้ เ ล็ ง เห็ น สภาพปัญหา ที่นับวัน จะรุน แรงขึ้น ของชาวบ้านเปร็ด ใน ท่านจึงเป็นตัวกลางเข้ามาแนะน�ำชาวบ้านให้คดิ เป็น ท�ำเป็น แก้ปญ ั หาเป็น โดยให้ ยึ ด หลั ก คุ ณ ธรรม และได้ น ้ อ มน� ำ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ซึง่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ได้พระราชทานไว้ ตั้งแต่ปี 2517 มาเป็นแนวทางในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาหนี้สิน ของชาวบ้าน ด้วยการริเริ่มจัดตั้ง “กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์” ขึ้น ส�ำหรับ เป็นทุนในการด�ำรงชีพและมีการจัดสวัสดิการชีวิตครบวงจร เพื่อมุ่ง ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันดังเช่นอดีต เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองและบริหารตนเองได้ โดยวิธี

20

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

การหมุนเวียนเงินกองทุนภายในกลุ่ม แทนการใช้บริการจากสถาบัน การเงินอื่น อีกทั้งยังสามารถต่อยอดพัฒนางานอื่น ๆ ทั้งด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อันเป็นแบบอย่างที่ดีของการสร้าง ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและจิตใจ หลังจากด�ำเนินกิจกรรมกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์แล้ว พระอาจารย์ สุบิณ ปณีโต มีแนวคิดในการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้ ร่วมกับชุมชนก่อตั้ง “กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูพื้นที่ป่า ผนึกก�ำลังต่อสู้กับผู้ท�ำ สัมปทานป่าชายเลนอย่างผิดกฎหมาย ร่วมกันแก้ไขปัญหาจากการ ท�ำนากุ้ง ปัญหาการลักลอบตัดไม้ จนถึงปัญหาเรืออวนลาก อวนรุน โดยประกอบด้วยสมาชิก 6 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 20 ครัวเรือน แบ่งเขต รับผิดชอบดูแลพื้นที่ป่าชายเลนเป็น 5 โซน โดยสมาชิกแต่ละกลุ่มจะจัด เวรยามผลัดกันออกลาดตระเวนดูแลป่าชายเลน และการลักลอบตัดไม้ นอกจากนี้ชาวบ้านเปร็ดในยังช่วยกันแก้ไขปัญหาน�้ำทะเลกัดเซาะ พื้นที่บริเวณชายฝั่ง โดยการน�ำ “เต๋ายาง” ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มาท�ำเป็นปะการังเทียมเพื่อชะลอความแรงของคลื่นที่กัดเซาะพื้นที่ ชายฝัง่ ตลอดจนได้รว่ มใจกันวางกฎกติกาและมีบทลงโทษผูฝ้ า่ ฝืนอย่าง ชัดเจน เพือ่ ก�ำกับการใช้ทรัพยากรของชุมชนอย่างพอเพียง และเพือ่ การ อนุรักษ์ธรรมชาติให้ยั่งยืน อาทิ การหยุดจับปูในฤดูวางไข่ ดังค�ำขวัญ ที่ใช้ในการรณรงค์ว่า “หยุดจับร้อย คอยจับล้าน” จัดท�ำกฎระเบียบใน การเก็บหาและใช้ประโยชน์จากป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น�้ำ ผึ้ง หิ่งห้อย ฯลฯ ซึ่งกฎกติกาดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะบังคับใช้กับชาวบ้านเปร็ดในเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนจากภายนอกชุมชนด้วย


ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง นอกเหนือจากกิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ชุมชนเปร็ดในยังมีการรวมกลุม่ กันท�ำประโยชน์ตอ่ สาธารณะอีกมากมาย อาทิ ศูนย์สาธิตการตลาดเอนกประสงค์บ้านเปร็ดใน กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร สหกรณ์แปรรูปอาหารบ้านเปร็ดในจ�ำกัด ประปาหมู่บ้าน กลุม่ เยาวชน (ลูกไม้ปา่ เลน) กลุม่ วัฒนธรรมพืน้ บ้าน กลุม่ อาชีพเพาะเลีย้ ง กลุ่ม ผู้เก็บหา (จับปูแสม หาน�้ำผึ้ง ฯลฯ) อาสาสมัครสาธารณสุข กองทุนหมู่บ้าน ผลจากการรวมกลุ่มเพื่อประโยชน์สาธารณะเหล่านี้ ได้ก่อให้เกิด ความรัก ความสมัครสมานสามัคคี ความมีน�้ำจิตมิตรใจดังเช่นที่เคยมี ในอดีตได้หวนกลับมา จึงนับว่าเป็นผลส�ำเร็จของการน้อมน�ำหลักธรรม และแนวพระราชด�ำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการแก้ปัญหา ของชุมชนบ้านเปร็ดใน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยล่มสลาย ให้กลายเป็นชุมชน ที่ ส ามารถยื น หยั ด ด้ ว ยตนเองได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น และยั ง ได้ ก ลายเป็ น ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้บุคคลทั่วไปศึกษา เรียนรู้ และเกิดแรงบันดาลใจในการน�ำไปปรับใช้กบั ตนเองและชุมชนต่อไปอีกด้วย

ขอขอบคุณที่มา โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด โดยมูลนิธิมั่นพัฒนา

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

21


SPECI A L I N TE R V IE W

บันทึกเส้นทางพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด

ผมคาดหวังว่าอนาคต เมืองตราดจะเป็นเมือง Small is Beautiful ที่ใคร ๆ ก็อยากจะมา

22

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


ดร.ประธาน สุรกิจบวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด

“ตราดมีบุคลิกพิเศษ เป็นเมืองที่จิ๋วแต่แจ๋ว” ดร.ประธาน สุรกิจบวร รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดตราด ทีไ่ ด้รบั การ แต่งตัง้ เมือ่ วันที่ 1 ธันวาคม 2557 และจะเกษียณอายุราชการในปี 2561 นี้ ท่านเป็น ผู้ท่ีมีความเชี่ยวชาญด้านงานยุทธศาสตร์ จังหวัด และเป็นมือดีด้านการบริหารชนิดที่หาตัวจับยาก ท่ า นได้ รั บมอบหมายให้ ดู แ ลงานด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลงานที่โดดเด่นมากมาย อาทิ การขับ เคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่อ�ำเภอคลองใหญ่, การเชื่อมเส้นทางการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดกับประเทศ เพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาและเวียดนาม, การส่งเสริมจุดแข็งด้าน การท่องเที่ยวด้วยการระเบิดจากภายในชุมชน, การดูแลวิถี ชีวิตชาวตราดตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงวัยชรา, การสร้างบุคลิก ของคนตราดให้มีความดี ความเก่ง และความกล้า ตลอดจน การเจียระไนเมืองตราด ที่แม้จะจิ๋วแต่แจ๋วนี้ให้เป็น Smart Residence Area ที่จะดึงดูดผู้คนระดับหัวกะทิให้เข้ามาอยู่ อาศัย และสร้างงานสร้างรายได้ให้เกิด ขึ้นในจังหวัดตราด เป็นต้น นิตยสาร SBL บันทึกประเทศไทย มีความภาคภูมใิ จอย่างยิง่ ที่จะน�ำเสนอบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ หลักการบริหาร ราชการ ผลงานที่ฝากไว้ในจังหวัดตราด และความรู้สึกที่มีต่อ ชาวจังหวัดตราด ของ ดร.ประธาน สุรกิจบวร รองผู้ว่าราชการ จังหวัดตราด ดังรายละเอียดต่อไปนี้

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

23


“ผลงานชิ้นโบว์แดง” ก่อนเป็นรอง ผู้ว่าฯตราด

สิ่งที่ผมคิดว่าได้ท�ำให้ชลบุรีโดดเด่นขึ้นมาก็ คือ ถนนหนทางที่ผู้คนเดินทางผ่านไปผ่านมา ทีก่ ล่าวเช่นนีเ้ พราะว่าในขณะนัน้ ผมเป็นหัวหน้า ส�ำนักงานจังหวัดชลบุรี จึงได้ร่วมวางแผนกับ กรมทางหลวง การท่าเรือ การรถไฟ เพื่อยก ระดับถนนมอเตอร์เวย์ ถนน 4 ช่องจราจร เส้นทางต่าง ๆ ล่าสุดมีมอเตอร์เวย์จากพัทยาถึง ระยอง ระบบรางรถไฟรางคู่ รวมถึงความเร็วสูง ด้วยที่เราได้ร่วมกันวางแผนกันมาตั้งแต่รัฐบาล ชุดที่แล้ว ณ ขณะนี้ก็ก�ำลังด�ำเนินการ ส่วนเรื่องของท่าเรือ ต่อไปก็จะย้ายท่าเรือ จากคลองเตยมาอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ที่เป็น หลักในเรือ่ งการส่งออกและน�ำเข้าสินค้า ท�ำเต็ม รูปแบบตามนโยบายรัฐบาล แต่เราต้องท�ำความ เข้าใจกับประชาชน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้า ท�ำได้ จะมีผลกระทบกับหลาย ๆ ฝ่าย ทัง้ พีน่ อ้ ง ประชาชนและชาวประมง เราต้องท�ำความเข้าใจ และต้องดูแลช่วยเหลือเขา

24

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

อี ก เรื่ อ งคื อ การใช้ ส นามบิ น อู ่ ต ะเภาเพื่ อ การพาณิชย์ ณ วันนี้รัฐบาลได้เปิดใช้แล้ว เพื่อ เป็นการเชื่อมสนามบินดอนเมือง สนามบิน สุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา เชื่อมเป็น เส้นเดียวกันเลย สามารถที่จะเลือกลงได้เลย

และมีรถไฟความเร็วสูงเชือ่ มต่อกัน รวมทัง้ จะมี ท่าเรือเพิ่มเติม ซึ่งจริง ๆ มีอยู่แล้วที่ที่จุกเสม็ด อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ ผ มก็ เ ป็ น คนเสนอโครงการ เชื่อมเส้นทางการเดินเรือจากชลบุรีไปที่ชะอ�ำ หรื อ หั ว หิ น ซึ่ ง ทุ ก วั น นี้ ก็ มี ก ารเดิ น เรื อ เส้ น ทางนี้ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว ส่ ว นที่ ต ราดก็ มี ท ่ า เรื อ เอนกประสงค์ที่อ�ำเภอคลองใหญ่ ณ วันนี้ได้ใช้ เป็นเส้นทางการเดินทางแต่ยังใช้ได้ไม่เต็มที่ มี เพียงการเดินเรือมาที่เกาะช้างก่อนในเบื้องแรก ถ้าสามารถเชื่อมต่อเป็นเส้นเดียวกันได้ จังหวัด ตราดเราก็จะได้ประโยชน์จากตรงนี้มาก เหล่านีเ้ ป็นสิง่ ทีผ่ มคิดริเริม่ ตอนอยูช่ ลบุรี ซึง่ เราได้งบประมาณท�ำถนน 4 หมื่นล้านบาท ทุก เส้นทางที่วางไว้เสร็จเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว เส้นไปแหลมฉบัง ระยอง แกลง ตราด มีการ ปรับปรุงถนนยกระดับข้ามแยกต่าง ๆ เกือบ ทุกเส้น เป็นเรื่องที่ท�ำต่อเนื่องจากตอนที่ผมอยู่ ชลบุรี จนย้ายมาเป็นรองผู้ว่าฯอยู่ที่นี่


จากหัวหน้าส�ำนักงานจังหวัด สู่รองผู้ว่าฯ ผมรู้สึกว่าเราต้องท�ำงานให้มากขึ้น เพราะ การเป็นต�ำแหน่งอะไรก็ตาม บทบาทเราจะ เปลี่ยนไป บทบาทหัวหน้าส�ำนักงานจังหวัด ก็จะท�ำหน้าที่เป็นเสนาธิการท่านผู้ว่าฯ ช่วย วางแผนยุทธศาสตร์การท�ำงานต่าง ๆ รองผูว้ า่ ฯ ก็เปรียบเหมือนพระลักษณ์ที่ช่วยพระรามคือ ท่ า นผู ้ ว ่ า ฯ ส่ ว นหั ว หน้ า ส� ำ นั ก งานจั ง หวั ด ก็ เหมือนหนุมาน ที่ช่วยพระลักษณ์และพระราม ท�ำงาน แต่รองผู้ว่าฯ ก็จะช่วยผู้ว่าฯท�ำงาน เพราะจะให้ผวู้ า่ ฯ ท�ำทุกเรือ่ งก็ไม่ได้ ไม่มเี วลาท�ำ ท่านก็จะให้รองผู้ว่าฯช่วยเป็นเรื่อง ๆ ไป ผมมาครั้ ง แรกวั น ที่ 1 ธั นวาคม 2557 สมัยท่านผู้ว่าฯ ณรงค์ ธีรจันทรางกูร ท่าน ก็ม อบงานทางด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม พอเปลี่ ย นผู ้ ว ่ า ฯ ท่ า นก็ ไ ด้ เ พิ่ ม งานด้ า น สิง่ แวดล้อม ในปีที่ 4 ทีผ่ มท�ำงานทีจ่ งั หวัดตราด รวมแล้ ว ก็ มี ง านด้ า นเศรษฐกิ จ ด้ า นสั ง คม และสิง่ แวดล้อม โดยเฉพาะด้านสังคมจะเน้นใน เรื่องของประชาชนโดยตรง

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

25


ยุทธศาสตร์ “พลิกโฉมหน้าจังหวัด ตราด”

ท่านวิบูลย์ สงวนพงศ์ อดีตปลัดกระทรวง มหาดไทย ท่านแต่งตัง้ ให้ผมเป็นรองผูว้ า่ ฯ ชลบุรี หลังจากนั้นนิดเดียวมีนโยบายรัฐบาลเรื่องเขต พั ฒนาเศรษฐกิ จ พิ เ ศษ ที่ อ� ำ เภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด และกับอีกประมาณ 4-5 เมือง ตราดอยู่ในรอบที่หนึ่ง ปรากฏว่าจากตรงนั้น ท่านก็อยากเห็นงานเดินหน้าไปอย่างเข้มแข็ง ท่านก็เปรย ๆ ว่า อยากจะหามือดีดีที่เก่งใน เรือ่ งการบริหารงาน การจัดการเรือ่ งยุทธศาสตร์ ไปช่วยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตราด หวยก็เลย มาออกที่ผม เพราะว่าเราก็มีชื่อเสียงทางด้าน ยุทธศาสตร์ ทั้งจากการท�ำงานที่จังหวัดชลบุรี และที่จังหวัดอื่น ๆ ด้วย อย่างจังหวัดจันทบุรี เคยอยู่เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว เคยอยู่ระยอง แต่เมือ่ 20 ปีทแี่ ล้วส่วนใหญ่จะอยูท่ างภาคเหนือ พอมาอยู่ที่ตราด ผมก็พอจะรู้จักจังหวัด ตราดพอสมควร เพราะว่าเคยเป็นฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการบริหารงานกลุม่ จังหวัดภาคตะวัน ออก ผมก็ดแู ลเรือ่ งงบประมาณของจังหวัดตราด มาก่อน ก็พอจะเห็นภาพรวมว่าตราดคืออะไร เดิมทีตราดเป็นจังหวัดซึ่งเรามองว่าเป็นประตู หลังบ้าน คบค้ากับกัมพูชา มีการค้าชายแดน พอผมมาอยูท่ นี่ ี่ ผมก็เห็นบุคลิกพิเศษของตราด ผมจะเปลี่ยนโฉมหน้าของจังหวัดตราด จากที่ เป็นประตูหลังบ้าน ให้เป็นประตูหน้าบ้าน ผม พูดแบบนี้เลย พูดแทนรัฐบาลเลย ค�ำว่า “บุคลิกพิเศษ” คือ เรามีความเข้มแข็ง

26

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

และมีศักยภาพ เรื่องแรกคือ เกษตร ถ้าเทียบ เคียงกับทางจันทบุรีเราก็ไม่ด้อยกว่าเขา เรามี ทุเรียนมีมังคุดเหมือนกัน เขาจะมีมากกว่าเราก็ คือ จ�ำนวน แต่ของเราเรื่องคุณภาพ ผลไม้เด่น อยูแ่ ล้วคือ สับปะรดตราดสีทอง ทีไ่ ด้ GI (สิง่ บ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์) แล้ว และเรายังมีสิ่งที่เป็นเสน่ห์ นอกจากเรือ่ งของเกษตรคือ เรือ่ งประมง เพราะ เรามีทุกอย่าง ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา และที่เด็ด ๆ คือ กั้งที่ตัวยาวมาก ทั้งหมดที่ผมเอ่ยมานี้จะส่ง ไปทีพ่ ทั ยาหมด ทีช่ ลบุรกี ม็ ารับอาหารทะเลจาก ตราดไป จันทบุรกี ย็ งั มีแต่ไม่มากเหมือนทีต่ ราด สองคือ เรามีเพื่อนบ้านเป็นชาวกัมพูชายาวไป ถึงเวียดนาม เป็นเพือ่ นเราหมดเลย ปริมาณการ ค้าชายแดนเราก็ดีขึ้น เป็น R10 Road of the Paradise รัฐบาลจึงเลือกพืน้ ทีอ่ ำ� เภอคลองใหญ่ เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อหารายได้เข้า ประเทศ และผมมาก็มาช่วยจัดการจนได้มาเป็น รูปธรรม ได้ผู้ที่เข้ามาเช่าพื้นที่ของกรมธนารักษ์ แล้ว คือบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เขาเปิด วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์โดยใช้แนวทางของจังหวัด ตราด เขาใช้คำ� ว่า Golden Gateways คือจะท�ำ เมืองนี้ให้เป็นเมืองที่เป็นจุดแข็ง สามคือ ตราด เป็นเมืองการท่องเที่ยว เราต้องมาส่งเสริมเรื่อง การท่องเที่ยวที่เป็นจุดแข็งของเรา ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้มันจะขับเคลื่อนไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ท�ำตัวเองให้เป็นจังหวัดที่เขาเรียกว่า connectivity จังหวัดทีเ่ ป็น Hub เป็นจุดเชือ่ มโยง กับกัมพูชา 6 เมือง คือ โพธิสัต พระตะบอง เกาะกง พระสีหนุ ก�ำปอตและแกบ เมืองเหล่า

นี้เป็นเพื่อนเราหมด กับ 3 เมืองของเวียดนาม ได้ แ ก่ เมื อ งเกี ย งยาง ก่ า เมา และลองอั น เราจะเป็นพันธมิตรกันในการขับเคลื่อน พอเราเห็นจุดเด่นจุดแข็งแล้ว เราก็พยายาม ช่วยท่านผู้ว่าฯ ท�ำงานเรื่องนี้ เพราะว่าเรามอง ว่าจังหวัดตราดเป็นเมืองเล็ก ๆ ซึ่งก็เล็กจริง ๆ แต่เล็กอย่างสวยงาม Small is beautiful แปลเป็น ไทยก็ “จิว๋ แต่แจ๋ว” และนีเ่ ป็นจุดแข็งของจังหวัด ตราด เมืองเล็ก ๆ แต่มีธรรมชาติที่สวยงาม ผู ้ ค นดี มี น�้ ำ ใจโอบอ้ อ มอารี มี เ มตตาธรรม เมื่อโยงไปถึงวิสัยทัศน์ของเมืองตราด เมืองแห่ง ความสุขสีเขียว The Green City แต่ green อย่างเดียวไม่พอเราต้อง clean ด้วย คือ ต้อง จัดการเรื่องความสะอาดทางกายภาพทั้งหมด ต้องจัดภูมทิ ศั น์ และทีส่ ำ� คัญคือ clean ในใจด้วย ต้องท�ำความสะอาดใจก่อน ใจต้องใสสะอาด ต้องเป็นคนมีธรรมะ เพื่อที่จะต้อนรับลูกค้า ที่ ม าเที่ ย วบ้ า นเรา โดยไม่ เ อาเปรี ย บลู ก ค้ า อีกตัวหนึ่ง คือ keen การตื่นตัว กระตือรือร้น คนตราดจะเป็นคนที่อยู่กับความสุข คนรุ่นเก่า ก็เลยเป็นนักอนุรักษ์ ไม่กระตือรือร้น หันไป ทางไหนก็มีของกิน เขาอยู่แบบพอเพียง แต่ ยุคนี้เป็นยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่ เปลี่ ย นไม่ ก ระตื อ รื อ ร้ น เราจะถู ก คนอื่ น เขา เอาไปหมด คนตราดลุกขึ้นมาท�ำในเรื่องของ กายภาพ connectivity ไปแล้ว โยงไปถึงเกษตร การค้าชายแดนและก็เรือ่ งของอุตสาหกรรม เรา ก็มีเล็กน้อย อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่เป็นที่ ยอมรับของจังหวัดตราด แต่อตุ สาหกรรมแปรรูป เรายินดีต้อนรับ เพราะไม่สร้างมลพิษมาก


สร้ า งบุ ค ลิ ก คนตราด “คนดี คนเก่ ง คนกล้า”

นอกเหนือจากศักยภาพของจังหวัดตราดที่กล่าว ไปข้างต้นแล้ว เราก็มีจุดแข็งในเรื่องสังคม ศาสนา และ วัฒนธรรม จังหวัดตราดมีศาสนาหลัก ๆ ก็คอื ศาสนาพุทธ มีศาสนาอิสลามเป็นจ�ำนวนรองลงมา และก็มีคริสต์ ทั้ง 3 ศาสนาเรานี้อยู่กันอย่างผาสุก ไม่มีข้อเบาะแว้งกัน ศาสนาพุทธเราก็มี 2 ส่วน คือ มหานิกาย และธรรมยุต ไปกันได้อย่างดี มีความผูกพันทีด่ ตี อ่ กัน นีเ่ ป็นจุดแข็งของ จังหวัดตราด ในช่วงที่มาอยู่ตั้งแต่ปีแรกผมตั้งโครงการ ขึ้นมาโครงการหนึ่ง เพื่อรณรงค์เสริมสร้างให้คนตราดมี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง คนตราดไม่ทอดทิ้งกัน คือว่าเราจะต้องร่วมไม้รว่ มมือกันดูแลคนของเราตัง้ แต่อยู่ ในครรภ์มารดาเลย คลอดออกมาเป็นเด็กเล็ก ๆ จะเลีย้ ง ลูกอย่างไรให้มีความเข้มแข็ง แข็งแรงและมีคุณธรรม จน เข้าโรงเรียน เข้าสู่วัยแรงงาน และก็วัยคนชรา ทั้ง 4 ช่วง วัย เรามีแผนก�ำกับไว้หมด แล้วคนตราดในช่วง 4 ช่วงวัยในอนาคตข้างหน้า จะ ต้องเป็นคนที่มีบุคลิก 3 อย่างอยู่ในคน ๆ เดียวกันให้ ได้ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า เป็นคนดีหมายถึง คนที่มีธรรมะ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไรก็ได้ คริสต์ก็ได้ อิสลามก็ได้ ถ้าเป็นคนดีอยูต่ รงไหนก็ดี เมือ่ ดีแล้วต้องเป็น คนเก่งด้วยนะ เก่งก็คอื มีทกั ษะในการเลีย้ งชีพตัวเองให้ได้ พึ่งตัวเองให้ได้ อย่าไปรอคนอื่นมาช่วย เหมือนลูกนกรอ แม่เอาเหยือ่ มาป้อน เราต้องช่วยเหลือตัวเองได้ ประกอบ อาชีพของตัวเองได้ สุดท้ายคือเป็นคนกล้า กล้าคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ กล้าทีจ่ ะไม่ทำ� ความชัว่ กล้าหาญทีจ่ ะยืนหยัด ในสิ่งดี ๆ แม้คนอื่นไม่ชอบ ถ้าเรามี 3 สิ่งอยู่ในตัวคนๆ เดียวกันได้ อะไรจะเกิดขึ้นกับเมืองตราด TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

27


ยกระดับเมืองตราดสู่ “ Smart Residence Area ”

จุดเด่นของจังหวัดตราดที่เราลืมไม่ได้เลย คือ เรื่องของการท่องเที่ยว เพราะจังหวัดตราด เราวาง Positioning ไว้ทกี่ ารท่องเทีย่ ว เราไม่ตอ้ ง ลงทุนมากเพราะเรามีทรัพยากรที่เป็นจุดแข็ง มีอยู่แล้วครบเครื่อง เพียงแต่ว่าการท่องเที่ยวที่ ตราดนี้ยังไม่ถึงกับรุดหน้า เหมือนเป็นเพชรที่ ยังไม่ได้เจียระไน ในส่วนที่เราพยายามผลักดัน ตอนนีค้ อื 1. มาเทีย่ วแล้วต้องเกิดความละเมียด ละไม 2. ผูกพัน มาแล้วต้องมาอีก 3. ยั่งยืน ก�ำลังให้ชุมชนหรือคนในพื้นที่ระเบิดออกมาให้ ได้ ไม่ใช่ว่าให้เราไปนั่งท�ำให้เขาทั้งหมด ท่านผูว้ า่ ฯ ให้ผมท�ำเส้นทางการท่องเทีย่ วไว้ ให้ทั้งหมด 5 เส้นทาง แต่คุณจะต้องระเบิดออก มา 5 เส้นทาง คือเราท�ำโครงสร้างให้ แต่สดุ ท้าย แล้วคุณจะต้องมาชีช้ ะตาชุมชนของคุณเอง ต้อง มานั่งล้อมวงคุยกันว่า ชุมชนเราจะไปอย่างไร ในเรื่องของการท่องเที่ยว แล้วอะไรให้ท�ำ อะไร ไม่ให้ท�ำ ถ้าคุณไม่ท�ำแบบนี้ เดี๋ยวจะมีคนข้าง นอกเขาเข้ามาท�ำ ซึ่งท�ำแล้วคุณจะไม่ถูกใจเขา ภายใน 5 ปีนี้พบแน่ เพราะเมืองตราดจะต้อง เป็นเมืองเอก เป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยว ในชายแดนนีเ้ ลย ไม่ใช่วา่ เราจะเทีย่ วเฉพาะทีเ่ ข้า มาพัทยา มากรุงเทพ ตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว เขาจะมาเทีย่ วเมืองตราด เมืองจันทบุรี เพือ่ ออก ไปเที่ยวกัมพูชา ไปเวียดนาม ขณะเดียวกัน กัมพูชา เวียดนาม ก็เข้ามา เที่ยวบ้านเรา มาเที่ยวจันทบุรี ตราด ระยอง มาพัทยา เขาก็วิ่งไปมาแบบนี้ และเราได้วาง เส้นทางไว้แล้ว เส้นทางทางเรือจะเกิดขึ้นใน อนาคต ก็คือ ท่าเรือคลองใหญ่ เรามีอยู่แล้ว มั น ก็ จ ะเชื่ อ มไปท่ า เรื อ สี ห นุ วิ ล ล์ ข องกั ม พู ช า และฟูก๊วกของเวียดนาม ซึ่งเรามีข้อตกลงกับ เขาแล้วว่า ชาวต่างประเทศที่มาเที่ยวลงเรือที่ ฟูก๊วก สามารถข้ามเรือมาที่คลองใหญ่ และมา เที่ยวเกาะช้าง เกาะกูดได้ ไปจันทบุรี ระยอง และยั ง ไปถึ ง สั ต หี บ เมื อ งชล และต่ อ ไปยั ง ประจวบคีรีขันธ์ก็ได้ เส้นทางนี้ยาวเลย ก็อยู่ใน แนวคิดที่ผมวางไว้ ฉะนัน้ สิง่ ทีเ่ ราต้องท�ำส่วนที่ 1 คือเพิม่ ความ เข้มแข็งให้กับการท่องเที่ยว ตัวส�ำคัญคือชุมชน ต้องระเบิดออกมาให้ได้ ต้องแสดงพลังลุกขึ้น มาท�ำงาน ส่วนที่ 2 ด้วยความที่เมืองตราดเรา

28

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

“ ย ถ้าเราสามารถคุ กันได้ทุกกลุ่ม ทุกเรื่อง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ก็จะทำ� สำ�เร็จไปได้ครึ่งทางแล้ว ”

มีสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นพื้นที่ที่มีความอุดม สมบู ร ณ์ และก็ ส งบเงี ย บ เงี ย บสงบมาก ๆ 2 ทุ่ม 3 ทุ่ม เขาปิดร้านแล้ว พักผ่อน นอนหลับ มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์มีคุณภาพสูง สิ่งที่ ผมหวังและคาดการณ์ไว้ในอนาคตก็คือ คนที่ ประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่เป็นคนเก่ง ๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่กรุงเทพฯ หรือ ประเทศใน AEC ก็ดี จะต้ อ งมาซื้ อ บ้ า น มาซื้ อ คอนโด และก็ ม า ประกอบอาชีพทีน่ เี่ ลย ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้ดจิ ติ อล ใช้เครื่องมือทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวกับไฮเทค ทางการสื่อสาร โดยที่ไม่จ�ำเป็นต้องเปิดหน้า ร้านเลย เดีย่ วนีเ้ ขาท�ำกันทีบ่ า้ น ใช้คอมพิวเตอร์

ตัวเดียว เก่ง ๆ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นแนวคิดนี้ ก็คือ Smart Residence Area จะเกิดขึ้นใน อนาคตที่จังหวัดตราด นี่เป็นสิ่งที่ผมคาดหวัง ว่าเมืองตราดจะเป็นเมืองทีเ่ งียบสงบแต่ทนั สมัย ค�ำว่า Smart ผมท�ำไว้ทพี่ ทั ยา จังหวัดชลบุรี แล้ว คือ Smart City แต่ยงั ไม่เข้มแข็งพอ อนาคต เราอยากจะท�ำ Smart City ที่ตราดเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ Smart แบบที่พัทยานะครับ เราจะเป็น Smart แบบอยูใ่ นมุมสงบอยูก่ บั ป่าชายเลน เพือ่ ให้คนที่มาอยู่เกิดปิ๊งไอเดีย สร้างสรรค์งานได้ และขายงานได้เลย นั่งคิดงานที่จังหวัดตราด แล้วก็เกิดงานขายได้ทั่วโลก


ใช้ “ทฤษฎีดอกไม้ 5 กลีบ” บริหารราชการ

คนที่ท�ำหน้าที่ตรงนี้ ต้องเป็นนักบริหาร จั ด การ ต้ อ งรั บ ใช้ ป ระชาชน ท� ำ งานให้ ประชาชน ผมมีหลักในการบริหารราชการ ข้อที่หนึ่ง คือ ต้องมีจิตส�ำนึกรับผิดชอบ บุคคลที่มีความ คิดแบบนี้ ต้องเป็นคนซื่อสัตย์ ตั้งใจท�ำงานเพื่อ ประชาชน สุจริต ยุตธิ รรม ไม่โกงใคร พร้อมทีจ่ ะ ให้คนอืน่ ตรวจสอบได้ เสียสละทุม่ เทเหมือนกับ พระโพธิสัตว์ จะต้องท�ำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ท�ำงานเพือ่ คลายทุกข์และเพิม่ สุขให้กบั ประชาชน สองคือ หลักการมีสว่ นร่วม ผมใช้หลักการนี้ ในการทีจ่ ะตัดสินใจท�ำอะไร เราจะต้องหารือกับ คน 5 กลุ่ม ตามทฤษฎีดอกไม้ 5 กลีบ ดอกไม้ ที่สวยจะต้องมี 5 กลีบ ผมเลียนแบบดอกไม้ ชนิดหนึ่ง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงปลูก คือ ดอกลีลาวดี พระองค์ทา่ นน�ำมาปลูกทีเ่ กาะสีชงั ดอกลีลาวดี มี 5 กลีบ ก็เปรียบเสมือนมือของ คนเราที่มี 5 นิ้ว ถ้าสามารถรวมพลัง 5 นิ้วได้ จะมีพลังที่มีความเข้มแข็งมาก 5 นิ้ว มีใครบ้าง 1.ภาคราชการ 2.ท้องถิ่น 3.เอกชน 4.ประชาชน และ 5. นักวิชาการ-สือ่ มวลชน ถ้าเราสามารถคุย กันได้ทุกกลุ่ม ทุกเรื่อง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ก็จะสามารถท�ำส�ำเร็จ ไปได้ครึง่ ทางแล้ว พอเราได้ขอ้ ตกลงร่วมกัน เรา ก็มาแบ่งหน้าทีก่ ารท�ำงานทันที เป็นหลักปฏิบตั ิ ที่ยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอก

เดินตามแนวทาง “พระอาจารย์ สุบิน ปณีโต”

ผมมีพระพุทธเจ้าเป็นทีย่ ดึ เหนีย่ วจิตใจและ เป็น Idol ของผม ทั้งในการด�ำเนินชีวิตและการ ท�ำงาน รองลงมาก็คือพระอาจารย์สุบิน ปณีโต ท่านเป็นพระธรรมดารูปหนึ่ง แต่ท่านริเริ่มช่วย เหลือชาวจังหวัดตราดมา 20 กว่าปีท่ีแล้ว ซึ่ง ท่านคาดการณ์แม่นมากว่า คนตราดและคนใน ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ท่าน จึงได้ตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ออมเงินวันละ บาท ท�ำบุญเพื่อช่วยเหลือคนป่วย คนคลอดลูก คนชรา ช่วยเรื่องสวัสดิการทั้งนั้นเลย ณ วันนี้ เงินกองทุนกระจายไปทั่วจังหวัดตราดเกือบ 3 พันล้าน แต่ไม่ได้อยู่ในมือพระอาจารย์นะครับ จะอยู่ในกองทุนและในรูปของคณะกรรมการ ท่านเป็นพระที่ไม่เอายศถาบรรดาศักดิ์ ท่าน ท�ำงานยิ่งกว่านักสังคมสงเคราะห์ เราก็จะเดิน ตามแนวทางของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต

พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ท่านเป็น พระธรรมดารูปหนึ่ง แต่ท่านริเริ่มช่วยเหลือ ชาวจังหวัดตราดมา 20 กว่าปีที่แล้ว

” TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

29


ขอให้คนตราดลุกขึ้นมา เป็นเจ้าบ้าน เป็นเจ้าภาพ ในงานที่เกี่ยวกับ การท่องเที่ยวชุมชน ให้ได้

” “ยิ่งให้ยิ่งได้” คติพจน์ประจ�ำใจ

ผมมีคติพจน์ประจ�ำใจ 5 ข้อด้วยกัน คือ 1. ขยัน 2. อดทน 3. ประหยัด 4. อดออม 5. มีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่น เป็นฐานของพระโพธิสัตว์ เราท�ำงานให้ผู้อื่นจริง ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา

คนตราด “น่ารัก ใจดี ซื่อสัตย์”

สิ่งที่ประทับใจในจังหวัดตราดคือ คนตราด เป็นคนมีน�้ำใจ น่ารัก มีความซื่อสัตย์ และก็ให้ ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เต็มก�ำลัง ถ้าขอร้อง ให้มาช่วย ขอจิตอาสา เขาก็จะมากันเต็มเลย ความประทับใจนีอ้ าจจะต้องลองไปเดินจับจ่าย ใช้สอยที่ตลาด ยิ่งจะประทับใจ เพราะคนตราด ดูเหมือนจะเป็นคนดุ เสียงห้วน ๆ ดุ ๆ เหมือน รองผู้ว่าฯ คนนี้แหละ เสียงดุ ๆ แต่คนตราด จิตใจดี น�้ำใจงามครับ

30

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ฝากไว้ ใ นวาระ “เกษี ย ณอายุ ราชการ”

ผมขอฝากไว้สองส่วน ซึ่งแม้ผมจะถึงวาระ เกษียณราชการไปแล้วก็จะช่วยกันต่อ ส่วนแรก คือ เรือ่ งทีเ่ ราพยายามสร้างคนตราดให้เป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า และเรือ่ งวิถขี องคนตราดไม่ ทอดทิง้ กัน ขอฝากให้ภาคราชการเคลือ่ นไหวต่อ ท�ำอย่างต่อเนือ่ ง เพราะภาคประชาชนของตราด รับหลักการนี้ไปแล้ว ภาคประชาชนเขาก็จะ เคลือ่ นไหวของเขา ถ้าข้าราชการไม่กระเตือ้ งเขา ก็จะมาบอกมากล่าวว่าท�ำให้หน่อยนะ ส่วนที่สองคือ ขอให้คนตราดลุกขึ้นมาเป็น เจ้าบ้าน เป็นเจ้าภาพในงานที่เกี่ยวกับการท่อง เทีย่ วชุมชนให้ได้ คือมานัง่ ล้อมวงคุยกัน ก�ำหนด ทิศทางของเราว่าเราจะมีเป้าหมาย มีวิสัยทัศน์ กันอย่างไร แล้วร่วมกันท�ำทันที เพราะถ้าท่านไม่ ออกมาริเริ่มคิดสิ่งเหล่านี้เอง ไม่ระเบิดออกมา

ไม่ท�ำเอง ท่านจะเสียโอกาส และขอให้ทั้งส่วน ราชการ เอกชน และท้องถิน่ เข้ามาช่วยหนุนด้าน นี้ให้งานเดินไป จะไปหวังพึ่งระบบราชการมาก ไปก็ไม่ทันหรอก ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาชน รับหลักการไปแล้ว เขาต้องร่วมกันท�ำ ร่วมกันขับ เคลื่อนเศรษฐกิจโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึง่ คนทีพ่ ดู เหมือนผมก็ คือ ดร.ชัชชาติ สิทธิพนั ธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่าน คาดการณ์ว่าเมืองตราดควรจะต้องเกิดอย่างนี้ ขึ้นมา ก่อนที่ท่านจะคาดการณ์ ท่านมาเก็บ ข้อมูลก่อน มาขอสัมภาษณ์ผมด้วยว่าเราท�ำ อะไรกัน ตราดมีบุคลิกพิเศษแบบนี้ ดร.ชัชชาติ ก็ปง๊ิ ไอเดียเหมือนกับทีผ่ มพูดตัง้ แต่แรกว่า ตราด มีบคุ ลิกพิเศษ ผมคาดหวังว่าอนาคตเมืองตราด จะเป็นเมืองที่ Small is Beautiful ที่ใคร ๆ ก็อยากจะมา


ประวัติโดยย่อ

ดร.ประธาน สุรกิจบวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด

การศึกษา ปริญญาเอกสาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร ปริญญาโท รัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาตรี รัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนชลราษฎรอ�ำรุง มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพนัสพิทยาคาร การรับราชการ 2557-2561 รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

31


WOR K LI FE

บันทึกเส้นทางพบสำ�นักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด

สำ�นักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด ส� ำ นั ก งานพระพุ ท ธศาสนาจั ง หวั ด ตราด ตั้ ง อยู ่ ที่ อ าคารจวนเรซิ ดั ง กั ม ปอร์ ต ถนนหลั ก เมื อ ง ต� ำ บลบางพระ อ�ำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด โดยได้รบั การอนุญาตให้ ใช้พนื้ ทีจ่ ากธนารักษ์พน้ื ทีต่ ราด และได้รบั การอนุญาตให้ ใช้อาคาร สถานทีจ่ ากกรมศิลปากร เพือ่ เป็นแหล่งเรียนรูข้ องท้องถิน่ และเพือ่ เป็นประโยชน์ตอ่ การส่งเสริมพระพุทธศาสนา ตามหนังสือ กรมศิลปากร ที่ วธ 0439/1222 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2555 ปัจจุบันมีนายเกษม สุดดี ด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด ซึ่งเพิ่งได้รับค�ำสั่ง ให้มาด�ำรงต�ำแหน่งดังกล่าว เมื่อเดือนเมษายน 2561 น�ำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

32

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


บทบาทของพระพุ ท ธศาสนาใน จ.ตราด

จังหวัดตราด ถือเป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วย อาหารทะเล ผลไม้ และแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่แล้ว วัดและประชาชน ล้ ว นแล้ ว มี ค วามเกื้ อ กู ล ผู ก พั น ธ์ กั น มาอย่ า ง ช้านาน วัดเปรียบเสมือนโรงเรียน และศูนย์ รวมจิตใจ ตัวอย่างเช่น โรงเรียนแห่งแรกของ จังหวัดตราด ก็เกิดจากวัดและมีชื่อเสียงเป็น ที่ รู ้ จั ก กั น ดี ใ นนามของ ส� ำ นั ก ท่ า นขรั ว เจ้ ง วัดไผ่ลอ้ ม ซึง่ เป็นส�ำนักสอนหนังสือไทยวัดไผ่ลอ้ ม ทีใ่ ห้การอบรมสัง่ สอนและให้ความรู้ ซึง่ ต่อมาได้ กลายมาเป็นโรงเรียนตราษตระการคุณ โรงเรียน ประจ� ำ จั ง หวั ด ในปั จ จุ บั น จึ ง จะเห็ น ได้ ว ่ า พระสงฆ์และวัดล้วนมีบทบาทในการด�ำเนิน ชีวิตของคนในจังหวัดตราดมาอย่างช้านาน

บทบาทของวัดและพระสงฆ์ทเี่ ห็นได้เด่นชัด อีกหนึ่งประเด็นคือ การก่อตั้งกลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์จังหวัดตราด ซึ่งก่อตั้งโดยพระอาจารย์ สุบนิ ปณีโต (ผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสวัดไผ่ลอ้ ม) โดยใช้ แนวทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาคุณธรรม ในชีวิต บริหารจัดการหนี้ภายในชุมชน ควบคู่ กับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ สร้างอาชีพ และรายได้ที่ยั่งยืนระดับชุมชน ด้วยการน้อมน�ำ แนวพระราชด� ำ ริ ม าปฏิ บั ติ และการบริ ห าร จัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน จนสามารถ แก้ปัญหาหนี้นอกระบบด้วยการบริหารกลุ่ม สัจจะสะสมทรัพย์ ดังนั้น พระสงฆ์ วัดและ ประชาชน ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์เกื้อกูล กั น อย่ า งดี เ สมอมา ในปั จ จุ บั น ก็ ยั ง เป็ น เช่นนั้นอยู่

นโยบายหลักของ พศจ.ตราด

ส�ำหรับการท�ำงานของส�ำนักงานพระพุทธ ศาสนาจังหวัดทุกจังหวัด ต่างได้รับนโยบาย ในการบริหารงานในส่วนภูมิภาค ภายใต้การ ดูแลของส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยมีวสิ ยั ทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์เดียวกัน ในทุก ๆ จังหวัด ซึ่งส�ำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ไม่สังกัดกระทรวง ทบวงใด จัดตัง้ ขึน้ เมือ่ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มี ภ ารกิ จ เกี่ ย วกั บ การด� ำ เนิ น งานสนองงาน คณะสงฆ์และรัฐ โดยการท�ำนุบำ� รุง ส่งเสริมกิจการ พระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์ คุ้มครองและ ส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็น ศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การ สนับสนุนส่งเสริม พัฒนาบุคลากรทางศาสนา

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

33


วิสัยทัศน์ พันธกิจ อ�ำนาจหน้าที่

ส�ำหรับวิสยั ทัศน์ พันธกิจ และอ�ำนาจหน้าที่ ของส� ำ นั ก งานพระพุ ท ธศาสนาจั ง หวั ด ตราด มีดังนี้ “ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด เป็นหน่วยงานทีพ่ ฒ ั นากิจการพระพุทธศาสนา และสนองงานคณะสงฆ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนสามารถน�ำหลักธรรม มาพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน และเกิด สันติสุข” โดยส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด มีอ�ำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1. ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ และรายงานข้ อ มู ล สารสนเทศด้านพระพุทธศาสนา เพื่อก�ำหนด นโยบาย ในระดับจังหวัด รวมทั้งเสนอแนวทาง แก้ไข 2. ติดตามและประเมิน ผลการด�ำเนินงาน ตามนโยบายแผนงาน โครงการของหน่วยงาน ในความดู แ ลของส�ำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัด รวมทัง้ รายงานผลการด�ำเนินงาน ปัญหา และอุ ป สรรคให้ ห น่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งทราบ 3. ส่งเสริม ดูแล รักษา และท�ำนุบ�ำรุง พระพุทธศาสนาและศาสนวัตถุทางพระพุทธ ศาสนา รวมทัง้ ดูแลรักษา และจัดการวัดร้างและ ศาสนสมบัติกลางในจังหวัด 4. ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ วั ด เป็ น ศูนย์กลางการเรียนรู้ และแหล่งภูมิปัญญาของ ชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้มีศูนย์กลางในการจัด กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของจังหวัด 5. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานใน ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและด้านพุทธ ศาสนศึกษา รวมทั้งดูแลและควบคุมมาตรฐาน คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัด ภายในจังหวัด ให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม และพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนา 6. รับสนองงาน ประสานงาน และสนับสนุน กิจการและการบริหารการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนด�ำเนินการตามนโยบาย และมาตรการ ในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา 7. ส่งเสริมและประสานงานการด�ำเนินงาน ในการปฏิบตั ศิ าสนพิธี และกิจกรรมในวันส�ำคัญ ทางพระพุทธศาสนา 8. ปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายในความรั บ ผิ ด ชอบของส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งก�ำหนดให้เป็นอ�ำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการ จังหวัด หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

34

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

9. ปฏิ บั ติ ง านร่ ว มกั บ หรื อ สนั บ สนุ น การ ปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ ได้รับมอบหมาย

ผลการด�ำเนินการที่ภาคภูมิใจ

ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตราด เป็น หน่วยงานส�ำคัญที่ได้รับมอบหมายจากจังหวัด ในการด� ำ เนิ น การก� ำ กั บ ดู แ ลพิ ธี ก ารต่ า ง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ ในการจัดกิจกรรมของ จังหวัดในงานพิธีต่าง ๆ นอกจากนี้ ส� ำ นั ก งานพระพุ ท ธศาสนา จังหวัดตราดเอง ยังมีการด�ำเนินการจัดกิจกรรม ที่ ส ร้ า งและธ� ำ รงรั ก ษาไว้ ซึ่ ง หลั ก ธรรมทาง พระพุทธศาสนา เช่น 1. โครงการท�ำบุญตักบาตรพระสงฆ์ทกุ วันพุธ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว

มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร และสมเด็จ พระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี ารถ ในรัชกาลที่ 9 2. โครงการหนึ่งใจ ... ให้ธรรมะ 3. โครงการสั ป ดาห์ ส ่ ง เสริ ม การเผยแผ่ พระพุ ท ธศาสนาเนื่ อ งในวั น ส� ำ คั ญ ทาง พระพุทธศาสนา 4. โครงการปฏิ บั ติ ธ รรมและครอบครั ว อบอุ่นด้วยพระธรรมเฉลิมพระเกียรติ 5. โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้าน รักษาศีล 5” 6. โครงการเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ และถวายพระพรชัยมงคล แด่สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนารถ ในรัชกาลที่ 9


จากใจ ผอ.พศจ.ตราด เพื่อพระศาสนายั่งยืน

7. โครงการนิเทศติดตาม ก�ำกับคุณภาพ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 8. โครงการนิเ ทศติดตาม ประเมิน ผล เพื่อการประกันคุณภาพแผนกธรรม – บาลี และอื่น ๆ

วัดส�ำคัญในจังหวัดตราด

จังหวัดตราด มีวัดและที่พักสงฆ์ ทั้งหมด 144 วั ด แยกเป็ นวั ด ในสั ง กั ด มหานิ ก าย 130 วัด และสังกัดธรรมยุติกนิกาย 14 วัด โดยมีวดั ทีส่ ำ� คัญและโดดเด่นในแง่ของการท่อง เที่ยวทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ 1. วัดไผ่ล้อม 2. วัดบุปผาราม 3. วัดโยธานิมิต (พระอารามหลวง) 4. วัดท่าโสม

5. วัดคิรีวิหาร (พระอารามหลวง) 6. วัดแหลมมะขาม 7. วัดทุ่งเขา 8. วัดเนินตากแดด 9. วัดสลักเพชร 10. วัดบางปรือ 11. วัดห้วงพัฒนา

พศจ.ตราด แนะน�ำวัดดีเด่น

วัดทุ่งเขา ต�ำบลแสนตุ้ง อ�ำเภอเขาสมิง เป็นวัดที่สังกัดวัดมหานิกาย แต่เป็นวัดในสาย ปฏิบัติ เน้นสมถะ ไม่จับต้องเงินทอง และเป็น วัดตัวอย่างในการบริหารจัดการเรื่องบัญชีรับ จ่ า ยวั ด เป็ นวั ด ที่ มี ล านธรรมที่ เ ป็ น จุ ด ชมวิ ว ที่มองเห็นทัศนียภาพที่สวยงาม สามารถมอง เห็นเกาะช้างได้

ทุกท่านที่เป็นชาวพุท ธล้วนทราบดีอยู่ แล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจ�ำ ชาติไทย ที่มีหลักธรรมค�ำสั่งสอนขององค์ สมเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า เป็ น ที่ ยึ ด มั่ น และศรัทธาของชาวพุทธ ส�ำหรับภาพลักษณ์ ทีแ่ สดงให้เห็นทางข่าวต่าง ๆ ก็มที งั้ ด้านดีและ ด้านไม่ดี ก็ขอให้มงุ่ เน้นในเรือ่ งของหลักธรรม ค� ำ สั่ ง สอนซึ่ ง เป็ น หั ว ใจหลั ก ของพระพุ ท ธ ศาสนา ส่วนสิ่งที่ไม่ดีก็จะได้รับการแก้ไขให้ เป็นไปในแนวทางที่ดีที่ถูกต้องต่อไป แต่ท้าย ที่สุดแล้วผมเชื่อว่า หลักธรรมค�ำสั่งสอนของ พระพุทธศาสนา เป็นหัวใจหลักที่จะธ�ำรงไว้ ด้วยหลักธรรมต่าง ๆ ยังเป็นแนวทางปฏิบัติ ที่จะท�ำให้ทุกคนในชาติไทยหลอมรวมเป็น หนึ่งเดียวกัน ส่ ว นพระสงฆ์ ซึ่ ง เป็ น ผู ้ น� ำ หลั ก ธรรม ค�ำสั่งสอนมาเผยแผ่ น�ำมาประพฤติปฏิบัติ ในสิ่งที่ดีงาม สมควรเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ พุทธศาสนิกชนจะน�ำมาเป็นแบบอย่างในการ ด�ำเนินชีวิต มุ่งเน้นในหลักธรรมค�ำสั่งสอน ไม่มุ่งเน้นในเรื่องของวัตถุจนเกินไป และที่ เราต้องร่วมกันท�ำให้ได้คือ ช่วยกันดูแล และ ส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

35


WO R K LI FE

บันทึกประเทศไทย 4.0

CodingThailand.org

แพลตฟอร์มใหม่ ห้องเรียนออนไลน์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ผนึก ส�ำนักงาน ส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ ดิ จิ ทั ล (depa) หรื อ ดี ป ้ า ส่ ง เสริ ม การสร้ า ง ศั ก ยภาพก� ำ ลั ง คนดิ จิ ทั ล เดิ น หน้ า โครงการ CodingThailand เปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ CodingThailand.org ห้องเรียนออนไลน์ ที่ผสานความบันเทิง เพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้วิทยาการ คอมพิ ว เตอร์ ซึ่ ง เป็ น ทั ก ษะพื้ น ฐานแก่ เ ยาวชนยุ ค ดิ จิ ทั ล ตั้ ง เป้ า CodingThailand.org เข้าถึงเยาวชนไทย 10,000,000 คนทั่ว ประเทศ โครงการ Coding Thailand นับเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางด้าน นโยบาย ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) คิดขึ้นและน�ำ ไปสูก่ ารปฏิบตั ิ ด้วยหลักการส�ำคัญคือ การเปลีย่ นห้องเรียนทีเ่ ราคุน้ เคย กันมาเป็นห้องเรียนบนมือถือ โน้ตบุค ไอแพด โดยได้มอบหมายให้ ส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็น ผู้ด�ำเนินงานโครงการ Coding Thailand โดยพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรูผ้ า่ นระบบออนไลน์ CodingThailand.org เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและ วิทยาการคอมพิวเตอร์ รวมถึงฝึกฝนกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ อันเป็นรากฐานส�ำคัญในการพัฒนาก�ำลังคนด้านดิจทิ ลั เพือ่ เตรียมเข้าสู่ การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างเต็มรูปแบบ

36

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ดร.พิเชษ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (ดีอี) ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจ และสังคม (ดีอี) กล่าวว่า “การส่งเสริมและพัฒนาให้ทรัพยากรบุคคล พร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัลเป็นเรื่องส�ำคัญที่สุด กระทรวงดิจิทัลฯ เชื่อมั่นว่า โครงการ Coding Thailand จะกลายเป็นศูนย์กลางความรู้วิทยาการ คอมพิวเตอร์ของประเทศไทย เยาวชนและประชาชนทุกคนจะมีโอกาส ได้เรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถก้าวทันเทคโนโลยี รู้เท่าทัน และ สร้างสรรค์การใช้เทคโนโลยี ทั้งยังจะเป็นหนึ่งในกลไกส�ำคัญที่จะช่วย ลดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางสังคม การศึกษา และเศรษฐกิจ ด้วยมิตใิ หม่ของ การเรียนรู้ จาก CodingThailand.org ซึง่ จะช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะ พื้นฐานด้านการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และใช้ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะที่จ�ำเป็นในการด�ำเนินชีวิตและในการท�ำงานทุกอาชีพ ทั้งยังสามารถต่อยอดไปถึงการพัฒนาทักษะดิจิทัลในระดับสูงต่อไป”


ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวว่า “โครงการ Coding Thailand เปรียบ เสมือนโลกใหม่ของการศึกษาในยุคดิจิทัล เป็นเครื่องมือส�ำคัญในการ พัฒนาก�ำลังคนและบุคลากรด้านดิจิทัล ซึ่งจะเป็นทรัพยากรส�ำคัญ ส�ำหรับการเป็นประเทศไทย 4.0 ดีป้า พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ออนไลน์ CodingThailand.org โดยบูรณาการความร่วมมือกับ Code.org องค์ ก รไม่ แ สวงหาก� ำ ไร ซึ่ ง เป็ น ศู น ย์ ร วมการเรี ย นรู ้ ด ้ า นวิ ท ยาการ คอมพิวเตอร์ของเยาวชนชั้นน�ำของโลก และหน่วยงานพันธมิตรเอกชน อาทิ ไมโครซอฟท์, ซิสโก้, กูเกิล และ อักษร เอ็ดดูเคชั่น ฯลฯ เพื่อแปล และพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะกับเยาวชนไทยในระดับชั้นต่าง ๆ ทั้งยังสอด แทรกความบันเทิงและความคิดสร้างสรรค์ ที่ช่วยท�ำให้เยาวชนรู้สึกว่า เรื่องของวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโค้ด (coding) นั้นเป็นเรื่อง ใกล้ตวั และสนุกสนาน สอดแทรกความรูไ้ ด้อย่างลงตัว ซึง่ จะท�ำให้สงั คม ไทยมีก�ำลังคนดิจิทัลที่มีความรู้พ้ืนฐานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่ระดับผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็น ทรัพยากรที่ประเทศไทยยังคงขาดแคลนอยู่” สิ่ ง ส� ำ คั ญ ของ CodingThailand คื อ รู ป แบบการเรี ย นรู ้ ผ ่ า น Codingthailand.org จะครอบคลุมทั้งการเรียนรู้แบบทางการและไม่ ทางการ (Formal & Informal Education) โดยเน้นเนื้อหาของบทเรียน ด้าน coding ให้เข้ากับบริบทการศึกษาในชัน้ เรียนระดับต่าง ๆ ควบคูก่ บั กิจกรรมสนุกสนานที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้นอกชั้นเรียน อีกทั้งยัง มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และกิจกรรมเพิ่มเติม ที่มุ่งพัฒนา ทักษะกระบวนการคิด ตลอดจนทักษะวิทยาการคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีดจิ ิทัล รวมถึงต่อยอดการเรียนรูด้ ้าน Coding เพื่อให้เกิดการ สร้างสรรค์นวัตกรรม โดยสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่รูปแบบ Unplug หรือ การเรียนรู้ที่ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเหมาะกับเด็กปฐมวัย การเรียนรู้ ด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม อีกทั้งดีป้า ยังมีแผนการจัดกิจกรรม Thaicode Hour กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ Coding ผ่านแพลตฟอร์ม CodingThailand.org ซึ่งมีต้นแบบมาจาก Hour of Code ที่ประสบ

ความส�ำเร็จมาแล้วทั่วโลก ในการส่งเสริมให้ทุกคนเริ่มต้นการ CODE ได้งา่ ย ๆ ในระยะเวลาเพียง 1 ชัว่ โมงต่อสัปดาห์ ซึง่ เพียงพอต่อการเรียนรู้ วิทยาการคอมพิวเตอร์ได้อย่างสนุกสนานและสร้างสรรค์ เพือ่ ให้เกิดการ เรียนรู้และเข้าใจในวิทยาการคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ตลอดจน พัฒนาไปสู่นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นสื่อการ สอนทีค่ รู อาจารย์ และสถานศึกษา สามารถน�ำไปใช้ในการให้ความรูแ้ ก่ นักเรียนในทุกระดับ ซึ่ง ดีป้า เชื่อว่าแพลตฟอร์ม Codingthailand.org จะสามารถเข้าถึงเยาวชนได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ ภายใน 3 ปีหลังจากการเปิดตัว เมื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ อัตโนมัติจะเข้ามาทดแทนการท�ำงานของมนุษย์ทั่วโลก การส่งเสริม และพัฒนาทักษะการเรียนรูด้ า้ นวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาการ ค�ำนวณ ถือเป็นเรื่องส�ำคัญที่เด็กทุกคนควรได้รับ และไม่ใช่เพียงแค่ “ใช้” เทคโนโลยีดิจิทัลเป็น เท่านั้น แต่ยังสามารถ “สร้างสรรค์” ได้ เพือ่ ให้พร้อมต่อการเปลีย่ นแปลงสูศ่ ตวรรษที่ 21 อีกทัง้ แพลตฟอร์ม Codingthailand.org นี้จะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองในการช่วยรัฐบาลให้ บรรลุเป้าหมายนโยบายไทยแลนด์ 4.0

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

37


T R AV EL

บันทึกเส้นทางท่องเที่ยว

พูดถึงจังหวัดตราด เชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน ต้องนึกถึงภาพของทะเลเกาะช้างและเกาะน้อย ใหญ่ที่ขึ้นชื่อ โดยลืมนึกไปว่าจังหวัดตราดนั้นยัง มีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ อีกมากมาย ให้เราได้ไป สัมผัส เรียนรู้ และหลงใหลไม่แพ้เกาะแก่งที่ว่า โดยเฉพาะในตัวเมืองตราดเอง ก็มีร้านอาหารที่ อร่อยติดลิ้นกินติดใจ ชนิดที่แค่คิดถึง...ก็อยากจะ กลับไปเดินเที่ยวอีกสักครั้ง และตราดก็ดูเหมือน จะเป็นจังหวัดเดียวที่มีธงช้างสีแดงให้เราซื้อเก็บ เป็นที่ระลึกได้ พร้อมแล้วไปเที่ยวตราดด้วยกัน นะคะ

38

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


ตราด...มนต์เสน่ห์แห่ง เมืองชายทะเลตะวันออก

หาดทรายขาว TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

39


รู้ลึกเรื่องเมืองตราด ณ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด

ใครที่มีลูกหลานมาด้วย ไม่ควรพลาดที่จะ พาไปทีพ ่ พ ิ ธิ ภัณฑสถานเมืองตราด เพือ่ ความ เข้าใจในประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรม และวิถชี วี ติ เมืองตราด พิพธิ ภัณฑสถานเมืองตราด ตัง้ อยูใ่ นอาคาร ศาลากลางจังหวัดหลังเดิมที่มีสถาปัตยกรรม แบบอาณานิคม ภายในจัดแสดงนิทรรศการ ถาวรเป็ น หมวดหมู ่ เริ่ ม ปู พื้ น จากลั ก ษณะ ทางกายภาพและมรดกทางวั ฒ นธรรมแห่ ง ตราด เรี ย นรู ้ ชี วิ ต ผู ้ ค นเมื อ งตราดที่ มี ห ลาย กลุ ่ ม ชาติ พั น ธุ ์ ความรู ้ ท างโบราณคดี แ ละ ประวัติศาสตร์เมืองตราดสมัยต่าง ๆ จนถึง

40

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

สมั ย ที่ เ มื อ งตราดตกเป็ น อาณานิ ค มของ ฝรั่งเศส เหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง จนถึง สภาพปัจจุบันของตลาดเมืองตราด เป็นต้น พิพธิ ภัณฑสถานเมืองตราด ตัง้ อยูท่ ถี่ นน สันติสขุ อ�ำเภอเมือง เปิดให้บริการวันอังคารศุกร์ 09.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ 09.30-16.30 น. ส่วนวัน จันทร์ปิดท�ำการนะคะ


จวนเรสิดงั กัมปอร์ต...จากเรือนหอสู่ ออฟฟิศฝรั่งเศส

โบราณสถานอีกแห่งหนึง่ ทีม่ คี วามส�ำคัญใน ฐานะทีเ่ ป็นทีว่ า่ ราชการของข้าหลวงฝรัง่ เศส ใน คราวที่ยึดเมืองตราด ในปี 2447 ก็คือ จวนเรซิ ดัง กัมปอร์ต ซึ่งมีความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 5 นอกเหนื อ จากตั ว อาคารที่ โ ดดเด่ น ด้ ว ย หลังคาทรงปั้นหยาแล้ว ประวัติความเป็นมาก็ น่าสนใจไม่แพ้กัน เนื่องด้วยคุณพระปราณีจีน ประชาซึ่งเป็นปลัดฝ่ายจีนเมืองตราด ได้สร้าง อาคารหลังนี้ขึ้นเพื่อให้เป็นเรือนหอแก่บุตรสาว นาม “คุณสุด” ที่ได้สมรสกับพระยานรเชษฐวุฒิ ไวย เจ้าเมืองตราด ท่านทั้งสองได้อาศัยอยู่ ณ เรือนหอแห่งนี้จวบจนเกษียณอายุราชการ เมื่อ ฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมืองตราด จึงได้ใช้อาคาร นี้เป็นที่ว่าราชการของเรซิดัง กัมปอร์ต ซึ่งเป็น ข้าหลวงของฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสส่งมอบเมือง ตราดให้แก่สยามแล้ว เจ้าเมืองตราดก็เข้าไปใช้ สถานที่แห่งนี้ต่อเนื่องมา และมีอีกหลายหน่วย งานใช้ เ ป็ น ที่ ท� ำ การ ปั จ จุ บั น ที่ ตั้ ง ของส� ำ นั ก พระพุทธศาสนาจังหวัดตราด

จวนเรซิดัง กัมปอร์ต ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอ เมืองฯ จังหวัดตราด เปิดให้เข้าชมวันจันทร์วันศุกร์ เวลา 09.0016.00 น.

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

41


ย้อนอดีตไทยรบฝรั่งเศส ณ อนุสรณ์ สถานยุทธนาวีเกาะช้าง

อาคารรู ป ทรงแปลกตาดู ค ล้ า ยเรื อ ที่ มี อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ตั้งเด่น เป็นสง่าอยูด่ า้ นบนของอาคารนี้ จัดสร้างขึน้ เพือ่ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ร�ำลึกถึงวีรกรรมหาญกล้า ของกองทัพเรือไทย ที่ได้ต่อกรกับกองก�ำลังเรือ ของฝรั่งเศส ณ ทิศใต้ของเกาะช้างเมื่อร้อยกว่า ปีที่แล้ว ที่ นี่ คื อ อนุ ส รณ์ ส ถานยุ ท ธนาวี เ กาะช้ า ง ภายในอาคารมี พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ที่ จั ด แสดงพระ เกียรติประวัติของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวง ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งพระองค์ได้รับการถวาย พระสมัญญาจากกองทัพเรือว่า “พระบิดาแห่ง กองทัพเรือไทย” ไว้อย่างละเอียดและสวยงาม ตลอดจนมีการจ�ำลองภาพเหตุการณ์ยุทธนา วีเกาะช้างในอดีต เมื่อวันที่ 16-17 มกราคม พ.ศ. 2484 ให้ได้ชม ซึง่ เหตุการณ์ครัง้ นัน้ ท�ำให้ ไทยสูญเสียทหารหาญไปถึง 36 นาย นับเป็น วีรกรรมอันหาญกล้าทีเ่ ราลูกหลานชาวไทยควร ทีจ่ ะได้รว่ มกันสรรเสริญคุณงามความดีของท่าน

42

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

เหล่านั้น ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือร่วมกับจังหวัด ตราดได้จัดงานร�ำลึกถึงยุทธนาวีเกาะช้าง ทุก วันที่ 17-21 มกราคมของทุกปี อนุสรณ์สถานยุทธนาวีเกาะช้าง ตั้งอยู่ที่ ถนนสุขาภิบาล 3 ต�ำบลแหลมงอบ อ�ำเภอ แหลมงอบ จังหวัดตราด เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-16.00 น. โทร. 0 3959 7259-60


สักการะ “เสด็จเตี่ย” & ชมตะวันตกน�้ำ ณ แหลมศอก แหลมศอก ไม่ได้มีแต่ทา่ เรือที่จะพานักท่อง เที่ยวไปยังเกาะกูดเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ ให้ดูชมมากกว่าที่คิด เพราะเป็ น ที่ ต้ั ง ของศาลกรมหลวงชุ ม พร เขตอุดมศักดิ์ พระผูท้ รงวางรากฐานและพัฒนา ปรับปรุงกองทัพเรือสยามให้เจริญก้าวหน้าตาม แบบประเทศตะวันตก ทรงได้รับการถวายพระ สมัญญานามว่าเป็น “พระบิดาแห่งกองทัพเรือ

ไทย” หรือที่หลาย ๆ คนเรียกกันติดปากว่า “เสด็จเตี่ย” เหตุที่เรียกเช่นนี้ มีผู้สันนิษฐานว่า มาจากการที่พระองค์ทรงสาธิตการขัดดาดฟ้า เรือให้แก่นักเรียนนายเรือใหม่ โดยตรัสว่า “อ้าย ลูกชาย มานี่เตี่ยจะสอนให้” ด้ ว ยพระปรี ช าสามารถและพระเมตตา ที่ทรงมีต่อทุกผู้คน พระองค์จึงเป็นที่เคารพ เทิดทูนของเหล่าราชนาวีไทยทุกยุคสมัย อีก

ทั้งคนไทยโดยมากก็มีความเชื่อความศรัทธา ว่า หากต้องการให้การค้า การงาน ตลอดจน การเรียนประสบผลส�ำเร็จ ก็มักจะต้องไปขอ พรจากพระองค์ท่านด้วยเช่นกัน ส�ำหรับท่าน ที่มีเวลาเตร็ดเตร่จนถึงช่วงเย็นละก็ จะได้เก็บ ภาพพระอาทิตย์ตกที่สุดแสนจะโรแมนติกเป็น ที่ระลึกถึงแหลมศอกด้วยค่ะ

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

43


อ่าวธรรมชาติ สะพานขาว บ้านทาชมภู

44 SBL 44 บัSBL นทึกประเทศไทย บันทึกประเทศไทย I LAMPHUN I ตราด


TRAT LAMPHUN I SBL IบันSBL ทึกประเทศไทย บันทึกประเทศไทย 45 45


ผจญภั ย ในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ น�้ ำ ตก คลองแก้ว

ผูท้ ชี่ นื่ ชอบการเดินป่าเขาพิชติ น�ำ้ ตก ต้องไม่ พลาดอุทยานแห่งชาตินำ�้ ตกคลองแก้ว อุทยานฯ ที่ยังคงเป็นธรรมชาติตามแบบฉบับป่าดงดิบ ที่ จะปลุกจิตวิญญาณนักผจญภัยให้ลุกโชน เพราะน�ำ้ ตกคลองแก้วในอุทยานฯ มีทงั้ หมด 7 ชัน้ แต่ละชัน้ ต้องเดินและออกแรงปีนป่าย พอ สมควร อีกทั้งเส้นทางเดินมีสภาพเป็นป่าดงดิบ เหมือนได้เดิน ผจญภัยหาขุมทรัพย์ ก่อนที่จะ ได้พบกับสายน�้ำตกที่มีเสน่ห์สวยงามแตกต่าง กันไปในแต่ละชั้น แต่ตลอดเส้นทางเราจะได้ ชื่นชมความงามของดอกไม้ เห็ดแปลก ๆ นก และแมลงต่าง ๆ พอให้หายเหนื่อย น�้ำตกชั้นที่ 1 อยู่ห่างที่ท�ำการอุทยานฯราว 300 เมตร ชัน้ ที่ 2 อยูไ่ ม่ไกลจากชัน้ แรกมากนัก ส่วนชั้นที่ 3 นั้นเราต้องเดินข้ามผ่านสายน�้ำตก ชั้นที่สองราวครึ่งชั่วโมง สายน�้ำจะค่อนข้างไหล เชี่ยวโดยเฉพาะในหน้าฝนต้องระมัดระวังกัน ด้วยนะคะ ส่วนชั้นที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไป ถึงได้ไม่ยากเย็นนักคือ ชั้นที่ 4 ที่มีสายน�้ำตก ไหลลดหลั่นตามโขดหิน และมีจุดชมวิวให้พัก

46

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

สายตา แต่ถ้าใครใจถึงจะเดินให้ครบทั้ง 7 ชั้น ก็ต้องเผื่อเวลาด้วยนะคะ เพราะต้องใช้เวลาไป กลับเกือบทั้งวันเลย และหากเดินเลยจากชั้น ที่ 4 ขึ้นไป จะต้องมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯน�ำทาง ด้วย และทีต่ อ้ งเตรียมใจไปด้วยคือ คุณจะได้พบ กับทากดูดเลือดแน่นอนค่ะ เพราะสภาพผืนป่า นั้นบริสุทธิ์จริง ๆ

ส�ำหรับผู้ที่จะพักแรมในอุทยานฯ สามารถ น�ำเต็นท์ไปกางได้เพราะไม่มีที่พักให้บริการค่ะ มีแค่ร้านค้าสวัสดิการและห้องสุขา โดยติดต่อ สอบถามได้ที่อุทยานแห่งชาติน�้ำตกคลองแก้ว หมู่ที่ 2 ต�ำบลบ่อพลอย อ�ำเภอบ่อไร่ จังหวัด ตราด โทรศัพท์ 0 3952 2039


อุทยานหมูเ่ กาะรัง

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

47


48

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


สัมผัสชีวิตชาวเลพื้นบ้าน ณ บ้านอ่าวช่อ

ณ ปลายสุดทางหลวง 3155 ต�ำบลแหลมศอก อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นที่ตั้งของชุมชนบ้าน อ่าวช่อ หมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้านที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ของจังหวัดตราด ด้วยลักษณะที่ตั้งอันเป็นเวิ้งอ่าวปลอดจากคลื่น ลมทะเล พื้นที่ตามแนวชายฝั่งของอ่าวช่อจึงถูกชาว บ้านจับจองตั้งรกรากเพื่อท�ำประมงหาเลี้ยงชีพ และ ท�ำสวนผลไม้เป็นอาชีพเสริม นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ วิถีชีวิตของชาวเลพื้นบ้านที่เป็นธรรมชาติจริง ๆ จะ ต้องหลงใหลกับเสน่ห์ที่นับวันจะถูกกลุ่มทุนรุกไล่ แทนที่ นอกจากภาพวิถีประมงพื้นบ้านแล้ว การมา เยือนที่นี่ก็ยังเป็นสวรรค์ของคนรักอาหารทะเลสด ๆ รวมไปถึงอาหารทะเลตากแห้ง ที่มีให้เลือกซื้อหาติด ไม้ติดมือด้วย TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

49


พุทธมนฑล

ศาลเจ้าพ่อ หลักเมืองตราด 50

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


บ้านน�้ำเชี่ยว...ชุมชนท่องเที่ยวดีเด่น

บ้านน�ำ้ เชีย่ ว อ�ำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่เลื่องชื่อของจังหวัด ที่มีลักษณะเด่น คือเป็นชุมชนโบราณที่คนไทย และไทยมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และ สงบสุขมากว่า 200 ปีแล้ว ชาวชุมชนน�้ำเชี่ยวตระหนักถึงการอนุรักษ์ ภู มิ ป ั ญ ญา สิ่ ง แวดล้ อ มป่ า ชายเลนและท้ อ ง ทะเล จึงได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อด�ำเนินการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมและท่องเที่ยว ควบคู่กับการรักษา ขนบธรรมเนี ย มประเพณี และมรดกทาง ภูมิปัญญาชาวบ้านของบรรพบุรุษ โดยเฉพาะ การท�ำ “งอบน�้ำเชี่ยว” ที่เป็นเอกลักษณ์ ตลอด จนการแปรรูปอาหารทะเลต่าง ๆ จนได้รับ รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือ Thailand Tourism Awards ประเภทชุมชนดีเด่นด้านการ ท่องเที่ยว ประจ�ำปี 2550 จากการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยอีกด้วย

ส� ำ หรั บ กิ จ กรรมท่ อ งเที่ ยวชุ ม ชนน�้ ำ เชี่ ยว ได้แก่ การเยี่ยมชมมัสยิด 200 ปีที่งดงามเหนือ กาลเวลา การล่องเรือชมป่าชายเลน ดูปูก้าม ดาบ ลิงแสม และนกนานาชนิด ที่สร้างสีสันให้ กับผืนป่า การไดหมึกในภาคค�่ำ การด�ำน�้ำชม ฝูงปลาและชมปะการัง และที่นี่ยังมีเทศกาลตก ปลานานาชาติ และเทศกาลพายเรือด้วยล�ำไม้ไผ่ ทีเ่ ป็นสีสนั ให้กบั การท่องเทีย่ วด้วย ส่วนทีพ่ กั จะ เป็นแบบโฮมสเตย์ที่เรียบง่ายเป็นกันเอง พร้อม อาหารทะเลสด ๆ และอาหารพื้นบ้านรสดีให้ อิ่มอร่อย

บ้ า นน�้ ำ เชี่ ย ว ตั้ ง อยู ่ ที่ อ� ำ เภอแหลมงอบ จังหวัดตราด โดยอยู่ห่างจากอ�ำเภอเมืองไป ตามเส้นทางสาย 3148 ตราด – แหลมงอบ ประมาณ 8 กิโลเมตร

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

51


ศาลเจ้าพ่อเกาะช้าง

52

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


จุดชมวิวไก่แบ้ TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

53


54

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


หาดทรายขาว TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

55


56

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


หาดทรายด�ำ

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

57


TR AV EL

บันทึกความเป็นมา

58

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


ตราด...จากเมืองหน้าด่าน สู่เมืองท่องเที่ยวทางทะเล

จังหวัดตราด เป็นเมืองชายทะเลทีม่ คี วามส�ำคัญต่อความเป็นเอกราชของชาติไทย ถึงสองยุคสมัย แม้วา่ จะไม่มหี ลักฐานปรากฏแน่ชดั ว่าจังหวัดตราดมีประวัตคิ วามเป็น มาอย่างไร แต่ค�ำว่า “ตราด” นี้ สันนิษฐานว่าเรียกตามชื่อของ “ต้นกราด” ต้นไม้ชนิด หนึ่งที่ใช้ท�ำไม้กวาด ซึ่งในสมัยก่อนมีต้นไม้ชนิดนี้ขึ้นอยู่ทั่วไปในเมืองตราด ต่อมาจึง เรียกเพี้ยนเป็นค�ำว่า “ตราด” โดยมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ตามล�ำดับ ดังนี้ สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ไม่ปรากฏชือ่ ของเมืองตราดแต่อย่างใด เพียง แต่มีหลักฐานที่กล่าวถึงว่า “หัวเมืองชายทะเล หรือ บรรดาหัวเมืองชายทะเล” ที่มีฐานะเป็นเมืองตรี ขึ้น ตรงต่อโกษาธิบดี อยูฝ่ า่ ยการต่างประเทศ และการคลัง สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 21332418) ตราดมีชอื่ เดิมเรียกว่า “บ้านบางพระ” มีชยั ภูมิ ส�ำคัญในการเป็นเมืองหน้าด่านชายทะเลรักษาความ มั่นคงและอธิปไตยของประเทศ ต่อมาปรากฏชื่อเป็น เมืองในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172-2199) ในสมั ย อยุ ธ ยาตอนปลาย ตราดนั บ เป็ น เมื อ ง ศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ สินค้าทีส่ ง่ ออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของ ป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครือ่ งเทศต่าง ๆ ล้ ว นมาจากเขตป่ า เขาชายฝั ่ ง ทะเลตะวั น ออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยล�ำเลียงสินค้าผ่านมา ตามแม่น�้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด สมัยกรุงธนบุรี ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะสูญเสียเอกราช ครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมก�ำลัง พลจ� ำ นวนหนึ่ ง ตี ฝ ่ า วงล้ อ มของพม่ า หนี อ อกจาก

กรุงศรีอยุธยา เดินทางไปรวมตัวกันทางทิศตะวัน ออก เพื่อหวังจะกลับมากอบกู้เอกราชคืนในภายหลัง โดยปรากฏในพงศาวดารว่า “ ...หลังจากพระเจ้าตากสินตีเมืองจันทบุรไี ด้แล้ว เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 ปีกุน พ.ศ. 2310 ก็ได้เกลี้ย กล่อมผูค้ นให้กลับคืนมายังภูมลิ ำ� เนาเดิม... ครัน้ เห็น ว่าเมืองจันทบุรเี รียบร้อยอย่างเดิมแล้ว จึงยกกองทัพ เรือไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรก็พากัน เกรงกลัวยอมอ่อนน้อม โดยดี ทั่วทั้งเมือง และขณะ นัน้ มีสำ� เภาจีน มาทอดอยูท่ ปี่ ากน�ำ้ เมืองตราดหลายล�ำ พระเจ้าตากให้ไปเรียกนายเรือมาเฝ้า พวกจีนขัดขืน แล้วกลับยิงเอาข้าหลวง พระเจ้าตากทรงทราบก็ลง เรือที่นั่ง คุมเรือรบลงไปล้อมส�ำเภาไว้ แล้วบอกให้ พวกจีนอ่อนน้อมโดยดี พวกจีนก็หาฟังไม่กลับเอา ปืนใหญ่น้อยระดมยิงรบกันอยู่ครึ่งวัน พระเจ้าตาก ก็ตไี ด้เรือส�ำเภาจีนทัง้ หมด ได้ทรัพย์สงิ่ ของเป็นก�ำลัง การทัพเป็นอันมาก พระเจ้าตากจัดการเมืองตราด เรียบร้อยแล้ว ก็กลับขึ้นมาตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบุรี” พระเจ้าตากสินมหาราชทรงวางแผนปฏิบตั กิ ารรบ ที่เมืองจันทบุรี พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวม เครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา 3 เดือน พร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ที่ ถู ก ทหารพม่ า ยึ ด ไว้ ในที่ สุ ด พระองค์ ไ ด้ ก อบกู ้ กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ส�ำเร็จ TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

59


สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ได้มีการแบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ในพระราชอาณาจักรใหม่ ให้ขึ้นกับฝ่ายต่าง ๆ เมืองตราดถูกก�ำหนดให้ขึ้นกับกรมท่า ในฐานะ ทีเ่ ป็นหัวเมืองฝัง่ ทะเล และเป็นเมืองท่าแห่งหนึง่ ดังเช่นที่เคยเป็นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และใน รัชสมัยนี้เอง องเชียงสือ ผู้ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงชุบ เลีย้ งไว้ ได้คดิ หลบหนีกลับไปประเทศญวน เพือ่ กอบกู้บ้านเมืองในปี พ.ศ. 2328 องเชียงสือได้ หลบหนีมาอยู่ที่เกาะกูด ในเขตเมืองตราด เป็น เวลานานถึง 2 ปี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัว เป็นระยะที่มีราชการทัพกับลาว เขมร และญวน ติดต่อกันยาวนาน เมืองตราดได้เข้า

60

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ร่วมกับราชการทัพมาตลอดเวลาที่มีเหตุการณ์ ครัง้ เมือ่ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ยกทัพมาทาง นครราชสีมา เมือ่ ปี พ.ศ. 2369 นัน้ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการคุมกองทัพเมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองตราด ยกพลหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันออก ห้าพัน ขึ้นไปทางพระตะบองบ้าง เมืองสุรินทร์ บ้าง และเมืองสังขะบ้าง เกณฑ์เขมรป่าดงไป ด้วยห้าพัน ยกทัพไปตีเจ้าราชบุตร ณ เมือง นครจ�ำปาสัก แล้วให้เป็นทัพกระหนาบกองทัพ ฝ่ า ยตะวั น ออก คื อ ทั พ พระยาราชสุ ภ าวดี (สิงห์) ด้วย ในปี พ.ศ. 2376 เกิดจลาจลขึน้ ในเมืองญวน ทางหัวเมืองต่าง ๆ ได้สง่ คนออกไปสืบราชการที่ เมืองญวนและเขมร แล้วแจ้งเข้ามาทางพระนคร โดยกรมการเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ เมืองจันทบุรี และเมืองตราด ได้แต่งขุนหมื่น

กับไพร่ออกไปสืบราชการ นอกจากนั้นยังได้ส่ง พวกจีนที่หนีจากเมืองญวนมาอยู่ที่เมืองตราด และเมืองจันทบุรี เข้ามาในกรุงเทพ ฯ ในครั้งนั้นได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยา พระคลัง และเจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพไป รบญวน ในการนี้ได้เกณฑ์เลกไทยเมืองตราด เมืองจันทบุรี และเมืองเขมร ทีเ่ มืองก�ำปอด และ เมืองป่ายาง รวมห้าพันคน ในการนี้ให้พระยา อภัยโนฤทธิ์ พระยาเพชรบุรี พระยาราชบุรี พระยาระยอง พระยาตราด พระยานครไชยศรี พระยาสมุทรสงคราม เป็นปีกซ้ายปีกขวาของ ทัพหน้า ต่อมาเมือ่ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้เข้าอยูท่ เี่ มืองโจดกแล้วจึงให้พระยา ตราด คุมพลเมืองตราดทัง้ สิน้ ไปตัง้ สิวซ่อมแซม เรือรบเก่าของเขมร และยังมีเรื่องที่พระปลัด เมืองตราดคุมไพร่พลไปรับเรือรบทีพ่ ระยาตราด


ไปตัง้ ซ่อมแซมอยูท่ เี่ มืองก�ำปอด และเมืองกะพง โสมเจ็ดสิบล�ำ คุมไปส่งที่เมืองบันทายมาศ นับ ได้ว่าในราชการที่เกี่ยวกับเขมรและญวน ในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั เมือง ตราดมีบทบาทในการเข้าร่วมรบด้วยทุกครั้ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเกาะกงขึ้น เป็นเมืองใหม่ (เกาะกงเคยเป็นส่วนหนึ่งของ เมืองตราดมาก่อน) แล้วพระราชทานนามว่า เมืองปัจจันตคีรีเขต ซึ่งเป็นเมืองที่มีอาณาเขต ติดต่อกับเขมรและญวน ควบคู่กันกับการตั้ง เมืองบางนางรมย์ เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2398 ในปี พ.ศ. 2422 พระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัด ตัง้ สถานีทหารเรือขึน้ ตามชายฝัง่ ทะเลด้านตะวัน ออก เรียกกันว่า สเตชั่นทหารเรือ เพื่อปราบ ปรามโจรสลัด และการรักษาพระราชอาณาเขต โดยได้จัดตั้งขึ้นที่ชลบุรี บางพระ บางละมุง ระยอง แกลง จันทบุรี ขลุง ตราด เกาะกง และ เกาะเสม็ดนอก ท�ำให้เมืองตราด และเกาะกง เป็นสเตชั่นทหารเรือ เพื่อเป็นด่านป้องกันภัย คุกคามจากฝรั่งเศสและทางทะเล จากการขัดแย้งทางการเมืองระหว่างไทย กับฝรั่งเศส ท�ำให้ไทยต้องยอมรับค�ำขาดของ ฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 โดยฝรั่งเศสได้ยึด เมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน แม้ทางฝ่ายไทยได้ ท�ำตามเงื่อนไขแล้ว ฝรั่งเศสก็ไม่ยังไม่ยอมถอน ทหาร คงยึดเมืองจันทบุรีไว้ถึง 10 ปี ท�ำให้ ต้องมีการตกลงท�ำสัญญาขึ้นใหม่อีก เป็นผลให้ จังหวัดตราด และบรรดาเกาะทัง้ หลายใต้แหลม ลิงลงไป ต้องตกไปเป็นของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2447 ฝรัง่ เศสได้จดั การปกครองโดยแต่งตัง้ เจ้า พนักงานฝรั่งเศส และเขมรมาประจ�ำที่จังหวัด ตราด คือต�ำแหน่งเรสิดงั ต์ (Resident) คล้ายกับ ข้าหลวงก�ำกับราชการ กับผู้ช่วยหรือเลขานุการ ของเรสิ ดั ง ต์ ทั้ ง สองคนนี้ เ ป็ น ชาวฝรั่ ง เศส เรสิดังต์มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาเหนือเจ้า พนักงานฝ่ายทหาร และพลเรือนทั้งสิ้น ตลอด จนมีอ�ำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีความ ด้วย ฝ่ายทหารมีจ�ำนวน 2 กองร้อย กองร้อยที่

1 เป็นทหารเขมรประจ�ำอยู่ภายในเมือง มีนาย ทหารฝรั่งเศสเป็น ผู้บังคับกองร้อย กองร้อยที่ 2 เป็นทหารญวน ประจ�ำอยู่ที่ต�ำบลแหลมงอบ มีนายทหารฝรัง่ เศสเป็นผูบ้ งั คับกองร้อยเช่นกัน มีพนักงานด่านภาษีเป็นชาติฝรั่งเศส ประจ�ำอยู่ ในเมือง 1 คน มีหน้าที่ตรวจตราเก็บภาษีขาเข้า ออกตลอดจนการออกใบอนุญาตจ�ำหน่ายสุรา ยาฝิ่น และมีผู้ช่วยที่เป็นชาติฝรั่งเศส มีหน้าที่ ตรวจสินค้าและจับกุมผู้กระท�ำผิดในด้านภาษี อากรต่าง ๆ อีก 1 คน และมีเจ้าพนักงานที่ท�ำ หน้าทีอ่ นื่ ๆ อีกหน้าทีล่ ะ 1 คน รวมทัง้ หมด 9 คน เจ้าพนักงานฝ่ายเขมรทีอ่ งค์ศรีสวัสดิเ์ จ้ากรุง กัมพูชา จัดส่งมาท�ำหน้าที่ต่าง ๆ อีกจ�ำนวน หนึ่ง ได้แก่ ต�ำแหน่งเจ้าเมือง 1 คน ปลัด 1 คน เจ้าพนักงานชัน้ รองลงมาท�ำหน้าทีค่ ล้ายหัวหน้า ต�ำรวจ เรียกว่า รักษาราษฎร กับมีพลต�ำรวจ เขมรจ�ำนวนหนึ่ง มีหน้าที่ตรวจตราปราบปราม โจรผู้ร้าย ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2449 ได้มีการ ตกลงท�ำสัญญาอีกฉบับหนึ่ง เรียกว่าหนังสือ สัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม กับเปรสิเดนต์ แห่งรีปับลิคฝรั่งเศส ลงนามที่ กรุงเทพฯ มีสาระว่าฝรั่งเศสยอมคืนเมืองตราด ให้ไทย แต่ฝ่ายไทยต้องยอมยกดินแดนเมือง พระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสเป็นการแลกเปลี่ยน ทั้งสามเมือง ดังกล่าวมีดินแดน ประมาณ 50,000 ตาราง กิโลเมตร แลกกับเมืองตราดซึง่ มีพนื้ ทีป่ ระมาณ 2,820 ตารางกิโลเมตร พร้อมทั้งเกาะต่าง ๆ (ยกเว้นเกาะกง หรือเมืองประจันตคีรเี ขตต์ มิได้ คืนให้ไทย) และเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น�้ำ โขงคืนมา การรั บ มอบเมื อ งตราด เกิ ด ขึ้ น เมื่ อวั น ที่ 6 กรกฎาคม 2450 หลังพิธีมอบแล้ว ได้มี พิ ธี ส มโภชเมื อ งตราด โดยตกแต่ ง ประดั บ ประดาสถานที่ราชการ และอัญเชิญพระบรม ฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ขึน้ ประดิษฐานบนศาลากลางจังหวัด นิมนต์พระ สงฆ์ 55 รูป เท่าพระชนมายุของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ มีการเจริญพระพุทธมนต์เย็น โดยมีเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรเี ป็นประธาน ตอน

กลางคื น มี ก ารประดั บ โคมไฟและมี ม หรสพ ฉลอง ตามบ้านเรือนตั้งเครื่องบูชาจุดโคมไฟ รุ่งเช้ามีการตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์ เวลาบ่าย อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ประดิษฐานทีห่ น้า ศาลากลางจังหวัด แล้วพระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค) ข้าหลวงประจ�ำจังหวัดเชิญธง มหาราชขึ้นสู่ยอดเสา ลั่นกลองชัยและประโคม ดนตรี กองทหารยิงสลุต เรือมกุฎราชกุมาร ซึ่งทอดสมออยู่ที่ปากอ่าวยิงสลุต พระสงฆ์สวด ชัยมงคลคาถา บรรดาข้าราชการและประชาชน เปล่งเสียงไชโย 3 ครัง้ เสร็จแล้วเจ้าคณะจังหวัด จันทบุรีอ่านคาถาถวายพระพรชัยมงคล ทาง ฝ่ายราษฎรมีขุนสนิทก�ำนันต�ำบลวังกระแจะ อ่ า นค� ำ ถวายชั ย มงคลในนามประชาชน ค� ำ ถวายชั ย มงคลได้ ส ่ ง ไปทู ล เกล้ า ฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โดยทาง โทรเลข ณ ทวีปยุโรป พระองค์ได้ทรงมีพระราช โทรเลขพระราชทานตอบมีข้อความดังนี้ “ถึงผู้ว่าราชการ และราษฎรเมืองตราด เรามีความจับใจเป็นอย่างยิง่ ในถ้อยค�ำทีเ่ จ้าทัง้ หลายได้กล่าวแสดงความจงรักภักดีต่อตัวเรา เรามีความยินดีที่ได้เมืองตราดกลับคืน และ ขออนุ โ มทนาในการกุ ศ ลที่ เ จ้ า ทั้ ง หลายได้ พร้อมกันจัดท�ำในคราวนี้ การที่เจ้าทั้งหลาย พลัดพรากจากเรานั้น เรามีความเสียดายเป็น อันมาก แต่บัดนี้มีความยินดีนักที่เจ้าทั้งหลาย ได้กลับคืนมาในพระราชอาณาจักรของเรา ซึ่ง เราจะเป็นธุระจัดการทะนุบำ� รุงให้เจ้าทัง้ หลาย ได้รับความสุขส�ำราญต่อไปภายหน้า เราจะได้ มาเมืองตราดเพื่อเยี่ยมราษฎรชาวเมืองตราด ซึ่งเป็นที่ชอบพอและได้เคยพบปะกันมาแต่ ก่อน ๆ นั้นแล้วด้วย” ปัจจุบันชาวจังหวัดตราดจึงได้ถือเอาวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี เป็นวันเอกราชของจังหวัด ตราด และได้มีการจัดงาน “วันตราดร�ำลึก” เพื่อน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงรักษา เมื อ งตราดไว้ ใ ห้ ค งอยู ่ บ นแผ่ น ดิ น ไทย และ จังหวัดตราดในปัจจุบัน ก็ได้กลายเป็นจังหวัด ที่มีเกาะแก่งที่สวยงามจ�ำนวนมาก และเป็นที่ นิยมในหมูน่ กั ท่องเทีย่ วทั้งชาวไทยและต่างชาติ TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย LAMPHUN61I

61


WO R K L I F E

บันทึกเส้นทางพบเทศบาลตำ�บล

เทศบาลตำ�บลตะกาง

นายอภิเดช บุญล้อม นายกเทศมนตรีตำ�บลตะกาง

“ สมบูรณ์แหล่งน�้ำใส ไผ่กอหลวงร้อยปี รสดีเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เล่าขานต�ำนานจระเข้ มนต์เสน่ห์ป่าชายเลน ” คือค�ำขวัญของเทศบาลต�ำบลตะกาง เลขที่ 147 หมูท่ ี่ 2 ต�ำบลตะกาง อ�ำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกห่างจากตัว เมืองตราด ไปตามถนนสายตราด-คลองใหญ่ ประมาณ 18 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมา ตามค�ำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่า ในอดีตมีล�ำคลองไหลผ่าน (ปัจจุบัน คือคลองท่าเลื่อน) คลองนีม้ จี ระเข้อยูช่ กุ ชุมสร้างความเดือดร้อนให้กบั ชาวบ้านเป็นอย่าง มาก จึงได้คิดท�ำเครื่องดักจับจระเข้ขึ้นมา ลักษณะคล้ายเบ็ดตกปลาแต่ มีสามง่าม เรียกว่า “ตะกาง” จึงพากันเรียกบริเวณนี้ติดปากว่า “บ้าน ตะกาง” และต่อมาก็ได้เรียกเป็นชื่อต�ำบลตะกางจนกระทั่งปัจจุบัน เทศบาลต�ำบลตะกาง ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วน ต�ำบลตะกาง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ตามประกาศกระทรวง มหาดไทย

62

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ข้อมูลทั่วไป ต�ำบลตะกางมีเนื้อที่ 49,716.48 ไร่ (79.54 ตร.กม.) สภาพพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบชายเขาเลียบฝั่งทะเล แบ่งพื้นที่ออกเป็น เกษตรกรรม 16,250 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ (ป่าสงวน) 24,375 ไร่ ประเพณีและงานประจ�ำปี ได้แก่ ประเพณีเพลงโหงฟาง ประเพณี สรงน�้ำพระและผู้สูงอายุ และประเพณีข้าวใหม่ไผ่กอหลวง


ไผ่กอหลวง ควรค่าน่าอนุรักษ์ ของดีที่มีเพียงหนึ่งเดียวในต�ำบลตะกาง ไม้ไผ่กอหลวง ถิน่ ก�ำเนิดอยูท่ ตี่ ำ� บลตะกาง อ�ำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ตามข้อมูล หน่วยศิลปากรที่ 5 กรมศิลปากรกล่าวว่า ไม้ไผ่ กอหลวงนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นของหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลที่ 6 เพื่อใช้ท�ำ ผืนระนาด เนื่องจากเป็นไผ่คุณภาพดีเหมาะ ส�ำหรับท�ำผืนระนาด เป็นไม้ไผ่ตงที่มีลักษณะ พิเศษกว่าไผ่ธรรมดา คือ เป็นไม้เนื้อละเอียด

สีผิวออกเหลือง มีร่องเนื้อไม้ลึก เมื่อน�ำมาท�ำ ผืนระนาด จึงมีความสวยงามเสียงดังไพเราะ เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือเป็นสินค้า OTOP พลิว้ ไหวจับใจ ดังกังวานไปไกลกว่าไผ่ชนิดอืน่ และในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เจ้าอยู่หัว มีผู้ท�ำผืนระนาดจากไม้ไผ่กอนี้ขึ้น เม็ ด มะม่ ว งหิ ม พานต์ อ บเกลื อ เป็ น สิ น ค้ า ทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงโปรดฯให้อนุรักษ์ไม้ไผ่ OTOP กอนี้ไว้ให้ดี TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

63


สิ่งแวดล้อมดี ชีวีปลอดโรค บริโภคปลอดภัย เทศบาลต�ำบลตะกาง ได้จัดท�ำโครงการ “สิ่งแวดล้อมดี ชีวีปลอดโรค บริโภคปลอดภัย ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เพือ่ แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย และพฤติกรรมการ ใช้ชีวิตประจ�ำวันของประชาชน จนน�ำไปสู่ “ตะกางโมเดล” ต� ำ บลจั ด การสุ ข ภาพที่ ไ ด้ น้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุลยเดช มาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบตั ิ ดังนี้ 1. โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและ หลอดเลือด สืบเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ไม่เหมาะสมของชาวต�ำบลตะกาง เช่น การ กิ น อาหารไม่ ถู ก ต้ อ งตามหลั ก โภชนาการ อาหารที่ ป นเปื ้ อ นสารเคมี อาหารรสจั ด เทศบาลต�ำบลตะกางจึงมีแนวคิดแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ด้วยการจัดท�ำโครงการปรับเปลี่ยน

64

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

พฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดันโลหิต สูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยให้หมู่ที่ 2 บ้าน หัวหนอง เป็นหมู่บ้านน�ำร่อง จึงเป็นที่มาของ โล่พระราชทานรางวัลชนะเลิศ จากสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพย วรางกูร (ซึ่งขณะนั้นยังทรงด�ำรงพระอิสริยยศ

เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ ราชกุ ม าร) เนื่ อ งในโอกาสประกวดหมู ่ บ ้ า น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด เมื่อปี พ.ศ. 2552 และมีแนวคิดการขยายเครือข่ายหมูบ่ า้ น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ครอบคลุมทั้งต�ำบล


2. โครงการบริหารจัดการขยะในระดับ ครัวเรือนสู่บ้านน่าอยู่อย่างยั่งยืน สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2554 ได้เกิดโรคไข้ เลือดออกระบาดรุนแรงในพื้นที่ต�ำบลตะกาง และจากการเข้ า ไปป้ อ งกั น และควบคุ ม โรค ท�ำให้ทราบถึงปัญหาแหล่งก�ำเนิดของลูกน�้ำ ยุงลายทีค่ าดไม่ถงึ ซึง่ เกิดจากเศษขยะรอบบ้าน เช่น ฝาขวดน�้ำ ถุงพลาสติก แก้วน�้ำ เศษเสื่อ น�้ำมัน ที่ทิ้งไว้จนเกิดน�้ำขัง เป็นต้น เทศบาล ต� ำ บลตะกาง จึ ง ได้ จั ด ท� ำ โครงการก� ำ จั ด ขยะระดั บ ครั ว เรื อ นสู ่ บ ้ า นน่ า อยู ่ รุ ่ น ที่ 1 ในปี พ.ศ.2556 เพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย และพฤติ ก รรมการใช้ ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของ ประชาชน โดยมีผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน 62 ครัวเรือน ทต.ตะกางได้ด�ำเนินการในสองรูปแบบ คื อ การจั ด การขยะมู ล ฝอยในครั ว เรื อ น เริ่ ม จากการจั ด อบรมให้ ค วามรู ้ เ รื่ อ งการ คัดแยกขยะ การใช้อุปกรณ์ก�ำจัดขยะ การเก็บ ขยะในพืน้ ทีส่ าธารณะ และการฝึกคัดแยกขยะ ให้ถกู ต้อง การน�ำเศษอาหารมาท�ำเป็นปุย๋ หมัก การจัดการขยะเปียก ฯลฯ การจัดการขยะ มูลฝอยระดับชุมชน ได้แก่ มีลังคัดแยกขยะ, การแยกขยะอย่างถูกวิธ,ี ถังหมัก, ถุงพลาสติก

และขยะพิษแลกแต้ม, กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ จากของเหลือใช้, กิจกรรมทอดผ้าป่าขยะ, กิจกรรมบูรณาการจัดการขยะชุมชน บวร = บ้าน วัด โรงเรียน, มูลฝอยติดเชื้อและกาก อุตสาหกรรมได้รับก�ำจัดอย่างถูกวิธี และ กิ จ กรรมมอบประกาศและธงให้ กั บ ชุ ม ชน และครั ว เรื อ นที่ ผ ่ า นการคั ด เลื อ ก เป็ น ต้ น ซึง่ ได้ดำ� เนินการต่อเนือ่ งทุกปี ภายใต้หลักการ มีส่วนร่วมของประชาชน อาทิ การประชุม สร้างความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นของ

ประชาชนในการด�ำเนินการจัดการขยะ มุง่ เน้น ให้ชุมชนสร้างระบบการจัดการขยะ และสร้าง รายได้จากการขายขยะ อีกทั้งยังมีการลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่อง การคัดแยก ขยะและลดปัญหาขยะในต�ำบลตะกาง ระหว่าง “เทศบาลต�ำบลตะกาง กับผู้น�ำชุมชน/ผู้น�ำ หมู่บ้านต�ำบลตะกาง/หน่วยงานราชการใน พืน้ ที”่ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วม โครงการธรรมนูญสุขภาพ ตามเทศบัญญัตเิ รือ่ ง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เป็นต้น

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

65


แหล่งท่องเที่ยว-ศึกษาเรียนรู้ 1. ศูนย์การเรียนรูต้ ำ� บลสุขภาวะดีวถิ ไี ทย ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สืบเนื่องจากโครงการบริหารจัดการขยะ มูลฝอย ทีม่ กี จิ กรรมการคัดแยกขยะเปียก เช่น เศษผัก ผลไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ฯลฯ แล้วมาท�ำเป็น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน�้ำ เพื่อใช้ในการปลูกพืชผักสวน ครัว ไว้บริโภคในชุมชน สามารถลดการใช้สาร เคมี ซึ่งเป็นสาเหตุท�ำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็ง โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคภูมแิ พ้ ฯลฯ เทศบาลต�ำบลตะกาง จึงได้จัดเป็นศูนย์ การเรี ย นรู ้ ต� ำ บลสุ ข ภาวะดี วิ ถี ไ ทย ตาม แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็น สถานที่ศึกษา เรียนรู้ ดูงาน ให้แก่ประชาชน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในเรื่องของการมีส่วน ร่ ว มในการจั ด การขยะตั้ ง แต่ ต ้ น ทาง การ คั ด แยกเพื่ อ น� ำ ไปขาย ท� ำ ปุ ๋ ย หรื อ รอก� ำ จั ด การสร้างระบบจัดการขยะด้วยตนเองได้จน เกิดนวัตกรรมชุมชน การปลูกผักกางมุ้งปลอด สารพิษ การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงไส้เดือน ฯลฯ จากผลงานอั น เป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ชั ด คื อ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีปลอดโรค บริโภคปลอดภัย เทศบาลต�ำบลตะกาง จึงได้เป็นตัวแทนของ จั ง หวั ด ตราด เพื่ อ ไปจั ด นิ ท รรศการสั ญ จร เฉลิ ม พระเกี ย รติ “บั ว บาทยาตรา” ชุ ม ชน ต้ น แบบแห่ ง ความดี เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราช สมบัติครบ 70 ปี และเผยแพร่การทรงงาน ณ พระราชนิ เ วศน์ ม ฤคทายวั น อ� ำ เภอชะอ� ำ จังหวัดเพชรบุรี

66

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

2. ชมความมหัศจรรย์ของ “ป่าเดินได้” ต� ำ บลตะกางมี พื้ น ที่ บ ริ เ วณหาดเลนงอก ป่ า ท้ อ งอ่ า วต� ำ บลตะกาง ระยะทางยาว ประมาณ 2,000 เมตร บริเวณหาดเลนนี้จะ มีสังคมพืชบริเวณชายฝั่ง ที่สามารถงอกราก ได้รวดเร็วเพื่อท�ำหน้าที่ช่วยพยุงล�ำต้น และ ท� ำ การยึ ด ตั ว เองกั บ ดิ น เลน ซึ่ ง รากเหล่ า นี้ จะช่วยชะลอการไหลของกระแสน�้ำ ดักเก็บ ตะกอนช่วยให้ดินเลนมีความหนาแน่นมาก ขึ้ น และท� ำ ให้ พั น ธุ ์ ไ ม้ ป ่ า ชายเลนชนิ ด อื่ น สามารถเข้ามาเจริญเติบโตในระยะต่อไปได้ โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อระหว่าง zone จะพบ การปะปนของพันธุไ์ ม้ทอี่ ยูด่ า้ นบนแทรกขึน้ อยู่ ด้วยกัน เช่น สังคมไม้เบิกน�ำด้านในจะพบว่า

มีไม้โกงกางใบใหญ่ขึ้นปนอยู่ ด้านหลังสังคม ไม้ โ กงกางใบใหญ่ ก็ จ ะพบไม้ แ สมด� ำ และ โกงกางใบเล็ก เป็นต้น กลไกเหล่านี้ท�ำให้หมู่ ไม้ชายเลนสามารถคืบคลานลงสู่ท้องทะเลได้ อย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า “ป่าเดินได้” ปัจจุบันกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ต�ำบลตะกาง ได้ร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนา “ป่าเดินได้” ของต�ำบลตะกางให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชนและ ประชาชนในต�ำบล และผู้ที่สนใจได้เยี่ยมชม ด้วยการล่องเรือชมธรรมชาติ ท�ำกิจกรรมปัก แนวไม้ไผ่กันคลื่นลม และปลูกพันธุ์ไม้ป่าชาย เลน เป็นต้น


3. อ่างเก็บน�ำ้ สระฆ้อ อูน่ ำ�้ ส�ำคัญของชาว ตะกาง เนื่องจากในต�ำบลตะกางมีพื้นที่ป่าต้นน�้ำ และพื้นที่ป่าเทือกเขาบรรทัด อันเป็นแหล่ง ก�ำเนิดต้นน�ำ้ ล�ำธารและแหล่งน�ำ้ ตามธรรมชาติ อาทิ คลองหินบุ้ม โป่งน�้ำเป็น คลองเจ๊กหลา คลองเสาธง (ซึง่ เกิดจากการไหลมารวมกันของ รางกระทะคว�่ ำ น�้ ำ แห้ ง และรางกระทะคว�่ ำ น�้ำเป็น ซึ่งเป็นพื้นที่สร้างฝายชะลอน�้ำ ตาม โครงการ “แปดสิบพรรษา แปดสิบพันฝาย”) เมื่อคลองเสาธงและคลองเจ๊กหลาไหลลงมา ร่วมกันแล้วไหลลงมารวมกับคลองทับตาพง ก่อนทีจ่ ะไหลลงอ่างเก็บน�ำ้ สระค้อ อันเป็นอูน่ ำ�้ ของชาวต�ำบลตะกาง และเป็นสถานทีพ่ กั ผ่อน หย่อนใจเพราะมีทัศนียภาพที่สวยงาม 4. ป่าชุมชนบ้านด่านเนินสูง หมู่ที่ 6 ต�ำบลตะกาง ป่าชุมชนบ้านด่านเนินสูง มีเนื้อที่สามร้อย กว่าไร่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าหิน เพิงทึบ-ทิวเขาบรรทัด ซึง่ มีสตั ว์ปา่ หายากอย่าง นกเงือก สมุนไพร ไม้ตะพงใหญ่สูง 34 เมตร ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจอย่างไม้พยูง และพบ ก้ อ นหิ น ใหญ่ ที่ มี ค วามแปลกประหลาดน่ า ศึกษาค้นคว้า เพราะมีขนาดวัดโดยรอบถึง 7.5 เมตร สูงจากพื้น 1.30 เมตร และมีรอยเท้า สัตว์โบราณเต็มก้อนหิน

ปัจจุบนั ชาวบ้าน ด่านเนินสูงได้รวม ตั ว กั น อ นุ รั ก ษ ์ ปกป้ อ งผื น ป่ า แห่ ง นี้ ไ ว้ เพื่ อ ให้ เ ป็ น มรดกแก่ ลู ก หลาน และเป็นสถาน ที่ ศึ ก ษ า เ รี ย น รู ้ สภาพธรรมชาติ โดยได้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ ประเภทเครือข่ายดีเด่น จาทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม จังหวัดตราด ประจ�ำปี 2558 5. แหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา วั ด ตะกาง ศาลเจ้ า พ่ อ เกาะคอแลน ศาลเจ้าพ่อเกาะกลาง

ติดต่อเทศบาลต�ำบลตะกาง โทรศัพท์ 039-517136 โทรสาร 039-517137 E-mail : takang1@hotmail.com เว็บไซต์ www.takanglocal.go.th

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

67


WOR K LI FE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

องค์การบริหารส่วนตำ�บล หนองคันทรง

องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลหนองคั น ทรง อ�ำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

กว่า 200 ปี ส่วนชื่อหมู่บ้านหนองคันทรงนั้น สันนิษฐานว่ามีที่มา 2 ทางคือ 1. ตั้งชื่อตาม พันธุ์ไม้ และลักษณะของพื้นที่ที่มีแหล่งน�้ำ โดย สันนิษฐานว่าเดิมหมู่บ้านนี้มีหนองน�้ำใหญ่อยู่ กลางหมู่บ้านและบริเวณรอบ ๆ หนองน�้ำมีต้น คันทรงขึ้นชุกชุม 2. เดิมชื่อบ้านหนองคันทรง สั น นิ ษ ฐานว่ า ในเดื อ นเมษายน ช่ ว งประเพณี สงกรานต์ในหมู่บ้านจะมีการท�ำพิธีเข้าทรงเพื่อ บูชาผีต่าง ๆ ระลึกถึงบุญคุณของผีที่เกี่ยวข้องกับ การท�ำมาหากิน เช่น ผีลอบ (เครือ่ งมือจับสัตว์นำ�้ ) ผี ก ระด้ ง ผี แ มว เป็ น ต้ น โดยจะท� ำ พิ ธี เ ชิ ญ แม่ศรีเป็นการท�ำขวัญ นอกจากนี้ยังมีการท�ำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้ผีไม่มีญาติ ท�ำบุญตามศาลเจ้า/ บุญส่งเรือ

ประวัติต�ำบลหนองคันทรง ต�ำบลหนองคันทรงนั้นมีประวัติเล่าสืบต่อกัน มาว่า มีประชาชนมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้นาน

ประวัติ อบต.หนองคันทรง องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลหนองคั น ทรง ได้ยกฐานะจากสภาต�ำบลหนองคันทรง เมื่อปี

นายสุมล เง็กลี้ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองคันทรง

68

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

พ.ศ. 2540 ปัจจุบันจัดเป็น อบต. ขนาดกลาง มี รายได้รวมเงินอุดหนุนประมาณ 27 ล้านบาท/ปี ในหน่วยงานมีข้าราชการ 15 คน พนักงานจ้าง ตามภารกิจ 13 คน และพนักงานจ้างทัว่ ไป 8 คน ข้อมูลทั่วไป ต�ำบลหนองคันทรง มีพื้นที่ประมาณ 27.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,187 ไร่ สภาพพืน้ ทีเ่ ป็น ที่ราบลุ่ม พื้นที่บางส่วนติดชายฝั่งทะเล แบ่งเป็น พื้นที่ท�ำการเกษตร 16,562 ไร่ พื้นที่ป่าชายเลน ประมาณ 5,625 ไร่ การปกครอง / ประชากร ต�ำบลหนองคันทรง ประกอบด้วย 5 หมูบ่ า้ นคือ หมูท่ ี่ 1 บ้านแหลมหิน หมู่ที่ 2 บ้านท่าระแนะ หมู่ที่ 3 บ้านหนองคันทรง ล่าง หมู่ที่ 4 บ้านหนองคันทรง และ หมู่ที่ 5 บ้านแหลมส�ำโรง มีประชากรรวมจ�ำนวน 4,553 คน แยกเป็ น ชาย 2,220 คน หญิ ง 2,333 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2561)


ค�ำขวัญต�ำบลหนองคันทรง

เด่นภูมิปัญญา อาหารต้องห้ามพลาด แดนประวัติศาสตร์ ธรรมชาติป่าชายเลน มนต์เสน่ห์เกาะปู

ต้นไม้ประจ�ำต�ำบล ต้นคันทรง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลือ้ ยเนือ้ แข็ง ขนาดใหญ่ ล�ำต้นขึ้นใหม่เป็นพุ่ม มักเลื้อยพาด พันไปตามต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 15-20 เมตร ขึ้นได้ในที่ราบสูงทั่วไป ชอบดิน ค่อนข้างชื้นและดินอุดมสมบูรณ์พอเหมาะ อุ้ม น�้ำได้ดีชอบแสงแดดร�ำไร ใบอ่อนหรือยอดอ่อน ใช้รับประทาน เป็น ผักสดจิ้มกับน�้ำพริกรวมกับผักอื่น ๆ โดยจะมี รสฝาดมัน ใบแก่ ใช้ท�ำเครื่องจักสาน เช่น หมวกใบ คันทรง มุงหลังคา เครื่องใช้สอย ใช้ต้มน�้ำอาบ รักษาผื่นคันตามผิวหนัง และโรคสะเก็ดเงิน ล�ำต้น ใช้ท�ำโครงเครื่องจักสาน เครื่องมือ ท�ำการประมง เช่น ลอบดักปู ดักปลา ราก ต้นรักษาโรคบิด ไข้จับสั่น

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

69


1 ติดต่อสอบถาม โทร 0-3951-0604 อบต.หนองคันทรง

70

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


9 สิง่ มหัศจรรย์ ของดีตำ� บลหนองคันทรง

1

มหัศจรรย์ป่าชายเลน บ้านท่าระแนะ

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่า ชายเลนที่ ส มบู ร ณ์ ที่ สุ ด ในประเทศ ระยะ 560 เมตร ศูนย์กลางการเรียน รูด้ า้ นทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรทาง ทะเลและเรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ประมงชายฝัง่ ของต�ำบลหนองคันทรง

2

มหัศจรรย์ลานตะบูน ท่าระแนะ พื้ น ที่ ป ่ า ชายเลนดึ ก ด� ำ บรรพ์ ที่ต้องล่องเรือผ่านเข้าไปใน 3 ป่า จึงจะได้พบกับมิติแห่งความงดงาม ของรากไม้ ต ้ น ตะบู น จ� ำ นวนมาก ที่สานกันเป็นเกลียวแผ่ขยายตัวอยู่ บนหน้าดินเป็นวงกว้างหลายไร่

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

71


3 มหัศจรรย์แหล่ง ประวัติศาสตร์

บ้ า นเจ้ า จอมมารดา จันทร์และ ร่องรางปืนใหญ่ สมั ย รั ช กาลที่ 3 แห่ ง กรุงรัตนโกสินทร์

4

มหัศจรรย์อาหาร ประจ�ำต�ำบลหนอง คันทรง

แกงคั่ ว หอยเกลี ย ว จั น รอน แกงหอยพอกใบชะพลู ปลากระบอก อ่าวแหลมหินต้มส้ม

72

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


5

มหัศจรรย์ กระโจมไฟเกาะปู

เป็นจุดชมวิวในต�ำบล หนองคันทรงกับทะเลอ่าว ตราด และทิวเขาบรรทัด รายล้อมด้วยพรรณไม้ป่า ชายเลนสุดคลาสสิค โดย เฉพาะต้นล�ำแพน 200 ปี

6

มหัศจรรย์งาน มหกรรม อาหารทะเลพื้น บ้านเมืองตราด

จั ด ช่ ว งสั ป ดาห์ สุ ด ท้ า ยของ เดือนกุมภาพันธ์ ณ บริเวณ กระโจมไฟเกาะปู บ้านแหลม หิ น ต� ำ บลหนองคั น ทรง อ� ำ เภอเมื อ งตราด จั ง หวั ด ตราด

ชมทัศนียภาพริมทะเลบริเวณกระโจมไฟเกาะปู รับประทานอาหารทะเลพืน้ บ้านนานาชนิด สดๆ จากฝีมอื แม่ครัวพืน้ บ้านด้วยราคาถูกสุดๆ บรรยากาศริมทะเลห้อมล้อมด้วยป่าชายเลน ซื้อของฝากและของที่ระลึกราคาย่อมเยา สนุกกับวงดนตรีและแด๊นเซอร์สาวสวยในภาคกลางคืน TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

73


7

มหัศจรรย์ เหยี่ยวแดงคอขาว

ชมฝูงนักล่าที่ขึ้นชื่อว่าสายตา ดีที่สุดกับจ�ำนวนเหยี่ยวนับร้อยตัว ที่บินโฉบเหยื่อให้ได้ชมกันสะดวก สบายทุกเวลาเที่ยงวัน ณ ร้านคน พลัดถิ่น ต�ำบลหนองคันทรง

8 9

พื้ น ที่ ต� ำ บลหนองคั น ทรงสั น นิ ษ ฐานว่ า ในอดีตเป็นทะเล เนื่องจากมีการขุดพบซาก สัตว์ทะเลที่กลายเป็นหิน มีวัดแหลมหิน และ วัดหนองคันทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนใน ต�ำบล มีโบสถ์โบราณซึ่งประดิษฐานพระพุทธ รูปศักดิ์สิทธิ์ที่แกะสลักจากไม้ทั้งองค์

มหัศจรรย์ อู่ข้าว อู่น�้ำ ที่หนองคันทรง

ต�ำบลหนองคันทรง ตั้งอยู่ในเขตคลองส่งน�้ำ ชลประทานตราด เกษตรกรท�ำนาท�ำสวน และ ท�ำการประมงมีแหล่งเรียนรู้ดูงานด้านเกษตร อินทรีย์ หมู่ที่ 2 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตสินค้าเกษตร หมูท่ ี่ 4 และหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจ พอเพียงต้นแบบที่หมู่ที่ 2

74

มหัศจรรย์ แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


เยี่ยมชมบ้าน “เจ้าจอมมารดาจันทร์” ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาจันทร์ เป็นธิดาของพระยา พิพิธฤทธิอเดชวิเศษสิงหนาท อดีตเจ้าเมืองตราด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เจ้าจอมมารดาจันทร์เป็นสาวที่ มีรูปโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วเมืองตราด มารดาของท่านเป็นชาวบ้านหนองคันทรง ตระกูล “สุทธิวารี” ท่านถูกน�ำตัวขึน้ ถวายพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โดยมีพระ ราชโอรสและพระธิดารวม 4 พระองค์ แสดงให้ เห็นว่าเจ้าจอมมารดาจันทร์นั้นเป็นที่พอพระราช หฤทัย เพราะไม่มีเจ้าจอมพระองค์ใดที่จะมีพระ ราชโอรสและพระราชธิดามากขนาดนี้ เมือ่ ครัง้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเมื่อ พ.ศ.

2397 ครั้นเรือพระที่นั่งจอดทอดสมอที่เกาะช้าง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าจอมมารดาจันทร์ พาพระธิ ด าเข้ า เยี่ ย มพระยาตราษ และทรง พระราชทานทรัพย์ให้เจ้าจอมมารดาจันทร์น�ำ ไปสร้างบ้านให้กับมารดา ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดหนอง คันทรง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวเสด็จกลับจากประจันตคีรีเขต ทรงแวะมา รับเจ้าจอมมารดาจันทร์และพระราชธิดากลับ กรุ ง เทพมหานคร (ลงตี พิ ม พ์ ใ นหนั ง สื อ พิ ม พ์ ประชามติฉบับ วันที่ 1 – 15 เมษายน พ.ศ.2542) ปัจจุบันบ้านเจ้าจอมมารดาจันทร์ยังคงมีอยู่ และเป็นที่พักอาศัยของนายลิ สุขกสิ ซึ่งเป็นผู้รับ มรดกสืบต่อมา นอกจากจะมีบ้านของเจ้าจอม มารดาจันทร์ แล้วยังมีผลไม้ทปี่ ลูกมาแต่สมัยก่อน ด้วย ได้แก่ ต้นมังคุด แต่ต้นไม่โตนักเนื่องจากข้าง ในล�ำต้นเป็นโพรง “เจ้าจอมมารดาจันทร์”

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

75


“ร่องรางปืนใหญ่” กับยุทธวิธีรบสมัยรัชกาลที่ 3 ร่ อ งรางปื น ใหญ่ บ ริ เ วณกระโจมไฟเกาะปู บ้านแหลมหินนั้น มีความเป็นมาบอกเล่ากันมา นานแล้วว่า ทีบ่ ริเวณอ่าวเลนเกาะปู หมูท่ ี่ 1 ต�ำบล หนองคันทรง มีรอ่ งรางล้อปืนใหญ่สมัยรัชกาลที่ 3 ท�ำให้แกนน�ำของชมรมรักษ์สงิ่ แวดล้อมรักท้องถิน่ ต�ำบลหนองคันทรง สนใจที่จะส�ำรวจบริเวณดัง กล่าว เมือ่ คณะส�ำรวจมาถึงบริเวณอ่าวเลนหมูท่ ี่ 1 กระโจมไฟเกาะปู ทุกคนตื่นเต้นมากเพราะได้พบ ร่องรางหินยาวประมาณ 30 เมตร ความลึก 30 เซนติเมตร มีความกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร แต่จากการบอกของผู้เฒ่าของหมู่บ้านบอกว่า ใน สมัยก่อนมีระยะทางยาวประมาณ 150 – 200 เมตร มีเส้นทางพุ่งตรงไปที่กระโจมไฟเกาะปู จากการสืบค้นพบประวัตริ อ่ งรางปืนใหญ่จาก เกร็ดพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ (หน้า 231 ล�ำจูล ฮวบเจริญ) มีประวัติดังนี้ คือ “สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2376 เมื่อครั้งทรงมอบอ�ำนาจ ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชารับมอบพระแสงดาบ อาญาสิทธิ์น�ำก�ำลังไปปราบกบฏเขมร โดยยก กองทัพไปต่อสู้กับญวนที่พยายามชิงเขมรไป จากไทย ครั้งนั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชาและ

76

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

เจ้าพระยาพระคลังได้ยกกองทัพมาสกัดกัน้ ญวน ที่บ้านแหลมหิน จังหวัดตราด ได้ให้เหล่าทหาร หาญช่วยกันขุดร่องรางปืนใหญ่เพือ่ ลากขึน้ ฝัง่ ยิง ต่อสูก้ บั พวกญวน และพร้อมทีจ่ ะลากปืนใหญ่ลง เรือได้ทันทีเมื่อเพลี่ยงพล�้ำ” เมื่ อ วั น อั ง คารที่ 7 มีนาคม 2549 องค์การ บริหารส่วนต�ำบลหนอง คั น ทรงได้ ล งมาส� ำ รวจ ตรวจสอบและได้ด�ำเนิน การขุ ด ลอกร่ อ งรางปื น ใหญ่ โดยใช้เชือกขึงเป็น เส้นตรงตามแนวร่องหิน ทีพ่ บตามค�ำบอกเล่าของ นายสุ่น ประสิทธินาวา (อดีตก�ำนันต�ำบลหนอง คั น ทรง) ท� ำ ให้ ค ณะ ส�ำรวจได้พบว่าร่องราง ปื น ใหญ่ ที่ จ มอยู ่ ใ ต้ พื้ น ดินนานถึง 177 ปีนั้น มีจริง ร่องหินดังกล่าวมี ทิศทางตรงไปยังกระโจม ไฟที่กองทัพเรือสร้างไว้

ร่องหินในพืน้ ทีต่ ำ�่ มีดนิ เลนทับถมจะจมอยูล่ กึ มาก ส่วนบริเวณที่เป็นหินในพื้นที่สูงจะยังคงพบหลัก ฐานร่องรางปืนอยู่ชัดเจน นอกจากร่ อ งรางปื น ใหญ่ แ ล้ ว ในพื้ น ที่ บ้ า นแหลมหิ น ยั ง มี ห ลั ก ฐานที่ ส� ำ คั ญ ในสมั ย สงครามญวน (รัชกาลที่ 3) คือ เนินดินที่ตั้งลูก ค่ายกองทัพอยูด่ ว้ ย จากค�ำบอกเล่าจากนายเสน่ห์ ศิลาอาสน์ (อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1)ได้เล่าให้ฟัง ว่า มีชายในหมูบ่ า้ นได้เข้าร่วมเป็นทหารในการรบ ครั้งนี้ด้วย ในอดีตเมื่อราวปี พ.ศ. 2500 เด็ก ๆ ในหมู่บ้านยังใช้ลูกค่ายเป็นที่เล่นซ่อนหา ปัจจุบัน เจ้าของที่ดินได้ขุดลอกดินออกเพื่อใช้ประโยชน์ ยั ง คงมี ห ลั ก ฐานอยู ่ บ ้ า งแต่ เ นิ น ดิ น ก็ ต�่ำ ลงตาม กาลเวลา


ศึกษาธรรมชาติ “ป่าชายเลนบ้านท่าระแนะ” ป่าชายเลนเป็นแหล่งส�ำคัญของธรรมชาติที่มี คุณค่าเพราะเป็นแหล่งด�ำรงชีวิตของพืชและสัตว์ นานาชนิด เช่น กุง้ หอย ปู ปลา และสัตว์นำ�้ อืน่ ๆ เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของพืชและสัตว์น�้ำ ทุกชีวิต มีความเป็นอยู่ที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ก�ำเนิดเป็นแหล่งของห่วงโซ่อาหาร ( Food Chain ) รวมทั้งพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่หลากหลายชนิดที่มี คุณค่าทางเศรษฐกิจ พื้ น ที่ ป ่ า ชายเลนในเขตพื้ น ที่ ต� ำ บลหนอง คันทรงด้านทิศตะวันออก มีพนื้ ทีป่ ระมาณ 3,500 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของป่าชายเลนบ้านท่าระแนะ ประมาณ 1,713 ไร่ ซึ่งในอดีตป่าชายเลนของ ต�ำบลหนองคันทรง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ป่าชาย เลนหลายชนิด ไม้ที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ โกงกาง โปรง แสม ฝาด ล�ำพู ล�ำแพน ตะบูน ตะบัน ตาตุม่ เป้ง หงอนไก่ ต้นจาก เหงือกปลาหมอ ปรง ประดู่ ทะเล ปอทะเล เถาเทพี เบญจมาศทะเล ไก่เตี้ย เถาคัน ก�ำแพงเจ็ดชั้น ส�ำมะง่า ช�้ำเลือด และไม้ อื่น ๆ อีกหลายชนิด ไม้แต่ละชนิดจะอยู่กันเป็น ล�ำดับชั้นในพื้นที่ โกงกาง ล�ำพู ล�ำแพน แสม จาก ฯลฯ จะอยูใ่ นแหล่งทีน่ ำ�้ ทะเลท่วมถึง ถัดขึน้ มาจะ เป็นไม้จ�ำพวก ฝาด ตะบูน ตะบัน หงอนไก่ เป้ง

ประดู่ทะเล ฯลฯ บนป่าสูงถัดมาจะเป็นไม้พวก เสม็ด ก�ำแพงเจ็ดชั้น ขลู่ เถาเทพี โคลงเคลงขน ฯลฯ และที่มีอยู่ทั่วไปคือ ปรง สัตว์น�้ำที่มีอยู่อย่างชุกชุม ได้แก่ ปู ปลาทะเล นานาชนิด หอยพืน้ เมืองชนิดต่าง ๆ เช่น หอยพอก หอยฉลอง หอยจุบ๊ แจง หอยแมลงภู่ หอยกะพง หอย หลอด หอยปากเป็ด หอยนางรม หอยบัว และหอย แครง สัตว์น�้ำจะมีหลากหลายจะประกอบอาหาร ไม่ต้องซื้อหาเพียงเตรียมอุปกรณ์พื้นบ้านง่าย ๆ เช่ น ขอล้ ว งปู ชะนางช้ อ นกุ ้ ง แหลนแทงปู กุ้ง ปลา ป่าชายเลนในเขตต�ำบลหนองคันทรงโดยทัว่ ไป อยูใ่ นสภาพทีค่ อ่ นข้างจะสมบูรณ์ มีคลองทีส่ ำ� คัญ หลายคลองที่เป็นเหมือนเส้นแบ่งเขตพื้นที่ของ แต่ละหมู่บ้าน คลองส�ำคัญได้แก่ คลองขุด คลอง น�้ำด�ำบน คลองน�้ำด�ำล่าง (คลองน�้ำด�ำ ที่เรียก เช่นนี้เพราะน�้ำในคลองจะมีสีค่อนข้างด�ำ) คลอง ก้นทุ่ง คลองขอนใหญ่ คลองขอนเล็ก (คลองขอน ในสมัยก่อนจะมีขอนใหญ่ขวางอยูก่ ลางล�ำคลอง ) คลองบางพระเป็ น คลองที่ ส� ำ คั ญ มากในอดี ต เพราะคลองนีอ้ ยูใ่ กล้ทะเลใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ที่ ส� ำ คั ญ เป็ น ย่ า นการค้ า และตลาดของจั ง หวั ด ตราด คนในต�ำบลหนองคันทรงจะใช้เรือเดินทาง

มาติดต่อค้าขาย ปั จ จุ บั น ชาวบ้ า นหมู ่ ที่ 2 บ้ า นท่ า ระแนะ ได้รว่ มกันอนุรกั ษ์ไว้ปา่ ชายเลนไว้เพือ่ ให้เป็นแหล่ง อนุบาลสัตว์น�้ำวัยอ่อนที่ส�ำคัญให้กับชาวประมง พื้นบ้าน มีการจัดโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่อง เทีย่ วเชิงนิเวศน์ทสี่ นใจเข้ามาเยีย่ มชม อีกทัง้ อบต. หนองคันทรง ยังได้เข้าไปส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่อง เทีย่ วเชิงนิเวศ โดยจัดให้มเี ส้นทางศึกษาธรรมชาติ คอนกรีตความยาวกว่า 600 เมตร มีหอชมนก และชมธรรมชาติของป่าชายเลนสูง 15 เมตร รวมทัง้ มีศาลาพักระหว่างเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ตลอดจนมีธนาคารปู ที่กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน ร่วมกันอนุรกั ษ์พนั ธุป์ ไู ว้ให้กบั ชุมชน ส�ำหรับความ แตกต่างของป่ายชายเลนบ้านท่าระแนะแห่งนี้กับ ป่าชายเลนแห่งอื่น คือ ที่นี่จะมีต้นแสม อายุกว่า 100 ปี มี สั ต ว์ น�้ ำ ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ โดยเฉพาะ ปลากระบอก หอยพอก หอยจุ๊บแจง ปูแสม ฯลฯ ...................................................................................................

สอบถามข้อมูลติดต่อ

อบต.หนองคันทรง โทรศัพท์ 0-3951-0604 ...................................................................................................

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

77


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

องค์การบริหารส่วนตำ�บล หนองโสน 78

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


“ คมนาคมสะดวก สิ่งแวดล้อมสดใส ใส่ใจสุขภาพชุมชน มุ่งสู่การบริการเป็นเลิศ คู่สังคมไทย ” คือวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนต�ำบล หนองโสน ซึ่งมีส�ำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 8 ต� ำ บลหนองโสน อ� ำ เภอเมื อ ง จั ง หวั ด ตราด 23000 โดยห่างจากตัวจังหวัดตราด ประมาณ 6 กิโลเมตร ประวัติต�ำบลหนองโสน เดิมต�ำบลนี้มีหนองน�้ำขนาดใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง มีต้นโสนขึ้นเป็นจ�ำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “หนองโสน” เมื่อมีการแบ่งเขตปกครองออกเป็น ต�ำบล ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหนองน�้ำแห่งนี้เป็นชื่อ ต�ำบลว่า “ต�ำบลหนองโสน” ตั้งแต่นั้นมาจวบจน ปัจจุบัน "วิถีชุมชนที่บ้านปากคลองน�้ำเชี่ยว กับนกเหยี่ยวแดง" กิจกรรรมพิเศษ การน�ำนักท่องเที่ยวไปให้ อาหารเหยี่ยวแดง และน�ำไปชมทัศนียภาพยาม เย็นของพระอาทิตย์ตกดินที่ปากคลองน�้ำเชี่ยว ซึ่งสามารถมองเห็นเกาะช้างได้อย่างชัดเจน แต่ ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ นกเหยี่ยวแดงนับร้อยตัวจะ บินออกมาทันทีที่ได้ยินเสียงเรือของนักท่องเที่ยว เหยี่ยวแดงเหล่านี้จะบินวนเวียนเพื่อโฉบเฉี่ยว อาหารทีค่ นเรือได้นำ� ไปโยนให้ สร้างความตืน่ เต้น ให้กบั นักท่องเทีย่ วทีไ่ ด้พบเห็นในระยะใกล้ชดิ จน กลายเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่แห่งนี้ไปแล้ว

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

79


“แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน” ต�ำบลหนองโสน อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด มีปา่ ชายเลนทีม่ คี วามอุดมสมบูรณ์เป็นปากน�ำ้ ที่ มีคลองน�้ำเชี่ยวไหลผ่าน มาจากเขาระก�ำ ท�ำให้ ต�ำบลหนองโสนมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งอาหาร และพืชพรรณ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่ง เพาะพันธุ์สัตว์น�้ำจ�ำนวนมาก ส่งผลให้บริเวณ บ้านปากคลองน�้ำเชี่ยวมีความอุดมสมบูรณ์ของ สัตว์น�้ำ ทั้ง ปู ปลา หอยปากเป็ด ด้วยเหตุนี้ เองชาวบ้านปากคลองน�้ำเชี่ยว จึงใช้ความเป็น ธรรมชาติและจุดเด่นของการมีสัตว์น�้ำ ท�ำโฮม สเตย์ และเปิดร้านอาหารในพืน้ ที่ จนได้รบั ความ นิยมจากนักท่องเที่ยวจ�ำนวนมาก

80

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

81


82

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


“วั ด ไทรทอง” เคยเป็ น ที่ ป ระทั บ แรมของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวคราว ประพาสตัวเมืองตราด นอกจากนีว้ ดั ไทรทองยังมี หอไตรเก่าแก่ อายุราวอยุธยาตอนปลายหรือสมัย ธนบุรี เกจิที่เก่งและมีชื่อเสียงคือ หลวงพ่อไกร อินทโชโตหรือคนตราดเรียกท่านก๋งไกร ขอเชิ ญ ชวนให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วลองแวะทาน อาหารทะเลอร่อยที่ “ต�ำบลหนองโสน” ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วน ต�ำบลหนองโสน 039-593056

งานสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี ท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองโสน จั ด ให้ มี ง านสื บ สานวั ฒ นธรรมและ ประเพณีท้องถิ่น “วิ่งว่าว กินข้าว เฝ้าทุ่ง” เป็นประจ�ำทุกปี โดยก�ำหนดจัดขึ้นใน ช่วงสิ้นเดือนธันวาคม ณ บริเวณทุ่งนา บ้านพรงล�ำบิด หมู่ที่ 3 ต�ำบลหนองโสน ซึ่ ง มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ การอนุ รั ก ษ์ แ ละ เผยแพร่ ศิ ล ปวั ฒ นธรรม ตลอดจน ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบต่อไป

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

83


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

“ระบบน�้ำเพียงพอถ้วนหน้า พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจที่มั่นคง ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน”

องค์การบริหารส่วนตำ�บล อ่าวใหญ่ คือวิสยั ทัศน์ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลอ่าวใหญ่ ตัง้ อยูท่ ี่ 145 หมู่ 1 ต�ำบลอ่าวใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ห่างจากที่ท�ำการอ�ำเภอเมืองตราด ประมาณ 20 กิโลเมตร โดยมี นายรางวัล ขันแข็ง เป็นนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลอ่าวใหญ่ คนปัจจุบนั (พ.ศ. 2552-2560) ประวัติ อบต.อ่าวใหญ่ องค์การบริหารส่วนต�ำบลอ่าวใหญ่ ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การ บริหารส่วนต�ำบลและ มีฐานะเป็นนิตบิ คุ คลเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิน่ ตามพระราชบัญญัติสภาต�ำบลและองค์การบริหาร ส่วนต�ำบล พ.ศ. 2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ข้อมูลทั่วไป ต�ำบลอ่าวใหญ่ มีเนื้อที่รวม 25 ตารางกิโลเมตร หรือ 15,625 ไร่ สภาพโดยทัว่ ไปเป็นพืน้ ทีร่ าบยืน่ ออกไปในทะเล บริเวณชายฝัง่ ทะเลมีสภาพ ดินโคลน มีป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น�้ำ โดยมีทะเลอ่าวไทยล้อม รอบ 3 ด้าน การปกครอง อบต.อ่าวใหญ่แบ่งเขตการปกครอง เป็น 6 หมูบ่ า้ น ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวใหญ่ หมู่ที่ 2 บ้านอ่าวช่อ หมู่ที่ 3 บ้านแหลมหญ้า หมู่ที่ 4 บ้านแหลมพร้าว หมู่ที่ 5 บ้านอ่าวขาม และหมู่ที่ 6 บ้านแหลมศอก ประชากร มีประชากรรวมจ�ำนวน4,561 คน แบ่งเป็นเพศชาย 2,241 คน เพศหญิง 2,320 คน จ�ำนวนครัวเรือน 1,722 ครัวเรือน (ข้อมูลประชากร ตามทะเบียนราษฎร์อ�ำเภอเมืองตราด ณ ธันวาคม พ.ศ. 2560) ระบบเศรษฐกิจ การเกษตร ต�ำบลอ่าวใหญ่มีพืชเศรษฐกิจส�ำคัญคือ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะพร้าว ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน (ข้อมูลจาก ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอเมืองตราด ปี 2559) การประมง มีประชาชนท�ำการ

84

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ประมงคิดเป็นร้อยละ 14.06 ส่วนมากเป็นประชาชนทีอ่ าศัยอยูใ่ กล้ทะเล การ ปศุสตั ว์ ลักษณะเป็นการเลีย้ งเพือ่ บริโภคในครัวเรือนและเป็นอาชีพเสริมบาง ครัวเรือน เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค และสุกร พันธกิจ 1. ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน�ำ้ ให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพทัว่ ถึงและ เพียงพอ 2. พัฒนาให้เป็นต�ำบลน่าอยู่ มีบริการพืน้ ฐานและสาธารณูปโภค สะดวก และเพียงพอ 3. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ /งานสาธารณสุข และความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน 4. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพ โดยการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพ การแปรรูปเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย กระจายความรู้ มุ่งสู่เกษตรปลอดสารพิษ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. พัฒนาเชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวให้เกิดความหลากหลาย และสนับสนุน ซึ่งกันและกัน 6. ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่อย่าง สมดุลและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาแหล่งน�้ำและบริหารจัดการน�้ำ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการพัฒนาการเมืองการบริหารและการมีสว่ นร่วม


กิจกรรม/โครงการเด่นของ อบต.อ่าวใหญ่ องค์การบริหารส่วนต�ำบลอ่าวใหญ่ ได้ดำ� เนิน งานตามปัญหาและความต้องการของชุมชน โดย ให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมท�ำ ร่วมตัดสินใจ ร่ ว มรั บ ประโยชน์ ใ นการพั ฒนาอบต.อ่ า วใหญ่ นอกจากนี้ยังได้จัดโครงการอบรมต่าง ๆ ให้แก่ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงานส่วนต�ำบล พนักงานจ้าง และผูน้ ำ� ชุมชน รวมทัง้ โครงการอืน่ ๆ ส� ำ หรั บ ประชาชนอี ก หลายโครงการ เพื่ อ น� ำ ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ มาพัฒนาต�ำบล อ่าวใหญ่ให้เจริญเท่าเทียมกับต�ำบลอื่น ๆ โดย อบต.อ่าวใหญ่ได้ด�ำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ ส�ำคัญ อาทิ กิจกรรมรณรงค์ปอ้ งกันแก้ไขปัญหาไข้เลือด ออก อบต.อ่าวใหญ่ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต�ำบล, ส่วนราชการ, สถานีตำ� รวจ, โรงเรียน, ผูน้ ำ� ชุมชน, อสม., และประชาชนในพืน้ ที่ จัดกิจกรรมรณรงค์ปอ้ งกันแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก ลงพื้นที่ทุกหมู่บ้านเก็บขยะ ก�ำจัดภาชนะที่เป็น แหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการ เกิดไข้เลือดออก ซึง่ ประชาชนให้ความร่วมมือเป็น อย่างดี และได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องมีการ

จัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่องเป็นประจ�ำทุกปี ปัญหาไข้เลือดออกจึงจะได้รบั การแก้ไขให้หมดไป โครงการเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพ กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ อบต.อ่ า วใหญ่ ได้จดั ท�ำแผนงาน/โครงการเกีย่ วกับการเสริมสร้าง สุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพที่ จ�ำเป็นต่อสุขภาพ และการด�ำรงชีวิต ตลอดจน ส่งเสริมให้กลุม่ แม่และเด็ก กลุม่ ผูส้ งู อายุ ผูป้ ระกอบ อาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่ม ผู้ด้อย โอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ มีสวัสดิการชุมชนรับรองและสามารถเข้าถึงบริการ

สาธารณสุขได้อย่างทัว่ ถึงให้กบั ประชาชนในต�ำบล อ่ า วใหญ่ โดยด� ำ เนิ น งานร่ ว มกั บ ทุ ก ภาคส่ ว น เพื่อให้ชาวต�ำบลอ่าวใหญ่ได้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า การให้บริการด้านสังคมสังเคราะห์ อบต. อ่าวใหญ่ได้ด�ำเนินการด้านสังคมสังเคราะห์ ดังนี้ ด�ำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์, รับลงทะเบียนและประสาน โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด, ประสานการท�ำบัตรผูพ้ กิ าร, ตัง้ โครงการช่วยเหลือ ผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาส ไร้ที่พึ่ง

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

85


ป่าชายเลนหลังวัดอ่าวใหญ่ นายก อบต.อ่าวใหญ่ชวนเที่ยว พิพิธภัณฑ์สุสานปูหิน (ล้านปี) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต�ำบลอ่าว ใหญ่ มีการขุดพบปูหินเมื่อปี พ.ศ.2538 ในความลึกอยู่ที่ 3-4 เมตร บริเวณหนองน�้ำ(หนองกก) มีลักษณะคล้ายปูเปี้ยวทั้งเล็ก และใหญ่จำ� นวนนับพันตัว มีขนาดล�ำตัวยาว 7 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร หนา 2 เซนติเมตร ทางธรณีวิทยา ได้น�ำไปตรวจ พิสูจน์แล้วว่ามีอายุประมาณ1.5 ล้านปี ช ม วิ ถี ช า ว บ ้ า น แ ห ล ม เ ที ย น ชุ ม ช น แ ห ล ม เ ที ย น บ้านอ่าวใหญ่ เป็นชุมชนที่อยู่ติดทะเลมีทรัพยากรธรรมชาติ ตามแนวชายฝั ่ ง เช่ น หอยลายและสั ต ว์ น านาชนิ ด เพิ่ ม ขึ้ น ทุกปี สืบเนื่องจากกิจกรรมการพัฒนาของกลุ่มอนุรักษ์ทะเล ชายฝั่งชุมชนบ้านแหลมเทียนและชุมชนอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง จึงมีนักท่องเที่ยวสนใจมาเที่ยวชม เป็นการสร้างอาชีพสร้าง รายได้ ใ ห้ แ ก่ ช าวบ้ า นโดยมี กิ จ กรรมพานั ก ท่ อ งเที่ ย วลงแพ เยี่ยมชมการจับหอยปากเป็ด ขุดหอยนิ การเลี้ยงหอยนางรม หอยแมลงภู่ และวิธกี ารกระดึบ๊ หอยลาย โดยมีคา่ ใช้จา่ ย 2,000 บาท/แพ ไม่เกิน 20 คน/แพ วัดอ่าวใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านอ่าวใหญ่ ถนนตราด-แหลม ศอก ต�ำบลอ่าวใหญ่ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2374 มีพระประธาน ในอุโบสถ คือ พระพุทธชินราช และมีเสนาสนะอื่น ๆ ไม่ว่า จะเป็นศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ วิหาร ศาลาบ�ำเพ็ญกุศล วัดอ่าวใหญ่ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นวัดที่มีความ เจริญรุ่งเรืองในปัจจุบัน

สะพานประมงบ้านแหลมเทียน

วัดอ่าวใหญ่

86

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


ทีพ ่ ักสบาย-ทีก ่ ินอร่อย ที่พัก (โฮมสเตย์) ได้แก่ บ้านแหลมหญ้า ม.3 ต.อ่าวใหญ่ บ้านอ่าวช่อ ม.2 ต.อ่าวใหญ่ บ้านแหลมพร้าว ม.4 ต.อ่าวใหญ่ ร้านอาหารอร่อย ได้แก่ ร้านครัวลุงตี๋ ซีฟู้ด โทร 081 757 2153 ร้านอาหารธัญรัต ซีฟดู้ โทร 099 269 9550 ร้านครัวแหลมศอก โทร 081 002 8161

วัดอ่าวช่อ

ติดต่อ อบต.อ่าวใหญ่ โทรศัพท์/โทรสาร 0-3951-0540 โทรสาร 0-3951-0481

วัดอ่าวช่อ ตัง้ อยูเ่ ลขที่ 207 หมู่ 2 ต�ำบลอ่าวใหญ่ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2500 พระครูพุทธิสารวิบูล อดีตเจ้าคณะอ�ำเภอเมืองตราด วัดปลายคลอง เป็นผูเ้ ริม่ ต้นในการก่อสร้างศาสนวัตถุตา่ ง ๆ ทีม่ า ของชื่อวัดอ่าวช่อ เพราะพื้นที่เป็นอ่าว มีชาวบ้าน พื้นที่อยู่เก่ามีอาชีพท�ำนา ต่อมาก็ได้มีพวกชาว บ้านจากแหลมหินบ้าง และเป็นชาวเกาะกงบ้าง มาอยู่รวมกัน จึงท�ำให้เป็นหมู่บ้านขึ้นมา เรียกว่า “บ้านอ่าวช่อ” สักการะขอพร กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จากถนนสายตราด-แหลมงอบ ไปประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีถนนเลีย้ วซ้ายไปบริเวณแหลมศอก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3155 ระยะทาง 24 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของศาลกรมหลวงชุมพรเขต อุดมศักดิ์พระราชบิดาแห่งราชนาวีไทยและเป็น ที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดตราด ที่บริเวณ แหลมศอกมีหาดทรายแดงอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จุดชมวิวสะพานท่าเรือแหลมศอก เป็นสถานทีพ่ กั ผ่อนหย่อนใจ จุดชมวิวช่วงทีพ่ ระอาทิตย์ตก และมี หมูบ่ า้ นชาวประมงทีน่ า่ ไปเยือน คือ หมูบ่ า้ นแหลมสน และหมู่บ้านอ่าวช่อ โดยอบต.อ่าวใหญ่ได้ส่งเสริม การท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน ด้วยการจัดงาน ประเพณีตา่ ง ๆ เช่น งานลอยกระทง งานสงกรานต์ และวัน ผู้สูงอายุ วันเด็กแห่งชาติ งานก่อเจดีย์ ทรายน�้ำไหล งานวันอาภากร งานแข่งขันกีฬา ต�ำบลอ่าวใหญ่ ฯลฯ และมีการปรับภูมทิ ศั น์บริเวณ รอบสระหนองพุ หมูที่ 5 ส�ำหรับเป็นสถานที่พัก ผ่อนหย่อนใจ ปั่นจักรยานออกก�ำลังกาย

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

87


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

องค์การบริหารส่วนตำ�บล ห้วงน้ำ�ขาว ต�ำบลน่าอยู่ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน พื้นฐานการศึกษาดี มีคุณธรรม ผู้น�ำสิ่งแวดล้อมที่ดี คื อ วิ สั ย ทั ศ น์ ก ารพั ฒ นาขององค์ ก าร บริ ห ารส่ ว นต� ำ บลห้ ว งน�้ ำ ขาว เลขที่ 91 ต�ำบลห้วงน�้ำขาว อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด ปัจจุบันมีนายวิลัย สืบสอน ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลห้วงน�้ำขาว ประวัติต�ำบลห้วงน�้ำขาว ต�ำบลห้วงน�้ำขาว เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ กว่า 200 ปีมาแล้ว แต่เดิมเป็นพื้นที่ป่าอุดม สมบูรณ์ เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เช่น ต้นยาง ตะแบก กันเกรา ฯลฯ นอกจากนั้น ยังมีสตั ว์ปา่ อาศัยอยูจ่ ำ� นวนมาก เช่น เสือ หมี

88

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

หมูปา่ เก้ง กวาง และในป่าทึบมีหว้ งน�ำ้ ขนาดใหญ่ ลึก มีน�้ำขังตลอดทั้งปี จึงมีสัตว์ป่ามาอาศัยกินน�้ำ อยูเ่ ป็นประจ�ำ จนท�ำให้นำ�้ ขุน่ ขาว ชาวบ้านจึงเรียก ว่า “ห้วงน�ำ้ ขาว” และน�ำมาตัง้ เป็นชือ่ “หมูบ่ า้ นห้วง น�้ำขาว” ส่วนดินในห้วงนี้มีลักษณะเป็นดินเหนียว ชาวบ้านจึงน�ำมาท�ำเป็นอิฐ เพือ่ ใช้กอ่ สร้างอุโบสถ วัดห้วงน�้ำขาว ข้อมูลทั่วไป ต�ำบลห้วงน�ำ้ ขาว มีเนือ้ ทีป่ ระมาณ 26,254 ไร่ แบ่งเขตการปกครองเป็น 5 หมู่ ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านแหลมโป๊ะ หมู่ 2 บ้านเปร็ดใน หมู่ 3

บ้านคลองหลอด-อ่าวกรูด หมู่ 4 บ้านห้วงน�้ำขาว และหมู่ 5 บ้านคันนา มีจ�ำนวนประชากรมีทั้งสิ้น 3,238 คน มี 1,172 ครัวเรือน จุดมุ่งหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1. จัดให้มีระบบสาธารณูปโภค พัฒนาการ จัดการสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต 2. ให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้พอเพียงแก่ การด�ำรงชีวิต 3. ประชาชนมีโอกาสได้รับการเรียนรู้อย่าง ทั่วถึง 4. สร้างชุมชนให้เข้มแข็งโดยชุมชนเอง


นายวิชา เรืองศิลป์ ปลัดอบต. และ เลขานุการสภา

นโยบายคณะผู้บริหาร 1. การพัฒนาด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ มุง่ พัฒนาสาธารณูปโภคสาธารณูปการ และการไฟฟ้า เพือ่ ความเป็นอยูท่ ดี่ ขี องประชาชน และ แหล่งน�้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ของประชาชน 2. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ มุ่งส่งเสริมอาชีพเพื่อ รายได้ให้แก่ประชาชน 3. การพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ส่งเสริม คุณภาพชีวิตของประชานให้ดีขึ้น 4. การพั ฒ นาด้ า นทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม 5. การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร ส่งเสริมให้ ประชาชนมีความรูเ้ รือ่ งการเมืองการบริหาร และพัฒนา บุคลากรขององค์การบริหารส่วนต�ำบลห้วงน�้ำขาว พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติราชการ TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

89


นายก อบต.ห้วงน�้ำขาวชวนเที่ยว 1. โครงการกระดูกปลาวาฬ บ้านเปร็ดใน 2. ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน 3. ฟาร์มปูนิ่ม บ้านคันนา ติดต่อสอบถามได้ที่ องค์การบริหารส่วนต�ำบลห้วงน�้ำขาว เบอร์โทร/เบอร์แฟกซ์ 039-510903 www.huangnamkhaw.go.th

90

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


บ้านเปร็ดใน

ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง คนเราถ้าพอใจในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ ไม่ ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าท�ำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข

พระราชด�ำรัสอันเกี่ยวเนื่องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541

โครงการพั ฒ นาศู น ย์ เรี ย นรู ้ ชุ ม ชนบ้ านเปร็ ดใน จั ง หวั ดตราด โดยมู ล นิ ธิมั่น พั ฒ นา

AD_

.indd 3

21/8/2561 8:17:39


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดคิรีวิหาร พระอารามหลวง วัดคิรีวิหาร พระอารามหลวง ต�ำบลตะกาง อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด ปัจจุบันมี พระโสภณธรรมธาดา (หัน คุณวตฺโต) เป็นเจ้าอาวาส ประวัติวัดคิรีวิหาร พระอารามหลวง

วัดคิรวี หิ าร พระอารามหลวง เดิมชือ่ “วัดท่าเลือ่ ม” โดยเจ้าอธิการอยูเ่ ป็นผูร้ เิ ริม่ ก่อสร้าง เมือ่ เดือนเมษายน พ.ศ.2430 เสร็จครบบริบรู ณ์ ในปี พ.ศ. 2456 ใช้เวลาก่อสร้าง 27 ปี ต่อมาในสมัยฝรัง่ เศสปกครองใช้ชอื่ ว่า “วัดภูเขายวน” มีใบตราตัง้ พระอธิการอยูเ่ ป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขายวน ให้ขนึ้ ที่ เป็นพระครูรฐั าภิมกุ ข์ ครัน้ ถึงสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบลู ย์สงคราม ได้เปลีย่ นเป็น “วัดคิรวี หิ าร” โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงประทานชื่อให้เลือกตามใจชอบ 3 ชื่อ คือ คิรีเวสวิหาร, เวสคิรีวิหาร และคิรีวิหาร

92

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


บนยอดเขาแห่งวัดนี้ ได้ก่อสร้างพระเจดีย์ ประดิ ษ ฐานไว้ เมื่ อ ก่ อ สร้ า งเสร็ จ ได้ มี ก าร สมโภชเฉลิมฉลองในเดือนเมษายน พ.ศ.2456 เมื่ อ เฉลิ ม ฉลองเสร็ จ แล้ ว ได้ ก ่ อ สร้ า งแท่ น รองรับพระพุทธบาทจ�ำลอง ในท่ามกลางคูหา พระเจดีย์ และย้ายแท่นพระประธานในโบสถ์ ออกตั้งที่มุขหลังของโบสถ์ เขียนภาพซ่อมของ เก่าฝีมอื ช่างจีน เมือ่ ถึงฤดูแล้งขุดบ่อน�ำ้ ลึก 8 วา ค่าแรงงานขุดศอกละ 4 บาท มีชอื่ ว่า “บ่อหลวง พรหมภักดี” เป็นคนชาวเกาะหมาก ขุดเมือ่ 15 มกราคม พ.ศ.2456 การก่อสร้างทุกอย่างได้ ส�ำเร็จสมประสงค์ ตามแผนการที่ก�ำหนดไว้ ในปี พ.ศ.2456

พระโสภณธรรมธาดา (หัน คุณวตฺโต) เคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนเขา ลูกย่อม ๆ นี้ยังเป็นป่าไม้ใหญ่ เคยมีตาปะขาว หรือผู้วิเศษคนหนึ่ง เป็นคนแปลกหน้าเดิน ทางผ่านหน้าเขาลูกนี้และได้ทายไว้ว่าต่อไป ข้างหน้าเขาลูกนี้จะเป็นที่สวยงาม เป็นสถาน ที่ รื่ น เริ ง สนุ ก สนาน จะมี ผู ้ มี บุ ญ มาเหยี ย บ แต่นั้นจะเสื่อมไป ในสมัยที่ท่านเจ้าอาวาสได้ บวชเป็นสามเณร ในปีที่สร้างวัดเสร็จ (พ.ศ. 2456) ต่อมาบวชเป็นพระเมื่อท่านพระครู วิ นั ย ธร (อยู ่ ) มรณภาพแล้ ว หกเดื อ นกว่ า ท่านได้สังเกตความเป็นมาของวัดว่าน่าจะ สมกับค�ำท�ำนายนั้น เพราะในเดือนมกราคม พ.ศ.2459 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง ชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธ เสด็จตรวจการ คณะสงฆ์ เมื่อถึงวัดนี้ได้ประทับแรม 2-3 คืน ประชุ ม ท� ำ ปาฏิ โ มกข์ ไ ด้ ป ระทานธรรมเรื่ อ ง “เขมาเขมสรณคมน์” ในที่ประชุม เจ้าคณะ เจ้าอาวาส อุบาสก อุบาสิกา และผู้ตามเสด็จ ต่ อ มาท่ า นพระครู วิ นั ย ธร(อยู ่ ) เริ่ ม ไอ เนือ่ งจากเป็นวัณโรค ต้องพักผ่อนงานรักษาตัว ตอนโรคก�ำเริบมาก ได้เข้าไปพักรักษาทีว่ ดั บวร นิเวศฯ ในขณะนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก�ำลังประชวร หนักตรัสใช้ให้กลับไปตายที่วัด แต่ได้กลับเมื่อ พระองค์สนิ้ พระชนม์แล้ว และถึงมรณภาพเมือ่ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2464 ท่านอุปัชฌาย์ (ต้ อ ย)รั บ ภาระต่ อ มา สมั ย เปลี่ ย นหั ว หน้ า ผู้ปกครองใหม่ ผู้เคยรักษาอุโบสถประจ�ำปี ตลอดปี ก็ เ ลิ ก รั ก ษา ท่ า นต้ อ งไปเตื อ นไป ชักน�ำถึงบ้านก็มี กว่าจะคุมกันเป็นปึกแผ่นได้

ต้องใช้เวลาหลายปี เมื่อกาลเวลาล่วงไป ๆ สิ่ ง ก่ อ สร้ า งหลายอย่ า งเริ่ ม ช� ำ รุ ด ลงในเวลา ไล่เลีย่ กัน ซ่อมแซมไม่ทนั หรือซ่อมแซมไม่ไหว ที่รื้อท�ำใหม่ก็หลายอย่าง ยกเว้นแต่พื้นที่บน เขายังคงทนถาวร จากการขุดปรับเป็นชั้น ๆ ให้ หิ น ก่ อ ซ้ อ นเรี ย งเป็ น ก� ำ แพงกั น ดิ น พั ง ซึ่ ง ยังไม่เคยพบที่วัดใด ประกาศความสามารถ ของท่านพระครูวินัยธร(อยู่) ผู้จัดการสร้างไว้ ตลอดกาลนาน

ประวัติเจ้าอาวาส

พระโสภณธรรมธาดา (หัน คุณวตฺโต) เกิดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 ตรงกับวัน จันทร์ แรม 12 ค�่ำ เดือน 3 ปีชวด ที่บ้านก้น กรอก หมู่ที่ 1 ต.ตะกาง อ.เมืองตราด จ.ตราด โยมบิ ด าชื่ อ เหิ น มณี เ พ็ ช ร โยมมารดา ชื่อ เตื่อน มณีเพ็ชร (อนันต์) วิทยฐานะ ทางโลก จบสามัญศึกษาชั้น ประถมปีที่ 4 พ.ศ.2492 โรงเรียนประชาบาล วัดคิรวี หิ าร ต.ช�ำราก อ.เมือง จ.ตราด ทางธรรม ได้นกั ธรรมชัน้ เอก พ.ศ.2502 ส�ำนักเรียนคณะ จังหวัดตราด อุปสมบท วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2499 ตรงกับวันจันทร์ เดือน 8-8 ขึ้น 9 ค�่ำ ปีวอก ณ วัดคิรวี หิ าร ต.ช�ำราก อ.เมืองตราด จ.ตราด โดย พระราชวินยั เวที (พระวินยั บัณฑิต) วัดคิรวี หิ าร เป็ น พระอุ ป ั ช ฌาย์ พระมนตรี สุ ม นฺ ตี และ พระมณเฑียร ธมฺมมณฺฑิโร วัดคิรีวิหาร เป็น พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ สมณศั ก ดิ์ พ.ศ.2509 เป็ น พระครู ฐานานุกรมของพระราชวินยั เวที ทีพ่ ระครูปลัด TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

93


วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2514 ได้รบั พระราชทาน สมณศั ก ดิ์ เ ป็ น พระครู สั ญ ญาบั ต รชั้ น ตรี ที่พระครูคิรีสมานคุณ พ.ศ.2520 เลื่อนขึ้น เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอ�ำเภอชั้นโท วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2525 เลื่อนขึ้น เป็นพระครู สัญญาบัตรเจ้าคณะอ�ำเภอชั้นเอก และ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2533 เลื่อนขึ้นเป็นพระครู สัญญาบัตรเจ้าคณะอ�ำเภอชั้นพิเศษ โดยอยู่ ในนามเดิมทุกครั้ง การปกครอง พ.ศ.2511 ด�ำรงต�ำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดคิรหี าร พ.ศ.2514 ด�ำรงต�ำแหน่ง เจ้ า คณะต� ำ บลช� ำ ราก พ.ศ.2515 ด� ำ รง ต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวิสิทธิการาม บ้านไม้รูด ต�ำบลไม้รูด อ�ำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด อีกหนึ่งวัด พ.ศ.2520 ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าคณะ อ� ำ เภอธรรมยุ ต จั ง หวั ด ตราด พ.ศ.2526 เป็นพระอุปัชฌาย์ ในคณะธรรมยุต การศึกษา เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ พ.ศ.2501 จนถึงปัจจุบัน (2561) มี สิ ท ธิ วิ ห าริ ก ที่ มี ค วามสามารถช่ ว ยเหลื อ สอนพระปริยัติธรรมเป็นที่ไว้วางใจได้ ทั้งนี้ เพราะตนมีความสามารถดีนั่นเอง

พระเถระรูปส�ำคัญของวัดคิรวี หิ าร พระอารามหลวง พระราชบัณฑิต (ธมฺมสาโร ภิกฺขุ แจ่ม อภิบาลศรี ป.ธ.4) พระภิกษุชาวตราดรูปแรก ที่ได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

94

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

สถานะเดิ ม เกิ ด วั น ที่ 11 สิ ง หาคม พ.ศ.2449 ตรงกับวันเสาร์ แรม 7 ค�่ำ เดือน 9 ป ี ม ะ เ มี ย เ ว ล า ป ร ะ ม า ณ 0 6 . 0 0 น . ณ บ้านแหลมไทรต.ช�ำราก อ.เมือง จ.ตราด โยมบิดาชื่อ ไป๋ โยมมารดาชื่อ วาว อภิบาลศรี อุปสมบท ทีว่ ดั บวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรับสั่งให้พระอธิการอยู่หากุลบุตรเข้าไป ท�ำพิธีอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรง แนะน�ำซักซ้อมหน้าที่อุปัชฌาย์ในภาคทฤษฎี แก่ท่านเสร็จแล้ว ได้ทรงแนะน�ำในภาคปฏิบัติ โดยให้อุปสมบททนายไป๋ อภิบาลศรี ในพระ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระไป๋เป็นพระชาว ตราดองค์แรกที่ได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศ

วิหาร ที่เป็นดังนี้ เพราะสมัยนั้นพระอุปัชฌาย์ ในคณะธรรมยุ ต แห่ ง จั ง หวั ด ตราดยั ง ไม่ มี เมื่อกุลบุตรจะอุสมบทต้องไปอุปสมบท ต้อง ไปอุปสมบถที่วัดจันทนาราม จ.จันทบุรี หรือ ไม่เช่นนั้น ก็ไปนิมนต์พระอุปัชฌาย์จากวัด จันทนาราม จ.จันทบุรี มาท�ำการอุปสมบท กุลบุตรที่วัดคิรีวิหาร นับว่าล�ำบากมากสมเด็จ พระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นทรงประสงค์จะ ให้พระอธิการอยู่เป็นพระอุปัชฌาย์ จึงได้ทรง เรียกเข้าฝึกหัดหน้าที่อุปัชฌาย์ กล่าวได้ว่า พระราชบัณฑิตมีเชื้อสายเกี่ยวข้องกับวัดบวร นิเวศวิหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อาจเป็นเหตุ อันหนึง่ ให้ทา่ นได้เข้าศึกษาเล่าเรียนพระปริยตั ิ ธรรมในส�ำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ในกาลต่อมา การศึกษา ท่านเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ที่วัดบวรนิเวศวิหารได้เจริญก้าวหน้าไปตาม สมควรแก่สภาพ คือในปีแรกสอบได้นักธรรม ชั้นเอก ซึ่งครั้งนั้นถือกันว่าสอบได้ยากนักหนา และต่อมาก็สอบได้เป็นเปรียญ 3 และ 4 ประโยคตามล�ำดับ แต่ดูเหมือนท่านจะมีนิสัย ในการพูดการขีดเขียนมากกว่าการเรียนและ การสอบ ฉะนั้น การเรียนสอบไล่พระปริยัติ ธรรมของท่านจึงหยุดอยู่เพียงนั้น แล้วหันไป จับงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ งานพระธรรมกถึก และงานเขียนในลักษณะ ต่าง ๆ ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรองซึ่งเป็นงาน ทีร่ กั และมีความถนัดเป็นพิเศษ ท่านปฏิบตั มิ า จนตลอดอายุของท่าน ผลงานด้ า นการเผยแผ่ แ ละงานเขี ย น พระราชบัณฑิต ได้ท�ำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธ


วัยชราเกิน 75 ปีแล้ว ไม่อ�ำนวยให้ท่านปฏิบัติ ภารกิจต่าง ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติมาได้มากนัก คงปฏิบัติอยู่เป็นครั้งคราว คือการอบรมนวกะ ภิกษุสามเณรในภาคกลางคืน การแสดงพระ ธรรมเทศนาในพระอุ โ บสถ แต่ ง านที่ ท ่ า น ยังท�ำอยู่เป็นประจ�ำก็คือ การเขียนหนังสือ ซึ่ ง กล่ า วได้ ว ่ า เป็ น งานที่ ท ่ า นรั ก และท� ำ มาตลอดชี วิ ต ของท่ า นหลั ง จากวั น ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 ท่านเริ่มมีอาการเบื่อ อาหาร แต่ยังปฏิบัติภารกิจตามปกติได้ นอกจากท่านบวชเรียนจนจบนักธรรมเอก และช่วยการงานในคราวที่อยู่วัดคิรีวิหาร เมื่อ ออกไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ก็กลับมาเยี่ยม บ่อย ๆ น�ำหนังสือมามอบเป็นสมบัตขิ องวัดบ้าง ศาสนาในด้านการพูดและการเขียนมาโดย ตลอดจนถึ ง บั้ น ปลายของชี วิ ต โดยการ บรรยายธรรมทางสถานีวทิ ยุกระจายเสียงบ้าง ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์บ้าง แสดงปาฐกถา ธรรมบ้าง อภิปรายธรรมร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ อื่น ๆ บ้าง และการเขียนบทความธรรมลง ในหนังสือพิมพ์รายวันบ้าง หนังสือพิมพ์ราย สัปดาห์บ้าง เช่น หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย และศรีสปั ดาห์ เป็นต้น ซึง่ ได้พมิ พ์ขอ้ เขียนของ ท่านเป็นประจ�ำติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จน หนังสือพิมพ์เหล่านีไ้ ด้เลิกไป ในการเสนองาน เขียนนั้นได้ใช้นามปากกาหลายชื่อ เป็นต้นว่า จ.อภิบาลศรี, ธมฺมสาโร ภิกฺขุ, แจ่มสวรรค์, ศรีตราด, หลวงตาวัดบวรฯ แต่ดูเหมือนคน ทั่วไปจะรู้จักท่านในนามปากกาว่า ธมฺมสาโร ภิ กฺ ขุ มากกว่ า นามอื่ น งานเขี ย นของท่ า น มี จ� ำ นวนมาก ที่ ไ ด้ พิ ม พ์ อ อกเผยแพร่ โ ดย รวมเป็นชุด ๆ เป็นต้นว่า ชุดฉัพพรรณรังสี, ชุดเบญจรงค์, ชุดสวัสดิรักษา, ชุดประมวล ข้อมูล ประกอบด้วยหนังสือเล่มใหญ่ 9 เล่ม คือ 1.บทความตามเทศกาล และบทความตาม ประสงค์ 2.แก้ปัญหาชีวิตทางธรรมะ 3.ธรรม จากข่าวเล่ม 1 4.หลงวัดบวร 50 ปี 5.ของดี ความดี คนดี 6.บทอภิปรายยุครัตนโกสินทร์ 7.นิราศและบทกวีของศรีตราด 8.เทศนาโวหาร หลังกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี 9.บรรยายโวหาร หลังกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี งานด้านคณะสงฆ์ แม้จะเป็นงานที่ไม่ ถูกกับอัธยาศัยของท่าน แต่เมื่อได้รับมอบ หมายให้ปฏิบัติ ท่านก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่

ได้รับมอบหมายให้ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เช่น เคยได้รบั พระบัญชาจากสมเด็จฯเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุตให้ไปเป็น ผู้ก�ำกับวัดศรีสุริยวงศ์ ใน จ.ราชบุรี เนื่องจากขาดเจ้าอาวาสปกครอง ดูแลวัด เป็นเวลา 1 พรรษา ในครั้งที่ทางราชการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม แห่ ง ชาติ ขึ้ น ซึ่ ง ได้ ก ลายมาเป็ น กระทรวง วัฒนธรรมในสมัยต่อมา เพื่อด�ำเนินการใน การส่งเสริมและเผยแพร่วฒ ั นธรรมของชาตินน้ั พระราชบัณฑิต ก็ได้เป็นพระธรรมกถึกรูปหนึง่ ที่ ไ ด้ รั บ อาราธนาให้ ร ่ ว มในหน่ ว ยอบรม ศี ล ธรรม ละวั ฒนธรรมแก่ ข ้ า ราชการและ ประชาชนของกระทรวงวัฒนธรรม (หน่วย อบรมฯดังกล่าวนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.2495 และเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2498) พระราชบัณฑิต เมื่อเจริญอายุมากขึ้น ถึง

และมาท�ำกิจอื่น ๆ เล็กน้อยบ้าง อาทิ พ.ศ. 2510 มาทอดกฐิ น และตั้ ง ใจจะถวายค่ า บูรณะโบสถ์ปีละ 1,000บาท แต่ต้องระงับไป โดยปริยาย ครัน้ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2521 ทางวัดจะจัดสร้างโบสถ์ใหม่ เพราะหลังเก่า ช�ำรุดทีจ่ ะบูรณะจึงรือ้ ทิง้ วันนีว้ างศิลาฤกษ์โดย เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ สังฆราช ทรงเป็นประทาน ท่านได้ร่วมสมทบ สร้างโบสถ์ทางอ้อม 15,000บาท ภายหลัง กลายเป็น 35,000 บาท วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2533 มาท�ำบุญวันเกิดที่วัดนี้ ได้บริจาคเงินที่ ได้รบั จากผูม้ มี ทุ ติ าจิต 96,049 บาท โดยไม่ได้ หักค่าใช้จ่ายถวายวัดทั้งหมดโดยสมทบสร้าง ศาลาการเปรียญที่ก�ำลังก่อสร้างอยู่ 56,049 บาท และฝากมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเอา ดอกผลมาบูรณะซ่อมแซมวัด 40,000 บาท TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

95


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดโยธานิมิต วัดโยธานิมิต (วัดโบสถ์) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ถนนเทศบาล 4 (ตรงแยกสามใกล้กับ ศาลหลักเมือง) ต�ำบลวังกระแจะ อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นพระอารามหลวง เพียงแห่งเดียวในจังหวัดตราด ปัจจุบันมีพระเทพสุเมธมุนี (สง่า สกฺโก) เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดตราด 96

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


สกุลบุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือ เคลื่อนพลไปช่วยเขมร ทั้งที่ทัพเรือมิอาจ ไปช่วยท�ำการรบได้ทนั เนือ่ งจากไม่มลี มทะเลพากองเรือเคลือ่ นไปน่าน น�ำ้ เขมรได้จงึ ตัง้ ทัพอยูเ่ พียงเมืองตราด ปัจจุบนั การศึกสงครามกับญวน ครั้งนั้นผลัดกันแพ้ชนะอยู่หลายคราว ครั้นสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกกองทัพกลับได้ ทั้ ง นี้ ก ารที่ ทั พ เรื อ ไม่ ไ ด้ เ ข้ า มาร่ ว มในการรบครั้ ง นี้ เจ้ า พระยา บดินทรเดชาพิจารณาแล้วเห็นว่า เห็นจะมิใช่ความผิดของกองทัพเรือ หรื อ เจ้ า พระยาพระคลั ง แต่ เ ป็ น เหตุ สุ ด วิ สั ย เนื่ อ งจากลมทะเลไม่ เอื้ออ�ำนวย จึงมีใบบอกไปทางกรุงเทพฯกราบบังคมทูลถวายข้อคิด เห็นว่า ควรให้ทพั เรือน�ำโดยเจ้าพระยาพระคลังขัดตาทัพอยูท่ เี่ มืองตราด เพื่อเป็นการคุมเชิงและเป็นที่เกรงขามของข้าศึกญวน พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามนั้น ทัพเรือจากกรุงเทพฯ จึงขึ้น ฝั่งที่ต�ำบลทุ่งใหญ่ ซึง่ คือต�ำบลแหลมหินในปัจจุบนั และมาตัง้ ค่ายทัพอยูท่ ตี่ ำ� บลแหลมเค็ต คือพืน้ ทีบ่ ริเวณตลาดเทศบาลเมืองตราดในปัจจุบนั ช่วงระหว่างพักทัพอยู่ เหล่าทหารทัพเรือได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึน้ มานามว่า “โยธานิมติ ” เพือ่ เป็นอนุสรณ์ว่า ครั้งหนึ่งวัดแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของกองทัพ

ความส�ำคัญของวัด

ประวัติวัดโยธานิมิต

สันนิษฐานว่า วัดโยธานิมติ สร้างขึน้ เมือ่ พ.ศ.2391 ในสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (หลักฐานบางแห่งเชื่อว่า สร้างเมื่อ พ.ศ.2315 ในสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งเมื่อทรงรวม ไพร่พลบริเวณพืน้ ทีภ่ าคตะวันออก) ในครัง้ นัน้ เมืองญวน (หรือประเทศ เวียดนามในปัจจุบัน) ซึ่งมีองค์เชียงสือเป็นกษัตริย์ได้ส่งกองก�ำลังไป รุกรานเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของไทยในเวลานั้น นักองค์ด้วงผู้เป็น กษัตริย์ของเขมรจึงส่งค�ำร้องขอให้ไทยส่งก�ำลังทหารไปช่วย พระบาท สมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยา บดินทรเดชา (สิงห์)ต้นสกุลสิงหเสนี เป็นแม่ทพั บก ส่วนเจ้าพระยาพระ คลัง (ดิศ บุนนาค ซึง่ ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ต้น

ภายในวัดโยธานิมิตมีโบสถ์หลังเก่า (ปัจจุบันเรียกว่า วิหาร) สร้าง ขึ้นในศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย วัดโยธานิมิตเคยเป็นสถานที่ถือน�้ำ พิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองตราดอีกด้วย อนึ่ง หลังจากฝ่ายญวน และไทยท�ำสัญญาสงบศึกกันแล้ว เจ้าพระยาพระคลังได้รับพระบรม ราชโองการในกองทัพเรือกลับกรุงเทพฯ ท่านเจ้าพระยาได้พาเหล่า เสนามาตย์ไพร่พลเข้าเฝ้าถวายพระราชกุศลที่ได้สร้างวัดโยธานิมิตขึ้น พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงปูนบ�ำเหน็จรางวัลแก่ไพร่พล และพระราชทานพระราชทรัพย์สว่ นพระองค์เป็นนิตยภัตปีละ 180 บาท และได้รับมาตลอดจนรัชกาลต่อมา กระทั่งยกเลิกเงินนิตยภัตเมื่อ พ.ศ. 2448 เนื่องจากเมืองตราดได้ตกเป็นของฝรั่งเศส ราว พ.ศ.2405 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าเสนาสนะบางส่วนของวัดโยธานิมิตทรุดโทรมลงไปมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ในเวลาต่อมาคณะ สงฆ์มดี ำ� ริให้เริม่ ท�ำทะเบียนวัด ได้เปลีย่ นมาใช้ชอื่ “วัดโบสถ์” ตามทีช่ าว บ้านนิยมเรียกแต่โบราณ อย่างไรก็ดี ได้กลับมาใช้ชื่อ “วัดโยธานิมิต” อีกครั้ง เมื่อครั้งที่วัดได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ใน พ.ศ. 2523 ปัจจุบนั วัดโยธานิมติ เป็นวัดทีเ่ จ้าคณะจังหวัดตราดจ�ำพรรษาด้วย

เกียรติคุณของวัดโยธานิมิต

พ.ศ.2528 ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างโดยกรม การศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ วัดโยธานิมิตยังได้รับการ แต่งตั้งให้เป็นศูนย์เผยแพร่พุทธศาสนาประจ�ำจังหวัดตราดอีกด้วย TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

97


โบราณสถานและสิ่งส�ำคัญภายในวัด

พระอุโบสถ เริม่ สร้าง 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 สร้างเสร็จในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 สร้างขึ้นเพื่อทดแทนโบสถ์หลังเก่าที่ช�ำรุดทรุดโทรมและ มีขนาดเล็ก พระอุโบสถมีขนาดกว้าง 11.50 เมตร ยาว 19.50 เมตร โครงสร้างก่ออิฐถือปูนอย่างมั่นคงแข็งแรงบนฐานยกสูงจากพื้นดินราว 1.20 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ล้อมรอบด้วยก�ำแพงแก้วก่อปูน สีอิฐ มีบันไดขึ้นจากทั้ง 4 ทิศ ถัดขึ้นไปบนลานรอบพระอุโบสถภายใน ก�ำแพงแก้วมีซมุ้ ใบเสมาประจ�ำทิศ 8 ซุม้ ลักษณะซุม้ โปร่งตัง้ บนแท่นฐาน เหนือขึน้ ไปเป็นส่วนฐานซุม้ แบบบัวลุกแก้วอกไก่เพิม่ มุม ส่วนกลางของซุม้ ท�ำเป็นเสาประดับกรอบหน้าบัน ภายในซุม้ ประดิษฐานใบเสมา ส่วนยอด ของซุม้ ท�ำเป็นยอดเจดียแ์ บบรัตนโกสินทร์สที อง ลักษณะของใบเสมานัน้ เป็นสีทอง มีฐาน 3 ชั้น รองรับฐานชั้นล่างสุดเป็นฐานสิงห์ ฐานชั้น บนสุดเป็นฐานคล้ายล�ำตัวพญานาคมีส่วนปลายเป็นหัวพญานาคซึ่งมี ลักษณะใกล้เคียงกับหางหงส์ ตัวใบเสมาในส่วนกลางท�ำรูปพระพุทธรูป ปางร�ำพึง ขนาบด้วยธรรมจักรและลวดลายทั้ง 2 ข้าง ส่วนบนของใบ เสมาประดับฉัตร 3 ชั้น และยอดรูปดอกบัวตูม พระอุโบสถตัง้ อยูบ่ นฐานสูงอีกชัน้ หนึง่ มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวัน ออกและทิศตะวันตกด้านละ 2 ประตู ซุม้ ประตูทางเข้ามีกรอบซุม้ ประตู ท�ำเป็นเสาประดับกรอบประตู 3 ชั้น อย่างวิจิตรบรรจง ประตูทางเข้าพระอุโบสถทั้ง 4 บาน ประดับลายรดน�้ำรูปเทวดายืน พนมมือ ยืนตรงเบี่ยงใบหน้าเข้าหน้ากันเล็กน้อย พื้นหลังเป็นกระหน กลายพรรณพฤกษา บานประตูด้านในพระอุโบสถประดับมุขเป็นลาย ก้านขดและกนกพรรณพฤกษาอย่างละเอียดอ่อนช้อย หน้าบันของพระ อุโบสถประดับตราสัญลักษณ์ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. 2549

98

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย สร้างด้วยปูนปิดทอง มีฉตั รทอง 5 ชัน้ ห้อยลงมาจากเพดาน ฐานพระประธาน ชั้นบนเป็นฐานกลีบบัว ประดับชายผ้าทิพย์ห้อยลงมาด้านหน้าปิดทอง ประดับกระจกอย่างงดงาม ด้านข้างทั้ง 2 ฝั่งของพระประธานท�ำรูป พระสาวกปิดทองคุกเข่าประนมมือเข้าหากัน องค์พระรองรับด้วยฐาน ขนาดใหญ่ประดับลายกลีบบัว กระจังฐานพระ ลายกระหนกสามเหลีย่ ม ปิดทองประดับกระจก พระประธาน พระสาวก และแท่นฐานตั้งอยู่บน ฐานเขียงขนาดใหญ่ สีขาวเหนือพืน้ พระอุโบสถอีกชัน้ หนึง่ ด้านหน้าฐาน พระมีโต๊ะหมู่บูชาไม้ประดับมุกขนาดใหญ่ จัดวางเครื่องสักการะบูชา ผนังด้านหลังพระประธานวาดเป็นต้นมหาโพธิพ์ ฤกษ์ตรงส่วนกลาง ฉากหลังเป็นภาพทิวทัศน์ มีเทวดาและนางอัปสรมานมัสการพระพุทธองค์ ทีพ่ นื้ ดินด้านล่างมีหมูส่ ตั ว์ใหญ่นอ้ ยหมอบเฝ้าพระพุทธองค์ ผนังฝัง่ ตรง ข้ามพระประธานเขียนภาพพระพุทธองค์ผจญมาร มีพระแม่ธรณีบบี มวย ผมให้นำ�้ ท่วมหมูม่ ารทีม่ าคุกคาม ส่วนผนังเหนือช่องหน้าต่างเขียนภาพ พุทธประวัติ ส่วนผนังระหว่างช่องหน้าต่างเขียนภาพทศชาติชาดก เพดานของพระอุโบสถทาพืน้ สีแดง สลับกับขือ่ คานสีขาว แต่ละช่วง ของเพดานประดับดาวเพดานใหญ่เป็นประธานและดาวเพดานเล็ก ตรง จุดทีเ่ ป็นดาวเพดานดวงใหญ่หอ้ ยโคมไฟระย้าลงมา ส่วนดาวเพดานดวง เล็กทัง้ 2 ข้างติดหลอดไฟดวงเล็ก ส่วนมุมประดับลายมุมสีทอง อนึง่ จาก ข้อมูลที่ระบุไว้ในพระอุโบสถให้ข้อมูลว่า “พระอุโบสถหลังนี้สร้างโดย เสด็จพ่อพรหมมาลี ปิยะ ร่างทรงแม่เจือจันทร์ ทางทอง” และระบุถึง การบูรณปฏิสังขรณ์ว่า “ พระอุโบสถหลังนี้บูรณะโดยพระเทพสุเมธมุนี เจ้าคณะจังหวัดตราด บูรณะครั้งที่ 1 วันที่ 14 มกราคม 2520 บูรณะ เสร็จวันที่ 14 มกราคม 2521 สิ้นเงิน 2,179,000 บาท บูรณะครั้งที่ 2 วันที่ 1 ตุลาคม 2552 บูรณะเสร็จ วันที่ 27 ตุลาคม 2552 สิ้นเงิน 410,000 บาท รวมทั้งสิ้น ใช้งบประมาณ 2,589,000 บาท”


พระวิหาร ( อุโบสถหลังเดิม) ในอดีตตั้งอยู่ถัดออกไปทางทิศเหนือของพระอุโบสถหันหน้าไป ทางทิศตะวันออก ด้านหน้าวิหารท�ำสระน�้ำก่อปูนขนาดเล็ก และมีซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปเพื่อสักการบูชา ถัดออกไป 2 ข้าง มีเจดีย์รูป แบบสมัยต้นรัตนโกสินทร์สีขาวประดิษฐานอยู่ 1 คู่ มีก�ำแพงแก้วก่อ อิฐถือปูนขาวล้อมรอบพระวิหาร หน้าบันประธานทั้งหมดเขียนลาย กระหนกหน้าสิงห์และกระหนกเปลวสีทองบนพื้นหลังสีน�้ำเงิน ช่อฟ้า ของอาคารท�ำเป็นรูปมังกร และหางหงส์ท�ำเป็นดอกบัวตูมในทุกด้าน และทุกชิ้นของพระวิหาร ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปิดทองประทับ นั่ ง บนฐานปั ท ม์ ที่ มี ฐ านปู น ยกสู ง อี ก ชั้ น หนึ่ ง รายรอบด้ ว ยพระพุ ท ธรู ป ขนาดย่ อ มลงมา จ�ำนวนหนึ่ง ฝาผนังของพระวิหารยังคงเหลือ ภาพจิตรกรรมโบราณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เรื่ อ งเวสสั น ดรชาดกปรากฏอยู ่ บ างส่ ว น เขียนด้วยสีน�้ำเงินคราม น�้ำตาล แดง เป็นต้น ผนังฝัง่ ตรงข้ามพระประธานเขียนภาพพระพุทธ เจ้าผจญเหล่ามาร มีพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่ ปัจจุบันทางวัดใช้พระวิหารเป็นที่เก็บรักษา โบราณวั ต ถุ ห ลายสมั ย รอยพระพุ ท ธบาท ตู้พระคัมภีร์โบราณ สมุดใบลาน ฯลฯ ทั้งนี้ กรมศิ ลปากรเคยส่งเจ้าหน้าที่มาส�ำรวจเพื่อ ท�ำการบูรณะหลายครั้ง กระทั่งเดือนมีนาคมเดือนพฤษภาคม 2519 ได้ด�ำเนินการบูรณะ ซ่อมแซมส่วนประกอบต่าง ๆ อาทิ หลังคา ผนังภายนอก เสา ประตู หน้าต่าง TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

99


เจดีย์ เป็นเจดีย์สีทองขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ สร้างราว พ.ศ.2524 ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส สูงประมาณ 1.5 เมตร เจดีย์เป็นทรงระฆังสูงชะลูดมีมุขยื่นออกมาเป็นซุ้มขนาดเล็กด้านทิศ ตะวันออก ทิศตะวันตกซึ่งท�ำเป็นประตูเข้าไปในองค์เจดีย์ได้ ลักษณะ ซุ้มเป็นเสา 2 ประดับบัวหัวเสาสีทองรองรับหน้าบันรูปเทพพนม ประดับลายกระหนกเป็นพืน้ หลัง และท�ำช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์สที อง ชุดชัน้ ฐานขององค์เจดียเ์ ริม่ จากลายประจ�ำยามก้ามปูขนาดเล็กตามด้วย ลวดบัวเกลีย้ ง จากนัน้ มีแนวลายประจ�ำยามก้ามปูคอ่ นข้างกว้าง 1 แถว ต่ อด้ ว ยชุ ด ฐานกลีบบัว หงาย 3 ชั้น ซ้อ นขึ้น ไปตามสัด ส่วนรับ องค์ ระฆัง ฐานขององค์ระฆังประดับรูปยักษ์แบกองค์ระฆังโดยรอบต่อด้วย ลายดอกบัวและลายกระจังตรงขอบโดยล�ำดับ องค์ระฆังค่อนข้างสูงชะลูด ประดับลวดลายช่อทรงพุม่ ข้าวบิณฑ์และ ลายดอกบัวสลับกันเป็นแถว และท�ำแนวลายประจ�ำยามก้ามปูวางลง มาในแนวดิ่ง 4 แนว ขอบบนองค์ระฆังตกแต่งด้วยลายมาลัยและเฟื่อง อุบะขนาดเล็ก จากนัน้ เป็นส่วนยอดเจดียท์ บี่ ลั ลังก์สเี่ หลีย่ มจัตรุ สั เกลีย้ ง แซมกระจังตรงขอบ ตามด้วยรูปยักษ์แบกเหนือปักไปเป็นชุดลายดอกบัว กระจัง มาลัยและเฟื่องอุบะ 5 ชั้น จนถึงปลียอดและลูกแก้วโดยล�ำดับ

100

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


รูปแบบของศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นอาคารทรงไทย ประยุกต์แบบจตุรมุขทีม่ สี ว่ นยืน่ ออกไป หันหน้าไปทางทิศเหนือด้านหน้า มีปา้ ยชือ่ ศาลตัง้ อยู่ ตัวอาคารค่อนข้างโปร่ง ตัง้ อยูบ่ นฐานรูปเรือทีอ่ ยูใ่ น สระน�้ำ สามารถเดินเข้าบริเวณลานโดยรอบอาคารศาลได้จากทางเข้า ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก บริเวณลานรอบอาคารนัน้ ส่วนทีเ่ ป็นหัว เรือมีโต๊ะจัดวางเครื่องสักการบูชา ตัวอาคารศาลยกพื้นสูงท�ำฐานแบบ ฐานเขียง มีทางเข้า 3 ด้าน ยกเว้นทางทิศใต้ซึ่งเป็นด้านหลังของศาล เสาของอาคารทุกต�ำแหน่งท�ำคันทวยเครื่องบนหลังคา และท�ำคูหาตรง ระหว่างเสาทั้ง 2 ข้างที่ติดกับเพดาน เหนือขึ้นไปเป็นส่วนของหน้าบัน ที่ท�ำในลักษณะเดียวกันทั้งหมด คือส่วนกลางเป็นรูปพระมาลาวางอยู่ บนพระแสงดาบ ขนาบด้วยลายเทพนมต่อขึ้นไปเป็นกระหนกเปลว โดยมีพื้นหลังเป็นสีน�้ำเงินแกมฟ้า ประดับช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องสีแดง เมือ่ เดินขึน้ จากบันไดทางขึน้ จะถึงห้องคูหาทีป่ ระดิษฐานพระบรมรูป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบรมรูปนั้นแต่งองค์ในชุดเครื่องยศ ของกษัตริย์ ทรงสวมพระมาลาทรงถือพระแสงดาบวางพาดไว้เหนือ พระชานุ ทั้ ง 2 ข้ า ง ด้ า นหลั ง มี ฉั ต รเงิ น และทองปั ก อยู ่ ด ้ า นหน้ า พระบรมรูปฯ มีเครื่องสักการบูชาตั้งวางเรียงไว้ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สืบเนือ่ งจากทีส่ มเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมือ่ ครัง้ ยังเป็นพระยาตาก ได้ตีฝ่าองค์ทัพพม่าออกมาทางตะวันออก และได้รวบรวมไพร่พล ระหว่างเส้นทางที่เดินทางมาโดยพื้นที่บริเวณวัดโยธานิมิต ซึ่งเป็นอีก แห่งหนึ่งที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงตั้งค่ายทัพ และรวบรวมเหล่ า ไพร่ พ ลเพื่ อ กลั บ ไปขั บ ไล่ กองทหารพม่ า ดั ง นั้ น ทางวัดจึงได้จดั สร้างศาลเพือ่ เป็นอนุสรณ์และเครือ่ งเตือนใจถึงวีรกรรม ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเหล่าบรรพบุรุษทหารหาญ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตัง้ อยูภ่ ายในบริเวณวัดโยธานิมติ ตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากข้อมูลของทางวัดระบุวา่ พระบรมรูป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นทองส�ำริด ลงสีทั้งองค์ด�ำเนินการ สร้างทีว่ ดั ราชผาติการาม กรุงเทพฯ จ�ำนวน 3 องค์ ปัจจุบนั ประดิษฐานอยู่ ทีจ่ งั หวัดตราด กาญจนบุรี นครสวรรค์ ทัง้ นี้ มณฑปรูปเรือส�ำเภาสร้างโดย พระเทพสุเมธมุนี ใน พ.ศ.2535 จากนัน้ จึงได้อญ ั เชิญพระบรมรูปสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชมาประดิษฐาน และด�ำเนินการปรับภูมิทัศน์ ต่อมาในปี พ.ศ.2551 เทศบาลเมืองตราดได้ด�ำเนินการบูรณะปรับปรุง ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและภูมิทัศน์โดยรอบให้งดงาม

พระเทพสุเมธมุนี (สง่า สกฺโก) เจ้าอาวาสวัดโยธานิมิต พระอารามหลวง และเจ้าคณะจังหวัดตราด

ประวัติย่อพระเทพสุเมธมุนี

พระเทพสุเมธมุนี (สง่า สกฺโก) เจ้าอาวาสวัดโยธานิมติ พระอาราม หลวง และเจ้าคณะจังหวัดตราด นามเดิม สง่า สุทธิวารี อายุ 88 ปี พรรษา 59 ( ณ ปี พ.ศ.2561) เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2473 ณ บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 4 ต�ำบลหนองคันทรง อ�ำเภอเมือง จังหวัดตราด TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

101


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

พระครูวิธานธรรมนิเทศก์ (หลวงปู่กลิ่น อินฺทขีโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางปรือ อายุ ๙๘ ปี

วัดบางปรือ วั ด บางปรื อ ตั้ ง อยู ่ บ ้ า นเลขที่ 43 หมู ่ 8 ต� ำ บลห้ ว ยแร้ ง อ� ำ เภอเมื อ ง จั งหวั ด ตราด สังกัดมหานิกาย 102

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


ประวัติวัดบางปรือ

วัดบางปรือ ได้รบั อนุญาตแต่งตัง้ ให้เป็นวัดเมือ่ พ.ศ. 2350 ซึง่ คาด ว่าเป็นส�ำนักสงฆ์มาไม่นอ้ ยกว่า 50 ปี ได้รบั พระราชทานวิสงุ คามสีมา ครัง้ แรก เมือ่ พ.ศ. 2483 เมือ่ พระครูวธิ านธรรมนิเทศ (กลิน่ อินทฺ ขีโล) และคณะสงฆ์ ทายกทายิกา ได้พร้อมใจกันร่วมกันสร้างพระอุโบสถ หลังใหม่แทนหลังเก่า ทีช่ ำ� รุดทรุดโทรมเกินกว่าจะบูรณะซ่อมแซมได้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เวลา 09.09 น. และได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ เมื่อ พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทาน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ได้จัดงานผูกพัทธสีมาเมื่อ วันที่ 31 มกราคม ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ฯพณฯ ดร.สิรกิ ร มณีรินทร์ รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน นายเอกอนันต์ บรรเลง อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ เป็นประธานตัดลูกนิมิต

ท�ำเนียบเจ้าอาวาสวัดบางปรือ

1. พระอธิการพรหม ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นตั้งแต่เมื่อใด 2. พระอธิการแปลก ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นตั้งแต่เมื่อใด 3. พระอธิการเขียว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นตั้งแต่เมื่อใด 4. พระอธิการพัด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นตั้งแต่เมื่อใด 5. พระอธิการหมุด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นตั้งแต่เมื่อใด 6. พระอธิการเฉื่อย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นตั้งแต่เมื่อใด 7. พระอธิการช้อย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นตั้งแต่เมื่อใด 8. พระอธิการวอน ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นตั้งแต่เมื่อใด 9. พระครูวิธานธรรมนิเทศ (กลิ่น อินฺทขีโล) พ.ศ. 2488-พ.ศ. 2547 10. พระมานิตย์ สารทโร 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 รักษาการแทนฯ 11. พระบุรเขตธรรมคณี 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เจ้าอาวาสปัจจุบัน TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

103


ประวัติพระบุรเขตธรรมคณี

พระบุรเขตธรรมคณี ฉายา รกฺขิตธมฺโม อายุ 53 พรรษา 34 สถานะเดิม นาม บังคม นามสกุล สุธรรม เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2502 ทีบ่ า้ นปะอา หมูท่ ี่ 2 ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด บิ ด าก� ำ นั น สุ ข สุ ธ รรม มารดานางไหม สุ ธ รรม มี พี่ น ้ อ ง 4 คน 1.นายนิยม สุธรรม 2.นายประสาน สุธรรม 3.นายสมคิด สุธรรม 4.พระครูสิริธรรมรักขิต บรรพชา 3 กรกฎาคม พ.ศ.2515 ณ วั ด ช้ า งทู น อ.บ่ อ ไร่ พระครูคีรีเขตคณารักษ์ จร.วัดสลัก จอ.เขาสมิง เป็นพระอุปัชฌาย์ (บวชเสร็จมาอยู่วัดบ่อไร่) อุปสมบท 11 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ณ วัดบ่อไร่ พระครูคีรีเขต คณารักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์จ�ำนง อนีโฆ เจ้าอาวาสวัดบ่อไร่ (ต่อมาเป็นพระครูสธุ รรมวิภชั ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาสง่า สกุโก เจ้าอาวาสวัดโยธานิมติ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (ปัจจุบนั เป็น พระเทพ สุเมธมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดตราด)

การศึกษาและหน้าที่

พระบุรเขตธรรมคณี เจ้าคณะจังหวัดตราด เจ้าอาวาสวัดบางปรือ

104

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

พ.ศ. 2513 จบ ป.4 โรงเรียนวัดบ่อไร่ (ชั้นสูงสุด) พ.ศ. 2515 สอบได้ น.ธ.ตรี วัดบ่อไร่ พ.ศ. 2517 (มาอยู่วัดโยธานิมิต) สอบได้ น.ธ.โท พ.ศ. 2518 สอบได้ น.ธ.เอก และบาลีประโยค 1-2 พ.ศ. 2520 สอบได้ ป.ธ.3 พ.ศ. 2522 สอบได้ ป.ธ.4 วัดโยธานิมิต


พ.ศ. 2523 ย้ายไปเรียนอยู่วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ พ.ศ. 2525 จบ.ม 3 ร.ร.บาลีอบรมศึกษา วัดสระเกศ กท. พ.ศ. 2527 จบ ม.6 ร.ร บาลี เตรียมอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ กทม.และสอบได้วิชาชุดครู พ.กศ. พ.ศ. 2530 สอบได้วิชาชุดครูพิเศษ (พ.ม.) พ.ศ. 2531 สอบได้ ป.ธ.5 วัดปทุมคงคา ส�ำเร็จปริญญาตรี สาขา พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กทม. พ.ศ. 2532-2534 เป็นเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย (นักการศึกษา 3 ) กองปฏิบัติศาสนกิจในประเทศ พ.ศ. 2534 เป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อไร่ และเป็นประธานหน่วยอบรม ประชาชน ประจ�ำต�ำบลบ่อพลอย พ.ศ. 2536 เป็น ผอ.ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดบ่อไร่

พ.ศ. 2537 เป็น ผอ.ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดบ่อไร่ และได้เปิด สอนบาลี ประโยค 1-2 พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เทียบผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชัน้ เอก ในราชทินนามว่า พระครู สิริธรรมรักขิต (ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในพระบรมมหาราชวัง) พ.ศ. 2542 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอ�ำเภอเมือง ตราด, ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชตั้งเป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระอารามหลวง (วัดโยธานิมิต) ต่อมาได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอ�ำเภอเมืองตราด พ.ศ. 2545 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2546 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะอ�ำเภอ ชั้นพิเศษ พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปรือ พ.ศ. 2552 เป็นผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนปริยตั สิ ามัญ วัดสุวรรณมงคล พ.ศ. 2552 ส�ำเร็จปริญญาโท พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ได้รับแต่งตั้งรักษาการแทนเป็น เจ้าคณะจังหวัดตราด วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้รบั พระบัญชาเป็นเจ้าคณะจังหวัด ตราด วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้รับโปรดเกล้า ฯ พระราชทาน สมณศักดิ์พัดยศ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในพระราชทินนามที่ พระบุรเขตธรรมคณี TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

105


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดธรรมาภิมุข (ไร่ป่า) วัดธรรมาภิมขุ (ไร่ปา่ ) ตัง้ อยูท่ บี่ า้ นไร่ปา่ เลขที่ 1 ม.1 ต.เนินทราย อ.เมืองตราด จ.ตราด ปัจจุบนั มีพระครูสธุ รรมมาทร เป็นเจ้าอาวาส และมีนายนุกลู ชอบรส เป็นก�ำนัน ต.เนินทราย 106

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


ประวัติวัดธรรมาภิมุข (ไร่ป่า)

วัดธรรมาภิมุข (ไร่ป่า) สร้างขึ้นโดยการ ริเริ่มของท่านพระครูพุทธิสารวิบูล เจ้าคณะ อ.เมืองตราด ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดล�ำดวน ภายหลั ง ท่ า นเป็ น เจ้ า อาวาสวั ด บุ ป ผาราม (ปลายคลอง) และด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เจ้ า คณะ อ.เมืองตราด ได้ชกั ชวนญาติโยม ทายกทายิกา ในหมู่บ้านไร่ป่า และหมู่บ้านใกล้เคียงร่วม กันสร้างเป็นที่พักสงฆ์ขึ้น โดยมีผู้บริจาคที่ดิน จ�ำนวน 5 คน ๆ ละ 1 แปลง ดังมีรายนาม ดังต่อไปนี้ นางแบบ คชิณภักดิ์ นายสรวง

สิกบุตร นายวัน สันติมิตร นายขุก คณฑาและ นางเสมอ เทียนห้าว รวมเป็นที่ดินทั้งหมด 37 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา โดยปรึกษาตกลงให้ นายเหียน ปัสนานนท์ เป็น ผู้จับจองขอออก นส.3 (ให้เป็นชือ่ นายเหียน ปัสนานนท์คนเดียว เมื่อเป็นวัดแล้วจะได้โอนง่าย) ส่วนการสร้างที่พักสงฆ์น้ัน ก็เริ่มเตรียม อุปกรณ์ตา่ ง ๆ เมือ่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2502 ชาวบ้าน พุทธศาสนิกชน ทายกทายิกา ร่วมมือ ร่วมแรงกันสร้างกุฏศิ าลา โรงครัว โดยใช้เสาไม้ เสม็ดบ้าง ไม้แก่นบ้าง หลังคามุงด้วยจาก ฝากั้นด้วยจากบ้าง ทางมะพร้าวบ้าง ตาม แต่จะหาได้ในท้องถิ่นนั้น เป็นการสร้างที่พัก ชั่วคราวยังไม่ถาวรมั่นคง เมื่อสร้างที่พักแล้ว ชาวบ้าน ทายกทายิกาก็ไปนิมนต์พระมาอยู่ โดยมีพระแสด ฉายแสง และพระจากวัดต่าง ๆ รวมกัน 5 รูป พื้ น ที่ ดิ น ที่ ส ร้ า งที่ พั ก สงฆ์ ทั้ ง หมดนั้ น มีสภาพเป็นพื้นที่ทรายต�่ำและชุ่มน�้ำ (เดิมเป็น ที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ตะกาด” คือท�ำนาไม่ ได้ ท�ำสวนผลไม้ก็ไม่ได้ เพราะเป็นพื้นทราย ชาวบ้านจึงใช้เป็นทุ่งหญ้าส�ำหรับเลี้ยงควาย และตอนหน้าแร้งใช้ปลูกแตงโมบ้าง) ส่วนกุฏิ และศาลาทีส่ ร้างนัน้ ก็ยงั ไม่ถาวร เมือ่ พระแสด มาอยู่ถึง พ.ศ.2504 ท่านได้ร่วมกับชาวบ้าน ทายกทายิการิเริ่มสร้างศาลาบ�ำเพ็ญบุญขึ้น 1 หลัง ยาว 18 เมตร กว้าง 14 เมตร แต่ยัง ไม่ทันเสร็จ พระแสดก็ได้ย้ายกลับไปวัดเดิม เสี ย ก่ อ น (เพราะพระแสดในอดี ต เคยเป็ น คู่อริกันมาก่อนบวช) พระแสดนั้นได้มาอยู่

จ�ำพรรษาอยู่ที่ส�ำนักสงฆ์นี้ 4 พรรษา เมือ่ พระแสดไปแล้ว ชาวบ้าน ทายกทายิกา ได้นมิ นต์พระเหวย เปสโล จากวัดวิเวกวราราม เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2506 พระเหวย เปสโล ได้เริ่มพัฒนาที่พักสงฆ์ โดยชักชวนญาติโยมทายกทายิกาสร้างกุฏิขึ้น 1 หลัง กว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร และโรง ครัว 1 หลัง กว้าง 5 เมตร ยาว 11 เมตร และในปี พ.ศ.2512 พระเหวย เปสโล ก็ ข อลาสิ ก ขา ที่ พั ก สงฆ์ ไ ร่ ป ่ า ก็ ข าดพระ ผู้น�ำอีกครั้งหลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน ก็พระอาจารย์ทองหยิบ จากวัดใต้พระโขนง กทม. ได้เดินทางไปวัดไผ่ล้อมตราด เพื่อหา ที่วิเวกเพื่อปฏิบัติธรรม พระราชเขมากรเลย แนะน�ำให้ไปที่พักสงฆ์ไร่ป่ามีที่สงบ ปี พ.ศ.2513 พระอาจารย์ ท องหยิ บ ได้ ด� ำ เนิ น การขออนุ ญ าตตั้ ง วั ด และได้ รั บ อนุญาตตั้งชื่อวัดว่า “วัดธรรมาภิมุข” เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2513 พระอาจารย์ ท องหยิ บ ได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง ให้เป็นเจ้าอาวาสเป็นองค์แรก รวมแล้วพระ อธิการทองหยิบได้เป็นหัวหน้าและเจ้าอาวาส เกือบ 3 ปี พระอธิการทองหยิบอยู่ที่วัดนี้ ท่านได้สร้างหอระฆัง และสร้างโบสถ์ชั่วคราว และหอถังส่งน�้ำ และท่านได้จากไป วัดก็เลย ว่างลงจากเจ้าอาวาส วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2516 ญาติโยม ทายกทายิกาได้ไปนิมนต์พระสุรินทร์ ผาสุโก (สั น ติ มิ ต ร) หรื อ พระครู สุ ธ รรมมาทร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

107


การพัฒนาวัดในสมัยพระครู สุธรรมาทร

เมื่อพระครูสุธรรมาทรมาเป็นเจ้าอาวาส นั้ น ท่ า นได้ ป รั บ ปรุ ง สภาพพื้ น ที่ ข องวั ด ที่ เป็นพื้นที่ต�่ำแฉะน�้ำและเป็นทุ่งหญ้า มีต้นไม้ ทุ่งตะกาด โดยการถมดิน ถมถนน ปรับปรุง แผนผังของวัด และปรับปรุงวัดโดยค่อย ๆ ท� ำ ไปที ล ะน้ อ ยตามก� ำ ลั ง เพราะทุ น ก็ ไ ม่ มี บ้านญาติโยมก็นอ้ ย มีประมาณ 50-60 หลังคา เรือน ปี พ.ศ.2516 เริ่มวางแผนปรับปรุงพื้นที่ ภายในวั ด เพื่ อ สร้ า งกุ ฏิ พ ระอั น ดั บ ส� ำ หรั บ ปฏิ บั ติ ธ รรมเป็ น หลั ง เดี่ ยว ๆ จนถึ ง พ.ศ. 2527 รวมแล้วจ�ำนวน 15 หลัง ปี พ.ศ.2521 กรมโยธาธิการได้มาเจาะบ่อบาดาล ให้ 1 บ่อ (ปรากฏว่าโชคดีมาก ๆ เพราะเจอน�ำ้ ดีอย่างมาก) จึงเริม่ ท�ำประปาหมูบ่ า้ น โดยเริม่ จากในวัดก่อน ปี พ.ศ.2526 เริ่มขยายเข้าหมู่บ้านประมาณ 25 หลังคาเรือน และเพิม่ ขึน้ เรือ่ ย ๆ (ถึงปี พ.ศ. 2556 ประมาณ 400 หลังคาเรือน) ปี พ.ศ.2526 เริ่มด�ำเนินการก่อสร้างกุฏิ เจ้าอาวาส แล้วเสร็จ พ.ศ.2532 ค่าก่อสร้าง หนึ่งล้านห้าแสนกว่าบาท

108

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ปี พ.ศ.2527 เริ่มด�ำเนินการก่อสร้างเมรุ เสร็จเมื่อ พ.ศ.2529 ค่าก่อสร้าง 280,000 กว่าบาท ปี พ.ศ.2534 หินคลุกใส่ถนน เดินท่อ ประปาเข้าหมู่บ้าน และถังเก็บพักน�้ำจ่ายเข้า หมู่บ้าน ปี พ.ศ.2534 เริม่ ด�ำเนินการก่อสร้างศาลา บ�ำเพ็ญบุญ กว้าง 22 เมตร ยาว 70 เมตร ปี พ.ศ.2535 ด�ำเนินการสร้างถังพักเก็บน�ำ้ บรรจุได้ 90 คิว เพื่อจ่ายน�้ำให้ประชาชนและ ก่อสร้างกุฏิพระอันดับ รวม 12 หลัง

ปี พ.ศ.2555 ด�ำเนินการสร้างพระสัมฤทธิ์ ปางเชียงแสน หน้าตัก 90 เซนติเมตร ปี พ.ศ.2555 ด�ำเนินการหล่อพระปางต่าง ๆ เพือ่ ประดิษฐานบนหน้าบันอุโบสถ จ�ำนวน 12 องค์ หน้าตัก 100 ซม. แบ่งเป็นพระพุทธรูปยืน 4 องค์ นั่ง 8 องค์ ปี พ.ศ.2556 ด�ำเนินการต่อเติมศาลา บ�ำเพ็ญบุญ โดยการมุงหลังคาด้านหลังเพื่อใช้ ประโยชน์ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ต่าง ๆ


ประวัติพระครูสุธรรมาทร

พระครูสุธรรมาทร เจ้าคณะต�ำบลเนินทราย และเจ้าอาวาสวัดธรรมาภิมุข

พระครูสธุ รรมาทร ฉายา ผาสุโก อายุ 72 ปี พรรษา 48 วิทยฐานะ น.ธ.เอก วัดธรรมาภิมขุ ต.เนินทราย อ.เมือง จ.ตราด ปัจจุบันด�ำรง ต� ำ แหน่ ง เจ้ า คณะต� ำ บลเนิ น ทราย และ เจ้าอาวาสวัดธรรมาภิมุข อุปสมบท วัน 6ฯ6 ค�ำ่ ปีระกา ตรงกับวัน ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2512 ณ วัดเนินทราย ต.เนินทราย อ.เมืองตราด จ.ตราด โดยมี พระอุปัชฌาย์คือ พระครูธรรมนิตยานุกูล วั ด เนิ น ทราย ต.เนิ น ทราย อ.เมื อ งตราด จ.ตราด พระกรรมวาจาจารย์คือ พระครูศุภ กิจวิบลู วัดวิเวกวราราม ต.เนินทราย อ.เมือง ตราด จ.ตราด และพระอนุสาวนาจารย์คือ พระครูไพบูลวรกิจ วัดเนินทราย ต.เนินทราย อ.เมืองตราด จ.ตราด วิทยฐานะ พ.ศ.2503 ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาชั้ น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองตราด อ.เมือง ตราด จ.ตราด พ.ศ.2553 สอบได้ นั ก ธรรมชั้ น เอก ศาสนศึ ก ษาวั ด ธรรมภิ มุ ข ส� ำ นั ก เรี ย นคณ จังหวัดตราด วัดโยธานิมิต ต.บางพระ อ.เมือง ตราด จ.ตราด พ.ศ.2557 ส�ำเร็จการศึกษาการบริหาร กิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ความรู้พิเศษ งานการก่อสร้าง งานปกครอง พ.ศ.2517 เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมาภิมุข ต.เนินทราย อ.เมืองตราด จ.ตราด พ.ศ.2523 เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ.2547 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะ ต�ำบลเนินทราย พ.ศ.2547 เป็นเจ้าคณะต�ำบลเนินทราย พ.ศ.2555 เป็นพระอุปัชฌาย์ TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

109


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดท่าพริก วัดท่าพริก ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านท่าพริก หมู่ที่ 2 ต�ำบลท่าพริก อ�ำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ประวัติความเป็นมา

วัดท่าพริกเป็นวัดเก่าแก่ จัดสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2305 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ปัจจุบนั ไม่ พ บสิ่ ง ก่ อ สร้ า งสมั ย อยุ ธ ยาเหลื อ ให้ เ ห็ น ภายในวัด ได้รบั พระราชทานวิสงุ คามสีมา เมือ่ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2541 เขตวิสงุ คามสีมา กว้าง 10 เมตร ยาว 30.40 เมตร ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 32 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ จ�ำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา

110

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

การศึ ก ษา มี โ รงเรี ย นพระปริ ยั ติ ธ รรม แผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2471 และ โรงเรียนพระปริยัติธรมแผนกบาลี เปิดสอน เมื่อ พ.ศ.2480

อาคารเสนาสนะ

อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมือ่ พ.ศ.2540 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทยจตุรมุข

ศาลาการเปรียญ กว้าง 26.25 เมตร ยาว 35 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2504 เป็น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จ�ำนวน 12 หลัง เป็นอาคารไม้ 10 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และตึก 1 หลัง ศาลาบ�ำเพ็ญกุศล จ�ำนวน 1 หลัง สร้างด้วย คอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนีย้ งั มี ฌาปนสถาน 1 หลัง หอระฆัง 1 หลั ง หอกลอง 1 หลั ง และโรงเรี ย น พระปริยัติธรรม 1 หลัง


ท�ำเนียบเจ้าอาวาส

การบริหารและการปกครองของวัดท่าพริก มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระฉิม รูปที่ 2 พระกุย รูปที่ 3 พระจ้อน รูปที่ 4 พระท�ำ รูปที่ 5 พระครูจริยาลังการ พ.ศ.2464-2523 รูปที่ 6 พระครูมหานทีคณารักษ์ พ.ศ.2524ปัจจุบัน

ปูชนียบุคคลของวัดท่าพริก

“ หลวงพ่ออุ่ม ” หรือ พระครูจริยาลังการ ไม่ได้เป็นเพียงแต่พระสงฆ์ผอู้ ยูใ่ นวัดวาอาราม เท่านั้น แต่ท่านคือพระในหัวใจของชาวบ้าน ท่าพริกและชาวบ้านไร่พรงมาช้านาน โดยมี ผู้เฒ่าในหมู่บ้านกล่าวขวัญถึงท่านว่า ในอดีตบ้านท่าพริก มีวัดอยู่ 2 วัด ใกล้กัน คือ วัดท่าพริกนอก และวัดท่าพริกใน เมือ่ มี 2 วัด หัวใจของคนในหมู่บ้านแต่ละแห่งแตกแยกกัน บ้านไร่พรงท�ำบุญวัดท่าพริกนอก บ้านท่าพริก ท�ำบุญในวัดท่าพริกใน ความรักความสามัคคี ของสองหมู ่ บ ้ า นนี้ ไ ม่ มี อ ย่ า งปั จ จุ บั น แต่ หลวงพ่ออุ่มสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยการ ขอให้ชาวบ้านผลัดกันท�ำบุญในเทศกาลส�ำคัญ เช่น เทศกาลเข้าพรรษาโดยผลัดกันท�ำบุญวัด ละวัน ผลัดกันไป ต่อมาด้วยบารมีของหลวงพ่ออุ่มโดยแท้ ที่รวมหัวใจอันแตกแยกของบุคคลในหมู่บ้าน ทั้งสองมารวมกันได้ ความไม่จ�ำเป็นที่จะต้อง มีวัดถึง 2 วัด จึงค่อยๆ ประจักษ์ขึ้นในใจของ คนในหมู่บ้าน หลังสิ้นเจ้าอาวาสองค์สุดท้าย ของวัดท่าพริกนอก คือ ท่าน “ ขรัวเหม็ง “ ลาสึก ไปแล้ ว ก็ ไ ม่ ป รากฏว่ า ใครจะร�่ ำ ร้ อ งหา เจ้าอาวาสรูปไหนอีก

ปัญหาแรกและปัญหาที่ 2 แม้จะหนักแต่ไม่ เท่ากับปัญหาที่ 3 ไม่มีใครรู้ว่าคนบ้านท่าพริก กับคนบ้านไร่พรงเป็นอริกันเพราะสาเหตุใด และนานเท่าใดมาแล้วอาจเป็นนิสัยอย่างหนึ่ง ของคนที่อยู่ใกล้ชายแดนซึ่งชอบใช้วิธีรุนแรง เหี้ยมโหดตัดสินปัญหาบ่อย ๆ หรืออาจเป็น เพราะสาเหตุอนื่ แต่ไม่วา่ จะเป็นเพราะสาเหตุ ใด ก็ตามความร้าวฉานได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนถึ ง จุ ด สุ ด ยอดในสมั ย ที่ ห ลวงพ่ อ อุ ่ ม เป็ น เจ้ า อาวาส ท่ า นต้ อ งระดมความสามารถ เฉพาะตนที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าคลี่คลายปัญหานี้ และยอมรับเองว่าเป็นปัญหาที่หนักที่สุด แต่ก็ ท้าทายให้อยากท�ำอยากแก้ไขมากที่สุด หลวงพ่ อ อุ ่ ม ได้ ใ ช้ กุ ศ โลบายในการแก้ ปัญหานีท้ ลี ะขัน้ ในขัน้ แรก ท่านได้ศกึ ษาค้นคว้า พระพุ ท ธพจน์ ใ นพระบาลี แ ละอรรถกถา ต่าง ๆ จนแตกฉาน ฝึกหัดเทศน์จนเชี่ยวชาญ คล่ อ งแคล่ ว ท่ า นต้ อ งอดหลั บ อดนอนจน ดึกดื่นเที่ยงคืน เพื่อค้นคว้าและฝึกฝนตัวเอง ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี อีกทั้งท่านมีนิสัย รักความสะอาดและความมีระเบียบอยูแ่ ล้ว จึง ได้เข้มงวดกวดขันความประพฤติของตนเองให้

เคร่งครัดมิให้ยอ่ หย่อน ท่านถือคติวา่ “ เมือ่ เรา จะสอนให้คนเขาละความชั่ว ประพฤติความดี เราต้องละชั่วและท�ำดีได้ก่อน ค�ำสอนของเรา จึงจะมีค่าควรรับฟัง ” เมื่อจริยาวัตรข้อประพฤติปฏิบัติของท่าน เป็นทีแ่ ซ่ซอ้ งสรรเสริญกันทัว่ ไปแล้ว ท่านก็เริม่ ออกเทศน์สั่งสอนบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายให้เห็นโทษ ของการแตกสามัคคี และคุณของสามัคคีธรรม อาจน� ำ ความสุ ข ความเจริ ญ มาให้ แ ก่ อ นุ ช น รุ่นหลังของสังคมได้ อาศัยที่ท่านเองเคยมี ประสบการณ์ในวงพวกนักเลงมาก่อน จึงรู้ ชัดว่าการเอาชนะความเหี้ยมโหดนั้นไม่มีทาง ส�ำเร็จแน่นอน ท่านจึงใช้วธิ นี มิ่ นวล คือ เอาหลัก ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้ ตามกาลเทศะที่เหมาะสม ส�ำแดงมนุษยธรรม ในตนให้ ป รากฏชั ด เช่ น ออกเยี่ ย มเยี ย น ผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ให้ความช่วยเหลือในงานศพ เป็นต้น พยายามขจัดสาเหตุทจี่ ะน�ำความแตก สามัคคีให้หมดไป เช่น เสนอขอให้ยุบวัดท่า พริกนอกมารวมกันกับวัดท่าพริกใน เป็นวัด เดียวกันเรียกว่า วัดท่าพริก เมื่อ พ.ศ. 2480 จนในที่ สุ ด ท่ า นก็ ส ามารถประสานสามั ค คี ให้ เ กิ ด ในหมู ่ ค นที่ เ คยเป็ น อริ กั น มาช้ า นาน น�ำสันติภาพและภราดรภาพมาสูต่ ำ� บลท่าพริก ได้ส�ำเร็จ หลวงพ่ออุ่ม จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของ คนในต�ำบลท่าพริกและในต�ำบลใกล้ไกลออก ไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ตราบจนวันนี้ที่ท่าน ได้สิ้นภารกิจในโลกมนุษย์แล้ว แม้ท่านจะอยู่ แห่งหนใดในสากลพิภพหรือจักรวาล ท่านยังฝัง ประทับแน่นอยู่ในหัวใจของคนต�ำบลท่าพริก ตลอดกาล TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

111


.indd 174

18/8/2561 11:32:08


.indd 175

18/8/2561 11:39:20


WO R K LI FE

บันทึกเส้นทางพบนายอำ�เภอ

นายภาณุวัฒน์ พุทธเกสร นายอำ�เภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

เมืองอัญมณี ถิ่นทับทิมสยาม นาม ‘บ่อไร่’

คือค�ำขวัญประจ�ำอ�ำเภอบ่อไร่ ซึ่งมีที่ว่าการอ�ำเภอตั้งอยู่เลขที่ 999 หมู่ที่ 3 ต�ำบลบ่อพลอย อ�ำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ปัจจุบันมีนายภาณุวัฒน์ พุทธเกสร ด�ำรงต�ำแหน่ง นายอ�ำเภอบ่อไร่ ความเป็นมาของอ�ำเภอ อ�ำเภอบ่อไร่เดิมอยู่ในเขตการปกครองของ อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด จากนั้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2513 ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอ�ำเภอ ประกอบด้วย 3 ต�ำบล คือ ต�ำบลบ่อพลอย ต�ำบล ช้างทูนและต�ำบลด่านชุมพล เนื่องจากเป็นท้องที่ ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์คือ แร่รัตน ชาติ (พลอยแดง หรือทับทิมสยาม) จึงมีประชาชน จากจังหวัดต่าง ๆ ทัว่ ประเทศไทยเข้ามาอาศัยอยู่ เป็นจ�ำนวนมากเพือ่ แสวงโชคจากการขุดแร่พลอย ท�ำให้กงิ่ อ�ำเภอบ่อไร่มคี วามเจริญอย่างรวดเร็ว จึง ได้แยกต�ำบลช้างทูนส่วนหนึง่ ออกไปตัง้ เป็นต�ำบล หนองบอนเพิ่มอีก 1 ต�ำบล รวมเป็น 4 ต�ำบล

114

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ต่อมา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ได้รับการ ประกาศยกฐานะเป็นอ�ำเภอ ชื่อ “อ�ำเภอบ่อไร่” มี ผลบังคับใช้ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2524 ภายหลัง เมื่อปี พ.ศ.2529 ได้แยกพื้นที่ต�ำบลด่านชุมพล ออกไปตั้งเป็นต�ำบลนนทรีย์ เพิ่มขึ้นอีก 1 ต�ำบล รวม 5 ต�ำบลจนถึงปัจจุบัน โดยที่มาของชื่ออ�ำเภอว่า “บ่อไร่” ในอดีตไม่ พบว่ามีผใู้ ดบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่ามีทมี่ าอย่างไร ได้สอบถามคนเก่าแก่ทมี่ ถี นิ่ ฐานดัง้ เดิมของอ�ำเภอ บ่อไร่แล้วปรากฏที่มาแต่ไม่ขอยืนยันว่า เมื่อก่อน สงครามโลกครั้งที่ 1 มีนายทุนชาวกุเหล่า (เขมร) ซึ่งมีความรู้ความช�ำนาญทางด้านพลอย เดินทาง เข้ามาท�ำและรับซื้อพลอยในท้องที่อ�ำเภอบ่อไร่

เดินทางโดยมีชา้ งเป็นพาหนะผ่านเข้ามาทางเมือง ไพลินและเมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ข้าม เขาบรรทัดเข้ามายังอ�ำเภอบ่อไร่ เมื่อถึงอ�ำเภอ บ่ อ ไร่ แ ล้ ว ได้ ห ยุ ด พั ก ปั ก หลั ก การท� ำ พลอยขึ้ น และได้มีการท�ำไร่ปลูกข้าวเพื่อเป็นเสบียงในการ ท�ำพลอย มีการขุดบ่อน�้ำในไร่และพบพลอยขึ้น จึงได้มีการขุดบ่อพลอยในไร่ข้าว และเรียกกันว่า “บ่อไร่” ติดปากต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน วิสัยทัศน์อ�ำเภอบ่อไร่ “ถิ่นขุนเขาและสายธาร ต�ำนานแห่งอัญมณี มีน�้ำตกหลากหลาย การค้าขายชายแดน แหล่งผลไม้ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง”


นายอ�ำเภอชวนเที่ยว

บ้านฉัน ไม่ใกล้ ไม่ไกล ไม่ไปไม่รู้ อ�ำเภอบ่อไร่มสี ถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีส่ วยงามด้วย ความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยมีน�้ำตกมากถึง 9 แห่ง นอกจากนี้ยังมีเมืองอัญมณี ที่เป็นเหมือน พิพิธภัณฑ์ที่จะพาผู้ที่มาเยี่ยมชม ย้อนวันเวลา กลับไปยังสมัยทีก่ ารค้าพลอยยังรุง่ เรืองอยูใ่ นพืน้ ที่ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจมาเที่ยวใน อ�ำเภอบ่อไร่ โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติน�้ำตก คลองแก้ว

โบสถ์ดิน

สปา สุ่มไก่

ภายในโบสถ์ดิน

น�ำ้ ตกคลองแก้ว

โบสถ์ดิน วัดทับทิมสยาม เป็นโบสถ์ที่อยู่ใน โครงการการสร้างพระอุโบสถดิน 4 ภาค 9 แห่ง ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอ เพียง โดยส�ำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ร่วม กับ ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และท�ำการ ก่อสร้างโดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตอุเทนถวาย ซึ่งเป็น โบสถ์ดินแบบอัด เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 86 พรรษาและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ สังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจริญพระชันษา 100 ปี เมื่อ พ.ศ.2556

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

115


WO R K L I F E

บันทึกเส้นทางพบเทศบาลตำ�บล

เทศบาลตำ�บลหนองบอน

“เกษตรกรรมน�ำชีวิต เศรษฐกิจพัฒนา การศึกษาก้าวไกล ใส่ใจผู้สูงอายุ” คือวิสัยทัศน์ของเทศบาลต�ำบลหนองบอน ตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 1 หมู ่ ที่ 3 บ้ า นเนิ น พั ฒ นา ต�ำบลหนองบอน อ�ำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ในเขตพื้ น ที่ เ ทศบาลต� ำ บลหนองบอน มีแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ มากมาย จึ ง ขอเชิ ญ ทุ ก ๆ ท่ า นที่ ม าเที่ ย ว จังหวัดตราดได้มาเยี่ยมชม อาทิ

หอวัฒนธรรมนิทัศน์เหมืองพลอย วัดหนองบอน จัดแสดงประวัติความเป็นมาและพัฒนาการ การขุดพลอยในอ�ำเภอบ่อไร่ และจัดแสดงอัญมณี ประเภทต่าง ๆ ที่ขุดพบให้ได้ชม

สัมผัสสายน�้ำเย็นฉ�่ำที่น�้ำตกธารหินดาษ เป็ น น�้ ำ ตกขนาดกลาง มี ทั้ ง หมด 3 ชั้ น อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน�้ำตกคลองแก้ว ตั้งอยู่ ที่ ต.หนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด

116

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

สักการะพระพุทธชินราชจ�ำลอง วัดหนองบอน พระพุทธชินราชจ�ำลอง เป็นพระประธาน ประดิษฐานในอุโบสถวัดหนองบอน ขนาดหน้า ตักกว้าง 4 เมตร สูง 7 เมตร โดยพระเจ้าวรวงศ์ เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินดั ดามาตุ เสด็จมาทรงเททองหล่อพระประธาน ( ทองเหลือง ) และทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ ณ บริเวณหน้าอุโบสถ วัดหนองบอน ในพ.ศ.2535

ชมวิถีคนร่อนพลอย ในอดี ต พื้ น ที่ อ� ำ เภอบ่ อ ไร่ มี ก ารท� ำ เหมื อ ง พลอยจ�ำนวนมากกระทั่งหมดยุคตื่นพลอย ทว่า บริเวณทีค่ ลองแอ่งไหลผ่านต�ำบลหนองบอน และ ต�ำบลอืน่ ๆ ยังมีชาวบ้านมาร่อนพลอย ซึง่ เป็นวิถี ชีวิตของชาวบ้านต�ำบลหนองบอนที่ท�ำกันอยู่เป็น ประจ�ำ พลอยที่ได้ส่วนใหญ่เป็นพลอยสีเลือดนก บางคนโชคดีกไ็ ด้พลอยเม็ดใหญ่ขายได้ราคาเกือบ แสนเลยทีเดียว


WORK LIF E

บันทึกเส้นทางพบเทศบาลตำ�บล

เทศบาลตำ�บลบ่อพลอย

เมืองอัญมณี ต�ำนานทับทิมสยาม ทับทิมสยาม พลอยสีแดงเข้ม หรือสีแดง เลื อ ดนกที่ พ บในประเทศไทย จั ด ได้ ว ่ า เป็ น พลอยคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดใน ต่างประเทศถึงกับยกย่องทับทิมสยามว่าเป็น King Ruby หรือ ราชาแห่งอัญมณี จังหวัดตราดจัดเป็นเมืองทีม่ กี ารขุดพบพลอย มาก โดยเฉพาะในอ�ำเภอบ่อไร่ ตามหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์เชื่อว่า มีการขุดพลอยในยุคแรก ๆ โดย “ กุหล่า ” หรือชาวไทยใหญ่ ที่อพยพมา จากทางเหนือเป็น ผู้น�ำให้ชาวบ้านรู้จักกับพลอย ซึง่ ทีอ่ ำ� เภอบ่อไร่จะพบพลอยมากหลังฝนตกหนัก เรียกว่าเดินเก็บกันได้อย่างสบายมือ สร้างความ ร�ำ่ รวยให้กบั ชาวบ้านอ�ำเภอบ่อไร่ เมือ่ ชือ่ เสียงแพร่ หลายไปไกล ผู้คนจากทั่วสารทิศต่างหลั่งไหลมา อาศัยอยูท่ อี่ ำ� เภอบ่อไร่ เพือ่ จุดประสงค์ทจี่ ะค้นหา พลอย จนเรียกช่วงนั้นว่า “ ยุคตื่นพลอย ” การขุดพลอย เริ่มในช่วง พ.ศ.2505-2506 โดยคนขุดพลอยส่วนมากจะมากันเป็นกลุ่มญาติ พี่น้องทั้งชายหญิง มาปลูกเพิงพักอยู่ใกล้บ่อขุด ระยะแรกเป็นการขุดด้วยมือโดยใช้อปุ กรณ์งา่ ย ๆ เช่น ชะแลง อีเต้ง วิธีการขุดเป็นหลุมลึกตาม สายแร่ แล้วตักดินที่ขุดได้น�ำมาล้างและร่อนใน ตะแกรงตามล�ำห้วย เรียกว่า “ ร่อนพลอย ” การหา พลอยในตะแกรงต้องค่อย ๆ กวาดด้วยมือครัง้ ละ น้อย ๆ ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า “ การแยกพลอย ” เพราะหากมองผ่ า นๆ อาจเห็ น เป็ น แค่ ก ้ อ น คล้ายกรวด จากนั้นก็คัดขนาดและสีสัน พลอย เม็ดใหญ่จะเรียกว่า “ หัวพลอย ” ขายได้ราคาดี ยิ่งถ้าเป็นเม็ดที่เนื้อดี ต�ำหนิน้อยก็จะยิ่งได้ราคา มาก ส่วนเม็ดเล็ก ๆ เรียกว่า “ หางพลอย ” ในยุค ต่อมาเกิดการขุดพลอยแบบที่เรียกว่า เหมืองฉีด เพื่อให้ได้ปริมาณพลอยที่มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น โดยการใช้รถขุดเอาชั้นหัวแร่ที่มีพลอยมากองไว้

จากนั้ น จึ ง ใช้ น�้ ำ ท่ อ ใหญ่ ฉี ด ไล่ ล ้ า งดิ น ออกไป ปล่อยให้ส่วนของกรวดและแร่พลอยไหลตามราง ลงไปทีจ่ กิ๊ หรือทีช่ าวบ้านเรียกว่า “ แย็ก ” จากนัน้ จึงใช้แรงงานคัดพลอยด้วยมือ การท�ำเหมืองฉีด นี้ส่งผลให้พลอยแดงที่เคยมีอยู่มากหมดไปอย่าง รวดเร็ว การเผาพลอย มีเรือ่ งเล่ากันมาว่า หลังจากไฟ ไหม้ใหญ่ที่อ�ำเภอบ่อไร่พบว่า พลอยที่อยู่ในกองขี้ เถ้ามีสีสันสดสวยขึ้นจนเป็นที่ต้องการของตลาด การเผาผลายจึงแพร่หลายและประสบผลส�ำเร็จ โด่งดังทั่วโลก ปัจจุบันการเผาจะใช้เตาแบบพิเศษ ทีใ่ ห้ความร้อนประมาณ 1,700-3,000 องศาเผา ประมาณหนึง่ วันกับหนึง่ คืน พลอยแต่ละบ่อแต่ละ

ก้อนแต่ละสีตอ้ งใช้เทคนิคการเผาแตกต่างออกไป จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาสังเกตมลทินธาตุ ( Trace element) หรือบางคนเรียก “ เชื้อ ” ถ้าพลอยมี เชื้อเผาแล้วจะให้สีสันสดใสแพร่ไปในเนื้อพลอย ตลอดเม็ด การเจียระไนพลอย คือการน�ำพลอยดิบมาขัด ตกแต่งให้เกิดเหลีย่ มมุมสวยงาม และดึงความงาม ของสีสนั พลอยออกมา การเจียระไนพลอยมีหลัก ๆ 2 แบบคือ เจียระไนแบบเหลี่ยมใช้กับพลอยที่มี ความใส เมือ่ เจียระไนได้สดั ส่วน สมมาตร มีความ ประณีตละเอียด จะสะท้อนแสงไปมาระยิบระยับ สวยงาม และการเจียระไนอีกแบบคือ เจียระไน แบบหลังเบีย้ มักใช้กบั พลอยทีม่ คี วามทึบแสง หรือ พลอยแตกร้าวมาก รูปทรงของเม็ดพลอยควรโค้ง นูนงามได้สัดส่วน ไม่แบนราบจนเกินไป ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ ส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลบ่อพลอย 111 หมู่ 3 ต�ำบลบ่อพลอย อ�ำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด 23140 โทร : 039-591-111 แฟกซ์ : 039-591-293 วันและเวลาท�ำการ เปิด วันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.30 น ปิดวันจันทร์ ค่าเข้าชม ชาวไทย เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 15 บาท ผู้ใหญ่ 30 บาท TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

117


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

องค์การบริหารส่วนตำ�บล ด่านชุมพล ด่านชุมพล เมืองน่าอยู่ มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมประเพณีการศึกษา พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คือวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลด่านชุมพล อ�ำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด มีระยะห่างจากจังหวัดตราด 32 กิโลเมตร ระยะห่างจาก อ�ำเภอบ่อไร่ 20 กิโลเมตร ประวัติต�ำบลด่านชุมพล ต�ำบลด่านชุมพล เดิมเป็นชุมชนของชาวชองซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิม และ ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้มกี ารยกทัพเพือ่ ไปตีเขมร ก�ำลัง พลได้มารวมก�ำลังกัน ณ ทีแ่ ห่งนีซ้ งึ่ เป็นจุดหน้าด่านทีจ่ ะเดินทางไปยังเขมร โดยมีขุนด่านเป็น ผู้ปกครอง เมื่อเสร็จสิ้นสงครามแล้วก็ยังมีคนตกค้างอยู่ รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ จนกลายเป็นเขตปกครองหมู่บ้านและต�ำบล เมื่อปี พ.ศ.2457 โดยมีหลวงพลเป็นผู้ปกครองคนแรก เดิมต�ำบลด่านชุมพลขึ้นกับอ�ำเภอเขาสมิง ต่อมาได้ขึ้นกับอ�ำเภอบ่อไร่ (ซึ่งแยกออกจากอ�ำเภอเขาสมิง) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ประกาศ กระทรวงมหาดไทย ได้จดั ตัง้ สภาต�ำบลด่านชุมพล เป็นองค์การบริหารส่วน ต�ำบลด่านชุมพล

118

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ข้อมูลทั่วไป ต�ำบลด่านชุมพล มีเนือ้ ทีป่ ระมาณ 233 ตารางกิโลเมตร หรือ 145,625 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา มีเนินเขาเตี้ย ๆ บริเวณที่ติดต่อกับประเทศ กัมพูชาเป็นป่าทึบ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร เขตการปกครอง จ�ำนวนหมู่บ้านในต�ำบลด่านชุมพลมีทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านด่านชุมพล ผู้ใหญ่บ้าน นางจารึก เนตรวงค์ หมู่ที่ 2 บ้านเขาขาด ก�ำนันต�ำบลด่านชุมพล นายจักรวาล เพลิงภากร หมู่ที่ 3 บ้านคลองแสง ผู้ใหญ่บ้าน นายบัญชา เอกนิกร หมู่ที่ 4 บ้านทางกลาง ผู้ใหญ่บ้าน นายบุญโชติ สมาธิ หมู่ที่ 5 บ้านทับมะกอก ผู้ใหญ่บ้าน นายจตุรงค์ หอมหวล หมู่ที่ 6 บ้านปะเดา ผู้ใหญ่บ้าน นายเดชา ขวัญอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านทับทิมสยาม 01 ผู้ใหญ่บ้าน นายธนะสิทธิ์ โชติธนะสุพัฒน์ โดยมีหมูท่ ี่ 1 บ้านด่านชุมพล เป็นหมูบ่ า้ นป้องกันตนเองชายแดน (ปชด.) หมู่ที่ 1 - 7 เป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) ประชากร มีประชากรทัง้ สิน้ 5,461 คน ชาย 2,933 คน หญิง 2,528 คน จ�ำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,140 ครัวเรือน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 20 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ระบบเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เช่น ปลูก ยางพารา ไผ่ตง ปลูกมันส�ำปะหลัง สับปะรด อาชีพรอง การค้าขาย การ รับจ้างรายวัน


สินค้าหนึ่งต�ำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) - ขนมเปี๊ยะชาววังบ้านเขาขาด หมู่ที่ 2 (4 ดาว) - กลุ่มจักสานบ้านคลองแสง หมู่ที่ 3 - กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า หมู่ที่ 5 - กลุ่มแม่บ้านท�ำไม้กวาดดอกหญ้า หมู่ที่ 2 - กลุ่มอาชีพแปรรูปสับปะรดกวน หมู่ที่ 4 (3 ดาว) ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา ประชาชนในต�ำบลด่านชุมพลนับถือ ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ประเพณี ชาวต�ำบลด่านชุมพลทั่วไปได้รักษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมโบราณ ของตนไว้หลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ประเพณี ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งตนเลื่อมใสศรัทธา เช่น บุญเข้าพรรษา และบุญออกพรรษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น-ภาษาถิ่น ประชาชนใน เขตต�ำบลด่านชุมพลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการท�ำเครื่องจักสานใช้ส�ำหรับในครัว เรือน วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการ ทอเสื่อจากต้นกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ

อบต.ด่านชุมพลชวนเที่ยว ป่าเขาถ�้ำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(Eco-tourism) ตั้ง อยู่หมู่ 3 บ้านคลองแสง ต�ำบลด่านชุมพล ป่าเขาถ�้ำ ได้รับผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 9 ประจ�ำปี 2550 ประเภทชุมชน (ชุมชน ชุมชนเมือง เครือข่าย

ชุมชน) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ส�ำหรับ ผู้ที่รักและชื่นชอบความเป็นธรรมชาติ และการ เดินป่า เพื่อศึกษาลักษณะทางธรรมชาติที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะท้องถิน่ มุง่ เน้นให้เกิดจิตส�ำนึก ต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

119


อ่างเก็บน�้ำห้วยแร้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ(Natural Attraction) ผสมผสานแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ นันทนาการ(Recreation Attraction) ตัง้ อยูห่ มู่ 5 บ้านทับมะกอก ต�ำบลด่านชุมพล เป็นอ่างเก็บน�้ำ ที่มีความสวยงาม และเป็นที่ขึ้นชื่อในการตกปลา ชะโด ซึ่งเป็นปลาน�้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ และมีนิสัย ดุร้ายในช่วงที่มีลูกอ่อน โดยจะมีข้อห้ามตกปลา ในช่วงฤดูวางไข่ และมีกิจกรรมในการปล่อยพันธุ์ ปลาคืนสู่แหล่งน�้ำ ซึ่งได้ร่วมมือกับทางประมงใน การอนุเคราะห์ส�ำหรับพันธุ์ปลา มีเรือของชาว บ้านในพื้นที่ส�ำหรับเช่าไปตกปลา และชมความ งามของเกาะกลางน�ำ ้ บริเวณสันเขือ่ นยังสามารถ ปั่นจักรยาน ชมความงามของธรรมชาติได้ด้วย วัดทับทิมสยาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา ตั้งอยู่หมู่ 7 บ้านทับทิมสยาม 01 ต.ด่านชุมพล ตัววัดอยู่บน เนินเขาสามารถมองเห็นวิวที่สวยงามจากด้าน บน และที่เด่นอีกอย่างคือ โบสถ์ดิน ซึ่งส�ำนัก เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้จดั ท�ำโครงการ สร้างพระอุโบสถตามแนวพระราชด�ำริเศรษฐกิจ พอเพียง และเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ สังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก จ�ำนวน 4 แห่ง

120

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ได้แก่ วัดพระรามเก้า กรุงเทพฯ วัดราชาธิวาส นครปฐม วัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี และวัด ทับทิมสยาม ตราด โบสถ์ ดิ น หลั ง นี้ เ ป็ น หลั ง ที่ 4 สร้ า งเนื่ อ ง ในโอกาสที่สมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระ สังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เจริญพระชันษา 100 ปี ซึง่ หัวหน้าโครงการคือ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ วิทวัส สิทธิกลู อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาวิศวกรรม โยธา คณะวิศวกรรมสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน ฐานะผู้เป็นเจ้าของแนวคิดการออกแบบผู้ควบคุม งานก่อสร้าง และน�ำนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ไปออก ค่ายอาสาฯ ลักษณะเด่นคือ เป็นโบสถ์ดินที่สร้างโดยใช้ เทคนิคแบบบดอัด (Rammed Earth) จึงท�ำให้มี ความแข็งแรง คงทนต่อทุกสภาวะ และมีลักษณะ เป็นแบบ Universal Design เพื่อรองรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ คือ มีทางลาดส�ำหรับรถเข็น (Whell Chair) ขึ้นถึงภายในตัวโบสถ์เพื่อมากราบไหว้ พระประธานได้ พื้นโบสถ์เจาะช่องเป็นหลุม ๆ ส�ำหรับหย่อนขา พร้อมเก้าอี้ ทรงเตี้ย และพนัก พิงอ�ำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ เพื่อมิให้ นั่งสูงเกินกว่าพระสงฆ์ ส�ำหรับการก่อสร้างครั้ง นี้ยึดแนวทางตามพระราชด�ำริเศรษฐกิจพอเพียง ขนาดความกว้างประมาณ 6.85 เมตร ความยาว

15.35 เมตร ความสูงจากพืน้ ดินถึงยอด ประมาณ 11.70 เมตร ผนังโบสถ์ใช้ระบบดินแบบบดอัด มี ความหนาประมาณ 39 เซนติเมตร ซึ่งมีความ สวยงามมาก อ่างเก็บน�้ำคลองหลอด 2 เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ(Natural Attraction) ผสมผสานแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ นันทนาการ(Recreation Attraction) ตั้งอยู่หมู่ 7 บ้านทับทิมสยาม 01 ต�ำบลด่านชุมพล อยู่ใกล้ กับวัดทับทิมสยาม เป็นสถานที่ที่มีความสวยงาม ด้วยวิวของภูเขา น�้ำ ซึ่งยังคงความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ เหมาะส�ำหรับผู้ที่ชื่นชอบการตก ปลา หรือปั่นจักรยานตามแนวถนนสันเขื่อน เพื่อ สัมผัสความงามของธรรมชาติ อย่างแท้จริง วัดใหม่โพธาราม เป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทางประวัตศิ าสตร์ (Historical Attraction) ผสมผสานแหล่งท่องเทีย่ วเพือ่ นันทนาการ(Recreation Attraction) ตัง้ อยูห่ มู่ 1 บ้านป้องกันตนเอง ต�ำบลด่านชุมพล ภายในวัด มีโบสถ์สีขาว ซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย สร้างอยู่บนเนินเขา จึงสามารถชมวิวจากที่สูง จะ เห็นวิวบริเวณรอบวัดได้อย่างสวยงาม พร้อมทัง้ วิว ของเขาบรรทัด ซึ่งเป็นเขาที่แบ่งพรมแดนระหว่าง


ไทย-กัมพูชา และในบริเวณวัดยังมีวังมัจฉา ซึ่ง เป็นสระปลาขนาดใหญ่ จ�ำนวน 2 สระ ส�ำหรับ ให้อาหารปลาที่มีหลากหลายสายพันธุ์ บริเวณ ด้านหลังวัดยังมีเขามะนาวซึ่งเป็นแหล่งต้นน�้ำ มี น�้ำตกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ต้องเดินขึ้นเขา ไปประมาณ 30 นาที

สอบถามข้อมูลติดต่อ องค์การบริหารส่วนต�ำบลด่านชุมพล โทร 08 – 6139 – 3210 , 039 – 510843 แฟกซ์ 039 – 510843 เว็บไซต์ www.danchumpon.go.th E-mail address danchumpon@hotmail.com

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

121


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

122

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


น�ำ้ ตกคลองแก้ว TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

123


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

องค์การบริหารส่วนตำ�บล นนทรีย์ “อ่างคลองโสนสวยใส น�้ำตกทับกระไดงามตา แหล่งการค้าชายแดน แก่นแท้วัฒนธรรมชอง”

คือค�ำขวัญของต�ำบลนนทรีย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของ องค์การบริหารส่วนต�ำบลนนทรีย์อ�ำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด วิสัยทัศน์ อบต.นนทรีย์ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เน้นยุทธวิธีเกษตรยั่งยืน พื้นที่การ ค้ า ขายชายแดน แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว เชิงอนุรักษ์ สร้างการบริหารจัดการ บ้านเมืองที่ดี แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ อ่างเก็บน�้ำคลองโสน ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 และ หมู่ ที่ 5 ต�ำบลนนทรีย์ มีพื้นที่ประมาณ 4,700 ไร่ สามารถบรรจุน�้ำได้ 65 ล้านลูกบาศก์เมตร มีถนนสู่ชายแดน เนินสีร่ อ้ ยเลาะริมอ่าง มีเกาะกลางน�ำ้ ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงามเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวตามธรรมชาติอีกแห่งที่น่า สนใจในต�ำบลนนทรีย์

124

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


น�ำ้ ตกทับกระได ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต�ำบลนนทรีย์ เป็นน�ำ้ ตกขนาดกลาง มี 2 ชัน้ นำ�้ ตก ทั บ กระไดมี ค วามสวยงามตาม ธรรมชาติ เหมาะแก่การเที่ยวชม พั ก ผ่ อ น อยู ่ ติ ด กั บ ถนนที่ มุ ่ ง สู ่ ชายแดนเนินสี่ร้อย เนินปราสาท ตัง้ อยูท่ ตี่ ำ� บลนนทรีย์ อ�ำเภอบ่อไร่จงั หวัดตราด เป็นโบราณสถานที่ถูกขุดค้นพบเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2520 ในขณะที่มีการขุดค้นหาแร่พลอย แดง โดยใช้เครื่องจักรและรถขุด เมื่อขุดลงไป ในพื้นดิน ซึ่งเป็นเนินเขาย่อม ๆ พบว่ามีหิน ลักษณะคล้ายหินศิลาแรง เหมือนเสาและก�ำแพง ของปราสาทโบราณ คณะที่ ท� ำ การขุ ด ค้ น หา แร่พลอยจึงหยุดค้นต่อไป แต่ก็มีความพยายาม ขุดค้นหาสิ่งของมีค่า จากค� ำ บอกเล่ า ของคนเก่ า แก่ ที่ เ ล่ า ต่ อ ๆ กันมาว่า บริเวณดังกล่าวเดิมเรียกว่าป่านายอิน ในทุกวันพระจะได้ยนิ เสียงบรรเลงมโหรี และมีเสียง ดังคล้ายปืน หรือจุดพลุเสียงดัง และมีความเชือ่ ว่า สถานทีแ่ ห่งนีจ้ ะมีความเชือ่ มโยงกับปราสาทพนม ซ�ำโปว ในจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ซึ่ง เชื่อว่าก่อสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน แต่หลังจากที่มี การแบ่งเส้นเขตแดนประเทศ เป็นไทยและกัมพูชา ที่บริเวณสันเขาบรรทัด ชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ ในฝั่งไทยส่วนใหญ่จึงเดินทางกลับไปฝั่งประเทศ กัมพูชา ท�ำให้สถานทีซ่ งึ่ สันนิษฐานว่าเป็นปราสาท นั้น ถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าจนจมลงในพื้นดิน

ต่อมาเมื่อปี 2558 ชาวบ้านหมู่ที่ 1 ต�ำบล นนทรีย์ อ�ำเภอบ่อไร่ ได้ติดต่อไปยังกรมศิลปากร เขตที่ 5 ได้สง่ เจ้าหน้าทีม่ าเพือ่ พิสจู น์หาข้อเท็จจริง ของสถานที่ดังกล่าว และได้สรุปข้อสันนิษฐานว่า หินที่ปรากฏในบริเวณดังกล่าวเป็นหินธรรมชาติ ชนิ ด หิ น บะซอลซึ่ ง เกิ ด จากแรงกดดั น ของหิ น

ภูเขาไฟในหลายล้านปีกอ่ น ท�ำให้มลี กั ษณะเป็นรูป ลูกบาศก์และรูปร่างต่าง ๆ คล้ายเสาหินศิลาแรง แต่ด้วยความเชื่อความศรัทธาของคนเก่าแก่ ก็ยงั คงเชือ่ ว่าสถานทีด่ งั กล่าวเป็นสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ควรค่าแก่การอนุรกั ษ์ไว้เพือ่ สักการะบูชาและเพือ่ การศึกษาค้นคว้าถึงที่มาต่อไป TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

125


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

องค์การบริหารส่วนตำ�บล ช้างทูน “ต�ำบลน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม ก้าวน�ำการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต น้อมน�ำเศรษฐกิจพอเพียง ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” คือค�ำขวัญขององค์การบริหารส่วนต�ำบลช้างทูน เลขที่ 99 หมู่ 1 ต�ำบลช้างทูน อ�ำเภอบ่อไร่ จังหวัด ตราด โดยตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอบ่อไร่ไป ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 9 กิโลเมตร ปัจจุบันมีนายเกษม มั่นคง ด�ำรงต�ำแหน่งนายก องค์การบริหารส่วนต�ำบลช้างทูน

ประวัติความเป็นมา ในอดีตบริเวณที่ตั้งของต�ำบลช้างทูน เคยเกิด เหตุการณ์โขลงช้างอาละวาดโดยการถอนต้นไม้ และท�ำลายบ้านเรือนของชาวบ้าน ด้วยการยก บ้านขึ้นแล้วทิ้งลงมาทั้งหลัง ลักษณะการยกของ ช้างจะใช้งวงดุนบ้านขึ้นทั้งหลัง ซึ่งภาษาท้องถิ่น เรียกว่า “ทูน” ดังนัน้ ชาวบ้านจึงเรียกหมูบ่ า้ นแห่งนี้ ว่า “บ้านช้างทูน” และกลายมาเป็นชื่อของต�ำบล จนถึงทุกวันนี้ ข้อมูลทั่วไป ต�ำบลช้างทูนมีเนื้อที่ประมาณ 67 ตาราง กิโลเมตรหรือ 51,117 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ สลับเนินเขา โดยเป็นพื้นที่การเกษตรและที่อยู่ อาศัยประมาณ 28,791 ไร่ นอกนั้นเป็นเขตป่า อนุ รั ก ษ์ ชาวบ้ า นประกอบอาชี พ เกษตรกรรม เป็นหลัก มีพชื เศรษฐกิจส�ำคัญ ได้แก่ สวนยางพารา ปาล์มน�้ำมัน สวนผลไม้ ฯลฯ

126

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

มรดกจากยุคตืน่ พลอย สูแ่ หล่งท่องเทีย่ วอันเลอค่า ชื่อเสียงของอ�ำเภอบ่อไร่ในอดีต คือถิ่นที่อุดม สมบูรณ์ด้วยแหล่งอัญมณี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลอยแดง หรือทับทิมสยามอันล�้ำค่า จนมีผู้คน จากทัว่ สารทิศแห่แหนกันมาขุดพลอย กระทัง่ ได้ชอื่ ว่า “ยุคตืน่ พลอย” ปัจจุบนั แม้วา่ เหมือนพลอยแห่ง บ่อไร่ได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว ทว่าอ�ำเภอบ่อไร่ ยังอุดมด้วยผืนป่าธรรมชาติ ล�ำธารใส สมุนไพร ล�้ำค่า และมีทรัพยากรใต้ดินที่มีคุณค่าและมูลค่า มหาศาล ไม่ แ พ้ กั บ ทั บ ทิ ม สยามเมื่ อ ในอดี ต ชาวต�ำบลช้างทูนซึ่งเป็นผู้ที่มีจิตส�ำนึกในการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยว ชุมชนขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การ บริหารส่วนต�ำบลช้างทูน ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่อง เที่ยวเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมเก่าแก่ล�้ำค่า ของ “ชาวชอง” ชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอยู่ ในจังหวัดตราด ซึ่งกิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้ของ ชาวต�ำบลช้างทูนประกอบด้วย

• การสาธิ ต -ทดลองการร่ อ นพลอยแดง “ทับทิมสยาม” โดยให้นักท่องเที่ยวทดลองร่อน พลอยด้วยตนเองจากริมล�ำธารในชุมชน ซึ่งใน อดีตเคยมีพลอยแดงอยูเ่ ป็นจ�ำนวนมาก หากท่าน ใดโชคดีพบพลอย ก็สามารถน�ำกลับบ้านไปเป็นที่ ระลึกได้ด้วย นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ภูมิปัญญา การร่อนพลอยของชาวชองโบราณ ที่ใช้ตะแกรง ร่อนพลอยซึ่งท�ำจากต้นคลุ้มเป็นเครื่องมือในการ ร่อนพลอย


• การท�ำ “สปาโคลนขาว” ในล�ำธาร ซึ่งเป็น ท�ำสปาไปพร้อม ๆ กับร่อนพลอยแดงไปด้วย ซึ่ง “โคลนขาว” นีเ้ ป็นโคลนเนือ้ ละเอียดทีอ่ ยูใ่ นล�ำธาร ที่ร่อนพลอย หรือที่เรียกว่า “ล�ำธารแห่งอัญมณี” โดยจะต้องน�ำโคลนขาวมากรองให้สะอาด แล้ว เติมน�้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากสมุนไพรไม้หอม ในท้องถิน่ เช่น เทพทาโร ไม้กฤษณา เป็นต้น แล้วจึง น�ำมาพอกผิว ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงร่อนพลอยแดง และแช่ล้างในล�ำธารอัญมณี ซึ่งเปรียบเสมือน เป็ น อ่ า งจากุ ซ ซี่ ธ รรมชาติ ที่ ห รู ห รา โคลนขาว นี้มีสรรพคุณในการป้องกัน ผิวจากแสงแดดเผา และท�ำให้ผิวเนียนนุ่ม เปล่งปลั่งเป็นประกาย ระยิ บ ระยั บจากเกล็ ด อั ญ มณี ที่ แ ทรกซึ ม อยู ่ ใ น เนื้อโคลนขาว เรียกได้ว่าเป็นการท�ำสปาที่หรูหรา เลอค่าสมกับที่ได้มาเยือนถิ่นทับทิมสยาม • สปาสุ่มไก่ หรือ “สปา เดอ ชอง” เป็นอีก หนึง่ กิจกรรมทีส่ าว ๆ ไม่ควรพลาดอย่างยิง่ เพราะ เป็นการอบไอน�ำ้ ด้วยสูตรสมุนไพรสูตรเฉพาะของ ชาวชองที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และมีลักษณะ การอบทีเ่ ป็นเอกลักษณ์และเป็นธรรมชาติ เพราะ จะใช้สุ่มไก่ที่ชาวบ้านสานขึ้นโดยเฉพาะ นับเป็น อีกหนึ่งกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพส�ำหรับผู้ที่ ต้องการผ่อนคลายอย่างแท้จริง สปาสุ่มไก่บ้าน ช้างทูน เปิดให้บริการที่ อบต.ช้างทูน เลขที่ 99 หมู่1 ต.ช้างทูน อ.บ่อไร่ จ.ตราด ติดต่อสอบถามได้ที่ อบต.ช้างทูน โทรศัพท์ /โทรสาร 039-610-339

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

127


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดเนินตากแดด วั ด เนิ น ตากแดด ตั้ ง อยู ่ ที่ บ ้ า นตรอกเกษร ต� ำ บลหนองบอน อ� ำ เภอบ่ อ ไร่ จังหวัดตราด ปัจจุบันมี พระครูกิตติญาณวิจักษ์ เป็นเจ้าอาวาส ประวัติความเป็นมา

วัดเนินตากแดด ถูกสร้างขึ้นเป็นส�ำนักสงฆ์เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2519 แล้วย้ายมาตามชาวบ้านที่ขุดหาพลอยบริเวณเขาก�ำแพง ก�ำนันสนิท เจริญพงษ์ และ ส.จ.มา พุทธิศา ได้ชวนเพื่อน ๆ ร่วมบริจาคที่ดินให้สร้างวัดอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ.2529 และได้รับประกาศ แต่งตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2531 ต่อมาปี พ.ศ.2549 ยายเสริม ใจมั่น ได้ถวายที่ดินให้กับวัดอีกประมาณ 12 ไร่ ทางวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2555 เหตุที่ตั้งชื่อว่า “วัดเนินตากแดด” นั้น ชาวบ้านเล่าว่าเมื่อก่อน ตอนท�ำพลอยกันต้องแช่น�้ำนาน ๆ พอหนาวก็จะขึ้นมาตากแดดให้หายหนาวบนเนินนี้ ชาวบ้านจึงเรียกเนินนี้ว่าเนินตากแดด

128

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


ต่ อ มาเมื่ อ วั น ที่ 21 มี น าคม 2541 ศาลาการเปรียญพร้อมทั้งกุฏิสงฆ์ถูกไฟไหม้ ทั้งหมด เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันจึงด�ำเนินการ ก่อสร้างอาคารเสนาสนะขึ้นมาใหม่ โดยเริ่ม จากกุฏิสงฆ์และศาลาการเปรียญ ต่อมาวัน ที่ 30 ธันวาคม 2549 เจ้าอาวาสพร้อมทั้ง คณะกรรมการได้ประชุมร่วมกันวางศิลาฤกษ์ สร้างอุโบสถ 2 ชั้น ภายในกรุด้วยไม้สักทอง ทั้งหลัง แล้วเสร็จในปี 2559 ใช้งบประมาณ ทัง้ สิน้ 42 ล้านบาทเศษ แล้วได้จดั งานปิดทอง ฝังลูกนิมิต วันที่ 7-15 กุมภาพันธ์ 2559 ในปี พ.ศ.2561 เจ้า อาวาสปรารภกับ กรรมการวัดส่วนหนึง่ ว่า จะจัดงานประจ�ำปีขนึ้

เนือ่ งจากวัดเนินตากแดด ไม่เคยจัดงานประจ�ำปี มาก่อนเลย จึงได้เชิญชวนชาวบ้านในต�ำบล หนองบอนมาร่ ว มประชุ ม ปรึ ก ษาเรื่ อ งการ จัดงานประจ�ำปี ชาวบ้านก็เห็นดีด้วยและให้ ความร่วมมือในการจัดงานอย่างเต็มที่ จึงได้ มีการก�ำหนดวันจัดงานขึ้นเป็นปีแรก ในวันที่ 16-25 กุมภาพันธ์ 2561 โดยมีนายอ�ำภอบ่อไร่ เป็นประธานเปิดงาน และในงานเจ้าอาวาส ปรารภว่า อยากได้รอยพระพุทธบาทจ�ำลอง มาให้ญาติโยมได้ปิดทองกัน ผู้มีจิตศรัทธา คือ คุณธีระ-คุณนงนาถ จิวประเสริฐ, คุณสกลคุ ณ ชญาดา อภิ วั น ทนั น ท์ , คุ ณ สมปองคุ ณ เอมอร ชู แ ก้ ว , คุ ณ ลุ ง วี ร ะ-คุ ณ ป้ า ปิ ่ น แก้วประณีตจึงได้รว่ มกันสร้างรอยพระพุทธบาท จ�ำลองมาถวาย เพื่อให้ญาติโยมสาธุชนทั้ง หลายได้ปิดทองกัน การจัดงานเป็นไปด้วย ความเรียบร้อย และได้รบั ความร่วมมือจากชาว บ้านเป็นอย่างดีมีศรัทธาสาธุชนนักแสวงบุญ มาร่วมงานปิดทองประจ�ำปีเป็นจ�ำนวนมาก หลังจากการจัดงานประจ�ำปีเสร็จสิ้นไป เป็นอย่างดี ประมาณ 1 อาทิตย์ ในขณะที่ เจ้าอาวาสนัง่ คุยอยูก่ บั นายณัฐธพงศ พลอยธนวัฒน์ อดีตก�ำนันต�ำบลหนองบอน คนกรีดยางได้ เข้ามาถามเจ้าอาวาสว่า “ที่ให้โยมปิดทองนี้ เรี ย กว่ า อะไร” เจ้ า อาวาสจึ ง ตอบว่ า “รอยพระพุทธบาท” คนกรีดยางจึงบอกว่าพบ รอยคล้าย ๆ แบบนี้อยู่บนเนินที่เขานั่งพักเป็น ประจ�ำในป่ายางหลังวัด (พืน้ ทีบ่ ริเวณด้านหลัง วัดปลูกยางพาราไว้ ประมาณ 1,600 ต้น) เจ้าอาวาสจึงให้คนกรีดยางพาไปดู ก็พบว่า บนก้ อ นหิ น ขนาดใหญ่ มี ร อยคล้ า ยกั บ รอย พระพุทธบาทจริง ๆ จึงได้พากันคุกเข่าลงกราบ

แล้ ว บอกกั น ว่ า นี่ คื อ รอยพระพุ ท ธบาท หลังจากนัน้ พระครูกติ ติญาณวิจกั ษ์ เจ้าอาวาส วั ด เนิ น ตากแดด กั บ นายณั ฐ ธพงศ พลอย ธนวัฒน์ ได้ช่วยกันสืบค้นหาประวัติของรอย พระพุทธบาท โดยเริ่มสอบถามจากผู้ใหญ่ ผาสุข พูลพิพัฒน์ ผู้ใหญ่บ้าน หมูที่ 4 ต�ำบล หนองบอน ท่านได้เล่าให้ฟงั ว่า สมัยเด็ก ๆ เคย ได้ยินคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังเหมือนกัน แต่ไม่ ได้สนใจอะไร และเมือ่ สอบถามจากคนเฒ่าคน แก่ ก็ได้ทราบประวัตขิ องรอยพระพุทธบาทเขา ก�ำแพง ผ่านการบอกเล่าถึงเนื้อเรื่องของการ ร้องร�ำเป็นภาษาพื้นบ้าน

ปูชนียวัตถุส�ำคัญ

พระพุทธรัตนมงคล (หลวงพ่อจักรพรรดิ) พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปทรง เครื่องจักรพรรดิ หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระประจ�ำวัดที่ชาว บ้านและศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น หน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.2517 มีเกจิอาจารย์ของภาค ตะวันออกร่วมพิธพี ทุ ธาภิเษก เช่น หลวงปูท่ มิ (วัดละหารไร่) หลวงพ่อคง (วัดวังสรรพรส) หลวงปูโ่ ต๊ะ (วัดประดูฉ่ มิ พลี) และเกจิอาจารย์ ที่ส�ำคัญอีกหลายท่าน ณ ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในวิหารคด องค์เทพทันใจ เป็นเทพที่ได้มานิมิตให้ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นที่ สักการะบูชาของชาวบ้าน โดยตามประเพณี ให้ใช้ผ้าแดงเขียนชื่อของตนเองเป็นเครื่องบูชา ชาวบ้านเชือ่ กันว่าสามารถทีจ่ ะขอสิง่ ทีต่ นปรารถนา ได้เร็วทันใจตามนามขององค์เทพทันใจ TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

129


งานประเพณีส�ำคัญ

งานปิดทองรอยพระพุทธบาท ปิดทอง ลูกนิมติ ปิดทองหลวงพ่อใหญ่ และขอพรเทพ ทันใจ จัดขึ้นเป็นเวลา 10 วัน ในช่วงเทศกาล ตรุษจีนของทุกปี งานปฏิ บั ติ ธ รรม และอยู ่ ป ริ ว าสกรรม วันที่ 1-10 พ.ค. ของทุกปี

ประวัติรอยพระพุทธบาทเขาก�ำแพง

นายผาสุข พูลพิพัฒน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคอแล ต�ำบลหนองบอน อ�ำเภอบ่อไร่ เป็นคนพืน้ บ้านเก่าแก่ทเี่ คยได้ยนิ คนเฒ่าคนแก่ สมัยก่อน เล่าถึงรอยพระพุทธบาทเขาก�ำแพง ผ่านบทกลอนภาษาพื้นบ้าน มีเนื้อหาว่า สมั ย อโยธยาเกิ ด โรคระบาดชนิ ด หนึ่ ง ชาวบ้านเรียกว่าโรคห่า แต่ชาวเมืองอโยธยา เชื่อว่าเป็น ผีห่ามากินชาวบ้าน จนชาวเมือง อโยธยาล้มตายเป็นจ�ำนวนมาก จึงเรียกกันว่า ผีหา่ อโยธยา ท้าวอูท่ องเจ้าเมืองอโยธยา จึงพา ไพร่ฟ้าประชาชนที่ยังเหลืออยู่ออกจากเมือง อโยธยาผ่านมาทางกรุงเทพ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เมื่อมาถึงตราดจึงรู้ว่าสุดแผ่นดินเดิน ทางต่อไปอีกไม่ได้ ท้าวอูท่ องจึงพาไพร่พลทีย่ งั เหลืออยูเ่ ดินย้อนกลับมาทางเขาสมิง (ปัจจุบนั เป็นเขตอ�ำเภอเขาสมิง) และเดินต่อมาทาง บ่อไร่ (ปัจจุบนั เป็นเขตอ�ำเภอบ่อไร่) ท้าวอูท่ อง ได้พาไพร่พลเดินทางมาถึงคลองขนาดใหญ่ มีน�้ำมากขวางอยู่ข้ามล�ำบาก อีกทั้งไพร่พลก็ อ่อนเพลียมาก จึงสั่งให้หยุดพักตรงบริเวณ

130

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ข้างคลอง (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านชื่อ หมู่บ้าน คลองขวาง หมู่ 1 ต�ำบลช้างทูน อ�ำเภอบ่อไร่) พัก อยูไ่ ด้ไม่นาน ก็มคี นตายอีกชาวบ้านหวาดกลัว จึงสัง่ ให้ไพร่พลหนีขา้ มคลองเดินทางขึน้ ไปบน เนินเขาสูง เมื่อขึ้นถึงบนเนินเขาสูงคิดว่าผีห่า คงจะข้ามคลองตามมาไม่ได้แล้ว จึงหยุดพัก ท้าวอูท่ องสัง่ ให้จดั เวรยามคอยเฝ้าระวังพวกผี ห่าจะตามมาอีก บริเวณนี้เรียกว่า เนินคอยแล (หมายถึงคอยยดู คอยระวัง) บางคนเรียก เนินร่อแร่ (เพราะมาถึงตรงนี้ทุกคนต่างคน ต่างอ่อนเพลียร่อแร่) ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านชื่อ บ้านคอแล หมูท่ ี่ 4 ต�ำบลหนองบอน เนือ่ งจาก ชาวบ้ า นเรี ย กเพี้ ย น จากคอยแล ร่ อ แร่ เป็นคอแล)

เมื่อพักอยู่บนเนินคอยแลได้ระยะหนึ่งก็ เกิดมีคนตายอีกจึงคิดว่าผีห่าอโยธยา ตามมา ทันอีกจึงพาไพร่พลหนีต่อไป โดยเดินทางมา เจอกับหนองน�้ำขนาดใหญ่ มีต้นบอนขึ้นอยู่ เต็มหนองใบบอนมีขนาดใหญ่เท่าร่มกัน ฝน จึงหักใบบอนมาคลุมหัวเพื่อเดินทางแต่มีชาว บ้านคนหนึ่งหยิบใบบอนที่แห้งวางอยู่กับดิน ขึ้นมาคลุมหัว เมื่อหยิบขึ้นมาก็เห็นก้อนหิน สีแดงวางอยู่จึงหยิบขึ้นมาพิจารณาดูจึงรู้ว่า มั น คื อ ทั บ ทิ ม (อั ญ มณี สี แ ดง ทั บ ทิ ม หรื อ ที่ ชาวบ้านเรียกว่าพลอยแดง) ต่างพากันดีใจ จึงหยุดพักเพื่อเก็บพลอยแดงกัน เมื่อพากัน เก็บพลอยแดงเป็นที่พอใจแล้ว ท้าวอู่ทองก็ พิจารณาว่าบริเวณนี้ไม่สามารถพักได้ เพราะ เป็นพืน้ ทีต่ ำ�่ อับชืน้ และอันตราย เพราะหนองน�ำ้ ใหญ่ เ ป็ น ที่ อ าศั ย หากิ น ของสั ต ว์ ใ หญ่ เช่ น เสือ ช้าง จึงได้เดินทางต่อไปจนถึงเขาก�ำแพง ทีเ่ รียกว่าเขาก�ำแพง เพราะภูเขาลูกนีเ้ ป็นภูเขา หิ น ปนดิ น มี ลั ก ษณะคล้ า ยกั บ ก� ำ แพงเมื อ ง ท้าวอู่ทองเห็นว่าเป็นท�ำเลดี จึงสั่งให้หยุดพัก และสั่งให้ทหารออกส�ำรวจให้ทั่วบริเวณเพื่อ ท�ำที่พักและหาแหล่งน�้ำดื่ม ทหารเดินส�ำรวจ จนทั่วก็กลับมารายงานว่า พบถ�้ำอยู่บริเวณ ตีนเขาก�ำแพง และมีแหล่งน�้ำอยู่ใกล้ ๆ นี้ ลักษณะเป็นถ�ำ้ ดินดานมีขนาดกว้างไม่มากนัก ไม่สามารถน�ำประชาชนเข้าไปพักได้ทั้งหมด และเมื่อส�ำรวจเขาก�ำแพงจนทั่วก็ได้พบ กับบ่อน�้ำเล็ก ๆ อยู่บนยอดเขา ด้วยความ กระหายน�้ ำ จึ ง ตั ก น�้ ำ ในบ่ อ นั้ น มาดื่ ม ก็ รู ้ สึ ก สดชื่ น ขึ้ น มาอย่ า งน่ า ประหลาด จึ ง ได้ ตั ก


น�้ำใส่กระบอกไม้ไผ่ลงมาด้วย เมื่อลงมาถึง บริเวณที่พักก็ได้มีชาวบ้านที่มีอาการป่วยขอ น�้ำดื่ม ทหารจึงเอาน�้ำในกระบอกไม้ไผ่ให้ดื่ม ก็ปรากฏว่าหายป่วยอย่างน่าอัศจรรย์ ทหาร จึ ง น� ำ เรื่ อ งนี้ ไ ปกราบทู ล ให้ ท ่ า นท้ า วอู ่ ท อง ทราบ จึงสั่งให้ทหารน�ำน�้ำที่เหลือไปให้คน ป่วยคนอืน่ ลองดืม่ ก็ปรากฏว่าหายป่วยจริง ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ จึงสั่งให้ทหารขึ้นไปตักน�้ำ ใส่ ก ระบอกลงมาแจกจ่ า ยให้ กั บ ประชาชน ได้ดื่มกันทั่วหน้า ทุกคนต่างสดชื่นหายป่วย ทั้ ง สิ้ น ราวปาฏิ ห าริ ย ์ และไม่ มี ค นตายอี ก เจ้ า เมื อ งจึ ง ให้ ท หารพาขึ้ น ไปที่ บ ่ อ น�้ ำ นั้ น อีกครั้ง และเมื่อไปถึงเจ้าเมืองก็พิจารณาเห็นว่า บ่อน�้ำนั้นมีลักษณะคล้ายรอยเท้าคน แต่มี ขนาดใหญ่ ท้าวอู่ทองจึงตรัสกับทหารว่าอาจ เป็นรอยเท้าของผูม้ อี ทิ ธิฤทธิม์ าช่วยพวกเราให้ รอดพ้นจากผีหา่ อโยธยาก็ได้ และด้วยมีศรัทธา ในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว จึงเรียกบ่อน�้ำนี้ว่า รอยพระพุทธบาท และบ่อน�้ำนี้ตั้งอยู่บนเขาที่ มีลกั ษณะคล้ายกับก�ำแพงเมือง จึงทรงเรียกว่า “รอยพระพุทธบาทเขาก�ำแพง” ท้าวอูท่ องเห็น ว่าการมาถึงที่นี่ไพร่พลและชาวบ้านปลอดภัย และมีรอยพระพุทธบาทเขาก�ำแพงด้วย จึงคิด สร้างเมืองอยูท่ น่ี โี่ ดยใช้ภเู ขานีเ้ ป็นก�ำแพงเมือง ครั้ น อยู่ต่อ มาเกิดฝนตกหนักติดต่อ กัน เป็น เวลานาน ท�ำให้ภูเขาก�ำแพงซึ่งเป็นภูเขาหิน ปนดินเกิดดินถล่มลงมา จึงเห็นว่าการสร้าง เมืองอยู่ที่นี่น่าจะเป็นอันตรายต่อชาวบ้านดิน

อาจจะถล่มลงมาทับชาวบ้านตายได้ จึงได้พา ไพร่พลออกเดินทางจากเขาก�ำแพงเพื่อหาที่ ที่เหมาะสมส�ำหรับการสร้างเมืองใหม่ จึงเดิน ทางมาทางสะพานหิน ท้าวอูท่ องให้ทหารและ ชาวบ้านช่วยกันน�ำหินมาถมคลองท�ำทางข้าม (ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าคลองสะพานหิน) แล้วเดินทางต่อไปทางทัพนคร (ปัจจุบันเป็น หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านทัพนคร อ�ำเภอมะขาม จั ง หวั ด จั น ทบุ รี ) ผ่ า นเขาพลวง (ปั จ จุ บั น คือพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ) หลายร้อยปีต่อมา ได้มีชนเผ่ากุลาเดิน ทางมาค้าขายที่จันทบุรีและตราด ได้รู้จักวิธี ท�ำพลอยแดงและเจียรนัยพลอย จึงได้เริ่ม ขุ ด ค้ น หาพลอยกั น ไปทั่ ว จั น ทบุ รี โ ดยเริ่ ม ที่ ต.บางกะจะ และต่ อ มาได้ เ ข้ า มาขุ ด ค้ น หา พลอยที่ อ.บ่อไร่ และหนองบอน การเข้ามา ขุดค้นหาพลอยแดงของชาวกุลา (หรือภาษา คนตราดเรียกว่า ชาวกุหล่า) ชาวกุลาได้เข้า มาขุ ด ค้ น หาพลอยที่ บ ริ เ วณเขาก� ำ แพงและ ชาวกุ ล าคนหนึ่ ง ป่ ว ยเป็ น ไข้ ป ่ า อย่ า งหนั ก มีความกระหายน�้ำมากเพื่อนจึงเดินหาน�้ำมา ให้ดื่ม ก็ไปพบบ่อน�้ำบนก้อนหินบนยอดเขา ก�ำแพง เห็นว่าสะอาดดีจึงตักน�้ำใส่กระบอก มาให้ เ พื่ อ นดื่ ม เมื่ อ ดื่ ม น�้ ำ แล้ ว ปรากฏว่ า สดชื่ น และหายป่ ว ยเป็ น ปลิ ด ทิ้ ง จึ ง พากั น สงสัยว่าเป็นน�้ำอะไรจึงพากันไปดู เมื่อพา กันสังเกตดูพบว่าบ่อน�้ำนี้มีลักษณะแปลกๆ จึ ง ได้ วิ ด น�้ ำ ออกหมด ก็ พ บว่ า บ่ อ น�้ ำ นี้ เ ป็ น รอยเหมื อ นรอยเท้ า คนแต่ ข นาดใหญ่ ก ว่ า

เท้ า คนธรรมดา ด้ ว ยเหตุ ว ่ า ชนเผ่ า กุ ล านี้ นั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธ เมื่ อ หาพลอยได้ มั ก จะ น�ำพลอยไปเจียรนัยแล้วน�ำไปประดับที่องค์ พระพุทธรูปอยูเ่ สมอ และเมือ่ มาเห็นบ่อน�ำ้ นีม้ ี ลักษณะแปลกๆ เหมือนรอยเท้าคนขนาดใหญ่ ชาวกุลากลุ่มนี้จึงเรียกว่า รอยพระพุทธบาท และอยู่บนภูเขาที่มีลักษณะคล้ายก�ำแพงเมือง ชาวกุลากลุ่มนี้จึงเรียกว่า รอยพระพุทธบาท เขาก�ำแพง และได้พากันท�ำพลอยอยู่ที่เขา ก� ำ แพงนี้ เ ป็ น เวลานาน จึ ง ได้ ย ้ อ นกลั บ ไป ตั้ ง ถิ่ น ฐานอยู ่ ที่ จั น ทบุ รี พระพุ ท ธบาทเขา ก� ำ แพง ก็ ต กอยู ่ ใ นความหลั บ ใหลมาอี ก ยาวนานไม่มใี ครกล่าวถึงอีกเลย และการร้องร�ำ เล่าเรื่องก็ได้สูญหายไปด้วย นี่เป็นต�ำนานเล่า ขานผ่านการร้องร�ำที่ชาวบ้านเล่าเรื่องเป็น ภาษาพื้นบ้านในสมัยก่อน ซึ่งปู่ย่าตายายทวด เล่าต่อ ๆ กันมาว่าเคยฟังร้องเล่าเรื่องแบบนี้ มาตอนหลังก็ไม่เคยได้ยินอีกเลย ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2500 พลอยเริ่ม มีความนิยมมากขึ้น จึงมีนักแสวงโชคเข้ามา ขุ ด ค้ น หาพลอยกั น โดยเริ่ ม จากหาหลุ ม พลอยเก่าของพวกกุลา ก็พบพลอยแดงเป็น จ�ำนวนมาก ข่าวแพร่กระจายออกไปอย่าง รวดเร็วท�ำให้คนจากทั่วทุกสารทิศ ทุกจังหวัด ทัว่ ประเทศหลัง่ ไหลมาขุดพลอยทีบ่ อ่ ไร่ หนอง บอน และเขาก�ำแพงกันเป็นจ�ำนวนมาก จนถึง ยุคท�ำเหมืองพลอย ไม่นานนักเขาก�ำแพงก็ราบ เป็นหน้ากลอง รอยพระพุทธบาทก็สูญหาย ไปด้วย โดยทีไ่ ม่มใี ครรูเ้ ลยว่าบนเขาก�ำแพงนัน้ มีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ ต�ำนาน รอยพระพุทธบาทเขาก�ำแพงก็ได้สูญหายไป พร้อมกับการร้องเล่าเรื่องของชาวชนพื้นบ้าน ก็ได้สูญหายไปเช่นกัน มีการสันนิษฐานว่าเขาก�ำแพงสมัยก่อน ตั้งอยู่บริเวณหลังวัดเนินตากแดด และชาว บ้านยังเล่ากันว่าวันดีคืนดีก็ได้ยินเสียงดนตรี ไทยดังแว่วมาให้ได้ยิน และถ�้ำก็ยังมีร่องรอย ให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน นายธีรภัทร ไร้ทุกข์ ผู้ที่ เคยท�ำเหมืองพลอยในบริเวณวัดเนินตากแดด เล่าให้ฟังว่าเคยขุดพบข้าวของเครื่องใช้สมัย โบราณด้วยแต่ไม่ได้สนใจเก็บไว้ และยังพบ โครงกระดูกและหัวกะโหลกคนด้วย ยายนิตยา กาญจโนดิลก ได้เล่าว่าสมัยท�ำพลอย พี่ชาย เคยได้แหวนพลอยวงใหญ่เป็นแหวนโบราณ ใหญ่มาก คนปัจจุบันใส่ไม่ได้ TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

131


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดท่าน�้ำล่าง วัดท่าน�้ำล่าง เลขที่ 31 ม.1 ต.หนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด 23140 ความเป็นมาของวัด

วัดท่าน�ำ้ ล่าง แต่เดิมคือ ส�ำนักสงฆ์ครี ศี รีสาคร ต่อมาเมือ่ ปี พ.ศ.2537 ได้รบั อนุญาต จัดตั้งเป็นวัด โดยมี พระครูสุคนธ์สีลสาร ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 จนถึงปัจจุบัน

132

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


พระครูสุคนธ์สีลสาร (ปรีชา สุคนฺโธ) เจ้าอาวาสวัด วัดท่าน�้ำล่าง

ประวัติเจ้าอาวาส

พระครูสคุ นธ์สลี สาร (ปรีชา สุคนฺโธ) เจ้าอาวาสวัด และเจ้าคณะต�ำบล หนองบอน พรรษา 44 อุปสมบท ปี พ.ศ.2516 เมื่ออายุ 24 ปี ที่วัดท่าจัด อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โดยมีพระครูพิทักษ์สุวรรณเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพระครูพิศ าลวรกิจ (วัดดงตาล) เป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระมหาณรงค์ ปัญญาทีโป (วัดสองพี่น้อง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ปูชนียสถานส�ำคัญ

อุโบสถ เริ่มสร้างเมื่อปี 2540 แล้วเสร็จเมื่อปี 2541 ได้รับ พระราชทานวิ สุ ง คามสี ม าเมื่ อ ปี 2542 มี พ ระประธาน หน้ า ตั ก กว้าง 40 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

133


ศาลา 5 ชั้น วางศิลาฤกษ์เมื่อวันอาทิตย์ 19 มิถุนายน 2548 เวลา 13.30 น. แล้วเสร็จเมื่อปี 2560 ใช้งบประมาณก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 10 ล้านเศษ

ปูชนียวัตถุส�ำคัญ

ศาลารอยพระพุทธบาท ตั้งอยู่ข้าง ๆ ที่ประดิษฐานขององค์ หลวงพ่อโต สร้างขึ้นเมื่อปี 2550 ใช้งบประมาณจัดสร้างรวม 1 ล้าน บาทเศษ สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสเข้ามาสักการะบูชาเพื่อ ความเป็นสิริมงคล

134

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

หลวงพ่อเงิน ชื่อเต็มคือ พระพุทธนวมงคล หล่อเมื่อปี พ.ศ.2543 เนือ่ งในงานครองราชย์ครบ 6 รอบ ของในหลวง รัชกาลที่ 9 หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว ( 76 ซม.) วัสดุที่ใช้ท�ำ คือ เงินสวิส ( เงินเม็ด) มูลค่ารวม ณ ตอนนัน้ 2,500,000 บาท ปัจจุบนั ประดิษฐานอยูภ่ ายในศาลาไม้ -กุฏิ เจ้าอาวาส และ อนาคตจะน�ำไปประดิษฐานในอุโบสถ หลวงพ่อโต สร้างขึน้ เมือ่ ปี พ.ศ.2514 โดยพระอาจารย์โฉม ปั จ จุ บั น ประดิ ษ ฐานอยู ่ ใ กล้ กั บ อุ โ บสถด้ า น หลั ง ศาลา ไม้เก่าและกุฏิเจ้าอาวาส มีการเปลี่ยนผ้าห่มหลวงพ่อ ช่วงเทศกาลหลังออกพรรษา ทางวัดมีการจัดงานลอยกระทง เป็นประจ�ำทุกปี


เกียรติคุณของวัดท่าน�้ำล่าง

วัดท่าน�้ำล่าง ได้รับการคัดเลือกจากส�ำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ตราด และคณะสงฆ์จงั หวัดตราด ให้เป็นตัวแทนวัดทัว่ จังหวัดเป็น “อุทยานการ ศึกษาในวัด” ซึง่ มีองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญหลายประการ เช่น ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ความสวยงาม การน�ำเสนอศิลปะวัฒนธรรม คติธรรมสอนใจ ศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ และที่ส�ำคัญต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ พร้อมที่ จะพัฒนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างต่อไป เมือ่ คณะกรรมการจังหวัดพิจารณาเห็นชอบแล้ว ต้องเสนอให้สว่ นกลางซึง่ ก็คอื ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตัง้ คณะกรรมการขึน้ มาพิจารณาอีก ชัน้ หนึง่ เมือ่ ผลพิจารณาเป็นอย่างไรก็จะประกาศในแถลงการคณะสงฆ์ตอ่ ไป ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ประกาศเรื่อง ผลการคัดเลือกวัด พัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น วัดพัฒนาตัวอย่าง และอุทยานการศึกษา ในวัด ประจ�ำปี 2555 และผลปรากฎว่า วัดท่าน�้ำล่าง ต�ำบลหนองบอน อ�ำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ได้รับคัดเลือกให้ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ยกย่องเชิดชูให้เป็น “อุทยานการศึกษาในวัด” เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 โดยมีพระครูสุคนธ์สีลสาร (ปรีชา สุคนฺโธ) เป็นเจ้าอาวาสวัด และเป็น เจ้าคณะต�ำบลหนองบอน การประกาศยกย่องในครัง้ นี้ เป็นผลอันเกิดจากความสมัครสมานสามัคคี ของ “บวร” บ้าน วัด โรงเรียนหรือราชการ เป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นที่ จะช่วยทะนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนาของเราให้มั่นคงตลอดไป ท�ำให้หลาย ๆ วัดได้ตระหนักถึงการพัฒนาวัด ความร่วมมือของชุมชน และที่ส�ำคัญไม่น้อย ไปกว่ากันคือการสนับสนุนของภาครัฐ

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

135


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดสลัก วัดสลัก เลขที่ 58 หมู่ที่ 3 ต�ำบลท่าโสม อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด 23150 ปัจจุบันมี พระครูธรรมกิจจานุสารี เป็นเจ้าอาวาส ประวัติความเป็นมา

วัดสลัก เดิมชื่อ “ วัดสลักฆหมู” ตามชื่อในใบพระราชทานวิสุงคามสีมา อุโบสถหลังเก่า สมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาเรียกติดปากว่า “วัดสลัก” จึงได้เปลี่ยนเป็นวัดสลักจนถึงปัจจุบัน วัดสลักสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังมีเจดีย์ย่อมุม 12 ที่ตั้งอยู่เป็นหลักฐาน เพราะว่า พระเจ้าตากสินได้เข้ามาพักค่ายที่น่ี และได้ก่อสร้างเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และอุทิศส่วนกุศลให้แด่ทหารที่เสียชีวิต วัดสลักมีเนื้อที่ 43 ไร่เศษ ที่ธรณีสงฆ์ 45 ไร่เศษ

136

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


สิ่งส�ำคัญภายในวัด

ภายในวั ด สลั ก มี โ บสถ์ สี ข าวหลั ง ใหญ่ มีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ สวยงาม โดดเด่ น สะดุ ด ตา ด้ า นหน้ า ประดิ ษ ฐาน พระพุทธรูปปางประทานพร ด้านหลังประดิษฐาน พระพุทธรูปปางห้ามญาติ หรือพระพุทธรูป ปางห้ามสมุทร ที่มีพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ทัง้ สองข้างยกขึน้ เสมอพระอุระ ตัง้ ฝ่าพระหัตถ์ ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม ซึ่งมีนัยยะ เกี่ยวกับความสมานฉันท์ นอกจากนีย้ งั มีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช และพระเจดีย์ 3 องค์ โดยได้รับ การดู แ ลสนั บ สนุ น ให้ เ ป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว เชิงวัฒนธรรมและศาสนาของจังหวัดตราด

ประวัติเจ้าอาวาส

พระครูธรรมกิจจานุสารี ฉายา สุวณฺณโชโต ชื่อเดิม อนันต์ นามสกุล ทองโชติ เกิดเมื่อ วันที่ 28 มกราคม 2509 อุปสมบท เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2529 ณ วัดอ่าวใหญ่ ต.อ่าวใหญ่ อ.เมือง จ.ตราด ต�ำแหน่ง พ.ศ.2549 รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดสลัก พ.ศ.2550 เป็นเจ้าอาวาสวัดสลัก พ.ศ.2561 รักษาการแทนเจ้าคณะ ต�ำบลท่าโสม พระครูธรรมกิจจานุสารี เจ้าอาวาสวัดสลัก TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

137


พระพุทธรูปปางประทานพร

138

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

พระพุทธรูปปางห้ามญาติ


การเดินทาง

จากกรุ ง เทพมหานครวิ่ ง มาตามถนน สุขุมวิทมุ่งหน้าสู่จังหวัดตราด เมื่อผ่านด่าน ตรวจบ้านท่าจอดให้วิ่งตรงมา แล้วเลี้ยวขวา บริเวณสามแยกไฟแดงเข้าสูถ่ นนทางหลวงสาย 3156 วิ่งตรงมาประมาณ 11 กม. จะเห็นซุ้ม ประตูวดั ทางด้านขวา เลีย้ วขวาเข้าไปประมาณ 400 ม. จะถึงวัดสลัก สอบถามเส้นทาง โทร. 0-3959-9879

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

139


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดห้วงพัฒนา วัดห้วงพัฒนา ต�ำบลแสนตุ้ง อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ประวัติหลวงพ่อสุพจน์

พระครูสพุ จนวรคุณ ฐิตพฺพโต หรือ หลวง พ่อสุพจน์ (เทพเจ้าแห่งเสือสมิง) ในยุคแห่งสมถกรรมฐานก�ำลังเจริญรุง่ เรือง ดุ จ ประที ป ธรรมของพระพุ ท ธองค์ ถู ก จุ ด สว่างไสวขึน้ ณ. แดนดงอันวิเวก ห่างไกลความ เจริญนั้น หลวงพ่อสุพจน์ ฐิตพฺพโต เป็นพระ สานุศิษย์องค์หนึ่งของแม่ทัพธรรมสายอรัญ วาสี ซึง่ มีจติ มุง่ มัน่ ปฏิบตั ธิ รรม เพือ่ เป็นไปตาม แนวทางของการหลุดพ้น ตามวิถคี รูบาอาจารย์ ผู้มีความช�ำนาญในสายวิปัสสนากรรมฐาน ท่านมีใจรักและเลื่อมใสในการปฏิบัติธรรมมา ก่อน

140

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

สถานเดิม นาม สุพจน์ นามสกุล รัตนพาหิระ อายุ 73 พรรษา 52 เกิดเมื่อวันพุธ (ขึ้น 6 ค�่ำ เดือน 6 ปีระกา) เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488 ณ บ้านเลขที่ 40 ต�ำบลช�ำราก อ�ำเภอเมืองตราด จั ง หวั ด ตราด เป็ น บุ ต รของพ่ อ สวงษ์ และ คุณแม่พร รัตนพาหิระ มีพี่น้องรวมทั้งหมด 8 คนด้วยกัน ในวั ย เด็ ก หลวงพ่ อ สุ พจน์ ได้ เ ข้ า เรี ย น หนังสือที่วัดคีริวิหาร ต�ำบลช�ำราก อ�ำเภอ เมืองตราด จังหวัดตราด โดยในสมัยนั้นยัง ไม่มีโรงเรียน การศึกษาเล่าเรียนจึงต้องไป เรียนทีว่ ดั หลวงพ่อได้ศกึ ษาเล่าเรียนจนจบชัน้ ประถมปีที่ 4 ซึ่งในสมัยนั้นก็นับว่าเรียนมาก

แล้ว เมื่อว่างจากการเล่าเรียน หลวงพ่อท่าน ก็ช่วยโยมบิดามารดาท�ำนา หลังจากเก็บเกี่ยว ข้าวเข้ายุง้ ฉางแล้ว หลวงพ่อก็ไปช่วยท�ำงานใน สวนยางพาราหนักเอาเบาสู้ ท�ำด้วยความขยัน ขันแข็งจนเป็นทีร่ กั ใคร่ของโยมบิดามารดาและ ญาติ ๆ บางครั้งหลวงพ่อยังไปรับจ้างเลื่อยไม้ จนเป็นทีย่ อมรับกันในหมูบ่ า้ นว่า หลวงพ่อเป็น ผู้มีฝีมือในการเลื่อยไม้คนหนึ่งในต�ำบลช�ำราก ดังนัน้ จึงมีคนมาจ้างให้เลือ่ ยไม้เป็นประจ�ำมิได้ ขาด อุปนิสัยของหลวงพ่อ ผู้ใกล้ชิดสมัยนั้น เล่าให้ฟังว่า ตอนเริ่มเป็นหนุ่มก็มีนิสัยดื้อรั้น บ้างแต่ไม่มาก แต่หลวงพ่อเป็นคนจริง จึงเป็น เหตุที่มาของการที่หลวงพ่อประสบผลส�ำเร็จ


ในการปฏิบัติธรรม จนมีกิตติศัพท์ กิตติคุณฟุ้งขจรขจายไปทั่วจังหวัด ตราดและในเขตใกล้เคียง เมื่อหลวงพ่อมีอายุครบ 20 ปี บ ริ บู ร ณ์ โยมบิ ด ามารดาจึ ง พร้อมใจกันให้หลวงพ่อบรรพชา อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดคีรวิ หิ าร ต�ำบลช�ำราก อ�ำเภอเมืองตราด จั ง หวั ด ตราด เมื่ อ วั น ที่ 22 พฤษภาคม 2508 ได้รับฉายาว่า “ฐิตพฺพโต” แปลว่า ผูม้ วี ตั รอันตัง้ อู่ แล้ว โดยมีพระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) วัดวรดิตถาราม เป็นพระ อุปัชฌาย์ พระมหาทองดี อนาวิโล (ปัจจุบัน พระเทพเมธาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด ตราด ธ.) วัดวรดิตถาราม เป็นพระกรรมวา จาจารย์พระหัน คุณวนฺโต (ปัจจุบัน พระ โวภณธรรมธาดา เจ้าคณะจังหวัดตราด ธ.) วัดคีริวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ อ หลวงพ่ อ ได้ บ รรพชาอุ ป สมบทแล้ ว ได้ ศึ ก ษาธรรมวิ นั ย และจ� ำ พรรษาอยู ่ ที่ วั ด คี ริ วิ ห าร ในพรรษาแรกหลวงพ่ อ ได้ ตั้ ง ใจ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ควบคู่กับการศึกษา พระธรรมวินัย พร้อมทั้งท่องบ่นสาธยายมนต์ และหนังสือนวโกวาท ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องตน ของพระสายกรรมฐาน ทีพ่ ระอริยเจ้าทัง้ หลาย ได้พากันด�ำเนินมา อีกทั้งหลวงพ่อยังได้ออก ธุดงค์ชนิดบุกเดีย่ วฝากชีวติ ไว้กบั พระรัตนตรัย เอาความเป็นความตายเข้าแลก เพือ่ ด�ำรงธรรม ของพระพุทธเจ้า เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ทราบว่าหลวงพ่อจาริกไปทางเมืองเหนือ เข้า กราบนมัสการครูบาอาจารย์เพื่อขอเป็นศิษย์ สายพระอาจารย์มนั่ คือหลวงปูส่ มิ พุทธฺ าจาโร แห่งวัดถ�้ำผาป่อง จังหวัดเชียงใหม่ บ�ำเพ็ญ ภาวนาอยูน่ านหลายปี ท่านได้มอบตัวเป็นศิษย์ และอยู่ศึกษาอบรมสมาธิในสายหลวงปู่มั่น เรื่อยมา ด้วยความจริงจังและเด็ดเดี่ยว หลวงพ่อ สุ พจน์ ไ ด้ ฝ ึ ก ปฏิ บั ติ ก รรมฐานในป่ า อั น สงั ด ห่างไกลจากบ้านเรือนของผูค้ น โดยตัง้ ปณิธาน ไว้ว่า “จะเป็นก็เป็น จะตายก็ตาย” จิตมุ่งอยู่ แต่สมาธิภาวนาเท่านั้น ขณะที่ศึกษาอบรม อยู่กับหลวงปู่สิม ก็ได้เรียนรู้ข้อปฏิบัติอันเป็น เครือ่ งขูดเกลากิเลส ตลอดถึงจิตภาวนาทีห่ ลวง ปู่สิมได้พาด�ำเนินไปด้วยความถูกต้องดีงาม ตามหลักพระธรรมวินัย ซึ่งหลวงพ่อสุพจน์

ท่านได้สืบทอดข้อวัตรปฏิบัติเรื่อยมา ครูบาอาจารย์หลายท่านที่หลวงพ่อได้เคย เข้าไปศึกษาอบรมสมาธิภาวนา เช่น หลวงปูเ่ หรียญ วรลาโภ จังหวัดหนองคาย หลวงพ่อเทสก์ เทสรังสี จังหวัด หนองคาย หลวงพ่อท่อน ญาณธโร จังหวัดเลย หลวงพ่อค�ำพอง จังหวัด ขอนแก่น หลวงพ่ออ่อนศรี ฐานวโร วัดถ�้ำ ประทุม จังหวัดชลบุรี อาจารย์ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงตามหาบัว จังหวัด อุดรธานี หลวงพ่อศรี ฐิตธมฺโม วัดถ�้ำเหวลึก จังหวัดสกลนคร หลวงพ่อสรวง สิริปุญโญ วัดศรีฐานใน จังหวัดยโสธร หลวงพ่ออินทร์ กุสลจิต โต วัด สันติธรรม จังหวัด เชียงใหม่ หลวงพ่อจันทร์โสม กิตติกาโม ทายาทหลวง ปู่สิม และหลวงพ่อประสิทธิ์ จังหวัดเชียงใหม่ หลวงพ่อสุพจน์ได้จ�ำพรรษาอยู่ที่วัดวรดิต ถาราม ถึง พ.ศ 2512 เพือ่ อุปฏั ฐากพระอุปชั ฌาย์ พร้ อ มทั้ ง ศึ ก ษาเล่ า เรี ย นพระปริ ยั ติ ธ รรม และหลวงพ่อได้แบบอย่างความความเป็นพระ สุปฏิปันโนจากพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเอง คือเป็นพระมักน้อย สันโดษ มีศีลาจารวัตรที่ งดงาม ควรแก่การกราบไหว้เป็นอย่างยิง่ หลวง พ่อมักจะปรารภถึงพระอุปชั ฌาย์ของหลวงพ่อ อยู่เสมอ ๆ เมื่อเทศน์อบรมพระภิกษุสามเณร ในวัด ให้เห็นถึงข้อวัตรปฏิบตั ขิ องพระอุปชั ฌาย์ โดยมักยกเป็นตัวอย่าง ดังจะเห็นได้จากการ ที่หลวงพ่ออบรมพระภิกษุสามณรว่า “ท่าน ให้ความเคารพนับถือด้วยความจริงใจ ข้อนี้ ถือว่า ท่านมีความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ ที่ เ ราท่ า นทั้ ง หลายควรน้ อ มน� ำ มาเป็ น แบบ อย่ า งและประพฤติ ป ฏิ บั ติ เจริ ญ รอยท่ า น จึงได้ชื่อว่าเป็นศิษย์ที่ดี” หลวงพ่อสุพจน์ ได้สร้างบารมีอยูใ่ นป่าเขา เป็นเวลายาวนาน มีประสบการณ์มากมาย เกี่ยวกับสัตว์ป่าทั้งหลายเช่น ลิง ค่าง ช้าง เสือ

เวลาท่านนึกถึงอะไร สิ่งนั้นมัก จะมาตามความร�ำพึงนึกคิดเสมอ เช่น นึกถึงช้างว่าหายหน้าไปไหน นานไม่ผ่านมาทางนี้เลย พอตก กลางคืนดึก ๆ ช้างก็จะมาหาจริง ๆ และเดิ น ตรงมายั ง ภายในกุ ฏิ ที่ ท่านพักอยู่ พอให้ทราบว่าเขามา หาแล้ว ช้างก็จะกลับเข้าป่าไป เวลาที่ ท ่ า นนึ ก ถึ ง เสื อ ก็ เ ช่ น กั น นึกถึงตอนกลางวัน ตกกลางคืน เสือก็มาเพ่นพ่านภายในวัดบริเวณ ที่ ท ่ า นพั ก อยู ่ หลวงพ่ อ สุ พ จน์ ท่านได้บ�ำเพ็ญเพียรออกธุดงค์ เพื่อเผยแผ่ พระธรรมค�ำสอนตามสถานทีต่ า่ ง ๆ หลายแห่ง เมื่อหลวงพ่อมีพรรษา 5 พรรษาแล้ว จึงมา จ�ำพรรษาอยู่ที่ห้วงพัฒนา หลวงพ่ อ สุ พ จน์ ท ่ า นเป็ น พระภิ ก ษุ ที่ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีข้อวัตรปฏิบัติงดงาม สมควรจดจ� ำ เป็ น แบบอย่ า ง ท่ า นมี ค วาม พากเพียร มุ่งมั่นในการปฏิบัติจนมีชื่อเสียง ศรัทธาญาติโยมทั้งใกล้และไกลมักกล่าวกัน ปากต่อปากว่า หลวงพ่อท่านตั้งอยู่ในข้อวัตร ปฏิบัติอันดีงามเสมอต้นเสมอปลาย ตั้งแต่ หลวงพ่อท่านยังมีอายุพรรษาไม่มาก ท่านได้ บ�ำเพ็ญตนให้เป็นแบบอย่างคือท่านมีความ เด็ ด เดี่ ยวในข้ อวั ต รปฏิ บั ติ ม าก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับการเดินจงกรม หลวงพ่อสุพจน์ ได้เน้นเป็นพิเศษ กล่าวคือเมื่อฉันเสร็จจะเริ่ม เดินจงกรมเป็นพุทธบูชา พอถึงบ่ายสองโมง เริ่มเดินจงกรมถวายเป็นธรรมบูชา จนถึงบ่าย 4 โมง และเมือ่ ท�ำข้อวัตรเสร็จสิน้ แล้ว ก็จะเริม่ เดินจงกรมถวายเป็นสังฆบูชา จนถึงประมาณ 4-5 ทุ่ม จึงเข้าที่พักเพื่อบ�ำเพ็ญภาวนาต่อไป ทุก ๆ วัน เวลาเช้าราวตีสาม ก็จะลุกขึน้ เจริญจิต ภาวนา และพาภิกษุสามเณรพร้อมญาติโยม ที่มาบวชนุ่งขาวห่มขาว เจริญจิตภาวนาไป ด้วยทุกครั้ง หลวงพ่อไม่เคยขาดการท�ำวัตร สวดมนต์ทงั้ เช้าและเย็น ยกเว้นบางวันทีห่ ลวง พ่อท่านออกไปท�ำธุระทางพระศาสนา แล้ว กลับไม่ทัน นอกจากนั้นแล้วกิจวัตรของหลวง พ่ อ คื อ การท� ำ สมาธิ ภ าวนาทั้ ง เช้ า เย็ น โดย มิได้แสดงความเบื่อหน่ายให้เห็นเลย ทั้งยังได้ สงเคราะห์วัตถุและปัจจัยทั้งในวัดและนอก วัด โดยมีเมตตาคุณเป็นทีต่ งั้ จึงท�ำให้ญาติโยม สาธุชนทั้งหลายได้มีโอกาสได้กราบไหว้บูชา พระสุปฏิปันโนอีกรูปหนึ่งอย่างสนิทใจ TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

141


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

องค์การบริหารส่วนตำ�บล แสนตุ้ง “แสนตุ้งเมืองหน้าด่าน นมัสการพระร่วงใหญ่ ท่องเที่ยววิถีไทย หลากหลายทรัพยากร” คื อ ค� ำ ขวั ญ ต� ำ บลแสนตุ ้ ง ซึ่ ง อยู ่ ใ นความ ดู แ ลขององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลแสนตุ ้ ง เลขที่ 234 หมู่ 2 ต�ำบลแสนตุ้ง อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ซึง่ ระยะทางห่างจากจังหวัดตราด 22 กิโลเมตร และห่างจากอ�ำเภอเขาสมิง 7 กิโลเมตร มี พื้ น ที่ ทั้ ง หมด 101.20 ตารางกิ โ ลเมตร คิดเป็น 63,364 ไร่ ปัจจุบันนายอภินันท์ สว่างไสว นายกองค์การ บริหารส่วนต�ำบลแสนตุ้ง และคณะได้บริหารงาน ให้บรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาที่ว่า “ชุมชนปลอดยาเสพติด ยกระดับคุณภาพชีวติ ส่งเสริมเศรษฐกิจพึง่ พา พัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน สร้างงานสู่อาเซียน”

142

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน ต�ำบลแสนตุ้ง เมืองหน้าด่านที่เป็นมากกว่า...ทางผ่าน

นมัสการพระร่วงโรจนฤทธิ์ เมื่อข้ามสะพานเวฬุก็ถือว่าได้ก้าวย่างสู่ต�ำบลแสนตุ้ง นอกจากประตูเมือง ทีเ่ ป็นสัญลักษณ์สวยงามแปลกตาแล้ว สิง่ ทีจ่ ะพลาดไม่ได้คอื ไปกราบนมัสการ ขอพรพระร่วงโรจนฤทธิ์ ณ วัดแสนตุ้ง ถือเป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองที่ใหญ่ที่สุด ในภาคตะวันออก


ล่องเรือชมธรรมชาติ พบกับวิถชี มุ ชนคนชายเลน หมูท่ ี่ 2 บ้านท่าหาด นัง่ เรือเทีย่ วชมป่าชายเลน เป็นป่าโกงกางทีน่ บั ว่า อุดมสมบูรณ์ และใหญ่ที่สุดในประเทศ เนื้อที่ กว่า 3,000 ไร่ นอกจากนี้ยังได้เพลิดเพลินกับ เหยี่ยวแดง และนกน�้ำชายเลนหลากหลายชนิด

กินอิ่ม นอนอุ่นแบบโฮมสเตย์ ในชุมชน หมู่ ๖ บ้านมุมมสงบ ต� ำ บลแสนตุ ้ ง ยั ง มี กิ จ กรรม ท่ อ งเที่ ยวชุ ม ชน พร้ อ มบริ ก าร ที่พักแบบโฮมสเตย์ เพื่อรองรับ นั ก ท่ อ งเที่ ย วและผู ้ ที่ ส นใจ ในอัตราค่าบริการที่เป็นกันเอง ท่ า มกลางบรรยากาศป่ า เขา ล� ำ เนาไพร และสวน ผลไม้ อิ่ ม อร่ อ ยกั บ อาหารพื้ น บ้ า น ผลไม้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะ เป็น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง รวมทัง้ สินค้า OTOP ระดับ ๕ ดาว

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านมุมสงบ หมู่ที่ 6 ต.แสนตุ้ง เรียกได้ว่า เป็นหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียง มีกจิ กรรมให้เทีย่ ว ชมมากมาย เช่น กิจกรรมเดินเขาไปไหว้ศาลปูค่ ง เดินเขาชมลานไทรโบราณ อายุกว่า 500 ปี เรียนรู้ ผ่านกิจกรรมของกลุ่มต่าง ๆ อาทิ กลุ่มคนเอา ถ่าน กลุม่ ปุย๋ หมัก กลุม่ คนรักษ์ดนิ กลุม่ บ้านเห็ด เสร็จภารกิจผ่อนคลายด้วย “ลานสปาฝ่าเท้า”

สวนปาล์มน�้ำมันชุมชน ชมความหลากหลายของชุมชนบ้านทาง ควายหมูท่ 4ี่ ต�ำบลแสนตุง้ ซึง่ มีทงั้ ป่าชุมชน ป่า เศรษฐกิจของชุมชน “สวนปาล์มน�้ำมันชุมชน” วิสาหกิจ ชุม ชนในรูปแบบของร้านค้าชุมชน มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนจ�ำหน่ายในราคา ยุติธรรม

สนใจกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน ติดต่อ องค์การบริหารส่วนต�ำบลแสนตุ้ง อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด 23150 โทร 039-510857 email : saentoong234@tambonsaentoong.go.th http://www.tamboonsaentoong.go.th

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

143


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

องค์การบริหารส่วนตำ�บล เทพนิมิต “เทพนิมิตเมืองเก่าเขาสมิง นามเพริศพริ้งบ้านท่าฉางศรีบัวทอง ยางดี ผลไม้รสเลิศ เชิญมาลอง เงาะสีทองอร่อยก้อง ท่องเที่ยวมา วัดมณฑลวัดเทพโป่งจันตา เจียรพัฒนาเขาหลาดมากศรัทธา ธ�ำรงไว้ซึ่งวันกตัญญุตา เด่นสง่าเลอค่าเนียะม่าตุลเราะห์”

นายธวัช ถวิล นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลเทพนิมิต คือค�ำขวัญต�ำบลเทพนิมติ ซึง่ อยูใ่ นความดูแล ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลเทพนิมิต ตั้งอยู่ เลขที่ 1 ถ.จินตกานนท์ ต�ำบลเขาสมิง อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ปัจจุบนั มี นายธวัช ถวิล ด�ำรงต�ำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลเทพนิมิต

ประกวดนวัตกรรมประชาธิป ไตย "สื่อสร้างสุข สร้างประชาธิป ไตย" สภาเด็กและเยาวชนต�ำบลเทพนิมิต

144

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

ประวัติความเป็นมา ต�ำบลเทพนิมิตแยกมาจากต�ำบลวังตะเคียน เมื่อปี พ.ศ.2525 โดยมีนายวินิจ เดชตระกูล เป็น ก�ำนันคนแรก โดยต�ำบลเทพนิมิตใช้ชื่อตามวัดที่ ตั้งมาเก่าแก่คือ “วัดเทพนิมิต” ประวัติเดิมบริเวณ ที่ตั้งวัดเทพนิมิตเป็นที่ตั้งของอ�ำเภอเขาสมิงแต่ โบราณ และชื่อเดิมคือ “บ้านท่าฉาง” ซึ่งเป็น หมู่บ้านที่ถูกสร้างขึ้นตามนโยบายของเมืองตราด ในอดี ต เป็ น สถานที่ ร วบรวมช้ า งจากที่ ต ่ า ง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงและในบางครั้งเป็นที่ตั้งค่าย ทหารด้วย เพราะเป็นหมู่บ้านที่อุดมสมบูรณ์ และ อยู่ใกล้ล�ำน�้ำ คือ แม่น�้ำเขาสมิงสะดวกในการ สัญจรไปมา ต่อมาแม่นำ�้ ตืน้ เขินประกอบกับผูค้ นมี จ�ำนวนมากขึน้ ทางราชการจึงได้ยา้ ยตัวอ�ำเภอมา อยู่ที่แห่งใหม่คือที่ตั้งของอ�ำเภอเขาสมิงปัจจุบันนี้

วิสัยทัศน์ เทพนิ มิ ต น่ า อยู ่ สาธารณู ป โภคครบครั น มุง่ สูก่ ารบริหารจัดการทีด่ ี พัฒนาด้วยเทคโนโลยี ทันสมัย

ผลิตภัณฑ์ OTOP ต�ำบลเทพนิมิต นางส�ำเนียง สารสุข "เครื่องจักรสานคุ้ง"


แผนที่ท่องเที่ยวต�ำบลเทพนิมิต สวนเงาะชนะเลิศที่1 งานระก�ำหวาน ปี 2561

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อ่างเก็บน�้ำเทพนิมิต

กลุ่ม OTOP สละลอยแก้ว แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อ่างละผา

กลุ่มจักรสานคุ้ง บ้านเกษมสุข มัสยิด เนียะม่าตุลเราะห์

ป่าชุมชนวัดเขาฉลาด สวนมังคุดชนะเลิศอันดับ1 งานระก�ำหวาน 2561 โบสถ์100 ปี วัดเทพนิมิต จุดนมัสการพระบรมมสารีริกธาตุ วัดเทพนิมิต

โบสถ์เก่า 100 ปี

มัสยิด เนียะม่าตุลเราะห์

ประเพณี นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ เดือน 4 วัดเทพนิมิต นายนเรศ มานยาซิ รางวัลชนะเลิศอันดับ1 ประเภทเงาะโรงเรียน งานระก�ำหวาน 2561 นายวิทวัส สุญญาจารย์ รางวัลชนะเลิศอันดับ1 ประเภทมังคุด งานระก�ำหวาน 2561

ป่าชุมชนวัดเขาฉลาด ผลิตภัณฑ์ OTOP ต�ำบลเทพนิมิต นางสาวสุดใจ เดชตระกูล "สละลอยแก้วสุดใจ"

ติดต่อสอบถาม อบต.เทพนิมิต โทร/โทรสาร 039-521-931

กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาต�ำบลเทพนิมิต นางกรรณิการ์ สุญญาจารย์ "พริกไทยบ้านพริกหอม" TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

145


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

องค์การบริหารส่วนตำ�บล ท่าโสม ทีอ่ ยู่ 199/9 หมู่ 1 ต�ำบลท่าโสม อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

ป ลั ด

องค์การบริหารส่วนต�ำบลท่าโสม ชวนเที่ยว ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช วัดท่าโสม ตั้งอยู่ที่ วัดท่าโสม หมู่ที่ 1 ต�ำบลท่าโสม อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เป็นแหล่งรวบรวม เรื่องราวของบ้านท่าโสม จังหวัดตราด ซึ่งสร้าง ขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2556 เพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต ของชาวท่าโสม ที่ประกอบอาชีพประมงและปลูก ยางพารา การแสดงพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน - จัดแสดงภาพพระราชกรณียกิจ พระบาท สมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มหิ ต ลาธิ เ บศรรามาธิ บ ดี จั ก รี น ฤบดิ น ทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งเสด็จ พระราชด�ำเนินในพื้นที่จังหวัดตราด - จั ด แสดงข้ อ มู ล วิ ถี ชุ ม ชนของชาวบ้ า นใน ต�ำบลท่าโสม

แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม วัดสลัก หมูท่ ี่ 3 ต�ำบลท่าโสม อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปยืนและมีโบสถ์สีขาว สวยงาม นั บ เป็ นวั ด ที่ มี ส ถาปั ต ยกรรมที่ เ ป็ น เอกลักษณ์โดดเด่นสะดุดตา เป็นที่ตั้งของศาล พระเจ้าตากสินและเจดีย์ 3 องค์

146

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


“...ผู้รู้ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่รู้ความหมายของ การว่าง จากการมีอยู่อย่างแท้จริงของสรรพสิ่ง พระสงฆ์ ที่ประเสริฐที่สุด คือ ผู้ที่ ได้ช�ำระจิตของตน คุณภาพ ที่ดีที่สุด คือ ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ ในการท�ำคุณประโยชน์แก่ผู้อื่น ค�ำสอน ที่ดีที่สุด คือ การเฝ้าดูจิต การเยียวยา ที่ดีที่สุด คือ การรู้ว่า ไม่มีอะไรคือ สิ่งจริงแท้ วิถีชีวิต ที่ดีที่สุด คือ ชีวิตที่สวนทางกับโลกีย์...”

The best scholar is one who has realized the meaning of the absence of any true existence. The best monk is one who has tamed his own mind. The best quality is a great desire to benefit others. The best instruction is always to watch the mind. The best remedy is to know that nothing has any inherent reality. The best way of life is one that does not fit with worldly ways.

ดร. พระมหาอนุ ช น สาสนกิ ตฺ ติ ป.ธ.๙ (นาคหลวง) Ph.D. Phramaha Anuchon Sasanakitti

Everything You Need to Know About Buddhism in Thailand

There are some 30,000 Buddhist temples in Thailand.

AD_

.indd 161

18/8/2561 11:32:54


WO R K L I F E

บันทึกเส้นทางพบเทศบาลตำ�บล

เทศบาลตำ�บลหาดเล็ก “เที่ยวกินถิ่นแคบสุด ชมจุดสุดท้ายชายแดน”

ต�ำบลหาดเล็ก อ�ำเภอคลองใหญ่ จั ง หวั ด ตราด เป็ น ต� ำ บลสุ ด ท้ า ย ของภาคตะวันออก ในอดีตเคยเป็น พื้นที่สู้รบและเป็นพื้นที่อพยพของ ชาวกัมพูชาในสมัยสงคราม ปัจจุบัน ต�ำบลหาดเล็กได้เป็นประตูหน้าบ้าน เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ถูก ประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ด้วย ซึ่งในพื้นที่ของต�ำบลหาดเล็ก นั้ น มี ทั้ ง แหล่ ง เรี ย นรู ้ ด ้ า นการส่ ง เสริ ม ประมง ด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ ทางสงคราม อีกทั้งยังมีสถานที่ท่อง เที่ยว แหล่งจ�ำหน่ายอาหารทะเล และแหล่งการค้าชายแดนในแต่ละ ชุมชน ดังนี้

148

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


หมู่ที่ 1 บ้านคลองมะขาม แหล่ ง เรี ย นรู ้ แ ละการอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรทางทะเล โดยกลุ่มองค์กร ชุมชนประมงท้องถิ่นต�ำบลหาดเล็ก ซึง่ ได้รบั รางวัลสถาบันเกษตรกรดีเด่น แห่งชาติ ในพระราชพิธจี รดพระนังคัล แรกนาขวัญประจ�ำปี 2561 ซึ่งทาง กลุ่มได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ ทางทะเลมาปรับใช้ และหาวิธีคิดค้น

การอนุรกั ษ์สตั ว์นำ�้ ในทะเลให้มคี วาม อุดมสมบูรณ์อย่างยั่ง ยืน มีการท�ำ ซั้ ง เชื อ กเสมื อ นการจ� ำ ลองเป็ น ต้ น สาหร่ายทะเล เพือ่ ให้สตั ว์ทะเลได้มที ี่ อาศัย และขยายพันธุ์ต่อไป มีการท�ำ ธนาคารปู มีการวางมาตรการจับสัตว์ น�ำ้ บริเวณชายฝัง่ อีกทัง้ ยังมีประเพณี แข่งเรือในชุมชนอีกด้วย

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

149


หมู่ที่ 2 บ้านโขดทราย แวะชมส่ ว นที่ แ คบ ที่สุดในประเทศไทย ซึ่ง มีความกว้างของแผ่นดิน เพียงแค่ 450 เมตร เมื่อ ขึ้ น ไปยั ง จุ ด ถ่ า ยรู ป จะ มองเห็ น ท้ อ งทะเลอ่ า ว ไทยและเกาะกูดได้อย่าง ชัดเจน และยังเป็นแหล่ง เรียนรู้และการสาธิตการ ท�ำกะปิที่ขึ้นชื่อของต�ำบล หาดเล็ก

150

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


หมู่ที่ 3 บ้านหาดศาลเจ้าหรือบ้านคลองหิน ชมวิถีประมงพื้นบ้านที่ใหญ่ที่สุดในต�ำบล หาดเล็ก เป็นแหล่งและสถานทีจ่ ำ� หน่ายอาหาร ทะเลที่มีความสดและหลากหลายชนิดมาก เนื่ อ งจากเป็ น ชุ ม ชนที่ ใ ช้ เ รื อ ขนาดเล็ กออก ท�ำการประมงทุกวัน มีการเพาะเลี้ยงปลาก ระชัง มีร้านค้าชุมชนซึ่งจ�ำหน่ายอาหารทะเล ให้กับนักท่องเที่ยวโดยตรง

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

151


หมู่ที่ 4 บ้านหาดเล็ก กราบไหว้ขอพร พระเกจิชอื่ ดัง 3 องค์ ศาล พระเจ้าตากสิน ศาลเจ้าแม่หาดเล็ก เป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวต�ำบลหาดเล็กให้ความเคารพ นั บ ถื อ เป็ น อย่ า งมาก และเลื อ กซื้ อ สิ น ค้ า จากตลาดการค้าชายแดน เป็นแหล่งเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ด้านสงคราม ชมร่องรอยที่หลง เหลือไว้ เช่น หลุมบังเกอร์หรือหลุมหลบภัย ศึกษาประวัตเิ หล่าทหารหาญทีไ่ ด้พลีชพี ในช่วง สงคราม ณ อนุสรณ์สถานนาวิกโยธินบ้านหาด เล็ก เยี่ยมชมและถ่ายรูปกับหลักเขต 73 ซึ่ง เป็นหลักเขตสุดท้ายทีแ่ บ่งแนวเขตระหว่างไทย กับกัมพูชา หาดจอมพล ป. และประเพณีลอย กระทงสองแผ่นถิ่นแคบสุด...ชายแดนบูรพา

152

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


หมู่ที่ 5 บ้านคลองสน เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของสะพานแห่งหนึ่ง ที่ มีชอื่ เรียกว่า “สะพานมรณะ” ซึง่ เป็นสะพานทีเ่ ชือ่ มชุมชน ทัง้ สองฝัง่ คลอง ในอดีตอีกฝัง่ คลองจะมีสถานบันเทิงอยู่ เป็นจ�ำนวนมาก และเป็นแหล่งท่าเรือประมงขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึง่ ลูกเรือจะมีหลายเชือ้ ชาติ มักจะมีการ ทะเลาะท�ำร้ายร่างกายกัน และจะวิง่ มาทางสะพานแห่ง นี้ ซึง่ เป็นทีน่ า่ แปลกใจ คือ ถ้าใครวิง่ ข้ามสะพานแห่งนีไ้ ป ได้ อีกฝ่ายจะไม่ตามข้ามมาท�ำร้าย แต่ถ้าใครข้ามไม่ทัน มักจะได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต จึงเป็นที่มาของชื่อ สะพานแห่งนี้

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

153


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดคลองมะนาว วัดคลองมะนาว ตัง้ อยูเ่ ลขที่ 18/5 หมูท่ ี่ 4 ต�ำบลไม้รดู อ�ำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มี เ นื้ อ ที่ 9 ไร่ 3 งาน 16 ตาราง โดยมี พ ระครู พิ ทั ก ษ์ บุ ร เขต (ช้ อ ย ฐานธั ม โม) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกจนถึงปัจจุบัน และเป็นเจ้าคณะอ�ำเภอคลองใหญ่ ประวัติวัดคลองมะนาว

พระครูพิทักษ์บุรเขต เจ้าอาวาสวัดคลองมะนาว

154

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

วัดคลองมะนาว แต่เดิมเป็นที่พักสงฆ์โดย พระครูสารบูล (หลวงพ่อแอบ) วัดปลายคลอง (วัดบุปผาราม) จ.ตราด เป็นผู้เริ่มในการสร้าง เมื่อ พ.ศ.2510 และมีหลวงพ่อเลี่ยน เป็น หัวหน้าสงฆ์อยู่จ�ำพรรษา ต่อมา พ.ศ.2519 ประเทศกัมพูชาได้มีการสู้รบกันอย่างรุนแรง พระภิกษุสามเณรและชาวบ้านได้ความเดือด ร้อนเป็นอย่างมาก ชาวบ้านและที่พักสงฆ์ได้ ย้ายที่อยู่เดิมไปอยู่ที่ชายทะเล

หลังจากการสู้รบสงบลงแล้ว พ.ศ. 2523 ชาวบ้านได้ช่วยกันย้ายที่พักสงฆ์ จากชายทะเลมาตั้ ง ขึ้ น ใหม่ ใ นที่ ดิ น ของนายยู ง จุ จ ทั่ ว ทึ ก อยู ่ ต รงข้ า มกั บ ทีพ่ กั สงฆ์เดิม และเจ้าอาวาสวัดโยธานิมติ คือ พระเทพสุเมธมุนี ได้ให้พระสมบัติ น� ำ พระมาอยู ่ จ� ำ พรรษา เมื่ อ วั น ที่ 2 กรกฎาคม 2523 และปี พ.ศ.2525 เจ้าอาวาสวัดโยธานิมิตได้ให้ พระปลัด ช้อย ฐานธัมโม มาเป็นหัวหน้าที่พักสงฆ์


ท่านและชาวบ้านได้ร่วมกันพัฒนาก่อสร้าง สิ่งที่เป็นถาวรวัตถุเป็นล�ำดับมา โดยได้รับการ แต่งตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2534 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553

ประวัติเจ้าอาวาส

พระครู พิ ทั ก ษ์ บุ ร เขต นามเดิ ม ช้ อ ย นามสกุล ไกรเรือง อุปสมบท เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522 ณ พัทธสีมา วัดโบสถ์ ปัจจุบันวัดโยธานิมิต พระอุ ป ั ช ฌาย์ พระครู คี รี เ ขตคณารั ก ษ์ เจ้าคณะอ�ำเภอเขาสมิง วัดสลัก พระกรรมวาจา จารย์ พระมหาสง่า สกฺโก ( พระเทพสุเมธมุนี ) วัดโบสถ์ พระอนุสาวนาจารย์ พระมหาพิสิฐ จนฺทุปโม วัดโยธานิมิต การศึกษา ปี พ.ศ.2525 จบ น.ธ.เอก ปี พ.ศ2561 พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต�ำแหน่ง เป็นเจ้าอาวาส ปี พ.ศ.2535 เป็นรองเจ้าคณะต�ำบล ปี พ.ศ.2544 เป็นเจ้าคณะต�ำบล ปี พ.ศ.2550 เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2554 เป็นเจ้าคณะอ�ำเภอ ปี พ.ศ.2561 เป็นพระครูสญ ั ญาบัตร เจ้าคณะต�ำบลชัน้ โท เป็นพระครูพิทักษ์บุรเขต เป็นเจ้าอาวาสวัดคลองมะนาว เป็นเจ้าคณะอ�ำเภอคลองใหญ่ - ปัจจุบัน

ร่วมสร้างเส้นทางบุญ จัดสร้างศาลาโรงครัว ชื่อบัญชี วัดคลองมะนาว เลขบัญชี 241-1-04995-1

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

155


WORK LIFE

บันทึกเส้นทางพบองค์การบริหารส่วนตำ�บล

“สร้างคุณภาพชีวิต รักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน มุ่งสู่การพัฒนาการท่อง เที่ยวอย่างยั่งยืน” คือวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนต�ำบลเกาะช้างใต้ เลขที่ 73/6 หมูท่ ี่ 5 บ้านสลักเพชรเหนือ ต�ำบลเกาะช้างใต้ อ�ำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด อยู่ห่างจากที่ท�ำการอ�ำเภอเกาะช้างมาทางทิศใต้ ระยะทาง 13 กิโลเมตร องค์การบริหารส่วนต�ำบลเกาะช้างใต้ ได้รบั การยกฐานะจากสภาต�ำบล เกาะช้างใต้ เมือ่ วันที่ 25 เดือนธันวาคม พ.ศ.2539 โดยมีนายสมบูรณ์ หงษ์รอ่ น ก�ำนันต�ำบลเกาะช้างใต้เป็นประธานกรรมการบริหารโดยต�ำแหน่งคนแรก ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล คณะผู้บริหาร อบต.เกาะช้างใต้ นายจักรกฤษณ์ สลักเพชร นายก อบต.เกาะช้างใต้ นางสาวจรรยา กิตติวริ ยิ ะวงษ์ รองนายก อบต.เกาะช้างใต้ นายอภัยภูมิ ศิลประสาร รองนายก อบต.เกาะช้างใต้ นายมนต์ชยั ขุนสนธิ เลขานุการนายก อบต.เกาะช้างใต้

ข้อมูลทั่วไป ต�ำบลเกาะช้างใต้ มีเนื้อที่ทั้งหมดรวม 93.75 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 58,276 ไร่ 195 ตารางวา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหมู่เกาะและมีเทือก เขาสูง มีพื้นที่ราบอยู่ประมาณ 15% ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณะพื้นที่เป็นดิน เหนียวปนดินร่วนเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวน หมู่บ้านและประชากร อบต.เกาะช้างใต้ แบ่งการปกครองออกเป็น 5 หมูบ่ า้ น ดังนี้ หมูท่ ี่ 1 บ้านบางเบ้า หมูท่ ี่ 2 บ้านสลักเพชร หมูท่ ี่ 3 บ้านเจ๊กแบ้

156

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

องค์การบริหารส่วนตำ�บล เกาะช้างใต้ หมู่ที่ 4 บ้านสลักคอก หมู่ที่ 5 บ้านสลักเพชรเหนือ มีประชากรรวมจ�ำนวน 2,958 คน เพศชาย 1,513 คน เพศหญิง 1,445 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 1,647 ครัวเรือน (ข้อมูลทะเบียนราษฎรอ�ำเภอเกาะช้าง ณ เดือนกันยายน 2559) อาชีพ ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพท�ำประมงพื้นบ้าน จับ กุ้ง หอย ปู ปลา และ ท�ำสวน เป็นหลัก เช่น สวนทุเรียน สวนเงาะ สวนมังคุด สวนมะพร้าว สวนลองกอง สวนส้มโอ และสวนยางพารา ซึง่ ถือเป็นอาชีพหลักทีส่ ร้างรายได้ให้กบั ประชาชนในพืน้ ที่ แต่เมือ่ มีการพัฒนา ในพื้ น ที่ บ นเกาะช้ า งประชาชนก็ เ ริ่ ม หั น มาท� ำ อาชี พ ค้ า ขายและธุ ร กิ จ การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ศักยภาพที่เอื้อต่อการพัฒนา วิถีชีวิตชาวบ้านเป็นชุมชนชาวประมงเหมาะแก่การพัฒนาให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากเป็นหมู่เกาะ มีปะการัง มีป่าชายเลนที่อุดม สมบูรณ์ ชายฝั่งทะเลเป็นอ่าวขนาดใหญ่เหมาะส�ำหรับเป็นที่จอดเรือ เช่น อ่าวสลักคอก อ่าวสลักเพชร อ่าวบางเบ้า มีหาดทรายทีส่ วยงามและเงียบสงบ ได้แก่ หาดทรายยาว หาดคลองกลอย และชายฝั่งด้านทิศใต้เป็นพื้นที่ ประวัติศาสตร์ยุทธนาวีเกาะช้าง มีหมู่เกาะที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว ได้แก่ เกาะง่าม เกาะเหลายา เกาะทรายขาว เกาะหวาย เกาะคลุ้ม เกาะไม้ซี้เล็ก และเกาะไม้ซี้ใหญ่ นอกจากนั้นยังมีน�้ำตกที่สวยงามอีก 3 แห่ง คือ น�้ำตก คลองหนึ่ง น�้ำตกคีรีเพชร และน�้ำตกคลองสิบเอ็ด มีผู้ประกอบการด้านการ ท่องเที่ยว ดังนี้ โรงแรม 6 แห่ง โฮมสเตย์ 41 แห่ง รีสอร์ท 45 แห่ง บังกะโล 31 แห่ง เรือน�ำเที่ยว 30 ล�ำ ชมรมน�ำเที่ยวพื้นบ้าน 3 แห่ง


อบต.เกาะช้างใต้ ชวนช็อปชวนเที่ยว หมู่บ้านบางเบ้า เป็นชุมชนชาวประมง ชายฝั่งทะเลแหว่งเว้า เป็นอ่าวเหมาะส�ำหรับเป็นที่จอดเรือชาวประมง และเรือน�ำเที่ยวทางทะเล และหลบมรสุม มีหาด เล็กที่สวยงามได้แก่หาดคลองกลอย มีหมู่เกาะที่ เหมาะแก่การท่องเทีย่ วเพือ่ ด�ำน�ำ้ ดูปะการัง ได้แก่ เกาะง่าม เกาะเหลายา เกาะทรายขาว เกาะหวาย และหมู่เกาะรัง จึงเป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวเดิน ทางมาเพื่ อ ขึ้ น เรื อ เดิ น ทางไปด� ำ น�้ ำ ดู ป ะการั ง นอกจากนี้ยังมีน�้ำตกที่สวยงาม 2 แห่ง คือ น�้ำตก คลองจาก น�้ำตกคลองกลอย และท่องเที่ยวทัวร์ เดินป่าชมธรรมชาติบนเขา ซึ่งนักท่องเที่ยวชาว ต่างชาติจะนิยมมาก ชุมชนบ้านบางเบ้ามีการ ผลิตอาหารพื้นบ้าน ได้แก่ กะปิ และอาหารทะเล แปรรูปต่าง ๆ เช่น กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง ท�ำให้ สร้างรายได้และสร้างชื่อเสียงให้แก่ชุมชน ปัจจุบนั องค์การบริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ได้ให้การ สนับสนุนเรือ่ งงบประมาณในการพัฒนาพืน้ ทีเ่ พือ่ การท่องเทีย่ ว อบต.เกาะช้างใต้สนับสนุนเรือ่ งการ พัฒนาสาธารณูประโภคในชุมชน

สะพานส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านบางเป้า

สะพานชมป่าชายเลนบ้านสลักเพชรเหนือ

หมู่บ้านสลักเพชร บริ เ วณที่ ตั้ ง ของบ้ า นสลั ก เพชรปั จ จุ บั น นั้ น มี ต� ำ นานเล่ า ว่ า พระโพธิ สั ต ว์ สั่ ง ให้ ค นไปสกั ด อ้ายเพชร ช้างทรงเลี้ยงให้กลับมาเข้าคอกที่สร้าง ไว้บริเวณบ้านสลักคอก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณ ไปสกัดช้างว่า สลักหน้า หรือ บ้านสลักเพชร ซึ่งค�ำว่าสลัก มาจากค�ำว่า สกัด ซึ่งหมายถึงการ สกัดหน้าอ้ายเพชร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพโฮมเสตย์ และผลิตสินค้าชุมชนจ�ำหน่าย อาทิ ผลิตภัณฑ์ จากกะลามะพร้าว และอาหารทะเลแปรรูปผลิต โดยกลุ่มแม่บ้าน ผ้าบาติกผลิตโดยกลุ่มอาชีพ สตรีท�ำผ้าบาติก ผ้ามัดย้อมผลิตโดยกลุ่มแม่บ้าน และมีกะปิเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาวซึ่ง ผลิตโดยกลุม่ แม่บา้ น และทีพ่ กั แบบโฮมสเตย์เพือ่ รองรับนักท่องเที่ยวอีก 20 แห่ง มีกิจกรรมพาย เรือคายัก ทานอาหารทะเลสด ด�ำน�้ำชมปะการัง และท่องเที่ยวตามหมู่เกาะต่าง ๆ ป่าชายเลนบ้านสลักคอก TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

157


ยุธนาวีเกาะช้าง หมู่บ้านเจ๊กแบ้ เป็นหมู่บ้านที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ยุทธนาวีที่เกาะช้าง เมื่อปี พ.ศ. 2484 ซึ่งเกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโด จีนฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนให้ ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และ หลักความยุติธรรม กรณีพิพาทได้เริ่มลุกขึ้นตาม ชายแดนเป็นแห่ง ๆ และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขัน้ ใช้กำ� ลังทหารเข้าท�ำการสูร้ บกัน ทัง้ ก�ำลัง ทางบก เรือ และอากาศ ส�ำหรับทางเรือได้มกี ารรบ กันบริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง ระหว่างก�ำลังทาง เรือของไทย และของฝรัง่ เศส เมือ่ วันที่ 17 มกราคม 2484 จากวีรกรรมในครั้งนั้น ชาวเจ๊กแบ้และชาว เกาะช้ า งได้ ร ่ ว มกั น ตั้ ง ศาลเพื่ อ ท� ำ การสั ก การ บูชาเหล่าวีรชนทหารกล้าไว้ ณ หาดยุทธนาวี เมื่อปี พ.ศ.2535 ได้รับเสด็จสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาโดย เครือ่ งบินเฮลิคอปเตอร์ มาลงทีส่ นามหน้าโรงเรียน ประชุมเมฆอ�ำพร แล้วทรงปลูกต้นไม้ มะม่วง ขนุน และมอบพันธุ์ได้ให้กับผู้ใหญ่บ้าน แล้วทรงเยี่ยม ชาวบ้านทีม่ าต้อนรับทัง้ สองข้างทาง และเสด็จฯ ไป ยังสะพานคึกฤทธิเ์ พือ่ เดินทางต่อโดยเรือราชนาวี ไปพักแรมที่เกาะพร้าวนอกหนึ่งคืน ก่อนเดินทาง ต่อไปยังประเทศกัมพูชาโดยเรือรบหลวงราชนาวี ของกองทัพเรือไทย

158

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ ได้แก่ 1.อนุสรณ์สถาน ยุทธนาวีที่เกาะช้าง กิจกรรม สักการะบูชาเหล่า วีระชนทหารกล้า ในวันที่ 17 มกราคม ของทุกปี และมี ห าดทรายให้ เ ล่ น น�้ ำ 2. เกาะทรายขาว 3.หาดทรายยาว เล่นน�้ำ อาบแด 4.น�้ำตกคลอง เทียน เล่นน�้ำชมธรรมชาติ ป่าไม้ 5.เกาะง่าม เล่ น น�้ ำ ชมทั ศ นี ภ าพ 6.เกาะใบดั้ ง เล่ น น�้ ำ 7.เกาะไม้ชใี้ หญ่และเกาะไม้ชเี้ ล็ก 8.เกาะพร้าวนอก (เกาะทรายขาว) ด�ำน�ำ้ ดูปะการัง เล่นน�ำ ้ อาบแดด นอกจากนี้ ยั ง สามารถเดิ น เล่ น รอบเกาะได้ 9.เกาะพร้าวใน ดูวถิ ชี วี ติ ชาวประมง การเลีย้ งปลา

ในกระชังของชุมชน 10.ชมรมน�ำเทีย่ วเชิงอนุกรักษ์ และประวัตศิ าสตร์บา้ นเจ๊กแบ้ กิจกรรม นัง่ เรือชม ธรรมชาติและดูหิ่งห้อย ด�ำน�้ำดูปะการัง ภายในหมู่บ้านมีที่พักให้เลือกหลายรูปแบบ อาทิ โฮมสเตย์และรีสอร์ท อีก 15 แห่ง มีกจิ กรรม ด�ำน�้ำดูปะการัง ทานอาหารทะเลสด หมู่บ้านสลักคอก มีวดั ทีส่ ำ� คัญทางประวัตศิ าสตร์ คือ วัดวัชคาม คชทวีป เป็นวัดทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 5 ครัง้ เสด็จประพาสเมืองตราด

นั่งเรือชมป่าชายเลนบ้านสลักคอก


ถึง 12 ครัง้ และได้เสด็จเกาะช้างทัง้ 12 ครัง้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2427 (ร.ศ.103) ได้เสด็จทางชลมารคโดย เรือพระที่นั่งเวสาตรีไปที่สลักคอก ทรงขึ้นไปตาม ที่บ้านพักที่วัดในต�ำบลนั้น เจ้านายข้าราชการ ข้างหน้า ข้างในเรี่ยรายเงินถวายพระ ราษฎรพา กันขอให้เหยียบที่สร้างพระอุโบสถ ด้วยวัดนั้นหา มีพระอุโบสถไม่ ถึงได้รับจะสร้างพระอุโบสถให้ ตั้งชื่อวัดว่า วัดวัชคามคชทวีป หมู่บ้านสลักคอกมีความโดดเด่นหลายด้าน ได้แก่ 1. ลักษณะเด่นด้านความอุดมสมบูรณ์ทาง ทรัพยากรธรรมชาติ คือมีพนื้ ทีส่ าธารณะประโยชน์ 22 ไร่เศษ เป็นโครงการปลูกป่าพืชสวนสมุนไพร เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อ จ�ำหน่ายพืชสมุนไพร / เพื่อเป็นแหล่งส่งเสริม การท่องเทีย่ ว / เพือ่ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าในกับ นักศึกษาและบุคคลทั่วไป และมีพื้นที่ป่าโกงกาง ป่าชายเลน หมู่บ้านสลักคอกมีเนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ ความหนาแน่นของสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอนุบาลพันธุ์สัตว์น�้ำ 2. ลักษณะเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ มีกิจกรรมพายเรือคายัค นั่งเรือมาชมป่าโกงกาง เพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน โดยมีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเข้า มาชมและท่องเทีย่ วกันอย่างต่อเนือ่ ง มีสะพานชม ป่าชายเลนที่สวยงาม และเป็นแหล่งเรียนรู้ข้อมูล พันธุ์ไม้ในแต่ละชนิดที่พบเห็นบริเวณนั้นได้ และ มีหมู่บ้านชาวประมงบ้านสลักคอก เป็นวิถีชุมชน ชาวประมงดั้งเดิมประกอบอาชีพจับปู ปลา กุ้ง ตามชายฝั่ง 3. ลักษณะเด่นด้านกิจกรรมการส่งเสริมอาชีพ มีกิจกรรมการท�ำผ้าบาติค ผลิตภัณฑ์จากกะลา มะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากใบยางเป็น ผลิตภัณฑ์ ชุมชนของกลุ่มแม่บ้านสลักคอก และกิจกรรม การอนุรกั ษ์ประเพณีวฒ ั นธรรมท้องถิน่ คือการร�ำ กลองยาว และการแสดงชุดร�ำไทย เพื่อจัดแสดง ให้กับกลุ่มทัวร์ท่องเที่ยวเรือคายัค ชมป่าชายเลน และแสดงตามโรงแรมและรีสอร์ทต่าง ๆ

เหนือยังมีพระอุโบสถทีเ่ ก่าแก่อายุหนึง่ ร้อยยีส่ บิ ปี และหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดบน เกาะช้าง เป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ เี่ คารพบูชาของคนบ้าน สลักเพชรเหนือ ชาวบ้ า นสลั ก เพชรเหนื อ มี อ าชี พ หลั ก คื อ เกษตรกรรม อาชีพรองคือประมง รับจ้าง ค้าขาย อาชีพเสริมคือการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และวัตถุดิบในชุมชน เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์จาก กะลามะพร้าว ระดับ 3 ดาว, ผลิตภัณฑ์จากบ้าน รักกะลา และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น ทุเรียนกวน มังคุดกวน มะพร้าวแก้ว จักสาน ไข่เค็มพอกใบเตย กล้วยอบแผ่น การแปรรูป อาหารทะเล กะปิ กุ้งแห้ง ปลาเค็ม หมึกแห้ง กลุ่มผ้าบาติก โดยคณะกรรมการพัฒนาสตรีและ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร หมู่ 5 ด้านการท่องเที่ยว ภายในหมู่บ้านมีกิจกรรม ท่องเที่ยวที่น่าสนใจสองประเภท คือ

1.การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ กิจกรรม เดินป่าชายเลนศึกษาระบบนิเวศน์ ชมทิวทัศน์ เขาแหลม เขาใหญ่ ชมนกเงื อ ก ชมกล้ ว ยไม้ นานาพันธุ์ อ่าวสลักเพชร พายเรือคายัค เส้นทาง ศึกษาป่าชายเลน ชมหิ่งห้อย 2.การท่ อ งเที่ ย วประเพณี แ ละวั ฒ นธรรม ท้องถิ่น อาทิ เที่ยววัดสลักเพชร นมัสการหลวง พ่อเพชร ชมอุโบสถเก่าแก่อายุร้อยปี ชมอุโบสถ หลั ง ใหม่ ที่ มี ป ระติ ม ากรรมแบบผสมผสาน ชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่วัดสลักเพชร นอกจากนี้ ห มู ่ บ ้ า นสลั ก เพชรเหนื อ ยั ง มี แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ น�้ำตก คลองหนึ่ง น�้ำตกคลองสิบเอ็ด คลองห้วงเสด็จ ทั้งหมดนี้คือเกาะช้างใต้แหล่งท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ และประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ที่มีคุณค่า และรอนักท่องเที่ยวมาเยือน

สะพานศึกษาป่าชายเลนบ้านสลักเพชรเหนือ

บ้านสลักเพชรเหนือ ในอดีตบ้านสลักเพชรเหนือแห่งนี้พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสและยังได้พระราชทานตราตั้ง แก่ ห ลวงสลั ก เพ็ ช ร์ พั ฒ นกิ จ ปั จ จุ บั น คื อ บ้ า น ของนายจักรกฤษณ์ สลักเพชร นายกองค์การ บริ ห ารส่ ว นต� ำ บลเกาะช้ า งใต้ บ้ า นสลั ก เพชร

TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

159


HI S TO R Y O F BU D D H IS M บันทึกเส้นทางธรรมหนุนนำ�ชีวิต

วัดสลักเพชร วั ด สลั ก เพชร ตั้ ง อยู ่ เ ลขที่ 99 บ้ า นสลั ก เพชร หมู ่ ที่ 5 ต� ำ บลเกาะช้ า งใต้ อ�ำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูคชทีปวัชราภรณ์ (ประกิต กล่อมวงษ์) วัดสลักเพชรได้รบั พระราชทานวิสงุ คามสีมา เมื่ อ พ.ศ.2467 ปั จ จุ บั น มี โ รงเรี ย นพระ ปริยัติธรรม แผนกธรรม นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพนับถืออีกอย่าง หนึ่งคือ หลวงพ่อเพ็ชร์ พระประธานประจ�ำ อุโบสถ และ งาช้าง ซึ่งเป็นตราตั้งประจ�ำ ต�ำแหน่งของหลวงสลักเพชรพัฒนกิจ ซึ่งได้ รั บ พระราชทานจากพระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ ทางวัดยังได้เก็บรวบรวมของเก่าแก่จากสมัย

160

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด

รัชกาลที่ 5 ไว้ โดยเปิดให้ประชาชนได้เข้า เยี่ยมชมอีกมากมาย

อาคารเสนาสนะ

- อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2449 เป็นอาคาร คอนกรีต เสริมเหล็กทรงไทย - ศาลาการเปรียญ 2 หลัง - กุฏิสงฆ์ - ศาลาบ�ำเพ็ญกุศล - อุโบสถหลังใหม่

ประวัติหลวงพ่อเพ็ชร์

หลวงพ่ อ เพ็ ช ร์ พระพุ ท ธรู ป ปางสมาธิ มีขนาดหน้าตักกว้าง 65 ซม. สูง 113 ซม. สร้างขึ้นจากโลหะส�ำริดในรูปแบบของศิลปะ สมัยรัตนโกสินทร์ ทรงจีวรดอกที่มีลวดลาย เป็ น ดอกพิ กุ ล ซึ่ ง เชื่ อ ว่ า ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลมา จากพระแก้วมรกต ในเครื่องทรงชุดประจ�ำ ฤดูฝน ส่วนบัวทีอ่ ยูบ่ นยอดสุดของพระเกศของ พระพุทธรูปมีการลงลวดลายอย่างละเอียด ประณีต งดงาม


ความเป็ น มาของหลวงพ่ อ เพ็ ช ร์ นั้ น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามาจากแหล่งใด แต่เชื่อกันว่าน่าจะได้รับจากขุนนางชั้นสูงใน ระหว่างช่วงต้นถึงช่วงกลางของรัตนโกสินทร์ เพราะเดิมในสมัยนั้นการคมนาคมของเกาะ ช้างนั้นยากล�ำบาก จึงยากที่บุคคลธรรมดาที่ มีเพียงเรือล�ำเล็ก ๆ จะสามารถเคลื่อนย้าย พระพุทธรูปได้ จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่ามีเพียง เรือส�ำเภาของขุนนางจากราชส�ำนักเท่านั้น ที่จะล�ำเลียงองค์พระข้ามมายังเกาะได้ เดิ ม หลวงพ่ อ เพ็ ช ร์ ป ระดิ ษ ฐานอยู ่ ใ น อุ โ บสถหลัง เก่า (อุโบสถ 106 ปี) ต่อ มา ในสมั ย ของพระปลั ด ประกิ ต อตตฺ ร กฺ โ ข (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบนั ) ได้อญ ั เชิญหลวงพ่อเพ็ชร์ มาประดิษฐาน ณ อาคารด้านนอก เพือ่ ให้ชาว บ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้สักการะบูชา ส�ำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเพ็ชร์ นั้น เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางทั้งผู้คนใน ชุมชนสลักเพชร และผู้ที่ได้มีโอกาสเดินทาง สัญจรผ่านมา ว่าหลวงพ่อมีความศักดิส์ ทิ ธิโ์ ดย เฉพาะในเรื่องของฝนฟ้าอากาศ ท่านช่วยขจัด ปัดเป่าพายุลมพายุฝน ทีเ่ ป็นอุปสรรคขัดขวาง พิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวบ้าน เช่น งานพิธีบุญ แห่นาค อุปสมบท เป็นต้น นอกจากนีค้ รัง้ หนึง่ คุณสมจิต จงจอหอ นักชกทีมชาติ เจ้าของ เหรียญทองโอลิมปิก ได้เคยมากราบขอพร กับหลวงพ่อเพ็ชร์ก่อนขึ้นชกในเวทีระดับโลก ขอให้ ห ลวงพ่ อ ช่ ว ยเป็ น แรงบั น ดาลใจจน สามารถคว้าเหรียญทองโอลิมปิกกลับมาให้ ชาวไทยได้ชื่นชม ก็นับว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อเพ็ชร์อีกประการหนึ่ง

สถานที่ส�ำคัญในวัดสลักเพชร

อุ โ บสถหลั ง ใหม่ ได้ เ ริ่ ม ก่ อ สร้ า งปี พ.ศ 2539 สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555 ภายในอุโบสถมีพระประธาน พระพุทธ ชินราช ซึ่งผนังอุโบสถสามด้านประกอบไป ด้วยจิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพวาดพระพุทธ ประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพาน ซึ่งมี ความสวยสดงดงามด้วยลายไทย ด้านหลัง พระประธานมี ภ าพประติ ม ากรรมปั ้ น ด้ ว ย ปูนสดที่สื่อเรื่องราวถึงเมืองสวรรค์ ที่มีความ อ่อนช้อยและงดงามมาก เป็นที่ท่องเที่ยวของ ชาวต่ า งชาติ ที่ ม าสั ก การะและมาชมศิ ล ปะ ไทย ภายนอกอุโบสถจะประกอบไปด้วยสัตว์ ป่าหิมพานต์ ซึ่งปั้นด้วยปูนสด พิพิธภัณฑ์ (อุโบสถหลังเก่า) สร้างเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชดั แต่ได้รบั พระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ 2445

เดิมทีอุโบสถเก่าหลังนี้ชาวบ้านสลักเพชร ใช้ท�ำสังฆกรรมต่าง ๆ แก่ภิกษุสงฆ์ ต่อมา เล็กคับแคบและช�ำรุด จึงมีการสร้างอุโบสถ หลั ง ใหม่ ขึ้ น มา หลั ง เก่ า นี้ จึ ง บู ร ณะจั ด เป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ พื่ อ เก็ บ รวบรวมของใช้ ป ระจ� ำ หมู่บ้าน และมีของเก่าที่ทรงคุณค่าซึ่งได้รับ พระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เช่น หนังสือแต่ง ตั้งหลวงสลักเพชรพัฒนกิจ และไม้เท้าประจ�ำ หลวงสลั ก เพชร ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานจาก รัชกาลที่ 5 พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ นี้ จั ด ตั้ ง โดย พระครู ค ชที ป วัชราภรณ์ (ประกิต กล่อมวงษ์) เจ้าอาวาส ซึ่ง ด�ำรงต�ำแหน่งเมื่อ ปี 2546 ท่านได้พัฒนาวัด สลักเพชรจนท�ำให้มีนักท่องเที่ยวมาแสวงบุญ เพิ่มขึ้น และยังได้มีความช�ำนาญด้านการใช้ สมุนไพรรักษาผู้คนในหมู่บ้าน เช่นรักษาโรค เบาหวาน เป็นต้น TRAT I SBL บันทึกประเทศไทย

161


BEST IN TRAVEL 2017

ที่ สุ ด แห่ ง การบั น ทึ ก

ความทรงจ�ำ หนึ่งความทรงจ�ำของการเดินทางในปี 2560 โบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาธอลิก มีลักษณะตามศิลปะแบบโกธิก อาคารอันงดงามนี้ยืนหยัดผ่านกาลเวลามากว่าศตวรรษ เป็นศูนย์รวมศรัทธาของผองชาวคริสต์ทั้งปวง มิเพียงเฉพาะ เมืองจันทบูร แต่ครอบคลุมไปทั่วฝั่งทะเลตะวันออก

โบสถ์ วั ด แม่พระปฏิสนธินิรมล โบสถ์ คริ ส ต์ที่สวยที่สุด ในประเทศ จันทบุรี

SBL บั นทึ กประเทศไทย น�ำเสนอเรื่องราวของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย อย่างเจาะลึกและครอบคลุ ม ทุ ก มิ ติ อาทิ มิ ติ ด ้ า น การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต และความเป็ น อยู ่ จากหน่ ว ยงานราชการส� ำ คั ญ ในจั ง หวั ด มิ ติ ด ้ า นการท่ อ งเที่ ย วที่ ส ดใหม่ ทั น สมั ย ทั้ งสถานที่เ ที่ ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ แหล่งช็อปปิ้งใหม่ๆ ฯลฯ มิติด้านอุตสาหกรรม-การค้ า การลงทุ น ที่ เ ป็ น ตั วขั บ เคลื่ อนเศรษฐกิจ ตลอดจนมิติด้านการศึกษา ศาสนา วัฒ นธรรม และวิถีชีวิต ที่มีจุดเด่นและมีเอกลั ก ษณ์ น ่ า สนใจ

AD_

.indd 2

18/8/2561 10:09:30


B E S T IN T R AV E L

2017

TOP 10 PHOTOGRAPHS

OF THE YE AR

www.sbl.co.th

BEST

AD_

.indd 3

IN

TRAVEL

2017 18/8/2561 10:09:32


วัดห้วงพัฒนา ต�ำบลแสนตุ้ง อ�ำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

2

SBL บันทึกประเทศไทย I ตราด


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.