นิตยสารดอนบอสโก-Jan-Feb 2019 (Thai Salesian Bulletin)

Page 1

01 dbBulletin 2019


EDITOR’s NOTE

นิตยสารดอนบอสโก นิตยสารซาเลเซียน (Salesian Bulletin) คือสิง่ พิมพ์ ที่เป็นทางการของคณะซาเลเซียนซึ่งคุณพ่อบอสโก ได้เป็นผู้ริเริ่มไว้เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1877 นิตยสารนี้ได้รับการตีพิมพ์อย่างดีเรื่อยมาเพื่อเผย แพร่งานด้านการจัดการศึกษาอบรมของคุณพ่อ บอสโกไปทั่วโลก ปัจจุบันนิตยสารซาเลเซียนได้ ถูกตีพิมพ์ในรูปแบบที่แตกต่างกันไปจ�ำนวนทั้งสิ้น 57 ฉบับ 29 ภาษาและถูกเผยแพร่ใน 131 ประเทศ ทั่วโลก นิตยสารดอนบอสโกของประเทศไทยคือ หนึ่งในจ�ำนวนนี้ด้วย เจ้าของผู้พิมพ์ คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ที่ปรึกษา พระสังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล บรรณาธิการบริหาร sdbsocomthai@gmail.com กองบรรณาธิการ ซ.วิรินทิพย์ อินทร์แย้ม / มยุรี งามวงศ์ ซ.ธิดาเพ็ญ จรัสศรี / ซ.ลัดดา รัชนีลัดดาจิต คุณพ่ออนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ / คุณธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค แผนกการเงิน บ.วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม ส�ำนักงานนิตยสารดอนบอสโก 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร 0-2731-7100 E-mail : thaisdbbulletin@gmail.com พิมพ์ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ โทร. 0-2652-9625 ถึง 30 จัดพิมพ์โดย แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน E-mail : sdbsocomthai@gmail.com

ปีเก่าผ่านไป ปีใหม่กเ็ ข้ามา เวลาทีเ่ รามีความสุขดูเหมือนว่าเวลาผ่านไปรวดเร็ว แต่ เมื่อเวลาเรามีทุกข์ เวลาดูเหมือนจะผ่านไปอย่างเชื่องช้า อันที่จริงจังหวะการเดินของ นาฬิกานั้นเดินสม�่ำเสมอ ไม่ช้าหรือเร็ว ความรู้สึกของเราต่างหากที่ท�ำให้เป็นเช่นนั้น ความรู้สึกที่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ท�ำให้ความจริงของสิ่งนั้นเปลี่ยนไป แต่มันมีผล ตามมา ความจริงยังคงเป็นความจริง จังหวะการเดินของเวลาก็เป็นอย่างนั้น แต่ความ รู้สึกของเราต่างหากที่ท�ำให้เรามีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่เกิดขึ้นต่างกันออกไป เมื่อความจริง ยังคงเป็นความจริงก็คงไม่ตอ้ งตรวจสอบบ่อยนัก แต่สงิ่ ทีก่ ระทบความรูส้ กึ นัน้ ต่างหาก ทีเ่ ราต้องตรวจสอบเสมอ การ กระท�ำโดยใช้เพียงความรูส้ กึ โดยเฉพาะความรูส้ กึ ทีไ่ ม่ได้ กลั่นกรองแล้ว โอกาสผิดพลาดย่อมมีมากเสมอ นี่เองที่คุณพ่อบอสโกซึ่งเราฉลองท่าน ในวันที่ 31 มกราคม ได้สอนเราไว้ ท่านใช้เหตุผลเสมอ การอบรมของท่านจึงมีเหตุผล เป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญ นิตยสารดอนบอสโกฉบับนี้ดีต่อใจ เพราะเริ่มต้นปี 2019 ด้วยการเสนอค�ำขวัญ ของคุณพ่ออัคราธิการของคณะซาเลเซียน ที่ว่า “ความศักดิ์สิทธิ์ส�ำหรับคุณด้วย” นอกนั้น เราทุกคนร่วมยินดีกับพระพรแห่งกระแสเรียกการเป็นซาเลเซียนสงฆ์ของ คุณพ่ออนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ ซึ่งรับศีลบวชกลางเดือนมกราคม 2019 คุณพ่อได้เปิด ใจผ่านทางบทสัมภาษณ์ในนิตยสารฉบับนี้ และในโอกาสที่เราเตรียมฉลอง 350 ปี มิ ส ซั ง สยาม นิ ต ยสารดอนบอสโกขอเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการฉลองด้ ว ยการย้ อ น ประวั ติ ศ าสตร์ บ อกเล่ า เรื่ อ งราวพั น ธกิ จ ของสมาชิ ก ในครอบครั ว ซาเลเซี ย นใน ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรไทยผ่านทางคอลัมน์ “ครอบครัวซาเลเซียนตามล�ำน�้ำ 350 ปี มิสซังสยาม” ก่อนที่จะจบ ผมขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่ติดตามนิตยสารดอนบอสโก โอกาส ตรุษจีนก็ขออวยชัยให้พรเป็นต้นสมาชิกที่เป็นคนจีน ขอให้มีความสุขและท�ำมาค้าขึ้น ตลอดไป

บรรณาธิการ

วัตถุประสงค์ 1. เผยแพร่จิตตารมณ์และกิจการซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธรรมทูต การศึกษาอบรม งานอภิบาลเยาวชน การส่งเสริมและปลูกฝังกระแสเรียก 2. กระชับสายสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ของครอบครัวซาเลเซียน 3. เผยแพร่ความรักและความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ 02 dbBulletin 2019


CONTENTs

dbBULLETIN JANUARY-FEBRUARY 2019 ภาพจากปก

8

“เราจะอยู่กับท่านทุกวันตลอดไป” (มธ 28:20) คุณพ่ออันตน อนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ, ซดบ สงฆ์นิรันดร บวช 19 มกราคม ค.ศ.2019 ณ วัดนักบุญเทเรซา อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ

02 EDITOR’s NOTE 04 เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก

10

20 26

40

“เพื่อนของเยาวชน” ฉบับสุดท้าย

05 เสียงเยาวชน

คิดอย่างไรกับการที่เยาวชนชายหญิง อยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน? 08 ค�ำขวัญของคุณพ่ออัคราธิการ 10 สัมภาษณ์คุณพ่ออันตน อนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ

14 16

แก่นซาเลเซียน ถึงแก่น ๓

One Moment in Time

ห่านแคนาดา

17 LOCAL NEWs

20 เส้นทางจอมYOUTH วันเยาวชนโลก 2019 22 เพื่อนนักอบรม ถ้าครูรักแต่เด็กดี จะได้บุญกุศลอะไร! 24 CTimes สิ่งที่คริสตชนควรจะท�ำทุกวัน 8 ประการ 26 ครอบครัวซาเลเซียนตามล�ำน�้ำ 350 ปี มิสซังสยาม โน่นไงท่าน�้ำบางนกแขวก 29 ส่องโลกซาเลเซียน 32 LECTIO DIVINA ทูตสวรรค์แจ้งข่าวการประสูติของพระเยซูเจ้า 36 กล้ากระแสเรียก “ฝันให้ไกลไปให้ถึง” 38 บทความ เยาวชน...กับความสุข…แท้จริง! 40 ครอบครัวซาเลเซียน ความสุขของสมาชิกซาเลเซียนผู้ร่วมงาน 42 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน บุญราศีเลารา วีกุญญา 43 เรื่องมีอยู่ว่า วัดกันที่ใจ 03 dbBulletin 2019


เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก เรื่อง : Jose J.GoMEZ PALACIOS แปล : Anna

“เพื่อนของเยาวชน” ฉบับสุดท้าย

วั น นี้ เ ป็ น วั น สุ ด ท้ า ยของชี วิ ต ฉั น ฉั น ไม่ ไ ด้ รู ้ สึ ก ผิ ด อะไรแต่ หั ว ใจของ ฉันมันเต็มด้วยความเจ็บปวด เพราะ หนังสือพิมพ์ฉบับนีจ้ ะเป็นฉบับสุดท้าย แม้ว่าความภาคภูมิใจในตัวของฉันจะ จบลงพร้อมกับหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ แต่ ฉันก็ไม่โทษตัวเอง... ฉันเป็นหนังสือพิมพ์ที่ถูกจัดท�ำขึ้น เพื่อบรรดาเยาวชนโดยการริเริ่มของ คุณพ่อบอสโก แต่ฉันก็มีชีวิตอยู่เพียง แค่ 8 เดือนเท่านั้น อันที่จริงแล้ว ฉัน น่าจะได้รับความนิยมและเพิ่มจ�ำนวน ของการพิมพ์มากกว่านี้ ฉันเคยใฝ่ฝัน ที่จะให้บรรดาเยาวชนจ�ำนวนนับร้อย สนใจและเห็นคุณค่าของบทความและ ภาพต่ า งๆที่ อ ยู ่ ใ นตั ว ฉั น แต่ ค วาม คิดเหล่านั้นก็ค่อยๆเลือนหายไปและ เปลี่ ย นเป็ น ความผิ ด หวั ง เพราะทุ ก อย่ า งไม่ ไ ด้ เ ป็ นไปอย่า งที่ฉันคาดไว้ แม้สถานการณ์จะเป็นเช่นนี้ แต่ก็ไม่ สามารถท�ำอะไรคุณพ่อบอสโกได้ ท่าน ยังคงมีความกระตือรือร้นและพร้อมที่ จะริเริ่มท�ำสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ย้อนกลับไปยังความทรงจ�ำของฉัน ในวั น ที่ ฉั น ถู ก พิ ม พ์ อ อกมาเป็ น ฉบั บ แรก คุณพ่อบอสโกหยิบฉันมาดูใกล้ๆ อย่างมีความสุข กลิน่ สีและน�ำ้ หมึกทีย่ งั สดอยู่ส่งกลิ่นดังน�้ำหอมที่เลอค่าที่สุด ในโลก คุณพ่อบอสโกดีใจที่ได้จัดท�ำ ฉันขึ้นมา ท่านตั้งชื่อฉันว่า “เพื่อนของ เยาวชน” 04 dbBulletin 2019

ประวัติคุณพ่อบอสโก

ในปี ค.ศ.1849 คุณพ่อบอสโกได้จดั พิมพ์หนังสือพิมพ์ชอื่ “เพือ่ นของเยาวชน” แต่ไม่ได้ประสบความส�ำเร็จ หนังสือพิมพ์ดังกล่าวนี้ถูกตีพิมพ์สัปดาห์ละ 2 ฉบั บ และได้ มี ก ารตี พิ ม พ์ ทั้ ง หมด 61 ฉบั บ โดยพิ ม พ์ ที่ โรงพิ ม พ์ ซาเปอิรานิ เฟร์เรโร

การจัดพิมพ์ทั้ง 60 ฉบับในช่วงชีวิตของฉันนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อเยาวชน ฉันท�ำหน้าทีบ่ อกเล่าความคิดของคุณพ่อบอสโกและประกาศถึงความดีและความ ยุติธรรมผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์นี้ ฉันได้เป็นกระบอกเสียงถึงสถานการณ์ ของเยาวชนในสมัยนั้น รวมทั้งท�ำหน้าที่ยืนยันถึงความเชื่อคริสตชน ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป ฉันจะกลายเป็นเพียงความทรงจ�ำเพราะฉันคงจะ ถูกน�ำไปเก็บไว้ในห้องสมุดและถูกปล่อยทิ้งไว้ให้ฝ่นุ จับ ส�ำหรับฉันแล้วนี่ไม่ใช่ จุดจบของฉัน เพราะฉันภูมิใจที่ตัวฉันเคยถูกส่งให้ไปอยู่ในมือของคนยากจน และในมือของเยาวชนที่เป็นกรรมกรก่อสร้างซึ่งต้องแบกอิฐแบกปูนทุกวัน แม้ตัวฉันอาจจะเปอะเปื้อนจากความสกปรกของฝุ่นควันบ้างก็ตาม แต่ฉันก็ เป็นประโยชน์กับพวกเขา สิ่งที่ฉันภูมิใจที่สุดก็คือ ฉันยังเคยถูกส่งเข้าไปในคุก เยาวชนของเมืองตูรนิ ด้วย ทีน่ นั่ ฉันได้เปิดตาแห่งอิสรภาพให้กบั เด็กๆนับร้อย และเป็นก�ำลังใจให้กับพวกเขา ฉันดีใจที่อย่างน้อยตัวฉันเองได้เป็นเครื่องมือเล็กๆที่ช่วยให้เยาวชนและ คนยากจนได้มีศักดิ์ศรีและมีชีวิตที่ดีขึ้น นี่คือประสบการณ์และความทรงจ�ำที่ ฉันไม่อาจจะลืมได้ ที่ส�ำคัญฉันต้องขอบคุณคุณพ่อบอสโกที่เป็น “เพื่อนของ เยาวชน” อย่างแท้จริง เพราะถ้าไม่มีท่านก็คงไม่มีฉัน db


เสียงเยาวชน

dbBulletin

By Andy

เสียงเยาวชน

สมัยก่อน อาจจะคุ้นเคยกันดีกับการคบหาเป็นแฟนกัน แล้วหลังจากนั้นค่อยสร้างครอบครัว ไปแต่งงาน ย้ายไปอยู่บ้านเดียวกันและมีลูก ซึ่งก็เป็นสเต็ปชีวิตที่เห็นได้ทั่วไป แต่พอยุคสมัยเปลี่ยนไป หลายคนย้ายไปอยู่บ้านแฟนตั้งแต่วันแรกที่ขึ้นสเตตัส อิน รีเลชั่นชิป แต่จะลงเอยด้วยการแต่งงานหรือเปล่า ก็สุดแล้วแต่กันไป ลองมาฟังเสียงของเยาวชนกันว่า

คิดอย่างไรกับการที่เยาวชนชายหญิง อยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน? ตะวัน - พงศธร พึ่งฮั้ว อายุ 18 ปี การอยูด่ ว้ ยกันก่อนแต่งกลายเป็นเรือ่ งธรรมดาไปแล้วส�ำหรับคนในยุคปัจจุบนั แต่มนั เป็นค่านิยมทีผ่ ดิ ต่อจารีตประเพณีและการอบรมของครอบครัวทีส่ งั่ สอนเราให้รกั นวลสงวนตัวและอย่าชิงสุกก่อนห่าม ผมคิดว่าหากครอบครัวเริ่มต้นไม่ดีโดยต่างฝ่าย ต่างไม่พร้อมในทุกด้าน สุดท้ายก็จะลงเอยด้วยการแยกทางกัน ผมเป็นห่วงถึงผลลัพธ์ ที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรซึ่งจุดจบก็คือการท�ำแท้ง หรือจะ เป็นเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ฯลฯ หากเราผิดพลาดขึ้นมาคงไม่สามารถกลับ ไปเปลี่ยนแปลงอดีตได้ ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ต่อตัวเรา รวมถึงคนที่เรารัก ทุกคนจะ เสียใจและเครียดกันหมด ผมว่าอย่าปล่อยให้ค่านิยม อารมณ์ ความอยากรู้อยากเห็น และอยากลองมาเป็นตัวชีว้ ดั อนาคต แต่ให้เวลาเป็นเครือ่ งพิสจู น์ ขอให้เรารักตัวเองให้ มากๆ 05 dbBulletin 2019


เสียงเยาวชน

พิ้งกี้ (นามสมมติ) อายุ 17 ปี หนูคิดว่าการที่เยาวชนชายหญิงอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานนั้นช่วยท�ำให้รู้จักตัวตน ภายในของอีกฝ่ายหนึ่งมากขึ้น และเป็นโอกาสเรียนรู้นิสัยใจคอของอีกฝ่าย ถ้าไป ด้วยกันไม่ได้จริงๆ ก็แค่เลิกรากันไป แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายรักกันจริง การอยู่ด้วยกันก่อน แต่งงานก็จะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ให้มั่นคงมากขึ้น แต่ในเวลาเดียวกันก็มีข้อเสียจาก การอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานหลายข้อ ในบางวัฒนธรรมอาจยอมรับเรื่องนี้ได้ แต่ใน วัฒนธรรมไทยการยอมรับเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ครอบครัวฝ่ายชายอาจจะไม่ ยอมรับเราหรือครอบครัวของเราอาจจะรูส้ กึ เสียใจและผิดหวัง ทัง้ นีห้ นูคดิ ว่าการอยูด่ ว้ ย กันก่อนแต่งงานของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงควรขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทั้งสองฝ่าย และควรจะปรึกษาผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายว่าคิดเห็นอย่างไร เพื่อไม่ให้มีปัญหาตามมา ในอนาคต

ไนซ์-นายกิตติพงษ์ วีระพงษ์ประดิษฐ์ อายุ 22 ปี หลายคนอาจคิดว่าการอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานเป็นเรื่องปกติและสามารถยอมรับ ได้ ถ้าหากทั้งคู่มีความพร้อมทั้งในด้านวุฒิภาวะ ด้านเศรษฐกิจ และการรู้จักยับยั้ง ชั่งใจ แต่ส�ำหรับผมแล้ว ผมไม่เห็นด้วย ปัจจุบันมีเยาวชนหลายคนอยู่ด้วยกันก่อน แต่ง “โดยที่ไม่พร้อม” ท�ำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น การท้องก่อนแต่ง การ ตั้งครรภ์ในวัยเรียน ครอบครัวแตกแยก การทิ้งลูก ฯลฯ พ่อแม่วัยรุ่นเหล่านี้ไม่พร้อม ที่จะเลี้ยงลูกได้ ผมคิดว่าในปัจจุบันนี้คงเป็นเรื่องยากที่จะห้ามไม่ให้เกิดเรื่องดังกล่าว ขึ้น แต่เราก็ไม่ควรละเลยหรือเพิกเฉย คนที่อยู่รอบข้างเยาวชนควรให้ค�ำแนะน�ำและ สอนให้พวกเขารู้จักการใช้ชีวิตที่ดี

กีตาร์ (นามสมมติ) อายุ 22 ปี สมัยนี้โลกมันกว้างขึ้นเยอะมากๆ การที่คู่รักอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานนั้นเป็นเรื่อง ที่ไม่แย่ ถ้าคู่นั้นมีความคิดและสติในการอยู่ด้วยกัน ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีด้วยซ�้ำเพราะ จะท�ำให้รู้จักกันมากขึ้น ในกรณีที่อยู่ด้วยกันไม่ได้ก็ไม่เกิดปัญหาเพราะยังไม่ได้จด ทะเบียนสมรส หากว่าแต่งงานไปแล้วอยูด่ ว้ ยกันไม่ได้จะท�ำให้ครอบครัวร้าวฉานเปล่าๆ แต่ในอีกมุมหนึง่ ก็มขี อ้ เสียอยูเ่ หมือนกันคือ คูน่ นั้ มีสทิ ธิท์ จี่ ะท้องก่อนแต่ง คนสมัยใหม่ ชอบทีจ่ ะลองนูน่ ลองนีไ่ ม่กลัวอันตรายหรือผลทีจ่ ะตามมา โดยเฉพาะวัยรุน่ ทีก่ ำ� ลังเรียน อยูใ่ นมหาวิทยาลัยซึง่ อยูห่ อพักเพราะบ้านไกลและอยูห่ า่ งไกลจากพ่อแม่ หลายคนก็อยู่ หอเดียวกับแฟน อย่างไรก็ตาม ถ้าอยูด่ ว้ ยกันอย่างมีสติและช่วยผลักดันกันและกันให้ ประสบความส�ำเร็จ ปัญหาต่างๆ ก็จะไม่เกิด 06 dbBulletin 2019


dbBulletin

ไกด์ - กรวิชญ์ กิจฉลอง อายุ 17 ปี ในความคิดของผม ไม่มีอะไรที่เป็นหลักประกันได้ว่า เมื่อคน 2 คนที่รักกันและ อยู่ด้วยกันก่อนแต่งแล้วจะท�ำให้พวกเขาได้แต่งงานกันจริงๆในอนาคต ลองคิดดูว่า ถ้าทัง้ คูอ่ ยูด่ ว้ ยกันก่อนแต่งและมีเพศสัมพันธ์กนั แต่ในอนาคตไม่ได้แต่งงานกัน อะไร จะเกิดขึ้นบ้าง? อย่างแรกที่เกิดขึ้นกับทั้งคู่ก็คือบาป อย่างที่สองก็คือผู้หญิงเสียหาย (ผู้ชายสร้างรอยมลทินให้ผู้หญิง) ทางด้านศาสนาของผม (คาทอลิก) สอนเรื่องศีลสมรสว่าต้องแต่งงานให้ถูกต้อง ก่อนแล้วค่อยอยู่ด้วยกัน ถ้ามีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ทั้งคู่จะตกอยู่ในสถานะบาป ผู้ใหญ่ก็สอนผมเสมอว่าไม่ถูกต้องและไม่ควรที่จะอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน ผมคิดว่า เพื่อจะไม่ให้เกิดความผิดพลาด ทั้งคู่ควรที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกันให้ดี อาจจะต้องใช้ เวลานาน แต่เพื่อความดีและความถูกต้องควรยึดตามหลักศาสนาและประเพณีครับ เพื่อความสบายใจของผู้ใหญ่ด้วย

ส้มโอ (นามสมมติ) อายุ 19 ปี หนูเป็นคนหนึ่งค่ะที่มีความรักในวัยเรียน และอยู่กินกับแฟน ในสมัยเรียนมัธยมปลาย โดยที่แม่ไม่รู้ หนูคอยปกปิดเรื่องนี้และ โกหกแม่ตลอด หนูคบกับเขาและคิดว่าเขาจะดูแลและไม่ทอดทิง้ หนู การที่หนูอยู่ในสภาพแบบนี้ท�ำให้ชีวิตหนูเปลี่ยนจากหน้ามือ เป็นหลังมือหรืออาจเรียกว่าแย่กว่าหลังมือเสียอีก เพราะเกรดหนู ต�ำ่ ลง หนูไม่สนใจการเรียน ติดเทีย่ ว หนูไม่เชือ่ ฟังแม่และทะเลาะ กับแม่แรงขึ้นทุกวัน สาเหตุก็มาจากตัวหนูเองและการติดคนรัก มากเกินไป จนวันหนึ่งแม่มารู้ความจริง แม่เสียใจมาก ทุกคนทน ไม่ได้ทหี่ นูทำ� ตัวแบบนี้ แม่ให้หนูไปอยูห่ อพักกับซิสเตอร์ หนูอดึ อัด ใจมาก ไม่ใช่เพราะต้องอยู่กับซิสเตอร์แต่เพราะจะไม่ได้เจอหน้า แฟน ด้วยเหตุนี้ หนูจึงประชดและแสดงออกก้าวร้าวสารพัด... ในวันที่หนูมืดแปดด้านและท่ามกลางสายตาที่เหยียดหยาม ของเพื่อนๆ คนที่อยู่เคียงข้างหนูก็คือซิสเตอร์ ท่านเชื่อในตัวหนู และสอนหนูว่า “ถ้าเขารักหนูจริง เขาจะไม่ทิ้งหนูหรอก แม้ว่าเขา จะไม่ได้พบหน้าหนูเขาก็จะไม่ลมื หนู เขาจะซือ่ สัตย์ตอ่ หนูเพียงคน เดียว แต่ถ้าเขาไม่รักหนูจริงอีกไม่นานเขาก็จะมีคนใหม่ซึ่งยอมไป อยู่กับเขาโดยไม่มีพันธะ ลองดูนะว่าเขารักหนูจริงหรือเปล่า หรือ ว่าเขาเพียงต้องการแค่ร่างกายหนู” จริงอย่างที่ซิสเตอร์ว่าไม่นาน หลังจากนัน้ เขาก็มแี ฟนใหม่และไม่ตดิ ต่อหนูอกี เลย ประสบการณ์ นี้ท�ำให้หนูเข้าใจเรื่องของความรักและการใช้ชีวิตมากขึ้น หนูได้ ผ่านจุดทีแ่ ย่ทสี่ ดุ ของชีวติ มา การเรียนของหนูดขี นึ้ ความประพฤติ ดีขนึ้ ชีวติ ของหนูเปลีย่ นไปในทางทีด่ ี หนูวา่ ความรักเป็นสิง่ ทีด่ นี ะ ค่ะ แต่ตอ้ งรักให้เป็นและถูกต้อง ทีส่ ำ� คัญต้องอยูใ่ นสถานะทีพ่ ร้อม มากกว่านี้ค่ะ

REPORT

จากข้ อ มู ล การวิ จั ย เชิ ง ส� ำ รวจเพื่ อ ศึ ก ษาการด� ำ เนิ น ชีวิตของเยาวชนคาทอลิก อายุระหว่าง 16-20 ปี จ�ำนวน 466 คน โดยสุ ่ ม แบบเจาะจง จากสถานศึ ก ษาทั้ ง ใน

ค�ำสอนคาทอลิก

ค�ำสอนของคาทอลิกยืนยันอย่างแข็งขันว่า ชายและหญิงจะ มีเพศสัมพันธ์กันได้อย่างถูกต้อง ก็ต่อเมื่อได้ผ่านการกระท�ำพิธี แต่งงานอย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น คาทอลิกสอนชายและหญิงให้ รักษาความบริสทุ ธิท์ งั้ ทางกายและจิตใจจนกว่าจะแต่งงานกัน แม้ จะมีการหมั้นหมายกันอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม (ค�ำสอนฯภาค 3 : พระบัญญัติประการที่ 6 ข้อ 2350) พระศาสนจักรรู้ดีว่าค�ำสอนเรื่องการรักษาความบริสุทธิ์ของ ชายและหญิงเป็นเรือ่ งทีย่ าก จึงได้มขี อ้ แนะน�ำให้เยาวชนฝึกฝนที่ จะรู้จักควบคุมตนเอง บังคับตนเอง ประมาณตัวเอง และเป็นต้น อาศัยพละก�ำลังจากพระเจ้าด้วยการภาวนา และการเข้ารับศีลศักดิ์ สิทธิ์บ่อยๆ (ศีลอภัยบาปและศีลมหาสนิท) ค�ำตอบของเยาวชนที่คิดว่าเรื่องการอยู่ก่อนแต่งเป็นเรื่อง ธรรมดา หรือเห็นว่าดีด้วยซ�้ำไปจึงเป็นเรื่องท้าทายผู้ใหญ่ของ พระศาสนจักร ที่จะหาวิธีการอบรบสั่งสอนอย่างไร เพื่อไม่ให้ เยาวชนคาทอลิกของเราหลงตามไปกับกระแสสังคมในปัจจุบัน แต่ให้หันมารักนวลสงวนตัวตามค�ำสอนของศาสนาและตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีของไทยเราต่อไป (http://hongkamson.com/index.php/article/5-yong)

กรุ ง เทพฯ และต่ า งจั ง หวั ด ต่ อ ประเด็ น ค� ำ ถามข้ อ หนึ่ ง ที่ ว่า “คิดอย่างไรกับการที่หญิงชายอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน” เยาวชนจ�ำนวน 49.78 % ตอบว่าไม่เหมาะสม ไม่ เห็ น ด้ ว ย ไม่ ส มควร ผิ ด ประเวณี น่ า อาย ไม่ รั ก ศั ก ดิ์ ศ รี ส่วนอีก 23.69 % ตอบว่าเฉย ๆ เป็นเรื่องธรรมดาของ สังคมในยุคนี้ และถือว่าเป็นสิทธิสว่ นบุคคล ไม่ควรไปยุง่ เกีย่ ว

ในขณะที่ 11.52 % เห็นว่าเป็นเรื่องดี เพราะได้มีโอกาส ศึกษานิสัยใจคอของกันและกันก่อน ที่มา: วรสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม (พ่อวัชศิลป์ หน้า 71) ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม 2009 /2552

07 dbBulletin 2019


คำ�ขวัญของคุณพ่ออัคราธิการ โดย คุณพ่อฟรังซิส ไกส์ ซดบ.

ค�ำขวัญของคุณพ่ออัคราธิการ “ค�ำขวัญ” หมายถึงของขวัญ ดังนั้น ค�ำขวัญซาเลเซียนจึงหมายถึงของขวัญที่ คุณพ่ออัคราธิการมอบแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัวซาเลเซียนทัว่ โลก ช่วงปลายเดือน ธันวาคมของทุกปีมีประเพณีที่ว่า คุณพ่ออัคราธิการในฐานะผู้สืบมรดกพระพรพิเศษ ฝ่ายจิตของคุณพ่อบอสโก ในการดูแลเอาใจใส่ครอบครัวของซาเลเซียนเสนอหัวข้อ พิเศษเพื่อเชิญชวนสมาชิกทุกคนให้ไตร่ตรองในทัศนคติเดียวกัน ตั้งแต่ปีแรกๆ ของกิจการช่วยเหลือเยาวชนที่วัลด๊อกโก เมื่อถึงปลายเดือน ธันวาคมของทุกปี คุณพ่อบอสโกเคยมอบค�ำขวัญแก่เยาวชนโดยทั่วไป และยังมอบ อีกค�ำขวัญหนึ่งแก่เยาวชนแต่ละคน ค�ำขวัญทั่วไปมักจะเป็นกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติ ตลอดปีและบางครั้งก็ท�ำนายล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดอะไรขึ้น ส่วนค�ำขวัญของ เยาวชนแต่ละคนมักเป็นค�ำพังเพยหรือข้อแนะน�ำสั้นๆ ที่คุณพ่อบอสโกให้แต่ละคน เป็นการส่วนตัว ไม่ว่าจะค�ำพูดปากเปล่าหรือการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ค�ำขวัญ เหล่านี้มีลักษณะโดดเด่น น่าประทับใจและจดจ�ำได้ง่าย แล้วในระหว่างปี คุณพ่อบอส โกก็จะเตือนความทรงจ�ำของเขาแต่ละคนเป็นการส่วนตัวในเวลาที่เหมาะสม จึงท�ำให้ ค�ำขวัญนี้เกิดผลอย่างน่าประหลาดใจ ตราบเท่าที่คุณพ่อบอสโกมีชีวิตอยู่ ท่านมอบค�ำขวัญอย่างต่อเนื่องเกือบทุก ปี จากนั้น ผู้สืบต�ำแหน่งของคุณพ่อบอสโกได้รักษาประเพณีนี้ไว้สืบต่อมา ค�ำขวัญจึง เป็นของขวัญทีบ่ ดิ ามอบแก่บตุ รทุกคนในครอบครัวซาเลเซียน เพือ่ ช่วยเขาให้มมี มุ มอง เดียวกันในกิจการมากมายทีม่ งุ่ มัน่ ปฏิบตั ิ เปรียบเสมือนหัวใจของพระพรพิเศษทีส่ อ่ ง แสงเหนือกิจการต่างๆ ที่แต่ละกลุ่มในครอบครัวซาเลเซียนด�ำเนินการ ค�ำขวัญที่คุณพ่ออังเกล แฟร์นันเดซ อาร์ติเม (Ángel Fernández Artime) 08 dbBulletin 2019


dbBulletin

อั ค ราธิ ก ารผู ้ สื บ ต� ำ แหน่ ง ล� ำ ดั บ ที่ 10 ต่อจากคุณพ่อบอสโกมอบไว้ส�ำหรับปี 2019 คือ “เพื่อให้ความยินดีของเราอยู่ กับท่าน” (ยน 15:11) “ความศักดิ์สิทธิ์ ส�ำหรับคุณด้วย” ค�ำขวัญนี้เป็นผลมา จากการอภิปรายของคณะทีป่ รึกษาระดับ โลกแห่งครอบครัวซาเลเซียนในหัวข้อที่ มีความสัมพันธ์กับสมัชชาพระสังฆราช เพือ่ เยาวชน เอกสารของสมัชชานีท้ า้ ทาย เยาวชนให้มงุ่ มัน่ บรรลุความศักดิส์ ทิ ธิใ์ น ข้อที่ว่า “เยาวชนทุกมุมของโลกจะต้อง กลับเป็นศูนย์กลางของพระศาสนจักร เพราะความงดงามในชีวิต ความสดชื่น ของอายุ และความฝันที่อยู่ใจของเขา สมัชชาพระสังฆราชเพื่อเยาวชนมีหน้า ที่งดงามและน่าสนใจในการคืนโอกาส ให้เยาวชนได้แสดงตน เปิดเผยความฝัน ท�ำให้ผใู้ หญ่รสู้ กึ ว่าเยาวชนมีบทบาทและ มีจติ ใจทีส่ ามารถรับรูค้ วามงดงาม เพราะ ในที่สุด ความศักดิ์สิทธิ์เป็นวิธีที่งดงาม เพื่อเพิ่มพูนความรักและความสวยงาม โดยปราศจากความหวาดกลัว ด้วยรอย เท้าบนผืนดินและจิตใจมุ่งสู่สวรรค์” คุณพ่ออัคราธิการเน้นลักษณะ ประการหนึ่งของความศักดิ์สิทธิ์ โดยตั้ง ค�ำถามที่ว่า “ความศักดิ์สิทธ์เป็นอะไร ส�ำหรับเธอ” ค�ำถามนีก้ อ่ ให้เกิดประเด็น น่ า ตื่ น เต้ น และค� ำ ตอบต้ อ งมาจาก สมาชิกทุกคนของครอบครัวซาเลเซียน ด้วยความกระตือรือร้น ความศักดิ์สิทธิ์ ไม่เป็นจุดมุ่งหมายที่เลือกได้หรือจุดมุ่ง หมายเฉพาะส�ำหรับบางคนเท่านั้น แต่ เป็นชีวิตที่เต็มเปี่ยมตามแผนการของ พระเจ้าและของประทานจากพระองค์ เป็นการเดินทางมุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ คุณพ่ออัคราธิการคิดว่า ค�ำขวัญ ประจ�ำปี 2019 เป็นโอกาสดีที่สมาชิก ของครอบครั ว ซาเลเซี ย น มี ค วามคิ ด สอดคล้ อ งกั บ ค� ำ วอนขอของสมเด็ จ พระสันตะปาปาฟรังซิส ที่บันทึกไว้ใน สมณลิขติ เตือนใจ “จงชืน่ ชมยินดีเถิด” ซงึ่

มี ค วามสั ม พั น ธ์ ม ากกั บ พระพรพิ เ ศษ ซาเลเซียน คุณพ่อบอสโกและนักบุญ มาเรีย โดมีนิกา มัสซาแรลโล เคยเป็น ผู้น�ำยิ่งใหญ่ในการสร้างแรงบันดาลใจ และติดตามเยาวชนให้เดินทางไปสูค่ วาม ศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำวัน ตามความคิดของ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสที่ว่า “เรา จ�ำเป็นต้องมีจิตวิญญาณความศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถตอบสนองทั้งในความสันโดษ ส่วนตัวและการรับใช้บริการผูอ้ นื่ ในชีวติ ส่วนตัวและชีวติ แห่งการเผยแผ่ขา่ วดี เพือ่ ให้ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ได้แสดงออก ถึ ง ความรั ก ที่ เ สี ย สละตนเองเฉพาะ พระพักตร์พระเจ้า ด้วยวิธนี ี้ ทุกนาทีของ ชีวติ จะสามารถก้าวเดินตามหนทางทีน่ ำ� ไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์” (“จงชื่นชมยินดี เถิด” ข้อ 31) ความศักดิ์สิทธิ์เป็นหน้าที่ คือ เป็นกระแสเรียก ความรับผิดชอบและ ความมุ่งมั่น อีกทั้งยังเป็นของประทาน จากพระเจ้า ความศักดิ์สิทธิ์คือการมี ส่วนร่วมในชีวิตของพระองค์ ไม่เป็น ความครบครันทางศีลธรรมที่เชื่อว่าจะ บรรลุได้ดว้ ยพลังของตนเอง หรือเป็นจุด มุ่งหมายที่สงวนไว้ส�ำหรับบางคนที่ดีกว่าผู้ อื่น แต่เป็นการต้อนรับของประทานจาก พระเจ้าผ่านทางศีลศักดิ์สิทธิ์และชีวิต การอธิษฐานภาวนา เพื่อเรียนรู้วิธีรัก ผูอ้ นื่ และวิธรี บั ความรักจากผูอ้ นื่ สมาชิก ในครอบครั ว ซาเลเซี ย นผู ้ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำวันเช่นนี้และเป็นแบบ อย่างส�ำหรับเราในการปฏิบัติพระพร พิเศษของคุณพ่อบอสโกมีจ�ำนวนทั้งสิ้น 161 คน ในจ�ำนวนนี้ พระศาสนจักร ได้สถาปนา 9 คนเป็นนักบุญ จ�ำนวน 118 คนเป็นบุญราศี และอีก 34 คน อยู่ ในขบวนการพิจารณาการสถาปนา เป็นบุญราศี คือ 16 คนเป็นผู้น่า เคารพ และอีก 18 คน เป็นผู้รับ ใช้ของพระเจ้า ในทีส่ ดุ คุณพ่ออัคราธิการ เน้นว่า สิ่งส�ำคัญคือเราต้องเป็น

ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่เป็นผู้ได้รับประกาศว่า เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ บรรดานักบุญที่ได้รับ การสถาปนาเป็ น ผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ก็ เ ปรี ย บ เหมื อ นด้ า นหน้ า ของวั ด แต่ ภ ายใน วัดยังมีทรัพย์สมบัติประเสริฐมากมาย ที่เรามองไม่เห็น โดยแท้จริงแล้ว สิ่ง ส�ำคัญที่สุดคือ “ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ ศักดิส์ ทิ ธิ์ เพราะเราพระยาห์เวห์ พระเจ้า ของท่านเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ”์ (ลนต 19:2) db

09 dbBulletin 2019


สัมภาษณ์คุณพ่ออันตน อนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ By Eccomi

สัมภาษณ์

คุณพ่ออันตน อนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ

10 dbBulletin 2019


dbBulletin จากเด็กบ้านนอก อดีตเด็กช่วยมิสซามาสู่เส้นทางแห่งการเป็น พระสงฆ์ ณ นาทีนี้ “คุณพ่อต้อง” อนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ คือ พระสงฆ์หนุ่มคนล่าสุดของคณะซาเลเซียนในประเทศไทย ที่เดินตาม เสียงเรียกของพระเจ้าตั้งแต่อายุ 12 ปี คงไม่อาจสรุปว่า เขาเป็นพระสงฆ์ เพราะสมัยเป็นเด็กคลุกคลี อยู่กับวัดมาก่อน แต่แน่นอน ก็ ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ด้วยพื้นฐาน ความเป็นมาเช่นนี้ ย่อมมีสว่ นไม่มากก็นอ้ ยในการหล่อหลอมบ่มเพาะ และรักษาชายคนนี้ ไว้ ในวิถีทางที่พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ เบือ้ งหลังเส้นทางชีวติ ของคุณพ่อจะเป็นอย่างไร รวมทัง้ มุมมอง ความคิดและประสบการณ์บนเส้นทางสายนีจะน่าสนใจแค่ ไหน ให้เราไป ค้นหาตัวตนของพระสงฆ์ ใหม่ท่านนี้ด้วยกัน และอย่าเพิง่ เชือ่ หรือตัดสินอะไร จนกว่าตัวหนังสือสุดท้ายจะผ่าน สายตาคุณ... เกิดทีบ่ า้ น...โตมาคลุกคลีกบั วัด ก่ อ นจะเป็ น “คุ ณ พ่ อ อนุ สิ ท ธิ์ จั น ทร์ เ พ็ ญ ” สงฆ์ ซ าเลเซี ย น ถ้ า หลั บ ตานึ ก ถึ ง ภาพตอนคุ ณ พ่ อ ยั ง เป็น ด.ช.ต้อง คุณพ่อจะนึกถึงภาพ อะไร? “ผมนึกภาพตนเองเป็นเด็กบ้านนอก ที่คลุกคลีกับวัด พ่อกับแม่ของผมน�ำผม มาฝากไว้กับปู่และย่าที่บ้านโป่ง เพื่อให้ ช่วยเลี้ยงดูผม เพราะท่านต้องไปท�ำงาน ทีต่ า่ งจังหวัด ผมจึงได้เข้าเรียนทีโ่ รงเรียน สารสิทธิส์ ทิ ธิพ์ ทิ ยาลัย ตัง้ แต่ชนั้ ป.1 เมือ่ อยูช่ นั้ ป.3 ผมเร่มิ ขีร่ ถจักรยาน BMX คัน เล็ก ๆ ไปโรงเรียนทุกวันโดยไปจอดรถ ไว้ที่ข้างวัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง นี่ จึ ง เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ผ มเริ่ม คุ้นเคยและ คลุกคลีกับวัด บวกกับเวลาไปหาก๋งกับ ยายที่โป่งยอ ท่านจะเป็นผู้น�ำสวดสาย ประค�ำทุกเย็นและเล่าเรือ่ งเกีย่ วกับเกีย่ ว กับพระเยซูเจ้า แม่พระและนักบุญต่าง ๆ ให้ผมฟัง ยายเป็นแบบอย่างที่ดีมากใน การเป็นคริสตชนที่ซื่อสัตย์และใจกว้าง กับพระศาสนจักรเสมอแม้ว่าท่านจะไม่ ได้รำ�่ รวยอะไร ผมยังจ�ำได้ดวี า่ สมัยก่อน

ยายเป็ น คนดู แ ลวั ด นั ก บุ ญ เบเนดิ๊ ก โต โป่งยอ ท่านมักจะพาผมไปวิ่งเล่น และ ให้ผมช่วยท�ำความสะอาดวัดเป็นประจ�ำ นอกจากนั้น เมื่อผมอยู่ชั้นประถม ศึกษาตอนปลาย ผมได้เข้าอยู่ในกลุ่ม เด็กช่วยมิสซา เป็นสมาชิกชมรมเพื่อน ซาวีโอ และกลุ่มนักขับร้องของวัดนักบุญ โยเซฟ บ้านโป่ง ผมจ�ำได้ดีว่า รุ่นของ พวกเราเป็นรุ่นที่เฟื่องฟูมากในเรื่องการ ช่วยมิสซา ว่าไปแล้วบางครั้งถึงกับแย่ง กันช่วยมิสซาเลยทีเดียวโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งมิสซาสายของวันอาทิตย์ นอกนั้นผม ชอบมาร่วมกิจกรรมค�ำสอนทุกวันเสาร์ ทีว่ ดั การเรียนค�ำสอนช่วยหล่อหลอมผม มาจนถึงทุกวันนี้ ผมประทับใจในแบบ อย่างและความใจดีของคุณพ่อ บราเดอร์ ซาเลเซี ย น ซิ ส เตอร์ ซ าเลเซี ย นและ ซิสเตอร์คามิลเลียนทีม่ าช่วยสอนค�ำสอน รวมทั้งของพี่ ๆ เณรจากบ้านนาซาเรท ที่มาช่วยจัดกิจกรรมนันทนาการ พวก ท่านเหล่านี้ได้เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดัน ที่ท�ำให้ผมมีความปรารถนาจะติดตาม พระคริสตเจ้า และร่วมในภารกิจของ พระองค์ที่พวกท่านเหล่านี้ได้กระท�ำ”

11 dbBulletin 2019


สัมภาษณ์คุณพ่ออันตน อนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ By... Eccomi

ได้มีความถนัดเลย กระนั้นก็ดี ผมก็ยังได้ รับการฝึกฝนทางด้านกีฬาเหมือนกับคน อื่น ๆ แต่ในเวลาเดียวกัน คุณพ่ออธิการ ก็มองเห็นแววด้านการร้องเพลงและด้าน ดนตรีในตัวผม ท่านจึงได้สนับสนุนให้ ผมพัฒนาด้านนี้มากยิ่งขึ้นทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อ ประโยชน์ ข องตั ว เองแต่ เ พื่ อ รั บ ใช้ ผู ้ อื่ น ท่านอนุญาตให้ผมได้เข้าร่วมเป็นนักขับ ร้องกับสัตบุรุษชาวต่างชาติที่มาขับร้อง ในพิธีบูชาขอบพระคุณภาษาอังกฤษทุก วันอาทิตย์ นี่เป็นภาพแห่งความประทับ ใจที่สุดของผม”

โชคดีที่ได้อยู่บ้านเณร

อนุสิทธิ์เวอร์ชั่นเด็กเณร

ความคิดการเป็นพระสงฆ์เข้ามา ภาพจ�ำที่ดีที่สุดในบ้านเณรคืออะไร? สู่ชีวิตของคุณพ่อตั้งแต่เมื่อไร? “ภาพแห่งความทรงจ�ำในบ้านเณร “ตอนที่เข้าบ้านอภิรติกชนที่หัวหิน ที่ดีที่สุดส�ำหรับผมก็คือ ผู้ใหญ่ในบ้าน ผมไม่ได้คิดจริงจังที่จะเป็นพระสงฆ์ เพียง เณรจะมาคลุ ก คลี อ ยู ่ กั บ พวกเณรเสมอ แค่อยากตามเพื่อนๆ ไป เพราะรู้สึกสนุก มาพู ด คุ ย และเล่ น กั บ พวกเรา ผู ้ ใ หญ่ เวลาอยู่กับเพื่อนๆ เท่านั้น ประกอบกับ จะพยายามส่ ง เสริ ม ความสามารถและ มีสัตบุรุษหลายท่านได้พูดโน้มน้าวใจว่า พั ฒ นาศั ก ยภาพที่ แ ต่ ล ะคนมี แ ตกต่ า ง ‘ไปเป็นเณรสิ สนุกดี’ ตลอดเวลาที่ผม กันนั้นให้พัฒนาเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ผม อยู่บ้านเณร ผมได้รับโอกาส ได้เรียนรู้ ขอยกตัวอย่าง ในช่วงสมัยที่ผมเป็นเณร ได้รับการอบรม ผมได้รับหลายสิ่งหลาย เล็กที่หัวหิน ผู้ใหญ่จะลงสนามมาเล่นกับ อย่างซึ่งสามารถพูดได้ว่า หากปราศจาก พวกเราเสมอและในหลายๆ ครั้ง คุณพ่อ บ้านเณรแล้ว ผมคงไม่มีโอกาสแบบนี้ อธิการจะมาซ้อมกีฬาให้พวกเราด้วย ดัง ผมเริ่มมีความคิดที่จะเป็นพระสงฆ์อย่าง ที่หลายท่านทราบ ผมเล่นกีฬาได้ แต่ไม่ จริงจังในช่วงเวลาที่จะจบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ผมได้ทบทวนดูการประทับอยู่ของ พระเจ้าและการท�ำงานของพระองค์ในตัว ของผมผ่านทางครอบครัว ผู้ให้การอบรม และบุคคลต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของ ผม ผมจึงอยากจะตอบแทนพระคุณของ พระเจ้า ด้วยการอุทิศชีวิตของผมในการ เป็นผู้น�ำความรักของพระเจ้าไปมอบให้ กับผู้อื่นบ้าง แม้ว่าผมจะไม่ใช่คนดีพร้อม และไม่สมบูรณ์แบบ แต่ผมก็เชื่อว่าด้วย ความช่วยเหลือของพระเจ้า พระองค์จะ ท�ำให้ผมกลายเป็นเครื่องมือที่ดีส�ำหรับ งานของพระองค์” 12 dbBulletin 2019

ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ เพื่อชีวิต “ในช่ ว งชี วิ ต ของการเป็ น นั ก บวช ซาเลเซียนของผมแม้วา่ อาจจะไม่ได้ยาวนาน มากนัก แต่การเป็นนักบวชซาเลเซียนก็ สอนผมหลายอย่างเลยทีเดียว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเรื่องของความสุภาพถ่อมตน ซึ่ ง ผมพยายามส� ำ นึ ก อยู ่ เ สมอในเรื่ อ ง นี้ หลั ง จากที่ ผ มฝึ ก งานตามหมู ่ ค ณะ ซาเลเซียนในประเทศไทยเป็นเวลา 3 ปี และได้ปฏิญาณตนตลอดชีพแล้ว คุณพ่อ เจ้าคณะได้สง่ ผมไปรับประสบการณ์พเิ ศษ ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาประมาณ 7 เดือน ผมได้รับประสบการณ์ด้านการ ท� ำ งานอภิ บ าลกั บ เด็ ก ยากจนและคน ยากไร้ โดยมีคณ ุ พ่อเลโอ โอโชวา เป็นผูร้ บั ผิดชอบ ประสบการณ์ตา่ งๆเหล่านีช้ ว่ ยผม


dbBulletin ให้เรียนรู้ที่จะยอมรับสภาพความเป็นอยู่ ที่ไม่สะดวกสบายซึ่งแตกต่างจากชีวิตใน ประเทศไทย แต่มันท�ำให้ผมได้ทบทวน ถึงแก่นแท้ของกระแสเรียกและภารกิจ ผม ได้เห็นตัวอย่างของเยาวชนอาสาสมัครซา เลเซียนทีท่ ำ� งานด้วยความเสียสละซึง่ เป็น แรงผลักดันให้ผมเลียนแบบอย่างของพวก เขาเช่นกัน”

สงฆ์นิรันดร ความคิดที่อยู่เบื้องหลังของคติพจน์ ในวันบวชพระสงฆ์ “เราจะอยูก่ บั ท่าน ทุกวันตลอดไป (มธ 28:20)” “เหตุ ผ ลที่ อ ยู ่ เ บื้ อ หลั ง คงหนี ไ ม่ พ ้ น ความกลั ว และความกั ง วลตามประสา มนุษย์ ผมไม่ทราบว่าอนาคตจะเป็นเช่น ไร ได้แต่ภาวนาขอให้ท�ำปัจจุบันอย่างดี ที่สุดและฝากทุกสิ่งไว้กับพระเจ้า เพราะ ฉะนั้น การที่พระเยซูตรัสว่า “เราอยู่กับ ท่านทุกวันตลอดไป” จึงเป็นแรงบันดาล ใจ และเป็นก�ำลังใจให้ผมพยายามตอบรับ ในพระประสงค์ทุกประการ เพราะการที่ พระเจ้าสถิตอยูก่ บั เรา ไม่เพียงแค่พระองค์ ประทับอยูเ่ ท่านัน้ แต่ทรงริเริม่ ทรงท�ำให้ ภารกิจด�ำเนินไป และทรงบันดาลให้เกิด ผล ผมเองเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น”

นิยามความเป็นตัวเองใน 3 ค�ำ “รับใช้ จริงใจ สร้างสรรค์”

คุณพ่ออนุสิทธิ์ถึงทุกคน “ด้ ว ยความกตั ญ ญรู ้ คุ ณ ในความ รั ก ของพระเจ้ า ผมขอขอบพระคุ ณ พ่ อ แม่ ครอบครัว และญาติพี่น้องของผม ขอบคุณคุณพ่อเจ้าคณะและคณะผู้ใหญ่ ทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ อ บรมพร�่ ำ สอน ขอบคุ ณ เพื่อนพี่น้องสมาชิกซาเลเซียนที่คอยให้ ก�ำลังใจและหยิบยื่นมิตรไมตรีที่จริงใจ ให้ผมเสมอ ท�ำให้ผมรู้สึกอบอุ่นมากใน ครอบครัวใหญ่นี้ ผมขอขอบคุณเพื่อนๆ และพี่น้องสัตบุรุษทุกท่านที่ได้ให้ก�ำลัง ใจ สนับสนุน และภาวนาให้ผมเสมอ ใน ช่วงเวลานี้ พระศาสนจักรเน้นเรื่องความ ร่วมมือของฆราวาสในการท�ำพันธกิจของ พระศาสนจักร ผมจึงหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า พีน่ อ้ ง ทุกท่านจะร่วมมือกับพระสงฆ์และนักบวช ในการเผยแผ่พระอาณาจักรแห่งความรัก และการให้อภัยขององค์พระผู้เป็นเจ้า ขอ พีน่ อ้ งทุกท่านได้ภาวนาเพือ่ ผมต่อไป ช่วย สอนผม แนะน�ำผม ให้ก�ำลังใจ ให้โอกาส และให้อภัยเมื่อผมอาจผิดพลาดไป เพื่อ ผมจะได้เป็นสงฆ์และท�ำหน้าที่นี้อย่างดี ตามแบบอย่างของพระคริสตเจ้า พระผู้ อภิบาลที่ดี” db

บนซ้าย สั ม ผั ส ประสบการณ์ ชี วิ ต ที่ ป ระเทศ กัมพูชา ล่างจากซ้ายไปขวา • กับเพื่อนอภิรติกชนที่หัวหิน จ.ประจวบฯ • กับเพือ่ นสมาชิกซาเลเซียนทีห่ มูค่ ณะ Don Bosco House, Clifton Hill กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

13 dbBulletin 2019


แก่นซาเลเซียน By บ.สันติสุข

ถึงแก่น ๓

ชีวิตจิตซาเลเซียนมีจุดเริ่มต้นในชีวิตของคุณพ่อบอสโกตั้งแต่ในวัยเด็กโดยมีคุณแม่ มาร์เกริตาเป็นผู้หล่อหลอมและให้การอบรม ทั้งด้วยค�ำสอนค�ำเตือนค�ำแนะน�ำ ทั้งด้วยชีวิต ของคุณแม่เองโดยตัง้ มัน่ อยูใ่ นความเชือ่ ทีเ่ ป็นรูปธรรมแห่งการประทับอยูข่ องพระเจ้าในชีวติ แต่ละวันที่ได้จากการกระชับความมั่นใจในค�ำพูดซื่อๆ แต่เป็นความจริงที่ขับเคลื่อนวิธีการ เป็นและวิธีการกระท�ำได้ถึงแก่น... “พระเจ้าทรงเห็นลูก” กระนั้นก็ดี การสร้างส�ำนึกว่าพระเจ้าทรงเห็นทรงรู้ก็คงอยู่แค่ระดับความส�ำนึก เป็นการรูต้ วั เป็นการตัง้ อยูใ่ นสติในการด�ำเนินชีวติ ภายใต้ความส�ำนึกนี้ เหมือนการด�ำเนิน ชีวิตที่มีคนรู้คนเห็น คนชื่นชมคนต�ำหนิ คุณแม่การ์เกริตาก้าวเลยไปกว่านั้นเมื่อคุณแม่สอน ให้ลูกเห็นถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าในตัวลูกเอง ในบุคคลรอบข้าง ในธรรมชาติ ใน เหตุการณ์ดีหรือร้าย และเช่นนี้ คุณแม่มาร์เกริตาพาลูกเข้าสู่พระธรรมล�้ำลึกแห่งการรับเอา กาย ไม่ใช่ด้วยทฤษฎีหรือหลักเทววิทยา แต่ด้วยชีวิตของคุณแม่เอง

14 dbBulletin 2019

นักบุญลูกาพูดถึงพระธรรมล�้ำลึกแห่งการรับเอากายของพระเยซูเจ้าได้อย่างเป็น รูปธรรมเมื่อท่านพูดถึงการที่พระเจ้าทรงใช้ยอห์นผู้ท�ำพิธีล้างไปประกาศถึงการมาของ พระเมสิยาห์และให้เตรียมจิตใจประชาชนเพื่อต้อนรับพระองค์ “ในปีที่สิบห้าแห่งรัชกาล พระจักรพรรดิทเิ บรีอสั ปอนทิอสั ปีลาตเป็นผูว้ า่ ราชการแคว้นยูเดีย กษัตริยเ์ ฮโรดเป็นเจ้าปกครอง แคว้นกาลิลี ฟีลิปพระอนุชาเป็นเจ้าปกครองแคว้นอิทูเรียและตราโคนิติส ลีชาเนียเป็นเจ้า ปกครองแคว้นอาบีเลน อันนาสและคายาฟาสเป็นหัวหน้าสมณะ พระวาจาของพระเจ้ามาถึง ยอห์นบุตรของเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร...” (ลก ๓,๑-๒) เป็นการยืนยันว่าพระเจ้าทรง เอากายและเข้าสูป่ ระวัตศิ าสตร์มนุษยชาติจริง ในช่วงเวลาประวัตศิ าสตร์การเมือง ในช่วงเวลา ประวัตศิ าสตร์ศาสนา โดยมีชอื่ ผูป้ กครองด้านการเมืองระดับต่างๆ โดยมีชอื่ ของหัวหน้าสงฆ์ ในเวลานั้นมาประกอบค�ำยืนยัน


dbBulletin

ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นก็เช่นกัน นักบุญลูกาเล่าถึงการประสูตขิ องพระเยซูเจ้า พระวจนาตถ์ผู้ทรงเอากายเป็นมนุษย์ มี การระบุชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ในช่วง เวลานั้น “ครั้งนั้น พระจักรพรรดิออกัสตัส ทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการส�ำรวจ ส�ำมะโนประชากรทั่วจักรวรรดิโรมัน การ ส�ำรวจส�ำมะโนประชากรครัง้ แรกนีม้ ขี นึ้ เมือ่ คีรนิ อิ สั เป็นผูร้ าชการแคว้นซีเรีย ทุกคนต่าง ไปลงทะเบียนในเมืองของตน...” (ลก ๒,๑-๓) เป็ น การตอกย�้ ำ พระธรรมล�้ำลึกแห่ง การ รับเอากายในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ มนุษยชาติ พระธรรมล�้ำลึกแห่งการที่พระเจ้า ทรงรั บ เอากายเป็ น มนุ ษ ย์ จึ ง ไม่ เ ป็ น แค่ ข้อความเชื่อแห่งศาสนา หากแต่เป็นการ เสด็ จ มาของพระเจ้ า ในประวั ติ ศ าสตร์ มนุษย์และทรงด�ำเนินชีวติ ในประวัตศิ าสตร์ มนุ ษ ย์ ท� ำ ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงหน้ า ประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติอย่างลึกซึ้งและ ถึงแก่น แม้กระทั่งการนับศักราชก็ได้รับ ผลกระทบจนทุ ก วั น นี้ การเสด็ จ มาของ พระเจ้าในประวัติศาสตร์มนุษย์เป็นจุดแบ่ง ช่วงเวลา...คริสตศักราช (AD: Anno Domini ซึ่งหมายถึงปีของพระเยซูคริสต์โดยเริ่มจาก ปีทพี่ ระองค์ทรงประสูต)ิ และก่อนคริสตกาล (BC: Before Christ ซึง่ หมายถึงช่วงเวลาก่อน พระคริสตเจ้าทรงประสูติ) พระธรรมล�้ ำ ลึ ก แห่ ง การรั บ กาย เป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าคือการที่พระเจ้า ทรงเข้าสู่ประวัติศาสตร์มนุษย์ด้วยการเป็น มนุษย์ในทุกอย่าง เว้นแต่บาป ร่วมชะตา กรรมมนุษย์ ด�ำเนินชีวิตเฉกเช่นมนุษย์ ใน ชีวติ แต่ละวัน ในบริบท ในสถานการณ์ ตาม

ที่นักบุญมัทธิวยืนยัน “เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เพื่อพระด�ำรัสขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ตรัส ผ่านประกาศกจะเป็นความจริงว่า หญิง พรหมจารีจะตั้งครรภ์และจะคลอดบุตรชาย ซึ่งจะได้รับนามว่า ‘อิมมานูเอล’ แปลว่า พระเจ้าสถิตกับเรา...” (มธ ๑,๒๒-๒๓) น่าเสียดาย ข่าวดียิ่งใหญ่ส�ำหรับ มนุ ษ ยชาติ นี้ ไ ม่ เ ป็ น ข่ า วดี ส� ำ หรั บ ทุ ก คน หลายคนคิ ด ว่ า เป็ น ข่ า วดี เ กิ น ที่ จ ะเป็ น จริ ง คนชาติ เ ดี ย วกั บ พระเยซู เจ้ า เลยรั บ พระองค์ไม่ได้ อย่างที่นักบุญยอห์นเขียน ไว้ในตอนแรกของพระวรสารของท่าน “... พระองค์เสด็จมาสูบ่ า้ นเมืองของพระองค์ แต่ ประชากรของพระองค์ไม่ยอมรับพระองค์...” (ยน ๑,๑๑) หลายคนคิดว่าเป็นข่าวดีสูงส่ง เกินจะอาจเอื้อม ได้แต่ยินดีและภาคภูมิใจ แล้วจัดให้พระองค์ประทับอยู่ในโบสถ์ใน วิหาร ลงทุนสร้างให้ใหญ่โต ให้สวยงาม ให้ ส มพระเกี ย รติ แล้ ว ไปพบพระองค์ ที่ นั่ น ในวั น เสาร์ วั น อาทิ ต ย์ ลงเอยเป็ น ว่ า พระเจ้าทรงลดพระองค์เข้ามาหามนุษย์ใน ประวัตศิ าสตร์เพือ่ มาร่วมชีวติ กับมนุษย์ แต่ มนุษย์กลับผลักใสพระเจ้าให้ห่างตัวให้ห่าง ชีวิต แล้วนั้นอีกหลายคนที่ถือการเสด็จมา ของพระองค์เป็นแค่เหตุการณ์หนึ่งในอดีต เหมือนบุคคลและเหตุการณ์ตา่ งๆทีผ่ า่ นเข้า มาในประวัตศิ าสตร์และเป็นอดีตไปแล้ว คง เหลือแค่ความทรงจ�ำ การระลึกถึง ต่างกับท่าทีของคุณแม่มาร์เกริตา และอีกหลายๆ คน ที่ถือว่าพระธรรมล�้ำลึก แห่ ง การรั บ เอากายเป็ น มนุ ษ ย์ ยั ง เป็ น ปัจจุบัน ยังคงต่อเนื่องในประวัติศาสตร์ มนุษย์ คุณแม่จึงเห็นการประทับอยู่ของ พระเจ้ า อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมในเหตุ ก ารณ์

ในธรรมชาติ ในบุคคล และสอนให้ลูกๆ มองทุกสิง่ ทุกอย่างด้วยสายตาแห่งความเชือ่ สายตาแห่งความเชื่อท�ำให้เราเห็นมากกว่า ที่สายตาธรรมชาติของเรามองเห็น เห็นถึง การประทับอยูข่ องพระเจ้าในแต่ละช่วงเวลา แห่งชีวติ ในแต่ละอย่าง ในแต่ละบุคคล และ นี่คือสิ่งที่คุณแม่มาร์เกริตาท�ำได้ด้วยชีวิต เรียบง่าย ด้วยความรู้พื้นๆ ด้วยค�ำพูดซื่อๆ เพือ่ ให้ลกู ๆ ได้ถงึ การประทับอยูข่ องพระเจ้า พร้อมกันนั้น คุณแม่ท�ำให้ชีวิตของคุณแม่ สะท้อนการประทับอยู่ของพระเจ้า...ความ รัก ความเพียรทน ความเอาใจใส่ การให้ อภัย การให้โอกาส การให้เวลา...จนลูกๆ สัมผัสได้ถงึ การประทับอยูข่ องพระเจ้าอย่าง เป็นรูปธรรมในชีวิตแต่ละวัน ชี วิ ต จิ ต ซาเลเซี ย นจึ ง มี แ ก่ น อยู ่ ในพระธรรมล�้ำลึกแห่งการรับเอากายที่ สะท้ อ นออกมาในท่ า ที แ ละรู ป แบบแห่ ง ความสัมพันธ์กบั พระเจ้าและความสัมพันธ์ กับเพื่อนมนุษย์ db

15 dbBulletin 2019


One Moment in Time

Text & Photo By Gassanee T.

ห่านแคนาดาบนน�้ำแข็ง

@Wisconsin, USA/December 2018

ห่านแคนาดา ในบางครั้ง ชีวิตก็พลิกผันไม่เป็นท่า อยากบินสูงก็ไม่เก่งเช่นนกกา เป็นห่านป่า ห่านแคนาดาเท่านั้นเอง ไปว่ายน�้ำสิ...ว่ายน�้ำ ดูเลิศล�้ำใช้ก�ำลังกระฉับกระเฉง ชวนเพื่อนฝูงมากมายไม่วังเวง จะได้ว่ายน�้ำเล่นเย็น ๆ ใจ จะโฉบลงตรงผืนน�้ำอยู่ตรงหน้า จะด�ำผุดในธาราที่ว่าใส จะด�ำว่ายให้มันสาแก่ใจ จะร้องเพลงอย่างสุดใจอย่างเสรี 16 dbBulletin 2019

ชีวิตจริง ช่างโหดร้ายกว่าในฝัน บึงน�้ำ..ที่ว่ากัน..ว่าสดใส...ว่าไร้สี กลับกลายเป็น น�้ำแข็ง (แข็งซะไม่มี) โชคไม่ดี..ไม่ดี..ไม่ดีเลย จะยืนเศร้าเฝ้าน�้ำแข็งที่ตรงหน้า หรือจะกลับเข้าป่าสหายเอ๋ย หากชีวิตให้พื้นน�้ำแข็งมาชมเชย เล่น”สเก็ตน�้ำแข็ง”ไปเลยก็แล้วกัน!!


LOCAL NEWs

By SDB Reporter

dbBulletin

ข่าวซาเลเซียน

พิธีรับศีลมหาสนิทครั้งแรก

ร่วมอาลัยธรรมทูตซาเลเซียน พิธีเสกหอประชุมเจียรวนนท์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2018 งานอภิ บ าลโรงเรี ย นเซนต์ ด อมิ นิก ได้จัดพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสรับ ศีลมหาสนิทครั้งแรก ประจ�ำปีการศึกษา 2561 โดยมีนักเรียนคาทอลิกชั้น ป.3 จ�ำนวน 6 คน และนักเรียนคาทอลิกชั้น ป.5 จ�ำนวน 1 คน ณ วัดแม่พระองค์ อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นวัดน้อยประจ�ำโรงเรียน โดยมี คุ ณ พ่ อ มนู ญ สนเจริ ญ อธิ ก าร โรงเรียนเซนต์ดอมินกิ เป็นประธานในพิธี

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2018 พระสังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณปลงศพ คุณพ่อเปโตร ดาเนียเล ณ วัดนักบุญโยเซฟ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยมีพระสังฆราช ยอห์ น บอสโก ปั ญ ญา กฤษเจริ ญ , คุ ณ พ่ อ เทพรั ต น์ ปิ ติ สั น ต์ เจ้ า คณะแขวง ซาเลเซียนแห่งประเทศไทย สมาชิกซาเลเซียน พร้ อ มกั บ สมาชิ ก ในครอบครั ว ซาเลเซี ย น บรรดาพระสงฆ์ นักบวช สัตบุรษุ และศิษย์เก่า มาร่วมไว้อาลัยเป็นจ�ำนวนมาก อนึง่ พระเจ้า ได้ ท รงเรี ย กคุ ณ พ่ อ กลั บ ไปยั ง บ้ า นของ พระบิดาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2018 สิริอายุ 91 ปี รวม 74 ปีแห่งการเป็นนักบวช ซาเลเซี ย นและ 64 ปี แ ห่ ง ชี วิ ต สงฆ์ แ ละ ธรรมทูตซาเลเซียนในประเทศไทย

25 ปี ชีวิตสงฆ์ของ คุณพ่อโซโต โรเอล วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.2018 สมาชิก ซาเลเซียนที่ท�ำงานในประเทศกัมพูชาได้จัด ฉลอง 25 ปีแห่งชีวติ สงฆ์ของคุณพ่อโรเอล โซโต ณ วัดน้อยของโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก พนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยคุณพ่อโซโต โรเอล เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ ท่ า มกลางสมาชิ ก ซาเลเซี ย น ครอบครั ว ซาเลเซียนและเยาวชน โอกาสนี้ ภราดาวรวุฒิ จิรสุจริตธรรม และคุณพ่อสมโรจน์ ไชยชนะ ได้เป็นตัวแทนสมาชิกในประเทศไทยไปร่วม ฉลองในโอกาสนี้ด้วย

วันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.2018 โรงเรียน สารสิทธิ์พิทยาลัยได้ท�ำพิธีเสกหอประชุม เจียรวนนท์และท�ำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยมี ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ เป็นประธาน และมีคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่า คณะ กรรมการสมาคมผู้ปกครอง ชมรมครูผู้สูง อายุ ผู้ปกครอง คณะครูและนักเรียนเข้าร่วม พิธี โดย ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ มอบเงิน สนับสนุนเพื่อสร้างหอประชุมและสมาคม ศิษย์เก่าโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัยมอบเงิน สนับสนุน เพื่อสร้างโดมคลุมสนาม

เยี่ยมชุมชนกองขยะ นอกกรุงเวียงจันทน์ ร่วมปั่นจักรยาน “อุ่นไอรัก” คณะครูและนักเรียนผู้พิการทางสายตา จ�ำนวน 20 คนของศูนย์พัฒนาสมรรถภาพ คนตาบอดปากเกร็ด จ.นนทบุรี ร่วมปั่น จักรยาน Tandam สองตอน ในงาน “อุ่น ไอรัก” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ.2018

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.2018 คุณพ่อปอล วูแวนตรุง, คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ ฮุย ฮวง จากศูนย์ฝึกวิชาชีพดอนบอสโก เวียงจันทน์ พร้อมด้วย ซิสเตอร์ซาเลเซียน 3 ท่าน เจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร 3 คน เดินทางไปส่งความสุขคริสต์มาสและเยี่ยม ชาวบ้านทีท่ ำ� งานในชุมชนกองขยะนอกเมือง เวียงจันทน์ สปป. ลาวโดยได้มอบสิง่ ของและ เครื่องใช้ให้กับชาวบ้านและเด็กๆ 17 dbBulletin 2019


LOCAL NEWs

By... SDB Reporter

ข่าวครอบครัวซาเลเซียน พิธีปลงศพ ซ.อักเนส ถวิล เสรีพรพงศ์ วันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ.2018 ได้มีพิธีบูชาขอบพระคุณปลงศพ ซิสเตอร์อักแนส ถวิล เสรีพรพงศ์ คณะภคินีผู้รับใช้ฯ ที่อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก จ.สมุทรสงคราม โดยมีพระสังฆราชโยเซฟประธาน ศรีดารุณศีล เป็นประธาน ซิสเตอร์อักแนส ถวิล เสรีพรพงศ์ เกิดวันที่ 16 มกราคม 1940 เป็นสัตบุรุษ วัดพระหฤทัย วัดเพลง ได้ปฏิญาณตัวครั้งแรกในคณะภคินีผู้รับใช้ฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1966 ได้สิ้นใจเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2018 รวมสิริอายุ 78 ปี 11 เดือน

สัมมนาส�ำหรับอธิการิณีหมู่คณะ วันที่ 8-10 ธันวาคม ค.ศ. 2018 คณะภคินีผู้รับใช้ฯ จัดสัมมนาส�ำหรับ อธิการิณีหมู่คณะ และผู้ใหญ่ของบ้าน ที่บ้านพรพัชรหทัยนิรมล ราชบุรี โดยมี คุณอภิญญา หิรัญญะเวช ผู้แทนเยาวชนที่ไปร่วม Pre-Synod เยาวชนที่กรุงโรม มาแบ่งปันประสบการณ์และเป็นเสียงของเยาวชนในโลกปัจจุบนั ให้บรรดาซิสเตอร์ จะได้สามารถเข้าใจและเป็นเพื่อนร่วมทางกับเยาวชนในสังคมปัจจุบันได้

ศิษย์เก่าร่วมฉลองคริสต์มาส เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.2018 สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนหัวหินวิทยาลัยได้ ร่วมกิจกรรมฉลองคริสต์มาสกับทางโรงเรียน ซึ่งเป็นโอกาสให้บรรดาศิษย์เก่าได้ พบปะกันประจ�ำปี นอกจากนีย้ งั ได้มกี ารจัดการแข่งขันบาสเกตบอลระหว่างทีมศิษย์ เก่าของโรงเรียนหัวหินวิทยาลัยกับทีม VIP แม่กลองด้วย

ศิษย์เก่ามอบทุนให้กับดอนบอสโก ปอยเปต วันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ.2018 ศิษย์เก่าของโรงเรียนดอนบอสโกปอยเปต ประเทศ กัมพูชา รุน่ 6 (ปี 2015-2017) มาร่วมงานคริสต์มาสและมอบทุนให้กบั ทางโรงเรียน เพื่อช่วยเหลือนักเรียนรุ่นปัจจุบันที่ขาดแคลนชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน

18 dbBulletin 2019


dbBulletin สมาชิกใหม่ ADMA ให้ค�ำสัญญา วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2018 โอกาสวันสมโภชพระนางมารียผ์ ปู้ ฏิสนธินริ มล ฆราวาสจ�ำนวน 4 คน คือ 1) คลารา ธัญญาลักษณ์ จีระสกุลวานิช 2) มาร์การิตา มารีย์ อาลาก๊อก พีระยา วงศ์วัน 3) เยโนเวฟา มณีวรรณ กิจบ�ำรุง 4) มาร์การิตา มารีย์ อาลาก๊อก ลิ้นจี่ บวชสันเที้ยะ หลังจากได้รบั การอบรมและเตรียมตัวมาอย่างดีตลอดปีได้แสดงความจ�ำนงเข้า เป็นสมาชิกของคณะแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ (ADMA) โดยให้คำ� สัญญาทีจ่ ะด�ำเนินชีวติ ส่งเสริมความศรัทธาต่อแม่พระองค์อปุ ถัมภ์และต่อพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท โดยมี คุณพ่อยอห์น บอสโก เทพรัตน์ ปิติสันต์ เจ้าคณะซาเลเซียนแขวงไทย เป็นประธาน ร่วมกับคุณพ่อ อารอน อัลโกเซบา จิตตาธิการ ADMA ประเทศไทย และคุณพ่อ ชาร์ลส์ เวลาร์โด ณ วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ กรุงเทพ พร้อมกันนี้สมาชิก ADMA ทุกคนได้รื้อฟื้นค�ำสัญญาในโอกาสนี้ด้วย

ช่วงวัย...ปรีชาญาณของชีวิต เมื่อวันที่ 10-12 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ฝ่ายอบรมคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ จัดอบรมสมาชิกวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย (กลุ่มผู้สูงวัย) ที่บ้านธารพระพร สามพราน มี จ�ำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 25 คน โดยมีซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ อธิการิณีเจ้าคณะแขวง เป็นประธาน และซิสเตอร์สายสวาท ระดมกิจ ผู้รับผิดชอบฝ่ายอบรมระดับแขวง พร้อมด้วยทีม ร่วมกันด�ำเนินการจัดการอบรมครั้งนี้ โอกาสนี้มีวิทยากรที่มีความ ช�ำนาญด้านต่าง ๆ มาให้ความรูแ้ ก่ผเู้ ข้ารับการอบรมทัง้ ในด้านเกีย่ วกับสุขภาพและ ด้านฝ่ายจิต

“Come and see…In to the deep” ซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ จัดค่ายกระแสเรียก “ค่ายมิตรมารีย ์ 2018” หัวข้อ “Come and see…In to the deep” ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2561 ที่บ้านสเตลลา มารีส อ.ชะอ�ำ จ.เพชรบุรี โดยมีเด็กและ เยาวชนเข้าร่วม จ�ำนวนทั้งสิ้น 104 คน ในบรรยากาศของความสุข สนุกสนาน ร่าเริงยินดีและการเรียนรู้...

ส่งความสุขคริสต์มาส เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.2018 ผู้ดูแลและผู้ฝึกหัดสถาบันธิดาพระราชินีมา เรียร่วมส่งความสุขในโอกาสคริสต์มาสให้กับคนป่วย คนชรา และจัดกิจกรรมให้ กับเด็กๆ ในชุมชนคลองเตย ร่วมกับคณะธรรมทูตซาเวเรียน

19 dbBulletin 2019


เส้นทางจอมYOUTH

By สายลมที่พัดผ่าน

วันเยาวชนโลก 2019 “วันเยาวชนโลก หรือ World Youth Day” คือเหตุการณ์แห่งการเฉลิมฉลองของบรรดา เยาวชนในระดับโลกซึง่ จัดโดยพระศาสนจักรคาทอลิก โดยในปีนจี้ ะจัดทีส่ าธารณรัฐปานามา ระหว่างวันที่ 22-27 มกราคม ค.ศ. 2019 ภายใต้การน�ำของพระวาจา “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (ลก 1:38) วันฉลองดังกล่าวนีจ้ ดั ขึน้ เป็นประจ�ำทุกปีโดยจะมีการเฉลิมฉลองใน 2 ระดับ คือ ในระดับ พระศาสนจักรท้องถิน่ ซึง่ จะจัดทุกปีและในระดับนานาชาติซงึ่ จะจัดทุก ๆ 3 ปี วันเยาวชนโลก ได้เริ่มจัดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1986 ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในสมณสมัยของนักบุญ พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 พระศาสนจักรให้ความส�ำคัญกับเยาวชน การชุมนุมดังกล่าวนี้เป็นโอกาสให้เยาวชน จากทั่วทุกมุมโลก จากหลากหลายวัฒนธรรม เชื้อชาติและภาษา ได้มาเรียนรู้และแบ่งปัน ประสบการณ์แห่งความเชือ่ และความยินดีแห่งคริสตชน โดยมีสมเด็จพระสันตะปาปาซึง่ เป็น ผูแ้ ทนของพระคริสตเจ้าอยูร่ ว่ มในการชุมนุมด้วย นอกจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสแล้ว ยังมีบรรดาพระคาร์ดนิ ลั พระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชจากทัว่ ทุกมุมโลกทีจ่ ะไปร่วมเป็น จิตหนึ่งใจเดียวกัน เดินไปพร้อมกับบรรดาเยาวชนเพื่อสร้างพลังแห่งความรัก รับใช้ และน�ำ สันติของพระคริสตเจ้าไปสู่โลก ส�ำหรับประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดงานนั้นจะสลับกันไปตามทวีปต่างๆ งานเยาวชนโลก 2019 ซึ่งเป็นครั้งที่ 34 นี้ ประเทศปานามาเป็นเจ้าภาพจัดงาน ประเทศดังกล่าวเป็นประเทศ เล็กๆ ตัง้ อยูบ่ ริเวณส่วนทีแ่ คบทีส่ ดุ ของภูมภิ าคอเมริกากลาง พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นภูเขา มีเนือ้ ที่ ประมาณ 75,517 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมอิ ากาศของประเทศโดยมากจะร้อนชืน้ มีจำ� นวน ประชากรโดยประมาณ 3.5 ล้านคน ประเทศปานามาเป็นประเทศคริสตชนโดยมีจ�ำนวนคริ สตชนคาทอลิก 85 เปอร์เซ็นต์ และคริสตชนโปรเตสแตนท์ 15 เปอร์เซ็นต์ พระศาสนจักร คาทอลิกแห่งประเทศปานามาแบ่งเขตการปกครองเป็น 1 อัครสังฆมณฑล และ 6 สังฆมณฑล นอกจากนี้ยังมีดินแดนเผยแผ่ธรรมอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสังฆณฑลด้วย กิจกรรมการของชุมนุมเยาวชนโลกในครั้งนี้นอกจากจะมีการแสดงดนตรี และกิจกรรม ต่าง ๆ ที่ส่งเสริมเอกภาพของเยาวชนทั่วโลกแล้ว สิ่งที่สร้างคุณค่าให้แก่ชีวิตคริสตชนของ พวกเขามากกว่าก็คือ การที่พวกเขาจะมีโอกาสภาวนาร่วมกัน ร่วมพิธีกรรมด้วยกัน มี โอกาสรับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี มีโอกาสเรียนค�ำสอนจากบรรดาพระสังฆราช และร่วม แบ่งปันประสบการณ์แห่งความเชื่อแก่กันและกัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสจะเสด็จไป ประเทศปานามาในวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2019 พระองค์จะทรงให้โอวาท และ จะทรงภาวนาร่วมกับเยาวชนในช่วงบ่าย จากนั้นในวันเสาร์ที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2019 20 dbBulletin 2019


dbBulletin

พระองค์จะทรงร่วมสวดท�ำวัตรเย็นกับบรรดา เยาวชน และจะทรงเป็นประธานในพิธีบูชา ขอบพระคุณปิดการชุมนุมเยาวชนโลกในเช้า ของวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2019 ให้ เราลองจินตนาการถึงความงดงามของงาน ชุมนุมเยาวชนโลกว่าจะอบอุ่นและสร้างแรง บันดาลใจได้มากเพียงไร เราเห็นภาพของ พระศาสนจักรที่ด�ำเนินชีวิตร่วมกัน ภาวนา ร่วมกัน และก้าวไปพร้อมกันสู่หนทางแห่ง การเป็นผู้รับใช้ที่แท้จริงตามแบบอย่างของ พระนางมารีย์ผู้ซึ่งตอบรับพระประสงค์ของ พระเจ้าในทุกกรณีแม้ว่าจะเกิดค�ำถามในใจ มีความสับสนและไม่เข้าใจ แต่ด้วยความไว้ วางใจในการท�ำงานของพระจิตเจ้าพระนาง ได้ตอบรับกระแสเรียกแห่งการเป็นผู้รับใช้ พระเจ้าทุกวัน พระนางจึงมีความคู่ควรที่สุด ในการเป็นพระมารดาของพระคริสตเจ้าและ เป็นมารดาของพระศาสนจักร ในการชุ ม นุ มเยาวชนโลกครั้ง นี้ พระ ศาสนจั ก รได้ ม อบนั ก บุ ญ และผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ 8 ท่าน เพื่อเป็นแบบอย่างและเป็นผู้เสนอ วิงวอนพิเศษให้เยาวชนทุกคน ผู้ศักดิ์สิทธิ์ เหล่านี้ ได้แก่ นักบุญโฮเซ ซานเชส เดล ริโอ, นักบุญฮวน ดิเอโก, นักบุญยอห์น บอสโก, นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2, นักบุญมาร์ติน เดอ พอเรส, นักบุญโรซา แห่งลีมา, บุญราศีมาเรีย โรเมโร เมเนเซส และนักบุญพระอัครสังฆราชออสการ์ โรเมโร ผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 8 ท่านได้ถูกรับเลือกให้เป็น ผูท้ สี่ ร้างแรงบันดาลใจ และก้าวเดินไปพร้อม กับเยาวชนในเส้นทางแห่งชีวิตฝ่ายจิตอัน น�ำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่แน้นแฟ้น และลึกซึ้งกับพระเจ้า ผ่านทางรูปแบบชีวิต

บุคลิกภาพ และแนวทางแห่งการบรรลุถึง ความศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะที่แตกต่างกัน นี่ เป็นการบ่งชีถ้ งึ ความมัง่ คัง่ ของพระศาสนจักร ที่ ส ามารถยื น ยั น ได้ ว ่ า ทุ ก คนไม่ ว ่ า จะมี พืน้ ฐานมาอย่างไร ก็สามารถเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ได้ตามอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละคนที่ร่วม มื อ กั บ การพั น ธกิ จ สร้ า งสรรค์ ข ององค์ พระผู้เป็นเจ้า คณะซาเลเซี ย นมี ค วามยิ น ดี ที่ นั ก บุ ญ ยอห์น บอสโก และบุญราศีมาเรีย โรเมโร เมเนเซส ได้ถูกรับเลือกให้เป็นนักบุญองค์ อุปถัมภ์ร่วมของการชุมนุมเยาวชนโลกใน ครั้งนี้ นอกนั้น เป็นที่แน่นอนว่าสมาชิก ซาเลเซียน ซิสเตอร์ธดิ าแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ และสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ในครอบครัว ซาเลเซียน จะมีส่วนร่วมอย่างมากในการจัด กิจกรรมต่าง ๆ และเป็นแรงกระตุ้นในการ ขับเคลื่อนให้การชุมนุมเยาวชนโลก 2019 ณ ประเทศปานามา เกิดผลสูงสุดต่อเยาวชน ในทุ ก มิ ติ แ ห่ ง ชี วิ ต มนุ ษ ย์ เพราะเยาวชน เป็ น อนาคตและเป็ น แรงพลั ง ใหม่ ข อง พระศาสนจักรทีก่ ำ� ลังเดินทางจาริกอยูใ่ นโลก db 21 dbBulletin 2019


เพื่อนนักอบรม เรื่อง : ทอแสง/ภาพ : Giant dbภาพ By... Giant

ถ้าครูรักแต่เด็กดี จะได้บุญกุศลอะไร!

22 dbBulletin 2019

เดือนมกราคมมีวันส�ำคัญที่บรรดาศิษย์ไม่ควรละเลยหรือหลงลืม นั่นคือ “วันครู” เหตุทบี่ อกว่าเป็นวันส�ำคัญก็เพราะว่า “ครู” คือ ผูอ้ บรมสัง่ สอนแนะน�ำ ผูถ้ า่ ยทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อน�ำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของ สังคมและประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีหน้าที่สอน อบรมเกี่ยวกับวิชาความรู้ การอ่านเขียน รวมไปถึงการให้ความรู้และแนะน�ำในการใช้ชีวิตประจ�ำวันและการท�ำงาน นิยามข้างต้นท�ำให้เราทราบว่าบทบาทและภาระหน้าทีค่ วามเป็นครูนนั้ ยิง่ ใหญ่และ ส�ำคัญต่อศิษย์อย่างมาก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ตรัสกับคุณครูทมี่ าเข้าเฝ้าในหอประชุมเปาโลที่ 6 ณ นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.2015 ว่า “ครูเป็นอาชีพที่งดงาม ตัวพ่อเองก็เคยเป็นครูเช่นกัน ที่บอกว่าครูเป็นอาชีพที่ งดงามก็เพราะว่า ครูจะเห็นการเติบโตของเด็กๆ ที่อยู่ในความดูแลทุกวัน ครูจึงเป็น เหมือนกับพ่อแม่คนที่สองของเด็กที่ให้การอบรมและกล่อมเกลาจิตใจให้กับพวกเขา นี่คือความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่


dbBulletin

การสอนเป็นงานที่จริงจัง ผู้ที่จะท�ำ หน้ า ที่ นี้ จ ะต้ อ งมี วุ ฒิ ภ าวะและมี ค วาม สมดุลในบุคลิกภาพ ครูไม่ควรจะท�ำงาน คนเดียวเพียงล�ำพัง แต่ควรจะประสาน งาน แบ่งปันและปรึกษากับเพือ่ นร่วมงาน และกับกลุม่ ของผูท้ ที่ ำ� งานด้านการศึกษา พ่อขอให้คุณครูทุกท่านใส่ใจกับเด็ก นักเรียนที่เรียนอ่อนด้วย ขอให้คุณครูรัก เด็กที่เกเร เด็กที่มีปัญหา เด็กที่ไม่สนใจ เรียน เด็กที่เรียนไม่เก่ง และเด็กต่างชาติ ให้มากๆ นี่เป็นงานที่ท้าทายการเป็นครู อย่างมาก เพราะหลายครัง้ เด็กเหล่านีอ้ าจ จะท�ำให้คณ ุ ครูหมดความเพียรอดทน แต่ ถ้าคุณครูรกั แต่เด็กทีต่ งั้ ใจเรียนซึง่ เป็นเด็ก ดีอยู่แล้ว คุณครูจะได้บุญกุศลอะไร? พ่อ เชื่อว่าไม่ว่าครูคนไหนก็อยากสอนเด็กที่ ดีแบบนี้อยู่แล้ว แต่หากคุณครูคาทอลิก อยากจะเป็นพยานถึงพระเยซูเจ้าอย่าง แท้ จ ริ ง คุ ณ ครู จ ะต้ อ งสนใจเด็ ก ที่ อ ยู ่ ชายขอบของโรงเรียน คุณครูไม่ควรทอด ทิ้ ง เด็ ก ให้ อ ยู ่ ช ายขอบ ให้ อ ยู ่ ใ นความ โง่เขลาและให้อยู่ในสภาพชีวิตที่เลวร้าย ในสภาพสังคมทุกวันนี้ เด็กๆ ยาก ที่ จ ะเจอหลั ก ยึ ด เหนี่ ย วและแบบอย่ า ง

ในชีวิต จ�ำเป็นที่พวกเขาจะต้องพบแบบ อย่างที่ดีในโรงเรียน และได้พบกับคุณครู ที่ให้ความหมายกับการเรียน อย่าลืมว่า คุณครูไม่ได้ถา่ ยทอดเฉพาะความรูแ้ ต่ตอ้ ง สร้างความสัมพันธ์อนั ดีกบั นักเรียนแต่ละ คนด้วย พวกเขาต้องรู้สึกว่าตนเองได้รับ การยอมรับและได้รับความรัก แม้ว่าตัว เขาเองจะมีข้อจ�ำกัดในความสามารถที่มี และเพื่อจะสอนนักเรียนด้วยความรักไม่ เพียงพอที่จะใช้คอมพิวเตอร์ มีความแตก ต่างระหว่างการถ่ายทอดเนื้อหาและการ ถ่ายทอดคุณค่า เพื่อจะถ่ายทอดเนื้อหา วิชาการอาจเพียงพอที่จะใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แต่เพื่อจะถ่ายทอด ความรัก ซึ่งเป็นคุณค่านั้น จ�ำเป็นต้อง สร้างบรรยากาศของความเป็นหนึ่งเดียว ในสังคมซึ่งต้องการคุณครูที่ดี” db

23 dbBulletin 2019


CTimes-Catechetical Moment by Eccomi

สิ่งที่คริสตชนควรท�ำทุกวัน 8 ประการ

1. เริม่ วันใหม่ดว้ ยการภาวนา หรือด้วยการ 3. ใช้ อุ ป กรณ์ สื่ อ สารติ ด ต่ อ กั บ เพื่ อ น อ่านพระคัมภีร์ และสวดสายประค�ำ และไปเยี่ยมพวกเขา ให้จดุ ศูนย์กลางของชีวติ ในแต่ละวันอยูท่ กี่ ารภาวนา โดยก�ำหนด เวลาที่ชัดเจน และเลือกเวลาที่เหมาะสมกับเรา นอกนั้น เราสามารถ อ่านพระคัมภีร์บางตอน หรืออ่านพระวาจาประจ�ำวันเพื่อร�ำพึง และ ควรสวดสายประค�ำ หากเราไม่สามารถสวดสายประค�ำได้ครบสาย ก็อาจสวดเพียง 10 เม็ด หรือเพียงบางข้อร�ำพึงก็ได้ “การภาวนาไม่ใช่สงิ่ อืน่ ใดนอกจากการเป็นหนึง่ เดียวกับพระเจ้า เมือ่ หัวใจของเราบริสุทธิ์และเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าแล้ว เราจะได้รับ ความบรรเทาและเต็มด้วยความอ่อนโยน” (น.ยอห์น มารีย์ เวียนเน)

2. ยิ้ม มีมารยาท ใจดี

“คนอื่นจะรู้ว่าเราเป็นคริสตชนเมื่อเราแสดงออกถึงความรัก” ค�ำกล่าวนีย้ งั คงเป็นจริงในปัจจุบนั นีห้ รือไม่? หรือว่าคริสตชนมีนสิ ยั ก้าวร้าวมากขึน้ และมีชวี ติ ทีไ่ ม่แตกต่างจากคนอืน่ ? ให้เราช่วยกันน�ำ อัตลักษณ์ของคริสตชนนีก้ ลับคืนมาโดยการยิม้ การแสดงมารยาทที่ ดีและด้วยการช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ “ให้เราพบปะกันด้วยรอยยิ้ม การยิ้มคือการเริ่มต้นของความรัก” (คุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา) 24 dbBulletin 2019

แม้วา่ จะมีบางคนทีต่ ดิ สังคมออนไลน์ แต่เราก็สามารถใช้อปุ กรณ์ เหล่านี้ในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น ส่งข้อความพระคัมภีร์ให้กับ เพื่อนๆ, ติดต่อกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆ เพื่อสร้างความ สัมพันธ์อันดี “มิตรภาพเป็นทีม่ าของความสุขทีย่ งิ่ ใหญ่ แม้มอี าชีพการงานทีด่ แี ต่ ไม่มีเพื่อนก็เป็นเรื่องน่าเศร้า” (น.โทมัส อไควนัส)

4. บอกรักกับคนรอบข้าง

คงไม่มีใครที่จะรู้สึกไม่ชอบเมื่อรู้ว่าตนเป็นที่รักของบุคคลรอบ ข้าง ความรู้สึกนี้จะทวีมากขึ้นเมื่อเขารู้ถึงเหตุผลของความรักนั้น ให้เราบอกรักกับบุคคลรอบข้างอย่างน้อยสัก 1 คนทุกวัน อาจจะเป็น พ่อแม่ ญาติพนี่ อ้ ง ลูกๆ เพือ่ นๆ ฯลฯ ให้พวกเขารูว้ า่ เรารักพวกเขามาก แค่ไหน “เราเรียนรูท้ จี่ ะพูดโดยการพูด เรียนรูว้ ชิ าการโดยการเรียน เรียนรูท้ จี่ ะ ท�ำงานโดยการท�ำงาน และเรียนรูท้ จี่ ะรักด้วยการรัก ใครทีเ่ รียนรูเ้ รือ่ ง ดังกล่าวด้วยรูปแบบอืน่ ก็เป็นการหลอกตนเอง” (น.ฟรังซิส เดอ ซาลส์)


dbBulletin 5. พูดถึงพระเจ้า

ให้พระเจ้ามีส่วนร่วมอยู่ในชีวิตของเราตลอดทั้งวันไม่เพียงแค่ เวลาสวดภาวนาเท่านัน้ แต่ในเวลาสนทนากับเพือ่ นๆ กับครอบครัว ฯลฯ หลายครั้งเราพูดถึงสิ่งที่เราชอบ เช่น ภาพยนตร์ อาหาร แต่ ลืมที่จะพูดถึงพระเจ้า “เราทุกคนควรหาวิธีการพูดถึงพระเยซูเจ้าไม่ว่าเราจะ อยู่ที่ไหนก็ตาม เราทุกคนถูกเรียกให้เป็นพยานถึงความ รักแห่งการช่วยให้รอดของพระเจ้าด้วยค�ำพูด ซึ่งให้ความ หมายกับชีวิตของเรา แม้เราจะไม่สมบูรณ์พร้อมก็ตาม” (สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส)

6. มัธยัตถ์บางสิ่ง

ให้ เราเรี ย นรู ้ ที่ จ ะพลี ก รรมและมอบถวายความยาก ล�ำบากแด่พระเจ้า เช่น ปิดวิทยุในขณะขับรถ อดขนมขบเขีย้ ว ฯลฯ สิ่งเล็กๆน้อยๆ เหล่านี้ช่วยบ่มเพาะความศักดิ์สิทธิ์และ ช่วยเราไม่ให้ยึดติดกับสิ่งของในโลกนี้ “ไม่มพี นื้ ทีส่ ำ� หรับความเห็นแก่ตวั และความกลัว อย่ากลัวเมือ่ ความรักเรียกร้องเรา อย่ากลัวเมื่อความรักเรียกร้องการเสีย สละ” (นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2)

7. การรับใช้

หาโอกาสที่จะรับใช้ช่วยเหลือคนรอบข้างทุกวัน ซึ่ง ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่ แต่เราสามารถท�ำ สิ่งเล็กๆน้อยๆ เช่น ช่วยท�ำกับข้าวให้พ่อแม่และบุคคล ทีเ่ รารัก เก็บขยะทีต่ กบนพืน้ ฯลฯ อย่าปล่อยให้แต่ละวัน จบลงโดยที่เราไม่ได้ท�ำอะไรเพื่อคนอื่นเลย “เรารูว้ า่ พระเจ้าของเราไม่ได้มองความยิง่ ใหญ่หรือความยากล�ำบาก ในการกระท� ำ ของเรา แต่ พ ระองค์ ท รงมองความรั ก ในสิ่งที่เราท�ำ แล้วเราจะกลัวอะไร?” (น.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู)

8. หาเวลาไตร่ตรองชีวติ ในแต่ละวัน

ในตอนค�ำ่ ของทุกวันเราควรใช้เวลาสักครูเ่ พือ่ ไตร่ตรอง ย้อนกลับไปในแต่ละวัน การพิจารณามโนธรรมเป็นวิธีที่ดี ที่ช่วยในการไตร่ตรอง วันนี้มีใครที่เราต้องให้อภัยหรือไม่? มีใครที่เราต้องขอโทษหรือเปล่า? ให้เราใช้เวลาคิดถึงสิ่ง ที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ส�ำหรับเราและขอบคุณพระองค์ ส�ำหรับพระพรมากมายที่ได้รับ ลองถามตัวเองว่าวันนี้ฉันได้ ใกล้ชิดหรืออยู่ห่างจากพระองค์มากขึ้น? ฉันจะต้องปรับปรุง ตัวเรื่องอะไรอีกบ้างเพื่อให้ชีวิตดียิ่งขึ้น? “ให้เรามุ่งมั่นที่จะท�ำให้พระเจ้าโปรดปราน และอย่าท�ำท�ำสิ่งใด โดยทีไ่ ม่ปรึกษาพระองค์กอ่ น จงแสวงหาพระองค์และพระสิรริ งุ่ โรจน์ ของพระองค์ในทุกสิ่ง” (น.อัลฟองโซ) 25 dbBulletin 2019


ครอบครัวซาเลเซียนตามลำ�น้ำ� 350 ปี มิสซังสยาม By กุหลาบป่า

โน่นไงท่าน�้ำ

บางนกแขวก

เราได้ถวายมิสซัง แด่ดวงพระทัยของ พระเยซูเจ้าและ พระแม่มารีอาองค์อุปถัมภ์ ขอดวงพระทัย และ พระมารดาช่วยเรา ให้ขยายอาณาจักร ของพระเจ้าใน ดินแดนแห่งนี้…

26 dbBulletin 2019

“ไปด้วย … ไปด้วย…” น้องพีร์ตะโกนตามหลังน้าพร เมื่อรู้ว่าจะไป ตลาดนัดบางนกแขวกซือ้ กับข้าวและขนมอร่อย ๆ “ไปด้วย … ไปด้วย…” กระจิบ กระซิบตามแล้ว รีบบินเข้าตะกร้าหน้ารถมอเตอร์ไซค์ ก่อนน้าพร จะเลี้ยวออกถนนไป น้าพรหยุดรถฝัง่ ตรงข้ามวัดบางนกแขวกเพือ่ เลือกซื้อส้มโอริมน�้ำแม่กลอง กระจิบจึงบินออก มาชมแม่น�้ำแม่กลอง ธ ร ร ม ทู ต แ ล ะ ค ริ ส ต ช น วั ด แ ม ่ พ ร ะ ลูกประค�ำกาลหว่าห์ วัดซางตาครู้สกุฎีจีน เดิน ทางจากบางกอกไปตามล� ำ น�้ ำ คู ค ลอง จาก แม่น�้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกน้อย คลอง ภาษี เจริ ญ ไปแม่ น�้ ำ ท่ า จี น แวะที่ วั ด นั ก บุ ญ เปโตร นครชัยศรี เข้าคลองด�ำเนินสะดวก มาถึง แม่น�้ำแม่กลองที่วัดแม่พระบังเกิด บางนกแขวก เข้าคลองไทยบ�ำรุง ออกแม่น�้ำแควอ้อม มายัง วัดพระหฤทัยวัดเพลง สายธารแห่งความเชื่อ ยัง ไหลริน หล่อเลีย้ งชุมชนคริสตชนเหล่านี้ รุน่ สูร่ นุ่ จนถึงปัจจุบัน ฝั่งโน้น เห็นท่าน�้ำใหญ่ มีทางเดินผ่านบ้าน พักพระสงฆ์ ไปถึงอาสนวิหารแม่พระบังเกิดอัน งามสง่า อาคารโดยรอบปรับปรุงใหม่ ดูทันสมัย สวยงาม จึงตัดสินใจบินข้ามแม่น�้ำไปยังบ้าน ริ ม คลองทางซ้ า ยมื อ เกาะอยู ่ ที่ ลู ก กรงระเบี ย ง พอดี มี พี่ ค นสวย ถือถังมาเตรียมท�ำความสะอาดเปิด ประตู กระจิบจึงบินตามเข้าไป โอ้โฮ.. ของเก่า

มากมาย เรียงรายในตู้ รูปโบราณแขวนอยู่ข้าง ฝา หนังสืออยู่บนชั้น อ้อ พิพิธภัณฑ์ธรรมทูต นั่นเอง กระจิบพลิกหนังสืออนุสรณ์ 100 ปี วัด บางนกแขวก ก็รวู้ า่ ชุมชนคริสตชนบางนกแขวก ก่ อ ตั้ ง โดยคุ ณ พ่ อ เอเตี ย น อั ล บรั ง ด์ ในปี ค.ศ. 1837 คุณพ่อได้ตดิ ตามผูอ้ พยพจากกรุงเทพ ไปหาทีท่ ำ� กินทีอ่ นื่ ส่งครูคำ� สอนไปล่วงหน้า แล้ว ท่านติดตามไปเยีย่ มเยียนเพือ่ โปรดศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ พระสังฆราชปัลเลอกัวเคยเดินทางมาเยีย่ มคริสตชน แถบนี้ด้วย ต่อมา พ่อราบาร์แดล ได้จัดหาซื้อ ที่ดินแบ่งให้กลุ่มคริสตชน ในปี ค.ศ. 1869 ได้สร้างวัดด้วยไม้เสร็จแล้ว ก็ลงมือสร้างบ้าน เณรที่ฝั่งตรงข้าม บ้านเณรของมิสซังจึงย้าย จากอัสสัมชัญมาอยู่ที่บางช้าง คุ ณ พ่ อ เปาโล ซั ล มอน ได้ เริ่ ม สร้ า งวั ด ใหม่ถาวร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1890 เสกในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1896 และสร้างบ้านเณร ในปี ค.ศ 1893 เปิ ด ใช้ ส ่ ว นแรกในปี ค.ศ. 1901 นอกจากสร้างวัดแล้ว คุณพ่อยัง สร้างบ้านพักพระสงฆ์ และอารามของนักบวช คณะรักกางเขน อาคารเรียนฝ่ายชาย บ้านพัก ผู้สูงอายุ และอาคารเรียนส�ำหรับเยาวชนหญิง ใกล้ๆ กับอาราม กระจิบเคยได้ยินพวกพี่ๆ คุยกันถึงบ้าน เก่าที่เคยอยู่ อู่ที่เคยนอนคงเป็นอาคารเหล่า นี้นี่เอง ที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จึงมีการ สร้างอาคารใหม่ขึ้นมาแทนในระยะที่พระสงฆ์ พื้นเมืองรับผิดชอบวัดบางนกแขวกแล้ว นั่นไง หนังสือ “ดุจบิดาท่ามกลางบุตร” บอกว่า ในปี ค.ศ. 1927 ธรรมทูตซาเลเซียน ยุคแรกเริ่มงานที่บางนกแขวก คุณพ่อปาซอตตี ร�ำลึกถึงความรู้สึกยามมาถึงดินแดนนี้ว่า “ผม ยังจ�ำความรู้สึกยินดีของทุกคนเมื่ออยู่พร้อมกัน ทีห่ วั เรือ ล้อมรอบคุณพ่อริกลั โดเน รอคอยอย่าง กระตือรือร้นให้เรือโดยสารทะเลเข้าสูแ่ ม่นำ �้ พวก เราต่างปรารถนาเช่นเดียวกับบรรดาธรรมทูต รุ่นแรกๆ ของครอบครัวของเราที่จะทักทายดิน


dbBulletin

แดนธรรมทูตเมือ่ แรกเห็นด้วยเพลงสดุดแี ม่พระ แล้วเราก็ได้ท�ำตามความปรารถนา เมื่อเห็น ภาพทิวไม้สีเขียวชัดเจนเราร่วมเป็นใจเดียวกัน ส่งเสียงเพลงและภาวนาด้วยความวางใจวาง ตนในท่าสง่างามเหมือนกับภาพทิวทัศน์ที่เห็น เบื้องหน้าขณะที่พร้อมใจกันร้องเพลง เลาตา เตมารีอา” งานอภิ บ าลที่ บ างนกแขวกต่ อ จากคณะ สงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส เป็นงาน ที่ท้าทายธรรมทูตซาเลเซียนและเรียกร้องการ เสียสละอย่างมาก ตามจดหมายของพ่อปาซอตตี ในขณะนั้นว่า “เราได้ ถ วายมิ ส ซั ง แด่ ด วงพระทั ย ของ พระเยซู เจ้ า และพระแม่ ม ารี อ าองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ขอดวงพระทัย และพระมารดาช่วยเราให้ขยาย อาณาจักรของพระเจ้าในดินแดนแห่งนี้… ใน จ�ำนวน 2 มณฑลทีเ่ ราได้รบั มอบหมาย มีมณฑล เดียวที่มีคนมากพอใช้ ความกระตือรือร้นของ บรรดาธรรมทูตยังแผ่ไปไม่ถึงมณฑลอื่นๆ อีก เลย แต่เราก็หล่อเลี้ยงความหวังไว้ว่าเราจะต้อง ไปถึงที่นนั่ ให้ได้สักวันหนึง่ การงานได้แสดงให้ เห็นแล้วว่าเป็นทีล่ ำ� บากตรากตร�ำมากพอดูและ เรียกร้องความเสียสละ เพื่อที่จะเปิดศูนย์กลาง ใหม่ สร้างวัดน้อยใหม่ และโรงเรียนใหม่ ๆ อีกหลายแห่ง กระนั้นก็ตามเราพร้อมอยู่แล้ว ส�ำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง”

ภารกิจแพร่ธรรมในเขต ปกครองใหม่

วั น ที่ 1 มกราคม 1929 พระสงฆ์ ค ณะ มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสได้สง่ มอบงานให้ พระสงฆ์ซาเลเซียนเข้าแทนทีใ่ นทุกกิจการและใน ทุกแห่ง แม้ว่าจะยังไม่มีการแบ่งมิสซังอย่างเป็น ทางการ ขณะนั้นคุณพ่อปาซอตตี อายุ 39 ปี มี พระสงฆ์ผู้ร่วมงานอีก 9 องค์ ในด้านการสร้าง บุคลากร แม้วา่ คุณพ่อปาซอตตีเป็นกังวลอย่างยิง่ เพราะไม่มคี วามพร้อมในหลายๆ ด้านถึงกระนัน้ ก็ไม่ทอ้ ใจและมีความมุง่ มัน่ ในการด�ำเนินกิจการ ต่อไปและต้นปี ค.ศ. 1930 ก็เปิดบ้านเณรเล็ก ของมิสซังด้วย โดยการน�ำและความร่วมมือของ บรรดาพระสงฆ์ สามเณรและครูฆราวาส มีการ พระสังฆราช กาเยตาโน ปาซอตตี ซดบ. สอนค�ำสอนในโรงเรียนวันละชั่วโมงทุกวัน หัด ขับร้องเพลงส�ำหรับพิธีกรรม เปิดศูนย์เยาวชน ทุกวันและวันอาทิตย์ มีสมาชิก สามเณรและครู ช่วยกันดูแลเด็กๆ และเยาวชนทั้งคาทอลิกและ ต่างความเชื่อ … ส� ำ หรั บ แผนกหญิ ง ซึ่ ง มอบให้ นั ก บวช หญิงคณะรักกางเขนและครูผู้ช่วยด�ำเนินการ ขณะก�ำลังรอบรรดาภคินีจากยุโรปมาช่วย ท่าน ให้พระสงฆ์ซาเลเซียนช่วยสอนค�ำสอนให้พวก เขาวันละชั่วโมงทุกวัน ส่วนเรื่องอื่นๆ ได้ขอให้ นักบวชหญิงดูแลและท�ำงานอภิบาลเด็กหญิง

27 dbBulletin 2019


ครอบครัวซาเลเซียนตามลำ�น้ำ� 350 ปี มิสซังสยาม By กุหลาบป่า 1 แบบเดียวกับที่นักบวชชายได้อภิบาลเด็กและ เยาวชนชาย ซึ่งก็มีผลดี ในปี ค.ศ. 1931 สมาชิกคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ 6 ท่านแรกได้เดินทางมาเริม่ งานที่ บางนกแขวก ในระยะเริ่มแรกพวกท่านต้องช่วย งานต่างๆ ของวัด แต่พันธกิจโดยตรงของคณะ คือ ท�ำงานกับเด็กและเยาวชนหญิง ท่านปาซอตตีกล่าวถึงงานของนักบวชหญิง ว่า “เป็นก้าวย่างส�ำคัญเพือ่ การศึกษาอบรมฝ่าย หญิง ... เราหวังว่าจะมีการร่วมมือกันเพื่อวาง รากฐานส�ำหรับภคินีพื้นเมืองด้วย” ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ได้เปิด โรงเรียนนารีวุฒิ ที่บ้านโป่ง แยกโรงเรียนหญิง ออกจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟแผนกชาย โดยได้รบั ความเห็นชอบจากสมณกระทรวง เผยแพร่ความเชือ่ ท่านปาซอตตีได้ขอความร่วม มือจากซิสเตอร์ธดิ าแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ ตัง้ แต่วนั ที่ 24 พฤษภาคม 1937 ซิสเตอร์อันตนเนียตตา โมเรลลาโต ได้เริ่มอบรมผู้สมัครอย่างจริงจัง ท่านปาซอตตีได้ประกาศตัง้ “คณะชีสงเคราะห์” เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1937 นวกนารี 7 คนเริ่ม นวกภาพ ปีต่อมาจึงท�ำการปฏิญาณครั้งแรก เมือ่ วันที่ 9 ธันวาคม 1938 เป็นรากฐานของการ เจริญเติบโตของคณะ เริ่มจากโรงครัวบ้านเณร ฝั่งบ้านอบรมซาเลเซียนตรงข้ามอาสนวิหาร แม่พระบังเกิดบางนกแขวก จากที่นั่นคณะได้ ค่อยๆ ก้าวออกไปช่วยงานของวัดต่างๆ ใน สังฆมณฑลราชบุรีและที่อื่นๆ ต่อไป กระจิบเพลินไปกับเรื่องเก่าๆ ไม่ทันมองว่า น้าพรมาซื้อของที่ตลาดนัดหลังสุสานวัดตั้งแต่ เมื่อไร ตกใจเมื่อได้ยินเสียงน้าพรเรียกน้องพีร์

28 dbBulletin 2019

3

“เร็ว กลับบ้าน เย็นนี้ป้าใหญ่จะมากินข้าวด้วย” แล้วน้าหลานก็รีบหลบรถอื่นๆ ข้ามฝั่ง กระจิบ แทบไม่มีที่ซุกหัวเพราะข้าวของเต็มตะกร้า กลับ มาแล้วยังทันได้ยินเสียงพูดคุยที่บ้าน “ฉลอง 350 ปี มิสซังสยาม เราก็มีเรื่องเล่า เหมือนกันนะ เพราะวัดเราสร้างมา กว่า 100 ปีแล้ว” “บรรพบุรุษของเราก็เป็นผลงานแพร่ธรรมของ บรรดาธรรมทูตนั่นแหละ” “แล้วพวกเรา วันนี้ล่ะ จะท�ำอะไร ให้คนรุ่นหลัง กล่าวขวัญถึงได้บ้าง” “เป็นชุมชนศิษย์พระคริสต์ ประกาศข่าวดี ไงล่ะ พระสังฆราชเทศน์ออกบ่อย“ “งั้นวันนี้ ที่เรามาเยี่ยมกัน สวดด้วยกัน กินด้วย กัน ก็เป็นชุมชนศิษย์พระคริสต์แล้วสินะ” สายน�ำ้ ยังไหลต่อไป ตามแม่นำ �้ ล�ำคลอง ซึง่ เชื่อมต่อกัน ความเชื่อก็จะสืบทอดต่อไปเช่นกัน ฉันล่ะ จะสานต่อพันธกิจของพระคริสตเจ้า แบ่งปันความรัก เป็นพยานถึงความเชื่ออย่างไร db

2

4

1. ธรรมทูตซาเลเซียน 4 รุ่นแรก ถ่ายใน ปี ค.ศ. 1929 ที่บางนกแขวก 2. ซิสเตอร์ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ และ ซิสเตอร์คณะรักกางเขน 3. พระสังฆราช กาเยตาโน ปาซอตตี กับ สามเณรสังฆมลทลราชบุรี รุ่นแรกๆ 4. ซิสเตอร์คณะชีสงเคราะห์ (ภคินีผู้รับใช้ฯ) เมื่อเริ่มแรก


ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter

dbBulletin

World News น�ำเสนอค�ำขวัญ 2019 คุณพ่ออัคราธิการพบศิษย์เก่า ซาเลเซียนอิตาเลี่ยน

เ มื่ อ เ ดื อ น ธั น ว า ค ม 2 0 1 8 คุณพ่ออังเกล แฟร์นนั เดซ อาร์ตเิ ม อัคราธิการ คณะซาเลเซียนพบกับคณะกรรมการศิษย์เก่า ซาเลเซี ย นของประเทศอิ ต าลี ที่ ม าส่ ง ความสุขโอกาสคริสต์มาสที่ศูนย์กลางของ คณะที่วัดพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า กรุงโรม คุณพ่ออัคราธิการได้เชื้อเชิญให้ศิษย์เก่าแบ่ง ปันการอบรมที่ตนได้รับจากสถาบันของตน ให้กับคนรอบข้างและให้เป็นพยานด้วยชีวิต ผ่านทางการท�ำหน้าที่ประจ�ำวัน

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.2018 คุณพ่ออังเกล แฟร์นันเดซ อาร์ติเม อัคราธิการคณะ ซาเลเซียนได้น�ำเสนอค�ำขวัญประจ�ำปี 2019 “ความศักดิ์สิทธิ์ส�ำหรับคุณด้วย” ให้กับคณะ ซิสเตอร์ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์และสมาชิกในครอบครัวซาเลเซียน ณ ศูนย์กลางของคณะ ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ กรุงโรม ในตอนท้ายซิสเตอร์ Yvonne Reungoat อัคราธิการิณี คณะซิสเตอร์ซาเลเซียน ได้กล่าวขอบคุณคุณพ่ออัคราธิการส�ำหรับค�ำขวัญที่มอบให้กับ ครอบครัวซาเลเซียนและอวยพรให้ปี 2019 เป็นปีที่เต็มไปด้วยความยินดีส�ำหรับทุกคนใน การก้าวหน้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์

นวนิยายยอดเยี่ยม

โรงเรียนธรรมทูต

เมื่อไม่นานมานี้ นวนิยายเยาวชนเรื่อง “Orientiraj se po soncu” (Oriented towards the Sun) เขียนโดยคุณ Karmen Jenič ซึ่งเป็นซาเลเซียนผู้ร่วมงานชาวสโลเวเนีย ได้รับ รางวัล “Svetlobnica” ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ นวนิยายดังกล่าวเล่าถึงครูประถม ท่านหนึ่งที่พยายามช่วยเหลือนักเรียนที่ถูกล้อเลียนจากเพื่อนร่วมชั้นของเขา โดยเขียนจาก มุมมองสองด้านคือจากมุมมองของนักเรียนที่เต็มด้วยบาดแผลจากการถูกล้อเลียนและ มุมมองของครูซึ่งช่วยให้นักเรียนสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น ครูและผู้ใหญ่

แผนกธรรมทูตซาเลเซียนแขวงคองโก ได้จัดการอบรม “โรงเรียนธรรมทูต” กับ เยาวชนในหัวข้อ “เยาวชนธรรมทูต การเป็น พยานแห่งกระแสเรียก ความยินดีและความ หวัง” ที่ Lubumbashi เมื่อเดือนธันวาคม 2018 ในการอบรมครั้งนี้บรรดาเยาวชนได้ ขุดบ่อน�้ำช่วยชาวบ้าน ไตร่ตรองอย่างลึกซึง้ ถึงการประกาศข่าวดีและ การเผยแพร่จิตตารมณ์ธรรมทูตในปัจจุบัน หมูค่ ณะซาเลเซียนทีป่ ระเทศเอลิเทรียช่วยชาวบ้านขุดบ่อน�ำ้ และจัดระบบน�ำ้ ให้กบั หมูบ่ า้ น Degra Mereto ซึง่ อยูห่ า่ งจากตัวเมืองและล�ำบากในเรือ่ งของทรัพยากรธรรมชาติในการด�ำรง ชีวิต หมู่บ้านดังกล่าวมีประชากรประมาณ 1,300 คน ทั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากทีมงาน ชาวอิตาเลี่ยน โดยการประสานงานของคุณพ่อ Petros Abraha ผู้แทนผู้ใหญ่ของแขวง 29 dbBulletin 2019


REGIONAL NEWs By... SDB Reporter

EAO News แต่งตัง้ ผูอ้ า่ นและผูช้ ว่ ยพิธกี รรม

โอกาสฉลองบุญราศีฟิลิป รีนัลดี เมื่อวัน ที่ 6 ธันวาคม ค.ศ.2018 หมู่คณะเทวศาสตร์ ซาเลเซียน ประเทศเวียดนามได้จัดเสกห้อง สมุดใหม่ “ห้องสมุดรีนัลดี” และมีพิธีแต่ง ตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์ จ�ำนวน 4 คน และแต่ง ตั้งผู้ช่วยพิธีกรรมจ�ำนวน 5 คน นอกนั้นยังมี สามเณรอีก 4 คนที่รับเสื้อหล่อด้วย

ซาเลเซียนผู้ร่วมงานเกาหลีเข้าเงียบ

เมือ่ ต้นเดือนธันวาคม 2018 ซาเลเซียนผูร้ ว่ มงานของประเทศเกาหลีจดั ฟืน้ ฟูจติ ใจให้กบั สมาชิกในหัวข้อ “พระเจ้า ซาเลเซียนผู้ร่วมงานและฉัน” การฟื้นฟูจิตใจจัดขึ้นที่ศูนย์เยาวชน แดจอน มีผเู้ ข้าร่วมประมาณ 200 คน โอกาสนีย้ งั เป็นการประเมินผลปีทผี่ า่ นมาและวางแผน ส�ำหรับปีใหม่ที่จะเริ่มต้นด้วย

เจ้าคณะใหม่ของประเทศเกาหลี

ส่งความช่วยเหลือไปยังติมอร์ ตะวันออก

โอกาสคริสต์มาสทีผ่ า่ นมา แผนกธรรมทูต ซาเลเซี ย นประเทศออสเตรเลี ย น� ำ โดย ภราดา Michael Lynch ได้สง่ ความช่วยเหลือ จากผูใ้ จบุญชาวออสเตรเลียไปยังศูนย์ซาเลเซียน ที่ประเทศติมอร์ตะวันออก เพื่อช่วยเหลือ กิจการซาเลเซียนด้านการศึกษา การช่วย เหลือเด็กก�ำพร้าและคลีนิครักษาสุขภาพที่ ซาเลเซียนและซิสเตอร์ซาเลเซียนดูแล

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.2018 ภาย หลั ง จากการประชุ ม เพื่ อ การแสวงหาน�้ ำ พระทั ย ของพระเจ้ า ในการเลื อ กเจ้ า คณะ องค์ใหม่ คุณพ่ออัคราธิการพร้อมด้วยคณะ ที่ปรึกษาได้แต่งตั้งคุณพ่อ Timothy Choi Wonchol อายุ 51 ปี เป็นคุณพ่อเจ้าคณะ แขวงเกาหลีคนที่ 5 ซึ่งจะด�ำรงต�ำแหน่งใน ค.ศ.2019-2025

วันซาเลเซียนสงฆ์ที่ฮ่องกง

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ.2018 แขวงซาเลเซียนประเทศจีนน�ำ โดยคุณพ่อ Joseph Ng เจ้าคณะแขวงฯ ได้จัดวันซาเลเซียนสงฆ์ที่ ฮ่องกงในหัวข้อ “ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดีและความเมตตา” โดย มีสมาชิกที่เป็นพระสงฆ์มาร่วมประชุมจ�ำนวน 20 คน ปัจจุบันแขวง ซาเลเซียนประเทศจีนมีซาเลเซียนจ�ำนวน 109 คน ประกอบไปด้วย ซาเลเซียนสงฆ์ 72 คน ภราดาจ�ำนวน 23 คน และบราเดอร์ที่อยู่ใน ขั้นการอบรมจ�ำนวน 12 คน 30 dbBulletin 2019


dbBulletin

พระคาร์ดินัลชาร์ลส์ โบ

ประธานสหพันธ์สภาพระสังฆราชเอเชียคนใหม่ • ปี 1962-1976 ปฎิญาณตนครั้งแรก • วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1970 ปฏิญาณตนตลอดชีวิต • วันที 10 มีนาคม ค.ศ.1976 บวชพระสงฆ์ • ประจ�ำที่ Loihkam (1976-1981) • ประจ�ำที่ Lashio (1981-1983) • อาจารย์สอนทีบ่ า้ นเณรอนิสกาน (1983 - 1985) • Apostolic Administrator in Lashio (1985 -1986) • Apostolic Prefect (1986-1990) • วันที่ 7 กรกฎาคม 1990 ท่านได้รับการ สถาปนาเป็นพระสังฆราชองค์แรก และได้ รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราชเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.1990 • วันที่ 13 มีนาคม 1996 ได้รับการแต่งตั้ง ให้ เ ป็ น พระสั ง ฆราชของสั ง ฆมณฑล Pathein, Ayeyarwady โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 • วันที่ 24 พฤษภาคม 2003 ได้รบั แต่งตัง้ ให้ ประวัติพระคาร์ดินัล เป็ น พระสั ง ฆราชของอั ค รสั ง ฆมณฑล ชาร์ลส์ เมือง โบ, ซดบ พระคุณเจ้าเกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ย่ า งกุ ้ ง โดยสมเด็ จ พระสั น ตะปาปา ค.ศ.1948 ที่หมู่บ้าน Monhla สังฆมณฑล ยอห์น ปอลที่ 2 มัณฑะเลย์ เข้าเป็นสามเณรซาเลเซียนทีบ่ า้ น เณรอนิสกาน พระคาร์ดินัล ชาร์ลส์ เมือง โบ, ซดบ พระอัครสังฆราชแห่งย่างกุง้ ประเทศเมียนมา ได้ รั บ เลื อ กให้ เ ป็ น ประธานสหพั น ธ์ ส ภา พระสังฆราชแห่งเอเชีย (FABC) ในการประชุม สภาพระสั ง ฆราชแห่ ง เอเชี ย ที่ ก รุ ง เทพ วันที่ 16-17 พฤศจิกายน ค.ศ.2018 โดย พระคุ ณ เจ้ า จะรั บ หน้ า ที่ ดั ง กล่ า วในวั น ที่ 1 มกราคม ค.ศ.2019 พระคุณเจ้าได้รับ การสถาปนาเป็นพระคาร์ดินัลองค์แรกของ ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2015 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ปัจจุบนั ประเทศเมียนมามีคาทอลิกประมาณ 800,000 คน จากจ�ำนวนประชากรทั้งสิ้น 51 ล้านคน ครอบครัวซาเลเซียนขอร่วมแสดง ความยิ น ดี กั บ พระคุ ณ เจ้ า และภาวนาเพื่ อ พระคุณเจ้าเป็นพิเศษในโอกาสนี้ด้วย

31 dbBulletin 2019


LECTIO DIVINA By พระสังฆราช โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล

ทูตสวรรค์แจ้งข่าว

การประสูติของพระเยซูเจ้า ขณะที่ เราก� ำ ลั ง เตรี ย มมี ป ระสบการณ์ กั บ พระวาจาทีไ่ ด้รบั การดลใจจากพระเจ้า ให้เราท�ำจิตใจ และร่างกายให้สงบนิ่ง จูบบทอ่านในพระคัมภีร์ หรือกระท�ำสิง่ ทีจ่ ะช่วยให้เราดึงความสนใจทัง้ หมด มารวมอยู ่ ที่ ตั ว บทศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นี้ หายใจเข้ า และ ออกช้าๆ เชิญพระจิตเจ้าผูท้ รงดลใจผูเ้ ขียนพระคัมภีร์ ให้เข้ามาประทับอยู่เต็มหัวใจของเรา อ่านตัวบทนี้ ดังๆ มองดูตัวบทนี้ด้วยสายตา อ่านออกเสียงด้วย ปาก และได้ยินตัวบททั้งหมดด้วยหูของเรา

Lectio : พระเจ้าตรัส

ลูกา 1:26-38 26เมือ่ นางเอลีซาเบธตัง้ ครรภ์ได้หกเดือนแล้ว พระเจ้าทรงส่งทูตสวรรค์กาเบรียลมายังเมืองหนึ่ง ในแคว้นกาลิลีชื่อเมืองนาซาเร็ธ 27มาพบหญิง พรหมจารีคนหนึ่งซึ่งหมั้นอยู่กับชายชื่อโยเซฟ ใน ราชวงศ์ของกษัตริย์ดาวิด หญิงพรหมจารีผู้นั้นชื่อ มารีย์ 28ทูตสวรรค์เข้าในบ้านกล่าวกับพระนางว่า “จงยินดีเถิด ท่านผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน พระเจ้า

32 dbBulletin 2019

สถิตอยู่กับท่าน” 29เมื่อทรงได้ยินถ้อยค�ำนี้ พระนางมารีย์ทรง วุ่นวายพระทัยมากทรงถามพระองค์เองว่า ค�ำทักทายนี้หมายความ ว่ากระไร 30แต่ทูตสวรรค์กล่าวแก่พระนางว่า “มารีย์ อย่ากลัวเลย ท่านเป็นผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน 31ท่านจะตั้งครรภ์และให้ก�ำเนิดบุตรชายคนหนึ่ง ท่านจะตั้ง ชื่อเขาว่าเยซู 32เขาจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่และพระเจ้าผู้สูงสุดจะทรงเรียก เขาเป็นบุตรของพระองค์ พระเจ้าจะประทานพระที่น่ังของกษัตริย์ ดาวิดบรรพบุรุษให้แก่เขา 33เขาจะปกครองวงศ์ตระกูลของยาโคบ ตลอดไปและพระอาณาจักรของเขาจะไม่สิ้นสุดเลย” 34พระนาง มารียจ์ งึ ทรงถามทูตสวรรค์วา่ “เหตุการณ์นจี้ ะเป็นไปได้อย่างไรเพราะ ข้าพเจ้าตั้งใจจะเป็นพรหมจารี” 35ทูตสวรรค์ตอบว่า “พระจิตเจ้า จะเสด็จลงมาเหนือท่านและพระอานุภาพของพระผู้สูงสุดจะแผ่เงา ปกคลุมท่านเพราะฉะนั้น บุตรที่เกิดมาจะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และจะรับ นามว่าบุตรของพระเจ้า 36ดูซิ เอลีซาเบธ ญาติของท่าน ทั้ง ๆ ที่ ชราแล้ว ก็ยังตั้งครรภ์บุตรชาย ใคร ๆ คิดว่านางเป็นหมัน แต่นางก็ ตั้งครรภ์ได้หกเดือนแล้ว 37เพราะไม่มีสิ่งใดที่พระเจ้าจะทรงกระท�ำ ไม่ได้” 38พระนางมารีย์จึงตรัสว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” แล้วทูตสวรรค์กจ็ าก พระนางไป


dbBulletin

เข้าใจความหมายของพระวาจา

การเข้าแทรกแซงของพระเจ้าในโลกผ่านทางพระนางมารีย์เป็น สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ความรอด แม้ว่าพระเจ้า ทรงเคยเตรียมหนทางผ่านการกระท�ำของสตรีผู้โดดเด่นอื่นๆ ของ อิสราเอล แต่การปฏิสนธิของพระนางมารีย์ทั้งที่ยังเป็นพรหมจารี แสดงให้เห็นความใหม่ในการกระท�ำของพระเจ้า พระเจ้าประทาน พระหรรษทานอย่างเหนือความคาดหมายแก่พระนาง ไม่ใช่เพือ่ ตอบ สนองความปรารถนาของพระนางทีจ่ ะมีบตุ ร และไม่ได้เป็นผลมาจาก สิง่ ใดทีพ่ ระนางสามารถคาดหมายได้ พระเจ้าทรงก�ำลังท�ำสิง่ ทีพ่ เิ ศษ และแปลกใหม่ เพือ่ ตอบสนองต่อความปรารถนาและการเฝ้ารอคอย ของประชากรของพระเจ้า บุตรที่จะเกิดมานี้จะเป็นพระเมสสิยาห์

ผูจ้ ะได้รบั มอบบังลังก์ของกษัตริยด์ าวิด พร้อมกับพระอาณาจักรทีไ่ ม่มี วันสิ้นสุด และพระองค์จะเป็นพระบุตรของพระเจ้า เพราะพระองค์ จะปฏิสนธิโดยพระอานุภาพพระจิตพระเจ้าที่แผ่เงาปกคลุมพระนาง พระนางมารียเ์ ป็นหนึง่ ในบุคคลผูไ้ ร้อำ� นาจในสังคมของพระนาง พระนางทรงเป็นคนยากจนในวัฒนธรรมทีเ่ ชิดชูความร�ำ่ รวย พระนาง ทรงเป็นหญิงในโลกที่ชายเป็นใหญ่ พระนางทรงเป็นผู้เยาว์ในสังคม ทีน่ บั ถือผูส้ งู วัย การทีพ่ ระเจ้าทรงโปรดปรานพระนาง แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าทรงท�ำงานอย่างไร - พระองค์ทรงพลิกความคาดหมายของ ชาวโลก และทรงยกย่องผู้ต�่ำต้อย พระบุตรของพระนางมารีย์จะเป็นกษัตริย์จากสวรรค์ ต่างจาก ดาวิดผู้ปกครองเฉพาะอาณาจักรอิสราเอลภายในขอบเขตของกาล เวลา กษัตริย์องค์นี้จะทรงครองราชย์ในประวัติศาสตร์ทุกยุคสมัย และ ”พระอาณาจักรของเขาจะไม่สิ้นสุดเลย” แต่พระองค์จะไม่เสด็จ มาจากพระราชวังอันโอ่อา่ ไม่ทรงสวมอาภรณ์ของกษัตริยแ์ ละไม่ทรง ท�ำสงครามกับศัตรู พระองค์จะเสด็จออกมาจากครรภ์ของพระนาง มารีย์ในลักษณะของทารกที่หิวและร้องไห้ และจะทรงเป็นความหวัง ของคนทั้งโลก เมื่อทูตสวรรค์มาแจ้งสาร ลูกาเริ่มเสนอภาพของพระนางมารีย์ ว่าทรงเป็นต้นแบบของผู้มีความเชื่อและศิษย์ของพระคริสต์ แม้ว่า พระนางได้รับพระหรรษทานจากพระเจ้า แต่พระนางยังไม่เข้าใจ พระนางตรัสถามว่า “เหตุการณ์นจี้ ะเป็นไปได้อย่างไร” และทูตสวรรค์ ตอบพระนางว่า “พระจิตเจ้าจะเสด็จมาเหนือท่านและพระอานุภาพ ของพระผู ้ สู ง สุ ด จะแผ่ เ งาปกคลุ ม ท่ า น” พระนางทรงยอมรั บ พันธกิจนี้ด้วยความไว้วางใจ ทั้งที่ไม่เข้าใจแผนการของพระเจ้า

33 dbBulletin 2019


LECTIO DIVINA By พระสังฆราช โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล

“ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับ ข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” พระนางมารียท์ รง เปิดทีว่ า่ งให้พระเจ้าเสด็จเข้ามาพ�ำนักในตัวพระนาง ท�ำให้พระเจ้าสามารถสร้างบ้านใหม่ท่ามกลาง มนุษยชาติ นักบุญออกัสตินกล่าวว่า พระนางมารีย์ ผู้เปี่ยมด้วยความเชื่อ ทรงปฏิสนธิพระคริสตเจ้าใน หัวใจของพระนางก่อนจะปฏิสนธิพระองค์ในครรภ์ ของพระนาง

Meditatio : มองชี วิ ต ของเราโดยมี พ ระวาจา น�ำทาง

ไตร่ตรองข้อความทีเ่ ขียนขึน้ โดยได้รบั การดลใจ จากพระเจ้าเพื่อให้พระวาจาของพระเจ้ากลายเป็น พระวาจาทรงชีวิตส�ำหรับเรา ให้บทอ่านนี้แสดง ปฏิกิริยากับโลกแห่งความทรงจ�ำ ความห่วงกังวล และความหวังของเรา จนกระทั่งเราตระหนักว่า พระวาจาของพระเจ้ า ก� ำ ลั ง สื่ อ สารอะไรกั บ เรา เป็นการส่วนตัวในวันนี้ ๐ ค�ำทักทายของกาเบรียลว่า “จงยินดีเถิด ท่าน ผู้เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน” บ่งบอกว่าทูตสวรรค์รู้ เรื่องเกี่ยวกับพระนางมารีย์มากกว่าที่พระนางรู้จัก

34 dbBulletin 2019

ตนเองเสียอีก พระหรรษทานของพระเจ้าที่ก�ำลังท�ำงานภายในตัว พระนางนัน้ เป็นของประทานจากความรักของพระเจ้า ขอให้เราใคร่ครวญ ถ้อยค�ำเหล่านีเ้ หมือนกับทีพ่ ระนางมารียเ์ คยท�ำ และให้ถอ้ ยค�ำเหล่า นี้น�ำทางเราให้ตระหนักว่าพระเจ้าทรงปรารถนาอะไรส�ำหรับเรา ๐ สารทีท่ ตู สวรรค์มาแจ้งต่อพระนางมารีย์ เปิดเผยตัวพระเยซูเจ้า รวมทัง้ พระยศส�ำคัญทีส่ ดุ ของพระองค์ ถ้อยค�ำเหล่านีบ้ อกอะไรกับเรา บ้างเกี่ยวกับพระธรรมชาติของพระบุตรของพระนางมารีย์ และ พันธกิจที่พระองค์จะได้รับคืออะไร ๐ พระเจ้าทรงท�ำงานในชีวิตของพระนางมารีย์ มิใช่เพราะบุญ บารมีหรือคุณค่าของพระนางเอง แต่เพราะความเชือ่ และความวางใจ ของพระนาง การแจ้งสารต่อพระนางมารียแ์ สดงว่าพระเจ้าทรงท�ำงาน ในชีวิตของประชากรของพระองค์อย่างไร ความหวังนี้เสนออะไรแก่ เรา ๐ บ่อยครั้งที่ความกลัวและความไม่มั่นคงท�ำให้มนุษย์ตกเป็น ทาสและปิดกั้นคนเราไม่ให้เข้าถึงโอกาสต่างๆในชีวิต ถ้อยค�ำของ ทูตสวรรค์กาเบรียลที่ปลอบโยนพระนางมารีย์ไม่ให้กล้ว และการ


dbBulletin

ยอมรับอย่างสงบนิ่ง แสดงให้เห็นวิธีหนึ่งที่ จะเอาขนะความกังวล เพื่อให้เราด�ำเนินชีวิต อย่างอิสระมากขึ้น เราปรารถนาจะด�ำเนิน ชีวิตอย่างเต็มที่มากขึ้นในด้านใด การร�ำพึง นี้ จะช่วยเราให้ท�ำเช่นนี้ได้อย่างไร ๐ พระนางมารีย์ทรงน้อมรับพระวาจา ของพระเจ้าไว้ในหัวใจของพระนาง ดังนั้น จึงทรงยอมปฏิสนธิพระบุตรของพระเจ้าใน ครรภ์ของพระนาง ตัวอย่างของพระนางสอน เราให้นอ้ มรับพระวาจาของพระเจ้า และยอม ให้พระวาจานั้นเปลี่ยนชีวิตของเราอย่างไร ๐ เราคิดว่าพระนางมารีย์รู้สึกอย่างไร เมื่อได้ยินสารของทูตสวรรค์ สิ่งใดยากที่สุด ส�ำหรับพระนาง การยอมรับของพระนาง ช่วยให้เรากล้าหาญขึ้นได้อย่างไร เมื่อใดที่ เราจ�ำเป็นต้องได้ยนิ ถ้อยค�ำของทูตสวรรค์วา่ “ไม่มีสิ่งใดที่พระเจ้าจะทรงกระท�ำไม่ได้”

Oratio

ตอบสนองด้วยการภาวนาต่อ พระวาจาที่พระเจ้าตรัสกับเรา ให้เลียนแบบ ความเชื่อด้วยความวางใจ และการน้อมรับ พระประสงค์ของพระเจ้าอย่างถ่อนตนของ พระนางมารีย์ เริ่มต้นด้วยบทภาวนานี้ จาก นั้นให้ภาวนาต่อไปโดยใช้ค�ำพูดของตัวเอง ๐ ข้าแต่พระเจ้าสูงสุด ผู้ทรงท�ำให้ พระนางมารีย์ประหลาดใจและประทานพร แก่พระนาง ด้วยการเปิดเผยแผนการของ พระองค์ส�ำหรับชีวิตของพระนาง โปรดทรง แสดงให้ ข ้ า พเจ้ า เห็ น ว่ า ควรน้ อ มรั บ พระหรรษทานของพระองค์ด้วยความวางใจ และความถ่อมตนอย่างไร โปรดทรงสอน ข้าพเจ้าให้เตรียมหัวใจเพื่อรับฟังเสียงของ พระองค์ ขณะที่พระองค์ตรัสพระวาจาของ พระองค์กับข้าพเจ้า เพื่อให้พระประสงค์ของ พระองค์สำ� เร็จไปในต้วข้าพเจ้า ขอให้ขา้ พเจ้า หันไปพึ่งพระนางมารีย์ ธิดาผู้ที่พระองค์ทรง โปรดปราน เพือ่ ให้ขา้ พเจ้าน้อมรับพระวาจา ของพระองค์ และเพื่อให้พระวาจานั้นบังเกิด ในชีวิตของข้าพเจ้า

Contemplatio

เมื่อค�ำพูดในการภาวนาของเรา เริ่มดู เหมือนว่าไม่เพียงพอ และไม่จำ� เป็นอีกต่อไป ให้เริ่มภาวนาแบบเพ่งพินิจโดยไม่ใช้ค�ำพูด ๐ วอนขอพระอานุภาพของพระจิตเจ้า ให้ แผ่เงาปกคลุมเราขณะที่เราพักผ่อนในการ ประทับอยูข่ องพระเจ้า น้อมรับพระหรรษทาน ที่ พ ระเจ้ า ทรงต้ อ งการประทานแก่ เราใน นาทีนั้น ด้วยหัวใจที่พร้อมจะยอมรับแบบ พระนางมารีย์

Communicatio

พิจารณาวิถีทางต่างๆ ที่เราอยากน�ำ ประสบการณ์กบั พระวาจาของพระเจ้าทีไ่ ด้รบั ในวันนีไ้ ปปฏิบตั ิ และตัง้ ปณิธานว่าจะเปลีย่ น ด้านหนึ่งของชีวิตเรา ๐ การตระหนั ก ในการประทั บ อยู ่ ของพระเจ้ า และความพร้ อ มจะน้ อ มรั บ พระประสงค์ของพระองค์ จะเปลีย่ นชีวติ มนุษย์ ทีละน้อยให้ปลดปล่อยความกลัวและบรรเทา ความกังวลใจ หลังจากไตร่ตรองเหตุการณ์ ทูตสวรรค์แจ้งข่าวการประสูตขิ องพระเยซูเจ้า เราปรารถนาจะด� ำ เนิ น ชี วิ ต อย่ า งเต็ ม ที่ และเป็นอิสระมากขึ้นในทางใดบ้าง เราจะ ท�ำเช่นนั้นให้ส�ำเร็จได้อย่างไรในวันนี้

35 dbBulletin 2019


กล้ากระแสเรียก เรียบเรียงโดย อัลปิโน

“ฝัน” เป็นค�ำกิริยา แปลว่า เห็นภาพเป็นเรื่องราวเมื่อหลับ และนึกเห็นสิ่งที่เป็นไปไม่ ได้ การเดินทางไปตามความฝัน จึงเปรียบเสมือนการเดินทางไป โดยไม่รู้เลยว่าปลายทางของเส้นทาง นี้จะพาไปสู่จุดหมายใด แม้ “ความฝัน” จะดูห่างไกล แต่ถ้าไม่มีเป้าหมายและไม่ขวนขวาย อดทน ก็ ไม่มีทางไปถึงได้ ความฝันที่ฉันก�ำลังหมายถึงนี้ ไม่ ใช่บ้านหลังใหญ่ ไม่ ใช่รถหรู หรือ แม้แต่ครอบครัวอบอุ่น… ฉันก�ำลังพูดถึง สิ่งที่ฉันอยาก “เป็น” ไม่ ใช่ สิ่งที่อยาก “มี” พบกับเรื่องราวของกล้ากระแสเรียก ของเด็กชาวสวนที่ตามหาฝัน ตั้งแต่วัยเยาว์ ใน ตอน

“ฝันให้ไกลไปให้ถึง” ความสุขที่พอดีและชีวิตที่พอเพียง

ฉันเป็นลูกชาวสวน ตั้งแต่เกิดมาฉันก็เห็นสวนผลไม้แล้ว ฉัน เติบโตมาในบรรยากาศของความเชื่อและความศรัทธาของคนใน ครอบครัวและคริสตชนในหมู่บ้าน ตอนเด็กๆ แม่มักจะชวนฉันเข้า สวนทุกเย็นหลังเลิกเรียน เพือ่ ไปใส่ปยุ๋ และรดน�ำ้ ต้นไม้ แม่มกั จะบอก ฉันเสมอว่า ทุกอย่างที่อยู่ในสวนนี้เป็นสิ่งที่ปู่และพ่อของฉันเป็นคน ปลูก เราทุกคนร่วมกันดูแลจนเกิดผลมาจนถึงทุกวันนี้ ทุกครั้งที่ฉัน เข้าสวนมาท�ำงาน แม่จะน�ำฉันสวดเสมอและยังสอนฉันทุกครัง้ ว่า ให้ ฉันสวดให้กับสวนของปู่และดวงวิญญาณของปู่ ให้ปู่ช่วยดูแลต้นไม้ และทุกคนในครอบครัวของเราด้วย ส�ำหรับฉันแล้ว มันเป็นความ สุขที่พอดีและชีวิตที่พอเพียง

เดินตามฝัน

ตอนที่ฉันอยู่ ป.3 ฉันเคยมีข้อสงสัยว่า ท�ำไมซิสเตอร์ต้องใส่ เครือ่ งแบบด้วย แล้วมีคณะไหนบ้างทีไ่ ม่สวมเครือ่ งแบบ? ครูคำ� สอน ท่านหนึ่งได้แนะน�ำคณะที่ไม่สวมเครื่องแบบให้ฉันได้รู้จัก นั่นก็ คือ สถาบันธิดาพระราชินีมาเรีย นั่นเป็นครั้งแรกที่ฉันได้ยินชื่อนี้ ฉันรู้สึกสนใจและอยากจะไปเข้าคณะดังกล่าว แต่คุณครูบอกกับฉัน ว่าเวลานี้ฉันยังอายุน้อยเกินไป เมื่อโตขึ้นแล้วครูจะติดต่อให้ ค�ำพูด 36 dbBulletin 2019

ดังกล่าวมันค้างอยู่ในใจของฉันและได้จุดประกายความฝันในใจของ ฉันนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ทุกคืนก่อนที่ฉันจะไปนอน ฉันจะสวด ขอพระเจ้าช่วยฉันให้ได้เข้าคณะนี้ จนกระทั่งเมื่อฉันใกล้จะจบชั้น ป.6 ฉันได้ไปทวงสัญญาและขอให้คุณครูค�ำสอนท่านนั้นช่วยติดต่อ สถาบันดังกล่าวให้ ฉันได้เขียนจดหมายสมัครไปสัมผัสชีวติ ของคณะ ตามวันและเวลาทีไ่ ด้รบั การแจ้งมา พ่อกับแม่ของฉันถามความสมัคร ใจของฉันซ�ำ้ ไปซ�ำ้ มาว่า “ลูกจะไปจริงๆหรือ?” ฉันยืนยันค�ำตอบเดิม ว่า ฉันจะไปจริงๆ ขอให้พ่อกับแม่ไม่ต้องเป็นห่วงฉัน เพราะที่ๆ ฉัน จะไปคือบ้านของพระ เมื่อเดินทางมาถึงกรุงเทพ ขณะที่ฉันนั่งอยู่บน รถไฟฟ้าซึ่งมีผู้โดยสารเยอะมาก ฉันเห็นป้าคนหนึ่งต้องยืนอยู่นาน ฉันได้สละที่นั่งของฉันให้กับป้าคนนั้น ป้าถามฉันว่า “หนูก�ำลังจะ ไปที่ไหน” หนูตอบว่า “ก�ำลังจะไปสมัครเรียนค่ะ’’ ป้าถามฉันต่อว่า “ที่ไหน เป็นหอในรึป่าว เห็นหอบกระเป๋ามาด้วย” หนูตอบกลับไป ว่า “ใช่ค่ะ โรงเรียนพระแม่มารี” ดวงตาของป้าคนนั้นเพ่งมองมาที่ สร้อยคอของฉันซึ่งเป็นรูปแม่พระและบอกกับฉันว่า “ให้ตั้งใจเรียน และบวชให้ได้นะลูก” ค�ำของป้าฝังใจฉันมาจนถึงทุกวันนี้ ในช่วงที่ฉันสัมผัสชีวิตนั้น ฉันคิดถึงแม่มากเพราะนี่เป็นครั้งแรก ที่ฉันต้องห่างจากครอบครัว เมื่อมาถึงวันสุดท้าย อธิการถามฉันว่า อยากเป็นผู้ฝึกหัดที่นี่หรือไม่ ฉันตอบออกไปอย่างไม่คิดว่า “ไม่ค่ะ”


dbBulletin อธิการจึงคืนเอกสารทุกอย่างให้กับฉัน แล้วอวยพรให้ฉันใช้ ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขในรูปแบบชีวิตของผู้คนข้างนอก ขณะที่ฉันก�ำลังออกจากที่นั่น ฉันหันกลับไปมอง ข้างหลัง หางตาก็เหลือบไปเห็นรูปปัน้ ของพระเยซูเจ้า ซึ่งก�ำลังยื่นมือมา แววตาของพระองค์เหมือนกับว่า มีอะไรบางอย่างที่อยากจะบอกกับฉัน แล้วนั้นค�ำพูด ของป้าคนนัน้ ทีฉ่ นั พบบนรถไฟฟ้าก็เข้ามาในความคิด ของฉัน ฉันเปลี่ยนใจและกลับไปบอกอธิการว่า ฉัน จะอยู่ที่นี่ นี่เป็นประสบการณ์ของฉันที่ได้เข้ามาเป็น ผู้ฝึกหัด พระเจ้าทรงน�ำทางฉันและทรงเรียกฉันให้มา อยู่ที่นี่

Happiness begins with myself.

เมื่ อ ฉั น เข้ า มาเป็ น ผู ้ ฝ ึ ก หั ด ฉั น ได้ เรี ย นรู ้ สิ่ ง ต่ า งๆ มากมาย เมือ่ มองย้อนกลับไป ฉันเห็นภาพตนเองทีเ่ ติบโต ขึ้นหลายด้าน ฉันรู้สึกว่าได้ชิดสนิทกับพระเจ้ามากขึ้น ฉัน ตื่นเช้าทุกวันเพื่อมาร่วมมิสซา ฉันว่านี่เป็นพระพรที่พระเจ้า ประทานให้ฉันเพราะยังมีอีกหลายคนที่ไม่มีโอกาสแบบนี้ นอกนัน้ ฉันได้เฝ้าศีลมหาสนิท ได้สวดร�ำพึงตอนเช้าและได้ สวดสายประค�ำ ฉันมีความสุขในโมเมนต์ของการท�ำสาย ประค�ำ แม้ว่าบางครั้งฉันจะโอ้เอ้บ้างเพราะรู้สึกเจ็บมือ และขี้เกียจ แต่ฉันว่านี่คือการฝึกฝนตนเองและเป็นการ ช่วยเผยแพร่การสวดสายประค�ำมากขึน้ นอกนัน้ ผูใ้ หญ่ สอนให้ฉนั รูจ้ กั การเข้าหาคนอืน่ ไม่เห็นแก่ตวั รูจ้ กั แบ่ง ปันและให้อภัย ฉันเรียนรู้ที่จะท�ำงานร่วมกับ คนอืน่ ฉันได้ปลูกผักกับเพือ่ นๆ และได้จดั กิจกรรมให้ กับเด็กๆ ถ้าจะถามถึงกิจกรรมที่ฉันชอบและรู้สึกมี ความสุขทีส่ ดุ ก็ตอ้ งบอกว่า การร้องเพลง ฉันรูส้ กึ ชอบ มาก ทุกครั้งที่ฉันได้ร้องเพลงฉันรู้สึกผ่อนคลายและดีใจที่มี ส่วนท�ำให้มิสซาด�ำเนินไปอย่างราบรื่น โดยภาพรวมแล้ว ฉันรู้สึกมีความสุขที่ได้อยู่ที่นี่ ส�ำหรับฉันแล้วที่นี่เป็น เหมือนบ้างหลังทีส่ องของฉัน ซึง่ มีทงั้ พ่อ แม่และพีน่ อ้ ง เราทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน

God besides me.

ฉั น ว่ า ชี วิ ต ของคนเราก็ เ ปรี ย บเสมื อ นกั บ ต้ น ไม้ ที่ ต้องการคนมาดูแล ใส่ปุ๋ย รดน�้ำและพรวนดิน ฉันคิดถึง ต้นไม้ในสวนทีบ่ า้ นซึง่ พ่อแม่ของฉันเอาใจใส่ดแู ลและสวด ภาวนาเพื่อขอให้มันเติบโต ตัวฉันเองก็ต้องการพระพร และความรักจากพระเจ้ามาเติมเต็มเพื่อท�ำให้ชีวิตของฉัน เข็มแข็งเช่นกัน ฉันอยากขอบคุณพระเจ้าส�ำหรับความรัก และพระพรอันมากมาย ผ่านทางบุคคลต่างๆ ที่ผ่านเข้า มาในชีวิต รวมทั้งประสบการณ์มากมาย ทั้งสุขและทุกข์ใน ชีวิตของฉัน ฉันรู้สึกว่าพระเจ้าทรงอยู่เคียงข้างฉันและท�ำให้ ฉันสามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยความรักของ พระองค์ db อิง-ภัทรดา ปั้นทอง

37 dbBulletin 2019


บทความ By ว.วรินทร์

เยาวชน...กับความสุข…แท้จริง! ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสไปดูแลนักเรียนในสนาม มักจะพบกับ สถานการณ์ที่เหมือน ๆ กัน ของการวิ่งเล่นอย่างไม่คิดชีวิต ของ นักเรียนระดับประถม หรือการครอบครองสนามบาสเกตบอล เป็ น ประจ� ำ ของนั ก เรี ย นประถมปลายและมั ธ ยมต้ น หรื อ กระทั่งภาพของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย ซึ่งจะเกาะกลุ่มนั่งพูด คุย หัวเราะ หรือติววิชาต่าง ๆ ที่จะสอบ...เหล่านี้ เป็นภาพที่ พบเห็นเป็นประจ�ำ แต่มาวันหนึ่ง สะดุดตากับภาพ ๆ หนึ่ง... นั่นคือ ภาพของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย จ�ำนวน 3 คน ก�ำลัง อยู่บนอัฒจันทร์ในลักษณะของต่างคนต่างพูด ต่างคนต่างมอง ไปข้างหน้า ไม่สนใจกัน ต่างคนต่างถือสิ่งของอย่างหนึ่งอยู่ใน มือ...เหมือนก�ำลังน�ำเสนออะไรบางอย่าง... เมื่อเข้าไปใกล้ ๆ จับความได้วา่ พวกเขาก�ำลังโฆษณาขายสินค้าทีอ่ ยูใ่ นมือของตน ซึ่งเป็นการเล่นสนุกแบบข�ำ ๆ ของพวกเขา ถ้าฟังอย่างตั้งใจแล้ว พวกเขานัน้ ตัง้ ใจพูดอย่างมาก พูดเป็นเรือ่ งเป็นราว เป็นล�ำดับขัน้ ตอน... ผู้เขียนรู้สึกสนุกและข�ำมาก ทั้งคิดในใจว่า “ช่างเป็นการ เล่นทีเ่ จ๋งจริง” เพราะนอกจากจะต้องใช้ความสามารถในการพูด ให้รู้เรื่อง พูดให้ชัด พูดให้เข้าใจ และบอกถึงสรรพคุณของสินค้า นั้น ๆ ได้อย่างเป็นล�ำดับขั้นตอนแล้ว ยังต้องใช้สมาธิและความ เป็นมืออาชีพของนักโฆษณาด้วย... เมื่อมองผ่านเลยโพ้นภาพนี้ ไป...สิง่ ทีแ่ อบซ่อนอยูค่ อื อะไร... “...ความธรรมดา... ความเรียบง่าย... 38 dbBulletin 2019

มิตรภาพ... ความสุข... หรือเป็นอะไรกันแน่”? ...ความสุข...ดูจะเป็นค�ำหนึ่งที่โดนใจมากที่สุด ตั้งแต่ใน อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์เราแสวงหาความสุขกันเสมอ เพราะ ความสุขเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้ชีวิตก้าวไปอย่างมี ความหมายและด�ำเนินไปตามจังหวะชีวิตของแต่ละคน หากจะ ถามว่า แล้ว“ความสุข” คืออะไร จากการพูดคุยและแบ่งปันกับ นักเรียนกลุ่มหนึ่ง พวกเขาแบ่งปันว่า “ความสุข คือ การได้ท�ำ ในสิง่ ทีช่ อบ ได้ทานอะไรอร่อยๆ ได้ใช้เวลาอยูก่ บั ครอบครัวแบบ จริงจัง... ความสุขคือ สิ่งที่ท�ำให้ชีวิตไม่เครียด สิ่งที่ท�ำให้รู้สึก ENJOY กับสิ่งที่ได้ท�ำและได้ท�ำบ่อย ๆ แม้นดูเหมือนว่าจะเป็น เรื่องที่อาจจะงี่เง้าก็ตามส�ำหรับใครหลาย ๆ คน แต่ส�ำหรับเรา มันท�ำให้เรามีความสุข ... ความสุขคือ ความรู้สึกดีที่ได้ท�ำ บางอย่างที่ชอบ แม้ว่าจะท�ำให้เหนื่อย...” และถ้าหากจะถาม ท่านผู้อ่านล่ะว่า “ความสุข” คืออะไร...? ในค�ำขวัญ ปี 2019 ของคุณพ่ออัคราธิการคณะซาเลเซียน คุณพ่ออังเกล แฟร์นนั เดซ อาร์ตเิ ม (Fr Ángel Fernández Artime) ที่ได้มอบให้แก่สมาชิกในครอบครัวซาเลเซียน ท่านได้กล่าวถึง “ความศักดิส์ ทิ ธิ์ ” โดยอ้างอิงพระวาจาของพระเยซูเจ้าทีว่ า่ “เรา บอกสิง่ เหล่านีก้ บั พวกท่านแล้ว เพือ่ ให้ความยินดีของเรา อยูใ่ นท่าน และให้ความยินดีของท่านเต็มเปีย่ ม” (ยน 15: 11)


dbBulletin ความศักดิส์ ทิ ธิส์ ำ� หรับคุณด้วย...เป็นหัวข้อของค�ำขวัญในครัง้ นี้ คุณพ่ออัคราธิการได้กล่าวว่า ค�ำขวัญ 2019 นี้ เป็นโอกาสอัน งดงามที่จะสนองตอบต่อค�ำเชื้อเชิญของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิสในพระสมณลิขติ เตือนใจ “จงชืน่ ชมยินดีเถิด” (Gaudete Et Exsultate) เกี่ยวกับการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลก ปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพรพิเศษของคณะซาเลเซียน อย่างมาก นักบุญยอห์น บอสโก บิดาและอาจารย์ของเยาวชน ผูเ้ ปีย่ มด้วยความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจให้กบั เด็ก ๆ ในสมัยของท่าน มุ่งสู่หนทางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตประจ�ำ วัน โดยมีท่านเป็นเพื่อนผู้อยู่เคียงข้าง ดั ง นั้ น หากเราจะสรุปว่า “ความสุข ” เท่ากับ “ความ ศักดิ์สิทธิ์” ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องอย่างที่สุด พระเจ้าทรงเชื้อเชิญ เราทุกคนให้มคี วามสุข…เท่ากับ... พระเจ้าทรงเชือ้ เชิญเราให้เป็น ผู้ศักดิ์สิทธิ์ พระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสไว้ในสมณลิขิตเตือนใจ “จงชื่นชมยินดีเถิด” ในข้อที่ 2 ตอนหนึ่งว่า “พ่อมีจุดมุ่งหมาย เพียงเพื่อจะน�ำเสนอแนวทางใหม่ของการเรียกให้ไปสู่ความ ศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถปฏิบัติได้จริงในช่วงเวลาปัจจุบันของเรา ที่ มีทั้งความเสี่ยง การท้าทาย และโอกาสมากมาย” มาเดอร์อีวอง รังกว๊อท อัคราธิการิณีคณะธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์ ได้กล่าวถึงความศักดิ์สิทธิ์ ในจดหมายเวียน ฉบับ ที่ 921 ของท่าน ไว้ว่า.. ความศักดิ์สิทธิ์เป็นของขวัญที่พระเจ้า ประทานให้เราฟรี ๆ โดยไม่บังคับอิสรภาพของเราแต่อย่างใด ทั้งยังเป็นความเร่งด่วนของมนุษย์ในปัจจุบัน ที่พยายามจะลบ พระเจ้าออกจากชีวติ เพิม่ ขึน้ เป็นล�ำดับ ในสมัยของคุณพ่อบอสโก และมาเดอร์มสั ซาแรลโล จิตตารมณ์เยาวชนซาเลเซียนมีพลังทีจ่ ะ น�ำบรรดาเยาวชนไปหาพระเยซูเจ้า และเป็นหนทางที่สามารถ น�ำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ได้ แม้ในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลง ด้านสังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม การสื่อสารที่พัฒนาตนอย่างก้าวกระโดด จนบ่อยครั้งก่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงที่น่ากลัว.. นอกจากนี้ ในเอกสาร “คูม่ อื การท�ำงานของการประชุมสมัชชา พระสังฆราชสมัยสามัญครั้งที่ 15 ในหัวข้อ “เยาวชน ความเชื่อ และการไตร่ตรองกระแสเรียก” ได้สรุปลงด้วยการไตร่ตรองถึง ความศักดิ์สิทธิ์ “เยาวชนเป็นวิหารเพื่อความศักดิ์สิทธิ์” และ กล่าวอีกว่า ความศักดิ์สิทธิ์เป็นดัง “ขอบฟ้าแห่งความหมาย

ที่เยาวชนทุกคนสามารถลุเข้าถึงได้” เนื่องจากบรรดานักบุญ คื อ ผู ้ ที่ ไ ด้ ผ ่ า นการเป็ น เยาวชนมาก่ อ นเกื อ บทั้ ง สิ้ น สมเด็ จ พระสันตะปาปา ฟรังซิส ได้ทรงเขียนบทภาวนาสุดท้ายของการปิด ประชุมซีน็อดครั้งนี้ว่า ขอให้เยาวชน “เปี่ยมด้วยความกล้าหาญ ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง มุ่งมั่นก้าวไปสู่สิ่งที่ลึกซึ้งและงดงาม กว่า และมีหัวใจที่เป็นอิสระจากทุกสิ่ง” «ค�ำว่า “ความสุขแท้จริง” หรือ “บุญลาภ” มีความหมาย เทียบเท่า “ความศักดิ์สิทธิ์” เพราะแสดงว่าบุคคลที่ซื่อสัตย์ ต่อพระเจ้า และด�ำเนินชีวติ ตามพระวาจาของพระองค์ยอ่ มบรรลุถงึ “บุญลาภ” บรรลุถึง “ความสุขแท้จริง” ดังนัน้ เยาวชนทีร่ กั ...จงโอบกอดชีวติ ประจ�ำวัน “ด้วยความ กล้าหาญ ทีจ่ ะมีชวี ติ เป็นของตนเอง มุง่ มัน่ ก้าวไปสูส่ งิ่ ทีล่ กึ ซึง้ และ งดงามกว่าและมีหัวใจที่เป็นอิสระจากทุกสิ่ง” หลอมรวมใจตน ปฏิบตั ิ “ความสุขแท้จริง” เท่ากับ หลอมรวมใจตนปฏิบตั ิ “ความ ศักดิ์สิทธิ์” “การเป็นผู้มีจิตใจยากจน คือ ความศักดิ์สิทธิ์” “การแสดงปฏิกริ ยิ าโต้ตอบด้วยใจสุภาพอ่อนหวาน คือ ความศักดิ์สิทธิ์” “การรู้จักร้องไห้กับผู้อื่น คือ ความศักดิ์สิทธิ์” “การแสวงหาความยุตธิ รรมด้วยความหิวและกระหาย คือ ความศักดิ์สิทธิ์” “การเอาใจใส่และการกระท�ำด้วยความเมตตากรุณา คือ ความศักดิ์สิทธิ์” “การรักษาหัวใจให้บริสุทธิ์จากทุกสิ่งทีท�ำให้ความรัก สกปรก คือ ความศักดิ์สิทธิ์” “การหว่านสันติภาพรอบๆ ตัวเรา คือ ความศักดิส์ ทิ ธิ”์ “การยอมรับความเชือ่ ศรัทธาในข่าวดีแห่งพระวรสาร แม้จะมีปัญหา คือ ความศักดิ์สิทธิ์” (เทียบ พระสมณลิขติ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส “GAUDETE ET EXSULTATE-จงชื่นชมยินดีเถิด” ข้อ 65-94) db

39 dbBulletin 2019


ครอบครัวซาเลเซียน By... MR.OK

ความสุขของ สมาชิกซาเลเซียนผู้ร่วมงาน ยวง บอสโก ธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค

คุณธัญญา ศิโรรัตน์ธญ ั โชค สมาชิกคณะซาเลเซียน ผู้ร่วมงานสังกัดหมู่คณะบ้านนารีวุฒิ เป็นสัตบุรุษวัด นักบุญเปาโลกลับใจ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ปัจจุบัน ท�ำหน้าที่เป็น ประธานกรรมการบริหารเนอสเซอรี่ บ้านแม่พระอุปถัมภ์ และมี นางมาร์การิตา กิตติภา ศิโรรัตน์ธัญโชค (ภรรยา) เป็นผู้อ�ำนวยการ นอกนั้น ในทางด้านศาสนา ท่านท�ำหน้าที่เป็น “ผู้อ�ำนวย การสภาภิบาลวัดนักบุญเปาโลกลับใจ โพธาราม” และ “คณะกรรมการชมรมสภาภิบาลวัดสังฆมณฑล ราชบุรี” ตั้งแต่ปี 2550-ปัจจุบัน และได้รับโปรด เกล้าฯแต่งตัง้ ให้ดำ� รงต�ำแหน่ง “ผูพ้ พิ ากษาสมทบใน ศาลเยาวชนและครอบครัว จ.ราชบุร”ี เป็นวาระทีส่ อง ปี 2561-2563

มาเป็ น ซาเลเซี ย นผู ้ ร ่ ว มงานได้ อย่างไร

คุณธัญญาได้เล่าให้เราฟังถึงที่มาของการกลับ ใจเป็นคาทอลิกและการเป็นซาเลเซียนผู้ร่วมงานว่า “ผมเป็นคริสตังยืน รับศีลล้างบาปเมื่อปี 2533 ที่ วัดพระตรีเอกภาพ หนองหิน จ.นครปฐม ผมรู้จัก คุณพ่อบอสโกครัง้ แรกในปี พ.ศ. 2532 โดยทางรูปปัน้ ของคุณพ่อบอสโก ซึ่งคุณพ่อประธาน ศรีดารุณศีล 40 dbBulletin 2019

เจ้าคณะซาเลเซียนในขณะนั้นน�ำมามอบให้โดยตั้ง ประดิษฐานอยู่หน้าอาคารเรียนของโรงเรียนบอสโก พิทักษ์ จ.นครปฐมและมีพิธีเสกอย่างสง่า และจาก หนังสือ “ดอนบอสโก บิดาและอาจารย์เยาวชน” ที่ ซิสเตอร์อรชร กิจทวี ผูจ้ ดั การและครูใหญ่โรงเรียนบอสโก พิทกั ษ์ในขณะนัน้ ได้มอบให้ผมพร้อมกับเหรียญบรรจุ พระธาตุของคุณพ่อบอสโก รวมถึงอีกหลายเล่มที่ผม แสวงหามาอ่านและพยายามเลียนแบบชีวิตของท่าน และผลจากอัศจรรย์หลายครั้ง รวมถึงการท�ำงานที่ ท้าทายหลายประการได้ส�ำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อทั้งที่ ไม่เคยท�ำมาก่อน ซึ่งผมเชื่อว่าเกิดจากการช่วยเหลือ ของแม่พระองค์อุปถัมภ์ คุณพ่อบอสโก และพระ เมตตาของพระเจ้า จากผลเหล่านี้กลับกลายเป็นแรง บันดาลใจส�ำคัญที่ท�ำให้ผมตัดสินใจรับศีลล้างบาป และพยายามด�ำเนินตามแบบอย่างชีวิตพันธกิจแห่ง รักของคุณพ่อบอสโก” คุณธัญญาเล่าต่อว่า “ในปี 2553 ซิสเตอร์อุดม ศรีดารุณศิลป์ได้เรียกผมให้มาสังเกตการณ์ชีวิตและ พันธกิจของผู้ร่วมงานซาเลเซียน บ้านนารีวุฒิ ต่อมา ในปี 2554 ซิสเตอร์นภิ า กูท้ รัพย์ ได้อนุญาตให้ผมให้ ค� ำ สั ญ ญาเป็ น ผู ้ ร ่ ว มงานซาเลเซี ย น โดยมี คุ ณ พ่ อ เทพรัตน์ ปิตสิ นั ต์ เจ้าคณะซาเลเซียนแขวงประเทศไทย เป็นประธานพิธีเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ.2554 ณ วัด น้อยบ้านพักฟื้นฟูจิตใจซาเลเซียน หัวหิน ท่ามกลาง การต้อนรับอย่างอบอุ่นจากซาเลเซียนผู้ร่วมงานทุก บ้าน โดยเฉพาะบ้านนารีวุฒิ ซึ่งยังประทับใจอยู่ถึง ทุกวันนี้”

อะไรคือความสุขในการเป็นซาเลเซียน ผู้ร่วมงาน

ความสุข คือ “การได้รัก และท�ำให้บรรดาเด็ก เยาวชนรู้ว่าเขาถูกรัก” ตามค�ำสอนและแบบฉบับ ของคุณพ่อบอสโก” จากประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็น เด็กในครอบครัว ในโรงเรียน เด็กชายขอบสังคม และเด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระท�ำความผิด ล้วนแต่ ต้องการความรัก (agape)ในลักษณะที่แตกต่างๆกัน ออกไป อาศัยการให้การศึกษาอบรม ดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือบรรดาเด็กและเยาวชนรวมถึงผู้ปกครอง


dbBulletin

ของเขาตามหลักเหตุผล ศาสนา และความรักใจดี หรือ ระบบป้องกัน (PREVENTIVE SYSTEM) ของ คุณพ่อบอสโก ให้เขาหลุดพ้นจากปัญหาจากความ ทุกข์ใจของเขาได้ ช่วยให้เขาคิดเป็น รู้จักด�ำเนินชีวิต ที่ดีและรักผู้อื่นเป็น และสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ ได้ต่อไปด้วยความรักเมตตาจากพระเจ้าที่ได้รับการ ส่งต่อกันเป็นทอดๆ นี่คือความสุขที่วิเศษเลยส�ำหรับ ทุกคน รวมถึงครอบครัวและสังคมที่ปกติสุขด้วย นอกนั้น ผมรู้สึกประทับใจในความรักเป็น หนึ่งเดียวกัน ความซื่อสัตย์ในค�ำสัญญา การอุทิศตน เพื่อความดีของเยาวชนในทุกรูปแบบของซาเลเซียน ผู้ร่วมงานและครอบครัวซาเลเซียน ไม่ว่าจะเป็นใคร ฐานันดรใด อายุเท่าไร แต่ “ความรัก” ส�ำคัญที่สุด ส�ำหรับทุกคน เป็นการด�ำเนินชีวิตเผยแผ่ข่าวดีตาม จิตตารมณ์ซาเลเซียนตามแบบฉบับของคุณพ่อบอสโก เพื่อช่วยให้เด็กเยาวชนเป็นคนดีมีคุณธรรมเพื่อสังคม ที่ดี จนเกิดผลแผ่ขยายไปทั่วโลก ดังนั้นเราจึงเห็นผู้ ร่วมงานรุ่นอายุกว่า 80- 90 ปี มาร่วมกิจกรรมและ เข้าเงียบฟืน้ ฟูจติ ใจทุกปีไม่เคยขาดเลย ยกเว้นป่วยติด เตียง หรือพระยกไปสวรรค์

บทบาทและหน้ า ที่ ข องซาเลเซี ย น ผู้ร่วมงาน

ในฐานะสมาชิกซาเลเซียนผู้ร่วมงาน ผมยินดีและ ตระหนักถึงการให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมใน

กิจกรรมต่างๆของบ้านนารีวุฒิ คณะซาเลเซียนผู้ร่วม งาน ครอบครัวซาเลเซียนและพระศาสนจักร และ การด�ำเนินชีวติ เผยแพร่ขา่ วดีในบทบาทหน้าทีป่ ระจ�ำ วัน เช่น การไปวัด แก้บาปรับศีล การฟังและอ่าน พระวาจาทุกวัน, การภาวนาและท�ำกิจเมตตา, การ ดูแลครอบครัวของตนเอง, การให้ทุนการศึกษาแก่ เด็กเยาวชนที่ยากไร้, การให้การอบรม ให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำแก่ผู้ปกครอง และเด็กเยาวชน, การประชุม, การเข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจประจ�ำปี, การมีส่วนร่วมใน การบ�ำรุงและช่วยงานต่างๆในระดับวัดและในระดับ พระศาสนจักรตามพระพรที่ได้รับ เพื่อให้ชีวิตเป็น ประจักษ์พยานถึงข่าวดีของพระคริสตเจ้าแก่บคุ คลรอบ ข้าง รวมถึงน้อมรับน�้ำพระทัยของพระตามแบบอย่าง ของแม่พระและคุณพ่อบอสโกด้วยความเชื่อ ความรัก และความวางใจ หากว่าในบางครั้งจะต้องเผชิญกับ ปัญหาอุปสรรค ความยากล�ำบาก ความเหน็ดเหนื่อย ทั้งกายและใจอยู่บ้าง ผมจะนึกถึงเหตุการณ์หนึ่งใน หนังสือตอนที่คุณแม่มาเกริตาเกิดถอดใจ ไม่อยากจะ อยู่ช่วยคุณพ่อบอสโกดูแลเด็กๆของคุณพ่ออีกแล้ว คุณพ่อบอสโกได้ชใี้ ห้ทา่ นดูพระเยซูเจ้าทีถ่ กู ตรึง อยู่บนไม้กางเขน และคุณแม่มาร์เกริตาก็ยอม ที่จะแบกรับกางเขนนั้นต่อไป และนี่คือหน้าที่ และบทบาทการมี ส ่ ว นร่ ว มที่ แ ท้ จ ริ ง ของเรา ซาเลเซียนผู้ร่วมงานในทัศนะของผม db

41 dbBulletin 2019


ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน By ว.วรินทร์

บุญราศีเลารา วีกุญญา (Laura Vicuña) มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1891 – 1904

เลารา วีกุญญา เกิดที่เมืองซานเตียโก ประเทศชิลี เมื่อวันที่ 5 เมษายน 1891 บิดาของเลาราเป็นนายทหารจากตระกูลสูง ส่วน มารดาเป็นหญิงสวยสามัญชนและไม่เป็นทีย่ อมรับจากญาติฝา่ ยบิดา เมื่อเกิดการปฏิวัติในชิลี ครอบครัวของบิดาต้องอพยพหนีออกนอก เมือง ขณะนั้นเลารามีอายุเพียง 5 เดือน บิดาของเลาราท�ำงานเลี้ยง ครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง และเสียชีวิตเมื่อเลาราอายุ 2 ขวบ ส่วนน้องคนเล็กเพิ่งจะเกิดได้ไม่นาน มารดาของเลาราได้บากบั่นท�ำงานจนสามารถเปิดร้านขายของ เล็กๆ ในหมู่บ้าน แต่ถูกโจรบุกเข้าปล้นร้านและขนเอาทรัพย์สินเงิน ทองไปหมด มารดาจึงพาบุตรสาวทั้งสองคนอพยพไปหางานท�ำที่ ประเทศอาร์เจนตินา เมือ่ เลาราอายุ 9 ขวบ มารดาได้นำ� มาฝากเป็นนักเรียนประจ�ำใน โรงเรียนของซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ เมือ่ อายุ 10 ขวบ เลาราได้รับศีลมหาสนิทครั้งแรก และสัญญากับพระเยซูเจ้าว่าจะ รักพระองค์มากกว่าตนเอง จะมัธยัสถ์ จะยอมตายดีกว่าท�ำเคือง พระทัยพระองค์ ตามแบบอย่างของนักบุญดอมินกิ ซาวีโอ จะเผยแผ่ พระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า และจะชดเชยใช้โทษบาปแทน คนบาปทั้งหลาย

42 dbBulletin 2019

เมื่ อ เลาราทราบว่ า มารดาของตนซึ่ ง ท�ำงานเป็นแม่บ้านให้กับเจ้าของฟาร์มแห่ง หนึง่ ก�ำลังด�ำเนินชีวติ ทีผ่ ดิ ต่อศีลธรรม เธอ ได้ถวายตัวแด่พระเจ้าเพื่อการกลับใจของ มารดา เธอได้เพิ่มกิจการแห่งการมัธยัสถ์ ตน และด้วยความเห็นชอบของพระสงฆ์ผู้ฟัง แก้บาป เธอได้ปฏิญาณตนที่จะปฏิบัติตาม ข้อแนะน�ำแห่งพระวรสาร เลาราได้วอนขอ พระพรจากพระเจ้าให้มารดาละทิง้ สภาพบาป และเจริญชีวิตในศีลในพรของพระ พร้อมๆ กับความทุกข์ใจและการสวด ภาวนาเพื่อวอนขอพระพรดังกล่าว เลารา ได้พลีกรรม มัธยัสถ์ตน ใจกว้าง เสียสละ ช่วยเหลือทุกคน เลือกท�ำงานที่หนักและ ล�ำบาก เลาราไม่ละเว้นโอกาสเพื่อท�ำความ ดี และที่สุด เลาราได้ขออนุญาตจากคุณพ่อ วิญญาณรักษ์ เพือ่ ถวายชีวติ ของตนเป็นยัญบูชา เพื่อขอพระพรแห่งการกลับใจให้มารดา เลาราได้ ล ้ ม ป่ ว ยลง และในช่ ว งวาระ สุ ด ท้ า ย ขณะที่ เ ลาราก� ำ ลั ง หมดเรี่ ย วแรง เพราะความเจ็ บ ป่ ว ยและการเสี ย สละตน เธอได้เปิดเผยเรื่องนี้แก่มารดาของเธอว่า “คุณแม่ ลูกก�ำลังจะสิน้ ใจ เป็นเวลานานมาแล้ว ที่ลูกได้วอนขอพระเยซูเจ้าให้น�ำคุณแม่กลับ มาหาพระเจ้า และลูกได้ถวายชีวติ ของลูกเพือ่ จุดประสงค์นนั้ ก่อนทีล่ กู จะสิน้ ใจ โปรดให้ลกู ยินดีที่จะได้เห็นคุณแม่กลับคืนดีกับพระเจ้า เถิด” และเธอได้รับความยินดีนี้ก่อนที่จะ สิน้ ลมหายใจในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ.1904 อายุ 13 ขวบ มารดาของเลาราได้ละทิ้งชีวิต เก่า ได้แก้บาป รับศีลศักดิ์สิทธิ์ และหันมา เจริญชีวิตในศีลและพระพรของพระ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรง ประกาศแต่งตั้งเลาราให้เป็นบุญราศี เมื่อ วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1988 และได้เสนอ ตัวอย่างชีวติ ทีบ่ ริสทุ ธิผ์ ดุ ผ่องของเลาราให้กบั เยาวชนในยุคปัจจุบัน db


เรื่องมีอยู่ว่า By ลียองเอ

dbBulletin

วัดกันที่ใจ

ณ บ้านบอลในห้างสรรพสินค้าแห่ง หนึง่ คุณแม่ผรู้ กั ความสะอาดแต่ไม่อยาก จะขัดใจลูก ก�ำลังบ่นให้ลูกของตัวเองฟัง อย่างออกรสออกชาติ ปากก็บ่น มือก็ ซื้อบัตรเข้าบ้านบอลให้ลูก “ไม่รลู้ า้ งกันบ้างหรือเปล่าลูกบอลเนีย่ ะ เด็กเล่นเยอะขนาดนี ้ มีใครฉีร่ ดลงไปบ้าง รึเปล่าก็ไม่รู้ ดูซิ ฝนตกตัวเปียกๆเดิน ย�่ำกันเข้าไป ทั้งไอ ทั้งจาม ทั้งน�้ำมูก ทั้ง น�้ำลาย โอ๊ย!เชื้อโรคทั้งนั้น” ส่วนลูกก็ ฟังบ้างไม่ฟงั บ้างเพราะจิตใจจดจ่ออยูก่ บั สระบอล หนึ่งชั่วโมงผ่านไป ส�ำหรับเด็กๆมัน ช่างไวเหมือนโกหก แต่สำ� หรับผูใ้ หญ่มนั ช่างยาวนานเหลือเกิน ลู ก ชายเล่ น จนหมดแรงแล้ ว ก็ เ ดิ น เหงื่อซกออกมา คุณแม่จอมอนามัยก็ส่ง

น�้ำยาฆ่าเชื้อโรคให้ลูกพร้อมกับพูดว่า “อย่าลืมฉีดน�้ำยาฆ่าเชื้อ โรค แล้วถูฝ่ามือให้สะอาดด้วยนะ ดูซิเนี่ย เชื้อโรคทั้งนั้น” ด้วยความสงสัย เด็กชายจึงหันกลับไปถามแม่อย่างไร้เดียง สาว่า “แม่ครับ แล้วที่ไหนบ้างล่ะครับที่ไม่มีเชื้อโรค แล้วอย่าง นี้หนูต้องถือน�้ำยาฆ่าเชื้อโรคไปทุกที่เลยมั้ยครับ” คุณแม่คนสวยถึงกับอึ้ง นั่นสินะ….ที่ไหนบ้างล่ะที่ไม่มีเชื้อโรค พระเยซูเจ้าเองก็ทรงอธิบายในเรือ่ งนีด้ ว้ ยเช่นเดียวกัน “ไม่มี สิ่งใดเลยจากภายนอกของมนุษย์ท�ำให้เขามีมลทินได้ แต่สิ่งที่ ออกมาจากภายในของมนุษย์นั้นแหละท�ำให้เขามีมลทิน” (มก.7:15) พระเจ้ามิได้ทรงมองมนุษย์แค่เพียงผิวเผินแต่ภายนอก แต่ พระองค์ทรงมองถึงเบื้องลึกของหัวใจมนุษย์ หัวใจที่ให้พระเจ้าทรงครอบครอง หรือปล่อยให้มลทินบาป ค่อยๆ กัดกินหัวใจให้เหินห่างจากพระเจ้าไปทีละนิด …..จะสะอาดหรือไม่สะอาดวัดกันที่ใจ…. db 43 dbBulletin 2019


ณ ุ ค า น ท โม ่พระ แม “หากปราศจากพวกท่านแล้ว เราไม่สามารถท�ำอะไรได้เลย”

พินัยกรรมของคุณพ่อบอสโกถึงผู้มีพระคุณ พีส่ าวของลูกป่วยและได้เข้ารับการรักษาทีโ่ รงพยาบาล โดยหมอ ได้ลงความเห็นว่าอาการของพีส่ าวค่อนข้างหนักและอาจถึงแก่ชวี ติ ได้ เพราะติดเชื้อในกระแสโลหิต หมอได้พยายามวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ ที่แท้จริงจนในที่สุดก็ทราบสาเหตุและท�ำการรักษาพี่สาวได้ตรงจุด จนในที่สุดพี่สาวของลูกได้มีอาการดีขึ้น ลูกขอขอบคุณแม่พระที่ได้ วอนขอพระป็นเจ้าให้รักษาพี่สาวของลูกผ่านทางคุณหมอผู้ท�ำการ รักษา Adelina ลูกกราบขอบพระคุณพระแม่มารียท์ ที่ รงช่วยเหลือ เปลีย่ นแปลง และน� ำ ลู ก สู ่ ท างแห่ ง ความรอดพ้ น และชิ ด สนิ ท กั บ พระเจ้ า ใน ศีลมหาสนิท

โฟสตินาบี

“หากปราศจากความช่วยเหลือของพวกท่านแล้ว พ่อคงท�ำกิจการต่างๆ ได้เพียงเล็กน้อย หรืออาจท�ำอะไรไม่ได้เลย แต่ด้วยความช่วยเหลือของพวกท่าน เราสามารถร่วมมือกับพระหรรษทานของพระเจ้า เพื่อช่วยซับน�้ำตาให้กับหลายชีวิตและช่วยวิญญาณ ให้รอดได้มากมาย”

บ�ำรุงการพิมพ์

มาลัย ว่องชาญชัยเลิศ ประยูร แก้วเจริญสุข คณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ สถาบันธิดาพระราชินีมาเรีย อารามคาร์แมล สามพราน โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 2 ท่าน ทุกวันที่ 24 ของทุกเดือนจะมีการถวายมิสซา แก่สมาชิกนิตยสาร รวมทั้งผู้มีอุปการะคุณต่อนิตยสาร

ธารน�้ำใจ

ท่านสามารถร่วมสนับสนุนการพิมพ์นิตยสารดอนบอสโกได้ที่

บัญชี วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนศรีนครินทร์ (กรุงเทพกรีฑา) บัญชีออมทรัพย์เลขที่บัญชี 080-221616-6 (ส่งเงินแล้วโปรดแจ้งรายละเอียดให้แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียนทราบด้วย)

สนใจสมัครสมาชิกได้ที่

แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 02-7317100 Email: sdbsocomthai@gmail.com

(หากท่านเปลี่ยนชื่อและที่อยู่ผู้รับ กรุณาแจ้งให้ทางนิตยสารทราบ)

44 dbBulletin 2019


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.